The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ข้อมูลปรกอบการรับการตรวจ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน สน.ผชท.ทร.ไทย/ปารีส (ส่วน ทร.)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chakan.s79, 2022-07-09 05:21:29

ข้อมูลปรกอบการรับการตรวจเยี่ยมฯ

ข้อมูลปรกอบการรับการตรวจ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน สน.ผชท.ทร.ไทย/ปารีส (ส่วน ทร.)

สารบญั หนา้

๑. แผนการตรวจ ตดิ ตามและประเมนิ ผลการปฏิบตั ิงาน สำนกั งานผ้ชู ่วยทูตฝ่ายทหารเรอื ฯ ๑
๒. สถานภาพสำนกั งานผ้ชู ่วยทูตฝ่ายทหารเรอื ฯ ๓

๒.๑ ดา้ นกำลังพล ๓
๒.๑.๑ สถานภาพกำลงั พล ๓
๒.๑.๒ สภาพความเปน็ อยขู่ องกำลังพล ขวัญ กำลังใจ ๓
๒.๑.๓ การดูแลขา้ ราชการและนักเรียนกองทุนของ กห. บก.ทท. หรือ ทร. ๓
๒.๑.๔ ความสัมพนั ธก์ บั สอท. และ สน.ผชท.ทหาร เหลา่ ทพั อนื่ ๓
๒.๑.๕ ความสัมพันธก์ บั หน่วยงานในต่างประเทศ ๓
๒.๑.๖ ปัญหา อุปสรรค ข้อขดั ขอ้ ง และข้อเสนอแนะ ๔

๒.๒ ด้านการข่าว ๔
๒.๒.๑ การขา่ วกรอง ๔
๒.๒.๒ การต่อต้านการขา่ วกรอง ๔

๒.๓ ดา้ นการสง่ กำลังบำรงุ ๙
๒.๓.๑ สถานภาพสำนักงานและท่พี ักอาศยั ๙
๒.๓.๒ สถานภาพพาหนะประจำสำนักงาน ๙
๒.๓.๓ สถานภาพครุภณั ฑ์ประจำสำนักงาน
๒.๓.๔ ปัญหาอุปสรรค ข้อขดั ข้อง และขอ้ เสนอแนะ ๙

๒.๔ ด้านการงบประมาณ การเงินและการบญั ชี ๑๐
๒.๔.๑ การปฏบิ ัตติ ามระเบยี บเรอ่ื งเงินงบประมานและการเงิน ๑๐
๒.๔.๒ สถานภาพงบประมาณของสำนักงาน ๑๐
๒.๔.๓ การจดั ทำบัญชี ๑๐
๒.๔.๔ ปัญหา อุปสรรค ขอ้ ขัดข้อง ๑๐
๑๑
๒.๕ ด้านพลาธกิ าร ๑๑
๒.๕.๑ การควบคมุ ดูแลและจัดทำบญั ชพี ัสดุประจำสำนักงาน ๑๑
๒.๕.๒ การตรวจสอบพัสดุประจำปี ๑๒
๒.๕.๓ การจดั ซ้อื /จดั จา้ ง ๑๒
๒.๕.๔ ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้อง และขอ้ เสนอแนะ

๒.๖ การปฏิบตั ิภารกิจสำคัญและการปฏบิ ัติภารกิจพิเศษที่ไดร้ บั มอบหมายจาก ทร.
๒.๖.๑ การปฏิบตั ิภารกิจท่ีสำคัญ
๒.๖.๒ กิจกรรมการทตู ฝ่ายทหารทส่ี ำคัญ
๒.๖.๓ ปัญหา อปุ สรรค ขอ้ ขดั ข้อง และขอ้ เสนอแนะ

หน้า

ภาคผนวก
ผนวก ก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรฐั ฝรง่ั เศส
ผนวก ข สถานการณด์ า้ นความมน่ั คงและการปอ้ งกันประเทศ
ผนวก ค กิจกรรมการทูตฝา่ ยทหารที่สำคัญ
ผนวก ง ขอ้ มลู สถานทท่ี ัศนศึกษาที่สำคญั ในฝร่ังเศส

-๑-

๑. แผนการตรวจ ตดิ ตามและประเมินผลการปฏิบัติงานสำนกั งานผ้ชู ว่ ยทตู ฝ่ายทหารเรอื
ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรงุ ปารีส

-๒-

-๓-

๒. สถานภาพสำนักงานผูช้ ่วยทูตฝ่ายทหารเรือฯ
๒.๑ ด้านกำลังพล
๒.๑.๑ สถานภาพกำลงั พล
น.อ.ชัยยุทธ์ คลังเงิน ผชท.ทร.ไทย/ปารีส ระหวา่ ง งป.๖๔ - ๖๖
พ.จ.อ.ฉกรรจ์ ศรีสุวรรณ สมยี นประจำ สน.ฯ (ทร.) ระหวา่ ง งป.๖๕ - ๖๗
นายสรุ ศกั ด์ิ ณ นคร ลา่ มประจำ สน.ฯ (ทร.) ๑๔ ก.พ.๓๔
นาย Narideth Vigier พลขบั รถประจำ สน.ฯ (ทร.) ๔ ม.ค.๖๕
- กำลังพลประจำ สน.ฯ (ทร.) เพยี งพอและเหมาะสมแลว้
๒.๑.๒ สภาพความเปน็ อย่ขู องกำลงั พล ขวัญ กำลังใจ
- จัดสวัสดิการให้กำลังพลของ สน.ฯ ตามความจำเป็นและเหมาะสม สภาพขวัญ

และกำลังใจอยู่ในเกณฑ์ดี และไม่มีปัญหาด้านการปกครองบังคับบัญชาแต่อย่างใด
- เสมียน ประจำ สน.ฯ มีทพี่ กั อยใู่ กล้บา้ นพัก ผชท.ฯ
- ลูกจ้างท้องถิ่น (Local Staffs) จำนวน ๒ คน ได้รับการปรับฐานเงินเดือนตาม

ประกาศ กค.เมอื่ งป.๖๓ และท้ัง ๒ คน อยูใ่ นระบบประกนั สงั คมของฝรั่งเศส
๒.๑.๓ การดูแลข้าราชการและนักเรียนกองทุนของ กห. บก.ทท. หรือ ทร.
- ไมม่ ี
๒.๑.๔ ความสัมพนั ธก์ บั สอท.ฯ และ สน.ผชท.ทบ.ฯ
- ความสัมพันธ์กับ สอท.ฯ และภายใน สน.ผชท.ทหารไทย/ปารีส เป็นไปด้วยความ

ราบรน่ื และเรียบรอ้ ยดี
- การสนธิกำลังของ ผชท.ทร.ฯ ใน สน.ผชท.ทหารไทย/ปารสี เป็นไปตามหลักการที่

หนว่ ยเหนือไดส้ ั่งการไวท้ กุ ประการ ซึง่ เป็นไปด้วยความเรยี บรอ้ ย และไม่มผี ลกระทบใดๆ ตอ่ สน.ฯ
- ออท.ฯ ไดก้ รณุ ามอบอำนาจการบริหารภายใน สน.ฯ ให้กับ ผชท.ทร.ฯ ดำเนินการ

ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาจากกองทัพเรือได้โดยอิสระและเต็มที่ และให้การสนับสนุน สน.ฯ ตามที่ขอ
ความอนเุ คราะห์ดว้ ยดีตลอดมา

๒.๑.๕ ความสัมพันธ์กบั หน่วยงานในตา่ งประเทศ
- เปน็ ไปดว้ ยความเรียบร้อยและราบรนื่ ดี

๒.๑.๖ ปัญหา อปุ สรรค ขอ้ ขดั ขอ้ ง และขอ้ เสนอแนะ
- หน่วยงานส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐฝรั่งเศส ไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อและ

ประสานงาน ดังนั้น ล่ามประจำ สน.ฯ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจของ
ผชท.ทร.ฯ ในส่วนของข้าราชการที่จะมาปฏิบัติงานในประเทศฝรั่งเศส (ผชท.ฯ และ เสมียน) ควรมีการ
เตรียมพร้อมทางด้านภาษาฝรั่งเศสก่อนที่จะเดินทางมาปฏิบัติงาน และจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการเรียน
ภาษาฝร่งั เศสต่อไป

- สน.ฯ ไดเ้ สนอเร่อื ง ขอทำความตกลงกับ กค. ขออนมุ ัติตอ่ อายกุ ารจ้างลูกจ้างช่ัวคราว
ในตา่ งประเทศทม่ี ีอายุเกิน ๖๐ ปี ( ท่ขี องหนงั สือ กห ๐๕๐๔.๖/๑๖๔ ลง ๔ ก.ค.๖๕ )

-๔-

๒.๒ ด้านการข่าว
๒.๒.๑ การข่าวกรอง
- ปัจจุบัน สน.ฯ (ส่วน ทร.) สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกบั สถานการณ์และความ

เป็นไป ทั้งภายในสาธารณรัฐฝรั่งเศสเอง และเหตุการณ์ระหว่างประเทศ ได้จากแหล่งข่าวเปิดประเภท สื่อสังคม
ออนไลนแ์ ละเว็บไซต์ของหน่วยงานราชของฝรงั่ เศส สำนกั ข่าวท้ังในฝรั่งเศส และตา่ งประเทศ และไดร้ ับขอ้ มูลจาก
การสนทนาในสงั คมนกั การทตู ระดับต่างๆ ทัง้ ฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร

- สน.ฯ (ทร.) ได้รายงานข่าวสารที่สำคัญไปยังยัง ขว.ทร. ผ่านทางระบบงานสารบรรณ
อเิ ลก็ ทรอนิกส์ กองทัพเรือ อยา่ งตอ่ เน่อื ง โดยในปงี บประมาณ ๒๕๖๕ ได้รายงานข่าวสารที่สำคัญให้ทราบแล้ว
จำนวน ๑๑๙ ขา่ ว

๒.๒.๒ การตอ่ ตา้ นการข่าวกรอง
- มกี ารกำหนดชัน้ ความลับของเอกสาร และมีตู้เกบ็ เอกสารลบั โดยท่ี ผชท.ทร.ฯ ทำหน้าที่

เปน็ นายทหารควบคมุ เอกสารลบั
- การผ่านเข้า-ออก สอท.ฯ และ สน.ผชท.ทหารไทย/ปารีส นั้น ต้องใช้บัตรผ่านรหัส

อตั โนมตั ใิ นการผ่านเข้าออกประตู ซ่งึ กำหนดโดย สอท.ฯ
- การ รปภ. บุคคล จะมีการพิจารณาเป็นคราวๆ ไป ตามสถานการณ์ ความเหมาะสม

และความจำเป็น
๒.๓ ด้านการส่งกำลงั บำรงุ

๒.๓.๑ สถานภาพสำนกั งานและทพี่ ักอาศัย
สำนักงานตั้งอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) ณ กรุงปารีส มีที่ตั้งอยู่ ณ อาคาร

เลขท่ี 8, rue Greuze – 75116 PARIS มีลกั ษณะเปน็ อาคาร ๒ หลงั และมหี น่วยราชการไทยปฏิบัติหน้าท่ีอยู่
รวมกนั จำนวน ๗ หนว่ ยงาน อาคารด้านหน้า ซึ่งเปน็ อาคาร ๔ ช้นั (รวมชน้ั ใตด้ ิน) เป็นสถานทที่ ำการหลักของ
สอท.ฯ ในส่วนของข้าราชการจากกระทรวงการต่างประเทศโดยมี นายธนา เวสโกสิทธ์ิ เป็น เอกอัครราชทูต (ออท.ฯ)
สว่ นอาคารด้านหลัง ซงึ่ เปน็ อาคาร ๔ ช้ัน (ไม่มชี ้นั ใต้ดิน) เป็นสถานทที่ ำการของสำนกั งานต่างๆ ดงั นี้

- ฝา่ ยกงสลุ และแผนกวซี ่า (แผนกวีซ่าอยชู่ น้ั ท่ี ๑ โดยมหี อ้ งทำงานของกงสลุ อยบู่ นชั้นท่ี ๒)
- สำนกั งานทีป่ รึกษาฝา่ ยพานิชย์ (อย่บู นชั้นที่ ๒)
- สำนักงานผู้ช่วยทตู ฝ่ายทหาร (อยู่บนชั้นท่ี ๓)
- สำนักงานทป่ี รึกษาฝา่ ยเศรษฐกิจ (อย่บู นชนั้ ที่ ๔)
- สำนกั งานท่ีปรกึ ษาฝา่ ยการศึกษา (อยบู่ นช้นั ที่ ๔)

-๕-

๒.๓.๑.๑ สำนกั งานผชู้ ่วยทูตฝา่ ยทหาร

สถานเอกอคั รราชทตู (สอท.) ณ กรุงปารีส
สน.ผชท.ทหาร แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนของ ผชท.ทบ.ฯ ส่วนของ ผชท.ทร.ฯ และ
ส่วนทใี่ ชง้ านร่วมกัน ซึง่ ใชเ้ ป็นห้องรับประทานอาหารและห้องพักผอ่ น ในสว่ นของ ผชท.ทร.ฯ นนั้ มหี อ้ งทำงาน
ผชท.ทร.ฯ ๑ ห้อง ขนาด ๔ x ๕ ม. (มีห้องน้ำในตัว) และห้องทำงานเสมียนและล่ามประจำ สน.ฯ ๑ ห้อง
ขนาด ๓ x ๔ ม.

สน.ผชท.ทหาร ส่วน ทบ.

พืน้ ทสี่ ว่ นกลาง

-๖-

สน.ผชท.ทหาร ส่วน ทร.

๒.๓.๑.๒ บ้านพกั อาศัย

๑.๒.๒ บ้านพกั เสมยี นฯ

บา้ นพักผชู้ ่วยทตู ฝ่ายทหารเรอื

บ้านพัก ผชท.ทร.ฯ ตั้งอยู่ที่ 2 bis, Av. des Fonds Maréchaux – 92420 VAUCRESSON
ซึง่ อย่ทู างทิศตะวนั ตกของกรุงปารสี ระยะห่างประมาณ ๑๘ กม. ใช้เวลาในการเดนิ ทางโดยรถยนตร์ ะหวา่ ง สน.
ฯ กบั บา้ นพัก ประมาณ ๔๐ นาที มเี น้อื ทีท่ ้ังหมด ๘๕๐ ตร.ม. ตวั บ้านเป็นแบบอองโกล-นอรม์ องต์ มพี นื้ ท่ใี ช้สอย
๓๕๐ ตร.ม. จำนวน ๔ ชั้น ประกอบดว้ ย

- ชั้นใต้ดิน มี ๘ ห้อง ได้แก่ ห้องพักผู้ติดตาม ๒ ห้อง ห้องเก็บอาหารแห้ง ๑ ห้อง
ห้องทำงาน ๑ หอ้ ง (หอ้ งเก็บของ ๑ หอ้ ง และห้องเกบ็ ไวน์ ๑ หอ้ ง อยภู่ ายในห้องทำงาน) หอ้ งน้ำผู้ตดิ ตาม ๑ ห้อง
และห้องส้วม ผู้ติดตาม ๑ ห้อง นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่ใช้ซักล้างและอบผ้าแห้ง รวมทั้งเป็นที่ตั้งเครื่องทำความร้อน
ประจำบา้ นพักด้วย

- ช้นั ท่ี ๑ มี ๓ ห้อง ไดแ้ ก่ ห้องโถงใหญ่ ๑ ห้อง ซ่ึงใชเ้ ปน็ ห้องรบั รองแขก มุมพักผ่อน
และสว่ นวา โตะ๊ รับประทานอาหาร ห้องนำ้ /หอ้ งสว้ ม ๑ หอ้ ง และห้องครวั ๑ ห้อง

- ช้ันท่ี ๒ มี ๓ ห้องนอน (พร้อมห้องน้ำภายในหอ้ งนอนทกุ ห้อง)
- ชัน้ ที่ ๓ มี ๓ ห้องนอน (มหี อ้ งนำ้ /สว้ ม ภายในหอ้ งนอน ๑ ห้อง) หอ้ ง
เอนกประสงค์ ๑ หอ้ ง

-๗-

- ทร.ไดจ้ ัดซื้อเมอื่ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ (เป็นการจัดซอ้ื จากเจ้าของเดิมซ่งึ ปลกู สรา้ งตัง้ แตป่ ี
ค.ศ.๑๙๓๖) โดยวิธพี เิ ศษ ราคา ๑๙,๙๘๘,๘๘๐.- บาท (รวมที่ดิน) เน้อื ที่ ๘๕๐ ตรม. ลักษณะของอาคารเป็น
บ้านรูปทรง Anglo Normande จำนวน ๔ ชั้น (รวมช้ันใต้ดิน) จำนวนห้องนอน ๘ หอ้ งนอน ซง่ึ มีอายกุ ารใช้
งานบ้านพักฯ ตง้ั แตจ่ ัดซ้ือเปน็ เวลา ๒๘ ปี (อายกุ ารใช้งานตง้ั แตป่ ลูกสร้าง ๘๖ป)ี

ทผ่ี ่านมา ขว.ทร. ไดใ้ ห้การสนบั สนุนการซ่อมทำปรบั ปรงุ มาโดยตลอด แต่เนอ่ื งจากเป็นบ้านที่

