The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จิตตนคร สมเด็จพระญาณสังวร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-16 19:53:09

จิตตนคร สมเด็จพระญาณสังวร

จิตตนคร สมเด็จพระญาณสังวร

Keywords: จิตตนคร สมเด็จพระญาณสังวร

132

พรรคพวกสมุทัย คู่บารมีจึงได้โอกาสเริ่มเข้าพบ แนะน�ำนครสามี
ให้เรียกศีลและหิริโอตตัปปะมาใช้ในกิจการบ้านเมืองดูบ้าง ตาม
ค�ำแนะน�ำส่ังสอนขององค์พระบรมครู คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นครสามีได้ยอมปฏิบัติตามโดยเรียกศีลเป็นต้นมาใช้ พุทธศาสนา
จึงได้เริ่มเข้าสู่จิตตนคร เป็นเหตุให้สมุทัยหวาดสะดุ้ง หาโอกาส
เขา้ ยแุ หยน่ ครสามใี หเ้ ลกิ ใชศ้ ลี และหริ โิ อตตปั ปะ กลบั ไปใชพ้ รรคพวก
ของสมุทัยตามเดิม คร้ันความทุกข์เดือดร้อนกลับเกิดขึ้นมาอีก
คู่บารมีก็เข้าให้สติ ตักเตือนนครสามีให้เรียกศีลกับหิริโอตตัปปะ
กลับมาใช้อีก และคราวน้ีคู่บารมีเสริมก�ำลังโดยเพ่ิม อินทรียสังวร
สติสัมปชัญญะ และ สันโดษ มาช่วยศีลกับหิริโอตตัปปะเข้ามาอีก
ฝ่ายสมุทัยก็เข้าขอให้คู่อาสวะช่วยให้แข็งแรงข้ึน เพราะสมุทัยนั้น
ปกติกลัวคู่บารมี ไม่กล้าสู้หน้า ต้องอาศัยคู่อาสวะซึ่งนับว่าเป็น
ฝ่ายข้างในของนครสามีเข้าช่วยสนับสนุนตน และคู่อาสวะนั้นเป็น
คู่ปรับส�ำคัญของคู่บารมี เป็นพวกสมุทัย จึงได้เข้าช่วยสมุทัย โดย
แนะน�ำนครสามีให้เลิกใช้ผู้ที่คู่บารมีน�ำเข้ามาเสียท้ังหมด เม่ือเห็นว่า
จะไม่อาจให้นครสามีเลิกใช้ได้ท้ังหมด เพราะนครสามีก็ฟังคู่บารมี
อยู่มาก ก็แนะน�ำให้เรียกใช้ฝ่ายสมุทัยด้วย เพราะจะท�ำให้บ้านเมือง
สนุกสนานและเจรญิ

ฝ่ายนครสามีฟังทางโน้นบ้างทางนี้บ้าง ในที่สุดก็เรียกใช้ทั้ง
สองฝ่าย เพราะมีอยู่ท้ังคู่อาสวะ ทั้งคู่บารมี ในจิตตนครจึงมีทั้ง
ฝา่ ยกศุ ล ทัง้ ฝา่ ยอกุศล ศาสนาก็มที ้งั พุทธศาสนา มารศาสนา ตา่ งก็
แสดงสง่ั สอนแก่ชาวจติ ตนครกันอย่างเต็มที่

สมเด็จพระญาณสังวร 133

ข้อความที่กล่าวมาน้ีดูน่าจะซ�้ำกับท่ีได้กล่าวเล่ามาแล้ว เป็น
ข้อความที่ซ�้ำจริง ด้วยความจงใจกล่าว เพ่ือทบทวนข้อความท่ีกล่าว
มาแลว้ มากและนานโดยย่อสกั คร้งั หน่งึ กอ่ นท่ีจะเลา่ ตอ่ ไป และน่าคิด
ว่าชาวจิตตนครก็น่าจะเหมือนกับชาวโลกทั่ว ๆ ไป ซ่ึงต่างก็ทำ� ดีบ้าง
ชั่วบ้าง เพราะความดีความช่ัวย่อมมีอยู่ตามธรรมดาโลก แต่ก็มี
ข้อต่างกันที่ชาวจิตตนครเป็นผู้นับถือศาสนาด้วยกันท้ังนั้น ถ้ามิใช่
พุทธศาสนิกชน ก็มารศาสนิก ท่ีจะไม่นับถือศาสนาอะไรเลยน้ัน
หามีไม่ และข้อที่น่าเห็นว่าแปลกอีกข้อหน่ึงก็คือ โดยมากนับถือกัน
ทงั้ ๒ ศาสนาอยา่ งเปิดเผย

เม่ือคนมีทั้งคู่บารมีคือฝ่าย ดีและคู่อาสวะคือฝ่ายช่ัว คอย
กระซิบใจอยู่ตลอดเวลาปกติจึงย่อมจะท�ำดีบ้างช่ัวบ้าง เพราะเช่ือ
เสียงคู่อาสวะบ้างและเชื่อเสียงคู่บารมีบ้าง ปัญญาหรือเหตุผลเท่านั้น
ท่ีจะท�ำให้เห็นชัดถูกต้องตามความเป็นจริงว่า เสียงของคู่บารมีคือ
เสียงของฝ่ายดีเท่านั้นที่ควรฟัง ควรเชื่อ และควรปฏิบัติตาม เสียง
ของค่อู าสวะคอื เสียงของฝา่ ยไม่ดี ไมค่ วรฟงั ไมค่ วรเช่อื และไม่ควร
ปฏิบัติตาม และก็ปัญญาหรือเหตุผลเท่าน้ันท่ีจะท�ำให้ตัดสินลงไปได้
ถูกต้องว่า เสียงไหนคือเสียงของฝ่ายดีและเสียงไหนคือเสียงของ
ฝ่ายช่ัว นอกจากปัญญาและเหตุผลแล้วจะไม่มีอะไรท�ำให้รู้ได้ด้วย
ตนเอง

บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย จึงควรอบรมปัญญา อบรม
ความมีเหตุผลให้ย่ิงขึ้น จนถึงสามารถท�ำจิตตนครของตนให้มีแต่
พุทธศาสนาเท่านั้น มารศาสนาจะไม่อาจอยู่ท�ำลายความสงบสุขของ
จิตใจได้เลย



ความแตกต่างแห่ง ๒ ศาสนา

จะเล่าสักเล็กน้อยว่าพุทธศาสนาในจิตตนครสอนอย่างไร
มารศาสนาสอนอย่างไร พุทธศาสนาสอนให้ปฏิบัติดังน้ี ให้มีศีล คือ
ให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การประทุษร้ายร่างกาย การทรมาน
ทรกรรมสัตว์ เว้นจากการลักขโมยฉ้อโกงต่าง ๆ เว้นจากความ
ประพฤติผิดในทางกาม เว้นจากพูดเท็จหลอกลวง เว้นจากด่ืม
น�้าเมาคือสุราเมรัยทุกชนิด ให้มีหิริ คือความละอายรังเกียจความชั่ว
หรอื บาปทุจริตตา่ ง ๆ เหมือนอย่างชายหนุ่มหญิงสาวผ้รู กั สวยรักงาม
รังเกียจสิ่งสกปรก ให้มีโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความช่ัวหรือ
บาปทุจริตต่าง ๆ เหมือนอย่างบุคคลผู้รักชีวิตเกรงกลัวต่ออสรพิษ
ไม่อยากทีจ่ ะเข้าใกล้

ส่วนมารศาสนาสอนให้ปฏิบัติดังนี้ ให้ฆ่า ให้ประทุษร้าย ให้
ท�าทรมานทรกรรมสัตว์ ให้ลักขโมย ฉ้อโกง ให้ประพฤติผิดใน
ทางกาม ให้พูดเท็จหลอกลวง ให้ด่ืมน�้าเมา เม่ือมีกฎหมายห้าม
และมีบทลงโทษผู้ประพฤติละเมิด กลัวจะถูกลงโทษตามกฎหมาย
หากจะฝืนกฎหมายก็ท�าอย่าให้ถูกจับได้ เมื่อยังไม่มีโอกาสจะฝืน

136

กฎหมายก็ให้ปฏิบัติตามกฎหมายไปก่อน มีโอกาสเมื่อใดก็ให้ท�ำตาม
ที่อยากท�ำ ไม่จ�ำต้องค�ำนึงถึงศีลธรรมอะไร ให้นิยมยินดีในการท�ำ
ความชวั่ หรอื บาปทุจรติ ตา่ ง ๆ ไม่ต้องอาย ไม่ต้องรังเกียจ ไม่ตอ้ ง
กลวั เกรงอะไร

นอกจากน้ี พุทธศาสนาสอนให้ปฏิบัติในธรรมเหล่านี้ ให้มี
อินทรียสังวร ความส�ำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น มีสติ
รักษาใจมิให้ซัดส่ายข้ึนลงเพราะความยินดียินร้ายในอารมณ์ต่าง ๆ
ให้มีสติสัมปชัญญะ คือ มีสติระลึกสัมปชัญญะ รู้ตัวในเวลายืน
เดิน น่ัง นอน หรือในอิริยาบถเล็กน้อย หรือในอากัปกิริยาต่าง ๆ
ให้มีสันโดษ คือความยินดีด้วยส่ิงท่ีมีอยู่ มีความอ่ิม ความเต็ม
ความพอใจในผลต่าง ๆ ท่ไี ด้รบั แตก่ ม็ ีความเพยี รปฏิบัตใิ นเหตุหรอื
ในกรณยี ะ (กจิ ทค่ี วรทำ� ) ใหย้ งิ่ ขน้ึ ทา่ นอธบิ ายสนั โดษดงั กลา่ วออกไป
เป็นความยินดีตามได้ ความยินดีตามก�ำลัง ความยินดีตามความ
สมควร

แต่มารศาสนาสอนให้ปล่อยตาให้ดู ปล่อยหูให้ฟัง ตลอดถึง
ปล่อยให้คิดไปตามสบาย ให้ยินดีในส่ิงที่น่ายินดี ให้ยินร้ายใน
ส่ิงไม่ชอบ อย่าไปฝืนจิตใจให้เป็นทุกข์เดือดร้อน สนุกสนานไปใน
รูป เสียง กล่ิน รส โผฏฐัพพะดีกว่า สอนให้ปล่อยสติสัมปชัญญะ
ไม่จ�ำเป็นต้องไปพะวงท�ำความรู้ตัวอยู่ในอาการเดิน ยืน นั่ง นอน
ของตนในอากปั กริ ิยาตา่ ง ๆ สอนให้โลภอยากไดใ้ หม้ าก ๆ เมอื่ ยงั มี

สมเด็จพระญาณสังวร 137

อยู่น้อยก็อย่าเพ่ิงไปอิ่มไปพอเสียก่อน แม้เม่ือมีมากข้ึนแล้ว ก็อย่า
เพ่ิงพอเช่นเดียวกัน เพราะจะสู้คนอ่ืนเขาไม่ได้ ให้อุดหนุนความโลภ
ให้เกิดขน้ึ มาก ๆ นอกจากโลภ ก็ใหเ้ พิม่ ความโกรธ ความหลงใหม้ าก
ข้ึน จะท�ำให้ชีวิตมีรสชาติผาดโผน สนุกสนาน ไม่เงียบเหงาซบเซา
ยากจน

