The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sujeeranut Rekharuchi, 2022-07-14 06:37:02

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ

บุคคลสำคัญใน
วงการนาฏศิลป์ไทย

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ
จัดทำ
โดย

นายกฤติธี เมธสุทธิ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 เลขที่ 21

คำนำ

E book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประวัติของบุคคลสำคัญ ใน
วงการนาฏศิลป์ไทย ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้
และประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน




ผู้จัดทำ
นายกฤติธี เมธสุทธิ์

สารบัญ 1
2
ประวัติส่วนตัว 3
ผลงาน
พระเกียรติยศ

1

ประวัติส่วนตัว

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณประสูติเมื่อวัน
ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ณ วังวรวรรณ
ตำบลแพร่งนรา จังหวัดพระนคร พระนาม
เดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ เป็น
พระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อม
หลวงตาด วรวรรณ (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล)
มีพระนามเรียกกันในหมู่พระญาติว่า
ท่านหญิงติ๋ว ทั้งนี้พระองค์ได้รับการเลี้ยงดู
และอบรมจาก เจ้าจอมมารดาเขียน ผู้เป็นย่า
มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมาได้เสด็จไป
ประทับอยู่กับ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาล
มารศรี พระอัครราชเทวี

พระองค์ได้รับการศึกษาและมีวิถีชีวิต
เยี่ยงสตรีสมัยใหม่ ทรงมีความคิดอ่านอิสระ
เสรี ซึ่งพระบิดาเป็นผู้ที่มีความสามารถ มี
ความรู้และความคิดที่กว้างไกลทันสมัย แม้
กระทั่งการอบรมเลี้ยงดูพระโอรส-ธิดา ก็ทรง
ให้ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ ไม่เข้มงวดดัง
การประพฤติปฏิบัติอย่างกุลสตรีโบราณ
ทำให้เหล่าพระธิดาในกรมพระนราธิป
ประพันธ์พงศ์มีความคิดเห็นกว้างขวาง และ
กล้าที่จะแสดงออกในวัตรปฏิบัติผิดแผก
แตกต่างไปสตรีส่วนใหญ่ในสมัยนั้นที่อยู่ใน
กรอบของม่านประเพณีโบราณ

2

พระองค์เป็นผู้ริเริ่มรื้อฟื้ น คณะละครปรีดาลัย ของพระบิดาขึ้นมา
อีกครั้ง ทรงปลีกพระองค์ประทับอยู่เพียงลำพัง ทรงใช้เวลาที่มีอยู่ใน
การประพันธ์นวนิยาย ร้อยกรอง และบทละครจำนวนมาก โดยใช้
นามปากกาว่า ปัทมะ, วรรณพิมล และพระนางเธอ ลักษมีลาวัณ
พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504
สิริพระชันษา 62 ปี ซึ่งผู้ก่อคดีฆาตกรรมคืออดีตคนสวนที่พระองค์
ไล่ออก และก่อคดีดังกล่าวด้วยประสงค์ในทรัพย์สินส่วนพระองค์

ด้านงานประพันธ์

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณทรงใช้ชีวิตเพียงลำพัง ต่อมาโดยใช้เวลา
ว่างให้หมดไปกับการทรงพระอักษรและพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง โดยมี
ผลงานพระนิพนธ์ดังนี้ 1. ยั่วรัก 2. ชีวิตหวาม 3. เสื่อมเสียงสาป
4. รักรังแก 5. สนเท่ห์เสน่หา 6. โชคเชื่อมชีวิต 7. เรือนใจที่ไร้ค่า
8. ภัยรักของจันจลา 9. หาเหตุหึง (บทละคร) 10. ปรีดาลัยออน
พาเหรด (บทละคร) 11. เบอร์หก (บทละคร)

ทรงร่วมแสดงละครเรื่อง โพงพาง

3

ด้านศิลปะการแสดง

ทรงรื้อฟื้ นคณะละครปรีดาลัยของพระบิดา เรียกว่า ละครเฉลิมกรุง
ทรงสร้างมิติใหม่ให้วงการละครไทยด้วยการใช้วงดนตรีสากล กับนำ
ท่าระบำฝรั่งผสมกับท่าระบำไทยครั้งแรก ดูงามแปลกตา แต่ยังคงใช้ผู้
แสดงนำและส่วนใหญ่เป็นหญิง ทั้งนี้ทรงซักซ้อมนักแสดงด้วยพระองค์
เอง ส่วนการแสดงระบำก็ทรงประดิษฐ์ท่าระบำบางชุดให้สอดคล้องกับ
เพลงสากลตั้งแต่ พ.ศ. 2477-2489

ผลงานเพลง

พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ ทรงพระนิพนธ์ผลงานเพลงไว้เยอะพอ
สมควร ซึ่งส่วนใหญ่จะแต่งให้กับวงดนตรีสุนทราภรณ์ ตัวอย่างเช่น

แนวหลัง
แอ่วซุ้ม
ฯลฯ

พระอิสริยยศ

3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 — 21 ตุลาคม พ.ศ. 2463 : หม่อมเจ้า
วรรณพิมล
21 ตุลาคม พ.ศ. 2463 — 4 เมษายน พ.ศ. 2464 : หม่อมเจ้า
ลักษมีลาวัณ
4 เมษายน พ.ศ. 2464 — 8 กันยายน พ.ศ. 2464 : พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
8 กันยายน พ.ศ. 2464 — 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 : พระเจ้าวรวง
ศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 : พระนางเธอ
ลักษมีลาวัณ

4

เครื่องราชอิสริยาภรณ์



พ.ศ. 2464 เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง
มหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน) (1)
พ.ศ. 2464 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐม
จุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน) (2)
พ.ศ. 2464 เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (3)
พ.ศ. 2464 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1) (4)
พ.ศ. 2470 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2) (5)

(1) (2) (3)

(4) (5)

พระยศเสือป่า

8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 นายหมวดเอก - สังกัดกองร้อยหลวง
กรมเสือป่าม้าหลวงรักษาพระองค์
2 มิถุนายน พ.ศ. 2464 นายกองเอก - สังกัดกองร้อยหลวง กรม
เสือป่าม้าหลวงรักษาพระองค์ และกองร้อยหลวง กรมเสือป่าพราน
หลวงรักษาพระองค์

จัดทำผลงานโดย
นายกฤติธี เมธสุทธิ์
โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย
มัธยมศึกษาปีที่ 5/11 เลขที่ 21


Click to View FlipBook Version