The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือ ธรรมะหน้ากุฏิ #4

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wonchai890, 2020-08-21 02:32:15

หนังสือ ธรรมะหน้ากุฏิ #4

หนังสือ ธรรมะหน้ากุฏิ #4

“การแบ่งปนั ธรรมะ”

พระพุทธเจา้ ทรงยกยอ่ งสรรเสรญิ วา่
เปน็ การให้ทชี่ นะการใหท้ ้งั ปวง

ใหอ้ ะไรนี้กไ็ ม่ดเี ทา่ กับการใหธ้ รรมะ
เพราะรสแห่งธรรมชนะรสทง้ั ปวงนั่นเอง

พมิ พ์เผยแผเ่ ปน็ ธรรมทาน
หา้ มจ�ำหนา่ ย

ธรรมะหน้ากุฏิ เล่ม ๔

พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต
วดั ญาณสงั วรารามวรมหาวิหาร จงั หวัดชลบรุ ี
พิมพ์ครั้งที่ ๑ : สงิ หาคม ๒๕๖๓
จ�ำนวน : ๑,๐๐๐ เลม่
จดั พิมพ์โดย : คณะศษิ ยานศุ ิษย์
พมิ พท์ ่ี : บรษิ ัท ศลิ ปส์ ยามบรรจภุ ณั ฑ์และการพิมพ์ จ�ำกัด
Tel. ๐-๒๔๔๔-๓๓๕๑-๒ Fax. ๐-๒๔๔๔-๐๐๗๘
E-mail: [email protected]

คำ� นำ�

ท่านอาจารย์มักสอนบรรดาศิษย์บ่อยคร้ัง ให้ลอง
กกั ขงั ตัวเองไว้ในหอ้ งไมใ่ หอ้ อกไปไหนทง้ั วัน ทา่ นวา่
ใหต้ ่อส้กู บั กิเลสความอยากของใจ
เม่ือถึงคราวถูกกักล็อคดาวน์จากโควิด ไม่สามารถ
ไปวัดได้ จึงเขา้ ใจถงึ การฝกึ ฝนตนในข้อนี้ ภัยของใจ
จากโควิดจึงคลายร้อนรุ่มลงได้เม่ือได้ฟังธรรม
หนา้ กฏุ ทิ กุ ๆ สวี่ นั ประจกั ษใ์ จแลว้ วา่ ชอื่ วา่ ธรรมของ
พระพทุ ธเจา้ แสดง ณ กาลใด สถานทใี่ ด ไม่วา่ จะเป็น
ศาลาใหญ่ จลุ ศาลา หรอื หนา้ กฏุ ิ “รสแหง่ ธรรมยอ่ ม
ชำ� นะรสทงั้ ปวง”

คณะศิษยานศุ ิษย์



พระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต 5

วันเวลาผา่ นไปๆ
เรากำ� ลงั ทำ� อะไรอยู่

ค�ำเตือนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธเราหมั่นสอนตน
หม่ันเตือนตนอยู่เรื่อยๆ ด้วยการถามตนเองว่า “วันเวลา
ผา่ นไปๆ เราก�ำลังทำ� อะไรกนั อยู่” เพราะว่าการกระทำ� ของ
เรานน้ั คอื การกระทำ� ทางกาย วาจา และใจ เปน็ เหมอื นกบั การ
กา้ วไปขา้ งหนา้ ของจติ ใจ การกา้ วไปขา้ งหนา้ ของจติ ใจนกี้ ม็ อี ยู่
๒ ทางดว้ ยกนั ทุกครง้ั ทเ่ี ราท�ำอะไรทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เราก�ำลังเดินก้าวไปข้างหนา้ ทางใดทางหน่ึง
ทาง ๒ ทางที่เรากำ� ลังเดินไปน้ี ทางท่ี ๑ ก็คอื ทางสู่การเวียน
วา่ ยตายเกดิ ในไตรภพในสงั สารวฏั และทางท่ี ๒ คอื ทางออก
จากการเวียนว่ายตายเกิด ทางสู่มรรคผลนิพพาน นี่คือ
ทาง ๒ ทางทเี่ รากำ� ลงั เดนิ กนั ไปอย ู่ ในชว่ งของการปฏบิ ตั ใิ หมๆ่
เรายงั เดนิ สบั ไปสบั มาอยู่ เพราะกำ� ลงั ทจ่ี ะเดนิ ไปในทางสมู่ รรค
ผลนิพพาน สู่การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนี้ ยังมี
ไม่มาก ยังถูกกระแสของแรงดึงดูดของทางสู่การเวียนว่าย

6 ธรรมะหนา้ กฏุ ิ เลม่ ๔

ตายเกิด เราจึงต้องคอยตรวจสอบด้วยการถามตัวเราเองอยู่
เรอ่ื ยๆ วา่ “เรากำ� ลงั ไปในทางไหนกนั ” ทางของการเวยี นวา่ ย
ตายเกิดนี้เป็นอย่างไร ก็คือทางของความอยากท้ัง ๓ นี้เอง
ความอยากในรปู เสยี ง กลนิ่ รส โผฏฐพั พะ เรยี กวา่ กามตณั หา
ความอยากมีอยากเป็น เชน่ อยากได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และ
ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น ความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย
ถ้าการกระท�ำมีความอยากเหล่าน้ีเป็นตัวผลักดัน ก็จะพา
ให้จิตน้ันเดินอยู่ในกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
ถ้าเดินทางของมรรคผลนิพพาน ทางของมรรคผลนิพพานนี้
มอี ะไรบ้าง ทางของมรรคผลนพิ พาน ท่านก็เรยี กวา่ “มรรค”
นเ่ี อง การกระทำ� ทเ่ี ปน็ มรรค ทางกาย ทางวาจา และทางใจน้ี
พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดท้ รงสอนไวว้ า่ มอี ยู่ ๓ เหมอื นกนั คอื ทางแหง่
ทาน ทางแหง่ ศลี และทางแห่งภาวนาน้ีเอง ท่จี ะพาให้จติ ใจ
คอ่ ยออกจากโลกแหง่ การเวยี นวา่ ยตายเกดิ ได้ นคี่ อื การกระทำ�
๒ ทางด้วยกันที่จะเปน็ ผู้ดงึ ใหใ้ จไปในทางใดทางหนึ่ง
ในเบื้องต้นส�ำหรับผู้ที่เร่ิมปฏิบัติ ผู้ท่ีเคยอยู่กับการเวียนว่าย
ตายเกดิ กย็ งั จะอดไมไ่ ดท้ จี่ ะไหลไปกบั ทางแหง่ การหาลาภ ยศ
สรรเสริญ หาความสขุ จากรูป เสียง กลนิ่ รส โผฏฐัพพะชนดิ
ตา่ งๆ เพราะมนั เปน็ นสิ ยั ของผทู้ ตี่ ดิ อยใู่ นการเวยี นวา่ ยตายเกดิ

พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต 7

ทำ� จนเปน็ นสิ ยั เหมอื นกบั การถนดั มอื ซา้ ยหรอื มอื ขวา ผทู้ ถ่ี นดั
มอื ซ้ายกจ็ ะใชม้ ือซา้ ยกันเรอ่ื ยๆ ผทู้ ถี่ นัดมือขวากจ็ ะใชม้ อื ขวา
ไปเรอ่ื ยๆ เพราะมนั เปน็ นสิ ยั เปน็ ความสะดวก เปน็ ความสบาย
เป็นความง่าย การกระท�ำสิ่งที่ไม่เป็นนิสัยหรือขัดต่อนิสัยจึง
เปน็ ของยากเพราะตอ้ งฝนื ตอ้ งบงั คบั ตอ้ งมกี ารหดั ใหมท่ ำ� ใหม่
จงึ ยากทจ่ี ะเปลยี่ นนสิ ยั กนั พวกเราชาวพทุ ธผทู้ ย่ี งั ไมไ่ ดเ้ ขา้ สู่
กระแสของมรรคผลนพิ พานน้ี จะถกู นสิ ยั เดมิ ของเราคอยฉดุ
ลากใหเ้ ราไปกระทำ� ตามความอยากทงั้ ๓ อยเู่ รอ่ื ยๆ ทำ� ตาม
กามตณั หา ความอยากในรปู เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐพั พะ ทำ� ตาม
ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น และท�ำตามวิภวตัณหา
ความอยากไม่มีอยากไม่เปน็ ต่างๆ
การกระท�ำทางมรรคคือทางสู่การหลุดพ้นด้วยการปฏิบัติ
“ทาน ศีล ภาวนา” เป็นของท่ีเราไม่ถนัดกัน ท�ำมาไม่มาก
ยงั ไมเ่ ปน็ นสิ ยั การทเี่ ราจะดงึ ใจของเราใหม้ าในทางของทาน
ศลี ภาวนา ไดน้ ี้ สว่ นหนง่ึ กอ็ าศยั การเตอื นตนเอง ถามตนเอง
อยเู่ รอื่ ยๆ นนั่ เอง ดงั ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรงสอนใหเ้ ราถามตวั เรา
วา่ “วนั เวลาผา่ นไปๆ เรากำ� ลงั ทำ� อะไรกนั อย”ู่ เรากำ� ลงั ไปทำ�
ตามความอยากทงั้ ๓ ไปหาความสุขจากลาภ ยศ สรรเสรญิ
จากรูป เสียง กล่ิน รส โผฎฐพั พะต่างๆ อยู่ หรือว่าเราก�ำลงั ไป

8 ธรรมะหนา้ กฏุ ิ เล่ม ๔

ทำ� บุญทำ� ทาน ไปรักษาศีล ไปบำ� เพญ็ ภาวนา ไปปฏบิ ัติธรรม
อนั นเี้ ปน็ การคอยตรวจสอบการเดนิ ทางของเรา ถา้ เราไมค่ อย
ถามตนเอง ไมค่ อยตรวจสอบตนเอง เรากจ็ ะลืม แล้วเรากจ็ ะ
ทำ� ตามนิสัยเดมิ ของเรา คือท�ำตามความอยากต่างๆ เพราะว่า
มันเป็นความเคยชิน มันเป็นการหาความสุข เพียงแต่ว่ามัน
เปน็ ความสขุ ทจี่ ะมคี วามทกุ ขต์ ามมาตอ่ ไป ถา้ เราไมถ่ ามตนเอง
ไม่เตือนตนเอง เรากจ็ ะหลงลืมทางที่พระพทุ ธเจ้าทรงสอนให้
เราเดินกนั ใหป้ ฏบิ ัตกิ ัน คอื ทางของ ทาน ศลี ภาวนา ถ้าเรามี
การคอยถามตนเองอยเู่ รอ่ื ยๆ พอเวลาเราจะไปในทางของการ
เวียนวา่ ยตายเกดิ เราก็อาจจะมสี ตยิ บั ยงั้ ไว้ แล้วกเ็ ปล่ยี นทาง
ให้ไปอีกทางหนึ่ง เช่น วันนี้เราจะเอาเงินไปเท่ียวกัน ไปจอง
โรงแรม ไปจองที่พัก ไปจองสถานบันเทิงต่างๆ พอเราถาม
ตวั เราเองวา่ “ตอนนเ้ี รากำ� ลงั ทำ� อะไรอย”ู่ เรากำ� ลงั ไปทำ� ตาม
ความอยากกันอยู่ ก�ำลังไปหาความสขุ จากรปู เสยี ง กลนิ่ รส
โผฏฐัพพะต่างๆ ซ่ึงเป็นการเดินไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดที่
ไม่มีวันจบวนั สิน้ พอเราได้ระลึกไดถ้ ามตนเอง เรากจ็ ะได้รูว้ ่า
ออ๋ เราก�ำลงั ไปผิดทางเสยี แลว้ เรากำ� ลังเดนิ ไปสู่กองทุกข์แหง่
การเวยี นวา่ ยตายเกิด พอเรารูป้ บ๊ั เรากอ็ าจจะพลกิ กลบั ทันที
แล้วกเ็ ปลี่ยนทางวา่ แทนที่จะเอาเงนิ ทีเ่ ราจะเอาไปเทีย่ วกนั นี้
เราก็เอาเงินนี้ไปท�ำบุญท�ำทานกันแทน เราต้องการท�ำทาน