กล่าวได้ว่าศาสนาท้ัง ๒ น้ีต่างสอนกันไปในทางตรงกันข้าม
คู่บารมีนับถืออุปถัมภ์พุทธศาสนา ส่วนคู่อาสวะนับถืออุปถัมภ์
มารศาสนา ผู้อุปถัมภ์ท้ัง ๒ นี้ต่างก็แข็งด้วยกัน และด�ำเนินการ
ประกาศเผยแผ่ศาสนาของตนในจติ ตนครอย่างเต็มท่ี

ในกรณีนี้ นครสามีหรือเจ้าเมืองแห่งจิตตนครหรือเราท่าน
ทั้งหลายนี้เอง มีหน้าท่ีส�ำคัญจะต้องช่วยคุ้มครองป้องกันจิตตนคร
ของตนให้รม่ เยน็ เป็นสุข อะไรทจ่ี ะน�ำใหเ้ กดิ ทกุ ขเ์ กดิ รอ้ นต้องปอ้ งกัน
ก�ำจัด แต่การจะดูให้เห็นว่าอะไรเป็นความสุขท่ีแท้จริง อะไรเป็น
ความทุกข์ของจิตตนครน้ันดูให้เห็นได้ยาก สามัญชนทั่วไปมักจะ
เห็นความทุกข์เป็นสุข เห็นความร้อนเป็นความเย็น ปัญญาและ
เหตุผลเท่าน้ันที่จะช่วยให้เกิดความเห็นตรงตามความจริง จนถึง
รังเกียจสิ่งที่เป็นโทษหรือฝ่ายคู่อาสวะ ปรารถนาสิ่งที่เป็นคุณหรือ
คู่บารมี การศึกษาพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามพระธรรมค�ำสอน
คือการอบรมปัญญาและเหตุผล ท่ีจะท�ำให้เห็นคุณของคู่บารมีและ
เห็นโทษของคู่อาสวะ สามารถท�ำ จิตตนครคือใจให้มีทุกข์น้อย
มสี ขุ มาก



ในจิตตนครมีเสรภี าพเต็มที่
ในการถือศาสนา

ได้กล่าวถึงศาสนาในจิตตนครแล้วว่า ชาวจิตตนครส่วนใหญ่
พากันนับถือท้ังพระพุทธศาสนาและมารศาสนากันอย่างเปิดเผย
และได้มีกระบวนการประกาศเผยแผ่ศาสนาทั้ง ๒ น้ันในจิตตนคร
โดยมีคู่บารมีของนครสามีและคู่อาสวะต่างอุปถัมภ์กันข้างละหน่ึง
จงึ เปน็ เหตใุ หน้ ครสามผี เู้ ปน็ เจา้ เมอื งจติ ตนครตอ้ งรบั เปน็ ศาสนปู ถมั ภก
ทั้ง ๒ ศาสนา และประชาชนชาวจิตตนครย่อมมีเสรีภาพในการ
นับถือและปฏิบัติลัทธิพิธีกรรมศาสนาตามท่ีนับถือ ในเม่ือการนับถือ
ปฏิบัติน้ันไม่ขัดต่อความเรียบร้อยของบ้านเมือง ก็ดูเหมือนกับ
ประชาชนแห่งชาติเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย ในโลกที่ประชาชน
มีเสรีภาพในการนับถือศาสนาตามศรัทธาของแต่ละคน แม้ใครจะ
ไมน่ ับถอื ศาสนาอะไรกไ็ ด้ แต่ในจิตตนครดงั กล่าวแลว้ ทกุ คนนับถอื
ศาสนาทงั้ นั้น

ดูก็น่าเห็นว่าแปลกจากในโลกทั่วไป อันที่จริงถ้าดูเข้าให้ถึง
จิตใจแล้วก็ไม่น่าจะแปลก เพราะทุกคนจะต้องมีความเห็นอย่างใด

140

อย่างหน่ึงและนับถือความเห็นน้ัน เช่น นับถือความเห็นทางลัทธิ
อย่างหน่ึง นับถือความเห็นของตนว่าควรนับถือ หรือไม่ควรนับถือ
ศาสนาแม้ทั้งหมด ความเห็นนั่นแหละเท่ากับเป็นศาสนาทางจิตใจ
โดยตรง ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นที่ถูก ก็เป็นพระพุทธศาสนา
ถา้ เป็นมจิ ฉาทิฏฐคิ วามเห็นผิด ก็เปน็ มารศาสนา ฉะนั้น เม่ือพูดด้วย
ภาษาของจติ ตนคร ทุกคนจงึ นบั ถอื ศาสนาทง้ั นั้น ไม่พระพทุ ธศาสนา
ก็มารศาสนาหรือทั้ง ๒ และจะต้องอธิบายการนับถือพระพทุ ธศาสนา
ต่างออกไปจากที่เข้าใจและถือกันท่ัวไปบ้าง เพราะตามที่เข้าใจและ
ถือกันเม่ือแสดงตนเป็นผู้นับถือก็ชื่อว่านับถือได้ หรือแม้เกิดใน
ตระกลู ของผนู้ บั ถอื กช็ อื่ วา่ นบั ถอื ตามกนั มา แตต่ ามภาษาของจติ ตนคร
อยทู่ คี่ วามเหน็ ดงั กลา่ ว ไมใ่ ชอ่ ยทู่ ก่ี ารแสดงตนดงั นนั้ ฉะนนั้ แมแ้ สดง
ตนว่านับถือหรือเกิดในตระกูลของผู้นับถือพระพุทธศาสนา แต่มี
ความเห็นผิด ยืนยันอยู่ในความเห็นผิดน้ัน เช่น เห็นว่าท�ำดีไม่ได้ดี
ท�ำชั่วไม่ได้ชั่ว หรือกลับกันว่า ท�ำดีได้ช่ัว ท�ำช่ัวได้ดี เห็นศีล
หริ ิ โอตตปั ปะ เปน็ ตน้ ไมอ่ ำ� นวยประโยชน์ มวั รกั ษาศลี จะตอ้ งยากจน
ดังน้ีเป็นต้น ก็หาชื่อว่านับถือพระพุทธศาสนาไม่ แต่โดยท่ีแท้กลาย
เป็นนับถือมารศาสนาต่างหาก ถ้ามีความเห็นถูกต้อง ตรงกันข้าม
เช่นมีความเห็นถูกต้องตามหลักของกรรม เป็นเหตุให้ละกรรม
ท่ีช่ัวท่ีผิด ประกอบกรรมที่ดีท่ีชอบ แม้จะมิได้แสดงตนว่านับถือ
พระพทุ ธศาสนาก็ช่อื ว่านบั ถือพระพุทธศาสนา เพราะมีความเห็นชอบ
ถูกต้องตามค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเหตุให้ปฏิบัติถูกต้อง
ตามค�ำสง่ั สอนของพระพุทธองค์ดว้ ย

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 141

น่าพิศวงท่ีจิตตนครน้ีคล้ายกับเป็นเมืองช้ันในที่ต้ังอยู่ในจิตใจ
น้ีเอง ท�านองเป็นเมืองลับแล มิใช่เป็นเมืองลับแลภายนอก เป็น
เมืองลับแลภายในจิตใจ มีอะไร ๆ ที่ดูเหมือนต่างจากโลกภายนอก
เป็นอย่างนี้ในโลกภายนอก แต่เป็นอีกอย่างหน่ึงในจิตตนคร เช่นที่
เกี่ยวกับศาสนา ในโลกภายนอกมีมากมาย แต่ในจิตตนครมี ๒
เทา่ นน้ั ในโลกภายนอกใครจะนบั ถอื หรอื ไมน่ บั ถอื เลยกไ็ ด้ ในจติ ตนคร
นับถือทั่วหน้ากันหมด ในโลกภายนอกช่ือว่านับถือตามที่แสดงตน
เป็นต้น ในจิตตนครช่ือว่านับถือศาสนาไหนตามทิฏฐิท่ีมีอยู่จริง ๆ
ของแตล่ ะคน ลองมนสกิ ารใหด้ ี ๆ จะรสู้ กึ วา่ จติ ตนครมใิ ชเ่ มอื งลบั แล
แต่เป็นเมืองเปดิ เผยจริงแท้แน่นอน

บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย คือผู้มีความเห็นถูกต้องตาม
หลกั ของกรรม หรือมิฉะน้ันกเ็ ป็นผทู้ ส่ี นใจจะอบรมความเห็นถกู ตอ้ ง
เช่นนั้นให้เกิดข้ึน เรียกว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาตามแบบของ
จิตตนคร มิใช่ผู้นับถือมารศาสนา เป็นผู้พยายามฝึกฝนอบรมตนให้
ปฏิบัติถูกชอบตามค�าสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ถึง
ความสุขสวสั ดิ์ยิ่งขน้ึ สืบไป อนั เป็นผลดขี องการท�าเหตดุ ี



สวรรค์ชัน้ ๖

สมุทัยหรือมารตามท่ีพระพุทธเจ้าตรัสเรียก เมื่อกล่าวตาม
ต�านานทางศาสนาสายหนึ่ง เป็นเทพผู้เป็นราชาแหล่งกามาวจร-
สวรรค์ชั้น ๖ คือ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ท่านว่าสวรรค์ชั้นน้ัน แบ่ง
ออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหน่ึงไม่ขัดขวางโลกุตตระ อีกฝ่ายหน่ึง
ขัดขวางโลกุตตระ ฝ่ายหลังน้ีเป็นพวกมารซ่ึงมีราชาชื่อ วสวัตตี
มักเรียกในหนังสือเก่า ๆ ว่า พญาวสวัตตีมาราธิราช พญามารนี้เอง
ท่ีได้น�าพลเสนามาผจญพระพุทธเจ้าในวันท่ีจะตรัสรู้ และยังได้มา
อีกหลายครั้ง จนถึงได้มาทูลให้เสด็จปรินิพพาน และยังได้เท่ียว
รังควานผู้อื่นอีก เช่นดลใจพระอานนท์มิให้ได้สติที่จะกราบทูล
อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงเจริญอิทธิบาทภาวนาเพ่ือจะทรงด�ารง
พระชนม์อยู่กัปหน่ึงคือประมาณ ๑๐๐ ปี หรือเกินกัปหนึ่ง เม่ือ
พระเถระอรหันต์บางองค์ปรินิพพาน มารเที่ยวค้นหาว่าวิญญาณ
ของท่านไปข้างไหน ก็ไม่สามารถจะพบได้ ตามประวัติ มารได้มา
เกีย่ วขอ้ งแทรกแซงเรื่องตา่ ง ๆ หลายคร้ังหลายหน

144

เม่ือกล่าวตามเร่ืองราวแห่งจิตตนคร มารหรือสมุทัยสถิตอยู่
ในจิตตนครนี้เอง ท้ังอยู่ในส�ำนักของนครสามีน่ันแหละ เป็นผู้ท่ี
นครสามีไว้เน้ือเช่ือใจ มอบหมายให้ด�ำเนินการปกครองและจัดแจง
ส่ิงต่าง ๆ ทางบ้านเมือง และสมุทัยยังมีคู่อาสวะผู้เป็นฝ่ายในสนิท
กับนครสามีสนับสนุนอยู่เต็มที่ จึงมีอ�ำนาจครองใจชาวจิตตนคร
ท่ัวไป แต่สมุทัยเป็นชาวต่างถ่ิน มิใช่ถ่ินก�ำเนิด เป็นชาวจิตตนคร
มาตั้งแต่เดิม จึงเป็นประเภทคนจรหมอนหม่ิน ดังที่เคยกล่าวแล้ว
เมื่อเป็นอาคันตุกะมาสู่จิตตนคร ได้เข้าถึงนครสามี ท�ำให้เป็นที่
โปรดปรานได้แล้ว ก็ท�ำท่ายึดจิตตนครเป็นท่ีอาศัยอยู่ถาวร และ
กไ็ ดย้ ึดครองจิตตนครไว้จริง ๆ

