The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทางเพลิงศพ ท่านพระครูอุทิตธรรมสาร (วิจิตร์ พุทฺธรกฺขิโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกลาง อดีตเจ้าคณะตำบลห้วยคต อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by navapars, 2021-04-22 09:19:12

พุทธรักขิตานุสรณ์

หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทางเพลิงศพ ท่านพระครูอุทิตธรรมสาร (วิจิตร์ พุทฺธรกฺขิโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกลาง อดีตเจ้าคณะตำบลห้วยคต อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

Keywords: พระครูอุทิตธรรม,วิจิตร์ พุทธรักขิโต,อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกลาง

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

อีกสองปีต่อมา มหาเถรสมาคมได้แต่งต้ังหลวงพ่อให้เป็นเจ้าคณะตาบล
ห้วยคต๙ เม่ือวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ทาหน้าที่ปกครองสงฆ์ทั่วท้ัง
อาเภอห้วยคต เน่อื งจากสมัยนน้ั ยงั ไมม่ เี จ้าคณะอาเภอ

๙ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไ้ ขเพม่ิ เติมโดยพระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕,

พุทธรักขติ านุสรณ์

ท่านเป็นเจ้าคณะตาบลรูปแรก๑๐ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ของอาเภอ
ห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบันมีวัดในเขตปกครอง ๖ วัด ได้แก่ ๑. วัดป่า
ผาก ๒. วัดโป่งข่อย ๓. วัดสมอทอง ๔. วัดคลองหวาย ๕. วัดชุมทหาร ๖.
วัดบ้านกลาง และมีท่ีพักสงฆ์ ๒ แห่ง ได้แก่ ๑. ที่พักสงฆ์ภูเหม็น ๒. ท่ีพัก
สงฆ์บ่อทราย ท่านปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะตาบลด้วยการออกตรวจวัดและจัด
ประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองปีละ ๓ คร้ัง ดังที่ท่านได้ดาเนินการเรื่อง
ตา่ ง ๆ ดังน้ี

๑. เรื่องการขอต้งั วดั
๒. เรอื่ งส่งปัจจยั วัดช่วยวัด
๓. เรื่องการพัฒนาวดั กบั ชุมชน
๔. เรอ่ื งการจัดบรเิ วณวดั ให้ร่มรนื่
๕. เร่ืองการดแู ลศาสนสมบตั ิของวัด
๖. เรอื่ งการรักษาความสะอาดบริเวณวัด
๗. เรื่องการจัดเขตอภยั ทานภายในบริเวณวัด
๘. เรอ่ื งการกนั เขตจัดผลประโยชน์ในท่ดี ินทตี่ ัง้ วัด
๙. เรื่องการจดั แผนผังสิง่ กอ่ สรา้ งภายในบรเิ วณวดั
๑๐. เรอ่ื งการคัดเลือกวัดเพอ่ื ขอเงินอดุ หนนุ บูรณะวัด
๑๑. เรื่องระเบียบมหาเถรสมาคม เรอ่ื งการจดั งานวดั
๑๒. เรื่องการจัดงานภายในบริเวณวัดในเทศกาลตา่ ง ๆ
๑๓. เรื่องการละเล่นในงานบุญกฐนิ
๑๔. เรอ่ื งการปกครองคณะสงฆ์
๑๕. เรื่องอานาจหนา้ ที่เจ้าอาวาส
๑๖. เรอ่ื งการแต่งตั้งรกั ษาการแทนเจ้าอาวาส
๑๗. เรื่องการรกั ษาการปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ีของเจ้าอาวาส

ข้อ ๒๓ แห่งกฎมหาสมาคม ฉบับท่ี ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบญั ญัตคิ ณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๐๕ แกไ้ ขเพิม่ เตมิ โดยพระราชบัญญตั คิ ณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕.
๑๐ คาบอกเล่า. พระครูอดุ มวิสทุ ธธิ รรม. เจ้าคณะอาเภอหว้ ยคต.

พทุ ธรักขติ านสุ รณ์

๑๘. เรือ่ งการแตง่ ต้งั ไวยาวัจกรและคณะกรรมการของวดั
๑๙. เร่อื งการจัดกฎระเบียบภายในวัด
๒๐. เรอ่ื งการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี
๒๑. เรื่องมารยาทอันสมควรของพระภิกษสุ ามเณร
๒๒. เรอ่ื งการใชเ้ ทคโนโลยีในการส่อื สารของพระภิกษุสามเณร
๒๓. เรอ่ื งการตรวจสอบบุคคลท่ีจะเข้ามาอปุ สมบทในพระพทุ ธศาสนา
๒๔. เรอ่ื งการพจิ ารณาผู้เข้าบรรพชาอุปสมบทในเขตปกครอง
๒๕. เรือ่ งการขออนุญาตเรี่ยไร
๒๖. เรื่องการจดั ส่งบญั ชตี ้นปี กลางปี
๒๗. เรื่องการทาบัญชรี ายรบั -รายจา่ ยของวัด
๒๘. เร่อื งกองทนุ ฌาปนกิจสงเคราะห์พระสงั ฆาธิการ จ.อุทยั ธานี
๒๙. เรอ่ื งการจัดการเรียนการสอนพระปรยิ ตั ิธรรม
๓๐. เรอ่ื งการสอบบาลีสนามหลวง
๓๑. เร่ืองขอความอุปถมั ภป์ ัจจยั โครงการอบรมบาลีกอ่ นสอบทุกปี
๓๒. เรื่องการสอบธรรมสนามหลวงของทกุ ปี
๓๓. เรอื่ งการสอบนักธรรมและธรรมศกึ ษาช้นั ตรี โท เอก
๓๔. เรอ่ื งการตงั้ ทุนการศกึ ษา
๓๕. เรอ่ื งการศึกษาและการศกึ ษาสงเคราะห์
๓๖. เรื่องการตง้ั ทนุ -แจกทนุ การศึกษานักเรยี นชั้นประถมศึกษา
๓๗. เรื่องการเผยแผพ่ ระพุทธศาสนา
๓๘. เร่ืองการสิ้นพระชนมข์ องสมเด็จพระญาณสังวร

สมเดจ็ พระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก (พระองคท์ ่ี ๑๙)

พุทธรักขติ านุสรณ์

เปน็ รองประธาน
สอบธรรมสนามหลวง
ในเขตอา้ เภอหว้ ยคต

พุทธรกั ขิตานสุ รณ์

๕.๕ งานระดบั อาเภอ ระดบั จงั หวัด ระดบั ภาค และระดับหน หลวงพ่อ
ได้ร่วมงานและสนองงานผู้บังคับบญั ชาทุกระดบั ช้ัน โดยเฉพาะงานการอบรม
ต่าง ๆ จึงขอแสดงไว้พอสังเขปดงั น้ี

๑. เขา้ รว่ มโครงการอบรมบาลีกอ่ นสอบของคณะสงฆภ์ าค ๓
ณ วดั พกิ ลุ ทอง จ.สงิ หบ์ รุ ี

๒. เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมพระวินยาธิการ นักเผยแผ่
พระพทุ ธศาสนา ณ สานักปฏบิ ตั ธิ รรม วดั จันทาราม จ.อุทยั ธานี

๓. เข้าร่วมฝกึ อบรมหลักสูตรครสู อนปรยิ ัตธิ รรมแผนกธรรม
ณ วัดพนญั เชิง จ.พระนครศรีอยุธยา

๔. เข้ารว่ มอบรมไวยาวัจกรจังหวัดอทุ ัยธานี
ณ วัดมณสี ถิตกปฏิ ฐาราม จ.อุทัยธานี

๕. เขา้ รว่ มอบรมการเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพพระสอนศลี ธรรมในโรงเรียน
ณ วดั หนองขนุ ชาติ จ.อุทยั ธานี

๖. เข้าร่วมอบรมโครงการปลูกจติ สานกึ
“ภมู ธิ รรม ภูมไิ ทย ใสสะอาด”

๗. เขา้ ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัตกิ ารบริหารจัดการระงบั อธกิ รณ์
สาหรบั พระสังฆาธิการในส่วนของเจา้ คณะตาบล
และรองเจ้าคณะตาบล ในเขตปกครองคณะสงฆห์ นกลาง
ณ วดั อ่างทองวรวิหาร จ.อา่ งทอง

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

วุฒิบัตรพระสอนศลี ธรรม
ในโรงเรยี น

วฒุ ิบัตร
อบรมไวยาวจั กร

พุทธรักขติ านสุ รณ์

๖. งานการศึกษา
หลวงพ่อได้ตระหนักถึงความสาคัญของการศึกษา ท่านจึงจัดให้มี

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมในช่วงเข้าพรรษาทุกปี เพ่ือให้พระภิกษุ
สามเณรทุกรูปท่ีจาพรรษาอยู่ในวัดบ้านกลาง ได้เรียนรู้หลักธรรมคาสอน
ประวัติของพระพุทธเจ้า และศาสนพิธีต่าง ๆ ตลอดถึงกฎระเบียบของคณะ
สงฆด์ ว้ ยเหตนุ ที้ า่ นจึงได้รับแตง่ ตงั้ ตาแหน่งทางการศกึ ษาของคณะสงฆด์ ังน้ี

พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รบั แต่งตัง้ เป็นครูสอนปรยิ ัตธิ รรมแผนกธรรม
ทาการสอนประจาศาสนศึกษา วดั บ้านกลาง
ต.ห้วยคต อ.ห้วยคต จ.อทุ ัยธานี

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งเปน็ กรรมการสนามหลวงแผนกธรรม
จากแมก่ องธรรมสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๙ ไดร้ บั แตง่ ตั้งเปน็ ประธานดาเนนิ การสอบธรรม
สนามหลวง ธรรมศึกษาชน้ั ตรี โท เอก
ณ สนามสอบโรงเรยี นหว้ ยคตพิทยาคม
อ.หว้ ยคต จ.อทุ ัยธานี

พ.ศ. ๒๕๕๐ ไดร้ บั แต่งต้งั เป็นผแู้ ทนแมก่ องธรรมสนามหลวง
ประจาสนามสอบวดั สาลวนาราม อ.บา้ นไร่ จ.อุทยั ธานี

พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับแตง่ ตัง้ เป็นผแู้ ทนแมก่ องธรรมสนามหลวง
ประจาสนามสอบโรงเรยี นทุ่งนาวิทยา อ.หนองฉาง
จ.อทุ ัยธานี

พุทธรักขิตานสุ รณ์

ตราตงั ครสู อนปรยิ ัติธรรม

ตราตงั กรรมการสนามหลวงแผนกธรรม คา้ สั่งแมก่ องธรรมสนามหลวง
แต่งตงั ผแู้ ทนแมก่ องธรรมสนามหลวง

