The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรสถานศึกษาฯ ศพด.บ้านสายร่องข่า ปรับปรุง2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หลักสูตรสถานศึกษาฯ ศพด.บ้านสายร่องข่า ปรับปรุง2564

หลักสูตรสถานศึกษาฯ ศพด.บ้านสายร่องข่า ปรับปรุง2564

หลกั สตู รสถานศึกษา ระดับปฐมวยั

ศูนย์พัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายรอ่ งข่า

ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช 2564

ตามหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวยั
พุทธศกั ราช 2560

ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบ้านสายรอ่ งข่า
สังกดั องค์การบรหิ ารสว่ นตาบลเชงิ ชุม
องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน กระทรวงมหาดไทย

ประกาศศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบ้านสายรอ่ งขา่
เรื่อง ให้ใช้หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั ศนู ย์พัฒนาเด็กเลก็ บ้านสายร่องขา่

ฉบบั ปรับปรุง พุทธศักราช 2564
ตามหลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560
-----------------------------------------------------------

การจัดการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้
กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำหลักสูตรระดบั สถานศึกษา โดยมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
และสภาพตามบริบทบางวฒั นธรรม วถิ ชึ วิตของสงั คม ชุมชน และท้องถน่ิ ของผู้เรยี นซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ เพื่อให้สถานศึกษาได้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมี
มาตรฐานทัดเทียมกัน ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งที่ สพฐ.1223/2560 ลงวันที่ 3 สิงหาคม
2560 เร่ือง ให้ใชห้ ลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560 แทนหลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พุทธศักราช
2546 ตั้งแตป่ กี ารศึกษา 2561 เปน็ ตน้ ไป

ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า สังกดั องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัด
สกลนคร จึงได้ตระหนกั ถึงความสำคัญของภารกิจดังกล่าว จึงได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564 โดยกำหนดถึงความสอดคล้องกับหลักสูตร
การศกึ ษาปฐมวยั พุทธศกั ราช 2560 เพือ่ ใหผ้ บู้ รหิ ารศูนย์พัฒนาเดก็ เล็ก ครู ผดู้ แู ลเด็ก ผ้ปู กครอง ชุมชนและ
ผูม้ สี ่วนเก่ยี วขอ้ งกับการพฒั นาเด็กปฐมวัย มคี วามรู้ ความเขา้ ใจท่ีชดั เจนและสามารถนำไปใช้ในการจดั กิจกรรม
ประสบการณ์อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ สมตามเจตนารมณข์ องหลกั สูตรสถานศกึ ษาท่ีกำหนดไว้ ในฉบับน้ี

ทั้งนี้หลักสูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั ศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ บ้านสายร่องข่า ฉบับปรังปรุง พุทธศักราช
2564 ฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า เป็นที่
เรียบร้อยแล้ว จึงประกาศให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยฯ ฉบับนี้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่อง
ข่า สงั กัดองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชงิ ชุม ตง้ั แตป่ กี ารศึกษา 2564 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๖4

ลงชือ่ ........................................................
(นางสาววชิราภรณ์ พาระแพง)
หวั หนา้ สถานศึกษา



คำนำ

การจัดการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
ได้กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษา โดยมีความสอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลาง และสภาพตามบริบททางวัฒนธรรม วิถีชีวิตของสังคม ชุมชน และท้องถิ่นของผู้เรียน ซึ่งมีลักษณะ
แตกต่างกันไป ทั้งน้ีเพื่อให้สถานศึกษาได้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้มี
ประสิทธิภาพ และมมี าตรฐานทัดเทียมกัน ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการ ไดม้ คี ำส่งั ที่ สพฐ. 1223/2560
ลงวันท่ี 3 สิงหาคม 2560 เร่ือง ให้ใช้หลักสตู รการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560 แทนหลกั สูตรการศึกษา
ปฐมวยั พุทธศักราช 2546 ตัง้ แตป่ กี ารศึกษา 2561 เป็นตน้ ไป

ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชงิ ชมุ ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณา
นิคม จังหวัดสกลนคร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจดังกล่าว จังได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับ
ปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564 โดยกำหนดถึงความสอดคล้อง
กับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560 ของกระทรวงศกึ ษาธกิ ารท่ไี ด้มีคำส่ังให้ใชใ้ นการจัดการเรียน
การสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง
ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ใน
การจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรสถานศึ กษาท่ี
กำหนดไว้ ในฉบบั นี้

ศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า
สงั กดั องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเชิงชมุ

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กลก็ บ้านสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศักราช 2564
องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร



สารบญั

หน้า

ประกาศใชห้ ลักสูตรสถานศึกษา ก
คำนำ ข
สารบญั 1
ปรัชญาการศกึ ษาปฐมวัย 1
วิสยั ทศั น์การศึกษาปฐมวยั 1
หลกั การจดั การศึกษาปฐมวยั 2
จดุ หมายการศึกษาปฐมวัย 2
ภารกิจการจดั การศกึ ษาปฐมวัย 3
เป้าหมายการจดั การศึกษาปฐมวยั 3
แนวคิดการจดั การศึกษาปฐมวัย 5
พฒั นาการเด็กปฐมวยั 6
มาตรฐานและคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ สำหรบั เด็กอายุ 2 – 5 ปี 8
ข้นั ตอนการจัดทำหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัยศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก สำหรับเด็กอายุ 2 – 5 ปี 9
หลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั ศูนยพ์ ัฒนาเดก็ เล็ก สำหรับเด็กอายุ 2-3 ปี 9
9
จดุ หมาย 15
คุณลักษณะทพ่ี ึงประสงค์ 15
แนวทางการอบรมเล้ียงดู การส่งเสรมิ พฒั นาการและการเรียนรู้ สำหรบั เด็กอายุ 2-3 ปี 18
สาระการเรียนรู้ 18
การอบรมเล้ยี งดแู ละการจดั ประสบการณ์ 19
แนวทางการอบรมเลี้ยงดูและการจดั ประสบการณ์ สำหรบั เดก็ อายุ 2 – 3 ปี 29
ตวั อย่างกิจกรรมการอบรมเล้ียงดูและส่งเสริมพฒั นาการการเรยี นรู้ฯ 30
กำหนดเวลาเรยี น 30
ตารางกิจกรรมประจำวัน 31
บรรยากาศการเรยี นรู้ 31
สภาพแวดล้อมภายในหอ้ งเรยี น 31
สภาพแวดล้อมนอกหอ้ งเรียน 32
ส่ือและแหลง่ เรียนรู้ 32
แหลง่ เรยี นรใู้ นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 32
แหลง่ เรียนรใู้ นชมุ ชน (นอกศนู ย์พฒั นาเด็กเล็ก) 33
การประเมินพัฒนาการ 33
การบริหารจัดการหลักสูตร 34
การเชอ่ื มต่อการพฒั นาเด็กปฐมวัย
การกำกบั ตดิ ตาม ประเมนิ และการรายงาน

หลกั สตู รสถานศึกษาระดับปฐมวยั ศูนย์พฒั นาเดก็ เล็กบา้ นสายรอ่ งขา่ ฉบบั ปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
องค์การบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

สารบญั (ต่อ) ค

หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเดก็ เล็ก สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี หนา้
จุดหมาย
มาตรฐานคุณลักษณะที่พงึ ประสงค์ 35
สภาพที่พึงประสงค์ 35
สาระการเรยี นรู้รายปี 35
การจัดประสบการณ์ 36
หลกั การจดั ประสบการณ์การเรยี นรู้ 46
แนวทางการจดั ประสบการณ์ 51
การจดั กจิ กรรมประจำวนั 51
ตารางกจิ กรรมประจำวัน 52
หน่วยการเรยี นรู้สำหรบั เด็กอายุ 3-5 ปี 52
กำหนดเวลาเรียน 53
บรรยากาศการเรยี นรู้ 53
สภาพแวดลอ้ มภายในห้องเรียน 61
สภาพแวดล้อมนอกหอ้ งเรยี น 61
สอ่ื และแหลง่ เรยี นรู้ 61
แหลง่ เรียนรใู้ นศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ 62
แหล่งเรียนรใู้ นชุมชน (นอกศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเล็ก) 62
การประเมินพฒั นาการ 62
การบรหิ ารจดั การหลกั สตู ร 62
การเชือ่ มต่อการพฒั นาเด็กปฐมวยั 63
การกำกับ ตดิ ตาม ประเมิน และการรายงาน 63
63
ภาคผนวก 65
66

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั ศูนยพ์ ัฒนาเด็กเลก็ บา้ นสายรอ่ งขา่ ฉบับปรับปรงุ พุทธศักราช 2564
องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร



ปรชั ญาการศึกษาปฐมวัย
ศูนย์พฒั นาเดก็ เลก็ บ้านสายร่องข่า สังกดั องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชิงชมุ
การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กต้ังแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐานการ
อบรมเลีย้ งดูและการสง่ เสรมิ กระบวนการเรยี นรู้ท่ีสนองตอ่ ธรรมชาตแิ ละพฒั นาการตามวัยของเดก็ แตล่ ะคน ให้
เต็มศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมท่ีเด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรับ ความเอื้ออาทร และความเข้าใจ
ของทุกคนเพ่ือสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตที่เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง
ครอบครวั ชุมชน สงั คม และประเทศชาติ

วิสยั ทศั น์การศกึ ษาปฐมวัย
ศูนย์พฒั นาเด็กเลก็ บ้านสายรอ่ งขา่ สังกดั องคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชมุ
มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาความพร้อมทั้ง 4 ด้าน (ร่ายกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และ
สติปัญญา) อย่างมีคณุ ภาพและต่อเนื่อง ได้รบั การจัดประสบการณ์การเรียนรูอ้ ย่างมีความสุขและเหมาะสมตามวัย
มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทย โดย
ความร่วมมือระหวา่ งสถานศกึ ษา พ่อแม่ ครอบครวั ชมุ ชนและทกุ ฝา่ ยทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การพัฒนาเด็ก

หลักการจดั การศึกษาปฐมวัย
ศูนยพ์ ฒั นาเด็กเล็กบ้านสายร่องขา่ สังกัดองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชิงชุม
เด็กทุกคนมีสิทธิท่ีจะได้รบั การอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการ ตามอนุสญั ญาว่า ด้วยสิทธิเด็ก
ตลอดจนได้รับการจดั ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับ
ผูส้ อน เด็กกบั ผู้เล้ียงดู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกบั การอบรมเลย้ี งดูการพัฒนา และใหก้ ารศึกษาแกเ่ ด็ก ปฐมวยั เพื่อให้
เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างเป็นองค์รวม มีคุณภาพ และเต็มตาม
ศกั ยภาพ โดยกำหนดหลกั การ ดังตอ่ ไปนี้
๑. ส่งเสริมกระบวนการเรยี นรแู้ ละพฒั นาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวยั ทุกคน
๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล และวิถีิชวี ิตของเดก็ ตามบรบิ ทของชุมชน สงั คม และวัฒนธรรมไทย
๓. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย ได้ลงมือกระทำ ใน
สภาพแวดล้อมทเ่ี ออ้ื ตอ่ การเรียนรเู้ หมาะสมกับวยั และมีการพักผ่อนเพยี งพอ

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องข่า ฉบับปรับปรงุ พุทธศักราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวดั สกลนคร



๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรชั ญา เศรษฐกิจ
พอเพียง เป็นคนดมี ีวินัย และมีความสุข

๕. สรา้ งความรู้ ความเข้าใจและประสานความร่วมมอื ในการพัฒนาเด็กระหวา่ งสถานศึกษากับพ่อ แม่
ครอบครวั ชุมชน และทกุ ฝ่ายท่ีเก่ยี วขอ้ งการการพฒั เด็กปฐมวัย

จุดหมายการศึกษาปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ บา้ นสายรอ่ งข่า สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 2 – 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรม
เล้ียงดูและให้การศึกษา เด็กจะไดรับการพัฒนา ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัย
และความสามารถของแต่ละบุคคล จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มุ่งใหเ้ด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตาม
ศักยภาพ และเม่ือมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อเด็กจบการศึกษา
ระดับปฐมวัยตาม หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า พุทธศักราช 2562
ดงั ตอ่ ไปนี้
๑. มีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แขง็ แรงและมสี ุขนิสยั ที่ดี
๒. มีสุขภาพจติ ดี มสี ุนทรียภาพ มคี ุณธรรม จรยิ ธรรมและจติ ใจทีด่ งี าม
๓. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมคี วามสขุ
๔. มที กั ษะการคิด การใช้ภาษาสอ่ื สารและการแสวงหาความรูไ้ ด้เหมาะสมกบั วัย

ภารกจิ การจดั การศึกษาปฐมวัย
ศูนยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องขา่ สังกดั องค์การบริหารสว่ นตำบลเชิงชุม
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อพัฒนาเด็ก ที่มีอายุ
ตั้งแต่ 2 - 5 ปี โดยการจดั ประสบการณ์ส่งเสรมิ การเรียนรู้ให้สอดคล้องกบั พัฒนาการของเด็กในลักษณะบูรณา
การผ่านการเล่น ด้วยการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีวินัย
มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสุขในการเรียนรู้ตามสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมของท้องถิ่นและธรรมชาติของ
ผ้เู รียนแตล่ ะคนใหเ้ ต็มตามศกั ยภาพ มคี ่านยิ มในการดำรงชวี ติ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังน้ี
1. พัฒนาผู้เรยี นให้มีพัฒนาการแบบองคร์ วม ท้ังร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สตปิ ัญญา
2. ปลกู ฝังวินยั คณุ ธรรม จรยิ ธรรม
3. สง่ เสริมพัฒนาการและจดั การเรยี นรู้ ดว้ ยความรัก ความเอ้อื อาทร
4. ส่งเสรมิ ใหเ้ ป็นคนดี มีสติปญั ญา มคี วามสขุ ตามวยั
5. สง่ เสริมการเรียนรู้ตามสภาพแวดล้อม วฒั นธรรมของทอ้ งถนิ่ และธรรมชาตขิ องผ้เู รียนแตล่ ะคนให้
เต็มศักยภาพ
6. สง่ เสริมการเรียนรแู้ ละจัดประสบการณแ์ บบสากล ปลกู ฝังความรักในความเป็นไทย

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พุทธศกั ราช 2564
สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวดั สกลนคร



เป้าหมายการจัดการศึกษาปฐมวยั
ศูนยพ์ ัฒนาเด็กเลก็ บา้ นสายรอ่ งข่า สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชิงชุม
1. ผเู้ รียนมีพฒั นาการแบบองคร์ วมอยา่ งสมดุล ท้ังร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สงั คม สติปญั ญา
2. ผูเ้ รยี นมวี นิ ยั คุณธรรม จริยธรรม อยา่ งเหมาะสมตามวยั
3. ผู้เรยี นมคี ณุ ลักษณะตามสภาพอันพงึ ประสงค์ ไดแ้ ก่เป็นคนดี มสี ตปิ ัญญา มีความสุขตามวัย
กล้าคดิ กลา้ แสดงออกในทางท่ีดีงาม
4. ผเู้ รียนมีความรกั ในธรรมชาตแิ ละวฒั นธรรมของทอ้ งถิ่นสามารถปรับตนใหเ้ ข้ากับสภาพแวดล้อม
และวัฒนธรรมของท้องถ่ิน
5. ผเู้ รียนมคี วามรักในการเรียนร้วู ถิ ีชวี ิตไทย และดำรงชีวิตอยบู่ นพนื้ ฐานปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง

แนวคดิ การจดั การศกึ ษาปฐมวัย
ศูนย์พฒั นาเดก็ เลก็ บ้านสายรอ่ งข่า สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชิงชุม
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
จังหวัดกาญจนบุรี พัฒนาข้ึนบนแนวคิดและหลักการสำคัญเก่ียวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยถือว่าการเล่น
ของเด็กเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภายใต้การจัดสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการทำงาน
ของสมอง ผ่านส่ือที่ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการ โดยครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและ
วัฒนธรรมแวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
ทงั้ น้ี หลกั สตู รฉบับนีม้ ีแนวคิดการจดั การศึกษาปฐมวยั ดงั นี้

1. แนวคดิ เก่ยี วกับพฒั นาการเด็ก
พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนต่อเนื่องในตัวมนุษย์เร่ิมตั้งแต่ปฏิสนธิ

ไปจนตลอดชวี ติ พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะมลี ำดับขัน้ ตอนลักษณะเดียวกัน แต่อัตราและระยะเวลาในการ
ผ่านข้ันตอนต่างๆ อาจแตกต่างกันได้ ขั้นตอนแรกๆ จะเป็นพ้ืนฐานสำหรับพัฒนาการข้ันต่อไป พัฒนาการด้าน
รา่ งกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปญั ญาแต่ละสว่ นส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน เมื่อด้านหน่ึงก้าวหน้าอีกด้าน
หนึ่งจะก้าวหน้าตามด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าด้านหนึ่งด้านใดผิดปกติจะทำให้ด้านอื่นๆผิดปกติตามด้วย
แนวคิดเก่ียวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านร่างกายอธิบายว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กมีลักษณะ
ต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น เด็กจะพัฒนาถึงขั้นใดจะต้องเกิดวุฒิภาวะของความสามารถด้านนั้นก่อน สำหรับทฤษฎี
ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคมอธิบายว่า การอบรมเล้ียงดูในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็ก เม่ือเติบโตเป็น
ผใู้ หญ่ ความรกั และความอบอุ่นเป็นพื้นฐานของความเช่ือมั่นในตนเอง เด็กท่ไี ด้รบั ความรักและความอบอุ่นจะมี
ความไว้วางใจในผู้อ่ืน เห็นคุณค่าของตนเอง จะมีความเช่ือมั่นในความสามารถของตน ทำงานร่วมกับผู้อ่ืนได้ดี
ซ่งึ เป็นพื้นฐานสำคัญของความเปน็ ประชาธิปไตย
และความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ และทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาอธิบายว่า เด็กเกิดมาพร้อมวุฒิภาวะซ่ึงจะ
พัฒนาข้นึ ตามอายุ ประสบการณ์ รวมทั้งคา่ นยิ มทางสงั คมและสง่ิ แวดลอ้ มที่เด็กได้รบั

