The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นรกสวรรค์ในพระไตรปิฏก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-21 21:20:27

นรกสวรรค์ในพระไตรปิฏก

นรกสวรรค์ในพระไตรปิฏก

Keywords: นรกสวรรค์ในพระไตรปิฏก

นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต)

นรก-สวรรค ในพระไตรปฎ ก
© พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต)

ISBN 974-90877-5-5

พิมพค รง้ั ที่ ๙ - ธนั วาคม ๒๕๔๗ ๓,๐๐๐ เลม

- มูลนธิ ิพทุ ธธรรม ๓,๐๐๐ เลม

พมิ พท ี่ บรษิ ทั พมิ พส วย จาํ กัด

๕/๕ ถนนเทศบาลรงั สฤษฏเหนอื
เขตจตุจกั ร กรงุ เทพฯ ๑๐๙๐๐
โทร. ๐ ๒๙๕๓–๙๖๐๐ โทรสาร ๐ ๒๙๕๓–๙๖๐๖

สารบัญ

อนุโมทนา ...........................................................................(๑)
นรก-สวรรค ในพระไตรปฎก ...............................................๑
ความสําคญั ของนรก-สวรรค ในแงพ ทุ ธศาสนา.............................................๒
ขอ พิจารณาเก่ยี วกบั เรือ่ งนรก-สวรรค...........................................................๔
  ⌫ ๗

๑) นรก-สวรรค หลังตาย ...................................................................... ๗
๒) นรก-สวรรค ท่อี ยใู นใจ...................................................................๑๑
๓) นรก-สวรรค แตละขณะจติ ............................................................ ๑๓
 ⌫   ๑๙
๑) ตอ งมีศรทั ธา.................................................................................. ๑๙
๒) ตอ งพิจารณาเหตุผล......................................................................๒๒
๓) ตองมนั่ ใจตน-ไมออ นวอน..............................................................๒๔
๔) ตอ งไมห วังผลตอบแทน .................................................................๒๖
ทาํ ดีไดดี ทาํ ช่ัวไดช วั่ ................................................................ ๒๙
ตอบคําถาม.................................................................................๓๔
บทเสรมิ : ผลกรรมในชาตหิ นา.................................................. ๔๗
เชิงอรรถ..............................................................................................๖๐

นรก-สวรรค
ในพระไตรปฎก∗

ทานอาจารยไ ดต้งั หัวขอเร่ืองไวใ หอ าตมากอน กลา วคอื ขอ
ใหพดู เร่อื ง นรก-สวรรคในพระไตรปฎ ก นรก-สวรรคน ีเ้ ปนเรอ่ื งใหญ
และเปนเรือ่ งยากอยูแ ลว ทานยังจาํ กัดขอบเขตดว ยวาใหพ ูดใน
พระไตรปฎ ก

กอนจะเขาสเู นอื้ หา มเี รื่องท่คี วรทําความเขา ใจในตอนเริม่
แรกกันนิดหนอย คอื ทําความเขาใจเก่ยี วกบั ตวั ผพู ูด และเรอื่ งที่จะ
พูดในแงข องพระพุทธศาสนาวามคี วามสําคญั แคไ หนเพียงไร อัน
เปนเร่อื งที่ควรทําความเขาใจกนั เบอ้ื งตน

ตองออกตัวเสยี กอน คอื สาํ หรบั อาตมาถอื วานรก-สวรรค
เปนเรอ่ื งสําคัญ และเปน เร่ืองใหญม าก แตก ระน้ันอาตมาเองขณะ
น้ียังไมไดใ หความสนใจเทาที่ควร ยังไมไ ดเ อาจริงเอาจงั อะไรนกั ใน
เรื่องนี้ ก็กําลงั คนควาเร่อื งพระพทุ ธศาสนาอยู แตต อนนยี้ งั ไมไดม า
เนนเร่อื งนี้ คิดวาเปน เรื่องท่ตี องคอยๆ วากันทีละขั้นละตอน



บรรยายแกค ณะอาจารยแ ละนกั ศกึ ษาวทิ ยาลยั ครสู วนดสุ ติ ในรายการสนทนาธรรมของ
ภาควชิ าปรชั ญาและศาสนา ระหวา งภาคที่ ๒ ปก ารศกึ ษา ๒๕๒๒ ณ วดั พระพเิ รนทร
(ในการพมิ พค รงั้ ลา สดุ พ.ย. ๒๕๔๕ ไดจ ดั ปรบั รปู แบบ เชน ซอยยอ หนา จดั ระบบหวั ขอ
ยอ ย ขดั เกลาสาํ นวนภาษาโดยตลอด ใหอ า นงา ยขนึ้ )

๒ นรก-สวรรคในพระไตรปฎก

ความสําคัญของนรก-สวรรค ในแงพทุ ธศาสนา

เรมิ่ แรกมาดวู า ในแงพ ทุ ธศาสนา นรก-สวรรคม ีความ
สําคัญแคไ หน

ศาสนาทุกศาสนามเี รอื่ งนรก-สวรรค ซึ่งเปน เร่ืองทค่ี นถาม
กันมาตลอดวา มจี ริงไหม เปนอยา งไร ในประเพณขี องเรากม็ กี าร
พดู เรอ่ื งราวเกย่ี วกบั นรก-สวรรค ในวรรณคดกี ต็ าม ศลิ ปกรรมกต็ าม
ก็มีเรื่องนรก-สวรรคไปเกย่ี วขอ งดวย เชน ภาพฝาผนงั ตามปชู นีย-
สถานตางๆ ก็มเี รื่องเหลานีม้ ากมาย แตเราควรมาดใู นแงห ลักการ
กอนวา เร่อื งนรก-สวรรคกับพระพุทธศาสนามคี วามสมั พนั ธก นั แค
ไหนเพียงใด

ไดบอกแลว วา นรก-สวรรคเ ปน เรื่องสาํ คญั เปนเรอื่ งใหญ
แตถาเทยี บกับศาสนาทั่วๆ ไปแลว มาดใู นแงพ ระพุทธศาสนา
ความสาํ คัญของนรก-สวรรคลดลงไป

ทําไมจงึ วา อยางนน้ั คอื ในศาสนาเปน อันมาก นรก-สวรรค
เปนจุดสุดทายแหงการเดินทางชีวิตของมนุษย

บางศาสนาบอกวา มนี รกนริ ันดร สวรรคน ริ นั ดร เชน วาเรา
อยูในโลกมีชวี ติ ครง้ั นี้ทําความดคี วามชวั่ เม่อื ตายไปวญิ ญาณจะ
ไปรอจนถึงวันส้ินโลก แลว ก็มีการตดั สิน ผทู คี่ วรไดร ับรางวลั ก็จะได
ไปอยูสวรรคน ิรนั ดรตลอดไป สวนผทู ค่ี วรไดร ับโทษก็จะถูกตดั สนิ
ใหตกนรกนริ นั ดร ในแงน ี้ นรก-สวรรคเปน เร่ืองสําคัญมาก เพราะ
เปนจดุ สุดทาย เปน จุดหมาย

ทีน้ีมามองดใู นพระพุทธศาสนา เมือ่ เปรยี บเทยี บกนั แลว
ความสําคญั ของนรก-สวรรคจะดอยลงไป เอาสวรรคก็แลวกัน
เพราะเปน สง่ิ ที่เราตองการ สวรรคไ มใ ชจ ุดหมายของพระพทุ ธ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓

ศาสนา แตพระพทุ ธศาสนาบอกวา มีส่งิ ท่สี งู กวานัน้ สิง่ ทีส่ ําคัญ
กวาสวรรคคือนิพพาน เม่ือสวรรคไมใ ชจ ดุ หมาย ความสาํ คัญของ
มันก็ดอ ยลงไป

เม่ือเราปฏิบัติธรรมในพระพทุ ธศาสนา ถาจะปฏิบตั ิใหแ ท
จริง ใหต รงตามหลกั การ เรากบ็ อกวา ไมใ ชเ พือ่ จะไปสวรรค แตเพ่ือ
นพิ พาน สวรรคก ลายเปน เรอื่ งขน้ั ตอนทอี่ ยใู นระหวา ง หรอื เปน เรอื่ ง
ขางๆ ความสาํ คัญของสงิ่ ท่อี ยขู า งๆ หรืออยูในระหวา งยอ มจะลด
นอยลงไป นอยกวา สง่ิ ทเี่ ปน จดุ หมายสดุ ทา ย นี้เปนเร่อื งธรรมดา

ประการตอไป นรก-สวรรคต ามทรี่ กู นั หรือพดู ถึงกันอยู
เปนเรื่องทไี่ ดร บั หรอื ไปประสบหลังจากตายแลว ศาสนาอื่นๆ ทัว่ ไป
วาอยางนี้ เมอ่ื ตายแลวจะไปนรกหรอื สวรรค เปนเรื่องชวี ิตหนา แต
จุดหมายของพระพทุ ธศาสนาเปนสง่ิ ทบี่ รรลไุ ดในชาติน้ี นิพพาน
สามารถบรรลไุ ดในชาตนิ ต้ี ั้งแตย งั เปน ๆ อยู น่ีก็เปน แงทส่ี องท่ีทํา
ใหความสําคญั ของนรก-สวรรคน อ ยลงไป เราอาจบรรลุจุดหมาย
สูงสดุ ไดใ นชาตนิ แี้ ลว เราก็ไมต องพดู เร่อื งหลงั จากตายแลว เรื่อง
นรก-สวรรคกไ็ มตอ งมาเก่ียวขอ ง

ตอไปขอ ท่สี าม ในพระพุทธศาสนา นรก-สวรรคเปน เพยี ง
สว นหน่ึงในสังสารวฏั คือการเวยี นวา ยตายเกดิ สังสารวฏั มกี าร
เปล่ียนแปลงได ชีวิตเราเดินทางไปในสังสารวฏั มหี มนุ ข้ึนหมนุ ลง
ตกนรกแลว ตอไปถาเรามกี รรมดีกก็ ลับไปขน้ึ สวรรค หรือมาเกดิ
เปนมนุษย คนที่เกดิ เปนพระพรหมดวยกรรมดบี ําเพ็ญฌาน
สมาบัติ ตอไปเมื่อสิ้นบุญแลว กลับไปตกนรก เพราะมีกรรมชว่ั ใน
หนหลังก็ได มันก็หมนุ เวียนไปมา นรก-สวรรคจ งึ เปนเพยี งสว นท่ี
หมุนเวียนอยใู นระหวาง แลวกเ็ ปน ของชวั่ คราว เพราะฉะนั้นความ

๔ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

สําคญั ก็ลดลง เพราะเรามีโอกาสทจ่ี ะแกไ ขตัวไดมาก
นี้เปนเรอ่ื งท่คี วรทาํ ความเขาใจในเบอื้ งตน เพื่อจะไดเ หน็

ฐานะของนรก-สวรรคใ นพระพทุ ธศาสนา ในแงนี้ ถา เราไปเปรียบ
เทียบกับศาสนาทถี่ อื เรือ่ งนรก-สวรรคเปน นิรนั ดร เปนส่ิงสดุ ทา ยท่ี
มนุษยจ ะประสบซ่งึ ไมม ที างแกไ ขไดอ กี เลย กจ็ ะมีความแตกตาง
กันเปนอยางมาก เมื่อทาํ ความเขา ใจเบอ้ื งตน อยา งนแ้ี ลว กพ็ ูดถงึ
เน้ือหาของเรอ่ื งนรก-สวรรคไ ดโ ดยตลอด

ขอ พจิ ารณาเกีย่ วกบั เรือ่ งนรก-สวรรค

เอาละทีนี้มาพูดถึงเรือ่ งนรก-สวรรค เขาสูเ นือ้ หาของเรือ่ ง
นรก-สวรรค ซึ่งมีแงทต่ี อ งแยกอีก ๒ อยา ง

แงท ่ีหนง่ึ คือ ความมีอยูจรงิ หรอื ไม นรก-สวรรคมจี ริงไหม
แงทีส่ อง คือ ทา ทีของชาวพทุ ธหรือทา ทขี องพุทธศาสนา
ตอเรื่องนรก-สวรรค
ตอ งพูดทัง้ สองแง จะพดู แงเ ดยี วไมพอ เพราะมนั สัมพนั ธ
ซ่ึงกันและกัน สําหรับพทุ ธศาสนานีข้ อพดู ไวกอนวา เร่อื งทาทตี อ
นรก-สวรรคเ ปน สิ่งสําคัญมาก เราจะตอ งวางทา ทใี หถ กู ตอ ง
พูดเกริ่นไวห นอยวา เร่ืองนรก-สวรรคจ ดั อยูในประเภทส่งิ ท่ี
พิสูจนไมไดสําหรบั คนสามญั ท่วี า พสิ จู นไ มไ ดนห้ี มายถึงท้ังในแง
ลบและแงบวก คอื จะพิสจู นว า มีก็ยังเอามาแสดงใหเ ห็นไมได จะ
พิสูจนวาไมม ี กย็ ังไมสามารถแสดงใหเห็นวาไมมีใหมนั เดด็ ขาด
พูดไมไดทงั้ สองอยาง
บางคนบอกวาเมอ่ื พสิ จู นไ มไ ดวามี มันก็ไมม ี อยางนนั้ ก็ไม
ถูก ในเมอ่ื ตวั เองไมมีความสามารถท่จี ะพิสจู น

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๕

ในการพิสจู นน้ันตองพสิ ูจนด ว ยอายตนะท่ตี รงกนั สิง่ ท่ีจะรู
ดวยการเหน็ ก็ตองเอามาใหดดู วยตา สง่ิ ทีจ่ ะรูไ ดด วยการไดย นิ ก็
ตองพิสจู นดว ยการเอามาทําใหไ ดยินเสียง เปน อันวาตอ งพิสจู นให
ตรงตามอายตนะ จะพสิ จู นว า เสยี งมีหรือไมม ี พสิ จู นด วยตาไดไหม
ก็ไมได พิสูจนวารสมีไหม จะพิสจู นด ว ยหูก็ไมได ไมไดเรือ่ ง มันตอ ง
ตรงอายตนะกัน

ทีน้ีนรก-สวรรคพ สิ ูจนด ว ยอะไร พสิ ูจนด วยตา ดวยหู ดว ย
จมูก ลิน้ กายไมได มนั ตองพสิ จู นด ว ยชวี ติ ท่ใี จนน่ั เอง เราดูหลัก
งายๆ ไมต อ งพูดลกึ ซง้ึ เราถอื วาจติ เปนแกนของชวี ิต เปน ตัวทาํ
หนาที่เกิด จะพิสูจนเรื่องนรก-สวรรคว า ตายแลว ไปเกิดหรอื ไม ก็
ตองพสิ ูจนดว ยจติ คือลองตายดู

ทีนี้พอบอกวาจะพิสจู นดวยตาย ก็ไมมีใครยอม เพราะตอ ง
พิสูจนดวยตนเอง จะใหค นอืน่ พสิ จู นไมได เราบอกวาคนหนึง่ ตาย
แลว เขาไปเกิดทีไ่ หน เราไมรู ตัวเขาเปนผพู สิ จู น เราเปน แตผไู ปดู
เหมือนเขาล้ิมรสแลว เราดูเขาลมิ้ รส เราจะไปรไู ดอ ยา งไรวาเขารรู ส
จริงหรือเปลา และรสนั้นเปนอยางไร เราไมไดลิ้มรสก็ไดแตด เู ทา
น้ันเอง เรือ่ งของชวี ติ นีก้ ต็ อ งพิสูจนดวยตวั จติ เมือ่ จะพสิ จู นด วย
การท่ีตอ งตาย เราก็ทาํ ไมไ ด ไมมใี ครกลาทาํ เกิดเปนปญหาติดอยู
ตรงน้ีท่ีพิสจู นไ มได นีเ่ ปน เรอ่ื งเกรด็ แทรกเขามา เราจะตองพูดกัน
ตอไปอีก

รวมความในตอนน้ีวา นรก-สวรรคเ ปน เรือ่ งพิสจู นไมไ ด ทัง้
ในแงบวกและแงลบ วา มีหรือไมมี

สําหรับส่งิ ที่พสิ จู นออกมาใหเ หน็ ชดั ไมไ ดอยา งนี้ ทางพทุ ธ
ศาสนามหี ลักใหปฏิบตั ิ คือถือการวางทา ทเี ปนสําคัญ เรือ่ งบาง