พุทธรักขติ านสุ รณ์

๗. งานสง่ เสรมิ การศึกษา
๑. จดั หาอุปกรณก์ ารเรยี นการสอนให้แกพ่ ระภิกษสุ ามเณร
พ.ศ. ๒๕๕๕ ร่วมบริจาคทุนทรพั ย์สนบั สนุนเพอื่ ซื้อทีด่ นิ กอ่ สรา้ ง
พุทธมณฑลและวิทยาลัยสงฆ์ จ.อุทัยธานี
จานวน ๒๐,๙๔๗ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๙ ร่วมบริจาคทนุ ทรพั ย์สนบั สนนุ การจัดทาโตะ๊ สอบ
ธรรมสนามหลวงแผนกธรรม ณ สนามสอบวัดสมอทอง
อ.ห้วยคต จ.อทุ ัยธานี จานวน ๒๓,๕๐๐ บาท
๒. บรจิ าคทุนการศึกษาแก่คณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓ รว่ มบรจิ าคทุนทรพั ยส์ นบั สนนุ โครงการ
อบรมบาลกี ่อนสอบของคณะสงฆภ์ าค ๓ วดั พิกุลทอง
อ.ทา่ ชา้ ง จ.สงิ หบ์ รุ ี จานวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๘ รว่ มบรจิ าคทนุ ทรัพยส์ นับสนุนการสอบธรรม
สนามหลวงนักธรรมตรี ณ สนามสอบวดั สมอทอง
อ.ห้วยคต จ.อุทยั ธานี จานวน ๑๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๘ ร่วมบรจิ าคทุนทรัพย์สนบั สนุนการสอบธรรม
สนามหลวงธรรมศึกษา ณ สนามสอบโรงเรยี น
สมอทองปทีปพลผี ลอปุ ถัมภ์ อ.ห้วยคต จ.อทุ ัยธานี
จานวน ๑๕,๐๐๐ บาท
๓. งานการศึกษาสงเคราะห์
๓.๑ มอบทนุ การศกึ ษานักเรียนชั้นประถมศกึ ษาโรงเรียนบ้านกลาง

พ.ศ. ๒๕๕๓ ทุนจานวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ ทนุ จานวน ๓,๖๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๕ ทุนจานวน ๓,๖๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๖ ทุนจานวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๗ ทนุ จานวน ๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๘ ทนุ จานวน ๓,๖๐๐ บาท

พุทธรกั ขติ านสุ รณ์

เปน็ รองประธานการสอบธรรมศกึ ษาสนามหลวงในเขตอาเภอหว้ ยคต

พทุ ธรักขิตานสุ รณ์

๓.๒ มอบทนุ การศึกษานักเรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาโรงเรยี นบา้ นกลาง

พ.ศ. ๒๕๕๓ ทุนจานวน ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ ทนุ จานวน ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๕ ทนุ จานวน ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๖ ทุนจานวน ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๗ ทุนจานวน ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๘ ทุนจานวน ๕,๐๐๐ บาท

๓.๓ จดั ตงั้ ทุนสงเคราะห์นักเรียนช้นั ประถมศกึ ษาวัดบ้านกลาง
ชอ่ื วดั บ้านกลาง “ต้ังทนุ ประถมศึกษา”ธนาคารกรุงเทพ

สาขาหนองฉาง ประเภทฝากประจา บัญชเี ลขท่ี

๓๙๖–๒๑๔๔๔๑–๐ พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนุ เรมิ่ ตน้ ๓,๗๗๔ บาท

ปจั จุบันมีเงินทุนจานวน ๓๑,๘๓๙ บาท

๓.๔ จดั ต้งั ทนุ สงเคราะห์นกั เรยี นช้นั มัธยมศึกษาวัดบา้ นกลาง

ชอ่ื วดั บา้ นกลาง “ต้ังทนุ มธั ยมศกึ ษา”ธนาคารกรงุ เทพ

สาขาหนองฉาง ประเภทฝากสะสมทรพั ย์ บัญชีเลขท่ี

๓๙๖–๐–๖๑๖๑๐–๔ พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนุ เริ่มต้น ๒๓,๖๔๒ บาท

ปจั จบุ นั มเี งินทนุ จานวน ๓๐,๑๕๑ บาท

พ.ศ. ๒๕๕๐ สมทบทนุ สรา้ งหอสมดุ โรงเรียนทุ่งสามแท่ง
ต.ประดู่ยืน อ.ลานสกั จ.อุทยั ธานี
จานวน ๑๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๕๖ บรจิ าคกระเบ้อื งปพู ้ืนสรา้ งอาคารศูนย์เด็กเล็ก
โรงเรียนอนุบาลหนองมะโมง
จานวน ๑๖,๘๐๙ บาท

รวมผลงานส่งเสริมการศกึ ษาทกุ รายการ

เปน็ จานวนเงนิ ท้ังสนิ้ ๒๑๖,๐๔๖ บาท
(สองแสนหนึง่ หมน่ื หกพนั สี่สบิ หกบาทถว้ น)

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พุทธรกั ขิตานสุ รณ์

๘. หน้าทีก่ ารงานพิเศษ
๑. อาราธนาพระภกิ ษุที่มีความรู้ให้ชว่ ยไปสอนศีลธรรมในโรงเรยี น
๒. เป็นประธานหนว่ ยอบรมประชาชน ต.ห้วยคต อ.หว้ ยคต จ.อุทัยธานี
ตงั้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๔๓
๓. ได้รับอาราธนาแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนบา้ นกลาง ต.ห้วยคต อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี จากสานักงาน
เขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาอทุ ัยธานี เขต ๒ ต้งั แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๔๙

๙. งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
หน้าท่ีหลักของพระสงฆ์ที่ควรถือปฏิบัติ คอื งานเผยแผ่พระธรรมคาสอน

ตามท่ีพระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุไว้ว่า “จรถ ภกิ ฺขเว จาริก พหุชนหิตาย พหุชน
สุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสาน, มา เอเกน เทฺว อค
มติ ฺถ; เทเสถ ภิกฺขเว ธมมฺ อาทิกลฺยาณ มชฺเฌกลฺยาณ ปริโยสานกลฺยาณ สาตฺถ
สพฺยญฺชน, เกวลปริปุณฺณ ปริสุทฺธ พฺรหฺมจริย ปกาเสถ; สนฺตีธ สตฺตา
อปฺปรชกขฺ ชาตกิ า, อสสฺ วนตา ธมมฺ สฺส ปริหายนตฺ ิ; ภวิสฺสนฺติ ธมมฺ สฺส อญฺญาตา
โร”๑๑ แปลว่า “ภิกษุท้ังหลาย เธอท้ังหลาย จงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่
มาก เพ่ือสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพ่ือสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดง
ธรรมมีความงามในเบ้ืองต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธ์ิบริบูรณ์ครบถ้วน
ในโลกนี้ยังมีเหล่าสตั ว์ผ้มู ีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านน้ั จะเส่ือมเพราะไม่ได้
ฟงั ธรรม เหล่าสัตว์ผู้ทีอ่ าจจะรู้ทวั่ ถึงธรรมได้ยงั มอี ยู่”๑๒

ลักษณะงานเผยแผ่ท่ีพุทธศาสนิกชนคุ้นเคย คือ การแสดงธรรมเทศนา
วันธรรมสวนะ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา รวมถึงการบรรยาย
ธรรมในงานพิธีอ่ืน ๆ หลวงพ่อได้ปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ
เตม็ กาลังความสามารถ

๑๑ ท.ี ม. (บาลี), ๑๐/๘๖/๔๐.
๑๒ ท.ี ม. (ไทย), ๑๐/๘๖/๔๖-๔๗.

พุทธรักขิตานสุ รณ์

ตัวอยา่ งงานเผยแผพ่ ระพุทธศาสนามดี ังนี้
๑. แจกหนงั สอื สวดมนต์แก่ อบุ าสก อุบาสกิ า
๒. แสดงธรรมวันธรรมสวนะและงานบุญต่าง ๆ รวมถึงวนั สาคัญ
ทางพระพทุ ธศาสนาและเทศกาลสาคัญ
๓. อบรมศลี ธรรมแก่ชาวบ้านท้งั ในวดั และนอกวัด ต้งั แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๒๗
๔. เปน็ ประธานดาเนินการโครงการหมู่บ้านศลี ๕
(ตามมตมิ หาเถรสมาคม) ในเขต ต.หว้ ยคต ต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘
๕. จัดพธิ เี วียนเทยี น วนั มาฆบชู า วนั วสิ าขบูชา วนั อาสาฬหบชู า
มีผู้เขา้ รว่ มพิธี ไดแ้ ก่ พระภิกษุสามเณร พุทธบริษัท ขา้ ราชการ
ตง้ั แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘
๖. จดั ปฏิบตั ิธรรมบาเพ็ญกุศลวันเฉลมิ พระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม
วันแมแ่ ห่งชาติ และ ๕ ธนั วาคมวันพอ่ แหง่ ชาติ ต้ังแตป่ ี พ.ศ. ๒๕๕๘
๗. จัดปฏิบตั วิ ิปัสสนากรรมฐาน ระหว่างวันท่ี ๑๒-๑๘ ธนั วาคม (๗ วนั )
ตัง้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒

พระครอู ทุ ิตธรรมสาร น้าเวียนเทียนในวนั ส้าคัญทางพระพทุ ธศาสนา

พทุ ธรักขิตานสุ รณ์

พระครูอทุ ติ ธรรมสาร รบั เทียนพรรษาของโรงเรียนบ้านกลางและของชุมชน

พุทธรกั ขิตานุสรณ์

พระครูอุทิตธรรมสาร ส่งเสริมคณุ ธรรมจรยิ ธรรมแกเ่ ด็กนักเรยี น
พระครอู ุทติ ธรรมสาร ส่งเสริมหม่บู า้ นรักษาศลี ๕

พุทธรักขติ านสุ รณ์

๑๐. งานสาธารณูปการ

พ.ศ. ๒๕๒๓ เปน็ ประธานดาเนินการสร้างศาลาการเปรียญ
เปน็ อาคารไม้ กวา้ ง ๑๔ เมตร ยาว ๒๘ เมตร
เปน็ จานวนเงิน ๙๙,๕๑๙ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นประธานดาเนนิ การสร้างกุฏิสงฆ์ เป็นอาคารไม้
จานวน ๒ หลัง หลังละ ๖ หอ้ ง กวา้ ง ๕.๕๐ เมตร ยาว
๑๓ เมตร เปน็ จานวนเงิน ๘๔๒,๕๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นประธานดาเนนิ การสร้างหอสวดมนต์ เป็นอาคาร
คอนกรตี เสริมเหลก็ กว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
เปน็ จานวนเงิน ๘๕๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นประธานดาเนนิ การสร้างศาลาอเนกประสงค์
เปน็ อาคารคอนกรีตเสรมิ เหลก็ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๘
เมตร เป็นจานวนเงิน ๙๕๖,๓๓๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นประธานดาเนินการสร้างหอกระจายข่าว
พร้อมเครอ่ื งขยายเสียง สูง ๑๐ เมตร
เปน็ จานวนเงนิ ๓๗,๕๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๖ เปน็ ประธานดาเนนิ การสร้างฌาปนสถาน (เมรุ)
กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร
เปน็ จานวนเงิน ๔๒๔,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๗ เปน็ ประธานดาเนนิ การสร้างห้องน้าและหอ้ งสุขา ๘ หอ้ ง
เป็นแบบคอนกรตี และไม้ กว้าง ๒.๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร
เปน็ จานวนเงิน ๔๐,๓๙๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๙ เปน็ ประธานดาเนินการสร้างอุโบสถ เป็นอาคาร
คอนกรตี เสริมเหลก็ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
เป็นจานวนเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

พทุ ธรกั ขติ านุสรณ์

ศาลาการเปรียญพนื คอนกรตี เสรมิ เหลก็ เครอื่ งบนไมห้ ลังคามงุ สังกะสี (รอื ถอนแล้ว)
หอ้ งน้าห้องสุขา ๘ ห้อง พืนคอนกรตี เสริมเหลก็ หลงั คามุงสังกะสี (รอื ถอนแล้ว)

พุทธรกั ขิตานุสรณ์

พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นประธานดาเนนิ การสร้างศาลาพกั ร้อนหน้าวัด
เปน็ อาคารเรือนไม้ พ้ืนคอนกรตี กว้าง ๕.๙๐ เมตร
ยาว ๖.๓๔ เมตร เปน็ จานวนเงิน ๓๕,๙๑๘ บาท

