The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sakdinan.khu, 2022-06-02 03:05:16

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1

การวิเคราะห์เพ่ือทานายโครงการจดั ซ้ือจดั จ้างใหม่ โปรแกรมคอมพิวเตอรจ์ ะใชค้ วามรู้จากการเรียนรู้ข้อมูลเกา่ มา
เปรียบเทียบกับข้อมูลใหม่ ในกรณีที่โปรแกรมวิเคราะห์และทานายว่าโครงการจัดซ้ือจัดจ้างใหม่อยู่ในกลุ่มทุจริต
หน่วยงานเจา้ ของโครงการสามารถนามาเปน็ ข้อมูลในวางแผนป้องกนั ทุจรติ หรอื เป็นข้อมลู ให้หนว่ ยงานทเี่ ก่ียวข้อง
วางมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบการดาเนินการแต่ละข้ันตอนให้เที่ยงตรงโปร่งใสตามเจตนารมณ์ของการใช้
งบประมาณแผน่ ดนิ ต่อไป

9. ขอ้ เสนอแนะ
9.1 เพื่อให้การป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการ

เหมืองข้อมูล (Data mining) ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเคร่ือง (Machine learning) มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หน่วยงานภาครัฐควรออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นรูปแบบเดียวกันทุกกระทรวง และ
หน่วยงานที่ดาเนินการจัดซ้ือจัดจ้างต้องป้อนข้อมูลตามคุณลักษณะท่ีออกแบบไว้เข้าระบบฐานข้อมูลกลาง (Data
Center) ทุกคร้ัง เพ่ือจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จะทาให้ข้อมูลมีการเพิ่มเข้าระบบ (Update)
อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การเรียนรู้ของเคร่ือง (Machine learning) มีข้อมูลในการเรียนรู้มากข้ึน ค่าความถูกต้อง
ของการวิเคราะห์ผลจะถกู ต้อง แม่นยามากขึน้

9.2 ควรพฒั นาโปรแกรมคอมพวิ เตอร์เพ่ือวเิ คราะห์แนวโน้มการทุจริตโครงการจดั ซือ้ จัดจ้างของหนว่ ยงาน
ภาครัฐ โดยใช้เงื่อนไขการการวิเคราะห์จากกฎความสัมพันธ์ท่ีได้จากโมเดล อัลกอริทึม (Algorithm) ต้นไม้
ตดั สนิ ใจ (Decision tree)

9.3 ควรพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
(Internet of Thing: IOT) มาเปน็ เคร่ืองมือในจัดเก็บข้อมูลและส่งข้อมูลเข้าระบบฐานข้อมูลกลาง (Data center)
เนื่องจากโครงการจัดซ้ือจัดจ้างแต่ละโครงการมีความแตกต่างกัน เช่น พ้ืนท่ีโครงการ ขนาดโครงการ บุคคลท่ี
เกี่ยวข้องในโครงการ หรืองบประมาณ ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
อาจเก็บขอ้ มลู ไดเ้ ที่ยงตรงมากวา่ เกบ็ ดว้ ยบคุ คล เป็นตน้

เอกสารอา้ งองิ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2564). ประกาศกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจดั ซื้อ

จัดจ้างของกรมสอบสวนคดีพิเศษ. สืบค้นเม่ือวันท่ี 10 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.dsi.go.th/
oit/file/o44/มาตรการส่งเสริมความโปรง่ ใสในการจดั ซอ้ื จดั จา้ ง.pdf
จิตตภู พูลวัน. (2550). ระบบวิเคราะห์โรคท่ัวไปโดยใช้การจาแนกข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ภาควิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกล้าพระนครเหนอื .
ธราพงศ์ ล้ิมสุทธิวันภูมิ และ ตวงทอง สินชัย. (2563). การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ
Procurement Corruption in Government Agencies. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และ
สงั คมศาสตร,์ 3(2), 311-323.
ปริญญา สงวนสัตย์. (2562). Articial Intelligence with Machine Learning, AI สร้างได้ด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง.

นนทบุรี: ไอดีซี พรเี มียร์.

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบับที่ 1

การประยกุ ต์ใช้กระบวนการเหมอื งข้อมลู (Data mining) ด้วนเทคนิคการเรียนรู้ของเคร่อื ง 87

(Machine learning) เพ่อื การปอ้ งกันการทุจรติ การจดั ซอื้ จัดจา้ งของหนว่ ยงานภาครฐั

พยูน พาณิชย์กุล. (2548). การพัฒนาระบบดาต้าไมน์น่ิงโดยใช้ Decision Tree [โครงการพัฒนาระบบงาน
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศแขนงวิทยาการสารสนเทศสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกลา้ คณุ ทหารลาดกระบงั ]

รุจิรา ธรรมสมบัติ. (2554). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ตมือถือ โดยใช้ต้นไม้
ตัดสินใจ (รายงานวจิ ัย). นนทบรุ ี: สาขาคอมพวิ เตอร์ธรุ กิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลยั ราชพฤกษ.์

ศุภชัย ประคองศิลป์. (2551). การออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการอนุมัติลูกบ้านเข้า
โครงการโดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ กรณีศึกษามูลนิธิที่อยู่อาศัยเพ่ือมนุษยชาติ [ปัญหาพิเศษปริญญา
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบนั เทคโนโลยีพระจอมเกลา้ พระนครเหนือ]

ศนู ย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร สานักงานปลัดกระทรวงศกึ ษาธิการ. (2564). ราชบณั ฑติ ฯ บญั ญัติ "Big
Data" เป็นภาษาไทยว่า "ข้อมูลมหัต" และ Machine Learning ว่า "การเรียนรู้ของเครื่อง." สืบค้นเม่ือ
วันท่ี 10 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.bict.moe.go.th/2019/index.php?option=com
_content&view=article&id=766:big-data-machine-learning-25-2563&catid=43&Itemid=351

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนปฏิบัตกิ ารป้องกันและปราบปรามการทจุ ริต
และประพฤติมิชอบกระทรวงศึกษาธิการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นเม่ือวันที่
10 กรกฎาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.reo6.moe.go.th/web/images/stories/ข้อ%
2035%20แผนปฏิบัติ การป้องกันการทจุ ริต.pdf.

สิรินทรา เสียบไธสง และ สมศักด์ิ อมรสิริพงศ์. (2562). สภาพปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานภาครัฐท่ี
ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน State of Problems: Procurement Problems in Government
Agencies That Cause Corruption, ใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การประชุมทางวิชาการคร้ังท่ี 57
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (น. 437 - 446). กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา. (2557). Introduction to Data Mining with RapidMiner Studio 7. กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นสว่ นสามญั ดาตา้ ควิ บ.์

Arief, H. A., Saptawati, G. A. P., & Asnar, Y. D. W. (2016). Fraud detection based-on data mining on
Indonesian E-Procurement System (SPSE). In IEEE, 2016 International Conference on Data
and Software Engineering (ICoDSE) (pp. 1-6). Denpasar: IEEE

Baldomir, R. A., Van Erven, G. C., & Ralha, C. G. (2018). Brazilian Government Procurements: an
Approach to Find Fraud Traces in Companies Relationships. In Mauá, D. D., & Naldi, M.
( Eds.) , Anais do XV Encontro Nacional de Inteligência Artificial e Computacional ( pp.
752-762). São Paulo: SBC.

Carneiro, D., Veloso, P., Ventura, A., Palumbo, G., & Costa, J. (2020). Network Analysis for Fraud
Detection in Portuguese Public Procurement. In Analide, C., Novais, P., Camacho, D., & Yin,
H. ( Eds.) , International Conference on Intelligent Data Engineering and Automated
Learning (pp. 390-401). Guimaraes: Springer.

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับท่ี 1

การประยกุ ต์ใชก้ ระบวนการเหมอื งข้อมลู (Data mining) ด้วนเทคนิคการเรยี นรู้ของเครอ่ื ง 88

(Machine learning) เพ่ือการปอ้ งกนั การทุจริตการจดั ซ้ือจดั จา้ งของหน่วยงานภาครัฐ

Carvalho, R. N., Sales, L. J., Da Rocha, H. A., & Mendes, G. L. (2014). Using Bayesian networks to
identify and prevent split purchases in Brazil. In Laskey, K. B., Jones, J., & Almond, R. (Eds.),
Proceedings of the Eleventh UAI Conference on Bayesian Modeling Applications
Workshop 1218 (pp. 70-78). Quebec: CEUR-WS.

Domingos, S. L., Carvalho, R. N., Carvalho, R. S., & Ramos, G. N. (2016). Identifying IT purchases
anomalies in the Brazilian government procurement system using deep learning. In IEEE,
2016 15th IEEE International Conference on Machine Learning and Applications (ICMLA)
(pp. 722-727). CA: Conference Publishing Services (CPS).

Fayyad, U., Piatetsky-Shapiro, G., & Smyth, P. (1996). From Data Mining to Knowledge Discovery in
Databases, AI Magazine, 17(3), 37 - 54.

Fazekas, M., & Kocsis, G. (2020). Uncovering high-level corruption: crossnational objective
corruption risk indicators using public procurement data. British Journal of Political
Science, 50(1), 155-164.

Gallego, J., Rivero, G., & Martínez, J. D. (2018). Preventing rather than Punishing: An Early Warning
Model of Malfeasance in Public Procurement (Documentos de trabajo 016724). Bogotá:
Universidad del Rosario.

Han, J., & Kamber, M. (2001). Data Mining: Concepts and Techniques. CA: Morgan Kaufmann.
Han, J., & Kamber, M. (2006). Data mining: Concepts and techniques (2nd ed.). San Francisco:

Morgan Kaufmann.
Kaur, P., Singh, M., & Josan, GS. (2015). Classification and Prediction Based Data Mining Algorithms

to Predict Slow Learners in Education Sector. Procedia Computer Science, 57, 500-508.
Mencıa, E. L., Holthausen, S., Schulz, A., & Janssen, F. (2013). Using data mining on linked open

data for analyzing e-procurement information. In Claudia D'Amato, C., Berka, P., Svátek, V.,
& Wecel, K. ( Eds.) , Proceedings of the 2013 International Conference on Data Mining on
Linked Data - Volume 1082 (pp. 50–57). Aachen: CEUR-WS.org.
Modrušan, N., Mršić, L., & Rabuzin, K. (2021). Review of Public Procurement Fraud Detection
Techniques Powered by Emerging Technologies. International Journal of Advanced
Computer Science and Applications, 12(2), 1-9.
Modrušan, N., Rabuzin, K., & Mršić, L. (2020). Improving Public Sector Efficiency using Advanced
Text Mining in the Procurement Process. In Hammoudi, S., Quix, C., & Bernardino, J. (Eds.),
Proceedings of the 9th International Conference on Data Science, Technology and
Applications - Volume 1: DATA (pp. 200-206). Coimbra: ISEC.
Ralha, C. G., & Silva, C. V. (2012). A multi-agent data mining system for cartel detection in Brazilian
government procurement. Expert Systems with Applications, 39(14), 11642-11656.

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบบั ท่ี 1

การประยกุ ต์ใช้กระบวนการเหมอื งขอ้ มลู (Data mining) ด้วนเทคนคิ การเรยี นรู้ของเครื่อง 89

(Machine learning) เพ่อื การปอ้ งกนั การทจุ ริตการจดั ซอื้ จัดจา้ งของหนว่ ยงานภาครัฐ

Sales, L. (2013). Risk prevention of public procurement in the brazilian government using credit
scoring. In Húmus, E. (Ed.), Paper in the International Conference Interdisciplinary Insights
on Fraud and Corruption. OBEGEF-Observatório de Economiae Gestão de Fraude &
OBEGEF.

Sales, L. J., & Carvalho, R. N. (2016). Measuring the Risk of Public Contracts Using Bayesian
Classifiers. In Uncertainty in Artificial Intelligence BMA@UAI. (pp. 7–13). N.p.: BMA@UAI.

Shalev-Shwartz, S., & Ben-David, S. (2009). Understanding Machine Learning. Cambridge University
Press. https://doi.org/10.1017/CBO9781107298019.

Sun, T., Sales, L. J. (2018). Predicting public procurement irregularity: An application of neural
Networks. Journal of Emerging Technologies in Accounting, 15(1), 141-154.

Tas, B. K. (2017). Collusion Detection in Public Procurement with Limited Information. SSRN.
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2929222.

Van Erven, G. C. G., Carvalho, R. N., De Holanda, M. T., & Ralha, C. (2017). Graph database: A case
study for detecting fraud in acquisition of brazilian government. In IEEE, 2017 12th Iberian
Conference on Information Systems and Technologies (CISTI). (pp. 1-6). Lisbon: IEEE

Velasco, R. B., Carpanese, I., Interian, R., Paulo Neto, O. C., & Ribeiro, O. C. (2021). A decision
support system for fraud detection in public procurement. International Transactions in
Operational Research, 28(1), 27-47.

Wang, Y. (2016). Detecting Fraud in Public Procurement. [Abstract of the Dissertation,
University Libraries on behalf of The Graduate School at Stony Brook University].

Wensink, W., & Maarten de Vet, J. ( 2 0 0 6 ) . Identifying and Reducing Corruption in Public
Procurement in the EU. Woluwedal: PwC and Ecorys.

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ท่ี 1

การประยกุ ตใ์ ช้กระบวนการเหมอื งข้อมลู (Data mining) ด้วนเทคนคิ การเรียนรู้ของเคร่อื ง 90

(Machine learning) เพื่อการปอ้ งกันการทุจริตการจดั ซือ้ จดั จา้ งของหน่วยงานภาครัฐ

Measures to Protect Employees who are Whistleblowers
in the German Legal System

มาตรการคมุ้ ครองลูกจ้างซึ่งเป็นผแู้ จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมนั

Sunisa Bauer
สุนสิ า เบาเออร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Social Sciences, Kasetsart University

[email protected]

Abstract
In each law, its legal virtue has aim to protect differently. Whereas the law protects

“Whistleblower” as an informant of information about illegal acts, corruption, abuse of power or
actions which affect the public interest, are disclosed to the public. At the same time, such
disseminated confidential information may affect the rights and freedoms of the individual or
organization which is disclosed, or it may cause damage to other aspects; such as national security,
trade secret and economic value, including honor, reputation, etc.

In the German legal system, it places importance to the protection of whistleblowers.
Although specific laws have not yet been enacted to protect whistleblowers, there are several
relevant legal measures which have legal effect of protecting whistleblowers. Meanwhile, the
German legal system also considers the rights and liberties, as well as the impact which will occur
to the parties whose information is disclosed or reported. When the legal virtues collide with the
values of things that are protected by law, it is necessary to weigh those legal values.

In this article, therefore, it aims to study the determinations of legal protection conditions
in Germany for whistleblowing employees by considering the protection conditions from many
laws, and to find out which legal virtues that the German legal system give precedence. It is an
indemnity that the whistleblower can raise to fight with the legal values of the employer or
organization whose information is disclosed. Moreover, the European Court of Human Rights’
verdicts about whistleblower protection for employees are also studied.

Keywords: whistleblower, protection, employees, public interest, German law

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบับท่ี 1 91
มาตรการคุ้มครองลูกจ้างซง่ึ เปน็ ผแู้ จง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

บทคดั ยอ่

ในกฎหมายแต่ละฉบับล้วนมีคุณธรรมทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองแตกต่างกัน ในขณะท่ีกฎหมายให้ความ
คุ้มครองแก่ “ผู้แจ้งเบาะแส” (Whistleblower) ในฐานะท่ีเป็นผู้นาข้อมูลเกี่ยวกับการกระทาผิดกฎหมาย การ
ทจุ รติ การใชอ้ านาจโดยไมช่ อบด้วยกฎหมาย หรอื การกระทาทสี่ ง่ ผลกระทบต่อประโยชนส์ าธารณะออกมาเปิดเผย
ต่อสาธารณชนนั้น ในเวลาเดียวกัน ข้อมูล ความลับท่ีถูกเผยแพร่ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ
บุคคลหรือองค์กรที่ถูกเปิดเผยข้อมูล หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายในด้านอื่น ๆ เช่น ความม่ันคงของประเทศ
ความลับทางการคา้ มลู ค่าทางเศรษฐกจิ รวมถงึ เกียรตยิ ศชือ่ เสียง

ในระบบกฎหมายเยอรมันให้ความสาคัญกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส แม้จะยังไม่มีการตรากฎหมาย
เฉพาะเพ่ือคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสก็ตาม แต่ก็ปรากฏมาตรการในกฎหมายที่เก่ียวข้องหลายฉบับซ่ึงมีผลเป็นการ
คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ในขณะเดียวกันระบบกฎหมายเยอรมันก็ยังคานึงถึงสิทธิเสรีภาพ รวมถึงผลกระทบท่ีจะ
เกิดข้ึนแก่ฝ่ายที่ถูกเปิดเผยข้อมูล หรือถูกแจ้งเบาะแส เม่ือคุณธรรมทางกฎหมายหรือคุณค่าของสิ่งท่ีกฎหมาย
ตอ้ งการคมุ้ ครองของทัง้ สองฝา่ ยปะทะกนั กจ็ าเปน็ ตอ้ งมกี ารชงั่ นา้ หนักคุณค่าทางกฎหมายเหลา่ นน้ั

ในบทความฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษาวิธีการกาหนดเงื่อนไขความคุ้มครองทางกฎหมายของประเทศเยอรมนี ท่ี
ให้แก่ฝ่ายลูกจ้างท่ีเป็นผู้แจ้งเบาะแส โดยพิจารณาจากเง่ือนไขความคุ้มครองตามกฎหมายหลายฉบับประกอบกัน
ว่า คุณธรรมทางกฎหมายใดที่ระบบกฎหมายเยอรมันให้น้าหนักและความสาคัญ อันถือเป็นเหตุยกเวน้ ความรบั ผิด
ที่ฝ่ายผู้แจ้งเบาะแสสามารถยกขึ้นมาอ้างเพื่อต่อสู้กับคุณค่าทางกฎหมายของนายจ้างหรือองค์ซึ่งถูกเปิดเผยข้อมูล
ได้ รวมถึงศึกษาแนวคาพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปท่ีเคยวางหลักการในเร่ืองความคุ้มครองแก่ลูกจ้างผู้
แจง้ เบาะแสไว้

คาสาคญั : ผแู้ จ้งเบาะแส ความคุ้มครอง ลูกจา้ ง ประโยชน์สาธารณะ กฎหมายเยอรมัน

1. บทนา
“ผู้แจ้งเบาะแส” (Whistleblower) คือ บุคคลผู้นาข้อมูลเก่ียวกับการกระทาผิดกฎหมาย การทุจริต การ

ใช้อานาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือการกระทาท่ีส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะออกมาเปิดเผยต่อ
สาธารณชน แม้ว่า “ผู้แจ้งเบาะแส” ต่างจาก “พยาน” (พิศอาไพ สมความคิด และ รัชนี แมนเมธี, 2557, น. 52)
แต่กฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยจะมุ่งคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในลักษณะคล้ายกับการคุ้มครอง
พยานตามกฎหมายวธิ พี ิจารณาความอาญาเป็นหลัก เช่น การปกปิดข้อมูลส่วนตัวของผแู้ จ้งเบาะแสและครอบครัว
การจัดหาสถานที่อยู่ให้ใหม่ การให้ความคุ้มครองโดยเจ้าหน้าท่ีตารวจ การช่วยเหลือด้านการเงินในระหว่างท่ีไม่
สามารถไปทางานตามปกติได้ รวมถึงการให้เงินรางวัลตอบแทน ถึงแมว้ า่ จะมีการใหค้ วามคุ้มครองดังกล่าวแล้ว แต่
อาจยังไม่เพียงพอต่อความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ท่ีจะเกิดขึ้นแก่ผู้แจ้งเบาะแส โดยเฉพาะอย่างย่ิง หากผู้แจ้งเบาะแสน้ัน
เปน็ ลกู จา้ งหรอื พนักงานในองค์กรท่ีถกู แจ้งเบาะแสเอง ลูกจ้างซึ่งโดยปกตอิ ยู่ในสถานะที่ต่ากว่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ
และอานาจ กอ็ าจไดร้ ับผลกระทบในด้านอ่นื ๆ ตามมาด้วย เชน่ ผลกระทบตอ่ อาชพี จากการถกู เลกิ จ้าง ผลกระทบ
จากการถกู ฟ้องรอ้ งในคดีแพ่งเพ่อื เรียกค่าเสยี หาย ผลกระทบจากการถูกดาเนินคดอี าญาฐานหมิน่ ประมาท

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับที่ 1 92
มาตรการคมุ้ ครองลกู จ้างซ่งึ เปน็ ผแู้ จง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ในบทความฉบับนี้จึงมุ่งศึกษามาตรการตามกฎหมายฉบับอ่ืน ๆ นอกเหนือไปจากมาตรการตามกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งนามาใช้ส่งเสริมความคุ้มครองให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสที่เป็นลูกจ้างในระบบกฎหมาย
เยอรมัน จากการศกึ ษาพบวา่ นอกจากจะใช้วธิ กี ารคมุ้ ครองผู้แจง้ เบาะแสในการยุตธิ รรมแบบเดียวกับการคุ้มครอง
พยานแล้ว ในระบบกฎหมายเยอรมัน ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้แจ้งเบาะแสยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอีกหลาย
ฉบับ โดยไม่ได้จากัดการคุ้มครองลูกจ้างไว้แต่เพียงในกฎหมายคุ้มครองแรงงานเท่าน้ัน หากยังมีการใช้มาตรการ
ตามกฎหมายฉบับอื่น ๆ ท่ีเกี่ยวข้องประกอบกัน เช่น ลูกจ้างท่ีเป็นพนักงานของรัฐ ก็จะได้รับยกเว้นความผิดฐาน
เปิดเผยความลับของราชการ หากความลับดงั กล่าวเปน็ การแจง้ ขอ้ มูลเบาะแสการกระทาผดิ หรอื ทุจรติ ในหนว่ ยงาน
หรือกรณีลูกจ้างในบริษัทเอกชนที่แจ้งเบาะแสเก่ียวกับการกระทาผิดกฎหมาย การกระทาผิดต่อวิชาชีพ หรือการ
กระทาโดยมิชอบของบริษัท แม้จะถือว่าลูกจ้างเปิดเผยข้อมูลหรือความลับของธุรกิจ แต่ถ้าข้อมูลดังกล่าวเป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยของประชาชน ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสหรือ
ให้ข้อมูลความลับดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองที่จะไม่ถูกดาเนินคดีอาญา และบริษัทไม่สามารถฟ้องเรียก
ค่าเสียหายในทางแพ่งจากลูกจ้างผ้แู จ้งเบาะแสได้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายเยอรมันยังคงคานึงถึงสทิ ธิเสรภี าพ และ
ความเสียหายของฝ่ายนายจ้าง หรือองค์กรท่ีถูกเปิดเผยข้อมูลความลับด้วย ดังน้ัน ลักษณะความคุ้มครองท่ีให้แก่
ลูกจ้างผแู้ จ้งเบาะแส จงึ เปน็ การกาหนดความคุ้มครองแบบมเี งื่อนไข กล่าวคือ โดยหลกั ท่ัวไปแลว้ ผูเ้ ปิดเผยความลับ
ขององค์กรหรือหน่วยงานอาจต้องมีความรับผิดตามกฎหมาย หากความลับหรือข้อมูลดังกล่าวทาให้เกิดความ
เสียหายหรือส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือหน่วยงาน แต่ถ้าการเปิดเผยความลับดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อแจ้งเบาะแส
การกระทาความผิดหรือทุจริตในหน่วยงาน ผู้แจ้งเบาะแสก็จะได้รับยกเว้นความผิด ในบทความฉบับน้ีจึงเป็นการ
รวบรวม และอธบิ ายถึงเงื่อนไขตามกฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่ลูกจ้างอาจใช้เป็นเหตยุ กเว้นความรับผิดของตนในฐานะ
ผู้แจ้งเบาะแส ได้แก่ เหตุยกเว้นหน้าที่ในการรักษาความลับของราชการ เหตุยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย
แรงงาน เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นความรับผิดต่อค่าเสียหายในทางแพ่ง อีกท้ังยังมีแนวคา
พิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปที่วางหลักการคุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส โดยคานึงถึงสมดุลระหว่างการ
คมุ้ ครองสิทธขิ องลกู จ้างผูแ้ จง้ เบาะแสกบั ความเสียหายของฝา่ ยนายจ้าง

2. ความหมายและขอบเขตการคุม้ ครอง “ผู้แจง้ เบาะแส” ในระบบกฎหมายเยอรมัน
คาว่า “ผู้แจ้งเบาะแส” (Whistleblower) ในภาษาเยอรมัน อาจใช้คาว่า “ผู้ให้เบาะแส” (Hinweisgeber)

“ผูส้ ง่ สญั ญาณ” (Signalgeber) หรือ “ผใู้ ห้ขอ้ มลู ” (Informant) ซึ่งล้วนมคี วามหมายถึง การส่งสญั ญาณเตือน ใน
ปัจจุบันคาน้ีถูกนามาใช้อย่างแพร่หลายโดยหมายถึง บุคคลผู้นาข้อมูลภายในขององค์กร เก่ียวกับการกระทาผิด
กฎหมาย การทุจริต การใช้อานาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือการกระทาท่ีส่งผลกระทบต่อประโยชนส์ าธารณะ
เช่น การกระทาท่ีอาจเป็นภัยต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน ออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะ เพ่ือให้มี
การสอบสวนหาข้อเท็จจริง หรือนามาใช้เป็นหลักฐานในการดาเนินคดีกับผู้เก่ียวข้อง (Europäische
Kommission, 2019).

