The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กุญแจภาวนา โดย หลวงพ่อชา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-08 21:04:29

กุญแจภาวนา โดย หลวงพ่อชา

กุญแจภาวนา โดย หลวงพ่อชา

Keywords: กุญแจภาวนา,หลวงพ่อชา

ไฟล์น้ีจัดทาข้ึนโดยมีวตั ถปุ ระสงค์

เพื่ออนรุ กั ษแ์ ละเผยแผ่ธรรมะของพ่อแม่ครอู าจารย์

สามารถนาไปพิมพ์แจกได้ตามความประสงค์





กุญแจภาวนา

พระธรรมเทศนา โดย

หลวงปชู่ า สุภัทโท

เมือ่ วนั ท่ี ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๒
ณ วัดหนองปุาพง

การศกึ ษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อ
หาทางพ้นทุกข์ เพ่ือความสงบสุขเป็นจุดสําคัญ จะศึกษาเรื่องรูป
เรือ่ งนาม เร่ืองจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพ่ือความหลุดพ้นจากทุกข์
เทา่ นนั้ จงึ จะถูกทาง มใิ ช่เพือ่ อยา่ งอ่ืน เพราะทกุ ข์มนั มีเหตเุ กดิ และมี
ทข่ี องมนั อยูแ่ ลว้ ฉะน้ันสง่ิ เหลา่ นี้ ถ้าเราเข้าใจเสยี ว่า มันจะเปน็ จิตก็
ชา่ งมันเถอะ เมอ่ื มนั นิ่งอยู่อย่างน้ีก็คือปกติของมัน ถ้าว่ามันเคลื่อน
ปฺบุ ก็เป็นสังขารแลว้ มันจะเกิดยินดีก็เป็นสงั ขาร มันจะเกิดยินร้ายก็
เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปน่ีก็เป็นสังขาร ถ้าไม่รู้เท่าสังขารก็
ว่ิงตามมันไปเป็นไปตามมัน เมอ่ื จิตเคล่ือนเม่ือใดก็เป็นสมมติสังขาร
เมอื่ น้ันท่านจงึ ให้พิจารณาสงั ขารคอื จิตมนั เคล่อื นไหวน่ันเอง



เม่ือมันเคล่อื นออกไปกเ็ ปน็ อนิจจงั ทกุ ขงั อนตั ตา ท่านให้พจิ ารณา
อันนี้ ท่านจึงให้รับทราบส่ิงเหล่าน้ีไว้ ให้พิจารณาสังขารเหล่าน้ี
ปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกัน อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนาม
รูป ฯลฯ เราเคยเล่าเรียนมาศึกษามาก็เป็นจริง คือท่านแยกเป็น
สว่ นๆ ไป เพือ่ ให้นักศึกษารู้ แต่เม่ือมันเกิดมาจริงๆ แล้ว ท่านมหา
นับไม่ทันหรอก

รู้จากปรยิ ตั ิ ตา่ งกับร้จู ากปฏบิ ตั ิ

อปุ มาเหมือนเราตกจากยอดไม้ กต็ ุ๊บถึงดนิ โนน่ ไม่รู้ว่ามันผ่าน
กง่ิ ไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ปฺุบข้ึนมา ถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่
ติดต่อกันเราไม่รู้มัน ไปตามท่ีปริยัติรู้นั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติ
ด้วย มันไม่บอกว่าตรงนี้เป็นอวิชชา ตรงนี้เป็นสังขาร ตรงน้ีเป็น
วิญญาณ ตรงนเ้ี ป็นนามรปู มันไม่ได้ใหท้ ่านมหาอ่านอยา่ งน้ันหรอก
เหมอื นกบั การตกจากต้นไม้ ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมัน
จริงๆ อาตมาจงึ มีหลักเทียบวา่ เหมือนกบั การตกจากต้นไม้ เมื่อมัน
พลาดจากตน้ ไม้ไปปบฺุ มิได้คณนาว่ามันกี่นิ้วกี่ฟุต เห็นแต่มันตูมถึง
ดินเจบ็ แล้ว ทางนกี้ เ็ หมือนกนั เมือ่ มันเป็นข้ึนมาเห็นแต่ทุกข์โสกะ



ปริเทวะทกุ ขโ์ นน่ เลย มนั เกิดมาจากไหนมันไม่ได้อ่านหรอก มันไม่มี
ปรยิ ตั ิทีท่ ่านเอาสง่ิ ละเอยี ดนข่ี ึ้นมาพูด แต่ก็ผ่านไปทางเส้นเดียวกัน
แต่นักปริยัติเอาไม่ทัน ฉะน้ัน ท่านจึงให้ยืนตัวว่าอะไรท่ีเกิดข้ึนมา
จากผรู้ อู้ ันน้ี เมื่อผู้รู้รู้ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิกเหล่านี้
จิตก็ไม่ใช่เรา ส่ิงเหล่าน้ีมีแต่ของทิ้งท้ังหมด ไม่ควรเข้าไปยึดไป
หมายม่ันทั้งนน้ั

เรยี นรเู้ รอ่ื งจติ เพื่อปลอ่ ยวาง

สง่ิ ทเี่ รียกวา่ จิตหรอื เจตสกิ นี้ พระศาสดามใิ ชใ่ ห้เรียนเพ่ือให้ติด
ทา่ นให้รวู้ า่ จิตหรอื เจตสกิ เป็นอนิจจังทุกขงั อนัตตาเท่าน้ัน มีแต่ท่าน
ให้ปล่อยใหว้ างมัน เม่ือเกิดมาก็รับรู้ไว้รับทราบไว้ ตัวจิตนี่เองมัน
ถูกอบรมมาแล้ว ถูกใหพ้ ลิกออกจากตวั นี้ เกดิ เปน็ สังขารปรุงไปมันก็
เลยมาปรุงแต่งเรื่อยไป ท้ังดีทั้งช่ัวทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดเป็นไป สิ่ง
ทง้ั หลายเหล่าน้ีพระศาสดาให้ละ แต่ต้องเรียนรู้อย่างนี้เสียก่อนจึง
จะละได้ ตวั นเ้ี ปน็ ตัวธรรมชาตอิ ยู่อย่างน้ี จิตก็เป็นอย่างนี้ เจตสิก
กเ็ ปน็ อย่างนี้ อย่างมรรค ปญั ญาอันเห็นชอบเห็นชอบแล้ว ก็ดําริ
ชอบ เจรจาชอบ ทําการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เหล่าน้ีเป็นเร่ือง
ของเจตสิกทั้งนั้น ออกจากผู้รู้นั่นเอง เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้



ถ้ารู้ชอบดําริชอบอย่างอื่นก็ชอบไปด้วย เหมือนกับแสงสว่างของ
ตะเกยี งมนั จะเป็นอยา่ งไรก็ชา่ งมนั มันเกิดจากผู้รู้ อันน้ีถ้าจิตน้ีไม่มี
ผู้รู้กไ็ มม่ ีเชน่ กัน มันคอื อาการของพวกนี้ ฉะน้ันสิ่งเหล่านี้รวมแล้ว
เป็นนามหมด ท่านวา่ จติ นก้ี ช็ อ่ื วา่ จิต มิใช่สัตว์มิใช่บุคคลมิใช่ตัวมิใช่
ตนมิใช่เรามใิ ชเ่ ขา ธรรมนี้กส็ ักวา่ ธรรมมใิ ชต่ วั ตนเราเขาไม่เป็นอะไร
ท่านให้เอาท่ีไหน เวทนาก็ดี สัญญากด็ ี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่
เปน็ ขนั ธ์ห้า ท่านใหว้ าง

สมถะและวิปสั สนา อยดู่ ้วยกนั

ฉะนน้ั ภาวนาก็เหมือนกบั ไม้ทอ่ นเดยี ว วิปัสสนาอยู่ปลายท่อน
ทางนี้ สมถะอย่ปู ลายท่อนทางน้ัน ถ้าเรายกไม้ท่อนน้ีข้ึนปลายท่อน
ไม้จะขึน้ ขา้ งเดยี วหรอื ทั้งสองข้าง ถ้ายกไม้ท่อนนี้ข้ึนปลายท้ังสองก็
จะข้ึนด้วย อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิต
น่ีเอง และเมื่อจิตสงบแล้วความสงบเบ้ืองแรกสงบด้วยสมถะ คือ
สมาธิธรรมทําใหจ้ ติ เปน็ สมาธิ มันก็สงบ ถา้ ความสงบหายไปก็เกิด
ทกุ ข์ ทาํ ไมอาการนี้จึงให้เกิดทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็น
ตัวสมทุ ัย แน่นอนมันจึงเป็นเหตุให้เกิดทกุ ข์ เม่ือมีความสงบแลว้ ยัง
ไม่จบ พระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่



พรหมจรรยไ์ มจ่ บ มันไม่จบเพราะอะไร เพราะมนั ยังมีทุกข์อยู่ ท่าน
จงึ เอาตัวสมถะตัวสงบน่ีพิจารณาต่อไปอีก ค้นหาเหตุผลจนกระท่ัง
ทา่ นไมต่ ิดในความสงบ ความสงบก็เป็นสังขารอันหน่ึง ก็เป็นสมมติ
เป็นบัญญัติอีก ติดอยู่น่ีก็ติดสมมติ ติดบัญญัติ เม่ือติดสมมติ ติด
บัญญัตกิ ต็ ดิ ภพตดิ ชาติ ภพชาติก็คือความดีใจในความสงบน่ีแหละ
เม่ือหายความฟูุงซ่านก็ติดความสงบก็เป็นภพอีก เกิดอยู่อย่างนี้
ภพชาตเิ กิดข้นึ มา ทําไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้

ขนั ธห์ ้า หรอื ความสงบ ลว้ นยดึ ตดิ ไม่ได้

ท่านจึงพิจารณาภพชาติเกิดเพราะอะไร เม่ือยังไม่รู้เท่าส่ิง
เหลา่ นต้ี ามความเปน็ จริง ทา่ นใหย้ กเอาเรอื่ งจติ สงบน้ีข้นึ มาพจิ ารณา
เขา้ ไปอกี สังขารที่เกิดขนึ้ มาสงบหรือไมส่ งบพจิ ารณาเรอื่ ยไป จนได้
เหน็ ว่าสงิ่ เหล่านี้เหมอื นก้อนเหลก็ แดง ขันธ์ห้าเหมือนกับก้อนเหล็ก
แดง เมอ่ื มันแดงรอบแลว้ ไปจบตรงไหนมันจึงจะเย็นได้ มีท่ีเย็นไหม
เอามือแตะขา้ งบนดูซิขา้ งลา่ งดซู ิแตะขา้ งโน่นขา้ งนีด้ ูซิ ตรงไหนทีม่ ัน
จะเย็น เย็นไม่ได้เพราะก้อนเหล็กมันแดงโรไ่ ปหมด ขนั ธห์ า้ น้กี ็ฉันนั้น
ความสงบไปตดิ ไมไ่ ดจ้ ะว่าความสงบเป็นเรา จะวา่ เราเปน็ ความสงบ
ไมไ่ ด้ ถ้าเข้าใจวา่ ความสงบเป็นเราเขา้ ใจว่าเราเป็นความสงบก็เป็น



ก้อนอัตตาอยู่นี่เอง ก้อนอัตตาก็เป็นตัวสมมุติอยู่ จะนึกว่าเราสงบ
เราฟุงู ซา่ น เราดี เราช่ัว เราสุข เราทุกข์ อันน้ีก็เป็นภพเป็นชาติอยู่
อีก เปน็ ทุกข์อีก ถ้าสขุ หายไปกก็ ลายเป็นทุกข์ ถ้าความทุกข์หายไป
กเ็ ปน็ สขุ กต็ อ้ งเวียนไปนรกไปสวรรค์อยูไ่ มห่ ยุดยั้ง

พระศาสดาเห็นอาการจิตของท่านเป็นอย่างน้ีนี่แหละ ท่านว่า
ภพยังอยู่ ชาติยังอยู่ พรหมจรรย์ยังไม่จบ ท่านจึงยกสังขารขึ้น
พิจารณาตามธรรมชาตเิ พราะมีปัจจัยอยู่น่ี จึงมีเกิดอยู่น่ีตายอยู่นี่มี
อาการที่เคลื่อนไหวไปมาอยู่น่ี ท่านจึงยกสิ่งนี้พิจารณาไปให้รู้เท่า
ตามเป็นจริงของขันธ์ห้า ทั้งรูปทั้งนามส่ิงท้ังหลายท่ีจิตคิดไปทุกสิ่ง
ทกุ อย่างเหลา่ นล้ี ว้ นเปน็ สังขารทั้งหมด เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้
แล้วท่านใหล้ ะ ให้รสู้ ง่ิ เหล่านีต้ ามเปน็ จรงิ ถา้ ไมร่ ้ตู ามความเป็นจริง
ก็ทกุ ข์ ก็ไม่วางส่งิ เหล่าน้ีได้ เมอื่ ร้ตู ามความเปน็ จริงแล้วสง่ิ เหล่าน้ีก็
เป็นของหลอกลวง สมกบั ทพ่ี ระศาสดาตรสั วา่ จติ น้ีไม่มอี ะไร ไม่เกิด
ตามใคร ไม่ตายกับใคร จิตเป็นเสรีรุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเร่ืองราว
ตา่ งๆ เขา้ ไปอยูใ่ นทีน่ ั้น ท่ีจะมีเรื่องราวก็เพราะมันหลงสังขารน่ีเอง
หลงอตั ตานี่เอง



