The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฯ สำหรับการพัฒนาการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสียแก่ผู้ประกอบการบำบัด/กำจัดกากของเสีย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wastewp.56, 2022-09-07 11:59:13

คู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย

คู่มือฯ สำหรับการพัฒนาการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสียแก่ผู้ประกอบการบำบัด/กำจัดกากของเสีย

Keywords: กรมโรงงาน,บำบัด/กำจัด,ยกระดับ,คู่มือ

การดาํ เนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ รกิ าร
บําบดั /กําจดั กากของเสีย

โครงการพฒั นาและยกระดบั ผปู ระกอบการจดั การของเสยี อันตราย

ภาคอุตสาหกรรม ประจาํ ปง บประมาณ พ.ศ. 2565

กันยายน 2565 กองบรหิ ารจดั การกากอตุ สาหกรรม
กรมโรงงานอตุ สาหกรรม

คำนำ

คู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย จัดทำขึ้นภายใต้
โครงการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียอันตรายภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 การจัดทำคู่มือนี้ได้ทำการทบทวนหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์
มาตรฐานเฉพาะสำหรับการเข้าสู่ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) ซึ่งมีอยู่เดิมและนำมาดำเนินการปรับปรุง
เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมของโรงงาน ข้อบังคับตามกฎหมาย การใช้งานของผู้ตรวจ
ประเมิน และการนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบการโรงงาน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดผลกระทบ
จากการประกอบการของอุตสาหกรรมที่ให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย รวมทั้งนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการ
ยกระดับมาตรฐานโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ คู่มือนี้ได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงาน
อุตสาหกรรมในการที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัด
กากของเสีย

เนื้อหาในคู่มือนี้ ประกอบด้วย ลักษณะการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย ขั้นตอน
การปฏิบัติงานของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม ตัวอย่างกระบวนการจัดการกากอุตสาหกรรม กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับการเข้าสู่
ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) สำหรับโรงงานที่ให้บริการจัดการกากอุตสาหกรรมและรายละเอียดวิธีการ
ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีดังกล่าว กรมโรงงานอุตสาหกรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับน้ี
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ในการยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมเหล่าน้ีให้มีมาตรฐาน
ในการปฏบิ ตั ิงานที่ดตี ่อไป

กรมโรงงานอุตสาหกรรม
สิงหาคม 2565



สารบัญ

1 บทนำ 1

1.1 ลกั ษณะการจดั การกากอตุ สาหกรรมในประเทศไทย 2
1.2 ข้นั ตอนการปฏบิ ัตงิ านของโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม 6
8
1.2.1 การตกลงรบั กากของเสยี เขา้ มาดำเนนิ การในโรงงาน 8
1.2.2 การขนสง่ กากของเสยี มายังโรงงานจดั การกากอตุ สาหกรรม 9
1.2.3 การรบั กากของเสยี และการเก็บกักก่อนนำไปจัดการดว้ ยวิธตี ่างๆ 9
1.2.4 การจดั การกากของเสียดว้ ยกระบวนการคัดแยก รีไซเคลิ และบำบัด/กำจัด 31
1.3 กฎหมายทเ่ี กีย่ วข้องกับการปฏบิ ัตงิ านของโรงงานจดั การกากอุตสาหกรรม 31
1.3.1 กฎหมายท่ีเกยี่ วขอ้ งภายใต้พระราชบัญญัตโิ รงงาน พ.ศ. 2535 35
1.3.2 กฎหมายที่เกีย่ วขอ้ งภายใต้พระราชบญั ญัติวตั ถอุ ันตราย พ.ศ. 2535 36
1.3.3 กฎหมายอ่ืนๆ ทีเ่ กยี่ วขอ้ ง 38
1.3.4 บทสรปุ กฎหมายทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั วิธีการปฏิบัติงานท่ดี ี

2 หลกั เกณฑม์ าตรฐานการปฏบิ ตั งิ านทด่ี ี 42
45
สำหรบั โรงงานทใ่ี หบ้ รกิ ารรบั บำบดั /กำจดั สง่ิ ปฏกิ ลู หรอื วสั ดทุ ไ่ี มใ่ ชแ้ ลว้
2.1 ท่ีมาของเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัตงิ านท่ดี ีท่ัวไป และหลกั เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะ 44
44
สำหรบั การเข้าส่รู ะบบการอนญุ าตอตั โนมตั ิ (AI) 51
2.2 จำกดั ความ องค์ประกอบและการนำไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นโรงงาน 53
2.2.1 ความสำคญั
2.2.2 การนำเกณฑ์มาตรฐานการปฏบิ ัตงิ านที่ดไี ปประยกุ ตใ์ ช้ในโรงงาน 75
2.3 หลกั เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบตั งิ านท่ดี ีทัว่ ไป และหลกั เกณฑม์ าตรฐานเฉพาะสำหรบั การ

เข้าสู่ระบบการอนญุ าตอัตโนมตั ิ (AI) สำหรบั โรงงานคัดแยก
สิ่งปฏิกูลหรือวสั ดทุ ่ไี ม่ใชแ้ ล้วทีไ่ ม่เป็นของเสยี อนั ตราย
2.4 หลกั เกณฑ์มาตรฐานการปฏบิ ตั ิงานทีด่ ที วั่ ไป และหลักเกณฑม์ าตรฐานเฉพาะ
สำหรับการเขา้ สรู่ ะบบการอนญุ าตอัตโนมตั ิ (AI) สำหรบั โรงงานรบั รีไซเคิล
และบำบัด/กำจัดส่งิ ปฏิกลู หรือวัสดุที่ไม่ใชแ้ ลว้

3 รายละเอยี ดวธิ กี ารปฏบิ ตั ติ ามหลกั เกณฑม์ าตรฐานการปฏบิ ตั งิ านทด่ี ี 136

สำหรบั โรงงานทใ่ี หบ้ รกิ ารรบั บำบดั /กำจดั สง่ิ ปฏิกลู หรอื วสั ดทุ ไ่ี มใ่ ชแ้ ลว้
สำหรบั โรงงานทใี่ หบ้ รกิ ารรบั บำบดั /กำจดั สง่ิ ปฏกิ ลู หรอื วสั ดทุ ไี่ มใ่ ชแ้ ลว้

สารบญั ตาราง

1 โรงงานท่ีให้บรกิ ารรับบำบดั /กำจัดสง่ิ ปฏกิ ูลหรือวสั ดุทีไ่ มใ่ ช้แล้วในประเทศไทย.................. .2
2 รายชอ่ื กฎหมายทส่ี ำคญั จำแนกตามวัตถปุ ระสงค์ของการควบคุมการปฏบิ ัติงาน

ของโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม..................................................................................... 38
3 การตดิ ตั้งเครอ่ื งดบั เพลิงแบบมอื ถือ...................................................................................... 208
4 การตรวจสอบ ทดสอบและบำรุงรักษาระบบและอปุ กรณต์ า่ งๆ........................................... 208

สารบัญรปู

1 ลักษณะการจดั การกากอตุ สาหกรรมในประเทศไทย............................................................ 6
2 ขัน้ ตอนการปฏบิ ัตงิ านของโรงงานจดั การกากอตุ สาหกรรม ................................................. 7
3 ตัวอย่างกระบวนการคดั แยกกากของเสยี ประเภทตา่ งๆ....................................................... 10
4 ตวั อย่างกระบวนการรไี ซเคิลกากของเสยี ............................................................................. 11
5 ตัวอย่างกระบวนการบำบดั น้ำเสยี รวมสำหรบั น้ำเสยี จากโรงงานอุตสาหกรรม .................... 18
6 ตัวอยา่ งกระบวนการหลอมหล่อหรอื ให้ความรอ้ นโดยตรง ................................................... 19
7 ตวั อย่างกระบวนการเผากากของเสียในเตาเผา .................................................................... 22
8 ตวั อย่างกระบวนการฝังกลบกากของเสยี ............................................................................. 25
9 โครงสร้างของกฎหมายภายใตพ้ ระราชบัญญตั โิ รงงาน พ.ศ. 2535

ทีเ่ กยี่ วขอ้ งกับโรงงานจดั การกากอตุ สาหกรรม ..................................................................... 31
10 โครงสร้างของกฎหมายภายใตพ้ ระราชบญั ญัตวิ ตั ถอุ ันตราย พ.ศ. 2535

ทเ่ี กย่ี วข้องกับโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม ..................................................................... 35
11 โครงสร้างของกฎหมายภายใตพ้ ระราชบญั ญตั ิสง่ เสรมิ และรกั ษาคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ ม

พ.ศ. 2535 และพระราชบญั ญัตคิ มุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทีเ่ ก่ียวข้องกบั โรงงาน
จัดการกากอตุ สาหกรรม ....................................................................................................... 37
12 ขอบเขตของเกณฑม์ าตรฐานการปฏิบตั งิ านทดี่ ีท่วั ไป และหลักเกณฑม์ าตรฐานเฉพาะ
สำหรับการเข้าสู่ระบบการอนุญาตอตั โนมัติ (AI) .................................................................. 46
13 โครงสร้างของเกณฑ์มาตรฐานการปฏบิ ัตงิ านท่ดี ีทัว่ ไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะ
สำหรับการเข้าสูร่ ะบบการอนญุ าตอตั โนมตั ิ (AI) .................................................................. 47
14 เปรยี บเทยี บขอ้ กำหนดวธิ ีการปฏิบัตงิ านในสว่ นที่ 1 การประเมนิ การรบั กากของเสียขนั้ ตน้
ระหวา่ งโรงงานคัดแยกกากของเสียท่ไี ม่เปน็ อนั ตรายเพ่อื จำหนา่ ยตอ่ กับโรงงานรบั รไี ซเคิล
และบำบัด/กำจดั สง่ิ ปฏิกลู หรอื วสั ดทุ ี่ไม่ใชแ้ ลว้ ..................................................................... 50
15 ขัน้ ตอนการนำเกณฑ์มาตรฐานฯ ไปใชเ้ พือ่ การยกระดบั มาตรฐานการปฏิบตั ิงานทดี่ ี
ของโรงงาน ........................................................................................................................... 52
16 ชนิดและประเภทของปา้ ยทต่ี ้องตดิ ไว้กับตัวรถขนส่งของเสียอันตราย ................................. 147
17 เคร่ืองหมายสากลแสดงลกั ษณะความเปน็ อันตรายของวตั ถุอันตราย................................... 150
18 ตัวอย่างวธิ ีการปฏบิ ตั ิงานทด่ี สี ำหรบั ข้นั ตอนการรบั กากของเสียเขา้ มาในบรเิ วณโรงงาน......... 155
19 ตวั อยา่ งวธิ กี ารปฏิบตั ิงานท่ีดีสำหรับการจัดสถานที่และมาตรการท่เี หมาะสม
โรงงานควรดำเนินการกรณีจัดเก็บกากของเสยี ไวน้ อกอาคาร .............................................. 161
20 ตวั อยา่ งวธิ ีการปฏบิ ตั งิ านทีด่ ีสำหรับขั้นตอนการถา่ ยเทกากของเสยี ท่เี ปน็ ของเหลว............ 163
21 ตวั อยา่ งวธิ กี ารปฏิบัตงิ านทีด่ ีสำหรบั การจดั เก็บสารเคมอี ยา่ งปลอดภัย ............................... 178
22 ตวั อยา่ งวิธกี ารปฏิบัตงิ านทีด่ ีสำหรับการปอ้ งกนั และระงบั อัคคภี ยั ในโรงงาน....................... 209

สารบญั รปู

23 ตัวอย่างวิธกี ารปฏบิ ัติงานทดี่ ีสำหรบั การติดตั้งบอ่ สังเกตการณ์
เพอ่ื ตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพดนิ และคุณภาพนำ้ ใตด้ นิ ....................................................... 219

24 ตวั อย่างวธิ ีการปฏบิ ัตงิ านทด่ี ีสำหรบั การคดั แยกกากของเสยี ทไี่ ม่เปน็ ของเสียอันตราย........ 222
25 ตัวอยา่ งวิธกี ารปฏบิ ัตงิ านท่ดี สี ำหรับการจัดการกล่ิน ฝ่นุ ละออง และน้ำชะกากอตุ สาหกรรม

จากหลมุ ฝังกลบกากของเสยี ................................................................................................... 228
26 ตัวอย่างวิธีการปฏิบตั งิ านทดี่ ีสำหรับการจัดทำคนั กั้น (Bund)

เพ่อื รวบรวมกากของเสียทร่ี วั่ ไหลออกจากภาชนะไปบำบัด กำจัด........................................ 238

บทที่ บทนำ

1

อุตสาหกรรมที่ให้บริการจัดการกากของเสียถือเป็นอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมหรืออุตสาหกรรมสีเขียว
ที่ภาครัฐจะต้องสนับสนุนส่งเสริม เพื่อให้มีศักยภาพที่เพียงพอในการรองรับของเสียที่เกิดจากการประกอบ
กิจการอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและกระจายในภูมิภาคต่างๆ
ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละขั้นตอนของการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมประเภทนี้ล้วนมีความเสี่ยง
ในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสุขอนามัยของประชาชนไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน
การขนส่งกากของเสียมายังโรงงาน การรับกากของเสียมากักเก็บไว้ก่อนเข้าสู่กระบวนการและการบำบัด/
กำจัดกากของเสีย รวมถึงการจัดการของเสียที่เกิดจากการบำบัด/กำจัด และกจิ กรรมสนบั สนุนที่เกิดขึ้นภายใน
โรงงาน ดังนน้ั กรมโรงงานอตุ สาหกรรม จงึ ได้จดั ทำคมู่ ือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการ
บำบัด/กำจดั กากของเสียฉบบั นี้ขึน้ โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์และขอบเขตของคู่มือ ดงั นี้

วตั ถปุ ระสงค์

การจัดทำคู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย
มีวตั ถุประสงคด์ ังนี้

