The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือปฏิบัติงาน การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sansanee Jaikitsuwan, 2022-07-03 23:46:01

คู่มือปฏิบัติงาน การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

คู่มือปฏิบัติงาน การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประเภทเอกสาร : คู่มอื ปฏิบตั งิ าน
ชอื่ เอกสาร : การประชมุ ผา่ นสือ่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์
รหัสเอกสาร : กลพ. 002

คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 2

คำนำ

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Corona virus Disease 2019
(Covid-2019)) ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 ในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งองค์การ
อนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นภาวการณแ์ พร่ระบาดใหญท่ วั่ โลกท่ีตอ้ งควบคุมอยา่ งเครง่ ครดั รฐั บาลไทย
ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก อาทิ การฉีด
วัคซีนป้องกัน การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) รวมทั้งปรับแนวทางการทำงานที่บ้าน
(Work Form Home) และส่งเสริมให้ให้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เช่น การจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของบุคลากร หรือกลุ่มบุคคลจำนวนมาก สำนักงานปรมาณู
เพื่อสันติ (ปส.) ตอบรับนโยบาย ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับแผนการดำเนินงาน เพื่อควบคุม
การแพร่ระบาดของโรค อาทิ การประชุมคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ คณะอนุกรรมการภายใต้
คณะกรรมการ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตอบโจทย์การดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและ
เปน็ ไปตามแผนปฏบิ ตั ริ าชการประจำปอี ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (กลพ.) กองยุทธศาสตร์และ
แผนงาน (กยผ.) ได้จัดทำ “คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” โดยอ้างอิงระเบียบ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงจากแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คู่มือการ
ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของ
ระบบควบคุมการประชุม ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ ETDA) กระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกจิ และสงั คม รวมถึงบทความวิชาการอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้
ปฏิบัตหิ นา้ ที่ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ใหเ้ ปน็ ไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสทิ ธิภาพย่ิงขึ้น ซง่ึ หวังเป็นอย่าง
ย่งิ วา่ จะเปน็ ประโยชน์ต่อบุคลากรผปู้ ฏบิ ตั งิ าน และผสู้ นใจ

กลุม่ เลขานุการคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพือ่ สนั ติ (กลพ.)
กองยุทธศาสตรแ์ ละแผนงาน สำนกั งานปรมาณูเพ่อื สันติ
มิถนุ ายน 2565

คมู่ อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 3

สารบญั

คำนำ ความเป็นมาและความสำคัญ 5
สารบญั กฎหมาย ระเบียบทีท่ ่ีเกยี่ วข้อง 6
บทที่ 1 หลักการประชุมผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์ 10
บทท่ี 2 การใชง้ านโปรแกรม Cisco Webex Meeting 23
บทที่ 3
บทท่ี 4 37
41
ภาคผนวก
48
1. พระราชกำหนดวา่ ด้วยการประชมุ ผ่านสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 50
2. ประกาศกระทรวงดิจิทลั เพ่อื เศรษฐกิจและสังคม เรอ่ื ง มาตรฐาน 55

การรักษาความม่นั คงปลอดภยั ของการประชุมผ่านส่ืออิเล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. 2563
3. ประกาศคณะรักษาความสงบแหง่ ชาติ เรอ่ื ง การประชุมผ่านสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์
4. พระราชบญั ญตั พิ ลงั งานนวิ เคลียร์เพ่ือสนั ติ พ.ศ. 2559
5. QR code เอกสารท่เี ก่ียวขอ้ ง

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อิเล็กทรอนิกส์ 4

บทท่ี 1
ความเป็นมาและความสำคญั

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ออกประกาศ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวัง
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) กำหนดมาตรการสำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรของ
หนว่ ยงานภายในกระทรวง ใหป้ รับมาตรการการทำงานทบี่ า้ น (Work from Home) หรอื ปฏบิ ัติงานนอกสถานท่ีต้ัง
เพื่อลดการเดินทางและลดการสัมผัสเชื้อ โดยให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาระดับ
ความเสีย่ งและบริบทของพ้ืนท่ีเพ่ือกำหนดสัดส่วนการทำงานท่บี ้าน หรือปฏิบัตงิ านนอกท่ีต้ัง หรอื การสลับวัน หรือ
การกำหนดเหลื่อมเวลาการเข้าปฏิบัติงานตามความเหมาะสมของพื้นที่ และให้หน่วยงานจัดให้มีระบบสนับสนุน
การทำงานที่บ้านอย่างเต็มที่และเพียงพอต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
เทียบเท่ากับการมาปฏิบัติงานที่หน่วยงาน ให้บุคลากรของกระทรวง งดหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัด
โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดง) งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มี
เหตุจำเปน็

สำนักงานปรมาณูเพ่ือสนั ติ (ปส.) ต้งั อยใู่ นเขตกรุงเทพมหานคร ซ่ึงจัดอยู่ในพ้ืนท่ีควบคุมสุงสุดและเข้มงวด
ในการเฝ้าระวัง ต้องปฏบิ ตั ิตามมาตรการเฝา้ ระวงั และป้องกันอยา่ งเครง่ ครัด อยา่ งไรกต็ าม การดำเนินงานของ ปส.
จะตอ้ งมกี ารประชมุ หารอื กันตามแผนการปฏิบัติราชการ เชน่ การประชมุ คณะกรรมการพลงั งานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
การประชุมคณะอนกุ รรมการภายใตค้ ณะกรรมการพลังงานนิวเคลียรเ์ พ่ือสันติ ดังนั้น จึงได้ปรบั เปลี่ยนรูปแบบการ
ประชุมโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Cisco Webex Meeting)
เพอ่ื ใหเ้ หมาะสมกับสถานการณก์ ารระบาดของโรค ซ่ึงจะเปน็ ประโยชน์ต่อผูป้ ฏบิ ัติงานและผูเ้ ก่ยี วข้องทุกภาคสว่ น

กล่มุ เลขานกุ ารคณะกรรมการพลังงานนิวเคลยี ร์เพ่ือสันติ (กลพ.) ไดศ้ กึ ษากฎหมาย ระเบยี บ แนวทางการ
ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นับตั้งแต่มี
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ และได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเป็นแนวทางแก่บุคลากรของหน่วยงาน ตลอดจนผู้สนใจ ให้ดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไป
ตามทกี่ ฎหมายกำหนด และเปน็ ไปตามมาตรการควบคุม ดว้ ยความเรยี บร้อยอย่างมีประสิทธิภาพยงิ่ ข้นึ

