The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สศท.2 ประเด็น Hot Issue รอบ 6 เดือน ปี 65

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สศท.2 ประเด็น Hot Issue รอบ 6 เดือน ปี 65

สศท.2 ประเด็น Hot Issue รอบ 6 เดือน ปี 65

Hot Issue ในรอบ 6 เดือนท่ผี า่ นมาของปีงบประมาณ 2565 ของ สศท.2 พิษณโุ ลก

ประเดน็ ท่ี 1 สถานการณ์มะมว่ งน้ำดอกไมส้ ีทองจงั หวัดพิษณโุ ลกออกกระจกุ ตัวในชว่ งปลายเดือนมนี าคม -
กลางเดอื นเมษายน 2565 ทำใหร้ าคาตกตำ่

จังหวดั พิษณุโลกเปน็ แหลง่ ผลติ มะม่วงน้ำดอกไมท้ ่ีใหญท่ ี่สุดในประเทศไทย : ในปี 2565 คณะทำงานการ
ประสานงานด้านการตลาด หรือหาแหล่งรับซื้อผลผลิต (คณะทำงาน Demand Side) ภายใต้คำสั่งคณะอนุกรรมการ
พฒั นาการเกษตรและสหกรณ์ระดบั จังหวัด จังหวัดพษิ ณโุ ลก คาดการณเ์ น้อื ทยี่ ืนต้นมะมว่ งจังหวัดพิษณุโลกว่ามีมาก
ถึง 88,000 ไร่ จำแนกเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้มากถึงร้อยละ 60 มีเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้รวม 4,992 ราย
เน้ือที่ปลูก 52,413 ไร่ เน้ือทใ่ี หผ้ ล 50,579 ไร่ ผลผลิต 48,586 ตัน ผลผลติ เฉลยี่ 960 กโิ ลกรัม/ไร่ แหล่งผลิตสำคัญ
อยู่ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เนินมะปราง 34,940 ไร่ รองลงมาคือ อ.วังทอง 11,763 ไร่ และอ.วัดโบสถ์ 4,427 ไร่
โดยเกษตรกรผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์สีทองมากถึงร้อยละ 80 เพราะตลาดทั้งในและต่างประเทศมี
ความต้องการมากกว่า เมื่อเปลือกนอกผลเมื่อสุกจะมีสีเหลืองสวยนวล รสชาติเมื่อทานสุกจะมีรสหวานและมีกล่ิน
หอมคลา้ ยดอกไม้ อกี ท้ังเปลือกด้านนอกไมค่ ่อยชำ้ งา่ ย หากต้องขนส่งผลผลติ ไปจำหน่ายจะทำใหเ้ สยี หายน้อยกวา่

ปฏทิ ินผลผลติ ของมะมว่ งน้ำดอกไม้พนั ธุ์สที อง : ผลผลติ ไดเ้ ริ่มออกสู่ตลาดประมาณ 6 เดือน ตั้งแต่เดือน
ธันวาคม 2564 - พฤษภาคม 2565 โดยผลผลิตจะออกกระจุกตัวมากถึงร้อยละ 73 ในช่วงเดือนมีนาคม
และเมษายน 2565 ซงึ่ จะกระทบต่อราคาที่เกษตรกรขายไดอ้ ย่างแน่นอน

การวิเคราะห์บัญชีสมดุล Demand Supply มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ปี 2565 ของคณะทำงาน
Demand Site จงั หวดั พษิ ณุโลก : Supply >Demand ทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกิน (Over Supply) จำนวน 5,475
ตนั ซง่ึ กระจกุ อย่ใู นเดอื นมีนาคม 5,076 ตนั และเดือนเมษายน 383.2 ตนั

การขับเคลื่อนวางแผนบรหิ ารจัดการแก้ไขปญั หาในระดับจังหวัด : หนว่ ยงานภาครัฐทั้งในและนอกสังกัด
กษ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย (บริษัทสง่ ออกผลไมท้ ี่รับซือ้ ผลผลิตของจงั หวัด ประธานกลุ่มแปลงใหญม่ ะมว่ งพิษณโุ ลก)
บูรณาการวางแผนบรหิ ารจัดการด้านการตลาดก่อนผลผลติ ออกสตู่ ลาด โดยอาศยั กลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ไข
ปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรจังหวัดพิษณุโลก (คพจ.) คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตร
และสหกรณ์ (อพก.) และคทง. Demand Side ดงั น้ี

1.สศท.2 พษิ ณุโลก นำเสนอผลการศึกษาวิถีตลาด และผลวิเคราะหจ์ ัดทำบญั ชสี มดุลของมะม่วงน้ำดอกไม้
สีทอง จงั หวดั พิษณโุ ลก ปี 2565 พร้อมทั้งใหข้ อ้ เสนอแนะในที่ประชุม คพจ. และคทง. Demand Side ดังนี้

