The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

115วรรณนิภา วงษ์หาริมาตย์(แฟ้มสะสมผลงาน)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 63040113115, 2024-01-29 11:33:30

115วรรณนิภา วงษ์หาริมาตย์(แฟ้มสะสมผลงาน)

115วรรณนิภา วงษ์หาริมาตย์(แฟ้มสะสมผลงาน)


ข แฟ้มปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา โรงเรียนสตรีราชินูทิศ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดร เขต 20 จัดทำโดย นางสาววรรณนิภา วงษ์หาริมาตย์ นักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพในสถานศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2566


ค คำนำ แฟ้มปฏิบัติการสอนในสถานศึกษานี้ ได้รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวกับการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เกิดจาการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อวางแผนพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ โดยทุกขั้นตอนได้คำปรึกษา และตรวจสอบดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านต่างๆ เป็น อย่างดี แฟ้มปฏิบัติการสอนในสถานศึกษานี้ ประกอบด้วย ขั้นตอนการวิเคราะห์หลักสูตรการสอน การ วางแผนการวัดผลและประเมินผลอย่างละเอียด ตัวอย่างเครื่องมือวัดผล และตัวอย่างชิ้นงานนักเรียน ซึ่งทุกชิ้น ได้ผ่านการตรวจ สอบแล้ว เช่นเดียวกัน ขอขอบคุณ ดร.ธิดาวรรณ นาคเสน ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนสตรีราชินูทิศ คณะกรรมการ พัฒนางานวิชาการโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมในการให้กำลังใจในการจัดทำทุก ขั้นตอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่ดีงามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการเรียน การสอนและพัฒนาการศึกษาต่อไป วรรณนิภา วงษ์หาริมาตย์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ก


ง สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ข้อมูลทั่วไป 1 ประวัติผู้จัดทำ 2 ประวัติการศึกษา 3 ประวัติสถานศึกษา 4 ข้อมูลการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาชีพครู 19 ด้านการเรียนการสอน 20 ด้านครูที่ปรึกษาและครูประจำชั้น 20 การพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ 61 การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา การประชุมเชิงวิชาการ 62 การปฏิบัติตน 62 คำสั่งโรงเรียนสตรีราชินูทิศ ประจำปีการศึกษา 2566 63 การปฏิบัติงานพิเศษ 64 ภาคผนวก 66 ภาคผนวก ก รูปคำสัง 67 ภาคผนวก ข รูปภาพการทำกิจกรรม 71 ข


1


2


3


4 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา โรงเรียนสตรีราชินูทิศ เดิมชื่อ “โรงเรียนอุปถัมภ์นารี” เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงในมณฑล อุดรธานี โดยคุณหญิงศรีสุริยราชวรานุวัตร ภริยาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาลมณฑล เห็น ความสำคัญในการศึกษาของกุลธิดาในมณฑล จึงได้ใช้เรือนที่อยู่ภายในจวนสมุหเทศาภิบาลเป็นโรงเรียน เปิด ทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2460 มีนักเรียน 30 คนและมีหม่อมหลวงสาย วัช โรทัย ซึ่งได้เล่าเรียนมาจาก โรงเรียนสตรีวิทยากรุงเทพมหานคร เป็นครูสอน โดยได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30 บาท ต่อมาในปี 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต คุณหญิงศรีสุริยราชวรานุวัตร จึงออกแจ้งความ เชิญชวนข้าราชการพ่อค้า ประชาชนในมณฑลอุดรธานี ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลถวายแด่พระองค์ เป็นการสนองพระราชดำริที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงตั้งพระทัยที่จะบริจาคทรัพย์ สร้างโรงเรียน สตรีขึ้นในมณฑลอุดรธานี แต่สวรรคตเสียก่อน


5 เมื่อรวบรวมทรัพย์ที่บริจาคได้จึงมีหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 27/4326 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2462 เพื่อนำกราบบังคมทูล ถึงการถวายพระราชกุศล และขอรับพระราชทานนาม โรงเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือแจ้งถึงราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ เมื่อพระองค์ทรงทราบจึงให้กรมอาลักษณ์ คิดชื่อโรงเรียน จากนั้นทรงเลือกพระราชทานนามโรงเรียนว่า “ราชินูทิศ” ตามหนังสือแจ้ง พระราชทานนามโรงเรียน ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2463 ซึ่งทางโรงเรียนถือเอาวันนี้ เป็นวัน สถาปนาโรงเรียนเป็นต้นมา ต่อมาในปี 2468 ได้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ บริเวณริมหนองประจักษ์ ชื่อว่า อาคาร “ราชินูทิศ” โดย สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ (กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) เสด็จมาเปิด อาคารในปี 2497 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม มาประกอบพิธีเปิด สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ซึ่งใช้อาคาร “ราชินู ทิศ” เป็นที่ตั้งสมาคม และท่านเห็นว่า อาคารหลังเล็กไป ประกอบกับมีน้ำล้อมรอบตั้ง 3 ด้าน ขยายออกไปอีกไม่ได้ จึงอนุมัติเงินสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 5,760,000 บาท สร้างอาคารใหม่ บนถนนศรีสุขในเนื้อที่ 43 ไร่ 1 งานและสร้างเสร็จในปี 2499 และเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2500 ซึ่งเป็นอาคาร 1 ในปัจจุบัน ส่วนอาคารริมหนองประจักษ์ ใช้ เป็นสำนักงานการศึกษา เขต 9 และพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัด ในกาลต่อมา ในวันที่ 3 มกราคม 2523 นายสมภพ จันทรประภา ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน และได้ท้วงถึงเกี่ยวกับ ตราประจำโรงเรียนว่าเป็นการไม่ถูกต้อง ควรทำการปรึกษาสำนัก พระราชวัง เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ทางโรงเรียนได้มีหนังสือไปยังสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งทาง สำนักราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์ในปัจจุบัน) แจ้งว่า อักษรย่อ ร.น. อยู่ภายใต้ มหามกุฎนั้น ไม่เหมาะสม จึงได้เปลี่ยน จาก ร.น.มาเป็น “โรงเรียนสตรีราชินูทิศ” ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2526 นางสาวสมจิตต์ บุตรดีมี ผู้อำนวยการโรงเรียน ขณะนั้น ได้มีหนังสือนำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทาน ตราสัญลักษณ์ และได้รับพระบรมรา ชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อ วันที่ 6 มกราคม 2527 โดยใช้พระนามาภิไธยย่อ อักษรไขว้ “ผ.ส.” ภายใต้มหามงกุฎอันเป็นพระ


6 นามาภิไธย ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบ รมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีอักษรคำว่า “สตรีราชินูทิศ” บนแพรแถบสีฟ้า 2. ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ชื่อสถานศึกษา : โรงเรียนสตรีราชินูทิศ (SatriRachinuthit School) ผู้ก่อตั้งโรงเรียน :พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอุดรและคุณหญิงน้อม ดิษยบุตร (ศรีสุริยราช) โดยพระราชดำริของสมเด็จพระพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 วันสถาปนาโรงเรียน : 14 กุมภาพันธ์ 2463 พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธชินราชจำลอง สถานที่ตั้ง : 103 ถนนศรีสุข ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี อักษรย่อโรงเรียน : ร.น. ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ดอกพิกุล คำขวัญของโรงเรียน : เรียนเด่น วินัยดี มีศีลธรรม ปรัชญาของโรงเรียน : สุทธิ อสุทธิ ปัจจัตตัง สีประจำโรงเรียน :เหลือง – ฟ้า เหลือง : สีแห่งความสูงศักดิ์ มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ฟ้า : เป็นสีประจำวันพระราชสมภพในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ


7 ตราประจำโรงเรียน โรงเรียนได้รับพระราชทานบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรให้ใช้พระนามาภิไธยย่ออักษรไขว้ ส.ผ. ภายใต้มหามงกุฏ อันเป็นระนามาภิไธยสมเด็จพระนาง เจ้าเสาวภาผ่องศรี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถใน รัชกาลที่ 5 เป็นตราประจำโรงเรียน โดย กำหนดให้มหามงกุฎเป็นสีเหลือง อักษร “ส”สีเหลือง และ “ผ” สีฟ้าและรองรับด้วยแพรแถบสีฟ้ามีอักษรคำว่า “สตรีราชินูทิศ” เป็นสีเหลือง พื้นที่ของโรงเรียน : 43 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา รหัสสถานศึกษา : รหัสโรงเรียน 10 หลัก : 1041680823 รหัส Smis 8 หลัก : 41012002 รหัส Obec 6 หลัก : 680823 อีเมลโรงเรียน : [email protected] ระดับที่เปิดสอน : มัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 1- ม. 6) แผนการจัดชั้นเรียน : ม.ต้น 14 ห้อง ม.ปลาย 16 ห้อง จำนวนครู : 173 ครูอัตราจ้าง จำนวนนักเรียน : 3,686 คน จำนวนลูกจ้างประจำ : 13 คน จำนวนลูกจ้างชั่วคราว : 13 คน


8 3. ข้อมูลผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3.1 ข้อมูลผู้บริหาร


9 3.2 ข้อมูลครูและบุคลากร โรงเรียนสตรีราชินูทิศมีจำนวนครูแลบุคลากร จำแนกครูตามสายงาน ตำแหน่ง เพศ และ ระดับการศึกษาดังนี้ ประเภทบุคลากร ตำแหน่ง เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด ชาย หญิง ต่ำ กว่า ป.ตรี ป. ตรี สูงกว่า ป.ตรี 1. ผู้อำนวยการโรงเรียน - 1 - - 1 2. รองผู้อำนยการโรงเรียน 3 1 - - 4 3. ข้าราชการครู 52 121 - 35 138 4. พนักงานราชการ 3 1 - 4 - 5. อัตราจ้าง(ครูผู้สอน) 3 4 - 7 - 6. อัตราจ้าง(สนับสนุน) 4 - 4 - - 7. นักการ / ภารโรง 6 7 13 - - 8. ลูกจ้างชั่วคราว 4 9 13 - - รวมทั้งหมด 75 144 30 46 143 219 219 3.3 ข้อมูลนักเรียน โรงเรียนสตรีราชินูทิศมีจำนวนนักเรียนแยกเป็นแต่ละระดับชั้น ดังนี้ ระดับชั้น จำนวนนักเรียน (คน) จำนวนห้อง ชาย หญิง รวม มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 564 564 14 มัธยมศึกษาปีที่ 2 - 613 613 14 มัธยมศึกษาปีที่ 3 - 592 592 14 รวมชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - 1,769 1,769 42 มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 619 619 16 มัธยมศึกษาปีที่ 5 - 651 651 16 มัธยมศึกษาปีที่ 6 - 647 647 16 รวมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย - 1,917 1,917 48


10 รวมทั้งหมด - 3,686 3,686 90 3.4 ข้อมูลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถานบัน เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด รวม ชาย หญิง ป.บัณฑิต ป.ตรี ป.โท มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 3 - 6 - 6 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี 6 15 - 21 - 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 1 0 - 1 - 1 รวมทั้งหมด 10 18 - 28 - 28


11 4. ระบบโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน โครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ปีการศึกษา 2563-2566


12 5. ข้อมูลอาคารและสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5.1 อาคารสถานที่ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


13 5.1.1 ห้องเรียน มีทั้งหมด 90 ห้อง 5.1.2 ห้องพักครู ทั้งหมด 13 ห้อง 5.1.3 ห้องส่งเสริมวิชาการ ทั้งหมด 25 ห้อง ได้แก่ ห้องประชุมเสาวภาผ่องศรี ห้องประชุมทั่วไป ห้องดนตรีไทย ห้องดนตรีพื้นเมือง ห้องดนตรีสากล ห้อง นาฏศิลป์ ห้องคอมพิวเตอร์ องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้องภาษาจีน ห้องภาษาฝรั่งเศส ห้อง Sonud Leb ห้องคหกรรม ห้องเขียนแบบ เรือนเกษตร ห้องงาไม้ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องหมอภาษา ห้อง To Be Number 1 ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องประวัติศาสตร์โรงเรียน ห้องสมุดดิจิตอล ห้องพยาบาล อาคารเมตตา 5.2 สภาพทั่วไปของสถานศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5.2.1 การจัดระบบอาคาร การจัดระบบอาคารเรียนนั้น เป็นการจัดอาคารเรียนซ้อนกัน เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนมีอย่างจำกัด โดยอาคารที่อยู่ด้านหน้าของโรงเรียนคืออาคาร 1 ซึ่งเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุด เป็นอาคารที่รวบรวมห้องฝ่าย บริหารต่าง ๆ ของโรงเรียน อาคารจัดวางในลักษณะแนวนอน มีด้วยกัน 3 ชั้น โดยมีลานอเนกประสงค์ภายใต้ โดมหลังใหญ่สำหรับเข้าแถวและจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสนามบาสเกตบอลและสนามวอลเล่ย์บอล ซึ่ง อยู่ทางด้านหน้าของโรงเรียน ส่วนทางด้านขวาของอาคาร 1 คือ อาคาร 4 มีทั้งหมด 3 ชั้น จัดวางในลักษณะ แนวยาว ด้านหลังของอาคาร 1 จะเป็นอาคาร 2 และจะมีอาคารเมตตาที่มีทั้งหมด 2 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารเรียน วิชาพระพุทธศาสนาคั่นกลางอยู่ด้านหลังของอาคารเมตตาจะเป็นสหกรณ์ร้านค้าภายในโรงเรียน และถัดจาก สหกรณ์ร้านค้าภายในโรงเรียนไปทางด้านข้างนั้นจะเป็นอาคาร 80 ปี มีทั้งหมด 2 ชั้นซึ่งเป็นอาคารพยาบาล ด้านหลังของอาคาร 2 จะเป็นอาคาร 3 มีทั้งหมด 4 ชั้น มีลักษณะการจัดวางคล้ายกันกับอาคาร 1 และอาคาร 2 คือจัดวางในแนวนอน ถัดไปทางด้านขวามือของอาคาร 3 จะเป็นอาคารเสาวภา มีทั้งหมด 3 ชั้น ซึ่งใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ สำหรับประชุมหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นอาคารห้องสมุดอีกด้วย ถัดจากอาคารเสาวภาไปทางด้านขวามือจะเป็นอาคาร 5 มีทั้งหมด 3 ชั้น จัดวางในลักษณะแนวยาว ทาง ด้านหลังของอาคารเสาวภาจะเป็นอาคารคหกรรมอาคารดุริยางค์และอาคารดนตรีพื้นบ้าน และด้านหลังของ อาคาร 3 จะเป็นโรงอาหาร โดยด้านข้ายของโรงอาหารจะเป็นสนามฟุตซอล สระว่ายน้ำ อาคารเรียนปิ้งปอง อาคารเรียนลีลาส และสนามเทนนิส ส่วนด้านหลังของโรงอาหารจะเป็นอาคารเรียนคหกรรม เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม 5.2.2 การจัดสภาพห้องเรียน ทางด้านแสง เสียง ความร้อน เนื่องจากจำนวนนักเรียนต่อหนึ่งห้องเรียนมีจำนวนค่อนข้างมาก การจัดสภาพห้องเรียนจึงเป็นไปอย่าง จำกัดโดยหนึ่งห้องจะมีโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนมากถึง 50 ตัว ทั้งนี้ เนื่องจากโรงเรียนแห่งนี้ใช้ระบบเดิน เรียน ทำให้ต้องหมุนเวียนการใช้ห้องเรียน ดังนั้นห้องเรียนแต่ละห้องจำเป็นต้องมีโต๊ะและเก้าอี้ไว้สำรอง ตลอดเวลา เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้ห้องเรียนค่อนข้างแคบและดูแออัด ในส่วนของแสง ห้องเรียนทุกห้องจะมี หน้าต่างทางด้านเดียว โดยมีหน้าต่างทั้งหมดประมาณ5-6 บานต่อห้อง และมีประตูด้านหน้า และด้านหลังอย่าง ละ 1 ประตู ทำให้แสงสว่างอาจจะเข้าถึงได้ไม่ดีนัก แต่ทางโรงเรียนมีการเพิ่มแสงสว่างด้วย หลอดไฟ ห้องเรียน


