The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-15 16:55:18

อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

Keywords: อาจาริยานุสรณ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโท เล่ม 1

45

46

47

กราบอาลัยพระเทพวิทยาคม หลวงพ่อคณู ปรสิ ทุ ฺโธ
ในพระเมตตาอทุ ิศสรรี กายา เปน็ วทิ ยาทาน
แก่ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

กราบ แทบเท้า ด้วยเคารพ น้อมนบทา่ น
อาลยั ดาล เทวษโศก วโิ ยคสูญ
พระเทพ จร สูส่ วรรค์ พลันอาดูร
วทิ ยาคม เบื้องบรู พ์ พูนร�ำลกึ
หลวง ราษฎร์ พร้อมพรัก ดว้ ยรักเทดิ
พ่อคณู เปรอ่ื ง เวทประเสริฐ เลิศรู้สกึ
ปร ิ วาร ใกลไ้ กล ไดส้ ำ� นึก
สทุ โฺ ธ ผลึก สอนสง่ั ลุกนง่ั ยืน
ใน นอกเขต ขอบขัณฑ์ ทา่ นไม่เว้น
พระเมตตา โดดเดน่ เปน็ แผน่ ผืน
อทุ ศิ สรีรกายา อ่าองคค์ รืน
เปน� วทิ ยาทาน ลกู หลานชืน่ ได้เรียนรู้
แก่ กล้า วิชาชาญ “อาจารย์ใหญ”่
มหาวิทยาลัย หญงิ ชายศษิ ย์ ตั้งจิตสู้
ขอน คานใด ไปแ่ กรง่ แรงท่านครู
แกน่ ดำ� รู “แก่นพ่อคณู ” เนาพนู นาน

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์อนงค์ รงุ่ แจง้ (ประพันธ)์

48

ในระหว่างหน่ึงปีแรกที่ร่างกายของครูใหญ่หลวงพ่อคูณได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องเก็บสรีรสังขาร
พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโฺ ธ) อาคารเรยี นรวม ช้นั ๗ ของคณะแพทยศาสตร์ เพ่ือรอเวลา
ท่ีเหมาะสมในการประกอบการเรียนการสอนนัน้ ไดเ้ ปดิ ใหบ้ คุ ลากร ญาติ และ ศษิ ยานุศิษย์ประกอบพธิ ี
ท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลเดือนละ ๑ ครั้งในวันพระและวันส�ำคัญอ่ืน ๆ ที่เกี่ยวกับหลวงพ่อ เช่น วันคล้าย
วันเกดิ วนั มรณภาพ เป็นตน้

49

ในระหว่างที่ร่างกายของครูใหญ่หลวงพ่อคูณถูกเก็บรักษาไว้ที่คณะแพทยศาสตร์เพื่อประกอบ
การเรยี นการสอนนนั้ เปน็ ภารกจิ ทไี่ มส่ ามารถเปดิ ใหบ้ คุ คลทวั่ ไปเขา้ คาราวะหลวงพอ่ ได้ ดงั นนั้ เพอ่ื เปน็ การ
อ�ำนวยความสะดวก คณะแพทยศาสตร์จึงได้จัดเตรียมสถานที่พิเศษด้านหน้าโรงพยาบาลศรีนครินทร์
บริเวณช้ัน ๑ อาคารผู้ป่วยใน ตึก ก ไว้ให้แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบคาราวะหลวงพ่อ
โดยไม่เป็นการรบกวนการเรียนการสอน ซงึ่ มีผู้มจี ิตศรทั ธาได้มากราบคารวะหลวงพ่อคูณเป็นจำ� นวนมาก
อย่างต่อเนอื่ ง

50

51

การเรียนการสอนจากรา่ งครใู หญห่ ลวงพอ่ คณู

การเตรียมสรีรสังขารหลวงพ่อคูณเป็นครูใหญ่หลวงพ่อคูณ หลังจากท�ำพิธีขอขมาต่อสรีรสังขาร
ของหลวงพ่อท่ีอาคาร ๒๕ ปีฯ เม่ือวันท่ี ๑๖ พฤษภาคม แล้ว อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของภาควิชา
กายวภิ าคศาสตรไ์ ดท้ ำ� กระบวนการเตรยี มรา่ งครใู หญแ่ ละบรรจสุ รรี สงั ขารหลวงพอ่ ไวใ้ นโลงเยน็ เพอ่ื บำ� เพญ็
กศุ ลในช่วง ๗ วัน
หลังจากบ�ำเพ็ญกุศลที่ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษกครบ ๗ วันตามพินัยกรรมแล้ว
ได้เคล่ือนสรีรสังขารหลวงพ่อคูณมายังห้องเก็บสรีรสังขารที่ช้ัน ๗ อาคารเรียนรวม เป็นเวลา ๑ ปี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดบ�ำเพ็ญกุศลเนื่องในวันครบรอบ ๑ ปีแห่งการละสังขาร
ของหลวงพอ่ คณู ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ หลงั เสร็จพธิ ี ได้นำ� สรรี สังขารของหลวงพอ่ คูณข้นึ
บนเตยี งผา่ ตดั เพอ่ื เตรยี มพรอ้ มสำ� หรบั การสอนสาธติ ใหแ้ กน่ กั ศกึ ษาตอ่ ไป ทง้ั นไี้ ดท้ ำ� พธิ ขี อขมากอ่ นลงมดี
ในวนั ที่ ๑๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นำ� โดยรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณร์ าชวิทยาลัย และ
พระมหารุง่ เรอื ง วดั เวฬวุ ัน

52

การเรียนการสอนจากร่างครูใหญ่หลวงพ่อคูณจัดแบบสาธิตโดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย
เขา้ เรยี นกลุ่มละประมาณ ๑๐ คน และมอี าจารยเ์ ปน็ ผู้บรรยายแสดงโครงสรา้ งตา่ ง ๆ ทัง้ นอ้ี าจารยแ์ ละ
นักศึกษาจะกล่าวค�ำขอขมาก่อนเร่ิมการเรียนการสอนทุกครั้ง ร่างครูใหญ่หลวงพ่อคูณนั้นยังประโยชน์
อย่างกว้างขวางแก่นักศึกษาทุกคณะที่เรียนวิชามหกายวิภาคศาสตร์ ได้แก่ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์
คณะทนั ตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนคิ การแพทย์ คณะเภสชั ศาสตร์ คณะสาธารณสขุ
ศาสตร์ และนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจน
นักศึกษาจากสถาบันใกล้เคียง นับจ�ำนวนรวมท้ังส้ินมากกว่า ๑,๐๐๐ คน สมดังเจตนารมณ์ของ
หลวงพ่อคูณอย่างแท้จริง นอกจากน้ีความเมตตาของหลวงพ่อท่ีมอบสรีรสังขารเป็นครูใหญ่ยังส่งผลให้
ศิษยานุศิษย์และประชาชนผู้ศรัทธาแสดงเจตจ�ำนงบริจาคร่างกายเป็นครูใหญ่เพ่ิมข้ึนเป็น ๓-๔ เท่า
จากปกติอกี ด้วย

53

ค�ำขอขมา

มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธงั ขะมะตุเม ภนั เต
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สพั พัง อะปะราธังขะมะตเุ ม ภันเต
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สพั พัง อะปะราธังขะมะตุเม ภันเต
ข้าพเจ้า กราบขอขมา พระเดชพระคุณ พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
หากมสี ่ิงใดท่ีข้าพเจา้ เคยประมาท พลาดพลัง้ ไป ด้วยกาย ดว้ ยวาจา ด้วยใจ ด้วยความขาดสติ
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งในอดีต ท้ังในปัจจุบันและในอนาคตก็ดี
ขอพระเดชพระคณุ พระเทพวิทยาคม (หลวงพอ่ คูณ ปรสิ ทุ ฺโธ) โปรดอโหสิกรรม และงดโทษ
ล่วงเกินนน้ั ใหแ้ ก่ขา้ พเจ้าดว้ ยเทอญ...

54

เมือ่ สิน้ สดุ กระบวนการเรียนการสอนในเดอื นธนั วาคม ๒๕๖๑

ระหว่างรอพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่เป็นกรณีพิเศษวันท่ี ๒๑-๓๐ มกราคม ๒๕๖๒
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์และศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันสวดมนต์และนั่งสมาธิเพ่ือปฏิบัติบูชาถวายแด่
หลวงพ่อคณู ทุกเยน็ วันพฤหัสบดีตัง้ แต่เดอื นตุลาคม ๒๕๖๑ เป็นตน้ มา
งานพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ได้จัดขึ้นตามความประสงค์ของหลวงพ่อคูณท่ีเขียนไว้ใน
พินยั กรรม คอื
“....เมอื่ สนิ้ สดุ การศกึ ษาคน้ ควา้ ของภาควชิ ากายวภิ าคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั
ขอนแกน่ แลว้ ใหจ้ ดั โดยเรยี บงา่ ย ละเวน้ การพธิ สี มโภชใด ๆ และหา้ มมใิ หข้ อพระราชทานเพลงิ ศพ โกศ
และหรือพระราชพิธีอื่น ๆ เป็นกรณีพิเศษ เป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแกน่ กระทำ� เชน่ เดยี วกบั การจดั พธิ ศี พของอาจารยใ์ หญน่ กั ศกึ ษาแพทยป์ ระจำ� ปี รว่ มกบั อาจารย์
ใหญ่ทา่ นอ่ืน แล้วเผา ณ ฌาปนสถานวัดหนองแวงพระอารามหลวง ต.ในเมือง อ.เมอื ง จ.ขอนแก่น
หรือวัดอ่ืนใดที่คณะแพทยศาสตร์เห็นสมควรและเหมาะสม โดยท�ำพิธีเผาให้เสร็จสิ้นที่ จ.ขอนแก่น
แล้วอัฐิเถ้าถ่านและเศษอังคารท้ังหมดให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น น�ำไปลอย
ทแ่ี ม่นำ้� โขง จังหวดั หนองคาย ตามท่ีเหน็ สมควรและเหมาะสม”

ด้วยวัยถึง ๙๑ ปี ร่างของหลวงพ่อสามารถแสดงให้เห็น
โครงสร้างต่าง ๆ ท่ีมนุษย์มีอยู่ได้อย่างชัดเจน หลวงพ่อได้มอบ
ส่ิงที่ท่านมีอยู่เป็นส่ิงสุดท้ายให้กับมวลมนุษยชาติ ผ่านนักศึกษา
ผู้เป็นลูกศิษย์ของทา่ น จึงกล่าวได้วา่ ท่านเปน็ ครูผใู้ หอ้ ยา่ งแท้จริง

55

โอวาทธรรม

ค�ำสอนของหลวงพ่อคูณที่จะคงอยูใ่ นใจตลอดไป

หลวงพ่อเทศนาเปน็ ค�ำพูดตรง ๆ แทรกธรรมงา่ ย ๆ ทป่ี ระชาชนท่ัวไปฟังแลว้ เขา้ ใจได้ ในที่นี้ไม่
สามารถสาธยายไดห้ มดจงึ ขอยกตัวอย่างมาเพยี งบางส่วนเท่านั้น

ก่อนสอนคนอ่ืนต้องสอนตวั เองกอ่ น

“มันต้องสอนตัวเองก่อน จะแนะน�ำอะไรเขาตัวเองท�ำให้เขาดูตัวอย่างก่อน เช่น สอนให้เขา
บรจิ าคทาน ตัวเองตอ้ งบรจิ าคเสียกอ่ นดว้ ยจึงจะถูก ใครมันจะไปเช่อื เช่ือไม่ได้ ตอ้ งท�ำให้เขาดกู อ่ น
สอนตวั เองกอ่ น ถงึ คอ่ ยไปสอนคนอน่ื จะทำ� อะไรทกุ อยา่ งมนั ตอ้ งทำ� ใหเ้ ขาดกู อ่ น เขาจงึ จะเชอื่ ... อยา่ ง
พระสงฆ์ อย่าดีแต่ไปสอนคนอื่น สอนตัวเองบ้างเถอะน่า สอนคนอื่นอย่างน้�ำไหลไฟดับ แต่ตัวเอง
ไม่สอน บอกให้เขาบริจาคเทา่ นนั้ เท่าน้ี แตต่ ัวเองไม่ท�ำให้เขาดกู ่อน หรือจะเป็นครอู ะไรก็ตาม .. เป็น
ครนู าฏศลิ ปก์ ็ตอ้ งร�ำเป็น ... หรือเปน็ ครอู ะไร ๆ กต็ ้องทำ� เปน็ กอ่ นทงั้ น้นั
พระพทุ ธองคก์ เ็ หมอื นกนั สอนตวั เองไดแ้ ลว้ ทา่ นเอาชนะตวั เองไดแ้ ลว้ จงึ ไดเ้ สดจ็ ออกไปเทศนา
โปรดปัญจวัคคยี แ์ ละเวไนยสัตว์”