เพื่อเผยแพร่หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับ
การเขา้ สูร่ ะบบการอนญุ าตอตั โนมตั ิ (AI) ใหก้ บั โรงงานทีใ่ หบ้ ริการรับจัดการกากอุตสาหกรรม

เพ่ือใหค้ ำแนะนำรายละเอยี ดวธิ ีการปฏบิ ัตงิ านที่สอดคล้องกบั เกณฑม์ าตรฐานการปฏิบตั งิ านทด่ี ี

เพือ่ ส่งเสรมิ การปฏิบตั ิงานท่ีดสี ำหรบั โรงงานทใ่ี ห้บริการรบั จัดการกากอุตสาหกรรม

ขอบเขต

คู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสียฉบับนี้ ครอบคลุม
ทุกประเภทกิจการจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินงานในเชิงอุตสาหกรรมที่ขึ้นทะเบียนโรงงาน
ในลำดับประเภท 101, 105 และ 106 และโรงงานที่ใช้กากของเสียอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบลำดับที่อื่นๆ
ได้แก่

คู่มอื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจัดกากของเสยี 5

กิจการรับคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุท่ีไมใ่ ช้แล้ว โรงงานรับรีไซเคิลส่ิงปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเพื่อส่งจำหน่ายต่อ เช่น กิจการกลั่นตัวทำละลายใช้งานแล้ว
ให้กับโรงงานรบั รีไซเคิล กิจการทำเชื้อเพลิงแข็งผสม (Slolid Blending)
กจิ การรบั ถลุงหลอมเศษเหล็กหรอื เหลก็ กลา้ กิจการทำเชื้อเพลิงเหลวผสม (Liquid Blending)
กิจการถลุงหลอมเศษโลหะที่มิใช่เหล็กหรือ กิจการทำสารปรับปรุงคุณภาพดินจาก
เหล็กกล้า กากตะกอนระบบบดั นำ้ เสียแบบชีวภาพ
กิจการรับบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับน้ำเสีย กิจการรับกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
จากโรงงานอุตสาหกรรม โดยวธิ กี ารฝงั กลบ
กิจการรับหลอมตะกว่ั จากแบตเตอรเ่ี ก่า กิจการรับกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
โดยวิธีการเผาในเตาเผา

สำหรับแนวทางการให้บริการของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมประกอบด้วย โครงสร้างการจัดการ
กากอุตสาหกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการปฏิบัติงานของโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม ซ่ึงมรี ายละเอียดดังนี้

1.1 ลกั ษณะการจดั การกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย

โรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการจัดการกากอุตสาหกรรม ในที่นี้หมายถึงโรงงานรับบำบัด/กำจัด
กำจัดสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้วทั้งโรงงานลำดับที่ 101, 105 และ 106 และโรงงานที่ใช้กากของเสียอุตสาหกรรม
เป็นวัตถุดิบลำดับที่อื่นๆ ตามบัญชีประเภทโรงงานอุตสาหกรรมที่จำแนกตามกฎกระทรวง ออกตามความใน
พระราชบญั ญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซ่ึงมีลกั ษณะกิจการ ดังตารางท่ี 1

ตารางที่ 1 โรงงานที่ให้บริการรับบำบัด/กำจัดสิ่งปฏกิ ูลหรือวสั ดุทไ่ี ม่ใช้แลว้ ในประเทศไทย

ลำดับ ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลักษณะกจิ การ
ประเภท
โรงงานท่ปี ระกอบกจิ การเก่ียวกับการถลุงหลอม โรงงานถลุงหลอมเศษเหล็กหรือเหล็กกล้า : เป็นการนำแร่เหล็ก
59 เศษเหล็กหรือเหล็กกล้า (Iron and Steel หรือเศษเหล็กมาหลอมในเตาเพื่อให้ละลายเป็นน้ำเหล็กและ
Scraps) เพือ่ ผลติ เหล็กหรอื เหลก็ กล้าในขัน้ ตน้ ทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำเหล็กให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ
แล้วผ่านการหล่อเหล็กให้เป็นแท่งที่มีลักษณะแตกต่างกัน
ตามการนำไปใชง้ าน

คู่มอื การดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจัดกากของเสีย 6

ตารางท่ี 1 (ตอ่ )

ลำดบั ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลกั ษณะกจิ การ
ประเภท

60 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุง ผสม โรงงานถลุงหลอมเศษโลหะที่มิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า : เป็นการนำ

ทำใหบ้ ริสทุ ธิ์ หลอม หล่อ รีด ดงึ หรือผลิต เศษโลหะที่มิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้ามาผ่านกระบวนการถลุง ผสม

โลหะในขั้นต้น ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า ทําใหบ้ ริสทุ ธ์ิ หลอม หล่อ รีด ดงึ หรือผลิตโลหะในขน้ั ตน้

(Non-Ferrous Metal Basic Industries) โรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า : เป็นการนำแบตเตอรี่ชนิด

รวมถึงโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับ Lead acid ที่เสื่อมสภาพ หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานแบตเตอร่ีที่มี

การหลอมตะกวั่ จากแบตเตอร่เี กา่ ตะกัว่ เจือปนมาผา่ นกระบวนการให้ความร้อนด้วยเตาหลอม

101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม :

(Central Waste Treatment Plant) เป็นการบำบัดมลสารที่มีอยู่ในน้ำเสียและนำกากตะกอนไปกำจัด

อย่างถูกวิธีต่อไป

โรงงานเผากากของเสียรวม (เตาเผาของเสียที่ไม่เป็นของเสียอันตราย/

เตาเผาเฉพาะ/เตาเผาร่วม) : เป็นการบำบัดของเสียโดยการใช้

ความร้อนเพื่อทำลายมลพิษ และลดความเป็นอันตรายของ

สารบางอย่าง โดยมีระบบบำบัดมลพิษอากาศและจัดการเถ้าท่ีเกิดข้นึ

อยา่ งถูกต้อง

โรงงานปรับเสถียรกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม :

เปน็ การเปลี่ยนสภาพกากของเสียอันตรายให้มีความเป็นอันตรายหรือ

เป็นพิษน้อยลงด้วยวิธีปรับสภาพความเป็นกรดด่างของกากของเสีย

ให้มีค่าเป็นกลาง และทำให้เป็นของแข็งโดยผสมกับปูนซีเมนต์

เพื่อห่อหุ้มกากของเสีย ป้องกันการชะล้าง เพื่อให้กากของเสียอยู่ใน

สภาพคงตวั กอ่ นนำไปฝังกลบอยา่ งปลอดภยั

105 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยก โรงงานคัดแยกกากของเสีย : เป็นการแบ่งแยกกากของเสียโดย

หรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มี กากของเสียที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกจะถูกส่งไปยังโรงงานต่างๆ

ลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ใน เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก และจัดการส่วนที่เหลือจากการ

กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออก คดั แยกอยา่ งถกู ต้องตอ่ ไป

ตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. โรงงานฝังกลบกากของเสีย : เป็นการนำกากของเสียไปฝังกลบ

2535 ในหลมุ ฝงั กลบ ซง่ึ แบ่งออกเปน็ 2 ประเภท ได้แก่

 หลุมฝงั กลบตามหลักสุขาภบิ าล (Sanitary Landfill)

 หลุมฝังกลบอย่างปลอดภยั (Secure Landfill)

106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำ เป็นการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือ มาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิต

ของเสียจากโรงงานมาผลติ เปน็ วัตถุดิบหรือ ทางอตุ สาหกรรม เชน่

ผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิต 1) การตาก การอบ หรือการขจัดความชื้นจากของเสียอุตสาหกรรม

ทางอตุ สาหกรรม การเกษตร

คูม่ อื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจดั กากของเสีย 7

ตารางที่ 1 (ตอ่ )

ลำดับ ประเภทหรอื ชนิดโรงงาน ลักษณะกจิ การ
ประเภท
2) การบดหรอื การล้างผลติ ภณั ฑ์แก้ว
106 3) การบดย่อยคอนกรีต อิฐ กระเบื้อง และเซรามิกส์ (Demolition
(ตอ่ )
Waste) ให้เป็นมวลหยาบหรือมวลละเอียด (Coarse and Fine
Aggregates)
4) การบดยอ่ ยตะกรนั จากการหลอมหลอ่ โลหะ
5) การทำสารปรับปรุงคุณภาพดินจากกากตะกอนระบบบำบัด
น้ำเสียแบบชีวภาพ
6) การทำสารปรับปรงุ คณุ ภาพดนิ จากสารอนินทรียท์ ่ไี ม่เปน็ ของเสีย
อันตราย
7) การกรองหรือการแยกสิ่งปนเปื้อนจากน้ำมันพืชที่ไม่ใช้แล้ว
เพ่อื ใชเ้ ป็นวัตถดุ บิ สำหรับอุตสาหกรรมอ่ืน
8) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล) จากน้ำมันพืชหรือ
นำ้ มนั สตั วท์ ี่ไมใ่ ชแ้ ลว้ หรอื จากของเสียอตุ สาหกรรมการเกษตร
9) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอเอทานอล) จากของเสีย
อุตสาหกรรมการเกษตร
10) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอก๊าซ) จากการย่อยสลาย
กากตะกอนชีวภาพหรือจากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
ในถงั ปฏกิ ิรยิ า (Sludge Digester)
11) การทำไพโรไลซิส (Pyrolysis) วัสดุที่ไม่ใช้แล้วจำพวกยาง พลาสตกิ
หรอื สารไฮโดรคาร์บอนอน่ื เพือ่ ผลติ เช้อื เพลิง
12) การซ่อมหรือการลา้ งบรรจภุ ัณฑ์ทไ่ี ม่ใช่แก้ว
13) การแยกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากกากหรือตะกอนน้ำมันดิบ
(Waste Oil Separation)
14) การกลั่นตัวทำละลายที่ไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Solvent
Recovery)
15) การผสมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน (Solid and Liquid
Blending for Fuel Substitution)
16) การผสมเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทดแทน (Solid and Liquid
Blending for Raw Materials Substitution)
17) การผสมเพื่อปรับคุณภาพให้เหมาะสมกับวิธีการกำจัด (Solid
and Liquid Blending for Specific Disposal)
18) การสกัดแยกโลหะมีคา่ (Precious Metals Recovery)
19) การคืนสภาพกรดหรือดา่ ง (Acid or Base Regeneration)
20) การคนื สภาพตัวเร่งปฏิกริ ยิ า (Catalyst Regeneration)

คูม่ ือการดำเนินการพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสีย 8

ตารางที่ 1 (ตอ่ )

ลำดับ ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลกั ษณะกิจการ
ประเภท
21) การคนื สภาพถ่านกมั มนั ต์ (Activated Carbon Regeneration)
106 22) การผลิตสารสจี ากตะกอนโลหะหนักหรอื ตัวเร่งปฏิกริ ิยาท่ีไม่ใช้แล้ว
(ต่อ)
เพอื่ นำไปทำสารเคลือบผวิ (Frit)
23) การทำสีน้ำมันหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากน้ำมันหล่อลื่นที่ไม่ใช้แล้ว

(Waste Oil Refining)
24) การผลิตเคมภี ัณฑ์หรือสารเคมี ซึ่งมีการนำเคมีภัณฑ์หรอื สารเคมี

ท่ไี ม่ใชแ้ ล้วหรือเสอื่ มสภาพมาเปน็ วัตถุดบิ ในการผลติ
25) การหลอมโลหะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่จากตะกรัน ตะกอน หรือ

ฝุน่ จากระบบบำบดั มลพิษทางอากาศ
26) การหลอมตะก่ัวหรือโลหะอืน่ จากแบตเตอรี่ท่ีไม่ใชแ้ ลว้
27) การขจัดความชื้นจากกากตะกอนโลหะหนักโดยการอบ

(Dehydration by Oven)
28) การบดย่อยเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ท่ไี ม่ใช้แล้ว
29) การบดยอ่ ยหรือการแยกวสั ดุมีคา่ จากเซลลแ์ สงอาทิตยท์ ไ่ี มใ่ ช้แล้ว
30) การทำวตั ถดุ บิ หรือผลิตภัณฑ์ใหมจ่ ากวัสดทุ ไี่ ม่ใชแ้ ลว้ ที่ไม่ได้ระบุ

ไวใ้ นลำดบั ใด

ในภาพรวมของโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้บริการจัดการ สำหรับโรงงานจัดการกาก
กากอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีทั้งที่เป็นการจัดการกากของเสีย ของเสยี ขนั้ กลาง จะเป็นโรงงานที่นำของ
ในขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายหรือขั้นสุดท้าย (รูปที่ 1) เสียจากโรงงานผู้ก่อกำเนิดมาใช้เป็น
โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดการกากของเสียในขั้นต้น คือ วัตถุดิบหรือนำมาผ่านกรรมวิธีการ
โรงงานคัดแยกกากของเสียซึ่งจะใช้คนงานหรือเครื่องจักรในการ ผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดเป็น
คัดแยกกากของเสียออกเป็นวัสดุชนิดต่างๆ โดยวัสดุที่สามารถใช้ ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ จำแนกออกเป็น
ประโยชน์ได้อีกจะถูกส่งไปยังโรงงานที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ 30 กลุ่ม ตามลักษณะกิจการหลัก ดัง
เช่น โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานหลอมพลาสติก โรงงานถลุง แสดงในตารางท่ี 1 สว่ นโรงงานจัดการ
หลอมเศษโลหะหรืออโลหะ รวมถึงโรงงานรีไซเคิลที่เป็นการ ของเสียขั้นปลาย ได้แก่ โรงงานที่บำบัด
จัดการกากของเสียขั้นกลาง ส่วนเศษที่เหลือจากการคัดแยก ของเสียหรือน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพ
จะถูกส่งไปบำบัดหรือกำจัดต่อไปโดยโรงงานจัดการกากของเสีย ชีวภาพ หรือเคมี รวมถึงการกำจัด
ข้ันปลาย ของเสียด้วยวธิ ฝี งั กลบ