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ บา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร



2. แนวคิดเกย่ี วกบั การเล่นของเดก็
การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็น

เครอื่ งมอื การเรียนรูข้ ั้นพื้นฐานท่ีถือเป็นองคป์ ระกอบสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของเดก็ ขณะที่เด็กเล่นจะเกิด
การเรียนร้ไู ปพร้อมๆกันด้วย จากการเล่นเด็กจะมโี อกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัส
และการรบั รู้ ผ่อนคลายอารมณ์ และการแสดงออกของตนเอง เรียนรู้ความร้สู ึกของผ้อู ื่น เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน
เพลิดเพลิน ไดส้ ังเกต มโี อกาสทำการทดลอง คิดสร้างสรรค์ คดิ แก้ปญั หาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นช่วยให้
เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ดังนั้น
ควรให้เดก็ มีโอกาสเลน่ ปฏิสมั พันธ์กบั บุคคล ส่ิงแวดล้อมรอบตวั และเลือกกจิ กรรมการเล่นด้วยตนเอง

3. แนวคิดเกยี่ วกบั การทำงานของสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา เพราะการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้ส่ิง

ต่างๆไดน้ ้ันต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเปน็ พื้นฐานการรับรู้ รับความรู้สกึ จากประสาทสัมผสั ท้ังห้า การ
เช่อื มโยงตอ่ กันของเซลลส์ มองสว่ นมากเกิดขึ้นก่อนอายุ ๕ ปี และปฏสิ ัมพันธแ์ รกเร่มิ ระหว่างเด็กกับผใู้ หญ่ มผี ล
โดยตรงต่อการสร้างเซลล์สมองและจุดเช่ือมต่อ โดยในช่วง ๓ ปีแรกของชีวิต สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
มาก มีการสร้างเซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อข้ึนมามากมาย มีการสร้างไขมันหรือมันสมองหุ้มล้อมรอบเส้นใย
สมองด้วย พอเด็กอายุ ๓ ปี สมองจะมีขนาดประมาณ ๘๐ % ของสมองผู้ใหญ่ มีเซลล์สมองนับหม่ืนล้านเซลล์
เซลล์สมองและจุดเช่ือมต่อเหล่าน้ียิง่ ได้รบั การกระตุ้นมากเท่าใด การเชอื่ มต่อกันระหว่างเซลล์สมองยิ่งมมี ากขึ้น
และความสามารถทางการคิดย่ิงมีมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหากเด็กขาดการกระตุ้นหรือส่งเสริมจากส่ิงแวดล้อมที่
เหมาะสม เซลล์สมองและจุดเช่ือมต่อที่สร้างขึ้นมาก็จะหายไป เด็กท่ีได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลาจะทำให้
ขาดความสามารถท่ีจะเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างๆ ของสมองเจริญเติบโตและเริ่มมคี วามสามารถในการทำ
หน้าท่ีในช่วงเวลาต่างกัน จึงอธิบายได้ว่าการเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะเกิดข้ึนได้ดีที่สุดเฉพาะในช่วงเวลาหน่ึงท่ี
เรียกว่า “หน้าต่างของโอกาสการเรียนรู้” ซ่ึงเป็นช่วงที่พ่อแม่ ผู้เล้ียงดูและครูสามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้และ
พัฒนาสิ่งนั้นๆได้ดีท่ีสุด เมื่อพ้นช่วงน้ีไปแล้วโอกาสนั้นจะฝึกยากหรือเด็กอาจทำไม่ได้เลย เช่น การเชื่อมโยง
วงจรประสาทของการมองเห็นและรับร้ภู าพจะต้องได้รับการกระตุ้นทำงานต้ังแต่ ๓ หรือ ๔ เดือนแรกของชีวิต
จงึ จะมีพัฒนาการตามปกติ ช่วงเวลาของการเรียนภาษาคือ อายุ ๓ – ๕ ปีแรกของชีวิต เด็กจะพูดได้ชัด คล่อง
และถกู ตอ้ ง โดยการพฒั นาจากการพูดเป็นคำๆมาเป็นประโยคและเล่าเร่อื งได้ เปน็ ต้น

4. แนวคดิ เก่ียวกบั สอ่ื การเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ทำให้ส่ิงท่ีเป็นนามธรรมเข้าใจยาก

กลายเป็นรูปธรรมท่ีเด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตนเอง การ
ใชส้ ื่อการเรียนรูต้ ้องปลอดภัยต่อตวั เด็กและเหมาะสมกับวยั วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบคุ คล ความสนใจ
และความต้องการของเด็กที่หลากหลาย ส่ือประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีสื่อทั้งที่เป็น
ประเภท ๒ มิติและ/หรือ ๓ มติ ิ ทเ่ี ป็นสื่อของจริง ส่อื ธรรมชาติ ส่ือท่ีอยู่ใกล้ตัวเด็ก ส่ือสะท้อนวฒั นธรรม สือ่ ภมู ิ
ปัญญาท้องถิ่น สื่อเพื่อพัฒนาเด็กในด้านต่างๆให้ครบทุกด้าน ท้ังน้ี สื่อต้องเอื้อให้เด็กเรียนรผู้ ่านประสาทสัมผัส
ทั้งห้าโดยการจดั การใช้สอื่ สำหรับเด็กปฐมวยั ต้องเร่มิ ตน้ จากส่ือของจริง ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพโครงร่างและ
สัญลักษณต์ ามลำดับ

หลกั สตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายรอ่ งขา่ ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศักราช 2564
สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร



5. แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม
เด็กเม่ือเกิดมาจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม ซ่ึงไม่เพียงแต่จะได้รับอิทธิพลจากการ

ปฏิบัตแิ บบด้งั เดิมตามประเพณี มรดก และความรู้ของบรรพบุรษุ แต่ยังได้รบั อิทธพิ ลจากประสบการณ์ ค่านิยม
และความเช่ือของบุคคลในครอบครัว และชุมชนของแต่ละท่ีด้วย บริบทของสังคมและวัฒนธรรมท่ีเด็กอาศัย
อยู่หรือแวดล้อมตัวเด็กทำให้เด็กแต่ละคนแตกต่างกันไป ครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและ
วัฒนธรรมท่ีแวดล้อมตัวเด็ก มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ครู
ควรต้องเรียนรบู้ ริบททางสงั คมและวฒั นธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ เพ่อื ช่วยใหเ้ ด็กได้รับ การพฒั นา เกิดการ
เรียนรู้และอยู่ในกลุ่มคนที่มาจากพ้ืนฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรื่น มีความสุข เป็นการเตรียมเด็ก
ไปสู้สงั คมในอนาคตกับการอยู่ร่วมกบั ผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อน่ื ที่มีความหลากหลายทางความคิด ความเชื่อ
และวัฒนธรรมเช่น ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวฒั นธรรมไทยกับประเทศเพอ่ื นบ้านเร่ืองศาสนา
ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ก็จะคล้ายคลึงกับคนไทยในการทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ไหว้พระ การให้ความ
เคารพพระสงฆ์ การทำบุญเล้ียงพระ การเวียนเทียนเน่ืองในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีเข้าพรรษา สำหรับ
ประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีวัฒนธรรมแบบอิสลาม
ประเทศฟลิ ิปปินส์ได้รบั อิทธิพลจากคริสต์ศาสนา ประเทศสิงคโปร์และเวียดนามนับถือหลายศาสนา โดยนบั ถือ
ลัทธิธรรมเนียมแบบจนี เป็นหลกั เปน็ ต้น

พฒั นาการเดก็ ปฐมวัย
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาแสดงให้เห็นถึงการ
เปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นตามวุฒิภาวะและสภาพแวดลอ้ มท่ีเด็กได้รบั พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจเรว็ หรือช้า
แตกตา่ งกนั ไปในเดก็ แต่ละคน ดังนี้
๑. พัฒนาการด้านรา่ งกาย เปน็ พัฒนาการที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในทางทด่ี ีข้นึ ของร่างกาย
ในดา้ นโครงสร้างของรา่ งกาย ด้านความสามารถในการเคลอื่ นไหว และดา้ นการมสี ุขภาพอนามัยทีด่ ี รวมถงึ การ
ใช้สมั ผัสรบั รู้ การใช้ตาและมือประสานกันในการทำกิจกรรมตา่ งๆ เดก็ อายุ 2 - ๕ ปี มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว
โดยเฉพาะในเร่ืองน้ำหนักและส่วนสูง กล้ามเนื้อใหญ่จะมีความก้าวหน้ามากกว่ากล้ามเน้ือเล็ก สามารถบังคับ
การเคล่ือนไหวของร่างกายได้ดีมีความคล่องแคล่วว่องไวในการเดิน สามารถว่ิง กระโดด ควบคุมและบงั คับการ
ทรงตัวได้ดีจึงชอบเคล่ือนไหว ไม่หยุดน่ิง พร้อมที่จะออกกำลังและเคล่ือนไหวในลักษณะต่างๆ ส่วนกล้ามเนื้อ
เล็กและความสัมพันธร์ ะหว่างตาและมอื ยังไม่สมบูรณ์ การสมั ผสั หรือการใชม้ อื มีความละเอียดข้ึน ใชม้ ือหยบิ จับ
สิง่ ของต่าง ๆ ได้มากขึน้ ถา้ เด็กไม่เครียดหรือกงั วลจะสามารถทำกิจกรรมทพ่ี ัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดแี ละนานขน้ึ

๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกของเด็ก เช่น
พอใจ ไม่พอใจ รัก ชอบ สนใจ เกลียด โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและ
สถานการณ์ เผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดี และการนับถือตนเอง เด็กอายุ 2-๕ ปี
จะแสดงความรู้สึกอย่างเต็มที่ไม่ปิดบัง ช่อนเร้น เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ แต่จะเกิดเพียงชั่วครู่แล้วหายไปการท่ี

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบ้านสายร่องข่า ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จงั หวดั สกลนคร



เด็กเปลี่ยนแปลงอารมณ์ง่ายเพราะมีช่วงความสนใจระยะสั้น เม่ือมีส่ิงใดน่าสนใจก็จะเปล่ียนความสนใจไปตาม
สิ่งนั้น เด็กวันนี้มักหวาดกลัวสิ่งต่างๆ เช่น ความมืด หรือสัตว์ต่างๆ ความกลัวของเด็กเกิดจากจินตนาการ ซ่ึง
เดก็ วา่ เปน็ เรื่องจริงสำหรับตน เพราะยังสบั สนระหว่างเร่ืองปรุงแต่งและเร่ืองจรงิ ความสามารถแสดงอารมณ์ได้
สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสมกับวัย รวมถึงชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
เพราะยึดตวั เองเป็นศูนยก์ ลางน้อยลงและตอ้ งการความสนใจจากผู้อนื่ มากขน้ึ

๓. พัฒนาการด้านสังคม เป็นความสามารถในการสร้างความสมั พันธ์ทางสังคมครั้งแรกในครอบครัว
โดยมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่และพ่ีน้อง เม่ือโตข้ึนต้องไปสถานศึกษา เด็กเริ่มเรียนรู้การติดต่อและการมีสัมพันธ์
กับบุคคลนอกครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในวัยเดียวกัน เด็กได้เรียนรู้การปรับตัวให้เข้าสังคมกับเด็กอ่ืน
พร้อมๆ กับรู้จักร่วมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน เจตคติและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กจะก่อขึ้นในวัยน้ีและ
จะแฝงแน่นยากที่จะเปล่ียนแปลงในวัยต่อมา ดังน้ัน จึงอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยนี้ มี ๒
ลักษณะ คือลักษณะแรกนั้น เป็นความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่และลักษณะที่สองเป็นความสัมพันธ์กับเด็กในวัย
ใกล้เคยี งกนั

๔. ด้านสติปัญญา ความคิดของเด็กวัยน้ีมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ยังไม่สามารถเข้าใจ
ความรู้สึกของคนอื่น เด็กมีความคิดเพียงแต่ว่าทุกคนมองสิ่งต่างๆรอบตัว และรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนตนเอง
ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ท่ีสุด เม่ืออายุ ๔ - ๕ ปี เด็กสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของที่อยู่
รอบตัวได้ สามารถจำสิ่งต่างๆ ท่ีได้กระทำซ้ำกันบ่อยๆ ได้ดี เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น แต่ยังอาศัยการรับรู้เป็น
ส่วนใหญ่ แก้ปัญหาการลองผิดลองถูกจากการรับรู้มากกว่าการใช้เหตุผลความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่
อยู่รอบตัวพัฒนาอย่างรวดเร็วตามอายุท่ีเพิ่มข้ึน ในส่วนของพัฒนาการทางภาษา เด็กวัยน้ีเป็นระยะเวลาของ
การพัฒนาภาษาอย่างรวดเร็ว โดยมีการฝึกฝนการใช้ภาษาจากการทำกิจกรรมต่างๆ ในรูปของการพูดคุย การ
ตอบคำถาม การเล่าเร่ือง การเล่านิทานและการทำกิจกรรมต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องกับการใช้ภาษาในสถานศึกษา
เด็กปฐมวัยสามารถ ใช้ภาษาแทนความคิดของตนและใช้ภาษาในการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นได้คำพูดของเด็ก
วัยนี้ อาจจะทำให้ผู้ใหญ่บางคนเข้าใจว่าเด็กรู้มากแล้วแต่ที่จริงเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของคำและเรื่องราว
ลกึ ซงึ้ นัก

มาตรฐานและคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์ สำหรับเด็กอายุ 2 – 5 ปี
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน

จังหวัดกาญจนบุรี จัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางในการอบรมเล้ียงดู ส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้อย่าง
เหมาะสมตามวัย และความสามารถของเด็กแต่ละคนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป โดยกำหนด
คณุ ลกั ษณะทีพ่ ึงประสงค์ สำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี และกำหนดมาตรฐานคณุ ลักษณะท่พี ึงประสงค์ สำหรับเด็ก
อายุ 3 – 5 ปี ดังนี้

คุณลกั ษณะท่พี ึงประสงค์ สำหรับเด็กที่มีอายุ 2 – 3 ปี จำนวน 4 ด้าน รวม 7 ขอ้ ดังน้ี
1. พฒั นาการดา้ นรา่ งกาย

1.1 ร่างกายเจริญเตบิ โตตามวัยและมีสขุ ภาพดี

หลักสูตรสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบ้านสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร



1.2 ใชอ้ วัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธก์ ัน
2. พฒั นาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ

2.1. มีความสขุ และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
3. พัฒนาการดา้ นสังคม

3.1 รบั รแู้ ละสรา้ งปฏสิ มั พันธ์กับบุคคลและส่งิ แวดลอ้ มรอบตัว
3.2 ชว่ ยเหลือตนเองได้เหมาะสมกบั วัย
4. พฒั นาการดา้ นสติปญั ญา
4.1 ส่อื ความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกบั วัย
4.2 สนใจเรียนรู้ส่ิงต่างๆ รอบตัว

มาตรฐานคณุ ลักษณะที่พงึ ประสงคส์ ำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี จำนวน 4 ดา้ น รวม 12 มาตรฐาน ดงั นี้
1. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคอื

มาตรฐานท่ี ๑ รา่ งกายเจริญเติบโตตามวัยและมสี ุขนิสัยทดี่ ี
มาตรฐานท่ี ๒ กล้ามเนือ้ ใหญ่และกลา้ มเน้ือเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคลอ่ งแคลว่ และ

ประสานสัมพนั ธก์ ัน
2. พฒั นาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบดว้ ย ๓ มาตรฐานคอื

มาตรฐานท่ี ๓ มีสุขภาพจติ ดีและมีความสขุ
มาตรฐานท่ี ๔ ช่นื ชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลอ่ื นไหว
มาตรฐานที่ ๕ มคี ณุ ธรรม จริยธรรม และมีจิตใจทด่ี ีงาม
3. พฒั นาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคอื
มาตรฐานท่ี ๖ มีทกั ษะชีวิตและปฏบิ ัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
มาตรฐานท่ี ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วฒั นธรรม และความเปน็ ไทย
มาตรฐานท่ี ๘ อยู่รว่ มกบั ผู้อื่นไดอ้ ย่างมีความสุขและปฏิบัตติ นเปน็ สมาชิกทีด่ ีของสังคม

ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั ริยท์ รงเปน็ ประมขุ
4. พฒั นาการดา้ นสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคอื

มาตรฐานท่ี ๙ ใช้ภาษาสอื่ สารไดเ้ หมาะสมกบั วัย
มาตรฐานท่ี ๑๐ มคี วามสามารถในการคิดทเ่ี ป็นพื้นฐานในการเรยี นรู้
มาตรฐานที่ ๑๑ มจี ินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานท่ี ๑๒ มเี จตคติที่ดีต่อการเรยี นรู้ และมคี วามสามารถในการแสวงหาความรู้ได้

เหมาะสมกับวัย

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเลก็ บา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศักราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวดั สกลนคร



ขั้นตอนการจัดทำหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเดก็ เล็ก สำหรบั เดก็ อายุ 2 – 5 ปี
1. ศกึ ษาและทำความเขา้ ใจเกีย่ วกับหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 สำหรบั เดก็
อายุ 2 - 5 ปี
2. ประชุมผทู้ ี่มสี ว่ นเกีย่ วขอ้ งในการจัดทำหลักสตู ร ตวั แทนผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก ครผู สู้ อน นักวิชาการศึกษา เพ่ือแสดงความคิดเหน็ และร่วมกนั จัดทำหลกั สูตร
3. จดั ทำหลักสตู ร โดยกำหนด ปรชั ญา วสิ ยั ทัศน์ เปา้ หมาย คุณลกั ษณะท่ีพึงประสงคส์ ำหรับเด็ก
อายุ 2 - 5 ปี กำหนดสาระการเรียนรู้ โดยให้เหมาะสมกบั ชว่ งอายุ
4. ประกาศใชห้ ลกั สตู รศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5. ประเมินหลกั สตู ร โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อประเมินหลักสตู ร หากมขี ้อแกไ้ ข ให้ปรบั ปรงุ
ก่อนนำไปใช้

