The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การละเล่นพื้นบ้านไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BS_Library, 2019-11-29 02:41:34

การละเล่นพื้นบ้านไทย

การละเล่นพื้นบ้านไทย

Keywords: การละเล่นพื้นบ้าน

ชอื่ หนังสอื การละเลน่ พืน้ บ้านไทย
ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๒๙๗-๑๒๙-๗
จดั ท�ำ โดย กลุ่มนันทนาการเด็กและเยาวชน
ส�ำ นกั นนั ทนาการ
กรมพลศึกษา
กระทรวงการทอ่ งเที่ยวและกฬี า
๑๕๔ ถนนพระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวนั กรงุ เทพฯ ๑๐๓๓๐
www.dpe.go.th
พมิ พค์ รง้ั ที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๗
จ�ำ นวนพมิ พ์ ๕,๐๐๐ เลม่
สถานทพ่ี ิมพ์ โรงพมิ พ์ เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟคิ ดไี ซน์
๖๓ ซอยประชาอทุ ิศ ๗๕ แยก ๕ แขวงท่งุ ครุ เขตท่งุ ครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๘๗๓ ๖๐๙๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๗๓ ๕๗๕๘
ออกแบบศลิ ป์ บริษทั แอนิเมเนยี จำ�กัด
www.animania.co.th

คำ�นำ�

กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำ�นาจหน้าที่
ตามกฎกระทรวงในการด�ำ เนนิ การดา้ นนนั ทนาการ อนรุ กั ษส์ ง่ เสรมิ และเผยแพร ่
การละเล่นพ้ืนเมืองและกีฬาพ้ืนบ้าน เผยแพร่องค์ความรู้ด้านนันทนาการ
สร้างความสุขเพื่อมวลชน จึงมอบหมายให้สำ�นักนันทนาการจัดทำ�หนังสือ
“การละเล่นพ้ืนบ้านไทย” ขึ้น เพ่ือให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เก่ียวข้อง
ได้นำ�ไปศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย
ใหแ้ พรห่ ลาย อกี ท้งั เป็นการอนรุ ักษก์ ารละเล่นพน้ื บ้านไทยใหค้ งอยสู่ ืบไป
การจัดทำ�หนังสือ “การละเล่นพ้ืนบ้านไทย” ได้รับความร่วมมือ
จากคณะที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเช่ียวชาญ และประสบการณ์
ในเรอ่ื งการละเล่นพ้นื บ้านไทยเป็นอยา่ งดี จงึ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้
กรมพลศึกษา หวังเปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื “การละเลน่ พนื้ บ้านไทย”
จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจ
ซ่ึงจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ให้การละเล่นพื้นบ้านไทย
อย่คู ู่กบั สงั คมไทยได้อย่างย่งั ยนื
คณะผจู้ ัดทำ�
ส�ำ นกั นนั ทนาการ กรมพลศกึ ษา

สารบัญ หนา้

๑๑
บทที่ ๑ บทน�ำ
ความหมายของการละเล่นพืน้ บ้านไทย
ความเปน็ มาของการละเลน่ พืน้ บา้ นไทย

บทท่ี ๒ ความส�ำ คัญ คณุ คา่ และประโยชน์ของการละเลน่
พ้ืนบ้านไทย ๑๙

บทท่ี ๓ การละเลน่ พน้ื บ้านไทย ๓๒
วงิ่ เปย้ี ว ๓๓
ตลี กู ลอ้ ๓๔
แข่งเรอื บก ๓๕
มา้ หมนุ (เก้าอี้ดนตร)ี ๓๖
ชักเยอ่ ๓๗
กะโดดเชอื ก ๓๙
กาฟกั ไข่ ๔๑
ขี่มา้ ส่งเมอื ง ๔๔
งกู นิ หาง ๔๕
ต่จี บั ๔๗
มอญซอ่ นผ้า

สารบญั หนา้
๔๘
๔๙
ลงิ ชงิ หลัก ๕๐
รี ๆ ข้าวสาร ๕๑
โพงพาง ๕๒
รถมา้ ชาวเสยี ม ๕๔
ตจี ับ ๕๖
ไก่ตบ ๕๘
ไกอ่ ิ๊กอี ๖๐
ข้ามหว้ ย ๖๑
ดึงหนงั ๖๒
นางไก ่ ๖๔
ลู่ไขเ่ ต่า ๖๖
หมากข่าง ๖๗
กาชิงไข่ ๖๘
เก้าอีค้ น ๗๐
คลี ๗๓
ชนโคคน ๗๖
ชิงหลักชัย ๘๐
เตย
ยวั่ ทงิ

สารบญั หนา้
๘๒
๘๓
หมาชงิ เสา ๘๔
ขันไก่ ๘๕
ข่ีม้าหาเจา้ เมือง ๘๗
หมากเกบ็ ๘๘
ตีไก่ ๙๐
กลง้ิ ครกขึ้นภเู ขา ๙๑
กระซบิ ขี่ ๙๓
กะเตงิ กะต้อย ๙๕
ขี่ม้าหลงั โปก ๙๖
ขี้ตกู่ ลางนา ๙๗
แข่งเกวียน ๙๘
โคเกวียน ๙๙
ชักชา ๑๐๐
บรรณานุกรม
คณะผจู้ ัดท�ำ



บทท่ี ๑

บทนำ�

8 บทที่ ๑ บทนำ�

การละเลน่ พ้นื บา้ นไทย

การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทเกม ท่ีสามารถ
ส่งเสริมและพัฒนา อารมณ์สุข สนุกสนาน การละเล่นพื้นบ้านของไทย
เปน็ กจิ กรรมทย่ี อมรบั รว่ มกนั ในสงั คมวา่ เปน็ ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ มกี ารถา่ ยทอด
จากคนรุ่นหน่ึงไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่เน้น
ความสนุกสนานไม่เน้นการแพ้ชนะ จึงมีคุณค่าและมีส่วนสำ�คัญ
ในการหล่อหลอมพฤติกรรมโดยเฉพาะกับเด็กเล็กซึ่งเป็นที่รวม ทั้งเป็น
การเช่ือมโยงประสบการณ์ทางสังคมให้กับเด็ก ทำ�ให้เด็กไทยประสบ
ความสำ�เรจ็ ในการเลน่ จนเกิดความภาคภมู ใิ จในตนเอง เหน็ คณุ คา่ ของตนเอง
กล้าคิด กล้าแสดงออก รู้จักการปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
อีกท้ังยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการรอคอย การช่วยเหลือ การแบ่งปัน
และการเปน็ ผนู้ �ำ ผตู้ าม สง่ิ เหลา่ นเ้ี ปน็ ผลทจ่ี ะเกดิ โดยตรงจากการละเลน่ ของเดก็
ท่สี ่งผลต่อสุขภาพจิตและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยนี้ ท่ีต้องเสริมสร้าง
พัฒนาการให้พร้อมในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ในระดับสูงข้ึนต่อไป
อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

ความหมายของการละเล่นพ้นื บา้ นไทย

คำ�ว่า “การเล่น” ได้มีผู้ศึกษาค้นคว้าให้ความหมายไว้แตกต่างกัน
มากมาย ดังน้ี
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมาย
ของค�ำ ว่า “การละเล่น” “เลน่ ” และ “พื้นบ้าน” ไวด้ งั น้ี
“การละเล่น” หมายถึง มหรสพการแสดงตา่ ง ๆ เพื่อความสนกุ สนาน
รน่ื เรงิ

บทที่ ๑ บทนำ� 9

“พ้ืนบ้าน” หมายถึง เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน มักใช้เข้าคู่
กบั คำ�พื้นเมือง เปน็ พ้นื บ้านพน้ื เมอื ง
“เล่น” หมายถึง ทำ�เพ่ือสนุกหรือผ่อนคลายอารมณ์ เช่น เล่นเรือ
เล่นดนตรีการแสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา สาละวน
หรอื หมกมนุ่ อย่กู บั สง่ิ ใด ๆ ดว้ ยความเพลิดเพลนิ เป็นต้น เชน่ เลน่ กลว้ ยไม้
สารานุกรมภาษาอีสาน ไทย องั กฤษ ปรีชา พิณทอง. (๒๕๓๒). ไดใ้ ห้
ความหมายของคำ�ว่า พนื้ และ บา้ น ไวด้ ังนี้
“พน้ื ” หมายถึง ประวตั ิ ตำ�นาน เชน่ นทิ านพน้ื บ้าน
“บา้ น” หมายถึง บริเวณทีเ่ รือนต้ังอยู่
สำ�นักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๔๔). ได้ให้
ความหมายของการเลน่ ไวด้ งั นี้
“การเล่น” หมายถึง กิจกรรมที่เด็กเล็ก ๆ ชอบท่ีจะทำ� จะจัดการ
ทำ�ข้ึนมาตลอดจนเพ่ือความสนุกสนานทั้งหลายท่ีสนองต่อความอยากรู้
อยากเห็น ของทกุ ส่งิ ที่เขาได้เห็น ได้ยนิ ไดช้ มิ เปน็ วิธกี ารทพี่ ฒั นาความรสู้ กึ
ของเด็ก จะไดร้ จู้ ักกบั เพอื่ น ๆ ไดร้ ว่ มกิจกรรมไดส้ งั คม
ฉวีวรรณ กินาวงษ์. (๒๕๓๓). กล่าวว่า การเล่นของเด็ก หมายถึง
กจิ กรรมหรอื การกระท�ำ ใด ๆ ทใ่ี หค้ วามสนกุ เพลดิ เพลนิ โดยทเ่ี ดก็ ไมไ่ ดค้ �ำ นงึ ถงึ
ผลของกิจกรรมหรือการกระทำ�น้ัน ๆ การเล่นมีความหมายสำ�คัญมาก
ส�ำ หรับเดก็ เพราะการเลน่ เกดิ จากความสมคั รใจของเดก็
สชุ า จนั ทรเ์ อม. (๒๕๔๑). ได้กลา่ วถงึ การเลน่ ว่า หมายถึง กจิ กรรม
หรอื การกระท�ำ ใด ๆ กใ็ หค้ วามสนกุ สนานแกเ่ ดก็ โดยทเ่ี ดก็ ไมค่ �ำ นงึ ถงึ ผลการเลน่

10 บทที่ ๑ บทนำ�

รัชฎวรรณ ประพาน. (๒๕๔๑). ได้ให้ความหมายของคำ�ว่า
การละเล่นพ้ืนบ้านว่า หมายถึง กิจกรรมการละเล่นของสังคมที่ไม่ทราบท่ีมา
แต่ได้ยอมรับและถ่ายทอดการเล่นต่อ ๆ กันมาโดยไม่ขาดสาย เป็นกิจกรรม
การละเล่นที่เป็นการละเล่นสืบทอดต่อกันมาต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และเป็นกิจกรรมท่ีเด็กเล่นเพ่ือความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจจะเป็น
การเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม การละเล่นจึงเป็นบทบาทต่อการพัฒนา
ทั้ง ๔ ด้าน (ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สงั คมและสติปัญญา) ของเด็ก และเปน็
เคร่ืองหมายแสดงออกของการละเล่นพื้นบ้านว่าเป็นกิจกรรมท่ีเด็กเล่น
ด้วยความสมัครใจเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในขณะท่ีเด็กได้เล่น
เดก็ จะเกดิ การเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง ซง่ึ เปน็ กระบวนการพฒั นาการทางดา้ นรา่ งกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคมและสตปิ ัญญา และสรา้ งความเชื่อม่นั ใหก้ บั ตนเอง
จารวุ รรณ ธรรมวตั ร. (๒๕๕๓). ไดก้ ลา่ วถึงการละเล่นของเด็กไทยวา่
การเลน่ ทกุ ชนดิ นอกจากจะเกดิ ความเพลดิ เพลนิ แกเ่ ดก็ แลว้ ยงั มคี ณุ คา่ อน่ื แฝงอยู่
เช่น เสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ
และเล่นหลายชนิดฝึกให้เด็กได้รู้จักสังเกต ให้ไหวพริบในการเล่นทายปริศนา
สอนให้เด็กเข้ากับเพื่อนได้ โดยเพ่ือนยอมรับอย่างเต็มใจ การเล่นของเด็ก
แบง่ ไดห้ ลายประเภท คอื การเลน่ และการเลน่ ในรม่ ถา้ แบง่ เอาบทรอ้ งเปน็ หลกั
กจ็ ะมีสองประเภทคือ การเล่นมบี ทร้องและการเล่นท่ไี ม่มบี ทรอ้ ง