๖ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎก

เรื่องถา รอใหพ ิสจู นเสรจ็ มนุษยเ ลยไมตอ งทําอะไร ไดแตร อแบบ
พวกนกั ปรชั ญา

พวกนักปรชั ญาจะเอาใหรคู วามจริงเสยี กอน เชน รูความ
จริงเกี่ยวกับโลกวาโลกนีเ้ ปน อยางไรแน มันเกิดเมอ่ื ไร มนั จะไป
อยางไร พวกนกั ปรชั ญาจะเถยี งกันใชสมองใชส ติปญญาในการโต
เถียง เม่ือแกยังตอบเรื่องโลกและชวี ิตไมได เชน ดว ยวธิ ีอภปิ รชั ญา
แกก็ตองเถยี งกนั ตอไป นแ่ี กกเ็ ถียงกนั มาหาพนั ปแ ลว โดยประมาณ

ทีนี้ถาแกจะตอ งเถียงกนั จนกวาจะรูคาํ ตอบ แลว จึงจะ
ปฏิบัติได เพราะแกอาจจะบอกวา เรายงั ไมร คู วามจริงวา มันเปน
อยา งไร เราจะไปปฏบิ ตั กิ ับมันอยางไร แกจะตองรอใหรคู วามจรงิ
อันนั้นแลวจึงจะวางหลกั ปฏิบตั ิ แกตายไปแลวกี่ครง้ั ตอกี่คร้ัง จน
กระท่ังลูกหลานเหลนของแกเองก็ตายไปโดยที่ยังทําอะไรไมได
และยังไมไดทาํ อะไร

พระพุทธศาสนาบอกวา สาํ หรบั เร่อื งอยา งนี้ คือสาํ หรบั
เรื่องทย่ี งั พิสูจนไมได มนั สาํ คัญทปี่ ฏบิ ัติ พระพทุ ธศาสนาเปน
ศาสนาแหง การปฏบิ ัติ เรามีวิธปี ฏบิ ตั ิตอสิง่ ทย่ี งั พิสจู นไ มไ ดโ ดยให
ถือการปฏิบตั ิทไ่ี มผิด อยางทีบ่ อกเม่ือกีว้ าการวางทา ทเี ปนสําคัญ
นรก-สวรรคก อ็ ยใู นประเภทน้ี การวางทา ทีหรอื การท่จี ะปฏบิ ัติตอ
มันอยา งไรเปน เรื่องสําคญั กวา

เปน อันวามเี รือ่ งท่ตี อ งพดู สองแง คอื แงว า มีจริงไหม กบั จะ
วางทาทตี อมนั อยางไร และเนนแงก ารวางทาทหี รอื การปฏิบตั ิ ทีน้ี
มาพดู ถึงหวั ขอ สองอยา งนนั้ เอาแงท ีห่ นงึ่ กอ น

 
⌫

แงท่ีหนึง่ คอื มีจรงิ ไหมในแงข องพระพุทธศาสนา และก็จะ
พูดจํากัดตามที่อาจารยไ ดกาํ หนดไววา เฉพาะในพระไตรปฎก ขอ
แบงวา พระพุทธศาสนาพูดเร่อื งนไ้ี วเ ปน ๓ ระดบั

๑) นรก-สวรรค หลงั ตาย

ระดับที่หนงึ่ คอื เร่อื งนรก-สวรรคท ่ีเราพูดกันท่วั ๆ ไปวาหลงั
จากชาตินี้ ตายแลว ไปรับผลกรรมในทางทีด่ ีและไมด ี ถารบั ผล
กรรมดีก็ถอื วา ไปสวรรค ถารบั ผลกรรมชว่ั ก็ไปเกดิ ในนรก เร่ือง
นรก-สวรรคแบบนี้ เรียกวา ระดับทีห่ นงึ่ พระพุทธศาสนาวาอยา งไร

สาํ หรบั ระดบั น้ี ถา ถอื ตามตวั อกั ษร พระไตรปฎ กกลา วไวม าก
มาย เมอ่ื พูดกนั ตามตัวอักษรก็ตอ งบอกวา มี มอี ยางไร นรก-สวรรค
หลงั จากตายนม้ี กั จะมใี นขน้ั เอย ถงึ เทา นน้ั แลว ไมค อ ยมคี าํ บรรยาย

ในพระไตรปฎกเรอ่ื งนห้ี าไดท่วั ไป ในคาํ สรปุ ทา ยที่แสดงผล
ของการประพฤตดิ ปี ระพฤตชิ วั่ คอื ในแงส วรรคบอกวา เม่อื แตก
กายทําลายขันธล ว งลบั ดบั ชพี ไปแลว จะเขาถึงสุคติโลกสวรรค น่ี
ฝายดี สวนในฝายรายกก็ ลาววา เบื้องหนาแตต ายเพราะกายแตก
ก็จะเขา ถงึ อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต นรก สํานวนในบาลมี ีอยางนี้มาก
มายเหลือเกิน

สํานวนความน้ีไมไดบรรยายวา สวรรคเปน อยางไร นรก
เปนอยางไร ไดแตส รุปและโดยมากมาหอยทา ยกับคําแสดงผลของ
กรรมดีกรรมชว่ั ซงึ่ จะเรมิ่ ดวยผลที่จะไดร ับในชาตนิ ้ีกอนวา ผูม ศี ลี

๘ นรก-สวรรคในพระไตรปฎ ก

ประพฤติดแี ลวจะไดผ ลอยา งน้ันๆ หนง่ึ สอง สาม ส่ี หา สุดทาย
หลังจากแตกกายทําลายขนั ธแลว จะไปสุคติ เชนวาเจริญเมตตามี
อานิสงสอยา งน้ี คอื หลบั เปน สขุ ฝน ดอี ะไรตออะไร บอกผลดใี น
ปจจุบันเสรจ็ แลวจึงจะหอ ยทายลงวา ตายแลวไปสวรรค ไปพรหม
โลก เปน เพียงการเอยถึงผลของการทําดี ทาํ ชั่ว

นอกจากนั้นเราตองสงั เกตดวยวา เมอื่ พระพุทธเจา ตรสั ถงึ
เร่ืองนรก-สวรรคน้นั พระองคตรัสในขอความแวดลอมอยางไร มี
เร่ืองราวเปน มาอยางไร เราจะสังเกตไดวาพระพุทธเจาตรสั ถงึ ผล
ในปจจุบันมากมายกอน แลวอันนี้ไปหอยทายไว เมื่อทราบอยาง
น้ีแลวจะไดจ ัดฐานะของนรก-สวรรคไดถกู ตอ ง น้บี อกไวใหเ ปนขอ
สังเกต

เปนอันวา เราจะพบคาํ บาลที ี่พระพุทธเจาตรสั อยูบ อ ยๆ วา
เม่ือตายแลวจะไปนรกหรอื สวรรค หลังจากไดรบั ผลกรรมดกี รรมชัว่
ในปจจุบันน้แี ลว ตรสั บอยๆ โดยไมมคี ําบรรยาย

ขอความในพระไตรปฎกสวนที่มีคําบรรยายวานรก-สวรรค
เปนอยางไร มนี อ ยแหงเหลอื เกิน แหง ท่ีนบั วา มคี าํ บรรยายมาก
หนอ ย กลา วถงึ การลงโทษในนรกเรมิ่ จากวา ตายไปแลว เจอยมบาล
พญายมถามวา ตอนมีชีวิตอยเู คยเห็นเทวทตู ไหม เทวทตู ทหี่ นง่ึ
เปน อยา งไร เขาตอบไมไ ด ยมบาลตอ งชแ้ี จงวา เทวทตู ท่ีหนึ่งคือ
เด็กเกิดใหม ทสี่ องคอื คนแก ท่สี ามคือคนเจ็บ ทีส่ ี่คือคนถกู ลงโทษ
ทัณฑอาญา ท่หี าคอื คนตาย

ยมบาลอธบิ ายใหฟ ง แลวกซ็ ักตอวา ทา นเคยเห็นไหม เคย
เห็นแลวทา นเคยไดค วามคดิ อะไรบางไหม มคี วามสลดใจบางไหม
ในการท่ีจะตอ งเรงทาํ ความดี ทา นเคยรสู ึกบา งไหม ไมเคยเลย ถา

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๙

อยางนนั้ ก็เปนเรือ่ งของตัวเองทํากรรมไมดี ก็ตอ งไดรบั โทษ มกี าร
ลงอาญา เขาเรียกวา กรรมกรณ ซึ่งเปน วิธีลงโทษในนรกดว ย
ประการตางๆ

เรื่องนมี้ ีมาใน พาลบณั ฑิตสูตร และเทวทูตสูตร ในพระไตร
ปฎกเลม ๑๔ ถา ตอ งการคนกบ็ อกขอบอกหนา ไปดว ย บอกวาเลม
๑๔ ขอ ๔๖๗ หนา ๓๑๑ และเลม ๑๔ ขอ ๕๐๔ หนา ๓๓๔
สําหรับพระไตรปฎ กแปลภาษาไทย ก็ไปคนดตู ามขอ หนา ไมต รง
กัน เพราะน่ีเปนหนา บาลี โดยมากพดู ถึงนรก ไมค อยพูดถึงสวรรค

นอกจากน้ีก็ยงั มบี างแหง พดู ถงึ อายุเทวดาในชัน้ ตางๆ เชน
ช้ันจาตุมหาราช หรอื ชั้นโลกบาล ๔ ช้นั ดาวดึงส ช้นั ยามา ช้นั ดุสิต
ชั้นนมิ มานรดี และช้ันปรนิมมิตวสวตั ดี แตล ะช้นั มีอายุอยูนานเทา
ไร อยา งนีม้ ใี นพระไตรปฎ กเลม ๒๐ ขอ ๕๑๐ หนา ๒๗๓ และไปมี
ซาํ้ ในเลม ๒๓ ขอ ๑๓๑–๑๓๕ หนา ๒๕๓–๒๖๙ และยังมอี ายุ
มนุษยถึงรูปพรหม แสดงไวใ นฝา ยอภิธรรม พระไตรปฎกเลม ๓๕
ขอ ๑๑๐๖–๑๑๐๗ หนา ๕๖๘–๕๗๒

บางแหง แสดงเรอ่ื งราววาในวัน ๘ คา่ํ ทาวมหาราช ๔ คอื
ทาวโลกบาล ๔ จะสง อาํ มาตยม าเทยี่ วดใู นหมมู นษุ ย วามนุษย
ประพฤตดิ ปี ฏิบัติชอบหรอื เปลา ถาเปนวัน ๑๔ คา่ํ โอรสมาเท่ียวดู
ถาเปนวัน ๑๕ คา่ํ กเ็ สด็จมาเท่ยี วตรวจดเู อง แลวกลบั ไปแจง ขา ว
ตอทปี่ ระชมุ เทวดาในสธุ รรมสภา สวรรคชนั้ ดาวดงึ ส ซ่งึ มพี ระ
อินทรเปนประธานวา เดี๋ยวน้ีมนษุ ยโ ดยมากประพฤตดิ หี รือ
ประพฤตชิ ัว่ ถา มนุษยประพฤติดี เทวดากจ็ ะดใี จ วา ตอไปสวรรค
จะมีคนมาเกดิ เยอะ ถาหากมนุษยประพฤตชิ ่วั มาก เทวดาก็จะเสยี
ใจ วาตอไปฝายเทวโลกจะมีแตเสอื่ มลง อะไรทาํ นองนี้ เรื่องอยา งนี้

๑๐ นรก-สวรรคในพระไตรปฎก

ก็มีในเลม ๒๐ เหมอื นกนั ขอ ๔๗๖ หนา ๑๘๐ เปนการกลา วแทรก
อยูบ างแหง มไี มส มู าก

นอกจากนีก้ ็มกี ระเส็นกระสาย เล็กๆ นอยๆ ชอ่ื นรก ๑๐
ขุม ก็มีในพระไตรปฎกดว ย คอื ในเลม ๒๔ องั คตุ ตรนิกาย ทสก-
นิบาต ขอ ๘๙ หนา ๑๘๕ และนรก ๘ มีในคาถาชาดก เลม ๒๘
ขอ ๙๒ หนา ๓๙ อนั นกี้ เ็ ปนฐานใหอรรถกถาไดนํามาชแ้ี จงอธิบาย
เรื่องนรกตางๆ แจกแจงใหเราเห็นเรือ่ งราวพสิ ดารยิ่งข้ึน แตในที่น้ี
จะไมพูดถึง

คัมภรี ใ นกลุม ชาดก คอื ในขทุ ทกนิกาย เปนแหลงทจ่ี ะหา
เรื่องราวคําบรรยายเกี่ยวกับสภาพในนรกและสวรรคไดมากกวาที่
อืน่ เนมิราชชาดก ในพระไตรปฎกเลม ๒๘ ขอ ๕๒๕–๕๙๙ หนา
๑๙๘–๒๒๓ เปนเรื่องการไปทศั นาจรนรกและสวรรคโ ดยตรงที
เดยี ว (ในมฆเทวสูตร ในพระไตรปฎ กเลม ๑๓ ขอ ๔๕๘–๔๖๐
หนา ๔๒๑–๔๒๔ ก็มเี รอื่ งทพี่ ระเจา นมิ ิหรือนมิ ริ าช กษตั รยิ ทรง
ธรรม เปนธรรมราชา แหงมถิ ิลานคร ไดร บั เชิญจากพระอนิ ทรไ ป
พบกับเหลาเทวดาในทส่ี ธุ รรมเทวสภา ในสวรรคชนั้ ดาวดงึ ส)

คัมภีรเปตวัตถุ ที่วาดวยเรื่องของเปรต แมจ ะตางภพกับ
นรก แตก็อยใู นประเภทอบายเหมอื นกัน ถารับเขา มาพิจารณาดว ย
ก็จะไดคัมภรี เ ปตวตั ถแุ ละวิมานวัตถเุ ขามารว มในกลุม นี้ดว ย และ
จะพบเรอ่ื งราวมากมายทเี ดียว ไดแก พระไตรปฎก เลม ๒๖ ขอ ๑–
๑๓๖ หนา ๑–๒๕๙

แมในพระไตรปฎกจะไดพดู ถงึ นรก-สวรรคแบบน้ี เราก็อยา
เอาไปวุนกับการเขียนภาพและคําบรรยายในวรรณคดีใหมากนัก
เพราะวรรณคดีบวกจินตนาการเขาไป ซึ่งเปนเร่อื งธรรมดาของกวี

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๑

แมจะบรรยายอารมณม นษุ ย ก็ตองบรรยายใหเหน็ ภาพ เม่ือจะ
บรรยายนรก-สวรรคกต็ องพูดใหเ หน็ จริงเหน็ จัง หรอื จะมาเขยี น
เปนภาพประกอบ จะใหค นธรรมดาเกิดความสนใจ ก็ตองนาํ เสนอ
ในรูปแบบที่ทําใหเ กดิ ความเขาใจงา ย เทียบเคียงหรือประยกุ ตเ ขา
กับสิ่งท่ีคนรูเห็นกนั ในยคุ นน้ั ถ่ินนน้ั เพราะฉะนน้ั เราจะเอาวรรณคดี
รุนหลังๆ หรอื ภาพตามฝาผนงั เปนมาตรฐานไมไ ด เพราะนีเ่ ปน รูป
ของการทําใหงายแลว จะวาตามนน้ั ทเี ดยี วไมได

ก็เปนอนั วา ในแงท่หี นึง่ สําหรบั คาํ ถามวา นรก-สวรรคห ลงั
จากตายในพระไตรปฎ กมีไหม? เมื่อถอื ตามตัวอักษรก็เปน อันวา มี
ดังทกี่ ลา วมาแลว

สวนที่วาอาจมีบางทานแสดงความเห็นวาเร่ืองนี้สัมพันธ
กับความเช่อื ท่มี ีดัง้ เดิม เชน วา พระพุทธเจา อาจจะตรัสไปตามทค่ี น
เช่ือกันอยู นั่นกเ็ ปนเรือ่ งทเี่ ราจะตองศกึ ษาคนควา กนั ตอไป นอก
จากนี้ใครจะตีความอยา งไรตอไปอาตมาไมเ ก่ยี ว

๒) นรก-สวรรค ท่อี ยูในใจ

ตอ ไประดบั ทสี่ องเลย เพอ่ื ยน เวลา นรก-สวรรคใ นระดบั ทส่ี อง
ก็คือท่เี ราพูดกันวา "สวรรคในอก นรกในใจ” เปนเร่อื งทม่ี ใี นชาตินี้