ผัง ๕ ขน้ั ตอน การจดั ทำหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย

หลกั สูตรสถานศึกษาระดับปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร



หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั ศูนยพ์ ัฒนาเด็กเล็ก
สำหรบั เด็กอายุ 2 – 3 ปี

จดุ หมาย
หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก สำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี มุ่งสง่ เสริมใหเ้ ด็กมพี ฒั นาการ

ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความ
แตกตา่ งระหวา่ งบุคคล ดงั น้ี

1. ร่างกายเจริญเตบิ โตตามวัย แขง็ แรง และมีสุขภาพดี
2. สุขภาพจติ ดแี ละมีความสุข
3. มีทกั ษะชีวติ และสรา้ งปฏิสมั พันธก์ บั บคุ คลรอบตวั และอย่รู ่วมกบั ผอู้ ืน่ ได้อยา่ งมีความสุข
4. มที ักษะการใชภ้ าษาส่อื สาร และสนใจเรยี นรสู้ ่งิ ตา่ งๆ

คุณลักษณะทีพ่ ึงประสงค์
หลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัยศูนย์พฒั นาเดก็ เล็ก สำหรบั เดก็ อายุ 2 – 3 ปี กำหนดคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ

ประสงค์จำนวน 4 ดา้ น รวม 7 ข้อ ดงั น้ี
1. พฒั นาการดา้ นร่างกาย
1.1 รา่ งกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี
1.2 ใช้อวัยวะของรา่ งกายไดป้ ระสานสัมพันธ์กัน
2. พัฒนาการดา้ นอารมณ์ จิตใจ
2.1 มีความสขุ และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
3 พฒั นาการดา้ นสังคม
3.1 รบั ร้แู ละสร้างปฏสิ ัมพนั ธก์ บั บุคคลและส่ิงแวดล้อมรอบตัว
3.2 ชว่ ยเหลอื ตนเองได้เหมาะสมกับวยั
4. พฒั นาการด้านสตปิ ญั ญา
4.1 สื่อความหมายและใชภ้ าษาไดเ้ หมาะสมกับวยั
4.2 สนใจเรียนรู้สง่ิ ต่างๆ รอบตวั

หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเดก็ เลก็ บ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรุง พทุ ธศักราช 2564
สังกัดองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร

๑๐

1. พัฒนาการดา้ นรา่ งกาย
คณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์ที่ 1 ร่างกายเจริญเตบิ โตตามวัยและมีสขุ ภาพดี

สภาพที่พึงประสงค์ สภาพทพี่ ึงประสงค์
(แกนกลาง)
คณุ ลักษณะ (ศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก)

อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี

1.1 มนี ำ้ หนกั ส่วนสงู - นำ้ หนกั ส่วนสงู - นำ้ หนัก ส่วนสูง - นำ้ หนกั สว่ นสงู

และเสน้ รอบศรี ษะตาม ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์

เกณฑ์อายุ - เสน้ รอบศีรษะ - เสน้ รอบศรี ษะ - เสน้ รอบศีรษะ
ตามเกณฑ์
ตามเกณฑ์ ตามเกณฑ์

1.2 มีร่างกายแขง็ แรง - มีภมู ติ ้านทานโรค ไม่ - มีภูมติ า้ นทานโรค ไม่ - มภี มู ติ ้านทานโรค ไม่
ป่วยบ่อย ขบั ถ่ายเป็น ป่วยบอ่ ย ขับถ่ายเป็น ป่วยบ่อย ขบั ถา่ ย เป็น
เวลา รบั ประทาน เวลา รบั ประทาน เวลา รบั ประทาน
อาหาร นอนพักผ่อน อาหาร นอนพักผ่อน อาหาร นอน พักผ่อน
เหมาะสมกบั วยั เหมาะสมกบั วยั เหมาะสมกบั วัย

1.3 รกั ษาความ - เล่นและทำกจิ กรรม - เลน่ และทำกจิ กรรม - เล่นและทำกจิ กรรม
ปลอดภัยของตนเอง อยา่ งปลอดภัยเมือ่ มี อยา่ งปลอดภยั ดว้ ย และปฏบิ ตั ติ นต่อผู้อ่ืน
และผอู้ ่นื ผูช้ ีแ้ นะ ตนเอง อย่างปลอดภัย

1. พฒั นาการดา้ นรา่ งกาย (ตอ่ )
คุณลักษณะที่พงึ ประสงค์ท่ี 2 ใชอ้ วยั วะของร่างกายได้ประสานสัมพนั ธ์กนั

สภาพท่ีพึงประสงค์ สภาพทีพ่ ึงประสงค์
(แกนกลาง)
คุณลกั ษณะ (ศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ )
- นัง่ ยองๆ เลน่ โดยไม่
2.1 ใช้กล้ามเนอ้ื ใหญ่ เสียการทรงตัว อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี
ไดเ้ หมาะสมกับวัย - เดินถอยหลงั ได้
- เดนิ ขึ้นลงบันไดโดย - สามารถนงั่ ยองๆ เล่น - สามารถน่งั ยองๆ เลน่
มอื ขา้ งหนง่ึ จับราว
และก้าวเท้าโดยมี โดยไมเ่ สียการทรงตัว โดยไมเ่ สียการทรงตัว
สองเทา้ ในขน้ั - เดนิ ถอยหลงั ได้
เดยี วกัน - เดนิ ถอยหลังได้
- กระโดดอยู่กบั ทีโ่ ดย - เดนิ ขึน้ ลงบนั ไดโดยมือ - เดนิ ขึน้ ลงบันไดโดยมือ
เท้าพ้นพื้นทั้ง 2 ข้าง ขา้ งหนง่ึ จบั ราวและ ข้างหนง่ึ จับราวและ
กา้ วเท้าโดยมีสองเทา้ กา้ วเทา้ โดยมสี องเทา้
ในขน้ั เดียวกัน
ในขนั้ เดียวกัน
- กระโดดอยู่กบั ที่โดย - กระโดดอยู่กับที่โดย
เท้าพ้นพน้ื ท้ัง 2 ข้าง เท้าพ้นพนื้ ท้งั 2 ขา้ ง

หลักสตู รสถานศึกษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2564
สงั กดั องค์การบริหารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร

๑๑

2.2 ใชก้ ล้ามเนือ้ เลก็ - จบั สเี ทียนแทง่ ใหญ่ - จบั สเี ทยี นแท่งใหญ่ - จับสีเทยี นแทง่ ใหญ่
และประสานสมั พนั ธ์ เพอ่ื ขีดเขียนได้ เพอื่ ขีดเขียนได้ เพือ่ ขีดเขียนได้
มอื -ตา ได้เหมาะสมกับ - เลียนแบบลากเสน้ เปน็
วยั - เลยี นแบบลากเส้น วง ตอ่ เนอื่ งหรือ - เลียนแบบลากเส้นเปน็
เปน็ วง ตอ่ เนอ่ื งหรือ เสน้ ตรงแนวด่งิ วง ต่อเน่ืองหรือ
เส้นตรงแนวดง่ิ เส้นตรงแนวดง่ิ

2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จติ ใจ
คณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์ที่ 3 มีความสุขและแสดงออกทางอารมณไ์ ดเ้ หมาะสมกับวยั

สภาพท่ีพงึ ประสงค์ สภาพทพ่ี งึ ประสงค์
(แกนกลาง)
คุณลกั ษณะ (ศูนย์พฒั นาเด็กเลก็ )
3.1 ร่าเริง แจ่มใส
อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี
3.2 แสดงออกทาง
อารมณ์ได้ อย่าง - อารมณด์ ี ย้มิ แย้ม - แสดงความรู้สกึ ออก - แสดงความรู้สึก โกรธ
เหมาะสมกบั วัย
หวั เราะงา่ ยแววตามี ทางสีหนา้ ท่าทาง ดใี จ เสียใจ
3.3 สนใจและมี
ความสขุ กบั ธรรมชาติ ความสุข - แสดงความกงั วลเมื่อ - แสดงอารมณ์
ส่ิงสวยงาม ดนตรีและ
จังหวะการเคล่ือนไหว แยกออกจากคน ความรู้สกึ ไดเ้ หมาะสม

ใกล้ชดิ ตามสถานการณ์

- แสดงความภาคภมู ิใจ - แสดงความภาคภมู ิใจ - แสดงความภาคภมู ใิ จ

เมอ่ื ทำสิ่งต่างๆ เมอื่ ทำสิ่งต่างๆ สำเร็จ เมือ่ ทำส่ิงตา่ งๆ สำเรจ็

สำเรจ็ - ชอบพดู คำว่า “ไม”่ - ชอบพูดคำวา่ “ไม่”

- ชอบพูดคำว่า “ไม”่ แมจ้ ะเป็นส่ิงทตี่ อ้ งการ แมจ้ ะเปน็ สิ่งทต่ี อ้ งการ

แมจ้ ะเปน็ สิ่งที่

ต้องการ

- ตอบสนองต่อ - แสดงทา่ ทางประกอบ - มีสว่ นร่วมดูแลรกั ษา

ธรรมชาติ เสียงเพลง เพลงพร้อมอปุ กรณ์ ธรรมชาติและ

จังหวะดนตรี และสง่ิ - การละเล่นพ้ืนบา้ นของ สิง่ แวดล้อม เม่ือมีผู้

สวยงามตา่ งๆ อย่าง ชมุ ชน โดยใช้สอ่ื วสั ดุ ช้แี นะ

เพลดิ เพลิน จากธรรมชาติของแต่ - ร้จู ักทง้ิ ขยะถกู ท่ี

ละทอ้ งถน่ิ นน้ั ตาม - การละเล่นพ้นื บา้ นของ

คำแนะนำ ชมุ ชน โดยใชส้ ่ือวสั ดุ

จากธรรมชาติของแต่

ละทอ้ งถน่ิ น้นั ๆ

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เลก็ บา้ นสายร่องข่า ฉบับปรับปรุง พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร

๑๒

3. พฒั นาการด้านสังคม
คณุ ลกั ษณะที่พงึ ประสงค์ที่ 4 รบั รแู้ ละสร้างปฏสิ ัมพันธก์ ับบคุ คลและสงิ่ แวดล้อมรอบตวั

สภาพท่พี ึงประสงค์ สภาพท่พี งึ ประสงค์
(แกนกลาง)
คุณลักษณะ (ศูนยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก)
- ชอบเกบ็ ของของ
4.1 ปรับตวั เขา้ กับ ตนเองไวใ้ กลต้ วั และ อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี
สงิ่ แวดลอ้ มใกล้ตัว ไม่ชอบแบง่ ปันผ้อู ืน่
- เลียนแบบพฤติกรรมที่ - เลียนแบบพฤติกรรมที่

พบเห็น ตนช่ืนชอบ

- สนใจส่ิงแปลกใหม่ - เรียนรู้สิ่งต่างๆ จาก

- ฝึกเรยี นร้สู ิง่ ต่างๆ จาก กิจวัตรประจำวัน

กิจวตั รประจำวนั - รู้จกั แบ่งปัน ช่วยเหลือ

- แสดงออกความเปน็ - เกบ็ ของเล่นเขา้ ท่ี

เจ้าของ

4.2 เล่นและร่วมทำ - รอคอยช่วงสน้ั ๆ - เลน่ ของเล่นคนเดียว - รว่ มทำกิจกรรมกลุ่มได้
กิจกรรมกบั ผ้อู ื่นไดต้ าม - เล่นร่วมกบั คนอ่ืน แต่ - ฝึกใหร้ ้จู กั การรอคอย เช่น เกบ็ ใบไม้ ดูแล
วยั ต่างคนตา่ งเลน่ - ฝึกการแบ่งปนั และอยู่ ต้นไม้
- ชว่ ยเหลอื ผู้อื่น แบง่ ปนั
รว่ มกับผอู้ ่ืน - มสี มาธิในการฟังระยะ
ส้นั ๆ
- สามารถเล่นกับผู้อน่ื ได้
- รู้จักรอคอย
- ปฏบิ ัตติ ามข้อตกลงได้
บ้าง

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เล็กบ้านสายรอ่ งขา่ ฉบับปรับปรุง พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๑๓

3. พัฒนาการดา้ นสงั คม (ต่อ)
คณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 5 ช่วยเหลือตนเองไดเ้ หมาะสมกบั วัย

สภาพทพี่ ึงประสงค์ สภาพทพ่ี งึ ประสงค์
(แกนกลาง)
คุณลักษณะ (ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เลก็ )
- สวมเสื้อผา้ โดยมี
ทำกจิ วตั รประจำวัน คนชว่ ย อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี
ด้วยตนเองได้ตามวยั - บอกได้วา่ ตนเอง
ตอ้ งการขับถา่ ย - สวมเส้ือผา้ โดยมคี น - สวมเส้ือผ้าเองได้

ชว่ ย - รับประทานอาหารเอง

- บอกไดว้ ่าตนเอง ได้

ต้องการขับถ่าย - บอกความต้องการ

- รับประทานอาหารเอง ขับถา่ ยของตนเองได้

ได้บา้ ง - ดม่ื นำ้ เองได้

- ดม่ื น้ำเองได้ - แปรงฟนั เองได้

- แปรงฟนั โดยมีคน - เก็บของเขา้ ท่ีของ

แนะนำ ตนเองได้

- เก็บของเข้าที่ได้ โดยมี - สวมรองเท้าไดเ้ อง

คนแนะนำ - ร้จู ักการรอคอย

- สวมใส่รองเทา้ ได้ - เขา้ แถวได้ตามลำดบั

- รู้จกั การรอคอย หนา้ หลัง

- เข้าแถวไดต้ าม

คำแนะนำ

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเดก็ เลก็ บ้านสายร่องข่า ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร

๑๔

4. พัฒนาการด้านสติปญั ญา
คณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ท่ี 6 ส่ือความหมายและใช้ภาษาไดเ้ หมาะสมกับวัย

สภาพท่ีพึงประสงค์ สภาพทพี่ ึงประสงค์
(แกนกลาง)
คณุ ลกั ษณะ (ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็ก)

6.1 รับรู้และเข้าใจ อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี
ความหมายของ
ภาษาไดต้ ามวยั - ร้องเพลงไดบ้ างคำ - รอ้ งเพลงได้บางคำ - รอ้ งเพลงได้

6.2 แสดงออกและ และรอ้ งเพลงคลอ - ท่องคำคลอ้ งจองง่ายๆ - เล่าเรื่องจาก
หรือพดู เพือ่ ส่ือ
ความหมายได้ ตามทำนอง ได้ ประสบการณ์ทีพ่ บ

- สนใจดูหนงั สือ นทิ าน - เลา่ เรอ่ื งจากภาพได้ มาได้

ภาพ บ้าง - ฟังนทิ านแล้วสามารถ

เลา่ ตามได้

- พดู เป็นวลีส้ันๆ - บอกความต้องการของ - มกั จะถามคำถาม

- มักจะถามคำถาม ตนเองและผู้อื่นได้ “อะไร” และ“ทำไม”

“อะไร” และ - พูดเป็นวลสี นั้ ๆ ได้ - แสดงทา่ ทางบอกความ

“ทำไม” - พดู สนทนาโต้ตอบเป็น ตอ้ งการของตนได้

ประโยคสัน้ ๆ ได้ - บอกสีได้

- บอกสีได้บ้าง

4. พฒั นาการดา้ นสติปญั ญา (ต่อ)

คณุ ลกั ษณะที่พึงประสงค์ท่ี 7 สนใจเรียนร้สู ง่ิ ตา่ งๆ รอบตัว

สภาพท่พี ึงประสงค์ สภาพทพ่ี งึ ประสงค์
(แกนกลาง)
คณุ ลักษณะ (ศนู ย์พฒั นาเดก็ เล็ก)
7.1 สนใจและเรียนรู้ - อยากเรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ
สิง่ ตา่ งๆรอบตัว - ถามบอ่ ย ถามซ้ำ อายุ 2 ปี อายุ 3 ปี
- จดจอ่ ตอ่ ส่ิงใดสงิ่ หนึ่งได้
7.2 เรียนรผู้ ่านการ ยาวนานข้ึน - สนใจสง่ิ แปลกใหมท่ ่ี - สนใจสิ่งแปลกใหมท่ ่ี
เลยี นแบบ
- เลยี นแบบการกระทำผู้ ตนพบเหน็ ได้บา้ ง ตนพบเหน็ ได้
ใกลช้ ิดหรือเด็กอน่ื
- พยายามเลยี นเสยี ง - สนใจสิ่งแวดล้อม - สนใจสิง่ แวดลอ้ ม
ต่างๆ
รอบตวั ได้บา้ ง รอบตวั ได้

- จดจำส่งิ ของเครื่องใช้ - จดจำสิง่ ของเคร่ืองใช้

ของตนเองไดบ้ า้ ง ของตนเองได้

- จดจำสัญลกั ษณ์ของ

ตนเองได้

- เลยี นแบบท่าทางได้ - เลียนแบบทา่ ทางได้

บ้าง - เลยี นแบบจาก

- เลยี นแบบจากบทบาท บทบาทสมมุติได้

สมมุติได้บ้าง - เลียนแบบจากสอ่ื

- เลยี นแบบจากส่ือตา่ งๆ ตา่ งๆ เชน่ นทิ าน ทวี ี

เชน่ นิทาน การ์ตูน ทวี ี การต์ นู ได้

ได้บ้าง

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สงั กดั องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวดั สกลนคร

๑๕

7.3 สำรวจโดยใช้ - คน้ หาของทถ่ี กู ซ่อนโดย - สามารถบอกกลน่ิ - สามารถบอกกล่นิ
ประสาทสัมผสั
มีส่ิงปกปดิ 2-3 ช้นั เหม็น-หอมจากการดม ตา่ งๆ ได้