ความเปน็ มาของการละเลน่ พน้ื บ้านไทย

การเลน่ ของไทยมมี าตง้ั แตใ่ นสมยั โบราณ ทไ่ี มม่ ที ราบชดั เจนวา่ เมอ่ื ไหร่
มีแต่การสันนิษฐานกันตามประวัติศาสตร์และหลักฐานที่ปรากฏตามที่มี
การจารึกกันไว้เท่าน้ัน ซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย
จากข้อความในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำ�แหง และหลักฐานที่ปรากฏ

บทท่ี ๑ บทนำ� 11

ในหนังสือ วรรณคดี และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งมีการสืบทอดวิธีเล่น
กันมาอย่างต่อเน่ือง และปรับให้เข้ากับแต่ละยุคสมัย โดยการเล่นของไทย
ได้สอดแทรกไปกับประเพณีและวัฒนธรรมไทยในสมัยก่อน เพื่อให้เกิด
ความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำ�งาน ทั้งในชีวิตประจำ�วัน
และเทศกาลงานบญุ ตามระยะเวลาแห่งฤดกู าล

สมยั สุโขทยั

การละเลน่ ของเดก็ ไทยนนั้ มปี ระวตั คิ วามเปน็ มาตง้ั แตส่ มยั ดกึ ด�ำ บรรพ์
ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เม่ือมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ
ส่ิงของเคร่ืองใช้ในคร้ังแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำ�ดับ เด็ก ๆเห็นผู้ใหญ่ทำ�
ก็เลียนแบบ นำ�ดินมาปั้นเล่นบ้าง ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า
คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกของ
พ่อขุนรามคำ�แหง สมัยสุโขทัยหลักที่ ๑ กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น
ใครจักมกั หวั หวั ใครจกั มกั เลื่อน เลอื่ น…” แต่ไมม่ รี ายละเอยี ดกล่าวไวว้ ่าคน
สมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง ในตำ�รับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึง
การละเลน่ ของคนสมยั นน้ั วา่ “...เดอื นยถ่ี งึ การพระราชพธิ บี ษุ ยาภเิ ษก เถลงิ พระโค
กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำ�เนียง เสียงว่าว
ร้องเสนาะล่ันฟ้าไปท้งั ทวิ าราตร.ี ..”

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเร่ือง มโนห์รา ไว้ในบทละคร
คร้งั กรุงเก่า ซ่ึงเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวบรมโกศ การละเล่นท่ีปรากฏในบทละคร
เร่ืองน้ี คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ซ่ึงประเพณีและวัฒนธรรม
สมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำ�งาน

12 บทท่ี ๑ บทนำ�

ท้ังในชีวิตประจ�ำ วัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล

ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่าง
ที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทท่ีว่า
“เมื่อน้ัน โฉมนวลพระพ่ีศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี
เลน่ ใหส้ บายคลายทกุ ข์ เลน่ ใหส้ นกุ ในวนั น้ี จะเลน่ ใหข้ นั กนั สกั ทเี ลน่ ใหส้ นกุ กนั
จรงิ จรงิ มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพ่ี ช้างนี้เป็นแดนเจ้าน้ี
เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง
เอาบวั เป็นเสาเขา้ ชงิ กัน ขยิกไลผ่ ายผันกันไปมา เม่อื นั้น โฉมนวลพระพี่ศรจี ลุ า
บอกเจา้ โฉมตรู มโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสดุ ท้องน้องเป็นปลา
ลอยลอ่ งทอ่ งมาเจา้ หนา้ นวลจะขงึ มอื กนั ไวเ้ ปน็ สายอวน ดกั ทา่ หนา้ นวลเจา้ ลอ่ งมา
ออกหนา้ ทใ่ี ครจบั ตวั ได้ คมุ ตัวเอาไวว้ า่ ไดป้ ลา”

สมยั รัตนโกสินทร์

ในเรอ่ื ง“อเิ หนา”วรรณคดสี มยั รตั นโกสนิ ทรก์ ป็ รากฏการละเลน่ หลายอยา่ ง
เช่น ตะกรอ้ จ้องเต ข่มี า้ ส่งเมอื ง ดังวา่

“...บ้างตัง้ วงเตะตะกร้อเลน่ เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด

ปะเตะโต้คู่กนั เป็นสันทดั บ้างถนดั เขา้ เตะเป็นนา่ ดู

ท่ีหนุ่มหนุ่มคะนองเลน่ จ้องเต สรวลเสเฮฮาข้นึ ข่ีคู่

บา้ งรำ�อย่างชวามลาย เป็นเหลา่ เหล่าเล่นอยู่บนคิร”ี

หรือในขุนช้างขุนแผนกกก็ ล่าวถงึ การละเล่นไมห้ ง่ึ ไวว้ ่า

“...เม่อื กลางวันยังเห็นเล่นไมห้ ึ่ง กับอา้ ยองึ่ อีดูกลูกอมี ี

แล้วว่าเจ้าเล่าก็ชา่ งน่งั มึนมิ วา่ แล้วซอิ ยา่ ใหล้ งไปดนิ ”

บทท่ี ๑ บทนำ� 13

พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึง การละเล่นของเด็กไทยสมัยท่าน
ไวใ้ น “ฟ้นื ความหลัง” วา่ “การละเลน่ ของเด็กปนู นไี้ ม่ใชม่ ปี นื มีรถยนตเ์ ลก็ ๆ
อย่างท่ีเด็กเล่นกนั เกร่ออยูใ่ นเวลาน้ี ลกู หนงั ส�ำ หรับเลน่ แม้วา่ มีแล้วราคาแพง
และยงั ไมแ่ พรห่ ลาย ตกุ๊ ตาทม่ี ดี น่ื คอื ตกุ๊ ตาลม้ ลกุ และตกุ๊ ตาพราหมณน์ ง่ั ทา้ วแขน
สำ�หรับเด็กผู้หญิงเล่น ตุ๊กตาเหล่านี้เด็ก ๆ ชาวบ้านไม่มีเล่น เพราะต้องซื้อ
จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำ�ให้หรือไม่ก็เด็กทำ�กันเองตามแบบอย่างท่ีสืบต่อจำ�มา
ต้ังแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสานด้วยทางมะพร้าว
สำ�หรับโยนเตะเลน่ หรอื ตุก๊ ตาวัว ควาย ปัน้ ด้วยดินเหนยี ว
ของเด็กเล่นที่สมัยน้ันนิยมเล่นกันคือ “กลองหม้อตาล” ในสมัยน้ัน
ขายน�้ำ ตาล เม่ือใช้หมดแลว้ เด็ก ๆ ก็น�ำ มาท�ำ เปน็ กลอง มีวธิ ีทำ�คือ ใช้ผา้ ข้รี ้วิ
หมุ้ ปากหมอ้ เอาเชอื กผกู รดั คอหมอ้ ใหแ้ นน่ แลว้ เอาดนิ เหนยี วเหลว ๆ ละเลงทา
ให้ทั่ว หาไม้เล็ก ๆ มาตีผ้าที่ขึงข้าง ๆ หม้อโดยรอบ เพ่ือขันเร่งให้ผ้าตึง
ก็เป็นอันเสร็จ ตีได้ มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง
ถ้าตีกระหนำ�่ จนผ้าขาดก็ทำ�ใหม่

14 บทที่ ๑ บทนำ�

เดก็ ผหู้ ญงิ สว่ นใหญช่ อบเลน่ “หมอ้ ขา้ วหมอ้ แกง”หรอื เลน่ ขายของหงุ ตม้ แกง
ไปตามเรอ่ื ง เอาเปลอื กสม้ โอ เปลอื กมงั คดุ หรอื ใบกน้ บดิ ผสมดว้ ยปนู แดงเลก็ นอ้ ย
คน้ั เอาน�ำ้ ขน้ ๆ รองภาชนะอะไรไวไ้ มช่ า้ จะแขง็ ตวั เอามาท�ำ เปน็ วนุ้
คนไทยในอดตี มองการละเลน่ ของเดก็ ไปในแงข่ องจติ วทิ ยา โดยตคี วามหมาย
ของการแสดงออกของเด็กไปในเชิงทำ�นายอนาคตหรือบุพนิมิตต่างๆ
ความเชื่อเช่นนปี้ รากฏในวรรณคดีไทยหลายเรอ่ื ง เชน่ ขนุ ชา้ งขนุ แผน

บทท่ี ๑ บทนำ� 15

“สวดมนตฉ์ นั เสรจ็ สำ�เร็จแล้ว ฝา่ ยข้างพลายแกว้ อตุ ริวา่

เราเลน่ เป็นผวั เมียกนั เถิดเรา ขนุ ช้างร้องวา่ ขา้ ชอบใจ

นางพมิ วา่ ไปอา้ ยนอกคอก รูปชวั่ หัวถลอกกูหาเลน่ ไม่

พลายแกว้ วา่ เล่นเถดิ เป็นไร ให้ขนุ ชา้ งน้ันไซร้เป็นผัวนาง

ตวั ขา้ จะยอ่ งเข้าไปหา จะไปลกั เจ้ามาเสยี จากขา้ ง

ทง้ั สองคนรบเร้าเฝา้ ชวนนาง จงึ หกั ใบไม้วางตา่ งเตยี งหมอน

นางฉลาดกวาดทรายกลายเปน็ เรือน พูนข้ึนกล่นเกลื่อนดังฟกู หมอน

นางพิมนอนพลางกลางดินดอน เจา้ ขุนช้างหัวกล้อนเข้านอนเคยี ง

พลายแก้วโดดแหวกเข้าแทรกกลาง ซุกหัวขุนช้างท่ีกลางเกล้ียง

ขนุ ช้างทำ�หลับอยู่ขา้ งเตียง ฝ่ายนางพิมนอนเคียงเข้าเมียงมอง

ขนุ ชา้ งวางร้องกอ้ งกูโ่ วย้ ขโมยลักเมียกจู จู่ ากหอ้ ง

ลุกขนึ้ งนุ ง่านเท่ียวซานร้อง เรยี กหาพวกพอ้ งให้ตดิ ตาม

…………………………..……

ทา่ นผู้ฟงั ท้งั สน้ิ อยา่ กนิ แหนง จะประดิษฐ์คิดแตง่ ก็หาไม่

เดก็ อุตริเลน่ หากเป็นไป เทวทตู ดลใจให้ประจักษ์ตา

เดก็ เล่นสง่ิ ไรกไ็ มผ่ ิด ทุจรติ ก็เปน็ เหมือนปากวา่

อนั คดีมีแตโ่ บราณมา ตำ�รานี้มีอยใู่ นสพุ รรณฯ”

