The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือผู้บริโภค รวมสาระน่ารู้เพื่อผู้บริโภค

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ebookrayong, 2021-03-12 03:32:59

คู่มือผู้บริโภค รวมสาระน่ารู้เพื่อผู้บริโภค

คู่มือผู้บริโภค รวมสาระน่ารู้เพื่อผู้บริโภค

Keywords: ผู้บริโภค

1

ขอ้ มลู ทางบรรณานกุ รมของส�านกั หอสมดุ แห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรคุ้มครองผู้บริโภค ส�ำนักนำยกรัฐมนตรี
คูม่ อื ผ้บู ริโภค
64 หน้า

ISBN: 978-616-235-282-9

พมิ พค์ ร้ังท่ี 1 พ.ศ. 2560

จำ� นวนพิมพ์ 10,000 เล่ม

จัดพมิ พโ์ ดย ส�านกั งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บรโิ ภค
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชน้ั 5
ศูนย์ราชการเฉลมิ พระเกยี รต ิ 80 พรรษาฯ
ถนนแจง้ วัฒนะ แขวงทงุ่ สองห้อง
เขตหลักสี่ กรงุ เทพมหานคร 10210
โทรศพั ท์ 0 2141 3483 โทรสาร 0 2143 9772-3

พมิ พ์ที ่ โรงพิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย [6008-041]
โทร. 0 2215 3549 50 โทรสาร 0 2215 3612
นายอรัญ หาญสืบสาย ผูพ้ ิมพ์ผูโ้ ฆษณา
http://www.cuprint.chula.ac.th
2

คํานํา

ส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้จัดท�าคู่มือผู้บริโภคขึ้น
โดยเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจากหน่วยงานต่างๆ
ได้แก่ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านขายตรงและตลาดแบบตรง
กองกฎหมายและคดี ตลอดจนข้อค�าถาม ข้อสงสัยที่ผู้บริโภคสอบถามเข้ามาทาง
ช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บบอร์ดของ www.ocpb.go.th เว็บเพจ สคบ. น�ามา
รวบรวมเป็นคมู่ ือผู้บริโภคฉบับพกพาสา� หรบั ผบู้ ริโภค

www.ocpb.go.th facebook

3

สารบญั

รู้ไว้ใช่ว่า.......สทิ ธิผู้บรโิ ภคที่เราควรร ู้ หนา้
6
ข้อควรปฏิบตั สิ า� หรับ....ผู้บรโิ ภคในการซ้ือสนิ คา้ หรือบรกิ าร 7
8
การเตรยี มตัวเพ่อื รอ้ งทกุ ข์สา� หรับผูบ้ ริโภค 10
11
ข้นั ตอนแก้ไขปญั หาเร่ืองราวร้องทุกขข์ อง สคบ. 12
13
เร่อื งร้องเรยี นแบบไหนที่....สคบ. ไม่รบั รอ้ งเรียน 14

หลกั ใน....การท�าสัญญา 17
19
การคมุ้ ครอง....ผู้บริโภคในธรุ กิจบัตรเครดติ 23
24
สาระสา� คญั ของธรุ กิจให้เชา่ ซ้อื รถยนต์ และ รถจกั รยานยนต์ 25
ท ี่ สคบ. ไดป้ ระกาศให้เปน็ ธรุ กิจควบคมุ สญั ญา 26
28
เร่ืองที่ต้องรกู้ ่อนเสียเงนิ จองท�าสญั ญาซื้อท่อี ยูอ่ าศัย 29
31
วิธกี ารตรวจสอบความคืบหนา้ ในการก่อสร้าง 33

ปัญหาการก่อสรา้ ง....บ้านไม่แล้วเสร็จ

กอ่ สร้าง....ล่าชา้ มีสิทธิบอกเลกิ สญั ญา

วิธปี ฏิบตั .ิ ...ก่อนรบั โอนกรรมสทิ ธ์บิ า้ น/ห้องชดุ

จะท�าอย่างไรด.ี ...ถา้ ต้องการยกเลิกสัญญา

แชร์ลกู โซ่ กบั ธุรกจิ ขายตรง แตกต่างกนั อย่างไร

วธิ กี ารรบั มอื ....กบั ปัญหาการซื้อขายออนไลน ์

ซอ้ื ขาย สนิ คา้ ออนไลน์ อยา่ งไร? สบายใจท้งั ผู้ขายและผูบ้ รโิ ภค

การขายสินคา้ ทางอินเตอรเ์ น็ต เปน็ ธรุ กจิ ตลาดแบบตรง
ตอ้ งจดทะเบยี นตอ่ สคบ.

4

สารบญั

หนา้
รู้ไวไ้ ดป้ ระโยชน ์ “สทิ ธขิ องผู้เช่าหอพัก ทาวนเ์ ฮาส์ แมนชั่น อพาร์ทเมน้ ต”์ 35

เรอ่ื งนา่ รู.้ ...ก่อนเซ็นสญั ญาเช่าหอพกั 39

“ฉลากสินค้าสา� คญั อย่างไร” 40

การค้มุ ครองผู้บริโภค....ดา้ นฉลาก 42

เลอื กทจ่ี ะสวย..อยา่ งคมุ้ ค่าและปลอดภัย เลอื กสถานเสริมความงาม 45
ท่ีได้มาตรฐาน

“บรกิ ารหลงั การขาย” อีกเรื่องสา� คญั กอ่ นคดิ ซ้อื รถ 47

รอบคอบกอ่ น...ซ้อื ตว๋ั เครือ่ งบนิ ออนไลน์ 49

สทิ ธิผู้บริโภค กับ การเสนอขายผลิตภณั ฑ์จากธนาคาร 51

“รเู้ ทา่ ทนั ...สนิ คา้ อันตราย” 53

การคมุ้ ครองผ้บู รโิ ภคด้านโฆษณาตามพระราชบญั ญตั ิ 55
คมุ้ ครองผูบ้ รโิ ภค พ.ศ.2522

สทิ ธิของผูใ้ ชบ้ ริการ....รถโดยสารสาธารณะ 58

ขัน้ ตอน....การรอ้ งเรียนออนไลน ์ 61

เดือดร้อนเรื่องอะไร? ควรไปร้องเรียนทีไ่ หนดี 63

สิทธิผบู้ รโิ ภค 5 ประการ 64

5

ร้ไู ว้ใชว่ ่า....สิทธิผบู้ รโิ ภคที่เราควรรู้

สทิ ธผิ ู้บริโภค 5 ประกำร

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งค�าพรรณนาคุณภาพท่ีถูกต้องและเพียงพอ
เกีย่ วกบั สินค้าหรือบริการ
2. สทิ ธิทจี่ ะมีอสิ ระในการเลอื กหาสินคา้ หรอื บริการ
3. สิทธิที่จะไดร้ บั ความปลอดภัยจากการใชส้ ินคา้ หรอื บรกิ าร
4. สิทธิท่ีจะได้รับความเป็นธรรมในการท�าสัญญา ได้แก่ สิทธิท่ีจะได้รับ
ขอ้ สญั ญาโดยไมถ่ กู เอารัดเอาเปรยี บจากผปู้ ระกอบธรุ กิจ
5. สิทธิท่ีจะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิ
ท่ีจะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตาม
ข้อ 1-4

CREDIT CARD

BUY

6

ขอ้ ควรปฏบิ ตั สิ าํ หรบั ....ผบู้ รโิ ภคในการซอื้ สนิ คา้ หรอื บรกิ าร

l ใช้ความระมดั ระวัง ในการซ้อื สนิ ค้าหรอื บริการ
l ใหค้ วามส�าคญั กบั ฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินคา้ หรอื บรกิ าร
l เปรียบเทียบสินค้าแต่ละย่ีห้อก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น ชื่อประเภทหรือ
ชนิดของสนิ ค้า ขอ้ แนะน�าในการใชห้ รอื หา้ มใช ้ คา� เตือน (ถา้ ม)ี วนั เดอื นปีท่ีผลิต หรือ
หมดอาย ุ วธิ ีการใช ้ ชอ่ื ผผู้ ลิต หรือผูจ้ า� หน่าย ราคา
l อย่าดว่ นหลงเชือ่ ค�าโฆษณาของสนิ ค้าหรอื บริการ ต้องศึกษารายละเอียดอ่ืนๆ
ของตวั สนิ ค้าหรอื บริการทีอ่ าจไม่ได้ระบไุ ว้ในโฆษณา
l เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่างๆ ท่ีแสดงถึงการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้
เพ่อื การเรียกรอ้ งตามสทิ ธิของตน
l สอบถามขอ้ เทจ็ จรงิ เกย่ี วกบั คณุ ภาพของสนิ คา้ จากผขู้ าย หรอื ผทู้ เ่ี คยใชส้ นิ คา้
นน้ั แล้ว ศกึ ษาเงอื่ นไข หรอื ข้อจา� กัดของสินค้า เช่น วัน เดอื น ปี ท่ผี ลติ หรอื หมดอายุ
วธิ ีการเก็บรักษา คา� เตอื น หรือขอ้ ควรระวงั
l ร้องขอให้หน่วยงานที่เก่ียวข้องตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้า
ว่าเป็นจริงตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่เพ่ือให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็น
ธรรมแก่ผบู้ รโิ ภค

ขอ้ ควรปฏิบัติ....หลงั จากซื้อสนิ ค้าหรือบรกิ าร

l เกบ็ รกั ษาพยานหลกั ฐานตา่ งๆ ทแ่ี สดงถงึ การละเมดิ สทิ ธขิ องผบู้ รโิ ภคไว ้
เพ่ือการเรียกร้องตามสทิ ธขิ องตน เช่น อาจเปน็ สนิ ค้าทแ่ี สดงใหเ้ หน็ วา่ มปี รมิ าณ
หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานท่ีระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือ
มพี ษิ ทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ อนั ตราย ควรจา� สถานทซ่ี อ้ื สนิ คา้ หรอื บรกิ ารนน้ั ไว ้ เอกสารโฆษณา
และใบเสร็จรับเงิน

l เมอื่ มกี ารละเมดิ สทิ ธ ิ หนา้ ทขี่ องผบู้ รโิ ภค คอื รอ้ งเรยี นตามสทิ ธไิ ปยงั
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก�ากับดูแลสินค้าหรือบริการนั้น หรือร้องเรียน
มาที่ สคบ. ส่วนต่างจังหวัดร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการการคุ้มครอง
ผบู้ ริโภคประจา� จงั หวดั

7



การยน่ื ....เรอื่ งรอ้ งเรียน

ผู้บริโภคยื่นเรื่องร้องเรียน ท่ีส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจ�าจังหวัดในจังหวัดที่ท่าน
อาศยั อย ู่ โดยมขี นั้ ตอนดงั น้ี
1. ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบบันทึกค�าร้องเรียนพร้อมแนบเอกสาร
(เอกสารลงช่ือรับรองสา� เนาทกุ ฉบับ) มอบใหเ้ จ้าหน้าท่ี
2. ผรู้ อ้ งเรยี นกรอกรายละเอยี ด ในแบบหนงั สอื มอบอา� นาจ (มอบอา� นาจให ้ สคบ.
ดา� เนนิ การแทนผู้รอ้ ง) พรอ้ มตดิ อากรแสตมป์ จ�านวน 30 บาท
3. กรณีผู้บริโภคไม่สามารถร้องเรียนด้วยตนเองได้ ผู้มาร้องเรียนแทน จะต้อง
มีหนังสือรับรองมอบอ�านาจจากผู้บริโภค (พร้อมติดอากรแสตมป์ จ�านวน 30 บาท)
น�ามายื่นต่อเจ้าหน้าทดี่ ้วย

ช่องทาง...การรับเรอื่ งร้องเรยี น

ผบู้ ริโภคสำมำรถร้องเรยี นไดห้ ลำยชอ่ งทำง ดงั นี้
1. รอ้ งเรียนดว้ ยตนเองหรอื ส่งจดหมายไปที ่ สคบ.
2. รอ้ งเรยี นทศ่ี าลากลางจังหวัดทกุ จงั หวัด
3. ร้องเรียนผ่าน www.ocpb.go.th
4. E mail: [email protected]
5. รับแบบฟอร์มร้องเรียนพร้อมซองได้ที่เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขา โดยไม่มี
ค่าใช้จา่ ย

บริกำรใหค้ ำ� ปรกึ ษำ และแจง้ เบำะแส โทรศพั ทส์ ำยดว่ น 1166

9

“ขน้ั ตอนแก้ไขปญั หาเรื่องราวร้องทกุ ข์ของ สคบ.”

๑.๒ ๑. เจ้าหนา้ ทรี่ บั เร่ือง ๑.๑
(ตรวจสอบเอกสาร รวบรวมขอ้ เท็จจริง
เจา้ หนา้ ทีด่ า� เนนิ การท�าหนงั สือเชญิ มา ๕ วนั ท�าการ) เจา้ หนา้ ทดี่ า� เนนิ การท�าหนังสอื เชิญมา
เจรจาไกลเ่ กล่ยี /เรยี กมาพบพนกั งาน เจรจาไกล่เกลี่ย/เรียกมาพบพนกั งาน
เจา้ หน้าท/่ี ให้ชี้แจงขอ้ เทจ็ จรงิ เป็นหนงั สอื
เจา้ หนา้ ที/่ ให้ชแี้ จ้ง
๑๕ วัน

๒. ดา� เนินการเจรจาไกล่เกลี่ย คกู่ รณตี กลงกนั ได้ เสนอผบู้ ังคบั บัญชายุตเิ รือ่ ง

ในชน้ั เจา้ หน้าท่ี

๒.๑ ดา� เนนิ การเจรจาไกลเ่ กลยี่ ในชั้น
เจา้ หน้าท่ี ครง้ั ท ี่ ๒

๒.๒ ดา� เนนิ การเจรจาไกลเ่ กลี่ยในช้นั คู่กรณตี กลงกันได้ ยุติเร่ือง
อนกุ รรมการฯ หรอื มมี ตใิ หย้ ตุ ิเร่อื ง

๒.๓ ดา� เนินการเจรจาไกลเ่ กลย่ี ๑๘๐ วนั
ครงั้ ที่ ๒

๓. รวบรวมข้อเท็จจรงิ สรปุ สา� นวนน�าเสนอ ๔.

