The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านกระบวนการทำงานและสร้างความเข้มแข็ง ของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม และการหนุนเสริม การทำงานในการยกระดับการขับเคลื่อนสังคมด้วยเครื่องมือและนวัตกรรม รวมถึงการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยมีพื้นที่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 4 พื้นที่ ทำงานขับเคลื่อน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาแกนนำหลักสูตรนักเปลี่ยนแปลงสังคมสู่พังงาแห่งความสุข, โครงการสร้างผู้นำแห่งอนาคตจังหวัดเชียงราย, โครงการพัฒนาแกนนำขับเคลื่อนงาน วัฒนธรรมตำบลโคกสลุงเพื่อต้นแบบการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดลพบุรี และ โครงการขอนแก่นนิวสปิริต จังหวัดขอนแก่น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BS_Library, 2019-11-29 02:46:01

จุดนัดพบบนเส้นขนาน

การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านกระบวนการทำงานและสร้างความเข้มแข็ง ของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม และการหนุนเสริม การทำงานในการยกระดับการขับเคลื่อนสังคมด้วยเครื่องมือและนวัตกรรม รวมถึงการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยมีพื้นที่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 4 พื้นที่ ทำงานขับเคลื่อน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาแกนนำหลักสูตรนักเปลี่ยนแปลงสังคมสู่พังงาแห่งความสุข, โครงการสร้างผู้นำแห่งอนาคตจังหวัดเชียงราย, โครงการพัฒนาแกนนำขับเคลื่อนงาน วัฒนธรรมตำบลโคกสลุงเพื่อต้นแบบการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดลพบุรี และ โครงการขอนแก่นนิวสปิริต จังหวัดขอนแก่น

Keywords: การจัดการชุมชน,จังหวัดขอนแก่น

นุชนารถ บุญคง (ครูน�้ำ) ปจั จบุ ันอายุ 50 ปี แตบ่ ุคลิกและรูปแบบการ
ด�ำเนินชวี ิตประจ�ำวัน เหมอื นคนอายุ 30 ปลายๆ เทา่ นั้น ดว้ ยทรงผมทย่ี อ้ มสี
เขียว วาจาห้าวหาญ ไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆ บุคลิกอันน่าเกรงขาม ซ่ึงส่งผล
ต่อการปกป้องเด็กๆ ที่เธอดูแล หากแต่ภายในกลับแฝงด้วยความอ่อนโยนซ่ึง
สะท้อนผ่านแววตาท่ีคลอด้วยน�้ำตาครั้งเม่ือเธอเล่าเร่ืองเกี่ยวกับชีวิตอันน่าหดหู่
ของเดก็ ที่ตกเปน็ เหยอ่ื ของความรนุ แรงจากสงั คม
ปัจจบุ นั ครนู ำ้� เปดิ มลู นิธทิ ี่ใหค้ วามช่วยเหลือเด็กเร่รอ่ น เด็กไรส้ ัญชาตทิ ่ี
เขา้ มาทางด่านอ�ำเภอแมส่ าย จังหวัดเชียงราย โดยใชช้ ่อื ว่า “มลู นิธบิ า้ นครูน�้ำ”
ตั้งอยู่ในต�ำบลโยนก อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ครูน�้ำเล่าประวัติความ
เป็นมาก่อนจะมาท�ำงานสังคมสงเคราะห์นี้ว่าช่วงท่ีเธอเพ่ิงเรียนจบเพาะช่าง
เมอ่ื ประมาณปี 2532 เธอท�ำงานออกแบบเคร่อื งประดบั จนกระท่ังใน ปี 2535
เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองช่วงพฤษภาทมิฬ เพื่อนของเธอได้หยิบยืมเงินเธอ
เพอื่ ใชเ้ ปน็ ทนุ ทรัพย์ในการท�ำงานศิลปะและปา้ ยประกาศต่างๆ ใหก้ ลมุ่ ผ้ชู มุ นมุ
ทางการเมอื งครงั้ นน้ั เธอจงึ ตดั สนิ ใจไปหาเพอื่ นเพอ่ื น�ำเงนิ ไปให้ และในชว่ งเวลา
นน้ั เองทเ่ี ธอกลบั ตดิ รา่ งแหถกู จบั ไปทค่ี า่ ยทหารพรอ้ มนกั ขบั เคลอ่ื นสงั คมคนอน่ื ๆ
เหตุการณ์ครั้งนั้นท�ำให้เธอได้ฟังเรื่องราวชีวิต ประสบการณ์การต่อสู้เพ่ือสังคม
และไดร้ บั แรงบันดาลใจต่างๆ จากคนกลุม่ นี้
จากช่วงวิกฤตของชีวิต เธอกลับได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชักชวนกันท�ำงาน
ด้านศลิ ปะบ�ำบัด ซ่ึงเธอมที ักษะทางด้านศลิ ปะอยูแ่ ลว้ เปน็ ทุนเดิม จงึ ตกลงรว่ ม
ท�ำและเริม่ ตน้ เขียนโครงการเพ่อื ขอทนุ โดยโครงการแรกของพวกเธอคอื ศลิ ปะ
บ�ำบดั ในกล่มุ ผสู้ งู อายุ และกลา่ วไดว้ ่างานชิ้นนเ้ี ปน็ จุดเปลย่ี นดา้ นมุมมองท่มี ีต่อ
ศิลปะของเธอ

“ตรงน้ีเป็นจุดเปล่ียนท่ีท�ำให้เรามีความเชื่อว่าศิลปะมันมีค่า
มากกว่าแค่ความสวยมันไม่ได้มีหน้าที่เพื่อสร้างสรรค์ความสวย
เท่านั้น แต่มันท�ำให้ผู้สูงอายุหรือคนคนหนึ่งมีก�ำลังใจในการลุก
ขนึ้ มาทำ� อะไรต่อไปได”้
(นุชนารถ บุญคง. สมั ภาษณ,์ 10 พฤศจกิ ายน 2560)

มูลนธิ ิบา้ นครนู ำ�้ บนกา้ วต่อไป 51

งานศิลปะชน้ิ นัน้ เปรยี บดง่ั แสงเทียนจดุ ประกายในหวั ใจของคนท่ีก�ำลงั
หมดแรงและความหวัง ให้ไดล้ กุ ข้ึนมาใช้ชวี ิตอย่างมชี ีวติ อกี ครง้ั และเป็นจดุ เร่มิ
ต้นของเรอ่ื งราวตา่ งๆ ในชวี ติ เธอต่อจากน้ี

ครูข้างถนนกับบทพิสูจน์พาเด็กกลับบ้าน

“พอเริ่มท�ำมาได้ประมาณ 3 เดือน เราสามารถพาเด็กคนแรก
กลับบ้านได้ จากรปู ภาพทเี่ ขาวาด”

(นุชนารถ บญุ คง. สมั ภาษณ์, 10 พฤศจกิ ายน 2560)

เมอื่ ครนู ำ�้ เรมิ่ มองเหน็ ถงึ คณุ คา่ และประโยชนข์ องงานศลิ ปะมากขน้ึ ครู
น้�ำจึงเริ่มท�ำงานศิลปะบ�ำบัดต่อ โดยเข้าไปท�ำงานร่วมกับกลุ่มครูข้างถนน ซ่ึง
เปน็ กลมุ่ ท่ที �ำงานช่วยเหลอื เด็กเร่ร่อน ทว่า ในชว่ งเวลานน้ั หรอื กว่า 20 ปี ท่ผี ่าน
มา แนวคดิ ดา้ นศลิ ปะบ�ำบดั อาจยงั ไมแ่ พรห่ ลายในบรบิ ทของภาคประชาสงั คมท่ี
ท�ำงานดา้ นเด็กและเยาวชนมากนัก จงึ มขี ้อค�ำถามต่างๆ เกิดขึน้ วา่ ศิลปะมนั จะ
ช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาสังคมได้อย่างไร หรือมันจะชี้วัดได้อย่างไรว่าแก้ปัญหา
ไดจ้ รงิ ค�ำถามเหลา่ นยี้ งิ่ เปน็ เหมอื นตวั กระตนุ้ ใหค้ รนู ำ�้ อยากยนื ยนั ความเชอื่ ของ
ตนเองมากขึ้นวา่ ศิลปะมันสามารถช่วยเยยี วยาจิตใจมนษุ ยไ์ ด้ และเปน็ แรงผลัก
ส�ำคญั ทที่ �ำใหต้ ดั สนิ ใจออกจากงานประจ�ำ ซง่ึ ในขณะนนั้ ทเ่ี ปน็ แหลง่ รายไดห้ ลกั
ส�ำหรับการหล่อเลี้ยงชวี ิตของเธอ
ภายหลงั จากทใ่ี ช้ศลิ ปะท�ำงานชว่ ยเหลอื เดก็ เร่รอ่ น ร่วมกบั การลงพื้นที่
ของกลุ่มครูข้างถนน เธอสามารถพาเด็กคนแรกกลบั บา้ นได้จากรูปภาพทเี่ ธอให้
เขาวาด ในขณะที่กลุ่มครขู า้ งถนนเดมิ ท�ำงานกบั เดก็ คนน้ีมาเกอื บ 3 ปี พวกเขา
แทบไม่เคยรู้เลยวา่ เด็กคนนีม้ าจากไหน เนือ่ งจากเด็กไม่เปดิ ใจท่จี ะพดู
จากภาพวาดเพยี งแผ่นเดียว เปน็ เหมือนขอ้ พสิ ูจนส์ มมติฐานท่เี ธอต้งั ไว้

52 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชุมชน การประกอบการสงั คม

และยนื ยนั ความคดิ ของเธอวา่ งานศลิ ปะมนั เปน็ มากกวา่ แคค่ วามสวยงามบนผนื
กระดาษ แต่มนั ยังเขา้ ไปท�ำงานกับจิตใจของเดก็ คนหนง่ึ และพาเขากลับบ้านได้
ในที่สุด

มูลนิธิบ้านครูน้�ำ

หลงั จากเรมิ่ กา้ วขาเขา้ สชู่ วี ติ คนท�ำงานเพอื่ เดก็ แลว้ การเดนิ ทางกา้ วตอ่
ไปของครนู ำ�้ คอื การตามรอยหนงั สอื “แมจ่ นั สายนำ�้ ทผี่ นั เปลยี่ น” ขนึ้ ไปทอ่ี �ำเภอ
แมจ่ นั จงั หวดั เชยี งใหม่ โดยมงุ่ หวงั จะไดใ้ ชศ้ ลิ ปะเพอื่ การชว่ ยเหลอื เดก็ เรร่ อ่ น ไป
จนถึงการรว่ มกอ่ ตง้ั มลู นิธอิ าสาพฒั นาเด็ก สาขาเชยี งใหม่
การคลกุ คลอี ยกู่ บั เดก็ เรร่ อ่ นทปี่ ระสบปญั หาทน่ี น่ั ท�ำใหพ้ บวา่ ตน้ ตอของ
ปัญหาเหล่าน้ีมาจากจังหวัดเชียงรายที่มีพื้นท่ีติดชายแดนถึง 3 ประเทศ ได้แก่
ไทย ลาว และเมยี นมา ครนู ำ�้ ตดั สนิ ใจเดนิ ทางมาทจี่ งั หวดั เชยี งรายเพอื่ จดั การกบั
รากของปญั หาและเปน็ จดุ เรม่ิ ต้นของศนู ย์ดรอ็ ปอิน (Drop In) เพื่อจดั กจิ กรรม
แบบเช้ามาเย็นกลบั มที ้งั การเรยี นการสอนภาษาไทยขั้นพืน้ ฐาน ศิลปะ ตลอด
จนการดูแลเร่ืองอาหารการกินอยู่แก่เด็กเร่ร่อนที่มาใช้ชีวิตอยู่บริเวณหน้าด่าน
ข้ามแดนอ�ำเภอแม่สาย และน�ำไปสู่การเปดิ มลู นิธบิ ้านครูน้�ำ ในอ�ำเภอเชยี งแสน
เพ่ือรองรับเด็กกลุ่มน้ี โดยเป็นสถานสงเคราะห์แบบอยู่อาศัยถาวร (สามารถ
อ่านเรื่องราวชีวิตครูน�้ำเพ่ิมเพ่ิมได้ในหนังสือ “ใจคน ชุมชน การเปลี่ยนแปลง:
บทเรียนการน�ำร่วมจากผ้ขู ับเคลอ่ื นสังคม”)
“มูลนธิ ิอาสาพฒั นาเดก็ สาขาเชยี งราย” ก่อตั้งขน้ึ ตัง้ แต่ ปี 2544 เปน็
องคก์ รไมแ่ สวงหาผลก�ำไร ซง่ึ ภายหลงั เพอ่ื ความสะดวกในการบรหิ ารจดั การและ
ตดิ ตอ่ ประสานงาน จงึ แยกตวั ออกมาจดทะเบยี นเปน็ “มลู นธิ บิ า้ นครนู ำ้� ” เมอ่ื ปี
2559 ที่ผ่านมา
ปัจจุบันตัวมูลนิธิบ้านครูน�้ำตั้งอยู่ในพื้นท่ีต�ำบลโยนก อ�ำเภอเชียงแสน

มลู นิธบิ ้านครูน�้ำบนก้าวตอ่ ไป 53

บนพื้นที่กว่า 19 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ใน
พน้ื ทบี่ รเิ วณอ�ำเภอแมส่ าย อ�ำเภอเชยี งแสน อ�ำเภอเชยี งของ ในฝง่ั ไทย และอ�ำเภอ
ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมยี นมา มีกลมุ่ เปา้ หมายคอื เดก็ เร่รอ่ นไรส้ ัญชาติ เดก็ ทไ่ี ดร้ ับ
ผลกระทบจากโรคเอดส์ เดก็ กลมุ่ เสย่ี งตอ่ การเขา้ สขู่ บวนการคา้ มนษุ ย์ กลมุ่ ทถี่ กู
ล่วงละเมดิ ทางเพศ รวมถึงสตรที ีอ่ ย่ใู นสภาวะยากล�ำบากและผู้ถูกกระท�ำความ
รุนแรงจากครอบครัว
ทั้งน้ี มูลนิธิฯ ได้ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมและปกป้อง
คุ้มครองตามกฎหมายสากล มีการท�ำงานร่วมกับเครือข่ายที่ท�ำงานด้านเด็ก
อนื่ ๆ ประสานงานกับองคก์ รภาครฐั และเอกชนในพื้นท่ี นอกจากน้ี ยังส่งเสริม
ให้กลุ่มเปา้ หมายเข้าถงึ การศกึ ษาและการอาชพี เพอ่ื ขบั เคลือ่ นการท�ำงาน ชว่ ย
เหลือผู้เสียหายจากต้นทางและส่งต่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายให้ดี
ขน้ึ ปจั จบุ นั มเี ด็กทีอ่ าศัยอยใู่ นมลู นิธิฯ กวา่ 150 ชีวติ

ศูนย์ดร็อปอิน

เนื่องด้วยสถานการณ์การเข้ามาของเด็กเร่ร่อนไร้สัญชาติข้ามแดนมา
จากด่านแม่สายน้ันทวีความรุนแรงข้ึนจากปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ
เมยี นมา ศนู ยด์ รอ็ ปอนิ ซงึ่ ด�ำเนนิ งานโดยกลมุ่ ครขู า้ งถนนทอี่ ยภู่ ายใตม้ ลู นธิ บิ า้ น
ครนู ำ้� จงึ ท�ำหนา้ ทห่ี ลกั คอื การลงพนื้ ทเี่ พอื่ ชว่ ยเหลอื เดก็ ทมี่ พี ฤตกิ รรมเสย่ี งตอ่ การ
ถูกแสวงหาผลประโยชน์และถูกทารุณกรรม นอกจากน้ียังได้ออกแบบกิจกรรม
เพอื่ จัดการเรยี นการสอนให้แก่เด็กกลุ่มนอ้ี ีกดว้ ย
ปัจจุบันมูลนิธิบ้านครูน�้ำผลักดันให้พ้ืนที่ศูนย์ดร็อปอินน้ีเป็นศูนย์การ
ศึกษาไร้พรมแดน ประกอบด้วยการสอนภาษาไทยขั้นพ้ืนฐาน การส่งเสริมให้
กลมุ่ เปา้ หมายไดร้ บั วฒุ กิ ารศกึ ษา ในระบบ กศน. และการสอนทกั ษะการใชช้ วี ติ
ในการเอาตัวรอดจากสภาวะเส่ียงในด้านตา่ งๆ

54 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผคู้ น ชุมชน การประกอบการสังคม

“หลายๆ คนทขี่ ้ามฝ่งั มาทำ� งานทีน่ ่ี อยากพัฒนาตวั เอง กไ็ ปลง
เรยี น กศน. แตต่ ิดปญั หาทสี่ อื่ สารไมร่ ู้เร่ือง เพราะไมม่ คี นเข้าใจ
ภาษาเขา เลยท�ำให้เรียนต่อไม่ได้ พอเขาเห็นท่ีน่ีเปิดและรู้ว่ามี
พวกเราอยู่ทส่ี ่อื สารกับเขาได้ เขาก็ย้ายมาเรียนทีน่ ี”่

(ชาฟวิ มาเยอะ. สัมภาษณ,์ 11 มีนาคม 2561)

ชาฟิว มาเยอะ (ชาฟิว) ครูข้างถนนชาติพันธุ์อาข่า ในอดีตเธอเปน็ หนึ่ง
ในเดก็ กลมุ่ เปา้ หมายทคี่ รอบครวั ประสบปญั หาจากความไมส่ งบทางการเมอื งใน
ประเทศเมยี นมาและไดร้ บั การชว่ ยเหลอื จากครนู ำ�้ ใหม้ าอยใู่ นมลู นธิ ฯิ จนเตบิ โต
ข้ึนมา โดยเธอเลือกทจ่ี ะอยูช่ ่วยงานของมูลนธิ ิฯ ตอ่ เพราะเธออยากชว่ ยเดก็ คน
อน่ื ๆ เหมือนทเ่ี ธอเคยไดร้ บั โอกาสน้นั
ชาฟิว เล่าให้ฟังว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านท่ีท�ำงาน
รบั จา้ งตามสถานประกอบการตา่ งๆ ในอ�ำเภอแม่สาย อ�ำเภอเชยี งแสน ซ่งึ เปน็
อ�ำเภอที่อยู่ติดชายแดนประเทศเมียนมาและลาว มีหลายกลุ่มท่ีอยากศึกษา
หาความรู้เพ่ิมเติมเพื่อพัฒนาอาชีพของตนเอง โดยทางเลือกท่ีมีความเป็นไป
ได้มากที่สุด คือ การลงทะเบียนเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย (กศน.) แม้ว่า ในอ�ำเภอแม่สาย และอ�ำเภอเชียงแสน มศี นู ย์ กศน. อยู่
หลายแหง่ และสามารถเขา้ ไปเรยี นได้ แตด่ ว้ ยอปุ สรรคในการใชภ้ าษาไทย ท�ำให้
การท�ำความเข้าใจเน้ือหารายวิชาต่างๆ น้ันเป็นไปได้ยาก จึงท�ำให้หลายคนไม่
ประสบความส�ำเรจ็ จากการเรยี นนกั
จุดเดน่ ของศนู ย์ กศน. ณ ดร็อปอนิ นี้ทแ่ี ตกตา่ งไปจาก กศน. ทว่ั ไปใน
พนื้ ท่ี คอื กลมุ่ ครขู า้ งถนนสามารถพดู ไดห้ ลายภาษา ทง้ั ภาษาไทย ภาษาเมยี นมา
ภาษาชาติพนั ธุ์ตา่ งๆ เช่น อาข่า ลาหู่ เพราะกว่าร้อยละ 70 ของทมี งาน เคยเปน็
เด็กและเยาวชนจากฝั่งเมียนมาท่ีได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิบ้านครูน้�ำ และ
เตบิ โตขน้ึ มาสบื สานภารกจิ ในการชว่ ยเหลอื เดก็ ไรส้ ญั ชาตติ อ่ ไป จงึ ดงึ ดดู ใหก้ ลมุ่

มูลนธิ บิ า้ นครูน้ำ� บนก้าวต่อไป 55

ผู้ใช้แรงงานจากประเทศเหล่านี้มาเรียนภาษาไทยพื้นฐานท่ีศูนย์ดร็อปอิน และ
ด้วยคุณลักษณะของทีมงานครูข้างถนนนี้ ยังท�ำให้เข้าใจ และเข้าถึง กลุ่มเป้า
หมายท่ีตอ้ งการช่วยเหลือได้ง่ายกวา่ การเปน็ คนไทยที่ใช้ภาษาไทยอย่างเดยี ว

คนไร้รัฐ-การกลายเป็ นชายขอบ

ในประเทศไทยมีการบันทึกข้อมูลทางประชากรด้วยระบบทะเบียน
ราษฎรและส�ำมะโนประชากร เพ่ือประโยชน์ต่างๆ ในการบริหารจัดการ
ทรพั ยากรและวางแผนนโยบายมายาวนาน อยา่ งไรกต็ าม กระบวนการนไี้ ดผ้ ลกั
กลุ่มคนบางกลุ่มให้ออกจากการเป็นคนไทย โดยคนกลุ่มหลักท่ีครูน�้ำและทีม
งานท�ำงานร่วมด้วย ซ่งึ เปน็ ภารกจิ ส�ำคญั ขององค์กร คอื “คน/เด็กไรส้ ัญชาติ”
(nationality-less persons)2 และ “คน/เด็กไร้รัฐ” (stateless persons)3
ด้วยฐานคิดของรัฐไทย ที่ยึดติดกับกรอบคิดเร่ืองอธิปไตยของชาติ ความม่ันคง
และมุ่งจะควบคุมจ�ำกัด จึงน�ำไปสู่วิถีปฏิบัติต่อคนกลุ่มน้ีแบบเลือกปฏิบัติ และ
มีผลต่อโครงสร้างทางสังคมที่สร้างภาพลักษณ์แบบเหมารวมเชิงลบให้คนกลุ่ม
นี้ ภาพในความคดิ ของคนในสงั คมสว่ นใหญจ่ งึ มแี นวโนม้ จะมองวา่ คนกลมุ่ นเ้ี ปน็
ผู้สร้างปัญหา มากกว่าผู้ควรถูกรัฐคุ้มครองดูแล (กฤตยา อาชวนิจกุล, 2554)