14 ละ 2-3 จุด ในส่วนของด้านความร้อน จากการสังเกตที่ผ่านมาทางโรงเรียนมีการจัดพัดลมให้นักเรียนเพียงห้อง ละ 2-4 ตัว จึงทำให้อากาศภายในห้องไม่ถ่ายเทเท่าที่ควร แต่หากมีการเปิดประตูและหน้าต่างก็สามารถที่จะ ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น 5.2.3 การจัดการคมนาคมในโรงเรียน ในส่วนของการจัดการคมนาคม เนื่องจากโรงเรียนสตรีราชินูทิศ ตั้งอยู่บนถนนศรีสุข ซึ่งทุก ๆ เช้าจะมี ปัญหารถติดเกิดขึ้นเสมอ โดยในช่วงเช้าด้านหน้าของโรงเรียนจะเปิดประตูทั้งหมดสองประตู โดยประตู 1 (ฝั่ง ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวะศึกษาฯ)จะอนุญาตให้เข้าเฉพาะนักเรียนที่เดินเท้าเข้าเท่านั้น ส่วนประตู 2 (ใกล้ โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี) จะอนุญาตให้เข้าเฉพาะรถจักรยานยนต์และรถยนต์เท่านั้น โดยทางโรงเรียนไม่ อนุญาตให้ผู้ปกครองเข้ามรับ - ส่งบุตรหลานภายในโรงเรียน นอกจากจะเปิดประตูด้านหน้าในช่วงเช้าแล้ว ประตูหลังโรงเรียนทั้ง 2 ประตูก็เปิดเช่นกัน โดยประตู 1 (ฝั่งอาคารดุริยางค์) อนุญาตให้ทั้งรถจักรยานยนต์ รถยนต์ และนักเรียนที่เดินเท้าเข้า แต่จะแยกกันโดยชัดเจน คือ นักเรียนที่เดินเท้าจะต้องเดินตามทางเดินที่ โรงเรียนจัดไว้ให้ ส่วนนักเรียนที่ขี่รถจักรยานยนต์ เมื่อถึงเส้นที่รงเรียนกำหนดจะต้องจอด และลงจากรถเพื่อ เข็นรถผ่านครูเวรที่ยืนประจำอยู่ เป็นการแสดงความเคารพก่อนขับรถไปจอดตามจุดที่ทางโรงเรียนกำหนด ส่วนรถยนต์สามารถขับผ่านเข้าไปได้เลยและประตู 2 (ฝั่งสระว่ายน้ำ จะอนุญาตให้เฉพาะรถขาออกเท่านั้น เมื่อ ถึงเวลา 8 นาฬิกา ประตูหลังทั้งหมด และประตูด้านหน้าฝั่งโรงเรียนอนุบาลอุดรธานีจะปิดทันที และ อนุญาต ให้เข้าออกโรงเรียนโดยประตู 1 ด้านหน้าเท่านั้น และเมื่อถึงเวลา 15.30 น.ประตูอีก 3 บานก็จะถูกเปิดอีกครั้ง และปิดลงในเวลา 17.00 น. ในส่วนของการจัดระเบียบการจอดรถ ทางโรงเรียนจัดพื้นที่จอดรถ สำหรับ นักเรียนที่นำรถจักรยานยนต์มาไว้ทั้งหมด 4 จุด จุดแรกคือติตรั้วโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จุดที่ 2 คือ ด้านหลังอาคาร 2 จุดที่ 3 คือ ด้านหลังอาคาร 3 และจุดที่ 4 คือด้านหน้าสนามฟุตซอล โดยในทุก เช้าจะมีนักเรียนอาสาทำหน้าที่ช่วยจัดความเรียบร้อยของการจอดรถ และช่วยยกรถเพื่อจอดให้สะดวก ส่วน รถยนต์ของครู ทางโรงเรียนมีการจัดที่จอดรถให้ครูหลายจุด จุดหลัก คือ ด้านหลังอาคาร 1 ด้านหลังอาคาร 2 และ ด้านหลังอาคาร 3 5.2.4 การจัดเพื่อส่งเสริมความน่าอยู่เกี่ยวความสะอาด เรียบร้อยและการตกแต่ง มีการจัดสวนหย่อมรอบ ๆ บริเวณโรงเรียนและบริเวณหน้าอาคารเรียนด้วย โดยหน้าโรงเรียนมีต้น พิกุลปลูกเรียงเป็นแนวยาวทำให้มีความร่มรื่น ในส่วนด้านหน้าโรงเรียนฝั่งโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี มีการจัด สวนและปูพื้นสนามหญ้า ในส่วนของด้านหน้าและด้านข้างอาคาร 3 มีมุมน้ำตก และบ่อเลี้ยงปลาขนาดเล็ก เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนแก่นักเรียน นอกจากจะจัดพื้นที่ของโรงเรียนให้มีความร่มรื่นแล้วทางโรงเรียนยังจัดม้า หินอ่อน และที่นั่งตามจุดต่าง ๆ หน้าอาคารเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนอีกด้วย ในส่วนของความ สะอาด ทุกอาคารเรียนจะมีจุดทิ้งขยะประจำอาคาร และทางโรงเรียนมีการรักษาความสะอาดภายในอาคาร เรียนโดยไม่อนุญาตให้นักเรียนนำอาหารและเครื่องดื่มไปทานบนอาคารเรียน และให้นักเรียนทิ้งขยะให้ถูกที่ ซึ่งมาตรการการรักษาความสะอาดนี้ค่อนข้างได้ผล เพราะตามอาคารเรียน ตามทางเดินระหว่างอาคารเรียน และบริเวณต่าง ๆ ในโรงเรียนนั้น แทบไม่มีขยะให้เห็นเลย


15 5.2.5 การจัดเพื่อส่งเสริมความน่าเรียน เช่น การจัดป้ายนิเทศ การจัดมุมหนังสือ การจัดมุมอุปกรณ์ และอื่นๆ มีการจัดป้ายนิเทศอยู่ทุกอาคารเรียน ข้างก็เป็นบอร์ดหน้าห้องเรียนและในห้อง บ้างก็เป็นบอร์ด ระหว่างทางเดินหรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ต่าง ! ทำให้นักเรียนได้เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากบอร์ดเหล่านี้ นอกจากนี้แต่ละอาคารเรียนก็จะมีห้องสมุดประจำหมวดสาระ แต่ห้องสมุดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะเป็น ห้องสมุดหมวดภาษาไทย เพราะมีการจัดหนังสือและสื่อให้น่าสนใจและดูเข้าถึงง่าย บางห่มวดสาระนั้น แทบ จะไม่มีนักเรียนเข้าไปใช้ห้องสมุดเลย เนื่องจากการจัดสถานที่ไม่น่าสนใจและไม่น่าเข้าถึง ในส่วนของห้องสมุด มีการจัดสื่อบริการหลายรูปแบบ ทั้งหนังสือต่าง ๆ คอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้ารวมไปถึงชุดโชฟา พร้อมชุดโฮม เธียเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถชมภาพยนตร์เป็นกลุ่มภายในโชนที่จัดไว้ แต่จากที่สังเกตพบว่า โซนที่จัดไว้นั้น เป็นโซนเปิด ซึ่งไม่เก็บเสียง อาจจะรบกวนนักเรียนที่มาใช้บริการห้องสมุดเช่นการอ่านหนังสือได้ 5.3 แผนที่ตั้งโรงเรียนสตรีราชินูทิศ 5.4 แผนผังภายในโรงเรียนสตรีราชินูทิศ


16 6. สภาพทั่วไป และอาคารสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อาคารเรียน 1 อาคารเรียน 2 อาคารเรียน 3 อาคารเรียน 4 อาคารเรียน 5 หอประชุมเสาวภาผ่องศรี-ห้องสมุด


17 โรงอาหาร เสาธง อาคารอุตสาหกรรม – เกษตร โดมอเนกประสงค์ โดม ๑๐๐ ปีสตรีราชินูทิศ สระว่ายน้ำ


