The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือ ธรรมะหน้ากุฏิ เล่ม 7

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wonchai890, 2020-09-13 22:16:04

หนังสือ ธรรมะหน้ากุฏิ เล่ม 7

หนังสือ ธรรมะหน้ากุฏิ เล่ม 7

ธรรมะสดๆ รอ้ นๆ เลม่ ๗

อย่างใด ดังน้ัน ทุกครั้งที่เราวุ่นวายกับเรื่องน้ันเรื่องนี้คนน้ัน
คนน้ี ก็ให้นึกถึงภาพอันน้ีว่า เดี๋ยวต่อไปเราก็ต้องแยกทาง
กนั ไป จะวุ่นวายยงั ไงก็เปล่ียนแปลงอะไรไม่ไดอ้ ยู่ดี

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๔ มี.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: จ�ำเป็นหรือไม่ท่ีจะภาวนาบริกรรมค�ำว่าพุทโธ
ถ้าใช้วิธีเห็นภาพพระพุทธรูปท่ีพอใจทุกครั้ งท่ีมี
โอกาส เรยี กการเหน็ ภาพพระน้ีวา่ อย่างไร

ตอบ: ก็เป็นนิมิต เป็นนิมิต เป็นกสิณ ใช้ภาพเป็นอารมณ์
แทนค�ำบริกรรม พุทโธ ก็ได้ หลับตาแล้วก็นึกถึงภาพพระ
แล้วก็พยายามให้ภาพพระน้ันต้ังอยู่ไม่ให้หายไป ใจก็ไปคิด
เร่ืองนั้นเรื่องนี้ไม่ได้เพราะใจจะต้องมาคอยสร้างภาพพระอยู่
ในใจ เมอื่ มันมสี รา้ งแตภ่ าพพระ มันกไ็ ม่ไปคดิ เร่อื งน้ันเร่อื งนี้
มนั กส็ งบได้

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๒๐ ม.ี ค. ๒๕๖๒)

ถาม: เราเจริญสติโดยจะตามเห็นความคิดเกิดขนึ้ และ
รทู้ นั ความคดิ ดบั อยา่ งนดี้ ไู ปเรอื่ ยๆ หรอื อยา่ งไร

150 ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภชิ าโต

ตอบ: ต้องให้มันดับแบบไม่คดิ เลย ถา้ คิดแลว้ ดบั ดบั แล้วคิด
ก็ยังไม่ดีพอ ต้องให้มันไม่คิดเลย ถึงจะเรียกว่าเป็นสมาธิได้
ถ้ามันยังดูปั๊บ พอดูปั๊บมันก็หยุดคิด พอเราไม่ดูปั๊บมันก็กลับ
มาคิดใหม่ อยา่ งนกี้ ็ไดป้ ระโยชน์นิดเดียว ต้องเอามันหยดุ คดิ
อยา่ งตอ่ เนอื่ งเลย ใหม้ ันไมค่ ดิ ทีละ ๕ นาที ๑๐ นาที อย่างน้ี
จติ ถึงจะสงบได้ จะใหม้ ันหยดุ คิดแบบนี้ไดต้ ้องมบี ริกรรมหรือ
มอี ะไรเปน็ ตวั ผกู ใจไวไ้ มใ่ หไ้ ปคดิ เชน่ ดลู มหายใจเขา้ ออกหรอื
บรกิ รรม พุทโธอยา่ งน้ีมนั ถงึ จะท�ำให้หยุดคิดได้ยาว หยุดคิด
จนกระทง่ั มนั สงบ พอมนั สงบแลว้ เรากไ็ มต่ อ้ งบงั คบั มนั เพราะ
มนั หยดุ คดิ มนั นง่ิ มนั ไมค่ ดิ แลว้ ไมต่ อ้ งไปบงั คบั มนั ไมใ่ หม้ นั คดิ
อันนี้เป็นส่ิงท่ีต้องท�ำ ดังน้ันการดูจิตดูความคิดอย่างเดียว
ไม่เกิดประโยชน์ถ้าดูแล้วมันยังคิดอยู่เรื่อยๆ พอเราดูมัน
มันก็หยุด พอเราไม่ดูมันก็คิด อย่างน้ีแสดงว่ายังใช้ไม่ได้
ตอ้ งดแู บบไมใ่ ห้มนั คดิ ไป ๕ นาที ๑๐ นาทอี ยา่ งนี้ ถงึ จะ
น่ิงสงบได้ เปน็ สมาธขิ นึ้ มาได้

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๒๒ ม.ี ค. ๒๕๖๒)

ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ 151

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เล่ม ๗

ถาม: ตวั รู้ทเี่ ข้าไปรู้อารมณน์ ้ี ก็ไม่ใช่เรา ใช่หรือไม่

ตอบ: ตวั รกู้ ต็ วั รแู้ หละ ไมม่ คี �ำวา่ เราในทกุ สงิ่ ทกุ อยา่ ง ค�ำวา่
เราน้ีเกิดจากสังขารความคิดปรุงแต่งข้ึนมาเอง เหมือนกับ
คิดว่าโลกนี้แบน โลกมันก็ไม่แบนนี่ เราไปคิดว่ามันแบน
เองแหละ ตัวตนมันไม่มี เราไปคิดว่ามันมีตัวตน เท่าน้ันเอง
เปน็ ความคดิ ตัวตนเกดิ จากความคิด เกดิ จากความหลง

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๒๒ ม.ี ค. ๒๕๖๒)

ถาม: ในปฏิจจสมุปบาท สังขาร วิญญาณ นามรูป
เป็นปจั จัยกันอยา่ งไร

ตอบ: มันก็เป็นเหมือนกับเรายืนเข้าแถว คนที่ ๑ คนที่ ๒
คนท่ี ๓ คนที่ ๑ สัง่ มา คนท่ี ๒ ก็รบั ค�ำสั่ง คนท่ี ๒ รับค�ำสัง่
ก็ส่งไปให้คนที่ ๓ มันก็เป็นแบบน้ัน อวิชชาก็เป็นเหมือน
หวั หนา้ ยนื หวั แถว คอื ความหลง พอหลงแลว้ มนั กส็ งั่ ใหส้ งั ขาร
ความคดิ ใหไ้ ปหาความทกุ ขแ์ ทนทจ่ี ะไปหาความสขุ กค็ อื ใหไ้ ป
หารูปเสียงกล่ินรสต่างๆ สังขารมันก็ส่ังไปท่ีวิญญาณ เพราะ
วิญญาณมีหน้าที่ไปหารูปเสียงกลิ่นรสมาให้ พอสังขารส่ังไป
วิญญาณก็ไปหาที่ตาหูจมูกลิ้นกาย ตาหูจมูกล้ินกายมันก็วิ่ง
ไปหารูปเสียงกล่ินรส มันก็เป็นเหมือนคนท่ีคอยรับค�ำสั่ง