ตามรัฐธรรมนูญของเยอรมันหรือท่ีเรียกกันว่า “กฎหมายพื้นฐาน” (Grundgesetz – GG) น้ัน ได้รับรอง
เสรีภาพในการกระทาการของบุคคลไว้ ตามมาตรา 2 วรรค 1 ทบี่ ัญญตั ิวา่ “บุคคลมีสิทธทิ จี่ ะพัฒนาบุคลิกภาพของ
ตนเองได้โดยเสรี ตราบใดท่ีไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอ่ืนหรือละเมิดระบอบรัฐธรรมนูญ หรือศีลธรรมอันดี

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบบั ท่ี 1 93
มาตรการคุ้มครองลูกจ้างซง่ึ เปน็ ผูแ้ จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ของประชาชน” (สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2557) โดยเชื่อมโยงเข้ากับมาตรา 20 วรรค 3 ของ
กฎหมายพื้นฐาน ท่ีบัญญัติว่า “กฎหมายย่อมอยู่ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการอยู่ภายใต้
กฎหมาย” (สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2557) และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 5
วรรค 1 กฎหมายพื้นฐาน ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลมีสิทธิที่จะแสดงออกและโฆษณาโดยเสรี ซ่ึงความเห็นของตนโดย
การพูด การเขียน และรูปภาพ และมีสิทธิโดยเสรีท่ีจะแสวงหาข่าวสารให้แก่ตนเองจากแหล่งข่าวสาธารณะ
เสรีภาพในการพิมพ์ และเสรีภาพในการรายงานข่าวโดยวิทยุกระจายเสียง และโดยสิทธิในเกียรติยศส่วนตัวจะ
ละเมิดมิได้” (สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2557) ดังน้ัน ผู้แจ้งเบาะแสสามารถยกบทบัญญัติเก่ียวกับ
สิทธพิ ื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของตนมาใช้เปน็ ขอ้ ตอ่ สู้ในช้ันศาลได้

ถึงแม้ว่าประเทศเยอรมนีจะมีบทบัญญัตริ ับรองเสรีภาพในการแสดงความคดิ เห็นของบุคคลไว้ตามกฎหมาย
พื้นฐานแล้วก็ตาม แต่ฝ่ายนิติบัญญัติก็ยังมีความพยายามเสนอร่างกฎหมายอีกฉบับหน่ึงท่ีมีช่ือว่า “รัฐบัญญัติว่า
ด้วยการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส” (Hinweisgeberschutzgesetz – HinwGebSchG) เพื่ออนุวัติการตามกฎหมาย
ของสหภาพยุโรป และเป็นการกาหนดมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้ในกฎหมายฉบับเดียว (Deutscher
Bundestag, 2012) แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวไมผ่ ่านความเห็นชอบของรฐั สภา (Deutscher Bundestag, 2019, p.
9) ทาให้ยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายเพ่ือคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้ในกฎหมายเฉพาะ ในปัจจุบัน ประเทศเยอรมนจี งึ
ใช้วิธีการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสโดยอาศัยกฎหมายท่ีเก่ียวข้องหลายฉบับประกอบกัน เช่น ความคุ้มครองตาม
รัฐธรรมนูญ ความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ความคุ้มครองตามกฎหมายอาญา ความคุ้มครองตามกฎหมาย
คมุ้ ครองความลบั ทางธรุ กจิ รวมไปถงึ แนวคาพิพากษาของศาล

ถึงแม้ว่ากฎหมายเยอรมันจะให้ความสาคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้แจ้งเบาะแส ที่จะมีเสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ และไม่ต้องรับผลร้ายจากการเปิดเผยข้อมูลเก่ียวกับหน่วยงานของตน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสถานะการทางาน หรือผลกระทบจากการถูกดาเนินคดีอาญา แต่ในขณะเดียวกนั
กฎหมายเยอรมันก็ยังคานึงถึงผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการแจ้งเบาะแสด้วย เพราะ
สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของบุคคล องค์กร หรือกิจการท่ีถูกเปิดเผยข้อมูลนั้น ก็เป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการ
รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน เช่น หน่วยงานของรัฐที่ถูกนาข้อมูลออกมาเปิดเผยซ่ึงอาจกระทบต่อการ
บริหารประเทศ สิทธใิ นการประกอบอาชีพของธุรกิจท่ีถูกเปดิ เผยความลับทางการค้า สิทธใิ นชอื่ เสยี งเกียรตยิ ศของ
นายจา้ งหรอื กจิ การ

ด้วยเหตุน้ี หากพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายเยอรมันท่ีเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสจะพบว่า แม้
จะมีการกาหนดมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้ แต่ก็ไม่ใช่การคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ โดยปราศจากความรับผิด
โดยสน้ิ เชงิ แตจ่ ะกาหนดเงอ่ื นไขหรือลักษณะของการแจ้งเบาะแส ทจ่ี ะทาให้ลูกจ้างผแู้ จ้งเบาะแสหลดุ พน้ จากความ
รับผิดตามกฎหมายไว้ แม้ว่าการแจ้งเบาะแสน้ันอาจก่อให้เกิดความเสยี หายต่อองค์กร หน่วยงาน หรือกิจการท่ีถูก
เปิดเผยข้อมูลก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า ความคุ้มครองที่ให้แก่ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมันนั้น เป็น
ความคุ้มครองแบบมีเงื่อนไข โดยในระบบกฎหมายเยอรมันปรากฏบทบัญญัติที่ใช้คุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส
แบบมีเงือ่ นไข ดังตอ่ ไปนี้

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบับท่ี 1 94
มาตรการค้มุ ครองลูกจ้างซง่ึ เป็นผแู้ จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

3. เหตยุ กเวน้ หน้าท่ใี นการรกั ษาความลับของราชการ
โดยหลักแล้ว ขา้ ราชการหรอื เจ้าหนา้ ท่ีของรฐั มีหน้าทใ่ี นการรักษาความลับของทางราชการ ซง่ึ หากฝ่าฝืนก็

อาจถูกดาเนินการทางวินัย ในด้านหน่ึง หน้าที่ในการรักษาความลับของทางราชการทาให้การบริหารราชการ
แผ่นดินเป็นไปด้วยความเรยี บร้อย แต่ในอีกด้านหน่ึง การทุจริตคอรัปชันหรอื การประพฤติมิชอบก็อาจถูกปกปดิ ไว้
เพราะข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ทราบข้อมูลไม่กล้าเปิดเผยความจริง เน่ืองจากเกรงกลัวผลกระทบต่อหน้าที่
ราชการของตนเองหากต้องถูกดาเนินการทางวินัย ดังนั้น เพ่ือสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบในองค์กร และเพื่อ
ประสิทธิภาพในการตรวจสอบการประพฤติมิชอบในแวดวงราชการ กฎหมายเยอรมันจึงสร้างมาตรการคุ้มครอง
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐที่เป็นผู้แจ้งข้อมูลเบาะแสการกระทาผิดไว้ เช่น มาตรา 37 วรรค 2 Nr. 3 รัฐ
บัญญัติว่าด้วยสถานะของข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Beamtenstatusgesetz – BeamtStG) ซ่ึงบัญญัติ
ยกเวน้ หนา้ ท่ขี องเจ้าหน้าทม่ี ลรฐั และเจา้ หนา้ ที่ทอ้ งถิน่ ในการรักษาความลับของราชการ (Agonafer, 2019, p. 25)
หากเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยว่า ข้อมูลความลับของราชการนั้นเก่ียวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น และในมาตรา 67
วรรค 2 Nr. 3 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยข้าราชการแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐ (Bundesbeamtengesetz – BBG) ก็ได้
บัญญัติเหตุยกเว้นหน้าที่รักษาความลับของราชการของข้าราชการและเจา้ หน้าท่ีของสหพันธ์ฯ ในลักษณะเดียวกัน
โดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว ข้าราชการหรือเจ้าหน้าท่ีรัฐผู้แจ้งเบาะแสการกระทาผิดกฎหมายหรอื การทุจริตย่อม
ได้รบั ความค้มุ ครอง ไม่ตอ้ งรับผดิ ฐานเปิดเผยความลับของทางราชการ (Deutscher Bundestag, 2018, p. 3)

นอกเหนอื ไปจากการคุ้มครองข้าราชการหรือเจา้ หน้าทีร่ ฐั ผแู้ จ้งเบาะแสตามท่บี ัญญัติไว้ในรฐั บัญญัติว่าด้วย
สถานะของข้าราชการและพนักงานของรัฐ และรัฐบัญญัติว่าด้วยข้าราชการแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐแล้ว ใน
กฎหมายอาญาว่าด้วยการป้องกันการกระทาความผิดต่อรัฐ (Staatschutzstrafrecht) ยังได้กาหนดองค์ประกอบ
ความผิดอาญาไว้ในมาตรา 94 วรรค 1 ของประมวลกฎหมายอาญา (Strafgesetzbuch – StGB) ว่า บุคคลใด
เผยแพร่ความลับของรัฐไปยังอานาจอ่ืนใดภายนอกรัฐ หรือไปยังคนกลาง “เพ่ือให้สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีถูก
แทรกแซงหรือเพ่ือประโยชน์แก่อานาจอื่นใดภายนอกรัฐ” ผู้นั้นมีความผิดอาญา จะเห็นได้ว่าประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 94 วรรค 1 พิจารณาถึงมูลเหตุจูงใจของผู้กระทาในฐานะที่เป็นองค์ประกอบภายในจิตใจของ
ผู้กระทาความผิด หากการเผยแพร่ความลับของรัฐออกไปปราศจากเหตุจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มาตรา 94
วรรค 1 ประมวลกฎหมายอาญากาหนดไว้ ย่อมไม่มีความผิดอาญา โดยอาศัยหลักกฎหมายอาญาดังกล่าวน้ี หาก
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเผยแพร่ข้อมูลความลบั ของทางราชการ แต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อแจ้งเบาะแส
การทุจริตหรือการกระทาผิดกฎหมาย ย่อมถือว่าการกระทาของข้าราชการหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้น้ันขาด
องคป์ ระกอบภายในตามมาตรา 94 วรรค 1 ของประมวลกฎหมายอาญา ขา้ ราชการหรอื เจา้ หนา้ ทีข่ องรัฐผู้เผยแพร่
ข้อมลู ความลบั ของทางราชการ จึงไมต่ ้องรับผิดทางอาญา

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบบั ที่ 1 95
มาตรการคุ้มครองลูกจ้างซึง่ เป็นผู้แจง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

4. เหตุยกเวน้ ความรบั ผิดตามกฎหมายแรงงาน
มาตรา 17 วรรค 2 รัฐบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (Arbeitsschutzgesetz – ArbSchG) ได้กาหนดมาตรการ

คุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสไว้ หากลูกจ้างเกิดข้อสงสัยหรือความไม่แน่ใจเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขภาพอนามัย
ซ่งึ นายจ้างมีหนา้ ท่ีตอ้ งจดั หาให้ตามกฎหมาย ลูกจ้างสามารถแจง้ ไปยงั เจา้ หน้าทีข่ องรัฐท่ีรบั ผดิ ชอบในเร่ืองดังกล่าว
ใหเ้ ขา้ มาตรวจสอบได้ โดยการแจง้ ดงั กล่าวจะไมส่ ่งผลร้ายต่อตัวลูกจา้ ง อย่างไรกต็ าม เงอื่ นไขทีส่ าคัญประการหน่ึง
ในการใช้สิทธิแจ้งข้อมูลของฝ่ายลูกจ้าง คือ การแจ้งข้อมูลเบ้ืองต้นแก่เจ้าหน้าท่ีผู้รับผิดชอบภายในองค์กรก่อน
ท้ังน้ี เพื่อรักษาช่ือเสียงขององค์กรหรือนายจ้าง ดังนั้น หากลูกจ้างพบเห็นการกระทาผิดในหน่วยงานของตน ใน
ลาดับแรกลกู จา้ งต้องแจ้งไปยงั ฝา่ ยนายจ้างเพื่อให้ดาเนินการตรวจสอบ หรือแก้ไขปรับปรงุ มาตรฐานความคุม้ ครอง
ด้านสุขภาพอนามัยใหเ้ ป็นไปตามกฎหมายเสียก่อน หากนายจา้ งเพิกเฉยไม่ดาเนินการตรวจสอบหรือแกไ้ ขปรับปรุง
มาตรฐาน จึงจะเกิดสิทธิแก่ลูกจ้างในการแจง้ เหตุไปยงั เจ้าหน้าที่รัฐที่เก่ียวข้อง โดยลูกจ้างต้องได้รับความคุ้มครอง
ไมต่ ้องรบั ผลรา้ ยทจี่ ะตามมาจากการแจง้ เบาะแสดงั กล่าว

หลักที่กาหนดให้ลูกจ้างที่พบเห็นการกระทาความผิดหรือการทุจริตควรต้อ งแจ้งต่อฝ่ายตรวจสอบภายใน
หรือผู้มีหน้าท่ีรับผิดชอบในองค์กรทราบก่อนท่ีจะนาข้อมูลแจ้งออกไปภายนอกน้ี เป็นหลักการท่ีปรากฏอยู่ใน
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (UN Convention Against Corruption –
UNCAC) ด้วยเช่นกัน (พิศอาไพ สมความคิด และ รัชนี แมนเมธี, 2557, น. 59) อย่างไรก็ตาม หลักท่ีกาหนดว่า
ลูกจ้างต้องแจ้งเบาะแสการกระทาผิดในหน่วยงานให้นายจ้างทราบก่อน หากนายจ้างเพิกเฉย จึงจะมีสิทธิแจ้งต่อ
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเพ่ือตรวจสอบนั้น มีข้อยกเว้นในกรณีความผิดอาญาซ่ึงหน้า ลูกจ้างย่อมมีสิทธิแจ้งความต่อ
เจ้าหนา้ ท่ตี ารวจไดท้ นั ที เช่น ระหว่างลกู จ้างเดนิ ทางกบั หัวหน้าเพ่ือไปพบลกู คา้ หัวหนา้ เมาสรุ าขบั รถชนผู้อืน่ ได้รับ
บาดเจ็บ และไม่หยุดรถเพื่อชว่ ยเหลือ ในกรณีดังกล่าวน้ี ลูกจ้างย่อมมีสิทธิเข้าแจ้งความต่อตารวจได้ทันที ไม่ถือว่า
เปน็ กรณีท่ีลูกจา้ งตอ้ งแจง้ การกระทาผดิ ต่อนายจา้ งหรือบริษทั ก่อน (Hensche, 2019)

นอกจากนี้ มาตรา 13 แหง่ รัฐบญั ญัติวา่ ด้วยความเสมอภาคพน้ื ฐาน (Allgemeines Gleichbehandlungsgesetz
– AGG) ยงั รบั รองสทิ ธิลกู จา้ งในการรอ้ งเรยี นโตแ้ ย้งการกระทาท่ีมลี กั ษณะเป็นการเลือกปฏิบตั ิโดยไม่เป็นธรรมโดย
เหตุเร่ืองเพศ ถ่ินกาเนิด เชื้อชาติ และตามมาตรา 7 และมาตรา 15 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาคพื้นฐาน
ยังกาหนดสิทธิเรยี กร้องค่าเสียหายจากการถูกเลือกปฏบิ ัตโิ ดยไม่เป็นธรรมไว้อีกด้วย (Hensche, 2012) โดยอาศัย
หลักกฎหมายตามรัฐบัญญัติวา่ ด้วยความเสมอภาคพ้ืนฐาน ลูกจ้างที่ถูกกล่ันแกล้งหรือเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
จากการแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทาผิดภายในองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น ถูกโยกย้ายตาแหน่ง
ถกู พักงาน หรือถกู เลกิ จา้ ง ยอ่ มสามารถอ้างสทิ ธติ ามรัฐบัญญัติฉบับน้ขี น้ึ เป็นข้อต่อสูใ้ นคดีได้

ตามมาตรา 84 ของรฐั บัญญตั วิ ่าดว้ ยธรรมนูญการประกอบกจิ การธรุ กจิ (Betriebsverfassungsgesetz –
BetrVG) กไ็ ดร้ บั รองสิทธใิ นการยื่นขอ้ เรียกร้องของลูกจ้างไวใ้ นลกั ษณะเดยี วกนั โดยเฉพาะอย่างยิง่ หากเปน็ งานใน
ส่วนของบริการสาธารณะโดยรฐั น้นั รฐั บัญญัตวิ า่ ดว้ ยผูแ้ ทนพนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Bundespersonalvertretungsgesetz
– BPersVG) มาตรา 68 วรรค 1 Nr. 3 กาหนดให้ผ้แู ทนสามารถใช้สทิ ธิร้องเรยี นแทนพนกั งานหรอื เจา้ หนา้ ทร่ี ัฐได้

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 96
มาตรการคุ้มครองลกู จ้างซงึ่ เปน็ ผู้แจ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ในส่วนของกฎหมายแรงงานน้ัน เน่ืองจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน (Bürgerliches Gesetzbuch –
BGB) กาหนดวิธีการเลิกจ้างไว้ 2 ประเภท กล่าวคือ การเลิกสัญญาจ้างแบบปกติตามมาตรา 622 ประมวล
กฎหมายแพง่ ต้องมีการแจง้ ล่วงหน้าเป็นลายลกั ษณ์อักษร และความสัมพันธ์ในการจ้างงานจะยุติลงเม่ือระยะเวลา
ในการแจ้งล่วงหน้าส้ินสุดลง ส่วนการเลิกจ้างกรณีพิเศษตามมาตรา 626 ประมวลกฎหมายแพ่ง นายจ้าง
ไม่จาเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และจะมีผลในการยกเลิกความสัมพันธ์ในการจ้างงานทันที (Deutscher
Bundestag, 2018, p. 3) ตามหลกั กฎหมายแพ่งเยอรมนั ลกู จ้างซ่งึ เป็นผู้แจง้ เบาะแสย่อมได้รบั ความคุ้มครองจาก
ผลกระทบต่อหน้าท่ีการงาน โดยลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสจะไม่ถูกเลิกจ้างจากการเลิกจ้างทั้งสองประเภทโดยมีสาเหตุ
มาจากการท่ีลูกจ้างเปิดเผยข้อมูลท่ีมีความละเอียดอ่อนขององค์กร ยิ่งไปกว่าน้ัน ลูกจ้างสามารถอาศัยความ
คุ้มครองตามมาตรา 612a ประมวลกฎหมายแพ่ง ท่ีห้ามมิให้นายจ้างออกข้อบังคับการทางานหรือทาข้อตกลง
เก่ียวกับสภาพการจ้างท่ีมีลักษณะเอารัดเอาเปรียบ หรือขัดขวางการใช้สิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายของลูกจ้าง
ได้อกี ดว้ ย เช่น สิทธิในการแจง้ เบาะแสการกระทาผิดหรือการประพฤติมชิ อบภายในหนว่ ยงาน

ในส่วนของกิจการประกอบธุรกิจด้านการเงินนั้น ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา
4d รัฐบัญญัติว่าด้วยการกากับดูแลกิจกรรมทางการเงิน (Finanzdienstleistungsaufsichtsgesetz – FinDAG)
เน่ืองจากรัฐบัญญัติดังกล่าวถูกนามาใช้บังคับหลังจากเหตุการณ์วิกฤติทางการเงินในปี 2016 โดยมีวัตถุประสงค์
เพ่ือทาให้ตลาดเงินมีความโปร่งใสและน่าเช่ือถือมากยิง่ ขึ้น (Deutscher Bundestag, 2019, p. 5) รัฐบัญญัติฉบับ
น้ีจึงกาหนดหลกั เกณฑ์การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทาผดิ ในภาคการเงินไว้ด้วย โดยผแู้ จง้ เบาะแสจะ
ไดร้ บั ความค้มุ ครองจากผลรา้ ยทีจ่ ะเกดิ ขึ้นจากการแจ้งเบาะแสโดยวธิ ีการดังตอ่ ไปน้ี

ประการแรก มาตรา 4d วรรค 1 รฐั บัญญัติวา่ ดว้ ยการกากับดูแลกจิ กรรมทางการเงนิ กาหนดใหห้ นว่ ยงาน
ของรัฐที่ทาหน้าที่กากับดูแลกิจกรรมทางการเงินต้องจัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสการกระทาผิดทางกา รเงินผ่าน
ระบบอินเตอรเ์ น็ตแพลทฟอร์ม โดยในกระบวนการตอ้ งมีการปกปิดข้อมูลของผู้แจง้ เบาะแส

ประการที่สอง มาตรา 4d วรรค 6 รัฐบัญญัติว่าด้วยการกากับดูแลกิจกรรมทางการเงิน ยังให้ความ
คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส แม้ว่าข้อมูลเบาะแสท่ีแจ้งนั้นไม่ใช่เร่ืองจริง และอาจทาให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน
หรือกจิ การก็ตาม หากผแู้ จง้ เบาะแสไม่ได้กระทาลงไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออยา่ งร้ายแรง ผแู้ จ้งเบาะแสยัง
ไดร้ ับความคมุ้ ครองจากผลรา้ ยทีจ่ ะเกิดแกต่ นทงั้ ในทางกฎหมายอาญาและกฎหมายแรงงาน เช่น ไมม่ ีความผิดฐาน
หม่นิ ประมาท ไม่ถกู เลกิ จ้าง

5. เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
แม้ว่าประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันไม่ได้มีบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสไว้โดยเฉพาะ แต่ใน

มาตรา 17 ของรัฐบัญญัติป้องกันการแข่งขันทางการค้าท่ีไม่เป็นธรรม (Gesetzes gegen den unlauteren
Wettbewerb – UWG) ได้บัญญตั ถิ ึงความผิดอาญาของผู้แจ้งเบาะแสไวว้ ่า “ในระหว่างที่ทางานให้แก่กิจการ ผ้ใู ด
เปิดเผยข้อมูล ความลับทางธุรกิจโดยไม่มีอานาจ (unbefugt) เพื่อวัตถุประสงค์ในการแข่งขันทางการค้า เพื่อ
ประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ของบุคคลท่ีสาม หรือเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ งแก่เจ้าของ
กิจการ ผู้นั้นมีความผิดตามกฎหมายอาญา” จากวลีท่ีว่า “ในระหว่างที่ทางานให้แก่กิจการ...” จะเห็นได้ว่า
กฎหมายม่งุ เอาผดิ กับลกู จ้างซ่งึ มโี อกาสล่วงรู้ หรอื เข้าถึงข้อมูลความลับทางธุรกจิ ของนายจ้างในระหว่างการทางาน

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบบั ที่ 1 97
มาตรการคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเปน็ ผู้แจง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ให้นายจ้าง อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบัญญัติป้องกันการแข่งขันทางการค้าท่ีไม่เป็นธรรมจะมุ่งคุ้มครองคุณธรรมทาง
กฎหมายในสว่ นของการแข่งขันทางการค้าอยา่ งเปน็ ธรรม และเหน็ ว่าการเปดิ เผยข้อมูลความลับทางธุรกิจโดยไม่มี
อานาจ ย่อมส่งผลทาให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมขึ้นได้ แต่รัฐบัญญัติฉบับน้ีก็ยังให้ความสาคัญกับการคุ้มครอง
ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส จึงกาหนดเง่ือนไขความรับผิดทางอาญาของผู้แจ้งเบาะแสไว้ว่า การแจ้งเบาะแสท่ีเป็นเร่ือง
ข้อมูล ความลับทางการค้า ผู้แจ้งเบาะแสจะมีความผิดก็ต่อเม่ือ เป็นการเปิดเผยข้อมูล “โดยไม่มีอานาจ” ดังน้ัน
กรณีที่ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสจะมีความรับผิดอาญาได้น้ัน จาเป็นต้องพิสูจน์องค์ประกอบความรบั ผดิ ในส่วนของการ
กระทา “โดยไมม่ อี านาจ” ด้วย

ในประเดน็ ความรับผิดทางอาญาตามรฐั บัญญัติป้องกนั การแข่งขันทางการค้าท่ีไม่เป็นธรรมนัน้ ในเบอ้ื งต้น
ต้องแยกความแตกต่างระหว่าง “การแจ้งเบาะแสภายในองค์กร” (internem Whistleblowing) กับ “การแจ้ง
เบาะแสภายนอกองค์กร” (externem Whistleblowing)

ในกรณีของ “การแจ้งเบาะแสภายในองค์กร” น้ัน หมายถึง การท่ีผู้แจ้งเบาะแสอยู่ในตาแหน่งใดตาแหนง่
หนึ่งภายในองค์กร มอี านาจเขา้ ถึงหรือทราบข้อมลู ภายในองค์กร และนาขอ้ มูลหรือเบาะแสเก่ยี วกับการกระทาผิด
หรือการกระทาโดยมิชอบน้ันมาเปิดเผยให้รับรู้กันเองภายในองค์กรของตน โดยมิได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน
จากลักษณะการกระทาที่เป็นเพียงการให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแสเฉพาะภายในองค์กรนี้ ในมุมมองทางกฎหมาย
อาญาจึงถือว่า ผู้แจ้งเบาะแสไม่มีเจตนากระทาผิดหรือเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายต่อกิจการหรือองค์กรของตน
ย่ิงไปกว่านั้น หากการแจ้งเบาะแสมาจากบุคคลที่มีตาแหน่งหน้าที่ในองค์กรซ่ึงสามารถเข้าถึงข้อมูลเบาะแสได้อยู่
แล้ว ย่อมไม่อาจถือว่าผู้นั้นเปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอานาจ ทาให้ขาดองค์ประกอบความผิดในเรอ่ื งการเปดิ เผย
“โดยไม่มอี านาจ” ผูแ้ จ้งเบาะแสจึงไดร้ ับยกเวน้ ความผิดทางอาญา (Reinbacher, 2018)