- ชอบละเลงสีดว้ ยมือ ได้ - สามารถบอก

- สามารถบอกความรสู้ กึ ความรสู้ ึกจากการ

จากการสมั ผัสของ สมั ผัสสิ่งของต่างๆ ได้

อย่างง่าย เชน่ รอ้ น- - สามารถบอกเสยี ง คน

เย็น , แขง็ -นิ่ม สตั ว์ สิ่งของไดบ้ ้าง

- สามารถบอกเสยี งจาก - สามารถบอกความ

การฟงั เสียง คน สตั ว์ เหมอื น-แตกต่าง ได้

ส่ิงของ ท่ีคนุ้ เคย - สามารถบอกรสชาติ

- สามารถบอกความ จากการดมได้

เหมอื น-แตกตา่ งได้

บ้าง

- สามารถบอกรสชาติ

จากการดมได้

บางอยา่ ง

แนวทางการอบรมเล้ยี งดู การส่งเสรมิ พัฒนาการและการเรยี นรู้ สำหรบั เดก็ อายุ 2-3 ปี

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี เป็นแนวทางปฏิบัติในการ
อบรมเล้ียงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ โดยเน้นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่
เหมาะสมกับวัยอย่างเป็นองค์รวม ท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยจัดกิจกรรมให้
สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถตามวยั ของเด็ก ท้ังน้ี เด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการ
เพิ่มข้ึน เด็กมีการพึ่งพาตนเอง แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสาระการเรียนรู้ที่
ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพ่ือเป็นพื้นฐาน
การเรยี นรใู้ นระดบั ที่สูงขน้ึ ไป

สาระการเรยี นรู้
สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สำหรับเด็กอายุ ๒ - ๓ ปี เป็น

ส่ือกลางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ท้ังด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและ
สติปัญญา ซ่ึงจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก โดยจัดในรูปแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการหรือเลือกรูปแบบที่
เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้ประกอบไปด้วย ๒ ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญและสาระท่ีควร
เรยี นร้ดู ังนี้
1. ประสบการณส์ ำคัญ

ประสบการณ์สำคัญ เป็นส่ิงจำเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องให้เด็กอายุ 2 - 3 ปี ได้ลงมือทำด้วยตนเอง เพ่ือ
พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เน่ืองจากเป็นรากฐานของการพัฒนาการก้าว
ต่อไป ตลอดจนเป็นปัจจยั สำคัญท่กี ำหนดความสามารถ แรงจงู ใจใฝเ่ รียนรู้ และความกระตือรอื ร้นในการพฒั นา

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเด็กเล็กบ้านสายร่องข่า ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๑๖

ตนเองของเด็ก ท่ีจะส่งผลต่อเนื่องไปสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ประสบการณ์สำคัญจะเก่ียวข้องกับการจัด
สภาพแวดล้อมทุกด้านที่กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับส่ิงต่างๆ
รอบตัว ในวิถีชีวิตของเด็กและในสังคมภายนอก อันจะสั่งสมเป็นทักษะพื้นฐานท่ีจำเป็นต่อการเรียนรู้และ
สามารถพฒั นาต่อเน่ืองไปสรู่ ะดับท่สี งู ขน้ึ

ประสบการณ์สำคัญท่ีช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านรา่ งกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของ
เด็กน้ัน ครูจำเป็นต้องสนับสนุนให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรงด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคล่ือนไหว
ร่างกายส่วนต่างๆ การสร้างความรัก ความผูกพันกับคนใกล้ชิด การปฏิสัมพันธ์กับผู้คนส่ิงต่างๆ รอบตัว และ
การรู้จักการใช้ภาษาส่ือความหมาย ดังน้ัน การฝึกทักษะต่างๆ ต้องให้เด็กลองผิดลองถูก สำรวจ ทดลอง และ
ลงมือกระทำจริง การปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ บคุ คล และธรรมชาตริ อบตัวเด็กตามบริบทของสภาพแวดล้อม
จำเป็นต้องมกี ารจัดประสบการณส์ ำคญั แบบองค์รวมที่ยดึ เด็กเป็นสำคัญ ดงั ต่อไปนี้

1.1 ประสบการณ์สำคัญท่ีส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส
พฒั นาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเน้ือเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเน้ือและระบบประสาทในการทำ
กิจวตั รประจำวันหรอื การทำกจิ กรรมต่างๆ การนอนหลับพกั ผ่อน การดแู ลสขุ ภาพอนามัย และความปลอดภยั

ประสบการสำคญั ท่ีควรส่งเสริม ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะ
ดนตรี การเล่นออกกำลังกาลางแจ้งอย่างอิสระ การเคล่ือนไหวและการทรงตัว การกระโดด การว่ิง การ
ประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การเล่นเครื่องเล่นสมั ผสั การวาด การเขยี น ขดี เขีย่ การป้ัน
การฉีก การตัดปะ การระบายสี การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ของใช้ส่วนตัว และการรักษาความ
ปลอดภยั เปน็ ตน้

1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสรมิ พฒั นาการด้านอารมณ์ จติ ใจ เปน็ การสนับสนุนใหเ้ ดก็ ได้แสดงออก
ทางอารมณ์และความรู้สึกท่ีเหมาะสมตามวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส ได้พัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและ
ผู้อื่น มีความเช่ือมั่นในตนเองจากการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ครูเป็นบุคคลมีส่วนสำคัญอย่างย่ิงใน
การทำให้เด็กรสู้ ึกเป็นท่ีรัก อบอุ่น ม่ันคง เกิดความรู้สึกปลอดภยั ไว้วางใจซ่ึงจะส่งผลให้เด็กเกิดความร้สู ึกทดี่ ีต่อ
เองและเรียนรู้ท่ีจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดกี ับผูอ้ ื่น

ประสบการณ์สำคัญท่ีควรส่งเสริม ประกอบด้วย การรับรู้อารมณ์หรือความรสู้ ึกของตนเอง การ
แสดงอารมณ์ท่ีเป็นสุข การควบคุมอารมณ์และการแสดงออก การเล่นอิสระ การเล่นบทบาทสมมุติ การช่ืนชม
ธรรมชาติ การเพาะปลูกอย่างง่าย การเลี้ยงสัตว์ การฟังนิทาน การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การทำ
กจิ กรรมศิลปะตา่ งๆ ตามความสนใจของเดก็ เป็นต้น

1.3 ประสบการณ์สำคัญท่ีส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส
ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และปรับตัวอยู่ใน
สังคม เด็กควรมีโอกาสได้เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็กวัยเดียวกันหรือต่างเพศต่าง
วัยอยา่ งสมำ่ เสมอ

ประสบการณส์ ำคัญท่คี วรสง่ เสริม ประกอบดว้ ย การช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน
ตามวัย การเล่นอิสระ การเล่นร่วมกับผู้อื่น การแบ่งปันหรอื การให้ การอดทนรอคอยตามวัย การใช้ภาษาบอก
ความต้องการ การออกไปเล่นนอกบ้าน การไปสวนสาธารณะ การร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ กับทางศูนย์

หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เล็กบ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรุง พุทธศกั ราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร

๑๗

พฒั นาเด็กเล็ก การร่วมกิจกรรมกบั ทางศาสนา และการร่วมกจิ กรรมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น เทศบาล กิจกรรม
รณรงคต์ า่ งๆ ของหน่วยงานสาธารณสขุ เป็นตน้

1.4 ประสบการณ์สำคัญทส่ี ่งเสริมพฒั นาการดา้ นสติปญั ญา เปน็ การสนับสนุนใหเ้ ด็กได้รับรู้และ
เรียนรู้ส่ิงต่างๆ รอบตัวในชวี ติ ประจำวนั ผา่ นประสาทสมั ผัสทัง้ ห้า และการเคล่ือนไหว ได้พฒั นาการใชภ้ าษาส่อื
ความหมายและความคิด รูจ้ ักสังเกตคณุ ลักษณะตา่ งๆ ไม่ว่าจะเปน็ สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส จดจำชอ่ื
เรยี กสงิ่ ตา่ งๆ รอบตวั

ประสบการณ์สำคัญที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วย การตอบคำถามจากการคิด การเช่ือมโยงจาก
ประสบการณ์เดิม การเรียงลำดับเหตุการณ์ การยืดหยุ่นความคิดตามวัย การจดจ่อใส่ใจ การสังเกตวัตถุหรือ
สิ่งของท่ีมีสีสันและรปู ทรงทีแ่ ตกต่างกัน การฟงั เสียงต่างๆ รอบตวั การฟังนิทานหรือเร่ืองราวสั้นๆ การพูดบอก
ความต้องการ การเล่าเรื่องราว การสำรวจ การทดลองค้นคว้าหาคำตอบอย่างง่ายๆ การคิดวางแผนที่ไม่
ซับซ้อน การทำโครงงานตามความสนใจเด็ก การคิดตัดสินใจหรือคิดแก้ปัญหาในเร่ืองท่ีง่ายๆ ด้วยตนเอง การ
แสดงความคดิ สรา้ งสรรค์ และจินตนาการ เป็นตน้
2. สาระทค่ี วรเรียนรู้

สาระที่จะให้เด็กอายุ 2 - 3 ปี เรียนรู้ ควรเป็นเร่ืองที่เก่ียวกับตัวเด็กเป็นลำดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่
เรื่องท่ีอยู่ไกลตัวเด็กเพ่ือนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เด็กควรได้รับการอบรมเล้ียงดู ส่งเสริมพัฒนาการ
และการเรียนรู้ใหเ้ หมาะสมตามวัย ดงั นี้

2.1 เรอื่ งราวเกี่ยวกับตวั เด็ก เดก็ ควรเรียนร้เู กี่ยวกบั ชือ่ และเพศของตนเอง การเรียกชอ่ื อวยั วะส่วน
ต่างๆ ของร่างกาย การดูแลตนเองเบ้ืองต้น โดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การ
รับประทานอาหาร การแปรงฟัน การอาบน้ำ การถอดและสวมเส้ือผ้า การรกั ษาความปลอดภัย การเกบ็ ของใช้
ประจำตัว เชน่ รองเท้า กระเป๋า แกว้ น้ำ เก็บผลงานของตนเองในสัญลักษณ์ประจำตัว ฯลฯ และการนอนหลับ
พักผ่อน

2.2 เร่ืองราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมรอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายใน
ครอบครวั และบุคคลภายนอกครอบครัว การรู้จักชื่อเรียกหรอื สรรพนามแทนตวั ของญาตหิ รือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติ
กับผู้อ่ืนอย่างเหมาะสม การทักทาย การไหว้ การเล่นกับผู้อ่ืน การไปเที่ยวในสถานท่ีต่างๆ เช่น ตลาด ร้านค้า
วัด สถานท่ีสำคัญทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ และการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น กิจกรรมทางศาสนา
วฒั นธรรม และประเพณใี นทอ้ งถน่ิ

2.3 เรื่องราวเก่ียวกับธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจส่ิงต่างๆ ในธรรมชาติ
รอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำ เล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ การ
เดินเล่นในสวนสาธารณะ การเพาะปลกู ตน้ ไม้อย่างงา่ ย

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบ้านสายร่องข่า ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๑๘

2.4 เรอื่ งราวเก่ียวกับสงิ่ ต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรยี นรเู้ กีย่ วกบั ชื่อของเลน่ ของใช้รอบตัวเด็ก การ
เชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆ ของส่ิงต่างๆ ท่ีอยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น แสง สี เสียง รูปร่าง รูปทรง
ขนาด ผิวสัมผัส ความแข็ง นุม่ การเปรียบเทียบส่ิงทเ่ี หมอื น ความแตกต่าง การชง่ั น้ำหนกั การนับจำนวน

การอบรมเลี้ยงดแู ละการจัดประสบการณ์
การอบรมเล้ียงดูและการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี เพ่ือให้เด็กได้เรียนรู้จาก

ประสบการณ์ตรงได้พัฒนาท้ังด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สามารถจัดในรูปของกิจกรรม
บูรณาการผ่านการเลน่ โดยคำนงึ ถึงสงิ่ สำคัญต่อไปนี้

1. อบรมเลี้ยงดูเดก็ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยเนน้ เดก็ เปน็ สำคญั
2. ตระหนกั และสนบั สนนุ สทิ ธขิ ั้นพ้ืนฐานทเี่ ด็กพึงไดร้ ับ
3. ปฏบิ ัตติ อ่ เดก็ ดว้ ยความรกั ความเขา้ ใจ และใช้เหตุผล
4. ส่งเสรมิ พัฒนาการของเดก็ อยา่ งสมดุลครบทุกด้าน
5. ปลกู ฝังระเบียบวินยั คณุ ธรรม และวัฒนธรรมไทย
6. ใช้ภาษาทเี่ หมาะสมกับความสามารถและการเรียนรู้ของเด็ก
7. สนับสนนุ การเล่นตามธรรมชาติของเด็ก
8. จดั สภาพแวดล้อมทปี่ ลอดภัยและเอือ้ ต่อการเรียนรขู้ องเด็ก
9. ประเมินการเจรญิ เตบิ โตและพฒั นาการเดก็ อย่างตอ่ เน่ือง สมำ่ เสมอ
10.ประสานความรว่ มมือระหว่างพอ่ แม่ ผ้ปู กครอง และชมุ ชน

แนวทางการอบรมเล้ียงดแู ละการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี มแี นวทางดงั นี้
1. ดแู ลสขุ ภาพอนามัยและตอบสนองความต้องการของเด็กเปน็ รายบคุ คล
2. สร้างบรรยากาศของความรกั ความอบอ่นุ ความไว้วางใจ และความมัน่ คงทางอารมณใ์ ห้กับเด็กใน

วถิ ชี ีวติ ประจำวัน
3. จดั ประสบการณต์ รงให้เด็กได้เลือก ลงมือกระทำ และเรียนร้จู ากประสาทสัมผสั ท้ังห้า และการ

เคลอื่ นไหวผ่านการเล่น
4. จัดประสบการณใ์ หเ้ ดก็ มีปฏิสัมพันธ์กบั บคุ คลทแ่ี วดล้อมและสิ่งต่างๆ รอบตวั เด็กอย่างหลากหลาย
5. จัดสภาพแวดลอ้ มทั้งภายในและภายนอก วัสดอุ ุปกรณ์ เคร่อื งใช้ และของเล่นทีส่ ะอาด

หลากหลาย ปลอดภัย และเหมาะสมกับเดก็ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเดก็ รอบดา้ น รวมถึงมพี น้ื ท่ีในการเลน่ น้ำ
เลน่ ทราย

6. จัดหาสื่อการเรียนรทู้ ีเ่ ปน็ สื่อธรรมชาติ เหมาะสมกับวยั และพฒั นาการของเด็ก สือ่ ที่เอือ้ ให้เกดิ การ
ปฏิสัมพันธ์ หลกี เลย่ี งการให้เดก็ เรยี นรูจ้ ากสือ่ เทคโนโลยตี ามลำพงั

7. จดั รวบรวมข้อมลู และตดิ ตามการเจริญเติบโต พฒั นาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบคุ คล
อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

หลักสูตรสถานศึกษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ย์พัฒนาเด็กเลก็ บา้ นสายร่องข่า ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองค์การบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวดั สกลนคร

๑๙

8. จัดกระบวนการเรยี นรโู้ ดยใหพ้ อ่ แม่ ครอบครัว และชมุ ชน มสี ่วนรว่ มทัง้ การวางแผน การสนับสนุน
สอื่ การเข้ารว่ มกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการเด็ก

ตวั อยา่ งกิจกรรมการอบรมเลยี้ งดูและส่งเสริมพัฒนาการการเรยี นร้ตู ามวถิ ีชีวติ ประจำวัน สำหรบั เด็กอายุ

2 - 3 ปี โดยบูรณาการกับหนว่ ยการเรียนท่ีกำหนดดงั นี้

เด็กอายุ 2 ปี

การสง่ เสริมพัฒนาการ ตัวอยา่ งกิจกรรม
การเรยี นรูต้ ามวิถีชวี ิตประจำวัน

1. การฝึกสขุ นสิ ัยและลักษณะนิสัยทด่ี ี - สร้างเสริมสุขนสิ ัยที่ดใี นการรบั ประทานอาหาร , การฝึก

การนอน , การชแ้ี นะให้ทำความสะอาดร่างกาย ฝึกการ
ขับถ่าย
- ปลูกฝังลักษณะนสิ ยั ท่ีดีในการดูแลสขุ ภาพอนามัย ,ความ

2. การเคลื่อนไหวและการทรงตวั ปลอดภยั
- ปลกู ฝงั กิรยิ ามารยาท ความสภุ าพ ความนุ่มนวลแบบไทย,
การมวี ินยั ในตนเอง
- ส่งเสรมิ การใช้กล้ามเน้ือแขนกับขา , มือกับนิว้ มือ และ
สว่ นต่างๆ ในร่างกายในการเคลื่อนไหว และออกกำลงั
กายทกุ สว่ น

3. การฝึกประสานสัมพนั ธร์ ะหว่าง - เคลอ่ื นไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามเสียงดนตรี
มอื กับตา - การเลน่ เครอ่ื งเลน่ สนาม
- ฝกึ ความแขง็ แรงของกล้ามเน้ือมือ นิ้วมอื
- ฝกึ การทำงานอย่างสมั พันธ์กนั ระหวา่ งมือ-ตา
- ฝกึ ใหเ้ ด็กรูจ้ กั การคาดคะเนหรอื กะระยะทางของส่ิงตา่ งๆ
รอบตัวเดก็

4. การส่งเสรมิ ด้านอารมณ์ จิตใจ - การเลน่ ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่ เลน่ หยอดบล็อก ตอกหมดุ
โยนรับลูกบอล ใช้สีเทยี นแทง่ ใหญว่ าดเขยี นขดี เขี่ย
- การเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี ในด้านการแสดงออกทางอารมณ์

5. การสง่ เสริมทักษะทางสังคม - ตอบสนองต่อความรู้สึกทเ่ี ด็กแสดงออกอยา่ งนมุ่ นวล
อ่อนโยน
- ปลูกฝงั การชืน่ ชมธรรมชาติรอบตวั
- สรา้ งความสัมพนั ธก์ บั พ่อแม่ ผู้เลยี้ งดูและบุคคลใกลช้ ดิ
- พาเด็กออกนอกพนื้ ท่ี พบปะเดก็ อืน่ หรือผู้ใหญภ่ ายใตก้ าร
ดูแลอย่างใกลช้ ิด