ตามเรื่องท่ีเล่ามานี้แสดงว่า มารหรือสมุทัยมิใช่เป็นบุคคล
ต่�ำต้อย ตามประวัติสายหน่ึงก็เป็นราชาแห่งฝ่ายหน่ึงในสวรรค์ช้ันที่
๖ ซง่ึ เป็นช้นั สูงสุดแห่งกามาวจรววรรค์ ตามเรือ่ งแห่งจติ ตนคร กเ็ ปน็
ผู้ที่มีอ�ำนาจมากอยู่ในจิตตนครดังกล่าว สมุทัยหรือมารต้องการ
ให้ใครเรียกยกย่อง เช่นว่า นันทากร บ่อเกิดแห่งความเป็นบันเทิง
สุขากร บ่อเกิดแห่งความสุข หรือแม้เรียกว่า วสวัตตี ผู้ใช้อ�ำนาจ
อันที่จริง ค�ำน้ีมีความแรงพอ ๆ กับค�ำว่า จักกวัตตี หรือจักรพรรดิ
ผใู้ ชจ้ กั ร ถา้ มองอกี แงห่ นง่ึ กเ็ ปน็ คำ� ทแี่ รงกวา่ เพราะพระเจา้ จกั รพรรดิ
เปน็ พระราชาเอกในโลกมนษุ ย์ มอี �ำนาจครอบครองมนุษยโลกเทา่ น้นั
ส่วนพระเจ้าวสวัตตี หรือวสพรรดิ มีอ�ำนาจครอบครองท้ังมนุษย์
ทั้งเทพแห่งสวรรค์ทุกช้ัน และมีอ�ำนาจครอบครองไปในอบายภูมิ
ทกุ ชน้ั ดว้ ย เปน็ อนั วา่ ไมม่ ใี ครในไตรภมู ิ คอื กามาวจรภมู ิ รปู าวจรภมู ิ

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 145

อรูปาวจรภูมิ ท่ีจะพ้นไปจากอ�านาจครอบง�าของสมุทัยหรือมาร ทั้งนี้
เวน้ แตโ่ ลกตุ ตรภมู ขิ องพระพทุ ธเจา้ เทา่ นนั้ มารพยายามรกั ษาสตั วโลก
ท้ังหมดใหต้ กอยู่ในภูมิทงั้ ๓ ข้างตน้ พยายามป้องกนั สุดฝมี อื มิให้ไป
สู่โลกตุ ตรภมู ซิ งึ่ เป็นภูมิที่อยูน่ อกอ�านาจของมารหรือสมทุ ยั

เรียกตามภาษาธรรม บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลายก็รวมอยู่
ในค�าว่าสัตวโลก แม้จะเป็นสัตวโลกท่ียังอยู่ในอ�านาจครอบง�าของ
สมุทัยหรือมาร แต่ก็มิได้นิ่งนอนใจยอมจ�านนต่อมารอย่างสิ้นเชิง
ได้พยายามต่อต้านอ�านาจของมาร บริหารจิตให้บริบูรณ์ด้วย ศีล
หิริ ความละอายรังเกียจความช่ัวหรือบาปทุจริตต่าง ๆ โอตตัปปะ
ความเกรงกลัวต่อความชั่วหรือบาปทุจริตต่าง ๆ อินทรียสังวร
ความส�ารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย เวลาท่ี
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น สติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ตัวใน
อิริยาบถต่าง ๆ และ สันโดษ ความยินดีตามได้ ตามก�าลัง ตาม
สมควร ความบกพร่องในธรรมดังกล่าวมีน้อยเพียงใด ก็จะท�าให้
ผ้นู ้ันมีความสขุ ความพ้นจากอ�านาจของมารเพียงนน้ั



เมอื งที่มีปฏวิ ตั ริ ัฐประหารกันบ่อยทสี่ ดุ

เม่ือพระพุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปในจิตตนคร โดยอุปถัมภ์
สนับสนุนของคู่บารมีของนครสามีซ่ึงเป็นคู่ปรับส�าคัญของคู่อาสวะ
และสมุทัยดังท่ีได้เล่าแล้ว สมุทัยได้แสดงตนเป็นศาสดาประกาศ
ศาสนาขึ้นบ้าง เพราะเกรงว่าพระพุทธศาสนาจะดึงคนออกไปให้พ้น
อ�านาจตน คือให้ไปสู่โลกุตตรภูมิ จึงตั้งศาสนาขึ้นแข่ง คอยแนะน�า
คนให้ด�าเนินไปสู่ภูมิท้ัง ๓ ที่อยู่ในอ�านาจของตนเท่านั้น ดังที่เรียก
มาแล้วว่ามารศาสนา ซ่ึงก็ได้ผล เพราะประชาชนได้พากันนับถือกัน
ทั้งเมืองก็ว่าได้ แต่มักนับถือคู่กันไปกับพระพุทธศาสนา ข้อน้ีท�าให้
สมุทัยผิดหวัง เพราะไม่อาจท�าลายพระพุทธศาสนาลงไปได้ ท้ังดู
เหมอื นพระพทุ ธศาสนาจะเจรญิ ขน้ึ ประชาชนสนใจปฏบิ ตั ใิ นพระธรรม
คา� สงั่ สอนของพระพุทธเจ้ากนั มากขน้ึ และทางการปกครอง ฝ่ายของ
คู่บารมีก็เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ด�ารงต�าแหน่งน้อยใหญ่มากขึ้น เช่น
ศีล หิริ โอตตัปปะ อินทรียสังวร สติ สัมปชัญญะ สันโดษ ดังที่
ได้กลา่ วมาแล้ว

148

ศีล เข้าคุมไตรทวารของจิตตนคร หิริ โอตตัปปะ เข้ามาเป็น
นครบาล อินทรียสังวร เข้าคุมระบบส่ือสารทั้งชั้นนอกช้ันใน สติ
สัมปชัญญะ เข้าคุมอิริยาบถหรือการจราจรของเมือง สันโดษเข้า
เป็นเจ้าหน้าท่ีปันส่วนทรัพย์สินเคร่ืองอุปโภคบริโภค เป็นเหตุให้
พรรคพวกและสมุนน้อยใหญ่ของสมุทัยต้องร่นถอยลดน้อยลงไป
กวา่ เดมิ แตส่ มทุ ยั กห็ ายินยอมโดยงา่ ยไม่ ใช้เลห่ เ์ พทบุ ายและอ�ำนาจ
ก�ำลังต่าง ๆ ยึดเอาท่ีมั่นต่าง ๆ กลับคืนมา แม้ยึดมาไม่ได้ท้ังหมด
กส็ ่วนหน่งึ หรอื คร้งั คราวหนึ่ง

ฉะนั้น จิตตนครจึงเป็นนครที่มีการแย่งอ�ำนาจสับเปล่ียน
อ�ำนาจการปกครองในหน่วยตา่ ง ๆ กนั มากทส่ี ดุ บางทสี บั เปลี่ยนกัน
ทุกวัน วันละหลายครั้งก็มี จุดต่าง ๆ ท่ีทุกฝ่ายต้องการยึดไว้เป็น
ของตนแต่ฝ่ายเดียวก็คือไตรทวารของเมือง หน้าที่นครบาล ระบบ
สื่อสารทั้ง ๖ การจราจร และอ�ำนาจการปันส่วน หรือพิกัดรายได้
ตา่ ง ๆ เป็นต้น และจดุ ส�ำคญั ก็คือนครสามี แต่ทกุ ฝา่ ยก็ไมส่ ามารถ
จะยึดไว้ หรือจะปฏิบัติหน้าท่ีปกครองอยู่เพียงฝ่ายเดียวได้ คู่บารมี
มีคู่อาสวะเป็นคู่ปรับกัน ซ่ึงนครสามีก็ได้รับรองให้อยู่เป็นฝ่ายใน
ด้วยกันทั้ง ๒ สมุทัยกับพรรคพวกฝ่ายหนึ่ง ศีลเป็นต้นซ่ึงเป็น
พวกคู่บารมอี ีกฝา่ ยหน่ึง ก็เผชญิ หน้ากนั อย่ใู นจุดต่าง ๆ ทงั้ ๒ ฝา่ ย
ตลอดถงึ ศาสนากเ็ ปน็ ที่นับถอื กันทั้ง ๒ ฝ่าย

ถ้าจะเทยี บกบั บา้ นเมอื งในโลก ก็นา่ จะเรยี กไดว้ ่าเป็นบา้ นเมอื ง
ที่มีการปฏิวัติรัฐประหารมากและบ่อยครั้งท่ีสุด มีการสับเปลี่ยน
โยกย้ายเจ้าหน้าท่ีกันบ่อยท่ีสุด จนในที่สุดก็ดูเหมือนแบ่งเมืองกัน

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 149

ปกครอง โดยแบ่งเขตกันปกครอง หรือแบ่งเวลากันปกครองในเขต
เดียวกันนั่นแหละ เช่น ไตรทวารของเมือง ศีลเข้าปกครองรักษา
บางส่วน โลภ โกรธ หลง หัวโจกใหญ่ของสมุทัยยึดปกครองไว้
บางส่วน หรือส่วนเดียวกัน ศีลรักษาบางเวลา โลภ โกรธ หลง
เข้าครองบางเวลา แบ่งกันไปแบ่งกันมาดังนี้ อาศัยท่ีจิตตนครเป็น
เหมือนอย่างเมืองลับแลดังกล่าว ใคร ๆ จึงไม่ค่อยจะรู้เรื่องภายใน
ของจิตตนคร ต่างจากเรื่องของบ้านเมืองในโลกที่มีการออกข่าว
ให้รู้กันอยู่เสมอ จะมีการปฏิวัติรัฐประหารกันสักคร้ังก็รู้กันทั่ว
สว่ นในจิตตนครมีทุกวัน ก็ไม่มใี ครรู้ใครสนใจกนั

เรื่องของบ้านเมืองในโลกควรเป็นที่สนใจพอสมควร แต่เรื่อง
ของจิตตนครควรเป็นที่สนใจอย่างย่ิง จิตตนครของผู้ใด ผู้นั้นควร
พยายามให้รู้เห็นเหตุการณ์ท่ีก�าลังด�าเนินอยู่ในนครของตน เพราะ
ความรู้เห็นเหตุการณ์ในจิตตนครเป็นความส�าคัญ เป็นกุญแจท่ีจะ
ไขไปสู่ความส�าเร็จในการรักษาจิตตนครให้ร่มเย็นเป็นสุข พูดอีก
อย่างหนึ่งก็คือ ทุกคนควรรู้อารมณ์ตน รู้ให้ทันเวลามากเพียงใด
ก็ยังดี ความรู้ทันเท่าน้ันท่ีจะท�าให้อารมณ์ดับ อารมณ์ท้ังหลาย
เกิดแล้วดับได้เร็วเพียงใด ก็จะท�าให้ใจอันเป็นที่รองรับอารมณ์น้ัน
พ้นจากความซัดส่ายฟูขึ้นแฟบลงได้เร็วเพียงนั้น ได้มีความสงบสุข
ไมห่ วั่นไหวไปตามอา� นาจของอารมณ์ทัง้ หลายหรอื มาร



