The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ป.อ. ปยุตโต

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-18 19:10:11

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ป.อ. ปยุตโต

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ป.อ. ปยุตโต

Keywords: แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา,ป.อ. ปยุตโต

แกน แทของพระพทุ ธศาสนา

(ทุกขส ําหรบั เหน็ – สุขสาํ หรบั เปน )

พระพรหมคณุ าภรณ
(ป. อ. ปยตุ ฺโต)

แกนแทข องพระพทุ ธศาสนา (ทกุ ขสาํ หรับเหน็ - สขุ สําหรบั เปน)

© พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต)

ISBN 974-87948-7-3

พิมพคร้ังที่ ๑๖ - มีนาคม ๒๕๔๘ ๑๕,๐๐๐ เลม

(เปลี่ยนแบบตัวอักษร และปรบั ปรุงเพม่ิ เติมเล็กนอย)

พมิ พครั้งท่ี ๑๗ - มาฆบูชา ๒๕๕๔

(เปลย่ี นแบบตัวอกั ษร)
- กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธกิ าร

แบบปก:

พมิ พท ่ี

คาํ ปรารภ

สารบัญ

คําปรารภ ......................................................................................(ก)

แกน แทของพระพทุ ธศาสนา................................... ๑

เกร่ินนาํ ……………………………………………………………...๑

๑ หัวใจพทุ ธศาสนา ........................................................................๒

หวั ใจพุทธศาสนาคืออะไร วากันไปหลายอยาง
ถกู ทั้งนน้ั อนั ไหนก็ได ..............................................................................๒

แตต องระวงั อนั ไหนก็ได จะทําใหพทุ ธศาสนางอนแงน
ชาวพุทธตองมีหลกั ทีแ่ นช ดั ใหปฏิบตั ิเดด็ แนว เปนหน่ึงเดยี ว ......................๔

วา กันไป กีห่ ลกั กหี่ ัวใจ
ในทีส่ ดุ กห็ ลกั ใหญเ ดยี วกนั .......................................................................๗

ถึงจะเลาเรียนจบหลัก ถา ไมรูจ กั หนาท่ีตออริยสัจ
กป็ ฏบิ ตั ไิ มถูก และไมม ีทางบรรลธุ รรม....................................................๑๑

อรยิ สจั คือ ธรรมที่นาํ เสนอเปน ระบบปฏบิ ตั ิการ
ใหมนษุ ยบ รหิ ารประโยชนจากความจรงิ ของธรรมชาติ..............................๑๔

อยาเขลาตามคนขาดความรู วา พุทธศาสนามองโลกแงราย
หลักพทุ ธสอนวา ทกุ ขเ ราตองมองเห็น แตส ุขเราตอ งใหมีใหเปน .............. ๑๘

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ค

๒ แกนแทข องพระพทุ ธศาสนา....................................................๒๒

ความจรงิ มีอยูตามธรรมดา
พระพทุ ธเจามีปญญา กม็ าคนพบและเปดเผย ........................................ ๒๓

เม่ือคนไมรูท ันความจรงิ ของธรรม
เขากน็ าํ ทุกขในธรรมชาติมาสรา งใหเปนทุกขของตวั เอง.............................๒๖

เมอื่ มีปญญารูค วามจรงิ ก็เลิกพึง่ พงิ ตัณหา
หันมาอยูดวยปญ ญา ทเ่ี อาประโยชนไดจากธรรม.................................... ๒๙

ธรรมชาติของมนษุ ยนน้ั พเิ ศษในแงดี คือ
มนุษยเปน สัตวทีศ่ ึกษาใหมปี ญ ญาได ......................................................๓๑

บนฐานแหง ธรรมชาติมนุษยผเู ปน สัตวตอ งศึกษา
พระพทุ ธเจาทรงตัง้ หลกั พระรัตนตรยั ขึ้นมา.............................................๓๔

ความจรงิ แหง ธรรมดาของโลกและชวี ติ
ทต่ี อ งรูใหทนั และวางทาทใี หถ ูก.............................................................. ๓๘

จะพฒั นาศักยภาพของคนใหม ชี ีวติ แหงปญญา
ก็ตองรูจักธรรมชาติของชวี ติ ซงึ่ จะทําหนา ทศี่ กึ ษา .....................................๔๐

๓ แกนธรรมเพ่อื ชวี ติ ....................................................................๔๕

การดําเนนิ ชีวติ ท้ังสามดาน
เปน ปจจยั เกื้อหนุนกันในการศกึ ษา..........................................................๔๕

บนฐานแหงหลักความสมั พันธของชวี ติ สามดา น
ทรงตง้ั หลักไตรสิกขาใหมนษุ ยพฒั นาอยา งบูรณาการ...............................๔๘

เมอื่ พฒั นาดวยไตรสกิ ขา ชีวติ กเ็ ปนอริยมรรคา
เพราะชีวติ ที่ดี คือชวี ิตที่ศึกษา.................................................................๕๑

ง แกน แทข องพระพุทธศาสนา

จดุ เร่มิ ของการศกึ ษา มีชอ งทางท่ีชวี ิตเตรียมไวให
แตต องใชเ ปน จึงจะเกิดการพฒั นา......................................................... ๕๓

เม่ือคนเรมิ่ ศกึ ษา การพฒั นาก็เรม่ิ ทนั ที
ความตองการอยางใหมก็มี ความสุขอยางใหมก ม็ า ..................................๕๖

การพัฒนามนุษยมีแหลงใหญอยูในมโนกรรม
จุดสําคัญนีถ้ า พลาดไป ก็คือชอ งทางใหญใหห ายนะเขา มา.........................๕๙

การพฒั นาคน พฒั นาสงั คม ไมม ีทางไดผลจรงิ
ถาทอดท้ิงฐานของการพัฒนา คอื มโนกรรม............................................ ๖๒

ตราบใดยังไมถงึ จดุ หมาย ยังมชี ีวิตอยู ก็ตอ งศึกษา
ความหมายของธรรมทีป่ ฏิบตั ิ จงึ วดั ดวยไตรสกิ ขา...................................๖๔

สมาธเิ ตรียมจติ พรอมใหปญญาทาํ งานเดนิ หนา ฉนั ใด
สนั โดษกเ็ ตรียมตวั พรอมใหมงุ เพียร ไมพะวกั พะวน ฉนั นน้ั .................... ๖๗

ถา คนไทยต้งั อยใู นหลักส่ี จะไมตกหลมุ วิกฤติ
ถึงแมถ ลาํ ไป ก็จะถอนตวั ขึ้นสวู วิ ัฒนไดโดยพลัน.....................................๖๙

แกนแทข องพทุ ธธรรม คอื ความหลดุ พนพง่ึ ตนได
ในสงั คมของกัลยาณมติ ร ผมู ชี ีวิตทเ่ี ก้ือกูลกัน........................................๗๔

แกน แทของพระพุทธศาสนา∗

(ทุกขสาํ หรบั เหน็ - สุขสําหรับเปน )

เกรน่ิ นํา

ขอเจริญพร ทานอธิบดี ทานรองอธิบดี และทานผูบริหารระดับสูงของ
กรมการศาสนา ทุกทาน

อาตมามคี วามคนุ เคยอยบู า งกบั กรมการศาสนา เพราะมงี านการเกยี่ วขอ ง
กนั อยู แตร ะยะหลังนี้ออกจะหางๆ ไปหนอย เมอื่ มกี ารประชมุ กไ็ มคอยไดมา
เพราะเรอ่ื งท่ีอยูไกลไปหนอ ยบา ง เรือ่ งสขุ ภาพบา ง เร่อื งการงานใกลต ัวบา ง

วันน้ี นับวาเปนโอกาสดีท่ีไดมาที่กรมฯ อีกครั้งหน่ึง และไดพบกับผู
บริหารระดบั สูงเกือบจะครบถว น แตเ ริม่ ตนกม็ เี หตุตอ งขออภัยนิดหนอ ย ทว่ี า
รถติดทาํ ใหมาชาไป ตลอดกระทั่งวาไมไดเตรียมอุปกรณเคร่ืองชวยในการที่
จะศกึ ษาเรอื่ งราวเปน ตน ขอใหถ ือวาเปน การมาคุยกัน

หัวขอ ท่ีตัง้ ใหพ ูดวนั นี้วา “แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา” เปน เรือ่ งสาํ คญั
มาก และสาํ หรับพระพทุ ธศาสนาถือเปนเรือ่ งท่ียากมากดวย พิจารณางายๆ
แคเรื่องคมั ภรี กอน

“พระไตรปฎ ก” เปนคัมภีรชนั้ ตน หรอื ช้นั ท่หี น่ึงของพระพทุ ธศาสนา ที่
ถอื วา บรรจุพทุ ธพจน เพียงแคค มั ภรี ชน้ั หน่ึงนก้ี ม็ ากมายตง้ั ๔๕ เลม หรือท่ีพดู
กันวา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ เราจะจับแกนไดอยางไร แกน แทอ ยูตรงไหน
และความคิดความเหน็ เกี่ยวกบั เรอื่ งตวั แกน แทน้นั จะตรงกันหรือไม



บรรยายแกผบู ริหารระดับสงู ของกรมการศาสนา ท่ีกรมการศาสนา กระทรวงศกึ ษาธิการ วันที่
๑๒ กุมภาพันธ ๒๕๔๑ เดิมมชี อื่ เรอ่ื งวา “แกนแทของพระพทุ ธศาสนา”

-๑-
หัวใจพุทธศาสนา

หัวใจพุทธศาสนาคอื อะไร วากันไปหลายอยาง
ถกู ทั้งนัน้ อนั ไหนกไ็ ด

พอดีเมอ่ื วานเปน วนั มาฆบชู า กช็ วนใหน ึกถึงคาํ สอนของพระพุทธเจาใน

วนั มาฆบูชา เพราะวาวันมาฆบูชานน้ั ชาวพทุ ธจํากนั มาวา เปนวันทพ่ี ระพุทธ

เจา ทรงแสดงหลักการท่ีเรยี กกนั วา “หวั ใจพระพุทธศาสนา” ซึ่งเปนคาํ ไทย

ทเ่ี ราพูดกนั งายๆ ถาพดู เปนภาษาบาลีกค็ อื “โอวาทปาฏิโมกข”

เมื่อพูดถึงคาํ วา “แกน ” กใ็ กลกบั คาํ วา “หวั ใจ” และเราไดพ ดู ถงึ หัวใจ

พระพุทธศาสนากันมาเมอื่ วาน จงึ ขอนํามาทบทวนกันนิดหนอ ย แตไมได

หมายความวาจะจับเอาคําสอนท่ีเรายึดถือกันวาเปนหัวใจพระพุทธศาสนามา

วา เปน แกนแทใ นทนี่ ้ี แตเ รยี กวาเอามาเปน อารมั ภบท เพราะไหนๆ เม่อื วานนี้

เปน วนั ทเ่ี ราไดฟงเร่อื งหัวใจพระพทุ ธศาสนามาแลว กเ็ อามาทบทวนกนั ดู

หลกั ทเ่ี ราถอื วา เปน หวั ใจพระพทุ ธศาสนา กค็ อื คาํ ไทยทส่ี รปุ พทุ ธพจน

งา ยๆ สนั้ ๆ วา “เวน ชว่ั ทาํ ดี ทาํ ใจใหบ รสิ ทุ ธ”ิ์ ภาษาพระหรอื ภาษาบาลวี า

สพพฺ ปาปสฺส อกรณํ กสุ ลสฺสปู สมฺปทา

สจติ ตฺ ปริโยทปนํ เอตํ พุทธฺ านสาสนํ

แปลใหเ ตม็ เลยวา “การไมท าํ ความชวั่ ทงั้ ปวง การทาํ ความดใี หเ พยี บพรอ ม
การชาํ ระจติ ของตนใหบ รสิ ทุ ธผ์ิ อ งใส นเี้ ปน คาํ สอนของพระพทุ ธเจา ทงั้ หลาย”

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓

คาํ ลงทา ยวา “นี้เปน คําสอนของพระพทุ ธเจาท้ังหลาย” ทาํ ใหเ ราคิดวา นี่
แหละเปนคําสรปุ แสดงวา เน้อื แทของพระพทุ ธศาสนาอยทู น่ี ่ี เราก็เลยเรียก
วา “หัวใจ” น่วี าตามเร่ืองวนั มาฆบชู า เอามาเปนจดุ เรม่ิ ตน

แตก ระนน้ั ชาวพทุ ธผไู ดย นิ ไดฟ ง พระสอนมามากๆ บางทกี ไ็ ดย นิ พระ
อาจารยห รอื พระเถระผใู หญบ างทา นพดู ถงึ หลกั การอนื่ วา อนั โนน สิ อนั นส้ี ิ เปน
หวั ใจพระพทุ ธศาสนา เมอื่ ไดฟ ง อยา งนนั้ บางทโี ยมกช็ กั งง จงึ ขอยกเอาเรอ่ื งน้ี
มาพดู เสยี ในตอนปรารภนี้ วา อะไรกนั แนท เี่ รยี กวา เปน หวั ใจพระพทุ ธศาสนา

บางทานบอกวา “อรยิ สัจสี่” เปน หัวใจพระพุทธศาสนา เพราะวาคํา
สอนของพระพทุ ธเจาท้งั หมดรวมอยูในอรยิ สจั สี่

เมือ่ พระพุทธเจาตรัสรูแลว เสดจ็ ไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกปั -
ปวตั ตนสตู ร พระองคตรัสพทุ ธพจนต อนหนึ่งมคี วามวา ตราบใดทีเ่ รายงั ไมม ี
(จตูสุ อริยสจฺเจสุ ตปิ ริวฏฏํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสสฺ น)ํ ญาณทศั นะทีม่ ี
ปรวิ ฏั ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจส่ี เราก็ยงั ปฏญิ าณไมไดว า ไดต รสั รู ตอ
เมือ่ เรามีญาณทศั นะน้ัน จึงปฏญิ าณไดวาตรัสรู

หมายความวา ตรัสรอู รยิ สัจสี่ครบ ๓ ดา น คอื ท้งั รูว าคอื อะไร แลว ก็รู
วาหนา ทีต่ ออริยสัจแตล ะอยา งนน้ั คอื อะไร และรูวาไดท ําหนาที่ตออรยิ สัจน้ัน
แลว เวยี นไปในทกุ ขอ เรียกวา ๓ ปรวิ ฏั

อธิบายวา รใู นอรยิ สจั สี่แตล ะอยาง เริม่ ตัง้ แตร วู า ทุกขค ืออะไร รวู าเรา
จะตอ งทําอะไรตอ ทุกข แลว กร็ วู า หนา ทต่ี อทุกขน ัน้ เราไดท ําแลว และตอไป
ในขอ สมุทัย นโิ รธ มรรค ก็เชน เดยี วกัน

ถายงั ไมร ูอริยสจั ดว ยญาณทัศนะครบท้งั ๓ ในแตละอยา ง (รวมทั้ง
หมดเปน ๑๒ เรยี กวา มีอาการ ๑๒) ก็ยังไมสามารถปฏิญาณวา ไดตรัสรู เปน
สมั มาสมั พทุ ธะ

ตอ เมื่อไดต รสั รูอรยิ สัจ โดยมญี าณในอริยสัจแตละขอ ครบท้งั ๓ รวม
เปน ๑๒ จึงปฏิญาณไดว า เปน สัมมาสัมพุทธะ

๔ แกนแทของพระพุทธศาสนา

พุทธพจนนมี้ าในพระธมั มจักกปั ปวตั ตนสตู ร จงึ ทําใหกาํ หนดเอาวา น่ี
แหละคือตัวหลักใหญท ่เี ปนหวั ใจของพระพุทธศาสนา ทานทีส่ วดธรรมจักร
ไดค งนกึ บาลอี อกวา ยาวกวี ฺจ เม ภิกขฺ เว อิเมสุ จตสู ุ อริยสจเฺ จสุ

รชั กาลที่ ๖ ทรงมีงานพระราชนพิ นธเลม หน่งึ ชอื่ วา “พระพุทธเจา ตรัสรู
อะไร” ซ่งึ ก็ทรงจับเอาท่ีจดุ นี้คือ อริยสจั สี่

เปนอันวา พระพุทธเจาตรัสรูอรยิ สจั ส่ี และการตรัสรูอรยิ สัจสที่ าํ ใหเปน
พระพุทธเจา อรยิ สัจสจี่ ึงเปน หวั ใจของพระพุทธศาสนา

บางทา นไปจับเอาทพี่ ระไตรปฎกอีกตอนหนึ่ง ซึง่ พระพทุ ธเจาตรัสไว
กะทัดรัดมาก วา “ปุพเฺ พจาหํ ภกิ ฺขเว เอตรหิ จ ทกุ ขฺ ฺเจว ปฺาเปมิ ทุกฺขสฺส
จ นิโรธํ” ภิกษุทั้งหลาย ท้ังในกาลกอนแลบัดนี้ เราบัญญตั ิแตท กุ ขแ ละ
ความดับทุกขเทานน้ั

ถาจับตรงน้กี แ็ สดงวา ทีพ่ ระพุทธเจา ทรงสอนทง้ั หมดน้นั หลกั การของ
พระพทุ ธศาสนาก็มีเทา น้ี คอื ทุกขและความดับทุกข

ทา นพทุ ธทาสกลา วถงึ หลกั อกี ขอ หนง่ึ ใหถ อื วา เปน หวั ใจพระพทุ ธศาสนา
คอื “สพเฺ พ ธมมฺ า นาลํ อภนิ เิ วสาย” แปลวา “ธรรมทงั้ ปวง ไมค วรยดึ มนั่ ”

คาํ วา “นาล”ํ แปลวาไมควร หรือไมอาจ ไมสามารถ คําวา “ไมควร” ใน
ทน่ี ้ี หมายความวา เราไมอาจไปยึดมั่นมันได เพราะมันจะไมเ ปนไปตามใจ
เราแนน อน เม่อื มันไมอาจจะยึดม่ัน เรากไ็ มควรจะยึดมั่นมัน อันนี้ทานกว็ า
เปน หัวใจพระพทุ ธศาสนา

เมอ่ื ไดฟง อยา งน้ี ก็ทําใหเ รามาสงสัยกันวาจะเอาหลักไหนดีเปน หัวใจ
พระพุทธศาสนา กเ็ ลยขอใหค วามเห็นวาอันไหนกไ็ ด

แตตองระวงั อันไหนก็ได จะทาํ ใหพ ทุ ธศาสนางอ นแงน
ชาวพุทธตองมหี ลกั ท่แี นช ัด ใหปฏบิ ตั เิ ดด็ แนว เปน หน่ึงเดียว