พ.ศ. ๒๕๔๕ เปน็ ประธานดาเนนิ การสร้างศาลาหอ้ งเคร่ืองน้าประปา
ในวัด พืน้ ปนู คอนกรตี เปน็ อาคารเรอื นไม้ กว้าง ๕.๙๐
เมตร ยาว ๖.๔๕ เมตร เป็นจานวนเงิน ๓๖,๙๗๙ บาท

พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นประธานดาเนินการสร้างศาลาพกั รอ้ นในวัด
เป็นอาคารเรือนไม้ พน้ื คอนกรีต กว้าง ๕ เมตร
ยาว ๓๑ เมตร เป็นจานวนเงนิ ๑๐๐,๙๔๕ บาท

พ.ศ. ๒๕๔๙ เปน็ ประธานดาเนนิ การสร้างถนนคอนกรตี เสริมเหลก็
ในลานวดั กวา้ ง ๒.๗๕ เมตร ยาว ๒๙.๕๐ เมตร
เปน็ จานวนเงิน ๑๖,๔๒๕ บาท

พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นประธานดาเนินการจัดสร้างศาลาธรรมสังเวช
เป็นอาคารคอนกรีตเสรมิ เหลก็ ชน้ั เดียว กว้าง ๒๐ เมตร
ยาว ๒๘ เมตร เป็นจานวนเงิน ๕,๗๘๒,๒๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นประธานดาเนนิ การสร้างห้องนา้ และหอ้ งสขุ า ๒๖
ห้อง เปน็ อาคารคอนกรีตเสรมิ เหลก็ กว้าง ๘ เมตร

ยาว ๒๘ เมตร เปน็ จานวนเงนิ ๑,๓๘๙,๐๙๙ บาท

พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นประธานสร้างพระประธานประจาศาลาธรรมสังเวช
(พระพทุ ธรกั ขิตมหามงคล) หนา้ ตกั กวา้ ง ๕๙ นิ้ว
เปน็ จานวนเงิน ๖๗๑,๐๐๐ บาท
รวมผลงานสาธารณูปการทุกรายการ

เป็นจานวนเงนิ ท้ังส้ิน ๒๑,๒๘๒,๘๐๕ บาท๑๓
(ยีส่ ิบเอ็ดล้านสองแสนแปดหมืน่ สองพันแปดร้อยหา้ บาทถว้ น)

๑๓ ตามเอกสารทีห่ ลวงพ่อพระครูอุทติ ธรรมสารบันทึกไว้ เท่าท่ีผเู้ ขียนจะรวบรวมได้.

พุทธรกั ขติ านุสรณ์

๑๑. บญุ บารมีและความสามารถของหลวงพ่อ
จากผลงานการพัฒนาวัดบ้านกลางของหลวงพ่อ เป็นท่ีน่ายกย่องว่า

ท่านมีความรู้งานช่างหลายแขนง ดังจะเห็นได้จากการจัดวางส่ิงปลูกสร้างศา
สนสถานต่าง ๆ อย่างมีระเบียบเป็นแถวเป็นแนวเดียวกัน ทาให้ดูเรียบร้อยงาม
ตา ผลงานต่าง ๆ สาเร็จได้ก็ด้วยบุญบารมีของหลวงพ่อ ตัวอย่างผลงานการ
สร้างศาลาธรรมสังเวชและพระพุทธรักขิตมหามงคล เร่ิมต้นจากพระมหาธีร
โชติ ธีรปัญโญ ได้นาพาทานบดีท่านหน่ึงไปกราบเรียนหลวงพ่อเพื่อขอเป็น
เจ้าภาพถวายผ้ากฐินที่วัดบ้านกลาง และการพบปะกันในครั้งน้ันก่อให้เกิดการ
ตกลงกนั ร่วมบุญสร้างศาลาธรรมสังเวชตามแผนงานที่หลวงพ่อได้วางไว้ หลวง
พ่อจึงเชิญให้ทานบดีท่านนั้นเป็นประธานวางศิลาฤกษ์สร้างศาลาธรรมสังเวช
ในวันเดียวกันกับงานถวายผ้ากฐิน โดยหลวงพ่อได้เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง
ท้ังหมด ต้ังแต่งานออกแบบ ว่าจ้างช่าง ควบคุมงานก่อสร้าง หารายได้ จัดซ้ือ
เบิกจ่าย บันทึกบัญชี เป็นท่ีน่าสังเกตว่าในช่วงงานก่อสร้างเริ่มเมื่อปี พ.ศ.
๒๕๕๑ จนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ในระหว่างนี้เกิดวิกฤตน้าท่วมใหญ่
หลายพ้ืนท่ีของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้วยบารมีของหลวงพ่อทาให้
งานก่อสร้างยังดาเนินต่อไปอย่างราบร่ืน ยังคงมีผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะร่วม
บุญ ได้นาทุนทรัพย์มาถวายหลวงพ่อมิได้ขาด หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า “วัดบ้าน
กลางไม่ได้ติดหน้ีค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงช่างสักบาท ครบกาหนดเบิกก็จ่าย
ให้ครบตามจานวน”

ต่อมาหลวงพ่อได้ปรารภกับพระมหาธีรโชติ ถึงการสร้างพระประธาน
เพื่อประดิษฐานประจาศาลาธรรมสังเวช ซ่ึงตกลงกันให้ว่าจ้างโรงหล่อฝีมือดีที่
จังหวัดนครปฐม เจ้าของโรงหล่อผู้มากประสบการณ์ได้มากราบเรียนหลวงพ่อ
เพื่อดูสถานทต่ี ั้งองคพ์ ระและแนะนาวา่ ควรหลอ่ พระหนา้ ตัก ๕๙ นิ้ว และเสริม
ว่าควรมฐี านทต่ี ้ังพรอ้ มตู้กระจกเพื่อความงดงาม

พทุ ธรักขติ านุสรณ์

เม่ือช่างปั้นแบบองค์พระแล้ว ถึง
ข้ันตอนการตรวจสอบ หลวงพ่อได้ให้
คณะกรรมการวัดบ้านกลางร่วมเดินทาง
ไปช่วยกันดู ขณะท่ีหลวงพ่อพินิจ
พิจารณาดูแบบองค์พระด้วยอาการอัน
สงบนิ่งอยู่ครู่ใหญ่ท่านได้เอ่ยข้ึนว่า “หู
สองข้างไมเ่ ท่ากัน” ยังความฉงนใจให้กับ
ช่างผู้เช่ียวชาญงานป้ันเป็นอย่างมาก จึง
ถามด้วยความสงสัยว่า “ที่ว่าหูพระไม่
เท่ากันเป็นอย่างไรครับ” เพื่อคลาย
ความสงสัยของช่าง หลวงพ่อได้ใช้น้ิวช้ีมอื ขวาของท่านแทนเครื่องมือช่างสอด
เข้าไปที่ระหว่างติ่งหูแต่ละข้างกับคอ ทุกคนในท่ีนั้นมองเห็นได้ชัดเจนว่าติ่งหู
ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ทาให้ทุกคนต่างยอมรับและทึ่งในความสามารถหลาย ๆ
ด้านของหลวงพ่อ ที่เขาเหล่านั้นได้ประจักษ์ด้วยตาตนเอง โดยเฉพาะเจ้าของ
โรงหลอ่ ถึงกบั อทุ านออกมาว่า “หลวงพ่อเป็นชา่ ง”
จากน้ันหลวงพ่อให้ช่างปรับแก้แบบองค์พระในส่วนอ่ืน ๆ จนได้สัดส่วน
งดงามถูกต้องตามพุทธลักษณะ หลวงพ่อจึงได้กาหนดการหล่อพระ วันอาทิตย์
ท่ี ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ (ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่า เดือน ๗ ปีจอ จุล
ศักราช ๑๓๘๐) โดยมี พระธรรมปัญญาบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ เป็น
ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูอุทิตธรรมสาร เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระ
รัตนตรยั พระสงฆ์ ๑๙ รูปเจรญิ พระพทุ ธมนต์
พระพุทธรูปเม่ือปิดทองเสร็จสมบูรณ์แล้วมีความงดงามมาก หลวงพ่อได้
จัดพิธีเบิกเนตร เม่ือวันอาทิตย์ท่ี ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยให้ฉายานาม
พระประธานองค์น้ีว่า “พระพุทธรักขิตมหามงคล” อันมีที่มาเกี่ยวเนื่องด้วย
ฉายาของหลวงพ่อวา่ “วิจิตร์ พุทฺธรกฺขโิ ต”

พทุ ธรักขิตานุสรณ์

พระพุทธรักขิตมหามงคลปางสมาธิน้ี มีความงดงามคล้ายคลึงกับพระ
พุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัยซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจาจังหวัดอุทัยธานี

อย่างน่าอัศจรรย์ แถมยังมีขนาดหน้าตัก
กว้างเท่ากันท่ี ๕๙ นิ้ว อีกท้ังเมื่อนาพระ
นามพระพุทธรูปท้ังสององค์นี้มาเรียงร้อย
เข้าดว้ ยกนั จะคล้องจองไพเราะจับจติ พระ
พุทธมงคลศักด์ิสิทธ์ิ พระพุทธรักขิตมหา
มงคล (คาอ่าน พระ-พุด-ทะ-มง-คน-สัก-
สิด พระ-พุด-ทะ-รัก-ขิด-มะ-หา-มง-คน)
ซ่ึงมีความหมายว่า “ผู้เพียรรักษาพุทธะไว้
กับตน ย่อมถึงความมมี งคลสมปรารถนา”

พทุ ธรักขิตานสุ รณ์

พธิ ีหลอ่ พระพุทธรกั ขิตมหามงคล

พทุ ธรักขิตานสุ รณ์

พระพุทธรกั ขิตมหามงคล (กอ่ นปิดทองคา)

พทุ ธรักขิตานสุ รณ์

พธิ เี บิกเนตรพระพทุ ธรกั ขิตมหามงคล

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พุทธรักขิตานุสรณ์

๑๒. งานสาธารณสงเคราะห์

พ ร ะ ส ง ฆ์กั บ ชุ ม ช น มี ก าร พึ่ ง พ าอ า ศั ย ซ่ึ ง กั น แ ล ะ กั น ตั้ ง แ ต่ เกิ ด จ น ต า ย
ชาวพุทธทุกท่านคงไม่อาจปฏเิ สธด้วยเหตุและผลข้อน้ีได้ หลวงพ่อก็เป็นเชน่ น้ัน
ชุมชนเกื้อกูลท่าน ท่านก็ไม่เคยทอดทิ้งชุมชน พร้อมให้การอนุเคราะห์ชุมชน
ดว้ ยดีเสมอมา จึงขอรวบรวมงานอนเุ คราะหช์ ุมชนมาแสดงไว้พอสังเขป

พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดหาอปุ กรณ์สานักงาน มอบให้สานักงาน
พระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ จ.อทุ ยั ธานี
จานวน ๑๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๕๑ -๒๕๕๙ บรจิ าคเงนิ นิตยภัตเขา้ โครงการ "ทุนวดั ช่วยวัด"

ตามมตมิ หาเถรสมาคม มตทิ ี่ ๔๓๖/๒๕๔๕

จานวน ๒๔,๓๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ เปน็ ประธานจัดหาเครอื่ งอปุ โภคบริโภคใหแ้ ก่ผปู้ ระสบ

อุทกภยั จานวน ๓๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๖ เปน็ ประธานดาเนินการก่อสรา้ งหอถังเก็บน้าสูง หมู่ ๘

ต.หว้ ยคต จ.อุทัยธานี จานวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๗ เปน็ ประธานดาเนนิ การปรับปรุงและต่อเติมศาลาประชาคม

หมู่ ๙ ต.หว้ ยคต จ.อทุ ยั ธานี จานวน ๑๔๘,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๘ เปน็ ประธานดาเนินการปรบั ปรงุ ถนนคอนกรตี เสริมเหล็ก