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภชิ าโต 9

เพราะทานจะพาให้เราได้ไปสู่การออกจากการเวียนว่ายตาย
เกิดกัน
นี่คือประโยชน์ท่ีเราจะได้รับจากการคอยหมั่นเตือนตนเอง
คอยถามตนเองอยเู่ รอื่ ยๆ ควรจะทำ� ติดเปน็ นสิ ัยไป ทกุ วันพอ
ตื่นข้ึนมาก็เอาค�ำถามนี้ขึ้นมาตั้งเป็นโจทย์ก่อนเลย วันเวลา
ผา่ นไปอีกวันหน่งึ แลว้ ชีวติ เราสัน้ ลงไปอกี วันหนงึ่ แลว้ เวลาท่ี
เราจะเหลอื อยใู่ นโลกนกี้ น็ อ้ ยลงไปอกี วนั หนงึ่ แลว้ วนั นเี้ ราจะไป
ทำ� อะไรกนั ถา้ เราจะไปทำ� ตามความอยากตา่ งๆ อยู่ เรากจ็ ะได้
พยายามบงั คบั ใจสอนใจวา่ “อยา่ ไปเลย” ถงึ แมว้ า่ จะเปน็ การ
ไดค้ วามสขุ แตม่ นั เปน็ ความสขุ ทจ่ี ะพาใหเ้ ราตดิ อยกู่ บั การกลบั
มาเกดิ แก่ เจบ็ ตาย อยเู่ รอ่ื ยๆ ตอนนเ้ี รายงั ไมแ่ ก่ เรายงั ไมเ่ จบ็
เรายงั ไม่ตาย แตไ่ ม่นานตอ่ ไปขา้ งหน้า เรากจ็ ะเขา้ หาความแก่
ความเจ็บ ความตายกนั แลว้ เวลาน้นั ความทุกขต์ ่างๆ มันก็จะ
เริ่มโหมเข้ามาใส่ตัวเรา น่ีเป็นผลจากการที่เราท�ำตามความ
อยากต่างๆ เพราะว่าการท�ำตามความอยากต่างๆ น้ี จ�ำเป็น
จะตอ้ งมรี า่ งกายเปน็ เครอื่ งมอื นนั่ เอง เราจะตายไปกค่ี รง้ั กต็ าม
เสยี รา่ งกายทเี่ รามอี ยนู่ ไี้ ปกคี่ รงั้ กต็ าม เรากย็ งั จะตอ้ งกลบั มามี
ร่างกายอันใหม่ต่อไป เพราะความอยากของใจท่ีอยากจะหา
ความสุขผ่านทางร่างกายน้ี มันยังมีอยู่ในใจ มันยังไม่ได้รับ

10 ธรรมะหนา้ กุฏิ เลม่ ๔

การกำ� จัด มนั กจ็ ะเป็นตัวทีจ่ ะดงึ ใจให้ไปหาร่างกายอันใหมอ่ ยู่
เรื่อยๆ และทุกครั้งท่ีเราได้ร่างกายอันใหม่มา ร่างกายน้ีมันก็
จะตอ้ งเปน็ ไปตามสภาพของมัน มันกต็ ้องไปสู่ขั้นตอนของมนั
มันกจ็ ะไปสขู่ น้ั เกดิ แล้วกแ็ ก่ แลว้ ก็เจบ็ แลว้ กต็ ายไป มันก็จะ
เจอกับความทกุ ขอ์ ยเู่ ร่ือยๆ ไม่มีวันจบส้ินไป ตราบใดที่เราทำ�
ตามความอยากอยู่เร่ือยๆ ความอยากน้ีจะไม่มีวันหมดจาก
ใจของเราไปได้ ความอยากจะหมดจากใจได้ก็ต่อเมื่อเราฝืน
ความอยาก ไม่ทำ� ตามความอยากเท่านั้น
การปฏิบัติเพื่อให้ออกจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด
เรากเ็ ริม่ ดว้ ยการทำ� บญุ ทำ� ทาน พอเราท�ำบุญท�ำทานได้ เราก็
จะมศี ีล ๕ ขน้ึ มา พอเรารักษาศลี ๕ ได้ เราก็จะมกี �ำลงั ที่จะ
รกั ษาศลี ๘ ตอ่ ไปได้ เพราะเราตอ้ งใช้ศลี ๘ เปน็ ผูส้ นับสนุน
ในการปฏบิ ัติจิตตภาวนา ท้งั สมถภาวนาและวิปสั สนาภาวนา
เพราะศีล ๕ น้ี ไม่สามารถกำ� จดั นิวรณค์ อื กามฉันทะ คอื ตัวที่
คอยดงึ ใจให้ไปหาความสุข แตพ่ อมาถอื ศลี ๘ ศีล ๘ น้จี ะหา้ ม
ไมใ่ หไ้ ปเสพรูป เสียง กลนิ่ รส โผฏฐัพพะ เชน่ ขอ้ ๓ ของศีล ๘
ก็จะเปลย่ี นมาเป็น “อพรหมจรยิ า” เปลีย่ นจากการร่วมหลบั
นอนกับคู่ครองของตนได้ มาเป็นไม่ร่วมหลับนอนกับใครเลย
ใหน้ อนคนเดยี วเพอ่ื เปน็ การตดั นวิ รณ์คอื กามฉนั ทะความอยาก

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภิชาโต 11

เสพรปู เสยี ง กล่นิ รส โผฏฐัพพะ จากการร่วมหลับนอนกนั
นน่ั เอง ถา้ เราตดั นวิ รณไ์ มไ่ ด้ กจ็ ะปฏบิ ตั ภิ าวนาไมไ่ ด้ เพราะใจ
มันจะคิดแต่หาความสุขจากรปู เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะอยู่
ก็เลยตอ้ งมาถอื ศลี ๘ กนั
การถือศีล ๘ ก็อาจจะหัดท�ำจากน้อยไปหามากก่อน โดย
ธรรมเนยี มทา่ นกส็ อนว่า วนั ธรรมดาถือศีล ๕ วนั พระกม็ า
ถอื ศลี ๘ กัน อาทิตย์ละ ๑ ครั้งกอ่ น มาทดลองมาฝึกดวู า่ เป็น
อย่างไรบ้าง เพราะถ้าจะให้ท�ำแบบทุกวันเลยก็อาจจะยังไม่มี
ก�ำลังพอ ก็เลยต้องอาศัยวันพระหรือวันท่ีเรามีเวลาว่างจาก
ภารกจิ การงานตา่ งๆ เชน่ บางทเี ราอาจจะมวี นั หยดุ ๓ วนั ๕ วนั
เรากอ็ าจจะไปฝกึ รกั ษาศลี ๘ ไปอยวู่ ดั กนั ไปหดั ภาวนากนั ดกี วา่
อันนี้เป็นขั้นตอนของการตัดความอยาก ตัวที่คอยดึงใจให้ไป
เวียนว่ายตายเกิดนี้ให้มันน้อยลงไปหรือให้มันอ่อนก�ำลังลงไป
ดว้ ยการรักษาศลี ๘
สว่ นการบำ� เพญ็ จติ ตภาวนา การภาวนาขน้ั ตน้ กค็ อื สมถภาวนา
คือทำ� จิตใหส้ งบกอ่ น แล้วคอ่ ยไปวิปัสสนาภาวนา เพอื่ สอนใจ
ให้ฉลาดต่อไป ในเบ้ืองต้นก็อาศัยการรักษาศีล ๘ เพื่อจะได้
ตัดกามฉันทะ ความอยากเสพรูป เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐัพพะ

12 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เลม่ ๔

ชนดิ ตา่ งๆ ดว้ ยวธิ ีการต่างๆ ศีลข้อ ๖ กห็ ้ามไมใ่ ห้เสพรปู เสียง
กลนิ่ รส โผฏฐพั พะของอาหาร ใหร้ บั ประทานอาหารเพอื่ เลย้ี ง
ดรู ่างกาย เหมอื นกับการรับประทานยา เวลารับประทานยาน้ี
เราไมส่ นใจรสชาตขิ องยา ไมส่ นใจรปู ลกั ษณะของยา เราตอ้ งการ
เอายาเข้าไปในร่างกายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของ
รา่ งกายฉนั ใดการรบั ประทานอาหารแบบรบั ประทานยากเ็ ชน่
เดยี วกนั เรากไ็ มส่ นใจอาหารชนดิ นน้ั ชนดิ น้ี แลว้ กไ็ มส่ นใจวา่
รบั ประทานแลว้ จะชอบหรือไมช่ อบ เวลาเรารบั ประทานยา
เราก็ไม่ได้รับประทานเพราะเราชอบหรือไม่ชอบ เรารับ
ประทานเพราะเราต้องรับประทาน การรับประทานอาหาร
ของนกั ปฏบิ ตั เิ พอ่ื ตดั กามฉนั ทะกต็ อ้ งเปน็ แบบนนั้ แลว้ ไมไ่ ด้
รบั ประทานเพราะความชอบ ไมไ่ ด้รบั ประทานเพราะอยาก
จะได้ความสุขจากการรับประทานอาหาร แต่รับประทาน
อาหารแบบเป็นยารักษาโรคของร่างกาย โรคของร่างกาย
ตอนน้ันก็คืออะไร ก็คือความหิวน่ีเอง ความหิวน้ีก็เป็น
ทกุ ขเวทนา เหมอื นเวลาเปน็ ไขก้ ม็ ที กุ ขเวทนา กต็ อ้ งกนิ ยาลดไข้
ยาลดแกป้ วด เวลารา่ งกายเกดิ ทกุ ขเวทนาจากความหวิ จากการ
ขาดอาหาร กต็ อ้ งเตมิ อาหารใหก้ บั รา่ งกาย อาหารนก้ี ไ็ มต่ อ้ งไป
เลือกเฟ้นมากเกินไป ให้หัดใช้ความมักน้อยสันโดษเป็นการ
เลยี้ งดู เหมอื นกับกนิ ยา หมอเขาจัดยาอะไรมาให้ก็กนิ ไปตาม

พระอาจารย์สุชาติ อภชิ าโต 13

ท่ีหมอสั่ง อาหารที่จะมาก�ำจัดความหิวก็อะไรก็ได้ท่ีกินแล้ว
ท�ำให้ท้องอ่ิม ท�ำให้ความหิวหายไป และไม่ท�ำให้เกิดอาการ
เจบ็ ไข้ได้ปว่ ยข้นึ มา ก็ถือวา่ ใชไ้ ด้ อยา่ ไปเลอื กเฟน้ ว่า โอ๊ย ตอ้ ง
กินอาหารชนิดน้ัน ต้องกินอาหารชนิดน้ี เพราะน่ีมันเป็นการ
ส่งเสรมิ กามฉันทะ ส่งเสริมกามตณั หา ความอยากในรูป เสยี ง
กลิน่ รส โผฏฐัพพะตา่ งๆ ของอาหารนั่นเอง
ดงั นนั้ ผปู้ ฏบิ ตั นิ จ้ี ะตอ้ งพยายามฝนื ความอยาก อยากกนิ อะไร
ก็อย่าไปกินมัน เลือกกินในสิ่งท่ีไม่อยากกิน อยากกินไอ้นี่
ก็ต้องดดั สนั ดานมนั ไม่กนิ แลว้ ไปกนิ ทไี่ ม่อยากกนิ โดยให้
เหตุผลว่าเป็นยาเหมือนกัน แต่ถ้ากินด้วยความอยากมันก็
จะตดิ แลว้ มนั กจ็ ะทำ� ใหเ้ กดิ กามฉนั ทะอยเู่ รอ่ื ยๆ จะทำ� ใหไ้ มม่ ี
กะจิตกะใจทีจ่ ะไปภาวนา จะมวั นง่ั คดิ แตอ่ าหาร กนิ ม้ือนี้แล้ว
เดี๋ยวก็คิดถึงอาหารมื้อต่อไป แล้วบางทีก่อนจะถึงม้ือต่อไปก็
คิดถึงของว่างระหว่างมื้อก่อน เดี๋ยวก็ต้องมีอะไรมาขบเค้ียว
มาด่ืมก่อน ใจก็จะไมม่ ีวันที่จะไปภาวนาได้ ก็เลยต้องพยายาม
ถอื ศลี ๘ กนั ใหไ้ ด้
เวลาถอื ศลี ๘ กม็ เี รอ่ื งการรบั ประทานอาหารอยู่ ๒ ระดบั คอื
รบั ประทาน ๒ มอ้ื ตอนเชา้ กบั กอ่ นเทย่ี งวนั หรอื อกี ระดบั หนง่ึ

