The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nunnapat Inratsapong, 2022-12-15 11:01:09

บุคคลสำคัญ

อีบุ๊ค

คำนำ

หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาประวัติศาสตร์
การศึกษาผลงานของบุคคลสำคัญของไทย เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องของ
ประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์สำคัญ วีรกรรม พระราชกรณียกิจโดยได้ศึกษา
ผ่านแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ ห้องสมุด และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ
โดยหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลสำคัญของไทยตั้งแต่สมัย
สุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ วีรกรรม พระราชกรณียกิจ และผลงาน

ผู้จัดทำคาดห
วังอย่างยิ่งว่าการจัดทำหนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ต่อผู้ที่สนใจศึกษาผลงานของบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยเป็นอย่างดี
หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5


Thai History

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระรามาธิบดีที่ 1

สมัยสุโขทัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 สมัยอยุธยา

สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พ่อขุนรามคำแหง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ l สมเด็จพระนารายฌ์มหาราช

ออกญาโกษาธิบดี

พระเจ้าตากสินมหาราช ลาลูแบร์

บาทหลวงปาล
ร.3 ร.2 หม่อมราโชทัย
เลอกัวซ์

หมอบรัดเลย์ สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จพระเจ้าบรมยา สมัยธนบุรี
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กรมหลวงวงศาธิราชสนิท บรมมหาศรีสุริยวงศ์ ร.1 สมัยรัตนโกสินทร์
ร.4
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ร.6 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ร.7 ร.9
สมเด็จพระเจ้าบรม กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มหิศรภักดี
วงศ์เธอกรมพระยาเท
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
วะวงศ์วโรปการฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบ
รมราชเทวี พระพันวัสสา

อัยยิกาเจ้า

ร.5 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พระยากัลยาณไมตรี ร.8 ร.10
ฟรานซิส บี. แซร์


พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

• พระราชประวัติ

ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1731 และเสด็จ
สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1811
พระนามเต็ม กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
พระนามเดิม "พ่อขุนบางกลางหาว"

ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง (อาณาจักรสุโขทัย)
ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 1781 ตราบจนเสด็จสวรรคต สำหรับ

พระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาว นั้นเป็นพระนามดั้งเดิม
เมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาว เป็นพระนามสมัย
เป็นเจ้าเมืองบางยาง โดยแท้จริงพระนามที่สองนั้น เป็นพระนามแบบ

ทางการตามอย่างราชประเพณีเขมร เป็นพระนามทรงใช้เมื่อเข้ารับ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระนาม "ศรีอินทราทิตย์" มีกล่าวไว้

อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุมว่า "ศรีอินทรบดินทราทิตย์"
ซึ่งเป็นพระนามเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินเขมรแต่โบราณสถาปนาให้

แก่พ่อขุนผาเมืององค์รัชทายาทผู้ครองเชลียงสุโขทัยในราชวงศ์
ศรีนาวนำถุม ต่อมาภายหลังพ่อขุนผาเมืองทรงยกให้แก่พระสหาย

พ่อขุนบางกลางหาวแทน


• พระราชกรณียกิจ

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมมือกับ

พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน

กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมือง

ศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง

ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบาง

กลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์"

ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้า

มาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลใน

เขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออก

ไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์

ศรีนาวนำถุมอยู่

ในกลางรัชสมัยทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้าง

กับขุนสามชน แต่ไพร่พลของพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า

"ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจแจ๋น"(หนี-ยอ-ย่าย-พ่าย-จอ-แจ้น)

ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก (รามราช) มีพระปรีชาสามารถ ได้ขับช้างแซง

ขึ้นไปชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่า

รามคำแหง

ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรง

เป็นผู้นำชาวสยามต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและ

ประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์

แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่า

ไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมี
พ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

• พระราชประวัติ

ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1780
เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
และนางเสือง โดยเป็นพระอนุชาร่วมสายเลือดกับ
พ่อขุนบานเมือง และเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1842

• พระราชกรณียกิจ

รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่ องฟูมาก
ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมี
ประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและ
การเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร
การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุง
สุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล

• ผลงานที่โดดเด่น

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826
พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถ
เขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและ
พยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้
เขียนและอ่านหนังสือไทยได้สะดวกมากขึ้น


พระมหาธรรมราชาที่ 1

• พระราชประวัติ

พญาลิไท หรือพระยาลิไท หรือพระศรีสุริยพงศ์

รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1
ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเลอไท
และเป็นพระนัดดาของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์พระร่วง ครองกรุงสุโขทัย
เมื่อ พ.ศ. 1890-1912 (1914) ก่อนขึ้นครองราชสมบัติทรงดำรง

ตำแหน่งอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 1883-1890

เมื่อพระยางั่วนำถุม พระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติ ณ กรุงสุโขทัย
ได้เสด็จสวรรคตได้เกิดการจราจลชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัยขึ้น
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงสามารถยกกองทัพมา
ปราบปรามศัตรูได้หมดสิ้น และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราช วงศ์พระร่วงเฉลิมพระนามว่า

ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านการเมืองการปกครอง ทรงรวบรวมราชอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน และขยายพระราชอำนาจออกไปได้เมืองระหว่างแควจำปา
สักกับแม่น้ำปิง จนจดแม่น้ำน่านทางทิศเหนือมาไว้ในราชอาณาจักรสุโขทัย


2 ด้านศาสนา พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงมีบทบาทสำคัญ

ในการทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ได้ส่งพระสงฆ์ออก

ไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ เช่น ที่เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก

อยุธยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระเจดีย์เมืองนครชุม

(กำแพงเพชร) พ.ศ. 1902 ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมน

กุฏ ซึ่งอยู่นอกเมืองสุโขทัย พ.ศ. 1904 โปรดให้สร้างวัดป่ามะม่วง

(สุโขทัย) พระองค์ทรงมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

มาก ได้ผนวชเป็นสามเณรในพระราชมณเฑียร และผนวชเป็นพระภิกษุที่

วัดป่ามะม่วง ในกรุงสุโขทัย ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย
มีขนาดเท่ากับองค์พระพุทธเจ้า ถวายพระนามว่า พระศรีศากยมุนี

ประดิษฐานที่พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย

3 ด้านภาษาและวรรณคดี พระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษา

และวรรณคดีเป็นพิเศษ ดังมี หลักฐานปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วง
ว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ.1888

ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย
หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้ ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

นับเป็นวรรณคดีไทยชั้นเยี่ยมเล่มแรกของไทย และทรงโปรดเกล้าฯ
ให้จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระองค์ลงในแผ่นศิลา โดยเฉพาะ

ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ 4 ซึ่งมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

ไทยในสมัยสุโขทัย และประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลกเป็นอย่างยิ่ง
พระราชกรณียกิจขณะทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก


โคลงภาพ "สร้างกรุงศรีอยุธยา"
เขียนโดย นายอิ้ม ในสมัยรัชกาลที่ 5
(ภาพจากหนังสือ"พระราชพงศาวดาร เล่ม 1 ฉบับพิมพ์ ร.ศ. 120
พ.ศ. 2444) โดยกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ)

พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก

เป็นเวลา 7 ปี ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก และพระราชวังขึ้นทางฝั่ ง

ตะวันตกของ แม่น้ำน่าน คือ พระราชวังจันทน์ ทรงสร้างปูชนียสถาน

และปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

วรมหาวิหาร หล่อพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดใน

ประเทศไทย พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำ

ต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พิษณุโลก จากพระราชกรณียกิจที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)

ได้ทรงกระทำแล้ว นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ทรงวาง

รากฐาน และสร้างความเจริญในจังหวัดพิษณุโลก


พระรามาธิบดีที่ 1

• พระราชประวัติ

เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1855 และ
เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.1912 มีพระนามเต็มว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร
เป็นพระปฐมบรมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา

• พระราชกรณียกิจ

1 การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา

เป็นราชธานีเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรง

กับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า
สมเด็จพระรามาธิบดี แล้วโปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของ

พระมเหสีเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปครองเมืองสุพรรณบุรี

ส่วนพระราเมศวร รัชทายาทให้ไปครองเมืองลพบุรี
2 การศาสนา
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่าง เช่น วัดพุทไธศวรรย์
(สร้างปี พ.ศ.1876) วัดป่าแก้ว (สร้างปี พ.ศ. 1900) และวัดพระราม
(สร้างปี พ.ศ.1912)
3 การสงครามกับสุโขทัย
รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 นั้นคาบเกี่บวกับรัชสมัยของ พระ
มหาธรรมราชาที่ 1 แห่งกรุงสุโขทัย เป็นช่วงที่สุโขทัยมิอาจต้านทานความ
แข็งแกร่งของอยุธยาได้ สุดท้ายพระมหาธรรมราชาลิไทก็ได้เจรจา
ประนีประนอมยอมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคู่กับสุโขทัย และทั้งสอง
นครนี้ก็เป็นไมตรีต่อกันมาจนตลอดรัชกาลของพระองค์


4 การสงครามกับเขมร
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่น
แคว้นต่าง ๆ มากมาย แม้กระทั่ง 'ขอม' ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่ง
กษัตริย์ขอมสวรรคต พระราชโอรสนาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครอง
ราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระ
รามาธิบดีที่ 1 จึงให้สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีกัมพูชา และให้สมเด็จ
พระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพไปช่วย จึงสามารถตี
เมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์สวรรคตในศึกครั้งนี้ สมเด็จ
พระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง ปาสัต พระราชโอรสของพระบรมลำ
พงศ์เป็นกษัตริย์ขอม

5 ตรากฎหมาย
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงประกาศใช้กฎหมายถึง 10 ฉบับ
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่
* พระราชบัญญัติลักษณะพยาน
* พระราชบัญญัติลักษณะอาญาหลวง
* พระราชบัญญัติลักษณะรับฟ้อง เป็นต้น

6 การค้าขาย และสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
ในด้านไมตรีกับต่างประเทศในสมัยเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น ได้ค้าขาย
กับจีน แขก จาม ชวา มลายู อินเดีย เปอร์เซีย และ ลังกากันมานานแล้ว

สำหรับการค้าขายกับจีนนั้น ราชวงศ์อู่ทองของไทย ตรงกับราชวงศ์หมิง
ของจีน 'พระเจ้าหงอู่' แห่งราชวงศ์หมิง เมื่อทราบว่ากรุงศรีอยุธยาตั้ง
เป็นอิสรภาพก็แต่งให้ หลุย จงจุ่น เป็นราชทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
ถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงแต่งให้ราชทูตออกไปเมืองจีนพร้อมกับ
ราชทูตจีน เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในคราวนั้นด้วย


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

• พระราชประวัติ

เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1974 และเสด็จ

สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2031
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นพระมหา

กษัตริย์อยุธยาลำดับที่ 8 เป็นพระราชโอรสของ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งราชวงศ์พระร่วง พระองค์
ประทับอยู่กรุงศรีอยุธยาประมาณ 20 ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมือง
พิษณุโลกตลอดรัชกาล พระองค์ทรงครองราชย์ 40 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเวลา
นานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ แห่งอาณากรุง
ศรีอยุธยา

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านการเมืองการปกครอง
พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่าย
พลเรือนออกจากกัน ให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือนรวมทั้งจตุสดมภ์ใน
ราชธานีและสมุหกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งหัวเมือง
ออกเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก เพื่อประโยชน์สำหรับการ
ปกครองหัวเมืองให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น มีการแบ่งหัวเมืองขนาดเล็กตามความ
สำคัญ คือ หัวเมืองเอก โท ตรี และจัตวา นอกจากนั้นยังแบ่งกาปกครอง
หัวเมืองหนึ่ง ๆ ออกเป็นแขวง ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อสะดวกในการกำกับ
ดูแลควบคุมกำลังคน


1.1 กฎมณเฑียรบาล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2001 พระองค์ทรงตั้งกฎหมายมณเฑียรบาลขึ้น
ซึ่งเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็น 3 แผน คือ
พระตำราว่าด้วยแบบแผนพระราชพิธีต่าง ๆ
พระธรรมนูญว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ
พระราชกำหนดเป็นข้อบังคับสำหรับพระราชสำนัก

1.2 ตราพระราชกำหนดศักดินา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นเป็นกฎ
เกณฑ์ของสังคม ทำให้มีการแบ่งประชากรออกเป็นหลายชนชั้น ศักดินา
เป็นความพยายามจัดระเบียบการปกครองให้มีความรัดกุมมากขึ้น อันเป็น
หลักที่เรียกว่า “การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง”
มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับต่ำสุดไปสูงสุด
คือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนด
ศักดินาเพื่อเป็นคำตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์
กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

2 ด้านวรรณกรรม
พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือ
มหาชาติคำหลวง ซึ่งนับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรก
ของกรุงศรีอยุธยาและใช้ในแนวทางการศึกษาภาษาและวรรณคดีของไทย
นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย


สมเด็จพระสุริโยทัย

• พระราชประวัติ

เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2054
เสด็จสวรรคตเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2091
พระสุริโยทัย หรือคำให้การชาวกรุงเก่าออก