สายสะพาน หมู่ ๔ ต.ห้วยคต จ.อุทัยธานี
จานวน ๑๔๙,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๙ เปน็ ประธานดาเนนิ การกอ่ สรา้ งถนนคอนกรตี เสรมิ เหล็ก

สายบ้านกลาง หมู่ ๔ ต.ห้วยคต จ.อทุ ยั ธานี

จานวน ๗๗,๕๐๐ บาท

รวมผลงานสาธารณสงเคราะหท์ ุกรายการ

เปน็ จานวนเงนิ ทั้งสิน้ ๖๘๘,๘๐๐ บาท

(หกแสนแปดหมื่นแปดพนั แปดรอ้ ยบาทถว้ น)

พุทธรกั ขิตานุสรณ์

จดั หาอุปกรณ์มอบให้
สนง.พทุ ธศาสนาแห่งชาติ

จ.อุทยั ธานี

จัดหาเครื่องอุปโภคบรโิ ภค
แก่ผู้ประสบอทุ กภยั
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔

พุทธรกั ขติ านสุ รณ์

๑๓. สมณศักด์ิ
จากคุณงามความดีและผลงานของหลวงพ่อที่ได้ปฏิบัติหน้าท่ีอย่าง

ตรงไปตรงมาเต็มกาลงั สติปัญญาความสามารถ โดยถือสัจจะเปน็ สาคัญ จนเปน็
ที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์และสาธุชนทั่วไป ท่านจึงได้รับพระมหา
กรณุ าธิคุณโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ตามลาดบั ดงั น้ี

พ.ศ. ๒๕๓๖ เปน็ พระครูสญั ญาบตั รเจ้าอาวาส ชั้นตรี ที่
“พระครอู ุทติ ธรรมสาร”

พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นพระครสู ญั ญาบตั รเจา้ คณะตาบล ชน้ั โท ที่
“พระครูอทุ ิตธรรมสาร”

พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นพระครสู ัญญาบตั รเจ้าคณะตาบล ชั้นเอก ท่ี
“พระครอู ทุ ิตธรรมสาร”

๑๔. ทด่ี นิ ของพ่อ
โยมพ่อบานและโยมแม่ทิพย์ ภูมียา มีสมบัติเป็นท่ีดินทากิน ๑๔ ไร่เศษ

ใช้เลี้ยงลูกหลาน ก่อนเสียชีวิตท่านได้มอบที่ดินดังกล่าวให้แก่ลูก ๆ เพื่อใช้
ทามาหากนิ เล้ยี งชพี ต่อไป

ตอ่ มาลูกของพ่อบาน-แม่ทิพยบ์ างคนได้เสียชีวิตลง สว่ นคนท่ยี ังมชี วี ิตอยู่
ได้มีฉันทามติร่วมกันยก “ท่ีดินของพ่อ” จานวน ๑ แปลง มีเนื้อท่ี ๑๔ ไร่ ๖๐
ตารางวา เอกสารสิทธิ์โฉนดเลขท่ี ๓ อยู่ท่ีบ้านโคก หมู่ ๑ ตาบลวังหิน อาเภอ
บ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี มอบให้หลวงพ่อเป็นผู้จัดการทรัพย์สินมรดกของพ่อ
แม่ ซ่ึงหลวงพ่อตั้งใจไว้ว่าจะยกที่ดินมรดกของโยมพ่อโยมแม่ ให้เป็นท่ีธรณี
สงฆ์ถวายให้แก่วัดบ้านกลาง ตาบลห้วยคต อาเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
โดยท่านไดต้ ั้งคณะกรรมการวัดบ้านกลางให้ช่วยกันดูแล เก็บผลประโยชนเ์ พ่ือ
บารงุ วัดบ้านกลางมาจนถึงทกุ วนั นี้

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พทุ ธรกั ขติ านุสรณ์

๑๕. หลวงพอ่ ใช้ธรรมะชนะทกุ ข์
หลวงพ่อไดฝ้ ึกปฏิบตั ิทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน กับครบู า

อาจารย์หลายท่าน โดยได้เดินทางไปปฏิบัติยังสานักต่าง ๆ เช่น ปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อชม (พระครูธรรมวิทย์โสภณฑ์) ณ วัดอิน
ทราราม (วัดตลุก) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท จนกระทั่งสามารถปฏิบัติได้ดี ท่านจึง
นามาปฏบิ ตั ิต่อเนอ่ื งดว้ ยตนเองทวี่ ดั บา้ นกลาง

เม่ือครั้งหลวงพ่อได้เมตตาอนุญาตให้พระมหาธีรโชติ ธีรปัญโญ และ
คณะ จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานข้ึนที่วัดบ้านกลาง ในปี พ.ศ.
๒๕๖๑-๒๕๖๒ น้ัน หลวงพ่อได้เมตตามาเป็นประธานกล่าวเปิดและปิด
โครงการเพื่อเปน็ ขวัญและกาลงั ใจให้แก่ผู้มาปฏบิ ตั ธิ รรมทุกครัง้

ขอกล่าวถึง โอวาท
ธรรมของหลวงพ่อในวัน
ป ฐ ม นิ เ ท ศ เ ปิ ด โ ค ร ง ก า ร
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เมื่อวันท่ี ๑๒ ธันวาคม
๒๕๖๒ ตอนหน่ึงว่า “ที่ไป
ฝึก ๆ มา อบรมมาหลาย
ๆ ที่ ท่ีไปอบรมมา ก็ใช้ตัวนี้แหละสะกด เอาชนะให้ได้ ถ้าเราเอาชนะมันได้
นะ การเจ็บปวดจะไม่เกิดเลย ทุกขเวทนาทุกอย่าง สังขารจะไม่เกิดเลย
การเจ็บปวดจะไม่เกิดเลย ถ้าเราไม่เอาชนะมันได้นะ มันทรมานมาก ๆ”๑๔
ซง่ึ เป็นการตอกย้าใหผ้ ู้มาปฏิบัติธรรมเห็นคุณวิเศษของการปฏิบตั ิที่สามารถช่วยดับ
ปวดดับทุกข์ได้ โดยท่านเล่าถึงประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติธรรมนามาใช้
ประโยชน์ในชีวิตจริง โดยเฉพาะจากอาการเจ็บป่วยของท่าน ซ่ึงเป็นการย้า
เตอื นและเชญิ ชวนผูฟ้ งั ใหม้ าพิสจู นธ์ รรมานุภาพทพ่ี ระพทุ ธเจ้าตรัสสอนไว้

๑๔ โอวาทธรรม, พระครอู ุทิตธรรมสาร (วจิ ติ ร์ พุทฺธรกขฺ โิ ต), ดใู นเลม่ น.้ี

พทุ ธรกั ขิตานุสรณ์

๑๖. หลวงพ่อมรี ่างกายเสมอื นเกวยี นเกา่

พระพทุ ธเจา้ ตรัสไว้ในมหาปรนิ พิ พานสูตรตอนหน่งึ วา่ “บัดนี เราเป็น
ผู้ชราแก่เฒ่า ล่วงกาลมานาน ผ่านวัยมามาก ร่างกายของตถาคตประหนึ่งแซม
ด้วยไม้ไผ่ ยังเป็นไปได้ก็เหมือนกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ฉะนัน
ร่างกายของตถาคตสบายขึนก็เพราะในเวลาท่ีตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มี
นมิ ิต เพราะไมใ่ ส่ใจนมิ ิตทุกอย่าง และเพราะดบั เวทนาบางอย่างไดเ้ ทา่ นัน”

ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาหลวงพ่อเป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ทางานอย่างแข็งขัน
ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย แม้ต่อมาท่านเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอเจ็บป่วยบ่อยข้ึน
แต่ท่านยังคงพยายามปฏิบัติศาสนกิจอย่างเต็มความสามารถเท่าท่ีกาลังจะ
อานวย

เมื่อคณะศิษยานุศิษย์ทราบว่าหลวงพ่อมีอาการทรุดหนักลงเร่ือย ๆ แม้
นิมนต์ท่านไปตรวจรักษาท่ีโรงพยาบาลจังหวัดหลายแห่งแล้วก็ตาม แต่สุขภาพ
ของท่านก็ยังคงทรง ๆ ทรุด ๆ ดังน้ันคณะศิษยานุศิษย์จึงมีความเห็นร่วมกันว่า
ควรนิมนต์ท่านไปรักษาท่ีโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร เม่ือแพทย์ได้
ตรวจวินิจฉัยพบว่าหลวงพ่อมอี าการเส้นเลือดหัวใจตีบ ๓ เส้น และต้องทาการ
ผ่าตัดเปล่ียนเส้นเลือดหัวใจอย่างเร่งด่วน หลวงพ่อได้รับการรักษา เมื่อวันที่
๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ด้วยวิธีการผ่าตัดนาเอาเส้นเลือดท่ีขาของท่านมา
เปลยี่ นใชแ้ ทนเส้นเลอื ดหัวใจทตี่ ีบตันใชง้ านไม่ไดแ้ ล้ว

ภายหลังการผ่าตัด สุขภาพของหลวงพ่อค่อย ๆ ดีข้ึน แต่ด้วยท่านอยู่
ในช่วงวัยชราและผ่านการผ่าตัดใหญ่มา จึงไมค่ ่อยแข็งแรงนัก ถึงกระนั้นท่านก็
พยายามปฏิบัติศาสนกิจให้ได้ตามปกติ ในระยะหลังร่างกายท่านอ่อนแอและมี
อาการไมส่ ู้ดีนัก ต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย ๆ สภาพร่างกายของหลวงพ่อก็
เปรียบเสมือนเกวียนเก่าท่ีซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่นับวันมีแต่จะทรุดโทรมไป ท่าน
จาต้องวางภารธุระทุกอย่างลง อันเป็นการละสังขารไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อ
วันอาทิตย์ท่ี ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ (ตรงกับวันแรม ๑ คา่ เดือน ๓) รวมสิริ
อายไุ ด้ ๗๑ ปี ๒ เดอื น ๒๖ วัน

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

โอวาทธรรม๑๕
หลวงพ่อพระครอู ทุ ติ ธรรมสาร (วจิ ิตร์ พุทฺธรกฺขโิ ต น.ธ.เอก)

อดตี เจา้ อาวาสวดั บา้ นกลาง อดตี เจา้ คณะตาบลหว้ ยคต
กล่าวเปิดโครงการปฏบิ ตั ิธรรม “วปิ ัสสนาพาสขุ ”
๑๒ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
...................................

