The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-15 16:55:18

อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

Keywords: อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

เน่ืองในงาน
พระราชทานเพลิงศพครูใหญเ ปนกรณพี ิเศษ

พระเทพวิทยาคม (หลวงพอคณู ปรสิ ทุ ฺโธ)

ณ ศูนยป ระชุมอเนกประสงคก าญจนาภเิ ษก มหาวทิ ยาลัยขอนแกน
และฌาปนสถานช่วั คราว วัดหนองแวง พระอารามหลวง
บรเิ วณดา นหลงั พทุ ธมณฑลอีสาน
(๒๑-๓๐ มกราคม ๒๕๖๒)

ปฐมบท

หนังสือ อาจาริยานุสรณ จัดทําข้ึนเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพครูใหญเปนกรณี
พิเศษ ประจําปพทุ ธศักราช ๒๕๖๑ ซึง่ ในปน ี้ พระเทพวทิ ยาคม (หลวงพอคณู ปรสิ ทุ โฺ ธ) เปน
ครใู หญร า งหนง่ึ ในจาํ นวนทง้ั หมด ๖๔๗ รา ง จากการทที่ า นไดม เี จตจาํ นงอนั แนว แนใ นการบรจิ าค
รางกายเปนครูใหญใหแกภาควิชากายวิภาคศาสตร “กูจะขอเปนครูใหญแบบใหผา” และได
เขียนพนิ ัยกรรม รหัสหมายเลข ๓๖ / ๐๐๖ เมอื่ วนั ที่ ๖ มกราคม ๒๕๓๖ ซึง่ หลังจากลงลายมือ
ชื่อแลว ทานไดเปลงวาจาวา “สําเร็จแลว” ถึง ๓ คร้ัง โดยในพินัยกรรมน้ันยังไดระบุถึงการ
ประกอบพธิ บี าํ เพญ็ กศุ ลศพไวด ว ยวา “... ใหจดั อยา งเรียบงาย ... ประกอบพิธเี ชน เดียวกบั ทีว่ ัด
จัดใหแกอาจารยใหญข องนักศกึ ษาแพทยป ระจาํ ป ...”

พระเทพวทิ ยาคม (หลวงพอคูณ ปรสิ ุทโฺ ธ) อดีตเจาอาวาสวดั บานไร และท่ปี รึกษาเจา
คณะภาค ๑๑ ผเู ปย มเมตตาตอ พทุ ธศาสนกิ ชนทกุ เพศ ชนั้ วรรณะ อยา งเทา เทยี มกนั เปน ผทู รง
คณุ อันวิเศษท้งั ดานคันถธรุ ะ และวปิ ส สนาธรุ ะครบถว น เปนผลู ะแลว ซงึ่ กิเลสท้งั ปวง เปน แบบ
อยางของผปู ระพฤติดปี ระพฤติชอบ ดงั ที่ทานไดกลาววา “กกู ม็ ีความเพยี ร ความสมถะ ความ
ศรทั ธา มเี มตตา มศี ลี มคี วามรกั เพอ่ื นมนษุ ย และมธี รรมะในหวั ใจ” และวา “กไู มต อ งการอะไร
อ๊ีกแลว เพราะกูมีทุกอยางแลว” ซ่ึงทานไดปฏิบัติใหเห็นโดยการ “ให” อยางไมมีเง่ือนไข
เสมอมา จวบจนวาระสุดทายที่เหลือเพียงสรีระ กย็ งั ไดม อบใหเปน ครใู หญ เพ่ือการศกึ ษาวชิ า
ดานการแพทยใ หเ ปนประโยชนต อ มนษุ ยชาติตอ ไป

ดังนั้น เพ่ือเปนการระลึกถึงคุณธรรมอันงดงามของพระเทพวิทยาคม (หลวงพอคูณ
ปริสุทฺโธ) คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน จึงไดจัดทําหนังสือ อาจาริยานุสรณ
ข้ึนเพ่ือประมวลเร่ืองราวของหลวงพอคูณ ปริสุทฺโธ เปนชีวประวัติ และโดยเฉพาะเร่ืองราว
เกี่ยวกับอาการอาพาธ ตลอดจนการปฏิบัติกับรางครูใหญหลวงพอคูณ ปริสุทฺโธ และการ
ดําเนินงานตามพินัยกรรมท่ีทานจัดทําไวอยางเครงครัด และเหมาะสมกับคุณงามความดี
ของทานทม่ี ตี อพุทธศาสนาและวงการแพทยอยา งแทจ รงิ

สารจากอธิการบดี

พระเทพวิทยาคม (หลวงพอคูณ ปริสุทฺโธ) อดีตเจาอาวาส
วัดบานไร อําเภอดานขุนทด จังหวัดนครราชสีมา พระเกจิอาจารย
ผูมีความเมตตาและมีคุณูปการตอประเทศชาติ ทานไดจัดสราง
โรงพยาบาลถงึ ๓ แหง ตลอดจนโรงเรียน วิทยาลัย และอนื่ ๆ อีก
มากมาย นอกจากน้ี ยงั ไดบ รจิ าคเงนิ ทองเพื่อชวยเหลอื สาธารณสขุ
และสาธารณกุศลตา งๆ อยางตอ เนอื่ ง แมกระทัง่ สรีรสังขารของทาน
ก็เมตตาบริจาคเปนครูใหญใหนักศึกษาแพทยของมหาวิทยาลัย
ขอนแกน ไดท าํ การศกึ ษาคน ควา เพอื่ เปน องคค วามรใู นการชว ยเหลอื
ชวี ติ มวลมนุษยชาติ

ชาวมหาวทิ ยาลยั ขอนแกน ในฐานะทไี่ ดร บั อนญุ าตใหด าํ เนนิ ตามเจตนารมณข องพระเทพวทิ ยาคม
(หลวงพอคูณ ปริสุทฺโธ) ที่บันทึกไวในพินัยกรรม มีความซาบซ้ึงและสํานึกในเมตตาของหลวงพอ
เปนอยางยิ่ง ไดดําเนินตามเจตนารมณของทานทุกขั้นตอน นับต้ังแตเม่ือทานไดมรณภาพเม่ือวันท่ี
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เปนตน มา ไดป ระกอบพิธบี าํ เพญ็ กุศลระหวา งวนั ท่ี ๑๗ - ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ณ ศูนยประชุมอเนกประสงคกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแกน และไดประกอบพิธีมอบสรีรสังขาร
ใหภาควิชากายวิภาคศาสตร คณะแพทยศาสตร เพื่อเขาสูกระบวนการศึกษาในฐานะ “ครูใหญ”
ของนกั ศกึ ษาแพทย เมอ่ื วนั อาทติ ยท ี่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และหลงั จากเสรจ็ สนิ้ การศกึ ษาของนกั ศกึ ษา
แพทยแลว ไดจัดพิธีสวดพระอภิธรรมรวมกับครูใหญทานอื่น รวมจํานวน ๖๔๗ ราง ณ ศูนยประชุม
อเนกประสงคกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแกน และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ
เปนกรณีพิเศษ พระเทพวิทยาคม (หลวงพอคูณ ปริสุทฺโธ) ที่ฌาปนสถานช่ัวคราววัดหนองแวง พื้นท่ี
ดานหลังพุทธมณฑลอิสาน ในวันท่ี ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒ และประกอบพิธีลอยอังคารและอัฐิในวันที่
๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ ณ แมน ้าํ โขง จงั หวัดหนองคาย ตามเจตนารมณข องหลวงพอตอไป

แมว ันน้ีหลวงพอ คณู ปริสุทโฺ ธ ละสงั ขารไปแลวแตค าํ สอนอนั เรยี บงา ย วัตรปฏบิ ตั ิทีด่ ีงาม เมตตา
ทีส่ งู สง ของทา นยงั คงอยูใ นใจของพทุ ธศาสนกิ ชนคนไทยและชาวมหาวิทยาลัยขอนแกน ตลอดไป

รองศาสตราจารยก ติ ตชิ ัย ไตรรตั นศิรชิ ัย
อธิการบดีมหาวิทยาลยั ขอนแกน

สารบญั

ปฐมบท
สารจากอธิการบดี
พระมหากรณุ าธคิ ุณในพระบรมราชจกั รวี งศ ........................................................................................ ๑
ชวี ประวัตพิ ระเทพวิทยาคม (หลวงพอ คณู ปรสิ ุทโฺ ธ) ............................................................................ ๔

