The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tuahuay, 2023-03-19 09:07:14

รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบการขนส่งทางราง ะหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีน

กมธ.1

๒๓ - ผลักดันการดำเนินงานภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระหวางไทย - สปป.ลาว - จีน ๒. แผนงาน IMT- GT ในสาขาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่ง อาทิ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส - เมืองตุมปัต รัฐกลันตัน โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่สองที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส - เมืองรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน ๒.๖ แผนงานการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟระหว่างประเทศ การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟตามแผนงานการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่าง ประเทศตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระหว่างประเทศ ตลอดจนยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสรุปได้ดังนี้ ๑ . Pan Asian Railway Network หรือ ทางรถไฟ สายสิ งคโปร์ - คุนหมิ ง (Singapore- Kunming Rail Line: SKRL) โครงการทางรถไฟสายสิงคโปร์- คุนหมิง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดียวกัน กับเส้นทางระดับอนุภาคสายตะวันออกของทรานส์เอเชีย (Tran-Asian Railway : TAR) ได้มีการศึกษาโดยละเอียดของโครงการ SKRL ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ Trans Asian Railway เป็นโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟระหว่างยุโรป และเอเชีย โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and SocialCommission for Asia and the Pacific -UNESCAP)ดังภาพที่ ๒.๓


๒๔ ภาพที่ ๒.๒ โครงข่าย Trans Asian Railway บริเวณประเทศไทย (ที่มา : สนข, ๒๕๖๑) โครงการ SKRL มีเส้นทางหลักที่วางแผนไว้๓ เส้นทาง คือ - เส้นทางสายตะวันออก : สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ -อรัญประเทศ เข้าสู่กัมพูชา แล้ววิ่งตามโครงข่ายทางรถไฟสายปอยเปต - ศรีโสภณ - พนมเปญ เข้าสู่ชายแดน เวียดนามที่ล็อคนินห์แล้ววิ่งไปตามโครงข่ายรถไฟสายโฮจิมินห์ซิตี้- ฮานอย - เลาไค เข้าสู่ประเทศจีนที่เหอโกว ก่อนที่จะไปทางตะวันตกเฉียงเหนือสู่คุนหมิง - เส้นทางสายทางตะวันตก: สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯข้ามชายแดนไทย - สหภาพเมียนมา ที่ด่านเจดีย์สามองค์สู่ทันบิวซายัด (Thanbyuzayat) ไปตามโครงข่ายรถไฟ จากย่างกุ้ง- มัณฑะเลย์-ลาซิโอข้ามชายแดนจีนที่มู่สือผ่านลุ่ยลี่และเซียะหงวน (ต้าลี่) เข้าสู่คุนหมิง


๒๕ - เส้นทางสายกลาง : สิงคโปร์- กัวลาลัมเปอร์- กรุงเทพฯ ขึ้นไปทางทิศเหนือ สู่หนองคายเข้าสู่สปป.ลาวสู่เวียงจันทน์ผ่านบ่อเต็นที่ชายแดนจีน -สปป.ลาวแล้วเข้าสู่คุนหมิง นอกจากนี้ยังมีทางแยกสายเวียงจันทน์- ท่าแขก-ตันอับ ปากเซ-สะหวันนะเขต - เลาเบา - ดองฮา และบัวใหญ่ - มุกดาหาร - สหวันนะเขต เส้นทางตะวันออกซึ่งอ้อมไปทางกัมพูชาและเวียดนาม มีระยะทางรวม ๕,๔๔๑ กิโลเมตร มีช่วงที่ขาดหายในไทย ได้แก่ อรัญประเทศ - ชายแดนไทย - กัมพูชา ระยะทาง ๖ กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ และในกัมพูชา ช่วงปอยเปต -ศรีโสภณ ระยะทาง ๔๘ กิโลเมตร กำลังดำเนินการก่อสร้าง ส่วนเส้นทางสายตะวันตก ที่มีแนวเส้นทางผ่านพม่า ระยะทางรวม ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ช่วงที่ขาดหายในไทยมีระยะทาง ๑๕๓ กิโลเมตร ระหว่างสถานีน้ำตกและด่านเจดีย์สามองค์ (ชายแดนไทย- พม่า) รวมสะพาน ๓ แห่งส่วนช่วงที่ขาดหายไปในพม่ามีระยะทาง ๑๑๐ กิโลเมตร ระหว่างด่านเจดีย์สามองค์และทันบิวซายัดรวมสะพาน ๔ แห่ง เส้นทางนี้มีการศึกษาความเหมาะสม โดยความช่วยเหลือของ KOICA แล้วเสร็จในปี๒๕๕๐ ๒. Greater Mekong Subregion Railway ประเทศไทยได้ลงนามในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Cooperation: GMS) ตั้งแต่ปี๒๕๓๕ โดยเป็นโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือ จากธนาคารพัฒนาเอเชีย(Asian Development Bank : ADB) ประกอบด้วย ประเทศในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำน้ำโขงโขง ๖ ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว กัมพชา เวียดนาม เมียนมา และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองกว่างซี) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการประชุมระดับรัฐมนตรีGMS ครั้งที่ ๘ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๑ ที่ประชุมได้ให้การรับรองแนวทางการพัฒนาแนวพื้นที่หรือระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ซึ่งเป็นการขยายมาจากแนวพื้นที่การขนส่ง (Transport Corridor) มุ่งพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเพื่อเชื่อมโยงตลาดในกลุ่มประเทศ GMS ให้เป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลประโยชน์ของการพัฒนาการเชื่อมโยง การขนส่งไปในเขตที่ห่างไกลใน GMS เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยมีศูนย์กลาง การเจริญเติบโตสาหรับการพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการลงทุนจากทั้งภายใน และภายนอก GMS ปัจจุบัน แนวพื้นที่เศรษฐกิจ(Economic Corridor) ใน GMS แบ่งออกเป็น ๓ แนว ได้แก่ แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ - ใต้(North South Economic Corridor : NSEC) แนวพื้นที่ เศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East West Economic Corridor : EWEC) และแนวพื้นที่ เศรษฐกิจตอนใต้(Southern Economic Corridor : SEC) แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ ทั้ง ๓ อยู่ในแผนงานที่มีความสำคัญในลำดับสูง (Flagship Programs) ของ GMS โดยนอกจาก เส้นทางถนนแล้ว แนวพื้นที่เศรษฐกิจยังครอบคลุมถึงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมอื่นด้วย ได้แก่


๒๖ ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ อาทิการพัฒนาเส้นทางรถไฟ (สายปอยเปต - พนมเปญ /สายพนมเปญ - นครโฮจิมินห์/สายพนมเปญ - สีหนุวิลล์) ใน SEC การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion - GMS) ได้ จั ด ท ำ GMS Economic Cooperation Program Strategic Framework, ๒๐๑๒ - ๒๐๒๒ ตั้งเป้าหมายให้ประเทศใน GMS ทั้งหมด เชื่อมโยงได้ด้วย GMS railway network ได้ภายในปี๒๕๖๓ โดยจะต้องมีการพัฒนาโครงข่ายช่วงที่ขาดตอน (Missing Link) ซึ่งจากผลการศึกษาของ ADB ได้ให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนาเส้นทาง ตามแนวทางเลือกสายตะวันออกของทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง (กรุงเทพฯ - พนมเปญ - โฮจิมินห์ซิตี้-ฮานอย -คุนหมิง) และประเทศ GMS เห็นพ้องต้องกันในการกำหนดเส้นทาง ที่ต้องพัฒนา ๙ ช่วง โดยคณะกรรมการบริหารสมาคมรถไฟลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Railway Association : GMRA) เห็นชอบในการประชุมเมื่อ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ดังภาพที่ ๒.๔


๒๗ ภาพที่ ๒.๓ เส้นทางรถไฟตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง


๒๘ การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟใน GMS เส้นทางที่มีความคืบหน้ำล่าสุด ได้แก่ การเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟระหว่างไทยและกัมพูชา ใน ๒ โครงการ คือ ช่วงศรีโสภณ - ปอยเปต ในกัมพูชา ๔๘ กิโลเมตร ซึ่งแล้วเสร็จในปี๒๕๕๘ และช่วงอรัญประเทศ - ปอยเปต ๖.๕ กิโลเมตร ส่วนในไทยการก่อสร้างแล้วเสร็จ เส้นทางที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ เส้นทาง จากจีนไปยังชายแดนลาว ช่วง Yuxi - Mohan เริ่มสร้างในปี๒๕๕๘ คาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี๒๕๖๔ และเส้นทางจากจีนไปยังชายแดนเมียนม่า ช่วง Dali-Ruili (ชายแดนเมียนมา) ระยะทาง ๓๓๐ กิโลเมตร คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี๒๕๖๔ โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่ง ขอ ง Trans - Asian Railway network แ ล ะ Singapore - Kunming Rail Link Project รัฐบาลเมียนมา มีนโยบายปรับปรุงทางรถไฟเดิมโดยให้ลำดับความสำคัญกับเส้นทาง Yangon - Mandalay, Mandalay-Myitkyina, Bago - Mottama-Yay, Yangon-Pyay Yangon circular line โดยในปี๒๕๕๗ Japan International Cooperation Agency (JICA) ให้เงินกู้สำหรับ สาย Yangon- Mandalay และรัฐบาลอยู่ระหว่างเจรจาด้านความช่วยเหลือทางการเงินจากเกาหลี และ OECD สาหรับช่วง Mandalay - Myitkyina (๕๕๐ กิโลเมตร) ในกัมพูชา แผนแม่บท โครงข่ายรถไฟ ช่วงแรก ปี๒๕๕๗ - ๒๕๖๓ จะเน้นการปรับปรุงเส้นทางสายเหนือช่วงพนมเปญ - ปอยเปต และสร้างเส้นทาง Bat Deng - Snoul ระยะทาง ๒๕๗ กิโลเมตร เชื่อมต่อเส้นทาง รถไฟกับเวียดนาม ระยะกลาง (๒๕๖๓ - ๒๕๗๓) ตั้งเป้าหมายปรับปรุงเส้นทางช่วงพนมเปญ - สีหนุวิลล์(๒๖๐ กิโลเมตร) และก่อสร้างเส้นทางใหม่ระหว่าง Sisophon - Cheung Prey (๓๒๖ กิโลเมตร) และแผนระยะยาว (หลังปี๒๕๗๓) ตั้งเป้าหมายก่อสร้างเส้นทางใหม่ระหว่าง Snoul-Sung Treng (๒๔๙ กิโลเมตร) เชื่อมต่อกับลาว ลาวมีแผนก่อสร้างทางรถไฟเส้นทาง เวียงจันทน์- บ่อเต็น (๔๑๗ กิโลเมตร) เชื่อมต่อโครงข่ายทางรถไฟจากจีน (สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร ,๒๕๖๑) ๒.๗ แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน เป็นกรอบและกลไก ความร่วมมือในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนและจะขยายเป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยง ไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๗ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ผู้นำอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้ตกลงรับรอง “แผนแม่บท ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน” หรือ Master Plan on ASEAN Connectivity (MPAC) ซึ่งเป็นแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยง ด้านสินค้า บริการ ทุน และแรงงาน ระหว่างกัน โดยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘ และต่อมาเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๙ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ณ กรุงเวียงจันทร์สปป.ลาว ผู้นำชาติ อาเซียนได้ลงนามรับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ปี๒๕๖๘ (Master Plan on ASEAN Connectivity ๒๐๒๕) ซึ่งเป็นแผนแม่บทฯ ที่จะใช้แทนแผนแม่บทฯ เดิมโดยกำหนดยุทธศาสตร์หลักของความเชื่อมโยงของอาเซียนไว้๕ ประการ ได้แก่ โครงสร้าง


๒๙ พื้นฐานที่ยั่งยืน นวัตกรรมดิจิทัลโลจิติกส์ไร้รอยต่อ(seamless logistics) ความเป็นเลิศในการปฏิบัติ ตามกฎระเบียบ (regulatory excellence) และการเคลื่อนย้ายของประชาชน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟจะอยู่ในส่วนของการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (Sustainable Infrastructure) ประกอบด้วยโครงการที่ต้องสานต่อ จากแผนแม่บทฯ เดิม ได้แก่ (๑) การดำเนินโครงการเส้นทางรถไฟสิงคโปร์- คุนหมิง (Singapore Kunming Rail Link : SKRL) ให้แล้วเสร็จ ทั้งนี้เส้นทางรถไฟสิงคโปร์- คุนหมิง ตามแผนของแผนแม่บท ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ได้แก่ เส้นทางสายตะวันออก (ไทย กัมพูชา เวียดนาม) เส้นทางสายตะวันตก (ไทย เมียนมา) และสายแยก (Spur Line) ใน สปป.ลาว ภาพที่ ๒.๔ เส้นทางรถไฟที่ต้องพัฒนาตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกัน ในอาเซียน (ที่มา : สนข. ๒๕๖๑)


๓๐ (๒) การพัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่คล่องตัว ประกอบด้วย - การเชื่อมโยงท่าเรือทวาย - การศึกษาความเหมาะสมของทางรถไฟเชื่อมท่าเรือทวายกับกาญจนบุรี - การพัฒนาโครงข่ายจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าอาเซียน (ASEAN Dry Port) ที่มีประสิทธิภาพตามข้อริเริ่มต่าง ๆ ของอาเซียน เช่น โครงข่ายทางหลวงอาเซียนและเส้นทาง รถไฟสิงคโปร์- คุนหมิง - การก่อสร้างถนนระหว่างกาญจนบุรีและทวาย ๒.๘ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕ กระทรวงคมนาคมได้จัดทาแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕ เพื่อเป็นกรอบการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งในอนาคต โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี๒๕๕๘ ความเชื่อมโยงนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาในระดับต่างๆ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งของไทย (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕) แผนฯ ดังกล่าวประกอบด้วย ๔ เป้าหมาย ได้แก่ (๑) สร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม (๒) สร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (๓) ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง และ (๔) สร้างโอกาสสำหรับการใช้ประโยชน์ สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ ๕ แผนงาน (สนข., ๒๕๖๑) ได้แก่ - การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง - การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล - การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญ ของประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน - การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ - การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ ๒.๙ เป้าหมายของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับระบบรถไฟตามแผนการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕ ได้แก่ - ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒ - สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงจากร้อยละ ๕๙ เหลือร้อยละ ๔๐