คมู่ ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 5

บทที่ 2
กฎระเบยี บทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนกิ ส์ มีกฎหมายและระเบียบทีเ่ กี่ยวข้อง 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนด ว่าด้วย
การประชุมผา่ นส่ืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. 2563 และประกาศกระทรวงดิจทิ ัลเพ่ือเศรษฐกจิ และสงั คม เรือ่ ง มาตรฐาน
การรักษาความมน่ั คงปลอดภยั ของการประชมุ ผ่านสอื่ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 สรุปใจความสำคญั ดงั นี้
2.1 คำนิยาม

1. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมท่ี
กระทำผ่านส่ืออเิ ล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้ร่วมประชมุ ท่มี ไิ ด้อยู่ในสถานท่เี ดียวกนั และสามารถประชมุ ปรกึ ษาหารือและ
แสดงความคิดเหน็ ระหวา่ งกนั ไดผ้ ่านสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์

2. ผู้ร่วมประชุม หมายความว่า ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
และให้หมายรวมถึงผ้ซู ง่ึ ต้องชี้แจง แสดงความคิดเหน็ ต่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะบุคคลนน้ั ดว้ ย

3. อิเล็กทรอนกิ ส์ หมายความวา่ การประยุกต์ใช้วธิ ีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลนื่ แมเ่ หลก็ ไฟฟ้า หรือวิธี
อ่ืนใดในลักษณะคลา้ ยกัน และใหห้ มายความรวมถงึ การประยุกต์ใชว้ ธิ ีการทางแสง วิธกี ารทางแม่เหลก็ หรอื อปุ กรณ์
ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การประยุกต์ใช้วิธีตา่ ง ๆ เช่นวา่ นั้น

4. ระบบควบคุมการประชุม หมายความว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ/หรืออุปกรณ์สื่อสาร
อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย และมีการสื่อสารข้อมูลกันโดยใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมสามารถเข้าถึงและใช้งาน
สำหรบั การประชุมผ่านสือ่ อเิ ล็กทรอนกิ สไ์ ดไ้ ม่ว่าจะเปน็ การประชุมด้วยเสียงหรอื ทง้ั เสยี งและภาพ

5. ผูใ้ ห้บริการ หมายความว่า ผ้ใู ห้บรกิ ารระบบควบคมุ การประชุม
6. ผูค้ วบคุมประชุม หมายความวา่ ผทู้ ำหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการระบบควบคมุ การประชมุ

การประชมุ ผา่ นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภยั ของการประชุม
ผ่านสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ท่กี ระทรวงดิจิทลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคมกำหนดโดยประกาศในราชกจิ จานุเบกษา

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 6

2.2 มาตรฐานการรกั ษาความมนั่ คงปลอดภยั ด้านสารสนเทศของระบบควบคมุ การประชุม
ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการ

ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ได้กำหนดนิยามของระบบควบคุมการประชุมเอาไว้ว่า “ระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ และ/หรืออุปกรณ์สือ่ สารอิเล็กทรอนกิ ส์ใด ๆ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
และมกี ารสื่อสารข้อมูลกนั โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร และ/หรือการโทรคมนาคม เพ่ือให้ผู้เข้าร่วม
ประชุมสามารถเข้าถึงและใช้งานสำหรับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่ว่าจะเป็นการประชุมด้วยเสียง
หรือทั้งเสียงและภาพ” ซึ่งจากประกาศเดียวกันในหมวด 1 บททั่วไปข้อ 5 ยังกำหนดให้การจัดประชุมผ่าน
ส่ืออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ต้องมกี ระบวนการ ดังนี้

1. การแสดงตนของผูเ้ ข้าร่วมประชุมผา่ นสอ่ื อิเลก็ ทรอนิกส์ก่อนการประชุม
2. การสื่อสารหรือมปี ฏสิ มั พันธก์ นั ได้ดว้ ยเสียงหรือทั้งเสยี งและภาพ
3. การเข้าถึงเอกสารประกอบการประชุมของผ้เู ขา้ ร่วมประชมุ
4. การลงคะแนนของผรู้ ่วมประชุม ทงั้ การลงคะแนนโดยเปดิ เผยและการลงคะแนนลบั (หากม)ี
5. การจัดเก็บข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงการ

บนั ทกึ เสยี ง หรอื ท้ังเสียงและภาพ แลว้ แต่กรณี ของผู้ร่วมประชุมทกุ คนตลอดระยะเวลาทม่ี กี ารประชุม
เว้นแตเ่ ป็นการประชมุ ลบั
6. การจัดเก็บขอ้ มลู จราจรอเิ ล็กทรอนิกสข์ องผรู้ ว่ มประชุมทุกคนไว้เปน็ หลกั ฐาน
7. การแจ้งเหตขุ ัดข้องในระหวา่ งการประชุม

ค่มู ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 7

ภาพที่ 1 มาตรฐานของกระบวนการจัดประชุมผา่ นส่อื อเิ ลก็ ทรอนิกส์ โดย สพธอ.
คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 8

2.3 วตั ถปุ ระสงคข์ องมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบควบคุมการประชุม
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้มาตรฐาน

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบควบคุมการประชุมเป็นข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในการ
รักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศสำหรบั ระบบควบคมุ การประชุมของผู้ใหบ้ ริการ ซึ่งครอบคลุมการรักษา
ความลับ (Confidentiality) การรักษาความครบถ้วน (Integrity) การรักษาสภาพพร้อมใช้งาน (Availability)
ความถูกต้องแท้จริง (Authenticity) ความรับผิด (Accountability) การห้ามปฏิเสธความรับผิด (Non-
repudiation) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) รวมถึงการรักษาความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ของขอ้ มลู อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบง่ ออกเปน็ 10 วตั ถปุ ระสงค์ ไดแ้ ก่

1. นโยบายการรักษาความม่ันคงปลอดภยั ดา้ นสารสนเทศ และนโยบายการคุ้มครองขอ้ มูลสว่ นบุคคล
2. การบรหิ ารจดั การสนิ ทรัพย์
3. การควบคุมการเขา้ ถึง
4. การเขา้ รหัสลบั ข้อมูล
5. การสรา้ งความมัน่ คงปลอดภยั ทางกายภาพและสิง่ แวดลอ้ ม
6. ความม่ันคงปลอดภัยสำหรับการดำเนินงาน
7. ความม่ันคงปลอดภัยสำหรบั การสอื่ สารขอ้ มูล
8. การบรหิ ารจัดการเหตกุ ารณ์ที่เกยี่ วขอ้ งกบั ความมน่ั คงปลอดภยั
9. ความมน่ั คงปลอดภยั ดา้ นสนสนเทศของการบรหิ ารจดั การเพื่อสร้างความตอ่ เน่ืองทางธรุ กจิ
10. การบรหิ ารจดั การความเสีย่ ง