แตก ารพูดวา “อันไหนกไ็ ด” นี่ ก็ไมดีเหมอื นกนั เพราะทาํ ใหชาวพทุ ธ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๕

เหมอื นวาไมม อี ะไรลงตวั แนนอน แลว ก็เลยกลายเปนคนท่ีเอาอยางไรก็ได
โงนเงนงอนแงน หรอื แกวง ไปแกวง มา เหมอื นไมม ีหลัก กจ็ ะกลายเปนไมได
เรอื่ ง เราตอ งชัดเจนวา ทีว่ าอนั ไหนก็ไดน ัน้ ท้ังหมดคอื อันเดยี วกัน

ทาํ ไมจงึ วาเปน อนั เดียวกัน เพราะวา การพูดถงึ หลกั คําสอนเหลา นน้ี ้ัน
เปนการพูดโดยจบั แงจ ับมมุ ตา งๆ กันของคําสอน ซงึ่ ท่ีจรงิ ทง้ั หมดอยูใน
ระบบเดียวกัน โยงถงึ กัน มคี วามเปนอนั หนงึ่ อนั เดียวกัน เพราะฉะน้นั ไมว า
จะจับทจ่ี ุดไหน ก็โยงถึงกันไดท้ังนนั้ ขอช้แี จงอยา งงายๆ

ถา เราพูดวาหัวใจพระพทุ ธศาสนาคอื “เวน ชั่ว ทาํ ดี ทําใจใหผ องใส”
ก็จะเห็นวา หวั ใจท่วี า น้เี ปน หลกั ในเชงิ ปฏิบัติท้ังน้ัน คือเปนเร่อื งของการ
ดาํ เนนิ ชวี ติ วา เราจะไมทาํ ช่วั ทาํ ดี และทําใจใหผ องใส

ทีน้ีลองหันไปดหู ลกั อรยิ สจั สี่ ซงึ่ มที ุกข สมุทยั นิโรธ มรรค จะเหน็ วา
ขอท่ี ๔ คอื “มรรค” เปนขอ ปฏิบตั ิ

ถาพูดวา มรรคมอี งค ๘ มสี ัมมาทิฏฐิเปน ตน และสัมมาสมาธเิ ปน ขอ สุด
ทา ย องคทัง้ ๘ น้ี มีตง้ั ๘ ขอ ก็จาํ ยาก จึงยอ งายๆ เหลอื ๓ เทา น้นั คือ
ศีล สมาธิ ปญญา

ชาวพุทธจาํ กันแมน วา มรรคมอี งค ๘ จําใหง ายก็สรปุ เหลือ ๓ คือ ศีล
สมาธิ ปญญา

ศลี นัน้ อธบิ ายงา ยๆ วา “เวน ช่วั ” สมาธิ ก็คือ “ทาํ ความดีใหถึงพรอ ม”
เพราะความดแี ทจ รงิ ท่ีสดุ กเ็ ปนคณุ สมบัติคือคณุ ธรรมตา งๆ อยูในจิตใจ ซง่ึ
จะตอ งบาํ เพญ็ ขึน้ มาใหพ รอ ม แลว สดุ ทาย ปญญา กไ็ ดแก “ชําระจิตใจให
บรสิ ทุ ธิ์” เพราะการทจ่ี ิตจะบริสุทธิห์ มดจดสน้ิ เชิง ก็ตองหลดุ พนจากกิเลส
และความทกุ ขดวยปญ ญา

ฉะนั้น เวนช่ัว ทําดี ทําใจใหบริสทุ ธ์ิน้ี ก็คอื ศีล สมาธิ ปญญา น่ันเอง
“เวน ช่ัว” เปน ศีล “ทําด”ี เปนสมาธิ “ชาํ ระจิตใจใหบ ริสทุ ธิ์” เปน ปญ ญา

พอแยกแยะอยางน้กี ็เหน็ แลว วา ออ เวนช่วั ทําดี ทําใจใหบรสิ ุทธิ์ ทว่ี า

๖ แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา

เปนหวั ใจพระพทุ ธศาสนานนั้ ก็อยใู นมรรคนีเ่ อง เปน อริยสัจ ขอ ที่ ๔ คอื ขอ
สดุ ทา ย

ตกลงวา หลกั หวั ใจพระพุทธศาสนาในวนั มาฆบชู าน้ี เปนสวนหน่ึงใน
อรยิ สจั คอื เปน อริยสจั ขอ สดุ ทา ย ไดแ กม รรค ซ่งึ เปน ภาคปฏิบตั ิ อรยิ สัจจงึ
กวางกวาและครอบคลุมหลกั หวั ใจพระพทุ ธศาสนาในวนั มาฆบชู า

ทุกข คือตัวปญ หา เปนสิ่งทเี่ ราไมเ อา แตเรากย็ ังไมต อ งปฏิบตั ิ เราตอง
รใู หช ดั วาอะไรเปน ปญหาทเ่ี ราจะตองพน ไป

สมุทัย คอื ตวั เหตุแหงทกุ ข ซ่ึงตอ งสบื สาวใหรตู ามหลกั ความจรงิ ทเี่ ปน
ไปตามเหตปุ จจัยวา ออ ทกุ ขเ กดิ จากเหตุ และเหตุนั้นคืออะไร เหตนุ น้ั เรารู
วา จะตองกาํ จดั แตเราก็ยังไมไ ดทาํ อะไร

จากนนั้ เรากร็ ูดวยวาเม่ือกําจดั เหตุแหงทกุ ขไ ด เราจะเขาถงึ จดุ หมายคอื
นโิ รธ

แตท ้งั หมดนจี้ ะสําเร็จไดก็ดวยการลงมือทาํ ในขอสดุ ทา ยคอื มรรค
ฉะนนั้ ทุกข สมทุ ยั นโิ รธ สามอยางนเี้ ราเขา ใจวามนั คอื อะไร และเรา
จะตอ งทาํ อะไรตอ มนั แตเ ราปฏิบตั ิมันไมไ ด สิง่ ท่จี ะปฏบิ ัตไิ ดค ือขอท่ี ๔ ได
แกมรรค
เมอ่ื เราปฏบิ ตั ติ ามมรรค เรากก็ าํ จดั สมทุ ยั ...แกเ หตแุ หง ทกุ ขไ ด เรากพ็ น
จากทกุ ข… หมดปญ หา และเรากบ็ รรลนุ โิ รธ...เขา ถงึ จดุ หมายได เพราะฉะนนั้
ดว ยมรรคขอ เดยี วน้ี สามารถทาํ ใหส าํ เรจ็ งานสาํ หรบั ๓ ขอ แรกทงั้ หมด
เปน อนั วา ส่งิ ที่เราตอ งปฏิบตั มิ ีอยขู อเดียวคือขอ ๔ แตเ ราตอ งรู ๓ ขอ
ตนดวย
ถึงตอนน้ี ก็หันกลับไปดูหลกั เวนช่วั ทําดี ทําใจใหบ ริสทุ ธิ์ จะเห็นวา
เปน หลกั การในภาคปฏบิ ัติท้ังหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งอยใู นมรรค คอื
ขอที่ ๔ ของอริยสจั เพราะมรรคเปนฝายลงมือทํา ลงมือปฏบิ ตั ิ
สวนในแงข องหลักความจริงตามสภาวะวาเปน อยา งไร จุดหมายคือ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๗

อยา งไร กอ็ ยใู นขอ ๑-๒-๓ ของอรยิ สัจ
เพราะฉะนนั้ อรยิ สจั กวางกวาและครอบคลมุ คือครอบคลมุ หลักเวน

ช่ัว ทาํ ดี ทาํ ใจใหบ ริสทุ ธิ์ดว ย
ถาเราตอ งการจะพดู เฉพาะในเชิงปฏบิ ตั ิ ในภาคลงมอื ทาํ หรอื ในการ

ดาํ เนินชวี ิต เรากพ็ ดู ในแงเ วนชัว่ ทําดี ทําใจใหบ ริสทุ ธิ์ เอาแคน ้ี วา หัวใจพระ
พทุ ธศาสนาอยตู รงน้ี ปฏบิ ตั ิเทานี้ก็ครบหมด เพราะเปน ของท่ใี หลงมอื ทํา
ปฏิบตั ิไดท ันที

ถาพดู ถึงอริยสจั กก็ วางขวางและตอ งทาํ ความเขาใจกันมาก สาํ หรบั ชาว
พุทธทว่ั ไป เรม่ิ ตน กใ็ หเ หน็ กอนวาจะปฏิบตั ิอะไร

แตเ มอื่ ปฏิบตั ิไปถงึ ระดับหน่งึ ก็จะเกดิ ความจําเปน ตอ งรูหลกั การ หรอื
หลกั ความจริงท่วั ไปดว ย มฉิ ะนั้นการปฏบิ ัติกไ็ ปไมตลอด ถึงตอนน้นั ก็ตองรู
หลักอริยสจั สี่ แตเ บื้องตน น้พี อพดู ขึ้นมากใ็ หเ ริม่ ปฏบิ ัตไิ ดเลย

เปนอันวา เร่มิ ตน เราบอกวา...เอานะ เวนช่วั ทาํ ดี ทําใจใหบ รสิ ทุ ธิ์ ก็
เขา ใจงา ย ทาํ ไดเลย สะดวก กเ็ อาอนั น้ีมาเปนหวั ใจพระพทุ ธศาสนา แลว
จากหลกั ปฏิบตั ินเี้ ราก็กา วไปสูห ลักการที่ใหญข ึ้นไป คือ กา วไปสหู ลกั อริยสัจ
ซ่ึงเปนหลักท่ีครอบคลุม สมบูรณไปเลย

พดู อยา งนก้ี เ็ หมอื นกบั บอกวา หลกั เวน ชวั่ ทาํ ดี ทาํ ใจใหผ อ งใส น้ี เปน
หวั ใจพระพทุ ธศาสนาภาคบทนาํ หรอื เปน บทนาํ ทเ่ี ปด เขา สหู วั ใจพระพทุ ธศาสนา

อยา ลืมวา ไดห ลกั แนช ัดแลว นะ เรม่ิ ดวย “เวน ช่ัว ทาํ ดี ทําใจให
บริสุทธ์ผิ องใส” น่ีแหละเอาเปน หัวใจพระพุทธศาสนาไวก อน แลวกา วตอ
ไปใหค รบอรยิ สัจทงั้ ๔ ใหได จึงจะเปน ชาวพทุ ธท่ีแทจ ริงและสมบรู ณ

๘ แกนแทข องพระพทุ ธศาสนา

วา กันไป ก่หี ลักก่ีหวั ใจ
ในทีส่ ุดก็หลกั ใหญเดียวกัน

ทนี ีล้ องเทียบหลักอนื่ อีก เม่ือก้ีบอกวา พระพุทธเจา ตรัสไว “ทงั้ ในกาล
กอ นและบดั น้ี เราบัญญัติแตท กุ ขแ ละความดับทกุ ขเ ทานน้ั ” อันนก้ี ็เปน
การพูดถึงอรยิ สัจสีน่ นั่ เอง คอื อริยสัจ ๔ แบบสัน้ ทส่ี ุด ยอ เปน ๒ คู คอื

ทุกข และสมุทยั เหตแุ หง ทุกข อันน้ี ๑ คู
นโิ รธ ความดบั ทุกข และมรรค ทางใหถงึ ความดับทุกข ก็ ๑ คู
รวมแลวมี ๒ คู
เพราะฉะนั้น เวลาพูดสนั้ ๆ กบ็ อกวา เร่อื งทุกข (พรอมทั้งเหตขุ องมัน
อยใู นวงเล็บ ละไวในฐานเขาใจ) อยา งหน่ึง แลวก็เรอ่ื งความดบั ทุกข
(พรอมทง้ั วิธีปฏบิ ตั ใิ หถ ึงความดบั ทกุ ข) อยา งหนงึ่
ตกลงพดู งายๆ อรยิ สจั สี่ กย็ อเปน ๒
ฉะนน้ั ที่พระพทุ ธเจาตรัสวา ทงั้ ในกาลกอนและบัดน้ี เราบัญญัตแิ ต
ทุกขแ ละความดับทกุ ข กอ็ นั เดียวกนั คืออริยสจั สนี่ น่ั เอง ไมไ ดไ ปไหน
ยงั มอี กี ...เมอื่ กล้ี มื พดู ไป คอื เมอ่ื พระพทุ ธเจา ตรสั รแู ลว ตอนจะออก
ประกาศพระพทุ ธศาสนา พระองคไ ดท รงพระดาํ ริ ซง่ึ มคี วามตอนนใี้ นพระไตร
ปฎ กบอกวา “อธคิ โต โข มยฺ ายํ ธมโฺ ม” ธรรมทเ่ี ราบรรลแุ ลว น้ี ทรุ นโุ พโธ เปน
ของทร่ี ตู ามไดย าก กลา วคอื หนง่ึ ...อทิ ปั ปจ จยตาปฏจิ จสมปุ บาท สอง...นพิ พาน
แลว พระองคกต็ รสั เลาตอไปวา พระองคท รงดํารวิ า หมสู ัตวทงั้ หลาย
มัวหลงระเรงิ กนั อยูในสง่ิ ทลี่ อใหต ดิ ยากที่จะเขา ใจหลกั การทงั้ ๒ นี้ จึงนอ ม
พระทยั ไปในทางท่ีจะไมทรงสั่งสอน
ถา ดูตรงน้ีกจ็ ะเหน็ ชดั ตามท่ีพระพทุ ธเจาตรัสวา “ธรรมท่ีเราไดบ รรลุ
คือ อทิ ัปปจ จยตาปฏจิ จสมุปบาท และนิพพาน” ถา จบั ตรงน้ี กบ็ อกไดวา
นกี่ ็หัวใจพระพุทธศาสนาเหมอื นกัน

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๙

แตถ าเราโยงดู ก็บอกไดวา สาระไมไปไหน ทแี่ ทก อ็ ันเดยี วกนั นัน่ แหละ
อทิ ัปปจจยตาปฏิจจสมปุ บาท คืออะไร คอื หลักความจริงของธรรมชาติ ใน
แงท ีท่ าํ ใหเ กิดปรากฏการณท ีเ่ ราเรียกวา ความทุกข คอื จับท่ีตวั กฎธรรมชาติ
แหง ความเปนไปของการท่ีมที กุ ข มปี ญหาตา งๆ เกดิ ขนึ้

ฉะนัน้ อทิ ัปปจ จยตาปฏิจจสมปุ บาท กเ็ ปนเรอื่ งของทกุ ขแ ละสมทุ ัย แต
แทนที่จะจบั ท่ีปรากฏการณคอื ทกุ ข ก็ไปจบั ทีก่ ระบวนการของกฎธรรมชาติ
เริม่ ที่ขอสมทุ ัย ดเู หตุปจ จัยทเี่ ปน ไปจนปรากฏทุกขเปน ผลข้ึน จงึ รวมทั้งขอ
ทุกขและสมทุ ัย

ดงั จะเห็นไดวา เวลาตรัสปฏิจจสมปุ บาท พระพุทธเจา ทรงสรปุ วา
“เอวเมตสสฺ เกวลสสฺ ทุกขฺ กขฺ นธสสฺ สมุทโย โหติ” แปลวา “สมทุ ัย คือการเกดิ
ข้ึนพรอ มแหงทุกข จึงมีดวยประการฉะน”้ี หมายความวา จากความเปน ไป
ตามกระบวนการของกฎธรรมชาตินี้ จึงเกดิ มที ุกขข ้นึ

เพราะฉะนั้น ขอ วา อทิ ปั ปจจยตาปฏจิ จสมุปบาท กค็ อื ตรสั เรอ่ื งทกุ ข
และสมทุ ัย

จากนนั้ อกี อยางหน่งึ ท่ตี รสั ไว คือ นิพพาน ซงึ่ ก็คอื ขอนิโรธ ซงึ่ เราจะ
ตอ งบรรลุถึงดว ยการปฏบิ ัติตามมรรค การท่ีจะบรรลุนิพพานทเี่ ปน จดุ หมาย
ก็เรยี กรอ งหรอื เปน เงอ่ื นไขอยูใ นตัวใหตอ งปฏิบัติตามมรรค

ดังน้นั การตรัสถงึ นิพพาน คอื ขอนิโรธ ก็โยงเอามรรค เขา มาพว งไว
ดว ย

พดู ใหล กึ ลงไป ขอ แรก อทิ ปั ปจ จยตาปฏจิ จสมปุ บาท กค็ อื สงั ขตธรรม
พรอ มทัง้ กระบวนความเปน ไปของมันทงั้ หมด สว นขอ หลงั นพิ พาน ก็คือ
อสงั ขตธรรม ทพ่ี นไปจากสงั ขตธรรมน้ัน

ในพทุ ธพจนนี้ จบั ทตี่ วั ความจริงของกฎธรรมชาติ กับสภาวธรรมสุด
ยอดท่ตี องการ จึงเอา อิทัปปจ จยตา ทเี่ รียกกันงา ยๆ วา กฎปฏจิ จสมุปบาท
กบั เร่ืองนิพพาน มาเปน หวั ใจพระพทุ ธศาสนา

๑๐ แกนแทข องพระพุทธศาสนา

แตสองอยางนี้ เวลาขยายออกมา กเ็ ปนอรยิ สัจน่ันเอง เพราะฉะนน้ั กจ็ ึง
ไมไปไหน ท่แี ทก็อนั เดยี วกนั

อริยสัจน้ันเปนวิธีพูดหรือวิธีแสดงกฎธรรมชาติในแงท่ีมาเก่ียวของกับ
มนษุ ย ซงึ่ มนษุ ยจ ะนาํ มาใชป ระโยชนใ นการดาํ เนนิ ชวี ติ หรอื แกป ญ หาชวี ติ ของ
ตน พระพทุ ธเจา ตรสั วางไวใ นรปู ทใี่ ชก ารได เรยี กวา ทกุ ข สมทุ ยั นโิ รธ มรรค

แตต วั ความจรงิ ในกฎธรรมชาตกิ ค็ อื อทิ ปั ปจ จยตาปฏจิ จสมปุ บาท และ
สภาวะทเี่ ปน จดุ หมาย คอื นพิ พาน กม็ เี ทา นี้ เพราะฉะนนั้ จงึ บอกวา ไมไ ปไหน

สว นอีกหลักหน่งึ คือ “สพฺเพ ธมมฺ า นาลํ อภนิ ิเวสาย” แปลวาธรรมท้ัง
ปวงไมควรยึดมัน่ คอื เราไมอาจจะยึดมั่นถือมัน่ ไวไ ด