๓๑ - ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก ๓๙ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น ๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงและขบวนรถโดยสารเพิ่มขึ้นจาก ๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น ๑๐๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง - สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒.๕ เป็นร้อยละ ๕ - สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๕ เป็นร้อยละ ๑๙ - ลดความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท/ปี - ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออกณด่านการค้าชายแดนที่สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ - ปริมาณผู้โดยสารทางรถไฟเพิ่มขึ้นจาก ๔๕ ล้านคน/ปีเป็น ๗๕ ล้านคน/ปี - ลดระเวลาเวลาการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองภูมิภาคด้วยรถไฟ ความเร็วสูงในรัศมี๓๐๐ กิโลเมตร รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน ๙๐ นาที จากเดิมใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ ๓ ชั่วโมง ๓. โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งสินค้า ๑) สถานีบรรจุและแยกสินค้ำกล่องลาดกระบัง (ICD ลาดกระบัง) สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ Inland Container Depot (ICD) คือ สถานที่ที่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ พร้อมจะให้บริการแก่ผู้ส่งออก ผู้นำเข้าและบุคคล ทั่วไปในการดำเนินพิธีการเกี่ยวกับศุลกากร การรถไฟแห่งประเทศไทยมีICD จำนวน ๑ แห่ง ที่ลาดกระบัง โดย ICD ลาดกระบัง ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อรองรับปริมาณคอนเทนเนอร์ได้ปีละ ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ถึง ๖๐๐,๐๐๐ ทีอียูในปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ICD ลาดกระบังได้รับการพัฒนา และปรับปรุงขีดความสามารถในการให้บริการ ทำให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึงปีละประมาณ ๑.๔ ล้านทีอียูโดยปริมาณตู้คอนเทนเนอร์มากกว่าร้อยละ ๙๕ ที่ผ่าน ICD ลาดกระบัง มีจุดต้นทาง และปลายทางที่ท่าเรือแหลมฉบัง ๒) ย่านกองเก็บตู้สินค้า ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) เป็นจุดเชื่อมต่อกับการขนส่งสินค้า ทางถนนกับทางรถไฟรองรับการขนส่งต่อเนื่องด้วยการใช้ระบบตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่ง เป็นการส่งเสริมการขนส่งสินค้าในลักษณะ Hub and Spoke ที่ใช้การขนส่งทางถนน เป็น Feeder และใช้รถไฟเป็นหลักในการขนส่งสินค้าระยะทางไกล ปัจจุบัน ย่านเก็บกอง ตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยประกอบด้วย - สถานีกุดจิก (จังหวัดนครราชสีมา) ขนาดพื้นที่ ๑๕,๐๑๐ ตารางเมตร รองรับสินค้า ๒๐,๐๐๐ ทีอียูหรือ ๓๖๐,๐๐๐ ตัน สินค้าที่ขนส่ง คือ ข้าวสาร (ขณะนี้ไม่มีการขนส่ง) - สถานีท่าพระ (จังหวัดขอนแก่น) ขนาดพื้นที่ ๑๔,๔๘๐ ตารางเมตร รองรับสินค้า ๒๐,๐๐๐ ทีอียูหรือ ๓๖๐,๐๐๐ ตัน สินค้าที่มีการขนส่ง คือ น้ำตาล และข้าวมอลต์ - สถานีศิลาอาสน์(จังหวัดอุตรดิตถ์) ขนาดพื้นที่ ๑๗,๗๑๖ ตารางเมตร รองรับสินค้า ๒๒,๐๐๐ ทีอียูหรือ ๓๙๐,๐๐๐ ตัน สินค้าที่มีการขนส่ง คือ ดินขาว


๓๒ - สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์(จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ขนาดพื้นที่ ๒๕,๒๖๐ ตารางเมตร รองรับสินค้า ๒๕,๐๐๐ ทีอียูหรือ ๔๕๐,๐๐๐ ตัน มีการขนส่ง ยางพารา น้ำยาง และไม้ยาง นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟที่ถูกปรับปรุงเป็นย่านเก็บกองตู้สินค้าโดยเอกชน ได้แก่ - สถานีโนนพยอม จังหวัดขอนแก่น - สถานีชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา - สถานีชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา - สถานีบ้านเกาะ จังหวัดนครราชสีมา (สถานีบ้านกระโดนจะเป็นตำแหน่ง ที่ถูกกำหนดให้ก่อสร้างใหม่แทนที่สถานีบ้านเกาะ เพื่อรองรับการขนส่งในอนาคตและหลีกเลี่ยง พื้นที่ชุมชนเมือง) - สถานีท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ - ที่หยุดรถท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี - สถานีชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช - สถานีปาดังเบซาร์จังหวัดสงขลา (เป็นของการรถไฟมาเลเซีย) ตำแหน่งย่านเก็บกองตู้สินค้าในปัจจุบัน ดังภาพที่ ๒.๖


๓๓ ภาพที่ ๒.๕ ตำแหน่งย่านเก็บกองตู้สินค้าในปัจจุบัน


๓๔ ๓) ปริมาณการขนส่งทางรถไฟ ประเทศไทยพัฒนาการขนส่งระบบรางมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นการขนส่งหลัก ในการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างภูมิภาคในประเทศและระหว่างประเทศ เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟ สามารถขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้ครั้งละจำนวนมากจึงทำให้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อหน่วยต่ำกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะ น้อยกว่าการขนส่งทางรถยนต์และการใช้รถส่วนบุคคล ส่วนข้อจำกัดของการขนส่งทางรถไฟ คือ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางนาน เส้นทางที่มีอยู่จำกัด และการเชื่อมต่อการขนส่ง กับการขนส่งรูปแบบอื่นยังขาดประสิทธิภาพมีต้นทุนที่สูง ทำให้การขนส่งทางรถไฟ มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ การขนส่งด้วยระบบรางของประเทศไทย ยังมีสัดส่วนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณ การขนส่งทางถนนและทางน้ำ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ มีสินค้าที่ขนส่งด้วยระบบราง ภายในประเทศ จำนวน ๑๑.๔๕ ล้านตัน ในอัตราร้อยละ ๑.๔๔ เปรียบเทียบกับปริมาณ การขนส่งสินค้าทั้งประเทศ (กรมการขนส่งทางราง, ๒๕๖๕) ในขณะที่ภาครัฐได้ลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางอย่างต่อเนื่อง การขนส่งด้วยระบบราง ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมได้ตั้งไว้คือ ร้อยละ ๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ๔. แผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ กรมการขนส่งทางราง (๒๕๖๓) สรุปแผนปฏิบัติการ โดยมีแนวคิดและหลักการ ดังนี้ ๑. นโยบายรัฐบาล นโยบายหลักที่ ๕ การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถ ในการแข่งขันของไทย ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพื้นที่ ทั่วประเทศและสามารถรองรับการขนส่งและการดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ สานต่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูง และเริ่มต้นการปรับปรุงระบบรถไฟขนาดราง ๑ เมตร ให้เป็นระบบไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้า ของประเทศ และให้ความสำคัญกับการบูรณาการการพัฒนาระบบขนส่งกับการพัฒนาพื้นที่ และเมือง การพัฒนาขีดความสามารถผู้ให้บริการภาคขนส่งและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค รวมถึงประสิทธิภาพการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยทางถนนที่สอดประสานกันระหว่างระบบการเตือนภัย การช่วยเหลือ กู้ภัยและการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยที่มีประสิทธิภาพ ๒. ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ได้แก่ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ซึ่งมีกรอบแนวทาง ที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน ระบบโทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การวิจัยพัฒฯ และการเชื่อมโยงภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก


๓๕ ๓. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ๔. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ แนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางราง และ การสนับสนุนการพัฒนา ระบบขนส่งทางราง รายละเอียดสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร พ.ศ. ๒๕๖๑ ๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ ๒๐ ปี เพื่อการขนส่ง ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงระบบขนส่ง อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ได้แก่ การบูรณาการ ระบบคมนาคมขนส่ง การบริการของภาคคมนาคมขนส่ง การพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย กำกับดูแล และปฏิรูปองค์กร การผลิตและพัฒนาบุคคลากร การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมาใช้ ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยตัวชี้วัดคือ ๑) ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) ร้อยละ ๑๔.๒ เป้าหมาย (พ.ศ. ๒๕๘๐) ร้อยละ ๑๑.๙ ๒) ต้นทุนค่าขนส่งต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) ร้อยละ ๗.๔ เป้าหมาย (พ.ศ. ๒๕๘๐) ร้อยละ ๖.๗ ๓) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๘) ร้อยละ ๑.๔ เป้าหมาย (พ.ศ. ๒๕๘๐) ร้อยละ ๑๐ ๔) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๘) ร้อยละ ๑๑.๔๔ เป้าหมาย (พ.ศ. ๒๕๘๐) ร้อยละ ๑๙ ๕) ความสามารถในการรองรับเที่ยวบินโดยรวมของประเทศไทย ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๘) ๘๑๓,๙๑๐ เที่ยวบิน/ปี เป้าหมาย (พ.ศ.๒๕๘๐) ไม่น้อยกว่า ๒.๗ ล้านเที่ยวบิน/ปี ๖) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕) ได้แก่ ๑) การเสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคมโดยการยกระดับคุณภาพชีวิต ประชาชนอย่างทั่วถึง ๒) การเสริมสร้างรากฐานความั่นคงทางเศรษฐกิจโดยลดต้นทุนการขนส่ง เพิ่มความเร็วในการเดินทางและการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคการผลิต ดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ ๓) การเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง และ ๔) การสร้างโอกาส ในการแข่งขันและให้ประเทศได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน


๓๖ ๕. การพัฒนาการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (๒ ๕๖๖ ) ชี้แจง ต่อคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา สรุปว่า โครงการรถไฟลาว - จีน ได้เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ เชื่อมต่อจากเมืองคุนหมิง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีนมาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ อยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคายประเทศไทย รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการ เชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟไทย - สปป.ลาว - จีน เพื่อรองรับการเดินทางและขนส่งระหว่าง ประเทศ และถือเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืนที่จะสร้าง โอกาสให้ประเทศไทย ในการส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้โครงสร้างพื้นฐานเป็นฐานหลัก ในการพัฒนาประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธาน เพื่อกำหนด นโยบายการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน พร้อมจัดทำแผนการขนส่งสินค้า เพื่อกำกับ ติดตามเร่งขับเคลื่อนการเชื่อมโยงทางรถไฟ พร้อมขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป โครงการรถไฟลาว - จีน โครงการรถไฟลาว - จีน เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลจีนและลาว เป็นทางรถไฟ ขนาด Standard Gauge (๑.๔๓๕ เมตร) แบบทางเดี่ยววิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ๑๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ จุดเริ่มต้นที่นครคุนหมิงมณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทางที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) ซึ่งเป็นสถานีผู้โดยสารสถานีสุดท้าย และสถานี เวียงจันทน์ใต้ ซึ่งเป็นสถานีสินค้าสถานีสุดท้าย โดยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างช่วงสถานี เวียงจันทน์ใต้ - สถานีท่านาแล้ง (Missing link) ระยะทางประมาณ ๒.๘ กิโลเมตร แล้วเสร็จในช่วง ปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ และ สปป.ลาว รวมทั้งได้ก่อสร้างทางรถไฟขนาด Meter Gauge ช่วงสถานีท่านาแล้ง - สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) เพื่อเชื่อมต่อรถไฟของไทย โดยกู้เงิน จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (NEDA) ของไทย


๓๗ ภาพที่ ๒.๖ ภาพแนวเส้นทางรถไฟลาว - จีน ภาพที่ ๒.๗ แผนผังการเชื่อมต่อโครงการรถไฟ ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ คณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ได้มีการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานกรรมการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม สรุปผลการประชุม ดังนี้


๓๘ ๑. เห็นชอบแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่าง ไทย ลาว และจีน ดังนี้ ๑) แผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ๑.๑) โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี ๒๕๖๙ ๑.๒) โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมคาดว่าเปิดให้บริการปี ๒๕๗๑ ๑.๒) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ระยะทางประมาณ ๑๖๗ กิโลเมตร สถานีทั้งหมด ๑๕ สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในปี ๒๕๖๖ ๒) การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน การบริหารจัดการสะพานเดิม ระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ โดยเพิ่มขบวนรถขาไป ๗ ขบวนและขากลับ ๗ ขบวน รวม ๑๔ ขบวน รองรับขบวนละ ๒๕ แคร่ โดยกรมทางหลวงทำการทดสอบการรับน้ำหนักรถไฟ ในระดับ U - ๒๐ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพานต่อไป ๓) การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับสะพาน เดิมที่มีอยู่ ห่างประมาณ ๓๐ เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐานและทางขนาด ๑ เมตร ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณาดำเนินการออกแบบสะพานรถไฟ ข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้สามารถรองรับรถยนต์ด้วย โดยอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม โดยแบ่งเป็น ๓ แนวทาง ดังนี้ ๓.๑) ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์บนสะพานเดียวกัน ๓.๒) ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์โดยมีโครงสร้างแยกจากกัน ๓.๓) ก่อสร้างสะพานใหม่รองรับรถไฟเพียงอย่างเดียว โดยปรับปรุงสะพานเดิม ให้รองรับน้ำหนักบรรทุกให้มากขึ้น หลังจากผลการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการออกแบบรายละเอียด และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป ๔) การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า ๔.๑) ระยะเร่งด่วน : การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า การเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - ลาว โดยมีการพัฒนาสถานีหนองคาย ให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยการรถไฟ แห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กรมศุลกากร ดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณ สถานีหนองคาย เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน ๔๖,๘๐๐ ตารางเมตร โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่ คงเหลือจากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย โดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบต่อไป ๔.๒) ระยะยาว : การพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้า (เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต) จะมีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานี


๓๙ รถไฟนาทา จังหวัดหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีนและลาว และส่งออกไปยัง ลาว ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยอนุมัติให้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา โครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่าย สินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย โดยเริ่มงาน เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ สิ้นสุดสัญญา ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ ระยะเวลาดำเนินงาน ๗ เดือน ๒. เห็นชอบในหลักการการจัดทำกรอบความตกลง (Framework Agreement) การขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีสาระสำคัญการกำหนดสิทธิการเดินรถไฟ ระหว่างสามประเทศเพื่อให้เกิดการเดินรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งใหม่และเร่งดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ในฐานะคณะทำงานพิจารณาและติดตามการเชื่อมโยง ระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์กล่าวว่าถ้าหากจังหวัดหนองคาย สามารถเชื่อมต่อระบบการขนส่งทางรางกับนครหลวงเวียงจันทน์ได้เต็มรูปแบบ จะเกิดผลประโยชน์ โดยตรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของจังหวัดหนองคายและพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน ๖ ด้าน ดังนี้ (หนังสือจังหวัดหนองคาย ด่วนที่สุดที่ นค. เลขที่ ๐๐๑๗.๒/๓๙๕ ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๖) ๑. การขยายตัวของเศรษฐกิจจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค (ภาคครัวเรือน) จากกระแสการท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้า - ออก ราชอาณาจักรไทย ของสปป.ลาว ทั้งวังเวียง หลวงพระบาง เฉลี่ย ๕,๑๐๐ คน/วัน (ยอดรวม พ.ค. -ส.ค. ๖๕ จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ คน) และอนาคตมีแนวโน้มการเติบโตรายจ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัย จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางไปยังจีนตอนใต้ ใช้การเดินทางผ่านทางจังหวัดหนองคาย ที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางจากรถไฟลาว - จีน ๒. การขยายตัวของอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง (การลงทุน ภาคเอกชนภายในประเทศ) มูลค่าการค้าการส่งออกในพื้นที่ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในภาพรวม เช่น เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการบริการ (โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การศึกษา และการให้บริการ ทางสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ๓. การเข้าสู่ตลาดการแข่งขันของกลุ่มทุนจีน (การลงทุนภาคเอกชนต่างประเทศ) การเกิดขึ้นของโครงการก่อสร้างรถไฟจีน -ลาว ช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงการค้าการลงทุน ในภูมิภาค ซึ่งส่งผลให้เกิดกลุ่มผู้ลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดการแข่งขัน หนึ่งในนั้น คือ กลุ่มทุนจีน ซึ่งจะส่งผลดีในด้านของการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในด้านการผลิต ด้านการค้า การลงทุน ด้านทรัพยากรบุคคล


๔๐ ๔. การขยายตัวของความต้องการแรงงานในพื้นที่ เมื่อมีการการลงทุนในพื้นที่เพิ่ม มากขึ้น หรือมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่มากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบจากการที่แรงงานไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของโครงสร้าง ประชากรวัยแรงงานที่มีโอกาสเติบโตและการเคลื่อนย้ายประชากรภายในประเทศ และต่างประเทศเข้ามาในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ๕. การขยายตัวของเงินลงทุนภาครัฐ เป็นการลงทุนเพื่อยกระดับปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐานเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟ ทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง เช่น ตัวอาคาร ด่าน อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงบุคลากรโดยเฉพาะในงานด้านศุลกากร เพื่อรองรับการเดินทางของคน ความต้องการของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ และจำนวนสินค้า ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงด้านการลงทุนในพื้นที่ เช่น การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางถนน การพัฒนา เชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทางถนนเชื่อมโยงกับระบบราง การเตรียมพื้นที่ เพื่อเป็นจุดเปลี่ยน ถ่ายสินค้า ลานกองตู้สินค้า และศูนย์กระจายสินค้า ส่งผลให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มีศักยภาพ และต้นทุนที่ได้เปรียบพื้นที่อื่น ๆ ๖. การขยายตัวของมูลค่าการค้าชายแดนไทย - สปป.ลาว จากมูลค่าการค้าชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวร ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีมูลค่า ๗๕,๐๐๐ ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๓.๗๐) ด้านการส่งออก มีมูลค่า ๖๔,๓๐๐ ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๘.๕๓) โดยมีสินค้าส่งออก ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ทองคำแท่ง รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับ ขนส่งบุคคล ด้านการนำเข้า มีมูลค่า ๑๐,๗๐๐ ล้านบาท (ลดลงจากร้อยละ ๒๐.๕๔) โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า Hard Disk และแร่ทองคำ ผลประโยชน์โดยตรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของจังหวัดหนองคาย ผลกระทบส่วนใหญ่ในทิศทางบวก โดยโครงการรถไฟจีน - ลาว เป็นโครงการขนาดใหญ่ ในการเชื่อมโยงอนุภูมิภาคเข้าด้วยกัน คาดว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยชาวจังหวัดหนองคายจะได้รับประโยชน์หลังจาก การเปิดใช้บริการเส้นทางรถไฟดังกล่าว ดังนี้ ๑. ด้านโลจิสติกส์ - ต้นทุนการขนส่งลดลง - มีการเปลี่ยนถ่ายสินค้าระบบรางและระบบล้อเพิ่มขึ้น - ธุรกิจโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีรายได้มากขึ้น ๒. ด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบเชิงบวก (+) - มูลค่าการค้าชายแดนที่เพิ่มขึ้น - จำนวนผู้ประกอบการขนส่งเพิ่มขึ้น - ผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น จากปริมาณสินค้าที่เข้ามาทั้งใน และต่างประเทศ


๔๑ - การขยายตัวของอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรม การบริการ (โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การศึกษา และการให้บริการ ทางสุขภาพ - เปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวจีนเข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ - เกิดการจ้างงานในพื้นที่มากขึ้น ๓. ด้านท่องเที่ยว - จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนและลาวจะเพิ่มมากขึ้น เพราะเดินทางมาสะดวกขึ้น - สินค้าและธุรกิจการให้บริการด้านการท่องเที่ยวจะมีการเติบโตที่ดี - รายได้จากการท่องเที่ยวจะเติบโตมากขึ้น - มีความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น - เกิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศทำให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยว - มีการลงทุนพัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ - มีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวลงสู่ชุมชนมากขึ้น แผนการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ ไทย - ลาว - จีน ๑. การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ใช้ระยะเวลาการศึกษา ๒๗๐ วัน (เริ่ม ๑๑ ต.ค. ๖๕ - สิ้นสุด ๗ ก.ค. ๖๖) ๒. การศึกษาความเหมาะสมและคัดเลือกรูปแบบก่อสร้างเสร็จจะดำเนินการออกแบบ งานโยธา โดยใช้งบประมาณของกรมทางหลวง (วงเงิน ๑๔๐ ล้านบาท ใช้ระยะเวลาประมาณ ๑ ปี) ๓. การดำเนินการก่อสร้างคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปี ๒๕๖๗ จะแล้วเสร็จ ภายในปี ๒๕๖๙ (อาจถึงปี ๒๕๗๐) มีโดยกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ หมายเหตุ : ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาโครงการสะพานคู่ขนานอาจจะล่าช้ากว่า แผนที่กระทรวงคมนาคมกำหนด โดยคาดการณ์แผนการดำเนินการใหม่ ดังนี้ ๑. การศึกษาความคุ้มค่าของรูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสม ภายในปี ๒๕๖๖ (ใช้เวลา ๒๗๐ วัน) ๒. การสำรวจออกแบบงานโยธาและเสนออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตนรีภายใน ปี ๒๕๖๗ (ใช้เวลา ๑ ปี) ๓. สำรวจสินทรัพย์และเตรียมการดำเนินการก่อสร้าง ภายในปี ๒๕๖๘ (ใช้เวลา ๑ ปี) ๔. ดำเนินการก่อสร้าง ๒๕๖๘ - ๒๕๗๑ (ใช้เวลา ๓ - ๔ ปี) (รายละเอียดตามประกาศกรมทางหลวง ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕)


๔๒ ภาพที่ ๒.๘ แผนการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟไทย สปป.ลาว และจีน กรมศุลกากร (หนังสือกรมศุลกากร ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๕๒๘/๑๑๐๔ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมและรองรับการเชื่อมโยงทางรถไฟที่ขนส่งสินค้า ระหว่างจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์ ได้แก่ ๑) แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. ๒๕๖๖) โครงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง เพื่อรองรับการพัฒนาสถานีรถไฟนาทา เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ (การติดตาม ผลการศึกษาของโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐโครงการ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) ๒) พิจารณายกร่างประกาศพิธีการศุลกากรเฉพาะ ณ ท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อพัฒนา ปรับปรุงกระบวนงาน กฎระเบียบและมาตรการด้านศุลกากรให้ทันสมัย ๓) ทบทวนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีถึงศักยภาพของทำเลที่ตั้งที่มีการ เตรียมพร้อมรองรับการขนส่งสินค้าทางรางจากรถไฟจีน - ลาว - ไทย ที่เหมาะเป็นโลจิสติกส์ฮับ (Logistics Hub) และยกระดับศักยภาพให้เป็นท่าเรือบก (Dry Port) ในส่วนของผลการดำเนินการ เตรียมความพร้อมและรองรับการเชื่อมโยงระบบขนส่งสินค้าทางรางระหว่างจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ได้ จำนวน ๑ คัน โดยใช้ได้ทั้ง Stand Mode ที่มีขีดความสามารถ ๒๐ - ๒๕ คัน/ตู้/ชม. และ Drive-Through มีขีดความสามารถ ๑๕๐ ตัน/คัน/ตู้/ชม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประมูล (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖)


๔๓ ๔) การออกกฎกระทรวงให้สถานีรถไฟหนองคายเป็นเขตศุลกากร เป็นการอำนวยความสะดวก ทางการค้า ให้สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ทั้งนำเข้า ส่งออก ผ่านแดน สำหรับสินค้าต่าง ๆ ที่กำหนดว่าต้องปฏิบัติพิธีการตรวจปล่อยที่ด่านศุลกากร ปัจจุบันได้ผ่านกฎกระทรวง ของคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๕) การยกระดับด่านศุลกากรหนองคายขึ้นเป็น สำนักงานศุลกากรหนองคาย โดยมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยใช้อำนาจทางการบริหาร เพื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ในเรื่องอำนาจ และ/หรือการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ และ ปรับปรุงพิธีการ ศุลกากรทางรถไฟระหว่างประเทศเพิ่มเติมเอกสารที่สำคัญในระบบอิเล็คทรอนิกส์ คือ Manifest เพื่อให้สามารถบริหารจัดการพิธีการศุลกากรที่ขนส่งสินค้าหลายๆ ตู้คอนเทนเนอร์ หลายคนส่งสินค้า และหลายคนรับสินค้า ไม่ว่าจะเป็น FCL (Full Container Load)/ LCL (Less Than Container Load) เสมือนเรือขนส่งสินค้าที่ขนส่งสินค้าในหลายๆ ตู้คอนเทนเนอร์ ๖. ปริมาณมูลค่าสินค้านำเข้า ส่งออก และผ่านแดน ผ่านสำนักงานศุลกากรหนองคาย ดังภาพที่ ๒.๙ และ สินค้าที่มีการนำเข้า ส่งออก และผ่านแดนสูงสุด ๕ อันดับ ดังภาพที่ ๒.๑๐ (หนังสือกรมศุลกากร ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๕๒๘/๑๑๐๔ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖) ภาพที่ ๒.๙ ปริมาณมูลค่าสินค้านำเข้า ส่งออก และผ่านแดน ผ่านสำนักงาน ศุลกากรหนองคาย จากข้อมูลปริมาณการนำเข้า ส่งออก ผ่านแดน ระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีน สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีจำนวนมูลค่าสินค้า ๒๙๔,๘๘๓ ล้านบาท และคาดการณ์ การขนส่งผ่านแดน ณ ด่านศุลกากรหนองคายมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอันเนื่องมาจากปัจจัย ด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน


๔๔ ภาพที่ ๒.๑๐ ปริมาณมูลค่าสินค้านำเข้า ส่งออก และผ่านแดน ผ่านสำนักงานศุลกากรหนองคาย ๕ อันดับสูงสุด


บทที่ ๓ แผนการดำเนินงานการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน คณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ได้ศึกษาแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และจีน จึงได้สรุปสาระสำคัญและผลการดำเนินงาน ดังนี้ ๑. แผนการดำเนินงาน แผนการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร, ๒๕๖๖) ๑.๑. โครงการรถไฟลาว - จีน เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลจีนและลาว เป็นทางรถไฟขนาด Standard Gauge แบบทางเดี่ยววิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ๑๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ จุดเริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทาง ที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) ซึ่งเป็นสถานีผู้โดยสารสถานีสุดท้าย และสถานีเวียงจันทน์ใต้ ซึ่งเป็นสถานีสินค้าสถานีสุดท้าย โดยได้ดำเนินการก่อสร้างช่วงสถานีเวียงจันทน์ใต้ -สถานีท่านาแล้ง (Missing link) ระยะทางประมาณ ๒.๘ กิโลเมตร แล้วเสร็จในช่วงปลายเดือน มิถุนายน ๒๕๖๕ ๑.๒ โครงการรถไฟลาว - ไทย สปป.ลาว รวมทั้งได้ก่อสร้างทางรถไฟขนาด Meter Gauge ช่วงสถานีท่านาแล้ง - สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) เพื่อเชื่อมต่อรถไฟ ของไทย โดยได้รับเงินสนับสนุนให้เปล่า และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ ๗๐ จากสำนักงาน ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (NEDA) ของไทย ๑.๓ คณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๖๕ สั่ง ณ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕ แต่งตั้งคณ ะกรรมการบูรณาการการเชื่อม โยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีรองนายกรัฐมนตรี(นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมเป็นรองประธานกรรมการและและอธิบดีกรมการขนส่งทางรางเป็นกรรมการ และเลขานุการ ๑) การประชุมฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ คณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ได้มีการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานกรรมการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม สรุปผลการประชุม ดังนี้


