The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยในชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 132ปนัดดา มาละอินทร์, 2024-02-27 03:16:41

วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่5

Keywords: วิจัย

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกหัด เรื่อง โน้ตดนตรีไทย-สากล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปนัดดา มาละอินทร์ วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2566


คำนำ เอกสารงานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในงานวิจัยชั้นเรียนเพื่อการจัดการเรียนการสอนใน รายวิชาดนตรีของนักเรียนประจำหน่วยการสอน ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาปรับปรุงการเรียน การสอน พัฒนาผลการเรียนในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระดนตรีตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างมีความสุขมีวิธีแสวงหาความรู้ เชื่อมโยงความรู้ วิเคราะห์ ข้อมูลข่าวสาร ใช้ทักษะทางภาษาเพื่ออภิปรายรายงานจดบันทึก รวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ เรียนรู้อย่างมีอิสระมีความรับผิดชอบมีวินัย มีค่านิยมที่พึงประสงค์อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีส่วนร่วมในกระบวนการ เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่ กำหนดไว้จะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ มีกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงสภาพและ ลักษณะของผู้เรียนที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น (กรมวิชาการ. 2559 : 21) การมุ่งเน้น พัฒนานักเรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกายความรู้ คุณธรรม จึง กำหนดจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบ อาชีพมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพที่มี จากปัญหาการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ครูผู้สอนได้พบเจอพบว่า ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน เนื่องด้วยความไม่รับผิดชอบของนักเรียนและวุฒิภาวะ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนเกิดความ เบื่อหน่ายในการเรียนในรายวิชาดนตรีครูผู้สอนจึงได้ใช้เทคนิคการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะซึ่งเป็น วิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นเอกสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ผู้อ่านทุกท่าน ……..……………………… ผู้จัดทำ


บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน โดยใช้แบบ ฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล วิชาดนตรีโดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่ม ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน โดยวิธี เลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ที่ผู้วิจัยได้ พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 81.16 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้เป็นข้อสอบก่อน เรียนและหลังเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 7.13 การหา ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะใช้เกณฑ์หาประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้รายงาน ได้พัฒนา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.16/82.64 หมายถึง นักเรียนทั้งหมดได้คะแนนเฉลี่ยจากการประเมิน พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และการทำแบบฝึกทักษะ คิดเป็นร้อยละ 81.16 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.64 แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลการใช้แบบฝึกทักษะมาช่วยสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลน่า พอใจ สังเกตจากนักเรียนให้ความสนใจการเรียนดี มีความรับผิดชอบในหน้าที่ สิ่งที่แสดงถึงความสนใจของ นักเรียน คือ นักเรียนสามารถทำแบบฝึกทักษะท้ายแผนทุกแผน ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีทุกคน ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ร่วมมือกันในการทำงาน นักเรียนทุกคนร่วมกันรับผิดชอบงาน และนำประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการเรียนรู้มาสรุปเป็นองค์ความรู้ ของกลุ่มตนเอง มีการช่วยเหลือกันในการทำงานกลุ่ม


กิตติกรรมประกาศ รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเล่มนี้ สำเร็จลงได้ ด้วยความกรุณาจากเพื่อนครู ครูผู้อาวุโส ผู้อำนวยการ และผู้เชี่ยวชาญจากเขตพื้นที่การศึกษา ที่กรุณาสละ เวลาและให้โอกาสในการให้คำปรึกษาเพื่อการทำวิจัยฉบับนี้ จึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ผู้วิจัย ขอขอบคุณเพื่อนครูในกลุ่มสาระ ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาตรวจสอบแบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้กับนักเรียน ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ขอขอบพระคุณครูทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ผู้วิจัยทุกระดับการศึกษา ขอขอบคุณคณะ คุณครูในโรงเรียน ที่ให้กำลังใจจนทำการวิจัยครั้งนี้ได้สำเร็จ ขอขอบใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ให้ ความร่วมมือในการทำวิจัยครั้งนี้ และประโยชน์ที่พึงได้รับในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบให้ทุกท่านที่มีส่วน สำคัญต่อความสำเร็จในการวิจัยครั้งนี้ด้วย ....................................


สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ..................................................................................................................... ............ กิตติกรรมประกาศ.............................................................................................................. .... สารบัญ....................................................................................................................... ............. สารบัญตาราง.................................................................................................................. ....... บทที่ 1 บทนำ........................................................................................................................ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา................................................................ วัตถุประสงค์ของการวิจัย.........…….......………..……………………………………….……... ขอบเขตการวิจัย..............……………….......………...…………………………………..……... นิยามศัพท์เฉพาะ…………...………......……………………………………………………..….…. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.................................................................................... บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................... ทฤษฎีการเรียนรู้.......................................…………………………….........………………... แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ..................................................... งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.................................................................................................. กรอบแนวคิดในการวิจัย.......................................................................................... บทที่ 3 วิธีดำเนินการ............................................................................................................ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.................................................................................... เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง.................................................................................. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ........................................................... แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการดำเนินการทดลอง........................................ ก ข ค จ 1 1 2 2 3 3 4 4 11 15 29 44 44 44 45 46


การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................... สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................... บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................................. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล............…………………………….. ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................... ผลการวิเคราะห์ข้อมูล…………….………………………….......…………………………………. ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.......................................................................................... 47 47 48 48 48 48 48 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ................................................................. วัตถุประสงค์ของการศึกษา....………………………………..…………………………………….. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง..................................................................................... เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า............................................................................ การดำเนินการศึกษา............................................................................................... สรุปผล.................................................................................................................... อภิปรายผล............................................................................................................. ข้อเสนอแนะ............................................................................................................ บรรณานุกรม............................................................................................................................ ภาคผนวก................................................................................................. ................................ 50 50 50 50 51 51 51 52 53 56


สารบัญตาราง ตาราง หน้า 1 2 แบบแผนการทดลอง One Group Pre – test Post – test Design ……………….…... แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ............................................................................................................................................ 46 50 สารบัญภาพ ภาพ หน้า 1 ภาพประกอบ รูปแบบวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ....................................................... 11 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย...................................................................................................... 42


บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การปฏิรูปการเรียนรู้ประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นได้ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมาย แม่บททางการศึกษาของไทย ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและกำหนดมาตรา หลายมาตราที่ชี้ให้เห็นว่าการวิจัยเป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ กล่าวคือ มาตรา 24 (5) ระบุให้ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถใช้การวิจัยเพื่อศึกษาค้นคว้าหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยจึงสัมพันธ์กับกระบวนการ เรียนรู้ที่ใช้ซึ่งจะช่วยฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ หาเหตุผลในการตอบปัญหา และแก้ไขปัญหา มาตรา 30 ระบุให้ ครูผู้สอนทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ผู้สอน นอกจากจัดกระบวนการเรียนการสอนแล้ว ยังใช้การวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการรู้คำตอบ พัฒนาควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และทำการวิจัยให้เป็นกระบวนการเดียวกันทั้งหมด (กรมวิชาการ, 2557 : 3) เมื่อพิจารณาเป้าหมายประการหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ คือ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดี เก่ง มี ความสุข ผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างผู้เรียน ให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานคุณภาพ การจัดการเรียนรู้ และทำการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการวิจัยให้เป็นกระบวนการเดียวกัน นั่นคือ ผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทำการวิจัยเพื่อจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา และนำผลการวิจัยมาใช้ปรับปรุงกระบวนการเรียน การสอน ในส่วนของผู้เรียน กระบวนการวิจัยจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเครื่องมือการเรียนรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต เพราะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย จะฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าทดลอง หรือศึกษาหาความรู้อย่างมีแผนงานที่เป็น ระบบน่าเชื่อถือได้กิจกรรมดนตรีที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะใดลักษณะ หนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทาง สติปัญญาต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน (จตุพร เจริญชัย, 2557 : 35) จากการผลการทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 ในรายวิชาดนตรีนั้น พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ และการเรียนมี ปัญหาเสมอ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนตั้งไว้ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงหาแนวทางในการ แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จึงได้จัดทำแบบฝึกทักษะดนตรีเพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนขึ้นมาใช้พัฒนานักเรียนเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล


1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องโน้ตดนตรีไทยสากล 2. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 1.3 ขอบเขตการวิจัย 1.3.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 จำนวน 100 คน 1.3.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) 1.3.3 เนื้อหาในการวิจัย เป็นเนื้อหาประจำหน่วย จำนวน 1 บทเรียน ที่ใช้ในการทดลองเพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล 1.3.4 ระยะเวลาในการวิจัย ระยะเวลาในการปฏิบัติวิจัยชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน. 2566 ถึง วันที่ 1 ธ.ค 2566 1.3.5 ตัวแปร - ตัวแปรต้น การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล - ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาดนตรี 1.4 สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ซึ่งจะส่งผลให้การเรียน ของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และนักเรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนเพิ่มขึ้น 2. นักเรียนสามารถอ่านโน้ตดนตรีไทย-สากลขั้นพื้นฐานได้และมีทักษะที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้


1.5 ข้อตกลงเบื้องต้น การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการจัดกิจกรรมการสอนตามปกติในการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งจะดำเนินการ วันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 4 วัน รวม 4 ชั่วโมง 1.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ แบบฝึกทักษะ คือ สื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะกับผู้เรียน เพื่อฝึกฝนให้เกิดความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ รวมทั้งเกิดความชำนาญในเรื่องนั้นๆ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามเนื้อหาที่สอน โดยอิงจาก จุดประสงค์การเรียนรู้และตัวชี้วัด จะอยู่ในรูปของชุดกิจกรรมหรือใบงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน คะแนนจากการทดสอบ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบ คือ แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อทดสอบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลัง ทดลองใช้แบบฝึกทักษะแล้วบันทึกคะแนนของนักเรียนไว้เปรียบเทียบผลการพัฒนา การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือ เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณา จากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling 1.7 ประโยชน์ของการวิจัย / ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้แบบฝึกทักษะเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ที่ผ่านการพัฒนาและหาประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อย แล้ว 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่า สูงขึ้นหลังเรียน 3. โรงเรียนมีแนวทางในการจัดทำแบบฝึกทักษะเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล และพัฒนาการสอนในกลุ่มสาระ อื่นๆ 4. โรงเรียนสามารถนำแนวทางการทำวิจัยครั้งนี้ไปส่งเสริมให้ครูคนอื่นๆ ได้นำไปพัฒนากลุ่มสาระอื่นๆ ได้ ตามมาตรฐานวิชาชีพ


ภาพประกอบ รูปแบบวิธีการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวทางความรู้จากเอกสารต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดตามลำดับต่อไปนี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ 2. แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. แบบฝึกทักษะ 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5. กรอบแนวคิดในการวิจัย 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) De Cecco & Crawford (อ้างถึง มาลี จุฑา, 2554) กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีการฝึก และการฝึกนั้นต้องมีการเสริมแรงและมีจุดมุ่งหมาย จึงจะทำให้ เกิดการเรียนรู้ขึ้นซึ่งสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว การเรียนรู้ (Learning) หมายถึงกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ ที่แต่ละบุคคลได้รับมา ผลของการเรียนรู้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านความรู้ ทักษะ และ ความรู้สึก กระบวนการเรียนรู้เป็นไปตามขั้นตอนธรรมชาติของการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความต้องการ สิ่งเร้า การ ตอบสนอง และรางวัล (มาลี จุฑา, 2555) สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2556) ได้ให้ความหมายการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจากประสบการณ์ อุบลรัตน์ เพ็งสถิต (2556) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น โดยการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองบ่อยครั้งเข้าจนในที่สุดกลายเป็น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างถาวร ดังนั้น จึงสรุปความหมายของการเรียนรู้ได้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมา ซึ่งผลของการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


