เรือ่ งเหนือสามญั วิสยั : อิทธิปฏหิ าริย - เทวดา
ทศั นะของพระพุทธศาสนา ตอ เร่ืองเหนือสามญั วิสยั
ถาถามวา ในทศั นะของพระพุทธศาสนา อทิ ธปิ าฏหิ าริยก็
ดี เทวดา หรือเทพเจาตางๆ กด็ ี มจี ริงหรอื ไม และถาตอบตาม
หลักฐานในคัมภีรมีพระไตรปฎ กเปนตน โดยถือตามตวั อักษร ก็
ตอ งวา "มี" หลกั ฐานท่ีจะยนื ยันคําตอบน้มี ีอยูมากมายทั่วไปใน
คัมภีร จนไมจ าํ เปนจะตองยกมาอางอิง อยางไรก็ตาม ปญ หา
เกีย่ วกับความมหี รือไมมี และจริงหรือไมจริงของสงิ่ เหลาน้ี เปนสิ่ง
ยากท่จี ะทําใหค นท้ังหลายตกลงยอมรบั คาํ ตอบเปน อยางหนง่ึ อยาง
เดียวกนั ได และหลายทา นมองเห็นโทษของความเชอ่ื ถือในสง่ิ เหลาน้ี
วาทําใหเ กดิ ผลเสียหายมากมายหลายประการ จึงไดมปี ราชญบ าง
ทานพยายามแปลความหมายของสงิ่ เหลา นีใ้ หเ หน็ นยั ท่ลี ึกซง้ึ ลงไป
อยา งนาสนใจ
สาํ หรบั ในที่นี้จะไมข อยงุ เกี่ยวกบั การตีความหรอื แปล
ความหมายใดๆ เลย เพราะเห็นวา ไมม ีความจําเปน แมจ ะถือตรง
ตามตัวอักษรวาส่งิ เหลาน้ีมีและเปน จริงอยางนน้ั พระพุทธศาสนา
ก็มหี ลกั การท่ีไดว างไวแลวอยางเพียงพอที่จะปด กน้ั ผลเสีย ซงึ่ จะ
พึงเกิดขึ้นทัง้ จากการตดิ ของอยกู ับการหาคําตอบวามีหรือไม จริง
๒ เรอื่ งเหนอื สามัญวิสัย
หรอื ไมจ ริง และทั้งจากความเช่อื ถืองมงายในส่ิงเหลา นน้ั พดู อีก
อยางหน่ึงวา มนุษยจํานวนมากมายต้ังแตส มัยโบราณจนถึง
ปจจบุ ัน มีความเช่อื ถือหรือไมก ห็ ว่ันเกรงตอ อาํ นาจผีสางเทวดา สิ่ง
ศกั ดสิ์ ิทธิอ์ ทิ ธปิ าฏหิ าริยตา งๆ พระพทุ ธศาสนากลาทา ใหส งิ่
เหลา น้ันมีจริงเปนจรงิ โดยประกาศอิสรภาพใหแ กมนษุ ยท ามกลาง
ความมีอยขู องสิง่ เหลาน้นั พระพุทธศาสนาไดวางหลักการตางๆ ไว
ท่ีจะทาํ ใหมนุษยไ ดรับแตผลดใี นการเก่ียวของกบั เร่ืองเหนือสามญั
วสิ ัย อยา งนอยก็ใหมผี ลเสียนอยกวาการที่จะมวั ไปวนุ วายอยูก ับ
ปญ หาวา สง่ิ เหลา น้ันมีจริงหรือไม จุดสําคัญในเรอ่ื งน้อี ยทู ี่วา
เขาใจหลักการที่พระพุทธศาสนาวางไวแ ละไดนํามาใชปฏิบตั ิกัน
หรอื ไม
สรุปความเบ้ืองตนในตอนนี้วา พระพทุ ธศาสนาไมสนใจ
กับคาํ ถามวา อทิ ธิปาฏหิ าริยมจี รงิ หรอื ไม เทวดามีจรงิ หรือไม และ
ไมว ุนวาย ไมยอมเสียเวลากบั การพสิ จู นความมจี ริงเปน จริงของส่ิง
เหลา นี้เลย สิง่ ทีพ่ ระพุทธศาสนาสนใจ ก็คอื มนุษยควรมที าทีและ
ควรปฏบิ ตั ิตอส่งิ เหลานนั้ อยา งไร พูดอกี อยา งหนึ่งวา สําหรับ
พระพุทธศาสนา ปญ หาวาผีสางเทวดา อาํ นาจลึกลบั อทิ ธิฤทธ์ิ
ปาฏิหารยิ มีอยูจ ริงหรือไม ไมส าํ คัญเทากับปญหาวา ในกรณีท่ีมอี ยู
จริง สงิ่ เหลาน้ันมีฐานะอยา งไรตอการดาํ รงชวี ติ ของมนุษย และ
อะไรคอื ความสัมพันธอ ันถูกตองระหวางมนุษยกบั ส่ิงเหลานน้ั
อาจมบี างทา นแยง วา ถาไมพ สิ ูจนใหรูแนเสียกอนวามจี ริงหรอื ไม
จะไปรูฐานะและวธิ ีปฏิบัติตอส่งิ เหลาน้ันไดอ ยางไร กอนจะตอบ
อทิ ธิปาฏิหาริย- เทวดา ๓
ควรแยงกลบั เสยี กอนวา เพราะมวั เชอื่ ถือและยดึ ม่ันอยูวา จะตอ ง
พิสจู นเ สียกอนนี้แหละจงึ ไดเกิดขอผดิ พลาดในทางปฏิบัตเิ ก่ยี วกบั
เรือ่ งเหลาน้ีข้ึนแลว มากมาย โดยท่จี นกระทง่ั บัดน้ี ก็ยงั พสิ ูจนกันไม
เสร็จ คาํ ตอบในเร่ืองนแ้ี ยกออกไดเปน เหตุผล ๒ ขอ ใหญ
ประการแรก เรื่องเหนอื สามัญวิสยั เหลาน้ี ทั้งเร่ืองอทิ ธิฤทธิ์
ปาฏิหาริยก ็ดี เทพไทเทวาก็ดี จัดเขา ในประเภทส่งิ ลึกลับทีพ่ ดู
อยา งรวบรดั ตามความหมายแบบชาวบานวา พิสูจนไ มไ ด คือเอา
มาแสดงใหเหน็ จริงจนตองยอมรบั โดยเด็ดขาดไมได ทั้งในทางบวก
และในทางลบ หมายความวา ฝา ยท่เี ชื่อกไ็ มอาจพิสูจนจนคน
ทว่ั ไปเหน็ จะแจงจนหมดสงสัยตอ งยอมรับกันทัว่ ท้งั หมด ฝา ยท่ไี ม
เชือ่ กไ็ มสามารถพสิ จู นใหเหน็ ชดั แจงเด็ดขาดลงไปจนไมตองเหลอื
เยอ่ื ใยไวใ นใจของคนอื่นๆ วายงั อาจจะมี ทัง้ สองฝา ยอยูเพยี งข้ัน
ความเชื่อ คือเชอ่ื วามี หรอื เชือ่ วาไมม ี หรอื ไมเชอ่ื วา มี (ถึงวาไดเ หน็
จรงิ กไ็ มสามารถแสดงใหคนอน่ื เห็นจรงิ อยา งนั้นดวย) ยงิ่ กวา น้ัน
ในสภาพทพ่ี ิสูจนอ ยางสามญั ไมไดน ี้ สงิ่ เหลาน้ยี งั มลี ักษณะพิเศษ
อีกอยา งหนึ่งคอื เปน ของผลบุ ๆ โผลๆ หรอื ลับๆ ลอๆ หมายความ
วา บางทมี ีเคาใหต ่ืนใจวาคราวนตี้ อ งจรงิ แตพอจะจบั ใหมน่ั ก็ไม
ยอมใหส มใจจริง คร้นั ทําบางอยา งไดส มจริง กย็ ังมีแงใหเคลือบ
แคลงตอ ไป เขา แนวทว่ี า ยง่ิ คน กย็ ่งิ ลบั ยง่ิ ลับกย็ ง่ิ ลอ ใหค น คน
ตามที่ถูกลอ กย็ ่งิ หลงแลว ก็หมกมุนวนเวยี นอยูกับส่งิ เหลา น้ันจนชัก
จะเล่อื นลอยออกไปจากโลกของมนษุ ย
๔ เรอ่ื งเหนือสามัญวสิ ยั
ในเมอื่ เปน สง่ิ ท่ไี มอ าจพสิ จู น เปน สง่ิ ลับลอ และมกั ทําให
หลงใหลเชนน้ี การมัววนุ วายกับการพสิ จู นส ิ่งเหลา น้นั ยอ ม
กอ ใหเกิดโทษหลายอยา งท้งั แกบ ุคคลและสงั คม นอกจากเสียเวลา
และเสียกิจการเพราะความหมกมนุ วนุ วายแลว เมอื่ ตอ งมัวรอกัน
อยจู นกวาจะพสิ จู นไ ดวา มีจรงิ หรือไมมี และกพ็ ิสูจนกันไมเสร็จสกั
ที ผูท่ีเชื่อและไมเชอ่ื กต็ องมาทมุ เถียงหาทางหักลา งกนั แตก
สามคั คที ะเลาะวิวาทกนั เพราะเรอื่ งท่ีไมชัดเจน และในระหวา งน้ัน
แตละพวกละฝายตา งกป็ ฏิบัติตอ สิง่ เหลาน้นั ไปตามความเชอ่ื และ
ไมเชื่อของตน ไมม โี อกาสท่ีจะแกไขการปฏบิ ัติตา งๆ ท่เี กดิ โทษกอ
ผลเสยี แกชวี ิตและสังคม เพราะตองรอใหพสิ ูจนเสร็จกอน จงึ จะยตุ ิ
การปฏิบตั ใิ หลงเปนอนั เดียวกันได ซงึ่ ก็ยงั พิสจู นก ันไมเ สร็จจน
บดั น้ี จึงเปนอันตอ งยอมรับผลเสยี กนั อยางนี้เรอ่ื ยไปไมเ หน็ ที่
สนิ้ สุด ถา หากไมย อมรบั หรอื ไมยอมรอก็ตองใชว ิธีบงั คบั ขมเหงกัน
โดยฝายทเี่ ชื่อบงั คบั ฝา ยท่ีไมเ ชื่อใหปฏบิ ตั ิอยางตน หรือฝายท่ีไม
เชื่อบังคบั ฝายที่เช่อื ไมใหปฏิบตั ติ ามความเชือ่ ของเขา
ดังจะเห็นไดใ นลทั ธินิยมทางการเมืองและระบอบการ
ปกครองบางอยางที่ยึดม่ันวาตนนยิ มวธิ ีวทิ ยาศาสตร เม่อื
ผปู กครองในระบบนั้นเห็นวาความเชื่อในส่ิงเหลานี้เปนของ
เหลวไหลงมงาย เม่อื เขาจับหลกั ในเรื่องนไี้ มถกู และหาทางออก
ใหแกประชาชนไมไ ด แตตอ งการทาํ ใหป ระชาชนปฏิบตั ิตามลัทธิ
นยิ ม (คือความเช่ือ) ของเขา ก็ตองใชว ธิ ีบงั คับใหประชาชนเลิก
ปฏบิ ัติตามความเช่อื ของประชาชน หรือปลกุ เราปอ นความเช่ือใน
อิทธิปาฏิหารยิ - เทวดา ๕
ทางตรงขามคือความเชื่อวา สิ่งเหลา น้ันไมม จี รงิ แกประชาชน หรอื
ทําทง้ั สองอยาง แตวธิ กี ารปดกั้นบังคับหรอื ปลุกเรานี้เปนการท้ิง
ชอ งวางอนั กวางใหญไ ว เพราะมิใชเปนการแกไขท่ีตนเหตุ คือมไิ ด
ชําระสตั วผ ูยังไมขามพน ความสงสัย๑ เพียงแตเก็บซอนเอาเช้ือและ
แรงกดดันอัดไว ตราบใดอาํ นาจบังคับและแรงปลุกเรายังเขม แข็ง
ก็ยังขม คุมไวได แตเ มอื่ ใดอาํ นาจบังคับและแรงปลุกเรา ออนแอ
คลายจางลง เช้ือและแรงกดดนั นั้นก็มโี อกาสท่จี ะโผลออกงอกงาม
เฟองฟไู ดต อ ไป และเม่อื ถงึ เวลานน้ั การปฏิบัตใิ นเร่ืองเหลานกี้ จ็ ะ
เปนไปอยางงมงายขาดหลัก ปราศจากทิศทาง ทําใหเ กดิ ผลเสียได
เหมือนอยางเดมิ อกี โดยมไิ ดร ับการแกไ ขแตอยางใด
อีกอยางหนง่ึ ในเมื่อสิง่ เหลา นี้อยูเพยี งในระดบั แหงความ
เช่อื ของปุถชุ น กย็ อ มผันแปรกลับกลายได ดงั จะเหน็ ไดว าบางคน
เคยไมเ ชือ่ ถอื สิ่งเหนือสามัญวสิ ยั เหลา นี้เลย (คอื เชอ่ื วา สง่ิ เหลานี้
ไมม ไี มเปนจริง) และดูถกู ดหู ม่นิ ความเช่ือถือน้นั อยา งรนุ แรง ตอ มา
ไดป ระสบเหตกุ ารณลบั ลอทเ่ี ปน เง่อื นตอ แหง ความเชือ่ นั้นเขา ก็
กลบั กลายเปนคนท่มี คี วามเชอื่ อยา งปก จติ ฝงใจตรงขา มไปจาก
เดิม และเพราะเหตุทไ่ี มมีหลกั สอ งนาํ ทางในการปฏบิ ัติตอ สิง่
เหลา น้ันก็กลายเปนผูห มกมุน หลงใหลในสิง่ เหลาน้ันยง่ิ ไปกวาคน
อ่ืน อีกมากมายทีเ่ ขาเชือ่ อยางนัน้ แตเ ดมิ มา ในทํานองเดยี วกัน
บางคนทีเ่ คยเช่อื ถือมั่นคงอยูก อน ตอมาไดป ระสบเหตกุ ารณที่สอ
วา ส่ิงที่เชื่อจะไมเ ปน ไปสมจริงหรอื ไมแ นน อน ความเช่อื นนั้ ก็กลับ
สน่ั คลอนไป หรือบางทอี าจกลายเปน ผูไมเ ช่ือไปเสยี ก็มี
๖ เรอื่ งเหนอื สามญั วสิ ัย
ในกรณีเหลานี้ มนุษยท้งั หลายลวนแตม ัววนุ วายกับปญหา
วา มหี รอื ไมมี จรงิ หรือไมจ ริง เชื่อหรอื ไมเชื่อ เทานัน้ พากันขาด
หลักการในทางปฏิบตั ิท่จี ะเตรยี มปอ งกันผลเสียตอชวี ติ และสังคม
จากความเช่ือหรอื ไมเชื่อของพวกตน พระพุทธศาสนาเปนศาสนา
แหงการปฏบิ ัติ มุง สอนสงิ่ ท่ที ําได ใหม นษุ ยไดรับประโยชนพอกบั
ทกุ ระดับแหง ความพรอมหรือความแกกลาสุกงอมของตนๆ
สําหรับเร่ืองเหนอื สามญั วสิ ัยเหลานี้ พระพุทธศาสนาก็ได
วางหลักการในทางปฏิบัติไวอ ยา งชดั เจนวา เมอ่ื สิ่งเหลานน้ั มีจรงิ
มนุษยควรวางตวั หรือปฏบิ ัติตอ ส่ิงเหลา นัน้ อยางไร และทว่ี างตัว
หรอื ปฏบิ ัติอยางนัน้ ดวยเหตุผลอะไร เหมอื นดงั พูดวา ทานจะเชื่อ
หรอื ไมเชอ่ื ก็ตาม แตทานควรปฏบิ ัติตอ สิ่งนนั้ ใหถ ูกตอ ง ผูเช่ือก็
ตาม ไมเ ชอ่ื กต็ าม สามารถและสมควรทาํ ตามหลกั ปฏบิ ัติที่
พระพุทธศาสนาแนะนําไวน้ไี ด เพราะตามหลักปฏิบตั ินี้ ทงั้ ผเู ชื่อ
และผไู มเ ช่อื จะประพฤติตนตอสิง่ เหลาน้ันอยา งแทบไมม ีอะไร
แตกตางกันเลย จะผดิ แปลกกันบาง ก็เพียงในสิง่ หยมุ หยมิ
เลก็ นอยเทา นั้น นอกจากนั้นยงั เปน วธิ ปี ฏบิ ัติที่ทาํ ใหเ กิดผลดีแกทกุ
ฝา ย โดยที่ท้งั ผูเช่ือและไมเชอ่ื ตางๆก็มคี วามเออื้ เฟอ เอื้อเอน็ ดตู อ
กนั ผูท ี่เชอื่ ก็ปฏิบัตไิ ปโดยไมเกิดผลเสยี แกชวี ิตและสงั คม ผไู มเชือ่
ก็สามารถปฏิบัติตอ ผทู ี่เชือ่ ไดถกู ตองและสามารถแนะนาํ ผูท ีเ่ ชื่อให
ปฏิบัติตอ สงิ่ ท่ีเขาเชือ่ ในทางทจี่ ะเปนประโยชน ท้ังสองฝา ยตางมี
เมตตาเคารพซง่ึ กันและกัน
อทิ ธปิ าฏหิ าริย- เทวดา ๗
หลกั การในทางปฏิบัติหรือความเปนศาสนาแหง การปฏิบัติ
น้แี หละที่เปนคณุ พเิ ศษของพระพุทธศาสนา ซง่ึ พระพุทธศาสนาได
รเิ รม่ิ ขึ้นใหม อันทําใหตางจากศาสนา ปรชั ญาทั้งหลายอื่น
ตลอดจนลัทธนิ ยิ มอุดมการณทง้ั หลายแมใ นสมัยปจจุบนั หลักการ
จาํ เพาะในกรณีนคี้ อื สาํ หรับสิ่งทไ่ี มอ าจพสิ จู นแ ละมใิ ชธรรม
สําหรับเขา ถึง ใหใชก ารวางทาทีหรอื วิธปี ฏิบัติท่ถี กู ตอ ง๒ เมื่อคน
ทง้ั หลายปฏบิ ตั ิตามหลักการที่พระพทุ ธศาสนาแนะนําไวแ ลวอยาง
น้ี ถายังมคี นกลุมหน่ึงกลมุ ใดสนใจที่จะคนควาพิสจู นค วามมีจริง
เปน จริงของสิ่งเหลานตี้ อไป ก็นบั วาเปนงานอดเิ รกของคนเหลาน้ัน
ซงึ่ คนทั่วไปอาจวางเปนกลาง และปลอ ยใหเ ขาทําไปเทาท่ีไม
กอ ใหเกิดผลเสียใดๆ แกสังคม เปรียบไดก บั นกั คน ควาวิจยั ใน
วิชาการสาขาตา งๆ อยางอนื่ ๆ
เทาที่กลา วมา เหน็ ไดช ดั อยูแลว วา เหตผุ ลในขอ แรกมุงท่ี
ประโยชนในทางปฏบิ ัติของมนษุ ยท้ังหลาย อยา งไรกต็ าม การท่ี
พระพุทธศาสนาไมสนใจในปญหาเกี่ยวกบั ความมอี ยจู ริงหรอื ไม
ของอทิ ธฤิ ทธ์ปิ าฏิหาริยและเทพเจา ทัง้ หลาย จนถงึ ขั้นทีว่ าเมื่อวาง
ทา ทีและปฏบิ ัตติ นถูกตอ งแลว ใครจะสนใจคนควา พิสจู นเรื่องนี้
ตอ ไป กป็ ลอ ยเขาไปตามเร่ืองนั้น ทาทีเชน น้ยี อ มเก่ยี วเนอ่ื งถึง
เหตผุ ลประการทสี่ องซง่ึ สัมพนั ธโดยตรงกับหลักการขัน้ พื้นฐานของ
พระพทุ ธศาสนาดวย กลาวคอื ความมอี ยูจ ริงหรือไมของสง่ิ เหลา น้ี
ไมกระทบตอหลักการสาํ คญั ของพระพุทธศาสนา หมายความวา
ถึงแมวาอทิ ธฤิ ทธิ์ปาฏหิ าริยแ ละเทพเจาจะมีจริง แตการปฏิบัตติ าม
๘ เรือ่ งเหนอื สามญั วสิ ยั
หลักการและการเขา ถงึ จดุ หมายของพระพทุ ธศาสนายอ มเปนไปได
โดยไมตองเกี่ยวของกับส่งิ เหนอื สามัญวิสัยทงั้ สองประเภทนัน้ แต
ประการใดเลย สําหรับเรอื่ งอิทธิปาฏิหาริย พึงอา งพุทธพจนวา
พระพทุ ธเจา : นแ่ี นะสุนักขตั ต เธอเขา ใจวาอยา งไร ? เมอื่
เราทําอิทธปิ าฏิหารยิ ซึ่งเปนธรรมของมนุษยย่ิงยวดก็ตาม ไมท าํ ก็
ตาม ธรรมทเ่ี ราไดแสดงแลวเพื่อประโยชนท ่มี งุ หมายใด จะ
นาํ ออกไปเพื่อ (ประโยชนทม่ี งุ หมายนั้นคือ) ความหมดสิ้นทุกขโ ดย
ชอบไดห รือไม ?