คูม่ อื การดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจัดกากของเสีย 9

การ ัจดการของเ ีสยขั้นกลาง การ ัจดการของเ ีสยขั้น ้ตน ของเสยี จากโรงงานอตุ สาหกรรม

ลำดบั 105 คดั แยก

ลำดับ 59 ถลุงหลอมเศษเหล็กหรอื เหล็กกล้า

ลำดับ 60 ถลุงหลอมเศษโลหะทม่ี ใิ ชเ่ หลก็ หรือเหลก็ กล้า รวมถงึ การหลอมตะกัว่ จากแบตเตอรเี่ กา่

ลำดบั 106 ผลติ เคมีภัณฑ์หรอื สารเคมี ทำเชื้อเพลงิ ผสม และทำเชอื้ เพลิงทดแทน บดย่อยเศษ

ซอ่ มหรอื ลา้ งบรรจุภัณฑ์ สกดั แยกโลหะมคี า่ จากชน้ิ สว่ นอิเลก็ ทรอนิกส์ ช้นิ สว่ น
อเิ ลก็ ทรอนิกส์

กล่ันตัวทำละลายใชง้ านแล้วกลับมาใช้ใหม่

การ ัจดการของเ ีสยข้ันสุด ้ทาย ฝังกลบ เผาในเตาเผา บำบดั น้ำเสียรวม
ลำดบั 105 ลำดบั 101 ลำดบั 101

เผาทำลาย เผาเป็นวตั ถดุ ิบทดแทน เผาเป็นเชอื้ เพลิงทดแทน
เตาเผาเฉพาะ
เตาเผารว่ มในเตาเผาปูนซีเมนต์

รูปท่ี 1 ลกั ษณะการจดั การกากอตุ สาหกรรมในประเทศไทย

1.2 ข้นั ตอนการปฏบิ ตั งิ านของโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม

ขั้นตอนหลักในการปฏิบัติงานของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมจะคล้ายคลึงกันในทุกประเภทกิจการ
โดยเริ่มจากการตกลงรับกากของเสียเข้ามาดำเนินการในโรงงาน การขนส่งกากของเสียเข้ามาในโรงงาน การรับ
และการเก็บกักกากของเสียไว้ในโรงงาน การคัดแยก รีไซเคิล และบำบัด/กำจัดกากของเสียตามวิธีการที่ได้รับ
อนุญาต และการบำบัด กำจัดมลพิษที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานของโรงงาน ซึ่งอาจมีรายละเอียด
ท่แี ตกต่างกนั ในแตล่ ะข้ันตอนหลกั แสดงดงั รูปท่ี 2

คู่มือการดำเนินการพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจัดกากของเสีย 10

1. การตกลง ัรบของเสียเ ้ขามาดำเนินการในโรงงาน โรงงานลกู คา้ ตดิ ตอ่ ขอรบั บริการ

ตรวจสอบของเสียในเบือ้ งต้น เก็บตัวอยา่ ง

วเิ คราะหต์ ัวอย่าง

เสนอราคารบั ซื้อ กรณนี ำมาคดั แยก เสนออัตราคา่ บริการบำบัด กำจัด
หรือรีไซเคลิ หรือใช้ประโยชน์ กรณีนำมาบำบัด กำจัด

2. ขนส่งของเสียมา ัยงโรงงาน โรงงานตกลงรับบริการ โรงงานตกลงรับบรกิ าร

โรงงานลูกคา้ ยื่นขออนญุ าตนำของเสียออกนอกโรงงานต่อกรมโรงงานอตุ สาหกรรม

ได้รับอนุญาต
ขนสง่ ของเสยี มายังโรงงาน

3. ัรบและเก็บกักของเสีย ตรวจสอบของเสียทขี่ นสง่ มายังโรงงาน
ตรงกับท่ีตกลงไว้

นำไปกักเกบ็ เพอ่ื รอการนำไปคดั แยก รไี ซเคลิ และบำบดั กำจัด

4. คัดแยก คดั แยก รีไซเคิล บำบดั กำจัด
ีรไซเคิล และ
บำบัด กำจัด

5. การจัดการ บำบัด กำจัดมลพษิ ท่เี กิดจากการจดั การกากของเสยี
มล ิพษ ี่ทเกิด ้ึขน

รปู ที่ 2 ขนั้ ตอนการปฏบิ ัติงานของโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม

คูม่ ือการดำเนินการพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจัดกากของเสยี 11

สำหรบั ขั้นตอนการตกลงรับกากของเสียเข้ามาดำเนินการในโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมแต่ละประเภท
มีแนวทางที่แตกต่างกัน โดยในกรณีโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลของเสียถือเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์รับเอา
ของเสียมาผ่านกระบวนการเพิ่มมูลค่าด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โรงงานอาจต้องซื้อของเสีย
จากโรงงานผู้ก่อกำเนิดเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการคัดแยกหรือรีไซเคิล และได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งจำหน่าย
ให้แก่ผู้ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในขณะที่โรงงานบำบัด/กำจัดกากของเสียที่เป็นการจัดการของเสีย
ในขั้นปลาย เป็นการนำกากของเสียที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วมาทำการบำบัด กำจัด โรงงานจึงจะเรียก
เกบ็ ค่าบรกิ ารบำบัด/กำจดั กากของเสียจากโรงงานผู้ก่อกำเนิด

สำหรบั รายละเอียดการปฏิบตั งิ านของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมในแต่ละขั้นตอนหลักมีดงั นี้
1.2.1 การตกลงรบั กากของเสียเข้ามาดำเนนิ การในโรงงาน

เมื่อได้รับการติดต่อขอรับบริการจัดการกากอุตสาหกรรมจากโรงงานลูกค้า โรงงานผู้ให้บริการ
จัดการกากอุตสาหกรรมจะจัดส่งพนักงานไปเก็บข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับกากของเสียที่ได้รับ
การติดตอ่ สำหรบั กรณีทจ่ี ะนำกากของเสยี ไปรีไซเคลิ หรอื บำบัด/กำจัด เจ้าหนา้ ท่อี าจเกบ็ ตัวอย่าง
กากของเสียเพื่อส่งวิเคราะห์ลักษณะสมบัติกากของเสียในเบื้องต้นด้วย เพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน
เพียงพอต่อการตัดสินใจว่า เป็นกากของเสียที่โรงงานสามารถนำไปรีไซเคิล หรือบำบัด/กำจัด
ได้หรือไม่ และใช้วิธีการใดในการบำบัด/กำจัดกากของเสีย รวมถึงการคิดค่าใช้จ่ายและปริมาณ
การกำจัด หรือในกรณีนำไปรีไซเคิลได้ จะรับซื้อในอัตราราคาเท่าใด จากนั้นจึงจัดทำข้อเสนอ
อัตราค่าบรกิ ารยื่นให้โรงงานลกู ค้าพจิ ารณา ซึ่งหากโรงงานลกู คา้ ตกลงรับบรกิ ารก็จะต้องมีการทำ
สัญญาและข้อตกลงในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งกากของเสียมายังโรงงานจัดการ
กากอุตสาหกรรมอกี คร้งั

1.2.2 การขนสง่ กากของเสียมายังโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม
เมื่อโรงงานลูกค้าและโรงงานผู้ให้บริการจัดการกากอุตสาหกรรมทำสัญญาและข้อตกลงกันแล้ว
โรงงานลูกค้าซึ่งเป็นผู้ก่อกำเนิดกากของเสียจะต้องยื่นแบบฟอร์มขออนุญาตนำกากของเสีย
ออกนอกโรงงานต่อหน่วยงานผู้อนญุ าต และในกรณที ีเ่ ป็นการยื่นขอทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์โรงงาน
ผู้รับจัดการกากอุตสาหกรรมจะต้องยืนยันการรับกากของเสียมาจัดการในโรงงานของตนเอง
ภายใน 3 วัน และภายหลังเมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานผู้อนุญาตแล้ว โรงงานผู้ก่อกำเนิด
กากของเสยี จะแจ้งให้โรงงานผใู้ หบ้ ริการไปขนส่งกากของเสยี ออกมาเพอื่ ทำการจัดการตามวิธีการ
ที่ได้รับอนญุ าตไว้ต่อไป ในขั้นตอนการขนส่งกากของเสียมายังโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมนน้ั
หากเป็นกากของเสียท่เี ปน็ อนั ตราย ผ้ทู ่ีไดร้ ับมอบหมายใหเ้ ป็นผ้ขู นสง่ กากของเสยี อันตราย จะต้อง
ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนขนส่งกากของเสีย
จากโรงงานผู้ก่อกำเนิดหรือโรงงานผู้ให้บริการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องและจะต้องใช้
ใบกำกบั การขนสง่ (Manifest) กากของเสียอนั ตรายทกุ คร้งั ดว้ ย

คู่มือการดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสยี 12

1.2.3 การรบั กากของเสยี และการเกบ็ กกั กอ่ นนำไปจดั การดว้ ยวธิ ตี า่ งๆ
เมื่อกากของเสียถูกขนส่งมาถึงโรงงานผู้ให้บริการจัดการกากอุตสาหกรรม จะทำการสุ่มตัวอย่าง
กากของเสยี และนำไปวิเคราะห์ลักษณะสมบตั อิ กี ครัง้ เพอ่ื เปรียบเทยี บวา่ กากของเสยี ท่ขี นส่งมาเป็น
ชนิดเดียวกับที่ได้ตกลงให้บริการกับโรงงานลูกค้าหรือไม่ หากลักษณะสมบัติกากของเสีย
ตรงตามที่ตกลงกัน ก็จะนำเข้าสู่กระบวนการจัดการของเสียที่กำหนดไว้ทันที หรืออาจนำไปเก็บ
กักไว้ยังอาคารพักกากของเสียเพื่อรอการนำเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง ในกรณีที่ลักษณะสมบัติ
กากของเสียไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ แต่ยังอยูใ่ นข่ายทีโ่ รงงานผู้ให้บริการสามารถให้บริการจัดการ
กากของเสียดังกล่าวได้ โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการหรืออัตราค่าบริการใหม่ จะแจ้งกลับไป
ยังโรงงานลูกค้าซึ่งเป็นผู้ก่อกำเนิดกากของเสีย หากตกลงกันได้ก็จะนำกากของเสียเข้าสู่
กระบวนการจัดการต่อไป แต่หากลูกค้าไม่ตกลงหรือกากของเสียที่ขนส่งมาไม่อยู่ในข่ายที่โรงงาน
สามารถให้บริการได้กจ็ ะสง่ กากของเสยี กลบั คนื ลูกคา้ และแจง้ ใหก้ รมโรงงานอตุ สาหกรรมทราบ

1.2.4 การจดั การกากของเสยี ดว้ ยกระบวนการคดั แยก รไี ซเคลิ และบำบดั /กำจดั

ก กระบวนการคัดแยกกากของเสีย

การคัดแยกกากของเสียอาจดำเนินการโดยคนหรือเคร่ืองจักรข้ึนอยกู่ ับประเภทหรือชนิดกากของเสีย
ที่นำมาคัดแยก เช่น กรณีกากของเสียจำพวกถุงบรรจุภัณฑ์ที่นำมาคัดแยกส่วนที่เป็นกระดาษออกจากพลาสติก
หรือการคัดแยกพลาสติกตามเกรดคุณภาพหรือสีของพลาสติกจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก แต่หากเป็นกากของเสีย
ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะใช้เครื่องจักรเป็นหลัก สำหรับตัวอย่างกระบวนการคัดแยก
กากของเสยี แสดงดังรปู ที่ 3

คู่มอื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจัดกากของเสีย 13

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม
(เศษกระดาษ, เศษพลาสตกิ , เศษโลหะ, ทองแดง, ทองเหลอื ง, อะลมู เิ นียม, ไม้)

ช่ังนำ้ หนกั
จดั เก็บในอาคารจดั เก็บตามประเภทของเสีย

คดั แยกตามประเภทของเสีย

ของเสียทีไ่ มส่ ามารถรไี ซเคิลได้ ของเสียที่สามารถรีไซเคิลได้
(เศษท่เี หลอื จากการคัดแยก) (กระดาษ, พลาสติก, โลหะ, ไม้, ทองแดง,

สง่ กำจดั ยงั หนว่ ยงาน ทองหลือง, อะลูมเิ นยี ม ฯลฯ
ทไี่ ด้รับอนญุ าต
โลหะมคี า่
(ทองแดง, ทองเหลือง) ไม้ กระดาษ, พลาสติก

บดย่อย ตดั เพื่อลดขนาด

อัดเปน็ ก้อน

สง่ จำหนา่ ยลกู ค้า

รูปท่ี 3 ตวั อย่างกระบวนการคดั แยกกากของเสยี ประเภทต่างๆ

ข กระบวนการรีไซเคลิ กากของเสยี 14

กระบวนการรีไซเคิลกากของเสียจะแตกต่างกันตามประเภทกากของเสียและประเภทผลิตภัณฑ์
สุดท้าย เช่น กระบวนการบดย่อยเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว กระบวนการ
สกัดแยกโลหะมีค่า กระบวนการกลั่นตัวทำละลายใช้แล้ว กระบวนการต้มกลั่นน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว
และกระบวนการกรองผสมเพื่อผลิตเชื้อเพลิงทดแทน สำหรับตัวอย่างกระบวนการรีไซเคิลกากของเสีย
แสดงดงั รปู ที่ 4

คูม่ ือการดำเนินการพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจัดกากของเสยี

วัตถดุ บิ ประเภทชิ้นสว่ นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
แยกชน้ิ ส่วน

โลหะมีค่า เศษช้ินส่วนทีม่ ีขนาดใหญ่ เศษสแครป
(ทองเหลอื ง, ทองแดง) (พลาสตกิ , PCB) (เหลก็ , อลมู เิ นียม)