มีอายุคอ่ นขา้ งมาก ทำให้สภาพบา้ นทั้งภายนอกและภายในมีการชำรดุ เสอ่ื มสภาพตามการใชง้ าน การเสนอ

ซอ่ มแซมทผ่ี า่ นมาเปน็ การซ่อมแซมตามความจำเป็น เพอื่ ใหบ้ า้ นพกั มคี วามม่นั คงปลอดภยั ต่อผูพ้ ักอาศัย มี

ความสง่างาม เหมาะสมกับการรับรองผบู้ งั คบั บญั ชาระดับสูงของ ทร. และแขกตา่ งประเทศ

๒.๓.๑.๓ การซอ่ มทำท่สี ำคญั งป.๖๓

ซ่อมทำวาลว์ ท่อน้ำบ้านพัก ผชท.ฯ กรณจี ำเปน็ เร่งดว่ น วงเงนิ ๓๖๐.๐๐ ยูโร

การซอ่ มทำหลังคาบ้านพกั วงเงิน ๑๗๒,๘๖๓.๗๑ ยูโร

จ้างซอ่ มทำหน้าตา่ งใตห้ ลงั คา วงเงิน ๑,๔๗๙.๗๑ ยูโร

รายการซอ่ มตามแผน งป.63 วงเงนิ ๓๐,๕๔๐.๐๐ ยูโร

- ติดตัง้ ประตู วงกบ และกุญแจใหม่ หอ้ งหมายเลข 1,2,3

- ติดตั้งลูกกรงเหลก็ กระจกบนั ไดช้ัน 3

- ติดตั้งลูกกรงเหล็กหน้าต่างห้องนอนชัน้ 3 ห้องหมายเลข 6

- ตดิ ตอ้ งลกู กรงเหล็กห้องเก็บของช้ัน 3

- ตดิ ตง้ั วอลล์เปเปอรใ์ หมท่ ่หี ้องนอนหมายเลข 1

- ติดตง้ั มลู่ ่ีไฟฟ้ากนั ขโมยใหมท่ ีห่ อ้ งนอนหมายเลข 3

- ตดิ ตง้ั ประตลู ูกกรงเหล็กทางเขา้ ชนั้ ใต้ดนิ

- ติดตั้งทอ่ นำ้ เขา้ เครอ่ื งทำนำ้ แข็งท่ไี ด้รบั การจัดหาใน งป.63

จา้ งตรวจสอบและตัดกระแสไฟฟา้ ระบบ วงเงิน ๒๕๓.๐๐ ยูโร

ปอ้ งกนั การโจรกรรมบ้านพกั ฯ

๒.๓.๑.๔ การซอ่ มทำท่สี ำคัญ งป.๖๔

ซ่อมแซมพื้นดาดฟ้าบรเิ วณระเบียงช้นั 2 วงเงนิ ๒,๘๕๓.๔๒ ยโู ร

ซอ่ มแซมพ้ืนดาดฟ้าบริเวณห้องโถงทางเดนิ เข้าบา้ น วงเงนิ ๒,๘๕๓.๔๒ ยโู ร

จ้างซอ่ มแซมมู่ล่ไี ฟฟ้ากนั ขโมยหอ้ งรบั ประทานอาหารช้ัน 1 วงเงิน ๓,๖๐๐.๐๐ ยโู ร

จา้ งซอ่ มแซมหนา้ ตา่ งห้องนอนหมายเลข 1 วงเงนิ ๕,๔๙๖.๐๐ ยูโร

จา้ งซอ่ มแซมหน้าต่างหอ้ งนอนหมายเลข 3 วงเงนิ ๔,๕๐๐.๐๐ ยูโร

ซอ่ มผนงั ตัวบ้านและทาสีภายนอกอาคารบ้านพกั ฯ วงเงนิ ๙,๙๙๖.๐๐ ยูโร

ซอ่ มผนงั และเพดานห้องซกั ผา้ ชัน้ ใตด้ ินบา้ นพกั ฯ วงเงนิ ๓,๖๐๐.๐๐ ยโู ร

๒.๓.๑.๕ การซ่อมทำท่สี ำคญั งป.๖๕

จา้ งเหมาบำรุงรกั ษาสวน บ้านพกั ฯ วงเงิน ๘,๐๐๐.๐๐ ยโู ร

-๘-

๒.๓.๑.๖ รายการเสนอความต้องการ งป.๖๖ วงเงนิ ๑๒,๐๐๐ ยูโร
ซอ่ มทำทอ่ ประปาบริเวณชัน้ ใต้ดนิ วงเงนิ ๗,๕๐๐ ยโู ร
ซอ่ มทำห้องสุขาและหอ้ งน้ำผูต้ ิดตาม วงเงนิ ๗,๙๐๐ ยโู ร
ซอ่ มทำพน้ื ไม้ปาเกพ้ รอ้ มลงนำ้ ยาเคลือบเงาไม้
หอ้ งรับแขก

บ้านพกั เสมยี นฯ ตัง้ อยู่ เลขท่ี 2/4 Rue Aubriet 92420 บา้ นพักมีลกั ษณะเป็นห้องชุดอยู่บน
ชั้นที่ ๑ ของอาคาร ๓ ชั้น มพี ื้นทใ่ี ช้สอย ๖๕ ตารางเมตร ประกอบด้วย ๒ ห้องนอน ๑ ห้องรับแขก ๑ หอ้ งครวั
๑ ห้องน้ำ และ ๑ ห้องสุขา พร้อม สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น เครื่องทำความร้อนภายใน ห้องเก็บของส่วนตัว
สถานที่จอดรถส่วนตัว ห่างจากบ้านพักของ ผชท.ทร.ไทย/ปารีส ประมาณ ๕๐๐ เมตร รวมทั้งอยู่ใกล้สถานรี ถไฟ
และรถประจำทาง ห้องพักมรี าคาคา่ เชา่ รวมภาษีและค่าสาธารณูปโภค เดอื นละ ๒,๒๒๕.๐๐ ยูโร

บ้านพกั เสมยี นฯ
๒.๓.๒ สถานภาพพาหนะประจำ สน.ฯ

- รถประจำตำแหน่ง ผชท.ทร.ไทย/ปารีส ตราอักษร Mercedes Benz รุ่น S 350d
Limousine Executive FL แบบ รถยนตน์ ง่ั ขนาดใหญ่ (Sedan) ขนาด ๕ ท่ีนง่ั สี ดำ หมายเลขทะเบียน 110 CD 238
จัดซ้ือ เมื่อ ๒๖ เม.ย.๖๒ โดยวิธีคดั เลอื ก ราคา ๗๕,๕๔๑.๖๗ ยโู ร หรอื ประมาณ ๒,๘๔๘,๐๑๑.๖๐ บาท สถานภาพใช้
ราชการไดด้ ี

- รถส่วนกลาง ขว.ทร./ปารีส เป็นรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก ๘ ที่นั่ง ตราอักษร
Mercedes benz รุ่น Viano Monospace 2.2 CDI Extralong Ambiente สีดำ ปริมาตรกระบอกสูบ ๒,๒๐๐
ซีซี หมายเลขเครื่องยนต์ WDF63981513847592 หมายเลขตัวถัง WDF63981513847592 หมายเลขทะเบียน
110 CD 225 ได้มาโดยการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ในราคา ๔๙,๙๑๕ ยูโร รับไว้ใชร้ าชการ เมื่อ ๖ ธ.ค.๕๖ และใช้
ราชการได้ดี

รถประจำตำแหนง่ ผชท.ทร.ไทย/ปารสี รถส่วนกลาง ขว.ทร./ปารีส

-๙-

๒.๓.๓ สถานภาพครุภณั ฑป์ ระจำ สน.ฯ

- การจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จำนวนและสภาพของครุภัณฑ์

มคี วามเหมาะสมในการปฏบิ ตั ริ าชการ

๒.๓.๔ ปัญหา อปุ สรรค ขอ้ ขดั ข้อง และข้อเสนอแนะ

- ไม่มี

๒.๔ ด้านการงบประมาณ การเงินและการบญั ชี

๒.๔.๑ การปฏบิ ตั ิตามระเบียบเร่ืองการเงนิ งป. และการเงนิ

- ถูกต้องและเป ็นไปด้ วยความเร ียบร ้ อย ทั้งน้ี อยู่ในความร ั บผิ ดชอ บของ

ผชท.ทหารไทย/ปารสี

๒.๔.๒ สถานภาพงบประมาณของ สน.ฯ

- ทร. จัดสง่ งป.ทัง้ หมด ผา่ นทาง สน.ผชท.ทร.ไทย/ปารสี ยกเวน้ คา่ ใช้สอยประจำ สน.ฯ

๒.๔.๓ การจดั ทำบัญชี

- เรยี บร้อย ถกู ตอ้ ง และครบถ้วนตามระเบียบท่กี ำหนด โดย สน.ฯ ได้จดั ทำรายงานสถานภาพ

การเงนิ ประจำเดือนของบญั ชีธนาคาร BNP PARIBAS ชอื่ บัญชี BUREAU DE L ATTACHE NAVAL หมายเลขบญั ชี

00010183906 และนำส่งให้ ขว.ทร., กงต.กง.ทร. และ สตน.ทร. ทราบเรยี บรอ้ ยแล้ว

สถานภาพการเงนิ บัญชี BUREAU DE L’ATTACHE NAVAL ธนาคาร BNP PARIBAS สาขา

Kleber หมายเลขบัญชี 00010183906 ประเภท เงนิ ฝากธนาคาร ณ วนั ท่ี ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕

มยี อดเงนิ คงเหลือ ยูโร

๒.๔.๔ ปัญหา อปุ สรรค ขอ้ ขัดข้อง

- ปจั จบุ ันค่าครองชพี ในกรุงปารีสค่อนข้างสงู ทำใหค้ า่ ใชส้ อยที่ได้รบั อยใู่ นสภาวะค่อนข้างจำกัด

โดยมรี ายจ่ายตา่ งๆ คอ่ ยขา้ งมาก

- ยอดค่าใช้จา่ ย งป.ปฏิบัตกิ าร ถกู ตัดออกไป

- คา่ จ้างเหมาทำสวน ๘,๐๐๐ ยูโร

- ค่าซ่อมบำรงุ เครือ่ งทำความร้อน ๒,๐๐๐ ยโู ร

- ค่าจดั ทำบญั ชีลูกจ้างประจำ สน.ฯ ๖๐ ยโู ร

- คา่ เครอื่ งแตง่ กายพนักงานขับรถยนต์ ๗,๕๐๐ บาท

- คา่ ดแู ลบญั ชธี นาคารของ สน.ฯ ๓๐ ยโู ร

- ยอดค่าสาธารณปู โภค เบิกจา่ ยตามหลกั เกณฑ์ กค.ปี ๒๕๖๑

- ค่าไฟฟา้ (ไมเ่ กินปลี ะ ๑๓,๘๓๐ หนว่ ย)

- ค่าแก๊ส (ไม่เกนิ ปลี ะ ๔๕,๙๐๐ หนว่ ย)

- ค่าน้ำประปา (ไมเ่ กินปลี ะ ๕๕๐ หน่วย)

- ๑๐ -

๒.๕ ด้านพลาธิการ

๒.๕.๑ การควบคมุ และจัดทำบญั ชีพัสดุประจำ สน.ฯ
- มีการควบคมุ และจัดทำบญั ชพี สั ดปุ ระจำ สน.ฯ อย่างเรยี บรอ้ ย ถกู ตอ้ ง และครบถ้วน

๒.๕.๒ การตรวจสอบพสั ดปุ ระจำปี

- มีการตรวจสอบพัสดุ และรายงานผลการตรวจสอบฯ เสนอ ทร. เป็นประจำทุกปีจากการ

ตรวจสอบฯ ในปที ผ่ี ่านมา ผลปรากฏว่า ถูกตอ้ ง สภาพเรยี บรอ้ ย และใชร้ าชการได้ดี

๒.๕.๓ การจดั ซื้อ/จดั จ้าง

สน.ฯ ได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ระเบยี บ กห. วา่ ดว้ ยการจัดซื้อจดั จ้างและการบริหารพัสดุ

ของส่วนราชการในต่างประเทศ พ.ศ.๒๕๖๔ ตลอดจนระเบียบต่างๆ ของทางราชการที่เกี่ยวข้องทุกประการ

โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ สน.ฯ ไดจ้ ัดซ้ือครุภัณฑป์ ระจำสำนักงาน ดังนี้

๑. รายการจดั ซื้อครภุ ัณฑป์ ระจำสำนกั งาน งป.๖๔ จำนวน ๑๘ รายการ วงเงินรวม ๖๘๘,๘๒๓.๒๕ บาท

๑.๑ ชุดรบั แขกแบบหลยุ สข์ นาดใหญ่ จำนวน ๑ ชดุ วงเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท

๑.๒ พรมปพู น้ื จำนวน ๑ ผืน วงเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท

๑.๓ ตู้เยน็ ประจำ สน.ฯ จำนวน ๑ เคร่อื ง วงเงนิ ๒๙,๙๖๐ บาท

๑.๔ หม้อหงุ ขา้ วไฟฟา้ ขนาด ๘ ลติ ร จำนวน ๑ ใบ วงเงนิ ๗,๕๘๕ บาท

๑.๕ ผ้าปูทนี่ อนแบบมียาง ๔ มุม (๙๐x๑๙๐ ซ.ม.) จำนวน ๔ ผืน วงเงิน ๗,๕๒๐ บาท

๑.๖ ผา้ ปทู ่ีนอนแบบมยี าง ๔ มุม (๑๒๐x๑๙๐ ซ.ม.) จำนวน ๒ ผนื วงเงิน ๔,๐๐๐ บาท

๑.๗ ผ้าปูท่ีนอนแบบมยี าง ๔ มุม (๑๔๐x๑๙๐ ซ.ม.) จำนวน ๑๐ ผนื วงเงิน ๒๐,๘๘๘ บาท

๑.๘ ผา้ ปูทน่ี อนแบบมยี าง ๔ มุม (๑๘๐x๒๐๐ ซ.ม.) จำนวน ๒ ผนื วงเงนิ ๕,๓๖๐ บาท

๑.๙ ผ้าคลุมที่นอน ขนาด ๑๔๐x๒๐๐ ซ.ม. จำนวน ๔ ผืน วงเงิน ๘,๗๐๔ บาท

๑.๑๐ ผา้ คลมุ ที่นอน ขนาด ๑๘๐x๒๕๐ ซ.ม. จำนวน ๑๒ ผืน วงเงิน ๔๗,๕๒๐ บาท

๑.๑๑ ผ้าคลุมท่ีนอน ขนาด ๒๓๐x๒๕๐ ซ.ม. จำนวน ๒ ผืน วงเงิน ๑๑,๔๙๒ บาท

๑.๑๒ เครอ่ื งป้ิงขนมปงั จำนวน ๑ เครือ่ ง วงเงิน ๗,๙๖๐ บาท

๑.๑๓ หมอ้ ตนุ๋ อาหาร จำนวน ๑ ใบ วงเงนิ ๑๓,๘๐๐ บาท

๑.๑๔ โคมไฟตัง้ โตะ๊ ทำงาน จำนวน ๑ อัน วงเงนิ ๓,๖๓๔ บาท

๑.๑๕ ชุดเครอ่ื งมือชา่ ง จำนวน ๑ ชดุ วงเงิน ๒๑,๖๓๖ บาท

๑.๑๖ โทรศัพท์ประจำ สน.ฯ วงเงนิ ๔,๔๐๕ บาท

๑.๑๗ เคร่ืองคอมพิวเตอร์ Note Book วงเงิน ๖๐,๐๐๐ บาท

๑.๑๘ กลอ้ งถา่ ยภาพและอปุ กรณ์ จำนวน ๑ ชดุ วงเงิน ๕๕,๙๒๐ บาท

๒. รายการจัดซือ้ ครภุ ัณฑป์ ระจำปี งป.๖๕ จำนวน ๑๐ รายการ วงเงนิ ๙๒๗,๓๖๔.๙๗ บาท

๒.๑ จดั ซื้อเครื่องชงกาแฟ ประจำ สน.ฯ จำนวน ๑ เครอ่ื ง วงเงิน ๑๔,๐๒๓.๓๗ บาท

๒.๒ จัดซ้ือเครอ่ื งดูดฝุน่ ประจำ สน.ฯ จำนวน ๑ เครือ่ ง วงเงิน ๑๔,๐๒๓.๓๗ บาท

๒.๓ จัดซอื้ เครื่องดดู ฝุ่นประจำบ้านพกั ผชท.ทร. จำนวน ๑ เครอื่ ง วงเงิน ๑๕,๖๙๕.๕๓ บาท

๒.๔ จัดซื้อลู่วง่ิ อยู่กบั ทีข่ นาด ๕.๕ แรงมา้ จำนวน ๑ เคร่อื ง วงเงิน ๕๙,๖๖๕.๘๑ บาท

- ๑๑ -

๒.๕ จัดซื้อช้ันวางของห้องใต้ดนิ ขนาดไม่นอ้ ยกว่า วงเงิน ๓๕,๘๗๕.๔๙ บาท

๔๐x๖๐x๑๔๐ ซม. จำนวน ๗ ชน้ั

๒.๖ จัดซื้อเครือ่ งรบั โทรทัศนส์ ี ขนาดไมน่ อ้ ยกว่า ๒๕ นิ้ว วงเงนิ ๔๒,๑๐๘.๑๐ บาท

