The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปัญญาอบรมใจ โดย หลวงพ่อทูล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-03-01 22:24:27

ปัญญาอบรมใจ โดย หลวงพ่อทูล

ปัญญาอบรมใจ โดย หลวงพ่อทูล

Keywords: ปัญญาอบรมใจ โดย หลวงพ่อทูล

พระอาจารยท์ ูล ขปิ ปฺ ปญโฺ 



ค�ำปรารภ

หนังสือ “ปัญญาอบรมใจ” ท่ีท่านก�ำลังอ่านอยู่ขณะนี้
เป็นอุบายวิธีปฏิบัติได้ทุกกาลเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในที่ไหนแห่งใด
ใหใ้ ชส้ ตปิ ญั ญาอบรมใจอยเู่ สมอ และใชไ้ ดก้ บั สงั คมทวั่ ไป ใหท้ า่ น
ไดอ้ ่านความหมาย จะปฏิบตั ิไดท้ ันที ในธรรมะสัปปรุ สิ ธรรม ๗
แตล่ ะขอ้ เปน็ อบุ ายฝกึ กาย วาจา ใจ ใหอ้ ยใู่ นขอบเขตของธรรมได้
เปน็ อยา่ งดี มใิ ชว่ า่ จะรใู้ นความหมายแลว้ ทง้ิ ไป จะไมเ่ กดิ ประโยชน์
อะไรเลย หรือเรื่องกาลามสูตร ๑๐ ข้อ ก็ได้อธิบายไว้เช่นกัน
แต่ละข้อเป็นหลักวิธีเปลี่ยนความเห็นของใจที่เป็นมานะอัตตา
ใหเ้ ปน็ ธรรมาธปิ ไตย เอาเหตผุ ลทเ่ี ปน็ ธรรมมาเปน็ หลกั พจิ ารณา
ด้วยปญั ญา แลว้ ฝึกกาย วาจา ใจ ให้เปน็ ไปตามหลักความจรงิ
ฝกึ ใจทำ� ใจใหเ้ ปน็ ไปในหมวดธรรมนน้ั ๆ อยา่ งถกู ตอ้ ง การเรยี นรู้
ในตำ� รานน้ั รไู้ ด้ ถา้ ไมน่ ำ� มาปฏบิ ตั ฝิ กึ กาย วาจา ใจ ความรกู้ ท็ ำ� ให้
เราดไี มไ่ ดเ้ ลย ในคำ� วา่ ปฏบิ ตั ธิ รรมสมควรแกธ่ รรม มคี วามหมาย
วา่ รู้ธรรมได้แคไ่ หน กใ็ ห้ฝกึ ใจเป็นไปในธรรมไดเ้ ทา่ นัน้ ถา้ ฝกึ
ใจใหเ้ ปน็ ไปในลกั ษณะนี้ ถงึ จะรธู้ รรมไมม่ ากนกั รสู้ กั ๒-๓ ประโยค

แลว้ ฝึกใจท�ำใจให้เป็นไปในหมวดธรรมนน้ั ๆ
ขอให้ทุกท่านศึกษาธรรมให้เข้าใจในความหมาย และ

ปฏบิ ตั ติ าม ผลของการปฏบิ ตั กิ จ็ ะเกดิ ขน้ึ จากตวั ทา่ นเอง ขอทกุ ทา่ น
จงมสี ตปิ ญั ญารแู้ จง้ เหน็ จรงิ ในหมวดธรรมนน้ั ๆ ตามความเปน็ จรงิ
ด้วยสตปิ ญั ญาของตัวเองดว้ ยเทอญ

พระอาจารยท์ ูล ขปิ ปฺ ปญฺโ

Dhammaintrend รว่ มเผยแพรแ่ ละแบง่ ปันเป็ นธรรมทาน

สารบญั


ปญั ญาอบรมใจ ๑
ปญั ญาการศกึ ษาสมาธิ ๔
ลักษณะสมาธิ ๒ ประเภท ๘
รู้เหน็ อัตตากอ่ นอนัตตา ๑๑
สมาธเิ พยี งขม่ กเิ ลสตัณหา ๑๔
แสวงหาหัวหนา้ โค ๑๗
กามาวจรกศุ ล ๒๐
สปั ปุริสธรรม ๗ ๒๓
ธัมมญั ญุตา ๒๕
อัตถญั ญตุ า ๓๒
อัตตัญญตุ า ๓๕
มตั ตญั ญุตา ๔๒
กาลัญญตุ า ๔๕
ปรสิ ัญญุตา ๕๑
ปคุ คลัญญุตา ๕๗

๖๔
มปี ญั ญาเลอื กเฟน้ ธรรม ๖๖
กาลามสูตร ๑๐ ข้อ ๙๔
บทสง่ ทา้ ย

ปัญญาอบรมใจ

วนั นจ้ี ะปรารภธรรมะใหพ้ วกเราทงั้ หลายไดเ้ ขา้ ใจ ธรรมะที่
จะปรารภนน้ั กเ็ หมอื นกนั กบั ธรรมะทพี่ วกเราทง้ั หลายเคยไดย้ นิ
ไดฟ้ งั มาแลว้ และเคยไดอ้ า่ นตามตำ� รามา คดิ วา่ ทกุ ทา่ นมพี น้ื ฐาน
ทางธรรมะมาแล้วพอสมควร ธรรมะนน้ั มหี ลายขั้นตอน มีหลาย
หมวดหมู่ ธรรมะแตล่ ะหมวดหมจู่ ะนำ� มาปฏบิ ตั ไิ ดต้ ามความสามารถ
ของตน ธรรมะบางหมวดจะนำ� มาปฏบิ ตั เิ ฉพาะกบั สงั คมสว่ นรวม
ธรรมะบางหมวดจะนำ� มาปฏบิ ตั ไิ ดเ้ ฉพาะตวั เอง ถงึ จะนำ� ธรรมะ
มาปฏบิ ัตเิ ฉพาะตัวเองกต็ าม ก็ยังแบ่งเป็นขัน้ โลกยี ์และโลกุตระ
ท่เี รยี กวา่ ปฏิบตั ขิ ้นั กามาวจรกุศลและขัน้ โยคาวจรกศุ ล สว่ นขัน้
โยคาวจรกุศลนั้นเป็นธรรมะระดับสูง ส�ำหรับฆราวาสแล้วจะ
ปฏบิ ตั ใิ หเ้ ปน็ ไปไดย้ าก แตก่ ค็ วรศกึ ษาใหร้ เู้ อาไว้ เมอื่ โอกาสเวลา

๒ ปญั ญาอบรมใจ

เรามี กฝ็ กึ ปฏบิ ตั ติ ามกำ� ลงั ความสามารถของเรา เรยี กวา่ ฝกึ นสิ ยั
เพ่อื เสริมสรา้ งบารมีให้แก่ตัวเองเอาไว้

การศกึ ษาธรรมปฏบิ ตั นิ น้ั เราจะศกึ ษาจากตำ� ราหรอื ศกึ ษา
จากการได้ยินได้ฟังจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย เม่ือเข้าใจแล้วก็น�ำมา
ปฏิบัติตามโอกาสท่ีมี ตามกาลเวลาท่ีเหมาะสม ในยุคน้ีสมัยน้ี
ถา้ พดู เรอ่ื งการปฏบิ ตั แิ ลว้ จะเขา้ ใจวา่ เปน็ วธิ กี ารทำ� สมาธิ เพราะ
ได้ยินได้ฟังกันบ่อยคร้ังจนฝังใจ ถ้าได้ฟังจากครูอาจารย์ว่าให้
พากันปฏิบัติ ทุกคนจะต้องเข้าใจว่า ให้ท�ำสมาธิเพื่อให้จิตมี
ความสงบตั้งม่ัน จะต้องนึกค�ำบริกรรมอย่างน้ัน น่ังวิธีอย่างนี้
ใครมีความช�ำนาญการท�ำสมาธิอย่างไรก็ปฏิบัติไปอย่างนั้น
ใครมคี วามชำ� นาญนกึ คำ� บรกิ รรมวา่ พทุ โธ กน็ กึ พทุ โธไป ใครชำ� นาญ
นึกค�ำบริกรรมวา่ ยบุ หนอ พองหนอ ก็นึกกนั ไป ใครชำ� นาญนึก
ค�ำบริกรรมวา่ สมั มาอรหัง กน็ กึ กันไป

ส่วนมากจะเกิดความเข้าใจว่า การภาวนาปฏิบัติ ก็คือ
การนกึ คำ� บรกิ รรมทำ� สมาธิ ใหจ้ ติ ไดพ้ กั อยใู่ นความสงบชว่ั คราว
เทา่ นนั้ ในบางครัง้ จติ ไมส่ งบเลย มแี ตค่ ิดฟุ้งไปตามกระแสโลก
อยู่ตลอดเวลา ในบางครั้งก็ท�ำให้จิตมีความสงบได้บ้าง เม่ือจิต
ถอนออกจากสมาธมิ าแลว้ ใจกค็ ดิ ฟงุ้ ไปตามกระแสโลกตามเดมิ

ปญั ญาอบรมใจ ๓

หรอื ก�ำลงั ใจท่เี กดิ ข้นึ จากจิตสงบ กจ็ ะเป็นกำ� ลงั หนุนความคิดที่
เป็นไปตามกระแสโลกรุนแรงมากขึ้น จะไม่มีสติปัญญาระงับ
อารมณข์ องใจไดเ้ ลย เกดิ ความฟงุ้ ซา่ นบา้ ง และฟงุ้ ไปตามสงั ขาร
นานาประการจนลืมตวั แทนทจ่ี ะคดิ พิจารณาไปตามความเปน็
จรงิ ในสจั ธรรม แตก่ ลบั คดิ ฟงุ้ ไปตามสงั ขาร การปรงุ แตง่ ในสมมติ
ทำ� ให้ใจฟ้งุ ไปตามกระแสโลกจนไมม่ ีที่ส้นิ สุดลงได้

ปญั ญาการศึกษาสมาธิ

การทำ� สมาธใิ หจ้ ติ สงบจงึ เปน็ ดาบสองคม ถา้ ทำ� สมาธทิ ม่ี ี
สติปัญญารอบรู้ก็จะเป็นผลดี ถ้าไม่มีสติปัญญารอบรู้เป็นองค์
ประกอบ การท�ำสมาธิก็จะมีแต่ผลเสียฝ่ายเดียว จึงเรียกว่า
มิจฉาสมาธิ มคี วามสงบทผ่ี ิด ตงั้ มัน่ ทีผ่ ดิ ไปตลอด เม่ือทำ� สมาธิ
เปน็ มจิ ฉาผดิ พลาดไป จะไมร่ ตู้ วั เองไดเ้ ลย จะยงั มคี วามเขา้ ใจวา่
เราทำ� ถูกโดยถ่ายเดยี ว การท�ำสมาธใิ ห้จิตสงบจงึ เป็นหลกั สากล
ไมไ่ ดผ้ กู ขาดกบั ศาสนาหนงึ่ ศาสนาใด แมผ้ ไู้ มน่ บั ถอื ศาสนาอะไร
กท็ ำ� สมาธใิ หจ้ ติ สงบได้ เมอ่ื จติ สงบแลว้ กจ็ ะเปน็ มจิ ฉาสมาธเิ ปน็
สว่ นใหญ่

ส่วนสัมมาสมาธิ ความสงบท่ีถูกต้องชอบธรรมน้ี จะมี
เฉพาะผปู้ ฏบิ ตั เิ ปน็ สมั มาทฏิ ฐิ มคี วามเหน็ ชอบเปน็ พนื้ ฐานเทา่ นน้ั