152 ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ

พระอาจารย์สชุ าติ อภชิ าโต

เปน็ ทอดๆ กนั ล่ะ คนท่ี ๑ สัง่ ให้คนที่ ๒ คนท่ี ๒ กร็ บั ค�ำสัง่
ไปให้คนที่ ๓ คนที่ ๓ ก็ไปคนที่ ๔ ท่ี ๕ ไปเร่อื ยๆ จนถงึ
คนสุดท้ายกใ็ ห้ไปเกดิ ใหม่ ปฎิจจมันเปน็ อยา่ งนั้น
อวิชชาความหลงคิดว่าความสุขอยู่ที่รูปเสียงกล่ินรส
กเ็ ลยสงั่ สงั ขารให้คดิ ปรงุ แต่งแตเ่ รือ่ งรปู เสียงกลิน่ รส พวกเรา
คิดถึงอะไร ส่วนใหญ่ก็อยากจะดูหนังฟังเพลง อยากจะ
เท่ียวโน่นเท่ียวน่ี พอคิดปั๊บสังขารก็ส่งให้ไปหาวิญญาณ
วญิ ญาณไปหารปู เสยี ง วญิ ญาณมนั กต็ อ้ งไปทตี่ าหจู มกู ลน้ิ กาย
ตาหจู มูกลน้ิ กายมันก็ต้องไปหารปู เสยี ง พอรปู เสียงสัมผัสกับ
ตาหูจมูกล้ินกาย มันก็เกิดความรู้สึกข้ึนมา ความสุขใจความ
ทกุ ขใ์ จขนึ้ มา พอเกดิ ความสขุ ความทกุ ขก์ เ็ กดิ ความอยากขน้ึ มา
อนั ไหนเป็นสุขกอ็ ยากได้ อนั ไหนเป็นทุกขก์ อ็ ยากทิ้งไป
พอมคี วามอยากขนึ้ มากม็ อี ปุ าทานยดึ มนั่ อนั ไหนเปน็ สขุ
ก็อยากให้มันอยู่กับเราไปนานๆ อันไหนเป็นทุกข์ก็อยาก
ให้มันหายไปเร็วๆ มันก็เลยท�ำให้เราต้องคอยว่ิงเต้นเปล่ียน
อยเู่ รอื่ ยๆ เปน็ ภวใหมอ่ ยเู่ รอื่ ยๆ ภว นอ้ี ยกู่ บั คนนไ้ี มด่ ี กเ็ ปลยี่ น
อีกคนหน่ึง น่ีเปล่ียนภวใหม่ พอเปลี่ยนภวไป พอร่างกาย
ตายไป มันเปล่ียนภวไม่ได้กต็ ้องไปเปลยี่ นร่างกายกอ่ น มนั ก็
ไปเกิดใหม่ นค่ี อื การท�ำงานของจิตใจของเรา มนั อย่ใู นใจแล้ว

คำ�ถาม - คำ�ตอบ 153

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เล่ม ๗

มันก็ส่ังออกมาทางตาหูจมูกล้ินกาย มาเกี่ยวข้องกับคนน้ัน
คนนี้ แล้วพอร่างกายตายไป มันก็ส่ังให้กลับมาหาร่างกาย
อันใหม่เพื่อจะได้กลับมาเก่ียวข้องแบบใหม่แบบน้ีอีก เราจึง
มกี ารเวยี นวา่ ยตายเกดิ แบบไมม่ วี นั สนิ้ สดุ เพราะอวชิ ชามนั ยงั
ใหเ้ ราหาความสขุ จากรปู เสยี งกลนิ่ รสอยเู่ รอื่ ยๆ การจะมคี วาม
สขุ จากรปู เสยี งกลน่ิ รสไดก้ ต็ อ้ งมตี าหจู มกู ลนิ้ กาย พอรา่ งกาย
น้ตี ายไป มนั กส็ ่งั ใหไ้ ปหาร่างกายอนั ใหม่ ไปเกิดใหม่

(ธรรมะบนเขา วันท่ี ๕ มี.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: คำ� วา่ จติ กบั ใจ แตกตา่ งกนั อยา่ งไรในทางปฏบิ ตั ิ
แลว้ เราจะหลดุ พน้ จากสง่ิ พนั ธนาการดว้ ยจติ หรอื
ด้วยใจ

ตอบ: เปน็ ตวั เดยี วกนั จติ ใจกค็ อื มโน คอื สว่ นทเี่ ปน็ ผรู้ ผู้ คู้ ดิ
เราก็เลยเรียกเป็นสองส่วน ผู้รู้เราก็เรียกว่าใจ ผู้คิดเราก็
เรียกวา่ จติ นั่นเอง แตเ่ ป็นตัวเดียวกัน เหมือนคนท่มี ีแขนซ้าย
แขนขวา เป็นคนๆ เดียวกันแต่เรามีช่ือของแขนต่างกันไป
แขนซา้ ยกบั แขนขวาใจกม็ สี องสว่ นสว่ นทค่ี ดิ กบั สว่ นทรี่ ู้สว่ นทร่ี ู้
เรากเ็ รยี กว่าใจ สว่ นท่คี ดิ เรากเ็ รียกวา่ จิต แตเ่ ปน็ ตวั เดียวกนั

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๓ มี.ค. ๒๕๖๒)

154 ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ

พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต

ถาม: ตา หู จมกู ลน้ิ กาย ใจ เวลาทเี่ ราโดนสงิ่ เรา้ เขา้ มา
พรอ้ มกนั เพราะมันสามารถจะพร้อมกันได้ เชน่
หูก็ฟัง ตาก็ดู ลนิ้ ก็ชิมอาหารที่อร่อย เวลาเกิด
เร่อื งกับเราหลายๆ แบบพรอ้ มกัน เราจะจัดการ
อะไรก่อนใหม้ ันออกไป เพราะอะไร

ตอบ: เราจัดการกิเลส เราไม่ไปจัดการกับรูปเสียงกล่ินรส
จดั การกบั ใจของเรา กเิ ลสของเราทไ่ี ปยงุ่ กบั มนั กเิ ลสตวั ไหน
ไปยงุ่ กบั ตรงไหนกต็ อ้ งตดั มนั ตรงนน้ั ไมไ่ ปตดั ทร่ี ปู เสยี งกลน่ิ
รส แต่ตัดท่ีกิเลสของเรา ถ้าไปอยากท่ีเสียงก็ไปตัดท่ีเสียง
ถ้าไปอยากท่ีรูปก็ไปตัดท่ีรูป ถ้ามันไปทั้ง ๕ ตัวก็ต้องตัด
มนั ทั้ง ๕ ตัว

ถาม: มันไม่มตี วั ไหนก่อนหลงั หรืออย่างไร

ตอบ: แล้วแต่มัน ตวั ท่มี นั สดๆ รอ้ นๆ น่ันแหละ การปฏิบตั ิ
เราไม่ได้มีเรียงล�ำดับว่าใครมาก่อนมาหลัง แล้วแต่ใคร
เขา้ มาก่อนก็ต้องเอามันก่อน

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๖๒)

คำ�ถาม - คำ�ตอบ 155

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เล่ม ๗

ถาม: จิตท่ีเข้าถึงความว่างในระดับอัปปนาสมาธิยังมี
เวทนาปรากฏอยู่หรือไม่

ตอบ: มี ๒ อยา่ ง ร่างกายหายไปไม่มเี วทนาเลย อกี อย่าง
แบบรา่ งกายยงั อยู่ เวทนายงั อยู่ แตจ่ ติ เปน็ อเุ บกขา ไมก่ งั วล
ไมว่ ุน่ วายไปกบั ความเจ็บของรา่ งกาย