2.สำนักงานพาณชิ ย์จังหวัดพิษณโุ ลก ในฐานะฝา่ ยเลขาฯ คพจ. ขบั เคลอื่ นงาน ไดแ้ ก่
2.1 ติดตามราคามะม่วงน้ำดอกไม้ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด หากราคาที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่า 26
บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่ คพจ.พิษณุโลก กำหนดไว้ ซึ่ง คพจ.จะดำเนินมาตรการดูดซับผลผลิตส่วนเกินออกนอก
จังหวัดทันที ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2565 เพื่อดูแลบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบการดำเนิน
โครงการกระจายสินค้า ควบคุม คุณภาพและกระตุ้นการบริโภคผลไม้ โดยจัดสรรโควตาให้กับสถาบันเกษตรกรใน
แหล่งผลิตสำคัญ จำนวน 4000 ตัน ในช่วงผลผลิตออกกระจุกตัวปลายเดือนมีนาคม-เมษายน 2565
วงเงนิ 12 ล้านบาท
2.2 กำหนดแนวทางการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหามะม่วงน้ำดอกไม้ด้อยคุณภาพ ที่มีการส่งออกตลาด
ต่างประเทศ จากกรณีที่มะม่วงด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดในช่วงเทศกาลตรุษจนี ทีส่ ่งผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์
มะม่วงของไทย และพิษณุโลก ด้วยการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบ กำกับดูแลคุณภาพมะม่วงโดย
มอี งค์ประกอบคณะ ไดแ้ ก่ ผ้แู ทนหนว่ ยงานภาครฐั ผูแ้ ทนเกษตรกร ฯลฯ

ประเด็นท่ี 2 การบรหิ ารจดั การนำ้ ในพ้ืนทภ่ี าคเหนอื เพอื่ ใหเ้ กษตรกรลดความเดอื นรอ้ นทั้งในฤดฝู น และฤดูแล้ง
ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำในทุกกิจกรรมรวมประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็น

ความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมมากท่สี ุดถึงร้อยละ 64 ประกอบกบั แนวโน้มความต้องการใชน้ ้ำในกจิ กรรมต่างๆ
เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ประเทศไทยประสบสภาวะทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง โดยเฉพาะฝนแล้งที่ส่งผลให้เกิดการ
ขาดแคลนน้ำโดยฝนตกในหลายระลอกส่วนใหญ่เป็นการตกนอกพื้นที่รับน้ำ ทำให้ปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนและ
อา่ งเก็บนำ้ ลดน้อยลงต่อเนื่อง ไม่เพยี งพอต่อการใชง้ านในฤดูแลง้

ในพน้ื ที่ลมุ่ น้ำภาคเหนือ (ปงิ วงั ยม น่าน) ลุ่มนำ้ ยมเป็นลมุ่ น้ำเดยี วทย่ี ังไม่มีแหลง่ เกบ็ กักน้ำขนาดใหญ่
ต้นน้ำยมเริ่มตั้งแต่จังหวัดพะเยาถึงจังหวัดนครสวรรค์ แต่เส้นทางน้ำที่มาถึงช่วงจ.สุโขทัย และจ.พิษณุโลกลำน้ำ
ค่อนข้างราบและแคบทำให้ในช่วงฤดูน้ำหลากประมาณเดือนสิงหาคม - กันยายน จึงเกิดอุทกภัยเป็นประจำใน
2 พื้นที่ คือ 1) ในตัวเมืองจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ และ 2) พื้นที่นาข้าวที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวในทุ่ง
บางระกำ

จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย เป็นจังหวัดในเขตรับผิดชอบของ สศท.2 และเป็นพื้นที่ดำเนิน
โครงการบางระกำโมเดลของกรมชลประทาน โดยมีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา 3 แห่ง ของจังหวัดพิษณุโลก
ได้แก่ คสบ.ยมน่าน คสบ.พลายชุมพล และคสบ.นเรศวร เป็นหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่ขับเคลื่อนการดำเนิน
โครงการมาตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบัน แต่ขณะนี้ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทวีความรุนแรง
และสร้างอันตรายกับชุมชนทั่วโลก รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เพิ่มขึ้นในระดับสูง ทำให้โลกอยู่ใน

ภาวะร้อนจัดเกินกว่าค่าเป้าหมาย ทำให้ตั้งแต่ปี 2563 บางระกำโมเดลได้รับผลกระทบเช่นกัน จากปัญหาน้ำ
ไมเ่ พยี งพอในบางพนื้ ทโี่ ครงการประมาณร้อยละ 20 ในชว่ งเดือน มี.ค. ยังคงพบปรากฎการณ์ “น้ำแห้ง” แม้ว่า
จะมีปฏิทินการส่งน้ำของโครงการฯ ในเขตพนื้ ท่ีเป้าหมายวนั ที่ 15-31 ม.ี ค. เพ่อื ใหว้ นั ที่ 1 เมษายน 2563 เกษตรกร
จะได้เร่ิมสูบนำ้ ทำนาพรอ้ ม ๆ กัน จากปญั หาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ภาครฐั จงึ ได้กำหนดมาตรการเพ่มิ เตมิ เพ่ือรับมือภัย
แล้ง-ฝนทิ้งช่วง ปี 2564/2565 ที่อาจจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากปีทีผ่ ่านมา ได้แก่ กักเก็บแหล่งน้ำสำรอง-
ปลูกพืชใช้น้ำน้อย เร่งรัดโครงการซ่อม-สร้าง เพิ่มน้ำต้นทุน จ้างงาน-สร้างรายได้เกษตรกรช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็น
การบูรณาการทำงานระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับ
สถานการณ์ภัยแล้งและฝนท้ิงช่วง ปี 2565 ซ่ึงประกอบไปด้วย 9 มาตรการ ได้แก่