ผูบ้ งั คบั บญั ชาพจิ ารณาใหค้ วามเหน็ เพอื่ บรรจุ รวบรวมข้อเทจ็ จรงิ น�าบรรจเุ ขา้ สู่
คณะอนกุ รรมการกลัน่ กรอง วาระการประชุม คคบ.
๗ วันท�าการ ภ า ย ใ น ๗ วั น ท� า ก า ร นั บ
แต่วันท่ีคณะอนุกรรมการฯ
เหน็ ควรสอบสวนข้อเท็จจรงิ เพ่มิ เตมิ / ๓.๑ เห็นควรยุตเิ รือ่ ง/ ใหก้ ารรับรองมติ
แตง่ ตง้ั คณะท�างานตรวจสอบขอ้ พพิ าท/
คณะอนกุ รรมการกลัน่ กรองฯ พจิ ารณา เห็นควรดา� เนินคดี
ใหเ้ จรจาไกลเ่ กลยี่ ใหม่

๓.๒ ดา� เนินการตามมติคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ๑๒๐ วัน ๕.คณะกรรมการฯ พิจารณาเพื่อมีมติ

๖. ภายใน ๓๐ วนั

เจา้ หน้าท่ีผู้รบั ผดิ ชอบสา� นวน
แจ้งมต ิ คคบ.ใหผ้ รู้ ้องทราบ

ภายใน ๗ วันท�าการ

10

เรือ่ งรอ้ งเรยี นแบบไหนท.ี่ ..สคบ. ไม่รับร้องเรยี น

1. เรื่องที่ผู้บริโภคไดไ้ ปใช้สทิ ธดิ า� เนนิ คดที างศาลดว้ ยตนเองแล้ว
2. เรื่องท่ีมีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องท่ีศาลมีค�าพิพากษาหรือ
ค�าสั่งเสรจ็ เด็ดขาดแลว้
3. เร่ืองท่ีผู้บริโภคได้ใช้สิทธิทางศาลด้วยตนเอง แต่จะให้ส�านักงาน
คณะกรรมการคมุ้ ครองผบู้ รโิ ภคหรอื คณะกรรมการคมุ้ ครองผบู้ รโิ ภค ดา� เนนิ การบงั คบั
คดีตามคา� พิพากษา
4. เร่อื งที่อยู่ในกระบวนการลม้ ละลายหรือฟ้นื ฟูกิจการตามกฎหมายว่าดว้ ยการ
ล้มละลาย
5. เรื่องท่ีอายุความในการด�าเนนิ คดีส้ินสุดแล้ว
6. เรื่องที่ผู้บริโภคได้ย่ืนไว้ไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถท�าความเข้าใจในเน้ือหา
สาระท่ีร้องทุกข์ ไม่มีการลงลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ไม่ปรากฏ เอกสารหลักฐานต่างๆ
ประกอบการรอ้ งทกุ ขห์ รอื ไมม่ กี ารตดิ หรอื ชา� ระคา่ อากรแสตมปใ์ หค้ รบถว้ นตามทกี่ ฎหมาย
กา� หนด
7. เร่ืองท่ีปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองผ้บู ริโภค พ.ศ. 2522
8. เรื่องที่ส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีหนังสือแจ้งให้
ผรู้ อ้ งทกุ ขม์ าพบหรอื ชแี้ จงขอ้ เทจ็ จรงิ เพมิ่ เตมิ แตผ่ บู้ รโิ ภคไมม่ าพบ ไมส่ ง่ เอกสารหรอื
ใหข้ อ้ เทจ็ จริงเพิ่มเตมิ แต่อย่างใด

11

หลักใน....การทำาสัญญา

หลักในการทา� สญั ญา มดี งั นี้
1. วัตถปุ ระสงค์ของสญั ญาวา่ ท�าอะไรควรระบใุ หช้ ัดเจน
2. ชอื่ ทอ่ี ยขู่ องคสู่ ญั ญาเพอ่ื ประโยชนใ์ นการตดิ ตามบงั คบั ใหป้ ฏบิ ตั ติ ามสญั ญา
3. ความสามารถของคสู่ ญั ญาหากเปน็ ผเู้ ยาวต์ อ้ งใหผ้ แู้ ทนโดยชอบธรรม คอื บดิ า
มารดาของผู้เยาวใ์ หค้ วามยนิ ยอมกอ่ น เปน็ ต้น
4. ถูกต้องตามแบบหรือไม่ เช่น ซ้ือขายอสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน โรงเรือน
ส่ิงปลูกสร้างต้องทา� เปน็ หนังสอื และจดทะเบยี น กเู้ งินต้องมีหลกั ฐานเปน็ หนังสอื เป็นต้น
5. ความยนิ ยอมของคู่สมรสหากเปน็ การทา� สัญญาเกีย่ วกับอสงั หารมิ ทรัพย์ เชน่
ซ้ือขาย แลกเปล่ียน ให้ ขายฝาก เช่าซื้อ จ�านอง ก่อให้เกิดภารจ�ายอมสิทธิเก็บกินหรือ
นา� เงนิ สนิ สมรสไปใหก้ ตู้ อ้ งใหค้ สู่ มรสของคสู่ ญั ญาใหค้ วามยนิ ยอมดว้ ยมฉิ ะนนั้ คสู่ มรสอาจ
ฟ้องเพกิ ถอนสญั ญาในภายหลังได้
6. คา่ เสยี หาย หรือเบีย้ ปรบั เมื่อมกี ารผิดสัญญาควรระบุใหช้ ดั เจน
7. ค่าธรรมเนยี ม ภาษ ี ฝา่ ยใดจะเปน็ ผ้รู บั ผิดชอบหรือให้รบั ผดิ ชอบรว่ มกนั
8. ลายมือช่อื คู่สญั ญาหากพมิ พ์ลายพิมพน์ ว้ิ มอื ตอ้ งมพี ยานรับรอง 2 คนจงึ จะ
บังคบั ได้
9. พยานที่รู้เห็นการท�าสัญญาแม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องมีพยานแต่ก็ควร
มพี ยานไวเ้ พื่อเบิกความยนื ยนั การท�าสญั ญาเมือ่ มกี รณีพพิ าทเกิดข้นึ

ข้อควรระวงั ในการทำาสญั ญา มีดงั นี้

1. ควรมหี ลกั ฐาน แมก้ ฎหมายจะใหท้ า� ไดด้ ว้ ยวาจากค็ วรทา� เปน็ หนงั สอื เพอ่ื ความชดั เจน
2. อย่าเซน็ ชอื่ ในกระดาษเปลา่ หรือแบบพิมพท์ ี่มิไดก้ รอกขอ้ ความ
3. ทุกครั้งที่มีการช�าระหน้ีการขอใบเสร็จ หรือหลักฐานการรับช�าระหนี้หรือขอ
หลกั ฐานแหง่ หน้ีคืนมา หรือขดี ฆา่ ทา� ลายหลกั ฐานแหง่ หนเ้ี สยี
4. ขอ้ ความในสญั ญาควรระบุให้ชดั เจนไม่ใช้ค�าทคี่ ลุมเครอื
5. ควรมคี ฉู่ บบั เพอ่ื ตรวจสอบความถกู ตอ้ งตรงกนั ปอ้ งกนั มใิ หฝ้ า่ ยใดแกไ้ ขสญั ญา
เพยี งฝ่ายเดยี ว
6. การเปลย่ี นแปลงแกไ้ ขสญั ญาภายหลงั อยา่ ตกลงดว้ ยวาจาควรใหค้ สู่ ญั ญาบนั ทกึ
ไว้เปน็ หลกั ฐานทุกคร้ัง
12

การคมุ้ ครอง....ผู้บริโภคในธุรกจิ บัตรเครดิต

บัตรเครดิต หมายความว่า บัตรท่ีผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคตาม
หลักเกณฑ์ และวิธีการท่ีผู้ประกอบธุรกิจก�าหนด เพื่อใช้ช�าระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือ
คา่ อน่ื ใดแทนการชา� ระดว้ ยเงนิ สด หรอื เพอ่ื ใชเ้ บกิ ถอนเงนิ สด และใหห้ มายรวมถงึ บตั รเดบติ
ดว้ ย เวน้ แตจ่ ะกา� หนดเปน็ อยา่ งอนื่ ในประกาศน ้ี แตไ่ มร่ วมถงึ บตั รทไี่ ดม้ กี ารชา� ระคา่ สนิ คา้
ค่าบรกิ าร หรือคา่ อน่ื ใดไว้ล่วงหน้าแล้ว
สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจท�ากับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถ
เห็นและอ่านได้ชัดเจนมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตรโดยมีจ�านวนไม่เกิน
สิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งน้ิวและจะต้องใช้ข้อสัญญาท่ีมีสาระส�าคัญและเง่ือนไข เช่น การ
เปล่ียนแปลงเงื่อนไขการใช้บัตรเครดติ อัตราดอกเบย้ี อตั ราเบี้ยปรบั อัตราค่าธรรมเนยี ม
อตั ราคา่ บริการและคา่ ใช้จ่ายตา่ งๆ
กำรเปล่ียนแปลงเงือ่ นไขในบัตร

l ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆ จะต้องแจ้งลว่ งหน้า อยา่ งน้อย 30 วนั
l ผู้บริโภคมีสทิ ธิบอกเลกิ สัญญาเมื่อไรก็ไดแ้ ละมีสทิ ธิได้รับคา่ ธรรมเนียมคนื ตามส่วน
l ในกรณีสง่ั ซือ้ สินคา้ มีสิทธใิ นการขอยกเลิกการซอ้ื ไดภ้ ายใน 30 วัน นบั ตัง้ แต่
วนั กา� หนดสง่ มอบสนิ ค้า
หน้ำทข่ี องผู้บริโภค
l ทกั ทว้ งรายการใชบ้ ตั รทไ่ี มถ่ กู ตอ้ งภายใน 10 วนั นบั แตว่ นั ทไ่ี ดร้ บั แจง้ และอาจ
ทักทว้ งไดอ้ ีก 60 วนั กรณพี ิสจู นไ์ ด้ว่าไม่ไดเ้ ป็นความผิดหรอื บกพร่องของตน นบั ตัง้ แต่
วันท่ีได้ใบแจง้ รายการใชบ้ ตั ร
l ผปู้ ระกอบธรุ กจิ ตอ้ งระงบั การเรยี กเกบ็ เงนิ หรอื คนื เงนิ ทนั ท ี เมอ่ื ผบู้ รโิ ภคทกั ทว้ ง
วา่ ไม่ได้ส่ังซอื้ ชนิ้ นั้นๆ
l กรณผี บู้ รโิ ภคแจง้ ความประสงคเ์ ปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษรขอรบั ใบแจง้ รายการใชบ้ ตั ร
ในรปู แบบเอกสารหรอื รปู แบบอเิ ลก็ ทรอนกิ สแ์ ลว้ ผบู้ รโิ ภคมสี ทิ ธขิ อเปลย่ี นแปลงการขอรบั
ใบแจง้ รายการใชบ้ ตั รในรปู แบบดงั กลา่ วได ้ โดยตอ้ งแจง้ เปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษรใหผ้ ปู้ ระกอบ
ธุรกจิ ทราบลว่ งหน้าภายใน 30 วัน
เม่ือมีกำรยกเลกิ สญั ญำ ผูบ้ รโิ ภคมสี ิทธิ
ได้รับคนื ค่าธรรมเนียมตามสว่ นระยะเวลาท่ยี ังไม่ไดใ้ ช ้
ในกรณบี ตั รหำย
ตอ้ งแจง้ ระงบั ภายใน 5 นาท ี ผบู้ รโิ ภคไมต่ อ้ งรบั ผดิ ชอบภาระหนที้ เี่ กดิ ขนึ้ หลงั จากแจง้

13

สาระสาํ คัญของธุรกิจ

ให้เช่าซ้อื รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์
ท่ี สคบ. ไดป้ ระกาศใหเ้ ป็นธุรกิจควบคุมสญั ญา

สภำพรถยนตแ์ ละรถจกั รยำนยนต์

l ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ยี่ห้อ รุ่น หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง
สภาพของวา่ เปน็ รถใหม ่ หรอื รถใช้แลว้

l ระยะทางที่ใช้แล้ว และภาระผูกพนั (ถา้ มี)
l ราคาเงินสด จ�านวนเงินจอง จ�านวนเงินดาวน์ ราคาเงินสดส่วนที่เหลือ
อตั ราดอกเบย้ี ท่ีเชา่ ซ้อื
l จ�านวนงวดท่ีผ่อนช�าระ จ�านวนเงินค่าเช่าซื้อทั้งส้ิน จ�านวนค่าเช่าซ้ือท่ีผ่อนช�าระ
ในแตล่ ะงวด
l จ�านวนภาษีมูลค่าเพิ่มท่ีช�าระในแต่ละงวด เงินช�าระค่างวดแรกในวันที่ ช�าระ
ค่างวดต่อๆ ไปภายในวันท่ี
l วิธีค�านวณจ�านวนเงินค่าเช่าซ้ือ และจ�านวนค่าเช่าซ้ือ จ�านวนดอกเบี้ยที่ช�าระ
จ�านวนคา่ ภาษีมูลคา่ เพิ่มท่ตี อ้ งช�าระในแตล่ ะงวด

กำรโอนกรรมสทิ ธ์ิ

l ตอ้ งจดทะเบียนโอนใหเ้ ปน็ ชอื่ ผบู้ ริโภคภายใน 30 วนั
l เมอ่ื ผบู้ รโิ ภคช�าระคา่ เชา่ ซอ้ื ครบถว้ น
l และผเู้ ช่าซื้อไดส้ ง่ เอกสารในการโอนกรรมสทิ ธ์ิ

14

กำรบอกเลิกสัญญำ

l เมอ่ื ผเู้ ชา่ ซอ้ื ผดิ นดั ชา� ระคา่ เชา่ ซอื้ 3 งวดตดิ ตอ่ กนั และตอ้ งแจง้ ใหท้ ราบลว่ งหนา้
อกี 30 วนั ถ้าผ้บู ริโภคละเลย จงึ มสี ิทธิยึดรถ

l กอ่ นนา� รถนนั้ ออกขายใหบ้ คุ คลอน่ื ตอ้ งมหี นงั สอื แจง้ ผเู้ ชา่ ซอ้ื ลว่ งหนา้ 7 วนั เพอื่ ให้
ผเู้ ชา่ ซ้ือใชส้ ทิ ธิซ้ือรถตามมูลหน้ีสว่ นที่ขาดตามสัญญา

l ถา้ ขายแลว้ ได้เงินเกินมลู หนี้สว่ นท่ขี าดตามสัญญาต้องคนื เงินส่วนนั้นให้ผู้เช่าซอื้
l หากขายได้น้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญา ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดส่วนที่ขาด
เฉพาะการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาด ต้องมีหนังสือแจ้งช่ือผู้ท�าการขาย วัน
เวลา สถานที่ท�าการขาย ราคาท่ีขายได้ และรายละเอียดค่าใช้จ่ายเก่ียวกับการขาย
เพียงเท่าท่ไี ด้ใชจ้ ่ายไปจริง
l ผเู้ ช่าซอ้ื มีสทิ ธใิ นกรมธรรมป์ ระกันภยั ในจ�านวนหนี้ท่คี งคา้ งอยู่

กำรคิดคำ่ เบย้ี ปรบั

กรณีผู้เช่าซ้ือผิดนัดช�าระค่าเช่าซื้อหรือเงินอ่ืนใด ผู้ให้เช่าซื้อคิดเบ้ียปรับได้ไม่
เกินอัตราดอกเบ้ียส�าหรับลูกค้าชั้นดีรายย่อยของธนาคารกรุงไทย จ�ากัด (มหาชน) +10
(MRR+10)ต่อปี

15

ส่งิ ที่ควรรู้

กรณีช�าระค่าเช่าซ้ือท้ังหมดในคราวเดียว (ปิดบัญชีค่าเช่าซ้ือ) ได้รับส่วนลด
ไมน่ ้อยกว่า 50% ของดอกเบยี้ ทย่ี ังไม่ถงึ ก�าหนดชา� ระ กรณรี ถสญู หาย ถูกท�าลาย ถกู ยึด
ถูกอายัดหรือถูกริบ (ไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ) “ไม่ต้องรับผิดชอบช�าระค่าเช่าซ้ือ
ครบถ้วนตามสัญญา” อาจต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหาย เบ้ียปรับ ค่าติดตามทวงถาม
คา่ ทนายความเทา่ ทผ่ี ปู้ ระกอบธรุ กจิ จา่ ยจรงิ และมเี หตผุ ลสมควรจะเปลย่ี นแปลงผคู้ า�้ ประกนั
ไม่ได ้ เว้นแต ่ ผู้ค้า� ประกันตาย ศาลมีค�าสัง่ พิทักษท์ รพั ย์ เป็นบคุ คลลม้ ละลาย คนไรค้ วาม
สามารถหรอื คนเสมอื นไรค้ วามสามารถ
ค�าเตือนส�าหรับผู้ค�้าประกัน ก่อนจะลงนามต้องอ่านและตรวจสอบรายละเอียดว่า
ต้องเป็นเจ้าหน้ีร่วมกับผู้เช่าซื้อท้ังเงินต้น ดอกเบ้ียและค่าใช้จ่ายทดแทนอ่ืนๆ จนกว่าหนี้
จะหมด โดยสถาบันการเงินเจา้ หน้มี ีสิทธิ์ให้ผคู้ �า้ ประกันช�าระหน้แี ทนผู้เชา่ ซื้อได้
ข้อความส�าคัญ เช่น การผิดสัญญาหรือบอกยกเลิกสัญญาน้ัน กฎหมายระบุให้
สถาบันการเงินเขียนเป็นอักษรสีแดงหรือตัวเอียง ส่วนข้อความห้ามเขียนในสัญญานั้น
คือ ข้อสัญญาท่ีก�าหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระผูกพันเพ่ิมจากสัญญาเช่าซ้ือโดยผู้เช่าซื้อ
ไม่ยนิ ยอมเปน็ หนงั สอื เปน็ ตน้