18 อาคารเมตตา อาคาร 80 ปี ห้องน้ำห้องส้วม ป้อมยาม สหกรณ์โรงเรียน พระราชานุสาวรีย์ฯ


19 ข้อมูลการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาชีพครู ด้านการเรียนการสอน ด้านครูที่ปรึกษาและครูประจำชั้น


20 1. ด้านการเรียนการสอน 1.1 การวิเคราะห์หลักสูตร หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 1.1 วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึดมั่นใน การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ , 2551) 1.2 หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1.2.1 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม บนพื้นฐานของ ความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 1.2.2 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่าง เสมอภาค และมีคุณภาพ 1.2.3 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 1.2.4 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการ จัดการเรียนรู้ 1.2.5 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.2.6 เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 1.3 จุดมุ่งหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มี ศักยภาพ ในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1.3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติ ตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.3.2 มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมี ทักษะชีวิต


21 1.3.3 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 1.3.4 มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.3.5 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี ความสุข 1.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่ง การพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1.4.1 ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการ ใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการ เลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 1.4.2 ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การ คิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้าง องค์ความรู้หรือ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 1.4.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้ มาใช้ใน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไป ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันใน สังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหา และความขัดแย้งต่าง ๆ อย่าง เหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรม ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 1.4.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณธรรม


22 1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 8 ประการ ได้แก่ 1.5.1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นผลเมืองที่ดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คือ ผู้ที่มีลักษณะซึ่งแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ มีความสามัคคีปรองดอง ภูมิใจ เชิดชูความเป็นชาติไทย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ 1.5.2 ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติ ตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่นทั้งทางกายวาจาใจ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงตาม ความเป็นจริงทั้งทางกาย วาจาใจ และยึดหลักความจริง ความถูกต้อง ในการดำเนินชีวิต มีความละอายและ เกรงกลัวต่อการกระทำผิด 1.5.3 มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคมผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคมเป็นปกติวินัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 1.5.4 ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ คือ ผู้ที่มีลักษณะที่แสดงออกถึง ความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ สรุปองค์ ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด เผยแพร่ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 1.5.5 อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้ที่อยู่อย่าง พอเพียง คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างประมาณตน มีเหตุผล รอบคอบ ระมัดระวัง อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยความ รับผิดชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยงและพร้อมรับกับ การเปลี่ยนแปลง 1.5.6 มุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจและรับผิดชอบใน การทำหน้าที่ในการงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้ที่มีมุ่งมั่นในงาน คือ ผู้ที่มีลักษณะซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง ตามเป้าหมายที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบและมีความ ภาคภูมิใจในผลงาน


23 1.5.7 รักความเป็นไทย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ร่วมกัน อนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้ที่รักความเป็นไทย คือ ผู้ที่มีความภูมิใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ สืบทอดเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ศิลปะและวัฒนธรรมไทย มีความกตัญญู กตเวที ใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.5.8 มีจิตสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แกผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดยไม่หวัง ผลตอบแทน ผู้มีจิตสาธารณะ คือ ผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้ให้และช่วยเหลืออื่น แบ่งปันความสุขส่วนตน เพื่อ ประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วย แรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดในชุมชน โดยไม่หวังสิ่งตอบ แทน 1.6 การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ครูผู้สอนต้อง วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีหลักการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการทางสมอง การจัดการเรียนรู้ที่เน้น คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาอาจเพิ่มขึ้นได้ ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับ ผู้เรียน เช่น การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง และกระบวนการพัฒนา ลักษณะนิสัย เป็นต้น ทั้งนี้ต้องให้ความสำคัญกับการใช้สื่อ การพัฒนาสื่อ การใช้แหล่งเรียนรู้ การใช้แหล่งการ เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการวัดผลอย่างหลากหลายเพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรรกระบวนการ เรียนรู้ การจัดผู้เรียนโดยช่วยให้ผู้เรียนผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้รวมทั้งปลูกฝัง เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่าง ๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย 1.6.1 หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะ สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลัก ว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับ ผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและศักยภาพของเด็ก คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและการพัฒนาทางสมองเน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และจริยธร


24 1.6.2 กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่ หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับ ผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการสร้าง สังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการ ปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการ ฝึกฝน พัฒนาเพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอนจึง จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 1.6.3 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แล้วจึง พิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและการ ประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเด็กตามศักยภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนด 1.6.4 บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร ทั้งผู้สอนและ ผู้เรียนควรมีบทบาทดังนี้ บทบาทของผู้สอน 1) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวาง แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน 2) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะ กระบวนการ ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและ พัฒนาการ ทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย 4) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการ เรียนรู้ 5) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 6) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับ ธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน


25 7) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้ง ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของตนเอง บทบาทของผู้เรียน 1) กำหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง 2) เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อความรู้ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ 3) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ ในสถานการณ์ต่าง ๆ 4) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู 5) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายของวิทยาศาสตร์ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุดเพื่อให้ได้ทั้ง กระบวนการและความรู้จากวิธีการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การทดลอง แล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็น หลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงมีเป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้ 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีและกฎที่เป็นพื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ 2.เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์และข้อจำกัดในการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อให้มีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางเทคโนโลยี 4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมวลมนุษย์และสภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน 5. เพื่อนำความรู้ความเข้าใจ ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมและการดำรงชีวิต 6. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหา และ การจัดการ ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ 7. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์


26 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทําไมต้องเรียนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคน ทั้งในชีวิตประจําวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่ มนุษย์ได้ใช้เพื่ออํานวยความสะดวกในชีวิตและการทํางาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็น เหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์มีทักษะสําคัญในการค้นคว้าหาความรู้มีความสามารถในการ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (K knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนําความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม เรียนรู้อะไรในวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับ กระบวนการมีทักษะสําคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และ แก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทํากิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริง อย่างหลากหลายเหมาะสมกับระดับชั้น โดยกําหนดสาระสําคัญ ดังนี้ ➢ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตในสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต การดํารงชีวิต ของมนุษย์และสัตว์การดํารงชีวิตของพืช พันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ➢ วิทยาศาสตร์กายภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสาร การเปลี่ยนแปลงของสาร การเคลื่อนที่ พลังงาน และคลื่น ➢ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของเอกภพ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ เทคโนโลยีอวกาศ ระบบโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา กระบวนการ เปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและผล ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ➢ เทคโนโลยี • การออกแบบและเทคโนโลยีเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเลือกใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมาะสมโดยคํานึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม • วิทยาการคํานวณ เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงคํานวณ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เป็นขั้นตอนและ เป็นระบบประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการ แก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


27 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับ สิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศการถ่ายทอดพลังงาน การ เปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนําความรู้ไป ใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลําเลียงสารเข้าและ ออกจากเซลล์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทํางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทํางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ ประโยชน์ มาตรฐาน ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสําคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสาร พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของ สสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจําวัน ผลของแรงที่กระทําต่อวัตถุ ลักษณะ การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุรวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจําวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลม ฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผล ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