ความประมาทเปน็ บ่อเกดิ แหง่ ความตาย
ถา้ ประมาทเมื่อใดกต็ ายเมอื่ น้นั

หลวงพอ่ มกั จะใหข้ ้อคดิ กบั คนที่เอารถมาใหท้ า่ นเจิมว่า
“การขบั รถอยา่ งระมดั ระวังไม่ประมาท ส�ำคญั กว่าการเจิม อย่างโบราณทา่ นวา่ วิ่งไมด่ ูตาม้า
ตาเรอื ก็ชนกนั ตาย การขบั รถจะตอ้ งดูทาง ถา้ มนั คดโค้งจะตอ้ งระมัดระวงั ”
“ถา้ ประมาทเม่อื ใดก็ตายเมือ่ นน้ั เพราะฉะนั้นทำ� อะไรทุกอยา่ ง ท�ำให้ดี อยา่ ไดป้ ระมาท อยา่
ผัดผ่อน ถ้าประมาทแล้วนึกได้ทีหลังจะเสียใจ”

56

บา้ นเราจะเจริญได้ไมย่ ากหากคนไทยมีศลี ๕ ประจำ� ใจ
ละทำ� ชว่ั ท�ำดี มศี ีลธรรมประจำ� ใจ

หลวงพ่อให้ค�ำสอนส�ำหรับพุทธศาสนิกชนคนไทยได้ยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมค�ำสอนของ
พระพทุ ธเจ้าสนั้ ๆ เข้าใจง่าย ๆ ว่า
“ละทำ� ชั่ว ท�ำดี มีศลี ธรรมประจ�ำใจ”
ซึ่งถอื เปน็ หัวใจของพระพุทธศาสนานน่ั เอง ทา่ นมักกลา่ วอยู่เสมอว่า
“อยากให้บ้านเราเจรญิ นะ ไม่ยากหรอก ตัง้ อยู่ในองค์ปญั จะทัง้ ๕ คอื รกั ษาศลี ๕ ให้บรสิ ทุ ธ์ิ
ไมใ่ ห้ขาด อยา่ ใหด้ า่ งพรอ้ ย เปน็ มนุษยส์ ุดประเสริฐ หรอื ใครกต็ าม แมแ้ ต่พระ เรากต็ อ้ งรกั ษาศลี ๕
ถ้าไม่มีศีล ๕ ประจำ� ใจ ไม่ว่าพระรูปใดรูปหนึง่ ก็เปน็ พระไมไ่ ดเ้ หมอื นกนั ”

กูหว่ งหัวมึง

โครงการรณรงค์ ขับข่ีปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย “หลวงพ่อคูณ กูห่วงหัวมึง” มหาวิทยาลัย
ขอนแกน่ เปน็ การรณรงคต์ ามเจตนาของหลวงพอ่ ทที่ า่ นไดเ้ คยสง่ ความหว่ งใย ถงึ ศษิ ยานศุ ษิ ยแ์ ละลกู หลาน
ทใ่ี ชร้ ถจกั รยานยนตท์ กุ คน โดยทา่ นมเี มตตาอนเุ คราะหม์ ลู นธิ เิ มาไมข่ บั โดยไดใ้ หข้ อ้ ความ “กหู ว่ งหวั มงึ ”
ด้วยลายมือของท่านเองเพ่ือน�ำไปใช้รณรงค์ต่อไป มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้ความส�ำคัญในเรื่องนี้เป็น
อยา่ งมากเพราะมนี กั ศกึ ษาไมส่ วมหมวกนริ ภยั และไดร้ บั อบุ ตั เิ หตทุ กุ ปี จงึ ไดม้ กี ารตดิ ปา้ ยรณรงคท์ วั่ บรเิ วณ
มหาวิทยาลยั รวมทง้ั รณรงค์ผา่ นส่ืออื่น ๆ ด้วย

57

จงท�ำหน้าท่ีตนเองใหด้ ีทส่ี ดุ
การท�ำหน้าท่ีคอื การปฏบิ ตั ธิ รรม

หลวงพ่อมักกล่าวเตือนสตบิ ุคคลหลาย ๆ สาขาอาชีพ ท้ังขา้ ราชการ นักการเมอื ง เอาไวว้ า่ ...
“ลูกหลานเอ๋ย...การท�ำหน้าท่ีคือการปฏิบัติธรรม จงท�ำหน้าที่ของตนเองให้ดีท่ีสุด อย่าได้
ทจุ รติ ตอ่ หนา้ ท่ีเลย”
“ กเู ป็นพระไทย พ่อแมข่ องกูกเ็ ปน็ คนไทย กกู ็เปน็ เจ้าของแผน่ ดินไทยคนหน่งึ เหมือนกัน กกู ็
รกั แผน่ ดนิ ไทยไมน่ อ้ ยกวา่ คนอนื่ อะไรไมด่ กี กู ต็ ิ อะไรไมถ่ กู กกู ว็ า่ กจู ะไมเ่ ฉย ๆ เหมอื นหลาย ๆ คนเฉย
เพราะคิดวา่ ไมใ่ ช่เรอื่ งของตวั ”
“ .......ทุกวันนด้ี ู ๆ แลว้ คนช่ัวจะมมี ากกวา่ คนดี พระอย่างกอู าจจะไม่ดกี วา่ พระองค์อ่นื ๆ นัก
เพียงแต่กูไม่เก็บสะสมทรัพย์สิน เงินทองท่ีญาติโยมถวายมากูก็ไปท�ำบุญสร้างสาธารณประโยชน์อีก
ทอดหน่ึง”

รู้จกั พอ
“กใู ห้มงึ ร่จู ั๊กพอ”

ในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อคูณหลายประการที่เป็นการสอนธรรมโดยทางอ้อม เช่น การรับเงิน
จากญาติโยมที่มาบริจาคให้ท่านน�ำไปสร้างสาธารณกุศล ท่านจะหยิบเพียงใบเดียวและเป็นใบที่มีค่า
นอ้ ยที่สดุ หลวงพ่อบอกว่าท่ีท�ำเช่นนเี้ พราะ....
“กูให้มึงรู่จกั๊ พอ เพราะผูค้ นหาเงินมาด้วยความยากลำ� บาก ยบิ ทัง่ หม๊ด จะเปน็ การเอาเปรียบ
หยาดเหงอ่ื แรงงานของญาตโิ ยม เราตอ้ งมเี มตตาแกเ่ พอื่ นมนษุ ย์ เกดิ แก่ เจบ๊ ตาย เขาใหเ่ ทา่ ไหรก่ เ็ อา
เท่านั่น มันเป็นไปไม่ได้ อย่าเอามามากหลาย หลานเอ๊ย โลภของคนเรา ร่อยล้าน พันล่านก็ไม่พอ
ใหร่ จู่ กั วา่ พอกนั ซกั ทซี ิ พดู วา่ “พอ”กนั ซกั ที การรบั บรจิ าคเพยี งสว่ นหนง่ึ ของกนู เ่ี ปน็ การเตอื นสตแิ ละ
สอนพทุ ธศาสนกิ ชนทง่ั หลายวา่ ใหร่ จู่ กั พอ อยา่ โลภมากหรอื ใหล่ ดความโลภ ความอยากไดข้ องคนอน่ื
อยา่ เบยี ดเบียนเอารดั เอาเปรยี บซึ่งกันและกัน”

58

การให้
“เราต้องให่เขากอ่ น แล่วเขาก็จะให่เราทีหลัง”

ดว้ ยบารมีของหลวงพ่อคณู เม่อื ตงั้ ใจจะสร้างอะไร สิ่งนัน้ ยอ่ มส�ำเรจ็ คือจะมีผบู้ ริจาคสมทบอยา่ ง
มากมาย เคยมีผู้สอบถามเร่ืองนี้ หลวงพอ่ หวั เราะพร้อมบอกว่า... “เราต้องใหเ่ ขากอ่ น แลว่ เขาก็จะให่
เราทีหลัง และเมอ่ื เราไดร้ บั การบริจาคมาแล้ว เราควรทจ่ี ะท�ำตวั ให่เป็นประโยชนต์ อ่ สังคม ไมใ่ ช่หวัง
เกบ๊ หวงั รวยแตอ่ ยา่ งเดียว มนั ไม่ใชว่ สิ ยั ของเพศสมณะ เมอ่ื เขาเห็นเรานำ� ไปท�ำประโยชน์ เขาก็ยง่ิ แต่
จะมาช่วยเรา ถ้าเราไมน่ ำ� ไปท�ำบุญใหเ่ ขาตอ่ เขาจะได้บญุ อะไร”

59

กูมที ุกอย่างแล้ว

เมอื่ หลวงพอ่ กลบั วดั บา้ นไร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ วดั มสี ภาพทรดุ โทรมมาก เมอ่ื หลวงพอ่ มาถงึ ญาตโิ ยม
กก็ ัน้ หอ้ งใหห้ ลวงพอ่ อยใู่ นกฏุ ิหลงั ทดี่ ีทีส่ ดุ แต่หลวงพ่อปฏิเสธและบอกว่าจะอย่ทู ่เี พงิ เลก็ ๆ ดา้ นซา้ ยของ
ศาลาซ่งึ เป็นทีเ่ กบ็ ของ หลวงพอ่ พดู วา่
“กูจะอยู่ตรงเพิงศาลาน่ีแหละ ถ้าใครมาหากูก็ไม่ต้องเดินไกล ช่วยกันเก๊บของให่สะอาด
ก็แลว่ กนั สมบัติกมู เี ส่ือผืน หมอนใบ”
ลูกศิษย์ถามดว้ ยความห่วงใยวา่ หลวงพ่อตอ้ งการอะไรอีกไหม หลวงพอ่ ตอบว่า
“กไู มต่ ้องการอะไรอก๊ี แล่ว เพราะกูมีทกุ อยา่ งแล่ว”
ลกู ศษิ ยก์ ็สงสัยเพราะไมเ่ หน็ หลวงพ่อมีอะไร จงึ ถามว่า
“หลวงพอ่ บอกวา่ มแี ล้วทกุ สง่ิ ทุกอยา่ ง หมายความว่าอยา่ งไรครบั ”
หลวงพ่อยิ้มอยา่ งอารมณ์ดี แล้วตอบวา่ “กกู ม็ คี วามเพียร ความสมถะ ความศรทั ธา มเี มตตา
มีศีล มคี วามรักเพอ่ื นมนษุ ยแ์ ละมธี รรมะในหัวใจ”

การชนะตนเอง

หลวงพอ่ ใหส้ มั ภาษณภ์ ายหลงั กลบั จากรกั ษาอาการอาพาธ ณ โรงพยาบาลรามาธบิ ดี “กดู ใี จท.่ี ...
ทุกคนมาต้อนรบั และห่วงมาตลอด ทงั้ ทไ่ี ปเยยี่ มกูที่โรงพยาบาล กไู มต่ ายด๊อก กย็ ังอย่กู ับพวกมงึ ได้อยู่
แตก่ ขู อใหพ้ วกมงึ ทหี่ ว่ งใยกจู รงิ ๆ แลว้ ละกจ็ งหมน่ั สรา้ งความดี รกั ษาศลี มเี มตตาธรรม สรา้ งบญุ กศุ ล
ใหม้ าก ๆ กชู ว่ ยพวกมงึ ไมไ่ ด้ดอ๊ ก อยา่ งเก่งกูก็ไปสง่ พวกมงึ ยงั เมรไุ ดเ้ ทา่ น้ัน ถา้ ทำ� ดีก็ไปสูส่ ุคติ ถ้าไม่ดี
ก็ไปสู่ทุคติ ถ้าบอกให้ท�ำดีจะไปสู่สุคติ เรื่องหมอห้ามไม่ให้สูบบุหร่ีนั้น ความจริงก็ไม่ต้องให้หมอมา
พูดด๊อก เพราะกูดูดยามาแล้วถึง ๖๒ ปี กูจะละกไ็ ด้ ระยะเวลา ๖๒ ปี กูดูดยาดี ๆ มวนโต ๆ หมอให้
กูละกกู ็จะละ แตถ่ ้าใครมาหากู จะดูดกกู ไ็ มว่ ่าอะไร” (เดลนิ ิวส:์ ๘ มกราคม ๒๕๔๐)