- ส่งเสริมการเลยี้ งดูเดก็ ในการตอบสนองความต้องของเด็ก
ด้านจติ ใจ
- จดั สภาพแวดลอ้ มท่สี ง่ เสริมให้เด็กเกิดความร้สู กึ อบอุ่น

และมีความสขุ

หลักสตู รสถานศึกษาระดับปฐมวยั : ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเลก็ บา้ นสายร่องข่า ฉบับปรับปรุง พุทธศกั ราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวัดสกลนคร

๒๐

การส่งเสรมิ พัฒนาการ ตัวอย่างกิจกรรม
การเรยี นรตู้ ามวิถชี ีวิตประจำวัน
6. การใช้ประสาทสัมผัสทงั้ 5 - กระตุน้ การรบั ร้ผู ่านประสาทสมั ผัสทั้ง 5
- ฝกึ ให้เด็กเรยี นรู้สิง่ ๆ รอบตัว ผ่านเหตุการณ์และสื่อที่
7. การส่งเสริมการสำรวจสง่ิ ต่างๆ หลากหลาย
รอบตัว - รจู้ กั สำรวจและทดลองส่ิงต่างๆ ทไ่ี ม่คุน้ เคย กจิ กรรม
ทดลองงา่ ยๆ
8. การสง่ เสริมทกั ษะทางภาษา - กระต้นุ การรับรผู้ า่ นประสาทสมั ผสั ทั้ง 5
- ฝึกใหเ้ ดก็ เรียนรู้ส่ิงๆ รอบตวั ผา่ นเหตกุ ารณแ์ ละสือ่ ท่ี
9. การสง่ เสริมจินตนาการและ หลากหลาย
ความคดิ สรา้ งสรรค์ - รู้จักสำรวจและทดลองสิ่งต่างๆ ท่ีไม่คุ้นเคย กิจกรรม
ทดลองง่ายๆ
- การฝกึ เปล่งเสียง เลียนเสียงของผูค้ น เสียงสตั ว์ต่างๆ รจู้ ัก
เรยี กชื่อตนเอง
- การฝึกเปล่งเสยี ง เลยี นเสียงของผู้คน เสยี งสัตวต์ ่างๆ ร้จู กั
เรียกชอ่ื ตนเอง
- ฝกึ ใหเ้ ดก็ รูจ้ ักสอ่ื ความหมายดว้ ยคำพูดและท่าทาง
- อ่านหนงั สือนิทานภาพ และรอ้ งเพลงงา่ ยๆ
- ฝึกใหเ้ ดก็ ได้แสดงออกทางความคดิ ตามจินตนาการของ
ตนเอง
- เลน่ ของเลน่ อย่างสร้างสรรค์
- พดู เลา่ เรื่องตามจนิ ตนาการ เลน่ สมมุติ

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั : ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวดั สกลนคร

๒๑

ตัวอย่างกจิ กรรมการอบรมเลี้ยงดแู ละส่งเสริมพฒั นาการการเรียนรูต้ ามวิถชี วี ติ ประจำวนั

สำหรับเดก็ อายุ 2 - 3 ปี โดยบรู ณาการกบั หนว่ ยการเรียนทก่ี ำหนดดังนี้

เดก็ อายุ 3 ปี

การสง่ เสริมพัฒนาการ ตัวอย่างกจิ กรรม
การเรยี นร้ตู ามวถิ ชี ีวิตประจำวัน

1. สง่ เสรมิ การพฒั นาการและการเรยี นรู้ - เตรยี มสอ่ื แหลง่ เรยี นรู้ วัฒนธรรมในท้องถน่ิ (ภาษา

ทอ้ งถนิ่ ,การแตง่ กาย)

2. ส่งเสรมิ การจัดประสบการณผ์ ่านการ - มุมวทิ ยาศาสตร์ กิจกรรมเสรี การทดลอง การ

เลน่ ตามธรรมชาตทิ ่เี หมาะสมตามวยั เคล่ือนไหวและการทรงตัว การเล่นเคร่อื งเลน่ สัมผัส การ

เขยี นขีดเขย่ี ฉกี ปะ การรกั ษาความปลอดภยั

3. สง่ เสรมิ การจัดกจิ กรรมให้สอดคล้อง - การเล่นอิสระ การเลน่ บทบาทสมมุติ การท่องคำ

กับความต้องการและความสนใจตาม คล้องจอง การทำกิจกรรมศิลปะ

ความสามารถตามวยั

4. สง่ เสรมิ การพฒั นาให้เด็กพึ่งตนเอง - การดแู ลรกั ษาของใชต้ นเอง การถอดรองเทา้ และใส่

รองเทา้ การติดกระดุม การเข้าห้องน้ำ

การรบั ประทานอาหารเอง การมวี นิ ยั

5. แสดงความสามารถตามวัย - การเต้นและร้องเพลง การเล่านทิ าน การออกไป

ร่วมกิจกรรมนอกสถานที่ (การแสดงเด็ก) การอ่าน

และพูดเลา่ เรื่องตามจนิ ตนาการ

6. จัดประสบการณก์ ารเรียนรู้ใหส้ ่งเสริม - ปลูกฝังการออม การมีวินัย การรอคอย การ

คณุ ธรรม-จรยิ ธรรม เอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่ รู้จักชว่ ยเหลอื คนอ่นื การทักทาย

ด้วยการไหว้

7. สง่ เสริมใหเ้ ดก็ เข้าใจและใชภ้ าษาเพื่อ - การสนทนาโตต้ อบกับเด็ก การฟัง เล่าเร่อื งเกี่ยวกับตวั เอง

การสือ่ สาร การเล่นนิว้ มอื และเล่นจงั หวะ เรียนรคู้ ำต่างๆ เลา่ เร่ืองราว

งา่ ยๆ ได้

8. สง่ เสริมการคดิ และแก้ปญั หาให้ - การสำรวจ การทดลอง การลงมอื กระทำ การสังเกต

เหมาะสมกบั วัย การแก้ปัญหาให้เหมาะสมตามวยั

9. การสง่ เสริมจินตนาการและความคดิ - ฝกึ ใหเ้ ดก็ ได้แสดงออกทางความคิด ตามจินตนาการของ

สรา้ งสรรค์ ตนเอง เล่นของเลน่ อย่างสร้างสรรค์ พูดเล่าเรื่องตาม

จนิ ตนาการ เลน่ สมมุติ

หลักสูตรสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องขา่ ฉบับปรับปรงุ พุทธศกั ราช 2564
สังกดั องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร

๒๒

3. หน่วยการเรยี นร้สู ำหรบั เด็กอายุ 2 - 3 ปี

สาระการเรยี นร้ตู าม สาระการเรยี นรู้ หน่วยการเรียนรู้ สาระการเรยี นรยู้ อ่ ย
(รวม 34 หน่วย)
หลกั สูตร ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเลก็ - ช่อื ครูประจำชั้น ช้นั เรยี น
พ.ศ.2560 ครู
- ของใชป้ ระจำตวั เดก็
1. เรอื่ งราวเกยี่ วกับ เร่อื งราว แรกรบั ประทบั ใจ - การปฏิบัติตนในการใช้ห้องน้ำ
ตวั เดก็ เก่ยี วกบั ตัวเดก็ หอ้ งส้วม
- การเก็บของเข้าท่ี
ชอ่ื น้ันสำคัญไฉน - การปฏบิ ตั ติ นในการ
เดก็ ดีมวี ินยั รับประทานอาหาร
- ชอ่ื เล่น / สัญลักษณ์ของ
อวยั วะและการดแู ล ตนเอง
รกั ษา - ชอ่ื – สกลุ ของตนเอง
- ชอ่ื – สกุล ของเพ่ือน
- คำนำหน้าช่ือ/เพศ/อายุ
- รปู ร่าง ลักษณะหน้าตา
- การปฏบิ ตั ิตามกฎของ
หอ้ งเรียน
- การเก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้
ในห้องเรยี น
- การใชภ้ าษาสภุ าพ
- ชว่ ยเหลอื ตนเองในการ
รบั ประทานอาหาร
- การปฏบิ ตั ติ นต่อบคุ คลตา่ งๆ
- หนา้ ทแ่ี ละการดูแลรักษาตา
- หนา้ ท่ีและการดูแลรกั ษาหู
- หน้าท่ีและการดูแลรักษาจมูก
- หนา้ ท่แี ละการดูแลรักษาปาก
- หน้าที่และการดูแลรกั ษามือ
เท้า

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั : ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ บ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร

๒๓

สาระการเรยี นรู้ตาม สาระการเรยี นรู้ หนว่ ยการเรยี นรู้ สาระการเรยี นรูย้ ่อย
หลักสูตร ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็ก (รวม 34 หน่วย)
พ.ศ.2560 - อาหารที่มีประโยชน์
กนิ ดี อยดู่ ี มสี ุข - การทำความสะอาดมือ
- สุขนสิ ัยในการขบั ถ่าย
ขยบั กายสบายชีวี - การทำความสะอาดปาก/ฟัน
- การทำความสะอาดร่างกาย
ปลอดภยั ไวก้ ่อน - ชนดิ ของการออกกำลงั กาย
- การปฏบิ ตั ติ นในการออก
หนนู อ้ ยนกั สมั ผสั กำลงั กายและการพักผอ่ น
หนทู ำได้ - การเล่นเครื่องเลน่ สนาม
- ประโยชน์ของการพักผ่อน
- ประโยชน์ของการออกกำลงั
กาย
- ความปลอดภยั ในการเล่น
- ความปลอดภยั บนทอ้ งถนน
- ความปลอดภัยในการใช้
เครอื่ งใช้ไฟฟ้า
- ความปลอดภัยในการใชย้ า
- ความปลอดภยั ในการใชข้ อง
แหลมคม
- การมองเหน็
- การดมกล่นิ
- การได้ยิน
- การรบั รู้
- การสัมผัส
- การลา้ งหน้า/แปรงฟนั
- การอาบนำ้
- การแตง่ ตวั
- การรับประทานอาหาร
- การเกบ็ รักษาส่ิงของตา่ งๆ

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เลก็ บา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2564
สังกัดองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จงั หวดั สกลนคร

๒๔

สาระการเรียนรู้ตาม สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรยี นรู้ สาระการเรยี นรยู้ ่อย
หลักสตู ร ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก (รวม 34 หนว่ ย)
พ.ศ.2560 - มารยาทในการฟัง , พูด
หนนู ้อยนา่ รัก - การทำความเคารพผใู้ หญ่
- มารยาทในการรบั ส่งิ ของ
2. เร่ืองราวเก่ยี วกบั เรื่องราวเกยี่ วกบั บา้ นแสนสขุ - มารยาทในสงั คม
บคุ คลและ บคุ คลและ - มารยาทในการแตง่ กาย
ส่งิ แวดลอ้ มรอบ สิง่ แวดล้อมรอบ - ความหมาย ประโยชน์ของ
ตวั เดก็ ตัวเด็ก บา้ น
- ประเภทและส่วนประกอบ
ครอบครวั สุขสันต์ ของบา้ น
- หอ้ งตา่ งๆ ภายในบา้ น
บ้านใกล้เรือนเคยี ง - การรกั ษาความสะอาด
- พื้นท่ีและบริเวณรอบบ้าน
- ช่ือคนในครอบครัว
- อาชีพของพ่อแม่
- ลกั ษณะของบ้าน
- สมาชกิ ในครอบครัว
- การทำงานในบา้ น
- ความหมายของเพื่อนบ้าน
- ไมส่ รา้ งความเดือดร้อนให้
เพื่อนบา้ น
- การช่วยเหลือซึ่งกันและกนั
- การรว่ มกจิ กรรมกับเพื่อน
บา้ น
- การอยรู่ ่วมกันอย่างมี
ความสุข

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเลก็ บา้ นสายรอ่ งขา่ ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร

๒๕

สาระการเรียนรูต้ าม สาระการเรยี นรู้ หน่วยการเรยี นรู้ สาระการเรียนรยู้ ่อย
หลักสูตร ศูนย์พฒั นาเดก็ เล็ก (รวม 34 หน่วย)
พ.ศ.2560 - ชือ่ ลักษณะภมู ปิ ระเทศ ของ
เร่อื งราวเกีย่ วกบั เรยี นรู้จงั หวดั จังหวดั ของเรา (กาญจนบุรี)
2. เรื่องราวเก่ียวกับ บุคคลและ (กาญจนบุรี) - คำขวญั ของจังหวดั
บคุ คลและ ส่งิ แวดล้อมรอบ (กาญจนบรุ )ี
สิ่งแวดลอ้ มรอบ ตัวเดก็ - ศาสนาและประเพณีท้องถิ่น
ตวั เดก็ (ต่อ) (กาญจนบุรี)
- อาชพี และอาหารพ้ืนเมือง
ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็กของ ของจังหวัด (กาญจนบรุ ี)
เรา - สถานทส่ี ำคญั ของจงั หวัด
(กาญจนบรุ ี)
บุคคลทคี่ วรรู้จักภายใน - ชอื่ ศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก
ศูนยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก ตราสัญลักษณ์
- สถานทตี่ ัง้ ของศูนย์พฒั นา
เดก็ เลก็
- หอ้ งต่างๆ ภายใน
ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก
- สถานที่ตา่ งๆ ในศนู ย์พฒั นา
เดก็ เลก็
- การดแู ลรักษา
- ความสำคัญของศูนย์พฒั นา
เดก็ เลก็
- บุคคลต่างๆ ภายใน
ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็ก
- หนา้ ท่บี ุคคลภายใน
ศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก
- การปฏิบตั ติ นต่อบุคคล
ภายในศูนยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก
- การรว่ มกิจกรรมภายใน
ศูนยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายรอ่ งข่า ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศักราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๒๖

สาระการเรียนรตู้ าม สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ย่อย
หลกั สูตร ศูนย์พฒั นาเด็กเลก็ (รวม 34 หน่วย)
พ.ศ.2560 - สถานท่ใี กลเ้ คยี งศูนย์พัฒนา
เร่อื งราวเก่ยี วกบั ชุมชนของเรา เด็กเลก็
2. เรอ่ื งราวเก่ียวกบั บุคคลและ - ความสำคัญของสถานทแี่ ละ
บุคคลและ สิง่ แวดล้อมรอบ ความหมาย
ส่ิงแวดล้อมรอบ ตัวเด็ก - การช่วยกันดูแลรกั ษา
ตวั เด็ก (ต่อ) - การปฏิบัติต่อชุมชน
- การมีส่วนรว่ มในชมุ ชน
อาชีพในฝัน - ชอ่ื อาชีพตา่ งๆ ของบดิ า
มารดาและผู้ปกครอง
3. ธรรมชาติรอบตัว ธรรมชาตริ อบตัว กลางวัน /กลางคืน - การปฏบิ ัตหิ น้าท่ี และการ
สัตว์โลกผู้น่ารกั แตง่ กาย
- อุปกรณใ์ นการทำงานของ
แตล่ ะอาชพี
- สถานทใี่ นการปฏบิ ัติงาน
- มคี วามชอบ ความรักใน
อาชีพตา่ งๆ
- ความหมายของกลางวัน/
กลางคนื
- ปรากฏการณใ์ นเวลากลางวัน
- การปฏิบตั ติ นในเวลา
กลางวัน
- ปรากฏการณใ์ นเวลา
กลางคนื
- การปฏิบัตติ นในเวลา
กลางคืน
- สตั ว์บก
- สตั วน์ ้ำ
- สัตว์ครง่ึ บกคร่งึ น้ำ
- สัตว์ปา่
- สัตวเ์ ล้ียง

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องข่า ฉบับปรับปรุง พทุ ธศักราช 2564
สังกดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวดั สกลนคร

๒๗

สาระการเรียนรูต้ าม สาระการเรียนรู้ หนว่ ยการเรยี นรู้ สาระการเรยี นรู้ยอ่ ย
หลักสตู ร ศูนยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก (รวม 34 หนว่ ย)
พ.ศ.2560 - ลกั ษณะรูปร่าง
ธรรมชาติรอบตวั นกน้อยน่ารัก - ที่อยู่อาศยั
3. ธรรมชาตริ อบตัว - อาหาร
- การดูแล
(ตอ่ ) - ประโยชนแ์ ละโทษ
- ลกั ษณะ รปู รา่ ง สขี องต้นไม้
ตน้ ไมแ้ สนรกั - หนา้ ทีส่ ่วนประกอบของ
ต้นไม้
ดอกไมส้ ดสวย - การบำรงุ รักษาต้นไม้
ผีเสอื้ แสนสวย - ประโยชนข์ องต้นไม้
มดตวั นอ้ ย - โทษของต้นไม้
ผกั และผลไม้ - ลักษณะ รูปร่าง สี
- การขยายพันธ์ุ
- การบำรุงรักษา
- ประโยชน์
- โทษ
- รูปรา่ ง ลักษณะของผีเสอ้ื
- ทอี่ ยูอ่ าศยั
- อาหารของผีเสื้อ
- วงจรชีวติ ของผเี สื้อ
- ประโยชน์และโทษของผีเสอ้ื
- รปู รา่ ง ลกั ษณะของมด
- ท่อี ยู่อาศยั
- อาหารของมด
- วงจรชีวติ ของมด
- ประโยชน์และโทษของมด
- ชนดิ ของผลไม้
- รูปร่างลักษณะ
- รสชาติของผกั ผลไม้
- วิธีทำผัก ผลไม้ใหส้ ะอาด
- ประโยชน์และโทษ

หลักสตู รสถานศึกษาระดับปฐมวัย : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เลก็ บ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรุง พุทธศกั ราช 2564
สงั กดั องค์การบริหารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร

๒๘

สาระการเรียนรู้ตาม สาระการเรยี นรู้ หน่วยการเรยี นรู้ สาระการเรยี นรู้ย่อย
หลักสตู ร ศนู ย์พฒั นาเดก็ เล็ก (รวม 34 หน่วย)
พ.ศ.2560 - ชนิดของขา้ ว
ธรรมชาติรอบตวั ข้าวมหัศจรรย์ - ลักษณะของต้นข้าว
3. ธรรมชาติรอบตัว - นำขา้ วมาแปรรูป
- อุปกรณ์ในการปลูกขา้ ว
(ตอ่ ) - ประโยชน์ของขา้ ว
- ความหมาย ประเภท
โลกสวยดว้ ยมอื เรา ส่งิ แวดล้อมตามธรรมชาติ
- สงิ่ แวดล้อมที่มนุษยส์ ร้างข้ึน
4. ส่งิ ตา่ งๆ รอบตัว สิ่งต่างๆ รอบตวั สีสนั สดใส - การอนรุ ักษ์ส่ิงแวดลอ้ ม
เดก็ เด็ก - ประโยชน์ของสงิ่ แวดลอ้ ม
- โทษของส่งิ แวดล้อม
เที่ยวทัว่ ไทย - ประเภทของสี
(การคมนาคม) - สีท่ไี ดจ้ ากพืช ผกั ผลไม้
ดอกไม้
โลกไรพ้ รมแดน - สีทีร่ ูจ้ กั (สีของวันทง้ั เจด็ )
- แมส่ ีและการผสมสี
- ประโยชน์และโทษของสี
- ความหมายของการคมนาคม
- ประเภทของยานพาหนะ
- การปฏิบตั ติ นในการใช้
ยานพาหนะ
- ประโยชน์ของการคมนาคม
- โทษของการใช้ยานพาหนะ
- ความหมายของการสื่อสาร
- ประเภทของการสื่อสาร
- วธิ กี ารสื่อสาร
- มารยาทในการส่ือสาร
- ประโยชน์ของการสื่อสาร

หลกั สตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเด็กเลก็ บ้านสายรอ่ งขา่ ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สงั กัดองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวัดสกลนคร

๒๙

สาระการเรียนรู้ตาม สาระการเรยี นรู้ หนว่ ยการเรียนรู้ สาระการเรยี นรู้ย่อย
หลกั สตู ร ศูนยพ์ ัฒนาเดก็ เล็ก (รวม 34 หนว่ ย)
พ.ศ.2560 - เครือ่ งมือ เคร่ืองใช้ใน
สงิ่ ตา่ งๆ รอบตัว เครือ่ งมือเครอ่ื งใช้ ห้องเรยี น
4. ส่งิ ตา่ งๆ รอบตัว เด็ก - เครื่องมือ เคร่ืองใชใ้ นบา้ น
- เครอ่ื งมือ เคร่ืองใชใ้ น
เด็ก (ต่อ) การเกษตร
- เครอ่ื งมือ เครื่องใช้ในการ
คณิตคดิ สนุก ก่อสร้าง
วิทยาศาสตรน์ า่ รู้ - การเกบ็ รกั ษา/ประโยชน/์
โทษ
- ตัวเลข
- จำนวนนับ
- รปู เรขาคณิต
- การชัง่ นำ้ หนัก
- การนบั เวลา
- แสง
- เสยี ง
- แมเ่ หลก็
- แว่นขยาย
- อากาศ

กำหนดเวลาเรียน
เวลาเรียนตลอดหลกั สูตร ๑ ปี ปลี ะ ๔๐ สัปดาห์ (๒๐๐ วัน โดยประมาณ) สปั ดาห์ละ ๕ วัน

และการจดั กจิ กรรมโครงการสง่ เสริมพฒั นาการผูเ้ รยี นปลี ะ 9 สปั ดาห์ (45 วนั โดยประมาณ) รวมเวลาเรยี นทั้ง

ปี ๒๔๕ วัน โดยประมาณ

หมายเหตุ : 1. หน่วยการเรียนรู้ สามารถปรับเปลี่ยนและเพ่ิมเตมิ ได้ตามความเหมาะสมกบั บรบิ ทของ
ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็กแตล่ ะแหง่

2. สาระการเรียนรยู้ อ่ ยสามารถเพิ่มเตมิ ไดต้ ามความเหมาะสม เชน่ โตไปไม่โกง เศรษฐกิจ-
พอเพียง วันสำคัญต่าง ๆ ให้สอดคลอ้ งกบั สาระการเรยี นรแู้ ละหนว่ ยการเรียนรู้

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายรอ่ งข่า ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2564
สงั กดั องค์การบริหารสว่ นตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวัดสกลนคร

๓๐

ตารางกิจกรรมประจำวนั

ลำดบั ท่ี เวลา กจิ กรรม

๑ ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. รบั เด็ก /ตรวจสขุ ภาพ
๒ ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. เคารพธงชาติ
๓ ๐๘.๔๕ - ๐๙.๐๐ น. กิจกรรมเคล่ือนไหว
๔ ๐๙.๐๐ - ๐๙.3๐ น. กจิ กรรมเสรมิ ประสบการณ์
๕ ๐๙.3๐ – ๑๐.0๐ น. พกั (รบั ประทานอาหารวา่ งตอนเช้า)
๖ ๑๐.๓๐ - ๑1.00 น. กิจกรรมกลางแจง้
๗ ๑1.00 - ๑2.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน/เข้าห้องน้ำ/แปรงฟนั
๘ ๑2.00 – ๑4.-00 น. นอนพักผอ่ น
๙ ๑4.00 – 14.3๐ น. เก็บทน่ี อน, ล้างหน้า ,ทาแป้ง , ด่มื นม
๑๐ 14.3๐ - ๑5.0๐ น. เกมการศึกษา /เตรยี มรอผ้ปู กครอง

หมายเหตุ : ตารางกิจกรรมประจำวันนส้ี ามารถยดื หยนุ่ ได้ตามความเหมาะสม

บรรยากาศการเรียนรู้

การจัดสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความสำคัญต่อเด็กเน่ืองจากธรรมชาติของเด็กวัยน้ี
สนใจที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า ทดลอง และต้องการสัมผัสกับส่ิงแวดล้อมรอบๆตัว การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมอย่าง
เหมาะสมตามความต้องการของเด็ก จึงมีความสำคัญที่เก่ียวข้องกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก เด็ก
สามารถเรียนรู้จากการเล่นที่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ศูนย์พัฒนาเด็ก
เล็ก จำเป็นต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของหลักสูตร เพื่อส่งผลให้บรรลุ
จุดหมายในการพัฒนาเด็ก ศูนยพ์ ฒั นาเด็กเลก็ ไดค้ ำนงึ ถึงส่ิงต่อไปนี้

๑. ความสะอาด ความปลอดภยั
๒. ความมีอสิ ระอย่างมขี อบเขตในการเล่น
๓. ความสะดวกในการทำกจิ กรรม
๔. ความพรอ้ มของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน หอ้ งนา้ ห้องสว้ ม สนามเดก็ เลน่ ฯลฯ
๕. ความเพียงพอเหมาะสมในเรอื่ งขนาด น้ำหนัก จำนวน สขี องสอ่ื และเคร่ืองเล่น
๖. บรรยากาศในการเรยี นรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ตา่ งๆ

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเดก็ เลก็ บ้านสายร่องขา่ ฉบับปรับปรงุ พุทธศกั ราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๓๑

สภาพแวดลอ้ มภายในหอ้ งเรียน

หลักสำคัญในการจัด ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความเป็นตัวของ
เด็กเอง ความรู้สึกอบอุ่นม่ันใจ และมีความสุขของเด็ก เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ไดจ้ ดั แบ่งพ้นื ทใ่ี หเ้ หมาะสม ดังน้ี

๑. พ้ืนทอ่ี ำนวยความสะดวกเพื่อเดก็ และครู
๑.๑ ทแี่ สดงผลงานของเด็ก จัดทำเปน็ แผน่ ป้ายหรือทีแ่ ขวนผลงาน
๑.๒ ทีเ่ กบ็ แฟ้มผลงานเด็ก จัดใสแ่ ฟม้ รายบุคคล
๑.๓ ทเ่ี กบ็ เคร่อื งใช้ส่วนตัวของเด็ก
๑.๔ ทีเ่ กบ็ เครือ่ งใชข้ องครู
๑.๕ ป้ายนิเทศ

๒. พ้ืนท่ีปฏิบัติกิจกรรมและการเคล่ือนไหว ควรมีพื้นท่ีที่เด็กสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง และทำ
กิจกรรมด้วยกันในกล่มุ เลก็ หรือกลุ่มใหญ่ เด็กสามารถเคลอ่ื นไหวได้อย่างอิสระจากกิจกรรมหนง่ึ ไปยังกิจกรรม
หนง่ึ โดยไมร่ บกวนผอู้ ่นื

3. พื้นที่จัดมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์ สามารถจัดตามความเหมาะสมข้ึนอยู่กับสภาพห้องเรียน
จัดแยกส่วนที่ใช้เสียงดังและเงียบออกจากกัน เช่นมุมบล็อกอยู่ห่างจากมุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติอยู่ติดกับ
มุมบล็อก มมุ วิทยาศาสตร์อยใู่ กลม้ ุมศลิ ปะเป็นต้น

สภาพแวดลอ้ มนอกห้องเรียน
การจัดสภาพแวดล้อมภายในอาณาบรเิ วณรอบๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ รวมทั้งจัดสนามเดก็ เล่น พร้อม

เครื่องเล่นการระวังรักษาความปลอดภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และบริเวณรอบนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ดูแลรักษาความสะอาด ปลูกต้นไม้ให้ความร่มรื่น ส่ิงต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ
พัฒนาการของเดก็

ส่ือและแหล่งเรยี นรู้
การจัดประสบการณ์เพ่ือพัฒนาเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องอาศัยสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรตู้ ่างๆ

จึงจะช่วยให้เดก็ มปี ระสบการณ์และเกิดการเรียนรูอ้ ยา่ งมคี ุณภาพ ไดด้ ำเนินการดงั นี้
1. จดั ใหม้ สี ่อื หลากหลาย เพียงพอในการนำมาใช้ประกอบการพฒั นาเด็ก ส่อื มีทงั้ ที่เปน็ วัสดุ

ธรรมชาติ สือ่ ที่ครูผลติ /จัดทำ และส่ือท่ซี ้อื
2. จัดระบบการบริการและจัดเกบ็ สือ่ ให้เป็นระเบยี บ สะดวกตอ่ การนำมาใช้
3. ใหเ้ ด็กมีโอกาสเป็นผู้ลงมอื การทำต่อวัตถหุ รือใช้ส่อื ตา่ งๆด้วยตนเอง เพ่อื ให้เกิดการเรียนรู้

อย่างแท้จริง และย่งั ยืน
4. สง่ เสริมการใชแ้ หลง่ เรยี นรตู้ ่างๆ ในศนู ย์พัฒนาเด็กเล็ก แหลง่ เรยี นรู้นอกศูนยพ์ ัฒนาเด็กเล็ก

และภูมปิ ัญญาทอ้ งถนิ่ ใหม้ สี ่วนรว่ มในการพัฒนาเดก็
5. จัดให้มรี ะบบการนิเทศ ตดิ ตาม กำกบั การใชส้ ่ือ และแหล่งการเรยี นรู้ควบคูไ่ ปกบั การ

ดำเนินการดา้ นอ่ืนในการพฒั นาเด็กปฐมวยั

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๓๒

แหล่งเรียนร้ใู นศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เลก็
1. โรงอาหาร
2. ปา้ ยทำเนยี บครู
3. ปา้ ยนิเทศหนา้ ห้องเรยี น
4. สวนหย่อมหน้าอาคารเรียน
5. สนามเดก็ เล่น
6. ตน้ ไม้บริเวณรอบๆ อาคารเรยี น
7. เสาธง
8. แปลงปลูกผักสวนครวั
9. สวนสมนุ ไพร
10. อ่นื ๆ ท่ีเหมาะสมกับวัยเดก็

แหล่งเรยี นรูใ้ นชุมชน (นอกศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก)
แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน แหล่งเรียนรู้เก่ียวกับการส่งเสริมอาชีพ แหล่งเรียนรู้

ศาสนา ศลิ ปะ วัฒนธรรม (วัด) แหล่งธรรมชาติทปี่ ลอดภัยสำหรบั เด็กปฐมวัย

การประเมนิ พฒั นาการ
การประเมินพัฒนาการเด็กช่วยให้ครูทราบและเข้าใจพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กในความ

รบั ผิดชอบ ข้อมูลจากการประเมินพัฒนาการ ครูจะนำไปใชใ้ นการวางแผนการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์
ให้กับเด็กและเป็นข้อมูลในการส่ือสารกับผู้ปกครองเพื่อร่วมมือในการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ต่อไป ในระดับปฐมวัยเป็นการประเมินพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็น
กระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง และควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กตามปกติในแต่ละวัน โดย
มหี ลักการประเมนิ พฒั นาการดังนี้

1. ประเมินพฒั นาการครบทุกด้าน นำผลมาพฒั นาเด็ก และปรับปรงุ วิธสี อนของครู
2. ประเมินเปน็ รายบคุ คลอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนือ่ งตลอดปี
3. สภาพการประเมินเปน็ สถานการณ์เดียวกับการปฏบิ ตั ิกจิ กรรมประจำวนั
4. ประเมนิ อยา่ งเป็นระบบ มีการวางแผน เลอื กใช้เครื่องมือและจดบนั ทึกไวเ้ ปน็ หลกั ฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงดว้ ยวิธีการหลากหลาย เหมาะกบั เด็ก รวมทัง้ ใชแ้ หล่งขอ้ มลู หลาย ๆ ดา้ น
ใชก้ ารทดสอบนอ้ ยที่สดุ ตามความจำเปน็
วธิ ีการประเมนิ
วธิ ีการประเมนิ พัฒนาการเด็กปฐมวยั ท่ีเหมาะสมไดแ้ ก่
1. การสงั เกตพฤติกรรมเด็ก
2. การเขยี นบนั ทึกพฤติกรรม
3. การสนทนา การสัมภาษณ์
4. และการวิเคราะหข์ ้อมูลจากผลงานของเดก็ ท่ีเก็บในแฟ้มสะสมงานอย่างเปน็ ระบบ

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เลก็ บ้านสายรอ่ งขา่ ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร

๓๓

การบรหิ ารจัดการหลักสูตร
ศนู ย์พฒั นาเด็กเล็กดำเนนิ การบริหารจัดการหลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย ดงั นี้
1. เตรียมความพร้อม โดยประชุมครู บุคลากร และผมู้ สี ว่ นเกี่ยวข้อง
2. แต่งต้ังคณะกรรมการ
3. การจัดทำ รวบรวมเอกสารที่เกีย่ วขอ้ งกบั การพัฒนาหลักสตู รปฐมวัยของศนู ย์พฒั นาเดก็ เล็ก โดยมี
การกำหนดปรัชญาวสิ ยั ทัศน์ ภารกจิ เปา้ หมาย คณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ สาระการเรียนรู้รายปี
การจดั ประสบการณ์การเรยี นรู้ บรรยากาศการเรยี นรู้ ประเมนิ ผล สอื่ และแหล่งการเรียนรู้
4. นำหลักสตู รการศกึ ษาปฐมวัยของศูนยพ์ ัฒนาเด็กเล็ก สู่การปฏบิ ตั ิ
5. นิเทศ กำกบั ตดิ ตาม และประเมินผล
6. สรปุ ผลการดำเนินงาน
7. นำผลการประเมินส่กู ารพัฒนา/ปรบั ปรงุ การดำเนินงาน

การเชอ่ื มต่อการพฒั นาเดก็ ปฐมวยั
การเชอ่ื มต่อด้านการพัฒนา แก้ไขและสนับสนุนเด็กปฐมวัยในทกุ ๆ ด้าน เป็นการพัฒนาการอย่าง

ต่อเน่อื งและสอดคล้อง ตรงจุด และมปี ระสทิ ธภิ าพโดยผู้ทเี่ กย่ี วข้องดังน้ี
1. บทบาทพ่อแม่และผูเ้ ล้ียงดู
2. บทบาทบคุ ลากรในศนู ย์พัฒนาเดก็ เล็ก
3. บทบาทขององค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่
4. บทบาทของหน่วยงานสาธารณสุขทเ่ี ก่ยี วข้องกับทางด้านเดก็ (รพ.สต)

1. บทบาทพ่อแม่และผเู้ ล้ียงดู
1.1 มีความพรอ้ มด้านข้อมูลเกยี่ วกับตวั เดก็ ดว้ ยการคอยจดบันทกึ พฒั นาการของลูกอยา่ ง
ละเอียดสม่ำเสมอ และตรงตามความเป็นจรงิ
1.2 เปน็ ตวั เป็นแบบอยา่ งท่ีดใี ห้กบั ลกู และหลกี เลย่ี งการกระทำพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสม
1.3 พิจารณาเลอื กสถานศึกษาใหเ้ ดก็ ตามความเหมาะสม และมคี ุณภาพ
1.4 ใหค้ วามรว่ มมอื ปฏบิ ัตติ ามคำแนะนำของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.5 พ่อแม่กบั สถานพัฒนาเดก็ ให้ความร่วมมือพฒั นาเด็กในทศิ ทางเดยี วกนั
1.6 สรา้ งความคุน้ เคย เชอื่ มโยง และยอมรับนับถอื ซ่ึงกันและกันระหว่างบ้านกบั ศนู ย์
พัฒนาเด็กเล็ก

2. บทบาทครูและบุคลากรในศูนย์พฒั นาเด็กเล็ก
2.1 รวบรวมขอ้ มลู ต่างๆ เกี่ยวกับตวั เดก็ ให้ละเอียดครบถ้วน
2.2 ต้องสรา้ งความไว้วางใจใหเ้ กดิ ขึน้ กับเด็กและผปู้ กครอง
2.3 ปฏิบัติตนกบั เด็กและผู้ปกครองด้วยความออ่ นน้อม เหมาะสมใหเ้ กยี รติกนั
2.4 จัดกจิ กรรมให้เดก็ ครู และผูป้ กครอง เพื่อสรา้ งความคุ้นเคย ไวว้ างใจ และสามารถอยรู่ ว่ มกบั
ผอู้ ื่นไดอ้ ยา่ งมีความสขุ
2.5 ผลิตและพฒั นาสอ่ื การเรยี นการสอน เพื่อใชใ้ นการส่งเสรมิ และแก้ปัญหาทเ่ี กิดขึ้นกับเดก็
2.6 เปน็ สะพานเช่ือมโยงผปู้ กครองกบั หนว่ ยงานต่างๆ ที่เกีย่ วข้องให้เขา้ มามีสว่ นร่วมกันในการ
ส่งเสรมิ ปรบั ปรุง และพัฒนาศักยภาพเด็ก