16 บทที่ ๑ บทนำ�

ปัจจุบัน

การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษ
ชดุ ขายของพลาสตกิ เลยี นแบบของจรงิ วดิ โี อเกม เดก็ ผชู้ ายกเ็ ลน่ ปนื จรวด เกมกด
และเครอื่ งเลน่ ตา่ ง ๆ ซงึ่ มขี ายมากมาย และมกี ารละเลน่ หลาย ชนดิ ทน่ี ยิ มเลน่
ท้ังในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากน้ันยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจ
ของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อย ๆ เลือนหาย
ไปทีละน้อย ๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย
ขมี่ า้ ส่งเมืองข้ตี ู่กลางนา เตย งกู ินหาง ช่วงชัย ชักเยอ่ ซ่อนหา มอญซอ่ นผ้า
ไอโ้ ม่ง ต่ี รรี ีขา้ วสาร ตง้ั เต ฯลฯ

17

บทท่ี ๒

ความสำ�คัญ คณุ คา่ และประโยชนข์ องการละเล่นพ้ืนบา้ นไทย

18 บทท่ี ๒ ความสำ�คัญ

ความสำ�คญั คณุ คา่ และประโยชนข์ องการละเลน่ พน้ื บา้ นไทย

การละเลน่ พน้ื บา้ นเปน็ การเลน่ ทส่ี บื ทอดกนั มาแตโ่ บราณโดยเฉพาะเดก็ ๆ
จะนิยมเล่นกันมาก เด็กสมัยก่อนจะเรียนร้กู ารละเล่นโดยไม่มีการเรียน
การสอน การละเล่นพ้ืนบ้านไม่ว่าของภาคใดล้วนเป็นประโยชน์
เพราะการละเลน่ ท�ำ ใหเ้ ดก็ ไดเ้ คลอื่ นไหวไดอ้ อกก�ำ ลงั กายเกดิ ความคลอ่ งแคลว่
ว่องไว ฝึกความอดทน ฝึกการเป็นผู้นำ�และผู้ตามท่ีดี ฝึกการสังเกต
มปี ฏภิ าณไหวพรบิ สรา้ งความสามคั คใี นหมคู่ ณะ พรอ้ งทง้ั เกดิ ความสนกุ สนาน
การละเล่นจึงถือว่าเป็นหัวใจสำ�คัญของเด็ก ในปัจจุบันโรงเรียน
ควรท่ีจะนำ�เอาการละเล่นพื้นบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเช่ือมโยงสู่การเรียนรู้ โดยเฉพาะ
การละเลน่ พนื้ บา้ นควรใหเ้ ยาวชนรนุ่ หลงั ไดเ้ รยี นรแู้ ละอนรุ กั ษไ์ วซ้ ง่ึ การละเลน่
พื้นบ้านเป็นกิจกรรมรู้จักความยุติธรรม รู้จักการให้การรับและช่วยพัฒนา
กลา้ มเน้อื สว่ นตา่ ง ๆ ใหเ้ จริญเติบโต ผอ่ นคลายความตึงเครยี ด
ผอบ โปษะกฤษณะ. (๒๕๒๒). ได้สรุปคุณค่าของการละเล่นพ้ืนบ้าน
ของเดก็ ไทยซง่ึ แบง่ เปน็ คณุ คา่ ทางดา้ นวฒั นธรรม ดา้ นสงั คม และดา้ นภาษา ดงั น้ี
ด้านวัฒนธรรม
การละเล่นของเด็กไทย มีลักษณะท่ีแสดงถึงความเจริญงอกงาม
ของเดก็ ปรากฏอยา่ งชดั เจนคือ
๑. เสริมสร้างพลานามยั ใหส้ มบูรณ์
๒. เสรมิ สรา้ งทักษะตา่ ง ๆ ใหเ้ จรญิ เช่นทกั ษะในการใชส้ ายตาสังเกต
ทกั ษะในการเคลื่อนไหวอวัยวะ

บทท่ี ๒ ความสำ�คญั 19

๓. สง่ เสรมิ ความเจรญิ ทางสตปิ ญั ญา เชน่ ฝกึ ใหใ้ ชค้ วามคดิ ฝกึ ใหม้ ไี หวพรบิ
ฝกึ การคาดคะเนด้านสงั คม
๓.๑ การละเลน่ ของเดก็ ไทยสะทอ้ นภาพของสงั คมไทยในดา้ นตา่ ง ๆ
เชน่ สภาพความเปน็ อยู่ อาชีพ เป็นต้น
๓.๒ การละเลน่ ชว่ ยสง่ เสรมิ บคุ ลกิ ภาพของเดก็ ไมว่ า่ จะเปน็ ทางกาย
และทางจิตใจ ฝึกให้เป็นผู้ที่มีระบบระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ
มคี วามสามคั คใี นหมคู่ ณะ เมอ่ื เตบิ โตขน้ึ เดก็ ๆ เหลา่ นก้ี จ็ ะมคี ณุ สมบตั เิ หมาะสม
ท่จี ะเปน็ กำ�ลังของชาติอันเปน็ คณุ คา่ ทางสงั คมอนั พึงปรารถนา
ดา้ นภาษา
บทรอ้ งประกอบการรอ้ งของเดก็ มคี ณุ คา่ ทางภาษาทงั้ ในแงว่ รรณศลิ ป์
และในแง่การส่ือสาร ในแง่วรรณศิลป์นั้น บทร้องมีรูปแบบไม่จำ�กัดตายตัว
มีการใช้ค�ำ เปน็ วรรคสัน้ ๆ และมเี สียงสัมผสั คลอ้ งจอง ทำ�ให้เกิดความไพเราะ
ท�ำ นองทใ่ี ชร้ อ้ งเปน็ ท�ำ นองงา่ ย ๆ มจี งั หวะเขา้ กบั วธิ เี ลน่ มกี ารใชค้ �ำ เลยี นเสยี งตา่ ง ๆ
และมกี ารใชส้ ญั ลกั ษณใ์ นเนอ้ื รอ้ ง แฝงความหมายทน่ี า่ สนใจ ในแงข่ องการสอ่ื สาร
นับว่าบทร้องประกอบการละเล่น ได้มีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษา
โดยไม่รู้ตัว เพราะมีท้ังคำ�คล้องจอง คำ�ถาม คำ�ตอบ และคำ�พูด
ทต่ี อ้ งใชใ้ นชวี ติ ประจ�ำ วนั ชว่ ยใหเ้ ดก็ ไดร้ บั ความสนกุ สนาน ในการใชภ้ าษาสอ่ื สาร
ไปดว้ ยชว่ ยพฒั นาการทางด้านความคดิ และการสังเกตไดเ้ ปน็ อยา่ งดี
สาร สาระทัศนานันท์. (๒๕๒๙). ได้กล่าวถึงความสำ�คัญ
ของการละเลน่ พ้ืนบ้านไว้วา่ ธรรมชาติของมนุษย์ เกิดมาย่อมมีการเคลอื่ นไหว
จะอยนู่ ง่ิ ไมไ่ ดย้ ง่ิ เปน็ เดก็ แลว้ ตอ้ งมกี ารเคลอ่ื นไหวยอ่ ย ๆ ทง้ั นเ้ี พอ่ื บรหิ ารรา่ งกาย
ให้เจริญเติบโต การเคล่ือนไหวหรือการออกกำ�ลังกายนับเป็นส่ิงจำ�เป็น
อย่างหน่ึงของมนุษย์ท้ังเด็กและผู้ใหญ่ตลอดจนผู้สูงอายุ และมนุษย์ผู้มีนิสัย

20 บทท่ี ๒ ความสำ�คญั

ชอบสังคมคือชอบรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ซ่ึงต้องมีการคบหาสมาคมกัน
และมีการระบายออกทางจิตใจ เพื่อให้มีความสบายทั้งกายและใจด้วย
ก า ร ล ะ เ ล่ น จึ ง เ ป็ น ก า ร แ ส ด ง อ อ ก ข อ ง ก า ร เช่ื อ ม ค ว า ม ส า มั ค คี ข อ ง ค น
ท�ำ ใหค้ นคบหากนั ไดอ้ ยา่ งสนทิ สนม จงึ นบั เปน็ นนั ทนาการอยา่ งหนง่ึ นอกจากน้ ี
การละเล่นเม่ือมีการจัดเป็นระเบียบแบบแผน มีกติกาให้คนในกลุ่มปฏิบัติ
ย่อมเป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงามของคนกลุ่มน้ัน และเป็นเอกลักษณ์
อยา่ งหนง่ึ ดว้ ย อนั แสดงความเปน็ ผมู้ วี ฒั นธรรมของคนกลมุ่ นนั้ ดว้ ย การละเลน่
จึงเป็นเคร่ืองช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนาการทางการและจิตใจของคน
ทำ�ให้คนได้เป็นผู้มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ และมีความสามัคคีกลมเกลียว
ก้าวหน้า นับเป็นวัฒนธรรมได้อย่างหน่ึง ดังนั้น หากได้มีการฟ้ืนฟู แก้ไข
เปลี่ยนแปลง และส่งเสริมการเล่นของคนในกลุ่มในแต่ละหมู่บ้านให้คงอยู่
ผลทตี่ ามมากค็ อื นอกจากประชาชนไดอ้ อกก�ำ ลงั กายและท�ำ จติ ใจใหส้ บายแลว้
ยังทำ�ให้คนในกลุ่มอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวและมีความสุขด้วย
การละเล่นพ้ืนบ้านจึงนับว่ามีความสำ�คัญซ่ึงเราควรจะได้รับการอนุรักษ์
ให้คงมีอยหู่ าทางส่งเสริมหรอื พฒั นาให้เจริญกา้ วหน้ายง่ิ ขนึ้ และยงั ได้กล่าวถงึ
ประโยชน์ของการละเลน่ พ้ืนบ้านไว้ดงั น้ี

๑. เป็นการช่วยบริหารร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ในขณะที่แสดง
การละเล่นร่างกายได้เคล่ือนไหว การละเล่นบางอย่างได้มีการออกแรง
แขง่ ขนั กนั ดว้ ย จงึ ท�ำ ใหผ้ เู้ ลน่ ไดบ้ รหิ ารรา่ งกายผรู้ ว่ มกจิ กรรมไดอ้ อกก�ำ ลงั กาย
ไปด้วย อันเป็นผลทำ�ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพอนามัยดีมีอำ�นาจ
ตา้ นทานโรค

๒. ชว่ ยท�ำ ใหส้ ขุ ภาพจติ ดเี พลดิ เพลนิ เนอ่ื งจากการละเลน่ เปน็ นนั ทนาการ
สว่ นหนง่ึ ท�ำ ใหผ้ เู้ ลน่ รสู้ กึ สนกุ สนานเพลดิ เพลนิ จติ ใจรา่ เรงิ แจม่ ใส จงึ ท�ำ ใหจ้ ติ ใจสบาย
อารมณด์ ีเปน็ การชว่ ยรกั ษาสขุ ภาพจติ ของผแู้ สดงการละเลน่ และคลายความเครยี ด