นรก-สวรรคแ มในชาติหนา ก็สบื ไปจากที่มใี นชาตินี้ เพราะ
อะไร เพราะมันอยูในสภาพจิต ภมู ิของจิต ช้ันของจติ ระดบั ของจิต
ใจ จติ ของเรามคี ุณภาพหรือคณุ สมบัติอยใู นระดับไหน ถึงเวลา
ตาย ถาระดบั จิตเปน นรกกไ็ ปนรก ถาระดับจิตเปน สวรรคกไ็ ป
สวรรค นี่เก่ยี วกบั สภาพจติ ทเ่ี ปน อยูต ลอดเวลา

ท่ีพูดมาน้ันคอื เมอ่ื วาโดยหลกั ท่ัวไป ในการดาํ เนินชวี ติ

๑๒ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎก

ประจําวัน ซง่ึ เปน ระยะเวลายาวนานหลายๆ ป ระดับจติ ของเราอยู
แคไหน เวลาตายโดยทั่วไป ถาไมใ ชกรณยี กเวน มันก็อยูในระดับ
นั้นแหละ สว นในกรณียกเวน ถาเวลาตายนึกถงึ อารมณท ด่ี ี เชนทํา
กรรมชั่วมามาก แตเวลาตายนกึ ถงึ สิ่งทดี่ ี กไ็ ปเกิดดไี ด ถา หากเวลา
อยูทํากรรมดี แตเ วลาตายเกดิ จิตเศราหมอง ระดับจิตตกลงไป ก็
ไปเกดิ ในที่ตา่ํ

เม่ือการไปเกดิ ข้นึ อยูกบั ระดับจติ อยา งน้ี กห็ มายความวา
เราพรอ มจะไปนรกหรอื สวรรคไ ดต งั้ แตป จ จบุ นั หรอื พดู อกี อยา งหนงึ่
วา คนที่จะไปนรกกค็ อื คนทจ่ี ิตใจอยูใ นระดบั นรกอยูแ ลว ในชาติน้ี
สวนคนทีจ่ ะไปสวรรคกค็ ือคนทมี่ ีจิตใจในระดับสวรรคอ ยแู ลว

ตกลงวา เร่อื งนรก-สวรรคนมี้ ตี ้งั แตเดย๋ี วนอ้ี ยแู ลว ปจจุบัน
น่ีเองมันสอ ขางหนา เพราะฉะนน้ั ถา จะคาดการณเรื่องขา งหนา
เราไมจําเปนตองไปพูดถงึ สวรรคทไ่ี กลดว ยซํา้ เอาปจ จุบันน่ีเปน
เกณฑ เพราะคนเราสรางสมกรรมดวยชวี ติ ที่เปน อยู สรางระดบั จติ
ของตนไว สง่ั สมระดบั จิต ซึ่งทําใหพรอ มอยูเสมอ

เพราะฉะนั้น เรือ่ งสวรรคใ นอกนรกในใจกย็ อมมีไดตาม
หลักน้ี คือระดบั จติ ของเรานั่นเอง ที่มนั อยูในนรกหรือสวรรค ถา
ระดับจิตของเราอยูในนรก กเ็ ปนนรกและไปนรก ถา ระดบั จติ ของ
เราอยใู นสวรรค กเ็ ปนสวรรคแ ละไปสวรรค

เอาละ ทีนี้ เราทํากรรมดีหรอื กรรมชว่ั ไว เรารู เรามคี วามรู
สึกเปนประสบการณเฉพาะตัวเกย่ี วกบั กรรมด-ี กรรมช่ัวทที่ ําไว ถา
ทํากรรมชัว่ ไว เรารูสกึ เดอื ดรอนใจ ทางพระทานใชค าํ วา
“วิปฏิสาร” ความวปิ ฏสิ ารนีแ่ หละ เปน สภาพจติ ท่ีเปนทุกขซ งึ่ นับ
เปนนรก หรืออีกอยางหนึ่ง ในนิวรณ ๕ ก็มขี อหน่ึงวา “กกุ กจุ จะ”

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๓

อันไดแ กค วามไมสบายใจ กังวลใจ ราํ คาญใจ ไมสบาย เดอื ดรอ น
ใจวาสิง่ ที่ดีเราไมไ ดทํา ไดแ ตท าํ สง่ิ ท่ชี ัว่ ท่ีไมดี

ในทางตรงขา ม ถา ทาํ กรรมดกี ็เกดิ ปราโมทย มีปต ิ มีความ
อบอุนใจ อ่มิ เอิบ ราเริง บนั เทงิ เบิกบานใจ มีความเปรมใจ มคี วาม
สขุ จติ ใจอยใู นระดบั สวรรค อยา งนก้ี เ็ ปน เรอ่ื งสวรรคใ นอก นรกในใจ

ถาพูดถึงเร่ืองวิปฏิสาร และเรื่องปต ปิ ราโมทย ในการทําชว่ั
และทําดอี ยางนี้ มนั ก็มใี นพระไตรปฎ กมากมายเชน เดยี วกัน ไมจ าํ
เปนจะตอ งอา งขนึ้ มาเลย เปน อันวา นรก-สวรรคแ งน้ีเปนเรอ่ื งระดับ
จิต ซง่ึ มีอยแู ลวตงั้ แตป จ จบุ นั

๓) นรก-สวรรค แตล ะขณะจติ

ทีนี้ไปสรู ะดับทส่ี าม จะพดู ในแงห ลักวชิ าการกอ น เรอ่ื ง
วิจารณไวท หี ลงั คือการที่เราปรงุ แตง สรา งนรก-สวรรคของเราเอง
ตลอดเวลาในชีวติ ประจาํ วนั

ทานกลา ววา คนทีย่ ังไมร ูอรยิ สัจ ๔ ยงั ไมแ ทงตลอดสจั
ธรรม ไมเขา ใจในหลกั การแหง สัจจะของอริยชน กย็ งั ปรุงแตง สราง
สวรรค-นรกกนั อยตู ลอดเวลา ดว ยอายตนะของเรานนั่ แหละ คอื
ดวย ตา หู จมกู ล้นิ กาย และใจของเรา ขอน้ีกค็ ลายๆ กบั ขอ ท่ี ๒
แตเปนเรอื่ งละเอียดออ นข้ึนไปเทานั้นเอง คือเปน เรื่องสมั พนั ธก ับ
สภาพและระดับจิตใจ

เมื่อเรายงั เปน ปุถุชน เรากย็ งั ปรุงแตงอยูเ สมอ เมอ่ื เรายงั มี
ความรสู ึกดว ย ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ เราก็ยงั ปรงุ แตงอยเู รือ่ ยไป
คือปรงุ แตงดว ยกิเลส มีความด-ี ความชว่ั มกี ศุ ล-อกศุ ลในจติ ของ
เราเอง

๑๔ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

การปรุงแตงอยางนี้เปนเร่ืองของปฏิกิริยาตอส่ิงท่ีรับเขามา
เชนเมือ่ เราไดเ หน็ สิง่ ทส่ี วยงาม เราชอบใจ เราก็มีความสขุ ไดเ หน็
ส่ิงท่ีเราไมช อบ เราขัดใจ กเ็ กดิ ทุกข หรือวา เราไดร ับประทาน
อาหาร ไดก ินขนม ลนิ้ ไดรบั รสที่อรอ ย เราก็มคี วามสขุ ถาหากเรา
ไดรับรสที่ขม ไมอรอย เราก็มคี วามทกุ ข อนั นีเ้ ปน เรือ่ งธรรมดา

ทีน้ีบางทเี ราปรงุ แตงจากขา งในออกไป คือไมใชสิ่งภาย
นอกฝายเดียวทป่ี รงุ แตง แตเ ราปรุงแตง ขนึ้ เอง เชน ใจคอเราไมดี
เราเกิดความโกรธ เกดิ อารมณคาง เลยเห็นอะไรขดั ใจไปหมด ทงั้ ท่ี
คนหรือของนัน้ ไมไ ดท ําอะไรเรา ไมไดม าเบียดเบยี น ไมไดมุง มาท่ี
เราเลยดวยซาํ้ คนโนน เดนิ มาดีๆ ไมไ ดท าํ กิริยากระทบกระท่งั เรา
แตเรามองเหน็ เปนวาเขาลอเรา หรือสําคญั วา เขามใี จคดิ ไมดตี อ
เราตางๆ นานา เพราะใจของเราเองปรุงแตง อาศยั พ้นื จิตของเรา
ไมดีอยแู ลว มอี กุศลขึ้นมาในใจ ใจเราไมด ี มองอะไรขัดใจไปหมด
มีทกุ ขเ รอ่ื ยๆ ตลอดวนั

แตถาเราใจดี บางทีไปประสบอะไรทีด่ ีใจข้นึ มา วนั นนั้ เลย
ย้ิมไดทงั้ วัน เห็นอะไรดีไปหมด อยา งนเ้ี รยี กวา การปรุงแตง สวรรค-
นรกของเรา เพราะวา นรก-สวรรคอ ยา งนี้เปนเรอ่ื งทันตาทนั ใจอยู
ตลอดเวลา ไมตอ งรอชาติหนา อยทู ี่การสรางจิตใจของเรา

ถาจติ ใจของเรามภี ูมิธรรมดี สรา งกุศลไวมาก ทําจิตใจให
อ่ิมเอิบเปน สขุ รจู ักมองในแงด ี ก็รับอารมณทเี่ ปนสุขไวไ ดม าก แต
ถาเราสรางพืน้ ภูมจิ ติ สะสมไวในทางทที่ าํ ใหจ ติ มกี เิ ลสมาก มีกเิ ลส
ตางๆ ท่ที าํ ใหจ ติ เศรา หมองบอยๆ เรากจ็ ะสรางนรกของเราเรือ่ ยไป
ไมวา จะไปเหน็ อะไรก็รูส กึ ไมด ี ไปไหนใจก็ไมสบาย มีแตค วามทุกข
มากมาย

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๕

ถาเปนอยา งนี้ ก็ยังไมตอ งคดิ เลยไปถงึ นรก-สวรรคช าติ
หนา เพราะปจ จบุ นั ท่ีเปน อยกู ลายเปนเรือ่ งท่ีเราควรจะเอาใจใส
มากกวา และเปนเร่ืองสําคัญมาก เพราะเราไดรบั ผลอยูตลอดเวลา
นรก-สวรรคขา งหนายงั ไกล มองงายๆ วา เม่ือในปจจบุ ันเรามแี ต
ความเรารอนขนุ มัวเปน ทกุ ขอ ยูเสมอ ก็นากลัววา เราจะไปไมด ี

ฉะนั้น ทา นจึงใหเอาใจใสน รก-สวรรคทมี่ ีอยตู ลอดเวลา ที่
เราปรุงแตงอยูเรอื่ ยๆ และสอนใหเ รายกระดับจิตข้ึนไป คอื

ข้ันตน ถา เราสรางสมพ้ืนจิตใจไวในทางไมด ี มกี เิ ลส โลภะ
โทสะ โมหะมาก มนั ก็ทาํ ใหรับอารมณโดยปรุงแตง สรางนรกขน้ึ มา
มาก ถาเราสรางสมพนื้ จติ ใจไวในทางดี มเี มตตา มใี จกวางเผ่ือแผ
สรางปญ ญาไวมาก ใจเราดีมคี วามโลงโปรงสบาย เราก็สราง
สวรรคไดและมีสวรรคอ ยูเสมอ แมว าสภาพแวดลอมอาจไมด เี ทา ท่ี
ควร แตเ ราทาํ จติ ของเราได ใจเราสบาย มันก็สามารถทาํ สภาพที่
จะนําไปนรกใหก ลายเปนสวรรคไ ปได

ในช้ันสูงขึ้นไปอีก เรามปี ญญาท่รี เู ทาทนั ความจรงิ ของสิง่
ทั้งหลาย ซึ่งทําใหเราเขา ใจโลกและชวี ิตดี ทาํ ใหว างทาทีตอ สง่ิ ทั้ง
หลายถูกตอ ง ในกรณอี ยางน้ี ทานวา มันพนเลยเรือ่ งนรก-สวรรคไป
แลว คือมจี ิตใจปลอดโปรง แจมใสอยูต ลอดเวลา มคี วามสบายทัน
ตาในปจ จุบัน ไมตองพูดถึงขา งหนา ซง่ึ เนื่องไปจากปจจุบนั นี้ กจ็ ะ
ตอ งไปดดี ว ย

ปจจุบันนี้แหละเปน ส่งิ ทีแ่ นนอน เรารบั ผลอยูใ นขณะนแ้ี ลว
และเปนเคร่อื งสอ สอ งถึงขา งหนาตอไปดว ย เพราะฉะน้ัน ในทาง
พุทธศาสนาจึงถือเรื่องปจจบุ นั น้ีเปน สาํ คญั เพราะ

๑. เราไดรับผลทนั ที เรารับผลเหน็ อยชู ดั ๆ แนน อน

๑๖ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎก

๒. ขางหนา กเ็ ปนผลสบื ไปจากปจจุบันน้ีเอง เอาปจจุบนั นี้
ไปทํานายขา งหนาได

เพราะฉะน้ัน ปจจบุ ันจงึ สําคัญกวาทัง้ สองประการ ถึงมอง
ขางหนา กต็ อ งมองที่ปจจุบันออกไปเปน สําคัญ

เร่ืองนรก-สวรรคในแงของการปรุงแตงในชีวิตประจําวัน
และตลอดเวลา หรอื นรก-สวรรคทีเ่ ราปรุงแตงขึน้ มาเรือ่ ยๆ นี้ กม็ ี
มาในพระไตรปฎก คอื นรกทเี่ กดิ พรอ มกับการไดเห็นไดยิน ไดรบั รู
ทางอายตนะตางๆ กลา วคอื การท่ีอินทรีย หรอื อายตนะ คอื ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ ไดรับรูแตส่ิงท่ีไมดีไมนาพอใจ อยางน้ีทาน
เรยี กวา “ฉผสั สายตนกิ นรก” หรอื ในทางตรงขา มกเ็ ปน “ฉผสั สายตนกิ -
สวรรค” แลว แตว าเปนฝา ยนรกหรอื สวรรค อนั นม้ี าในพระไตรปฎ ก
เลม ๑๘ ขอ ๒๑๔ หนา ๑๕๘

อกี แหง หนง่ึ คลา ยๆ กนั เฉพาะเรอื่ งนรกคอื “มหาปรฬิ าหนรก”
มาในเลม ๑๙ ขอ ๑๗๓๑ หนา ๕๖๒ ทานวา นรกท่วี านน้ั ไมหนกั
หนาเทานรกทปี่ ระสบอยใู นปจจบุ ัน ทคี่ นผูมอี วิชชาไมร อู รยิ สัจแลว
ปรุงแตง ทกุ ขข ้นึ มาแผดเผาตวั เอง

น่ีคือนรก-สวรรคระดับที่ ๓ ซึ่งพุทธศาสนาเนนมาก คาํ วา
“ฉผัสสายตนะ” แปลวา อายตนะที่รบั รทู ้ัง ๖ หมายความวา นรก
หรือสวรรคเ กิดทอ่ี ายตนะรับรทู ั้ง ๖ นั่นเอง

สาระของนรก-สวรรคค อื อะไร มันก็เปน เรอื่ งของการรับ
อารมณที่นาปรารถนาและไมนาปรารถนาเทา นนั้ เอง

เราไปสวรรค วา ตามทีพ่ ดู ไวในวรรณคดี กไ็ ดสง่ิ ทร่ี ับรูคอื
อารมณของตา หู จมูก ลน้ิ กาย ใจ ไดเ ห็นสิ่งทสี่ วยงาม ไดย ินเสียง
ดนตรที ิพย ไพเราะเสนาะ ทางจมูกไดก ลน่ิ หอมหวล และลน้ิ ไดรบั

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๗

รสที่ดีอรอ ย กายสัมผสั สงิ่ นมุ นวล ใจปลาบปลืม้ เพลิดเพลิน ก็เปน
เร่อื งของอายตนะท้ังนั้น

คนไปนรกกไ็ ดรบั ความทรมาน ไดเห็น ไดย ินแตส่ิงท่ีไมดี
จนกระท่ังรางกายถูกบบี คนั้ ตางๆ ก็เปนเรอื่ งของอายตนะท้ังน้ัน

ที่จริงปจจบุ ันเราก็ไดร บั รทู างอายตนะเหลาน้ีอยูแลว ไมวา
นรก-สวรรคข า งหนา หรอื นรก-สวรรคเ วลานี้ มันกอ็ ยทู ีอ่ ายตนะรับรู
น่ีเอง ถา เอาสาระแลวมันไมไดไปไหนเลย อยูแคน ้ี