โดยวัตถุประสงค์แต่ละข้อประกอบด้วยข้อกำหนดการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
แนวปฏิบัติ และความสอดคล้องของข้อกำหนดต่อมาตรฐาน สากล (International Organization for
Standardization : ISO) ได้แก่ ISO 27001 (Information Technology – Security Techniques – Information
Security Management Systems – Requirements) ISO 27701 (Security techniques – Extension to
ISO/IEC 27001 and ISO/IEC 27002 for privacy information management – Requirements and
guidelines) หรือกระบวนการจัดการประชมุ ผา่ นส่อื อิเล็กทรอนิกส์ที่เทยี บเคียง

คมู่ ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อิเล็กทรอนิกส์ 9

ภาพที่ 2 วตั ถปุ ระสงค์มาตรฐานการรกั ษาความมั่นคงปลอดภยั ด้านสารสนเทศ โดย สพธอ.
ค่มู ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 10

บทท่ี 3
การประชุมผา่ นสอ่ื อิเล็กทรอนกิ ส์

1. หลกั การทั่วไป
พระราชกำหนดวา่ ด้วยการประชุมผ่านส่ืออเิ ล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 กำหนดให้การประชุมตามบทบัญญัติ

ของกฎหมาย หรือการประชุมที่ต้องการให้มีผลตามกฎหมายสามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
ยกเวน้ การประชุม ดังตอ่ ไปนี้

(1) การประชมุ ของสภาผู้แทนราษฎร วฒุ ิสภา และรฐั สภา
(2) การประชุมเพอ่ื จดั ทำคำพิพากษาหรอื คำส่ังของศาล
(3) การประชมุ เพือ่ ดำเนนิ กระบวนการจดั ซื้อจัดจา้ งบางกรณี
(4) การประชุมอ่นื ทกี่ ำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจบุ ันยังไม่มีกฎกระทรวงบงั คับใช)้

2. องคป์ ระชมุ และมติทีป่ ระชมุ
การดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใช้หลักการนับองค์ประชุมและมติที่ประชุมเป็นไปตามท่ี

กฎหมายเฉพาะเรื่องกำหนด หากกฎหมายเฉพาะไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ ให้นำบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธี
ปฏบิ ัติราชการทางการปกครอง (มาตรา79 และ มาตรา 82) มาใชบ้ ังคับแก่การประชมุ โดยอนโุ ลม

3. การเตรียมความพร้อมก่อนจดั การประชุมผา่ นสือ่ อิเลก็ ทรอนิกส์
ผู้มีหน้าที่จัดการประชุม จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านระบบ ข้อมูล/เอกสารประกอบการประชุม

บุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน รวมไปถึงบุคคลผู้ชี้แจง เพื่อให้การประชุม
เปน็ ไปด้วยความเรยี บรอ้ ยและถกู ตอ้ งตามทก่ี ฎหมายกำหนด โดยส่ิงทคี่ วรเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการประชุม
ผ่านสือ่ อเิ ล็กทรอนิกส์ ดงั น้ี

3.1 ระบบ
ควรประสานงานหรือซักซ้อมการใช้งานระบบล่วงหน้ากับผู้รับผิดชอบดูแลให้พร้อมใช้งาน

ในวันประชุม ได้แก่
3.1.1 ระบบควบคุมการประชุม ประกอบด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร

อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การโทรคมนาคม ที่สามารถรองรับการสื่อสารได้ด้วยเสียง
หรือทง้ั เสียงและภาพ บนช่องสัญญาณท่ีเพยี งพอ

3.1.2 มาตรฐานการรกั ษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชมุ ผา่ นสื่ออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

คมู่ ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ 11

ขอ้ ความ 3.1.3 ระบบสารบรรณอิเลก็ ทรอนิกส์
3.1.4 ช่องทางสำรอง หากมีเหตุขัดข้อง เช่น การประชุมผ่านโทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วย

3.1.5 ระบบการลงคะแนน (ถา้ มี)
3.1.6 ระบบการจัดเกบ็ ข้อมลู หรือหลักฐานที่เกยี่ วขอ้ งกบั การประชมุ ผ่านส่ืออเิ ลก็ ทรอนิกส์

3.2 บุคคลท่เี กีย่ วขอ้ ง
3.2.1 ผู้ให้บริการควบคุมการประชุม หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบควบคุมการประชุม

แก่บคุ คลอ่นื ในการประชุมผา่ นส่ืออเิ ล็กทรอนกิ ส์ ซ่ึงไดแ้ ก่ระบบท่ีใช้ในการควบคุมการประชุมผ่านส่ืออเิ ล็กทรอนิกส์
ตา่ ง ๆ

3.2.2 ผู้ควบคุมระบบการประชุม ได้แก่ ฝ่ายเลขานกุ าร หรือฝ่ายเทคโนโลยสี ารสนเทศของแต่ละ
หน่วยงาน หรืออาจใช้บริการผู้ให้บริการระบบควบคุมการประชุม (admin) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ โดยทำ
หนา้ ท่ชี ่วยดูแลจัดการและแก้ไขปญั หาระบบการประชุมใหเ้ ปน็ ไปดว้ ยความเรียบร้อย

3.2.3 ผู้ร่วมประชุม ได้แก่ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ
เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรรมการ หรือคณะบุคคลอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
รวมถึงผู้ซึ่งตอ้ งชแ้ี จงความเห็นตอ่ คณะกรรมการ คณะอนกุ รรมการ หรือคณะบคุ คลนนั้ ดว้ ย

3.3 ข้อมูลทใ่ี ช้ประกอบการประชมุ
ก่อนการประชุม ผู้มีหน้าที่จัดประชุม ควรต้องเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการประชุม

ใหค้ รบถ้วน เพอ่ื ให้การดำเนนิ การประชมุ เปน็ ไปด้วยความเรยี บร้อย ดงั นี้
3.3.1 รายช่อื ผรู้ ว่ มประชมุ พรอ้ มตำแหนง่
3.3.2 เอกสารวาระการประชุม จดั ทำเป็นเอกสาร หรือ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
3.3.3 ข้อมูลที่เตรียมนำเสนอในทีป่ ระชมุ นำเสนอในรูปแบบ Power Point หรือรูปแบบอื่นตาม