๔๖ ๑. เห็นชอบแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ดังนี้ ๑) แผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ๑.๑) โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี ๒๕๖๙ ๑.๒) โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมคาดว่าเปิดให้บริการปี ๒๕๗๑ ๑.๓) โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ระยะทางประมาณ ๑๖๗ กิโลเมตร สถานีทั้งหมด ๑๕ สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในปี ๒๕๖๖ ๒) การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน การบริหารจัดการ สะพานเดิมระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ โดยเพิ่มขบวนรถขาไป ๗ ขบวนและขากลับ ๗ ขบวน รวม ๑๔ ขบวน รองรับขบวนละ ๒๕ แคร่ โดยกรมทางหลวงทำการทดสอบการรับ น้ำหนักรถไฟ ในระดับ U - ๒๐ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพานต่อไป ๓) การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับ สะพานเดิมที่มีอยู่ ห่างประมาณ ๓๐ เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร และทางขนาด ๑ เมตร ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกัน ในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณา ดำเนินการออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้สามารถรองรับรถยนต์ด้วย โดยอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม โดยแบ่งเป็น ๓ แนวทาง ดังนี้ ๓.๑) ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์บนสะพานเดียวกัน ๓.๒) ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์โดยมีโครงสร้างแยก จากกัน ๓.๓) ก่อสร้างสะพานใหม่รองรับรถไฟเพียงอย่างเดียว โดยปรับปรุง สะพานเดิมให้รองรับน้ำหนักบรรทุกให้มากขึ้น หลังจากผลการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการออกแบบ รายละเอียดและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป ๔) การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า ๔.๑) ระยะเร่งด่วน : การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า การเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - ลาว โดยมีการพัฒนาสถานีหนองคาย ให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยการรถไฟ แห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กรมศุลกากร ดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณ สถานีหนองคาย เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน ๔๖,๘๐๐ ตารางเมตร โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่ คงเหลือจากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย โดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบต่อไป


๔๗ ๔.๒) ระยะยาว : การพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้า (เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต) จะมีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานี รถไฟนาทา จังหวัดหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาว ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยอนุมัติให้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา โครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่าย สินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย โดยเริ่มงาน เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ สิ้นสุดสัญญาวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ ระยะเวลาดำเนินงาน ๗ เดือน ๒. เห็นชอบในหลักการการจัดทำกรอบความตกลง (Framework Agreement) การขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีสาระสำคัญการกำหนด สิทธิการเดินรถไฟระหว่างสามประเทศเพื่อให้เกิดการเดินรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งใหม่ที่จังหวัดหนองคาย และเร่งดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป ๒) การประชุมฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ คณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ได้มีการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ในฐานะประธานกรรมการ ได้มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมในฐานะรองประธานกรรมการ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้เห็นชอบ องค์ประกอบซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในฐานะทีมไทยแลนด์ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับ โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ณ สปป.ลาว ระหว่างวันที่ ๕ - ๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๓) การศึกษาดูงานการให้บริการขนส่งสินค้า ณ เวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้า คณะผู้แทนไทย ได้นำคณะสำรวจท่าเรือบก (Dry Port) ท่านาแล้ง รวมทั้งประชุมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้บริหารของโครงการเวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค (Vientiane LogisticsPark : VLP) สำหรับ Dry Port ท่านาแล้ง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ VLP ที่ประกอบด้วย Dry Port และการสร้างเขตโลจิสติกส์ครบวงจร รวมการลงทุนทั้งสิ้น ๘๒๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (Dry Port ๑๘๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเขตโลจิสติกส์ครบวงจร ๖๔๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จในระยะแรก และดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟจากสถานี เวียงจันทน์ใต้ของรถไฟลาว - จีน ถึงท่าเรือบกท่านาแล้ง ระยะทาง ๒.๘ กิโลเมตร ซึ่งได้ก่อสร้าง แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ โดยจะรองรับการเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จากรถไฟขนาดทาง ๑.๔๓๕ เมตร และขนาดทาง ๑ เมตร ด้วยอุปกรณ์ Reach Stacker


๔๘ ๓.๑ โครงการเวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค บริษัท สิดทิโลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือปิโตรเทรดดิ้ง ลาว จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานระยะเวลา ๕๐ ปีจากรัฐบาล สปป.ลาว ให้เป็นผู้พัฒนาโครงการ VLP ประกอบด้วย ๓.๑.๑ ท่าเรือบก (Dry Port) ๓.๑.๒ Export Processing Zone ๓.๑.๓ Free Trade Zone ๓.๑.๔ Logistics Park ๓.๑.๕ Tank Farmบนพื้นที่รวม ๒,๓๘๗.๕ ไร่ ในบ้านดงโพสี เมืองหาดซางฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานมิตรภาพไทย -ลาว แห่งที่ ๑ ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการครอบคลุมสถานีท่านาแล้งและลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) ของสถานีท่านาแล้งด้วย ๓.๑.๖ บริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนา CY ของสถานีท่านาแล้ง ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างสถานีท่านาแล้ง (โครงการก่อสร้างทางรถไฟไทย - ลาว) กับสถานีเวียงจันทน์ใต้ (โครงการรถไฟสายจีน - ลาว) ให้เป็นท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อเป็นจุดดำเนินพิธีการศุลกากร และเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างสองสถานี โดย VLP ได้รับโอนอาคารสถานที่และ CY ของสถานี ท่านาแล้งจากรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๓.๑.๗ การขนส่งสินค้าจะดำเนินการภายในท่าเรือบกท่านาแล้ง (Dry Port) ซึ่งเป็นเขตเปลี่ยนถ่ายสินค้าและด่านสากลสำหรับขนส่งสินค้าขาเข้า - ขาออก ผ่านชายแดน มีลานกองตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard - CY) ขนาดใหญ่รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้สูงสุด ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ตู้ (ซึ่งในปัจจุบันปริมาณการขนส่งยังมีไม่มากนัก โดยในแต่ละเดือน มีการขนส่งเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ ๒,๐๐๐ ตู้) โดยจะมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้เพื่อให้บริการ พิธีศุลกากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียม มีมาตรฐานตรวจสอบได้และเป็นไปตามกฎระเบียบสากล ประกอบด้วยระบบการติดตาม ตู้สินค้าและการแจ้ง manifestล่วงหน้า ๒๔ ชั่วโมง Green/Red Lanes รวมถึงการอำนวยความสะดวก /ลดค่าใช้จ่ายให้รถบรรทุกสามารถขนส่งสินค้าและเดินทางกลับไทยได้ภายใน ๒ ชั่วโมง โดยประกันภัยครอบคลุมตลอดเส้นทางจากฝั่งไทยไปยังท่าบกท่านาแล้ง ๓.๑.๘ การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกจากฝั่งไทยไปถ่ายลำขึ้นรถไฟ สายจีน - ลาว จะก่อสร้างถนนระยะทาง ๑.๘ กิโลเมตร ซึ่งมีรั้วรอบขอบชิดเพื่อบังคับ ให้รถบรรทุกวิ่งผ่านตรงจากสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๑ ไปผ่านพิธีการศุลกากร ในบริเวณท่าบกดังกล่าว ๓.๑.๙ การขนส่งสินค้าจากจีน ฝั่งลาวจะมีการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ซึ่งมีระยะห่างระหว่างสถานีท่านาแล้งประมาณ ๒.๘ กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าจากรถไฟลาว - จีน มายัง VLP


๔๙ ๓.๒ การขนส่งสินค้าข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย - ท่านาแล้ง ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมสำหรับที่จะรองรับการขนส่ง ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าไทย - ลาว เมื่อพิจารณาสัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้า ทางรางประเภทสินค้าคอนเทนเนอร์ระหว่างไทย - สปป.ลาว (เส้นทางหนองคาย - ท่านาแล้ง) ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีจำนวน ๒๘,๕๓๙ ตัน โดยในเดือนกันยายน ๒๕๖๕ มีปริมาณ การขนส่งสินค้าจำนวน ๓,๔๙๘ ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ (จำนวน ๕,๑๔๕ ตัน) ลดลงจำนวน ๑,๖๔๗ ตัน คิดเป็นร้อยละ ๓๒ จากการพิจารณาปริมาณสินค้าที่ต้องการขนส่ง (Demand) ข้างต้นกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ของไทยยังสามารถรองรับปริมาณการขนส่ง ดังกล่าวได้โดยการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม โดยเพิ่มความถี่การเดินรถไฟจากเดิม ขาไป ๔ เที่ยวขากลับ ๔ เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ ๑๒ แคร่ เป็นขาไป ๗ เที่ยว ขากลับ ๗ เที่ยว และขนส่งสินค้าขบวนละ ๒๕ แคร่ โดยใช้หัวลากขนาด ๑๕ ตัน/เพลา สำหรับเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และจะเพิ่ม ความถี่ในช่วงเช้าเป็นหลักเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจรบนสะพานแบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ๓.๒.๑ แผนระยะเร่งด่วน (ปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕) : ให้บริการสูงสุดวันละ ๑๐ ขบวน (ไป - กลับ) วิ่งทุกวัน โดยพ่วงรถสินค้า ๒๕ แคร่ (มีรถจักร (U15,16) ๑๐ คัน และรถพ่วง ๓๕๐ แคร่) สำหรับแผนการเดินรถได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการกำหนด นโยบายบริหารและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพ (หนองคาย - เวียงจันทน์) พิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ใช้รถจักร รถพ่วงสินค้า ที่มีน้ำหนัก กดเพลา ไม่เกิน ๑๕ ตันเพลา ด้วยความเร็วไม่เกิน ๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขบวนรถ ๑ ขบวน ประกอบด้วย รถจักร ๑ คัน และรถพ่วงสินค้า ๒๕ แคร่ ให้บริการวันละ ๑๐ ขบวน (ไป - กลับ) ตามเวลาที่กำหนด โดยจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้สะพานคันละ ๓๐๐ บาท ๓.๒.๒ แผนระยะกลาง (ปี ๒๕๖๖ - ๒๕๖๘) : ให้บริการสูงสุดวันละ ๑๖ ขบวน (ไป - กลับ) วิ่งทุกวัน โดยพ่วงรถสินค้า ๒๕ แคร่ (มีรถจักร (U15,16,20) ๑๐ + ๖ = ๑๖ คัน และรถพ่วง ๓๕๐ + ๑๘๐ = ๕๓๐ แคร่) ๓.๒.๓ แผนระยะยาว (ปี ๒๕๖๙ เป็นต้นไป) : ให้บริการสูงสุดวันละ ๒๔ ขบวน (ไป -กลับ) วิ่งทุกวัน โดยพ่วงรถสินค้า ๒๕ แคร่ (มีรถจักร (U15,16,20) ๑๐ + ๖ + ๘ = ๒๔ คัน และรถพ่วง ๓๕๐ + ๑๘๐ + ๒๖๔ = ๗๙๔ แคร่) โดยคาดว่าสะพานแห่งใหม่เปิดใช้งานแล้ว ๓.๓ คณะผู้แทนไทยร่วมโดยสารขบวนรถไฟลาว - จีน ขบวน C82 จากนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพของพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง ของโครงการเพื่อนำมาประเมินอุปทานด้านการคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านการขนส่ง ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ร่วมโดยสารขบวนรถไฟลาว - จีน ขบวน C82 จากนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพของพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง ของโครงการเพื่อนำมาประเมินอุปทานด้านการคมนาคม


๕๐ ๓.๓.๑ การเชื่อมโยงสถานีสำหรับผู้โดยสาร มีด่านตรวจคนเข้าเมือง (ผู้โดยสารจากไทยเข้า สปป.ลาว) ที่สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) และจะมีบริการ รถรับ - ส่ง ระหว่างสถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) กับสถานีเวียงจันทน์ (บ้านไซ) คาดว่า จะเปิดให้บริการเที่ยวปฐมฤกษ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ๓.๓.๒ การเดินทางข้ามแดนช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ปริมาณ ผู้โดยสารทางรถไฟในปี ๒๕๖๒ มีจำนวน ๓๕,๐๐๐ คน ทั้งนี้ ปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ ในช่วงสถานการณ์ COVID - 19 ไม่เปิดให้บริการเดินทางผ่านแดนทางรถไฟ การรถไฟ แห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนการจัดขบวนรถรองรับการเดินทาง ช่วงหนองคาย - ท่านาแล้ง และการเดินทางเชื่อมต่อไป สปป.ลาว ที่สถานีนครหลวงเวียงจันทน์(บ้านคำสะหวาด) แบ่งเป็น ๓ ระยะ สรุปดังนี้ ๑. แผนระยะเร่งด่วน (ปี ๒๕๖๕) : ขยายปลายทางฝั่งลาว จากสถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) โดยให้บริการวันละ ๔ ขบวน (ไป - กลับ) (ใช้ขบวนรถเดิมที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน) ทั้งนี้ ในปัจจุบันฝ่ายบริการโดยสาร การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประชุมหารือภายในเพื่อเตรียมแผนการใช้ทรัพยากรสำหรับ การให้บริการในเส้นทางดังกล่าว และในเบื้องต้นเห็นว่าควรจัดเตรียมขบวนรถที่เหมาะสม กับการจัดการท่องเที่ยวระหว่างไทย - ลาว ๒. แผนระยะกลาง (ปี ๒๕๖๖) : ขยายต้นทาง/ปลายทางขบวน ในฝั่งไทยจากสถานีหนองคายเป็นสถานีอุดรธานี ให้บริการวันละ ๔ ขบวน (ไป - กลับ) และเปิดให้บริการใหม่ระหว่างสถานีนครราชสีมา - สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) จำนวน วันละ ๒ ขบวน (ไป - กลับ) ๓. แผนระยะยาว (ปี ๒๕๖๘ เป็นต้นไป) : เปิดเดินขบวนรถ ทางไกล ๒ ขบวน ให้บริการระหว่างสถานีบางซื่อหรือพัทยา -สถานีเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ปี ๒๕๖๘ เป็นต้นไป ๒. ผลประชุมหารือกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ คณะทำงานฯ ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ร่วมกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน 2565 เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ สปป.ลาว โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมด้วยผู้แทนกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม และรัฐมนตรีโยธาธิการและขนส่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายลาว สรุปผล การประชุม ดังนี้


