The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sompuan341, 2022-07-12 04:24:09

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ

หน้า ๒๙ ๘ มนี าคม ๒๕๕๖
เลม่ ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๑ ง ราชกจิ จานเุ บกษา

ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร

เรอ่ื ง มาตรฐานคณุ วฒุ อิ าชวี ศึกษาระดบั ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบัติการ
พ.ศ. ๒๕๕๖

เพือ่ อนุวัติให้เปน็ ไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เร่ือง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงเห็นสมควรกําหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือ
สายปฏบิ ตั กิ าร เพื่อให้สาํ นกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา สถาบันการอาชีวศึกษา ใช้เป็นแนวทาง
ในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ให้สามารถผลิตผู้สําเร็จการศึกษาท่ีมีคุณภาพและเพ่ือประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สําเร็จ
การศึกษา

อาศยั อํานาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธกิ าร พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพ่ิมเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคําแนะนํา
ของคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ในการประชมุ ครง้ั ที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมอ่ื วนั ท่ี ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
จงึ ออกประกาศไวด้ ังน้ี

๑. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัตกิ าร พ.ศ. ๒๕๕๖”

๒. ประกาศนใ้ี หใ้ ชบ้ งั คบั ตงั้ แตว่ นั ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง กรอบมาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี
สายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ. ๒๕๕๒” ลงวันท่ี ๑๘ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๔. ชื่อคุณวฒุ กิ ารศกึ ษา ปริญญาเทคโนโลยบี ณั ฑิต ใชอ้ กั ษรย่อ ทล.บ.
๕. คุณวุฒิอาชวี ศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ กําหนดให้ผู้สําเร็จ
การศึกษามีคุณภาพครอบคลุมอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ ด้านสมรรถนะ
หลักและสมรรถนะท่ัวไป และด้านสมรรถนะวิชาชีพ สามารถศึกษาค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและ
เทคโนโลยใี นวิชาการสัมพันธก์ ับวิชาชพี เพ่อื ประยุกตใ์ ชใ้ นการปฏิบตั ิงานในขอบเขตท่ีกว้างขวาง วางแผน
และบริหารงานการผลิตหรือบริการในงานอาชีพ มีส่วนร่วมพัฒนาและริเร่ิมวิธีการปฏิบัติ รับผิดชอบ
ตอ่ ตนเอง ผู้อน่ื และหมู่คณะ มอี สิ ระในการปฏิบัติงานท่ีซับซ้อนหรือจัดการงานผู้อ่ืน รวมทั้งมีคุณธรรม
จรยิ ธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคตแิ ละกจิ นิสยั ที่เหมาะสมในการทาํ งาน
๖. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือ
สายปฏิบัติการ มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนการศึกษาแห่งชาติ ปรชั ญาการอาชวี ศึกษา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชพี หรือมาตรฐานสมรรถนะ
ของสาขาวิชาน้ัน ๆ ในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลิตผู้มีความรอบรู้และมีสมรรถนะในการปฏิบัติ
และพัฒนางานระดับเทคโนโลยี สามารถจัดการและควบคุมการทํางาน มีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวชิ าชพี เจตคตแิ ละกิจนิสยั ในการทาํ งาน สอดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการของสังคม ชุมชนและ
สถานประกอบการ สามารถประกอบอาชพี อิสระ พัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวชิ าการและวิชาชีพ

หนา้ ๓๐ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖
เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๑ ง ราชกิจจานเุ บกษา

๗. การจัดการศึกษาในระบบและระบบทวภิ าคีใช้ระยะเวลา ๒ ปกี ารศกึ ษา การจัดภาคเรียน
ให้ใชร้ ะบบทวิภาค โดยกาํ หนดให้ ๑ ปกี ารศึกษา แบ่งออกเปน็ ๒ ภาคเรียน และใน ๑ ภาคเรียนปกติ
มีระยะเวลาศกึ ษาไมน่ อ้ ยกวา่ ๑๘ สัปดาห์ สําหรับภาคเรียนฤดูร้อน ให้กําหนดระยะเวลาและจํานวน
หนว่ ยกิตใหม้ ีสัดสว่ นเทียบเคยี งกนั ได้กบั ภาคเรียนปกติ

การจัดภาคเรียนระบบอ่ืน ให้แสดงรายละเอียดเก่ียวกับระบบการศึกษาน้ัน รวมท้ังการเทียบเคียง
หนว่ ยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลกั สตู รใหช้ ัดเจน

๘. การคดิ หน่วยกติ ตอ่ ภาคเรียน
๘.๑ รายวิชาทฤษฎที ี่ใช้เวลาบรรยายหรืออภปิ ราย ไมน่ อ้ ยกวา่ ๑๘ ช่ัวโมง เท่ากับ ๑ หนว่ ยกติ
๘.๒ รายวิชาปฏิบัติท่ีใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า