เจริญพร ญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน ที่มีการเก่ียวข้องในภาคปฏิบัติ
ของปีน้ี ปีที่แล้วก็ผ่านมาปีหน่ึงแล้ว ปีน้ีปีที่ ๒ เพราะฉะน้ัน ญาติโยมตั้งใจ
ประพฤตปิ ฏบิ ัติ โดยการนาของมหาธรี โชติ พรอ้ มด้วยพระอีกรปู หน่งึ ๑๖ ได้มา
ช่วยกนั ในงานน้ี เพื่อให้สาเร็จลลุ ่วงไปด้วยดี ปที ี่แล้วรู้สึกจะมากกว่าน้ี ปีนี้น้อย
กว่า สงสัยจะหนาว ปีที่แล้วไม่หนาว ปีนี้หนาว ก็ใช้กาลัง กาย วาจา ใจ ให้
สมบูรณ์ ต้ังใจปฏิบัติ ไหน ๆ ก็มาแล้ว เสียสละเวลาการงานและหน้าท่ีที่อยู่
ทางบ้านต้องรับภาระ คนที่เชื่อก็ต้องมาประพฤติปฏิบัติ เสียสละทั้งกาย และ
วาจา ใจ มาเพิ่มบารมี เพิ่มพูนเพิ่มคุณงามความดีของเรา ที่มันตกหล่นไป เรา
กม็ าเพ่ิมเติม ทาให้มันเต็มที่ ยอมเสียสละกายและใจ ประพฤติปฏบิ ัติดี ปฏิบัติ
ชอบ ข้ึนอยูก่ ับตวั เรา ถ้าเราทาไดม้ ันกไ็ ด้แก่เรา ถ้าเราทาไม่ได้ก็ไมไ่ ด้แกเ่ รา

เพราะฉะนั้น ญาติโยม พุทธบริษัทที่ต้ังใจประพฤติปฏิบัติ ก็ตั้งสัจจะ
ในใจของตัวเองว่า จะปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เท่าที่จะทาได้ ทุกอิริยาบถ จะน่ัง
นอน เดิน กิน ๔-๕ ทวาร เวลานอน เวลาน่ัง เวลาเดิน เวลากิน ตลอดเวลา
รับประทานอาหารนะ เรากาหนดให้ได้ กาหนดได้มันก็อยู่ท่ีเรา เรากาหนด
ไม่ได้ มนั กอ็ ยู่ทเี่ รา ความดอี ย่ทู ไี่ หน อยูท่ เ่ี รา

เพราะฉะนั้น เราก็ต้องตระหนัก แล้วก็ตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติให้ได้เต็มท่ี
มันเป็นบุญนะ ช่ัวช้างกระพือหู แค่งูแลบลิ้น มันก็เป็นบุญ เป็นกุศลแล้ว
เพราะฉะน้ัน อาจารย์มหาธรี โชติ พร้อมดว้ ยพระอีกองค์หนึ่ง ก็มาให้คาแนะนา

๑๕ โอวาทธรรม, พระครอู ุทิตธรรมสาร (วิจิตร์ พุทธฺ รกขฺ โิ ต), บันทึกเสยี งโดยพระสมเจตน์ กตปุญโฺ ญ.
ถอดเสยี งบันทึกโดย พระสมเจตน์ กตปุญฺโญ และ น.ส.นิตยา เพชรเฉิดฉนิ .

๑๖ พระสมเจตน์ กตปุญโฺ ญ วัดพระสมุทรเจดยี ์ จ.สมทุ รปราการ

พุทธรกั ขิตานสุ รณ์

ให้ความรู้ เพิ่มความสามารถให้โยม ชี้แจงให้โยม ผลที่สุดโยมก็เอาไปประพฤติ
ปฏิบัติ ทั้งกลางวันและกลางคืน เวลาไหนที่เราว่าง เวลาไหนเราไม่ว่าง เราไป
บ้าน ไปอยู่บ้านเราก็ทาได้ อยู่ที่สงบ อยู่คนเดียว ลูกหลานไม่มี อยู่ที่บ้าน
กพ็ อเหมาะนาไปนั่งปฏิบัติจิตใจใหส้ งบ มนั เป็นบุญ เปน็ กุศล เป็นเสบียง ในวัน
ขา้ งหน้า เป็นพ้นื ฐานของแต่ละบุคคล คนไหนทาได้ คนน้ันก็ได้ คนไหนทามาก
กไ็ ด้มาก คนไหนทาน้อย ก็ได้น้อย ทาได้ทุกอิริยาบถ จะนง่ั ยืน ลุก น่ัง กนิ เรา
กาหนดให้ได้ แล้วทาให้ได้ ที่มันเผลอไปเราก็ปล่อย เอาที่ได้ เท่าท่ีได้ ซ้ายย่าง
หนอ ขวาย่างหนอ น่ังหนอ ถูกหนอ ข้ัน๑ ข้ัน๒ ข้ัน๓ ขั้น๔ ข้ัน๕ ขั้น๖ ถึงขั้น
นับคะแนน แล้วแต่เราจะมีจังหวะ จะได้ประพฤติปฏิบัติแต่ละข้ัน แต่ละ
ขั้นตอน เดิน ยืน น่ัง นอน ทั้ง ๔ อิริยาบถ พร้อมท้ังด้วยกาย วาจา ใจ ส่ิงที่
เกดิ ขน้ึ ได้คือสัจจะ เรามีสัจจะคือศลี

พระพุทธเจ้าก่อนที่จะเสด็จปรินิพพาน ก็ออกบวชเป็นฤๅษี ปัญจวัคคีย์
ทั้ง ๕ เขาเอาศีลมาจากไหน เอ้า...โยมลองคิดดู ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เขาเอาศีล
มาจากไหน พระพุทธเจ้าเอาศีลมาจากไหนนะ ใครจะมาให้ศีลพระพุทธเจ้า
จะเป็นพระอินทร์ พระพรหม ก็ไม่ใช่ เพราะฉะน้ัน การรักษาศีลเน่ีย มันอยู่
ท่ีเรา สัจจะตัวน้ีเน่ียะคือศีล เราเปล่งวาจาไปเช่นไร เราก็ได้รับผลเช่นนั้น ถ้า
เราไมม่ ีศลี ไมม่ สี จั จะ

อริยสัจธรรมเนี่ย เข้าถึงธรรมะก็อยู่ท่ีใจ การที่ประพฤติปฏิบัติธรรม
ของเรา เพราะฉะน้ัน ญาติโยมท้ังหลาย ที่ต้ังใจมาวันนี้ รับสัจจะตัวเอง สัจจะ
ของเราน้ันคืออะไร เราก็เปล่งวาจาในใจเรา ตั้งสัจจะในใจเรา เราจะทาได้
แค่ไหน อยู่ท่ีสัจจะเรา อยู่ที่การกระทาของเรา ปัญจวัคคยี ์ท้ัง ๕ ท่านจะรับศีล
จากใคร พระพุทธเจ้าไปรบั ศลี จากใคร ศีลน้ันมาจากไหน อ่ะ...โยมลองสงั เกตดู
พระพุทธเจ้าไปรับศีลจากใคร ลองถามมหาดูก็ได้ พระพุทธเจ้าไปรับศีลมาจาก
ใคร กอ่ นทีจ่ ะเป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะบวช กอ่ นจะบรรพชา กอ่ นจะอปุ สมบท
ปญั จวคั คียท์ ง้ั ๕ ก็เหมือนกนั ไปรบั ศีลมาจากใคร เป็นฤๅษีนะ

พทุ ธรักขิตานุสรณ์

อัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เขาเอาศีล
มาจากไหน เป็นฤๅษีด้วย มาได้ยังไง สาเหตุท่ีมาเป็นฤๅษี ทาไมถึงเปล่งวาจา
มสี จั จะ ตัง้ มน่ั ยดึ มัน่ จะตอ้ งถือปฏิบัตอิ ย่างน้ี สจั จะตวั น้ีคอื ศีล

ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆา่ สัตว์ ตั้งแต่ตัวเล็ก ตัวน้อย ตัวใหญ่
ตั้งใจกด็ ี ไมต่ ั้งใจกด็ ี เจตนาก็ดี ไม่ได้เจตนาก็ดีนะ ศลี ๕ ข้อ ๘ ข้อ ศลี ๒๒๗
ศีลของภิกษุณีเหมือนกัน น่ีเขาให้สัจจะ พระพุทธเจ้าให้สัจจะ รักษา และ
ทาตามเขามาจากพระพุทธองค์ เราก็มาถือประพฤติปฏิบัติ เราทาได้แค่ไหน
ก็ปฏิบัติได้แค่น้ัน ถ้ามันขาด เราก็ไปต่อ คือผิดสัจจะ ตามความหมายคือ
ผิดสจั จะ

พระพุทธเจ้าก็เปล่งวาจา ดูก่อนภิกษุ ดูก่อนภิกษุณี อย่างง้ีๆๆ อย่าทา
อย่างนี้ไม่ดี อย่างนี้ดี อย่างนี้ช่ัว อย่างนี้ไม่ดี ท่านก็บอกมา เราก็จาตรงนั้นมา
ประพฤติปฏิบัติ กาลังสัจจะวาจาสาคัญมากนะ อย่างมหาธีรโชติ ก็ต้ังใจเต็มที่
พร้อมกับพระอีกองค์หน่ึง ก็ช่วยกันแนะแนวให้ญาติโยม ว่าตรงไหนผิด
ตรงไหนถูก ตรงไหนดี ตรงไหนไมด่ ี จะพาให้ญาติโยมไปสู่ความสุข ความเจริญ
ในชีวิตบั้นปลาย ท้ังชาตินี้และชาติหน้า ถ้ามันมีจริง ถ้าไม่มีจริง มันไม่มา
ถึงเราหรอกโยม ไม่มาถึงเราหรอก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็เหมือนกัน
ทาไมมาถึงเรา ถ้าไม่มีจริง มันต้องมีจริง กลางวันเป็นกลางคืน เป็นไปไม่ได้
กลางคืนจะกลายเป็นกลางวันก็ไม่ได้ เพราะฉะน้ัน ความจริงก็เป็นความจริง
เพราะฉะนน้ั ทาไมคนถงึ มาปฏิบัตกิ นั

บางบ้านยังไม่เคยปฏิบัติเลย ไม่เคยผ่านเลย เสร็จแล้วโยมมีโอกาส
ที่ดีแล้ว โชคของโยม วาสนาท่ีโยม ที่เคยได้ร่วมทาเม่ือครั้งอดีตชาติ ได้มา
ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมบุญ ร่วมกุศล ซึ่งกันและกนั จึงมาได้เจอกนั นะ มหาเป็น
ผู้นา แนะแนว พระอีกองค์หน่ึงก็เป็นผู้ให้ความรู้ทั้ง ๒ องค์ ดีแล้วท่ีโยมได้ทา
กันมา เป็นบญุ เปน็ กศุ ล เป็นลาภอันประเสรฐิ ในชวี ิตของโยม

ความดีอยู่ท่ีไหน อยู่ท่ีใจ ความช่ัวอยู่ท่ีไหน อยู่ท่ีใจ ความดีอยู่ท่ีไหน
อยูท่ ใ่ี จ อยู่ท่ีการกระทา คนจะจบปรญิ ญาตรี โท เอก ดอกเตอร์ ก็อยู่ท่ใี จ อยู่ที่
ตัว อยู่ท่ีการกระทานะ คนจะทาดีจะทาชั่วก็เหมือนกัน อยู่ท่ีตัวของคนนั้น

พุทธรกั ขิตานสุ รณ์

คนจะทาดีอยู่ท่ีตัวเขา คนจะทาชั่วก็อยู่ที่ตัวเขา เพราะฉะน้ันโยมต้ังใจ
มาประพฤติปฏิบัติ สารวม กาย วาจา ใจ เป็นที่น่ารัก น่าเล่ือมใสของคนที่เห็น
เสง่ียม สงบ เรียบร้อยนะ เป็นที่เคารพนับถือของลูกหลาน ลูกหลานเห็น
เสร็จชุ้บ (ปุ๊บ) อ้ือหือ! เมื่อก่อนไม่เคยเป็นมาอย่างนี้ ย่าไม่เคยเป็นอย่างนี้ แม่
เราไม่เคยเป็นอย่างนี้ เม่ือก่อนแม่เคยกระโดกกระเดก พูดจาไม่เพราะ มา
ประพฤติปฏิบัติแล้ว มาสร้างคุณงามความดีแล้ว ถูกการอบรมบ่มนิสัยแล้ว
กลบั ไปบ้าน ลูกเต้า ลกู หลานเหน็ เข้า ผดิ หู ผิดตา มีความเช่ือ มีความรัก เปน็ ท่ี
ไว้วางใจ ผิดหูผิดตา ลูกหลานบอกย่าไปปฏิบัติธรรมมา จะพูดก็พูดดีนะ จะ
บอกก็บอกดี กระทาอะไรก็ถูกต้องไปหมด เป็นตัวอย่างของลูกหลานท่ีอยู่ทาง
บ้าน อนั นน้ี ่ะ เป็นลาภอนั ประเสรฐิ นะโยม เป็นบญุ เป็นกุศลของโยมแลว้