ชาตกิ ําเนิด ................................................................................................................................ ๔
อุปสมบท บวชเรียน ................................................................................................................. ๘
ปราชญแ หงท่ีราบสูง .............................................................................................................. ๑๑
สมณศักด์ิ ........................................................................................................................................... ๑๒
เมตตาจติ อนั ยิง่ ใหญ ........................................................................................................................... ๑๓
เอกลกั ษณห ลวงพอ คณู ...................................................................................................................... ๑๔
ประวัติการรักษาหลวงพอ คณู ............................................................................................................ ๑๕
จรยิ วตั รหลวงพอ คณู ......................................................................................................................... ๒๒
การเลิกบหุ ร่ี .......................................................................................................................... ๒๒
บําเพญ็ ทานบารมีท่ีย่งิ ใหญ .................................................................................................... ๒๓
ชีวิตทถี่ ูกหลอหลอมสูความเปนครู ........................................................................................ ๒๔
บนเสน ทางของความเปนครู .................................................................................................. ๒๕
วาระสดุ ทา ยและพนิ ยั กรรม ............................................................................................................... ๒๗
รวมภาพแหงความทรงจาํ วันมรณภาพหลวงพอคณู .......................................................................... ๓๐
การเรยี นการสอนจากรางครใู หญหลวงพอ คณู .................................................................................. ๕๒
โอวาทธรรมคําสอนของหลวงพอคณู ท่จี ะคงอยูในใจตลอดไป ........................................................... ๕๖
ความรสู กึ ของตัวแทนนักศึกษาตอ ครใู หญห ลวงพอคณู ..................................................................... ๖๖
เหรยี ญโปรยทาน “ดอกคูณบญุ ” ...................................................................................................... ๖๗
ทานบารมีมรรควธิ สี ูโพธญิ าณ ............................................................................................................ ๖๙
หบี บรรจุสรรี สงั ขารพระเทพวิทยาคม ................................................................................................ ๗๕
ฌาปนสถานชวั่ คราววดั หนองแวงพระอารามหลวง ........................................................................... ๗๘
อนสุ รณสถานพระเทพวิทยาคม ......................................................................................................... ๘๒
ปจ ฉิมบท ........................................................................................................................................... ๘๙

พระมหากรณุ าธิคณุ
ในพระบรมราชจักรีวงศ

ในสมยั ทพ่ี ระเทพวทิ ยาคม (หลวงพอ คณู ปรสิ ทุ โฺ ธ)
พระเกจิอาจารยท่ีเคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ
เปนเจาอาวาสวัดบานไร ทําใหเปนท่ีรูจักของคนท่ัวไป
เพราะทานเปนพระที่เปยมดวยเมตตา เขาถึงชาวบาน
ทุกระดับชั้น ดวยวิธีการส่ังสอนอบรมที่เขาใจไดงาย
ทําใหวัดบานไร ตําบลกุดพิมาน อําเภอดานขุนทด
จังหวัดนครราชสีมา ไดรับพระมหากรุณาธิคุณจาก
พระบรมวงศานุวงศหลายพระองค ในการเสด็จพระราชดําเนินมาบําเพ็ญพระราชกรณียกิจ และเสด็จ
พระราชดําเนินมานมัสการหลวงพอคูณตามวาระโอกาสตางๆ ดังเชนครั้งที่วัดบานไรไดสรางพระอุโบสถ
หลังใหม และจะไดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไวท่ีบุษบกเหนือพระอุโบสถนั้น ในคร้ังนั้นพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี ๙ และสมเด็จพระนางเจาสริ ิกติ ิ์ พระบรมราชนิ ีนาถ ไดเสด็จ
พระราชดาํ เนนิ มาทรงประกอบพธิ บี รรจุ และอัญเชิญพระบรมสารีรกิ ธาตขุ ึ้นประดษิ ฐาน ณ บษุ บกเหนือ
พระอุโบสถ วัดบานไร ณ วันพุธที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๘ และไดเสด็จพระราชดําเนินเย่ียมพสกนิกร
ที่มาเฝารับเสด็จฯ อยูจนพลบค่ํา ยังความปลาบปล้ืมแกปวงพสกนิกรเปนอยางย่ิง และกอนเสด็จ
พระราชดําเนินกลับ พระองคไดประนมหัตถนมัสการลาหลวงพอคูณ ซึ่งตามเสด็จฯ อยูโดยตลอด
หลวงพอคูณไดร วบพระหตั ถข องพระองคไ วแ นน พรอ มทง้ั กําหนดจติ และอธษิ ฐานในใจถวายพระพรวา
สุคโต สคุ โต สุคโต

1

สมเด็จพระเจาอยูห วั มหาวชริ าลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐
ขณะดํารงพระยศ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าชฯ สยามมกุฎราชกมุ าร
เสด็จพระราชดาํ เนนิ ทรงประกอบพิธตี ัดลกู นิมิตอุโบสถวดั บานไร
เมอื่ วนั ท่ี ๒๘ มิถนุ ายน ๒๕๓๖

2

สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี
เสด็จพระราชดาํ เนนิ ทรงประกอบพิธยี กชอ ฟา เททองหลอพระประธาน

ณ วัดบานไร เมือ่ วันท่ี ๑๖ มนี าคม ๒๕๓๕

พระบรมวงศานวุ งศอ ีกหลายพระองค ไดเ สดจ็ ไปนมสั การหลวงพอคณู ทว่ี ดั บานไร
อาทิ พระเจา วรวงศเธอ พระองคเจาโสมสวลี พระวรราชาทินดั ดามาตุ
พระเจา หลานเธอ พระองคเจา พชั รกติ ยิ าภา
ทลู กระหมอ มหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิรวิ ัฒนาพรรณวดี ฯลฯ

3

ชวี ประวตั ิ
พระเทพวทิ ยาคม (คณู ปริสุทฺโธ)

พระเกจอิ าจารย อดตี เจาอาวาสวัดบานไร และอดตี ทีป่ รกึ ษาเจาคณะภาค ๑๑

ชาติกําเนดิ

คณู ฉตั รพลกรัง (หลวงพอ คูณ) เกดิ เมอ่ื วนั พฤหสั บดที ่ี ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกบั แรม ๑๐ คา่ํ
เดือน ๑๐ ปก ุน ทบ่ี า นไร หมทู ่ี ๖ ตาํ บลกุดพมิ าน อาํ เภอดา นขุนทด จงั หวดั นครราชสมี า เปนบตุ รชาย
คนโตของนายบุญ และ นางขาว ฉัตรพ ลกรงั ซึ่งประกอบอาชพี เกษตรกรเปนครอบครัวชาวนา มนี องสาว
รวมบดิ ามารดาสองคน คอื นางคาํ มน่ั วงษกาญจนรัตน และ นางทองหลอ เพญ็ จนั ทร

4

ชีวติ ในวยั เดก็

โยมแมเสียชีวิตต้ังแตหลวงพออายุได ๑๑ ขวบ โยมพอไดนําไปฝากเปนศิษยวัดบานไรเพ่ือให
เรียนหนังสือกบั พระสงฆ อาจารยเชอื่ ม วิธโร พระอาจารยฉาย และ พระอาจารยหลี พระอาจารยท ี่วัด
ท้ังสามทานต้ังใจสอนอยางจริงจัง ท้ังวิชาภาษาไทย ภาษาขอม ท้ังยังสอนวิชาคาถาอาคม เพื่อปองกัน
ภัยอนั ตรายตา ง ๆ ใหดวย ทาํ ใหหลวงพอตัง้ ใจเรยี นจนไดมีความรมู าต้ังแตบ ัดนนั้

5

ชีวติ ในวยั รุน

ในวัย ๑๖ ป หลวงพอไดออกจากวัดบานไรไปอยูในความอุปการะของนาชายและนาสะใภ
หลวงพออยากเปนนักแสดงเพลงโคราช หรือท่ีเรียกวา หมอเพลง ตามความนิยมของหนุมสาวโคราช
สมัยน้ัน จึงไดเดินทางดวยเทา ๕ วัน ๕ คืน พรอมคนในหมูบานจํานวนหน่ึงไปยังบานมะระ
ตําบลดอนชมพู อําเภอโนนสูง ฝากตัวเปนลูกศิษยครูสน ไดความรูและบทเพลงเก้ียวพาราสีจากครู
มาหนง่ึ บท จากน้นั ไดต ัดสนิ ใจลาครกู ลบั บาน

หลวงพออยากคบนักเลงดูบาง นักเลงสมัยนั้นเปนท่ีเกรงขาม ไดรับการยอมรับและยกยองวา
เปนผูย่ิงใหญ จึงไดลองคบกับนักเลงโตตามหมูบาน นักเลงเหลาน้ันนอกจากจะทําตัวเกะกะระรานผูอ่ืน
แลว ยังลกั ขโมยสัตวเ ลี้ยงอยา งววั ควายไปฆา ชาํ แหละเนอื้ มาแบงปนกันอีกดวย แตเ ดชะบุญทีห่ ลวงพอมี
จิตสํานึกท่ีดีงาม สามารถแยกแยะความดีความเลวได จึงไมไดถลําตัวและรักษาตนใหรอดพนจาก
วยั อนั ตรายไดอ ยางปลอดภยั

6

ชวี ิตชาวนา

นาชายและนาสะใภมอี าชพี ทํานา เปนอาชพี ทีต่ องใชแรงกายเปน หลกั หลวงพอ ไดชวยนาท้งั สอง
ทํางานตามกําลังความสามารถโดยตลอด จนวันหนึ่งรางกายท่ีปวดระบมไปทั้งตัวจนสุดท่ีจะทนได จึงได
ทอดกายนอนพาดบนคันนาเปนเวลานาน ไดยินนาสะใภพูดวา “ถาไมไหวก็ไปบวชเสียไป” หลวงพอจึง
ตอบไปวา “นา คอยดเู ดอ หากฉนั ไดบ วชแลว ขอรบั รองวา ฉนั จะไมย อมซกึ เปน อนั ขาด จะบวชจนตายเลย
แหละ”