เขา้ เคร่ืองบดยอ่ ย ฝนุ่ ละออง ระบบบำบัด
(Crushing) มลพษิ อากาศ

ชิ้นสว่ นอุปกรณ์อิเล็กทรอนกิ ส์ ผงฝ่นุ โลหะ
ทผ่ี า่ นการบดยอ่ ยแลว้

ส่งจำหนา่ ยลกู คา้

ก. กระบวนการบดยอ่ ยเคร่อื งใช้ไฟฟา้ และชน้ิ สว่ นอุปกรณอ์ ิเล็กทรอนกิ สท์ ่ไี มใ่ ช้แลว้
นำ้ เสียทีม่ โี ลหะมีคา่ ผสม

ถังกกั เก็บ

โซเดียมคารบ์ อเนต กวนผสมในถังตกตะกอน

เคร่อื งรีดตะกอน น้ำเสีย

กา๊ ซธรรมชาติ ถังทำให้ตะกอนแห้ง สง่ กำจดั ยงั หน่วยงาน
ลดอุณหภมู ติ ะกอน ท่ไี ดร้ บั อนญุ าต

นำโลหะเหล็กออก เศษโลหะ
เพ่อื ใหต้ ะกอนเข้มขน้

ตะกอนโลหะมคี ่า

สง่ จำหน่ายลกู คา้
ข. กระบวนการสกดั แยกโลหะมคี ่า

รปู ท่ี 4 ตัวอยา่ งกระบวนการรไี ซเคิลกากของเสีย 15

คู่มือการดำเนินการพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย

ตวั ทำละลายใช้งานแลว้ (แอลกอฮอล,์ ไฮโดรคารบ์ อน, คีโตน ฯลฯ)

กรองสงิ่ ปนเป้ือน กากตะกอนจากการกรอง

ตวั ทำละลาย สารแขวนลอย สง่ กำจัดยงั หนว่ ยงาน
และสารแขวนลอย และสง่ิ ปนเปอื้ น ทไ่ี ด้รับอนุญาต

กลน่ั แยก

สารละลาย
และความชืน้

ขบวนการแยกน้ำ น้ำเสีย

ตัวทำละลาย

ส่งจำหนา่ ยลกู คา้
ค. กระบวนการกล่ันตัวทำละลายใชง้ านแลว้ กลบั มาใชใ้ หม่

รปู ที่ 4 (ต่อ)

คูม่ อื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสยี 16

ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

กากตะกอนจากอุปกรณ์ น้ำมนั ใช้แล้ว นำ้ หลอ่ เยน็ (Coolant)
แยกนำ้ -นำ้ มัน ผ่านตะแกรงกรองนำ้ มัน
จัดเกบ็ ในบอ่ เพื่อแยกชั้น
นำ้ มนั ออกจากน้ำ

ไอนำ้ /ไอระเหย นำเขา้ หอกลัน่ นำ้ เสีย
ทเ่ี กิดจากการกล่ัน เพอ่ื ไล่นำ้ ออกจากน้ำมัน ระบบบำบัดนำ้ เสยี

ควบแน่น น้ำเสยี

ระบบบำบดั มลพิษ ปรับคณุ ภาพน้ำมัน
อากาศ น้ำมนั ใชแ้ ลว้

ส่งกำจัดยงั หนว่ ยงาน ส่งจำหนา่ ยลูกค้า
ทไ่ี ด้รบั อนุญาต

ง. กระบวนการตม้ กล่ันน้ำมนั หล่อลื่นใชแ้ ลว้

รูปท่ี 4 (ตอ่ )

คู่มอื การดำเนินการพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจดั กากของเสยี 17

ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำมันหลอ่ ล่ืนใช้แล้ว น้ำมนั หลอ่ เยน็ ใช้แลว้ ตวั ทำละลายใช้แล้ว

กรองหยาบ กากตะกอน สง่ กำจดั ยังหนว่ ยงาน
กวนผสม จากการกรอง ทไ่ี ดร้ ับอนญุ าต

กลิน่ /ไอระเหย ระบบบำบัด
จากนำ้ มนั มลพิษอากาศ

ไมผ่ ่าน ตรวจสอบค่าความร้อน

และคุณภาพ
โดยห้องปฏิบตั ิการ

ผ่าน
เชื้อเพลงิ ทดแทน

ส่งเตาเผาอตุ สาหกรรม/เตาเผาปูนซเี มนต์

จ. กระบวนการกรองผสมเพ่ือผลิตเช้อื เพลงิ ทดแทน

รูปที่ 4 (ต่อ)

คูม่ อื การดำเนินการพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจัดกากของเสยี 18

ของเสยี จากโรงงานอุตสาหกรรม
(เศษผา้ ปนเปอื้ น, วัสดปุ นเป้ือน, ไม,้ กระดาษ, พลาสตกิ )

เติมกากของเสีย ชัง่ น้ำหนกั ฝนุ่ ละออง
ทม่ี คี ่าความรอ้ น จดั เกบ็ อาคารเตรยี มวัตถุดิบ

ผสมของเสยี ตามสตู ร ฝนุ่ ละออง
ตัดย่อยข้นั ตน้ (Primary Shreded)
เศษโลหะ สง่ กำจัดยงั หน่วยงาน
คัดแยกโลหะ (Magnetic) ทไี่ ด้รับอนญุ าต
คัดแยกขนาด (Zize Seperated)
ฝุ่นละออง
ตัดละเอียด (Fine Shreded)
ลำเลยี งผ่านสายพานลำเลยี ง ระบบบำบดั
มลพิษอากาศ
อดั กอ้ น (Compacted)
ตรวจสอบค่าความร้อนและคุณภาพ

โดยห้องปฏิบตั ิการ

เชื้อเพลงิ แข็งผสม
ส่งเตาเผาปูนซีเมนต์

ฉ. กระบวนการทำเชอื้ เพลงิ แขง็ ผสม (Solid Blending)

รูปท่ี 4 (ต่อ)

คู่มือการดำเนนิ การพัฒนายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจัดกากของเสยี 19

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม

นำ้ มนั ใช้แลว้ ตัวทำละลายใช้แล้ว นำ้ มันหล่อล่ืนใช้แลว้

กรองหยาบ กากตะกอน ส่งกำจดั ยังหน่วยงาน
กวนผสม จากการกรอง ท่ไี ด้รับอนุญาต

กลน่ิ /ไอระเหย ระบบบำบดั
จากนำ้ มนั มลพษิ อากาศ

ไมผ่ า่ น ตรวจสอบคา่ ความร้อน

และคุณภาพ
โดยห้องปฏบิ ตั ิการ

ผา่ น
เช้ือเพลงิ เหลวผสม

สง่ เตาเผาอุตสาหกรรม/เตาเผาปูนซีเมนต์

ช. กระบวนการทำเชอื้ เพลิงเหลวผสม (Liquid Blending)

รปู ท่ี 4 (ตอ่ )

คูม่ ือการดำเนนิ การพัฒนายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจัดกากของเสยี 20

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม
(กากตะกอนชวี ภาพจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร, มูลสัตว์, ข้ีเถา้ )

จดั เกบ็ ท่ีลานกองวตั ถดุ บิ ฝ่นุ ละออง

เชื้อจุลินทรีย์ ผสม/คลุกเคล้าวตั ถดุ บิ ฝุ่นละออง
ตามสัดส่วนทก่ี ำหนด

หมักทำสารปรับปรงุ ดนิ * ฝุ่นละออง
(ใชเ้ วลาประมาณ 3-4 เดือน) น้ำชะ บ่อเกบ็ น้ำชะ

กลับกองเพ่ือลดความร้อน ฝนุ่ ละออง - ฉีดพน่ จลุ ินทรยี ด์ บั กลน่ิ
และเพิ่มออกซิเจนให้แก่จลุ ินทรีย์* กลนิ่ - ปลกู ตน้ ไมท้ ำเปน็ แนว
(ใชเ้ วลาประมาณ 2 สัปดาห/์ ครั้ง)
Buffer Zone

สารปรบั ปรงุ คณุ ภาพดิน

ส่งจำหน่ายลกู คา้

หมายเหตุ : * ระยะเวลาการหมักขนึ้ อยู่กับวัสดทุ ี่นำมาทำเปน็ สารปรับปรุงดิน และจลุ นิ ทรยี ์ท่ีใชใ้ นการหมกั และความถใ่ี นการกลบั กอง
ขนึ้ อยกู่ บั อณุ หภมู ิและความชืน้

ฉ. กระบวนการทำสารปรับปรุงคณุ ภาพดินจากกากตะกอนระบบบำบดั น้ำเสียแบบชวี ภาพ

รูปที่ 4 (ต่อ)

ค กระบวนการบำบดั นำ้ เสยี รวมสำหรบั น้ำเสยี จากโรงงานอตุ สาหกรรม 21

กระบวนการบำบัดน้ำเสียเป็นการลดมลสารที่มีอยู่ในน้ำเสีย และนำกากตะกอนไปกำจัดอย่างถูกวิธี
ต่อไป กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพและเคมี เป็นการทำให้กากของเสียลดความเป็นอันตรายลงด้วยการ
เปลีย่ นให้สารอันตรายอยูใ่ นรูปตะกอนหรือเกลือทเี่ สถียรไมล่ ะลายน้ำ และเป็นตะกอนที่มคี วามคงตัวและเป็นกลาง
หรือไม่เกิดปฏิกิริยา ส่วนกระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพจะใช้จุลินทรีย์ทั้งที่เป็นแบบใช้และไม่ใช้
ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปไม่นิยมใช้กระบวนการทางชีวภาพในการบำบดั
น้ำเสียที่มีสารอันตรายปนเปื้อน เนื่องจากสารอันตรายส่วนมากจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
สำหรับตวั อยา่ งกระบวนการบำบัดนำ้ เสียรวม แสดงดงั รปู ท่ี 5

คู่มือการดำเนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจดั กากของเสีย

น้ำเสยี ทม่ี คี า่ ซโี อดสี งู หรือน้ำเสียที่ปนเป้ือนสารเคมี

บ่อรวบรวมน้ำเสีย

กรองแยกสงิ่ ปนเปือ้ น เศษปนเปือ้ นจากการกรอง
ถังทำปฏิกริ ิยา
เตมิ สารเคมีสำหรบั
การตกตะกอน (ปูนขาว,
โซดาไฟ, สารสม้ , โพลิเมอร)์

นำ้ สว่ นใส กากตะกอนน้ำเสีย

บ่อ/ถังเก็บน้ำ ถังพักตะกอน
นำนำ้ ไปใช้ประโยชน์ เครอื่ งรีดตะกอน

กากตะกอน ส่งกำจดั ยังหนว่ ยงาน
ทผ่ี า่ นการอดั แลว้ ทไ่ี ดร้ ับอนุญาต

รปู ที่ 5 ตัวอยา่ งกระบวนการบำบัดนำ้ เสยี รวมสำหรับนำ้ เสยี จากโรงงานอุตสาหกรรม

ง กระบวนการหลอมหล่อหรือให้ความรอ้ นโดยตรง

การหลอมเป็นการให้ความร้อนกับวัตถุดิบเพื่อทำให้เกิดการหลอมละลาย โดยมีกระบวนการ
ดงั ต่อไปน้ี

การส่งผ่านความร้อน การส่งผ่านความร้อนภายในตัววัตถุดิบ เมื่อความร้อนถูกดูดซึมไปยัง
จากการสันดาปของ พื้นผิวของวัตถุดิบ หลังจากนั้นจะถูกนำผ่านเข้าไปยังตัววัตถุดิบ
เชื้อเพลิงไปยังพื้นผิว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับค่าการนำ
ของวัตถุดิบ โดยการพา ความร้อน และค่าความจุความร้อนของวัตถุดิบ เมื่อวัตถุดิบมีอุณหภูมิ
ความร้อนและการแผ่ สูงจนถึงค่าค่าหนึ่งที่เรียกว่า จุดหลอมเหลว จะเกิดการเปลี่ยนสถานะ
รงั สี จากของแข็งเป็นของเหลว เวลาที่ใช้ในการให้ความร้อนกับวัตถุดิบ
เพื่อให้แกนกลางของวัตถุดิบมีอุณหภูมิถึงจุดหลอมเหลว จะเป็นตัว
บ่งบอกถึงเวลาที่ต้องใช้ในการหลอมเหลว ซ่ึงเวลานี้จะขึ้นอยู่กับรูปร่าง
ของวัตถุดิบ ดังนั้นวัตถุดิบที่มีรูปร่างและมีแกนกลางอยู่ใกล้กับพื้นผิว
มากจะใช้เวลาหลอมนอ้ ย

คูม่ อื การดำเนินการพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสยี 22

โดยกระบวนการหลอมหล่อหรือให้ความร้อนโดยตรง ได้แก่ กระบวนการถลุงหลอมเศษเหล็กหรือ
เหล็กกล้า กระบวนการถลุงหลอมเศษโลหะที่มิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า และกระบวนการหลอมตะกั่วจาก
แบตเตอร่เี ก่า สำหรบั ตัวอยา่ งกระบวนการหลอมหลอ่ หรอื ใหค้ วามร้อนโดยตรง แสดงดงั รปู ท่ี 6

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม
(เศษเหลก็ , เหล็กก้าน, ข้กี ลงึ )

เก็บเขา้ อาคาร
เตรยี มรบั วตั ถุดบิ

เชอื้ เพลงิ ทำการหลอม ฝุ่น/ฟมู โลหะ
ออกซิเจน ตะกรันลอย (Slag)
เตมิ สารเคมีในการ ปรุงแต่งนำ้ เหลก็
ปรุงแตง่ ตามสูตร (Refining) ฝนุ่ /ฟูมโลหะ
(Flux) ตะกรันลอย (Slag)