พระศาสดาจงึ ให้มองดจู ิตของเรา เบอ้ื งแรกมันมีอะไรไม่มีอะไร
จริงๆ สง่ิ เหล่าน้ีมิไดเ้ กิดดว้ ย มไิ ดต้ ายดว้ ย ถกู อารมณด์ มี ากระทบก็
มิไดด้ ดี ้วย ถูกอารมณร์ า้ ยมากระทบกม็ ิได้ร้ายไปด้วย เพราะรตู้ วั ของ
ตัวอย่างชัดเจน แล้วรู้ว่าสภาวะเหล่านั้นไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็น
เปน็ อนิจจังทกุ ขังอนตั ตา ท่านให้รอบรขู้ องทา่ นอย่อู ย่างนัน้

ไมด่ ใี จไม่เสียใจ คอื ไมเ่ กดิ ไม่ตาย

ตวั ผู้รู้นี้รตู้ ามความเป็นจริง ผู้รมู้ ิได้ดีใจไปดว้ ยมิได้เสยี ใจไปด้วย
อาการที่ดีใจไปด้วยน่ันแหละเกิดอาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละ
ตายถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย ตัวท่ีเกิดตัวท่ีตายน่ันแหละ
เปน็ วัฏฏะเวียนว่ายตายเกดิ อย่ไู ม่หยุด เม่ือจิตผู้ปฏิบัติเป็นอยู่อย่าง
น้ัน ไม่ต้องสงสัยภพมีไหมชาติมีไหม ไม่ต้องถามใคร พระศาสดา
พิจารณาอาการสงั ขารเหล่าน้แี ล้ว จงึ ไดป้ ล่อยวางสังขาร วางขันธ์ห้า
เหล่าน้ีเป็นเพียงผู้รับทราบไว้เฉยๆ มันจะดีขึ้นมาท่านก็ไม่ดีกับมัน
เป็นคนดูอยเู่ ฉยๆ ถ้ามนั รา้ ยขนึ้ มาทา่ นก็ไม่ร้ายกับมัน ทําไมจึงเป็น
อยา่ งน้นั เพราะมนั ขาดจากปัจจัยแล้วรตู้ ามความเป็นจริง ปัจจัยท่ี
จะสง่ เสริมให้เกดิ ไมม่ ีตัวน้กี ็เป็นผรู้ ู้ยนื ตวั ตัวนแ้ี หละ เป็นตัวสงบตัวนี้
เป็นตัวไมเ่ กดิ ไมแ่ ก่ไม่เจ็บไมต่ ายตวั นี้ มิใช่เหตุมิใช่ผล ไมอ่ าศัยเหตไุ ม่



อาศยั ผลไมอ่ าศยั ปจั จยั หมดปจั จยั สนิ้ ปจั จัยนอกเหนือเกิดตาย นอก
สุขเหนอื ทกุ ข์ นอกดเี หนือช่วั หมดเร่ืองจะพดู ไมม่ ีปัจจัยส่งเสริมแล้ว
เรื่องทเ่ี ราจะพูดวา่ จะตดิ ในสิง่ เหลา่ นี้เปน็ เร่ืองจิตหรือเจตสิก

ฉะนน้ั เรอ่ื งจิตหรือเรื่องเจตสิกน้ี กเ็ ป็นเรื่องมีจริงอยู่ เป็นจริง
อย่างน้ัน แต่พระศาสดาเห็นวา่ รไู้ ปก็ไม่เกิดประโยชน์ ถา้ รูแ้ ล้วเชอื่ ส่ิง
เหล่าน้นั กไ็ ม่เกิดประโยชน์ อะไรหาความสงบไมไ่ ด้ รู้แล้วทา่ นให้วาง
ให้ละใหเ้ ลิกเพราะจิตเจตสกิ นเ่ี อง นาํ ความผดิ มาให้เรา นําความถูก
มาให้เรา ถา้ เราฉลาดก็นําความถูกมาให้ เราถา้ เราโง่กน็ าํ ความผิดมา
ให้เรา เร่ืองจิตหรือเจตสิกน้ีมันเป็นโลก พระศาสดาก็เอาเรื่องของ
โลกมาดโู ลก เมื่อรู้โลกไดแ้ ลว้ ทา่ นจงึ ว่าโลกวิทูผู้รู้แจ้งโลก เม่ือท่าน
มาดูสิง่ เหลา่ นจี้ งึ เป็นอย่างนี้

ปฏบิ ตั ิที่จติ

ฉะนั้น เรื่องสมถะหรือเรื่องวิปัสสนาน้ีให้ทําให้เกิดในจิตเสีย
ให้เกิดในจิตจริงๆ จึงจะรู้จัก ถ้าไปเรียนตามตําราว่าเจตสิกเป็น
อย่างนั้นๆ จิตเป็นอย่างน้ันๆ ก็เรียนได้ แต่ว่าใช้ระงับความโลภ
ความโกรธความหลงของเราไม่ได้ เพราะเรียนไปตามอาการของ



ความโลภความโกรธความหลง ความโลภมีอาการอย่างนั้นๆ ความ
โกรธมอี าการอยา่ งน้นั ๆ ความหลงมีอาการอย่างนั้นๆ ไปเล่าอาการ
ของมนั เท่าน้ันก็รูไ้ ปตามอาการ พูดไปตามอาการ รู้อยู่ฉลาดอยู่แต่
ว่าเม่อื มันเกดิ กับใจเราจะเป็นไปตามอาการหรอื ไม่ เม่อื ถูกอารมณ์ท่ี
ไม่ชอบใจมากระทบมนั ก็เกิดเป็นอาการขึ้นกับใจเรา เราติดมันไหม
เราวางมันได้ไหม อาการท่ีไม่ชอบใจนั้นเกิดขึ้นมาเรารู้แล้ว ผู้รู้เอา
ความไมช่ อบใจไว้ในใจหรือเปล่าหรอื วา่ เหน็ แลว้ วาง

ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วยังเอาไว้ในใจของเราให้เรียนใหม่
เพราะยังผิดอยู่ ยังไม่ย่ิงถา้ มันย่งิ แล้วมันวางให้ดอู ยา่ งนี้ ดจู ติ ของเรา
จรงิ ๆ มันจึงจะเป็นปัจจัตตัง ถ้าจะพูดไปตามอาการของจิตอาการ
ของเจตสกิ ว่ามเี ท่าน้ันดวงเท่าน้ดี วง อาตมาวา่ ยงั น้อยเกินไป มนั ยังมี
มากถา้ เราจะไปเรียนสงิ่ เหล่าน้ใี ห้รูแ้ จ้งแทงตลอดหมดนน้ั ไม่แจ้งมัน
จะหมดอย่างไรมันไม่หมดหรอกหมดไม่เปน็

ฉะนั้น เรื่องการปฏิบัติน้ีจึงสําคัญมาก การปฏิบัติอาตมามิได้
ปฏบิ ตั ิอย่างนน้ั ไม่รวู้ ่าจิตวา่ เจตสิกอะไรหรอก ดูผู้รู้น่ีแหละ ถ้ามัน
คิดชังท่านมหาทําไมจึงชัง ถ้ามันรักท่านมหาทําไมจึงรัก อย่างน้ี

๑๐

แหละจะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ไม่รู้ จี้เข้าตรงนี้จึงแก้เร่ืองท่ีมันรัก
หรอื ชงั นั่นให้หายออกจากใจได้ จะเป็นอะไรกต็ าม ถ้าทําจิตอาตมา
ให้หยดุ รักหรอื หยุดชงั ได้ จิตอาตมาก็พ้นจากทุกข์แล้ว จะเป็นอะไร
ก็ช่างมันสบายแล้ว ไม่มีอะไรมันก็หยุด เอาอย่างน้ีจะพูดไปมากๆ
ก็ช่างเขา มากก็ตามมากก็จะมาอยู่ตรงนี้ และมันไม่มากไปไหน
มันมากออกจากตรงนี้ นอ้ ยกน็ ้อยออกจากตรงนี้ เกิดก็เกิดออกจาก
นี่ ดับก็ดับอยู่น่ี มันจะไปไหน ท่านจึงให้นามว่าผู้รู้ อาการท่ีผู้รู้
รู้ตามความเป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงแล้วมันก็รู้จิต หรือรู้
เจตสกิ นแี่ หละ

จติ หรอื เจตสกิ น้ี มันหลอกลวงไม่หยุดสักที เราก็ไปเรยี นอาการ
ทมี่ นั หลอกลวงน่นั เอง ทัง้ เรยี นเรอื่ งมันหลอกลวงทั้งถกู มันหลอกลวง
เราอยู่นั่นเอง จะว่าอย่างไรกันทั้งๆ ที่รู้จักมันมันก็ลวง ท้ังๆ ที่รู้
มันเร่ืองอย่างนี้คือ เรื่องเราไปรู้จักเพียงชื่อของมัน อาตมาว่า
พระพุทธเจ้าไม่ประสงค์อย่างนั้น ทรงประสงค์ว่าทําอย่างไรจึงจะ
ออกจากสิง่ เหล่านีไ้ ด้ ทา่ นให้ค้นหาเหตุของสิ่งเหล่าน้ีขึ้นไป ฉะน้ัน
อาตมาปฏิบัติโดยไม่รู้จักมาก รู้จักเพียงว่าศีลเป็นมรรค งาม
เบ้ืองต้นคือศีล งามท่ามกลางคือสมาธิ งามเบ้ืองปลายคือปัญญา

๑๑

สามอย่างนด้ี ไู ปดมู ากเ็ ปน็ อย่างเดียวเท่าน้ัน แต่ถ้าจะแยกออกเป็น
๓ อยา่ งก็ได้

ปญั ญามาก่อนศลี สมาธิ

การรกั ษาศลี ปญั ญาต้องมาก่อน แต่เราพูดว่ารักษาศีลก่อนต้ัง
ศลี ก่อนศลี จะสมบูรณ์ อย่างไรนั้นจะต้องมีปัญญา ต้องค้นคิดกาย
ของเรา วาจาของเราพจิ ารณาหาเหตผุ ล น่ีตัวปัญญาท้ังนั้น ก่อนที่
จะต้ังศลี ข้ึนได้ต้องอาศัยปญั ญา

เมอ่ื พูดตามปริยัติก็ว่า ศีลสมาธิปัญญา อาตมาพิจารณาแล้ว
การปฏบิ ัตนิ ้ีต้องปญั ญามากอ่ น มารู้เรื่องกายวาจาวา่ โทษของมันเกดิ
ข้นึ มาอยา่ งไร ปัญญานต้ี ้องพิจารณาหาเหตุผลควบคุมกายวาจาจึง
จะบรสิ ุทธิไ์ ด้ ถ้ารจู้ ักอาการของกายวาจาที่สุจริตทุจริตแล้วก็เห็นที่
ปฏิบัติ ถา้ เหน็ ทจ่ี ะปฏิบตั แิ ลว้ กล็ ะส่งิ ทช่ี ่วั ประพฤติสิ่งที่ดี ละส่ิงท่ี
ผิดประพฤติ ส่ิงท่ีถกู เป็นศลี ถา้ มนั ละผดิ ใหถ้ กู แลว้ ใจก็แน่วแน่เข้าไป
อาการท่ีใจแน่วแน่มั่นคงมิได้ลังเลสงสัยในกายวาจาของเราน้ีเป็น
สมาธิความ ตงั้ ใจม่นั แล้ว เมื่อตงั้ ใจมั่นแล้ว รูปเกิดขึ้นมา เสียงเกิด
ขน้ึ มาพิจารณามันแลว้ นเี่ ป็นกําลังตอนที่สองเม่ือรูปเวทนาสัญญา

๑๒

สังขารวญิ ญาณหรือรูปเสยี งกลิน่ รส โผฏฐพั พะธรรมารมณเ์ กดิ ขนึ้ มา
บ่อยๆ ได้พิจารณาบ่อยๆ ด้วยอาการที่เราตั้งใจมิได้เผลอ จึงรู้
อาการของสิง่ เหล่านี้ มันเกิดตามความเป็นจริงของมัน เม่ือรู้เรื่อยๆ
ไปกเ็ กิดปัญญา เม่ือร้ตู ามความเปน็ จริงตามสภาวะของมัน สัญญา
จะหลุดเลยกลายเป็นตัวปัญญา จึงเป็นศีลสมาธิปัญญาคงรวมเป็น
อนั เดียวกนั

ถา้ ปญั ญากล้าขึ้นกอ็ บรมสมาธิให้มั่นข้ึนไป เม่ือสมาธิม่ันข้ึนไป
ศีลก็มั่นก็สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เม่ือศีลสมบูรณ์ขึ้นสมาธิก็กล้าขึ้นอีก เม่ือ
สมาธิกล้าข้ึนปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างน้ีเป็นไวพจน์ซึ่งกัน
และกัน สมกับพระศาสดาตรสั ว่ามรรคเป็นหนทาง เม่ือสามอย่างนี้
กล้าข้ึนมาเปน็ มรรค ศีลกย็ ง่ิ สมาธิกย็ งิ่ ปญั ญาก็ย่งิ มรรคน้ีจะฆ่ากิเลส
โลภเกิดขนึ้ โกรธเกดิ ข้ึน หลงเกดิ ขึ้น มมี รรคเท่านั้นทจ่ี ะเป็นผฆู้ ่าได้