หนาทขี่ องคู่อาสวะ

ได้กล่าวถึงสมุทัยกับพรรคพวกฝ่ายหน่ึง และศีลซ่ึงเป็นพวก
คู่บารมีฝ่ายหน่ึงเผชิญหน้ากันอยู่เสมอในจุดต่าง ๆ ของจิตตนคร
จนเหมือนแบ่งกันปกครอง การแบ่งเขตหรือแบ่งเวลากันปกครองใน
จิตตนคร ถ้าจะเกิดมีปัญหาขึ้นว่าใครเป็นผู้แบ่ง ก็น่าจะตอบได้ว่า
เป็นไปด้วยก�าลังอ�านาจของทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าจะกล่าวให้แคบเข้ามา
ก็เป็นไปด้วยก�าลังอ�านาจของสมุทัยหรือคู่อาสวะกับคู่บารมี ซึ่ง
ชักน�านครสามีให้ปฏิบัติตามคล้อยตามไป ฉะน้ัน หลักใหญ่จึงอยู่ที่
นครสามีเองว่าจะคล้อยตามฝ่ายไร เท่าไร เมื่อไร จึงต่างจากการยึด
หรือแบ่งอ�านาจกันในบ้านเมืองทั้งหลายในโลก ถ้าเป็นการยึดอ�านาจ
ก็มิใช่เป็นการมอบหมายให้ด้วยความสมัครใจ และผู้ท่ีท�าการ
ยึดอ�านาจก็มักขึ้นเป็นหัวหน้าเสียเอง แทนผู้ท่ีถูกยึด หัวหน้าเก่า
ท่ีถูกยึดเอาอ�านาจไปก็ต้องตกต่�าส้ินอ�านาจ ส่วนในจิตตนคร
นครสามีคงด�ารงต�าแหน่งหัวหน้าอยู่เพียงผู้เดียว ไม่มีใครแย่งได้
เพราะนครสามีเป็นบุคคลพิเศษ มีความรู้พิเศษ มีลักษณะพิเศษ
มีสมรรถภาพพเิ ศษ ไมม่ ใี ครทา� ลายไดเ้ ลย แต่คณุ สมบตั พิ ิเศษตา่ ง ๆ

152

ของนครสามีต้องถูกบดบังไปเพราะสมุทัยและคู่อาสวะกับพรรคพวก
ซ่ึงเข้ามาท�ำให้นครสามีมีความเห็นคล้อยตามและมอบหมายอ�ำนาจ
ต่าง ๆ ให้ นครสามีเองจึงเป็นเหมือนไม่มีอ�ำนาจ สุดแต่สมุทัยกับ
พรรคพวกจะบัญชาให้ท�ำอะไร

บุคคลส�ำคัญผู้มีหน้าที่ก�ำกับนครสามี คือคู่อาสวะซึ่งก�ำกับ
การอยู่ข้างใน จึงควรจะเล่าเสียในที่นี้ว่าคู่อาสวะมีหน้าที่สร้างภาวะ
๓ อย่างขึ้นแก่นครสามี คอื ๑. สร้างกาม ความใครค่ วามปรารถนา
ทำ� ใหน้ ครสามีครนุ่ คิดใครค่ ิด ปรารถนาอะไรต่าง ๆ อยอู่ ยา่ งเงยี บ ๆ
๒. สร้างภพ ความเปน็ น่นั เปน็ นี่ ทำ� ใหน้ ครสามคี รุ่นคดิ เป็นน่นั เปน็ นี่
อยู่อย่างไม่น่าเช่ือ ๓. สร้างอวิชชา ความไม่รู้ในสัจจะคือความจริง
อย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ คือไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์
ไม่รู้จักความดับทุกข์ ไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ไม่รู้จัก
อดตี หรอื เงอ่ื นต้น ไมร่ ้จู กั อนาคตหรอื เง่ือนปลาย ไม่ร้จู ักทัง้ ๒ อย่าง
ไม่รู้จักธรรมที่อาศัยกันบังเกิด เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าผู้บรมครู
ผู้ทรงรู้ทรงเห็นตามเป็นจริงจึงได้ตรัสชี้แสดงว่า อาสวะอันได้แก่
กเิ ลสทีด่ องสนั ดาน มี ๓ คอื กามาสวะ อาสวะคอื กาม ๑ ภวาสวะ
อาสวะคือภพ ๑ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ๑ คู่บารมีเท่านั้น
ฟังเข้าใจพระพุทธวจนะ และรู้จักอาสวะ ท้ังพยายามชี้แจงแสดง
แนะน�ำนครสามใี ห้เข้าใจ ให้รู้จกั

ในขั้นแรก นครสามีฟังไม่เข้าใจ ไม่รู้จักเอาเสียทีเดียว ต่อมา
จึงค่อยเข้าใจและรู้จักอาสวะข้ึนบ้าง จึงเร่ิมเห็นคุณของศีล และ

สมเด็จพระญาณสังวร 153

ใช้ศีลในการปกครองบ้านเมือง เป็นต้น แต่ก็หยิบ ๆ ปล่อย ๆ
ดูคล้าย ๆ กับเป็นคนใจคอโลเลไม่แน่นอน อันท่ีจริงก็น่าเห็นใจ
เพราะคู่อาสวะดองสันดานมานาน เกาะอยู่อย่างเหนียวแน่น ซึมซาบ
อยู่อย่างลึกซ้ึง ยากที่นครสามีจะสลัดออกได้ ท่ีกล่าวมาข้างต้นว่า
เหมือนอย่างมีปฏิวัติรัฐประหารกันอยู่เสมอในจิตตนครน้ัน ที่แท้
ก็คือการหยิบ ๆ ปล่อย ๆ ของนครสามีนี้เอง คือเดี๋ยวหยิบข้างน้ี
ปล่อยข้างน้ัน เด๋ียวปล่อยข้างนี้หยิบข้างนั้น บางคราวก็คล้ายกับ
จะหยบิ ไวท้ ้ัง ๒ ฝ่าย เหมือนอยา่ งจบั ปลาสองมอื

เหตุท่ีนครสามีเป็นไปเช่นน้ันเพราะขาดความเด็ดเดี่ยว ไม่ใช่
เพราะไม่รู้ว่าไหนเป็นคุณ ไหนเป็นโทษ รู้อยู่ว่ามีศีลมีคุณ สมุทัย
มีโทษ แต่ความอ่อนแอยอมตนอยู่ใต้อ�ำนาจความเคยชินกับสมุทัย
ท�ำให้พะว้าพะวัง จับนั่นปล่อยน่ีวุ่นวายอยู่ จึงยังไม่ได้รับผลที่ควร
ได้รับอย่างแท้จริง คือยังไม่สามารถท�ำจิตตนครให้ร่มเย็นเป็นสุข
ได้ทุกเวลา ต้องเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เย็นบ้าง ร้อนบ้าง ท้ังนี้
แล้วแต่เมื่อใดฝ่ายไหนจะเข้าครอง ฝ่ายดีเข้าครองก็เย็น ก็เป็นสุข
ฝ่ายไมด่ เี ข้าครองกร็ ้อน ก็เป็นทุกข์

บรรดาผู้มาบริหารจิตท้ังหลาย ก็เช่นเดียวกับนครสามีนั่นเอง
คือรู้อยู่ด้วยกันว่า ไหนเป็นคุณ ไหนเป็นโทษ และจะสามารถท�ำให้
ตนเป็นสุขได้ก็ต้องมีความเด็ดเดี่ยว สละส่ิงท่ีเป็นโทษเสีย อบรม
แต่สง่ิ ทเ่ี ป็นคณุ ใหย้ ิ่งขึ้น น่ีแลคือการบรหิ ารจิต



เพ่ือนสนทิ ของคอู่ าสวะ

คู่อาสวะมีเพ่ือนสนิทหลายคน ล้วนเป็นฝ่ายในหรือชั้นใน
ด้วยกัน เช่น อนุสัย นอนจมอยู่ในจิต โอฆะ ห้วงน้�าในจิต โยคะ
ประกอบในจิต สังโยค หรือ สัญโญชน์ ผูกจิต เพ่ือนสนิทเหล่าน้ี
จะมีหลายคน หลายกลุ่ม หรือจะเป็นคนเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน
แต่มีหลายชอ่ื หลายอาการ ก็ยากจะบอกได้ เพราะเป็นช้นั ใน คู่บารมี
เท่าน้ันจึงจะรู้ได้ ยกตัวอย่างเช่น อนุสัย ซ่ึงเป็นเพ่ือนสนิทผู้หน่ึง
ของค่อู าสวะ มหี นา้ ที่สร้างภาวะ ๓ อย่างแก่นครสามี คล้าย ๆ กับ
คู่อาสวะ คือ ราคะ ความยอ้ มใจให้ติด ปฏฆิ ะ ความกระทบ อวิชชา
ความไมร่ ู้

พระพุทธเจ้า องค์พระบรมครูผู้ทรงรู้ทรงเห็นตามเป็นจริง
ได้ตรัสช้ีแสดงว่า อนุสัย ส่ิงที่นอนจมเป็นตะกอนอยู่ในจิต มี ๓
คอื ราคานสุ ัย อนสุ ัยคือราคะ (ส่ิงยอ้ มใจใหต้ ดิ ) ปฏิฆานุสัย อนสุ ยั
คือปฏิฆะ (ส่ิงกระทบใจให้ไม่ชอบ) อวิชชานุสัย อนุสัยคืออวิชชา
(ความไม่รู้ในทุกข์ เป็นต้น) ดูก็คล้าย ๆ กับอาสวะ ดังจะเทียบกัน
ทีละข้อ

156

ข้อท่ี ๑ กามาสวะกับราคานุสัย กามกับราคะ ดูก็มีลักษณะ
เป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ช่ือท่ีเรียกตามอาการ คือเม่ือดูอาการ
ท่ีรักใคร่ปรารถนา ก็เรียกว่ากาม เมื่อดูอาการท่ีติดใจยินดีเพราะ
ถูกย้อมใจ ก็เรียกว่าราคะ จะว่ากามมาก่อนราคะหรือราคะมาก่อน
กามก็ได้ จะว่ามาด้วยกันก็ได้ เพราะความรักใคร่กับความติดใจ
กอ็ ยู่ดว้ ยกัน ตกลงว่าเปน็ อยา่ งเดยี วกัน

ข้อที่ ๒ ภวาสวะกับปฏิฆานุสัย ดูจะมีลักษณะต่างกันอยู่
เพราะภวหรือภพ คือความเป็นน่ันเป็นน่ี ปฏิฆะ คือความกระทบใจ
ให้ไม่ชอบ แต่ก็เนื่องกันชอบกลอยู่ จะมีความกระทบได้ก็ต้อง
มีท่ีกระทบ ถ้าไม่มีท่ีกระทบ การกระทบก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนอย่าง
คน ๒ คนเดินมากระทบไหล่กัน รถ ๒ คันแล่นมากระทบกัน
เหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีข้ึนก็เพราะมีคน ๒ คน รถ ๒ คันขึ้นก่อน
แล้วคน ๒ คน รถ ๒ คันนั้นเดินมาหรือแล่นมาสู่จุดเดียวกัน
ไมห่ ลกี กนั ความกระทบจึงเกิดขึน้ ความกระทบทางใจกเ็ ชน่ เดียวกัน
จะต้องมี ๒ สิ่งทางใจว่ิงมากระทบกัน ใน ๒ ส่ิงนั้น ส่ิงหน่ึงก็คือ
ภวะ ความเป็นนั่นเป็นนี่ในใจน่ีเอง ความเป็นดังกล่าว ท่ีเป็นช้ันใน
สุดก็คือ ความเป็นเรา ดังท่ีองค์พระบรมครูตรัสเรียกว่า อัสมิมานะ
ความส�ำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น หรือ อหังการ หรือท่ีเรียกว่า
อตั ตภาพ ความเปน็ อตั ตา ความเปน็ ตน กค็ อื ความเปน็ เรานเ่ี องแหละ
เรียกสนั้ ๆ ว่า ตัวเรา อนั ตวั เราที่มีอยใู่ นทกุ ๆ คน องคพ์ ระบรมครู
ตรัสว่าเป็นเพียงความส�ำคัญหมายว่าเราเป็นเท่านั้น หาใช่เป็นสัจจะ
โดยปรมัตถะ (อยา่ งละเอยี ด) ไม่ เม่อื มีตัวเราขึน้ แล้วก็ตอ้ งมีของเรา