60

การด่าลกู เป็นอัปมงคล
พดู กับลูก ๆ แต่ส่งิ ดี ๆ มนั จะได้เป็นมงคล

หลวงพ่อคณู ให้พรเนอ่ื งในโอกาสวนั เด็กแหง่ ชาติ พ.ศ.๒๕๔๐
“กเู องกข็ อใหเ้ ดก็ ไทยทกุ คนจงประพฤตติ วั ใหเ้ หมาะสมกบั ทเ่ี ราเปน็ ชาตไิ ทย พวกลกู ๆ หลาน ๆ
กข็ อให้ตั้งใจเลา่ เรียนศกึ ษาหาความรู้ใส่ตวั เองเอาไว้ เม่ือเติบโตขึน้ เป็นผ้ใู หญก่ จ็ ะมวี ิชาหากนิ กบั เขา
อย่าได้เปน็ เดก็ เกเร ใหร้ จู้ กั รกั พ่อแม่ เขาสัง่ สอนบอกอะไรก็ใหเ้ ชื่อฟัง .... ” “ทางพวกพอ่ แม่ก็สง่ั สอน
ให้ลกู ๆ ถ้าจะเอ่ยค�ำสอนไหน ก็อยา่ ไปพูดว่า ลูกคนนี้ด้ือ ลูกคนนีม้ ึน ลูกคนนี้ซน ลูกคนนีบ้ อกยาก
สอนยาก เพราะมึงไปว่ามันมาแต่เล็ก ๆ มันเป็นอัปมงคล และจะส่งเสริมให้ลูกของมึงดื้อจริง ๆ
พวกมึงต้องพูดค�ำว่าเปน็ คนดี บอกง่าย สอนงา่ ย ไมเ่ คยเกเร ให้พดู กับลกู ๆ แตส่ งิ่ ดี ๆ มันจะได้เป็น
มงคลและมนั กจ็ ะได้จดจ�ำเอาไว้ มงึ ท�ำตามกูบอกเดอ้ ลูกหลานเอ๊ย”

อยา่ งมงาย
อย่าไปงมงายเอาเงินไปซ้อื เลขหวย

“พวกมงึ มาขอโชคพร กกู ใ็ หพ้ รและเคาะหัว แตเ่ รอื่ งเลขเด็ดไม่มใี ห้ใครดอ๊ ก อย่าไปงมงายเอา
เงนิ ไปซื้อเลขหวยกนั เลย เก็บเงินไว้ซือ้ กับขา้ วดีกวา่ ” (เดลนิ ิวส์: ๒๕ กนั ยายน ๒๕๔๑)
กรณีข่าวเลขเด็ดอายุของหลวงพอ่ คณู ทส่ี รา้ งความสนใจให้กับนกั เสีย่ งโชคทัว่ ประเทศ ทำ� ใหผ้ ู้สอื่
ขา่ วพยายามตดิ ตอ่ ขอสมั ภาษณห์ ลวงพอ่ ตลอดวนั แตห่ ลวงพอ่ ไมว่ า่ งเพราะรบั แขกไมข่ าดสายจนไมไ่ ดพ้ กั
ผอ่ น หลวงพ่อคูณได้พูดเตอื นสตไิ ปถึงนักเส่ยี งโชคเพียงส้นั ๆ ว่า “กูไมอ่ ยากพูดอะไรทั้งน้นั ไมอ่ ยากให้
ลกู หลานมนั งมงายเกนิ เหตุ ใครจะโชคดีแลว้ แตโ่ ชควาสนา” (เดลนิ วิ ส:์ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๒)

61

หลกั การท�ำบญุ

หลวงพ่อเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม ดังเช่นในคราวมอบเงินเพื่อสร้างโรงพยาบาลอ�ำเภอ
ขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสมี า จำ� นวนเงนิ ๑๕ ล้านบาท หลวงพ่อให้จารึกทปี่ า้ ยหนา้ โรงพยาบาลวา่
“หลวงพอ่ คณู ปรสิ ทุ โฺ ธ สรา้ งอทุ ศิ สว่ นกศุ ลใหท้ า่ นเจา้ อนวุ งศ์ อดตี เจา้ เมอื งเวยี งจนั ทน์ (ประเทศลาว)”
ทำ� ใหผ้ คู้ นสงสยั วา่ เหตใุ ดจงึ ไดอ้ ทุ ศิ สว่ นกศุ ลใหก้ บั เจา้ อนวุ งศซ์ งึ่ มารกุ รานชาวโคราช หลวงพอ่ คณู
ไขขอ้ ขอ้ งใจวา่ การทำ� บญุ นนั้ นอกจากอทุ ศิ สว่ นบญุ กศุ ลใหก้ บั ผมู้ พี ระคณุ แลว้ ยงั ตอ้ งแผส่ ว่ นกศุ ลใหก้ บั ศตั รู
หมมู่ าร เชน่ เจา้ กรรมนายเวร เจา้ บญุ นายคณุ ดว้ ย จงึ จะสมบรู ณ์ หากไมม่ เี จา้ อนวุ งศก์ จ็ ะไมม่ โี อกาสมวี รี สตรี
เชน่ ทา้ วสุรนารี และ นางสาวบุญเหลอื
พุทธศาสนิกชนท่ีเคารพเล่ือมใสศรัทธาหลวงพ่อคูณน้ันไม่ได้เกิดจากสาเหตุท่ีท่านสามารถเทศนา
สั่งสอนประชาชนด้วยลีลาโวหารอย่างพระนักเทศน์ท่ัวไป แต่เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาของ
หลวงพอ่ คณู ซง่ึ ประจกั ษแ์ กส่ ายตาพทุ ธศาสนกิ ชนอยา่ งชดั เจน และคำ� สอนทเ่ี ปน็ คำ� พดู ตรง ๆ แทรกธรรม
ง่าย ๆ ที่ประชาชนท่ัวไปฟังแลว้ เข้าใจโดยงา่ ย

พระในบ้าน

หลวงพอ่ คณู แนะนำ� สง่ั สอนใหร้ จู้ กั บญุ คณุ และตอบแทนบญุ คณุ ตอ่ ผมู้ พี ระคณุ พอ่ แม่ ครอู าจารย์
แผ่นดินหรือประเทศชาติอันเป็นท่ีก�ำเนิด เป็นท่ีอยู่อาศัย และพระเจ้าแผ่นดินท่ีเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของคนทั้งชาติ หลวงพอ่ บอกว่า ผู้เปน็ ลกู ตอ้ งร้จู กั ตอบแทนบุญคุณพอ่ แม่

62

ยง่ิ เอา มันยง่ิ อด ยิ่งสละให้หมด มันย่งิ ได้

หลวงพ่อคูณเป็นตัวอย่างท่ีดีในเรื่องของการบริจาคทานหรือการเสียสละเพ่ือให้พุทธศาสนิกชน
ปฏิบัติตาม ท่านได้ด�ำเนินชีวิตโดยบ�ำเพ็ญทานบารมีอย่างจริงจังมาโดยตลอดตามแนวของพระมหา
เวสสันดร

63

ผูใ้ ดเหน็ ธรรม ผู้นัน้ เห็นตถาคต
ดพู ระพุทธรปู เปน็ ตวั อยา่ ง

หลวงพ่อคูณยกเอาพระพุทธรปู เปน็ ตวั อย่างของความสงบระงบั โดยกลา่ วว่า
“ดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง ท่านจะนั่งสง๊บ มองดูใจของท่านเอง ใครจะยกไปวางบนบ้าน
ในวิหาร ในพระอโุ บสถ ในศาลา ในปา่ ดง ทา่ นก็ไมเ่ คยพดู ไมเ่ คยบน่ สบาย ไมร่ อ่ น ไม่หนาว ไม่มี
อาการหวัน่ ไหว ท่านสงบ๊ จรงิ ๆ”
พระพุทธศาสนากอ็ ยทู่ ีก่ าย วาจา ใจ กายเรานีแ่ หละเป็นศาสนา ใจของเราท่ีสงบ รจู้ กั หลบหลกี
ละเวน้ ในความชว่ั แลว้ หนั มาประกอบสง่ิ ทเ่ี ปน็ บญุ เปน็ กศุ ล มนั กจ็ ะไมต่ กเปน็ ทาสของกเิ ลสตณั หา ดวงจติ
กเ็ ปน็ อสิ ระเหนอื อยอู่ ยา่ งนน้ั อนั นแ้ี หละเปน็ องคพ์ ระพทุ ธนง่ั สงบอยนู่ น่ั แหละ การปฏบิ ตั ธิ รรมนน้ั อยทู่ ไี่ หน
ก็ปฏิบัติได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องเดินทางไปยังแหล่งนั้น ๆ โดยตรง แม้จะยืน เดิน น่ัง หรือนอน ก็สามารถ
ปฏิบตั ธิ รรมได้

อย่าลอดคันนาก็แล้วกัน

ญาติโยมถามหลวงพ่อคูณว่าเม่ือให้วัตถุมงคล หรือฝังตะกรุดผู้ใดแล้ว หลวงพ่อได้ต้ังกฎเกณฑ์
ในการปฏิบัติหรือต้อง “กร�ำ” ของอย่างไร ซึ่งก็หมายถึงข้อห้ามที่จะท�ำมิได้ ในขณะที่มีวัตถุมงคล
อยใู่ นครอบครอง เพราะเชื่อว่าของขลังเหล่านั้นจะเส่ือมและไม่มีความศกั ด์สิ ิทธ์ิอีกต่อไป
ทา่ นตอบแบบตดิ ตลกว่า

ทีห่ ลวงพอ่ พดู เชน่ นม้ี คี วามหมายวา่ ผู้ท่มี ีวัตถมุ งคลนนั้ จะลอดอะไรก็ได้ วัตถมุ งคลนน้ั ไม่เส่ือม ยัง
ทรงพุทธานุภาพและเป็นสิริมงคลเสมอตราบเท่าท่ีผู้นั้นประพฤติตนเป็นคนดี มีศีลธรรม ไม่ประพฤติชั่ว
ออกนอกลู่นอกทาง เหมือนการลอดคันนาท่ีไม่มีผู้ใดกระท�ำ เพราะคันนามีไว้ส�ำหรับเดิน ไม่ใช่ลอด
ผูท้ ่มี ีวัตถุมงคลและปฏิบัตติ ามจงึ เกดิ สิริมงคลกบั ชีวติ ตลอดไป

64

บญุ บาปมจี ริง
บุญมจี ริง บาปมีจรงิ

หลวงพอ่ คณู ใหค้ วามสำ� คญั และพยายามเนน้ สาธชุ นในเรอ่ื งบญุ เรอื่ งบาป วา่ บญุ มจี รงิ บาปมจี รงิ
ท�ำดไี ดด้ ี ท�ำชัว่ ได้ชั่ว
“กเู ชอื่ วา่ บญุ มจี รงิ บาปมจี รงิ กกู ท็ ำ� ไป...ไมต่ อ้ งไปดอก เราปฏบิ ตั ดิ ี ปฏบิ ตั ชิ อบ อยใู่ นขอบเขต
พทุ ธโอวาททกุ อย่าง ทุกแง่ ทกุ มุม อยใู่ นระเบียบคำ� ส่งั สอน ไมต่ อ้ งไปหรอก ทา่ นมาอยู่กบั เอ็งน่แี หละ
พระพุทธองค์ทา่ นอยู่ไดห้ มดทุกตัวตน ว่าแตค่ นหนง่ึ คนใดมีศลี มธี รรม มเี มตตา ทา่ นกอ็ ยูด่ ว้ ย”

หัวใจพระพทุ ธศาสนา

หลวงพอ่ คณู ไดใ้ หค้ ำ� สอนสำ� หรบั พทุ ธศาสนกิ ชนยดึ ถอื ปฏบิ ตั ติ ามหลกั ธรรมคำ� สอนของพระพทุ ธเจา้
สน้ั ๆ เขา้ ใจงา่ ย ๆ ซ่งึ ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาว่า

65

ความรสู้ กึ ของตัวแทนนักศึกษา

ต่อครใู หญ่หลวงพอ่ คูณ

แมล้ มหายใจจากไป แต่ได้อุทศิ รา่ งกายไว้ เป็นครใู หญผ่ ู้ไร้วิญญาณ
เป็นกายวิทยาทาน มีคุณปู การต่อวงการศึกษาแพทยต์ ่อไป

ค�ำกล่าวข้างต้นคือเจตนารมณ์ของครูใหญ่ทุกท่าน รวมถึงพระเทพวิทยาคมหรือหลวงพ่อคูณ
ปรสิ ทุ โฺ ธ พระเกจอิ าจารยผ์ เู้ ปย่ี มไปดว้ ยเมตตาธรรม ผเู้ ปน็ ครใู หญส่ าธติ กอ่ ประโยชนต์ อ่ การเรยี นการสอน
วิชาแพทย์ในวงกว้าง นักศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพกว่าพันคนได้มีโอกาสศึกษาโครงสร้างร่างกาย
ของทา่ นซงึ่ ชดั เจนและงา่ ยตอ่ การทำ� ความเขา้ ใจ พรอ้ มกบั มคี ณาจารยภ์ าควชิ ากายวภิ าคศาสตรผ์ มู้ ที กั ษะ
ความช�ำนาญสูงเป็นผู้สาธิตและอธิบายให้แก่นักศึกษา ท�ำให้ได้รับความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบ
อาชีพและดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปในอนาคต อีกท้ังยังท�ำให้ตระหนักว่าสรรพสิ่งท้ังปวงเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไปเป็นธรรมดา ไม่ว่าเมื่อคร้ังยังมีชีวิตอยู่จะย่ิงใหญ่เพียงใด แต่ร่างกายของเราก็มีเท่านี้ อวัยวะ
ในร่างกายก็เหมือนกัน ความดีต่างหากที่พัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ เป็นแบบอย่างให้ชนรุ่นหลัง
ได้ระลกึ ถึงและปฏบิ ตั ติ าม
แม้ว่านักศึกษาแต่ละกลุ่มจะได้เข้าไปศึกษาในช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ แต่สุดซาบซ้ึงท่ีหลวงพ่อคูณ
พระเถราจารยช์ นั้ ผใู้ หญผ่ เู้ ปน็ ทเี่ คารพรกั ของผคู้ น เปน็ ปราชญแ์ หง่ ทรี่ าบสงู มจี ติ เมตตาเปน็ ทตี่ งั้ ไดก้ รณุ า
สละสรีรสังขารมาเป็นครูใหญ่ให้นักศึกษาอย่างพวกเราได้เรียนรู้ นั่นคือความภาคภูมิใจสูงสุดคร้ังหน่ึง
ในชีวติ ของเหลา่ นกั ศึกษาวา่ เราได้เป็น ศิษย์ครใู หญห่ ลวงพ่อคณู