๓๖ ช่วั โมง เท่ากับ ๑ หน่วยกติ
๘.๓ รายวิชาปฏิบัติท่ีใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม ไม่น้อยกว่า

๕๔ ชวั่ โมง เทา่ กับ ๑ หน่วยกติ
๘.๔ การฝกึ อาชพี ในการศกึ ษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกวา่ ๕๔ ช่วั โมง เทา่ กับ ๑ หน่วยกิต
๘.๕ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า ๕๔ ช่ัวโมง

เทา่ กับ ๑ หนว่ ยกิต
๘.๖ การทําโครงการพฒั นาทกั ษะวิชาชีพ ไมน่ ้อยกวา่ ๕๔ ชว่ั โมง เทา่ กบั ๑ หน่วยกิต

๙. จาํ นวนหนว่ ยกิต มีจาํ นวนหน่วยกติ รวมระหว่าง ๗๒ - ๘๗ หนว่ ยกิต
๑๐. โครงสร้างหลกั สตู ร

๑๐.๑ หมวดวิชาทักษะชีวิต ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะใน
การปรบั ตัวและดําเนนิ ชวี ติ ในสงั คมสมัยใหม่ เหน็ คุณคา่ ของตนและการพัฒนาตน มคี วามใฝ่รู้ แสวงหาและ
พัฒนาความรู้ใหม่ มีความสามารถในการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการจัดการ
มที ักษะในการส่ือสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทํางานร่วมกับผู้อ่ืน มีคุณธรรม จริยธรรม
มนุษยสมั พันธ์ รวมถึงความรบั ผดิ ชอบตอ่ ตนเองและสงั คม รวมไม่นอ้ ยกวา่ ๑๕ หน่วยกิต

การจดั วิชาในหมวดวชิ าทักษะชวี ติ สามารถทําได้ในลักษณะเป็นรายวิชา หรือลักษณะบูรณาการ
ให้ครอบคลมุ กลุ่มวิชาภาษาไทย กลมุ่ วิชาภาษาตา่ งประเทศ กล่มุ วิชาวิทยาศาสตร์ กลมุ่ วิชาคณิตศาสตร์
กลุ่มวชิ าสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ในสัดส่วนท่ีเหมาะสมเพ่ือให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวด
วิชาทักษะชวี ติ

๑๐.๒ หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะ

วิชาชีพ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ประเมินผล แก้ปัญหา ควบคุมงาน
สอนงาน และพัฒนางาน โดยบูรณาการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ
รวมไม่นอ้ ยกว่า ๕๑ หนว่ ยกติ ประกอบด้วย ๔ กลมุ่ ดังน้ี

๑๐.๒.๑ กลมุ่ ทักษะวชิ าชีพเฉพาะ
๑๐.๒.๒ กลุ่มทกั ษะวิชาชพี เลอื ก

หน้า ๓๑ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖
เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๑ ง ราชกจิ จานุเบกษา

๑๐.๒.๓ ฝกึ ประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
๑๐.๒.๔ โครงการพฒั นาทักษะวิชาชพี
ในการกําหนดให้เป็นสาขาวชิ าใดสาขาวิชาหน่งึ ตอ้ งศึกษากลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
ในสาขาวชิ าน้นั ๆ รวมไมน่ อ้ ยกว่า ๓๐ หน่วยกิต นอกจากนี้กําหนดให้มีโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ

จาํ นวน ๖ หนว่ ยกิต ในกรณีทีจ่ ัดการศกึ ษาระบบทวภิ าคีอาจยกเว้นการฝึกประสบการณท์ ักษะวชิ าชพี ได้
๑๐.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี ประกอบด้วยวิชาที่เก่ียวกับทักษะชีวิตหรือทักษะวิชาชีพ

เพือ่ เปดิ โอกาสให้ผ้เู รียนเลือกเรยี นตามความถนัดและความสนใจเพ่ือการประกอบอาชีพ หรือการศึกษา
ต่อรวมไมน่ อ้ ยกวา่ ๖ หน่วยกติ

การยกเวน้ การเรียนรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ และหมวดวิชา
เลอื กเสรสี ามารถทาํ ไดโ้ ดยการเทียบโอนผลการเรยี น หรอื โดยการเทียบโอนความรูแ้ ละประสบการณเ์ ข้าสู่
หน่วยกิตตามหลักสูตร ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบตั ทิ ่คี ณะกรรมการการอาชีวศกึ ษากาํ หนด

๑๑. เง่ือนไขการจัดการเรยี นรู้
๑๑.๑ สถาบนั การอาชีวศึกษาต้องจัดเตรยี มความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์