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 157

ทีน้ีก็ต้องมีเขา มีของเขา และตัวเราน้ีเองเป็นจุดกระทบของอะไร ๆ
ทุกอย่าง ความกระทบจึงมีข้ึนได้ หรือจะกล่าวว่ามีจุดอะไรข้ึน
ในใจก่อน ตัวเราก็วิ่งเข้ามาเกาะจุดน้ันก่อเป็นตัวเราของเราข้ึนดังนี้
กไ็ ด้

ส่วนข้อที่ ๓ อวิชชาสวะ กับอวิชชานุสัย เห็นได้ง่ายว่าเป็น
อย่างเดียวกัน

ฉะนน้ั อาสวะกบั อนุสยั จะว่าเป็นเพอื่ นกนั หรือเป็นคนเดยี วกัน
แตม่ หี ลายชอ่ื หลายอาการก็สดุ แต่จะดู ข้อสา� คัญดูให้เหน็ ก็แล้วกัน

บรรดาผู้มาบริหารจิต คือผู้มาพยายามให้เห็นอาสวะหรือ
อนุสัยในจิตตนคร คือใจของตน การดูให้เห็นคือการไล่ให้พ้น
เพราะอาสวะหรืออนุสัยน้ัน เปรียบเหมือนผู้ร้ายท่ีรู้ตัวว่าเป็นผู้ร้าย
ไม่ต้องการให้ใครพบ ใครรู้จักจ�าได้ เมื่อมีผู้พบเห็นจ�าได้รู้จัก ก็จะ
หลบเล่ียงหนีไป การดูให้เห็นให้รู้จักหน้าตาของอาสวะจึงเป็นการ
บริหารจติ ที่ถกู ตอ้ ง อันจะใหผ้ ลเปน็ ความสะอาดของจิตย่งิ ขึน้ ทกุ ที



อนุสัย - ตน ตระกลู
ของหวั โจกท้งั ๓

อาสวะหรืออนุสัยเป็นก�าลังส�าคัญของสมุทัย ท�างานให้สมุทัย
ชนิดที่เรียกว่า ใต้ดิน หรือ หลังฉาก วางแผนชักใยนครสามีอยู่
อย่างแนบเนียน โดยท่ีนครสามีหารู้ไม่ว่าได้ถูกชักใย แต่เข้าใจว่า
มีเพื่อนมิตร เพ่ือนเกลอหลายคนห้อมล้อมช่วยเหลืออยู่โดยใกล้ชิด
บางคราวเพื่อน ราคะ ความยินดี ความก�าหนัด มาย่ัวยิ้ม หรือ
เพ่ือน โลภะ ความโลภอยากได้ มาย่ัวอยาก บางคราวเพื่อน โทสะ
มาก่อกวน บางคราวเพ่ือน โมหะ มาล่อหลอก เพ่ือนเหล่านี้อนุสัย
ส่งมาทั้งนั้น ดังท่ีศิษย์ขององค์พระบรมครูได้กล่าวว่า ราคานุสัย
แรงขึ้นเป็นราคะหรือโลภะ ปฏิฆานุสัยแรงข้ึนเป็นโทสะ อวิชชานุสัย
แรงข้ึนเปน็ โมหะ ทีเ่ กิดข้ึนกลมุ้ รุมจิต ปรากฏเปน็ นวิ รณ์ (เครื่องกน้ั )
อยู่ในจิต เม่ือแรงข้ึนอีก ราคะหรือโลภะกลายเป็นโลภอยากได้โดย
ไม่มีขอบเขต โทสะก็กลายเป็นพยาบาทคือมุ่งร้ายหมายม่ันท�าลาย
ผู้อื่น สัตว์อื่น โมหะก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากท�านอง
คลองธรรม กิเลสที่แรงขึ้นดังนี้ เป็นความละเมิดมโนทวารออกมา
เปน็ มโนกรรมฝ่ายอกศุ ล

160

ย้อนมากล่าวถึงนครสามีซ่ึงมองเห็นเพ่ือนเกลอหลายคนมา
แวดล้อมอยู่ ก็เพลิดเพลินสนุกสนานไปกับเพ่ือนเกลอเหล่าน้ัน
อย่างไมอ่ นั้ ถึงบทรักกร็ ักไปข้างเดียว ถงึ บทชังกช็ งั ไปทีเดยี ว ถึงบท
หลงใหลใฝ่ฝัน ก็มีอยู่บ่อย ๆ ที่ถึงกับออกไปยึดมโนทวาร กับ
วจีทวาร กายทวารของเมืองเปิดรับเพื่อนเกลอที่ร้าย ๆ เข้ามา คือ
จ�ำพวกทมี่ ชี ่ือว่าโลภไม่มขี อบเขต พยาบาท มจิ ฉาทฏิ ฐิ ใครทจี่ �ำเรื่อง
จิตตนครในตอนต้น ๆ ได้ ก็คงจะนึกได้ ส่วนพวกเพื่อนเกลอ
เหล่าน้ีมใิ ชใ่ ครที่ไหน คือสมนุ หัวโจกท้งั ๓ ของสมทุ ัยนัน่ เอง แตใ่ น
ตอนต้นยังมิได้เล่าให้ละเอียด เล่ารวบรัดเอาเป็นว่าหัวโจกของสมุทัย
มาถึงตอนนี้เล่าจ�ำแนกแจกแจงชั้นในให้ละเอียดออกไป เรียกว่า
เลา่ สบื สายข้นึ ไปถงึ ตน้ ตระกลู กนั ทีเดยี ว

ดังนั้น อนุสัยน้ีเองเป็นต้นตระกูลของหัวโจกสมุทัยทั้ง ๓ นั้น
ซึ่งนครสามีได้คบเป็นเพ่ือนเกลอสนิทสนม แต่นครสามีหาได้รู้ไม่ว่า
มีอนุสัยชักใยอยู่หลังฉากตลอดเวลา มองเห็นแต่เพื่อนเกลอเท่านั้น
ล้อมหน้าล้อมหลังอยู่ ในบางคราวท่ีปลอดจากเพื่อนเกลอเหล่าน้ี
นครสามีก็อยู่อย่างสงบ มีความรู้สึกแจ่มใส เข้าใจตนเองว่าเป็น
ผู้บริสุทธผ์ิ ดุ ผ่องไปแล้ว ดังน้กี ม็ ี แต่โดยที่แท้คอู่ าสวะอนสุ ยั ยังมีอยู่
ในชั้นในกับนครสามีอย่างเงียบ ๆ ศิษย์ของพระบรมครูจึงกล่าวว่า
อาสวะอนุสัยเป็นกิเลสช้ันละเอียด เปรียบเหมือนตะกอนท่ีนอนอยู่
ก้นตุ่ม เม่ือยังไม่มีอะไรมากวนให้ตะกอนก้นตุ่มคลุ้งข้ึนมา น�้ำในตุ่ม
จะดูใส จิตก็ยังมีอาสวะอนุสัยก็เช่นเดียวกัน เม่ือยังไม่มีอะไรมา
กวนอาสวะอนุสัยให้ฟุ้งข้ึน จิตก็จะปรากฏเหมือนสะอาดบริสุทธิ์

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 161

เม่ือดูจากพื้นผิว ความจริงหาเป็นจิตที่บริสุทธ์ิไม่ เพราะยังมีอาสวะ
อนุสัยเป็นตะกอนอยู่ เมื่อมีอารมณ์มากวน ก็จะฟุ้งข้ึนมาเป็นกิเลส
ชั้นกลาง ช้ันหยาบ ปรากฏอย่เู ต็มจติ ไปหมด จิตท่ียังมอี าสวะอนุสัย
เก็บตัวเงียบอยู่ แม้จะปรากฏว่าบริสุทธิ์ท่ีพ้ืนผิว จึงหาชื่อว่าไกล
กิเลสไม่ เพราะยังมีกิเลสอาศัยอยู่ท่ีใกล้ชิดที่สุด อาศัยอยู่ชั้นใน
ทเี ดยี ว

พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้า และพระอรหนั ตสาวกท้งั หลาย ทรงเป็น
และเปน็ ผไู้ กลกิเลส เพราะไมท่ รงมีกเิ ลสคืออาสวะอนุสัยอาศยั อยใู่ น
พระหทัยและในใจอีกแล้ว เราท่านท้ังหลายท่ียังมีกิเลสอยู่ แม้ยัง
ไมอ่ าจทา� อาสวะอนสุ ยั ใหส้ น้ิ ไปได้ แตก่ ารพยายามปฏบิ ตั ใิ หไ้ กลกเิ ลส
อยา่ งหยาบ คอื ราคะ หรอื โลภะ โทสะ โมหะทเ่ี ปน็ มลู แหง่ อกศุ ลกรรม
ตา่ ง ๆ ได้ ก็นบั ว่าเป็นการปฏิบตั คิ วร บรรดาผมู้ าบริหารจติ ทัง้ หลาย
แมม้ ีความต้ังใจปฏิบัตบิ ริหารจริง ยอ่ มจะสามารถท�าตนใหเ้ ป็นผไู้ กล
กิเลสอย่างหยาบได้ ไม่มากก็น้อย ซ่ึงจะให้ผลควรแก่การปฏิบัติ
เปน็ ความสขุ ไม่มากก็นอ้ ย



อัธยาศยั ๑๐ ประการ
ของคบู่ ารมี

จะกล่าวถึงคู่บารมีของนครสามีบ้าง คู่บารมีมีลักษณะตรงกัน
ข้ามกับคู่อาสวะเหมือนอย่างขาวกับด�า คู่บารมีมีอัธยาศัยสันดานดี
หลายอยา่ งตามทใ่ี คร ๆ ท่เี ปน็ ผ้รู จู้ กั ชมเชยกัน ๑๐ ประการ คือ

๑. มีอัธยาศัยให้ปันสิ่งของของตนแก่คนท้ังหลาย มีส่ิงอะไร
ก็อดให้มิได้ เพ่ือบูชาบ้าง เพื่อสงเคราะห์ญาติมิตรสหายบ้าง เพื่อ
อนุเคราะห์ผู้ขัดสนเป็นต้นบ้าง เป็นผู้มีอัธยาศัยพอใจท่ีจะให้เอง
โดยมิได้ต้องออกปากขอ ถ้าถูกออกปากขอและมิได้ให้หรือมิได้ช่วย
จะรู้สึกเป็นทุกข์ไม่สบายใจ จะต้องให้หรือช่วยน้อยหรือมากตามแต่
ท่จี ะทา� ได้ ปราศจากความตระหนเี่ หนยี วแนน่ และความมกั ได้ อยาก
จะให้ท้ังหมด เหมือนดงั เทหม้อนา้� คว�า่ กนั ทีเดยี ว