จองรถไว้ แต่ไฟแนนซ์ไมผ่ ่าน จะขอเงนิ จองคืนทาำ อยา่ งไร

ท�าจดหมายบอกเลิกสัญญการจอง โดยช้ีถึงเหตุว่ารถ
ที่ศูนย์จ�าหน่ายจัดให้นั้นไม่เป็นไปตามสัญญาการจองอย่างใด
หรือเป็นเพราะผู้บริโภคไม่ผ่านไฟแนนซ์ จึงขอบอกเลิก
สัญญาการจองและให้บริษัทคืนเงินจองที่ได้จ่ายไปจ�านวน
เท่าไหร่ก็ว่าไป โดยให้โอนเงินเข้าบัญชี......................
เลขท่ี......................ซ่ึงเป็นบัญชีเงินฝากของผู้บริโภค หรือจะใหช้ า� ระเงนิ โดยวธิ กี ารใดๆ
ก็ว่าไป ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับจดหมายฉบับน้ี ทั้งน้ีเป็นไปตามประกาศของ
คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเร่ือง ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุม
สญั ญา พ.ศ.2551
16

เร่ืองทีต่ ้องรู้ กอ่ นเสียเงินจองทำาสญั ญาซอ้ื ท่ีอยูอ่ าศัย

ขน้ั ตอนหนงึ่ ทผี่ บู้ รโิ ภคสามารถทา� ไดด้ ว้ ยตวั เอง เพอื่ จะไดท้ อี่ ยู่
อาศยั ดๆี คอื การใสใ่ จในรายละเอยี ดตา่ งๆ เพอื่ ไมใ่ หเ้ กดิ ปญั หา
ในภายหลัง ก่อนทจ่ี ะเสียเงินไปกับการจองบา้ นหรืออาคารชุด
ผู้บรโิ ภค ควรสนใจข้อมลู ดงั น้ ี
1. ศกึ ษาขอ้ มลู และรายละเอยี ดของโครงการ
ที่สนใจ เป็นโครงการบริษัทใด ผลงานในอดีต
ภาพลกั ษณ ์ ความน่าเช่ือถอื ของโครงการ
2. ดูสถานที่จริงของโครงการว่าเป็นอย่างไร ไม่ใช่เพียงแค่ดูจากใบโบชัวร์
หรอื หนา้ เว็บไซด ์
3. ศึกษาสญั ญาจะซอ้ื จะขายให้ด ี ก่อนการท�าสญั ญาและวางเงนิ จอง กรณบี ้าน
จดั สรรวา่ เปน็ แบบสญั ญามาตรฐานของคณะกรรมการจดั สรรทดี่ นิ กลาง หรอื กรณอี าคาร
ชุดว่าเป็นตามแบบมาตรฐานของส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่
ประกอบขอ้ มลู อน่ื ๆ เพอ่ื เปน็ ขอ้ มลู การตดั สนิ ใจ โดยตอ้ งเกบ็ เอกสารทเ่ี กย่ี วขอ้ งทง้ั หมด
ไวเ้ ป็นหลักฐานด้วย
4. อยา่ เช่ือพนกั งานขาย ไม่ควรเร่งรีบท่จี ะเสียเงนิ จอง
5. ทา� สัญญาต้องมีใบจอง ใสร่ ายละเอียดข้อมลู การซ้ือขายเป็นหลกั ฐานต่อกัน
โดยสาระส�าคัญที่ตอ้ งมีอยู่ในใบจอง มีดงั น้ี

l วนั ทแี่ ละสถานทที่ า� สญั ญาจอง – เพอ่ื เปน็ หลกั ฐานวา่ มกี ารทา� การจอง
กนั จรงิ ซงึ่ ผบู้ รโิ ภคตอ้ งไมล่ ะเลยทจี่ ะสงั เกตในเรอ่ื งเหลา่ น ้ี เพราะจะมผี ล
ตอ่ การทา� สญั ญาต่อไป
l ช่ือผู้จองและผู้รับจอง - ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ต้องถูกต้อง เพื่อไม่ให้มี
ปญั หามาแกท้ ีหลัง
l รายการทรัพย์สินที่จะจอง เช่น จองบ้านจัดสรรหรืออาคารชุด ควรดู
ว่ามีข้อมูลรายละเอยี ดของทรพั ยส์ ิน เช่น ขนาดพืน้ ท ่ี ราคาซื้อขาย ทีต่ ัง้
โครงการ เปน็ ตน้
l ราคาทรพั ยส์ นิ ทซี่ อื้ ขาย ตอ้ งตรวจสอบวา่ ขอ้ มลู ทป่ี รากฏในสญั ญาหรอื
ใบจอง ตรงตามที่ประกาศขาย หรือต่อรองกันไว้หรอื ไม่

17

6. พจิ ารณารายละเอยี ดสาธารณปู โภค สง่ิ อา� นวยความสะดวกทผี่ ปู้ ระกอบการ
โฆษณาว่าจะก่อสร้าง
7. สอบถามราคาบา้ นใหช้ ดั เจน เงอ่ื นไขการขอสนิ เชอ่ื ภาระภาษคี า่ ธรรมเนยี ม
ฝ่ายใดรับผิดชอบ
8. มีใบอนญุ าตจดั สรรทด่ี นิ หรอื ไม่ แผนผังโครงการทข่ี ออนญุ าต
9. อยา่ ลมื ประมาณกา� ลังซอ้ื และความพรอ้ มวา่ มีเพียงพอหรอื ไม่

ก่อนท�ำสญั ญำจอง
1. ตรวจสอบเครดิตการเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินก่อนว่าสามารถ
ก้เู งนิ ได้หรือไม ่
2. สอบถามผปู้ ระกอบการใหช้ ดั เจนวา่ หากผบู้ รโิ ภคกธู้ นาคารไมผ่ า่ นจะคนื เงนิ
หรือไม ่ เพื่อความชัดเจนในการตดั สินใจของผูบ้ รโิ ภค
3. สังเกตเง่ือนไขในสัญญาให้ดี หากพบข้อความในท�านองว่า ถ้ากู้ธนาคาร
ไมผ่ า่ นจะถกู รบิ เงนิ ผบู้ รโิ ภคตอ้ งโตแ้ ยง้ และขอใหแ้ กไ้ ขขอ้ ความดงั กลา่ วโดยทนั ท ี หาก
ผปู้ ระกอบการไมย่ อมแก้ไขสัญญา ผู้บริโภคกไ็ มค่ วรท�าสญั ญาด้วย
4. การท�าเรื่องกู้เงินกับธนาคารเดียวอาจจะมีความเส่ียง ผู้บริโภคควรขอย่ืน
กู้มากกว่าหน่ึงธนาคาร และอาจหาผู้ค้�าประกันหรือผู้กู้ร่วม เพ่ือเพ่ิมโอกาสในการกู้
ใหผ้ า่ นมากข้นึ

หลงั ทำ� สญั ญำจองแลว้ กไู้ ม่ผ่ำน
1. ดูสัญญาให้ละเอยี ดว่ามีข้อความเกยี่ วกับ ถ้าผบู้ ริโภคกู้ธนาคารไม่ผ่านแลว้
ผ้ปู ระกอบการจะคืนเงินหรอื ไม ่
2. หากไม่มีข้อความระบุ ว่าจะไม่คืนเงิน กรณีกู้ไม่ผ่าน ผู้บริโภคมีสิทธิเรียกร้อง
ผู้ประกอบการขอเงินคืนได้ทันที ด้วยการท�าหนังสือขอเงินคืน โดยท�าเป็นจดหมาย
ลงทะเบยี นแนบใบตอบรับ
3. หากมีข้อความระบุ ว่าจะไม่คืนเงิน กรณีกู้ไม่ผ่าน ผู้บริโภคก็ยังมีสิทธิเรียกร้อง
ขอเงินคืนด้วยการท�าหนังสือถึงผู้ประกอบการ เพื่อขอเงินคืน โดยท�าเป็นจดหมาย
ลงทะเบียนแนบใบตอบรับได้เช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการต้องใช้สัญญามาตรฐาน
ในการท�าสญั ญาซ้ือขายกับผู้บรโิ ภค ซง่ึ สัญญามาตรฐานจะไมม่ สี ญั ญาข้อนี้อย ู่
4. หากผปู้ ระกอบการปฏเิ สธการคนื เงนิ ทกุ กรณี ผบู้ รโิ ภคมสี ิทธิ
รอ้ งเรียนต่อ สคบ. เพื่อเรยี กรอ้ งเงนิ คนื ได้
18

วธิ กี ารตรวจสอบความคืบหนา้ ในการก่อสร้าง

ป้องกนั ปญั หำปวดหัว
หลังจากเซ็นสัญญาหรือตกลงซ้ือบ้านโครงการบ้านจัดสรรหรือคอนโดแล้ว

ผู้บริโภคจ�าเป็นต้องตรวจสอบความคืบหน้าในการก่อสร้างเป็นระยะๆ เพ่ือให้การ
กอ่ สรา้ งเปน็ ไปตามมาตรฐาน มกี ารใชว้ สั ดกุ อ่ สรา้ งตรงตามทต่ี กลงกนั ไว ้ หากผบู้ รโิ ภค
ไม่ได้เข้าไปตรวจตราดูแลระหว่างการก่อสร้างเลย อาจมีปัญหายุ่งยากในภายหลังได้
ซง่ึ ผบู้ รโิ ภคควรมีการตรวจสอบในแตล่ ะงานได ้ ดังนี้

1. งำนคอนกรีต สว่ นผสมคอนกรีตจะต้องมี
สัดส่วนที่ถูกต้อง ปกติคอนกรีตจะมีส่วนผสมของ
ปนู ซเี มนต ์ 1 สว่ น ทราย 2 สว่ น และหนิ 4 สว่ น โดย
ผสมน้�าพอประมาณให้ส่วนผสมมีความเหลวพอดี
ถา้ ผสมนา้� มากไปจะทา� ใหค้ อนกรตี ไมแ่ ขง็ ตวั ในการ
เทคอนกรีตต้องใช้เครื่องมือเขย่าให้คอนกรีตอัด
ตวั แนน่ โดยทวั่ ถงึ กนั แบบหลอ่ คอนกรตี ตอ้ งสนทิ แนน่
เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน�้าปูนซีเมนต์ ส�าหรับ
ส่วนผสมของคอนกรีตจะต้องมีคุณสมบัติของ
สว่ นผสม ดงั น ้ี ปนู ซเี มนตต์ อ้ งใหม ่ ไมข่ นึ้ หรอื จบั ตวั
เปน็ เมด็ เปน็ กอ้ น ทรายตอ้ งเปน็ ทรายหยาบสะอาด
ไม่มีวสั ดุอืน่ เจอื ปน เช่น เศษดิน หรอื ใบไม ้ เป็นตน้
หิน เป็นหินชนิดแข็งไม่ผุกร่อนมีขนาดเท่าๆ กัน
และไม่มีวัสดุอื่นเจือปน และน้�าต้องเป็นน้�าสะอาด
ไมม่ ีวสั ดุเจือปนเช่นกนั

2. งำนเหล็ก เหล็กเส้นเป็นส่วนประกอบ
สา� คญั ทสี่ รา้ งความแขง็ แรงและทนทานของตวั บา้ น
ควรเป็นเหล็กที่ได้ขนาดตามมาตรฐานเป็นเหล็ก
รีดใหม่ มักเป็นเหล็กข้ออ้อย ไม่ควรใช้เหล็กรีดซ้�า
ไม่ผุกร่อนหรือเป็นสนิม การจัดวางงานเหล็กจะ
ต้องวางให้ถูกต�าแหน่งและมีที่รองรับท่ีแข็งแรง
เพียงพอ การต่อดามเหล็กอาจใช้วิธีทาบกันและ
ผูกด้วยลวดระยะทาบไม่ควรน้อยกว่า 40 เท่า
ของเสน้ ผา่ ศนู ย์กลางของเหลก็

19

3. งำนไม้ ในสว่ นของงานไมท้ เ่ี ปน็ โครงสรา้ ง
ภายใน เช่น โครงเคร่าฝ้าเพดาน โครงฝาผนัง
ควรทานา้� ยากนั ปลวกและมอด สว่ นงานไมภ้ ายนอก
ท่เี หน็ ได้ด้วยตา เชน่ ไม้เชิงชาย ระแนงฝา้ เพดาน
ต้องใส่ให้เรียบไม่เป็นเส้ียนไม้ งานไม้ในส่วน
ของบันไดท่ีเป็นไม้ขัดและเข้าไม้อย่างละเอียดแล้ว
จงึ ทาดว้ ยวสั ดเุ คลือบผวิ

4 . ง ำ น ก่ อ อิ ฐ ส่ ว น ใ ห ญ่ เ ป็ น ง า น
ก่ออิฐผนัง นิยมใช้อิฐมอญ หรืออิฐบล็อก
การก่ออิฐต้องมีส่วนเหล็กเสริมท่ีย่ืนออกมา
จากเสา เพอื่ ยดึ เกาะเสากบั ผนงั ใหแ้ ขง็ แรง อฐิ ทนี่ า� มา
ก่อต้องท�าให้อ่ิมน�้าก่อน การก่ออิฐให้เริ่มจากตอน
มุ ม เ ส า ก่ อ น แ ล ะ ต้ อ ง จั บ ด่ิ ง ต อ น มุ ม ไ ว้ เ ส ม อ
รวมทั้งรักษาแนวกอ่ โดยขงึ เอ็นไว้ การกอ่ ผนังสงู ๆ
ควรกอ่ ไมเ่ กนิ 1.20 เมตรกอ่ นแลว้ ทง้ิ ใหป้ นู กอ่ แขง็ ตวั
ก่อนจึงก่ออิฐผนังต่อไป เม่ือก่ออิฐถึงใต้ท้องคาน
ควรเว้นระยะหา่ งประมาณ 1 นว้ิ กอ่ นฉาบผนังตอ้ ง
อัดปูนทรายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน และต้องอัด
ท้ัง 2 ข้างเพื่อป้องกันการแตกร้าว กรณีท่ี
ผนังสูงเกิน 3 เมตร ต้องมีทับหลังโครงสร้าง
เสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) แบ่งครึ่งความสูง ผนังอิฐท่ี
กว้างเกิน 4 เมตร ต้องมีเสาเอ็นแบง่ คร่งึ

5.งำนฉำบปูน ก่อนท�าการฉาบปูน
ต้องท�าการจับเซ้ียม (การต้ังระดับและแนว) หรือ
การฉาบมุมเสา-คานด้วยปูนเค็ม ก่อนฉาบผนัง
อิฐต้องลดน�้าให้ชุ่มเสมอ เมื่อฉาบปูนเสร็จต้อง
ไม่มีรอยแตกร้าว แนวเสา-คานผนังต้องได้ด่ิง
และฉาก ระยะขนาดของเสาคานจะต้องเท่ากัน
อย่างสม่�าเสมอตลอดแนว ผนังด้านท่ีถูกแดดมากๆ
หลังจากวันท่ีฉาบแล้วต้องรดน�้าติดต่อกัน 3 วัน
เพอื่ ป้องกันการแตกลายงา

20

6. กำรติดตั้งวงกบและบำนหน้ำต่ำงๆ
การติดต้ังวงกบต้องได้ดิ่งและระดับ ยึดติดแน่นกับ
เสาและคานเอ็น การติดบานประตูหน้าต่าง ต้องเลื่อน
หรือเปิดปิดได้คล่องไม่ติดขัด การไสขอบประตูหรือ
หน้าต่างให้เข้ากับวงกบจะต้องเผื่อความหนาของสีไว้
ด้วย บานพับประตูต้องแบกรับน้�าหนักของประตูได้
การทา� งานของลกู บดิ กลอนตอ้ งอยใู่ นสภาพใชง้ านได้
มคี วามแขง็ แรง

7. งำนหลังคำ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
งานโครงสร้างหลังคาและงานมุงกระเบื้องหลังคา
ส�าหรับงานโครงสร้างหลังคา จะต้องตรวจสอบ
ดูขนาด และความหนาของระแนงและจนั ทนั ในกรณี
ทเ่ี ป็นโครงไมต้ วั ระแนงและจันทันต้องไม่บิดงอ กรณี
ที่เป็นโครงเหล็กจะต้องตรวจดูรอยเช่ือม และต้อง
ทาสกี นั สนมิ ใหท้ ว่ั สว่ นงานมงุ กระเบอื้ งหลงั คา ซง่ึ ถอื
เป็นจุดอ่อนของบ้านท่ีอาจต้องซ่อมแซมในภายหลัง
หากก่อสร้างไม่ดีจะท�าให้เกิดการรั่วซึมของน�้าฝนได้
การมงุ ควรจะซอ้ นทบั ในแนวทหี่ ลบทศิ ทางลม หลงั คา
ทีม่ ีความซบั ซอ้ นเป็นชั้นเป็นมมุ ควรพถิ ีพิถนั ในเรอื่ ง
ของการระบายน้า�

