The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารรายงานวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ตามโครงการยกระดับคุณภาพการวิจัยและพัฒนาชุมชนของหน่วยงานสังกัดสถาบันการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cdlc Udon, 2022-03-24 07:01:43

วิจัย เล่ม 2 กลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาตินาเรียง

เอกสารรายงานวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ตามโครงการยกระดับคุณภาพการวิจัยและพัฒนาชุมชนของหน่วยงานสังกัดสถาบันการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

42

เก็บค่าใช้จ่ายจากการรับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ ยังได้มีการออกแบบให้เกิดความย่ังยืนของกระบวนการรับรองใน
ระยะยาวด้วยโมเดลกิจการเพื่อสงั คม (Social Enterprise) และแสวงหาผลกาไรจากเครอื ข่ายเกษตรที่มีย่ังยนื
เพื่อทดแทนรายได้จากเกษตรกรโดยตรง

4.5 หลักการแหง่ อินทรีย์วิถีไทย
มูลนธิ ิรกั ษด์ ินรักษ์นา้ (2559) อธบิ ายวา่ เหตุปจั จัยและความจาเป็น การเกษตร กสิกรรม และปศุสัตว์
ถือเป็นสิ่งพ้ืนฐานท่ีอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ประเทศไทยจึงเติบโตและเจริญก้าวหน้าจากความเป็นอยู่ที่มี
สงั คมแหง่ การเกษตร อาหารการกนิ และทรพั ยากรทางวัฒนธรรมเปน็ พืน้ ฐาน ในทางเดยี วกนั สามารถกล่าวได้
วา่ หากกล่าวถงึ ความเปน็ ไทย ก็ยอ่ มล้วนเกี่ยวข้องกับการเกษตรแทบท้ังส้ิน เม่ือย้อนกลบั ไปคร้งั อดตี สังคมไทย
ในทุกภูมิภาคได้พัฒนารากเหง้าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากผลผลิตทางการเกษตร คนไทยมีความผูกพัน
กับวิถีการเกษตรและการกสิกรรมอย่างเหนียวแน่น เกิดเป็นสังคมท่ีมีการเกื้อกูลจากการเพาะปลูกพืชพรรณใน
ท้องถ่ิน โดยปราศจากการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี เม่ือผลผลิตเหลือก็แปรรูป จากน้ันเกิดกลไกการแบ่งปัน
เมอื่ เหลอื จากการทาบุญทาทานจงึ นาไปสู่การซ้ือขายแลกเปล่ียนผลผลติ ทางการเกษตรในข้ันสดุ ท้าย มลู นธิ ริ ักษ์
ดินรักษ์น้าจึงนิยามปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมไทยดังที่กล่าวมานี้ว่า “อินทรีย์วิถีไทย” อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิด
การเปล่ียนแปลงทางสังคมและสภาวะเศรษฐกิจเกิดใหม่ จากเกษตรกรรมท้องถ่ินเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร
ก็ย่อมทาให้รากเหง้าทางวัฒนธรรมและความม่ันคงทางอาหารท่ีดีโดยเน้ือแท้และมีมาแต่เดิมของสังคม
การเกษตรไทยถกู ปรับเปลีย่ นบรบิ ทไปอย่างเลี่ยงไม่ได้
การผลกั ดนั การเกษตร และปศสุ ัตว์ภายใต้บรรทัดฐานของ “มาตรฐานอนิ ทรีย์วิถีไทย” โดยมูลนิธิรักษ์
ดินรักษ์น้า นับเป็นการสร้างการเคล่ือนตัวจากสังคมการเกษตรภายใต้กรอบความเส่ียงในอุตสาหกรรมสู่ความ
ม่ันคงทางอาหารและความย่ังยืนของภูมิสังคมในองค์รวม โดยอาศัยพ้ืนฐานปัจจัยท่ีมีอยู่ในสังคมไทยแต่เดิมมา
ปรับใช้ร่วมกับศาสตร์พระราชา อาทิ เกษตรทฤษฎีใหม่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนา
มาตรฐานที่สร้างความยั่งยืนสู่คนไทยได้ตรงบริบทความเป็นไทยมากที่สุด ท้ังนี้ คณะทางานและท่ีปรึกษาด้าน
การพัฒนามาตรฐาน มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้า ได้ออกแบบและประยุกต์ใชห้ ลกั การท่ีมุ่งส่กู ารสร้าง อินทรีย์วิถีไทย
และต่อยอดสู่การสรา้ งมาตรฐานอินทรยี ์วิถีไทย โดยอาศยั หลักการดังตอ่ ไปน้ี

1) หลักการจากพุทธศาสตร์และศาสนศาสตร์
2) หลักการจากราชาศาสตร์
3) หลักการจากสังคมศาสตร์และนิเวศศาสตร์
4) หลักการจากวิทยาศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
5) หลักการจากเศรษฐศาสตร์

43

4.6 จุดมุ่งหมายและความต้องการพื้นฐานของมาตรฐานอนิ ทรีย์วถิ ีไทย (ตน้ นา้ )
มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้า (2559) อธิบายว่า กระบวนการเกษตรในนิยาม อินทรีย์วิถีไทย เป็นข้ันตอน
กระบวนการปฏบิ ตั ิทเ่ี กีย่ วข้องเช่ือมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวของภูมิสังคม แผน่ ดิน ผนื นา้ วิถชี วี ิต พนั ธุ์พืชพันธ์สุ ัตว์
การปฏิบัติในการเพาะปลูก ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพและสุขภาวะของผู้ผลิตและ
ผู้บริโภค ฯลฯ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิถีชีวิตอันเป็นรากเหง้าของคนไทยและสังคมการเกษตรไทย
นอกจากน้ัน ยังเป็นวิถีการเกษตรท่ีมีศาสตร์พระราชาส่ิงสาคัญในการดาเนินชีวิต ท้ังในมิติในแปลงเพาะปลูก
และมิติอ่ืนๆ เพ่ือสร้างความม่ันคงทางอาหารอย่างเป็นรูปธรรมในระดับท้องถิ่น สร้างความยั่งยืนของการใช้
ทรพั ยากรของลกู หลานในอนาคตอยา่ งมคี วามรับผิดชอบ และสรา้ งความรู้ความเขา้ ใจต่อผลผลิตทางการเกษตร
ที่มคี ุณตอ่ ผู้บรโิ ภคในตลาดทโี่ ปร่งใส
มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย เป็นระบบการรับรองมาตรฐานการเกษตรในบรรทัดฐานของคนไทย เพ่ือคน
ไทย โดยคนไทย ทผี่ ่านกระบวนการรับรองวา่ ทกุ มติ ิในการเกษตร การดารงชีวิต จนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มา
จากเกษตรกรผู้ใช้ชวี ติ ด้วยความพอเพียง มีสุขภาวะท่ีดี ผลผลิตท่ีคุณภาพที่ดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่เป็น
การผลิตทีเ่ บยี ดเบียนหรือทาลายสิง่ แวดล้อม โดยมีภาคจี ากภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นกลุม่ ผู้มสี ว่ นรว่ ม
ในการให้การรบั รองท่นี า่ เชื่อถือและเป็นธรรม
ในทางรูปธรรม จุดมุ่งหมายหนึ่งของการพัฒนามาตรฐานการเกษตร คือการสร้างความเช่ือม่ันและให้
การรับรองคุณภาพเพื่อแสดงความรับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาดจากการอุปโภคและบริโภคผลผลิตทาง
การเกษตรท่ีอยู่ภายใต้มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย ผู้บริโภคจะสามารถพบเห็นได้จากตราสัญลักษณ์ earthsafe
อินทรีย์วิถีไทย ถือเป็นการการันตีและรับประกันว่า ผลผลิตทางการเกษตรนั้นอยู่ในรูปแบบ กฎเกณฑ์ รวมไป
ถึงการดาเนินชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและคุณค่าบนบรรทัดฐานของวิถีชีวิตคนไทย ซ่ึงสามารถเปรียบเทียบ
ความทัดเทียมได้กบั มาตรฐานเกษตรอนิ ทรีย์อนื่ ๆ ทงั้ ในระดับชาตแิ ละระดับสากล

4.7 การพฒั นามาตรฐานอนิ ทรยี ว์ ิถไี ทย
มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้า (2559) อธิบายว่า ความมุ่งหมายและความต้องการพ้ืนฐานมาตรฐานอินทรียว์ ิถี
ไทยถูกพัฒนาข้ึนจากการร่วมมือระหว่างมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้า, เกษตรกรต้นแบบครอบครัว EarthSafe, ศูนย์
การเรียนรู้ต้นแบบ EarthSafe อินทรีย์วิถีไทย และคณะทางานจาก บจก.ดูอินไทย (สายงาน
mealfiction.com และโครงการมันตาอาหาร) โดยอ้างอิงกระบวนการมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตรของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, FAO, IFORM, ITF, UNDP เปน็ ตน้ การพฒั นามาตรฐานอินทรียว์ ิถีไทยมุ่งเน้นให้
ความสาคัญต่อนัยยะที่มีต่อกระบวนการเกษตรในบริบทท่ีสอดคล้องเหมาะสมกับความเป็นไทย ประเทศท่ีมี
ทรัพยากรและความม่ันคงทางอาหารอย่างมากมาย ประเทศท่ีมีศาสตร์พระราชาซ่ึงท่ัวโลกต่างให้การยอมรับ
แต่การพัฒนารูปแบบมาตรฐานส่วนใหญ่ล้วนขาดบริบทความเป็นไทย เป็นไปตามกลไกการตลาดและการกีด

44

กันทางการค้า[3] จุดมุ่งหมายและจุดยนื ของการพัฒนามาตรฐานอินทรยี ์วิถีไทย จึงมีความจาเป็นอย่างยงิ่ ยวด
ที่จะต้องอาศัยปัจจัยที่มีทั้งความเหมือนและข้อโต้แย้งท่ีแตกต่างกับข้อกาหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในวง
กว้าง อย่างไรก็ดี การพัฒนามาตรฐานภายใต้แนวคิดอินทรีย์วิถีไทย จะถูกปรับแต่งและปรับปรุงประสิทธิภาพ
ใหเ้ ปน็ ไปตามหลักทีร่ ัฐบาล เอกชน ตลาดการค้าทัว่ โลกยอมรับ