2 คน/เดก็ ไรส้ ญั ชาติ (nationality-less persons) หมายถงึ คนทไี่ มไ่ ดร้ บั การบนั ทกึ ในสถานะคนถอื สญั ชาติ
ของรัฐใดเลยบนโลกน้ี กลา่ วคอื ไมไ่ ด้รบั การยอมรับว่าเป็นคนชาติของรัฐใด
3 คน/เดก็ ไรร้ ฐั (stateless persons) หมายถึง คนทีไ่ ม่ถูกบันทกึ รายการบคุ คลในทะเบยี นราษฎรของรฐั
ใดบนโลกน้ี

56 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสงั คม

และน�ำไปสกู่ ารเปน็ ชายขอบ (marginalized group)4 ของสงั คมไทยในหลายๆ
มติ ิ มใิ ชเ่ พยี งแคก่ ารถกู กดี กนั ออกจากศนู ยก์ ลางของอ�ำนาจตา่ งๆ เชน่ เศรษฐกจิ
การเมือง ขาดโอกาสในการเขา้ ถึงทรพั ยากรเมอื่ เปรียบเทียบกบั คนบางกลมุ่ ที่มี
อ�ำนาจมากกว่าเพียงเท่าน้ัน แต่หมายรวมถึงการถูกคนอื่นสร้างชุดความรู้และ
ความจริงข้ึนมามองพวกเขา และในท่ีสุดความรู้ความจริงท่ีถูกสร้างมาเหล่าน้ี
พฒั นาเป็นสามัญส�ำนกึ ให้แกส่ งั คม จนกลายเปน็ เรอ่ื งปกติ
ด้วยการขาดสถานะทางสัญชาติใดๆ ทั้งไทยและประเทศอื่น จึงส่งผล
กระทบตอ่ คณุ ภาพชวี ติ เกอื บทกุ ดา้ นของพวกเขาตามมาเปน็ ลกู โซเ่ มอ่ื ตอ้ งใชช้ วี ติ
อยู่ในประเทศไทย ทั้งมิติภายนอก เช่น ขาดการเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ ขาดการเข้าถงึ ระบบสวัสดิการต่างๆ ตลอดจนมิติภายใน คอื ขาด
การเห็นคุณค่าในตนเอง เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้อให้พวกเขามีพ้ืนท่ี
แสดงตัวตนและความภาคภูมิใจ และน�ำไปสู่ความเสี่ยงในการด�ำเนินชีวิตแบบ
ฉาบฉวยที่ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองมีอะไรต้องเสีย เช่น การเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์
ยาเสพติด และอน่ื ๆ ตามมา
ผเู้ ขยี นเกร่นิ ถึงแนวคดิ เกยี่ วกบั คนไร้สญั ชาติและการเปน็ ชายขอบ เพื่อ
เปน็ วตั ถดุ บิ ชดุ หนง่ึ ส�ำหรบั เปน็ ฐานคดิ ในการมองความซบั ซอ้ นของปญั หาในพนื้ ท่ี
น้ี รวมทั้งความซับซ้อนและท้าทายของการน�ำแนวคิดหรือเครื่องมือจากภาค
ธุรกิจมาช่วยหนุนเสริมการท�ำงานของพ้นื ท่ี ดังทีจ่ ะกล่าวถึงในส่วนต่อจากนี้

4 กลุ่มชายขอบ (marginalized group) หมายถึง กลุ่มคนท่ีถูกกระบวนการกลายเปน็ ชายขอบ (margin-
alization) กระบวนการทสี่ งั คมกดี กนั คนบางกลมุ่ ออกไปจากศนู ยก์ ลางของอ�ำนาจในการเขา้ ถงึ ทรพั ยากร
ตา่ งๆ เชน่ คนไร้สัญชาติ ถกู กีดกนั ออกจากการเข้าถึงสิทธคิ วามเป็นมนุษย์ สวสั ดกิ ารทางสงั คมตา่ งๆ

มูลนิธิบ้านครนู ้�ำบนก้าวตอ่ ไป 57

ภาวะการน�ำและการดึงทุนทางสังคม
ในพื้นที่ (เครือข่าย)


หลงั จากทผี่ า่ นการท�ำงานมากวา่ 20 ปี อาศยั ประสบการณท์ ง้ั ส�ำเรจ็ และ
ล้มเหลวท่ีได้ก้าวข้ามมาแล้ว ครูน�้ำเริ่มมองเห็นถึงความจ�ำเป็นในการท�ำงานท่ี
มากไปกวา่ แคก่ ารตงั้ หนา้ ตงั้ ตาท�ำในมมุ ของตนเองและประเดน็ ปญั หาของตนเอง
เพียงอย่างเดียว แต่ต้องยกระดับการขับเคล่ือนงานด้วยการสร้างเครือข่ายและ
ท�ำงานเชงิ พนื้ ท่รี ่วมดว้ ย
ในช่วงกลาง ปี 2559 อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เดินทางมาจังหวัด
เชียงรายเพื่อเป็นวิทยากรจัดอบรมเพ่ือปลุกพลังคนท�ำงานเพ่ือสังคม และเวที
นัน้ เองทีค่ รนู ้�ำ คณุ แววร้งุ สบุ งกฎ (ครอู ้วน) คณุ ยศภัทร ยกยง่ิ (พ่วี ัตร) และ
คุณมชั ฌิมา ยกยง่ิ (พห่ี วาน) ไดม้ าแลกเปลย่ี นความคิดเหน็ กนั อย่างจรงิ จัง จน
เกดิ เปน็ กลุ่มเคลอ่ื นงานภาคประชาสังคม 4 กล่มุ คอื กลมุ่ เดก็ และเยาวชน กลุ่ม
วฒั นธรรม กลมุ่ อาหารยงั่ ยนื และกลมุ่ วตั ถโุ บราณเมอื งเชยี งแสน โดยมเี ปา้ หมาย
เพื่อใชป้ ระเดน็ การท�ำงานของตนในการเคลือ่ นเมืองเชียงรายร่วมกัน
จากคตปิ ระจ�ำตวั ของครนู ำ้� ทใี่ ชใ้ จน�ำการท�ำงาน โดยพจิ ารณาจากความ
รสู้ ึกว่าคนนี้น่าไว้วางใจ และคอื คนที่เอาจรงิ กับการท�ำงานเป็นหลัก เมื่อโอกาส
เขา้ มาในจงั หวะทคี่ นตวั เลก็ ๆ กลมุ่ หนงึ่ ทพี่ ลงั ใจและกายพรอ้ มขบั เคลอ่ื นสงั คมใน
ประเดน็ ของตนเอง พรอ้ มเชอื่ มรอ้ ยกนั เพอ่ื เคลอ่ื นในระดบั พน้ื ทจี่ งั หวดั เชยี งราย
ขาดแตท่ รัพยากรทนุ ตง้ั ต้นในการด�ำเนินการกิจกรรมเพือ่ ให้บรรลุเป้าหมาย ครู
นำ้� จงึ ตดั สนิ ใจเลอื กเครอื ขา่ ยมารว่ มมอื อยา่ งไมร่ อชา้ ซง่ึ เปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของการน�ำ
มาสขู่ อ้ เสนอโครงการสร้างผู้น�ำแหง่ อนาคตจงั หวัดเชยี งรายในปนี ้ี

58 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสังคม

“...เอาจรงิ ๆ เลยนะ พรี่ จู้ กั และเหน็ ครอู ว้ น พวี่ ตั รพหี่ วานทำ� งาน
มานานละ เหน็ วา่ เขาต้งั ใจจะทำ� สิ่งดีๆ จรงิ ๆ ครอู ว้ นทีต่ ง้ั ใจดแู ล
คนท�ำงานอย่างพวกเราๆ พี่หวานพี่วัตรเองก็ท�ำงานกลุ่มคุณค่า
เชียงแสนมาด้วยใจตลอด เคยถูกหน่วยงานให้ไปจัดงานเกี่ยว
กบั วัฒนธรรมล้านนาตั้งหลายครง้ั เงินทองไม่ไดห้ รอก มีแตเ่ ข้า
เน้ือ แต่เราเห็นเขาไปเพราะอยากเห็นคุณค่าพวกน้ีมันกลับมา
จริงๆ พอโอกาสตอนนเี้ ขา้ มาเลยต้องรีบคว้าไว้ เพราะคดิ ว่ามัน
ตอ้ งเร่ิมอยา่ งจรงิ ๆ จงั ๆ ละ”

(นุชนารถ บุญคง. สมั ภาษณ,์ 29 มกราคม 2561)

หากในภาคธุรกิจมีเงินจากนักลงทุนที่ให้กลุ่มธุรกิจหน้าใหม่ หรือเงิน
ลงทนุ ตง้ั ตวั (seed funding) เปน็ เงนิ ลงทนุ กอ้ นแรกเพอ่ื เพม่ิ ประสทิ ธภิ าพในการ
ขยายธรุ กจิ ใหเ้ ขา้ ถงึ ผใู้ ชแ้ ละสรา้ งผลก�ำไร การเขา้ มาของแหลง่ ทนุ จากส�ำนกั งาน
กองทนุ สนบั สนนุ การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ (สสส.) คร้ังน้ี คงเปรียบเสมอื นเมด็ เงิน
ทีช่ ว่ ยสนับสนนุ ใหแ้ นวคดิ สร้างสรรค์หรือนวตั กรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นในภาคประชา
สงั คมเช่นกัน
การด�ำเนนิ งานครง้ั นข้ี องครนู ำ้� เปน็ การหนนุ เสรมิ องคค์ วามรใู้ หแ้ กก่ ลมุ่
เครือข่าย และขยายการเคลอื่ นงานเชงิ ประเดน็ ของแตล่ ะกลมุ่ ท่ที �ำอยู่ ไปส่กู าร
เคลอ่ื นงานเชงิ พน้ื ที่ ซงึ่ เกดิ จากการเชอื่ มโยงแตล่ ะประเดน็ ไดแ้ ก่ 1) ประเดน็ ดา้ น
การสร้างพื้นที่ยืนในสังคมให้แก่เด็กไร้สัญชาติท่ีขาดโอกาส โดยครูน้�ำและเครือ
ข่ายที่ท�ำงานบ้านพกั เด็กตา่ งๆ ในจงั หวัดเชยี งราย 2) ประเด็นดา้ นสุขภาวะคน
ท�ำงาน โดยครอู ว้ น และ 3) ประเด็นดา้ นการสืบสานภมู ิปัญญาเชยี งแสน โดยพ่ี
วัตรและพ่หี วาน ซ่งึ มเี ปา้ หมายรว่ มกัน คือ ขบั เคลือ่ นเมอื งเชียงราย

มูลนธิ บิ ้านครูน้ำ� บนก้าวตอ่ ไป 59

ครนู �้ำ ประเด็น: เด็กไรส้ ัญชาติ/เด็กเรร่ อ่ น
เคร่ืองมือ: การท�ำฐานข้อมูลร่วมกัน
ของเครือขา่ ยบา้ นพกั เด็ก

ครอู ว้ น พ่วี ัตร, พีห่ วาน

ประเด็น: สขุ ภาวะคนท�ำงาน ประเด็น: วัฒนธรรม/ภูมปิ ัญญาเชียงแสน
เครอ่ื งมือ: การจัดกระบวนการ/ เครอื่ งมอื : การท�ำตลาดฮอมผะญา๋
เสรมิ พลงั อ�ำนาจ

แผนภูมิภาพแสดงการเชอื่ มโยงกลุ่มคนและ
ประเดน็ ในการเคลื่อนงานเชงิ พืน้ ท่ีของครูน้ำ�

ครูอ้วน: การพบกันของครูอ้วนและครูน้�ำ

การเรมิ่ ตน้ บนเสน้ ทางพฒั นาสงั คมควบคกู่ บั การดแู ลสขุ ภาวะรอบดา้ น
ของคนท�ำงาน เรมิ่ เมอ่ื ประมาณ ปี 2539 ขณะทคี่ รอู ว้ นก�ำลงั เรยี นปรญิ ญาโทอยู่
ไดม้ โี อกาสท�ำงานเปน็ ผชู้ ว่ ยวจิ ยั ในประเดน็ ดา้ นการยตุ คิ วามรนุ แรงในครอบครวั
ควบคู่ไปด้วย ท�ำให้ครูอว้ นรูจ้ ักเสน้ ทางการงานที่ตนเองอยากท�ำชดั ขึน้ คอื นกั
วจิ ยั จากนั้นไดท้ �ำงานสายน้มี าโดยตลอดจนกระทัง่ ประมาณ ปี 2549 ท่ีสุขภาพ
เรมิ่ แย่ อนั เปน็ ผลสบื เนอื่ งจากการท�ำงานหนกั และเครยี ดสะสม จงึ ตดั สนิ ใจหยดุ
ท�ำงานและพกั รกั ษาตัวเป็นเวลากว่า 1 ปี โดยเริ่มใช้วิธีธรรมโอสถนับตั้งแตน่ นั้
เป็นตน้ มา จากนั้นจึงไดก้ ลบั เข้ามาท�ำงานต่อในสายงานเดิม

60 จดุ นดั พบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสงั คม

เครือข่ายคนท�ำงานด้านเด็กและเยาวชนในยุคน้ันมีไม่มาก เป็นเหตุให้
ครอู ว้ นทท่ี �ำงานประเดน็ ครอบครวั ผนวกกบั มพี นื้ ฐานดา้ นวจิ ยั ไดม้ โี อกาสพบเจอ
และรว่ มงานกับคุณทองพูล บวั ศรี (ครจู ว๋ิ ) ครูขา้ งถนนผเู้ ปน็ ฮีโรข่ องเด็กเร่รอ่ น
ทคี่ ลกุ คลอี ยใู่ นแวดวงการชว่ ยเหลอื และพฒั นาเดก็ และเยาวชน ในชว่ งประมาณ
ปี 2553 - 2554 ท่ีขณะนนั้ เครอื ข่ายคนท�ำงานดา้ นเดก็ และเยาวชนต้องการนกั
วิชาการมาช่วยถอดองค์ความรู้การท�ำงานของครูข้างถนน ครูอ้วนจึงเริ่มตามดู
การท�ำงานของคนกลุม่ น้ี และท่ีนเ่ี องท�ำใหค้ รูอ้วนและครูน�้ำพบกนั เปน็ ครง้ั แรก
แม้จะยังไมไ่ ด้เร่ิมท�ำงานร่วมกนั อย่างจริงจัง

การเข้าอกเข้าใจผู้อื่นบนบทบาทความเป็ นแม่

“พอมมุ มองทเี่ รามองนอ้ งเปลย่ี น นอ้ งเขากเ็ ปลย่ี นตามเรานะ คอื
พอเราเปลย่ี นวธิ คี ดิ การกระทำ� ของเราตอ่ เขามนั กเ็ ปลยี่ น คำ� แรก
ทเ่ี ราพดู กบั เขาคอื แมข่ อโทษนะ จากนนั้ เขากม็ องหนา้ เราแลว้ ยม้ิ
ให้ จากนนั้ ก็กอดกัน”

(แววรงุ้ สบุ งกฎ. สมั ภาษณ,์ 30 มกราคม 2561)

ครอู ว้ นเปน็ เครอื ขา่ ยของมลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ กลมุ่ แรกๆ ทรี่ บั เปน็ ครอบครวั
อปุ ถมั ภ์ อปุ การะเลยี้ งดเู ดก็ จากมลู นธิ ฯิ อนั เปน็ แผนการด�ำเนนิ งานของครนู ำ�้ ที่
ตงั้ ใจจะสง่ ตอ่ เดก็ ไปยงั พนื้ ทป่ี ลอดภยั และสง่ เสรมิ ใหเ้ ตบิ โตแหง่ ตา่ งๆ ทงั้ โรงเรยี น
บ้านพักเด็กที่เหมาะสม และหน่ึงในน้ันที่มีบทบาทส�ำคัญมาก คือ ครอบครัว
อปุ การะ
เมื่อเด็กน้อยคนหน่ึงได้เข้ามาในขณะที่ชีวิตเต็มไปด้วยการท�ำงานเพื่อ
สังคม เปรียบเสมือนของขวัญสิ่งท่ีเข้ามาเติมเต็มชีวิตด้านจิตใจ และมีอิทธิพล

มูลนธิ ิบ้านครูน�้ำบนกา้ วต่อไป 61

ตอ่ การเปลยี่ นแปลงทงั้ วธิ คี ดิ และการกระท�ำของครอู ว้ นเปน็ อยา่ งมาก การมเี ดก็
เขา้ มาเปน็ สว่ นหนง่ึ ในเกอื บทกุ ขณะของชวี ติ ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งงา่ ยของคนทเ่ี คยมชี วี ติ ตวั
คนเดยี ว ในระหว่างทางต้องพบความท้าทายตา่ งๆ เปรียบเสมอื นบทพสิ จู น์ด้าน
การจดั การชวี ิต และเปน็ โอกาสให้เกดิ การเปลี่ยนแปลง ดงั เหตกุ ารณ์หนง่ึ ท่ีสอง
แมล่ กู ตอ้ งปะทะทางอารมณก์ นั การสอื่ สารทไ่ี มเ่ ขา้ ใจกนั ลกู นอ้ ยทเ่ี อาแตร่ อ้ งไห้
ผเู้ ปน็ แมท่ ห่ี มดหนทางไมร่ จู้ ะท�ำอยา่ งไร ไมส่ ามารถพดู คยุ กนั รเู้ รอ่ื ง ตา่ งฝา่ ยตา่ ง
รอ้ งไห้ จนตอ้ งพกั กอ่ น และในจงั หวะนน้ั หนงั สอื ทถี่ กู เกบ็ ไวใ้ นชน้ั วางไดถ้ กู หยบิ
ออกมาอา่ น เพอื่ ทคี่ รอู ว้ นจะไดล้ ะความสนใจออกจากสถานการณต์ รงหนา้ กอ่ น

“เราไมส่ ามารถจัดการกับตนเองได้ เลยลองมาน่ังนิง่ ๆ แลว้ มอง
ไปเหน็ หนงั สอื เลม่ หนง่ึ เปดิ มาเจอเรอื่ งราวของคณุ คฑา มหากายี ที่
พูดเก่ียวกับลูกชายของตนเองในบท ลูก...ส่ิงมีชีวิตผู้สร้างการ
เปล่ียนแปลง ท่ีเล่าถึงความพยายามในการจะเข้าไปควบคุม
จัดการกับคนอ่ืน แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมารู้สึกผิดกับสิ่งท่ีท�ำลง
ไป เรารู้สกึ เหมือนปัญญามันมาเลย รู้สกึ ว่าเรื่องราวชีวิตของคน
คนหน่ึงท่ีก้าวผ่านปัญหาต่างๆ มาได้ มันจะท�ำให้เราเปลี่ยนได้
ขนาดน”ี้

(แววรงุ้ สุบงกฎ. สมั ภาษณ์, 30 มกราคม 2561)

แรงบนั ดาลใจหรอื ขอ้ คดิ ทไี่ ดจ้ ากหนงั สอื เมอื่ มาถกู จงั หวะมนั มพี ลงั อยา่ ง
ยงิ่ ตอ่ การสรา้ งการเปล่ียนแปลงกบั ชีวติ คน ในหนงั สอื เล่มนัน้ มีขอ้ ความทท่ี �ำให้
ครูอ้วนลองสวมบทบาทเป็นลูกของตนเอง โดยหนังสืออธิบายว่า เด็กต้ังแต่อยู่
ในทอ้ งแมจ่ นอายเุ กือบสามขวบ พวกเขาจะเชอื่ มโยงกบั แมท่ ้งั ทางกายภาพเม่อื
อยู่ในครรภ์และทางจิตวิญญาณเม่ือออกมาสู่โลกภายนอก วันหน่ึงเมื่อเขาอายุ
ประมาณสามขวบ เริ่มโตขึ้น และเริ่มรู้ว่ามันไม่ได้เชื่อมต่อกันอีกแล้ว ข้างใน