14 ธรรมะหน้ากุฏิ เลม่ ๔

ก็รับประทานม้ือเดียว ถ้ารับประทานมื้อเดียวได้ก็จะตัด
ปญั หาเรอ่ื งของการรบั ประทานใหล้ ดลงไปครงึ่ หนง่ึ ลดเวลา
ทจ่ี ะตอ้ งมากนิ อาหาร ๒ ครงั้ กก็ นิ มนั ครงั้ เดยี วไปเลย จะทำ� ให้
ไม่ต้องมากังวลกับเรื่องของอาหารต่อไป แล้วจะเพิ่มเวลา
ของการปฏิบัติให้ไดม้ ากขนึ้ ถา้ กนิ ๒ มอื้ พอกนิ มือ้ เชา้ แล้ว
ก็ยังไม่มีกะจิตกะใจท่ีจะไปปฏิบัติ เพราะจะมากังวลกับม้ือ
เทย่ี งตอ่ พอผา่ นมอื้ เทย่ี งแลว้ เทา่ นน้ั แหละถงึ จะไมม่ คี วามกงั วล
กับเรือ่ งการรับประทาน ถึงจะไปภาวนาได้ แตถ่ ้ารับประทาน
ม้ือเดียว คือมื้อเช้าหนเดียว รับประทานให้มันเสร็จไปเลย
พอเสร็จแล้วทีนี้ก็จะไม่ต้องมากังวลกับเร่ืองการรับประทาน
อาหารต่อไป ก็สามารถท่ีจะปฏิบัติได้เลยหลังจากที่เสร็จจาก
การรับประทานอาหารม้ือเช้า ก็จะเพิ่มเวลาของการปฏิบัติ
ให้มีมากขึน้ เพ่ิมเวลาของการภาวนาใหม้ ีมากขน้ึ กจ็ ะทำ� ให้มี
ผลงานมากขน้ึ ผลงานเกดิ จากการกระทำ� เกดิ จากการปฏบิ ตั ิ
ผลเกดิ จากเหตุ เหตคุ ือการปฏบิ ตั ิ ผลคือความดับของกิเลส
ตา่ งๆ ของความอยากต่างๆ เกิดจากการปฏบิ ตั ิ ปฏบิ ตั มิ าก
ผลกจ็ ะเกดิ มาก ปฏบิ ตั นิ อ้ ย ผลกจ็ ะเกดิ นอ้ ย ถา้ เกดิ นอ้ ยกต็ อ้ ง
ใช้เวลามาก ถา้ เกิดมากกใ็ ชเ้ วลานอ้ ย ทีน้ีเราก็ตอ้ งมาค�ำนึง
ถึงเวลาของชีวิตของเราว่า เราเหลืออีกกี่วันท่ีจะอยู่ในโลกนี้
กไ็ มม่ ใี ครไปสามารถคำ� นวณได้ ถงึ แมจ้ ะไปกำ� หนดวา่ จะอยถู่ งึ

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภิชาโต 15

๘๐ ปี กไ็ มม่ ใี ครรบั ประกนั วา่ จะอยถู่ งึ ๘๐ ปไี ด้ อาจจะตายวนั น้ี
พรงุ่ นก้ี ไ็ ด้ เพราะฉะนน้ั พระพทุ ธเจา้ จงึ ทรงสอนไมใ่ หป้ ระมาท
ในเรื่องของเวลากัน ให้รีบใช้เวลาที่มีอยู่นี้ให้เกิดประโยชน์
อยา่ งสงู สดุ ดกี วา่ ใหถ้ อื วา่ เวลานเี้ ปน็ ของทไ่ี มแ่ นน่ อน อาจจะ
หมดได้เมื่อไรไม่มีใครรู้ ตอนน้ีมีเวลามากน้อยเท่าไรก็รีบ
ทุ่มเทให้กับการภาวนาให้มากท่ีสุดเท่าท่ีจะมากได้จะดีกว่า
เราต้องพยายามดึงเวลาที่เราจะเอาไปใช้กับกิจกรรม
อยา่ งอน่ื ใหม้ าใชก้ บั การภาวนาใหไ้ ดม้ ากทสี่ ดุ เทา่ ทจ่ี ะมากได้
อย่าให้ความอยากดึงเราไปเสียเวลากับการไปรับประทาน
อาหาร ๒ มอื้ ลองตดั ลงเหลอื มอื้ เดยี ว ผปู้ ฏบิ ตั บิ างคนพอจติ เรม่ิ
มีพลงั แล้วน้ี บางทีอาจจะกนิ วันเว้นวันก็มี เอา้ วนั นีข้ ้ีเกยี จกนิ
กินแล้วเสียเวลา เวลากินเสร็จก็ง่วงนอน ข้ีเกียจ แต่วันไหน
ไม่กินแล้วรู้สึกไม่ง่วง แล้วก็ขยัน แล้วก็ไม่เสียเวลา สามารถ
ปฏบิ ตั ไิ ดอ้ ยา่ งต่อเน่อื งเลย
สำ� หรบั ผทู้ ถ่ี กู กบั การอดอาหารน้ี ทา่ นมกั จะใชก้ ารอดอาหาร
เป็นเหมือนเทอร์โบ ท่ีจะผลักดันให้การปฏิบัตินี้สามารถ
ปฏบิ ตั เิ พมิ่ ไดม้ ากขน้ึ เพราะเวลาอดอาหารนม้ี นั อยเู่ ฉยๆ ไมไ่ ด้
มนั จะมาน่งั มานอนไมไ่ ด้ มันจะตอ้ งภาวนาอย่างเดียว เพราะ
เวลาอดอาหาร ความหวิ มันจะรบเร้าใจอยู่เรอื่ ยๆ ความหิวทั้ง

16 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เลม่ ๔

ทางกายและทางใจ มันจะมาคอยสร้างทุกขเวทนาให้กับใจ
ถา้ ไม่ภาวนาน้ี เด๋ียวจะทนไมไ่ หว เดย๋ี วจะตอ้ งไปรบั ประทาน
อาหาร หรอื ไปหาอะไรมารบั ประทานกนั อกี แตถ่ า้ ภาวนาแลว้
จะตัดจะลดความหิวทางใจได้หมดเลย ความหิวทางใจที่เกิด
จากความอยากรบั ประทานอยากจะดม่ื อะไรตา่ งๆน้ีพอทำ� ใจให้
สงบได้ ความหวิ ความอยากจะหยดุ ชวั่ คราว แลว้ ความอมิ่ ความ
สุขใจก็จะปรากฏข้ึนมา ท�ำให้ความหิวของร่างกายนี้ไม่เป็น
สิ่งท่ีเดือดร้อนใจ ใจสามารถอยู่กับความหิวของร่างกายได้
เพราะความอม่ิ ของใจนมี้ อี ำ� นาจเหนอื กวา่ ความหวิ ของรา่ งกาย
นน่ั เอง ผปู้ ฏบิ ตั ดิ ว้ ยการอดอาหารนกี้ จ็ ะเหน็ คณุ คา่ ของการอด
อาหาร เพราะจะท�ำให้ภาวนาได้มากขึ้น ท�ำจิตใจให้สงบได้
นานขึ้น ท�ำให้จิตใจมีพลังที่จะต่อสู้กับความอยากได้มากขึ้น
นั่นเอง อันนี้แหละเป็นเร่ืองเกี่ยวกับการถือศีลข้อ ๖ คือการ
รบั ประทานอาหารพอประมาณ
สำ� หรบั ผเู้ พงิ่ เรมิ่ ฝกึ หดั กเ็ อา ๒ มอ้ื ไปกอ่ น มอ้ื เชา้ แลว้ กม็ อื้ เทย่ี ง
ตอ่ ไปพอไดภ้ าวนา พอไดร้ บั ความสงบบา้ งแลว้ กล็ องมอ้ื เดยี วดู
แล้วพอเห็นว่าการรับประทานมื้อเดียวท�ำให้มีเวลาปฏิบัติได้
มากข้ึน ท�ำให้จิตใจมีความสงบมากขึ้น บางทีก็อยากจะลอง
อดอาหารขน้ึ มาทลี ะ ๓ วนั บ้าง ๕ วนั บ้าง แต่การอดอาหารน้ี

พระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต 17

กจ็ ะมกี ารบรรเทาดว้ ยนำ้� ปานะบา้ ง คอื สามารถดมื่ นำ�้ ปานะได้
เช่นตอนบ่ายรู้สึกร่างกายหิวโหย ก็อาจจะช่วยได้ด้วยการด่ืม
น้�ำผึ้งบ้าง ด่ืมเคร่ืองดื่มที่มีน�้ำตาลต่างๆ ด่ืมได้ น้�ำชา กาแฟ
โกโก้ อะไรทำ� นองน้ี ผสมนำ�้ ตาล ดมื่ แลว้ กจ็ ะทำ� ใหค้ วามหวิ โหย
ทางรา่ งกายบรรเทาลง ไมม่ ารบกวนจติ ใจมากจนเกนิ ไป จติ ใจ
ก็อาศัยการภาวนาคอยตัดคอยลดความหิวไปเร่ือยๆ ก็จะท�ำ
ใหก้ ารภาวนาการปฏิบตั ธิ รรมก้าวหนา้ ไปเร่อื ยๆ เพราะมีการ
ปฏิบัติอย่างต่อเน่ืองนั่นเอง เพราะเวลาอดอาหาร เวลาเกิด
ความหิวนี้ ต้องอาศัยการภาวนาเท่าน้ันที่จะช่วยบรรเทา
ความหิวของจิตใจได้ ส่วนของร่างกายก็อาศัยการด่ืมน�้ำ
ปานะบ้าง ด่ืมน้�ำผลไม้ ด่ืมนำ้� ผง้ึ บา้ ง ดม่ื นำ�้ อ้อยบา้ ง อนั น้ี
ก็พอจะช่วยบรรเทาได้ แต่หลักส�ำคัญก็คือจะท�ำให้กระตุ้น
การปฏิบัติ เพราะผู้ที่มีความหิวนี้จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ แล้วก็
ไม่มีวิธีอ่ืนท่ีจะช่วยจิตใจให้หายหิวหายทุกข์ได้ นอกจาก
การภาวนาเท่าน้ัน ผู้ปฏิบัติพออดอาหารแล้วก็จะถูกบังคับ
ใหภ้ าวนา พอไดภ้ าวนาแลว้ จติ กจ็ ะสงบเพม่ิ มากขนึ้ ๆ ความหวิ
ก็จะหายไป ความหิวทางร่างกายก็จะยังมีอยู่แต่ก็ไม่รุนแรง
และสามารถบรรเทาไดด้ ว้ ยการดม่ื นำ้� ปานะ โดยดม่ื นำ้� คนั้ ผลไม้
ทไี่ มม่ กี ากไมม่ เี นอื้ หรอื ดมื่ นำ�้ ผงึ้ นำ้� ออ้ ย เนยขน้ เนยใส กพ็ อที่
จะชว่ ยบรรเทาความหวิ ของทางรา่ งกายลงไปไดบ้ า้ ง จะทำ� ใหม้ ี