7

อุปสมบท บวชเรียน

เม่อื อายไุ ด ๒๑ ป ไดอ ุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ
ตําบลกุดพิมาน อําเภอดานขนุ ทด จังหวดั นครราชสมี า เมอื่ วันศุกรท ่ี
๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ (บางตาํ ราระบวุ า ๒๔๘๖) เดือน ๖ ปว อก
พระครูวิจารยติกิจ อดีตเจาคณะอําเภอดานขนุ ทด เปน พระอปุ ช ฌาย
พระอาจารยสุข วัดโคกรักษ เปนกรรมวาจาจารย พระอุปชฌาย
(พระครวู จิ ารยติกจิ ) ใหฉ ายาวา ปริสุทโฺ ธ หลวงพอไดศึกษาพระธรรม
วนิ ยั จากหลวงพอ คง พุทธฺสโร และเปนศิษยห ลวงพอ แดงท่ีมชี อื่ เสียง
ดานวปิ ส สนากัมมฏั ฐาน ซึ่งหลวงพอ ไดตง้ั ใจฝกปฏิบตั ิเปน อยา งดแี ละ
สมา่ํ เสมอ

8

หลงั จากนนั้ ทา นไดฝ ากตวั เปน ศษิ ยห ลวงพอ แดง
วดั บา นหนองโพธ์ิ ตาํ บลสาํ นกั ตะครอ อาํ เภอดา นขนุ ทด
ซึ่งเปนพระนักปฏิบัติดานคันถธุระ และวิปสสนาธุระ
อยา งเครง ครดั และเปน พระเกจอิ าจารยท เ่ี รอื งวทิ ยาคม
เปนท่เี ลอ่ื มใสศรัทธาทัว่ ไป หลวงพอคณู ไดต ง้ั ใจรํา่ เรียน
พระธรรมวินัย และปรนนบิ ตั ิรบั ใชหลวงพอ แดงมานาน
จนหลวงพอ แดงไดน าํ ทา นไปฝากตวั เปน ศษิ ยห ลวงพอ คง
พุทธสโร ซึ่งเปนสหายที่มักแลกเปลี่ยนธรรมะและวิชา
อาคมตางๆ กันอยูเสมอ หลวงพอคูณจึงไดเรียนวิชาท้ัง
ทางธรรมและทางไสยศาสตร เปนการสอนพระธรรมคู
กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เนนการมีสติ ระลึกรู
พจิ ารณาอารมณต า ง ๆ ทม่ี ากระทบและใหเ กดิ การรเู ทา
ทันในอารมณนั้น และสอนพระกัมมัฏฐานโดยใชหมวด
อนสุ ติ ดว ยการกาํ หนดความตาย เปน อารมณ (มรณสต)ิ
เพอื่ ใหเ กิดการรูเ ทา ทนั ไมหลงในอารมณ รปู รส กลน่ิ
เสยี ง ไมประมาทในความโลภ โกรธ หลง จนมีความรูชาํ นาญในการปฏบิ ตั ิธรรมเปน อยางดี หลวงพอ คง
จึงแนะใหหลวงพอคณู ออกธุดงคจาริกไปตามปา เขา เพื่อฝก ปฏบิ ตั ิธรรมข้ันสงู ตอ ไป

หลวงพอ คณู ไดเ ดนิ ธดุ งคจ ากเขตจงั หวดั นครราชสมี า และไกลออกไปเรอื่ ย ๆ จนถงึ ปา ลกึ ในประเทศ
กัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพ่ือทําความเพียรใหหลุดพนจากกิเกส ตัณหาและ

อปุ าทานทง้ั ปวง กอ นจะกลบั วัดบา นไร ในป
พ.ศ. ๒๔๙๕ และไดเริ่มบูรณะพัฒนาวัด
บานไร จากการชวนชาวบานชวยกันตัดไม
มาสรางอุโบสถ ในป พ.ศ. ๒๔๙๖ (ซึง่ ตอมา
ไดร้ือสรางใหม ไดสําเร็จในป พ.ศ. ๒๕๓๘)
หลังจากนั้นหลวงพอคูณไดมีสวนสําคัญใน
การขดุ สระนา้ํ สรา งกฏุ สิ งฆ ศาลาการเปรยี ญ
ในวัดบานไร และไดบริจาคทุนทรัพยในการ
สรา งโรงพยาบาล โรงเรยี นอกี หลายแหง รวม
ท้ังการบริจาคปจจัยชวยเหลือดานสาธารณ
กศุ ลและมูลนิธติ า ง ๆ อยูเสมอ
9

แตเดิมหลวงพอ ต้งั ใจจะบวชเพยี ง ๓ พรรษา แตภาพความยากลําบากในอดตี ของตนเองและผคู น
ในบานเกดิ ทําใหตอ งครุนคดิ อยตู ลอดเวลาวา

“ทาํ อยางไรจะชว ยคนเหลา นั้นใหพ น ทุกขไ ด”
“อันตัวกกู ็ตา่ํ ตอ ยนอ ยคา อยา งนี้ ถา ซกึ ออกไปจะทําประโยชนอะไรใหคนในแผนดิน

ลาํ พังการเลี่ยงตัวเองกจ็ ะเอาตวั ไมร อด แตการบวชเรียนถอื ศีลอยู
หากมีความรู มคี ุณธรรม อาจจะชว ยเหลือเกอ้ื กูลพวกเขาใหพ นวิบากกรรมไดมากกวา”
หลวงพอ จึงไดตดั สนิ ใจอยา งแนวแนว าจะอทุ ิศกายถวายชีวติ บวชเพือ่ พระพุทธศาสนาตลอดไป

10

ปราชญแ หงทรี่ าบสงู

สง่ิ ทที่ าํ ใหห ลวงพอ คณู เปน ทเี่ ลอ่ื มใสศรทั ธาของคนทว่ั ไป เรมิ่ จากการสรา งวตั ถมุ งคล ซงึ่ ตามประวตั ิ
ทีท่ า นไดเ รียนวชิ าคาถาอาคมจากพระอาจารยหลาย ๆ ทา น จนมีความชาํ นาญแกก ลา และไดส รา งวัตถุ
มงคลรุนแรก ตั้งแตสมัยเม่ือบวชไดเจ็ดพรรษา เร่ิมจากตะกรุดโทน ตะกรุดทองคํา เพื่อฝงใตทองแขน
ณ วัดบา นไร ในราวป พ.ศ. ๒๔๙๓ ซงึ่ ทา นกลา วเสมอวา “ใครขอกกุ ็ให ไมเลอื กยากดมี ีจน” ปจจุบัน
พระเครอื่ งหลวงพอ คณู เปน ทน่ี ยิ มของนกั สะสมอยา งมาก ทงั้ ความแกก ลา ในวชิ าอาคมและความแตกฉาน
ในพุทธศาสนาทําใหห ลวงพอคณู ไดรบั ฉายาวา ปราชญแ หง ทร่ี าบสูง และแมท า ทกี ารแสดงออกที่ตรงไป
ตรงมา พูดภาษาพื้นบานโคราช ใชคํามึงกู แตทุกคนตางทราบดีวาหลวงพอคูณเปนผูมีจิตเมตตา
เปนอยา งยิ่ง ทุก ๆ ครงั้ ทที่ านแสดงออกทา นจะมีจิตท่แี จม ใส หมดสิ้นกิเลสอยา งแทจรงิ

จนถึงป พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงพอคูณไดไปจําพรรษาที่วัดสระแกว จังหวัดนครราชสีมาเพ่ือความ
สะดวกในการรักษาอาการอาพาธ หลังจากน้ันหลวงพอไดเมตตาเดินทางไปจําพรรษาในหลายจังหวัด
ทั่วทุกภูมิภาคใหประชาชนทั่วประเทศไดมีโอกาสสรางบุญสรางกุศลอีกดวย กอนที่หลวงพอจะเดินทาง
กลบั วดั บานไรอ ีกครงั้ ในป พ.ศ. ๒๕๓๘ และจาํ พรรษาทีว่ ดั บา นไรจ วบจนมรณภาพ

11

สมณศักด์ิ

๑๒ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ : เปน พระราชาคณะชั้นสามัญฝายวิปส สนาธรุ ะที่ พระญาณวิทยาคมเถร
๑๐ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ : เปนพระราชาคณะช้ันราชฝายวิปสสนาธุระท่ี พระราชวิทยาคม อุดม

กิจจานกุ จิ จาทรมหาคณสิ สร บวรสังฆาราม คามวาสี
๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ : เปนพระราชาคณะช้ันเทพฝายวิปสสนาธุระท่ี พระเทพวิทยาคม อุดม

ธรรมสุนทร ปสาทกรวรกจิ มหาคณสิ สร บวรสงั ฆาราม คามวาสี
12

เมตตาจติ อันยิง่ ใหญ
เมตตา เมตตา และ เมตตา

ใครขอรอ งใหหลวงพอ ชวยทําอะไร ถา ทาํ ได
ทานกเ็ มตตาทําใหทุกคน หลวงพอ พูดวา

“มันมาขอรองกูใหกูทําโนนทํานี่ ใหกู
เหยยี บ กูก็เหยียบใหม ัน จ๊ักกจู ะคดั ใจมนั ไปทําไม
มนั จะไดสบายใจ.....”