62 จุดนัดพบบนเสน้ ขนาน: ผูค้ น ชุมชน การประกอบการสงั คม

ของพวกเขาจะเจ็บปวด และด้วยความเปน็ เด็กพวกเขาจึงไมส่ ามารถจดั การกบั
สถานการณ์เหล่านี้ได้ จึงได้แต่แสดงออกโดยการร้องไห้ และเป็นที่มาของการ
เปลย่ี นวธิ คี ดิ น�ำไปสกู่ ารเปลยี่ นการกระท�ำจากการอา่ นหนงั สอื ทเ่ี ลา่ เรอื่ งราวการ
กา้ วข้ามปัญหาของชายคนหนึ่ง
เหตุการณ์วันน้ันจบลงด้วยการรับฟังกันโดยไม่มีบทสนทนาจากค�ำพูด
ของใคร แตผ่ า่ นการโอบกอดทส่ี ง่ พลงั ของความรกั จากแมส่ ลู่ กู และนบั ตง้ั แตน่ น้ั
เป็นต้นมา ส่งิ ทคี่ รอู ้วนได้เรยี นร้คู อื การเวน้ ระยะ ไม่เข้าไปจัดการ หรือ ควบคุม
เพอื่ ให้ผอู้ นื่ ไดเ้ ติบโตอยา่ งเตม็ ศกั ยภาพของพวกเขา
ด้วยการท�ำงานร่วมกับครนู ำ้� และทมี งานเพ่อื ชว่ ยเหลือเด็กมากว่า 6 ปี
ท้ังการประสบปัญหาด้านสุขภาพและเคยหาทางออกมาด้วยตนเอง เมื่อสังเกต
เห็นสุขภาพและสุขภาวะคนท�ำงานด้านเด็กที่มุ่งแต่ท�ำงานแก้ปัญหาให้คนอ่ืน
จนหลงลืมดูแลตนเอง ท�ำให้ครูอ้วนมุ่งจะหนุนเสริมเครือข่ายด้านเหล่าน้ี เพื่อ
ให้ครนู ้�ำและทมี ท�ำงานไดม้ ปี ระสทิ ธิภาพขนึ้ บนฐานความเช่ือวา่ ถา้ คนท�ำงาน
มีสขุ ภาวะท่ีดแี ล้ว สง่ิ ทีด่ ีย่อมมโี อกาสเกิดตามมามากขนึ้

พี่หวานและพี่วัตร

พว่ี ตั รชายหนมุ่ วยั กลางคน ใบหนา้ ยม้ิ แยม้ ใจดี ผมู้ ขี อ้ มลู เชงิ ลกึ เกย่ี วกบั
ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงแสนอยู่มากมาย สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่าง
สนกุ สนานและไดค้ วามรู้ และพห่ี วานหญงิ วยั กลางคนคชู่ วี ติ พว่ี ตั ร ทย่ี งั คงสวยงาม
จนสามารถคาดเดาไดว้ า่ เมอื่ ครง้ั ตอนเปน็ สาวคงเปน็ หญงิ สาวรปู งาม และมเี สนห่ ์
มากคนหนงึ่ แมท้ งั้ คจู่ ะไมใ่ ชค่ นเชยี งแสนหรอื คนภาคเหนอื โดยก�ำเนดิ แตเ่ พราะ
เชื่อในเร่ืองความผูกพันกับพ้ืนท่ีเชียงแสน ซึ่งอาจมีมายาวนานแล้วในอดีตชาติ
และวันหน่ึงท่ีได้มาเยือนพ้ืนท่ีแห่งน้ีจริงๆ จึงหลงใหลในกลิ่นอายของเชียงแสน
บรรยากาศที่ไม่เร่งรีบ ความขลังและมีพลังของพื้นที่ซ่ึงเต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้าง

มูลนิธบิ า้ นครนู �้ำบนก้าวต่อไป 63

ประเภทปูชนียสถาน ที่มีประวตั ศิ าสตรม์ านบั พนั ปี และมิอาจถอนตวั กลบั ไปยงั
สังคมเมอื งในกรุงเทพไดต้ ามเดิมอกี ต่อไป
“พ่ีท�ำงานเชิงวัฒนธรรมอยู่ ได้รับทุนจาก สกว. เห็นว่าน้องเองสนใจ
เรอ่ื งพวกน้ี เลยอยากชวนมารว่ มทำ� ดว้ ย” ประโยคเชญิ ชวนของสมาชิกในกลมุ่
คุณค่าเชียงแสนในระหว่างที่พี่หวานพี่วัตรเพิ่งย้ายข้ึนมาอยู่ในอ�ำเภอเชียงแสน
เมื่อช่วง ปี 2558 ผนวกกับความสนใจเรอื่ งวฒั นธรรมเป็นทุนเดิม ท�ำใหท้ ัง้ สอง
คนไม่รอช้าท่ีจะตกปากรับค�ำ และเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่การศึกษา
ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงแสนอย่างจริงจัง รวมทั้งรวบรวมภูมิปัญญาของ
เชียงแสนอย่างเป็นระบบ รวบรวมภูมิปัญญาต่างๆ ของล้านนาจากหลักฐาน
เอกสารทางประวัติศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งค�ำบอกเล่าจากผู้เฒ่า ซ่ึงประกอบด้วย
ภูมปิ ัญญาด้านหัตถกรรม คหกรรม แพทย์พ้ืนบ้าน (หมอเมอื ง) ดนตรีพ้ืนเมือง
และเคร่ืองสกั การะ5
เชยี งแสนเป็นเมืองเกา่ ทม่ี าอายุมานานนบั พันปี มโี บราณสถาน โบราณ
วัตถุและวิถีชีวิตชุมชนท่ีควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกโลก ทว่าปัจจุบัน
เชยี งแสนก�ำลงั เผชญิ หนา้ กบั ความทา้ ทายทางดา้ นเศรษฐกจิ สงั คมและวฒั นธรรม
ที่ถาโถมเข้ามาทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากจังหวัดเชียงรายได้รับการ
ประกาศเปน็ เขตเศรษฐกจิ พเิ ศษ ดว้ ยการเปน็ อ�ำเภอชายแดนจงึ ไดร้ บั ผลกระทบ
โดยตรง จากนโยบายของรฐั ทมี่ งุ่ เนน้ ผลประโยชนจ์ ากเศรษฐกจิ การคา้ การลงทนุ
การทอ่ งเทย่ี ว และอตุ สาหกรรมเปน็ หลกั ในพนื้ ท่ี 3 อ�ำเภอ ไดแ้ ก่ อ�ำเภอเชยี งของ
อ�ำเภอเชยี งแสน และอ�ำเภอแมส่ าย อาจมผี ลกระทบตอ่ บรบิ ทของเมอื งโบราณท่ี
รำ�่ รวยดว้ ยวฒั นธรรม และวถิ ชี วี ติ ของผคู้ นทอ่ี ยกู่ นั แบบพหวุ ฒั นธรรมแบบคนใน

5 มานติ ย์ ไชยกิติ และคณะ. (2560). การสรา้ งคณุ ค่าวัฒนธรรม และภมู ปิ ญั ญาท้องถน่ิ ผา่ นกระบวนการ
จดั การทอ่ งเทย่ี วโดยชมุ ชนสคู่ วามเขม้ แขง็ ของชมุ ชนในเขตเวยี งเชยี งแสน อ�ำเภอเชยี งแสน จงั หวดั เชยี งราย.
กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวจิ ยั .

64 จุดนัดพบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม

ทอ้ งถนิ่ ลา้ นนา อนั มคี วามหลากหลายทางชาตพิ นั ธแ์ุ ตอ่ ยรู่ ว่ มกนั อยา่ งสงบเรยี บ
งา่ ย
การไหลมาของนักลงทุนต่างชาติอาจน�ำไปสู่ผลกะทบต่างๆ ตามมา
รวมถึงภูมิปัญญาต่างๆ ท่ีสืบสานกันมาช้านานของเชียงแสนก�ำลังจะตายไปกับ
คนรุ่นเก่าหากขาดการสานต่อให้คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับเคล่ือน
เมืองน่าอยู่แตก่ �ำลังเผชญิ หนา้ กบั การถูกรุมเรา้ ด้วยความทันสมยั

“เราไม่ได้ต้องการให้ความเก่ากลับมาท้ังหมดหรอก แต่ว่าให้
มันรว่ มอยูก่ ับเราบ้าง ไม่ถงึ กับเก่าจนเกนิ ไปไมถ่ งึ กับใหม่จนเกิน
ไป ใหม้ ันอยู่ร่วมกบั สงั คมของคนเชียงแสนได้ ใหเ้ ราคดิ ว่าใหมก่ ็
เอาเกา่ กไ็ มล่ ะ เอาทง้ั สองอยา่ งกเ็ ขา้ มารวมกนั ใหม้ นั ลงตวั พอด”ี

(ยศภทั ร ยกยง่ิ . สัมภาษณ์, 30 มกราคม 2561)

การเติบโตจากฐานงานวิจัยท้องถิ่น ท�ำให้พี่หวานและพ่ีวัตรมีความลึก
ซึ้งในองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นการกินการอยู่ วิถีชีวิตของชุมชน การ
รกั ษาแบบพ้ืนบา้ นลา้ นนาโบราณ และเปน็ ตัวหล่อหลอมให้เปน็ คนละเอยี ดลออ
กบั การท�ำงาน โดยเหน็ ความส�ำคญั วา่ เมอ่ื เรามขี อ้ มลู ภมู ปิ ญั ญาตา่ งๆ รวบรวมใน
เอกสารแล้ว จะท�ำอยา่ งไรใหค้ ุณคา่ เหลา่ นถ้ี ูกส่ือสารออกไปสูค่ นภายนอก โดย
เฉพาะกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นเป้าหมายหลักของการสืบสานภูมิปัญญา
หรือ หนอ่ ค�ำน�ำแก้ว ฮอมผะญ๋าเจยี งแสน
จากการได้รับอนุญาตให้ใช้สถานท่ีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
โดยไมต่ อ้ งเสยี คา่ เชา่ และดว้ ยบรบิ ทรอบขา้ งทอ่ี ยใู่ กลช้ ดิ โบราณสถานเชยี งแสน
ประวัตศิ าสตร์ และวัฒนธรรม “ตลาดโฮงฮอมผะญ๋าล้านนาเชียงแสน” จงึ เริ่ม
ต้นขึ้น บนฐานแนวคิดท่ีทั้งสองคนคาดหวังว่าจะเป็นพ้ืนที่ส�ำหรับให้เยาวชนมา
ร่วมเรียนรู้ภูมิปัญญา เพาะต้นกล้าสืบสานภูมิปัญญาเชียงแสน ควบคู่กับการ

มูลนธิ ิบ้านครนู ำ้� บนก้าวต่อไป 65

สรา้ งรายได้จากการใชภ้ ูมปิ ญั ญาเหลา่ นนั้ มาประกอบอาชีพ เรม่ิ จากการยำ�่ ขาง6
การตอกเส้น การทอผ้า และได้ดึงเครือข่ายคุณค่าเชียงแสนมาขายผลิตภัณฑ์
ท่ีสะท้อนวิถีชีวิตเชียงแสน เช่น ชุดชาติพันธุ์ (โดยเฉพาะชุดไทยวน) อาหาร
ลา้ นนา สมนุ ไพรทอ้ งถิ่นท่ชี ุมชนผลิตขึน้ มาเอง นอกจากน้ยี ังดงึ เครือขา่ ยพอ่ ครู
แมค่ รหู รอื ครภู มู ปิ ญั ญาตา่ งๆ มารว่ มสอนเดก็ เยาวชน และผสู้ นใจทว่ั ไปดว้ ย โดย
เดก็ และเยาวชนกลมุ่ แรกทมี่ าเปน็ ผรู้ ว่ มสานตอ่ คณุ คา่ นก้ี บั พวี่ ตั รและพห่ี วานคอื
กลุ่มเด็กและเยาวชนจากมลู นธิ ิบ้านครูน้�ำ

การหล่อหลอมกระบวนทัศน์
จากโลกคนท�ำงานภาคสังคมสู่ธุรกิจ
“ทนุ นยิ ม” เปน็ ค�ำทมี่ คี วามแปลกในมมุ มองของผเู้ ขยี น เพราะมกั ไดย้ นิ

ค�ำนี้ใน 2 มติ ทิ เี่ ปน็ ข้วั ตรงขา้ มกนั ไม่ขาวกด็ �ำไปเลย และไมค่ ่อยได้เห็นมุมมอง
แบบเป็นกลางเท่าใดนัก กล่าวคือ มุมมองแรกเป็นการมองทุนนิยมเป็นเสมือน
ทางออกของมวลมนษุ ยชาติ และมมุ มองทส่ี องเปน็ การมองทนุ นยิ มเปน็ คปู่ รปิ กั ษ์
กับมวลมนษุ ยชาติ รวมท้ังสรรพส่งิ ต่างๆ ในธรรมชาติ อีกทั้งเมอื่ มาดูการท�ำงาน
ของตนเองที่ต้องพบกับความย้อนแย้งระหว่างความหมายของมูลนิธิที่ก่อต้ังขึ้น
มาบนฐานของการปฏิเสธผลก�ำไร กับความหมายของธุรกิจ (business) หรือ
ผู้ประกอบการ (entrepreneurship) ท่ีมุ่งแสวงหาก�ำไร ยิ่งท�ำให้ผู้เขียนรู้สึก
กระหายถงึ การเขา้ ไปเปน็ สว่ นหนง่ึ ของการน�ำกลมุ่ คนจาก 2 ฝง่ั นม้ี าท�ำงานรว่ มกนั

6 ย�่ำขาง คือ วิธีการบ�ำบัดรักษาอาการเจ็บปวดทางร่างกายเป็นภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพ ส�ำหรับวิธี
รักษานั้น จะใช้เท้าชุบน้�ำยา (น้�ำไพลและน�้ำมันงา) และ ย�่ำบนขางหรือผาลท่ีเผาไฟจนร้อนแดงแล้วจึง
ย�ำ่ บนรา่ งกายบรเิ วณทมี่ ีอาการเจบ็ ปวดพรอ้ มกบั การเสกคาถาอาคมก�ำกบั (มลู นธิ ิโครงการหลวง, 2555)

66 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสงั คม

อยา่ งไรกต็ าม เมอ่ื ผเู้ ขยี นถอยหา่ งออกมามองการเคลอื่ นตวั ของกระแส
สังคม ที่มนุษย์เองยังคงต้องด�ำเนินชีวิตอยู่ในสังคมท่ีแปรเปล่ียนอยู่ตลอดเวลา
จึงเกิดค�ำถามว่าเราจะอยู่ร่วมกับส่ิงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าและมีอิทธิพลต่อการ
ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของคนส่วนใหญ่ในโลกนี้ โดยไม่สูญเสียอุดมการณ์ของ
ตนเองได้อย่างไร ในมุมมองของผู้เขียน แนวคิดธุรกิจเพ่ือสังคม อาจเป็นความ
พยายามหาจุดกลางระหว่างการมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมแต่ไม่มองด้านความยั่งยืน
และการมุ่งแต่ธุรกิจเพ่ือให้อยู่รอดแต่ไม่มองเรื่องปัญหาสังคม นั่นคือโมเดลการ
แก้ปัญหาสงั คมและอยู่รอดไปพร้อมๆ กัน
ณพี ธีระพิจิตร (ทอฟฟี่) อายุ 30 ปี เป็นหน่ึงในคนที่ School of
Changemakers คดั เลอื กมาเขา้ รว่ มเปน็ intrapreneur เพอ่ื ชว่ ยเหลอื พน้ื ทโ่ี ดย
น�ำแนวคิด และเคร่ืองมือเชิงธุรกิจมาปรับใช้กับแผนการด�ำเนินงานต่างๆ ของ
ภาคประชาสงั คมในโครงการครง้ั นี้ นอกจากนเี้ ธอยงั เปน็ ฝา่ ยเลอื กพน้ื ทเี่ ชยี งราย
ส�ำหรับการท�ำงานครง้ั นดี้ ้วยตัวของเธอเอง
เธอนับเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ เนื่องด้วยต้อง
ไปศกึ ษาตอ่ ทปี่ ระเทศสงิ คโปรต์ ง้ั แตร่ ะดบั มธั ยมศกึ ษาจนจบปรญิ ญาตรเี ปน็ เวลา
กวา่ 10 ปี และ เมอื่ กลบั มาศกึ ษาตอ่ ระดบั ปรญิ ญาโททปี่ ระเทศไทย เธอไดเ้ ลอื ก
เรียนสาขาผู้ประกอบการสังคมสากล ซึ่งขณะนัน้ เพิ่งเร่มิ ได้รบั ความนยิ มในไทย
ดว้ ยบรบิ ทสงั คมในประเทศสงิ คโปร์ ซงึ่ เปน็ ประเทศมงุ่ พฒั นาธรุ กจิ โดย
เฉพาะ startup ใหม่ๆ และ เมื่อช่วงเรียนต่อปริญญาโทเธอได้ท�ำวิทยานิพนธ์
เร่ืองการจัดการมูลฝอยกับธุรกิจเพื่อสังคม (Solid Waste As a Social En-
terprise) ซง่ึ เป็นจุดทีท่ �ำให้เธอเริม่ สนใจอยากลงไปท�ำงานเชิงสังคมอยา่ งลกึ ซง้ึ
มากขนึ้ ควบคกู่ บั การท�ำงานภาคธรุ กจิ ในปจั จบุ นั ทต่ี อ้ งรบั ชว่ งดแู ลกจิ การตอ่ จาก
ครอบครัว
ส�ำหรบั การลงพนื้ ทจ่ี รงิ ๆ ของทอฟฟ่ี เรม่ิ ขนึ้ ครง้ั แรกเมอ่ื งานเวทปี ระชมุ
เครือขา่ ยการท�ำฐานข้อมลู บ้านพักเดก็ และจากการลงพน้ื ทีค่ รั้งน้ี ท�ำให้เธอพบ

มลู นิธิบา้ นครูน้ำ� บนกา้ วตอ่ ไป 67

วา่ มหี ลายสงิ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ไปตามทเี่ ธอคดิ ไวใ้ นตอนแรก การลงพนื้ ทแ่ี ตล่ ะครง้ั ของเธอ
จงึ เปรียบเสมอื นการเดนิ ทางสโู่ ลกของการท�ำงานภาคสังคมแบบจรงิ จัง และได้
สัมผัสกับประเด็นร้อนๆ มากมาย ต่างจากประสบการณ์ท่ีเธอเคยพบเม่ือสมัย
เรยี นหรอื ท�ำงานในองค์กรภาคธรุ กิจของตนเอง

ตั้งดาว ปักธง และด�ำเนินงาน

ส่ิงท่ีส�ำคัญต่อการก�ำหนดทิศทางการขับเคล่ือนงานของกลุ่ม เพื่อให้
สมาชกิ ไมท่ �ำงานอยา่ งกระจดั กระจาย คอื เปา้ หมายทก่ี ลมุ่ ตอ้ งการไปใหถ้ งึ หรอื
เปรยี บดง่ั ดวงดาว ทคี่ นสมยั กอ่ นนยิ มใชเ้ ปน็ สงิ่ น�ำทาง เชน่ เดยี วกนั กบั มลู นธิ บิ า้ น
ครนู �ำ้ ท่เี ปา้ หมาย คือ “เดก็ ไร้สัญชาตมิ ที ่ยี ืนทางสงั คมทั้งกายและใจ”

“การทดแทนความรักท่ีขาดหายใหแ้ กเ่ ดก็ เปน็ สงิ่ ทีห่ าไม่ได้จาก
การคิดแบบสงเคราะห์ แต่มันตอ้ งสังเคราะห์ขึน้ มา”

(นชุ นารถ บญุ คง. สมั ภาษณ,์ 11 พฤศจกิ ายน 2560)

เมอ่ื ดาวทมี่ ไี วน้ �ำทางถกู ก�ำหนดขน้ึ มา เพอื่ ก�ำกบั ไมใ่ หค้ รนู ำ้� และทมี งาน
หลงทิศ แต่การที่จะไปให้ถึงดาวดวงน้ันก็ต้องมีธงที่คอยปักอยู่ระหว่างทางว่า
เสน้ ทางทเี่ ราก�ำลงั เดนิ มามนั คอื ทางทถี่ กู ครนู ำ้� และทมี งานปกั ธงเพอื่ ใหร้ วู้ า่ ไดเ้ ขา้
ใกล้เปา้ หมายเด็กไรส้ ญั ชาติ เด็กเรร่ ่อนมพี น้ื ท่ยี นื ในสงั คมทางกายหรอื ภายนอก
คอื การทเ่ี ดก็ กลมุ่ นเ้ี ขา้ ถงึ สวสั ดกิ ารขนั้ พน้ื ฐานตา่ งๆ การศกึ ษาเรยี นรู้ การรกั ษา
พยาบาล การมสี ทิ ธใิ นการมชี วี ติ อยู่ โดยครนู ำ้� พยายามผลกั เดก็ ใหเ้ ขา้ สรู่ ะบบการ
ศกึ ษา เพ่อื เป็นประตูสู่การไดร้ ับสทิ ธปิ ระโยชน์ตา่ งๆ ตามทีเ่ ด็กควรได้รบั
นอกจากนี้ เง่ือนไขหนึ่งเพ่ือให้เด็กมีโอกาสได้รับสัญชาติไทยเมื่อจบ

68 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผ้คู น ชมุ ชน การประกอบการสงั คม

การศึกษาระดับปริญญาตรี คือ เด็กจะต้องมีผลงานโดดเด่นที่แสดงถึงการเป็น
ผู้ประพฤติดีและท�ำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและสังคม7 ครูน�้ำจึงพยายาม
ใหเ้ ดก็ เรม่ิ เขา้ ท�ำงานจิตอาสาต่างๆ ส�ำหรบั รองรบั วนั หนึง่ พวกเขาตดั สนิ ใจเรยี น
ต่อในระดับปริญญาตรี จะได้เป็นหลักประกันในการได้สัญชาติไทยอีกหนึ่ง
ช่องทาง หรือ ถ้าพวกเขาไม่ต้องการเรียนต่อในระดับปริญญา พวกเขาก็ต้องมี
ทกั ษะชวี ิตเพียงพอท่จี ะออกไปท�ำงานท่สี ังคมยอมรบั