ประจำบ้านพกั ผชท.ทร. จำนวน ๑ เคร่อื ง

๒.๗ จัดซอ้ื เคร่ืองพิมพ์มัลตฟิ งั ก์ชันแบบฉีดหมกึ วงเงิน ๑๒,๙๕๙.๒๖ บาท

๒.๘ จดั ซอ้ื คอมพวิ เตอร์สำหรับงานประมวลผล พรอ้ มอุปกรณ์ วงเงิน ๘๐,๖๔๓.๘๕ บาท

และชดุ โปรแกรม จำนวน ๑ เคร่ือง

๒.๙ จัดซ้อื ระบบรักษาความปลอดภยั บา้ นพัก ผชท.ทร. วงเงนิ ๗๐,๑๘๕.๒๓ บาท

จำนวน ๑ ระบบ

๒.๑๐ จดั ซ้ือเคร่อื งปรบั อากาศหอ้ งนอนแขก ขนาดไมน่ อ้ ยกว่า วงเงนิ ๕๘๒,๑๘๔.๙๗ บาท

20,000 BTU จำนวน ๓ เครือ่ ง จำนวน ๓ เครื่อง

โดย สน.ฯ ได้ดำเนนิ การขออนมุ ัติข้นึ บญั ชีและกำหนดหมายเลขทะเบยี นครภุ ัณฑ์ เรียบร้อยแล้ว

- สน.ฯ ได้รับความร่วมมือจาก สอท. และ สน.ผชท.ทบ. ในการสนับสนุนกำลังพล
เข้ารว่ มเป็นคณะกรรมการซื้อและคณะกรรมการตรวจรบั พัสดเุ ป็นอย่างดี

๒.๕.๔ ปัญหา อุปสรรค ขอ้ ขดั ข้อง และขอ้ เสนอแนะ
- ไม่มี

๒.๖ การปฏบิ ตั ภิ ารกิจสำคัญและการปฏบิ ตั ติ ามภารกิจพเิ ศษทไี่ ดร้ ับมอบหมายจาก ทร.
๒.๖.๑ การปฏบิ ัตภิ ารกิจทีส่ ำคญั
- ภารกจิ ถวายความปลอดภยั และถวายพระเกยี รติ พระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จ ณ กรุงปารีส
- การสังเกตการณ์และประสานงานด้านกิจการทหารกับเจ้าหน้าที่ของ ทร.ฝรั่งเศส

และ บก.ทหารสูงสุดฝร่ังเศส
- การควบคุม ดูแล และช่วยเหลือบุคคลสังกัด ทร. ที่เดินทางมาศึกษาหรือดูกิจการ

ณ สาธารณรฐั ฝรัง่ เศส ให้เป็นไปตามนโยบายของ ทร. หรือที่ กห. กำหนด
- การสง่ เสริมความสัมพันธร์ ะหว่าง กองทพั ไทย กบั กองทัพสาธารณรฐั ฝร่ังเศส
- การเช่อื มความสัมพันธก์ ับ ผชท.ทหารของประเทศอ่ืนๆ ทีป่ ระจำอยู่ ณ สาธารณรฐั ฝร่งั เศส
- การรายงานข่าวสาร
- การรบั รองและอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคล หรือคณะบุคคลที่เข้ามายังสาธารณรัฐฝรงั่ เศส
- การดูแล สน.ฯ ท่พี กั อาศัย ผชท.ทร.ฯ และครภุ ณั ฑ์ประจำ สน.ฯ
- การดแู ลรถประจำตำแหนง่ ผชท.ทร.ฯ และรถส่วนกลาง ขว.ทร./ปารีส
- ผลการปฏิบตั เิ ป็นไปด้วยความเรยี บรอ้ ย
- ขว.ทร. ไดก้ รณุ ามอบหมาย หขส. ให้ สน.ฯ ติดตามและรายงาน เมอ่ื มีข้อมูลเกี่ยวกับ

สถานการณ์ทางทะเล สถานการณ์การก่อการร้าย (เน้นทางทะเล) และอาชญากรรมข้ามชาติ (เน้นทางทะเล)
และกลุ่มชมุ ชนชาวไทยผูเ้ ห็นตา่ งทางการเมืองในฝรั่งเศส

- ๑๒ -

๒.๖.๒ กิจกรรมทางการทตู ฝา่ ยทหารทส่ี ำคญั
- งานพิธ/ี งานเล้ยี งที่จัดโดยทางการฝรง่ั เศส
- การเยยี่ มชมกจิ การหน่วยของ ทร.ฝรง่ั เศส
- การสาธติ การปฏบิ ตั ิการทางเรือ
- การบรรยายสรปุ ภารกิจของ ทร.ฝรั่งเศส
- กจิ กรรมของสมาคมทตู ทหาร (CAMNA)
- นทิ รรศการยุโธปกรณท์ างเรือ Euronaval
- นทิ รรศการยุทโธปกรณ์ทางบก (Eurosatory) และทางอากาศ (Paris Airshow) Eurosatory
- งานวนั ชาติ/กองทพั ของต่างประเทศ
- งานดินเนอรท์ ี่ ผชท.ต่างประเทศเชิญเป็นการส่วนตัว
- กิจกรรมท่ีทาง สอท. หน่วยงานไทย และชมุ ชนคนไทยจัด

๒.๖.๓ ปัญหา อปุ สรรค ข้อขดั ขอ้ ง และขอ้ เสนอแนะ
- ไมม่ ี

ผนวก ก
ความสัมพันธร์ ะหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรฐั ฝรงั่ เศส

ดา้ นการทูต
ในด้านความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ฝรั่งเศสและไทยมีความสัมพันธ์มาช้านานกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว

โดยเมอ่ื ปี พ.ศ.๒๒๐๕ สมยั พระเจ้าหลุยส์ท่ี ๑๔ คณะทตู สนั ตะปาปา ซึง่ มีชาวฝรั่งเศสร่วมคณะอยู่ด้วย ได้มาเจริญ
สัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสามปีหลังจากน้ัน
ราชอาณาจักรฝรั่งเศสก็ได้ส่งคณะราชทูตมาประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชเป็นไปอย่างแนบแน่น และเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๒๒๙ คณะราชทูตไทยก็ไปถึง
เมืองเบรสต์ ซึ่งยังมีชื่อถนนสายสำคัญชื่อ “สยาม” ปรากฏอยู่ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้สิ้นสุดลง
พร้อมกับการจากไปของฝรั่งเศส และหลังจากเวลาได้ผ่านไปถึง ๒๐๐ ปี ฝรั่งเศสจึงได้กลับมายังประเทศไทยอีกครงั้
คราวนี้มิใชเ่ พื่อเปลี่ยนความคิดของคนไทยให้ไปนบั ถือศาสนาคริสต์ แต่กลับเข้ามาเพื่อล่าอาณานิคม ความสัมพันธ์
ทางการทตู ยุคใหม่ระหว่างไทยกบั ฝรั่งเศสจงึ ได้เริม่ ขน้ึ ใหม่ในสมัยนี้ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง
ไทยกับฝร่ังเศสอย่างเป็นทางการนั้น อาจถือเอาวันที่มีการลงนามใน Treaty of Friendship, Commerce and
Navigation ซง่ึ ตรงกับวันท่ี ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐๙ เปน็ สำคญั และในปี พ.ศ.๒๔๒๖ จึงได้มกี ารแต่งตั้งพระองค์เจ้า
ปฤษฎา ฯ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเป็นพระองค์แรก โดยประเทศไทยได้จัดตั้งสำนักงานอคั ร
ราชทตู ประจำกรุงปารสี ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ และไดย้ กฐานะขน้ึ เปน็ สถานเอกอคั รราชทตู ในปี พ.ศ.๒๔๙๒

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในด้านต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาที่เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือน ทั้งในระดับ
พระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้
แต่งตั้ง นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสได้แต่งตั้งให้
นาย Jacques Lapouge เป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (เข้ารับตำแหน่งเมื่อ พ.ศ.
๒๕๖๑ - ปัจจุบัน) นอกจากนี้ ฝ่ายไทยมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองลียง และเมืองมาร์แซย์ ส่วนฝรั่งเศส
ได้เปิดสถานกงสุลกติ ตมิ ศักดิ์ ณ จงั หวดั เชยี งใหม่ ภูเก็ต สรุ าษฎรธ์ านี (เกาะสมยุ ) และเชียงราย

ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - ฝรั่งเศสครบรอบ ๑๖๐ ปี เมื่อปี ๒๕๕๙ จึงได้มีการจัดงานฉลอง
ความสัมพันธ์ในช่วงปี ๒๕๖๐ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้จัดสัมมนาเรื่อง“ความสัมพันธ์ ๑๖๐ ปี

ไทย-ฝรั่งเศส” ณ สถาบันภาษาและอารยธรรมตะวันออก (Institut National des Langues et Civilisations-
INALCO) กรงุ ปารสี เมื่อวนั ท่ี ๑ มีนาคม ๒๕๖๐ โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจา้ สริ ิวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จเป็น

ประธาน ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยมีการจัดกิจกรรม เพื่อฉลองการครบรอบ
ความสัมพนั ธด์ งั กลา่ วเช่นกนั
ดา้ นการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสดำเนินไปอย่างราบรื่นและไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคระหว่างกัน
ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศได้ยกระดับความสัมพนั ธเ์ ป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์” โดยมีแผนปฏิบัติการร่วม ไทย-

ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action) ฉบับที่ ๑ (ปี ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑) และฉบับที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๗) เป็นกลไก
สำคญั ทผ่ี ่านมา ทง้ั สองฝ่ายมกี ารแลกเปล่ียนเยอื นในระดับตา่ งๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดบั พระราชวงศ์ ภาครัฐ
และเอกชน ในระดับผู้นำประเทศโดยล่าสุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนฝรั่งเศส

อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ ซึ่งถือเป็นการเยือนฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรีไทย
เป็นครั้งแรกในรอบ ๖ ปี ขณะที่ นายฌอง-มาร์ค เอโรต์ (Jean-Marc Ayrault) นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสได้เดินทาง

เยอื นไทยอย่างเป็นทางการ เม่อื วันท่ี ๔ - ๕ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๖ เพอื่ สานตอ่ ผลการเยอื นฝร่ังเศสของนายกรัฐมนตรี
และกระชับความสัมพันธร์ ะหว่างสองประเทศใหแ้ นน่ แฟน้ ยิ่งขนึ้
ดา้ นการทหาร

ไทยและฝรั่งเศสมีความร่วมมือด้านการทหารอย่างใกล้ชิดผ่านกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ อาทิ
ความร่วมมือด้านการฝึกการปฏิบัติการรว่ มทางเรอื การแลกเปลี่ยนการเยือนของนายทหารในระดับผูน้ ำเหล่าทัพ

และผู้บงั คบั บัญชาระดับสูง ตลอดจนการศกึ ษาดงู านด้านต่าง ๆ ของนายทหารสัญญาบตั ร การส่งนกั เรยี นนายร้อย
ไปศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อย Saint-Cyr (École Spéciale Militaire de Saint-Cyr) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ
๑๐ นาย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยไดจ้ ัดซอ้ื ยุทโธปกรณ์ หลายชนดิ จากฝรงั่ เศส โดยสามารถสรุปความรว่ มมือทส่ี ำคัญ ดงั นี้

๑. การแลกเปลีย่ นผชู้ ่วยทตู ทหารระหวา่ งกนั
กองทัพไทยและกองทัพฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันยาวนาน ไทยเคยส่งกำลังทหารเข้าร่วมกับ ตลอดจน

ดำเนินความร่วมมือในด้าน ต่าง ๆ ระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น จนมีการแลกเปลี่ยน ผชท.ทหาร ระหว่างกัน ตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๔๙๑ จนถึงปจั จบุ นั

๒. ความร่วมมือทางทหาร

๒.๑ การประชมุ ฝา่ ยอำนวยการร่วม (Staff Talk)
กองทัพไทย-ฝรั่งเศส ได้จัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างฝ่ายอำนวยการของกองบัญชาการ

ทหารสูงสุดและเหล่าทัพของกองทัพไทย-ฝรั่งเศส เพื่อประสานงานและขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ มีการกำหนด
กรอบความร่วมมือต่าง ๆ อาทิเช่น การแลกเปลี่ยนทักษะความรู้ กำลังพลผู้ใช้ปืนใหญ่สนามซีซาร์ การร่วม
สังเกตการณ์การฝึก หลักสูตรตอ่ ตา้ นวัตถุระเบิด การแลกเปลี่ยนทักษะความรู้การปฏิบตั ิการรักษาสนั ติภาพ ฯลฯ

โดยฝา่ ยไทยมหี วั หน้าคณะจากกรมขา่ วทหารโดยมีผแู้ ทนแตล่ ะเหล่าทพั รว่ มคณะ

๒.๒ ความรว่ มมือด้านการสง่ กำลงั บำรุง

กองทัพไทยและกองทัพฝรั่งเศส ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลัง
บำรุงทางทหารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส Agreement on Military

Logistics Cooperation Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government
of the French Republic) เมื่อ ๒๖ เม.ย.๒๐๐๐ หลังจากที่ลงความตกลงดังกล่าวแล้ว ได้มีการจัดการประชุม

รว่ มกนั ทกุ ปี โดยมคี ณะกรรมการร่วม ซ่ึงประธานร่วมฝ่ายกองทพั ไทย คือ จก.กบ.ทหาร/ประธานคณะกรรมการส่ง
กำลังบำรุงร่วม สำหรับฝ่ายกองทัพไทย และผู้อำนวยการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสำนักงานจัดหา
ยุทโธปกรณ์ สำหรับฝ่ายกองทัพ ฝศ. และเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมจาก กห.ทั้งสองฝ่าย ประชุมร่วมกันทุกปี

โดยสลบั กนั เปน็ เจ้าภาพจัดการประชุมเพอ่ื เสรมิ สร้างความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและเพมิ่ ความสัมพันธ์และ
ความร่วมมอื ระหวา่ งหนว่ ยงานส่งกำลังบำรุงของกองทพั ไทยและกองทัพ ฝศ.

๒.๓ ความรว่ มมอื ดา้ นการศกึ ษา
๒.๓.๑ กองทัพ ฝศ. ไดใ้ หท้ ่ีน่ังการศึกษากับกองทัพไทยเป็นประจำทกุ ปี คอื
๑) นทน. ๑ นาย สำหรบั หลักสตู รเสนาธิการรว่ ม โดยกองทัพไทยจะจัดหมนุ เวียนกนั ปีละ

๑ เหลา่ ทพั ใช้เวลาศึกษาประมาณ ๑๘ เดือน โดยเมื่อปีการศึกษา ๒๐๑๗-๒๐๑๘ น.ท.สริ ภมู ิ กระต่ายทอง ได้ผ่าน
การคดั เลอื กเข้าศกึ ษาทว่ี ิทยาลัยการทัพฝรั่งเศส

๒) นนร. ๑ นาย เข้าศึกษา รร.นายร้อยแซงซีร์ หลักสูตรปริญญาโท ใช้เวลาการศึกษา
ประมาณ ๖ ปี

๓) อาจารย์ภาษา, นนร., นตท. เรยี นภาษา ฝศ. และ ดูงาน ณ ประเทศ ฝศ.

๔) การประชุมสัมมนาที่กองทัพ ฝศ. จัดขึ้นและเชิญผู้แทนกองทัพไทยเข้าร่วมโดยออก
ค่าใช้จ่ายตา่ ง ๆ ให้

๕) นนร.และอาจารย์ ดงู าน รร.นายร้อยแซงซรี ์ ประมาณ ๑ สปั ดาห์
๒.๓.๒ กองทัพไทยสนับสนุนนักเรยี น ทุน กห.ฝศ

๑) นนร.แซงซีร์ ศกึ ษาและทำหัวข้อวิทยานพิ นธ์ ณ รร.จปร. จำนวน ๑ นาย ทกุ ปี ระยะเวลา

ประมาณ ๓ เดอื น
๓. ความรว่ มมือระหวา่ ง ทร. กบั ทร.ฝศ.