สนุ ักขตั ต : พระองคผ เู จรญิ เม่ือพระองคท รงกระทาํ
อทิ ธปิ าฏหิ าริย ที่เปนธรรมของมนุษยยิง่ ยวด กต็ าม ไมก ระทาํ ก็
ตาม ธรรมที่พระผูม ีพระภาคไดท รงแสดงเพอื่ ประโยชนทมี่ งุ หมาย
ใดๆ ก็ยอ มจะนําออกไปเพือ่ (ประโยชนท มี่ งุ หมายน้ัน คอื ) ความ
หมดสน้ิ ทุกขโดยชอบได
พระพุทธเจา : น่แี นะสนุ ักขัตต เธอเขา ใจวา อยางไร ? เม่ือ
เราบญั ญัตสิ ่ิงท่ถี อื วา เปนตนกาํ เนิดของโลกก็ตาม ไมบ ญั ญตั ิก็
ตาม ธรรมทเ่ี ราไดแสดงไวแ ลวเพื่อประโยชนท ่ีมงุ หมายใด จะ
นําออกไปเพื่อ (ประโยชนทมี่ ุงหมายนนั้ คอื ) ความหมดสิ้นทกุ ข
โดยชอบ ไดห รือไม ?
สุนกั ขตั ต : พระองคผูเจริญ เมอื่ พระองคท รงบัญญัตสิ ิ่งท่ี
ถือวา เปนตน กาํ เนิดของโลกก็ตาม ไมบ ญั ญตั กิ ต็ าม ธรรมทพ่ี ระผูมี
พระภาคไดท รงแสดงแลว เพือ่ ประโยชนท่ีมุงหมายใด ก็ยอมจะ
อิทธิปาฏหิ าริย- เทวดา ๙
นาํ ออกไปเพ่ือ (ประโยชนท ีม่ งุ หมายน้ัน คือ) ความหมดสิ้นทุกข
โดยชอบได๓
สว นเรอื่ งเทพเจา จะไดพ ิจารณาเหตุผลเปน แงๆ ตอ ไป
เฉพาะในเบอ้ื งตน น้ี พงึ พจิ ารณาพุทธภาษติ วา
"การถอื ไมกินปลาไมกนิ เนื้อ ก็ดี การประพฤติเปน ชเี ปลือย
ก็ดี ความมศี ีรษะโลน กด็ ี การมนุ มวยผมเปน ชฎา ก็ดี การอยคู ลกุ
ฝุนธลุ ี ก็ดี การนงุ หม หนงั เสืออันหยาบกราน ก็ดี การบูชาไฟ ก็ดี
การบําเพ็ญพรตหมายจะเปน เทวดา กด็ ี การบําเพญ็ ตบะตา งๆ
มากมายในโลก กด็ ี พระเวทกด็ ี การบวงสรวงสังเวย ก็ดี การบูชา
ยัญ ก็ดี การจําพรตตามฤดู กด็ ี จะชําระสตั วผ ูย ังขามไมพ นความ
สงสยั ใหบ รสิ ุทธิ์ได ก็หาไม" ๔
ทก่ี ลา วมาน้ี เปนหลกั การทัว่ ไปที่ควรทราบไวกอน ตอ จาก
น้ี ถา ยอมรับวา อทิ ธิปาฏหิ าริยและเทวดามีจรงิ ก็พึงทราบฐานะ
ของสง่ิ เหลา นนั้ ตอ การดํารงชีวติ ของมนษุ ย พรอ มทั้งวธิ ีปฏิบัตทิ ่ี
ถูกตอ งตอสงิ่ เหลา นั้น ดงั ตอไปน้ี
ขอ ที่ควรเขาใจเกีย่ วกับเรื่องอทิ ธปิ าฏิหาริย
อิทธปิ าฏหิ ารยิ เปนอภญิ ญา คอื ความรคู วามสามารถพิเศษ
ยวดยิง่ อยางหน่งึ มีชือ่ เฉพาะวา อิทธวิ ิธิ หรอื อทิ ธิวิธา (การแสดง
ฤทธไิ์ ดตางๆ) แตเปนโลกยี อภญิ ญา คอื อภญิ ญาระดับโลกยี ซ่งึ
พัวพันเกย่ี วเนือ่ งอยใู นโลก เปนวิสยั ของปถุ ชุ น ยงั อยูใ นอาํ นาจของ
๑๐ เรอื่ งเหนือสามัญวิสัย
กิเลส เชน เดียวกับโลกียอภญิ ญาอื่นๆ ท้งั หลาย คือ หทู ิพย ตาทิพย
การรูใจอนื่ และระลกึ ชาติได
โลกียอภญิ ญาทงั้ ๕ อยางนี้ มีคนทาํ ไดตงั้ แตกอนพุทธกาล
ไมเ ก่ียวกับการเกิดขึ้นของพระพทุ ธศาสนา คอื พระพทุ ธศาสนาจะ
เกิดข้ึนหรือไมก ต็ าม โลกียอภญิ ญาเหลา นกี้ ็เกิดมีได พูดอกี อยา ง
หนึ่งวา สงิ่ เหลา นีไ้ มใชต ัวแทของพระพุทธศาสนา และไมจาํ เปน
สาํ หรบั การเขา ถึงพระพุทธศาสนา ส่ิงท่เี กดิ ข้ึนดวยการเกดิ ของ
พระพุทธศาสนา และเปนตัวพระพุทธศาสนา คอื ความรทู ีท่ าํ ใหดับ
กิเลสดบั ทุกขได เรยี กชอ่ื อยางหน่ึงวา อาสวักขยญาณ แปลวา ญาณ
ทที่ าํ อาสวะใหส้นิ ไป จัดเขา เปนอภญิ ญาขอ สดุ ทาย คือขอที่ ๖
เปนโลกุตรอภิญญา คืออภญิ ญาระดบั โลกุตระ ซึ่งทําใหมีจิตใจเปน
อิสระปลอดโปรง ผองใส พนจากอํานาจครอบงาํ ของเร่อื งโลกๆ
หรอื ส่งิ ที่เปนวิสยั ของโลก ทําใหป ุถชุ นกลายเปนอริยชนโดย
สมบรู ณ
โลกยี อภญิ ญาท้ังหลายเส่ือมถอยได แตโลกุตรอภิญญาไม
กลับกลาย ไดโลกตุ รอภญิ ญาอยา งเดียว ประเสริฐกวาไดโ ลกีย-
อภญิ ญาทัง้ ๕ อยา งรวมกัน แตถาโลกตุ รอภญิ ญา โดยไดโลกีย-
อภญิ ญาดวย กเ็ ปนคุณสมบตั ิสว นพเิ ศษเสรมิ ใหดพี รอมยิง่ ขึน้
โลกุตรอภิญญาเทานัน้ เปน สิ่งจําเปนสําหรบั ชีวิตท่ดี ีงามของมนุษย
ซึ่งทุกคนควรไดค วรถึง สว นโลกียอภิญญาท้ังหลาย มใิ ชส ง่ิ จําเปน
สําหรบั ชีวิตท่ีดงี าม เปนเพยี งเคร่ืองประกอบเสริมคุณสมบัตดิ งั ได
กลา วแลว ๕
อิทธปิ าฏิหารยิ - เทวดา ๑๑
ปาฏิหาริยม ี ๓ อยาง
อิทธปิ าฏหิ าริยนี้ พระพุทธเจาทรงจัดเปน ปาฏิหาริยอยาง
หน่งึ ใน ๓ อยา งคอื ๖
๑. อิทธิปาฏหิ าริย ปาฏิหาริย คอื การแสดงฤทธ์ติ างๆ
๒. อาเทศนาปาฏิหาริย ปาฏิหาริย คือ การทายใจคนอื่นได
๓. อนสุ าสนีปาฏิหารย ปาฏหิ าริย คอื คําสอนที่เปนจริง
สอนใหเ ห็นจริง และนําไปปฏิบัตไิ ดผ ลสมจริง
ความหมายตามบาลดี งั น้ี
๑. อิทธปิ าฏิหาริย "บางทานประกอบฤทธิต์ างๆ ได
มากมายหลายอยา ง คนเดยี วเปนหลายคนกไ็ ด หลายคนเปน คน
เดียวก็ได ทําใหปรากฏก็ได ทําใหห ายไปก็ได ทะลฝุ า กําแพง ภูเขา
ไปไดไมต ิดขดั เหมือนไปในที่วา งกไ็ ด ผุดข้นึ ดาํ ลงแมในแผน ดิน
เหมือนในนํา้ ก็ได เดินบนนา้ํ ไมแตกเหมือนเดนิ บนดินก็ได เหาะไป
ในอากาศเหมอื นนกกไ็ ด ใชมอื จับตอ งลบู คลาํ พระจันทร พระ
อาทิตยซง่ึ มีกําลังฤทธเ์ิ ดชมากมายถึงเพยี งน้กี ็ได ใชอาํ นาจทาง
กายจนถึงพรหมโลกก็ได"
๒. อาเทศนาปาฏหิ ารยิ : "ภิกษุยอมทายใจ ทาย
ความรสู ึกในใจ ทายความนึกคดิ ทายความไตรตรองของสตั วอ่ืน
บคุ คลอืน่ ไดว า ใจของทา นเปนอยางน้ี ใจของทานเปนไปโดย
อาการน้ี จติ ของทานเปนดังน"ี้ : อยา งน้วี า ตามเกวัฏฏสูตรในทีฆ
นิกาย แตในที.ปา. ๑๑/๗๘/๑๑๒ ในอังคตุ ตรนิกาย และใน
ปฏสิ ัมภทิ ามคั คท ่อี า งแลว ใหความหมายละเอียดออกไปอีกวา
๑๒ เร่อื งเหนือสามญั วสิ ัย
"บางทา นทายใจไดด วยส่ิงทีก่ าํ หนดเปนเครือ่ งหมาย (นมิ ิต) วา ใจ
ของทานเปนอยา งน้ใี จของทา นเปนไปโดยอาการอยางนี้ จติ ของ
ทานเปนดงั น้ี ถงึ หากเธอจะทายเปนอันมาก ก็ตรงอยา งน้ัน ไม
พลาดเปนอ่ืน; บางทานไมทายดวยส่ิงทกี่ าํ หนดเปนเครื่องหมาย
เลย แตพ อไดฟง เสยี งของมนุษย อมนุษย หรือเทวดาแลว ก็ทายใจ
ไดวา ใจของทานเปนอยา งน้ี...; บางทานไมท ายดว ยนิมติ ไมฟ ง
เสยี ง…แลวจงึ ทาย แตฟ งเสยี งวิตกวิจารของคนทีก่ ําลงั ตรกึ กําลัง
ตรองอยู ก็ทายใจไดว า ใจของทานเปนอยางนี้..; บางทานไมท าย
ดว ยนิมติ ไมฟ งเสียง…แลว จึงทาย แตใ ชจิตกําหนดใจของคนท่ี
เขาสมาธิซงึ่ ไมมีวิตกไมม ีวิจารแลว ยอมรชู ดั วา ทานผูนี้ตัง้ มโน
สงั ขาร (ความคดิ ปรุงแตงในใจ) ไวอยา งไร ตอจากความคิดนี้แลว
ก็จะคิดความคิดโนน ถงึ หากเธอจะทายมากมาย กต็ รงอยา งนัน้
ไมพ ลาดเปนอืน่ " (อาเทศนาปาฏหิ าริยนี้ ดคู ลายเจโตปรยิ ญาณหรื
อปรจติ ตวชิ านน คอื การหยง่ั รใู จผูอ่นื แตไ มต รงกันทีเดียว เพราะ
ยังอยูในขัน้ ทาย ยงั ไมเ ปน ญาณ)
๓. อนสุ าสนปี าฏหิ ารยิ : "บางทา นยอมพราํ่ สอนอยา งนี้
วา จงตรกึ อยางน้ี อยาตรึกอยา งนี้ จงมนสิการอยา งนี้ อยา
มนสกิ ารอยางน้ี จงละส่ิงนี้ จงเขาถงึ สงิ่ นอี้ ยเู ถิด" (เฉพาะในเกวัฏฏ
สตู ร ในทีฆนกิ าย อธิบายเพม่ิ เติมโดยยกเอาการทพี่ ระพุทธเจา
อบุ ตั ิในโลกแลวทรงส่ังสอนธรรม ทําใหคนมีศรัทธาออกบวช
บําเพ็ญศีล สํารวมอนิ ทรีย มสี ตสิ มั ปชญั ญะ สนั โดษ เจริญฌาน
อทิ ธปิ าฏหิ าริย- เทวดา ๑๓
บรรลุอภญิ ญาทง้ั ๖ ซึ่งจบลงดว ยอาสวกั ขยั เปน พระอรหนั ต วา
การสอนไดส าํ เร็จผลอยา งน้ันๆ ลวนเปนอนสุ าสนปี าฏหิ ารยิ )
อทิ ธปิ าฏหิ าริย ไมใชแ กนของธรรมะ
ในสมยั พทุ ธกาล เคยมีบุตรคฤหบดีผูห นึง่ ทูลขอให
พระพุทธเจา แสดงอิทธิปาฏหิ ารยิ เขากราบทลู วา
"ขาแตพระองคผูเ จริญ เมืองนาลนั ทานเ้ี จริญรุงเรือง มี
ประชาชนมาก มผี ูค นกระจายอยูทั่ว ตางเลื่อมใสนกั ในองคพ ระผมู ี
พระภาค ขออญั เชิญพระผูมีพระภาคเจาไดโปรดทรงรบั สงั่
พระภกิ ษไุ วส กั รูปหน่งึ ที่จะกระทําอิทธปิ าฏหิ ารยิ ซึง่ เปนธรรมเหนือ
มนษุ ย โดยการกระทําเชนน้ี ชาวเมอื งนาลนั ทานี้ก็จกั เล่อื มใสยง่ิ
นกั ในพระผูม พี ระภาคเจา สดุ ท่จี ะประมาณ"
พระพทุ ธเจาไดต รสั ตอบบุตรคฤหบดผี ูน้นั วา
"นแ่ี นะเกวัฏฏ เรามไิ ดแ สดงธรรมแกภิกษุท้ังหลายอยางนี้
วา มาเถิด ภิกษทุ ั้งหลาย พวกเธอจงกระทําอทิ ธปิ าฏิหารยิ ซึง่ เปน
ธรรมเหนือมนุษย แกคนนุงขาวชาวคฤหัสถท ้ังหลาย"
พระองคไ ดต รสั แสดงเหตุผลตอ ไปวา ในบรรดาปาฏหิ าริย
๓ อยา งนั้น ทรงรงั เกยี จ ไมโปรดไมโ ปรงพระทยั ตออทิ ธิปาฏิหารยิ
และอาเทศนาปาฏิหารยิ เพราะทรงเห็นโทษวา คนทเี่ ช่ือกเ็ ห็นจริง
ตามไป สว นคนทีไ่ มเ ชอ่ื ไดฟ ง แลว ก็หาชองขัดแยง คดั คา นเอาไดวา
ภกิ ษทุ ่ีทาํ ปาฏหิ าริยนนั้ คงใชค ันธารวี ิทยา และมณิกาวิทยา ทําให
คนมัวทมุ เถียงทะเลาะกัน และไดท รงช้แี จงความหมายและคุณคา
๑๔ เรื่องเหนอื สามัญวสิ ัย
ของอนุสาสนปี าฏหิ าริยใหเหน็ วาเอามาใชป ฏบิ ตั ิเปนประโยชน
ประจักษไ ดภายในตนเองจนบรรลุถงึ อาสวักขัยอนั เปนจดุ หมาย
ของพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นยงั ไดทรงยกตัวอยางภิกษุรูปหน่ึง
มฤี ทธม์ิ าก อยากจะรคู วามจรงิ เกย่ี วกับจุดดับส้ินของโลกวตั ถธุ าตุ
จึงเหาะเท่ียวไปในสวรรค ดน้ั ดนไปแสวงหาคาํ ตอบจนถงึ พระ
พรหม ก็หาคําเฉลยที่ถูกตองไมได ในท่ีสดุ ตอ งเหาะกลบั ลงมาแลว