ศีล ๕ ข้อก็เหมือนกัน ปาณา อทินนา กาเม มุสา สุรา เป็นข้อห้าม
ถ้าล่วงเกินไปก็ไม่ดีคือผิดสัจจะ อย่างกะโยมมารับศีลจากพระกับมหาธีรโชติ
กลับบ้าน

ปาณาตปิ าตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์ ห้ามทาชวั่
อทินนาทานา เวรมณี ห้ามขโมยของผู้อืน่ มาเป็นของเรา
กาเมสุมจิ ฉาจารา เวรมณี ห้ามล่วงประเวณี ผดิ ลูกผดิ เมีย
มุสาวาทา เวรมณี หา้ มพูดปด พูดแตข่ องทเี่ ป็นจรงิ

ไม่มีการโกหกโกไหว้ ไม่มีอะไรแอบแฝง
สุราเมรยมชั ชปมาทัฏฐานา เวรมณี หา้ มด่ืมของมนึ เมา

หรอื แอลกอฮอลล์ คนเมาเหมอื นคนบ้า
คนเมาเหมือนคนบา้ จะพูดจะจาอะไร
กไ็ มค่ งท่คี งทาง
อันน้ีแหละโยม โชคดีของโยมทุกคนได้มาประพฤติปฏิบัติ ตามรอย
พระพุทธเจ้า ตามรอยที่มหาธีรโชติได้แนะนาให้โยมพ้นจากทุกข์ ทุกขเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เจอทุกคน แต่จะมีมากมีน้อยเท่าน้ันแหละ ชีวิตน้ี
หนไี มพ่ น้ ไม่มหี รอกใครจะหนีพน้ ทกุ ขเวทนา สญั ญา สังขาร วิญญาณ มันเป็น
ของที่ไม่เท่ียง สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมก่อมายังไง ได้รับไปอย่างน้ัน

พทุ ธรกั ขติ านสุ รณ์

บุญสร้างมายังไง ได้รับไปอย่างน้ัน อันน้ีนะโยม ถ้าพูดไปแล้ว โยมก็คงเจอกัน
มาแล้ว ทุกข์ สุข โรค เจ็บป่วยได้ไข้ ทุกขเวทนา สัญญา สังขาร ทุกคนเกิดข้ึน
ทกุ คน เป็นของท่ีไม่เทีย่ ง

เพราะฉะนั้น พยายามกอบโกยเอาใส่ใจ เราเอาไปประพฤติปฏิบัติ
เป็นเสบียงวันข้างหน้า และปัจจุบันและวันข้างหน้า เป็นเน้ือนาบุญของเรา
บุญกุศลเท่านั้นแหละที่จะช่วยเรา อ่ะ...โยมลองสังเกตดู คนตายไป ๒๐ ปี
๓๐ ปี ยังไม่ไปผุดไปเกิดเลยก็มี มาเข้าลูกเข้าหลาน เข้าลูกเข้าเมีย บอก
ยงั ไม่ได้ผุดได้เกิด ทาบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ก็ไม่ได้ทาแล้ว ไม่มีใครทาให้
ปัจจุบันน้ีเหมอื นกัน น้อยคนที่จะทาบุญให้ สามี ภรรยา และลูก หลาน ๗ วัน
เผา มาติกาบังสุกุล ๗ วัน ๑๐๐ วันเลิก วันเกิดวันตายไม่เคยทา ได้กิน
แค่นั้นเอง น่ีแหละของพะน้ี มันก็...ถ้าเขาไม่ทาให้เรากิน เราก็ไม่ได้กินนะ
อย่างกับโยมเขามาวันพระวันโกน เราไม่ได้ไปทาบุญ กรวดน้าแผ่เมตตาเลย
เราไมไ่ ด้ทาเลย ญาติพนี่ อ้ ง พอ่ แม่ ที่ล้มหายตายจากไปมา กไ็ ม่ได้ ถ้าเราหม่นั
ทาบุญ เรากรวดน้าแผ่เมตตาบอกช่ือบอกเสียง กรวดน้าอุทิศส่วนบุญให้เขา
เขาก็ได้รับ เหมอื นเราไปบ้านเขานั่นแหละ ไปบ้านงาน ไปบ้านเขา ไปเยี่ยมเขา
ไปถึงเจ้าของบ้าน แล้วเจ้าของบ้านไม่ต้อนรับ แล้วคุณโยมจะคิดยังไง ข้ึนไป
บนบ้าน น้าก็ไม่หาให้ ข้าวก็ไม่หาให้ แถมเขาไม่พูดไม่คุยด้วย ถ้าเสร็จแล้ว
โยมจะอยู่ได้ไหม อยู่ไม่ได้โยมก็ต้องกลับนะ...ก็ต้องกลับ กลับด้วยความโกรธ
ไม่ได้กลับด้วยความดี โยมสังเกตดูให้ดีก็แล้วกัน คนเราน่ะ อยู่ที่ตัวเรา
ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ความดีก็อยู่ท่ีตัวเรา ความชั่วก็อยู่ท่ีตัวเรา การบังคับ
ก็อยูท่ ่ตี ัวเรา บญุ กุศลก็อยูท่ ี่ตัวเรา

เพราะฉะน้ัน ญาติโยมท้ังหลายมาวันน้ี ขอบใจมาก ได้มาประพฤติ
ปฏิบัติ ดีใจด้วย ดีใจด้วยที่ญาติโยมได้ตั้งใจ บางคนเขาก็อ้างไม่สบาย ป่วยน่ะ
บางคนก็งาน ติดธุระ ไม่มีเวลา โยมลองสังเกตดู ไม่มีเวลาเพราะเหตุไร
โยมไม่ยอมเสียสละตนเอง อืม! ไม่ยอมเสียสละตัวเอง ไม่แก้ไขตัวเอง ทางาน
อยู่ตลอดวันตลอดคืน ตายแล้วเอาไปได้ไหม เงินในกระเป๋ากองไว้ตรงหน้า
หยิบเอาไปได้ไหม...ไมไ่ ด้ บา้ นกู รถกู ไร่นา วัวควายกู เอาไปไดไ้ หม...ไมไ่ ด้

พทุ ธรักขติ านุสรณ์

เน่ียอาตมาไปผ่าหัวใจมาเน่ีย ๓ เส้น ที่ศิริราช ได้มหาเป็นคนเฝ้าดูแล
หลาน ๓ คน ไปที่ส่วนเอกชน (คลินิกนอกเวลา) เอาเส้นท่ีขาน่ีไปใส่ที่หัวใจ
๓ เส้น คนท่ีนั่งเป็นแถว นอนเป็นแถวกันหมด เข้าคิวกว่าจะได้ผ่า กว่าจะได้
หมอทา เราเสียเงินก็มีโอกาสผ่าไวกว่าเขา วันที่ ๑๘ สิงหา ๕๘ หมอกต็ ัดสินใจ
ทาให้ นางพยาบาลก็ถาม กลัวม้ัย กลัวม้ัย กลัวไม่ฟื้น กลัวเป็นอัมพาตนะ
ฟ้ืนมาก็เอ๋อ ทานองเนี้ย ทีนี้หลานมันถามว่า หลวงอา ! ไม่กลัวเหรอ
นางพยาบาลเขาพูดอย่างเน้ีย อย่างเนี้ย ผ่าแล้วไม่ฟ้ืนกม็ ี ผ่าแล้วเป็นอัมพฤกษ์
อัมพาตก็มี ฟื้นมาเป็นเอ๋อก็มี พูดให้ฟัง ก็เลยบอกหลาน บอกว่าเกิดมาทั้งที
คนเรากต็ ้องตาย๑๗ อย่างไงกต็ อ้ งตาย แต่จะตายเม่ือไรและไปเมอ่ื ไหร่ ก็นกึ
อธิษฐานจิต นึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุญกุศลที่เราสร้างไว้ ทาไว้
นึกถึงคุณบิดามารดา นึกถึงในหลวง พระเจ้าแผ่นดิน เสร็จแล้วก็อธิษฐานจิต
บอกขอให้ปลอดภัย ผ่าแล้ว อะไรแล้ว ขอให้ปลอดภัย อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้น
กฟ็ ื้นน่ะโยม ๕ โมงเย็น ขึ้นไปชั้น ๑๘ เสร็จแล้ว ไม่พอตี ๕ ฟื้นอยู่ในห้องเด่ียว
เขามัดหมดเลย พูดอะไรก็ไม่ได้ ท้ังปากทั้งจมูกมีแต่สายน้าเกลือ สายยาง
เต็มหมด ก็อยู่มาพักฟื้นอยู่ที่วัดมหาธาตุกับมหา...อยู่น่ัน แล้วก็ไปเช็ค ๒ ราย
๓ ราย (ครง้ั ) เดีย๋ วนี้ไม่ไดไ้ ปแล้ว มันก็อยู่ทบ่ี ญุ (นะ)โยม

โยมเขาถามว่ากลัวไหม บอกไม่กลัว ตายกไ็ ม่กลัว ยงั ไงเรากต็ ้องตาย มนั
กต็ ้องเป็นไป ธรรมชาติ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของท่ีไม่เท่ียง ไม่ใช่ของตัว
...ของเรา เป็นของคนอื่น ขอยืมเขามา วิญญาณไม่ตายนะโยม แต่สังขารมัน
ตาย สังขารมันตาย ผลที่สุดก.็ ..ก็มาอยู่น่ี ๕ ปีแล้ว ๕ ปีเศษ ๆ แล้ว ต้ังแต่วันที่
๑๘ สิงหา ๕๘ ก็ ๕ ปีเศษ ๆ ก็มีอาการอ่อนแอ ไปโรงพยาบาลบ่อย เดือนเนี่ย
เดอื นทแ่ี ลว้ ไปโรงพยาบาลบ่อย เดย๋ี วมันแน่น เด๋ียวมันหายใจไม่ออกบ้าง กค็ ดิ
ว่าปวดก็คอยกดหน้าอก ก็นึกถึงพระมหาน่ีแหละ ท่ีไปฝึก ๆ มา อบรมมาหลาย
ๆ ที่ ไปอบรมมา กใ็ ช้ตัวนีแ้ หละสะกด เอาชนะให้ได้ ถ้าเราเอาชนะมนั ได้นะ การ
เจ็บปวดจะไม่เกิดเลย ทกุ ขเวทนาทกุ อยา่ ง สังขารจะไมเ่ กิดเลย การเจ็บปวดจะ

๑๗ มรณสติ การระลึกถงึ ความตาย ในมรณานสุ สติกถา ดใู นเล่มน.ี้

พทุ ธรักขติ านุสรณ์

ไมเ่ กิดเลย ถ้าเราไม่เอาชนะมันไดน้ ะ มันทรมานมาก ๆ๑๘ (นะ)โยม หายใจแรงก็
ไมไ่ ด้ ลุกเร็วกไ็ ม่ได้ ยกมือยกไม้ มันก็ยอกไปหมด ขัดไปหมด เส้นเอ็นตึงเปร๊ียะ
แม้จะฉันอาหาร จะนอนก็ต้องค่อย ๆ นอน ลุกก็ค่อย ๆ ลุก ก็นึกอยู่ในใจ
คนเราเกิดมาก็ต้องตาย มีความดีกับความชั่วติดตัวเราไปด้วย ทรัพย์สมบัติท่ี
เปน็ กอง ๆ ของกู ๆ ไม่ได.้ ..ไม่มีความหมาย ลองคิดดู