ในทางกลับกัน “การแจง้ เบาะแสภายนอกองคก์ ร” คือ การเปดิ เผยขอ้ มลู เบาะแสการกระทาผดิ ออกไปยัง
สาธารณชน เชน่ สือ่ มวลชน ในกรณดี งั กล่าวนี้ กจิ การหรือองค์กรไม่ไดใ้ หค้ วามยินยอม ทาใหก้ ารกระทาของผู้แจ้ง
เบาะแสภายนอกครบองค์ประกอบความผิดในส่วนของการเปิดเผยข้อมูล “โดยไม่มีอานาจ” อย่างไรก็ดี อาจมีผู้
แจ้งเบาะแสภายนอก ซ่ึงเปิดเผยข้อมูล ความลับทางธุรกิจของหน่วยงานหรือกิจการ โดยมีเจตนาเพ่ือประโยชน์
สว่ นรวม กลา่ วคอื มเี หตุจูงใจท่ีเป็นเจตนาบรสิ ุทธ์ิ โดยไมค่ านึงถึงคา่ ตอบแทนเป็นตวั เงิน เหตจุ ูงใจหรอื จุดมุ่งหมาย
ของการกระทาเช่นวา่ น้ี ยอ่ มถอื เปน็ เหตขุ ้ออ้างประการหนึ่ง ทีจ่ ะทาให้ผ้แู จ้งเบาะแสภายนอกไดร้ บั ยกเวน้ ความผิด
อาญา เนื่องจากมาตรา 17 ของรัฐบัญญัติป้องกันการแข่งขันทางการค้าท่ีไม่เป็นธรรม ได้กาหนดเงื่อนไข
องค์ประกอบความผดิ ไว้วา่ การแจง้ เบาะแสที่เป็นความผิดตามกฎหมายฉบบั นี้คือ การเปิดเผยข้อมูล ความลบั ทาง
ธุรกิจ “เพ่ือวัตถุประสงค์ในการแข่งขันทางการค้า เพื่อประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ของบุคคลท่ีสาม หรือเพื่อ
ก่อใหเ้ กดิ ความเสยี หายอย่างใดอยา่ งหน่งึ แกเ่ จา้ ของกิจการ” ตัวอยา่ งของกรณีทจี่ ะถอื วา่ ครบองค์ประกอบความผิด
ตามมาตรา 17 แห่งรัฐบัญญัติป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น ผู้แจ้งเบาะแสได้ค่าตอบแทนจาก
ส่ือมวลชน หรือแม้กระทั่งจากเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ามาตรวจสอบ ก็อาจถือได้ว่าครบองค์ประกอบความผิด ดังน้ัน
ความผิดอาญาของผู้แจ้งเบาะแสจึงข้ึนอยู่กับมูลเหตุจูงใจในการเปิดเผยข้อมูล ความลับ หรือเบาะแสดังกล่าว
(Deutscher Bundestag, 2019, p. 6)

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 98
มาตรการคมุ้ ครองลูกจ้างซง่ึ เป็นผ้แู จง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ประเด็นความผิดทางอาญาของ “การแจ้งเบาะแสภายนอกองค์กร” มีข้อถกเถียงในทางวิชาการอยู่ว่า ผู้
แจ้งเบาะแสอาจยก “หลักป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย” (Rechtfertigender Notstand) ตามมาตรา 34
ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันมาเป็นเหตยุ กเว้นความผิดของตนได้ เชน่ ผู้แจง้ เบาะแสให้ข้อมลู เปิดเผยความลับ
ขององค์กรหรือกิจการ เพือ่ ปอ้ งปดั ภยันตรายท่ใี กล้จะเกดิ ข้นึ แต่ผ้แู จง้ เบาะแสต้องชัง่ น้าหนักว่า ระหวา่ งประโยชน์
ที่ตนเองหรือบุคคลอื่นจะรอดพ้นจากภยันตราย กับผลเสียที่จะเกิดแก่หน่วยงานหรือกิจการที่ถูกเปิดเผยข้อมูล สิ่ง
ใดมีน้าหนักมากกว่ากัน หลักป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเรียกร้องให้มีการชั่งน้าหนักคุณค่าของสิ่งที่กฎหมาย
มุ่งคุ้มครองระหว่างประโยชน์ที่ผู้แจ้งเบาะแสหรือส่วนรวมจะได้รับจากการทราบข้อมูล ความลับทางการค้า กับ
ผลร้ายทอี่ งคก์ รหรือกิจการจะตอ้ งรับจากการถูกเปิดเผยขอ้ มลู ความลบั ทางธุรกิจ (Agonafer, 2019, p. 23)

ข้อพึงระวังคือ หลักป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 34 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันยัง
เรียกร้องใหผ้ แู้ จ้งเบาะแสต้องเลือกใช้วิธกี ารที่จาเป็นเท่านั้น กล่าวคือ หากผ้แู จ้งเบาะแสจะอ้างหลักความจาเป็นมา
เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา ก็ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า การแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสนั้น ทาเพ่ือคุ้มครอง
คุณธรรมทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง และนอกเหนือไปจากวิธีการแจ้งเบาะแสหรือเปิดเผยข้อมูลความลับของ
องคก์ รหรอื กิจการ ก็ไม่มีวธิ กี ารอื่นใดท่ีบรรลุวัตถปุ ระสงคเ์ ชน่ เดียวกันแต่นุ่มนวลกวา่ หลงเหลืออยู่แล้ว (Agonafer,
2019, p. 23) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการแจ้งเบาะแสไปยังภายนอกองค์กรนั้น ก่อนท่ีผู้แจ้งเบาะแสจะ
เลือกใช้วิธีการแจง้ เบาะแสออกไปยงั สาธารณชนในทันที ควรต้องเลือกใช้วิธีการอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงหรอื กระทบ
หน่วยงานหรือกิจการน้อยที่สุดก่อน เช่น การแจ้งข้อมูลการกระทาผิดหรือการทุจริตนั้นต่อผู้รับผิดชอบภายใน
องค์กรก่อน ซึ่งจะทาให้ได้รับความคุ้มครองแบบเดียวกับ “การแจ้งเบาะแสภายในองค์กร” น่ันเอง (Reinbacher,
2018) ด้วยเง่ือนไขทางกฎหมายเช่นนี้ ย่อมเป็นวิธีการหน่ึงท่ีช่วยป้องกันมิให้หน่วยงานหรือองค์กรถูกกลั่นแกล้ง
หรือบีบบงั คับจากฝ่ายลูกจา้ ง โดยอ้างวา่ เป็นการแจ้งเบาะแสตามกฎหมาย

6. เหตุยกเว้นความรับผดิ ต่อค่าเสยี หายในทางแพง่
ในปี 2019 มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ในประเทศเยอรมนี คือ รัฐบัญญัติว่าด้วยความคุ้มครอง

ความลับทางธุรกิจ(Gesetz zum Schutz von Geschäftsgeheimnissen – GeschGehG) ถึงแม้ว่าเน้ือหาหลัก
ของรัฐบัญญตั ฉิ บับนี้จะมุ่งคุ้มครองความลับทางธุรกิจการค้า แต่ก็มกี ารบญั ญัติถึงความคุ้มครองแก่ผู้แจ้งเบาะแสไว้
เชน่ เดยี วกนั

มาตรา 5 Nr. 2 แหง่ รัฐบญั ญตั ิว่าดว้ ยความคุม้ ครองความลบั ทางธรุ กจิ ไดก้ าหนดข้อยกเว้นให้มีการเปิดเผย
ข้อมูลหรือความลับของธุรกิจได้ ถ้าเป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกระทาผิดกฎหมาย หรือเปิดโปงการ
ดาเนินงานท่ผี ดิ พลาด การกระทาผิดตอ่ วชิ าชีพ หรอื การกระทาโดยมชิ อบของบริษัท ทัง้ น้ี ต้องอยภู่ ายใตเ้ งือ่ นไขว่า
การเปดิ เผยข้อมลู ความลบั ทางการค้าหรือของธรุ กจิ นน้ั ๆ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ สว่ นรวม ผ้แู จ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูล
ความลับดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 5 Nr. 2 ของรัฐบัญญัติว่าด้วยความคุ้มครองความลับทาง
ธุรกิจ ทจ่ี ะไมถ่ กู ดาเนนิ คดอี าญา และบริษัทหรือธุรกิจทถี่ กู เปดิ เผยข้อมลู ไม่สามารถฟ้องเรียกคา่ เสียหายในทางแพ่ง
จากผูแ้ จ้งเบาะแสได้ (Deutscher Bundestag, 2019, p. 9)

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ที่ 1 99
มาตรการคมุ้ ครองลูกจ้างซง่ึ เป็นผแู้ จง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ารัฐบัญญัติว่าด้วยความคุ้มครองความลับทางธุรกิจเป็นกฎหมายเยอรมันอีกฉบับหน่ึงที่
ยืนยันถึงหลักการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยให้น้าหนักความสาคัญกับประโยชน์สาธารณะมากกว่าข้อมูล
ความลับทางการค้า และยังเป็นกฎหมายที่แสดงให้เหน็ ถึงการใหค้ วามสาคัญกับเจตนาภายในของผู้แจ้งเบาะแส ที่
จะได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดท้ังทางแพ่งและอาญา หากการเปิดเผยข้อมูลความลับทางการค้านั้นได้กระทา
ลงไปด้วยเหตุจูงใจในการปกป้องประโยชน์ส่วนรวม ด้วยเหตุนี้ เง่ือนไขที่จะทาให้ผู้แจ้งเบาะแสหลุดพ้นจากความ
รบั ผดิ ได้ จึงตอ้ งประกอบไปดว้ ยเรือ่ งประโยชน์สาธารณะและเจตนาภายในของผูแ้ จ้งเบาะแสประกอบกนั

7. การคมุ้ ครองลูกจ้างท่เี ป็นผู้แจง้ เบาะแสตามแนวคาพพิ ากษาศาลสทิ ธมิ นุษยชนยโุ รป ที่ ECHR 115 (2011)
ข้อเท็จจริงในคดีเกิดข้ึนในบ้านพักสาหรับคนชราท่ีป่วยและต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ซ่ึงนาง H. ผู้ฟ้อง

คดีทางานเป็นผู้ช่วยพยาบาล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2003 ถึงเดือนตุลาคม 2004 นาง H. และเพื่อนร่วมงานถูก
กาหนดภาระงานที่เกินกว่าปกติมาก เพราะบ้านพักคนชราขาดแคลนบุคลากร ทาให้นาง H. และเพ่ือนร่วมงานคน
อื่น ๆ ต้องแบกรับภาระงานหนักเป็นเวลานาน ยิ่งไปกว่าน้ัน สถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลให้การบริการไม่มี
คุณภาพตามมาตรฐานบ้านพักคนชรา ต้งั แต่เดอื นพฤษภาคม 2003 นาง H. เริ่มมอี าการปว่ ยและไมส่ ามารถทางาน
บางส่วนได้ดังเดิม โดยมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า อาการป่วยดังกล่าวเป็นผลมาจากการทางานหนักเป็น
ระยะเวลายาวนาน ในเดือนพฤศจิกายน 2003 หน่วยงานท่ีทาหน้าท่ีตรวจสอบมาตรฐานสถานพยาบาลได้ส่ง
หนังสือเตือนไปยังบ้านพักคนชราดังกล่าว เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการให้บริการ ระดับความพึงพอใจในการ
ให้บรกิ ารตกต่า และภาวะการขาดแคลนบุคลากร

ตอ่ มาในเดือนพฤศจิกายน 2004 นาง H. ได้ย่ืนหนังสือร้องเรียนไปยงั ฝ่ายบรหิ ารของบริษัทบ้านพักคนชรา
ซ่ึงเป็นนายจ้างของตน โดยกล่าวว่า การท่ีบ้านพักคนชราขาดแคลนบุคลากรทาให้ไม่สามารถรักษามาตรฐานด้าน
ความสะอาดได้ และร้องขอให้ฝ่ายบริหารของบริษัทแสดงใหเ้ ห็นถึงความตั้งใจในการสร้างความมั่นใจในมาตรฐาน
การให้บริการแก่คนชราหรือผู้ป่วย ฝ่ายบริหารของบริษัทปฏิเสธข้อกล่าวหาท้ังหมด ในเดือนธันวาคม 2004
นาง H. ฟ้องบริษัทในคดีฉ้อโกง โดยกล่าวหาว่า บริษัทไม่มีบุคลากรอย่างเพียงพอที่จะให้บริการคุณภาพสูงตามที่
โฆษณาไว้ ทาให้เกิดความเส่ียงและอันตรายแก่ตัวผู้ป่วย ยิ่งไปกว่านั้น นาง H. ยังกล่าวหาว่าบริษัทมีระบบปกปิด
ปญั หาโดยให้พนกั งานรายงานข้อมูลการให้บริการเทจ็

ในเดอื นมกราคม 2005 นาง H. ถกู เลิกจ้าง โดยนายจา้ งใหเ้ หตุผลว่า นาง H. มปี ัญหาสุขภาพเป็นอปุ สรรค
ตอ่ การทางานและมีการลาปว่ ยมากกว่า 90 วนั ในปีที่ผ่านมา ดงั น้นั นาง H. และเพ่อื นร่วมงานจานวนหนง่ึ โดยการ
สนบั สนนุ ของสหภาพแรงงานจงึ ทาใบปลวิ โจมตบี รษิ ัทโดยใชข้ อ้ ความ เช่น “เพือ่ กาไรที่เพม่ิ ข้นึ การทางานของพวก
เราจงึ ถกู ทาลายลง” หรอื “การดาเนนิ การทางวินัยเพ่ือปิดปากลูกจา้ ง” และชใ้ี หเ้ หน็ วา่ การเลิกจา้ งเปน็ ผลมาจาก
การที่ตนฟ้องคดีฉ้อโกงต่อบริษัท กระบวนการสอบสวนการกระทาผิดของบริษัทตามคาร้องของนาง H. ถูกจัดขึ้น
คร้ังแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 แต่ก็ไม่มีการดาเนินการสอบสวนต่อแต่อย่างใด (European Court of Human
Rights, 2011, p. 2).

นาง H. ฟ้องศาลแรงงานเยอรมัน จากการท่ีตนถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานชั้นต้น
เห็นว่า การทาใบปลิวของผู้ฟ้องคดีเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่การกระทาท่ีฝ่า
ฝืนหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่อย่างใด การเลิกจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์กลับคาพิพากษา

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบบั ที่ 1 100
มาตรการคมุ้ ครองลูกจ้างซง่ึ เป็นผ้แู จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

(LAG Berlin, Urt. v. 28.03.2006, Az. 7 Sa 1884/05) และใหถ้ ือวา่ การเลิกจา้ งมีผลตามกฎหมายได้ เพราะตาม
ประมวลกฎหมายแพ่ง (BGB) อนญุ าตใหน้ ายจ้างเลิกสัญญาจ้างได้ทันที หากปรากฏข้อเทจ็ จรงิ ทม่ี ี “เหตอุ นั ควรรับ
ฟังได้” ว่าความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างไม่อาจดาเนินต่อไปได้ ข้อเท็จจริงที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้างในคดีอาญาฐาน
ฉ้อโกง ย่อมเป็นการแสดงใหเ้ หน็ ว่า ลูกจ้างฝ่าฝืนหน้าที่ในการเคารพและเชื่อฟังนายจ้าง ย่ิงไปกว่านั้น การเลิกจ้าง
ก็เป็นไปเพอ่ื วตั ถุประสงค์ในการปกป้องชอ่ื เสยี งทางธุรกจิ ของฝา่ ยนายจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิเลกิ จา้ งโดยไมต่ ้องบอก
กล่าวล่วงหน้าได้ตามกฎหมาย หลังจากคาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ นาง H. จึงได้ยื่นคาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แห่งสหพันธ์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญฯ ไม่รับคาร้องไว้พิจารณา ในปี 2008 นาง H. จึงย่ืนคาฟ้องต่อศาลสิทธิมนุษยชน
ยุโรป (European Court of Human Rights, 2011, p. 2).

ประเด็นสาคัญท่ีศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปยกขึ้นมาประกอบการวินิจฉัยคือ ศาลสิทธิมนุษยชนฯ เห็นว่า
พฤติการณ์ของนาง H. ผู้ฟ้องคดีน้ันมีลักษณะของการเป็น “ผู้แจ้งเบาะแส” ดังน้ัน นาง H. ย่อมต้องได้รับความ
คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา 10 ของอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(European Convention on Human Rights – EUCHR) รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามกฎหมาย
พนื้ ฐานของเยอรมันเอง ด้วยเหตนุ ้ี ศาลสทิ ธมิ นุษยชนฯ จงึ ตอ้ งชงั่ นา้ หนกั ระหวา่ งการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดง
ความคดิ เห็นของผู้ฟ้องคดี กบั การปอ้ งกันความเสยี หายในช่ือเสียงของบริษัทนายจา้ ง แตศ่ าลอทุ ธรณ์เยอรมันกลับ
ไม่ไดห้ ยบิ ยกประเดน็ เหล่านี้ข้นึ มาประกอบการพจิ ารณา (European Court of Human Rights, 2011, p. 3).

ศาลสิทธิมนษุ ยชนฯ มีความเห็นว่า ในสงั คมประชาธิปไตยนั้น การทีส่ าธารณชนไดร้ ับทราบข้อมลู เกี่ยวกับ
การดาเนินงานที่บกพร่องของบริษัทบ้านพักคนชราย่อมเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และมีน้าหนักมากกว่าการ
ปกป้องชื่อเสียงของบริษัท ย่ิงไปกว่าน้ัน ศาลสิทธิมนุษยชนฯ มีความเห็นต่างไปจากศาลอุทธรณ์เยอรมัน โดยมอง
ว่า ผู้ฟ้องคดีในฐานะท่ีเป็นผู้แจ้งเบาะแสน้ัน ได้แจ้งเบาะแสการกระทาผิดของบริษัทโดยไม่มีเหตุจูงใจเร่ือง
ค่าตอบแทน การกระทาของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการกระทาลงไป “โดยเจตนาสุจรติ ” ศาลสิทธิมนษุ ยชนฯ จึงพิพากษา
ให้ประเทศเยอรมนชี ดใช้คา่ เสยี หายแก่ผูฟ้ ้องคดีรวมเปน็ เงินทัง้ สิน้ 15,000 ยโู ร (Reinbacher, 2018)

8. ลูกจา้ งผแู้ จง้ เบาะแสบนส่อื สงั คมออนไลน์
เน่ืองจากปัจจุบันมีการใช้ส่ือสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, XING และ Twitter กันอย่างแพร่หลาย ใน

หลายครง้ั จงึ ปรากฏว่ามกี ารแสดงความคดิ เหน็ ทม่ี ลี ักษณะขดั ต่อกฎหมาย เช่น การเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร การ
ส่งต่อข้อความข่าวปลอม รวมถึงการหม่ินประมาท และในหลายกรณีลูกจ้างเองเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล แสดงความ
คิดเห็นที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อนายจ้างหรือองค์กรของตน ทาให้เกิดคาถามว่า นายจ้างมีสิทธิห้ามลูกจ้างแสดง
ความคดิ เหน็ เก่ยี วกบั หน้าทก่ี ารงาน หรอื ข้อมลู ภายในหน่วยงานบนสอ่ื สังคมออนไลน์ได้หรือไม่

หากพิจารณาจากความสมั พันธ์ในทางการจ้างตามหลักกฎหมายเยอรมัน แม้ลูกจ้างมีเสรภี าพในการแสดง
ความคิดเห็นตามมาตรา 5 กฎหมายพ้ืนฐาน แต่ลูกจ้างก็ยังคงมีหน้าที่ต้องเคารพเช่ือฟัง และใช้ความระมัดระวัง
เพอ่ื รักษาไวซ้ ึ่งชื่อเสียงเกียรติยศของนายจ้างหรือองค์กร และเคารพสิทธิในการประกอบอาชีพของนายจา้ งซ่งึ ได้รับ
การรับรองไว้ตามมาตรา 12 กฎหมายพ้นื ฐานเชน่ กนั

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบับท่ี 1 101
มาตรการคมุ้ ครองลกู จ้างซึ่งเปน็ ผู้แจ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

กรณีที่ลกู จา้ งเผยแพร่ข้อความเท็จบนส่ือสงั คมออนไลนน์ ั้น ในทางกฎหมายย่อมต้องถือว่า ลูกจา้ งไม่ได้รับ
ความคมุ้ ครองและอาจถูกเลิกจ้างได้ตามกฎหมายแรงงาน แตใ่ นกรณที ่ีข้อมลู การกระทาผิดหรือการประพฤติมิชอบ
ของนายจ้างหรือบริษัทที่ลูกจ้างนามาเผยแพร่น้ันเป็นเร่ืองจริง ผลทางกฎหมายควรเป็นเช่นใด หากพิจารณาคา
วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ฯ ในอดีต ที่ได้เคยวางแนวคาพิพากษาไว้ในคดี Lüth-Urteil (Urt. V.
15.01.1958, Az. BVerfG 7, 198) ว่า “ในสงั คมประชาธิปไตย เสรภี าพในการแสดงความคดิ เหน็ เปน็ ส่งิ ทม่ี ีนา้ หนัก
และคุณค่าท่ีสาคัญ และเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชน” ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า ศาลเยอรมันมีแนวโน้มไปในทาง
คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเหน็ ของบุคคลมากกว่า ดังนั้น หากจะมีการลงโทษลกู จ้างผู้เผยแพร่ข้อมูล ก็
ควรจากัดเฉพาะกรณีที่สภาพการจ้าง การทางานท่ีปกติสุขถูกทาลายลงเพราะการเผยแพร่ข้อมูลน้ัน หรือนายจ้าง
ได้รับผลเสียหายทางการค้าอย่างรุนแรง เช่น กรณีลูกจ้างของบริษัทรับทาความสะอาดอาคารเผยแพร่ข้อมูลลงบน
สื่อสังคมออนไลน์ว่า บริษัทรับทาความสะอาดท่ีตนทางานอยู่เลือกใช้แต่น้ายาทาความสะอาดที่ราคาถูกและไม่มี
คุณภาพ ผลของการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวทาให้บริษัทได้รับความเสียหาย ถูกยกเลิกสัญญา นายจ้างอาจเลิกจ้าง
ลูกจ้างคนดังกล่าวด้วยเหตุกระทาการฝ่าฝืนหน้าท่ีของลูกจ้างในการรักษาช่ือเสียงของบริษัทก็ได้ (Oberwetter,
2011)

อย่างไรก็ดี ตามแนวคาพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนฯ ที่ ECHR 115 (2011) ศาลจะช่ังนา้ หนักระหว่าง
ความเสียหายของฝ่ายนายจ้างกับประโยชน์ท่ีสังคมจะได้รับจากการรับรู้ข้อมูลเบาะแสการกระทาผิ ดของนายจ้าง
ด้วย หากการเผยแพร่ข้อมูลเบาะแสต่อสาธารณชนนั้นจะทาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ศาลก็ให้น้าหนักแก่
ประโยชน์สาธารณะมากกว่าช่ือเสียงและประโยชน์ของนายจ้าง ศาลสิทธิมนุษยชนฯ จึงวางแนวคาพิพากษาไว้ว่า
หากการเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุที่ลูกจ้างแจ้งข้อมูลเบาะแสการกระทาผิด ซ่ึงเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ
สาธารณชน ลกู จ้างมสี ทิ ธเิ รียกรอ้ งค่าเสียหายได้

9. บทสรุป
ถึงแม้ประเทศเยอรมนียังไม่มีการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้โดยเฉพาะ แต่ก็มี

บทบัญญัติท่ีใช้คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น ความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ความ
คุ้มครองทจ่ี ะไม่ถูกดาเนนิ คดีอาญา หรือไม่ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง ซ่งึ ล้วนแตเ่ ป็นปัจจยั สาคัญที่มีผลต่อ
การตดั สนิ ใจของลูกจ้างในการเปิดเผยข้อมลู หรือแจ้งเบาะแส หากปราศจากมาตรการคุม้ ครองทางกฎหมายเหล่าน้ี
แม้ว่าลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะเดียวกับพยาน แต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ
เปิดเผยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน หากลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสยังมีความกังวลต่อผลกระทบในด้านอ่ืน ๆ อยู่ การ
สร้างมาตรการทางกฎหมายท่ีให้ความคุ้มครองที่หลากหลายย่อมสร้างความม่ันใจแก่ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส อันจะ
ส่งผลตอ่ วฒั นธรรมการตรวจสอบในองค์กร

ในแง่เจตนารมณ์ของกฎหมาย หากพจิ ารณาจากบทบัญญตั ิกฎหมายเยอรมันฉบับต่าง ๆ ที่ใช้เพอ่ื ค้มุ ครอง
ลูกจ้างท่ีเป็นผู้แจ้งเบาะแส จะเห็นได้ว่า เหตุผลเบ้ืองหลังของกฎหมายเหล่าน้ันคือ ความพยายามสร้างสมดุล
ระหว่างการคุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสกับผลกระทบที่จะเกิดกับฝ่ายนายจ้าง อีกทั้งยังพยายามรักษาไว้ซ่ึง
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจา้ ง เช่น การกาหนดให้ลูกจ้างควรต้องแจ้งข้อมูลเบาะแสการกระทาผิด

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับท่ี 1 102
มาตรการคุม้ ครองลกู จ้างซึ่งเปน็ ผแู้ จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ให้นายจ้างหรือหน่วยงานของตนเองทราบเสียก่อน หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือดาเนินการใด ๆ จึงค่อยเผยแพร่
ข้อมูลเบาะแสออกไปภายนอก มิฉะนนั้ นายจา้ งอาจถอื เป็นเหตเุ ลกิ จ้างหรือดาเนินคดที างอาญาแกล่ กู จ้างได้

ในแง่ของความชัดเจนแน่นอนของกฎหมายนั้น ตามหลักกฎหมายเยอรมันท่ีได้กล่าวมาย่อมทาให้ลูกจ้างผู้
แจง้ เบาะแสสามารถคาดหมายได้ว่า การแจ้งเบาะแสของตนสามารถทาได้ภายใต้ขอบเขต วธิ กี าร หรอื เง่ือนไขแบบ
ใด ท่ีจะทาให้การแจ้งเบาะแสนั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าเง่ือนไขความคุ้มครอง
แก่ลูกจา้ งผู้แจง้ เบาะแสตามกฎหมายเยอรมันน้นั ยึดโยงอยู่กับหลักสาคญั ดงั ต่อไปน้ี