ปญั ญาการศกึ ษาสมาธิ ๕

การทำ� สมาธเิ ปน็ อบุ ายใหจ้ ติ พกั ผอ่ นชว่ั ครชู่ ว่ั คราวเทา่ นน้ั ตามปกติ
จิตจะคิดในเรื่องต่างๆ ไม่มีขอบเขต คิดทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี
แทบไมม่ ีเวลาพกั ผ่อน จงึ กลายเป็นจติ ฟ้งุ ซา่ นบ้าง จิตฟ้งุ ไปตาม
สงั ขารบา้ ง จติ ไมอ่ ยกู่ บั ตวั เอง จะคดิ สง่ ออกขา้ งนอกอยตู่ ลอดเวลา
เวน้ เสยี ในชว่ งทนี่ อนหลบั ไปเทา่ นนั้ เมอ่ื ตนื่ ขน้ึ มาแลว้ กค็ ดิ ตอ่ ไป
ฉะนั้น การทำ� สมาธจิ งึ เปน็ เพียงให้จิตได้พกั ใหม้ กี ำ� ลงั ใจ เพ่ือจะ
ได้ใช้ปัญญาพิจารณาในธรรมตอ่ ไป

ฉะนนั้ การทำ� สมาธจิ งึ เปน็ เพยี งไดก้ ำ� ลงั ใจมาเสรมิ ปญั ญา
ให้เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง มีความเข้าใจในเหตุผลให้
ชดั เจนมากขน้ึ เรยี กวา่ ทำ� สมาธเิ พอ่ื เสรมิ สรา้ งพลงั งานทางใจให้
มกี ำ� ลงั เมอ่ื ใจมพี ลงั จากความสงบทเ่ี กดิ ขน้ึ จากสมาธิ นำ� เอาพลงั ใจ
นไ้ี ปประกอบกบั สตปิ ญั ญา เมอ่ื พจิ ารณาในสงิ่ ใด จะเกดิ ความเขา้ ใจ
ไดอ้ ย่างแจม่ แจง้ ชดั เจน ทเี่ รียกว่า โยนิโสมนสิการ การพิจารณา
ในส่งิ ใด การวจิ ัยวเิ คราะหว์ จิ ารณ์ในสิง่ ใด ก็จะเกิดความเข้าใจ
ได้อย่างถูกต้องแยบคาย จะหายสงสัยในสิ่งท่ีเกิดความลังเลใจ
ไปได้ท้งั หมด

หลกั การใชป้ ญั ญาพจิ ารณานต้ี อ้ งฝกึ มากอ่ น ฝกึ ความคดิ
ฝกึ ปญั ญาตามเวลาปกติ จนเกดิ ความเคยชนิ ในการใชป้ ญั ญา

๖ ปญั ญาอบรมใจ

พจิ ารณาในสจั ธรรมนน้ั ๆ เมอ่ื ปญั ญาเราฝกึ ไวด้ แี ลว้ จงึ ทำ� สมาธิ
เพอื่ ใหเ้ กดิ พลงั แลว้ เอาพลงั ทเ่ี กดิ ขนึ้ จากสมาธไิ ปเสรมิ สตปิ ญั ญา
ทฝ่ี กึ ดแี ลว้ อกี ครงั้ หนง่ึ เปน็ ไปในลกั ษณะปญั ญาหนนุ สมาธิ หรอื
สมาธหิ นนุ ปญั ญา ท้งั สมาธิ ทงั้ ปญั ญา จะหนุนกันไปหนุนกนั มา
ท้ังสองฝ่ายจะเป็นพลังให้แก่กันและกัน จนเกิดศรัทธาพลัง
วิรยิ พลัง สตพิ ลัง สมาธิพลัง และปัญญาพลัง การภาวนาปฏบิ ตั ิ
ก็จะก้าวหนา้ ตอ่ ไปไดด้ ี มแี ตเ่ จรญิ ในการปฏิบตั ยิ ง่ิ ๆ ขึ้นไป ย่งิ มี
สตปิ ญั ญาละเอยี ดมากเทา่ ไร ใจกย็ ง่ิ เกดิ ความรเู้ หน็ ในหลกั สจั ธรรม
ละเอยี ดมากขึ้นเทา่ นน้ั

การท�ำสมาธใิ หจ้ ติ สงบน้นั ทำ� ได้ ในเมื่อจติ สงบมพี ลังแล้ว
ไมม่ หี ลกั สตปิ ญั ญาอยใู่ นตวั ไมเ่ คยฝกึ ปญั ญาพจิ ารณาในสจั ธรรม
มาก่อน ก�ำลังใจท่ีเกิดจากสมาธิจะอยู่ได้ไม่นานก็จะเสื่อมไป
ไมไ่ ด้ประโยชนอ์ ะไร เหมอื นผู้นอนพักผอ่ นหรือหลบั ไป เมอ่ื ต่นื
นอนแลว้ เกิดมกี �ำลงั กายและกำ� ลังใจ กำ� ลังท่มี นี ี้ ถ้าไมม่ งี านทำ�
ก็ไม่ได้ผลงานจากก�ำลังนี้เลย ท่ีเรียกว่ากินแล้วนอน ตื่นนอนก็
ออกมานั่งเล่น จะไม่เกิดผลเกิดประโยชน์ในหน้าท่ีการงานให้
สำ� เรจ็ ไดเ้ ลย นฉี้ นั ใด การทำ� สมาธโิ ดยไมม่ ปี ญั ญาเปน็ องคป์ ระกอบ
ก็จะอยู่เพียงสุขกายสุขใจไปชั่วระยะหน่ึงแล้วก็เส่ือมไปเท่านั้น

ปัญญาการศกึ ษาสมาธิ ๗

ปญั หาต่างๆ ท่ีจะตอ้ งช�ำระแกไ้ ขกจ็ ะตกคา้ งอยภู่ ายในใจตอ่ ไป
ฉะนน้ั การทำ� สมาธใิ หจ้ ติ มคี วามสงบเพยี งใหเ้ กดิ ความสขุ ทางใจ
และใหเ้ กิดกำ� ลังใจเท่าน้ัน จะเอาไปละกเิ ลสความเห็นผิดทางใจ
ไมไ่ ดเ้ ลย อยา่ งมากกเ็ ปน็ เพยี งขม่ กเิ ลสตณั หาไมใ่ หเ้ กดิ ความรนุ แรง
ในขณะทจ่ี ติ มคี วามสงบอยู่ เมอ่ื จติ ถอนออกจากสมาธแิ ลว้ กำ� ลงั ใจ
ทเี่ กิดจากสมาธิก็จะไปเสรมิ กิเลสตัณหา และเสริมมิจฉาทิฏฐใิ ห้
เกิดความลมุ่ หลงและเกดิ ความเห็นผิดต่อไป

ลกั ษณะสมาธิ ๒ ประเภท

การท�ำสมาธิมีลกั ษณะ ๒ อย่าง
(๑) สมาธิความตั้งใจม่นั
(๒) สมาธคิ วามสงบ
สมาธิ ๒ อยา่ งนมี้ ีลกั ษณะแตกตา่ งกัน ดงั จะไดอ้ ธิบายให้
เกดิ ความเขา้ ใจดงั นี้ คำ� วา่ สมาธคิ วามตงั้ ใจมน่ั จะนกึ คำ� บรกิ รรม
อะไรก็ได้ ขอใหม้ ีความถนัดใจ จะนึกว่า เวลาสดู ลมหายใจเข้า
นึกว่า พุท ในขณะปล่อยลมหายใจออกนึกว่า โธ อย่างน้ีก็ได้
หรอื สดู ลมหายใจเขา้ นกึ วา่ พองหนอ เวลาหายใจออกนกึ วา่ ยบุ หนอ
อยา่ งนก้ี ไ็ ด้ หรอื นกึ คำ� บรกิ รรมวา่ สมั มาอรหงั อยา่ งนกี้ ไ็ ด้ จะไม่
นึกค�ำบริกรรมอะไร เพียงสูดลมหายใจเข้า ก็มีสติระลึกรู้อยู่ว่า
เราสดู ลมหายใจเขา้ ในขณะปลอ่ ยลมหายใจออก กใ็ หม้ สี ตริ ะลกึ

ลักษณะสมาธิ ๒ ประเภท ๙

รู้อยู่ว่าลมหายใจออก ลมหายใจเข้าหยาบ ก็ให้มีสติระลึกรู้
ลมหายใจออกหยาบกใ็ ห้มีสตริ ะลึกรู้ ลมหายใจเข้าละเอยี ดกใ็ ห้
มสี ตริ ะลกึ รอู้ ยวู่ า่ ลมหายใจเขา้ ละเอยี ด ลมหายใจออกละเอยี ดก็
ใหม้ สี ตริ ะลกึ รอู้ ยวู่ า่ ลมหายใจออกละเอยี ด ทำ� ใจใหม้ คี วามแผว่ เบา
อย่าบังคบั ลมหายใจตวั เอง ให้หายใจเขา้ หายใจออกตามปกติ

อยา่ ใหเ้ กดิ ความอยากอะไรขนึ้ ทใี่ จ เชน่ อยากใหล้ มหายใจ
เป็นอย่างน้ันเป็นอย่างน้ี หรือไม่ให้มีความอยากอย่างอ่ืน เช่น
อยากให้จิตมีความสงบ หรืออยากให้เห็นรูปภาพเป็นอย่างน้ัน
อย่างนี้ อยากเห็นนรก อยากเหน็ สวรรค์ อยากให้ปัญญาเกดิ ข้นึ
อยากรอู้ ยากเหน็ แหง่ ความสน้ิ ทกุ ข์ อยากรอู้ ยากเหน็ แหง่ มรรคผล
นพิ พาน ถา้ หากใหค้ วามอยากดงั ทไ่ี ดอ้ ธบิ ายมานเ้ี กดิ ขน้ึ ผนู้ นั้ จะถกู
กเิ ลสสงั ขารหลอกใจไดท้ นั ที ผนู้ นั้ กจ็ ะเกดิ ความหลงไปตามสงั ขาร
น้นั ๆ จนลมื ตัว แล้วจะเกิดความเหน็ ผิดและเกิดความเขา้ ใจผิด
ต่อไป จะเกิดความเข้าใจไปว่า เราภาวนาดีอย่างน้ัน ภาวนาดี
อยา่ งนไ้ี ป เกดิ เปน็ มจิ ฉาสมาธิ มคี วามเหน็ ผดิ เขา้ ใจวา่ มคี วามเหน็ ถกู
ต่อไปจึงยากทีจ่ ะแก้ไขหรือแกไ้ ขไมไ่ ด้เลย

สมาธิความตั้งใจมั่นนี้จะมีสติระลึกได้ในค�ำบริกรรมอยู่
ตลอดเวลา กริ ยิ าความรสู้ กึ ตวั ในขณะนนั้ กร็ ตู้ วั วา่ เราอยใู่ นปจั จบุ นั

๑๐ ปญั ญาอบรมใจ

ได้อย่างแน่วแน่ อาการของจติ ท่ีตั้งมั่นนี้ บางคนก็ตง้ั มั่นไดน้ าน
บางคนต้ังม่ันไม่นานเลย น้ีก็เป็นไปตามนิสัยของแต่ละคนไม่
เหมือนกัน ถ้าผมู้ นี ิสยั เป็นเจโตวมิ ุติ ก็มีความตั้งมน่ั ได้นาน และ
จะนอ้ มไปเปน็ สมาธคิ วามสงบไดด้ ว้ ย ถา้ ผมู้ นี สิ ยั เปน็ ปญั ญาวมิ ตุ ิ
ผ้นู น้ั จะท�ำสมาธใิ หเ้ กดิ ความต้งั มั่นได้ไม่นาน ประมาณ ๑๐ กว่า
นาที หรือไม่เกนิ ๓๐ นาที จะมีความรู้สึกขึ้นท่ใี จว่าอยากคิด