เหล็กแทง่ เลก็ การหลอ่ แบบ แบบหล่อ สง่ กำจัดยงั
(Billet) (Casting) สารหลอ่ เย็น หน่วยงาน
ทไ่ี ดร้ ับอนญุ าต
การตดั
(Shearing) เศษเหล็ก

เหล็กแทง่ แบน ระบบบำบัดมลพิษอากาศ
(Slab)
เหลก็ แท่งใหญ่ ฝนุ่ จากระบบบำบดั
(Bloom)

ก. กระบวนการถลงุ หลอมเศษเหล็กหรอื เหลก็ กล้า

รูปท่ี 6 ตวั อย่างกระบวนการหลอมหลอ่ หรอื ให้ความร้อนโดยตรง

คูม่ อื การดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจดั กากของเสีย 23

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม
(เศษอลมู ิเนียม/กากตะกรนั อลูมเิ นยี ม)

เก็บเขา้ อาคารเตรียมวตั ถดุ บิ

เช้อื เพลงิ ปอ้ นเข้าเตาหลอม ฝุน่ ละออง/ฟมู โลหะ ระบบบำบดั
ออกซิเจน (ใช้เวลาหลอมประมาณ 2-3 ชม./รอบ มลพิษอากาศ
ดรอส (Dross) จากการ
อุณหภูมทิ ี่ใช้ประมาณ 600-800 C) หลอมครงั้ สุดท้าย ฝุน่ จากระบบบำบัด
ดรอส (Dross)

นำเขา้ เตาหลอมใหม่ เกบ็ ในอาคาร
จดั เก็บดรอส

ทดสอบผลติ ภัณฑ์

เทน้ำอลูมิเนียมลงแม่พิมพ์ แบบหลอ่ ส่งกำจดั ยังหนว่ ยงาน
ทไ่ี ด้รับอนุญาต

ก้อนอลูมเิ นียม (Ingot)

สง่ จำหนา่ ยลูกคา้

ข. กระบวนการถลุงหลอมเศษโลหะทม่ี ใิ ช่เหลก็ หรือเหลก็ กล้า

รปู ที่ 6 (ตอ่ )

คูม่ อื การดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจดั กากของเสยี 24

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม
(แบตเตอรี่เกา่ (แห้ง), เศษวสั ดุทมี่ ีตะก่ัว)

เก็บเขา้ อาคารกองเกบ็ วัตถุดบิ

เคร่ืองผา่ แยก เปลอื กพลาสติก สง่ โรงงานรไี ซเคลิ
ระบบบำบัดนำ้ เสยี
น้ำ หม้อแบตเตอรี่ นำ้ เสยี

แผ่นธาตุ เปลือกยาง
เกบ็ เข้าอาคารเก็บสารพษิ
อากาศสะอาด

Flux

ส่งกำจัดยงั หน่วยงาน กากตะกรัน เขา้ เตาหลอม แกส๊ +ไอ After burner ไซโคลน ระบบบำบดั
ท่ไี ด้รับอนุญาต มลพิษอากาศ

เติมโลหะ (โลหะ ฝนุ่ ละออง
พลวง สารหนู ดีบุก)
เข้าเตากวน

เทลงแมพ่ ิมพ์ เข้าเตาหลอม

แทง่ ตะกัว่

ส่งจำหน่ายลกู คา้
ค. กระบวนการหลอมตะกวั่ จากแบตเตอร่ีเกา่

รปู ที่ 6 (ตอ่ )

จ กระบวนการเผากากของเสยี ในเตาเผา 25

การเผาในเตาเผา เป็นการเผาไหม้ทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งต้องใช้ความร้อนระหว่าง
700-1,450 oC จึงจะทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์เนื่องจากความแตกต่างและลักษณะขององค์ประกอบ
ของขยะมูลฝอย ดังนั้นรูปแบบของเตาเผากากของเสียจึงอาจแตกต่างกันไป แต่เตาเผากากของเสียทุกประเภท
จะต้องมีกระบวนการควบคุมอุณหภูมิ ควัน ไอเสีย และขี้เถ้าที่อาจปนออกไปกับควันหรือปลิวออกมาทางปล่อง
ควัน เตาเผาที่มีประสิทธิภาพจะต้องลดปริมาตรกากของเสียลงไปจากเดิมให้มีเหลือน้อยที่สุดโดยส่วนที่เหลือ
จากการเผาไหม้นั้นก็จะต้องมีลักษณะคงรูปไม่มีการย่อยสลายได้อีกต่อไป และสามารถนำไปกำจัดได้อย่าง
ปลอดภยั

คูม่ ือการดำเนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสยี

สำหรับเตาเผากากของเสียอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินงานในปัจจบุ ันมี 2 ประเภท ได้แก่ เตาเผาเฉพาะ
(Specific Incineration) และเตาเผาร่วม (Co-Incineration) ซึ่งเป็นเตาปูนซีเมนต์ สำหรับตัวอย่าง
กระบวนการเผากากของเสยี ในเตาเผา แสดงดงั รูปท่ี 7

ของเสียจากโรงงานอตุ สาหกรรม

ตรวจวเิ คราะหข์ องเสียในหอ้ งปฏิบตั ิการ

นำเขา้ อาคารจัดเกบ็ วัตถุดบิ

ของเสียประเภทของแข็ง ของเสยี ประเภทของเหลว

เขา้ กระบวนการคัดแยก

นำเขา้ เครื่องบดหยาบ

นำเขา้ เครื่องบดย่อยตามขนาด

ลำเลียงลงบอ่ รับของเสีย

ออกซิเจน ป้อนเข้าสู่เตาเผา กา๊ ซพษิ ระบบบำบัดมลพษิ อากาศ
เชื้อเพลิง (ใช้อุณหภูมิประมาณ 1,100-1,300C เถ้าเบา

เถ้าหนัก ฝ่นุ หรือตะกรันจากระบบบำบัด
มลพิษอากาศ

ปูนซีเมนต์ ทำให้เป็นกอ้ นแข็ง

ส่งกำจดั ยังหนว่ ยงานท่ไี ดร้ ับอนุญาต

ก. กระบวนการเผาทำลายของเสียอันตรายในเตาเผาเฉพาะ

รปู ท่ี 7 ตัวอยา่ งกระบวนการเผากากของเสียในเตาเผา

คู่มอื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย 26

รับวัตถุดิบ

หนิ ปูน หินดนิ ดาน แรเ่ หลก็ หรือศิลาแลง
เข้าเคร่อื งบด

เข้าเครือ่ งบด

ฝุน่ จากเตาหลอม เขา้ เครอื่ งผสม
เข้าเครือ่ งบดรวม (Raw Mill)
เถา้ หนกั กระบวนการ Calcinations
(วธิ กี ารกำจัด 044)
Pre Heater
นำ้ เสยี ปนเปือ้ นจากโรงงานอตุ สาหกรรม

กากของเสียประเภท หม้อเผาปูน ดึงลมร้อนกลับมาใช้ประโยชน์
ของแข็ง (RDF) เป่าลมให้เย็น
(วธิ กี ารกำจดั 042)

ปนู เมด็ (Clinker)
เกบ็ เขา้ ไซโล

บดซีเมนตล์ ะเอียด

เก็บในไซโลเพ่อื รอบรรจุ
และจำหนา่ ย

ข. กระบวนการเผารว่ มในเตาเผาปนู ซีเมนต์

รูปที่ 7 (ตอ่ )

คู่มอื การดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจัดกากของเสีย 27

ฉ กระบวนการฝังกลบกากของเสยี

การฝังกลบกากของเสียอุตสาหกรรม แบ่งออกเปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่

การฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล การฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secure Landfill) ใช้ฝังกลบ
(Sanitary Landfill) ใช้ฝังกลบ กากของเสยี ท่เี ปน็ อันตราย ซึ่งผ่านการทำลายฤทธโิ์ ดยการปรับ
ขยะมูลฝอยหรือกากของเสีย เสถียรแล้ว การปรับเสถียรกากของเสีย (Stabilization and
ท่ีไมเ่ ป็นอันตราย Solidification) คือการเปลี่ยนสภาพกากของเสยี อนั ตรายให้มี
ความเป็นอันตรายหรือเป็นพิษน้อยลงด้วยวิธีปรับสภาพความ
เป็นกรด-ด่างของกากของเสียให้มีค่าเป็นกลางและทำให้เป็น
ของแข็งโดยผสมกับปูนซีเมนต์เพื่อห่อหุ้มกากของเสียป้องกัน
การชะล้างและเพื่อให้กากของเสียอยู่ในสภาพคงตัวก่อนนำไป
ฝังกลบอย่างปลอดภัยต่อไปโดยกากของเสียต่างชนิดกันจะมี
วิธีการที่เหมาะสมในการปรับเสถียรต่างกัน ดังนั้นก่อนการปรับ
เสถียรกากของเสียชนิดใดๆ ต้องทำการทดลองเบื้องต้นใน
ห้องทดลองก่อนเสมอ เช่น กากตะกอนปรอทต้องนำมาปรับ
เสถียรด้วยโซเดียมซัลไฟด์แล้วผสมเข้ากับปูนซีเมนต์ ทำให้
กลายเป็นของแข็งโดยสารเหล่านี้จะถูกนำมารวมกันและผสม
ให้เขา้ กนั ก่อนนำไปฝังกลบ

องคป์ ระกอบทส่ี ำคัญของระบบหลมุ ฝังกลบกากของเสีย ไดแ้ ก่

ระบบกันซมึ ใตห้ ลมุ (Landfill Liner)

ระบบรวบรวมนำ้ ชะ (Leachate Collection System)

ระบบรวบรวมกา๊ ซ (Methane Gas Collection System)

ระบบปดิ คลมุ บนหลมุ (Landfill Cover)

ระบบตดิ ตามการปนเป้อื นน้ำใต้ดิน (Monitor Groundwater System)

นอกจากนี้ รายละเอียดโครงสร้างของหลุมฝังกลบ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยจะต้อง

มีความรัดกุม และความแข็งแกร่ง เพื่อป้องกันโอกาสการแพร่กระจายกากของเสียอันตรายที่ผ่านการปรับเสถียร

แลว้ สสู่ ่ิงแวดลอ้ มใหน้ ้อยท่ีสุด สำหรับตัวอย่างกระบวนการฝังกลบกากของเสีย แสดงดงั รปู ท่ี 8

คูม่ ือการดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจัดกากของเสยี 28

ของเสยี ท่ไี ม่เปน็ อันตราย
จากโรงงานอตุ สาหกรรม

ช่งั นำ้ หนกั /ตรวจเช็คสภาพ
ทางกายภาพเบ้ืองตน้

คัดแยกของเสีย*

ของเสยี ที่ไมส่ ามารถรีไซเคิลได้ ของเสียทีส่ ามารถรไี ซเคิลได้

นำไปฝงั กลบในหลมุ ฝงั กลบ สง่ โรงงานรไี ซเคลิ
ท่ีไมเ่ ป็นอันตราย
นำ้ ชะกากอตุ สาหกรรม (Sanitary Landfill) ก๊าซและกลนิ่

รวบรวมเข้าสู่ รวบรวมกา๊ ซท่ีเกิดขึน้
ระบบบำบดั นำ้ เสยี เขา้ สู่ระบบ Flare

หมายเหตุ : * เฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รบั อนุญาตจากหน่วยงานอนญุ าตให้ทำการคดั แยกกากของเสยี ท่ีไมเ่ ปน็ อนั ตรายได้เทา่ นน้ั

ก. กระบวนการฝงั กลบกากของเสียที่ไม่เป็นอนั ตราย

รูปท่ี 8 ตัวอยา่ งกระบวนการฝังกลบกากของเสีย

คูม่ ือการดำเนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจดั กากของเสยี 29

กากของเสยี
จากโรงงานอตุ สาหกรรม

เก็บตัวอย่างของเสีย
ไปวเิ คราะหใ์ นห้องปฏบิ ตั ิการ

กากของเสยี อนั ตราย กากของเสยี อนั ตรายจำพวก
ทไ่ี ม่ใชห่ ลอดไฟ หลอดไฟ (มี Hg, As, Se

น้ำชะกาก นำลงบอ่ เพื่อปรับเสถยี ร เปน็ องคป์ ระกอบ)
อตุ สาหกรรม
บดอดั หลอดไฟ

ระบบบำบัด ผสมสารเคมี ปูนขาว, ปูนซเี มนต,์ ผสมสารเคมีเพ่ือทำการปรับ
น้ำเสยี แบบเคมี เพอ่ื ทำการปรับเสถยี ร โพลิเมอรอ์ ินทรีย์ เสถียรและทำให้เป็นกอ้ นแข็ง

เกบ็ ตวั อย่างไปวิเคราะห์ บม่ กากของเสียที่ผ่าน
การผสมสารเคมีแล้ว 15 วัน

นำกากของเสียที่ทำการปรับเสถยี รแลว้
ไปฝังกลบในหลมุ ฝังกลบอย่างปลอดภัย

(Secure Landfill)

ข. กระบวนการฝังกลบกากของเสยี ท่ีเปน็ อันตราย

รปู ท่ี 8 (ตอ่ )

คูม่ ือการดำเนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจัดกากของเสีย 30

1.3 กฎหมายทเ่ี กย่ี วข้องกบั การปฏบิ ตั งิ านของโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม

กฎหมายที่ควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการมลพิษ การป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการจัดการด้านอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภยั มีทัง้ ทเี่ ป็นกฎหมายภายใตพ้ ระราชบญั ญตั โิ รงงาน พ.ศ 2535 พระราชบัญญตั โิ รงงาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 รวมถึงกฎหมายอ่นื ๆ ทีเ่ กี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังน้ี

1.3.1 กฎหมายทเี่ กย่ี วขอ้ งภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
กฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของโรงงานจัดการ

กากอุตสาหกรรม อาจจำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ในการควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงาน
แตล่ ะดา้ น แสดงดงั รูปท่ี 9