พระนามว่าพระมหาเทวี

เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่
15 ของอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีพระราชโอรสและ
พระราชธิดารวมพระองค์เท่าที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ คือ พระราเมศวร
พระมหินทราราธิราช พระวิสุทธิกษัตริย์ พระเทพกษัตริย์ พระสุริโยทัย
ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละ
พระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ในปี
พ.ศ. 2092 จึงได้รับยกย่องเป็นวีรสตรี

สมเด็จพระสุริโยทัย (กลาง) ไสช้างเข้า
ขวางช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
(ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร
(ซ้าย) ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้

(จิตรกรรมประกอบโคลงพระราชพงศาวดาร ฝีพระหัตถ์สมเด็จ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)


• วีรกรรมที่สำคัญ

หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานนัก
พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ทราบข่าวการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ จึงคิด
จะเข้ามาโจมตี เพราะคิดว่าทางกรุงศรีอยุธยาคงยังไม่ทันตั้งตัว และ
กองทัพคงไม่เข้มแข็งพอ พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ได้คุมกำลังพล
ประมาณ 3 แสนคน ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์

เมื่อเห็นพม่ายกทัพใหญ่เข้ามา สมเด็จพระมหมาจักรพรรดิได้ออกไป
ตั้งทัพรอข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทองและด้วยความเป็นห่วงพระสวามีและรู้ว่าศึก
ครั้งนี้คงใหญ่หลวงนักเพราะทางฝ่ายพม่ามีกำลังมากกว่า สมเด็จพระศรีสุริ
โยทัยจึงปลอมพระองค์เป็นชายโดยมีพระราเมศวรและพระมหินทราธิราช
พระราชโอรสตามเสด็จไปในกองทัพครั้งนี้ด้วย พระเจ้าแปรแม่ทัพฝ่ายพม่า
ซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งมะขามหย่องได้ล่อให้กองทัพของไทยเข้ามาในวงล้อมแล้ว
ซุ่มโจมตีจนกองทัพไทยแตกกระเจิงไม่เป็นขบวนในขณะเดียวกันพระเจ้า
แปรเห็นว่ากำลังได้เปรียบ จึงไสช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์อย่าง
กระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัยเห็นพระสวามีเสียทีแก่ข้าศึกเกรงว่าพระ
สวามีจะได้รับอันตราย ด้วยพระน้ำทัยที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ และด้วยความ
รักจึงรีบไสช้างพระที่นั่งเข้าไปขวางศัตรูอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะเดียวกับที่
พระเจ้าแปรใช้พระแสงของ้าวฟันถูกพระอังสะขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์
บนคอช้าง

พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสได้ฝ่วงล้อมของ
ทหารพม่าเข้าไป ช่วยกันนำพระศพของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ออกจาก
สนามรบกลับสู่พระนคร แล้วอัญเชิญพระศพไปไว้ที่ตำบลสวนหลวง เขตวัด
สบสวรรค์ซึ่งอยู่ในเขตพระราชวังหลัง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วถวายพระ
เพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย อย่างสมเกียรติสมเด็จพระมหาจักรพร
รดิ์เสียพระทัยมาก จึงโปรดฯ ให้จัดสร้างเจดีย์ศรีสุริโยทัยซึ่งเป็นพระเจดีย์
ย่อเหลี่ยมไม้สิบสององค์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมแห่งความกล้า
หาญและความจงรักภักดี ณ ตรงที่พระราชทานเพลิงศพ ในพระเจดีย์แห่ง
นี้ได้บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยไว้


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

• พระราชประวัติ

เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิม

ว่า พระนเรศ หรือ “พระองค์ดำ”

เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตรีย์

มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรช

(องค์ขาว) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133
ครองราชสมบัติ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านความมั่นคง พระองค์ได้ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา

และการทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี ใน

การประกาศอิสรภาพนั้น สืบเนื่องมาจากกรุงศรีอุยธยาได้ตกเป็น

ประเทศราชของกรุงหงสาวดีตั้งแต่ พ.ศ. 2112 ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่ง

พระนเรศวรขณะดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชคุมกองทัพไปช่วยพระเจ้า

นันทบุเรงปราบปรามเมืองอังวะ แต่มิได้ยกทัพไปตามเวลา ทำให้พระเจ้า

นันทบุเรงทรงระแวงว่าอยุธยาจะแข็งข้อ จึงโปรดให้พระมหาอุปราชาคิด

อุบายกำจัดพระนเรศวร พระมหาอุปราชาจึงให้พระยาเกียรติและพระยา
ราม ไปเป็นข้าหลวงไปคอยรับพระนเรศวรและได้ตรัสเป็นความลับให้

มอญทั้งสองว่าให้หาทางจำกัดพระนเรศวร ขณะที่พระมหาอุปราชาจะยก

ทัพไปตีทัพพระนเรศวรที่เสด็จไปถึงเมืองแครง แต่พระนเรศวรทรงทราบ

แผนเสียก่อน จึงทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาไม่ขึ้นต่อกรุงหง

สาวดีอีกต่อไปที่เมืองแครงในปี พ.ศ. 2127


2 ด้านเศรษฐกิจ
นอกจากมีพระปรีชาสามารถด้านการรบแล้ว ยังมีพระปรีชาสามารถด้าน

การค้าและการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจอีกด้วย
โดยพระองค์ได้ทำการค้ากับตะวันออก โดยเฉพาะจีน ถึงแม้ว่าในช่วง
รัชสมัยของพระองค์จะมีแต่การรบเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่เป็นรากฐาน

สำคัญของการรบแต่ละครั้งก็คือรายได้ที่เกิดจากการค้าโดยเฉพาะกับจีน

ภายใต้ระบบบรรณาการ

นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงทำการค้ากับประเทศตะวันตก ในสมัยนั้นมี

การค้ากับชาวต่างชาติ อาทิ สเปน สเปนได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี

ทางการค้ากับไทย โดยพยายามเผยแพร่ศาสนาและทำการค้าในแดนที่

ชาวโปรตุเกสเคยติดต่อด้วย นอกจากสเปนแล้ว ในช่วงปลายรัชสมัย ได้

มีการติดต่อค้าขายกับฮอลันดา โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา

(Vereenigde Oost-Indische Compagnie: V.O.C.) เข้ามาเมือง

ไทยโดยหวังอาศัยเรือสำเภาของหลวงราชสำนักไปค้าขายที่เมืองจีน ใน

เดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2147 พ่อค้าฮอลันดากลุ่มแรกเดินทางมากรุง

ศรีอยุธยา ได้นำปืนใหญ่มา 2 กระบอกมาเป็นเครื่องราชบรรณาการ

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

• พระราชประวัติ

เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2175
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
เป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง
พระราชมารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้า

ทรงธรรม

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกประสูตินั้น พระญาติเห็น

พระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า
"พระนารายณ์" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด
เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง

ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์

สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราช

ระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้ง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านการทหาร
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อย
ใหญ่ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน
ส่วนศึกกับพม่าแม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนือง
กิจการของกองทัพนับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนารายณ์เองก็
ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติสำหรับ
กิจการของกองทัพด้วย


2 ด้านการต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีก

ครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ
เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติ
เข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึง
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมหุนายก
ขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนัก

ฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกันผู้ที่เขียนเกี่ยวกับ

กรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว

และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการ

3 ด้านวรรณกรรม
ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐาน
ว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วน
ตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน
สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎี
อาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู
โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุน
เทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชน
ทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2203 เป็นต้น ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มี
หนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคล
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ
หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของ
ประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น


ออกญาโกษาธิบดี /ปาน

(ขุนนาง)

• พระราชประวัติ

ทรงพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2176
และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2243
ปานเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต
พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและ
เป็นน้องชายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก)

ซึ่งดำรงตำแหน่งพระคลังระหว่าง พ.ศ. 2200-2226 ได้บรรดาศักดิ์ออก
พระวิสุทธสุนทร และได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ
ฝรั่งเศส

ในสมัยดังกล่าว ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก
จุดประสงค์ของฝรั่งเศสคือเผยแพร่คริสต์ศาสนาและพยายามให้
พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสตชน รวมทั้งพยายามมีอำนาจทางการเมือง
ในอยุธยาด้วยการเจรจา ขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมืองบางกอกและ
เมืองมะริด
คณะทูตไปฝรั่งเศสดังกล่าว ประกอบด้วย ปาน เป็นราชทูต
ออกหลวงกัลยาราชไมตรีเป็นอุปทูต และออกขุนศรีวิสารวาจาเป็นตรีทูต
พร้อมทั้งบาทหลวงเดอ ลีออง และผู้ติดตาม รวมกว่า 40 คน ออกเดิน
ทางจากกรุงศรีอยุธยาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้า
หลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 ณ พระราชวังแวร์ซาย
และเดินทางกลับเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2230


ปานเป็นนักการทูตที่สุขุม ไม่พูดมาก ละเอียดละออในการจดบันทึกสิ่งที่-
พบเห็นในการเดินทาง ในการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะทูตอยุธยา
ได้รับการยกย่องชื่นชมจากชาวฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่
พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายตะวันออกแต่งทูตไปยังฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ทรงรับรองคณะทูตอย่างสมเกียรติยศ โปรดให้ทำเหรียญที่ระลึก
และเขียนรูปเหตุการณ์เอาไว้

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231
หลังกลับกรุงศรีอยุธยา ปานถูก
กดดันให้เข้ากลุ่มต่อต้านฝรั่งเศสของ
พระเพทราชาซึ่งประกอบด้วยขุนนาง
ที่ไม่พอใจฝรั่งเศสที่มีอำนาจมากใน
กรุงศรีอยุธยา การยึดอำนาจที่เกิดขึ้นในเวลา
ต่อมาส่งผลให้สมเด็จพระนารายณ์พ้นจากราชบัลลังก์และ
ขับไล่ทหารฝรั่งเศสซึ่งปานได้รับการส่งให้ไปเจรจาด้วย
จากนั้นปานจึงได้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง

เหรียญที่ระลึกเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ถือเป็นเหรียญที่ระลึกแรกในประวัติศาสตร์ไทย
โดยเหรียญด้านหนึ่งเป็นรูปพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และอีกด้านหนึ่งเป็นรูป
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตไทยเข้าเฝ้า พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ตราประทับของเจ้าพระยาโกษาธิบดี ขณะมี
บรรดาศักดิ์เป็นออกพระวิสุทธสุนธร


ลาลูแบร์

(ขุนนางชาวต่างชาติ)

• พระราชประวัติ

เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2185 และเสียชีวิตเมื่อ
26 มีนาคม 2272 ชื่อเต็ม ซีมง เดอ ลา ลูแบร์

(Simon de La Loubère)

เป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้เดินทางมาประเทศไทย
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดย
เดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และทหาร
ของฝรั่งเศสจำนวนประมาณ 600 คน

ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับโกลด เซเบอแร ดูว์
บูแล (Claude Céberet du Boullay) เดินทางมาอยุธยาเพื่อเจรจา
เรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยา

เมื่อ พ.ศ. 2230 ในการเจรจานั้นอยุธยาไม่สู้จักยินยอมรับข้อเสนอของ
ฝรั่งเศส ทำให้เสียเวลาในการเจรจาหลายสัปดาห์ ในที่สุดฝ่ายไทยก็ยินยอม
รับข้อเสนอตามความประสงค์ของฝรั่งเศสและทั้งสองฝ่ายได้ลงนาม
ในสัญญาการค้าที่เมืองลพบุรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม


นอกจากจะเป็นหัวหน้าคณะทูตจากฝรั่งเศสแล้ว เดอ ลา ลูแบร์ ยังได้
รับคำสั่งให้สังเกตเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยาและบันทึก
ข้อสังเกตทั้งหลายเหล่านั้นกลับไปรายงานให้ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์
ที่ 14 ได้รับทราบด้วยจดหมายเหตุเหล่านี้ได้กลายเป็นหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อแวดวงวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
เพราะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่า
เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร

• ผลงาน

1.Du Royaume de Siam, 1691
2.Traité de l'origine des jeux floraux de Toulouse (1715)
3.De la Résolution des équations, ou de l'Extraction de leurs racines, 1732


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

• พระราชประวัติ

เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277
มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน

เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และ

เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักร

ธนบุรี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325
เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่
นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

• พระราชกรณียกิจ

ในปี พ.ศ.2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองพระองค์ได้เป็นผู้นำ

ขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้

ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีก 7 เดือนถัดมา โดยพระองค์

ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่างๆ

ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออก

ไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังทรงฟื้ นฟูราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ

ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทั้งส่งเสริมกิจการด้านเศรษฐกิจ

ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา พระองค์ยังได้ขยาย

อาณาเขตโดยตีเวียงจันทน์ได้และอัญเชิญพระแก้วมรกตมา ประดิษฐานไว้

ที่เมืองหลวง ทรงทำนุบำรุงศาสนาและทรงส่งเสริมให้คนแต่งหนังสือ

ต่างๆ ขึ้น เพราะหนังสือตำราอันมีค่าถูกพม่าเผาไปเกือบหมด
ทรงเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรเป็นอย่างดีแม้ว่าจะต้องทำสงคราม

กับพม่าภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น

"วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช


• เหตุการณ์สำคัญ

1.การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่า
2.- พระยาวชิรปราการ (สิน) หรือเจ้าตาก ทรงกอบกู้เอกราชกลับ