18 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เลม่ ๔

การภาวนาไดม้ าก ไมต่ อ้ งมาเสยี เวลามาคลกุ คลกี บั ผอู้ นื่ เพราะ
เวลาอดอาหารนี้ ทางส�ำนักปฏิบัติท่านจะสนับสนุนว่าไม่ต้อง
ออกมาทำ� กจิ วตั รรว่ มกนั กบั ผอู้ นื่ ถา้ มกี จิ ใหท้ ำ� เชน่ ลงทำ� วตั รเชา้
เยน็ กไ็ มต่ อ้ งลงมา ถา้ ตอ้ งมาปดั กวาด มาชว่ ยถทู ำ� ความสะอาด
อะไรต่างๆ ก็ไม่ต้องลงมา ถ้าอดอาหารแล้วถือว่าเป็นผู้ที่
ต้องการที่จะปลีกวิเวก ผู้ที่จะต้องการข้ึนเวทีต่อสู้กับกิเลส
ความอยากตา่ งๆ กจ็ ะไดร้ บั อนญุ าตไมต่ อ้ งออกมาเกย่ี วขอ้ งกบั
ผู้อื่น กจ็ ะลดการคลกุ คลีกบั ผู้อ่นื ลดการทีจ่ ะต้องมาพูดมาคุย
มาสนทนามาอะไรกนั ก็จะท�ำใหค้ วามคิดปรงุ แต่งนี้น้อยลงไป
ทำ� ใหก้ ารควบคุมใจใหเ้ ข้าส่คู วามสงบนไี้ ดง้ ่ายขนึ้ แต่ผ้ปู ฏิบัติ
ต้องยอมเสียค่าใช้จ่ายคือความหิว ต้องยอม ต้องกล้า
ตอ้ งไม่กลัวความหิว ขอให้คดิ ว่าไม่ตาย พระพุทธเจ้าอดตัง้
๔๙ วัน ยงั ไมต่ ายเลย เราอดแค่มอื้ เดยี วนี้ จะตายใหม้ นั รไู้ ป
ถา้ กนิ ๒ มอ้ื กล็ องอดเหลอื มอื้ เดยี วดู ดซู มิ นั จะตายไหม ดปู าง
พระพุทธรูปท่ีปางทรมานกาย แทบจะไม่มีเนื้อเหลืออยู่เลย
มีแต่หนงั หุ้มกระดกู นัน่ แหละคือพลงั ของจติ เวลาจติ มีพลงั
เวลาจติ สงบน้ี มนั ไมห่ วิ เหมอื นกบั เวลาทมี่ นั ไมส่ งบ มนั กเ็ ลย
ทำ� ใหอ้ ดอาหารได้ แตว่ า่ การอดอาหารนไ้ี มไ่ ดม้ งุ่ ไปทกี่ ารเอา
ชนะกิเลสด้วยการอดอาหาร ถ้าเพียงแต่อดอาหารแล้วไม่
ภาวนาน้ี กเิ ลสมนั ไมต่ าย ตอ่ ใหอ้ ดไปจนตาย กเิ ลสมนั กไ็ มต่ าย

พระอาจารยส์ ุชาติ อภชิ าโต 19

พระพุทธเจ้ารู้ทัน เพราะรู้ว่าถ้าอดต่อไปเดี๋ยวจะต้องตาย
ทา่ นก็เลยต้องหยดุ การอดอาหาร เพราะอดมาตง้ั ๔๙ วัน แต่
กเิ ลสทำ� ไมมนั ยงั มากเหมอื นเดมิ เพราะชว่ งนนั้ ทา่ นไมไ่ ดภ้ าวนา
ท่านอดแบบใช้ขันติความอดทนอย่างเดียว หรือถ้าภาวนา
กภ็ าวนาบา้ ง แตไ่ มไ่ ดเ้ ปน็ หลกั เปน็ เกณฑอ์ ะไร พอทา่ นมารวู้ า่
ความอยากมนั ไม่ไดต้ ายไปกับการอดอาหาร ถึงแมว้ า่ จะลด
ความอยากลงแตม่ นั กไ็ มห่ มด มนั กย็ งั อยากอยู่ คอื มนั ไมอ่ ยาก
เร่ืองอาหาร แตม่ ันก็ไปอยากเรอื่ งอน่ื อีก อยากไม่แกไ่ มเ่ จ็บ
ไม่ตาย อยากหาความสขุ จากรูป เสียง กล่ิน รส โผฏฐัพพะ
อยา่ งอนื่ อกี มนั ไมห่ มด พระพทุ ธเจา้ กเ็ ลยตอ้ งมาปรบั เปลย่ี น
วธิ ใี หม่ คอื หยดุ การอดอาหาร แลว้ กม็ ารบั ประทานอาหารอยู่
ระยะหนงึ่ จนรา่ งกายมกี ำ� ลงั วงั ชาทจี่ ะมาภาวนาได้ กเ็ ลยทรง
ใช้วิธีภาวนาแทน ทรงพิจารณาแล้วว่าเวลาภาวนาเท่าน้ัน
ที่กิเลสความอยากต่างๆ มันจะลดน้อยลงไป เพียงแต่วิธี
ภาวนาท่ีทรงรู้นั้นมันยังไม่ก�ำจัดความอยากความต้องการ
ตา่ งๆ ใหห้ มดไปได้ เพราะเปน็ ขน้ั ที่ ๑ ของการภาวนา คือ
สมถภาวนา
พระองค์เลยต้องค้นหาข้ันท่ี ๒ คือ วิปัสสนาภาวนา คือ
การเจรญิ ปญั ญา เพราะวา่ ปญั ญานจ้ี ะเปน็ ตวั ทจ่ี ะมาทำ� ลาย

20 ธรรมะหน้ากุฏิ เล่ม ๔

ความหลงของจิตท่ีสร้างความอยากต่างๆ ข้ึนมาได้น่ันเอง
พอมปี ญั ญาแลว้ ความหลงกจ็ ะหายไป พอความหลงหายไป
ความอยากก็จะหายไป ความหลงคืออะไร ก็หลงคิดว่า
ความสุขอย่กู ับสิ่งตา่ งๆ ทม่ี ีอยใู่ นโลกน้ีนน่ั เอง แตพ่ อเห็นดว้ ย
ปัญญาว่าส่ิงต่างๆ ที่อยู่ในโลกนี้ไม่ได้เป็นความสุขแท้จริง
เป็นความสขุ ชั่วคราว เปน็ อนจิ จงั แลว้ ก็ตอ้ งมีการเสื่อม มกี าร
หมดไป พอหมดไป ความทุกข์กจ็ ะปรากฏขึน้ มา เปน็ อนตั ตา
เป็นความสุขท่ีเราไม่สามารถควบคุมบังคับได้ มาแล้วก็ไป
เกิดแล้วก็ดับ เวลาดับ ความทกุ ข์กต็ ามมา ดังนนั้ พอเห็นแลว้
กจ็ ะไดห้ ยดุ ความอยากเหลา่ นไี้ ด้ หยดุ หาความสขุ จากลาภ ยศ
สรรเสริญ หยดุ หาความสขุ จากรปู เสยี ง กล่ิน รส โผฏฐพั พะ
หยุดหาความสุขจากฌานข้ันต่างๆ เช่น รูปฌาน อรูปฌาน
เหน็ ทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ งเปน็ ไตรลกั ษณห์ มดกห็ ยดุ ความอยากตา่ งๆได้
หยุดกามตัณหา ภวตัณหา วภิ วตัณหาได้ พอหยุดไดห้ มดป๊บั
ทนี ใี้ จกส็ งบอยา่ งเตม็ ท่ี ไมม่ อี ะไรมาทำ� ใหใ้ จหวิ ใจโหย ทำ� ใหใ้ จ
อยากอกี ตอ่ ไป ใจนงิ่ สงบอยา่ งถาวร มคี วามสขุ อยา่ งถาวรขน้ึ มา
ท่ีเรียกว่า ปรมัง สุขัง นี่แหละคือนิพพานน่ันเอง นิพพานัง
ปรมงั สขุ งั นพิ พานงั ปรมงั สญุ ญงั สญู จากกเิ ลสตณั หาทง้ั ปวง
สญู จากกเิ ลส ตณั หา โมหะ อวชิ ชา ตวั ทมี่ าคอยสรา้ งความหวิ
ความอยากความตอ้ งการตา่ งๆ ใหก้ บั ใจอยเู่ รอ่ื ยๆ พอพจิ ารณา

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภชิ าโต 21

ดว้ ยปญั ญาดว้ ยไตรลกั ษณว์ า่ สงิ่ ตา่ งๆ ทคี่ วามอยากตอ้ งการนี้
ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งน้ัน ล้วนเป็นทุกข์ท้ังนั้น เป็นความสุข
ชวั่ คราว เปน็ ความสขุ ทไี่ มส่ ามารถทจ่ี ะเกบ็ เอาไวใ้ หอ้ ยกู่ บั ใจไป
ไดต้ ลอด พอเห็นว่าเปน็ ทกุ ขก์ ห็ ยุดอยาก พอความอยากหมด
ความทุกข์ก็หายไปหมด พอความทุกขห์ ายไปหมด ความสุขก็
โผล่ขึ้นมาแทนท่ีทันที คือความสุขที่มีอยู่ในใจตลอดเวลาแต่
ไม่สามารถโผล่ข้ึนมาได้ เพราะถูกความทุกข์ท่ีเกิดจากความ
อยากคอยกลบเอาไว้อยู่เรื่อยๆ น่ันเอง พอความอยากท่ีผลิต
ความทุกข์น้ีถูกท�ำลายด้วยปัญญาหายไป พอความทุกข์หาย
ไปหมด ความสขุ ทถ่ี ูกความทกุ ข์กลบไว้กโ็ ผล่ขึน้ มา
นี่แหละเป็นความสุขที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง
แต่ไม่มโี อกาสโผล่ข้ึนมาได้ เพราะถกู โมหะอวชิ ชากิเลสตัณหา
มาคอยกลบเอาไว้ มาสรา้ งความทกุ ขค์ อยกลบเอาไวอ้ ยเู่ รอ่ื ยๆ
พอพระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญญาพิจารณาจนสามารถที่จะ
ทำ� ลายกเิ ลสตัณหาโมหะอวิชชาให้หมดส้นิ ไปได้ ความทุกข์
ทก่ี ลบความสขุ ของใจกถ็ กู ทำ� ลายไปหมด พอไมม่ คี วามทกุ ข์
ทม่ี ากลบความสขุ ความสขุ กโ็ ผลข่ นึ้ มาปรากฏขนึ้ มา เพราะ
เป็นความสุขท่ีอยู่คู่กับใจมาแต่ดั้งเดิมตลอดเวลา แต่ไม่
สามารถโผล่ขึ้นมาได้ เพราะถูกความทุกข์ของกิเลสตัณหา