พระราชบญั ญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

กฎกระทรวง ฉบบั ท่ี 2 พ.ศ. 2535

การประกอบ การจัดการ การ สภาพแวดลอ้ มการ บคุ ลากร การรายงาน การควบคมุ
กิจการ สง่ิ ปฏิกูลหรือ คุณภาพ
โรงงาน วัสดทุ ไ่ี ม่ใช้แล้ว จดั การ ทำงาน อาชีวอนามยั ผลการ ผลติ ภณั ฑ์

มลพษิ และความปลอดภัย ปฏิบตั ิงาน

มลพิษน้ำ มลพิษอากาศ ส่ิงปฏิกูลหรอื วัสดทุ ไี่ ม่ใชแ้ ลว้

รปู ท่ี 9 โครงสร้างของกฎหมายภายใตพ้ ระราชบัญญตั ิโรงงาน พ.ศ. 2535
ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกับโรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม

คูม่ ือการดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจดั กากของเสยี 31

โดยรายชื่อกฎหมายทส่ี ำคัญของแตล่ ะกลมุ่ มีดังน้ี

กลมุ่ กฎหมาย รายชอื่ กฎหมาย

การจดั การสง่ิ ปฏิกูล กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
หรอื วัสดทุ ่ไี มใ่ ชแ้ ล้ว พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย
การจดั การมลพษิ น้ำ พ.ศ. 2547
และมลพิษอากาศ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับ
ส่งิ ปฏิกลู หรือวัสดุทไ่ี มใ่ ชแ้ ล้วจากโรงงานโดยทางสือ่ อเิ ล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547
ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรอื่ ง การกำจัดสงิ่ ปฏิกูลหรือวัสดุท่ีไม่ใช้แลว้ พ.ศ. 2548
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณา การแต่งตั้งตัวแทน
เพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรอื่ ง การกำจัดส่ิงปฏิกูลหรอื วสั ดทุ ่ีไม่ใชแ้ ล้ว พ.ศ. 2548
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย
พ.ศ. 2550
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เร่อื ง หลกั เกณฑแ์ ละวิธกี ารปฏบิ ตั ิเกีย่ วกบั การจดั การ
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ
ทีไ่ ม่ใช้แลว้ พ.ศ. 2550
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตมีไว้ใน
ครอบครองซงึ่ วตั ถอุ นั ตรายเพอื่ การขนสง่ พ.ศ. 2555
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
รับผิดชอบ พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2560

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ต้องติดต้ัง
เครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศออกจากปล่องแบบ
อัตโนมตั ิ พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เร่ือง กำหนดปริมาณสารเจอื ปนในอากาศท่รี ะบายออก
จากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ.
2545
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ
ทีร่ ะบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ
ท่รี ะบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. 2549

คูม่ อื การดำเนินการพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจัดกากของเสยี 32

กลมุ่ กฎหมาย รายชอื่ กฎหมาย

การจดั การมลพษิ นำ้ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ
และมลพษิ อากาศ (ตอ่ ) ท่รี ะบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558
กฎกระทรวง ควบคมุ การปนเปอ้ื นในดินและน้ำใตด้ ินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559
บุคลากร ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน
การตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน การแจ้งข้อมูลรวมทั้งการจัดทำรายงานผล
การรายงานผล การตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดินและรายงานเสนอมาตรการควบคุมและ
การปฏิบตั งิ าน มาตรการลดการปนเป้ือนในดินและนำ้ ใตด้ ิน พ.ศ. 2559
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ
ท่รี ะบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน
พ.ศ. 2560

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตราย
มีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงาน
อตุ สาหกรรมรับผดิ ชอบ พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนด
วิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน
ผ้คู วบคมุ ดแู ลสำหรับระบบปอ้ งกันสิ่งแวดลอ้ มเปน็ พิษ (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2554
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะ
การจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย
ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษา
วัตถอุ ันตราย พ.ศ. 2551
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรอ่ื ง การขน้ึ ทะเบียนเปน็ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพษิ นำ้
หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษ
กากอตุ สาหกรรม พ.ศ. 2556
ประกาศกรมโรงงานอตุ สาหกรรม เรอื่ ง การขึ้นทะเบียนเปน็ ผคู้ วบคมุ ระบบบำบัดมลพษิ นำ้
หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษ
กากอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานข้อมูลต่างๆ ของโรงงานหลอมตะก่ัว
จากแบตเตอร่ีเก่า พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกัน
และแก้ไขผลกระทบตอ่ คุณภาพส่ิงแวดล้อมและความปลอดภัย พ.ศ. 2552

คู่มอื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจัดกากของเสยี 33

กลมุ่ กฎหมาย รายชอื่ กฎหมาย

การรายงานผล ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตราย
การปฏบิ ัตงิ าน (ต่อ) ทีก่ รมโรงงานอุตสาหกรรมรับผดิ ชอบ พ.ศ. 2558
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพ
สภาพแวดลอ้ มการทำงาน อากาศจากปล่องแบบอตั โนมัตอิ ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง พ.ศ. 2550
อาชวี อนามัยและ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือ
ความปลอดภัย การดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่
การประกอบกจิ การ 4 มกราคม 2562
โรงงาน
กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกย่ี วกบั ระบบไฟฟา้ ในโรงงาน พ.ศ. 2550
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบ
กจิ การโรงงานหลอมตะกวั่ จากแบตเตอรเี่ ก่า พ.ศ. 2544
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ
และหมอ้ ตม้ ทีใ่ ช้ของเหลวเปน็ สอ่ื นำความร้อน พ.ศ. 2549
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.
2552
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ
และหม้อต้มท่ใี ชข้ องเหลวเปน็ สอ่ื นำความร้อน (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2559
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการ
ตรวจสอบภายในหม้อน้ำทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบ
1 ครงั้ พ.ศ. 2559

กฎกระทรวงฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบญั ญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ
หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ลงวนั ท่ี 4 มกราคม 2562
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการโรงงานแสดง
ขอ้ มลู เบือ้ งต้นโดยการตดิ ต้ัง QR Code ที่หน้าโรงงาน
เงื่อนไขการประกอบกิจการโรงงานซึ่งกำหนดไว้ท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
หรอื กำหนดไวใ้ นมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสงิ่ แวดล้อมในรายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดลอ้ ม (EIA)

คู่มือการดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสีย 34

1.3.2 กฎหมายท่เี ก่ียวขอ้ งภายใต้พระราชบัญญตั ิวตั ถุอนั ตราย พ.ศ. 2535
เนื่องจากกากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียอันตรายบางชนิดจัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติ

วัตถุอันตราย ดังนั้น โรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมที่รับของเสียเหล่านั้นเข้ามาบำบัด กำจัดในโรงงาน จึงต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งรายชื่อกฎหมายที่สำคัญภายใต้
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ที่เกี่ยวข้องกบั
การปฏบิ ัติงานของโรงงานจดั การกากอุตสาหกรรม แสดงดังรูปที่ 10

พระราชบญั ญตั ิวัตถุอนั ตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวตั ถุอนั ตราย (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ. 2551
และพระราชบญั ญัติวตั ถอุ ันตราย (ฉบบั ที่ 4) พ.ศ. 2562

ประกาศกระทรวง ุอตสาหกรรม การข้นึ ทะเบียน การขนส่ง การขึ้นทะเบียน การกำหนดให้ ระบบเอกสาร
ภาชนะบรรจทุ ่ใี ช้ วัตถุอันตราย ภาชนะบรรจทุ ใี่ ช้ สถานประกอบการ กำกับการขนส่ง
ขนส่งวัตถอุ ันตราย ทกี่ รมโรงงาน ขนส่งวตั ถุอนั ตราย วตั ถุอนั ตรายมีบุคลากร
ท่ีกรมโรงงาน อุตสาหกรรม ทีก่ รมโรงงาน เฉพาะรบั ผิดชอบความ ของเสยี
รับผิดชอบ ปลอดภยั การเก็บรักษา พ.ศ. 2547
อุตสาหกรรม พ.ศ. 2558 อตุ สาหกรรม
รับผิดชอบ รับผิดชอบ วตั ถุอนั ตรายท่ี
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2558 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2562
มอี ำนาจหนา้ ท่ี
รบั ผิดชอบ พ.ศ. 2551

ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม หลกั เกณฑ์และวิธกี ารแจง้ มบี ุคลากรเฉพาะ คู่มอื การเกบ็ รกั ษา
การจดทะเบียนบคุ ลากรเฉพาะรับผิดชอบ วตั ถุอันตราย
ความปลอดภยั การเก็บรักษาวตั ถุอนั ตราย พ.ศ. 2550

ทก่ี รมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ
และการรายงานความปลอดภยั การเกบ็ รักษา

วตั ถอุ ันตราย พ.ศ. 2551 (ฉบับท่ี 2)
พ.ศ. 2562

รูปที่ 10 โครงสร้างของกฎหมายภายใต้พระราชบญั ญตั วิ ัตถุอนั ตราย พ.ศ. 2535
ทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับโรงงานจดั การกากอตุ สาหกรรม

คูม่ อื การดำเนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจดั กากของเสีย 35

1.3.3 กฎหมายอ่นื ๆ ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
นอกจากกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

ที่มีผลต่อการควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่มีผลบังคับ
ใช้ได้กับโรงงานประเภทนี้โดยเฉพาะกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รวมถึงประกาศกระทรวงมหาดไทยด้วย กฎหมายเหล่าน้ี
มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและลดผลกระทบจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการต่อสิ่งแวดล้อม
อาชวี อนามัยและความปลอดภัย โดยรายช่ือกฎหมายทส่ี ำคัญในกลุม่ น้ี แสดงดังรูปท่ี 11

คู่มือการดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสยี 36

พระราชบญั ญตั สิ ง่ เสริมและรักษาคณุ ภาพ พระราชบญั ญัตคิ มุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541
สิง่ แวดลอ้ ม พ.ศ. 2535 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ. 2562)

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการ กำหนดมาตรฐานในการ กำหนดมาตรฐานในการ
บรหิ ารและการจัดการดา้ น บรหิ ารและการจดั การ บรหิ ารและการจัดการ
ความปลอดภยั อาชีวอนามัย ด้านความปลอดภยั ด้านความปลอดภยั

และสภาพแวดลอ้ ม อาชีวอนามัยและ อาชวี อนามยั และ
ในการทำงานเก่ยี วกบั สภาพแวดล้อมในการ สภาพแวดลอ้ มในการ
ความรอ้ น แสงสวา่ ง ทำงาน (ฉบบั ท่ี 2) ทำงานเกี่ยวกบั เคร่อื งจกั ร
และเสียง พ.ศ. 2549 ป้นั จน่ั และหม้อนำ้
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2552

ประกาศกระทรวง ประกาศกระทรวง การปองกนั และระงับ ความปลอดภยั ความปลอดภยั ความปลอดภยั
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละ อคั คภี ยั ในสถาน ในการทำงาน ในการทำงาน ในการทำงาน
ส่ิงแวดลอ้ ม เร่อื ง กำหนด ประกอบการ เพอื่ ในสถานที่ เกี่ยวกับสารเคมี
โครงการ กิจการ หรอื การ อับอากาศ เก่ยี วกบั
ดำเนินการ ซึ่งต้องจดั ทำรายงาน ความปลอดภยั ในการ ภาวะแวดลอ้ ม อนั ตราย
การประเมินผลกระทบ ทํางานสําหรับลูกจาง พ.ศ. 2534
สิ่งแวดลอ้ ม และหลกั เกณฑ์ (สารเคมี)
วธิ กี าร และเงื่อนไขในการจดั ทำ พ.ศ. 2534
รายงานการประเมนิ ผลกระทบ
ส่ิงแวดลอ้ ม พ.ศ. 2562

ประกาศกรมส ัวสดิการ หลักเกณฑ์ วธิ กี ารดำเนนิ การตรวจวดั และวเิ คราะห์ กำหนดหลกั เกณฑ์ และวธิ ีการตรวจสุขภาพลกู จา้ ง
และ ุ้คมครองแรงงาน สภาวะการทำงานเกย่ี วกับระดบั ความร้อน แสงสว่าง และแบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจา้ ง
หรอื เสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา ทีท่ ำงานเกี่ยวกับสารเคมอี ันตราย พ.ศ. 2535

และประเภทกิจการที่ตอ้ งดำเนนิ การ พ.ศ. 2550

รปู ท่ี 11 โครงสร้างของกฎหมายภายใตพ้ ระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมและรกั ษาคุณภาพส่ิงแวดล้อม พ.ศ. 2535
และพระราชบญั ญตั ิคุม้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ท่เี กี่ยวขอ้ งกบั โรงงานจัดการกากอตุ สาหกรรม

คู่มือการดำเนินการพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจดั กากของเสยี 37

1.3.4 บทสรุปกฎหมายท่ีเกย่ี วข้องกับวิธีการปฏิบัติงานที่ดี

กฎหมายซึง่ มผี ลบังคับใช้กับโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมทีก่ ลา่ วแล้วข้างต้น เมื่อนำมาจัดหมวดหมู่

ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับในการควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงานซึ่งจำแนกออกเป็น 6 กลุ่ม

ไดแ้ ก่

1 การจัดการส่งิ ปฏิกูลหรอื วสั ดทุ ่ไี ม่ใชแ้ ลว้ 4 การรายงานผลการปฏบิ ตั ิงาน
2 การจดั การมลพษิ นำ้ และมลพษิ อากาศ 5 การประกอบกิจการโรงงาน

3 บคุ ลากร 6 สภาพแวดล้อมการทำงานและความปลอดภัย

สำหรับรายชื่อกฎหมายที่สำคัญในแต่ละกลุ่ม ซึ่งผู้ประกอบกิจการโรงงานบำบัด/กำจัดกากของเสีย
ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายเหล่านั้น แสดงดัง
ตารางที่ 2 ทั้งนี้ ในคู่มือฯ ฉบับนี้ ได้รวบรวมสาระสำคัญของกฎหมายต่างๆ เฉพาะในประเด็นที่มีผลบังคับใช้กับ
การประกอบกจิ การโรงงานจดั การกากอตุ สาหกรรม ดังจะไดก้ ลา่ วในหวั ข้อตอ่ ไป