เดินดินไปทลู ถามพระองคเ พอื่ ความรจู ักโลกตามความเปนจรงิ
แสดงถงึ ความที่อทิ ธิปาฏิหาริยมีขอบเขตจาํ กดั อบั จนและมิใช
แกนธรรม๗
อีกคราวหนึ่ง เมื่อสงั คารวพราหมณ กราบทูลถงึ เร่ืองแทรก
ซง่ึ ที่ประชมุ ราชบริษทั ไดยกขน้ึ มาสนทนากันในราชสํานักวา
"สมยั กอ นมีพระภิกษุจํานวนนอ ยกวา แตม ภี กิ ษุแสดง
อิทธิปาฏหิ าริยซงึ่ เปนธรรมเหนือมนุษยไ ดมากกวา สมยั นม้ี ี
พระภกิ ษจุ ํานวนมากกวา แตภกิ ษผุ แู สดงอิทธิปาฏหิ ารยิ ซ่งึ เปน
ธรรมเหนือมนษุ ยกลับมนี อยกวา" พระพุทธเจาไดตรัสวาปาฏิหาริย
มี ๓ อยางคอื อทิ ธิปาฏิหารยิ อาเทศนาปาฏหิ าริยแ ละอนุสาสนี
ปาฏหิ าริย แลว ทรงแสดงความหมายของปาฏิหาริยทงั้ สามอยา ง
น้ัน ในท่สี ุดไดตรสั ถามพราหมณวา ชอบใจปาฏหิ าริยอ ยา งไหน
ปาฏหิ าริยใ ดดกี วา ประณีตกวา พราหมณไ ดทลู ตอบวา
อิทธปิ าฏิหาริยแ ละอาเทศนาปาฏหิ าริย คนใดทํา คนนั้นจึงรเู รือ่ ง
คนใดทํากเ็ ปนของคนนนั้ เทา น้ัน มองดเู หมอื นเปน มายากล
อนสุ าสนปี าฏหิ ารยจ งึ จะดกี วา ประณีตกวา ๘ (คนอ่ืนพิจารณารู
อทิ ธิปาฏิหาริย- เทวดา ๑๕
เขาใจ มองเหน็ ความจริงดวยและนาํ ไปปฏบิ ัติได แกทกุ ขแกปญ หา
ได)
๑๖ เร่ืองเหนือสามัญวสิ ัย
อิทธิฤทธ์ิ ทเี่ ปน และไมเปน อริยะ
บาลอี ีกแหง หนึง่ ช้แี จงเรื่องอิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ไดตางๆ)
วามี ๒ ประเภทคอื
๑. ฤทธ์ิท่มี ใิ ชอรยิ ะ คือฤทธ์ิทป่ี ระกอบดวยอาสวะ ยงั มี
อุปธิ (มีกเิ ลสและทําใหเกดิ ทุกขไ ด) ไดแ กฤ ทธ์ิอยา งทเ่ี ขาใจกนั
ทว่ั ๆไป ดงั ไดบรรยายมาขางตน คอื การที่สมณะหรือพราหมณ
(นกั บวช) ผใู ดผหู นงึ่ บําเพ็ญเพยี รจนไดเจโตสมาธิ แลวแสดงฤทธิ์
ไดต า งๆ เชน แปลงตวั เปนคนหลายคน ไปไหนกแ็ หวกทุลุฝา
กาํ แพงไป เหินฟา ดําดิน เดนิ บนน้าํ เปนตน
๒. ฤทธ์ทิ ีเ่ ปนอรยิ ะ คอื ฤทธิท์ ี่ไมป ระกอบดวยอาสวะ ไมมี
อปุ ธิ (ไมม ีกเิ ลส ไมทําใหเ กดิ ทุกข) ไดแก การทภี่ ิกษุสามารถทําใจ
กําหนดหมายไดตามตอ งการ บังคบั ความรูสึกของตนได จะให
มองเหน็ สงิ่ ท่ีนาเกลียดเปนไมน าเกลียดกไ็ ด เชน เห็นคนหนาตานา
เกลยี ดชงั กว็ างจติ เมตตาทาํ ใจใหรักใครมไี มตรีได เหน็ สงิ่ ไมนา
เกลยี ดเปนนาเกลยี ดก็ได เชน เหน็ คนรูปรา งนารกั ยั่วยวนใหเกิด
ราคะ จะมองเปน อสุภะไปก็ได หรือจะวางใจเปน กลางเฉยเสีย
ปลอยวางท้งั ส่ิงท่ีนา เกลยี ดและไมน า เกลียดกไ็ ด๙ เชนในกรณที ี่จะ
ใชความคิดพิจารณาอยางเท่ยี งธรรมใหเห็นสง่ิ ท้ังหลายตามความ
เปน จรงิ เปน ตน
เรอื่ งฤทธ์ิ ๒ ประเภทนี้ ยอมยา้ํ ความที่กลา วไวข างตน ให
เห็นวา อิทธปิ าฏหิ าริยจ ําพวกฤทธิท์ ่ีเขาใจกันท่ัวไปซงึ่ ทาํ อะไรได
อทิ ธปิ าฏหิ าริย- เทวดา ๑๗
ผาดแผลงพสิ ดารเปนที่นา อัศจรรยน้ัน ไมไดร บั ความยกยองใน
พระพทุ ธศาสนา ไมใชห ลักการท่ีแทของพระพทุ ธศาสนา ฤทธิ์ท่ี
สงู สง ดงี ามตามหลกั พระพุทธศาสนา คือฤทธท์ิ ่ีไมม พี ิษมีภัยแกใคร
ไดแกการบงั คบั ความรสู กึ ของตนเองได หรอื บังคบั จิตใหอ ยูใน
อํานาจของตนได ซ่งึ ผไู ดฤ ทธอิ์ ยา งตน อาจทําไมไ ด บางครงั้ จงึ หนั
ไปใชฤทธ์นิ ั้นเปน เคร่ืองมอื สนองกิเลสของตน ตรงขามกบั ฤทธ์ิ
อยา งทสี่ อง ทเ่ี ปนเคร่อื งมือสรา งคณุ ธรรม กําจดั กเิ ลส มใิ หจติ ใจ
ถกู ลอ ไปในอํานาจของราคะ โทสะ หรอื โมหะ๑๐ การท่พี ระพุทธเจา
ทรงบัญญัติสกิ ขาบท หามภิกษุแสดงอิทธปิ าฏหิ าริยแ กชาวบานก็
เปน หลักฐานยนื ยนั ถงึ การท่ไี มทรงสนับสนนุ การใชอ ทิ ธิปาฏิหาริย๑ ๑
เม่ือวาตามรูปศพั ท คําวา ปาฏิหาริย แปลวา การกระทําท่ี
ตกี ลบั ขับไล หรือกําจัดเสียไดซ ึง่ ปฏปิ ก ษ อทิ ธิ หรอื ฤทธ์ิ แปลวา
ความสําเร็จ อาเทศนา แปลวา ระบุ อา ง สาํ แดง ชบ้ี ง จะแปลวา
ปรากฏชดั กพ็ อได อนสุ าสนี แปลวา คําพร่ําสอน โดยถือ
ความหมายอยา งน้ี คมั ภีรป ฏสิ มั ภทิ ามคั คไ ดแปลความหมาย
ปาฏหิ าริยท้ังสามนั้นออกไปใหเ ห็นเพม่ิ ข้นึ อีกแนวหนึ่ง คอื กลาววา
คุณธรรมตา งๆ เชน เนกขมั มะ เมตตา ฌาน อนัตตานุปส สนา
ตลอดจนถงึ อรหตั ตมรรค เรยี กวาเปนอิทธิปาฏิหารยไดทั้งนนั้ โดย
ความหมายวา สําเรจ็ ผลตามหนาที่ และกําจดั ธรรมท่เี ปนปฏปิ ก ษ
ของมนั เชน กามฉันท พยาบาท ตลอดจนกเิ ลสทั้งปวงได เรยี กวา
เปนอาเทศนาปาฏิหาริยไ ด โดยความหมายวา ผูท ีป่ ระกอบดวย
ธรรมเหลาน้ีทกุ คนยอ มมจี ิตบริสุทธิ์ มคี วามคดิ ไมขุนมวั เรยี กวา
๑๘ เรือ่ งเหนือสามญั วิสยั
เปน อนุสาสนีปาฏหิ าริยไดโดยความหมายของการสง่ั สอนวา ธรรม
ขอนน้ั ๆ ควรปฏิบตั ิ ควรฝกอบรม ควรเพิม่ พูน ควรต้ังสตใิ หเหมาะ
อยา งไร เปน ตน ๑๒ คาํ อธบิ ายอยางน้ี แมจ ะไมใ ชค วามหมายอยาง
ท่ใี ชท วั่ ไป แตกเ็ ปน ความรูประกอบที่นาสนใจ
ดังไดก ลา วแลวขางตน วา อิทธิปาฏหิ าริยเ ปนโลกยี
อภิญญาอยา งหนงึ่ ซึง่ เปนสว นเสริมคุณสมบัติของผทู ไ่ี ดโ ลกุตรอ
ภิญญาเปนหลักอยแู ลวใหพรอ มบรบิ รู ณย ่ิงขน้ึ สําหรับการบําเพ็ญ
กจิ เกอ้ื กูลแกชาวโลก จึงมพี ุทธพจนบางแหง เรียกภิกษผุ ู
ประกอบดว ยปาฏิหาริยค รบท้ัง ๓ ประการ คอื อิทธิปาฏิหาริย อา
เทศนาปาฏิหาริย และอนุสาสนีปาฏหิ าริย วา เปนผูสาํ เร็จสิน้ เชิง
จบหรือถงึ จุดหมายสนิ้ เชงิ เปนตน และเปน ผูประเสรฐิ สดุ ในหมู
เทวดาและมนุษยทงั้ หลาย๑๓ แตท ั้งนี้ ยํ้าวา ตองมอี นสุ าสนี
ปาฏหิ ารยเปนหลัก หรือเปนขอยืนตัวแนนอน และมปี าฏิหาริย ๒
ขอ ตน เปนเครอ่ื งเสริม แมใ นการใชปาฏิหาริย ก็ถอื หลักอยา ง
เดียวกันคอื ตองใชอนุสาสนปี าฏิหารยิ เปนหลักอยูเสมอ หาก
จะตอ งใชอ ิทธปิ าฏิหาริยหรืออาเทศนาปาฏิหาริยบ างในเมอื่ มี
เหตผุ ลควร กใ็ ชเพียงเพ่อื เปนเคร่ืองประกอบเบอ้ื งตน เพอื่ นําเขา สู
อนสุ าสนปี าฏิหารยิ มีอนุสาสนปี าฏหิ ารยิ เ ปนเปาหมาย และจบลง
ดว ยอนุสาสนีปาฏหิ าริย ดังจะไดกลา วตอ ไป
อิทธิปาฏหิ าริย- เทวดา ๑๙
โทษแกปุถุชนทเ่ี กย่ี วของกบั เรือ่ งฤทธ์ิ
สําหรับปุถชุ น ฤทธ์ิอาจเปนโทษไดทั้งแกผูมีฤทธิ์เอง และ
แกค นท่ีมาเกี่ยวของกับผมู ีฤทธิ์ ปุถชุ นผูมีฤทธอ์ิ าจจะเกิดความเมา
ฤทธ๑์ิ ๔ ในลักษณะตางๆ เชน เกิดมานะวาเราทาํ ไดในสง่ิ ที่คนอ่ืน
ทาํ ไมได คนอนื่ ทําไมไ ดอ ยางเรา มีความรูสึกยกตนขมผอู นื่
กลายเปนอสตั บรุ ุษไป หรอื อาจเกิดความหลงใหลมัวเมาในลาภ
สักการะท่เี กิดจากฤทธ์ินั้น นําฤทธไ์ิ ปใชเ พ่ือกอ ความชว่ั ความ
เสยี หาย อยางพระเทวทตั เปน ตน อยางนอยการติดใจเพลนิ อยใู น
ฤทธิน์ ั้น กท็ ําใหไ มสามารถปฏบิ ตั ิเพื่อบรรลุคุณธรรมท่ีสูงขน้ึ ไปไม
อาจชําระกิเลสทาํ จติ ใจใหบรสิ ุทธ์ไิ ด และเพราะฤทธ์ิของปุถุชนเปน
ของเสอื่ มได แมแ ตความหว งกงั วลมวั ยงุ กบั การรักษาฤทธิ์ ก็
กลายเปนปลิโพธ คอื อปุ สรรคที่ทําใหไ มสามารถใชป ญ ญาพินิจ
พจิ ารณาตามวิธขี องวิปสสนาอยา งไดผ ลดี ทา นจงึ จดั เอาฤทธเ์ิ ปน
ปลโิ พธอยา งหนงึ่ ของวิปสสนา (เรียกวาอทิ ธิปลิโพธ) ซึง่ ผจู ะ
ฝก อบรมปญ ญาพึงตดั เสียใหได๑๕
สวนปุถุชนท่ีมาเก่ียวของกบั ผมู ฤี ทธิ์ กม็ ที างประสบผลเสีย
จากฤทธไ์ิ ดเ ปนอันมาก ผลเสยี ขอ แรกทีเดยี วกค็ ือ คนที่มา
เกยี่ วขอ งอาจตกไปเปนเหยื่อของผูม ีฤทธิห์ รือหลอกลวงวามีฤทธ์ิ
ซง่ึ มีอกศุ ลเจตนานาํ เอาฤทธ์ิมาเอยอางเพอ่ื แสวงหาลาภสกั การะ
อยางไรก็ตาม ในเรอื่ งนี้มขี อ พงึ สังเกตวา ตามปกติผมู ีฤทธซ์ิ งึ่ เปนผู
ปฏิบตั ิชอบ จะใชฤทธิ์ในกรณีเดียวเม่ือมเี หตุผลอนั สมควรเพือ่ เปน
สื่อนําไปสูการแนะนําสง่ั สอนสิง่ ทถ่ี กู ตอ งคอื อนุสาสนปี าฏหิ าริย
๒๐ เรอ่ื งเหนือสามัญวิสัย
ถาไมม เี หตุผลเกี่ยวกับการแนะนาํ ส่ังสอนธรรมแลว ผูมีฤทธ์จิ ะใช
ฤทธ์ทิ าํ ไม นอกจากเพ่อื ผูกคนไวกบั ตนเปนสะพานทอดไปสู
ชอื่ เสียงและลาภผล๑๖
ดังน้นั จึงควรยึดถือเปนหลักไวทเี ดียววา การใช
อทิ ธิปาฏหิ าริย จะตอ งมอี นุสาสนีปาฏหิ ารยิ ต ามมาดวย ถาผใู ด
อางหรือใชอ ทิ ธิปาฏหิ าริยโดยมใิ ชเ ปน เพียงบันใดท่ีจะนาํ ไปสู
อนุสาสนีปาฏหิ าริยพ งึ ถือไวก อ นวา ผนู น้ั ปฏิบตั ิผดิ ในเรอื่ ง
อิทธิปาฏหิ ารยิ เขาอาจมอี กศุ ลเจตนาหลอกลวง มุง แสวงหาลาภ
สักการะ หรอื อยา งนอยก็เปน ผูมัวเมาหลงใหลเขา ใจผดิ ในเร่อื ง
อิทธปิ าฏหิ ารยิ น น้ั
หลักการน้ีผอนลงมาใชไ ดแ มกบั พฤติการณเ กี่ยวกับเรื่อง
ของขลงั สิ่งศกั ด์ิสทิ ธิ์ ทว่ั ไป๑๗ โดยอาจใหย ึดถอื กันไวว า ผูใดนําเอา
ของขลังสิง่ ศกั ดิ์สิทธ์ิ หรอื สิ่งลึกลับตา งๆ มาใชใ นการเกย่ี วขอ งกับ
ประชาชน โดยมไิ ดน าํ ประชาชนไปสูค วามรคู วามเขาใจในธรรม
มิไดต อทายของขลังเปน ตนน้ันดวยการแนะนําสัง่ สอนใหเกิด
ปญญาคอื ความรคู วามเขาใจถูกตองเกีย่ วกบั ความจริงความดี
งามทค่ี วรรูและควรประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ เพือ่ ชวยนําเขาใหคอ ยๆ กาว