มาตรการ 1 เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท โดยการสบู นำ้ จากแหล่งน้ำมากไปสู่แหล่งน้ำน้อย ไปเก็บ
ไวใ้ นอ่างเกบ็ น้ำ แหลง่ น้ำธรรมชาติ และแหล่งนำ้ ใตด้ นิ รวมถงึ การปรับปรงุ และพัฒนาแหล่งเก็บนำ้ และปรบั ปรุงและ
พัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดนิ

มาตรการ 2 จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ สำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นแหล่ง
เก็บกกั น้ำสำรองได้ จดั ทำแผนปฏบิ ัตกิ ารสำรองน้ำในพื้นทเ่ี สีย่ งขาดแคลนน้ำดิบเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
และจัดทำทะเบียนผใู้ ชน้ ้ำจากแหล่งน้ำเพอื่ เป็นขอ้ มูลในการแก้ไขปญั หาภัยแลง้

มาตรการ 3 ปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศ
ที่เหมาะสม

มาตรการ 4 กำหนดการจดั สรรนำ้ ฤดูแลง้ ไดแ้ ก่ กำหนดแผนปริมาณนำ้ จดั สรรในฤดูแลง้ ให้ชดั เจน ควบคุม
การใชน้ ำ้ ของพื้นท่ีล่มุ นำ้ ตอนบนให้เป็นไปตามแผนและมีประสิทธภิ าพ และการบรหิ ารจดั การน้ำต้องคำนึงถึงระดับ
น้ำในทางน้ำท่อี าจจะลดต่ำกวา่ ปกติ

มาตรการ 5 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยจัดทำทะเบียนเกษตรกร ระบุพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำ
ท่นี ำมาใชใ้ หช้ ัดเจนเพื่อใหก้ ารเพาะปลูกสอดคล้องกับปรมิ าณน้ำตน้ ทุน

มาตรการ 6 เตรยี มนำ้ สำรองสำหรับพื้นทลี่ มุ่ ตำ่ เพ่ือสนับสนนุ น้ำเตรยี มแปลงเพาะปลกู นารอบท่ี 1 (นาปี)
มาตรการ 7 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก สายรอง และเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณี
เกิดปัญหา เฝ้าระวัง ตรวจวัด และควบคุมการปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชนลงสู่แหล่ง
น้ำ รวมทัง้ ควบคุมและข้นึ ทะเบยี นการเลี้ยงปลากระชงั ในแหล่งน้ำและลำนำ้
มาตรการ 8 ติดตามและประเมินผลเพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผน โดยรายงานเป็นประจำทุก
เดือนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตาม ควบคุมการจัดสรรน้ำ และการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง [นารอบที่ 2 (นาปรัง)]
ใหเ้ ปน็ ไปตามแผน
มาตรการ 9 สรา้ งการรบั รู้สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพ่ือใหเ้ กิดความรว่ มมือในการใช้น้ำอย่าง
ประหยัดและเปน็ ไปตามแผนทกี่ ำหนด ซึ่งสามารถใหค้ วามชว่ ยเหลือเม่อื เกิดเหตุได้ทนั ที
ซึ่ง ในปี 2564 สศท.2 ได้เข้าร่วมบูรณาการขับเคลื่อนโครงการ ในการถอดบทเรียน “บางระกำโมเดล”
ตน้ แบบความสำเร็จของการบริหารจดั การพน้ื ที่และสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นทีป่ ระสบภยั พบิ ตั ซิ ำ้ ซาก สรปุ ได้ดังภาพ

ประเด็น 3 สถานการณ์ราคาปจั จัยการผลติ สินค้าเกษตร และการปรบั ตัวของเกษตรกรในเขตพ้นื ท่ี สศท.2

(สผศ.)

ปัจจุบันสถานการณ์ราคาปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช น้ำมัน

เชื้อเพลิง และวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากวิกฤติการสู้รบระหว่างรัสเซียกับ

ยูเครน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจราคาและปัจจัยการผลิต ปี 2564 – 2565

ในเขตพื้นที่ของ สศท.2 พบว่า ปี 2565 ราคาปัจจัยการผลิตเพ่ิมขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564 จำแนกเป็นเมล็ดพันธุ์

ข้าว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.85 บาท เพ่ิมขึ้นร้อยละ 1.07 ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60 สูตร 15-15-15 สูตร 16-20-0 และ

สูตร 46-0-0 เฉลี่ยกระสอบละ 980 1,102.50 674.42และ 1,301.67 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.24 34.18 0.36

และ 69.51 สารกำจัดศัตรูพืช ราคาเฉลี่ยลิตรละ 346 บาท เพิ่มข้ึนร้อยละ 1.17 ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาเฉลี่ย

ลิตรละ 31 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.33 ขณะที่สารกำจัดวัชพืช ราคาเฉลี่ยลิตรละ 388 บาท เท่ากับปี 2564