แมแตวัตถุมงคลหลายประเภท ซ่ึงหลวงพอ
เองไมไดมีเจตนาท่ีจะสนับสนุนในเร่ืองนี้ แตถาหาก
ทาํ แลวประชาชนอยดู มี ีสขุ หลวงพอ ก็ไมขดั ใจใคร

ดังน้ัน บอยคร้ังที่ไดเห็นภาพหลวงพอฝง
ตะกรุด เคาะหัว เปากระหมอม เหยียบโฉนดท่ีดิน
เจิมรถยนต เจิมอาคารบานเรือน และอีกมากมาย
ทีห่ ลวงพอ เมตตาทาํ ให (เพ่อื ความสขุ ความสบายใจ
ของผูมาขอ)

“คนเรา เมอ่ื มีเมตตาใหก บั ผอู ื่น ผูอน่ื เขาก็
จะใหค วามเมตตาตอบสนองตอ เรา ถา เราโกรธเขา
เขากจ็ ะโกรธเราตอบเชนกัน ความเมตตาน่ีแหละ
คอื อาวธุ ทจี่ ะปกปอ งตวั เราเอง ใหไ ปไดต ลอดรอด
ฝง เปน อาวธุ ทใี่ คร ๆ จะนาํ เอาไปใชก ไ็ ด จดั วา เปน
ของดนี กั แล”

13

เอกลกั ษณหลวงพอ คูณ

หลวงพอคูณมีชาติกําเนิดอยูในพ้ืนท่ีอําเภอดานขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซ่ึงประชาชนท่ัวไป
ใชภ าษาโคราชในการพดู จา ดงั นน้ั สาํ เนยี งภาษาพดู ของทา นจงึ เปน การออกเสยี งตามเสยี งภาษาถนิ่ โคราช

คําพูด “กู มงึ ”
หลวงพอใหเหตุผลของการพูดคําสรรพนามในการสนทนา
ดว ยคาํ พนื้ บานน้ีวา
“กูแสดงใหรูวา กูมีความจริงใจกั๊บพวกมึง แสดงความเปน
กันเองรกั ใคร ซานด้ิ สนม ไมตองมพี ิธรี ีตอง พดู ตรงไปตรงมา อยางกู
เรยี กวา ไอน าย กแ็ ปลวา กรู กั กเู อน็ ดเู หมอื นลกู เหมอื นหลาน ไมเ กย่ี ว
กบั๊ ยศฐาบรรดาซก๊ั อะไร”

การนง่ั ยอง ๆ
หลวงพอ ใหค าํ ตอบวา “การนงั่ ยอง ๆ มนั คลอ งตวั สะดวก
คลอ งแคลว รวดเรว็ การเคลอ่ื นตวั ไมว า จะลกุ จะนงั่ เดนิ กส็ ะดวก
และกกู ็นงั่ มาจนชิน รซู ก๊ึ มันสบายดี”
เนอื่ งจากในสมยั กอ น ไมม โี ตะ เกา อี้ มแี ตเ สอ่ื หรอื สาด แต
ถา ไมไ ดปูเสื่อน่ัง ก็จะน่ังยอง ๆ แทน
หลวงพอคูณ ทานยังมีเอกลักษณอีกหลายอยาง ซ่ึงไม
สามารถนํามาเขยี นไวไ ดท ั้งหมด

14

ประวตั ิการรักษาหลวงพอ คูณ

อาการอาพาธของหลวงพอ คณู

นพ.พนิ ศิ จยั นาคพนั ธุ หนง่ึ ในทมี แพทยท ไี่ ดด แู ลหลวงพอ เลา วา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสมี า
มีโอกาสไดดูแลหลวงพอตั้งแต ป พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยชวงแรกรักษาแบบผูปวยนอกเปนคร้ังคราว และ
ปลายป ๒๕๓๙ ทานไดเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันสงผลใหเกิดกลามเน้ือหัวใจตายเฉียบพลัน
(acute myocardial infarction) ไดเขารับการรักษาจนอาการคงท่ี และแพทยไ ดสงตวั หลวงพอไปรักษา
ตอที่โรงพยาบาลศิริราชเพื่อทําบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ในคร้ังนั้นทานจึงมีดําริใหกอตั้งศูนยโรคหัวใจ
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาขึ้น เพื่อใหชาวอิสานไดมีโอกาสเขาถึงการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
โดยทา นไดส นบั สนนุ เงนิ กอ ตง้ั ศนู ยโ รคหวั ใจดว ยเงนิ ประเดมิ ๓๐ ลา นบาท จากนน้ั ทางจงั หวดั นครราชสมี า
โดยนายโยธิน เมธชนัน ผูวาราชการจังหวัดใน
ขณะนั้น ชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล
เคียงไดรวมแรงรวมใจสานตอจนสามารถต้ังศูนย
โรคหวั ใจ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสมี า ขน้ึ สาํ เรจ็
ในป ๒๕๔๒ โดยไดรับพระราชทานพระราชทรัพย
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-
กุมารี ซึ่งสํานักงานสลากกินแบงรัฐบาลทูลเกลาฯ

15

ถวาย จํานวน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และเงินบริจาค
จากพอ คา ประชาชน เงินผาปามหากุศล เงนิ บรจิ าคจาก
พระราชวรญาณ (หลวงพอพุธ ฐานิโย) อีกประมาณ
๑๘ ลา นบาท

ตอมาในป พ.ศ. ๒๕๔๓ หลวงพอไดเกิดอาการ
เจบ็ แนน หนา อกอกี ทางโรงพยาบาลมหาราชไดส ง ตวั ทา น
ไปยังโรงพยาบาลศิริราชอีกคร้ังและไดตรวจพบวามี
หลอดเลอื ดหวั ใจตบี ๓ เสน ทางศริ ริ าชไดใ หก ารรกั ษาดว ยการผา ตดั บายพาสหลอดเลอื ดหวั ใจ จนอาการ
ดีข้ึน

ป พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงพอมอี าการซมึ และแขนขาซายออนแรงเฉียบพลัน จากภาวะหลอดเลอื ด
ในสมองแตกและไดรับการผาตัดสมองฉุกเฉินท่ีโรงพยาบาลศิริราชอีกครั้ง ในคร้ังน้ีไดพักรักษาตัวที่
โรงพยาบาลศริ ริ าชนานถงึ ๓ เดอื น หลงั จากกลบั วดั บา นไรก ไ็ ดร บั การดแู ลอยา งตอ เนอ่ื งจากทมี คณะแพทย
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จากเหตุการณครั้งนี้หลวงพอมีภาวะออนแรงหลงเหลืออยูทําใหทาน
จําเปน ตอ งใชเ กา อี้รถเขน็ ในบางครงั้

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หลวงพอเขา พกั
รกั ษาตวั ทโ่ี รงพยาบาลมหาราชดว ยภาวะตดิ เชอ้ื รนุ แรง
ในปอด ตองระดมแพทยผูเช่ียวชาญจากหลายสถาบัน
อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ สถาบันโรคทรวงอก ในคร้งั น้ี
ทานนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนานถึง
๙ เดือน และเพื่อใหทานไดรับโภชนาการที่เพียงพอ
จึงจําเปนตองทําการผาตัดเพ่ือใสสายยางผานผนัง
หนาทองไปยังกระเพาะอาหารโดยทําการผาตัดที่
โรงพยาบาลศิริราชและกลับมาพักรักษาที่โรงพยาบาล
มหาราชอีกคร้ังจนถึงวันท่ี ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕
ทีมคณะแพทย โรงพยาบาลมหาราชจึงเห็นควรให
ทานกลับไปพักรักษาตัวตอท่ีวัดบานไร เพื่อใหทานได
รบั การฟน ฟทู งั้ ทางรา งกายและจติ ใจไดเ รว็ ขน้ึ เนอื่ งจาก
ไดใกลชิดญาติโยม โดยทางโรงพยาบาลมหาราช
นครราชสีมาและคณะลูกศิษยไดทําการปรับปรุงกุฏิท่ี
ทานพักอาศัยใหมีความปลอดภัยและมีความพรอม

16

สําหรับการดูแลหลวงพอเสมือนหน่ึงนอนพัก
รักษาตัวทโ่ี รงพยาบาล โดยทําระบบหอ งปลอด
เช้ือควบคุมอุณหภูมิ เน่ืองจากภาวะการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและภาวะติดเช้ือจะ
สงผลตออาการทางปอดของทาน พรอมทั้งมี
ทีมแพทย พยาบาล และทีมสหวิชาชีพ อาทิ
นกั กายภาพบาํ บดั แพทยแ ผนไทยและโภชนากร
เปน ตน ทงั้ จากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสมี า
และโรงพยาบาลดานขุนทด ดูแลรวมกันตลอด
๒๔ ชั่วโมง ในการน้ีมีแพทยผูเชี่ยวชาญจาก
สถาบนั ตา ง ๆ รว มดแู ลเชน กนั อาทิ โรงพยาบาล
ศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ โรงพยาบาลศรีนครินทร สถาบัน
โรคทรวงอก เปนตน โดยทีมแพทยผูดูแลมี
วัตถุประสงคเดียวกันคือใหหลวงพออยูกับพวก
เราใหน านทส่ี ดุ และมคี วามสขุ ตามอตั ภาพ ในวนั ทสี่ ถานการณอ าํ นวย หลวงพอ กจ็ ะออกมาโปรดญาตโิ ยม
ท่ีหองกระจกปลอดเชื้อ ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวตางชาติเขากราบนมัสการอยางตอเนื่อง
โดยทีมแพทยไดจัดสภาวะแวดลอมตาง ๆ ใหอยางเหมาะสมและปลอดภัย และจะสังเกตไดวาทานจะมี
ความปต ยิ นิ ดที ไี่ ดอ อกมาโปรดญาตโิ ยม ภาพความทรงจาํ ทมี่ อิ าจลมื เลอื นของทมี คณะแพทยผ ดู แู ลคอื ภาพ
ความรว มมอื รว มใจของสหวชิ าชพี ทกุ ระดบั จากหลายสถาบนั รวมถงึ คณะกรรมการวดั บา นไร ในขณะนน้ั