8. งำนฝ้ำเพดำน ฝ้าเพดาน วัสดุที่ใช้ท�า
โครงคร่าวมีทั้ง ไม้ เหล็ก หรือ อลูมิเนียม ตัวคร่าว
ต้องวางให้ไดร้ ะดบั ตวั ยึดโยงไปยังโครงหลังคาต้องไม่
ยึดตัวเม่ือรับน้�าหนัก ซึ่งจะท�าให้ฝ้าตกท้องช้างหรือ
โกง่ ได ้ รอยตอ่ ของวสั ดทุ ท่ี า� ฝา้ ตอ้ งเปน็ แนวตรง หากมี
ไมม้ ็อบฝ้าการต่อไม้ต้องต่อโดยตัดมมุ 45 องศาเสมอ
กรณที เ่ี ปน็ ยบิ ซมั่ บอรด์ ตรงรอยตอ่ ตอ้ งปดิ รอยตอ่ ดว้ ย
ผ้าเทปแล้วขดั ใหเ้ รียบเสมอกนั

9. งำนติดตั้งประปำ และระบบไฟฟ้ำ การติดต้ังข้อต่อต่างๆ ควรให้มี
ความแข็งแรงและใส่น้�ายากันรั่วซึมให้ทั่ว ท่อแต่ละแนวต้องยึดให้แน่นกับส่วนโครงสร้าง
เม่ือติดตั้งแล้วเสร็จก่อนการฉาบปูนหรือปิดทับ ควรตรวจสอบการร่ัวซึม ส่วนระบบไฟฟ้า
ต้องตรวจการเดินสายไฟให้เรียบร้อย การต่อเชื่อมในแต่ละจุดอุปกรณ์ต้องได้มาตรฐาน
เมื่อติดตั้งเสรจ็ ควรทดสอบการใช้งานใหค้ รบทกุ จดุ เสียก่อน

21

10.งำนบ่อเกรอะ บ่อซึม บ่อเกรอะ
สเป่ว็นนบบ่อ่อหซมึมัก เทปี่ใ็นช้สเก่ว็บนกทัี่กกขรอองงเเฉสพียาทะ่ีขนับ้�าถอ่าอยกอทอิ้งกมีทมั้าง
ท่ีเป็นถังคอนกรีตส�าเร็จรูป และใช้ก่ออิฐ บ่อซึม
จะต้องห่างจากบ่อเกรอะอย่างน้อย 2 เมตร
ขอบบ่อพักจะต้องใช้อิฐหักรอบๆ เป็นวงใหญ่ประมาณ
คร่ึงเมตรเพื่อให้น�้าเสียระบายได้ง่ายท่อระบายน�้า
จากตวั บา้ นควรมคี วามลาดเอยี งอยา่ งนอ้ ย 1 : 200 มขี อ้
พักเปน็ ระยะๆ ห่างกนั ไมเ่ กนิ 4 เมตร เพื่อสามารถเปดิ
ออกทา� ความสะอาดส่งิ อดุ ตันได้

11. งำนปวู สั ดผุ วิ พนื้ และผนงั มลี กั ษณะวสั ดทุ ใี่ ช้
แตกต่างกันออกไป ถ้าปูพื้นด้วยไม้ปาร์เกต์
พ้ืนต้องเรียบได้ระดับท�าความสะอาดผิวพื้นก่อนปู
ให้สะอาด การปูต้องให้ชิดสนิทไม่มีร่องและอุดโป๊ว
ทุกท่ีที่เป็นรูหรือตาไม้ให้เรียบร้อย เม่ือปูเสร็จควรท้ิง
ไว้ประมาณ 7 - 10 วัน เพ่ือให้กาวแห้งก่อนขัดผิว
ด้วยเคร่ือง ถ้าเป็นกระเบื้องเซรามิก ผิวหน้าท่ีจะกรุ
กระเบื้องต้องเรียบได้ระดับ และมีผิวหยาบเพ่ือให้การ
ยึดเกาะแน่นสนิท ก่อนปูควรแช่กระเบื้องให้อ่ิมน้�า
ก่อน ควรขึงเชอื กให้เป็นแนวเพ่อื ช่วยให้สามารถปูเปน็
เส้นตรง เม่ือปูเสร็จไม่ควรเดินเหยียบทันที ควรปล่อย
ให้แห้งสนิทก่อนท่ีจะยาแนวด้วยซีเมนต์ขาว ถ้าเป็น
กระเบอ้ื งยาง หรอื พรมกอ่ นปตู อ้ งปรบั ระดบั พนื้ ใหเ้ รยี บ
ได้ระดับ ไม่เป็นหลุมเป็นแอ่ง และท�าความสะอาดพื้น
ให้เรยี บร้อย

12. งำนสี ควรตรวจสอบคุณภาพสีและ
ชนิดของสีให้ตรงตามท่ีระบุไว้ และตรวจดูสีที่ใช้
ถูกต้องตามประเภทของงานหรือไม่ เช่น สีทา
ภายในไมค่ วรใชท้ าภายนอก เพราะความคงทนจะ
น้อยกว่า พื้นที่ที่จะทาสีต้องเรียบท�าความสะอาด
และให้แห้งสนิท การทาสีทับแต่ละช้ันต้องให้สี
รองพื้นแห้งสนทิ ก่อน ควรทาทับไม่ต�่ากวา่ 2 คร้งั
เพื่อไม่ให้เห็นพน้ื ผนงั หรอื รอยแปรงรอยดา่ ง
22

ปญั หาการกอ่ สรา้ ง....บา้ นไมแ่ ลว้ เสรจ็

ท า ง แ ก้ ข อ ง ผู้ บ ริ โ ภ ค บ้ า น ก ร ณี ที่ โ ค ร ง ก า ร
ยังไม่เริ่มด�าเนินการก่อสร้าง หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่า ไม่อาจก่อสร้าง
ให้แล้วเสร็จตามสัญญาเม่ือตกลงท�าสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว กรณีที่เป็นการ
ซ้ือบ้านส่ังสร้าง ต้องผ่อนดาวน์เป็นงวดๆ ตามสัญญา หากโครงการไม่มีความ
คืบหน้าในการก่อสร้างเลย หลังจากท่ีผู้บริโภคช�าระเงินดาวน์ในทุกๆ งวด
วิธีการคุ้มครองสิทธิ์ในเบ้ืองต้น คือ มีหนังสือลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับถึงผู้ขาย
ระบุให้โครงการลงมือก่อสร้างตามสัญญา ในขณะท่ีผู้บริโภคยังคงต้องผ่อนเงินดาวน์
ตามทกี่ �าหนดไว้ในสญั ญา
ถ้าโครงการยังไม่ก่อสร้างตามก�าหนดระยะเวลา ผู้บริโภคจะขอหยุดช�าระ
เงินดาวน์ไว้ชั่วคราวจนกว่าโครงการจะเริ่มท�าการก่อสร้างก็ได้ โดยผู้บริโภคจะต้อง
มีหนังสือลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับถึงผู้ขายอีกคร้ัง โดยระบุข้อความไว้ในหนังสือ
ขอหยุดชา� ระเงินดาวน์ไว้ช่ัวคราวจนกวา่ โครงการจะเร่มิ ลงมือกอ่ สร้าง
ซึ่งขั้นตอนน้ีมีข้อควรระวัง คือ การท่ีจะได้รับการคุ้มครองสิทธ์ิในกรณีที่หยุด
ช�าระเงินดาวน์ไว้ชั่วคราว ซึ่งไม่เป็นไปตามสัญญาท่ีตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น ผู้บริโภค
จะตอ้ งไดร้ บั หนงั สอื ตอบจากโครงการดว้ ย จงึ สามารถจะหยดุ ชา� ระเงนิ ดาวนไ์ วช้ ว่ั คราวได ้
กรณที ่ีผู้ขายตอบด้วยวาจา ผบู้ รโิ ภคอาจจะไมไ่ ดร้ บั การคุ้มครองสทิ ธ์ ิ หรอื อาจตกเป็น
ฝา่ ยเสียเปรยี บได้เพราะไม่มหี นังสือยืนยันเป็นลายลกั ษณอ์ ักษร

23

กอ่ สร้าง....ลา่ ชา้ มีสิทธบิ อกเลิกสญั ญา

กรณโี ครงการกอ่ สรา้ งลา่ ชา้ ตามทกี่ า� หนดไวใ้ นสญั ญา หากผบู้ รโิ ภคไมป่ ระสงค์
ท่ีจะรับโอนกรรมสิทธิ์ ผู้บริโภคมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้และขอคืนเงินท่ีช�าระมาแล้ว
ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายได้ หรืออาจเรียกร้องค่าเสียหายอย่างอ่ืนที่ตน
เสียหายได้ เพราะถือว่าผู้ขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ในกรณีเช่นน้ีให้มีหนังสือแจ้งเตือน
ไปยงั ผขู้ ายโดยใหเ้ วลาพอสมควรหรอื ประมาณ 30 วนั ใหโ้ ครงการดา� เนนิ การกอ่ สรา้ ง
ให้แล้วเสร็จ หากไม่แล้วเสร็จภายในก�าหนดดังกล่าวให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกัน
ตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย ์ มาตรา 387
ก่อนการโอนกรรมสิทธ์ิ โดยปกติผู้ขายจะมีหนังสือแจ้งผู้บริโภคเพื่อตรวจรับ
มอบบ้าน ในขัน้ ตอนนีม้ ีความสา� คัญมาก กลา่ วคือ หากบ้านยังไมแ่ ลว้ เสร็จ หรอื ยงั มี
ข้อบกพร่องในบางรายการ ผู้บริโภคจะต้องบันทึกระบุรายการท่ีมีข้อบกพร่องน้ันเป็น
หนังสือ และให้ผู้บริโภคและตัวแทนผู้ขายเซ็นช่ือไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งระบุระยะ
เวลาใหผ้ ขู้ ายทา� การแก้ไขใหแ้ ลว้ เสรจ็ และเก็บหลักฐานดังกลา่ วไว ้ หากโครงการยงั ไม่
ทา� การแกไ้ ขใหแ้ ลว้ เสรจ็ ผบู้ รโิ ภคยอ่ มใชส้ ทิ ธโิ์ ตแ้ ยง้ หรอื ปฏเิ สธการรบั โอนกรรมสทิ ธิ์
ได้ และหากผู้ขายยังคงยืนยันให้ผู้บริโภคไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามก�าหนดวันนัดโอน
ผู้ร้องควรไปตามก�าหนดนัดก่อนเพ่ือรักษาสิทธ์ิของตน และปฏิเสธการโอนกับผู้ขาย
ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน โดยขอให้เจ้าพนักงานท่ีดินบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพราะหาก
ผู้บรโิ ภคไม่ไปในวนั นดั โอน ผู้ขายอาจใช้เป็นขอ้ อา้ งไดว้ ่าผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดนัดได้

24

วธิ ปี ฏบิ ตั .ิ ...กอ่ นรบั โอนกรรมสทิ ธบ์ิ า้ น/หอ้ งชดุ

สง่ิ ทผี่ ู้บรโิ ภคตอ้ งปฏิบัติ ดงั ต่อไปน้ี
1. เข้าตรวจบา้ นหรือห้องชดุ การเข้าตรวจบ้านหรือหอ้ งชดุ ในชว่ งวันและเวลา
ที่ผู้ประกอบธุรกิจก�าหนด หากมีรายการท่ีต้องท�าการแก้ไข ให้แจ้งผู้ประกอบธุรกิจ
ด�าเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับโอนกรรมสิทธ์ิ โดยมีการท�าเป็นลายลักษณ์
อกั ษร พร้อมถ่ายภาพ เพือ่ ใชเ้ ปน็ หลกั ฐาน
ขอ้ บกพร่องทีเ่ กิดขึ้นกบั บา้ น/หอ้ งชดุ ที่ผูบ้ รโิ ภคจะอ้างเปน็ เหตใุ นการปฏเิ สธ
ทจี่ ะรบั โอน กรรมสทิ ธนิ์ นั้ ตอ้ งถงึ ขนาดทไ่ี มส่ ามารถเขา้ อยอู่ าศยั ไดเ้ มอ่ื ผปู้ ระกอบธรุ กจิ
ด�าเนินการแก้ไขความช�ารุดบกพร่องเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้บริโภครับโอนกรรมสิทธ์ิจาก
ผปู้ ระกอบธรุ กิจ
2. การนดั โอนกรรมสทิ ธ ์ิ ผปู้ ระกอบธรุ กจิ จะเปน็ ฝา่ ยมหี นงั สอื นดั โอนกรรมสทิ ธิ์
ไปยังผู้บริโภค ซ่ึงเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคท่ีจะต้องตรวจสอบว่า ได้รับหนังสือจาก
ผู้ประกอบธุรกิจหรือไม่ หากผู้บริโภคละเลยไม่ตรวจสอบหนังสือจากผู้ประกอบธุรกิจ
อนั เปน็ เหตใุ หไ้ มไ่ ดไ้ ปรบั โอนกรรมสทิ ธภ์ิ ายในระยะเวลาทก่ี า� หนด ผบู้ รโิ ภคจะตกเปน็
ฝ่ายผดิ สัญญา และผู้ประกอบธุรกจิ จะใชส้ ทิ ธใิ นการรบิ เงินทผ่ี ้บู รโิ ภคช�าระไปทง้ั หมด
3. การกเู้ งนิ จากสถาบนั การเงนิ กรณตี อ้ งกเู้ งนิ จากสถาบนั การเงนิ เพอื่ ซอื้ บา้ น/
หอ้ งชดุ ผบู้ รโิ ภคตอ้ งทา� การนดั วนั โอนกบั สถาบนั การเงนิ ทผ่ี บู้ รโิ ภคไดย้ นื่ ขอสนิ เชอื่ ไว้
หลังจำกรับโอนกรรมสิทธิ์ มีส่ิงทผ่ี บู้ รโิ ภคตอ้ งปฏบิ ัติ ดังต่อไปนี้
1. เมือ่ ผู้บรโิ ภครบั โอนกรรมสิทธแิ์ ล้ว หากเกดิ ความชา� รุดบกพร่องขึน้ ภายหลัง ดงั น้ี

l ความช�ารุดบกพร่องทัว่ ไป เช่น สีหลุดรอ่ น กระเบ้อื งหลดุ รอยแตกร้าว
บริเวณผิวผนัง เป็นต้น ผู้บริโภคสามารถเรียกให้โครงการเข้าท�าการแก้ไขได้ภายใน
ระยะเวลา 1 ป ี นับแตร่ ับโอนกรรมสิทธ์ิ - ความช�ารดุ ท่มี ีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก
เช่น เสาเขม็ โครงสรา้ ง ผนงั รับน้�าหนัก เป็นตน้ ผู้บริโภคสามารถเรยี กใหโ้ ครงการเข้า
ท�าการแกไ้ ขไดภ้ ายในระยะเวลา 5 ป ี นับแตร่ บั โอนกรรมสทิ ธิ์
2. ผู้ประกอบธุรกิจไม่ด�าเนินการตามท่ีได้โฆษณาไว้ ภายหลังจากท่ีผู้บริโภค
รับโอนกรรมสิทธิ์ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ด�าเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภค ภายใน
โครงการตามท่ีได้โฆษณา เอกสารประกอบการขายที่ผู้บริโภคเก็บรักษาไว้ ต้ังแต่
ก่อนตัดสินใจซ้ือขาย จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่งในการด�าเนินคดีกับ
ผู้ประกอบธรุ กจิ เพอ่ื ให้ดา� เนนิ การกอ่ สรา้ งหรอื ชดใชค้ ่าเสียหาย