เราประพฤติปฏิบัติเนี่ย เพ่ือตั้งสัจจะให้ได้ ทาให้ได้ เท่าท่ีเราทาได้
ปฏิบัติได้ ดีช่ัวอยู่ท่ีตัวเรา สัจจะคือตัวเรา ไม่มีใครช่วยเราเท่าที่ตัวของตัวเอง
พระมหา มาเนี่ย มาฝึกให้ มาสอนให้ มาแนะนาให้ ให้ความกระจ่าง ให้ความรู้
กบั ญาติโยม โยมได้ลาภอันประเสริฐแล้วที่ได้มาพบกับมหา เป็นครูบาอาจารย์
ของโยม มันเป็นลาภอันประเสริฐ หาท่ีไหนไม่ได้แล้ว เวลาตายให้นึกถึง พุทโธ
สัมมาอะระหัง พองหนอ ยุบหนอ มันเป็นสติ เป็นสติของเรา มันจะไปตรงแน่ว
เลย ไม่มีขวักไขว่ และจะไม่มีเซไปทางไหน มันเป็นบุญเป็นกุศล ถ้าบุญมามาก
ไปบญุ กอ่ น ถ้าบาปมามาก ไปบาปก่อน คนเราจะเกดิ ไมเ่ หมอื นกันนะโยม จะเกิด
ไม่เหมือนกัน กรรมตัวไหนที่มาก่อน จะต้องไปหากรรมตัวน้ัน บุญมากก็ไปบุญ
ก่อน ถ้าบาปมาก ก็ไปบาปกอ่ น

เพราะฉะนั้น(นะ)โยม พยายามฝึกให้เยอะ ๆ ตั้งสัจจะอธิษฐานตัวเอง
ข้าพเจ้าจะประพฤติปฏิบัติเท่าท่ีข้าพเจ้าจะทาได้ ต้องเปล่งวาจาออกไป
อยา่ งน้นั คือนนั้ ...คือศลี สัจจะคอื ศลี อยา่ โกหกตวั เอง ถ้าบางคนนีน่ ะศลี ๕ แต่
ไม่รู้จะใช่หรือเปล่า (ฮึ ฮ)ึ ไม่รู้ใช่หรือเปล่า ยังพูดกบั โยมแว่น บอกโยมแว่นรับ
ศลี ๕ ไปแล้วอย่าไปคืน ลาพังแค่น่ังแค่ลุก แค่ออกจากวัด ก็อธิษฐาน ข้าพเจ้า
ขออธิษฐาน หลับแค่นี้ นั่งแค่นี้ นอนแค่น้ี ทีนี้มันโกหกตัวเอง โกหกตัวเอง
ปาณาติปาตา เวรมณี ข้าพเจ้าขอรับสัจจะว่าอยู่แค่ในวัด ถ้าออกจากวัดแล้ว
ข้าพเจ้าคืน หรือปฏิบัติตรงน้ีเสร็จข้าพเจ้าคืน จะไม่ผิดสัจจะ เหมือนท่ีอาตมา
ฝนั ...ฝัน ดดู บหุ ร่ีวันหนึ่ง ๒ ซองกวา่ มอื นี้เหลือง พอเทีย่ งคนื วนั นน้ั กลางวนั ถึง

๑๘ สมดังในมหาปรินพิ พานสูตร,(ไทย), ๑๐/๑๖๕/๑๑๑. ภกิ ษุเหลา่ ใดเหลา่ หน่งึ ไม่วา่ จะในบัดนห้ี รือเมื่อเรา
ล่วงไปแล้ว จะเปน็ ผูม้ ีตนเป็นเกาะ มตี นเป็นทีพ่ ่งึ ไมม่ ีสิ่งอ่ืนเปน็ ทีพ่ ึง่ มีธรรมเปน็ เกาะ มธี รรมเปน็ ท่ีพ่ึง
ไม่มสี ิ่งอน่ื เป็นท่ีพงึ่ อยู่ ภกิ ษเุ หลา่ นน้ั จักอยูใ่ นความเป็นผ้เู ลิศกว่าเหลา่ ภกิ ษุผ้ใู คร่ต่อการศึกษา.

พทุ ธรกั ขิตานุสรณ์

ตอนเย็นวันนั้นดูดบุหรี่ไปมวนหนึ่ง ซองหน่ึงดูดบุหรี่ไปมวน หนึ่ง
เสร็จแล้วก็เข้านอน พอเท่ียงคืน ก็ฝัน...ฝันเห็นมีคนร่างใหญ่ พูดเสียงกังวาน
พูดก้อง ๆ อย่างง้ีแหละ อย่าดูดเลยบุหรี่น่ะ เลิกดูดเถอะ จะดูดไปทาไม ก็พา
ให้สุขภาพร่างกายไม่สบาย ถ้าเลิกดูด อย่าสาบานนะ เรากลับมาดูดได้ใหม่
ไม่เสียสัจจะตัวเอง ก็สะดุ้งตื่น พอตื่นขึ้นมา ก็คว้าไฟฉายส่องก็จดไว้
ตะกี้เราฝัน จะดูดไปทาไมบุหรี่ คอยเจ็บ คอยป่วย คอยไข้ เลิกเหอะ ถ้าจะเลิก
อย่าเปล่งวาจา อย่าสาบาน เรากลับมาดูดใหม่ได้ไม่เสียสัจจะ เขาเตือนเราเลย
พอเสร็จแล้ว นอนตอ่ นอนต่อ ก็ไม่ฝนั อะไร

พอเช้าต่ืนข้นึ มา ก็ลกุ มา จะไปเขา้ หอ้ งน้า ทกุ วันจะตอ้ งคว้าบุหรี่ ๑ มวน
ใส่ปากไปห้องน้า แต่วันน้ันไม่ได้สูบดูดบุหร่ี เม่อื คืนนี้ดูดไปมวนหนึ่ง เมื่อคืนนี้
ฝันอย่างนี้ๆๆ เสร็จแล้วทาไง ยืนดู...ดูบุหร่ี ก็เลยพูดออกไปว่า “ถ้าแน่จริง มึง
โดดเข้าปากกูสิ ถ้าแน่จริงมึงโดดเข้าปากกู กถู ึงจะดูด” ก็ทุกวันน้ียังไม่เห็นมัน
โดดเข้าปากเลย ก็ท้ิงมันต้ังแต่บัดนั้น ท้ิงยาวจนวันนี้ ก็เคยลองแล้วบุหรี่
มันเปร้ียวปาก พอทาท่าจะดูดมันก็เหม็น กล่ินเหม็น น่ันแหละคืออย่าเปล่ง
วาจา ถ้าเราจะท้ิงอย่าเปล่งวาจา คือสจั จะตวั น้แี หละ สัจจะน้ีแหละสาคญั อย่า
โกหกตัวเอง คนเราเกิดมาต้องมีสัจจะ มีสัจจะตัวนี้คือความจริงใจ เป็นผู้
บรสิ ุทธิ์

เพราะฉะนั้น โยมผู้ประพฤติปฏบิ ัติทุกคนนะ ตั้งใจ(นะ)โยม สัจจะมนั อยู่
ท่ีเรา ศีลมันอยู่ที่เรา จะต้องเข้าใจตรงน้ี เพราะฉะนั้น โยมทุกคนที่นั่งอยู่น่ี
ต้องขอบใจมาก อาจจะพูดมากไป โยมเมื่อย ขอประทานอภัยด้วย พูดนานไป
หน่อย ก็ขอโอกาสให้ญาติโยมทุกคน พระอาจารย์ทั้ง ๒ รูป จงประสบ
แต่ความสุข ความเจริญ คิดสิ่งหนึ่งส่ิงใด ก็ขอให้ได้ดังความมุ่งมาดปรารถนา
เป็นลูกพระตถาคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่ีเราเคารพนับถือ จงปกปัก
รักษาคุ้มครอง ให้อยู่ดีกินดี อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ปฏบิ ัติธรรมครง้ั นี้ จงเป็นผลสาเรจ็ ทุกประการเทอญ (สาธุ สาธุ สาธุ)

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

พุทธรักขิตานุสรณ์

หลวงพ่อเลา่ เราบนั ทึก๑๙

หลวงพอ่ พระครอู ทุ ติ ธรรมสาร
ไปปฏบิ ัติวปิ ัสสนากรรมฐาน
กับหลวงพ่อชม
(พระครธู รรมวทิ ย์โสภณฑ์)
ณ วัดอินทราราม (วดั ตลกุ )
อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

หลวงพ่อเล่าประสบการณ์การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ฟังว่า คร้ัง
หนึ่งขณะน่ังสมาธิกาหนดว่า รู้หนอ เสียงหนอ ไม่ลืมตา ปฏิบัติต่อ เสร็จแล้ว
ใต้เตียงมันเป็นหมู ร้องอู๊ดๆๆ เลย เราก็มาดูเนี่ย อย่างอันเนี้ยะ กล่องระเบิด
น่ะกล่องใหญ่ สูงประมาณศอกกว่า กล่องทรงสี่เหล่ียม แล้วก็มาพาด...พาด
แล้วก็มีประตู บานประตูก็พาด นั่งแล้วยวบยาบ ๆ คล้าย ๆ แบบว่าไม่สนิท
เวลาเปิดประตูแอ๊ด ๆ เสร็จแล้วกาหนด เป็นหมูร้องอู๊ดๆๆ มาดุน ดุนท่ีผมนั่ง
หลังมันมาชน ผมก็บอก...รู้หนอ ๆ ลืมตาไม่ขึ้นอีกเหมอื นกัน เอ๊ะ! มันอะไรกัน
แน่วะเนี่ย รู้หนอ ๆ ตัดสินใจธรรมท่ีเกิดข้ึนมา เกิดขึ้นมา ก็กาหนดหายไป
เสียงนั้นหายไป หมูก็หายไป มนั ร้องอู๊ดๆๆ ดันที่เรานั่ง ประตูใหญ่ อู๊ด ๆ หลัง
หวั มันดนุ รูแ้ ล้วหนอ ๆ เสียงหนอ ๆ ก็ใจก็ไม่หายหรอ้ ก ใจก็ไมก่ ลัว กาหนดอีก
ทหี นึ่ง จิตพุ่งขึ้นมาอีกทีหนึ่ง ปรากฏว่าลืมตาขึ้น อ้าว! เราก็นั่งกรรมฐานอยู่น่ี
หวา่

๑๙ พระครอู ุทติ ธรรมสาร (วจิ ติ ร์ พุทฺธรกฺขโิ ต). เจา้ อาวาสวดั บา้ นกลาง. สงิ หาคม ๒๕๕๘. บันทกึ และถอดเสยี ง
โดย พระมหาธีรโชติ ธรี ปญฺโญ ป.ธ.๙.