นอกเหนือจากการแวะพักเยือนของเรือรบ ทร.ฝศ.อยู่เป็นประจำที่ประเทศไ ทยแ ล้ว
ทร.ฝศ. ยังไดใ้ นความรว่ มมือในการตอบรับการขอดูงานของหน่วยงานของทร.ไทยทุกครง้ั ที่โอกาสเอ้ืออำนวย เช่น
วทิ ยาลยั การทัพเรือ การเรยี นเชญิ ผบ.ทร. และหนว่ ยงานท่ีเกยี่ วข้องเข้าร่วมชมนิทรรศการยุทโธปกรณ์ทางเรือ เป็นต้น

นอกจากนี้ บก.ทร.ฝศ.ยังได้มีการเชิญ ผชท.ทร. เข้าร่วมในการรับฟังบรรยายสรุปกิจกรรมของ ทร.ฝศ. การทัศนศึกษา
ของ ผชท.ทร.เป็นตน้

ในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีฝรัง่ เศส เมอื่ วนั ท่ี ๕ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๖ นายกรัฐมนตรีทั้งสอง
ฝ่ายได้ร่วมลงนามในความตกลงวา่ ดว้ ยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งจะเป็นกรอบความรว่ มมือทางด้าน
การทหาร ความม่นั คง การสง่ กำลังบำรุงและยุทโธปกรณด์ า้ นการป้องกันประเทศของทัง้ สองประเทศในอนาคต

ด้านการค้า การลงทุน

ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ ๔ ของไทยในสหภาพยุโรป (รองจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร และ
เนเธอร์แลนด์) ในปี ๒๕๕๗ มีมูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน ๔,๐๗๗.๙๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี ๒๕๕๖

ร้อยละ ๒๙.๙๘ โดยไทยเสียดุลการค้า ๗๘๖.๓๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพของไทย ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ยาง เคร่ืองคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เลนส์แว่นตา เครื่องปรับอากาศ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี

และเครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา อุปกรณ์เคร่ืองใชไ้ ฟฟ้า และข้าว โดยไทยนำเข้า เครื่องบนิ
(แอรบ์ สั ) เครื่องจักรกล ผลิตภณั ฑเ์ วชกรรม เคมีภัณฑ์ เคร่ืองจกั รไฟฟา้ เคร่อื งดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลม และสุรา

ฝรัง่ เศสลงทุนในไทยมากเปน็ ลำดับท่ี ๓ ของสหภาพยโุ รป (รองจากเนเธอแลนดแ์ ละเยอรมนี) โดยปัจจุบัน

มีบริษัทของฝรั่งเศสลงทุนในไทยประมาณ ๓๕๐ บริษัท อาทิ กลุ่มบริษัท Michelin, Valeo, Saint Gobain
และในปี ๒๕๕๗ มีโครงการของฝรัง่ เศสท่ีได้รบั การอนมุ ตั ิสง่ เสรมิ การลงทนุ ในไทย จำนวน ๑๒ โครงการ มลู ค่ารวม

ประมาณ ๑๘๒ พันล้านบาท นอกจากนี้ ภาคเอกชนฝรั่งเศสยังมีความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการลงทุน
ดา้ นโครงสร้างพน้ื ฐาน โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลไทยดว้ ย

ในส่วนการลงทนุ ของไทยในฝรงั่ เศสนน้ั เม่ือปี ๒๕๕๓ บริษทั Thai Union Frozen Products PCL ได้ซื้อ

กิจการอาหารทะเลกระป๋องของบรษิ ัท MW Brands ของฝรัง่ เศส ดว้ ยเงินลงทุนประมาณ ๙๐๐ ลา้ นดอลลาร์สหรัฐ
เมอ่ื เดือนธันวาคม ๒๕๕๔ กลุม่ บรษิ ทั PTT Global Chemical ไดซ้ อื้ ห้นุ ในอตั รารอ้ ยละ ๕๑ จากบรษิ ทั Perstorp

Holding France SAS ซึ่งเปน็ บรษิ ัทผผู้ ลติ และเจ้าของเทคโนโลยใี นสายการผลิตพลาสติกที่มีบทบาทสำคญั ในยุโรป
และเอเชีย โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ ๑๕๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อปี ๒๕๕๕ บริษัทกระดาษด๊ับเบิ้ล เอ
(Double A) ได้ซื้อกิจการโรงเยื่อและโรงกระดาษอลิเซ่ (Alizay) ของฝรั่งเศส ด้วยเงินลงทุนประมาณ ๒๙ ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ
ดา้ นการท่องเทยี่ ว

เม่ือวันท่ี ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ไทยและฝรัง่ เศสไดล้ งนามในบันทึกความเขา้ ใจ (MOU) วา่ ด้วยความร่วมมอื
ด้านการท่องเที่ยว โดยสองฝ่ายจะร่วมมือกันในด้านการพัฒนาบุคลากรในอตุ สาหกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนา
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยวทางเรือ และการพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยว ในปี ๒๕๖๑

มนี ักทอ่ งเทยี่ วฝรง่ั เศสมาไทยจำนวน ๗๔๙,๖๔๓ คน ขยายตวั เพ่ิมขนึ้ รอ้ ยละ ๑.๒๘ จากปี ๒๕๖๐
ด้านความรว่ มมอื ทางวิชาการ

รัฐบาลฝรั่งเศสได้เริ่มให้ทุนในรูปแบบต่างๆ แก่ฝ่ายไทยมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ ในระดับปริญญาโทและเอก
รวมถึงทุนฝึกอบรมระยะสัน้ และทนุ ดูงานตามคำขอของหน่วยงานต่างๆ โดยสำนักงานความร่วมมอื เพ่อื การพัฒนา
ระหว่างประเทศ (สพร.) และสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยจะจัดการประชุมประจำปี

เพอื่ พิจารณาคำขอของหน่วยงานตา่ งๆ ภายใต้กรอบ
๑) โครงการความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา (Bureau de Coopération pour le

Français – BCF) เน้นทางด้านการเรยี น/ การสอนภาษาวัฒนธรรมฝรั่งเศส และการทอ่ งเท่ยี ว
๒) โครงการความรว่ มมอื ทางวิทยาศาสตร์และวชิ าการไทย-ฝรั่งเศส (Thai-French Scientific and

Technical Cooperation Program – STC) เน้นสาขาสังคมศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสตร์

และผงั เมอื ง วศิ วกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์และเภสชั ศาสตร์

นอกจากน้ี รัฐบาลฝรั่งเศสยังได้มอบทุนฝึกอบรมประจำปีแกค่ รูไทยที่สอนภาษาฝร่ังเศสและนักเรยี นไทย

ทเ่ี รยี นภาษาฝรัง่ เศส และจดั สง่ ผเู้ ชย่ี วชาญมาฝกึ อบรมใหแ้ ก่ศึกษานิเทศกแ์ ละครูสอนภาษาฝรง่ั เศสในประเทศไทย
เป็นประจำทุกปี รวมทั้งให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมทางวิชาการและการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน

แกก่ ระทรวงศึกษาธกิ ารดว้ ย
ปจั จบุ ันรฐั บาลไทยและรัฐบาลฝร่งั เศสมคี วามตกลงที่เกี่ยวกบั การศกึ ษา ๓ ฉบบั ไดแ้ ก่ ความตกลงว่าด้วย

ความร่วมมอื ทางการศกึ ษาและการวิจัย (๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕) หนงั สือแสดงเจตจำนงด้านการศกึ ษาในการจัดส่ง
อาสาสมัครครูจากฝรั่งเศสมาช่วยสอนภาษาฝรั่งเศสในโรงเรยี นมัธยมของไทย (๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖) และหนังสอื
แสดงเจตจำนงวา่ ด้วยการให้ทุนด้านการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อบรรจุเข้ารบั ราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน (๑๕ ตลุ าคม ๒๕๕๖)
ดา้ นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสให้การฝึกอบรมบุคลากรของไทยในด้านเทคโนโลยี
ช้นั สูง อาทิ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยพี ลังงานนิวเคลียร์ ความปลอดภัยของอาหารและการใชพ้ ลังงานนิวเคลียร์
เพื่อสันติ นอกจากนี้ สองฝ่ายยังมีความร่วมมือในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ โดยได้มีการลงนามในสัญญาระหว่าง

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยอี วกาศและภูมิสนเทศ (Geo-Informatics and Space Technology Development
Agency-GISTDA) กับบริษัท EADS-ASTRIUM ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ สำหรับความร่วมมือ

ในโครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Thailand Earth Observation Satellite – THEOS) ซึ่งการจัดซ้ือ
ดาวเทียมดังกล่าวกระทำในลักษณะการค้าต่างตอบแทน (barter trade) มีมูลค่ากว่า ๖ พันล้านบาท ทั้งน้ี
ดาวเทียม THEOS ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อภาษาไทย ตั้งแต่

วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ ว่า “ดาวเทียมไทยโชต” เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย และจะช่วย
เสริมศักยภาพใหก้ ับประเทศไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะการจดั การด้านระบบเตอื นภัยพิบัติ การแก้ไขปัญหาการ

ปลูกพืชเสพติด และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้มี การส่งดาวเทียม THEOS ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันท่ี
๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ (มีอายใุ ช้งาน ๗ ป)ี
ดา้ นวฒั นธรรม

ภายใต้แผนปฏิบัตกิ ารร่วมไทย-ฝรงั่ เศส สองฝ่ายตกลงทีจ่ ะมีการแลกเปลย่ี นการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ระหว่างกัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและความใกล้ชิดระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยฝ่าย

ฝรั่งเศสได้รเิ รมิ่ จัดงานเทศกาลวฒั นธรรมฝรงั่ เศส-ไทย (La Fête) ขึน้ เป็นครัง้ แรก เมื่อปี ๒๕๔๗ และได้จัดต่อเนื่อง
มาเปน็ ประจำทกุ ปีจนถงึ ปี ๒๕๕๘ (รวม ๑๑ ครัง้ )

นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ยังได้จัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง

อาทิ การจัดนิทรรศการศิลปะสมัยทวาราวดีที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติด้านศิลปะเอเชียกีเม่ (Musée Guimet)
ที่กรุงปารีส ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฯ

เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ การจัดงาน “วันประเทศไทย” ในเมืองสำคัญต่างๆ ของฝรั่งเศส การจัดงานสุด
สัปดาห์ไทยระหว่าง วันที่ ๒๑ – ๒๒ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ร่วมกับพระราชวงั
Fontainebleau และการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพของสมเด็จพระศรีสวรนิ ทริ าบรมราช

เทวี พระพันวัสสาอยั ยิกาเจา้ ณ สำนกั งานใหญข่ อง UNESCO กรงุ ปารีส ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ซ่ึงสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสดจ็ ฯ เป็นประธานในพิธเี ปิดงาน

ด้านความรว่ มมือไตรภาคี

ไทยและฝรั่งเศสมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค
โดยเฉพาะอนภุ ูมภิ าคลุ่มนำ้ โขง ซึ่งได้ระบใุ นแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝร่ังเศส ฉบับที่ ๑ และฉบับที่ ๒ ในระหว่าง

การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
ได้มีการลงนามความตกลงจดั ตัง้ คณะทำงานร่วมวา่ ด้วยความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนา เพื่อเป็นกลไกในการ

พิจารณาและกำหนดรูปแบบและกิจกรรม/โครงการความร่วมมือ ตลอดจนบริหารโครงการ และนำมาซึ่งการลง
นามในความตกลงจัดตัง้ สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งฝรัง่ เศส (Agence Française de Développement -AFD)
ของฝรงั่ เศสในประเทศไทย

โครงการความร่วมมือไตรภาคีที่สำคัญ ได้แก่ โครงการทุนศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็น
ความรว่ มมือระหวา่ งกระทรวงการต่างประเทศ (โดย สพร.) รว่ มกบั สำนกั งานกองทนุ สนับสนนุ การวิจัย และสถาน

เอกอคั รราชทตู สาธารณรฐั ฝรัง่ เศสประจำประเทศไทย เพอื่ สนับสนนุ ทุนปริญญาเอกให้แกป่ ระเทศ CLMV (ปจั จุบัน
ได้มีการยกเลิกไป เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสไม่ได้ให้เงินสนับสนุนต่อ) และโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวง
การต่างประเทศ (โดย สพร.) กบั สมาคมความร่วมมือการแพทยฝ์ รั่งเศส-เอเชีย (AMFA) ในการจัดหลักสตู รฝึกอบรม

ทางด้านการผ่าตดั ใหแ้ กแ่ พทยช์ าวเมียนมาร์ ณ มหาวทิ ยาลัยมหิดล
ความตกลงทีส่ ำคัญกบั ไทย

ความตกลงท่ไี ดล้ งนามไปแลว้
๑. อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับ ภาษีเก็บจาก

เงินได้ (ลงนามเมอ่ื วนั ท่ี ๒๗ ธนั วาคม ๒๕๑๗)

๒. หนังสือแลกเปลย่ี นวา่ ด้วยบริการเดินอากาศ (ลงนามเม่อื วนั ท่ี ๗ เมษายน ๒๕๑๘ และได้มีการทบทวน
เปน็ ระยะๆ)

๓. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ (ลงนามเมื่อ วันที่ ๑๖
กันยายน ๒๕๒๐)

๔. ความตกลงวา่ ดว้ ยความร่วมมอื ทางวชิ าการ (ลงนามเมือ่ วันท่ี ๑๖ กันยายน ๒๕๒๐)

๕. อนุสัญญาวา่ ด้วยความร่วมมือในการปฏบิ ัตติ ามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา (ลงนามเมื่อวันท่ี ๒๖
มีนาคม ๒๕๒๖)

๖. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานร่วมทางการค้าไทย-ฝรั่งเศส (ลงนามเมื่อ วันที่ ๑๗
กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๓๘)

๗. อนสุ ัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึง่ กันและกันในเรอ่ื งการอาญา (ลงนามเมอื่ วนั ท่ี ๑๑ กันยายน ๒๕๔๐)

๘. บนั ทึกความเข้าใจวา่ ดว้ ยการก่อตัง้ สภาธุรกิจไทย-ฝรัง่ เศส (ลงนามเมอ่ื วันท่ี ๑๔ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๐)
๙. ความตกลงว่าดว้ ยความรว่ มมอื ในการใช้พลังงานนวิ เคลยี รใ์ นทางสนั ติ (ลงนามเมอื่ วนั ที่ ๒๘ มิถนุ ายน ๒๕๔๑)

๑๐. ความตกลงวา่ ดว้ ยความรว่ มมือด้านไปรษณีย์ และโทรคมนาคม (ลงนามเมอื่ วนั ท่ี ๓๐ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๑)
๑๑. บันทกึ ความเข้าใจวา่ ด้วยความร่วมมอื ด้านอุดมศึกษาและวจิ ัย (ลงนามเมือ่ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๔๒)
๑๒. ความตกลงว่าด้วยความรว่ มมือทางด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ (ลงนาม เมอ่ื วันที่ ๒๗

มกราคม ๒๕๔๓)

๑๓. ความตกลงว่าด้วยความรว่ มมอื ด้านการส่งกำลงั บำรุงทางทหาร (ลงนามเมือ่ วนั ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๓)

๑๔. บนั ทึกความเขา้ ใจวา่ ดว้ ยการจัดทำแผนปฏบิ ัติการรว่ มไทย-ฝร่ังเศส ฉบับท่ี ๑ (สำหรับ ปี ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑)
(ลงนามเมอ่ื วันท่ี ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗)

๑๕. บันทกึ ความเขา้ ใจว่าดว้ ยความร่วมมือดา้ นการท่องเทยี่ ว (ลงนามเมือ่ วนั ท่ี ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗)
๑๖. บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับองค์การหน่วยงานส่งเสริม

การลงทุนของฝร่งั เศส (UBIFRANCE) (ลงนามเมอื่ วนั ที่ ๑๘ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)
๑๗. ความตกลงว่าดว้ ยความรว่ มมือด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ลงนามเม่ือวันท่ี

๑๘ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)

๑๘. ความตกลงจัดตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนา (Agence Française de Développement- AFD) ใน
ประเทศไทย (ลงนามเมอ่ื วนั ที่ ๑๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)

๑๙. หนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้ความร่วมมือไตรภาคี (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๘
กมุ ภาพันธ์ ๒๕๔๙)

๒๐. แถลงการณ์รว่ มระหว่างรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงการตา่ งประเทศ (ลงนามเม่ือวนั ที่ ๑๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)

๒๑. แถลงการณร์ ่วมด้านความรว่ มมอื ด้านการป้องกนั ประเทศระหวา่ งกระทรวงกลาโหม (ลงนามเมือ่ วันที่
๑๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)

๒๒. ประกาศเจตนารมณ์ด้านวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ลงนามเมือ่ วันที่ ๑๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)
๒๓. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านส่งเสริมการค้าปลีกระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัท
Carrefour Group (ลงนามเม่อื วันที่ ๑๘ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๙)

๒๔. บนั ทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมอื ด้านแฟช่ันระหวา่ งสมาพนั ธ์ Prêt-à-Porter Féminin (เส้ือผ้า
สำเร็จรูปสตรี) และสหภาพเครื่องนุ่งห่มฝรั่งเศส กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/สมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย/สมาคม

เคร่อื งหนังไทย (ลงนามเมอื่ วนั ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙)
๒๕. แผนการดำเนนิ การร่วมสำหรบั การเป็นห้นุ สว่ นทางเศรษฐกจิ (ลงนามเมอ่ื เดือนกันยายน ๒๕๔๙)
๒๖. แผนปฏิบตั กิ ารรว่ มไทย-ฝรัง่ เศส ฉบับท่ี ๒ (ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗) (ลงนามเมอื่ วนั ท่ี ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓)

๒๗. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการพำนักระยะสั้นของผู้ถือหนังสือเดินทางทตู
(ลงนามเมือ่ วันที่ ๒๑ มถิ นุ ายน ๒๕๕๓)

๒๘. ข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจ (ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๗) (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙
ตลุ าคม ๒๕๕๓)

๒๙. ความตกลงต่างตอบแทนว่าด้วยพนักงานวิทยุสมัครเล่นไทย-ฝรั่งเศส (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๕

มกราคม ๒๕๕๕)
๓๐. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมอื ทางการศกึ ษาและการวจิ ยั (ลงนามเมอ่ื วันท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