มรรค กบั ศีลสมาธปิ ญั ญา

ข้อปฏบิ ัติอริยสัจจ์คือ ที่ท่านว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้น
คือ ศีลสมาธิปัญญา คือข้อปฏิบัติอยู่ในใจ คําว่าศีลสมาธิปัญญาที่

๑๓

เป็นอยู่น้ี ท่ีนับมือให้ดูน้ี มิใช่ว่ามันอยู่ท่ีมือ มันอยู่ที่จิตอย่างนั้น
ตา่ งหาก

ทงั้ ศลี ท้ังสมาธิ ท้ังปัญญา เป็นอยู่อย่างน้ัน มันหมุนอยู่ตลอด
กาลตลอดเวลา อาศัยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ อะไร
เกิดขึ้นมามรรคน้ีจะครอบงําอย่เู สมอ ถ้ามรรคไม่กล้ากิเลสก็ครอบ
ได้ ถ้ามรรคกล้ามรรคก็ฆ่ากิเลส ถ้ากิเลสกล้ามรรคอ่อน กิเลสก็ฆ่า
มรรคฆา่ ใจเรานี่เอง ถา้ รูปเวทนาสัญญาสงั ขารเกดิ ข้นึ มาในใจเรา ไม่
ร้เู ทา่ มันมนั กฆ็ ่าเรา มรรคกับกิเลสเดินเคียงกันไปอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติ
คอื ใจจําเป็นจะต้องเถียงกันไปอย่างนี้ตลอดทาง คล้ายมีคนสองคน
เถียงกัน แท้จริงเป็นมรรคกับกิเลสเท่านั้นเองที่เถียงกันอยู่ในใจ
ของเรา มรรคมาคุมเราให้พจิ ารณากลา้ ข้ึน เม่อื เราพิจารณาได้ กเิ ลส
ก็แพ้ เราเมื่อมันแข็งมาอีกถ้าเราอ่อนมรรคก็หายไป กิเลสเกิดขึ้น
แทน ย่อมต่อสู้กันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะมีฝุายชนะจึงจะจบเร่ืองได้
ถ้าพยายามตรงมรรคมันก็ฆ่ากิเลสอยู่เรื่อยไป ผลท่ีสุดทุกข์สมุทัย
นโิ รธมรรคกอ็ ย่ใู นใจอยา่ งนี้ นั่นแหละคอื เราได้ปฏบิ ตั อิ รยิ สจั จ์

๑๔

ทุกข์เกิดขึ้นมาด้วยวิธีใด ทุกข์ก็เกิดมาจากเหตุคือสมุทัยเป็น
เหตุ “เหตุอะไร” เหตุคือศีลสมาธิปัญญาน้ีอ่อน มรรคก็อ่อน เม่ือ
มรรคออ่ นกเิ ลสก็เขา้ ครอบได้ เมอ่ื ครอบไดก้ เ็ ป็นตวั สมทุ ัยทุกข์ กเ็ กิด
ข้ึนมา ถ้าทุกข์เกิดข้ึนมาแล้วตัวท่ีจะดับส่ิงเหล่าน้ีก็หายไป หมด
อาการทท่ี าํ มรรคให้เกิดขึ้นคือ ศีลสมาธิปัญญา เมื่อศีลยิ่งสมาธิยิ่ง
ปญั ญายง่ิ น่นั กค็ อื มรรคเดนิ อยเู่ สมอ มันจะทําลายตัวสมุทัยคือเหตทุ ี่
จะทําให้เกิดทุกข์ข้ึนมาได้ ระหว่างท่ีทุกข์เกิดไม่ได้เพราะมรรคฆ่า
กิเลสอยู่นี้ ในระหว่างกลางน้ีตรงจิตท่ีดับทุกข์ ทําไมจึงดับทุกข์ได้
เพราะศีลสมาธิปัญญายงิ่ คือมรรคน้ีไมห่ ยุด อาตมาว่าปฏิบตั อิ ย่างน้ี
เรื่องจิตเรื่องเจตสิกไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน มันมารวมอยู่นี่ ถ้าจิตพ้นสิ่ง
เหลา่ นกี้ แ็ นแ่ ล้วมนั จะไปทางไหนไมต่ อ้ งไปไล่มันมาก

ตน้ กะบกต้นนีใ้ บเป็นอย่างไร หยบิ มาดใู บเดียวเท่านั้น ก็เข้าใจ
ได้แล้ว มนั มีสกั หมื่นใบกช็ า่ งมัน ใบกะบกเปน็ อย่างนี้ ดูใบเดียวเท่าน้ี
ใบอนื่ ก็เหมอื นกนั หมด ถ้าจะดูลําต้นกะบกต้นอ่ืน ดูต้นเดียวก็จะรู้
ได้หมด ดูต้นเดยี วเทา่ นนั้ ต้นอื่นก็เหมือนกันอีกเช่นกัน ถึงมันจะมี
แสนต้นก็ตาม อาตมาดเู ขา้ ใจต้นเดียวเทา่ นนั้ ก็พอแล้ว อาตมาคิดว่า
พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างน้ี

๑๕

มรรคเปน็ เหตุ ความสงบเป็นผล

ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งสามประการนี้ ท่านเรียกว่า
มรรค อันมรรคน้ียังมิใช่ศาสนา อีกซํ้ายังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดา
ต้องการอย่างแท้จริงเลย แต่ก็เป็นหนทางท่ีจะดําเนินเข้าไป
เหมือนกับที่ท่านมหามาจากกรุงเทพฯ จะมาวัดหนองปุาพง ท่าน
มหาคงไม่ต้องการหนทาง ต้องการถึงวัดต่างหาก แต่หนทางเป็น
สงิ่ จาํ เป็นแกท่ ่านมหาทจ่ี ะต้องมา ฉะน้ัน ถนนที่ท่านมหามาน้ันมัน
ไม่ใชว่ ดั มนั เป็นเพยี งถนนมาวัดเทา่ นัน้ แตก่ จ็ ําเปน็ ตอ้ งมาตามถนน
จึงจะมาถงึ วัดได้

ศีลก็ดีสมาธิก็ดีปัญญาก็ดี ถ้าจะพูดว่านอกศาสนาแต่ก็เป็น
ถนนเข้าไปถึงศาสนา เม่ือทําศีลให้ยิ่งสมาธิให้ยิ่งปัญญาให้ยิ่งแล้ว
ผลคอื ความสงบเกิดข้ึนมา น่ันเป็นจุดที่ต้องการ เม่ือสงบแล้วถึงได้
ยินเสียงก็ไม่มีอะไร เม่ือถึงความสงบอันน้ีแล้วก็ไม่มีอะไรจะทํา
ฉะน้ันพระศาสดาจึงให้ละ จะเป็นอะไรก็ไม่ต้องกังวลอันน้ีเป็น
ปัจจัตตังแลว้ จริงๆ มิได้เชื่อใครอีก หลกั ของพระพุทธศาสนาจึงมิได้
มอี ะไร ไม่มีฤทธิ์ไม่มีปาฏิหาริย์อย่างอื่นทั้งหลายทั้งปวง ส่ิงเหล่าน้ี
พระศาสดามิได้สรรเสริญแต่มันก็อาจทําได้เป็นได้ ส่ิงเหล่าน้ีเป็น

๑๖

โมหธรรม พระศาสดาไม่สรรเสริญ ท่านสรรเสริญผู้ที่ทําให้พ้นจาก
ทุกข์ได้เท่าน้ัน ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติ อุปกรณ์เคร่ืองปฏิบัตินั้น
ได้แก่ ทาน ศลี สมาธิ ปัญญาจะต้องฝึกหดั อยา่ งน้ี

อันน้คี อื ทางดําเนนิ เขา้ ไป กอ่ นจะถึงได้ต้องมีปัญญามาก่อน นี้
เปน็ มรรค มรรคมีองคแ์ ปดประการรวมแล้วไดแ้ ก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ถ้ากิเลสหุม้ ขน้ึ มากเ็ กิดไมไ่ ด้ ถา้ มรรคกล้าก็ฆ่ากิเลส ถ้ากิเลสกล้าก็
ฆ่ามรรค สองอย่างเท่าน้ีท่ีจะต่อสู้กันไปตลอดจนปลายทางทีเดียว
รบกนั ไปเรื่อยไม่มหี ยดุ ไมม่ สี น้ิ สดุ

การปฏบิ ตั ิ ต้องอาศัยความอดทน

อุปกรณ์เครื่องปฏิบัติก็เป็นของลําบากอยู่ ต้องอาศัยความ
อดทนอดกลัน้ ต้องทําเองให้มนั เกดิ มาเองเปน็ เอง

ละท้งิ ความคิดทง้ั หมด

นักปริยัติชอบสงสัย เช่น เวลาน่ังสมาธิ ถ้าจิตสงบป๊ับ เอ มัน
เป็นปฐมฌานละกระมัง ชอบคิดอย่างนี้ พอนึกอย่างน้ีจิตถอนเลย
ถอนหมดเลย เดย๋ี วกน็ ึกวา่ เป็นทุติยฌานแล้วกระมัง อย่าเอามาคิด

๑๗

พวกน้มี ันไมม่ ีปาู ยบอก มนั คนละอย่าง ไมม่ ปี ูายบอกว่า “น่ีทางเข้า
วัดหนองปาุ พง” มไิ ด้อา่ นอยา่ งนน้ั มันไมบ่ อก มีแตพ่ วกเกจิอาจารย์
มาเขยี นไว้วา่ ปฐมฌาน ทตุ ยิ ฌาน ตตยิ ฌาน จตตุ ถฌาน มาเขยี นไว้
ทางนอก ถ้าจิตเราเข้าไปสงบถึงน้ันแล้ว ไม่รู้จักหรอก รู้อยู่แต่ว่า
มันไม่เหมือนปริยัติท่ีเราเรียน ถ้าผู้เรียนปริยัติแล้วชอบกําเข้าไป
ด้วย ชอบนั่งคอยสังเกตว่า เอ เป็นอย่างไร มันเป็นปฐมฌานแล้ว
หรือยัง นี่มันถอนออกหมดแล้ว ไม่ได้ความ ทําไมจึงเป็นอย่างนั้น
เพราะมันอยาก พอตัณหาเกิด มันจะมีอะไร มันก็ถอนออกพร้อม
กันนีแ่ หละ เราท้งั หลายต้องทิ้งความคิดความสงสัยให้หมด ให้เอา
จติ กบั กายวาจาลว้ นๆ เขา้ ปฏบิ ัตดิ ูอาการของจิต อย่าแบกคมั ภรี เ์ ขา้
ไปดว้ ย ไมม่ คี มั ภรี ์ในนนั้ ขืนแบกเข้าไป มันเสียหมด เพราะในคัมภีร์
ไมม่ สี ่ิงทั้งหลายตามความเปน็ จรงิ

ผู้ท่ีเรียนมากๆ รู้มากๆ จึงไม่ค่อยสําเร็จเพราะมาติดตรงน้ี
ความจริงแล้วเรื่องจิตใจอย่าไปวัดออกมาทางนอก มันจะสงบก็ให้
มันสงบไป ความสงบถงึ ท่ีสุดมันมอี ยู่ ปรยิ ัติของอาตมามนั น้อย เคย
เลา่ ให้มหาอมรฟัง เมื่อคราวปฏิบัตใิ นพรรษาที่ ๓ น้นั มีความสงสัย
อยวู่ ่า สมาธิเป็นอย่างไรหนอ คิดหาไปนั่งสมาธิไป จิตย่ิงฟุูงยิ่งคิด

๑๘

มาก เวลาไมน่ ง่ั ค่อยยงั ชว่ั แหมมันยากจรงิ ๆ ถึงยากก็ทําไม่หยุด ทํา
อยอู่ ย่างนนั้ ถ้าอยู่เฉยๆ แลว้ สบาย เมือ่ ตั้งใจวา่ จะทําให้จิตเป็นหน่ึง
ยง่ิ เอาใหญ่ มนั ยงั ไงกนั ทาํ ไมจึงเป็นอย่างนี้

ตอ่ มาจึงคดิ ไดว้ ่า มันคงเหมือนลมหายใจเราน้ีกระมัง ถ้าว่าจะ
ตง้ั ให้หายใจนอ้ ยหายใจใหญ่ หรือให้มันพอดีดมู ันยากมาก แต่เวลา
เดนิ อยู่ ไม่รวู้ า่ หายใจเข้าออกตอนไหน ในเวลานน้ั ดมู นั สบายแท้ จึง
ร้เู ร่อื งวา่ ออ้ อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เวลาเราเดินไปตามปกติ มิได้
กําหนดลมหายใจ มีใครเคยเป็นทุกข์ถึงลมหายใจไหม? ไม่เคยมัน
สบายจรงิ ๆ ถ้าจะไปนั่งต้ังใจเอาให้มันสงบ มันก็เลยเป็นอุปาทาน
ยึดใสต่ ้ังใส่ หายใจส้ันๆ ยาวๆ เลยไม่เป็นอันกําหนดจิต เกิดมีทุกข์
ยิ่งกว่าเก่า เพราะอะไร? เพราะความตั้งใจของเรากลายเป็นอปุ าทาน
เขา้ ไปยดึ เลยไมร่ เู้ รือ่ ง มนั ลาํ บากเพราะเราเอาความอยากเข้าไปดว้ ย