ถ้าผู้นั้นเคยได้ฝึกปัญญามาก่อนแล้ว ก็ให้หยุดจากการ
นึกค�ำบริกรรม แล้วน้อมใจใช้ปัญญาพิจารณาให้เป็นไปตาม
หลักความเป็นจรงิ ต่อไป เชน่ ความเป็นจรงิ ในสิง่ ท่เี ป็นอนจิ จงั
ความไมเ่ ทยี่ ง ความเปน็ จรงิ ในทกุ ข์ จะเปน็ ความทกุ ขท์ างกาย
และทกุ ขท์ างใจ เปน็ ในลกั ษณะอยา่ งไรใหใ้ ชป้ ญั ญาพจิ ารณาไป
ตามความจรงิ อยา่ งนนั้ และพิจารณาเหตทุ ีใ่ หเ้ กดิ ความทกุ ข์
ทางกาย และเหตใุ ห้เกดิ ทกุ ข์ทางใจ ให้ร้เู ห็นดว้ ยเหตแุ ละผล
ดว้ ยปญั ญาเฉพาะตัว และท�ำใจใหเ้ กิดความกลัวในทุกขแ์ ละ
กลัวในเหตใุ หเ้ กดิ ทุกขอ์ ย่เู สมอ เมอ่ื เรานอ้ มไปคิดในส่งิ ใด ใจก็
จะค่อยรู้เห็นเป็นไปในสิ่งน้ันๆ ได้อย่างชัดเจนมากข้ึน จนเกิด
ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงในสิง่ นน้ั ๆ ไดอ้ ย่างชัดเจน

รู้เหน็ อตั ตาก่อนอนตั ตา

การนอ้ มใจพจิ ารณาในอนตั ตา เรมิ่ ตน้ กใ็ หร้ วู้ า่ อตั ตาตวั ตน
เปน็ อย่างไร มีสว่ นประกอบดว้ ยธาตสุ ่ี ดิน น้ำ� ลม ไฟ อยา่ งไร
อาการ ๓๒ ท่ีทุกคนเคยอ่านและเคยสวดมนตก์ ันอย่แู ลว้ ให้ใช้
ปญั ญาพิจารณาแยกแยะอาการแต่ละอยา่ งออกมา ให้รู้เห็นใน
ลักษณะอาการนั้นให้ถูกต้อง ธาตุดิน ธาตุน้�ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
เป็นลกั ษณะอย่างไร ก็ทำ� ความเขา้ ใจในสมมติวา่ เป็นลักษณะน้ี
จรงิ ๆ เหมอื นกบั รถ ถา้ รอ้ื ออกมาทง้ั หมดแลว้ คำ� วา่ รถกจ็ ะหมดไป
ทันที ทุกอย่างจะเป็นเพียงช้ินส่วนและอะไหล่ของรถเท่าน้ัน
นี้ฉันใด อัตตาที่เขา้ ใจว่าเป็นตวั เราท้ังหมดน้ี ถา้ พจิ ารณาดว้ ย
ปญั ญาอยบู่ อ่ ยๆ ใจกค็ อ่ ยรเู้ หน็ วา่ ไมม่ อี ตั ตาตวั ตนแตอ่ ยา่ งใด

จงึ ใชป้ ญั ญาฝกึ ใจใหเ้ กดิ ความรเู้ หน็ ตามความเปน็ จรงิ อยู่

๑๒ ปญั ญาอบรมใจ

เสมอ และฝึกใจอยู่เสมอว่า อีกไม่นานนักใจกับร่างกายนี้ก็จะ
แยกทางกนั ไป รา่ งกายจะเนา่ ทบั ถมอยใู่ นพน้ื ดนิ น้ี ใจกจ็ ะไปตาม
บญุ กรรมทไ่ี ดท้ ำ� เอาไวแ้ ลว้ ทง้ั เราทงั้ เขากจ็ ะเปน็ อยา่ งนเ้ี หมอื นกนั
ทกุ คน แมแ้ ตส่ ตั วด์ ริ จั ฉานทกุ ประเภทกจ็ ะเปน็ ในลกั ษณะนเ้ี ชน่ กนั

สมาธคิ วามสงบ ผปู้ ฏบิ ตั ภิ าวนาในยคุ นสี้ มยั นจ้ี ะมคี วามเขา้ ใจ
ในวธิ ที ำ� สมาธคิ วามสงบไดเ้ ปน็ อยา่ งดี เพราะมผี สู้ อนวธิ ที ำ� สมาธิ
ความสงบกนั อยมู่ าก หากมกี ารภาวนาปฏบิ ตั กิ จ็ ะประกาศวา่ ให้
ภาวนากนั ทกุ คนกจ็ ะเขา้ ใจวา่ การภาวนาคอื ทำ� ใจใหม้ คี วามสงบ
จะนึกถึงค�ำบริกรรมท�ำให้จิตเกิดความสงบทันที วิธีท�ำสมาธิ
ความสงบน้ันก็เริ่มต้นเหมือนกันกับวิธีท�ำสมาธิความต้ังใจม่ัน
เหมือนกันกับท่ีได้อธิบายมาแลว้ ถ้าผ้มู ีนิสัยเจโตวมิ ตุ ิ ผ้นู นั้ ก็จะ
ทำ� ให้จิตมคี วามสงบไดเ้ ร็วขนึ้ จิตกจ็ ะด่งิ ลงอัปปนาสมาธิ เขา้ สู่
รูปฌาน อรูปฌาน ได้เปน็ อย่างดี ในช่วงที่จิตมคี วามสงบนี้เอง
บางคนกจ็ ะเกดิ เปน็ นมิ ติ ในลกั ษณะตา่ งๆ กนั ไปตามนสิ ยั ของทา่ น
ผู้น้นั บางทา่ นก็จะไม่เกิดนิมติ แตอ่ ยา่ งใด มีแต่ใจแน่วแนอ่ ยู่ใน
ความสงบนง่ิ เฉยเพง่ อยใู่ นฌานเทา่ นนั้ ในขณะจติ อยใู่ นความสงบนน้ั
อาการของจิตก็จะอย่ใู นอุเบกขาเฉยอยู่ บางคนก็สงบได้ไม่นาน
บางคนก็สงบได้อยนู่ าน

รู้เห็นอตั ตากอ่ นอนัตตา ๑๓

ในขณะจติ มคี วามสงบอยนู่ น้ั เรอื่ งราคะ ตณั หา กเิ ลสนอ้ ยใหญ่
จะไมป่ รากฏทใี่ จแตอ่ ยา่ งใด เมอื่ จติ ถอนออกจากความสงบแลว้
อำ� นาจสมาธแิ ละฌานยงั ไมเ่ สอื่ ม ใจกจ็ ะมคี วามสขุ เบากายเบาใจ
อยตู่ ลอดเวลา ในขณะสมาธฌิ านเสอื่ มลงไป กเิ ลสตณั หานอ้ ยใหญ่
กจ็ ะเกดิ ขน้ึ ทใี่ จตามเดมิ เหมอื นกบั ศลิ าทบั หญา้ เมอ่ื เอาศลิ าออกจาก
ทน่ี น้ั แลว้ หญา้ กจ็ ะเกดิ ในทน่ี น้ั ตามเดมิ นฉี้ นั ใด ใจทม่ี คี วามสงบอยู่
ก็เพียงข่มกิเลสตัณหาไว้ชั่วคราวเท่าน้ัน เม่ือสมาธิเสื่อมจากใจ
เมอ่ื ไร ใจกจ็ ะเกดิ ความรกั ความชอบในกามคณุ เกดิ ราคะตณั หา
เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงตอ่ ไป

สมาธิเพียงข่มกิเลสตณั หา

เมอื่ ใจยงั มคี วามหลงไปตามกระแสโลกอยู่ มคี วามใฝฝ่ นั ใน
กามคณุ อยู่ กำ� ลงั ใจทเ่ี กดิ จากสมาธคิ วามสงบกจ็ ะเปน็ กำ� ลงั หนนุ
กเิ ลส ตัณหา ราคะ ให้เกิดความรนุ แรงมากขนึ้ เพราะกำ� ลังใจที่
เกดิ จากสมาธคิ วามสงบเปน็ เพยี งกำ� ลงั หนนุ เทา่ นนั้ ถา้ ผฝู้ กึ สตปิ ญั ญา
มาดี ก�ำลังของสมาธิก็จะเป็นตัวหนุนสติปัญญาได้เป็นอย่างดี
พิจารณาความจริงในสิ่งใด ก็จะเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
ชดั เจน ถา้ ไมม่ ีสติปัญญาใหห้ นุน กำ� ลังใจทเ่ี กิดจากสมาธิก็จะไป
หนุนกเิ ลสตณั หาน้อยใหญ่ ให้ใจฟงุ้ ไปตามอารมณท์ รี่ ักท่ชี อบใจ
ต่อไป

คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่า การท�ำสมาธิความสงบ
จะท�ำให้เกิดปัญญา ท�ำให้ใจมีความบริสุทธิ์ผ่องใส ท�ำให้ใจละ

สมาธิเพยี งข่มกิเลสตณั หา ๑๕

อาสวกิเลสตัณหา ความเห็นในลักษณะนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มี
ความเหน็ ผดิ โดยไมร่ ตู้ วั ถงึ จะเขา้ ใจวา่ เปน็ ความเหน็ ถกู อยกู่ ต็ าม
กจ็ ะเปน็ ความเหน็ ผดิ ตอ่ ไป ดงั คำ� วา่ “เหน็ ผดิ เปน็ ถกู เหน็ ชวั่ วา่ ดี
เห็นสิ่งไม่เท่ียงว่าเป็นของเท่ียง เห็นส่ิงที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
เหน็ สงิ่ ทเ่ี ปน็ อนตั ตาวา่ เปน็ อตั ตา” จงึ ตรงกนั ขา้ มกบั ความเปน็ จรงิ
อยู่ตลอดเวลา ในความเห็นที่เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่เข้าใจว่ามี
ความเหน็ เปน็ สมั มาทฏิ ฐิ อยา่ งนใี้ ช้ไมไ่ ดเ้ ลย ไมเ่ ปน็ ไปตามหลัก
ค�ำสอนของพระพทุ ธเจ้าแตอ่ ยา่ งใด

ฉะนน้ั การภาวนาปฏบิ ตั จิ งึ เรมิ่ ตน้ จากความเหน็ ตามปกติ
ใจจะมีความเหน็ ผดิ เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เราจงึ ต้องแกค้ วามเห็น
ทเี่ ปน็ มิจฉาทิฏฐิใหห้ มดไปจากใจเสียกอ่ น แล้วจงึ มาเริม่ ต้นใหม่
ให้ใจมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเห็นจริงตาม
ความเปน็ จรงิ ท่ถี ูกต้อง

ในเมอ่ื ใจเรายงั ไม่เปน็ สมั มาทิฏฐคิ วามเหน็ ชอบ เรากอ็ ยา่
พ่ึงภาวนาปฏบิ ตั ิแต่อย่างใด เหมือนการออกรถลงสถู่ นน ถ้าเรา
ไมแ่ นใ่ จในเสน้ ทางทเ่ี ราจะตอ้ งไป กอ็ ยา่ แลน่ รถออกไป ใหศ้ กึ ษา
เสน้ ทางใหด้ ี ดแู ผนทใ่ี หเ้ ขา้ ใจ จนเกดิ ความมน่ั ใจวา่ ถกู ตอ้ งแลว้ จงึ
ออกรถไป จะไมท่ ำ� ใหเ้ สยี เวลา จะถงึ จดุ หมายปลายทางทเี่ ราตอ้ งการ

๑๖ ปญั ญาอบรมใจ

นี้ฉันใด การภาวนาปฏิบัติ ก็ฉันน้ัน เราจงมาแก้ความเห็นผิด
ของใจให้เกิดความเห็นถูก จากนั้นไปก็จะเกิดความเห็นถูก
การภาวนาปฏบิ ตั กิ จ็ ะเปน็ แนวทางทถี่ กู ตอ้ งในการเรมิ่ ตน้ ถกู ใน
ทา่ มกลาง และถูกในท่สี ดุ คอื มรรคผลนพิ พาน