ความเหมาะสม

4. วิธกี ารจดั การประชุมผา่ นสอื่ อเิ ล็กทรอนิกส์
การจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนรายละเอียดที่สำคัญ โดยแบ่งเป็นการดำเนินการ

ก่อนการประชุม ระหวา่ งการประชุม และหลังการประชุม เชน่ เดยี วกบั การจัดประชุมแบบท่วั ไป ทั้งน้ี หากเป็นการ
ประชุมลับ จะมีการดำเนินการท่แี ตกตา่ งบางประการ และมีข้อควรระวังที่ต้องปฏบิ ัตติ ามอย่างเคร่งครดั

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อิเล็กทรอนกิ ส์ 12

4.1 การประชุมท่วั ไป
4.1.1 กอ่ นการประชุม
4.1.1.1 เมื่อผู้ทำหน้าท่ีประธานในที่ประชุมกำหนดให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมจะต้องแจ้งให้ผู้ร่วมประชุมทราบล่วงหน้าว่าการประชุมครั้งนั้นจะดำเนินการผ่านส่ือ
อิเล็กทรอนิกส์ และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยแจ้งวิธีการแสดงตนเพื่อให้
ผูเ้ ขา้ ร่วมประชุมเตรียมพรอ้ มกอ่ นการประชุม

4.1.1.2 การส่งหนังสือเชญิ ประชุมและเอกสารประกอบการประชุม สามารถส่งทางอีเมล
ก็ได้ แต่จะต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 เช่น ต้อง
รบั - สง่ ผ่านอีเมลกลางของหน่วยงาน และส่งในรปู แบบไฟล์ PDF และต้องสอดคล้องตามกฎหมายวา่ ด้วยธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมจะต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือเชิญประชุม และเอกสาร
ประกอบการประชมุ ไว้เปน็ หลักฐาน โดยจะจดั เกบ็ ในรูปแบบข้อมลู อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

การรับ – ส่งหนังสือด้วยระบบสารบรรณอเิ ล็กทรอนิกส์ทมี่ ีชั้นความลบั หัวหนา้ ส่วนราชการ
จะต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่เพื่อให้เข้าถึงเอกสารชั้นความลับ เพื่อทำหน้าที่รับส่งหนังสือที่มีชั้นความลับเฉพาะ
ชั้นลับหรือลับมากด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และในการส่งหนังสือชัน้ ลับและลับมาก ผู้ที่ได้รับการแต่งต้ัง
ให้เข้าถึงเอกสารชั้นความลับจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่ง โดยจะต้องส่งผ่านระบบการรักษาความปลอดภัยซึ่งสามารถ
ทำการเขา้ รหัสขอ้ มูลขา่ วสารหรอื หนงั สอื เพื่อปอ้ งกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รบั อนุญาตสามารถอ่านข้อความได้

ข้อควรระวัง หนังสือราชการชั้นลับที่สุด ไม่สามารถรับ - ส่ง ผ่านทางอีเมลได้ กรณีท่ี
ส่วนราชการไดร้ ับหนงั สือราชการท่ีมชี น้ั ความลับว่า “ลบั ท่สี ดุ ” ใหแ้ จง้ ผ้สู ่งว่าไม่สามารถรับ – สง่ ด้วยอีเมลได้ และ
ขอให้ดำเนนิ การส่งใหมใ่ นรูปแบบเอกสาร เม่อื แจ้งแลว้ ใหล้ บอีเมลนนั้ ทนั ที

4.1.1.3 จัดเตรยี มระบบรองรบั การประชมุ
ระบบเสียง / ภาพ : ต้องทำการทดสอบให้สามารถสื่อสารด้วยเสียง หรือทั้งเสียง

และภาพบนช่องสญั ญาณท่ีเพยี งพอ
ระบบจัดการสิทธิ : ต้องเตรยี มการใหส้ ามารถจัดการสิทธิของผู้เข้าร่วมประชุมได้

โดยสามารถงดถ่ายทอดเสียง หรือ ทั้งเสียงและภาพเป็นการชั่วคราว หยุดส่งข้อมูลแก่ผู้ร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง
หากมเี หตจุ ำเป็นและมีกรณีฉุกเฉิน เชน่ เมือ่ มีการพิจารณาเรื่องทีผ่ ู้เขา้ รว่ มประชุมมสี ภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การ
พิจารณาทางปกครองไม่เปน็ กลาง เปน็ ต้น

คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อิเลก็ ทรอนิกส์ 13

ภาพที่ 3 การดำเนนิ การก่อนประชุมผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนกิ ส์ โดย สพธอ. หรือ ETDA
ค่มู อื ปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 14

4.1.2 ระหว่างการประชุม
4.1.2.1 ผูเ้ ขา้ ร่วมประชมุ ตอ้ งแสดงตนก่อนรว่ มการประชุม ตามวิธกี ารที่ผู้มีหน้าที่จัดการ

ประชุมกำหนด เชน่ การขานชอื่ การยนื ยนั ตัวตนดว้ ยชอื่ ผใู้ ชง้ าน (Username) และรหัสผ่าน (Password) หรอื การ
ใชร้ หัสผ่านแบบใชค้ รั้งเดยี ว (OTP) เป็นตน้

4.1.2.2 ดำเนินการบันทึกการประชุม โดยบันทึกเสียง หรือบันทึกทั้งเสียงและภาพของ
ผู้ร่วมประชุมตลอดระยะเวลาที่ประชุม หรืออาจบันทึกด้วยระบบการประชุมนั้น หรือด้วยวิธีการอื่นก็ได้ ทั้งน้ี
เปน็ ไปตามข้อตกลงของที่ประชุม

4.1.2.3 บันทึกข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุม เพื่อจัดเก็บภายหลังเสร็จ
การประชมุ ต่อไป

4.1.2.4 ผู้มีหน้าที่จัดประชุมต้องจัดเตรียมช่องทางการแจ้งเหตุขัดข้อง เพื่อรองรับการ
แกไ้ ขเหตขุ ัดข้องทอี่ าจเกิดขึ้นในระหวา่ งการประชุมด้วย