๒. มีอัธยาศัยรักตน สงวนตน งดเว้นจากบาปทั้งหลาย เป็น
ผมู้ คี วามละอายใจตอ่ ความชวั่ รงั เกยี จความชว่ั เหมอื นอยา่ งชายหนมุ่
หญิงสาวผู้รักสวยรักงาม หรือคนสะอาดรังเกียจส่ิงสกปรก มีความ
เกรงกลัวต่อความชั่ว เหมือนอย่างคนกลัวงูพิษ สงบภัยเวร เพราะ

164

ไมป่ ระพฤตกิ อ่ ภยั เวรแก่ใคร ๆ รกั ษาตนจากบาป กล่าวอกี นยั หนงึ่ วา่
รักษาศลี เหมอื นดงั จามรรี กั ษาขน

๓. มีอัธยาศัยปลีกกายปลกี ใจออกจากเครอ่ื งตดิ ท้ังหลายของ
โลกอยู่เสมอ เพราะว่าโลกมีเครื่องล่อให้ติดอยู่มากมาย เป็นต้นว่า
รูป เสียง กล่ิน รส และสิ่งท่ีถูกต้อง ซ่ึงล่อตาให้ดู ล่อหูให้ฟัง
ล่อจมูกให้ดม ล่อลิ้นให้ล้ิม ล่อกายให้ถูกต้อง ล่อใจให้คิดและ
ให้ติดตังอยู่ เหมือนอย่างเป็นเรือนจ�ำใหญ่ มองเห็นเป็นเรือนจ�ำ
จึงมีฉนั ทะทจี่ ะออกจากเรอื นจำ� ไปส่แู ดนทม่ี ีอิสระแก่ตน

๔. มีอัธยาศัยเสาะแสวงหาปัญญาความรู้ในความจริงแห่งส่ิง
ทั้งหลาย พอใจสดับตรับฟังอ่านไต่ถามคิดค้นพิจารณา จับเหตุ
จับผลเงื่อนต้นเงื่อนปลายและทดสอบปฏิบัติ ท�ำความเห็นให้ตรง
ไม่ยอมหลงงมงายด้วยความไม่รู้ ชอบสนทนาไต่ถามผู้รู้ท่ัวไปไม่มี
เวน้ เหมอื นดงั ภิกษุเทีย่ วบิณฑบาตท่ัวไป

๕. มีอัธยาศัยขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน แกล้วกล้า
อย่ดู ว้ ยความเพยี ร เหมือนดังสหี ราชทกุ อิริยาบถ

๖. มีอัธยาศัยอดทนต่ออารมณ์กระทบใจท้ังปวง ตลอดถึง
อดทนล�ำบากตรากตร�ำทางร่างกาย เหมือนดังแผ่นดินรองรับสิ่ง
ท้งั ปวงได้ทง้ั น้นั

๗. มอี ธั ยาศัยรักษาสัจจะ ไมพ่ ูดมุสา แมจ้ ะถกู ฟา้ ผ่าลงขมอง
เพราะไม่พูดมุสา ก็ไม่ยอมพูด เม่ือพูดไว้อย่างใด รับปากไว้อย่างใด
ก็รักษาคำ� พูด คอื ท�ำอย่างนน้ั ไม่ตระบัด เหมอื นดังดาวโอสธไิ ม่ละวิถี

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 165

๘. มอี ัธยาศยั ตงั้ ใจมุ่งมัน่ พอใจทีจ่ ะทา� ตามความตัง้ ใจมงุ่ ม่นั
ในสง่ิ ที่จะพึงท�า ในผลทีจ่ ะพึงได้ เหมอื นดังภเู ขาไมห่ วั่นไหว ไมช่ อบ
มีใจรวนเรไม่แน่นอน

๙. มีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตา ปรารถนาความสุขแก่
สัตว์บุคคลท้ังปวงไม่เลือกหน้า เหมือนดังน้�าแผ่ความเย็นท่ัวไป
ทงั้ แก่คนดคี นช่ัวเหมอื นกันหมด

๑๐. มีอัธยาศัยมัธยัสถ์ในอารมณ์ คือเป็นกลางในอารมณ์
ไม่ชอบในบางอย่าง ชังในบางอย่าง เพราะถ้าชอบหรือชังก็เสียความ
เป็นกลาง จะรักษามัธยัสถ์คือความเป็นกลางอยู่ได้ ก็ต้องวางใจเฉย
ในอารมณ์ท้ังปวงได้ เหมือนดังแผ่นดินมีมัธยัสถ์คือความเป็นกลาง
ทง้ั ในของสะอาดท้ังในของไม่สะอาด ที่ใคร ๆ พากันท้งิ ลงไป

คุณสมบัตดิ ังกล่าวนี้มีในคูบ่ ารมเี ป็นทปี่ รากฏ จงึ ได้ชอ่ื วา่ บารมี
ทุกขอ้ สืบมา

บรรดาผมู้ าบรหิ ารจติ ทง้ั หลาย ควรศกึ ษาบารมที ง้ั ๑๐ ประการ
ดังกล่าวให้เข้าใจ และควรปฏิบัติอบรมให้เกิดขึ้น แม้ไม่ครบทุกข้อ
ก็ควรพยายามให้มากข้อที่สุดเท่าท่ีจะท�าได้ จะได้เป็นผู้มีบารมีไว้
ต่อต้านอาสวะ ให้พ้นจากอ�านาจของอาสวะ ได้มีความสุขความเย็น
ตามควรแก่การปฏบิ ัติ



คู่อาสวะไดโอกาส
ท่ีจดุ บกพร่อง

ได้กล่าวถึงบารมี ๑๐ ประการของคู่บารมีแห่งจิตตนคร ซ่ึง
ฝ่ายสมุทัยหามีอัธยาศัยอันดีงามเช่นน้ันไม่ ด้วยเหตุน้ี คู่บารมี
ของนครสามีจึงเป็นท่ีเกรงขามของสมุทัยถึงกับไม่กล้าเผชิญหน้า
สมุทัยต้องอาศัยคู่อาสวะซ่ึงเป็นฝ่ายในด้วยกันให้ช่วยต่อต้านไว้
แมค้ อู่ าสวะกบั อนสุ ยั คหู่ กู ไ็ มก่ ลา้ เผชญิ หนา้ กบั คบู่ ารมโี ดยตรงเหมอื น
กัน ต้องหาวิธีให้คู่บารมีถอยห่างออกไปพ้นหน้านครสามี แล้วจึง
จะเข้ามาเพ็ดทูลน่ันพูดนี่ น้อมโน้มนครสามีให้หันเหไปตามได้
นกั ศพั ทแ์ สงไดพ้ ากนั วจิ ารณช์ อื่ ของทง้ั ๒ ฝา่ ยวา่ ทา� ไมจงึ ชอื่ วา่ อาสวะ
ท่ีตรงกับค�าว่า หมักดอง หมักหมม ใช้หมายถึงสุราหรือเหล้าก็มี
ท�าไมจึงชื่อว่าอนุสัยที่ตรงกับค�าว่า นอนจม บางทีพูดควบกันใน
ภาษาไทยว่านอนจมหมักหมม คืออนุสัยอาสวะน่ันเอง บางทีก็
เรียกอาสวะว่ากิเลสเคร่ืองดองสันดาน หรือดองจิต ส่วนบารมี
ตรงกับค�าว่า เต็มบริบูรณ์ ถึงฝั่ง ที่ว่าเต็มบริบูรณ์ จากศัพท์ว่า
ปรม อย่างยิ่ง สมบูรณ์ บริบูรณ์ ที่ว่าถึงฝั่ง จากศัพท์ว่า ปาร+มี

168

คู่บารมีได้บ�ำเพ็ญความดีมาช้านาน ทีแรกความดีก็ไม่สู้กล้าแข็งนัก
ยังแพ้ทรัพย์แพ้บุคคลหรือวัตถุที่เป็นที่รัก เช่นเมื่อยังไม่มีอะไร
มาล่อใจ ก็สามารถท�ำความดี รักษาความดีไว้ได้ คร้ันมีทรัพย์
มาล่อใจให้อยากได้ แต่จะต้องได้มาด้วยความช่ัวทุจริต ก็ท้ิงความดี
ท�ำความช่ัวได้ หรือเมื่อพบบุคคลหรือวัตถุเป็นท่ีรัก ถ้าจะได้มา
ก็ตอ้ งท้งิ ความดีทำ� ความชั่ว เพ่ือจะได้บุคคลหรือวตั ถซุ ึง่ เปน็ ทร่ี ักนั้น

ศิษย์ของพระบรมครูกล่าวว่า คนที่ไม่มีบารมีหรือมีบารมี
อ่อนมากย่อมเป็นเช่นน้ี คือทิ้งความดี ท�ำความชั่วเพราะเหตุแห่ง
ทรัพย์ บุคคล วัตถุอันเป็นที่รัก ชื่อว่าเป็นผู้แพ้ต่อทรัพย์ เป็นต้น
ต่อเม่ือความดีกล้าแข็งข้ึน เอาชนะทรัพย์และคนหรือวัตถุอันเป็น
ท่ีรักได้ คือแม้จะมีทรัพย์มาล่อใจ มีบุคคลหรือวัตถุที่รักมาล่อใจ
ก็อดทนไว้ได้ ไม่ยอมทิ้งความดีเพราะเหตุแห่งทรัพย์หรือคนและ
วัตถุอันเป็นท่ีรัก ศิษย์พระบรมครูกล่าวว่า คนที่ยอมสละทรัพย์กับ
บุคคลหรือวัตถุอันเป็นท่ีรักเพื่อความดี สามารถรักษาธรรม รักษา
ความดีไว้ได้ ไม่หว่ันไหวไปเพราะทรัพย์ เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็น
ผู้มีบารมีอย่างสามัญ ส่วนผู้ที่มีความดีกล้าแข็งยิ่งกว่าน้ี จนถึง
ยอมสละอวัยวะของร่างกายส่วนใดส่วนหน่ึงได้เพ่ือรักษาธรรม
รักษาความดี หรือเพื่อปฏิบัติธรรม เรียกได้ว่าเป็นผู้มีอุปบารมี
ส่วนผู้ที่มีความดีกล้าแข็งจนถึงยอมสละชีวิต เพ่ือรักษาธรรม
รักษาความดีไว้ได้ ไม่มีอะไรมาท�ำให้หว่ันไหวสะทกท้าน รวนเรไม่
มัน่ คง เรยี กได้ว่าเป็นผู้มปี รมัตถบารมี ค่บู ารมีไดบ้ ำ� เพญ็ บารมีกลา้
แข็งข้ึนโดยล�ำดับ ความดีท่ีกล้าแข็งจะต้องเป็นความดีในสันดาน

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 169

ในนิสัย คือท่ีเก็บตัวส่ังสมมากขึ้น ๆ จนถึงเต็มบริบูรณ์ นับว่าเป็น
บารมีเตม็ ทีห่ รอื สมบูรณ์ ดังทีเ่ รยี กวา่ ปรมตั ถบารมี

คู่อาสวะได้โอกาสตรงจุดบกพร่องของคู่บารมีนี่แหละ เพราะ
เม่ือบารมียังไม่เต็มบริบูรณ์ ก็แปลว่า มีจุดบกพร่องตรงที่ไม่เต็มท่ี
น้นั ฉะนน้ั จงึ เข้ามาตรงจุดนั้น เม่ือมายึดได้จุดหนึ่งแลว้ ก็พยายาม
ขยายวงออกไป เป็นอันว่าคู่บารมีกับคู่อาสวะต่างก็ยึดยันกันอยู่ใน
จิตตนคร