25

จะทําอยา่ งไรด.ี ...ถา้ ต้องการยกเลิกสัญญา

หากผู้บริโภคประสบปัญหาเข้าท�าสัญญาต่างๆ เช่น บริการเสริมความงาม
บริการฟิตเนส ฯลฯ โดยไม่ตั้งใจ เต็มใจ และถูกหักเงินจากบัตรเครดิตเพื่อไปจ่าย
คา่ ซอ้ื สนิ คา้ หรอื บรกิ ารตา่ งๆ ทเ่ี ราไมไ่ ดต้ อ้ งการนน้ั ผบู้ รโิ ภคจะทา� อยา่ งไรด ี ถา้ ตอ้ งการ
ยกเลกิ สัญญา
ขอ้ แนะนำ�
1. การทา� หนงั สอื ไปบอกเลกิ สญั ญา โดยตอ้ งเปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษรเทา่ นน้ั จงึ จะ
มีผล
2. เนื้อหาในการบอกเลิกสัญญาจะต้องมีเหตุผลท่ีเกิดจากความบกพร่องของ
เจ้าของสินค้าหรือบรกิ ารนั้น เช่น ไม่จดั ใหม้ กี ารบรกิ ารท่ีสา� คญั ให้ตามสญั ญา หรอื ซ้อื
บรกิ ารไปอยา่ งหนงึ่ แตไ่ มจ่ ดั ใหม้ บี รกิ ารนนั้ แมจ้ ะใหม้ บี รกิ ารอนื่ มาทดแทน กส็ ามารถ
ใชเ้ ป็นเหตุในการบอกเลกิ สัญญาได้
3. เม่ือท�าหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วให้ถ่ายส�าเนาเก็บไว้ 2 ชุด ชุดหนึ่ง
เกบ็ ไวเ้ ปน็ หลกั ฐานกบั ตวั เอง อกี ชดุ ใหส้ ง่ ไปทธ่ี นาคารเจา้ ของบตั รเครดติ และจดหมาย
ตวั จริงก็สง่ ไปทีผ่ ูป้ ระกอบการสินคา้ หรอื บรกิ ารท่ีได้ไปซ้อื สินค้าหรือบริการมา
4. การส่งจดหมายเพ่ือบอกเลิกสัญญาการสง่ั ซอ้ื สนิ คา้ หรือบรกิ าร อยา่ ใหเ้ กนิ
30 วันนับแต่วันท่ีท�าสัญญาซ้ือสินค้าหรือรับบริการ และควรส่งเป็นไปรษณีย์ตอบรับ
เพื่อจะไดม้ หี ลกั ฐานยนื ยันได้

ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเร่ืองให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
พ.ศ.2542 ได้ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้าไปท�าสัญญาการซ้ือใช้สินค้าหรือบริการผ่านทาง
บัตรเครดิต โดยก�าหนดให้สัญญาของบัตรเครดิต จะต้องไม่ตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการ
ซ้ือสินค้าหรือรับบริการภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันท่ีสั่งซื้อสินค้าหรือรับบริการ หรือภายใน
ระยะเวลา 30 วนั นบั แตว่ นั ถงึ กา� หนดการสง่ มอบสนิ คา้ หรอื บรกิ าร โดยผปู้ ระกอบธรุ กจิ บตั รเครดติ จะ
ระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว ถ้าเป็นการส่ังซ้ือสินค้าหรือ
บริการภายในประเทศ จะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันท่ีผู้บริโภคแจ้ง
ถ้าเป็นการส่ังซ้ือสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ จะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายใน 60 วันนับแต่
วนั ทีผ่ ้บู รโิ ภคแจ้งเช่นกนั

26

นา่ รู้

1. ผู้บริโภคมสี ทิ ธิบอกเลิกสัญญาได ้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 และเมอ่ื ยกเลิก
สญั ญากไ็ มต่ อ้ งชา� ระหน ี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคแรก และหากบรษิ ทั ยงั เรยี กเกบ็
คา่ บริการ คุณตอ้ งนา� คดีมาฟ้องศาลผู้บรโิ ภคต่อไป
2. หากเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในฐานะผู้บริโภคเสียเปรียบเกินควร และ
ท�าให้ต้องรับภาระเกินกว่าวิญญูชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
พ.ศ. 2540 มาตรา 4 สามารถท่ีจะร้องต่อศาลให้มีค�าสั่งว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ
ตามมาตรา 11

27

แชรล์ ูกโซ่ กบั ธุรกจิ ขายตรง แตกต่างกันอยา่ งไร

รูปแบบ ธรุ กิจขำยตรง แชร์ลูกโซ่
1. การจดทะเบยี น
จะต้องจดทะเบียนท่ี ส�านักงาน ไม่มีการจดทะเบยี นใดๆ ทง้ั สิน้
2. การรบั สมัครสมาชกิ คณะกรรมการคมุ้ ครองผบู้ รโิ ภค หรอื
สคบ. และตอ้ งมกี ารนา� เสนอแผนการ
จา่ ยผลตอบแทน หรอื รายไดช้ ดั เจน

ไม่มีการบังคับ/และไม่มีเง่ือนไข มีการบังคบั ทัง้ ทางตรงและทางออ้ ม
ให้สมาชิกซ้ือสินค้าเพื่อมีสิทธิในการ เพอื่ ใหส้ มาชกิ ซ้อื สนิ ค้า
เข้ารว่ มธุรกจิ

3. การขายสนิ ค้า สมาชิกจะน�าสินค้าไปขายให้แก่ ไ ม่ เ น้ น ใ ห้ ส ม า ชิ ก ข า ย สิ น ค้ า
4. การจ่ายคา่ ตอบแทน ผู้บริโภคโดยตรง แต่เน้นให้มีการชักชวนบุคคลอ่ืนๆ
5. ลกั ษณะของสินค้า เขา้ ร่วมกบั เครือขา่ ย
6. สทิ ธขิ องสมาชิก
7. สิทธิของผบู้ รโิ ภค มกี ารตอบแทนหลกั คอื การขายสนิ คา้ มีรายไดจ้ ากจ�านวนสมาชิกท่เี ขา้ รว่ ม
โดยตรง เครอื ข่าย เปน็ รายได้หลัก

ต้ อ ง เ ป็ น สิ น ค้ า ท่ี มี คุ ณ ภ า พ ที่ ดี ราคาสนิ คา้ คอ่ นขา้ งสงู แตม่ คี ณุ ภาพตา่�
ผ่านการตรวจสอบจากองค์กรหรือ ใชห้ ลกั การโฆษณาเกนิ จรงิ ไวก้ ่อน
หน่วยงานราชการ

สามารถคืนสินค้าได้ตามเง่ือนไข มั ก ไ ม่ ส า ม า ร ถ ส่ ง คื น สิ น ค้ า ไ ด้
เนื่องจาก ระบบจ่ายเงินเป็นการ
นา� เงินจากผ้สู มคั รรายใหม่

ผบู้ รโิ ภคสามารถยกเลกิ สญั ญาไดโ้ ดย การซ้ือสินค้าของสมาชิก เป็นไป
การส่งหนังสือ แสดงเจตนาภายใน ตามเงื่อนไขเพื่อหวังรับผลประโยชน์
7 วันนับจากวนั ทีไ่ ดร้ ับสนิ ค้า/บริการ ต อ บ แ ท น จึ ง ไ ม่ ใ ช่ ผู้ บ ริ โ ภ ค

ตามกฎหมายโดยตรง

28

กวิธบั กี ปารัญรับหมือา.ก...ารซอื้ ขายออนไลน์

1. กรณีถูกลกั ลอบ หรือโจรกรรมขอ้ มลู บตั รเครดิตระหวา่ งการจา่ ยค่าสนิ ค้าออนไลน์
แนวทำงปฏบิ ตั ิ
1. ติดต่อไปยังธนาคารเจา้ ของบตั รเพือ่ ระงับการใช้และท�าการออกบัตรใหม่
2. ควรท�าลายบัตรเก่าท้ิงไป โดยเน้นการท�าลายในส่วนแถบแม่เหล็กและชิป
บันทึกข้อมูลบนบตั ร หลงั จากไดอ้ อกบัตรใหมแ่ ละยกเลกิ บัตรเก่าเรยี บรอ้ ยแล้ว
3. ตรวจสอบกบั ทางธนาคารถงึ การคนื เงินวา่ สามารถทา� ไดห้ รอื ไม่ และตอ้ งใช้
หลักฐานอย่างไรในการยืนยันว่าการท�าธุรกรรมซื้อขายที่เป็นปัญหานั้นไม่ได้เกิดจาก
ความตัง้ ใจของเราจริงๆ
4. ท�าการลบข้อมูลบัตรเครดิตที่เคยบันทึกไว้บนเว็บไซต์หรือระบบต่างๆ
ทช่ี ่วยในการซอ้ื ของออนไลน์เพื่อเปน็ การท�าลายขอ้ มลู ท้งั หมด
2. เกิดข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและผู้ขายที่ไม่เป็นปัญหาใหญ่มากนัก เช่น จ่ายค่า
สนิ คา้ แลว้ แตไ่ ดร้ บั สนิ คา้ ทไี่ มไ่ ดค้ ณุ ภาพ สนิ คา้ แตกหกั หรอื สนิ คา้ ไมค่ รบถว้ น เปน็ ตน้
แนวทำงปฏิบัติ
อา่ นขอ้ กา� หนดในเวบ็ ไซตท์ ข่ี ายสนิ คา้ วา่ มนี โยบายการคนื สนิ คา้ หรอื แกป้ ญั หา
เหลา่ นหี้ รอื ไม ่ หากชแ้ี จงไวก้ ใ็ หท้ า� ตามเพอ่ื แกป้ ญั หา แตถ่ า้ หากไมไ่ ดช้ แ้ี จงกค็ วรตดิ ตอ่
ไปยังผู้ขายผ่านช่องทางการติดต่อท่ีแจ้งไว้บนเว็บไซต์และเจรจาเพ่ือแก้ไขปัญหาที่
เกดิ ขึ้น ซ่ึงผู้ขายอาจรบั ผิดชอบโดยการคนื เงนิ การเปลี่ยนสินคา้
3. เกิดข้อพิพาทเป็นการท�าผิดโดยตั้งใจของผู้ขาย น่ันคือ ผู้บริโภคจ่ายเงินแล้ว
แต่ผู้ขายไม่ส่งสินค้ามาให้ หรือส่งของอื่นๆ ท่ีไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ได้ส่ังซื้อไป ซ่ึง
แสดงถงึ เจตนาทีไ่ มด่ ขี องผขู้ ายอย่างชดั เจน
แนวทำงปฏิบตั ิ
แจ้งความและการด�าเนินคดีทางกฎหมาย เนื่องจากการท�าผิดแบบนี้เป็น
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน การกระท�าความผิดเก่ียวกับคอมพิวเตอร์ น�าเข้า
สูร่ ะบบคอมพวิ เตอรซ์ ึง่ ขอ้ มลู คอมพิวเตอรป์ ลอมไมว่ ่าท้ังหมดหรอื บางสว่ น หรอื ขอ้ มูล
คอมพวิ เตอรอ์ นั เปน็ เท็จ โดยประการทนี่ ่าจะเกดิ ความเสยี หายแกผ่ ้อู ่ืนหรอื ประชาชน

29

ติดต่อแจ้งควำมกับทำงต�ำรวจ

แนวทำงปฏบิ ตั ิ
1. รวบรวมเอกสารทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น
ประกาศขาย หลกั ฐานการจา่ ยเงนิ หมายเลขบญั ชธี นาคารกรณที ใี่ ชใ้ นการโอนเงนิ เพอ่ื
ชา� ระคา่ สนิ คา้ ขอ้ ความทแ่ี สดงใหเ้ หน็ ถงึ การตดิ ตอ่ ระหวา่ งผบู้ รโิ ภคและผขู้ าย เพอื่ ชว่ ย
ยืนยันและสนับสนุนกับความผิดคดเี ข้าขา่ ยฉอ้ โกงประชาชน
2. เข้าแจ้งความในข้อหาฉ้อโกงประชาชน โดยอาจจะชี้แจงกับต�ารวจว่าขอ
ด�าเนินคดีใหถ้ ึงท่สี ดุ และรับใบแจง้ ความกลับมา
3. น�าใบแจ้งความไปติดตามหาท่ีอยู่ของผู้ขาย ในกรณีที่ผู้ขายไม่แจ้งท่ีอยู่ท่ี
ชดั เจนไว ้ เชน่ หากผขู้ ายประกาศขายในเวบ็ บอรด์ แหง่ หนงึ่ กน็ า� ใบแจง้ ความไปตดิ ตอ่
ผดู้ แู ลเว็บบอร์ดเพือ่ ตรวจสอบขอ้ มูลต่างๆ ของผขู้ าย เชน่ IP Address และ ISP ท่ี
ผขู้ ายใช้ ซ่ึง ISP กส็ ามารถค้นหาตา� แหน่งของผ้ขู ายไดจ้ าก IP Address นนั่ เอง หรอื
อาจจะติดตอ่ กบั ธนาคารเจา้ ของบญั ชเี พอ่ื ขอข้อมูลท่อี ย่ไู ด้เชน่ กนั
4. น�าหลักฐานเกี่ยวกับที่อยู่ที่ได้น้ีไปแจ้งกับต�ารวจอีกคร้ัง เพ่ือให้ต�ารวจด�าเนิน
การจับกมุ
5. จบั กุมแลว้ ขนั้ ตอนที่เหลือคือขนั้ ตอนในชัน้ ศาล

30

ซอื้ ขาย สินค้าออนไลน์ อยา่ งไร?

สบายใจทัง้ ผู้ขายและผู้บริโภค

ปัญหำเกีย่ วกบั กำรซอื้ ขำย สนิ ค้ำออนไลน์
ได้รับสินคา้ ท่ไี มม่ คี ณุ ภาพ หรือคุณภาพตา่� กว่าท่โี ฆษณาขายไว้ทางออนไลน์
ไดส้ นิ ค้าไม่ตรงกับที่สง่ั ซื้อ หรอื ไมต่ รงกบั ความตอ้ งการ
การโฆษณาเกนิ จรงิ หลอกลวงผู้บรโิ ภค

ข้อควรระวังของผู้ประกอบธุรกจิ ในกำรขำยสินคำ้ หรือให้บรกิ ำรทำงออนไลน์
1. ต้องเป็นบริษัททจ่ี ดทะเบยี นถกู ตอ้ งตามกฎหมาย
2. น�าเสนอขายสินค้าหรือบริการตามวัตถุประสงค์ตามที่จดทะเบียนไว้กับ
กรมพฒั นาธรุ กจิ การค้า
3. ไมน่ �าเสนอขายสนิ คา้ หรอื บริการทผี่ ดิ ไปจากความจริงหรอื ใช้ข้อความเกินจรงิ
4.ไม่ละเมิดทรพั ย์สินทางปัญญาของผู้อืน่
5. การรบั ประกนั คณุ ภาพสนิ คา้ การคนื สนิ คา้ หรอื แลกเปลยี่ นสนิ คา้ ควรระบใุ ห้
ชดั เจน ไมค่ ลุมเครือ ไม่สรา้ งความสบั สนใหก้ ับผู้บริโภค

ข้อควรระวังสำ� หรับผ้บู รโิ ภคในกำรเลอื กซื้อสินค้ำหรือบริกำรทำงออนไลน์
1. ต้องตรวจสอบว่าผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
โดยตรวจสอบจากกรมพัฒนาธรุ กจิ การค้า
2. ประกอบธุรกิจมาเป็นเวลานานเพียงใด และประกอบธุรกิจในหรือนอก
วตั ถปุ ระสงค์
3. ระมดั ระวังเฟสบุค๊ ปลอม อินสตาแกรมปลอม ทีเ่ อาชือ่ คนดังมาเป็นโปรไฟล ์
หลอกลวงผู้บรโิ ภค
4. การโฆษณาหรอื การรวี วิ สนิ ค้าตอ้ งไมเ่ กินความจริงหรือเหลือเช่ือ

31

5. ตรวจสอบการตอบค�าถามของผู้ขายสามารถตรวจสอบได้จากการตอบค�าถาม
ในกระทู้ (Webboard) วา่ ผขู้ ายหมน่ั ตอบค�าถามของลกู ค้าหรือไม ่ และเอาใจใสล่ กู คา้
หรือไม ่
6. การช�าระเงินค่าสินค้าหรือบริการ ต้องช�าระเข้าบัญชีของบริษัทเท่าน้ัน
ไม่ควรชา� ระเงินผา่ นบัญชีสว่ นตัว
7. การซื้อสินค้าประเภทใช้แล้วหรือสินค้ามือสอง จะต้องขอรายละเอียด
เกีย่ วกบั การจดทะเบียน เอกสารเกีย่ วกบั แสดงกรรมสทิ ธ์ิ
8. การซ้อื สินคา้ ทมี่ รี าคาสูงควรเดินทางไปพบที่ส�านักงานของผูป้ ระกอบธรุ กิจ
เพื่อตรวจสอบว่ามีอยู่จริงหรือไม่อย่างไร เพราะภาพที่แสดงทางอินเตอร์เน็ตอาจเป็น
ภาพท่ีตัดตอ่ หรือตกแตง่ ใหด้ ูดี หรอื อาจเปน็ ของปลอมกเ็ ป็นได้
9. ดเู งือ่ นไขการรบั ประกันสนิ คา้ หรอื บริการหลังการขาย
ตัวบทกฎหมำยทเี่ กี่ยวข้องกบั กำรซือ้ ขำยสินค้ำและบริกำรทำงออนไลน์
1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, มาตรา 342, มาตรา 343
2. พระราชบัญญัติลิขสิทธ์ิ พ.ศ.2537 มาตรา 27, มาตรา 31, มาตรา 69,
มาตรา 70
3. พระราชบญั ญตั ิวา่ ด้วยการกระท�าความผดิ เกีย่ วกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 14, มาตรา 16
4. พระราชบัญญัติคุม้ ครองผู้บริโภค พ.ศ.2522

32

การขายสินคา้ ทางอนิ เตอรเ์ นต็

เปน็ ธุรกจิ ตลาดแบบตรง
ตอ้ งจดทะเบยี นต่อ สคบ.