รายละเอียดตามตาราง

รายการ หน่วย ปี 2564 ปี 2565 ร้อยละ เพิ่ม/ลด

(ปี 65 เทียบปี 64)

เมล็ดพันธุ์ข้าว บาท/กก. 18.65 18.85 1.07

ปุ๋ยเคมี 0-0-60 บาท/กระสอบ 656.67 980.00 49.24

ปุ๋ยเคมี 15-15-15 บาท/กระสอบ 821.67 1,102.50 34.18

ปุ๋ยเคมี 16-20-0 บาท/กระสอบ 672.00 674.42 0.36

ปุ๋ยเคมี 46-0-0 บาท/กระสอบ 767.92 1,301.67 69.51

สารป้องกันกำจัดวัชพืช บาท/ลิตร 388.00 388.00 0.00

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช บาท/ลิตร 342.00 346.00 1.17

น้ำมันเชื้อเพลิง บาท/ลิตร 25.55 31.00 21.33

หมายเหตุ ปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ น้ำหนัก 50 กิโลกรัม

ที่มา จากการสำรวจ สสส. สศท.2

สศท.2 ได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการปรับตัวต่อสถานการณ์ดังกล่าว และการใช้ปัจจัยการผลิต
จากเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ และ
น่าน แล้วนำมาประมวลผลวิเคราะห์ สรุปได้ดังนี้ การจัดหาซ้ือปัจจัยการผลิต พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ซ้ือปัจจัย
การผลิตจากร้านค้าใกล้บ้าน มีบางส่วนซ้ือจากสหกรณ์การเกษตร และ ธกส. ด้านการลดปริมาณและจำนวนครั้ง
ในการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช น้ำมันเช้ือเพลิง พบว่า เกษตรกรร้อยละ 71.23 มีการปรับ
ลดปริมาณการใช้ต่อครั้ง และใช้ปัจจัยในท้องถิ่นมาผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง รวมทั้งเพิ่มการฉีดสารบำรุงทางใบ
ขณะที่อีกร้อยละ 28.77 ยังคงใช้ในปริมาณเท่าเดิม โดยจำนวนครั้งในการใช้ปัจจัยการผลิตต่อรอบ เฉลี่ยเท่ากับ
2.7 คร้ัง ลดลงเหลือ 1.6 ครั้งต่อรอบการผลิต หรือร้อยละ 40.24 ส่วนการใช้สารชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการ
ใช้สารเคมี เกษตรกรร้อยละ 23.49 มีการนำมาใช้เพิ่มขึ้นเพ่ือเป็นการลดต้นทุนการผลิต การลดจำนวนพื้นที่และ
ลดรอบการเพาะปลูก เกษตรกรร้อยละ 76.56 และ 67.91 ยังคงทำการผลิตจำนวนพื้นที่ และรอบการผลิตเท่า
เดิม เนื่องจากมีภาระหนี้สินมากจึงจำเป็นต้องทำการผลิตเท่าเดิม มีเพียงร้อยละ 23.44 และ 32.09 ที่เห็นว่าจะ
ลดพื้นที่เพาะปลูก และรอบการผลิตลง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตร นอกจากนี้ ยังพบว่า
เกษตรกรร้อยละ 77.67 ยังคงทำการผลิตสินค้าชนิดเดิมเนื่องจากสภาพพื้นท่ีมีความเหมาะสม มีเพียงบางส่วนที่
ปรับเปลี่ยนจากข้าวนาปีเป็นไม้ผลไม้ยืนต้น (มะปราง มะนาว) เกษตรผสมผสาน พืชผัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ
ถั่วลิสง เนื่องจากเห็นว่าการใช้ปัจจัยการผลิตน้อยกว่า สำหรับแนวคิดปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย/
อินทรีย์ พบว่ามีมากถึงร้อยละ 78.80 รวมทั้งมีแนวคิดปรับรูปแบบการผลิตให้เป็นไปตามหลักวิชาการ อาทิ
การนำดินไปตรวจวิเคราะห์เพื่อให้สามารถใช้ปุ๋ยตรงตามความต้องการของดิน ลดต้นทุนการผลิต การศึกษา
ข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณน้ำ โรคแมลงใหม่ๆ การผลิตให้ได้คุณภาพ หาตลาดก่อนดำเนินการผลิต และเพิ่ม
มูลค่าผลผลิตโดยการแปรรูป

สำหรับข้อเสนอแนะของเกษตรกร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีดังนี้ 1.รัฐควรควบคุมราคาปัจจัยการผลิต
และจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูกและคุณภาพดี 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิต
สารชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์และการนำไปใช้อย่างถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมการใช้สารฉีดพ่นทางใบแทนการให้ปุ๋ยเคมี
ทางดิน 3.สนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพดำเนินการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุน
เร่ืองต้นทุนและการตลาด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากมูลสัตว์ไว้ใช้เอง 4.สร้างแรงจูงใจ
ให้มีการขยายพ้ืนท่ีผลิตสินค้าปลอดภัย/อินทรีย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เพ่ือให้เกิดผล
ดีต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งสภาพดินไม่เสื่อมโทรมและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐ
สนับสนุนด้านงบประมาณ 5.สนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิต 6.ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือ
เกษตรกรอย่างรวดเร็วและจริงจัง 7.กำกับดูแลราคาสินค้าทางการเกษตรให้สมดุลกับต้นทุนการผลิต และ
สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ 8.หน่วยงานที่มีอำนาจควรตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรอย่างสม่ำเสมอ และ 9.แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้เพียงพอต่อการผลิต
สินค้าเกษตร