ค่มู ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 15

ภาพท่ี 4 การดำเนนิ การระหวา่ งประชมุ ผ่านส่อื อเิ ล็กทรอนิกส์ โดย สพธอ. หรือ ETDA
ค่มู อื ปฏิบตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อเิ ล็กทรอนกิ ส์ 16

4.1.3 หลงั การประชมุ
ภายหลังสนิ้ สุดการประชมุ ใหผ้ ู้มีหนา้ ทจี่ ัดการประชุมดำเนนิ การต่าง ๆ ตอ่ ไปน้ี
4.1.3.1 จัดทำรายงานการประชมุ โดยตอ้ งมรี ายละเอยี ดอยา่ งนอ้ ย ดังน้ี
(1) วธิ กี ารแสดงตน จำนวนหรือรายชือ่ ผรู้ ว่ มประชุมท่ีมีการแสดงตน
(2) วิธีการลงคะแนน พร้อมผลการลงคะแนนของผูร้ ่วมประชมุ (ถ้ามี)
4.1.3.2 จดั เก็บข้อมูลหรือหลกั ฐานที่เกี่ยวขอ้ งกับการประชมุ ผ่านสอื่ อเิ ล็กทรอนิกส์ ดงั น้ี
(1) ข้อมูลบันทึกเสียง หรือทั้งเสียงและภาพ ของผู้ร่วมประชุมทุกคนตลอดเวลา

ทม่ี ีการประชุม
(2) เหตขุ ดั ขอ้ งท่เี กิดข้ึนระหวา่ งการประชุม (ถา้ มี)
(3) ข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอย่างน้อยต้องสามารถระบุตัวบุคคลหรือชื่อ

ผูใ้ ชง้ าน วนั และเวลาของการเขา้ ร่วมประชมุ และเลิกประชุมได้
4.1.3.3 การจัดเก็บข้อมลู หรือหลักฐานจะตอ้ งบนั ทึกในรปู แบบขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกส์ และ

เกบ็ รักษาด้วยวธิ ีการที่ม่นั คงปลอดภัยและเช่ือถือได้ โดยใหด้ ำเนนิ การภายใตห้ ลกั การ ดังนี้
(1) ใชว้ ิธีการที่รักษาความถกู ตอ้ งของข้อมลู ได้
(2) สามารถนำขอ้ มลู กลับมาใช้หรือแสดงข้อมูลนนั้ ในภายหลังได้
(3) มีมาตรการควบคุมสิทธิการเข้าถึงข้อมูล และมาตรการป้องกันการเข้าถึง

จากผูท้ ี่ไมม่ ีสิทธิ
4.1.3.4 กรณีใช้ระบบควบคุมการประชุมจากผู้ให้บริการและเป็นข้อมูลหรือหลักฐาน

ทจี่ ัดเก็บเองไม่ได้ ใหผ้ ูใ้ หบ้ รกิ ารสง่ มอบขอ้ มลู ดงั กล่าว ภายในระยะเวลา 7 วนั นบั แตว่ ันสน้ิ สุดการประชมุ
4.1.3.5 กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องทำลายข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม ให้ผู้มีหน้าที่จัดการ

ประชมุ หรือผู้ให้บริการ ลบหรือทำลายขอ้ มลู ดว้ ยเทคโนโลยแี ละวธิ กี ารท่มี คี วามมั่นคงปลอดภยั

ค่มู ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 17

ภาพที่ 5 การดำเนนิ การหลังประชุมผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนกิ ส์ โดย สพธอ. หรือ ETDA
ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 18

4.2 การประชมุ ลับ
การประชุมลับผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะต้องดำเนินการตามวิธีการจัดการประชุมทั่วไป

ผา่ นส่ืออเิ ลก็ ทรอนิกส์ ข้อ 4.1 แล้ว ผมู้ หี นา้ ที่จัดการประชมุ ยงั ต้องดำเนินการดงั ต่อไปนี้ด้วย
4.2.1 จดั เตรียมมาตรการรกั ษาความม่ันคงปลอดภัย เพือ่ ปอ้ งกนั มใิ หบ้ ุคคลที่ไม่มสี ทิ ธิร่วมประชุม

รู้หรือล่วงรู้ถึงข้อมูลการประชุม เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลที่นำเสนอในระหว่างการประชุม หรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้อง และมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสงั คมกำหนด

ข้อควรระวัง กรณีเรื่องท่ีหน่วยงานของรัฐได้กำหนดขั้นความลับไว้ ให้ใช้ระบบควบคุมการประชุม
ที่ติดตั้งและใหบ้ ริการในราชอาณาจักร โดยต้องไม่จัดเก็บข้อมูลหรือหลักฐานส่วนหนึ่งส่วนใดไว้นอกราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ผูใ้ ห้บริการตอ้ งรบั รองต่อผู้มหี นา้ ทีจ่ ัดการประชมุ วา่ ได้ดำเนนิ การตามข้อกำหนดน้ี

4.2.2 ให้ผู้ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รับรองต่อที่ประชุมว่าไม่มีบุคคลที่ไม่มีสิทธิ
ร่วมประชุมสามารถรู้หรือล่วงรู้ถึงขอ้ มูลการประชุมในเรื่องลับดงั กลา่ ว โดยควรประชมุ ณ พื้นที่ปิดที่ไม่มีบุคคลอน่ื
เข้าออก ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุม ควรแจ้งเตือนผู้ร่วมประชุมว่าเป็นการประชุมลับ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ
รักษาความมั่นคงปลอดภยั

ข้อควรระวัง ห้ามมิให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพของผู้ร่วมประชุ มทุกคนตลอด
ระยะเวลาท่มี กี ารประชุมลับ

อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และคณะอนุกรรมการภายใต้
คณะกรรมการฯ ถือเป็นการประชุมทั่วไป เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติพลังงาน
นวิ เคลยี รเ์ พ่อื สันติ พ.ศ. 2559 อาจมีเพยี งบางวาระท่ีต้องดำเนนิ การตามวธิ ีการจัดประชุมลับเปน็ กรณีพิเศษ

5. การลงคะแนน (ถา้ มี)
ในกรณีการประชุมผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนิกส์วาระใดทกี่ ำหนดให้ผรู้ ว่ มประชุมลงคะแนน ใหด้ ำเนินการ ดังนี้
5.1 ผู้มีหน้าที่จัดการประชุม ต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนทราบก่อนการลงคะแนนเกี่ยวกับวิธีการ