ขณะนม้ี ผี ตู้ งั้ ใจภาวนาปฏบิ ตั กิ นั อยมู่ าก กำ� ลงั แสวงหาครู
อาจารยใ์ หเ้ ปน็ ผชู้ แี้ นะแนวทางการปฏบิ ตั นิ อ้ี ยู่ เหมอื นผหู้ ลงทาง
กำ� ลงั เดนิ ทางอยู่ หรอื ไมแ่ นใ่ จในเสน้ ทางทเี่ รากำ� ลงั เดนิ อยวู่ า่ ผดิ
หรือถูก ก�ำลังต้องการผู้ที่รู้ชี้เส้นทางท่ีถูกต้องให้ ถ้าผิดก็จะได้
แก้ไข ถา้ ถกู กจ็ ะได้เดินทางต่อไปดว้ ยความมนั่ ใจ จะได้รบี ทมุ่ เท
ความพากเพยี รลงไปอย่างเต็มก�ำลัง

ข้อควรระวัง เม่ือเราก�ำลังหลงทาง แต่ได้เพ่ือนที่ก�ำลัง
หลงทางเหมือนกันกับเรา หรือไปถามผู้ท่ีหลงทางเหมือนกัน
กบั เรา กจ็ ะบอกสง่ เดชไปเลยวา่ ถกู แลว้ ๆ ถา้ เปน็ ไปในลกั ษณะนี้
กต็ วั ใครตวั มันกแ็ ลว้ กนั เพราะในยุคนไี้ ม่เหมือนครัง้ พทุ ธกาล

แสวงหาหัวหน้าโค

เหมือนกับฝูงโคก�ำลังแสวงหาหัวหน้าโค ให้พาลอยข้าม
กระแสแห่งมหาสมุทร ถา้ ฝูงโคกลมุ่ ใดไดห้ ัวหนา้ โคตวั ท่ีเคยข้าม
กระแสมาก่อน ก็ถือว่าฝูงโคเหล่านั้นมีความโชคดีไป เพราะ
หวั หนา้ โคเคยไดผ้ า่ นและขา้ มกระแสมาแลว้ ตรงไหนทเ่ี ปน็ โขดหนิ
ตรงไหนทเ่ี ป็นวังวน ตรงไหนท่มี จี ระเข้ ทีไ่ หนทม่ี ีปลาฉลาม ตรง
ไหนทมี่ โี ทษภยั อยา่ งไร หวั หนา้ โคจะรเู้ สน้ ทางในการขา้ มกระแส
น้ีได้เป็นอย่างดี จึงได้พาฝูงโคทั้งหลายข้ามกระแสถึงฝั่งอย่าง
ปลอดภัย ถา้ ฝูงโคไดห้ วั หน้าตัวทไี่ ม่เคยข้ามกระแสมาก่อน ก็ไม่
ทราบว่าหัวหน้าโคจะพาฝูงโคข้ามกระแสในจุดไหน ในขณะที่
พาฝูงโคลอยคอกันอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร อาจเข้าไปในจุด
น�ำ้ วังวน จุดจระเข้ จุดปลาฉลามก�ำลงั ออกหากิน ท้งั หัวหน้าโค

๑๘ ปญั ญาอบรมใจ

และฝงู โคทง้ั หลายจะเอาตวั รอดไดห้ รอื ไม่ หรอื จะมอี ะไรเกดิ ขน้ึ
กับหัวหน้าโคและฝงู โคเหลา่ นั้น

นี้ฉันใด ในยุคน้ีสมัยนี้ หัวหน้าโคหรือครูอาจารย์ที่เรา
ตอ้ งการ จะเลอื กไดด้ ว้ ยวธิ ใี ด จะดอู ยา่ งไรวา่ เปน็ ของแทข้ องปลอม
ไม่เหมือนในคร้ังพุทธกาล ที่มีพระพุทธเจ้าและมีพระอริยเจ้า
ทง้ั หลายอยเู่ ปน็ จำ� นวนมาก การสอนธรรมปฏบิ ตั ขิ องพระอรยิ เจา้
น้นั จะสอนไปในทิศทางเดยี วกนั พทุ ธบรษิ ัทไม่ได้ถกเถียงกันวา่
องค์นัน้ สอนผิด องค์นส้ี อนถูก องคน์ ัน้ สอนทางตรง องคน์ สี้ อน
ทางอ้อม ฟงั ธรรมของพระอรยิ เจา้ รอ้ ยองค์พันองคก์ เ็ หมือนกัน
ท้ังหมด นั้นคือสอนสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นจุดเร่ิมต้น
เป็นหลกั ยนื ตวั เปน็ หลกั ใหญ่ในการปฏบิ ัตธิ รรมทัง้ หลาย

ในยุคนี้สมัยน้ี ถึงจะมีผู้สอนธรรมและการปฏิบัติอยู่
ความถกู ตอ้ งชดั เจนจะเปน็ อยา่ งไรกไ็ มค่ วรวพิ ากษว์ จิ ารณ์ ถา้ หาก
การสอนและการปฏบิ ตั อิ ยใู่ นขนั้ กามาวจรกศุ ล ไมม่ ปี ญั หาอะไร
ทั้งผ้สู อนและผปู้ ฏบิ ตั กิ ็ทำ� หน้าท่ไี ดด้ ีถกู ตอ้ งอยูแ่ ลว้ สว่ นธรรมะ
ทเ่ี ปน็ โยคาวจรกศุ ล ทเ่ี ปน็ แนวทางจะขา้ มพน้ ไปจากวฏั สงสารนน้ั
ดูจะเกิดความสับสนอยู่มากพอสมควร จะเป็นเพราะผู้สอน
ตีความหมายในธรรมะหมวดน้ไี มช่ ัดเจน หรอื ไม่ถกู ต้อง แลว้ นำ�

แสวงหาหัวหน้าโค ๑๙

มาสอนคนอ่ืนใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจผดิ ไปก็อาจเปน็ ได้ หรือผ้ฟู ังไม่
เขา้ ใจในธรรม ตคี วามหมายผิดไปก็อาจเป็นไดเ้ ชน่ กนั

ฉะนน้ั จงึ มปี ญั หาถกเถยี งกนั วา่ สายนนั้ ผดิ สายนถ้ี กู สายนี้
ทางตรง สายนท้ี างออ้ ม เกดิ ขนึ้ ทกุ สายจะตอ้ งประกาศวา่ ถกู ตอ้ ง
ตรงส่มู รรคผลนพิ พานด้วยกัน จงึ ยากที่จะตัดสินว่าสายไหนผิด
สายไหนถกู กันแน่ ถึงจะมีผูร้ ดู้ ีรูช้ อบในแนวทางปฏิบตั ิอยกู่ ต็ าม
ก็ยากท่ีจะท�ำความเข้าใจให้สายต่างๆ กลับมาเข้าใจในทางที่
ถูกต้องได้ ก็เพราะได้แบ่งกันออกไปเป็นกลุ่มเป็นเหล่ากันแล้ว
แนวทางปฏิบัตขิ ั้นโยคาวจรกศุ ลน้ี เปน็ แนวทางปฏบิ ัตริ ะดบั สูง
เปน็ อบุ ายการปฏบิ ตั เิ พอื่ ใหพ้ น้ ไปจากภพทง้ั สาม สำ� หรบั ฆราวาส
แลว้ จึงยากในการปฏิบัตใิ ห้เป็นไปได้

กามาวจรกุศล

เราเป็นฆราวาส หากไม่สามารถจะปฏบิ ัตใิ หถ้ ึงโยคาวจร
กศุ ลไดใ้ นชาตนิ ้ี เรากค็ วรปฏบิ ตั อิ ยใู่ นขน้ั กามาวจรกศุ ล ฝกึ ตนเอง
ให้อยู่ในสังคมส่วนรวมให้มีความสุขใจได้ ถึงจะเป็นโลกียสุข
ก็ยังดีกว่าความทุกข์ใจท่ีเกิดขึ้น ความทุกข์นี้มีเหตุให้เกิดขึ้น
มากมาย ถา้ เราเขา้ ใจในเหตใุ หเ้ กดิ ทกุ ขไ์ ด้ เรากจ็ ะมอี บุ ายหลบหลกี
จากเหตุแห่งทุกขน์ น้ั ไป ไม่ให้เกิดความทุกข์เตม็ ตัว จนกินไม่ได้
นอนไมห่ ลับ จนท�ำอะไรไมไ่ ด้ มีแต่ความเดือดรอ้ นท้งั วนั ท้ังคนื

คำ� วา่ เหตุมีอยู่ ๒ อย่าง
(๑) เหตุที่เกิดจากภายใน
(๒) เหตุท่เี กดิ จากภายนอก
เหตทุ เ่ี กดิ จากภายใน คอื ตวั เองเปน็ คนกอ่ เหตุ สว่ นสภาวเหตุ

กามาวจรกุศล ๒๑

คือเหตุประจ�ำตัว เรียกว่า วิบาก คือภพชาติที่เกิดขึ้นมาแล้ว
ต้องไดร้ ับทกุ ข์ เรยี กวา่ สภาวทุกข์ คอื ทุกขป์ ระจ�ำขนั ธ์ ทที่ ุกคน
ไดร้ บั กนั อยใู่ นปจั จบุ นั ทกุ ขท์ เ่ี ปน็ เจา้ เรอื น ทกุ คนตอ้ งแบกภาระ
หนักเฉพาะตัว ส่วนเหตุภายในท่ีจะไปก่อเหตุให้เกิดข้ึนน้ัน
หมายถงึ ใจ เมอ่ื ใจมคี วามเหน็ แกต่ วั เปน็ ผมู้ อี ตั ตาสงู กจ็ ะกอ่ เหตใุ ห้
เกดิ ขึน้ แก่ตวั เอง เปน็ ผูม้ ีทฏิ ฐิมานะสูง เปน็ ผู้ไมย่ อมแพ้ใคร เป็น
ผไู้ มย่ อมกม้ หวั ใหแ้ กใ่ คร ถงึ ทำ� ไปกเ็ ปน็ เพยี งกริ ยิ าในการกระทำ�
เท่านน้ั

เหตทุ ่ีจะท�ำใหเ้ กิดมานะทิฏฐิมหี ลายทาง เช่น ถอื วา่ เรามี
ฐานะดกี วา่ เขา เรามชี าตติ ระกลู สงู กวา่ เขา เรามคี วามรสู้ งู กวา่ เขา
เรามตี �ำแหน่งทส่ี ูงกวา่ เขา เรามบี ริวารเพอ่ื นฝูงมากกวา่ เขา หรอื
ลาภ ยศ สรรเสรญิ สิง่ เหลา่ นจ้ี ะเป็นบอ่ เกิดแกผ่ ้ทู ล่ี ืมตวั หลงตัว
มมี านะทฏิ ฐไิ ดท้ ง้ั นน้ั เมอื่ มคี วามหลงตวั ลมื ตวั เกดิ ขน้ึ แลว้ จะทำ�
อะไรใหแ้ ก่ใครๆ กจ็ ะท�ำไปตามใจ ไม่มคี วามเกรงขามหวัน่ กลัว
ต่อใคร เพราะถือว่าเราใหญ่พอตัว จะผิดใจไม่พอใจต่อคนใด
คนหน่ึง จะไม่คิดในเร่ืองนี้ มีแต่เอาชนะคนอื่นเรื่อยไป ถึงจะ
ท�ำผิดไปก็ไม่มีความละอายแก่ตัวเอง ไม่มีความละอายแก่ผู้อ่ืน
ไม่ละอายในการท�ำช่ัว ไม่เกรงกลวั ในบาปอกศุ ล แมแ้ ต่การพูด

๒๒ ปญั ญาอบรมใจ

กเ็ ช่นกนั จะพดู ในลักษณะขม่ ๆ ขๆู่ ใหค้ นอน่ื เกรงกลวั แก่ตัวเอง
อยเู่ สมอ จะพดู อยา่ งไรกพ็ ูดไปตามใจอยากจะพูด โดยไมค่ ิดถึง
อกเขาอกเราวา่ เขาจะรบั คำ� พดู เราไดห้ รอื ไม่ เปน็ ผไู้ มร่ บั ความผดิ ใน
คำ� พดู ของตวั เอง ถอื วา่ เราใหญ่ ไมม่ ใี ครจะทำ� จะพดู อะไรแกเ่ ราได้
จะไปท่ไี หนในสังคมอย่างไร จะเขา้ ใจว่าเราใหญ่อยู่ตลอดเวลา