22 ธรรมะหนา้ กฏุ ิ เลม่ ๔

คอยกลบเอาไว้น่ันเอง พอใช้การภาวนา ทง้ั สมถภาวนาและ
วิปัสสนาภาวนาเท่าน้ันเอง ความทุกข์ที่เกิดจากกิเลสตัณหา
โมหะอวิชชาก็ถูกท�ำลายไปหมด พอหมดแล้วก็เหลือแต่
ความสุขที่เป็นความว่าง ว่างจากกิเลสตัณหาโมหะอวิชชา
เรียกว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
นี่เอง แตจ่ ิตผูป้ ฏบิ ัตไิ มไ่ ด้สญู ขอใหเ้ ขา้ ใจ บางทา่ นไปแปล
ความหมายว่า นิพพานัง ปรมัง สุญญัง แปลว่าจิตสูญไป
พอถึงนิพพานแล้วจิตสูญ ผู้ปฏิบัติสูญ แล้วจะปฏิบัติไปให้
มันเหนื่อยท�ำไมถ้าปฏิบัติไปเพ่ือสูญ เหมือนท�ำธุรกิจแล้ว
ทำ� ใหม้ นั เจง๊ นี้ ทำ� ไปทำ� ไม สไู้ มท่ ำ� ดกี วา่ แลว้ พระพทุ ธเจา้ สญู
หรือเปล่า ก็ไมไ่ ดส้ ูญ พระอรหนั ต์สูญหรอื เปลา่ ก็ไมไ่ ด้สญู
พระพุทธเจ้าก็ยังอยู่ต่อไป จิตบริสุทธ์ิเป็นนิพพานัง ปรมัง
สุญญัง แล้วจิตก็ยังอยู่ ถ้ายังมีร่างกายก็ใช้ร่างกายเป็น
เครื่องมือสอนธรรมะต่อไป พอไม่มีร่างกาย จิตก็ยังอยู่
เหมือนเดิม จิตน้ีไมม่ วี นั ตายอยูแ่ ล้ว
จิตมันมี ๒ แบบ คือจิตของปุถุชน กับจิตของพระอรหันต์
จิตของปุถุชนก็มีกิเลสตัณหาโมหะอวิชชาคอยสร้าง
ความทุกข์มากลบอยเู่ รือ่ ยๆ สว่ นจติ ของพระพทุ ธเจา้ ของ
พระอรหนั ต์ กเ็ ปน็ จติ ทไ่ี มม่ คี วามทกุ ขม์ ากลบ กเ็ ลยเหลอื แต่

พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต 23

ความว่าง ความสุข เป็นนิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง
ปรมัง สุญญัง
นี่คอื ทางทีพ่ ระพุทธเจา้ ตอ้ งการให้พวกเราไปกัน และพวกเรา
ทกุ คนกต็ อ้ งการไปกนั จะไปไดไ้ มไ่ ดก้ อ็ ยทู่ วี่ า่ เราคอยตรวจสอบ
การกระทำ� ของเราอยเู่ รอ่ื ยๆ ตอ้ งหมนั่ ถามตวั เราเองอยเู่ รอื่ ยๆ
วา่ “วันเวลาผา่ นไปๆ เราก�ำลงั ทำ� อะไรกนั อย่”ู เรากำ� ลังทำ�
ตามความอยากเพ่ือพาเราไปสู่การเวียนว่ายตายเกิด หรือเรา
ท�ำตามค�ำสอนของพระพุทธเจ้า คอื ทำ� ทาน รกั ษาศลี ภาวนา
เพอื่ พาใหเ้ ราไปสพู่ ระนพิ พานกนั กม็ ที าง ๒ ทางน้ี แลว้ มนั จะไป
ทางไหน ก็อยู่ท่ตี ัวเราน่ีแหละเปน็ ผู้พาไป ถา้ เรารทู้ ุกเวลานาที
ทุกขณะว่า “เราก�ำลังท�ำอะไรอยู่” เราก็จะได้คอยปรับการ
เดินทางของเราให้ไปในทางท่ีควรจะไปกันน่ันเอง ถ้าไม่คอย
สงั เกต ไมค่ อยเตอื น ไมค่ อยถาม ความเคยชนิ มนั จะคอยหลอก
ให้เราไปสกู่ ารเวียนว่ายตายเกดิ อยู่เรือ่ ยๆ 

การปฏบิ ัตธิ รรมะในเบอ้ื งตน้ นี้ จะเปน็ การปฏบิ ตั แิ บบลม้ ลกุ
คลุกคลานไปก่อน เราเจริญสติได้สองสามก้าวก็ล้มลงไป
เราก็คลานไป แล้วเดี๋ยวก็ลุกข้ึนมายืนใหม่ แล้วก็เดินใหม่
เจรญิ พทุ โธไดส้ องสามคำ� ลมื ไปแลว้ ไปคดิ ถงึ เรอ่ื งนนั้ เรอื่ งน้ี
คนนนั้ คนนี้ บางทีชั่วโมงหน่ึงถงึ จะนึกไดว้ า่ เฮ้ย พทุ โธหาย
ไปไหน เพราะมนั มเี รอื่ งราวตา่ งๆ เขา้ มาดงึ ใจเราไปอยเู่ รอื่ ยๆ
ถึงแม้เราอยู่คนเดียว มันก็ท�ำให้เราเผลอที่จะอดคิดถึง
เรื่องน้ันเรื่องนี้ไม่ได้ แล้วนับประสาอะไรกับคนท่ียังต้อง
เก่ียวข้องกับคน คนท่ีต้องท�ำงานอยู่นี่ มันมีเรื่องมาคอยดึง
ใจให้ไปคิดอยกู่ ับเรอื่ งอ่ืนอยูต่ ลอดเวลา ดังนน้ั การเจริญสติ
ของคนที่ยังเก่ียวข้องกับบุคคลต่างๆ คนท่ียังต้องท�ำงาน
ท�ำการอยู่นี้จะยากมาก จะไม่ค่อยได้ผลเท่าไร ผู้ที่ต้องการ
เจริญสตเิ พื่อใหเ้ กิดผลจึงมักจะต้องไปปลกี วเิ วกกนั ต้องหา
เวลาวา่ ง ถา้ ยงั เปน็ ฆราวาสผคู้ รองเรอื นอยู่ ตอ้ งหาเวลาวา่ ง

จากภารกิจการงาน เช่น วันหยดุ ทำ� งาน แล้วกไ็ ปปลีกวิเวก
ไปหาสถานท่ีที่เราอยู่คนเดียวได้ เช่น ไปอยู่ตามสถานที่
ปฏิบัติธรรมที่เขาจัดที่ให้เราอยู่คนเดียว เพ่ือที่เราจะได้มา
เจริญสติได้อย่างต่อเนื่อง จะได้ไม่มีอะไรมาคอยดึงใจฉุดใจ
ให้ไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเร่ืองราวต่างๆ ท่ีคนในโลกน้ี
คดิ กันกค็ ิดถึงเรือ่ งรปู เสียง กลิ่น รส โผฏฐพั พะตา่ งๆ นีเ่ อง
คดิ หาเงนิ หาทอง หาผลประโยชน์ กเ็ พื่อทจ่ี ะไปหารปู เสียง
กล่นิ รส โผฏฐัพพะ มาเสพกนั เทา่ นั้น 

เวลาจะภาวนาน้ีต้องไปอยู่คนเดียว อย่าไปคลุกคลีกัน
เดี๋ยวคนนั้นคนน้ีอยากจะถามเรา อยากได้นู่นอยากได้น่ี
ก็มาเคาะประตูเรา มันก็จะท�ำให้การปฏิบัติของเรา
ขาดตอนได้ การปฏิบัติอยากให้ได้ผลดีก็ไปปลีกวิเวก
ไปอยู่ที่ไม่มีใครมารบกวนเรา ถึงแม้จะอยู่ในวัดด้วยกัน
ก็ต่างคนต่างรู้มารยาทว่าใครอยู่ในกุฏิแล้วก็จะไม่ไป
รบกวนใคร จะไม่ไปเคาะประตูเรยี กอะไรทงั้ นั้น
การปฏบิ ตั ธิ รรมนม้ี นั ตอ้ งไมค่ ลกุ คลกี นั ไมส่ งั คมกนั เพราะ
การสังคมน้ีมันจะท�ำให้มีการตอบโต้กัน มีปฏิสัมพันธ์
ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี แล้วก็จะท�ำให้การภาวนาขาดตอน
เพราะจะต้องมาเกรงใจกัน มารับแขกรับคนกัน ถ้าไม่
รับเขา เดี๋ยวเขาก็จะหาว่าเราหย่ิงบ้าง หาว่าเราไม่มี
น้�ำใจบ้าง อะไรต่างๆ ดังน้ันการแก้ปัญหาน้ีก็ต้องไปอยู่
ในที่ที่เขาไม่คลุกคลีกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน เหมือนกับ
ไม่รู้จักกัน เหมือนกับโกรธกัน วัดปฏิบัติเป็นอย่างน้ี
พระอยู่ด้วยกันเหมือนไม่รู้จักกันหรือโกรธกัน เวลามา
ท�ำกิจร่วมกันก็ไม่คุยกัน ไม่ทักทายกัน ไม่ถามสารทุกข์
สขุ ดบิ อะไร ใครมหี นา้ ทที่ ำ� อะไรกท็ ำ� กนั ไป ทำ� เสรจ็ กแ็ ยก
ตวั กลบั ไปอยทู่ พี่ กั ของตน นค่ี อื ลกั ษณะของวงการปฏบิ ตั ิ
เปน็ อย่างนี้ เขาถงึ กา้ วหนา้ กนั

ถา้ ไปอยใู่ นวงการทยี่ งั หว่ งเรอ่ื งนำ�้ ใจ ยงั หว่ งกงั วลถงึ เรอ่ื ง
ความรสู้ กึ นกึ คดิ ของคนอนื่ อยู่ กจ็ ะไมส่ ามารถทจ่ี ะปฏบิ ตั ิ
ได้อย่างไม่มีอะไรมารบกวน ต้องมาคอยเอาอกเอาใจ
คนนนั้ คนนอ้ี ยเู่ รอ่ื ย เพราะกลวั เขาจะเสยี ใจบา้ ง เดยี๋ วกลวั
วา่ เขาจะวา่ เราบา้ ง ไมม่ นี ำ้� ใจบา้ ง สดุ แทแ้ ต่ ถา้ มคี วามคดิ
เหล่านี้อยู่ก็ไม่มีวันท่ีจะไปไหนได้ ฉะน้ันต้องตัดความ
สัมพนั ธใ์ ห้หมด คิดว่าตายจากกนั นั่นแหละดีที่สดุ คดิ ว่า
ตายจากญาตพิ น่ี อ้ ง ตายจากใครทงั้ หมดแลว้ จะไดไ้ มต่ อ้ ง
มารบกวนกนั ดพู ระพทุ ธเจา้ เปน็ ตวั อยา่ งซิ ๖ ปนี เี่ คยมใี คร
ในวงั มาย่งุ ไหม ไม่มมี ายงุ่ เพราะไมร่ ู้ พระองคไ์ ม่บอกว่า
อยู่ทไี่ หน 

การมีเพ่ือนมากแต่เป็นเพ่ือนท่ีไร้สาระก็สู้อย่ามีดีกว่า
อย่าดูที่จ�ำนวน อย่าดูที่ปริมาณ ให้ดูท่ีคุณภาพ มีเพื่อน
คนเดยี วทดี่ ที ส่ี ดุ คอื มพี ระพทุ ธเจา้ เปน็ เพอ่ื นนด้ี กี วา่ มเี พอ่ื น
ไร้สาระเป็นหม่ืนเป็นแสน มีคนกดไลค์เป็นหม่ืนเป็นแสน
มพี ระพทุ ธเจา้ กดไลค์คนเดียวพอ ท่านสอนให้คบบัณฑิต
อย่าไปคบคนพาล คนพาลก็คือคนโง่ คนไร้สาระ ให้คบ
บัณฑติ คนฉลาด คนทมี่ แี ต่สารประโยชน์ต่างๆ 

บณั ฑติ คอื คนฉลาดคนดีฉลาดกร็ เู้ หตุรผู้ ลรบู้ คุ คลรสู้ งั คม
รตู้ นรปู้ ระมาณรกู้ าลเทศะนเี่ ปน็ คนฉลาดตอ้ งรสู้ ง่ิ เหลา่ นี้
แลว้ กเ็ ปน็ คนดี คอื ไมก่ ระทำ� อะไรทไี่ ปทำ� ความเสยี หาย
กบั ผอู้ น่ื ทำ� แตส่ งิ่ ทเ่ี ปน็ คณุ เปน็ ประโยชนใ์ หก้ บั ผอู้ นื่ นคี่ อื
ลักษณะของคนดขี องบัณฑติ 