พน เปนอสิ ระออกไปไดจ ากของขลังส่ิงศักดสิ์ ทิ ธ์ิเหลานัน้ พงึ ถือวา
ผนู ้ันเปนผปู ฏบิ ตั ผิ ดิ และนาํ ประชาชนไปในทางท่ีผิด
อนึ่ง แมใ นกรณีทีม่ ไิ ดตกไปเปนเหยื่อของผูอ วดอา งฤทธิ์
การไปมวั วุนวายเพลดิ เพลินหรือฝกใฝกบั อทิ ธปิ าฏิหารยิ ท้งั หลาย
อิทธิปาฏหิ ารยิ - เทวดา ๒๑
กเ็ ปน การไมปฏิบัติตามหลักการของพระพทุ ธศาสนาอยใู นตวั แลว
ตง้ั หลายแง
แงท ห่ี น่ึง ในเม่ืออทิ ธปิ าฏิหาริยไมใ ชส าระสาํ คัญของ
พระพทุ ธศาสนา ไมเ กีย่ วกับจุดหมายของพระพทุ ธศาสนา ไมช ว ย
ใหม นุษยหลุดพนจากกเิ ลส การไปฝก ใฝในเรอ่ื งเชนน้ี ยอมเปน การ
พราเวลาและแรงงานที่ควรใชสําหรบั การปฏิบตั ธิ รรมใหหมดไป
ในทางทผ่ี ิด
แงท ี่สอง คนที่ไปเก่ยี วขอ งกบั ผอู างฤทธ์ิหรืออํานาจส่ิง
ศกั ด์สิ ทิ ธ์ิ มกั มุง เพือ่ ไปขอความชว ยเหลอื หวงั อํานาจดลบนั ดาลให
เกดิ โชคลาภเปนตน การปฏิบัติเชนนยี้ อมไมถกู ตองตามหลัก
พระพทุ ธศาสนาท่ีเปนกรรมวาท กริ ิยวาท และวิริยวาท สอนใหคน
หวงั ผลสาํ เรจ็ จากการลงมือทําดว ยความเพียรพยายามตามเหตุ
ตามผล การมวั หวงั ผลจากการออ นวอนขอความชวยเหลอื จาก
อาํ นาจดลบันดาล อาจทําใหกลายเปนคนมสี ินัยเฉื่อยชา
กลายเปนคนงอมืองอเทา อยา งนอยกท็ ําใหขาดความเพียร
พยายาม ไมรีบเรง ลงมอื ทาํ สิง่ ทคี่ วรจะทํา ไมเรงเวน สิ่งทีค่ วรงดเวน
ขัดกบั หลกั ความไมป ระมาท
นอกจากนน้ั ถาจะฝกใฝก บั อทิ ธปิ าฏิหาริย กค็ วรฝกตนให
ทําปาฏหิ าริยนน้ั ไดเ อง จะดกี วา (แตกย็ งั ขัดกับหลักการแงที่หนึ่ง
ขา งตนอยดู ี) เพราะการฝก ใฝห วงั ผลจากอิทธิปาฏิหารยิ ของผูอื่น
หรือจากอํานาจดลบนั ดาลทัง้ หลาย เปนการพ่งึ สงิ่ ภายนอก ทาํ ให
ชีวติ ขึ้นตอ ส่งิ อ่ืนมากย่ิงขึ้น แทนท่ีจะอาศยั อาํ นาจภายนอกนอยลง
๒๒ เรอ่ื งเหนอื สามญั วสิ ยั
และเปนตัวของตวั เองมากยิง่ ข้ึน จึงอาจทําใหกลายเปนคนมีชวี ิตที่
เลอื่ นลอย มกั เปนอยูดวยความเพอ ฝน เปน คนขาดประสทิ ธิภาพ
ขาดอํานาจและความมั่นใจในตนเอง ขดั ตอหลกั การพ้ืนฐานของ
พระพทุ ธศาสนา ทีส่ อนใหพ ึ่งตนเอง สอนใหทําตนใหเปนท่พี ง่ึ ได
หรือสามารถพึง่ ตนได และสอนมรรคาแหง ความหลุดพน เปนอิสระ
ซึ่งในขั้นสุดทายใหข ามพน ไดแ มกระทัง้ ศรทั ธาทม่ี ีเหตผุ ล ไปสู
ความเปนอยูดว ยปญญาบรสิ ทุ ธิ์ ไมต องอิงอาศัยแมก ระท่ังพระ
ศาสดา เริ่มตนมรรคาจากการองิ อาศัยปญญาสองนําขององคพ ระ
ศาสดาผูเปนกลั ยาณมติ ร ไปสูการยนื ไดล ําพังตน โดยไมต อง
อาศยั การประคับประคองของพระศาสดา๑๘
แนวปฏิบัติทีถ่ ูกตอ ง
ในการเขา ไปเก่ียวขอ งกบั เรอื่ งฤทธิ์
เม่อื พิจารณาในแงผลตอคนทเี่ ขา ไปเก่ยี วขอ งกบั ฤทธแ์ิ ลว
คราวนลี้ องมาพิจารณาดูแนวปฏบิ ตั ิจากพระจริยาวัตรของพระ
บรมศาสดาและพระสาวกท้ังหลายผูเรืองฤทธ์ิ วา ทานใชฤทธิ์หรอื
ปฏิบตั ติ ออิทธิปาฏิหาริยกันอยางไร
สําหรบั องคพ ระพทุ ธเจา เอง ปรากฏชัดจากพุทธดํารัสที่
อางแลว ขา งตน วาทรงรังเกียจ ไมทรงโปรดท้ังอทิ ธิปาฏหิ าริยแ ละ
อาเทศนาปาฏหิ ารยิ แตทรงสนบั สนนุ อนสุ าสนีปาฏหิ าริย และทรง
ใชปาฏิหาริยขอ หลังนอ้ี ยเู สมอ เปน หลกั ประจําแหง พุทธกิจ หรือวา
ใหถ ูกแทค อื เปนตวั พทุ ธกิจทีเดียว ท้ังนี้ ดว ยเหตผุ ลดังไดแ สดงแลว
อทิ ธปิ าฏหิ าริย- เทวดา ๒๓
ขางตน แตก็ปรากฏอยบู างคราววามีกรณีที่ทรงใชอทิ ธิปาฏิหารย
บา งเหมอื นกัน และเมอ่ื พิจารณาจากกรณีเหลา นั้นแลว กส็ รปุ ได
วา พระพทุ ธเจา ทรงใชอ ิทธปิ าฏิหารยิ เฉพาะในกรณีท่ีจะทรง
ทรมานผมู ีฤทธ์ิ ผูถือฤทธเิ์ ปนเรอื่ งสาํ คัญ หรือผถู ือตวั วาเปน ผวู ิเศษ
ใหละความหลงใหลมัวเมาในฤทธิ์ พูดอีกอยา งหน่ึงวา ใชฤทธิ์
ปราบฤทธ์ิ เพ่ือใหผูช อบฤทธิ์หรอื ลําพองในฤทธิ์ ตระหนักในคณุ คา
อันจํากัดของฤทธิ์ มองเห็นสิ่งอ่ืนทด่ี งี ามประเสริฐกวาฤทธ์ิ และ
พรอ มที่จะเรียนรูหรอื รบั ฟงส่งิ อันประเสริฐนั้น ซ่งึ จะทรงชีแ้ จงสงั่
สอนแกเ ขาดวยอนสุ าสนีปาฏิหารยิ ตอ ไป ตรงกบั หลักท่กี ลาว
ขางตน วา ใชอิทธิปาฏิหาริยป ระกอบอนสุ าสนีปาฏิหาริย แตเปน
การใชป ระกอบในขอบเขตจาํ กดั อยางย่ิง คอื เฉพาะในกรณีที่ผู
รบั คาํ สอนฝก ใฝใ นฤทธิ์หรือเมาฤทธิ์ แสดงทฏิ ฐมิ านะตอพระองค
เทานัน้ เชน เรื่องการทรมานพระพรหม เปนตน
สว นพระมหาสาวกท้งั หลาย ก็มเี ร่อื งราวเลามาบางวา ใช
ฤทธ์ิประกอบอนสุ าสนีแกผ ูฝกใฝใ นฤทธ์ิ เชน เร่อื งทพี่ ระสารบี ุตร
สอนหมูภ ิกษุศิษยพระเทวทัตดวยอาเทศนาปฏิหารยิ ควบกบั
อนสุ าสนปี าฏิหาริย พระมหาโมคคลั ลานส อนดวยอิทธิปาฏิหาริย
ควบกบั อนุสาสนีปาฏิหาริย สว นการทาํ อิทธิปาฏหิ าริยเ พื่อ
อนเุ คราะหชว ยเหลอื มีเรื่องเลา มาบา งนอ ยเหลือเกิน แตกรณีท่ี
ขอรองใหชว ยเหลอื ดว ยอิทธปิ าฏิหารยิ ไมพ บในพระไตรปฎกเลย
แมแ ตแหง เดียว จะมผี ขู อรองพระบางรูปใหแสดงอทิ ธปิ าฏิหาริย
บา ง กเ็ พียงเพราะอยากดูเทา นน้ั ๑๙ และการแสดงอทิ ธิปาฏหิ าริย
๒๔ เร่อื งเหนอื สามัญวิสยั
ใหช าวบานดู พระพุทธเจากไ็ ดทรงบัญญตั สิ ิกขาบทหา มไวแลว ดัง
ไดกลาวขา งตน
ในท่นี ี้ขอย้ําขอคดิ ตามหลักพระพทุ ธศาสนาไวอ กี ครั้งหน่งึ
วา ในชวี ิตที่เปนจรงิ ในระยะยาว หรอื ตามปกติธรรมดาของมนุษย
มนษุ ยก็ตองอยกู บั มนุษย และเปนอยูดวยเหตุผลสามัญของมนษุ ย
เอง จะมวั หวงั พ่งึ อํานาจภายนอกทม่ี องไมเ ห็น ซง่ึ ไมขึน้ กับตนเอง
อยูอยา งไร ทางทีด่ ีควรจะหันมาพยายามฝกหดั ตนเองและฝก ปรอื
กนั เอง ใหมีความรคู วามสามารถชํานชิ าํ นาญในการแกปญหาตาม
วิถที างแหง เหตุผลอยางสามัญของมนุษยน ้ีแหละ ใหสาํ เรจ็ โดย
ชอบธรรม ความสามารถที่ทําไดส ําเร็จอยางน้ี ทา นก็จดั เปนฤทธิ์
อยา งหน่ึง และเปน ฤทธ์ิที่ถกู ตองตามหลกั การของพระพุทธศาสนา
มีทง้ั อามิสฤทธ์ิ และธรรมฤทธ๒์ิ ๐ โดยถือธรรมฤทธ์เิ ปน หลักนํา
สรุปเหตผุ ลขอใหญทแี่ สดงถึงขอบเขตจาํ กัดหรือจุดตดิ ตัน
ของอิทธปิ าฏหิ าริย ตลอดถึงอาํ นาจศักดสิ์ ทิ ธิท์ งั้ หลายทง้ั ปวง ซึง่
ทาํ ใหไมสามารถเปน หลกั การสาํ คญั ของพระพุทธศาสนา ไม
เก่ียวขอ งกับจุดหมายของพทุ ธธรรม และไมเปนสิง่ จําเปน สําหรับ
การดาํ เนินพุทธมรรคา ไมอ าจเปนท่ีพึง่ อันเกษมหรอื ปลอดภัยได
เหตผุ ลนนั้ มี ๒ ประการคือ.-
๑. ทางปญ ญา อทิ ธปิ าฏิหาริย เปนตน ไมอ าจทาํ ให
เกิดปญญาหย่งั รสู จั ธรรม เขาใจสภาวธรรมทงั้ หลายตามความเปน
จรงิ ได ดงั ตวั อยางเรอื่ งพระภิกษมุ ฤี ทธิ์ทเ่ี หาะไปหาคําตอบ
เก่ยี วกับสัจธรรมทัว่ จกั รวาฬจนถงึ พระพรหมผูถ อื ตนวาเปนผูส ราง
อิทธิปาฏิหารยิ - เทวดา ๒๕
ผบู ันดาลโลก ก็ไมส าํ เรจ็ และเรื่องฤาษีมฤี ทธเิ์ หาะไปดทู ี่สดุ โลก
พิภพจนหมดอายกุ ไ็ มพ บ เปนตวั อยาง๒๑
๒. ทางจิต อิทธปิ าฏิหาริย เปน ตน ไมอ าจกาํ จัดกเิ ลส
หรือดับความทกุ ขไ ดจ รงิ จติ ใจมคี วามขุนมัว กลดั กลุม เรารอ น ถูก
โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงํา กไ็ มสามารถแกไขใหหลุดพนเปนอิสระ
ได แมจะใชฌานสมาบัติขมระงบั ไว ก็ทําไดเพียงชวั่ คราว กลับ
ออกมาสกู ารเผชญิ โลกและชีวติ ตามปกตเิ มื่อใด กเิ ลสและความ
ทุกขก็หวนคืนมารังควาญไดอ กี เมือ่ น้ัน ยิ่งกวา นั้น อทิ ธิปาฏหิ าริย
อาจกลายเปนเครื่องมือรบั ใชก ิเลสไปก็ได ดงั เรอื่ งพระเทวทัตเปน
ตัวอยาง๒๒
๒๖ เรอ่ื งเหนือสามญั วิสยั
เทวดา
ขอเปรยี บเทยี บ
ระหวางฐานะของมนุษยก ับเทวดา
ขอ ควรพจิ ารณาเก่ียวกบั เรื่องเทวดา๒๓ วาโดยสว นใหญก็
เหมือนกับท่กี ลาวแลว ในเร่ืองอทิ ธปิ าฏิหาริยเ พราะคนมกั เขา ไป
เกยี่ วของกบั เทวดาเพอ่ื ผลในทางปฏิบตั ิ คอื หวังพง่ึ และขออาํ นาจ
ดลบันดาลตางๆ เชนเดียวกบั ท่ีหวังและขอจากอิทธฤิ ทธ์ิ และ
เทวดากเ็ ปนผมู ฤี ทธิ์ หลักการท่วั ไปที่บรรยายแลวในเรอื่ ง
อทิ ธิปาฏหิ าริย เฉพาะอยา งยิง่ สว นที่เก่ยี วกับคณุ และโทษ จึง
นํามาใชกับเร่ืองเทวดาไดดวย แตก็ยงั มเี รอ่ื งทค่ี วรทราบเพ่มิ เติม
อกี บางอยางดงั นี้
วา โดยภาวะพื้นฐาน เทวดาทุกประเภทตลอดจนถึงพรหมท่ี
สงู สุด ลว นเปนเพือ่ นรวมทุกขเ กดิ แกเ จบ็ ตาย เวยี นวา ยอยใู น
สงั สารวัฏเชน เดยี วกบั มนุษยท ง้ั หลาย และสว นใหญก็เปนปถุ ุชนยงั
มกี เิ ลสคลายมนุษย แมว า จะมีเทพที่เปนอรยิ บคุ คลบาง สวนมากก็
เปน อรยิ ะมากอนตง้ั แตค ร้ังยังเปนมนุษย แมว า เม่อื เปรยี บเทียบ
โดยเฉลย่ี ตามลาํ ดบั ฐานะ เทวดาจะเปนผมู ีคุณธรรมสงู กวา แตก็
อยใู นระดบั ใกลเคียงกนั จนพดู รวมๆ ไปไดวา เปน ระดบั สคุ ติดวยกัน
ในแงค วามไดเปรียบเสยี เปรียบ บางอยางเทวดาดีกวา แต
บางอยา งมนุษยก ็ดีกวา เชน ทา นเปรียบเทียบระหวางมนุษยช าว
อทิ ธิปาฏิหาริย- เทวดา ๒๗
ชมพทู วีปกบั เทพช้นั ดาวดึงสว า เทพชั้นดาวดึงสเ หนือกวามนุษย ๓
อยา งคอื มอี ายทุ ิพย ผิวพรรณทิพย และความสุขทิพย แตมนษุ ย