คืนมาได้ภายในเวลา 7 เดือน และทรง ประกาศอิสรภาพหลังจากที่
รบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
3.- การสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เป็นเมืองหลวง
4.- การรบกับพม่าที่ยกมาตีไทยที่บางกุ้ง (เมืองสมุทรสงคราม)

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
เมื่อพระชนมพรรษา 48 พรรษา หลังถูกสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ซึ่งเป็นพระสหายสำเร็จโทษ และสืบราชสมบัติต่อเป็นต้นราชวงศ์จักรี
ในปัจจุบัน รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี
พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 30 พระองค์
พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของชาติไทยที่ประชาชนรู้จักดีและเป็นที่เคารพ

สักการะมากที่สุดพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสรณ์ของ

พระองค์มีประดิษฐานมากที่สุด


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช ร.1

• พระราชประวัติ

พระบรมราชสมภพเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ.2280
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352

พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอด-
ฟ้าจุฬาโลก ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา
(หยก) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 1 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
พระองค์ทรงได้ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
และพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิม
มายังตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมพระราชทานนาม ซึ่งเรียก
อย่างสังเขปว่า "กรุงเทพมหานคร"

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านศาสนา
1.1) โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทอง
ประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

2 ด้านวรรณคดีและศิลปกรรม
2.1) ทรงฟื้ นฟูวรรณคดีไทยตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

2.2) ทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์กวีในราชสำนัก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่าง
ฝีมือด้านต่าง ๆ มีงานทำและได้ผลิตงานฝีมือชิ้นเอก


3 ด้านการเมืองการปกครอง
3.1) ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานีแห่ง
ใหม่
3.2) โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระกฎหมายให้ยุกติธรรม เรียกว่า "กฎหมายตรา
สามดวง" เพราะประทับตราสำคัญ 3 ดวง ได้แก่ ตราราชสีห์ของ
สมุหนายก ตราคชสีห์ของสมุหพระกลาโหม และตราบัวแก้วของกรมท่า
3.3) ทรงให้ขุดคลองรอบกรุง ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหมือนเกาะที่มี
แม่น้ำล้อมรอบเหมือกับกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งสร้างกำแพงพระนครและ
ป้อมปราการไว้โดยรอบ
3.4) ทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามเก้าทัพกับพม่า

อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราช


หม่อมราโชทัย

หม่อมราชวงค์กระต่าย อิศรางกูร
(ขุนนาง)

• พระราชประวัติ

พระราชสมภพเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ.2363
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2410

ชื่อเล่น : คุณชายกระต่าย เป็นบุตรของพระวงศ์เธอกรมหมื่นเทวานุ
รักษ์ เป็นพระนัดดาของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุ
รักษ์ และเป็นพระปนัดดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากรมพระศรี
สุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช

เกิดตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ
เจริญวัย บิดาได้นำไปถวายตัวอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวา
วงศ์พงศาอิศวรกระษัตริย์ขัตติยราชกุมาร เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎผนวช
หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปรับใช้ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรง
สนพระราชหฤทัยในภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษา
ตามพระราชนิยมโดยมีมิชชันนารีที่เข้ามาสอนศาสนาเป็นผู้สอน จนได้
ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีจนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงใช้ให้เป็นตัวแทน
เชิญกระแสรับสั่งไปพูดจากับชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี


ครั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ติดตามสมัครเข้ารับ
ราชการความสามารถของหม่อมราชวงศ์กระต่ายที่ช่วยราชกิจได้ดี จึงได้
รับพระราชทานเลื่อนอิสริยยศเป็น "หม่อมราโชทัย" และด้วยความรู้ใน
ภาษาอังกฤษดี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง
โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยเป็นล่ามหลวงไปกับคณะราชทูตไทยที่เชิญ
พระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการ เดินทางไปถวาย สมเด็จ
พระราชินีนาถวิกตอเรีย การเดินทางไปในครั้งนั้นเป็นที่มาของหนังสือ
นิราศเมืองลอนดอน ซึ่งแต่งหลังจากเดินทางกลับได้ 2 ปี ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
หม่อมราโชทัยขึ้นเป็นอธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรกของ
ไทย

นิราศลอนดอน ของ หม่อมราโชทัย


สมเด็จพระเจ้าบรมยาบรม
มหาศรีสุริยวงศ์

• พระราชประวัติ

เกิดเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2351
และถึงแก่พิราลัยในวันที่ 19
มกราคม พ.ศ. 2425

เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็น
บุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
กับท่านผู้หญิงจันทร์

ท่านเป็นผู้สนใจศึกษาวิชาการของชาวตะวันตก เนื่องจากอังกฤษและ
ฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่โลกตะวันออกและประชิดเขตแดนสยามมาก
ขึ้น หากไม่ปรับตัวให้รู้เท่าทันฝรั่ง สยามอาจถูกยึดครองเป็นอาณานิคม
ได้ ซึ่งส่งผลให้ท่านได้รับเลือกจากที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุ
วงศ์ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

• พระราชกรณียกิจ

1 การติดต่อกับต่างประเทศ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีบทบาทสำคัญในการติดต่อและ
ต้อนรับชาวต่างประเทศและคณะทูต และเป็นกำลังสำคัญในการเจรจา
แก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี ในรัชกาลที่ 3 เจรจาสำเร็จลงด้วยความรวดเร็ว
และเรียบร้อย สุดท้ายจึงมีการลงนามสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ฉบับ
ใหม่ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398


แถวหน้า : กรมหลวงวงศาธิราชสนิท,
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์,
Eulenbourg ราชทูตปรัสเซีย
แถวหลัง : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ
บุนนาค), เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุญยรัต
พันธุ์), ไม่ทราบนาม

2 การทหาร
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ทำงานด้านการทหารมาตั้งแต่รัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
แต่งตั้งให้ท่านควบคุมบังคับบัญชาจัดตั้งขึ้น เรียกว่า “ทหารอย่าง
ยุโรป” ต่อเนื่องจนในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับ
มอบหมายให้จัดเลกหมู่ทหารฝึกหัดยุทธวิธีแบบตะวันตกเพิ่มขึ้น

3 การก่อสร้างและการบำรุงการคมนาคม (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้บริจาค ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างประภาคารสันดอน แต่งกายชุดนายทหารชั้นสูง
ปากน้ำเจ้าพระยา เป็นประโยชน์อย่างมากใน
ด้านการเดินเรือ นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการ อย่างเก่า)
โปรดเกล้าฯ เป็นแม่กองในการก่อสร้างและ
บูรณะสถานที่ การขุดคลองและก่อสร้างถนน
ต่าง ๆ เพื่อการคมนาคม


(คลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาศรีสุริยวงศ์เป็นแม่กองในการขุด)