หลักสตู รสถานศึกษาระดับปฐมวยั : ศนู ย์พฒั นาเด็กเลก็ บ้านสายรอ่ งขา่ ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร

๓๔

3. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถนิ่
3.1 กำหนดนโยบายการพฒั นาการศึกษาอย่างเป็นระบบ
3.2 สนบั สนุนทรพั ยากรและงบประมาณในการพฒั นาการจัดการศกึ ษาของศูนย์พัฒนาเด็กเลก็
อย่างตอ่ เนอ่ื ง
3.3 ส่งเสริมพัฒนาศกั ยภาพครแู ละบุคลากรด้านการศึกษาใหม้ ปี ระสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3.4 ประเมนิ คุณภาพภายในตามมาตรฐานการศกึ ษาศูนย์พัฒนาเดก็ เล็ก
3.5 สง่ เสรมิ ใหท้ ุกภาคส่วนมสี ่วนรว่ มในการการพฒั นางานด้านการศึกษา

4. บทบาทของหน่วยงานสาธารณสุขท่ีเก่ยี วข้องกับทางด้านเดก็ (รพ.สต)
4.1 ส่งเสริมมาตรฐานด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภยั ทงั้ ภายในและภายนอกอาคาร
สถานที่
4.2 ส่งเสรมิ สนบั สนนุ การเฝา้ ระวงั ภาวะโภชนาการ โดยการชงั่ น้ำหนัก ส่วนสงู ทกุ 3 เดอื น
4.3 สง่ เสริมกิจกรรมด้านทันตอนามัยในช่องปากเด็กปฐมวัย
4.4 ส่งเสริมใหค้ วามรแู้ ก่ครู และผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคระบาดตามฤดูกาลในเด็กปฐมวยั

การกำกับ ติดตาม ประเมิน และการรายงาน
การจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนยพ์ ัฒนาเด็กเลก็ องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถ่ินควรให้สังคม ชุมชน มีส่วน

ร่วมในการจัดการศึกษาและกระจายอำนาจการศึกษาไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามท่ีกฎหมาย ระเบียบและ
หนังสือสั่งการกำหนด เพ่ือให้ผลผลิตทางการศึกษาปฐมวัยมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์
และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินต้องมีระบบการ
กำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัด
การศึกษา เห็นความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนการให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน การ
วางแผน และดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พฒั นาเด็กเล็กใหม้ ีคณุ ภาพอยา่ งแทจ้ รงิ

การกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
บริหารการศึกษาและระบบการประกันคุณภาพท่ีต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพ่ือนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สร้างความมั่นใจให้ผูเ้ ก่ียวข้อง โดยต้องมกี ารดำเนินการ
ที่เป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมท้ังหน่วยงานภายในและภายนอก ต้องมีการรายงานผลให้หน่วยงานต้นสังกัด
ตามลำดับ และประชาสัมพนั ธ์หรือแจ้งให้ทกุ ฝ่าย รวมท้ังผปู้ กครองและประชาชนทวั่ ไปทราบ เพ่ือนำข้อมลู จาก
รายงานผลมาจัดทำแผนพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาของศนู ย์พฒั นาเด็กเลก็ ต่อไป

หลกั สตู รสถานศึกษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเด็กเลก็ บา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรับปรุง พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองคก์ ารบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชมุ อำเภอพรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร

๓๕

หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็ก
สำหรบั เด็กอายุ 3 – 5 ปี

จุดหมาย
หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั ศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเล็ก สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี มงุ่ สง่ เสรมิ ให้เด็กมีพฒั นาการ

ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความสนใจ และความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ดังนี้

1. รา่ งกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสขุ ภาพดี
2. สุขภาพจิตดแี ละมีความสุข
3. มีทักษะชีวติ และปฏิบัติตนตามหลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง มีวนิ ัย และอยู่ร่วมกบั ผู้อืน่ ไดอ้ ย่างมี

ความสขุ
4. มีทักษะการคดิ การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวยั สนใจเรยี นรู้ส่ิง

ตา่ งๆ

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
หลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัยศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเล็ก สำหรบั เดก็ อายุ 3 – 5 ปี กำหนดมาตรฐานคณุ ลกั ษณะ

ที่พงึ ประสงค์ จำนวน 4 ด้านรวม 12 มาตรฐาน ดังน้ี
1. พฒั นาการด้านรา่ งกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคอื
มาตรฐานท่ี ๑ รา่ งกายเจริญเตบิ โตตามวัยและมีสุขนสิ ัยท่ดี ี
มาตรฐานท่ี ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเน้อื เล็กแข็งแรงใช้ไดอ้ ย่างคลอ่ งแคลว่ และประสาน
สัมพันธก์ ัน
2. พัฒนาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคอื
มาตรฐานที่ ๓ มสี ุขภาพจติ ดีและมคี วามสุข
มาตรฐานที่ ๔ ชืน่ ชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคล่อื นไหว
มาตรฐานท่ี ๕ มีคณุ ธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
3. พฒั นาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ
มาตรฐานท่ี ๖ มที กั ษะชวี ติ และปฏิบตั ิตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สง่ิ แวดล้อม วฒั นธรรม และความเปน็ ไทย
มาตรฐานที่ ๘ อยูร่ ว่ มกบั ผู้อ่ืนไดอ้ ยา่ งมีความสุขและปฏิบัตติ นเป็นสมาชิกท่ีดีของสังคมใน
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเปน็ ประมุข
4. พฒั นาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสอ่ื สารได้เหมาะสมกบั วยั
มาตรฐานที่ ๑๐ มคี วามสามารถในการคิดท่เี ป็นพืน้ ฐานในการเรยี นรู้
มาตรฐานท่ี ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานท่ี ๑๒ มีเจตคติท่ีดตี ่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรไู้ ด้
เหมาะสมกับวยั

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเด็กเลก็ บ้านสายร่องข่า ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สังกัดองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๓๖

สภาพท่พี งึ ประสงค์
สภาพที่พึงประสงค์สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้

เกิดขึ้น บนพ้ืนฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการ
กำหนดสาระเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์ กิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็กโดยมีรายละเอียดของ
มาตรฐานคณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ ตัวบง่ ช้ี และสภาพท่พี ึงประสงค์ดงั นี้

1. พัฒนาการดา้ นร่างกาย

มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจรญิ เตบิ โตตามวยั เดก็ มสี ขุ นสิ ัยท่ีดี

ตวั บง่ ชี้ท่ี ๑.๑ มีน้ำหนักและสว่ นสงู ตามเกณฑ์

อายุ 3 ปี สภาพท่พี ึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- นำ้ หนกั และส่วนสงู ตามเกณฑ์ อายุ 4 ปี - นำ้ หนกั และส่วนสูงตามเกณฑ์
ของกรมอนามยั ของกรมอนามยั
- นำ้ หนักและส่วนสงู ตามเกณฑ์
ของกรมอนามัย

ตัวบง่ ชท้ี ี่ ๑.๒ มสี ขุ ภาพอนามยั สุขนิสยั ทด่ี ี

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี

- ยอมรับประทานอาหารท่ีมี - รับประทานอาหารทม่ี ี - รับประทานอาหารท่มี ี

ประโยชน์และดืม่ นำ้ ท่สี ะอาด ประโยชนแ์ ละด่ืมนำ้ สะอาด ประโยชนไ์ ดห้ ลายชนดิ และด่ืม

เม่ือมีผู้ชี้แนะ ดว้ ยตนเอง นำ้ สะอาดได้ด้วยตนเอง

- ลา้ งมือก่อนรับประทานอาหาร - ล้างมือก่อนรบั ประทานอาหาร - ลา้ งมอื ก่อนรบั ประทานอาหาร

และหลังจากใชห้ ้องน้ำห้อง และหลงั จากใชห้ ้องน้ำห้อง และหลงั จากใช้ห้องน้ำห้อง

สว้ มเม่ือมผี ชู้ ้ีแนะ สว้ มดว้ ยตนเอง สว้ มด้วยตนเอง

- นอนพักผ่อนเป็นเวลา - นอนพักผ่อนเปน็ เวลา - นอนพักผ่อนเปน็ เวลา

- ออกกำลังกายเปน็ เวลา - ออกกำลังกายเป็นเวลา - ออกกำลงั กายเปน็ เวลา

ตวั บง่ ชท้ี ่ี ๑.๓ รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อ่ืน

อายุ 3 ปี สภาพทพี่ ึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- เลน่ และทำกจิ กรรมอย่าง อายุ 4 ปี - เล่นและทำกิจกรรมและปฏิบัติ
ปลอดภัยเม่ือมผี ู้ชแ้ี นะ ตอ่ ผู้อ่ืนอยา่ งปลอดภยั
- เลน่ และทำกิจกรรมอยา่ ง
ปลอดภัยด้วยตนเอง

หลกั สตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เล็กบ้านสายรอ่ งขา่ ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวัดสกลนคร

๓๗

มาตรฐานที่ ๒ กลา้ มเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อยา่ งคล่องแคล่วและประสาน
สมั พันธ์กัน

ตวั บง่ ชี้ที่ ๒.๑ เคล่ือนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้

อายุ 3 ปี สภาพที่พงึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- เดินตามแนวท่ีกำหนดได้ อายุ 4 ปี - เดนิ ต่อเท้าถอยหลงั เป็นเส้นตรง
ได้โดยไมต่ ้องกางแขน
- เดนิ ตอ่ เทา้ ไปขา้ งหน้าเป็น
เส้นตรงไดโ้ ดยไม่ต้องกางแขน

- กระโดดสองขา ขึ้นลงอยู่กับท่ี - กระโดดขาเดียวอยู่กับท่ีไดโ้ ดย - กระโดดขาเดยี ว ไปขา้ งหน้าได้
ได้ ไม่เสียการทรงตัว อยา่ งต่อเน่ืองโดยไมเ่ สียการ
ทรงตวั

- ว่ิงแลว้ หยดุ ได้ - วง่ิ หลบหลีกสงิ่ กีดขวางได้ - วิ่งหลบหลกี ส่ิงกดี ขวางได้อย่าง
คล่องแคลว่

- รับลกู บอลโดยใชม้ อื และลำตวั - รับลกู บอลไดด้ ว้ ยมือทั้งสองข้าง - รับลูกบอลทก่ี ระดอนขน้ึ จาก
ช่วย พ้นื ได้

ตวั บ่งช้ีท่ี ๒.2 ใช้มือ-ตาประสานสัมพนั ธ์กัน

สภาพทพ่ี งึ ประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- ใช้กรรไกรตัดกระดาขาดจาก
- ใชก้ รรไกรตัดกระดาษตามแนว - ใช้กรรไกรตดั กระดาษตามแนว
กันได้โดยใชม้ ือเดียว
เส้นตรงได้ เสน้ โค้งได้

- เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ - เขยี นรปู สี่เหลยี่ มตามแบบได้ - เขยี นรูปสามเหลย่ี มตามแบบ

อย่างมีมุมชดั เจน ได้อย่างมมี ุมชัดเจน

- ร้อยวัสดทุ ี่มีรูขนาดเสน้ ผ่าน - ร้อยวัสดุท่ีมีรูจนาดเสน้ ผ่าน - ร้อยวัสดุท่มี รี ขู นาดเสน้ ผ่าน

ศูนย์กลาง ๑ ซม. ได้ ศนู ย์ ๐.๕ ซม. ได้ ศูนยก์ ลาง ๐.๒๕ ซม. ได้

หลกั สตู รสถานศึกษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เลก็ บ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช 2564
สงั กดั องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวัดสกลนคร

๓๘

๒.พฒั นาการด้านอารมณ์ จติ ใจ
มาตรฐานท่ี ๓ มีสุขภาพจิตดแี ละมคี วามสุข
ตวั บง่ ชี้ท่ี ๓.๑ แสดงออกทางอารมณ์อยา่ งเหมาะสม

สภาพทพี่ งึ ประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- แสดงอารมณ์ ความรสู้ กึ ได้
เหมาะสมกับบางสถานการณ์ - แสดงอารมณ์ ความร้สู ึกได้ตาม - แสดงอารมณ์ ความรสู้ กึ ได้

สถานการณ์ สอดคลอ้ งกบั สถานการณ์อยา่ ง

เหมาะสม

ตวั บง่ ชที้ ี่ ๓.๒ มคี วามรู้สึกท่ีดตี ่อตนเองและผู้อืน่

สภาพท่พี งึ ประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- กลา้ พูดกล้าแสดงออก
- กล้าพูดกลา้ แสดงออกอย่าง - กล้าพดู กลา้ แสดงออกอยา่ ง
- แสดงความพอใจในผลงาน
ตนเอง เหมาะสมบางสถานการณ์ เหมาะสมตามสถานการณ์

- แสดงความพอใจในผลงานและ - แสดงความพอใจในผลงานและ

ความสามารถของตนเอง ความสามารถของตนเองและ

ผู้อน่ื

มาตรฐานที่ ๔ ชืน่ ชมและแสดงออกทางศลิ ปะ ดนตรี และการเคลอ่ื นไหว

ตัวบ่งชี้ท่ี ๔.๑ สนใจและมคี วามสขุ และแสดงออกผา่ นงานศลิ ปะ ดนตรแี ละการเคล่ือนไหว

สภาพที่พงึ ประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี

- สนใจและมคี วามสขุ และ - สนใจและมคี วามสขุ และ - สนใจและมีความสขุ และ

แสดงออกผ่านงานศิลปะ แสดงออกผ่านงานศิลปะ แสดงออกผา่ นงานศิลปะ

- สนใจ มีความสขุ และ - สนใจ มคี วามสุขและ - สนใจ มีความสขุ และ

แสดงออกผ่านเสยี งเพลงดนตรี แสดงออกผ่านเสยี งเพลงดนตรี แสดงออกผา่ นเสียงเพลงดนตรี

- สนใจ มีความสุขและแสดง - สนใจ มีความสุขและแสดง - สนใจ มีความสุขและแสดง

ท่าทาง/เคล่ือนไหวประกอบ ท่าทาง/เคลอ่ื นไหวประกอบ ท่าทาง/เคลอ่ื นไหวประกอบ

เพลง จงั หวะและ ดนตรี เพลง จังหวะและ ดนตรี เพลง จงั หวะและ ดนตรี

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พัฒนาเดก็ เลก็ บา้ นสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564
สังกดั องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร

๓๙

มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จรยิ ธรรมและมีจติ ใจทีด่ ีงาม

ตัวบง่ ช้ีท่ี ๕.๑ ซ่ือสัตย์ สจุ ริต

อายุ 3 ปี สภาพท่พี งึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- บอกหรือชไ้ี ดว้ ่าสิง่ ใดเป็นของ อายุ 4 ปี - ขออนุญาตหรือรอคอยเม่ือ
ตนเองและส่ิงใดเปน็ ของผู้อน่ื ต้องการสงิ่ ของของผู้อ่นื ด้วย
- ขออนุญาตหรอื รอคอยเม่ือ ตนเอง
ต้องการสง่ิ ของของผ้อู ื่นเมือ่ มีผู้
ช้แี นะ

ตัวบง่ ช้ีท่ี ๕.๒ มีความเมตตา กรุณา มนี ำ้ ใจและช่วยเหลือแบง่ ปัน

อายุ 3 ปี สภาพทพ่ี งึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- แสดงความรักเพ่ือนและมี อายุ 4 ปี - แสดงความรักเพ่ือนและมี

เมตตาสตั ว์เลยี้ ง - แสดงความรกั เพ่ือนและมี เมตตาสตั ว์เลีย้ ง
- แบง่ ปนั ส่งิ ของให้ผู้อ่ืนไดเ้ ม่ือมี เมตตาสัตว์เลยี้ ง - ช่วยเหลือและแบง่ ปันผู้อน่ื ได้

ผ้ชู ี้แนะ - ชว่ ยเหลอื และแบ่งปนั ผูอ้ นื่ ได้ ดว้ ยตนเอง
เมอ่ื มีผู้ช้ีแนะ

ตวั บ่งชท้ี ่ี ๕.๓ มคี วามเหน็ อกเห็นใจผู้อื่น

อายุ 3 ปี สภาพท่ีพึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- แสดงสหี น้าหรือทา่ ทางรับรู้ อายุ 4 ปี - แสดงสีหนา้ หรือทา่ ทางรับรู้

ความรสู้ กึ ผู้อื่น - แสดงสีหนา้ หรือทา่ ทางรบั รู้ ความรสู้ กึ ผอู้ ่นื อย่างสอดคลอ้ ง
ความรสู้ ึกผูอ้ ่ืน กบสถานการณ์

ตวั บง่ ชที้ ่ี ๕.๔ มีความรบั ผิดชอบ

อายุ 3 ปี สภาพทพ่ี ึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- ทำงานท่ีได้รับมอบหมายจน อายุ 4 ปี - ทำงานที่ได้รับมอบหมายจน
สำเร็จดว้ ยตนเอง
สำเรจ็ เม่ือมผี ูช้ ว่ ยเหลอื - ทำงานทไ่ี ดร้ บั มอบหมายจน
สำเร็จเมอื่ มีผชู้ แี้ นะ

หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสายรอ่ งข่า ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศักราช 2564
สงั กัดองค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวดั สกลนคร

๔๐

๓. พัฒนาการด้านสังคม
มาตรฐานที่ ๖ มที ักษะชีวติ และปฏิบัตติ นตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง
ตัวบง่ ชท้ี ่ี ๖.๑ ช่วยเหลอื ตนเองในการปฏบิ ัตกิ จิ วตั รประจำวัน