4.8 โครงสร้างและคณุ สมบัติของมาตรฐานอินทรียว์ ถิ ีไทย
มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้า (2559) อธิบายว่า โครงสร้างของการมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย ในกระบวนการ
ตรวจสอบ รับรอง และให้มาตรฐานประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน แต่ละส่วนจะประกอบไปด้วย
คุณสมบตั ิหรอื ขอ้ กาหนดทเี่ ป็นไปตามความต้องการของมาตรฐานอนิ ทรยี ์วิถีไทย ดงั ตอ่ ไปนี้

1) ข้อกาหนดมาตรฐานต่อการปฏิบัติในแปลงเพาะปลูก (ไร่-นา-ปา่ -สวน)
2) ข้อกาหนดมาตรฐานตอ่ การดาเนนิ ชีวิตของผูผ้ ลติ (เกษตรกร)
3) ขอ้ กาหนดมาตรฐานตอ่ การตรวจสอบยอ้ นกลับและการใหก้ ารรับรอง
4) ขอ้ มลู เพิ่มเติมท่ีมนี ัยยะสาคญั และภาคผนวก

5. แนวคดิ เก่ยี วกับการพฒั นากลยทุ ธ์

6.1 ความหมายของกลยุทธ์
ความหมายของกลยุทธ์ คาว่า กลยุทธ์ หรือ strategy ในภาษาอังกฤษมาจากรากศัพท์ ภาษากรีก
ว่า “strategia” ซ่ึงแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “generalship” ซ่ึงถือว่าเป็นศัพท์ทางการทหารและต้องยอมรับว่าจุด
กาเนิดของกลยุทธท์ ่ีนามาใชใ้ นการบริหารปัจจุบนั มาจากแนวคิดของทางทหาร และมีนักวิชาการ นักบริหารกลยุทธใ์ น
ปัจจบุ ันทมี่ แี นวคดิ ทห่ี ลากหลาย และแตกตา่ งกนั ไดใ้ หค้ วามหมายไว้ ดงั น้ี

พสุ เดชะรินทร์ และอุทัย ต้นละมัย (2548) ได้ให้ความหมายของกลยุทธ์ (Strategy) คือ
วิธีการหรือแนวทางที่องค์กรจะนาเสนอคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้าเพื่อให้องค์กรประสบความสาเร็จตาม
ตอ้ งการ

บญุ เกียรติ ชวี ะตระกูลกจิ (2549) ใหค้ วามหมายวา่ “กลยทุ ธ์” หมายถงึ การมงุ่ เนน้ หรือทุม่ เท
ทรัพยากร ไปในเร่ืองใดแล้วสามารถนาพาหมู่คณะไปสู่ความสาเร็จหรือวัตถุประสงค์ท่ีต้ังไว้โดยสัมพันธ์กับการ
เปลย่ี นแปลงของสภาพแวดล้อม มีลกั ษณะทย่ี ืดหยุ่นและพลิกแพลงได้ ตามสถานการณ์ จนสามารถบรรลุเปา้ หมาย
ท่ีตอ้ งการ

เกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักด์ิ (2549) ได้ให้ความหมายของกลยุทธ์ไว้ดังนี้ หมายถึง วิธีการหรือ
แผนการทค่ี ดิ ขึ้นอย่างรอบคอบ มลี ักษณะเป็นข้ันเปน็ ตอน มีความยดื หยนุ่ พลกิ แพลงไดต้ ามสถานการณ์โดยอาศัย
ความรู้ความชานาญ จุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะคู่แข่งหรือเพ่ือหลบหลีกอุปสรรคต่าง ๆ จนสามารถบรรลุเป้าหมายท่ี

45

ต้องการ และมีความหมายเหมือนคาว่า ยุทธศาสตร์ ซ่ึงเดิมใช้ในความหมายท่ีเกี่ยวข้องกับการรบ มาจาก
ภาษาอังกฤษว่า Strategy ใช้ครั้งแรกในวงการทหารและการทาสงคราม หมายถึง ศิลปะในการวางแผนและการ
บญั ชาการรบเพอ่ื เอาชนะศตั รู

เทียมจนั ทร์ พานิชผลินไชย (2553) ไดใ้ หค้ วามหมายของกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ไว้วา่ หมายถงึ ส่ิง
ท่ีองค์กรทาเพื่อนาไปสู่ความสาเร็จซ่ึงไม่ใช่งานประจา แต่หมายถึง การพัฒนางานประจาหรือการสร้างงานใหม่ การ
ท่ีองค์กรจะดาเนินการไปสู่ความสาเร็จได้ จาเป็นต้องมีวิธีการบริหารยุทธศาสตร์หรือการบริหารเชิงกลยุทธ์ และมี
ตวั ชี้วัดความสาเรจ็ ท่ีชดั เจนซึง่ ตัวชี้วดั ความสาเรจ็ ของแตล่ ะองค์กรก็จะไมเ่ หมือนกัน

สรุปได้ว่า กลยุทธ์ หมายถึง เทคนิค วิธีการหรือกระบวนการที่จะทาให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายท่ี
กาหนดไว้ ในท่ีน้ีกลยุทธ์การพัฒนาและสร้างส่ือการเรียนรู้สาธารณะ หมายถึง กระบวนการสร้างสื่อการเรียนรู้ เพ่ือ
พัฒนาการเรียนรู้สาธารณะของแหล่งเรียนรู้ให้สามารถบรรลุเป้าหมาย ท่ีคนทุกกลุ่ม ทุกวัยมีโอกาสในการเรียนรู้
สามารถนาความรู้ไปประกอบอาชีพ เสริมสรา้ งและพัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถ
ต่อยอดในการสร้างนวัตกรรม

6.2 ความสาคญั ของกลยุทธ์
ก้านทิพย์ ชาตวิ งศ์และพนิต เขม็ ทอง (2554) ได้กลา่ วถึงความสาคญั ของการวางแผนกลยุทธ์ไว้ ดงั นี้

1) การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนท่ีช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพ
การเปล่ียนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสาคัญกับการศึกษาวิเคราะห์บริบท และ
สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสาคญั

2) การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานหรือองค์กร ในทุกระดับมีความ
เป็นตัวเองมากขึ้นโดยที่ไม่ใชเ่ ป็นการวางแผน ทตี่ ้องกระทาตามหน่วยงานหลัก

3) การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอานาจ ซึ่งเป็นกระแส
หลกั การบรหิ ารในปจั จุบัน และสอดคล้องกับหน่วยงานหลักในเร่ืองท่ีสาคัญ ๆ

4) การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเง่ือนไขหนึ่งของการจัดทาระบบงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงาน
(Performance Base Budgeting) ซ่ึงจะต้องจัดทาก่อนที่จะกระจายอานาจ ด้านงบประมาณโดยการจัดสรร
งบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน

5) การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนที่ให้ความสาคัญต่อการกาหนดกลยุทธ์ ที่ไดม้ าจากการคิด
วิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ท่ีไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจากัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมาเป็น
ข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนท่ีช่วยให้
เกิดการรเิ ริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ได้ด้วยตนเอง จงึ เปน็ การวางแผนพัฒนาทย่ี ่ังยนื

46

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์เป็นส่ิงจาเป็นในยุคของความผันผวนอันเนื่องมาจากการ
เปล่ียนแปลงอยา่ งรวดเรว็ เพราะสาเหตุ ดงั นี้

1) การวางแผนแบบเดมิ สว่ นใหญ่จะใชว้ ิธีคาดคะเนจากขอ้ มลู ท่ยี ดึ ถอื จากผลงานในอดีต แต่ไม่
สามารถบอกทางเลือกใหมท่ ดี่ กี วา่ สาหรับอนาคต

2) การวางแผนแบบเดิมไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท่ีมีข้อจากัดใหม่ ๆ ท่ีเกิดขึ้นและไม่
สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการดาเนินการใหม่ ๆ หรอื ลดการดาเนนิ การในสิ่งทกี่ าลังทา

3) การวางแผนแบบเดิมจะให้ความสาคัญกับการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาท่ีเกิดข้ึนจากการ
ประเมนิ ผลการดาเนินงานทีผ่ ่านมา ดงั นั้น ขอ้ มูลสาหรับการวางแผนสว่ นใหญจ่ ะจากัดอยู่กบั การคิดตามแนวโน้มทาง
เศรษฐกิจมากกวา่ สภาพทางสังคม การเมอื ง และปญั หาอื่น ๆ

4) การตัดสินใจต่าง ๆ พิจารณาในขอบเขตท่ีจากัด จึงไม่ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(stakeholders)

5) แผนที่จดั ทาใหส้ ว่ นใหญใ่ หค้ วามสาคญั กับแผนประจาปีเท่านั้น
6) การวางแผนแบบเดิมมีแต่รายละเอียดทางงบประมาณ แต่ขาดความชัดเจนในกรอบ
แนวทางเพ่ือให้องค์การพัฒนาสง่ิ ใหม่ ๆ
7) การวางแผนแบบเดมิ ส่วนใหญ่ช้นี าองค์การใหข้ ยายตวั ในเชิงปริมาณ โดยมองขา้ มงานสาคัญ คือ
การปรบั ปรุงประสทิ ธิภาพการดาเนินการภายใน
สรุปได้ว่า กลยุทธ์ มีความสาคัญในการนามาเป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในการดาเนินงานขององค์กรเป็นพ้ืนฐาน
เปรยี บทศิ ทางของการดาเนนิ งานทุกขั้นตอน ในกระบวนการวางแผนและเปน็ หัวใจหลักทท่ี กุ องคก์ รต้องทาตาม เพื่อให้
การปฏิบัตงิ านบรรลุวตั ถปุ ระสงค์ เป้าหมายท่ีได้กาหนดไว้
6.3 กระบวนการกาหนดกลยทุ ธ์
กลยุทธ์เป็นรูปแบบของการกระทา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ กระบวนการกาหนดกลยุทธ์นั้น
มผี ใู้ หค้ าจากัดความคาวา่ “กระบวนการกาหนดกลยทุ ธ์” ดงั นี้
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ (2548) กล่าวว่า การกาหนดกลยุทธ์ หมายถึง ขั้นตอนที่ 3 ต่อจากการกาหนด
ทิศทางขององค์กร โดยเร่ิมต้นด้วยการวิเคราะห์ Strengths - Weaknesses - Opportunitics - Thrcats หรือท่ี
เรียกว่าการวิเคราะห์ SWOT โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินสถานภาพของสภาพแวดล้อม
ภายใน ระหว่างจุดแข็งและจุดอ่อนและผลการประเมินสถานภาพของสภาพแวดล้อมภายนอก ระหว่างโอกาสและภัย
อุปสรรค์เพื่อออกแบบกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ ต่อจากนั้นจึงเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมและทาการวิเคราะห์ทางเลือก
ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถนาไปปฏิบัติได้จริง โดยแบ่งออกเป็น 3 ลาดบั คือ 1) กลยทุ ธร์ ะดบั องค์กร 2) กลยทุ ธ์
ระดบั ธรุ กิจ 3) กลยุทธ์ระดบั หน้าที่