66

เหรียญโปรยทาน “ดอกคูณบญุ ”

เหรียญโปรยทานดอกคูณบุญ ออกแบบ
และประดิษฐ์ขึ้น เพื่อร่วมท�ำบุญถวายเป็นกุศลแด่
พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) เนื่องใน
พิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่เป็นกรณีพิเศษ
ประจำ� ปี ๒๕๖๑
เจ้าภาพในการจัดท�ำเหรียญโปรยทาน
ดอกคูณบุญ คือ สมาชิกโครงการประสานสุข
๒๕๕๒ เพ่ือการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จ
พระศรีนครินทราบรมราชชนนี งานบริการพยาบาล
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร
ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และญาติผู้ป่วย บริษัทเอกชนในจังหวัดขอนแก่น รวมท้ัง
ผทู้ ่ีมีจติ ศรทั ธาอืน่ ๆ ในการรว่ มงาน ร่วมบญุ เพอื่ ผู้ท่ีเราเคารพ เลอ่ื มใส และศรทั ธา
แนวคิดการออกแบบโดยสมาชิกโครงการประสานสุขฯ คือ การค�ำนึงถึงความเชื่อทางศาสนา
ในพิธีศพ ร่วมกับแนวคิดการประสานสุข เหรียญโปรยทานชุดน้ี จึงหมายถึงดอกคูณบุญ ดอกไม้
ที่ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติซ่ึงเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม มีความสวยงามด้วยสีเหลืองดอกคูณ เพ่ือเป็น
ทรี่ ะลกึ ถงึ พระเทพวทิ ยาคม (หลวงพอ่ คณู ปรสิ ทุ โฺ ธ) รวมทงั้ การชว่ ยเหลอื เกอื้ กลู กนั และกนั การชว่ ยเหลอื
ชมุ ชนและสังคม

วสั ดุอปุ กรณ์ ประกอบด้วย

๑) กลีบดอกไม้ ประดิษฐ์จากกระดาษสา มีกลีบขนาดใหญ่
และกลีบขนาดเล็ก

๒) เกสร ประดิษฐ์จากลวดเสน้ เล็กพันด้วยกระดาษสีเขียว
ออ่ น (ซ่งึ ชาวบ้านในชมุ ชนเป็นผ้รู ว่ มผลิตทงั้ กลบี และเกสรดอกไม)้

๓) กาวน�้ำชนิดขน้
๔) เหรียญบาท
๕) ไมก้ ลม สำ� หรบั ใชพ้ นั ลวด และใชก้ ดใหฐ้ านลา่ งของกลบี เลก็
ติดบนกลบี ใหญ่

67

วิธีทำ�

เกสร: ใช้ลวดขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๕ ซม.
พันไม้กลมให้เป็นขดลวดเล็ก ๆ จากนั้นดึงตรงกลาง
ขดลวดเพ่ือแบ่งครึ่งและดึงลวดแกนกลางให้ยืดออก
ใชน้ วิ้ บบี เสน้ ลวดทง้ั ๒ ชนิ้ ใหช้ ดิ กนั และหกั ลวดแกนกลาง
ให้โคง้ งอเล็กนอ้ ยเพือ่ ใชเ้ ปน็ ท่ยี ึดในการตดิ กาว
กลบี เลก็ พรอ้ มเกสร: นำ� แกนกลางลวดเกสรทงี่ อ
แล้วสอดลงไปในช่องเกสรกลางกลีบเล็ก พลิกด้านหลัง
กลบี ขน้ึ มาและทากาวเลก็ นอ้ ย เพอ่ื ยดึ ลวดเกสรใหต้ ดิ กบั
กลบี เล็ก วางรอให้กาวแหง้
กลีบใหญ่: กลีบใหญ่ ๑ ชิน้ ทากาวบาง ๆ บนกลีบ ๓ กลีบ จากนน้ั เลอื กกลบี จากกลบี ใหญ่ช้นิ ที่
๒ นำ� มาประกบลงบนกลบี ชนิ้ ที่ ๑ ทท่ี ากาวไวแ้ ล้วทง้ั ๓ กลีบ โดยใหร้ อยหยักของแตล่ ะกลีบวางตรงกนั
จากน้ันจับมุมกลีบท้ังสองด้านบิดสลับกัน เพื่อให้กระดาษติดกาวได้แน่นข้ึนและกลีบมีความสวยงาม
วางรอให้กาวแห้ง หลังจากกลีบแห้งแล้วน�ำเหรียญบาทสอดเข้าไปในช่องกลางระหว่างกลีบบนและ
กลีบลา่ ง ทากาวบนกลีบทเี่ หลือและบิดกลบี เหมือนเช่น ๓ กลบี แรก
การประกอบดอก: น�ำกลีบใหญ่วางลงบนพื้นโต๊ะ ทากาวเป็นวงกลมส่วนกลางดอก จากน้ันน�ำ
กลบี เล็กพร้อมเกสรวางลงบนกาวทท่ี า ใชไ้ มก้ ดบริเวณรอบเกสรเพ่อื ให้กลีบตดิ กัน วางรอใหก้ าวแห้งและ
จดั รปู ทรงดอกไมใ้ หส้ วยงามกอ่ นนำ� ไปใช้
พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) พระเถราจารย์ผู้เปี่ยมด้วยทานบารมี มีจิตใจเมตตา
โอบออ้ มอารี ชว่ ยเหลอื เพอ่ื สาธารณประโยชน์ จนเปน็ ทเี่ ลอ่ื มใสศรทั ธาทง้ั ชาวไทยและประเทศเพอ่ื นบา้ น
สมาชิกของโครงการประสานสุขฯ จึงรังสรรค์เหรียญโปรยทานดอกคูณบุญ ข้ึนเพ่ือถวายเป็นกุศล
และประสงคท์ จี่ ะถา่ ยทอดแนวคดิ เพอ่ื ระลกึ ถงึ ความเมตตาและการเปน็ แบบอยา่ งทดี่ งี ามของหลวงพอ่ คณู
ตลอดไป โดยได้น�ำการประดิษฐ์เหรียญโปรยทานดอกคูณบุญ ไปใช้ในโครงการแสงทิพย์, ๒๕๔๘
ซ่ึงเป็นโครงการหนึ่งของโครงการประสานสุขฯ ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้เหรียญโปรยทาน
ดอกคูณบุญ แทนแบบเดิมที่เคยใช้ ซ่ึงท�ำจากริบบ้ินสีต่าง ๆ เพ่ือร่วมท�ำบุญในพิธีทางศาสนาเม่ือผู้ป่วย
เสียชีวิต เพื่อให้เหรียญโปรยทานดอกคูณบุญเป็นท่ีรู้จักของบุคลากรและผู้สนใจและน�ำไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์อย่างต่อเน่ือง เป็นการระลึกถึงความเมตตาของ พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
ตลอดไป

68

ทานบารมี มรรควิธีส่โู พธิญาณ

ทาน หมายถึง การให้ดว้ ยความบรสิ ทุ ธิใ์ จ โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึง่ จะท�ำใหเ้ กดิ บุญขนึ้ แก่ผ้ใู ห้
ทาน คอื จะเปน็ ทรี่ กั ที่พอใจของคนเปน็ อนั มาก มีช่ือเสียงดงี าม มคี วามองอาจกลา้ หาญ และเมอ่ื ละโลก
ไปแลว้ ยอ่ มบงั เกดิ ในสคุ ตภิ พ ทาน จงึ เปน็ พนื้ ฐานของการพฒั นาจติ ใจ พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ใหม้ คี วามเจรญิ
กา้ วหนา้ ทานแบง่ เปน็ ๔ ประเภท คอื
อามสิ ทาน คือ การใหว้ ัตถสุ ิง่ ของ ขา้ ว นำ�้ อาหาร ทอ่ี ยู่อาศัย เครอื่ งหอม ประทีปโคมไฟ ยาน
พาหนะ เป็นตน้
อภยั ทาน คือ การใหช้ ีวิตสัตวเ์ ป็นทาน เชน่ การปลอ่ ยสัตว์ การไถ่ชีวิตสตั ว์ รวมถึงการปลอ่ ยวาง
ความโกรธ ไมพ่ ยาบาท
วิทยาทาน คอื การให้ความรูเ้ ป็นทาน การใหค้ ำ� แนะนำ� สั่งสอนทด่ี ี มีประโยชน์ในการดำ� เนินชวี ิต
ธรรมทาน คือ การให้ความรู้เรอ่ื งธรรม เช่น การแนะนำ� ใหเ้ ขา้ ใจในเรอื่ งบุญ บาป การละชั่ว ท�ำดี
ท�ำใจใหผ้ ่องใส ดว้ ยการท�ำสมาธภิ าวนา ซง่ึ เป็นทางแหง่ ความสะอาด บรสิ ทุ ธิ์ จนสน้ิ อาสวะกเิ ลสได้
ธรรมทานจึงมอี านสิ งส์ทป่ี ระเสริฐกวา่ ทานท้ังปวง

69

ทานบารมี คอื คณุ ความดที ีบ่ ำ� เพ็ญอยา่ งยงิ่ ยวดในการให้ทาน การบ�ำเพญ็ ทานใหส้ มบรู ณ์ ผูท้ จ่ี ะ
ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น จะต้องเป็นนักเสียสละอย่างย่ิง ต้ังต้นแต่เสียสละวัตถุสิ่งของภายนอก จน
กระทง่ั บตุ รธิดาภรรยา และแมแ้ ต่ชีวติ ของตนในทส่ี ดุ เพอ่ื สรา้ งคุณภาพทางจิตใหส้ ามารถเข้าถึงความร้ทู ี่
สูงสุด อันเป็นฐานะของผู้เป็นท่ีพึ่งของโลก พระพุทธศาสนากล่าวยกย่องพระเวสสันดรโพธิสัตว์ ว่าเป็น
ตัวอยา่ งในการบำ� เพ็ญทานบารมี ทรงพอพระทัยทจี่ ะบรจิ าคทานทกุ อยา่ งทมี่ ีคนมาขอ ท้ังวตั ถุส่งิ ของเงิน
ทอง ตลอดจนพระโอรสพระธิดาและพระชายา ซึง่ แสดงถึงการเสียสละประโยชน์สว่ นตน หรอื ประโยชน์
สว่ นนอ้ ย เพอ่ื ประโยชนท์ ย่ี ง่ิ ใหญก่ วา่ หรอื ประโยชนข์ องสว่ นรวม อนั เปน็ ประโยชนแ์ กช่ าวโลกทง้ั มวล นน่ั
คือการไดต้ รัสรเู้ ปน็ พระพุทธเจา้ กลา่ วเฉพาะทานบารมีนั้น พระโพธิสัตวก์ อ่ นทีจ่ ะมาเป็นพระพุทธเจา้ ได้
ทรงบ�ำเพ็ญบารมีมาเป็นอเนกประการนานกว่าส่ีอสงไขยแสนกัป จึงได้สร้างสมบารมีมาอย่างยิ่งยวด ดัง
กลา่ วว่า ทรงบริจาคโลหิตให้เป็นทานมากกว่าน้�ำในมหาสมุทรท้งั ๔ ทรงบรจิ าคเน้อื ใหเ้ ป็นทานมากกว่า
มหาปฐพี ทรงตัดพระเศียรให้เป็นทานถ้าจะรวบรวมก็สูงกว่าเขาพระสุเมรุราช และทรงควักดวงเนตรให้
เปน็ ทานกม็ ากกว่าดวงดาวบนทอ้ งฟ้า เป็นตน้ และการบ�ำเพ็ญบารมนี ั้นมีล�ำดับความยากง่ายเปน็ ขัน้ ตน้
ข้นั กลาง ขน้ั สงู เชน่ การบำ� เพ็ญทานบารมี ๓ ขนั้ 1 ตามลำ� ดับ ดงั นี้
๑. ทานบารมี บริจาคทรพั ยส์ ินสิ่งของภายนอก
๒. ทานอุปบารมี บริจาคอวยั วะ คือร่างกาย
๓. ทานปรมตั ถบารมี บริจาคชวี ิต

พระโพธสิ ตั วผ์ ปู้ รารถนาทจี่ ะตรสั รอู้ นตุ รสมั มาสมั โพธญิ าณเปน็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ พระองคห์ นงึ่
ในอนาคต จำ� เป็นต้องบ�ำเพ็ญพุทธการกธรรม คือธรรมท่ีจะท�ำให้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่ง คือ การบ�ำเพ็ญ
บารมีท้ังสิบทศั (ทศบารมี) ดังนี้

ทานบารมี การให้
ศลี บารมี การรักษากาย วาจาใหส้ ะอาด บรสิ ุทธิ์
เนกขมั มบารมี การออกบวช การหลีกออกจากกามทง้ั ปวง
ปัญญาบารมี ความรอบรู้ การหย่งั รู้เหตุผล ความเขา้ ใจสภาวะของสรรพสิง่ ตามความเปน็ จรงิ
วิรยิ ะบารมี ความเพยี รพยายาม ความแกล้วกล้าไมเ่ กรงกลัวอุปสรรค
ขันตบิ ารมี ความอดทน อดกลนั้ ตอ่ ความยากล�ำบากต่าง ๆ อดทนต่อค�ำนินทา และค�ำสรรเสรญิ
สัจจะบารมี พดู จรงิ ท�ำจรงิ จรงิ ใจจริงจัง กระท�ำใหส้ �ำเร็จดงั ค�ำพูด
อธิษฐานบารมี ความต้งั ใจม่นั คงเด็ดเดย่ี ว ดำ� เนนิ ตามจดุ ม่งุ หมายอยา่ งแน่วแน่
เมตตาบารมี ความรักใคร่ ความปรารถนาดี เกื้อกูลผอู้ ่นื ให้มีความสขุ
อเุ บกขาบารมี การวางใจเป็นกลาง หยุดน่งิ ไมห่ ว่ันไหวต่ออารมณ์ หรือสิง่ ตา่ ง ๆ ท่ีมากระทบ

1 ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/บทน�ำ หนา้ ๑๑๖.