คณาจารย์และบคุ ลากรทางการศึกษา ใหเ้ หมาะสมและเพียงพอในการพฒั นาผูเ้ รียนอยา่ งมีคุณภาพ
๑๑.๒ การจดั อัตราสว่ นของเวลาการเรยี นร้ภู าคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาทักษะวิชาชีพ

ประมาณ ๔๐ ตอ่ ๖๐ ทง้ั นี้ ข้ึนอยู่กบั ลกั ษณะหรือกระบวนการจัดการเรยี นรูข้ องแตล่ ะสาขาวชิ า
๑๑.๓ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องให้ความสําคัญกับการฝึกอาชีพเน้นการจัดการศึกษา

ระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนตามหลักเกณฑ์ท่ีคณะกรรมการ
การอาชวี ศกึ ษากําหนด

๑๑.๔ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทําโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
ตามโครงสร้างหลักสตู ร จํานวน ๖ หน่วยกิต สอดคลอ้ งกับงานอาชพี สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรปู ธรรม

๑๑.๕ สถาบนั การอาชีวศึกษาตอ้ งจัดใหม้ กี ารประเมนิ มาตรฐานวชิ าชพี ในแต่ละหลักสูตร
เพอื่ เปน็ การประกันคุณภาพการศึกษา

๑๑.๖ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัย ปลูกฝัง
จิตสํานึกและเสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ทํานุบํารุงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
และส่งเสรมิ การทาํ งานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทําประโยชน์ตอ่ ชมุ ชน

๑๒. คุณสมบัติผเู้ รียน เป็นผู้สําเรจ็ การศกึ ษาระดับประกาศนยี บตั รวชิ าชีพชั้นสูง ในสาขาวิชา

ท่ีตรงหรอื สัมพันธ์กนั
๑๓. คณุ สมบัตผิ ้สู อน เปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชวี ศึกษากําหนด
๑๔. การเรียกชื่อปริญญา ใช้ช่ือปริญญาตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกช่ือปริญญา

ในสาขาวิชาและการใชช้ อื่ อกั ษรยอ่ สาํ หรับสาขาวชิ า
๑๕. การวดั ผลและประเมนิ ผลการเรียน และการสาํ เร็จการศกึ ษา

หนา้ ๓๒ ๘ มนี าคม ๒๕๕๖
เล่ม ๑๓๐ ตอนพเิ ศษ ๓๑ ง ราชกิจจานุเบกษา

๑๕.๑ การวัดผลและประเมินผลการเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือ
สายปฏิบตั ิการ

๑๕.๒ การสําเร็จการศึกษา ต้องได้จํานวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้าง

ที่กําหนดไว้ในหลักสูตร และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนน
และผ่านการประเมนิ มาตรฐานวิชาชพี

การใหป้ รญิ ญาตรเี กียรตนิ ยิ มให้เป็นไปตามทค่ี ณะกรรมการการอาชีวศึกษากาํ หนด
๑๖. การประกันคุณภาพหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกําหนดระบบประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจน
อย่างนอ้ ยประกอบดว้ ย ๔ ประเด็น คอื

๑๖.๑ คณุ ภาพของผูส้ ําเร็จการศกึ ษา
๑๖.๒ การบรหิ ารหลักสตู ร
๑๖.๓ ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
๑๖.๔ ความตอ้ งการกําลังคนของตลาดแรงงาน
๑๗. การกําหนดมาตรฐานคุณวฒุ อิ าชีวศกึ ษา หลักสตู ร และการอนุมัติ
๑๗.๑ การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพ่ิมเติมมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ
ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เป็นหน้าท่ีของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดยความเหน็ ชอบของคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา และใหท้ ําเปน็ ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
๑๗.๒ การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักสูตรตามมาตรฐาน
คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ให้เป็นหน้าที่ของสถาบัน
การอาชีวศึกษา และเสนอสภาสถาบันการอาชีวศกึ ษาให้ความเหน็ ชอบ
๑๗.๓ การอนมุ ตั ใิ ช้หลักสูตรให้เปน็ หนา้ ท่ขี องคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา
๑๗.๔ การประกาศใชห้ ลักสตู รให้ทาํ เปน็ ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
๑๘. ใหส้ ํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาจัดให้มีการประเมิน
เพอื่ พัฒนาหลกั สูตรท่อี ยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อยา่ งนอ้ ยทกุ ๕ ปี
๑๙. ในกรณีท่ีไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศน้ีได้ หรือมีความจําเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือ
จากทก่ี ําหนดไวใ้ นประกาศน้ี ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาท่ีจะพิจารณาวินิจฉัย
และใหถ้ อื เปน็ ท่สี ดุ

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา

รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศกึ ษาธิการ


Click to View FlipBook Version