ตกลงวา ตามหลักการน้ี เราจะตอ งรจู ักนรก-สวรรคท ั้ง ๓
ระดับ และแกนแทของนรก-สวรรคก ็อยูทรี่ ะดบั ท่สี ามทวี่ า น้ี

นรกระดับที่หนึ่ง หลังจากตาย ไกลตัว ยังไมไ ดร ับ ปจ จุบัน
เรายังไมรูส ึก แลวมนั ก็เนอ่ื งไปจากปจจุบนั ดว ย ตอ งสรา งใน
ปจ จุบนั

ตอมาในระดับที่สอง สวรรคในอก นรกในใจ ก็อยทู ่ีชวี ติ ท่ี
สรางภมู ิระดบั จติ ในปจจุบนั แตย ังเปนเร่ืองทม่ี ีเปน ครั้งคราว
เพราะเอาเฉพาะท่ีเปนเรื่องใหญ

พอมาในระดบั ที่สาม ก็ละเอียดลออเปน ไปอยูป ระจํา
ตลอดทุกเวลาท่ีรบั อารมณ ขณะนี้ถาเราสรางความรสู กึ ทดี่ ี ก็ทําให
เกิดสวรรคไ ดเด๋ยี วนี้

สมมติวาใจไมสบาย เอ ฟงเรอื่ งน้ไี มน า สนใจ ชักราํ คาญ
เห็นอะไรไมด ีไปหมด ชักกลุม แตถ าทําใจใหด ีขนึ้ มาวา เอ นีเ่ ปน
เร่ืองสาํ คญั ถงึ จะยากหนอ ย กค็ วรพยายามเอาใจใสใ หดี สราง
ฉันทะ ใหอ ยากรู ทาํ อารมณดีใหใจสบายขึน้ มา ก็มองอะไรชกั จะดี
ขึ้นไปหมด สวรรคเ รม่ิ มาแลว

๑๘ นรก-สวรรคในพระไตรปฎก

สวรรคท ่ีมีในปจ จบุ นั นี้ แมจะละเอยี ดออนจนเราอาจจะนกึ
วาเปน เรื่องเลก็ นอย แตอยาลมื วา การสรางนรก-สวรรคใหญๆ กม็ า
จากสรางเลก็ ๆ นอย น้เี อง คอื จากอารมณท ล่ี ะเมยี ดละไมตลอด
เวลาซ่ึงละเอยี ดออน คนเราสรา งบุคลิกลักษณะสรางสมนิสยั ใจคอ
จากอะไร ก็จากความคดิ และพฤตกิ รรมทกุ ขณะจติ จากการดํารง
ชีวิตประจําวนั ทลี ะเล็กละนอ ย ถา พยายามสรา งจติ ใจของเราใหดี
ทําอารมณใหดี คอ ยเปนคอ ยไป ทาํ ใจตอ ส่ิงตางๆ ใหถ กู ตอง
บุคลิกก็ดขี ้ึน จติ ใจก็สบายขน้ึ อะไรๆ ก็ดีขนึ้ น่เี ปน การสรา งสม
ระยะยาว เกบ็ เลก็ ผสมนอ ย

ก็เหมือนในทางวัตถุ เราตองรจู กั เก็บออม ทางดา นจติ ใจก็
ตองมกี ารสะสมนิสยั นีก้ ็เปนเร่ืองท่ที า นใหม ามองในระดบั ท่ีสาม
ซ่ึงจะไปเปนเหตขุ องสวรรค- นรกอนั ใหญต อ ไปขางหนา และเปน
เรื่องที่เราตอ งประสบตลอดเวลา ควรใหค วามสําคัญกับมัน อยา
ไปคิดวา เปนเร่ืองเลก็ เรอ่ื งนอย และถาเราทําได เราก็ไดรับผลใน
ปจจุบันน้เี ลย เราจะไมต อ งทรมานเพราะนรก เราจะมีจติ ใจที่
บรสิ ทุ ธ์สิ ะอาดผองใสสบายและพบสวรรคอยเู รอ่ื ยๆ

เอาละ นเ้ี ปนเรือ่ งของนรก-สวรรคในแงข องความมอี ยู ซ่งึ
แยกเปน ๓ ระดับ

 ⌫ 
  

ทีนี้พูดถึงการวางทาที ซ่ึงเปน หวั ขอ ท่ีสอง การวางทา ทีเปน
หัวขอท่ีบอกแลว วาสาํ คญั การวางทา ทีสําคัญกวา ความมจี รงิ หรือ
ไม ตอบไดว า สาํ คญั กวา แงท่ีพูดถงึ นรก-สวรรคห ลงั ตาย แตม นั จะ
ไปเปนอันหน่ึงอนั เดียวกับนรก-สวรรคร ะดับทีส่ าม เพราะการวาง
ทาทวี าเราจะปฏบิ ัติอยางไร จะสอดคลองกบั สิง่ ทปี่ ฏบิ ตั ิไดซึ่งอยู
ในระดับท่สี าม หรอื รองลงไปก็ระดบั ท่ีสอง

๑) ตองมศี รัทธา

ขอยอนหลังหนอย เม่อื พดู ถงึ ทา ทกี ต็ องยอ นมาต้งั แตระดับ
ที่หน่ึง คือนรก-สวรรคหลังจากตายแลว ท่ีเปน แหลงเปน โลกเปน
ภพซ่ึงเราจะไปรบั ผลกรรม หรอื พูดตามแบบศาสนาทมี่ ีเทพเจา สูง
สุดวา จะไปรบั โทษ รับรางวัล

นรก-สวรรคระดบั น้ี ไดบ อกแลว วาเปนเรื่องทเี่ ราคนสามัญ
ไมอ าจพสิ จู นไ ด ไมว า ในทางลบหรอื ทางบวก เมือ่ พิสูจนไมได ก็
ตองข้ึนกับศรทั ธา วาอันนถี้ า ทางศาสนาสอนไว จะเช่อื ไหม? อยทู ี่
นี่เทา น้ันเอง

สวนในทางพุทธศาสนานั้น กบ็ อกวา ใหเ ชือ่ อยา งมเี หตผุ ล
สําหรับสง่ิ ทพ่ี สิ จู นไ มได ในเมือ่ จะตองเอาทางศรทั ธา ก็ตอ งใหไ ด
หลักกอน

๒๐ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

ศรัทธา คือการไววางใจในปญ ญาของผูอื่น หรอื พดู ในแง
หนึ่งคือเราฝากปญ ญาไวก บั คนอ่ืน หมายความวาเราไมร ูไมเหน็
ดวยตนเอง จงึ ไปยอมรบั ความรูข องคนอนื่ ไววางใจในความรขู อง
เขา เขาบอกวาตรงน้นั มขี องอยา งนน้ั ๆ เราจะเช่อื ไหม ถา เราไวใจ
ในความรขู องเขา เราก็เชื่อเรากฝ็ ากปญญาไวก บั เขา

แตถา เมื่อใดเรารเู ห็นดวยตนเอง เราไมต องฝากปญ ญาไว
กับผูอ นื่ เรากไ็ มตองเชอ่ื ใคร แตเ ราจะตอ งรูเหน็ จรงิ ๆ ซึ่งเลยขั้น
ศรทั ธา

ตอนน้ีเร่ืองนรก-สวรรคเรายังไมรูเหน็ ดวยตนเอง กม็ ปี ญหา
วา เราจะยอมฝากปญญาไวกับผูอนื่ ไหม? ทีนีค้ นท่เี ราจะฝาก
ปญญาไว เราก็ตอ งคดิ วา นา เชื่อหรอื ไม ถา จะเชือ่ เราก็ตอ งดภู าวะ
แวดลอ ม

โดยมากคนเราจะอาศัยสงิ่ ตอ ไปนเ้ี ปนเครอ่ื งชว ยชกั จงู ให
มอบความไววางใจในปญญาของผอู ่ืน คอื

๑. ดา นทีห่ นึ่ง ดูทป่ี ญญา คือมองดวู า ตามปกตคิ นผูน้เี ปน
คนมีความรู มีปญ ญาจริงไหม? คาํ สัง่ สอนของศาสนานี้ เชนอยาง
พุทธศาสนา ก็คอื คําส่ังสอนของพระพุทธเจา ทส่ี อนหลักธรรมโดย
ท่ัวไปนี่ มีเหตุผลไหม? เปนความจรงิ ไหม? ถาเห็นวาคาํ สอนของ
ทานเทาที่เรารแู ละเขาใจได คือเทา ท่ปี ญญาของเราจะหย่งั ถึงได
และเทาทเ่ี ราผานมา ลวนเปน ความจริงทง้ั นั้น ก็ทําใหพลอยเชอ่ื สงิ่
ท่ีเรายงั ไมร ไู มเ ห็นดวยตนเอง

เราคิดวาส่ิงท่พี ระพุทธเจาตรัสมานั้น เทา ทีเ่ รามองเหน็ ได
ก็เปนความจรงิ เราจงึ เหน็ วาพระองคมปี ญ ญาพอท่เี ราจะฝาก
ปญญาของเราไวกับทา นได เราจงึ เกดิ ศรัทธาขน้ึ เปนขั้นที่หน่ึง

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๑

๒. ดานท่สี อง ดูทีเ่ จตนา ซึ่งเปน ความปรารถนาดี อนั นี้เปน
เหตแุ หง ความไวว างใจอกี ดา นหนง่ึ ถา คนเขามปี ญ ญาแตเ ขาไมห วงั
ดี เขาอาจจะหลอกเรา แตถ า เขาตอ งการชวยเหลอื เรา เขามแี ต
เมตตา ปรารถนาดีตอ เราอยา งจรงิ ใจ เราก็ศรัทธาไดเ พราะนา ไวใจ

เพราะฉะนนั้ เรอื่ งของศรทั ธา หลกั ใหญก อ็ ยทู วี่ า บคุ คลผนู น้ั
๑. มคี วามรจู รงิ มปี ญญาจริง สมควรเชอื่ ไหม?
๒. เปนผูมีความปรารถนาดี มเี มตตากรณุ า จริงใจไหม?
การท่ีจะมเี มตตากรุณาและจรงิ ใจหรือไม ก็อยูทเ่ี หตุปจ จยั
ประกอบ เชน วา ทา นมีเบอื้ งหลังทจ่ี ะหวงั ไดอะไรจากเราไหม? ถา
จะหลอกเรา จะหลอกเราไปทําไม หรือตามปกติทานเปน ผมู ีความ
ประพฤติบรสิ ุทธไ์ิ หม? ท่ีจะทาํ ใหเราเห็นวา เปนผูมีความหวงั ดี
ปรารถนาดตี อ เราอยา งแทจรงิ
เหมือนอยา งพอ แม เมอื่ เราเปน เดก็ ๆ ยังมีความรไู มพอ ยัง
เล็กอยู เราก็ตองทาํ อะไรๆ โดยอาศยั ความเชื่อเทานัน้ โดยเฉพาะ
พอแมเ ปนผูห วงั ดี เราเกิดความไวว างใจ เราก็เช่อื โดยเปนไปเอง
เราอยูในโลก เราอยูด วยความเช่อื มากมาย เรานัง่ รถยนต
โดยสารมาเราไมเ คยพสิ จู นเคร่อื งยนตว ามันเรยี บรอ ยหรือไม เรา
เคยไปพสิ จู นท ุกอยา งไหม มันวิ่งๆ ไป เครอื่ งอปุ กรณห รอื สว น
ประกอบอาจหลุดได หรือเวลานน้ี ง่ั อยบู นกุฏิ เอ เสากฏุ นิ เ่ี ขาหลอ
ไวดีหรือเปลา เราไมเ คยตรวจเลย คานไมท่ีทาํ ไวอ ยใู นที่ถกู ตอ งม่ัน
คงหรือเปลา เกดิ นง่ั ๆ อยูมนั หลน ลงมาก็หมดนะสิ อะไรอยา งนี้
มนษุ ยเ ราอยดู ว ยความไวว างใจ ตอ งอาศยั ศรทั ธา โดยบาง
ทีไมรูตวั เลย มนั เปน ไปเองในชวี ิตประจาํ วัน ทงั้ ท่ีความจรงิ เราไม
ไดพิสูจน เราไมไดรูเ ห็นอะไรทุกอยา ง เราเชอ่ื โดยเราเหน็ วา เขาไม

๒๒ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

ไดมาหลอกลวงอะไรเรา เพยี งแคน ีเ้ ราก็เชื่อในขนั้ พืน้ ฐานไปเสีย
แลว

สําหรับในทางพทุ ธศาสนา กเ็ ปนอันมาพจิ ารณากันวา
๑. พระพุทธเจาเปน ผูม ปี ญญามาก เทาทีแ่ สดงออกเปน

คําสั่งสอนตางๆ น้นั เปนจริง มเี หตผุ ลนาเชือ่ ไหม?
๒. พระองคม ีความปรารถนาดี มีเมตตากรุณา สอนเรา

โดยบรสิ ทุ ธพิ์ ระทยั ตอ งการใหเ ราไดร บั ประโยชนใ ชไ หม?
ถาหากเราม่นั ใจในพระองคโดยเหตผุ ลท้ังสองประการ เรา
ก็มีศรัทธา พระองคสอนเรอ่ื งนรก-สวรรควาชาตหิ นา มีจริงหรอื
เปลา ถา เรามีศรทั ธาเราก็นอ มไปทางที่จะเชอ่ื ตามทม่ี ีหลกั ฐานวา
พระองคไ ดต รสั ไว เร่อื งก็เปนอยางน้นั เปนอนั ตกลงวา นรก-สวรรค
ขั้นน้ีอยูท ี่ศรัทธา

๒) ตอ งพิจารณาเหตุผล

แตพ ระพทุ ธเจา ทรงสอนวา จะเชอื่ หรอื ไมก ไ็ มเ ปน ไร ไมไ ดถ อื
เปนเรือ่ งท่ีตองเชอ่ื ในพทุ ธศาสนาไมม ีการบงั คบั เมอื่ พระพทุ ธเจา
ทรงพบกับคนท่ยี ังไมเ ช่ือ ไมมีศรัทธา พระองคก็ทรงสอนใหม ีทาที
อยา งทสี่ อง คอื ทา ทใี นกรณที ยี่ งั ไมม ศี รทั ธา เชน ทต่ี รสั ในกาลามสตู ร

เร่ืองมีวา พระพทุ ธเจาทรงพบกับกาลามชน พวกนีย้ ังไม
นับถือลัทธิศาสนาไหนทง้ั นนั้ แตไ ดพบกับพวกเจาลทั ธิตางๆ ทีผ่ า น
ไปมา เขากถ็ ามปญหา พวกเจาลัทธิเหลา นั้นซ่ึงสอนตางๆ กันไป
ตางกว็ า ของตนจริง ของพวกอ่นื เหลวไหล เลยไมร จู ะเชอ่ื ใคร

เมื่อพระพุทธเจาเสดจ็ ผา นมาในถิน่ ของเขา คนพวกนกี้ ็ทลู
ถามพระพทุ ธเจา วา ใครพูดจริง ใครพดู เทจ็ พระพทุ ธเจา ตรสั วา

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๓

อยา ใหว า เลยใครจรงิ ใครเทจ็ ไมต องพูด พระองคตรสั วา อยา เช่ือ
เพยี งเพราะไดย นิ ไดฟ ง ตามกนั มา หรอื เรยี นตอ กนั มา อยา เชอ่ื เพยี ง
เพราะขาวเลา ลือ อยา เชอื่ เพียงเพราะมีเขียนในตํารา หรือเพยี ง
เพราะเหน็ วา สมณะนเี้ ปน ครขู องเรา ฯลฯ พระองคต รสั หลกั กาลามสตู ร
ทมี่ ี ๑๐ ขอ ใหเ ราพจิ ารณาดว ยตนเอง

ตอนทายพระองคต รัสยกตวั อยาง ซงึ่ มาเขา เรอื่ งนรก-
สวรรค และกรรมดี-กรรมช่วั กศุ ล-อกศุ ล ทรงสอนใหพ ิจารณาใน
ปจจุบันนี้วาส่ิงทีด่ งี าม สิ่งที่เปนกศุ ล ทําแลวมันเกอ้ื กลู แกชีวติ ของ
ตนเอง มนั ดีตอ ตวั เราไหม ดตี อผูอ น่ื ไหม เปนผลดีตอ ท้งั สองฝา ยใช
ไหม แตถ าเปน อกศุ ล มนั ดตี อ ชีวิตจติ ใจของเราไหม ดตี อ ผอู ื่นไหม
เปนการเบียดเบยี นผอู ่นื ไหม บางทีดีตอ เรา แตเ ปนการเบียดเบยี น
ผูอื่น หรือมนั ดเี พยี งวาเราเหน็ ในชวั่ สายตามองสัน้ ๆ แคบๆ แตท่ี
จริงเปนผลรายแกต วั เราเอง เราพจิ ารณารอบคอบหรือยงั