อายุ 3 ปี สภาพทพ่ี ึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- แตง่ ตัวโดยมีผ้ชู ่วยเหลือ อายุ 4 ปี - แตง่ ตวั ดว้ ยตนเองได้อยา่ ง
คลอ่ งแคลว่
- รบั ประทานอาหารดว้ ยตนเอง - แตง่ ตัวด้วยตนเอง - รบั ประทานอาหารดว้ ยตนเอง
อย่างถูกวธิ ี
- ใช้หอ้ งนำ้ หอ้ งส้วมโดยมีผู้ - รบั ประทานอาหารดว้ ยตนเอง - ใชแ้ ละทำความสะอาดหลังใช้
ชว่ ยเหลอื หอ้ งนำ้ ห้องสว้ มด้วยตนเอง
- ใช้ห้องน้ำหอ้ งส้วมดว้ ยตนเอง

ตวั บง่ ช้ีท่ี ๖.๒ มีวนิ ยั ในตนอง สภาพท่ีพึงประสงค์ อายุ 5 ปี
อายุ 4 ปี - เก็บของเล่นของใชเ้ ขา้ ท่ีอยา่ ง
อายุ 3 ปี เรยี บรอ้ ยด้วยตนเอง
- เกบ็ ของเลน่ ของใช้เข้าทีเ่ ม่ือมี - เก็บของเลน่ ของใช้เขา้ ที่ด้วย - เขา้ แถวตามลำดับก่อนหลังได้
ผชู้ แ้ี นะ ตนเอง ด้วยตนเอง
- เข้าแถวตามลำดบั ก่อนหลงั ได้ - เขา้ แถวตามลำดับกอ่ นหลังได้
เมอ่ื มีผชู้ ้ีแนะ ดว้ ยตนเอง

ตวั บ่งชท้ี ่ี ๖.๓ ประหยดั และพอเพยี ง

อายุ 3 ปี สภาพทพี่ งึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- ใช้ส่งิ ของเคร่ืองใช้อย่าง อายุ 4 ปี - ใชส้ ่ิงของเครื่องใช้อย่าง
ประหยดั และพอเพียงเมอ่ื มผี ู้ ประหยัดและพอเพยี งด้วย
ช้ีแนะ - ใชส้ ิ่งของเครื่องใช้อย่าง ตนเอง
ประหยดั และพอเพยี งเม่ือมีผู้
ชแ้ี นะ

หลักสูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเด็กเล็กบา้ นสายรอ่ งขา่ ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศักราช 2564
สงั กดั องค์การบรหิ ารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร

๔๑

มาตรฐานที่ ๗ รกั ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วฒั นธรรม และความเปน็ ไทย
ตัวบ่งชท้ี ่ี ๗.๑ ดแู ลรกั ษาธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม

สภาพท่ีพึงประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี

- มสี ว่ นร่วมในการดูแลรักษา - มีสว่ นรว่ มในการดูแลรกั ษา - มสี ว่ นร่วมในการดูแลรกั ษา

ธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มเมื่อมี ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมเมื่อมี ธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ มด้วย

ผู้ชีแ้ นะ ผชู้ ีแ้ นะ ตนเอง

- ท้งิ ขยะได้ถูกที่ - ทิ้งขยะได้ถูกท่ี - ทิง้ ขยะไดถ้ ูกท่ี

ตัวบ่งชท้ี ่ี ๗.๒ มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรกั ความเป็นไทย

อายุ 3 ปี สภาพท่ีพึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- ปฏิบตั ิตนตามมารยาทไทยได้ อายุ 4 ปี - ปฏิบัตติ นตามมารยาทไทยได้
เมื่อมีผชู้ ้แี นะ ตามกาลเทศะ
- กลา่ วคำขอบคณุ และขอโทษ - ปฏบิ ตั ิตนตามมารยาทไทยได้ - กล่าวคำขอบคณุ และขอโทษ
เมื่อมีผู้ชแี้ นะ ด้วยตนเอง ด้วยตนเอง
- หยุดเมื่อไดย้ นิ เพลงชาติไทย - กล่าวคำขอบคุณและขอโทษ - ยืนตรงและรว่ มร้องเพลงชาติ
และเพลงสรรเสริญพระบารมี ดว้ ยตนเอง ไทยและเพลงสรรเสรญิ
- หยดุ เมอื่ ได้ยนิ เพลงชาติไทย
และเพลงสรรเสริญพระบารมี พระบารมี

มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างมีความสุขและปฏิบัตติ นเปน็ สมาชกิ ท่ดี ีของสังคมใน
ระบอบประชาธปิ ไตยอันมพี ระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมุข

ตวั บง่ ชที้ ่ี ๘.๑ ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหวา่ งบุคคล

สภาพท่พี ึงประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- เลน่ และทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก
- เล่นและทำกจิ กรรมรว่ มกับเด็ก - เลน่ และทำกิจกรรมรว่ มกับ กลุ่มท่แี ตกตา่ งไปจากตน

ท่ีแตกตา่ งไปจากตน กล่มุ เด็กท่ีแตกต่างไปจากตน

หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดับปฐมวัย : ศนู ย์พฒั นาเดก็ เลก็ บา้ นสายรอ่ งข่า ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองค์การบรหิ ารสว่ นตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวดั สกลนคร

๔๒

ตัวบง่ ช้ที ่ี ๘.๒ มีปฏสิ มั พันธท์ ี่ดกี บั ผู้อ่นื

สภาพที่พงึ ประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- เลน่ หรอื ทำงานรว่ มกบั เพ่ือน
- เลน่ ร่วมกับเพือ่ น - เล่นหรือทำงานรว่ มกบั เพ่ือน อยา่ งมีเป้าหมาย
- ยิม้ หรือทกั ทายหรือพดู คุยกับ
เป็นกลมุ่ ผู้ใหญ่และบคุ คลทคี่ นุ้ เคยได้
เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยม้ิ หรอื ทกั ทายผู้ใหญ่และ - ยิ้มหรอื ทกั ทายหรือพดู คยุ กับ

บุคคลท่คี ุ้นเคยเม่ือมีผู้ช้ีแนะ ผูใ้ หญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้

ดว้ ยตนเอง

ตวั บ่งชที้ ี่ ๘.๓ ปฏิบตั ติ นเบื้องตน้ ในการเป็นสมาชิกทดี่ ขี องสงั คม

สภาพทพี่ ึงประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- ปฏบิ ัตติ ามขอ้ ตกลงเม่ือมผี ู้
ช้ีแนะ - มสี ว่ นร่วมสรา้ งขอ้ ตกลงและ - มสี ว่ นรว่ มสรา้ งขอ้ ตกลงและ

- ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตาม ปฏิบัติตามข้อตกลงเม่อื มีผู้ ปฏิบัติตามข้อตกลงดว้ ยตนเอง
เมือ่ มผี ู้ชี้แนะ
- ยอมรบั การประนปี ระนอม ชแี้ นะ
แก้ไขปัญหาเมื่อมผี ชู้ แี้ นะ
- ปฏบิ ตั ิตนเปน็ ผนู้ ำและผู้ตามที่ดี - ปฏบิ ัติตนเป็นผ้นู ำและผู้ตามได้

ได้ดว้ ยตนเอง เหมาะสมกบั สถานการณ์

- ประนปี ระนอมแก้ไขปัญหาโดย - ประนปี ระนอมแกไ้ ขปัญหาโดย

ปราศจากการใชค้ วามรนุ แรง ปราศจากการใชค้ วามรนุ แรง

เม่ือมผี ู้ช้แี นะ ดว้ ยตนเอง

4. พัฒนาการด้านสตปิ ญั ญา
มาตรฐานท่ี ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกบั วัย
ตัวบ่งชท้ี ี่ ๙.๑ สนทนาโตต้ อบและเลา่ เรอื่ งใหผ้ ู้อื่นเข้าใจ

อายุ 3 ปี สภาพทีพ่ งึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- ฟงั ผูอ้ น่ื พูดจนจบและโต้ตอบ อายุ 4 ปี - ฟังผ้อู ื่นพูดจนจบและสนทนา
เก่ียวกับเรื่องที่ฟัง โต้ตอบอยา่ งต่อเนื่องเชอ่ื มโยง
- ฟงั ผู้อืน่ พูดจนจบและสนทนา กบั เรอ่ื งท่ฟี ัง
โตต้ อบสอดคล้องกบั เรอ่ื งท่ฟี ัง - เลา่ เปน็ เรือ่ งราวต่อเน่ืองได้

- เล่าเรื่องด้วยประโยคส้ันๆ - เล่าเรอื่ งเป็นประโยคอยา่ ง
ตอ่ เน่อื ง

หลกั สูตรสถานศกึ ษาระดบั ปฐมวัย : ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเลก็ บ้านสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองค์การบริหารสว่ นตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๔๓

ตวั บ่งชท้ี ี่ ๙.๒ อ่าน เขยี นภาพ และสัญลกั ษณ์ได้

อายุ 3 ปี สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- อา่ นภาพ และพูดข้อความด้วย อายุ 4 ปี - อา่ นภาพ สัญลกั ษณ์ คำ ด้วย
ภาษาของตน การช้ี หรือกวาดตามอง
- อา่ นภาพ สัญลักษณ์ คำ จดุ เริม่ ต้นและจดุ จบของ
พร้อมทง้ั ช้ี หรอื กวาดตามอง ข้อความ
ขอ้ ความตามบรรทัด - เขียนช่ือของตนเอง ตามแบบ
เขียนข้อความด้วยวิธที ีค่ ิด
- เขียนขดี เข่ยี อย่างมที ิศทาง - เขยี นคลา้ ยตวั อกั ษร ข้นึ เอง

มาตรฐานที่ ๑๐ มคี วามสามารถในการคิดที่เป็นพนื้ ฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ท่ี ๑๐.๑ มีความสามารถในการคดิ รวบยอด

สภาพทพี่ ึงประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- บอกลกั ษณะของส่งิ ของต่างๆ
จากการสงั เกตโดยใช้ประสาท - บอกลกั ษณะและส่วนประกอบ - บอกลักษณะ สว่ นประกอบ
สมั ผสั
ของสิ่งของตา่ งๆจากการสังเกต การเปลยี่ นแปลง หรอื

โดยใช้ประสาทสัมผสั ความสมั พันธ์ของสงิ่ ของต่างๆ

จากการสงั เกตโดยใช้ประสาท

สัมผัส

- จบั คู่หรอื เปรยี บเทียบสงิ่ ต่างๆ - จับคู่และเปรียบเทียบความ - จบั คู่และเปรียบเทียบความ
โดยใชล้ ักษณะหรือหนา้ ที่การ แตกต่างหรือความเหมอื นของ แตกตา่ งหรือความเหมอื นของ
งานเพียงลกั ษณะเดียว ส่งิ ต่างๆโดยใชล้ กั ษณะทส่ี ังเกต ส่ิงต่างๆโดยใชล้ กั ษณะทสี่ ังเกต
พบเพยี งลกั ษณะเดียว พบสองลักษณะขึ้นไป

- คดั แยกสิง่ ต่างๆตามลกั ษณะ - จำแนกและจดั กลุ่มส่ิงตา่ งๆโดย - จำแนกและจดั กลุ่มสิ่งต่างๆโดย
หรอื หนา้ ท่กี ารใชง้ าน ใช้อย่างนอ้ ยหน่ึงลกั ษณะเป็น ใช้ตง้ั แตส่ องลักษณะขนึ้ ไปเป็น
เกณฑ์ เกณฑ์

- เรียงลำดบั สิ่งของหรือ - เรยี งลำดบั สงิ่ ของหรือ - เรยี งลำดบั สิง่ ของหรือ

เหตุการณ์อย่างน้อย ๓ ลำดบั เหตุการณ์อย่างน้อย ๔ ลำดบั เหตุการณ์อยา่ งน้อย ๕ ลำดบั

หลักสตู รสถานศกึ ษาระดับปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเดก็ เล็กบา้ นสายร่องขา่ ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศักราช 2564
สงั กดั องคก์ ารบริหารส่วนตำบลเชงิ ชุม อำเภอพรรณานคิ ม จงั หวดั สกลนคร

๔๔

ตัวบ่งช้ที ่ี ๑๐.๒ มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล

อายุ 3 ปี สภาพที่พงึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- ระบุผลท่ีเกดิ ขนึ้ ในเหตุการณ์ อายุ 4 ปี - อธบิ ายเช่อื มโยงสาเหตุและผล
หรอื การกระทำเมื่อมผี ้ชู ีแ้ นะ ทีเ่ กดิ ข้ึนในเหตุการณ์หรอื การ
- ระบสุ าเหตุหรือผลที่เกดิ ข้ึนใน กระทำดว้ ยตนเอง
เหตกุ ารณห์ รือ การกระทำเม่ือ
มผี ชู้ ี้แนะ

- คาดเดา หรือ คาดคะเนส่งิ ท่ี - คาดเดา หรอื คาดคะเนส่งิ ท่ี - คาดคะเนสง่ิ ท่อี าจจะเกิดขน้ึ
อาจเกิดขึน้ อาจจะเกิดขึน้ หรือมสี ่วนรว่ ม และมสี ว่ นรว่ มในการลง
ในการลงความเห็นจากข้อมูล ความเหน็ จากข้อมลู อยา่ งมี
เหตุผล

ตวั บ่งชีท้ ่ี ๑๐.๓ มคี วามสามารถในการคดิ แก้ปัญหาและตัดสนิ ใจ

อายุ 3 ปี สภาพที่พงึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- ตัดสินใจในเรื่องงา่ ยๆ อายุ 4 ปี - ตัดสินใจในเร่ืองงา่ ยๆและ
ยอมรับผลท่เี กิดขนึ้
- ตดั สินใจในเรื่องงา่ ยๆและเร่ิม
เรียนรผู้ ลท่ีเกดิ ข้นึ

- แกป้ ัญหาโดยลองผดิ ลองถกู - ระบุปญั หา และแก้ปญั หาโดย - ระบปุ ัญหาสรา้ งทางเลือกและ

ลองผดิ ลองถูก เลอื กวิธแี กป้ ัญหา

มาตรฐานที่ ๑๑ มจี นิ ตนาการและความคดิ สร้างสรรค์
ตัวบ่งช้ีท่ี ๑๑.๑ เล่น/ทำงานศลิ ปะตามจินตนาการและความคดิ สรา้ งสรรค์

อายุ 3 ปี สภาพทพี่ ึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- สรา้ งผลงานศลิ ปะเพื่อสอื่ สาร อายุ 4 ปี - สร้างผลงานศลิ ปะเพื่อสอื่ สาร
ความคดิ ความรูส้ ึกของตนเอง ความคิด ความร้สู ึกของตนเอง
- สรา้ งผลงานศิลปะเพ่ือสือ่ สาร โดยมีการดัดแปลงและแปลก
ความคิด ความรู้สึกของตนเอง ใหมจ่ ากเดิมและมีรายละเอยี ด
โดยมีการดดั แปลงและแปลก เพม่ิ ข้ึน
ใหมจ่ ากเดิมหรอื มรี ายละเอียด
เพมิ่ ข้ึน

หลักสูตรสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ย์พฒั นาเด็กเล็กบา้ นสายร่องข่า ฉบับปรับปรุง พทุ ธศกั ราช 2564
สังกัดองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานคิ ม จังหวัดสกลนคร

๔๕

ตัวบง่ ชที้ ี่ ๑๑.๒ แสดงท่าทาง/เคลอ่ื นไหวตามจินตนาการอยา่ งสร้างสรรค์

อายุ 3 ปี สภาพท่ีพึงประสงค์ อายุ 5 ปี
- เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสอ่ื สาร อายุ 4 ปี - เคลอ่ื นไหวท่าทางเพ่ือสือ่ สาร
ความคดิ ความรู้สึกของตนเอง ความคดิ ความรสู้ ึกของตนเอง
- เคลอื่ นไหวทา่ ทางเพ่ือส่ือสาร อยา่ งหลากหลายและแปลก
ความคิด ความรู้สึกของตนเอง ใหม่
อย่างหลากหลายหรือแปลก
ใหม่

มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติทดี่ ีต่อการเรยี นรู้ และมคี วามสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกบั วยั
ตวั บ่งชที้ ่ี ๑๒.๑ มเี จตคตทิ ่ีดีต่อการเรยี นรู้

สภาพท่ีพึงประสงค์

อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี
- สนใจฟังหรอื อ่านหนงั สอื ด้วย
ตนเอง - สนใจซกั ถามเก่ียวกับสญั ลกั ษณ์ - หยิบหนังสอื มาอ่านและเขยี น

หรือตวั หนังสอื ท่ีพบเหน็ ส่ือความคดิ ด้วยตนเองเป็น

ประจำอย่างตอ่ เนื่อง

- กระตือรือรน้ ในการเข้าร่วม - กระตือรือร้นในการเข้าร่วม - กระตอื รือร้นในการรว่ ม
กจิ กรรม กจิ กรรม กจิ กรรมตง้ั แต่ตน้ จนจบ

ตัวบง่ ชี้ที่ ๑๒.๒ มีความสามารถในการแสวงหาความรู้

อายุ 3 ปี สภาพทพี่ งึ ประสงค์ อายุ 5 ปี
- คน้ หาคำตอบของข้อสงสัย อายุ 4 ปี - คน้ หาคำตอบของข้อสงสัย
ตา่ งๆ ตามวธิ กี ารท่ีมีผ้ชู ี้แนะ ตา่ งๆ ตามวธิ ีการทห่ี ลากหลาย
- ค้นหาคำตอบของข้อสงสยั ด้วยตนเอง
ต่างๆ ตามวิธกี ารของตนเอง

- เชือ่ มโยงคำถาม “อะไร” ใน - ใช้ประโยคคำถามว่า “ทไี่ หน” - ใช้ประโยคคำถามวา่ “เม่ือไร”

การคน้ หาคำตอบ “ทำไม” ในการค้นหาคำตอบ อย่างไร” ในการค้นหาคำตอบ

หลักสตู รสถานศึกษาระดบั ปฐมวยั : ศนู ยพ์ ัฒนาเด็กเลก็ บ้านสายร่องข่า ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศกั ราช 2564
สังกัดองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลเชิงชมุ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


Click to View FlipBook Version