“เราเคยมุ่งแตใ่ หเ้ ด็กมีทเ่ี รยี น มที ักษะ มีขา้ วกนิ มีชีวิตรอด แต่
พอสดุ ทา้ ยเขาโตขนึ้ เขากเ็ ลอื กกลับไปใช้ชีวิตแบบเดมิ ๆ ขายยา
ขอทาน เพราะเขารสู้ กึ วา่ ถงึ เขามคี วามรู้ แตส่ งั คมกไ็ มไ่ ดย้ อมรบั
เขาจริงๆ อยู่ดี และเขาก็ไม่ได้เห็นว่าชีวิตตัวเองมีค่า สู้กลับไป
เสยี่ งใช้ชวี ิตเดมิ ๆ ดกี วา่ ”

(นุชนารถ บุญคง. สมั ภาษณ์, 11 พฤศจกิ ายน 2560)

การสร้างพ้ืนที่ยืนทางสังคมให้เด็กกลุ่มนี้ มิใช่เพียงเรื่องภายนอกที่จะ
ท�ำให้เด็กสามารถใช้ชีวิตรอดได้เท่านั้น แต่ต้องครอบคลุมไปถึงการมีพื้นที่ทาง
สังคมด้านจิตใจด้วย ธงปักหมุดด้านนี้จึงเป็นส่ิงแวดล้อมที่เอ้ือให้พวกเขาเห็น
คุณคา่ ในตนเอง เชน่ การจัดกระบวนการสร้างคุณค่าให้ตนเองในมลู นธิ ิบา้ นครู
นำ้� ใหเ้ ดก็ ไดท้ �ำกจิ กรรมบ�ำเพญ็ ประโยชนท์ วี่ ดั ทกุ สปั ดาห์ การใหเ้ ดก็ ไดฝ้ กึ ทกั ษะ
อาชพี กับพ่หี วานและพี่วัตร เพื่อใหเ้ ขารูส้ กึ ว่าตนเองมีคณุ ค่าท้ังจากทัศนคติของ
ตนเองที่มองว่าตนเองสามารถหารายได้ด้วยอาชีพสุจริต และทัศนคติที่สังคม
ภายนอกมองมา ชื่นชมว่าเปน็ เดก็ ดี เพราะในอดีต แมว้ ่าเด็กจะไดร้ ับการศึกษา

7 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การส่ังให้คนท่ีเกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมี
บดิ าและมารดาเปน็ คนต่างดา้ วได้สญั ชาตไิ ทยเปน็ การท่วั ไปและการใหส้ ญั ชาตไิ ทยเป็นการเฉพาะราย วัน
ท่ี 14 มีนาคม 2560 ขอ้ 4 (7) ให้ผทู้ เ่ี กิดในราชอาณาจักรและไม่ได้รับสัญชาตไิ ทย ท่ีท�ำคุณประโยชนใ์ ห้
แก่ประเทศจนเป็นทีป่ ระจกั ษ์ ใหไ้ ด้สัญชาตไิ ทยเป็นการเฉพาะราย

มูลนิธิบา้ นครนู ้ำ� บนก้าวตอ่ ไป 69

เข้าเรียนในระบบ แต่วันหนึ่งเม่ือเด็กถึงวัยท่ีต้องออกจากบ้านครูน้�ำ บางส่วนก็
ยงั กลับเข้าไปสวู่ งจรเดมิ (ยาเสพตดิ ขอทาน ฯลฯ) เพราะพวกเขาไมไ่ ด้รูส้ กึ ว่า
ตนเองมคี ณุ คา่ อยา่ งแท้จริง

การพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างเครือข่าย

“เด็กไม่มีบัตร ไม่มีสัญชาติ ก็ไม่สามารถท�ำงานที่ถูกกฎหมาย
เลยไปท�ำงานตามร้านคาราโอเกะ เมื่อเจอกันก็อยู่ด้วยกันแบบ
ไมม่ คี วามรู้ ก็ไมป่ ้องกนั แล้วมีลูก ไม่มคี นรับผิดชอบ จนเคยเกดิ
กรณีนายจ้างน�ำเด็กไปขายให้คนจีนที่เมืองลา อันเป็นแหล่งขึ้น
ช่อื เร่อื งการซอื้ ขายอะไหลม่ นษุ ย”์

(นุชนารถ บุญคง. สัมภาษณ์, 10 พฤศจิกายน 2560)

กรณนี ายทนุ รกุ ไลท่ อี่ ยอู่ าศยั ในพนื้ ทชี่ ายแดน อกี ทงั้ ปญั หาความไมส่ งบ
ทางการเมอื งของประเทศเมยี นมาสง่ ผลกระทบตอ่ สถานการณเ์ ดก็ และเยาวชนที่
อาศยั อยใู่ นพนื้ ทดี่ งั กลา่ ว อกี ทงั้ ชายแดนในฝง่ั ประเทศไทยมกี ารเปดิ สถานบรกิ าร
ตา่ งๆ เพ่อื รองรบั ความตอ้ งการของนักท่องเท่ียว ยง่ิ ตอกย�้ำปญั หาการประกอบ
อาชีพทีม่ ีความเสี่ยง เชน่ การขายบรกิ ารทางเพศ ยาเสพตดิ เปน็ ตน้
ทีมงานโครงการมิตรข้างถนน ซึ่งอยู่ภายใต้การด�ำเนินงานของมูลนิธิ
บา้ นครูน้�ำ พบเหน็ เดก็ เร่ร่อนขอทานในทอ้ งถนน บนสะพานและในชุมชนเมือง
อยู่จ�ำนวนหนึ่ง เด็กบางส่วนได้เคยมาขอรับบริการจากศูนย์บริการเด็กหรือ
ดร็อปอิน บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยได้เข้าพักในบ้านพักขององค์กรภาคี
เครอื ขา่ ยดา้ นเดก็ ทมี่ อี ยกู่ ระจายไปในหลายอ�ำเภอของจงั หวดั เชยี งราย ในฐานะ
คนท�ำงานกบั เดก็ เรร่ อ่ นและการศกึ ษาไรพ้ รมแดน ครนู ำ้� จงึ เกดิ ค�ำถามวา่ จ�ำนวน
เดก็ เรร่ อ่ นในจงั หวดั เชยี งรายตอนนมี้ อี ยจู่ �ำนวนเทา่ ใด ซง่ึ ทผี่ า่ นมายงั ไมส่ ามารถ

70 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผูค้ น ชุมชน การประกอบการสงั คม

ตอบได้ชัดเจนเพราะไม่เคยมีการจัดระบบฐานข้อมูลให้เป็นมาตรฐานที่สามารถ
เช่ือมโยงข้อมูลถึงกันได้โดยสามารถรักษาความลับของเด็กเพื่อความปลอดภัย
จากการถูกใชข้ ้อมูลในการแสวงหาประโยชนจ์ ากเด็กดว้ ย
แนวคดิ ดา้ นการพฒั นาฐานขอ้ มลู รว่ มกนั กบั เครอื ขา่ ยบา้ นพกั เดก็ จงึ เรมิ่
ตน้ ขน้ึ ผา่ นการจดั ประชมุ เวทพี ฒั นาฐานขอ้ มลู รว่ มกนั เพอื่ เปน็ ฐานขอ้ มลู ในการ
ท�ำงานชว่ ยเหลอื เดก็ ไดอ้ ยา่ งสะดวก รวดเรว็ และมคี ณุ ภาพยงิ่ ขน้ึ ในการสง่ ตอ่ และ
ตดิ ตามเดก็
อกี นยั หนงึ่ ของการน�ำขอ้ มลู เดก็ ทม่ี อี ยใู่ นแตล่ ะเครอื ขา่ ยมาจดั เกบ็ อยา่ ง
เป็นระบบ ยังชว่ ยเป็นขอ้ มลู พ้ืนฐานส�ำหรับการต่อรองกบั ภาครฐั ไมใ่ หบ้ ้านพกั
เด็กถูกปิด เน่ืองด้วยในแต่ละบ้านพักไม่สามารถปฏิบัติได้ครบทุกข้อตามกฎ
กระทรวงของสถานสงเคราะห์8 ซ่ึงเป็นปัญหาท่ีมักพบในกลุ่มผู้ปฏิบัติหน้างาน
ท่ไี มไ่ ด้มสี ่วนรว่ มในการร่างกฎระเบียบต่างๆ ในขณะท่ผี ้อู อกระเบยี บหลายคร้งั
อาจไม่ได้คลุกคลกี ับปัญหาลกึ นกั จึงอาจมองระดับภาพรวมเป็นหลกั แตก่ ารมี
ฐานข้อมูลจะช่วยเป็นส่ิงที่น�ำมาสนับสนุนให้เห็นว่ามีการท�ำงานช่วยเหลือเด็ก
อยจู่ ริง

8 กฎกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตจัดต้ังสถานแรกรับ สถาน
สงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟนื้ ฟู พ.ศ. 2549

มลู นธิ ิบา้ นครูนำ้� บนกา้ วตอ่ ไป 71

การท�ำเว็บไซต์ฐานข้อมูลเครือข่าย
บ้านพักเด็ก จ.เชียงราย

ประชุมเครือข่ายฐานข้อมูลบ้านพักเด็ก ครั้งที่ 1

“ถ้าจะท�ำงานเครือข่าย อย่าเผ่ือใจ อย่าไม่ไว้วางใจ ต้องเช่ือใจ
ไวก้ อ่ น แล้วลุยเลย”

(นชุ นารถ บุญคง. สมั ภาษณ,์ 23 มีนาคม 2561)

หลงั จากการเขา้ รว่ มเวทอี บรมการสรา้ งกลยทุ ธเ์ พอ่ื การขบั เคลอ่ื นสงั คม
ซง่ึ เปน็ ครง้ั แรกทค่ี รนู ำ้� และทอฟฟพ่ี บกนั และเปน็ ครงั้ แรกทผี่ เู้ ขยี นพบทอฟฟเ่ี ชน่
กัน ผลลัพธ์อย่างหน่ึงที่ผู้เขียนสังเกตเห็นได้หลังจากจบเวทีอบรม 3 วันน้ี คือ
ความสัมพันธเ์ ชงิ บวกระหวา่ งครูน้�ำและทอฟฟ่ที ีเ่ กิดขึ้นระหว่างเวทีอบรม
อาจเปน็ เพราะเปน็ คนชา่ งเจรจา ครนู ำ้� จงึ มกั บอกเลา่ และถา่ ยทอดเรอื่ ง
ราวของตนเองใหผ้ อู้ น่ื ฟงั ประกอบกบั แววตามงุ่ มนั่ ขณะเลา่ เรอ่ื ง สะกดใหผ้ ฟู้ งั พา
ตวั เองเขา้ ไปร่วมผจญภัยกับสถานการณน์ ้ันด้วย ในขณะทีท่ อฟฟี่ซ่งึ มีอัธยาศยั ดี
และเปน็ ฝา่ ยชอบฟงั เรอื่ งเลา่ จากทางครนู ำ้� เกยี่ วกบั การท�ำงานและอปุ สรรคตา่ งๆ
ทพี่ บเจอ ซึ่งลว้ นเปน็ เร่ืองราวท่นี ่าตืน่ เต้นส�ำหรบั เธอ ดว้ ยเป็นคนรักการเรยี นรู้
และรักการเดินทางที่พาเธอไปพบเจอประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอเหมือนเม่ือ
คร้ังทีแ่ บกเปอ้ อกไปผจญภยั รอบโลกเพียงล�ำพัง
การลงพื้นท่ีเชียงรายคร้ังแรกของทอฟฟี่ เริ่มต้นจากการช่วยครูน้�ำ
เตรียมการจัดประชุมเครือข่ายฐานขอ้ มลู บา้ นพกั เดก็ ครั้งท่ี 1 ซง่ึ จัดขน้ึ ท่ศี าลา
กลางจงั หวดั เชยี งราย โดยตลอดการประชมุ มกี ารสอดแทรกกระบวนการเพอ่ื ให้

72 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม

เครือข่ายที่มาร่วมงานเปิดใจ รับฟังกัน และ สร้างพ้ืนที่ปลอดภัยส�ำหรับการ
พูดคุย ซง่ึ มีครูอว้ นเปน็ คนน�ำกระบวนการเหลา่ นี้
การประชุมเกิดขึ้นตลอดทั้งวันจนมาถึงช่วงหาข้อสรุปเร่ืองรูปแบบการ
เกบ็ ข้อมูลเดก็ และตัวฐานขอ้ มลู จะมีระบบอย่างไร บรรยากาศคละคลุง้ ไปดว้ ย
การโต้แย้งจากกลุ่มบ้านพักเด็กต่างๆ เน่ืองจากข้อมูลเหล่านี้มีหลายส่วนที่เป็น
ประเดน็ เปราะบาง เช่น โรคร้ายแรง การถกู ละเมดิ ตา่ งๆ ทอ่ี าจส่งผลกระทบตอ่
อนาคตของเด็กในภายภาคหน้า คร้ังนั้นความกังวลส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องวิธีการ
ปอ้ งกนั การรว่ั ไหลของขอ้ มลู และความจ�ำเปน็ ในการทแี่ ตล่ ะบา้ นจะเขา้ ถงึ ขอ้ มลู
ประเภทเปราะบางของเด็กแต่ละคนที่อย่บู ้านอน่ื

“ผมจำ� เป็นต้องพูดตรงๆ ถามเยอะๆ เพราะถา้ ข้อมูลมนั รว่ั ไหล
ไป ถ้าเขาโตแล้วมหี นา้ มตี า เขาอาจจะครั้งหนึง่ อาจจะถูกข่มขนื
มา แลว้ ขอ้ มลู นม้ี นั หลดุ ไป มนั กเ็ สย่ี งทจ่ี ะทำ� ใหอ้ นาคตมนั เสยี ไป
เราจะป้องกนั ยงั ไง อยากรวู้ ่าใครเก็บเก็บทไี่ หน เกบ็ อย่างไร แค่
พดู วา่ ไวใ้ จกนั อย่างเดียวคงไมไ่ ด้ แต่ต้องเห็นระบบด้วย”

(ตัวแทนครจู าก กศน. ประชมุ เครือขา่ ยฐานข้อมลู บ้านพักเดก็ .
สมั ภาษณ์, 1 ธนั วาคม 2560)

อย่างไรก็ตาม การท่ีครูน้�ำ เครือข่ายบ้านเด็ก และนักวิชาการจาก
มหาวทิ ยาลยั มหดิ ลทเี่ ขา้ มาชว่ ยเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ดา้ นสขุ ภาพของเดก็ ตา่ งมเี ปา้
หมายสงู สดุ ในการจดั เกบ็ ฐานขอ้ มลู รว่ มกนั คอื เพอื่ สง่ เสรมิ การอยดู่ มี สี ขุ ของเดก็
(children well-being) สง่ ผลใหก้ ารประชมุ ครงั้ นต้ี า่ งฝา่ ยตา่ งพยายามปรับปรุง
การท�ำงาน โดยทางทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลจะปรับแก้ข้อค�ำถาม
ส่วนทีมครูน้�ำ ซึ่งเป็นฝ่ายดูแลระบบกลางจะปรับระบบให้ข้อมูลท่ีแลกเปล่ียน
รว่ มกนั มเี ฉพาะขอ้ มลู เบอื้ งตน้ เชน่ จ�ำนวนเดก็ แยกชายหญงิ เลขบตั รประจ�ำตวั

มูลนิธบิ ้านครูน้ำ� บนกา้ วตอ่ ไป 73

เชอ้ื ชาติ สถานทเ่ี กดิ เปน็ ตน้ ในขณะทข่ี อ้ มลู สว่ นเปราะบางดา้ นอน่ื ๆ เชน่ ขอ้ มลู
ดา้ นสขุ ภาพ ความรุนแรง การถกู ละเมดิ ตา่ งๆ เป็นข้อมูลท่ใี ห้แตล่ ะบ้านพกั เก็บ
ไว้เฉพาะของตนเอง โดยผู้รับผิดชอบดูแลฐานข้อมูลส่วนกลางคือเจ้าหน้าท่ีใน
มูลนธิ บิ า้ นครูนำ้�
ครนู ำ้� มองวา่ การประชมุ ครง้ั นส้ี �ำเรจ็ เกนิ เปา้ หมายทตี่ ง้ั ไวใ้ นตอนแรก ซงึ่
คาดว่าจะมีเครอื ขา่ ยมาเข้ารว่ มประมาณ 4-5 กลุ่มเดมิ แต่กลบั มีเครือข่ายบา้ น
เด็กกลุ่มใหมๆ่ ทมี่ ารว่ มด้วยกว่า 20 คน และ ล้วนเป็นกลุ่มท่ีตัง้ ใจมาเพื่อหาขอ้
สรปุ และทางออกรว่ มกันจริงๆ

“ในวงพดู ถึงผลประโยชนข์ องเด็กมากอ่ น ทกุ คนพูดไมไ่ ด้โต้แยง้
เพอ่ื ตวั เองเลย แตท่ กุ คนหว่ งเดก็ เปน็ การโตแ้ ยง้ ของคนทท่ี ำ� งาน
จริงๆ มีการต้ังข้อสังเกตจากส่ิงท่ีตัวเองเจอและก็รู้สึกว่าถ้าเกิด
มนั จะเปน็ อยา่ งนม้ี นั จะเกดิ ผลอะไรในอนาคต เราเองกไ็ มเ่ คยเจอ
บรรยากาศแบบนนี้ ะ ทเี่ หน็ วา่ เดก็ คอื จดุ สงู สดุ ของการทำ� งานรว่ ม
กนั มันรสู้ ึกตน้ื ตนั ใจแบบบอกไม่ถูก”

(นุชนารถ บญุ คง ประชุมเครือขา่ ยฐานขอ้ มูลบ้านพกั เดก็ ,
สมั ภาษณ,์ 1 ธนั วาคม 2560)

ปจั จยั ทท่ี �ำให้การประชุมเครือขา่ ยคร้ังน้ี มีผูเ้ ข้าร่วมมากกวา่ คร้งั กอ่ นๆ
ที่เคยผ่านมา อาจมีสาเหตุจากความน่าเช่ือถือของตัวผู้น�ำหรือครูน�้ำ ท่ีเป็นคน
ท�ำอะไรท�ำจริงและต่อสู้เพื่อเด็กมาตลอด นอกจากน้ียังมีนักวิชาการจากทีม
มหาวิทยาลัยมหิดลท่ีต้ังใจเข้ามาช่วยเรื่องการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของเด็ก
เร่ร่อน เพื่อผลักดันสู่นโยบายสุขภาพ และด้วยบรรยากาศของสถานที่จัดงาน
คอื ศาลากลางจงั หวัด ซง่ึ เป็นสถานท่ีท�ำงานของหน่วยงานภาครฐั ทเ่ี ป็นผมู้ ีส่วน
ได้สว่ นเสยี กับประเดน็ ดา้ นเดก็ เร่รอ่ นโดยตรง

74 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม

อีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือ วาระของการประชุมเรื่อง
“การพัฒนาและออกแบบผลิตภณั ฑ”์ ท่ถี ูกแทรกอยูใ่ นการประชมุ ครงั้ นี้ เพราะ
มคี วามสมั พนั ธก์ บั การสง่ เสรมิ รายได้ ซง่ึ เปน็ แผนงานหนงึ่ ส�ำหรบั หาเลย้ี งองคก์ ร
ตนเองที่แต่ละบ้านพักต้ังไว้อยู่แล้ว โดยมีทอฟฟี่เป็นแม่งานหลักในการคิดและ
เชิญชวนให้เครือข่ายน�ำผลิตภัณฑ์ท่ีบ้านพักของตนเองท�ำข้ึนมาเพื่อสร้างราย
ได้ ส่วนใหญ่เป็นงานฝีมอื และงานศลิ ปะของเดก็ ในบ้านพกั นนั้ มาแสดงใหใ้ นวง
ประชมุ ไดร้ ว่ มเหน็ และแลกเปลยี่ นชอ่ งทางการสนบั สนนุ การคา้ ขายวธิ ตี า่ งๆ เมอื่
ทอฟฟี่เหน็ ผลิตภัณฑแ์ ลว้ กลยุทธต์ า่ งๆ ก็ผุดข้นึ มามากมาย
ในช่วงเย็นวันน้ัน ระหว่างที่ทอฟฟี่เล่าแผนกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อท�ำให้
ผลติ ภณั ฑเ์ หล่าน้ขี ายได้ ใหแ้ กผ่ ูว้ ิจยั ฟงั สหี นา้ และแววตาของเธอ ดูเต็มไปดว้ ย
ประกายแห่งการอยากกระโจนลงไปช่วยและตื่นเต้นกับการเร่ิมต้นในเส้นทาง
ของ intrapreneur คร้ังน้ี โดยเธอมองวา่ แนวทางทนี่ ่าสนใจคือ การออกแบบ
ผลติ ภณั ฑ์ (packaging) โดยดงึ กล่มุ นักศึกษาที่เรียนสายออกแบบผลิตภัณฑ์มา
ชว่ ยออกแบบหรอื จดั ประกวด บนเงอื่ นไขวา่ เดก็ ในบา้ นพกั มเี วลาจ�ำกดั (อาจไมม่ ี
เวลาว่างมาก) ซงึ่ อาจท�ำให้ไม่สามารถผลติ ไดท้ นั ความตอ้ งการของตลาด
ภายหลังจากทท่ี อฟฟไ่ี ด้มีโอกาสเข้าไปดบู รรยากาศในมูลนิธิบ้านครนู �้ำ
และศนู ย์ดรอ็ ปอนิ ในวันถดั มา ร่วมกับการพูดคยุ กับท้งั ครนู �ำ้ และทีมงาน ท�ำให้
เข้าใจสถานการณ์และความยากล�ำบากของการท�ำงานแก้ปัญหาเร่ืองเด็กไร้
สัญชาติมากยิ่งข้ึน เช่น การเข้ามาของนายทุนจากต่างชาติ เมื่อเมืองเชียงแสน
และแม่สายถูกผลักดนั ให้เปน็ เขตเศรษฐกจิ พเิ ศษ กอ่ ใหเ้ กิดปัญหาขบวนการค้า
มนุษยแ์ ละอะไหลม่ นษุ ย์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มข้นึ และซับซ้อนมากขึน้
เมอื่ ทอฟฟร่ี บั ทราบถงึ บรบิ ทของพนื้ ท่ี ท�ำใหม้ องวา่ แนวคดิ ในการมงุ่ แต่
จะพฒั นาผลติ ภณั ฑ์ จงึ อาจไมใ่ ชก้ ลยทุ ธท์ จ่ี ะท�ำใหพ้ นื้ ทแ่ี หง่ นย้ี งั่ ยนื ได้ และนน่ี บั
เป็นความท้าทายก้าวแรกท่ีไม่เคยถูกสอนอยู่ในห้องเรียน ไม่เคยมีโอกาสเผชิญ
หนา้ เม่อื อย่ทู ก่ี รงุ เทพฯ