28 สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อ แก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสมโดยคํานึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคํานวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทํางาน และการแก้ปัญหาได้ อย่างมีประสิทธิภาพรู้เท่าทัน และมีจริยธรรม คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1. เข้าใจลักษณะและองค์ประกอบที่สําคัญของเซลล์สิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของการทํางานของ ระบบ ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ การดํารงชีวิตของพืช การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต การถ่ายทอดลักษณะ ทาง พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซมและตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ประโยชน์และผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปรงพันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดพลังงาน ใน สิ่งมีชีวิต 2. เข้าใจองค์ประกอบและสมบัติของสารละลาย สารบริสุทธิ์ การเปลี่ยนแปลงของสารในรูปแบบของ การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี 3. เข้าใจแรงลัพธ์และผลของแรงลัพธ์กระทําต่อวัตถุ แรงเสียดทาน การหมุนของวัตถุ โมเมนต์ของแรง แรงที่ปรากฏในชีวิตประจําวัน ความสัมพันธ์ระหว่างงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ กฎการอนุรักษ์พลังงาน การถ่ายโอนพลังงาน สมดุลความร้อน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางไฟฟ้า หลักการต่อวงจรไฟฟ้า ในบ้าน พลังงานไฟฟ้า และหลักการเบื้องต้นของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 4. เข้าใจสมบัติของคลื่น และลักษณะของคลื่นแบบต่าง ๆ เสียง การสะท้อน การหักเห และความเข้ม ของแสง 5. เข้าใจตําแหน่งของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้า สมบัติและองค์ประกอบของดาวเคราะห์แต่ละดวง ใน ระบบสุริยะ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก ความสําคัญและประโยชน์ในการใช้งานของเทคโนโลยีอวกาศ สมบัติและประโยชน์ของบรรยากาศแต่ละชั้นที่มีต่อสิ่งมีชีวิต 6. เข้าใจระบบโลก โครงสร้างของโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนโลกและใต้ผิว โลก กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ การเปลี่ยนแปลงของลม ฟ้า อากาศที่ทําให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ กระบวนการเกิดธรณีพิบัติภัย และปรากฏการณ์เรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 7. เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยี โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากรเพื่อออกแบบและสร้างผลงานสําหรับการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวันหรือการประกอบ


29 อาชีพ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม รวมทั้งเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย รวมทั้งคํานึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา 8. นําข้อมูลปฐมภูมิเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ ประเมิน นําเสนอข้อมูลและสารสนเทศได้ตาม วัตถุประสงค์ใช้ทักษะการคิดเชิงคํานวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง และเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อช่วย ในการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบต่อสังคม 9. ตั้งคําถามหรือกําหนดปัญหาที่เชื่อมโยงกับพยานหลักฐานหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการ กําหนดและควบคุมตัวแปร คิดคาดคะเนคําตอบหลายแนวทาง สร้างสมมติฐานที่สามารถนําไปสู่การสํารวจ ตรวจสอบ ออกแบบและลงมือสํารวจตรวจสอบโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม เลือกใช้เครื่องมือและ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและ ปลอดภัย 10. วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของข้อมูลที่ได้จากการสํารวจตรวจสอบจาก พยานหลักฐานโดยใช้ความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการแปลความหมายและลงข้อสรุป และสื่อสาร ความคิด ความรู้จากผลการสํารวจตรวจสอบหลากหลายรูปแบบ หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ได้อย่างเหมาะสม 11. แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบ และซื่อสัตย์ ในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีความคิด สร้างสรรค์ เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามความสนใจของตนเอง โดยใช้เครื่องมือและวิธีที่เชื่อถือได้ศึกษาค้นคว้า เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นของตนเอง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และยอมรับการ เปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือแย้งจากเดิม 12. ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจําวัน ใช้ความรู้และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดํารงชีวิต และการประกอบอาชีพ แสดงความชื่นชมยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น เข้าใจผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ต่อสิ่งแวดล้อมและต่อบริบทอื่น ๆ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทําโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ 13. แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า มีส่วนร่วมในการพิทักษ์ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสําคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสารมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิดความรู้ความเข้าใจความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการ เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม


30 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนํากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ ดําเนินชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทํางาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง ประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การ ทํางานการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี ความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทํางาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ


31 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสําคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจําลอง • ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดจาก รุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้โดยมียีนเป็นหน่วยควบคุม ลักษณะทางพันธุกรรม • โครโมโซมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ และโปรตีนขด อยู่ในนิวเคลียส ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซมมี ความสัมพันธ์กัน โดยบางส่วนของดีเอ็นเอทําหน้าที่ เป็นยีนที่กําหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิต • สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซม 2 ชุด โครโมโซมที่เป็นคู่กันมีการ เรียงลําดับของยีนบนโครโมโซมเหมือนกันเรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม ยีนหนึ่งที่อยู่บนคู่ ฮอมอโลกัส โครโมโซม อาจมีรูปแบบแตกต่างกัน เรียกแต่ ละรูปแบบของยีนที่ต่างกันนี้ว่าแอลลีล ซึ่งการเข้าคู่กันของ แอลลีลต่าง ๆ อาจส่งผลทําให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่แตกต่าง กันได้ • สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจํานวนโครโมโซมคงที่ มนุษย์มี จํานวนโครโมโซม 23 คู่ เป็นออโตโซม 22 คู่และ โครโมโซมเพศ 1 คู่ เพศหญิงมีโครโมโซมเพศ เป็น XX เพศ ชายมีโครโมโซมเพศเป็น XY 2. อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจาก การผสมโดยพิจารณาลักษณะเดียวที่แอลลีลเด่นข่ม แอลลีลด้อยอย่างสมบูรณ์ 3. อธิบายการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลูกและ คํานวณอัตราส่วนการเกิดจีโนไทป์ และฟีโนไทป์ของ รุ่นลูก • เมนเดลได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมของต้นถั่วชนิดหนึ่ง และนํามาสู่หลักการ พื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของ สิ่งมีชีวิต • สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมเป็น 2 ชุด ยีนแต่ละตําแหน่ง บนฮอมอโลกัสโครโมโซมมี2 แอลลีลโดยแอลลีล หนึ่งมาจากพ่อ และอีกแอลลีลมาจากแม่ซึ่งอาจมี รูปแบบเดียวกัน หรือแตกต่างกันแอลลีลที่แตกต่าง กันนี้แอลลีลหนึ่งอาจมีการแสดงออกข่มอีกแอลลีล


32 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง หนึ่งอาจมีการแสดงออกข่มอีกแอลลีลหนึ่งได้เรียกแอลลีล นั้นว่าเป็นแอลลีลเด่น ส่วนแอลลีลที่ถูกข่มอย่างสมบูรณ์ เรียกว่าเป็นแอลลีลด้อย • เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แอลลีลที่เป็นคู่กัน ในแต่ละฮอมอโลกัสโครโมโซมจะแยกจากกัน ไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์โดยแต่ละเซลล์สืบพันธุ์ จะได้รับเพียง 1 แอลลีลและจะมาเข้าคู่กับ แอลลีลที่ตำแหน่งเดียวกันของอีกเซลล์สืบพันธุ์หนึ่ง เมื่อเกิดการปฏิสนธิจนเกิดเป็นจีโนไทป์และ แสดงฟีโนไทป์ในรุ่นลูก 4. อธิบายความแตกต่างของการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสและไมโอซิส • กระบวนการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมี2 แบบ คือ ไมโทซิส และไมโอซิส • ไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจํานวนเซลล์ ร่างกาย ผลจากการแบ่งจะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ที่มี ลักษณะและจํานวนโครโมโซมเหมือนเซลล์ตั้งต้น • ไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ผลจากการแบ่งจะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ที่มีจํานวน โครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ตั้งต้น เมื่อเกิดการ ปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์ลูกจะได้รับการถ่ายทอด โครโมโซมชุดหนึ่งจากพ่อและอีกชุดหนึ่งจากแม่จึง เป็นผลให้รุ่นลูกมีจํานวนโครโมโซมเท่ากับรุ่นพ่อแม่ และจะคงที่ในทุกๆรุ่น 5. บอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซม อาจทําให้เกิดโรคทางพันธุกรรม พร้อมทั้งยกตัวอย่าง โรคทางพันธุกรรม 6. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องโรคทาง พันธุกรรม โดยรู้ว่าก่อนแต่งงานควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจและวินิจฉัยภาวะเสี่ยงของลูกที่อาจเกิดโรค ทางพันธุกรรม • การเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซม ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของ สิ่งมีชีวิต เช่น โรคธาลัสซีเมียเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของยีน กลุ่มอาการดาวน์เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงจํานวนโครโมโซม • โรคทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ ลูกได้ดังนั้นก่อนแต่งงานและมีบุตรจึงควรป้องกัน โดยการตรวจและวินิจฉัยภาวะเสี่ยงจากการ ถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม


33 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 7. อธิบายการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปร พันธุกรรม และผลกระทบที่อาจมีต่อมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ 8. ตระหนักถึงประโยชน์และผลกระทบของสิ่งมีชีวิต ดัดแปรพันธุกรรมที่อาจมีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการโต้แย้งทาง วิทยาศาสตร์ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุน • มนุษย์เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตตาม ธรรมชาติเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามต้องการ เรียกสิ่งมีชีวิตนี้ว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม • ในปัจจุบันมนุษย์มีการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัด แปรพันธุกรรมเป็นจํานวนมาก เช่น การผลิตอาหา การผลิตยารักษาโรคการเกษตรอย่างไรก็ดีสังคมยังมี ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปร พันธุกรรมที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังทํา การติดตามศึกษาผลกระทบดังกล่าว สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจําวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 10. สร้างแบบจําลองที่อธิบายการเกิดคลื่นและ บรรยายส่วนประกอบของคลื่น • คลื่นเกิดจากการส่งผ่านพลังงานโดยอาศัยตัวกลาง และไม่อาศัยตัวกลาง ในคลื่นกล พลังงานจะถูกถ่าย โอนผ่านตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางไม่เคลื่อนที่ ไปกับคลื่น คลื่นที่แผ่ออกมาจากแหล่งกําเนิดคลื่น อย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบที่ซ้ํากัน บรรยายได้ด้วย ความยาวคลื่น ความถี่แอมพลิจูด ๑๑. อธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสเปกตรัม คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ๑๒. ตระหนักถึงประโยชน์และอันตรายจาก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยนำเสนอการใช้ ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และอันตรายจาก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่ไม่อาศัยตัวกลางใน การเคลื่อนที่ มีความถี่ต่อเนื่องเป็นช่วงกว้างมาก เคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยอัตราเร็วเท่ากัน แต่จะ เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต่างกันในตัวกลางอื่นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าแบ่งออกเป็นช่วงความถี่ต่าง ๆ เรียกว่า สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ละช่วงความถี่ มีชื่อ เรียกต่างกัน ได้แก่คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ อินฟราเรด แสงที่ มองเห็น อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา ซึ่ง สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้


34 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง • เลเซอร์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น เดียว เป็นลําแสงขนานและมีความเข้มสูง นําไปใช้ ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการสื่อสาร มีการใช้ เลเซอร์สําหรับส่งสารสนเทศผ่าน เส้นใยนําแสงโดยอาศัย หลักการการสะท้อนกลับหมด ของแสง ด้านการแพทย์ใช้ใน การผ่าตัด • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านอกจากจะสามารถนําไปใช้ ประโยชน์แล้ว ยังมีโทษต่อมนุษย์ด้วย เช่น ถ้ามนุษย์ ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินไป อาจจะทําให้เกิดมะเร็ง ผิวหนัง หรือถ้าได้รังสีแกมมาซึ่งเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง และสามารถทะลุผ่าน เซลล์และอวัยวะได้อาจทําลายเนื้อเยื่อหรืออาจทําให้ เสียชีวิตได้เมื่อได้รับรังสีแกมมาในปริมาณสูง 13. ออกแบบการทดลองและดําเนินการทดลอง ด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบาย กฎการสะท้อน ของแสง 14. เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดง การเกิดภาพจากกระจกเงา • เมื่อแสงตกกระทบวัตถุจะเกิดการสะท้อนซึ่งเป็น ไปตาม กฎการสะท้อนของแสง โดยรังสีตกกระทบ เส้นแนวฉาก รังสีสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกัน และ มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ภาพจาก กระจกเงา เกิดจากรังสีสะท้อนตัดกันหรือต่อแนว รังสีสะท้อนให้ตัดกัน โดยถ้ารังสีสะท้อนตัดกันจริง จะเกิดภาพจริงแต่ถ้าต่อแนว รังสีสะท้อนให้ไปตัดกัน จะเกิด ภาพเสมือน 15. อธิบายการหักเหของแสงเมื่อผ่านตัวกลาง โปร่งใสที่แตกต่างกัน และอธิบายการกระจาย แสง ของแสงขาวเมื่อผ่านปริซึมจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 16. เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดงการ เกิดภาพจากเลนส์บาง • เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่าง กัน เช่น อากาศและน้ำ อากาศและแก้ว จะเกิดการหักเห หรือ อาจเกิดการสะท้อนกลับหมดใน ตัวกลางที่ แสงตกกระทบ การหักเหของแสงผ่าน เลนส์ทําให้ เกิดภาพที่มีชนิดและขนาดต่าง ๆ • แสงขาวประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ เมื่อแสงขาว ผ่านปริซึมจะเกิดการกระจายแสงเป็นแสงสีต่างๆ เรียกว่า สเปกตรัมของแสงขาว เมื่อเคลื่อนที่ใน ตัวกลางใด ๆ ที่ไม่ใช่อากาศ จะมีอัตราเร็วต่างกัน จึง มีการหักเหต่างกัน


35 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 17. อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง และการ ทํางานของทัศนอุปกรณ์จากข้อมูลที่รวบรวม ได้ 18. เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดงการ เกิดภาพของทัศนอุปกรณ์และเลนส์ตา • การสะท้อนและการหักเหของแสงนําไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น รุ้ง มิราจ และ อธิบายการทํางานของทัศนอุปกรณ์เช่น แว่นขยาย กระจกโค้งจราจร กล้องโทรทรรศน์กล้องจุลทรรศน์ และแว่นสายตา • ในการมองวัตถุ เลนส์ตาจะถูกปรับโฟกัส เพื่อ ให้ เกิดภาพชัดที่จอตา ความบกพร่องทางสายตา เช่น สายตาสั้น และสายตายาว เป็นเพราะตําแหน่ง ที่ เกิดภาพไม่ได้อยู่ที่จอตาพอดีจึงต้องใช้เลนส์ในการ แก้ไขเพื่อช่วยให้มองเห็นเหมือนคนสายตา ปกติโดย คนสายตาสั้นใช้เลนส์เว้า ส่วนคน สายตายาวใช้ เลนส์นูน 19. อธิบายผลของความสว่างที่มีต่อดวงตาจาก ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น 20. วัดความสว่างของแสงโดยใช้อุปกรณ์วัด ความ สว่างของแสง 21. ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่อง ความสว่าง ของแสงที่มีต่อดวงตา โดยวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและเสนอแนะการจัดความสว่าง ให้เหมาะสม ในการทํากิจกรรมต่าง ๆ • ความสว่างของแสงมีผลต่อดวงตามนุษย์การใช้ สายตาในสภาพแวดล้อมที่มีความสว่างไม่เหมาะสม จะเป็นอันตรายต่อดวงตา เช่น การดูวัตถุในที่มี ความสว่างมากหรือน้อยเกินไป การจ้องดู หน้าจอภาพเป็นเวลานาน ความสว่างบนพื้นที่รับ แสง มีหน่วยเป็นลักซ์ความรู้เกี่ยวกับความสว่าง สามารถนํามาใช้จัดความสว่างให้เหมาะสมกับ การ ทํากิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดความสว่าง ที่ เหมาะสมสําหรับการอ่านหนังสือ


36 สาระที่ 3 วิทยา ศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีอวกาศ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. อธิบายการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ด้วยแรงโน้มถ่วงจาก สมการ = 1 −2 2 • ในระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางโดยมี ดาวเคราะห์และบริวาร ดาวเคราะห์แคระ ดาว เคราะห์น้อยดาวหางและอื่น ๆ เช่น วัตถุคอยเปอร์ โคจรอยู่โดยรอบ ซึ่งดาวเคราะห์และวัตถุ เหล่านี้ โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้มถ่วง แรงโน้มถ่วง เป็นแรงดึงดูดระหว่างวัตถุสองวัตถุ โดยเป็นสัดส่วน กับผลคูณของมวลทั้งสองและเป็น สัดส่วนผกผันกับ กําลังสองของระยะทางระหว่าง วัตถุทั้งสอง แสดงได้ โดยสมการ = 1 −2 2 เมื่อ แทนความโน้มถ่วง ระหว่างมวลทั้งสอง แทนค่านิจโน้มถ่วงสากล 1แทน มวลของ วัตถุแรก 2แทนมวลของวัตถุที่สอง และ แทนระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง 2. สร้างแบบจําลองที่อธิบายการเกิดฤดู และการ เคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ • การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะที่ แกน โลกเอียงกับแนวตั้งฉากของระนาบทางโคจร ทําให้ ส่วนต่าง ๆ บนโลกได้รับปริมาณแสงจาก ดวงอาทิตย์ แตกต่างกันในรอบปีเกิดเป็นฤดูกลางวันกลางคืนยาวไม่ เท่ากัน และตําแหน่ง การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ที่ขอบ ฟ้าและ เส้นทางการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เปลี่ยนไป ใน รอบปีซึ่งส่งผลต่อการดํารงชีวิต