พทุ ธรกั ขิตานุสรณ์

ที่มันเข้าได้คือสติ สติที่ว่าเน่ีย ตัวแรกอ่ะ ตึ้ง...คุมไม่ได้เนี่ย ตกใจ ปึ้ง...
ตกใจเลย หมายความว่าคุมไม่อยู่ แล้วมาคุมได้ทีหลัง คล้าย ๆ มันช็อตอ่ะ
จึง้ มันมาช็อตกนั เนี่ยะ เนี่ยมนั หมายความว่าตัวเนี่ยะ ตัวสติเนี่ย มันถอยตัวเนี่ย
มา ไอ้เสียงนี้เกิดก่อน ตกใจกอ่ น ไอ้ตัวน้ี เอา ๆ จิตตัวน้ีถอยกลับมา แล้วสู้กัน
ใหม่ กาหนดกันใหม่ เสร็จแล้วกล็ ืมตาขึน้ มา ไม่มอี ะไร สงสัยจะแกล้งแน่ เสร็จ
แล้ว ก็คว้าไฟฉายส่องข้างล่าง ก็ไม่มีอะไร ก็มานั่งคิด มันอะไรกันว้า ตะน้ี ก็
เอาอย่างน้ีดีกว่า ก็กรวดน้า ก็ขึ้นมาก็ตักน้ามา ตักน้ามาแก้วหนึ่ง ยถา สัพพี
กรวดน้า แผ่เมตตาในที่อยู่ กรวดน้าแผ่เมตตา ทาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อะไร
เรียบร้อยแล้ว เอาน้าไปเท คืนน้ันไมเ่ ป็นไร กลางวันก็ไมเ่ ป็นไร กลางคนื กท็ า
อกี ทาถงึ ๓ คร้ัง มนั กห็ ายไป ๆ

ผมก็ยังเอาเร่ืองนี้ไปคุยกับหลวงพ่อชม เหตุการณ์มันเป็นอย่างเงี้ย
มันเป็นอะไร ทีน้ีหลวงพ่อชมก็ย้ิม ๆ (แล้วบอกว่า) “สู้ต่อไปลูก บอกสู้ต่อไป
คมุ สติใหด้ ี”

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

กฎระเบียบปฏิบตั ิของวดั บ้านกลาง๒๐
...................................

๑. การนุง่ ห่มผา้ ตอ้ งปฏบิ ตั ิตามระเบยี บของคณะสงฆ์
๒. ถา้ มคี นขอพกั คา้ งคนื ในวัดต้องแจง้ ใหเ้ จ้าอาวาสทราบทุกครง้ั
๓. ต้องชว่ ยกันรกั ษาความสะอาดถาวรวตั ถุ กฏุ ิ ห้องนา้ ห้องสุขา

ทอ่ี ย่อู าศยั อยเู่ สมอ มีคติวา่ “ท่ีอยูอ่ าศยั เรา เราอาศัยท่ีอยู่”
๔. ตอ้ งชว่ ยกันกอ่ สรา้ งท่ีอยู่ของสงฆ์ ถา้ มีการกอ่ สร้างอยา่ นงิ่ ดดู าย

และทางานใหเ้ ป็นเวลา
๕. ต้องรูจ้ ักเกรงใจผู้ปกครอง (เจา้ อาวาส) เชน่ จะพูดจะทางานใด ๆ

ด้วยทกุ ครัง้ ควรใช้เหตแุ ละผล
๖. อย่าสง่ เสยี งดงั โดยไม่มีเหตุจาเป็น เพอ่ื รกั ษาสมณสารูป

(เว้นแตม่ ีความจาเปน็ ต้องใช้เสียง)
๗. พระภิกษุสามเณรท่เี ป็นอาคันตกุ ะและบคุ คลภายนอกทม่ี าขอ

พักอาศยั อย่ใู นวัด ให้ถอื ระเบียบปฏบิ ตั นิ เี้ ชน่ เดียวกนั
๘. พระภิกษุสามเณร ทมี่ กี ิจธรุ ะต้องออกไปนอกบริเวณวดั ในเวลา

วกิ าลหรอื จาริกไปคา้ งคนื ต้องลาเจ้าอาวาสกอ่ นทุกครง้ั
๙. ตอ้ งชว่ ยกันรักษาส่งิ ของท่เี ป็นศาสนสมบัติ ทีเ่ ป็นสว่ นกลางของสงฆ์

ใหเ้ รยี บรอ้ ย อยา่ นาไปใช้โดยพลการ แตถ่ ้ามีความจาเป็นตอ้ งใช้
ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสก่อนทกุ ครั้ง และเมอ่ื เสรจ็ แล้ว
ต้องเกบ็ ไวท้ ่ีเดมิ

๒๐ พระครูอทุ ิตธรรมสาร (วจิ ิตร์ พุทธฺ รกฺขโิ ต). เจา้ อาวาสวดั บ้านกลาง.

พทุ ธรกั ขิตานสุ รณ์

๑๐. พระภกิ ษุสามเณร เมือ่ ไดม้ าบรรพชาและอุปสมบทหรอื เข้ามา
อยใู่ นวดั ทกุ ท่านตอ้ งปฏิบัตติ ามข้อต่อไปน้ี
๑๐.๑ หมัน่ ท่องหนงั สือสวดมนต์และซ้อมการสวดมนตเ์ สมอ
เพอื่ ให้มจี งั หวะทานองตามแบบนยิ ม
๑๐.๒ ตอ้ งศึกษาพระธรรมวนิ ัยตามโอกาสอันสมควร
๑๐.๓ ต้องหมั่นทาวตั ร (เช้า-เย็น) และลงอุโบสถร่วมกัน
๑๐.๔ ตอ้ งช่วยกนั พฒั นาวดั เพ่ือสร้างศรทั ธาปสาทะตลอดไป
หา้ มพระภิกษสุ ามเณรด่ืมของมนึ เมา เช่น สุราหรอื
ยาเสพตดิ โดยเดด็ ขาด

ทงั้ น้ี ขอให้พระภกิ ษทุ กุ รูปที่อยใู่ นวัดบา้ นกลาง ถือเป็นระเบยี บ
โดยเคร่งครัด ต้งั แตบ่ ดั นี้เปน็ ต้นไป

ลงชื่อ....................................................................
(พระครอู ุทิตธรรมสาร)
เจา้ อาวาสวดั บ้านกลาง

พุทธรักขิตานสุ รณ์

คาแนะนาเกยี่ วกบั อาจาระ๒๑
โดย พระครูอุทติ ธรรมสาร
เจา้ อาวาสวัดบ้านกลาง ต.หว้ ยคต อ.ห้วยคต จ.อทุ ัยธานี
๑. ตอ้ งเรียนพระธรรมวินัยทนั ที
๒. ตอ้ งเร่มิ อา่ นหนงั สอื นวโกวาทตามวินัยบญั ญัติ
๓. ตอ้ งรีบเรยี นวธิ พี ินทุผ้า อธษิ ฐานผ้า วกิ ัปผา้ และวธิ รี ักษาไตรจวี รครอง
๔. อย่าถอื ตามผทู้ ีเ่ ขาปฏบิ ัติยอ่ หยอ่ น
๕. อย่าถอื ว่าการบวชเป็นเพยี งประเพณีเท่าน้นั
๖. อย่าเข้าใจวา่ โกนหัวนุ่งผา้ เหลอื งแลว้ กิเลสจะหมดไปเอง
ต้องปฏบิ ัตติ ามพระธรรมวินัย
๗. พานกั อยูว่ ดั ใด ต้องเคารพเช่ือฟังผู้ปกครองวดั น้นั (สุโข ปุญญฺ สสฺ อุจจฺ โย
การสะสมบญุ นาสุขมาให)้
๘. เวลาทาวัตรสวดมนต์ ควรนง่ั ให้เรยี บร้อย
๙. พงึ หม่นั ทากิจวัตร เช่น การบณิ ฑบาต และทาวตั รสวดมนต์
๑๐. ผู้ถือคมั ภรี ์พระธรรม ไมค่ วรเดนิ ตามผเู้ ทศน์
๑๑. อย่าเปิดวทิ ยเุ สยี งดัง
๑๒. อย่าแบกร่ม
๑๓. อย่าสะพายย่ามข้นึ บา่
๑๔. อยา่ เลกิ ชายจวี รข้นึ พาดไหล่
๑๕. ไม่ควรยนื ฉนั อาหารหรือดื่มนา้
๑๖. อย่าเล่นหรือออกกาลังกายอย่างคฤหัสถ์
๑๗. เวลาฉันอาหาร ควรห่มผา้ และน่งั ใหเ้ รียบรอ้ ย
๑๘. ไปมา-ลาบอก โดยวาจาหรอื ลายลกั ษณอ์ ักษร
๑๙. อย่าทดลองเคร่ืองนุง่ ห่มหรือเครอ่ื งประดับอยา่ งคฤหัสถ์
๒๐. อย่าคาบบุหรีห่ รอื เดินสบู ตามถนนและในสถานทสี่ าธารณะ

๒๑ พระครูอทุ ิตธรรมสาร (วิจิตร์ พทุ ฺธรกฺขิโต). เจ้าอาวาสวัดบา้ นกลาง.

พทุ ธรักขติ านสุ รณ์

๒๑. ใหช้ ่วยกันดแู ลสอดสอ่ งผอู้ ย่ใู นการปกครองใหเ้ ปน็ ระเบียบ
๒๒. ออกนอกคณะ (หรอื นอกเขตวดั ) ให้ห่มจีวร

แม้มีอังสะออกนอกคณะกไ็ ม่ควร
๒๓. เวลาอยใู่ นกฏุ ิหรือในคณะ ไมค่ วรนงุ่ ผา้ ลอยชาย หรอื พนั เอว

หรอื คล้องคอพาดไหล่ หรือปลอ่ ยชายลงข้างหนา้ หรอื ขา้ งหลัง
๒๔. การนุง่ ห่มมใิ ชเ่ พอ่ื ความสวยงาม แตค่ วรระวงั อย่าให้สกปรก

เปรอะเปอ้ื นและสง่ กลนิ่ โดยเฉพาะเวลาออกนอกวัดหรือไปในงานพธิ ี
ควรใช้สบง อังสะ จวี ร ให้เปน็ สีเดียวกนั หรือใกล้เคยี งกนั ทส่ี ดุ
อย่าให้ผดิ สจี นดูไม่เรียบรอ้ ย
๒๕. ไมค่ วรพูดข้ามศรี ษะผู้ใหญ่
๒๖. เดินตามผ้ใู หญ่ไม่ควรเดนิ ใกลน้ กั
๒๗. ไมค่ วรนั่งเบยี ดเสยี ดผู้ใหญ่หรือใกลเ้ กนิ ไป
๒๘. ไมค่ วรพดู คดั คา้ นผู้ใหญ่ในลักษณะไมเ่ คารพ
๒๙. ไมค่ วรนง่ั พดู กับผใู้ หญด่ ว้ ยอาการที่ไม่เคารพ
๓๐. ไม่ควรพูดคุยแทรกระหว่างผใู้ หญย่ งั พดู ไมจ่ บ
๓๑. ยืนพูดกับผใู้ หญท่ ี่ทา่ นไม่สวมรองเท้า เราควรถอดรองเทา้ ทกุ คร้งั
๓๒. ไม่ควรเดินแซงข้ึนหนา้ ผู้ใหญ่ หรอื เดนิ นาหนา้
๓๓. การเดินนาทางผใู้ หญ่ ไม่ควรเดินนาตรง ควรเดินเลี่ยงขา้ ง
๓๔. อย่ใู นบา้ นไม่ควรกราบผ้ใู หญ่ เพยี งแตท่ าความเคารพเทา่ นั้น
๓๕. การนงั่ รว่ มยานพาหนะไปกบั ผู้ใหญ่ ไมค่ วรน่งั อาสนะเดยี วกบั ทา่ น
๓๖. ผ้ใู หญน่ ่งั อยู่ จะเปดิ -ปิดประตู หนา้ ต่าง
ควรทาความเคารพก่อนทกุ คร้งั
๓๗. ถา้ เดนิ สวนทางกับผใู้ หญ่ ควรหลกี ทางหรอื หยุดหันหน้ามาทางท่าน
๓๘. ถ้าเดนิ อยู่หรือรวู้ ่าผใู้ หญ่เดนิ ตาม ควรหยุดหลีก
ใหท้ ่านเดนิ ไปขา้ งหนา้ ก่อน
๓๙. ผใู้ หญไ่ ม่กางรม่ เราไมค่ วรกางร่มเดินตามผใู้ หญ่ ผใู้ หญ่ไมส่ วมรองเทา้
เราไมค่ วรสวมรองเทา้ เดนิ ตามผใู้ หญ่


Click to View FlipBook Version