47

วิชิต อู้อ้น (2548) กล่าวว่า การกาหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) หมายถึง ข้ันตอนหรือ
วิธีการที่เก่ียวข้องกับกระบวนการในการตัดสินใจ มีข้ันตอนดังต่อไปน้ี 1) กาหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย
2) กาหนดวตั ถปุ ระสงคร์ ะยะสน้ั และระยะยาว 3) ประเมินผลและเลือกใช้กลยทุ ธ์

สรุปได้ว่า การกาหนดกลยุทธ์ หมายถงึ วิธกี าร ขั้นตอน ทเ่ี กยี่ วข้องกบั กระบวนการในการตดั สนิ ใจขององค์กร
โดยการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร เพื่อองค์กรจะได้ทาการกาหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย
วตั ถุประสงค์ ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

6.4 การพฒั นากลยทุ ธ์
การพัฒนากลยทุ ธ์ เป็นกระบวนการทีป่ ระกอบดว้ ย ข้ันตอนทสี่ าคญั ดังนี้

1) การวิเคราะหส์ ภาพแวดลอ้ ม เปน็ กระบวนการแรก
2) การกาหนดทิศทางขององค์กร เปน็ การวิเคราะหภ์ ารกจิ ขององคก์ ร
3) การกาหนดกลยทุ ธท์ ีค่ รอบคลุมดา้ นตา่ ง ๆ เปน็ การนากลยุทธไ์ ปปฏิบัติ
4) การควบคุมกลยทุ ธ์ เป็นเรื่องเกีย่ วกบั การตรวจสอบดูแล และประเมนิ ผลกลยุทธ์
สรุปได้ว่า การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง วิธีการเทคนิคต่าง ๆ และรูปแบบการกระทาท่ีคาดว่าจะ มี
ประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการท่ัวไป เป็นแผนนาทางในการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติงาน เพ่ือให้บรรลุตาม
วตั ถปุ ระสงค์ และบรรลุผลสาเรจ็ ตามเป้าหมายท่วี างไว้

6.5 เทคนคิ การพัฒนากลยทุ ธ์
กรมการพัฒนาชุมชน (2560) กล่าวถึง เทคนิคการพัฒนากลยุทธ์นั้น ใช้เทคนิคหรือเคร่ืองมือเข้ามา
ประกอบในการพัฒนากลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเช่ือถือได้ ซ่ึงในการศึกษาคร้ังน้ี ได้ใช้เทคนิคเคร่ืองมือที่
เก่ียวขอ้ งประกอบด้วย การวเิ คราะหป์ จั จยั ภายในภายนอกองคก์ ร (SWOT Analysis) ดงั นี้

1) จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง การดาเนินงานภายในบริษัท สามารถกระทาได้ดี บริษัทจะต้อง
วเิ คราะห์การดาเนินงานภายใน เชน่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และการวิจยั และพฒั นาเพือ่ การพจิ ารณาของ
การดาเนินการภายในเหล่าน้ีเป็นระยะ หรอื บริษทั องค์กรท่ีบรรลุความสาเร็จจะกาหนดแนวทางให้บรกิ ารขององค์กรที่ใช้
ประโยชน์ จากจดุ แขง็ จากการดาเนินงานภายในเหลา่ นี้อยเู่ สมอ

2) จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึงการดาเนินงานภายในบริษัท ไม่สามารถกระทาได้ดี การ
ดาเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และการวิจัยและการพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อ
ความสาเร็จขององค์กร องค์กรจะต้องกาหนดแนวทางในการใหบ้ ริการที่สามารถลบลา้ ง หรือปรับปรุงจุดอ่อนของการดา
เนินงานภายในเหลา่ น้ีไดด้ ีข้นึ

48
3) โอกาส (Opportunities) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกท่ีเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินงานของ
องค์กร องค์กรจะต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี
และการแข่งขันอยู่เป็นระยะ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ การพัฒนา
ของคอมพิวเตอร์และไบโอเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงประชากร การเปล่ียนแปลงค่านิยมและทัศนคติของพนักงาน และ
การแข่งขันจากต่างประเทศท่ีรุนแรง จะเป็นตัวอย่างของการเปล่ียนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกท่ีสาคัญ การ
เปลย่ี นแปลงเหลา่ น้ีอาจจะทาให้ความต้องการของลูกคา้ เปลี่ยนแปลงไป ทีอ่ าจจะทาให้ผลิตภัณฑ์ บรกิ ารและแนวทางใน
การบรกิ ารขององค์กรตอ้ งเปลีย่ นแปลงตามไปดว้ ย
4) อุปสรรค(Threats) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดาเนินงานขององค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่าน้ี ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขัน เป็นต้น ความไม่สงบภายใน
ตะวันออกกลาง ความสงบภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ความเข้มแข็งของคู่แข่งขัน อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ามันท่ี
สูงข้นึ ลว้ นแตเ่ ปน็ การคุกคามจากสภาพแวดลอ้ มภายนอกทง้ั สิน้
สุพจน์ ทรายแก้ว (2545) ได้ช้ีให้เห็นว่า การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะต้องดาเนินการหลังจากท่ีรับทราบ
ผลการวิเคราะห์ (SWOT) เรียบร้อยแล้ว โดยในการวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันขององค์การจะดาเนินการโดยนา
ผลการวเิ คราะห์ โดยสรุปเก่ยี วกบั จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอปุ สรรค มาพิจารณาร่วมกนั ในรปู ของเมตริกซ์

ภาพท่ี 4 การวิเคราะหใ์ นรปู ของเมตทรกิ ซ์
(ทีม่ า : สพุ จน์ ทรายแก้ว. มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม, 2545)
จากภาพแสดงให้เห็นถึงสภาพปัจจุบันขององค์การท่ีทาการวางแผนกลยุทธ์ว่า มีความเป็นไปได้ท่ีจะต้องตก
อยู่ในสถานการณ์อย่างน้อย 4 สถานการณ์และแต่ละสถานการณ์จะมีแนวกลยุทธ์โดยภาพรวม ที่ควรดาเนินการ
แตกตา่ งกนั ดังรายละเอียดต่อไปนี้

49

สถานการณ์ท่ี 1 สภาพแวดล้อมภายนอกมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในเชิงที่เป็นโอกาสค่อนข้างมาก
และองค์การมีขีดสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งเป็นส่วนใหญ่ องค์การที่ตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว ควรวางกลยุทธ์
การทางานในเชิงรุก โดยอาจเร่งดาเนินการปรับเปลี่ยนภารกิจหลักในลักษณะของการขยายงานที่หน่วยงานมี
ความชานาญให้ครอบคลุมพ้ืนท่ีหรือตลาดท่ีเป็นเป้าหมายมากขึ้น หรือ เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ให้
สอดรบั กบั ความต้องการของประชาชนผู้เปน็ ลูกค้าหรอื ผ้รู ับบริการมากข้ึน

สถานการณ์ที่ 2 สถานการณ์ภายนอก มีแนวโน้มส่งผลกระทบที่เป็นอุปสรรค แต่ละองค์การยังมี
ขดี สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งส่วนใหญ่ องคก์ ารท่ีตกอยู่ในสภาพการณ์ดังกล่าว ควรปรับเปล่ียนภารกิจหลัก ในลักษณะ
เป็นกลางเพื่อรักษาสถานภาพของหน่วยงานไว้ ด้วยการคงสภาพของสินค้าหรือบริการที่องค์การมีความชานาญที่เคย
ทาไวต้ ามเดมิ พร้อมทัง้ รกั ษาคุณภาพของผลิตภณั ฑแ์ ละบริการไว้ให้อยู่ในระดบั เดิม

สถานการณ์ท่ี 3 สภาพแวดล้อมภายนอก มีแนวโน้มท่ีจะส่งผลกระทบต่อองค์กร ในเชิงท่ีเป็นภัย
อุปสรรค และองค์การเองก็มีขีดสมรรถนะในลักษณะที่เป็นจุดอ่อนเป็นส่วนใหญ่ องค์การท่ีตกอยู่ในสถานการณ์
ดังกล่าวจาเป็นอย่างยิ่งที่จะเร่งปรับเปล่ียนภารกิจหลักในลักษณะป้องกันตัว กล่าวคือ ควรจะต้องเร่งปรับปรุงขีด
สมรรถนะภายในใหม้ ีประสิทธิภาพมากข้ึน เพื่อสรา้ งความอยู่รอดให้องค์การ

สถานการณ์ท่ี 4 สภาพแวดล้อมภายนอก มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบในเชิงที่เป็นโอกาส แต่
องค์การมีขีดสมรรถนะท่ีมีจุดอ่อน องค์การท่ีตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวควรจะต้องปรับเปล่ียนภารกิจ โดยเน้นที่
การเร่งปรับปรุงขีดสมรรถนะภายในอย่างเร่งด่วน พร้อมกับวางแผนที่จะรุกไปข้างหน้าด้วยการเตรียมขยายงาน มีความ
ชานาญการให้ครอบคลุมทั่วพื้นท่ี หรือครอบคลุมตลาดท่ีเป็นเป้าหมายมากขึ้น หรือเร่งพัฒนาผลิตภณั ฑ์หรือบรกิ ารใหม่
ๆ ใหส้ อดรบั กบั ความต้องการของประชาชนผเู้ ป็นลกู ค้าหรือผรู้ ับการบรกิ ารมากขึน้