มลู นธิ ิบ้านครูน้�ำบนก้าวต่อไป 75

“เราได้เห็นบริบทของพ้ืนที่จริงๆ เห็นปัญหาจริง เข้าใจมันมาก
ขึ้น ต่างจากทีค่ ิดไวแ้ ตแ่ รก ทเ่ี ราตง้ั ใจจะพัฒนาแค่ packaging
ของผลติ ภณั ฑห์ รอื ทำ� การตลาดแลว้ จบ แตม่ นั มสี าเหตขุ องปญั หา
ที่มากกว่านั้น และก็เห็นศักยภาพของพื้นที่มากขึ้น จริงๆ แล้ว
พื้นที่ในมูลนิธิมันกว้างมาก น่าจะใช้ประโยชน์จากน้ีได้อีกเยอะ
เลย”

(ณพี ธีระพจิ ติ ร. สมั ภาษณ,์ 3 ธนั วาคม 2560)

เมื่อสิ่งที่คิดไว้กับสิ่งท่ีพบเจอจากการสัมผัสพ้ืนที่จริง ดูจะไม่ใช่ดังที่คิด
ไว้แต่ตอนแรก จดุ เร่ิมตน้ ของการเรยี นรูแ้ ละการปรับตัวทั้งของพื้นทแี่ ละ intra-
preneur จึงเกดิ ข้นึ ในชว่ งเวลาถดั จากนี้

บทบาทสื่อกับการเข้ามาสนับสนุน

อีกหนึ่งเครื่องมือที่โครงการผู้น�ำแห่งอนาคต เห็นความส�ำคัญต่อการ
ท�ำงานเพ่ือสร้างความย่ังยืนขององค์กร คือ เครื่องมือการส่ือสาร และมีทีม
ลงมาจัดอบรมส่ือให้กับพื้นที่ การพบเจอกันครั้งแรกในพ้ืนท่ีจริงระหว่างครูน�้ำ
กบั ทมี สอ่ื อาจตอ้ งใชเ้ วลาปรบั เปา้ หมายเขา้ หากนั เนอ่ื งดว้ ยเปา้ หมายของทมี สอื่
คอื ตอ้ งการใหส้ ามารถผลติ สอื่ เพอื่ สอ่ื สารเกย่ี วกบั องคก์ รของตนเองบนโซเชยี ลมเี ดยี
ได้หลังจบการอบรมไป จึงอยากได้คนท่ีเป็นเจ้าหน้าท่ีหรือรับผิดชอบด้านการ
สื่อสารองค์กรโดยตรงมาเข้าอบรม ในขณะท่ีเป้าหมายของครูน้�ำ คือ อยากให้
เดก็ สามารถ เล่าเรื่องราวชีวติ ของตนเองได้ (อยา่ งเป็นจริง) ยอมรับตวั ตนและ
ภมู ใิ จในสงิ่ ทต่ี นเองเปน็ จรงิ ๆ เพอ่ื เปน็ พน้ื ฐานส�ำหรบั การเตรยี มทจี่ ะสอื่ สารออก
ไปส่สู ังคมภายนอก จงึ ตอ้ งปรับกิจกรรมรว่ มกนั
อีกท้ังข้อจ�ำกัดด้านเคร่ืองมือสื่อสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ

76 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม

เน่อื งจากเดก็ และเยาวชนในแต่ละบ้านพักไม่มเี คร่อื งมือเพื่อใช้งาน ดังนนั้ ทีมส่ือ
จึงปรับมาสอนเป็นพ้ืนฐานการเล่าเร่ือง ประกอบด้วย การวาดภาพตัวตนของ
ตนเองและเลา่ ให้ผอู้ ่ืนฟงั เรียนรู้เร่อื งรปู แบบของการสอื่ สาร องค์ประกอบการ
ส่ือสาร การเขียนกรอบแสดงเร่ืองราว (storyboard) ภายหลังการอบรม เด็ก
และเยาวชนในแตล่ ะบา้ นพกั เดก็ ทเ่ี ปน็ เครอื ขา่ ยของมลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ ไดน้ �ำเสนอ
ขอ้ มลู บ้านพักของตนเอง และชีวติ ประจ�ำวนั การท�ำกิจกรรมตา่ งๆ ของตนเอง
เพอื่ เปน็ ขอ้ มลู พนื้ ฐานส�ำหรบั ลงประกอบในเวบ็ ไซตฐ์ านขอ้ มลู เครอื ขา่ ย ซง่ึ รเิ รมิ่
ขึ้นในระหว่างการประชุมเครือขา่ ยฐานข้อมลู บา้ นพักเดก็ ครั้งท่ี 2 ถดั จากนี้

การประชุมเครือข่ายฐานข้อมูลบ้านพักเด็ก ครั้งที่ 2

ผา่ นมาประมาณ 2 เดอื น การประชุมเครือขา่ ยฐานข้อมูลบ้านพกั เดก็
ครั้งท่ี 2 ก็เกดิ ข้ึน โดยครงั้ นีเ้ ป็นบททดสอบความพรอ้ มของแตล่ ะบ้านพักทีจ่ ะ
มาเข้าร่วมแลกเปล่ียนข้อมูลกันจริง จากเครือข่ายบ้านพักเด็กท่ีมาเข้าร่วมใน
คร้งั แรกกวา่ 20 กลุ่ม ลดจ�ำนวนลงเหลอื เพยี ง 6 กลุม่ แตท่ กุ ฝ่ายมาพรอ้ มกบั
ข้อมูลทม่ี อี ยแู่ ละความต้ังใจจะเข้าร่วมด้วย และได้ทดลองใช้เว็บไซต์ฐานข้อมูล
เครอื ขา่ ยบา้ นพกั เดก็ ทม่ี ขี อ้ มลู ของเครอื ขา่ ยและกจิ กรรมการด�ำเนนิ งานสมบรู ณ์
กว่าร้อยละ 70 แล้ว โดยในเวบ็ ไซตป์ ระกอบด้วยรายละเอยี ด เช่น แนะน�ำขอ้ มลู
บ้านพัก (ขอ้ มลู กายภาพ/ทต่ี ้ัง/วสิ ัยทศั น/์ กจิ กรรม) ฐานข้อมูลเดก็ ในแต่ละบา้ น
สินค้าและบริการของเครือขา่ ย ประชาสัมพันธ์ขา่ วสาร การรบั อาสาสมัครและ
เงนิ สนบั สนนุ
แม้ผลลัพธ์ด้านจ�ำนวนเครือข่ายบ้านพักเด็กท่ีมาเข้าร่วมในการประชุม
อาจจะดูไม่มาก แต่มันคุ้มค่ากับครูน้�ำและทีมงานท่ีได้เร่ิมต้นท�ำฐานข้อมูลน้ีให้
เกิดข้ึนเป็นรูปธรรม และผลที่ตามมาคือ เม่ือน�ำฐานข้อมูลไปเสนอเจ้าหน้าที่

มลู นิธิบา้ นครูน�้ำบนก้าวต่อไป 77

พัฒนาสังคมจังหวัด ปรากฏว่าได้รับความสนใจและขอน�ำฐานข้อมูลบ้านพัก
เด็กในเครอื ขา่ ยของหน่วยงานรฐั เข้ารว่ มดว้ ยอกี กว่า 50 แหง่

การเพิ่มรายได้

ในระหว่างเวทีอบรมการคิดและวางแผนการเงินแบบผู้ประกอบการ
สังคม ครูนำ้� และทีมได้ท�ำห่วงโซผ่ ลลพั ธ์ (impact value chain) เพ่อื พิจารณา
ว่าจากเป้าหมายหรือผลกระทบทางสังคมท่ีองค์กรมุ่งหวังตั้งไว้ ผลลัพธ์ใดท่ีให้
เกิด และต้องสร้างด้วยกิจกรรมใด ทรัพยากรใด ครูน้�ำและทีมรวมท้ังพ่ีหวาน
และพีว่ ัตร ชว่ ยกนั ระบแุ ละได้ผลดงั น้ี

ปัจจัยน�ำเข้า กิจกรรม ผลผลติ ผลลพั ธ์
- องค์ความรดู้ ้านภูมิปญั ญา/ - ฝกึ ทกั ษะอาชีพ เพิ่มรายได้ พ่ึงพาตนเองได้
ผู้ประกอบการ/ (ภมู ิปญั ญาทอ้ งถน่ิ )
การบริหารจดั การ - ขายสนิ คา้ /บริการ
- เงนิ ทนุ /คน/เวลา (ตลาด/รา้ นกาแฟ/เวบ็ ไซต)์

แผนภูมิภาพแสดงห่วงโซผ่ ลลพั ธ์ (impact value chain) ของมูลนิธิบ้านครนู �ำ้

จากหว่ งโซ่ผลลัพธข์ า้ งต้น เพอื่ ใหส้ ามารถพง่ึ พาตนเองได้ ครนู �ำ้ และทีม
เลอื กการเพม่ิ รายไดเ้ ปน็ ผลผลติ ทจ่ี ะตอ้ งท�ำใหไ้ ด้ โดยผา่ นการท�ำกจิ กรรมการฝกึ
ทักษะอาชีพจากภูมปิ ัญญาท้องถิ่น และ การขายสินค้าบริการจากการเปดิ ร้าน
กาแฟ ขายสนิ ค้าตามตลาด และบนเว็บไซต์ และ กิจกรรมตา่ งๆ ทรี่ ะบุมา ได้ถกู
น�ำมาเริม่ ด�ำเนินการในพนื้ ทจ่ี ริงหลงั จากการอบรมครง้ั น้ัน

78 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม

ร้านกาแฟบ้านเด็ก

การท�ำกิจกรรมต่างๆ ของครูน้�ำมักใส่ใจรายละเอียดเรื่องการใส่ตัวตน
และอตั ลกั ษณข์ องเดก็ ในมลู นธิ ฯิ อยเู่ สมอ รวมถงึ การท�ำธรุ กจิ หรอื หารายไดเ้ ชน่
กัน ครูน้�ำมองว่ามันเป็นการส่ือสารรูปแบบหน่ึงท่ีจะให้สังคมภายนอกรับรู้และ
เข้าใจภาพลักษณ์หรือตัวตนของเด็กในบ้านครูน้�ำมากข้ึน และเคยเล่าถึงความ
สนใจในการท�ำรถโมบายหรือรถขายของเคล่ือนท่ี ซึ่งสามารถสอดแทรกความ
หมายเกย่ี วกับตัวเดก็ ในรถนัน้ ได้

“สง่ิ ที่เราอยากทำ� อีกอยา่ งหน่ึง คือ รถโมบาย ทเ่ี คลื่อนท่ีไปขาย
ทไ่ี หนกไ็ ด้ แลว้ กใ็ หเ้ ดก็ ๆ ดแู ลจดั การกนั เอง เพราะรถโมบายมนั
เปน็ สญั ลกั ษณ์ สอ่ื ถงึ การเดนิ ทาง เหมอื นเดก็ ๆ ทพี่ วกเขาเปน็ เดก็
เร่ร่อน การเดนิ ทางคอื มันท�ำให้พวกเขามีอสิ ระ”

(นชุ นารถ บญุ คง. สมั ภาษณ,์ 10 พฤศจิกายน 2560)

ทวา่ ในความเปน็ จรงิ ปจั จยั เรอ่ื งทนุ หรอื ผสู้ นบั สนนุ มสี ว่ นจ�ำเปน็ ในการ
รเิ รมิ่ ดงั นน้ั เมอ่ื มภี าคเอกชนสนบั สนนุ พน้ื ทใี่ หเ้ ปลา่ เปน็ หอ้ งวา่ งพาณชิ ยจ์ �ำนวน
1 หอ้ ง ครนู �้ำเลยพกั ความคิดเร่ืองรถเคลือ่ นที่ไว้ และคว้าโอกาสทมี่ าถึงไว้ “ร้าน
กาแฟบ้านเดก็ ” จึงเรม่ิ ต้นใหมอ่ ีกครัง้ (เคยด�ำเนนิ การมาแลว้ ครัง้ หนึง่ เมอื่ 1-2
ปีก่อน แตพ่ ้นื ทยี่ กเลิกกจิ การไป รา้ นจงึ ตอ้ งปิดตัวลง) และ มคี �ำวา่ “ปนั แบง่
บุญ-เพ่ือน้อง” เป็นค�ำเชิญชวนให้ผู้เดินผ่านหรือขับรถผ่านเข้าร้าน ภายในร้าน
มีเครื่องดม่ื และเครอ่ื งประดบั ซง่ึ ท�ำโดยเดก็ มลู นธิ บิ ้านครนู ้ำ� และเส้ือผา้ บริจาค
ท่ีเหลือใชจ้ ากการคดั แล้ว รวมท้งั สินค้าตา่ งๆ จากเครอื ขา่ ย เปดิ ใหบ้ รกิ ารทกุ วนั
โดยพื้นทีร่ า้ นทางบริษัทเอกชนแห่งหนึง่ ให้ใช้ฟรี ไมเ่ ก็บค่าเช่า

มูลนธิ บิ า้ นครนู ำ�้ บนกา้ วต่อไป 79

ภายหลงั เปดิ รา้ นกาแฟบา้ นเดก็ ได้ 1 เดอื น เมอื่ ประมาณการรายไดแ้ ลว้
เฉล่ยี สัปดาห์ละ 1,000 บาท มีเพยี งช่วงเทศกาลสงกรานต์ทีท่ �ำรายได้ประมาณ
8,000 บาท ตอ่ 5 วนั ซึง่ รายได้ทไี่ ดจ้ ากร้านกาแฟ อาจไมใ่ ชแ่ นวทางของการ
เพมิ่ รายไดข้ องมลู นธิ ฯิ ทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพ เนอื่ งจากก�ำไรทไี่ ดจ้ ากรา้ นนไี้ มเ่ พยี งพอ
ต่อการแบง่ เบาคา่ ใช้จา่ ยหลกั ของมูลนธิ ิฯ อยา่ งไรก็ตาม ประโยชนท์ ่ไี ด้จากการ
ท�ำร้านกาแฟ ที่พยายามดงึ เดก็ ในมูลนธิ ฯิ เขา้ มารว่ มวางแผน และลงมอื ด�ำเนนิ
การต้ังแต่การท�ำเคร่อื งดม่ื การขายสนิ ค้าต่างๆ คอื การเรียนรูท้ กั ษะการจัดการ
และการบริการจากการฝกึ ปฏบิ ัติจริง

การลดรายจ่าย

แม้ว่ากลยุทธ์การเพิ่มรายได้จากการขายสินค้าบริการต่างๆ จะเป็น
แนวคิดท่ีครูน�้ำและทีมกับทอฟฟี่ช่วยกันระดมความคิดในช่วงท�ำห่วงโซ่ผลลัพธ์
และหากลยทุ ธ์ (strategy) วธิ หี รอื แผนงานเพอ่ื บรรลเุ ปา้ หมายนน้ั และ ดเู หมอื น
ครูน้�ำจะให้ความส�ำคัญกับเร่ืองการหารายได้ผ่านการท�ำกิจกรรม เช่น ท�ำร้าน
กาแฟ ขายของที่ตลาด เพราะนอกจากจะค�ำนึงเรื่องเงินแล้ว มันยังเป็นเคร่ือง
มือส�ำคัญในการพัฒนาทักษะชีวิตและผู้ประกอบการของเด็กร่วมด้วยจากการ
ค้าขาย บรหิ ารจัดการรา้ น แตเ่ ม่ือน�ำกลบั มาค�ำนวณเปรียบเทียบระหวา่ งรายได้
จากกิจกรรมเหลา่ นน้ั และรายจา่ ยต่างๆ ทีม่ ลู นิธฯิ ตอ้ งใช้ไป มันไม่เพยี งพอและ
ครอบคลมุ ค่าใชจ้ ่ายตา่ งๆ ได้
จากการแจกแจงรายจา่ ยทมี่ ลู นธิ ฯิ ใชใ้ นการบรหิ ารจดั การเพอื่ ใหอ้ งคก์ ร
ด�ำเนินงานต่อไปได้อยู่ท่ีจ�ำนวนเงินประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูลจากการ
ประมาณการค่าใช้จ่าย ปี 2560 ในเวทีอบรมการคิดและวางแผนการเงินแบบ

80 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสงั คม

ผ้ปู ระกอบการสังคม) ผู้เขียนกรอกข้อมลู ลงตาราง excel ไปทีละรายการค่าใช้
จา่ ยของการด�ำเนนิ งานในมลู นธิ ฯิ ท�ำใหร้ สู้ กึ ตกใจและประหลาดใจในคา่ ใชจ้ า่ ยไม่
นอ้ ย เพราะเป็นจ�ำนวนเงนิ ทีส่ งู เกนิ ไปจากทีผ่ เู้ ขียนคิดไวใ้ นตอนแรกอยู่มาก ใน
ขณะทีเ่ งนิ ทนุ สนบั สนนุ จาก Not For Sale9 เพียง 2 ล้านบาทต่อปี ซง่ึ กวา่ ร้อย
ละ 60 ของคา่ ใชจ้ า่ ยเพอ่ื การบรหิ ารจดั การทงั้ หมดเปน็ เงนิ เดอื นบคุ ลากร รองลง
มาเปน็ คา่ ใชจ้ า่ ยดา้ นอาหารส�ำหรบั ทง้ั เดก็ และบคุ ลากร ประมาณรอ้ ยละ 10 และ
สว่ นท่ีเหลือเปน็ ค่าใชจ้ ่ายอื่นๆ ได้แก่ คา่ รักษาพยาบาลฉกุ เฉิน คา่ สาธารณปู โภค
ค่าของใชเ้ บ็ดเตล็ด คา่ เดินทาง และคา่ ติดตามเด็ก
หากพจิ ารณาจากตารางแสดงคา่ ใชจ้ า่ ยในการบรหิ ารจดั การของมลู นธิ ิ
บ้านครูน้ำ� คณุ ธนนั รัตนโชติ (พี่นก) อาสาสมัครภาคธุรกิจจากพน้ื ท่ขี อนแกน่ ท่ี
มีโอกาสมาลงพน้ื ทม่ี ลู นธิ บิ ้านครูน้�ำ และ ทอฟฟจ่ี ึงมองวา่ การลดรายจ่ายน่าจะ
เป็นแนวคิดท่ีตอบโจทย์ความอยู่รอดขององค์กรมากกว่า และสาระส�ำคัญของ
แนวคิดน้ี คอื การเลือกหยิบหมวดหมู่รายจา่ ยกอ้ นใหญ่สดุ ออกมาพจิ ารณาดวู า่
มันเกดิ ปญั หาตรงสว่ นใด จากนั้นจงึ ค่อยมาหาทางออก โดยมีทางเลอื ก 2 แบบ
คือ 1) ปรับปรุงวธิ ีการเดมิ ท่ีเคยท�ำอยใู่ ห้ดีขึน้ หรือ 2) คิดใหม่ ท�ำใหม่ ในท่ีน้ี
หมวดท่ใี ชจ้ ่ายสูงสุดคอื เงินเดือนบคุ ลากร และ คา่ อาหาร

การบริหารจัดการบุคลากร

เมอื่ พจิ ารณาเงนิ เดอื นบคุ ลากรจากตารางแจกแจงอยทู่ ป่ี ระมาณ 15,000
บาทต่อเดือน ซึ่งเทียบเท่าอัตราค่าแรงข้ันต�่ำ และตัวครูน้�ำเองก็ไม่ได้เงินเดือน
มากกว่านีเ้ ท่าไรนกั แนวคิดการลดค่าใชจ้ า่ ยในมิตขิ องบคุ ลากร จงึ มิได้หมายถงึ

9 Not For Sale เป็นองค์กรในประเทศสหรฐั อเมรกิ าท่ใี ห้ทุนสนับสนุนการด�ำเนินงานของมลู นิธิบา้ นครู
น้ำ� ทุกปี โดยสนับสนนุ เงินทุนปลี ะ 2,000,000 บาท