เมื่อพิจารณาแลวจะเห็นวาส่ิงทเ่ี ปนกศุ ลดงี าม ก็คือ เปน
ประโยชนตอชวี ิต เกื้อกูลอยา งแทจ ริงแกช วี ิตจิตใจของเราระยะ
ยาว และแกผูอ น่ื แกสงั คม เม่ือพิจารณาและมองเหน็ อยา งนีแ้ ลว
ถามวาอยางไหนควรทาํ อยางไหนควรเวน กเ็ หน็ วา ส่งิ ทดี่ ีงามคอื
ส่ิงท่ที าํ ดว ยจติ ใจท่ไี มใ ชเ พราะโลภ โกรธ หลง เกิดจากจติ ใจทีม่ ี
เมตตา มคี วามเผือ่ แผ โอบออมอารี มปี ญ ญา ทาํ ดว ยจิตแบบนีด้ ี
กวา ควรจะทํา นี้วา กนั ใหเ หน็ ในปจจุบันนีเ้ ลย

พระองคต รสั ตอไปวา ถา เราทาํ ดี บังเกดิ ผลดเี ปนสง่ิ ที่
เก้ือกูลในปจ จุบันแลว หากวาสวรรคมีจรงิ นรกมจี รงิ เราก็ไมตองไป
ตกนรก ไมต อ งไปรับผลรา ย เราจะไปสวรรค ไดรบั ผลดี กเ็ ปนกาํ ไร
เพิ่มเติมขึน้ แตถ า เปนฝายอกุศลคือความช่วั เกิดจากโลภ โกรธ

๒๔ นรก-สวรรคในพระไตรปฎก

หลง ในปจ จุบนั นม้ี ันก็ไมเ กื้อกูลแกจติ ใจ และเปนการเบียดเบยี น
ไมเกือ้ กลู แกสังคม เปนอันวา ผลเสียเกดิ ขึ้นในโลกต้ังแตชาติน้แี ลว
เม่ือตายไป ถา นรก-สวรรคม ีจริง เรากไ็ มไ ดไ ปสวรรค แตไ ปนรกแน
นอน กเ็ ปนอนั วา เสียผลทง้ั สองดา น

เพราะฉะน้นั กเ็ ปนอนั สรุปในแงนีไ้ ดว า ถึงแมไ มตอ งใช
ศรัทธา เอาตามเหตผุ ล กค็ วรทํากรรมดี ละเวน กรรมชว่ั นเ้ี ปนแนว
กาลามสูตร ซึ่งเปนการวางทาทใี นข้นั ปญญา

๓) ตอ งม่ันใจตน-ไมอ อนวอน

เลยจากนไี้ ปอีกชนั้ หนงึ่ พทุ ธศาสนาแสดงหลกั นรก-สวรรค
อะไรตา งๆ ไวเพอ่ื มุง ประสงคอ ะไร จะใหเราวางทา ทอี ยา งไร อยาง
ที่บอกไวเ ม่อื ก้ีวา ทาทสี าํ คัญกวา จะมัวรอพิสูจนว า จริงหรอื ไม

เคยพูดขา งตน แลววา ในกรณที ่พี ระพุทธเจาตรสั ถึงผลของ
การทําความดคี วามชวั่ พระองคตรสั วาการทาํ ชวั่ น้ันมผี ลตอไปนี้
หนึ่ง สอง สาม ส่ี หา โดยระบผุ ลหลายขอท่มี ีในชาตินี้กอ น สวนผล
ชาติหนาทตี่ ามมาหลงั จากตายเอาไวข อสุดทา ย แมผลดีก็เชน กัน
อันน้ีก็สอ ไปถึงลกั ษณะของการทเ่ี ราจะวางทาที

เร่ืองนีข้ ออธบิ ายวา ในการที่พระพุทธเจาตรสั เรอื่ งนรก-
สวรรคนั้น ทรงแสดงวา ผลอะไรตางๆ ยอ มเปนไปตามเหตุ หลกั
พระพุทธศาสนาถือเรือ่ งกรรม ซึ่งเปน เรือ่ งของเหตุปจจยั เปนกฎ
ธรรมดาของธรรมชาติ เมื่อมันเปน ไปตามกฎธรรมดา กเ็ ปน เรื่อง
ของการที่เราจะรเู ทานั้น เราไมตองไปวงิ วอนใหผ ลอยา งนน้ั เกิด

ในเม่ือมนั เปน กฎ ผลเกิดจากเหตุ เมือ่ เหตเุ ปนอยา งนีแ้ ลว
ผลอยางนัน้ ๆ กเ็ กิดเอง เราไมต อ งออ นวอนวา ฉนั ทําเหตนุ แี้ ลว ขอ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๕

ใหผลน้ันเกิดขน้ึ เถดิ เพราะวา ถึงจะออ นวอนอยางไร มนั ก็ไมเปน
ไปตามคําออ นวอน แตมนั เปนไปตามเหตุทที่ ํา เมอ่ื ทาํ กรรมดี ผลดี
ท่ีเกิดเปนไปตามหลักกรรม มันเปนไปตามกฎธรรมดา ไมเ ปนไป
ตามคาํ ออ นวอนของเรา

เพราะฉะนัน้ การท่ีพระพุทธเจาตรัสเร่ืองผลดผี ลรายตางๆ
จนถึงวาตายแลวไปตกนรก หรอื ข้ึนสวรรคนี้ เปนการตรัสในแงกฎ
ธรรมดา คือเปนเร่อื งความรูสําหรับเรารู ไมใชเ ปน คาํ สัง่ ไมใ ชคาํ
บงการบัญชาหรอื บอกใบใหเ ราตองไปขอรอ งออนวอนอะไรอกี แต
เปนการบอกใหเรารแู ละมน่ั ใจวาเม่ือทาํ อยางน้ี ผลอยา งนนั้ มนั จะ
เกิดขึน้

ในทางตรงขาม ถา มคี นทคี่ อยใหรางวัลและลงโทษใหเปน
อยางน้ัน เราจงึ จะจาํ เปน ตอ งยึดถอื จาํ เอาไวเ พือ่ ออ นวอน เพราะ
เด๋ียวทําดไี ปแลว ไมเอาใจทาน อาจจะไมไ ดไ ปสวรรค

แตใ นทางพุทธศาสนา คนทท่ี าํ ดี ไมตอ งออนวอนขอไป
สวรรค เพราะมนั เปน ไปตามกฎธรรมดา เพียงแตร ไู วและมั่นใจเทา
น้ัน ถึงเราไมรู ถงึ ทา นไมบ อก มันก็เปนอยางน้ัน แตรแู ลว เราจะได
ปฏิบตั ติ ัวเองถกู และม่นั ใจ น่ตี องวางทา ทีใหถ ูกตอ ง

พุทธศาสนิกชนมีความรูไวสําหรับใหเกิดความมน่ั ใจตนเอง
เรารูแลววาทํากรรมดี จะเกิดผลดี พระพุทธเจา ตรัสไว เราก็มั่นใจ
วา ถา ทาํ กรรมดีแลว ผลดีจะเกดิ ขนึ้ ไมต อ งใชวธิ ีออนวอน นคี่ ือการ
วางทา ทีอยางหน่ึงในพระพุทธศาสนา

เราเอาเวลาที่จะออนวอนไปใชในการพิจารณาส่ิงที่ทําวา
ทําดีรอบคอบ ทาํ เหตุปจจยั ครบถวนไหม เปน ประโยชนท งั้ บดั นี้
และเบอื้ งหนาไหม เก้ือกูลแกช วี ติ แกส ังคมแคไ หน แทนทีจ่ ะเอา

๒๖ นรก-สวรรคในพระไตรปฎ ก

เวลาไปใชออ นวอนขอผล กม็ ่นั ใจไดว า ผลจะมาตามเหตุของมัน
เอง น่เี ปน ทา ทีระดับทีส่ าม

๔) ตองไมห วังผลตอบแทน

ตอจากระดบั ทส่ี ามน้แี ลว ยงั มีข้ันสงู ขนึ้ ไปอกี ซ่งึ เราจะมอง
เห็นวา ถงึ อยา งไรกต็ าม เรื่องนรก-สวรรคกย็ งั มีสว นเหมือนเปน ผล
ตอบแทน นรกน้นั เปนผลรา ย เปรียบเทียบเหมือนเปน การลงโทษ
สําหรบั กรรมชั่ว และสวรรคเ ปน ผลตอบแทนของกรรมดี

ทีน้ีถาเรายงั ทํากรรมดีและเวนกรรมช่ัวโดยหวังผลอยูนี่ เรา
ก็ยังไมพ ฒั นา ยังไมเปน อารยชนตามหลกั พระพทุ ธศาสนา ควร
ทราบวาพระพทุ ธศาสนาสอนตอ ไปอีกระดบั หนึ่งวา ถา เรายงั ทํา
กรรมดเี พราะหวงั ผลอยู ก็เรียกวาเปน โลกียปุถชุ น เปน ปถุ ุชนท่ยี ังมี
กิเลสหนา คนของพระพทุ ธศาสนาแทจ รงิ ตอ งเปนอรยิ สาวก

อริยสาวกคอื อยา งไร อรยิ สาวกเปนคนทีท่ าํ ความดีโดยไม
ตองหว งผล เพราะเรอื่ งผลดผี ลรายนัน้ มันเปน ไปตามกฎธรรมดา
ของมนั เอง เรารแู ลว เรายอ มมีความม่ันใจในตวั เอง แตเ มื่อปฏบิ ตั ิ
ใหส งู ไปกวานัน้ กค็ อื ไมตองหวงั ผลเลย เราทาํ ความดเี พ่อื ใหส ิ่งทด่ี ี
งามเกิดข้ึน สิ่งทด่ี ีงามคืออะไร คอื ส่งิ ท่ีเก้อื กูลแกชวี ติ จติ ใจของเรา
ต้ังแตปจ จุบนั และมผี ลดีท่เี กดิ แกส ังคมแกผ อู ื่น

เราทําดีเพราะตองการใหธรรมคือความดีงามเกิดขึ้นใน
โลก อยา งน้ีหมายความวา มีความรกั ธรรม รักความดีงาม รักสงิ่ ท่ี
ถูกตอง ถาทาํ ไดถ งึ ข้ันน้ี ก็เปนข้นั ดาํ เนินตามอริยสาวกแลว คอื เลย
จากขั้นหวังผลหวงั ตอบแทน ซง่ึ เปนขั้นโลกียปถุ ชุ น

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๗

พระพุทธศาสนาตอ งการใหเรากาวไปอกี ข้นั หนงึ่ คอื ขนั้ สงู
ที่เปนเรอื่ งของธรรมแทๆ น้ี ซ่ึงเปนข้นั อรยิ สาวก ใหม ีจิตใจของคนที่
อยูในขน้ั อรยิ สาวก

ถึงตอนนก้ี ็มาเขาสนู รก-สวรรคระดบั ทีส่ าม เมอื่ กี้เราพูดถึง
นรก-สวรรคร ะดับทีส่ าม ซง่ึ มีอยูตลอดเวลาท่เี ราปรงุ แตง ดังนนั้ ทา
ทีท่ีมีตอนรก-สวรรค กบั ความมอี ยขู องนรก-สวรรคใ นข้ันสุดทา ยก็
มารับกัน คือผลท่ีสุดกม็ าอยูทป่ี จ จบุ นั เปน สําคัญ แลว มนั ก็จะให
ความรสู กึ แกเ ราอยา งหน่งึ วา ในข้ันสงู สุดท่แี ทจ ริงแลว ชาวพุทธจะ
กาวไปสูการทําความดี โดยรกั ธรรม รักความดีงาม รักส่งิ ท่เี ปน
กุศลนัน้ เอง

มนุษยเราน้ัน ทุกคน ถาวา ดวยใจจรงิ แลว ยอมมีเยอื่ ใยตอ
ชีวิตของตน ทกุ คนรกั ชีวิตของตน เราตองการใหช ีวิตของเราเปน
ชีวิตที่ดีงาม เราตอ งการใหชวี ิตของเราเปน ชวี ิตท่บี ริสุทธิ์ ถาเราได
พัฒนาจิตใจของเราใหสูงขึน้ จนลักษณะนเ้ี ดน ชดั ขน้ึ เรากไ็ มตอง
ไปนึกถงึ ผลตอบแทนขางหนามากมาย

ถาเรารกั ความดีงามบริสทุ ธ์ิของชวี ิต รักความประณตี
บริสุทธิ์ของจิตใจ กก็ ลายเปน วาเรารกั ธรรม รักความดีงาม เราก็
อยากถนอมชวี ิตของเราใหเปน ชีวิตทดี่ ีงาม ใหเปน ชวี ิตท่ปี ระณีต
ใหเปนชีวิตทบ่ี รสิ ทุ ธ์ิ เราก็อยากจะทาํ ความดดี ว ยใจตัวเอง ไมตอง
ไปหวงั ผลเปนลาภ ยศ สขุ สรรเสรญิ อะไร เรารักชีวติ รกั ความดี
งาม รักตัวธรรมทแี่ ทจรงิ ไมดีกวา หรือ

ทาทีสุดทายน้ีไปรับกบั เรอื่ งสวรรคท เ่ี ปน ปจ จุบัน ซ่ึงเราจะ
ตองสราง เปนอันวา ชวี ิตของเรากาวหนา คือเราปฏบิ ตั ิธรรมกา ว
หนาไปเรื่อยๆ จากขน้ั เปนโลกียปถุ ุชน ขึน้ สขู ั้นเปนอริยสาวก ซงึ่

๒๘ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

เลยจากการทําความดีหลีกหนีความชั่วเพราะตองการเล่ียงผลราย
หรือตองการรางวลั ผลตอบแทน เมอื่ เลยจากข้นั นนั้ ไปแลว ก็จะเกดิ
ความเขาใจในธรรม รกั ชีวติ ของตวั เองในทางท่ีถูกตอ ง เชน
ตองการใหชวี ติ ของเราเปนชีวติ ทีด่ ีงามบริสุทธิ์

เมื่อชีวิตของเราประณีตขึน้ สิง่ ทที่ ําไวเ ปนความดีความชวั่
จะยิ่งมีผลชดั มากขึ้น เพราะวาจติ ใจของเราประณีต การทเ่ี ราจะ
กาวหนา ในคุณความดี บรรลอุ ะไรท่สี ูงขึน้ ไป จติ ใจของเราจะตอ ง
ประณีตขนึ้ ไปดว ย เม่อื เราทาํ จิตของเราใหประณตี ขนึ้ พอมนั
ละเอียดออ นขนึ้ ส่งิ ทกี่ ระทาํ ไวแมเปน เรอื่ งเลก็ นอยก็ปรากฏผลได
งาย รบั รูง า ย มีความไวข้นึ เพราะฉะนั้นสงิ่ ท่เี ราทําไว กป็ รากฏผล
มากขึน้

มีทานผูรูเ ปรยี บเทยี บไว เหมอื นวา พื้นถนน ปด กวาดแลว
ถึงจะยังมฝี ุนมากก็นับวาสะอาด ขยับขน้ึ มาเปน พืน้ บา น ตอ งฝนุ
นอยลง จึงจะนับวา สะอาด แตก ระจกแวน ตาฝนุ นิดเดียวกเ็ ห็นชดั
ตอ งไมมีละอองจับเลย จึงจะนับวา สะอาด

พ้ืนถนนเราใชสาํ หรับรถว่งิ หรอื ใหค นเดนิ ผาน สะอาดแค
ไมเกะกะไมเ ลอะเทอะก็ดแี ลว ใชงานได แตก ระจกแวน ตา ถา
สะอาดแคอ ยางพืน้ ถนน กย็ ังดอู ะไรไมเหน็ ใชประโยชนย งั ไมได

เพราะฉะน้นั สง่ิ ทจี่ ะรองรับงานที่ประณีต คณุ ภาพกต็ อ ง
ถึงข้ัน ชีวติ จิตใจที่จะเขา ถงึ สง่ิ ประเสริฐข้นึ ไป ก็ตองประณีตพอจงึ
จะถึงได

ถาเราตอ งการใหชีวติ ของเรากาวไปขางหนา ใหประณตี
อยา งนน้ั เราก็ตองไมป ระมาท ตองระวงั ไวในเรอ่ื งความด-ี ความชว่ั
เหลานี้ วา มนั จะไปมผี ลกระทบตอ ชีวติ ของเราทปี่ ระณตี ขนึ้ ทกุ ที