และลูกศิษยหลวงพอท่ีไดจัดเตรียมอุปกรณสําคัญและจําเปน
ในการดูแลรักษาทานที่วัดบานไร นับเปนความรวมมือกัน
อยางบรู ณาการและสมบรู ณแ บบที่สดุ

หลังจากท่ีหลวงพอคูณไดกลับวัดบานไร เม่ือวันท่ี ๓๐
มกราคม ๒๕๕๕ ทมี แพทยก ็ใหการดแู ลทา นอยา งตอเนอ่ื งที่วดั
บา นไร จนวาระสดุ ทา ยของทา นเมอ่ื วนั ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ในเชา มดื วนั นน้ั ทา นเกดิ ภาวะลมรว่ั ในปอด (tension pneumo-
thorax) อยางเฉียบพลัน สงผลใหปอดและหัวใจหยุดทํางาน
ทีมแพทยไดปฏิบัติการกูชีพและนําทานเขารับการรักษาตอ
ท่ีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในเชานั้นหลวงพอคูณ
ปรสิ ทุ โฺ ธ ไดม รณภาพอยา งสงบเมอ่ื วนั ท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
เวลา ๑๑.๔๕ น. สิรอิ ายุ ๙๑ ป

17

ผูป ว ยในหอ งหมายเลข ๘ หอผปู วยวิกฤตระบบการหายใจ
โรงพยาบาลศริ ริ าช

รศ.นพ.นิธิพัฒน เจียรกุล อายุรแพทย หัวหนาสาขาอายุรศาสตรโรคระบบการหายใจและภาวะ
วิกฤต โรงพยาบาลศิริราช ไดเลาความรสู ึกทไี่ ดมีโอกาสดูแลหลวงพอ คูณ ในระหวา งท่หี ลวงพอพักรกั ษา
ตัวท่โี รงพยาบาลศริ ิราช ดังน้ี...

ถา ไดเปนแพทยป ระจาํ ในโรงพยาบาลที่เกา และใหญท ่สี ดุ ในประเทศน้ีมาเปน เวลานานพอ โอกาส
ทจ่ี ะตอ งรบั ภารกจิ ดแู ลรกั ษาคนใหญค นโตหรอื ผทู มี่ ชี อื่ เสยี งในสงั คมดจู ะเปน สงิ่ ทหี่ ลกี เลยี่ งไมไ ด ครง้ั นผี้ ม
ไดมีโอกาสดูแลรักษาพระภิกษุรูปหน่ึงท่ีเปนที่สนใจของสาธารณชน เนื่องจากทานมีรูปลักษณที่ติดดิน
กินใจชาวบาน และมชี อื่ เสยี งในการเคาะศีรษะใหกับคนทั่วไปต้ังแตคนใหญค นโตจนถงึ ชนชั้นรากหญา

ในหองผูปว ยหมายเลข ๘ ของหอผูปวยวิกฤตระบบการหายใจ หลวงพอคณู นอนสงบนง่ิ หลงั การ
ผา ตดั สมองทบี่ อบชา้ํ จากหลอดเลอื ดในสมองแตก สองปก อ นทา นอาพาธดว ยโรคกลา มเนอื้ หวั ใจขาดเลอื ด
อันเปนผลจากการสูบบุหร่ีพ้ืนบานมวนโตที่เราเคยคุนตากัน ครั้งนั้นรางกายทานฟนตัวดีมาก และทาน
ประกาศตอสาธารณะวาจะเลิกบหุ ร่ีเพราะมันเปนพิษตอรา งกาย แมจ ะเลกิ ไดเดด็ ขาด แตผ ลของบุหร่ีตอ
หลอดเลอื ดสมองคงยังเหลอื รอ งรอยจนถงึ การอาพาธคร้ังนี้

ดวยการเอาใจชวยของทุกฝาย และสวนหนึ่งคงมาจากผลบุญอันมหาศาลของทาน การฟนตัวจึง
กลับมาอยางเหลือเชื่อ เรมิ่ จากการกลับมาหายใจเอง ขยบั แขนขาไดด ี ฉันอาหารไดเอง ฝก น่ังในรถเขน็
และทพี่ วกเราปลมื้ ใจทสี่ ดุ คอื การทาํ กายภาพบาํ บดั อยา งมปี ระสทิ ธภิ าพจนสามารถยนื และเดนิ ไดเ องโดย
การชวยพยงุ กอ นกลบั วัดบานไรย ังไดพ าทา นไปเดินออกกําลงั กายเร่มิ จากพทุ ธมณฑล แลวคอย ๆ ไกล
ออกไปทพ่ี ระราชวงั สนามจนั ทร จนครง้ั สดุ ทา ยไปทพ่ี ระราชวงั บางปะอนิ ผมจงึ แนใ จวา ทา นแขง็ แรงพอที่
จะคืนถน่ิ แลว รวมเวลาอยโู รงพยาบาลคร้ังนี้ ๑๐๕ วัน กอนกลับวดั ทานไดบรจิ าคเงนิ ใหโ รงพยาบาลหน่ึง
ลา นบาท

ผมติดตามทานอยางใกลชิดในรถนําสง ดูทาทางหลวงพอไมไดต่ืนเตนมาก เพราะทานยังสูญเสีย
ความทรงจาํ ระยะใกล โดยเฉพาะทีเ่ กยี่ วกบั วัดท่ีทา นจาํ พรรษาอยู ผมไดพยุงหลวงพอ เดนิ เขาสหู อ งพักท่ี

18

มีการปรับปรุงใหม ผูคนดูพลุกพลานและมีหลายคนท่ีพยายามเขามาเพื่อชื่นชมทานใกล ๆ พอสงบบาง
แลวผมจึงตองออกไปช้ีแจงใหทราบทั่วกันวา ทานมีสภาพรางกายที่ไมเหมือนเดิมแลว หากอยากใหทาน
ดาํ รงอยูย าวนานไป ขอใหชว ยกันปฏิบัตติ ามคําสง่ั แพทยโดยเครง ครัด คอื งดกิจภายนอกวัด จํากดั ภาระ
งาน และควบคมุ การเขา ขอเยย่ี ม จากนน้ั จงึ ไดส ง มอบผปู ว ยและแนวทางการดแู ลรกั ษาตอ ไปใหก บั ทมี งาน
โรงพยาบาลในพน้ื ท่ีเพือ่ รับผิดชอบดแู ลรักษาทา นตอ

แมวาชวงเวลาที่ไดใกลชิดทานจะดูมาก แตโอกาสที่ผมจะไดเขาใจและเรียนรูอะไรจากทานมี
ไมมากนัก สวนหน่ึงอาจเปนเพราะทานอาพาธเกี่ยวกับสมอง แตอีกสวนหนึ่งก็คือรอบขางทานจะมีศิษย
ใกลชิดอยดู ว ยเสมอ ท่ผี มพอจะสรปุ ไดบ า งกค็ อื

๑. ทานเปนคนไขท่ีนารักเหมือนผูสูงอายุท่ัวไป ใหความไววางใจและใหความเคารพแพทย
ตัวอยางเชน หากจะมีการเจาะเลือดหรือเปลี่ยนแปลงยากิน ถามีแพทยอยูชวยอธิบายแลว
ทา นก็จะรีบปฏบิ ัติตามโดยเร็ว

๒. ทานเปนพระผูใหญท่มี ีวถิ ชี ีวิตเรียบงายอยา งท่เี ขาวากนั จรงิ
๓. ทา นเปนผูท่มี อี ารมณขนั เปน กันเองกับทุกผทู กุ คน
๔. ทานเปนผูมีคารมท่ีคมคาย สามารถสอดแทรกแงคิดหรือขอธรรมะในระหวางการสนทนาได

อยา งกลมกลืนชวนฟง
เมอ่ื มองยอ นกลบั ไปวนั แรกที่ผมเริ่มรบั หนาท่เี ขา มาดแู ลทา น ความรสู กึ ก็ไมต างกับการดแู ลคนไข
ทว่ั ไป คือ ทําหนา ท่ที ่ีไดรบั มอบหมายใหดที ี่สุด และเปน ที่พึงพอใจของทุกฝา ยที่เกีย่ วของ แตพอมาถึงวนั
ทีภ่ ารกิจนีเ้ สร็จสิ้นแลว ผมกลับมคี วามรสู กึ เพม่ิ เตมิ วา อยากมีโอกาสไดดูแลรักษาทา นตอเนื่อง หรอื อยา ง

19

นอยก็อยากรูความเปนไปของสภาวะสุขภาพและ
การเปลยี่ นแปลงอ่นื ๆ ทจี่ ะเกดิ กบั ทานตอ ไป