ถาม: ถ้าคนตายในขณะที่จิตอยู่ในขั้นอัปปนาสมาธิ
จิตน้ันจะเข้าถึงความดับในอริยสจั ๔ หรอื ไม่

ตอบ: ไม่หรอก ก็เข้าในระดับของสังขารความคิดปรุงแต่ง
ก็จะอยู่ในระดับของฌาน อยู่ในระดับของพรหมโลกไป
เพราะว่ากเิ ลสยงั ไม่ได้รับการก�ำจดั จากสมาธิ จากฌาน กิเลส
ต้องออกมาจากสมาธิแล้วใช้ปัญญาวิเคราะห์ถึงจะหลุดออก
จากใจได้

(ธรรมะบนเขา วนั ท่ี ๕ ก.พ. ๒๕๖๒)

ถาม: การเดนิ ปญั ญาคอื การนำ� สงิ่ ทเี่ กดิ ขนึ้ มาพจิ ารณา
ตามหลกั คำ� สอนทางพระพทุ ธศาสนา โดยเฉพาะ
ความคิดและการกระท�ำของตนเอง ถูกต้อง
หรอื ไม่

156 ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ

พระอาจารย์สชุ าติ อภชิ าโต

ตอบ: ก็มีหลายอย่าง ปัญญาน้ีมันครอบท้ังการกระท�ำ
ท้ังความคิด ทั้งเหตุการณ์ ท้ังส่ิงที่เราไปประสบรับรู้ทุกส่ิง
ทุกอย่างนี้ ถ้ามองเห็นความเป็นจริงของมันก็เรียกว่า
“ปัญญา” ความเป็นจริงของทุกส่ิงทุกอย่างที่เรามาสัมผัส
รบั รกู้ ค็ อื “ไตรลกั ษณ”์ นเ้ี อง ทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งทเี่ ราสมั ผสั รบั รนู้ ี้
เปน็ อนจิ จงั ทกุ ขงั อนตั ตา ทงั้ นน้ั ถา้ เหน็ วา่ เปน็ อนจิ จงั ทกุ ขงั
อนัตตา เราก็จะได้หยุดความอยากที่จะไปยุ่งไปมีอะไรกับ
ส่ิงต่างๆ ได้ เราก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์จากส่ิงเหล่านั้น
ทุกวันนี้ที่เราทุกข์ เพราะทุกข์กับส่ิงนั้นสิ่งนี้ที่เราไปอยากได้
มาน่ันเอง พอได้มาแล้วก็ต้องมาทุกข์ ได้แฟนมาก็ต้องทุกข์
กับแฟน ได้ลูกมาก็ต้องทุกข์กับลูก ได้เงินทองมาก็ต้องทุกข์
กับเงนิ ทอง

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๑๓ ก.พ. ๒๕๖๒)

ถาม: นงั่ สมาธอิ าการไหนทบี่ ง่ บอกวา่ เราเขา้ สสู่ มาธแิ ลว้

ตอบ: มนั รเู้ องแหละอันน้ี สนั ทฏิ ฐโิ ก สบิ ปากวา่ ไม่เท่าหนง่ึ
ตาเหน็ ขอใหม้ สี ตอิ ยกู่ บั อารมณเ์ ดยี วเทา่ นนั้ อยา่ ไปคดิ อะไร
อยู่กับลมไปอย่างเดียวหรืออยู่กับพุทโธไปอย่างเดียว อย่าไป
คาดคะเนว่ามนั สงบแล้วจะเป็นอยา่ งไร อนั นี้ของอยา่ งน้คี าด

คำ�ถาม - ค�ำ ตอบ 157

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เลม่ ๗

ไมไ่ ด้ มนั ตอ้ งเปน็ ของเซอรไ์ พรส์ใชไ่ หม เปน็ ของแบบมาโดย
ไมร่ ู้สกึ ตัว ถา้ ไปจอ่ ไปรอมันไม่มา อยา่ ไปสนใจใหอ้ ยกู่ ับพทุ โธ
พุทโธไป อยู่กับลมหายใจไป แล้วเด๋ียวพอมันถึงมันร้อง อ๋อ
เป็นอย่างนี้เอง ฉะน้ันไม่อยากอธิบาย พอไปอธิบายปั๊บมัน
จะไปคาดคะเนทันที มันจะไปปรุงแต่งขึ้นมาทันที แทนท่ีจะ
อยกู่ บั พทุ โธอยู่กบั ลม มันก็ไปน่งั เม่ือไหร่จะเปน็ อยา่ งนส้ี ักที
เม่ือไหร่จะตกเหวตกหลมุ ตกบอ่ สักที อยา่ งนีไ้ ม่มีวันตกหรอก
ต้องอยู่กับลมอย่างเดียว อยู่กับพุทโธอย่างเดียว แล้วเดี๋ยวก็
จะเปน็ ไปของมนั เอง

(ธรรมะบนเขา วนั ท่ี ๒๒ ม.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: การทผ่ี ัสสะก่อให้เกิดเวทนา เราต้องปดิ ผสั สะ ๖
ทั้ งหมดหรือไม่ การหลับตาดูลมตลอดเวลา
ไม่เดินจงกรม ถือเปน็ การปฏิบตั ิธรรมทถี่ ูกตอ้ ง
หรอื ไม่

ตอบ: การทเี่ ราจะไมส่ มั ผสั กบั เวทนานี้ กม็ สี องเวลาเทา่ นน้ั
เวลาตาย ตายแลว้ ไม่สมั ผัสกบั เวทนา สอง เวลาหลับ เวลา
หลับก็จะไม่สัมผัสกับเวทนา แต่เวลาตื่นน้ีต้องสัมผัสกับ
เวทนาทางร่างกาย แต่ต้องรู้ว่าเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ อันนี้

158 คำ�ถาม - ค�ำ ตอบ

พระอาจารยส์ ุชาติ อภชิ าโต

เราสามารถท่ีจะไม่เดือดร้อนกับการสัมผัสได้ ถ้าเรามีสติ
มีปัญญา เพราะว่าเวทนาเองน้ันไมไ่ ดเ้ ปน็ ปัญหา ปญั หาอยู่ท่ี
กเิ ลสในใจเราทไี่ ปชอบหรอื ไมช่ อบเวทนา พอเกดิ ชอบไมช่ อบ
ก็เกิดตัณหาความอยาก พอเกิดตัณหาความอยากก็จะเกิด
ความทุกข์ใจขึ้นมา ถ้าเรามีสติมีปัญญาเราก็จะระงับกิเลส
ตัณหาได้ เราก็จะสัมผัสกับเวทนาแบบไม่รู้สึกเดือดร้อนได้
น้คี ือเรื่องของเวทนา เราหา้ มมันไมไ่ ด้ ถ้าตราบใดเรามขี ันธ์ ๕
มนั จะต้องเจอเวทนา

ส่วนของเรื่องการปฏิบัติ น่ังสมาธิหลับตา อันน้ีก็เพื่อ
ท�ำใจให้สงบ เพ่ือจะได้มีก�ำลังท่ีจะเผชิญกับเวทนาต่างๆ ได้
ถ้าใจสงบ ใจจะเปน็ อุเบกขา ใจจะไม่วุ่นวายไปกับความเจ็บ
ของทางร่างกาย