เราต้องคดิ ให้น้อยท่ีสดุ ใหร้ เู้ ฉยๆ ใหร้ ูว้ ่า
เราก�ำลังท�ำอะไร อย่าไปคิดถึงเรื่องน้ัน
เรอื่ งนี้ คนนนั้ คนนี้ เรอื่ งอดตี เรอื่ งอนาคต
ให้จิตอยใู่ นปัจจบุ นั ถา้ ท�ำอยา่ งนแ้ี ลว้ จะ
มีสติ จะมกี ำ� ลงั เพ่มิ มากขนึ้ ๆ แลว้ เวลา
นง่ั สมาธิ จติ กจ็ ะสงบไดน้ านขน้ึ ยาวขน้ึ ไป
อันนี้เป็นวิธีหาความสุขแบบที่ไม่ต้อง
ใช้ร่างกาย ไม่ตอ้ งใชเ้ งินทอง แตต่ ้องใช้
เวลา ตอ้ งมเี วลาวา่ ง ต้องมีเวลาทีจ่ ะอยู่
คนเดียวได้ 

เราต้องหาวิธีตัดความผูกพันต่างๆ กับบุคคลต่างๆ กับ
เหตุการณ์ต่างๆ กับการงานต่างๆ ให้ได้ ถึงจะสามารถไป
เจรญิ สติ เจรญิ สมาธิ ไดอ้ ยา่ งเป็นกอบเป็นก�ำ โดยปกติแลว้
สติและสมาธิก็ไม่ได้สร้างในวาระเดียว มันต้องหม่ันคอย
สร้างความเจริญอยู่เรื่อยๆ แล้วมันจะค่อยสะสมเพิ่มข้ึนไป
ตามล�ำดับ แล้วเด๋ียววันดีคืนดีมันก็จะแสดงผลให้เราเห็น
ท�ำจติ ใหร้ วมเปน็ สมาธิข้ึนมาได้ 
เวลานงั่ สมาธอิ ยา่ ไปคดิ ถงึ อดตี ทผ่ี า่ นมา อยา่ ไปคดิ ถงึ อนาคต
คอื ผลท่ีจะเกิดขน้ึ “ทำ� ไมไมส่ งบสักที ไมส่ งบสกั ที” นค่ี ือ
คดิ ถงึ อนาคตแลว้ หรอื ยอ้ นกลบั ไป “เมอื่ กอ่ นสงบ ทำ� ไมวนั นี้
ไมส่ งบ” น่กี ค็ ิดไปอดตี แลว้ อย่าปลอ่ ยใหม้ ีความคิดแบบนี้
ดูลมกด็ ไู ปเฉยๆ เป็นเหมอื นคนซ่ือบือ้ พทุ โธๆ ไป ดลู มไป
น่ันแหละ คนปฏิบัติธรรมจะก้าวหน้าต้องซื่อบ้ือในเวลานั่ง
สมาธิ ถา้ คดิ มากเกง่ มาก วเิ คราะหว์ จิ ารณห์ รอื วติ ก โอย๊ มนั ไป
ไมถ่ ึงไหนหรอก ตอ้ งหยุดคดิ นะ 



พระอาจารย์สชุ าติ อภชิ าโต 33

ก�ำลังใจทส่ี มบรู ณ์

พวกเราคงจะสังเกตเห็นว่าชีวิตของเราบางเวลาก็มีก�ำลังใจ
มีก�ำลงั ท่จี ะท�ำอะไรต่างๆ แตบ่ างเวลาก็รูส้ กึ ไมม่ ีก�ำลงั ใจ รู้สึก
ท้อแท้เบื่อหน่าย น่ันก็เพราะว่าปัจจัยที่ท�ำให้มีก�ำลังใจของ
เรามนั ยงั ไมเ่ สถยี ร ยงั ขน้ึ ๆ ลงๆ อยู่ เราตอ้ งมาสรา้ งปจั จยั ทที่ ำ�
ให้เรามีก�ำลังใจในการที่จะด�ำเนินชีวิตของเราไปในทิศทางที่
ถกู ต้องทีด่ งี ามท่สี ขุ ทีเ่ จริญ
ปจั จยั หรอื คณุ ธรรมทจี่ ะทำ� ใหเ้ รามกี ำ� ลงั ใจนก้ี ม็ อี ยู่ ๕ ปจั จยั
ดว้ ยกนั คอื ๑.ศรทั ธาในพระพทุ ธพระธรรมพระสงฆ์๒.วริ ยิ ะ
ความขยันหม่ันเพียร ความพากเพียร ๓. สติ ๔. สมาธิ ก็คือ
ความตั้งมั่น ความแน่วแน่ม่ันคงของจิตใจ ไม่หวั่นไหวกับ
อารมณต์ า่ งๆ ทมี่ ากระทบ และ ๕. ปญั ญา คือความรคู้ วาม
ฉลาด

34 ธรรมะหนา้ กุฏิ เลม่ ๔

สติก็คือการควบคุมจิตใจให้เข้าสู่ความต้ังมั่นนั่นเอง ต้องมี
สตกิ อ่ นถงึ จะมสี มาธไิ ด้ และการจะมสี ตกิ ต็ อ้ งมคี วามพากเพยี ร
ความเพียรที่จะคอยเจริญสติ คอยสร้างสติอยู่เรื่อยๆ เพ่ือมา
ควบคมุ จติ ใจทเี่ ปน็ เหมอื นลงิ ถา้ ไมม่ สี ตนิ ้ี จติ ใจกเ็ ปน็ เหมอื นลงิ
มนั จะไมย่ อมตงั้ มนั่ อยใู่ นความสงบ ในความถกู ตอ้ งดงี าม มนั จะ
ไหลไปตามกระแสของกเิ ลสตณั หา ความโลภ ความโกรธ ความ
หลงตา่ งๆ จะตอ้ งมคี วามเพยี รในการจะสรา้ งสติขน้ึ มาเพอื่ จะ
ไดส้ มาธิ และจะไดไ้ ปเจรญิ ปัญญา ตามลำ� ดับต่อไปอีกขั้นหนึง่
และการทจี่ ะมคี วามพากเพยี รไดน้ ต้ี อ้ งมศี รทั ธา มคี วามเชอื่ มน่ั
ในค�ำส่ังค�ำสอนของพระพุทธเจ้า หรือของพระอริยสงฆ์สาวก
ผู้ที่ได้สร้างก�ำลังใจจนส�ำเร็จจนพาชีวิตจิตใจให้ไปสู่ขั้นสูงสุด
ของชวี ติ คอื ขนั้ ของมรรคผลนพิ พาน ขนั้ ของความหลดุ พน้ จาก
ความทกุ ขท์ งั้ ปวง ขนั้ ของบรมสขุ “ปรมงั สขุ งั ” จำ� เปน็ ทจี่ ะตอ้ ง
มกี �ำลงั ใจท่ีสมบูรณ์ 

พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต 35



พระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต 37

ด�ำเนินชวี ิตในรูปแบบใหม่

การเขา้ วดั เข้าหาพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ศกึ ษาแลว้ จะ
มีก�ำลังใจท่ีจะด�ำเนินชีวิตต่อไปในรูปแบบใหม่ แต่ก่อนเคยใช้
ชวี ติ แบบฟฟู่ า่ หรูหรา ทีนก้ี ็ลองมาใช้ชวี ิตแบบสมถะเรียบง่าย
หยดุ การอาศยั การใชร้ า่ งกายเปน็ เครอ่ื งมอื หาความสขุ แลว้ มา
หาความสขุ จากการปฏบิ ตั ธิ รรม เจรญิ สมถภาวนา หาความสขุ
จากความสงบของใจแบบชั่วคราวก่อน แล้วก็มาหาความสุข
แบบถาวรจากการใชป้ ญั ญา สอนใจทกุ ครง้ั ทเี่ ราเกดิ ความอยาก
กใ็ หต้ ดั มนั ดว้ ยปญั ญา ใหด้ เู วลาทม่ี นั เสอ่ื ม ของทกุ อยา่ งทเ่ี ราได้
มานี้ ทจ่ี ะใหค้ วามสขุ กบั เราน้ี มนั ตอ้ งมวี นั เสอ่ื ม เวลามนั เสอื่ ม
ความสขุ ทตี่ ดิ มากบั มนั กห็ ายไป พอไมม่ คี วามสขุ ใจกเ็ หงา ใจก็
ทกุ ขข์ น้ึ มา ถา้ รวู้ า่ มนั จะเปน็ อยา่ งนก้ี อ็ ยา่ ไปหามนั ดกี วา่ ตอนน้ี
เราก็ไม่ทุกข์อะไร ความอยากมันเพียงแต่โผล่ข้ึนมาล่อใจเรา
เทา่ นน้ั เอง พอเราร้มู ันป๊ับ ไมท่ ำ� ตามความอยาก เราก็อยกู่ บั
ความสงบอย่างสบาย คนท่ีจะหยุดความอยากได้ต้องมีความ

38 ธรรมะหน้ากุฏิ เลม่ ๔

สงบกอ่ น ถา้ ไม่มคี วามสงบ มนั ไมร่ ้จู ะไปลงไวต้ รงไหน มันไมม่ ี
ท่ีหยุด ถ้ามีความสงบน้ี มันรู้ว่าถ้าไม่ไปท�ำตามความอยาก
มนั ไมต่ ายหรอก เพราะเรามคี วามสขุ จากความสงบ เรากอ็ ยกู่ บั
ความสงบไป แตถ่ า้ ไม่มีความสงบ เคยอยกู่ บั ความสขุ ท่ีไดจ้ าก
สงิ่ นนั้ สงิ่ นี้ มนั กต็ อ้ งคอยหามาเตมิ อยเู่ รอื่ ยๆ มนั กจ็ ะหยดุ ความ
อยากไมไ่ ด้
นค่ี อื เรอื่ งของการมาสรา้ งกำ� ลงั ใจใหก้ บั ใจของพวกเราทบี่ างที
กท็ อ้ แทเ้ บอื่ หนา่ ย หมดกำ� ลงั จติ กำ� ลงั ใจ เพราะเราไปเจอชว่ งที่
มนั ขาลงของลาภ ยศ สรรเสริญ สขุ น่ันเอง ชว่ งขาลงนร้ี ู้สึก
เหน็ดเหน่ือยเม่ือยล้า ท�ำอย่างไงก็ไม่สุข ท�ำอย่างไงก็ไม่รวย
ท�ำยังไงก็ไม่เจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง มันก็เลยท�ำให้เกิดความ
ท้อแท้เบ่ือหน่าย หมดก�ำลังใจขึ้นมา เราต้องเข้าหาพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์
พระพทุ ธพระธรรมพระสงฆ์ทา่ นบอกวา่ เราตอ้ งยเู ทริ น์ เราไป
ผิดทาง ทางที่เราไปนี้มันเป็นทางสู่ความท้อแท้เบ่ือหน่าย
ไมช่ า้ กเ็ รว็ เราจะตอ้ งเจอความทอ้ แทเ้ บอื่ หนา่ ย เพราะวา่ สงิ่
ท่มี ันใหค้ วามสขุ กบั เราน้ี มันจะเสอื่ ม มันจะหายไป มนั จะ
หมดไป แล้วการหาความสุขก็จะรู้สึกยากเย็นจนท�ำให้ไม่มี