ดวยความท่ียังมีความผูกพันในฐานะแพทยกับ
คนไขท เี่ คยดูแลดานหนง่ึ และภารกจิ ท่ีไดร ับมอบหมาย
จากหนว ยงานใหเ ปน ผรู บั ผดิ ชอบตดิ ตามผลอกี ดา นหนง่ึ
ผมจงึ ไดต ดิ ตามความเคลอื่ นไหวสภาวะสขุ ภาพของทา น
ตอ เนอ่ื งเปน ระยะ ๆ โดยอาศัยการส่อื สารทางโทรศัพท
ผา นลกู ศษิ ยท ปี่ รนนบิ ตั ใิ กลช ดิ และแพทยใ นพน้ื ที่ รวมไป
ถึงการข้ึนไปตรวจเยี่ยมเปนครั้งคราว เม่ือมีคณะแพทย
และพยาบาลจากโรงพยาบาลของผมขน้ึ ไปทอดกฐนิ ทวี่ ดั
ของทาน ไมก่ีวันลูกศิษยใกลชิดของทานก็โทรศัพท
มาแจง เพอ่ื ใหผ มขนึ้ ไปรบั เงนิ สองลา นสามแสนบาทจาก
มอื ทา น สาํ หรบั นาํ กลบั มาบรจิ าคใหโ รงพยาบาลของผม
อีกทอดหนึง่ ครงั้ หนึง่ ไดม ีโอกาสนอนคา งหนาเตียงนอน
ของทานพรอมกับลูกศิษย กอนจําวัดทานสวดมนต
ไหวพระท่ีหัวนอนไดอยางคลองแคลวไมมีการขาดหาย
หรือขาดชวง ชวงกลางคืนทานก็จําวัดไดสนิทดีไมมี
อาการผิดปกติ ผมพยายามขออนุญาตทานเจาะเลือด
ปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ําตาล ทานก็ไมยอม โดยให
เหตุผลวา “จะเจาะใหเจ็บทําไม ยาก็กินประจําอยูแลว
และอาหารก็ไมไดฉันอะไรมากมาย” ก็เห็นจะจริงของ
ทาน ในที่สุดผมก็ตองเปนฝายถอย แตทานก็รับปากวา
เมอ่ื ถงึ เวลาจะยอมใหต รวจเลอื ดหลาย ๆ อยา งพรอ มกนั
ไปทีเดียว กอนกลับผมไปกราบลา ทานพยักหนารับ
พรอมหยิบกลวยน้ําวาในสํารับอาหารขึ้นมารายคาถา
แลว สง ใหผ ม ไมท ราบวา เปน คาถาอาํ นวยโชคหรอื จะเปน
คาถาใหไดมโี อกาสมาปรนนิบัตริ ับใชท า นอยางตอ เน่ือง

สบิ เดอื นตอ มา ดว ยปญ หาการสาํ ลกั และเกดิ ปอด
อกั เสบบอย ๆ จึงไดป ระสานงานกบั คณะแพทยในพ้นื ที่
เพื่อนําทานกลับมาโรงพยาบาลของผมอีกคร้ังเพ่ือใสสายยางใหอาหารทางหนาทอง ทุกอยางผานไป
ดวยดี คร้งั นค้ี ณะศิษยไดจัดงานวนั เกิดยา ง ๘๙ ปใหท าน นิมนตพ ระผใู หญม า ๙ รูป ทา นไดบ ริจาคเงิน
จากผูมีจิตศรัทธาใหกับโรงพยาบาลหน่ึงลานเจ็ดแสนบาท เน่ืองจากเจอวิกฤตนํ้าทวมใหญกรุงเทพฯ

20

จนลามเขามาใกลโรงพยาบาลของผม จงึ ตองรบี สง
ทานไปพักตอที่โรงพยาบาลในพ้ืนท่ีอีกหลายเดือน
ทานจึงไดเดนิ ทางกลบั วดั

สามปตอ มา แพทยใ นพ้นื ทแ่ี จง วาหลวงพอ
หัวใจหยดุ เตน ชว งเชา มืด เปน ผลจากเสมหะอุดกัน้
หลอดลมและลมรว่ั ในชองเย่อื หุมปอด หลังทําการ
ชวยชีวิตขั้นสูงนานกวาหน่ึงชั่วโมง ทานสามารถ
กลับมามีการทํางานของหัวใจและระบบไหลเวียน
โลหิตไดแตยังอยูในข้ันวิกฤต ผมรีบข้ึนไปประชุม
รวมกับทีมแพทยในพื้นที่ที่ทํางานกันอยางแข็งขัน
หลงั จากสภาพรา งกายทา นคงทร่ี ะดบั หนง่ึ ภายใตก ารประคบั ประคองอวยั วะเตม็ ท่ี ผมไดก ราบลาหลวงพอ
เพ่ือเดินทางกลับ ในใจคิดวาทานคงละสังขารในเวลาอันใกลน้ีแน ผมไมไดเอยปากชัดเจนตอทีมแพทย
ที่ดูแล เพียงแตใชอวัจนภาษาสื่อความหมายวาอยากใหยอมรับวิถีแหงธรรมชาติ ไมกาวลํ้าเสนไปสูการ
รักษาเพ่ือย้ือชีวิตดังเชนท่ีเกิดกับพระผูใหญหลายทานในอดีตที่ผานมา ตอนสายของวันรุงขึ้นจึงไดรับ
โทรศพั ทแจง การละสงั ขารของทา น ผมฟงอยา งสงบนง่ิ และกาํ หนดความต้งั ใจวาจะพยายามทาํ ความดใี ห
ไดเ ศษเสย้ี วหนึ่งของทาน ท่ไี ดม ีคุณูปการตอคนไทยและประเทศไทยมาตลอดชวี ิตอนั ยาวนานของทาน

21

จรยิ วัตรหลวงพอ คณู

การเลิกบหุ รี่

หลวงพอเริ่มสูบบุหร่ี (ยาเสน) ตั้งแตวัยรุน ตาม
คานิยมในสมัยนั้น ในระยะหลัง ๆ มวนบุหรี่ของหลวงพอ
จะมีขนาดโตจนเปนเอกลักษณเฉพาะตัว หลวงพอเลาวา
“ขณะสบู กจู ะกาํ หนดจต๊ิ จนกวาจะโมดมวน”

ดวยวยั ๗๕ ป และสูบบหุ รีม่ านาน หลวงพอ ไดเ ลิก
สูบบหุ รีต่ ามคําแนะนําของแพทยตั้งแตป  พ.ศ. ๒๕๔๑ เพอื่
เปนตัวอยางแสดงใหเห็นวาการเลิกสูบบุหร่ีน้ันสําคัญอยูที่
จิตใจ “ถาเราตง้ั ใจ ขม ใจเอาชนะตนเองแลว ทกุ ส่งิ ทุกอยา ง
ก็จะสําเร็จ การเลิกสูบบุหร่ีใคร ๆ ก็วายาก แตก็สามารถ
เลิกได”

(การสูบบุหรี่เปนระยะเวลานานทําใหเกิดปญหา
สุขภาพตอปอด มีอาการรุนแรงหลายระดับ ต้ังแตเย่ือบุ
ทางเดนิ หายใจอกั เสบ ถงุ ลมโปง พอง และมะเรง็ ปอด เปน ตน )

บณิ ฑบาตบหุ ร่ี

หลวงพอ คณู กลา วในโอกาสวนั งดสูบบุหรโ่ี ลกวา.....
“อาตมาอยากจะบอกวา ถา เลกิ ไดเ ปน สงิ่ ทด่ี ี แตก เ็ ปน
เรื่องของแตละคน วาอยากจะเลิก หรือ อยากจะสูบตอไป
ถา อาตมาหา มไดก ็อยากจะหา มไปถึงเรอ่ื งยาบาดว ย”

22

บาํ เพญ็ ทานบารมที ยี่ ง่ิ ใหญ

ดวยการตัดสินใจอยางแนว แนท จ่ี ะเปนครใู หญแ ละพินัยกรรมอันลํา้ คา
วันท่ี ๖ มกราคม ๒๕๓๖ หลวงพอคูณในวัย
๗๐ ป พรอมคณะลูกศษิ ย เดนิ ทางจากวดั บา นไรด ว ย
รถยนตไ ปจงั หวดั ขอนแกน ดว ยจดุ ประสงคท แี่ นว แนจ ะ
บรจิ าครา งกายเปน ครใู หญท ีภ่ าควชิ ากายวภิ าคศาสตร
คณะแพทยศาสตร มหาวทิ ยาลัยขอนแกน โดยมผี ชู วย
ศาสตราจารยก ติ ตศิ กั ด์ิ ศรพี านชิ กลุ ชยั หวั หนา ภาควชิ า
กายวิภาคศาสตรในขณะน้ัน พรอมคณาจารยใหการ
ตอนรับ และนําหลวงพอเดินชมหองปฏิบัติการการ
เรยี นการสอนจากรา งกายครใู หญ ซงึ่ หลวงพอ ไดต ดั สนิ
ใจวา “กจู ะขอเปน ครใู หญแ บบใหผ า ” (ไมเ ลอื กแบบเปน โครงกระดกู ) จากนนั้ หลวงพอ ไดใ หเ ขยี นพนิ ยั กรรม
ครั้งแรก (รหสั หมายเลข ๓๖/๐๐๖) หลงั จากลงลายมอื ช่ือในพินัยกรรม หลวงพอไดเปลง วาจาวา “สาํ เรจ็
แลว ” ถงึ สามคร้งั พนิ ยั กรรมฉบบั นต้ี อ มามกี ารแกไ ขเล็กนอย เมอ่ื วันท่ี ๒๕ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๓
การตัดสินใจทําพนิ ัยกรรมยกสรรี สงั ขารของทา นใหเ ปน ครูใหญไมไ ดห มายความวา หลวงพอจะไม
คิดถึงความรูสึกของญาติพี่นอง ลูกศิษยลูกหาทั้งหลาย ทานกลาววา “ ลูกหลานเอย ใหเขาไปเถอะ
เขาจะไดเอาไปใชเ ปนประโยชน....อยาไดพ ริ ้พี ิไรเหน่ยี วรง้ั ไวเลย..........” วาจาทที่ านเปลงออกมาน้ีเปน สง่ิ
ทท่ี า นไดข ออนญุ าตตอ ญาตพิ นี่ อ งลกู หลานวงศต ระกลู ของทา น แสดงถงึ ความเมตตาอยา งลกึ ซงึ้ และเคารพ
ตอ ความรสู ึกของทกุ คน ไมไดตัดรอนตอ ความรูสกึ อาลยั อาวรณข องญาติพ่นี อ งและลูกหลานแตอ ยางใด