70

ในการบำ� เพญ็ บารมสี บิ ทศั นน้ั การบำ� เพญ็ ทานบารมเี ปน็ การบำ� เพญ็ บารมที ส่ี ำ� คญั ซง่ึ พระโพธสิ ตั ว์
ทุกพระองค์จ�ำเป็นต้องบ�ำเพ็ญก่อนบารมีประการอื่น เพราะการต้ังปณิธานอันแน่วแน่ท่ีจะน�ำพาตนเอง
และสรรพสตั วใ์ หห้ ลดุ พน้ วฏั สงสารไปสพู่ ระนพิ พานนน้ั จะตอ้ งมหี มคู่ ณะทจี่ ะชว่ ยใหส้ ามารถบำ� เพญ็ บารมี
ได้อยา่ งเตม็ ที่ การบำ� เพ็ญทานบารมจี ึงเป็นการขดั เกลากิเลส ให้กำ� จัดความตระหน่ี สร้างนิสัยแห่งการให้
อยา่ งแทจ้ รงิ ทานบารมจี งึ เปน็ พืน้ ฐานในการสร้างบารมอี ่ืน ๆ ตอ่ ไป ดงั นนั้ การให้ทานของพระโพธสิ ตั ว์
จงึ เปน็ การให้ทุกสงิ่ ทุกอยา่ ง ไมว่ ่าจะเป็นทรัพย์สมบตั ิ สิ่งของ ยานพาหนะ อวยั วะ เลือดเน้อื แม้กระทั่ง
ชีวิตแกผ่ มู้ าขอ ไม่เลอื กเพศ ชนั้ วรรณะ
การบ�ำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้ามีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก และปิฎกอ่ืน ๆ ภายหลังเมื่อตั้ง
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ซ่ึงได้พรรณนาประวัติของพระสมณโคดม เม่ือครั้งถือก�ำเนิดเป็น
สุเมธดาบส และต้ังความปรารถนาต่อพระพักตร์พระทีปังกรพุทธเจ้าในการท่ีจะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไป
ในภายภาคหนา้ ดงั น้ี
ในนครอมรวดี มพี ราหมณช์ ่อื สุเมธ เปน็ ผคู้ งแกเ่ รียน เรียนร้ไู ตรเทพ และศาสตร์ต่าง ๆ รอบด้าน
เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมได้ท้ิงทรัพย์สมบัติไว้ให้มากมาย สุเมธบัณฑิต คิดว่า เม่ือไปปรโลกจะถือเอา
ทรัพย์ไปด้วยแม้แต่น้อยก็ไม่ได้ จึงให้ทานแก่มหาชน แล้วออกบวช เพื่อแสวงหาพระนิพพาน วันหน่ึง
สุเมธดาบส ได้พิจารณาถึงเหตุ และต้ังความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จึงทอดกายลงนอนเป็นสะพาน
เพื่อพระพุทธเจ้าจะได้ก้าวข้ามไปโดยเท้าไม่เปื้อนโคลนตม เม่ือพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จฯ
มาทรงยืนเบอื้ งศีรษะของสุเมธดาบส และทรงดำ� รถิ งึ ความปรารถนาของสุเมธดาบส และทรงพยากรณว์ า่
“... ดาบสนกี้ ระทำ� ความปรารถนาอนั ยง่ิ ใหญ่ เพอื่ ความเปน็ พระพทุ ธเจา้ จงึ ไดน้ อนอยู่ ดว้ ยวา่ ในทสี่ ดุ
ส่ีอสงไขยยิ่งดว้ ยแสนกัป แตก่ ัปนีไ้ ป ดาบสน้ีจักไดเ้ ปน็ พระพทุ ธเจ้า พระนามว่าโคดม”
สุเมธดาบสเมอ่ื ไดร้ ับพทุ ธพยากรณจ์ ากสมเดจ็ พระทีปังกรพุทธเจ้าแลว้ กต็ รวจตราพจิ ารณาวา่ จะ
ตอ้ งบ�ำเพ็ญความดอี ะไรบา้ งถึงจะได้ตรัสรเู้ ปน็ พระสัมมาสมั พทุ ธเจา้ เม่ือเลือกเฟน้ ธรรมท่ีจะทำ� ใหไ้ ด้เปน็
พระพทุ ธเจา้ ได้เห็นทานบารมอี นั เปน็ พทุ ธการกธรรม ธรรมท่จี ะทำ� ให้เป็นพระพทุ ธเจา้ ขอ้ ที่ ๑ เปน็ ทาง
ใหญ่ ท่ีพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเลือกเฟ้นแล้ว จึงกล่าวสอนตนเองว่า การจะสร้างบุญบารมีได้เต็มท่ี
ทานบารมี เป็นบารมีท่ีส�ำคัญมาก ขาดทานบารมีแล้วจะทำ� ให้การบ�ำเพ็ญบารมีข้ออื่นได้ล�ำบาก จึงต้อง
บำ� เพ็ญทานบารมปี ระหนึง่ ว่า “หมอ้ น�ำ้ ที่เตม็ ดว้ ยน้�ำซึง่ ผ้ใู ดผูห้ นึ่งจบั คว่�ำลงนำ้� ยอ่ มไหลออกหมดไมข่ งั
อยใู่ นหมอ้ นำ�้ ฉนั ใด ทา่ นเหน็ ผขู้ อทง้ั ชน้ั ตำ่� ชน้ั กลาง และชนั้ สงู แลว้ จงใหท้ านอยา่ ใหเ้ หลอื ดจุ หมอ้ นำ้�
ท่คี วำ�่ ลง ฉนั นน้ั ”2

2 ข.ุ พุทฺธ. (ไทย) ๓๓/๑๑๘-๙/๕๘๓ (สเุ มธกถา).

71

ไมห่ ว่ันไหวในการใหท้ าน

ในอดีตกาล สมยั เมอ่ื พระโพธสิ ัตว์เกิดเป็นเศรษฐี ตงั้ โรงทาน ๖ แห่ง คือ ทีป่ ระตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ
ทใ่ี จกลางเมือง ๑ แหง่ และทีบ่ ริเวณประตคู ฤหาสน์อีก ๑ แห่ง ไดบ้ รจิ าคทานทกุ วนั และรกั ษาอุโบสถศีล
เป็นนิจ วันหนึ่งขณะคนรับใช้ก�ำลังน�ำอาหารเช้ารสเลิศมาให้ท่านเศรษฐี พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หน่ึง
เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติมาบิณฑบาต เศรษฐีเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ไกล จึงปรารถนาจะถวายทาน
แตท่ นั ทที ค่ี ดิ จะทำ� ความดี มารผมู้ ใี จบาปทนไมไ่ ด้ ถงึ กบั สนั่ สะทา้ นคลา้ ยคนไขท้ แี่ สลงนำ้� เยน็ คดิ วา่  “พระ
ปัจเจกพทุ ธเจา้ ไมไ่ ดฉ้ นั อาหารมา ๗ วนั แล้ว วนั นห้ี ากไม่ได้อาหารก็จะต้องปรนิ ิพพาน เราจะท�ำให้
พระปัจเจกพทุ ธเจา้ พินาศให้ได”้  จงึ รีบตรงไปบา้ นท่านเศรษฐี และเนรมิตหลมุ ถ่านเพลงิ ใหญ่ มีเปลวไฟ
ร้อนแรงแดงฉานลกุ โพลงจากใตพ้ ภิ พ นา่ หวาดกลัวย่ิงนกั
เศรษฐีจงึ คดิ วา่  “พญามาร คือผูข้ ัดขวางความดี ตอ้ งการจะท�ำลายทานของเรา แต่ไม่ว่าอะไร
จะเกดิ ขึน้ วันน้ีเมอื่ เราต้งั ใจท�ำความดีแลว้ เราจะตอ้ งทำ� ให้ส�ำเร็จ แม้วา่ จะมมี ารมาเปน็ รอ้ ย เป็นพนั
หรอื เปน็ แสนกต็ าม กข็ ัดขวางการใหท้ านของเราไม่ได้” จงึ ถือถาดอาหารไปยนื อยทู่ ี่ปากหลุมถา่ นเพลงิ
เหน็ มารยืนอยใู่ นอากาศจงึ ถามว่า
“ท่านเป็นใคร”
“เราคือมาร”
“หลมุ ถ่านเพลงิ นที้ ่านเนรมติ ขึ้นหรอื ”
เมอ่ื มารยอมรบั จึงถามตอ่ ว่า “ทา่ นเนรมติ เพือ่ อะไร”
มารตอบว่า “เราต้องการท�ำอันตรายต่อทานของท่าน และต้องการให้ชีวิตของพระปัจเจก
พทุ ธเจา้ ดับสิ้นไป”
เศรษฐกี ลา่ วดว้ ยนำ�้ เสยี งเดด็ เดยี่ ววา่  “ใครกข็ ดั ขวางการใหท้ านของเราไมไ่ ด้ แมเ้ ราจะตอ้ งตกลง
ไปในหลมุ ถา่ นเพลงิ มีหัวดง่ิ ลง เอาเทา้ ชี้ฟ้า รา่ งกายจะมอดไหม้เป็นเถา้ ถ่านกต็ าม แต่เราก็จะมงุ่ มัน่
ท�ำความดีให้สำ� เร็จดังทไี่ ดต้ งั้ ใจไว้” วา่ แล้วกก็ ราบอาราธนาพระปจั เจกพุทธเจา้ วา่ “ขอท่านผู้เจรญิ ได้
โปรดรับภัตตาหารของข้าพเจา้ ด้วยเถิด”
เศรษฐีส�ำรวมจิตมัน่ ก้าวลงไปในหลุมถา่ นเพลงิ ด้วยความกล้าหาญ โดยไม่หวาดหว่ันต่อมรณภยั มี
ใจผ่องใสต้ังม่ันอยู่ในทานนั้น และด้วยอานุภาพแห่งความต้ังใจมั่นคงในการท�ำทานน้ัน ดอกบัวใหญ่ก็ผุด
ข้ึนมารองรับเท้าทกุ ย่างกา้ วของเศรษฐี อกี ทัง้ มีเกสรดอกบวั หอมฟุ้งกระจาย โปรยปรายลงใส่ร่างกายของ
ทา่ นเสมอื นหนงึ่ พรา่ งพรมดว้ ยละอองทองคำ� เปลวเพลงิ อนั รอ้ นแรงนน้ั ไมอ่ าจเผาไหมก้ ายของทา่ นเศรษฐี
แมเ้ พยี งปลายเสน้ ขนกไ็ มร่ ะคายเคอื งแตอ่ ยา่ งใด ทา่ นเศรษฐกี า้ วเดนิ ไปบนดอกบวั ยนื ถวายภตั ตาหารอนั
มรี สเลิศลงในบาตรของพระปจั เจกพุทธเจา้ จนสำ� เรจ็