สภาวธรรม เกดิ เองเป็นเองพอดี

วันหน่ึงขณะท่ีเดินจงกรมอยู่เวลาประมาณห้าทุ่มกว่ารู้สึก
แปลกๆ มันแปลกมาแต่ตอนกลางวนั แลว้ รูส้ ึกวา่ ไม่คิดมากมีอาการ
สบายๆ เขามีงานอยใู่ นหมบู่ า้ นไกลประมาณสบิ เสน้ จากที่พักซ่ึงเป็น

๑๙

วัดปาุ เมือ่ เดนิ จงกรมเมื่อยแลว้ เลยมาน่งั ท่ีกระทอ่ มมฝี าแถบตองบัง
อยู่ เวลาน่งั รสู้ กึ วา่ คู้ขาเข้าเกือบไมท่ ันเอ๊ะจิตมันอยากสงบ มันเป็น
เองของมนั พอน่งั จติ ก็สงบจรงิ ๆ รู้สึกตัวหนักแน่น เสียงเขาร้องรํา
อยู่ในบ้านมิใช่ว่าจะไม่ได้ยิน ยังได้ยินอยู่แต่จะทําให้ไม่ได้ยินก็ได้
แปลกเหมือนกนั เมอ่ื ไมเ่ อาใจใส่ก็เงียบไม่ได้ยิน จะให้ได้ยินก็ได้ไม่
รสู้ กึ ราํ คาญภายในจติ เหมือนวตั ถุสองอย่างต้ังอยู่ไม่ติดกัน ดูจิตกับ
อารมณ์ตั้งอยู่คนละส่วนเหมือนกระโถนกับกาน้ํา น่ีก็เลยเข้าใจว่า
เรื่องจติ เป็นสมาธิ นี่ถ้าน้อมไปก็ได้ยินเสียง ถ้าว่างก็เงียบ ถ้ามันมี
เสียงขึ้นก็ดูตัวผูร้ ้ขู าดกนั คนละส่วน จงึ พิจารณาว่า “ถ้าไม่ใช่อยา่ งนี้
มันจะใช่ตรงไหนอีก” มนั เป็นอยา่ งนีไ้ ม่ติดกันเลย ได้พิจารณาอย่าง
นี้เรื่อยๆ จงึ เขา้ ใจวา่ ออ้ ! อันนี้ก็สําคัญเหมือนกันเรียกว่าสันตติ คือ
ความสืบต่อขาด มันเลยเป็นสันติ แต่ก่อนมันเป็นสันตติ ทีน้ีเลย
กลายเปน็ สันติ ออกมาจงึ น่งั ทําความเพยี รต่อไป จิตในขณะที่น่ังทํา
ความเพยี รคราวนั้นไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอ่ืนเลย ถ้าเราจะหยุดความ
เพียรก็หยุดไดต้ ามสบาย เม่ือเราหยดุ ความเพียร เจา้ เกยี จครา้ นไหม
เจ้าเหนื่อยไหม เจ้าราํ คาญไหม เปลา่ ไมม่ ี ตอบไมไ่ ด้ ของเหล่านี้ไม่
มใี นจติ มีแตค่ วามพอดหี มดทุกอย่างในนน้ั

๒๐

ประสบการณ์การรู้ธรรม ๓ วาระ

ถ้าเราจะหยดุ กห็ ยุดเอาเฉยๆ นีแ่ หละ ต่อมาจงึ หยุดพกั หยุดแต่
การนั่งเทา่ น้ัน ใจเหมือนเก่ายังไม่หยุด เลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมา
วางไว้ต้ังใจจะพักผ่อน เม่ือเอนกายลงจิตยังสงบอยู่อย่างเดิม พอ
ศรี ษะจะถงึ หมอนมีอาการน้อมในใจ ไม่รู้มันน้อมไปไหนแต่มันน้อม
เขา้ ไปนอ้ มเขา้ ไป คลา้ ยกับมสี ายไฟอันหนึ่งไปถูกสวิตซ์ไฟเข้าไปดัน
กับสวิตซอ์ นั นั้น กายกร็ ะเบดิ เสยี งดังมาก ความรู้ท่ีมีอยู่นั้นละเอียด
ทส่ี ุด พอมันผ่านตรงจดุ นั้นกห็ ลดุ เขา้ ไปขา้ งในโน้น ไปอยู่ข้างในจงึ ไม่
มีอะไร แมอ้ ะไรๆ ท้ังปวงก็ส่งเข้าไปไม่ได้ ส่งเข้าไปไม่ถึง ไม่มีอะไร
เขา้ ไป ถึงหยดุ อยู่ขา้ งในสักพกั หน่ึงกถ็ อยออกมา คําว่าถอยออกมานี้
ไม่ใช่ว่าเราจะใหม้ นั ถอยออกมาหรอก เราเป็นเพียงผูด้ ูเฉยๆ เราเป็น
ผรู้ ู้เท่านั้นอาการเหล่าน้ีเปน็ ออกมาๆ กม็ าถึงปกตจิ ติ ธรรมดา

เม่ือเป็นปกติดังเดิมแล้วคําถามก็มีขึ้นมาว่า “น่ีมันอะไร?”
คาํ ตอบเกดิ ข้ึนว่า “ส่งิ เหลา่ นข้ี องเปน็ เอง ไมต่ ้องสงสัยมัน” พูดเทา่ นี้
จิตกย็ อม เม่ือหยดุ อยู่พักหนงึ่ กน็ ้อมเข้าไปอกี เราไมไ่ ด้นอ้ มมันน้อม
เอง พอน้อมเข้าไปๆ ก็ไปถูกสวิตซ์ไฟดังเก่า ครั้งที่สองน้ีร่างกาย
แตกละเอียดหมด หลุดเข้าไปข้างในอีก เงียบย่ิงเก่งกว่าเก่า ไม่มี

๒๑

อะไรส่งเข้าไปถึง เข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควรแล้วก็
ถอยออกมา ตามสภาวะของมันในเวลาน้ันมันเป็นอัตโนมัติ มิได้
แตง่ ว่า จงเป็นอย่างนั้น จงเป็นอย่างน้ี จงออกอย่างน้ี จงเข้าอย่าง
นัน้ ไม่มี เราเป็นเพยี งผู้ทําความรู้ดูอยเู่ ฉยๆ มนั กถ็ อยออกมาถงึ ปกติ
มิได้สงสัยแล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีก คร้ังที่สามน้ีโลกแตก
ละเอียดหมดท้ังพื้นปฐพี แผ่นดินแผ่นหญ้าต้นไม้ภูเขาโลกเป็น
อากาศธาตุหมด ไม่มีคนหมดไปเลย ตอนสดุ ท้ายนีไ้ มม่ ีอะไร

เม่อื เข้าไปอยตู่ ามปรารถนาของมนั ไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไรดูยาก
พดู ยาก ของส่ิงนี้ไม่มอี ะไรจะมาเปรียบปานได้เลย นานท่ีสุดท่ีอยู่ใน
นัน้ พอถงึ กาํ หนดเวลาก็ถอนออกมา คําวา่ ถอน เรากม็ ไิ ด้ถอนหรอก
มันถอนของมันเอง เราเป็นผู้ดูเท่าน้ันก็เลยออกมาเป็นปกติ สาม
ขณะน้ีใครจะเรียกว่าอะไรใครรู้ เราจะเรียกอะไรเลา่

พลกิ โลกพลกิ แผน่ ดนิ

ท่เี ลา่ มาน้เี ร่อื งจติ ตามธรรมชาติทั้งนั้น อาตมามิได้กล่าวถึงจิต
ถงึ เจตสกิ ไม่ต้องอะไรท้ังนั้น มีศรัทธาทําเข้าไปจริงๆ เอาชีวิตเป็น
เดิมพัน เม่ือถึงวาระที่เป็นอย่างน้ีออกมาแล้ว โลกนี้แผ่นดินนี้มัน

๒๒

พลกิ ไปหมด ความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมด ทุกส่ิงทุกอย่างใน
ระยะน้ันถา้ คนอน่ื เห็นอาจจะว่าเราเป็นบ้าจรงิ ๆ ถา้ ผู้ควบคมุ สตไิ มด่ ี
อาจเป็นบ้าได้นะ เพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลย เห็นคนใน
โลกไม่เหมือนเก่า แต่มันก็เป็นเราผู้เดียวเท่านั้น แปลกไปหมดทุก
อย่าง ความนึกคิดท้งั หลายทัง้ ปวงนั้น เขาคดิ ไปทางโน้น แตเ่ ราคิด
ไปทางน้ี เขาพูดมาทางน้ี เราพูดไปทางโนน้ เขาขน้ึ ทางโนน้ เราลง
ทางนี้ มนั ตา่ งกบั มนษุ ยไ์ ปหมด มันกเ็ ปน็ ของมนั เรอ่ื ยๆไป

ท่านมหาลองไปทําดูเถอะ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ไม่ต้องไปดูไกลอะไร
หรอก ดจู ติ ของเราต่อๆไป มันอาจหาญทส่ี ุดอาจหาญมาก น่คี อื เรือ่ ง
กําลงั ของจติ เรอื่ งกาํ ลงั ของจิตมนั เปน็ ได้ถงึ ขนาดน้ี

ทางแยกของวปิ สั สนา กบั อทิ ธิปาฏิหารย์

น่เี ป็นเรอื่ งกําลงั ของสมาธิ ขณะน้ยี งั เป็นกาํ ลงั ของสมาธิอยู่ ถ้า
เป็นสมาธิขัน้ นี้มันสุดของมันแล้ว มันไม่สะกด มันไม่เป็นขณะ มัน
สดุ แล้ว ถา้ จะทําวิปัสสนาท่ีนี่คล่องแล้วจะใช้ในทางอ่ืนก็ได้ ต้ังแต่
บัดน้ีต่อไปจะใช้ฤทธ์ิใช้เดชใช้ปาฏิหาริย์ใช้อะไรๆ อาจใช้ได้ทั้งนั้น
นักพรตทง้ั หลายเอาไปใช้ ใชท้ าํ นํ้ามนตน์ ้ําพร ใชท้ าํ ตะกรุดคาถาได้

๒๓

หมดทั้งน้ัน ถึงข้ันน้ีแล้วมันไปของมันได้มันก็ดีไปอย่างนั้นแหละ ดี
เหมอื นกับเหลา้ ดี กินแล้วกเ็ มาดีไปอย่างน้ันใช้ไมไ่ ด้

ตรงน้เี ป็นท่ีแวะ พระศาสดาท่านแวะตรงน้ี น่ีเป็นแท่นท่ีจะทํา
วิปัสสนาแล้วเอาไปพิจารณา ทีน้ีสมาธิไม่ต้องเท่าไร ดูอาการ
ภายนอกเลย ดูเหตุผลพิจารณาเรอ่ื ยไป ถา้ เปน็ อย่างนี้เราเอาความ
สงบนี้มาพิจารณารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ ท่ีมา
กระทบอารมณ์ แม้จะดีจะชว่ั สขุ ทุกขท์ ้ังหลายท้งั ปวง เหมือนกบั คน
ข้นึ ต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บ
เอาลูกไหนเน่าเราไมเ่ อา เอาแตล่ ูกท่ีดีๆ ไม่เปลืองแรง เพราะไม่ได้
ขึ้นตน้ มะม่วงคอยเกบ็ อยูข่ ้างล่างเท่าน้นั

วิปสั สนา คอื พิจารณาให้เกดิ ปัญญา

ขอ้ นหี้ มายความวา่ อย่างไร อารมณท์ ั้งหลายทัง้ ปวงเกิดมาแล้ว
เอาความรู้มาให้เราหมด มิได้ไปปรุงแต่งมัน ลาภยศ นินทา
สรรเสรญิ สขุ ทุกข์ มนั มาเอง เรามีความสงบมีปัญญาสนุกเฟนู สนุก
เลือกเอา ใครจะว่าดีว่าช่ัวว่าร้ายว่าโน่นว่าน่ี สุขทุกข์ต่างๆ นานา
เป็นตน้ ล้วนแต่เป็นกาํ ไรของเราหมด เพราะมีคนขึ้นเขย่าให้มะม่วง