บทท่ี ๒ ความสำ�คัญ 21

ของประสาทไดเ้ ป็นอยา่ งดี
๓. เปน็ การสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ ความสามคั คใี นหมคู่ ณะ การละเลน่ พนื้ บา้ น
แทบทุกอย่างจะมีคนเล่นคราวละหลาย ๆ คน นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วม
และสนับสนุนการแสดงการละเล่นด้วย บุคคลเหล่านี้จะร่วมกิจกรรม
อยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ ท�ำ ใหไ้ ดม้ สี ว่ นรว่ มการแขง่ ขนั การแสดงหรอื รว่ มสนกุ สนาน
กับกลุ่มคนเหล่าน้ัน เม่ือได้ร่วมกิจกรรมกัน ก็เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน
ความคุ้นเคย เป็นกันเอง ย่อมมีข้ึนดุจญาติพี่น้องอันแท้จริง ย่อมก้อให้เกิด
ความรกั ใครส่ ามคั คใี นหมคู่ ณะ บางโอกาสเมอ่ื มผี ใู้ ดมธี รุ ะการงานไดค้ วามเดอื ดรอ้ น
หรอื มคี วามจ�ำ เปน็ อยากจะไดร้ บั ความชว่ ยเหลอื จากผสู้ นทิ คนุ้ เคยจากการเลน่
๔. ฝกึ ใหเ้ ปน็ ผมู้ นี �ำ้ ใจ เปน็ นกั สู้กลา้ หาญ มนี �ำ้ ใจนกั กฬี า การละเลน่ บางอยา่ ง
ยอ่ มจะมกี ารตอ่ สแู้ ละแขง่ ขนั กนั ระหวา่ งบคุ คลตอ่ บคุ คลหรอื หมคู่ ณะตอ่ หมคู่ ณะ
ต้องอาศัยความสามารถท้งั ด้านกำ�ลังกายและกำ�ลังใจ ผ้ใู ดได้แข่งขันบ่อย ๆ
ยอ่ มท�ำ ใหร้ า่ งกายและจติ ใจขา้ แขง็ พรอ้ มทจ่ี ะเผชญิ กบั ปญั หาและอปุ สรรคตา่ ง ๆ
เป็นการฝึกคนให้รู้จักต่อสู้ กล้าหาญ ทั้งเป็นการอบรมให้เป็นผู้มีนำ้�ใจ
เป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นต้น นับเป็นการสร้างเสริมนิสัยท่ีดี
แกผ่ ู้แสดงการเลน่
๕. เป็นการเสริมสร้างความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ ก่อนแสดงการละเล่น
ยอ่ มมกี ารปรกึ ษาหารอื และตกลงกนั ถงึ วธิ กี ารเลน่ หรอื กตกิ า การจดั หาอปุ กรณ์
และค้นหาดัดแปลงวิธีการเล่นแปลก ๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติม เป็นการฝึก
ใหบ้ คุ คลเหลา่ นน้ั รจู้ กั คดิ รเิ รม่ิ สรา้ งสรรคใ์ นสง่ิ ทด่ี งี าม ซง่ึ การรเิ รม่ิ สรา้ งสรรคน์ ้ ี
ใหม้ ขี น้ึ โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชน ควรได้มีการฝึกใหม้ าก

22 บทท่ี ๒ ความสำ�คัญ

๖. ชว่ ยสรา้ งประสบการณช์ วี ติ น�ำ ไปใชใ้ นชวี ติ ประจ�ำ วนั การละเลน่ บางอยา่ ง
เช่น การละเล่นของเด็กเป็นการเลียนแบบผู้ใหญ่ ทำ�ให้เด็กมีจินตนาการ
และได้ฝึกปฏิบัติจริงตามผู้ใหญ่ เป็นการฝึกปฏิภาณไหวพริบ ช่วยให้
เกิดความรอบรู้บางอย่าง เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยครูอาจารย์
อาจนำ�ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน และผลที่ได้จากการแสดง
การเลน่ อาจนำ�ไปใชป้ ระโยชน์ในชีวิตประจ�ำ วันต่อไปด้วย
๗. เป็นการฝึกปฏิภาณไหวพริบ เพราะการละเล่นต่าง ๆ ส่วนมาก
มักจะมีการแข่งขันกัน การแข่งขันจะมีชัยชนะได้จะต้องอาศัยปฏิภาณ
ไหวพริบของผู้เล่นแต่ละคนประกอบด้วย หากผู้เล่นมีปฏิภาณไหวพริบดี
ย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้เล่นมีชัยชนะในที่สุด ในขณะท่ีผู้เล่นทุกคนต้องพยายาม
ใหส้ มองหรอื ไหวพรบิ ของตนเอง เมอ่ื มกี ารฝกึ ใชส้ มองหรอื ไหวพรบิ บอ่ ย ๆ เขา้
ย่อมช่วยให้ผู้นั้นมีปฏิภาณไหวพริบดีข้ึน นอกจากนี้การละเล่นบางอย่าง
อาจชว่ ยฝึกการสังเกต และการฝึกจ�ำ ด้วย
๘. ฝึกระเบียบวินัย การเช่อื ฟัง และร้จู ักหน้าท่ ี ธรรมดาการละเล่น
ย่อมมีกติกาย่อมมีผู้ตัดสิน บางทีมีหัวหน้าทีม ผู้เล่นจะต้องเชื่อฟังผู้ตัดสิน
และจะตอ้ งเชอ่ื ฟงั หวั หนา้ ทมี ดว้ ย จะท�ำ ใหก้ ารเลน่ ด�ำ เนนิ ไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ย
และการเลน่ ถ้าจะใหไ้ ดช้ ัยชนะ ข้อสำ�คญั อยา่ งหนึ่ง คอื ผ้เู ล่นจะต้องรจู้ กั หนา้ ที ่
ของตนเองและพยายามทำ�หน้าท่ขี องตนให้ดีท่สี ุดด้วย การละเล่นจึงนับเป็น
การฝึกสิ่งที่ดีงามดังกล่าวไปในตัว
๙. ช่วยแก้ปัญหาเด็กซุกซนหรือเล่นเป็นโทษ ตามธรรมชาติของเด็ก
ย่อมไม่ชอบอยู่น่ิง ๆ บางทีการไม่อยู่น่ิงของเด็กอาจเป็นโทษ เช่น ทำ�ให้เกิด
ความเสียหายและอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น ตลอดจนทรัพย์สินส่ิงของด้วย
เม่ือการละเล่นเด็กย่อมมีโอกาสระบายออก ซ่ึงความอัดอั้นในด้านกำ�ลังกาย

บทที่ ๒ ความสำ�คัญ 23

และจิตใจ ทั้งการเล่นส่วนมากย่อมมีผู้ควบคุมและอยู่ในกรอบแห่งกติกา
การละเลน่ จงึ ชว่ ยใหผ้ เู้ ลน่ ไดแ้ สดงออกในทางทเ่ี หมาะทค่ี วร ทง้ั เปน็ การแกป้ ญั หา
ในดา้ นความซุกซนหรือการเปน็ โทษของเด็กไดเ้ ปน็ อย่างดี
๑๐. ชว่ ยใหง้ านประเพณสี นกุ สนานครน้ื เครงในงานเทศกาลประเพณตี า่ งๆ
เชน่ บญุ ตรษุ สงกรานต์ งานบญุ เขา้ พรรษา เปน็ ตน้ นอกจากมกี ารคบงนั (ฉลอง)
และจดั กจิ กรรมตา่ ง ๆ แลว้ จะมกี ารละเลน่ ประกอบดว้ ย กจ็ ะท�ำ ใหง้ านสนกุ สนาน
คร้ืนเครง เป็นการส่งเสริมงานชีวิตชีวาช่วยทำ�ให้ มีผู้ร่วมงานมากข้ึน
ท�ำ ใหผ้ มู้ ารว่ มงาน รู้จักคุ้นเคยกนั และรกั ใครส่ ามคั คมี ีความรน่ เรงิ บันเทิงใจ
๑๑. เปน็ การสรา้ งเสรมิ ในดา้ นขนบธรรมเนยี มประเพณแี ละเอกลกั ษณ์
ของท้องถ่ิน เน่ืองจากการละเล่นพ้ืนบ้านบางอย่าง ประชาชนได้นำ�มาเล่น
ในงานประเพณชี ว่ ยใหง้ านนน้ั สนกุ สนานยง่ิ ขน้ึ การละเลน่ จงึ นบั วา่ มสี ว่ นสง่ เสรมิ
ขนบธรรมเนียมประเพณีด้วยนอกจากน้ีการละเล่นยังเป็นมรดกตกทอด
ลอกเลยี นแบบตอ่ ๆ กนั มาตง้ั แตส่ มยั โบราณ เปน็ เครอ่ื งบอกถงึ ความเจรญิ กา้ วหนา้
จงึ นบั วา่ เปน็ สว่ นหนง่ึ ของวฒั นธรรม และการละเลน่ ของบางทอ้ งถน่ิ กแ็ ตกตา่ ง
กนั ไป จงึ นบั เป็นเอกลกั ษณ์ของทอ้ งถิ่นนั้นด้วย
หรรษา นิลวิเชียร. (๒๕๓๕). ได้กล่าวว่า การเล่นเป็นส่วนสำ�คัญ
ของชีวิตเด็ก และมีคุณค่าต่อพัฒนาการท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญา การเล่นทำ�ให้เด็กเรียนรู้ การรู้จักดัดแปลง คิดยืดหยุ่น
การนำ�เชอื กมาผกู แทนชงิ ชา้ ปนี เลน่ บนกอ้ นหินแทนการปีนเล่นบนเครื่องเล่น
ในโรงยิม ใช้ม้าก้านกล้วยสมมุติเป็นม้า การเล่นจะช่วยให้เด็กฝึกจินตนาการ
และความคดิ สรา้ งสรรคเ์ ด็กจะสร้างภาพพจน์ และเร่อื งราวตา่ ง ๆ แม้แตเ่ รื่อง
ในใจของตนเอง เด็กจะฝึกเลียนเสียงธรรมชาติ เสียงสัตว์ เด็กจะศึกษา
หาวิชาใหม่ ๆ จาการเลน่ วสั ดุ สง่ิ ของ จะเหน็ ได้วา่ การเลน่ มคี วามสำ�คญั มาก

24 บทที่ ๒ ความสำ�คญั

ต่อชีวิตในวัยเด็ก การเล่นชนิดต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีความเจริญงอกงาม
และพฒั นาการครบทุกด้าน
ทิพวรรณ คันธา. (๒๕๔๐). ได้กล่าวถึงคุณค่าของการละเล่นพ้นื บ้าน
วา่ เปน็ การเลน่ ทส่ี ามารถสง่ เสรมิ กลา้ มเนอ้ื สว่ นตา่ ง ๆ ของรา่ งกายไดเ้ ปน็ อยา่ งดี
เพราะผู้เล่นได้เคล่ือนไหว ได้ออกกำ�ลังกาย รู้จักเคารพกติกาในการเล่น
รู้จักการรอคอย มีความอดทน รู้แพ้รู้ชนะและให้อภัย ช่วยสร้างเสริม
ความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน อีกทั้งยังเป็น
การอนรุ ักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านใหค้ งอยู่
กรมวิชาการ. (๒๕๔๐). กล่าวว่า การเล่นถือเป็นกิจกรรมท่สี ำ�คัญ
ในชวี ติ เดก็ ทกุ คน เดก็ จะรสู้ กึ สนกุ สนานเพลดิ เพลนิ ไดส้ งั เกต มโี อกาสท�ำ การทดลอง
สรา้ งสรรคค์ วามคดิ แกป้ ญั หา และคน้ พบดว้ ยตนเอง การเลน่ ชว่ ยพฒั นารา่ งกาย
สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เป็นทางท่ีเด็กจะสร้างประสบการณ์
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมกับธรรมชาติรอบตัว “การเล่น” เป็นหัวใจสำ�คัญของ
การจัดประสบการณใ์ หก้ บั เด็ก
สชุ า จนั ทรเ์ อม. (๒๕๔๑). ไดก้ ลา่ ววา่ การเลน่ ของเดก็ เนน้ การฝกึ มารยาท
ของเดก็ ได้ดยี ่ิง เด็กจะรู้จกั คิด รจู้ กั กระท�ำ ทถี่ ูกจากการเลน่ รจู้ ักความยุติธรรม
รู้จักการรับการให้ และช่วยพัฒนาให้กล้ามเน้ือส่วนต่าง ๆ ให้เจริญเติบโต
ผ่อนคลายความตรึงเครยี ด ในชวี ิตประจ�ำ วนั ของเด็ก
สำ�นักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๓๓).
ได้ให้ความสำ�คัญของการละเล่น ไว้ว่าการละเล่นมีความสำ�คัญ
ต่อการพฒั นาการและการเรียนรู้ของเด็ก ดงั นค้ี ือ