ประการแรก คอื หลักประโยชนส์ าธารณะ แม้วา่ การเปิดเผยข้อมลู ความลับหรอื เบาะแสการกระทาผิดนั้น
อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น เช่น นายจ้างหรือหน่วยงาน แต่หากการแจ้งเบาะแสนั้นจะทาให้
สาธารณชนไดร้ ับประโยชน์ ลูกจา้ งผู้แจง้ เบาะแสกส็ ามารถยกขนึ้ มาเปน็ ข้อต่อสทู้ จ่ี ะไมต่ ้องรับผิดต่อความเสยี หายท่ี
เกิดขึน้ จากการเปิดเผยขอ้ มลู นนั้ ได้

ประการท่ีสอง คือ หลักองค์ประกอบภายในจิตใจของผู้แจ้งเบาะแส ลาพังเพียงการพิจารณาถึงประโยชน์
สาธารณะท่ีจะได้รับจากการเปิดโปงข้อมูลหรือเบาะแสนัน้ อาจจะยังไม่เพียงพอท่ีจะอาศัยเป็นเหตุยกเว้นความรับ
ผิดได้ กฎหมายเยอรมันจึงกาหนดเง่ือนไขเก่ียวกับองค์ประกอบภายในจิตใจของผู้แจ้งเบาะแสไว้ด้วย เช่น ต้องมี
เหตุจูงใจเพ่ือประโยชน์สาธารณะ ปกป้องประโยชน์ส่วนรวม ต้องไม่หวังค่าตอบแทน หรือไม่ได้ทาไปเพ่ือ
วัตถุประสงค์ในการแข่งขันทางการค้า เพื่อประโยชน์ส่วนตน เพ่ือประโยชน์ของบุคคลท่ีสาม หรือเพ่ือก่อให้เกิด
ความเสยี หายอยา่ งใดอย่างหนงึ่ แก่เจา้ ของกิจการ

ประการสุดท้าย คือ หลักความจาเป็น หลักดังกล่าวน้ีเรียกร้องใหต้ ้องมีการช่ังนา้ หนกั ระหว่างประโยชนท์ ่ี
จะได้รับจากการแจ้งเบาะแสกับผลเสียที่จะเกิดแก่ฝา่ ยที่ถูกเปิดเผยข้อมูลความลับ นอกจากนี้ หลักความจาเป็นยัง
เรียกร้องให้ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส ควรเลือกใช้วิธีการท่ีเบาและนุ่มนวลก่อน เช่น การแจ้งผู้รับผิดชอบภายใน
หน่วยงานให้ดาเนนิ การแก้ไขหรือสอบสวน หากฝา่ ยนายจ้างหรอื องคก์ รเพกิ เฉยต่อคารอ้ งดังกล่าว ผแู้ จ้งเบาะแสจงึ
คอ่ ยใชว้ ธิ ที ่ีเข้มข้นขึ้น เช่น การแจ้งหนว่ ยงานของรฐั เข้ามาตรวจสอบ ท้งั น้ี เพ่ือหลกี เล่ียงความเสียหายท่ีจะเกิดแก่
นายจ้างหรือองค์กร จากการที่ข้อมูล ความลับหรือเบาะแสดังกล่าวถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชน อย่างไรก็ดี ข้อมูล
เกี่ยวกับการกระทาบางประเภท เช่น ความผิดอาญาซึ่งหน้า หรือการกระทาที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและ
ร่างกาย ย่อมถือเป็นข้อยกเว้นท่ีลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกใช้วิธีที่เด็ดขาดเพื่อระงับการกระทานั้นได้ทันที
เช่น การแจ้งความต่อเจ้าหนา้ ทต่ี ารวจ

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเองก็ได้ยืนยันหลักการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสภายใต้เง่ือนไขความคุ้มครองทั้ งสาม
ประการข้างตน้ ดงั ปรากฏตามแนวคาพพิ ากษา ท่ี ECHR 115 (2011)

10. ขอ้ เสนอแนะ
ในประเทศไทยมีความพยายามเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการ

ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ....” แม้ว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับน้ีจะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการชี้
เบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ และกาหนดมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้ในมาตรา 31 แล้วก็ตาม
(สานกั งานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทจุ รติ ในภาครฐั , 2560) แตก่ ย็ ังคงเป็นเพยี งมาตรการคุ้มครอง
ผู้แจ้งเบาะแสแบบเดียวกับที่เคยใช้ในการคุ้มครองพยาน เช่น การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล การจัดหาที่พัก

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบบั ที่ 1 103
มาตรการคุ้มครองลูกจ้างซง่ึ เปน็ ผ้แู จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ท่ีปลอดภัย การจัดหาเจา้ หน้าท่ีคุ้มครองความปลอดภยั ส่วนท่ีมีความแตกต่างออกไปจากมาตรการคุ้มครองพยาน
แบบเดมิ คือ หลักการห้ามเลือกปฏิบัติอย่างไมเ่ ปน็ ธรรมต่อผแู้ จง้ เบาะแส เช่น การเลกิ จ้าง การโยกยา้ ยงาน การสั่ง
พกั งาน ซงึ่ เป็นไปตามแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศ และถอื ว่าเป็นพฒั นาการทางกฎหมายทด่ี ี อย่างไรก็ดี
การบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสไว้ในกฎหมายเฉพาะเพียงฉบับเดียวตามแนวทางของ “ร่าง
พระราชบัญญัติการส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ....” น้ัน
ยังคงมีลักษณะเน้นหนักไปท่ีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในฐานะพยาน กล่าวคือ รัฐจัดหาความคุ้มครองและ
ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้ แต่ยังขาดบทบัญญัติเพ่ือยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายของผู้แจ้งเบาะแส เช่น
เหตุยกเว้นความรับผิดทางแพ่งและทางอาญาจากการเปิดเผยข้อมูลทางการค้า เหตุยกเว้นความรับผิดจากการ
เปิดเผยข้อมูลความลับของราชการ ในประเด็นดังกล่าวน้ีเอง ผู้เขียนเห็นว่า การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการตาม
กฎหมายเยอรมนั นา่ จะเป็นประโยชนใ์ นการศึกษาแนวทางกาหนดหลกั เกณฑแ์ ละเงื่อนไขความคุ้มครองแกล่ กู จ้างผู้
แจ้งเบาะแสในประเด็นที่มีความหลากหลาย นอกเหนือไปจากมาตรการคุ้มครองพยานตามปกติ อีกทั้งยังใช้เป็น
แนวทางในการศึกษาถงึ หลักเกณฑ์การสร้างสมดุลของความคุ้มครองที่ให้แก่ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส กบั ผลกระทบต่อ
ฝ่ายนายจา้ งหรือองค์กร โดยไม่ไดค้ านงึ ถึงแต่เพยี งความคุ้มครองท่ีให้แก่ฝ่ายลูกจ้างเท่าน้ัน หากแต่จะต้องพิจารณา
ถงึ สิทธิประโยชน์ของฝา่ ยนายจ้างประกอบกนั ด้วย

ในอนาคต หากจะมีการศึกษาบทบัญญัติกฎหมายเพ่ือสร้างมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสเพ่ิมข้ึน ก็อาจ
ศึกษาเปรียบเทียบจากระบบกฎหมายเยอรมัน โดยไม่จาเป็นต้องบัญญัติความคุ้มครองทุกเรื่องไว้ในกฎหมายฉบับ
เดียว แต่สามารถแก้ไขเพ่ิมเติมในกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยบัญญัติเป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้แจ้ง
เบาะแสไว้ เช่น พระราชบัญญตั ิคมุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัตขิ ้อมูลขา่ วสารของราชการ พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 นอกจากน้ี หากจะมีการกาหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของ
ลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแส ก็ควรกาหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน เช่น หลังจากลูกจ้างแจ้งให้นายจ้างเกี่ยวกับเบาะแสการ
กระทาผิด หรือพฤติการณ์ท่ีไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากนายจ้างเพิกเฉยต่อข้อร้องเรียนนั้น ภายในกาหนด
ระยะเวลากว่ี ัน จึงจะเกิดสิทธแิ ก่ลูกจ้างในการแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอกหรือสื่อมวลชนได้ ใน
ประเดน็ น้ี ควรตอ้ งมกี ารกาหนดขอ้ ยกเวน้ ด้วยว่า หากเปน็ กรณีทอ่ี าจส่งผลกระทบหรอื เป็นอันตรายต่อชีวติ ร่างกาย
ลูกจ้างอาจแจ้งต่อหน่วยงานภายนอกได้ทันที รวมถึงการรับรองสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย หากนายจ้างเลิกจ้าง
จากเหตุท่ีลูกจ้างแจ้งเบาะแส ประการสุดท้ายคือ แนวทางการกาหนดเงื่อนไขความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสควรต้อง
คานึงถึงผลกระทบต่อนายจ้างหรือหน่วยงานที่ถูกเปิดเผยข้อมูล การช่ังน้าหนักคุณค่าทางกฎหมายจึงเป็นประเดน็
สาคัญซึง่ ควรนามาพจิ ารณาประกอบดว้ ยเสมอ

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับท่ี 1 104
มาตรการคมุ้ ครองลูกจ้างซึง่ เป็นผแู้ จง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

เอกสารอ้างองิ
พิศอาไพ สมความคิด, และ รัชนี แมนเมธี. (2557). มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน.

สถาบนั พระปกเกลา้ . https://kpi-lib.com/library/en/books/kpibook-24121/
สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ ในภาครัฐ. (2560). ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมและ

คมุ้ ครองประชาชนในการต่อตา้ นการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... . สานกั งานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สานักงาน ป.ป.ท.). https://www.pacc.go.th/pacc_2015
/uploads/files/law/law60/600904.pdf
สานักงานคณะกรรมการวิจยั แหง่ ชาติ. (2557). รัฐธรรมนูญสหพันธส์ าธารณรัฐเยอรมัน. รัฐสภา. https://library.
parliament.go.th/sites/default/files/assets/files/give-take/content_cons57/NALT-con2557-
basiclawofgermany.pdf
Agonafer, S. (2019). Hochschule für Oeffentliche Verwaltung und Finanzen Ludwigsburg:
Whistleblowing–Korruptionsbekämpfung durch Geheimnisverrat?. n.p.: University of
Applied Sciences.
Deutscher Bundestag. (2012). Bundestags-Drucksache 17/8567 vom 7. Februar 2012. https://
dserver.bundestag.de/btd/17/085/1708567.pdf
Deutscher Bundestag. (2018). Bundestags-Drucksache 19/5226 vom 19. Oktober 2018. https://
dserver.bundestag.de/btd/19/047/1904713.pdf
Deutscher Bundestag. (2019). Der Schutz von Hinweisgebern (Whistleblowern) in Deutschland
Fragen zur Rechtslage. https://www.bundestag.de/resource/blob/627866/6487a402479
b900bfd11ffb323a9a6e4/WD-7-257-18-pdf-data.pdf
Europäische Kommission. (2019). Schutz von Hinweisgebern (Whistleblowern) Initiativen der
Kommission zum Schutz von Personen, die Verstöße gegen das Unionsrecht melden.
https://ec.europa.eu/info/aid-development-cooperation-fundamental-rights/your-rights-
eu/whistleblowers-protection_de
European Court of Human Rights. (2011). Dismissal of geriatric nurse after bringing criminal
complaint against employer for deficient care was unjustified. https://www.gossens.de
/Downloads/015_Entscheidung_Whistleblower_Germany%2021.07.11.pdf
Hensche, M. (2012). Gesetzesentwurffür Whistleblower-Schutzgesetz. Kanzlei Hensche.
https://www.hensche.de/Whistleblower_Schutzgesetz_SPD_erarbeitet_Gesetzesentwurf_f
uer_Whistleblower-Schutzgesetz.html?app=desktop

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับที่ 1 105
มาตรการคุ้มครองลกู จ้างซึง่ เป็นผูแ้ จ้งเบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

Hensche, M. (2019). Whistleblowing, Anzeige gegen den Arbeitgeber. Kanzlei Hensche.
https://www.hensche.de/Whistleblowing_Anzeige_Arbeitgeber_Whistleblowing_Anzeige_g
egen_Arbeitgeber_Whistleblowing.html

Oberwetter, C. (2011). Wie viel Loyalität das Internet verlangt. Lto. https://www.lto.de/recht/
hintergruende/h/meinungsfreiheit-im-arbeitsverhaeltnis-wie-viel-loyalitaet-das-internet-
verlangt/

Reinbacher, T. (2018). Die Strafbarkeit des Whistleblowings nach § 17 UWG im Lichte der
Geheimnisschutzrichtlinier. In Kriminalpolitische Zeitschrift (KriPoZ) Ausgabe 02/2018.
https://kripoz.de/2018/03/28/die-strafbarkeit-des-whistleblowings-nach-%C2%A7-17-uwg-
im-lichte-der-geheimnisschutzrichtlinie/

Scheuer, S. (2011). Mitarbeiter dürfen Arbeitgeber anzeigen und öffentlich kritisieren. Lto.
https://www.lto.de/recht/hintergruende/h/egmr-kassiert-kuendigung-mitarbeiter-duerfen-
arbeitgeber-anzeigen-und-oeffentlich-kritisieren/

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบบั ท่ี 1 106
มาตรการคุ้มครองลูกจ้างซงึ่ เปน็ ผ้แู จง้ เบาะแสในระบบกฎหมายเยอรมัน

ตอนท่ี 2

บทความวิจัย
Research Articles

Assessment on the process and performance according to

the Anti-Corruption Mission of the ONACC

การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ดา้ นการปราบปราม

การทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช.

Sirinan Wattanasiritham
ศิรินนั ท์ วัฒนศิริธรรม

สำนักงำนคณะกรรมกำรป้องกันและปรำบปรำมกำรทุจริตแห่งชำติ
Office of the National Anti-Corruption Commission

[email protected]

Abstract
The objectives of this research are : ( 1) study of types, nature of the cases, the

operation procedure, and the timeframe of the suppression of corruption of the ONACC (2)
assess the efficiency and effectiveness of the operating results in accordance with the
mission of suppression of corruption of the ONACC, including problems and obstacles that
occurred (3) provide recommendations for improvement of the operating system and other
activities to increase the speed and efficiency of suppression of corruption operation under
the timeframe specified by the law. This is a mixed-method research that was studied both
qualitatively and quantitatively, from which the following information was collected: ( 1)
Documents, research papers, and laws or regulations relevant to anti-corruption; ( 2)
Statistical data on the timeframe of suppression of corruption operations since the Organic
Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018) came into force, as well as the results of internal
bureaus operation in the ONACC, the results of legal proceedings after the NACC passed
resolution of criminal offences in the fiscal year B.E. 2562-2563 (2019-2020), and (3) In-depth
interview data and questionnaires from executives and officers who work on the suppression
of corruption of the ONACC. The results of the study indicate that:

The suppression of corruption operation of the ONACC consists of 3 steps, which are
examining an accusation, preliminary inspection, and inquiry process. The timeframe of
performance for the aforementioned steps, found that the examining an accusation spend
an average of 73.50 days per case, the preliminary inspection spend an average of 384.62
days per case, and the inquiry process spend an average of 556.37 days per case.

 บทความน้ีเป็นสว่ นหน่ึงของการวิจยั เร่ือง “โครงการประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ดา้ นการปราบปราม
การทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช.” สานกั วจิ ัยและบรกิ ารวิชาการด้านการปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ รติ สานักงาน ป.ป.ช.
ซึง่ ได้รับการจัดสรรเงินอดุ หนุนเพ่อื การวจิ ยั จากกองทนุ สง่ เสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตั กรรม ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบบั ที่ 1 108
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.

Regarding the evaluation of the efficiency and effectiveness of the suppression of
corruption operation of the ONACC, the results of an overall efficiency assessment
demonstrated that it was at a level of moderate efficiency with an average score of 3.00 out
of a full score of 5. In addition, when considering each indicator as follows: Indicator 1,
"Assessment the performance of suppression of corruption operation according to the goals
set forth in the action plan and annual budget expenditure plan" , it was found that the
results of the 3 steps had an average score of 2.33 at the level of moderate efficiency. For
the second indicator, " Assessment the performance of suppression of corruption operation
of the ONACC in accordance with timeframe specified by the law" compared to the average
timeframe in actual work, it was found that the overall evaluation of the total performance
in all 3 steps had an average score of 3.67 at the level of high efficiency. According to the
assessment of the effectiveness of the suppression of corruption operation of the ONACC, it
was found that the suppression of corruption operation of the ONACC was at the level of
highest effective as it had a score of 5, because the court had verdict of punishment as
NACC passed resolutions that accused person found guilty, and there were less cases
dismissed.

For the suppression of corruption operation of the ONACC, there were obstacles
occurred in every step. The most were occurred in the process of examining of accusation,
were the inquiry officers had an urgent preliminary inspection or inquiry, they had to cope
with those aforementioned issues first. While in the preliminary inspection process, the most
common problem was that the officers had to be responsible for numerous accusations,
thus they were unable to operate within the timeframe specified by the law. For an inquiry
process, the most common problem was the timeframe specified by the law inconsistent
with the actual operating time. Therefore, it was unable to complete the process within the
specified timeframe.

This research had recommendations for improving the speed and efficiency of
operation to be more effective, such as amending the law to reduce operational procedures,
determining the timeframe of an operation to be in accordance with the actual operation
and the level of accusation difficulty, developing coordination with external agencies for the
speedy submission of documentary evidences and for the benefit of preliminary inspection
and inquiry process, etc.

Keywords: evaluation, the mission of suppression of corruption, Office of the National Anti-
Corruption Commission

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ที่ 1 109
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

บทคดั ยอ่
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประเภท ลักษณะคดี ข้ันตอนการดาเนินงานและ

ระยะเวลาการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. (2) ประเมินประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของผลการดาเนินงานตามภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. รวมทั้ง
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และ (3) จัดทาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานและ
การดาเนินการอ่ืน ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานปราบปรามการทุจริตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภายใต้กรอบระยะเวลาการดาเนินการของกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods
Research) ท่ีศึกษาท้ังในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังน้ี (1) เอกสาร งานวิจัย และ
กฎหมายหรือระเบียบที่เก่ียวข้องกับการปราบปรามการทุจริต (2) ข้อมูลเชิงสถิติเก่ียวกับระยะเวลาท่ีใช้ในการ
ดาเนินงานด้านปราบปรามการทุจริต ต้ังแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เริ่มมีผลบังคับใช้ ข้อมูลผลการดาเนินงานของหน่วยงานภายในสานักงาน
ป.ป.ช. และข้อมูลผลการดาเนินคดีหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ทางอาญา
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 และ (3) ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามจากผู้บริหารและ
เจา้ หน้าทท่ี ปี่ ฏิบัติงานดา้ นการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. โดยผลการศึกษาพบว่า

การดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย 3 ข้ันตอน ได้แก่
การตรวจรับคากล่าวหา การตรวจสอบเบื้องต้น และการไต่สวน สาหรับระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานตาม
ขั้นตอนข้างต้นพบว่า การตรวจรับคากล่าวหาใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการดาเนินงานอยู่ที่ 73.50 วันต่อเรื่อง
การตรวจสอบเบ้ืองต้นใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการดาเนินการ 384.62 วันต่อเร่ือง และการไต่สวนใช้ระยะเวลาเฉลี่ย
ในการดาเนนิ การ 556.37 วันตอ่ เรอื่ ง

การป ระเมินประสิทธิภาพและประสิ ทธิผลของการดาเนิน งานด้านการปราบปรามการทุจริต ของ
สานักงาน ป.ป.ช. โดยผลการประเมินประสิทธิภาพในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับ มีประสิทธิภาพปานกลาง
มีค่าคะแนนเฉล่ียเท่ากับ 3.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน เมื่อพิจารณารายตัวช้ีวดั ได้แก่ ตัวชี้วดั ท่ี 1
“การประเมินผลการดาเนนิ งานด้านการปราบปรามการทุจริตตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและ
แผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี” พบว่า ผลการดาเนินงานในทง้ั 3 ขั้นตอน มรี ะดับค่าคะแนนเฉล่ียอยู่
ท่ีระดับ 2.33 อยู่ในระดับ มปี ระสิทธิภาพปานกลาง และตัวชี้วัดที่ 2 “การประเมินผลการดาเนินงานด้านการ
ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช. ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกาหนด” เทยี บกบั ระยะเวลาเฉลี่ยท่ีใช้
ในการปฏิบัติงานจริง พบว่า ในภาพรวมผลการดาเนินงานในทั้ง 3 ขั้นตอน มีระดับค่าคะแนนเฉล่ียอยู่ที่
ระดับ 3.67 อยู่ในระดับ มีประสิทธิภาพมาก สาหรับการประเมินประสิทธิผลของการดาเนินงานด้านการ
ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. พบว่า การดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของ
สานักงาน ป.ป.ช. มีประสิทธิผลอยู่ในระดับ มีประสิทธิผลมากที่สุด มีค่าคะแนนในระดับ 5 เนื่องจากศาลมีการ
พพิ ากษาลงโทษตามท่ีชม้ี ลู โดยมกี ารยกฟอ้ งเปน็ ส่วนน้อย

ในการดาเนินงานดา้ นการปราบปรามการทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช. มปี ัญหาอปุ สรรคเกดิ ขน้ึ ในทุกขั้นตอน
โดยในข้ันตอนการตรวจรับคากล่าวหามีปัญหาที่พบมากท่ีสุด คือ การที่พนักงานไต่สวนมีเรื่องตรวจสอบ
เบื้องต้นหรือไต่สวนที่เร่งด่วน ทาให้ต้องไปดาเนินการในเรื่องดังกล่าวก่อน ในขั้นตอนการตรวจสอบเบื้องต้น
มปี ัญหาทพ่ี บมากท่ีสุดคือ เจ้าหน้าที่มีเร่ืองกล่าวหาในความรับผิดชอบจานวนมาก ทาใหไ้ ม่สามารถดาเนนิ การ
ได้ตามกรอบเวลาท่ีกฎหมายกาหนด และขั้นตอนการไต่สวนมีปัญหาท่ีพบมากท่ีสุดคือ กรอบระยะเวลา

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบับที่ 1 110
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัตงิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.