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภิชาโต 39

ก�ำลงั จติ กำ� ลังใจขึ้นมา ซงึ่ ไม่ใชท่ างไป แต่ทางไปนี้ต้องยอ้ น
กลบั มาอกี ทางหนง่ึ มาทางแหง่ การทำ� ทาน รกั ษาศลี ภาวนา
การทำ� ทาน ถา้ ไมม่ ฐี านะทางการเงนิ การทองกไ็ มต่ อ้ งทำ� รกั ษา
ศลี ไปเลย แลว้ กไ็ ปภาวนาเพอ่ื ใหม้ คี วามสขุ จะไดม้ กี ำ� ลงั ใจ จะได้
ไมท่ อ้ แทเ้ บอื่ หนา่ ยกบั ชวี ติ ตอ้ งไปถอื ศลี ๘ กนั การถอื ศลี ๘ น้ี
เปน็ การฝึกหา้ มใจไม่ใหไ้ ปเสพสุขทางรา่ งกาย แต่เปน็ เพียงตั้ง
กรอบเอาไว้ ยงั ไมไ่ ดห้ ยดุ ความอยากทจ่ี ะเสพ ศลี นไี้ มส่ ามารถ
ทำ� ลายความอยากเสพรปู เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐพั พะตา่ งๆ ได้
เพยี งแตเ่ บรกมนั ไว้ คอื ลอ้ มคอกมนั ไว้ หา้ มไวไ้ มใ่ หม้ นั ไปเสพ
แตเ่ ผลอๆ บางทศี ีลก็ขาดไดถ้ า้ ความอยากมนั แรง ถา้ กิเลส
ตัวไหนมันใหญ่ เหมือนวัวตัวไหนมีแรงมาก ถ้าไปล้อมคอก
ให้มัน บางทีมันก็พังคอกออกไปได้ ฉันใด ความอยากตัวท่ี
มนั ไม่แรง มนั กอ็ ยู่ในกรอบของศีลได้ ตวั ไหนมันแรง เดยี๋ วก็
ศลี ขาด ไม่ว่าจะเป็นโยมหรือเป็นพระกเ็ หมอื นกนั เป็นพระ
บางทีเจอตัวความอยากตัวแรงๆ ก็ลาสิกขาออกไปได้
ถา้ เปน็ โยมถอื ศลี ๘ได้๓วนั ๗วนั กพ็ อแลว้ ขอกลบั บา้ นบางคน
กอ็ ยไู่ ด้นาน อยู่ได้เป็นเดือน ๒ เดือน ๓ เดอื นก็มี แต่เดยี๋ ว
ไมช่ า้ กเ็ รว็ กไ็ ปเจอตวั ใหญเ่ ขา้ ถา้ ใชศ้ ลี อยา่ งเดยี วกส็ ไู้ มไ่ หว
แต่การมีศีลมันเป็นการล้อมคอกไว้ก่อน จะได้ไม่ต้องไปไล่

40 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เล่ม ๔

จับกิเลสตัณหาความอยาก เห็นไปวิ่งตามผับตามบาร์ก็ดึงมัน
กลับมา ให้กลับมานั่งสมาธิ เวลาถือศีล ๘ แล้วมันไม่ไปเลย
มันมีคอกลอ้ มไว้แล้ว ส่วนศีล ๕ นี้ไมห่ ้าม จะไปบาร์ไปผับได้
แต่อย่าไปดื่มก็แล้วกัน แล้วก็จะไปเล่นการพนันก็ไม่ได้
ห้ามไว้ สว่ นการไปงานน่นั งานนห่ี รอื ไปเทย่ี วท่ีน่นั ท่ีน่ี ศีล ๕ น้ี
ไปได้ แตเ่ วลาจะจบั มนั มาทำ� ใหส้ งบน้ี มนั กเ็ หนอ่ื ยละซิ ตอ้ งไป
ไล่ตามมันมา เหมือนถ้าไม่ล้อมคอกสัตว์เล้ียงหรือพวกวัวน้ีไว้
เวลาจะจับมันมาให้มันมารวมกันนี้ โอ้โห มันไปอยู่คนละทิศ
คนละทาง กต็ อ้ งไปวง่ิ จบั กนั แตถ่ า้ มคี อกลอ้ มไว้ มนั กไ็ ปไมไ่ กล
จับมันได้ง่าย ความอยากก็เหมือนกัน เราต้องอาศัยศีลเป็น
คอกล้อมมันไว้ขั้นแรกก่อน เพื่อที่จะจับมันมามัดให้มันอยู่
น่ิงๆ ใหไ้ ด้
พอถือศีลแล้วก็จะมีเวลาท่ีจะเอาจิตมาเจริญสติเพ่ือหยุด
ความคดิ หยดุ ความอยาก กจ็ ะสามารถนง่ั สมาธกิ นั ได้ เพราะ
วา่ ไม่มีภารกจิ อะไรใหต้ อ้ งทำ� นอกจากภารกจิ ส่วนตัว คือการ
ดแู ลรา่ งกาย รบั ประทานอาหาร อาบนำ้� อาบทา่ ทำ� ความสะอาด
ทอี่ ยอู่ าศยั เทา่ นน้ั เอง เวลาทเี่ หลอื กเ็ อามาปฏบิ ตั ธิ รรม มาเจรญิ
สติ มานั่งสมาธิ และในขณะท่ีท�ำภารกิจส่วนตัวก็เป็นเวลาท่ี
สามารถเจรญิ สติ สามารถปฏบิ ตั ธิ รรมไดเ้ ชน่ เดยี วกนั ทำ� อะไร

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต 41

กใ็ ห้มีสตอิ ยู่กบั งานที่ท�ำ เปา้ หมายคอื คอยหยุดความคดิ ตา่ งๆ
ถ้าเราคอยดูงานที่เราท�ำอยู่ จดจ่ออยู่กับงาน อยู่กับการ
เคลอ่ื นไหวของรา่ งกาย มนั จะไปคดิ เรอื่ งนนั้ เรอ่ื งนไี้ มไ่ ด้ พอเรา
มสี ตแิ ลว้ พอเวลามานง่ั สมาธิ ใจกจ็ ะรวมเปน็ หนงึ่ ได้ สงบขน้ึ มา
เหลือแต่สักแต่ว่ารู้ ใจถอนวิญญาณทัง้ ๕ ออกจากตา หู จมูก
ลิน้ กาย ให้เขา้ มารวมอยู่ในตัวรู้ตวั เดยี ว ให้เหลือแตส่ ักแต่ว่ารู้
ใจกจ็ ะนงิ่ จะสงบ จะเยน็ จะมคี วามสขุ มาก มอี เุ บกขา เปน็ เพยี ง
แตว่ ่ามันอยไู่ ดช้ ว่ั คราว สั้นบา้ งยาวบ้าง ขึน้ อยู่กับก�ำลงั ของสติ
สำ� หรบั ผทู้ เ่ี รม่ิ ปฏบิ ตั ใิ หมม่ นั กจ็ ะอยไู่ ดไ้ มน่ าน ครง้ั แรกกอ็ าจ
จะแบบนกกระจอกกนิ นำ�้ หรอื งแู ลบลน้ิ รวมตวั ปบ๊ั แลว้ กเ็ ดง้
ออกมา เพราะแรงของกิเลสมนั ยังคอยดันใหอ้ อกมา ความ
อยากมนั ยงั ดนั ใหเ้ รากลบั มาหารา่ งกาย มาหาตา หู จมกู ลน้ิ
กาย เพอ่ื จะไดไ้ ปเสพรปู เสยี ง กลนิ่ รส โผฏฐพั พะอยู่ แตพ่ อ
ฝกึ สตไิ ปเรอื่ ยๆ นงั่ สมาธบิ อ่ ยๆ เขา้ นานๆ เขา้ เวลามนั รวม
แตล่ ะครงั้ มนั กจ็ ะเรม่ิ นง่ั ไดน้ านขนึ้ ตอ่ ไปก็ ๕ นาที ๑๐ นาที
๑๕ นาที ๔๕ นาที ชว่ั โมงหนง่ึ มนั กจ็ ะนงิ่ สงบสบาย ชว่ งนน้ั
กเ็ หมอื นกบั ขนึ้ สวรรคท์ งั้ เปน็ ความสขุ ในโลกน้ี ความสขุ ทไี่ ด้
จากลาภ ยศ สรรเสรญิ จากรูป เสยี ง กลนิ่ รส โผฏฐัพพะ
ตา่ งๆ น้ี สคู้ วามสขุ ทไ่ี ดจ้ ากความสงบไมไ่ ด้ นตั ถิ สนั ติ ปะรงั
สุขัง สุขอื่นท่ีเหนือกว่าความสงบไม่มี อันน้ีเป็นผลจากการ

42 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เล่ม ๔

ท่ีรักษาศีลอย่างเคร่งครัด แล้วก็หม่ันเจริญสติต้ังแต่ลืมตาข้ึน
มาเลย พอลืมตาขนึ้ มาก็ควบคุมความคดิ ดึงให้มนั อยกู่ ับการ
เคล่อื นไหวของรา่ งกาย ดอู ริ ยิ าบถของรา่ งกายว่าตอนนีอ้ ยู่ใน
ทา่ ไหน กำ� ลงั อยใู่ นทา่ นอน กำ� ลงั จะลกุ กำ� ลงั จะยนื กำ� ลงั จะเดนิ
ไม่ใช่ปล่อยให้ร่างกายลุก ยืน เดิน ส่วนใจก็ไปคิดถึงเร่ืองนู้น
เรอื่ งนี้ จะไปกนิ อะไรดเี ชา้ นี้ รา่ งกายยงั อยบู่ นเตยี งเลย แตใ่ จไป
ถงึ โรงครวั แลว้ เราตอ้ งใหม้ นั อยกู่ บั รา่ งกายไป อยา่ ใหม้ นั ไปคดิ
ถ้าท�ำอย่างน้ีได้ เวลาน่ังสมาธิมันก็จะไม่คิด ให้มันจดจ่ออยู่
กบั ลม มนั ก็จะอยู่กบั ลม ทีนพ้ี อมันไม่คิด มันกจ็ ะค่อยๆ สงบ
มนั กจ็ ะถอนวญิ ญาณทง้ั ๕ ออกจากตา หู จมกู ลน้ิ กาย มารวม
อยู่ในใจตวั เดียว มารวมอยูใ่ นตัวผูร้ ตู้ ัวเดยี ว อนั นเ้ี ปน็ ขั้นตอน
ขนั้ แรกของการทเี่ ราจะมาเลกิ ใชร้ า่ งกายกนั เพอ่ื ทเ่ี ราจะไดห้ ยดุ
กามตณั หาได้ เพราะเมอื่ เราสามารถมคี วามสขุ จากการทำ� ใจให้
สงบได้ เราก็เลิกหาความสุขจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพั พะ
ทผี่ า่ นทางตา หู จมกู ลน้ิ กายได้ เพยี งแตว่ า่ เลกิ ไดเ้ ปน็ พกั ๆ ชว่ งที่
อยูใ่ นสมาธิ พอเวลาออกจากสมาธิมา ถ้าสติเผลอเม่ือไร ใจไป
คดิ ถงึ รปู เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐพั พะ ขน้ึ มาเมอื่ ไร มนั กเ็ กดิ ความ
อยากข้ึนมาได้ เพราะความอยากไม่ได้ถูกท�ำลายด้วยการเข้า
สมาธิ ความอยากนจี้ ะตอ้ งถกู ทำ� ลายดว้ ยปญั ญาเทา่ นนั้ เพราะ
ความอยากมนั เกิดจากความหลง เกดิ จากความไมร่ คู้ วามจรงิ