4 การบำรุงวรรณกรรม การละครและดนตรี
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มักจัดให้มีนักปราชญ์จีน แปล
พงศาวดารจีนออกเป็นภาษาสยาม โดยงานที่ท่านจัดให้มีการแปลมี
ทั้งหมด 19 เรื่อง เช่น ไซจิ๋น ตั้งจิ๋น น่ำซ้อง ซ้องกั๋ง หนำอิดซือ และ
เม่งฮวดเชงฌ้อ นอกจากวรรณกรรมจีนแล้ว ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม
สยาม เช่น พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เรื่อง อิเหนา เผยแพร่ให้สามัญชนทั่วไปได้อ่านกันมากขึ้น ทั้งท่านได้ส่ง
เสริมโดยการหาครูละครและดนตรีมาฝึกคณะละครของท่านจนได้ชื่อว่า
เป็นหนึ่งในสมัยนั้น


พระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย ร.2

• พระราชประวัติ

พระบรมราชสมภพเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2311
เสด็จสวรรคตเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367

พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศ-
หล้านภาลัย ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ประสูติแต่ท่านผู้หญิงนาค (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 2 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เมื่อเจริญ
พระชนม์ได้ทรงศึกษาในสำนักพระพนรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางว้าใหญ่
และได้ติดตามสมเด็จพระบรมชนกนาถไปในการสงครามทุกครั้ง ในปี
พ.ศ. 2349 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถปราบดาภิเษกแล้ว ถึง 15
มีนาคม พ.ศ. 2350 จึงได้รับอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวร
สถานมงคล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชา
สามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา อาทิ ด้านกวิพนธ์ ด้าน
ประติมากรรม ด้านดนตรี

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านการปกครอง
1.1) ยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม กล่าวคือ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่มีการตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้าดูแล
บริหารงานราชการตามหน่วยงานต่าง ๆ ส่วน
1.2) โปรดเกล้าฯ กำหนดกฎหมายใหม่ขึ้นให้เอื้อประโยชน์แก่ประชาชเลห
ได้แก่ พระราชกำหนดสักเลก เปลี่ยนเป็นปีละ 3 เดือน ทำให้ไพร่สามารถ
ประกอบอาชีพได้ และกฎหมายที่สำคัญ คือ กฎหมายห้ามซื้อขายสูบฝิ่ น


2 ด้านเศรษฐกิจ
2.1) รวบรวมรายได้จาการค้ากับต่างประเทศ และเรียกเก็ภาษีอากรโดย
การเดินสวนและการเดินนาสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร เพื่อคิด
อัตราเสียภาษีอากรที่ถูกต้อง

งานประพันธ์ของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

(พระบรมวงศานุวงศ์)

• พระราชประวัติ

ประสูติเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351
สิ้นพระชนม์เมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ ทรงได้รับ
การถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ทั้งอักขรวิธีภาษาไทย อักษร
เขมร และภาษาบาลี รวมทั้งวรรณคดี วิชาโบราณคดีและราชประเพณี
และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีชาวอเมริกัน ต่อมาท
รงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
กำกับกรมหมอหลวง เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่
เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย

• พระราชกรณียกิจ

1.) ทรงพระนิพนธ์นิราศพระประธม เพลงยาวสามชาย เพลงยาวกลบท
สิงโตเล่นหาง พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตามพ
ระราชบัญชาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หนังสือจินดามณี
ฉบับพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท หรือ
ประถมจินดามณี เล่ม 2


2.) ได้ทรงแต่งตำราสรรพคุณยาสมุนไพรไทย จำนวน 166 ชนิด เป็น
ตำราสมุนไพรเล่มแรกของไทยที่เขียนแบบเอกสารทางวิชาการ แจกแจง
และวิเคราะห์ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
3.) ทรงเป็นประธานในการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีจิตและ
พาณิชย์ระหว่างอังกฤษกับไทยในช่วงที่บ้านเมืองกำลังเผชิญปัญหาการ
คุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก

ตำราสรรพคุณยาของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท


พระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัว ร.3

• พระราชประวัติ

พระบรมราชสมภพเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331
เสด็จสวรรคตเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394

พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 3 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เมื่อครั้งที่ทรง
กำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุก
สินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอัน
มาก เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด
ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ ทรงรอบรู้กิจการบ้าน
เมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึง
พร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3

• พระราชกรณียกิจ

1 ด้านการปกครอง
1.1) ป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์
แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้
เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม
1.2) พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้
รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมร


2 ด้านเศรษฐกิจ
2.1) พระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย
คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมือง

อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


บาทหลวงปาลเลอกัวซ์

(ขุนนาง)

• พระราชประวัติ

ทรงพระราชสมภพ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2348
เสด็จสวรรคต 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ( Jean-Baptiste Pallegoix ) หรือที่รู้จักใน
นามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัช
สมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ถึงพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก
และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุสและนอกจากนี้ท่านยังจัด
ทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท
โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และ
ภาษาละติน
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดที่เมืองโกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่ออายุ
ได้ 23 ปี ได้ตัดสินใจบวชเป็นบาทหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.
2371 ที่เซมินารีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จากนั้นท่าน
ก็ได้รับมอบหมายให้ไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ที่อาณาจักรสยาม ได้ออกเดิน
ทางเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงสยามเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2372
ในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ท่านได้รับตำแหน่งอธิการวัดคอนเซ็ปชัญได้ปรับปรุง
โบสถ์แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๑๗ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
มหาราชโบสถ์ถูกทิ้งร้างมานาน จึงย้ายไปอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ.
๒๓๘๑


จนปี พ.ศ. 2378 พระคุณเจ้าได้ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้ง
ท่านเป็นอุปมุขนายก (Vicar general) ให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่
ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์ เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนัก
ให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม
(Coadjutor Vicar Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381 พร้อมทั้ง
ดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส เมื่อมีการแบ่งมิสซัง
สยามออกเป็นสองมิสซัง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยาม
ตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2384 จากนั้น หลุยส์
ลาร์นอดี เดินทางเข้ามาสยาม เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388
พร้อมกับนำกล้องถ่ายรูปที่พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์สั่งซื้อมาจากปารีส
มาด้วย

การศึกษาท่านได้เรียนภาษาไทยและภาษาบาลี มีความรู้ในภาษาทั้ง
สองเป็นอย่างดีจนสามารถแต่งหนังสือได้หลายเล่ม นอกจากนั้นท่านมี
ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์
เคมี และดาราศาสตร์ มีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูปและ
ชุบโลหะ บุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้กับท่าน ท่านได้
สร้างตึกทำเป็นโรงพิมพ์ภายในโบสถ์คอนเซ็ปชัญจัดพิมพ์หนังสือสวด