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๙

ดวย เพราะฉะนน้ั เราจะตอ งรกั ษาคุณความดี หรอื คุณภาพของ
ชีวิตน้ีไวใหด ี จงึ เปน การจาํ เปน อยเู องท่เี ราจะตองพยายามสรา ง
กรรมที่ดีงามยง่ิ ขน้ึ ไป

ทาํ ดีไดด ี ทําช่วั ไดช่ัว

เม่ือพูดมาถึงแงนี้ก็จะสัมพันธกับหลกั พุทธศาสนาทส่ี อนวา
ทําดไี ดด ี ทําชว่ั ไดช ่วั ซึ่งมีปญหาเกยี่ วกับการตคี วามตามคาํ
เปรียบเทียบทว่ี า หวา นพชื เชนไรไดผ ลเชน นัน้ ปลูกเม็ดมะมวงได
ตนมะมวง ปลูกเม็ดมะปรางไดตนมะปราง ขั้นนี้เรียกวาหวาน
พืชเชนไรไดผลเชนนนั้

ทีนี้มีอีกตอนหนง่ึ ถามวา ไดม ะปรางแลวจะขายไดก าํ ไรดี
หรือเปลา ตอนน้ตี อ งขนึ้ ตอ ปจจัยอืน่ เชน วา คนเขานยิ มไหม มขี าย
มากไป ลนตลาดหรอื เปลา มคี วามตองการของตลาดแคไหน ถา
องคประกอบเชนความตองการอาํ นวย ก็จะทําใหไดก าํ ไรดี แตถา
องคป ระกอบเหลา นนั้ ไมดี กไ็ มไ ดกาํ ไรเทาไร แตเรากไ็ ดมะปราง
อยูน่นั เอง

ทําดีไดดี เรามองเปนไดกาํ ไร แทนท่ีจะมองวาปลูกมะปราง
ไดมะปราง เราขา มข้นั ตอนไปมองวาไดเ งินกําไรจากการขาย
มะปรางเลย แทนทจี่ ะมองวา ไดตน มะปรางจากการปลูกเมด็
มะปราง กลบั มองวา ไดเ งินจากการปลกู มะปราง จะเห็นวาไมเ ปน
เหตุเปน ผลทถ่ี ูกตองเลย

ทําดีไดด ี ความดีเกดิ ขน้ึ สรางเมตตา เมตตาเกิดข้ึน ความ
รักเกิดขึ้น จติ ใจแชมชน่ื เยน็ สบาย ความรูสกึ ออนโยนตอ กันเกิดขึ้น
มีเมตตาไป ทา ทกี ริ ิยาแสดงออกมา อีกฝายหนง่ึ ทรี่ บั ก็มีความรสู กึ

๓๐ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎก

เกิดข้ึนในทางดงี าม ปลกู เมตตา เมตตาก็เกดิ และแผไป ปลกู อะไร
ก็ไดอนั น้นั ทาํ ความดกี ็ไดผ ลทีด่ ี ทาํ ดีไดดตี รงน้ีถกู ไหม

ทีนี้เราไปหวงั วาทําความดไี ดดี คือไดตาํ แหนง ไหม ถกู ลอต
เตอรี่รางวัลที่หนง่ึ ไหม ไดอ ะไรตออะไรกไ็ มรู กลายเปน ปลูก
มะปราง ไดเงินกําไรหรอื เปลา ซง่ึ ตอนน้ีไมไ ดขึ้นตอปจ จยั เพียงแค
นี้แลว แตไปขนึ้ กบั องคป ระกอบอีกตงั้ หลายอยา ง เชน วา ความดี
ของเราท่ีทาํ ขน้ึ มาน้ี เปนส่งิ ท่ตี ลาดตองการหรือเปลา ถาตลาด
ตองการ เรามีองคประกอบเกอ้ื หนุนถกู ตอ ง ผลดที ี่เราตองการเปน
วัตถภุ ายนอก ลาภ ยศ สุข สรรเสรญิ ก็เกดิ มีข้ึน ถาไมต รงมนั ก็ยงั
ไมได คนไมไดมองตรงนเ้ี ลย

ทั้งที่ภาษติ บอกไวแ ลว วา ปลูกพืชเชนไรไดผ ลเชนน้นั ปลูก
เม็ดมะปรางไดตน มะปราง แตเ ราจะไปเอาตรงปลกู มะปรางได
กําไรหรอื เปลา ปลูกเม็ดมะปรางไดธนบตั รหรือเปลา มนั ผดิ ข้นั
ตอนไป

สําหรับมนุษยโลกียปถุ ชุ นนี้ พอปลกู มะปรางกไ็ มคดิ แต
เพียงใหไดมะปราง แตไ ปคดิ วา ใหไดเงินกาํ ไรมา ก็เลยกลายเปนวา
มนุษยทําอะไรหวงั ผลตอบแทนมาก เมือ่ ทําความดกี ห็ วงั ผลตอบ
แทน แตไมท ําเหตปุ จจัยใหพ อแกผ ลท่ีหวังจะไดต อบแทนนนั้ ตัว
เองปญญาไมถ งึ และทาํ ไมถกู กไ็ ปโทษกฎธรรมชาติ ที่จรงิ ตวั หลง
ผิดไปเอง

แตถา ไดกา วหนา ไปสูข ้ันเปนอริยสาวกแลว กเ็ ปน อนั วา ไม
หวงเร่อื งผลตอบแทนอนั นี้ แตจ ะรกั คณุ ภาพของชีวติ รูคุณคาของ
ชีวิตท่ีประณีตขึน้ บรสิ ทุ ธ์ขิ นึ้ รักความบริสทุ ธ์ิของชีวติ รกั ธรรม รกั
ความดงี าม ตอ งการใหธ รรมคือความดีงาม เกดิ มีแกช ีวติ และเกิด

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๑

มีข้ึนในโลก
ถาคนมีความรักความตองการอยางนี้ สงั คมนี้จะดดี ว ยมี

ความดี ทกุ ส่งิ จะดีและมนุษยจะมีความสขุ จะไมถอื เรอ่ื งผล
ประโยชนท างวัตถุเปนสาํ คัญนัก

ถาจิตใจมาถงึ ข้นั นแ้ี ลว การทาํ ความดีกจ็ ะไปถึงตวั ธรรม
ไมมาติดอยทู ขี่ ัน้ หวังนรก-สวรรคแลว แตน รก-สวรรคนน้ั กเ็ ปนไป
ตามกฎธรรมดา เปนหลักแหง เหตแุ ละผล เราไมตองไปออ นวอน
มันก็อยูมันกเ็ ปนไปของมนั อยา งนัน้ เม่ือทาํ เหตดุ ี ผลดกี ็เกดิ ขน้ึ เอง
เปนเรอ่ื งของกฎธรรมชาติ หลักเหตุและผลดําเนินไปเอง ไมใชเ รอื่ ง
ทจ่ี ะตองมาออนวอน ถึงเราไมตองการผล มันก็ไดผล

ตรงน้ีขอแทรกหนอยหนึ่ง เมื่อกีน้ ี้บอกวา ปลกู เมด็ มะปราง
ไดต น มะปราง ไมใชปลูกเม็ดมะปรางไดเ งินทอง ซึง่ ผิดข้ันตอน
และไมเปนเหตุเปนผลตามกฎธรรมชาติ

ทีน้ี ถาพดู ใหล ะเอียดลงไปอีก แมแตที่วา ปลกู เม็ดมะปราง
ไดตนมะปราง กย็ งั ไมแน บางทปี ลูกเม็ดมะปรางแลวไมไ ดต น
มะปรางกม็ ี คอื มันไมขนึ้ ไมงอก หมายความวา เม็ดมะปรางนนั้
อาจจะเนา อาจจะเสยี ใชไ มไ ด

นอกจากนั้น มแี ตเม็ดมะปรางอยางเดียวกย็ งั ไมพอ ตองมี
ดิน มีน้าํ มปี ุย มอี ากาศ มอี ณุ หภมู ิรอ นเย็นพอดี ทุกอยา งตองพอ
เหมาะ เมด็ มะปรางจงึ จะงอกข้ึนเปนตน มะปราง

ที่วาทําเหตนุ ั้น หมายถงึ วาตอ งมปี จ จัยพรอ มดวย ทางพระ
จึงพูดรวมวาเหตุปจ จัย ความเปน เหตเุ ปนผลตามกฎธรรมชาติ
รวมท้ังกฎแหง กรรมนน้ั มคี วามหมายถึงกระบวนการของเหตุ
ปจจัยทั้งหมดที่ซบั ซอ นขน้ึ ไปอีก แตพ ูดแทรกไวเทาน้นั ยังไมข ยาย

๓๒ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

ความทน่ี ี่ เอาพอสะกิดไวใ หเปน แงคดิ ก็รวมอยใู นเรือ่ งความเปน
เหตุเปน ผลน้ันเอง คือเปน เหตุเปนผลตามกฎธรรมชาติ หรอื ความ
จริงของธรรมดา ไมใ ชเหตผุ ลแบบผลตอบแทนอยางที่คนชอบวาด
แตงตามความอยาก หยุดไวแคน ี้กอ น เพราะกําลงั จะเลยจากเร่ือง
นรก-สวรรคไปเขา เรอื่ งกฎแหง กรรมทรี่ องรับเรอ่ื งนรก-สวรรคนน้ั

ก็เปนอนั วา มาถึงตอนนสี้ รปุ ไดว า ถึงแมเราจะพดู ถงึ ผล
ตามเหตุคลายกบั เปน ผลตอบแทน แตความจรงิ นั้นเรารูไ วเพือ่ เกิด
ความมั่นใจตางหาก ทาํ ดีในชาตนิ ใี้ หสบายใจ เม่อื จิตดรี ะดับจิต
พรอมอยูแลว แมแ ตคนทไี่ มเชอ่ื ถาชาตหิ นามมี ันก็ไปดีเอง ไมตอง
หวงลว งหนา นค่ี ือคติพระพุทธศาสนา และทาํ ความดจี นไมตอ ง
หวงลวงหนานน่ั แหละ แสดงวา เราม่นั ใจในหลกั ความจรงิ และ
ความดีแลว

ขอสําคญั อยทู ีว่ า เรามีความมัน่ ใจในหลักความจริงและ
ความดีนั้นหรอื เปลา ถามคี วามมน่ั ใจแลว ไมต องหว ง เวลาตายจะ
ไปนรกหรอื ไม ไมไ ปหรอก ถา เราทําใจปรุงแตง มันใหพรอมดีอยู
แลว ใหถึงระดบั ท่ีสาม กค็ ือทาํ ดอี ยูทุกขณะ ปรงุ แตง สวรรคอ ยู
ตลอดเวลา สวรรคก ็อยใู นกาํ มือ หรอื จะเลยสวรรคไปอีกก็ได คอื ให
ขึ้นสูระดับของอรยิ สาวกไปเลย

เวลาน้ีการสอนเรอื่ งนรก-สวรรคมาตดิ กันอยตู รงน้ี คือ มา
ติดเรื่องคิดพสิ ูจนน รก-สวรรความีจริงหรือไมจ ริง จะไปเปนนัก
ปรัชญา เลยไมต องทําอะไร รอจนกวา ฉนั จะรูวานรก-สวรรคมหี รือ
ไมมี ฉนั จงึ จะทําไดถกู ถา อยางนี้กไ็ มตองทาํ แลว ตลอดชีวติ น้ี ตาย
กอน เพราะนกั ปรชั ญาตายมาหลายช่วั อายุคนแลว ในระยะหา พนั
ปนี้นักปรัชญาตายไปกีค่ น และที่ไมใชนักปรัชญาคอยฟง นัก

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓๓

ปรัชญาสอนอกี เทาไรก็ไมร ู กเ็ ลยไมไ ดเรื่อง พวกเหลานีช้ วี ิตเปน
หมนั ไปเสยี มาก

ตามแนวทางพุทธศาสนาทา นถือหลกั แหง การปฏิบัติ เอา
ส่ิงท่ปี ฏบิ ัตไิ ดโดยไมรออภิปรชั ญา และพทุ ธศาสนาไมตองอิงอยู
กับเรื่องรอการพิสูจนส ่งิ เหลา นี้ ไมตองรอเลย ทวาเนนเรอื่ งทา ที วา
ใหมีความมน่ั ใจ ทาํ ดที ปี่ ฏิบตั ิเหน็ ผลไดในชีวติ น้ี พรอ มท้งั มีความ
มั่นใจในผลดีทจี่ ะมีขา งหนา ดวยการปรุงแตงไวพรอ มแลว เมอื่
สภาพจิตของเราดอี ยใู นระดับท่ีสงู ข้นึ ไปแลว กต็ อ งไปดี

เหนือจากนน้ั ก็กาวไปสูข นั้ อริยสาวก อยา มวั มาอยขู นั้ หวงั
ผลตอบแทนกนั อยู อยาเปนหว งเร่ืองนรก-สวรรคท ีม่ าขกู นั อยู ถา
จิตของเราประณีตขน้ึ ไป จนกระท่ังรักความบริสทุ ธ์คิ วามดงี ามของ
ชีวิต รักธรรม อยากใหชวี ิตของเราเปน ชีวิตทีด่ ีงาม เปน ธรรม อยใู น
ธรรม ประณีตดวยธรรม และตอ งการใหธรรมแผไป กอ็ ยกู ันไดด ว ย
ความดี ขนั้ นถ้ี ึงธรรมแลว กไ็ มต อ งหวังรอผลตอบแทนอีกตอ ไป

ตอบคําถาม

เอาละ อาตมาพูดไวน้กี เ็ ยอะแยะแลว ไมทราบจะมเี วลาเหลือที่จะ

ถามตอบปญหากนั อยอู กี หรือเปลา ตอ ไปน้ีกเ็ รยี กวามาคุยกนั โดยวิธขี อง

การซักถามตอบปญหา ใครมีอะไรก็ยกตั้งเปน คาํ ถามขึ้นมา ขอเชิญ

ถาม: ถาอยางน้ันนรกทเ่ี ขาวากนั ไว ท่ีมกี ระทะทองแดงก็

คงจะไมม จี รงิ หรอื ?

ตอบ: อาว ตองขอโทษนะ ไดบ อกวา นรก-สวรรคในพระ

ไตรปฎกมี ๓ ระดบั คอื ๑. ระดบั ทว่ี าเปน แหลง เปนโลก เปนภพ
อะไรนนั้ นะ ทวี่ า หลังจากตายไปแลวจะไปประสบหรือไปเกิด อนั นี้
ถาถือตามตัวอักษรพระไตรปฎ กกม็ ี แตบ อกวา ถึงแมว ามกี อ็ ยา
เอาไปปนกับวรรณคดี หรือภาพจิตรกรรมฝาผนงั วา จะตองวิจิตร
พิสดารถงึ อยางนั้น เพราะเปน ธรรมดาของนกั วรรณคดี ทจ่ี ะตองมี
จินตนาการและวธิ พี ูดวธิ ที าํ ใหค นเหน็ จริงเห็นจงั มากขนึ้ คอื ตองมี
การปรงุ แตง สูง แตว าแกน น้ันมอี ยู

ก็ลองๆ ไปอานดูในพระสตู รท่อี าตมาอางไวเมือ่ กนี้ ้ี กจ็ ะมี
กลาวถึงวธิ กี ารลงโทษอะไรตออะไรเหมอื นกนั กไ็ มไดป ฏเิ สธขน้ั นี้
แตอยาไปปรุงแตง ใหว ิจิตรพสิ ดารถงึ ข้ันน้นั ถา เปนวรรณคดมี ันก็
ตองเสรมิ กันบางละ แมแ ตเรอ่ื งคนธรรมดากย็ งั มกี ารบรรยายภาพ
สรางจินตนาการมากมายจนเลยความจรงิ อยางหนาตาของคนนี้
บรรยายความสวยงามจนกระทง่ั คนหนา เปน พระจนั ทร แลว คนหนา
กลมเปน พระจนั ทรอ ยางนน้ั มันจะไปนา ดอู ะไร มนั เปนไปไมไ ด

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๕

ถาม: ทานคะ แตที่มีในพระสูตรก็เรยี กไดว ามกี ารปรงุ แตง

อยใู ชไ หมคะ พดู ถงึ นรก-สวรรค เชน พยายามบรรยายใหเ หน็ วา นรก
นา กลวั และสวรรคส วยงามนา อยู กเ็ รยี กวา ปรงุ แตง แลว ใชไ หมคะ?