ผู้ประกอบธุรกิจที่ท�าการค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ. ตามพระราชบัญญัติ
ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 กอ่ น จึงจะทา� การคา้ ได้
ท�ำไมธุรกิจซื้อขำยสนิ คำ้ ทำงอนิ เตอรเ์ นต็ ต้องจดทะเบยี น
เพ่ือให้สามารถตรวจสอบหรือติดตามผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลผู้ค้าขายได้
หากมีกรณลี ะเมดิ สิทธผิ ู้บรโิ ภค หรือการร้องเรียนตา่ งๆ เกิดข้ึน
ใครทีม่ หี นำ้ ท่ีตอ้ งจดทะเบียนเพ่ือท�ำกำรค้ำขำยผำ่ นอินเตอรเ์ น็ต
1. เจา้ ของเว็บไซต์ทีจ่ ดทะเบียนเว็บไซตไ์ ว้เพือ่ ขายสินคา้ ของตนเอง
2. คนกลางในการน�าสินค้าของบุคคลอ่ืนมาขายผ่านหน้าเว็บไซต์ เจ้าของ
เว็บไซต์ต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดหรือประเภทของสินค้า ช่ือท่ีอยู่ของเจ้าของ
ผลิตภณั ฑ์ วธิ กี ารซ้ือขาย เงอื่ นไขต่างๆ ให้นายทะเบยี นการประกอบธุรกจิ ตลาดแบบ
ตรงทราบดว้ ย
3. บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดา ท่ีเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น
ผผู้ ลติ ผนู้ า� เขา้ หรอื ผแู้ ทนจา� หนา่ ย หรอื ผขู้ าย หากจดทะเบยี นเวบ็ ไซตเ์ พอ่ื คา้ ขายสนิ คา้
ผา่ นอนิ เตอร์เนต็ เป็นของตนเอง โดยไม่ผ่านเวบ็ ไซต์ท่เี ปน็ สอื่ กลาง
4. ธุรกิจตลาดแบบตรง รวมถึง บคุ คลทท่ี า� การค้าขายสนิ ค้าผา่ นส่อื อืน่ ๆ ด้วย
เช่น สื่อโทรศพั ท ์ โทรสาร หรอื เคร่ืองมอื ส่ือสารอิเลก็ ทรอนกิ สใ์ นรูปแบบอืน่ ๆ

33

ใคร? ท่ีไมต่ ้องจดทะเบียน

บุคคลที่เป็น เจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต หรือผู้น�าเข้า ท่ีน�าสินค้า
ไปโพสต์ขายผา่ นเวบ็ ไซต์คนกลาง
ธรุ กจิ ใดท่ไี ม่ตอ้ งจดทะเบียน
บรษิ ทั หา้ งรา้ น หรอื บคุ คลธรรมดา ทเ่ี ปน็ เจา้ ของผลติ ภณั ฑ ์ ไมว่ า่ จะเปน็ ผผู้ ลติ
ผู้นา� เข้าหรือผู้แทนจ�าหน่าย หรอื ผู้ขาย ทป่ี ระสงค์เพียงโฆษณาสนิ ค้าหรือบริการผ่าน
สอื่ เพยี งอยา่ งเดยี ว โดยมไิ ดป้ ระสงคห์ รอื มงุ่ ทจี่ ะทา� การซอื้ ขายสนิ คา้ หรอื บรกิ ารผา่ นสอื่
บทกา� หนดโทษสา� หรบั ผู้ฝ่าฝนื
ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (ค้าขายสินค้าผ่านส่ือ) โดยไม่จดทะเบียน
ธุรกิจตลาดแบบตรง ตอ้ งระวางโทษจา� คกุ ไมเ่ กินหนงึ่ ป ี หรอื ปรับไม่เกนิ หนง่ึ แสนบาท
หรอื ทง้ั จา� ทง้ั ปรบั และปรบั รายวนั อกี วนั ละไมเ่ กนิ หนงึ่ หมน่ื บาทตลอดเวลาทยี่ งั ฝา่ ฝนื อยู่
(มาตรา 47 แหง่ พระราชบญั ญัตขิ ายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545)

34

รู้ไว้ได้ประโยชน์

“สทิ ธขิ องผเู้ ชา่ หอพกั ทาวนเ์ ฮาส์ แมนชน่ั อพารท์ เมน้ ต”์

ผู้บริโภคซ่ึงจ�าเป็นต้องเช่าหอพัก ทาวน์เฮาส์ แมนช่ัน อพาร์ทเม้นต์
ท่านเคยพบกับปัญหาไม่ได้รบั ความเป็นธรรมเหล่านี้หรือไม่ ผู้ให้เช่าบงั คับให้ต้องเช่า
ไมต่ า�่ กว่า 3-4 เดือน หากยา้ ยกอ่ นกา� หนดจะไม่คืนเงนิ ประกนั ท�าสญั ญาหอ้ งชุดโดย
วางเงินประกันแต่เม่ือขอย้ายออกก่อนครบสัญญาเช่าผู้ให้เช่าไม่คืนเงินประกัน หักค่า
มดั จา� มากเกนิ ความจา� เป็น เชน่ คดิ ค่าพดั ลมเพดานสกปรก 200 บาท เพดานสกปรก
100 บาท ผนังเป็นรอย 300 บาท ซึ่งความจริงแล้วควรหักรวมกันไม่เกิน 500 บาท
หรือกรณีอาคารเช่าเปลีย่ นกรรมสิทธ์ิเจา้ ของใหมแ่ ตเ่ จา้ ของรายเดมิ ไม่คืนเงนิ ประกัน
นอกจากนยี้ งั หกั ประกนั ในลกั ษณะทไี่ มเ่ หมาะสม เชน่ ผเู้ ชา่ ไดท้ าสหี อ้ งทง้ั ทย่ี งั
อยใู่ นสญั ญาเชา่ แลว้ หกั เงนิ มดั จา� จากผเู้ ชา่ หรอื คดิ คา่ เสยี หายทเี่ กนิ ราคาจรงิ ของสนิ คา้
ปัญหาเหล่านีผ้ ูบ้ ริโภคทราบหรือไม่วา่ ทา่ นมีสทิ ธิอะไร และควรใชส้ ทิ ธอิ ะไรบา้ ง ?
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้เช่าและผู้ให้
เช่ามีหน้าท่ีจะต้องกระท�าต่อกัน เช่น ผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าเช่า ส่วนผู้ให้เช่าก็ต้องให้
สิทธิในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุในสัญญาเช่าฯ ลักษณะของสัญญาเช่า
อสังหารมิ ทรพั ย์น้ัน ตามกฎหมายกา� หนดใหด้ �าเนนิ การดงั นี ้

l ทา� หลักฐานเปน็ หนงั สอื สญั ญาเชา่ ใหช้ ดั เจน
l ตอ้ งมขี อ้ ความทร่ี ะบวุ า่ ใครเชา่ อะไรจากใคร ทรพั ยท์ เ่ี ชา่ คอื อะไรเปน็ บา้ น
ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชดุ อาคารพาณิชย ์ หอพัก แมนช่นั อพาร์ทเมน้ ต์ หรอื ทดี่ นิ เป็นต้น
l มรี ะยะเวลายาวนานเท่าไร เร่ิมต้นตงั้ แต่เม่อื ใดและสนิ้ สดุ ลงเมอ่ื ไร
l คา่ เช่ามจี า� นวนก่ีบาท
l กา� หนดชา� ระค่าเช่าเปน็ อย่างไร ต่อเดือนหรอื ตอ่ ป ี
l ตอ้ งมกี ารลงนามระหวา่ งผเู้ ชา่ กบั ผใู้ หเ้ ชา่ รวมไปถงึ เงอ่ื นไขอนื่ ๆ ระหวา่ ง
ผู้เช่าและผูใ้ หเ้ ช่า เชน่ การตอ่ สญั ญาเช่า การยกเลกิ สัญญาเช่า การปรับราคาเช่า
l รวมถงึ การด�าเนนิ การกรณผี ูเ้ ชา่ ไม่จ่ายค่าเช่า เปน็ ตน้

35

โดยรูปแบบของสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายก�าหนดว่าต้องท�าเป็น
หนงั สอื มฉิ ะนนั้ แล้วจะไมส่ ามารถฟ้องร้องบังคบั คดไี ด ้
ท่ีผ่านมามีหลายกรณีที่ผู้บริโภค “ไม่รู้” จนท�าให้เกิดการละเมิดสิทธิจาก
ผู้ประกอบการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ข้ึนมา อาทิ กรณีของการท�าสัญญากันระหว่าง
ผู้เช่ากับผู้เช่าต้องอาศัยก่อน 3-4 เดือนจึงได้รับคืนเงินประกัน กรณีท่ีย้ายออก
หากยา้ ยออกกอ่ นระยะเวลาทต่ี กลงไวผ้ ใู้ หเ้ ชา่ กจ็ ะยดึ เงนิ ประกนั กรณดี งั กลา่ วเปน็ เรอื่ ง
ที่ไมเ่ กิดประโยชนแ์ ก่ผบู้ รโิ ภค เพราะบางรายต้องย้ายสถานท่ที �างานซ่งึ ไกลจากทพี่ กั
หรือไม่อาจทนต่อสภาพแวดล้อม แต่ผู้บริโภคต้องจ�าใจเช่าอยู่ต่อให้ครบตามก�าหนด
มิเช่นนั้น ไม่ได้เงินประกันคืน โดยเงินประกันเฉลี่ยรายละ 3,000-7,000 บาท ซึ่ง
ส่วนใหญ่ผู้บริโภคยังไม่รู้กฎหมายในการคุ้มครองผู้เช่า จึงมีหลายรายไม่ได้ร้องเรียน
เพียงแต่เข้าใจว่าได้ท�าสัญญากับผู้ให้เช่าแล้วจึงต้องยอมทนอยู่เพื่อได้เงินประกันคืน
ในเรอ่ื งดงั กลา่ วไดม้ คี า� สง่ั ของคณะกรรมการวา่ ดว้ ยสญั ญาประกาศใหธ้ รุ กจิ การใหเ้ ชา่ ฯ
ท่ีเรียกเงินประกันเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานรับเงิน พ.ศ. 2549 ซ่ึงมีผล
ตงั้ แตว่ นั ที่ 1 มกราคม 2550 โดยบงั คบั ผู้ให้เชา่ ต้องคืนเงนิ ประกันไม่ว่ากรณใี ดยกเวน้
หกั คา่ เสยี หายทเี่ กดิ ขน้ึ ตามความเปน็ จรงิ ซงึ่ จะชว่ ยคมุ้ ครองไมใ่ หผ้ เู้ ชา่ ตอ้ งเสยี เปรยี บ
การท�าสัญญาโดยเฉพาะการรับเงินประกันคืน หากผู้บริโภครายใดที่เดือดร้อนกรณี
ผปู้ ระกอบธรุ กิจไม่คนื เงนิ ร้องเรยี นที่ สคบ. ได้

36

ผเู้ ช่าควรรู้

1. ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าเช่าจากเงินประกัน และทรัพย์สินของผู้เช่า
เพราะเงินประกันนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประกันค่าเช่า แต่เป็นการประกันไว้ส�าหรับความ
เสยี หายจากการเชา่ ของผู้เช่าที่อาจเกิดแก่อสงั หาริมทรพั ย์
2. ส่วนทรัพย์สินของผู้เช่าท่ีอยู่ในอสังหาริมทรัพย์น้ัน ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิที่จะ
เคล่ือนย้ายหรือน�าออกจ�าหน่ายซ่ึงจะมีความผิดฐานบุกรุกตามกฎหมายอาญา แต่ใน
บางกรณผี ใู้ หเ้ ชา่ สามารถหนว่ งเหนยี่ วเอาไวจ้ นกวา่ จะมกี ารจา่ ยคา่ เชา่ ได ้ ถา้ หากมกี าร
ระบใุ หส้ ทิ ธิผใู้ ห้เชา่ ไวใ้ นสัญญาเช่า
3. ผู้ให้เช่ามีสิทธิเปลี่ยนข้อก�าหนดในสัญญา โดยไม่ได้มีการแจ้งให้ผู้เช่ารับรู้
การแกไ้ ขใดๆ ในสญั ญา ทง้ั ผเู้ ชา่ และ ผใู้ หเ้ ชา่ ตอ้ งเซน็ กา� กบั รบั รจู้ ากการแกไ้ ขนที้ ง้ั สองฝา่ ย
4. กรณีผู้เช่าค้างค่าเช่า ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิยึดบ้านคืน เปลี่ยนล็อคประตู
ยา้ ยของออก โดยไมไ่ ด้แจง้ ล่วงหนา้ หากผูเ้ ช่าไม่จ่ายเงินค่าเชา่ ตามกา� หนดในสญั ญา
ผู้ให้เช่าต้องบอกเลิกสัญญาก่อนอย่างน้อย 15 วัน ฟ้องเรียกค่าเสียหาย หากผู้เช่ายัง
ไม่ออก ตอ้ งท�าการฟอ้ งขับไลต่ อ่ ไป ใหใ้ ช้อ�านาจศาลในการขับไล่แทน
5. กรณผี เู้ ช่าค้างคา่ เชา่ ผูใ้ หเ้ ช่าไมม่ สี ิทธติ ัดนา้� ตดั ไฟ เพ่อื ไลผ่ ูเ้ ช่า เพราะถือ
เป็นการละเมิดสิทธิของผู้เช่า เป็นการรบกวนสิทธิของผู้เช่าในการครอบครองและใช้
ประโยชน์จากอสังหารมิ ทรัพย์ท่เี ชา่ อย ู่ มคี วามผิดตามกฎหมาย
6. ผู้เช่าต้องดูแลทรัพย์สินท่ีเช่านั้นให้เหมือนทรัพย์สินน้ันเป็นของตัวเอง
ใช้ทรัพยส์ ินอยา่ งระมัดระวัง