มลู นธิ บิ ้านครูน้�ำบนก้าวตอ่ ไป 81

การลดเงนิ เดอื น เนอื่ งจากงานภาคประชาสงั คม งานลกั ษณะมลู นธิ ทิ ไี่ มแ่ สวงหา
ก�ำไรและยงั ไมส่ ามารถกา้ วขา้ มการพง่ึ พาเงนิ บรจิ าคหรอื เงนิ สนบั สนนุ จากแหลง่
ทนุ เปน็ หลกั ได้ รวมทง้ั มลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ ทยี่ งั ไมส่ ามารถดงึ ดดู คนรนุ่ ใหมใ่ หม้ ารว่ ม
งานเพราะไมส่ ามารถจา่ ยเงนิ เดอื นสงู ได้ แมจ้ ะมคี นรนุ่ ใหมท่ มี่ พี ลงั ในการท�ำงาน
ขบั เคลอ่ื นสงั คมแตก่ ข็ าดทกั ษะการบรหิ ารจดั การ ในขณะทคี่ นรนุ่ ใหมท่ มี่ ที กั ษะ
การบรหิ ารจดั การกจ็ ะเปน็ กลมุ่ ทม่ี าท�ำงานอาสาสมคั ร และไมต่ อ้ งการอยเู่ ปน็ ทมี
งานประจ�ำดว้ ยเงอ่ื นไขตา่ งๆ เชน่ รายไดไ้ มเ่ พยี งพอตอ่ การเลย้ี งชพี งานหนกั ไมม่ ี
เวลาท่ีแนน่ อน เปน็ ต้น

เติมทักษะการบริหารจัดการ

“เพราะขาดคนมาดูแลเรื่องการบริหารจัดการ การวางแผน
การตลาด โดยตรง สิ่งที่จะท�ำต่อไปจากน้ี คือ การสร้างดรมี ทีม
ท่ีเลอื กแดนมาอยมู่ ูลนิธิฯ เพื่อใหแ้ ดน10 มาชว่ ยหมนุ ใหง้ านเรา
นอ้ ยลง แตม่ นั ยากตรงที่ แดนกไ็ มถ่ นดั เรอื่ งพวกนเ้ี ลย ตอ้ งเรยี นรู้
งานกนั อกี เยอะ”

(นุชนารถ บุญคง. สมั ภาษณ,์ 10 มนี าคม 2561)

ในระหว่างน่ังรอรับเด็กในมูลนิธิฯ ท่ีมาฝึกอาชีพในตลาดฮอมผะญ๋า
ครูน�้ำเล่าด้วยเสียงอ่อนแรงเล็กน้อยว่า ลึกๆ แล้วตนเองอยากมีเลขา โดยเคย
คดิ จะให้เดก็ ในมลู นิธิฯ ท่ีเรียนจบแล้วมาชว่ ยงาน แต่ไม่สามารถท�ำได้ เนอ่ื งจาก
เดก็ ควรมที างเลอื กในชวี ิตของเขา โดยค�ำว่าเลขาในมมุ มองของครูนำ้� คาดหวัง

10 หนง่ึ ในสมาชกิ ของทมี ครขู า้ งถนน ซง่ึ ท�ำงานอยู่ประจ�ำทั้งท่ีศนู ย์ดรอ็ ปอินและมลู นธิ ิบ้านครูน้ำ�

82 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผ้คู น ชุมชน การประกอบการสงั คม

แคเ่ พยี งใหท้ �ำหนา้ ทร่ี บั โทรศพั ท์ จดั การตาราง รบั รวู้ า่ ครนู ำ้� อยทู่ ใี่ ด ก�ำลงั ท�ำอะไร
อยู่ มสี ว่ นช่วยในการตัดสินใจเรือ่ งเลก็ น้อยได้ เชน่ ซ้ือของท่ไี หน ตั้งเบิกอยา่ งไร
เพ่อื ทค่ี รนู �้ำจะไดท้ �ำงาน ดแู ลเด็กเตม็ ท่ี โดยไม่ต้องลงมาจัดการเรอื่ งพวกน้ี
ครนู ำ�้ เล่าไปถงึ ช่วงหนึ่งท่ี Not for Sale วางแผนท�ำโครงการใหม่ เกย่ี ว
กับรองเท้าคณุ ภาพเพอื่ เดก็ แลว้ จะขอเรื่องราวของเด็กในมูลนธิ บิ ้านครนู ้ำ� เพอ่ื
ไปเผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ครูน้�ำจึงคิดว่า ถ้าในทีมงานมีคนที่มาช่วย
วางแผนเร่อื งการส่อื สาร หรือการตลาดต่างๆ อาจท�ำให้คว้าโอกาสทีเ่ ข้ามาคร้งั
นั้นได้ และยอ้ นไปถงึ โอกาสครัง้ อน่ื ๆ เช่น เมื่อคร้ังที่ Not for Sale ส่งทีมงาน
มาดคู วามเปน็ ไปไดใ้ นการท�ำรา้ นกาแฟรว่ มกบั กลมุ่ ธรุ กจิ ในเชยี งราย แตข่ าดการ
สานต่อ ด้วยเงอื่ นไขหลายประการ และหน่ึงในนั้นคอื ขาดคนมาท�ำหน้าทีส่ ่วนนี้
เช่นเดียวกับทอฟฟี่ท่ีมองว่าแนวทางในการเพ่ิมประสิทธิภาพของการ
ท�ำงานทดี่ ที ส่ี ดุ นา่ จะเปน็ การเพม่ิ ทกั ษะใหก้ บั คนทคี่ วรท�ำงานเบอื้ งหลงั สนบั สนนุ
ครูน�้ำ เปรยี บเปน็ เลขาประจ�ำตัวของครูน้ำ� คอื แดนชยั เสนานอ้ ย (ครูแดน) ท่ี
คาดหวงั ใหค้ อยอยกู่ องกลางเพอ่ื วางแผนการท�ำงานใหค้ รนู ำ้� ไดอ้ อกไปท�ำหนา้ ที่
กองหน้าปฏิบัติงานต่างๆ และดูเหมือนว่าแนวทางนี้จะเป็นส่ิงท่ีทอฟฟี่มีความ
ถนัด ซึง่ คือเร่ืองการพฒั นาทรพั ยากรบคุ คล เนอื่ งจากปัจจุบนั เธอก็ท�ำงานด้าน
นี้อยู่แล้วในธุรกิจของครอบครัวเธอ เธอจึงเร่ิมคิดแผนการเข้าไปร่วมท�ำงานกับ
ครูน้�ำและครแู ดนเร่ืองการบรหิ ารจัดการ โดยเริ่มจาก “การบรหิ ารจดั การเวลา
(time management)”
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ทอฟฟี่ต้องเผชิญ คือ การผสานวิธีคิด
ท่ีอาจไม่ลงรอยกันเร่ืองการบริหารจัดการเวลาระหว่างครูน�้ำกับทีมงาน และ
ตัวเธอเองซึ่งเปน็ คนท�ำงานภาคธุรกิจ

มลู นิธิบ้านครูนำ�้ บนกา้ วตอ่ ไป 83

“ฟ่ีว่าเรื่องบางเรอ่ื ง เช่น การประสานงานเครือข่าย หรือการนัด
หมายตา่ งๆ มนั ควบคมุ การใชเ้ วลาได้ ถา้ ไปทง้ั วนั แลว้ คยุ ได้ 3 คน
ในมุมธุรกิจมองว่าไมค่ มุ้ ค่า”

(ณพี ธรี ะพิจิตร. สัมภาษณ์, 9 มีนาคม 2561)

“ใช้เวลาให้น้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด” เป็นข้อความท่ีภาค
ธรุ กจิ มกั ใชเ้ ป็นแกนในการบริหารจัดการองค์กร และทมี งาน โดยทอฟฟี่ใช้หลกั
การนใ้ี นการท�ำงานในกจิ การโรงงานของครอบครวั เธอ แตด่ เู หมอื นครนู ำ้� และทมี
ไมไ่ ดร้ สู้ กึ วา่ เปน็ ปญั หาส�ำหรบั การท�ำงานทเี่ ปน็ อยู่ เพราะพวกเขาคดิ วา่ มนั คอื การ
ท�ำงานในสง่ิ ทรี่ กั และสมั พนั ธก์ บั มนษุ ยโ์ ดยตรง จงึ ไมไ่ ดร้ สู้ กึ วา่ การทมุ่ เวลาใหก้ บั
งาน เชน่ การสอนเด็ก การดแู ลเด็ก หรือ กจิ กรรมอน่ื ๆ ทีน่ �ำไปส่คู ุณภาพชวี ิตท่ี
ดขี องเดก็ ไรส้ ญั ชาติ จ�ำเปน็ ตอ้ งจ�ำกดั ใหน้ อ้ ยลงหรอื เอาผลลพั ธท์ เ่ี ปน็ รปู ธรรมมา
เทยี บเคยี งอยเู่ สมอ โดยเฉพาะกลมุ่ ทเี่ ธอท�ำงานดว้ ยเปน็ กลมุ่ เปราะบาง ทตี่ อ้ งใช้
ความละเอยี ดอ่อนในการท�ำงานดว้ ย

“ส�ำหรับพ่ีมันใช้เวลาเยอะอยู่แล้วแหละ ทุกงานเลย เพราะเรา
ท�ำงานกับคนนะ เราไม่ได้ท�ำงานกับเครื่องจักร และคนของเรา
ก็เป็นกลุ่มเปราะบาง เวลาประสานงานเครือข่าย พ่ีไม่ใช้หรอก
โทรศัพท์ มนั ตอ้ งเจอกนั เห็นหนา้ กนั เหน็ แววตากนั ”

(นชุ นารถ บุญคง. สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2561)
สร้างดรีมทีม

“ตอนทค่ี ยุ กันเรือ่ งการวางตารางงานร่วมกนั ของทมี แชร์ขอ้ มลู
ตารางงานรว่ มกนั แลว้ แตว้ (ผเู้ ขยี น) แนะนำ� วา่ มนั มี application
google calendar นะ พอกลบั มาเราก็ให้ทกุ คนไปเขียนตาราง
งานของแต่ละคน แบบจัดความสำ� คญั เลย แล้วเอามาดรู ว่ มกนั ”

(นุชนารถ บญุ คง. สมั ภาษณ,์ 10 มนี าคม 2561)

84 จุดนัดพบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม

ส่งิ ท่คี รนู ้�ำคดิ วา่ เปน็ ปญั หาทีป่ ระสบอยใู่ นเร่อื งทมี งาน คือ ต่างคนตา่ ง
ไม่รู้ว่าแต่ละคนก�ำลังท�ำอะไรอยู่ และความกังวลว่าตอนน้ีทุกคนในทีมเข้าใจ
เป้าหมายร่วมกันจริงๆ หรือไม่ ซึ่งเกิดข้ึนเพราะทุกคนต่างมีหน้างานที่ต้องท�ำ
มาก อาจไม่ได้ใส่วาระการท�ำความเขา้ ใจเปา้ หมายรว่ มกนั ในแตล่ ะครงั้ ทีป่ ระชมุ
และให้เวลาส�ำหรับการสะทอ้ นการท�ำงาน ถอดบทเรยี นร่วมกนั นอ้ ย
เมอื่ ครง้ั ทเี่ ขา้ รว่ มเวทอี บรมเตรยี มทมี เพอื่ เปลยี่ นผา่ น (preparing team
for transition) ซงึ่ เปน็ การอบรมเพอื่ เตมิ วธิ คี ดิ และเครอ่ื งมอื ของผปู้ ระกอบการ
ครง้ั สดุ ทา้ ย ในระหวา่ งนนั้ มีการคดิ ช่วั โมงแรงงาน (man hour) จากนั้นมาแบ่ง
สดั สว่ นการท�ำงานของทมี วา่ เวลาสว่ นใหญต่ กอยทู่ กี่ จิ กรรมอะไรเปน็ หลกั พบวา่
3 ใน 4 ของเวลาทใี่ ชท้ �ำงานตอ่ สปั ดาหท์ ง้ั หมดของครนู ำ�้ และทมี ถกู ใชเ้ พอ่ื การท�ำ
กจิ กรรมขององคก์ รเปน็ หลกั และท่เี หลอื เกือบท้ังหมดถูกใช้เพือ่ เตรียมงานและ
วางแผน ในขณะทเ่ี วลาส�ำหรบั การประเมนิ ผลการท�ำงาน และถอดบทเรยี นรว่ ม
กนั มนี ้อยมาก

ตารางที่ 1 สัดส่วนของช่ัวโมงการท�ำงานต่อสัปดาห์ของทีมงานมูลนิธิบ้านครูน้�ำ
ในแต่ละกิจกรรม

การท�ำงาน ชม./สัปดาห ์ ร้อยละ
22.14
เตรยี ม/วางแผน 57 75.53
2.33
ท�ำ 194.5 100

ประเมนิ /ถอดบทเรยี น 6

รวม 257.5

ที่มา : เวทอี บรมเตรยี มทมี เพ่ือเปลย่ี นผา่ น วนั ท่ี 2 กุมภาพันธ์ 2561

มูลนิธิบ้านครูน้�ำบนกา้ วต่อไป 85

ในเวทอี บรมครงั้ นนั้ ครนู ำ�้ เรมิ่ ตระหนกั ถงึ ความจ�ำเปน็ ของการสรา้ งทมี
ควบคู่กับการจัดสรรสัดส่วนการท�ำงานที่จะต้องให้ความส�ำคัญกับการใช้เวลา
เพื่อประเมินผล ถอดบทเรยี นร่วมกนั มากขึน้ เพื่อใหเ้ กิดการวางแผนการท�ำงาน
ส�ำหรับครั้งหน้าให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์ได้ตรงมากข้ึน และเกิดค�ำถามขึ้น
ว่าจะสรา้ งดรีมทมี อย่างไร โดยในการอบรมครั้งนั้นมีทางเลือกให้ 3 แบบ คือ 1)
การสรา้ งทมี ใหม่ โดยการหาคนใหม่ หาเงนิ และออกแบบโครงสรา้ งองคก์ รใหม่
2) การปรบั ทมี โดยการพฒั นาศกั ยภาพ สลบั ต�ำแหนง่ และปรบั การท�ำงาน และ
3) การเสรมิ ทมี โดยการผสมผสานระหว่างทางเลอื กที่ 1 และ 2
หากผอู้ า่ นรจู้ กั ผหู้ ญงิ คนน้ี แนน่ อนวา่ ทางเลอื กท่ี 1 คอื การเอาคนท�ำงาน
เดมิ ออกและหาคนใหมเ่ ขา้ มาท�ำแทน คงเปน็ ทางเลอื กสดุ ทา้ ยส�ำหรบั ครนู ำ้� ทเี่ ธอ
ใชใ้ จและความรสู้ กึ ในการก�ำหนดเสน้ ทางการด�ำเนนิ ชวี ติ เปน็ หลกั แมก้ ระทงั่ การ
คัดเลือกเจา้ หน้าท่เี ขา้ มาท�ำงานในมูลนธิ ิฯ ก็เช่นกนั ดงั ทค่ี รนู �้ำเคยวา่ “พคี่ ัดคน
มาท�ำงานจากอ้อมกอดพวกเขาเวลาท่ีกอดเดก็ ดวู ่าเขากิน นอนกับเดก็ ได้มั๊ย”
การปรับทมี จึงเป็นทางเลือกท่ีเธอสนใจจะน�ำไปเรมิ่ ตน้ ท�ำงานต่อ โดย
แผนการปรับทีมของเธอคือมุ่งท�ำความเข้าใจร่วมกันกับทีมเร่ืองเป้าหมายและ
ทศิ ทางการด�ำเนนิ งานขององค์กร การส่อื สารกนั เรือ่ งบทบาทหนา้ ที่ของสมาชิก
ในทีมบนแพลตฟอร์มที่ส่งถึงกันอย่างทั่วถึง ในที่น้ีเธอเลือกใช้กระดานหน้า
มูลนิธิฯ ที่ให้ทุกคนระบุงานของตนเองในแต่ละวัน และใช้แอปพลิเคชันปฏิทิน
เพอ่ื แบง่ ปนั ตารางงานซึ่งกนั และกัน

การใช้พื้นที่ในมูลนิธิบ้านครูน้�ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จากตารางการประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการมูลนิธิบ้าน
ครนู ้ำ� ปี 2560 พบวา่ คา่ ใชจ้ ่ายทเี่ กีย่ วขอ้ งกบั อาหาร รวมท้งั ค่าจ้างแมค่ รวั เปน็
อกี หมวดรายจา่ ยทส่ี งู เปน็ อนั ดบั ตน้ ๆ ประมาณรอ้ ยละ 12 ของคา่ ใชจ้ า่ ยเพอ่ื การ

86 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผ้คู น ชุมชน การประกอบการสังคม

บรหิ ารจดั การทง้ั หมด ครนู ำ้� และทอฟฟจ่ี งึ เรม่ิ พดู คยุ กนั เพอ่ื รว่ มหาวธิ ลี ดรายจา่ ย
ดา้ นน้ี ในขณะทมี่ ลู นธิ ฯิ มพี นื้ ทก่ี วา่ 19 ไร่ ซงึ่ ประกอบดว้ ยพน้ื ทสี่ �ำหรบั ท�ำเกษตร
และบอ่ นำ�้ ขนาดใหญบ่ รเิ วณรอบมลู นธิ ฯิ กวา่ รอ้ ยละ 80 ของพนื้ ทที่ งั้ หมด โมเดล
ทที่ ง้ั คเู่ หน็ พอ้ งตอ้ งกนั จงึ มาจากทนุ เดมิ ทมี่ อี ยแู่ ลว้ คอื การใชพ้ น้ื ทใ่ี หเ้ กดิ ประโยชน์
สูงสุดด้วยการท�ำการเกษตรและเล้ยี งสัตว์

“เรานึกถึงเรื่องการท�ำพ้ืนที่ตรงน้ีให้ย่ังยืนจากการเร่ิมต้นท�ำ
เกษตรกรรม เพอื่ ใหเ้ ดก็ ๆ มอี าชพี ทกั ษะ รายได้ เพราะปกตเิ ดก็ ๆ
กต็ อ้ งปลกู ผกั ปลกู ขา้ วทานเองอยแู่ ลว้ และคาดหวงั วา่ สกั วนั หนง่ึ
จะเป็นจุดท่องเทยี่ ว ทเ่ี ด็กๆ จะได้เปน็ มัคคุเทศกน์ อ้ ยแนะนำ� สง่ิ
ที่เค้าได้ท�ำอยู่ เพราะปีๆ หนึ่งมีคนมาเย่ียม เลี้ยงอาหารน้องๆ
ประมาณ 30 เจ้า แต่ก็ตอ้ งซ้อื ของกนิ จากข้างนอกมาหมด ราย
ได้ก็ไม่ได้เข้ามูลนิธิมาก ถ้าหากเปิดร้านอาหารที่บริหารจัดการ
เดก็ ๆ ในมูลนธิ ไิ ปเลย และให้คนทมี่ าบริจาค มาแวะกินซ้อื ของ
ในรา้ นเพราะยังไงก็ปลกู ผกั ปลกู ขา้ วกินกนั เองอยแู่ ลว้ ”
(ณพี ธีระพิจติ ร. สัมภาษณ์, 2 ธันวาคม 2560)
ในทางปฏบิ ัติ กิจกรรมตา่ งๆ เช่น การท�ำนาอินทรยี ์ การปลกู ผักปลอด
สารพิษ การเล้ียงไก่ เลี้ยงเป็ด และเลี้ยงปลาในกระชัง ได้ด�ำเนินการมาตลอด
ภายในมลู นิธิฯ แตอ่ าจขาดการจดั การอย่างเป็นระบบ ท้ังบคุ ลากรที่จะมาดแู ล
หลกั และการวางแผนเลอื กชนดิ ผกั ใหเ้ หมาะสมในแตล่ ะฤดกู าล เชน่ การท�ำนาที่
ใชเ้ วลาเพาะปลกู จนเกบ็ เกีย่ วผลผลิตเพียงครึ่งปี และหลงั จากนั้นกไ็ มไ่ ดน้ �ำท่ดี นิ
ไปใชป้ ระโยชนต์ ่อ
เม่ือสอบถามถึงความเพียงพอจากการน�ำผลิตผลเหล่านั้นมาใช้ส�ำหรับ
เป็นอาหารเล้ียงเด็กๆ ในมูลนิธิฯ พบว่า ยังไม่เพียงพอและเกินกว่าคร่ึงหนึ่ง
ต้องซ้ือเพิ่มจากภายนอก ท่ีจะต้องเสียค่าน�้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งร่วมด้วย