ตอบ: ในพระสตู รจริงๆ ไมบ รรยายวิจิตรพิสดาร แตใ น

อรรถกถา ฎกี า พรรณนาเยอะ แตก จ็ ดั วา ยงั นอ ยกวา ทางวรรณคดี
เชน ในเรอื่ ง ไตรภมู ิ ซึ่งเปน ข้นั ประมวล แลว เขียนอธิบายเพม่ิ เติม

แหลง สําคญั ท่ีมาของไตรภูมกิ ็มาจากชนั้ อรรถกถาฎีกา ใน
พระไตรปฎ กก็คลายๆ เปน เช้ือหรอื เปนแกน อรรถกถาฎกี าก็มา
อธิบายขยายออกไป

เรอื่ งการบรรยายใหเ หน็ เปน ภาพพจนน นั้ เกยี่ วกบั วธิ พี ดู ดว ย
วิธีพูดอยา งท่วี า ใหเหน็ ภาพพจนนัน้ ตองพดู จนมองเหน็ ภาพเลย
ถาพูดใหเ หน็ ภาพเปนจรงิ เปนจังได คนน้ันก็พดู เกง ส่ิงท่ีไมสามารถ
มองเหน็ มนั พดู ยาก การจะมาทาํ ใหค นอนื่ เขา ใจ กต็ อ งพดู ใหเ หน็ ภาพ
การพูดใหเห็นภาพน้บี างทกี ็อาจจะตองมีการสรา งภาพข้นึ มาบา ง

ทีนี้ นรก-สวรรคนี้เรามาลองวิเคราะหก นั ดู ในกรณีท่เี มอ่ื มี
จริงอยางนนั้ เปน ภาพเปนภูมิน่ีมนั จะเหมือนกบั ชีวติ ในโลกน้ีได
อยางไร ถา เหมอื นจริงก็เห็นเลยใชไหม ก็เห็นดวยตาสิ ทีนมี้ ันมอง
ไมเห็นดว ยตาใชไ หม วากันตามหลักนะ นรกนเ้ี หน็ ดวยตาไหม
สวรรคเห็นดวยตาไหม ไมเหน็ เม่ือไมเ หน็ สภาพชีวิตตอ งไมเ หมือน
กับมนุษยใ ชไ หม เม่ือไมเ หมือน ความทุกขทรมานอะไรๆ วธิ กี ารลง
โทษน่มี ันจะตอ งแปลกไป ไมเหมือนกับของมนษุ ย

ถาม: มีปญหากราบเรยี นถามทานตอไปวา เม่ือยอมรบั วา

มีเปนภพภูมิเชน น้ี มันอยทู ่ีไหน อยขู า งลางหรอื ขางบน?

๓๖ นรก-สวรรคในพระไตรปฎก

ตอบ: น่ีแหละวรรณคดกี ็มาสรา งเปน ลางเปนบน แตว า ที่

จริงแลวในจกั รวาลนี้ไมมลี างมบี น จะกําหนดทไี่ หนเปนลา งเปน
บนไดบ า ง

ถาม: ถาหากนรก-สวรรคข ้นึ อยกู บั ระดับจิตของคน ทนี ้คี น

เราเวลาใกลจะตาย ถาเราคิดดี เราก็จะไปดี ถา เผ่อื คนท่เี ปนโจรมา
ตลอดชีวติ พอถึงตอนใกลตายเกดิ คดิ ดีเขาก็จะไดไปดี แตอ ีกคน
หน่ึงทําดมี าตลอดชีวติ เกดิ มาคิดไมด ตี อนตาย ไมก ลายเปน วา ทํา
ดีมาตลอดชีวิตแลว ไมไดร ับผลดตี อบสนองเลยหรือคะ?

ตอบ: มี มันเปน อยางนนั้ ไดจ รงิ แตวา ไมต อ งไปกลวั หรอก

เอาตวั อยา งเลย เอาเรื่องทมี่ ีในคมั ภรี  เชนเรอื่ งของพระนางมัลลกิ า
ซง่ึ เปน สาวกคนสาํ คญั ของพระพทุ ธเจา ตอนตายนน้ั จติ ไมด สี กั หนอ ย
ก็เลยตองตกนรกไปเจ็ดวัน เจ็ดวันเทา นน้ั แลว แกกไ็ ปดีไปสวรรคต อ
ไป คือเวลาจิตจะดับสําคัญท่ีสุดวาจติ เศราหมองหรือผอ งใส

คนท่ีทําแตค วามชวั่ มาตลอดเวลา พื้นภมู ิของจติ มนั เปน
อยางน้ันแลว จะใหคิดดีไดน ัน้ มนั ยากเหลือเกิน มันจงึ เปน กรณยี ก
เวน เหมือนกับนา้ํ ทไี่ หลบาทว มทาํ นบที่ไหลแรงมา จะใหว า ยทวน
กระแสน้ียากที่สุด การสรางระดบั จิตทเี่ ปน อยธู รรมดาหนกั ไปขาง
ไหน มันก็ทําใหม แี นวโนมวาเมื่อตายจิตจะเปน อยางนน้ั นเี้ อาหลกั
ทั่วไปกอน

กรณียกเวนท่วี า น้มี ันยาก แรงดันมันไปทางหน่ึง แลวจะหกั
กลับอีกทางนั้นมันยาก แตมันกม็ ี กรณียกเวน กม็ ี คนทําดมี าตลอด
แตเวลาตายอาจจะไปนึกอะไรสกั อยางที่ไมด ที ี่เคยทาํ ไว กเ็ ลยเสยี
ไป แตนรก-สวรรคไมใชน ิรันดร ตอไปสิน้ ระยะนัน้ แลว ก็กลับไปดีได
อีก ฝายตรงขามกเ็ ชน เดียวกนั เพราะฉะน้นั อันน้เี ปน กรณียกเวน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๗

ไมต อ งไปกลัว ทวั่ ไปก็ตองเปนไปตามแรงสะสม มนั เปน เรือ่ งของ
เหตุของผลน่ี แมแ ตใ นชาตนิ ีก้ เ็ หมอื นกัน มันก็มกี รณียกเวน

ถาม: กรณีที่คนตายไปแลว เชน ตายไป ๓ วนั แลวฟนขึ้น

มาใหม แลว ก็เลาวา ไปเท่ยี วนรก-สวรรคม า อธบิ ายวาไปเห็นมา
อยางนั้นๆ อยางน้อี ยากกราบเรียนถามทา นวา เขาตายไปจรงิ หรือ
เปลา หรอื วา เขาเหมือนหลับไป เปน เร่อื งของจติ ใตส ํานกึ ถาเขา
ตายไปจริง แลว ทาํ ไมเขาถึงกลับมาอกี ได?

ตอบ: อาตมายังนึกวา เขาตายไมจรงิ หรือยงั ไมตายน้ัน

แหละ

ถาม: แตหมอก็ลงความเหน็ วา ตายแลว?
ตอบ: หมอก็มนุษยปุถุชนเหมือนกนั หมอกว็ าไปตาม

ปรากฏการณเ ทาท่ียอมรบั กนั ทางหลักวิชาวา ถามีสภาพอยางน้ี
เกิดข้ึน เรยี กวาตายแลว แตมนั อาจจะมอี ะไรละเอียดออนกวา นัน้
อีก ซง่ึ กเ็ ปนเร่ืองธรรมดาของชวี ิต เร่อื งทว่ี ทิ ยาศาสตรย งั รไู มพอ
หมอเองก็ไมไดพิสูจนล ึกซ้งึ ไปถึงขัน้ นน้ั กอ็ าจจะเปนไปได

ถาม: แลวกรณีทีเ่ ขาบอกวาเขาไปนรก-สวรรคมาละคะ?
ตอบ: ก็มีขอพิจารณาไดหลายแง แงหนึ่งก็คอื วา คนผูน ม้ี ี

ความทรงจําอะไรเกยี่ วกบั นรก-สวรรค อยา งที่ไดรบั รูส ืบตอ กันมา
เหมือนเรานแ้ี หละ ในสังคมน้รี บั รูกนั มาอยา งนี้ มปี ระเพณีสบื ทอด
กันมาอยางน้ี มนั กฝ็ งอยูในจิตใตส าํ นกึ พอแกเขา สสู ภาพจิตอยา ง
นี้ หมดความรสู กึ ตวั กเ็ หมือนกบั ฝนไป จิตนี้ก็พาไปทอ งเที่ยว ไปใน
ภาพความทรงจาํ ทไ่ี ดสรา งขนึ้ นน้ั คือสรา งเองเที่ยวไปเองดวย มัน
ก็เกิดภาพอยางน้นั ขนึ้ มาได

๓๘ นรก-สวรรคในพระไตรปฎ ก

ทีนี้ก็ตองมาดูกันวา ภาพนรก-สวรรค ทเ่ี ขาไปเท่ียวมาน้นั
มนั เหมอื นนรก-สวรรคท เี่ ลา กนั มาในประเพณขี องเราไหม ถา เหมอื น
มันกม็ ที างเปนไปอยา งน้นั

อยางไรก็ตาม เรือ่ งน้ีกเ็ ขาหลกั ที่พูดมาแลว วา เราคน
ธรรมดายงั พิสจู นไ มได ก็เหมือนอยางคนท่ีจะตายไป ท่บี อกวา ตาย
แลวฟนข้นึ มาเลา นั้น กห็ มายความวาตอ งพสิ จู นด วยจิตของเขา
เอง คนอื่นไมอาจไปรูไ ปเหน็ ดวย มันเปนเรอื่ งยากตรงน้ี ที่บอกวา
พิสูจนไ มไ ดเ พราะอยา งนแ้ี หละ จะพิสจู นก ต็ องเอาชวี ติ ของเรา
พิสูจน อยากรูวา มีจริงไหม ลองตายดู ทนี ี้ใครจะสู มาตันตรงน้ที กุ
ที ก็จะมาพสิ จู นแ บบไมใชพสิ จู นแท จะมาพิสูจนค นอนื่ ดว ยจติ คน
อื่น ก็รูไมไ ด เราจะเอาสง่ิ ทีร่ ดู ว ยจิตมาใหเ ห็น จะมาพสิ ูจนด ว ยตา
ก็ทําไมได

เดี๋ยวน้ีก็ยังมนี ักวิทยาศาสตรท ําแบบโบราณ คือเมือ่ เรว็ ๆ
น้ีมีนักวิทยาศาสตรพ ยายามใชวธิ กี าร พยายามพิสูจนวา คนเรา
ตายแลววญิ ญาณจะไปเกดิ ไหม ทําเปนหอ งกระจกปด ทบึ เอาคน
จะตายแลวมาใสไ ว แลวกพ็ ยายามดู ชวยกันสงั เกตวา คนเราพอ
ตายแลว จะมปี รากฏการณอะไรเกิดข้นึ ซึง่ เปน วิธีการทีไ่ มไ ดใหม
เลย ในพระไตรปฎกก็มี

สองพันหา รอยกวาปแลว มีพระเจา แผน ดนิ องคห นึ่ง ช่อื
พระเจา ปายาสิ จะพิสูจนเร่อื งตายแลว จะเกดิ อีกหรือไม กใ็ ชวธิ ีการ
วิทยาศาสตรเ หมือนกนั แตเ ครือ่ งมอื ไมท นั สมัย ไมมีหอ งกระจก
เหมือนในปจ จุบนั แตทา นกพ็ ยายามใชวธิ กี ารโดยอาศยั อุปกรณ
เทาท่ีมีในสมัยนนั้ เชน แทนท่ีจะใชหองกระจกทา นกใ็ ชต มุ น้ําแทน
เอานักโทษประหารเขา ไปใสต ุม กท็ ารุณหนอย แตเ ปนพระเจาแผน

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓๙

ดินก็มีอํานาจทําได เอานกั โทษประหารมาใสต ุมแลวกป็ ด ใหม ิด
แลวก็ยาจนกระทง่ั แนใ จวา ไมมีรูรว่ั เปน ทางออกได แลว กป็ ลอ ยจน
กระทง่ั ใหน กั โทษตายไปเอง แตอ ยา งไรๆ ก็ไมเหน็ มอี ะไรเกิดขน้ึ

การพิสูจนอยางนี้ตองเรียกวาการพิสูจนดวยวิธีการ
วิทยาศาสตร ผลท่ีสดุ พระเจาปายาสิกส็ รปุ ออกมาวา การตายแลว
เกิดไมม จี รงิ ตายแลว ก็หมดสูญไป เสรจ็ แลว กม็ าเจอกับพระกุมาร-
กสั สปะ พระกุมารกัสสปะก็ชแี้ จงจนกระทัง่ พระเจา ปายาสิยอมเช่อื
อนั น้ีมใี น ปายาสริ าชัญญสตู ร อยูในพระไตรปฎ กเลม ท่ี ๑๐ ขอ
๓๐๑ หนา ๓๕๒

ถาม: คนท่ีทําบาปแลวตกนรกไป ในขณะท่ีกําลงั รบั โทษ

อยูนั้น เขาเกิดสาํ นกึ ได ตองการท่จี ะทาํ ความดีจะไดไหม?

ตอบ: ตอนน้ีไมม ีโอกาสแลว
ถาม: ไมม โี อกาสท่ีจะทําความดอี ีกหรือคะ?
ตอบ: ในขณะทีก่ าํ ลังรบั โทษอยูน ้ัน ไมมโี อกาส
ถาม: แตการทาํ ความดีเปน ส่งิ ทคี่ วรสงเสริม ถาไมส ง เสรมิ

ในขณะท่ีเขากาํ ลงั อยากจะทาํ ความด?ี

ตอบ: นี้มันเร่ืองของธรรมชาติ เราจะเขา ไปแทรกแซงได

อยางไร นี่แหละจึงวา ความเปนไดห รือไมไดในธรรมชาติ เปนเรอื่ ง
ของกฎธรรมชาติไป ในเมื่อเรารวู า ตายไปแลว ทําความดีไมได แก
ตัวไมไดอ กี จึงตองทําเสยี ตง้ั แตเดี๋ยวนี้ จงึ ประมาทไมไ ด ทานกเ็ ลย
สอนเทา ท่ที าํ ไดปฏบิ ตั ไิ ด กจ็ ึงเอามายํา้ วา นี่นะ เธอตายไปแลว ถา
ไปตกนรก ไปแกต ัวใหมใ นน้ันไมไดนะ ฉะนน้ั จงึ ตอ งทําความดีเสยี
ต้ังแตบัดนี้ แตตามปกติมนษุ ยยอมทาํ ความดีบาง ชวั่ บา งปนกันไป

๔๐ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎ ก

ดังนั้นเมื่อรับผลกรรมช่ัวในนรกแลว ตอ ไปกรรมดีท่ีเคยทําไวก ็ให
ผลไดอ ีก เชน กลับมาเกดิ เปนมนษุ ย

ถาม: ทานคะ แตพอรูสกึ ตัววาทาํ ความชัว่ มา เพยี งแคตอน

ท่ีรูสึก ก็เรยี กวา ทาํ ความดีแลว ใชไ หมคะ?

ตอบ: ก็เปนความดีแลว เปน ความสาํ นึก เพราะมนั จะเปน

จุดเชื่อมตอ ทีเ่ กิดสติแลวหันกระแสไดต อไป เราจะเปล่ยี นกระแสได
น้ี ตองสาํ นึกกอ น สาํ นึกแลว กร็ ู เปน สตกิ บั ปญ ญา ทําใหเ ปลย่ี น
แปลงหันเหวธิ กี าร หันเหทศิ ทาง

ถาม: เพราะฉะน้ันนกั โทษที่กาํ ลงั ไดร บั โทษอยู ก็ยงั มี

โอกาสอยู โอกาสสุดทายตอนทสี่ ํานกึ ได?

ตอบ: เอาละ แกกท็ าํ ดี แมแตจ ติ ทส่ี าํ นึกนก้ี ็ทําใหแ กหนั มา

ยึดเหน่ียวสิง่ ทีเ่ ปนคณุ งามความดี สิ่งทเ่ี ปน ธรรมะ เปน กศุ ลขึ้น

ถาม: อยากกราบเรยี นถามพระคณุ เจา วา เรื่องผี หรือ

วิญญาณนีม้ จี รงิ ไหม ทานเคยพบเองบา งไหมคะ?