37 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โลกและดวงจันทร์โคจร รอบดวงอาทิตย์ดวงจันทร์รับแสงจากดวงอาทิตย์ ครึ่งดวงตลอดเวลา เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลก ได้ หันส่วนสว่างมายังโลกแตกต่างกัน จึงทําให้คน บน โลกสังเกตส่วนสว่างของดวงจันทร์แตกต่างไป ในแต่ ละวันเกิดเป็นข้างขึ้นข้างแรม • ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในทิศทางเดียวกันกับ ที่ โลกหมุนรอบตัวเอง จึงทําให้เห็นดวงจันทร์ขึ้นช้า ไป ระมาณวันละ 50 นาที • แรงโน้มถ่วงที่ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์กระทําต่อ โลก ทําให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งส่งผล ต่อ สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก วันที่น้ำมีระดับการ ขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดเรียก วันน้ำเกิด ส่วนวันที่ ระดับน้ำมีการขึ้นและลงน้อยเรียก วันน้ำตายโดยวัน น้ำเกิด น้ำตาย มีความสัมพันธ์กับ ข้างขึ้นข้างแรม ๔. อธิบายการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ และยกตัวอย่างความก้าวหน้าของโครงการ สํารวจ อวกาศ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ • เทคโนโลยีอวกาศได้มีบทบาทต่อการดํารงชีวิต ของมนุษย์ในปัจจุบันมากมาย มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีอวกาศเช่น ระบบนําทาง ด้วย ดาวเทียม (GNSS) การติดตามพายุ สถานการณ์ไฟ ป่า ดาวเทียมช่วยภัยแล้ง การตรวจคราบน้ํามันใน ทะเล • โครงการสํารวจอวกาศต่าง ๆ ได้พัฒนาเพิ่มพูน ความรู้ความเข้าใจต่อโลก ระบบสุริยะและเอกภพ มากขึ้นเป็นลําดับ ตัวอย่างโครงการสํารวจอวกาศ เช่น การสํารวจสิ่งมีชีวิตนอกโลก การสํารวจ ดาว เคราะห์นอกระบบสุริยะ การสํารวจดาวอังคาร และ บริวารอื่นของดวงอาทิตย์


38 คําอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ว 23101 รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ภาคเรียนที่1 เวลา 60 ชั่วโมง จํานวน 1.5 หน่วยกิต ศึกษา วิเคราะห์สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซมการ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ในรุ่นลูก ความสําคัญของการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสและไมโอซิส โรคทางพันธุกรรม ประโยชน์และผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายการเกิดคลื่นและส่วนประกอบของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสเปกตรัมของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า ประโยชน์และอันตรายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏการณ์เกี่ยวกับแสง การสะท้อนของแสง และการหักเหของแสง การทํางานของทัศนอุปกรณ์ความสว่างและการมองเห็น สืบค้นข้อมูลและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดจากการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้ม ถ่วงการเกิดฤดูการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม การเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตก ของดวงจันทร์การเกิดน้ำขึ้น น้ำลง เทคโนโลยีอวกาศ โครงการสํารวจอวกาศ โดยใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์การสืบเสาะหาความรู้การสํารวจตรวจสอบ การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ ทักษะในศตวรรษที่ 21 การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนําเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนําไปใช้ ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน มีจิตวิทยาศาสตร์คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม ตัวชี้วัด ว 1.3 ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4 ม.3/5 ม.3/6 ม.3/7 ม.3/8 ว 2.3 ม.3/10 ม.3/11 ม.3/12 ม.3/13 ม.3/14 ม.3/15 ม.3/16 ม.3/17 ม.3/18 ม.3/19 ม.3./20 ม.3/21 ว 3.1 ม.3/1 ม.3/2 ม.3/3 ม.3/4 รวม 24 ตัวชี้วัด


39 โครงสร้างรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชา วิทยาศาสตร์5 รหัสวิชา ว23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2566 เวลา 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน จํานวน 1.5 หน่วยกิต หน่วยการ เรียนรู้ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 เรื่องวิทยาศาสตร์กับการ แก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้นี้มีจุดมุ่งหมายให้ นักเรียนตระหนักถึงความสําคัญ ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มี อิทธิพลต่อมนุษย์ ทั้งในด้าน การ ดํารงชีวิตและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่กําลังเกิดขึ้นใน ปัจจุบันและ อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพราะการ เปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นอยู่ตลอดเวลา 3 5 2 พันธุกรรม ว 1.3 ม.3/1 ว 1.3 ม.3/2 ว 1.3 ม.3/3 ว 1.3 ม.3/4 ว 1.3 ม.3/5 ว 1.3 ม.3/6 ว 1.3 ม.3/7 ว 1.3 ม.3/8 ลักษณะทางพันุกรรมของสิ่งมีชีวิต สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยัง อีกรุ่นหนึ่ง โดยมียีนเป็นหน่วย ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โดย ยีนเป็นส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอ และดีเอ็นเอจะขดกันเป็นโครโมโซม อยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ ซึ่ง โครโมโซมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โครโมโซมร่างกาย และ โครโมโซมเพศ และสิ่งมีชีวิตที่มี โครโมโซม 2 ชุด อยู่กันเป็นคู่และมี การเรียงลำดับยีนบนโครโมโซม เหมือนกัน เรียกว่า ฮอมอโลกัส โครโมโซม 18 15


40 หน่วยการ เรียนรู้ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 3 คลื่น แสง และการ มองเห็น ว 2.3 ม.3/10 ว 2.3 ม.3/11 ว 2.3 ม.3/12 ว 2.3 ม.3/13 ว 2.3 ม.3/14 ว 2.3 ม.3/15 ว 2.3 ม.3/16 ว 2.3 ม.3/17 ว 2.3 ม.3/18 ว 2.3 ม.3/19 ว 2.3 ม.3./20 ว 2.3 ม.3/21 คลื่นเกิดจากการส่งผ่านพลังงาน โดยอาศัยตัวกลางและไม่อาศัย ตัวกลาง ในคลื่นกลพลังงานจะถูก ถ่ายโอนผ่านตัวกลางโดยอนุภาค ของตัวกลางไม่เคลื่อนที่ไปกับคลื่น คลื่นที่แผ่ออกมาจากแหล่งกําเนิด คลื่นอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบที่ ซ้ำกัน บรรยายได้ด้วยความยาว คลื่น ความถี่ แอมพลิจูด 18 2 4 ปฏิสัมพันธ์ในระบบ สุริยะและเทคโนโลยี อวกาศ ว 3.1 ม.3/1 ว 3.1 ม.3/2 ว 3.1 ม.3/3 ว 3.1 ม.3/4 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ส่งผลให้เกิด ปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย บาง ปรากฏการณ์เราสามารถสังเกตได้ ด้วยตาเปล่า แต่บางปรากฏการณ์ เราอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี อวกาศเข้ามาช่วยในการสังเกต 15 15 รวม 54 50 สอบกลางภาค 3 20 สอบปลายภาค 3 30 รวมทั้งหมด 60 100


41 เกณฑ์การให้คะแนน 1.1 คะแนนระหว่างเรียน 70 คะแนน - การเข้าเรียน 5 คะแนน - ใบงาน/แบบฝึกหัด /สมุด 35 - สอบระหว่างบทเรียน 10 คะแนน - สอบกลางภาคเรียน 20 คะแนน 1.2 คะแนนสอบปลายภาคเรียน 30 คะแนน รวมทั้งหมด 100 คะแนน