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: ตอนน้ีโยมเขา้ ใจวา่ ไมม่ เี ราอยู่ในขันธ์ ๕ รปู นาม
แต่ไม่แน่ใจว่ามีเราผู้รู้ อยู่นอกขันธ์ ๕ หรือใน
โลกทพิ ย์ หรอื ท่ีไหนหรือไม่

คำ�ถาม - คำ�ตอบ 159

ธรรมะสดๆ รอ้ นๆ เล่ม ๗

ตอบ: นี่ก็ยังไม่ได้แยกตัวผู้รู้ออกจากขันธ์ ๕ ถ้าแยกได้แล้ว
ก็จะรู้ว่า ตัวผู้รู้น้ีไม่ได้อยู่ในร่างกาย ต้องแยกด้วยสมาธิ
แยกด้วยปัญญา อันน้ีปัญญาที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นปัญญา
ระดบั ตน้ คอื ระดบั สตุ ตมยปญั ญากบั จนิ ตามยปญั ญา เปน็ เพยี ง
ความคิดอยู่ ต้องแยกจริงๆ วิธีแยกจริงๆ ก็ต้องทิ้งร่างกาย
อะไรมันจะเกิดข้ึนกับร่างกายก็ทิ้งมันได้ เช่น ต้องไปหาเสือ
หาผี แล้วเวลาเสือผีมาก็บังคับท้ิงร่างกายให้มันอยู่ของมัน
สว่ นใจกเ็ ข้าสมาธิไป แยกกันออกอยา่ งนี้ ถา้ ท�ำอย่างน้ไี ดก้ ็จะ
รูว้ า่ ร่างกายกับใจน้เี ปน็ คนละคนกัน รา่ งกายอยู่ในโลกธาตุ
สว่ นใจนีอ้ ยู่ในโลกทพิ ย์

(ธรรมะบนเขา วนั ท่ี ๑ ก.พ. ๒๕๖๒)

ถาม: ตอ้ งทำ� อยา่ งไรถงึ จะปลอ่ ยวางได้ในระยะยาว

ตอบ: กอ็ ยา่ ไปจบั มนั สิเหน็ อะไรกอ็ ยา่ ไปจบั มนั ปลอ่ ยวางมนั
เห็นเงินก็อย่าไปจับมัน เห็นแฟนก็อย่าไปจับ เห็นอะไรก็
อย่าไปจับมัน มันก็ปล่อยวางได้ระยะยาว ถ้าไปจับมันก็
ไม่ปล่อย

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๖ ม.ี ค. ๒๕๖๒)

160 ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

ถาม: อยากทราบว่าการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานใน
ชวี ติ ประจำ� วนั ท�ำอย่างไร และใชอ้ ะไรเปน็ เครอื่ ง
อยู่ของใจ

ตอบ: ก็ดวู า่ ทุกอยา่ งไม่เที่ยง งานการนก้ี ไ็ ม่เทยี่ ง จะตกงาน
เม่ือไหร่ก็ได้ จะเล่ือนต�ำแหน่งขึ้นก็ได้ จะถูกเขาไล่ออกก็ได้
ให้คิดอย่างนี้ เมียอาจจะเลิกกันก็ได้ ลูกอาจจะตายจากเรา
กไ็ ด้ เราอาจจะเจบ็ ไขไ้ ดป้ ว่ ยเปน็ อมั พฤกษอ์ มั พาตกไ็ ด้ อยา่ งนี้
อนิจจัง ไตรลักษณ์ พิจารณาไว้ว่าไม่มีอะไรเท่ียงแท้แน่นอน
เตรียมตัวเตรียมใจรับกับเหตุการณ์ไว้ ถ้าเตรียมรับกับ
เหตกุ ารณไ์ ด้ เวลาเกดิ เหตกุ ารณก์ จ็ ะไมท่ ุกข์

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ มี.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: ศาสนาพุทธสอนหลักของความเปน็ เหตุผล แลว้
แตกต่างกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

ตอบ: ก็ไม่ต่างกัน ต่างตรงที่ว่าวิทยาศาสตร์เก่ียวกับเรื่อง
ทางวัตถุ แต่ศาสนานี้เกี่ยวกับทางด้านจิตใจ วิทยาศาสตร์
นเ้ี กย่ี วกบั รปู ธรรมตา่ งๆ ท่ีเหน็ ได้ด้วยตา สมั ผสั ดว้ ยตาหูจมกู
ลิ้นกายน้ีจะเปน็ วิทยาศาสตร์ แตเ่ รื่องของสัมผัสดว้ ยใจนเี้ ปน็
เร่ืองของศาสนา

(ธรรมะบนเขา วันท่ี ๑๕ ก.พ. ๒๕๖๒)

ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ 161

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เลม่ ๗

ถาม: ผมเปน็ นสิ ติ ศาสนาปรชั ญาจากม. บรู พา ไดเ้ รยี น
ปรชั ญาแลว้ กส็ งสยั เกยี่ วกบั ความรทู้ างพระพทุ ธ-
ศาสนา ระหว่างความรู้ที่ได้จากเหตุผลหรือทาง
ความคดิ กบั ความรทู้ ี่ไดจ้ ากประสบการณ์ ในทาง
พุทธศาสนาแล้ว ความรู้ไหนที่เป็นความรู้ที่เป็น
ความรู้จริง และสามารถเชื่อว่าน่ันคือความรู ้
แท้ได้

ตอบ: ก็ต้องประสบการณ์น่ันแหละ เพราะว่าทฤษฎีมัน
ยังเป็นเพียงแต่การนึกคิด ยังไม่ได้เจอของจริง ต้องไปเจอ
ของจริงถึงจะรู้อย่างแน่ใจว่าเป็นของแท้ เช่นการท่ีจะมาที่นี่
กับการอ่านหนังสือเกี่ยวกับท่ีนี่มันไม่เหมือนกัน เวลาอ่าน
หนังสือเรายังไม่มั่นใจว่าท่ีหนังสือเขาเขียนนี้มันเป็นอย่างไร
เพราะเราต้องใช้มโนภาพคิดไป แต่พอเรามาถึงท่ีนี่แล้วเราก็
ไม่ต้องใชม้ โนภาพ ถา้ เราอ่านเราอาจจะใช้มโนภาพทเี่ ราตั้งไว้
กับภาพทเ่ี ราเห็น ของจริงอาจจะไม่ตรงกนั ดังนั้น กต็ อ้ งเกดิ
จากการปฏบิ ัติ เกิดจากการสมั ผสั

ถาม: แล้วถ้าเราไม่มีความรู้ในเบื้องต้นมาก่อน อย่าง
เหมือนกับท่ีพ่อแม่ครูบาอาจารย์บอกว่า ในการ
อา่ นหนงั สอื หรอื ในการลงมอื ทำ� มนั อาจจะตา่ งกนั

162 คำ�ถาม - ค�ำ ตอบ

พระอาจารยส์ ุชาติ อภชิ าโต

แตถ่ า้ เราไมร่ อู้ ะไรเลย แลว้ อยดู่ ๆี เรามาลงมอื ทำ�
เลย สิ่งทท่ี ำ� มนั จะดจี ริงหรอื ไม่