72

ยิง่ เอามันยง่ิ อด ย่งิ สละใหห้ มดมนั ยง่ิ ได้

ความแตกฉานในทางพุทธศาสนา และความแกรง่ กล้าในวิชาคาถาอาคมทีร่ ำ�่ เรียนมาอยา่ งจรงิ จงั
ตั้งแต่เร่ิมบวชเรียน ท�ำให้หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธเป็นท่ีเคารพศรัทธาของคนท่ัวไป และท่านได้เริ่มสร้าง
ตระกรุดโทน และตระกรุดทองค�ำ ฝังใต้ท้องแขนให้แก่ผู้มาขอ เมื่อท่านบวชเรียนได้เพียง ๗ พรรษา
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ดังที่ท่านกล่าวเสมอว่า “ใครมาขอกูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน” ซึ่งมีผู้มาขอ
ความชว่ ยเหลอื ในดา้ นต่าง ๆ ทา่ นก็เมตตาใหค้ วามชว่ ยเหลือมาโดยตลอด โดยเฉพาะในการบรจิ าคปจั จยั
สร้างสาธารณประโยชน์ตา่ ง ๆ ตามค�ำบอกเลา่ ของทา่ นว่า
“ทกุ วนั นก้ี มู เี งนิ เพราะพวกมงึ ชว่ ยเหลอื พวกมงึ บรจิ าคกนั เปน็ ลา้ น ๆ กกู ไ็ ปใหค้ นทม่ี นั ลำ� บาก
แต่ถ้ากูเหน็ แก่ได้เก็บเอาไวค้ นเดียว ใครจะมาบริจาคใหก้ อู ีก เพราะใหไ้ ปไมไ่ ปเผ่อื แผ่กบั คนทุกขย์ าก
ยิง่ เอามนั ยิ่งอด ย่ิงสละใหห้ มดมนั ย่ิงได”้ 3
“...มีคนมาขอกด็ แี ลว้ ทำ� ให้เราได้สรา้ งบารมี ถ้าไม่มีคนขอมาหรอื คนมาขอ เราจะใหท้ านใคร
ได้ สร้างโบสถ์สร้างวิหารไม่ยากเท่าสร้างบารมี คนมาขอน้ันดีกับเรา ถ้าไม่มาขอเราแย่ เราจะไม่ได้
สรา้ งบารม”ี
เม่ือมีคนถามวา่ “หลวงพอ่ ไม่กลัวถูกหลอกหรอื ”
ท่านบอกว่า “กูไมก่ ลวั รวู้ า่ หลอกกูให้ ให้ท้งั รวู้ ่ากถู กู หลอก คอื การท�ำใจ ท�ำบารมี ทกุ วนั นี้ถา้
กูไปปลุกเสกที่วัดไหน ๆ ก็ไม่รับปัจจัยท่ีวัดนั้น ๆ ถวายกู ใครมานิมนต์กูกูก็ดีใจ กูจะได้บริจาค
กูบริจาคให้วัดละหม่ืนบาททุกคร้ัง กูจะสร้างความดี สร้างบารมีทานไปเรื่อย ๆ เงินกูไม่หมด กูจะ
ให้ไปอย่างนี้เร่ือย ๆ จนกว่ากูจะตาย กูตายกูก็ยังมีให้ ไม่เช่ือมึงคอยดูไปก็แล้วกันลูกหลานเอ๊ย”4
เม่ือมีคนถามว่า “หลวงพอ่ เอาเงนิ ไปสรา้ งสาธารณกุศลตา่ ง ๆ ไม่เสยี ดายบา้ งหรอื ”
หลวงพ่อตอบว่า “ใครบอกว่าเป็นเงินของกู มันเป็นของพวกมึง ของชาวบ้านเอามาฝากกูไว้
ให้ช่วยท�ำบุญตอ่ ๆ กนั ไป”5
และถามต่อไปว่า “หลวงพ่อบรจิ าคเงินจ�ำนวนมากมาย ไม่คิดเสียดายบา้ งหรอื ”
หลวงพ่อคูณรีบตอบอย่างรวดเร็วว่า “กูใช้เงินเนี่ย กูใช้อย่างทารุณ ใช้อย่างอ่ืนมีเมตตา
แต่ใช้เงินกูไม่มีเมตตาเลย ไม่มีบันยะบันยัง เงินมาเป็นนายกูไม่ได้ดอก ต้องเป็นทาสกู ต้องอยู่ใต้
บังคบั บัญชากู”6

3-6 วันชนะ(๒๕๕๒) ,กมู แี ตธ่ รรมะ กรุงเทพมหานคร ไพลนิ บ๊คุ เนต็ จ�ำกดั . หนา้ ๓๑, ๘๘, ๑๐๒, ๑๒๖

73

การท�ำบุญคร้ังหน่ึงที่หลวงพ่อคูณกล่าวว่า “กูรู้สึกดีใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ...” คือการที่ได้
ทูลเกล้าถวายเงินจ�ำนวน ๗๓ ล้านบาทแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๙ ในคราวเสด็จ
พระราชด�ำเนินมาทรงประกอบพิธีบรรจุ และอัญเชิญพระบรมสารรี กิ ธาตขุ ึน้ ประดษิ ฐาน ณ บุษบกเหนอื
พระอุโบสถ วัดบา้ นไร่ ในวันพธุ ท่ี ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังคำ� กลา่ วของหลวงพอ่ คณู วา่ “กูรู้สึกดีใจ
หาทเ่ี ปรยี บไมไ่ ด้ บญุ ทานอนื่ ทำ� มามาก แตท่ ำ� บญุ กบั พระเจา้ อยหู่ วั ฯ ยงั ไมไ่ ดท้ ำ� ทำ� บญุ กบั ทา่ นยงิ่ ใหญ่
ทลู เกลา้ ฯ ถวาย ๗๒ ลา้ นบาท ภมู ใิ จมหาศาล เงนิ ทลี่ กู หลานบรจิ าคทลี่ ะเลก็ ทลี ะนอ้ ยสะสมรวมไวเ้ พอ่ื
ทูลเกล้าฯ ถวาย พ่นี อ้ งจะไดร้ ่วมกนั รับอานสิ งส์ดว้ ย”7 และในช่วงปลายของชีวิต หลวงพอ่ คูณก็ได้ตงั้ ใจ
อย่างแน่วแน่ในการบริจาคร่างเพ่ือให้เป็นครูใหญ่แก่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ดงั ปรากฏขอ้ ความบางตอนจากคำ� สงั่ เสยี ของหลวงพอ่ คณู วา่ “...กมู าคดิ ไดว้ า่ อยาก
จะสรา้ งบารมดี ว้ ยการบรจิ าคศพ ดกี วา่ เอาไปเผาทง้ิ ใหเ้ ขาเอาไปเปน็ ทาน ไดเ้ ปน็ ครเู ขา พวกลกู หลาน
เมอ่ื ถงึ เวลาทกี่ ูหมดลมหายใจแล้ว พวกมงึ ก็อยา่ ไดห้ นว่ งเหน่ยี ว และให้เขาไปเถอะ เพราะมนั จะเสยี
เจตนาของกู ขอใหอ้ นโุ มทนากบั ก.ู ..”

7 วนั ชนะ(๒๕๕๒) ,กมู ีแต่ธรรมะ กรงุ เทพมหานคร ไพลินบุ๊คเนต็ จำ� กดั . หนา้ ๙๓

74

หีบบรรจุสรรี สงั ขารพระเทพวทิ ยาคม
(คณู ปริสุทโฺ ธ)

การจัดสร้างหีบบรรจุสรีรสังขารพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) สร้างด้วยไม้โลงเลง
ซงึ่ เปน็ ไมเ้ นอื้ แขง็ มกี ลน่ิ หอม เปน็ ไมท้ เี่ กดิ ในพนื้ ทภี่ เู ขาสงู มมี ากในเขตสาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชน
ลาว ไม้ชุดน้ีได้มาต้ังแต่ในปี ๒๕๕๖ หีบน้ีช่างชาวเวียดนามซ่ึงอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาวเป็นผปู้ ระกอบขนึ้ รูป
หีบมีลักษณะคล้ายหีบทรงธรรม คือ ส่วนฝาจะมีลักษณะโค้งนูนขึ้นเล็กน้อย ฝาเข้าล้ินโดยใช้
ไม้แผ่นเดียวจากไม้ต้นเดียว จ�ำนวน ๔ แผ่น แผ่นพ้ืนล่างกว้าง ๗๐ เซนติเมตร ยาว ๒๐๐ เซนติเมตร
เม่ือประกอบเข้ารูปแล้ว หีบจะมีขนาดกว้าง ๗๗ เซนติเมตร ยาว ๒๐๗ เซนติเมตร ความสูงรวมฝา
๗๗ เซนติเมตร ภายในหีบเป็นเน้ือไม้ขัดเรียบ ไม่ลงสี ไม่ลงลาย เพื่อรักษาความหอมของเนื้อไม้เอาไว้
ดา้ นนอกลงสพี นื้ ทบึ ลงลายทองคำ� (ลายรดนำ้� ปดิ ทองคำ� ) ลวดลายเปน็ การผสมผสานศลิ ปะของภาคอสี าน
และภาคกลาง

75

ฝาหีบ ๓ ช้ิน ช้ินบนสุดประกอบด้วยรูปธรรมจักรและเทพเทวดา อันมีความหมายถึงธรรม
อันประเสริฐและเทพวิทยาคมตามราชทินนามพระราชทาน ชิ้นท่ี ๒ และชิ้นท่ี ๓ ประกอบด้วย
รูปนกในเทพนิยาย เครือเถาดอกไม้ และพรรณพฤกษา ตามที่ผู้อุปัฏฐากพระเทพวิทยาคมในปัจฉิมวัย
ไดเ้ ลา่ วา่ ทา่ นชื่นชอบกบั การดนู กและพรรณไมต้ า่ ง ๆ นานา
ตัวหีบเขียนลวดลายชีวประวัติตอนส�ำคัญของพระเทพวิทยาคม อาทิ ชาติก�ำเนิด การศึกษา
เพลงโคราช การตัดสินใจออกอุปสมบท ธุดงควัตรพบธรรมอันประเสริฐ เหตุการณ์ตึกถล่มที่มีคนเช่ือว่า
รอดชวี ติ ไดด้ ว้ ยบญุ บารมพี ระเทพวทิ ยาคม ปรากฏเปน็ ทเี่ ลอื่ งลอื ทง้ั ในประเทศและตา่ งประเทศ การสรา้ ง
บญุ บารมมี หาทานในกจิ สาธารณประโยชน์ การโปรดสรรพสตั ว์ และการสละรา่ งกายเปน็ ทานบารมใี นการ
ศกึ ษา เป็นต้น
ชว่ งล่างหบี ประกอบด้วยลายรดน�้ำปิดทอง มฐี านลดหล่นั รองรบั ตวั หบี เสมอปากหบี
หีบบรรจุสรีระสังขารพระเทพวิทยาคมนี้ ทีมงานและผู้เกี่ยวข้องได้จัดสร้างอย่างประณีตบรรจง
ให้มีความมั่นคง แข็งแรง และงดงาม ด้วยความเคารพศรัทธาย่ิง ในความเป็นสมณะท่ีปฏิบัติดี
ปฏิบัตชิ อบ บ�ำเพญ็ ทานบารมีอย่างทส่ี ุด และเปน็ ผใู้ ห้ท่ลี ะแล้วซึ่งกิเลสท้งั ปวง เพือ่ ถวายเป็นสกั การบชู า
แด่พระเทพวทิ ยาคม

76

77

เมรุลอย นกหสั ดลี งิ ค์

ฌาปนสถานชวั่ คราววดั หนองแวงพระอารามหลวง

เมรุลอย เป็นเมรุที่สร้างข้ึนให้เหมาะสมกับฐานะของผู้ล่วงลับที่มักจะเป็นบุคคลส�ำคัญ
ซึ่งการฌาปนกิจในวัดอาจมีพ้ืนท่ีคับแคบ จึงจ�ำเป็นต้องสร้างเมรุข้ึนใหม่ในที่กว้างขวาง เพื่อรองรับ
ผูม้ าร่วมงานให้เหมาะสม จงึ เป็นเมรทุ เ่ี คลอื่ นย้ายได้ เป็นงานช่างฝีมือท่ปี ระณีตงดงาม มรี ปู ลกั ษณ์ตา่ ง ๆ
กันไป ซ่ึงส�ำหรับงานพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่เป็นกรณีพิเศษ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ในวันที่
๒๙ มกราคม ๒๕๖๒ นั้น ได้จดั ทำ� เป็นเมรลุ อยนกหสั ดลี งิ ค์
เมรุลอยนกหัสดีลิงค์ เป็นการสร้างเมรุส�ำหรับศพเจ้านาย หรือพระสงฆ์ท่ีมีสมณศักดิ์ชั้นสูง
ตามประเพณใี นวัฒนธรรมล้านชา้ งและลา้ นนา ซ่งึ เช่ือมโยงมาถึงอีสาน เปน็ ประเพณที เี่ กิดข้ึนตามต�ำนาน
นกหสั ดลี งิ ค์ หรอื นกกระไดลิงค์ ซง่ึ เป็นสัตว์หิมพานต์ ตวั เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนหวั เป็นช้าง มงี วง มีงา
มีก�ำลังมหาศาล ชอบกินสัตว์เป็นอาหาร มีเร่ืองราวเก่ียวกับเมืองตักกะศิลาเชียงรุ้งแสนหวีมหานคร
เมอ่ื กษตั ริย์แหง่ นครนนั้ สวรรคต พระมหาเทวไี ด้อญั เชญิ พระศพออกไปฌาปนกจิ ท่ีทงุ่ หลวง ในขณะน้นั มี
นกหสั ดีลิงคบ์ ินมาจากป่าหิมพานตโ์ ฉบลงมาเอาพระศพไป เม่อื พระมหาเทวีเห็นเชน่ นนั้ จึงประกาศใหห้ า
คนมาต่อสู้เพ่ือเอาพระศพคืนมา นางสีดา ธิดาแห่งพระยาตักกะศิลาจึงอาสาเข้าต่อสู้กับนกหัสดีลิงค์
โดยใชศ้ รอาบยาพษิ ยงิ นกหสั ดลี งิ คถ์ งึ แกค่ วามตาย ตกลงมาพรอ้ มพระศพ พระมหาเทวจี งึ โปรดใหช้ า่ งทำ�
เมรุ คือ หอแก้วบนหลังนกหัสดีลิงค์ แล้วถวายพระเพลิงไปพร้อมกัน จากนั้นมาจึงได้ถือเอาประเพณี
ท�ำนกหัสดีลิงค์ประกอบเมรุของชนชั้นเจ้านาย ตามความเช่ือที่ว่านกหัสดีลิงค์สามารถน�ำดวงวิญญาณ
ของผู้ตายไปส่สู วรรคไ์ ด้