ประเด็น 4 สรุปผลการดำเนนิ งานการใช้ที่ดินฯในเขตพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของ สศท.2
ความเป็นมา

ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายแนวทางการจัดที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ยากไร้ โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์
แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มหรือชุมชน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขคณะอนุกรรมการ
นโยบายทดี่ นิ แหง่ ชาติ (คทช.) ซ่ึงกำหนดในรูปแบบสหกรณเ์ หมาะสม เพื่อรว่ มกันบรหิ ารจัดการที่ดนิ รวมทัง้ ส่งเสริม
การประกอบอาชีพ ตามศักยภาพของพื้นที่การแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมระหว่างรัฐกับราษฎร โดยมีวัตถุประสงค์
ป้องกันที่ของรัฐทุกประเภทเพื่อไม่ให้มีการบุกรุก โดยเฉพาะ 1) พื้นที่ต้นน้ำชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2
โดยใหผ้ ู้บุกรกุ ออกจากพ้ืนที่ และใหห้ น่วยงานรัฐพจิ ารณาหาแนวทางแก้ไข้ให้เหมาะสม 2) และพ้ืนท่กี นั ชนรอบพื้นท่ี
ป่าอนรุ ักษแ์ ละพน้ื ทปี่ ่าสมบูรณ์ให้จัดในรูปแบบป่าชมุ ชน เพ่อื ปอ้ งกนั ไมใ่ ห้พื้นทที่ ส่ี มบูรณ์ถูกบกุ รุกทำลาย

โดยมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 อนุมัติหลักการ การจัดที่ดินทำกินให้กับชุมชนตามนโยบาย
รัฐบาลในลักษณะแปลงรวมโดยมิใหกรรมสิทธิ์ แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มหรือชุมชน
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห งชาติกำหนดในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่น
ที่เหมาะสมโดยในการดําเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ที่ดินกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือเงื่อนไข
ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการแห่งชาติ และรับทราบกระบวนการการจัดระเบียบการใชประโยชน์ในทีด่ ิน
ป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ดำเนินการระยะ ที่ 1 กระบวนการการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่ ส.ป.ก. สำหรับพื้นที่
ดำเนินการระยะที่ 2 และผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวของบริหารจัดการที่ดินทำกินตามนโยบายรัฐบาลให้
เกดิ ประโยชน์สูงสุด
ผลการดำเนินงาน/ ปญั หา/ แนวทางแกไ้ ข

ประเทศไทยมีพ้ืนที่กว่า 320 ลา้ นไร่ โดยเปน็ ท่ีรวมของความเปน็ ครอบครัวและชุมชน ด้วยเป็นทรัพยากรมี
ที่ดินมีอยู่จำกัด และความต้องการในการใช้ที่ดินก็เพิ่มมากขึ้น จากการรายงานสรุปภาพรวมและแนวทางแก้ไขของ
การปฏิรูปที่ดิน ทำให้ทราบว่ามีประชาชนที่เดือนร้อนที่เกี่ยวเนื่องกับที่ดินที่มาลงทะเบียนแก้ความยากจน
กว่า 4 ล้านคน ซึ่งการปฏิรูปที่ดินได้ทำการปฏิรูป และกระจายการถือครองที่ดินมาโดยตลอด นับตั้งแต่นโยบาย
การใช้และกรรมสิทธิ์ที่ดิน พ.ศ. 2525 นโยบายที่ดิน พ.ศ. 2530 และนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของประเทศ
พ.ศ. 2546 แต่การดำเนินการแก้ไขไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อันเกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากตัวนโยบายและ
กฎหมาย รวมไปถงึ ผนู้ ำนโยบายไปปฏิบตั ิ (เครอื ขา่ ยวชิ าการเพื่อการปฏริ ูป, 2556.) สรุปปญั หาได้ดังน้ี

1. ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชน ปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐ
กับชาวบ้าน สามารถแยกออกได้เป็นป่ารุกคนกับคนรุกป่า ได้สุ่มสำรวจพื้นที่ปัญหา 68 จังหวัด โดยพบปัญหา
ดังกล่าว 638 กรณี หรือร้อยละ 10.66 จากทั้งหมด แยกเป็นภาคเหนือ 161 กรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 141
กรณี ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง 96 กรณีภาคตะวันตกและตะวันออก 100 กรณี และภาคใต้ 140 กรณี ซ่ึง
ไดร้ ับการแก้ไขปัญหาเพียง 89 กรณี หรอื ร้อยละ 13.24 จากปญั หาท้งั หมด โดยสว่ นใหญเ่ ป็นความขัดแย้งเรื่องแนว
เขต ร้อยละ 12.03 และปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ร้อยละ 87.97 (ศยามล และคณะ, 2549). และสำนักงานแก้ไข
ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (สบร), 2541 ได้สำรวจข้อมูลการบุกรุกที่ดินของรัฐในปี 2541 สรุปผลการศึกษาทำ
ใหท้ ราบวา่ มีจำนวนผบู้ กุ รกุ ทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ 1,147,823 ราย จากพนื้ ท่ีทัง้ หมด 21 ลา้ นไร่