๓๑. ความตกลงวา่ ด้วยความรว่ มมือด้านการปอ้ งกันประเทศ (ลงนามเม่ือวันท่ี ๕ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๖)
๓๒. หนงั สอื แสดงเจตจำนงด้านการศกึ ษาระหวา่ งไทยกบั ฝรัง่ เศส (ลงนามเมอ่ื วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)
๓๓. บันทึกความเข้าใจวา่ ด้วยความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายวิจยั ระหว่างประเทศ (ลงนามเมื่อ วันท่ี ๕

กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๖)

๓๔. บันทึกความเข้าใจระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลของราชอาณาจักรไทยกับกลุ่ม

สถาบนั เทคโนโลยีอุดมศึกษาของสาธารณรัฐฝร่งั เศส (ลงนามเมือ่ วนั ท่ี ๕ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๖)
๓๕. บันทึกข้อตกลงโครงการผลิตวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี (ลงนามเมื่อ วันที่ ๕

กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๖)
๓๖. ความตกลงวา่ ดว้ ยความร่วมมอื ระบบราง (ลงนามเมื่อวนั ที่ ๑๘ มถิ ุนายน ๒๕๕๖)

ความตกลงทีอ่ ย่ใู นระหวา่ งการพจิ ารณาจัดทำ
๑. ความตกลงว่าดว้ ยการส่งเสรมิ และคมุ้ ครองการลงทนุ
๒. สนธสิ ัญญาว่าดว้ ยการสง่ ผู้ร้ายขา้ มแดน

ผนวก ข
สถานการณ์ดา้ นความม่นั คงและการป้องกันประเทศ

จากสภาพแวดล้อมใหม่ทางด้านยุทธศาสตร์ ฝรั่งเศสได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางด้านยุทธศาสตร์
เพอ่ื ให้สอดคลอ้ งกบั บรบิ ทระหวา่ งประเทศ (Contexte international) อันจะเห็นได้จาก

ด้านการเมืองและการทูต ฝรั่งเศสได้พยายามหาหนทางที่จะเอื้ออำนวยต่อความมีเสถียรภาพ
และสนั ตภิ าพในทวีปยโุ รป ทง้ั นี้ เน่ืองจากมีกตกิ าเพ่ือความมีเสถียรภาพ (Pacte de Stabilité) ระหวา่ งรัฐสภาของยุโรป
และประเทศในยุโรปกลาง ตะวันออก และแถบทะเลบอลตกิ

ด้านการทหาร ฝรงั่ เศสยงั คงยืนยนั ความมนั่ คงของประเทศ โดยต้ังอยู่บนพ้ืนฐานของการป้องปราม
นิวเคลียร์ ซึ่งจะธำรงไว้ซึ่งกองกำลังให้อยู่ในระดับที่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ส่วนปัจจัยกำลังอาวุธตามแบบนั้น
ปจั จุบนั มีบทบาทเฉพาะเปน็ ตวั ของตวั เอง และไม่ได้ถอื วา่ เปน็ ปัจจยั สนับสนนุ ต่อกองกำลงั ป้องปรามนิวเคลยี ร์

ตามหนังสือปกขาวที่ได้มีการจัดทำขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗/ค.ศ.๑๙๙๔ และตามที่
ประธานาธบิ ดไี ด้สัง่ การไว้เมอ่ื ปี พ.ศ.๒๕๓๙/ค.ศ.๑๙๙๖ น้นั ตงั้ แตน่ ้ีไป เก่ียวกบั การป้องกนั ประเทศ ฝร่ังเศสจะต้องมี
ขีดความสามารถพอเพียงในการที่จะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามในระดับที่มีขอบเขตจำกัด สามารถบริหาร
และคาดการณ์ได้อย่างพอเพียงต่อวิกฤตการณ์ที่ยืดเยื้อ มีความสามารถที่ยืดหยุ่นในการปฏิบัติการห่างไกล
จากประเทศ ซ่ึงความขดั แยง้ หลายเรอ่ื งไมไ่ ด้เปน็ ปญั หาโดยตรงตอ่ ผลประโยชน์อันสำคญั ยง่ิ ของประเทศ แต่ขัดต่อ
หลักการหลายอย่าง เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ หรืออธิปไตยแห่งรัฐ ซึ่งฝรั่งเศสมีอำนาจในการดำเนินการ
ตามบทบาทในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การเข้าร่วมในการป้องกัน
ความขดั แย้งของฝร่ังเศสจะดำเนินการรว่ มกันกบั ประเทศหนุ้ สว่ นหรือพนั ธมิตรในกรอบของพหุภาคี

หลกั นิยมทางทหาร
๑. การป้องปราม (La dissuasion) ใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยของประเทศ

และยโุ รป โดยใชข้ ปี นาวุธยงิ จากเรือดำนำ้ พลังงานนวิ เคลยี ร์ และอาวุธนำวถิ ีหวั รบนิวเคลยี รจ์ ากอากาศยาน
๒. การป้องกัน (La prevention) เป็นการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม และการขยายตัว

ของวิกฤติการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ โดยใช้ดาวเทียมหาข่าว การเตรียมและจัดวางกำลัง
รวมทั้งการประสานความรว่ มมอื กบั หนว่ ยงานทเี่ กีย่ วข้อง

๓. การแสดงกำลัง (La projection) เป็นความสำคัญอันดับแรกของเหล่าทัพที่จะต้องสามารถ
จัดสง่ กำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศ โดยการแยกหรือประกอบกำลงั เข้าดว้ ยกัน ใหพ้ รอ้ มปฏบิ ัติการได้ทันที
เมื่อมีสถานการณ์ หรือจัดกำลงั ปฏบิ ัตกิ ารอย่ใู นพื้นที่ ในรปู ของกำลังเฉพาะกจิ พร้อมกำลงั สนบั สนนุ และสง่ กำลงั บำรงุ

๔. การคุ้มครอง (La protection) เป็นภารกิจหลักของกองทัพในการป้องกันประเทศยามสงบ
เป็นหน้าท่ีของกำลังทหารกึ่งตำรวจ หรือชองดาร์เมรี (Gendarmerie) ในการปฏิบัติกิจรักษาความมั่นคงภายใน
จึงเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับการเพิ่มกำลังพล เพื่อให้สามารถดูแลความปลอดภัยของประชาชน และดินแดนใน
ปกครองไดอ้ ยา่ งท่วั ถงึ และมปี ระสทิ ธิภาพ

โครงสรา้ งของกองทพั

หนว่ ยงานหลัก ๆ ในบงั คับบญั ชาของกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย
๑. สำนักงานปลดั กระทรวง
๒. สำนักงานจเรทหารทัว่ ไป
๓. สำนักงานจดั หาอาวุธ

๔. สำนกั งานสารนเิ ทศทหาร
๕. กองบญั ชาการทหารสูงสดุ
๖. กองทัพบก (รวมกำลงั นาวิกโยธิน)
๗. กองทพั เรอื (รวมกำลังอากาศนาวี)
๘. กองทัพอากาศ (รวมกำลงั ปอ้ งกันภัยทางอากาศ)
๙. กำลังตำรวจกึง่ ทหาร

การบังคับบัญชาในกองทัพฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น ๒ สาย คือ สายธุรการ และ สายปฏิบัติการ
โดยท่ี สายธุรการเป็นโครงสร้างการบริหารงานภายในของแต่ละเหล่าทัพ มีผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นผู้รับผิดชอบ

ในการจัดเตรียมกำลัง ส่วนสายปฏิบัติการนั้น เป็นสายการบังคับบัญชาในการใช้กำลัง มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด
เป็นผู้สงั่ ใชก้ ำลัง และผบู้ ัญชาการเหล่าทพั เปน็ ผใู้ ห้คำแนะนำ

ผู้นำทางทหาร

ในการจดั การป้องกันแห่งชาตินัน้ ตามมาตราที่ ๑๕ ของรฐั ธรรมนญู กำหนดให้ประธานาธบิ ดีเป็นผู้นำ

กองทัพ และมีอำนาจในการสั่งใช้กองกำลังนิวเคลียร์กรณีที่มีความจำเป็น สำหรับนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบ

ในด้านการป้องกันแห่งชาติ (ตามมาตราที่ ๒๑ ฯ) ส่วน รมว.กห. จะรับผิดชอบด้านการจัดและระดมสรรพกำลัง

ดังน้ัน ผนู้ ำทางทหารซึ่งเปน็ ไปตามสายการบังคับบญั ชา จึงมีรายชื่อตามลำดบั ดงั น้ี

- นาย Emmanuel MACRON ประธานาธบิ ดี

- นาง Élisabeth BORNE นายกรฐั มนตรี

- นาย Sébastien LECORNU รมว.กห. (รกั ษาการ รอการจัดตง้ั รัฐบาลใหม่)

- พลเอก (Le général d’armée) Thierry BURKHARD ผบ.ทหารสงู สดุ

- พลเอก (Le général d’armée) Pierre SCHILL ผบ.ทบ.

- พลเรือเอก (L’Amiral) Pierre VANDIER ผบ.ทร.

- พลอากาศเอก (Le général d’armée aérienne) Stéphane MILLE ผบ.ทอ.และกิจการอวกาศ

กำลังและการจัดกำลัง

ฝรั่งเศสจัดกำลังป้องกันประเทศเป็น ๓ ส่วน โดยแต่ละส่วนมีภารกิจและการประกอบกำลังของตน
โดยเฉพาะ คือ

๑. กำลังนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ (Strategic Nuclear Forces) มีภารกิจเพื่อป้องปราม
การก่อสงครามของฝ่ายตรงข้าม และหากไม่เป็นผลจะใช้วิธีการโจมตีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อย่างฉับพลัน
เพอ่ื ทำลายขีดความสามารถของศตั รูโดยเด็ดขาดตงั้ แต่เริ่มการสู้รบ

๒. กำลังปฏิบัติการ (Operation Forces) มีภารกิจในการเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติการ
ตามพันธะผกู พันระหว่างประเทศ หรอื ด้วยความคิดริเรม่ิ ของตนเอง เพอื่ ความปลอดภัยของชาติ

๓. กำลังรักษาดินแดน (Home Defence Forces) เป็นกำลังประจำถิ่น ในภาวะปกติเป็นตำรวจ
ก่ึงทหาร แต่ขยายกำลงั พลไดใ้ นยามสงคราม โดยเป็นกำลงั ป้องกนั พืน้ ท่ีส่วนหลัง

กองทัพเรือสาธารณรัฐฝร่ังเศส

ทร.ฝร่งั เศส มีขนาดใหญ่เปน็ อันดับ ๕ ของโลก (รองจาก สหรฐั ฯ รัสเซยี จนี และญป่ี ่นุ ) ซ่ึงนอกจาก

กำลังป้องกันประเทศแล้ว ยังมีกำลังทางเรือประจำการอยู่ทั่วโลก ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก

ในปจั จุบนั (พ.ศ.๒๕๖๓/๒๐๒๐) ทร. ฝรั่งเศส มีกำลังพลทหาร รวมทั้งสน้ิ ๓๘,๘๒๙ คน ดงั นี้

- กำลังพลทเ่ี ป็นทหาร ประกอบดว้ ย

นายทหารสัญญาบัตร จำนวน ๕,๐๒๕ คน

นายทหารประทวน จำนวน ๒๕,๓๔๕ คน

พลทหาร จำนวน ๘,๓๑๒ คน

- กำลังพลท่ีเป็นอาสาสมัคร จำนวน ๑๔๗ คน

- กำลงั พลที่เปน็ พลเรือน จำนวน ๒,๗๐๐ คน

- กำลังพลสำรอง จำนวน ๖,๕๐๐ คน

กำลงั พลพร้อมปฏิบัตกิ าร จำนวน ๖,๐๐๐ คน

กำลังพลสำรองพลเรือน จำนวน ๕๐๐ คน

พันธกิจของกองทัพเรอื ฝรง่ั เศส
พนั ธกิจประจำ (En permanence) การป้องปรามทางยทุ ธศาสตร์ (Dissuasion/Deterrence)
- การรับรู้และคาดการณ์ล่วงหน้า (Connaissance et anticipation) ติดตาม ประเมิน

สถานการณ์ ตัดสินใจ และปฏิบัติงานดา้ นการป้องกนั ประเทศ และการรกั ษาความปลอดภัย เตรียมความพร้อม
สำหรับการปฏบิ ัติการตา่ ง ๆ รว่ มมอื ทางทหารในภูมภิ าค สนบั สนุนการปฏบิ ตั ิการทางเรือด้านการทูต ความรว่ มมือ

กบั ภาคพลเรือน
- การคุ้มครอง (Protection) ดว้ ยการป้องกนั ดินแดนและบรเิ วณใกลเ้ คียงต่ออันตรายและภัยคกุ คาม

ทม่ี าจากทะเล ปกป้องชีวติ และทรัพยส์ ินทางทะเล ซ่ึงดำรงการปฏิบัตภิ ารกจิ อยา่ งต่อเนอื่ งในดนิ แดนของชาติ

- การป้องกัน (Prévention) โดยการส่งกำลังทางเรือไปแสดงกำลังในทะเลทุกแห่งพร้อมกัน
โดยกองกำลัง ๔ ส่วน ได้แก่ กองเรือปฏิบัติการ (Force d'action navale), กองเรือดำน้ำ (force océanique
stratégique) กองการบินทหารเรือ (aéronautique navale), และกองกำลังนาวิกโยธิน และกองกำลัง
ปฏบิ ัติพเิ ศษ (fusiliers marins et commandos)

ยามวกิ ฤต (En cas de crise)
- การแสดงกำลัง (Projection de puissance) ส่งหมู่เรือบรรทุก บ. (Groupe aéronaval)

ซึ่งประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือคุ้มกัน ผบ.กองกำลังและฝ่ายอำนวยการประจำหมู่เรือ และกำลัง
อากาศนาวปี ระจำหมู่เรอื

- ความเป็นไปได้ในการใช้สิ่งสนับสนุน ที่ทำให้สามารถโจมตีในระยะไกลจากฐานทัพทางอากาศ
หรอื ทางเรือ

- การปฏิบัติการใหญ่ในการกดดันบังคับ (Opération majeure de coercition) โดยจัดหมู่เรือ
บรรทุก บ. ซึ่งประกอบด้วยเรือบรรทุก บ. กองบัญชาการประจำหมู่เรือ และกำลังอากาศนาวีประจำหมู่เรือ
เรือ LPD/ BPC เรือฟริเกตจำนวนหนึ่ง เรือดำน้ำ และ บ.ลาดตระเวนทางทะเลจำนวนหนึ่ง (avions de
patrouille) ในแต่ละปฏบิ ตั กิ าร

ยุทธศาสตรท์ างเรอื และยทุ ธวธิ ี
ทร.ฝรั่งเศส ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทางเรอื ไว้ ๔ ประการ ได้แก่
- การป้องปราม (La Dissuasion) คือการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อเป็นหลักประกัน

ความปลอดภัยของประเทศ และยุโรป โดยมีกองเรือดำน้ำยุทธศาสตรเ์ ป็นกำลังป้องปรามหลกั ซึ่งจะตอ้ งสามารถ
จัดส่งเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีป (SSBN) ๒ ลำ จากที่มีประจำการทั้งหมด ๔ ลำ
ออกปฏิบัติการในทะเลได้ตลอดเวลา และพร้อมจะออกปฏิบัติการได้ ๓ ลำ ขณะเดียวกันก็จะต้องสามารถจัดส่ง
กำลังอากาศนาวีปฏิบัติการโจมตีนิวเคลียร์ ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ASMP (Air/Sol Moyenne Portée)
โดยจะดำเนินการปรบั ปรุงใหส้ ามารถนำมาใช้งานกับ บ.ราฟาล (Rafale) ได้ต่อไป

- การป้องกัน (La Prévention) คือการควบคุมอาณาเขตทางทะเลด้วยมาตรการที่เหมาะสม
โดยการจัดส่งกำลังทางเรือไปประจำการนอกประเทศ เพื่อป้องกันและควบคุมสถานการณ์วิกฤติ รักษาผลประโยชน์
ของชาติ และปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งการรักษาเสถียรภาพให้กับโลกในฐานะมหาอำนาจ
ทางทะเล อาณาเขตทางทะเลท่ีสำคญั ซ่ึงมกี ำลงั ทางเรือของฝร่งั เศสออกปฏิบตั กิ ารอยเู่ ปน็ ประจำ ได้แก่ มหาสมุทร
แอตแลนติกเหนอื (เส้นทางเดินเรือค้าขายสำคัญที่สดุ ) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (เส้นทางเดินเรือเช่ือมระหว่างยุโรป
กับอัฟริกาและตะวันออกกลาง) และ ดินแดนโพ้นทะเลและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ รวมทั้งดินแดนที่มีอาณาเขต
ทางทะเลเกยี่ วขอ้ งกับผลประโยชนข์ องชาติ

- การจัดส่งกำลัง (La Projection) คือการแสดงนาวิกานุภาพและขีดความสามารถในการ
ปฏิบัติการทางเรือนอกประเทศ จึงเป็นความสำคัญอันดับแรกที่จะต้องพร้อมสำหรับการประกอบกำลังร่วม
หรอื จดั ตงั้ กำลังทางเรือเฉพาะกิจ ทีส่ ำคญั ได้แก่ หมวดเรอื บรรทกุ เครื่องบนิ และหมวดเรอื ยกพลขึ้นบก