อุทิศ ขาวเธียร (2549 : 72 - 73) กล่าวว่า การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร หมายถึง ข้ันตอน
การทาแผนกลยุทธ์ท่ีรู้จักกัน มักเรียกว่า “SWOT Analysis” ท่ีเป็นการวิเคราะห์ จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน
(Weaknesses) ของสภาวะแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) ภาวะคุกคามหรือข้อจากัด
(Threats) ของสภาวะแวดลอ้ มภายนอก

สรุปได้ว่า เทคนิคการพัฒนากลยุทธ์ ต้องดาเนินการศึกษา บริบทขององค์กร และทาการ วิเคราะห์ปัจจัย
สภาพแวดล้อมภายในและปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค แล้วนามา
กาหนดเปน็ กลยทุ ธเ์ พ่ือพัฒนางานใหบ้ รรลสุ าเร็จตามวตั ถุประสงคท์ ี่กาหนดไว้

6.6 การนากลยทุ ธ์ไปปฏบิ ตั ิ
สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (2554) ได้กล่าวว่า จากกลยุทธ์ต่าง ๆ ท่ีได้กาหนดไว้ จะแปลงออกเป็น
แผนปฏิบัติการประจาปี ซึ่งโดยท่ัวไปจะประกอบด้วยกิจกรรมที่ต้องทาเวลาดาเนินการ ผู้ปฏิบัติ/ผู้รับผิดชอบ

50

งบประมาณดาเนินงาน ตัวชี้วัด ท้ังน้ี โดยมีโครงสร้างองค์กร ระบบงาน เทคโนโลยี ฯลฯ รองรับ ซ่ึงการนากลยุทธ์ไป
ปฏิบัติ จะประกอบดว้ ยกระบวนงานย่อย 2 สว่ น ไดแ้ ก่

6.6.1 การจัดทาแผนปฏบิ ัติการ (Action Plan) แผนปฏบิ ัติการจะเป็นแผนท่ถี ูกกาหนดข้ึน
โดยระบุรายละเอียดเก่ียวกับแผนงานและโครงการต่าง ๆ ท่ีมีเป้าหมายผลงานสอดคล้องกับเป้าประสงค์และ
เป้าหมายของแผนกลยุทธ์ ท่ีกาหนดไว้โดยท่ัวไปแลว้ การกาหนดแผนปฏิบัติการจะเป็นรายปี โดนหน่วยปฏิบัติจะต้อง
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผลงานที่จะเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ระดับ ได้แก่ ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์
(Outcome) ดังน้ันรูปแบบของแผนปฏิบัติการท่ีจัดทา จึงมักนิยมดาเนินการโดยใช้กรอบการวางแผนแบบเหตุผล
สัมพันธ์ (Logical Framework Project Planning) ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (ใน
ระดับตา่ ง ๆ) ตัวชี้วดั ความสาเร็จและทรัพยากรที่จาเป็นในการดาเนินงาน

6.6.2 การปฏิบัติการ (Take Action) การปฏิบัติการ เป็นกระบวนการดาเนินการตาม
แผนงาน งาน/โครงการ และกจิ กรรม ที่กาหนดไวโ้ ดยทวั่ ไปจะมี 2 สว่ น คอื

1) การปฏิบัติตามแผนงาน/งาน/โครงการ ตามกลยุทธ์ขององค์กรเพ่ือดาเนินการ
จดั ทาผลผลติ หรอื ใหบ้ ริการแกล่ กู ค้าหรอื ผ้รู ับบรกิ าร

2) การปฏิบัติตามแผนงาน งาน/โครงการ ที่เป็นพันธกิจสนับสนุน ได้แก่ การจัดการ
ความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร หรือการพัฒนาองค์กรและการจัดการ (Management Development)
เพื่อช่วยเสริมสร้างขีดสมรรถนะการเรียนรู้ให้องค์กรมีความพร้อมที่จะปรับปรุงตนเอง ซ่ึงจะช่วยสนับสนุนให้การ
ปฏิบัติงานตามข้อ (1) เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยท่ัวไปส่ิงที่ต้องดาเนินการ ได้แก่ การปรับปรุง
โครงสร้างองค์กร การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การจัดการระบบสารสนเทศ และการ
บริหารคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิต

สรุปได้ว่า การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติเป็นมาตรการท่ีเป็นรูปธรรมในการแปลงเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ไปสู่การ
ปฏิบัติ เพ่ือให้เกิดผลสัมฤทธ์ิและบรรลุวัตถุประสงค์ตามท่ีต้ังใจไว้ ซ่ึงจาเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนร่วมมือ ร่วมใจ
จากทกุ ฝา่ ย ทุกระดับอย่างต่อเน่ือง กลยุทธ์ท่จี ะประสบผลสาเร็จจะต้องมีความสอดคล้องกับโครงสรา้ งและกิจกรรม
สนับสนุนท่ีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการปรับความสอดคล้องและเหมาะสม โครงสร้างองค์การ กระบวนการ
ภายใน ทักษะของบุคลากร ทรัพยากรองค์การ และส่ิงเสริมแรงต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์การบรรลุ
ตามเปา้ หมายเชิงกลยุทธ์ได้ ดังน้ัน องค์การจาเป็นต้องมีบุคลากรที่มที ักษะ เจตคติ ความคิดและทรัพยากรต่าง ๆ ที่
ตอบสนองต่อการดาเนนิ กลยุทธ์ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ รวมทง้ั ความร่วมมือร่วมใจในการดาเนนิ งาน

51

6. ขอ้ มูลทว่ั ไปชมุ ชนกสกิ รรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง

6.1 ข้อมูลทั่วไปของอาเภอศรีธาตุ จงั หวดั อดุ รธานี

6.1.1 ลักษณะท่ตี งั้

สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอศรีธาตุ (2563) กล่าวถึง ข้อมูลเดิมอาเภอศรีธาตุ ว่าอยู่ในเขต

การปกครองของอาเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้รับการประกาศจัดต้ังเป็นกิ่งอาเภอเมื่อปี พ.ศ.2511 และ

ได้รับการยกฐานะเป็นอาเภอเม่ือวันที่ 15 มิถุนายน 2516 โดยได้ช่ืออาเภอมาจากนามขององค์พระธาตุศรธี าตุ

ตั้งอยู่ท่ีวัดศรีธาตุประมัญชา (วัดป่าแมว) บ้านหนองแวง หมู่ที่ 3 ตาบลจาปี ดังนั้น เพ่ือให้เป็นศิริมงคลแก่

บ้านเมอื ง ชาวบา้ นจงึ ได้ตงั้ ชื่ออาเภอตามนามของพระธาตุ ตงั้ ทว่ี า่ การอาเภอ และหน่วยงานราชการต่าง ๆ อยู่

ที่อาเภอศรีธาตุตั้งอยู่ หมู่ท่ี 1 ตาบลศรีธาตุ อาเภอศรีธาตุ ถนนสายกุมภวาปี - วังสามหมอ (ทางหลวงแผ่นดิน

หมายเลข 2023) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอุดรธานีระยะทางห่างจากจังหวัด 72 กิโลเมตร มี

พ้ืนทีท่ ัง้ หมดประมาณ 698.98 ตารางกิโลเมตร หรอื 436,862.50 ไร่ สภาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท่ีราบสูงประมาณ

รอ้ ยละ 70 เปน็ ป่าสงวนแห่งชาติ มสี ภาพทีเ่ สอ่ื มโทรม โดยมีอาณาเขตตดิ ตอ่ ดงั นี้

ทศิ เหนอื ติดตอ่ เขตอาเภอไชยวาน และอาเภอกู่แกว้ จงั หวัดอุดรธานี

ทศิ ใต้ ตดิ ต่อกับอาเภอทา่ คันโท จังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ

ทิศตะวนั ออก ตดิ ต่อกับอาเภอวงั สามหมอ จงั หวดั อดุ รธานี

ทศิ ตะวันตก ติดตอ่ กับอาเภอกมุ ภวาปี จงั หวดั อุดรธานี

6.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพนื้ ท่ีอาเภอศรธี าตุ มสี ภาพภมู ิประเทศส่วนใหญเ่ ป็นท่รี าบล่มุ บางส่วนเปน็ พ้ืนทลี่ กู คลื่น

ลอนเตยี้ สลบั พื้นทน่ี ามีที่ราบลมุ่ อยู่บริเวณริมลาน้าปาว มภี เู ขาลูกเล็ก ๆ ชอื่ ภกู ระแตแบง่ เขตอาเภอศรธี าตุ กบั

อาเภอไชยวาน และก่ิงอาเภอก่แู ก้ว จังหวัดอดุ รธานี มคี วามสงู จากระดับน้าทะเลปานกลาง 200 เมตร

1) ลกั ษณะทางธรณีวทิ ยา เป็นลกั ษณะหนิ ที่พบในเขตอาเภอศรธี าตุ ส่วนใหญจ่ ะเปน็

หินกรวด และหนิ ทราย

2) ลกั ษณะดนิ ดินในอาเขตอาเภอศรธี าตุ สว่ นมากเป็นดินรว่ นปนทราย

3) แหล่งนา้ และลาหว้ ยทีส่ าคญั ได้แก่ ลาน้าปาว ลาห้วยกอก ลาหว้ ยฮี ลาห้วยวังเฮอื

ลาหว้ ยโพธิ์ และห้วยไพจาน

6.1.3 การแบง่ เขตปกครอง

อาเภอศรีธาตุ แบ่งเขตการปกครอง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องท่ี พ.ศ. 2457

เป็นตาบล หมู่บ้าน โดยแบง่ การปกครองออกเป็น 7 ตาบล 86 หมู่บา้ น คือ

1) ตาบลศรธี าตุ จานวน 12 หม่บู า้ น

2) ตาบลจาปี จานวน 17 หมู่บ้าน

3) ตาบลบ้านโปรง่ จานวน 11 หมู่บา้ น

4) ตาบลตาดทอง จานวน 11 หมบู่ ้าน

5) ตาบลหัวนาคา จานวน 17 หมู่บ้าน

52

6) ตาบลนายงู จานวน 10 หมูบ่ า้ น
7) ตาบลหนองนกเขียน จานวน 8 หมู่บ้าน

6.2 ชุมชนกสกิ รรมธรรมชาตคิ รสิ ตจกั รนาเรียง
6.2.1 การก่อเกดิ ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติ
สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอศรีธาตุ (2563) อธิบายว่า ในปี พ.ศ. 2559 คริสตจักรนาเรียง