78

การสรา้ งเมรลุ อยสำ� หรบั พระราชทานเพลงิ ศพพระเทพวทิ ยาคม (หลวงพอ่ คณู ปรสิ ทุ โฺ ธ) เปน็ กรณี
พเิ ศษในครง้ั นี้ ไดจ้ ดั ทำ� เปน็ เมรลุ อยนกหสั ดลี งิ ค์ ซง่ึ ไดม้ กี ารจดั พธิ ี “เบกิ ฟา้ ขอขมาแถนไท”้ ตามประเพณี
เมอ่ื เดอื นเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยจะไดส้ รา้ งเมรลุ อยเปน็ รปู นกหสั ดลี งิ คเ์ ทนิ บษุ บกสขี าว ซงึ่ เปน็ จนิ ตนาการ
ถงึ สวรรค์ ตัง้ อยู่บนฐาน ๘ เหลี่ยม สงู ๒๒.๖ เมตร กวา้ ง ๑๖ เมตร ประดบั ดว้ ยสัตว์หิมพานต์จำ� ลอง
ประกอบดว้ ยนาคทมี่ คี วามยาว ๕ เมตร ๑๒ ตน และรายลอ้ มดว้ ยสตั วห์ มิ พานต์ตา่ ง ๆ ๓๒ ตน จำ� ลอง
บรรยากาศเขาพระสุเมรุตามคติในพระพุทธศาสนา มีรูปทรงและลวดลายเฉพาะแสดงถึงอัตลักษณ์
วัฒนธรรมอีสาน งานศิลปะช้ินนี้ก�ำหนดเป็นสขี าวท้งั หมด นอกจากในส่วนยอดสุดของบุษบกทจ่ี ะปิดดว้ ย
ทองค�ำเปลว ภายใต้แนวคิดท่ีส่ือถึงความเรียบง่าย สมเกียรติ และสง่างาม เป็นความสะอาด บริสุทธ์ิ
ในการส่งสักการหลวงพ่อคูณไปสู่สวรรค์ ตามเจตนารมณ์ของหลวงพอ่ คณู ทีใ่ ห้จัดงานอยา่ งเรยี บง่าย
ในการปิดทองค�ำเปลวยอดบุษบกและประดับขนนกหัสดีลิงค์น้ัน คณะกรรมการจัดพระราชพิธี
พระราชทานเพลงิ ศพครูใหญเ่ ปน็ กรณีพิเศษ หลวงพ่อคูณ ปรสิ ุทโฺ ธ เหน็ ควรใหศ้ ษิ ยานศุ ษิ ยไ์ ด้มสี ว่ นรว่ ม
ในการปดิ ทองคำ� เปลวยอดบษุ บกและประดบั ตกแตง่ ขนนกหสั ดลี งิ ค์ เพอื่ นอ้ มรำ� ลกึ ถงึ พระสงฆผ์ เู้ ปย่ี มลน้
ด้วยเมตตาบารมี เสริมสิริมงคลแก่ชีวิต โดยได้จัดเตรียมอุปกรณ์อย่างเพียงพอในงานสีฐานเฟสติวัล
บญุ สมมาบชู านำ้� ประจำ� ปี ๒๕๖๑ ในระหวา่ งวนั ที่ ๒๐ - ๒๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๑ ณ รมิ บงึ สฐี านฝง่ั ตะวนั ตก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเมื่อเมรุลอยนกหัสดีลิงค์เสร็จสมบูรณ์ จะได้เคล่ือนย้ายไปตั้งไว้
ณ ฌาปนสถานช่ัวคราววดั หนองแวง พื้นท่ี ๑๕ ไร่ ด้านหลังพทุ ธมณฑลอีสาน จังหวดั ขอนแกน่ สถานท่ี
ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) หลังจากเสร็จพิธี
สถานท่ีนี้จะเป็นสถานท่ีศักด์ิสิทธ์ิ ซ่ึงจะได้สร้างอนุสรณ์สถานครอบไว้ โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรม
เปน็ รปู แบบประยกุ ต์ เรยี บงา่ ย สมถะ สนั โดษ ใชส้ ขี าวเปน็ สญั ลกั ษณข์ องความบรสิ ทุ ธ์ิ บรรยากาศภายใน
ใช้แสงธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์แห่งนิพพาน เพ่ือเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อคูณ
ผู้สร้างคุณูปการอเนกอนนั ตแ์ ก่ประเทศชาตมิ ากเกินกวา่ จะคณานบั ได้

79

80

81

อนสุ รณส์ ถานพระเทพวทิ ยาคม

(หลวงพอ่ คณู ปรสิ ทุ ฺโธ)

อนุสรณ์สถานในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
เป็นกรณีพิเศษ ใช้เป็นสถานท่ีรวบรวมชีวประวัติ เพื่อเผยแพร่ให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและ
ระลึกถึงคุณปู การของทา่ น และใชเ้ ป็นสถานทสี่ ำ� หรับประกอบพธิ กี รรมอน่ื ๆ ทีเ่ ก่ยี วข้อง อนสุ รณส์ ถานนี้
ออกแบบโดย รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองค�ำสมุทร ผศ.เขมโชต ภู่ประเสริฐ ผศ.รท.อรรถ ชมาฤกษ์ และคณะ
ผูช้ ว่ ยออกแบบจากคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่
อาคารอนุสรณ์สถานพระเทพวิทยาคม มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กความสูง ๓๒
เมตร บนฐาน ๘ เหลี่ยมดา้ นเท่า ยาวดา้ นละ ๙ เมตร มีซุ้มจัตรุ มุข ๔ ดา้ น ศาลารายจ�ำนวน ๓ หลงั
โดยรอบ มพี นื้ ทใ่ี ชส้ อยรวม ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ตง้ั อยู่ ณ พทุ ธมณฑลอสี าน อำ� เภอเมอื งขอนแกน่ จงั หวดั
ขอนแก่น มีลักษณะรูปแบบก่ึงศาสนาคารประยุกต์ จากรูปแบบของพระธาตุในกลุ่มวัฒนธรรมไต-ลาว
ทรงบัวเหลี่ยม ที่เป็นการจ�ำลองลักษณะของเขาพระสุเมรุตามคติไตรภูมิโดยมีการประยุกต์รูปแบบให้มี
ความร่วมสมัยมากข้ึน ท้ังยังลดทอนการตกแต่งประดับประดาให้เกิดความเรียบง่าย สมถะ และสันโดษ
โดยการใช้สีขาวเป็นสีหลักของอาคาร ผนวกเข้ากับการใช้แสงธรรมชาติภายในอาคารเพื่อส่ือถึงนิพพาน

82

และการหลดุ พน้ อีกทั้งเพ่ือให้เขา้ กบั เทคโนโลยกี ารกอ่ สรา้ งในปจั จบุ ันท่ผี สมผสานวสั ดสุ มยั ใหมแ่ ละงาน
ระบบอาคารทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพ โดยมแี นวความคดิ ในการออกแบบอาคารใหส้ อดคลอ้ งกบั หลกั การออกแบบ
‘สถาปัตยกรรมเพือ่ ความยง่ั ยืน’ (sustainable architecture)

แนวความคิดในการออกแบบอาคาร

ในการออกแบบสถาปตั ยกรรมเพอื่ ความยง่ั ยนื ซง่ึ เปน็ แนวคดิ ทไ่ี ดร้ บั การยอมรบั วา่ มกี ารพจิ ารณา
โดยแยบคายถงึ ผลกระทบตอ่ สถาปตั ยกรรมตอ่ สงิ่ แวดลอ้ ม มกี ารสง่ เสรมิ คณุ ภาพชวี ติ ของผใู้ ชอ้ าคาร และ
ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แนวความคิดน้ีได้น�ำมาใช้ในกระบวนการออกแบบอนุสรณ์สถาน
พระเทพวิทยาคมโดยมสี าระส�ำคัญดงั ต่อไปน้ี
การพจิ ารณาถงึ การออกแบบสถาปตั ยกรรมเพอื่ ประสทิ ธภิ าพพลงั งาน โดยใชก้ ารออกแบบอาคาร
ท่ีมีลกั ษณะชอ่ งเปิดท่ีไมม่ ากจนเกินไป เพ่ือลดความรอ้ นท่ีจะถา่ ยเทเข้าสอู่ าคาร การเลอื กใชส้ ีภายนอกท่ี
เป็นสีขาวเพื่อลดการดูดกลืนความร้อนในวัสดุเปลือกอาคาร เลือกใช้วัสดุภายในเป็นสีขาว
เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพของแสงธรรมชาติท่ีน�ำมาใช้ในอาคารเวลากลางวัน และสามารถลดพลังงานไฟฟ้า
ทต่ี อ้ งใชใ้ นระบบแสงประดษิ ฐใ์ นเวลากลางคนื ลงได้ นอกจากนใ้ี นการออกแบบอาคารยงั เลอื กใชผ้ งั อาคาร
รูปแปดเหล่ียมเพื่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ มีพื้นที่ใช้สอยภายในมากแต่มีพ้ืนท่ีกรอบอาคารน้อย
ลดความรอ้ นและความชนื้ จากภายนอกอาคารที่จะถ่ายเทเขา้ มาในอาคาร

83

การออกแบบอาณาบรเิ วณทลี่ ดพนื้ ทใ่ี นการสะสมความรอ้ น โดยใชว้ สั ดทุ ล่ี ดการชะผวิ หนา้ ดนิ เพมิ่
การดูดซึมน้�ำ การใช้พืชพรรณทางธรรมชาติเพื่อการบังแดดและเพ่ิมการระเหยของน้�ำ ท�ำให้อุณหภูมิ
ภายนอกอาคารลดลงเพ่ือลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (heat island effect) ลดภาระการ
ทำ� ความเยน็ ของเครือ่ งปรับอากาศ และเพ่มิ สภาวะสบายทางด้านอุณหภาพให้แก่ผู้ใช้งานอาคาร
การเลือกใช้วัสดุอาคารภายนอกท่ีเน้นความม่ันคงแข็งแรง การบ�ำรุงรักษาสามารถท�ำได้ง่าย
วัสดุภายในเน้นการใช้วัสดุท้องถิ่นเพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่ง เลือกใช้วัสดุโปร่งแสงคือกระจก
ท่ียอมให้แสงสว่างที่ต้องการเข้ามาได้มากแต่มีความร้อนผ่านเข้ามาน้อย โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้าง
แบบเสาและคานคอนกรตี เสรมิ เหลก็ ท่ีมีความคงทนถาวร

84

การตกแตง่ ภายในอาคาร ใชแ้ นวความคดิ ในการออกแบบคอื มคี วามเรยี บงา่ ย เนน้ ใหเ้ หน็ ถงึ สจั จะ
แหง่ โครงสรา้ งอาคาร เลอื กใชส้ ภี ายในเปน็ สขี าวทงั้ หมดเพอ่ื สอ่ื ถงึ แนวความคดิ ในการออกแบบ และทำ� ให้
วัตถุจัดแสดง ได้แก่ เคร่ืองอัฐบริขารต่าง ๆ มีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้น การใช้แสงภายในเน้นวัตถุ
จดั แสดงเปน็ ส�ำคญั ส่วนการให้แสงโดยทว่ั ไปนัน้ เป็นการใหแ้ สงแบบสะท้อน (indirect lighting) เพอ่ื ให้
เกิดความรู้สึกสงบและสบายตาในการมองเห็น ส่วนการจัดพื้นท่ีภายในสามารถแบ่งออกได้เป็นพื้นที่
ปฏิบัติธรรม พ้ืนที่สัญจร พื้นที่ชมนิทรรศการ และพื้นท่ีส�ำหรับการจัดวางวัตถุแสดง ซ่ึงการออกแบบ
พจิ ารณาจากพฤติกรรมการใชง้ านของผูใ้ ช้อาคารเปน็ ปจั จยั ส�ำคญั