- การคุ้มครอง (La Sauvegarde Maritime) คือการให้บริการสาธารณชน ทั้งในประเทศ

และระหวา่ งประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของผู้บัญชาการเขตทะเล ในฐานะผู้แทนรัฐบาล มีหน้าที่ประสานงาน
กับหน่วยราชการอื่นที่มีอำนาจตามกฎหมาย เพื่อให้ความช่วยเหลือและบริการประชาชน โดยปกติจะเป็นงาน
ที่มีการปฏิบัติเป็นประจำในยามสงบ คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของภารกิจท่ี ทร.ฝรั่งเศส ต้องดำเนินการทั้งหมด
ประกอบด้วย การค้นหาและกู้ภัย การปฏิบัติหน้าที่ตำรวจน้ำ (ควบคุมการจราจรทางน้ำ คุ้มครองเรือประมง

ต่อต้านมลภาวะทางทะเล และควบคุมการค้าขายผิดกฎหมาย) การรักษากฎหมายในทะเล การปฏิบัติงาน
อุทกศาสตร์ การจัดทำประกาศชาวเรือ และ การป้องกนั อุบัติเหตทุ ี่กอ่ ให้เกิดมลภาวะในทะเล

การจดั และโครงสรา้ งกำลงั ทางเรอื

ทร.ฝรงั่ เศส แบง่ การบงั คบั บญั ชากำลงั รบออกเปน็ สายปฏิบัตกิ าร และ สายเตรยี มกำลงั ดังนี้

- กำลังรบสายปฏิบัติการ (commandement opérationnel) ขึ้นการบังคับบัญชากับ

ผบ.ทหารสูงสุด มกี องบัญชาการใหญ่ (Etat-major de la Marine) ตง้ั อยรู่ วมกบั บก.ทบ. บก.ทอ. และหน่วยงาน

อื่น ๆ ของ กห.ฝศ. ที่ Balard ทางใต้ของกรุงปารีส เลขที่ 60 Boulevard du Général Matial Valin 75015

PARIS โดยเปน็ หนว่ ยกำลงั ของ ทร.ฝรงั่ เศส ทอ่ี อกปฏิบัตกิ ารอย่ใู นพน้ื ทที่ ั้งในและนอกประเทศ รวมทง้ั ดนิ แดนโพ้น

ทะเล ขึ้นการบังคับบัญชากับ ผบ.ทหารสูงสุด ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ดูแล

ดา้ นกิจการทหารเรือ แบง่ ออกเป็น ๑๐ เขต ประกอบดว้ ย

➢ กองบญั ชาการภาคแอตแลนติก (CECLANT)

➢ กองบญั ชาการภาคเมดิเตอรเ์ รเนยี น (CECMED)

➢ กองบญั ชาการภาคมหาสมทุ รอนิ เดยี (ALINDIEN)

➢ กองบัญชาการภาคแปซฟิ ิก (ALPACI)

➢ กองบงั คับการเขตแชร์บรู ์ก (COMAR CHERBOURG)

➢ กองบงั คบั การเขตแอนตลิ เลส (COMAR ANTILLES)

➢ กองบงั คบั การเขตกิอานา (COMAR GUYANE)

➢ กองบงั คับการเขตริอนู ิอง (COMAR RÉUNION)

➢ กองบงั คับการเขตนิวคาลิโดเนยี (COMAR NOUVELLE-CALÉDONIE)

➢ กองบังคับการเขตเฟรนซโ์ พลีนีเซียน (COMAR POLYNÉNIE FRANÇAISE)

- กำลงั รบสายเตรยี มกำลงั (commandement organique)

ขน้ึ การบังคบั บญั ชากับ ผบ.ทร. ซ่งึ มหี นา้ ที่เตรียมกำลัง ทร. โดยเฉพาะอย่างย่งิ ด้านหลกั นิยม การใช้กำลัง
และการฝึก การทำให้ปัจจัยสนับสนุนที่ได้มีการดำเนินการให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด รวมทั้งรวบรวมบทเรียน
จากประสบการณ์ จากปฏิบัติการทางการบินและทางเรือ นอกจากนี้ ยังมีการจัดการด้านการฝึกกองกำลัง และ
ติดตามเฝ้าดูระดับการเตรียมกำลังและดำรงสภาพ ความพร้อมและความชำนาญในการปฏิบัติการของหน่วย
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนบัญชาการกลาง ซึ่งอยู่ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ ส่วนกำลังรบ และส่วน
สนบั สนนุ แบ่งออกเปน็ ๔ กองกำลงั หลัก ประกอบดว้ ย

➢ กองเรือปฏิบัติการผิวน้ำ หรือ FAN (La Force d’Action Navale) ตั้งอยู่ที่ ฐานทัพเรือตูลง
(TOULON) มีภารกิจหลักในการเตรียมความพร้อมให้กบั กำลังเรือผิวน้ำทีม่ ีอยู่ท้ังหมด ทั้งที่อยู่ในฝรัง่ เศส (ที่ตูลงและ
ทีเ่ บรสท์เปน็ หลกั ) และในน่านนำ้ ต่างประเทศ เพื่อรองรบั การสั่งการใช้กำลงั ของ ผบ.ทหารสูงสุด มีเรือผิวน้ำในบังคับ
บญั ชารวมทง้ั สนิ้ จำนวน ๑๑๕ ลำ และกำลังพลรวมท้งั สน้ิ จำนวน ๑๒,๐๐๐ คน

➢ กองกำลังเรือดำน้ำ (La Force du Sous-marine / FSM) ประกอบด้วย กองเรือดำน้ำพลังงาน
นิวเคลียร์ขีปนาวุธยุทธศาสตร์ (SSBN) และฐานปฏิบัติการ อิลลอง (ILE LONGUE) ซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานทัพเรือเบรสท์
(BREST) และกองเรอื ดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ (SSN) ซ่ึงต้ังอย่ทู ี่ ฐานทพั เรอื ตูลง (TOULON) รวมทั้งศูนย์สั่งการ
เฉพาะกิจ (SPECIFIC COMMAND CENTRES) และสถานีสื่อสาร (COMMUNICATION STATIONS) ต่าง ๆ ด้วย
กองกำลังเรือดำน้ำนี้ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ผบ.กองกำลังเรือดำน้ำและกองกำลังมหาสมุทรยุทธศาสตร์
(ALFOST) ซ่งึ มีกองบญั ชาการอยู่ท่ี ฐานทัพเรือเบรสท์ (BREST) มีเรือดำน้ำในบังคับบญั ชารวมทัง้ สิ้น จำนวน ๑๐ ลำ
และกำลังพลรวมทั้งส้ิน จำนวน ๓,๓๐๐ คน

➢ กองการบินทหารเรือ (l’Aviation Navale / AVIA) ประกอบด้วย สถานีการบินทหารเรือ (Naval
Air Station / NAS) และอากาศยานท้งั หมดที่ ทร.ฝรั่งเศส มอี ยู่ในประจำการ ซ่งึ รวมถึงหมวดบนิ ประจำเรือบรรทุก บ.
และ ฮ. ที่ประจำอยู่บนเรือทง้ั หมด รวมทั้งอากาศยานลาดตระเวนและตรวจการณ์ทางทะเล กบั อากาศยานเพื่อการฝึก
และงานธุรการด้วย กองการบินทหารเรือนี้ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ผบ.กองการบินทหารเรือ (ALAVIA)
ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ที่ ฐานทัพเรือตูลง (TOULON) มีอากาศยาน และ ฮ. ในบังคับบัญชารวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๔๗
เคร่ือง และกำลังพลรวมท้ังสิ้น จำนวน ๗,๒๖๘ คน

➢ กองกำลังรบพิเศษและนาวิกโยธิน (La Force des Fusiliers Marins et des Commandos /
FORFUSCO) มีจุดมุ่งหมายหนึ่งเพื่อให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางทะเลและการปฏิบัติการพิเศษ และอีก
จุดมุ่งหมายหนึ่งเพื่อให้ความคุ้มครองสถานที่ต่าง ๆ ของ ทร.ฝรั่งเศส ที่มีความเปราะบาง กองกำลังรบพิเศษนาวิก
โยธินนี้ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ผบ.หน่วยรบพิเศษและนาวิกโยธิน (ALFUSCO) ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ท่ี
ฐานทัพเรือลอริอองท์ (LORIENT) มีกองร้อยอยู่ในบังคับบัญชารวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๖ กองร้อย และกำลังพล
รวมท้ังสิ้น จำนวน ๒,๐๑๕ คน

นอกจากนี้ ทร.ฝรั่งเศส ยังมีหนว่ ยยามฝั่งของกองกำลังกึง่ ทหาร-ตำรวจ (Gendarmarie Maritime)
ประกอบด้วย เรอื ตรวจการณ์ จำนวน ๗ ลำ และกำลังพล จำนวน ๑,๕๐๐ คน อยู่ภายใตก้ ารบงั คับบญั ชา ซ่งึ ผบ.ทร.
ฝรัง่ เศส จะสามารถสั่งใช้กำลงั เพ่อื ให้บรรลุภารกจิ ทีไ่ ดร้ ับมอบหมายไดอ้ กี ดว้ ย
ฐานทพั เรอื

ทร.ฝร่ังเศส มีฐานทพั เรือภายในประเทศทีส่ ำคัญ จำนวน ๔ แหง่ ไดแ้ ก่

- ฐานทัพเรือเบรสท์ (Brest)

เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองเรือฝั่งแอตแลนติก (l’Escadre de l’Atlantique) และ
กองบัญชาการมหาสมทุ รยทุ ธศาสตร์ (la Force Océanique Stratégique) ซึ่งประกอบด้วยหนว่ ยต่าง ๆ ดงั นี้

- หน่วยปฏบิ ัตกิ ารใต้น้ำหรอื GASM (Le Groupe d’Action Sous-Marine)
- กองกำลงั เรอื ดำน้ำหรือ FSM (La force sous-marine)
- กองกำลังสงครามทนุ่ ระเบดิ (La force de guerre des mines)
- หนว่ ยสนบั สนนุ ตา่ ง ๆ (Les services de soutien)
- ฐานทพั เรอื ตูลง (Toulon)

เปน็ ฐานทพั หลกั ทางทหารของฝร่ังเศสเช่นเดยี วกับฐานทัพเรอื แบรสท์ นับตง้ั แตต่ ้นศตวรรษที่ 21
เป็นต้นมา เป็นที่ตั้งส่วนใหญ่ของกองกำลังปฏิบัติการผิวน้ำ (Force d’action navale) รวมถึง เรือบรรทุก บ.
ชารล์ เดอ โกล (Charles de Gaulle) เรอื ส่งกำลัง ควบคุมและส่งั การ หรือ BPC (Bâtiments de Projection et
Commandement) มสิ ทราล (Mistral) และ ตอน์แนร์ (Tonnerre) รวมทง้ั เรือดำน้ำโจมตพี ลังนวิ เคลยี ร์ โดยเฉลี่ย
แลว้ กำลังเรือกวา่ ร้อยละ 60 ของ ทร. ฝรง่ั เศสประจำอยู่ ณ ฐานทพั เรอื แหง่ นี้

- ฐานทัพเรือแชร์บูร์ก (Cherbourg)

เป็นเมืองท่าทางทหารตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ฐานทัพเรือแห่งนี้ได้ถูกลดความสำคัญลงไปหลังจากท่ี
กองเรือภาคเหนือ (la flottille du Nord (FLONOR) ได้ย้ายกำลังออกไปประจำอยู่ที่ฐานทัพเรือ แบรสท์ (Brest)
ฐานทัพเรือท่แี ฌรบ์ รู ก์ เปน็ ฐานทพั เรอื ทร่ี ับผิดชอบหลักในการเฝ้าตรวจช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนอื

- ฐานทัพเรือลอริอองท์ (Lorient) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ บก.กองกำลังรบพิเศษและนาวิกโยธิน
(ALFUSCO)

นอกจากน้ี ทร.ฝรั่งเศส ยังมีฐานทัพเรือ รวมทั้งหน่วยกำลังทางเรือที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติภารกิจ
ในนา่ นนำ้ ต่างประเทศ ตงั้ อย่ใู นมณฑลและดินแดนโพน้ ทะเลตา่ ง ๆ ของตน อกี มากกว่า ๒๕ แหง่ ด้วย

การเปรียบเทียบยศทางทหาร

ทร.ไทย ทบ.ฝรง่ั เศส ทร.ฝรัง่ เศส ทอ.ฝรงั่ เศส Gendarmarie

พลเรอื เอก(พเิ ศษ) Maréchal de France Général de
corps d’armée
Général
Général de
พลเรอื เอก Général d’armée Amiral d’armée division

aérienne Général de
brigade
พลเรอื โท Général de Vice-amiral Général de
พลเรอื ตรี corps d’armée
d’escadre corps aérienne
Général de
division Général de

Vice-amiral division

aérienne

Général de Général de
brigade
พลเรอื จตั วา Contre-amiral brigade

aérienne

นาวาเอก Colonel Capitaine de Colonel Colonel
นาวาโท vaisseau Lieutenant- Lieutenant-
นาวาตรี
เรอื เอก Lieutenant- Capitaine de colonel colonel
Commandant Chef d’escadron
เรอื โท colonel frégate
Capitaine Capitaine
เรอื ตรี Chef d’escadron Capitaine de
นายทหารใหม่ Lieutenant Lieutenant
/ de bataillon corvette
พันจ่าเอก Sous-lieutenant Sous-lieutenant
พนั จา่ โท Capitaine Lieutenant de
พันจ่าตรี vaisseau Aspirant Major
จ่าเอก Major Adjudant-chef
Enseigne de Adjudant-chef
จา่ โท Adjudant Adjudant
Lieutenant vaisseau de 1re Maréchal des
จา่ ตรี Sergent-chef
class logis-chef
พลทหาร ระดับ ๑ Sergent de
พลทหาร ระดับ ๒ Enseigne de carrière Gendarme
พลทหาร ระดบั ๓ Sous-lieutenant vaisseau de 2e
พลทหาร ระดบั ๔ Sergent Maréchal des
class logis
Caporal-chef
Aspirant Aspirant Brigadier-chef
Caporal Brigadier
Major Major 1re class 1re class

Adjudant-chef Maître principal

Adjudant

Sergent-chef /

Maréchal des Premier maître

logis-chef

Sergent /

Maréchal des Maître

logis de carrière

Sergent /

Maréchal des Second maître

logis

Caporal-chef / Quartier-maître

Brigadier-chef de 1re class

Caporal / Quartier-maître
de 2e class
Brigadier

1re class Matelot breveté

การพัฒนากำลงั ทางเรือ
ทร.ฝรั่งเศส ถอื วา่ การพัฒนากำลังทางเรือเป็นความจำเป็นอย่างยิง่ เพอื่ ใหส้ ามารถปฏิบัติภารกิจตามท่ี

ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการป้องปราม การป้องกัน การจัดส่งกำลัง และการคุ้มครอง
ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงวิวัฒนาการของยุทธศาสตร์ทั่วทั้งโลก ที่รวมถึงภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ และแนวความคิด
ในการจัดตั้งกองกำลังปอ้ งกันรว่ มของยุโรป ด้วยการพัฒนากำลังทางเรือในปัจจุบนั ยึดถือแนวทางตามโครงสร้าง
กำลังรบทไ่ี ด้ต้ังเป้าหมายไว้สำหรับปี

หนว่ ยสนับสนนุ

ทร.ฝรง่ั เศสมหี นว่ ยสนบั สนนุ ดงั ต่อไปนี้
๑. หน่วยสนับสนุนด้านกำลังพล (Direction du Personnel Militaire de la Marine :DPMM)

ประกอบด้วย
- โรงเรยี นตา่ ง ๆ (écoles)
- SRICM

- CIN
๒. หน่วยส่งกำลัง (Direction du Commissariat de la Marine : DCM) มีหน้าที่ในการส่งกำลัง

สิ่งอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ให้แกก่ ำลงั ทางเรือ ประกอบดว้ ยหนว่ ยสว่ นกลางและหน่วยในพืน้ ที่ตา่ ง ๆ ดงั นี้
- DCCM (Direction Centrale du Commissariat de la Marine)
- DCM Toulon

- DCM Brest
- DCM Cherbourg

- DCM Paris

๓. หน่วยสนับสนุนกองเรือ (Direction du Service de Soutien de la Flotte : DSSF) มีหน้าที่ในการ
สนับสนุนการสง่ กำลังบำรงุ ให้แกก่ ำลงั เรือผิวนำ้ และเรือดำนำ้ ได้แก่ การวางแผนซ่อมบำรุง การสนับสนุนทางเทคนิค

การจัดหาอปุ กรณ์ตา่ ง ๆ ของเรือ การจัดหาเครื่องสรรพาวุธ เป็นต้น ประกอบดว้ ยหน่วยส่วนกลางและหน่วยในพื้นท่ี
ต่าง ๆ ดงั น้ี

- DCSSF (Direction Centrale du Service de Soutien de la Flotte)
- DSSF Toulon
- DSSF Brest

๔. หน่วยสนับสนุนด้านระบบข้อมูล (Direction du Service des Systèms d’Information de la
Marine : DSIM)

- DCSIM (Direction Centrale du Service des Systèms d’Information de la Marine)
- DSIM Toulon
- DSIM Brest