๕๑ ๒.๑ ทั้งสองฝ่ายได้รายงานความคืบหน้าการเชื่อมต่อรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยผู้แทนฝ่ายไทยได้ชี้แจงแผนดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยฝ่ายลาวได้เสนอว่าควรให้ฝ่ายไทยพิจารณาใช้มาตรฐานระบบรางเดียวกันทั้งสองฝ่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และลดต้นทุน การขนส่งสินค้าตลอดแนวเส้นทางเมื่อเกิดการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างสามประเทศต่อไป ๒.๒ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการศึกษาและออกแบบรายละเอียดสะพานมิตรภาพ แห่งใหม่ซึ่งฝ่ายไทยโดยกรมทางหลวงได้นำเสนอแนวทางการศึกษาและออกแบบรายละเอียด ดังนี้ ๒.๒.๑ แนวทางที่ ๑ ก่อสร้างสะพานรถไฟใหม่ด้านท้ายน้ำ โดยก่อสร้างเป็นสะพาน รถไฟและรถยนต์ รองรับรถไฟได้ ๔ ทาง [Meter Gauge (SRT) ๒ ทาง และ Standard Gauge (HSR) ๒ ทาง] รวมถึงสะพานขนาด ๒ ช่องจราจร แสดงดังภาพที่ ๓.๑ ภาพที่ ๓.๑ แบบสะพานแห่งใหม่ที่มีทางรถไฟและทางรถยนต์อยู่สะพานเดียวกัน ๒.๒.๒ แนวทางที่ ๒ ก่อสร้างสะพานรถไฟใหม่ด้านท้ายน้ำของสะพานปัจจุบัน ก่อสร้างเป็นสะพานรถไฟและรถยนต์ รองรับรถไฟได้ ๔ ทาง [Meter Gauge (SRT) ๒ ทาง และ Standard Gauge (HSR) ๒ ทาง] พร้อมทั้งปรับปรุงสะพานปัจจุบันเดิมให้เป็นสะพานรถยนต์ เพียงอย่างเดียว รวมทั้งพิจารณาก่อสร้างสะพานรถยนต์ใหม่ทางด้านเหนือน้ำของสะพาน ปัจจุบันอีก ๒ ช่องจราจร รวมกับจำนวนช่องจราจรของสะพานเดิมเป็น ๔ ช่องจราจรในกรณี ที่ผลการศึกษาพบว่ามีความคุ้มค่าการลงทุน แสดงดังภาพที่ ๓.๒


๕๒ ภาพที่ ๓.๒ แบบสะพานแหง่ ใหม่ที่มีทางรถไฟและทางรถยนต์แยกสะพานกัน ๒.๓ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขยายระยะเวลาการเปิดใช้ สะพานมิตรภาพ แห่งที่ ๑ หลังเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา โดยฝ่ายลาวยินดีที่จะรับไปพิจารณา ตามข้อเสนอของฝ่ายไทย ๒.๔ ฝ่ายลาวได้แจ้งต่อฝ่ายไทยว่า มีความยินดีที่จะเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม พ ร้อมคณ ะผู้แทนไทยร่วมห ารือเกี่ยวกับ โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในโอกาสต่อไป ๓. ผลการประชุมหารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ได้มีการประชุม หารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ณ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนเข้าร่วมประชุม และรัฐมนตรีโยธาธิการ และขนส่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายลาว สรุปผลการประชุม ดังนี้ ๕.๑ ฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟ ความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย และการเชื่อมโยงทางรถไฟ ระหว่างไทย ลาว และจีน


๕๓ ๕.๒ ฝ่ายไทยได้เสนอฝ่ายลาวพิจารณาความเป็นไปได้ในการเปิดใช้สะพานมิตรภาพ แห่งเดิมหลังจากเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา และพิจารณาการอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อย สินค้าและผู้โดยสาร เช่น จุดตรวจร่วม (Common Control Area : CCA) ที่ท่านาแล้งฝั่งลาว และจุดตรวจร่วมสถานีหนองคายหรือสถานีนาทาในฝั่งไทย ๕.๓ ฝ่ายลาวรับทราบแนวทางการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ โดยฝ่ายไทย อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมโดยแบ่งเป็น ๓ แนวทาง ดังนี้ ๕.๓.๑ ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์บนสะพานเดียวกัน ๕.๓.๒ ก่อสร้างสะพานแห่งใหม่รองรับรถไฟและรถยนต์โดยมีโครงสร้างแยกจากกัน ๕.๓.๓ ก่อสร้างสะพานใหม่รองรับรถไฟเพียงอย่างเดียว โดยปรับปรุงสะพานเดิม ให้รองรับน้ำหนักบรรทุกให้มากขึ้น หลังจากผลการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการออกแบบ รายละเอียดและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป ๕.๔ การหารือในการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรด้านการขนส่ง โดยฝ่ายไทยยินดีเป็นอย่างยิ่ง ต่อข้อร้องขอของฝ่ายลาวในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งเรื่องถนน ทางราง โลจิสติกส์ และการบินพลเรือน โดยกระทรวงคมนาคมจะมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ กับข้อเสนอของฝ่ายลาวอย่างเต็มที่ต่อไป ๔. โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ภายใต้ความรับผิดชอบ ของกรมทางหลวง (ทล.) ๑. สรุปการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ ๑.๑ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๒ การประชุมสามฝ่ายระหว่างไทย - ลาว - จีน ในการเชื่อมโยงทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งสามฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันว่า การสร้างสะพานใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อ รถไฟหนองคาย - เวียงจันทน์ จะตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสะพานมิตรภาพไทย - ลาว (หนองคาย - เวียงจันทน์) ในปัจจุบัน ห่างจากสะพานเดิมประมาณ ๓๐ เมตร โดยสะพานแห่งใหม่ จะมีทางรถไฟทั้งขนาดทางมาตรฐานและขนาดทาง ๑ เมตร ๑.๒ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕ รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานกรรมการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ การประชุมคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมไตรภาคีเพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่าง ไทย ลาว และจีน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โดยมีสาระสำคัญในการเห็นชอบ ในการลงทุนร่วมกันในสะพานแห่งใหม่ระหว่างไทยและลาว


๕๔ ๑.๓ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธาน การประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้สั่งการให้กรมทางหลวง ดำเนินการออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ทั้งนี้ ได้ขอให้มีการออกแบบสะพาน เพื่อให้รองรับรถยนต์และนำประเด็นดังกล่าวหารือกับฝ่ายลาว ในการประชุมไตรภาคีเพื่อหารือ แนวทางการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยให้การดำเนินการของทั้ง ๒ ประเทศ มีความสอดคล้องกัน ทล. จึงได้ดำเนินการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเป็นค่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบสะพานหนองคายแห่งใหม่ วงเงิน ๑๔๐ ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณแจ้งว่านายกรัฐมนตรีมีบัญชาว่า ควรเก็บงบกลางไว้สำหรับสถานการณ์ COVID - 19 ถ้ากรมทางหลวงเห็นว่าจำเป็น และพร้อม ให้ปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณปี ๒๕๖๕ เพื่อดำเนินการ ในการนี้กรมทางหลวง จึงได้ปรับการดำเนินการออกเป็น ๒ ระยะ ดังนี้ ระยะที่ ๑ ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study : FS) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE) วงเงิน ๔๐ ล้านบาท ระยะเวลา ๙ เดือน ระยะที่ ๒ ดำเนินการออกแบบรายละเอียด (Detailed Design : DD) และจัดทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) วงเงิน ๑๔๐ ล้านบาท ระยะเวลา ๑๒ เดือน (จำเป็นต้องเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ๒ ฤดูกาล) ปัจจุบันกรมทางหลวง อยู่ระหว่างดำเนินงานโครงการศึกษาดังกล่าว (สำหรับในส่วนของระยะที่ ๑) คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ ๒. การดำเนินการ กรมทางหลวงอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว (หนองคาย - เวียงจันทน์) แห่งที่ ๒ และโครงข่าย รายละเอียดงานที่ดำเนินการ ดังนี้ งานศึกษาความเหมาะสม (Feasibility study : FS) งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE) งานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation : PP) งานประชุมร่วมระหว่างประเทศไทย กับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในส่วนของงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation : PP) จะมีการจัดการประชุมรวม ๕ ครั้ง แบ่งเป็น สัมมนาครั้งที่ ๑ การประชุมปฐมนิเทศโครงการ เพื่อนำเสนอความเป็นมา เหตุผล ความจำเป็น วัตถุประสงค์ของโครงการและขั้นตอนการดำเนินงาน ประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ ๑ พิจารณารูปแบบโครงการ สัมมนาครั้งที่ ๒ นำเสนอผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม ประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ ๒ หารือมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม


๕๕ สัมมนาครั้งที่ ๓ สรุปผลการศึกษาของโครงการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ได้มีกิจกรรมการพบปะเพื่อให้ข้อมูล โครงการเบื้องต้นและปรึกษาหารือ ณ ศาลากลางจังหวัดหนองคาย โดยมี นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธาน และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ได้มีการจัดกิจกรรมการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ ๑) เพื่อนำเสนอความเป็นมา โครงการ วัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงการ ประโยชน์ที่จะได้รับ ขอบเขตการศึกษา ตลอดจน ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ โดยมี นายกิตติคุณ บุตรคุณ ปลัดจังหวัดหนองคาย เป็นประธานกล่าวเปิดประชุม ที่ประชุม ได้มีการซักถามถึงประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ - ห่วงกังวลผลกระทบต่อศาสนสถานที่สำคัญในพื้นที่ -ขอทราบสาเหตุ/เหตุผลในการสร้างสะพานแห่งใหม่บริเวณฝั่งขวาของสะพานเดิม - ต้องการทราบข้อมูลพื้นที่ที่คาดว่าจะถูกเวนคืน -ต้องการทราบระยะเวลาการศึกษาและการดำเนินการของโครงการ - ห่วงกังวลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ เช่น ฝุ่น เสียง และความสั่นสะเทือน - เสนอให้ทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุม - ให้พิจารณาการใช้พลังงานทดแทนบริเวณสะพาน เช่น แผงโซล่าเซลล์ กังหันลม กังหันน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ คณะทำงานได้ชี้แจงถึงข้อซักถามและนำข้อกังวลที่ได้รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ภาพที่ ๓.๓ สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แหง่ ที่ ๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย (หนังสือจังหวัดหนองคาย ด่วนที่สุด ที่ ๐๐๑๗.๒/๓๙๕ ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๖) สรุปข้อมูลทิศทางการเตรียมความพร้อมรับโอกาสจากการ เปิดการเดินรถไฟระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - ราชอาณาจักรไทย โดยระบุว่า จังหวัดหนองคายได้เตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการ เส้นทางรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


๕๖ และราชอาณาจักรไทย จำนวน ๓ ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ ๑ (ระยะเร่งด่วน ภายใน ๑ - ๒ ปี) ความพร้อมของหน่วยงาน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น ระยะที่ ๒ (ระยะปานกลาง ภายใน ๒ - ๕ ปี) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ และระยะที่ ๓ (ระยะยาว) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งผล ต่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดหนองคายในอนาคต โดยรายละเอียดของการพัฒนาจังหวัด หนองคาย เพื่อรองรับโอกาสดังกล่าวให้ได้รับทราบพอสังเขป ดังนี้ ๑. ระยะที่ ๑ (ระยะเร่งด่วน ภายใน ๑ - ๒ ปี) ความพร้อมของจังหวัดหนองคาย เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจังหวัดหนองคายได้ดำเนินการแล้ว จำนวน ๔ ด้าน ดังนี้ ๑.๑ การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานมิตรภาพไทย -ลาว แห่งที่ ๑ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เพิ่มความยาวของขบวนรถไฟระหว่างประเทศ ข้ามสะพาน มิตรภาพไทย -ลาว แห่งที่ ๑ การขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น ขาไป ๗ เที่ยว ขากลับ ๗ เที่ยว (จากเดิม ขาไป ๒ เที่ยว ขากลับ ๒ เที่ยว) ซึ่งเป็นการขนส่งสินค้าเที่ยวละ ๒๕ แคร่ (จากเดิม ๑๒ แคร่) และใช้หัวลาก ขนาด ๑๕ ตัน/เพลา เพื่อรองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันปริมาณการใช้งานรถไฟเส้นทางหนองคาย - ท่านาแล้ง มีปริมาณการขนส่งสินค้าในปี ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปริมาณการขนส่งสินค้าเฉลี่ย ๒,๘๕๘.๔๖ ตัน/เดือน (สูงสุดเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๕,๓๘๔ ตัน/เดือน ต่ำสุดเดือนมกราคม ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๑๒๑.๕๗ ตัน/เดือน) และเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เริ่มให้บริการขนส่งผู้โดยสาร พร้อมด้วยสินค้า ขาไปวันละ ๔ เที่ยว ขากลับวันละ ๔ เที่ยว ๑.๒ จุดพักคอยของรถบรรทุก (บริเวณหนองสองห้อง) ได้ปรับพื้นที่ ขนาด ๓ ไร่ ๓ งาน เป็นจุดพักคอยรถบรรทุกชั่วคราว สามารถรองรับรถบรรทุกได้ประมาณ ๑๘ คัน โดยใช้เงิน เหลือจ่ายจากงบประมาณของกรมทางหลวง ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ งบประมาณ ๑๐ ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ๑.๓ การจัดซื้อระบบตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile X-ray System) จำนวน ๑ คัน (๑๓๐ ล้านบาท) มีขีดความสามารถ ๑๕๐/คัน/ตู้/ชั่วโมง ขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศรับการสมัครยื่นเสนอประมูลราคาจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) ครั้งที่ ๒ และคาดว่าจะได้ใช้งานตรวจสอบตู้สินค้าฝั่งขาเข้าประเทศ ภายในเดือนเมษายน ๒๕๖๖ ๑.๔ การขยายพื้นที่ในการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการเข้าเมือง (๑.๘ ล้านบาท) ประกอบด้วย ๑.๔.๑ โครงการจัดหาตู้ตรวจหนังสือเดินทางและพิธีการเข้าเมือง (บริเวณจุดตรวจสถานีรถไฟจากเดิม ๒ ตู้ เป็น ๓ ตู้) ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตามมาตรฐานการพิธีการเข้าเมืองจะใช้เวลา ๔๕ วินาทีต่อคน ๑.๔.๒ โครงการก่อสร้างอาคารพิธีการเข้าเมือง รองรับการตรวจลงตรา ผู้โดยสาร (Visa On Arrival) ได้ประมาณ ๓,๖๐๐ คนต่อวัน และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ เรียบร้อยแล้ว