85

การเลือกใช้ระบบประกอบอาคาร เน้นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง
ทม่ี กี ารออกแบบรว่ มกบั การใชแ้ สงธรรมชาติ เปน็ ระบบทใ่ี หป้ รมิ าณแสงสวา่ งมากแตใ่ ชพ้ ลงั งานไฟฟา้ นอ้ ย
และเลือกใชร้ ะบบปรับอากาศที่มีคา่ ประสทิ ธิภาพพลังงานสงู เสียงรบกวนพนื้ หลงั (background noise)
นอ้ ย
การออกแบบเพอื่ ทุกคน (universal or friendly design) เนือ่ งจากอาคารตอ้ งสามารถใชง้ านได้
โดยสะดวก แม้จะเป็นผ้ปู ่วย คนชรา และผ้พู ิการ ดังน้ันในการออกแบบอาคารจึงตอ้ งมกี ารพิจารณาเรื่อง
การเปลี่ยนแปลงค่าระดับ ขนาดของพื้นที่ใช้สอย การใช้ระบบประตูอัตโนมัติ รวมไปถึงป้ายและระบบ
สัญญาณตา่ ง ๆ ที่ใชใ้ นอาคาร

ขัน้ ตอนการพัฒนาแบบทางสถาปัตยกรรม

ในการออกแบบอนุสรณ์สถานพระเทพวิทยาคมน้ัน ส่วนท่ีเป็นสาระส�ำคัญคือส่วนท่ีเก่ียวข้องกับ
การเลือกรูปแบบและรูปทรงของอาคาร ซึ่งรูปแบบท่ีมีความเป็นไปได้ในการออกแบบได้แก่ รูปแบบ
ประเพณี (๑) รูปแบบกงึ่ อาคาร (๒) และรูปแบบอาคารรว่ มสมยั (๓) ดังภาพทแี่ สดงดงั ตอ่ ไปนี้

86

ในการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาลักษณะอาคาร ท่ีประชุมเห็นควรให้อนุสรณ์สถาน
พระเทพวิทยาคม มีลักษณะท้ังสามประการอันได้แก่ (๑) ต้องมีรูปแบบท่ีเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
หรือก่ึงประเพณี (๒) สามารถใช้พื้นท่ีภายในเพ่ือเป็นอนุสรณ์สถานเก็บเคร่ืองอัฐบริขารของท่าน
พระเทพวิทยาคมเพ่ือการศึกษา และ (๓) มีลักษณะร่วมสมัย ซึ่งทางคณะผู้ออกแบบได้ปรับปรุงจนได้
รปู แบบอาคารท่ีผสมผสานแนวคดิ ท้ังสามรว่ มกนั อย่างแยบคาย

87

อนุสรณ์สถานพระเทพวิทยาคมจึงเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานรูปแบบประเพณีประยุกต์
ผ่านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ท่ีน�ำมาใช้ในกระบวนการออกแบบ โดยมีเป้าหมายหลักเพ่ือการเป็น
สถาปัตยกรรมแห่งความยั่งยืน ควบคู่ไปกับเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระเทพวิทยาคม เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง
ได้ศกึ ษาและเรียนรู้ตอ่ ไป

88

ปจั ฉมิ บท

อาจารยิ านสุ รณ ์ หลวงพอ่ คูณ ท่านเกอื้ กลู พุทธศาสนป์ ระกาศศลี

“ใครขอกูให”� เปน็ อาจิณ “ไมเ่ ลือกยากดีมจี น” ส้ินทกุ หม่ชู น

ปรสิ ทุ ฺโธ “ละชวั่ ท�ำด”ี เปน็ ทีต่ ้ัง “มศี ลี ธรรมประจ�ำใจ” ในทกุ หน

“บญุ มจี รงิ บาปมีจรงิ ” อยู่กบั ตน “สอนตนก่อนสอนคน” จงึ เหน็ จรงิ

“ยิ่งเอามันย่ิงอด ย่ิงสละใหห� มดมนั ย่ิงได�” ท่านจงึ ให้สาธารณะหลากหลายยงิ่

วัด โรงเรียน โรงพยาบาลได้พ่งึ พิง หนนุ ทกุ ส่ิงดว้ ยเมตตาพาเพียงพอ

จวบมรณะ ละสงั ขารตงั้ มานมนั่ อุทศิ สรรี ะรา่ งน้นั ให้โรงหมอ

เพอ่ื เปน็ ร่างครูใหญ่ให้ นศพ. เพอ่ื เกดิ กอ่ ความรดู้ ูแลคน

พระเทพวิทยาคม อุดมเวท เคยเคาะเกศใหพ้ ระเครอื่ งลือเล่ืองหน

เคยนั่งยอง เคยพดู พืน้ กบั ทุกคน นอ้ มกมลกม้ เศียรกราบสง่ สกั การ

รองศาสตราจารย์สุนยี ์ เลยี่ วเพญ็ วงษ์
(ประพนั ธ)์

89

บรรณานุกรม

นยั นา แยม้ สาขา และคณะฯ. (๒๕๔๓). หลวงพอ่ คูณ ปรสิ ทุ โฺ ธ. พิมพ์ครั้งท่ี ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรน้ิ
ตงิ้ แอนดพ์ บั ลชิ ชิ่ง จำ� กดั .

ประวตั ิหลวงพอ่ คณู ปรสิ ุทโฺ ธ วดั บา้ นไร่ พระเกจิช่ือดงั ภาคอีสาน. จาก https://www.kapook.com
พระเทพวทิ ยาคม (คณู ปรสิ ทุ โฺ ธ).วกิ พิ เี ดยี สารานกุ รมเสร,ี จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พระเทพ
วทิ ยาคม_(คูณ_ปรสิ ทุ ฺโธ)
วันชนะ. (๒๕๕๒). กูมีแตธ่ รรมะ. กรงุ เทพมหานคร: ไพลินบุค๊ เนต็ จ�ำกดั .
คน้ เมอ่ื ๒๔ ธนั วาคม ๒๕๖๑, จาก https://www.thairat.co.th
คน้ เมือ่ ๒๔ ธนั วาคม ๒๕๖๑, จาก https://www.thaipost.net
ค้นเมอ่ื ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑, จาก https://www.matichon.co.th
ค้นเมือ่ ๒๔ ธนั วาคม ๒๕๖๑, จาก https://www.dailynews.co.th
ค้นเมอ่ื ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑, จาก https://cad.kku.ac.th

90

คณะอนกุ รรมการฝา่ ยจดั ท�ำหนังสือที่ระลึกงานครใู หญ่

ทป่ี รกึ ษา
๑. พระครูศรปี ริยตั ิวิสทุ ธิ์ (โกวิท) วัดด่านใน รองเจ้าคณะจงั หวัดนครราชสีมา
๒. นายสุนทร จติ ตอ�ำนวยวฒั นา ๓. นางสาวจู ปริสทุ ธชิ าติ
๔. นายอนนั ต์ พลู สวาย ๕. นายธวัช เรอื งหร่าย
๖. นายนรากร มหธั นนั ท์ ๗. นางสาววชั รี ไทยพทิ ักษ์กุล
๘. นายสมบรู ณ์ โสตถิอนันต์ ๙. นางวภิ าพรรณ โสตถิอนนั ต์

ประธานอนุกรรมการ รองศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวริ ยิ ะกลุ
(คณบดคี ณะแพทยศาสตร์)
รองประธานอนุกรรมการ ศาสตราจารยส์ มบรู ณ์ เทยี นทอง
อนกุ รรมการและเลขานกุ าร นายชุมพร พารา (ผูอ้ �ำนวยการกองสอ่ื สารองคก์ ร)
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นางสาววลั ยา ภงู าม

อนุกรรมการ ๒๑. รองศาสตราจารย์วไิ ลวรรณ หมอ้ ทอง
๒๒. รองศาสตราจารยพ์ พิ ฒั น์พงษ์ แคนลา
๑. รองศาสตราจารยว์ รวุฒิ วรพทุ ธพร ๒๓. นางสาวจุฬาลกั ษณ์ เครอื เพียกุล
๒. รองศาสตราจารยจ์ ริยา อำ� คา เวลบาท ๒๔. นางสาวปรยิ ากร เกตุภูเขียว
๓. ผชู้ ่วยศาสตราจารยย์ รรยง ทมุ แสน ๒๕. นางสาวภรู ิชญา รงั สี
๔. ผ้ชู ่วยศาสตราจารยป์ ทั มา อมาตยคง ๒๖. นายชูชนะ อคุ หปัญญากลุ
๕. ผูช้ ่วยศาสตราจารย์นวพร เตชาทววี รรณ ๒๗. นายอภสิ ิทธิ์ อินทรวงษ์โชติ
๖. ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์วนัสนันท์ แปน้ นางรอง ๒๘. นายพรี พศั ศรนี ลิ
๗. นายวนั ชัย กาญจนสรุ ตั น์ ๒๙. นายธรี ภทั ร เหลืองธนะผล
๘. นางบษุ กร อุสสา่ ห์กิจ ๓๐. นายวฒุ ชิ ัย รกั ญาติ
๙. นางสาวพทั ธ์พชิ ญา พชิ ญวณิชย์ ๓๑. นางสาวศศินา โคตรสมบตั ิ
๑๐. นางสาวลกั ษกิ า ดาศรี ๓๒. นางสาวชุติมณฑน์ ดลนมิ ติ สกุล
๑๑. นางสาวปณุ ยนุช ฉัตรเสถียรศักดิ์ ๓๓. นางสาวสริ กิ ร กจิ กมลเศวต
๑๒. นายณฐั ชนนทศ์ รีสนาย ๓๔. นางสาวธันยพร กติ สิ าธร
๑๓. นายทวธุ รัตนทพิ ย์ ๓๕. นางสาววรญั ญา ทับทมิ โกมลกุล
๑๔. นางวลิ ัยพุด ชินคำ� หาญ ๓๖. นางสาวชินมิ า ธนเกษมสุขกลุ
๑๕. นายถิรวฒั น์ กญุ แจทอง ๓๗. นางสาวฐติ กิ านต์ บญุ เจริญ
๑๖. นางสาวฐิตวิ ลั ค์ุ บญุ จนั ทร์ ๓๘. นายกนั ตพงศ์ ไพบูลย์ศิริจติ
๑๗. นางสาวพรนภา พันธ์ภกั ดีวงษ์ ๓๙. นางสาวนงนภสั ม์ วชั รคปุ ต์
๑๘. นางสาวสุธมิ นต์ เมธาเพม่ิ สขุ ๔๐. นางสาวกานดา รงุ่ รังสี
๑๙. รองศาสตราจารย์สุนีย์ เลีย่ วเพญ็ วงษ์
๒๐. ผชู้ ่วยศาสตราจารย์อนงค์ รงุ่ แจ้ง

91

พระ สถิตแหง่ เน้อื นาบุญ
เทพ อุโฆษสังฆคณุ แซซ่ อ้ ง
วิทยา ประสิทธจิ ุน เจือโลก เลิศแล
คม ค่าควรคิดถ้อง ถ่องแท้ทางธรรม
หลวงพอ่ ก�ำเนิดด้าว ขุนทด
คณู ค่าศกั ดิสิทธพ์ิ จน ์ กล่าวถ้อย
ปร ิ วารพระสุคต สาวก เลิศนอ
สทุ โฺ ธ สดุ กิเลสรอ้ ย สุดส้ินมลทินเฮย
เปรียบรัตนะ เปรยยิ่งแก้ว คือมนุ ี
สงู ค่า วิสทุ ธิ์ดี ผอ่ งแผว้
ของ เกจิบารมี หลวงพอ่ คูณนา
ชาวพทุ ธ ศรทั ธาแล้ว เพริศแพร้วพสิ ิษฐพร
ค�ำสอน ภิกษุผ ู้ ดับขนั ธ์
หลวงพอ่ ประสทิ ธิ์สรรพ์ ศาสตรช์ ้ี
ยงั สถิต ปัจจุบัน ฤาหอ่ น หายแล
เป็นสรณะ ถึงบัดน้ี บดั หนา้ นริ ันดร์เกษม

นศ.พ.ณฐั ภพ ปนี ะกาตาโพธิ ์ (ประพนั ธ)์

ภาพจำ� ลองฌาปนสถานชั่วคราววดั หนองแวงพระอารามหลวง
งานพระราชทานเพลิงศพครใู หญ่เป็นกรณพี ิเศษพระเทพวทิ ยาคม
(หลวงพอ่ คณู ปรสิ ุทโฺ ธ) ณ บรเิ วณดา้ นหลงั พทุ ธมณฑลอสี าน
ต�ำบลศลิ า อำ� เภอเมือง จงั หวัดขอนแกน่


Click to View FlipBook Version