ผู้มีอัตตามานะสูงอย่างน้ี เป็นเผด็จการให้ทุกคนท�ำตาม
ค�ำสั่ง และให้เชื่อฟังค�ำพูดของตนแต่ผู้เดียว ให้เราสังเกตดูก็
แลว้ กัน เราเป็นผปู้ ฏิบัติ ตอ้ งก�ำจดั มานะอัตตาใหห้ มดไปจากใจ
ใหไ้ ด้ พยายามฝกึ นสิ ยั ใหแ้ กต่ วั เอง นน้ั คอื การปฏบิ ตั ธิ รรม ฝกึ ใจ
อบรมใจอยู่บ่อยๆ เมอ่ื ใจไดฝ้ ึกดีแล้ว กิรยิ าการทำ� ทางกายและ
การพดู ทางวาจา กจ็ ะละมานะอตั ตาใหห้ มดไปโดยปรยิ าย จงึ นบั
เปน็ ผูส้ �ำรวมกายวาจาใจแลว้ เป็นอยา่ งดี

สปั ปุริสธรรม ๗

สปั ปรุ สิ ธรรม ๗ ขอ้ น้ี เปน็ อบุ ายในการปฏบิ ตั ไิ ดเ้ ปน็ อยา่ งดี
เสรมิ สตปิ ญั ญาใหฉ้ ลาดรอบรใู้ นหมวดธรรมตา่ งๆ ไดด้ ี ตคี วามหมาย
ในหมวดธรรมนนั้ ๆ ใหถ้ กู ตอ้ ง รอบรคู้ วามหมายในหมวดธรรมนนั้
ได้ชัดเจน แล้วฝึกกายวาจาใจให้เป็นไปในหมวดธรรมน้ันๆ
กลมกลนื กนั ไป มใิ ชว่ า่ ธรรมทรี่ เู้ ปน็ อยา่ งหนงึ่ ความประพฤตทิ าง
กายวาจาใจเปน็ ไปอกี อยา่ งหนงึ่ ถา้ เปน็ ในลกั ษณะนี้ ไมน่ บั วา่ ผนู้ น้ั
ปฏบิ ตั ธิ รรมแต่อย่างใด เพราะการศกึ ษารธู้ รรมในต�ำรา ใครๆ ก็
ศกึ ษารไู้ ด้ ถา้ ไมฝ่ กึ กายวาจาใจใหเ้ ปน็ ไปในหมวดธรรม ความรทู้ ี่
ไดศ้ กึ ษามาก็ไมม่ ปี ระโยชนอ์ ะไร

เหมอื นกับรู้เร่อื งของอาหารดี อาหารอย่างน้ันก็รู้ อาหาร
อย่างน้ีก็รู้ แต่ไม่ได้รับประทานอาหารน้ันเลย หรือเหมือนกับ

๒๔ ปัญญาอบรมใจ

ทัพพีที่ตักอาหาร ก็จะไม่รู้รสชาติของอาหารนั้นเลย น้ีฉันใด
การศกึ ษารใู้ นหมวดธรรมต่างๆ มาดีแลว้ กต็ าม ถ้าไมป่ ฏบิ ตั กิ าย
วาจาใจใหเ้ ปน็ ไปในธรรมทไ่ี ดศ้ กึ ษามา รสชาตขิ องธรรมเปน็ อยา่ งไร
ความอ่ิมเอิบ ความปีตใิ นธรรม ก็จะไมไ่ ด้สัมผสั แต่อยา่ งใด หรือ
เหมือนกบั มดแดงทเ่ี กาะอยู่กับผลมะมว่ งสกุ ที่มโี อชารส ก็จะไม่
รบั รู้รสของมะมว่ งน้ันเลย การรธู้ รรมในตำ� รา ถ้าไม่นำ� มาปฏิบตั ิ
ฝึกตัวเองใหเ้ ปน็ ไปในธรรม กจ็ ะเป็นผ้ถู ือใบลานเปลา่ ตลอดไป

ฉะนนั้ สปั ปรุ สิ ธรรมนี้ จงึ มคี วามสำ� คญั เปน็ อยา่ งยง่ิ ถา้ ผมู้ ี
สตปิ ญั ญาทรี่ อบรู้ กส็ ามารถนำ� เอาหมวดธรรมนมี้ าปฏบิ ตั ไิ ดเ้ ปน็
อยา่ งดี จะมคี วามรสู้ กึ วา่ ธรรมนมี้ คี ณุ มหาศาลเฉพาะผปู้ ฏบิ ตั เิ อง
ถงึ จะไมป่ ระกาศใหใ้ ครๆ ไดร้ วู้ า่ เราปฏบิ ตั ธิ รรมอยกู่ ต็ าม แตต่ วั เรา
ก็รวู้ ่าเราปฏิบตั ิธรรมอยู่ ใครจะรหู้ รือไมร่ ู้ ไมถ่ อื ว่าเปน็ สง่ิ สำ� คญั
เพราะเราไมไ่ ดป้ ฏบิ ตั เิ พอื่ อวดตวั ไมต่ อ้ งการความยกยอ่ งสรรเสรญิ
จากใครๆ ทง้ั นนั้ เราจะปฏบิ ตั เิ พอื่ จำ� กดั ความชว่ั รา้ ยทไ่ี มด่ งี ามออก
จากกายวาจาใจของตวั เราเอง และฝกึ ใจใหเ้ ปน็ ไปในสมั มาปฏบิ ตั ิ
ที่ถูกต้องในธรรมเท่าน้ัน จะได้อธิบายในเรื่องสัปปุริสธรรม ๗
ดังต่อไปนี้

ธมั มญั ญุตา

ธมั มญั ญตุ า ความเปน็ ผรู้ จู้ กั เหตุ ผจู้ ะรจู้ กั เหตไุ ด้ ผนู้ น้ั ตอ้ ง
มสี ติปญั ญาที่ดี มีความฉลาดรอบรู้ในเหตุวา่ การทำ� อยา่ งน้ีเปน็
เหตดุ หี รอื ไมด่ ี จะมผี ลเกดิ ขนึ้ จากกระทำ� นอ้ี ยา่ งไร ถา้ พจิ ารณาเหน็
วา่ เปน็ ผลทอ่ี อกมาไมด่ ี ทำ� ใหต้ วั เองและคนอนื่ สตั วอ์ นื่ มคี วามทกุ ข์
เดอื ดร้อนเกิดขน้ึ ได้ ก็ให้หยุดกระท�ำในเหตุนัน้ เสีย ถ้าเหตใุ ด
ได้พจิ ารณาด้วยปญั ญาดแี ล้ววา่ การท�ำอย่างนจ้ี ะได้รับผลท่ี
ดี มคี วามสขุ ความเจรญิ เปน็ ไปในประโยชนต์ นและประโยชน์
สว่ นรวมใหด้ ขี น้ึ จงพยายามทำ� ในเหตนุ ใี้ หม้ ากและทำ� ใหเ้ ตม็ ที่
เพราะเป็นประโยชนส์ ขุ แก่ตวั เองและผ้อู ื่น ไมต่ อ้ งไปวิตกกงั วล
กับสิ่งใด เพราะได้วิเคราะห์วิจยั ด้วยสติปัญญาอย่างถูกต้องแลว้

การท�ำดีจะมีความถกู ต้องเปน็ ธรรมอยู่นั้น ชอบมีมารมา

๒๖ ปัญญาอบรมใจ

ผจญอยเู่ สมอ เพราะคนพาลทมี่ สี ตปิ ญั ญาทรามจะคอยขดั ขวาง
อยตู่ ลอดเวลา หาวา่ เราอวดดอี วดเดน่ เพอ่ื แขง่ ขนั กบั คนนนั้ คนน้ี
หาวา่ เราทำ� ขา้ มหนา้ ขา้ มตา แซงหนา้ แซงหลงั สารพดั ทเี่ ขาจะนำ�
มาโจมตีเพ่ือให้เราหมดก�ำลังใจ ฉะนั้น เราไม่ต้องท้อถอยและ
ทอ้ ใจในการทำ� ของเรา จงเอาความถกู ตอ้ งเปน็ ธรรมในการกระทำ�
ต่อไป ใครจะว่าขัดผลประโยชนใ์ นลาภ ยศ สรรเสรญิ ไม่ส�ำคญั
จงต้ังมั่นในเหตุที่ถูกต้องที่เราได้พิจารณาแล้วด้วยสติปัญญา
ใครจะวา่ ผิด อยา่ ไปสนใจในคนกลุ่มน้ันเลย

เหตุในการพดู นี้กเ็ ชน่ กัน ให้เราพจิ ารณาเรอื่ งทเี่ ราจะพดู
กับคนใดและสังคมใด เราต้องใช้สติปัญญากลั่นกรองในค�ำพูด
ของเราให้ดี มิใช่ว่าพูดในส่ิงที่อยากจะพูดตามใจตัวเอง เพราะ
การพูดเป็นเหตุให้เกิดเป็นผลตอบสนอง ถ้าพูดดีจะเป็นเหตุให้
เกดิ ผลตอบรบั ในทางทด่ี ี ถา้ พดู ชว่ั กเ็ ปน็ ผลชว่ั เกดิ ตามมาเชน่ กนั
ฉะนน้ั การพูดจึงเป็นเหตุใหค้ นรกั กนั สงสารกนั และเป็นเหตุให้
เกดิ ความสามคั คกี นั ได้ ดงั คำ� โบราณวา่ “พดู ไปสองไพเบยี้ นง่ิ เสยี
ตำ� ลงึ ทอง” นห้ี มายความวา่ ใหใ้ ชส้ ตปิ ญั ญาพจิ ารณาในคำ� พดู
ของตวั เองวา่ การพดู อยา่ งนที้ ำ� ใหค้ นอนื่ มคี วามเดอื ดรอ้ นไมพ่ อใจ
กบั คำ� พดู ของเราหรอื ไม่ หรอื พจิ ารณาวา่ ถา้ คนอนื่ พดู ใหเ้ ราอยา่ งน้ี

ธมั มัญญุตา ๒๗

เรามีความพอใจหรือไม่ ถ้าไม่พอใจในค�ำพูดของเขาอย่างนี้
ทหี ลงั เรากอ็ ยา่ พดู ในลกั ษณะนกี้ บั คนอน่ื ตอ่ ไป เพราะคำ� พดู ที่
ไมด่ นี ี้ ทงั้ เขาและเราไมช่ อบดว้ ยกนั ทงั้ นนั้ หรอื แมแ้ ตส่ ตั วด์ ริ จั ฉาน
เขากไ็ ม่ชอบคำ� พดู ท่ไี ม่ดเี ชน่ กนั

ฉะนนั้ เราเปน็ มนษุ ยท์ ไ่ี ดน้ ามวา่ เปน็ ผมู้ จี ติ ใจสงู เปน็ สตั วท์ ี่
มสี ตปิ ญั ญาเหนอื กวา่ สตั วด์ ริ จั ฉานทงั้ หลาย ในการพดู กต็ อ้ งรจู้ กั
เหตพุ ดู ใหถ้ กู วา่ กาลไหนควรพดู อยา่ งไร เรอื่ งอะไร หรอื กาลไหน
ที่ไม่ควรพูด เราต้องใช้สติปัญญาพิจารณาในกาลน้ันๆ มิใช่พูด
จำ� เจ วกวนจนคนอน่ื เกดิ ความสบั สน ฟงั แลว้ ไมเ่ ขา้ ใจ ทำ� ใหค้ นอน่ื
เกดิ ความรำ� คาญ และอยา่ ใชค้ ำ� พดู เปน็ หอกเปน็ ดาบ เขา้ หำ�้ หน่ั ดว้ ย
ทฏิ ฐมิ านะ อยา่ พดู ดว้ ยอตั ตาเพอ่ื ขม่ ขผู่ อู้ นื่ วา่ เขาดอ้ ยกวา่ เรา
ใช้ค�ำพูดท่ีให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อ่ืน โดยขาดสติความส�ำนึก
ว่าทุกคนมีความเปน็ มนุษยท์ ่ีสมบรู ณแ์ บบเหมือนกัน