ตารางที่ 2 รายชื่อกฎหมายที่สำคัญจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงาน
จัดการกากอุตสาหกรรม

กฎหมายท่ีเกีย่ วขอ้ งกับการจดั การสิง่ ปฏิกูลหรอื วสั ดุทไ่ี มใ่ ชแ้ ล้ว

รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรอื่ ง ระบบเอกสารกำกบั การขนสง่ ของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิง่ ปฏกิ ูลหรือวสั ดทุ ี่ไม่ใช้แล้ว

จากโรงงานโดยทางสือ่ อิเลก็ ทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547
รง ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรอ่ื ง การกำจดั ส่ิงปฏิกลู หรือวสั ดุทไ่ี ม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่ง

ของเสยี อันตรายตามประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรอ่ื ง การกำจดั ส่งิ ปฏกิ ูลหรอื วัสดุที่ไม่ใชแ้ ล้ว พ.ศ. 2548
รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรอื่ ง คู่มือการเก็บรกั ษาสารเคมแี ละวัตถอุ ันตราย พ.ศ. 2550
รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่

ใชแ้ ลว้ ของผูป้ ระกอบกิจการบำบัดและกำจัดสง่ิ ปฏิกูลหรอื วัสดุทไ่ี ม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เร่ือง การกําจัดสงิ่ ปฏิกลู หรือวัสดทุ ไ่ี มใ่ ช้แล้ว (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2560
รง ประกาศกรมโรงงานอตุ สาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธกี ารปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุทีไ่ ม่ใช้แล้ว

พ.ศ. 2551
วอ ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย

เพ่อื การขนสง่ พ.ศ. 2555
วอ ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เร่ือง การขนสง่ วตั ถุอันตรายทก่ี รมโรงงานอตุ สาหกรรมรบั ผิดชอบ พ.ศ. 2558

คูม่ ือการดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจดั กากของเสยี 38

ตารางท่ี 2 (ต่อ)

กฎหมายท่เี กย่ี วขอ้ งกบั การจัดการมลพิษน้ำและมลพิษอากาศ

รง กฎกระทรวง ควบคมุ การปนเป้ือนในดินและน้ำใต้ดินภายในบรเิ วณโรงงาน พ.ศ. 2559
รง ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรอ่ื ง กำหนดใหโ้ รงงานประเภทต่างๆ ต้องตดิ ตง้ั เครอื่ งมือหรือเครอ่ื งอุปกรณ์พิเศษ

เพอ่ื ตรวจสอบคุณภาพอากาศออกจากปล่องแบบอตั โนมัติ พ.ศ. 2544
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณสารเจอื ปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาส่ิงปฏิกูล

หรือวสั ดุทไ่ี มใ่ ช้แลว้ ทีเ่ ปน็ อันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545
รง ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรื่อง กำหนดคา่ ปรมิ าณของสารเจอื ปนในอากาศท่รี ะบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

ปูนซีเมนต์ พ.ศ. 2549
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน

พ.ศ. 2558
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน การตรวจสอบคุณภาพดิน

และน้ำใต้ดิน การแจ้งข้อมูลรวมทั้งการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดินและรายงานเสนอ
มาตรการควบคุมและมาตรการลดการปนเป้อื นในดนิ และน้ำใต้ดนิ พ.ศ. 2559
รง ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรอื่ ง กําหนดมาตรฐานควบคมุ การระบายน้ำทง้ิ จากโรงงาน พ.ศ. 2560
รง ประกาศกรมโรงงานอตุ สาหกรรม เร่อื ง แบบรายงานชนดิ และปริมาณสารมลพิษทร่ี ะบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2559

กฎหมายที่เกย่ี วขอ้ งกับบคุ ลากร

รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อย
ของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ
และหลักเกณฑก์ ารขน้ึ ทะเบียนผคู้ วบคมุ ดแู ลสำหรบั ระบบปอ้ งกันสิง่ แวดลอ้ มเปน็ พิษ (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2554

รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบ
บำบัดมลพษิ อากาศ หรือผูค้ วบคุมระบบการจัดการมลพษิ กากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556

รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบ
บำบดั มลพษิ อากาศ หรอื ผ้คู วบคมุ ระบบการจดั การมลพิษกากอุตสาหกรรม (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2564

วอ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบ
ความปลอดภยั การเกบ็ รกั ษาวัตถุอนั ตรายทีก่ รมโรงงานอตุ สาหกรรมรับผดิ ชอบ พ.ศ. 2551

วอ ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรอ่ื ง หลกั เกณฑแ์ ละวธิ ีการแจ้งมบี ุคลากรเฉพาะ การจดทะเบยี นบุคลากรเฉพาะ
รับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงาน
ความปลอดภัยการเก็บรกั ษาวัตถอุ ันตราย พ.ศ. 2551

กฎหมายทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั การรายงานผลการปฏิบัติงาน

รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานข้อมูลต่างๆ ของโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า
พ.ศ. 2544

รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ
ตอ่ คณุ ภาพสงิ่ แวดลอ้ มและความปลอดภัย พ.ศ. 2552

คูม่ อื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจัดกากของเสีย 39

ตารางท่ี 2 (ตอ่ )

กฎหมายทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การรายงานผลการปฏิบัตงิ าน (ต่อ)

รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ
อยา่ งต่อเน่อื ง พ.ศ. 2550

สวล ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้อง
จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงาน
การประเมินผลกระทบสงิ่ แวดล้อม ลงวันท่ี 4 มกราคม 2562

วอ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงาน
อุตสาหกรรมรับผดิ ชอบ พ.ศ. 2558

กฎหมายท่เี กีย่ วข้องกบั การประกอบกิจการโรงงาน

รง กฎกระทรวงฉบบั ท่ี 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัตโิ รงงาน พ.ศ. 2535
รง เงื่อนไขการประกอบกิจการโรงงานซึ่งกำหนดไว้ท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือกำหนดไว้ในมาตรการ

ป้องกนั และลดผลกระทบสิง่ แวดลอ้ มในรายงานการวเิ คราะห์ผลกระทบสิ่งแวดลอ้ ม (EIA)
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการโรงงานแสดงข้อมูลเบื้องต้นโดยการติดตั้ง

QR Code ทห่ี นา้ โรงงาน
สวล ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้อง

จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงาน
การประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อม ลงวนั ที่ 4 มกราคม 2562

กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับสภาพแวดลอ้ มการทำงาน อาชวี อนามยั และความปลอดภัย

รง กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกยี่ วกบั ระบบไฟฟา้ ในโรงงาน พ.ศ. 2550
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่ว

จากแบตเตอรเ่ี กา่ พ.ศ. 2544
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ ง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกบั หม้อนำ้ และหม้อต้มท่ีใชข้ องเหลวเป็นสื่อนำ

ความรอ้ น พ.ศ. 2549
รง ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เร่อื ง การปอ้ งกนั และระงบั อัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552
รง ประกาศกระทรวงอตุ สาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเก่ียวกบั หม้อนำ้ และหม้อต้มท่ีใช้ของเหลวเป็นส่ือนำ

ความร้อน (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2559
รง ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ

ทุกระยะเวลาเกนิ กว่า 1 ปี แตไ่ มเ่ กนิ 5 ปี ตอ่ การตรวจสอบ 1 ครงั้ พ.ศ. 2559
รง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษาและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ

ตอ่ คณุ ภาพสงิ่ แวดลอ้ มและความปลอดภัย พ.ศ. 2552
ครง กฎกระทรวงสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย

อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
ครง กฎกระทรวงสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย

อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกบั ความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549

คูม่ ือการดำเนนิ การพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจัดกากของเสยี 40

ตารางที่ 2 (ต่อ)

กฎหมายที่เกยี่ วขอ้ งกับสภาพแวดลอ้ มการทำงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ต่อ)

ครง กฎกระทรวงสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทำงานเก่ียวกับเคร่อื งจกั ร ป้นั จ่ันและหม้อนำ้ พ.ศ. 2552

ครง ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้างและแบบ
รายงานผลการตรวจสขุ ภาพลกู จ้างทท่ี ำงานเกีย่ วกบั สารเคมีอนั ตราย พ.ศ. 2535

ครง ประกาศกรมสวสั ดิการและคุ้มครองแรงงาน หลกั เกณฑ์ วิธกี ารดำเนนิ การตรวจวัดและวเิ คราะหส์ ภาวะการทำงาน
เกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่างและเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้อง
ดำเนินการ พ.ศ. 2550

มท ประกาศกระทรวงมหาดไทย เร่อื ง ความปลอดภยั ในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม พ.ศ. 2520
มท ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรอ่ื ง ความปลอดภัยในการทำงานเกยี่ วกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520
มท ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรอ่ื ง การปอ้ งกันและระงับอคั คีภยั ในสถานประกอบการ พ.ศ. 2534
มท ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรอ่ื ง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอนั ตราย พ.ศ. 2534

หมายเหตุ : รง กฎหมายภายใต้พระราชบญั ญตั โิ รงงาน พ.ศ. 2535
วอ กฎหมายภายใต้พระราชบญั ญตั วิ ัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
สวล กฎหมายภายใตพ้ ระราชบญั ญัติสง่ เสรมิ และรกั ษาคณุ ภาพสงิ่ แวดลอ้ ม พ.ศ. 2535
ครง กฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติค้มุ ครองแรงงาน
มท ประกาศกระทรวงมหาดไทย

คูม่ อื การดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ ริการบำบดั /กำจดั กากของเสยี 41

บทที่

2 หลกั เกณฑม์ าตรฐานการปฏบิ ตั ิงานท่ดี ี
สำหรบั โรงงานท่ใี ห้บรกิ ารรับบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกลู หรือวสั ดุทไ่ี มใ่ ช้แล้ว

การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโรงงานและประเภท
อุตสาหกรรมที่หลากหลายกิจการ เป็นผลให้โรงงานที่รับจัดการกากอุตสาหกรรมซึ่งเป็นอุตสาหกรรม
ขน้ั สุดทา้ ยในการจดั การกากของเสยี ของภาคอุตสาหกรรมได้มกี ารขยายตวั เพ่ิมขนึ้ ทัง้ ในสว่ นของจำนวนโรงงาน
และความหลากหลายของกิจการประกอบกับความรู้และเทคโนโลยีในการจัดการกับกากของเสียจาก
ภาคอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยมุ่งไปสู่การนำกากของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ให้มาก
ที่สุดและพยายามให้มีกากของเสียที่ถูกส่งไปบำบัด กำจัดน้อยที่สุด ในปัจจุบันมีจำนวนโรงงานที่รับจัดการกับ
กากอุตสาหกรรมมากกว่า 3,000 โรงงาน และมีหลายประเภทกิจการหรือวิธจี ดั การกับกากอุตสาหกรรม เพื่อให้
สอดคล้องกับปรมิ าณกากของเสียท่ีเกิดมากขึน้

การประกอบกิจการของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม ถือเป็นกิจการอุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งภาครัฐ
ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุน เนื่องจากช่วยให้กากของเสียที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมได้รับการจัดการ
อยา่ งเหมาะสมตามหลกั การทางวิชาการ ก่อใหเ้ กดิ ผลกระทบต่อสง่ิ แวดล้อมน้อยที่สดุ อย่างไรกต็ าม หากโรงงาน
อุตสาหกรรมขาดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องหรือไม่มีมาตรฐานที่ดี จะมีโอกาสสูงมากที่กากของเสียซึ่งโรงงาน
รับเข้ามาดำเนินการ และมลพิษที่เกิดจากกระบวนการดำเนินการของโรงงานเอง จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
สง่ิ แวดลอ้ มและคณุ ภาพชวี ติ รวมถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรพั ยส์ นิ ของประชาชนอีกด้วย

ดังนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงต้องการยกระดับโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีการประกอบกิจการใน
ปัจจุบัน ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการให้โรงงานมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อลดโอกาสที่โรงงาน
หรอื การประกอบกิจการของโรงงานจะเป็นสาเหตใุ นการก่อใหเ้ กดิ ผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดลอ้ ม และคณุ ภาพชวี ติ
รวมถึงความปลอดภัยต่อคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในการน้ี กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงได้
จัดทำ “หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับการเข้าสู่
ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมประเภทนี้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
ภารกจิ ตา่ งๆ ตอ่ ไป

คูม่ ือการดำเนินการพฒั นายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ ริการบำบัด/กำจดั กากของเสีย 42

2.1 ทม่ี าของเกณฑม์ าตรฐานการปฏบิ ตั ิงานที่ดที วั่ ไป และหลกั เกณฑม์ าตรฐาน
เฉพาะสำหรบั การเข้าสรู่ ะบบการอนุญาตอตั โนมัติ (AI)

ในปี 2565 นี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะผลักดันโรงงานที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้วแต่ยัง
ไม่ได้เข้าสู่ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ และโรงงานที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการให้มีการพัฒนาปรับปรุง
การดำเนินงานให้ได้มาตรฐานที่ดีจนเข้าสู่ระบบการให้อนุญาตอัตโนมัติได้ จึงกำหนดกรอบแนวทางการจัดทำ
ระบบการตรวจประเมินสำหรับการให้การรับรองผู้บำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในข้อกำหนด
งานโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับ
การเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติในปีถัดไป แต่เนื่องจากกรอบแนวทางในปีที่ผ่านมายังไม่มีการประกาศใช้เพื่อ
ตรวจประเมินให้การรับรองแก่โรงงานที่รับจัดการกากอุตสาหกรรมสำหรับการขออนุญาตอัตโนมัติภายใต้
หลักเกณฑ์และข้อกำหนดของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในปีนี้จึงไดท้ ำการทบทวนกรอบแนวทางเดิมทีไ่ ด้มกี าร
จัดทำไว้ร่วมกับการทบทวนหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั้ง 2 ประเภท คือ เกณฑ์มาตรฐาน
การปฏิบัติงานที่ดีสำหรับโรงงานคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย และเกณฑ์
มาตรฐานการปฏิบัติงานท่ีดีสำหรับโรงงานรับรีไซเคิล และบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
(เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป) เพื่อนำไปพัฒนาเป็นแนวทางในการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะ
สำหรับการเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติเพื่อนำร่องสำหรับการตรวจประเมินโรงงานที่ต้องการเข้าสู่ระบบ
การอนญุ าตอตั โนมตั ิ (AI)