ซ่ึงมีเป้าหมายเพ่ือแก้ไขปัญหาความยากจนการใช้พื้นที่ทากินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย 1) ปรับเปล่ียนทัศนะ
และเรียนรู้การทาเกษตรกรวิถีใหม่ 2) เป็นต้นแบบให้กับคนอ่ืน ๆ ท่ียังทาเกษตรแบบเดิม 3) เพ่ือนาการ
เปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ จึงได้จัดสนับสนุนงบประมาณให้คนในชุมชนได้เข้ารับอบรมหลักสูตรการ
พัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบโคกหนองนาโมเดลท่ีศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องชลบุรี
จานวน 10 คน และในปี พ.ศ. 2560 ได้มสี มาชกิ เขา้ อบรมหลักสูตรเดียวกันที่ศนู ย์กสิกรรมธรรมชาติต้นน้าน่าน
ท้ังหมด 11 ครอบครัว หลังจากน้ัน เม่ือทุกคนเริ่มลงมือทาตามท่ีไปอบรมมาก็เห็นถึงการเปล่ียนแปลงจาก
แปลงเกษตรของตนเอง และประกอบกับมีทีมผู้ฝึกสอนนาโดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกาธร ท่านประชา เตรัฐ และ
คณะผู้ว่าราชการจังหวดั อุดรธานี ลงให้กาลังใจและให้การสนับสนุน รวมทั้งผลักดันให้จดั ตั้งเปน็ ศูนย์ฝึกอบรม
กสิกรรมธรรมชาตขิ ึ้น

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เปิดเป็น “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย
คริสตจักรนาเรียง” และมีการฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง” รุ่นท่ี 1 ขึ้น
และในปัจจุบัน มีการฝึกอบรมไปแล้ว 4 รุ่น ผู้ผ่านอบรม 380 คน โดยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสนับสนุน
งบประมาณ พร้อมทั้งมีการจัดงานวันดินโลกข้ึนอย่างย่ิงใหญ่ ซึ่งมี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกาธร รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะน้ัน เปน็ ประธานในพิธี พร้อมดว้ ยหัวหน้าสว่ นราชการจังหวดั อุดรธานี มลู นิธิ
กสกิ รรมธรรมชาติ มลู นธิ ิรกั ษ์ดนิ รักษ์น้า สถาบันการศกึ ษา และภาคีเครือข่ายการพฒั นาท้ัง 7 ภาคี เข้าร่วมงาน
ถือว่าเป็นประกาศความพร้อมท่ีสามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีความสนใจ อยากเข้าศึกษาเรียนรู้แนว
พระราชดาริทฤษฎีใหม่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ นอกจากน้ีศูนย์กสิกรรมธรรมชาติยังมีเครือข่ายกับ
องค์การบริหารส่วนตาบล เทศบาล ส่วนราชการระดับอาเภอศรีธาตุ ระดับจังหวัด ร่วมกับเครือข่ายกสิกรรม
ธรรมชาติทว่ั ประเทศ 22 แหง่ นอกจากฝึกอบรมแล้ว ยังมกี จิ กรรมเอาม้ือสามัคคีภายในกลุ่มในชุมชน และร่วม
เอามื้อสามัคคีในระดับจังหวัด ระดับประเทศร่วมกับเครือข่ายอ่ืน ๆ เช่น ร่วมกับหน่วยงานในอาเภอศรีธาตุ
ตลาดสีเขียวหน้าโรงพยาบาล ส่งปิ่นโต ชุดอาหารพร้อมปรุง จัดกิจกรรมเอามื้อร่วมกับนายอาเภอศรีธาตุและ
ชุมชนต่าง ๆ ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียงใช้กระบวนการของกิจกรรมเอามื้อสามัคคีเข้ามาช่วย
พัฒนาพื้นที่ในแปลงเกษตรของสมาชิก ซ่ึงที่ผ่านมาได้มีการร่วมกันเอาม้ือสามัคคีในพ้ืนที่แปลงเกษตรของ
สมาชิกในเขตอาเภอศรีธาตุและอาเภอใกล้เคียง มากกว่า 100 คร้ัง นับต้ังแต่ปี พ.ศ. 2560 ซ่ึงกิจกรรมเอามื้อ
สามัคคีที่ย่ิงใหญ่ท่ีสุดของอาเภอศรีธาตุ คือ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปีที่ 5
แตกตัวทั่วไทย สานพลังสามัคคี ท่ีมีผู้เข้าร่วมจาก 7 ภาคี มากกว่า 1,000 คน ทาให้กิจกรรมเอามื้อสามัคคีถูก
ขยายวงกว้างออกไป ในแปลงของสมาชิกสภาคริสตจักรนาเรียง และเครือข่าย โคก หนอง นา โมเดล ของ
อาเภอศรีธาตุ และอาเภอกุมภวาปี จังหวดั อดุ รธานี

53

6.2.2 ศนู ย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรยี ไ์ ทยครสิ ตจักรนาเรยี ง
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรยี ์ไทยคริสตจักรนาเรียง มีแนวคิดจากความต้องการใช้
หลกั การมสี ่วนรว่ มของภาครฐั ภาคศาสนา และภาคประชาชน ให้เขา้ มามีสว่ นร่วมในการขับเคลื่อนงานศาสตร์
พระราชา ผ่านการจัดกระบวนการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนว
พระราชดารทิ ฤษฎใี หม่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ คาสอนของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั รัชกาลที่
9 ผนวกเข้ากบั หลกั คาสอนของพระศาสดา ซ่งึ มีความสอดคล้องตรงกันทกุ ศาสนา ในศาสนาคริสต์มีความเชอ่ื ว่า
พระเจ้าสร้างสวนเอเดนขึ้นมา ให้มีอาหารการกิน มีของใช้มากมาย มีทุกอย่าง แต่ว่ามนุษย์มีสิทธ์ิกินผลไม้ทุก
อย่าง ยกเว้นส่งิ ทีค่ วรสานึกรผู้ ิดชอบชั่วดี กินแล้วจะตาย มนุษย์มีหน้าท่ีรักษาสวนเอเดนของพระเจ้า ฟื้นฟูสวน
เอเดนท่ีพระเจ้าทรงสร้างไว้ให้ เมื่อฟ้ืนฟูสวนเอเดนขึ้นมา ทุกคนก็จะมีอาหารการกิน มีชีวิตที่สุขสงบน่ันเอง
ดังน้ันพี่น้องชาวคริสตจักรจึงยึดถือคาสอนของพระศาสดา นาหลักปฏิบัติของชาวคริสตจักรมาเช่ือมโยงสู่การ
ปฏิบตั ติ นตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง จงึ ทาให้เรามีชีวิตท่ีสงบสขุ ได้
ชุมชนคริสตจักรนาเรียง สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นท่ีบ้านนางาม ตาบลตาดทอง
อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอดุ รธานี สว่ นใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพพืน้ ที่เป็นดินหนิ ลูกรัง หรอื ที่เรียกว่า
โคกหินแห่ ยงั คงมปี า่ ไม้ของชุมชนหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ช่วงฤดแู ล้งไม่มนี ้าเพยี งพอต่อการทาการเกษตร ดินขาด
ความชุ่มช้ืน เกษตรกรส่วนใหญ่ทาไร่มันสาปะหลัง ไร่อ้อย ปลูกข้าว และมีสวนยางพารา ถือว่าเป็นพ้ืนท่ีที่ทา
เกษตรเชิงเดี่ยว จึงทาให้รายได้ของเกษตรกรต้องขึ้นอยู่กับการกาหนดราคาของผลผลิตทางการเกษตร และมี
โรงงานแป้งมันสาปะหลังเข้ามาก่อต้ังอยู่ใกล้กับชุมชน ทาให้เข้ามาส่งเสริมให้ประชาชนหันมาทาไร่มัน
สาปะหลงั มากขึน้ ทาให้ชุมชนเริม่ สูญเสียแหล่งอาหารท่ีอุดมสมบูรณ์ไปมาก ในอดตี บ้านนางามเคยไดร้ ับรางวัล
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด จัดอยู่ในหมู่บ้านระดับมั่งมีศรีสุข เนื่องจากผู้นาชุมชนมีความเข้มแข็ง
พัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนสามารถประกอบอาชีพ มีงานมีรายได้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาในการ
พัฒนาชุมชน รวมท้ังคริสตจักรนาเรียง ตั้งอยู่ในเขตพ้ืนท่ีของบ้านนางาม ทาให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของ
ประชาชนในชุมชนและพ้ืนท่ีใกล้เคียง และในปี พ.ศ. 2558 สภาคริสตจักรได้คัดเลือกสมาชิกชุมชนเข้าไป
ฝกึ อบรมทศี่ นู ยก์ สิกรรมธรรมชาติมาบเอ้ือง จากการอบรมในครงั้ นั้น ทาให้สมาชิกไดร้ ับความรู้การพัฒนากสิกร
รมส่รู ะบบเศรษฐกิจพอเพียง หลงั จากการฝึกอบรมได้รบั การติดตามและสนับสนุนจากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
และมสี มาชกิ เขา้ รว่ มโครงการประมาณ 60 ครอบครวั
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ มีการขับเคลื่อนงานในรูปแบบของ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาตมิ าตรฐานอินทรีย์ไทยคริสตจักรนาเรียง มีการจัดการฝกึ อบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกร
รมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนท่ีสนใจ เกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี จานวน 4 รุ่น มีผู้ผ่านการ
ฝึกอบรมทั้งสิ้น 380 คน ทาให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนาองค์ความร้ตู ามแนวพระราชดาริทฤษฎีใหม่ไปปรบั ใช้
ในการพัฒนาพื้นที่ตนเองได้ ถือได้ว่าเป็นการสร้างเครือข่ายท่ีกว้างขวางข้ึน ทาให้ในเวลาต่อมาได้มีการดาเนิน
กิจกรรมของคริสตจักรร่วมกับสมาชิกเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติมาอย่างต่อเน่ือง รวมทั้งชุมชนและส่วน
ราชการก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมสาคัญในการพัฒนาพ้ืนที่ตามแนวพระราชดาริ โคก หนอง นา โมเดล ยกตัวอย่าง
เมื่อปี พ.ศ. 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กาหนดจัดงานวันดินโลกข้ึนท่ีคริสตจักรนาเรียง และปี พ.ศ.