42 กำหนดการสอนรายวิชา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 รหัส ว23101 วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เวลาเรียน 60 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 1.5 หน่วยกิต จำนวน 100 คะแนน สัปดาห์ ที่ แผนการ สอน/ จำนวน ชั่วโมง หัวข้อเรื่อง ตัวชี้วัด จำนวน ชั่วโมง สะสม 1 ปฐมนิเทศ 1 1 - เรื่องวิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา - 2 2 1/6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุศาสตร์ โครโมโซม ดีเอ็นเอ ยีน ว 1.3 ม.3/1 3 3 1/6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุศาสตร์ โครโมโซม ดีเอ็นเอ ยีน ว 1.3 ม.3/1 3 4 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุศาสตร์ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ว 1.3 ม.3/2 3 5 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุศาสตร์ การถ่ายทอดลักษณะยีนบนโครโมโซม ว 1.3 ม.3/3 3 6 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุศาสตร์ การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ว 1.3 ม.3/2 3 7 3/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุศาสตร์ ความผิดปกติทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ ว 1.1 ม.3/5 ว 1.1 ม.3/6 ว 1.1 ม.3/7 ว 1.1 ม.3/8 3 8-9 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่น แสง และการมองเห็น คลื่นกล ว 2.3 ม.3/10 3 8-9 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่น แสง และการมองเห็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ว 2.3 ม.3/11 3 10 สอบกลางภาค 3


43 11 2/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่น แสง และการมองเห็น การสะท้อน การเกิดภาพจากกระจกเงา ว 2.3 ม.3/13 ว 2.3 ม.3/14 3 13 2/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่น แสง และการมองเห็น การเกิดภาพจากกระจกเงา การหักเห ว 2.3 ม.3/14 ว 2.3 ม.3/15 ว 2.3 ม.3/16 3 14-15 4/6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่น แสง และการมองเห็น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง ทัศนูอุปกรณ์ ตาและการมองเห็น ความสว่างของแสง ว 2.3 ม.3/17 ว 2.3 ม.3/18 ว 2.3 ม.3/19 ว 2.3 ม.3/20 ว 2.3 ม.3/21 6 16-17 2/6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและ เทคโนโลยีอวกาศ การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ การเกิดฤดูกาลและการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ว 3.1 ม.3/1 ว 3.1 ม.3/2 6 17 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและ เทคโนโลยีอวกาศ การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม ว 3.1 ม.3/3 3 18 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและ เทคโนโลยีอวกาศ การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ว 3.1 ม.3/3 3 19 1/3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและ เทคโนโลยีอวกาศ กล้องโทรทัศน์ ว 3.1 ม.3/4 3 20 สอบปลายภาค 3


44 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชา 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยที่ 2 พันธุกรรม เวลา 18 ชั่วโมง เรื่อง โครโมโซม ยีน ดีเอ็นเอ เวลา 6 ชั่วโมง ผู้สอน นางสาววรรณนิภา วงษ์หาริมาตย์ โรงเรียนสตีราชินูทิศ 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 1.3 ม.3/1 อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจำลอง 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างโครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีนได้ (K) 2. สร้างแบบจำลองแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีนได้ (P) 3. มีความใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงาน (A) 3. สาระการเรียนรู้ ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตสามารถ ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้โดยมียีน เป็น หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ และโปรตีน ขดอยู่ในนิวเคลียส ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม มี ความสัมพันธ์กัน โดยบางส่วนของดีเอ็นเอ ทำหน้าที่เป็นยีนที่กำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซม ๒ ชุด โครโมโซมที่เป็นคู่กัน มีการเรียงลำดับของยีนบนโครโมโซมเหมือนกัน เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม ยีนหนึ่งที่อยู่ บนคู่ฮอมอโลกัสโครโมโซม อาจมีรูปแบบ แตกต่างกัน เรียกแต่ละ รูปแบบของยีนที่ต่างกันนี้ว่า แอลลีล ซึ่งการเข้าคู่กันของแอลลีลต่าง ๆ อาจ ส่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่ แตกต่างกันได้ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำนวนโครโมโซมคงที่ มนุษย์มีจำนวนโครโมโซม ๒๓ คู่ เป็นออโตโซม ๒๒ คู่และ โครโมโซมเพศ ๑ คู่ เพศหญิงมีโครโมโซมเพศ เป็น XX เพศชายมีโครโมโซมเพศเป็น XY


45 4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด ลักษณะทางพันุกรรมของสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยมียีนเป็นหน่วย ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โดยยีนเป็นส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอ และดีเอ็นเอจะขดกันเป็นโครโมโซมอยู่ ภายในนิวเคลียสของเซลล์ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน และอาจมีจำนวนโครโมโซม เท่าหรือไม่เท่ากับสิ่งมีชีวิตต่างชนิด ซึ่งโครโมโซมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โครโมโซมร่างกาย และ โครโมโซมเพศ และสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซม 2 ชุด อยู่กันเป็นคู่และมีการเรียงลำดับยีนบนโครโมโซม เหมือนกัน เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1.มีวินัย รับผิดชอบ 2.ใฝ่เรียนรู้ 3.มุ่งมั่นในการทำงาน 7. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1.ทักษะการสังเกต 2.ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 8. กิจกรรมการเรียนรู้ ใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนการสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้5 ขั้นตอน (5E) ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engagement) (ชั่วโมงที่ 1) 1. ครูถามนักเรียน รู้ไหมว่า โครมโมโซม อยู่ในส่วนไหนของร่างกาย (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) 2. ครูนำรูปโครโมโซมและองค์ประกอบของโครโมโซม และถามคำถามกับนักเรียนว่า โครโมโซมที่เรา เห็นเกิดจากอะไร และมีกระบวนการเกิดอย่างไร 3. ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของโครโมโซมและจำนวนโครโมโซมในร่างกายของ สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบจำนวนโครโมโซมซึ่งอาจทำในรูปของตารางและมี ภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นประกอบความเข้าใจ (โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตจะมีจำนวนโครโมโซมเป็นเลขคู่ และจำนวนโครโมโซมไม่สัมพันธ์กับขนาดของ สิ่งมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน อาจมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ แต่สิ่งมีชีวิต


46 ชนิดเดียวกันย่อมมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน เช่น คนมีจำนวนโครโมโซม 46 แท่ง ไม่ว่าจะเป็นเพศ ชายหรือเพศหญิง) 4. ครูให้นักเรียนตอบคำถามเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของโครโมโซมในแบบฝึกหัด ขั้นที่ 2 การสํารวจและค้นหา (Exploration) (ชั่วโมงที่2-3) 1. ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมศึกษาโครงสร้างที่อยู่ภายในนิวเคลียส มีอุปกรณ์ คือ กล้อง จุลทรรศน์แบบใช้แสง สไลด์ถาวรของนิวเคลียสในเซลล์ปลายรากหอมที่ย้อมสีแล้ว เพื่อให้ นักเรียนเห็นลักษณะของโครโมโซม 2. หลังจากการทำกิจกรรมครูเตรียมภาพนำเสนอเกี่ยวกับโครโมโซมภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้ แสงให้แก่นักเรียนศึกษาถึงองค์ประกอบภายในเซลล์ (เซลล์บางเซลล์ที่ภายในนิวเคลียสมีลักษณะคล้ายกับเส้นใยขนาดเล็กพันกัน และในนิวเคลียสของ บางเซลล์มีลักษณะเป็นแท่งหดสั้น) 3. ครูให้นักเรียนบันทึกผลการทดลองส่องดูเซลล์ปลายรากหอมลงในแบบฝึกหัด ขั้นที่ 3 การอธิบาย (Explanation) (ชั่วโมงที่4-6) 1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน และเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม สร้าง แบบจำลองโครโมโซม ได้แก่ ดินน้ำมัน ลวดเส้นเล็ก และลูกปัด 2. ให้นักเรียนทำกิจกรรมสร้างแบบจำลองโครงสร้างพื้นฐานของโครโมโซม และสังเกตการทำ กิจกรรมร่วมกันของนักเรียน


Click to View FlipBook Version