ตามกฎหมายไม่สอดคล้องกับระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ทาให้ไม่สามารถดาเนินการแล้วเสร็จตาม
ระยะเวลาดังกลา่ วได้

งานวิจัยนี้ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็วและ มี
ประสิทธิภาพมากข้ึน เช่น การแก้ไขกฎหมายเพื่อลดข้ันตอนการปฏิบัติงาน การกาหนดกรอบระยะเวลาใน
การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง และระดับความยากง่ายของเร่ืองกล่าวหา การพัฒนาการ
ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้มีการส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานด้วยความรวดเร็วและเพ่ือประโยชน์ต่อ
การดาเนินงานตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวน เป็นต้น

คาสาคญั : ประเมนิ ผล ภารกจิ ดา้ นการปราบปรามการทุจรติ สานกั งานคณะกรรมการป้องกนั และปราบปราม
การทุจริตแหง่ ชาติ

1. บทนา
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ

ป.ป.ช.” เป็นองค์กรอิสระที่จัดต้ังข้ึนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ต่อเนื่องมา
จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2550 เพ่ือทาหนา้ ท่ีในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ให้ลดลงหรือหมดสิ้นไป โดยมีสานักงาน ป.ป.ช. เป็นหน่วยงานธุรการ ซึ่งใน การดาเนินการที่ผ่านมา
พบว่ามีความล่าช้าในการดาเนินงาน โดยมีจานวนเรื่องแล้วเสร็จน้อยกว่าเร่ืองที่รับเข้ามาใหม่ ทาให้มีปริมาณคดี
ค้างสะสม ส่งผลกระทบต่อการอานวยความยุตธิ รรม และอาจนาไปสู่ปัญหาผูก้ ระทาผิดหรือผ้ทู ่ีจะทาการทจุ ริต
ไม่มีความเกรงกลัวที่จะถูกลงโทษตามกฎหมายได้ (สมยศ กาสี, 2560, น. 3) เป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 ได้กาหนดเกี่ยวกับหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ที่จะต้องจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางท่ีจะทาให้การปฏิบัติหน้าที่ด้านการไต่สวนการทุจริต ร่ารวย
ผดิ ปกติ และการตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สนิ และหนี้สิน มปี ระสิทธภิ าพ เกิดความรวดเร็ว
สุจริต และเท่ียงธรรม ส่งผลให้มีการกาหนดกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานด้านปราบปรามการทุจริตไว้
ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 48
โด ย ก าห น ด ร ะย ะ เว ล าท่ี จ ะต้ อ งไต่ ส ว น แ ล ะมี ค ว าม เห็ น ห รื อ วินิ จ ฉั ย ให้ แ ล้ วเส ร็จ ภ าย ใน ก าห น ด เ ว ล าที่
คณะกรรมการ ป.ป.ช. กาหนด ซึ่งตอ้ งไม่เกิน 2 ปี นับแต่วนั เรม่ิ ดาเนนิ การไต่สวน โดยท่ีคณะกรรมการ ป.ป.ช.
อาจขยายระยะเวลาออกไปได้แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี ซึ่งการกาหนดระยะเวลาดังกล่าวเพ่ือให้การดาเนินงาน
มกี รอบระยะเวลาท่ีชดั เจนและรวดเรว็ อันจะทาให้การปราบปรามการทุจริตมปี ระสทิ ธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้สานักงาน ป.ป.ช. มีข้อมูลประกอบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนงานในภารกิจด้านการ
ปราบปรามการทุจริต จึงมีการประเมินผลเพื่อให้ทราบถึงผลการดาเนินงานต้ังแต่พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เริ่มใช้บังคับ รวมถึงปัญหาอุปสรรค
ที่เกิดขึ้นในการดาเนินงาน เพ่ือประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตของ
สานกั งาน ป.ป.ช. ตอ่ ไป

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบับท่ี 1 111
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

2. วัตถปุ ระสงคข์ องการศกึ ษา
2.1 เพ่ือศึกษาประเภท ลักษณะคดี ข้ันตอนการดาเนินงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานด้านการ

ปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.
2.2 เพ่ือประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลการดาเนินงานตามภารกิจด้านการปราบปราม

การทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช. รวมทัง้ ปญั หาอปุ สรรคตามขน้ั ตอนและระยะเวลาทใ่ี ชใ้ นการปฏิบตั งิ าน
2.3 เพ่ือจัดทาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานและการดาเนินการอ่ืน ๆ เพ่ือให้

การปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตมีความรวดเรว็ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้กรอบระยะเวลา
การดาเนินการของกฎหมาย

3. นยิ ามศัพท์
3.1 การปราบปรามการทุจริต หมายถึง การดาเนินงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ท่ีเกี่ยวข้องกับ

กระบวนการตรวจรับคากล่าวหา การตรวจสอบเบื้องต้น และการไต่สวนเจ้าพนักงานของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่า
กระทาการทจุ ริต

3.2 การประเมินประสิทธิภาพ หมายถึง การประเมินกระบวนการและผลการดาเนินงานด้านการ
ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. โดยพิจารณาจากผลการดาเนินงานท่ีเกิดขึ้นจริงของหน่วยงาน
เทียบกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี และพิจารณาจาก
ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตที่เกิดข้ึนจริงเทียบกับระยะเวลา
การดาเนินงานตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกนั และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
และระเบียบคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 กาหนด แยกตามข้ันตอน
การดาเนนิ งาน ได้แก่ ขน้ั ตอนการตรวจรับคากล่าวหา ขั้นตอนการตรวจสอบเบอ้ื งต้น และขัน้ ตอนการไต่สวน

3.3 การประเมินประสิทธิผล หมายถึง การประเมินผลความสาเร็จของการดาเนินคดีหลังจาก
ท่คี ณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติช้ีมูลความผิดทางอาญา โดยพิจารณาจากผลความสาเร็จของการดาเนินคดีอาญา
ทศี่ าลมคี าพพิ ากษาลงโทษ เทียบกบั จานวนคดีท่ีศาลพจิ ารณาแลว้ เสรจ็

4. การทบทวนวรรณกรรม
คณะผู้วจิ ัยไดม้ ีการทบทวนวรรณกรรมที่เกยี่ วขอ้ งกับงานวิจัยสรุปได้ ดงั น้ี
4.1 แนวคดิ เกี่ยวกับการประเมนิ
การประเมินเป็นการวัดผลโดยเปรียบเทียบสิ่งที่ถูกประเมินกับเกณฑ์มาตรฐาน เพ่ือตัดสินคุณค่า

ผลประโยชน์ และความคุ้มค่าท่ีได้รับจากสิ่งที่ถูกประเมินน้ัน ยุคสมัยของการประเมินเร่ิมตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ.
1900 และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ศุภามณ จันทร์สกุล, 2557) ซึ่งในปัจจุบันการประเมิน
ถกู นามาใช้ท้ังหน่วยงานในภาครัฐและภาคเอกชน เพ่ือประโยชน์ในการพัฒนางานขององค์กรด้านต่าง ๆ หรือ
วางแผนการดาเนนิ งานขององค์กร เชน่ การประเมนิ โครงการ การประเมนิ ผลการดาเนินงานขององค์กร เป็นตน้

จากการศึกษาความหมายของการประเมินในภาษาอังกฤษ พบว่ามีการใช้คา 2 คาดว้ ยกัน ไดแ้ ก่ คาว่า
“Assessment” กับ “Evaluation” ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการประเมินไว้ เช่น
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2548) กล่าวว่า คา 2 คาดังกล่าวมีความหมายที่ต่างกัน กล่าวคือ คาว่า
“Assessment” ซึ่งในภาษาไทยใช้คาว่าการประเมิน หมายถึงกระบวนการของการรวบรวมข้อมูลให้เป็น
ระบบระเบียบเพื่อใช้เป็นแนวทางสาหรับนาไปสู่การตัดสินใจในชั้นประเมินผล ส่วนคาว่า “Evaluation”

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 112
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

ซึ่งในภาษาไทยใช้คาว่าการประเมิน หมายถึงกระบวนการตัดสินคุณค่าของส่ิงใดส่ิงหนึ่งอย่างมีหลักเกณฑ์
นอกจากน้ี อนันต์ ทองศรี (ม.ป.ป.) กล่าวว่าท้ังสองคาดังกล่าวเป็นคาท่ีมีความหมายต่างกัน โดยคาว่า
“Assessment” เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบ ใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (Relative Criteria) เช่น เทียบกับ
ผลการประเมินครั้งก่อน หรือเทียบกับเพ่ือนหรือกลุ่มใกล้เคียงกัน เป็นต้น ซ่ึงคาว่า “Assessment” มักใช้
ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ เชน่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินตนเอง (Self Assessment) ส่วนคาว่า
“Evaluation” เป็นการประเมินตัดสิน มีการกาหนดเกณฑ์ชัดเจน (Absolute Criteria) เช่น มีการกาหนดว่า
ได้คะแนนร้อยละ 80 ข้ึนไป อยู่ในระดับดี ได้คะแนนร้อยละ 60 – 79 อยู่ในระดับพอใช้ ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60
อยู่ในระดับควรปรับปรุง เป็นต้น ซ่ึงคาวา่ “Evaluation” จะใช้กับการประเมินการดาเนินงานทั่ว ๆ ไป เช่น
การประเมินโครงการ (Project Evaluation) การประเมินหลกั สูตร (Curriculum Evaluation) เป็นตน้

4.2 แนวคดิ เก่ียวกบั ประสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ล
เม่ือศึกษาแนวคดิ เก่ียวกับประสิทธิภาพและประสทิ ธิผลพบวา่ คาว่า “ประสิทธิภาพ” เป็นคาที่มีการ
ใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน โดยมีนักวิชาการให้คาอธิบายความหมาย
ของประสิทธิภาพ (Efficiency) ไว้หลายท่าน เช่น อัครเดช ไม้จันทร์ (2560) กล่าวว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง
การกระทากิจกรรมใด ๆ ท่บี รรลุผลตามท่ตี ้องการและตงั้ เปา้ หมายไว้ โดยสามารถประหยัดและลดการสญู เสีย
ของทรัพยากรต่าง ๆ ในการดาเนินกิจกรรมที่มุ่งผลิตผลลัพธ์ โดยมีสัดส่วนของต้นทุนหรือปัจจัยนาเข้าในการ
ลงทุนน้อยที่สุด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ นอกจากนี้ วีระพันธ์ เขมะนุเชษฐ์ (2560) ให้
ความหมายของประสิทธิภาพไว้ว่า ผลสาเร็จที่พิจารณาในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ที่มีตัวบ่งช้ี ได้แก่ ความประหยัด
หรือคุ้มค่า (ประหยัดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลา) ความทันเวลา และ มีคุณภาพ เป็นต้น
ดังนนั้ กลา่ วโดยสรปุ “ประสิทธิภาพ” หมายถึง การดาเนินงานที่นาไปสู่ความสาเร็จของงาน โดยใช้ทรัพยากรท่ีมี
อยูอ่ ยา่ งคุ้มคา่ ทาให้ได้ผลการดาเนนิ งานตามเป้าหมาย และเสร็จทนั เวลา
สาหรับประสิทธิผลเป็นเคร่ืองมือหรือตัวบ่งชี้ในการตัดสินใจว่าการบริหารของหน่วยงานหรือองค์กร
ใดสามารถดาเนินงานจนบรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ท่ีวางไว้ได้มากน้อยเพียงใด โดยเป็นเรือ่ งเกย่ี วกับ
ผลท่ีได้รับและผลสาเร็จของงาน มีความเก่ียวพันกับผลงานท่ีองค์กรพึงประสงค์ (อาภรณ์ อ่อนคง, ม.ป.ป.) ซึ่งมี
นักวิชาการหลายท่านได้ให้คาอธิบายความหมายของประสิทธิผล (Effiectiveness) ไว้ เช่น รุ่ง แก้วแดง และ ชัย
ณรงค์ สุวรรณสาร (2536) กล่าวว่า ประสิทธิผล หมายถึง ความสาเร็จของผลการปฏิบัติงานที่เป็นไปหรือ
บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ หรือสมพงษ์ เกษมสิน (2536) ให้ความหมายของ
ประสิทธิผลว่าหมายถึง การพิจารณาผลของการทางานท่ีสาเร็จลุล่วงตามประสงค์หรือท่ีคาดหวังไว้เป็น
หลัก โดยเป็นเรื่องของการนาเอาผลงานที่สาเร็จดังที่คาดหวังไว้มาพิจารณา เป็นต้น ดังนั้น กลา่ วโดยสรุป
“ประสทิ ธิผล” หมายถงึ การพจิ ารณาผลของการทางานที่บรรลุผลสาเรจ็ ตามวัตถปุ ระสงคห์ รือเป้าหมายทตี่ ้ังไว้
4.3 การดาเนนิ งานดา้ นการปราบปรามการทุจรติ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสานกั งาน ป.ป.ช.
ในส่วนนี้คณ ะผู้วิจัยได้ทาการศึกษาการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตข อง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. และสานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

4.3.1 ความเป็นมาและเจตนารมณ์ในการจัดตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสานักงาน
ป.ป.ช.

การทุจริตถือเป็นปัญหาสาคัญที่เกิดข้ึนในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน ซ่ึงส่งผลกระทบต่อการ
พัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก โดยรัฐบาลต่างมีความพยายามในการปราบปรามการกระทาการทุจริตของ
เจ้าหน้าท่ีของรัฐให้หมดส้ินไป โดยเร่ิมมีการตั้งองค์กรเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เป็นรูปธรรม

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับท่ี 1 113
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

ในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ท่ีมีการแต่งต้ังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในวงราชการ (คณะกรรมการ ป.ป.ป.) ขึ้น ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านการ
พิจารณาในลักษณะที่ค่อนข้างรวบรัดและเร่งรีบ จึงก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้หลายประการ
(สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะ, 2547, น. 47 อ้างถึงใน ศริยา ห่านศรีสุข, 2558, น. 114) รวมท้ังการ
ดาเนินงานของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ไม่ได้ทาให้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบลดน้อยลง แต่กลับมี
ความรนุ แรงมากข้นึ วิธีการทุจริตมคี วามสลบั ซับซอ้ นมากขนึ้ มีวิธีความร่วมมือทีเ่ ป็นขบวนการ ทงั้ เจา้ หนา้ ท่รี ัฐ
ระดบั ล่างจนถึงระดับสูง จึงมีแนวคิดท่ีจะสร้างกลไกในการปราบปรามการทุจรติ ให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นกลาง
และอิสระ (นิตรา เพิ่มทรัพย์ ล้ิมกาญจนาพันธ์ุ, 2560, น. 39) โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 กาหนดให้มีบทบัญญัติในส่วนท่ีว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐ ซ่ึงให้มีการจัดต้ัง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขึ้นเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีสานักงาน ป.ป.ช. เป็นหน่วยงานธุรการ ขึ้นตรง
ต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. และต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซ่ึงมีผลใช้บังคับเม่ือวันท่ี 18 พฤศจิกายน 2542 เป็นผลให้
คณะกรรมการ ป.ป.ป. ถูกยุบเลิกไป และสานักงาน ป.ป.ป. ก็ได้ถูกโอนมาเป็นสานักงาน ป.ป.ช. นับตั้งแต่นั้นมา
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเป็นหน่วยงานหลกั ทีม่ ีหน้าท่ีป้องกันและปราบปรามการทุจริตในประเทศไทย (ศริยา
ห่านศรีสุข, 2558, น. 115) ซ่ึงในภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริต กาหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มี
อานาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าท่ีของรัฐในทุกระดับตาแหน่ง
กระทาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าท่ี หรือกระทาความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตาแหน่ง
หน้าท่ีในการยุติธรรมหรือไม่ เพ่ือนาไปสู่การดาเนินคดีกับผู้ท่ีทุจริตตามกฎหมาย จากนั้นในปี พ.ศ. 2550 มี
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยยังคงบัญญัติให้มีคณะกรรมการ
ป.ป.ช. และสานักงาน ป.ป.ช. เพื่อทาหน้าท่ีในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ให้มีอานาจหน้าท่ีใน
การไต่สวนขอ้ เท็จจริงเฉพาะกรณีการทุจริตของเจ้าหน้าท่ีของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรอื ข้าราชการซ่ึงดารง
ตาแหน่งต้งั แต่ผู้อานวยการกองหรือเทียบเท่าขน้ึ ไป

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงให้ความสาคัญกับการ
ดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเน่ือง โดยได้กาหนดเพิ่มหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ให้มีการตรวจสอบการใช้อานาจรัฐของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้ดารงตาแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับตาแหน่ง
กรณีมีพฤติการณ์ร่ารวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าท่ีหรือใช้อานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือกระทาความผิด
ต่อตาแหน่งหนา้ ท่ีราชการ หรือความผดิ ต่อตาแหน่งในการยุติธรรม และต้องดาเนินการภายใต้กรอบระยะเวลา
ตามทก่ี ฎหมายกาหนด เพอ่ื ให้การปราบปรามการทจุ รติ เปน็ ไปดว้ ยความรวดเรว็ และมีประสิทธิภาพ

ภายหลังได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ต้ังแต่วนั ที่ 22 กรกฎาคม 2561 โดยได้ตราข้ึนให้สอดคล้องกับ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว รวมทั้งมีบทบัญญัติให้อานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณีจาเป็น
จะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐท่ีมีหน้าที่และอานาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและป ราบปรามการทุจริต
ดาเนินการแทนในเร่ืองท่ีมิใช่เป็นความผิดร้ายแรงหรือท่ีเป็นการกระทาของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดารงตาแหน่ง
ตั้งแต่ผู้อานวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าลงมาตามมาตรา 61 – 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 114
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 จึงกล่าวได้ว่า การบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว
สง่ ผลให้สานักงาน ป.ป.ช. เป็นหนว่ ยงานทีท่ าหน้าที่รบั เร่อื งกล่าวหารอ้ งเรียนการทจุ รติ ของเจา้ พนักงานของรัฐ
ทุกระดับ โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเน้นการทาคดีทุจริตที่เป็นเรื่องสาคัญและเป็นความผิดร้ายแรง และ
จะต้องดาเนินงานภายใต้กรอบระยะเวลาตามท่ีกฎหมายกาหนดไว้ เพ่ือนาไปสู่การดาเนินคดีกับผู้ที่ทุจริตทั้ง
ทางอาญาและวินัยไดอ้ ยา่ งรวดเรว็

4.3.2 หนา้ ทีแ่ ละอานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสานักงาน ป.ป.ช.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
มาตรา 28 และ มาตรา 142 กาหนดหน้าท่ีและอานาจท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั การดาเนนิ งานดา้ นการปราบปรามการทจุ รติ ดงั นี้

(1) หน้าทีแ่ ละอานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(1.1) ไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง ตุลาการ
ศาลรฐั ธรรมนูญ หรือผู้ดารงตาแหน่งในองค์กรอิสระ ผใู้ ดมพี ฤติการณ์รา่ รวยผดิ ปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจ
ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
มาตรฐานทางจรยิ ธรรมอย่างรา้ ยแรง
(1.2) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ารวยผิดปกติ กระทาความผิดฐาน
ทจุ ริตตอ่ หนา้ ทีห่ รอื กระทาความผิดตอ่ ตาแหน่งหนา้ ท่ีราชการ หรอื ความผิดต่อตาแหนง่ หน้าทีใ่ นการยุติธรรม
(1.3) ไต่สวนเพ่ือดาเนินคดีในฐานความผิดอื่นที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญน้ี
กาหนดหรือท่ีมีกฎหมายกาหนดให้อยู่ในหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ในการดาเนินการ
ในส่วนท่ีเก่ียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนญู นี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะดาเนินการเอง
หรือมอบหมายใหห้ นว่ ยงานทม่ี หี นา้ ท่แี ละอานาจในการดาเนินการเป็นผ้ดู าเนนิ การก็ได้
(1.4) หน้าที่และอานาจอื่นตามท่ีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ หรอื กฎหมายอนื่
(2) หน้าทแี่ ละอานาจของสานักงาน ป.ป.ช.
(2.1) รับผิดชอบงานธุรการ และดาเนินการเพ่ือให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. บรรลุ
ภารกิจและหนา้ ท่ตี ามทก่ี าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัตปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญน้ี และกฎหมายอื่น
(2.2) อานวยความสะดวก ประสานงาน ให้ความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุน
การปฏบิ ตั ิงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช.
(2.3) ประสานงานและให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและ
ปราบปรามการทจุ รติ
(2.4) ปฏิบัติการอ่ืนตามท่ีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย และตามที่กฎหมาย
บัญญตั ิ
4.4 การดาเนนิ งานด้านการปราบปรามการทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.
การดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
การตรวจรับคากล่าวหา การตรวจสอบเบ้ืองต้น และการไต่สวน โดยมีการดาเนินงานและระยะเวลาในการ
ดาเนินงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 และหลักเกณฑ์ของสานักงาน ป.ป.ช.
เก่ียวกับการตรวจรับคากลา่ วหา

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบบั ท่ี 1 115
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

4.5 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาขั้นตอนการดาเนินงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานด้านการ
ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลการ
ดาเนินงานตามภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ปัญหาอุปสรรคท่ีเกิดขึ้นในการ
ปฏิบัติงาน อันจะนาไปสู่การมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานและการดาเนินการอ่ืน ๆ
เพื่อใหก้ ารปฏิบัตงิ านด้านการปราบปรามการทุจรติ มีความรวดเร็วและมีประสทิ ธิภาพมากข้นึ ดงั แผนภาพที่ 1

แผนภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั

งานดา้ นการปราบปรามการทจุ รติ ประสทิ ธภิ าพในการดาเนนิ งานดา้ น ขอ้ เสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ของสานักงาน ป.ป.ช. การปราบปรามการทจุ รติ ของ ปรับปรุงระบบการปฏบิ ตั ิงาน
• การตรวจรบั คากลา่ วหา สานักงาน ป.ป.ช.
ดา้ นการปราบปราม
- ข้ันตอนการดาเนนิ งาน - การดาเนนิ การตามกรอบ การทจุ รติ มีความรวดเร็วและ
- ระยะเวลา ระยะเวลาทก่ี าหนด
- ปญั หาอปุ สรรค มีประสิทธิภาพมากขน้ึ
• การตรวจสอบเบ้อื งต้น - ผลการดาเนินการตามเป้าหมาย
- ข้นั ตอนการดาเนนิ งาน ของแผนปฏบิ ัตกิ ารฯ
- ระยะเวลา
- ปญั หาอุปสรรค ประสทิ ธิผลในการดาเนนิ งานดา้ น
• การไตส่ วน การปราบปรามการทุจริตของ
- ขัน้ ตอนการดาเนินงาน สานกั งาน ป.ป.ช.
- ระยะเวลา
- ปัญหาอปุ สรรค - ผลการดาเนินคดหี ลงั จากที่
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มมี ตชิ ีม้ ูล
คดที ีช่ ม้ี ูลความผิดโดย ความผดิ ทางอาญา
คณะกรรมการ ป.ป.ช.

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 116
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

5. วธิ ีการดาเนนิ การวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods Research) โดยเป็นการวิจัยแบบขั้นตอนเชิง

สารวจ (Exploratory Sequential Design) ท่ีแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ช่วงแรกเป็นการวิจัยเพ่ือสารวจข้อมูลโดยใช้
การวิจยั เชงิ คณุ ภาพ และนาผลมาตอ่ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ซ่ึงมีรายละเอียด ดงั นี้

5.1 การวิจัยเชงิ คณุ ภาพ (Qualitative Research)
(1) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารเพ่ือให้ทราบถึง

แนวคิดของการประเมิน แนวคดิ เก่ียวกับประสทิ ธิภาพและประสทิ ธิผล การดาเนินงานดา้ นการปราบปรามการ
ทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสานักงาน ป.ป.ช. ประกอบกับ การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูล
ขั้นตอนการดาเนินงานและระยะเวลาการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงาน และข้อเสนอแนะเพื่อ
พัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากน้ันนาข้อมูลท่ีได้จาก
การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกมาประมวลและจัดทาเป็นข้อคาถามในแบบสอบถาม เพื่อสอบถามกลุ่ม
ตัวอย่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ท้ังในส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาค

(2) ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informants) เพ่ือการดาเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก ซ่ึงใช้วิธีการ
เจาะจงผู้ให้ขอ้ มูลสาคญั ที่เป็นบุคลากรของสานักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งสน้ิ 22 คน ประกอบด้วย (1) รองเลขาธิการ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่กากับดูแลภารกิจการปราบปรามการทุจริต
จานวน 2 คน และ (2) เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตระดับชานาญการขึ้นไป
ทัง้ ในสว่ นกลางและส่วนภมู ิภาค จานวน 20 คน

(3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยข้อคาถาม 5 ส่วน
ได้แก่ (3.1) ข้อคาถามส่วนบุคคลของผู้ให้สัมภาษณ์ (3.2) ขั้นตอนการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริต
ของสานักงาน ป.ป.ช. (3.3) ระยะเวลาในการดาเนินงานในแต่ละขั้นตอน (3.4) ปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงาน
และ (3.5) ข้อเสนอแนะเพอื่ พฒั นาปรบั ปรุงการปฏบิ ตั ิงานดา้ นการปราบปรามการทุจรติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

(4) การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary
Study) เป็นการเก็บข้อมูลในลักษณะข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากหนังสือ เอกสารงานวิชาการต่าง ๆ
และกฎหมาย ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการทุจริต และ การสัมภาษณ์เชิง
ลึก (In-depth Interview) จากผู้บริหารสานักงาน ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการ
ทุจริต

(5) การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร ใช้วิธีการวิเคราะห์
เชิงเน้ือหา (Content Analysis) และ ข้อมูลท่ีได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย
(Analytic Analysis)

5.2 การวิจยั เชงิ ปรมิ าณ (Quantitative Research)
(1) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้

ในการดาเนินงานด้านปราบปรามการทุจริต ต้ังแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เร่ิมมีผลบังคับใช้ ข้อมูลผลการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของ
หน่วยงานภายในสานักงาน ป.ป.ช. และข้อมูลผลการดาเนินคดีหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูล
ความผิดทางอาญา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 เพื่อนามาประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ของการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. รวมถึงการศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถาม

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบบั ที่ 1 117
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัตงิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

เพื่อทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. และ
ข้อเสนอแนะเพ่ือพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏบิ ัติงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากข้ึน

(2) ประชากรท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังน้ี ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าท่ีสานักงาน ป.ป.ช. ท่ี
ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการทุจริตทั้งในสานักบริหารงานกลาง สานักไต่สวนในส่วนกลาง สานักงาน ป.ป.ช.
ภาค 1 – 9 และ สานักงาน ป.ป.ช. ประจาจังหวัด 76 จังหวัด รวม 94 หน่วยงาน รวมทงั้ สนิ้ 846 คน

(3) กลุ่มตัวอย่าง ดาเนินการคานวณขนาดตัวอย่างตามสูตรการคานวณตามตารางแสดง
จานวนประชากรและจานวนกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970) โดยกาหนดค่าความเชื่อมั่นท่ีระดับ
95% (α= 0.05) ได้จานวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 264 คน โดยคณะผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างเพ่ือตอบ
แบบสอบถามด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากผู้บริหารและเจ้าหน้าท่ี
ผู้ปฏิบัตงิ านจากสานกั ที่ปฏิบัติงานดา้ นการปราบปรามการทจุ รติ ส่วนกลางและสว่ นภูมภิ าค รวม 94 หน่วยงาน
หนว่ ยงานละ 3 คน รวมทง้ั สิ้น 282 คน

(4) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในคร้ังน้ี ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม
(Questionnaire) สาหรับใช้เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและเจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติงานจากสานักที่ปฏิบัติงานด้านการ
ปราบปรามการทุจรติ โดยนาข้อมูลทไ่ี ด้จากการสมั ภาษณ์มาประมวลและจดั ทาเป็นข้อคาถามในแบบสอบถาม
มีวัตถุประสงค์เพ่ือจัดลาดับข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงานตามภารกิจด้านการปราบปราม
การทุจริต และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานและการดาเนินการอื่น ๆ เพื่อให้
การปฏิบัติงานปราบปรามการทุจริตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากข้ึน ซ่ึงแบบสอบถามเป็นข้อคาถาม
ปลายปิด ทเี่ ปน็ มาตราสว่ นประมาณค่า 5 ระดบั และเปน็ ไปตามของหลักเกณฑข์ องลเิ คริ ท์ (Likert Scale)

(5) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินงานด้านการปราบปรามการ
ทุจรติ ของสานักงาน ป.ป.ช. คณะผู้วิจัยได้กาหนดตัวช้ีวัดในการประเมินประสิทธิภาพประกอบด้วย 2 ตัวช้ีวัด
ได้แก่ ตัวช้ีวัดท่ี 1 “การประเมินผลการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ตาม
เป้าหมายที่กาหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี” และ ตัวช้ีวัดท่ี 2 “การ
ประเมินผลการดาเนินงานดา้ นการปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช. ตามกรอบระยะเวลาท่กี ฎหมาย
กาหนด” และการประเมินประสิทธิผล ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด คือ ความสาเร็จของการดาเนินคดีท่ี
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563

(6) การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลจากแบบสอบถามท่ีเก็บรวบรวมจากผู้บรหิ าร
และเจ้าหนา้ ทีผ่ ้ปู ฏิบตั งิ านจากสานกั ทป่ี ฏิบัตงิ านดา้ นการปราบปรามการทุจริต รวมถึงข้อมูลเชิงสถิติเก่ียวกับ
ระยะเวลาที่ใช้ในการดาเนินงานด้านปราบปรามการทุจริต ต้ังแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจรติ พ.ศ. 2561 เริ่มมีผลบังคบั ใช้ ข้อมูลผลการดาเนนิ งานดา้ นการปราบปราม
การทุจริตของหน่วยงานภายในสานักงาน ป.ป.ช. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 และข้อมูลผลการ
ดาเนินคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ซึ่งเก็บ
รวบรวมจากหน่วยงานภายในสานักงาน ป.ป.ช. เพ่ือนามาประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการ
ดาเนินงานตามภารกจิ ดา้ นการปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

(7) การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย (1) ข้อมูลท่ีไดจ้ ากแบบสอบถาม ใชก้ ารวิเคราะห์โดยใช้
ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (2) ข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพ
ใช้การวิเคราะห์จากผลการดาเนินการงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ที่เกิดขึ้นจริง
เทียบกับเป้าหมายที่กาหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี แยกตามขั้นตอน

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบบั ที่ 1 118
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจรติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.