- DSIM Paris
- DSIM Cherbourg

๕. หน ่วยสน ับสน ุนด ้ านอ ุ ทก ศาสตร ์ และ สมุ ทร ศาสตร ์ (Service Hydrographique et
Océanographique de la Marine : SHOM) มหี น้าที่รบั ผิดชอบด้านการอุทกศาสตร์และสมทุ รศาสตร์ ประกอบด้วย
หนว่ ยต่าง ๆ ดงั น้ี

- กองบังคบั การ (Établissement Principal du SHOM : EPSHOM) ต้งั อยูท่ ่เี บรสท์
- หน่วยอุทกศาสตร์แอตแลนติก (Mission Hydrographique de l’Atlantique : MHA)

ตัง้ อยูท่ เ่ี บรสท์
- หน่วยสมุทรศาสตร์แอตแลนติก (Mission Océanographique de l’Atlantique : MOA)

ต้งั อยทู่ ่เี บรสท์

- หน่วยสมุทรศาสตร์แปซิฟิก (Mission Océanographique du Pacifique : MOP) ตั้งอยู่ที่
Papeete - Noumea

งบประมาณของกองทพั เรอื (รอการปรบั ปรุงข้อมูล)
ในปี พ.ศ.๒๕๖๔/ค.ศ.๒๐๒๑ กองทัพเรือฝรัง่ เศสไดร้ บั งบประมาณ แบ่งออกไดด้ งั น้ี
๑. งบปฏิบัตกิ ารและเสริมสรา้ ง จำนวน ๒.๖ พนั ลา้ นยูโร แยกเปน็

- ด้านการซ่อมบำรุง (Entretien des matériels) จำนวน ๑,๙๐๗ ล้านยูโร (รอ้ ยละ ๗๒)
- ดา้ นการดำเนินการ (Fonctionnement) จำนวน ๒๒๓ ล้าน (ร้อยละ ๙)

- ดา้ นอปุ กรณแ์ ละสรรพาวุธ (Matériels et munitions) จำนวน ๒๐๕ ล้านยูโร (รอ้ ยละ ๘)
- ดา้ นเช้อื เพลงิ ในการปฏิบัติการ (Carburants opérationnels) จำนวน ๙๖ ล้านยูโร (รอ้ ยละ ๔)
- ด้านสาธารณปู โภค (Infrastructures) จำนวน ๑๗๙ ล้านยโู ร (รอ้ ยละ ๗)

๒. งบบคุ ลากร เปน็ เงนิ เดอื น (remuneration) จำนวน ๑,๖๔๐ ล้านยูโร ไม่รวมเงินบำนาญ

ปญั หาขดั แย้งระหว่างประเทศ
- ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศของฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั้นไม่มี

เนื่องจากประเทศหลัก ๆ ในยุโรปต่างก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะรวมประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียว
โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการค้า เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการต่อรองระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม เรื่องของความคิดเห็นและนโยบายดา้ นเศรษฐกิจ การเงิน และการค้า ยังคงมีความไม่สอดคล้องกนั
หรอื มคี วามแตกตา่ งกนั อยบู่ า้ ง

- สำหรับความขัดแย้งกันทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรมีการ

กระทบกระทงั่ กันบ้างเล็กน้อยในเรื่องของปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง เนอื่ งจากสหราชอาณาจักรได้กล่าวหา
วา่ ฝรัง่ เศสเป็นช่องทางผ่านท่ีสำคัญของผู้ลกั ลอบหลบหนเี ข้ามายังสหราชอาณาจกั ร

- สว่ นดินแดนโพน้ ทะเลนัน้ ฝรง่ั เศสมีปัญหาท่ียงั ตกลงกนั ไมไ่ ดอ้ ยูบ่ า้ งกบั ประเทศต่าง ๆ ดงั น้ี
- Madagascar เรยี กรอ้ งสทิ ธิการครอบครองดนิ แดน Bassas da India, Europa Island, Glorioso

Islands, Juan de Nova Island และ Tromelin Island

- Comoros เรียกร้องสทิ ธกิ ารครอบครองดินแดน Mayotte
- Mauritius เรียกรอ้ งสิทธิการครอบครองดนิ แดน Tromelin Island

- ความขัดแย้งเกี่ยวกบั ดนิ แดนระหวา่ ง Suriname และ French Guiana
- ฝร่งั เศสเรียกร้องสิทธกิ ารครอบครองดนิ แดน Adelie Land ใน Antarctica
- ฝรั่งเศส และ Vanuatu เรียกร้องสิทธิการครอบครองดินแดน Matthew and Hunter Islands

ทางด้านทิศตะวนั ออกของ New Caledonia

ผนวก ค
กจิ กรรมการทูตฝ่ายทหารทีส่ ำคญั
กห.ฝรั่งเศส ได้มีการเชิญ ผชท.ทร. ไทย/ปารีส เข้าร่วมงานพิธีของรัฐ ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ
อย่างต่อเนื่อง โดย สน.ผชท.ทร. จะได้รับการแจ้งจากข้อมูลการเชิญเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งทางสำนักงานติดต่อกับคณะผู้แทนต่างประเทศหรือ BLME/DGRIS (Bureau de Liaison avec les Missions
Étrangères en France/ la Direction Générale des Relations Internationales et de la Stratégie)
จะมีการแจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซ่งึ ในบางกิจกรรมจะมรี ะบกุ ารเชิญเฉพาะผ้ชู ว่ ยทูต ฝ่ายทหาร สำหรับการ
ปฏิบตั ิหนา้ ท่ี ผชท.ทร.ไทย/ปารีส ในหว้ งระยะเวลา ๓ ปี ท่ีผา่ นมา มกี ิจกรรมสำคญั ทีต่ ้อง เข้ารว่ ม หรือควรเขา้ ร่วม
ดังน้ี
๑. งานพิธ/ี งานเลยี้ งท่จี ัดโดยทางการฝร่ังเศส
- งานวนั ชาติฝร่งั เศส ๑๔ ก.ค. (เชิญคู่) แตง่ กายชดุ บลหู รือปกตขิ าวแล้วแต่สภาพอากาศ
- งานวนั ครบรอบการสิ้นสดุ สงครามโลกครั้งที่ ๑ (๑๑ พ.ย. ค.ศ.๑๙๑๘) และครงั้ ท่ี ๒ (๘ พ.ค. ค.ศ.๑๙๔๕)
เชิญเดยี่ ว แต่งกายชดุ บลู
- งานรเี ซพชัน่ โดย ผบ.ทหารสูงสดุ ฝร่งั เศส ในเดือน พ.ค. (เชิญค)ู่ แตง่ กายชุดบลู
- งานรเี ซพชัน่ โดย ผบ.ทร.ฝร่ังเศส ในเดอื น พ.ย. (เชญิ ค่)ู แต่งกายชุดบลู

งานวนั ราลกึ การส้นิ สดุ สงครามโลกครัง้ ที่ 1 (Armistice Day) ณ ประตชู ัย (Arc de Triomphe) กรุงปารสี
๒. การเย่ียมชมกิจการหน่วยของ ทร.ฝร่งั เศส
ในช่วงปลายเดอื น พ.ค. ของทุกปี ทร.ฝรงั่ เศส จะจัดให้ ผชท.ทร.ต่างประเทศ และผทู้ ีท่ ำหน้าท่ีน้ี พร้อม

ภริยา เดินทางไปเยีย่ มชมกิจการหน่วยงานของ ทร.ฝรง่ั เศส ทเี่ มอื งตลู ง หรอื เมอื งเบรสท์ ระยะเวลาประมาณ ๓ วนั
หากไมต่ ิดภารกจิ สำคัญ ผชท.ฯ และภริยาควรรว่ มกจิ กรรมนี้

๓. การสาธติ การปฏบิ ัตกิ ารทางเรือ
ในเดือน ก.พ.ของทุกปี ทร.ฝรั่งเศส จะเชิญนักการเมือง เจ้าหน้าที่หน่วยงานตา่ ง นักศึกษา วปอ. วสท.

และ ผชท.ทร. ต่างประเทศ เดินทางไปชมการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือที่ฐานทัพเรือเมืองตูลง โดยการสาธิต
จะมีการนำเรือ อากาศยาน และหน่วยปฏิบัติการพิเศษออกสาธิตการปฏิบัติการในทะเล หากไม่ติดภารกิจสำคัญ
ผชท.ฯ ควรรว่ มกจิ กรรมนี้

๔. การบรรยายสรุปภารกิจของ ทร.ฝร่ังเศส
ทร.ฝรั่งเศส จะจัดการบรรยายสรุปข้อมูลสำคัญหรือเรื่องที่น่าสนใจใน ทร.ฝรั่งเศส ที่ Ecole Militaire

ในกรุงปารสี จำนวน ๑ ครง้ั /ปี โดย ผบ.ทร.ฝรั่งเศส จะมากลา่ วทกั ทายและตอบคำถามในชว่ งท้าย และหากมีเร่ือง
ที่เกี่ยวข้องกับประเทศใด ทร.ฝรั่งเศส จะเชิญ ผชท.ฯ ประเทศนั้น ๆ ไปรับฟังหรือประชุมที่ บก.ทร.ฝรั่งเศส
ตามท่จี ะได้รบั การประสานล่วงหนา้ เพม่ิ เติม

๕. กิจกรรมของสมาคมทูตทหาร (CAMNA)
- การประชุมสามัญประจำปี จัดประมาณต้นเดือน ม.ค. เพื่อรับทราบกิจกรรมที่ทำในปีที่ผ่านมา

กำหนดการในปีตอ่ ไป รับรองงบดลุ บญั ชี การแต่งกรรมการ และมีงานเลยี้ งคอกเทลหลงั ประชมุ
- การรับประทานอาหารกลางวันและบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จัดที่ภัตตาคาร Chalet des

Iles กรุงปารีส ประมาณ ๓ ครง้ั ใน ๑ ปี เกบ็ คา่ อาหารคนละ ๖๐ ยโู ร ในแต่ละครัง้
- กาลาดินเนอร์ จัดหนึ่งครั้งในรอบปี ในปลายเดือน มิ.ย. นอกกรุงปารีส โดยเชิญ ผชท.ฯ และภริยา

มีค่าใชจ้ า่ ยคนละ ๑๐๐ ยโู ร

กจิ กรรมของสมาคมทตู ทหาร (CAMNA)

๖. นทิ รรศการยโุ ธปกรณ์ทางเรอื Euronaval
จะมีการจัดงานในปีที่ลงท้ายด้วยเลขคู่ หรือจัดงานปีเวน้ ปี (สลับกับ Paris Airshow) ในเดือน ต.ค. โดย

ทางการฝรั่งเศสจะเรียนเชิญ ผบ.ทร. (ที่ผ่านมา ทร.จัดผู้แทนระดับ พล.ร.อ.) และคณะมาร่วมงาน ภายใต้การ
จัดการของสำนักจัดหายทุ โธปกรณ์ (DGA) ทั้งนี้ ผชท.ฯ มีหน้าที่ประสานการจัดทำกำหนดการ และเข้าร่วมคณะ
รวมทั้งให้การสนับสนุนคณะในช่วงนอกกำหนดการที่เป็นทางการ ซึ่งในส่วนนี้ DGA ไม่ได้สนับสนุนค่าใช้จ่าย โดย
ปกตินิทรรศการจะจัดที่ศูนย์จัดนิทรรศการใกล้สนามบินชาร์ลเดอโกลล์ ประมาณ ๕ วัน และจะมีการนำคณะ
เดนิ ทางลงไปชมเรือ ณ ฐานทพั เรอื เมืองตูลง ซึ่งอยู่ทางใต้ จำนวน ๑ วัน (ไมค่ ้างคนื )

๗. นิทรรศการยทุ โธปกรณ์ทางบก (Eurosatory) และทางอากาศ (Paris Airshow) Eurosatory
จะจัดในเดอื น มิ.ย.ปีเดยี วกับ Euronaval สว่ น Paris Airshow จะจัดเดอื น มิ.ย.ในปีถัดมา การนี้ ผชท.ฯ

จะไมเ่ กยี่ วข้องโดยตรง แต่สามารถเข้าไปร่วมคณะทมี่ าได้ตามความเหมาะสม โดย ผชท.ทบ.ฯ ในฐานะ ผชท.ทหาร
ฯ ซึ่งรบั ผิดชอบโดยตรงจะประสานมา

งานแสดงยทุ โธปกรณ์ทางทหาร (Eurosatory2022) ณ Parc des Expositions Paris Nord Villepinte

๘. งานวันชาต/ิ กองทัพของตา่ งประเทศ

- วันกองทัพญ่ีป่นุ เดือนกรกฎาคม - วันชาต/ิ วันกองทัพอินโดนีเซีย เดอื นกันยายน

- วันชาตมิ าเลเซีย เดือนกันยายน - งานบาร์บีควิ เปิดภาคการทำงานสอท.สหรัฐ เดอื นกนั ยายน

- วันกองทัพปากีสถาน เดอื นกันยายน - วนั กองทัพเรอื สหรฐั ฯ เดือนตุลาคม

- วันชาติสาธารณรฐั เชก เดอื นตุลาคม - วันกองทัพโรมาเนีย เดือนตุลาคม

- วนั ประกาศอิสรภาพตรุ กี เตือนตุลาคม - วันประกาศอิสรภาพเลบานอน เตือนพฤศจกิ ายน

- วันกองทัพลิธวั เนยี เดอื นพฤศจกิ ายน - วันกองทัพสาธารณรัฐเชก เดือนมิถนุ ายน

- วนั ชาตสิ งิ คโปร์ เดอื นกรกฎาคม - งานวันชาติอิหรา่ น เดอื นกมุ ภาพันธ์

- วนั ชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดอื นธันวาคม

งานวนั ชาติสาธารณรฐั เกาหลี ณ ศนู ย์แสดงวฒั นธรรมเกาหลี ประจากรุงปารสี
๙. งานดนิ เนอรท์ ี่ ผชท.ต่างประเทศเชิญเป็นการส่วนตัว

โดยปกติจะมี ผชท.ตา่ งประเทศ ทเี่ คยพบปะ พดู คุย รว่ มกิจกรรม และมีความคุ้นเคย จดั และเชิญ ผชท.ฯ
และภริยาไปร่วมดนิ เนอร์ทีท่ ่ีพกั ครง้ั ละประมาณ ๕ คู่ (เจา้ ภาพ ๑ คู่ นายทหารฝรงั่ เศส ๑ คู่ และ ผชท.ตา่ งประเทศ
จำนวน ๓ คู)่ จำนวนครั้งขนึ้ อยู่กบั ผชท.ต่างประเทศทรี่ ู้จักคนุ้ เคยกบั เรา

๑๐. กจิ กรรมที่ทาง สอท. หน่วยงานไทย และชุมชนคนไทยจดั
กจิ กรรมลกั ษณะน้ีมีไม่บอ่ ยครัง้ นัก เช่น พิธที อดกฐินพระราชทานท่ีวดั ไทยปลี ะ ๑ ครง้ั งานวนั ขน้ึ ปีใหม่

งานวันสงกรานต์ที่วัดไทย พิธีเนื่องในวโรกาสที่สำคัญของประเทศ โดย สอท. งานส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยสำนกั งาน ททท.กรงุ ปารีส จะเปน็ เจา้ ภาพดำเนินการ เปน็ ต้น

รว่ มกิจกรรมเทดิ พระเกยี รติในวนั สำคญั ตำ่ งๆ กบั สอท.ฯ

ผนวก ง

ขอ้ มลู สถานทที่ ศั นศึกษาทสี่ ำคัญในฝรง่ั เศส

พพิ ิธภณั ฑล์ ูฟวร์ Louvre Museum

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ หรือทับศัพท์ว่า มูว์เซดูลูฟวร์ (Musée du Louvre) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่
ในกรงุ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพธิ ภณั ฑล์ ฟู วร์เปน็ พพิ ธิ ภัณฑ์ที่มีช่ือเสียงท่ีสุด เกา่ แก่ท่ีสุด และใหญ่ที่สุดแห่งหน่ึง
ของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๖ (ค.ศ. ๑๗๙๓) มีประวัติความเปน็ มายาวนานต้งั แต่
สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษา
ผลงานทางศลิ ปะทีท่ รงคุณคา่ ระดบั โลกเปน็ จำนวนมากกว่า ๓๕,๐๐๐ ชิ้น จากตั้งแต่สมัยกอ่ นประวัติศาสตร์จนถึง
ศตวรรษที่ ๑๙ อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks
ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทอี อก ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
พพิ ิธภณั ฑ์ลฟู วรม์ ผี ู้มาเยีย่ มชมเป็นจำนวน ๘.๓ ลา้ นคน ทำให้เปน็ พิพธิ ภณั ฑท์ มี่ ีผูม้ าเยีย่ มชมมากที่สุดในโลกและยัง
เปน็ สถานที่ทีม่ ีนกั ท่องเที่ยวมาเยอื นมากทส่ี ดุ ในกรงุ ปารสี