บทท่ี ๒ ความสำ�คญั 25

๑. เป็นการตอบสนองพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก เพราะ
ในขณะเด็กเล่นจะแสดงออกได้อย่างเตม็ ท่ี มีความสดชนื่ สนกุ สนาน เบิกบาน
ทำ�ใหเ้ ดก็ รู้สึกเปน็ สขุ เพราะไดเ้ ลน่ ตามที่ตนตอ้ งการ
๒. เป็นการตอบสนองความต้องการของเด็กในหลาย ๆ ด้าน
เชน่ ดา้ นความอยากรอู้ ยากเหน็ ซง่ึ เดก็ แสดงออกโดยการทดลอง หยบิ จบั ส�ำ รวจ
เขยา่ ฟงั หรอื ขวา้ งปา ดา้ นความตอ้ งการทางดา้ นรา่ งกาย ความตอ้ งการทางจติ ใจ
และเปน็ การทดแทนความตอ้ งการของเดก็ ซง่ึ เดก็ แสดงออกโดยการเลน่ สมมตุ ิ
๓. เป็นการเรียนรู้ของเด็กท่ีจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในส่ิงต่าง ๆ
ทอ่ี ยรู่ อบตวั เชน่ เรยี นรเู้ รอ่ื งขนาด น�ำ้ หนกั สี รปู รา่ ง ความเหมอื น ความแตกตา่ ง
เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เช่น การผลัดเปล่ียนกันเล่น การรอคอย การแข่งขัน
การตัดสินปัญหาต่าง ๆ และเรียนรู้ถึงหน้าท่ีและความรับผิดชอบของตน
ท่มี ีตอ่ ชุมชน เช่น หน้าที่ของพอ่ แม่ ลูก ตำ�รวจ กำ�นัน ซึ่งเดก็ จะเรยี นรู้ได้มาก
จากการเลน่ สมมตุ แิ ละจากการสงั เกต
๔. ชว่ ยพฒั นาคณุ สมบตั หิ ลายประการทจ่ี ะชว่ ยใหเ้ ดก็ ไดร้ บั ความส�ำ เรจ็
ในการทำ�งานเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ฉะน้ันทักษะที่เด็กได้รับจาการเล่น
เด็กจะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงภารกิจและหน้าที่ของการเป็นผู้ใหญ่ เป็นการฝึก
นิสัยในเรื่องการทำ�งาน มีความรับผิดชอบและการรู้จักใช้เวลาว่าง
ให้เปน็ ประโยชน์
๕. เป็นการเตรียมชีวิตของเด็ก เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักหน้าที่ที่ตนเอง
ต้องทำ�ในอนาคต ฝึกการพึ่งตนเอง การเอื้อเฟ้ือเผื่อแผ่ การแบ่งปัน
การเปน็ ผู้นำ�และผูต้ ามทดี่ ี

26 บทท่ี ๒ ความสำ�คัญ

๖. เพื่อให้มีทัศนคติท่ีดีต่อการออกกำ�ลังกาย เพื่อเป็นแนวทาง
ในการทจี่ ะไปเล่นกีฬาประเภทอน่ื ๆ ต่อไป
๗. ช่วยพัฒนาเดก็ ในทุก ๆ ดา้ น ดงั นี้
๗.๑ ทางดา้ นรา่ งกาย เกมและการเลน่ เปน็ การใชพ้ ลงั งานสว่ นเกนิ
ในรา่ งกายของเด็ก เปน็ การฝกึ กลา้ มเนือ้
๗.๒ ทางอารมณ์และจิตใจ เกมและการเล่นจะช่วยให้เด็ก
เกิดการพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจท่ีม่ันคงแข็งแรง รู้จักปรับอารมณ์
ให้เข้ากบั สภาวะแวดลอ้ ม และการเลน่ จะชว่ ยลดความคบั ขอ้ งใจของเด็ก
๗.๓ ทางสังคม เกมและการเล่นจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ
ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืนเป็นการเรียนท่ีจะอยู่รวมกลุ่ม รู้จักบทบาท
ของสมาชิกในกลุ่ม ฝึกการสมาคม และฝึกเดก็ ในเรื่องการปรบั ตัว
๗.๔ ทางสติปัญญา เกมและการเล่นถือว่าเป็นการฝึกการเรียนรู้
ดว้ ยตนเองของเดก็ เป็นการฝึกในเร่ืองความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ และส่งเสริม
การจินตนาการของเด็ก
พชั รี สวนแก้ว. (๒๕๓๖). ไดก้ ล่าวว่า การเลน่ เป็นกจิ กรรมท่ีสำ�คัญมาก
ตอ่ เดก็ เพราะนอกจากจะเปน็ ธรรมชาตขิ องเดก็ แลว้ การเลน่ ยงั เปน็ สง่ิ ทน่ี �ำ ไปส ู่
การเรียนรู้จักธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูน
ความรู้ให้แก่เด็ก นอกจากนี้การเล่นยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาไปสู่วิถีทาง
การดำ�เนินชีวิตเม่ือเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ประสบการณ์ท่ีเด็กได้จากการเล่น
จะนำ�ไปส่กู ารรบั ผดิ ชอบต่อตนเอง ชว่ ยใหเ้ ด็กสามารถปรับตวั ใหเ้ ขา้ กับสังคม
และอย่รู ่วมกบั ผู้อ่นื ได้อย่างมคี วามสขุ

บทท่ี ๒ ความสำ�คญั 27

สรวงธร นาวาผล. (๒๕๔๒). กล่าวว่า การเล่นสำ�หรับเด็กมีผล
ต่อการกระต้นุ การเรียนร้พู ัฒนาการของสมอง เสริมสร้างความฉลาด พัฒนา
สตปิ ญั ญา พฒั นาอารมณ์ ความคดิ สรา้ งสรรคก์ ารสอ่ื สาร การเลน่ ชว่ ยเสรมิ สร้าง
ลักษณะนิสัยของเด็กได้เรียนทักษะต่าง ๆ จากการเล่น เด็กได้เรียนรู้
หลายส่งิ หลายอย่างจากการเลน่
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (๒๕๔๒). ได้กล่าวว่า การเล่นซ่งึ มีความสำ�คัญ
กับเด็กมาก ไม่เพียงแต่สร้างความสนุกเพลิดเพลินให้กับเด็กเท่านั้น
แต่ยังหมายถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นจะเป็นการเรียนรู้
ของเดก็ มากขน้ึ ถา้ ครจู ดั เตรยี มการเลน่ อยา่ งมจี ดุ ประสงค์ และพรอ้ มทจ่ี ะใหก้ ารเลน่
เป็นการเรียนรู้ท่ีสนุก การเล่นของเด็ก การเล่นเป็นกิจกรรมท่ีสำ�คัญในชีวิต
เดก็ ทกุ คน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต ได้มีโอกาสทดลอง
สร้างสรรค์ความคิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นมีอิทธิพล
และมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ช่วยพัฒนาทง้ั ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ
สงั คมและสติปญั ญา
จะเห็นได้ว่าการละเล่นพื้นบ้านไทยมีคุณค่า มีความสำ�คัญ
และมปี ระโยชนอ์ ยา่ งยง่ิ โดยเฉพาะกบั เดก็ และเยาวชน ซง่ึ เปน็ ก�ำ ลงั ส�ำ คญั ของชาต ิ
เพ่ือที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ท่ีมีศักยภาพในอนาคต การละเล่นพ้ืนบ้านไทยน้ี
เป็นส่ิงที่บอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน
ได้เล่นการละเล่นพ้ืนบ้านไทย ยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทย
ให้สบื ไปดว้ ย

28 บทที่ ๒ ความสำ�คัญ

29

บทท่ี ๓

การละเลน่ พื้นบา้ นไทย

30 บทที่ ๓ การละเลน่ พื้นบา้ นไทย

การละเล่นพื้นบา้ นไทย

การละเล่นพื้นบ้านไทยที่ผู้เรียบเรียงจะนำ�เสนอต่อไปนี้ ได้รวบรวม
แ ล ะ คั ด เ ลื อ ก จ า ก โ ค ร ง ก า ร นั น ท น า ก า ร ก า ร ล ะ เ ล่ น พ้ื น บ้ า น ไ ท ย
กจิ กรรมการละเลน่ พน้ื บา้ นไทยสานใจ สานรกั ซงึ่ กรมพลศกึ ษา ไดจ้ ดั โครงการ
ดงั กลา่ วเพอ่ื สง่ เสรมิ วฒั นธรรม ภมู ปิ ญั ญานนั ทนาการการละเลน่ พน้ื บา้ นของไทย
เผยแพร่และปลูกจิตสำ�นึกในการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณีการละเล่น
พ้ืนบ้านไทยให้แก่เดก็ เยาวชน และประชาชน สง่ เสริมพฒั นาการเด็กปฐมวัย
ให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยใช้กิจกรรมนันทนาการการละเล่นพื้นบ้านไทย
และน�ำ มาจากหนงั สือกีฬาพื้นบา้ น ซงึ่ กรมพลศึกษาได้จดั ทำ�ข้ึน

บทที่ ๓ การละเลน่ พน้ื บ้านไทย 31

วิ่งเปี้ยว

วธิ ีเลน่

จดั ใหม้ ผี เู้ ลน่ ทมี ละ ๑๐ คน ยนื เรยี งแถวตอนอยดู่ า้ นหลงั เสาประจ�ำ ทมี
เมอ่ื เรม่ิ การเลน่ กรรมการจะใหส้ ญั ญาณ ผเู้ ลน่ แตล่ ะฝา่ ยจะตอ้ งวง่ิ จากฝง่ั ตวั เอง
ไปอ้อมเสาประจำ�ทีมของฝ่ายตรงข้าม จากนั้นให้ว่ิงวนกลับมาส่งผ้าให้ผู้เล่น
คนถัดไปในทีมของตนเอง โดยผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องพยายามเอาผ้าท่ีถืออยู่
วิ่งไล่ตีฝ่ายตรงข้ามให้ทัน เม่ือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไล่ตีฝ่ายตรงข้ามได้ทัน
ถือวา่ การเล่นสน้ิ สดุ ลง