การดาเนินงาน และ ระยะเวลาเฉลี่ยท่ีใช้ในการดาเนินงานที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับกรอบระยะเวลาการ
ดาเนินงานตามที่กฎหมายกาหนด แยกตามขั้นตอนการดาเนินงาน ซึ่งในการคานวณหาประสิทธิภาพใน
แต่ล ะตัว ชี้วัดจะใช้วิธีคานว ณ จ ากการนาผ ล การดาเนินงาน ใน แต่ล ะขั้ นตอ นม าเทียบ กับ เกณ ฑ์ที่ใช้ใน
กา ร ป ร ะ เมิน เ พื่อห า ร ะ ดับ ค่า ค ะแ น น แ ล้ว นา ผ ล ค่า คะแนนที่ได้ในแต่ละขั้นตอนมาคานวณเป็นค่าเฉล่ียใน
ภาพรวมของตัวชี้วัด ส่วนการคานวณประสิทธิภาพในภาพรวม ใช้วิธีคานวณจากการนาค่าคะแนนของแต่ละ
ตัวชี้วดั เพ่อื มาหาค่าเฉลีย่ แล้วนาค่าคะแนนท่ีไดม้ าแปลผล และ (3) การประเมินประสิทธผิ ล ใช้การวิเคราะห์
จากผลการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. โดยพิจารณา จากผล
ความสาเร็จของการดาเนินคดีอาญาท่ีศาลมีคาพิพากษาลงโทษ เทียบกับจานวนคดีท่ีศาลพิจารณาแล้วเสร็จ
ซ่ึงในการคานวณหาประสิทธิผลของการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช.
ใช้วิธีคานวณจากผลการดาเนินคดีท่ีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ.
2562 - 2563 เพื่อหาค่าเฉลยี่ แลว้ นาค่าคะแนนทไี่ ดม้ าแปลผล

6. ผลการศึกษา
จากการศึกษาวิจัยเร่ือง “โครงการประเมินกระบวนการและผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปราม

การทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.” มผี ลการศึกษา ดงั น้ี
6.1 ขอ้ มลู สว่ นบุคคล
คณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ท่ีปฏิบัติงานด้านการ ปราบปรามการทุจริต

ภายในสานักงาน ป.ป.ช. ทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ซึ่งในการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ดารงตาแหน่งพนักงานไต่สวนระดับกลาง ร้อยละ 66.67 รองลงมาคือ ตาแหน่ง
พนักงานไต่สวนระดับสูง ร้อยละ 19.05 ตาแหน่งผู้บริหารสานักงาน ป.ป.ช. ร้อยละ 9.52 และ ตาแหน่ง
ผอู้ านวยการกลมุ่ ร้อยละ 4.76

ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างท่ีตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.54 และเพศ
หญิง รอ้ ยละ 34.46 โดยอายุของกลุ่มตวั อยา่ งสว่ นใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 54.05 รองลงมา
มีอายุระหว่าง 40 – 49 ปี ร้อยละ 35.81 ด้านการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา คือ ปริญญาโท
สาขานิติศาสตร์ รอ้ ยละ 55.41 รองลงมาคอื ระดบั ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และเนตบิ ัณฑติ ร้อยละ 43.92
ส่วนตาแหน่งพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ดารงตาแหน่งพนักงานไต่สวนระดับกลาง ร้อยละ 62.84
รองลงมาคือ ตาแหน่งผู้อานวยการสานัก (ร้อยละ 11.49) และพนักงานไต่สวนระดับต้น (ร้อยละ 11.49)
เท่ากัน และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทางานมาแล้วมากกว่า 6 ปีข้ึนไป – 9 ปี ร้อยละ 36.49
รองลงมาคอื มปี ระสบการณ์การทางาน มากกว่า 9 ปขี ึ้นไป – 12 ปี ร้อยละ 20.27

6.2 ผลการศึกษาเก่ียวกับประเภท ลักษณะคดี ข้ันตอนการดาเนินงานและระยะเวลาการปฏิบัติงาน
ด้านการปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

จากการศึกษาวิจัยปรากฏผลการศึกษาในประเด็นตา่ ง ๆ ดงั น้ี
6.2.1 ผลการศึกษาประเภท ลักษณะคดี
จากการศึกษาขอ้ มลู ในระบบสารสนเทศของสานักงาน ป.ป.ช. พบว่า การดาเนินงานด้านการ

ปราบปรามการทุจริตมีการจาแนกเรื่องกล่าวหาร้องเรียนออกเป็น 20 ประเภท ประกอบด้วย (1) ท่ีดิน
(2) การเกษตร (3) การชลประทานและบริหารจัดการทรัพยากรน้า (4) กระบวนการยตุ ิธรรม (5) กิจการ
ระหว่างประเทศ (6) การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม (7) กิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบับท่ี 1 119
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

และการสื่อสาร (8) กิจการคมนาคมและการขนส่ง (9) การท่องเที่ยวและกีฬา (10) ความมั่นคงและการดูแล
ความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมือง (11) การพัฒนาคุณภาพชีวติ (12) สาธารณูปโภค และโครงสรา้ งพื้นฐาน
(13) ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม (14) แรงงานและการค้ามนุษย์ (15) การเงินและธนาคาร
(16) สาธารณสุขและการบริการด้านสุขภาพ (17) กิจการพลังงาน (18) การบริหารงานบุคคล (การบรรจุ/
แต่งตงั้ /เลอ่ื นตาแหน่ง/โยกยา้ ย/ลงโทษวินัย) (19) อุตสาหกรรม และ (20) การร่วมลงทนุ ในกิจการของรฐั

สาหรับลักษณะคดีน้ันทาการศึกษาจากการจาแนกเร่ืองกล่าวหาตามลักษณะความผดิ ท่ีมีการ
กาหนดในระบบสารสนเทศของสานักงาน ป.ป.ช. ในภารกิจงานด้านการปราบปรามการทุจริต โดยแบ่งเป็น 9
ลักษณะ ไดแ้ ก่ (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าท่ีโดยมิชอบหรือโดยทุจริต (2) ใช้อานาจในตาแหน่งหรือหน้าที่
โดยมิชอบหรือโดยทุจริต (3) เรียกรับสินบน ให้/ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใดแก่
เจา้ หน้าท่ีของรัฐ (4) จัดซ้ือจัดจ้าง (5) การขัดกันระหวา่ งประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (6) จงใจ
ปฏิบัติหน้าท่ีหรือใช้อานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย (7) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
มาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง (8) การจัดทาโครงการหรืออนุมัติหรือจัดสรรงบประมาณอันเป็นการ
ฝ่าฝนื บทบญั ญตั ขิ องรฐั ธรรมนูญมาตรา 114 และ (9) เจ้าพนักงานยกั ยอกทรัพย์

6.2.2 ผลการศึกษาเก่ียวกับขั้นตอนการดาเนินงานและระยะเวลาการปฏิบัตงิ านด้านการ
ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

การดาเนินงานดา้ นการปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
ได้แก่ ขั้นตอนการตรวจรับคากล่าวหา ขั้นตอนการตรวจสอบเบ้ืองต้น และขั้นตอนการไต่สวน ซึ่งจาก
การศึกษาขั้นตอนและระยะเวลาดาเนินการด้านการปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช. มผี ลการศกึ ษา
สรปุ ได้ ดงั นี้

6.2.2.1 ข้ันตอนการตรวจรับคากลา่ วหา
การตรวจรับคากล่าวหาเป็นขั้นตอนในการกลั่นกรองคากล่าวหาว่าอยู่ในหน้าที่
และอานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช./เป็นเร่อื งต้องห้ามรับไวต้ ามที่กฎหมายกาหนด/คากล่าวหามีรายละเอยี ด
เพียงพอหรือไม/่ เป็นเรอื่ งความผิดร้ายแรงหรือไม่ เปน็ ต้น โดยการตรวจรับคากล่าวหาในส่วนกลางนั้น ในกรณีท่ี
คากล่าวหามีรายละเอียดเพียงพอ สานักบริหารงานกลางจะทาการตรวจสอบเรื่องซ้าแล้วส่งให้สานักไต่สวน
การทุจริตที่มีอานาจหน้าที่รับผิดชอบ ดาเนินการให้ความเห็นและส่งกลับมายังสานักบริหารงานกลาง
ในส่วนภูมิภาคจะเป็นหน้าที่ของสานักงาน ป.ป.ช. ประจาจังหวัด เป็นผู้ดาเนินการตรวจสอบเร่ืองซ้าและ
มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ทาการตรวจรับคากล่าวหา พรอ้ มเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาตาม
หลักเกณฑ์การตรวจรับคากล่าวหาของสานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งในการตรวจรับคากล่าวหา สานักท่ีเก่ียวข้องจะ
เสนอความเห็นได้เป็น 4 กรณี ได้แก่ (1) ส่งรวมเร่ืองซ้า ในกรณีท่ีเคยมีการร้องเรียนมาก่อนแล้ว (2) เห็นควร
รับไว้ดาเนินการเอง (3) ส่งหรือมอบหมายหน่วยงานอื่นดาเนินการตามมาตรา 61 – 64 และ (4) ไม่รับคากล่าวหาไว้
พิจารณา ทั้งน้ีในกรณีคากล่าวหามีช่ือและที่อยู่ของผู้กล่าวหา หากมีรายละเอียดไม่เพียงพอหรือไม่มีชื่อและ
ตาแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา จะต้องขอทราบรายละเอียดจากผู้กล่าวหาเพ่ิมเติม ก่อนที่จะทาความเห็นเสนอ
ผู้บังคับบัญชาตามหลักเกณฑ์ของสานักงาน ป.ป.ช. ต่อไป ส่วนกรณีบัตรสนเท่ห์ เว็บไซต์ และเบาะแสที่อยู่ใน
ความรับผิดชอบของส่วนกลาง สานักบริหารงานกลางจะเป็นผู้รับผิดชอบ และในส่วนภูมิภาค สานักงาน
ป.ป.ช. ประจาจังหวดั จะเป็นผู้รับผิดชอบการตรวจรับบัตรสนเท่ห์ เวบ็ ไซต์ แจง้ เบาะแสที่อย่ภู ายในเขตจังหวัด
เม่ือพนักงานเจ้าหน้าท่ีที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาแล้ว หากเห็นว่ามีรายละเอียดและพฤติการณ์
ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาว่าจะรับไว้ดาเนินการหรือไม่ จะทาการตรวจสอบเบ้ืองต้นเพ่ิมเติม เพ่ือให้ได้

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 120
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานท่ีชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเร่ืองกล่าวหาพิจารณา
ซึ่งผลการพิจารณาอาจจะมีได้ 4 แนวทาง ได้แก่ (1) รับไว้ดาเนินการเอง ก็จะไปสู่การออกเลขดาและ
ดาเนินการตามข้ันตอนตรวจสอบเบ้ืองต้นต่อไป (2) ไม่รับไว้พิจารณา ก็จะนาเสนอกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้รับ
มอบหมายให้กากับดูแล พิจารณามีคาสั่งไม่รับไว้พิจารณา (3) ส่งหน่วยงานอื่นดาเนินการตามมาตรา 62 – 64
สานักบริหารงานกลางจะรวบรวมคากล่าวหาจากระบบ PESCA เพ่ือนาเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา
และ (4) มมี ติให้ดาเนินการตรวจสอบเพิ่มเตมิ

สาหรับระยะเวลาในการตรวจรับคากล่าวหานั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีการกาหนดระยะเวลาท่ีเกี่ยวข้องกับ
การตรวจรับคากล่าวหาไว้ โดยกาหนดเฉพาะในกรณีท่ีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเร่ืองให้พนักงานสอบสวน
(มาตรา 61) หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. ดาเนินการ (มาตรา 62) ต้องส่งเรื่องภายใน 30 วันนับแต่วันที่สานักงาน
ป.ป.ช. ได้รับเรื่อง แต่ไม่มีการกาหนดเวลาในการดาเนินการกับเรื่องในลักษณะอื่น ๆ ที่ว่าจะต้องดาเนินการภายใน
30 วัน เช่น การไม่รับคากล่าวหาไว้พิจารณา การมอบหมายให้หน่วยงานอื่นดาเนินการตามมาตรา 63 – 64
เป็นต้น ดังนั้นสานักงาน ป.ป.ช. จึงกาหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจรับคากล่าวหาให้
ครอบคลุมทุกกระบวนการว่าจะต้องดาเนินการภายใน 30 วัน ส่วนคากล่าวหาที่เป็นบัตรสนเท่ห์ เว็บไซต์
หรือเบาะแส ไม่ได้กาหนดระยะเวลาท่ีชดั เจนไว้ เนอ่ื งจากจะมีขน้ั ตอนการตรวจสอบเพ่ิมเติม แตใ่ นทางปฏิบัติ
พยายามจะดาเนินการให้ได้ภายใน 30 วัน ผลการศึกษาพบว่า การตรวจรับคากล่าวหาใช้ระยะเวลาเฉลี่ย
ในการดาเนนิ การอยูท่ ี่ 73.50 วนั ต่อเรือ่ ง

6.2.2.2 ขั้นตอนการตรวจสอบเบือ้ งตน้
การตรวจสอบเบื้องต้นเป็นขั้นตอนต่อเน่ืองจากขั้นตอนการตรวจรับคากล่าวหา เมื่อ
เห็นว่าควรรับคากล่าวหาเรื่องใดไว้ดาเนินการเองแล้วจะมีการออกเลขดา จากนั้นผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายเรื่อง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งในสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบดาเนินการตรวจสอบเบื้องต้นต่อไป โดย
พนักงานเจ้าหน้าท่ีจะดาเนินการตรวจสอบรายละเอียดของเรื่องกล่าวหา หากยังมีรายละเอียดไม่ชัดเจน จะ
เชิญผู้กล่าวหามาให้ถ้อยคาเพ่ิมเติม หลังจากนั้นจึงพิจารณากาหนดประเด็นข้อกล่าวหาและพฤติการณ์การ
กระทาความผิดและวางแผนการปฏิบัติงานในการรวบรวมพยานหลักฐานเพ่ือให้ได้มาซ่ึงข้อเท็จจริงและ
พยานหลักฐาน เช่น การสอบปากคาพยานผู้ที่เกี่ยวข้องหรือที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้อง หรือการขอเอกสาร
หลักฐานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกล่าวหา เป็นต้น เม่ือรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
ได้ครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะดาเนินการพิจารณาวินิจฉัยพยานหลักฐานทั้งหมดท่ีรวบรวมได้และ
จัดทารายงานการตรวจสอบเบ้ืองต้น แล้วเสนอรายงานดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาตามลาดับชั้น เพื่อเสนอต่อ
คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องกล่าวหาพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาอาจจะมีได้ 4 แนวทาง ได้แก่
(1) กรณีไม่มีมูลหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะดาเนินการต่อไป ก็จะมีมติไม่รับเรื่องไว้พิจารณา
แล้วนาเสนอต่อกรรมการ ป.ป.ช. ท่ีกากับดูแล เพ่ือพิจารณามีคาสั่งไม่รบั ไว้พิจารณา (2) กรณีเห็นควรส่งเรื่อง
หรือมอบหมายหน่วยงานอื่นตามมาตรา 61 – 64 จะนาเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา (3) กรณีมี
พยานหลกั ฐานเพียงพอตอ่ การไต่สวน จะนาเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพอื่ มีมติให้ไต่สวนต่อไป และ (4) มีมติส่ัง
ให้ดาเนินการตรวจสอบเพม่ิ เติม

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 121
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

สาหรับระยะเวลาในการดาเนินการตรวจสอบเบื้องต้นนั้น ระเบียบคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ว่าดว้ ยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 ข้อ 33 วรรคท้าย กาหนดใหด้ าเนินการแล้วเสร็จภายใน 180 วัน
นับแต่วันที่ลงทะเบียนรับเรื่องกล่าวหา หากไม่แล้วเสร็จสามารถขอขยายเวลาได้ 3 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 90 วัน
ท้ังนี้หากขยายระยะเวลาครบ 3 คร้ังแล้วยังดาเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้เสนอเหตุผลและความจาเป็นต่อ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณามีมติตามท่ีเห็นสมควรต่อไป เว้นแตเ่ ปน็ เรอ่ื งท่จี าเป็นตอ้ งตรวจสอบข้อมูล
หรอื รายละเอียดหรือขอรับเอกสารหลักฐานจากต่างประเทศ ซ่ึงผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบเบื้องต้นใช้
ระยะเวลาเฉลี่ยในการดาเนินการ 384.62 วันตอ่ เรื่อง

6.2.2.3 ขน้ั ตอนการไต่สวน
การไต่สวนหรือไต่สวนเบื้องต้นเป็นข้ันตอนต่อเนื่องจากกระบวนการตรวจสอบ
เบ้ืองต้น โดยเริ่มหลังจากกรณีที่มีการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่าเร่ืองกล่าวหาเรื่องใดมีมูลเพียงพอต่อการไต่สวน
ก็จะดาเนินการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า
เรื่องกล่าวหาน้ันมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอต่อการไต่สวนต่อไป ก็จะมีมติให้ดาเนินการไต่สวน
ซึ่งการไต่สวนแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ เป็นผู้ดาเนินการไต่สวนเอง
(2) คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตง้ั คณะกรรมการไต่สวน และ (3) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายคณะไต่สวนเบื้องต้น
เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มมี ตแิ ต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนแลว้ หัวหน้าพนักงานไต่สวนผู้รับผดิ ชอบจะจัดทา
คาส่ังแต่งต้ังเสนอประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย เพื่อลงนาม ในคาสั่ง
แต่ถ้าเป็นการมอบหมายคณะไต่สวนเบ้ืองต้นไม่ต้องจัดทาคาสั่งแต่งต้ังโดยสามารถดาเนินการไต่สวนตามมติ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไดเ้ ลย
จากน้ันจะจัดให้มีการประชุมเพ่ือพิจารณาและกาหนดแนวทางการไต่สวน แล้วจึง
ดาเนินการไตส่ วนข้อเท็จจริงตามมติคณะกรรมการไตส่ วนหรือคณะไตส่ วนเบอ้ื งต้น ในการไตส่ วนหากปรากฏว่าการ
กระทาของผู้ถูกกล่าวหาไม่มีมูลความผิด ผู้ไต่สวนจะเสนอสานวนการไต่สวนหรือรายงานการไต่สวนเบ้ืองต้น
ตอ่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาต่อไป แตห่ ากเหน็ ว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนบั สนุนข้อกล่าวหา
ว่ามีมูลความผิด จะดาเนินการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหา และเปิดโอกาสให้
ผู้ถูกกล่าวหาช้ีแจงแก้ข้อกล่าวหา หลังจากที่ได้ดาเนินการไต่สวนพยานหลักฐานของคู่กรณีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ในคดีแล้ว คณะกรรมการไต่สวนหรือคณะไต่สวนเบื้องต้นจะประชุมปรึกษาเพ่ือพิเคราะห์ช่ังน้าหนัก
พยานหลักฐานทั้งปวงจากข้อกลา่ วหา คาแก้ข้อกล่าวหา ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานท่ีเกี่ยวข้องแล้วมีมติว่า
ผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทาการอันเป็นมูลความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ และจะจัดทาสานวน
การไต่สวนหรือรายงานการไต่สวนเบอื้ งต้น เสนอตอ่ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ซ่ึงประธานกรรมการ ป.ป.ช. จะ
จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสานวนการไต่สวนหรือรายงาน การไต่สวนเบื้องต้น
ภายใน 30 วันนับแต่วันท่ีได้รับสานวนการไต่สวนหรือรายงานการไต่สวนเบื้องต้น โดยผลการพิจารณาของ
คณะกรรมการ ป.ป.ช.อาจจะมีได้ใน 3 แนวทาง ได้แก่ (1) ให้ข้อกล่าวหาตกไป (2) ชี้มูลความผิดทางอาญา/วินัย
หรือ (3) ส่ังใหด้ าเนินการไตส่ วนเพ่ิมเตมิ
สาหรับระยะเวลาในการไต่สวนนั้น มีการกาหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยมีการกาหนดกรอบระยะเวลาที่เป็น
กรอบใหญ่ไว้ ให้การไต่สวนทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการไต่สวนโดยคณะไต่สวนเบื้องต้น หรือคณะกรรมการไต่สวน
หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทาการไต่สวนเอง จะต้องดาเนินการไต่สวนแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันเร่ิม
ดาเนินการไต่สวน หากดาเนินการไม่เสร็จ สามารถขอขยายระยะเวลาออกไปได้เท่าที่จาเป็น แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับท่ี 1 122
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

3 ปี เว้นแต่เป็นเร่ืองท่ีจาเป็นต้องเดินทางไปไต่สวนในต่างประเทศหรือขอให้หน่วยงานของต่างประเทศ
ดาเนินการไต่สวนให้ หรือขอรับเอกสารหลักฐานจากต่างประเทศ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะขยายระยะเวลา
ออกไปเท่าที่จาเป็น อย่างไรกต็ ามมีการไต่สวน 2 รูปแบบทกี่ ฎหมายกาหนดกรอบระยะเวลาดาเนินงานแล้วเสรจ็ ท่ี
เป็นกรอบย่อย คือ (1) คณะกรรมการไต่สวนจะต้องดาเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันท่ีได้รับมอบหมาย
และ (2) คณะไต่สวนเบื้องต้นจะต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย
ซ่ึงการไต่สวนท้ัง 2 รูปแบบดังกล่าว หากดาเนินการไม่แล้วเสร็จตามกาหนดกรอบเวลาย่อยข้างตน้ สามารถขอ
ขยายระยะเวลาได้ โดยจะต้องดาเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา 2 ปี หากไม่แล้วเสร็จขอขยายได้
อกี ไมเ่ กิน 1 ปี แตร่ วมแลว้ ไม่เกิน 3 ปี โดยผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมการดาเนนิ งานไต่สวนใช้ระยะเวลาเฉล่ีย
ในการดาเนนิ การ 556.37 วันตอ่ เร่ือง ซงึ่ อยูใ่ นกรอบระยะเวลาตามท่ีกฎหมายกาหนดภายใน 2 ปี

6.3 ผลศึกษาการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินงานด้านการ
ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. และปญั หาอปุ สรรคในการดาเนินการ

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินงานตามภารกิจด้านการปราบปราม การ
ทุจรติ ของสานักงาน ป.ป.ช. รวมถึงปญั หาอุปสรรคในการดาเนนิ การตามภารกิจด้านการปราบปรามการทจุ ริต
ของสานกั งาน ป.ป.ช. มผี ลการศกึ ษาสรปุ ได้ ดงั นี้

6.3.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินงานด้านการ
ปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดาเนินงานตามภารกิจด้านการ
ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. คณะผู้วิจัยได้ทาการประเมินจากผลการดาเนินงานที่เกิดขึ้นจริง
จากการปฏิบัติงานต้ังแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
2561 เรมิ่ มผี ลใชบ้ ังคบั โดยมผี ลการศึกษาสรุปได้ ดังน้ี

6.3.1.1 การประเมนิ ประสิทธภิ าพ
การประเมินประสิทธิภาพของการดาเนินงานตามภารกิจด้านการปราบปรามการ
ทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ไดแ้ ก่ 1) ตวั ชวี้ ัดที่ 1 “การประเมนิ ผลการดาเนินงานด้าน
การปราบปรามการทุจริตตามเป้าหมายท่ีกาหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่าย
ประจาปี” และ 2) ตัวช้ีวัดที่ 2 “การประเมินผลการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน
ป.ป.ช. ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกาหนด” โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพของการดาเนินงานตาม
ภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ในภาพรวม ได้ค่าคะแนนเฉล่ียเท่ากับ 3.00 คะแนน
จากคะแนนเตม็ 5 คะแนน อยใู่ นระดับ มปี ระสทิ ธิภาพปานกลาง
เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดท่ี 1 เป็นการประเมินที่
พิจารณาจากผลการดาเนินงานท่ีเกิดขึ้นจริงของหน่วยงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 เทียบกับเป้าหมาย
ตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี ซึ่งทาการประเมินในทุกขั้นตอน
การดาเนินงาน โดยในภาพรวมมีผลการประเมินได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.33 คะแนน อยู่ในระดับ
มีประสิทธิภาพปานกลาง โดยการตรวจสอบเบ้ืองต้นสามารถดาเนินงานได้ผลสูงกว่าเป้าหมายท่ีกาหนดไว้ใน
แผนปฏิบัติการฯ ซึ่งสามารถดาเนินการได้เฉลี่ยร้อยละ 101.68 ส่วนการดาเนินงานในขั้นตอนการตรวจ
รับคากล่าวหาและขั้นตอนการไต่สวนยังมีผลการดาเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กาหนด กล่าวคือ
การตรวจรับคากล่าวหามีผลการดาเนินงานเฉล่ียร้อยละ 80.66 และการไต่สวนมีผลการดาเนินงานเฉล่ียร้อยละ
26.47 ดงั ตารางท่ี 1

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ที่ 1 123
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัตงิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ ริตของสานักงาน ป.ป.ช.