๒๔

หลน่ ลงมา เราก็สนกุ เกบ็ เอาไม่กลัว จะกลัวทาํ ไม มีคนข้นึ เขย่าลง
มาให้เรา ลาภก็ดียศก็ดีสรรเสริญนินทาสุขทุกข์ท้ังหลายทั้งปวง
เหล่านี้ เปรยี บเหมือนมะมว่ งหลน่ ลงมาหาเรา เราเอาความสงบมา
พิจารณาเก็บเอา เรารู้จกั แล้วลูกไหนดีลูกไหนเน่า เมื่อเร่ิมพิจารณา
ส่ิงเหล่าน้ี อาการทพ่ี จิ ารณาออกจากความสงบเหล่านีแ้ หละ เรียกว่า
ปญั ญาเป็นวิปัสสนา ไมไ่ ด้แต่งมันหรอก วปิ ัสสนานี้ ถ้ามีปัญญามัน
เป็นของมันเอง ไม่ต้องไปตั้งชื่อมัน ถ้ามันรู้แจ้งน้อยก็เรียกว่า
วปิ ัสสนาน้อย ถา้ มันรู้อีกขนาดหนึง่ ก็เรียกว่าวปิ สั สนากลาง ถ้ามันรู้
ตามความเป็นจริงก็เรยี กว่าวิปสั สนาถึงที่สุด เร่ืองวิปัสสนานี้อาตมา
เรียกปญั ญา การไปทาํ วิปสั สนาจะทําเอาเดี๋ยวน้ันๆ ทําได้ยาก มัน
ตอ้ งเดินมาจากความสงบ เร่ืองมนั เป็นเองท้งั หมด ไม่ใช่เร่ืองเราจะ
ไปบังคับ

หนา้ ทขี่ องเราคอื ทาความเพียร

พระศาสดาจึงตรัสวา่ เรื่องของเปน็ เอง เมอ่ื เราทาํ ไปถึงข้นั นแ้ี ล้ว
เราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเรา แต่เราไม่หยุดทําความ
เพยี ร จะช้าหรอื เร็วเราบงั คบั ไมไ่ ด้ เหมอื นปลกู ต้นไม้มันรู้จักของมัน
มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เม่ือทําแล้วจึง

๒๕

เกดิ ผลขึ้นมา เหมือนเราปลกู ตน้ ไมเ้ ช่นปลกู พรกิ ต้นนี้ หน้าที่ของเรา
คอื ขดุ หลมุ ปลกู ใหน้ ํา้ ให้ป฻ุยรักษาแมลง ให้มันเท่าน้ันน่ีเร่ืองของเรา
น่เี ร่อื งศรัทธาของเรา สว่ นตน้ พริกจะโตก็เป็นเรื่องของมันไม่ใช่เรื่อง
ของเรา จะไปดงึ ใหม้ นั ยดื ข้นึ มากไ็ ม่ได้ผิด เร่ืองเราต้องให้น้ําเอาป฻ุย
ใส่ให้

ถา้ เราปฏิบตั ิอย่างน้ี ก็จะสบายจะถึงชาติน้ีก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็
ตาม เรามีศรทั ธาอย่างนี้แล้ว มคี วามร้สู ึกแนน่ อนแลว้ อยา่ งน้ีจะเร็ว
หรือช้าน้ัน เป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเรา ทีนี้ก็รู้สึกสบาย
เหมือนขับรถม้า ก็มิไดเ้ อารถไปกอ่ นม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า
ถ้าไถนาก็เดนิ ก่อนควาย หมายความว่าใจมนั เรว็ มากร้อนมาก ทีนี้ไม่
เปน็ อย่างนั้นไมเ่ ดินก่อนต้องเดินตามหลังควาย

ขา้ เอาน้าํ ใหก้ ินเอาปย฻ุ ให้กิน กินไปเถอะ มดปลวกมา ข้าจะไล่
ให้เจ้า เทา่ น้ันแหละต้นพรกิ ตน้ นมี้ ันกจ็ ะงามขึ้นเอง เมื่อมันงามแล้ว
เราจะบงั คบั ว่าแกต้องเปน็ ดอกเดยี๋ วน้ี ไมใ่ ช่เร่อื งของเรา อย่าทาํ เรา
จะเปน็ ทกุ ขเ์ ปล่าๆ มันจะเป็นของมันเอง เมอื่ มันเป็นดอกแลว้ เราจะ
ให้เปน็ เม็ดเดี๋ยวนี้ อย่าไปบงั คบั มนั ทุกข์จริงนาทุกข์จรงิ ๆ เมื่อรอู้ ย่าง

๒๖

น้ีแลว้ เรารู้จกั หน้าที่ของเราของเขา หน้าทขี่ องใครของมัน จิตก็จะ
ร้หู น้าท่ีการงาน ถ้าจิตไม่รู้หน้าท่ีการงานก็จะไปบังคับต้นพริกให้มี
ผลในวันนั้นเอง ให้มนั โตเป็นดอกเป็นผลขึน้ ในวันนั้น น่ันลว้ นแตเ่ ป็น
ตวั สมทุ ยั เหตใุ ห้เกิดทกุ ขข์ น้ึ มาทง้ั นั้น

ถ้าร้อู ย่างนีค้ ดิ อยา่ งน้ี ร้วู ่ามนั หลงมนั ผิด รู้อย่างนี้แล้วก็ปล่อย
ใหเ้ ปน็ เรอื่ งบญุ วาสนาบารมีต่อไป เราก็ทําของเราไป ไม่ต้องกลัว
ว่าจะนานรอ้ ยชาติพันชาติกช็ ่างมัน จะชาติไหนก็ตามปฏิบัติสบายๆ
นแ่ี หละ

รูค้ วามจรงิ แลว้ ทาผดิ ไม่ได้

จิตถ้าตกกระแสแล้วไม่กลับ ความชั่วนิดหน่อยนั้นพ้นแล้ว
โสดาฯทา่ นว่าจติ น้อมไปแล้ว ท่านจึงวา่ พวกเหลา่ น้จี ะมาสู่อบายอีก
ไมไ่ ด้ มาตกนรกอกี ไม่ได้ จะตกไดอ้ ย่างไร จิตละบาปแล้ว เหน็ โทษ
ในบาปแล้ว จะให้ทําความชั่วทางกายวาจาอีกนั้นทําไม่ได้ เมื่อทํา
บาปไมไ่ ดท้ าํ ไมจึงจะไปสอู่ บาย ทาํ ไมจึงจะไปตกนรกได้ มนั น้อมเขา้
ไปแล้ว เมื่อจิตน้อมเข้าไปมันก็รู้จักหน้าที่ รู้จักการงาน รู้จัก
ปฏิปทา รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา รู้จักกายของเรา รู้จักจิตของเรา

๒๗

รู้จักรูปเรานามเรา สิ่งท่ีควรละวางก็ละไปวางไปเรื่อยๆ ไม่ต้อง
สงสยั

เหน็ อสุภะในทุกคน

น่ีเรื่องท่ีอาตมาได้ปฏิบัติมา ไม่ใช่ว่าจะไปทําให้มันละเอียด
หลายสิ่งหลายประการ เอาใหล้ ะเอียดอยู่ในใจนี้ ถา้ เหน็ รูปนช้ี อบรูป
นี้เพราะอะไร ก็เอารูปน้ีมาพิจารณา ดูว่าเกสาคือผม โลมาคือขน
นขาคือเล็บ ทันตาคือฟนั ตะโจคอื หนัง พระพทุ ธเจ้าให้เอาพวกน้ีมา
พจิ ารณาย้ําเขา้ ไป แยกออกแจกออก เผามันออกลอกมันออก ทํา
อยู่อย่างน้ีเอาอยู่อย่างน้ี จนมันไม่ไปไหน มองพวกเดียวกัน เช่น
พระเณรเวลาเดินบิณฑบาต เหน็ พระเหน็ คน ต้องกําหนดให้เป็นร่าง
ผีตายซากผีตายเดินไปก่อน เราเดินไปข้างหน้าเดินไปเปะๆ ปะๆ
กําหนดมันเข้าทําความเพียรอยู่อย่างนั้น เจริญอยู่อย่างนั้นเห็น
ผ้หู ญิงร่นุ ๆ นึกชอบขึน้ มาก็กําหนดให้เป็นผีเป็นเปรต เป็นของเน่า
เหม็นไปหมด ทกุ คนไม่ใหเ้ ขา้ ใกล้ ใหใ้ นใจของเราเป็นอยู่อย่างน้ี ถึง
อยา่ งไรมนั ก็ไม่อยู่หรอก เพราะมันเป็นของเปื่อยของเน่าให้เราเห็น
แนน่ อน

๒๘

พิจารณาใหม้ นั แน่ ให้มนั เปน็ อยใู่ นใจอยา่ งน้ีแล้ว ไปทางไหน
กไ็ มเ่ สยี ใหท้ ําจริงๆ เห็นเมอ่ื ใดก็เท่ากับมองเหน็ ซากศพ เห็นผู้หญงิ ก็
ซากศพ เห็นผชู้ ายก็ซากศพ ตัวเราเองก็เป็นซากศพด้วยเหมือนกัน
เลย มีแต่ของอยา่ งนี้ท้ังน้นั พยายามเจริญให้มาก บําเพ็ญให้อยู่ใน
ใจน้ีมากข้ึนอีก อาตมาว่ามันสนุกจริงๆ ถ้าเราทําแต่ถ้าไปมัวอ่าน
ตาํ ราอยูม่ นั ยาก ต้องทาํ เอาจรงิ ๆ ทาํ ใหม้ กี รรมฐานในตัวเรา

อย่ามกั งา่ ยข้ามขนั้ ตอน

การเรียนอภิธรรมนัน่ ก็ดีอยู่ แตจ่ ะต้องไมต่ ดิ ตาํ รามุ่งเพ่ือรู้ความ
จริงหาทางพน้ ทกุ ข์จงึ จะถูกทาง เช่น ในปจั จบุ นั มีการสอนการเรียน
วิปัสสนาแบบตา่ งๆ หลายๆอาจารย์ อาตมาว่าวปิ ัสสนาน่มี นั ทาํ ไมไ่ ด้
ง่ายๆ จะไปทําเอาเลยไมไ่ ด้ ถ้าไม่ดําเนินไปจากศีล ลองดูก็ได้เรื่อง
ศีลเรอ่ื งสิกขาบทบัญญัติน่ี ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อยแล้วไปไม่รอด
เพราะเป็นการข้ามมรรค บางคนพูดว่าสมถะไม่ต้องไปทําข้ามไป
วิปัสสนาเลย คนมกั งา่ ยหรอกทพี่ ูดเชน่ นนั้ เขาวา่ ศีลไม่ต้องเกี่ยว ก็
การรกั ษาศีลนี้มันยากมิใช่เล่น ถ้าจะข้ามไปเลยมันก็สบายเท่านั้น
อะไรท่ียากแลว้ ขา้ มไปใครๆ กอ็ ยากขา้ ม

๒๙

มพี ระรปู หนง่ึ บอกว่าเป็นนกั ปฏิบตั ิ เม่ือมาขออยกู่ บั อาตมาถาม
ถึงระเบียบปฏิบัติ จึงอธิบายให้ฟังว่าเมื่อมาอยู่กับผมจะสะสมเงิน
ทองและสงิ่ ของไมไ่ ด้ ผมถอื ตามวนิ ัย ทา่ นพดู ว่าท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่
หมาย อาตมาบอกว่าผมไม่ทราบกบั ทา่ น ทา่ นเลยถามวา่ ถา้ ผมจะใช้
เงินทองแต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม อาตมาตอบว่าได้ถ้าท่านเอา
เกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้ ท่านจะพูดเอาเฉยๆ เพราะท่านข้ี
เกยี จรักษาของจุกๆ จิกๆ น่ีมันยาก เม่ือเอาเกลือมากินท่านไม่เค็ม
แลว้ ผมจงึ เชอ่ื ถ้ามนั ไม่เค็มจะเอามาให้กนิ สักกระทอ(เขง่ เล็ก) ลองดู
มันจะไม่เค็มจริงๆ หรือ เร่ืองไม่ยึดไม่หมายนี้ไม่ใช่เรื่องพูดเอา
คาดคะเนเอาไม่ใช่ ถ้าทา่ นพูดอยา่ งน้ีอย่กู ับผมไมไ่ ด้ท่านจึงลาไป

ศลี และสมถะตอ้ งทาใหม้ าก

เรือ่ งศีลเรื่องธุดงควัตรพวกเราต้องพยายามปฏิบัติ พวกญาติ
โยมก็เหมือนกันถึงปฏิบัติอยู่บ้านก็ตาม พยายามให้มีศีลห้า กาย
วาจาของเราพยายามให้เรียบร้อย พยายามดีๆ เถอะคอ่ ยทาํ ค่อยไป

การทําสมถะน่ี อย่านึกว่าไปทาํ คร้งั หนงึ่ สองครั้งแลว้ มันไม่สงบ
ก็เลยหยดุ ยงั ไมถ่ กู ต้อง ทํานานอย่นู ะ ทาํ ไมจงึ นานคดิ ดสู เิ ราปล่อย

๓๐

มานี่ก่ีปี เราไมไ่ ดท้ าํ มนั ว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมัน มันว่าไปทางน้ีก็
ว่งิ ตามมัน ทีนี้จะมาหยุดให้มันอยู่เท่านี้เดือนสองเดือนจะให้มันน่ิง
มันก็ยงั ไม่พอ คดิ ดูเถดิ เรื่องการทําจติ ใจ ใหเ้ ราเข้าใจวา่ สงบในเรอ่ื ง
สงบในอารมณ์ ทีแรกพอเกิดอารมณ์ใจไม่สงบใจวุ่นวายทําไมจึง
วุ่นวาย เพราะมีตณั หาไมอ่ ยากใหค้ ดิ ไม่อยากให้มีอารมณ์ ความไม่
อยากนีแ่ หละตวั อยาก คือวิภวตัณหา ย่ิงไม่อยากเท่าไรมันย่ิงชวน
กันมา “เราไมอ่ ยากมันทาํ ไมจงึ มา ไม่อยากใหม้ นั เปน็ ทาํ ไมมันเปน็ ”
นั่นแหละเราอยากใหม้ ันเปน็ เพราะเราไม่รจู้ ักใจเจ้าของ แหมเล่นอยู่
กับพวกนี้กว่าจะรตู้ ัวว่าผิดกน็ านโขอยู่ คิดๆ ดูแล้วโอเราไปเรียกมัน
มามนั จงึ มา ไม่อยากใหม้ นั เป็นอยากใหม้ ันสงบไมอ่ ยากใหม้ ันฟูงุ ซ่าน
นแี่ หละความอยากทงั้ แท่งละ