ประโยชน์

เป็นการออกกำ�ลังกาย ฝกึ ความวอ่ งไว สรา้ งความสามัคคีในหมคู่ ณะ

32 บทที่ ๓ การละเล่นพน้ื บ้านไทย

ตลี กู ล้อ

วธิ เี ลน่

ก�ำ หนดระยะทางการเลน่ ประมาณ ๒๐ เมตร น�ำ ลกู ลอ้ (อาจท�ำ มาจาก
ล้อยางรถจักรยาน ไม้ไผ่ ฯลฯ) และไม้ไผ่สำ�หรับตี ให้ผู้เล่น ณ จุดเริ่มต้น
ให้สัญญาณเร่ิมการเล่นต้องตีลูกล้อให้กล้ิงไปข้างหน้าจนถึงเส้นชัย
ใครถงึ กอ่ นเป็นผชู้ นะ

ประโยชน์

ฝกึ ความวอ่ งไว สมาธิ การออกก�ำ ลงั แขนและขา

บทที่ ๓ การละเล่นพ้นื บา้ นไทย 33

แข่งเรอื บก

วิธเี ล่น

จดั ใหม้ ีผเู้ ลน่ ทมี ละ ๑๐ คน น่งั เรียงแถวตอนโดยให้คนท่นี ั่งอยขู่ ้างหลงั
ใช้ขารัดเอวคนข้างหน้าต่อกันไปเรื่อย ๆ จนครบคน เมื่อเร่ิมการเล่น
กรรมการจะให้สัญญาณ โดยแต่ละทีมต้องพยายามกระเถิบตัวไปข้างหน้า
ให้เร็วท่ีสุด โดยห้ามไม่ให้ขาหลุดจากเอวคนข้างหน้า (ถ้าหลุด กรรมการ
จะทำ�โทษให้หยุดพักไป ๓ วินาที จึงจะเร่มิ ใหม่ได้) ทีมท่ีเข้าเส้นชัยเร็วท่ีสุด
เปน็ ผชู้ นะ

ประโยชน์

เปน็ การออกกาย สร้างความสามคั คีในหมคู่ ณะ

34 บทที่ ๓ การละเล่นพื้นบา้ นไทย

มา้ หมนุ (เกา้ อี้ดนตร)ี

วิธีเลน่

กรรมการจะตง้ั เกา้ อเ้ี รยี งเปน็ วงกลม ใหเ้ กา้ อม้ี จี �ำ นวนนอ้ ยกวา่ ผเู้ ลน่ ๑ ตวั
แล้วให้ผู้เล่นยืนเป็นวงกลมล้อมรอบเก้าอี้ จากน้ันกรรมการจะเปิดเพลง
เมอ่ื เพลงดงั ขน้ึ ใหผ้ เู้ ลน่ เดนิ ไปรอบวงพรอ้ มกบั ร�ำ ใหเ้ ขา้ จงั หวะเพลง พอเพลงหยดุ ลง
ผู้เลน่ ตอ้ งรีบนง่ั ลงบนเก้าอที้ นั ที ผเู้ ลน่ คนใดท่ไี มม่ ีท่ีนัง่ ตอ้ งออกจากการเล่นไป
จากน้นั จะทำ�การดงึ เก้าอ้อี อกไปครง้ั ละ ๒ – ๓ ตวั และเรมิ่ เล่นต่อไปเร่อื ย ๆ
จนเหลอื ผเู้ ลน่ ๒ คน สดุ ทา้ ย และเหลอื จ�ำ นวนเกา้ อ้ี ๑ ตวั ผเู้ ลน่ คนใดทน่ี ง่ั ไดก้ อ่ น
ในท้ายท่ีสดุ เป็นผชู้ นะ

ประโยชน์

สรา้ งความสนุกสนาน ฝกึ ความว่องไว ไหวพริบ มสี มาธิ

บทท่ี ๓ การละเลน่ พ้นื บ้านไทย 35

ชกั เย่อ

วธิ ีเล่น

จัดให้มีผู้เล่นทีมละ ๑๐ คน ยืนเรียงแถวตอนหลังเส้นก้ันเขตแดน
ประจำ�ฝั่งของตน จัดเตรียมเชือกสำ�หรับการแข่งขันความยาวอย่างน้อย ๒๑ ม.
โดยมีเส้นรอบวงเชือกไม่ต่ำ�กว่า ๑๐ ซม. แต่ไม่เกิน ๒๕ ซม. ตรงก่ึงกลาง
ของเชือกทาสีแดงหรือทำ�เป็นสัญลักษณ์ที่เห็นชัดเจนเอาไว้ โดยบริเวณสนาม
ทีต่ รงกับจุดสีแดงของเชอื กจะตเี ส้นเป็นสญั ลกั ษณข์ องจุดเริ่มตน้ และจากจุดสีแดง
นับไปทางซ้าย ๒.๕๐ ม. ทางขวา ๒.๕๐ ม. และทาสีขาวหรือทำ�สัญลกั ษณท์ ่เี ห็น
ชัดเจนเอาไว้ ฝ่ายใดดึงให้สีขาวของอีกฝ่ายหน่ึงมาถึงจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน
จะเป็นผู้ชนะ ในส่วนของตำ�แหน่งท่ีผู้เล่นใช้มือจับเชือก จะต้องมีระยะห่างจาก
จุดสีขาวอย่างน้อย ๑ ม. และต้องทำ�เคร่อื งหมายสีนำ้�เงินเป็นสัญลักษณ์บอกถึง
บรเิ วณทเ่ี รม่ิ จบั เชอื กได้ แข่งขนั จนกำ�หนดระยะเวลาการแข่งขันในแตล่ ะคู่ ๓ นาที
ในกรณที แี่ ขง่ ขนั เกนิ เวลาทกี่ �ำ หนดแลว้ ไมม่ ผี ลแพ้ – ชนะ ใหพ้ จิ ารณาจากจดุ กง่ึ กลาง
ของเชือกว่ากนิ เขา้ ไปในแดนฝา่ ยใดใหฝ้ า่ ยนนั้ เปน็ ผูช้ นะการแข่งขัน

ประโยชน์
เปน็ การออกก�ำ ลังกาย สร้างความสามคั คใี นหมู่คณะ

36 บทที่ ๓ การละเล่นพน้ื บ้านไทย

กะโดดเชือก

วธิ เี ลน่

การเล่นกะโดดเชือกน้ีเป็นกีฬาสืบเน่ืองมาแต่คร้ังโบราณ นิยมเล่น
เวลามีงานนักขัตฤกษ์ และเวลาว่างงาน หัดให้ผู้เล่นใช้กำ�ลังแขน กำ�ลังเท้า
เป็นคนตาไว คล่องแคล่ว พอเห็นเชือกแกว่งดีแล้ว ก็ให้คนหน่ึงวิ่งเข้าไป
ระวงั อยา่ ใหต้ ดิ เชอื ก และยนื ระหวา่ งกลางคนแกวง่ เชอื กทง้ั สอง คอยกะโดดขน้ึ
เม่ือเชือกฟาดลงพื้นเพ่ือให้เชือกลอดไป ต้องหมายตาคอยดูให้ดี พอกะโดด
ได้สักสิบครั้งก็วิ่งออกไปอีกด้านหน่ึง แล้วคนที่สองจึงว่ิงเข้าไปกะโดดบ้าง
ใหผ้ เู้ ลน่ วง่ิ ทยอยเขา้ ไปกะโดดเชน่ นจ้ี นครบ ผเู้ ลน่ ทกุ คนจะตอ้ งผลดั กนั แกวง่ เชอื ก
และต้องแกว่งให้ดี คือให้เชือกตกลงเฉียดพ้ืนพอดี และเวลาเชือกแกว่งขึ้น
กใ็ หข้ า้ มศรี ษะคนกะโดดไปได้ อยา่ ใหไ้ ปฟาดถกู ตวั เขา้ ผทู้ เ่ี ลน่ ตอ้ งฝกึ หดั แกวง่ เชอื ก
ใหเ้ ปน็ เสยี กอ่ นทกุ คน และใหผ้ เู้ ลน่ ผลดั กนั แกวง่ ในเวลาเลน่ เพอ่ื มใิ หค้ นแกวง่ ประจ�ำ
เม่อื ยแขนเกนิ ไป

บทที่ ๓ การละเลน่ พื้นบ้านไทย 37

เม่อื กะโดดไดช้ ำ�นาญแลว้ จึงเปลีย่ นวิธีเล่นให้ยากขน้ึ ตามล�ำ ดบั ดงั นี้
๑. ใหผ้ เู้ ลน่ วงิ่ เข้าไปทางเชือกท่ีแกวง่ ข้ึน
๒. ให้ยืนเท้าเดียวเวลากะโดดจะเปล่ียนเท้าบ้างก็ได้ แต่ต้องระวัง
อยา่ ให้เทา้ ถงึ ดินพร้อมกนั ทั้งสองเท้า
๓. แกว่งเชือกอย่าให้ตกถึงพืน้ กะดใู ห้สูงกว่าพื้นหน่งึ คืบ เพอ่ื ใหผ้ กู้ ะโดด
กะโดดสูงขึ้น และกะโดดไดย้ ากเข้า
๔. แกว่งเชือกตามธรรมดา และให้ผู้เล่นวิ่งเข้าไปกะโดดพร้อม ๆ กัน
ราวครง้ั ละ ๑๐ คน

ประโยชน์

เปน็ การออกก�ำ ลังกายใหร้ า่ งกายแข็งแรง ชว่ ยให้มคี วามว่องไว
หมายเหตุ
ค�ำ วา่ “กะโดดเชอื ก” เปน็ ค�ำ วา่ ดง้ั เดมิ จงึ ยงั คงไว้ แตป่ จั จบุ นั ใชค้ �ำ วา่ “กระโดดเชอื ก”

ที่มา : จังหวดั นครปฐม

38 บทที่ ๓ การละเลน่ พ้นื บา้ นไทย

กาฟกั ไข่

วิธเี ลน่

ก่อนจะเล่นต้องหาอะไรมาทำ�ไข่กา เป็นต้นว่ากาบมะพร้าวประมาณ
๑๐ กาบ สมมตใิ หเ้ ปน็ ไขแ่ กว้ เสยี ๑ กาบ แลว้ ขดี วงกลมลงบนดนิ เปน็ เขตรงั กา
เอากาบมะพรา้ วทง้ั หมดตา่ งไขว่ างกลางวงทข่ี ดี นนั้ แลว้ ผใู้ ดผหู้ นง่ึ สมคั ร
เป็นตัวกาก็ลงฟักไข่ ส่วนผู้เล่นจะกี่คนก็ตามไม่จำ�กัดเป็นคนชิงไข่กา
ผู้เป็นกาต้องระวังไข่ของตน เม่ือมีใครล่วงล้ำ�เข้าไปในวงก็คอยเอามือไล่ปัด
ให้ถูกผู้เข้าปานั้น ถ้าปัดถูกผู้ที่เป็นกาก็ออกมาเป็นคนชิงไข่บ้าง ผู้ท่ีถูกปัด
ต้องเข้าไปเปน็ แม่กาแทน ถ้าชงิ ไข่แกว้ ไดล้ ูกเดยี วก็เท่ากบั ไดท้ ้งั หมด