ชาวชมพูทวปี ก็เหนอื กวา เทวดาช้ันดาวดึงส ๓ ดาน คอื กลา หาญ
กวา มสี ติดีกวา และมีการประพฤติพรหมจรรย (หมายถงึ การ
ปฏบิ ัติตามอริยมรรค)๒๔
แมว าตามปกตพิ วกมนษุ ยจะถอื วา เทวดาสงู กวาพวกตน
และพากันอยากไปเกิดในสวรรค แตสําหรับพวกเทวดา เขาถอื กนั
วา การเกิดเปน มนุษยเ ปนสคุ ตขิ องพวกเขา ดังพทุ ธพจนยืนยันวา
"ภกิ ษุทงั้ หลาย ความเปน มนุษยน ่ีแล นับวาเปนการไปสคุ ตขิ องเทพ
ทัง้ หลาย"๒๕ เม่ือเทวดาองคใดองคหน่งึ จะจุติ เพ่ือนเทพชาวสวรรค
จะพากันอวยพรวา ใหไปสคุ ติคอื ไปเกิดในหมมู นษุ ยทง้ั หลาย
เพราะโลกมนุษยเ ปนถ่ินที่มโี อกาสเลือกประกอบกุศลธรรมทาํ
ความดงี ามตางๆ และประพฤติปฏบิ ตั ิธรรมไดอยางเต็มที่๒๕ (ความ
ชวั่ หรืออกศุ ลกรรมตา งๆ ก็เลอื กทาํ ไดเ ต็มที่เชนเดยี วกัน) การเกิด
เปน เทวดาท่ีมีอายยุ ืนยาว ทา นถอื วาเปน การเสียหรือพลาดโอกาส
อยางหนง่ึ ในการที่จะไดป ระพฤตพิ รหมจรรย๒๖ (ปฏบิ ตั ติ าม
อริยมรรค) เรียกอยา งสามัญวา เปนโชคไมด ี พวกชาวสวรรคมีแต
ความสุข ชวนใหเกดิ ความประมาทมัวเมา สติไมม น่ั สว นโลก
มนุษยมีสุขบางทกุ ขบา งเคลาระคน มปี ระสบการณหลากหลาย
เปนบทเรียนไดมาก เมื่อรจู ักกําหนดก็ทาํ ใหไดเ รียนรู ชวยใหส ติ
เจริญวองไวทํางานไดด ี๒๗ เกอ้ื กูลแกการฝกตนและการทจ่ี ะ
กาวหนา ในอารยธรรม
๒๘ เรอ่ื งเหนือสามญั วิสยั
เมื่อพิจารณาในแงระดับแหงคุณธรรมใหละเอยี ดลงไปอกี
จะเห็นวา มนษุ ยภมู นิ นั้ อยกู ลางระหวา งเทวภมู หิ รอื สวรรคกบั
อบายภูมิมนี รกเปนตน พวกอบายเชนนรกน้ัน เปน แดนของคน
บาปดอยคุณธรรม แมชาวอบายบางสว นจะจดั ไดวาเปน คนดี แตก็
ตกไปอยูในนั้น เพราะความช่ัวบางอยางใหผ ลถวงดงึ ลงไป สวน
สวรรคก ็เปน แดนของคนดีคอนขา งมคี ุณธรรม แมวา ชาวสวรรค
บางสวนจะเปน คนชัว่ แตกไ็ ดข ึน้ ไปอยูในแดนนั้น เพราะมีความดี
บางอยา งทีป่ ระทุแรงชวยผลกั ดนั หรอื ฉุดขนึ้ ไป สวนโลกมนุษยท่ี
อยรู ะหวางกลาง กเ็ ปน ประดุจชุมทางท่ผี า นหมุนเวียนกันไปมาท้ัง
ของชาวสวรรคและชาวอบาย เปนแหลงท่สี ตั วโลกทุกพวกทกุ ชนิด
มาทาํ มาหากรรม เปนทีค่ นชั่วมาสรางตวั ใหเปนคนดีเตรียมไป
สวรรคห รอื คนดมี าสุมตวั ใหเปนคนชว่ั เตรยี มไปนรก ตลอดจนเปน
ท่ีผูร จู ะมาสะสางตวั ใหเ ปนคนอสิ ระ เลิกทาํ มาหากรรม เปลย่ี นเปน
ผูห วา นธรรม ลอยพนเหนอื การเดินทางหมนุ เวยี นตอ ไป
พวกอบายมีหลายชั้น๒๘ ชน้ั เดยี วกันก็มีบาปธรรมใกลเ คียง
กัน พวกเทพกม็ หี ลายชั้นซอยละเอยี ดยงิ่ กวาอบาย มีคณุ ธรรม
พ้นื ฐานประณตี ลดหลน่ั กันไปตามลําดับ ช้นั เดียวกนั ก็มคี ุณธรรม
ใกลเคียงกัน สวนโลกมนษุ ยแดนเดียวนี้ เปนทรี่ วมของบาปธรรม
และคุณธรรมทุกอยา งทุกระดับ มคี นช่ัวซ่งึ มบี าปธรรมหยาบหนา
เหมอื นดังชาวนรกชน้ั ตํ่าสดุ และมคี นดซี งึ่ มีคุณธรรมประณตี
เทากับพรหมผูส งู สุด ตลอดจนทา นผูพนแลวจากภพภูมิทง้ั หลาย
ซง่ึ แมแ ตเ หลาเทพมารพรหมกเ็ คารพบูชา ภาวะเชนนี้นบั ไดว า เปน
อิทธปิ าฏิหารยิ - เทวดา ๒๙
ลกั ษณะพิเศษของโลกมนุษยท่ีเปนวสิ ัยกวา งสุดแหง บาปอกศุ ล
และคุณธรรม เพราะเปนท่ีทาํ มาหากรรม และเปน ท่ีหวานธรรม
เทา ท่ีกลา วมาน้ี จะเหน็ ขอเปรยี บเทียบระหวางมนุษยก ับ
เทวดาไดวา เมอื่ เทยี บโดยคณุ ธรรมและความสามารถท่ัวไปแลว
ท้ังมนุษยแ ละเทวดาตางก็มิไดเ ทา เทยี มหรือใกลเ คียงกัน เปน
ระดับเดยี วกัน แตม นุษยมีวิสยั แหงการสรางเสริมปรบั ปรงุ มากกวา
ขอ แตกตางสาํ คญั จึงอยทู ีโ่ อกาส กลา วคอื มนุษยมีโอกาสมากกวา
ในการทจี่ ะพัฒนาคุณธรรมและความสามารถของตน ถา มองใน
แงแ ขง ขัน (ทางธรรมไมสนบั สนุนใหม อง) ก็วา ตามปกตธิ รรมดา
ถาอยูกนั เฉยๆ เทวดาท่ัวไปสูงกวา ดีกวา เกงกวามนุษย แตถ า
มนษุ ยปรบั ปรุงตัวเมื่อไร ก็จะขน้ึ ไปเทียมเทา หรอื แมแ ตส ูงกวา
ดีกวา เกง กวาเทวดา๒๙
ความสมั พันธท ่ไี มค วร ระหวางมนษุ ยกับเทวดา
เม่ือทราบฐานะของเทวดาแลว พงึ ทราบความสัมพันธ
ทีค่ วรและไมค วรระหวางเทวดากบั มนุษยต อไป ในลัทธศิ าสนาที่มี
มาตง้ั แตกอ นพุทธกาล เขาเช่ือวามเี ทวดาใหญนอยมากมาย และ
มเี ทพสูงสดุ เปนผูสรา งโลกและบนั ดาลทกุ สิ่งทกุ อยาง ซงึ่ มนษุ ยไ ม
มีทางจะเจริญเลศิ ลํ้ากวาเทพน้ันได มนษุ ยจึงสรางความสมั พันธ
กับเทพดว ยวิธอี อนวอนขอความชว ยเหลือดว ยวิธกี ารตางๆ เชน
สวดสรรเสริญ ยกยอ ง สดุดี บวงสรวง สังเวย บูชายญั เปนการ
ปรนเปรอเอาอกเอาใจ หรือไมก็ใชว ิธีเรยี กรองความสนใจ บบี
๓๐ เรือ่ งเหนอื สามัญวิสยั
บังคับใหเ หน็ ใจเชิงเรา ใหเกิดความรอ นใจจนเทพทนนง่ิ อยูไมไ ด
ตองหันมา ดูแลหาทางแกไขหรือสนองความตอ งการให ท้งั นี้ โดย
ใชว ธิ ีขมข่ีบีบคัน้ ลงโทษทรมานตนเอง ทีเ่ รียกวาประพฤติพรตและ
บําเพญ็ ตบะตา งๆ สรุปใหเ ห็นชัดถึงวิธีสัมพนั ธกบั เทพเจา เปน ๒
อยา งคอื
๑. วิธีออนวอนขอความชวยเหลอื ดว ยการเซน สรวง สังเวย
บูชายญั ดังลูกออนวอนขอตอพอ แม บางทีเลยไปเปน ดงั ประจบ
และแมต ิดสินบนตอผูมอี าํ นาจเหนือ
๒. วิธบี ีบบังคบั ใหทําตามความประสงค ดวยการบาํ เพ็ญ
พรตทาํ ตบะ ดังลกู ท่ตี อี กชกหวั กดั ทึง้ ตนเอง เรยี กรอ งเชิงบีบบังคับ
ใหพอ แมหันมาใสใจความประสงคข องตน
แตจ ะเปนวธิ ใี ดกต็ าม ยอมรวมลงในการมุงหวัง
ผลประโยชนแกตน ดวยการพงึ่ พาสงิ่ ภายนอกทั้งสิน้ เมื่อ
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแลว ก็ไดสอนใหเลกิ เสยี ทัง้ สองวิธี และการ
เลกิ วธิ ปี ฏบิ ัติท้งั สองนแ้ี หละทเ่ี ปนลกั ษณะพิเศษของ
พระพทุ ธศาสนาในเรือ่ งนี้ ในการสอนใหเลกิ วิธีปฏบิ ตั ิเหลา นี้
พระพทุ ธศาสนาสามารถแสดงเหตผุ ล ชใ้ี หเ ห็นคณุ โทษ และวางวิธี
ปฏบิ ัติท่ีสมควรใหใหมดวย
โทษจากการหวังพง่ึ เทวดา
การหวังพ่ึงเทวดายอ มมผี ลในขอบเขตจํากดั หรอื มีจุดติด
ตันอยา งเดียวกบั ท่กี ลาวแลวในเรื่องอทิ ธิปาฏหิ าริย คือ ในทาง
อทิ ธิปาฏิหาริย- เทวดา ๓๑
ปญ ญา เทวดาทัว่ ๆ ไปก็ยงั มอี วชิ ชา ไมรูสัจธรรม เชน เดียวกับ
มนษุ ย ดงั เร่ืองพระภกิ ษุรูปท่เี หาะไปถามปญหากะเทวดาจนแมแ ต
พระพรหมก็ตอบไมไ ด และเรื่องพระพุทธเจาทรมานพวกพรหม
นามวา “พกะ” ในพกสูตรเปน ตน สว นในดานจติ ใจ เทวดาก็
เหมอื นกับมนุษย คือสว นใหญเปนปุถุชน ยังมีกเิ ลสมเี ชือ้ ความ
ทกุ ขม ากบางนอยบาง ยังหมุนเวียนข้ึนๆ ลงๆ อยูในสังสารวัฏ
ดังเชน พระพรหมแมจ ะมคี ุณธรรมสงู แตกย็ งั ประมาทเมาวาตนอยู
เท่ยี งแทน ิรันดร๓๐ พระอนิ ทรเมาประมาทในทพิ ยสมบัติ๓๑ คนอนื่
หวังพ่งึ พระอนิ ทร แตพระอนิ ทรเองยงั ไมห มดราคะ โทสะ โมหะ ยงั
มคี วามหวาดกลัวสะดงุ หวั่นไหว๓๒
การออนวอนหวังพึง่ เทวดา นอกจากขดั กับความเพยี ร
พยายามโดยหวงั ผลสาํ เร็จจากการกระทาํ ขัดหลักพึ่งตนเองและ
ความหลุดพนเปนอสิ ระ ดังไดก ลา วในเรือ่ งอทิ ธิปาฏหิ าริยแลว ยงั
มผี ลเสยี ท่ีควรสงั เกตอีกหลายอยา งเชน
- ในเม่อื เทวดาเปน ปุถุชน การทม่ี นุษยไปเฝา ประจบยก
ยอบนบานตางๆ ไมเพียงแตม นุษยเทา นัน้ ที่จะประสบผลเสีย
เทวดาท้ังหลายกจ็ ะพลอยเสยี ไปดวย เพราะจะเกดิ ความหลงใหล
มวั เมาในคํายกยอ งสรรเสรญิ ติดในลาภสักการะคือสงิ่ เซน สรวง
สงั เวยและปรารถนาจะไดใ หมากย่ิงขนึ้ ๆ โดยนัยนี้ทั้งเทวดาและ
มนษุ ยตา งก็มัวมาฝกใฝว ุน วายอยูกบั การบนบานและการใหผ ล
ตามบนบานละท้ิงกิจหนาทข่ี องตน หรือไมก ป็ ลอยปละละเลยให
๓๒ เร่อื งเหนือสามัญวิสยั
บกพรองยอ หยอน เปนผูตกอยใู นความประมาท แลว ทัง้ มนุษย
และเทวดาก็พากันเส่อื มลงไปดวยกนั
- เทวดาบางพวกเม่ือมวั เมาตดิ ในลาภสักการะความยก
ยอ งนบั ถือแลว กจ็ ะหาทางผูกมัดหมชู นไวก ับตน โดยหาทางทําให
คนตอ งพ่ึงเขาอยูเรอ่ื ยไป เพอื่ ผลนี้ เทวดาอาจใชว ิธีการตางๆ เชน
ลอ ดวยความสําเร็จสมปรารถนาเลก็ ๆ นอ ยๆ เพอื่ ใหค นหวงั ผล
มากย่งิ ขึ้นและบนบานเชนสรวงมากย่งิ ขึน้ หรือแมแ ตแ กลง ทาํ เหตุ
ใหคนตอ งมาตดิ ตอ ขอผลถลําตนเขา สูวงการ
- เมอ่ื เทวดาประเภทหวงั ลาภมาวุนวายกันอยมู าก
เทวดาดที ่จี ะชวยเหลอื คนดีโดยไมหวังผลประโยชน ก็จะพากนั เบอ่ื
หนายหลบลี้ปลกี ตัวออกไป คนที่ทําดี ก็ไมม ใี ครจะคอยชวยเหลือ
ใหกําลงั ฝายเทวดาใฝลาภ กจ็ ะชวยตอ เม่ือไดรับส่ิงบนหรอื อยาง
นอ ยคาํ ของรองออนวอน มนุษยก็เลยรูสึกกนั มากข้ึนเหมอื นวาทําดี
ไมไ ดด ี ทําชวั่ จงึ จะไดดี กอ ใหเ กดิ ความสบั สนระสาํ่ ระสายในสังคม
มนุษยมากยิ่งขน้ึ
- เม่ือเทวดาดงี ามปลีกตวั ไปไมเ ก่ยี วขอ ง (ตามปกตธิ รรม
เนียมของเทวดา กไ็ มตองการมาเกยี่ วของวนุ วายหรือแทรกแซงใน
กจิ การของมนุษยอ ยูแลว )๓๓ ก็ยง่ิ เปนโอกาสสาํ หรับเทวดารายใฝ
ลาภจะแสวงหาผลประโยชนไ ดม ากยิ่งขึน้ เชน เมอ่ื มนุษยออ นวอน
เรยี กรอ งเจาะจงตอเทพบางทานทเ่ี ขานับถอื เทพใฝลาภพวกนี้ก็จะ