2. ปัญหาการกระจายการถือครองที่ดิน และการไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีผลกระทบต่อคนจำนวน
มากสดุ และแสดงให้เห็นถงึ ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม 20 ปที ี่ผ่านมาเทศไทยไม่มเี อกสารสิทธ์ิหรือระบบ
กรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน มูลค่าของที่ดินเกิดจากมูลค่าในการผลิตเท่านั้น ผู้ที่ทำประโยชน์ในที่ดินถือเป็น
เจ้าของ และใครมิได้ทำประโยชน์หรือทิ้งร้างไว้บุคคลอื่นก็สามารถนำที่ผืนนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกัน
เมื่อก่อนเกิดระบบกรรมสทิ ธ์ิที่ดิน ทำให้ปัจเจกบุคคลกลายเป็นเจา้ ของที่ดนิ แทนระบบกรรมสทิ ธิ์ร่วม ที่ดินสามารถ
ซื้อขายแลกเปล่ียนกันได้ก่อเกิดมูลค่าการแลกเปลี่ยนในที่ดินขึ้น ผู้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูล นายทุน และผู้มีอำนาจ
มที ี่ดนิ เปน็ จำนวนมาก และก่อเกดิ การทิง้ รา้ งไม่ได้ใชป้ ระโยชนใ์ นทด่ี ินอย่างเต็มที่

ซึ่งจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (อิทธพิ ล, 2549) ทำใหท้ ราบวา่ ประชาชนทั่วประเทศถึง
รอ้ ยละ 90 ถือครองท่ดี ินโดยเฉลยี่ น้อยกวา่ 1 ไร่ สว่ นที่เหลือก็มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ถอื ครองท่ีดินมากกว่า 100
ไร่ และที่น่าสนใจคือ ที่ดินร้อยละ 70 ของประเทศไม่ได้ถูกนำมาใช้ หรือใช้ไม่คุ้มค่าทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ขั้น
ตำ่ ปีละกว่า 127,384.03 ล้านบาท

3. การไร้ที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย การไร้ที่ทำกินเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากปัญหาข้างต้น ซึ่งมูลค่า
ของผลติ ผลทางการเกษตรมีมลู ค่าต่ำมากซง่ึ ประชากรกวา่ รอ้ ยละ 70 อย่ใู นภาคการเกษตรแตผ่ ลผลิตมวลรวมของจี
ดพี มี ีไม่ถงึ รอ้ ยละ 10 นอกจากนภ้ี าวะหน้สี นิ กเ็ ป็นอกี เหตุผลหนงึ่ ทที่ ำใหเ้ กษตรกรต้องสูญเสยี ทดี่ นิ ทำกิน

ปัญหาการขาดแคลนที่ดินและไม่สามารถเข้าถึงที่ดินของเกษตรกรรายย่อยและคนยากจน มีคนจน
และเกษตรกรรายย่อย มาขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านที่ดิน 4,800,000 ราย ผ่านการคัดกรอง
(ใช้เกณฑ์รายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี) และยืนยันความต้องการให้ช่วยเหลือ จำนวน 2,217,546 ราย

จำแนกเปน็ ไม่มีท่ดี ินทำกิน จำนวน 889,022 ราย มที ีด่ นิ ทำกินแต่ไมเ่ พียงพอ จำนวน 517,263 ราย มีที่ดินแต่ไม่มี
เอกสารสิทธิ 811,279 ราย (ศูนย์อำนวยการต่อสเู้ พือ่ เอาชนะคามยากจนแห่งชาติ (ศตจ.), 2547.)

4. ปัญหาชุมชนแออัด ไม่มีและไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ระบุว่ามีจำนวนชุมชนแออัดในทุกภาคทั้งหมด
2,436 ชุมชน จำนวน 583,415 ครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2511 ซึ่งมีชุมชนแออัดเพียง 50 ชุมชน
ขณะเดียวกันในปี 2551 เครือข่ายชุมชนโครงการมั่นคงได้ทำการสำรวจชุมชนแออัดทั่วประเทศใน 840 เมือง
พบชมุ ชนแออดั เพ่ิมข้ึนจาก ปี 2544 ถงึ 3,898 ชมุ ชน โดยมี 6,334 ชุมชน จำนวน 4,285,546 หลงั คาเรอื น เปน็ ผู้มี
รายได้น้อย 1,286,365 หลังคาเรือน และเป็นผู้เดือนร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย 639,258 หลังคาเรือน (ข้อมูลจากการ
เคหะแหง่ ชาต,ิ 2544.)