23

“เม่ือกูตายแลว กูกลัววาศพของกูนี่แหละจะเปนภาระยุงยากของลูกหลาน จะเกิดความสับสน
วุนวายเพราะคนที่มาหากู ฝากตัวเปนศิษยมีมากมายหลายประเภท มีท้ังดีท้ังเลว ละโมบ โลภมาก
มาแสวงหาประโยชนตา ง ๆ นานา โดยไมก ลัวบาปกรรม......กูจึงขอใหโรงพยาบาลมารับเอาศพไปภายใน
๒๔ ชวั่ โมง และหลงั จากสนิ้ สดุ การศกึ ษาคน ควา แลว กใ็ หจ ดั พธิ บี าํ เพญ็ กศุ ลศพเชน เดยี วกบั ศพของอาจารย
ใหญทานอน่ื ๆ....”

ชีวติ ท่ีถูกหลอ หลอมสคู วามเปน ครู

ความต้ังใจของหลวงพอในการที่จะเปนครูใหญใหนักศึกษาแพทยไดใชเลาเรียนถูกหลอหลอมมา
จากหลายสว น หลวงพอ มาจากครอบครวั ทย่ี ากจน ทา นไมม โี อกาสศกึ ษาเลา เรยี นเฉกเชน คนทง้ั หลายทว่ั ไป
สมยั ทเ่ี ดก็ ชายคณู ฉตั รพ ลกรงั มอี ายรุ าว ๖-๗ ขวบ ไดเ รยี นหนงั สอื กบั พระอาจารยเ ชอ่ื ม วริ โธ พระอาจารย
ฉาย และพระอาจารยหลี เรยี นทั้งภาษาไทยและภาษาขอม เมอื่ อายุได ๒๑ ป นายคูณ ฉัตรพลกรัง เขา
อปุ สมบท ณ พทั ธสมี าวดั ถนนหกั ใหญ ตาํ บลกดุ พมิ าน อาํ เภอดา นขนุ ทด จงั หวดั นครราชสมี า เมอื่ วนั ศกุ ร
ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ปวอก โดยมีพระครวู จิ ารยติกจิ อดตี เจา คณะอาํ เภอดานขุนทด เปนพระ
อุปชฌาย สวนพระกรรมวาจาจารย คือพระอาจารยสุข วัดโคกรักษ หลังจากที่อุปสมบทเปนพระภิกษุ
เรียบรอ ยแลว ไดรบั ฉายาวา “ปริสุทฺโธ” และฝากตวั เปนศษิ ยหลวงพอแดง วัดบา นหนองโพธิ์ ตาํ บลสํานกั

24

ตะครอ อาํ เภอดา นขนุ ทด จงั หวดั นครราชสมี า เมอ่ื บวชเรยี นทา นจงึ คราํ่ เครง กบั คาํ สอนของครบู าอาจารย
ทานศึกษาพระธรรมคาํ สั่งสอนขององคพระสมั มาสัมพทุ ธเจาตามพระธรรมคัมภีรต า ง ๆ ทพ่ี งึ จะหาไดใน
สมยั นนั้ ทา นไดน าํ วชิ าความรเู หลา นน้ั มาศกึ ษาไตรต รองจนแตกฉานเกดิ เปน ความรจู รงิ แหง ธรรมชาตขิ อง
สรรพสิง่ ทั้งหลาย ทานนําความรนู ัน้ มาสั่งสอนคน ตลอดชวี ิตทา นจงึ เปน ครู ทานไดส ่ังสอนคนดว ยคาํ สอน
ท่ีเปนภาษาพดู งา ย ๆ สอนใหค นรจู ักศลี รูจักธรรม ทา นไดส อนคนใหรูจกั ทาน ดว ยเหตุที่หลวงพอ เทศน
ไมเกง ทานจึงปฏิบัติตัวเองใหเปนตัวอยางดวยการทําใหเห็น ทานตระหนักถึงวาระสุดทายแหงชีวิตท่ี
ทุกคนตอ งประสบทานจงึ อยากใหร า งกายตัวเองเปน แหลง วชิ าการไดส ั่งสอนนักศกึ ษาแพทย

บนเสน ทางของความเปนครู

ปฏปิ ทาทห่ี ลวงพอ คณู ใชด าํ เนนิ ชวี ติ บนเสน ทางเพศ
พรหมจรรยเปนสิ่งที่ประชาชนคนท่ัวไปแซซองสรรเสริญ
หลวงพอคูณไดเขาไปสถิตในหัวใจของผูคน ในทามกลาง
ลาภยศสรรเสริญท่ีหลั่งไหลเขามา หลวงพอ ไมมคี วามหว่ัน
ไหวตอส่ิงเหลาน้ัน ทานตอสูกับความเยายวนแหงกิเลส
ตัณหา ความโลภโกรธหลง อุปาทานตาง ๆ มานักตอนัก
และเอาชนะตอสิง่ เหลา น้นั มาแลว จงึ เห็นลาภตาง ๆ ไมวา
เปนแกวแหวนเงินทองเปนของธรรมดา ไมหว่ันไหวใน
อานุภาพของส่ิงเหลานั้นดังที่ทานกลาววา “กูไมเคยยินดี
ยินรายในลาภยศสรรเสริญ” ทานจึงบริจาคทานสิ่งของ
ตาง ๆ เหลา น้นั ใหกับผคู นและแปรเปนสาธารณประโยชน
แกประชาชนอยางทว่ั ถึง หลวงพอกลาววา “หลวงพอเปน
คนยากจนมาโดยกําเนิด จึงอยากคิดชวยเหลือคนอื่น
การนําเงนิ ออกไปชว ยคนอืน่ กจ็ ะมีคนบริจาคเร่ือย ๆ ถา
เกบ็ ไวจ ะทาํ ใหต นตาบอด ใจกบ็ อดอกี ดว ย จงึ อยากชว ยคนอนื่ อยเู รอ่ื ยไป วนั ใดไมม คี นมาขอเงนิ กไ็ มค อ ย
สบายใจ”

ตลอดชีวิตของหลวงพอคูณ มีแตความผุดผองแจมใสในดวงจิตท่ีเปยมดวยความมากแหงเมตตา
ทา นไมเ คยปฏเิ สธผคู นจาํ นวนมหาศาลทมี่ าเฝา รอคอยใหท า นไดแ ผเ มตตาจติ ใหใ นแตล ะวนั ดงั นน้ั ทา นจงึ
มากดวยกิจธุระในการตอนรับผูคนท่ีมากราบนมัสการใหทานเคาะหัว ฝงตะกรุด ประพรมน้ํามนต ทาน
หวังวา เมอื่ ทานกระทาํ สงิ่ เหลา นีใ้ หเ ขาไปแลว จะเปน ส่ิงที่เขาจะใชย ึดเหนยี่ ว หรือเหนี่ยวรง้ั ในการตอ สกู ับ
กิเลสตัณหาอยา งทีท่ านเคยตอ สูมาแลว และชกั นําใหเ ขาเหลานั้นอยใู นเสน ทางของศลี ธรรมอันดงี าม

25

หลวงพอคูณไดสรางพระเคร่ือง เหรียญบูชาหลายรุน โดยเจตนาท่ีแทจริงแลวทานหวังให
พระเครือ่ งหรือเหรียญบูชาตาง ๆ เปนทีย่ ดึ เหน่ยี วทางจิตใจแกผูที่รับไป ไมใ หประพฤติปฏิบัติในสงิ่ ชว่ั รา ย
ทานกลาววา “พระไมไดอยูกับคนชั่วแตอยูกับคนดี ใหนึกวาพระมากับเราจะทําชั่วไมได อยาทําตัวผิด
ศลี ธรรม ผดิ จารตี ประเพณี โดยเฉพาะการทําผดิ กฎหมายบา นเมอื ง ใหต้งั อยใู นความไมประมาท”