มสี ติดจู ติ เหน็ ความคดิ เกดิ ปญั ญา

ช่างมันเถอะ เราทําของเราไปเมื่อมีอารมณ์อะไรมาก็ให้
พิจารณามันไป เร่ืองอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาท้ิงลงใส่สามขุมน่ีเลย
แล้วคิดไปพจิ ารณาไป เร่ืองอารมณ์น้ันโดยมากเรามีแต่เรื่องคิด คิด
ตามอารมณ์ เรอื่ งคิดกับเรื่องปญั ญามันคนละอย่าง มันพาไปอย่าง
น้นั ก็คิดตามมันไป ถ้าเป็นเร่ืองความคิดมันไม่หยุด แต่เร่ืองปัญญา

๓๑

แลว้ หยดุ อยู่นง่ิ ไม่ไปไหน เราเปน็ ผ้รู บั รู้ไว้ เม่ืออารมณ์อนั น้อี นั น้ันมา
จะเปน็ อย่างน้ีอย่างนั้นเรารู้ๆ ไว้ เม่ือถึงที่สุดแล้วก็ว่าเออเร่ืองเจ้า
คิดเจ้านึกเจ้าวิตกเจ้าวิจารมาน้ี เร่ืองเหล่านี้มันไม่เป็นแก่นสาร
ทัง้ หมดเปน็ เรอื่ งอนจิ จงั ทุกขัง อนตั ตาท้ังสน้ิ ตดั บทมันเลยทิ้งลงใส่
ไตรลักษณ์เลยยบุ ไป ครั้นนั่งต่อไปอีกมนั ก็เกดิ ขึน้ อกี เป็นมาอีก เราก็
ดูมันไปสะกดรอยมนั ไป

เปรียบเหมือนกับเราเล้ียงควายหน่ึง ต้นข้าวสอง ควายสาม
เจ้าของควายจะต้องกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกิน จิต
ของเรากเ็ หมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของ การ
ปฏบิ ตั ิเป็นเหมือนอยา่ งนีไ้ ม่ผิด เปรยี บเทยี บดูเวลาเราไปเลี้ยงควาย
ทําอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันเดินไปใกล้
ต้นขา้ วเราก็ตวาดมัน ควายมนั ได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอ
นะถา้ มนั ด้ือไม่ฟังเสียงก็เอาไม้ค้อนฟาดมันจริงๆ มันจะไปไหนเสีย
มนั จะได้กินต้นข้าวหรือ แต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกัน
ถา้ ขนื นอนหลับตน้ ขา้ วหมดแนๆ่

๓๒

เร่ืองปฏิบัติก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ
ผู้ใดตามดูจติ ผูน้ น้ั จักพ้นจากบ่วงของมาร จิตก็เป็นจิตแล้ว ใครจะ
มาดูจิตอีกเล่า เด๋ียวก็งงงันเท่านั้น จิตอันหนึ่งผู้รู้อันหน่ึง รู้ออกมา
จากจิตน่ัน รู้จิตเป็นอย่างไรสบอารมณ์เป็นอย่างไรปราศจาก
อารมณเ์ ปน็ อยา่ งไร ผู้ที่รู้อันน้ีท่านเรียกว่าผู้รู้ ผู้รู้จะตามดูจิต ผู้รู้น้ี
จะเกดิ ปญั ญา จิตน้นั คือความนึกคิด ถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไป ถ้า
พบอารมณอ์ กี มันกแ็ วะไปอีก เหมือนกับควายเรานัน่ แหละ มันจะไป
ทางไหนเราก็ดูมันอยู่ มันจะไปไหนได้ มันจะไปใกล้ต้นข้าวก็ตวาด
มนั อยวู่ ่าไมฟ่ งั ก็ถกู ไมค้ ้อนเท่าน้ันทรมานมันอยู่ อยา่ งน้ี

จติ กเ็ หมือนกัน เมอื่ ถกู อารมณม์ ันจะเขา้ จับทนั ที เม่อื มันเขา้ จับ
ผูร้ ู้ต้องสอนต้องพจิ ารณามนั วา่ ดีไมด่ ี อธบิ ายเหตุผลให้มันฟัง มันไป
จบั สง่ิ อื่นอีกมันนึกว่าเป็นของน่าเอา ผู้รู้นี้ก็สอนมันอีกอธิบายให้มี
เหตุผลจนมันท้ิงอย่างน้ีจึงสงบได้ จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอา
ทง้ั นัน้ มันก็หยดุ เท่าน้ัน มนั ขเ้ี กียจเหมือนกนั เพราะมแี ต่ถกู ด่าถกู วา่
เสมอทรมานมนั เขา้ ทรมานเขา้ ไปถงึ จติ หดั มนั อยอู่ ย่างน้ันแหละ

๓๓

รตู้ วั เองแลว้ สบาย

ต้ังแต่คร้ังอาตมาปฏิบัติอยู่ในปุาก็ปฏิบัติอย่างน้ี สอนศิษย์
ทั้งหลายก็สอนอย่างน้ี เพราะต้องการเห็นความจริง ไม่ต้องการ
เหน็ ในตาํ รา ต้องการเหน็ ในใจเจา้ ของวา่ ตวั เองหลุดพน้ จากสิ่งท่ีคิด
นนั้ หรือยัง เม่อื หลดุ แลว้ ก็รู้จักเม่ือยังไม่หลุดก็พิจารณาเหตุผลจนรู้
เรอื่ งของมัน ถา้ รู้เรอ่ื งของมนั ก็หลุดเอง ถา้ มอี ะไรมาอกี ติดอะไรอีกก็
พิจารณาส่ิงน้ันอีก ไม่หลุดไม่ไปย้ํามันอยู่ตรงน้ี มันจะไปไหนเสีย
อาตมาชอบให้เป็นอย่างน้ันในตัวเอง เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า
ปัจจัตตังเวทติ ัพโพวญิ ญูหิ วญิ ญชู นท้งั หลายรเู้ ฉพาะตนก็ต้องหาเอา
จากเจ้าของใหร้ ้จู ากตัวเองนแ้ี หละ

ถา้ เช่ือตัวเองกร็ ู้สึกสบาย เขาวา่ ไม่ดีก็สบาย เขาวา่ ดีกส็ บาย เขา
จะว่าอย่างไรก็สบายอยู่ เพราะอะไรจึงสบาย เพราะรู้ตัวเอง ถ้าคน
อน่ื วา่ เราดีแต่เราไม่ดเี ราจะเชอื่ เขาอยา่ งน้ันหรือ เรากไ็ ม่เช่ือเขา เรา
ปฏิบตั ิของเราอยู่ คนไมเ่ ชือ่ ตนเองเม่ือเขาว่าดีก็ดีตามเขาก็เป็นบ้า
ไปอยา่ งน้นั ถา้ เขาวา่ ชวั่ เรากด็ ูเรามนั ไมใ่ ช่หรอก เขาวา่ เราทาํ ผิดแต่
เราไม่ผดิ ดังเขาวา่ เขาพดู ไม่ถูกก็ไมร่ ้จู ะไปโกรธเขาทําไม เพราะเขา
พดู ไมถ่ กู ตามความเปน็ จริง ถา้ เราผิดดังเขาก็ถูกดังเขาว่า แล้วไม่รู้

๓๔

จะไปโกรธเขาทําไมอกี ถา้ คิดได้ดังน้ีรู้สึกว่าสบายจริงๆ มันเลยไม่มี
อะไรผดิ ลว้ นแต่เป็นธรรมทัง้ หมด อาตมาปฏบิ ตั อิ ย่างน้ี ถ้าปฏิบัติ
อย่างนี้มนั ลดั ตรงจริงๆ แม้จะเอาธัมมะธัมโมหรืออภิธรรมมาเถียง
อาตมาก็ไมเ่ ถยี งไม่เถยี งหรอก ใหแ้ ต่เหตุผลเท่านนั้

ใหเ้ ข้าใจเสียว่า เร่ืองปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าให้วางทั้งหมด วาง
อย่างรู้มิใช่ว่าวางอย่างไม่รู้ จะวางอย่างควายอย่างวัวไม่เอาใจใส่
อยา่ งนี้ไมถ่ กู วางเพราะการรู้สมมตบิ ญั ญตั ิความไมย่ ดึ

ยดึ ไวก้ อ่ นพอรอ้ นแล้วกว็ าง

ทแี รกทา่ นสอนวา่ ทาํ ใหม้ าก เจริญให้มาก ยึดให้มาก ยึดพระ
พทุ ธ ยดึ พระธรรม ยดึ พระสงฆ์ ยึดใหม้ ัน่ ท่านสอนอย่างนี้ เราก็ยึด
เอาจริงๆ ยึดไปๆ คล้ายกับท่านสอนว่า อย่าไปอิจฉาคนอื่น ให้ทํา
มาหากินด้วยนํา้ พกั น้าํ แรงตัวเอง มวี วั มีควายมีไร่มีนาให้หาเอาจาก
ของๆเราน่ีแหละ ไม่บาปหรอก ถา้ ไปทําของคนอ่ืนมันบาป ผู้ฟังจึง
เชื่อทําเอาจากของตนเองอย่างเต็มท่ี แต่มันก็ยุ่งยากลําบาก
เหมอื นกนั ทย่ี ากลาํ บากนั้นเพราะของเราเอง ก็ไปบ่นปรับทุกข์ให้
ท่านฟังอีกวา่ มีสิง่ ของใดๆ กย็ งุ่ ยากเป็นทุกข์ เมื่อเห็นความยุ่งยาก

๓๕

แล้วแต่กอ่ นเขา้ ใจวา่ ย่งุ ยากเพราะแย่งชิงของคนอ่ืน ท่านจึงแนะให้
ทําของๆตนนึกว่าจะสบาย คร้นั ทาํ แล้วกย็ งั ยงุ่ ยากอยทู่ ่าน จงึ เทศน์
อยา่ งใหม่ให้ฟงั อีกว่า “มันก็ต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าไปยึดไปหมายมันก็
เป็นอย่างน้ี ไม่วา่ ของใครทัง้ นัน้ ไฟอยู่บ้านเขาไปจบั มันก็ร้อน ไฟอยู่
บ้านเราไปจับมันก็ร้อนอยู่อย่างน้ัน” ท่านก็พูดตามเราเพราะท่าน
สอนคนบ้า การรักษาคนบ้าก็ต้องทําอย่างนั้น พอช้อคไฟได้ท่าน
ก็ช้อค เม่ือก่อนยังอยู่ตํ่าเกินไป เลยไม่ทันรู้จักเร่ืองอุบายของ
พระพุทธเจ้า ท่านสอนเราต่างหาก หมดเรื่องของท่านมาติดเร่ือง
ของเรา ถึงจะเปน็ อยา่ งไรก็ตามเอาอุบายทั้งหลายเหล่าน้ีน่ันแหละ
มาสอนเรา

การปฏิบตั คิ อื การฝืนใจตัวเอง

เร่ืองปฏบิ ตั ินอ่ี าตมาพยายามค้นคิดเหลือเกิน เอาชีวิตเป็นเดิม
พันเพราะเชอ่ื ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคผลนิพพานมีอยู่มันมี
อยดู่ งั พระองค์ตรัสสอน แต่ว่าสิ่งเหล่าน้ันเกิดจากการปฏิบัติดี เกิด
จากการทรมานกล้าหาญกลา้ ฝกึ กลา้ หดั กล้าคดิ กล้าแปลงกล้าทาํ

๓๖

การทําน้ันทําอย่างไร ท่านให้ฝืนใจตัวเอง ใจเราคิดไปทางน้ี
ท่านใหไ้ ปทางโน้น ใจเราคิดไปทางโน้นท่านให้มาทางนี้ ทําไมท่าน
จึงฝนื ใจ เพราะใจถูกกิเลสเขาพอกมาเต็มท่ีแล้ว มันยังไม่ได้ฝึกหัด
ดัดแปลง พระองค์จึงไม่ให้เชื่อ มันยังไม่เป็นศีลยังไม่เป็นธรรม
เพราะใจมันยังไม่แจ้งไม่ขาวจะไปเชื่อมันได้อย่างไรได้ ท่านจึงมิให้
เชอ่ื เพราะใจเป็นกิเลส ทแี รกมันเป็นลูกน้องกิเลส อยู่นานๆ ไปเลย
กลายเปน็ กิเลส ทา่ นเลยบอกวา่ อยา่ เชอ่ื ใจ