มลู นิธบิ า้ นครูน�ำ้ บนก้าวต่อไป 87

เช่น การท�ำนา ปลกู ขา้ ว ซึง่ ไดป้ ริมาณผลผลิตส�ำหรับน�ำมาใช้เพ่ือการบริโภคใน
มลู นิธิฯ เพียง 5 เดอื นตอ่ ปี
นอกจากน้ี มูลนิธิฯ ยังเคยเล้ียงไก่และเป็ดในระบบเปิดเพ่ือน�ำไข่มา
ใช้บริโภคภายใน และรว่ มมือกบั บริษทั ท่จี ะให้พันธไ์ุ กแ่ ละเป็ดมาเลี้ยง แต่เน่อื ง
ด้วยช่วง ปี 2560 มไี ข้หวดั นก สายพนั ธุ์ H7N9 ระบาด กรมควบคมุ โรคจึงออก
ประกาศหา้ มเคลอ่ื นย้ายสัตวป์ ีก โดยเฉพาะพ้ืนท่บี ริเวณชายแดน ซึ่งครอบคลมุ
จงั หวดั เชยี งรายดว้ ย เพอื่ ปอ้ งกนั สขุ อนามยั ตา่ งๆ และความปลอดภยั ของเดก็ ใน
มลู นิธิฯ จึงสง่ ผลให้ตอ้ งหยดุ กิจกรรมนไี้ วก้ อ่ น
อยา่ งไรกต็ าม ฤดูกาลมผี ลตอ่ ปรมิ าณนำ้� ทใี่ ชใ้ นเจรญิ เติบโตของผลผลติ
จากการท�ำเกษตร โดยมีเพียงช่วงฤดูฝนที่พอจะท�ำให้ได้ผลผลิต แต่เม่ือเข้าถึง
หนา้ แล้ง ซึง่ ครอบคลุมเวลากวา่ 4 เดอื น ปริมาณน้ำ� จากธรรมชาติทง้ั ฝนและนำ้�
ในล�ำคลองจะขาดแคลน ดงั นนั้ เพอ่ื ใหส้ ามารถท�ำการเกษตรไดต้ ลอดทงั้ ปี จงึ ตอ้ ง
ใช้ระบบการจัดการน้�ำเข้ามาช่วย ครูน้�ำและทีมงานจึงเร่ิมต้นซ่อมแซมแท็งก์น�้ำ
และอดุ รอยร่วั บริเวณท่อต่างๆ ในมลู นิธิ เพ่ือให้อยู่ในสภาพพรอ้ มใชง้ าน
นอกจากนี้ ยังมีค่าไฟฟ้าที่มูลนิธิฯ พยายามควบคุมค่าใช้จ่าย โดยน�ำ
ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์เข้ามาใช้ แต่ปัจจุบันเสียหายใช้การ
ไม่ได้ และหากต้องซ่อมเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จ�ำเป็นต้องใช้เงินเป็น
จ�ำนวนมาก เม่ือพี่นกเห็นปัญหาน้ีจึงเสนอเรื่องการหาเครือข่ายมาท�ำงานแก้
ปัญหาจุดน้ีแทน โดยท่ีพวกเขาจะได้รับประโยชน์ด้วย ได้แก่ 1) กลุ่มวิชาการ
เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ ในพ้ืนท่ี โดยให้นักศึกษา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ด้าน
ไฟฟา้ มาฝกึ ปฏบิ ัตจิ รงิ หรอื การเรียนรผู้ า่ นการบริการสงั คม (service learn-
ing) 2) กลุ่มธุรกิจซึ่งมีหน่วยที่ดูแลงานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร

88 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผูค้ น ชุมชน การประกอบการสังคม

(Corporate Social Responsibility: CSR)11 เขา้ มาร่วมท�ำงานเพือ่ สงั คมผ่าน
การแก้ปญั หาของมูลนธิ บิ ้านครูน�ำ้

สร้างความร่วมมือ ดึงภาคธุรกิจมาท�ำ CSR

เมื่อพี่นกและทอฟฟี่ร่วมกันประมวลแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในการ
ท�ำใหม้ ลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ อยรู่ อดอยา่ งยง่ั ยนื ได้ ตามหวั ขอ้ ขา้ งตน้ ทผ่ี า่ นมา อกี โมเดล
การลดรายจ่ายต่างๆ และก�ำลงั อยใู่ นกระแสสงั คมปัจจบุ ัน คือ การสรา้ งความ
ร่วมมือกับภาคธุรกิจให้เข้ามาท�ำ CSR ซ่ึงสามารถร่วมมือทั้งในแบบช่วยเหลือ
เปน็ รายการหรือแบบดูแลทัง้ ระบบ

“...คนอ่ืนที่ท�ำงานด้านเด็กอาจมองว่า แค่มีเงินเพื่อให้องค์กร
อย่ไู ด้ สัก 10 ล้าน หรือมากกวา่ แล้วเลย้ี งเด็กได้ แคน่ ้แี ลว้ จบก็
พอแลว้ ซงึ่ ตอนนกี้ ็มี CSR เอาเงินมาให้ แคเ่ อ่ยปากขอเขากใ็ ห้
แล้ว แตเ่ ราไม่ทำ� เพราะท�ำแบบนมี้ นั ไมไ่ ด้ทำ� ใหล้ ูกเราเติบโต ถา้
เรายึดวิธีแบบนี้เด็กมันก็จะเรียนรู้ว่าถ้าอยากได้เงินก็ไปขอสิ ซ่ึง
โยงไปถึงคนทำ� งานของพ่ีดว้ ย”

(นชุ นารถ บุญคง. สมั ภาษณ,์ 2 ธันวาคม 2560)
อยา่ งไรกต็ าม หนง่ึ ในความยากล�ำบากของการผสานกนั ระหวา่ งแนวคดิ
เชิงธุรกิจกับครูน้�ำ คือ ความละเอียดอ่อนและซับซ้อนในการมองประเด็นที่
เกี่ยวขอ้ งกับเดก็ ของครูนำ้� ทมี่ ปี ระสบการณ์ท�ำงานกบั เด็กมากว่า 20 ปี จนบาง
บทเรยี นได้ท�ำใหเ้ ธอมคี วามเชื่อทตี่ อ่ ต้านการเปน็ ฝ่ายรบั อยู่ตลอดเวลา

11 ความรบั ผดิ ชอบตอ่ สงั คมและสง่ิ แวดลอ้ มขององคก์ ร (Corporate Social Responsibility: CSR) หมาย
ถงึ การด�ำเนนิ กจิ การภายใตห้ ลกั จรยิ ธรรมและการจดั การทดี่ ี โดยรบั ผดิ ชอบสงั คมและสงิ่ เเวดลอ้ มทงั้ ภายใน
และภายนอกองคก์ ร อนั น�ำไปสกู่ ารพฒั นาทย่ี งั่ ยนื (คณะกรรมการกลมุ่ ความรว่ มมอื ทางวชิ าการเพอื่ พฒั นา
มาตรฐานการเรียนการสอนและการวจิ ัยด้านบรหิ ารธรุ กจิ แหง่ ประเทศไทย, 2555)

มลู นธิ ิบา้ นครนู ำ้� บนกา้ วตอ่ ไป 89

“..ได้บทเรียนจากการท�ำงานกับเด็กในมูลนิธิท่ีเติบโตมาจาก
การให้ และเขาเป็นฝ่ายได้รบั ตลอด จนสดุ ท้ายเดก็ ไมเ่ หน็ คุณคา่
ของสิ่งท่ีได้รับ ตัวอย่างล่าสุด คือ เด็กมาบอกว่าอยากเรียน
เราก็พยายามท�ำทุกวิถีทางเพื่อให้เด็กได้มีท่ีเรียนต่อในระดับ
มหาวิทยาลัย ขอเข้าไปพบกบั ทมี ผ้บู ริหาร ซงึ่ เขามากนั ทัง้ คณะ
เลย เราต้องอ้อนวอนขอให้รับเด็กเราเข้าไปเรียน แต่ปรากฏว่า
เดก็ เรียนไปไม่ถึง 1 เทอม ตอนน้หี นไี ปกบั ผชู้ ายแล้ว...”

(นชุ นารถ บุญคง. สมั ภาษณ์, 2 ธนั วาคม 2560)

จากเหตุการณ์ที่เด็กเลิกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยท่ีทางมูลนิธิฯ
พยายามหาช่องทางให้เข้าศึกษาได้แต่กลับหยุดเรียนและเลือกออกไปใช้ชีวิตอยู่
กับชายที่ตนเองรัก ครูน้�ำพยายามท�ำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังน้ันจึง
กลับไปสืบค้นและย้อนรอยการเรียนรู้ของเด็กคนน้ันเม่ือตอนเรียนระดับมัธยม
พบวา่ ชว่ งเวลานนั้ เดก็ อยหู่ า่ งจากการดแู ลของมลู นธิ ฯิ เพราะตอ้ งยา้ ยออกไปอยู่
หอพกั ทใ่ี กลโ้ รงเรยี น โดยบรบิ ทในโรงเรยี นมหี นว่ ยงานหรอื บรษิ ทั เขา้ มา บรจิ าค
สง่ิ ของและอปุ กรณก์ ารเรยี นใหต้ ลอดเวลากวา่ 6 ปี เดก็ อยใู่ นวฒั นธรรมทเ่ี ตม็ ไป
ด้วยการชว่ ยเหลือและสนบั สนนุ ตลอดเวลา จนบางครงั้ มนั มากเกินความจ�ำเป็น
และท�ำใหเ้ ด็กไมเ่ ห็นคุณคา่ ของสิ่งทไี่ ด้รับ
ครูน้�ำจึงมองว่าสิ่งที่ส�ำคัญกว่าเงินบริจาคหรือความช่วยเหลือต่างๆ
ที่เข้ามา คือ การบ่มเพาะให้เด็กเติบโตข้ึนมาโดยเห็นความส�ำคัญของสิ่งต่างๆ
ท่ีได้รับ และไมต่ กอยู่ในวัฒนธรรมการรอรับเพยี งฝ่ายเดียว

90 จุดนัดพบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม

การประเมินมูลค่าเชิงเศรษฐกิจที่สังคมต้อง
สูญเสีย หากไม่มีมูลนิธิบ้านครูน้�ำอีกต่อไป

ความเหน็ ตา่ งของมมุ มองเรอื่ ง “คณุ คา่ ” และ “มลู คา่ ” มกั ถกู น�ำมาเปน็
ประเดน็ ในการอภปิ รายระหวา่ งคนท�ำงานภาคสงั คมและผปู้ ระกอบการ โดยมกั
ไม่ค่อยได้บทสรุปท่ีแน่ชัด เม่ือภาคธุรกิจมักจะพยายามให้ภาคประชาสังคมคิด
มลู คา่ ของงานทตี่ นเองท�ำออกมาใหไ้ ดเ้ ปน็ ตวั เลข ในขณะทภี่ าคประชาสงั คมมกั
จะโตแ้ ยง้ กลบั ว่ามันวดั ออกมาไม่ได้ หรือยากมาก ดงั เชน่

“คณุ คา่ มนั ไมส่ ามารถวดั ออกมาเปน็ ตวั เงนิ ไดห้ รอก ชวี ติ เดก็ คน
หนึง่ มนั แทนดว้ ยตวั เลขเทา่ ไร”

(นุชนารถ บญุ คง. สมั ภาษณ,์ 16 มกราคม 2561)

ด้วยประเด็นข้างต้นน้ีผู้วิจัยย้อนมองถึงงานวิจัยในอดีตของตนเอง ท่ี
ต้งั ต้นดว้ ยการตระหนกั วา่ ผู้สงู อายนุ ัน้ มีคุณค่า และแมง้ านวิจัยจ�ำนวนมากบอก
ไว้เช่นกันว่า ผู้สูงอายุเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของครอบครัว เป็นปราชญ์ผู้
มีความรู้ท่ีได้มาจากประสบการณ์ทมี่ ีมายาวนาน อย่างไรก็ตาม สงั คมส่วนใหญ่
ยงั คงมที ศั นคตเิ ชงิ ลบตอ่ ผสู้ งู อายแุ ละไมไ่ ดต้ ระหนกั ถงึ คณุ คา่ เหลา่ นนั้ จรงิ ๆ อาจ
เพราะเห็นว่าเรื่องเหล่าน้ีมันไม่ได้มีผลกระทบต่อตัวพวกเขา เนื่องจากตัวเลข
GDP12 น้นั มีอิทธพิ ลครอบคลุมทุกมติ ิชีวติ ของคนไปแลว้ กิจกรรมต่างๆ ท่ีไมถ่ ูก
นบั รวมในตัวเลขน้ี หรือกลุม่ คนต่างๆ ทีไ่ ม่ได้มีสว่ นในการเพิม่ ตวั เลขน้ี จงึ มกั ถกู
ลดคุณคา่ ไปด้วย

12 GDP (Gross Domestic Product) คือ ผลติ ภัณฑร์ วมในประเทศ เป็นมูลค่าของสนิ คา้ และบริการข้นั
สุดท้ายของประเทศนน้ั ๆ

มูลนธิ บิ ้านครนู ้�ำบนกา้ วต่อไป 91

การส่ือสารความคิดที่ย่ิงใหญ่ของเราออกไป คือหัวใจท่ีท�ำให้ความคิด
น้ันแผ่ขยายออกไปเป็นวงกว้าง ซึ่งจ�ำเป็นต้องเร่ิมจากการท�ำความเข้าอกเข้าใจ
ผู้รับสารด้วย งานวิจัยคร้ังน้ันจึงเลือกสื่อสารภายใต้วิธีคิดของคนส่วนใหญ่ที่ให้
ความส�ำคญั กบั GDP เพอื่ มงุ่ ใหส้ งั คมเรมิ่ ตระหนกั ถงึ คณุ คา่ ของผสู้ งู อายุ ผา่ นการ
ตีคุณค่าของผู้สูงอายุออกมาเป็นตัวเงินหรือมูลค่าน่ันเอง โดยใช้วิธีคิดมูลค่าของ
ผสู้ งู อายจุ ากวธิ จี า้ งคนท�ำงานแทน (replacement approach) ซงึ่ เปน็ แนวคดิ
ที่อยู่บนหลักการว่า หากต้องจ้างผู้อ่ืนมาท�ำงานแทนแรงงานของผู้สูงอายุ
ในครวั เรือน โดยไมไ่ ดร้ บั คา่ จา้ ง เช่น การท�ำงานบา้ น การเล้ียงดหู ลาน รวมไป
ถงึ การท�ำงานอาสาสมคั รตา่ งๆ จะตอ้ งเสียค่าจา้ งตอบแทนเปน็ มลู ค่าเทา่ ใด
แม้ว่าผู้วิจัยไม่ได้ยอมรับว่าตัวเลขพวกนี้จะมาแทนท่ีคุณค่าของมนุษย์
แตป่ ฏเิ สธไมไ่ ดว้ า่ มนั มคี วามจ�ำเปน็ ตอ่ การขบั เคลอ่ื นสงั คมตอ่ ไปเชน่ กนั และเพอ่ื
สอื่ สารกบั คนหมมู่ าก การเลอื กใชภ้ าษาหรอื เลอื กประเดน็ ทมี่ นั สามารถสมั ผสั กบั
ความคิดของพวกเขาได้จึงจ�ำเปน็ ส�ำหรับการเผยแพรค่ วามคดิ ของเรา
พน่ี กมองวา่ ในกรณขี องมลู นธิ บิ า้ นครนู ำ้� กเ็ ชน่ กนั หากจะเปลย่ี นทศั นคติ
ของคนภายนอกให้พวกเขาหันมาเห็นคุณค่าของสิ่งท่ีครูน้�ำก�ำลังท�ำอยู่มากขึ้น
ต้องดึงเร่ืองที่พวกเขารับรู้และสัมผัสถึงปัญหาได้จริง เช่น อาชญากรรมต่างๆ
ยาเสพตดิ ทอ่ี าจเพม่ิ จ�ำนวนมากขน้ึ หากมลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ ตอ้ งปดิ ตวั ลง และ ขาด
การชว่ ยเหลอื เดก็ กลุ่มนตี้ ่อไป
ดังน้ัน เมื่อได้ยินหนึ่งในข้อเสนอเก่ียวกับกลยุทธ์ส�ำหรับการให้คนใน
สังคมเห็นความส�ำคัญของภารกิจท่ีครูน�้ำก�ำลังท�ำอยู่มาเป็นเวลายาวนานกว่า
20 ปี คอื การประเมนิ มลู คา่ เชงิ เศรษฐกจิ ทสี่ งั คมตอ้ งสญู เสยี หากไมม่ มี ลู นธิ บิ า้ น
ครูน้�ำอีกต่อไป จึงเป็นแนวคิดท่ีครูน้�ำเห็นด้วย โดยมองว่าหากคนทั่วไปรู้สึกว่า
เร่ืองเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของตนเองมากขึ้น จะตระหนักถึงความจ�ำเป็นของ
การมมี ูลนธิ บิ ้านครนู ำ้� อยูม่ ากขึ้น
การคลปี่ มความไมล่ งรอยระหวา่ งความคดิ ดา้ นคณุ คา่ และมลู คา่ จงึ อาจ

92 จดุ นัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสังคม

อยู่ที่การท�ำความเข้าใจเป้าหมายของการหยิบยกเรื่องพวกนี้มาว่ามันจะเอ้ือให้
เกดิ ประโยชนอ์ ยา่ งไรตอ่ งานเรา หรอื เหน็ ผลลพั ธป์ ลายทางของมนั วา่ จะเกดิ อะไร
ขน้ึ และกระบวนการท�ำใหเ้ กดิ การยอมรบั นนั้ อาจเกดิ จากการที่ intrapreneur
พยายามตัง้ ค�ำถามถงึ เปา้ หมายท่แี ทจ้ รงิ และพาให้ครนู �้ำร่วมคิดตามไปดว้ ย
การเข้าร่วมเวทอี บรมท่จี ดั โดยโครงการผูน้ �ำแห่งอนาคตทง้ั 3 ครัง้ หาก
พื้นทตี่ ้องมาค�ำนวณค่าเสียเวลาของตนเองออกมาเป็นมูลค่าแล้ว กค็ งมมี ลู คา่ สงู
มใิ ชน่ อ้ ย (รวมทง้ั มลู คา่ จรงิ ๆ ทท่ี างโครงการผนู้ �ำแหง่ อนาคตตอ้ งใชไ้ ปเพอ่ื หาภาค
ธรุ กจิ เขา้ มาเพอื่ เตมิ วธิ คี ดิ เครอ่ื งมอื ) แตจ่ ะท�ำอยา่ งไรใหม้ ลู คา่ ทสี่ ญู เสยี ไป มนั ถกู
น�ำไปเพม่ิ คณุ คา่ ใหก้ บั งานทตี่ นเองท�ำ กลมุ่ เปา้ หมายทต่ี นเองท�ำงานรว่ มดว้ ย ซงึ่
ขึน้ อยกู่ บั ทางเลือกของพ้นื ที่เองในการสร้างคุณคา่ เหลา่ นั้นข้นึ มา
ขอ้ เสนอเกย่ี วกบั แนวคดิ กลยทุ ธท์ ก่ี ลา่ วมาทงั้ หมดขา้ งตน้ ส�ำหรบั ครนู ำ�้
มองว่ามที ั้งท่อี ยู่ในระดบั ตอ้ งพจิ ารณา เช่น การปรบั ทีม ประสิทธภิ าพของการ
ท�ำงาน และ การเร่มิ ตน้ ทดลองท�ำ เชน่ การใชป้ ระโยชนใ์ นพน้ื ท่มี ลู นิธฯิ อยา่ ง
ค้มุ คา่ ปลูกผกั ท�ำนา การสือ่ สารสสู่ งั คมภายนอก อย่างไรกต็ าม ครูน�้ำยงั รูส้ กึ วา่
ไม่ได้จ�ำเปน็ เร่งด่วนทตี่ ้องเปลี่ยน เช่น การดงึ ภาคธรุ กิจมารว่ มท�ำ CSR แต่โดย
ภาพรวมแลว้ เธอมองวา่ ทงั้ วธิ คี ดิ และเครอื่ งมอื ตา่ งๆ ทไี่ ดจ้ ากภาคธรุ กจิ มนั ชว่ ย
ให้เธอมีโอกาสมากขึ้นในการเลือกหยิบเคร่ืองมือมาใช้เพื่อต่อยอดหรือปรับปรุง
การท�ำงานของตนเองและทมี

“มนั คอื การเปดิ มมุ มองทใี่ หเ้ รามองไปขา้ งหนา้ อกี ขนั้ หนง่ึ เพราะ
เราคนทำ� งาน เราก็จะท�ำๆๆๆ แล้วกจ็ ะอย่ใู นจดุ ของเรา เรามอง
เหน็ ขา้ งหนา้ แหละ แตเ่ ราไมร่ จู้ ะเดนิ ไปยงั ไง เหมอื นเขาสง่ ไมเ้ ทา้
มาให้เราคลำ� ทางเพ่ือเดนิ ไป แต่เรากไ็ ม่รหู้ รอกว่ามนั จะถึงฝง่ั ฝัน
ที่เราวางไว้หรือเปล่า แต่แน่นอนแหละ เรามีไม้เท้าแล้วมันคล�ำ
ได้ พอจะพยุงไปได”้

(นุชนารถ บุญคง. สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2561)
มลู นิธบิ ้านครนู �้ำบนก้าวต่อไป 93