54

2563 มลู นธิ ิกสิกรรมธรรมชาติ ได้มาจัดงานวันดินโลกของสมาชิกเครือขา่ ยกสิกรรมธรรมชาติทวั่ ประเทศ ข้นึ ท่ี
ครสิ ตจักรนาเรยี งด้วยเช่นกนั ทงั้ หมดน้ีเปน็ ภาพทีส่ ะท้อนให้เห็นถงึ พลงั ของ ค ร บ นั่นเอง

ปัจจุบนั มคี ณะกรรมการศูนย์กสกิ รรมธรรมชาติ ดังนี้
1) นายไชยยา โนนอาสา ประธาน
2) นายศริ ชิ ัย นามวิเศษ รองประธาน
3) นายสวาท ทองสุมาตร เลขานกุ าร
4) นางสุพตั รา ทองสมุ าตร เหรญั ญิก 1
5) นางแสงจนั ทร์ ทองสมุ าตร เหรญั ญิก 2
6) นายทินกร จงพนู กลาง กรรมการ
7) นายแสวง ศรธี รรมบุตร ปราญ์ชประจาศนู ย์/กรรมการ

7. งานวจิ ยั ทเี่ กี่ยวขอ้ ง

จอมขวญั ชมุ ชาติ (2558) ไดศ้ กึ ษาความม่ันคงทางอาหารของชมุ ชนโคกพะยอม ตาบลละงู อาเภอละงู
จังหวัดสตูล พบว่า ชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากอาหารทั้งหมด 188 ชนิด โดยมีแหล่งอาหารที่คนในชุมชน
พึ่งพาท้ังหมด 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งอาหารธรรมชาติ แหล่งอาหารผลิตเอง และแหล่งอาหารซ้ือขาย เม่ือนา
ปริมาณการมีอยู่ของอาหารเปรียบเทยี บกับการใชป้ ระโยชน์เพือ่ การบริโภค พบว่า แหล่งอาหารธรรมชาติมีชนิด
อาหารท่ีไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค 10 ชนิด จากท้ังหมด 35 ชนิด แหล่งอาหารผลิตเองมีชนิด
อาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค 38 ชนิด จากทั้งหมด 54 ชนิด ซ่ึงการเปรียบเทียบปริมาณ
การมอี ยใู่ นชุมชนต่อปริมาณความต้องการในการบรโิ ภค ถอื วา่ ชุมชนยงั ถือว่ามีปริมาณอาหารที่มีอยู่ไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการในการบริโภค แตเ่ มื่อชมุ ชนมีการพ่ึงพาแหล่งซ้ือขาย ก็พบว่าอาหารทุกชนิดมีปริมาณเพียงพอ
ต่อความต้องการในการบริโภค สว่ นการเข้าถึงแหล่งอาหาร พบว่า คนในชุมชนมีสิทธิในการเข้าถึงแหล่งอาหาร
ทุกแหล่งอย่างเท่าเทียมกัน แต่มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจากบริบทของแหล่งอาหาร และในส่วนของการ
จัดการอาหารและแหล่งอาหาร พบว่า การจัดการเพื่อให้ได้อาหารเหล่านี้ต้องอาศัยภูมิปัญญาการทาเคร่ืองมือ
ภูมิปญั ญาการเกบ็ หาอาหาร ภมู ิปัญญาในการนาไปประกอบอาหาร ตลอดจนการจดั การแหลง่ อาหารเพื่อให้ได้
อาหารมาบรโิ ภคได้ตลอดเวลา

ปุญณดา มาสวัสดิ์ และคณะ (2559) ได้ศึกษาปัจจัยท่ีมีผลต่อความม่ันคงด้านอาหารของครัวเรือน
เกษตรไทย พบว่า 1) ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเพศหญิง มีโอกาสความม่ันคงด้านอาหารมากกว่าเพศชาย
ซ่ึงสอดคล้องกับการศึกษาของสานักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2555) พบว่า
ครัวเรือนท่ีมีหัวหน้าครัวเรือนเพศหญิง จะมีความสามารถในการจัดหาอาหารให้แก่คนในครัวเรือนได้ดีกว่า
เน่ืองจากมีความเอาใจใส่คนในครัวเรือนมากกว่าเพศชาย 2) หากหัวหน้าครัวเรือนเกษตรมีระดับการศึกษา
เพิ่มขึ้น โอกาสท่ีครัวเรือนจะมีความมั่นคงด้านอาหารจะเพิ่มขึ้นด้วย เน่ืองจากระดับการศึกษาของหัวหน้า
ครัวเรือน มีความความสาคัญต่อการจัดการในการผลิตและการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงความสามารถ
ในการแสวงหาอาหารท้ังในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย Babatunde, et al. (2007)

55

พบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษาสูงสามารถเลือกอาหารที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมต่อ
สมาชิกของครัวเรือน 3) ครัวเรือนเกษตรที่มีข้าวท่ีเก็บไว้บริโภค มีโอกาสท่ีจะเป็นครัวเรือนมีความมั่นคงด้าน
อาหาร มากกว่าครัวเรือนท่ีไม่มีข้าวเก็บไว้บริโภค เนื่องจากปริมาณข้าวที่เก็บไว้บริโภคในครัวเรือน ไม่ว่าจาก
การผลิตเองหรือนาเข้ามาจากแหล่งอาหารภายนอก หรือรวมถึงการได้รับความช่วยเหลือทางอาหาร มี
ความสาคัญในแง่ของความพอเพียงด้านอาหาร และเสถียรภาพที่จะต้องสามารถเข้าถึงอาหารท่ีพอเพียง
ตลอดเวลา และไม่เส่ียงต่อการเข้าไม่ถึงอาหาร จากวิกฤติที่เกิดอย่างกะทันหันหากเกิดภัยพิบัติ 4) ครัวเรือน
เกษตรที่ได้รับช่วยเหลอื จากโครงการของรัฐบาล มีโอกาสท่ีจะตกเป็นครัวเรือนมีความม่ันคงด้านอาหารเพ่มิ ขนึ้
เป็นการเพ่ิมศักยภาพการผลิตและรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร เป็นการเสริมสร้างให้มีความม่ันคงด้านหาร
เพิ่มข้ึน ส่งผลให้ครัวเรือเกษตรมีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดีข้ึน 5) ครัวเรือนเกษตรท่ีมีหน้ีสิน มีโอกาสท่ีจะตกเป็น
ครัวเรือนไม่มั่นคงด้านอาหารมากกว่าครัวเรือนท่ีไม่มีหนี้สิน ท้ังนี้เน่ืองจากภาวะหน้ีสินของเกษตรกรนาไปสู่
ปัญหาความม่ันคงด้านอาหารในระดับครัวเรือน เนื่องจากทาให้เกิดความยากลาบากในการเข้าถึงอาหารท่ีดีได้
6) ครวั เรอื นเกษตรที่มีขนาดครัวเรือนที่ใหญ่ข้ึน มีโอกาสทจ่ี ะมีความมั่นคงด้านอาหารลดลง เนือ่ งจากครัวเรือน
ท่ีมีจานวนสมาชิกในครัวเรือนมาก ย่อมีภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเกิดการแบ่งปันอาหารเพื่อ
บริโภคในครัวเรือนเพ่ิมข้ึนอีกด้วย 7) ครัวเรือนเกษตรที่มีรายได้ของครัวเรือนทั้งรายได้จากภาคเกษตร และ
รายได้นอกภาคเกษตรเพิ่มข้ึน จะมผี ลให้ครัวเรอื นมโี อกาสมีมั่นคงดา้ นอาหารเพิ่มขึ้น เน่อื งจากรายได้ถือว่าเป็น
ส่ิงที่แสดงให้เห็นถึงอานาจในการจัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคในการดารงชีพข้ันพื้นฐานของครัวเรือน เม่ือมีรายได้
สูงขน้ึ ยอ่ มีแนวโน้มทจี่ ะบริโภค อาหารทมี่ คี ุณภาพเพ่ิมขึ้น 8) ครัวเรอื นเกษตรในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื มีดอ
กาสที่จะมีความไม่ม่ันคงทางด้านอาหารมากกวา่ ครัวเรอื นเกษตรในภาคอื่น ๆ เน่ืองจากความอุดมสมบูรณ์ของ
ทรัพยากรย่อมแตกต่างกัน ส่งผลให้การเข้าถึงแหล่งอาหาร และการได้มาซ่ึงอาหารของครัวเรือนแตกต่างกัน
9) ครัวเรือนเกษตรท่ีทาเกษตรผสมผสาน มีโอกาสท่ีจะตกเป็นครัวเรือนมีความม่ันคงด้านอาหาร มากกว่า
ครัวเรือนที่ปลูกพืชเชิงเด่ียว ท้ังน้ี อาจจะเป้นเพราะครัวเรือนเกษตรที่ทาเกษตรแบบผสมผสานสามารถผลิต
อาหารที่หลากหลาย เพ่ือใช้เป้นวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เอง ช่วยให้ครัวเรือนเกษตรมีอาหารเพียงพอ
ตอ่ การบรโิ ภคภายในครัวเรอื น มีอาหารไว้บริโภคในครอบครวั ครบทกุ หมู่ ช่วยลดคา่ ใช้จ่ายในดา้ นอาหาร

อัจฉรา ทองประดับ และคนอื่น ๆ (2552) ศึกษาระดับความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือน ในตาบล
การะเกด อาเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานผลว่า การพิจารณาองค์ประกอบด้านการเข้าถึง
อาหารของครัวเรือน พิจารณาโดยตัวแปรต่าง ๆ คือ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน รายได้จะเป็นตัวสะท้อนถึง
ความสามารถในการซื้ออาหารมาบรโิ ภค ถา้ มีรายไดม้ ากก็สามารถซื้ออาหารมาบรโิ ภคให้เพยี งพอได้ นอกจากน้ี
ยังมีตัวแปรรายจ่ายด้านอาหารของครัวเรือนซ่ึงเป็นตัวแปรท่ีสามารถบอกได้ว่าครัวเรือนนารายได้ไปใช้จ่ายใน
การซื้ออาหารมากน้อยแค่ไหน และตัวแปรความหลากหลายของประเภทและชนิดอาหารที่บริโภคซ่ึงเป็นการ
วัดถึงความหลากหลายของอาหารที่บริโภค เพราะการบริโภคอาหารที่หลากหลายแสดงถึงการเข้าถึงอาหารท่ี
แตกต่างกันอย่างครบถ้วน และรายงานผลด้ารการวัดการมีอาหารของครัวเรือน พบว่า ท่ีดินสามารถนามาทา
การเพาะปลูกพืชอาหารได้ ถ้าครัวเรือนมีที่ดินก็สามารถผลิตอาหารไว้บริโภคได้เอง และถ้าครัวเรือนาที่ดินมา
ปลูกข้าวก็จะมีผลผลติ ข้าวไว้เพ่ือบริโภค ซ่ึงเป็นการประกันความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรอื นได้ และเม่ือนา