ดเู ถิดขอ้ ปฏิบัติมีแต่เรอ่ื งฝืนใจท้งั นนั้ ฝนื ใจก็เดอื ดรอ้ น พอเดือดร้อน
ก็บ่นวา่ แหมลําบากเหลือเกิน ทําไม่ได้ แต่พระองค์ไม่นึกอย่างนั้น
ทรงนึกว่าถา้ เดอื ดรอ้ นน้ันถูกแลว้ แต่เราเข้าใจว่าไมถ่ ูก เป็นเสยี อย่าง
นี้ มันจึงลําบากเมื่อเริ่มทํา เดือดร้อนเราก็นึกว่าไม่ถูกทาง คนเรา
อยากมีความสุขมันจะถกู หรือไม่ถกู ไมร่ ู้ เมื่อขัดกับกิเลสตัณหาก็เลย
เป็นทกุ ขเ์ ดอื ดรอ้ นก็หยุดทํา เพราะเข้าใจว่าไม่ถูกทาง แต่พระองค์
ตรัสวา่ ถูกแล้วถกู กิเลสแล้ว กเิ ลสมนั เรา่ รอ้ นแตเ่ รานกึ วา่ เราเรา่ รอ้ น

พระพทุ ธเจ้าว่ากิเลสเรา่ รอ้ น เราท้งั หลายเปน็ อย่างนม้ี นั จงึ ยาก
เราไม่พจิ ารณาโดยมากมกั เป็นไปตามกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลม

๓๗

ถานโุ ยค มันติดอยู่น่อี ยากทําตามใจของเรา อนั ไหนชอบก็ทํา อยาก
ทําตามใจให้นั่งสบายนอนสบาย จะทําอะไรก็อยากสบาย น่ีกาม
สขุ ลั ลกิ านโุ ยค ตดิ สขุ มันจะไปได้อยา่ งไร

ถ้าหากเอากามความสบายไม่ได้แล้ว ความสุขไม่ได้แล้ว ก็ไม่
พอใจโกรธข้ึนมา ก็เป็นทุกข์เป็นโทสธรรม นี่เป็นอัตตกิลมถานุโยค
ซ่งึ ไมใ่ ชห่ นทางของผ้สู งบ ไม่ใชห่ นทางของผูร้ ะงบั

กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทางสองเส้นน้ีพระพุทธเจ้า
ไม่ให้เดิน ความสุขพระองค์ให้รับทราบไว้ ความโกรธความเกลียด
ความไม่พอใจก็ไม่ใช่ทางท่ีพระพุทธเจ้าเดิน ไม่ใช่ทางของสมณะ
เปน็ ทางทชี่ าวบา้ นเดินอยู่ พระผ้สู งบแลว้ ไม่เดินอย่างนนั้ เดนิ ไปตรง
กลางสัมมาปฏิปทา นกี่ ามสขุ ลั ลิกานุโยคอยู่ทางซา้ ยอตั ตกิลมถานโุ ย
คอยทู่ างขวา

เดนิ ทางสายกลาง คอื สงบวางสขุ วางทุกข์

ดังนน้ั ถ้าจะบวชปฏบิ ตั ติ อ้ งเดนิ ทางสายกลางนี้ เราจะไมเ่ อาใจ
ใสค่ วามสขุ ความทกุ ข์ จะวางมนั แตร่ สู้ กึ ว่ามันเตะเรา เด๋ียวไอ้นี่เตะ

๓๘

ทางนี้ ไอน้ นั่ เตะทางน้ัน เหมือนกับลูกโปุงลาง(กระด่ิงที่ทําด้วยไม้)
มันฟดั เราทง้ั สองขา้ งเขา้ ใสก่ ัน มสี องอยา่ งนี้แหละเตะเราอยู่ ดังนั้น
พระองคเ์ ทศนค์ รัง้ แรกจงึ ทรงยกทางท่สี ดุ ท้ังสองขึ้นแสดงเพราะมัน
ติด อยู่น่ี ความอยากได้สุขเตะทางน้ีบ้าง ความทุกข์ไม่พอใจเตะ
ทางโน้นบ้าง สองอย่างเทา่ นน้ั เล่นงานเราตลอดกาล

การเดินทางสายกลาง เราจะวางสุข เราจะวางทุกข์สัมมา
ปฏิปทา ตอ้ งเดินสายกลางเม่อื ความอยากได้สุขมากระทบ ถ้าไม่ได้
สุขมันก็ทุกข์เท่าน้ัน จะเดินกลางๆ ตามทางพระพุทธเจ้าเดินน้ัน
ลาํ บาก มันมีสองอยา่ งคือดีกบั ร้ายเทา่ น้นั ถ้าไปเช่ือพวกนี้ก็ต้องเป็น
อย่างน้ี ถ้าโกรธขึ้นมาก็คว้าหาท่อนไม้เลยไม่ต้องอดทน ถ้าดีก็ลูบ
ตั้งแตศ่ ีรษะจดปลายเท้า น่นั ใชเ่ ล้วทางสองข้างมันไมไ่ ปกลางๆ สักที
พระพุทธเจา้ ทา่ นไมใ่ ห้ทําอย่างนัน้ ทา่ นใหค้ ่อยๆ วางมนั ไปทางสาย
นคี้ ือสัมมาปฏิปทา ทางเดนิ ออกจากภพจากชาติทางไม่มีภพไม่มชี าติ
ไม่มสี ขุ ไมม่ ที ุกขไ์ ม่มดี ไี ม่มี ช่ัว มนุษย์ท้ังหลายท่ีต้องการภพ ถ้าตก
ลงมากถ็ ึงสขุ นมี่ ันมองไมเ่ ห็นตรงกลางผ่านเลยลงมานี่ ถ้าไม่ได้ตาม
ความพอใจก็เลยมาน่ี ข้ามตรงกลางไปเรื่อย ที่พระอยู่เรามองไม่
เห็นสักที วิ่งไปวิ่งมาอยู่น่ีแหละไม่อยู่ตรงที่ ไม่มีภพไม่มีชาติเราไม่

๓๙

ชอบจงึ ไม่อยู่ บางทกี ็เลยลงมาขา้ งล่างถกู สนุ ขั กัดปีนข้นึ ไปข้างบนก็
ถกู อแี ร้งอีกาปากเหลก็ มาจกิ กระบาล กเ็ ลยตกนรกอย่ไู มห่ ยดุ ไม่ย้ัง
เทา่ นน้ั นแี่ หละภพ

อนั ทว่ี า่ ไม่มภี พไมม่ ชี าติ มนษุ ย์ทง้ั หลายไมเ่ หน็ จิตมนษุ ย์มองไม่
เหน็ จึงขา้ มไปขา้ มมาอยู่อย่างนั้น สัมมาปฏิปทาคือทางสายกลางที่
พระพุทธเจ้าเดินพ้นภพพ้นชาติเป็นอัพยากตธรรม จิตนี้วางน่ีเป็น
ทางของสมณะ ถ้าใครไม่เดินเกิดเป็นสมณะไม่ได้ ความสงบเกิด
ไม่ได้ ทาํ ไมจึงสงบไมไ่ ด้เพราะมนั เป็นภพเป็นชาตเิ กดิ ตายอยูน่ น่ั เอง
แตท่ างน้ีไม่เกดิ ไมต่ ายไม่ตา่ํ ไมส่ ูงไม่สขุ ไม่ทุกขไ์ มด่ ีไม่ช่ัวกบั ใคร ทางนี้
เปน็ ทางตรงเป็นทางสงบระงับสงบจากความสุขความทุกข์ความดี
ใจความเสยี ใจ นคี้ อื ลกั ษณะปฏิบตั ิ ถ้าใจเราเปน็ อยา่ งนแี้ ล้วหยุดได้
หยดุ ถามได้แลว้ ไม่ตอ้ งไปถามใคร

นแี่ หละพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ไม่
ตอ้ งถามใคร ร้เู ฉพาะตนแน่นอนอยา่ งนั้น ถกู ตามทพี่ ระองคท์ รงสอน
ไว้ อาตมาเล่าประวัติย่อๆ ท่ีเคยทําเคยปฏิบัติมา ไม่ได้รู้มากไม่ได้
เรียนมาก เรียนจากจิตใจตนเองตามธรรมชาตินี้ โดยทดลองทําดู

๔๐

เมื่อมันชอบข้นึ มากไ็ ปตามมันดูมัน จะพาไปไหนมีแต่มันลากเราไป
หาความทกุ ขโ์ น่น เราปฏบิ ตั ิดูตัวเองจึงค่อยรู้จักค่อยรู้ข้ึนเห็นขึ้นไป
เอง ใหเ้ ราพากนั ตัง้ อกตงั้ ใจทาํ

การปฏิบตั ิ ต้องตงั้ ใจและพยายาม

ถ้าอยากปฏิบัติให้ท่านมหาพยายามอย่าคิดให้มาก ถ้าจะนั่ง
สมาธิแล้วอยากให้มันเป็นอย่างน้ันเป็นอย่างนี้หยุดดีกว่า เวลานั่ง
สงบจะนึกวา่ ใช่อนั นน้ั ไหมใช่อันนี้ไหม หยุด เอาความรู้ปริยัติใส่หีบ
ใสห่ ่อไว้เสยี อยา่ เอามาพูด ไมใ่ ช่ความรู้พวกนัน้ จะเข้ามาอยูน่ ่หี รอก
มันพวกใหม่ เวลาเป็นข้นึ มามนั ไมเ่ ป็นอยา่ งนนั้ เหมือนกับเราเขียน
ตัวหนังสือว่า “ความโลภ” เวลามันเกิดในใจไม่เหมือนตัวหนังสือ
เวลาโกรธก็เหมือนกันเขียนใส่กระดานดําเป็นอย่างหน่ึงมันเป็น
ตวั อักษร เวลามนั เกิดในใจอ่านอะไรไม่ทันหรอก มันเป็นข้ึนมาที่ใจ
เลย สาํ คัญนกั สําคัญมาก

ปรยิ ัติ เขียนไวก้ ็ถูกอยู่ แต่ต้องโอปนยิโกให้เป็น คนน้อมถ้าไม่
น้อมก็ไม่รู้จักจริงๆ มันไม่เห็น อาตมาก็เหมือนกันไม่ได้ศึกษาเล่า
เรียนมาก เคยสอบปรยิ ตั ิธรรมมีโอกาสได้ไปฟังครูบาอาจารย์เทศน์

๔๑

ใหฟ้ ังจนจะเกิดความ ประมาทฟังเทศน์ไม่เป็น พวกพระกรรมฐาน
พระธุดงคน์ ี่ไม่รู้ พูดอยา่ งไรพูดเหมือนกับมีตัวมีตนจริงๆ จะไล่เอา
จริงๆ ต่อมาค่อยทําไปปฏิบัติไปๆ จึงเห็นจริงตามท่ีท่านสอน ท่าน
เทศน์ให้ฟังก็รู้เปน็ เหน็ ตามมันเป็นอยู่ในใจของเรานี่เอง ต่อไปนานๆ
จงึ รู้วา่ มนั กล็ ้วนแตท่ ่านเหน็ มาแล้ว ทา่ นเอามาพูดให้ฟังไม่ใช่ว่าท่าน
พูดตามตํารา ท่านพูดตามความรคู้ วามเห็นจากใจให้ฟัง เราเดนิ ตาม
ก็ไปพบทที่ ่านพูดไวห้ มดทุกอยา่ ง จึงนกึ ว่ามนั ถกู แลว้ น่ี จะอย่างไหน
อีก เอาเท่าน้แี หละ อาตมาจึงปฏิบตั ิต่อไป

คนทาจะได้

การปฏิบตั นิ น้ั ให้พยายามทาํ มนั จะสงบหรือไม่สงบก็ชา่ งปล่อย
ไวก้ อ่ น เอาเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรก เอาเร่ืองเราได้สร้างเหตุน่ี
แหละ ถา้ ทาํ แล้วผลจะเป็นอย่างไรก็ได้ เราทาํ ได้แลว้ อย่ากลัวว่าจะ
ไม่ได้ผลมนั ไมส่ งบเราก็ได้ทํา ทีน้ีถ้าเราไม่ทําใครเล่าจะได้ ใครเล่า
จะเห็น คนหาน่ันแหละจะเห็นคนกินน่ันแหละจะอ่ิม ของแต่ละสิ่ง
ละอย่างมันโกหกเราอยู่ สิบคร้ังให้มันรู้ก็ยังดีอยู่ คนเก่ามาโกหก
เร่ืองเก่าถ้ารู้จักก็ดีอยู่ มันนานเหลือเกินกว่าจะรู้มันพยายามมา
หลอกลวงเราอยูน่ ี่

๔๒

ดังนั้นถา้ จะปฏิบัติแลว้ ให้ตงั้ ศีลสมาธปิ ัญญาไว้ในใจของเรา ให้
นกึ ถงึ พระรัตนตรยั คือพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ เลิกสิ่งท้ังหลาย
ทั้งปวงออกเสีย การกระทําของเราน้ีเองเป็นเหตุเกิดขึ้นในภพใน
ชาตหิ นง่ึ จริงๆ เปน็ คนซื่อสัตย์กระทาํ ไปเถอะ