และขั้นตอนในการลงคะแนน รวมถึงเงื่อนไขในการนับคะแนนและการคำนวณผลการลงคะแนน โดยต้องคำนึงถึง
มาตรการ ดงั น้ี

5.1.1 จัดให้สามารถลงคะแนนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม คะแนนเสียงจากทุกช่องทางต้องนำมา
นับคะแนนและคำนวณเป็นผลการลงคะแนน

5.1.2 จัดใหม้ ขี อ้ มลู ที่จำเปน็ อย่างถกู ตอ้ งและมีเวลาในการตดั สนิ ใจลงคะแนนอย่างเหมาะสม
5.1.3 รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้มีสิทธิลงคะแนน โดยมีการรักษาความลับของคะแนนเสียงและ
ข้อมูลของผลู้ งคะแนนอยา่ งเหมาะสมก่อนการยนื ยันลงคะแนน
5.1.4 มีการรักษาความมน่ั คงปลอดภัยของระบบสารสนเทศท่เี กย่ี วข้อง

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 19

5.2 การใช้ระบบการลงคะแนนแบบแยกตา่ งหากจากระบบควบคุมการประชมุ
ผู้มีหน้าที่จัดการประชุม ต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนทราบก่อนการลงคะแนนเกี่ยวกับวิธีการและ

ขั้นตอนในการลงคะแนน รวมถึงเงื่อนไขในการนับคะแนนและการคำนวณผลการลงคะแนน โดยต้องคำนึงถึง
มาตรการอยา่ งน้อย ดังนี้

5.2.1 การแสดงตนของผมู้ ีสทิ ธิลงคะแนนก่อนการลงคะแนน
5.2.2 การสือ่ สารหรือมีปฏิสัมพันธ์กนั ไดใ้ นระหวา่ งการลงคะแนน
5.2.3 การเข้าถงึ เอกสารประกอบการประชมุ ของผมู้ สี ิทธลิ งคะแนน
5.2.4 การจัดเก็บข้อมูลหรอื หลักฐานผ่านระบบลงคะแนน
5.2.5 การจดั เก็บขอ้ มลู จราจรอิเล็กทรอนกิ ส์ไวเ้ ปน็ หลักฐาน
5.2.6 การแจ้งเหตขุ ดั ข้องในระหวา่ งการลงคะแนน
5.2.7 ความเป็นส่วนตัวและความเป็นอสิ ระในการตัดสินใจของผู้มีสิทธิลงคะแนน

6. การเบิกจ่ายเบีย้ ประชุมหรือคา่ ตอบแทน
ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ร่วมประชุม

ให้จ่ายเบย้ี ประชุมหรือค่าตอบแทนน้นั ใหแ้ ก่ผู้ร่วมประชมุ ซึง่ ไดแ้ สดงตนเข้าร่วมผ่านส่อื อเิ ลก็ ทรอนิกสด์ ว้ ย
6.1 บุคคลทม่ี สี ิทธิไดร้ บั เบย้ี ประชุมหรือคา่ ตอบแทน ไดแ้ ก่
6.1.1 บุคคลทม่ี ีม่ สี ิทธิได้รับเบี้ยประชมุ ตามพระราชกฤษฎกี าเบย้ี ประชุมกรรมการ พ.ศ. 2546 และ

ทีแ่ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ
6.1.2 บุคคลท่ีมีสิทธไิ ดร้ ับค่าตอบแทนในการประชมุ ตามท่ีได้รบั อนุมตั ิจากกระทรวงการคลัง

6.2 เอกสารประกอบการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือคา่ ตอบแทน สำหรับการประชุมผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์
เปน็ อำนาจของส่วนราชการทจ่ี ะพจิ ารณาเพื่อใช้ประกอบการอนุมตั ิการจา่ ยเงนิ ทั้งน้ี อาจประกอบด้วย

6.2.1 เอกสารขออนุมัติเบกิ จา่ ยเบยี้ ประชุมหรือค่าตอบแทน
6.2.2 สำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่มีสิทธิได้รับเบี้ย
ประชมุ หรือคา่ ตอบแทน แล้วแต่กรณี
6.2.3 หนังสอื เชิญประชุม ซึ่งระบุวา่ การประชุมน้นั เป็นการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ล็กทรอนกิ ส์
6.2.4 รายชือ่ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรอื คณะทำงาน โดย

• กรรมการ อนุกรรมการ ผูท้ ำงานทเี่ ขา้ ร่วมประชมุ ในหอ้ งประชุม ใหล้ งลายมอื ช่อื จริง
• กรรมการ อนุกรรมการ ผู้ทำงานที่เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบุว่า
“ประชมุ ผ่านสอ่ื ฯ” พรอ้ มแนบหลักฐานแสดงตนตามข้อ 6.2.5 โดยไม่ต้องลงลายมอื ชื่อจริง
• กรรมการ อนุกรรมการ ผทู้ ำงาน ทีไ่ มม่ าประชุม ระบวุ ่า “ไมม่ าประชุม”

คมู่ อื ปฏิบตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อเิ ล็กทรอนกิ ส์ 20

6.2.5 หลักฐานแสดงตนของผู้เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลจราจร
อิเล็กทรอนิกส์ การล็อคอินเข้าระบบ การบันทึกภาพหน้าจอของผู้ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือหลักฐาน
อ่นื ท่ีสามารถระบตุ วั ตนผูเ้ ข้าร่วมประชมุ ได้

6.2.6 เอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือหรือหลักฐานการมอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วม
ประชุมแทนโดยตรง (กรณีกรรมการ หรืออนุกรรมการซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งไม่สามารถเข้ารว่ มประชุมได้
แต่ได้มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทน ตามมาตรา 11/1 แห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.
2547 และท่แี ก้ไขเพ่ิมเตมิ ) เปน็ ต้น

6.3 การจา่ ยเบี้ยประชุมหรอื คา่ ตอบแทนให้แกผ่ มู้ สี ิทธิรบั เงนิ
ให้ส่วนราชการโอนเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online ในกรณีโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน

ครั้งแรก ให้ผู้มีสิทธิรับเงินกรอกแบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online พร้อมแนบ
สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วนำรายละเอียอดของผู้มีสิทธิรับเงิน รวมทั้งเลขบัญชีเงินฝากธนาคาร
ในแบบแจง้ ข้อมลู ดังกล่าว มาจดั ทำเป็นทะเบียนคุมการโอนเงินในระบบคอมพิวเตอร์ เพ่ือใช้ในการตรวจสอบความ
ถูกตอ้ งของข้อมูล สำหรบั การโอนเงินในครงั้ ต่อไป