การทำงาน
สังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2397
ช่วงต้นรัชกาลที่ 4 หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี และ
เป็นผู้นำพระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวาย
สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราช
ปัลเลอกัวซ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้น 3 เล่ม คือ

เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam)
เขียนขึ้นจากความทรงจำ บันทึก และอ้างอิงจากพงศาวดาร เกี่ยวกับ

ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ของชาว
ไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามมุมมองของพระสังฆราชชาวฝรั่งเศสผู้
ประกาศศาสนาคริสต์ในประเทศสยาม

สัพะ พะจะนะ พาสา ไท (พจนานุกรมสี่ภาษา)
ในหนังสือประกอบด้วยคำจำกัดความในศัพท์ภาษาไทยเป็นภาษาละติน

ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ ในจำนวนคำศัพท์ทั้งสิ้น 32,292 คำ
พร้อมตัวอย่างการใช้ศัพท์ ผู้รู้ทางภาษาและพจนานุกรม เช่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพุธ โสภวงศ์ และศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ
นคร ให้ความเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นพจนานุกรมที่เรียบร้อยเป็นแบบ
อย่างของการทำพจนานุกร

ไวยากรณ์ภาษาไทย (Grammatica linguoe Thai)
หนังสือเล่มนี้ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกในด้านภาษาแก่คณะ

บาทหลวงชาวฝรั่งเศสในกรุงสยามพิมพ์ที่โรงพิมพ์โรงเรียนอัสสัมชัญใน
กรุงเทพฯ เมื่อ ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) นับเป็นพจนานุกรมฉบับแรก
ของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์แทนการเขียนด้วยลายมือเหมือนอย่างก่อนพระ
สังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ
พ.ศ. 2388 โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส
ฝากกับาทหลวงลาร์นอดี (L'abbe Larnaudie) เดินทางมาถึง
ประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388


ดร. แดน บีช บรัดเลย์

(ขุนนาง)

• พระราชประวัติ

เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347
เสียชีวิตเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2416

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley) เป็น
นายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในกรุงรัตนโกสินทร์
และได้เป็นผู้ริเริ่มทำให้เกิดเป็นงานพิมพ์ครั้งแรกในสยามและการรักษา
ผู้คนจากไข้ทรพิษและฝีดาษโดนการปลูกฝีนั้นเอง โดยเริ่มแรกนั้นได้
ศึกษาวิชาแพทย์เพราะในสมัยนั้นต้องการมิชชันนารีเป็นอย่างมากหมอบ
รดเลย์จึงได้กลายเป็นแพทย์มิสชันนารีในคณะมิสชันนารี

การผ่าตัดครั้งแรกในสยาม หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญใน
ประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง
เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2380 พระภิกษุรูปนั้นประสบอุบัติเหตุจาก
กระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตก ในงานฉลองที่วัดประยุรวงศ์ ซึ่งประสบ
ความสำเร็จดีจนเป็นที่เลื่องลือ

หมอบรัดเลย์ได้ทำการรักษาคนไข้จนมีชื่อเสียง ส่วนภรรยาเอมิลี เข้าไป
เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในวัง ค่าใช้จ่ายเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีใคร
สนับสนุน หมอจึงหางานเสริมมาเลี้ยงครอบครัว จนหน่วยงานด้าน
กิจการศาสนาในอเมริกา ขอยุติการสนับสนุนภารกิจของมิชชันนารีใน
สยาม และขอให้ยกทีมเดินทางกลับอเมริกา ส่วนหมอบรัดเลย์กำลัง
หมดตัว แต่คณะมิชชันนารีได้ทิ้งเครื่องพิมพ์ไว้ให้ จนหมอหันมาทุ่มเท
ด้านการพิมพ์ จนประดิษฐ์อักษรไทยสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2395 และได้ทุน
รับจ้างพิมพ์จากทางราชการสยาม


หนังสือพิมพ์บางกอกรีกอเดอบรัดเลย์ถือเป็นผู้บุกเบิกงานพิมพ์ใน
ประเทศไทย ภูมิหลังน่าจะได้มาจากบิดาซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือ และ
การสนใจในวรรณคดีแต่เด็ก การพิมพ์ในยุคแรกของเขามุ่งเน้นเรื่องทาง
ศาสนา โดยได้แปลและพิมพ์หนังสือ ใบปลิวที่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็น
จำนวนมาก โดยไม่ยอมพิมพ์หนังสือเรื่องทางโลกอื่น ๆ ยกเว้นเรื่อง
ทางการแพทย์และเอกสารของราชการ เนื่องจากได้พัฒนาอักษรและแท่น
พิมพ์ให้เหมาะสม ทำให้ราชสำนักสยามว่าจ้างให้ตีพิมพ์เอกสารประกาศ
ของราชการ และเขาเป็นผู้ริเริ่มการพิมพ์หนังสือพิมพ์ในแนวจดหมายเหตุ
ที่ชื่อ บางกอกรีคอเดอ ถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก
ฉบับแรกออกเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 เป็นเอกสารชั้นต้นซึ่งบันทึก
ข่าวสารเหตุการณ์สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื้อหาในแต่ละ
ฉบับมีข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการ
สาธารณสุข ตลอดจนให้ข้อมูลสินค้าของสยามและต่างประเทศ คำศัพท์
สำนวนภาษาอังกฤษ พงศาวดารต่างชาติ ฯลฯ หมอบรัดเลย์นำเสนอ
ข่าวสารอย่างกล้าหาญและรักความเป็นธรรม


ผลงานการตีพิมพ์
ผลงานการตีพิมพ์ของบรัดเลย์ที่ออกมาเป็นรูปเล่ม โดยหนังสือเรื่องแรก
ที่พิมพ์แต่ยังไม่ออกเป็นรูปเล่ม คือ พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์
หนังสือต่าง ๆ เหล่านี้พิมพ์เป็นภาษาไทย
ค.ศ. 1837 - การสร้างโลก, ประวัติพระคริสต์, ลักษณะและพระบัญญัติ
ของพระยะโฮวาห์, ประวัติพระพุทธและพระคริสต์โดยเปรียบเทียบ,
หนทางที่แท้สู่สวรรค์
ค.ศ. 1838 - บทเพลงเพื่อดวงวิญญาณ (รวม 72 บท) คำตัดสิน
สุดท้าย, คำสอนของนักบุญ
ค.ศ. 1839 - คัมภีร์การปลูกฝี
ค.ศ. 1841 - ความเรียงว่าด้วยฝิ่ น, จุลสารว่าด้วยวัฒนธรรมอินเดีย
ค.ศ. 1842 - ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ 4 ความเรียงว่าด้วยความชั่ว
ร้ายของการเสพสุรา, ความเรียงว่าด้วยบุตรผู้รักดี, ความเรียงว่าด้วย
ลาซารัสและคนดำน้ำ, ความเรียงว่าด้วยทูตสวรรค์, ความเรียงว่าด้วยข้าว
สาลีและภาชนะ
ค.ศ. 1843 - คำภีร์ครรภ์ทรักษา, ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ 5
ค.ศ. 1844 - จัดทำร่างพจนานุกรมบาลี
ค.ศ. 1845 - ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ ๖
ค.ศ. 1846 - เรื่องของแดเนียล
ค.ศ. 1847 - เรื่องของโยเซฟ
ค.ศ. 1859 - กฎหมายว่าด้วยการจอดเรือ
ค.ศ. 1860 - นิราศลอนดอน, จินดามณี
ค.ศ. 1863 - ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส
ค.ศ. 1864 - พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล
ค.ศ. 1865 - สามก๊ก
ค.ศ. 1870 - เลียดก๊ก
ค.ศ. 1872 - ไซ่ฮั่น
ค.ศ. 1873 - อักขราภิธานศรับท์