ตอบ: ก็ต้องเรียนรู้ก่อนว่าวิธีท�ำต้องท�ำอย่างไร เหมือน
การอ่านเกีย่ วกับอาหารกบั การรบั ประทานอาหารน้ี เราอา่ น
เกี่ยวกับอาหารชนิดน้ันชนิดนี้ว่าอร่อยอย่างน้ันอร่อย
อยา่ งน้ี แตถ่ า้ เรายงั ไม่ไดก้ นิ เราก็ยงั จะไม่รู้ ถ้าเราอยากจะกนิ
เราก็ตอ้ งเรยี นรู้วา่ วิธจี ะกินอาหารนี้ไปทไ่ี หน เชน่ ไปรา้ นโนน้
รา้ นนี้ ต้งั อยู่ทไ่ี หน เรากไ็ ปตามที่เขาบอก เขาบอกว่าอาหาร
ท่ีเราต้องการจะชิมนีอ้ ยูร่ า้ นนี้ เรากเ็ ดินทางไปทีร่ ้านนี้ พอถึง
รา้ นนเี้ รากส็ ง่ั อาหารทเ่ี ราตอ้ งการชมิ มาชมิ ดู อนั นกี้ เ็ หมอื นกนั
การเรียนการฟังน่ีก็เป็นการให้รู้ว่าการท่ีเราจะชิมอาหาร
ธรรมะนช่ี มิ ที่ไหนอยา่ งไร พอเราร้เู รากท็ �ำตาม

ถาม: แปลวา่ เรากต็ อ้ งรเู้ บอื้ งตน้ กอ่ นทจ่ี ะลงมอื ทำ� หรอื
ลงมือปฏิบัต…ิ

ตอบ: แนน่ อน ถ้าไมร่ จู้ ะไปท�ำถูกได้ยงั ไง ถ้าไม่รูว้ ่ารา้ นขาย
อาหารท่ีเราต้องการจะไปอยู่ที่ไหน เราจะไปถูกที่ได้ยังไง
ก็ต้องฟังธรรมก่อน ศึกษาธรรมะก่อน ทางธรรมก็มีแบ่งไว้
๓ ขั้น ขัน้ แรกใหศ้ ึกษา ขัน้ ที่สองให้เอาสิ่งท่ีได้ศึกษาไปปฏิบัติ

ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ 163

ธรรมะสดๆ รอ้ นๆ เล่ม ๗

ศึกษาใหเ้ หมือนดแู ผนที่ ดวู ่าร้านท่ีเราต้องการไปอยู่ตรงไหน
พอรู้ว่าร้านอยู่ตรงทิศน้ันทิศน้ี เราก็ออกเดินทางไปเรียกว่า
ปฏิบตั ิ พอเดินทางไปเดย๋ี วก็ถึงสถานท่ที ่ีเราตอ้ งการจะไป

ถาม: แลว้ ถา้ พดู อยา่ งนม้ี นั กจ็ ะคลา้ ยๆ กบั พทุ ธศาสนา
คอื ปรยิ ตั ิ ปฏบิ ตั ิ ปฏเิ วธ แตล่ ะคนมนั มี ไมเ่ ทา่ กนั
อย่างน้ี แล้วเราจะสามารถมีกฎเกณฑ์หรืออะไร
ที่ตายตัวที่สามารถวัดได้หรือไม่ว่า ศึกษาปริยัติ
เท่าไหร่ถึงจะพร้อมปฏิบัติ ศึกษาเท่าไหร่ อะไร
ทำ� นองน้ี

ตอบ: รู้เท่าไหร่ก็ปฏิบัติเท่าน้ัน แล้วก็พอจะรู้มากกว่าน้ีก็
ศกึ ษาเพมิ่ ไปเรอ่ื ยๆ ไมต่ อ้ งศกึ ษาใหม้ นั จบกอ่ นแลว้ คอ่ ยปฏบิ ตั ิ
ดูทีละข้นั ไป จากนจ้ี ะไปชลบุรกี อ่ น พอถงึ ชลบรุ แี ลว้ ค่อยเปดิ
ดแู ผนทจี่ ะไปกรงุ เทพฯ ตอ่ ไมต่ อ้ งไปดตู งั้ แตน่ ไ้ี ปถงึ กรงุ เทพฯ
เลย เอามันไปทีละข้ันทีละข้ัน เพราะรู้หมดแล้วบางทีมันลืม
ถ้าศึกษาแล้วบางทีไม่ปฏิบัติแล้วลืม เลยปฏิบัติไม่ถูก ดังน้ัน
ศกึ ษาควบคไู่ ปกบั การปฏบิ ตั เิ ลย นค่ี อื ทางศาสนา การศกึ ษา
กับการปฏิบัตินี้จะไปควบคู่กัน แต่สมัยน้ีเขามาแยกออกเป็น
ปรยิ ัติกับปฏิบตั ิมันก็เลยหลงทางกัน เรียน ๑๒ ปี แตไ่ ม่เคย
ปฏบิ ตั เิ ลย พอจบแลว้ กเ็ ลยไมอ่ ยากจะปฏบิ ตั แิ ลว้ ตอ้ งไปแบบ

164 ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ

พระอาจารย์สชุ าติ อภชิ าโต

พระป่า พระป่านี้บวชปั๊บก็ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ ครูบา
อาจารยก์ ็ใหน้ ่งั สมาธิเลย ก็ฝกึ น่งั ไปเลย

(ธรรมะบนเขา วนั ท่ี ๒๒ ก.พ. ๒๕๖๒)

ถาม: การอธษิ ฐานให้ไดท้ ำ� เหตใุ ห้ไดบ้ รรลมุ รรคผล คอื
การตั้ งใจหม่ันท�ำทาน ศีล สมาธิ เจริญปัญญา
ใชห่ รอื ไม่

ตอบ: ถกู ตอ้ ง อธษิ ฐานน้ี ใหอ้ ธษิ ฐานทเี่ หตุ อยา่ ไปอธษิ ฐาน
ท่ีผล อย่าไปขอนิพพาน ขอสวรรค์ เพราะว่าสวรรค์หรือ
นิพพานเกิดจากเหตุ ให้เราต้ังแล้วไปอธิษฐานที่เหตุว่าจะขอ
สรา้ งเหตใุ ห้เกิดสวรรคข์ ึ้น เกิดนิพพานขึน้ มา อยากไดส้ วรรค์
ก็ให้ท�ำบุญ รักษาศีล ๕ อยากได้นิพพานก็ให้ไปบวชอย่างน้ี
ใหต้ ง้ั อยทู่ เี่ หตุ แลว้ ไปท�ำตามทีเ่ ราตัง้

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๓ ม.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: ถ้าเราอธิษฐานขอให้มีสัมมาทิฏฐิทุกภพทุกชาติ
ต้องทำ� เหตอุ ย่างไร

ตอบ: ขอไมไ่ ด้ ถา้ อยากมสี มั มาทฏิ ฐกิ ต็ อ้ งฟงั เทศนฟ์ งั ธรรม
อยู่เร่ือยๆ ๑ ใน ๕ อานิสงส์ของการฟังธรรมก็คือจะเกิด