การพัฒนาตลาดโฮงฮอมผะญ๋า
ล้านนาเชียงแสน

การขับเคลื่อนงานด้านเด็กไร้สัญชาติของครูน้�ำในปีนี้ นอกจากจะมุ่ง
การท�ำงานลงลกึ เชิงประเดน็ ดา้ นเดก็ โดยตรง เชน่ การผลกั ดนั ให้เด็กไร้สัญชาติ
มีสถานะ มีสิทธิในการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการศึกษาอย่างมี
คณุ ภาพ การสรา้ งเครอื ขา่ ยระหวา่ งบา้ นพกั เดก็ ผา่ นการสรา้ งฐานขอ้ มลู ออนไลน์
และแลกเปล่ียนข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์ต่อกัน แต่ครูน�้ำยังจะเริ่มต้นท�ำงานเชิง
พน้ื ที่ โดยการดงึ เครอื ขา่ ยทท่ี �ำงานเชงิ วฒั นธรรมในอ�ำเภอเชยี งแสนเขา้ มา ไดแ้ ก่
พีว่ ัตรและพห่ี วานทท่ี �ำตลาดฮอมผะญ๋า เพอ่ื สืบสานภมู ิปัญญาล้านนาเชียงแสน
แกเ่ ดก็ และเยาวชน โดยใหเ้ ดก็ ในมลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ มารว่ มสบื สานภมู ปิ ญั ญาเหลา่
น้ีทีต่ ลาดฮอมผะญ๋า เป็นตัวสร้างแรงกระเพ่อื มต่อๆ ไปใหแ้ กผ่ ้อู ืน่ ท่ีพบเห็นด้วย
ประเด็นทางวัฒนธรรมพ้ืนถ่ิน ในขณะเดียวกันเด็กเองก็ได้เรียนรู้ทักษะชีวิตใน
มุมอ่ืนๆ เพมิ่ เตมิ
แม้จะมีประสบการณ์ในการขับเคล่ือนงานเชิงวัฒนธรรมร่วมกับกลุ่ม
คุณค่าเชียงแสน ซ่ึงมีสมาชิกจ�ำนวนมาก แต่เป็นการท�ำงานสายสนับสนุนและ
อยูภ่ ายใตก้ ารด�ำเนินงานหลกั ของผู้น�ำคนอน่ื ๆ แต่การรเิ ริม่ ตลาดฮอมผะญา๋ นับ
เป็นงานใหญ่ชิ้นแรกที่ทั้งสองคนช่วยก่อร่างกันขึ้นมา และ เปรียบเสมือนบท
พิสูจน์ใจคนท�ำงาน เม่ือวันท่ีเปิดตลาดวันแรก สภาพอากาศทอ้ งฟา้ มืดครม้ึ และ
ฝนตกหนกั จนคนรอบขา้ งบอกวา่ ใหห้ ยดุ จดั งาน แตเ่ นอื่ งดว้ ยความมงุ่ มน่ั ทเี่ ตรยี ม
งานมา และไดแ้ รงสนบั สนนุ ทัง้ จากครนู ้ำ� และทีมงาน กับครูอ้วน ท�ำให้พหี่ วาน
และพี่วัตรตัดสนิ ใจเปดิ ตลาดตอ่ ไป และเม่ือฝนเรม่ิ หยดุ ลงภายหลังจากเปิดงาน
ไปได้ประมาณ 1-2 ชวั่ โมง ก็เรมิ่ มนี กั ท่องเทีย่ วมาใชบ้ รกิ าร

94 จุดนัดพบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม

หน่อค�ำน�ำแก้วฮอมผะญ๋าเชียงแสน

ภาพเดก็ ในมูลนิธบิ ้านครนู ำ้� ก�ำลงั ฝกึ การตอกเส้นและย่ำ� ขาง ณ ตลาดฮอมผะญ๋า


เป้าหมายหนึ่งของการท�ำตลาดฮอมผะญ๋า คือ การหนุนเสริมการ
ด�ำเนินงานของครูน้�ำ ประเด็นด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในมูลนิธิบ้านครู
น�้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เรียนรู้ทักษะอาชีพผ่านภูมิปัญญาล้านนา และ
2) สรา้ งคณุ คา่ ในตนเอง (self-esteem)13 ผา่ นการรสู้ กึ วา่ ตนเองสามารถหาราย
ไดโ้ ดยสจุ รติ และท�ำประโยชนต์ อ่ สว่ นรวม เปน็ สว่ นหนง่ึ ในการสบื สานภมู ปิ ญั ญา
ล้านนา โดยเด็กในมลู นธิ ิฯ ซึ่งเป็นกลมุ่ ท่ีมาฝึกทกั ษะนี้สะท้อนใหผ้ ู้เขียนฟงั เก่ียว
กับทั้งสาเหตุท่ีตนเองเลือกมาเรียนรู้ภูมิปัญญากับพ่ีวัตรและพ่ีหวานและส่ิงท่ีได้
รับ ดงั นี้

13 การสร้างคุณคา่ ในตนเอง หรอื การเห็นคณุ คา่ ในตนเอง (self-esteem) คอื การทีบ่ คุ คลไดพ้ ิจารณา
ประเมนิ ตนเองและแสดงออกดา้ นการยอมรบั หรอื ไมร่ บั ตนเอง ในมติ ติ า่ งๆ เชน่ ความสามารถ ความส�ำเรจ็
ความส�ำคญั โดยปจั จยั ทเี่ กยี่ วกบั การเหน็ คณุ คา่ ในตนเองมที งั้ จากทต่ี นเองประเมนิ ตนเอง และ การประเมนิ
จากผ้อู ืน่ หรือสังคม (Pelham & Swann, 1989)

มูลนธิ บิ า้ นครูน�้ำบนกา้ วตอ่ ไป 95

“ภมู ปิ ญั ญาเรอื่ งการนวด การตอกเสน้ ผมแคส่ ะพายยา่ มใบเดยี ว
ใส่ไมต้ อกเส้นไวใ้ นนน้ั ไปไหนมาไหนผมกท็ �ำสิ่งเหลา่ นีไ้ ดแ้ ล้ว”

(ด.ช. ไม,้ อาข่า, อายุ 14 ป.ี สมั ภาษณ์, 24 มนี าคม 2561)

“ผมชอบท้ังต่อยมวยและก็มาย่�ำขางกับตอกเส้นที่นี่ครับ ต่อย
มวยสนุกดีมันเหนื่อยแต่เวลาเราชนะแล้วเราภูมิใจ แต่ยังไงผม
ก็ยังจะมาช่วยงานที่ตลาดประจ�ำครับ ท้ังสองอย่างได้เงินท้ังคู่
ตอ่ ยมวยมนั ไดส้ ว่ นตวั แตย่ ำ�่ ขา่ งกบั ตอกเสน้ มนั ชว่ ยสว่ นรวมครบั
เงินท่ไี ด้มนั เข้ากองกลาง ผมอยากชว่ ยคนอ่ืน”

(ด.ช. นิง้ หนอ่ ง, อาข่า, อายุ 13 ป.ี สมั ภาษณ,์ 10 มนี าคม 2561

การเห็นแก่สว่ นรวม เป็นคณุ ลกั ษณะทท่ี างมูลนิธฯิ ให้ความส�ำคญั และ
มองว่าการจัดกระบวนการเรยี นรู้ต่างๆ หรอื กิจกรรมต่างๆ ที่เกดิ ขน้ึ ทง้ั ในและ
นอกมลู นิธิฯ ครนู ำ้� จะพยายามสอดแทรกมติ ิน้ีเข้าไปอยา่ งสม่ำ� เสมอ เชน่ การไป
ช่วยวัดท�ำความสะอาดทุกวนั หยุด การช่วยสอนหนงั สือเด็กรนุ่ น้องในมลู นธิ ิฯ
อีกเป้าหมายหนึ่งของการพยายามดึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาล้านนา
ขึน้ มาเพ่อื ให้คนทัว่ ไปไดส้ ัมผสั งา่ ยข้ึนผา่ นตลาดท่ตี ง้ั อยู่ ณ พพิ ิธภณั ฑสถานแห่ง
ชาตเิ ชยี งแสน คอื การสอื่ สารไปยงั เยาวชนคนรนุ่ ใหมใ่ หไ้ ดเ้ ขา้ มาเรยี นรรู้ ากเหงา้
ของตนเองผา่ นภมู ปิ ญั ญาเชยี งแสน โดยมตี ลาดฮอมผะญา๋ เปน็ พน้ื ทสี่ รา้ งการเรยี นรู้
ภายหลงั การเปดิ ตลาดไปไดป้ ระมาณ 2-3 สัปดาห์ เริ่มมกี ลุ่มเยาวชน
ในพน้ื ทใี่ ห้ความสนใจ โดยส่วนใหญเ่ ป็นนักเรียนระดบั มธั ยมศึกษาทจ่ี ับกลุ่มกนั
มาเอง นับเป็นโอกาสท่ดี ที ง้ั ของพว่ี ตั รและพี่หวานทมี่ เี ป้าหมายจะให้เยาวชนใน
พื้นที่สนใจภูมิปัญญามากขึ้น นอกจากน้ียังเป็นโอกาสท่ีดีของเด็กมูลนิธิบ้านครู
นำ�้ ดว้ ยเชน่ กนั ทเี่ ปลยี่ นจากผเู้ รยี นรภู้ มู ปิ ญั ญา และฝกึ ใหบ้ รกิ ารภมู ปิ ญั ญาเหลา่
น้ันกบั ผูอ้ น่ื ไปสู่การเปน็ ผู้สอน ถา่ ยทอดภมู ปิ ัญญาเมอ่ื มเี ยาวชน นกั เรียนทว่ั ไป
ท่ีมาขอร่วมเรยี นรู้ในตลาดฮอมผะญ๋า

96 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผ้คู น ชมุ ชน การประกอบการสังคม

“ย่ิงได้มีโอกาสเปล่ียนมาเป็นคนสอน ผมชอบตอนที่ได้สอน
มากกว่าตอนเรียน เพราะมันท�ำให้รู้สึกเหมือนเราเป็นผู้ใหญ่
โตข้ึน ได้ให้ความรู้ที่ตนเองมีกับคนอื่นๆ ทั้งกับน้องท่ีเด็กกว่า
และคนที่มีอายมุ ากกว่า”

(ด.ช. ไม้, อาข่า, อายุ 14 ป.ี สมั ภาษณ์, 24 มีนาคม 2561)

แนวคิดการสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง มองว่าการเห็นคุณค่าใน
ตนเองเปน็ การเรยี นรผู้ า่ นประสบการณต์ า่ งๆ การตอบสนองจากผอู้ นื่ และความ
ส�ำเรจ็ ของตนเองตอ่ งานต่างๆ โดยเกิดจากท้งั ความสามารถของตนเองท่ีมี และ
การประเมินความสามารถของตนเองจากบุคคลอื่นๆ (Pelham & Swann,
1989)  ดงั นนั้ การทเ่ี ดก็ ในมลู นธิ บิ า้ นครนู ำ้� เรมิ่ เหน็ วา่ ตนเองมคี วามสามารถดา้ น
ภูมิปัญญาน�ำไปให้บริการผู้อื่นและหารายได้ให้ตนเองและส่วนรวมได้ อีกทั้งยัง
ถกู ประเมินจากคนภายนอกว่าเป็นผเู้ ชย่ี วชาญและสามารถถ่ายทอดวชิ าให้ผู้อื่น
ไดด้ ว้ ย อาจตอบโจทย์เป้าหมายท่ีครูน้ำ� ตัง้ ไวว้ ่าอยากให้เกดิ ข้ึนกบั เด็กกลมุ่ น้ี

หารายได้ หรือ กระบวนการสร้างการเรียนรู้นอกมูลนิธิบ้าน
ครูน้�ำและโรงเรียน?

การใหเ้ ดก็ ในมลู นธิ ฯิ ท�ำงาน หารายได้ ทง้ั ในรา้ นกาแฟ ขายของทต่ี ลาด
การใหบ้ รกิ ารนวด ตอกเส้น ยำ�่ ขาง ซ่ึงเปน็ เด็กอายุตั้งแต่ 8 – 15 ปี แมจ้ ะเกิด
ขึ้นบนฐานของความต้องการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ อย่างไรก็ตาม คง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพที่สะท้อนออกไปมีความสุ่มเส่ียงในการตีความเร่ืองการใช้
แรงงานเด็ก14 ในสายตาของคนทวั่ ไป

14 แรงงานเดก็ (child labour) ตามอนสุ ญั ญาวา่ ดว้ ยอายขุ นั้ ตำ่� องคก์ ารแรงงานระหวา่ งประเทศไดก้ �ำหนด
อายุขนั้ ต่�ำของลกู จา้ งไว้ คือ อายุไมต่ ่�ำกว่า 15 ปี ส�ำหรับงานทัว่ ไป แตส่ �ำหรบั ประเทศทก่ี �ำลังพฒั นานน้ั ได้
ก�ำหนดอายุขัน้ ต�ำ่ ส�ำหรับงานทว่ั ไป คือ 14 ปี และงานเบาอายุขนั้ ต�ำ่ คอื 12 ปี และ โดยงานอนั ตราย คอื
16 ปี (มลู นิธเิ พ่ือการพัฒนาเด็ก, 2560)

มูลนธิ บิ ้านครนู ้�ำบนก้าวตอ่ ไป 97

เมอ่ื ยอ้ นกลบั ไปมองเปา้ หมายของมลู นธิ ฯิ คอื เดก็ ไรส้ ญั ชาตมิ ที ย่ี นื ทาง
สงั คมทง้ั กายและใจ จ�ำเป็นตอ้ งอาศยั ทัศนคติท่ดี ขี องคนในสังคมรอบขา้ งทมี่ ตี อ่
ตัวเดก็ รว่ มดว้ ย ท�ำใหค้ รูนำ้� เองต้องระมดั ระวงั ในการท�ำงานอยูม่ าก และเปน็ สง่ิ
ท้าทายในการท�ำงานกับทัศนคติผู้อ่ืนท่ีมีต่อเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งพ้ืนฐานไม่ได้มองเห็น
คุณค่าหรือประโยชน์จากการท�ำงานของครูน�้ำ เพราะมองว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่
พลเมืองของประเทศไทย จึงจ�ำเป็นต้องพยายามอธิบายกระบวนการเหล่าน้ีว่า
มิใช่การมุ่งเพ่ือสร้างรายได้เป็นหลัก แต่ต้องสามารถอธิบายได้ว่าเป็นกระบวน
การสรา้ งการเรยี นร้นู อกหอ้ งเรยี น

องค์ประกอบการสร้างผลกระทบทางสังคม
ของมูลนิธิบ้านครูน้�ำ
แม้ในหลายๆ แนวคิดท่ีภาคธุรกิจกับครูน�้ำร่วมกันคิดอาจยังไม่เห็น

ผลลัพธ์เปน็ รูปธรรม เช่น การเพ่มิ รายได้เพ่อื เพยี งพอต่อความยง่ั ยนื ขององค์กร
หรือมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนของส่ิงที่ด�ำเนินการอยู่ เช่น กลยุทธ์หรือแนวทางในการ
ท�ำงานเพื่อให้องค์กรยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ครูน�้ำรับฟังวิธีคิดแบบภาคธุรกิจใน
หลายดา้ น เช่น การปรับทีม ประสิทธิภาพของการท�ำงาน การใช้ประโยชน์ใน
พน้ื ที่มลู นธิ ิฯ อยา่ งคุ้มคา่ ปลกู ผัก ท�ำนา การสือ่ สารสู่สังคมภายนอก โดยอยู่ใน
ระดับการเร่ิมตน้ ผสานแนวคดิ ระหว่างภาคธรุ กจิ กับวิถีการท�ำงานของตนเอง
หากพจิ ารณาโดยแบง่ ตาม 6 องคป์ ระกอบขององคก์ รทสี่ รา้ งผลกระทบ
ตอ่ สงั คมสงู ซงึ่ Crutchfield & McLeod-Grant (2012) ถอดบทเรยี นจากองคก์ ร
ไมแ่ สวงหาก�ำไรทป่ี ระสบความส�ำเรจ็ ทง้ั องคก์ รขนาดใหญ่ และ องคก์ รขนาดเลก็
หรือท้องถิน่ พบว่า การท�ำงานของมูลนิธิบา้ นครูน้�ำมีลักษณะสอดคลอ้ งดงั น้ี

98 จดุ นัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม

1) งานที่ท�ำอยู่แก้ปัญหาระดับสังคม


กจิ กรรมทม่ี ลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ ท�ำอยสู่ ง่ ผลกระทบทางสงั คมและมสี ว่ นชว่ ย
ในการตดั ตอนปัญหาการคา้ มนษุ ย์ หรือ ปัญหาท่ีตามมาจากกรณีเด็กไรส้ ญั ชาติ
เรร่ อน ไรท้ พี่ ง่ึ และเลอื กเดนิ ทางในเสน้ ทางยาเสพตดิ น�ำไปสอู่ าชญากรรมตา่ งๆ
การท�ำงานขององคก์ รพยายามกา้ วขา้ มวธิ กี ารแกป้ ญั หาในประเดน็ ทตี่ นเองสนใจ
เพียงอย่างเดียว เช่น การช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนจากด่านแม่สาย การเอาอาหาร
หรือยารักษาโรคไปแจกเด็กหน้าด่าน-ข้ามด่าน แต่ครูน�้ำพยายามยกระดับการ
ท�ำงานเพอื่ ตอ่ รองกบั อ�ำนาจรฐั หรอื ตวั กฎหมายพระราชบญั ญตั บิ า้ นพกั เดก็ ผา่ น
การรวบรวมเครอื ขา่ ยและท�ำฐานข้อมูลบ้านพกั เดก็
อย่างไรก็ตาม ความทา้ ทายของการด�ำเนินงานของมูลนิธบิ ้านครูน้ำ� มี
ผลกระทบมาจากปัญหาเชงิ โครงสร้าง เช่น กฎหมายเกี่ยวกบั สัญชาติ นโยบาย
เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึง่ อาจตอ้ งท�ำงานขบั เคล่อื นด้านโครงสร้างควบคไู่ ปด้วย

2) การพยายามอยู่รอดโดยมิได้อาศัยเพียงเงินบริจาคหรือ
เงินท�ำโครงการ


จากการประเมินแนวโน้มที่องค์กรนานาชาติต่างๆ จะเริ่มลดการช่วย
เหลอื ประเทศไทยลง ผนวกกบั เงนิ ทน่ี �ำมาใชใ้ นการบรหิ ารจดั การภายในมลู นธิ ฯิ
ทง้ั หมดมาจาก Not for sale ส่งผลให้ครูน�ำ้ ตระหนักถงึ ความยงั่ ยนื ขององคก์ ร
ในกรณที ไ่ี มไ่ ดร้ บั การสนบั สนนุ ทนุ อกี ตอ่ ไป และมคี วามพยายามทจี่ ะเพม่ิ รายได้
ดว้ ยวธิ ีอน่ื เช่น การเปดิ ร้านกาแฟบ้านเด็กที่ในร้านมีทัง้ เครอ่ื งด่ืม งานฝีมือเด็ก
เส้อื ผ้าบรจิ าค และสินคา้ จากเครือขา่ ยบา้ นพกั เด็กอ่นื ๆ เปน็ ต้น
อย่างไรก็ตาม รายได้จากแหล่งเหล่าน้ีไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการ
บริหารจัดการมูลนิธิฯ ให้อยู่รอดได้ การท�ำกิจกรรมค้าขายสินค้าเหล่านี้ ไม่ได้

มลู นิธบิ ้านครูน้�ำบนก้าวตอ่ ไป 99

สรา้ งก�ำไรมากพอทจี่ ะท�ำใหอ้ งคก์ รอยรู่ อด ซง่ึ หากจะตอ้ งหารายไดเ้ พอื่ ใหอ้ งคก์ ร
ยั่งยืนจริง อาจต้องท�ำควบคู่ไปกับกลยุทธ์การลดรายจ่ายหรือการปรับระบบ
บรหิ ารจดั การใหม่

3) การสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจแก่สังคม

มลู นธิ บิ า้ นครนู ำ�้ มคี วามพยายามในการสอ่ื สารสรา้ งความเขา้ ใจกบั บคุ คล
ทั่วไป เช่น ออกส่อื ท่ีท�ำให้องค์กรเผยแพรว่ สิ ยั ทัศน์ พนั ธกิจ กจิ กรรม รายงาน
ประจ�ำปี ท�ำใหค้ นทวั่ ไปรบั รแู้ ละเขา้ ใจวา่ มอี งคก์ รอยู่ และไดเ้ รม่ิ ตน้ ท�ำเวบ็ ไซตข์ นึ้
มาเพ่อื เป็นแหลง่ ใหข้ ้อมลู แก่บุคคลภายนอกท้งั ประชาชน ภาครฐั ภาคเอกชนท่ี
สนใจเขา้ มามสี ว่ นรว่ มกบั กจิ กรรมตา่ งๆ หรอื สนบั สนนุ ใหก้ ารชว่ ยเหลอื รวมทงั้ เปดิ
รับอาสาสมัครเข้ามาช่วยงานของมูลนิธิฯ ซ่ึงโดยปกติจะมีกลุ่มนักศึกษาฝึกงาน
ประมาณปลี ะ 1-2 คน ทม่ี าอยปู่ ระจ�ำมลู นธิ ฯิ และ กลมุ่ อาสาสมคั รทว่ั ไปทง้ั ไทย
และต่างประเทศปลี ะ 3-4 คน ทเ่ี ข้ามาท�ำงานเป็นคร้งั คราว
อย่างไรก็ตาม ข้อท้าทายในการส่ือสารของมูลนิธิบ้านครูน้�ำ คือ
ค่านิยมของคนท่ัวไปที่มีต่อคนไร้สัญชาติ เร่ร่อน เมื่อสังคมไม่ได้ให้คุณค่ากับ
เรื่องสิทธิมนษุ ยชนเทยี บเท่าตัวบทกฎหมาย ยังมคี ่านยิ มที่มองไม่เหน็ ประโยชน์
หรอื คณุ คา่ ของการมเี ดก็ ไรส้ ญั ชาตอิ ยใู่ นประเทศไทย เนอ่ื งจากไมใ่ ชพ่ ลเมอื งไทย
ไมม่ บี ตั รประชาชน ไมม่ สี ทิ ธเิ ทา่ คนไทย และแมจ้ ะมกี ารสอ่ื สารการท�ำงานออกสู่
สงั คมภายนอก แต่ไม่สามารถเพ่มิ จ�ำนวนผู้สนับสนุนการด�ำเนนิ งานของมูลนิธฯิ
ได้ รวมท้งั กรรมการมลู นธิ ฯิ และคณะท่ีปรกึ ษาก็ไม่ได้มพี ลงั เพยี งพอในการชว่ ย
ระดมทนุ หรอื การสอ่ื สารต่างๆ ได้

100 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสังคม


Click to View FlipBook Version