ตารางที่ 1 ผลการประเมนิ ในภาพรวมของตัวชีว้ ัดที่ 1 “การประเมนิ ผลการดาเนนิ งานด้านการปราบปราม
การทุจรติ ตามเป้าหมายทกี่ าหนดไว้ในแผนปฏบิ ตั ิการและแผนการใช้งบประมาณรายจา่ ยประจาปี”

ข้นั ตอนการดาเนินงาน ผลการดาเนินงานเทียบกับเป้าหมาย ระดับคา่ คะแนน
ตามแผนปฏบิ ัตกิ ารฯ (รอ้ ยละ)
การตรวจรับคากล่าวหา 80.66 2
การตรวจสอบเบือ้ งตน้ 101.68 5
การไต่สวน 26.47 0
2.33
ค่าคะแนนเฉลย่ี

สาหรับตัวช้ีวัดท่ี 2 เป็นการประเมินท่ีพิจารณาระยะเวลาเฉลี่ยท่ีใช้ในการ
ดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่พระราชบัญ ญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เริ่มใช้บังคับ เทียบกับระยะเวลาการดาเนินงานตามที่กฎหมาย
กาหนดในทุกขั้นตอนการดาเนินงาน โดยประเมินจากเร่ืองกล่าวหาท่ีดาเนินการแล้วเสร็จ ซ่ึงในภาพรวมมีผล
การประเมินได้ค่าคะแนนเฉล่ียเท่ากับ 3.67 คะแนน อยู่ในระดับ มีประสิทธิภาพมาก โดยการดาเนินงาน
ในขั้นตอนการตรวจรับคากล่าวหาและการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่สามารถดาเนินการแล้วเสร็จ ได้ทันภายใน
กรอบระยะเวลาที่กาหนดไว้ กล่าวคือ การตรวจรับคากล่าวหาใช้ระยะเวลาเฉล่ียในการดาเนินงานอยู่ที่ 73.50 วัน
ต่อเรื่อง ซึ่งเกินกรอบเวลา 30 วันตามหลักเกณฑ์ของสานักงาน ป.ป.ช. และการตรวจสอบเบื้องต้นใช้
ระยะเวลาเฉลี่ยในการดาเนินงานอยู่ท่ี 384.62 วันต่อเรื่อง ซ่ึงเกินกรอบเวลา 180 วันตามท่ีกฎหมายกาหนด
ทาให้ต้องมีการขอขยายระยะเวลาในการดาเนินการ ส่วนการไต่สวนพบว่า ในภาพรวมของการดาเนินการไต่สวน
ใช้ระยะเวลาเฉล่ียในการดาเนินงานอยู่ท่ี 556.37 วันต่อเร่ือง ซ่ึงถือว่าอยู่ในกรอบเวลาตามที่กฎหมายกาหนด
ภายใน 2 ปี ดงั ตารางท่ี 2

ตารางท่ี 2 ผลการประเมินในภาพรวมของตวั ช้วี ดั ท่ี 2 “การประเมินผลการดาเนนิ งานด้านการปราบปราม
การทจุ ริตของสานกั งาน ป.ป.ช. ตามกรอบระยะเวลาทีก่ ฎหมายกาหนด”

ข้ันตอนการดาเนนิ งาน ระยะเวลาเฉลีย่ ต่อเรื่องที่ใช้ในการการดาเนนิ งานจรงิ ระดบั ค่าคะแนน
การตรวจรับคากล่าวหา 73.50 วัน 3
การตรวจสอบเบ้ืองตน้ 384.62 วนั 3
การไตส่ วน 556.37 วัน 5
3.67
คา่ คะแนนเฉลยี่

6.3.1.2 การประเมนิ ประสิทธผิ ล
เป็นการประเมินประสิทธิผลของการดาเนินการตามภารกิจดา้ นการปราบปรามการ
ทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย 1 ตัวชี้วัด คือ ความสาเร็จของการดาเนินคดีที่คณะกรรมการ
ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 โดยพิจารณาจากผล
ความสาเร็จของการดาเนินคดีอาญาที่ศาลมีคาพิพากษาลงโทษ เทียบกับจานวนคดีท่ีศาลพิจารณาแล้วเสร็จ
พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการชี้มูลความผิดจานวนทั้งส้ิน 300 เร่ือง โดยเป็น
คดีท่ีช้ีมูลความผิดทางอาญาและส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีจานวน 265 เร่ือง มีการย่ืนฟ้องคดีต่อศาลแล้ว
จานวน 216 เรื่อง ศาลได้มีการพิจารณาคดีท่ีชี้มูลความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แล้วเสร็จ
จานวน 111 เรื่อง โดยมีคาพิพากษาลงโทษจานวน 107 เรื่อง และยกฟ้องจานวน 4 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ี่ 15 ฉบับที่ 1 124
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

96.40 ของจานวนคดีทั้งหมดที่ศาลพิจารณาแล้วเสร็จ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ
ป.ป.ช. มีการชี้มูลความผิดจานวนท้ังสิ้น 515 เรื่อง โดยเป็นคดีที่ช้ีมูลความผิดทางอาญาและส่งให้อัยการสูงสุด
เพื่อฟ้องคดีจานวน 433 เรื่อง มีการย่ืนฟ้องคดีต่อศาลแล้วจานวน 139 เรื่อง ศาลได้มีการพิจารณาคดีท่ีชี้มูล
ความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แล้วเสร็จและมีคาพิพากษาลงโทษจานวน 33 เรื่อง โดยไม่มีการยกฟ้อง
คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนคดีทั้งหมดที่ศาลพิจารณาแล้วเสร็จ ดังตารางท่ี 2 ดังนั้นจากการประเมินผลพบว่า
การดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. มีประสิทธิผลสามารถดาเนินการได้
เฉล่ียร้อยละ 98.20 จึงไดค้ ่าคะแนนในระดบั 5 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน อยู่ในระดับ มีประสิทธิผลมากท่ีสุด
ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ผลการประเมินประสิทธิผลของการดาเนนิ งานดา้ นการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช.

ปงี บประมาณ จานวนคดีท่ีคณะกรรมการ จานวนคดที ศ่ี าล จานวนคดีท่ี ค่าร้อยละ ระดับ
ป.ป.ช. มีมติชมี้ ูลความผิดทาง พิจารณาแลว้ เสร็จ ศาลพพิ ากษา คะแนน
2562 อาญา และส่งให้อัยการสงู สุด 96.40
2563 ลงโทษ 100.00 5
เพื่อฟอ้ งคดี 98.20 5
(เรื่อง) (เรอ่ื ง) (เรือ่ ง) 5
111 107
265 33 33

433

รวม

6.3.2 ผลการศึกษาเก่ียวกับปัญหาอุปสรรคในการดาเนินการตามภารกิจด้านการ
ปราบปรามการทุจรติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.

ในการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. มีปัญหาอุปสรรค
เกิดขึ้นในทุกข้ันตอนการดาเนินงาน รวมท้ังยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการดาเนินงานด้านการปราบปรามการ
ทจุ รติ ดังนี้

6.3.2.1 ขนั้ ตอนการตรวจรับคากล่าวหามปี ัญหา ดังน้ี
(1) พนักงานไต่สวนมีเรื่องตรวจสอบเบื้องต้นหรือไต่สวนท่ีเร่งด่วน ทาให้ต้องไป
ดาเนนิ การในเรอื่ งดงั กล่าวกอ่ น สง่ ผลใหก้ ารตรวจรับคากล่าวหาเกดิ ความล่าชา้
(2) การมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทาให้ต้องใช้เวลาในการดาเนินการ/การ
ดาเนินการล่าช้าออกไป เช่น การรอเข้าประชุมคณะอนุกรรมการกล่ันกรองเรื่องกล่าวหา/คณะกรรมการ
ป.ป.ช. การที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องกล่าวหามีมติให้ดาเนินการเพิ่มเติม คากล่าวหาไม่
ชดั เจนหรือมรี ายละเอยี ดไม่เพียงพอต้องมกี ารตรวจสอบเพิ่มเตมิ หรือขอทราบรายละเอียดจากผ้กู ล่าวหา เป็นตน้
(3) ปัญหาการตรวจสอบเร่ืองซ้า โดยในทางปฏิบัติพบว่าบางกรณีมีการตรวจสอบเรื่อง
ซ้ามาให้ แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดท่ีชัดเจนว่าซ้าอย่างไร ทาให้สานักไต่สวนการทุจริตที่รับเร่ืองต้องตรวจสอบเร่ือง
ซ้าอีกครั้ง รวมทั้งรายละเอียดของเรื่องกล่าวหาเดิมบางเร่ืองในฐานข้อมูลยังไม่ชัดเจนหรือมีรายละเอียด
เพยี งพอ ทาใหก้ ารตรวจสอบเรอ่ื งซ้าต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบมากขึน้
(4) การพิจารณาตรวจรับคากล่าวหาท่ีไม่อยู่ในหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. มีขั้นตอนการดาเนินงานที่ไม่กระชับ โดยต้องนาเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเร่ืองกล่าวหา และ
กรรมการ ป.ป.ช. ทีก่ ากับดูแลพจิ ารณา ทาให้เกดิ ความลา่ ชา้

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบบั ท่ี 1 125
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

(5) การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการตรวจรับคากล่าวหา ทาให้การ
ดาเนินการในแต่ละพ้ืนทไี่ มเ่ ป็นไปในแนวทางเดียวกัน

6.3.2.2 ขนั้ ตอนการตรวจสอบเบอื้ งต้นมีปัญหา ดงั นี้
(1) เจ้าหน้าที่มีเรื่องกล่าวหาในความรับผิดชอบจานวนมาก โดยต้องรับผิดชอบท้ัง

เรื่องตรวจสอบเบ้ืองต้น ควบคู่ไปกับการตรวจรับคากล่าวหาและการไต่สวนที่ต้องดาเนินการในห้วงเวลา
เดียวกัน ซึ่งมีกรอบระยะเวลากาหนดในทุกขั้นตอนและเวลาเดินไปพร้อมกัน ทาให้ส่งผลต่อระยะเวลาในการ
ดาเนนิ การตามกรอบเวลาทีก่ ฎหมายกาหนด

(2) การรอขอ้ มลู หรอื เอกสารหลกั ฐานจากหน่วยงานภายนอก
(3) กรอบระยะเวลาตามกฎหมายไม่สอดคล้องกับระยะเวลาท่ีใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ทาให้ไมส่ ามารถดาเนนิ การแลว้ เสรจ็ ตามระยะเวลาดังกลา่ วได้
(4) การมีปัจจัยท่ีไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อระยะเวลาการปฏิบัติงาน เช่น การ
รอเขา้ ประชุมคณะอนุกรรมการกลนั่ กรองเรื่องกล่าวหาหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปน็ ตน้
(5) กรอบระยะเวลาที่กาหนดตามกฎหมาย ทาให้ต้องเรง่ รีบดาเนินการให้ทันภายใน
กาหนด อาจขาดความรอบคอบในการดาเนินงาน ส่งผลให้คณะอนุกรรมการกล่ันกรองเร่ืองกล่าวหา/
คณะกรรมการป.ป.ช. มมี ตใิ หด้ าเนินการเพิ่มเตมิ
6.3.2.3 ข้นั ตอนการไตส่ วนมปี ญั หา ดังน้ี
(1) กรอบระยะเวลาตามกฎหมายไม่สอดคล้องกับระยะเวลาท่ีใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ทาให้ไม่สามารถดาเนินการแล้วเสรจ็ ตามระยะเวลาดังกลา่ วได้
(2) เจา้ หนา้ ทม่ี ีเรอ่ื งกลา่ วหาในความรับผิดชอบจานวนมาก โดยตอ้ งรบั ผดิ ชอบทั้งเรือ่ งไต่
สวน ควบคู่ไปกับการตรวจรับคากล่าวหาและการตรวจสอบเบื้องต้นที่ต้องดาเนินการในห้วงเวลาเดียวกัน ทา
ให้สง่ ผลตอ่ ระยะเวลาในการดาเนนิ การตามกรอบเวลาทกี่ ฎหมายกาหนด
(3) การมีข้อกฎหมายบางประการท่ีเป็นการเพ่ิมขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทาให้ไม่
สามารถดาเนินการไต่สวนได้อย่างรวดเรว็ เช่น การแจ้งข้อกล่าวหาหรือการตัดพยานของคณะไต่สวนเบ้ืองต้น
จะต้องเสนอให้กรรมการ ป.ป.ช. ทีก่ ากบั ดแู ล พจิ ารณาใหค้ วามเหน็ ชอบก่อน เป็นต้น
(4) การรอขอ้ มูลหรอื เอกสารหลักฐานจากหนว่ ยงานภายนอก
(5) กรอบระยะเวลาท่ีกาหนดตามกฎหมาย ทาให้ต้องเรง่ รีบดาเนินการให้ทันภายใน
กาหนด อาจขาดความรอบคอบในการดาเนินงาน ส่งผลให้คณะกรรมการป.ป.ช. มีมติใหด้ าเนินการเพิ่มเติม
(6) การมีปัจจัยท่ีไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อระยะเวลาการปฏิบัติงาน เช่น การ
รอเขา้ ประชมุ คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรอื การทค่ี ณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติสง่ั ใหด้ าเนนิ การเพมิ่ เติม เป็นตน้
6.3.2.4 ปัญหาอื่น ๆ มีดังน้ี
(1) การขาดเจา้ หนา้ ทีช่ ว่ ยงานธรุ การทางคดี
(2) การมีระบบข้อมูลสารสนเทศท่ีใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารงานคดีหลาย
ระบบ แตข่ อ้ มลู ไม่เชอื่ มโยงกนั ทาให้เปน็ เพมิ่ ภาระงานใหก้ ับพนักงานไตส่ วนในการบนั ทึกข้อมูลในทุกระบบ
(3) การขาดคมู่ ือการปฏิบัติงาน สง่ ผลตอ่ ความชดั เจนในการปฏิบตั งิ าน
(4) การมีจานวนพนักงานไต่สวนไม่เพียงพอ และไม่สอดคล้องกับปริมาณงานที่มี
จานวนมาก

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ที่ 1 126
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ตั ิงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจริตของสานกั งาน ป.ป.ช.

(5) การที่พนักงานไต่สวนขาดความเชี่ยวชาญในการทาคดีเฉพาะด้าน ส่งผลให้
เสียเวลาในการศึกษาและทาความเข้าใจรายละเอียดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกคร้งั ของเรื่องกล่าวหาร้องเรียน

(6) พนกั งานไต่สวนท่ีบรรจุใหม่ขาดประสบการณแ์ ละความเช่ียวชาญในการทาคดี
6.4 ผลการศึกษาเก่ียวกับข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานด้านการ
ปราบปรามการทจุ ริตของสานกั งาน ป.ป.ช.
จากการศึกษาพบว่ามีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการ
ทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช. ดังน้ี

6.4.1 ขั้นตอนการตรวจรบั คากลา่ วหามขี ้อเสนอแนะ ดงั นี้
(1) การพิจารณาให้มีตาแหน่งนิติกรมีหน้าท่ีตรวจรับคากล่าวหา เพ่ือลดภาระงานของ

พนักงานไตส่ วน ให้ใชเ้ วลาในการบรหิ ารและปฏบิ ัติงานดา้ นคดี/สานวนโดยตรง
(2) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีวิธีการตรวจสอบเร่ืองซ้าท่ีง่ายและ

รวดเร็วขึ้น
(3) การแก้ไขกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การตรวจรับคากล่าวหาในกรณีคากล่าวหาท่ี

ชัดเจนว่าไม่อยู่ในหน้าท่ีและอานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้มีความกระชับ โดยมอบหมายให้ผู้บริหารสานักงาน
ป.ป.ช. หรือผู้อานวยการ เป็นผู้มีอานาจพิจารณามีคาส่ังไม่รับไว้พิจารณา เพ่ือลดขั้นตอนและระยะเวลาการ
ดาเนนิ งาน

(4) การจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้อานวยการเกี่ยวกับ
กระบวนการตรวจรับคากล่าวหา เพอื่ ที่จะไดด้ าเนนิ การไดอ้ ย่างถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดยี วกัน

6.4.2 ขนั้ ตอนการตรวจสอบเบือ้ งตน้ มขี ้อเสนอแนะ ดงั น้ี
(1) การจัดทาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสานักงาน ป.ป.ช. และ

สถาบนั การเงนิ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้ความรว่ มมือในการส่งข้อมลู ให้สานักงาน ป.ป.ช.
(2) การศึกษาระยะเวลาเฉลี่ยและแก้ไขกฎหมายกาหนดกรอบระยะเวลาในการ

ปราบปรามการทจุ ริตให้สอดคล้องกับการปฏบิ ตั ิงาน และระดับความยากงา่ ยของเรอื่ งกลา่ วหา
6.4.3 ข้นั ตอนการไตส่ วนมีขอ้ เสนอแนะ ดงั นี้
(1) การจัดทาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสานักงาน ป.ป.ช. และ

สถาบนั การเงนิ หรอื หนว่ ยงานต่าง ๆ ในการใหค้ วามร่วมมือในการสง่ ขอ้ มลู ให้สานักงาน ป.ป.ช.
(2) การแก้ไขกฎหมายเพอ่ื ลดข้ันตอนการปฏบิ ัติงาน เช่น การแจ้งข้อกล่าวหาของคณะไต่

สวนเบ้ืองต้น หรือการตัดพยานของคณะไต่สวนเบื้องต้น ให้คณะไต่สวนเบื้องต้นสามารถดาเนินการได้โดยไม่
ต้องนาเสนอกรรมการ ป.ป.ช. ท่ีกากบั ดูแลพิจารณาก่อน เปน็ ตน้

(3) การศึกษาระยะเวลาเฉล่ียและแก้ไขกฎหมายกาหนดกรอบระยะเวลาในการ
ปราบปรามการทุจริตใหส้ อดคลอ้ งกบั การปฏบิ ตั งิ าน และระดับความยากงา่ ยของเรื่องกลา่ วหา

6.4.4 ขอ้ เสนอแนะอื่น ๆ มีดังน้ี
(1) การพัฒนาปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศท่ีใช้ในการปฏิบัติงานและการ

บริหารงานคดีทม่ี อี ยูห่ ลายระบบ ใหส้ ามารถเช่อื มโยงข้อมูลกนั ได้
(2) การแบ่งงานธุรการทางคดีและงานคดีออกจากกันให้ชัดเจน และควรมีการ

พิจารณาจัดสรรให้มีเจ้าหน้าท่ี (เช่น นิติกร) เพื่อช่วยเหลืองานธุรการทางคดี เช่น การตรวจรับคากล่าวหา
การสง่ หมายเรยี ก การทาหนังสือเชิญประชมุ การร่างหนงั สือราชการท่ีต้องอาศยั ความรทู้ างกฎหมาย เปน็ ต้น

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับท่ี 1 127
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

(3) การรวบรวมมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. และข้อหารือต่าง ๆ ท่ีจาเป็นต่อการ
ปฏิบัติงาน รวมถึงการสรุปประเด็นจากคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดและศาลมีคาพากษา
แล้ว เผยแพร่ในระบบสารสนเทศของสานักงาน ป.ป.ช. เพ่อื ใหเ้ จา้ หน้าทสี่ ามารถศึกษาค้นคว้าได้

(4) การจัดทาคมู่ ือการปฏบิ ัติงานด้านการปราบปรามการทจุ รติ ในทุกขั้นตอน รวมถึง
กาหนดแบบฟอรม์ หนงั สือหรอื คาส่ังต่าง ๆ วธิ ีและแนวทางปฏิบตั ิท่ีชดั เจน

(5) การจัดทาคู่มือการปฏบิ ัติงานท่มี ีรายละเอียดแนวทางและวิธกี ารไต่สวนในแต่ละ
ประเภทคดี เชน่ คดีเรียกรับเงิน คดฮี ว้ั ประมลู หรือคดจี ดั ซ้ือจัดจา้ งตา่ ง ๆ เปน็ ต้น

(6) การพิจารณาจัดสรรอัตรากาลังพนักงานไต่สวนในระดับตาแหน่งต่าง ๆ ให้มี
จานวนท่ีเพยี งพอและสอดคลอ้ งกับปรมิ าณงาน และความยากง่ายของคดขี องสานักน้ัน ๆ

(7) การจัดทาบันทึกข้อตกลงความรว่ มมือ (MOU) กับหน่วยงานของรัฐ องค์กรสภา
วชิ าชพี เพือ่ ให้มีการแต่งตง้ั ผ้เู ชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้สานักงาน ป.ป.ช. ขอความรว่ มมือในการปฏบิ ัตงิ านได้
สะดวก และรวดเรว็ โดยขึ้นทะเบียนและไดร้ ับค่าตอบแทนเหมือนพยานของสานกั งานศาลยตุ ิธรรม

(8) การอบรมให้ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเน่ืองทั้งในด้านเชิง
กฎหมายและด้านเชงิ ปฏบิ ตั งิ าน

7. อภปิ รายผลการศกึ ษา
ในภาพรวมการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. มีประสิทธิภาพปานกลาง

เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดท่ี 1 “การประเมินผลการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตตาม
เป้าหมายที่กาหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี” มีผลการประเมินได้ค่า
คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.33 คะแนน อยู่ในระดับ มีประสิทธิภาพปานกลาง แม้ว่าการดาเนินงานตรวจสอบ
เบ้ืองต้นในภาพรวมจะมีผลการดาเนินงานท่ีสูงกว่าเป้าหมายที่กาหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและแผนการใช้
งบประมาณรายจ่ายประจาปี คือ สามารถดาเนินการได้เฉลี่ยร้อยละ 101.68 แต่มีข้อสังเกตว่า ในบาง
หน่วยงาน (สานัก) มีผลการตรวจสอบเบ้ืองต้นไม่เป็นไปตามเป้าหมายของสานักท่ีกาหนดไว้แผนปฏิบัติการและ
แผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปี ส่วนการดาเนินงานในข้ันตอนการตรวจรับคากล่าวหาและขั้นตอน
การไต่สวนยังมีผลการดาเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กาหนด กล่าวคือ การตรวจรับคากล่าวหาสามารถ
ดาเนินการได้เฉลี่ยร้อยละ 80.66 ซึ่งพบว่า การตรวจรับคากล่าวหาที่เป็นปัญหามากคือ บัตรสนเท่ห์
โดยมีผลการดาเนินงานแล้วเสร็จน้อยกว่าการตรวจรับคากล่าวหาประเภทคากล่าวหา ทั้งน้ีเป็นเพราะบัตรสนเท่ห์
มักจะมีรายละเอียดไม่เพียงพอ ทาให้ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมเพ่ือให้ได้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานท่ีชัดเจนขึ้น
รวมทั้งในช้ันการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกล่ันกรองเรื่องกล่าวหาอาจมีมติส่ังให้ไปดาเนินการตรวจสอบ
เพิ่มเติม อีกทัง้ ยังมีปัจจัยมาจากการที่พนักงานไต่สวนมีภาระงานท่ีต้องเร่งทาเร่อื งตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวน
ท่ีต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กฎหมายกาหนด ทาให้ตอ้ งทาเรือ่ งตรวจสอบเบอ้ื งต้นหรือไต่สวน
ก่อน จึงส่งผลต่อการตรวจรับคากล่าวหา ซ่ึงสอดคล้องกบั รายงานการศกึ ษาของสานักนโยบายและยุทธศาสตร์
สานักงาน ป.ป.ช. (2563ก) พบว่าในการดาเนินงานตรวจรับคากล่าวหามีปัญหาคือ การท่ีพนักงานไต่สวนต้อง
ดาเนินการตรวจรับคากล่าวหาบัตรสนเท่ห์ เร่ืองร้องเรียนทางเว็บไซต์ เร่ืองแจ้งเบาะแส ซึ่งมีจานวนปริมาณมาก
ที่ต้องดาเนินการไปพร้อมกับการตรวจสอบเบื้องต้นและการไต่สวน โดยแต่ละเร่ือง มีรายละเอียดข้ันตอน
การดาเนินการเหมือนกับเร่ืองตรวจสอบเบื้องต้น ท้ังการสอบปากคาผู้ร้อง ขอเอกสารหลักฐาน ลงพ้ืนท่ีตรวจสอบ
ข้อเทจ็ จริง ทาใหต้ อ้ งใชเ้ วลาในการดาเนนิ งาน และไม่ถูกกาหนดเป็นตัวชี้วดั ของเจ้าหน้าที่

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ที่ 1 128
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจรติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.