5. ปัญหาการบริหารจัดการที่ดิน รัฐและหน่วยงานราชการไม่มีความเป็นเอกภาพในเรื่องการจัดการ
ทรพั ยากรท่ดี นิ เนอ่ื งจากมรี ะบบการทำงานซับซ้อนกันโดยขาดการบูรณาการเป็นหน่งึ เดยี ว ไมส่ ามารถดำเนนิ การได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดความเป็นเอกภาพ ขาดการประสานงานอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงาน รวมถึง
ขาดการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังประสบกับภาวะความไม่ต่อเนื่องและชัดเจนทางนโยบาย
เนอื่ งจากมกี ารเปลี่ยนแปลงรฐั บาลบอ่ ยคร้ัง

6. การสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน,2563.) สรุปผลการสูญเสีย
พื้นที่ฯ ในปี 2543 ประมาณ 30 ล้านไร่ ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานและเหมาะสมสำหรับการทำนาปลูกข้าว ถูกใช้ผิด
ประเภทโดยมีการนำไปสร้างโรงงานอุสาหกรรม รีสอร์ท บ้านจัดสรร สถานที่ราชการและสถานศึกษา ไปแล้ว
ประมาณ 5 ล้านไร่ หรือประมาณ 1 ใน 6 ของพน้ื ที่ และมแี นวโน้มทีจะเพิ่มมากขน้ึ เป็นลำดบั
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1. โฉนดชุมชน เป็นการพยายามให้ประชาชนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา ให้มีการตรวจสอบกันเองของชุมชน
ระบบกรรมสิทธิ์เป็นของชุมชนแทนที่ระบบเอกสารสิทธิ์ส่วนบุคคลซึ่งจะป้องกันที่ดินหลุดมือไปสู่นายทุน จัดระบบ
กรรมสิทธอ์ิ งิ กับชุมชนเพ่ือให้เกิดการใช้ประโยชน์ทีส่ ัมพันธ์กับวิถกี ารทำกินของคนในชุมชน เปน็ การสะท้อนหลักคิด
ในการแกป้ ญั หาทสี่ ำคญั อย่างยง่ั ยนื

2. ปรับปรุงระบบภาษี เช่น ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมของ
ภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้จำเป็นต้องมีภาษีที่ดิน
อตั รากา้ วหนา้ รวมไปถงึ ภาษี Capital Gain Tax เพ่อื ให้มกี ารใชป้ ระโยชน์ในท่ดี นิ อย่างคุ้มค้า ไม่ปลอ่ ยให้รกร้างว่าง
เปล่า และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับนายทุนที่สะสมที่ดินเพื่อเกร็งกำไร มีผลให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน
ออกมา

3. ธนาคารทด่ี ิน เป็นหนึ่งในเคร่ืองมือปฏิรปู ทดี่ ินและกระจายการถือครองท่ีดนิ ที่น่าสนใจ มีการนำมาใช้ใน
หลายประเทศ เปน็ เครือ่ งมือทช่ี ่วยให้เกษตรกรมที ่ดี นิ ทำกนิ เปน็ ของตนเอง

4. การจัดทำฐานข้อมูลที่ดิน โดยจะใช้ภาพถ่ายทางอากาศย้อนหลัง 40-50 ปีมาร่วมพิสูจน์พื้นที่ป่าไม้ที่มี
ขอ้ ขัดแยง้ กับที่ดินทำกินของชาวบ้าน

สรุปผลการดำเนนิ งานการใชท้ ่ีดินฯในเขตพนื้ ท่ีรบั ผิดชอบของ สศท.2
จงั หวดั พษิ ณุโลก
พ้นื ทเ่ี ปา้ หมายได้แก่ 1.ป่าสงวนแหง่ ชาติปา่ ลุ่มน้ำวังทองฝงั่ ขวา (อ.วังทอง) ไดร้ ับข้อมูลจากคณะอนุกรรมการ

จัดที่ดิน 144 ราย 181 แปลง เนื้อที่ 2,167,273 ไร่ มีมติเห็นชอบ 148 ราย 223 แปลง เนื้อที่ 2,087,082 ไร่
2.ป่าสงวนแห่งชาติป่าสวนเมี่ยง (อ.ชาติตระการ/อ.วัดโบสถ์) ได้รับข้อมูลจากคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน 545 ราย
628 แปลง เนอ้ื ท่ี 9,009,032 ไร่ และจากการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดนิ จังหวัดพษิ ณโุ ลก (คทช.จังหวัด
พิษณุโลก) มมี ติเห็นชอบ 573 ราย 640 แปลง เน้อื ท่ี 7,314,032 ไร่ (ขอ้ มูล : การประชมุ คณะอนุกรรมการนโยบาย
ท่ดี ินจังหวดั พษิ ณโุ ลกคร้ังท่ี 2/2562 วนั ที่ 12 กันยายน 2562)

ผลการดำเนินงานปี 2563 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จงั หวัดพษิ ณโุ ลกได้จดั ประชุมหารือกรณที ี่อยู่อาศัย และท่ดี นิ ทำกนิ ในพนื้ ที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
หมู่ 18 บา้ นแก่งเจรญิ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวดั พษิ ณุโลก โดยมนี ายอำเภอวงั ทองและผ้มู สี ว่ นเกี่ยวข้อง