พฤติกรรม 3 ด้าน คือความรู้ ทักษะ และความรู้สึก ทฤษฎีการเรียนรู้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ (มาลี จุฑา, 2554) 1) กลุ่มทฤษฎีเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) ได้แก่ ทฤษฎีการ เรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Connectionism) ของ Edward L. Throndike นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกล่าวว่า การ เรียนรู้เกิดขึ้นระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง อาจทำให้เกิดการตอบสนองได้หลายทาง ได้กล่าว ว่าเมื่อบุคคลพร้อมแล้วได้กระทำจะเกิดความพอใจ ถ้าบุคคลได้กระทำสิ่งใดแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจก็อยากจะ กระทำสิ่งนั้นอีก การนำความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องไปใช้ในการเรียนการสอน ก่อนจะเริ่มดำเนินการ สอนครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นให้นักเรียนพร้อมที่จะเรียนเสียก่อน โดยมีการนำเข้าสู่บทเรียนทุกครั้ง ควรมีการมอบหมายงานกิจกรรม แบบฝึกหัด และการบ้านให้นักเรียนได้ฝึกหัดกระทำเพื่อให้บรรลุตามหลักสูตร ที่ว่าให้คิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น ใช้หลักการ การให้รางวัลและการลงโทษเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ทฤษฎีเชื่อมโยงของกัทธรี (Guthrie’s Contiguity Theory) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่าการ เรียนรู้เกิดจากการกระทำ คือมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองที่เข้าคู่กันได้ในลักษณะที่มีการ กระทำหรือสัมผัสไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง ก็เกิดการเรียนรู้ได้ ดังนั้นการนำความรู้จากทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้ ก่อนดำเนินการสอนของครูจะต้องจูงใจให้นักเรียนตั้งใจเรียนและมีความสนใจที่จะเรียน ดำเนินการสอนตามเนื้อหาสาระหู้เด่นชัดเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดี ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการกระทำ และ ก่อนจบบทเรียนควรให้นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนให้ถูกต้อง ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มี หลักการเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรง การเสริมแรงเป็นการให้รางวัลเพื่อก่อให้เกิดการลดแรงขับหรือลดความ ต้องการลง ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนควรนำทฤษฎีนี้ไปใช้โดยพยายามจัดการศึกษาโดยคำนึงถึง ความต้องการและสนองความต้องการของผู้เรียน พยายามสร้างแรงเสริมทุกขั้นตอนของบทเรียน จัดการเรียนการ สอนจากง่ายไปหายาก จัดคาบเรียนให้พอเหมาะแก่วัยของผู้เรียนและเปลี่ยนกิจกรรมการสอนเมื่อพบว่าผู้เรียน เหนื่อยหล้าหรือง่วงนอน 2) กลุ่มทฤษฎีการวางเงื่อนไข ได้แก่ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิค ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการ กระทำ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิค (Classic Conditioning Theory) ซึ่ง Ivan P.Pavlov นักจิตวิทยา ชาวรัสเซีย กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่อินทรีย์ได้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลาย ๆ ชนิด โดยที่การตอบสนอง อย่างเดียวกันอาจมาจากสิ่งเร้าต่างชนิดกันได้หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ การนำทฤษฎีนี้ไปใช้ในการ เรียนการสอนควรปฏิบัติดังนี้ ครูต้องสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนอันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี ครูวางตัว


ให้นักเรียนศรัทธาและรักเพื่อจะได้รักวิชาที่ครูสอนด้วย ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน ครูสร้าง ความเป็นกันเองกับนักเรียนและให้ความอบอุ่นแก่นักเรียน ครูจัดหาและใช้สื่อการสอนที่ดีเพื่อการเรียนรู้ที่มี คุณภาพ ครูใช้หลักการลบพฤติกรรมที่ไม่ดีในตัวนักเรียน ไม่ให้ความสนใจในพฤติกรรมที่ไม่ดีที่สุดพฤติกรรม ดังกล่าวจะหายไป ครูนำกฎพฤติกรรมการจำแนกมาใช้ คือให้นักเรียนได้ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว จะได้ เรียนรู้เหมือนเดิม ครูนำกฎพฤติกรรมการจำแนกมาใช้ คือให้นักเรียนได้รู้จักวิธีการจำแนกหรือวิเคราะห์บุคคล วัตถุ สิ่งของ ทั้งในด้านดีและด้านไม่ดี ครูใช้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบในการเปลี่ยนเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาต่าง ๆ ของนักเรียน ทฤษฎีของการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) Burrhus F.Skimmer นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีหลักการว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้มีการกระทำแล้วได้รับการเสริมแรง ซึ่งนำ ความรู้จากทฤษฎีไปใช้ในการสอนโดย สร้างนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อการสร้างคุณภาพแห่งชีวิต ลบนิสัยที่ไม่ดีออก จากตัวนักเรียนโดยวิธีการปรับพฤติกรรมปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่นักเรียน ให้การสริมแรงแก่นักเรียนที่กระทำ ความดี และจัดประกวดเด็กดีในด้านต่าง ๆ และให้รางวัลตามความเหมาะสม 3) กลุ่มทฤษฎีสนาม ได้แก่ ทฤษฎีสนาม ทฤษฎีการเรียนรู้ของเลวิน และทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้ เครื่องหมายของทอลแมน ทฤษฎีสนาม (Field Theory) Wolfgang Kohter และคณะ นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน กล่าวว่า ในการ เรียนรู้หรือในการแก้ปัญหาบุคคลจะพิจารณาสิ่งเร้าหรือโครงสร้างของปัญหาโดยส่วนร่วมทุกแง่ทุกมุมเสียก่อน จากนั้นจะแยกเป็นส่วนย่อย ๆ เหล่านั้นจนในที่สุดจะเกิดความคิดหรือเห็นช่องทางในการแก้ปัญหานั้นได้โดยฉับพลัน จะเกิดการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หรือเกิดการหยั่งเห็นหรือที่เรียกว่า พิปัสญาณ (Insigh) การนำ ทฤษฎีไปใช้ก่อนดำเนินการสอนควรชี้ให้เห็นถึงจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของบทเรียน อธิบายให้นักเรียนเห็น ภาพรวม ๆ หรือโครงสร้างของบทเรียนก่อนลงมือสอน แนะนำกิจกรรมที่นักเรียนควรฝึกปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจในบทเรียน สอนให้นักเรียนแก้ปัญหาด้วยตนเอง อันจะนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น ทฤษฎีการเรียนรู้ของเลวิน (Lewin’s Field Theory) Kurt Lewin นักเรียนจิตวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเข้าใจเดิมหรือเกิดจากการกระทำซ้ำ ๆ หรือได้มีการ แก้ปัญหาหรือมีการเปลี่ยนการจูงใจทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง การนำทฤษฎีไปใช้ ครูใช้วิธีการ กลุ่มสัมพันธ์เพื่อให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครูจะได้เกิดการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ครูจัดให้มีศูนย์การเรียนใน ห้องเรียน มุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ให้นักเรียนตั้งเป้าหมายของชีวิต เป้าหมายในแต่ละวิชาและในแต่ละบทเรียนเพื่อให้การเรียนและการดำเนินชีวิตมีเป้าหมายที่ชัดเจน ใช้วิธีการจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนตอบสนองอย่างเข้มข้นต่อบทเรียน ฝึกให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาในเกมง่าย ๆ หรือปัญหาง่าย ๆ และยากขึ้นตามลำดับ


ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน (Tolman’s Learning Theory) Edward C. Tolman นักจิตวิทยา ชาวอเมริกัน มีหลักว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เป็น แนวทางนำไปสู่เป้าหมายทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ การนำทฤษฎีไปใช้ การจัดการเรียนการสอนให้ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูดและแสดงความคิดเห็นเพื่อส่งเสริมความคิดเป็น จัดแบ่ง นักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือศูนย์การเรียน มอบงานหรือจัดกิจกรรมให้ทุกกลุ่มได้กระทำ ให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนได้อภิปรายในชั้นเรียน หรือใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครู กับเพื่อน ๆ เพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น 1.1 ผลจากการเรียนรู้ (Learning Outcomes) เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในบทเรียนที่ครูสอนแล้วจะทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ ดังนี้ ( ชูชีพ อ่อนโคกสูง, 2560) 1.1.1 เกิดการรับรู้ (Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการซึ่งสมองตีความหรือแปลความหมาย ข้อมูลที่ได้จากการสัมผัสของร่างกายหรือของประสาทสัมผัสต่าง ๆ กับสิ่งแวดล้อมทำให้เราทราบว่าสิ่งเร้าหรือ สิ่งแวดล้อมที่เราสัมผัสนั้นเป็นอะไรมีความหมายอย่างไร มีลักษณะอย่างไร 1.1.2 เกิดมโนคติ (Concept) เป็นผลมาจากการรับรู้ ความจำจินตนาการและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ทั้งภายนอกและภายในตัวบุคคล มโนคติจะเกิดขึ้นเมื่อมีการประสมประสานกันระหว่างการแยกแยะ การย่นย่อ และการสรุปรวบยอด ในระหว่างที่มีการสัมผัส การทำงานของกล้ามเนื้อ การตั้งคำถาม การอ่านและการ แก้ปัญหา 1.1.3 เจตคติ (Attitudes) เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคลซึ่งเป็นความพร้อมที่ จะตอบสนอง หรือแสดงความรู้สึกต่อวัตถุ สิ่งของ คน มโนคติอื่น ๆ ตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ ความรู้สึกหรือ การตอบสนอง ดังกล่าว อาจเป็นไปในทางที่ชอบหรือไม่ชอบก็ได้ 1.1.4 เกิดการคิด (Thinking) การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมองซึ่งเป็นกระบวนการที่ภาพ หรือสัญลักษณ์ของสิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ มาปรากฏในแนวคิดหรือจิตใจเรา 1.1.5 เกิดการแก้ปัญหา (Problem Solving) เมื่อบุคคลมีเป้าหมาย แต่มีอุปสรรคขัดขวาง ไม่ให้ไปถึงหรือไม่ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการที่จะเกิดปัญหาขึ้นดังนั้น บุคคลจะพยายามขจัดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้หมด ไปเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ


1.2 การรับรู้ของสมอง วารินทร์ รัศมีพรหม (2557) กล่าวถึงการวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ของสมองต่อสื่อหรือสารด้านภาพและ เสียงว่า พบลักษณะทั่วไปของสมองมนุษย์โดยทำการทดลองให้คนหลายคนดูสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ และวัด ปฏิกิริยาตอบสนองของสมองคนแต่ละคนในการดูภาพโฆษณานั้น ผลปรากฏว่า สมองด้านซ้ายจะมีปฏิกิริยา มากกว่าด้านขวา ในขณะที่ดูสื่อโฆษณาที่ไม่ค่อยจะดีนัก แสดงว่าสื่อโฆษณามรผลต่อสมองด้านซ้ายนั่นเอง ไสว เลี่ยมแก้ว (2558) กล่าวว่า ในปัจจุบันมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของสมองมนุษย์ พบว่า สมองมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งแต่ละซีกทำหน้าที่ในการคิดที่แตกต่างกัน กล่าวคือสมองซีกซ้ายมีความสามารถทางภาษาและมีหน้าที่ในการคิดเชิงวิเคราะห์ คือ จะศึกษาส่วนย่อยต่าง ๆ ที่ ประกอบขึ้นเป็นส่วนรวมทั้งหมดซึ่งกระบวนการคิดของสมองซีกซ้ายเป็นทีละขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง และ วิเคราะห์ออกจากแนวเส้นตรง มีลักษณะตรงไปตรงมา ส่วนสมองซีกขวา จะมีความเชี่ยวชาญในการมองภาพรวม ทั้งหมดกล่าวคือ ดึงเอาส่วนย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อประกอบเป็นส่วนรวม ดังนั้น สมองซีกขวาจึงมีหน้าที่ในการ สร้างโครงร่าง โดยการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างซึ่งลักษณะการ ทำงานหรือการคิดของสมองซีกขวาจะทำการวิเคราะห์ทุกจุดพร้อมกันหรือคู่ขนานกันไป ไม่แยกศึกษาเป็นส่วน ๆ เหมือนสมองซีกซ้าย ดังนั้นสมองซีกขวาจึงมีประสิทธิภาพสูงในการมองเห็น (Visual) และการกะระยะในการสร้าง ภาพรวม (Spatial) แต่มีความสามารถจำกัดด้านภาษาอาจกล่าวได้ว่าสมองซีกขวามีลักษณะในการควบคุมเกี่ยวกับ ภาพ การมองเห็น ความกลมกลืน ช่องว่าง และความสมดุล มีการสังเคราะห์การเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ การมีสามัญสำนึก และมีความคิดแบบตะวันออก ดังนั้น สรุปผลเกี่ยวกับการตอบสนองของสมองทั้งสองส่วน สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำ แผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนทำให้การรับรู้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ (2558) ให้ความหมายว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การ จัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และสามารถถ่ายโอนความรู้ นำความรู้ ไปใช้ได้จัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและศักยภาพของผู้เรียนเน้นการผสมผสานสาระการเรียนรู้ หรือ เน้นการบูรณาการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้หลากหลายด้านตลอดจนมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ทักษะ กระบวนการที่ผู้เรียนใช้ในการสร้างความรู้นั้น คือ 1) กระบวนการทางปัญญา คือ การคิดและกระบวนการ 2) กระบวนการทางสังคม คือ กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นทีมมีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวทางกาย ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนควรต้องมีการส่งเสริมจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 24 ข้อ 5 หมวด 4 แนวการจัด


การศึกษา ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นวิธีที่จะ ช่วยให้การพัฒนาคนไทยมีลักษณะของคนยุคใหม่ หรือยุคปฏิรูปการศึกษา คือ เป็นคนไทยที่รู้เท่าก้าวทันโลก ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันคน รู้วิธีการเรียนรู้ รู้วิธีการคิด คือ คิดเป็น รู้วิธีการวิจัยและพัฒนา เป็นคนดีมี คุณภาพ รู้เรา รู้เขา เป็นคนดี เก่ง มีสุข ตามเป้าหมายที่คาดหวัง แต่ได้พบว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ นั้นมีปัจจัยที่ผู้สอนพึงตระหนัก คือบรรยากาศทางกายภาพและบรรยากาศทางจิตใจและสิ่งที่เป็นปัจจัย สำคัญ คือ ผู้สอนเองควรต้องมีทักษะที่จำเป็น 4 ประการ เพื่อจะเป็นแบบของการพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มี ลักษณะดังกล่าวข้างต้นที่พึงประสงค์ ทักษะจำเป็น 4 ประการ คือ 1) ทักษะความสามารถในการรู้จักตนเอง หรือรู้เรา คือ ความสามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเองเพื่อเป็นแนวทางสู่การพัฒนาวินัยตนเอง การควบคุมตนเอง และเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ 2) ทักษะความสามารถเข้าใจผู้อื่นหรือรู้เขา คือ ความสามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความสุข สามารถสื่อสารเข้าใจ ร่วมมือร่วมใจทำงานกับคนอื่นได้ แสดงความคิดเห็น รับฟัง ความคิดเห็นผู้อื่นตลอดจนเห็นใจผู้อื่น 3) ทักษะความมีระบบและความสามารถปรับตัวได้ คือ ความสามารถที่จะ ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยการมีความรับผิดชอบ ความสามารถปรับตนได้ ความยืดหยุ่นต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ และ 4) ทักษะความสามารถในการตัดสินใจ คือ ความสามารถทางปัญญาที่ใช้ในการประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างฉลาดและรอบคอบ มีค่านิยมต่อตนเองและต่อสังคม พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ (2559) กล่าวว่า หลักการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน เป็นการจัดเพื่อรองรับ กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในด้านต่อไปนี้ 1) ด้านหลักสูตร ในเรื่องเกี่ยวกับหลักสูตรนั้นต้องมีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตรให้ได้ผลผลิต คือ ผู้เรียนมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1) เป็นผู้มีคุณภาพ (Quality) คือ มีความดี มีจริยธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี ด้วยการเป็นผู้ มี คุณธรรมประจำ มีระเบียบวินัยในตนเอง รักษาระเบียบประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นสมบัติประจำชาติ มี ค่านิยม สังคม ตลอดจนรักชาติเป็นจิตสำนึก 1.2) เป็นผู้มีสมรรถภาพ (Competency) คือ มีความเก่งในความคิด วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์ ทำงานกอปรด้วยความคิดริเริ่ม เก่งในการใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากล เก่งใน การใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย 1.3) เป็นผู้มีสุขภาพดี (Healthy) คือ มีสุขภาพดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต การเป็นผู้มี สุขภาพดี คือมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากสุขภาพกายดีต้องเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี คือ ร่าเริง แจ่มใส มั่นใจ ไม่เครียด มีอัตมโนทัศน์ คือเป็นผู้รู้จักตัวเองและเห็นคุณค่าในชีวิตของตนเอง


2) ด้านการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องเน้นให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์ แก้ปัญหาเป็น มีความตระหนัก มีจิตสำนึก และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใน ชีวิตประจำวัน และชีวิตการทำงานได้ เป็นผู้มีความสามารถแก้ปัญหาได้ดีเพื่อสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข แนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวคิดจากปรัชญาคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จาก ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมเป็นปรัชญาที่มีข้อสันนิษฐานว่า ความรู้ไม่ สามารถแยกจากความอยากรู้ ความรู้ได้มาจากการสร้างเพื่ออธิบาย แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เน้นให้ผู้เรียนสร้าง ความรู้ โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) ของผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้ โดยจัดสถานการณ์ให้ ผู้เรียนเกิดการขัดแย้งทางปัญญาหรือเกิดสภาวะไม่สมดุล (Unequilibrium) ขึ้นซึ่งเป็นสภาวะที่ประสบการณ์ใหม่ ไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ผู้เรียนต้องพยายามปรับข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมแล้วสร้างเป็น ความรู้ใหม่ 2.1 ตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ (2557) กล่าวว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอน สามารถใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลาย ๆ วิธีในการจัดการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง ๆ ดังเช่น วิธีการอภิปราย การค้นพบ การสืบสวนแบบแนะนำ วิธีอริยสัจสี่ กรณีศึกษา ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น การใช้สถานการณ์จำลอง การเชื่อมโยงมโนมติ วิธีกลุ่มสัมพันธ์ การเรียน แบบร่วมมือ เป็นต้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีตัวบ่งชี้ที่จะใช้เป็นแนวทางในการประเมินได้ว่าได้ มีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ โดยประเมินจากผู้สอนเมื่อเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และเมื่อ นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในห้องเรียน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ยังมีระดับจากต่ำสุดไปหา สูงสุด เกณฑ์ที่ใช้ประเมินคือ สังเกตว่าผู้เรียนมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมสร้าง ความรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริงจากสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนจะมีบทบาทมากที่สุด แต่ผู้สอนจะมี บทบาทน้อยลง ในทางตรงข้ามถ้าผู้สอนมีบทบาทกำหนดหัวเรื่องกิจกรรม รวมทั้งสื่อเพื่อจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างความรู้เองในลักษณะนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจมีบทบาทเท่า ๆ กัน ซึ่งก็ยังจัดเป็นการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเช่นกัน แต่อยู่ในระดับปานกลาง เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจึงอาจเริ่มต้นฝึกให้ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทในการเรียนรู้จากระดับน้อยจนมากขึ้น ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ผู้สอนมีบทบาทในการสอนน้อยลงตามลำดับไปด้วย ตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยพิจารณาทั้งผู้สอนและผู้เรียน มีดังต่อไปนี้


2.1.1 เมื่อพิจารณาผู้สอน ได้แก่ 1. ผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่เอง 2. ผู้สอนให้ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการ คือ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มและสร้าง ความรู้ด้วยตนเอง 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน คือมีส่วนร่วมทั้งด้านปัญญา กาย อารมณ์ และ สังคม รวมทั้งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทั้งสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต เช่น หนังสือ สถานที่ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ เป็น ต้น 4. ผู้สอนสร้างบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งบรรยากาศทางกายภาพ และจิตใจ เพื่อให้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข 5. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลทั้งทักษะกระบวนการ ขีดความสามารถศักยภาพของผู้เรียน และผลผลิตจากการเรียนรู้ซึ่งเป็นการประเมินตามสภาพจริง 6. ผู้สอนพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7. ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก คือ เป็นผู้จัดประสบการณ์รวมทั้งสื่อการ จัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง คือ ผู้สอนที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก นั้นมีบทบาทดังนี้ เป็นผู้นำเสนอ เป็นผู้สังเกต เป็นผู้ถาม เป็นผู้ให้การเสริมแรง เป็นผู้แนะนำ เป็นผู้สะท้อน ความคิด เป็นผู้จัดบรรยากาศ เป็นผู้จัดระเบียบ เป็นผู้แนะแนว เป็นผู้ประเมิน เป็นผู้ให้คำชื่นชม และเป็นผู้ กำกับ 2.1.2 เมื่อพิจารณาผู้เรียน ได้แก่ 1. ผู้เรียนสร้างความรู้ รวมทั้งสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้วยตนเอง 2. ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการ คือ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม และสร้างความรู้ด้วย ตนเอง 3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และมีปฏิสัมพันธ์ 4. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข 5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ ดังนั้น จากแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญของแนวคิดนี้ โดยสามารถนำแนวคิดมาจัดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนให้


บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร และนอกจากนี้ผู้สอนยังสามารถพัฒนาวิชาชีพของตนเองโดยการพัฒนาการจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นที่ตัวของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาให้ยั่งยืนต่อไป 3. แบบฝึกทักษะ 3.1 ความหมายและความสำคัญของแบบฝึกทักษะ สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2557 : 53-57) ได้สรุปความสำคัญของการใช้แบบฝึก ทักษะว่าแบบฝึกทักษะมีความสำคัญต่อผู้เรียนไม่น้อย ในการที่จะช่วยส่งเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้และเข้าใจได้เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้นทำให้การสอนของครูและการเรียนของนักเรียนประสบ ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ไพทูลย์ มูลดี (2557 : 48) ได้สรุปความหมายของแบบฝึกทักษะ คือชุดฝึกการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น ให้นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนรู้มาแล้วเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และช่วยเพิ่มทักษะความชำนาญและฝึก กระบวนการคิดให้มากขึ้น ทั้งยังมีประโยชน์ในการลดภาระการสอนให้กับครู อีกทั้งพัฒนาความสามารถของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นความก้าวหน้าจากผลการเรียนรู้ของตนเองได้ คมขำ แสนกล้า (2557 : 32) ได้สรุปความสำคัญของแบบฝึกว่า แบบฝึกทักษะเป็นส่วนสำคัญใน การเรียนการสอน เพราะถ้าขาดแบบฝึกทักษะเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะความรู้ต่างๆ หลังจากเรียนไปแล้ว เด็กก็ อาจจะลืมเลือนความรู้ที่เรียนไปได้ ซึ่งอาจส่งผลให้นักเรียนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ฐานิยา อมรพลัง (2558 : 75) ได้สรุปถึงความหมายของแบบฝึกทักษะ คือ งานกิจกรรมหรือ ประสบการณ์ที่ครูจัดให้นักเรียนได้ฝึกหัดกระทำ เพื่อทบทวนฝึกฝนเนื้อหาความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนไปแล้วให้เกิด ความจำ จนสามารถปฏิบัติได้ด้วยความชำนาญ และให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ วรรณภา ไชยวรรณ (2559 : 40) ได้สรุปความหมายและความสำคัญของแบบฝึกได้ว่า แบบฝึก คือ แบบฝึกหัด หรือชุดฝึกที่ครูจัดให้นักเรียน เพื่อให้มีทักษะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องนั้นๆ มาบ้างแล้ว โดย แบบฝึกต้องมีทิศทางตรงตามจุดประสงค์ ประกอบกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุกสนาน อกนิษฐ์ กรไกร (2559 : 18-21) ได้สรุปความหมายของแบบฝึกทักษะไว้ว่า แบบฝึกทักษะหมายถึง สื่อที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะให้แก่นักเรียน มีลักษณะเป็นแบบฝึกหัดที่มีกิจกรรมให้นักเรียนทำโดยมีการ ทบทวนสิ่งที่เรียนผ่านมาแล้วจากบทเรียน ให้เกิดความเข้าใจและเป็นการฝึกทักษะ และแก้ไขในจุดบกพร่องเพื่อให้ นักเรียนได้มีความสามารถและศักยภาพยิ่งขึ้นเข้าใจบทเรียนดีขึ้น


พินิจ จันทร์ซ้าย (2559 : 90) กล่าวถึงแบบฝึกทักษะว่า หมายถึง งาน กิจกรรม หรือประสบการณ์ ที่ครูผู้สอนจัดให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถฝึกฝนด้วยตนเองได้ ผู้รายงานได้ศึกษาความหมายและความสำคัญของแบบฝึกทักษะแล้วพอสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะ หมายถึง ชุดฝึกทักษะที่ครูสร้างขึ้นให้นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนรู้มาแล้วเพื่อสร้างความเข้าใจ และช่วยเพิ่ม ทักษะความชำนาญและฝึกกระบวนการคิดให้มากขึ้น ทำให้ครูทราบความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน ฝึกให้ เด็กมีความเชื่อมั่นและสามารถประเมินผลของตนเองได้ ทั้งยังมีประโยชน์ช่วยลดภาระการสอนของครู และยังช่วย พัฒนาตามความแตกต่าง 3.2 ลักษณะของแบบฝึกที่ดี แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียน การสร้างแบบฝึกให้มี ประสิทธิภาพจึงจำเป็นจะต้องศึกษาองค์ประกอบและลักษณะของแบบฝึก เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับระดับ ความสามารถของนักเรียน สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2560 : 60 -61) ได้สรุปลักษณะของแบบฝึกที่ดีควร คำนึงถึงหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ความครอบคลุม ความสอดคล้องกับเนื้อหา รูปแบบ น่าสนใจ และคำสั่งชัดเจน และได้สรุปลักษณะของแบบฝึกไว้ดังนี้ 1. ใช้หลักจิตวิทยา 2. สำนวนดนตรี 3. ให้ความหมายต่อชีวิต 4. คิดได้เร็วและสนุก 5. ปลุกความน่าสนใจ 6. เหมาะสมกับวัยและความสามารถ 7. อาจศึกษาได้ด้วยตนเอง และได้แนะนำให้ผู้สร้างแบบฝึกให้ยึดลักษณะของแบบฝึกไว้ดังนี้ 1. แบบฝึกหัดที่ดีควรมีความชัดเจนทั้งคำสั่งและวิธีทำคำสั่งหรือตัวอย่างวิธีทำที่ใช้ไม่ควร ยาวเกินไป เพราะจะทำให้เข้าใจยาก ควรปรับให้ง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเอง ได้ถ้าต้องการ


2. แบบฝึกหัดที่ดีควรมีความหมายต่อผู้เรียนและตรงตามจุดมุ่งหมายของการฝึกลงทุน น้อยใช้ได้นานๆ และทันสมัยอยู่เสมอ 3. ภาษาและภาพที่ใช้ในแบบฝึกหัดควรเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน 4. แบบฝึกหัดที่ดีควรแยกฝึกเป็นเรื่องๆ แต่ละเรื่องไม่ควรยาวเกินไปแต่ควรมีกิจกรรม หลายรูปแบบ เพื่อเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจและไม่น่าเบื่อหน่ายในการทำ และเพื่อฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งจนเกิด ความชำนาญ 5. แบบฝึกหัดที่ดีควรมีทั้งแบบกำหนดให้โดยเสรี การเลือกใช้คำ ข้อความหรือรูปภาพใน แบบฝึกหัด ควรเป็นสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคยและตรงกับความในใจของนักเรียนเพื่อว่าแบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นจะได้ ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและพอใจแก่ผู้ใช้ ซึ่งตรงกับหลักการเรียนรู้ได้เร็วในการกระทำที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ 6. แบบฝึกหัดที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ศึกษาด้วยตนเองให้รู้จักค้นคว้ารวบรวมสิ่งที่ พบเห็นบ่อยๆ หรือที่ตนเองเคยใช้จะทำให้นักเรียนสนใจเรื่องนั้นๆ มากยิ่งขึ้นและจะรู้จักความรู้ในชีวิตประจำวัน อย่างถูกต้อง มีหลักเกณฑ์และมองเห็นว่าสิ่งที่เขาได้ฝึกฝนนั้นมีความหมายต่อเขาตลอดไป 7. แบบฝึกหัดที่ดีควรจะสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความ แตกต่างกันหลายๆด้าน เช่น ความต้องการ ความสนใจ ความพร้อม ระดับสติปัญญาและประสบการณ์ ฯลฯ ฉะนั้น การทำแบบฝึกหัดแต่ละเรื่อง ควรจัดทำให้มากพอและมีทุกระดับ ตั้งแต่ง่าย ปานกลาง จนถึงระดับค่อนข้างยาก เพื่อว่าทั้งเด็กเก่ง กลาง และอ่อนจะได้เลือกทำได้ตามความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กทุกคนประสบความสำเร็จ ในการ ทำแบบฝึกหัด 8. แบบฝึกหัดที่ดีควรสามารถเร้าความสนใจของนักเรียนได้ตั้งแต่หน้าปกไปจนถึงหน้า สุดท้าย 9. แบบฝึกหัดที่ดีควรได้รับการปรับปรุงไปคู่กับหนังสือแบบเรียนอยู่เสมอและควรใช้ได้ดี ทั้งในและนอกบทเรียน 10. แบบฝึกหัดที่ดีควรเป็นแบบที่สามารถประเมิน และจำแนกความเจริญงอกงามของเด็ก ได้ด้วย ฐานิยา อมรพลัง (2558 : 78) ได้เสนอลักษณะที่ดีของแบบฝึก คือ แบบฝึกที่เรียงลำดับจากง่าย ไปหายาก มีรูปภาพประกอบ มีรูปแบบน่าสนใจ หลากหลายรูปแบบ โดยอาศัยหลักจิตวิทยาในการจัดกิจกรรมหรือ จัดแบบฝึกให้สนุก ใช้ภาษาเหมาะสมกับวัย และ ระดับชั้นของนักเรียน มีคำสั่ง คำชี้แจงสั้น ชัดเจน เข้าใจง่าย มี ตัวอย่างประกอบ มีการจัดกิจกรรม การฝึกที่เร้าความสนใจ และแบบฝึกนั้นควรทันสมัยอยู่เสมอ


วรรณภา ไชยวรรณ (2558 : 43) ได้อธิบายถึงลักษณะของแบบฝึกที่ดี คือ ควรมีความ หลากหลายรูปแบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย และต้องมีลักษณะที่เร้า ยั่วยุ จูงใจ ได้ให้คิดพิจารณา ได้ศึกษา ค้นคว้าจนเกิดความรู้ ความเข้าใจทักษะ แบบฝึกควรมีภาพดึงดูดความสนใจเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนตรงกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ มีเนื้อหาพอเหมาะ ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ (2558 : 20) ได้อธิบายถึงลักษณะของแบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ ที่ดีไว้ว่า ดังนี้ 1. จุดประสงค์ 1.1 จุดประสงค์ชัดเจน 1.2 สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะตามสาระการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2. เนื้อหา 2.1 ถูกต้องตามหลักวิชา 2.2 ใช้ภาษาเหมาะสม 2.3 มีคำอธิบายและคำสั่งที่ชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติตาม 2.4 สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ นำผู้เรียนสู่การสรุปความคิดรวบยอดและ หลักการสำคัญของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2.5 เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการเรียนรู้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ และความ แตกต่างระหว่างบุคคล 2.6 มีคำถามและกิจกรรมที่ท้าทายส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ของ ธรรมชาติวิชา 2.7 มีกลยุทธ์การนำเสนอและการตั้งคำถามที่ชัดเจน น่าสนใจปฏิบัติได้สามารถ ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ผู้รายงานพอสรุปลักษณะของแบบฝึกที่ดีได้ว่า แบบฝึกที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้นักเรียนประสบ ความสำเร็จในการฝึกทักษะได้เป็นอย่างดี และแบบฝึกที่ดีเปรียบเสมือนผู้ช่วยที่สำคัญของครู ทำให้ครูลดภาระการ สอนลงได้ ทำให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถของตนเพื่อความมั่นใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูยังจำเป็นต้อง ศึกษาเทคนิควิธีการ ขั้นตอนในการฝึกทักษะต่างๆ มีประสิทธิภาพที่สุด อันส่งผลให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะต่างๆ