ลงมาสวมรอยรบั สมอางหลอกมนษุ ย โดยมนุษยไมอ าจทราบ
อทิ ธิปาฏหิ ารยิ - เทวดา ๓๓
เพราะเปนเร่ืองเหนอื วสิ ยั ของตน แลว เทวดาสวมรอยกท็ าํ เร่อื งให
พวกมนุษยหมกมนุ มวั เมายิ่งขึน้
โดยนัยนี้ จะเห็นไดวา คนที่ไดร ับความชวยเหลือจากเทวดา
ไมจําเปนตองเปนคนดี และคนดกี ไ็ มจําเปน ตองไดรบั ความ
ชวยเหลือจากเทวดา ทเ่ี ปนเชนนเ้ี พราะทง้ั มนุษยแ ละเทวดาตา งก็
เปนปถุ ุชนและตางก็ปฏิบตั ิผิด พากันทาํ ใหระบบตา งๆ ทด่ี งี ามใน
โลกคลาดเคลอื่ นเสือ่ มทรามลงไป
ขอสงั เกตเพอ่ื การสรางความสัมพันธทถ่ี ูกตอ ง
อนงึ่ ขอกลา วถงึ ขอสังเกตบางอยา งเพอื่ จะไดมองเห็น
แนวทางในการปฏิบัตติ อ ไปชดั เจนข้ึน
ประการแรก เทวดาประกาศติ หรือกําหนดเหตุการณห รือ
บนั ดาลชะตากรรมแกม นุษยโดยเด็ดขาดแตฝา ยเดียวไมไ ด แม
ตามปกติจะถือกันวา เทวดามีฤทธมิ์ ีอํานาจเหนือกวามนษุ ย แตด งั
ไดกลาวแลวขา งตนวา ถามนุษยป รบั ปรุงตวั ข้นึ มาเม่อื ใด ก็
สามารถเทา เทียมหรือเหนือกวาเทวดาได และสิ่งที่จะกําหนดวา
ใครจะเหนอื ใครก็อยทู ี่คุณธรรมและความเพียรพยายาม ดงั มีเรอ่ื ง
มาในชาดก กษตั ริยสองเมืองจะทําสงครามกัน ฝายหนงึ่ ไปถาม
พระฤาษมี ีฤทธิ์ ซ่งึ ติดตอกับพระอินทรได ไดรบั ทราบคาํ แจงของ
พระอินทรวาฝา ยตนจะชนะ จึงประมาทปลอยเหลา ทหาร
สนกุ สนานบันเทงิ สว นกษัตรยิ อ ีกฝา ยหนึ่งทราบขาวทาํ นายวา
ฝา ยตนจะแพ ยงิ่ ตระเตรียมการใหแข็งแรงยิง่ ขนึ้ ครน้ั ถึงเวลารบ
๓๔ เร่ืองเหนือสามัญวสิ ัย
จริง ฝา ยหลงั นี้ก็เอาชนะกองทพั กษัตริยฝ ายที่มัวประมาทได พระ
อินทรถ ูกตอวาจึงกลาวเทวคติออกมาวา "ความบากบัน่ พากเพยี ร
ของคน เทพทัง้ หลายก็เกียดกันไมได"๓๔
เทวดาทีอ่ ยตู ามบานเรือนน้นั ตามปกติมนุษยใหเกียรตแิ ละ
เอาใจมาก แตถา มองแงหนง่ึ แลว ก็เปน ผอู าศัย ถา เจา บานมี
คุณธรรมสงู เชน เปน อริยสาวก มคี วามม่นั ใจในคณุ ธรรมของตน
หรอื มน่ั ใจในธรรมตามหลักศรัทธาอยางพระโสดาบนั เทวดาก็ตอง
เคารพเช่อื ฟง อยูในบงั คบั บัญชา มใิ ชเปน ผมู ีอํานาจบังคับเจาบาน
ดังเชน เทวดาผอู ยู ณ ซุม ประตบู า นของอนาถบณิ ฑิกเศรษฐี (ทาน
เจาบา นไมไ ดส รางทีอ่ ยใู หโ ดยเฉพาะ) เม่ือทานเศรษฐียากจนลง
ไดมาส่ังสอนใหเ ลกิ ถวายทาน ทานเศรษฐีเหน็ วา เปนคําแนะนําไม
ชอบธรรม ถงึ กับไลอ อกจากบา นทันที เทวดาหาทีอ่ ยูไมไ ด ในท่ีสุด
ไปหาพระอนิ ทร จะใหช ว ยพามาขอขมาเศรษฐี ไดร ับคาํ แนะนําวิธี
ที่จะขอขมาโทษ เมอื่ ปฏบิ ัตติ ามนั้นแลว จึงไดรับอนญุ าตกลบั เขา
อยู ณ ท่เี ดิมได๓ ๕
ประการทส่ี อง เมอ่ื คนถูกเทวดาใหโทษ จะถือเอาเปนเกณฑ
วา เขาทําผิดหรือเปนคนช่ัว ยงั ไมไ ด เพราะคนดีถูกเทวดารายกล่ัน
แกลง กม็ ีไมน อ ย ดงั เชน เทวดาซ่งึ อยู ณ ซุมประตู ของอนาถบิณ
ฑกิ เศรษฐีที่ไดก ลาวถึงแลว ทา นเรียกวาเปนเทวดามจิ ฉาทิฏฐบิ า ง
เทวดาอันธพาลบา ง เทวดานั้นไมพอใจวา เม่ือพระพุทธเจา หรือ
พระสาวกเสดจ็ มาบา นเศรษฐเี ขาจะตองลงมาท่ีพนื้ ดนิ ครั้นเศรษฐี
อิทธปิ าฏิหารยิ - เทวดา ๓๕
ยากจนลง จงึ ไดโ อกาสเขา มาสง่ั สอนเศรษฐี เพ่ือยุใหเ ลิกเก่ียวของ
กบั พระพุทธเจา แตไ ดผ ลตรงขามดงั กลาวแลว
เทวดาบางองคแกลงคนใหระแวงกันเลนเทา น้นั เอง๓๖
แมแ ตพวกเทวดาตามปา เม่ือพระไปอยูอาศัยเพ่อื ปฏบิ ตั ิธรรม บาง
พวกกไ็ มพอใจ เพราะคนดีมีคุณธรรมสูงกวาตนเขา มาอยู ทาํ ให
พวกตนอดึ อัดใจ ทาํ อะไรๆ ไมสะดวก จึงหาทางแกลง ดวยวธิ ีตา งๆ
๓๗ ซ่งึ พระพทุ ธเจาทรงแนะนาํ ใหแกไ ขดวยการแผเ มตตา เอาความ
ดเี ขา ตอบ แตใ นกรณีทีพ่ วกเทวดาไปแนะนาํ ใหทาํ อยา งนอ้ี ยา งน้ัน
หากพิจารณาแลว เหน็ วา เปนการกระทําที่ไมถ ูกตอ งชอบธรรม
พุทธสาวกผูรูหลกั ยอมมีความเขมแขง็ มัน่ คงในจรยิ ธรรมและจะไม
ยอมปฏิบตั ติ ามคําของเทวดานั้นเปนอันขาด ไมวา เทวดาจะขหู รือ
ลอดวยรางวัลอยา งใดๆ๓๘
ประการทส่ี าม เทวดาบางองคม พี ฤติการณท างราย ชอบ
ทําตนเปนปฏิปก ษขัดขวางความเจริญของมนษุ ยทัง้ หลายอยเู ปน
ประจํา เทวดาอยา งนี้มนุษยไมเพียงแตมิควรออ นวอนขอรองหรือ
หวังพ่ึงเทานั้น แตค วรปราบหรือพิชติ ใหไดท เี ดียว และถา ฝกปรือ
ความสามารถของตนใหด ี มนุษยก็สามารถเอาชนะไดดวย
ตัวอยา งสําคัญคือ "มาร"๓๙ มารนีเ้ ปนเทพในสวรรคช ้นั สูงสดุ ของ
ระดบั กามาวจร คือชัน้ ท่ี ๖ ไดแ ก ปรมนิ มติ วสวตั ดี แตช อบ
ขดั ขวาง รังควาญผูอน่ื เมอ่ื เขาจะทําความดี เฉพาะอยา งยงิ่ เม่อื ใคร
จะเปลื้องตนใหเปน อิสระจากกาม ถือวาผนู ้นั จะขามออกนอกเขต
อํานาจของมาร๔๐ ก็เปนอนั จะตองเผชิญหนากับมารทเี ดียว มารมี
๓๖ เร่ืองเหนือสามญั วสิ ยั
ฤทธ์ิมีอทิ ธิพลยิง่ ใหญมาก แมแ ตพ ระอนิ ทร พอมารมาก็หนีไมร อ
หนา ไปหลบอยสู ดุ ขอบจักรวาล พระพรหมก็หลกี เล่ยี ง๔๑ บาง
คราวมารก็ขึ้นไปรงั ควานถงึ พรหมโลกซ่งึ เปน ชั้นรูปาวจรสูงกวา
ระดับของตน๔๒ พระพุทธเจา จึงตรสั วา "บรรดาผยู งิ่ ใหญ มารเปน
เลิศ"๔๓ แมม ารจะมอี ํานาจย่ิงใหญถ ึงอยางนี้ แตม นุษยผ ูฝกอบรมดี
แลวดว ยศีล สมาธิ ปญ ญา ก็พิชติ มารไดด วยคุณธรรมของตน และ
มนุษยท่ีมคี ุณธรรมสงู เชนนี้ เทพเจา ทงั้ ปวงตลอดถงึ พรหมยอมนบ
ไหว๔๔
เทาท่ีกลา วมาอยา งนี้ มิไดม ุงหมายจะลบหลูหรือชักชวนให
มจี ิตกระดา งตอเทวดาทง้ั หลายแมแตนอ ย เพียงแตจะสรา งความ
เขาใจเพือ่ เตรียมวางจิตใหถูกตองสาํ หรับการดําเนนิ ตามวธิ ีปฏิบัติ
ทีจ่ ะกลาวตอ ไป
ความสัมพันธแ บบชาวพุทธระหวางมนษุ ยกับเทวดา
อาศยั ความเขา ใจเก่ียวกับฐานะของเทวดาและเหตุผล
เก่ยี วกบั โทษของการสมั พันธกบั เทวดาดว ยทาทีทผี่ ดิ ดังกลา วมา
พระพุทธศาสนาจงึ สอนใหละเลิกวธิ กี ารแบบหวังพึ่งขอผลเสยี
ทง้ั หมด ไมวาจะเปน การออนวอนหรอื การบีบบังคับก็ตาม แลว ช้ี
แนวทางใหม คอื การวางทา ทแี หง เมตตา มไี มตรีจิตอยูร วมกนั ฉัน
มิตร เคารพนับถอื ซง่ึ กนั และกนั ในฐานะทีเ่ ปนเพื่อนรว มทกุ ขหรอื
เพื่อนรว มสังสารวฏั และในฐานะท่ีโดยเฉล่ยี เปนผูมีคณุ ธรรมใน
อิทธปิ าฏิหาริย- เทวดา ๓๗
ระดบั สงู พรอมทั้งใหม ที าทแี หง การไมวนุ วายไมกาวกายแทรกแซง
กนั โดยตางก็เพียรพยายาม ทํากิจของตนไปตามหนาที่
ทาทแี หง การไมรบกวนและไมชวนกันใหเสยี เชนนี้ ถา สงั เกต
กจ็ ะพบวาเปนสงิ่ ทีป่ รากฏชดั เจนในประเพณีความสัมพันธแบบ
ชาวพุทธระหวางมนษุ ยก บั เทวดา เพราะมเี รอื่ งราวเลา กันมา
มากมายในคัมภรี ตางๆ เฉพาะอยา งยิง่ อรรถกถาชาดก และอรรถ
กถาธรรมบท ตามประเพณนี ี้ เทวดาท่ชี วยเหลอื มนุษย ก็มีอยู
เหมือนกัน แตล กั ษณะการชว ยเหลือ และเหตทุ ่ีจะชวยเหลือตาง
ออกไปจากแบบกอ น คอื เทวดาทช่ี วยเหลือมาชวยเองดวย
คุณธรรมคือความดขี องเทวดาเอง มใิ ชเ พราะการเรียกรองออน
วอนของมนุษย และเทวดาก็มิไดเ รียกรอ งตอ งการหรอื การออน
วอนน้ัน ทางฝายมนษุ ยผ ูไดร ับความชวยเหลอื กท็ ําความดไี ป
ตามปกตธิ รรมดาดว ยคุณธรรมและความสํานกึ เหตุผลของเขาเอง
มิไดคํานงึ วาจะมีใครมาชวยเหลือหรือไม และมไิ ดเ รยี กรองขอ
ความชวยเหลือใดๆ สว นตัวกลางคอื เหตุใหม ีการชวยเหลือเกดิ ข้ึน
ก็คอื ความดีหรอื การทําความดีของมนุษย มิใชการเรยี กรอ งออน
วอนหรอื อามิสสินวอนใดๆ เทวดาองคเดนที่คอยชวยเหลอื มนุษย
ตามประเพณีน้ีไดแ กทา วสักกะทีเ่ รียกกันวา พระอินทร คติการ
ชวยเหลอื ของพระอนิ ทรอ ยางนี้ นับวา เปนววิ ัฒนาการชวงตอท่ี
เชือ่ มจากคติแหง เทวานุภาพของลัทธศิ าสนาแบบเดิม เขา สคู ติแหง
กรรมของพระพุทธศาสนา๔๕ แมจะยังมใิ ชเ ปนตวั แทบ ริสทุ ธ์ิตาม
๓๘ เรอ่ื งเหนอื สามัญวสิ ยั
หลักการของพระพทุ ธศาสนา แตกเ็ ปนคติที่ววิ ัฒนเขา สคู วามเปน
พทุ ธ ถึงข้นั ท่ียอมรับเปนพุทธได
สาระสาํ คัญของคติน้กี ค็ ือ มนษุ ยที่ดยี อ มทาํ ความดีไปตาม
เหตุผลสามัญของมนุษยเอง และทาํ อยางมั่นคงแนวแนเ ต็ม
สตปิ ญญาจนสุดความสามารถของตน ไมค ํานึงถึง ไมรรี อ ไม
เรยี กรองความชว ยเหลอื จากเทวดาใดๆ เลย เทวดาที่ดียอ มใสใ จ
คอยดแู ลชวยเหลือมนุษยท ี่ดดี วยคณุ ธรรมของเทวดาเอง เมือ่
มนุษยผ ูทาํ ดไี ดรับความเดือดรอ น หากเทวดายังมีความดีอยบู าง
เทวดากจ็ ะทนดไู มไ หวตองลงมาชวยเอง๔๖ พดู งายๆ วา มนษุ ยก็
ทาํ ดโี ดยไมค ํานงึ ถงึ การชวยเหลือของเทวดา เทวดากช็ วยโดยไม
คาํ นงึ ถงึ การออนวอนของมนษุ ย ถาใครยงั หว งยงั หวงั ยงั เยือ่ ใย
ในทางเทวานุภาพอยู ก็อาจจะทอ งคตติ อไปน้ีไวป ลอบใจวา "การ
เพียรพยายามทาํ ดี เปน หนาทขี่ องมนุษย การชว ยเหลอื คนทาํ ดเี ปน
หนา ท่ขี องสวรรค เราทาํ หนา ท่ขี องมนุษยใหดที ่ีสดุ กแ็ ลว กนั "๔๗
ถามนุษยไ มเ พยี รทําดี มวั แตอ อ นวอนเทวดา และถา
เทวดาไมใสใ จชว ยคนทําดี มวั แตรอการออ นวอนหรือคอยชว ยคน
ทอ่ี อ นวอน กค็ อื เปน ผูทาํ ผิดตอหนาที่ เม่ือมนุษยและเทวดาตาง
ขาดคุณธรรม ปฏิบัติผดิ หนา ท่ี ก็จะประสบความหายนะไปดวยกัน