56

ผลผลิตข้าวทั้งหมดมาแปลงเป็นค่าแคลอรี่ก็สามารถวัดถึงระดับความเพียงพอของการมีข้าวไว้บริโภคใน
ครัวเรือนได้ สาหรับองค์ประกอบด้านการใช้ประโยชน์จากอาหารของครัวเรือน มีตัวแปรที่เก่ียวข้อง คือ
พลังงานที่ได้รับและโปรตีนท่ีได้รับ เป็นการวัดถึงความเพียงพอของพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากการบริโภค
อาหารในแต่ละวนั ว่ามคี วามเพยี งพอหรือไม่ และวดั ระดับพลังงานทีเ่ พียงพอ และระดบั โปรตนี ท่ีเพียงพอ เพื่อ
วัดถึงระดบั ความเพียงพอของสารอาหารที่ไดร้ บั จากการบรโิ ภคอาหารในแตล่ ะวัน

พฤกษ์ ยิบมันตะสริ ิ และคนอน่ื ๆ (2553) ศกึ ษาการพฒั นาตัวช้ีวดั ความมั่นคงทางอาหารภายใต้บริบท
สังคมไทย ได้รายงาน การเข้าถึงฐานทรัพยากรของอาหาร ของชุมชน ในตาบลเมืองนะ ตาบลขี้เหล็ก
ตาบลน้าบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และตาบลแม่เจดีย์ จังหวัดเชียงราย ไว้ว่า ด้านหาอาหารตามแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติรอบชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าถึงฐานทรัพยากรอาหารได้ด้วยการหาอาหาร
ตามแหล่งทรัพยากรธรรมชาติรอบชุมชน เช่น ป่าธรรมชาตทิ ี่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของพชื
ทง้ั พืชอาหาร ไม้ยืนตน้ พืชสมุนไพร มีหลายขนาดทั งเล็กและตน้ ในระดับปานกลาง ด้านแหล่งน้าธรรมชาตแิ ละ
แหลง่ นา้ สาธารณะทม่ี คี วามอดุ มสมบูรณ์ พบวา่ กลุ่มตัวอยา่ งสามารถเขา้ ถึงฐานทรัพยากรอาหารได้ดว้ ยการมีน้า
ในแหล่งน้าและสามารถใช้ได้ตลอดปี สามารถหาปลาได้ตลอดปี สามารถหาสัตว์น้าขนาดเล็กได้ตลอดปี มีผัก
ต่าง ๆ ทั้งริมน้าและในน้าในระดับปานกลาง แต่มีรายได้จากการหาอาหารในแหล่งน้าธรรมชาติในระดับน้อย
และได้มีรายงานผลแนวทางการแก้ไขความไม่มั่นคงทางอาหารของชุมชนที่สังเคราะห์ได้จากการวิจัย พบว่า
1) บทบาททางสาธารณสุขได้สร้างความตระหนักด้านความม่ันคงทางอาหารและสุขภาพ และช่วยขยายผล
แนวคิดและแนวปฏบิ ัติเกษตรยง่ั ยืน โดยใช้สุขภาพเป็นตวั ขับเคล่ือน 2) ในการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหาร
ต้องดาเนินการวิจัยเชิงบูรณาการ ผู้วิจัยต้องเข้าใจบริบทและฐานทรัพยากรของแต่ละพื้นท่ี และต้องผนวกการ
วิเคราะหด์ ้านความเส่ียงและการปรบั ตัวต่อความเสยี่ ง ซ่ึงประกอบดว้ ยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ท่ีสง่ ผลตอ่
ความไม่มั่นคงทางอาหาร ซ่ึงผลกระทบค่อนข้างรุนแรงในสถานการณ์ปัจจุบัน 3) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เป็น
กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการท่ีส่งผลที่รวดเร็วในการสร้างความตระหนักและความเข้าใจความมั่นคงทาง
อาหารระดบั ชมุ ชน รวมถึงข้อมูลทไี่ ด้จากหลายมิติ ขอ้ มลู ดังกลา่ วจะสามารถนามาสนับสนนุ ให้เกิดความชัดเจน
และสร้างขอ้ เสนอแนะในเชิงนโยบายดา้ นความม่นั คงทางอาหารระดบั ภาคไดเ้ ปน็ อย่างดี 4) การขับเคล่ือนทาง
สงั คมเปน็ พลังทส่ี าคัญท่ีนาไปสู่ความม่นั คง ความปลอดภัยและอธปิ ไตยทางอาหาร ซงึ่ มหี ลายมิติ ท้ังท่ีเกยี่ วข้อง
กับเทคโนโลยีการผลิต องค์ความรู้ การบริหารจัดการ การมีวินัยของชุมชน และเครือข่ายท่ีมีคุณภาพ
นอกจากน้ี การขับเคลื่อนทางสังคมได้สร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะบนฐานของความรู้และปัญญา ซ่ึง
เป็นมิตใิ หมข่ องการทางานเพอื่ บรรลุความม่นั คง ความปลอดภัย และอธปิ ไตยทางอาหาร

พีรพันธ์ คอทอง (2553) ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความม่ันคงด้าน
อาหารความปลอดภัยด้านอาหาร และการผลิตปศุสัตว์ของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าปญั หาสาคัญอยูท่ ่ี
ผลิตภาพของทรัพยากรปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะการเปล่ียนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มี การเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลาที่สงผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงทรัพยากรมนุษย์ ที่ลดน้อยถอยลง
เน่ืองจากขาดการเสริมสร้างและพัฒนาต่อยอดความรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรื่องท่ีดินเพื่อ
การปศุสัตวที่จะถูกชุมชนสังคมเมืองขยายตัวเข้ามาใกล้ และนาไปใช้เป็นท่ีอยู่อาศัยมากขึ้น และปัญหาสา

57

สาคัญอีกประการกค็ ือปัญหา ลกัษณะโครงสรา้ งตลาดจากตลาดแบบผู้ซื้อ ผู้ขายนอ้ ยราย กลายเป็นการใชก้ ลไก
ทาการตลาดทเี่ ปน็ การค้าขายลงทุนจากกลมุ่ ผู้ลงทนุ รายใหญ่

พนม ด้วงทอง (2552) ได้ศึกษาเรื่องทฤษฎีใหม่กับความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน: กรณีศึกษา
บ้านก๋องป๋อใต้ ตาบลเกียน อาเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซ่ึงเป็นการศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึง
สถานการณก์ ารผลิตทางการเกษตรในครวั เรือนเปรียบเทยี บกบั ทฤษฎีให้ม่ โดยประยกุ ต์ และเพ่ือศกึ ษาถงึ ความ
มั่นคงทางอาหารในครัวเรือน บ้านก๋องป๋อใต้ ตาบลเกียน อาเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในมิติการมีอยู่ของ
อาหาร ประชากรท่ีใช้ศึกษาคือ ครัวเรือนของชุมชนมีทั้งหมด 64 ครัวเรือน โดยมีวิธีการศึกษาโดยใช้การศึกษา
เชิงปริมาณร่วมกับการศึกษาเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย และ
ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การผลิตทางการเกษตรท่ีสอดคล้องกับทฤษฎีใหม่มีเพียงด้านเดียวคือการผลิต
ข้าวได้เกิน 200 กก./คน/ปี รวม 58 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.62 ซ่ึงสืบเน่ืองมาจากมีระบบคลองส่งน้าท่ี
ครอบคลุมไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ส่วนด้านอ่ืน ๆ ยังไม่มีความสอดคล้อง ในส่วนการมีอยู่ของอาหาร ชุมชนมี
ทรัพยากรอาหารพ้ืนบ้าน 91 ชนิด แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรอาหารประเภทพืชผัก 74 ชนิด ไม้ผล
4 ชนิด สัตว์ 13 ชนิด และการเข้าถึงอาหารทุกครัวเรือนมีสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรอาหาร
ส่วนกลางของ ชุมชน เท่าเทียมกัน ภายใต้เง่ือนไขสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิปัญญา มีทักษะความ
ชานาญ และความสามารถในการเสาะหาอาหารตามธรรมชาติ ผ่านระบบความสัมพันธ์ แบบเครือญาติท่ีมีการ
ช่วยเหลือแบ่งปันกัน และการใช้ประโยชน์ของอาหาร โดยการประเมินภาวะโภชนาการของเด็กอายุ น้อยกว่า
5 ปี ในชุมชนโดยการชัง่ น้าหนักและวัดสว่ นสงู ภาวะโภชนาการของเด็กอายนุ ้อยกวา่ 5 ปี ในชุมชนพบระดบั ท่ี
เป็นปญั หาดังนี้ เกณฑน์ า้ หนกั ตามอายุ มีเดก็ นา้ หนกั น้อยกวา่ เกณฑ์ 2 คน รอ้ ยละ 16.67 น้าหนักคอ่ นขา้ งน้อย
3 คน ร้อยละ 25 ซึ่งแสดงว่ามีการขาดแคลนอาหาร ส่วนในด้านการประเมินความมันคงทางอาหารของ
ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีความม่ันคงทางอาหาร 16 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 25 ครัวเรือนท่ีไม่ม่ันคงทาง
อาหาร จานวน 48 ครัวเรอื น คดิ เป็นรอ้ ยละ 75 แบง่ ออกเป็น 1) ครัวเรอื นท่ีไม่มั่นคงทางอาหารแต่ไม่อดอยาก
จานวน 30 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 47 และ 2) ไม่ม่ันคงทางอาหารและอดอยากจานวน 18 ครัวเรือน
คดิ เป็นรอ้ ยละ 28 และใน 18 ครวั เรอื นน้ี แบง่ ย่อยได้อีกเป็นสองกลุ่ม คือ ขาดแคลนไมร่ นุ แรงและรุนแรง ซ่ึงมี
15 ครวั เรอื น คิดเป็นรอ้ ยละ 23 และ 3 ครัวเรือน คดิ เป็นร้อย 5 ของครัวเรอื นทงั้ หมด ตามลาดบั