37

ผู้ให้เชา่ ควรรู้

1. ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเข้าในสถานท่ีให้เช่าโดยพลการโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ
อาจจะท�าผิดต่อข้อกฎหมายได้ หากจะเข้าไปในสถานท่ีให้เช่า ผู้ให้เช่าควรมีการแจ้ง
ให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 1-2 วัน ก่อนการเข้าบ้านเช่า เว้นเสียแต่เป็นการเข้าไป
ซ่อมแซมใหญ่เมือ่ มีเหตฉุ ุกเฉิน
2. ระบุจุดประสงค์ในการเช่าให้ชัดเจนในสัญญาว่าเป็นการเช่าเพ่ือพักอาศัย
เพราะจะสามารถยกเลิกสัญญาได้ถ้าผู้เช่าท�าผิดสัญญาเช่า ผู้เช่าบ้านเพื่อพักอาศัย
ตอ่ มาใชส้ ถานทใ่ี หเ้ ชา่ เปน็ รา้ นอาหาร ซงึ่ เปน็ การผดิ วตั ถปุ ระสงคข์ องการเชา่ และอาจ
เกดิ ความเสียหายต่อสถานทีใ่ ห้เชา่ ได้
3. ซ่อมแซมใหญ่ในทรัพย์สินที่ให้เช่า โดยผู้ให้เช่ายังมีหน้าที่ท่ีจะบ�ารุงรักษา
และซ่อมแซมบ้านระหว่างที่ให้เช่าอยู่ด้วย ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ท่ีจะต้องออกเงินค่าใช้จ่าย
ในการซ่อมแซม

38

เรอื่ งน่าร้.ู ...กอ่ นเซน็ สัญญาเชา่ หอพกั

กอ่ นลงมอื เซน็ สญั ญาเชา่ หอพกั ควรทา� การศกึ ษารายละเอยี ดตา่ งๆ ใหร้ อบคอบ
เพอื่ รักษาสทิ ธข์ิ องตนเอง เมอ่ื เกดิ ปัญหาจะไดเ้ รียกร้องได้ไมถ่ กู เอาเปรียบ
1. ค่าเช่าล่วงหน้า ตามกฎหมายเจ้าของหอพักจะเรียกเก็บเงินได้ไม่เกินราคา
ค่าเช่า 3 เดอื น หากมกี ารเกบ็ คา่ เช่าล่วงหนา้ เกนิ สามารถทว้ งติงได้ และไม่จ่ายตามท่ี
ระบุไว้ในสัญญาไดเ้ ชน่ กนั
2. ค่าเช่า สัญญาเช่าหอพักต้องมีการระบุให้ชัดเจนว่าแต่ละเดือนต้องจ่าย
ค่าเชา่ เท่าไหร่ กา� หนดวนั – เวลา ทต่ี อ้ งชา� ระ รวมถึงระบุหากวา่ จา่ ยคา่ เช่าล่าช้า หรอื
ไม่จา่ ยเลย จะมกี ารเตอื น การปรับ หรือมบี ทลงโทษอย่างไร
3. ค่าประกันหอพกั ตอ้ งมคี วามเหมาะสมกับสภาพหอ้ ง ตอ้ งระบรุ ายละเอยี ด
ความเสยี หาย ทส่ี ามารถหกั ไดจ้ ากค่าประกนั
4. ค่าน้�า – ค่าไฟ ต้องคิดตามมิเตอร์น้�า มิเตอร์ไฟ หน่วยละเท่าไหร่ และมี
ใบเสรจ็ แจง้ ใหท้ ราบดว้ ย
5. ค่าปรับต่างๆ ตรวจสอบก่อนว่าในสัญญาเช่าหอพักมีกฎระเบียบอะไรบ้าง
และมีค่าปรับ หรือลงโทษอยา่ งไร หากไมร่ ะบุเรากม็ สี ิทธิ์ที่จะไมจ่ ่าย
6. คา่ บรกิ ารอนื่ ๆ เชน่ คา่ อนิ เทอรเ์ นต็ คา่ จอดรถ คา่ ทา� ความสะอาด คา่ รกั ษา
ความปลอดภยั คา่ ฟติ เนส ฯลฯ ตอ้ งตรงกบั ความจริงหรือเปล่า รวมถึงตอ้ งมกี ารออก
หลกั ฐานการรบั เงนิ ทกุ ครัง้ ด้วย
7. สา� รวจสภาพหอ้ ง และขา้ วของเครอ่ื งใช ้ หากสภาพความไมเ่ ปน็ จรงิ สามารถ
เรยี กร้องสทิ ธิต์ ามสัญญาได้เชน่ กนั
8. ตรวจสอบความถกู ตอ้ งของชือ่ – นามสกลุ ความถูกต้องของผูเ้ ช่าและเจา้ ของ
หอพัก เวลามีปญั หาอะไรจะได้เอาผิดถูกคน
9. อา่ นสญั ญาให้ครบทกุ ขอ้ เพ่ือสทิ ธข์ิ องตัวเอง

39

“ฉลากสินคา้ สาำ คญั อย่างไร?”

ในชีวิตประจ�าวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ท่ัวไป ไม่ว่าจะเป็น
ฉลากยา ฉลากอาหาร ฉลากเครอ่ื งสา� อาง ฉลากเครื่องใช้ไฟฟา้ หรอื ฉลากสินค้าอ่ืนๆ
อกี มากมาย แลว้ ฉลากสินคา้ มคี วามสา� คัญกบั ผบู้ ริโภคอย่างไร ?
พระราชบัญญตั คิ มุ้ ครองผู้บรโิ ภค พ.ศ. 2522 กา� หนดว่า “ฉลำก” หมายถงึ
รูป รอยประดษิ ฐ์ กระดาษหรือสงิ่ อืน่ ใดทีท่ า� ใหป้ รากฏข้อความเกีย่ วกับสนิ คา้ ซ่ึงแสดง
ไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้าหรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับ
สินค้า หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือ
คู่มือส�าหรับใช้ประกอบสินค้า ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือ
หีบห่อบรรจสุ นิ คา้ น้ัน

“ ฉลำกของสนิ ค้ำ ” (ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผ้บู ริโภค พ.ศ.2522) จะตอ้ งระบุ
ขอ้ ความดังนี ้

l ชื่อประเภทหรอื ชนิดของสินค้าทแ่ี สดงให้เข้าใจไดว้ ่าสินคา้ นน้ั คืออะไร กรณี
ทเี่ ปน็ สนิ คา้ ที่สั่งหรอื น�าเขา้ มาเพ่ือขาย จะต้องระบุประเทศท่ผี ลติ ด้วย เชน่ โทรทศั นส์ ี
คอมพวิ เตอร ์ สมดุ พมิ พเ์ ขยี น นา้� หอมปรบั อากาศ ผลติ ในประเทศญปี่ นุ่ ผลติ ในประเทศ
มาเลเซยี ฯลฯ

l ช่ือผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของ
ผู้ผลติ เพอ่ื ขายในประเทศไทย

l ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าท่ีจดทะเบียนในประเทศไทยของ
ผูส้ งั่ หรือผู้น�าเข้ามาในราชอาณาจกั รเพ่ือขาย

l สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้ส่ังหรือผู้น�าเข้ามาในราชอาณาจักร
เพอ่ื ขาย

l ต้องแสดงปริมาณ หรือขนาด หรือปริมาตร หรือน�้าหนักของสินค้า เช่น
น�า้ หนกั สทุ ธ ิ 2 กโิ ลกรัม ยาว 5 น้ิว จ�านวน 100 ใบ ขนาดใหญ่พเิ ศษ ฯลฯ

l ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้าน้ันใช้เพ่ือส่ิงใด เช่น ใช้ท�า
ความสะอาดพน้ื ไม้หรอื พ้นื กระเบอ้ื ง ภาชนะเคลอื บใชต้ ง้ั บนเตาไฟ ฯลฯ

40

l ขอ้ แนะนา� ในการใชห้ รอื หา้ มใช ้ เพอื่ ความถกู ตอ้ งในการใชท้ ใ่ี หป้ ระโยชนแ์ ก่
ผู้บริโภค เชน่ หา้ มใช้ของมีคมกับการแซะน้�าแขง็ ในตูเ้ ย็น ควรเก็บสินคา้ ไว้ในทร่ี ่มและ
ไม่เปียกชื้น ฯลฯ

l คา� เตอื น (ถา้ มี)
l วัน เดือน ปี ท่ีผลิต หรือ วัน เดือน ปี ท่ีหมดอายุ หรือ วัน เดือน ปี ท่ีควร
ใช้กอ่ น (ถา้ มี) เชน่ ผลติ เมื่อ 30 เมษายน 2556 ควรใช้กอ่ น 30 เมษายน 2557
l ราคา ต้องระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอนื่ ดว้ ยก็ได้
สา� หรบั การแสดงขอ้ ความในฉลากสนิ คา้ ตอ้ งใชข้ อ้ ความทต่ี รงตอ่ ความเปน็ จรงิ
และไมก่ อ่ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจผดิ ในสาระสา� คญั เกยี่ วกบั สนิ คา้ นน้ั ๆ ในกรณที ส่ี นิ คา้ นน้ั ๆ
มกี ฎหมายของหนว่ ยงานราชการอน่ื ควบคมุ ในเรอ่ื งฉลากอยแู่ ลว้ กใ็ หจ้ ดั ทา� ฉลากตาม
กฎหมายน้ันๆ เช่น อาหารต้องจัดท�าฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร ยาต้องจัดท�า
ฉลากตามพระราชบัญญัติยา เคร่อื งสา� อางตอ้ งจัดทา� ฉลากตามพระราชบัญญัติเคร่ือง
ส�าอาง เคร่ืองมือแพทย์ ต้องจัดท�าฉลากตามพระราชบัญญัติเคร่ืองมือแพทย์ซึ่งอยู่
ในความควบคมุ ของกระทรวงสาธารณสขุ ปุย๋ ตอ้ งจัดท�าฉลากตามพระราชบญั ญตั ิปุ๋ย
ซึง่ อยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ
เม่ือฉลากสินค้าเป็นแหล่งข้อมูลในการอุปโภคและบริโภคของผู้บริโภค ซึ่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้ก�าหนดสิทธิท่ีผู้บริโภคจะต้องได้รับ
ข่าวสาร รวมทั้งค�าพรรณนาคุณภาพท่ีถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
ดงั นัน้ เม่ือผบู้ ริโภคไมว่ ่าจะกอ่ นซอื้ หรอื ก่อนใช้สนิ ค้าหรือบรกิ าร หยดุ ใหค้ วามส�าคญั
อา่ นฉลากสักนิดเพอ่ื คุณภาพชีวติ ของผบู้ รโิ ภค

41

การคุ้มครองผู้บริโภค....ดา้ นฉลาก

สนิ ค้ำอะไรบำ้ งเปน็ สินคำ้ ทค่ี วบคุมฉลำก
ประเภทท่ี 1

กฎหมายก�าหนดใหส้ ินคา้ ท่ผี ลติ เพ่ือขายโดยโรงงานตามกฎหมายวา่ ดว้ ย
โรงงานและสนิ ค้าทส่ี ง่ั หรอื นา� เข้ามาในราชอาณาจกั รเพอื่ ขาย

ประเภทท่ี 2
สนิ ค้าทอี่ าจกอ่ ให้เกิดอนั ตรายแก่สุขภาพ ร่างกาย หรอื จติ ใจ เนือ่ งในการ
ใช้สนิ ค้า หรือโดยสภาพของสินค้าน้นั หรอื เป็นสนิ ค้าท่ีประชาชนทั่วไปใชเ้ ปน็ ประจา�

ลกั ษณะของฉลำกสินคำ้ ที่ควบคมุ ฉลำก
1. ต้องตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระส�าคัญ
ของสินค้าน้นั
2. ตอ้ งเปน็ ภาษาไทยหรอื ภาษาไทยกา� กบั ภาษาตา่ งประเทศ สามารถเหน็ และ
อ่านไดช้ ัดเจน

ฉลำกของสนิ คำ้ ทคี่ วบคมุ ฉลำกต้องระบุ
ชือ่ ประเภทหรอื ชนดิ ของสินคา้
กรณีสง่ั -นา� เข้าใหร้ ะบปุ ระเทศทผี่ ลิต
ชื่อหรือเคร่อื งหมายการค้าท่ีจดทะเบียน
สถานท่ตี ั้ง ทส่ี ามารถตดิ ต่อไดจ้ รงิ
ขนาด, มิติ, ปรมิ าณ, ปริมาตร, นา้� หนัก

กำรแสดงฉลำกสินคำ้ ตอ้ งแสดงไวท้ ่ี
l ตวั สินคา้
l ภาชนะบรรจุ หรือหบี ห่อ
l สอดแทรก หรอื รวมไวก้ บั สนิ คา้
l เอกสารหรอื คูม่ อื
l ปา้ ย ที่ตดิ ต้ังหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ

42

โทษ

ผขู้ ายสนิ คา้ ทคี่ วบคมุ ฉลากโดยไมม่ ฉี ลาก หรอื มฉี ลากแตแ่ สดงฉลากไมถ่ กู ตอ้ ง
หรอื ใชฉ้ ลากทีถ่ ูกสง่ั เลกิ ตามมาตรา 33 ตอ้ งระวางโทษจา� คกุ ไมเ่ กนิ หกเดือน หรอื ปรบั
ไม่เกนิ ห้าหม่ืนบาท หรอื ท้ังจา� ท้ังปรบั
ผู้ผลิตเพ่ือขาย หรือส่ัง หรือน�าเข้าเพ่ือขายต้องระวางโทษจ�าคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรอื ปรับไม่เกนิ หนง่ึ แสนบาท
เจตนากอ่ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจผดิ เกย่ี วกบั สนิ คา้ หรอื บรกิ ารดว้ ยการโฆษณาหรอื
ใช้ฉลากท่ีมีข้อความเป็นเท็จ หรือข้อความท่ีรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความ
เข้าใจผิด ต้องระวางโทษจ�าคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหม่ืนบาท หรือ
ท้งั จา� ทั้งปรบั

สินคา้ เฉพาะประเภทใดบ้าง?

ท่ี สคบ. ประกาศให้เปน็ สนิ ค้าท่คี วบคมุ ฉลาก

ลกู โปง่ บรรจกุ า๊ ซไฮโดรเจน ข้าวสารบรรจถุ งุ ทองรปู พรรณ แปรงสีฟนั

อัญมณเี จยี ระไนและ เครอ่ื งท�าน�า้ อ่นุ ไฟฟ้าและ ผลติ ภัณฑพ์ ลาสติก บอแรกซ์
เคร่ืองประดบั อัญมณีเจียระไน เครอ่ื งทา� น�้าร้อนไฟฟ้า
43

เครือ่ งเลน่ ชนิดที่มีล้อเล่อื น น้า� มันอเนกประสงค์ ภาชนะและเคร่อื งใชเ้ มลามนี
สา� หรับอาหาร

ที่นอน รถจกั รยานยนต์ เคร่ืองทา� น�า้ เย็น ผลิตภณั ฑ์ชว่ ยในการ
พยุงตัวเด็ก

ชดุ สังฆทานและชดุ ไทยธรรม รถยนต์ใช้แลว้ อุปกรณเ์ ครอื่ งเล่นสนาม ผลติ ภัณฑ์ท่มี ีสว่ นประกอบ
ของแรใ่ ยหิน

ตนู้ า�้ ดม่ื หยอดเหรยี ญ ปนื อดัแบลมบเอบาาวทุธีจ่ป�าืนลจอรงิงเลยี น ไม้ตยี ุงไฟฟ้า ดอกไมเ้ พลงิ
อัตโนมตั ิ

อ่างอาบนา้� ส�าหรบั เดก็ ภาชนะและเครือ่ งใชเ้ หลก็ กล้าไร้สนิม สีผสมสารตะก่วั
ส�าหรบั อาหาร
44