บทที่ ๓ การละเล่นพ้ืนบ้านไทย 39

ถา้ ไมไ่ ดไ้ ขแ่ กว้ ตอ้ งชงิ ไขธ่ รรมดาจนหมด ถา้ กาปดั ไมถ่ กู ใครจนถกู ชงิ ไข ่
ไปหมด ผเู้ ลน่ กป็ ดิ ตาผเู้ ปน็ กาแลว้ ใหผ้ ใู้ ดผหู้ นง่ึ เอาไขไ่ ปซอ่ นไวท้ ต่ี า่ ง ๆ แลว้ ถาม
ผู้เป็นกาว่าไข่นั้นอยู่ที่ไหน ผู้เป็นกาต้องตอบตามใจของตน ถ้าทายไม่ถูก
ทซ่ี อ่ นไข่ ผซู้ อ่ นไขต่ อ้ งบอกไปวา่ ซอ่ นไขไ่ วก้ ท่ี ่ี เปน็ ตน้ วา่ ซอ่ นไว้ ๓ ท่ี แลว้ ผชู้ งิ ไข่
ก็ดึงใบหูผู้เป็นกาไปยังท่ีซ่อนไข่ไว้จนครบ ๓ ท่ี ผู้ท่ีดึงหูต้องรีบว่ิงกลับ
เข้าไปอยู่ในวงของกาโดยเรว็ แลว้ ก็เร่มิ เล่นกนั ใหมอ่ ย่างเดมิ

ประโยชน์

การเล่นชนิดนี้นิยมเล่นในเทศกาลปีใหม่ และวันสงกรานต์
เพ่ือความสนุกรื่นเริง และเป็นการออกกำ�ลังกายกลางแจ้ง สมานสามัคคี
ในหม่คู ณะ กับฝกึ ใหเ้ ป็นคนมีความวอ่ งไว

ท่ีมา : จงั หวดั กาญจนบุรี

40 บทที่ ๓ การละเล่นพืน้ บ้านไทย

ขีม่ า้ สง่ เมอื ง

การละเล่นชนิดนี้ไม่กำ�หนดจำ�นวน แต่ถ้าจำ�นวนน้อยเกินไป
การเล่นก็ไม่สนุก หรือถ้ามาก กว่าจะแพ้หรือชนะก็กินเวลานาน
การเล่นชนิดนี้เหมาะสำ�หรับผู้ชาย เพราะฝ่ายชนะจะต้องขึ้นขี่หลังฝ่ายแพ้
สถานทส่ี �ำ หรบั เลน่ ไมจ่ �ำ กดั ความกวา้ งยาว สดุ แตผ่ เู้ ลน่ มากหรอื นอ้ ยเปน็ ปรมิ าณ

วธิ ีเลน่

ข้ันท่ี ๑ จะต้องเลือกผู้หน่ึงผู้ใดท่ีพอไว้วางใจได้คนหน่ึงเป็นคนกลาง
สำ�หรบั เปน็ กรรมการ แล้วแบ่งผู้เล่นออกเปน็ ๒ ฝ่ายเท่า ๆ กนั ฝา่ ยหนงึ่ เปน็
ฝา่ ยกระซบิ อกี ฝา่ ยหนง่ึ เปน็ ฝา่ ยทาย แลว้ ใหท้ ง้ั ๒ ฝา่ ย แยกไปยนื อยฝู่ า่ ยละดา้ น
ของสถานที่ ส่วนคนกลางยืนอยู่ระหว่างกลางห่างพวกท้ัง ๒ มีระยะเท่ากัน
ในฝ่ายหนึ่ง ๆ ให้ผู้เล่นตกลงกันเลือกหัวหน้าขึ้นคนหนึ่ง
หัวหน้าต้องเป็นผู้ฉลาดและไหวพริบดี รู้จักทายให้ผู้อื่นให้ถูกมากกว่าผิด
และเป็นผูท้ ่ีรู้จักช่อื สง่ิ ตา่ ง ๆ แปลก ๆ

บทที่ ๓ การละเลน่ พื้นบา้ นไทย 41

ข้ันที่ ๒ คนกลางเรียกหัวหน้าทั้งสองฝ่ายซ่ึงได้ตั้งแล้วน้ันมาโยนหัว
โยนกอ้ ย ฝา่ ยใดโยนหวั กอ้ ยไดต้ ามทตี่ กลงกนั ฝา่ ยนนั้ ชนะไดเ้ ปน็ ผกู้ ระซบิ กอ่ น
อกี ฝา่ ยหนง่ึ เปน็ ฝา่ ยทาย คนกลางจะตอ้ งใหห้ วั หนา้ ๒ ฝา่ ยนน้ั ตกลงกนั เสยี กอ่ น
วา่ จะกระซบิ เรอื่ งอะไร เช่น นามจงั หวัด นามดอกไม ้ นามนก นามขนม ฯลฯ
นามใดนามหนึ่ง ในท่ีน้ีสมมติว่าหัวหน้าตกลงกันว่าจะกระซิบ นามจังหวัด
ในประเทศไทย หัวหน้ากก็ ลับไปบอกพวกของตนตามที่ไดต้ กลงกันไว้
ขัน้ ท่ี ๓ กระซบิ คือ ฝา่ ยที่ชนะ การโยนหวั โยนกอ้ ยใหค้ นใดคนหนง่ึ
พวกของตนว่ิงมากระซิบนามจังหวัดแก่คนกลาง สมมติว่าฝ่ายกระซิบไว้
กระซบิ วา่ “จงั หวดั นครปฐม” แกค่ นกลาง คนกลางตอ้ งพจิ ารณาวา่ นามจงั หวดั นน้ั
เป็นการถูกต้องกับหัวหน้าได้ตกลงกันไว้ และจะมีปัญหาโต้เถียงกันหรือไม่
โดยเฉพาะข้อสมมติน้ถี ูกตอ้ ง และไม่มีปญั หาก็สัง่ ใหค้ นกระซิบกลับท่ไี ด้
ขนั้ ท่ี ๔ ใหฝ้ า่ ยทาย สง่ ผเู้ ลน่ มาคนหนง่ึ วง่ิ มาถามคนกลางวา่ นามจงั หวดั
ท่ีฝ่ายโน้นมากระซิบไว้เป็นนามจังหวัด........... (ระบุนามจังหวัด) ใช่หรือไม่?
ถ้าผิดคนกลางก็บอกว่าไม่ใช่ แล้วให้ผู้นั้นวิ่งกลับไปที่คนอื่นจึงว่ิงมาทายใหม่
ผลดั กนั มาทายทลี ะคน ๆ จนหมดคน ถา้ สมมตวิ า่ ฝา่ ยทาย ๆ วา่ “จงั หวดั นครปฐม”
คนกลางกต็ อ้ งรอ้ งดงั ๆ วา่ ถกู แลว้ เปน็ อนั วา่ ฝา่ ยทายเปน็ ฝา่ ยชนะ แตถ่ า้ ฝา่ ยทายได้
ทายจนทวั่ คนแลว้ ไมถ่ กู เลยเปน็ อนั ว่าฝา่ ยกระซบิ เปน็ ผู้ชนะ
ข้ึนท่ี ๕ ถ้าฝ่ายใดแพ้จะต้องถูกปรับโดยไม่รับฝ่ายชนะให้ข้ึนขี่หลัง
มาจนถงึ ทเ่ี ดมิ ของฝา่ ยชนะนบั วา่ เปน็ เสรจ็ วธิ เี ลน่ แตถ่ า้ ผเู้ ลน่ ยงั สมคั รใจจะเลน่ ตอ่ ไป
กด็ �ำ เนินการอยา่ งทกี่ ลา่ วมาแลว้ ตง้ั ต้นเลน่ กันใหม่
ตามที่แนะน�ำ มาแลว้ นี้เปน็ วิธเี ล่นอย่างธรรมดา ถ้าผเู้ ล่นจะพลิกแพลง
เชงิ เลน่ ตอ่ ไปอกี กไ็ ด้ เชน่ ขอ้ ก�ำ หนดวธิ ที ายจะใหท้ ายคนละ ๒ เทย่ี ว หรอื ๓ เทย่ี ว
กไ็ ด้ หรอื ให้ทายจนครบคนแล้วไม่ถกู เลยจะเปลีย่ นให้คนทายส่งคนใดคนหน่งึ

42 บทท่ี ๓ การละเลน่ พ้นื บ้านไทย

มากระซิบบ้าง และฝ่ายกระซิบในครั้งแรกเปล่ียนตัวกันออกมาทาย
ถา้ ผลดั กนั แพผ้ ลดั กนั ชนะฝา่ ยละครง้ั นบั วา่ เสมอกนั แตถ่ า้ แพถ้ งึ ๒ ครง้ั ตดิ ตอ่ กนั
จงึ นับวา่ แพ้กไ็ ด้ดังนี้ เป็นต้น

ขอ้ ควรระวัง

๑. ฝ่ายกระซิบจะต้องตกลงระหว่างกันเองเสียก่อนว่าจะกระซิบอะไร
เพ่อื ใหร้ ้กู นั ในระหว่างพวกของตน
๒. ฝ่ายทายจะต้องตกลงระหว่างพวกกันเองว่าจะทายว่าอะไร
เพ่ือมิให้ทายซำ้�กัน เพราะตามธรรมดาคนหนึ่งทายได้เท่ียวเดียว
ในการเล่นคราวหน่งึ
๓. คนกลางต้องระวังอย่าให้ผู้เล่นฝ่ายที่ทายแล้ว กลับออกมาทายอีก
ในคราวเดยี วกัน เวน้ แต่จะตกลงใหผ้ ู้เล่นออกมาทายไดม้ ากกวา่ ๑ เท่ยี วข้ึนไป

ประโยชน์

เพือ่ ฝึกหัดใหผ้ ูเ้ ลน่ ฉลาดและมไี หวพรบิ รจู้ กั คิดทายใจผู้อ่นื รู้จกั คดิ ค้น
หาชอ่ื สงิ่ ของตา่ ง ๆ แปลก ๆ รจู้ กั เลอื กคนใหเ้ หมาะแกห่ นา้ ท่ี รจู้ กั รกั ษาระเบยี บ
วินยั

ท่มี า : กรงุ เทพมหานคร

บทที่ ๓ การละเลน่ พืน้ บ้านไทย 43

งกู ินหาง

วธิ ีเล่น

ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ พวก คือ หญิงพวกหน่ึง ชายพวกหนึ่ง ยืนเรียงกัน
เข้าเป็นแถว ชายอยู่หน้า หญิงอยู่ข้างหลัง หรือจะเล่นพวกเดียวก็ได้ เม่ือยืน
เรียงกันแล้วต่างจับเอวกันต่อ ๆ ไป คนหนึ่งหน้าที่สุดเป็นงู เม่ือจับกันแล้ว
คนหน้าก็ออกเดินวนไปเวียนมาระหว่างวนจะต้องร้องว่า “กินหัวกินหาง
กินกลางตลอดตัว” แล้วโอบเล้ียวไปจับคนท้าย คนท้ายจะต้องคอยหนี
แต่จะปล่อยจากเอวคนหน้าไม่ได้ ถ้าหนีไม่ทันถูกจับได้เป็นผู้ตาย
แลว้ แต่จะปรบั กนั อย่างไร คอื จะถกู รำ� หรือทำ�อะไร แล้วแตส่ ญั ญากัน