แต่คุณค่าของมนุษย์ก็อยู่ในความประพฤติที่แตกต่างกัน
กบั พวกสตั วด์ ริ ัจฉาน พวกสตั ว์เอาชนะกนั ด้วยอัตตา ตัวไหนมี
กำ� ลงั ดี มเี ขย้ี วเลบ็ เขากช็ นะไป แตม่ นษุ ยเ์ ราไมค่ วรจะเลยี นแบบ
เอาเยยี่ งอยา่ งของหมสู่ ตั วด์ ริ จั ฉาน ตอ้ งพดู กนั ดว้ ยเหตผุ ล เอาชนะ
กนั ดว้ ยความดี จงึ จะสมศักดิศ์ รีวา่ เป็นมนษุ ยใ์ จสูงด้วยคณุ ธรรม

๒๘ ปัญญาอบรมใจ

จงึ สมกบั วา่ เปน็ ผปู้ ฏบิ ตั ธิ รรม ใชค้ ำ� พดู ประสานนำ�้ ใจผอู้ น่ื ใหเ้ กดิ
ความรกั และความสงสารกนั และอยกู่ นั ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ ตลอดไป
จนชัว่ อายุจะส้นิ สลาย

เหตุท่สี �ำคัญยิ่งอีกอย่างหน่งึ นนั้ คือความเห็น ความเหน็ นี้
มีความละเอียดอ่อนมาก จึงเป็นของยากแก่ผู้มีสติปัญญาน้อย
จะรู้เห็นและเข้าใจได้ ถ้าผู้มีสติปัญญาท่ีดี มีความฉลาดรอบรู้
ก็จะไม่เหลือวิสัยแต่อยา่ งใด จะมีความเข้าใจในเหตนุ ี้ง่ายไปเสีย
ทั้งหมด และรู้จักวิธีที่จะแก้ไขในเหตุท่ีไม่ดีให้เป็นดีได้ เพราะ
เหตนุ ม้ี อี ยู่ ๒ อยา่ ง คอื เหตดุ ี และเหตไุ มด่ ี ใชส้ ตปิ ญั ญาพจิ ารณา
ในเหตุทั้งสองอย่างให้เข้าใจว่า เหตุท่ีดีเป็นอย่างไร และเหตุท่ี
ไมด่ เี ปน็ อยา่ งไร ใหพ้ จิ ารณาทบทวนดดู ว้ ยสตปิ ญั ญาอยา่ งละเอยี ด
ก็จะเข้าใจรเู้ หน็ เหตทุ ง้ั สองนี้มีความแตกตา่ งกนั เป็นอยา่ งมาก

เหตทุ ไี่ มด่ นี นั้ คอื ความเหน็ ทเ่ี ปน็ มจิ ฉาทฏิ ฐิ ความเหน็ ผดิ
และเขา้ ใจผดิ ในหลกั ความเปน็ จรงิ เชน่ อนจิ จงั ความไมเ่ ทย่ี ง
ในส่ิงใด เราก็จะฝืนธรรมชาติว่าจะให้สิ่งน้ันเท่ียงตลอดไป
ไม่อยากให้ส่ิงนั้นมีการเปล่ียนแปลงไปในทางที่ไม่ชอบใจ
อยากใหส้ งิ่ นน้ั คงอยเู่ ปน็ คกู่ บั ความตอ้ งการของเรา เมอื่ สงิ่ นน้ั
ไม่เป็นไปตามท่ีเราต้องการ ก็จะเกิดความไม่สบายใจทุกข์ใจ

ธัมมัญญตุ า ๒๙

น้ีก็เพราะความเห็นเป็นต้นเหตุ จึงมีความทุกข์ใจเกิดข้ึน จึง
กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดไปโดยไม่รู้ตัว ถ้ามีสติปัญญา
พจิ ารณาใหร้ เู้ หน็ ตามความเปน็ จรงิ อยู่ ความทกุ ขใ์ จกจ็ ะไมเ่ กดิ ขน้ึ
แตอ่ ย่างใด

ความเห็นท่ีเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่ง
นั้นคือความทุกข์ ความทุกข์น้ีไม่มีใครต้องการ แต่ก็หนีไม่พ้น
เพราะเป็นธรรมชาติความจริง จะมอี ยู่กับมนษุ ย์ทุกคน ใครเกิด
มาจะต้องเจอทุกข์ด้วยกันทั้งน้ัน จึงเป็นความทุกข์แบบลูกโซ่
เช่ือมโยงต่อกันมาโดยเป็นธรรมชาติเอง ใครมาเกิดต้องได้รับ
มรดกแห่งความทุกข์ถา่ ยทอดกนั มาด้วยกัน เราคนหน่ึงทไี่ ด้รบั
มรดกตกทอดมาเหมอื นคนอ่ืนท่ัวไป ถ้าไมพ่ จิ ารณาใหเ้ ขา้ ใจใน
เหตุผลแล้ว จะเกิดความหลงผิดได้ น้ันคือไม่อยากมีทุกข์โดย
ประการทั้งปวง อยากให้มีแต่ความสุข สบายกายสบายใจอยู่
ตลอดเวลา เพราะความทุกข์เป็นผลมาจากเหตุคือความเกิด
ความเกดิ เปน็ ผลมาจากเหตคุ อื ตณั หาความอยาก ความเหน็ ผดิ
ในตณั หานเี้ องเปน็ ตน้ เหตุ จงึ ทำ� ใหเ้ ราไดม้ าเกดิ รบั ทกุ ขใ์ นชาติ
ปจั จบุ ัน

ฉะนั้น ความเห็นผิดนี้เองจึงได้ยึดเอาภพมาเป็นท่ีเกิด

๓๐ ปญั ญาอบรมใจ

จะเป็นมนุษยใ์ นชาตไิ หนภาษาใดไม่สำ� คัญ ถือว่าผูน้ นั้ มีเหตุแห่ง
ความหลงผดิ ดว้ ยกนั มคี วามเหน็ ผดิ วา่ โลกมนษุ ยน์ นี้ า่ อยอู่ าศยั
ดสู ว่ นไหนของโลกนม้ี แี ตค่ วามเจรญิ เพลดิ เพลนิ ใจอยตู่ ลอดเวลา
เม่ือมาพิจารณาด้วยสติปัญญาให้เป็นไปตามความเป็นจริงแล้ว
ความเหน็ อยา่ งนเ้ี ป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดโดยไมร่ ู้ตัว เม่ือไร
หนอจะมีสตปิ ญั ญาพจิ ารณาใหร้ ูเ้ หน็ ตามความเป็นจริงได้ ใหใ้ จ
มคี วามเห็นเปน็ สมั มาทฏิ ฐิ มีความเห็นทีถ่ กู ต้องชอบธรรมอย่าง
แทจ้ ริง

ความเหน็ ทเี่ ปน็ สมั มาทฏิ ฐคิ วามเหน็ ชอบนกี้ ไ็ มเ่ หลอื วสิ ยั
ขอ้ สำ� คญั ขอใหฝ้ กึ สตปิ ญั ญาใหด้ ี มคี วามฉลาดรอบรใู้ นเหตแุ ละผล
จงึ จะเลอื กเอาความถกู ตอ้ งชอบธรรมได้ เรยี กวา่ ปรบั ความเขา้ ใจ
ในความเหน็ เสยี ใหม่ ใหเ้ ขา้ ใจในเหตทุ เ่ี กดิ ทกุ ข์ และรเู้ หน็ ในผล
ทเี่ ปน็ ทกุ ขข์ องภพชาตใิ หถ้ กู ตอ้ ง วา่ ทกุ ขท์ เี่ ปน็ สภาพประจำ� ขนั ธ์
มีอยเู่ ปน็ อยู่อยา่ งนี้ จะไปเกดิ ในชาตหิ น้ากจ็ ะเกดิ ในก้อนทุกข์
น้เี ช่นกัน

ฉะนนั้ จงึ ฝกึ ใจทำ� ใจใหร้ เู้ ทา่ ความจรงิ ของทกุ ขน์ ไ้ี วเ้ ทา่ นน้ั
หรือทุกข์เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดก็ตาม ถือว่าเกิด
จากความเขา้ ใจผดิ ความเหน็ ผดิ ในตวั เราเอง จะไปโทษสงิ่ นน้ั

ธมั มัญญุตา ๓๑

สง่ิ น้วี า่ ท�ำใหเ้ ราเปน็ ทกุ ขไ์ มไ่ ด้เลย หรือไปโทษดนิ ฟา้ อากาศว่า
เย็นจัดร้อนจัดก็ไม่ถูกเช่นกัน เพราะธรรมชาติเขาเป็นอย่างน้ัน
กต็ อ้ งอดทนอยกู่ นั ไป หรอื ทกุ ขเ์ กดิ จากความผดิ หวงั นานาประการ
เพราะความอยากเปน็ ตน้ เหตุ อยากใหส้ ง่ิ นนั้ เปน็ อยา่ งนี้ อยากให้
สิ่งนี้เป็นอย่างน้ัน เมื่อไม่เป็นไปตามความอยากของตัวเองก็
เปน็ ทกุ ข์ เมอ่ื มาเขา้ ใจตามความเปน็ จรงิ ในเหตแุ ละปจั จยั ของ
ทกุ ขด์ ้วยสตปิ ญั ญาเมอื่ ไร เมื่อนัน้ กจ็ ะเกิดความสบายภายใน
ใจของเราเอง

อัตถัญญุตา

อัตถญั ญุตา ความเป็นผ้รู จู้ ักผล คำ� วา่ ผล หมายถงึ สิ่งท่ี
เกดิ มาจากเหตุ ถา้ ได้รบั ผลดี ก็คือเหตไุ ด้ท�ำมาดี ถา้ ได้รบั ผลท่ี
ไมด่ ี กแ็ สดงวา่ เราทำ� เหตไุ วไ้ มด่ ี คำ� วา่ เหตุ หมายถงึ สง่ิ ทที่ ำ� ผา่ นไป
แล้วในอดตี คำ� ว่าผล หมายถึงการได้รบั ในปจั จุบนั หลายคน
ยงั ไม่ยอมรับในกฎแหง่ ความเปน็ จรงิ ไม่ยอมรบั ในสิ่งทไี่ ม่ดที ่ที �ำ
ไปแลว้ พยายามฝนื ความจรงิ อยตู่ ลอดเวลา ตวั เองทำ� อะไรมาใน
สงิ่ ทไ่ี มด่ ี จะไมย่ อมรบั ผดิ ในสว่ นนนั้ แตจ่ ะขอรบั ผลทชี่ อบใจตาม
ความต้องการของตวั เอง น้ีเรียกวา่ ผู้มีความพยายามจะเอาชนะ
ความจริง อนั เป็นสิ่งท่ีเอาชนะไมไ่ ด้ แตก่ ็จะชนะให้ได้ ถา้ เปน็ ใน
ลักษณะน้ี ผลแห่งความทกุ ขจ์ ะเพิ่มขึน้ ปริมาณเท่าตัว

ฉะนนั้ คนเราชอบในผลทด่ี ี ผลทไี่ มด่ ไี มม่ ใี ครชอบ การสรา้ ง

อัตถัญญตุ า ๓๓

เหตุชอบท�ำในส่ิงท่ีไม่ดี เหตุท่ีดีไม่ชอบท�ำเอาไว้ เมื่อผลท่ีไม่ดี
เกดิ ขนึ้ กโ็ วยวายไปวา่ ไมน่ า่ เปน็ อยา่ งน้ี และบน่ ตอ่ ไปวา่ ในชาตนิ ี้
ไมไ่ ดท้ ำ� ความชว่ั อะไร ทำ� ไมจงึ ไดเ้ กดิ ความชวั่ รา้ ยขน้ึ กบั เราอยา่ งน้ี
จรงิ อยใู่ นชาตนิ ไี้ มไ่ ดท้ ำ� กรรมชว่ั ในชาตกิ อ่ นเราเคยไดท้ ำ� กรรมชวั่
ไวแ้ ลว้ มิใชห่ รอื ถึงจะไม่ยอมรบั ความจรงิ ทเี่ ป็นมาในอดีตกต็ าม
ความจรงิ กจ็ ะใหผ้ ลทเ่ี ปน็ จรงิ ตลอดไป ไมว่ า่ ผนู้ น้ั จะนบั ถอื ศาสนา
อะไร หรือไม่นับถือศาสนาอะไรก็ตาม ส่วนการสร้างกรรมท�ำ
ในเหตุดีเหตุชั่ว จะท�ำเหมือนกัน และจะได้รับผลดีผลชั่วใน
การกระทำ� ของตวั เองด้วยกันทง้ั น้ัน