อันนีก้ เ็ ปน การสรุปหวั ใจของการปฏิบัติ ทโ่ี ยงไปหาตัวความจรงิ ของ
ธรรมชาติ หรือสภาวธรรมวา สง่ิ ทงั้ หลายหรอื ปรากฏการณท ง้ั หลายทัง้ ปวง
หรือสิ่งท่ีแวดลอมชีวติ ของเรา หรืออะไรก็ตามทเี่ ราเก่ียวของน้ี มนั ไมไ ดอ ยู
ใตอ าํ นาจความปรารถนาของเรา แตม ันเปนไปตามกฎธรรมชาติ เปนไปตาม
เหตปุ จจยั หรอื มีอยดู ํารงอยตู ามสภาวะของมัน เพราะฉะนน้ั เราจงึ ไม
สามารถยดึ ม่นั ถอื มน่ั มนั ได เราจะตอ งวางใจปฏิบตั ติ อมนั ใหถกู

หลักน้ีเปนการโยงธรรมดาธรรมชาติหรือความเปนจริงของส่ิงทั้งหลาย
มาสทู าทีปฏิบัติของมนษุ ยต อ ส่งิ เหลาน้นั ซึง่ รวมสาระสาํ คัญวา ...เราตอ งรทู นั
วาสง่ิ เหลานม้ี ันไมเปนไปตามใจปรารถนาของเรานะ มนั เปนไปตามเหตุ
ปจจยั ของมัน เราจะไปยดึ มนั่ ถอื ม่ันตามใจของเราไมไ ด แตตองปฏบิ ัตดิ วย
ปญ ญา คือดว ยความรเู ทา ทันและใหตรงตามเหตปุ จจัย

เพราะฉะน้นั หลกั น้ีก็เปนแงม ุมหนึ่งของการประมวลวธิ ปี ฏิบัติทั้งหมด
ตอ สิ่งท้งั หลาย ซึง่ ก็เปน พุทธพจนเ หมอื นกัน

เรอ่ื งมอี ยวู า พระสาวก (พระมหาโมคคลั ลานะ) ทลู ถามพระองคว า “สงั ขติ เตนะ”
ดว ยวิธีการอยางยน ยอ ทําอยางไรภกิ ษุจะเปน ผทู ่ีหลดุ พน แลว โดยความสิ้น
ไปแหง ตณั หา หมายความวา โดยยอทาํ อยา งไรภกิ ษุจะเปน ผูบรรลุนิพพาน

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๑

พระพทุ ธเจา ก็ตรัสพทุ ธพจนนข้ี ้นึ มาวา ภกิ ษุไดสดบั หลกั การทวี่ า “สพเฺ พ
ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” (องฺ.สตฺตก. ๒๓/๕๘/๙๐) ธรรมทัง้ ปวง ไมอ าจจะยดึ ม่ันถือ
ม่ันได เพราะเปนอนจิ จงั ทุกขงั อนตั ตา เม่อื รเู ขา ใจความจรงิ ของมนั ก็จะไม
ยดึ ตดิ ถอื ม่ันส่ิงใดในโลก จงึ ไมร านรนเรา รอน กจ็ ะสงบเยน็ นพิ พาน

รวู า ธรรมทง้ั ปวงไมอ าจยึดมน่ั ได ก็คอื รสู ภาวะของมนั ทเ่ี ปนทุกข ความ
ยดึ ม่นั ทจ่ี ะตอ งละนัน้ คอื สมทุ ยั ปญ ญาท่ที าํ ใหละความยึดม่นั น้ันเสยี ไดก ็
เปนมรรค เมื่อละความยดึ ม่นั ไดก็สงบเยน็ นพิ พาน คือขอ นโิ รธ

หลักน้ีนับวาเปนจุดยอดของการปฏิบัติตอส่ิงท้ังหลายในขัน้ ทถี่ ึงปญญา
เลย ซึ่งใหรูเทา ทนั ความจริงวา ส่ิงท้ังหลายมันเปน ของมนั ตามสภาวะของ
ธรรมชาติ เชน เปน ไปตามเหตุปจจยั ของมนั เอง เราจะเอาความยดึ ม่ันถอื มนั่
ของเราไปกาํ หนดมันไมได

ตกลงวา เทา ทม่ี กี ารกลาวถึงหวั ใจพระพทุ ธศาสนากันหลายแบบหลาย
แนวนน้ั ทัง้ หมดก็เปน อันเดียวกนั ซ่ึงในท่สี ุดหลกั ใหญท ค่ี รอบคลมุ ก็คอื
อริยสัจสีน่ ี่แหละ ไมไปไหน

ท่ีพูดมาในตอนน้ที ั้งหมด กเ็ ปน การแยกแยะและเชอื่ มโยงใหเห็นชดั ลง
ไปวา หลกั หัวใจพระพทุ ธศาสนา ทพี่ ูดกันหลายอยา งน้ัน ที่จริงกอ็ นั เดียวกัน
ตา งกันโดยวธิ พี ดู เทา นัน้ และขอยาํ้ วา

อยา มัวพดู วาอยางนน้ั กไ็ ดอยางนี้กไ็ ด ขอใหจบั หลกั ลงไปใหช ดั และ
ปฏิบตั ใิ หม นั่ ใหเดด็ เดย่ี วแนลงไป อยางที่วาแลว ขา งตน

ถึงจะเลาเรียนจบหลัก ถาไมรูจกั หนา ทต่ี อ อรยิ สจั
กป็ ฏบิ ตั ิไมถูก และไมม ีทางบรรลุธรรม

เมื่อพดู ถงึ อรยิ สัจสี่ ก็เลยจะตองพดู ถงึ หนา ทต่ี อ อรยิ สจั ดว ย เมื่อกีน้ ้ไี ด
พูดไปแลววา พระพทุ ธเจาตรัสวา ถาพระองคยงั ไมทรงรูเขาใจอริยสจั สีโ่ ดยมี

๑๒ แกนแทข องพระพุทธศาสนา

ญาณทศั นะครบทั้ง ๓ อยางในอรยิ สจั สแ่ี ตละขอ ซ่งึ เมอ่ื รวมแลว ๓ คูณ ๔
เปน ๑๒ กจ็ ะไมปฏิญาณวาไดตรัสรูแลว

ดงั นนั้ เราจะรอู ริยสจั อยา งเดียวไมไ ด ตอ งรูห นาที่ตอ อริยสจั และ
ปฏิบัตหิ นา ท่ีตอ อริยสัจใหสําเร็จดว ย การเรียนอริยสจั โดยไมรหู นา ทตี่ อ
อรยิ สัจอาจจะทาํ ใหเ ขา ใจสบั สน

พระพทุ ธเจา ตรสั กจิ หรอื หนา ทต่ี อ อรยิ สจั สไ่ี วค รบถว นแลว แตล ะอยา ง ๆ
๑. หนา ทต่ี อ ทกุ ข คอื ปรญิ ญา แปลวา กาํ หนดรู รเู ทา ทนั จบั ตวั มนั ใหไ ด
๒. หนาทตี่ อ สมทุ ัย คือ ปหานะ แปลวา ละ หรือกาํ จัด
๓. หนาทตี่ อ นโิ รธ เรยี กวา สจั ฉิกิริยา แปลวา ทําใหแจง คอื บรรลถุ งึ
นน่ั เอง
๔. หนา ทีต่ อมรรค เรยี กวา ภาวนา แปลวา บาํ เพ็ญ ก็คือปฏบิ ตั ิ ลงมอื
ทํา ทาํ ใหเ กิด ทาํ ใหม ขี ้นึ

๑) ทุกข...เรามีหนาท่ีตอมันอยางไร พระพุทธเจาตรัสวา “ทกุ ขงั

ปริญเญยยัง” ทุกขนั้นเปน สิ่งทจี่ ะตองรูเทาทัน ภาษาพระแปลกันวา “กําหนด
รู” ทุกขเปนส่งิ ทีต่ อ งกาํ หนดรู

“ปรญิ เญยยัง” นเ่ี ปนคุณศัพท ถา ใชเปน คาํ นามกเ็ ปน “ปรญิ ญา” ทีเ่ รา
เอามาใชเปนชือ่ ของการสําเร็จการศึกษา

ทกุ ข...เรามีหนาทร่ี จู ักมนั รทู ันมัน เรยี กวา “ปริญญา” ทุกขนนั้ เปน ตัว
ปญ หา เปน ปรากฏการณ ทา นเปรยี บเหมอื นกับ “โรค”

ในทางรา งกายของเราน่ี เมื่อเรามโี รค เราก็จะแกไ ขบาํ บดั หรือกําจัดโรค
แตพอเอาเขา จริง เรากาํ จัดโรคไมได แตเราตอ งเรยี นรจู ักโรค เหมือนหมอจะ
แกไขโรค ตอ งกําหนดรใู หไ ดว าเปนโรคอะไร เปน ที่ไหนตรงไหน เพราะ
ฉะนั้น นอกจากตองรูโรคแลว ตองรรู างกายซึง่ เปน ทีต่ ั้งของโรคดวย

ทํานองเดยี วกัน ในขอทกุ ขนี้ จงึ ไมใชเ รยี นเฉพาะปญ หา แตเรยี นชวี ิต

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๓

ซึ่งเปน ที่ตั้งแหง ปญหาดว ย หมายความวา ทุกขคอื ปญ หาเกดิ ทีไ่ หน มนั เกดิ
ทช่ี วี ติ หรอื เกิดในโลก เราก็ตอ งรจู กั โลก รจู ักชวี ิต

เหมอื นกบั แพทยจ ะแกไ ขโรค เวลาเรยี นเรมิ่ ที่อะไร ก็ตอ งไปเรียนตงั้ แต
anatomy (กายวิภาค) ตอ งไปเรยี น physiology (สรรี วทิ ยา) แทนท่จี ะเริ่ม
เรยี นทีโ่ รค กไ็ ปเรียนที่รา งกายซึ่งเปนที่ตัง้ ของโรค

เชน เดยี วกบั เราจะแกไ ขทกุ ข เราตอ งเรียนรูเขา ใจชวี ิต ตลอดถงึ โลกท่ี
เราเกยี่ วขอ งสมั พันธ ซึง่ ในท่ีสดุ ปญหาเกิดที่ชวี ติ ถาเราไมเ ขาใจชวี ิต เรากแ็ ก
โรคของมัน คือปญหาหรือทุกขไมได เร่ืองนี้ก็ทํานองเดียวกนั

ดงั นัน้ ในขอทกุ ขน ีค้ วามหมายจึงคลุมท้ังตวั ปญ หาและสิง่ ซง่ึ เปนทตี่ ัง้
แหง ปญหา โดยเฉพาะชวี ิตมนุษยน เ่ี ราจะตองเขาใจ คอื ปริญญามัน

ทกุ ข ก็คอื ความผนั แปรบบี คน้ั กระทบกระเแทก ซ่ึงเกิดเปนปญหาแก
ชีวิต เหมอื นกับโรค กค็ ือความแปรปรวนวิปริตผิดปกตขิ องรา งกาย เชน
อวยั วะบางสวนถูกบีบคน้ั บอนเบยี นกระทบกระแทกเสียดแทง ตลอดจน
ทํางานไมปกติ

เม่ือเรยี นรจู ักรา งกายและระบบการทาํ งานของมันแลว กก็ ําหนดรโู รคท่ี
จะบาํ บัดแกไ ขได น่กี เ็ ชนเดยี วกนั การจะกาํ หนดรทู กุ ข ก็ตองรูจักชีวิตและดู
ที่ชวี ติ (นามรปู /ขันธ ๕) นแี่ หละ

๒) พอรโู รควา เปนโรคอะไร จับไดแ ลว ก็ตองสบื สาวหาสาเหตุของโรค

สมทุ ยั ไดแ กตวั เชอ้ื โรคทเี่ ราจะตองกาํ จัด หรอื ความบกพรองทาํ งานผดิ ปกติ
ของรางกายทีจ่ ะตอ งปรับแก

เวลาแกไ ขบาํ บดั โรคน่ี เราไมไ ดแ กไ มไ ดก าํ จดั ตวั โรคนะ เชน เราไมไ ดข จดั
ความปวดหวั เราตอ งขจดั สาเหตขุ องความปวดหวั ถา ไมอ ยา งนน้ั เราจะแกได
แตอาการ ยาจาํ นวนมากไดแคร ะงบั อาการใชไหม เชน ระงบั อาการปวดหวั

ตราบใดทเี่ รายงั ไมไ ดก าํ จดั เหตขุ องการปวดหวั เรากแ็ กโ รคปวดหวั ไมส าํ เรจ็

๑๔ แกน แทข องพระพุทธศาสนา

ฉะนั้น ในขอ ทีห่ นงึ่ น้เี ราจงึ เรยี นรูจกั ทุกข เหมอื นกบั แพทยทวี่ นิ จิ ฉยั
โรคใหได ตอจากน้ันกส็ ืบสาวหาตวั สาเหตขุ องโรค ซึง่ อาจจะเปน เชอื้ โรค
หรือความบกพรองของอวยั วะ ไมใ ชเ ช้อื โรคอยา งเดียว

บางทกี ารเปน โรคนน้ั เกดิ จากการกระทบกระทั่งกบั สิ่งแวดลอ ม ความ
บกพรอ งของอวัยวะ หรอื การทาํ งานวิปริต หรือความแปรปรวนตา งๆ ซ่งึ จะ
ตองจบั ใหได เพราะเมือ่ มีโรคกต็ อ งมีสมุฏฐาน หรือสมทุ ยั

สมทุ ยั นแี้ หละเปน ตวั ท่ีตอ งแกไ ขหรอื กาํ จัด หนาทต่ี อสมุทยั เรียกวา
“ปหานะ”

๓) ตอ ไป เมอื่ จะกาํ จดั โรค เราตอ งมเี ปา หมายวา เราจะเอาอะไร และจะ

ทาํ ไดแ คไ หน จดุ หมายอะไรทเ่ี ราตอ งการ กาํ หนดใหไ ด อนั นเี้ รยี กวา นโิ รธ...รู
วา เราตอ งการอะไร และรคู วามเปน ไปไดใ นการแกไ ข

คนทไ่ี มม คี วามชดั เจนวา เราตอ งการอะไร มคี วามเปน ไปไดอ ยา งไร กจ็ ะ
ทาํ อะไรไมส าํ เรจ็

แพทยก็ตองวางเปา หมายในการรกั ษาเหมือนกนั วา มนั เปน ไปไดแ ค
ไหน เราจะเอาอะไรเปนจุดหมายในการรักษาน้ี แลวก็ทําไปใหไ ด ใหบ รรลุ
จุดหมายนน้ั เรียกวา “สจั ฉิกริ ิยา” แปลวา ทําใหป ระจกั ษแ จง ทาํ ใหเ ปน
จริงข้นึ มา คอื ทําใหส าํ เรจ็ หรือบรรลุถึง

๔) พอวางเปาหมายเสรจ็ กม็ าถงึ ขั้นลงมือปฏบิ ตั ิ จะผา ตดั ใหย า และ

ใหคนไขป ฏบิ ตั ิตัวบรหิ ารรางกายอยางไร
วิธรี กั ษาทั้งหมดมาอยูในขอ ๔ คอื มรรค เปนข้นั ทีต่ อ งลงมอื ทาํ เรยี ก

วา “ภาวนา” ซึ่งเปน เรือ่ งใหญ มรี ายละเอยี ดมากมาย
เพราะฉะนัน้ อริยสจั ๔ จึงเปนวธิ กี ารวิทยาศาสตร จะใชในการสอนก็

ได ในการรกั ษาโรคก็ได แพทยก ็ใชวิธกี ารนี้

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๕

อรยิ สจั คือ ธรรมท่ีนาํ เสนอเปนระบบปฏิบตั ิการ
ใหมนษุ ยบ รหิ ารประโยชนจ ากความจริงของธรรมชาติ

ทจ่ี รงิ สภาวะตามธรรมชาตนิ นั้ ในทส่ี ดุ กค็ อื กระบวนการอทิ ปั ปจ จยตา
ปฏิจจสมปุ บาท และภาวะเหนอื กระบวนการนนั้ คอื นพิ พาน เทา น้นั เอง

แตพระพทุ ธเจา ทรงนํามาแสดงเปนอริยสจั เพอื่ ใหเ หน็ ขน้ั ตอนในการ
ปฏบิ ตั ขิ องมนษุ ย และเปน วธิ สี อนดว ย คอื เปน วธิ สี อนทจ่ี ะใหค นเขา ใจไดง า ย
และเกดิ ผลในเชิงการปฏิบตั ิที่เราใจใหท ําตาม และทําไดเ ปน ขั้นตอนชดั เจน

อรยิ สัจน้ัน แทจริงเปนหลกั ของเหตุและผล ธรรมดาเราพดู ถึงเหตุกอ น
แลว จึงพูดถึงผลใชไหม แตใ หสังเกตวา พระพุทธเจา กลับทรงยกผลขึน้ แสดง
กอน แลวแสดงเหตุทีหลงั ทําไมจึงเปนเชนน้ัน

ทุกข คือปรากฏการณซ่งึ เปนผล และ สมทุ ยั เปนเหตขุ องทกุ ขน้ัน… นี่
ผลกับเหตุ ๑ คแู ลว

นิโรธ คือจุดหมายทตี่ องการ จดั เปน ผล แลว ก็ มรรค คือวิธปี ฏบิ ัตใิ ห
บรรลุจดุ หมายน้ัน จดั เปน เหตุ…นก่ี ผ็ ลกับเหตอุ ีก ๑ คู

รวมเปนผลกบั เหตุ ๒ คู
น่เี ปน ขอทนี่ า สงั เกต เปนการพลกิ กลับกันกับความรูส กึ ทั่วไปซ่ึงมองไป
ท่เี หตกุ อ นผล
ตามปกตพิ ระพทุ ธเจา กต็ รัสเหตกุ อนผล แตใ นกรณนี ้กี ลบั แสดงผล
กอนเหตุ เพราะอะไร...เพราะเปน เร่ืองของวิธีสอน ซ่ึงตอ งเริม่ ดวยสงิ่ ที่มอง
เหน็ อยู และตอ งเริ่มทปี่ ญ หากอน
เร่ืองอะไร จๆู ก็พดู ถงึ เหตุของปญ หาโดยไมไ ดพ ดู ถึงปญหา เปน หลกั
ของการสอนและการชแี้ จงอธิบายวา ตอ งเร่ิมทปี่ ญหา โดยชี้ปญหาวาเปน
อยางนน้ั อยา งนี้ ทาํ ความเขา ใจปญ หา แลว จึงคนหาสาเหตุ เสรจ็ แลว กช็ ีถ้ ึง
จดุ มงุ หมาย หรอื สง่ิ ท่ตี อ งการ แลว กบ็ อกวธิ ปี ฏิบตั ทิ จ่ี ะใหเขา ถงึ จดุ หมาย