ได้อย่างเต็มที่และแบบฝึกที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆด้าน ตรงตามเนื้อหา เหมาะสมกับวัย เวลา ความสามารถ ความสนใจ และสภาพปัญหาของผู้เรียน 3.3 ประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ ยุพา ยิ้มพงษ์ (อ้างใน สุนันทา สุนทรประเสริฐ, 2558, หน้า 3) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกไว้หลายข้อ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้ 1. เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระครูได้มาก เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบและมีระเบียบ 2. ช่วยเสริมทักษะแบบฝึกหัดเป็นเครื่องมือที่ช่วยเด็กในการฝึกทักษะ แต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยการส่งเสริมและ ความเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย 3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กมีความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน การ ให้เด็กทำแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับความสามารถของเขา จะช่วยให้เด็กประสบผลสำเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น ดังนั้นแบบฝึกหัดจึงไม่ใช่สมุดฝึกที่ครูจะให้เด็กลงมือทำหน้าต่อหน้า แต่เป็นแหล่งประสบการณ์เฉพาะสำหรับเด็กที่ ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ และเป็นเครื่องมือช่วยที่มีค่าของครูที่จะสนองความต้องการเป็นรายบุคคลในชั้นเรียน 4. แบบฝึกช่วยเสริมทักษะให้คงทน ลักษณะการฝึกเพื่อช่วยให้เกิดผลดังกล่าวนั้น ได้แก่ฝึกทันทีหลังจากที่ เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เน้นเฉพาะในเรื่องที่ผิด โดยสรุป แบบฝึกที่ดีและมีประสิทธิภาพ จะช่วยทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จใน การฝึกทักษะได้เป็น อย่างดี แบบฝึกที่ดีเปรียบเสมือนผู้ช่วยที่ดีของครู ทำให้ครูลดภาระการสอนลงทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ อย่างเต็มที่และเพิ่มความมั่นใจในการเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งแบบฝึกจะช่วยในเรื่องของความแตกต่างระหว่าง บุคคลโดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องมีการสอนต่างจากกลุ่มเด็กปกติทั่วไป หรือเสริมเพิ่มเติมให้ เป็นพิเศษ ฉะนั้นแบบฝึกจึงมีประโยชน์มากสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิด ทักษะทางภาษาได้มากขึ้น ไพทูลย์ มูลดี (2559 : 52) ได้อธิบายประโยชน์ของแบบฝึกไว้ดังนี้ คือ แบบฝึกมีความสำคัญ และจำเป็น ต่อการเรียนทักษะทางภาษามาก เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้ดีขึ้นสามารถจดจำเนื้อหาในบทเรียน และคำศัพท์ต่างๆ ได้คงทน ทำให้เกิดความสนุกสนานในขณะเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเอง สามารถนำแบบ ฝึกมาทบทวนเนื้อหาเดิมด้วยตนเองได้ นำมาวัดผลการเรียนหลังจากที่เรียนแล้ว ตลอดจนสามารถทราบข้อบกพร่อง ของนักเรียนและนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งจะมีผลทำให้ครูประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและลดภาระได้มาก และยังให้นักเรียนนำภาษาไปใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย


วรรณภา ไชยวรรณ (2559 : 41) ได้อธิบายถึงประโยชน์ของแบบฝึกทักษะไว้ว่า แบบฝึกช่วย ในการฝึกหรือเสริมทักษะทางภาษา การใช้ภาษาของนักเรียนสามารถนำมาฝึกซ้ำทบทวนบทเรียน และผู้เรียน สามารถนำไปทบทวนด้วยตนเอง จดจำเนื้อหาได้คงทน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนดนตรีแบบฝึกถือเป็นอุปกรณ์การ สอนอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทดสอบความรู้ วัดผลการเรียนหรือประเมินผลการเรียนก่อนและหลังเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ครูทราบปัญหาข้อบกพร่องของผู้เรียนเฉพาะจุดได้ นักเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเอง ครูประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและลดภาระได้มาก ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ (2560 : 21) ได้อธิบายถึงประโยชน์ของแบบฝึกหัดและแบบฝึก ทักษะเป็นสื่อการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหา และการพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ได้ โดยสรุปได้ดังนี้ 1. เป็นสื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 2. ผู้เรียนมีสื่อสำหรับฝึกทักษะด้านการอ่าน การคิด การคิดวิเคราะห์ และการเขียน 3. เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับการแก้ปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. พัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติด้านต่างๆ ของผู้เรียน จากประโยชน์ของแบบฝึกที่กล่าวมา สรุปได้ว่า แบบฝึกที่ดีและมีประสิทธิภาพช่วยทำให้นักเรียนประสบ ผลสำเร็จ ในการฝึกทักษะได้เป็นอย่างดี สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2560 : 53 - 54) ได้สรุปประโยชน์ของแบบฝึก ทักษะได้ดังนี้ 1. ทำให้เข้าใจบทเรียนดีขึ้น เพราะเป็นเครื่องอำนวยประโยชน์ในการเรียนรู้ 2. ทำให้ครูทราบความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน 3. ฝึกให้เด็กมีความเชื่อมั่นและสามารถประเมินผลของตนเองได้ 4. ฝึกให้เด็กทำงานตามลำพัง โดยมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย 5. ช่วยลดภาระครู 6. ช่วยให้เด็กฝึกฝนได้อย่างเต็มที่ 7. ช่วยพัฒนาตามความแตกต่างระหว่างบุคคล 8. ช่วยเสริมให้ทักษะคงทน ซึ่งลักษณะการฝึกเพื่อช่วยให้เกิดผลดังกล่าวนั้นได้แก่


8.1 ฝึกทันทีหลังจากที่เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ 8.2 ฝึกซ้ำหลายๆ ครั้งจนเข้าใจ 8.3 เน้นเฉพาะในเรื่องที่ผิด 9. เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากจบบทเรียนในแต่ละครั้ง 10. ใช้เป็นแนวทางเพื่อทบทวนด้วยตนเอง 11. ช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่างๆของเด็กได้ชัดเจน 12. ประหยัดค่าใช้จ่ายแรงงานและเวลาของครู ผู้รายงาน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์ของแบบฝึกทักษะแล้ว พอสรุปได้ว่าแบบฝึกมีความสำคัญ และ จำเป็นต่อการเรียนทักษะทางภาษามาก เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น สามารถจดจำเนื้อหาใน บทเรียนและคำศัพท์ต่างๆ ได้คงทน ทำให้เกิดความสนุกสนาน ในขณะเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเอง และครู มองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่างๆ ของเด็กได้ชัดเจน สามารถนำแบบฝึกทักษะมาทบทวนเนื้อหาเดิมด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถทราบข้อบกพร่องของนักเรียนและนำไปปรับปรุงได้ทันท่วงที ซึ่งจะมีผลทำให้ครูประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย 3.4 หลักการสร้างแบบฝึก วรรณภา ไชยวรรณ (2559 : 45) ได้สรุปหลักการสร้างแบบฝึกทักษะดังนี้ 1. ความใกล้ชิด คือ ถ้าใช้สิ่งเร้าและการตอบสนองเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันจะสร้าง ความพอใจให้กับผู้เรียน 2. การฝึก คือ การให้นักเรียนได้ทำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่แม่นยำ 3. กฎแห่งผล คือ การที่ผู้เรียนได้ทราบผลการทำงานของตนด้วยการเฉลยคำตอบจะช่วย ให้ผู้เรียนทราบข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขและเป็นการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียน 4. การจูงใจ คือ การสร้างแบบฝึกเรียงลำดับ จากแบบฝึกง่ายและสั้นไปสู่แบบฝึกเรื่องที่ ยากและยาวขึ้น ควรมีภาพประกอบและมีหลายรส หลายรูปแบบ สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2560 : 54 - 55) ได้สรุปหลักในการสร้างแบบฝึก ว่าต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนสามารถผ่านลำดับขั้นตอนของทุกหน่วยการเรียนได้ ถ้านักเรียน ได้เรียนตามอัตราการเรียนของตนก็จะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จมากขึ้น


3.5 ส่วนประกอบของแบบฝึก สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2560 : 61 - 62) ได้กำหนดส่วนประกอบของแบบ ฝึกทักษะได้ดังนี้ 1. คู่มือการใช้แบบฝึก เป็นเอกสารสำคัญประกอบการใช้แบบฝึก ว่าใช้เพื่ออะไรและมี วิธีใช้อย่างไร เช่น ใช้เป็นงานฝึกท้ายบทเรียน ใช้เป็นการบ้าน หรือใช้สอนซ่อมเสริมประกอบด้วย - ส่วนประกอบของแบบฝึก จะระบุว่าในแบบฝึกชุดนี้ มีแบบฝึกทั้งหมดกี่ชุด อะไรบ้าง และมีส่วนประกอบอื่นๆ หรือไม่ เช่น แบบทดสอบ หรือแบบบันทึกผลการประเมิน - สิ่งที่ครูหรือนักเรียนต้องเตรียม (ถ้ามี) จะเป็นการบอกให้ครูหรือนักเรียนเตรียม ตัวให้พร้อมล่วงหน้าก่อนเรียน - จุดประสงค์ในการใช้แบบฝึก - ขั้นตอนในการใช้ บอกข้อตามลำดับการใช้ และอาจเขียน ในรูปแบบของแนวการสอนหรือแผนการสอนจะชัดเจนยิ่งขึ้น - เฉลยแบบฝึกในแต่ละชุด 2. แบบฝึก เป็นสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนฝึกทักษะ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่ถาวรควรมีองค์ประกอบ ดังนี้ - ชื่อชุดฝึกในแต่ละชุดย่อย - จุดประสงค์ - คำสั่ง - ตัวอย่าง - ชุดฝึก - ภาพประกอบ - ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน - แบบประเมินบันทึกผลการใช้


3.6 รูปแบบการสร้างแบบฝึก สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2560 : 62 - 64) ได้เสนอแนะรูปแบบการสร้าง แบบฝึก โดยอธิบายว่าการสร้างแบบฝึกรูปแบบก็เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะจูงใจให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติแบบฝึกจึง ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย มิใช่ใช้แบบเดียวจะเกิดความจำเจน่าเบื่อหน่าย ไม่ท้าทายให้อยากรู้อยากลองจึงขอเสนอ รูปแบบที่เป็นหลักใหญ่ไว้ก่อน ส่วนผู้สร้างจะนำไปประยุกต์ใช้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบอื่นๆ ก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละ คน ซึ่งจะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้ 1. แบบถูกผิด เป็นแบบฝึกที่เป็นประโยคบอกเล่า ให้ผู้เรียนอ่านแล้วใส่เครื่องหมายถูกหรือ ผิดตามดุลยพินิจของผู้เรียน 2. แบบจับคู่ เป็นแบบฝึกที่ประกอบด้วยตัวคำถามหรือตัวปัญหา ซึ่งเป็นตัวยืนไว้ในสดมภ์ ซ้ายมือ โดยมีที่ว่างไว้หน้าข้อเพื่อให้ผู้เรียนเลือกหาคำตอบที่กำหนดไว้ในสดมภ์ขวามือมาจับคู่กับคำถามให้สอดคล้อง กัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัสคำตอบไปวางไว้ที่ว่างหน้าข้อความหรือจะใช้การโยงเส้นก็ได้ 3. แบบเติมคำหรือเติมข้อความ เป็นแบบฝึกที่มีข้อความไว้ให้ แต่จะเว้นช่องว่างไว้ให้ ผู้เรียนเติมคำหรือข้อความที่ขาดหายไป ซึ่งคำหรือข้อความที่นำมาเติมอาจให้เติมอย่างอิสระหรือกำหนดตัวเลือกให้ เติมก็ได้ 4. แบบหมายตัวเลือก เป็นแบบฝึกเชิงแบบทดสอบ โดยจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคำถาม ซึ่งจะต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ ชัดเจนไม่คลุมเครือ ส่วนที่ 2 เป็นตัวเลือก คือคำตอบซึ่งอาจจะมี 3-5 ตัวเลือกก็ได้ ตัวเลือกทั้งหมดจะมีตัวเลือกที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวส่วนที่เหลือเป็นตัวลวง 5. แบบอัตนัย คือความเรียงเป็นแบบฝึกที่ตัวคำถาม ผู้เรียนต้องเขียนบรรยายตอบอย่าง เสรีตามความรู้ความสามารถ โดยไม่จำกัดคำตอบ แต่กำจัดคำตอบ แต่จำกัดในเรื่องเวลา อาจใช้คำถามในรูปทั่วๆ ไป หรือเป็นคำสั่งให้เขียนเรื่องราวต่างๆ ก็ได้ 3.7 ขั้นตอนการสร้างแบบฝึก สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2560 : 65) ได้เสนอแนะ การสร้างแบบฝึกว่า ขั้นตอนการสร้างแบบฝึก จะคล้ายคลึงกับการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทอื่นๆ ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ 1. วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น - ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะทำการสอน


- ปัญหาการผ่านจุดประสงค์ของนักเรียน - ผลจากการสังเกตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ศึกษารายละเอียดในหลักสูตร เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์และกิจกรรม 3. พิจารณาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อ 1 โดยการสร้างแบบฝึก และเลือกเนื้อหา ในส่วนที่จะสร้างแบบฝึกนั้น ว่าจะทำเรื่องใดบ้าง กำหนดเป็นโครงเรื่องไว้ 4. ศึกษารูปแบบของการสร้างแบบฝึกจากเอกสารตัวอย่าง 5. ออกแบบชุดฝึกแต่ละชุดให้มีรูปแบบที่หลากหลายน่าสนใจ 6. ลงมือสร้างแบบฝึกในแต่ละชุด พร้อมทั้งข้อทดสอบก่อนและหลังเรียนให้สอดคล้องกับ เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ 7. ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ 8. นำไปทดลองใช้ แล้วบันทึกผลเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง 9. ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 10. นำไปใช้จริงและเผยแพร่ต่อไป ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ (2561 : 21) ได้อธิบายขั้นตอนการสร้างแบบฝึกทักษะ ดังนี้ 1. ศึกษาเนื้อหาสาระสำหรับการจัดทำแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะ 2. วิเคราะห์เนื้อหาสาระโดยละเอียดเพื่อกำหนดจุดประสงค์ในการจัดทำ 3. ออกแบบการจัดทำแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะตามจุดประสงค์ 4. สร้างแบบฝึกหัด และแบบฝึกทักษะและส่วนประกอบอื่นๆ เช่น 4.1 แบบทดสอบก่อนฝึก 4.2 บัตรคำสั่ง 4.3 ขั้นตอนกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ 4.4 แบบทดสอบหลังฝึก


5. นำแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6. ปรับปรุงพัฒนาให้สมบูรณ์ 3.8 แนวคิดหลักการที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึกทักษะ อกนิษฐ์ กรไกร (2559 : 17) ได้ดำเนินการสร้างแบบฝึกทักษะ ยึดหลักให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วย ตนเองตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในความคาดหวัง ต้องการให้เด็กที่ใช้แบบฝึกทักษะมีพฤติกรรม ดังนี้ 1. Active Responding ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง ไม่ว่าจะเป็นคิดในใจหรือแสดงออกมาด้วยการพูดหรือเขียน นักเรียนอาจเขียนรูปภาพเติมคำแต่งประโยค หรือหาคำตอบในใจ 2. Minimal Error ในการเรียนแต่ละครั้งเราหวังว่า นักเรียนจะตอบคำถามได้ถูกต้องเสมอ แต่ในกรณีที่นักเรียนตอบคำถามผิด นักเรียนควรมีโอกาสฝึกฝนและเรียนรู้ในสิ่งที่เขาทำผิดเพื่อไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง ต่อไป 3. Knowledge of Results เมื่อนักเรียนสามารถตอบถูกต้องเขาควรได้รับเสริมแรง ถ้า นักเรียนตอบผิดเขาควรได้รับการชี้แจง และให้โอกาสที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเช่นเดียวกับประสบการณ์ที่เป็น ความสำเร็จสำหรับมนุษย์แล้ว เพียงได้รู้ว่าทำอะไรสำเร็จก็ถือเป็นการเสริมแรงในตัวเอง 4. Small Step การเรียนจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ไปทีละน้อยด้วยตนเอง โดยให้ความรู้ตามลำดับขั้นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใคร่ครวญตามซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก แม้ ที่เรียนอ่อนก็จะสามารถเรียนได้ สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2558 : 54 - 55) ได้อธิบายแนวคิดและหลักการ สร้างแบบฝึกว่า การศึกษาในเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ผู้สร้างแบบฝึกมิควรละเลยเพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้น ได้ต้องขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ของจิตและพฤติกรรมที่ตอบสนองนานาประการ โดยอาศัยกระบวนการที่เหมาะสม และเป็นวิธีที่ดีที่สุด การศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้จากข้อมูลที่นักจิตวิทยาได้ทำการค้นพบ และทดลองไว้แล้ว สำหรับ การสร้างแบบฝึกในส่วนที่มีความสัมพันธ์กันดังนี้ 1. ทฤษฎีการลองถูกลองผิดของธอร์นไดค์ ซึ่งได้สรุปเป็นกฎเกณฑ์การเรียนรู้ 3 ประการ คือ 1.1 กฎความพร้อม หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะกระทำ 1.2 กฎผลที่ได้รับ หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะบุคคลกระทำซ้ำง่าย


1.3 กฎการฝึกหัด หมายถึง การฝึกหัดให้บุคคลทำกิจกรรมต่างๆ นั้น ผู้ฝึกจะต้อง ควบคุมและจัดสภาพการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของตนเอง บุคคลจะถูกกำหนดลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนั้น ผู้สร้างแบบฝึกจึงจะต้องกำหนดกิจกรรมตลอดจนคำสั่งต่างๆ ใบแบบฝึกให้ผู้ฝึกได้แสดง พฤติกรรมสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ผู้สร้างต้องการ 2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ ซึ่งมีความเชื่อว่า สามารถควบคุมบุคคลให้ทำตาม ความประสงค์หรือแนวทางที่กำหนดโดยไม่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกทางด้านจิตใจของบุคคลผู้นั้นว่าจะรู้สึกนึกคิด อย่างไร เขาจึงได้ทดลองและสรุปว่าบุคคลสามารถเรียนรู้ด้วยการกระทำโดยมีการเสริมแรงเป็นตัวการ เป็นบุคคล ตอบสนองการเร้าของสิ่งเร้าควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม สิ่งเร้านั้นจะรักษาระดับหรือเพิ่มการตอบสนองให้เข้ม ขึ้น 3. วิธีการสอนของกาเย่ ซึ่งมีความเห็นว่าการเรียนรู้มีลำดับขั้น และผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ เนื้อหาที่ง่ายไปหายาก การสร้างแบบฝึก จึงควรคำนึงถึงการฝึกตามลำดับจากง่ายไปหายาก 4. แนวคิดของบลูม ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกันผู้เรียน สามารถเรียนรู้เนื้อหาในหน่วยย่อยต่างๆ ได้โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ พบว่า Kahkone (2015) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการสอน โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบศึกษาราย กรณีเพื่อพัฒนาและประเมินผลตามแนว Constructivism เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน โดยอาศัยกรอบของ การสอนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร พบว่า สื่อการเรียนการสอนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนา และการ ประเมินผลการเรียนการสอนตามแนว Constructivism เนื่องจากนักเรียนมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนการ นำเสนอมโนมติที่ถูกต้องในรูปของเอกสาร การอ่าน และการฟังบรรยายนั้นยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า การให้นักเรียนได้เผชิญกับสถานการณ์จริง มีส่วนในกิจกรรมการเรียนการสอน ได้ ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจะช่วยให้สามารถเปลี่ยนมโนคติที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนได้ ถวัลย์ มาศจรัส (2557, หน้า 148-149) ได้ทำการศึกษาส่วนประกอบของแบบฝึกทักษะไว้ว่า ต้องมี จุดประสงค์ชัดเจนสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะตามสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มการเรียนรู้ ใน ส่วนของเนื้อหาต้องถูกต้องตามหลักวิชา ให้ภาษาเหมาะสม มีคำอธิบายและคำสั่งที่ชัดเจนง่ายต่อการปฏิบัติตาม สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ นำผู้เรียนสู่การสรุปความคิดรวบยอดและหลักการสำคัญของกลุ่มสาระการ เรียนรู้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการเรียนรู้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบุคคล มีคำถาม


และกิจกรรมที่ท้าทายส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ของธรรมชาติวิชามีกลยุทธ์การนำเสนอ และการตั้งคำถามที่ ชัดเจนน่าสนใจ ปฏิบัติได้ สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง สมวงษ์ แปลงประสพโชค (2558, หน้า 26) ได้ทำการศึกษาหลักการให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดไว้ดังนี้ แบบฝึกหัดและกิจกรรมควรเรียงจากง่ายไปยากหาคำตอบของแบบฝึกหัดบางข้อเพื่อให้นักเรียนตรวจสอบผลงาน และควรมีข้อแนะนำอธิบายสำหรับข้อที่ยาก ควรให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดในชั่วโมงเรียน จะได้จำแนกข้อยาก และมีโอกาสซักถาม หลีกเลี่ยงการให้แบบฝึกหัด ที่ซ้ำซากและกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร ควรสอดแทรก เกม ปริศนา และกิจกรรมทดลองที่น่าสนใจ ควรมีแบบฝึกหัดแบบปลายเปิดที่นักเรียนเลือกปัญหาด้วยตนเอง ควรอนุญาตให้ นักเรียนทำงานเป็นคู่หรือกลุ่มในบางโอกาส พยายามส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มและลดการลอกงานกัน ฉวีวรรณ กีรติกร (2558, หน้า 10) ได้ทำการศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาทักษะโดยใช้แบบฝึกทักษะ จะส่งผลถึงพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนคือ ช่วยในการปรับพฤติกรรมการเรียน ส่งเสริมความเข้าใจความชำนาญ การคิดในใจ และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้เร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ประทีป แสงเปี่ยมสุข (2559, หน้า 34) ได้ทำการศึกษาประโยชน์ของแบบฝึกไว้เช่นกันคือแบบฝึกเป็น อุปกรณ์ช่วยลดภาระของครู ช่วยให้ครูมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะใน การใช้ภาษาให้ดีขึ้น ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในทางจิตใจมากขึ้น ช่วยเสริมทักษะทางภาษาให้คงทน เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว ช่วยให้นักเรียน สามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ช่วยให้นักเรียนฝึกฝนได้เต็มที่ นอกเหนือจากที่เรียนในเวลาเรียนและช่วยให้ ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเองด้วย ยุพิน พิพิธกุล (2560, หน้า 13) ได้ทำการศึกษาข้อควรคำนึงในการทำแบบฝึกว่า การฝึกจะให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรจะฝึกไปทีละเรื่อง เมื่อจบบทเรียนหนึ่ง และเมื่อเรียนได้หลายบท ก็ ควรจะฝึกรวบยอดอีกครั้ง ควรจะมีการตรวจสอบแบบฝึกแต่ละครั้งที่ให้นักเรียนทำเพื่อประมวลผลนักเรียน คัดเลือกแบบฝึกที่สอดคล้องกับบทเรียนและพอเหมาะไม่มากเกินไป โดยคำนึงถึงความยากง่าย และพึง ตระหนักอยู่เสมอว่าก่อนที่จะให้นักเรียนทำโจทย์นั้นนักเรียนเข้าใจในวิธีการทำโจทย์นั้นโดยถ่องแท้แล้ว อย่าปล่อยให้นักเรียนทำโจทย์ตามตัวอย่าที่ครูสอนโดยไม่เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ สมทรง สุวพานิช (2561, หน้า 42) ได้ทำการศึกษาวิธีการให้ทำแบบฝึกหัดดังต่อไปนี้ การให้ฝึกปฏิบัติ ควรจะมาหลังการสอน เมื่อนักเรียนเข้าใจดีแล้ว และควรให้ฝึกทุก ๆ ด้าน โดยฝึกทำจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ให้ ระยะเวลาสั้น ๆ ในการฝึกแต่บ่อยครั้งจะดีกว่าการฝึกติดต่อกัน เป็นเวลานาน เนื่องจากเด็กแต่ละคนอาจจะใช้ วิธีการทำที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูต้องติดตามผลการฝึกอยู่เสมอ ควรให้งานตามความสามารถ ตามความเหมาะสมเป็น กลุ่ม ๆ ครูควรจัดให้เด็กเก่งศึกษาปัญหาทางคณิตศาสตร์ประเภทลับสมองเพื่อให้เขาได้พบสิ่งแปลกใหม่ เป็นการเร้าความ สนใจ ไม่ควรปล่อยให้ทำแบบฝึกหัดมาก ๆ ทุกครั้งไป ครูต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการให้แบบฝึกหัด โดยให้เด็กเห็น