การปฏิบัติน้ันแม้จะนั่งเก้าอ้ีอยู่ก็ตาม กําหนดได้เบื้องแรกไม่
ต้องกําหนดมาก กําหนดลมหายใจเข้าออกหรือจะว่าพุทโธธัม
โมสังโฆก็ได้ แล้วกําหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อกําหนดให้มีความ
ตง้ั ใจไว้วา่ การกาํ หนดลมนจ้ี ะไมบ่ ังคับถ้าเราจะลําบากกับลมหายใจ
แล้วยังไม่ถูก ดเู หมอื นลมหายใจสั้นไปยาวไปค่อยไปแรงไปเดินลม
ไม่ถูกไมส่ บาย แต่เมอ่ื ใดลมออกก็สบายลมเขา้ ก็สบายจติ ของเรารจู้ กั
ลมเขา้ รูจ้ กั ลมออก น่นั แมน่ แล้วถกู แลว้ ถา้ ไมแ่ ม่นมันยังหลง ถ้ายัง
หลงกห็ ยดุ กําหนดใหม่ เวลากาํ หนดจิตอยากเป็นน่ันเป็นน่ีหรือเกิด
แสงสว่างเป็นปราสาทราชวังขึ้นมาก็ ไม่ต้องกลัว ให้รู้จักมันให้ทํา
เร่ือยไปบางคร้ังทําไปๆ ลมหมดก็มีหมดจริงๆ ก็จะกลัวอีกไม่ต้อง
กลัวมันหมดแต่ความคิดของเราเท่าน้ัน เรื่องความละเอียดยังอยู่ไม่
หมดถึงกาลสมัยแลว้ มนั ฟนื้ กลบั ขนึ้ มาของมันเอง

๔๓

ทาจติ ให้สงบก่อน แล้วจึงพจิ ารณาอารมณ์

ใหใ้ จสงบไปอยา่ งนเี้ สียกอ่ น นัง่ อยทู่ ่ไี หนก็ตามน่งั เกา้ อ้ีนั่งรถนั่ง
เรือก็ตาม ถ้ากําหนดเม่ือใดให้มันเข้าเลย ข้ึนรถไฟพอน่ังลงให้มัน
เข้าเลยอยทู่ ไี่ หนนง่ั ไดท้ ั้งนน้ั ถา้ ขนาดน้ีรูจ้ ักแล้วรู้จักทางบ้างแล้วจึง
มาพจิ ารณาอารมณ์ ใช้จิตท่ีสงบน่ันพิจารณาอารมณ์ รูปบ้างเสียง
บ้างกลิ่นบ้างรสบ้างโผฏฐัพพะบ้างธรรมารมณ์บ้างท่ีเกิดขึ้น ให้มา
พิจารณาชอบหรือไมช่ อบตา่ งๆ นานา ให้เป็นผู้รับทราบไว้อย่าเข้า
ไปหมายในอารมณ์นั้น ถ้าดีก็ใหร้ ู้วา่ ดี ถ้าไม่ดกี ็ใหร้ ู้ว่าไม่ดี อันนี้เป็น
ของสมมติบัญญัติ ถ้าจะดีจะชั่วก็เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาทั้งน้ัน
เปน็ ของไม่แนน่ อนไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อ่านคาถานี้ไว้ด้วย ถ้าทําได้
อย่างน้ีเร่ือยๆ ไปปัญญาจะเกิดเองอารมณ์นั้นเป็นอนิจจังทุกขัง
อนตั ตา ท้ิงใส่สามขุมนี้นี้เป็นแก่นของวิปัสสนา ทิ้งใส่อนิจจังทุกขัง
อนัตตา ดีชั่วร้ายอะไรก็ท้ิงมันใส่น่ี ไม่นานเราก็จะเกิดความรู้
ความเห็นขึ้นมาในอนจิ จังทุกขงั อนตั ตา เกดิ ปญั ญาออ่ นๆ ข้ึนมา น่ัน
แหละเรือ่ งภาวนาให้พยายามทําเร่ือยๆ ศีลห้านี้ถือมาหลายปีแล้ว
มิใช่หรอื เร่ิมภาวนาเสยี ใหร้ ูค้ วามจริงเพื่อละเพอ่ื ถอนเพือ่ ความสงบ

๔๔

นักปฏบิ ัตติ ้องรักษาวนิ ยั และเชอ่ื ฟงั อาจารย์

พดู ถึงการสนทนาแล้วอาตมาสนทนาไมค่ อ่ ยเปน็ มันพดู ยากอยู่
ถา้ ใครอยากรจู้ ักตอ้ งอยูด่ ้วยกันอยู่ไปนานๆ กร็ ้จู กั หรอก อาตมาเคย
ไปเท่ียวธุดงคเ์ หมือนกัน อาตมาไม่เทศน์ไปฟังครูบาอาจารย์รูปนั้น
รูปน้เี ทศน์ มิใชว่ า่ ไปเทศนใ์ หท้ า่ นฟัง ทา่ นพดู อะไรก็ฟังฟังเอา พระ
เลก็ พระน้อยเทศน์กฟ็ งั เราจะฟังก็ฟังไม่ค่อยสนทนาไม่รู้จะสนทนา
อะไร ทจี่ ะเอากเ็ อาตรงทีล่ ะท่ีวางน่นั เอง ทําเพื่อมาละมาวางไม่ต้อง
ไปเรียนให้มาก แก่ไปทุกวันๆ วันหน่ึงๆ ไปตะปบแต่แสงอยู่นั่นไม่
ถูกตวั สกั ที การปฏิบตั ธิ รรมแม้จะมหี ลายแบบอาตมาไม่ตถิ า้ รู้จกั ตาม
ความหมาย ไมใ่ ช่วา่ จะผดิ แตถ่ ้าเป็นนกั ปฏิบัตแิ ล้วไม่ค่อยรักษาวินัย
อาตมาว่าจะไปไม่ รอด เพราะมันข้ามมรรค ข้ามศีล สมาธิ ปัญญา
บางทา่ นพดู วา่ อย่าไปตดิ สมถะ อย่าไปเอาสมถะ ผ่านไปวปิ ัสสนาเลย
อาตมาเหน็ วา่ ถา้ ผ่านไปเอาวิปัสสนาเลยมันจะไปไม่รอด

วธิ ปี ฏิบัตขิ องท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์ม่ัน ท่านอาจารย์
ทองรัต ท่านเจ้าคุณอบุ าลี นี่หลักนี้ อย่าทง้ิ แนน่ อนจริงๆ ถ้าทาํ ตาม
ทา่ น ถา้ ปฏิบตั ติ ามท่านเห็นตัวเองจริงๆ ท่านอาจารย์เหล่าน้ีเรื่อง
ศีลท่านพยายามรักษาให้แน่นอน ท่านไม่ให้ข้ามการเคารพครูบา

๔๕

อาจารย์ การเคารพข้อวัตรปฏิบัตินั้น ถ้าครูบาอาจารย์บอกให้ทําก็
ทาํ ถ้าทา่ นวา่ ผดิ ให้หยดุ กห็ ยุด ชอื่ วา่ ทาํ เอาจริงๆจงั ๆ ให้เห็นให้เป็น
ขึน้ ในใจ ท่านอาจารย์บอกอย่างน้ี ดงั นั้นพวกลูกศิษยท์ ัง้ หลายจึงมี
ความเคารพยําเกรงในครูบาอาจารย์มาก เพราะเห็นตามรอยของ
ทา่ น

ลองทําดูซทิ าํ ดงั ทอี่ าตมาพดู ถ้าเราทํามันก็เห็นก็เป็น ทําไมจะ
ไม่เปน็ เพราะเป็นคนทําคนหา อาตมาว่ากิเลสมันไม่อยู่หรอกถ้าทํา
ถูก เรอ่ื งของมันเป็นผู้ละพูดจาน้อย เป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลาย
ทั้งปวง คนพูดผิดก็ฟังได้คนพูดถูกก็ฟังได้หมด พิจารณาตัวเองอยู่
อย่างนี้ อาตมาว่าเป็นไปได้ทีเดียวถ้าพยายาม แต่ว่าไม่ค่อยมีนัก
ปริยัติที่มาปฏบิ ตั ยิ งั มีน้อยอยู่ คดิ เสียดายเพือ่ นๆทั้งหลายเคยแนะนาํ
ให้มาพิจารณาอยู่

ถา้ ปฏบิ ตั ิแล้ว จะรซู้ ง้ึ รแู้ จ้งร้ชู ดั

ทา่ นมหามาท่ีนกี่ ็ดีแล้ว เป็นกําลังอันหนึ่งแถวบ้านเรา บ้านไผ่
ใหญ่ หนองลกั หนองขุ่น บ้านโพนขาวล้วนแต่เป็นบ้านสํานักเรียน
ทง้ั นั้น เรยี นแต่ของท่มี ันต่อกนั ไมต่ ดั สักที เรียนแต่สันตติ เรียนสนธิ

๔๖

ต่อกันไป ถ้าเราหยุดได้เรามีหลักวิจัยอย่างน้ีดีจริงๆ มันไม่ไปทาง
ไหนหรอก มนั ไปอย่างทเี่ ราเรยี นน่ันแหละ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติผู้เรียนไม่
คอ่ ยรู้ ถ้าปฏิบัติแลว้ กร็ ้ซู ึง้ สิ่งท่ีเราเคยเรียนมาแจ้งออกชัดออกเริ่ม
ปฏิบัติเสยี ใหเ้ ข้าใจอยา่ งนี้

พยายามมาอย่ตู ามปาุ ทก่ี ุฏิเล็กๆ นี้มาฝึกมาทดลองดูบ้างดีกว่า
เราไปเรียนปริยัติอย่างเดียวให้พูดอยู่คนเดียว ดูจิตดูใจเราคล้ายๆ
กับว่าจติ มนั วางเปน็ ปกติ จิตถ้ามันเคล่ือนออกจากปกติเช่นมันคิด
มันนึกต่างๆ น่ันเป็นสังขาร สังขารน้ีมันจะปรุงเราต่อไประวังให้ดี
ให้รู้มันไว้ ถา้ มนั เคลอ่ื นออกจากปกตแิ ล้วไมเ่ ป็นสัมมาปฏิปทาหรอก
มนั จะก้าวไปเป็นกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ของพวกน้ี
มนั ปรุงนน่ั แหละเปน็ จิตสงั ขาร ถ้ามนั ดกี ด็ ี ถ้ามันชั่วก็ชั่ว มันเกิดกับ
จิตของเรา อาตมาวา่ ถ้าไดจ้ ้องดูมันอยู่อย่างนี้รู้สึกว่าสนุก ถ้าจะพูด
เรอื่ งนี้อยู่อยา่ งเดยี วแล้วสนกุ อยู่ตลอดวัน

เมื่อรู้จกั เรอ่ื งวาระของจติ กเ็ ห็นมีอาการอย่างน้ี เพราะกิเลสมัน
อบรมจติ อยู่ อาตมาเห็นว่าจิตน้ีเหมือนกับจุดจุดเดียวเท่านั้น อันที่
เรียกว่าเจตสกิ นัน่ เป็นแขก แขกมาพกั อย่ตู รงจดุ นี้ คนนั้นมาเยี่ยมเรา

๔๗

บา้ ง คนนน้ั มาเยี่ยมเราบา้ ง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้
เราจึงเรียกพวกนนั้ ที่ออกจากจิตของเรามาเปน็ เจตสิกหมด

มีสตริ ตู้ น่ื อยเู่ ฝ้าดจู ติ

ทีนเ้ี รามาทาํ จิตของเราใหเ้ ปน็ ผู้รตู้ นื่ อยู่ คอยรกั ษาจิตของเราอยู่
ถา้ แขกมาเมื่อไรโบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหนมีที่น่ังท่ีเดียวเท่านั้น
เราก็พยายามรบั แขกอยูต่ รงนี้ตลอดวนั น่คี อื พทุ โธตัวต้ังม่ันอยู่ นี่ทํา
ความร้นู ไ้ี ว้จะได้รักษาจติ เรา น่ังอยู่ตรงน้ีแล้วแขกท่ีเคยมาเย่ียมเรา
ต้งั แต่เราเกิดตัวเล็กๆ โน้นมาทีไรก็มาท่ีนี่หมด เราจึงรู้จักมันหมด
เลยพุทโธอยู่คนเดียว พูดถงึ อาคันตุกะแขกท่ีจรมาปรุงมาแต่งต่างๆ
นานาใหเ้ ราเป็นไปตามเรอ่ื งของมัน อาการของจิตที่เปน็ ไปตามเร่ือง
ของมันนี่แหละเรยี กว่าเจตสิก มันจะเปน็ อะไรจะไปไหนก็ช่างมัน ให้
เรารจู้ กั อาคันตกุ ะท่มี าพกั ทรี่ บั แขกมีเกา้ อ้ีตัวเดยี วเทา่ นี้เองเราเอาผู้
หน่งึ ไปนั่งไว้แลว้ มนั ก็ไม่ มที ่นี ่ัง มนั มาท่ีน่ีมันก็จะมาพูดกับเรา ครั้ง
น้ไี ม่ไดน้ ่งั ครั้งต่อไปกจ็ ะมาอกี มาเม่ือไรก็พบแต่ผู้น้ีนั่งอยู่ไม่หนีสักที
มันจะทนมากค่ี ร้ังเพยี งพดู กนั อยู่ทน่ี น่ั เรากจ็ ะรู้จักหมดทุกคนพวกท่ี
ต้งั แต่เรารู้เดียงสาโน้นมันจะมาเยี่ยมเราหมด น่ันแหละเพียงเท่านี้


Click to View FlipBook Version