๕๗ ๒. ระยะที่ ๒ (ระยะปานกลางภายใน ๓ - ๕ ปี) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ ดังนี้ ๒.๑ จุดพักคอยของรถบรรทุก (บริเวณหนองสองห้อง) เนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ เพื่อรองรับรถบรรทุกได้ ๒๐๑ คัน พร้อมห้องน้ำ และจุดพักคอยรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปได้ ๘๒ คัน ที่จอดรถสำหรับคนพิการ ๖ คัน โดยกรมทางหลวงจะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ๒๕๖๖ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๘ วงเงิน งบประมาณ ๓๒๐ ล้านบาท ดังนี้ ๑) ปี๒๕๖๖ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ๖๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๒) ปี ๒๕๖๗ เสนอขอตั้งงบประมาณ ๑๒๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๓) ปี ๒๕๖๘ เสนอขอตั้งงบประมาณ ๑๒๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และในอนาคตจะมีการดำเนินพิธีการทางศุลกากร สำหรับรถบรรทุกสินค้าขาออก ณ บริเวณ ดังกล่าว เพื่อลดปริมาณความหนาแน่นบริเวณด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๑ ๒.๒ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการปรับพื้นที่สถานีรถไฟหนองคาย พื้นที่ ๑๓๓,๕๕๑ ตารางเมตร แบ่งพื้นที่เป็น ๖ แปลง ประกอบด้วย ๑) แปลงที่ ๑ - ๕ (แปลงละ ๖.๒๗ ไร่ ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร ให้ผู้ประกอบการ เช่าใช้ประโยชน์เพื่อตั้งโรงพักสินค้าของผู้รับสัมปทานสำหรับจัดเก็บตรวจปล่อยในเขตพิธีการ ศุลกากร ๒) แปลงที่ ๖ สงวนไว้สำหรับรองรับรถเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ ติดตั้งไฟ ๓ เฟส ระบบสำหรับการปฏิบัติงานด้านศุลกากร และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (๒๙.๒๕ ไร่/๔๖,๘๐๐ ตารางเมตร และแปลงที่ ๗ พื้นที่ส่วนกลาง (๒๑.๕๘ ไร่/๓๔,๕๒๘ ตารางเมตร มีการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ระหว่างออกแบบดำเนินการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงานด้านศุลกากร ๒.๓ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ โดยมีระยะห่างจากสะพานเดิม ๓๐ เมตร โดยจะแยกเป็นสะพานเฉพาะสำหรับการเดินรถไฟเท่านั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดของตัวสะพานเดิม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกันระหว่าง ๓ ประเทศ (จีน - ลาว - ไทย) โดยจะดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๕ และใช้งบประมาณเหลือจ่ายของกรมทางหลวง (วงเงิน ๑๔๐ ล้านบาท) ทั้งนี้ หากสามารถ ดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี ๒๕๖๖ จะแล้วเสร็จภายปี ๒๕๖๙ มีกระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ๒.๔ โครงการรถไฟทางคู่ (ช่วงขอนแก่น - หนองคาย) เป็นการพัฒนา ระบบการขนส่งสินค้าทางรางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บนแนวคิดที่จะทำให้ระบบขนส่ง ทางรางเกิดความสะดวกรวดเร็วที่สุด ขนส่งสินค้าได้จำนวนมากที่สุด ความเสี่ยงต่ำที่สุด และต้นทุน ที่ประหยัดที่สุด ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในปี ๒๕๖๕ และหากเริ่ม


๕๘ ดำเนินการปี ๒๕๖๖ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี ๒๕๖๙ มีการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ ๓. ระยะที่ ๓ (ระยะยาว) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว โดยการรถไฟ แห่งประเทศไทย ๓.๑ โครงการรถไฟความเร็วสูง (ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย) ระยะทาง ๓๕๖ กิโลเมตร ใช้งบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบ ๒๕๒,๓๔๗ ล้านบาท ใช้เวลาเดินทาง ๑.๔๕ ชั่วโมง ผ่านสถานี ๕ สถานี (บัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) ๓.๒ โครงการพัฒนาย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาเป็นพื้นที่ของศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ทั้งหมดประมาณ ๒๖๘ ไร่ ประกอบด้วย (๑) พื้นที่สำหรับกองเก็บตู้สินค้า (CY) ๑๒๐ ไร่ (๒) พื้นที่ลานขนส่งสินค้า (Transshipment Yard) ๗๕ ไร่ และ (๓) พื้นที่อาคารสำนักงาน โรงพักสินค้าและอื่น ๆ รวมถึงที่จอดรถที่มาติดต่อ ที่จอดรถขนส่ง ๗๓ ไร่ ซึ่งทั้ง ๒ โครงการมีกำหนดจะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และเปิดให้บริการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๑ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ๑. ความเป็นมาของโครงการ ๑.๑ สะพานมิตรภาพไทย -ลาว แห่งที่ ๑ เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๗ เป็นแบบคอนกรีตอัดแรง เสริมเหล็กแบบ Box Girder มีความยาวทั้งสิ้น ๑,๑๗๔ เมตร พื้นผิวจราจรประกอบด้วย ช่องจราจร ๒ ช่องทาง กว้างช่องทางละ ๓.๕ เมตร. มีช่องทางเดิน ทั้งสองข้าง ข้างละ ๑.๕ เมตร และช่องทางเดินรถไฟตรงกลางกว้าง ๑ เมตร ปัจจุบัน ได้เพิ่มความยาวของขบวนรถไฟระหว่างประเทศ ข้ามสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๑ การขนส่งสินค้าเพิ่มเป็นขาไป ๗ เที่ยว ขากลับ ๗ เที่ยว (จากเดิม ขาไป ๒ เที่ยว ขากลับ ๒ เที่ยว) ซึ่งเป็นการขนส่งสินค้าเที่ยวละ ๒๕ แคร่ (จากเดิม ๑๒ แคร่) และใช้หัวลาก ขนาด ๑๕ ตัน/เพลา เพื่อรองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เริ่มให้บริการ ขนส่งผู้โดยสารพร้อมด้วยสินค้า ขาไปวันละ ๔ เที่ยว ขากลับวันละ ๔ เที่ยว ๑.๒ ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (สะพานคู่ขนาน) มีระยะห่าง จากสะพานเดิม ๓๐ เมตร ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดของตัวสะพานเดิม ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณ าหาข้อสรุปร่วมกัน ระหว่าง ๓ ประเทศ (จีน - ลาว - ไทย) โดยจะดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๕ โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายของกรมทางหลวง (วงเงิน ๑๔๐ ล้านบาท) ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี ๒๕๖๗ จะแล้วเสร็จ ภายปี ๒๕๖๙ (อาจถึงปี ๒๕๗๐) มีกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ


๕๙ ๒. ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ๒.๑ การเชื่อมโยงโครงข่ายไทย - ลาว - จีน มีช่วงเส้นทางที่เป็น Missing Link ระหว่างสถานีเวียงจันทน์ใต้ของทางรถไฟจีน -ลาว กับ สถานีหนองคายของโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - หนองคาย กรมทางหลวงจึงจำเป็นต้องจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษา ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจวิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อนำไปเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่าง ไทย - ลาว - จีน และการออกแบบงานโยธา หลังจากนั้นจะนำเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ๒.๒ พื้นที่ศึกษา : ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย และเวียงจันทน์ สปป.ลาว และพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากโครงการแนวเสนอทางโครงการแนวเส้นทางโครงการ ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) แนวเส้นทางถนน เชื่อมต่อระหว่างด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๑ และด่านพรมแดนลาว ๒) แนวเส้นทางรถไฟขนาดทาง ๑ เมตร เริ่มจากสถานีหนองคายเชื่อมต่อกับ สถานีท่านาแล้ง ๓) แนวเส้นทางรถไฟขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge) เริ่มจากสถานี หนองคาย เชื่อมต่อสถานีเวียงจันทน์ ๒.๓ การศึกษาคัดเลือกรูปแบบการพัฒนา ๑) รูปแบบทางเลือกที่ ๑ ก่อสร้างสะพานใหม่ รองรับเฉพาะรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง สำหรับกรณีที่ปริมาณจราจรไม่สูง ข้อดี - รูปแบบง่าย ไม่ซับซ้อน - ไม่กระทบกับการออกแบบรายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - หนองคาย - มีผลกระทบด้านการโยกย้ายเวนคืนน้อย - ค่าก่อสร้างต่ำ ข้อเสีย - รองรับปริมาณจราจรได้น้อย ๒) รูปแบบทางเลือกที่ ๒ ก่อสร้างสะพานใหม่ เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งช่องทางสัญจรสำหรับรถยนต์ ข้อดี - รองรับปริมาณจราจรได้มาก - ก่อสร้างสะพานใหม่เพียง ๑ แห่ง


๖๐ ข้อเสีย - ต้องปรับระดับของทางรถไฟขนาด ๑ เมตร และทางรถไฟขนาดมาตรฐาน ของโครงการรถไฟความเร็วสูงในช่วงที่แนวถนนใหม่ลอดใต้แนวทางรถไฟ - ค่าก่อสร้างสูง - การก่อสร้างยาก จากการก่อสร้างสะพานที่มีความกว้างมาก - เวนคืนพื้นที่บางส่วนของวัดจอมมณี ๓) รูปแบบทางเลือกที่ ๓ ก่อสร้างสะพานใหม่ ๒ แห่ง สะพานสำหรับรองรับ รถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง และสะพานสำหรับรถยนต์สัญจร ข้อดี - รองรับปริมาณจราจรได้มาก - ไม่มีผลกระทบต่อวัดจอมมณี ข้อเสีย - ต้องก่อสร้างสะพานใหม่ ๒ แห่ง - มีค่าก่อสร้างสูง กรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากรมีการดำเนินการเตรียมความพร้อมและรองรับ การเชื่อมโยงทางรถไฟที่ขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันท น์ โดยสรุปข้อมูลดังนี้(หนังสือกรมศุลกากร ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๕๒๘/๑๑๐๔ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖) ๑) แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. ๒๕๖๖) โครงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง เพื่อรองรับการพัฒนาสถานีรถไฟนาทา เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ (การติดตาม ผลการศึกษาของโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐโครงการ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) ๒) พิจารณายกร่างประกาศพิธีการศุลกากรเฉพาะ ณ ท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน กฎระเบียบและมาตรการด้านศุลกากรให้ทันสมัย ๓ ) ทบ ท วนพื้ น ที่นิ คมอุต สาห กรรมอุดรธานีถึงศักยภาพ ของท ำเลที่ตั้ง ที่มีการเตรียมพร้อมรองรับการขนส่งสินค้าทางรางจากรถไฟจีน -ลาว - ไทย ที่เหมาะเป็นโลจิสติกส์ฮับ (Logistics Hub) และยกระดับศักยภาพให้เป็นท่าเรือบก (Dry Port) ในส่วนของผลการดำเนินการ เตรียมความพร้อมและรองรับการเชื่อมโยงระบบขนส่งสินค้าทางรางระหว่างจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ได้ จำนวน ๑ คัน โดยใช้ได้ทั้ง Stand Mode ที่มีขีดความสามารถ ๒๐ - ๒๕ คัน/ตู้/ชม. และ Drive-Through มีขีดความสามารถ ๑๕๐ ตัน/คัน/ตู้/ชม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประมูล (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖)


๖๑ ๔) การออกกฎกระทรวงให้สถานีรถไฟหนองคายเป็นเขตศุลกากร เป็นการอำนวยความสะดวก ทางการค้า ให้สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ทั้งนำเข้า ส่งออก ผ่านแดน สำหรับสินค้าต่าง ๆ ที่กำหนดว่าต้องปฏิบัติพิธีการตรวจปล่อยที่ด่านศุลกากร ปัจจุบันได้ผ่านกฎกระทรวง ของคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๕) การยกระดับด่านศุลกากรหนองคายขึ้นเป็น สำนักงานศุลกากรหนองคาย โดยมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยใช้อำนาจทางการบริหาร เพื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ในเรื่องอำนาจ และ/หรือการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ และ ปรับปรุงพิธีการ ศุลกากรทางรถไฟระหว่างประเทศเพิ่มเติมเอกสารที่สำคัญในระบบอิเล็กทรอนิกส์ คือ Manifest เพื่อให้สามารถบริหารจัดการพิธีการศุลกากรที่ขนส่งสินค้าหลายๆ ตู้คอนเทนเนอร์ หลายคนส่งสินค้า และหลายคนรับสินค้า ไม่ว่าจะเป็น FCL (Full Container Load)/ LCL (Less Than Container Load) เสมือนเรือขนส่งสินค้าที่ขนส่งสินค้าในหลายๆ ตู้คอนเทนเนอร์ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (บันทึกการประชุมคณะทำงานพิจารณา และติดตามการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) ได้นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม สรุปได้ว่า ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการจัดหาตู้ตรวจหนังสือเดินทางและพิธีการ เข้าเมือง จำนวน ๑ ตู้ ณ จุดตรวจสถานีรถไฟหนองคาย เพื่อเป็นการเพิ่มช่องตรวจหนังสือ เดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็น ๒ ช่องตรวจ และอยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารดำเนินการ พิธีการเข้าเมือง ณ จุดตรวจสะพานมิตรภาพไทย -ลาว แห่งที่ ๑ สำหรับการออก Visa on Arrival กลุ่มผู้เดินทางหลักที่จะมาใช้บริการ คือผู้เดินทางชาวจีน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บันทึกการประชุม คณะทำงานพิจารณาและติดตามการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับ นครหลวงเวียงจันทน์ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) ได้นำเสนอข้อมูล สรุปได้ว่า โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ที่กระทรวงคมนาคมได้เสนอมายัง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณา ซึ่งได้พิจารณาโครงการดังกล่าว เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา และได้แจ้งผลการพิจารณากลับไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว และกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป อย่างไรก็ตาม สภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีข้อสังเกตเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ใน ๓ ประเด็น สำคัญ ดังนี้ ๑. คณะรัฐมนตรีควรกำหนดเงื่อนไขการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ว่า ต้องมีความชัดเจนของแผนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ด้วยว่าจะดำเนินการอย่างไร ใช้งบประมาณเท่าใด และมีรูปแบบ