ความสำคัญและให้ใช้เป็นสิ่งแสดงความก้าวหน้าของแต่ละคน ครูต้องแนะนำอย่างใกล้ชิดหากมีผิดพลาดครู ควรแก้ไขเสียก่อนที่จะติดเป็นนิสัย ในการฝึกที่ชัดเจน ครูต้องดูแลและจัดการฝึกให้เหมาะสมกับนักเรียนซึ่งมี ความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และครูต้องสรรหากิจกรรมที่ ใช้ฝึกให้มีความหลากหลายให้นักเรียนได้ฝึก ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2562, หน้า 495) ได้ทำการศึกษา การกำหนดเกณฑ์ E1/E2 ให้มีค่าเท่าใดนั้นควร พิจารณาตามความเหมาะสม โดยปกติเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำ มักจะตั้งไว้ 80/80, 85/85 หรือ 90/90 ส่วน เนื้อหาที่เป็นทักษะอาจตั้งไว้ ต่ำกว่านี้ เช่น 75/75 เป็นต้น เมื่อกำหนดเกณฑ์แล้วนำไปทดลองจริง อาจได้ผลไม่ตรง ตามเกณฑ์ แต่ไม่ควรต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 5 เช่น ถ้ากำหนดไว้ 90/90 ก็ควรได้ไม่ต่ำกว่า 85.5/85.5 ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ เมื่อผลิตแบบฝึกเพื่อเป็นต้นแบบแล้ว ต้องนำ แบบฝึกไปทดสอบ ประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่อไปนี้ ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (2562, หน้า 496-497) 1. ขั้นหาประสิทธิภาพ 1:1 แบบเดี่ยว (Individual Tryout 1:1) เป็นการทดลองกับผู้เรียนกลุ่ม ละ 1 คน โดยใช้เด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อค้นหาข้อบกพร่องต่าง ๆ เช่น ลักษณะของแบบฝึก จำนวนแบบฝึก ความสนใจของนักเรียนและ ความเหมาะสมในด้านเวลา เสร็จแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น 2. ขั้นหาประสิทธิภาพ 1:10 แบบกลุ่ม (Small group Tryout 1:10) เป็นการทดลองกับผู้เรียน กลุ่มละ 6-10 คน (คละผู้เรียนเก่งกับอ่อน) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต ตรวจผลงาน สัมภาษณ์ เพื่อค้นหา ข้อบกพร่องแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจและปรับปรุงจนได้ตามเกณฑ์ 3. ขั้นหาประสิทธิภาพ 1:100 แบบสนาม (Field Tryout 1:100) เป็นการทดลองกับผู้เรียนกลุ่ม 40 -100คน ให้นักเรียนคละกันทั้งเก่งและอ่อน คำนวณหาประสิทธิภาพของแบบฝึก ผลลัพธ์ที่ได้ควรใกล้เคียงกับที่ตั้งจาก เกณฑ์พิจารณาประสิทธิภาพดังกล่าว จากการทบทวนงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า การศึกษารูปแบบกิจกรรมการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผลจากการศึกษานักเรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เข้าใจ เนื้อหา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น หลักและ วิธีการให้ทำแบบฝึกทักษะข้างต้น ผู้ศึกษาขอสรุปวิธีการให้ทำแบบฝึกทักษะที่ผู้ศึกษาสร้างไว้ดังนี้ คือต้องกระตุ้นให้ นักเรียนเห็นความสำคัญของการฝึกทักษะ โดยใช้แบบฝึกทักษะให้ผู้เรียนทำแบบฝึกด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง ทำด้วยความเข้าใจตามระดับความสามารถของตน กำหนดระยะเวลาสั้น ๆ ในการฝึก แต่บ่อยครั้ง ไม่ฝึกติดต่อกัน เป็นเวลานานเพราะผู้เรียนอาจเกิดความเบื่อหน่ายและเมื่อยล้าได้ มีการอธิบายสำหรับข้อที่ยาก รวมทั้งการให้ฝึก ปฏิบัติควรจะมาหลังการสอน เมื่อนักเรียนเข้าใจดีแล้ว โดยฝึกทำจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก อีกทั้งครูต้อง แนะนำอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าพบข้อผิดพลาดแล้วครูจะได้แก้ไขก่อนที่จะติดเป็นนิสัย ในการฝึก และแจ้งให้


นักเรียนทราบว่าแบบฝึกทักษะจะเป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักเรียน เพื่อครูจะใช้เป็นแนวทางในการ ช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 5. กรอบแนวคิดในการวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำมาใช้ในการกำหนดตัว แปร และนำไปสร้างกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา ดังต่อไปนี้ 5.1 ตัวแปรอิสระ คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เน้นพัฒนาการเรียนรู้ 5.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งกรอบแนวคิด ในการวิจัย (Conceptual Framework of Study) แสดงไว้ดังต่อไปนี้ กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ตัวแปรตาม (dependent Variables) แผนภูมิที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย จากแผนภูมิแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานเพื่อความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ในการวิจัยซึ่งแสดงในกรอบแนวคิดในการวิจัย การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น


บทที่ 3 วิธีดำเนินการ การทดลองในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้ แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ซึ่งผู้รายงานได้ดำเนินการ ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ 4. แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการดำเนินการทดลอง 5. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการใช้ดังนี้ 1.1 ชุดแบบฝึกทักษะ วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล 1.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1.3 แบบบันทึกคะแนนการตรวจแบบฝึกทักษะ


การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ 1. วิธีสร้างเครื่องมือ 1.1 แบบทดสอบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึก ทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างโดยมีขั้นตอนการสร้างดังต่อไปนี้ 1.1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระและมาตรฐานกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิชาดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 1.1.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวคิดในการสอนกลุ่มสาระการ เรียนรู้ดนตรี จากเอกสารตำรา คู่มือครู แบบเรียนและเอกสารตำรา การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ รูปแบบ 1.1.3 วิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี คำอธิบายรายวิชา การ จัดสาระการเรียนรู้ โครงสร้างการจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. การทดสอบเครื่องมือ 2.1 นำแบบฝึกทักษะที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบ ฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอต่อกลุ่มงานวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ พิจารณาตรวจความเรียบร้อย เสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะ 2.2 กลุ่มงานวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมาย ประเมินแบบฝึกทักษะโดยวิธีของ Likert เป็นแบบ Rating Scale มี 5 ระดับ ดังต่อไปนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2556) 4.51 – 5.00 มีค่าเท่ากับ มีความเหมาะสมมากที่สุด 3.51 – 4.50 มีค่าเท่ากับ มีความเหมาะสมมาก 2.51 – 3.50 มีค่าเท่ากับ มีความเหมาะสมปานกลาง 1.51 – 2.50 มีค่าเท่ากับ มีความเหมาะสมน้อย 1.00 – 1.50 มีค่าเท่ากับ มีความเหมาะสมน้อยที่สุด โดยค่าความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไปเป็นเกณฑ์ตัดสินถือว่าเป็นแผนการจัดการ เรียนรู้ที่มีความเหมาะสมและใช้ได้


2.3 ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence) ที่มีค่าตั้งแต่ 0.50 2.4 นำแบบสอบถามวัดความพึงพอใจมาทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ด้วยการ คำนวณหาค่าคงที่ภายใน (Internal Consistency) วิเคราะห์โดยการใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค (Cronbach ’s Alpha Coefficient) การคำนวณประสิทธิภาพของแบบฝึก กระทำโดยใช้สูตรต่อไปนี้ E1 = A N X x 100 E2 = B N Y x 100 E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการคิดเป็นร้อยละจากการตอบแบบฝึกหัด ของชุดการฝึกได้ถูกต้อง E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์คิดเป็นร้อยละจากการทำแบบทดสอบ หลังการฝึกแต่ละชุดได้ถูกต้อง X แทน คะแนนรวมของผู้เรียนจากแบบฝึกหัด Y แทน คะแนนรวมของการทดสอบหลังจากฝึก N แทน จำนวนของผู้เรียน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึก B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังการฝึก E1 ได้จากการนำคะแนนงานทุกชิ้นของนักเรียนแต่ละคนรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบเป็นร้อยละ E2 ได้จากการนำคะแนนผลการสอบหลังการทดลองของนักเรียนทั้งหมดรวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ยเทียบ เป็นร้อยละ


การสร้างแบบประเมินแบบฝึกทักษะ 1. แบบประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการสอน จะสร้างเพื่อให้ทุกคนที่ใช้แบบฝึกทักษะและ ผู้เชี่ยวชาญ ได้มีการประเมินด้านเนื้อหาความเหมาะสมของแบบฝึกก่อนที่จะมีการปรับปรุงมาใช้จริงในวิจัย 2. สร้างแบบประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการสอน ด้านของเนื้อหา 3. แก้ไขปรับปรุงแบบประเมินที่ได้รับคำแนะนาจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 4. นำแบบประเมินไปใช้เป็นเครื่องมือในการหาคุณภาพของแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการสอนในรายวิชาที่ สอน โดยกาหนดระดับคุณภาพคำถามแบบใช้คำถามที่วัดข้อมูลประเภทอันตรภาค (Interval Scale) เรียงจากมาก ไปหาน้อย เพื่อวัดระดับความเห็นต่อกระบวนการตัดสินใจโดยแบ่งเป็น 5 คะแนนใช้มาตราวัดของไลเคิร์ท (Likert scale) ได้แก่ (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2557 : 136) คะแนน 5 หมายถึง มากที่สุด คะแนน 4 หมายถึง มาก คะแนน 3 หมายถึง ปานกลาง คะแนน 2 หมายถึง น้อย คะแนน 1 หมายถึง น้อยที่สุด โดยเกณฑ์การยอมรับคุณภาพของการผลิตแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการสอนซึ่งพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของ คำถามแต่ละข้อ ข้อใดที่ได้ค่าเฉลี่ย “ดี ถึง ดีมาก”จึงจะยอมรับ นอกจากนั้นค่าเฉลี่ยรวมต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ “ดี” ซึ่งผู้วิจัย ได้กาหนดค่าเฉลี่ยดังนี้ (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2557 : 336) ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง มีคุณภาพในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับดี ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับดีน้อยที่สุด


แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการดำเนินการทดลอง 1. แบบแผนการทดลอง การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental Research) โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre – test Post – test Design (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2558 : 249) โดยมีลักษณะการทดลองดังตาราง ดังนี้ ตารางที่ 1 แบบแผนการทดลองแบบแบบ One Group Pre – test Post – test Design กลุ่ม Pre-test Treatment Post-test ทดลอง T1 X T2 T1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) X หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ T2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน (Post-test) 2. ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง การดำเนินการทดลองครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเองกับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง ทั้งนี้ ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการทดลอง ดังนี้ 2.1 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบ ฝึกทักษะ ก่อนเรียน (Pre – test) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น 2.2 ดำเนินการสอนตามตารางการเรียนรู้วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยแบบฝึก ทักษะ ระหว่างวันที่ 1 ส.ค. 2565 ถึง วันที่ 30 ก.ย. 2565 2.3 เมื่อดำเนินการสอนครบทุกหน่วยการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียน (Post – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน


การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยดำเนินการจัดกระทำกับข้อมูล และวิเคราะห์ ข้อมูล ดังนี้ 1. วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการ ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะวิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดย แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. วิเคราะห์หาคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จาก การประเมินพฤติกรรมการทำงานกิจกรรมกลุ่ม และการทำแบบฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. วิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดย แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีสูตรดังนี้ ผลรวมของคะแนนทดสอบหลังเรียน ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน ดัชนีประสิทธิผล = (จำนวนนักเรียน × คะแนนเต็ม) – ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ 1. ร้อยละ (Percentage) ใช้สูตร P สูตร = 100 N f P เมื่อ P แทน ร้อยละ f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด 2. ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ของคะแนน โดยใช้สูตร สูตร N X X =


เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม 3. การหาประสิทธิภาพของวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สูตร E1 / E2 สูตร 1 100 / 1 = A X N E เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ X แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรืองาน A แทน คะแนนรวมของแบบฝึกทุกชิ้นรวมกัน แทน จำนวนผู้เรียน สูตร 2 100 / 2 = B F N E เมื่อ E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ F แทน คะแนนเรียนของผลลัพธ์หลังเรียน B แทน คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน แทน จำนวนผู้เรียน 4. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ = ∑ แทนค่า คือ ดัชนีความสอดคล้องระหว่าง -1 ถึง +1 ∑ คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด N N


บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานผลการวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้น ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลำดับขั้นในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงานได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ X แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมาย N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 2. ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงาน ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล


3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ปรากฏผลดังตารางที่ 2 ดังนี้ ตารางที่ 2 แสดงคะแนนเฉลี่ย และร้อยละ ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 คะแนน N คะแนนเต็ม X ร้อยละ 1. การประเมินพฤติกรรมกลุ่มระหว่าง เรียนและการทำแบบฝึกทักษะ 2. การทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน 40 คน 40 คน 100 100 81.16 82.64 81.16 82.64 ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2 = 81.16/82.64) จากตารางที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินพฤติกรรมกลุ่มระหว่างเรียนและการทำแบบฝึก ทักษะของนักเรียนที่เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้ดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 40 คน เท่ากับ 81.16 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.16 ของ คะแนนเต็ม และคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 82.64 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.64 ของคะแนนเต็ม ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.16/82.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ ตารางที่ 3 เปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ ชื่อ สกุล คะแนน ก่อนเรียน คะแนน หลังเรียน สรุปผลการประเมิน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียน 1 5 7 ผ่าน 2 4 6 ผ่าน 3 2 5 ผ่าน 4 5 8 ผ่าน


5 6 6 ผ่าน 6 3 5 ผ่าน 7 5 8 ผ่าน 8 3 5 ผ่าน 9 2 6 ผ่าน 10 3 5 ผ่าน 11 6 8 ผ่าน 12 5 9 ผ่าน 13 4 8 ผ่าน 14 3 5 ผ่าน 15 2 5 ผ่าน 16 5 9 ผ่าน 17 4 5 ผ่าน 18 7 10 ผ่าน 19 4 5 ผ่าน 20 3 5 ผ่าน 21 4 6 ผ่าน 22 4 7 ผ่าน 23 2 5 ผ่าน 24 3 8 ผ่าน 25 3 6 ผ่าน 26 4 5 ผ่าน 27 4 8 ผ่าน 28 5 6 ผ่าน 29 4 5 ผ่าน 30 6 9 ผ่าน 31 5 6 ผ่าน 32 6 7 ผ่าน 33 5 8 ผ่าน 34 4 5 ผ่าน 35 5 7 ผ่าน 36 4 6 ผ่าน


37 5 6 ผ่าน 38 5 6 ผ่าน 39 4 5 ผ่าน 40 6 9 ผ่าน ค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนน 5.14 7.13 ผ่าน ผลต่างคะแนนพัฒนาการ +1.99 - ร้อยละของคะแนนที่เพิ่มขึ้น +38.71% - จากข้อมูลในตารางเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ผลปรากฎว่านักเรียนทุก คนมีผลคะแนนที่ดีขึ้นหลังจากใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในภาพรวม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนนก่อน เรียนเป็น 5.14 คะแนน และค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนนหลังเรียนเป็น 7.13 คะแนน และมีค่าผลต่างคะแนนพัฒนาการ +1.99 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 38.71% ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ต่อไป ตารางที่ 4 ประสิทธิภาพของการทำแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ 80/80 จำนวนนักเรียน คะแนนแบบฝึกทักษะ (E1 ) คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (E2 ) ค่าคะแนนเฉลี่ย(คะแนนเต็ม) ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย(คะแนนเต็ม) ร้อยละ 40 คน 81.16 81.16 82.64 82.64 จากตารางที่ 4 พบว่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 81.16/82.64 หมายความว่า แบบฝึกทักษะทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้เท่ากับ 81.16 และมีประสิทธิภาพทางการเรียนรู้หรือ ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ในการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ของนักเรียนเท่ากับร้อยละ 82.64 แสดงว่าแบบ ฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตารางที่ 5 การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อแบบทดสอบที่ใช้ในการเรียนการสอน รายการขอความคิดเห็น ประมาณค่าความ คิดเห็นของ ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ ค่า IOC แปลผล 1 2 3 1. ความสอดคล้องเหมาะสมกับหลักสูตร +1 +1 0 0.7 ใช้ได้ 2. ความสอดคล้องเหมาะสมกับธรรมชาติวิชา +1 0 +1 0.7 ใช้ได้


3. ความสอดคล้องเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน +1 +1 +1 1.0 ใช้ได้ 4. ความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และปัญหา +1 +1 +1 1.0 ใช้ได้ 5. ความเหมาะสมต่อกระบวนการพัฒนาผู้เรียน +1 0 +1 0.7 ใช้ได้ 6. ความเหมาะสมของเนื้อหา +1 +1 +1 1.0 ใช้ได้ 7. ความเหมาะสมของขนาดตัวอักษร +1 +1 +1 1.0 ใช้ได้ 8. ความเหมาะสมของการใช้ภาษา +1 +1 +1 1.0 ใช้ได้ 9. ความเหมาะสมกับความสนใจของนักเรียน 0 +1 +1 0.7 ใช้ได้ 10.ความเหมาะสมของรูปแบบ +1 +1 +1 1.0 ใช้ได้ ค่า IOC = 0.7+0.7+1.0+1.0+0.7+1.0+1.0+1.0+0.7+1.0 / 10 = 8.8/10 = 0.88 สรุปว่า แบบทดสอบการเรียนการสอนดังกล่าวนั้นใช้ได้


บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การรายงานในครั้งนี้ เป็นการใช้นวัตกรรม คือ แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการศึกษา 2. กลุ่มเป้าหมาย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 4. การดำเนินการศึกษา 5. สรุปผล 6. อภิปรายผล 7. ข้อเสนอแนะ 1. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง 3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 2 ชนิด ประกอบด้วย 1. แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ชุด ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก


4. การดำเนินการศึกษา การรายงานในครั้งนี้ ผู้รายงานเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเองเอง เป็นการสอนตามปกติ ซึ่งใช้เวลาใน การทดลอง 20 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ 4.1 ทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 4.2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกทักษะ จำนวน 20 ครั้ง เวลา 20 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 4.3 เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ได้ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ด้วย แบบทดสอบชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียน 5. สรุปผล ในการทำรายงานวิจัยในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล ในการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สรุปผลได้ดังนี้ วิธีการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล มีประสิทธิภาพของการสอนเท่ากับ 81.16/82.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากข้อมูลในตาราง เปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ผลปรากฎว่านักเรียนทุกคนมีผลคะแนนที่ดีขึ้น หลังจากใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในภาพรวม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนนก่อนเรียนเป็น 5.14 คะแนน และค่าเฉลี่ยผลรวมคะแนนหลังเรียนเป็น 7.13 คะแนน และมีค่าผลต่างคะแนนพัฒนาการ +1.99 คะแนน คิดเป็น ร้อยละที่เพิ่มขึ้น 38.71% ซึ่งผลการวิจัยนี้จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ ต่อไป 6. อภิปรายผล จากผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบ ประเด็นสำคัญที่ควรนำมาอภิปรายผล ดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้รายงานได้ พัฒนา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.16/82.64 หมายถึง นักเรียนทั้งหมดได้คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม และการทำแบบฝึกทักษะ คิดเป็นร้อยละ 81.16 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.64 แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีเรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้


2. ผลการใช้แบบฝึกทักษะมาช่วยสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลน่าพอใจ สังเกตจากนักเรียนให้ความสนใจการเรียนดี มีความรับผิดชอบในหน้าที่ สิ่งที่แสดงถึงความสนใจของนักเรียน คือ นักเรียนสามารถทำแบบฝึกทักษะท้ายแผนทุกแผน ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีทุกคน ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ร่วมมือกันในการทำงาน นักเรียนทุกคนร่วมกัน รับผิดชอบงาน และนำประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการเรียนรู้มาสรุปเป็นองค์ความรู้ของกลุ่มตนเอง มีการ ช่วยเหลือกันในการทำงานกลุ่ม 7. ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 การจัดการเรียนรู้ดนตรี เรื่องโน้ตดนตรีไทย-สากล โดยใช้แบบฝึกทักษะ เป็นการเรียนรู้แนวใหม่ ที่น่าสนใจและน่านำไปใช้ แม้ช่วงแรกนักเรียนอาจจะสับสนบ้างในการเข้ากลุ่มหรือการปฏิบัติกิจกรรม ทำให้การ จัดการเรียนรู้เกิดความล่าช้าบ้าง แต่เมื่อได้เรียนในช่วงต่อไป นักเรียนก็มีความชำนาญในการเรียนรู้มากขึ้น กิจกรรมก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น 1.2 การเลือกเนื้อหาที่นำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญควรคำนึงถึง เพศ วัย และระดับ ความสามารถในทำแบบฝึกทักษะของนักเรียนด้วย หากเนื้อหาใดที่นักเรียนสนใจ นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้เพิ่ม มากขึ้น เพื่อช่วยให้ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นการ รับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ให้มีความก้าวหน้า 2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป 2.1 ควรพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีโดยใช้แบบฝึกทักษะ ในกลุ่มประสบการณ์อื่นๆ และ ในระดับชั้นอื่นๆ 2.2 ควรพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีโดยใช้แบบฝึกทักษะรูปแบบอื่นๆ เพื่อที่นักเรียนจะได้ เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายจากครู 2.3 ควรพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีโดยใช้แบบฝึกทักษะในเนื้อหาหรือเรื่องราวอื่นๆ ที่ นักเรียนสนใจในทักษะการเรียนที่จำเป็น


บรรณานุกรม กรมวิชาการ. (2557). ครูผู้สอนกับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. จตุพร เจริญชัย. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ แบบฝึกทักษะ ในรายวิชาดนตรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนดนตรี. สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ (Theory of Learning skill practice) Gilgerdson Lanfon. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ดนตรีเพื่อการสอน. บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. ทิศนา แขมมณี. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : ผลของการ ใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (มีนาคม – มิถุนายน) นภาวรรณ ประดับคำ. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะในกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรีของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิธีการศึกษาสถิติเพื่อการวิจัยแบบฝึก เล่ม 2. มหาสารคาม : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. ปอเรียม แสงชาลี. (2559). ผลการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนตามรูปแบบแบบฝึกทักษะ และกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของ สสวท. ที่มีผลต่อการเรียนรู้ตามแบบแผนของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


Click to View FlipBook Version