เข้าร่วมประชุม มติที่ประชุม ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก ดำเนินการ 1)ประสาน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษณ์ที่ 11 ประเด็นที่พื้นที่ทับซ้อนอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เพื่อตรวจสอบเนื้อท่ี
คงเหลือใหช้ ัดเจน 2)ดำเนินการประสานอบจ. พษิ ณโุ ลก เพอื่ ยืนยนั การใช้พ้ืนที่ และ 3)จัดทำสำเนาเรือ่ งเอกสารท่ีให้
สำนกั งานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจงั หวัด นำเรียนผู้ว่าราชการจงั หวดพิษณุโลก

ผลการดำเนินการปี 2564 เมื่อวนั ที่ 3 กนั ยาน 2564 ผู้ว่าราชการจงั พษิ ณโุ ลก ได้มคี ำสงั่ ใหอ้ งค์การปกครอง
สว่ นทอ้ งถิน่ เร่งรดั พิจารณาให้อนุญาตเขา้ ทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนฯ เพอ่ื จัดเปน็ พื้นท่ีทำกนิ ให้ชุมชนตามนโยบาย
รัฐบาล คทช. ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2563 ให้เสรจ็ ส้นิ

จงั หวัดน่าน
พื้นที่เป้าหมายได้แก่ 1.ป่าสงวนแห่งชาติที่มีราษฎรอยู่อาศัยและทำกิน 1,121,024 ไร่ ดำเนินการตามมติ
ครม. เมื่อวันที่ 26 พ.ย.61 และโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) ดังน้ี 1)พื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติที่มีราษฎรอยู่อาศัยทำกินกิน 1,121,024 ไร่ 1.1)กลุ่มที่ 1 (พื้นที่ลุ่มน้ำ 3, 4, 5 ทำกินก่อนปี 2545 เนื้อที่
294,754 ไร่) ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลการครอบครองที่ดินและยื่นขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ 164,125 ไร่
ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้อนุญาตให้จังหวัดน่านแล้ว 88,810 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา และอยู่ระหว่างการพิจารณา
75,314 ไร่ และสำรวจข้อมูลการครอบครองที่ดิน แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2563 และรายงานกรมป่าไม้
เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายแล้ว 130,628 ไร่ ปัจจุบันคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินฯ ได้กำหนดเป็นพื้นท่ี
เป้าหมายแล้ว เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 รวมถึงพื้นที่ทีก่ รมป่าไม้อนุญาตให้กับจงั หวัดน่าน สำนักงานที่ดินจังหวัด
น่าน จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและจัดที่ดินให้กับราษฎรตามระเบียบ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณจ์ ะเขา้ ไปดำเนินการส่งเสรมิ และพัฒนาอาชีพ 1.2)กลุ่มที่ 2-4 ไดแ้ กพ่ ้ืนที่ลมุ่ น้ำ 3-4-5 ทำกินหลัง
ปี 2545 และพื้นที่ลุ่มน้ำ 1-2 ทำกินหลังปี 2545 จำนวน 826,270 ไร่ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลการครอบครอง
ทดี่ นิ โดยสำนักจดั การทรัพยากรปา่ ไม้ท่ี 3 กรมปา่ ไม้ กรมปา่ ไม้ ร่วมกบั โครงการนา่ นแซนด์บ๊อกซ์ เสร็จเรียบร้อยแลว้
2.ป่าอนุรักษ์ (อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าสงวนอุทยาน) ที่มีราษฎรอาศัยอยู่และ
ทำกิน 208,881.80 ไร่ ไดด้ ำเนินการสำรวจการถือครองที่ดินของประชาชนท่ีอยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 64 จำนวน 106 หมู่บ้าน 29 ตำบล 12
อำเภอ รวมทงั้ สนิ้ 194,290.09 ไร่ (สำนกั จัดการทรัพยากรป่าไมท้ ี่ 3,2565)
จังหวัดตาก
พื้นที่เป้าหมายคือ ป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 26,356 ไร่ แบ่งเป็น ปี 2559 ได้แก่ 1) ป่าท่าสองยา 484 ไร่
ป่าประจำจักษ์ 2,060 ไร่ และป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง 514 ไร่ ปี 2560 พื้นที่ป่าชองแคบ และป่าแม่โกนแกน 8,216 ไร่
และปี 2562 พื้นที่ป่าแม่ละเมา 18,140 ไร่ ซึ่งได้พื้นที่ในปี 2559 ได้ผ่านการพิจารณาอนุญาตแล้วเมื่อวันที่ 10
เมษายน 2560 ส่วนเป้าหมายในพื้นที่ป่าช่องแคบ และป่าแม่โกนเกน อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตโดย
คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองการอนุญาตให้ใช้ พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้
ท่ี 4 (ตาก), 2565.)
จังหวดั สโุ ขทัย
พื้นที่เป้าหมายคือ ป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 6,806 ไร่ ได้แก่ ปี 2559 พื้นที่ป่าสุเม่น 794 ไร่ และปี 2561
ป่าเขาหลวง 6,012 ไร่ ได้ผ่านการพิจารณาอนุญาตแล้วเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ส่วนเป้าหมายในพื้นที่ป่าเขา
หลวง อยู่ระหว่างการพิจารณาเห็นชอบ โดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดสุโขทัย (คทช.จ.สุโขทัย)
(สำนักจัดการทรพั ยากรป่าไมท้ ่ี 4 (ตาก), 2565.)


Click to View FlipBook Version