ส่วนการดาเนินงานในข้ันตอนการไต่สวนพบว่า เป็นข้ันตอนท่ีมีผลการดาเนินงานแล้วเสร็จน้อยที่สุด
โดยมีผลการดาเนินงานแล้วเสร็จเฉล่ียร้อยละ 26.47 เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่กาหนด แม้ว่าผลการไต่สวน
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จะมีผลการดาเนินงานที่เพิ่มข้ึนจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แต่ก็ยังไม่เป็นไป
ตามเป้าหมายท่ีกาหนด ท้ังน้ีเม่ือวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทาให้การไต่สวนไม่เป็นไปตามเป้าหมายพบว่ามีปัจจัยคือ
ความยากง่ายของเรื่องกล่าวหาแต่ละเรื่องที่ต่างกัน จึงส่งผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการไต่สวนและจานวน
ความสาเร็จตามเป้าหมายได้ โดยเฉพาะเร่ืองกล่าวหาท่ีมีความซับซ้อนมากก็จะใช้ระยะเวลาในการไต่สวนมากข้ึน
ตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยมาจากการมีข้อกฎหมายบางประการท่ีเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการปฏิบตั ิงาน
รวมถึงการรอข้อมูลหรือเอกสารจากหน่วยงานภายนอกท่ีมักจะได้รับข้อมูลตอบกลับช้าหรือใช้เวลานานหรือ
ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ซ่ึงสอดคล้องกับรายงานการศึกษาของสานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงาน
ป.ป.ช. (2563ข) ที่พบว่า การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ
เรอ่ื งกล่าวหามาให้ลา่ ช้าเป็นอีกปัจจยั หน่ึงท่ีส่งผลกระทบตอ่ การปฏิบตั งิ าน

ในส่วนของตัวช้ีวัดที่ 2 “การประเมินผลการดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน
ป.ป.ช. ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกาหนด” พบว่าในภาพรวมมีผลการประเมินได้ค่าคะแนน เฉล่ียเท่ากับ
3.67 คะแนน อยู่ในระดับ มีประสิทธิภาพมาก ซ่ึงเป็นตัวช้ีวัดที่มีผลการประเมินประสิทธิภาพสูงกว่าตัวชี้วัดที่ 1
เมื่อแยกตามขั้นตอนการดาเนินงานแล้วพบว่า การดาเนินงานในขั้นตอนการตรวจรับคากล่าวหาและ
การตรวจสอบเบื้องต้นไม่สามารถดาเนินการแล้วเสร็จได้ทันภายในกรอบระยะเวลาที่กาหนด กล่าวคือ
การตรวจรับคากล่าวหาใช้ระยะเวลาเฉล่ียในการดาเนินการ 73.50 วันต่อเร่ือง ทั้งน้ีเม่ือวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผล
ต่อระยะเวลาในการตรวจรับคากล่าวหาพบว่ามีหลายปัจจัย เช่น การที่พนักงานไต่สวนมีภาระงานที่ต้องเร่งทา
เรื่องตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวนให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาท่ีกฎหมายกาหนด และเพื่อให้ได้ผลการ
ดาเนินงานเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งผลให้การตรวจรับคากล่าวหาล่าช้า การรอเข้า
ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องกล่าวหา เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกบั รายงานการศึกษาของสานกั นโยบาย
และยุทธศาสตร์ สานักงาน ป.ป.ช. (2563ก) พบว่าในการดาเนินงานตรวจรับคากล่าวหามีปัญหาคือ
การท่ีพนักงานไต่สวนต้องดาเนินการตรวจรับคากล่าวหาบัตรสนเท่ห์ เรื่องร้องเรียนทางเว็บไซต์ เรื่องแจ้งเบาะแส
ซงึ่ มจี านวนปริมาณมากทีต่ อ้ งดาเนินการไปพรอ้ มกบั การตรวจสอบเบอ้ื งตน้ และการไต่สวน โดยแต่ละเร่ืองมี
รายละเอียดขั้นตอนการดาเนินการเหมือนกับเร่ืองตรวจสอบเบ้ืองต้น ท้ังการสอบปากคาผู้ร้อง ขอเอกสารหลักฐาน
ลงพืน้ ที่ตรวจสอบขอ้ เทจ็ จริง ทาให้ตอ้ งใชเ้ วลาในการดาเนนิ งาน และไมถ่ ูกกาหนดเปน็ ตวั ชี้วดั ของเจ้าหน้าที่

การตรวจสอบเบ้ืองต้นใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการดาเนินการ 384.62 วันต่อเร่ือง ซ่ึงเกินกว่าระยะเวลา
180 วันตามกฎหมายที่กาหนดไว้ ทาให้ต้องมีการขอขยายระยะเวลาในการดาเนินการ ทั้งน้ีเม่ือวิเคราะห์ถึง
ปจั จยั ทส่ี ่งผลต่อระยะเวลาในการปฏิบัตงิ านพบว่ามีหลายปัจจัย เช่น ในการปฏิบัตงิ านจริงน้ัน การตรวจสอบเบ้ืองต้น
แต่ละเรื่องจะใช้ระยะเวลาทต่ี ่างกัน ขนึ้ อยู่กบั ความยากง่ายของเรอื่ งกล่าวหา จานวนเร่อื งที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของพนักงานไต่สวนท่ีมีมาก โดยต้องดาเนินการตรวจรับคากล่าวหาและไต่สวนควบคู่ไปกับการดาเนินการ
ตรวจสอบเบื้องต้น ซ่ึงระยะเวลาในการดาเนินงานจะเดินไปพร้อมกัน ปัจจัยในเรื่องของการรอข้อมูลเอกสาร
หลักฐานจากหน่วยงานภายนอกที่มักจะได้รับข้อมูลตอบกลับช้าหรือใช้เวลานานหรือได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน
เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการศึกษาของสานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงาน ป.ป.ช. ( 2563ข)
ที่พบปัจจัยท่ีส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานที่เก่ียวกับ
การตรวจสอบเรื่องกล่าวหามาให้ล่าช้า การท่ีพนักงานไต่สวนต้องดาเนินการท้ังการตรวจรับคากล่าวหา
ตรวจสอบเบ้ืองต้น และไตส่ วนในห้วงเวลาเดียวกนั น้ัน จะตอ้ งดาเนินการให้แลว้ เสร็จตามกรอบเวลาทกี่ ฎหมายกาหนด

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบับที่ 1 129
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจรติ ของสานกั งาน ป.ป.ช.

อีกทั้งยังสอดคล้องกับรายงานการศึกษาของพัชรี มีนสุข และคณะ (2562) พบว่า ในการดาเนินงานด้านการ
ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พบปัญหาเกี่ยวกับจานวนบุคลากรไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน
โดยพนักงานไต่ส่วนในส่วนกลาง/ภาค/จังหวัด มีภาระงานเฉลี่ยต่อคน (เร่ืองตรวจสอบเบ้ืองต้นและไต่สวน) คิดเป็น
21.89 เรื่องต่อคน ซึ่งเป็นปริมาณงานท่ีมากในการที่พนักงานไต่สวน 1 คนจะต้องดาเนินการและบริหารจัดการคดี
ถึง 22 เรื่อง

สว่ นการไต่สวนแมใ้ นภาพรวมของการไต่สวนใช้ระยะเวลาเฉลีย่ ในการดาเนินการ 556.37 วันต่อเรื่อง
โดยอยู่ในกรอบระยะเวลาท่ีกฎหมายกาหนดคือภายใน 2 ปี (730 วัน) ซึ่งเป็นกรอบใหญ่ที่กาหนดให้การไต่สวน
ทุกรูปแบบต้องดาเนินการแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม มีการไต่สวน 2 รูปแบบที่กฎหมายกาหนดกรอบระยะเวลา
ดาเนินงานแล้วเสร็จท่ีเป็นกรอบย่อยไว้อีกชั้นหนึ่ง คือ (1) การไต่สวนโดยคณะกรรมการไต่สวนจะต้อง
ดาเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย และ (2) การไต่สวนโดยคณะไต่สวนเบ้ืองต้น
จะตอ้ งดาเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นบั แต่วนั ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า การไตส่ วน
โดยคณะไต่สวนเบื้องต้นและคณะกรรมการไต่สวนไม่อาจดาเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาย่อยได้ ทาให้ต้อง
เสนอขอขยายระยะเวลาการดาเนินงาน กล่าวคือ การไต่สวนโดยคณะไต่สวนเบ้ืองต้นใช้ระยะเวลาเฉล่ียในการ
ดาเนินการ 614.07 วันต่อเรื่อง และการไต่สวนโดยคณะกรรมการไต่สวนใช้ระยะเวลาเฉล่ียในการดาเนินการ
478.36 วันต่อเร่ือง ท้ังนี้ เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการปฏิบัติงานพบว่ามีหลายปัจจัย
ได้แก่ ความยากง่ายของเรื่องกล่าวหา จานวนเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานไต่สวนที่มีมาก
ขอ้ กฎหมายบางประการเป็นการเพิ่มข้ันตอนการปฏิบัติงาน ทาให้ไม่อาจดาเนินการไต่สวนได้อย่างรวดเร็ว เช่น
การแจ้งข้อกล่าวหาหรือการตัดพยานของคณะไต่สวนเบ้ืองต้นท่ีต้องเสนอให้กรรมการ ป.ป.ช. ท่ีกากับดูแล
พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เป็นต้น การรอข้อมูลเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานภายนอก การรอเขา้ ประชุม
คณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมถึงการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติส่ังให้ดาเนินการเพิ่มเติม ซึ่งปัจจยั ข้างต้นล้วน
เป็นปัจจัยท่ีส่งผลต่อระยะเวลาท่ีใชใ้ นการไต่สวนหรอื ไตส่ วนเบ้ืองต้นให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา ซ่ึงสอดคล้อง
กับรายงานการศึกษาของสานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงาน ป.ป.ช. (2563ก) พบว่าการดาเนินงาน
ด้านการปราบปรามการทุจริตมปี ัญหาอุปสรรคในการดาเนินงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้แก่ (1) การแจ้งข้อกล่าวหาจะต้องเสนอร่าง
บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาไปยังกรรมการ ป.ป.ช. ที่กากับดูแล เพ่ือพิจารณาก่อนที่จะแจ้งข้อกล่าวหา ทาให้
เพิ่มกระบวนการและขั้นตอนในการทางานให้ล่าช้า และยุ่งยากกว่าเดิม ทั้งที่พนักงานไต่สวนต้องทางาน
ภายใต้ระยะเวลาที่จากัด (2) กรอบระยะเวลาในการตรวจสอบและไต่สวนสั้นเกินไป เนื่องจากจานวนเรื่อง
ไต่สวนมีเป็นจานวนมาก และทกุ เรอื่ งมีระยะเวลาการไต่สวนเท่ากัน แต่ความซับซ้อนของเร่ืองไต่สวนและจานวน
ผู้ถูกกล่าวหามีจานวนมาก และ (3) จานวนบุคลากร (พนักงานไต่สวน) ไม่สอดคล้องกับจานวนเรื่องกล่าวหา อีก
ทั้งยังสอดคล้องกับรายงานการศึกษาของพัชรี มีนสุข และคณะ (2562) ที่พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจานวน
บุคลากรไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับรายงานการศึกษาของสานักนโยบายและ
ยุทธศาสตร์ สานักงาน ป.ป.ช. (2563ข) ที่พบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานท่ีเก่ียวกับการตรวจสอบเรื่องกล่าวหามาให้ล่าช้า การที่พนักงานท่ีต้องดาเนินการทั้ง
การตรวจรับคากล่าวหา ตรวจสอบเบ้ืองตน้ และไต่สวนในห้วงเวลาเดียวกันนั้น จะตอ้ งดาเนินการให้แล้วเสร็จ
ตามกรอบเวลาท่ีกฎหมายกาหนด ทาให้พนักงานไต่สวนมีเร่ืองในความรับผิดชอบจานวนหลายเร่ืองท่ีต้อง

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 130
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช.

บริหารจัดการภายในกรอบเวลา รวมถึงการบรรจุเร่ืองเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ใช้ระยะเวลานาน

สาหรับการประเมินประสิทธิผลของการดาเนินการตามภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริตของ
สานักงาน ป.ป.ช. น้ัน พิจารณาจากผลความสาเร็จของการดาเนินคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติช้ีมูล
ความผิดทางอาญาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ซึ่งศาลได้มีคาพิพากษาลงโทษ เทียบกับจานวนคดีท่ี
ศาลพิจารณาแล้วเสร็จ พบว่า การดาเนินงานด้านการปราบปรามการทุจริตของสานักงาน ป.ป.ช.
มีประสิทธิผลในการดาเนินงานร้อยละ 98.20 มีค่าคะแนนในระดับ 5 อยู่ในระดับ มีประสิทธิผลมากท่ีสุด ท้ังน้ี
เป็นเพราะศาลมีการพิพากษาลงโทษผู้กระทาความผิดตามสานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ช้มี ูลเกือบทุกคดี
แม้ว่าการดาเนินงานของสานักงาน ป.ป.ช. จะมีประสิทธิผลในการทางานอยู่ในระดับมากท่ีสุด แต่ก็พบว่า
มสี านวนคดชี มี้ ูลบางคดที ถี่ กู ยกฟ้องในชน้ั ศาล

8. ขอ้ เสนอแนะ
จากการศึกษาข้างต้น คณะผู้วิจัยขอเสนอข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานและ

การดาเนินการอนื่ ๆ เพื่อให้การปฏบิ ัติงานด้านการปราบปรามการทจุ รติ ของสานกั งาน ป.ป.ช. มีความรวดเร็ว
และมปี ระสทิ ธิภาพมากขึ้น ดังนี้

8.1 ขอ้ เสนอแนะท่สี านักงาน ป.ป.ช. ดาเนินการไดเ้ อง
(1) สานักงาน ป.ป.ช. ควรมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพ่ือลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

เช่น ในการไต่สวนเบื้องต้นควรมีการแก้ไขกฎหมายเพ่ือให้อานาจคณะไต่สวนเบ้ืองต้นสามารถดาเนินการ
แจ้งข้อกล่าวหาหรือตัดพยานได้โดยไม่ต้องนาเสนอกรรมการ ป.ป.ช. ที่กากับดูแล หรือในการตรวจรับ
คากล่าวหาควรมีการแก้ไขกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การตรวจรับคากล่าวหาในกรณีคากล่าวหาที่ชัดเจนว่า
ไม่อยู่ในหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยมอบหมายให้ผู้บริหารสานักงาน ป.ป.ช. หรือผู้อานวยการ
เป็นผู้มีอานาจพิจารณามีคาสั่งไม่รับไว้พิจารณา เพื่อลดข้ันตอนและระยะเวลาการดาเนินงาน เป็นต้น รวมท้ัง
การลดระยะเวลาการรอเข้าประชมุ คณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอความเหน็ ชอบ

(2) สานักงาน ป.ป.ช. ควรพิจารณากาหนดกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามกฎหมาย
หรือระเบียบ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงท้ังการดาเนินการตรวจรับคากล่าวหา การตรวจสอบเบ้ืองต้น
และการไต่สวน และระดับความยากง่ายของเรื่องกล่าวหาหรือขนาดของเร่ืองกล่าวหา เพ่ือลดปัญหาการ
ดาเนนิ งานไม่แลว้ เสรจ็ ตามระยะเวลาจนทาให้ตอ้ งมีภาระงานเพ่ิมเตมิ ในการเสนอขอขยายระยะเวลา

(3) สานักงาน ป.ป.ช. ควรมีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงาน
ด้านการปราบปรามการทุจริตให้มีความทันสมัยและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ เช่น การพัฒนาปรับปรุงระบบ
บริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและคดี (CCMS) และ ระบบติดตามเรื่องกล่าวหาในความรับผิดชอบ (CFS) ให้
เช่ือมโยงข้อมูลกัน หรือการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีวิธีการตรวจสอบเรื่องซ้าท่ีง่ายและรวดเร็วข้ึน
เช่น การกรอกคาสาคญั (keyword) หรือข้อมูลของคากลา่ วหาใหม่แล้วสามารถประมวลผลได้ทนั ทีว่าเป็นเรื่อง
ซ้าหรือไม่ เรอื่ งเดมิ อยู่ในความรบั ผิดชอบของผใู้ ด เพือ่ ลดเวลาในการตรวจสอบเรื่องซา้ เปน็ ต้น

(4) สานักงาน ป.ป.ช. ควรพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดาเนินงานปราบปรามการทุจริต
การจัดทาคู่มือการปฏิบัติงานที่มีแนวทางและวิธีในการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในแต่ละ
ประเภทคดี การรวบรวมมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อหารือต่าง ๆ ท่ีจาเป็นต่อการปฏิบัติงาน สรุปประเด็น
จากคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติช้ีมูลความผิดและศาลมีคาพิพากษาแล้ว เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน

วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 131
การประเมินกระบวนการและผลการปฏบิ ัติงานตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

ให้กับเจ้าหน้าท่ีสามารถค้นควา้ ไดใ้ นระบบสารสนเทศของสานักงาน รวมถึงการจัดทาคูม่ ือการปฏบิ ัติงานในทุก
ขน้ั ตอนเพอ่ื ให้การทางานเปน็ ไปในแนวทางเดียวกนั

(5) สานักงาน ป.ป.ช. ควรมีการพิจารณาจัดสรรอัตรากาลังพนักงานไต่สวนในระดับตาแหน่ง
ต่าง ๆ ให้มีจานวนที่เพียงพอและสอดคล้องกับปริมาณงาน และความยากง่ายของเรื่องกล่าวหาในแต่ละ
สานัก รวมท้ังควรมีการแบ่งงานธรุ การทางคดีและงานคดีออกจากกันให้ชัดเจน และจัดสรรให้มีตาแหน่งนิติกร
เพ่อื ทาหน้าที่ตรวจรับคากล่าวหาและชว่ ยเหลืองานธุรการทางคดี

8.2 ข้อเสนอแนะทต่ี อ้ งมกี ารประสานกบั หนว่ ยงานภายนอก
(1) สานักงาน ป.ป.ช. ควรพัฒนาการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพ่ือให้มีการส่ง

ข้อมูลเอกสารหลักฐานด้วยความรวดเร็วและเพื่อประโยชน์ต่อการดาเนินงานตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวน
เช่น การจัดทาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสานักงาน ป.ป.ช. และสถาบันการเงิน หรือหน่วยงาน
ตา่ ง ๆ ในการใหค้ วามร่วมมือในดา้ นการส่งข้อมูลให้สานักงาน ป.ป.ช. เป็นต้น

(2) สานักงาน ป.ป.ช. ควรมีการแลกเปลี่ยนประเด็นในคดีท่ีมีการยกฟ้องระหว่างสานักงาน
ป.ป.ช. สานักงานอัยการสูงสุด และศาล เพ่ือนามาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการดาเนินการด้านการไต่สวนของ
เรื่องที่ชี้มูลให้มีความสมบูรณ์ เพ่ือให้การช้ีมูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีผลในเชิงประสิทธิผลที่มีการลงโทษ
ตามทีม่ ีการช้มี ูลมากข้ึนตอ่ ไป

เอกสารอ้างองิ
นิตรา เพิ่มทรัพย์ ลิ้มกาญจนาพันธ์ุ. (2560). อานาจหน้าที่ในการดาเนินคดีอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

กรณีที่เกิดจากความตายในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซ่ึงอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
[การศกึ ษาคน้ คว้าอิสระหลกั สูตรปรญิ ญามหาบณั ฑิต]. มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช.
พัชรี มีนสุข และคณะ. (2562). โครงการจัดทาแนวทางการปรับปรุงกลไกและกระบวนการปราบปรามการ
ทุจรติ ของประเทศไทย. นนทบรุ ี: ม.ป.พ..
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2548). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์คร้ังท่ี 4). กรุงเทพฯ:
จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง และ ชัยณรงค์ สุวรรณสาร. (2536). แนวคิดเก่ียวกับประเมินสิทธิผลและประสิทธิภาพองค์การ.
ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ประมวลสารชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหาร
การศึกษาหนว่ ยงานท่ี 9 – 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช.
วรี ะพันธ์ เขมะนเุ ชษฐ์. (2560). ความหมายของประสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ล. http://bankusayei.blogspot.com/
ศริยา ห่านศรีสุข. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
[วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑิต] จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั .
ศุภามณ จันทร์สกุล. (2557). ยุคสมัยของการประเมินผลและแนวคิดทฤษฎีของนักประเมิน. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 8(1), 68. https://he01.tci-
thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/25517/21675
สมพงษ์ เกษมสิน. (2536). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรงุ เทพฯ: ไทยวฒั นาพานิช.

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบบั ที่ 1 132
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ตั งิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทุจรติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

สมยศ กาสี. (2560). การปรับปรุงกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช.: ศึกษากรณีกล่าวหาเจ้าหน้าที่
ของรัฐกระทาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทาความผิดตาแหน่งราชการ [การศึกษาค้นคว้า
อสิ ระปรญิ ญานิติศาสตรมหาบณั ฑติ ] มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช.

สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงาน ป.ป.ช.. (2563ก). รายงานผลการติดตามการปฏิบัติราชการตาม
แผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของ
สานักงาน ป.ป.ช. ภาค และสานกั งาน ป.ป.ช. ประจาจงั หวัดในเขตพ้นื ท่ภี าค 1 – 9. นนทบรุ ี: ม.ป.พ..

สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงาน ป.ป.ช.. (2563ข). รายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคา
รับรองการปฏิบัติราชการของสานักงาน ป.ป.ช. ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระดับสานัก. นนทบุรี:
ม.ป.พ..

สุรพล นิติไกรพจน์, อุดม รัฐอมฤต, บรรเจิด สิงคะเนติ, วรเจตน์ ภาคัรัตน์, เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล,
ปิยบุตร แสงกนกกุล, และ วชิร สงบพันธ์. (2547). คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แหง่ ชาติกบั การตรวจสอบการใช้อานาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ. กรงุ เทพฯ: วญิ ญูชน.

อนันต์ ทองศรี. (ม.ป.ป.). ความหมายของการประเมินผล. https://sites.google.com/site/a5739202007/
khwam-hmay-kar-wad-laea-kar-pramein-phl

อคั รเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยท่ีมีผลต่อประสิทธภิ าพในการปฏบิ ัติงานของพนกั งานกลมุ่ อุตสาหกรรมติดต้ัง
เครอื่ งจักรสายการผลิตในจังหวดั สงขลา [วิทยานพิ นธป์ ริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อาภรณ์ อ่อนคง. (ม.ป.ป.). ประสิทธผิ ล. http://aporn123.blogspot.com/2013/06/blog-post_28.html
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปที ่ี 15 ฉบบั ท่ี 1 133
การประเมนิ กระบวนการและผลการปฏบิ ัตงิ านตามภารกจิ ปราบปรามการทจุ รติ ของสานักงาน ป.ป.ช.

หลักเกณฑ์การส่งบทความลงพิมพ์ “วารสารวิชาการ ป.ป.ช.”

1. เปน็ บทความวิจยั หรอื บทความวชิ าการท่ัวไปดา้ นการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ
2. เปน็ บทความท่ไี ม่เคยตีพมิ พ์ทีใ่ ดมาก่อน หรือไม่อยู่ระหวา่ งการเสนอขอลงพมิ พใ์ นวารสาร/ส่ิงพิมพอ์ นื่
3. เน้ือหาต้นฉบับภาษาไทย มีจานวนหน้าสูงสุดไม่เกิน 25 หน้าพิมพ์ (กระดาษ A4) ต้นฉบับภาษาไทยพิมพ์ด้วยขนาด

ตัวอักษร 16
แบบอักษร TH SarabunPSK ต้นฉบับภาษาองั กฤษพมิ พ์ด้วยขนาดตวั อักษร 16 แบบอกั ษร TH SarabunPSK
4. สว่ นประกอบสาคญั ของบทความ
4.1 ชือ่ เร่อื ง หรอื ชื่อหัวข้อ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
4.2 ช่ือผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ระบุสถานท่ีติดต่อ และ E-mail address, โทรศัพท์/โทรสาร ไว้ท้าย
บทความ)
4.3 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประมาณ 10-15 บรรทัด (ภาษาไทย) หรือประมาณ 100-150 คา
(ภาษาอังกฤษ)
4.4 เนือ้ หา (คาบรรยาย) ประมาณ 10-20 หนา้
4.5 รปู และตารางประกอบ เท่าท่ีจาเปน็ พรอ้ มคาบรรยาย (อธิบายประกอบภาพ) รวมแล้วไมเ่ กิน 4 หนา้
4.6 สรปุ และขอ้ เสนอแนะจากผลการวจิ ัยประมาณ 10-15 บรรทัดหรอื รวมข้อเสนอแนะแล้วไมเ่ กนิ 20 บรรทัด
4.7 เชิงอรรถเรยี งลาดบั หมายเลขในเนื้อหา และพมิ พ์รวมไวส้ ว่ นท้ายของบทความ
4.8 หนังสืออา้ งอิงหรือบรรณานุกรม ใช้รูปแบบ APA 7th edition (American Psychological Association)
4.9 การอ้างองิ เวบ็ ไซต์ หรือสื่ออเิ ล็กทรอนกิ สต์ า่ ง ๆ ใหเ้ ป็นหมวดตอ่ ทา้ ยหนังสือส่ิงพิมพต์ ่าง ๆ ตามขอ้ 4.8
5. การพิจารณาการรบั บทความ
5.1 บทความท่ีได้รบั การพิจารณาใหล้ งพิมพใ์ นวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ตอ้ งผ่านความเห็นชอบและ/หรอื ผู้เขยี น
ได้ปรบั ปรงุ แก้ไขตามขอ้ เสนอแนะของกองบรรณาธิการหรอื ผู้ทรงคณุ วุฒิ (peer reviews) ทไ่ี ด้รบั มอบหมายให้เปน็
ผู้พจิ ารณาบทความ จานวน 2 ทา่ น
5.2 ผู้เขยี นบทความท่ีไดร้ บั การคัดเลือกใหพ้ มิ พ์ในวารสารวิชาการ ป.ป.ช. จะได้รับค่าตอบแทนผลงานละ 3,000 บาท
5.3 แจ้งผลการพจิ ารณาใหผ้ ูเ้ ขยี นบทความทราบหลงั จากกองบรรณาธิการได้พิจารณาบทความใหล้ งพมิ พ์ได้
5.4 การพิจารณาบทความโดยกองบรรณาธกิ ารถอื เปน็ เด็ดขาด
5.5 กรณีผู้เขียนบทความต้องการนาบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ซ้าจะต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบเป็น
ลายลักษณอ์ กั ษรก่อน

สถานทต่ี ดิ ต่อ
สานกั วิจยั และบริการวิชาการดา้ นการปอ้ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ
สานักงานคณะกรรมการป้องกนั และปราบปรามการทจุ รติ แห่งชาติ
เลขท่ี 361 ถนนนนทบรุ ี
ตาบลทา่ ทราย อาเภอเมอื งนนทบุรี
จงั หวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0 2528 4800 ตอ่ 5814
โทรสาร 0 2528 4703

วารสารวชิ าการ ป.ป.ช. ปีท่ี 15 ฉบับที่ 1 134
หลักเกณฑ์การส่งบทความลงพิมพ์ “วารสารวิชาการ ป.ป.ช.”


Click to View FlipBook Version