พระอาจารย์สุชาติ อภชิ าโต 43

ของสิ่งท่ีอยากได้ว่ามันน�ำไปสู่ความทุกข์ น�ำไปสู่การเวียน
ว่ายตายเกิดท่ีไม่รู้จักจบจักส้ิน เพราะจะต้องใช้ร่างกายเป็น
เครื่องมอื นน่ั เอง
ดงั นนั้ เราตอ้ งใชป้ ญั ญา คอื ปญั ญาทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงตรสั รู้
วา่ การทำ� ตามความอยากปบ๊ั แลว้ มนั จะตดิ พอตดิ แลว้ กต็ อ้ ง
ทำ� อยเู่ รอื่ ยๆ รา่ งกายนตี้ ายไปกจ็ ะไปหารา่ งกายอนั ใหมม่ าทำ�
ตอ่ อีก แล้วทำ� เทา่ ไรกไ็ ม่อ่มิ ไมพ่ อ ทำ� แล้วก็ต้องทำ� อีก เวลา
ไมไ่ ดท้ ำ� กท็ กุ ข์ บางทที กุ ขจ์ นกระทง่ั อยากจะฆา่ ตวั ตาย ฆา่ ตวั
ตายกไ็ มไ่ ดแ้ กป้ ญั หา เพราะตอ้ งกลบั มาเกดิ ใหม่ ฉะนน้ั วธิ แี ก้
ปัญหา ก็คือตอ้ งใชป้ ัญญาสอนใจให้เห็นว่าการหาความสุข
ผา่ นทางรา่ งกายนเ้ี ปน็ การไปหาความทกุ ข์ เปน็ การพาใหไ้ ป
เวยี นวา่ ยตายเกดิ เราตอ้ งหยดุ มนั ดว้ ยการมองใหเ้ หน็ มมุ กลบั
มองในส่วนที่ไม่ดีในของท่ีเราอยากได้ มองเวลามันเส่ือม
มองเวลาที่มันดับ อย่าไปมองเวลาที่มันเจริญ เวลาเจริญ
เวลามันเกิดน้ีจะดีใจกัน เราต้องดูตอนท่ีมันดับแล้วมันจะ
เสยี ใจ มนั กจ็ ะทำ� ใหไ้ มอ่ ยากไดข้ น้ึ มา มนั กจ็ ะหยดุ ความอยาก
ต่างๆ ไดน้ ่นั เอง
ตอ่ ไปพอเราฝนื ความอยากไดท้ กุ ครงั้ ความอยากมนั กห็ มดฤทธิ์
มนั กจ็ ะไมม่ าสรา้ งความร้สู ึกอะไรทีไ่ ม่สบายใจต่างๆ ให้กับเรา

44 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เลม่ ๔

เรากอ็ ยอู่ ยา่ งสบาย อยกู่ บั ความสงบไป ทำ� ใหเ้ ราเลกิ เสพกามได้
แตต่ อ่ ไปแมแ้ ต่ความสงบ เราก็ไม่ต้องไปอยาก เพราะจะทำ� ให้
เราไปตดิ กบั ความสงบ ดงั นนั้ เราตอ้ งพจิ ารณาความสงบวา่ มนั ก็
เปน็ ของชวั่ คราวเหมอื นกนั เวลาเขา้ สมาธมิ นั กส็ ขุ เวลาออกมา
มนั กห็ ายไป แลว้ กอ็ ยากจะกลบั เข้าไปใหม่ พอเวลาเขา้ ไปแล้ว
ไมไ่ ดก้ ท็ กุ ขอ์ กี ขนั้ ตอ่ ไปเรากต็ อ้ งมาเลกิ เสพความสงบทไ่ี ดจ้ าก
รปู ฌานหรอื อรปู ฌาน เพราะวา่ มนั กเ็ ปน็ ไตรลกั ษณเ์ หมอื นกนั
เป็นอนจิ จงั ทกุ ขัง อนตั ตา เหมอื นกนั
อนั นก้ี เ็ ปน็ ขน้ั ๆ ขน้ั แรกกห็ ยดุ ความอยากในกามตณั หาไดก้ อ่ น
แล้วก็มาหยุดความอยากในรูปฌานกับอรูปฌานท่ีเรียกว่า
ภวตณั หากบั วภิ วตณั หาตอ่ ไป เวลาพจิ ารณากเ็ หมอื นกนั คอื
รูปฌานและอรูปฌาน มันก็ไม่เที่ยง ต้องคอยเข้าอยู่เร่ือยๆ
เวลาไมไ่ ดเ้ ขา้ กร็ สู้ กึ ขาดอะไรไป รสู้ กึ ไมม่ คี วามสขุ ตอ่ ไปเวลา
อยากจะเข้ากไ็ ม่ต้องเข้า อยากจะสงบกไ็ ม่ต้องสงบ ลองอยู่
เฉยๆ ดู อยโู่ ดยไม่มคี วามอยากดู ดซู วิ า่ จะเป็นยังไง เรารู้ผล
แลว้ นี่ เวลาไมม่ คี วามอยากในรปู เสยี ง กลนิ่ รส โผฏฐัพพะ
สบายกว่ามีความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
กเ็ ชน่ เดยี วกบั ความอยากไดร้ ปู ฌานกบั อรปู ฌานกเ็ หมอื นกนั
พอเรารู้ว่าความอยากได้รูปฌานกับอรูปฌาน ถึงแม้จะให้

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต 45

ความสขุ กบั เราเวลาเราเขา้ ไป แตเ่ วลาออกมา มนั กจ็ ะทำ� ให้
เราร้สู กึ อา้ งว้างเปล่าเปล่ยี ว สู้อย่าไปอยากมันดกี วา่ อย่าไป
เขา้ มนั ดกี วา่ ถงึ ชว่ งนนั้ กไ็ มต่ อ้ งเขา้ ฌาน สามารถหยดุ ความ
อยากเข้าฌานได้ พอความอยากจะเข้าฌานหายไป ทีน้ีใจ
ก็ย่ิงสบายใหญ่ ย่งิ เบาขน้ึ มาทนั ที ไมม่ ตี วั อยากมารบกวนใจ
อกี ๒ตวั ลดไปตวั หนง่ึ แลว้ คอื กามตณั หาทนี กี้ ม็ าลดตวั ภวตณั หา
และวิภวตัณหา ด้วยการพิจารณาว่าฌาน คือท้ังรูปฌานกับ
อรูปฌาน ก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนกันกับรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ มันก็เป็นไตรลักษณ์ พอไปอยากแล้วก็ไปติดมัน
เวลาไม่ได้เสพมันก็ทุกข์ แต่พอเลิกเสพได้ เลิกเสพรูปฌาน
อรปู ฌานได้ แตไ่ มต่ ดิ ยงั เสพไดแ้ ตเ่ สพแบบไมต่ ดิ รปู เสยี ง กลน่ิ
รส โผฏฐพั พะ กย็ งั เสพได้ แตเ่ สพแบบไมต่ ดิ ใครเอาขนมมาให้
กินกก็ นิ ใครเอาเครอ่ื งด่ืมมาใหด้ ่ืมกด็ ื่ม แตไ่ ม่ติด พอเวลาไหน
ไม่มีก็ไม่คิดถงึ มัน ไมไ่ ปอยากจะได้มนั เพราะมันไมต่ ิด
อนั นค้ี อื ใจทถี่ อนความอยากทง้ั ๓ ออกใหห้ มดไปจากใจแลว้
ใจมันจะว่างจะเย็นจะสบาย จะสงบจะสุข ไม่หิวกับอะไร
แตท่ ต่ี อ้ งกนิ ตอ้ งดม่ื กเ็ พอื่ เลย้ี งดรู า่ งกายไปตามความตอ้ งการ
ของมัน แตใ่ จจะไม่เคยสรรหา ไมเ่ คยไขว่คว้า ไม่เคยคดิ ถึง
ขนมนมเนย คดิ ถงึ เครอื่ งด่ืมชนดิ นั้นชนดิ น้ี ไม่ไดค้ ิดถงึ ฌาน

46 ธรรมะหนา้ กฏุ ิ เลม่ ๔

รปู ฌาน หรอื อรปู ฌาน เขา้ ฌานก็ได้ ไมเ่ ขา้ ฌานกไ็ ด้ ไมม่ ี
ปัญหาอะไร เพราะความสงบท่ไี ดจ้ ากการไมม่ คี วามอยากนี้
มันเหนือกว่าความสงบของรูปฌานกับอรูปฌาน เราเรียก
ความสงบนวี้ ่านพิ พาน นิพพานงั ปรมัง สขุ งั สุดยอดของ
ความสขุ กค็ อื พระนพิ พาน นพิ พานกค็ อื การสนิ้ สดุ ของความ
อยากทงั้ ปวงทม่ี อี ยใู่ นใจ กเ็ ลยเปน็ ปรมงั สขุ งั ขนึ้ มา เปน็ ปรมงั
สญุ ญงั ขน้ึ มา สญู จากความอยากทงั้ ๓ ประการนเี้ อง สญู จาก
อารมณ์ตา่ งๆ ท่เี กดิ จากความอยากต่างๆ เพราะมันถกู ทำ� ลาย
ไปหมด ใจกว็ ่างตลอดเวลา ไมม่ ีความรู้สึกอะไรกบั อะไรทงั้ สน้ิ
รบั รู้แลว้ ก็เฉยๆ เหมือนหยดนำ้� บนใบบัว สมั ผสั กันรับรกู้ นั แต่
ไม่ซึมซาบ ไม่เหมือนกับจิตของผู้ที่ยังมีความอยาก พอเห็น
อะไรปบ๊ั กอ็ ยากไดข้ น้ึ มาทนั ที ถา้ ไมอ่ ยากไดก้ อ็ ยากหนี พอไป
เจอของไม่ดกี ็อยากหนี พอไปเจอของชอบก็อยากได้ อยากจะ
ใหร้ เู้ ฉยๆ กไ็ มไ่ ด้ อดไมไ่ ด้ โอย๊ ฉนั ไปเดนิ ชอ้ ปปง้ิ เฉยๆ ไปดเู ฉยๆ
แต่มันไม่เฉยหรอก พอดูไปดูมา เอ้า หิ้วกลับมาบ้านก่ีถุงล่ะ
เพราะใจมนั ยงั มคี วามอยาก
นี่คือการสร้างก�ำลังใจ ถ้ามีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ถา้ เชือ่ ว่าพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ น้เี ป็นผู้ทีม่ ี
ความสขุ ทสี่ งู สดุ เรากจ็ ะเกดิ ศรทั ธาเพอ่ื ทำ� ตามคำ� สอนของทา่ น

พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต 47

เราก็จะมีความขยันหมั่นเพียรข้ึนมา ความเกียจคร้านต่างๆ
จะหายไปหมด
เวลาชว่ งไหนทเ่ี ราปฏบิ ตั แิ ลว้ รสู้ กึ วา่ ทอ้ แทเ้ บอื่ หนา่ ย กใ็ หร้ บี
ฟงั เทศน์ ฟงั ธรรม ศกึ ษาประวตั ขิ องพระพทุ ธเจา้ ฟงั เรอื่ งของ
พระสาวกบ้าง ฟงั คำ� สอนของท่านบ้าง แลว้ มันจะทำ� ให้เกิด
มีกำ� ลงั ใจข้นึ มา มีความเพยี รขน้ึ มา สามารถจะปฏบิ ัตติ ่อได้
ปฏิบัติสติ สมาธิ และปญั ญา พอมีสติ สมาธิ ปญั ญา ใจก็
เป็นใจที่กลา้ หาญ เป็นใจท่มี ีพลังไมห่ ว่ันไหวกับอะไรท้งั ส้ิน
ทงั้ ปวง
นี่คือวิธีสร้างก�ำลังใจให้กับตัวของพวกเราทุกคน อย่าไปสร้าง
กำ� ลงั ใจด้วยการไปดืม่ เครอ่ื งด่มื ชูกำ� ลัง บางคนกด็ ่ืมกาแฟเพอื่
จะไดม้ กี ำ� ลงั มนั เปน็ กำ� ลงั เดย๋ี วเดยี ว แลว้ เดย๋ี วมนั กต็ ดิ พอเวลา
ไม่ไดเ้ สพ ทนี ก้ี �ำลงั หายไปหมดเลย ดงั น้ันอยา่ ไปเสพ ให้เรามา
สร้างก�ำลงั ใจด้วยการเตมิ ศรัทธาใหม้ เี ขม้ ขน้ มากขน้ึ เพ่อื จะได้
มีความเพียรที่เข้มข้นมากขึ้น เพื่อจะได้มีสติมีปัญญาตามมา
ตามล�ำดับต่อไป 

48 ธรรมะหน้ากฏุ ิ เลม่ ๔


Click to View FlipBook Version