ฉะนน้ั อตั ถญั ญุตา ความเปน็ ผรู้ ู้จกั ผลทีเ่ กดิ จากเหตุ ร้จู กั
เหตดุ ผี ลดี รจู้ กั เหตชุ ว่ั ผลชวั่ ผมู้ ธี รรมอยใู่ นตวั จะเลอื กทำ� แตเ่ หตุ
ทด่ี เี ปน็ นสิ ยั ไมว่ า่ จะอยทู่ ไ่ี หนสงั คมใด เมอื่ ใจมธี รรม จะสรา้ งแต่
เหตดุ ตี ลอดไป เพราะมคี วามมนั่ ใจอยวู่ า่ ผลทดี่ จี ะเกดิ ขนึ้ แนน่ อน
ถ้ามคี วามเขา้ ใจอย่างนี้ ชอ่ื ว่าผู้นัน้ มีสติปัญญาทีด่ ี มเี หตุผล เป็น
ทพ่ี ง่ึ ของตนเองได้ จงึ เรยี กวา่ “ตนแลเปน็ ทพี่ ง่ึ แหง่ ตน” สามารถ
มองผลท่เี กิดมาจากเหตุ และมองเหตุทีจ่ ะออกไปเปน็ ผลทีจ่ ะ
เกดิ ตามมา จะเรยี กวา่ ผนู้ น้ั มสี ตปิ ญั ญาความฉลาดรอบรอู้ ยใู่ นตวั
การตัดสินใจในการท�ำสิ่งใดจะไม่ผิดพลาด เพราะใช้ปัญญา

๓๔ ปญั ญาอบรมใจ

พจิ ารณาดแี ลว้ แมแ้ ตก่ ารพดู กม็ สี ตปิ ญั ญารอบรวู้ า่ ถา้ พดู อยา่ งน้ี
จะมผี ลอยา่ งไร ความเข้าใจในเหตผุ ลอย่างนแี้ ล จงึ นบั ว่าผนู้ นั้ มี
สตปิ ัญญา

หมวดธรรม ๒ หมวดน้ีมีความหมายเชื่อมโยงต่อกันได้
เป็นอยา่ งดี ธมั มญั ญตุ า หมายถงึ รู้จกั เหตุ อตั ถญั ญตุ า หมายถงึ
รู้จักผล เหตุและผลท้ังสองอย่างนี้จะเป็นองค์ประกอบใน
การปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าปฏิบัติธรรมขั้นโลกีย์และ
ปฏบิ ตั ธิ รรมขนั้ โลกตุ ระ จะมหี ลกั เหตผุ ลทงั้ สองนเ้ี ปน็ การวนิ จิ ฉยั
ในการตัดสินใจได้ การปฏิบัติผิดถูกอย่างไร ก็ต้องใช้เหตุผลมา
เปน็ คกู่ ับปญั ญา เพื่อการพิจารณาในการตัดสินทุกครัง้ ไป

อตั ตญั ญุตา

อัตตัญญุตา เป็นผ้รู ู้จกั ตน ค�ำวา่ ตน กห็ มายถึงตวั เรา คือ
ธาตุส่ีขันธ์ห้าน้ีเอง ให้เป็นผู้รู้จักความประพฤติของตัวเราเอง
ทุกคนต้องมีกิริยามารยาทในการแสดงออก การแสดงออกน้ัน
มอี ยู่ ๓ ทางดว้ ยกนั

(๑) การแสดงออกทางกาย
(๒) การแสดงออกทางวาจา
(๓) การแสดงออกทางใจ
ส่วนการแสดงออกทางใจจะรไู้ ด้เฉพาะตวั โดยจะอธิบาย
ทีหลัง ขณะน้ีจะอธิบายในการแสดงออกทางกายและวาจาที่วา่
เปน็ ตวั ตนใหเ้ ข้าใจ เพราะกายวาจาเป็นสอ่ื ของสังคมโลก จะใช้
สื่อทางกายวาจาต่อกัน ในโลกน้ีเราจะอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องมี

๓๖ ปัญญาอบรมใจ

ความเกี่ยวขอ้ งอยู่ในสงั คมนอี้ ยทู่ ว่ั ไป ทกุ คนในสังคมนี้ต้องการ
ความสุขสบายด้วยกัน ถ้าทุกคนรู้จักตน ในสังคมจะมีแต่สุขใจ
รื่นเริงอยู่ตลอดเวลา เพราะทุกคนมีความต้องการเหมือนกัน
นั่นคือไม่ต้องการให้คนอ่ืนมาพูดให้เราเกิดความไม่สบายใจ
ถ้าเข้าใจได้อย่างน้ี เราก็ต้องรู้ตัวเองว่าไม่ควรท�ำ ไม่ควรพูดให้
คนอนื่ มคี วามเดอื ดร้อนเป็นทุกขจ์ ากตัวเราเช่นกนั ฉะนัน้ การรู้
ตัวเองจงึ เป็นสิ่งส�ำคัญในสงั คมน้ี เพราะการท�ำการพดู ใหแ้ ก่
คนอนื่ ไมด่ อี ยา่ งไร เรารจู้ กั ตวั เองวา่ เมอ่ื คนอน่ื ทำ� กบั เราทไ่ี มด่ ี
พูดไม่ดีให้แก่เรา จะเกิดความรู้สึกเป็นอย่างไร คนอ่ืนก็จะ
เหมอื นกบั เราอย่างนนั้

ฉะนน้ั การปฏบิ ตั ใิ นสปั ปรุ สิ ธรรม ๗ ขอ้ น้ี จะมคี วามเชอ่ื มโยง
ต่อกันทกุ ข้อเลยทเี ดยี ว จะปฏบิ ัตเิ ฉพาะธรรมขอ้ ใดข้อหนึ่งโดย
ไม่มีหมวดธรรมอน่ื มาเป็นองค์ประกอบ การปฏิบัตธิ รรมกจ็ ะไม่
เกดิ ความสมบรู ณแ์ ตอ่ ยา่ งใด เชน่ อตั ตญั ญตุ า ความเปน็ ผรู้ จู้ กั ตน
การปฏบิ ัติก็ตอ้ งเชื่อมโยงไปหาเหตุ และเชือ่ มโยงไปหาผลว่า
การปฏบิ ตั จิ ะมเี หตผุ ลประกอบในการรตู้ นอยา่ งไร ในการตดั สนิ
ในการท�ำผิดพูดผิด และมีเหตุผลในการท�ำถูกพูดถูกของตน
อยา่ งไร กต็ อ้ งมอี บุ ายใชป้ ญั ญามาพจิ ารณาในการทำ� ในการพดู

อตั ตัญญตุ า ๓๗

ของตัวเองด้วยเหตุและผล เพราะหลักเหตุผลเป็นอุบายวิธี
คล่คี ลายปัญหาทุกๆ ปญั หา เวน้ เสียแตผ่ ้ไู มม่ สี ตปิ ญั ญาเท่านัน้
จะน�ำเหตุผลมาใช้ไมไ่ ด้ หรอื จะเอามาใชก้ ็จะเข้าข้างตวั เอง เชน่
คนพาลทำ� ผดิ พดู ผดิ เขากม็ เี หตผุ ลของพวกคนพาล หาวธิ ปี กปอ้ ง
โฆษณาว่าตัวเองทำ� ถูกพดู ถูกเรอื่ ยไป ในลกั ษณะอยา่ งนี้เรยี กว่า
เปน็ ผมู้ อี ตั ตาสงู ไมย่ อมแพใ้ คร จงึ กลายเปน็ ผลู้ มื ตวั ดว้ ยทฏิ ฐมิ านะ
ของตัวเอง

ฉะนั้น ผู้จะรู้ตัวเองได้ ต้องฝึกสติปัญญาของตัวเองให้มี
ความฉลาดรอบรู้ แลว้ นำ� มาพจิ ารณาดตู วั เองวา่ มคี วามบกพรอ่ ง
ในการท�ำในการพดู ที่ตรงไหน ต้องแก้ไขในการทำ� ในการพูดใน
ตรงนน้ั ใหค้ นอนื่ ยอมรบั การทำ� การพดู ของเราได้ จงึ เรยี กวา่ เปน็
ผูป้ ฏบิ ตั ธิ รรม

อตั ตญั ญตุ า การรตู้ วั เองในการปฏบิ ตั ธิ รรมทส่ี งู ขน้ึ ไปกวา่ น้ี
คือการปฏิบัติธรรมในหมวดขันธ์ห้า พิจารณาให้เป็นไปตาม
ไตรลกั ษณ์ คอื อนจิ จงั ทกุ ขงั อนตั ตา ตอ้ งตคี วามหมายในคำ� วา่
ขนั ธห์ า้ ใหเ้ ขา้ ใจ เพราะรกู้ นั อยวู่ า่ ขนั ธห์ า้ นเี้ ปน็ ตน คำ� วา่ ตน ทกุ คน
ก็ต้องช้ีเข้าตัวเองว่าเป็นตน เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วญิ ญาณ ว่าเปน็ ตนกันทั้งนน้ั จงึ เกิดการเข้าใจไปวา่ ขนั ธ์ห้าเป็น

๓๘ ปัญญาอบรมใจ

ตนจรงิ ๆ จงึ ไดเ้ กดิ ความหลงผดิ เกดิ ความเขา้ ใจผดิ ความเหน็ ผดิ
ตลอดมา

ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาให้ละเอียดลึกๆ ลงไปในเหตุผล
แลว้ จะเกิดความเขา้ ใจได้ชดั เจนว่า ขนั ธ์หา้ เปน็ ตนเพียงสมมติ
เทา่ นนั้ ตนในสมมตนิ เี้ อง ผปู้ ฏบิ ตั ติ อ้ งศกึ ษาใหเ้ ขา้ ใจในเหตผุ ล
ว่าในขนั ธ์ห้านม้ี อี ะไรเป็นตนที่แน่นอน ให้ใชป้ ัญญาพิจารณา
แยกแยะออกมาเป็นส่วนๆ เช่น รูปท่ีมีธาตุสี่ คอื ดิน นำ้� ลม ไฟ
มาประกอบกัน มจี ติ ทเี่ ข้าไปอาศัยอย่ใู นรปู จงึ เคล่ือนไหวในรปู
นี้ได้ ถา้ ไมม่ ีจติ อยู่ในรูปนี้ รา่ งกายทุกสว่ นก็เคล่ือนไหวไปมาไม่
ไดเ้ ลย รปู รา่ งกายนก้ี จ็ ะแตกสลายเปอ่ื ยเนา่ ผพุ งั ไปตามธาตเุ ดมิ ไป
เม่ือจิตยังครองร่างกายน้ีอยู่ ก็เหมือนกับหุ่นท่ีมีสายใย จะดึง
จะชกั สายใยสว่ นไหน รปู หนุ่ กเ็ คลอื่ นไหวไปตามทต่ี อ้ งการ ถา้ ไม่
ดงึ สายใยเอาตัวห่นุ ทงิ้ ไว้ ก็อยูอ่ ย่างนั้น จะกระดุกกระดิกไปมา
ไมไ่ ดเ้ ลย นฉี้ นั ใด รา่ งกายทกุ สว่ น เมอ่ื จติ ออกจากรา่ งไปแลว้ รปู
ร่างกายก็อยอู่ ย่างนน้ั เหมอื นกบั ทอ่ นไม้ทอ่ นฟืน แล้วเนา่ เปื่อย
สลายไป จงึ เรยี กวา่ คนตาย ฉะนั้น รูปจงึ ไมใ่ ชต่ น และตนกไ็ มใ่ ช่
รูป เปน็ เพียงธาตุอาศัยของจิตช่วั คราวเทา่ นั้น