ประโยชน์

เพือ่ หัดให้เป็นผู้มีไหวพรบิ ดี รู้จกั ทหี นที ีไล่

ท่ีมา : จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา

44 บทที่ ๓ การละเล่นพ้ืนบา้ นไทย

ตจี่ บั

ตี่จับเป็นการละเล่นพ้ืนเมืองอย่างหน่ึง ซึ่งมักจะเล่นกัน ในงานร่ืนเริง

วิธีเล่น

ก่อนที่จะลงมือเล่นต้องทราบจำ�นวนผู้ที่จะเล่นทั้งหมดเสียก่อน
ว่ามีเท่าไรเม่ือทราบแล้วให้แบ่งออกเป็น ๒ พวก ๆ ละเท่า ๆ กัน
จะเป็นพวกละก่ีคนได้ไม่จำ�กัด สถานท่ีสำ�หรับใช้ในการเล่นโดยมาใช้ลาน
หรือสนามกว้าง ๆ ตอนก่ึงกลางของสนามให้เขียนเส้นท่ีเห็นได้ง่าย
เพื่อแบ่งออกเป็นสองเขต แล้วให้ผู้เล่นอยู่พวกละข้างของเส้นแบ่งเขต
ก่อนลงมือเล่นผู้ตัดสินจะโยนหัวโยนก้อย หรือจะจับไม้ส้ันไม้ยาวก็ได้
ท้ังนี้ก็เพ่ือให้ท้ังสองฝ่ายเลือกเขตก่อนหรือหลัง เม่ือการเลือกสถานที่ได้
เรยี บรอ้ ยแลว้ ผตู้ ดั สนิ ใหท้ ง้ั สองพวกเรม่ิ ลงมอื เลน่ กนั จะเปน็ พวกไหนเรม่ิ ตก่ี อ่ นกไ็ ด้
พวกได้เริ่มตีก่อนก็ตี่เข้าไปในเขตของอีกพวกหนึ่งได้หนึ่งคนจะเป็นใครก็ได้

บทท่ี ๓ การละเล่นพืน้ บ้านไทย 45

ตอ่ จากนน้ั อกี พวกหนง่ึ กต็ ไี่ ดห้ นง่ึ คน ผลดั กนั เปน็ ล�ำ ดบั เรอื่ ย ๆ ในขณะทตี่ เ่ี ขา้ ไป
ในเขตของอีกพวกหน่ึงนั้น ผู้ต่ีจะต้องอึดใจออกเสียง “ตี่” เรื่อย ๆ ไป
พร้อมกับพยายามท่ีจะฟัน (ถูกตัว) อีกพวกหน่ึงให้ได้เม่ือถูกได้แล้วตน
จะตอ้ งรีบกลบั มาเขตของตนเสียโดยเรว็ โดยไม่ขาดเสียงตี่ ผู้ทถ่ี กู ฟนั จึงจะเป็น
ผู้ที่หมดสิทธ์ิที่เล่นอีกต่อไป เรียกว่า “ตาย” ขณะเมื่อผู้ตี่เข้าไปในเขต
ของอีกพวกหน่ึงจนเสียงตี่น้ันหมดลงก็ต้องรีบกลับทันที อย่าให้อีกพวกหนึ่ง
ฟันได้ (ถูกตัว) ถ้าผตู้ ห่ี มดเสยี งหนีไมท่ นั ถกู อีกพวกหนึง่ ฟนั ได้ผู้นัน้ ก็หมดสทิ ธ์ิ
ทจ่ี ะเล่นเหมือนกัน (ตาย) ผู้ทีเ่ รยี กวา่ ตาย ตอ้ งออกพักนอกสนาม
หนา้ ทข่ี องฝา่ ยรบั เมอ่ื ฝา่ ยต่ี ๆ เขา้ ไปในเขตของตน จะตอ้ งพยามจบั ผตู้ น่ี น้ั
ใหอ้ ยู่ เพอ่ื ให้ผู้ต่ีหมดเสยี งต่ี คือ หมายความวา่ ผ้ทู ี่ตเี่ ข้าไปน้ันไม่สามารถทจ่ี ะ
ออกเสียงได้ต่อไป ซ่งึ เรียกตามศัพท์เล่นต่จี ับว่า “ขาดจับ” ผ้ตู ่เี ม่อื ถูกฝ่ายรับ
จับได้ก็พยายามท่ีจะรักษาเสียงไว้ และพยายามท่ีจะหนีเข้ามาในเขตของตน
หรือให้ถึงเขตกึ่งกลางของสนามเล่นให้ได้ ถ้าแม้ว่าผู้ตี่เข้าไปในเขต
หรอื ถงึ เสน้ กง่ึ กลางสนามได้ ผทู้ ถ่ี กู ตวั ผตู้ ท่ี กุ ๆ คน ตอ้ งหมดสทิ ธใ์ิ นการเลน่ (ตาย)
การตัดสิน ตดั สินตามจำ�นวนคน คือ ถ้าพวกใดตายหมด พวกนั้นกแ็ พ้
พวกท่ียังมีคนเหลืออยู่เป็นพวกชนะ แต่ถ้าหากมีเหลือท้ังสองพวกก็ให้นับ
จ�ำ นวนคนดวู า่ ฝา่ ยใดคนนอ้ ยกวา่ ฝา่ ยนน้ั เปน็ แพ้ ฝา่ ยทม่ี คี นมากกวา่ เปน็ ฝา่ ยชนะ
ถ้าเหลอื เท่ากนั ก็เสมอกนั

ประโยชน์

ฝกึ การออกกำ�ลงั กาย ฝึกการเป็นผูม้ ีไหวพริบดี วอ่ งไว

46 บทที่ ๓ การละเล่นพื้นบ้านไทย

มอญซอ่ นผา้

วิธเี ล่น

ผทู้ จ่ี ะเลน่ นง่ั ลอ้ มเปน็ วงประมาณ ๑๕ หรอื ๒๐ คน กไ็ ด้ แลว้ อกี คนหนง่ึ
ถอื ผ้าฟันอย่างสายตะพด ว่งิ รอบ ๆ วงท่ีคนน่งั ถ้าพอใจจะเฆ่ียนผใู้ ด ก็ใชผ้ ้านน้ั
วางหรือโยนไว้ข้างหลังผู้ที่นั่งคนนั้น แล้วออกว่ิงไปรอบวงจนมาถึงผ้าท่ีวางไว้
จึงหยิบผ้ามาเฆี่ยนผู้ถูกซ่อน ผู้ถูกซ่อนเห็นผ้าในเวลาผู้ซ่อนยังวิ่งมาไม่ถึงผ้า
ผู้ถูกซ่อนมีสิทธิ์หยิบผ้าวิ่งแทนผู้ซ่อน ๆ ต้องน่ังลงในวงทันที ไม่เช่นนั้น
ค น ว ง ทั้ ง ห ม ด มี สิ ท ธ์ิ ช่ ว ย เ ห ลื อ นำ � ตั ว ผู้ น้ั น ใ ห้ ล ง น่ั ง จ น ไ ด้ ผู้ ถื อ ผ้ า ก็ ป ฏิ บั ติ
ในการมีผ้าเช่นท่ีแล้วมา ผู้ถูกซ่อนก็ปฏิบัติดังกล่าวมาแล้ว การเล่นชนิดนี้
นยิ มเลน่ ในเทศกาลสงกรานต์

ประโยชน์

ทำ�ให้เกิดความรืน่ เริงในหมคู่ ณะ เปน็ การออกก�ำ ลงั ใหร้ า่ งกายแขง็ แรง
โดยวธิ วี งิ่ เกดิ ไหวพรบิ โดยวิธถี ูกซ่อนผ้า รู้จักระเบียบโดยวธิ ีนัง่

ทีม่ า : จังหวดั เพชรบุรี

บทท่ี ๓ การละเลน่ พื้นบา้ นไทย 47

ลงิ ชิงหลกั

วิธีเลน่

จดั คนเขา้ ๕ คนใหเ้ ปน็ ลงิ เสยี ๑ คน โดยวธิ จี บั ฉลากอกี ๔ คนเขา้ ประจ�ำ หลกั
ทป่ี กั ไว้ แลว้ เรม่ิ ผลดั เปลย่ี นหลกั กนั ลงิ ตอ้ งพยายามคอยเกาะหลกั ใหไ้ ด้ เมอ่ื ลงิ ไดห้ ลกั
คนท่ีเหลืออยู่ต้องเป็นลิงต่อไป นอกจากจะทำ�ให้เป็นลิงได้รับความอับอาย
และเกดิ ความมานะทจี่ ะเอาชยั โดยวธิ ยี ดึ หลกั แลว้ กไ็ ดส้ บั เปลย่ี นกนั แพก้ นั ชนะ

ประโยชน์

ทำ�ใหเ้ กดิ ความวอ่ งไว ไหวพริบดีมาก

ท่มี า : จังหวดั สมุทรสาคร

48 บทท่ี ๓ การละเลน่ พ้นื บา้ นไทย

รี ๆ ข้าวสาร

วธิ เี ล่น

ใชค้ นสองคนจบั มอื กนั เขา้ ทง้ั สองมอื ยนื หนั หนา้ หากนั มอื ทจ่ี บั ชขู น้ึ พน้ หวั
ทำ�คล้ายซุ้มประตู ผู้เล่นนอกนั้นยืนเรียงกันเข้าจับเอวกันเดินลอดประตูท่ีว่าน้ี
ปากกร็ อ้ ง “รี ๆ ขา้ วสาร สองทะนานขา้ วเปลอื ก เลอื กฆอ้ งใบลาน พานคนขา้ งหลงั ไว”้
ผเู้ ปน็ ประตจู ะตอ้ งคอยระวงั ค�ำ วา่ พานคนขา้ งหลงั ไว้ จะตอ้ งลดมอื ลง เอามอื นน้ั
คลอ่ มคนขา้ งหลงั ไวค้ นอยหู่ ลงั จะตอ้ งรบี หนผี า่ นไปใหไ้ ด้ ถา้ ถกู เขาพานไวต้ อ้ งตาย
ผูต้ ายถูกลงโทษใหร้ �ำ

ประโยชน์

เพือ่ ฝกึ หัดความว่องไวของผ้ทู เี่ ป็นซุ้มประตแู ละผอู้ ยทู่ า้ ยแถว

ที่มา : จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา

บทท่ี ๓ การละเล่นพน้ื บ้านไทย 49

โพงพาง

วธิ ีเลน่

ให้ผู้เล่นจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้ส้ันยืนกลางเป็นวง “ปลา”
นอกน้นั เป็น “โพงพาง” ยืนจับมือล้อมวงกันเข้ารอบปลา หันหน้าเข้าข้างใน
แลว้ กระโดดไปรอบ ๆ ตอ้ งระวงั อยา่ ใหม้ ือหลุดจากกนั และร้องพรอ้ ม ๆ กนั วา่
“โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง” พอร้องจบ
ให้ทุก ๆ คนท่ีจับมือกันเป็นวงน่ังยอง ๆ ลงทันที ถ้าผู้ใดนั่งไม่ทันโดยปลา
เอามือแตะถูกตัวเข้าก่อน ผู้น้ันจะต้องเป็นปลาแทนในคราวต่อไป
แต่ปลาจะออกวงจากท่ีก่อนร้องเพลงจบไม่ได้ และถ้าวิ่งไปแตะผู้อื่นไม่ทัน
ก็จะต้องเล่นเปน็ ปลาตามเดิมในคราวตอ่ ไป ถ้าผ้ทู เ่ี ป็นปลาไมส่ ามารถจบั ผ้อู ่นื
ให้มาเป็นปลาแทนตนได้ใน ๓ ครั้งซ้อน ๆ กัน ก็ให้ผู้เล่นอ่ืนทำ�โทษ
โดยวธิ ชี ว่ ยกันจงู หางใหเ้ ดินไปจนรอบวงแลว้ คงใหเ้ ปน็ ปลาตามเดิม

ประโยชน์

ทำ�ใหเ้ กดิ ความว่องไว ไหวพรบิ ดมี าก

ท่ีมา : กรุงเทพมหานคร

50 บทที่ ๓ การละเล่นพืน้ บ้านไทย


Click to View FlipBook Version