เเลลอืือกกทส่ีจถะสาวนยเส..อรยมิ า่ คงควุ้มามค่างแาลมะทป่ีลไดอดม้ ภาตัยรฐาน

เม่อื ควำมสวย...สำมำรถสร้ำงได้ หนุ่มสาวยุคใหม่จึงหันหนา้ เข้าหาคลินกิ เสรมิ
ความงามท่ีมกี ระจายอยู่ท่ัวทุกหนแหง่ เพอื่ แปลงโฉม “ศลั ยกรรม” บนใบหน้าหรือแมแ้ ต่
เรือนร่าง ให้สวย ดูดี สมความปรารถนา แต่ในทางกลับกัน หากศัลยกรรมออกมาแล้ว
ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ความเสียหายท่ีเกิดขึ้นย่อมส่งผลต่อผู้ใช้บริการท่ีอาจต้องมานั่ง
“บำ� บดั รักษำ” แทนที่จะ “สวยอย่ำงค้มุ คำ่ และปลอดภัย”
เมื่อกล่าวถึงสภุ าษิตทวี่ ่า “ไกง่ ำมเพรำะขน คนงำมเพรำะแตง่ ” ส�านวนน้ีก็ยงั
ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะปัจจุบัน ท่ีถือได้ว่าภาพลักษณ์มีความจ�าเป็นอย่างยิ่ง
สา� หรบั คนวยั หนมุ่ สาว จงึ ตอ้ งหนั มาใสใ่ จและดแู ลบคุ ลกิ ภาพ รวมไปถงึ รปู รา่ งหนา้ ตาใหด้ ดู ี
มากขนึ้ เพอื่ เปน็ การเสรมิ สรา้ งความมนั่ ใจ เปดิ โอกาสทางธรุ กจิ หรอื แมแ้ ตก่ ารพบปะทาง
สงั คม ทางเลือกหนึง่ ของคนสว่ นใหญท่ ต่ี อ้ งการปรบั เปล่ยี นตนเอง และ พึงหวังประโยชน์
จากการสรา้ งความพงึ พอใจในรปู แบบของการเปลย่ี นภาพลกั ษณ ์ ความสวยงามใหด้ ชู ดั เจน
ข้นึ ความคาดหวงั ทง้ั หมดจงึ ตกอยทู่ บี่ รรดา “สถำนเสริมควำมงำม” หรือ “คลนิ ิกเสริม
ความงาม” ท้ังหลาย
ถา้ พดู ถงึ ธรุ กจิ เสรมิ ความงาม เรยี กไดว้ า่ ธรุ กจิ นกี้ า� ลงั ไดร้ บั ความนยิ ม และมอี ตั รา
การเตบิ โตอย่างตอ่ เนอ่ื ง พร้อมๆ กับความกา้ วหนา้ ทางการแพทย ์ เพือ่ แก้ไขปญั หาให้แก่
บุคคลทต่ี ้องการลดความผดิ ปกตบิ างอย่าง หรือเสรมิ สดั ส่วนตา่ งๆ ของร่างกายให้ดูดขี ึ้น
แต่ปญั หาทีพ่ บจากเรอ่ื งการเขา้ ใช้บรกิ ารสถานเสรมิ ความงาม กน็ บั เปน็ เรอื่ งท่นี ่าตกใจอยู่
เหมอื นกนั ตรงทม่ี ผี บู้ รโิ ภคหลายรายขอความเปน็ ธรรมจากหลากหลายกรณที ง้ั ศลั ยกรรม
แลว้ พบความเปลยี่ นแปลงทไ่ี มพ่ งึ ประสงค ์ แผลจากการผา่ ตดั เกดิ การบวมและตดิ เชอ้ื หรอื
กรณที คี่ ลนิ กิ ทใ่ี หบ้ รกิ ารนนั้ ปดิ ใหบ้ รกิ ารไปแลว้ กรณเี หลา่ นค้ี อื นอกจากความเสยี หายจะ
เกดิ ขน้ึ กบั รา่ งกายแลว้ ยงั สง่ ผลกระทบตอ่ สภาพจติ ใจของผใู้ ชบ้ รกิ าร และทส่ี า� คญั คอื สง่ ผล
ตอ่ วงการธรุ กิจเสริมความงามอน่ื ๆ เพยี งเพราะความไมไ่ ด้มาตรฐานของการรกั ษา ความ
ไม่เชี่ยวชาญของแพทย์ หรือแม้แต่ความไม่รอบคอบท่ีจะตรวจสอบหรือพิจารณาเลือกใช้
บริการที่ได้มาตรฐาน แน่นอนว่า ผลเสียย่อมมีมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน จึงขอฝากให้
ผทู้ คี่ ดิ จะใชบ้ รกิ ารสถานความงาม พเิ คราะหส์ กั นดิ เพอ่ื ความปลอดภยั ในชวี ติ ของทกุ ทา่ น

45

โดยกำรสังเกตดงั น้ี
1. ในรา้ นต้องแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานบริการ
2. หนา้ ร้านตอ้ งมีแผ่นปา้ ยขนาดใหญแ่ สดงชอื่ สถานบริการที่ชัดเจน
3. ผใู้ ห้การรกั ษาต้องเป็นแพทย ์
4. ตอ้ งมปี ้ายและรูปถา่ ยของผู้ประกอบวิชาชพี
5. มีเลขทีใ่ บอนญุ าตใหป้ ระกอบโรคศลิ ปะของแพทย ์
อย่างไรก็ดี นอกจากจะต้องเลือกใช้บริการสถานเสริมความงามท่ีปลอดภัยได้
มาตรฐานแล้ว ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าการเสริมความงามทุกชนิดมีการพัฒนาอยู่ตลอด
เวลา ทา� ใหโ้ อกาสทางการรกั ษาสามารถไดผ้ ลลพั ธด์ ขี น้ึ แตใ่ นทางกลบั กนั อยา่ ลมื วา่ โอกาส
เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้บริการน้ัน สามารถเกิดข้ึนได้ทุกเม่ือ ฉะนั้น
ผบู้ รโิ ภคจงึ ตอ้ งไตรต่ รองหาขอ้ มลู ตา่ งๆ ใหด้ กี อ่ นทจี่ ะตดั สนิ ใจทา� อะไรสกั อยา่ ง ดกี วา่ ตอ้ ง
มาพดู ทหี ลังวา่ “รู้อยำ่ งน้ี...ไม่นำ่ ทำ� เลย”

รอ้ งเรยี น คลนิ กิ หรอื สถานพยาบาล สาำ นกั สถานพยาบาล และการประกอบโรคศลิ ปะ
โทร. 02 590 1997
ตา่ งจังหวัด สำานักงานสาธารณสุขจงั หวดั

46

“บรกิ ารหลงั การขาย” อกี เรอื่ งสาำ คญั กอ่ นคดิ ซอื้ รถ

ก่อนท่ีจะซ้ือรถสักคัน คนส่วนมากมักมองที่รูปลักษณ์ภายนอกของรถ ฟังก์ช่ัน
การใช้งาน หรือสมรรถนะในการขับข่ีเท่านั้น แต่อีกหนึ่งปัจจัยส�าคัญที่ควรน�ามา
ประกอบการตัดสินใจ คือ การบริการหลังการขาย เพราะนั่นคือส่ิงท่ีสามารถอุ่นใจได้
ภายหลงั ทไ่ี ดร้ ถคนั นน้ั ไปครอบครอง รวมทงั้ โปรแกรมบรกิ ารหลงั การขายทด่ี นี า่ สนใจ
ซงึ่ จะขอแนะน�า 4 ข้อสา� คญั ก่อนเลอื กซอื้ รถ ดงั น้ี

1. โปรแกรมบ�ำรุงรักษำรถยนต์ตำมระยะ หลังจากท่ีได้ซ้ือและใช้รถ
ไปสักระยะหนึ่งแล้ว ควรจะน�ารถเข้าเช็คท่ีศูนย์บริการเพ่ือให้รถมีความปลอดภัยและ
อยใู่ นสภาพพรอ้ มใชง้ านอยเู่ สมอ โดยการบา� รงุ รกั ษารถยนตต์ ามระยะจะพจิ ารณาจาก
2 หลกั เกณฑ ์ คอื ระยะเวลานบั ตง้ั แตอ่ อกรถ และ ระยะทางในการวง่ิ ใชง้ านรถยนต ์ ซง่ึ
หากอยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ ถงึ กอ่ น นน่ั คอื เวลาทต่ี อ้ งนา� รถเขา้ เชค็ ศนู ยบ์ รกิ ารแลว้ โดยอาจ
นา� ระยะเวลาของการรบั ประกนั น ี้ มาพจิ ารณาการเลอื กซอื้ รถ ซงึ่ แลว้ แตน่ โยบายบรษิ ทั
จะเป็นระยะเวลา 3 ป ี หรือ 5 ป ี รวมถงึ ระยะทาง 1 แสนกม.

2. บริกำรช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ช่ัวโมง อีกหน่ึงบริการท่ีมีความ
จ�าเป็น เพราะเหตุฉุกเฉินสามารถเกิดข้ึนได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ที่คิดก�าลังจะซื้อรถ
ควรพิจารณาว่าบริษัทมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ช่ัวโมงหรือไม่และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
อย่างไร

3. รบั ประกนั จดั สง่ อะไหลภ่ ำยใน 24 ชวั่ โมง อกี หนง่ึ เรอื่ งสา� คญั หากรถเสยี
และจ�าเป็นต้องใช้รถ หากต้องรออะไหล่ล่าช้าแล้ว น่ันท�าให้อาจไม่ได้ใช้รถในช่วงเวลา
ทสี่ า� คัญ

4. ตรวจเชค็ และซอ่ มบำ� รงุ ดว้ ยชำ่ งเทคนคิ ทม่ี คี วำมชำ� นำญดว้ ยอปุ กรณ์
ทท่ี นั สมยั หากตอ้ งสง่ มอบรถใหก้ บั ชา่ งทม่ี คี วามชา� นาญและไวว้ างใจไดต้ รวจเชค็ และ
ซ่อมบ�ารุง จะช่วยลดความกังวลใจไปได้มากกว่าการที่ต้องน�ารถไปเข้าบริการท่ีศูนย์
บรกิ ารภายนอก และนอกจากนั้นศูนย์บริการท่ไี ด้มาตรฐาน และใช้เครอื่ งมอื วิเคราะห์
ปญั หาอนั ทนั สมยั จะชว่ ยใหส้ ามารถตรวจพบและแกไ้ ขปญั หาทเ่ี กดิ ขนึ้ ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็
และตรงจดุ สามารถวเิ คราะหป์ ญั หารถไดอ้ ยา่ งแมน่ ยา� รวดเรว็ ผา่ นซอฟทแ์ วร ์ ซงึ่ ชว่ ย
ลดเวลาในการซ่อมเพอ่ื สง่ มอบรถคนื แก่ลูกค้าในเวลาท่รี วดเร็ว

47

นอกจำกนี้ สคบ. ได้ด�าเนินการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับความเป็นธรรม
จากการใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ โดยคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ได้ออกประกาศ
เร่ืองให้ธุรกิจการให้บริการซ่อมรถยนต์เป็นธุรกิจท่ีควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน
พ.ศ. 2546 ซ่งึ กา� หนดใหผ้ ้ปู ระกอบธุรกจิ ดา� เนนิ การดังน ้ี

l ออกหลักฐานการรับเงินให้ผู้บริโภคทันที ที่ได้รับค่าตอบแทนจากการให้
บรกิ ารซอ่ มรถยนต์

l หลกั ฐานการรบั เงนิ ตอ้ งมขี อ้ ความเปน็ ภาษาไทยทส่ี ามารถมองเหน็ ไดช้ ดั เจน
มขี นาดตัวอักษรไม่เลก็ กวา่ 2 มลิ ลเิ มตร

l ภายในประกอบดว้ ยชื่อ ที่อยขู่ องผู้ประกอบธรุ กิจ
l รายละเอยี ดเกยี่ วกบั ยหี่ อ้ รนุ่ หมายเลขเครอ่ื งหมายเลขตวั ถงั และหมายเลข
ทะเบียนรถ เลขไมล์
l วนั เดอื น ปี ท่ ี ส่งซ่อมและรบั รถ
l ในหลักฐานการรับเงินจะต้องระบุรายการอะไหล่ที่ท�าการเปล่ียนพร้อมท้ัง
ระบุราคา
l ระยะเวลาการรับประกันของอะไหล่แตล่ ะช้ินใหช้ ัดเจน
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการให้บริการอู่ซ่อมรถ ร้องเรียนได้ที่ สคบ.
โทรสำยด่วน 1166

48

รอบคอบก่อน...ซือ้ ตว๋ั เครอื่ งบินออนไลน์์

สมาคมการบินระหว่างประเทศ หรือ IATA ได้มีการก�าหนดให้สายการบิน
ที่เป็นสมาชิกของสมาคมต้องเปลี่ยนมาใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ในการส�ารอง
ทน่ี งั่ ของผบู้ รโิ ภค โดยบตั รโดยสารอเิ ลก็ ทรอนกิ ส ์ จะบนั ทกึ ขอ้ มลู ของผบู้ รโิ ภคทที่ า� การ
จ อ ง บั ต ร โ ด ย ส า ร เ ค รื่ อ ง บิ น ผ่ า น ร ะ บ บ E l e c t r o n i c T i c k e t ห รื อ
E – Ticket เช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขการจองบัตรโดยสาร
(Booking Number) และ หมายเลขบัตรโดยสาร (Ticket Number) โดย
ผู้บริโภคต้องใช้บัตรประจ�าตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางมาใช้ยืนยันในการ
ช�าระค่าโดยสารเคร่ืองบิน ซึ่งถือว่าเป็นการอ�านวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค
และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาซือ้ บตั รโดยสารเครื่องบินจากสายการบนิ ตา่ งๆ
แต่ในขณะเดียวกัน สคบ. ได้รับเร่ืองร้องเรียนจาก
ผู้บริโภคบางส่วนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้จ�าหน่ายตั๋วโดยสาร
เครื่องบิน โดยผู้บริโภคได้จองต๋ัวเคร่ืองบินผ่านเว็บไซต์ของ
ผู้จ�าหนา่ ยแหง่ หนงึ่ เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งหลงั ผูบ้ ริโภคได้
ช�าระเงินค่าตั๋วเครื่องบินแล้วผู้จ�าหน่ายดังกล่าวได้ออกบัตรโดยสาร
เปน็ E – Ticket ใหแ้ กผ่ บู้ รโิ ภค แตเ่ มอ่ื ถงึ กา� หนดเวลาเดนิ ทางปรากฏวา่
ต๋ัวโดยสารเคร่ืองบินที่ผู้บริโภคได้รับจากผู้จ�าหน่ายดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้
เน่ืองจากผู้จ�าหน่ายไม่ได้ช�าระค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินให้กับสายการบิน ส่งผล
ให้ผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางโดยสารการบินดังกล่าวได้ และเม่ือตรวจสอบข้อเท็จจริง
ผู้จ�าหน่ายตั๋วโดยสารเครื่องบินกับสายการบินที่ให้บริการ พบว่า ผู้จ�าหน่าย
ดงั กลา่ วไมไ่ ดเ้ ปน็ ตวั แทนหรอื นายหนา้ ในการจา� หนา่ ยตว๋ั โดยสารเครอื่ งบนิ ของสายการบนิ
ดังกล่าว ผู้บริโภคจึงได้ไปแจ้งความด�าเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจและร้องเรียนมายัง
ส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้ช่วยด�าเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน
ดงั กลา่ ว

49

ดังน้ัน ก่อนผู้บริโภคจะใช้บริการผู้จ�าหน่ายตั๋วเครื่องบินโดยสารผ่านเว็บไซต์
ควรตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจของผู้จ�าหน่ายดังกล่าวว่าได้รับอนุญาตจาก
สายการบินให้เป็นตัวแทนหรือนายหน้าจ�าหน่ายต๋ัวโดยสารเครื่องบินหรือไม่ มีการ
จดทะเบยี นการคา้ กบั กระทรวงพาณชิ ยห์ รอื ไม ่ กรณผี บู้ รโิ ภคไดช้ า� ระเงนิ คา่ ตวั๋ โดยสาร
เครอ่ื งบนิ แลว้ ใหต้ รวจสอบกบั สายการบนิ วา่ รายละเอยี ดทรี่ ะบไุ วบ้ นตว๋ั โดยสารดงั กลา่ ว
เป็นไปตามท่ีระบุไว้หรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสอบการช�าระค่าตั๋วโดยสารเคร่ืองบินกับ
ตัวแทนจ�าหน่ายและสายการบินก่อนถึงวันเดินทางทุกครั้ง ที่ส�าคัญต้องขอส�าเนาและ
เกบ็ เอกสารสา� คญั ทเี่ กยี่ วขอ้ งไวเ้ พอื่ ใชเ้ ปน็ หลกั ฐานในการยนื ยนั และรกั ษาสทิ ธขิ องตน
กรณีท่ีเกิดปัญหาเกี่ยวกับบัตรโดยสารเคร่ืองบินให้ด�าเนินการติดต่อตัวแทนจ�าหน่าย
และแจ้งให้สายการบินดังกล่าวทราบ เพ่ือให้เร่งด�าเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แก่
ผ้บู รโิ ภค
50


Click to View FlipBook Version