คำ�ถาม - คำ�ตอบ 165

ธรรมะสดๆ รอ้ นๆ เลม่ ๗

สัมมาทิฏฐิข้ึนมา เกิดความเห็นที่ถูกต้อง ถ้าอยากได้ความ
เห็นที่ถูกต้อง ก็ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะขอฟังเทศน์ฟังธรรม
ทุกวัน อย่างน้ีจะได้บังคับให้เราฟังเทศน์ฟังธรรมทุกวัน
แต่อย่าไปขอให้เกิดสัมมาทิฏฐิโดยไม่ได้ไปฟังเทศน์ฟังธรรม
มันท�ำยงั ไงกไ็ มม่ วี ันทจ่ี ะไดส้ มั มาทฏิ ฐิ

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๓ ม.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: ขอพระอาจารยอ์ ธบิ ายพรหมวหิ าร ๔ คอื เมตตา
กรุณา มุทิตา อุเบกขาทถ่ี ูกต้อง

ตอบ: คอื พรหมวิหาร ๔ นก้ี เ็ ป็นธรรมท่เี ราใช้ในเวลาท่เี ราอยู่
ในเหตุการณต์ ่างๆ แต่ละเหตุการณน์ ี้ มนั อาจจะตอ้ งใชธ้ รรม
เหล่านี้ตา่ งกันไป ไมไ่ ด้ใช้พรอ้ มกนั แลว้ แต่เหตุการณ์ เหมอื น
ขับรถยนต์ เขามีเกียร์หลายเกียร์ใช่ไหม มีเกียร์เดินหน้า
มเี กยี รถ์ อยหลงั มเี กยี รต์ ำ�่ เกยี รส์ งู เพราะวา่ รถนอี้ าจจะไปอยใู่ น
สถานการณท์ จี่ �ำเปน็ ตอ้ งใชเ้ กยี รต์ า่ งๆ เหลา่ นี้ พรหมวหิ าร ๔
ก็เป็นเหมือนเกียร์ของจิตใจ ความเมตตาก็คือให้เรา เวลา
พบปะกนั ใหม้ คี วามเปน็ มติ รไมตรกี นั แสดงไมตรจี ติ ดว้ ยการ
ทกั ทาย ดว้ ยการถามสารทุกขส์ ุขดิบ หรอื ดว้ ยการแบง่ ปัน
เรามีอะไรท่ีเราอยากจะให้คนอ่ืนเขามีความสุข เราก็เอามา

166 คำ�ถาม - คำ�ตอบ

พระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต

แบ่งปนั กับเขา วันเกดิ เราอาจจะซ้ือของแจกให้เพอื่ นฝูง อะไร
อยา่ งนี้ กเ็ รียกว่าเมตตา
เวลาเราไปเจอเหตุการณ์ท่ีต้องการความช่วยเหลือ
คนตกทุกข์ได้ยากเดือดร้อน ไฟไหม้บ้าน น�้ำท่วม หรืออะไร
ก็ตามท่ีเขาไม่สามารถช่วยตัวเขาเองได้ เราก็ให้ความกรุณา
กรุณา คือความสงสาร สงสารในความทุกข์ยากล�ำบากของ
ผอู้ ่ืน ชว่ ยบรรเทาความทกุ ขย์ าก น่ีเรยี กว่าสงสาร เรยี กวา่
กรณุ า
ขอ้ ท่ี ๓ มทุ ติ า คอื ให้เราแสดงความยินดใี นความสขุ
ความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น เช่น เพ่ือนฝูงได้ต�ำแหน่ง
ถงึ แมจ้ ะเปน็ ต�ำแหนง่ ทเ่ี ราอยากได้ แตเ่ ขาไดก้ อ่ นเรา เรากอ็ ยา่
ไปโกรธเขา อย่าไปอิจฉารษิ ยาเขา เพราะมนั ไมด่ ี มนั ท�ำให้
ใจเราแคบ ท�ำใหใ้ จเราทกุ ข์ ท�ำใหใ้ จเราไมส่ บาย แลว้ อาจจะ
ท�ำให้เราไปคิดร้ายต่อเขาได้ แต่ถ้าเรารว่ มแสดงความยินดีใน
ความสขุ ความเจรญิ ของเขา เรากจ็ ะไมไ่ ปคดิ รา้ ย เรากจ็ ะไมไ่ ป
ท�ำให้จิตใจเราเศร้าหมอง ดังน้ัน เราต้องแสดงความยินดีต่อ
ความสขุ ความเจรญิ ของผอู้ น่ื ไมว่ า่ ใครกต็ าม แมก้ ระทงั่ ศตั รเู รา
เชน่ เวลาเลน่ กฬี านี้ ทมี ทเ่ี ราสนู้ ก่ี ถ็ อื วา่ เปน็ ศตั รขู องเราใชไ่ หม

ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ 167

ธรรมะสดๆ รอ้ นๆ เลม่ ๗

คู่ต่อสู้ของเรา เมื่อเล่นจบแล้วเขาชนะ ก็ต้องไปแสดงความ
ยินดี บอกว่านี่เป็นเพยี งกีฬา ชวี ติ นกี่ เ็ ปน็ เหมอื นกีฬา แข่งขนั
กันไปเท่านั้นเอง ใครชนะก็แสดงความยินดีดีกว่า เพราะเรา
ก็จะมีความสขุ ไปกับเขา ใช่ไหม ท�ำไมเราแสดงความยินดกี ับ
คนทเ่ี รารกั ได้ ลกู เราพอเรยี นจบไดร้ างวลั ท่ี ๑ ท�ำไมเรายนิ ดไี ด้
แต่ถ้าเป็นลูกของคนอ่ืน ท�ำไมเรายินดีไม่ได้ เพราะเรายังไป
เลือกที่รักมักที่ชังอยู่ แล้วใครทุกข์ล่ะ คนท่ีไม่ยินดีใช่ไหม
คนท่ียนิ ดสี ขุ ไหม ดงั นน้ั สขุ เราควรจะยนิ ดมี ากกวา่ ไม่ยินดี
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามท่ีได้รางวัล ได้ชัยชนะ ทีมชาติ
แพเ้ ขา เราก็ตอ้ งยินดกี บั เขา แล้วเรากจ็ ะมีความสุขกบั เขาไป
เป็นกีฬาเท่านั้นเอง เป็นวิธีฝึกจิตเข้าใจไหม การเล่นกีฬานี้
เดิมทีเขามีเป้าหมายอยู่ที่การฝึกจิต ให้รู้จักแพ้รู้จักชนะ
แต่สมัยน้ีมันลืมกันไปหมดแล้ว มันจะเอาแต่ชนะอย่างเดียว
แล้วมันก็เลยต้องคิดวิธีชนะหลายแบบด้วยการโกงกัน
เหน็ ไหม โด๊ปยากนั อะไรกัน บ้ากนั ไปหมดเลย นห่ี ลงผดิ แลว้
ไม่รู้ว่าการกีฬานี้เป็นการฝึกจิต ให้เรารู้จักแสดงมุทิตา
นก่ี ลบั ไปไมย่ อมแพก้ นั จะเอาแตช่ นะกนั อยา่ งเดยี ว กเ็ ลยตอ้ ง
เล่นผิดกฎกติกากัน ใช่ไหม แล้วพอเขามารู้ทีหลังเป็นยังไง
ก็ถูกปลดหมดอยู่ดี ฉะน้ันเราต้องอย่าไปเอาแพ้เอาชนะกัน