ค่มู ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อิเลก็ ทรอนิกส์ 21

ตัวอยา่ งคำถามทพ่ี บบอ่ ยเก่ียวกบั การประชุมผา่ นสอ่ื อเิ ล็กทรอนกิ ส์

1. คำถาม : วธิ กี ารยนื ยันตัวตนของผู้เขา้ รว่ มประชุมควรดำเนนิ การอย่างไร ?
คำตอบ : สามารถดำเนินการไดห้ ลายวิธี เชน่ การใช้ Username และ Password หรือ การขานชื่อ
ในทป่ี ระชุม
2. คำถาม : ผู้เข้าร่วมประชมุ จำเป็นต้องเปิดหนา้ และเสียงตลอดการประชุมหรือไม่ ?
คำตอบ : ขึน้ อยู่กับขอ้ ตกลงทเ่ี ปน็ หลกั เกณฑ์ของแต่ละท่ีประชมุ สามารถเปดิ ทั้งหนา้ และเสียง หรือ
เปิดเฉพาะเสยี งได้
3. คำถาม : เอกสารยนื ยนั การเข้ารว่ มประชมุ ของผ้มู สี ิทธไิ ดร้ บั เบ้ยี ประชุม ประกอบด้วยอะไรบา้ ง ?
คำตอบ : ในการเบิกจ่ายเบย้ี ประชุม อาจย่นื หลักฐานประกอบการยนื ยันตัวตนของผูเ้ ขา้ รว่ มประชมุ เช่น
Log file ท่บี นั ทึกการเข้าประชมุ เอกสารการบันทึกภาพหนา้ จอ (Capture) หรือหลักฐานอื่น ๆ
4. คำถาม : ท่ีพิสจู น์ไดว้ ่าบุคคลน้นั เข้ารว่ มประชมุ จรงิ
คำตอบ : ผู้เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องลงลายมือชื่อในใบรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม หรือ
ใบสำคัญการรับเงินหรอื ไม่ ?
5. คำถาม : เมอื่ ผูท้ ำหนา้ ท่จี ัดการประชุม (ฝา่ ยเลขานกุ าร) จดั ทำใบรายชือ่ ผู้เข้าร่วมประชมุ แลว้ และ
คำตอบ : ส่วนราชการได้โอนเงินค่าเบี้ยประชุมผ่าน KTB Corporate Online แล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมผ่าน
สอื่ อิเล็กทรอนิกส์ไมต่ ้องลงรายมือชื่อในใบรายชอ่ื ผ้เู ข้าร่วมประชมุ และในใบสำคัญการรบั เงินอีก
6. คำถาม : ผมู้ สี ทิ ธิรับเบย้ี ประชุมต้องดำเนนิ การอยา่ งไร แนบเอกสารใดบา้ ง ? ในการขอรับเบย้ี ประชุม
คำตอบ : ให้ผมู้ ีสทิ ธิรบั เบีย้ ประชุมดำเนินการตามหนังสือกระทรวงการคลัง ดว่ นที่สุด ที่ กค 0402.2/ว140
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2563 โดยกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม KTB Corporate Online และ
7. คำถาม : แนบเอกสารสำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารให้กับฝ่ายเลขานุการที่จัดการประชุม โดยส่ง
คำตอบ : เอกสารเพยี งครง้ั เดียว
ส่วนราชการตอ้ งดำเนินการเก่ยี วกับการเบกิ จ่ายเบย้ี ประชมุ อย่างไร ?
เมื่อส่วนราชการได้รับเอกสารตามข้อ 5 แล้ว ให้ฝ่ายเลขานุการฯ หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน
จัดทำทะเบยี นคมุ การโอนเงนิ ในระบบคอมพิวเตอร์ เมอ่ื ส่วนราชการโอนเบ้ยี ประชมุ แลว้ สามารถ
นำหลักฐานการโอนเงินในระบบมาเก็บไว้เป็นหลักฐานการเบิกจ่าย ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เข้าร่วม
ประชมุ ลงลายมอื ชือ่ ในใบสำคัญรับเงนิ อกี
ผู้ควบคุมระบบการประชุมจำเป็นต้องเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศภายใน
หนว่ ยงานหรือไม่ ?
หน่วยงานสามารถพิจารณาตามความเหมาะสมได้ อาจเป็นเจ้าหน้าที่อื่นในหน่วยงานที่ได้รับ

มอบหมายใหเ้ ป็นผู้ควบคุมระบบการประชมุ หรอื ใชบ้ ริการบุคคลภายนอกที่มหี น้าที่ Admin ของ

ผู้ให้บริการระบบการประชมุ กไ็ ด้

คมู่ ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 22

บทท่ี 4
การใช้งานโปรแกรม Cisco Webex Meetings

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ (กทส.) สังกัดกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.) สนับสนุนการดำเนินงาน
ตามภารกิจของ ปส. โดยจัดทำคู่มือการใช้งานโปรแกรม Cisco Webex Meetings เผยแพร่ให้บุคลากร ปส. และ
ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบและใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน ผู้จัดทำคู่มือฯ จึงขออนุญาตนำวิธีการติดตั้งโปรแกรม
และการเขา้ ร่วมใชง้ านโปรแกรม มาประกอบการทำคูม่ อื ปฏบิ ตั ิงาน การประชุมผา่ นส่ืออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ดังนี้

1. วิธตี ดิ ตั้งโปรแกรม Cisco Webex Meetings บน Windows
2. การเข้าร่วมใช้งานในโปรแกรม Cisco Webex Meetings ผา่ นคอมพิวเตอร์
3. วิธตี ิดตง้ั โปรแกรม Cisco Webex Meetings Mobile Application ระบบ IOS และ Android
4. การเข้าร่วมใชง้ านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ผ่านโทรศัพท์
1. วธิ ีติดต้ังโปรแกรม Cisco Webex Meetings บน Windows

1.1 ดาวนโ์ หลดตวั ตดิ ตั้งโปรแกรมจากเว็บ webex.com จากลิงก์
https://www.webex.com/downloads.html เลือกดาวน์โหลด Webex Meeting สำหรับติดตั้งบน
คอมพวิ เตอร์ระบบปฏบิ ตั ิการ Windows ใหต้ รงรุ่น