ตามกฎธรรมดาทีค่ วบคมุ ท้งั มนษุ ยแ ละสวรรคอ ยอู กี ชั้นหน่งึ
อิทธปิ าฏิหารยิ - เทวดา ๓๙
สรปุ วิธีปฏบิ ัติท่ีถูกตอ ง ตอเรือ่ งเหนือสามญั วิสยั
เขา ใจพฒั นาการแหงความสมั พนั ธ ๓ ขั้น
ชมุ ชนหรอื สงั คมตามหลกั การของพระพุทธศาสนา
ประกอบดวยผคู นมากมายซ่ึงกําลังกาวเดินอยู ณ ตําแหนง แหงที่
ตางๆ บนหนทางสายใหญสายเดยี วกัน ซ่ึงนําไปสจู ดุ หมาย
ปลายทางเดียวกัน และคนเหลา น้นั กาวออกมาจากจุดเริ่มตน ท่ี
ตางๆ กัน พดู อกี อยางหน่ึงวา สัตวท ้ังหลายเจริญอยูใ นขนั้ ตอน
ตางๆ แหง พัฒนาการในอริยธรรม
เมอื่ มองดกู ารเดินทางหรอื พัฒนาการน้ันในแงท ีเ่ กีย่ วกับ
เรื่องเทวดา กจ็ ะเห็นลาํ ดับข้นั แหง พัฒนาการ เปน ๓ ข้นั คอื ขัน้
ออนวอนหวังพึง่ เทวดา ขึ้นอยูรวมกนั ดว ยไมตรีกับเทวดาและข้ัน
ไดรบั ความเคารพบูชาจากเทวดา
ขั้นที่ ๑ จัดวา เปนขนั้ กอ นพัฒนา
ข้นั ที่ ๒ คือจุดเร่ิมตน ของชุมชนแบบพุทธหรือชุมชนอารยะ
ขั้นที่ ๓ เปนระดับพัฒนาการของผเู ขาถงึ จุดหมายของ
พระพุทธศาสนา
ขอ ควรย้ํากค็ ือ คนผูใ ดผูห น่งึ จะไดชอ่ื วาเปน ชาวพุทธกต็ อ เมื่อ
เขากา วพนจากขัน้ ออนวอนหวังพ่ึงเทพเจา เขาสขู ัน้ อยูรวมกนั ดว ยไมตรี
ซ่งึ เขาจะดาํ เนนิ ชีวติ ดวยความเพยี รพยายามกระทาํ การตาม
เหตุผลเลิกมองเทวดาในฐานะผูม อี ํานาจที่จะตองวงิ วอนประจบ
๔๐ เร่อื งเหนือสามญั วสิ ยั
เอาใจ เปลยี่ นมามองในฐานะเปนญาตมิ ติ รดีงามท่ีควรเคารพนับ
ถอื มีเมตตาตอกนั ๔๘ ไมค วรมวั่ สุมคลกุ คลกี ัน ไมควรรบกวนกาว
กา ยกัน และไมค วรสมคบกันทาํ สิ่งเสยี หายไมชอบดวยเหตุผล
เมื่อมองพัฒนาการนั้นในแงที่เก่ียวกับอทิ ธิปาฏหิ าริย
(รวมถงึ อาํ นาจศักด์สิ ิทธเ์ิ รนลับอืน่ ๆ) กจ็ ะมลี าํ ดบั ๓ ข้ันเหมอื นกัน
คือ ขัน้ หวังพึ่ง ขัน้ เสริมกําลัง และขั้นเปนอสิ ระส้นิ เชิง
ขน้ั ท่ี ๑ เปนขน้ั รอคอยอาํ นาจภายนอกดลบนั ดาล ทําให
หมกมนุ ฝก ใฝ ปลอ ยทงิ้ เวลา ความเพียรและการคิดเหตผุ ลของตน
จดั เปนขั้นกอนพฒั นาหรือนอกชุมชนอารยะ
ข้ันที่ ๒ คอื ข้ันที่ทําอิทธิปาฏิหารยิ ไดเ องแลว และใช
อิทธปิ าฏิหาริยน ั้นเพอื่ เสริมกาํ ลังในการทําความดอี ยา งอื่น เชนใน
การชว ยเหลอื ผูอื่นจากภยั อนั ตราย และเปน เครื่องประกอบของ
อนุสาสนีปาฏิหาริย ถาเปนส่ิงมงคลศกั ด์สิ ทิ ธอิ์ ยา งอืน่ ๔๙ ขัน้ ที่ ๒ น้ี
กอ็ นโุ ลมไปถึงการมีสิ่งเหลานัน้ ในฐานะเปนเครอื่ งเสรมิ กาํ ลังใจ
หรอื เปนเพอื่ นใจใหเ กิดความอนุ ใจ ทําใหเพยี รพยายามทาํ ความดี
งามไดแขง็ แรงย่ิงข้ึน มีความม่ันใจในตนเองมากยิ่งข้นึ หรอื เปน
เครือ่ งเตอื นสตแิ ละเรง เราใหป ระพฤติส่ิงที่ดีงาม ขั้นนี้พอจะยอมรับ
ไดว าเปนการเริ่มตน เขาสูระบบชีวติ แบบชาวพุทธ แตทา นไม
พยายามสนับสนนุ เพราะยังอาจปะปนกบั ข้ันที่ ๑ ไดง า ย ควรรบี
กา ว ตอ ใหผา นพน ไปเสยี ควรระลกึ อยเู สมอถึงคุณสมบตั ขิ อง
อุบาสกท่ดี ีขอท่ี ๓ วา "ไมถือมงคลตน่ื ขา ว มุงกรรม คิดมงุ เอาผล
จากการกระทํา ไมม งุ หามงคล"๕๐
อทิ ธปิ าฏหิ าริย- เทวดา ๔๑
ข้นั ที่ ๓ คือการมีชวี ติ จิตใจเปน อสิ ระ ดําเนินชีวติ ท่โี ปรง เบา
แทโดยไมตองอาศยั อทิ ธปิ าฏหิ ารยิ หรอื สิง่ อนื่ ภายนอกมาเสริม
กาํ ลงั ใจของตนเลย เพราะมีจติ ใจเขม แข็งเพียงพอ สามารถบังคับ
ควบคุมจติ ใจของตนไดเอง ปราศจากความหวาดหว่ันกลัวภัย
อยา งนอยกม็ ีความมั่นใจในพระรตั นตรัยอยางบรบิ ูรณเปน
หลักประกัน ข้ันท่ี ๓ น้ี จดั เปนข้นั เขา ถึงพระพุทธศาสนา
กา วเขา สูขั้นของการมชี วี ติ อิสระ เพื่อเปน ชาวพทุ ธท่แี ท
ในการนาํ คนใหพฒั นาผานข้นั ตา ง เหลา น้ี งานสําคัญก็คือ
การสั่งสอนแนะนาํ และผทู ถ่ี ือกนั วาเปนหลักในการทาํ หนา ทีน่ ้ีก็
คอื พระภกิ ษุสงฆ การพฒั นาหรือกาวหนาในทาง จะไปไดช า หรือ
เร็ว มากหรือนอ ยยอมข้นึ ตอ ปจจยั ทัง้ ฝายผูแนะนาํ ส่ังสอนและคนที่
รับคําสอน ผูสอนยอ มมคี วามสามารถมากนอ ยตางกนั คนท่ฟี งก็
เปน ผูก าวเดินออกจากจุดเรม่ิ ตนตางๆ กนั มคี วามพรอ มหรือความ
แกก ลา แหงอินทรียไ มเหมือนกัน จรงิ อยู จดุ หมายของการสอนและ
การกาวเดินยอมอยู ณ ขน้ั ที่สาม ถา ผสู อนมีความสามารถชาํ นาญ
ในอนสุ าสนี และคนรับคําสอนพรอมอยูแลว ก็อาจใชแ ตเ พียง
อนสุ าสนอี ยางเดียว พากาวคร้ังเดียวจากข้ันที่ ๑ เขา สูข ้ันท่ี ๓
ทันที ย่งิ เชย่ี วชาญในอนุสาสนีมาก ก็ย่ิงสามารถชว ยใหคนรับคาํ
สอนเปนผูพรอมขน้ึ ดว ยและกา วเรว็ ไดดวย แตพ ระทกุ รูปมใิ ชจะ
เกง อนุสาสนเี หมอื นกันหมด การผอนปรนจึงเกิดมีข้ึน
๔๒ เรื่องเหนือสามญั วิสยั
ตามปกติ ในการนําคนกาวออกมาและเดนิ หนาไปสขู ้ัน
ตา งๆ นน้ั ผสู อนจะตอ งเขาไปหาใหถึงตัวเขา ณ จดุ ที่เขายืนอยู
หรอื ไมก ็ตองหาอะไรหยบิ ยื่นโยนไปใหเ พือ่ เชื่อมตัวใหถ ึงกัน แลว
จงึ ดึงเขาออกมาได เม่ือผูสอนไมม ีความสามารถ ปราศจาก
เครื่องมือสื่อโยงชนดิ พเิ ศษ ก็ตอ งเขาไปใหถ งึ ตวั เขา แลวพาเขา
เดนิ ออกมาดวยกันกับตน โดยเร่ิมจากจุดท่ีเขายืนอยูน้ันเอง คงจะ
เปนดวยเหตุเชนน้ี จงึ มีการผอ นปรนในรปู ตา งๆ ซอยละเอยี ด
ออกไปอนั จดั รวมเขาในขั้นทส่ี องของการพฒั นา
หลกั การของการผอ นปรนนก้ี ็คอื การใชส ง่ิ ท่ีเขายดึ ถืออยู
เดมิ นั่นเองเปนจุดเริม่ ตน วธิ เี รมิ่ อาจทําโดยแกะส่งิ ทเ่ี ขายดึ หรือ
เกาะตดิ อยนู ้ันออกจากฐานเดิม แลวหันเหบายหนามาสูท ิศทางที่
ถูกตอ ง พรอมทัง้ ใชส่งิ ทเี่ ขายึดเกาะอยนู น้ั เปน เครอื่ งจงู เขาออกมา
จนพนจากท่ีน้นั วธิ ีการน้ีเห็นไดจากพุทธบัญญตั เิ กย่ี วกับการ
เหยยี บผืนผา เร่อื งมวี า คราวหนง่ึ เจา ชายโพธิ (โพธริ าชกมุ าร) สรา ง
วงั แหง หนงึ่ เสร็จใหม จงึ นมิ นตพระสงฆมพี ระพทุ ธเจา เปนประมุข
ไปฉนั ท่วี งั นั้น เจาชายไดใ หป ลู าดผาขาวท่วั หมดถงึ บันใดข้ันท่ี ๑
เมื่อพระพทุ ธเจา เสด็จถึงวังก็ไมท รงเหยียบผา จนเจา ชายโปรดให
มวนเก็บผนื ผาแลว จึงเสด็จขึ้นวงั และไดท รงบญั ญัติสิกขาบทไว
หา มภิกษุเหยียบผืนผา ตอมาหญิงผหู นงึ่ ซึ่งแทง บุตรใหมๆ ได
นมิ นตพระมาบานของตน แลวปผู าผนื หน่ึงลง ขอรอ งใหพระภกิ ษุ
ทง้ั หลายเหยียบเพอื่ เปนมงคล ภกิ ษุเหลา น้นั ไมยอมเหยียบ หญิง
นน้ั เสยี ใจ และติเตียนโพนทะนาวา ภิกษุทั้งหลาย ความทราบถึง
อิทธิปาฏหิ ารยิ - เทวดา ๔๓
พระพทุ ธองค จึงไดท รงวางอนุบัญญตั ิ อนญุ าตใหภิกษุท้ังหลาย
เหยยี บผืนผาไดใ นเม่อื ชาวบานขอรอ ง เพอ่ื เปนมงคลแกพ วกเขา๕๑
พทุ ธบัญญตั ินนี้ าจะเปนสาเหตุหรอื ขออา งอยางหนึ่ง ทีท่ ํา
ใหพ ระสงฆไ ดโ อนออนผอ นตามความประสงคของชาวบาน
เกีย่ วกับพิธกี รรมและส่ิงที่เรียกวาวตั ถุมงคล๕๒ ตางๆ ขยายกวา ง
ออกไป เปดรบั เคร่ืองรางของขลงั และสิ่งศกั ด์ิสทิ ธอ ่นื เขา มา
มากมาย จนบางสมยั รูสกึ กนั วา เกิดขอบเขตอันสมควร๕๓ อยางไรก็
ตาม ถาเขาใจหลกั การท่ีกลา วมาขางตน ดีแลว และปฏบิ ัติตาม
หลักการนั้นดวย ปฏิบัติใหตรงตามพุทธบญั ญัตินใ้ี นแงทว่ี า ทํา
ตอเมื่อเขาขอรอ งดว ย ความผิดพลาดเสยี หายและความเฟอ เฝอ
เลยเกดิ ก็คงจะไมเกิดขึ้น
สว นทางดานเทวดา ความผอ นปรนในระดับพัฒนาการข้ัน
ท่ี ๒ กเ็ ปด โอกาสใหช าวพทุ ธผูอ ยใู นสภาพแวดลอมซ่ึงนับถอื บูชา
เทวดามาแตเดิม แสดงความเอ้อื เฟอเกื้อกลู แกเทวดาไดต อไป ถึง
จะทาํ พลีกรรมแกเทวดา กส็ นบั สนุน๕๔ เพียงแตมีขอแมว าตอ งทํา
ฐานสงเคราะหอ นุเคราะหแสดงเมตตาจิตตอกนั มใิ ชจะออ นวอน
หรอื ขอผลตอบแทน เมื่อไปอาศัยอยู ณ ถ่นิ ฐานใดก็ตาม ทําการ
บํารุงถวายทานแกทานผทู รงศีลแลว กต็ งั้ จติ เผื่อแผอุทิศสว นบุญ
ไปใหแ กเ ทวดาทัง้ หลายในที่นั้นดวย เทวดาทงั้ หลายไดรับความ
เอ้อื เฟอ แลว กจ็ ะมีไมตรจี ิตตอบแทน "เทวดาทั้งหลาย ไดร ับการ
บชู า (ยกยองใหเกยี รติ) จากเขาแลว ยอมบชู าเขา ไดร บั ความนบั
ถือจากเขาแลว ยอ มนบั ถอื เขา และยอมเอ็นดเู ขาเหมือนแมเอน็ ดู
๔๔ เร่อื งเหนือสามญั วสิ ัย
ลูก"๕๕ อยางไรก็ดี ไมตรีจิตตอบแทนจากเทวดาท่ีวาน้ี เปน เร่ืองของ
เทวดาเอง ผอู ทุ ศิ กุศลไมตองไปคดิ หวงั เอา หนาท่ขี องเรามีเพียงต้ัง
จติ เมตตาแผความดีใหเทาน้นั
สําหรบั คนท่ีมีความเขาใจในหลกั การน้ีเปนอยางดีแลว เมื่อ
เขานกึ ถึงเทวดา ก็จะนึกถึงดว ยจติ ใจท่ีดงี าม มแี ตความปรารถนา
ดี เมอ่ื ทาํ ความดีหรอื ทําสิง่ ใดทด่ี งี ามเปนบุญเปน กศุ ล จะแผบุญ
กุศลน้นั ไปใหแกเทวดาดวย กไ็ มม ขี อ เสียหายอะไร มแี ตจ ะสง เสริม
คณุ ภาพจติ ของตนเอง และแผค วามดีงามรมเย็นใหก วา งออกไป
ในโลก เมอ่ื ยงั กา วไมพนจากพัฒนาการข้นั ท่ี ๒ สูข น้ั ที่ ๓ อยูตราบ
ใด หากยังรักษาความสมั พันธใ หอ ยูภายในหลักการแหง ความอยู
รวมกันดว ยดีนี้ได ไมถลาํ กลบั ไปสูก ารประจบเอาใจหรอื เรียกรอง