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว ร.๔

• พระราชประวัติ

พระบรมราชสมภพเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347
เสด็จสวรรคตเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช พระบรม
ราชสมภพเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงเป็นพระมหา
กษัตริย์ไทยลำดับที่ 4 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังสถาปนาพระอนุชาของพระองค์ คือ เจ้าฟ้า
จุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 โดย
ได้ประกอบพิธีบวรราชาภิเษกในปี พ.ศ. 2394 เป็นพระบาท
สมเด็จพระปิ่ นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำรัสว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่ นเกล้าเจ้าอยู่หัวควรได้รับการ
ถวายความเคารพเสมอด้วยพระองค์

(พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศ
มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่ นเกล้าเจ้าอยู่หัว)


• พระราชกรณียกิจ

11 ด้านกฎหมาย
1.1) มีการลดภาษีอากร เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้
ค้าขายรายใหม่ ประกาศมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา ออกพระราชบัญญัติ
กำหนดใช้ค่าที่ดินให้ราษฎรเมื่อมีการเวนคืน
1.2) โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ให้ สิทธิบิดา มารดา และสามี
ในการขายบุตรและภรรยา และตราพระราชบัญญัติใหม่ให้การซื้อขาย
ทาส เป็นไปด้วยความยินยอมของเจ้าตัวที่จะถูกขายเป็นทาสเท่านั้น

2 ด้านวรรณคดีพุทธศาสนา
2.1) พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วน
ใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่
* ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี
ธรรมคดี และตำรา
* ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
* ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ
จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย

3 ด้านพระพุทธศาสนา
3.1) พระองค์ทรงฟื้ นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติ
กาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระ
ธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน ด้านพระพุทธศาสนา


4 ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
4.1) การทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย
"ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัย
รัตนโกสินทร์

(ฉบับภาษาไทยของ 'สนธิสัญญามิตรภาพและการค้า
ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับจักรวรรดิอังกฤษ' ฉบับ
ภาษาไทย ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 หรือที่เรียก

ว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง)

4.2) ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรร
เพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไป
ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ

(ราชทูตสยามเข้าเฝ้าจักรพรรดินโป
เลียนที่ 3 พ.ศ. 2404)

5 ด้านโหราศาสตร์
5.1) ทรงแต่งตำราทางโหราศาสตร์ที่เรียกว่า "เศษพระจอมเกล้า"
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำราที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำ และทรงได้รับการ
ยกย่องเชิดชูเกียรติว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย"


สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

(พระบรมวงศานุวงศ์)

• พระราชประวัติ

ประสูติเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2403
สิ้นพระชนม์เมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2480

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระเจ้าลูกยาเธอ
พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพ ทรงศึกษาภาษาบาลี
ภาษาอังกฤษและโหราศาสตร์ ถึงปี พ.ศ. 2416 เมื่อพระชันษาได้ 13 ปี
ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ครั้นครบปีบวช (พระชันษา 20 ปี) ได้ทรง
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนย้ายไปประทับ
ที่วัดมกุฏกษัตริยารามเพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระจันทรโคจรคุณ

• พระราชกรณียกิจ

1.) ทรงเริ่มพัฒนาการพระศาสนา ได้แก่กำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษา
สำหรับคณะสงฆ์ ทรงจัดตั้ง มหามกุฎราชวิทยาลัย คือ เรียนพระปริยัติ
ธรรม ประกอบกับวิชาการอื่น ที่เอื้ออำนวยต่อการสอนพระพุทธศาสนา
2.) ทรงออกนิตยสาร ธรรมจักษุ ซึ่งเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนา
ฉบับแรกของไทย
3.) ทรงอำนวยการจัดการศึกษาในวัดหัวเมืองทั่วราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ.
2441 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะ
ขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังประชาชนทั่วราชอาณาจักร สามารถขยาย
การศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ชั้นประถมศึกษา ออกไปได้ทั่วประเทศ จากนั้นจึง
ให้กระทรวงธรรมการ ดำเนินการต่อไป


4.) ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ เกิด พ.ร.บ. ลักษณะปกครอง
คณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ขึ้น ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
ฉบับแรกของไทย
5.) การคณะสงฆ์ของพระมหากษัตริย์ มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นไปตาม
ลำดับคือ เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และเจ้าอาวาส มี
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มหาเถร
สมาคมเป็นเพียง ที่ทรงปรึกษา ขององค์พระมหากษัตริย์ ดังนั้นกระทรวง
ธรรมการ จึงต้องทำหน้าที่สังฆราชโดยปริยาย

เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรม
พระยาวชิรญาณวโรรส


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม
พระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ

(พระบรมวงศานุวงศ์)

• พระราชประวัติ

ประสูติเมื่อ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401
สิ้นพระชนม์เมื่อ 29 มิถุนายน 2466

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติ
แต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ ยม ใน
รัชกาลที่ 4) และมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน อาทิ ภาษาและวิชา
เลข นอกจากนี้ ยังทรงมีความสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์และสมุนไพร
ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินตาม สุริยคติ นับวันและเดือนแบบสากล เรียกว่า
“เทวะประติทิน” ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินในปัจจุบัน พร้อมทั้งทรงเป็น
ผู้คิดชื่อเดือน
ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศที่อายุน้อยที่สุด และอยู่ใน
ตำแหน่งยาวนานถึง 38 ปี 16 วัน และในช่วงที่ทรงดำรงตำแหน่ง
เสนาบดี คุณูปการที่สำคัญยิ่งของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
พระยาเทวะวงศ์วโรปการคือการการรักษาอธิปไตยของไทย ทรงจัดทำ
สนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศส และทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหา
อำนาจอื่นๆ อาทิ รัสเซีย เยอรมนี


Click to View FlipBook Version