เกณฑ์การตรวจประเมินสำหรับโรงงานที่ยื่นขอการรับรองเพื่อเข้าสู่ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI)
จะถูกพัฒนามาจากเกณฑ์มาตรฐานการปฏบิ ัติงานที่ดีทั่วไป ทั้ง 2 ประเภท คือ เกณฑ์มาตรฐานการปฏบิ ตั ิงาน
ที่ดีสำหรับโรงงานคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย และเกณฑ์มาตรฐาน
การปฏิบัติงานที่ดีสำหรับโรงงานรับรีไซเคิล และบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุทีไ่ มใ่ ชแ้ ล้ว ซึ่งได้มีการนำไปใช้
เปน็ เคร่อื งมือสำหรบั การตรวจประเมินแกโ่ รงงาน โดยทเี่ กณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานทด่ี ีทัว่ ไปท่ีไดม้ กี ารทบทวน
ปรับปรุงแล้วจะมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิบัติงานทั้ง 10 ส่วน และประเภทกิจกรรมของโรงงาน
ที่เข้าร่วมโครงการซึ่งต้องมีชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และวิธีการกำจัดให้เป็นไปตาม
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
และวิธีการกำจัดสำหรับการขออนุญาต และการอนุญาตให้นำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณ
โรงงานแบบอัตโนมัติผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับ
การเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติที่จะใช้นำร่องในการตรวจประเมินโรงงานในปีนี้ จะมุ่งเน้นข้อกำหนดที่เป็น
ข้อบังคับทางกฎหมาย ข้อกำหนดทีม่ รี ะดับนัยสำคัญสงู (ระดับ 3 และระดบั 2) และข้อกำหนดเพม่ิ เตมิ เฉพาะ AI
ซง่ึ เปน็ ข้อกำหนดท่โี รงงานจะต้องปฏบิ ตั ใิ หส้ อดคล้องทั้งหมด จงึ จะสามารถเข้าสรู่ ะบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) ได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะฯ ซึ่งจะถูกนำใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นกรองโรงงานที่มี
มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีในระดับที่เทียบเท่ากับคุณสมบัติผู้ขอรับการรับรองเพื่อเข้าสู่ระบบการอนุญาต
อัตโนมัติ (AI) ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด จึงมีแนวทางในการพัฒนาข้อกำหนดที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน
เฉพาะสำหรับการเขา้ สูร่ ะบบการอนญุ าตอัตโนมัติ (AI) ดังนี้

คูม่ ือการดำเนนิ การพัฒนายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจดั กากของเสีย 43

เป็นข้อกำหนดที่พัฒนามาจากเกณฑ์ที่เป็นข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดี ทั้ง 2 ประเภท
เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับโรงงานคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วท่ี
ไม่เป็นของเสียอันตราย และเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับโรงงานรีไซเคิล และบำบัด/กำจัด
สงิ่ ปฏกิ ูลหรอื วสั ดทุ ่ีไม่ใช้แล้ว

เป็นข้อกำหนดเฉพาะที่เพิ่มเติมสำหรับ AI เพื่อให้ครอบคลุมเกณฑ์ข้อกำหนดของอุตสาหกรรมสีเขียว
ระดับที่ 3

เป็นข้อกำหนดท่ีพัฒนาจากข้อกำหนดฯ ที่เป็นข้อบังคับตามกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535 พระราชบัญญตั โิ รงงาน (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญตั วิ ตั ถอุ นั ตราย พ.ศ. 2535

เป็นข้อกำหนดท่ีพัฒนาจากข้อกำหนดฯ ที่มีระดับความสำคัญระดับ 3 และระดับ 2 ได้แก่
ข้อกำหนดฯ ที่เป็นกฎหมายอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมายในข้อ 3) และข้อกำหนดฯ ที่ไม่เป็น
ข้อกฎหมาย แต่หากไมป่ ฏิบตั อิ าจมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของบคุ คลภายนอก

2.2 คำจำกดั ความ องคป์ ระกอบและการนำไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นโรงงาน

2.2.1 ความสำคัญ ดังนั้นหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน
หลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดี ที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับ
การเข้าสู่ระบบการอนุญาตโดยอัตโนมัติ (AI)
ทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับ จึงประกอบด้วยหลายข้อกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน
การเข้าสู่ระบบการอนญุ าตอัตโนมัติ (AI) ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มี
สำหรับโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หรือเสี่ยงต่อการ
ข้อกำหนดวิธีการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่างๆ ของการ ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ โดยที่ข้อกำหนด
ประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งโรงงานควรนำไปปฏิบัติ บางส่วนอาจเป็นข้อกฎหมายที่โรงงานต้องปฏิบัติ
อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อยกระดับการ อยู่แล้ว และส่วนที่เป็นหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับ
ปฏิบัติงานให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นทั้งในด้านการปฏิบัติ การปฏบิ ัติงาน
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของ
พนักงานและประชาชน รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์
ที่ดีต่อสังคมและชุมชน โดยการลดโอกาสที่โรงงาน
จะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ เหล่านี้ให้เหลือ
น้อยทส่ี ดุ

คู่มือการดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจัดกากของเสยี 44

2.2.1.1 ประเภทของเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐาน
เฉพาะสำหรบั การเข้าสรู่ ะบบการอนุญาตอัตโนมตั ิ (AI)
หลักเกณฑม์ าตรฐานการปฏิบตั ิงานทีด่ ีทวั่ ไป และหลกั เกณฑม์ าตรฐานเฉพาะสำหรับการเข้าสู่

ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) สำหรับโรงงานที่ให้บริการรับบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

ในประเทศไทย จำแนกออกเปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่

เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีสำหรับ เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีสำหรับ

โรงงานคัดแยกส่ิงปฏิกลู หรือวัสดุทีไ่ ม่ใช้แล้ว โรงงานรับรีไซเคิล และบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูล

ที่ไม่เปน็ ของเสยี อนั ตราย หรือวัสดทุ ีไ่ ม่ใชแ้ ลว้

ครอบคลุมลักษณะกิจการของโรงงานเป็นการ ครอบคลุมลักษณะกิจการของโรงงานท่ีเป็น

รับกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม มาทำการ โรงงานรับบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับน้ำเสียจาก

คัดแยกเป็นวัสดุประเภทต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์หรือ โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานกำจัดของเสียโดย

จัดการต่อ โรงงานประเภทนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวน วิธีการฝังกลบ โรงงานที่รับกากของเสียมาเผา

มากที่สุดของโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม ในเตาเผา และโรงงานท่ีรับรีไซเคิลของเสีย

ในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่เป็นโรงงาน ทุกประเภท ซึ่งรวมถึงโรงงานบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์

ขนาดเล็ก และการประกอบกิจการจะใช้แรงงานคน เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ในการคัดแยกกากของเสียด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน โดยโรงงานอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้จะรับเอากาก

และไม่มีการแปรรูปหรือผ่านกระบวนการทาง ของเสียทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายเข้ามา

อุตสาหกรรมเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกทั้งกากของเสีย ดำเนินการ แต่กระบวนการที่ใช้จัดการกากของเสีย

ที่เกิดจากกระบวนการคัดแยกมีปริมาณไม่มาก จะมีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้น และมีการใช้งาน

และไม่ใชก่ ากของเสยี ทีเ่ ปน็ อันตราย อุปกรณ์/เครื่องจักรค่อนข้างมาก หลายขั้นตอน

การปฏิบัติงานจึงมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิด

อันตรายหรือส่งผลกระทบที่รุนแรงหากมีวิธีการ

ปฏบิ ตั ิงานท่ไี มเ่ หมาะสม

2.2.1.2 ขอบเขตของเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐาน
เฉพาะสำหรบั การเข้าสู่ระบบการอนญุ าตอตั โนมตั ิ (AI)

การประกอบกิจการของแต่ละประเภทโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม เป็นการนำกากของเสีย

จากโรงงานผู้ก่อกำเนิดมาดำเนินการคัดแยก รีไซเคิล และบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในโรงงาน

โดยในภาพรวมของการประกอบกิจการโรงงานจำแนกออกเปน็ 5 ขัน้ ตอนหลัก เร่มิ ตัง้ แต่

การตกลงรับกากของเสียเข้ามาดำเนินการ การคัดแยก รีไซเคิล และบำบัด/กำจัด

ในโรงงาน กากของเสีย

การขนสง่ กากของเสียมายังโรงงาน การบำบัด กำจัดมลพิษ และติดตามตรวจสอบ

การรบั และเกบ็ กกั กากของเสียกอ่ นนำไปผ่าน ผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงงาน

กระบวนการตา่ งๆ แสดงดงั รปู ที่ 12

คู่มอื การดำเนนิ การพัฒนายกระดบั มาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบัด/กำจดั กากของเสีย 45

การควบคุม ป้องกันและตรวจ ิตดตามผลกระทบจากกระบวนการของของเสียจากโรงงานผู้กอ่ กำเนิด
โรงงาน ่ีทอาจ ีมผล ่ตอสุขภาพอนา ัมยและความปลอดภัยของพนักงาน
ตรวจสอบลักษณะของเสียในเบือ้ งตน้ และการตกลงรับของเสยี
และประชาชน ั่ทวไป ขนสง่ มายงั โรงงานผ้รู บั บำบดั กำจดั

ตรวจสอบรบั ของเสยี และเก็บกกั รอนำเขา้ สู่กระบวนการ

กระบวนการคัดแยก รไี ซเคลิ และบำบดั /กำจัดกากของเสีย

บำบดั กำจดั ของเสยี หรือมลพิษที่เกิดจากการจดั การกากของเสยี

รูปที่ 12 ขอบเขตของเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานท่ีดที ่วั ไป และหลกั เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะ
สำหรับการเข้าสูร่ ะบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI)

ดังนนั้ หลกั เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัตงิ านทด่ี ที ่ัวไป และหลกั เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับ
การเข้าสู่ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) จึงประกอบด้วยข้อกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมในทุก
กิจกรรมการปฏิบตั งิ านในแตล่ ะขนั้ ตอนหลกั ที่กล่าวแล้ว โดยไดจ้ ำแนกออกเปน็ 10 สว่ น สำหรับแตล่ ะประเภท
เกณฑม์ าตรฐานการปฏบิ ตั งิ านทดี่ ี ดงั รปู ที่ 13

คู่มือการดำเนนิ การพฒั นายกระดับมาตรฐานการใหบ้ รกิ ารบำบดั /กำจัดกากของเสีย 46

ขั้นตอนหลกั เกณฑม์ าตรฐานการปฏบิ ตั งิ านท่ดี ี
สำหรับโรงงานคดั แยกสงิ่ ปฏิกูลหรือวสั ดทุ ่ไี มใ่ ช้แ
การตกลงรับของเสียเข้ามา
ดำเนินการในโรงงาน ทีไ่ มเ่ ปน็ ของเสียอันตราย
การขนส่งกากของเสียมายัง ส่วนที่ 1 การประเมนิ การรับส่งิ ปฏกิ ูลหรือวสั ดทุ ่ไี ม่ใช้แล
โรงงาน
การรับและเก็บกักกากของเสีย สว่ นที่ 2 การขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ก
ก่อนนำไปคัดแยก รีไซเคิล และ เป็นผ้รู วบรวมและขนสง่ หรือเปน็ ผูแ้ ต่งตง้ั ตัวแท
บำบดั /กำจดั กากของเสยี สว่ นท่ี 3 การรบั ส่ิงปฏิกลู หรือวสั ดทุ ไ่ี ม่ใช้แลว้ เขา้ มาไว้ในบ
การคัดแยก รีไซเคิล และบำบัด/ ส่วนที่ 4 การจัดเก็บกากของเสียไว้ในพื้นที่เก็บกากเพ
กำจัดกากของเสยี กระบวนการคัดแยก
ส่วนที่ 5 การคดั แยกสิง่ ปฏกิ ลู หรือวัสดทุ ี่ไม่ใชแ้ ล้ว
สว่ นท่ี 6 การลดขนาดหรือบีบอัดวัสดุท่คี ดั แยกแลว้

การบำบัด กำจัดมลพิษที่เกิด ส่วนที่ 7 การจัดเก็บวัสดุที่คัดแยกแล้วเพื่อรอส่งไปให้แ
จากการจัดการของเสีย ใชป้ ระโยชน์

สว่ นท่ี 8 ระบบบำบัดมลพษิ และสาธารณปู การอน่ื ๆ ในโร
สว่ นท่ี 9 การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปล

การจัดการด้านสง่ิ แวดล้อม
สว่ นท่ี 10 การสอื่ สารตอ่ สาธารณะและความรบั ผดิ ชอบตอ่

หมายเหตุ : * ขอ้ กำหนดวธิ ีการปฏบิ ัติงานที่ดสี ำหรับกจิ การรบั บำบัดน้ำเสียรวมสำหรบั น้ำเสียจากโรงงานอตุ สาหกร

รปู ที่ 13 โครงสร้างของเกณฑ์มาตรฐานการปฏบิ ตั งิ านที่ดีทัว่ ไป และหลัก


Click to View FlipBook Version