จึงกลาวไดวาหลวงพอคูณเปนครูตลอดชีวิตของทาน ทุกคําพูดท่ีเปลงออกมาลวนแฝงซึ่งปรัชญา
ของชวี ติ แสดงใหเ หน็ ถงึ แกน แทห รอื กน บงึ้ แหง ความคดิ คาํ พดู ของหลวงพอ มกั แทงใจของผสู นทนา ทาํ ให
ผสู นทนามกั ฉงนวา หลวงพอ ลว งรคู วามคดิ เขาไดอ ยา งไร ถา ผฟู ง จบั ใจความและสงั เกตคาํ พดู แตล ะประโยค
ของหลวงพอไดจะเห็นถึงความตั้งใจดีของหลวงพอที่จะแนะนําสั่งสอนเขาใหอยูในทิศทางที่พึงจะเปนไป
แหงชวี ติ ของเขา

26

วาระสุดทา ยและพนิ ยั กรรม

อาการอาพาธครง้ั สดุ ทา ยของหลวงพอ คณู เรม่ิ ตน เมอื่ เวลาประมาณ ๐๕.๔๕ น. ของวนั ศกุ รท ี่ ๑๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ พยาบาลทดี่ แู ลหลวงพอ คณู ทว่ี ดั บา นไร พบวา หลวงพอ มอี าการหมดสติ ทมี แพทย
ไดรีบใหการชวยชีวิตอยางสุดความสามารถและเรงนําสงหลวงพอไปรักษาตอที่โรงพยาบาลมหาราช
นครราชสีมา ทมี แพทยไดพ ยายามชว ยชีวิตหลวงพออยา งตอเน่ือง ในชวงเวลาทุกเสีย้ ววนิ าทนี ้ันมีคา ทสี่ ดุ
แตร า งกายของหลวงพอ ลดการตอบสนองลงไปเรอ่ื ย ๆ สดุ ทา ย เมอ่ื เวลา ๑๑.๔๕ น. คณะแพทยไ ดป ระกาศ
ใหท ราบวา พระเทพวทิ ยาคม (หลวงพอ คณู ปรสิ ทุ โฺ ธ) ไดม รณภาพแลว ทโ่ี รงพยาบาลมหาราชนครราชสมี า
สริ ิอายุรวม ๙๑ ป พรรษาที่ ๗๑

27

ÂÔ¹¾‹Í¤Ù³ÅÐ椄 ¢ÒôǧÁÒ¹·ÃØ´
»›Á¨ÐË嫯 ËÒÂã¨ä»†áçÊé¹Ô

âÍŒËÅǧ¾‹Í¾ÃФسŌ¹·Œ¹á´¹´Ô¹
ÍÊÑ ÊÃØ ¹Ô ¨Ð¼¹Ô ˹ŒÒ¾Ö§è ¾Òã¤Ã

äÁ‹ÁÕáÅŒÇࡨ¡Ô ÅŒÒÇÒ¨Ò«Íè×
ËÂÑ´Â×¹¤×ÍáçÈÃ·Ñ ¸Ò¾ÅÒ´ÔÈÑÂ
µ‹Í·‹Ò¹¼ŒÙໂ›ÂÁàÁµµÒ»ÃЪÒä·Â
âç¾ÂÒºÒÅâçàÃÂÕ ¹ãËÁ‹ä´ŒÃ‹ÁºÞØ

ÊÒ¸ªØ ¹ÀÔ¡ÉØÁÒ·¡Ø ÊÒ÷ÈÔ
ÁÒÅÑ»ÃдÉÔ °ºªÙ µÔ ·‹Ò¹Ã§Ñ ÊÃäË¹Ø¹

ÊÒí ÃÇÁ¨µÔ ͸ÔÉ°Ò¹¡Ãҹ෾¨¹Ø
´Å ¾‹Í¤Ù³ ʧº ʧ‹Ò ÊÇÃäÒÅÂÑ

ผชู ว ยศาสตราจารยอ นงค รงุ แจง (ประพนั ธ)

28

หลังจากมีประกาศการมรณภาพของหลวงพอคูณ จึงไดมีการเปดเผยพินัยกรรม ซ่ึงหลวงพอคูณ
ทําไว เมื่อวันท่ี ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยมีสักขีพยานประกอบดวย รองคณบดีฝายบริหาร
คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน (ขณะนั้น) ญาติ ไวยาวัจกรวัดบานไร (ขณะน้ัน) และนิติกร
ชาํ นาญการ ของมหาวทิ ยาลัยขอนแกน ลงนามเปนหลักฐาน

ผมู สี ว นเกยี่ วขอ งในการเปด พนิ ยั กรรมมหี ลายทา น อาทิ ผวู า ราชการจงั หวดั นครราชสมี า เจา คณะ
จังหวัดนครราชสีมา เจาคณะอําเภอดานขุนทด ผูอํานวยการสํานักพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา
ผอู าํ นวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสมี า คณะผบู รหิ ารจากคณะแพทยศาสตร มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน
ทมี ผูบรหิ ารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลมุ ทมี วดั บา นไร และศิษยานุศิษยเปน จาํ นวนมาก ไดรว ม
ประชุมและลงมติใหดําเนินการตามพินัยกรรมฉบับดังกลาวทุกประการ โดยไมมีการนําไปบําเพ็ญกุศล
ที่วดั บา นไรกอ น ดังท่มี ีลูกศษิ ยจ าํ นวนหน่ึงไดร อ งขอ

ใจความสาํ คญั ในพินยั กรรมไดร ะบุไววา ....
“ใหมอบสังขารแกม หาวิทยาลยั ขอนแกนภายในเวลา ๒๔ ช่วั โมงนับแตมรณภาพ แลวใหทาง
มหาวทิ ยาลยั มอบใหแ กภาควชิ ากายวิภาคศาสตร คณะแพทยศาสตร มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน เพอ่ื ให
นําไปศึกษาคนควาตามวัตถุประสงคของภาควิชาฯ สําหรับพิธีกรรมทางศาสนาและการสวด
พระอภิธรรม ขอใหคณะแพทยศาสตร มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน ประกอบพิธขี นึ้ ทค่ี ณะ เปนเวลา ๗ วัน
สวนการประกอบพิธีบําเพ็ญกุศลเม่ือสิ้นสุดการศึกษาคนควาของภาควิชากายวิภาคศาสตร
มหาวทิ ยาลัยขอนแกนแลว ใหจ ัดอยา งเรยี บงา ย ละเวนการพิธสี มโภชใด ๆ ท้งั หามขอพระราชทาน
เพลิงศพ โกศ และพระราชพิธีอ่ืน ๆ เปนกรณีพิเศษหรือเปนการเฉพาะ โดยใหคณะแพทยศาสตร
มหาวิทยาลัยขอนแกน ประกอบพิธีเชนเดียวกับท่ีจัดใหแกอาจารยใหญของนักศึกษาแพทยประจําป
รวมกับอาจารยใหญทานอ่ืน แลวเผาที่ฌาปนสถานวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อําเภอเมือง
ขอนแกน จังหวัดขอนแกน หรือวัดอื่นใดที่คณะแพทยศาสตรเห็นสมควรและเหมะสม โดยเม่ือ
ดาํ เนนิ การเสรจ็ สน้ิ แลว ขอใหค ณะแพทยศาสตร มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน นาํ อฐั ิ เถา ถา น และเศษองั คาร
ทงั้ หมด ไปลอยท่ีแมน ํ้าโขง จงั หวัดหนองคาย ตามท่ีเห็นสมควรและเหมาะสม”

29

รวมภาพแห่งความทรงจำ�
วนั มรณภาพหลวงพอ่ คณู

วันเสาร์ท่ี ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๒๐.๐๐น. ได้เคลื่อนสรีรสังขารของหลวงพ่อคูณ
ออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตามเส้นทางถนนมิตรภาพ ตลอดสองฟากทางมีประชาชน
น่งั รอส่งสรรี สังขารของทา่ นโดยจดุ ธูปเทยี นส่องสวา่ งเป็นการสักการะตอ่ ดวงวิญญาณของหลวงพอ่
เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. ขบวนรถถึงอาคาร ๒๕ ปี มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ มผี บู้ ริหาร บคุ ลากร
จำ� นวนมากคอยตอ้ นรบั

30

31

เนอื่ งจากอาคาร ๒๕ ปฯี นนั้ คบั แคบไมส่ ามารถรองรบั พทุ ธศาสนกิ ชนจำ� นวนมหาศาลทจ่ี ะเดนิ ทาง
มาสักการะสงั ขารได้ ดังน้ัน วันอาทิตยท์ ่ี ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐น. จึงไดเ้ คล่ือน
สรรี สงั ขารหลวงพอ่ คณู ไปยงั ศนู ยป์ ระชมุ อเนกประสงคก์ าญจนาภเิ ษก มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ เพอื่ บำ� เพญ็
กศุ ลและสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา ๗ วนั (๑๗ พฤษภาคม – ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘) ตามทร่ี ะบุไว้ใน
พินยั กรรม

32

33

34

35

พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช รชั กาลที่ ๙ สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรม
ราชนิ ีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลท่ี
๑๐ ในขณะด�ำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์
พระราชทานพวงมาลาวางหนา้ หีบศพ

36

ประมวลภาพงานบำ� เพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรม
พระเทพวทิ ยาคม หลวงพ่อคูณ ปริสทุ โฺ ธ
วันท่ี ๑๘ - ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘

37

38

39

40

41

42

43

44


Click to View FlipBook Version