จิตวิทยา
สำหรับครู
ส า ร บั ญ หน้า
เรื่อง 4
9
พัฒนาการมของมนุษย์ 13
พฤติกรรมมนุษย์ 17
การเรียนรู้ 21
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม 25
ความจำของมนุษย์ 35
ความคิดและเชาวน์ปัญญา 39
การรับรู้ 45
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ 48
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ 53
แรงจูงใจ 59
การแนะนำ 65
การให้คำปรึกษา 72
การศึกษาเป็นรายกรณี 77
การสร้างแรงบันดาลใจ
คำ นำ
หนังสือ E-Book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
จิตวิทยาสำหรับครู รหัส 600-106 ภาคเรียนที่2 ปีการ
ศึกษา 2564โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้
จากพัฒนาการของมนุษย์ พฤติกรรมของมนุษย์ การเรียน
รู้ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม ความจำของมนุษย์ ความคิด
และเชาวน์ปัญญา การรับรู้ จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้ การ
จัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็ก
พิเศษแรงจูงใจ การเเนะเเนว การให้คำปรึกษา การศึกษา
เป็นรายกรณี และการสร้างเเรงบันดาลใจใฝ่เรียน
ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำ หนังสือ
E-Book เล่มนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา
ทฤษฎีจิตวิทยาเป็นอย่างดี หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
นางสาวมัยสุรี ชาลูเด็น
ความหมายของจิตวิทยา
จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยว
กับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความ
คิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น
การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์),
อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความ
หมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรม
ในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
(เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการ
ศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้
ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหา
สุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษา
ทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ
ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและ
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการ
ศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการ
ควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
บทที่1
พัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น ร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคลอย่างมีขั้นตอน
และเป็นระเบียบแบบแผน โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใน
เชิงคุณภาพ เพื่อให้บุคคลนั้นพร้อมจะแสดงความสามารถ
ในการกระทำกิจกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับวัย
ทฤษฎีพัฒนาการ (Theories of Development)
พัฒนาการความต้องการทางเพศและบุคลิกภาพ
- ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎี
พัฒนาการของเขาไว้ว่า
"พัฒนาการความต้องการทางเพศและบุคลิกภาพของ
บุคคลต้องอาศัยการพัฒนาที่ต่อเนื่องอย่างเป็นลำดับขั้น
จนกลายเป็นบุคลิกภาพที่ถาวรในที่สุด" ช่วงเวลาที่ฟรอยด์
ให้ความสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพอย่างมากจะอยู่ใน
ช่วงระยะแรกเกิดถึงห้าปี
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอีริกสัน อีริก เอช.
อีริกสัน แนวคิดของอีริกสันจะเน้นความสำคัญที่ว่า
พัฒนาการของบุคคลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคม
วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางจิตใจมากกว่าการตอบ
สนองทางร่างกาย พัฒนาการของบุคคลจะเกิดขึ้นอยู่
ตลอดเวลาตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต
- ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจย์
ฌอง เพียเจย์ เขาได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการ
ทางเชาว์ปัญญาอย่างจริงจังและลึกซึ้ง ผลจากการ
ทดลองของเขาพบว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมี
ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา และ
ปฏิสัมพันธ์นี้เองที่เป็นปัจจัยก่อให่เกิดพัฒนาการทาง
เชาว์ปัญญาขึ้น
- ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบริก์
ลอเรนซ์ โคห์ลเบริก์ วิธีการศึกษาวิจัยของโคห์ลเบริก์มี
ความคล้ายคลึงกับวิธีของเพียเจย์ กล่าวคือ จะมีการ
สร้างสถานการณ์สมมติขึ้นมา โดยให้กลุ่มทดลองเป็นผู้
ตอบปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์สมมตินั้น ผลจาก
การวิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบในวัยต่างๆ ทำให้
โคห์ลเบริก์สรุปเป็นทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ
บุคคลเป็น 3 ระดับ
พัฒนาการของบุคคลในวัยต่างๆ
- วัยทารก เป็นวัยที่อยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง2ปี
พัฒนาการด้านต่างๆ ในวัยนี้ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ
ของพัฒนาการในวัยต่อๆ ไป
- วัยเด็ก วัยนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 2-12 ปี เป็นระยะ
ที่ร่างกายจะเจริญเติบโตช้าลงกว่าในวัยทารก โดยเฉพาะ
ในระยะเริ่มต้นของวัย แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วชัดเจนอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของวัย วัยเด็ก
ตอนต้น อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3-5 ปี เป็นวัยที่แสดง
ความก้าวหน้าทางด้านพัฒนาการในทุกด้าน
- วัยรุ่น วัยนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 12-20 ปี นับว่าเป็นวัยที่มี
ความสำคัญมากอีกวัยหนึ่ง อาจกล่าวได่ว่าเป็นช่วงหัว
เลี้ยวหัวต่อของชีวิต เนื่องจากเป็นวัยที่จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงพัฒนาการในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทาง
ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งกลุ่มเพื่อนจะมี
บทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่นในการที่
จะค้นพบตัวเอง
- วัยผู้ใหญ่ วัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไปจน
ตลอดชีวิต ผู้ใหญ่เป็นอีกวัยที่มีความสำคัญต่อชีวิต
มนุษย์ คือ นอกจากจะเป็นวัยแห่งความสมบูรณ์
สูงสุดของพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ยังเป็นวัยเริ่มต้น
แห่งความแห่งเสื่อมของพัฒนาการทุกด้านอีกด้วย
บทที่ 2
พฤติกรรมของมนุนษย์
ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรม คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยา
โต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมแสดงได้โดยตรงหรือ
ใช้เครื่องมือวัด
1 พฤติกรรมโมลาร์ สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
2 พฤติกรรมโมเลกุล สังเกตได้ด้วยเครื่องมือวัด
2 พฤติกรรมภายใน เป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้
โดยตรง และไม่สามารถใช้เครื่องมือวัดได้ บางครั้ง
สันนิษฐานจากพฤติกรรมภายนอกได้
ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้มา
ก่อน ได้แก่ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ เช่นการกระพริบตา และ
สัญชาตญาณ
2. พฤติกรรมที่เกิดจากอิทธิพลของกลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรม
ที่เกิดจากการที่บุคคลติดต่อสังสรรค์และมีความสัมพันธ์
กับบุคคลอื่นในสังคม
ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย
ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ
1. พันธุกรรม
2. การทำงานของระบบในร่างกาย
3. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
4. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)
ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
1. แรงจูงใจ
2. การเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา
1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการสังคมประกิต
3. อิทธิพลของกลุ่ม
ลักษณะความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์
ความแตกต่างดังกล่าวอาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ
ได้ดังนี้
1 ความแตกต่างทางอารมณ์
2 ความแตกต่างทางความถนัด
3 ความแตกต่างของความประพฤติ
4 ความแตกต่างของความสามารถ
5 ความแตกต่างของทัศนคติ
6 ความแตกต่างของความต้องการ
7 ความแตกต่างของรสนิยม
8 ความแตกต่างทางสังคม
9 ความแตกต่างของลักษณะนิสัย
บทที่ 3
การเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อน
ข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมี
ประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจาก
การเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลง
ชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิ
ภาวะ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษา
ซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3
ด้าน ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความ
สามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความ
จำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
และประเมินผล
2. ด้านเจตพิสัย คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง
ด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก
ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
3. ด้านทักษะพิสัย คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความ
สามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท
การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะ
และความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ
สำคัญ 4 ประการ คือ
1 แรงขับ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบ
ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ
2 สิ่งเร้า เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรม
ตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน
3 การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ
ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็น
ได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด เป็นต้น
4 การเสริมแรง เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมี
ผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับ
การตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและ
ทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยา
ที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ
- อีวาน พาฟลอฟ
- จอห์น บี วัตสัน
- เบอร์รัส สกินเนอร์
- เพียเจท์
- กาเย่
- ธอร์นไดค
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ
- เดวิค พี ออซุเบล
- Gestalt Psychologist
- โคท์เลอร์
- Jero Brooner
- Piaget
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
- ศาสตราจารย์บันดูรา
- Anthony Grasha กับ Sheryl Riechmann
- เลวิน
- Robert Slavin และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้
- David Johnson และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
เรียนรู้
- Shlomo และ Yael Sharan
บทที่ 4
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม
ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์
ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย
ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการรับรู้และ
ตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดง พฤติกรรมต่าง ๆ
ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจและ การ
เรียนรู้
แรงจูงใจ
แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบ
สนองอย่าง มีทิศทางและเป้าหมาย เรียกว่า แรงจูงใจ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ ประกอบด้วย
.1 ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่
อาหาร น้ำ
2 ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น
ความตื่นเต้น โกรธ รัก
3 ปัจจัยทางความคิด เป็นปัจจัยที่กำหนดให้บุคคลกระทำ
ในเรื่องที่คิดว่า เหมาะสมและเป็นไปได้ และตามความคาด
หวังว่า ผู้อื่นจะสนองตอบ การกระทำของตนอย่างไร
4 ปัจจัยทางสังคม
การเป็นที่ยอมรับในสังคม กฏระเบียบ
การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
และ การปรับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจาก
ประสบการณ์ หรือมี ปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อพฤติกรรมมี ความ
สัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า กับการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
หลักการเรียนรู้ ที่สำคัญได้แก่ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
การวางเงื่อนไขปฏิบัติการ และ หลักการเรียนรู้ทางสังคม
1 การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ พาฟลอฟ (Pavlov)
มนุษย์ถูกวางเงื่อนไขเพื่อให้แสดง พฤติกรรมตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าได้ ตามรูปอยู่ตลอดเวลา เงื่อนไข จะถูกวาง ใน
ขณะที่มีสิ่งเร้าอื่น ที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นเร้าอินทรีย์อยู่
ทำให้มี พฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งสอง อย่าง
พร้อม ๆ กัน
2 การวางเงื่อนไขปฎิบัติการของ สกินเนอร์ (Skinner)
เป็นการวางเงื่อนไขที่เกิดจากแรงขับที่ทำให้เป็นการเกิด
พฤติกรรม โดยวางเงื่อนไขระหว่าง พฤติกรรมและการ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้า กับ ผลกรรมแ ของ พฤติกรรมนั้น
และพฤติกรรมใดที่ได้รับผลกรรมเป็นที่พึงพอใจ
พฤติกรรมนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งเร้ามากที่สุด
.3 การเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น (Insight Learning)
การหยั่งเห็น เป็น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสัตว์ชั้นสูง
เนื่องจากมี ความซับซ้อนใน ด้านการคิด และ
การแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ
4 การเรียนรู้ทางสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่กล่าวว่า
พฤติกรรมของคนเราส่วนใหญ่เกิดจาก การสังเกตตัว
แบบ แล้ว ลอกเลียนพฤติกรรมต่างๆ
บทที่ 5
ความจำของมนุษย์
ความหมาย
ความจำคือสิ่งที่บุคคใช้เก็บรักษาข้อมูล ความรู้ต่างๆที่ได้
รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ซึ่งจะส่งผลให้
บุคคลสามารถเรียนรู้จากประสบการณืในอดีต เข้าใจสิ่ง
ต่างๆในปัจจุบัน คาดการณ์อนาคตได้
ความจำในจิตวิทยา
เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้
และการค้นคืน ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระ
ทบกับประสาทสัมผัสต่างๆ ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือ
เชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้
การจำ
กิลฟอร์ด กล่าวว่า ความจำเป็นความสามารถที่จะเก็บ
หน่วยความรู้ไว้ และสามารถระลึกได้หรือนำหน่วยความรู้
นั้นออกมาใช้ได้ในลักษณะเดียวกันกับที่เก็บเข้าไว้ ความ
สามารถด้านความจำเป็นความสามารถที่จำเป็นใน
กิจกรรมทางสมองทุกแขนง
เทอร์สโตน กล่าวว่า สมรรถภาพสมองด้านความ
จำเป็นสมรรถภาพด้านการระลึกได้และการจดจำ
เหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำ
ชวาล แพรัตกุล กล่าวว่า คุณลักษณะนี้คือความ
สามารถของสมองในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งที่
มีสติระลึกจนสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกต้อง
กระบวนการจำของมนุษย์ประกอบไปด้วย
3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1. กระบวนการใส่รหัสข้อมูล (Encoding)
เป็นกระบวนการประมวล และให้ความหมาย
กับสิ่งที่รับรู้ เพื่อที่จะสร้างตัวแทนของสิ่งนั้น
ขึ้นมาเก็บไว้ใน ระบบความจำ
2. กระบวนการเก็บจำ (Storage)
เป็นกระบวนการเก็บรักษาตัวแทนของ ข้อมูล
ที่ได้รับมาให้อยู่ในหน่วยความจำ
3. กระบวนการนำข้อมูลออกมาจากระบบการ
จำ (Retrieval) เป็นการดึงข้อมูล ที่ถูกใส่
รหัสและเก็บอยู่ในหน่วยความจำออกมาใช้
บทที่ 6
ความคิดและเชาว์ปั ญญา
การคิด หมายถึง การทำงานของกลไกลสมอง
ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิด
จินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ
ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมภายในและ
ภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็
จะไม่สามารถทำในเรื่องต่างๆได้
เชาวน์ปัญญา คือ ความสามารถเฉพาะบุคคล
ในการที่จะคิดอย่างเป็นนามธรรม มีเหตุผล ตัดสิน
ใจได้อย่างรวดเร็ว เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและ
สามารถนำประสบการณ์จากการเรียนรู้มาแก้
ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ประเมิณสถานการณ์ได้ใกล้
เคียงตามความเป็นจริง ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่อง
ง่าย รวมทั้งมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับ
สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ตัวแปรที่มีอิทธิพลต
่อเชาวน์ปั ญญา
ของบุคคล
พันธุกรรมกับเชาวน์ปัญญา พันธุกรรมเป็นปัจจัย
สำคัญอันดับแรกต่อเชาวน์ปัญญาของบุคคล การที่
เด็กจะมีระดับเชาวน์ปัญญาเช่นไรขึ้นอยู่กับพันธุกรรม
ของฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าพ่อแม่
ฉลาด ลูกจะฉลาดเหมือนพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่โง่ ลูกจะโง่
เหมือนพ่อแม่
สิ่งแวดล้อมกับเชวน์ปัญญา สิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง
กันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเชาวน์ปัญญา
ของบุคคลได้ไม่มากนัก กล่าวคือ ไม่ว่าเราจะจัดสิ่ง
แวดล้อมให้ครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใดก็จะไม่สามารถ
ทำให้เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาต่ำที่ไม่สามารถดูแลตัวเอง
ได้ให้มีระดับเชาวน์ปัญญาที่สูงขึ้นเป็นระดับปาน
กลางได้เลย
- ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา -
1 ทฤษฎีเอกนัยหรือทฤษฎีองค์ประกอบเดียว
ผู้คิดทฤษฎีนี้ อัลเฟรด บิเนต์ มีความเห็นว่าว่า
เชาวน์ปัญญาหมายถึงผลรวมของความสามา
รถหลายๆ ด้านของบุคคลที่มีลักษณะเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน รวมกันเข้าเป็นองค์ประกอบ
เดียว เรียกว่าองค์ประกอบทั่วไป ซึ่งไม่สามารถ
จะแยกออกจากกันได้ ซึ่งบิเนต์เชื่อว่าจะพัฒนา
ไปตามวุฒิภาวะของแต่ละบุคคล
2. ทฤษฎีสององค์ประกอบ
ผู้คิดทฤษฎี ชาร์ลส์ อี. สเปียร์แมน เชื่อว่าเชาวน์
ปัญญาของคนเราไม่น่าจะมีเพียงองค์ประกอบดียว
แต่ควรประกอบขึ้นจากองค์ประกอบสองประเภท
ด้วยกันคือ
- องค์ประกอบที่เป็นความสามรถทั่วไป เช่น
ความจำ ไหวพริบ
- องค์ประกอบที่เป็นความสามารถเฉพาะ เช่น
ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ทางภาษา
3. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ด เจ.พี. กิลฟอร์ด
เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีโครงสร้างเป็นสามมิติ
ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านวิธีคิด และ
ด้านผลที่ได้ ซึ่งทั้งสามมิติหรือสามด้านยังสามารถแยก
องค์ประกอบย่อยได้อีกถึง 120 ส่วน
4. ทฤษฎีการจัดกลุ่มและอันดับ เวอร์นอน และเบิร์ต
มีความเห็นว่าเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ประกอบด้วย
องค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายส่วน แต่ละส่วนจะมีขนาด
ลักษณะ และคุณภาพที่แตกต่างกันๆ ไป
5. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของแคตเตลล์
ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาโดยถือเอา
อิทธิพลที่มีต่อพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาเป็น
เกณฑ์ โดยเขาเห็นว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลแบ่ง
องค์ประกอบทั่วไปสองประเภทคือ
- เชาวน์ปัญญาที่ได้รับจากการถ่ายทอดทาพันธุกรรม
- เชาวน์ปัญญาที่เป็นผลมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์
- เชาวน์ปัญญา 7 ชนิดคือ -
1 เชาวน์ปัญญาทางด้านดนตรี
2 เชาวน์ปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย
3 เชาวน์ปัญญาในด้านตรรก และการคำนวณ
4 เชาวน์ปัญญาทางด้านการใช้ภาษา
5. เชาวน์ปัญญาเกี่ยวกับที่ว่าง
6. เชาวน์ปัญญาเชิงปฏิสัมพันธ์
7.เชาวน์ปัญญาในด้านความรู้ความเข้าใจที่
เกี่ยวข้องกับตนเอง
บทที่ 7 การรับรู้
การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายจากการสัมผัส
โดยเริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้ามา กระทบกับอวัยวะรับสัมผัส
ทั้งห้า และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการแปล
ความ
กระบวนการของการรับรู้ เป็นกระบวนการที่คาบ
เกี่ยวกันระหว่างเรื่องความเข้าใจ การคิด การรู้สึก
ความจำ การเรียนรู้ การตัดสินใจ
กระบวนการของการรับรู้ เกิดขึ้นเป็นลำดับดังนี้
1. มีสิ่งเร้า ที่จะทำให้เกิด การรรับรู้ เช่น
คน สัตว์
2. ประสาทสัมผัส ที่ทำให้เกิดความรู้สึกสัมผัส
ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น
3.ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้า
ที่เราสัมผัส
4. การแปลความหมายของสิ่งที่เราสัมผัส
สิ่งที่เคยพบเห็นมาแล้วย่อมจะอยู่ในความทรงจำของ
สมอง เมื่อบุคคลได้รับสิ่งเร้า สมองก็จะทำหน้าที่
ทบทวนกับความรู้ที่มีอยู่เดิมว่า สิ่งเร้านั้นคืออะไร
- องค์ประกอบของการรับรู้ -
1. สิ่งเร้าได้แก่วัตถุ แสง เสียง กลิ่น รสต่างๆ
2. อวัยวะรับสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น
ผิวหนัง ถ้าไม่สมบูรณ์จะทำให้สูญเสียการรับรู้ได้
3. ประสาทในการรับสัมผัสเป็นตัวกลางส่ง
กระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสไปยังสมอง
ส่วนกลาง เพื่อการแปลความต่อไป
4. ประสบการณ์เดิม การรู้จัก การจำได้ ทำให้
การรับรู้ได้ดีขึ้น
5. ค่านิยม ทัศนคติ
6. ความใส่ใจ ความตั้งใจ
7. สภาพจิตใจ อารมณ์ เช่น การคาดหวัง
ความดีใจ เสียใจ
8. ความสามารถทางสติปัญญา ทำให้รับรู้ได้
เร็ว
บทที่ 8
จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้
จิตวิทยา คือ การศึกษาพฤติกรรมกระบวนทาง
จิตเชิงปรนัย เป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวาง
เป็นองค์ความรู้ทั้งเชิงศิลปศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ คลอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับชีวิต
มนุษย์ทั้งทางกาย สังคม อารมณ์ จิตใจ ความคิด
สติปัญญา จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษา
ศาสตร์สายนี้คือ เพื่อที่จะเข้าใจ อธิบาย ทำนาย
พัฒนาและควบคุมพฤติกรรมด้านต่าง ๆ
การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้าง
ถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมี
ประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิด
จากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการ
เปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษา
ซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others )
มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
1 ด้านพุทธิพิสัย คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความ
สามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความ
จำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
และประเมินผล
2 ด้านเจตพิสัย คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลง
ด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก
ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
3 ด้านทักษะพิสัย คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความ
สามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท
การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะ
และความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอ
ว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1 แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัว
บุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง
ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความ
พร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะ
ชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2 สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใน
สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา
หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการ
สอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครูกิจกรรมการสอน และอุปกรณ์
การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3 การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือ
พฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้น
จากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถ
สังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด
การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4 การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มี
อิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้ง
ทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอัน
มาก
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ
1 อีวาน พาฟลอฟ
.2 จอห์น บี วัตสัน
3 เบอร์รัส สกินเนอร์ 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
4 เพียเจท์ นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ
5 กาเย่ 1 เดวิค พี ออซุเบล
6 ธอร์นไดค 2 Gestalt Psychologist
3 โคท์เลอร์ (Kohler, 1925)
4 Jero Brooner
5 Piaget
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
1 ศาสตราจารย์บัน
.2 Anthony Grasha กับ Sheryl
Riechmann
3 เลวิน (Lawin)
4 Robert Slavin
5 David Johnson
6 Shlomo และ Yael Sharan
บทที่9
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิ ฌศษ
การศึกษาพิเศษ (Special Education)
หมายถึงการศึกษาที่ตัดให้แก่เด็กที่มีความ
ต้องการพิเศษ (children with special
needs) ทางการศึกษาแตกต่างไปจากเด็ก
ปกติเนื่องจากมีความจากมีความผิดปกติทาง
ร่างกาย อารมณ์พฤติกรรม หรือสติปัญญา
ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้
เรียนรู้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์จาก
การศึกษาอย่างเต็มที่
คุณลักษณะของครูการสึกษาพิเศษ
1.เข้าใจเด็ก
2.ใฝ่คุณธรรม
3.มีศรัทธาความเป็นครู
4.อยู่ด้วยศีลสมาธิและปัญญา
ปัญหาและพฤติกรรมที่พบ
1.มีปัญหาการควบคุมอารมณ์
2.เข้าใจกฏเกณฑ์ไม่ดีเพราะปัญหาด้านภาษา
3.มีลักษณะเพ้อฝันพูดมากพูดกับตัวเอง
4. มักมีปัญหาเรื่องสมาธิสั้นและหุนหันพลีนแล่น
วิธีการสอนเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
1.ด้านการเรียนต้องแยกย่อยเนื้อหาที่ละขั้นตอน
2. ด้านสังคมฝึกให้เล่นกับเพื่อน การปฏิบัติทาง
สังคม การรอคอย
3. ด้านพฤติกรรมหากมีปัญหาก้าวร้าวต้องมีการ
ชี้แนะ
หลักการสอนเด็กพิเศษ
1.ใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
โดยคำนึงถึงอายุสมอง ไม่ใช้อายุตามปฏิทิน
2. สอนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับช่วง
ความสนใจของเด็ก
3. สอนตามขั้นตอนของงานที่แยกย่อยตามลำดับ
จากง่ายไปยากและไม่ซับซ้อน
4. สอนซ้ำๆและสม่ำเสมอ
บทที่ 10
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็ก
เข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่อง
ของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่
ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและ
วิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการ
ตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นราย
บุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับ
เด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุก
ด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก
และความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มี
ความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบใน
โรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีด
จำกัดน้อยที่สุด