๖๒ อย่างไร และศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาและท่าบกท่านาแล้งของ สปป.ลาว จะมีการจัดการ การใช้ประโยชน์กันอย่างไร เนื่องจากท่าบกท่านาแล้งของสปป.ลาว ได้พัฒนาไปแล้ว เป็นต้น เนื่องจากโครงการและสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ จะต้องใช้งบประมาณของประเทศไทย ในการลงทุนพัฒนาทั้งสิ้น ๒. ข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของกรมศุลกากร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ควรหารือกับ สปป.ลาว ให้มีความชัดเจนว่า จะมีการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าข้ามแดน และการเดินทางของผู้โดยสารอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ นอกจากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องจัดทำแผนการจัดหาหัวรถจักร แคร่ และล้อเลื่อนต่าง ๆ แผนการใช้ประโยชน์โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ ๑ ที่ลงทุนไปแล้วทั้ง ๗ เส้นทาง แผนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการที่ได้ลงทุนไปแล้วจะเกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างไร ๓. สำหรับการขนส่งสินค้าทางรางนั้น ควรมีการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน หรือเส้นทางที่ดำเนินการแล้วเสร็จแล้วและได้มีการเปิดให้บริการแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง และโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่ง ตู้สินค้าทางรถไฟ (SRTO) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า เมื่อภาครัฐได้ลงทุน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปแล้ว ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน ภคิน คัมภิรานนท์ (บันทึกการประชุมคณะทำงานพิจารณาและติดตามการเชื่อมโยง ระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) ได้นำเสนอข้อมูลสรุปได้ว่า รายละเอียดของโครงการศึกษา และวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคายของการรถไฟ แห่งประเทศไทยมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่าย สินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีเหตุผลและจำเป็น คือ นโยบายของรัฐบาลและพันธกิจของการรถไฟแห่งประเทศไทยมุ่งเน้นการร่วมกันพัฒนา ความเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางรางภายใต้แผนงานรัฐบาลไทยและอาเซียน รัฐบาลไทย กับรัฐบาลจีนร่วมกันพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค จึงได้ดำเนินการจ้าง ที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาเส้นทางและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้า โดยผลการศึกษาด้านสินค้าได้เสนอให้มีการพัฒนาย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment yard) เพื่อส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและไร้รอยต่อในพื้นที่ สถานีนาทา และเพื่อการสนับสนุนการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ โครงการศึกษา ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุน


๖๓ ในโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า เพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ และเพื่อขอความเห็นชอบ (มาตรา ๒๘) รายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า เพื่อรองรับ การขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่าง รัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ คาดว่าการพิจารณาศึกษาประมาณวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๖ โดยในเบื้องต้นโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าจะเปิดให้บริการ ได้ภายในไตรมาสที่ ๓ ของปี พ.ศ. ๒๕๗๒ ซึ่งอาจจะล่าช้าเกิน โดยภาคเอกชนผู้ประกอบการ มีความประสงค์ให้โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ แล้วเสร็จโดยเร็วกกว่าที่กำหนด ไว้ในเบื้องต้นสถาบันการขนส่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าสินค้าที่มีโอกาสเปลี่ยนมาใช้ การขนส่งทางรางแบ่งออกเป็น ๖ กลุ่ม ได้แก่ สินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีน สินค้าส่งออกจาก ประเทศไทยไปประเทศจีนสินค้านำเข้าจากประเทศลาว สินค้าส่งออกจากประเทศไทย ไปประเทศลาว สินค้าผ่านแดนลาว และสินค้าของจีนที่ใช้ท่าเรือประเทศไทยเป็นประตูการค้า ในการนำเข้า - ส่งออก และเมื่อพิจารณาเวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้าในเส้นทางไทย - จีน ตามเส้นทางของการขนส่งต่าง ๆ พบว่า การขนส่งสินค้าทางรางใช้เวลาในการขนส่งประมาณ ๑ วัน ทางถนนใช้เวลาประมาณ ๓ - ๔ วัน และทางทะเลใช้เวลาประมาณ ๑๗ - ๒๐ วัน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางจะนำไปสู่การค้าใน ๔ มณฑลเป้าหมาย ได้แก่ มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลเสฉวน และมหานครฉงชิ่ง ภาพรวมของศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ และ Truck Terminal ที่นาทา ปรากฏตามภาพที่ ๓.๔ ภาพที่ ๓.๔ ภาพศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ และ truck Terminal ที่นาทา


๖๔ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๖๘ ไร่ แบ่งออกเป็น พื้นที่กองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) ๑๒๐ ไร่ พื้นที่ลานเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) ๗๕ ไร่ และพื้นที่สำนักงานคลังสินค้า และจอดรถ ๗๕ ไร่ การดำเนินการแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ จะก่อสร้างพื้นที่กองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) ขนาด ๕๐x๖๐๐ เมตร และมีก่อสร้างรางรถไฟขนาดความกว้าง ๑ เมตรโดยก่อสร้างพร้อมกับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย หลังจากนั้น เมื่อมีการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย -จีน ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย จะมีการก่อสร้างพื้นที่ลานเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) และมีการก่อสร้างรางรถไฟขนาดความกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร จำนวน ๓ ทาง และรางขนาดความกว้าง ๑ เมตร จำนวน ๓ ทาง แต่ปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย -จีน ระยะที่ ๒ มีความล่าช้า จึงมีการแยกการก่อสร้างพื้นที่ลานเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) ออกจากการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ ระยะที่ ๒ กรมทางหลวง (บันทึกการประชุมคณะทำงานพิจารณาและติดตามการเชื่อมโยง ระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) ได้นำเสนอข้อมูลสรุปได้ว่า กรมทางหลวงได้ดำเนินการ จัดเก็บสถิติการใช้รถยนต์ข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ ๑ พบว่าในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ มีรถยนต์มาใช้บริการประมาณ ๑๙,๐๐๐ คัน เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ ประมาณ ๓๒,๐๐๐ คัน เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ ๔๐,๐๐๐ คัน และครึ่งเดือนแรกของเดือนสิงหาคม มีรถยนต์มาใช้ บริการประมาณ ๑๘,๐๐๐ คัน ซึ่งคาดการณ์ว่าภายในสิ้นเดือนสิงหาคมจะมีปริมาณรถยนต์ มาใช้บริการสะพานมิตรภาพแห่งที่ ๑ ประมาณไม่ต่ำกว่า ๔๐,๐๐๐ คัน อย่างไรก็ตาม การออกแบบในระยะที่ ๑ เป็นการศึกษาความเหมาะสม (FS)และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เบื้องต้น (IEE)กรมทางหลวงไม่มีความชำนาญในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังมีโบราณสถาน ตั้งอยู่ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง จึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เบื้องต้น (IEE) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้น เมื่อกรมทางหลวง ได้รับงบประมาณในการจ้างที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาการศึกษาความเหมาะสม (FS) และรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) แล้ว กรมทางหลวงจะเร่งรัดให้บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการ ศึกษาให้แล้วเสร็จเพื่อให้ได้ข้อสรุปในรูปแบบการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ต่อไปโดยเร็ว ๕. การขนส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีหนองคาย - สถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) เตรียมการส่งมอบสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้กับสปป.ลาว ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ โดยมีข้อสรุปแผนการเปิดเดินรถโดยสาร (คณะทำงานพิจารณาและติดตามการเชื่อมโยง ระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕) ดังนี้


๖๕ ๑. ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. ๒๕๖๖) จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในกลางปี ๒๕๖๖ โดยจะเดินรถต่อจากสถานีท่านาแล้งไปยังสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) วันละ ๔ ขบวนไปกลับ ๒. ระยะกลาง(พ.ศ. ๒๕๖๗) จะเปิดให้บริการเดินรถจากสถานีอุดรธานีถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) วันละ ๔ ขบวนไปกลับ และสถานีนครราชสีมา -สถานีเวียงจันทน์(คำสะหวาด) วันละ ๒ ขบวน ไปกลับ ๓. ระยะยาว (พ.ศ. ๒๕๖๘) จากสถานีกลางบางซื่อ หรือสถานีพัทยา -สถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) วันละ ๒ ขบวนไปกลับ


บทที่ ๔ ผลการดำเนินงาน คณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน และพิจารณาผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อพิจารณาและผลการดำเนินงาน ดังนี้ ผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การรถไฟแห่งประเทศไทย (บันทึกการประชุมคณะทำงานพิจารณาและติดตาม การเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งระหว่างประเทศไทย ลาว และจีน ดังนี้ ๑. โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ ๑ (กรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) มีความคืบหน้าร้อยละ ๑๒ ๒. โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย -จีน ระยะที่ ๒ นครราชสีมา - หนองคาย ปัจจุบันได้ออกแบบ โครงการแล้วเสร็จ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นชอบภายใน เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ และจะนำเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ อนุมัติโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และหากสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามแผนงาน คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถถึงจังหวัดหนองคายได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๒ ๓. การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้านาทา บริเวณย่านสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษารูปแบบการร่วมลงทุน โดยว่าจ้าง สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ๗ เดือน (๒๑๐ วัน) (สิ้นสุดต้นปี ๒๕๖๖) ปัจจุบันได้ตรวจรับงานงวดที่ ๑ ไปแล้ว และจะตรวจรับ งานในงวดที่ ๒ ภายในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ และเมื่อตรวจรับงานครบทั้งหมดแล้ว จะต้องนำผลการศึกษาเสนอไปยังคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน และคณะรัฐมนตรี คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๗ จากนั้น จะต้องใช้ระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาเวนคืนพื้นที่อีก ๑ ปีถึง ๑ ปีครึ่ง และเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ๓ ปี คาดว่าโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้านาทา จังหวัดหนองคาย จะแล้วเสร็จภายในไม่เกินกลางปี พ.ศ. ๒๕๗๑ ซึ่งจะสอดคล้องกับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ๔. กรณีโครงการท่าบกท่านาแล้ง สปป.ลาว ก่อสร้างรางรถไฟขนาดกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร มาขนานกับรางรถไฟขนาดความกว้าง ๑ เมตร มีประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ รางรถไฟขนาดกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร ที่ขนานกับรางรถไฟขนาดความกว้าง ๑ เมตร อยู่ต่อจากพื้นที่สถานีท่านาแล้งเดิม ที่ประเทศไทยเคยมีข้อตกลงร่วมกับสปป.ลาว เนื่องจาสถานีท่านาแล้งเป็นสถานีระหว่างประเทศ


๖๘ แต่ขบวนรถไฟของประเทศไทยสามารถใช้งานได้ตามข้อตกลงดังกล่าว แต่รางและพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมจากพื้นที่เดิมไปอีก ๘๐๐ เมตรยังไม่มีความชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณนั้น รวมอยู่ในพื้นที่สถานีระหว่างประเทศด้วยหรือไม่ โดยการรถไฟแห่งประเทศได้ยื่นข้อเสนอให้กับ สปป.ลาว พิจารณาว่า เห็นควรให้มีการเจรจาร่วมระหว่างเวียงจันทน์ โลจิสติกส์ พาร์ค บริษัทรถไฟจีน และการรถไฟของสปป.ลาว เพื่อหาข้อสรุปว่าพื้นที่ ๘๐๐ เมตรที่เพิ่มเติมมานั้นหน่วยงานใด เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อจะได้พิจารณาผนวกเข้ากับพื้นที่สถานีระหว่างประเทศเดิมที่เคยมีข้อตกลง อยู่ ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของการรถไฟลาว กรมศุลกากร (หนังสือกรมศุลกากร ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๕๒๘/๑๑๐๔ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมโยงทางรถไฟที่ขนส่งสินค้า ระหว่างจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์ ดังนี้ ๑) แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. ๒๕๖๖) โครงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง เพื่อรองรับการพัฒนาสถานีรถไฟนาทา เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ (การติดตาม ผลการศึกษาของโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐโครงการ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) ๒) พิจารณายกร่างประกาศพิธีการศุลกากรเฉพาะ ณ ท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน กฎระเบียบและมาตรการด้านศุลกากรให้ทันสมัย ๓ ) ท บ ท วน พื้ น ที่ นิ คม อุ ต ส าห ก รรม อุด รธานี ถึ งศั กยภ าพ ข องท ำเลที่ ตั้ ง ที่มีการเตรียมพร้อมรองรับการขนส่งสินค้าทางรางจากรถไฟจีน -ลาว - ไทย ที่เหมาะเป็นโลจิสติกส์ฮับ (Logistics Hub) และยกระดับศักยภาพให้เป็นท่าเรือบก (Dry Port) ในส่วนของผลการดำเนินการ เตรียมความพร้อมและรองรับการเชื่อมโยงระบบขนส่งสินค้าทางรางระหว่างจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเอกซเรย์แบบเคลื่อนที่ได้ จำนวน ๑ คัน โดยใช้ได้ทั้ง Stand Mode ที่มีขีดความสามารถ ๒๐ - ๒๕ คัน/ตู้/ชม. และ Drive-Through มีขีดความสามารถ ๑๕๐ ตัน/คัน/ตู้/ชม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประมูล (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖) ๔) การออกกฎกระทรวงให้สถานีรถไฟหนองคายเป็นเขตศุลกากร เป็นการอำนวยความสะดวก ทางการค้า ให้สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ทั้งนำเข้า ส่งออก ผ่านแดน สำหรับสินค้าต่าง ๆ ที่กำหนดว่าต้องปฏิบัติพิธีการตรวจปล่อยที่ด่านศุลกากร ปัจจุบันได้ผ่านกฎกระทรวง ของคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ๕) การยกระดับด่านศุลกากรหนองคายขึ้นเป็น สำนักงานศุลกากรหนองคาย โดยมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยใช้อำนาจทางการบริหาร เพื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ในเรื่องอำนาจ และ/หรือการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ และ ปรับปรุงพิธีการ ศุลกากรทางรถไฟระหว่างประเทศเพิ่มเติมเอกสารที่สำคัญในระบบอิเล็กทรอนิกส์ คือ