168 คำ�ถาม - คำ�ตอบ

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภชิ าโต

แบบไม่มีเหตุไม่มีผล เอาแพ้ชนะตามกฎกติกา เล่นตาม
ความสามารถของเรา แพช้ นะไมส่ �ำคญั ส�ำคญั อยทู่ ว่ี า่ เราชนะ
กิเลสเราหรือเปล่า เวลาเราแพ้เราแพ้อย่างมีความสุข
หรือเปล่า ยินดีกับชัยชนะของผู้อ่ืนหรือเปล่า นี่ต่างหากคือ
เร่อื งของมุทติ าจิต

ข้อท่ี ๔ คือ อุเบกขา อุเบกขากเ็ ป็นเหมือนรถเขา้ เกียร์
วา่ ง เดนิ ไปขา้ งหนา้ กไ็ มไ่ ด้ ถอยหลงั กไ็ มไ่ ด้ กต็ อ้ งจอดอยเู่ ฉยๆ
ถา้ เราไปอยใู่ นเหตกุ ารณท์ เ่ี ราท�ำอะไรไมไ่ ด้ จะชว่ ยเขากไ็ มม่ ี
ปัญญาเพราะไม่มีก�ำลังจะช่วยหรือสุดวิสัย เช่น เขาเป็น
โรคภัยไข้เจ็บแล้วรักษาไม่หายอย่างนี้ แต่อยากให้เขาหาย
กจ็ ะท�ำใหเ้ ราทกุ ข์ เรากต็ อ้ งยอมรบั ความจรงิ เรากต็ อ้ งท�ำใจ
เปน็ อุเบกขา คือเฉยๆ ปลอ่ ยวาง คิดวา่ เปน็ เรือ่ งของกรรม
ของสัตว์ไป ใครท�ำกรรมอันใดไว้ ดีหรือช่ัว จะต้องเป็น
ผู้รับผลของกรรมนั้น ใครเกิดมาแล้วเด๋ียวก็ต้องแก่ต้องเจ็บ
ต้องตาย ล่วงพ้นความแก่ความเจ็บความตายไปไม่ได้ ให้คิด
อย่างนี้ แล้วใจเราจะได้ไม่ทุกข์กับเหตุการณ์ท่ีเราไม่สามารถ
ทีจ่ ะไปแก้ไขหรือเปลีย่ นแปลงได้ นี่คอื พรหมวิหาร ๔ ตอ้ งใช้
ให้ถกู เวลาทีค่ วรเมตตาไปอเุ บกขากไ็ มไ่ ด้ เวลาไปงานวันเกิด
ไมเ่ อาขา้ วเอาของไปใหเ้ ขาเลย ไปแสดงอเุ บกขากไ็ มไ่ ด้ ไปกนิ

ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ 169

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เลม่ ๗

อย่างเดยี ว ถงึ เวลาตอ้ งเมตตาก็ตอ้ งเมตตา ถงึ เวลาอุเบกขาก็
ตอ้ งอุเบกขา ให้มนั ถกู เวลา เหมอื นขับรถแหละ เขา้ เกียร์ผดิ
เดย๋ี วกช็ นกันแหลก ถงึ เวลาตอ้ งเดินหน้ากลบั ไปเขา้ เกยี ร์ถอย
หลัง รถที่ตามมาข้างหลังกช็ นทา้ ยเรา

(ธรรมะบนเขา วันที่ ๓๑ ม.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: หนูมีความปรารถนาจะประสบความส�ำเร็จใน
หนา้ ทกี่ ารงาน แลว้ กอ็ ยากจะเจรญิ ทางธรรมดว้ ย
จงึ อยากเรยี นถามวา่ จรงิ ๆ แลว้ คนเราจะสามารถ
เจรญิ ทั้งทางโลกและทางธรรมไปพรอ้ มๆ กนั ได้
หรอื ไม่

ตอบ: ก็ในระดับหน่ึงก็ได้ แต่อีกระดับหนึ่งมันก็ไม่ได้
ถา้ ในระดบั ทเ่ี ราปฏบิ ตั แิ คร่ ะดบั ศลี ๕ ท�ำทานนเี้ รากส็ ามารถ
ท่ีจะเจริญทางโลกได้ เพราะมันไม่ขัดกัน สนับสนุนกัน
การรกั ษาศลี ๕ มนั ท�ำใหเ้ ราปลอดภยั จากปญั หาตา่ งๆ จาก
การกระท�ำที่เกดิ โทษ ถ้าเราไม่รักษาศีล ๕ เราก็อาจจะท�ำผดิ
กฎหมายผิดอะไร ก็อาจจะต้องมีเร่ืองมีราวได้ ฉะนั้น ถ้าเรา
อยู่ปฏิบัตแิ คร่ ะดับศลี ๕ แล้วกร็ ะดับท�ำทานอย่างนี้ เราก็ยัง
สามารถทจ่ี ะมเี วลาไปหาเงนิ หาทอง ไปท�ำธรุ กจิ อะไรตา่ งๆ ได้

170 ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ

พระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต

แตถ่ า้ เราตอ้ งการทจ่ี ะขน้ึ ไประดบั ภาวนา คอื ท�ำใจใหส้ งบน้ี
ถา้ ท�ำเล็กๆ นอ้ ยๆ ก็ยงั ไปดว้ ยกันได้ เช่น ท�ำตอนกอ่ นนอน
ท�ำหลงั จากตอนเชา้ ตน่ื นอนกอ่ นไปท�ำงานอะไรอยา่ งนี้ กย็ งั พอ
ท�ำไดแ้ ตม่ นั จะไดน้ อ้ ย แตพ่ อเรานงั่ แลว้ สงบ เรารวู้ า่ ความสขุ
ทไ่ี ดจ้ ากความสงบมนั ดีกวา่ เงินท่ีเราจะไดจ้ ากการท�ำธุรกจิ
เรากต็ อ้ งเลือกทางแล้วว่าเราจะเอาอยา่ งไหน เพราะถา้ เรา
ต้องการความสุขจากความสงบเราก็ต้องท�ำให้มากข้ึน
แล้วเราก็จะได้ความสุขท่ีดีกว่ามากขึ้นไปตามล�ำดับ ตอนน้ัน
มันก็จะเร่มิ แยกทางกนั ไป แต่ตอนเรมิ่ ต้นนมี้ นั ไปด้วยกนั ได้

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๖ มี.ค. ๒๕๖๒)

ถาม: ท่ีพระอาจารย์เคยเทศน์ว่า มีใครมาท�ำร้ายให้
หลกี หนหี า่ ง ไมต่ อบโตเ้ พราะจะไปสรา้ งกรรมตอ่
แต่ถ้ายังตามมาท�ำร้ายอีกไม่หยุด จนได้รับผล
เสยี หาย อยา่ งนผ้ี ถู้ กู กระทำ� อาจเจบ็ ทั้งกายและใจ
แลว้ อยา่ งนจี้ ะแก้ไขอยา่ งไร

ตอบ: เจ็บทางกาย แต่เจ็บทางใจนี้แก้ได้ ถ้ายอมให้เขาท�ำ
มนั กจ็ ะไมเ่ จ็บทางใจ ถา้ เราคดิ วา่ เป็นการใชห้ น้ี เป็นกรรม
เก่าทเี่ ราไปท�ำเอาไว้ แล้วกรรมมันตอบสนองมา ก็ยอมรบั

ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ 171

ธรรมะสดๆ ร้อนๆ เลม่ ๗

กรรมไป มนั ก็จะเจบ็ ทางกาย แตท่ างใจจะไม่เจ็บ เพราะมนั ดี
ใจวา่ กรรมจะไดห้ มดเสยี ที กลบั โลง่ อกเสยี อกี พอยอมรบั โทษ
แลว้ มนั โลง่ อก ใครลองท�ำอะไรผดิ แลว้ พอยอมรบั ผดิ ดซู ิ ใจเบา
ข้ึนมาเลย ยอมตดิ คุกก็ยอม ยอมโดนดา่ ก็ยอม พอยอมปบ๊ั น่ี
มันกเ็ ยน็ เลย ยอม หยดุ เย็น นะ ฉะน้นั เรอื่ งของใจนี้เราต้อง
ยอมรบั กรรมของเรา ผลกรรมของเรา จะท�ำกรรมอันใดไว้
ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมน้ัน ถ้าพยายามหนี
มันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ อย่างพระโมคคัลลานะนี่ท่านเป็นถึงพระ
อรหันต์ มีคุณวิเศษมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สามารถเหาะเหิน
เดินอากาศได้ ทา่ นบอกวา่ ถึงแมจ้ ะใช้ส่งิ เหล่านม้ี าชว่ ยใหห้ นี
กรรม มนั กห็ นีไม่พน้ หนไี ด้วันน้ี พรุ่งนีม้ นั ก็ตามเราใหม่ ทา่ น
กเ็ ลยยอมตาย ทา่ นก็เลยถูกเขาฆา่ ตายเลย ตามประวัติ แตใ่ จ
ท่านไม่หว่ันไหวแล้วเพราะใจท่านหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้ง
ปวงแล้ว แตร่ า่ งกายนม้ี นั ยงั ตอ้ งใช้กรรมของมันอยู่ ถา้ มันยงั
มชี ีวิตอยู่ พระพุทธเจา้ กต็ อ้ งใช้กรรม มีเทวทตั มาพยายามฆา่
ถึง ๓ คร้งั แตพ่ ระพทุ ธเจ้าก็ไม่ตอบโต้ หลบได้ก็หลบ หลกี ได้
กห็ ลีก หลบไมไ่ ด้หลีกไมไ่ ด้กเ็ ผชิญกบั มนั ไป

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๑๗ ม.ค.๒๕๖๒)

172 คำ�ถาม - คำ�ตอบ

พระอาจารยส์ ุชาติ อภิชาโต

ถาม: ในชาตปิ จั จบุ นั ของมนษุ ย์ กรรมในอดตี และกรรม
ในปัจจุบนั กรรมอย่างใดจะมาถึงก่อน

ตอบ: กรรมนี้แปลว่าการกระท�ำ การกระท�ำนี้ท�ำไปแล้ว
มันก็จะมีผล แต่ผลนี้มันมาก่อนมาหลังกันได้ ไม่ได้ข้ึนอยู่
ท่ีว่ากรรมไหนท�ำก่อนกรรมน้ันผลถึงจะมาก่อน เหมือนกับ
ปลกู ผลไม้ ปลกู ตน้ ไม้นี้ ปลกู ก่อนปลกู หลงั กไ็ ม่ไดห้ มายความ
ว่าต้นที่ปลูกทีหลังน้ีจะออกผลทีหลัง บางต้นมันออกผลเร็ว
ปลกู ทหี ลงั แตอ่ อกผลกอ่ นตน้ ทป่ี ลกู กอ่ นกไ็ ด้ เพราะตน้ ทปี่ ลกู
ก่อนนี้ใช้เวลานานกว่า กว่าจะออกผล เช่น ปลูกข้าวอย่างนี้
๓ เดือนกไ็ ด้ผลแลว้ ปลูกกล้วยนี้ก็ไมก่ เี่ ดอื นกไ็ ด้ผล แตถ่ า้ ไป
ปลูกทุเรียนปลูกเงาะนี่ แหมมันต้องเป็นปีถึงจะได้ผล กรรม
ท่ีเราท�ำต่างๆ นี้มันก็ส่งผลช้าเร็วตามก�ำลังของกรรมที่เรา
ท�ำกนั ตามชนดิ ของกรรมทีเ่ ราท�ำกนั ดงั น้นั เราไม่สามารถ
ท่จี ะไปพดู ไดว้ า่ ท�ำกรรมอนั นแ้ี ลว้ อนั น้จี ะเกดิ กอ่ น อันนจ้ี ะ
เกิดหลัง อย่าไปสนใจ ให้สนใจว่าท�ำกรรมดีหรือท�ำกรรมช่ัว
ดีกว่า ถ้าท�ำช่ัวก็เลิกท�ำเสียเพราะมันไม่ดี มันจะท�ำให้เรา
ทุกขก์ นั ถ้าท�ำดกี ็พยายามท�ำบ่อยๆ ท�ำเยอะๆ เพราะมนั จะ
ให้เราสขุ กัน ใหด้ แู คต่ รงนี้

(ธรรมะบนเขา วนั ที่ ๒๔ มี.ค. ๒๕๖๒)

ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ 173

กจิ และเวลาประจำ� วนั ทีส่ ามารถเข้าพบ

พระอาจารยส์ ชุ าติ อภชิ าโต

แผนท่เี ส้นทางเดนิ บณิ ฑบาต

เวลา ๐๕.๕๐ - ๐๖.๔๕ น. (โดยประมาณ)
• เดนิ บิณฑบาตบรเิ วณบา้ นอ�ำเภอ เริม่ ทซี่ อยนาจอมเทยี น ๓๐
สิ้นสดุ ทีซ่ อยนาจอมเทยี น ๒๘ (เวลาสามารถเปล่ยี นแปลงตามสภาพ
อากาศ)

เวลา ๐๗.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. (โดยประมาณ)
• ฉันเชา้ ท่ศี าลาฉนั วดั ญาณสงั วราราม เฉพาะวันธรรมดา
• งดลงศาลาทุกวนั เสาร์ วันอาทติ ย์ วนั พระ และวนั หยดุ นักขตั ฤกษ์
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๕.๔๕ น. (โดยประมาณ)
• แสดงธรรมหน้ากุฏิ ทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันพระ และวันหยุด
นักขัตฤกษ์ ท่ีกุฏิ ๕ วัดญาณสังวราราม ญาติโยมสามารถเข้ามาท่ีกุฏิ
ได้ประมาณเวลา ๑๓.๓๐ น. เป็นต้นไป โดยจอดรถได้ท่ีกุฏิ ๔ กุฏิ ๖
และลานจอดรถภายในวดั
• งดแสดงธรรมในวันธรรมดา

หมายเหตุ : ขอความกรณุ างดเขา้ พบพระอาจารยน์ อกเหนือจาก
เวลาดงั กลา่ ว และขอความรว่ มมอื สภุ าพสตรงี ดสวมกางเกงขาสน้ั
และกระโปรงสน้ั

**งดรบั กิจนิมนตใ์ นทกุ กรณ*ี *




Click to View FlipBook Version