๑๖ แกน แทข องพระพุทธศาสนา

วธิ สี อนอยางนีเ้ ปนทเ่ี ราใจดว ย พอพูดถึงปญ หา โดยเฉพาะปญ หาของ
ตัวเอง หรอื ปญหาทีเ่ ก่ียวของกระทบถึงตัว คนก็สนใจ อยากจะรู อยากจะ
แกไขปญหานัน้ แลว จึงสบื สาววา ปญหานเี้ กดิ จากเหตอุ ะไร

เมอื่ อยากกําจดั เหตแุ ลว พอพดู ถึงจดุ หมายวาดีอยา งไร คนก็อยากจะ
ไปถงึ จดุ หมายน้ัน แลว จงึ บอกวิธีปฏิบตั ิ

ถา เราไปบอกวธิ ีปฏบิ ัติกอ น วิธปี ฏิบัตอิ าจจะยากมาก คนกจ็ ะทอใจ ไม
อยากไป ไมอ ยากทํา

แตถ า ชี้จุดหมายแลว พูดใหเ หน็ วามันดีอยางไร ใจเขาจะใฝปรารถนา
ยง่ิ เหน็ วา ดเี ทา ไร ประเสรฐิ เทา ไร เขายง่ิ อยากไป เขากพ็ รอ มและเตม็ ใจทจ่ี ะทาํ

พอถึงตอนที่เขาพรอ มแลว น้ี เราจึงคอยบอกวิธีปฏบิ ตั ิ ไมตอ งกลัว
หรอก ตอนนเ้ี ขาสนใจ ตงั้ ใจเตม็ ที่แลว เขายินดพี รอ มท่ีจะทาํ สุดแรงของเขา

ฉะน้นั หลักอรยิ สจั น้จี งึ เปน วธิ สี อนดว ย พรอมทง้ั เปนวิธีการแกปญ หา
และวิธปี ฏิบตั ิการในงานตา งๆ วิธีสอนทีไ่ ดผ ลดจี ะใชหลกั การน้ี แมแ ตพ วกท่ี
จะปลุกระดมก็พลอยเอาไปใชไ ดดว ย

ทาํ ไมจงึ วาในการปลุกระดมก็ตอ งใชวิธนี ี้จึงจะไดผ ล กเ็ พราะวาการ
ปลุกระดมน้ี แมแตท ่ไี มส จุ ริต เขามุงแตจ ะใหสาํ เรจ็ กเ็ อาวิธีน้ีไปใช เพราะ
เปน วิธที ่ไี ดผ ล คอื อยา งน้ี

ตอนตนตอ งพดู ช้ปี ญหากอ น... “เวลาน้ีมนั แย มปี ญ หาทง้ั น้ัน มีความ
ยากจน มีความเดอื ดรอ น อะไรๆ ก็ไมดี มนั เลวรา ยอยา งนน้ั ๆ”

ถาจะปลุกระดม ก็ตอ งช้เี รอื่ งทไ่ี มดี ใหเ หน็ ออกมาชดั ๆ วาเยอะแยะไป
หมด รา ยแรงอยา งไร ตอ งช้ที กุ ขใ หช ัดกอ นวานา เกลียดนา กลวั รายแรงจน
คนไมพอใจมาก อยากจะแกไ ข

พอชี้ทุกขหรอื ปญ หาชัดวา อะไรไมด ีอยางไร จะตองแกไขแลว ทนี ก้ี ช็ ้ี
สาเหตุ วานี่ตัวการ เจา ตัวนีแ้ หละ ตัวรายอยูน ี่ เปน เหตใุ หเ กดิ ปญหาเหลานี้
มนั อยทู ีน่ ่ัน ถงึ ตอนนี้คนกก็ า วไปอีกขัน้ หนึ่ง ใจก็เกิดพลงั เกดิ ความตื่นเตน

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๗

เกดิ เรยี่ วแรงกาํ ลงั ขนึ้ มา วา จะตอ งจดั การกาํ จดั มนั ละนะ เราเหน็ ตวั การแลว
พอคนกระหายอยากจะจดั การแลว กช็ ี้เปาหมาย
อยา งกบั สมยั หน่งึ ที่เขาปลุกระดมกัน บอกวา “โนน ฟา สที องผอ งอาํ ไพ”

หรอื อะไรก็แลวแต ส่ิงดีงามจะตอ งเปน อยา งน้ี บรรยายใหเหน็ วาดเี หลือเกนิ
เลิศเหลอื เกิน ชี้ใหเหน็ เลิศเลอเทาไรยง่ิ ดี

จดุ หมายน้นั ตอ งช้ีใหเ ดนวาดที ่สี ดุ ดีอยา งโนน อยางน้ี จนกระท่งั คน
อยากไปเหลอื เกิน ยิง่ คนอยากไปสูจุดหมายน้ันเทาไร ก็จะยงิ่ เกลยี ดชงั เจา
ตวั การน้ัน และอยากกาํ จดั มันมากเทานัน้

คนไมช อบสภาพนั้นอยูแลว เพราะถกู ช้วี า เปนปญ หา พอช้ีตน เหตุให
เห็นตัวการรายท่ีตองกําจดั ใหได ใจคนกพ็ ุงเปาไป พอพรอ มอยา งนแ้ี ลว ช้ี
จดุ หมายท่ดี ที ่ีตองการเสร็จแลว ทนี ก้ี ็พรอ มเตม็ ทีเ่ ลย

พอบอกวิธีปฏบิ ตั วิ า “ตอ งทาํ อยางนๆ้ี ๆๆ” ตอนนีว้ ธิ ปี ฏบิ ัติถึงจะยากก็
ไมกลัวแลว เอาเลย ไมวา จะยากอยางไร ก็เอาทง้ั น้ัน ระดมกําลังทาํ เต็มที่...
มรรคมาไดเลย

รวมความวา อริยสัจเปนหลักทเ่ี ช่ือม ระหวางความจรงิ ของธรรมชาติ
กบั ปฏิบัติการของมนุษย

ถา เอาความจรงิ ของธรรมชาตแิ ทๆ กค็ ือ อทิ ปั ปจ จยตาปฏิจจสมปุ บาท
และนิพพาน ซ่งึ เปนแกน แทในแงของความจรงิ ตามธรรมชาตลิ ว นๆ

แตถ าพูดตามความจรงิ ลว นๆ แทๆ อยางนนั้ จะยากมาก พระพทุ ธเจา
จึงทรงนาํ เสนอในรปู ของหลกั อรยิ สจั ๔

เม่ือดเู หตกุ ารณตามลาํ ดบั กจ็ ะเหน็ ชัดวา
๑. หลงั ตรสั รู กอ นจะเสดจ็ ออกเดนิ ทางสง่ั สอน พระพทุ ธเจา ทรงพระ
ดาํ รวิ า ธรรมทพี่ ระองคต รสั รู คอื อทิ ปั ปจ จยตาปฏจิ จสมปุ บาท และนพิ พาน
นนั้ ยากทใ่ี ครจะรตู ามได จงึ นอ มพระทยั จะไมท รงสอน (วนิ ย.๔/๗/๘) และ
๒. ตอ มาเมื่อทรงเร่มิ สอน คอื ทรงแสดงธรรมครงั้ แรก (เรยี กวาปฐม-

๑๘ แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา

เทศนา) พระองคต รสั วาตรัสรอู รยิ สัจ ๔ โดยทรงทาํ กจิ หรือหนาทต่ี ออรยิ สจั
๔ น้นั ครบบรบิ ูรณแลว (วนิ ย.๔/๑๓/๑๘)

อาตมาปรารภเรอื่ งเกยี่ วกบั แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา มวั แตพ ดู คาํ
ปรารภเสยี นาน กเ็ พยี งเพอื่ ใหเ หน็ วา เรอ่ื งหวั ใจพระพทุ ธศาสนานนั้ จะพดู
อยา งไรกไ็ ด ในบรรดาหลกั การทพ่ี ระเถระทง้ั หลายทา นไดน าํ มาบอกกบั พทุ ธ-
ศาสนกิ ชน เชน หลกั โอวาทปาฏโิ มกข ในวนั มาฆบชู าเมอ่ื วาน ทกุ หลกั เปน หวั ใจ
พระพทุ ธศาสนา ทน่ี าํ มากลา วในแงม มุ ตา ง ๆ กนั แตต อ งโยงถงึ กนั ใหไ ด และ
ตอ งใหเ ปน หลกั ทชี่ ดั เจน และปฏบิ ตั ใิ หจ รงิ จงั ไมใ ชม องพรา ๆ วา อะไรกไ็ ด

อยา เขลาตามคนขาดความรู วา พทุ ธศาสนามองโลกแงร า ย
หลกั พทุ ธสอนวา ทกุ ขเ ราตอ งมองเหน็ แตส ขุ เราตอ งใหม ใี หเ ปน

พดู ถงึ ตรงน้ี กข็ อแทรกอกี นดิ เปน ขอ สงั เกตวา พอมองทหี่ ลกั อรยิ สจั ก็
เหน็ วา พระพทุ ธศาสนาเรมิ่ ตนดวยทุกข

บางทคี นภายนอก หรอื แมแ ตค นภายในน่เี อง มองวาพระพทุ ธศาสนา
สอนแตเ ร่ืองทกุ ข อะไรกเ็ ปน ทุกข ชีวติ กเ็ ปนทกุ ข

ฝรัง่ บางทีกว็ าพระพทุ ธศาสนาเปน pessimism คอื มองโลกในแงร าย
ไปอา นดเู ถอะ พวก encyclopaedia และหนังสือตาํ รบั ตําราฝรั่ง จํานวน
มากหรอื สวนมาก พอพูดถงึ พระพทุ ธศาสนา ก็เรม่ิ ดวยวาพระพุทธศาสนา
มองวา ชีวติ เปนทุกข บอกวา life หรือ existence เปน suffering อะไร
ทํานองนี้ ซ่งึ ชวนใหเ กิดความเขาใจผิด

ตรงนีช้ าวพทุ ธเองจะตอ งชดั เจน
กอนจะชแ้ี จงเรอื่ งนี้ ขอต้ังขอ สงั เกตอีกอยา งหนึง่ วา
คนพวกที่ไมไดเรียนพระพุทธศาสนาในแงของตํารับตําราหรือทฤษฎี
ถาอยๆู เขาเขา มาเมอื งไทย อาจจะไดภาพของพระพทุ ธศาสนาท่ีมคี วาม

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๙

ประทับใจในทางตรงกันขา มกับพวกท่อี านหนงั สือ
พวกที่อานหนังสอื อาจเขาใจวา พระพทุ ธศาสนานี่สอนอะไรตออะไรให

มองชวี ิตเปนทกุ ข ไมส บายเลย
แตพวกท่ไี มไดอา นหนังสอื อยูๆ เขา มาเมืองไทย เพียงแตรวู าเมืองไทย

เปนเมอื งพทุ ธ พอมาเห็นคนเมืองไทยยิ้มแยม แจมใส อยางท่เี รียกวา เปน
the land of smile สยามเมอื งยมิ้ เลยรูสกึ วา เมืองไทยเปนสขุ

เคยมฝี รัง่ หนุมสาวไปหาอาตมาทว่ี ัด ไมร จู กั กนั ไมร ูว าใครแนะนาํ ไป
ถามเขาวามาทําไม

เขาบอกวา เขาอยากรเู ร่อื งพระพทุ ธศาสนา กอนมาไมไดสนใจ แตมา
แลว ตอนเชา ยนื ท่หี นาตา ง มองลงไป เหน็ คนไทยหนาตาย้ิมแยม แจม ใส ดู
คนไทยมคี วามสุขดี พระพุทธศาสนาสอนอะไรทาํ ใหค นไทยมคี วามสขุ

บางรายถงึ ขนาดบอกวา เขาไปเทีย่ วตามบา นนอก ไปเหน็ แมแ ตง านศพ
สนุกสนานกนั จัง เมอื งฝรงั่ ไมเ ปนอยางนีเ้ ลย เวลามีงานศพฝร่งั หนา ตาเครง
เครยี ดเหลือเกิน จติ ใจไมสบายเลย แตเ มืองไทยสนุก แมแ ตงานศพกไ็ ม
ทุกข เขาอยากรวู าพทุ ธศาสนาสอนอะไร

นเ่ี ปน ความประทับใจอีกแบบหนง่ึ สาํ หรบั คนที่มาเห็นภาพเชิงปฏบิ ัติใน
ชีวิตความเปนอยวู าชาวพุทธมคี วามสุข ตรงกันขามกบั เมอื งฝรั่งทม่ี ีแตหนา
ตาเครงเครยี ด ยิม้ ยาก มีความทกุ ขมาก เปนโรคจิตมาก

จะโยงอยางไรใหสุขกับทุกขรวมอยูในภาพของพุทธศาสนาอันเดียวกัน
ถาเราจับหลักไดถกู จะไมม ีปญ หาในเรอื่ งน้ี

คาํ ตอบอยทู ่ีหลักกิจในอริยสัจ หรือหนา ทต่ี อ อริยสจั ทพ่ี ดู ไปแลว พระ
พุทธศาสนาสอนอริยสัจส่ี เริม่ ดวยทกุ ข

หนาที่ตอ ทุกขคอื ปรญิ ญา คอื ตองรูทันมนั เราไมม หี นา ทีเ่ ปน ทุกข
เพราะปญหาเปน ส่ิงที่เราตองรเู ขา ใจ ถา เราจบั จดุ ปญ หาไมได เราก็แกป ญหา
ไมไ ด ไมเ ฉพาะตวั ปญ หาเทานั้น เราจะตองรูเขาใจสิ่งท่ีเก่ยี วของกับปญหา

๒๐ แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา

สง่ิ ทีร่ องรับหรือเปน ทีต่ ง้ั ของปญ หา คือรเู ทา ทนั ชวี ิตสังขารและรเู ทา ทนั โลก
อันนเ้ี ปน เร่อื งของการรู หนาทต่ี อทกุ ขม ีอยา งเดียวคอื ปริญญา พูด

งา ยๆ ทกุ ขน ้สี าํ หรับปญ ญารู... จบแคน้ี
ถาใครเอาทกุ ขม าเขาตวั ใครทําตัวใหเปนทกุ ข แสดงวาปฏิบตั ิผิดหลัก

ไมม ที ีไ่ หนพระพุทธเจาสอนใหค นเปน ทกุ ข สอนแตใ หรเู ทาทันทุกข เพื่อจะ
แกไขได มรรคตา งหาก ท่เี รามีหนาทปี่ ฏบิ ตั ลิ งมือทําใหมใี หเ ปน

สุขตรงขา มกับทกุ ข สขุ อยูใ นอริยสัจขอไหน สุขอยูในขอ นโิ รธ คอื ในขอ
จดุ หมาย แตเราไมน ยิ มใชค ําวา สขุ เพราะสุขน้ีจะเปน สัมพัทธตลอด เปน
relative เพราะตราบใดท่ีมสี ุข กห็ มายความวา ยังมที กุ ขปนอยู คือยงั ไมพน
ทกุ ข ยงั ไมช ัดวาทุกขห มดหรอื ยงั

แตถา เมอื่ ไรทุกขไ มม ีเหลือ อันน้จี ะพดู วา สุขหรืออยางไรก็แลวแต ถา
พดู วา สขุ ก็หมายถึงสขุ สมบูรณเ ลย ไมม ที ุกขเหลืออยู

พุทธศาสนายอมรับมาตรฐานตัดสินตอเม่ือไรทุกขหรือไมมีทุกขเหลือ
เลย จุดหมายของพุทธศาสนาคอื ไมมที ุกขเ หลือเลย

นิโรธนนั้ ทแ่ี ทไ มไ ดแ ปลแคดบั ทุกข ขอใหส ังเกตวา “นิโรธ” นัน้ แปลวา
การไมเ กดิ ขน้ึ แหง ทกุ ข เพราะดบั ทุกขแ สดงวาเรามที ุกข จงึ ตอ งดบั มนั

พอเราปฏบิ ตั ไิ ปถงึ จุดหมายของพระพุทธศาสนา กถ็ ึงภาวะไรทุกข ไมมี
ทุกขเหลอื ไมมกี ารเกิดขนึ้ แหงทุกขอ กี ตอ ไปเลย

สว นในระหวางปฏบิ ตั ิ ระหวางทเ่ี ปน สมั พทั ธ ทกุ ขจะนอยลงและจะมี
สขุ มากขึ้น ฉะนนั้ สุขจึงจัดอยใู นฝายนิโรธ ในฝายจดุ หมาย กจิ หรอื หนา ท่ี
ตอ นโิ รธ คอื สจั ฉกิ ิรยิ า แปลวา ทําใหประจักษแ จง คอื ทําใหประจกั ษแ กต วั
หรือบรรลุถึง สขุ จึงเปนภาวะท่ีเรามเี พ่ิมข้ึนๆ

หมายความวา ทกุ ขเปน สิง่ ทีเ่ รารูทนั แลว กห็ าทางแก เราจะกาวไปสจู ุด
หมาย คอื มีสขุ เพม่ิ ขึ้นเรอ่ื ย ทุกขน อยลงเร่ือย จนกระท่ังหมดทกุ ข เปน สขุ ที่
แท คือ “นิพฺพานํ ปรมํ สุข”ํ นพิ พานเปนบรมสขุ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๑

ระหวา งปฏิบัติเรากห็ างทกุ ขและมสี ขุ มากข้ึนเรือ่ ย
ฉะน้นั ในชวี ิตจริง คือภาคปฏิบัติ ชาวพทุ ธจงึ ตอ งมสี ขุ มากขึน้ และ
ทกุ ขน อยลงไปเร่อื ยๆ นค่ี ือการท่เี ราดูพทุ ธศาสนาในเชงิ ปฏบิ ัติ ซงึ่ เปน ชวี ิต
จริง ฝรงั่ จงึ เหน็ ชาวพุทธมคี วามสุขย้มิ แยม แจมใส
แตถ าไปอานหนงั สือเปนเชิงทฤษฎี ทคี่ นเขยี นจบั หลกั ไมช ัด พอเริ่ม
ดวยทกุ ขก อน กม็ องพทุ ธศาสนาเปน ทุกขไ ป
ทจ่ี ริงนัน้ ทง้ั หลกั การและภาคปฏบิ ตั ิของพระพทุ ธศาสนา สอดคลอ ง
เปนอนั เดียวกัน
พทุ ธศาสนิกชนตองจบั หลักเรอ่ื งกจิ หรือหนา ทต่ี ออรยิ สจั นีใ้ หไ ดวา ...