๖๙ Manifest เพื่อให้สามารถบริหารจัดการพิธีการศุลกากรที่ขนส่งสินค้าหลายๆ ตู้คอนเทนเนอร์ หลายคนส่งสินค้า และหลายคนรับสินค้า ไม่ว่าจะเป็น FCL (Full Container Load)/ LCL (Less Than Container Load) เสมือนเรือขนส่งสินค้าที่ขนส่งสินค้าในหลายๆ ตู้คอนเทนเนอร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (บันทึกการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕๒๕๖๕) ได้ดำเนินการ ดังนี้ ๑. ผลการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบขนส่งทางราง ระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน พบว่า ๑.๑ แผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน (ระยะที่ ๑ และระยที่ ๒) - ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่า จะเปิดให้บริการในปลายปี ๒๕๖๙ - ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย รฟท. อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี ๒๕๗๑ ๑.๒ แผนการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ - โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ระยะทาง ๑๖๗ กิโลเมตรจำนวน ๑๕ สถานี กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งรัดให้สามารถเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติโครงการภายในปี ๒๕๖๕ (ไตรมาสที่ ๔) ๑.๓ การบริหารจัดการใช้ประโยชน์สะพานมิตรภาพ แห่งที่ ๑ หนองคาย - เวียงจันทน์เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - ลาว การรถไฟแห่ง ประเทศไทยเพิ่มขบวนรถและจำนวนแคร่ในการให้บริการ ดังนี้ - เพิ่มขบวนรถจาก ๔ เที่ยว เป็น ๑๔ เที่ยว (๗ เที่ยวไป ๗ เที่ยวกลับ) - เพิ่มจำนวนแคร่ต่อขบวน จาก ๑๒ แคร่ต่อขบวน เป็น ๒๕ แคร่ต่อขบวน นอกจากนั้น กรมทางหลวงมีข้อเสนอว่า กรมทางหลวงจะทำการทดสอบ ความสามารถในการรับน้ำหนักของสะพานเดิม เพื่อพิจารณาเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ น้ำหนักจาก ๕ ตัน เป็น ๒๐ ตัน ๑.๔. การก่อสร้างสะพามข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ - ข้อตกลงระหว่างประเทศไทย และสปป.ลาว นั้น ทั้งสองฝ่ายจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวง พิจารณาออกแบบสะพานใหม่ โดยแบ่งแผนการดำเนินการออกเป็น ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ การศึกษาความเหมาะสม (FS) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ระยะที่ ๒ งานออกแบบรายละเอียด (DD) และงานศึกษาทบทวนผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กรมทางหลวง ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งใหม่ว่าสะพานรูปแบบใดจะมีความคุ้มค่าและเหมาะสมมากที่สุด และเมื่อได้ผลการศึกษา ในระยะที่ ๑ แล้ว จะดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียด (DD) ต่อไป ซึ่งจะใช้ระยะเวลา


๗๐ ดำเนินการทั้งสิ้น ๙ เดือน โดยเสร็จสิ้นการศึกษาในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ และคาดว่า จะก่อสร้างแล้วเสร็จในระยะเวลา ๗ ปี - สปป. ลาว ประสงค์ให้แยกการก่อสร้างสะพานรถไฟกับสะพานรถยนต์ แต่ ฝ่ายไทยเสนอให้ก่อสร้างสะพานดังกล่าวรองรับได้ทั้งรถไฟและรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสปป. ลาว ให้ความสำคัญกับการพัฒนารถไฟก่อน เนื่องจากในฝั่ง สปป.ลาว ได้พัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับ การขนส่งทางรถไฟเป็นหลัก ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวกรมทางหลวงจะนำข้อมูลดังกล่าวไป ประกอบการพิจารณาศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา และเมื่อได้ผลการพิจารณาแล้ว จะได้เสนอให้ ฝ่ายสปป.ลาว พิจารณาเห็นชอบรูปแบบการก่อสร้างสะพานดังกล่าวร่วมด้วย ๑.๕. การพัฒนาย่านการขนส่งสินค้าในประเทศไทย - ระยะเร่งด่วน การรถไฟแห่งประเทศไทยได้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ ๘๐ ไร่ บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า และตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศแล้ว และสำนักงานศุลกากรหนองคายได้ประกาศเป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าด้วยแล้ว (พื้นที่ประมาณ ๔๗,๐๐๐ ตารางเมตร)โดยพื้นที่ดังกล่าวแบ่งเป็น ๕ แปลง พื้นที่แปลงละประมาณ ๑๑,๐๐๐ ตารางเมตร เพื่อประกาศเชิญชวนให้เอกชนมาดำเนินกิจกรรมยกขนและเปลี่ยนถ่ายสินค้า จำนวน ๔ แปลง โดยอีก ๑ แปลง จะใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางเพื่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สำนักงานศุลกากรหนองคายได้จัดเตรียมรถ Mobile X-Ray มาให้บริการบริเวณสถานี หนองคายเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้า ณ สถานีหนองคายไว้แล้ว - ระยะยาว การพัฒนาพื้นที่ย่านนาทา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้าง สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชน ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับ การขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย จากผลการศึกษาของสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทาง รางจังหวัดหนองคายได้ภายในต้นปี ๒๕๖๙ โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ ๒ ปี และคาดว่า จะเปิดให้บริการได้ในปี ๒๕๗๑ หรือไม่เกินปี ๒๕๗๒ ผู้แทนกรมทางหลวง ได้นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม (บันทึกการประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕๒๕๖๕) สรุปได้ดังนี้ ความคืบหน้าในการก่อสร้างสะพะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ที่กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณาออกแบบสะพานใหม่ ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ลงนาม ในสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการออกแบบสะพาน ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น ๙ เดือน โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าวไม่ว่าจะรองรับรถไฟอย่างเดียวหรือรองรับได้ทั้งรถยนต์และรถไฟ หรือแม้กระทั่งการก่อสร้างสะพานรถยนต์แห่งใหม่แยกต่างหากอีก ๑ ตัว ก็ตาม


๗๑ สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ ๑ หนองคาย - เวียงจันทน์ ที่กรมทางหลวง ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการทดสอบการรองรับน้ำหนักบรรทุกทั้งรถไฟและรถยนต์นั้น ผลการศึกษาพบว่า สะพานมีความเสียหายเกิดขึ้น จากที่คาดหวังว่าจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ ทั้งรถยนต์และรถไฟน้ำหนักประมาณ ๒๐ ตัน แต่ความสามารถของสะพานนั้นรองรับได้สูงสุด เพียง ๑๕ ตันเท่านั้น หากจะปรับปรุงให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ ๒๐ ตัน จะต้องมีการเสริม กำลังของสะพานดังกล่าว โดยใช้งบประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ๖ เดือน นอกจากนั้น ประเด็นในการหารือกับสปป.ลาว นั้น ยังรวมไปถึงสะพานมิตรภาพไทย -ลาว แห่งที่ ๕ (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ที่จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕ นี้ ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการเชิญนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และนายกรัฐมนตรีของสปป.ลาว เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวต่อไป จังหวัดหนองคาย ได้นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม สรุปได้ดังนี้ จังหวัดหนองคายได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐาน และระบบ สาธารณูปโภคด้านการค้า การลงทุน โดยได้ดำเนินการบริเวณ ทล. ๒ ตอนควบคุมที่ ๗๐๐ น้ำสวย - สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ ๑ ระยะทาง ๑ กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ ๔๙ ล้านบาท โครงการดังกล่าวจะสามารถรองรับการจอดรถบรรทุกบริเวณหน้าด้านศุลกากรหนองคาย ได้ประมาณ ๘๐ คัน เพื่อลดความแออัดของรถบรรทุกบริเวณหน้าด่าน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (บันทึกการประชุมคณะทำงานพิจารณาและติดตาม การเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่างจังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) ได้นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุมสรุปได้ว่า ด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการจัดหาตู้ตรวจหนังสือเดินทางและพิธีการเข้าเมือง จำนวน ๑ ตู้ ณ จุดตรวจสถานีรถไฟหนองคาย เพื่อเป็นการเพิ่มช่องตรวจหนังสือเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติเป็น ๒ ช่องตรวจ และอยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารดำเนินการพิธีการเข้าเมือง ณ จุดตรวจ สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๑ สำหรับการออก Visa on Arrival กลุ่มผู้เดินทางหลัก ที่จะมาใช้บริการ คือผู้เดินทางชาวจีน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ผู้แทนสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (บันทึกการประชุมคณะทำงานพิจารณาและติดตามการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางรางระหว่าง จังหวัดหนองคายกับนครหลวงเวียงจันทน์ครั้งที่ ๙/๒๕๖๕ วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) ได้นำเสนอข้อมูลต่อที่ประชุม สรุปได้ว่า สพพ. ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายท่านาแล้ง - เวียงจันทน์ ระยะที่ ๒ ส่วนที่ ๒ เป็นการก่อสร้างทางรถไฟขนาดความกว้าง ๑ เมตร จากสถานีท่านาแล้งไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ระยะทาง ๗.๕ กิโลเมตร การติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ อาคารสถานี ดำเนินการเสร็จแล้ว เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๕


๗๒ และรอส่งมอบในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ นอกจากนั้น สพพ. ได้พัฒนาลานกองเก็บตู้สินค้า ท่านาแล้ง ที่ปัจจุบันอยู่ในการบริหารของเวียงจันทน์ โลจิสติกส์ พาร์ค อักษรศรี พานิชสาส์น (๒๕๖๕) กล่าวว่า รถไฟเชื่อมต่อประเทศจีนจากเวียดนาม เส้นทางหนานหนิง - ฮานอย ช่วงครึ่งปีแรกของปี๒๕๖๔ มีรถไฟขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เส้นทางจีน - เวียดนาม รวม ๑๔๕ ขบวน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๔.๘ เมื่อเทียบกับปีก่อน การขนส่งในเส้นทางนี้ ช่วยวางรากฐานการขนส่งสินค้าทางรถไฟไร้รอยต่อระหว่างจีน - เวียดนาม และจีน - ยุโรป ให้กับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง รถไฟหนานหนิง-ฮานอย มีระยะทาง ๓๙๓ กิโลเมตร (ส่วนที่อยู่ในเวียดนามประมาณ ๑๖๒ กิโลเมตร เป็นระบบ ๓ ราง เพื่อแก้ปัญหาขนาดของราง ไม่เท่ากัน ในส่วนของรถไฟฮานอย - จีน - เบลเยี่ยม รถไฟออกจากกรุงฮานอย เวียดนาม ข้ามพรมแดนไปยังด่านรถไฟเมืองผิงเสียง กวางสีของจีน ไปแวะหยุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า สู่รถไฟขบวนใหม่ที่เมืองเจิ้งโจว มลฑลเหอหนาน วิ่งตรงไปซินเจียง เพื่อข้ามพรมแดนไปยัง คาซัคสถาน รัสเซีย ไปจนถึงปลายทางเบลเยี่ยม จากนั้นใช้รถบรรทุกขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยัง เมือง Rotterdam เนเธอร์แลนด์ รถไฟขบวนนี้ ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ได้ ๒๓ ตู้ จากเมืองฮานอย ถึงเบลเยี่ยม ใช้ระยะเวลาทั้งหมด ๒๕ - ๒๗ วัน (ช่วงโควิดระบาด) ประหยัดเวลากว่าการขนส่ง ทางทะเลได้ ๑ สัปดาห์ การให้บริการขนส่งในเส้นทางนี้ แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ๑) เส้นทาง จากฮานอย -จีน (สถานีผิงเสียงในจีน)อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทการรถไฟเวียดนาม และ ๒) เส้นทางจีน -ยุโรป เริ่มตั้งแต่สถานีผิงเสียงในจีน ไปถึงสถานีผู่เถียนของเจิ้งโจว์ (สถานีเปลี่ยนถ่าย) และจนถึงสถานีแยฌของเบลเยี่ยม อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทรถไฟจีน รถไฟเวียงจันทน์ - คุนหมิง ระยะทาง ๑,๐๓๕ กิโลเมตร เปิดให้บริการครบ ๑ ปี เมื่อธันวาคม ๒๕๖๕ มีปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนผ่านทางรถไฟ จำนวน ๑.๙ ล้านตัน ขนส่งสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ปุ๋ย เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า แผงโซล่าเซลล์ และการจัดส่ง ผลไม้แบบควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น การเชื่อมต่อการขนส่งทางรางระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน (คุณหมิง) ยังเป็น Missing Link ระหว่าง สปป.ลาวและไทย (ท่านาแล้ง - หนองคาย) ต้องรอการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ คณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ได้มีการประชุมคณะทำงานจากหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง และการเสวนาแบบ Focus group ระหว่างหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อทราบปัจจัยสนับสนุน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และ จีน ได้ข้อสรุปดังนี้


Click to View FlipBook Version