ออนวอน การกระทาํ ตางๆ ก็จะรักษาตัวมนั เองใหอ ยูภายใน
ขอบเขตทจ่ี ะไมเกิดผลเสยี หายทั้งแกชีวิตแกส งั คม อกี ทั้งจะไดผ ลดี
ทางจิตใจเปนกําไรอกี ดวย
วธิ ีปฏบิ ตั ทิ ่ถี กู ตอ งตอ ส่ิงเหนือสามญั วสิ ยั
เทาท่ีบรรยายมาอยา งยืดยาวในเรื่องนี้ ก็เพยี งเพอื่ ใหเ ห็น
วิธปี ฏิบัตทิ ี่ถูกตอ งสมควรตอ ส่ิงเหนอื วิสามญั วิสัย โดยไมขดั กับ
หลักการของพระพุทธศาสนา ซ่ึงมงุ ใหเ กิดประโยชนทัง้ แกช ีวิตของ
บุคคลและแกสงั คม ขอสรุปอกี ครั้งหนง่ึ วา วิธปี ฏิบัติตอเทวดาและ
อิทธิปาฏหิ ารยิ ตลอดจนมงคลฤทธิ์ตา งๆ เปน เรอ่ื งไมยุงยากอยา งใด
ถาเราประพฤติถูกตองตามธรรมอยแู ลว ก็ดาํ เนนิ ชีวิตไปตามปกติ
อิทธปิ าฏิหาริย- เทวดา ๔๕
เมอ่ื เราอยูใ นสังคมนี้ กย็ อ มไดย ินไดฟ ง เกี่ยวกับเทวดาบา ง
สง่ิ ศกั ดส์ิ ิทธ์ิ อทิ ธฤิ ทธ์บิ าง บางครั้งเราก็ระแวงวา ส่งิ เหลานั้นมีจริง
หรือวาไมม จี รงิ ถา มีจะทําอยา งไรเปนตน พงึ มั่นใจตนและเลิก
กังวล ฟงุ ซานอยา งน้นั เสีย แลว ดาํ เนินวิธปี ฏิบัตทิ ี่ไมผ ิดทุกกรณี ซง่ึ
เปน วธิ ีปฏิบัติสาํ เรจ็ ไดท ี่ในใจนีเ้ อง คอื สาํ หรับเทวดาเราพงึ มที าที
แหง เมตตา ทาํ ใจใหออนโยนตอ สรรพสัตว ตง้ั จิตปรารถนาดี หวัง
ใหส ตั วท งั้ หลายรวมท้งั เทวดาดว ยท่เี ปนเพอื่ นรว มโลกท้งั ปวงตาง
อยูเ ปนสขุ เคารพความดีของกันและกนั
และในสังคมนี้ เราคงตองพบกับคนทงั้ สองประเภทคือ ผูท่ี
ฝก ใฝหมกมนุ หวังพึ่งเทวดา และผูทไ่ี มเ ช่อื ถือมีจติ กระดางขึง้ เคียด
เหยียดหยามท้งั ตอ เทวดาและผูนบั ถือเทวดา ตางวิวาทขดั แยง กัน
เรามีโอกาส กพ็ งึ ชักจงู คนท้ังสองพวกน้ันใหมาอยู ณ จดุ กลางที่
พอดี คอื ความมีจิตเมตตาออนโยนตอ เทวดาและตอ กันและกัน
พรอ มน้ันในดานกิจหนาที่ของตน เราพึงกระทําดวยความเพยี ร
พยายามเต็มความสามารถไปตามเหตุผล ถายังหวงการชว ยเหลือ
ของเทพเจาก็พึงวางจิตวา ถา ความดีของเราเพยี งพอและเทพเจาที่
ดงี ามมนี ้ําใจสุจรติ มอี ยู ก็ปลอยใหเ ปนเร่อื งของเทพเจา เหลาน้ัน
ทานจะพจิ ารณาตัดสนิ ใจเอง สว นตวั เราน้ันจะตงั้ จิตมั่น เพียร
พยายามทํากิจของตนไปจนสุดกาํ ลงั สติปญ ญาความสามารถ
และจะฝก ฝนตนใหเจริญกาวหนา ยิ่งขนึ้ ไปทั้งในทางปญ ญาและ
คุณธรรมจนขามพน เขาสูพัฒนาการขั้นทส่ี าม ซ่งึ เปน อสิ ระและ
สมควรเปนท่เี คารพบูชาของเทวดาได (มิใชห มายความวาจะให
๔๖ เรอื่ งเหนือสามัญวิสยั
ต้ังใจ ประพฤติดเี พ่ือใหเทวดาเคารพบูชา หรอื ใหก ระดางกระเดื่อง
ตอ เทวดาซึ่งจะกลายเปนมานะอหังการไป แตหมายความวา เรา
ทําความดีของเราไปตามเหตุผลของเรา เปน เร่อื งของเทวดาเขา
เคารพเอง เพราะเทวดาน้ันมีความดที ี่จะเคารพความดขี องคนดี)
สว นเรอื่ งอทิ ธิปาฏหิ าริยแ ละสง่ิ มงคลศกั ดสิ์ ทิ ธทิ์ ง้ั หลาย ก็
พงึ ปฏบิ ัติอยา งเดยี วกัน เปล่ียนแตเ พียงทาทีแหงเมตตามาเปน
ทาทีแหง ความมพี ลงั จติ สรา งฤทธิ์และมงคลใหเกิดมีเปน ของ
ตนเอง ฤทธท์ิ คี่ วรสรา งไดต ง้ั แตเบ้อื งตน ก็คือความเพียรพยายาม
บากบ่ันเขม แขง็ พรอมทง้ั ความหนักแนนในเหตุผลซ่ึงเปน แรง
บนั ดาลความสําเรจ็ แหงกิจหนา ที่ มงคลก็คอื คุณธรรมและ
ความสามารถตางๆ ที่ไดปลกู ฝง สรา งขนึ้ อันเสรมิ สงและคุม นําไปสู
ความสขุ ความเจริญและความเกษมสวัสดี๕๖
ทางดานพระภิกษุผูส ัมพนั ธก ับประชาชนในฐานะผูนําทาง
จิตใจ เม่ือจะตองเก่ยี วของกบั สงิ่ เหลา นพี้ ึงเตรียมใจระมดั ระวังถอื
เหมือนดงั เขาผจญภยั โดยไมประมาท สําหรับผูเกง กาจทาง
อนุสาสนี ก็ไมส ูกระไร อาจอาศัยความเชย่ี วชาญในเชิงสอน นํา
ชาวบานกาวสพู ฒั นาการขั้นสูงๆ ไดโดยรวดเรว็ แตกม็ ขี อควรระวงั
อยบู าง เพราะบางทา นสามารถใชอ นุสาสนีทําใหคนเลิกเชื่อถอื ส่งิ
ทเ่ี ขาเคยยึดถืออยเู ดิมได แตหยุดแคน้ันหรอื ไมอ าจชีแ้ นะใหเขา
เกดิ ปญญามองเหน็ ทางถูกตอ งทีจ่ ะเดินตอ ไป ทาํ ใหชาวบานมี
อาการอยางท่วี า ศรัทธาก็หมด ปญญากไ็ มม ี ตกอยใู นภาวะเควง
ควาง เปนอนั ตรายท้งั แกชีวิตของเขาเองและแกสงั คม
อิทธปิ าฏิหารยิ - เทวดา ๔๗
สว นทา นทไี่ มถนัดในเชิงสอนเชนนัน้ และจะเขาไปใชสง่ิ ที่
เขายึดอยูเปนจดุ เรม่ิ ตน มีขอ ทจี่ ะตองตระหนักม่นั ไวใ นใจหลาย
อยาง๕๗ สาํ หรับอิทธปิ าฏหิ าริย เปนอันตัดไปได เพราะมพี ทุ ธ
บญั ญัติหามไวแ ลว วาไมใ หพระสงฆแ สดงแกชาวบา น คงเหลอื อยู
แตมงคลหรอื สง่ิ ทจ่ี ะใหเ กิดมงคล เบือ้ งแรกทส่ี ดุ จะตอ งกําหนด
แนว แนเปนเคร่อื งปอ งกนั ตัวไวก อนวา จะตอ งไมใ ชส ง่ิ เหลาน้ีเปน
เครื่องมอื เลยี้ งชวี ิตแสวงหาลาภ ซ่ึงเปน มิจฉาชพี และเปน ความ
บกพรอ งเสยี หายในดา นศีล
ตอ จากนั้น มีขอ เตือนสํานึกในทางปฏิบัตโิ ดยตรงคือ ตอง
ระลึกไวเ สมอวา ขอที่ ๑ การทเี่ ขา ไปเกี่ยวของกับสิ่งเหลา น้ันกเ็ พอื่
ชว ยประชาชนใหเปนอิสระจากสิง่ เหลา นน้ั เชน เกี่ยวของกบั ฤทธ์ิ
เพื่อชวยใหเขาเปน อสิ ระจากฤทธิ์ และเพอ่ื ความเปนอิสระตามขอ
ที่หน่งึ น้ี ขอที่ ๒ จงึ ตามมาวา เมื่อเรม่ิ จุดตง้ั ตน ณ ทีใ่ ด จะตองพา
เขาเดินหนาจากจุดน้นั เรอื่ ยไป จนกวาจะถงึ จุดหมายคอื ความเปน
อิสระ จะถอยหลังไปจากจุดนัน้ อีกไมไ ด และตามนัยของขอ ท่สี อง
น้ี จะปรากฏผลในทางปฏิบตั วิ า ความฝก ใฝหมกมุนในสิ่งเหลา น้ี
จะตองลดลง หรอื อยางนอยไมเ พ่ิมมากข้ึน หรอื กาํ หนดออกไปอกี
เปน ทาทีของการปฏบิ ัตไิ ดวา จะไมสง เสรมิ ความฝกใฝหมกหมุนใน
ส่ิงเหลาน้ใี หแ พรห ลายขยายตวั จะมีแตก ารควบคมุ ใหอยูในขอบเขต
และการทําใหลดนอ ยลง คอื เปลย่ี นข้ันพัฒนาการเขาสูข้นั ที่ ๒ ให
หมด นอกจากนี้ ควรพยายามเนนใหปฏิบตั ติ ามพทุ ธานญุ าตทวี่ า
ทาํ ตอเมือ่ เขาขอ ซง่ึ จะเปน การกระชับขอบเขตใหรัดตวั เขามาอีก
๔๘ เร่อื งเหนอื สามัญวสิ ยั
ขอที่ ๓ ซึ่งไมอาจลืมไดค อื ตองใหอนสุ าสนีชนิดนาํ ออกเสนอใน
เม่อื ไดโอกาส เพอ่ื ท้ังเรงรัดและกาํ ชับใหเปนไปตามจดุ มุง หมาย
ทางดา นประชาชนท่ีกาํ ลังพัฒนาขามจากข้ันที่ ๑ สูขัน้ ที่ ๒
การผอนปรนหรอื โอนออ นผอนตามจะมไี ดอ ยางมากท่สี ดุ ก็เพียง
เทา ที่อยูในขอบเขตซึง่
๑. ไมเปนการออ นวอนหวงั พง่ึ อํานาจบันดาลจาก
ภายนอก (หลักพึง่ ตน และความเปนอิสระ)
๒. ไมเ ปน เหตุใหหมกมุน หลงใหล หรือจะมัวรรี อไมล งมือ
ทาํ (หลักทําการดวยความเพียรตามเหตุผล)
จากความผอ นปรนนี้ ความสัมพันธแ ละวธิ ปี ฏบิ ตั ิเทา ท่ี
พอจะเปนไปได จงึ มดี งั น้ี
ก. เก่ยี วขอ งกับอิทธปิ าฏิหาริย ตลอดถงึ ส่ิงมงคลได โดย
พยายามทําสิ่งเหลานใี้ นความหมายใหมที่สามารถทําไดดวย
ตนเอง เชน ธรรมฤทธิ์ อริยฤทธ์ิ และมงคลทเ่ี กดิ จากการประพฤติ
ธรรมเปน ตน แตก ็ยอมผอ นลงไปอีกอยา งมากท่ีสุด จนถึงยอมให
เกยี่ วของกับมงคลตามแบบของชาวบานไดเ ฉพาะในแงท ่เี ปน
เครื่องเสรมิ กาํ ลังใจ (เสริมในทางท่ีดงี าม ไมใ ชฮกึ เหิมทีจ่ ะทาํ การ
ชวั่ ราย) และเสรมิ ความเพียรพยายามใหเ ขมแขง็ ยง่ิ ข้ึน โดยยํ้าวา
จะตอ งไมเปน เครื่องหนวงเหน่ียวหรือลดทอนความเพียรพยายาม
ทําการตามเหตผุ ลเปน อันขาด
ข. สัมพนั ธก บั เทพเจา ท้งั หลาย โดยวิธอี ยรู วมกนั (เกอื บ =
ตางคนตา งอย)ู ดว ยเมตตาเกื้อกลู กันดวยไมตรี ผอ นลงไปอยา ง
อิทธิปาฏิหารยิ - เทวดา ๔๙
มากทสี่ ุดจนถึงยอมรับการทําเทวตาพล๕ี ๘ (ของถวายแกเ ทวดา
หรือแผส ว นบุญอทุ ิศแกเทวดา) ในความหมายวาเปนการเออ้ื เฟอ
เก้ือกูลหรืออปุ การะแกเ ทวดา (ไมใชบ นบาน ออนวอนหรอื ขอให
โปรดปราน)
ยง่ิ ผอ นปรนใหม าก ก็ย่ิงจําเปนจะตองยํ้าขอเตอื นสํานกึ ไว
ใหห นักแนน ไมจาํ เพาะชาวบา นจะตองคอยเตอื นตนเองเทาน้ัน
แมพ ระสงฆก ็ควรชว ยเตือนชาวบา นบอยๆ เพราะชาวบา นมโี อกาส
ใกลช ดิ สภาพแวดลอ มทางธรรมนอย และมกี ิจของฆราวาสวุนวาย
คอยชักใหแชเชือนไดง าย ขอ เตอื นสาํ นึกทว่ี านั้นก็คอื จะตองรูตวั อยู
เสมอวา ตนยงั อยรู ะหวางกาํ ลงั พฒั นา ขณะนอ้ี ยูท่ขี ้ันน้ี ตอ งระลกึ
ไวว า แมวาขณะน้ยี งั ยุงเก่ียวกับเทวดา ยังยงุ เกยี่ วกับมงคล แตก ็
หวังอยูเสมอวาจะกา วไปสูข นั้ แหงความเปนอสิ ระสกั วันหนึ่ง
ถาพดู อยา งรวบรัดก็คอื จะตองสํานกึ อยเู สมอวา "เรา
จะตองเดินหนา ไมใชย าํ่ อยูกบั ท่ี" คําวา “เดนิ หนา ” มคี วามสาํ คัญ
เปนพิเศษสาํ หรับพฒั นาการในอรยิ ธรรมขั้นตน เพราะหมิ่นเหมที่
จะตกหลน ไปจากความเปนสมาชกิ ในชุมชนชาวพทุ ธ ถอยหลัง
กลับไปอยูใ นชมุ ชนกอนอารยะไดงา ยเหลือเกนิ เพราะในขัน้ ตนสุด
นี้ สิง่ ทีใ่ ชร วมในพทุ ธศาสนากับในศาสนาเดมิ ยังมมี าก และส่ิงน้ัน
บางทกี ็เปนสิ่งเดยี วกันแทๆ เชนมงคลและพลี เปนตน ตา งแตทา ที
แหง ความเขาใจสาํ หรับช้ีนํา และจาํ กัดขอบเขตของการปฏบิ ัติ ถา
เกิดเหตเุ พยี งแควา เผลอลมื ทา ทีของการวางจิตใจนี้เสียเทานั้น
พฤติกรรมของผปู ฏบิ ตั กิ อ็ าจพลกิ กลบั เปนตรงขามไดทันที คือ