๑. ทุกข เรามหี นาที่ ปริญญา รูทัน ศึกษาใหเขาใจวามันอยทู ีไ่ หน มนั
เปนอยางไร จับตวั มนั ใหชดั เพื่อใหพ รอมท่จี ะแกไข

๒. สมทุ ัย ตัวสาเหตุของทกุ ขน้นั เราจึงมหี นา ที่ ปหานะ กําจดั แกไข
๓. นโิ รธ เรามหี นาที่ สัจฉกิ ริ ยิ า บรรลุจดุ หมายทีบ่ ําราศทุกข เปนสุข

มากข้นึ ๆ
๔. มรรค ขอ นเี้ ทา นน้ั ทเ่ี รามีหนา ท่ี ภาวนา ปฏบิ ัติลงมอื ทํา

สรุปความวา พระพทุ ธศาสนาสอนเรื่องทุกขไ วส ําหรับปญ ญารู แตส อน
เร่อื งสขุ สาํ หรบั ใหเ รามชี ีวิตเปนจรงิ อยางน้นั

พูดอยา งสัน้ วา พุทธศาสนาสอนใหร ูทันทุกข และใหอ ยเู ปนสุข
หรอื ใหสนั้ กวา นน้ั อกี วา พทุ ธศาสนาสอนใหเ หน็ ทกุ ข แตใหเปน สุข คือ
ทุกขส าํ หรับเหน็ แตสุขสาํ หรับเปน
เพราะฉะนนั้ จะตองมองพระพทุ ธศาสนาวาเปนศาสนาแหง ความสขุ ไม
ใชศาสนาแหง ความทกุ ข ฝรง่ั จบั จดุ ไมถูก กเ็ ขา ใจผิดพลาด
ขอผานไป ทงั้ หมดนต้ี ้งั เปนขอสังเกต เปนอารัมภบท

-๒-

แกน แทของพระพทุ ธศาสนา

ทนี ้ี กม็ าถงึ ตวั แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา กเ็ อาทพ่ี ดู เปน อารมั ภบท
นนั่ แหละมาครอบคลมุ คอื สาระอยใู นเรอ่ื งทพี่ ดู ไปแลว นนั่ เอง เพราะไดพ ดู
แลว วา อรยิ สจั สคี่ รอบคลมุ หลกั การของพระพทุ ธศาสนาทงั้ หมด ไมว า จะเปน

• หลัก “เวนชวั่ ทาํ ดี ทําใจใหบรสิ ทุ ธ์ิ”
• หลัก “ธรรมทั้งปวงไมควรยึดมั่นถือม่ัน”
• หลกั “เราบัญญตั ิแตทุกขและความดับทุกข” หรือ
• หลกั “อทิ ปั ปจจยตาปฏจิ จสมุปบาท กับนพิ พาน”
ทกุ หลกั รวมอยูในหลัก อริยสจั สี่ ทั้งน้ัน

เมือ่ รวู า อะไรเปนหวั ใจของพระพุทธศาสนาแลว กเ็ ทา กับจับจดุ ไดวาจะ
ตองเจาะลงไปหาแกน ในน้นั

ขอยา้ํ วา “อรยิ สจั ” คอื หลักที่โยงความจริงในธรรมชาติ มาสูการใช
ประโยชนของมนุษย เพราะลาํ พังกฎธรรมชาติเอง มนั มอี ยูตามธรรมดา ถา
เราไมรูวธิ ีปฏิบตั ิ ไมรจู ดุ ทจ่ี ะเรมิ่ ตน ไมร ูล ําดับ เราก็สับสน

พระพุทธเจาทรงตองการใหเราไดประโยชนจากกฎธรรมชาติโดย
สะดวก จงึ นาํ มาจดั รูป ต้ังแบบ วางระบบไวให เรยี กวา “อรยิ สัจส”่ี

พระพทุ ธเจาทรงจัดวางอรยิ สจั สน่ี ้นั โดยทาํ ลาํ ดับใหเห็นชัดเจน เปนได
ทั้งวธิ ีสอน ทัง้ วธิ ีแกป ญ หา และวธิ ที ี่จะลงมือทาํ การตา งๆ เมือ่ ทาํ ตามหลกั
อรยิ สจั ส่ี ความจรงิ ของธรรมดาที่ยาก ก็เลยงา ยไปหมด

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๒๓

ความจรงิ มีอยูต ามธรรมดา
พระพุทธเจา มปี ญญา กม็ าคน พบและเปด เผย

ตอไปนีเ้ มอ่ื จะดู “แกน แทของพระพทุ ธศาสนา” กต็ อ งดทู ห่ี ลักความ
จรงิ อีก เรมิ่ ดวยขอ แรกมองวาพระพุทธศาสนามที าทีหรอื ทัศนะตอ ความจรงิ
อยางไร คือมองดโู ลก มองดธู รรมชาตแิ ละชวี ิตอยางไร พูดสนั้ ๆ วา พระ
พทุ ธศาสนามองความจรงิ ของสิ่งทั้งหลายอยา งไร

จดุ เรมิ่ ตน นช้ี ดั อยแู ลว ในพทุ ธพจน ทพ่ี ระสวดอยเู สมอในงานอทุ ศิ กศุ ล
วา “อปุ ปฺ าทา วา ภกิ ฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ติ า ว สา ธาตุ...”
มเี นอ้ื ความวา “ตถาคตคอื พระพทุ ธเจา จะเกดิ ขนึ้ หรอื ไมเ กดิ ขน้ึ กต็ าม ความ
จรงิ กค็ งอยเู ปน กฎธรรมดา เปน ความแนน อนของธรรมชาติ วา ดงั นๆี้ ”

น่คี ือการมองความจรงิ ตามแบบของพระพุทธศาสนา พุทธพจนนเี้ ปน
หลักพนื้ ฐาน เราควรจะเริ่มตน ดว ยหลักน้ี นน่ั กค็ อื พระพทุ ธศาสนามองสง่ิ
ทงั้ หลายเปนเร่อื งของธรรมชาตแิ ละกฎธรรมชาติ เปนความจริงที่เปนอยู
อยา งน้นั ตามธรรมดาของมัน ไมเกย่ี วกับการเกิดข้ึนของพระพทุ ธเจา

ในพทุ ธพจนน เ้ี อง พระพทุ ธเจา ตรสั ตอ ไปวา “ตถาคตมารคู วามจรงิ คน พบ
ความจรงิ นแ้ี ลว จงึ บอกกลา ว เปด เผย แสดง ชแ้ี จง ทาํ ใหเ ขา ใจงา ย วา ดงั นๆี้ ”

พุทธพจนตอนนบ้ี อกฐานะของพระศาสดาวา ฐานะของพระพุทธเจา
คอื ผคู น พบความจริง แลว นาํ ความจรงิ น้นั มาเปดเผยแสดงใหปรากฏ

พระพุทธเจาไมใชเปนผูบัญญัติหรือเปนผูสรางผูบันดาลอะไรข้ึนมาจาก
ความไมม ี พระองคเ พียงแตแ สดงความจริงท่มี อี ยู การท่พี ระองคบ าํ เพ็ญ
บารมีทงั้ หลาย กเ็ พอ่ื มาตรสั รเู ขาถงึ ความจริงอันน้ที ี่มีอยูตามธรรมดา

ความจริงน้ีมีอยูตามธรรมดาตลอดเวลา ไมมีใครเสกสรรคบันดาล (ไม
มผี ูสรา ง เพราะถา มีผสู ราง ก็ตอ งมีผูทีส่ รางผูสรา งน้นั ถาผูส รางมไี ดเ อง ก็
แนนอนเลยวา สภาวธรรมก็มอี ยไู ดโ ดยไมต องมผี ูสรา ง) มนั ไมอยใู ตอาํ นาจ

๒๔ แกนแทข องพระพุทธศาสนา

บงั คับบญั ชาของใคร ไมม ใี ครบดิ ผันเปลีย่ นแปลงมันได ผใู ดมปี ญ ญาจงึ จะรู
เขา ใจและใชประโยชนมันได

ปญหาอยูที่วา เราไมม ีปญ ญาท่จี ะรู เมื่อเราไมรคู วามจรงิ ที่เรยี กวา กฎ
ธรรมชาตินี้ เราก็ปฏิบัติตอ สงิ่ ท้ังหลายไมถกู ตอ ง เพราะสง่ิ ทัง้ หลายเปนไป
ตามความจรงิ ของมนั เมอ่ื เราไมรูความจรงิ ของมนั เรากป็ ฏบิ ตั ติ อ มนั ไมถูก
จึงเกดิ ปญหาแกตวั เราเอง

เพราะฉะนนั้ การรคู วามจรงิ ของธรรมชาติจงึ เปนเร่ืองสาํ คัญอยา งย่ิง
เมอื่ เรารูแลว เรากจ็ ะปฏบิ ตั ิตอ สิ่งท้งั หลายไดถกู ตอ ง

เหมอื นกับในทางวิทยาศาสตรฝ ายวัตถุ ที่คนพบความจรงิ คอื กฎธรรม
ชาตบิ างอยา งหรอื บางสวน เมอ่ื คน พบแลว กน็ ําเอากฎธรรมชาติสวนน้ันมาใช
ทําอะไรตา งๆ ได เชน การสรางส่งิ ประดิษฐตา งๆ ต้งั แตเ รอื กลไฟ รถยนต
รถไฟ เรือบนิ ตลอดจนคอมพวิ เตอรไ ด ก็มาจากการรูความจริงของกฎ
ธรรมชาติทัง้ นน้ั เมือ่ รูแลวกจ็ ดั การมันได เอามนั มาใชป ระโยชนไ ด ถาไมรู ก็
ตัน ติดขัด มแี ตเกิดปญ หา

เร่อื งน้กี ็ทาํ นองเดียวกับวทิ ยาศาสตร แตวิทยาศาสตรเอาแคค วามจรงิ
ของโลกวัตถุ สวนพระพทุ ธศาสนามองความจรงิ ของโลกและชีวติ ทั้งหมด

รวมความวา พระพทุ ธศาสนามองความจรงิ ของสิ่งทง้ั หลายวาเปน เรอ่ื ง
ของธรรมชาติทม่ี ีอยแู ละเปน ไปตามธรรมดาของมัน แลวพระพุทธเจา มาคน
พบ แลวกท็ รงทาํ ใหเขาใจงา ยขน้ึ โดยมวี ธิ ีจัดรปู รา งระบบแบบแผนใหเ รยี นรู
ไดสะดวก และวางเปน กฎเกณฑต างๆ

น่กี ค็ อื การจบั เอาหลักการของความจรงิ น่นั เอง มาจดั เปน ระบบขนึ้ เพอ่ื
ใหงา ยตอความเขา ใจของเรา

ทีน้ี ความจรงิ ของสิ่งทัง้ หลาย หรือกฎธรรมชาตทิ ่ีวานน้ั เปนอยางไร ก็มี
ตวั อยางเชน วา ส่ิงทั้งหลายเปนอนจิ จงั ไมเท่ยี ง ไมค งที่ เกดิ ข้ึนแลวกด็ บั ไป
เปลีย่ นแปลงไปตลอดเวลา เปน ทกุ ขัง คงอยใู นสภาพเดมิ ไมไ ด และเปน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๕

อนตั ตา ไมเ ปน ตวั เปนตนของใคร ทจี่ ะไปสงั่ บงั คบั ใหเปนไปตามปรารถนา
ได เราจะไปยึดถอื ครอบครองมนั จริงไมได เพราะมนั เปนไปตามเหตปุ จจัย
ของมัน หรือดํารงอยูตามสภาวะของมนั

สง่ิ ทง้ั หลายที่เรายดึ ถอื เปนตวั ตนในบัดน้ี ก็คือภาพปรากฏของเหตุ
ปจ จยั ท่ีเปน ไปตามกระบวนการของมนั เมื่อเหตปุ จ จยั มาสมั พันธกันเปน
กระบวนการ ก็แสดงผลเปน ปรากฏการณที่เราเรยี กเปนตวั เปน ตน แตแ ท
จริงแลวตวั ตนอยางนน้ั ไมม ี มแี ตเพียงภาพปรากฏช่วั คราว

สวนตัวจริงที่อยเู บ้อื งหลงั กค็ ือกระบวนการแหง ความสัมพนั ธกนั ของ
สงิ่ ทงั้ หลายท่คี ืบเคล่ือนไปเรอื่ ยๆ เมือ่ เหตปุ จ จัยเหลานีส้ ัมพันธกนั แลวคบื
เคลอ่ื นตอไป ภาพตัวตนท่ปี รากฏนั้นกจ็ ะเปล่ยี นแปลงไป

ดงั นน้ั ตวั ตนทแ่ี ท ทยี่ ง่ั ยนื ตายตวั ทจี่ ะยดึ ถอื ครอบครองบงั คบั บญั ชา
อะไรๆ ได จงึ ไมม ี (คาํ วา “อตั ตา”กค็ อื ตวั ตนทเี่ ทย่ี งแทย ง่ั ยนื ตายตวั ตลอดไป)

มนั (อตั ตา)ไมมี เพราะมีแตภาพรวมของปรากฏการณท่ีเกดิ จากความ
สัมพันธข องส่ิงท้ังหลายในกระบวนการของมนั เรยี กวาเปน เพียงสภาวธรรม
ไมเปน ตัวตนของใคร

ถา เขา ใจเชน นี้แลวกจ็ ะเห็นวา ออ ... อะไรกต็ ามทีป่ รากฏเปน ตวั เปนตน
ก็คือสิง่ ทีเ่ ปนปรากฏการณช ั่วคราว หรอื สงิ่ ท่ดี ํารงอยตู ามสภาวะของมนั เทา
น้ัน ซง่ึ เราจะตองรูทนั

ถา จะรคู วามจรงิ ของปรากฏการณ เราตอ งสบื สาวดกู ระบวนการของเหตุ
ปจ จัยท่อี ยเู บอื้ งหลงั แลวเราจะเหน็ ความจรงิ และไมยึดติดอยูก ับตวั อัตตานี้

นคี้ อื ความเปนจรงิ ของกฎธรรมชาติ ซึง่ พระพทุ ธเจา ไดท รงสอนเร่ือง
“ไตรลกั ษณ” ข้ึนไวเปนหลกั ท่เี ดน วา …

สิ่งท้งั หลายน้ี อนจิ จฺ ํ ไมเ ทยี่ ง เกดิ ข้นึ แลวกด็ บั หาย มีความเปล่ยี น
แปลง ทุกฺขํ คงอยใู นสภาพเดมิ ไมได อยูใ นภาวะขดั แยง ถาคนเขา ไปเก่ยี ว
ของดว ยความอยาก มันกฝ็ นความปรารถนา แลวก็ อนตฺตา ไมเ ปนตัวตน

๒๖ แกนแทข องพระพทุ ธศาสนา

ของใครได ใครจะยึดถือครอบครองสง่ั บังคับไมไ ด เพราะมันเปนไปตามเหตุ
ปจจัยของมัน หรอื ดํารงอยูตามสภาวะของมนั

เมื่อคนไมร ูทนั ความจรงิ ของธรรม
เขาก็นาํ ทุกขใ นธรรมชาติมาสรางใหเ ปนทุกขข องตัวเอง

สาํ หรบั ทุกขฺ ํ ในไตรลักษณน ี้ เรามกั ไปมองคาํ วาทกุ ขเ ปน ความเจ็บ
ปวดเสีย ทจ่ี รงิ ทุกขเปนสภาพตามธรรมดาของสง่ิ ท้งั หลาย หรอื เปน สภาวะ
ตามธรรมชาติ คืออาการทส่ี ิง่ ท้ังหลายไมสามารถคงอยใู นสภาพเดิม

บางทแี ปลวา stress หรอื conflict คอื ภาวะทมี่ นั มกี ารเปลยี่ นแปลงไป
ตามเหตุปจ จัยหรอื องคประกอบตา งๆ ทเ่ี กิดดบั บีบคนั้ ขดั แยง กนั อยูตลอด
เวลา แลว ทุกขกเ็ ปน ภาพรวมท่เี กดิ จากความสมั พนั ธระหวา งสง่ิ เหลา นั้น

ส่ิงท้ังหลายเปน องครวม ทเี่ กิดจากองคป ระกอบตา งๆ มาประชุมกัน
เมอื่ องคป ระกอบแตล ะอยา งเกดิ ขน้ึ ดบั ไป เปลย่ี นแปลงตลอดเวลา องคร วมนน้ั
จงึ ไมส ามารถคงสภาพเดมิ อยไู ด เพราะเมอื่ องคป ระกอบแตล ะอยา งนนั้ เปลย่ี น
แปลงไป กจ็ ะเกดิ การขดั แยง กนั เปน ความกดดนั ภายใน แลว กจ็ ะตอ งคงอยไู มไ ด

สภาพทีข่ ัดแยง ฝน กดดัน คงอยูไมไ ดท้ังหมดนี้ เรยี กวา “ทุกข” ซ่งึ
เปนสภาวะธรรมชาติในส่งิ ทัง้ หลาย เมอื่ เราใชศัพทน ก้ี บั ภาวะในใจคน ก็จะมี
ความหมายวาเปนภาวะทจี่ ิตถกู กดดันบีบคน้ั ก็คืออนั เดียวกนั

จะเห็นวา ทกุ ขท่มี ีอยูใ นธรรมชาติ ในส่งิ ทงั้ หลายน้ี ก็มีความหมายหนง่ึ
คลายๆ กบั ทกุ ขใ นใจของเรา ทุกขในใจของเราก็คอื ภาวะทถ่ี ูกบีบค้นั กดดนั
ขัดแยง ไมสบาย ทนไมไหว ทนี ใ้ี นสิง่ ทงั้ หลาย ทกุ ขก ค็ ือภาวะท่จี ะตองผนั
แปรเปล่ยี นแปลงไป เกิดความขดั แยง กดดัน ทนอยไู มได

สวน อนตตฺ า กอ็ ยา งท่ีพูดไปแลววา คอื ดํารงอยูหรอื เปนไปตามสภาวะ
ของมันอยางนัน้ ๆ ซ่ึงใครจะไปยึดถือยดึ ครองเปน ตัวเปนของตัวอยา งใดไม

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๒๗

ไดจริง ถาเปนสงั ขาร กเ็ ปนเพียงภาพรวมของปรากฏการณแ หง กระบวนการ
ของการเปล่ียนแปลง มใิ ชเปน ตวั ตนท่ยี ่งั ยนื มน่ั คงอยูอยางนัน้ ตลอดไป

เรอื่ งนก้ี ท็ าํ นองเดยี วกบั กฎทางวทิ ยาศาสตร ซง่ึ มอี ยตู ามธรรมดาในธรรม-
ชาติ ไมวาใครจะรหู รือไม ใครมปี ญ ญาสามารถ ก็คนพบแลวกเ็ อามาบอกกนั