ปุถุชนหรือสามัญชนท้ังหลาย ย่อมยังบารมีบกพร่องไม่เต็ม
บริบูรณ์อยู่ด้วยกันท้ังน้ัน แต่ก็ควรพยายามให้ความบกพร่องนั้น
น้อยลงโดยล�าดบั ไมค่ วรจะใหค้ วามบกพรอ่ งมีอยูเ่ ปน็ สว่ นมาก



อารมณ์ - กามฉันท์

ได้กล่าวแล้วว่า เม่ือคู่บารมียังมีความดีกล้าแข็ง ไม่เต็ม
บริบูรณ์ ยังบกพร่อง คู่อาสวะก็ได้โอกาสเข้ายึดจุดบกพร่อง เพ่ือ
แผ่ขยายก�าลังให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น คู่อาสวะกับสมุทัยและ
พรรคพวกได้พยายามต่อต้านขับไล่ฝ่ายคู่บารมีเต็มท่ี ส่งพวกหัวโจก
คอื โลโภ โทโส โมโห กบั สมนุ ทงั้ หลายออกขบั ไลศ่ ลี หริ ิ โอตตัปปะ
อินทรียสังวร สติ สัมปชัญญะ สันโดษ บรรดาที่เป็นฝ่ายคู่บารมี
แต่พวกหัวโจกกับสมุนท้ังปวงเป็นพวกคนจรหมอนหม่ินดังที่ได้
กล่าวแล้ว ต้องเกลี้ยกล่อมแสวงหาเข้ามาและบ�ารุง ท่ีส�าคัญก็คือ
อารมณ์ ได้กล่าวมาแล้วว่า สมุทัยได้แทรกอารมณ์เข้าสู่จิตตนคร
ทางระบบสื่อสารทัง้ ปวง จะไดก้ ลา่ วถึงอารมณ์ต่อไปอกี

เม่ืออารมณ์เข้าไปสู่จิตตนครทางระบบสื่อสารแล้ว สมุทัย
ก็ใช้อารมณ์น่ีแหละเป็นสะพาน ส่งกิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘
เขา้ สจู่ ติ ตนครเปน็ ทวิ แถวและคมุ ไวใ้ นอา� นาจ จะระบถุ งึ สกั ๕ จา� พวก

172

คือจำ� พวกที่ ๑ มีชอ่ื วา่ กามฉนั ทะ มีลกั ษณะอาการเป็นความพอใจ
รักใคร่ในกาม คือ รูป เสียง กล่ิน รส โผฏฐัพพะ ท่ีน่าใคร่
น่าปรารถนาพอใจท้ังหลาย จ�ำพวกน้ีตามหลังอารมณ์บางอย่างเข้ามา
คืออารมณ์ที่มีชื่อว่า สุภนิมิต เข้ามาถึงจิตตนครเม่ือใด เมื่อน้ัน
จิตตนครจะปรากฏว่างดงาม น่าดู น่าฟัง น่าดม น่าลิ้ม น่าถูกต้อง
ไปเสียท้ังนั้น จิตตนครจะเป็นเมืองงามไปทันที ด้วยสีสันวรรณะ
ดว้ ยเสียง ด้วยกลน่ิ ด้วยรส ด้วยส่งิ ถกู ตอ้ งทัง้ หลาย ทีน้กี ามฉันทะ
ก็เข้ามาทันที ชาวจิตตนครก็พากันยินดีพอใจรักใคร่สนุกสนาน
รนื่ เรงิ กนั ทง้ั เมอื ง บา้ งกเ็ ทยี่ วดกู ารละเลน่ เตน้ รำ� นานาชนดิ มที กุ แบบ
ไม่ว่าแบบไทย แบบฝร่ัง แบบแขก จีน ญวน เขมร พม่า มอญ
ว่าถึงแบบไทยก็มีพร้อม ไม่ว่าจะเป็นโขน ละคร ลิเก หนังใหญ่
หนังตะลุง ตลอดถึงหนังญี่ปุ่น ท่ีบัดน้ีเรียกกันว่า ภาพยนตร์
บ้างก็เท่ียวฟังการร้องร�ำท�ำเพลงดีดสีตีเป่าต่าง ๆ มีดนตรีทุกแบบ
ทุกชนิด ทุกภาษา บ้างก็เที่ยวสูดดม กลิ่นสุคนธชาตินานาชนิด
ตลอดถึงสูดอากาศบริสุทธ์ิสะอาดจากท่ีต่าง ๆ บ้างเป็นนักกิน
ก็เท่ียวบริโภคอาหารอันโอชะนานาชนิดในโภชนาคารอันมีอยู่ทั่วไป
บ้างก็แสวงหาสง่ิ สัมผสั ท่ีถกู ใจ อนั มอี ยมู่ ากเชน่ เดียวกัน และดงั ท่ไี ด้
กล่าวแล้วว่า อันรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ท้ังปวงในโลก
ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นยอด ก็ตอบได้ตามค�ำของพระบรมครูว่าเป็น
ยอดนั้น คือของสตรีเป็นยอดส�ำหรับบุรุษ และของบุรุษเป็นยอด
ส�ำหรับสตรี

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 173

เม่ือจิตตนครเป็นเมืองงามขึ้นด้วยอารมณ์อันมีช่ือว่าสุภนิมิต
ดังพรรณนามา ชาวจิตตนครก็พากันเพลิดเพลินยินดีในความงาม
คือในรูปเสียง เป็นต้น ตั้งแต่ชั้นยอดลงมา นี้แหละคือท่ีเรียกว่า
กามฉนั ทะ

สามัญชนย่อมมีกามฉันทะอันเป็นของธรรมดา แต่ถ้าปล่อย
ให้กามฉันทะมีอ�านาจรุนแรงเหนือความรู้สึกผิดชอบช่ัวดี ก็ผิด
แม้กามฉันทะจะเป็นสิ่งท่ตี ้องมอี ยู่ในสามัญชน แตก่ ็เป็นส่งิ ท่สี ามารถ
ควบคุมบังคับให้อยู่ในขอบเขตได้ คือถ้าความพอใจรักใคร่ปรารถนา
เกิดข้ึนในสิ่งท่ีไม่สมควรก็ต้องบังคับยับยั้งไว้ ไม่ปล่อยให้ด�าเนิน
ต่อไป เช่นน้จี งึ จะควร



พยาบาท

จะกล่าวถึงจ�าพวกท่ี ๒ ที่มีชื่อว่า พยาบาท มีลักษณะอาการ
เป็นความหงุดหงิด ขัดเคือง โกรธแค้น เดือดดาล จนถึงมุ่งร้าย
ในบุคคลหรือสิ่งที่ไม่ชอบใจทั้งหลาย จ�าพวกน้ีตามหลังอารมณ์
บางอย่างเข้ามาเช่นเดียวกัน คืออารมณ์ท่ีมีชื่อว่า ปฏิฆนิมิต เคร่ือง
ก�าหนดหมายเป็นที่น่าชัง เป็นท่ีขวางตา ขวางหู ขัดจมูก ขัดล้ิน
ไม่สบายกาย ไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง จิตตนครที่เคยเป็นเมืองงาม
ก็จะกลายเป็นเมืองที่น่าเกลียดน่าชังไปทันที ด้วยสีสันวรรณะ เสียง
กล่ิน รส ส่ิงท่ีถูกต้องอารมณ์ทั้งหลาย ซ่ึงปรากฏเป็นของปฏิกูล
กระทบจิตใจไปทุกอย่าง ทีน้ีพยาบาทก็เข้ามาทันที ชาวจิตตนคร
ก็พากันหงุดหงดิ ในส่ิงใดสิ่งหนึง่ หรอื ในทุก ๆ สง่ิ ท่ีอยู่รอบตวั สุดแต่
อารมณ์ท่ีช่ือว่า ปฏิฆนิมิต จะเข้ามาถึง ส่ิงไหนแรงขึ้นมาก็พากัน
โกรธแค้นขัดเคือง เดือดดาล จนมุ่งร้ายในบุคคลหรือส่ิงน้ัน ๆ
ทุกอย่างตรงกันข้ามกับอารมณ์ท่ีชื่อว่า สุภนิมิต เข้ามา บรรดาการ
ละเล่นเต้นร�า เป็นต้นว่า โขน ละคร ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะของตา
จะหายไปหมด จะปรากฏเป็นความถมึงตึง เครียด ถ้าจะมีการเต้น

176

ก็มิใช่การเต้นร�ำท�ำเพลง แต่เป็นการเต้นเพ่ือท�ำร้ายด่าทอแทนเสียง
ขับร้อง การท่ีจะปฏิบัติต่อกันทางรูป เสียง กล่ิน รส โผฏฐัพพะ
ด้วยอ�ำนาจของราคะก็กลายไปเป็นปฏิบัติต่อกันด้วยอ�ำนาจของโทสะ
จิตตนครกก็ ลายเปน็ เมอื งร้อนดว้ ยไฟโทสะ

อันที่จริงเม่ืออารมณ์ท่ีชื่อว่า สุภนิมิต เข้ามา และกามฉันท์
ติดตามเข้ามาด้วยนั้น จิตตนครกลายเป็นเมืองท่ีงดงามสนุกสนาน
เหมือนอย่างเต็มไปด้วยความสุข แต่ก็เป็นเมืองร้อนด้วยไฟราคะ
เช่นเดียวกัน ผู้ท่ีพิจารณาจะมองเห็นได้ สมุทัยส่งอารมณ์ทั้ง ๒ นี้
เข้าไปสู่จิตตนครเสมอ และส่งกามฉันท์กับพยาบาทติดตามเข้าไป
ทันที ซ่ึงก็ได้ผล คือท�ำให้จิตตนครลุกโพลงอยู่ด้วยไฟราคะบ้าง
โทสะบา้ ง สลับสบั เปล่ียนกันไป

ความโกรธเป็นของธรรมดาท่ียังจะต้องมีอยู่ในผู้เป็นสามัญชน
แต่เม่ือความโกรธเกิดแล้ว ไม่ควรให้เลือกอยู่เป็นความพยาบาท
ควรพยายามท�ำใจให้เพียงโกรธแล้วก็มีหาย ส่วนที่จะโกรธอีกนั้น
ก็ยังดีกว่าให้เป็นความพยาบาท ผู้มาบริหารจิตท้ังหลายควรจะต้อง
ฝึกใจให้เพียงแต่โกรธ ไม่ถึงพยาบาทเสียก่อน แล้วจึงฝึกแก้โกรธ
ให้ลดนอ้ ยถงึ หมดไปในภายหลัง

นอกจากนี้ สมทุ ยั ยังทำ� ใหจ้ ติ ตนครเปน็ เมอื งง่วงเหงาหลับไหล
ไปก็ได้ โดยส่งอารมณ์บางอย่างเข้าไป เช่นความเบ่ือไม่ยินดีหรือ
ความเกียจคร้าน ความบิดแชเชือน ความเมาอาหาร ความมีใจ
ย่อหย่อน อย่างใดอย่างหน่ึงหรือหลายอย่าง เม่ืออารมณ์ดังกล่าว

สมเด็จพระญาณสังวร 177

เข้าไปถึงจิตตนคร จ�ำพวกที่ ๓ อันมีช่ือว่า ถีนมิทธะ ซึ่งมีอาการ
ง่วงงุนเคลิบเคลิ้มจะติดตามเข้าไปทันที จิตตนครที่เคยร่ืนเริงหรือ
ตึงเครียดจะกลายเป็นเมืองง่วงหรือหลับไปทันที ไม่เช่นน้ันก็
ห่อเหี่ยวเกียจคร้าน คล้ายกับเวลาที่ใคร ๆ นั่งฟังครูอธิบายหรือ
ท่ีน่ังฟังเทศน์ มักจะง่วง ความง่วงมักจะแอบหลังความสงบเข้ามา
เวลานั่งฟังเทศน์ จิตมักสงบจากเรื่องต่าง ๆ เม่ือสงบ จิตก็มักรวม
แคบเข้ามาดุจตะเกียงหรี่ เป็นโอกาสให้ความง่วงลอบเข้ามา ท�ำให้
หงบุ หงับสปั หงกทนั ที จิตสวา่ งขึ้น กวา้ งขึ้นเมอ่ื ใด ความง่วงถอยหนี