ในเมอ่ื รา่ งกายเปน็ ไปในลกั ษณะนี้ จะเอาธาตสุ อี่ ะไรมาเปน็

อตั ตัญญตุ า ๓๙

ตนไดเ้ ลา่ ถา้ อยากรู้รายละเอยี ดมากกวา่ น้กี ็ต้องใช้สติปัญญา
แยกธาตุส่ีออกมาเป็นส่วนย่อยลงไปอีก นั่นคือพิจารณาผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เนอ้ื เอน็ กระดกู ม้าม หวั ใจ ตบั ไต ปอด
ไสใ้ หญ่ ไสน้ อ้ ย อาหารใหม่ อาหารเกา่ เรอ่ื ยไป เรยี กวา่ พจิ ารณา
อาการ ๓๒ ให้พิจารณาเป็นไปในความไม่เที่ยง ให้พิจารณา
เปน็ ไปในความทกุ ข์ ใหพ้ จิ ารณาเปน็ ไปในอนตั ตา ถา้ ใชป้ ญั ญา
พิจารณาให้เป็นไปในความเป็นจริงอยู่อย่างนี้ ค�ำว่าตนจะมีมา
จากทไ่ี หน น่นั คือจิตยอมรบั ตามความเปน็ จริงไดแ้ ลว้

การพจิ ารณาในเวทนากใ็ หเ้ ปน็ ไปในไตรลกั ษณน์ เี้ ชน่ กนั
ให้ตีความหมายในเวทนาให้เข้าใจว่าเป็นเพียงอารมณ์ของใจ
เท่านั้น อารมณเ์ กดิ ขึ้นจากการรับสัมผัสในอายตนะภายใน คอื
ตา หู จมกู ล้นิ กาย และใจ ที่ไดส้ มั ผสั ในอายตนะภายนอก คอื
รูป เสยี ง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ จงึ ได้เกิดเปน็ ธัมมารมณข์ น้ึ ทใ่ี จ
ธัมมารมณ์นี้เองจึงได้กลายเป็นอารมณ์ของใจที่เรียกว่าเวทนา
อารมณ์แห่งความชอบใจ อารมณท์ ่ไี ม่ชอบใจ และอารมณ์เฉยๆ
หรอื อารมณแ์ หง่ ความสุข ความทุกข์ หรือไมส่ ขุ ไมท่ ุกข์ อารมณ์
ดงั กล่าวน้เี ป็นตนไดเ้ ม่อื ไร มันเปน็ ไปในความไมเ่ ที่ยง เป็นไปใน
ความทกุ ข์ เปน็ ไปในอนตั ตา จะไปหา้ มไมใ่ หเ้ ปน็ ไปอยา่ งนไี้ มไ่ ดเ้ ลย

๔๐ ปัญญาอบรมใจ

เพราะเวทนาไม่ใช่ตนและตนก็ไม่ใช่เวทนาเช่นเดียวกัน สัญญา
สังขาร วิญญาณ กเ็ ช่นเดียวกนั เป็นเพียงอาการของจิตเทา่ น้ัน
จะเรียกว่านามก็คอื อาการของจติ เช่นกนั

ฉะนน้ั ผู้ปฏบิ ตั จิ ะพจิ ารณาในขนั ธ์หา้ ต้องฝึกปัญญาใหด้ ี
ให้มีความฉลาดเฉียบแหลม มีความรอบรู้ในขันธ์ห้าให้ถูกต้อง
ตามความเป็นจริง ค�ำวา่ อัตตัญญุตา ความเปน็ ผ้รู ู้จักตน กใ็ ห้
รจู้ รงิ ๆ มใิ ชว่ า่ จะเอาขนั ธห์ า้ มาสมมตเิ ปน็ ตนอยา่ งผวิ เผนิ เพยี ง
เทา่ น้ี ถา้ ไมม่ ปี ญั ญาทดี่ กี จ็ ะหลงวา่ ขนั ธห์ า้ เปน็ ตนตอ่ ไป ถา้ มตี น
อยู่ท่ีไหน ก็จะตอ้ งมีสขุ มีทกุ ข์อยู่ในทนี่ น่ั ถา้ ตนไมม่ ี สขุ ทกุ ข์จะ
มมี าจากทไี่ หน ฉะนน้ั สขุ ทกุ ขเ์ กดิ ขน้ึ เพราะสงิ่ ทมี่ นั มี ไมเ่ ฉพาะ
มขี ันธห์ ้าเปน็ ทกุ ขเ์ ท่าน้ัน สง่ิ อืน่ ทไี่ ปยดึ ว่าเรามี หรือไปยดึ ว่า
เป็นของของเราเม่ือไร สิ่งน้ันแลจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด
ความทุกข์ไดเ้ ช่นกนั ถึงส่ิงน้นั จะอำ� นวยความสุขใหเ้ ราอยบู่ ้าง
แตก่ ไ็ มพ่ อจะทำ� ใหค้ วามทกุ ขห์ มดไปจากใจได้ หรอื สงิ่ ทเ่ี ราเขา้ ใจ
ว่าเป็นความสุข แต่ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ได้
ในภายหลงั

ฉะนน้ั ผปู้ ฏบิ ตั ติ อ้ งมคี วามสำ� นกึ อยเู่ สมอ ดงั คำ� วา่ “โย ธมมฺ ํ
ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ ผู้ใดเหน็ ธรรม ผูน้ ั้นชือ่ ว่าเห็นเราตถาคต”

อตั ตัญญตุ า ๔๑

คำ� วา่ เหน็ ธรรม กค็ อื เหน็ ในขนั ธห์ า้ วา่ ไมใ่ ชต่ นดว้ ยปญั ญาของ
ตัวเอง และฝกึ ใจทำ� ใจให้ปฏิเสธว่าขนั ธห์ ้าไม่ใช่เรา เราไม่ใช่
ขันธ์หา้ แต่อยา่ งใด ถา้ ท�ำได้อย่างนจี้ ะเห็นพระพุทธเจา้ ในทนั ที

มัตตัญญตุ า

มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ค�ำว่าประมาณ
หมายถงึ รจู้ กั ความพอดี ไมม่ ากเกนิ ไปและไมน่ อ้ ยเกนิ ไป ตามปกติ
นิสยั ของคนเรา จะเอาอะไรสักอยา่ ง จะเกินความพอดีอยเู่ สมอ
เชน่ เหน็ อาหารมากมาย มแี ตข่ องทถี่ กู ใจเสยี ทง้ั หมด จะหยบิ มา
รับประทานนิดเดียวพอเป็นพิธี ทั้งที่หิวกระหายอยู่แล้ว จะไม่
เปน็ ไปในลกั ษณะอยา่ งนเ้ี ลย อยา่ งไรเสยี กต็ อ้ งว่ากนั อยา่ งเตม็ ที่
เทา่ นย้ี งั ไมพ่ อ ยังแถมเพ่ิมเข้าไปอีก แทบจะกลนื ไม่ลง นี้เรียกว่า
เกนิ ความพอดี เมอื่ ธาตไุ ฟยอ่ ยอาหารไมท่ นั เกดิ ทอ้ งอดื ทอ้ งเฟอ้
แทนทจี่ ะเปน็ คณุ แต่กลายเปน็ โทษไป

ความไม่รปู้ ระมาณยังมมี าก เช่น เอาอะไรไม่มปี ระมาณ
เหน็ อะไรเปน็ ของแจกฟรี อยา่ งไรกก็ อบโกยใหไ้ ดม้ ากทส่ี ดุ คนอนื่

มัตตัญญตุ า ๔๓

จะได้หรือไม่ได้ไม่ส�ำคัญ ขอให้เราได้เอาอย่างเต็มท่ีก็แล้วกัน
ในสถานทบี่ างแหง่ วดั บางวดั มอื ใครยาวสาวไดส้ าวเอา จะเทยี บกบั
อะไรกนั ดกี เ็ ทยี บเอาเถอะ ขา้ พเจา้ ไมอ่ อกความเหน็ นคี่ นเราชอบ
ทำ� อะไรเกนิ ความพอดี เชน่ ซอื้ สงิ่ ของกเ็ กนิ ความพอดี ไมจ่ ำ� เปน็
จะซือ้ มากองไว้ที่บา้ นจนเกนิ ความจำ� เป็น หรอื การตกแตง่ บา้ น
และตกแตง่ อะไรตอ่ มอิ ะไรกเ็ กนิ ความพอดี จะเปดิ เผยความเดน่
ในตวั เอง กเ็ ปดิ เผยจนเกนิ ความพอดี จงึ กลายเปน็ ผไู้ มร่ ปู้ ระมาณ

ถ้าอะไรเกินความพอดี ส่ิงน้ันไม่ดี เช่น พูดอะไรเกิน
ความพอดี บ่นให้ใครตอ่ ใครกบ็ ่นเกินความพอดี จงึ ท�ำให้คนอ่นื
เกิดความรำ� คาญใจ และเกิดความเบ่ือหนา่ ยในคนข้ีบน่ ได้ และ
ยงั มคี นพดู อยวู่ า่ พระเทศนน์ าน กย็ งั บน่ วา่ เกนิ ความพอดไี ป ไมม่ ี
ใครอยากจะไปนงั่ ฟงั ในขณะมธี รุ ะรบี ดว่ นอยากจะไป แตพ่ ระเทศน์
ไม่หยดุ กม็ ีปญั หาไดเ้ หมอื นกนั

ฉะนั้น จงฝึกตัวเองใหร้ ูจ้ ักในค�ำว่าพอดี และทำ� ตวั ให้เปน็
ผมู้ คี วามพอดี เรยี กวา่ มชั ฌมิ า เชน่ ทำ� อาหาร ถา้ ใสเ่ ครอื่ งปรงุ ดว้ ย
ความพอดี อาหารนน้ั กจ็ ะมคี วามอรอ่ ย การพดู อะไรมคี วามพอดี
พร้อมด้วยเหตุผล ก็จะท�ำให้คนมีความสนใจ อะไรต่อมิอะไร
ถ้าท�ำให้มีความพอดี ส่ิงน้ันจะมีประโยชน์มากทีเดียว แม้แต่

๔๔ ปัญญาอบรมใจ

ค่สู ามภี รรยา กใ็ หร้ ู้จักความพอดี ถา้ เกินความพอดีเมื่อไร ก็จะ
เกดิ ไฟแผดเผาหวั ใจ และเปน็ ภยั ในครอบครวั นนั้ ๆ ดงั เหน็ กนั ใน
ที่ทั่วไป จะทำ� อะไร จะพดู อะไร จะเอาอะไร ใหอ้ ยใู่ นความพอดี
ให้ร้จู กั ประมาณตามความเหมาะสม ไม่ท�ำอะไรเกนิ ตวั ใหร้ จู้ ัก
กำ� ลงั ของตวั เอง ถา้ เกนิ ตวั เมอื่ ไร จะกลายเปน็ โทษเปน็ ภยั แกต่ วั เอง

ฉะนนั้ ผปู้ ฏบิ ตั ติ อ้ งฝกึ ตนเองอยบู่ อ่ ยๆ เรยี กวา่ “ตนเตอื น
ตนด้วยตนเอง” ให้เตอื นตนอย่างมคี วามต่อเนื่องกัน ให้ใจเกดิ
ความสำ� นกึ ไดใ้ นสงิ่ นน้ั ๆ อยเู่ สมอ ใจกจ็ ะเกดิ ความรจู้ รงิ ในสง่ิ นน้ั
ใจนั้นกจ็ ะวาง จะละในส่ิงที่เคยหลงผดิ น้ีได้


Click to View FlipBook Version