เรื่อง อนจิ จฺ ํ ทุกขฺ ํ อนตฺตา น้ีพระพทุ ธเจา ก็ตรสั วา เปน ความจรงิ ทม่ี อี ยู
ตามธรรมดาของมนั ไมเ กี่ยวกับพระพทุ ธเจาจะเกดิ หรอื ไมเกิด พระพทุ ธเจา
ทรงเปนผมู าคนพบ เปดเผย อธบิ าย วางเปนระบบไว

ตรงนแ้ี หละที่มาโยงเขากับอริยสจั คอื เม่ือส่ิงทง้ั หลายท้งั โลก รวมทง้ั
ชวี ิตของคนเรานี้ เปน ธรรมชาตสิ ว นหนึ่งๆ มนั กเ็ ปน ไปตามกฎธรรมชาตินี้ ท่ี
วา มีความไมเทีย่ ง เปล่ียนแปลงทุกเวลา มคี วามกดดนั ขดั แยงภายใน คง
สภาพเดิมอยไู มไ ด และเปนไปตามเหตุปจจัย ปรากฏรูปลกั ษณไ ปตา งๆ ยัก
ยา ยไปตามเหตุปจ จัยทส่ี มั พันธกันน้นั อยา งรางกายของเราน้กี เ็ ปลยี่ นไป
ตอนเปนเด็กหนาตาอยา งหนึง่ อายมุ ากขึน้ มาก็เปลีย่ นไปอีกอยางหนึ่ง

เมอื่ สง่ิ ทงั้ หลายเปน อนจิ จฺ ํ ทกุ ขฺ ํ อนตฺตา ตามธรรมดาของมนั อยา งน้ี ก็
มีคําถามวา มนุษยจ ะเขา ไปเกยี่ วของกบั มันอยางไร คือจะปฏิบตั หิ รือ
สมั พันธกบั ธรรมชาติ กบั โลก กบั ชีวติ ท่ีเปน ไปตามกฎธรรมชาตนิ ้นั อยางไร

มนุษยอ าจจะสมั พันธกับมันดวยอวชิ ชา ตัณหา อุปาทาน
อวชิ ชา คือภาวะท่ขี าดความรูความเขา ใจ ไมร ทู นั ความจรงิ ของสงิ่ น้นั ๆ
ตณั หา คอื ความอยากความปรารถนาตอ สง่ิ ตา งๆ โดยไมร ทู นั ความจรงิ ของมนั
อปุ าทาน คอื การเขา ไปยดึ มั่นถอื มัน่ ใหเ ปนอยา งทตี่ ัวตองการ เอา
ความปรารถนาของตนเปน ตัวกาํ หนด
ถามนุษยเขาไปสมั พนั ธก บั สิ่งทั้งหลาย หรือพูดงายๆ วาสัมพนั ธกับโลก
และชวี ติ ดวยอวชิ ชา ตณั หา อปุ าทาน กจ็ ะเกิดปญหาข้ึนกับชีวิตของตวั เอง
ทันที ทกุ ขท่เี ปน สภาพอยใู นธรรมชาตติ ามธรรมดาของมนั คือเปนความขดั
แยง คงอยูไมไ ด ในส่งิ ทจ่ี ะตองเปลีย่ นแปลงคืบเคล่ือนนัน้ ก็จะเกิดเปน

๒๘ แกน แทของพระพทุ ธศาสนา

สภาวะทกี่ ดดัน ขดั แยง ขึน้ ในจิตใจของมนุษย ตอนน้ี ทกุ ขใ นธรรมชาติท่ีมี
อยูตามธรรมดา กลายมาเปน “ทกุ ข” ปรุงแตง ในใจของเรา

ทจ่ี ริงมันเปนทกุ ขอยูตามธรรมดาในธรรมชาติ แตเ มอ่ื เราไปสมั พนั ธ
ปฏบิ ัตติ อ มนั ไมถ ูก จงึ เกดิ เปนทกุ ขใ นใจของเราข้ึนมา และเมือ่ สบื คนดู ก็
จะรวู า อวิชชา ตณั หา อปุ าทาน เปน ตัวกาํ หนดความสมั พันธของเราในกรณี
น้ี ตวั น้ีแหละทีท่ านวา เปน “สมทุ ยั ” คอื เหตุแหง ทุกข ตอนนีส้ มุทยั มาแลว

สมุทัยน้ี ถาตรัสแคบ ทบาทหนา โรง ก็เอาตัณหาเปน ตวั แสดง แตถ า
ตรสั แบบเตม็ โรง จะทรงยกเอาอวิชชาเปนตัวกาํ กับหลังโรง ขอใหด เู วลาตรสั
วา อะไรคือสมทุ ัย พระพทุ ธเจา ตรสั ไว ๒ แบบ

แบบท่ี ๑ ตรสั วา สมทุ ยั ไดแกตัณหา คอื อธิบายงา ยๆ สน้ั ๆ วา “สิ่งทั้ง
หลายมนั ไมเ ปนไปตามใจอยากของคุณหรอก เม่อื คณุ สมั พันธกบั มนั ดว ย
ความอยาก คณุ ก็ตอ งเปน ทุกขเ อง”

แตเ บ้อื งหลังตัณหา คอื ความอยาก หรอื ความตามใจตวั น้ี ตวั การทีแ่ ท
ก็คือความไมรูเทาทันความจรงิ ซึง่ เปน เงอื่ นไขเปดชอ งใหปจจัยตางๆ เขามา
หนุนกันในการทีจ่ ะใหป ญหานน้ั เกิดข้ึน เพราะฉะนนั้

แบบที่ ๒ จงึ ตรัสแบบกระบวนการทเ่ี ร่ิมตนจากอวชิ ชาวา อวชิ ชาเปน
ปจ จยั พน้ื ฐานของปญ หาหรอื ทกุ ข สมทุ ยั ทแี่ ทจ รงิ เปน กระบวนธรรม (ธรรมปวตั ต)ิ
ตามกฎปฏิจจสมปุ บาทวา อวิชชฺ าปจจฺ ยา สงฺขารา … ซึง่ ประมวลวาท้งั หมดน้ี
คอื สมทุ ัยแหงทกุ ข

ตอนนจ้ี ะเหน็ ไดว า กฎธรรมชาตมิ าสมั พนั ธกบั มนษุ ยแลว
ตอนแรก พูดเริม่ จากกฎธรรมชาติกอ นวา ความจริงของธรรมชาติ มนั
มีอยตู ามธรรมดาของมัน ส่งิ ทั้งหลายดาํ เนนิ ไปตามกฎธรรมชาตนิ ้นั เปน
อนจิ ฺจํ ทุกฺขํ อนตตฺ า
ตอนนี้ มาถงึ คน คอื ในการทคี่ นเขา ไปเกยี่ วขอ งกบั สง่ิ เหลา นนั้ ถา เกยี่ ว
ขอ งโดยมอี วชิ ชา ตณั หา อปุ าทาน เปน ตวั กาํ หนด กจ็ ะเกดิ ปญ หา มที กุ ขข น้ึ มา

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๙

อันน้คี อื อรยิ สัจขอ ท่ี ๑ และขอ ท่ี ๒ คอื การสมั พันธกบั สิ่งท้ังหลายซงึ่ มี
ศักยภาพที่จะใหเ กดิ ทุกข ดว ยอวชิ ชา-ตณั หา-อุปาทาน ซง่ึ เปนสมุทัยคอื ตัว
เหตุ แลวก็เกิดทกุ ขในตวั คนขน้ึ มา คอื กาวจากทกุ ขในสง่ิ ทงั้ หลายท่มี อี ยูตาม
ธรรมชาติ มาเปน ทกุ ขใ นใจของเรา

นคี่ อื วธิ พี ูดแบบยอนกลบั โดยเอากฎธรรมชาติเปนจุดเรมิ่ ตน โดยเร่มิ ที่
สมุทยั คอื มนุษยไ ปสัมพันธกับสิง่ ทง้ั หลายไมถกู ตอง โดยสมั พันธดว ย
อวชิ ชา-ตณั หา-อุปาทาน กเ็ กดิ เปน ทกุ ข ข้ึนมา

เมือ่ มปี ญ ญารคู วามจริง กเ็ ลกิ พ่งึ พงิ ตัณหา
หันมาอยดู ว ยปญญา ท่เี อาประโยชนไ ดจ ากธรรม

ในทางตรงขาม ถาเรารทู นั ความจริงของโลกและชวี ติ แลว เปลย่ี นวธิ ี
สัมพันธเ สียใหม เราไมส มั พนั ธด ว ยอวชิ ชา-ตัณหา-อปุ าทาน แตเปลยี่ นจาก
อวิชชาเปน วชิ า และสมั พันธกับส่ิงทั้งหลายดว ยปญญา สมทุ ัยก็หายไป
กลายเปนนิโรธ

พออวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน หายไปปบ สมุทัยหายไป ทกุ ขก ห็ ายไป
ดว ย กลายเปนนโิ รธดบั ทกุ ขหมด หรือทุกขไ มเ กิดขนึ้ เลย

ดงั น้นั วิธีแกไ ขกค็ ือการพฒั นามนุษยใ หมีปญญา จนกระทง่ั หมด
อวชิ ชา-ตณั หา-อุปาทาน เพราะฉะนนั้ จงึ ตอ งทาํ ใหเ กิดวิชา เพื่อใหสามารถ
ดาํ รงชวี ิตโดยอาศัยตณั หานอ ยลงตามลาํ ดับ จนกระท่งั อวชิ ชาหมดไป เมื่อ
หมดอวชิ ชาแลว ก็คอื นโิ รธ ไมมที ุกขเกดิ ขนึ้ อีก

จากกฎธรรมชาตโิ ยงมาถงึ อริยสัจ เขา ใจวาชัดพอสมควร ถา ไมช ัด
กรณุ าถามดวย

ยอ นอีกทหี นึง่ วา กฎธรรมชาตมิ ีอยเู ปนธรรมดาของสงิ่ ทัง้ หลายที่เกิด
ดบั เปล่ยี นแปลงไป คงสภาพเดิมไมได เปน ปรากฏการณท ปี่ รากฏภาพออก

๓๐ แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา

มาตามเหตุปจ จยั ของมัน เปน ไปตามธรรมดาอยางน้ี
เมอื่ มนษุ ยอ ยใู นโลก กต็ อ งไปสมั พนั ธเ กยี่ วขอ งกบั สงิ่ เหลา นนั้ ถา เรา

สมั พนั ธไ มถ ูก คือใชอ วชิ ชา-ตัณหา-อปุ าทาน ก็เกิดปญ หาทันที คอื เกดิ เปน
ทุกขขน้ึ มา

เพราะฉะน้นั พระพุทธเจา จึงสอนใหเรามคี วามสัมพันธท ่ถี กู ตอ ง ใหใ ช
ปญ ญาที่จะปฏบิ ัติตอสิง่ เหลาน้ัน ดว ยความรูเขา ใจ จนกระทงั่ ไมต อ งอาศยั
อวิชชา-ตัณหา-อปุ าทาน

เมอ่ื เราพัฒนาปญ ญาจนถงึ ท่สี ุด เรากจ็ ะพน จากอวิชชา-ตัณหา-
อุปาทาน เราก็เปน อสิ ระ กค็ อื ถึง นิโรธ

แตในการที่จะมปี ญ ญา จนหมดอวชิ ชา-ตัณหา-อปุ าทานน้นั มนษุ ยก ็
ตองพฒั นาตัวเอง ซงึ่ กค็ ือมรรคนน่ั เอง

มรรค ก็คอื กระบวนวิธพี ัฒนามนษุ ยไ ปสูการมีปญญา จนกระทั่งไม
ตองอาศัยอวชิ ชา-ตัณหา-อปุ าทาน ในการดาํ เนินชวี ติ แตเ ปน อยูดวยปญญา

พอถึงตรงนก้ี จ็ บเรือ่ งของอรยิ สจั
เพราะฉะนัน้ จงึ พดู ไดว า พระพุทธศาสนาสอนเร่ืองธรรมชาติ กบั การที่
มนษุ ยไ ปสัมพนั ธก บั ธรรมชาติ เทานัน้ เอง พูดอีกอยา งหนึ่งกค็ อื
๑. ความจรงิ ของธรรมชาติ หรอื กฎธรรมชาติ
๒. การรูเขาใจความจริงนั้น แลว นาํ มาใชประโยชน แตเปนประโยชน
ของตวั ชีวติ เอง ท่ีจะใหชวี ิตของเราหมดปญหาอยา งแทจ ริง
พดู อกี อยางหน่ึงวา พทุ ธศาสนามีเทานี้ คือ
๑. ความจริงของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ ซึง่ เราตอ งเรียนรู และใช
ประโยชนโ ดยปฏบิ ัติใหถ กู ตอ ง
๒. มนุษยเปน ผเู รยี นรเู ขาใจความจรงิ นี้ และใชประโยชนจากความรู
นนั้ เราจึงตอ งศกึ ษาธรรมชาติของมนษุ ยด ว ย

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๑

ธรรมชาติของมนุษยนัน้ พเิ ศษในแงดี คือ
มนษุ ยเ ปน สตั วท ศี่ ึกษาใหม ปี ญ ญาได

ตอนน้ีพูดกนั มาถึงมนุษย วา เม่อื มนุษยจะตอ งปฏิบัตติ อ กฎธรรมชาติ
เราก็ตองรจู กั ธรรมชาตขิ องมนษุ ยดว ยวา เปนอยา งไร เชนใหร ูว าธรรมชาติ
ของมนษุ ยนี้สามารถมีปญ ญาทีจ่ ะหมดอวชิ ชา

เปนไปไดห รอื ไมทีม่ นษุ ยจ ะอยไู ด โดยไมต องพง่ึ พาอาศัยอวิชชา-
ตัณหา-อปุ าทาน ถา เปนไปไมไ ด การแกป ญหากเ็ ปน ไปไมได

ถา มนษุ ยไ มสามารถพัฒนาใหมปี ญญา เรากต็ องอยกู ับอวชิ ชา-ตัณหา-
อุปาทาน ตลอดไป และตอ งยอมรบั วา จะตองเปนทุกขตลอดไปดว ย ฉะนัน้
เราจึงมาศกึ ษาธรรมชาตขิ องมนุษย คอื นอกจากรูธรรมชาติของส่งิ ท้งั หลาย
ท้งั โลก ทง้ั ระบบ กม็ ารูธรรมชาติของตวั มนุษยเองดว ย

คราวนี้กม็ าพดู ถึงธรรมชาติของมนษุ ย ซ่งึ ตอ งพูดเปน ๒ ระดบั
ระดบั ที่ ๑ มนุษยก ็เปนธรรมชาติสว นหน่งึ ของระบบธรรมชาตทิ ้งั หมด
ยํา้ วา เปน ธรรมชาติเพียงสว นหน่งึ เทา น้นั เพราะฉะนั้น ชีวิตของมนษุ ยจงึ
ตอ งเปน ไปตามกฎธรรมชาติ เชน เดยี วกบั ธรรมชาติอยางอ่นื ๆ
ถา เราแยกเปนโลกและชวี ิต ชวี ติ ของเรากเ็ ปนไปตามกฎธรรมชาติใหญ
อันเดยี วกันกับกฎธรรมชาตทิ คี่ รอบงาํ โลกทัง้ โลกอยู คือเปน อนจิ จงั ทุกขงั
อนตั ตา ตอ งเปลย่ี นแปลงไป คงอยูในสภาพเดิมไมไ ด และปรากฏรปู ข้นึ
มาตามกระบวนการของเหตปุ จจยั ที่สมั พันธก นั นน้ั
นค่ี อื ธรรมชาตขิ องมนษุ ยด า นหนงึ่ ทเี่ ปน ชวี ติ เปน สว นหนงึ่ ของธรรมชาติ
ระดบั ที่ ๒ ธรรมชาติพเิ ศษท่ีเปน สวนเฉพาะของมนุษย ตรงนแี้ หละ
เปนจุดสําคัญท่ีจะกาวไปสูข้ันท่ีจะตอบไดวาจะสามารถแกปญหาขางตนได
หรือไม คอื มนษุ ยส ามารถมปี ญญา ทจี่ ะมชี วี ติ โดยไมต องพง่ึ พาอวชิ ชา-
ตัณหา-อปุ าทาน ไดหรอื ไม

๓๒ แกน แทข องพระพทุ ธศาสนา

ธรรมชาตขิ องมนษุ ยตรงนี้ ถอื เปนฐานของพระพทุ ธศาสนาเลยที
เดียว

ธรรมชาตสิ วนพเิ ศษของมนษุ ย คือเปนสตั วทฝี่ กได ตรงนส้ี าํ คัญมาก
ถา พดู อยา งภาษาสมยั ใหมก ใ็ ชค าํ วา “เปน สตั วท พี่ ฒั นาได” ไมใ ชจ มอยกู บั ที่
แตเ ปลยี่ นแปลงไดในเชงิ คุณภาพ หรือเรียกวาเปนสัตวพ เิ ศษก็ได

พเิ ศษคอื แปลกจากสัตวชนิดอนื่ คอื สัตวช นดิ อื่นไมเหมอื นมนษุ ย สตั ว
มนษุ ยน้ีแปลกจากสตั วอน่ื แปลกหรอื พิเศษอยางไร พเิ ศษในแงท ่ีวาสตั วอ น่ื
ฝก ไมไดหรอื ฝก แทบไมได แตมนุษยน้ีฝกได

คําวา “ฝก ” นี้พดู อยางสมยั ใหมไดแกคําวา เรยี นรูแ ละพัฒนา พูดตาม
คําหลกั แทๆ คือ ศกึ ษา หรือสกิ ขา พูดรวมๆ กนั ไปวา เรยี นรูฝ กหดั พัฒนา
หรอื เรียนรฝู กศึกษาพฒั นา