แต่สมทุ ัยก็ไมท่ ิง้ โอกาสเชน่ นี้ รีบสง่ อารมณ์เข้าไปอีกอย่างหน่งึ
คือความฟุ้งซ่านแห่งใจส่งตามติดเข้าไป และส่งตามไปด้วยจ�ำพวก
ท่ี ๔ ซึ่งมีช่ือว่า อุทธัจจกุกกุจจะ มีลักษณะอาการเป็นความฟุ้งซ่าน
ร�ำคาญใจ จิตตนครก็กลายเป็นเมืองฟุ้งไปทันที จะฟุ้งอย่างไรให้คิด
เทียบเอาเองกับเวลาท่ีมีลมแรงพัดฝุ่นคลุ้งไปท้ังหมด มิใช่แต่เท่านี้
จิตตนครยังต้องเผชิญกับอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง คือธรรมที่เป็นที่ต้ัง
แห่งวิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลไม่ตกลงได้ แล้ววิจิกิจฉาก็จู่โจม
เข้ามาทันที วิจิกิจฉา น้ีเป็นจ�ำพวกที่ ๕ มีลักษณะเป็นความลังเล
สงสัยไม่แน่นอนใจ เม่ือเข้ามาถึงจิตตนครก็กลายเป็นเมืองแห่ง
ความสงสัยลังเล ทุกคนพากันน่ังลังเลไม่แน่ใจวา่ จะท�ำอย่างไรดี

สมุทัยชอบใจท่ีได้เห็นจิตตนครมีอารมณ์และอาการต่าง ๆ
ดูเป็นที่สับสนอลหม่าน เดี๋ยวก็อย่างนั้น เด๋ียวก็อย่างน้ี และสมุทัย
กลัวธรรมบางข้อ คือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ความท�ำไว้ในใจโดย
แยบคาย ถ้าธรรมข้อนี้เข้าไปสู่จิตตนครแล้ว พวกอารมณ์ท้ังปวง

178

ก็หมดอ�านาจ จิตตนครจะเป็นเมืองสุขสงบข้ึนทันที ฉะน้ัน สมุทัย
จึงพยายามใส่ อโยนิโสมนสิการ ได้แก่ ความท�าไว้ในใจโดยไม่
แยบคายเข้าไปในอารมณ์ทุกอย่าง อารมณ์เหล่าน้ันจะกระด้าง
แข็งแรงข้ึนเป็นชนวนน�านิวรณ์ข้ึนมาทันที อโยนิโสมนสิการเป็น
สมุนสา� คญั ของสมทุ ยั อีกผหู้ นงึ่

การท�าไว้ในใจโดยแยบคาย คือการพิจารณาเร่ืองราวของจิต
คืออารมณ์ให้แยบคาย คือให้เห็นผิดถูก ช่ัวดี ควรไม่ควรอย่างไร
กลา่ วอกี อยา่ งกค็ อื การมเี หตผุ ลในการรบั อารมณ์ เมอื่ อารมณเ์ กดิ ขนึ้
ก็ให้สามารถทา� ใจพิจารณาอยา่ งแยบคาย ไม่ปล่อยให้รนุ แรง ไปตาม
กา� ลงั โดยไมต่ า้ นทานใหอ้ อ่ นลงดว้ ยอา� นาจการพจิ ารณาใหแ้ ยบคายเลย

บรรดาผมู้ าบรหิ ารจติ ทง้ั หลาย ควรฝกึ จติ ใหร้ จู้ กั คนุ้ เคยกบั การ
ท�าไว้ในใจโดยแยบคาย คือให้มีโยนิโสมนสิการอยู่เสมอ จะสามารถ
พาจิตให้พ้นอ�านาจของสมุทัย พ้นจากอโยนิโสมนสิการได้ ผลก็คือ
จะมคี วามสุขสงบในใจไม่มากกน็ ้อย

อโยนิโสมนสกิ าร

ได้กล่าวไว้ว่า สมุทัยชอบใจท่ีเห็นจิตตนครมีอารมณ์ และ
อาการตา่ ง ๆ ดูเปน็ ที่สับสนอลหม่าน เดย๋ี วกอ็ ย่างนน้ั เด๋ียวก็อยา่ งนี้
และสมุทัยกลัวธรรมบางข้อคือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ความท�ำไว้
ในใจโดยแยบคาย ถ้าธรรมนี้เข้าไปสู่จิตตนครแล้ว อารมณ์ทั้งปวง
ก็หมดอ�ำนาจ จิตตนครจะเป็นเมืองสุขสงบขึ้นทันที ฉะน้ัน สมุทัย
จึงพยายามใสอ่ โยนโิ สมนสกิ าร ได้แก่ ความท�ำไวใ้ นใจโดยไมแ่ ยบคาย
เขา้ ไปในอารมณท์ กุ อยา่ ง ดเู หมอื นยงั แสดงหนา้ ตาของอโยนโิ สมนสกิ าร
สมุนส�ำคัญของสมุทัยอีกผู้หนึ่งไว้ไม่ชัดนัก ดังน้ันจะได้แนะน�ำอีก
สักหน่อย

คำ� นตี้ ามศพั ทแ์ ปลวา่ ความทำ� ไวใ้ นใจโดยทางมใิ ชต่ น้ เหตุ คำ� วา่
ความทำ� ไว้ในใจ ตรงกบั คำ� ที่พูดกนั งา่ ย ๆ ว่า ใสใ่ จ หมายถึง เอาใจ
ใส่คิดพินิจพิจารณาก็ได้ สิ่งที่เกิดข้ึนทุก ๆ อย่างจะต้องมีต้นเหตุ
ซึ่งให้เกิดผลทีแรก ท่ีน่าจะเรียกว่าต้นผลเช่นเดียวกัน ผลทีแรกน้ัน
ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลต่อไปอีก และผลน้ันก็จะเป็นเหตุให้เกิดผล
สืบไปอีก กว่าจะเป็นส่ิงที่ปรากฏข้ึนให้ตาเห็น หูได้ยิน ดังที่เรียก
กนั วา่ ปรากฏการณ์ กจ็ ะมีเหตผุ ลสบื กันมาหลายช้ัน

180

ค�ำว่า โดยทางมิใช่ต้นเหตุ หมายความว่า เหตุผลของสิ่งที่
ปรากฏน้ันเป็นไปโดยทางหน่ึง แต่ใส่ใจคิดไปเสียอีกทางหน่ึง
ยกตวั อย่างปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ฟา้ แลบ ฟา้ ผา่ มีเหตผุ ล
ว่า ท�ำไมฟ้าจึงแลบ ฟ้าจึงผ่า ที่สัมพันธ์กันไปหลายอย่าง ดังท่ี
นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็ต่างจากเหตุผล
ที่คิดเห็นกันในสมัยโบราณ เช่นดังท่ีคิดเห็นว่า นางเมขลาล่อแก้ว
รามสูรเขว้ียงขวาน จันทรคราสสุริยคราสในคร้ังโบราณเข้าใจกันว่า
ยักษ์ใหญ่ที่ช่ือว่าราหูอมจันทร์ อมอาทิตย์ แต่ในปัจจุบัน นักวิทยา-
ศาสตร์แสดงเหตุผลดังที่ทราบกันอยู่ท่ัวไป และได้ค�ำนวณจับเวลา
กับท้ังสถานทีท่ ่ีจะมองเห็นด้วยตาไดแ้ น่ชัดถกู ตอ้ ง

แมส้ ง่ิ ทปี่ รากฏอยา่ งอนื่ กย็ อ่ มมเี หตผุ ลของแตล่ ะสงิ่ เชน่ เดยี วกนั
ตลอดถึงสิ่งที่ปรากฏของสัตว์ บุคคล เช่นมีเร่ืองเล่าถึงนักบวชใน
ลทั ธอิ ยา่ งหนึ่งผูห้ นึง่ เดนิ ทางไปพบววั ดุตัวหนึ่งเข้า วัวดตุ ัวน้ันก็ตัง้ ท่า
ก้มศีรษะลง นักบวชผู้นั้นคิดว่าแม่วัวตัวน้ีช่างรู้คุณของเรา ก้มศีรษะ
ลงเพ่ือค�ำนับนอบน้อมต่อเรา ดีกว่าคนเป็นอันมากที่ไม่รู้คุณของเรา
ฝา่ ยววั ดนุ น้ั กต็ รงเขา้ ขวิดนักบวชผู้แปลผิดนน้ั ถงึ แก่ส้ินชีวติ ตัวอย่าง
นี้แสดงว่า กริ ิยาทวี่ วั กม้ ศีรษะลงนนั้ มตี น้ เหตุในทางหนงึ่ คือตอ้ งการ
จะเตรียมขวิด แต่นักบวชผู้น้ันเอาใจคิดไปเสียอีกทางหนึ่ง ว่าเขา
จะคำ� นบั เรา จึงต้งั ท่ารับคำ� นับเต็มที่ วัวจงึ ขวดิ ได้อย่างถนัดถน่ี น่เี ป็น
ตัวอยา่ งของอโยนิโสมนสิการ

ÊÁà´ç¨¾ÃÐÞÒ³ÊѧÇà 181

อีกตัวอย่างหน่ึงท่ีน่าจะยกข้ึนคือความเดือดร้อนของประชาชน
เกี่ยวกับการครองชีพ เป็นต้น ซึ่งต้นเหตุถ้าจะมาจากธรรมชาติดิน
ฟ้าอากาศและจากกรรมของคน ถ้าจับต้นเหตุถูกก็น่าจะแก้ได้ เช่น
สร้างเข่ือนก้ันระบายน�้า สร้างอ่างเก็บน้�า ท�าฝนเทียม เป็นต้น และ
แก้ท่ีกรรมของคน คือทั้งฝ่ายผู้ปกครอง ท้ังฝ่ายผู้อยู่ในปกครอง
ตั้งอยู่ในสุจริตต่อกัน คือผลนั้นเกิดจากเหตุอันใด ก็แก้ท่ีเหตุอันนั้น
เมื่อแก้ไปทีละเปลาะ ๆ จนถึงต้นเหตุโดยพร้อมเพรียงกันและโดย
ฉับพลัน ก็จะเกิดผลดีข้ึนฉับพลันทันตาเห็นเช่นเดียวกัน แต่ถ้าแก้
โดยอโยนิโสมนสิการแล้ว ก็จะเกิดผลเหมือนดังที่นักบวชผู้นั้นได้รับ
นีเ้ ป็นตวั อย่างอีกเรอ่ื งหนึ่งของอโยนิโสมนสิการ

อโยนิโสมนสิการมีโทษ แม้เพียงดังตัวอย่างที่ยกมากล่าว
ก็เป็นโทษที่ควรระวังมิให้เกิดขึ้นแก่ตน ดังนั้น ทุกคนจึงควรก�าจัด
อโยนโิ สมนสกิ ารให้สิน้ ไปดว้ ยการทา� โยนิโสมนสกิ ารใหม้ อี ย่เู สมอ


Click to View FlipBook Version