รูปประตมิ ากรรมหินออ่ นวนี สั ของมโิ ล (Venus de Milo) ถูกเพิม่ มาจดั แสดงในรชั สมยั ของพระเจ้าหลยุ ส์ท่ี ๑๓
พีระมิดแก้วของพิพิธภณั ฑล์ ูฟวรอ์ อกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมรกิ ัน ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เม่อื ปี
ค.ศ.๑๙๘๘ โดยเป็นหนึ่งในโครงการที่ริเริ่มของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง เพื่อใช้สอยเป็นทางเข้าหลักของ
พพิ ธิ ภณั ฑ์ โดยผูเ้ ขา้ ชมจะตอ้ งเข้าผ่านล็อบบ้ีใตด้ นิ ทีอ่ ยู่ใต้ฐานพีระมดิ โดยโครงการถดั ไปคอื พีระมิดกลับหัว หรือ
The Inverse Pyramid (ฝร่งั เศส: La Pyramide Inversée) ซ่ึงเป็นพรี ะมดิ แก้วเชน่ เดียวกนั ท่ีสามารถมองเห็นได้
จากใตด้ นิ โดยฐานพรี ะมิดจะอย่บู นพนื้ ผิวระดบั ถนน ซงึ่ โครงการน้เี สรจ็ สมบรู ณใ์ นปี ค.ศ.๑๙๙๓

แม่น้ำแซน Seine River

แม่น้ำแซน (Seine) เป็นแม่น้ำสายหลักทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส และเป็นสถานที่
ท่องเที่ยวในกรุงปารีส แม่น้ำแซนเป็นแม่น้ำที่มีความยาว ๗๗๗ กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่สำคัญในแอ่งปารีส
ในภาคเหนือของฝรั่งเศส มีต้นน้ำอยู่ที่คอมมูนซูร์สแซนซึ่งอยู่ห่างจากเมืองดีฌงในที่ราบสูงล็องก์
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ของฝรั่งเศส ไปทางทิศตะวนั ตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ไหลผ่านปารีสและ
ไหลลงสชู่ อ่ งแคบองั กฤษที่เลออาฟวร์ (และอ็องเฟลอร์ในตลิ่งฝง่ั ซ้าย) แมน่ ำ้ แซนสามารถเดนิ เรือสมุทรเข้าไปในฝั่ง
ไดไ้ กลท่สี ุดถงึ เมืองรอู อ็ งเปน็ ระยะทาง ๑๒๐ กิโลเมตรจากทะเล ความยาวของแม่นำ้ แซนกวา่ ๖๐ เปอร์เซนตจ์ นถึง
แควน้ บรู ์กอญ มีการเดินเรือเชงิ พาณิชย์ และตลอดเกือบทั้งความยาวของแม่น้ำมไี วส้ ำหรบั การสันทนาการด้านการ
พายเรือ และยังมีเรือเดินระยะสั้นให้บริการล่องเรือเที่ยวชมตลิ่งของแม่น้ำแซนในปารีส โดยพาชมอนุสรณ์สถาน
สำคญั ไดแ้ ก่ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแหง่ ปารีส, หอไอเฟล, พิพธิ ภณั ฑ์ลูฟวร์ และ พพิ ิธภณั ฑอ์ อร์แซ

หอไอเฟล Eiffel Tower

หอไอเฟล (Tour Eiffel) เปน็ หอคอยโครงสรา้ งเหลก็ ตงั้ อยูบ่ นช็องเดอมาร์ บรเิ วณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส
เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรงั่ เศสทเ่ี ปน็ ทร่ี จู้ กั กนั ท่วั โลก ทั้งยงั เป็นหน่ึงในสง่ิ กอ่ สรา้ งที่มชี อ่ื เสยี งที่สุดในโลก

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามกุสตาฟ ไอเฟล สถาปนิกและ
วิศวกรชน้ั นำของฝร่ังเศส ซง่ึ เป็นผู้ออกแบบหอคอยน้ี หอไอเฟลสร้างขน้ึ เพือ่ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้า
โลก ในปี ค.ศ. ๑๘๘๙ (Exposition universelle de Paris de 1889) เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศ
ฝรั่งเศส ความเจรญิ ก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศลิ ปะสถาปัตยกรรม หอคอยสูงงดงาม
แหง่ น้เี ปน็ ดาวเด่นทส่ี รา้ งความประทับใจแก่ผ้รู ว่ มงาน ซ่ึงต่อมาได้รู้จักในนามหอไอเฟลและกลายมาเป็นสัญลักษณ์
ของกรุงปารีส และใน ค.ศ. ๒๐๐๖ นักท่องเที่ยวกว่า ๖,๗๑๙,๒๐๐ คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า
๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นส่ิงก่อสร้างทม่ี ีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปี หอไอเฟลสูง ๓๒๔ เมตร
(๑,๐๖๓ ฟตุ ) หรอื สูงเท่ากบั ตึก ๘๑ ชนั้

ประตูชยั ฝร่ังเศส (Arc de Triomphe)

อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล (Arc de triomphe de l'Étoile) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ประตูชัยฝรั่งเศส
เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่กลางจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล (Place Charles de
Gaulle) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "จัตุรัสแห่งดวงดาว" (Place de l'Étoile) อยู่ทางทิศตะวันตกของช็องเซลีเซ
ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีวีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างย่ิง
ในสงครามนโปเลียน และในปจั จบุ ันยงั เปน็ สสุ านของทหารนิรนาม

ประตูชัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "แกนกลางอันเก่าแก่" (L'Axe historique) ซึ่งเป็นถนนเส้นตรงจากสวน
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ไปยังชานกรุงปารีส ประตูชัยแห่งนี้ออกแบบโดยฌ็อง ชาลแกร็ง ในปี พ.ศ.๒๓๔๙ โดยมียุวชนเปลือย
ชาวฝรั่งเศสกำลงั ต่อสู้กับทหารเยอรมนั เต็มไปด้วยเคราและใส่เกราะเป็นสัญลักษณเ์ พื่อเป็นการปลุกใจ และเปน็
อนุสรณส์ ถานจนกระท่ังสงครามโลกคร้ังที่ ๑

อาร์กเดอทรียงฟ์มีความสูง ๔๙.๕ เมตร (๑๖๕ ฟุต) กว้าง ๔๕ เมตร (๑๔๘ ฟุต) และลึก ๒๒ เมตร (๗๒ ฟุต)
เป็นประตูชัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แบบของอาร์กเดอทรียงฟ์นี้ได้แนวความคิด
มาจากประตูชัยไตตัส อาร์กเดอทรียงฟ์มีความใหญ่มาก เพราะหลังจากมีการสวนสนามในปรุงปารีสเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๖๒ ชาร์ล โกดฟรัว ได้ขับเครื่องบินนีอูปอร์ต (Nieuport) ผ่านกลางอาร์กเดอทรียงฟ์ เพื่อเป็นการสดุดี
เหลา่ ทหารอากาศท่ไี ดเ้ สียชวี ิตในสงครามโลกครงั้ ที่ ๑

ถนนฌอ็ งเซลเิ ซ่ (Champs Elysees)

ถนนฌ็องเซลิเซ่ (Champs-Élysées) ตั้งอยู่เขตที่ ๘ ของกรุงปารีส เป็นหนึ่งในถนนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
ในฝรั่งเศส เป็นย่านศูนย์การค้าระดับพรีเมียม แหล่งรวมสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกทุกแบรนด์ และมีร้านอาหาร
ที่มีความหรูหราอลังการและสร้างความตื่นตาตื่นใจตลอดสองข้างทาง ถือว่าเป็นย่านธุรกจิ ที่สำคัญของกรุงปารีส
เป็นย่านการค้าที่มีค่าเช่าที่แพงที่สุดในโลก ค่าเช่าประมาณ ๑.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ต่อเนื้อที่ประมาณ
๙๓ ตารางเมตร และยงั ถูกจัดอันดบั ให้เปน็ ถนนที่สวยท่ีสุดในโลก

ฌอ็ งเซลเิ ซ่ มาจากคำว่า “ทงุ่ เอลิเซยี ม” จากเทพปกรณัมกรกี ในภาษาฝรง่ั เศส ในอดตี เคยเป็นทอ้ งทุ่งและ
สวนธรรมดาในกรงุ ปารีสเท่าน้ัน เมอื่ ปี ค.ศ.๑๖๑๖ พระราชินี มารี เดอ เมดิชิ ทรงมีพระประสงค์ในการขยายพ้ืนที่
ของสวนหย่อมในพระราชวงั ตยุ เลอรี ให้กว้างออกไปมีความประสงค์ใหอ้ อกแบบเป็นถนนที่มีต้นเกาลัดขนาดใหญ่
ตั้งอยู่ระหว่างสองข้างทางมากถึง ๕๘๘ ต้น ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ.๑๗๒๔ ถนนฌ็องเซลิเซ่ (Champs Elysees)
ถูกตัดเส้นทางให้เชื่อมต่อกับจตั ุรัสชาร์ล เดอ โกล หรือเรียกอีกชือ่ หนึ่งคือจตั ุรัสแห่งดวงดาวที่มีประตูชัยฝร่ังเศส
ตงั้ ตระหง่านอยตู่ รงกลาง

ตึกส่วนใหญ่บนถนน ถนนฌ็องเซลิเซ่ (Champs Elysees) เป็นสถาปัตยกรรมที่มีการผสมผสานศิลปะ
Art Deco กับการตกแต่งสไตล์ Art Nouveau เขา้ ไวด้ ว้ ยกันอยา่ งลงตวั

ลมุ่ แมน่ ำ้ ลวั ร์ Loire Valley

ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Vallée de la Loire) เป็นบริเวณทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝรั่งเศส
ทมี่ ีช่อื เสยี งเปน็ ที่ร้จู ักกันดีจากคุณค่าของสถาปัตยกรรมและเมอื งโบราณท่มี ีความสำคัญทางประวตั ิศาสตร์ที่รวมท้ัง
เมอื งมงตโ์ ซโร, อองบัวส์, อองแชร์, บลวั ส์, ชินง, นานต์ส์, ออรเ์ ลอองส์, โซมวั ร์ และ ตูร์ แตท่ ่ีสำคญั คอื พระราชวัง,
วัง, ปราสาท และคฤหาสน์ตา่ งๆ ที่มีช่ือเสียงเลื่องลือไปทัว่ โลกท่ีรวมทั้งพระราชวงั ชองบอร์ด หรือ วังเชอนงโซซ่ืง
เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคเรือง
ปัญญาท่มี ตี อ่ การออกแบบและการสรา้ งสถาปตั ยกรรม

ในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนบริเวณตอนกลางของลุ่มแม่น้ำลัวร์ระหว่างแมน (Maine
River) และ ซุลลีย์-เซอร์-ลัวร์ ให้เป็นมรดกโลกในการเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ที่ครอบคลุมจังหวัดลัวเรต์ ,
ลวั -เรต-์ แชร์, แองดร-์ เอต์-ลวั ร์, and แมน-เนต-์ ลัวร์ ทางคณะกรรมการกล่าวถึงภูมิภาคล่มุ แม่น้ำลวั ร์ว่าเป็นบริเวณที่
“มีความงามของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเด่น, และมีความสวยงามอันเลอเลิศที่ประกอบด้วยเมืองและหมู่บ้าน
สำคัญในประวัติศาสตร์, อนุสรณ์ทางสถาปัตยกรรมอันสำคัญ - ชาโต - และแผ่นดินที่ได้รับการพัฒนาทางการ
เกษตรกรรมและเปลีย่ นแปลงทีเ่ กดิ จากความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งผตู้ ้ังถิ่นฐานในท้องถน่ิ และสิง่ แวดลอ้ มรอบข้าง

ปราสาทและวังแห่งลมุ่ แม่น้ำลัวร์

ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์เป็นที่ตัง้ ของพระราชวัง, วัง, ปราสาท และคฤหาสน์กว่าสามร้อยหลังที่เร่ิมต้นด้วย
การสรา้ งเป็นป้อมปราการเพอื่ การป้องกนั ขา้ ศึกศัตรูในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ มาจนถงึ เปล่ยี นแปลงหรอื การสร้างวัง
ใหมอ่ ันโอ่อา่ หรูหราอีกห้าร้อยปตี ่อมา การมาสร้างปราสาทราชวังกันในบริเวณที่มีภูมิทัศน์อันงดงามเป็นการดึงดูด
นกั ออกแบบสวนภมู ทิ ศั น์ให้เข้ามารว่ ม

เมอ่ื มาถงึ กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ พระเจา้ ฟรองซวั สท์ ่ี ๑ ทรงยา้ ยราชสำนักจากลุ่มแม่น้ำลัวร์กลับไปยัง
ปารีส สถาปนิกคนสำคัญๆ ที่เคยทำงานในบริเวณนั้นก็ย้ายตามกลับไปด้วยแต่ลุ่มแม่น้ำลัวร์กย็ ังคงเป็นสถานท่ีที่
บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่ยังนิยมที่จะเสด็จมาประทับ เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เสด็จขึ้นครองราชย์
ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ พระองค์ก็ทรงใช้ปารีสเป็นศูนย์กลางของอำนาจอย่างถาวรโดยการทรงสร้างพระราชวังแวร์ซายส์
ที่ไม่ไกลจากปารีสเอง แต่กระนั้นผู้ที่เป็นที่โปรดปรานของพระมหากษัตริย์และคหบดีผู้มั่งคั่งก็ยังคงมา
บรู ณปฏิสังขรณว์ งั หรือคฤหาสน์ หรอื สรา้ งส่งิ ก่อสรา้ งใหม่อันหรหู ราทใี่ ชเ้ ป็นท่ีพำนักระหว่างฤดรู ้อนกนั ในบรเิ วณน้ี

วังและคฤหาสน์มาถูกทำลายหรือปล้นทำลายไปมากระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ไม่เช่นนั้นก็เกิดจากการ
ทำลายโดยเจ้าของที่กลายเป็นขุนนางตกยากในชั่วข้ามคืน เมื่อหัวหน้าครอบครัวถูกปลดและบั่นคอด้วยกิโยติน
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง วังหรือคฤหาสน์บางหลังก็ถูกเกณฑ์ให้เป็น
กองบญั ชาการทหาร และบางแหง่ ก็ยงั คงใชต้ ่อมาจนกระทั่งสิน้ สงครามโลกครงั้ ท่ีสอง

ในปัจจุบันวังหรือคฤหาสน์ที่เป็นสมบัติส่วนบุคคลก็ใช้เป็นที่พำนัก มีบ้างที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้
หรือบางแห่งก็เปลี่ยนไปเปน็ โรงแรม หรอื บางแหง่ ก็กลายมาเป็นที่ทำการของรฐั บาลทอ้ งถ่ิน สง่ิ ก่อสร้างขนาดใหญ่
บางแห่งเช่นพระราชวังชองบอรด์ ก็ได้รับการบริหารโดยรัฐบาลกลางและกลายเป็นสถานที่ดึงดดู นักท่องเท่ียวเปน็
จำนวนหลายหม่นื คนตอ่ ปี

พระราชวงั ออ็ งบวซ (Amboies) ปราสาทเชอนงโช (Chenonceau)

เมืองออร์เลออ็ ง Orleans

ออรเ์ ลออ็ ง (Orléans) เป็นเมอื งท่ีตง้ั อยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝร่ังเศส ราว ๑๓๐ ทางตะวันตกเฉียงใต้
ของกรุงปารีส เป็นเมืองหลักของจังหวัดลัวแรในแคว้นซอ็ งทร์-วาลเดอลัวร์ ตัวเมืองตั้งอยูบ่ นฝั่งแม่น้ำลัวร์ ตรงที่
แม่น้ำโคง้ ไปทางใตไ้ ปยังมาซิฟซ็องทราล

เหตุการณ์สำคญั ที่ทำให้เมือง Orléans หรือ ออร์เลอ็อง กลายเป็นทร่ี ูจ้ ัก คือ สงครามรอ้ ยปีซ่งึ มีความเก่ียวพัน
กับวีรสตรีนามว่า โยน ออฟอาร์ค (Joan of Arc) ผู้นำสงครามที่รบชนะกองทัพอังกฤษที่เมืองนี้ เมือง Orléans
ในปัจจุบันยังคงรักษาสถาปัตยกรรมตามแบบฉบับของศตวรรษที่ ๑๘ ไว้เป็นอย่างดี ตัวตึก และอาคารต่างๆ
บอกเลา่ เรือ่ งราวของวรี สตรีคนสำคญั อยา่ งโยนออฟอาร์ค รวมไปถงึ กิจกรรมต่างๆท่ีบริเวณท่าเรือเก่า การเดินทาง
ไปเมืองน้ใี ช้เวลาเพียง ๑ ชัว่ โมง ด้วยการโดยสารรถไฟจากกรุงปารีส ความสดใสและเต็มไปดว้ ยชวี ติ ชีวาของเมือง
บวกกบั ความงดงามของวิถีชวี ติ ล่มุ แม่นำ้ ลวั ร์ คือ คำจำกัดความงา่ ยๆของเมอื งน้ี

ที่เมืองออร์เลอ็องมีอนุสรณ์ประวัติศาสตรท์ ี่ไม่ควรพลาดอยู่มากมาย เช่น โบสถ์เซนต์ครัว (Cathedrale
Sainte-Croix), พิพิธภัณฑ์โยนออฟอาร์ค (Maison de Jeanne d'Arc), ศาลากลาง Groslot (hôtel Groslot)
และ สวนสาธารณะ Parc Floral


Click to View FlipBook Version