พูดสั้นๆ วา มนุษยเปนสัตวที่ฝก ได และตองฝก
สตั วอื่นแทบไมตอ งฝก เพราะมนั อยไู ดดวยสัญชาตญาณ พอเกดิ มา
ปบ เรยี นรจู ากพอ แมนิดหนอ ย เด๋ียวเดียวมันกอ็ ยูร อดได
อยางลูกวัวคลอดออกมา ๒-๓ นาทีลกุ ข้นึ เดนิ ได ไปกับแมแลว หา น
ออกจากไขเชา วันน้ัน พอสายหนอ ยว่ิงตามแมมนั ลงไปในสระเลย วิ่งได วาย
นา้ํ ได หากนิ ตามพอตามแมมนั เลย
แตม ันอยูไดดว ยสญั ชาตญาณ เรียนรูไ ดน ิดเดียว แคพอกนิ อาหาร
เปน ตน แตตอจากนน้ั มันฝก ไมได เรียนรูไมไ ด เพราะฉะน้ันมนั จึงอยูดวย
สัญชาตญาณตลอดชวี ิต เกิดมาอยางไรกต็ ายไปอยา งนน้ั
แตมนุษยนตี้ องฝก ตองเรียนรู ถา ไมฝ ก ไมเ รียนรู ก็อยไู มไ ด ไมต อง
พดู ถงึ จะอยูดี แมแ ตรอดก็อยไู มได มนุษยจ ึงตอ งอยกู ับพอแม อยกู ับพ่ี
เลยี้ งเปนเวลานับสิบป
พอออกมาดโู ลก มนษุ ยท ําอะไรไมไ ดเ ลย ตอ งเรยี นรูทุกอยา ง กนิ ก็
ตองเรียนรู ตอ งฝกตอ งหัด นั่ง นอน ขับถา ย เดิน พดู ตอ งฝกตอ งเรยี นรู

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๓

ทงั้ หมด น่คี ือธรรมชาติของมนุษย เปน สตั วท ี่ตอ งหัดตองฝก ไปทุกอยา ง
มองในแงน้ีเหมือนเปนสัตวท ่ีดอย

แตเ มอื่ มองในแงบวก คือเรียนรไู ด ฝกได ตอนนี้เปนแงเดน คือพอฝก
เริ่มเรยี นรู คราวนีม้ นษุ ยก็เดินหนา มีปญญาเพม่ิ พนู ขน้ึ พดู ได ส่ือสารได มี
ความคิดสรางสรรค ประดษิ ฐอะไรๆ ได

มนษุ ยสามารถพฒั นาโลกแหงวตั ถุ เกดิ เทคโนโลยีตางๆ มีความเจริญ
ทั้งในทางนามธรรม และทางวตั ถุธรรม มศี ลิ ปวิทยาการ เกิดเปนวฒั นธรรม
อารยธรรม จนกระทั่งเกดิ เปน โลกของมนษุ ย ซอ นขน้ึ มาทามกลางโลกของ
ธรรมชาติ

สตั วอน่ื ท้งั หลาย มหี รือไมทส่ี ามารถสรางโลกของมันตางหากจากโลก
ของธรรมชาติ... ไมม ี มนั เกิดมาดวยสัญชาตญาณอยา งไร ก็ตายไปดวยสญั
ชาตญาณอยา งนนั้ หมนุ เวียนกนั ตอไป

แตมนษุ ยเปน สตั วพ เิ ศษ คือตองฝก ตอ งเรยี นรู และเรยี นรูไ ด ฝก ได
พระพุทธศาสนาจับความจรงิ ของธรรมชาติขอนี้เปนหลักสําคัญทีส่ ุด จึง
ใหกาํ ลงั ใจกบั มนษุ ยวา มนุษยท่ีฝกแลว นนั้ เลศิ ประเสรฐิ จนกระท่ังแมแต
เทวดาและพรหมก็นอมนมสั การ ดังคาถาวา

มนุสสฺ ภูตํ สมฺพุทธฺ ํ อตฺตทนฺตํ สมาหติ ํ
เทวาป นํ นมสสฺ นตฺ ิ … … … … …

แปลวา “พระพทุ ธเจา ทั้งท่เี ปน มนษุ ยนี่แหละ แตท รงฝกพระองคแ ลว
มีพระหฤทยั ที่อบรมมาอยา งดี แมเทพทงั้ หลายก็นอ มนมสั การ”

คาถาน้เี ปน การเตือนมนษุ ยและใหก ําลงั ใจวา ความดีเลิศประเสรฐิ ของ
มนุษยน ั้น อยูท ่กี ารเรยี นรูฝ ก ศกึ ษาพัฒนาตนข้นึ ไป มนุษยจะเอาดีไมไ ดถา
ไมม ีการเรียนรฝู กฝนพัฒนาตน เพราะฉะนัน้ เราจงึ พดู เตม็ วา

“มนษุ ยเ ปนสตั วป ระเสรฐิ ดว ยการฝก ”
เราจะไมพ ดู ทง้ิ ชองวางวามนษุ ยเ ปนสัตวประเสริฐ ซึ่งเปนการพูดท่ขี าด

๓๔ แกนแทของพระพทุ ธศาสนา

ตกบกพรอง
เราพูดไดแ คว า มนุษยเ ปนสัตวพเิ ศษ หมายความวา เปนสตั วที่แปลก

จากสตั วอน่ื “พิเศษ” แปลวา แปลกพวก ไมไดห มายความวา ดหี รอื รา ย
แต “ประเสรฐิ ” นี่คอื ดี ซึ่งมีหลักความจริงวา มนุษยไ มไดประเสริฐเอง

ลอยๆ ตอ งประเสริฐดวยการฝก ถา ไมฝกแลว จะดอ ยกวาสตั วด ิรัจฉาน จะ
ต่าํ ทรามยิง่ กวา หรือไมก ท็ าํ อะไรไมเปนเลย แมจะอยูรอดกไ็ มไ ด

ฉะนน้ั ความประเสริฐเลศิ ของมนษุ ยจงึ อยทู กี่ ารฝกฝนพัฒนาตน และ
อันนเี้ ปน ความเลิศประเสรฐิ ท่ีสัตวท ั้งหลายอ่ืนไมม ี สัตวอ ่ืนอยางดีกฝ็ ก ได
บางเลก็ นอย เชน ชาง มา เปน ตน และมนั ฝก ตวั เองไมไ ด ตองใหมนุษยฝก

๑. ตอ งใหมนษุ ยฝก ให
๒. แมมนษุ ยจ ะฝก ให ก็ฝก ไดใ นขอบเขตจาํ กดั เรียนรไู ดไมม าก
แตมนษุ ยฝก ตัวเองได และฝก ไดแ ทบไมมีทีส่ ิ้นสุด

บนฐานแหงธรรมชาตมิ นษุ ยผูเปนสัตวตอ งศกึ ษา
พระพทุ ธเจา ทรงตั้งหลกั พระรตั นตรยั ขึน้ มา

หลกั พระพุทธศาสนาตรงน้ีสําคัญทสี่ ุด เพราะมนษุ ยฝกได ฝกตนเอง
ได และเมอื่ ฝกแลว ประเสรฐิ สดุ การท่ียกพระรตั นตรยั ข้นึ มาตั้งเปนหลกั ก็
เพราะความจรงิ ขอ น้ี คือ

ก) พระพทุ ธเจา ทรงเปน ตนแบบ โดยเปนสรณะ คือเปนเครอื่ งเตอื นใจ

ใหร ะลึกวา อันตัวเรานก้ี เ็ ปน มนษุ ยผ ูหนง่ึ พระพทุ ธเจา เมอื่ กอ นทจ่ี ะทรงฝก
พระองคก เ็ ปน มนษุ ยอยา งพวกเรานี้ เราจงึ มีศกั ยภาพท่ีจะฝก ใหป ระเสริฐ
อยางพระพุทธเจา ได

พระพุทธเจา ทรงเปนผปู ระเสรฐิ เลศิ สูงสุด ไดต รัสรสู ัจธรรม มีพระคุณ
สมบัตสิ มบูรณทุกประการ การท่ีทรงมพี ระคณุ สูงเลิศอยางน้ันได ก็เพราะได

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๕

ทรงฝกพระองค ดงั ทเี่ รียกวาทรงบําเพ็ญบารมมี ากมายจนเต็มบรบิ รู ณ
เราจึงตั้ง “พทุ ธะ” ขน้ึ มาเปนแมแ บบวา ดสู ิ มนุษยผฝู กดีถึงท่ีสดุ แลว

พฒั นาดีแลว จะมีปญ ญารสู ัจธรรม บรสิ ุทธห์ิ ลุดพน เปน อิสระ อยูเหนือโลก
ธรรม มีความสขุ มชี ีวติ ทด่ี ีงาม มคี ุณธรรมความดงี ามท่สี มบรู ณ เปนท่ีพ่งึ
ของชาวโลก เลศิ ประเสริฐขนาดน้ี

พอระลกึ อยา งนีก้ เ็ กดิ ศรัทธาทเ่ี รยี กวา ตถาคตโพธสิ ัทธา คอื เชอื่ ใน
ปญ ญาตรสั รูของพระพุทธเจา ซง่ึ กม็ คี วามหมายตอ ไปอีกวา เช่ือในปญญาที่
ทําใหม นษุ ยกลายเปนพทุ ธะ เพราะฉะนัน้ การที่ถือเอาพระพุทธเจา เปน
สรณะนั้น ความหมายอยทู ีน่ ี่ คอื

๑. ทาํ ใหเ กดิ ศรทั ธาทโ่ี ยงตวั เราเขา ไปหาพระพทุ ธเจา วา จากความเปน มนษุ ย
อยา งเรานี้ พระองคไ ดบ าํ เพญ็ บารมฝี ก ฝนพระองคจ นเปน พระพทุ ธเจา เรากเ็ ปน
มนษุ ยเ ชน เดยี วกนั ถา เราฝก ตนจรงิ จงั ใหถ งึ ทส่ี ดุ เรากจ็ ะเปน อยา งพระองคไ ด
ทําใหเราเกิดความมั่นใจวาเรามศี ักยภาพที่จะฝก ใหเปน อยางพระพทุ ธเจาได

๒. เตือนใจใหร ะลึกถึงหนาทขี่ องตนเองวา เราเปน มนุษย ซึง่ จะดีเลิศ
ประเสริฐได ดวยการฝก ฝนพฒั นาตน การฝกฝนพัฒนาตน เปน หนา ทแ่ี หง
ชวี ิตของเราหรือของชีวิตท่ดี ี เราจะตอ งฝกศกึ ษาพัฒนาตนอยูเ สมอ

๓. ใหเ กดิ กาํ ลงั ใจวา การฝก ฝนพฒั นาตนนี้ พระพทุ ธเจา ไดท รงทาํ มาจน
สาํ เรจ็ ผลสมบรู ณแ ลว เปน ตวั อยา ง พระองคท าํ ได แสดงวา เรากส็ ามารถทาํ ได
แมว า การฝก ศกึ ษานนั้ บางครง้ั จะยากมาก อาจทาํ ใหเ ราชกั จะยอ ทอ แตเ มอื่
ระลึกถึงพระพุทธเจาวาพระองคเคยประสบความยากลาํ บากมากกวาเรานัก
หนา พระองคก ก็ า วฝา ผา นลลุ ว งไปได เรากจ็ ะเกดิ กาํ ลงั ใจทจ่ี ะฝก ตนตอ ไป

๔. ไดว ธิ ลี ดั จากประสบการณข องพระองค พระพทุ ธเจา ทรงปฏบิ ตั มิ า
ลาํ บากยากเยน็ อยา งยง่ิ ตอ งลองผดิ ลองถกู บาํ เพญ็ บารมกี วา จะเปน พทุ ธะได
เมอื่ พระองคต รสั รแู ลว กท็ รงประมวลประสบการณข องพระองคม าวางเปน หลกั
เปน ลาํ ดบั สอนเราใหเ ขา ใจงา ยขนึ้ เทา กบั บอกวธิ ลี ดั ใหเ ราสาํ เรจ็ รปู จากประสบ

๓๖ แกน แทข องพระพุทธศาสนา

การณข องพระองค ซงึ่ เราเอามาใชไ ดท นั ที ไมต อ งยากลาํ บากอยา งพระองค
การระลึกถึงพระพทุ ธเจา เปน สรณะไดป ระโยชนถ ึง ๔ ประการอยา งนี้

เราจึงตั้งพระพุทธเจาเปน องคแรกของรัตนตรยั เปน สรณะขอ ที่ ๑

ข) เมือ่ ระลกึ ถึงพระพุทธเจาเปน แมแ บบแลว กค็ ิดจะฝกศึกษาพัฒนา

ตน ทนี กี้ ารทจ่ี ะพฒั นาตวั เองได ก็ตองรหู ลักรคู วามจริงของกฎธรรมชาตคิ อื
ธรรมะ และตองปฏิบตั ิตามธรรมนน้ั

เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจาจงึ เปน จดุ เรมิ่ ท่ีนําเราเขาไปสธู รรมะ พดู งา ยๆ
วา จากพทุ ธะโยงไปหา “ธรรมะ” ซ่ึงกค็ อื ตวั ความจรงิ ของธรรมชาตทิ ม่ี นษุ ย
จะตอ งรแู ละนํามาใชป ฏบิ ัติ

ค) อยางไรกต็ าม การทจี่ ะรธู รรมและปฏิบตั ิตามธรรมใหเ ปนอยางพระ

พุทธเจาน้ัน มนุษยโ ดยทั่วไปไมไ ดฝก ตนมามากมายถึงข้ันทจ่ี ะรูแ ละทําได
เองอยางพระสัมมาสัมพุทธเจา และกไ็ มจ าํ เปน ตองฝก ถงึ ขนาดนน้ั เพราะเรา
มีพระสมั มาสัมพุทธเจาทีท่ รงรธู รรมรูท างและบอกวิธใี หแ ลว เรากไ็ ปฟง คํา
สอนจากพระองคและปฏิบัติตามโดยถือเอาพระองคเปน แบบอยา ง

แตถ าเราอยหู างไกลพระพทุ ธเจา หรอื พระองคป รนิ ิพพานแลว เราก็เลา
เรียนสดบั ฟงคาํ สอนของพระองค จากพระสงฆท ไ่ี ดรกั ษาสบื ตอคําสอนของ
พระองคมาถึงพวกเรา

แมจะไดสดับฟงคาํ สอนของพระพุทธเจาที่พระสงฆรักษาสืบทอดไวให
แลว แตม นษุ ยท ว่ั ไปจะปฏบิ ตั ธิ รรมฝก ตนใหก า วหนา โดยลาํ พงั ตวั เองไดยาก
มนษุ ยโ ดยทวั่ ไปนน้ั ตอ งอาศยั บคุ คลและสภาพแวดลอ มตา งๆ ชว ยเกอ้ื หนนุ โดย
เฉพาะสง่ิ ทเี่ กอื้ หนนุ ไดด ที สี่ ดุ กค็ อื ชมุ ชนทจี่ ดั ตง้ั ไวอ ยา งดีทเี่ รยี กวา “สงั ฆะ”

ในชุมชนแหงสงั ฆะนนั้ นอกจากมีทา นทีไ่ ดฟ งไดร ไู ดฝก ปฏิบัติธรรมมา
กอ น เชน ครู อาจารย ทจ่ี ะเปนกัลยาณมิตรชว ยแนะนําฝกสอนเราแลว
ระบบความเปน อยู วถิ ีชวี ิต การสมั พนั ธกบั เพื่อนรวมชมุ ชน การจัดสรรส่ิง
แวดลอม และบรรยากาศของชุมชนน้นั เอง ทุกอยา งจะเอ้ือชว ยเก้อื หนนุ ให

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๗

เราฝก ตนกา วไปในการรูและปฏบิ ัตธิ รรมไดอยางดีท่ีสุด
ชมุ ชนแหง สังฆะนี้ นอกจากเราจะไดอ าศัยชวยใหต วั เรากาวหนาไปใน

การรแู ละทาํ ตามธรรมโดยมกี ัลยาณมิตรเกอ้ื หนุนแลว เราเองเม่ือกาวหนา
ไป เปนกัลยาณมิตรเก้ือหนุนผูอื่นดวย และสงั ฆะก็เปนแหลง ทจ่ี ะดํารง
รกั ษาระบบและวถิ ชี วี ติ ทด่ี งี ามผาสุกไวใ หแกโลก

อนงึ่ มนษุ ยถ งึ จะมศี กั ยภาพทจี่ ะเปน อยา งเดยี วกบั พระพทุ ธเจา แต
ระหวา งปฏบิ ตั ิ เรากจ็ ะมพี ฒั นาการในระดบั ตา งๆ ไมใ ชอ ยๆู กเ็ ปน พทุ ธะไดท นั ที

มนุษยท ้ังหลายทปี่ ฏิบัติตามธรรมโดยมีพัฒนาการในระดับตางๆ นน้ั ก็
รวมกันเปนชมุ ชนทด่ี งี าม ประเสรฐิ คอื สงั ฆะน้ี ซง่ึ ถา เรยี กตามภาษาปจ จบุ นั กค็ อื
สงั คมอดุ มคติ

มนุษยเราทุกคนควรจะมีสวนไดอาศัยและรวมสรางชุมชนนีข้ ึน้ มาใหได
ดว ยการฝก ศกึ ษาพัฒนาตัวเองของแตละคนข้ึนไป

สุดยอดของมนษุ ยค อื พุทธะ
แกน แทของธรรมชาติคือ ธรรมะ
อุดมคตขิ องสังคมคอื สังฆะ
เพราะฉะน้ัน หลักพระรตั นตรัย กค็ ือหลักอดุ มคติ ที่เปนจดุ หมาย เปน
อดุ มการณ เปน หลักการสาํ หรบั ชาวพุทธ ซงึ่ จะตอ งยดึ ถือวา

๑. เตอื นใจเราใหร ะลกึ ถึงศกั ยภาพของตัวเอง และใหปฏบิ ตั หิ นา ทีใ่ น

การพัฒนาตนเองใหเ ปน อยา งพทุ ธะ

๒. เตอื นใจใหระลึกวา การที่จะพัฒนาตนใหสําเร็จน้ัน ตองรูเ ขาใจและ

ปฏบิ ัตใิ หถ ูกตองตามหลกั ความจรงิ ของกฎธรรมชาติ คือ ธรรมะ

๓. เตือนใจใหร ะลึกวา เราแตล ะคนจะรวมอาศัยและรว มสรางสงั คม

อุดมคติ ดวยการมี/เปนกัลยาณมิตรและเจริญงอกงามข้ึนในชุมชนแหง
อารยชนหรืออริยบคุ คล ท่ีเรียกวา สงั ฆะ

นค่ี อื หลักพระรตั นตรยั จะเหน็ วาทัง้ ๓ หลักโยงถึงกันหมด

๓๘ แกนแทของพระพุทธศาสนา

ความจรงิ แหงธรรมดาของโลกและชวี ติ
ทตี่ อ งรใู หท นั และวางทา ทใี หถกู

ขอยอ นกลับมาท่ีธรรมชาตขิ องมนุษยซึ่งเปน สัตวท ี่ฝก ไดพฒั นาได จะ
เปนนิวตันก็ได เปนไอนสไตนก ไ็ ด หรือจะเปนกวที เ่ี กง กาจ เปน นกั การศึกษา
ฯลฯ เปนไดห มด จนกระทั่งประเสรฐิ สดุ เปน พุทธะก็ได