คมู่ อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อเิ ล็กทรอนิกส์ 23

1.2 เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ Webex.msi มาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ให้ทำการดับเบิลคลิก
ไฟล์ ขน้ึ มา เพอ่ื ตดิ ตงั้ โปรแกรม Webex Meeting

1.3.กดป่มุ Next เพ่อื ตดิ ต้งั โปรแกรม

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อิเล็กทรอนกิ ส์ 24

1.4 รอระบบติดตัง้ สักครู่
1.5 ติดต้งั โปรแกรมเสร็จเรยี บรอ้ ยแลว้ กดปุ่ม Finish

ค่มู ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 25

2. การเขา้ ร่วมใชง้ าน Webex Meeting ผา่ นคอมพวิ เตอร์
2.1 คลิกลิงค์ หรือ Copy ลิงค์ลง browser เช่น Google Chrome , Microsoft Edge ระบบ

จะมี Dialog box เด้งขึ้นมาถามว่าต้องการใช้โปรแกรม Cisco Webex Meeting ในการประชุมหรือไม่ หากใน
เครอื่ งคอมพิวเตอรไ์ ดต้ ดิ ตง้ั โปรแกรม ไวก้ ่อนแล้ว ใหก้ ดเปิด Cisco Webex Meeting ไดเ้ ลย

หากไม่มีการตดิ ตั้ง จะสามารถใช้งานบน Web Browser ในการประชุม หรือหากต้องการใช้งาน
Web Browser ใหค้ ลิกท่ี Join from your browser

คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อิเล็กทรอนิกส์ 26

2.2. เม่อื เข้าส่รู ะบบ ผ้ใู ชง้ านตอ้ งตรวจสอบการเชื่อมต่อ ไมโครโฟน และกล้องวีดโี อกอ่ น ทุกคร้ัง
และกดปุ่ม Join meeting เพ่ือเขา้ สู่ห้องอบรม

2.3 ตัวอยา่ งหน้าตาโปรแกรม Webex Meeting เมื่อเขา้ สูร่ ะบบสำเรจ็

คมู่ อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 27

2.4 เครื่องมือตา่ งๆ ของโปรแกรม Cisco Webex Meeting
ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 28

3. วธิ ีตดิ ตัง้ โปรแกรม Cisco Webex Meetings Mobile Application ระบบ IOS และ
Android

การติดตั้ง Application Cisco Webex บนระบบปฏิบัติการ IOS และ Android ให้เข้าไปที่
App store สำหรับ IOS และ Play store สำหรบั Android

3.1 ดาวน์โหลดตัวติดตั้งโปรแกรมโดยค้นหาคำว่า Webex จากนั้นจะปรากฏ App และ
ดำเนนิ การติดตั้ง

คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 29

3.2 ดาวน์โหลดและตดิ ตัง้ Application Cisco Webex Meeting
3.3 เม่ือติดตั้งเสร็จสมบรู ณ์ จะปรากฏแอพขนึ้ มา Cisco Webex Meeting ให้เลอื ก I Accept

ค่มู ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อิเล็กทรอนกิ ส์ 30

4. การเข้าร่วมใช้งาน Webex Meeting ผา่ นโทรศพั ท์
4.1 เขา้ Application Webex Meeting เลือก Join

คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 31

4.2 คลกิ ลงิ ค์ หรือ Copy link , Copy Meeting Numberกรอกในช่อง และ กด Join
4.3 ระบบจะถามหา Password กรอก Password ท่ีได้รบั คลิก OK

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอื่ อิเลก็ ทรอนิกส์ 32

4.4 เมอ่ื เข้าสู่ระบบ ผใู้ ช้งานต้องตรวจสอบการเชือ่ มต่อ ไมโครโฟน และกล้องวดี โี อกอ่ น ทกุ ครง้ั
และกดปุ่ม Join meeting เพื่อเข้าสู่ห้องอบรม

คมู่ อื ปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ล็กทรอนกิ ส์ 33

4.5 ตวั อย่างหนา้ ตาโปรแกรม Webex Meeting เม่ือเข้าสูร่ ะบบสำเร็จ
ค่มู ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 34

4.6 เคร่อื งมือตา่ งๆ ของโปรแกรม Cisco Webex Meeting
ค่มู ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 35

ภาคผนวก

ค่มู ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 36

1. พระราชกำหนด ว่าด้วยการประชมุ ผ่านสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. 2563
ค่มู ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ล็กทรอนกิ ส์ 37

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 38

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 39

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 40

2. ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ของการประชุมผา่ นสอื่ อิเลก็ ทรอนิกส์

คมู่ ือปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผ่านสอ่ื อเิ ล็กทรอนิกส์ 41

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 42

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 43

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 44

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 45

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 46

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 47

3. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรอ่ื ง การประชุมผา่ นสอื่ อิเล็กทรอนิกส์
ค่มู ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ 48

ค่มู อื ปฏบิ ตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 49

4. พระราชบัญญตั พิ ลงั งานนิวเคลยี ร์เพือ่ สนั ติ พ.ศ.๒๕๕๙ (เฉพาะมาตราทีเ่ ก่ยี วข้อง)
พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.๒๕๕๙ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5

สิงหาคม 2559 และมีผลบังคับใช้เมือ่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 หมวด 2 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพ่อื สันติ
กำหนดมาตรา 9 ถึง มาตรา 17 ดังน้ี

มาตรา 9 ใหม้ คี ณะกรรมการคณะหน่งึ เรียกวา่ “คณะกรรมการพลงั งานนวิ เคลียร์เพื่อสันต”ิ ประกอบดว้ ย
(1) นายกรัฐมนตรี เปน็ ประธานกรรมการ
(2) รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปจั จุบนั เปลยี่ นช่ือเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม) เป็นรองประธาน
(3) กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนสิบคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงต่างประเทศ
ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม ปลดั กระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ และเลขาธกิ ารสภาความมนั่ คงแห่งชาติ
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และ
ประสบการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์และรงั สีในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์
หรือนิติศาสตร์ จำนวนไมเ่ กนิ 6 คน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเปน็ กรรมการและเลขานุการ และเลขาธิการจะแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานจำนวนไม่เกิน
2 คนเปน็ ผูช้ ่วยเลขานกุ ารก็ได้

ภาพที่ 6 องคป์ ระกอบคณะกรรมการพลงั งานนิวเคลยี ร์เพ่ือสันติ

คมู่ ือปฏิบตั ิงานการประชมุ ผา่ นสอ่ื อเิ ล็กทรอนิกส์ 50


Click to View FlipBook Version