ตอบ: อาตมายงั ไมเ คยพบกับผเี ลย
ถาม: แลวในความคิดทานวา มจี ริงไหมคะ?
ตอบ: ยังเผ่ือไวเ ฉยๆ กอน เผือ่ ไว คอื ตอนนเี้ รากแ็ คมอง

จากเหตผุ ล เหตผุ ลกไ็ ปเน่อื งดวยศรัทธา เหน็ วามเี หตุผลแลว ก็
ศรัทธา แตม นั ไมใ ชภาพท่ีเห็นจรงิ เห็นประจกั ษ วากันวา พอมที าง
เปนไปไดไหม

เอาอยางนีด้ กี วา เอาทฤษฎีอยางน้แี ลวกัน ในกรณีที่ผีมอี ยู
ผีจะปรากฏแกค นไดอ ยางไร จะปรากฏไดก เ็ ปนเรอ่ื งของกําลังจิต
ตอกัน ถา ผมี กี ําลงั จติ แรงกวาของคนน้ัน และผตี อ งการใหเ ขาเหน็
คนที่มีกําลังจิตออนกวาก็จะเห็น แตถาคนนั้นมีกําลังจิตแข็งกวา

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๔๑

ผีก็สะกดไมได ก็จะไมเห็นผี เพราะฉะน้ันการที่จะเห็นผีไดตอง
๑. ตกใจ ใจไมป กติ กําลังใจเสยี ไป ครึง่ หลบั คร่งึ ต่ืน จิตใจไมแ ข็ง
๒. ตอ งสัมพันธก ันระหวางผีใจแขง็ แคไ หน หรอื คนใจออนแคไหน
คนธรรมดายากทจ่ี ะเหน็ ได

ถาม: ขอเรียนถามทา นวา คนเรานเี้ วลาตายไป ถาทําดจี ะ

ไปสวรรคเลย หรือทําชวั่ จะไปนรกเลย หรอื ตอ งรอใหมีการตดั สิน
กอนคะ?

ตอบ: ไมรูจะเอาใครมาตัดสนิ เพราะทกุ ส่งิ เปน ไปตามกฎ

ธรรมดาหรือกฎธรรมชาติ เปนไปตามเหตตุ ามผล ทาํ ความชว่ั ผล
ชั่วก็เกดิ ทําความดผี ลดกี เ็ กิด จงึ บอกวาน้เี ปน กฎธรรมดา ไมจ ํา
เปนตอ งออนวอนอะไรอกี ผลมันเกิดจากเหตุ ฉะนัน้ เมือ่ จะไป
สวรรค เวลาตายก็ตองทาํ ระดบั จติ ใจของเราใหดี ถา ระดบั จติ ของ
เราผอ งใส นกึ ถึงส่ิงทีด่ ีงามก็ไปสวรรค เปน การตัดสินตัวเองเลย ไม
ตอ งมใี ครมาตัดสินอีกแลว

ถาม: ขอเรียนถามทา นตอ วา คนเราตอ งทําดกี ี่เปอรเซน็ ต

จึงจะไดไ ปสวรรค และทาํ ชว่ั กี่เปอรเ ซน็ ตจึงจะไปนรก แลว ถาเปน
กรณีกา้ํ ก่ึงกนั จะเปนยงั ไงคะ?

ตอบ: อันนี้ขึ้นอยกู บั ภูมิระดบั จติ ทมี่ อี ยูตามธรรมดา ไม

ตองพูดเปน เปอรเ ซ็นต จิตอยใู นระดบั ใดก็ไปตามนนั้ แตถาระดับ
กํ้ากงึ่ กันก็นา จะมามนษุ ยละมัง

แตการเกิดเปน มนษุ ยน ่ที านวายากเหลือเกินนะ ตามหลกั
บอกวา มนษุ ยน เี้ ปน สคุ ตขิ องเทวดา เทวดานอ่ี ยากเกดิ เปน มนษุ ยน ะ
เทวดาที่เราวา มีความสุขสบายน้ี พวกนี้ตรัสรูยาก เพราะวา เทวดา

๔๒ นรก-สวรรคในพระไตรปฎ ก

ไดรับแตอ ารมณ ทางตา หู จมกู ลิน้ กาย ใจ ในสง่ิ ทเี่ ปน สขุ มแี ต
ทางใหลุมหลงมวั เมามาก พวกนห้ี ลุดพนยาก

การไดมาเกดิ เปนมนษุ ยนด้ี ี เพราะไดรบั สุขบา งทกุ ขบาง มี
บทเรียนชีวิตมาก มีประสบการณท่ีจะสอนตนเอง ทําใหเกิดสติ
จะทําใหชวี ิตสุกงอม ญาณปญญาแกกลา ทาํ ใหต รสั รไู ดด ี ฉะนน้ั
ทานวาการมาเกดิ เปนมนษุ ยน้ดี ีแลว เทวดายงั อยากมาเกดิ เปน
มนุษยเลย ทีนป้ี ญ หาอยทู ี่วา จะใชชีวติ มนษุ ยอ ยา งไรจงึ จะดีทสี่ ุด

ถาม: ทานคะ อยา งคนที่ตายโดยอุบตั ิเหตุ ไมม ีเวลามาต้งั

ระดับจติ ใจ อยางน้จี ะไปอยา งไรคะ?

ตอบ: อันนี้เคยตง้ั คําถามกัน อบุ ัติเหตอุ ยา งรถชนนยี่ ังไม

รวดเร็วเทา ไร อยางพวกระเบดิ ไฮโดรเจนอะไรนี่ บางอยางวับเดยี ว
หายไปท้ังตัวเลย แมแตข ้ีเถา กย็ งั มองไมเ หน็ อนั นีค้ วามเรว็ ของ
วัตถุ แตจ ติ ยังเรว็ วาวตั ถุ ๑๗ เทา แคน้กี ็หมดปญ หาไปเลย ๑๗
ขณะจติ เปน ๑ ขณะรูป นฝี่ ายอภธิ รรมวาไว

ตามหลักวชิ านถี้ ือวา ทุกส่ิงเกิดดบั ตลอดเวลา เรามองไม
เห็นมันเอง มีการเกิดดับเรว็ มาก เรว็ ชนดิ ทว่ี า เราไมม ีเครอ่ื งวดั ได
วัตถุเกิดดับเรว็ มากอยางนี้ จติ ยงั เกดิ ดับเรว็ กวา ๑๗ เทา แคนี้กค็ ง
จะแกปญ หานั้นได

ถาม: ทานคะ เทา ทสี่ รปุ ไดเ ปนอนั วา สวรรค-นรกมีจรงิ

เพราะมกี ลา วถงึ เปนลายลกั ษณอ กั ษรในพระไตรปฎ ก ขอกราบ
เรียนถามทานวา ในพระไตรปฎ กมีบอกไวหรอื เปลาคะวา อยทู ตี่ รง
สวนไหนในจกั รวาล?

ตอบ: ไมมี ไมม กี ลาวไว
ถาม: ในกรณนี ้ี ถามีผูถามจะอธบิ ายอยางไรดคี ะ?

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๔๓

ตอบ: มันเปนภพหนง่ึ แลวมนั เปน ลกั ษณะชีวิตคนละแบบ

เม่ือมันเปนชีวติ คนละแบบ มันอาจจะอยูท ต่ี รงไหนกไ็ ด ซอ นกันอยู
ก็ได อยา งที่เรียกกันวา คนละมิติ ในพระไตรปฎกมพี ดู ถึงหม่นื
โลกธาตุ แสนโลกธาตุ โลกธาตุกค็ อื จกั รวาล คอื ในทัศนะของพทุ ธ
ศาสนา ถือวา จักรวาลนม้ี มี ากมายเหลือเกนิ

แตทีนี้มีสวรรคในอรรถกถา ซึง่ คงจะไดแนวมาจากฮนิ ดู
อยางในไตรภูมกิ ็มาจากฮนิ ดูนด้ี วย คอื เอาเขาพระสเุ มรเุ ปนศูนย
กลางของจักรวาล มที วปี โดยรอบ ๔ ทวีป ทเี่ ขาพระสุเมรเุ องทส่ี วน
ลาง ท่ใี ตล งไปในน้าํ นน้ั อสรู อยู แลวทเ่ี ชิงเขาพระสเุ มรุก็พวกทา ว
โลกบาลอยู เปนพวกเทวดารับใชช้ันดาวดึงส ลูกนองทาวสักกะ
สูงข้ึนไปก็ทาวสักกะอยู แลวก็สูงขน้ึ ไปเร่ือยๆ คตินม้ี าจากสาย
พราหมณซ งึ่ ในพระไตรปฎกไมม ี นรก-สวรรคในอรรถกถาก็เอาทมี่ ี
ในพระไตรปฎกมาเชื่อมกับความคิดสายพราหมณ-ฮินดูมา
ประกอบกัน

ทีน้ีถาเราไมเ อาอรรถกถาฎกี ามาประกอบ เรามานกึ ถึงวา
นรก-สวรรคเ ปน ภพ เปนระดบั ชวี ิตอีกพวกหนึ่ง ก็จะมสี ภาพชวี ิต
ตางจากเรา มันกต็ อ งไปอกี แบบหนึง่ นี้เราพดู ในแงสวรรค- นรก
ระดับที่หนึ่งซึ่งเปน ขั้นผลทไ่ี กลตัวเรา แตเ รามกั จะมาสนใจกันแงน้ี
แหละมาก เพราะมันเปนปญ หาโลกแตก พูดกนั มาเปน พนั ๆ ปแลว
เปนเรื่องของนกั ศาสนาและปรัชญา ทนี ้พี ทุ ธศาสนาถือวา เปน
ศาสนาแหงการปฏิบตั ิ มุง แตส งิ่ ทปี่ ฏิบัตไิ ด เพราะฉะน้นั ในเร่อื งน้ี
ใหเราวางทาทีใหถูกตอ งตอ นรก-สวรรค

๔๔ นรก-สวรรคในพระไตรปฎ ก

ถาม: ทานคะ อยา งสวรรค- นรกในระดบั ทส่ี อง สวรรคใน

อก นรกในใจ แตอ ยา งคนทที่ ําความช่ัว แตไมรูสึกวาทาํ สิง่ ทีผ่ ิดก็
ไมม ีทุกข จะเปนอยา งไรคะ?

ตอบ: เปนไปได คอื จิตมีหยาบมีละเอยี ด แตค นเรา

ตองการความกา วหนา คนทม่ี ีปญญา เมอ่ื มคี ุณธรรมมากขึน้ ก็จะ
เริ่มรูสึกตองการใหช วี ิตของตวั เปนชีวติ ท่ดี งี าม มีความบรสิ ทุ ธิ์กา ว
หนาไปในทางคุณธรรม ทําใหจิตประณีตข้ึน ความด-ี ความช่ัวจะ
เขามากระทบมากข้ึน

ถาจิตหยาบอยางพวกสัตวเดรัจฉานก็ไมมีปญหาอะไร
เพราะพวกนี้จะไมมปี ญญาทีจ่ ะเขา ใจ ทีนคี้ นเราจะอยรู ะดบั นัน้
ตลอดไปหรอื แลว เราอยากจะมีจติ ระดับน้ันหรอื ถาจิตเรามคี วาม
ไวข้ึนแลว ตอ ความดคี วามช่ัว เราจะไมร ับรูก็ไมไ ด มันเปนกฎ
ธรรมดา มนั ฝน ตวั เองไมไ ด แตท่เี ขาไมร นู น้ั เขาก็ไมร ูเพราะจิตมนั
หยาบเกินไป แตพ อจติ ประณตี ขึ้น เหมอื นกับกระจกแวนตา มฝี นุ
ละอองจบั นดิ หนอ ย มันก็เหน็ ใชไหม แตถ าเปน กระจกท่ตี ูน้ัน มฝี ุน
จับมากกวา นี้ก็ไมเ หน็ เปนไร เพราะยงั ดใู สอยใู ชไ หม ทนี ้ีถาเปน
เคร่ืองใชวางอยูก บั พืน้ สกปรกกวา นก้ี ไ็ ด พนื้ นท้ี ี่วาสะอาดกย็ ัง
สกปรกกวา กระจกตู

เวลามีปญ ญามากขึ้น จิตประณีตมากขึ้น มนั ก็จะไปเห็น
ส่ิงท่ีเศรา หมองมากขึ้น มนั ไปคานตวั เองหลอกตวั เองไมไ ด เพราะ
ฉะนั้น เมอื่ เราตอ งการใหจ ติ ของเรากาวหนายิง่ ขนึ้ เรากต็ องถนอม
เราจะไปยอมใหจิตของเราอยใู นระดับต่าํ อยางนนั้ หรอื

เพราะฉะนน้ั ก็เปน ไปไดท ีว่ า คนทม่ี จี ิตหยาบมาก อาจจะทํา
ความช่ัวโดยไมรูส ึก หรือมองไมเหน็ ความชว่ั แตว าตอ ไปเมอื่ จิต

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๔๕

ของเขากาวหนา มากขนึ้ ความด-ี ความชัว่ ก็จะกระทบเขาแรงขึน้ ก็
จะเกิดรอ นใจหนกั และแกตวั ไมไ ดเสยี แลว เพราะฉะนน้ั เมื่อใครรู
ขึ้นมาแลวกร็ บี ปอ งกนั เสยี พยายามประคับประคองจติ และชีวิต
ของตนใหด ี

เม่ือจิตของเรารบั ธรรม รับกศุ ล รับความดงี ามแลว มันจะ
ตองการถนอม ตองการทําความดีเอง เราจะพยายามเลย่ี ง ไม
อยากใหความช่ัวเขามาทําใหเสียความบริสทุ ธขิ์ องชวี ิตจติ ใจ ถา
ถึงข้ันนั้นกบ็ อกแลววาเปนขั้นอริยสาวก ถาเปน ข้ันท่เี ขายงั มดื ยงั
มองไมเ ห็นอยา งนน้ั ก็เลยตองใหสวรรค- นรกมาขู

ถาม: ถาเชนน้นั ก็แสดงวา สวรรคในอก นรกในใจ กไ็ มมใี ช

ไหมคะ?

ตอบ: มันก็มขี องมันอยา งนน้ั แหละ คอื สภาพจติ ของเขา

มันเปนนรกอยแู ลว จนกระทัง่ อันที่ทาํ ลงไปก็เปนเรื่องของนรก มนั
เสมอกนั จนไมร ูสึกตา งกนั

ถาม: คือแสดงวาเขาไมร ูวา สวรรคเปน อยา งไร?
ตอบ: ไมรู เพราะเขาอยูน รกตลอดเวลา เพราะจติ หยาบอยู

ตลอดกาลเลย

ถาม: ถาอยางนนั้ ที่ทา นบอกวานรก-สวรรคม อี ยู ๓ ความ

หมาย ความหมายที่ ๓ ทานบอกวาอยทู ก่ี ารปรงุ แตง ?

ตอบ: คืออยูในชวี ติ ประจําวนั อายตนะทง้ั หลายคือการรับ

รตู า งๆ

ถาม: คือเกิดความสงสยั วา นรก-สวรรคในความหมายที่

สองและทีส่ ามตางกันอยา งไร เพราะการรับรูทางอายตนะทร่ี ูส กึ
เปนสุขหรือทกุ ข กเ็ ปน เรือ่ งของจติ ใจ?

๔๖ นรก-สวรรคใ นพระไตรปฎก

ตอบ: ตางกันท่ีความประณตี หรือซอยละเอียด คอื ระดับท่ี

สองน่ี เอาเปนจดุ เปนหยอ ม เปนเร่ืองการกระทาํ ทเี่ ดน ชดั เปน อันๆ
วาทํากรรมดีอันนไ้ี ปแลว ทําใหเกดิ ความปตเิ ปนสุข ทาํ กรรมช่วั ไป
แลว ทาํ ใหเ กดิ ความเรา รอ นในใจ กป็ รากฏขนึ้ เปน เรอ่ื งๆ เปน ระยะๆ
ไป สวนระดบั ท่สี ามพดู ถึงสภาพจติ ทเ่ี ปนไปในการรบั รตู ลอดเวลา
หรือกระทําตอกนั กบั สิ่งท่รี บั รูอ ยทู ุกๆ ขณะ ซงึ่ ก็สมั พนั ธก ับระดบั ที่
สอง คือเปน ดา นที่ปรุงแตง สง่ั สมอยเู รอื่ ยๆ ทีละเล็กละนอ ย แลว ก็
ไปแสดงผลออกเปน ระดบั ทสี่ องน่ันเอง ตลอดจนเลยกวา น้ัน เมื่อ
วาถึงการใหผลชว งนานไกล กอ็ อกมาเปน นรก-สวรรคระดบั ท่หี น่ึง
สัมพนั ธก ันท้งั หมด

บทเสริม:

ผลกรรมในชาตหิ นา


Click to View FlipBook Version