เมือ่ มนุษยประเสรฐิ ดว ยการเรียนรูฝก ฝนพฒั นาตนอยา งนี้ ก็เปน อนั วา
โยงกันแลว คือ ธรรมชาตขิ องมนุษยท ี่วา ฝกฝนพัฒนาไดน ้ัน กส็ อดคลอ ง
กับความเปนจริงของกฎธรรมชาติ

นคี่ ือยอ นกลับมาหาความจรงิ ขอ แรกของธรรมชาตอิ กี คือการทมี่ นุษย
ผฝู กตนได จะพัฒนาตนสําเรจ็ จะตองรเู ขาใจความจริงของกฎธรรมชาติ
และปฏบิ ตั ิใหถูกตามกฎนน้ั เชน ปฏิบตั ิตามกฎแหงเหตปุ จจยั เปน ตน

ในบรรดากฎธรรมชาติท้งั หลาย กฎใหญก ็คือความเปนไปตามเหตุ
ปจจยั ซ่งึ เปน อยา งหนึง่ ในหลกั ใหญท ส่ี ุดทพ่ี ระพทุ ธเจา ตรัสไว ๒ หลัก คือ

๑. หลักไตรลักษณ คือ อนิจจัง ทกุ ขงั อนัตตา
๒. เบ้อื งหลงั ความเปนอนจิ จัง ทกุ ขงั อนัตตา ก็คือกฎธรรมชาตแิ หง
ความเปนไปตามเหตุปจ จยั อันไดแก อิทัปปจจยตา
ฉะนน้ั ตอ จากไตรลกั ษณ พระพทุ ธเจา จงึ ทรงสอนเรอื่ งปฏจิ จสมปุ บาท
หรอื ทีเ่ รยี กเต็มวา อิทัปปจจยตาปฏิจจสมปุ บาท คือความเปน ไปตามเหตุ
ปจจัยของสงิ่ ทงั้ หลาย
ถาเราเขา ถึงกระบวนการของเหตปุ จจัย หลักการตางๆ ก็โยงถึงกันแจม
แจงหมด และเขาสูการปฏิบัติในการท่ีจะฝกตนได
แตถารูแค อนิจจัง ทกุ ขงั อนัตตา เรายังทําอะไรไมได ไดแ ครูทนั วา สงิ่
ทงั้ หลายเกิดดบั เปลยี่ นแปลง ไมเทีย่ ง ไมค งที่ คงอยใู นสภาพเดิมไมได
เปน ไปตามเหตปุ จจยั ก็ไดแ ครู และวางใจ แตยังทําไมได

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๙

แตพอรูวา ออ...กฎแหง เหตุปจจยั ท่ีอยูเบือ้ งหลงั อนิจจงั ทกุ ขัง
อนัตตา กค็ อื อิทปั ปจจยตา ซ่ึงเปนอยา งนๆี้ ตอนนี้ก็เอามาใชล งมือทาํ ได
คือเอามาใชใ นการฝก ฝนพัฒนาตนของมนุษย ซึง่ เปนการเชอ่ื มระหวางธรรม
ชาติพเิ ศษของมนุษย กบั ธรรมชาตสิ ามญั ของสิ่งทง้ั หลายทั้งปวง

หันมาดูการนํากฎธรรมชาติมาใชใ นชีวติ ของมนุษย
พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนษุ ยวาเกดิ จากองคป ระกอบตา งๆ มา
ประชุมกนั โดยสัมพนั ธก ันเปน ระบบ และเปนกระบวนการ เราจะเขาใจมันก็
ตอ งแยกดูองคประกอบ ฉะน้นั ตอนแรกเรากแ็ ยกชวี ติ ออกกอ น
วธิ ีแยกงา ยๆ ขัน้ ตนทสี่ ดุ ก็คอื แยกองคป ระกอบ เหมอื นอยา งเราเอารถ
มาคนั หนึ่ง ก็แยกวา รถคันนปี้ ระกอบดวยอะไรบา ง
สําหรับมนุษย การแยกอยา งงา ยท่สี ดุ คือแยกเปน ๒ ไดแก รูปธรรม
กับนามธรรม หรือ กาย กับใจ
เม่ือแยกละเอียดลงไปอกี ดานรปู ธรรม หรอื รา งกาย ประกอบดวยธาตุ
ตา งๆ มาประชมุ กันเขา มมี หาภูตรูป ๔ อปุ าทายรปู ๒๔ และในแตละ
อยางก็แยกยอยออกไปอีก
สว นในทางนามธรรม หรอื ทางใจ ก็แยกออกไปอีกเปน เวทนา สญั ญา
สงั ขาร วญิ ญาณ
จากนัน้ เวทนาก็แยกยอยออกไปเปน เวทนา ๓ เวทนา ๕ หรือเวทนา ๖
สัญญากแ็ ยกยอยออกไป เปนสัญญา ๖
สังขารกแ็ ยกยอ ยออกไปตา งๆ เชนเปนสัญเจตนา ๖ เปนเจตสิก ๕๐
วิญญาณก็แยกออกไปเปน ๖ เปน ๘๙ หรอื เปน ๑๒๑ เปนตน
แยกออกไปๆ ซ่งึ เปนการจาํ แนกแยกแยะในระบบ ขนั ธ ๕
อยางนเ้ี ปน ระบบแยกซอย เปน การศกึ ษาธรรมชาตขิ องชวี ติ มนุษย
เหมอื นนักวทิ ยาศาสตรแ ยกแยะองคป ระกอบดานรปู ธรรม แตใ นทน่ี ี้เอา
งายๆ แยกแค ๒ เปน กายกบั ใจ เพราะถา แยกมากจะยากยงุ เอาไวไปศึกษา

๔๐ แกนแทของพระพุทธศาสนา

รายละเอยี ดทีหลงั
อยา งไรกต็ าม ชวี ติ มนษุ ยไ มไ ดอ ยนู งิ่ เฉย ไมใ ชข องตาย ชวี ติ ตอ งเคลอ่ื น

ไหว ดงั ทเ่ี รยี กวา ดาํ เนนิ ชวี ติ แมแ ตร ถยนตซ งึ่ ไมม ชี วี ติ กม็ กี ารเคลอ่ื นไหว เมอื่
แยกองคป ระกอบของมนั ออกดแู ลว จากนน้ั กศ็ กึ ษาตอนมนั วงิ่ แลน วา มนั
ทาํ งานอยา งไร โดยศกึ ษาความสมั พนั ธร ะหวา งองคป ระกอบยอ ยขณะทาํ งาน

ชวี ติ ของเรากเ็ ชนเดียวกนั เมอ่ื แยกสวนออกดูองคป ระกอบตอนอยูนิ่ง
เฉยแลว กต็ องศกึ ษาขณะทมี่ ันดําเนินไป หรือขณะทาํ งานดว ย การแยก ๒
แบบนไี้ มเ หมอื นกัน แตกอนจะถึงแบบท่ี ๒ ก็ตอ งศึกษาแบบท่ี ๑ กอ น

เหมอื นแพทยศ กึ ษาชีวิตดานกาย ตองศกึ ษา anatomy คอื กายวิภาค
แยกองคประกอบใหเหน็ อวัยวะตา งๆ วา มีอะไรบา งเปน อยา งไร แลว ก็ศึกษา
physiology คอื สรรี วทิ ยา ใหร วู า อวยั วะตางๆ ทาํ งานอยางไร และสมั พันธ
กนั อยางไร ทั้งเปนกระบวนการ และเปน ระบบ

ในทางธรรมกเ็ ร่ิมดวยแยกองคประกอบทอ่ี ยนู ิง่ ๆ เปนกายกับใจ ตอ
จากนัน้ กแ็ ยกใหเหน็ การทํางานเปน กระบวนการวา องคป ระกอบท้งั หลาย
สมั พนั ธเ ปนเหตปุ จ จัยแกก นั อยา งไร

การแยกองคป ระกอบแบบหลงั นี้จะเหน็ ไดในหลกั ปฏจิ จสมุปบาท ซ่ึงมี
องคป ระกอบ ๑๒ สวน เปน ปจ จัยแกกันหมนุ เวยี นไปเปน วงจร

จะพฒั นาศกั ยภาพของคนใหมชี ีวติ แหง ปญญา
กต็ องรจู กั ธรรมชาติของชีวิตซึ่งจะทาํ หนา ทศี่ ึกษา

อยา งไรก็ตาม ระบบการทํางานของชีวิตมนษุ ยม คี วามพเิ ศษตา งออกไป
จากระบบการทํางานของรถยนตเปน ตน กลา วคอื วัตถตุ า งๆ เชนรถยนต
เปน ตน แมจ ะเคล่ือนไหวได แตก ไ็ มม ีชวี ติ ไมมเี จตจาํ นงหรือเจตนา มันจะ
เคล่อื นไหวไปไหน กต็ องมคี นมาขับขบ่ี ังคับ ลาํ พังตวั มัน องคป ระกอบท้งั

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๔๑

หลายทัง้ ระบบก็ทํางานเคล่อื นไหวอยูอยา งน้นั ๆ เทาเดิม
แตระบบการทํางานของชีวิตมนุษยไมไดวนอยูในวงจรเทาเดิมอยางนั้น

มนุษยม เี จตจาํ นงหรอื มเี จตนา และมคี ุณสมบัตพิ เิ ศษเชนปญญาเปน ตน ทํา
ใหก ารเคลอ่ื นไหวของชวี ิตมนุษยมกี ารปรับตวั ปรับปรงุ พฒั นาระบบการ
ทาํ งานของตวั มนั เอง และจัดการกับสิง่ อนื่ ภายนอกไดดวย

การทาํ งานขององคประกอบท้ังหลายของชีวิตมนษุ ย ทีม่ ีลักษณะพเิ ศษ
อยา งนี้ เรยี กงายๆ วา เปน ระบบการเปน อยู หรอื การดําเนนิ ชีวิต ซึง่ เราก็
จะตอ งศกึ ษาใหเ ห็นองคประกอบตา งๆ ของมัน และการทอ่ี งคประกอบเหลา
นน้ั ทํางานสมั พนั ธก นั ในการท่มี ันจะเปนอยู เจรญิ งอกงาม พฒั นาไป และจดั
การกับสง่ิ อืน่ ๆ ภายนอกใหไดผลดยี ิง่ ขึ้น

ชีวิตมนษุ ย ทเ่ี ปนอยหู รอื ดําเนนิ ไปท้ังระบบนี้ แยกองคประกอบได ๓
สวนใหญ คือ

๑. การเคลื่อนไหวติดตอสัมพันธกับโลกภายนอก โดยใชต า หู จมกู

ล้ิน กาย ใจ และการแสดงออกตา งๆ ซ่งึ ปรากฏออกมาทางกายวาจา จะใช
คาํ ตามภาษาสมัยใหมว า “พฤติกรรม” ก็มคี วามหมายแคบเกินไป ขอแตง
เปน คําใหมว า พฤติสัมพนั ธ

๒. เบ้ืองหลังการติดตอสัมพันธและพฤติกรรมท่ีแสดงออก ก็มี

กระบวนการทาํ งานของจติ ใจ เรม่ิ ต้งั แตเ จตจํานง (ความตัง้ ใจ) เพราะการติด
ตอ สัมพันธและพฤติกรรมที่แสดงออกมาทกุ อยา งของมนุษย เกิดจากเจตนา
คอื มคี วามตัง้ ใจ จงใจ

นอกจากน้ียังมีแรงจูงใจเปนตัวกําหนดอีกช้ันหนึ่งวาจะต้ังใจอยางไร
แรงจงู ใจนม้ี ที ้ังฝา ยช่วั และฝา ยดี เชน ความรกั ความโกรธ ความอยากรู
ความลุมหลง ความเคารพ ความริษยา เปน ตน

แลว ก็มคี วามสขุ หรือความทุกขอยูในใจอีก ซง่ึ เปน ตวั กําหนดหรือชัก

๔๒ แกน แทของพระพุทธศาสนา

จูงความตงั้ ใจนนั้ เชนวา เพราะอยากไดส ขุ จึงเคล่ือนไหวทําพฤติกรรมแบบ
นี้ เพราะอยากหนที กุ ข จงึ เคล่อื นไหวทาํ พฤติกรรมแบบน้ี

เพราะฉะนั้น การตดิ ตอ สัมพนั ธและพฤตกิ รรมจึงไมไ ดเกดิ ขึน้ มาลอยๆ
แตม ปี จ จยั ขบั เคลอื่ นอยเู บอ้ื งหลัง คือกระบวนการของจิตใจ (หลายอยางท่ี
ปจจบุ ันมกั เรยี กเพย้ี นไปวา “อารมณ” ) เปน ดา นท่ี ๒ ในกระบวนการทํางาน
ของชวี ิต เรียกส้นั ๆ วา จิตใจ

๓. ในการเคลื่อนไหวตดิ ตอสัมพนั ธทําพฤตกิ รรมน้ัน คนตองมีความรู

รเู ทาไรกต็ ง้ั ใจเคลือ่ นไหวทําพฤตกิ รรมไดเทา นนั้ ถาไมรูเลย ความตั้งใจทาํ
พฤตกิ รรมก็สง เดชเรื่อยเปอ ย พอมคี วามรูบาง ก็ตั้งใจเคล่อื นไหวทําพฤติ
กรรมไดผลขึ้นบาง ถารมู ากข้ึน การต้งั ใจเคล่ือนไหวทําพฤติกรรมกจ็ ะซับ
ซอ นและจะไดผ ลสาํ เร็จมากยงิ่ ขนึ้

ฉะนน้ั ความรจู งึ เปนองคป ระกอบที่สําคัญมาก ซึ่งทาํ ใหเ ราตง้ั เจตจํานง
ไดแคไ หนวาจะเอาอยา งไร แลวก็เคลื่อนไหวทาํ พฤตกิ รรมออกไปตามนั้น
เพราะฉะนน้ั แดนรจู งึ เปน แดนใหญด า นหนง่ึ ของชีวติ ไดแก ปญญา

ถา เราพัฒนาปญญา เรากจ็ ะขยายมติ ิและขอบเขต ทงั้ ของดา นจิตใจ
และของดา นพฤติกรรมออกไปท้งั หมด

พฤตกิ รรมของมนษุ ยท พ่ี ัฒนาออกมาเปน กลมุ เปน หมูรวมๆ กัน เปน
วฒั นธรรมและอารยธรรมน้ัน ก็เกดิ จากเจตจํานงตามอํานาจของแรงจงู ใจ
เชนความปรารถนาท่จี ะเอาชนะธรรมชาติ ทาํ ใหอารยธรรมตะวันตกเจริญมา
อยา งทเี่ ปน อยใู นปจ จุบันนี้ นี่คอื เจตจาํ นงซ่งึ อยใู นดานจิตใจ

แตเจตจํานงน้นั เกดิ ขึน้ ไดภายใตเ งื่อนไขของความรู เขามคี วามรคู วาม
เขาใจอะไรอยา งไร ก็มีความเชื่อ ยดึ ถือ และคิดไปไดอ ยางนั้นแคน้นั แลวก็
ตั้งเจตจาํ นงตางๆ ทจ่ี ะทาํ พฤตกิ รรมภายในขอบเขตเทา นัน้ เพราะฉะนั้น
แดนปญญาคอื ความรจู งึ ยิ่งใหญมาก

ลกั ษณะสาํ คญั ของกระบวนการดําเนินชีวติ ของมนษุ ย คอื การพฒั นา

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๔๓

ศักยภาพในการท่ีจะดําเนินชีวิตใหสามารถอยูรอดและอยูไดอยางดีงามมี
ความสุขยิง่ ขน้ึ หรอื พฒั นาขึ้นไปสคู วามเปน สัตวท่ปี ระเสริฐยิ่งขนึ้ จนถงึ
ความเปนพุทธะในท่สี ดุ

ตกลงวา ชีวติ ของมนษุ ย ท่ีเปน กระบวนการเคลอ่ื นไหวดาํ เนนิ ไป
ทามกลางส่งิ แวดลอ มนี้ แยกเปน ๓ ดาน คอื

๑. พฤติสมั พันธ
๒. จติ ใจ
๓. ปญญา
น่ีคือการแยกองคประกอบของชีวิตอีกแบบหนึ่งตามหลักพระพุทธ
ศาสนา
เรามักจะติดอยแู คการแยกแบบกายกบั ใจ ซ่งึ เปน การแยกเพ่ือความรู
เขา ใจ แตเ อามาใชป ฏิบัตไิ ดน อ ย
ถาเราจะนาํ พระพทุ ธศาสนามาใชใ นระดบั ปฏิบัตกิ าร ในการทํากจิ การ
ตา งๆ โดยเฉพาะในการพฒั นามนุษย และในการพฒั นาสงั คม จะตอ งกาว
มาถงึ การแยกในระดบั กระบวนการดาํ เนนิ ชีวติ คือแยกเปน ๓ ดาน หรือ ๓
แดน อยา งนี้
ถึงตอนน้เี ราไดครบแลว เหมือนทบี่ อกเมื่อกี้ ในตัวอยางเร่ืองรถยนต
ซึง่ มีการแยกแยะ ๒ ระดับ คอื แยกตอนจอดอยูนิง่ ๆ ใหเ หน็ วามอี งค
ประกอบอะไรบาง และแยกตอนทํางานคอื วิง่ แลนไปวามันทํางานอยา งไร แต
ในเรอ่ื งชีวิตมนษุ ย เราแยกสวนหรอื แยกองคป ระกอบ ๓ ระดับ คือ

๑. แยกองคป ระกอบ ตามสภาพหรือในภาวะอยนู ่ิงเฉย (เชน แยก
เปน รปู +นาม, กาย+ใจ, ขนั ธ ๕)

๒. แยกใหเหน็ ระบบการทํางานขององคประกอบตา งๆ ใน
กระบวนการหรอื วงจรความสมั พนั ธ (เชน แยกแบบปฏิจจสมุปบาท)

๔๔ แกนแทของพระพทุ ธศาสนา

๓. แยกใหเ หน็ ระบบและกระบวนการดําเนินชวี ิต ท่อี งคป ระกอบ
๓ ดานมารวมกันขับเคลอ่ื นชวี ติ ใหเ ปน อยไู ดดียงิ่ ขึน้ ๆ ไปสูจดุ หมายท่ีจะเปน
ชีวติ ทีส่ มบรู ณ (แยกเปน ๓ ดา น หรอื ๓ แดน คอื ดา นสมั พนั ธภ ายนอก
ดานจติ ใจ และดา นปญ ญา)

เมื่อไดความเขา ใจเปนพ้ืนฐานแลว กข็ อจบเร่ืองธรรมชาตขิ องมนษุ ย
เทา ท่ีพอจะใชแ คนีก้ อน


Click to View FlipBook Version