มินตรา สาระรกั ษ์ และเสาวลกั ษณ์ แสนนาม (2557) ไดเ้ สนอแนวทางการสร้างความมนั่ คงทางอาหาร
ในครัวเรือน ไว้ว่าการนาอาหารมาแปรรูปหรือถนอมอาหาร เช่น การตากแห้ง เป็นการสารอง อาหารใน
ครอบครัว ร้อยละ 57.89 ด้านการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างยิ่งมากที่สุด เท่ากันกับการ
พบปะสังสรรค์ หรือพูดคุยปรึกษาหารือกันระหว่างคนในชุมชน ญาติพ่ีน้อง เพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน เร่ืองข้อมูล
ข่าวสาร การทามาหากินจะทาให้มีแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารมากข้ึน และการให้หรือ
แลกเปล่ียนอาหาร ส่ิงของ เงินทอง ระหว่างคนในชุมชน ญาติพ่ีน้อง เพ่ือนฝูง เพื่อนบ้าน เป็นการแสดงความ
เอ้ือเฟื้อท่ีดีต่อกัน ร้อยละ 52.63 ด้านการสร้างความเข้าใจภายในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเห็นดว้ ยอยา่ งยิ่งมาก
ที่สุด กับการลดการซื้ออาหาร ที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะทาให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยสร้างการบริโภค
อาหารที่ดี ร้อยละ 50.00 รองลงมา คือ การแนะนาครอบครัวให้บริโภคอาหารท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการ

58

มากกว่าอาหารราคาแพงแต่คณุ ค่าน้อย เปน็ การสร้างนสิ ัยการบริโภคทีด่ ี รอ้ ยละ 47.37 ด้านการหาอาชพี เสริม
กลมุ่ ตัวอยา่ งเหน็ ด้วยอย่างยิ่งมากที่สุดกบั การอา่ นหนงั สือ นิตยสารตา่ ง ๆ ทเ่ี กี่ยวกบั การแนะนาอาชีพ จะทาให้
เพม่ิ ความรแู้ ละช่องทางหารายได้ ร้อยละ 71.05 รองลงมา คอื การประกอบอาชีพเสริมหลังงานประจ้า เพือ่ ให้
ครอบครัวมีรายไดเ้ พมิ่ มากข้ึน รอ้ ยละ 55.26 และเห็นด้วยอยา่ งย่งิ ว่าการประกอบอาชพี เสริมไม่ได้เปน็ การเพิ่ม
ภาระหน้าที่ คิดเปน็ รอ้ ยละ 61.84

วิรัลพัชร ประเสริฐศักด์ิ (2555) ศึกษาเร่ืองความมั่นคงทางอาหารจากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจ
พอเพียง ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่า การดาเนินยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหารของไทย นอกจากการ
ส่งเสริมการให้ความรู้เก่ียวกับความมั่นคงทางอาหารในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรรวมถึง
ประชาชนทั่วไปแล้ว ไทยควรผลักดันนโยบายภาคการเกษตรตามแนวคิดความม่ันคงทางอาหารที่เน้นการ
พฒั นาเกษตรกรรายย่อยในระดับท้องถิ่น ใหส้ ามารถดาเนินไปได้ภายใต้อิทธิพลของระบบเศรษฐกจิ ทุนนยิ มเสรี
ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ โครงสร้างการผลิตท่ีเปลี่ยนแปลงไปจากการผลิตเพ่ือยังชีพสู่การผลิตเพื่อการค้า จาก
สังคมเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม นามาซึ่งความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมท่ีเก่ียวข้องกับระบบการผลิต
อาหาร ทัง้ ในระดับโลกและระดับประเทศอาจนาไปสู่ภาวะความไม่มนั่ คงทางอาหาร การบรรจปุ ระเด็น “ความ
มนั่ คงทางอาหาร” ไวใ้ นแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉิ บับที่ 11 จึงนับเปน็ แนวทางสาคัญในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพและศกั ยภาพการผลติ ภาคเกษตรของประเทศให้เข้มแข็งมากข้ึน

ศยามล เจรญิ รัตน์ และคนอืน่ ๆ (2556) ได้เสนอแนวทางการแกป้ ัญหาด้านความม่นั คงทางอาหารของ
กะเหร่ียงในประเทศไทยไว้ว่า ภาครัฐควรมีความพยายามยามประนีประนอมระหว่างกันจากการที่รัฐประกาศ
มติคณะรัฐมนตรี 2 ฉบับ คือมติ ครม. วันท่ี 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟ้ืนฟู วิถีชีวิตชาว
กะเหรี่ยง และมติ ครม. วันที่ 7 ธนั วาคม พ.ศ. 2553 เรอ่ื งการกาหนดสถานะกลุ่มเปา้ หมายตามยุทธศาสตร์การ
จดั การปญั หาสถานะและสิทธขิ องบคุ คล และทางทมี คณะผู้วจิ ับยงั ได้สรุป มติคณะรัฐมนตรเี รือ่ งแนวนโยบายใน
การฟ้ืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหร่ียงนั้น เริ่มจากกระทรวงวัฒนธรรมที่มีบทบาทในการขับเคล่ือนการฟื้นฟูวิถีชีวิตคน
กะเหรี่ยงให้ยั่งยืนด้วยการบูรณาการดาเนินงานร่วมกับส่วนราชการท่ีเกี่ยวข้อง เพ่ือให้ชุมชนและรากฐานทาง
วัฒนธรรมคนกะเหรี่ยงมีความเข้มแข็งในการดารงชีวิต และการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อให้เกิดแนวทาง
แก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดทาแนวนโยบายในการฟ้ืนฟูวิถีชีวิตคนกะเหร่ียง
เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่เสนอข้างต้น โดยแนวนโยบายดังกล่าวครอบคลุม
ประเด็นปัญหา 5 ประการ คือ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากร สิทธิในการรับสัญชาติ
การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม และการศึกษา โดยมีสาระสาคัญ เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนคนกะเหรี่ยง
ในเรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมกะเหรี่ยงว่าเป็นส่วนหน่ึงของวัฒนธรรมธรรมชาติท่ีมีความ
หลากหลาย ส่งเสริมให้มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม ดังนั้น การสนับสนุนการจัดต้ังศูนย์
วัฒนธรรม ให้ชุมชนมีส่วนในการกาหนดหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้ง
สามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหร่ียงที่เป็น
ชุมชนท้องถิ่นด้ังเดิมท่ีอยู่ในพ้ืนท่ีข้อพิพาทเรื่องท่ีท้ากินในพ้ืนที่ด้ังเดิม ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพใน
ชุมชนบนพื้นท่ีสูง สิทธิในสัญชาติให้คนกะเหร่ียงท่ีได้รับบัตรประจาตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรประจ้าตัว

59

บุคคลบนพื้นท่ีสูงและบัตรสารวจชุมชนบนพ้ืนที่สูงเดิม) ที่อพยพเข้าต้ังแต่วันท่ี 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สามารถ
ขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นท่ีอยู่ถาวรในประเทศไทยและได้รับใบสาคัญประจาตัวคนต่างด้าว ส่วนบุตรท่ีเกิดใน
ประเทศไทยให้สามารถขอสญั ชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติได้

Gladwin และคณะ (2001) และ Zezza และ Tasciotti (2010) เป็นการศึกษาความมั่นคงทางอาหาร
ในชุมชนท่ีมีฐานะยากจนและประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอยู่ในประเทศกาลังพัฒนา โดยงานวิจัยของ
Gladwin และคณะ (2001) ศึกษาปัญหาความม่ันคงทางอาหารในแอฟริกา พบว่า ความไม่มั่นคงทางอาหาร
เกิดในครอบครัวท่ีมีรายได้ต่า แต่รัฐบาลกลับมองข้าวปัญหาดังกล่าว และหันไปให้ความสาคัญกับแรงงานนอก
ภาคการเกษตร บทบาทการผลิตของเกษตรกรลดน้อยลง ทาให้ราคาอาหารแพงขึ้น ส่งผลต่อครัวเรือน
การเกษตรที่มีรายได้น้อยไม่สามารถมีอาหารท่ีเพียงพอต่อการบริโภคได้ งานวิจัยช้ินนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ
ต้องการท่ีจะเพ่ิมการผลิตพืชอาหารให้กับครัวเรือนการเกษตรท่ีมีรายได้น้อย ทาให้ภาคการเกษตรขยายตัว
เพม่ิ ขน้ึ และลดปญั หาความไม่มั่นคงทางอาหาร และงานวจิ ยั ของ Zezza และ Tasciotti (2010) ศกึ ษาการทา
เกษตรกรรมในประเทศกาลังพัฒนา พบว่า การผลิตพืชและสินค้าปศุสัตว์ แม้ว่าจะมีบทบาทในการแก้ปัญหา
ความไมม่ นั่ คงทางอาหารให้ประเทศได้ เน่ืองจากเป็นผู้ผลิตอาหารและแหลง่ อาหารใหก้ ับโลก แต่ในทางกลับกัน
เกษตรกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศกาลังพัฒนาที่มักจะเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ทาให้การทา
เกษตรกรรมของประเทศกาลังพัฒนาต้องผลิตอาหารเพ่ือเลี้ยงคนท่ัวโลก และผลผลิตส่วนใหญ่มีต้นทุนสูงจาก
การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง แต่ในทางกลับกันจะขายได้ราคาถูก จึงทาให้เกิดความยากจนและส่งผลต่อภาวะ
โภชนาการท่ีเป็นส่วนหนึ่งของความม่ันคงทางอาหาร จากงานวิจัยท้ัง 2 เร่ือง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรและ
ประเทศกาลงั พัฒนาอย่ใู นความเส่ยี งท่ีจะเกิดความไมม่ ัน่ คงทางอาหารท้ังในปจั จบุ ันและอนาคตได้

Sutherland และคณะ (1999) และ Babatunde และ Qaim (2010) ที่เหน็ ความสาคัญของเกษตรกร
และความเส่ียงด้านม่ันคงทางอาหาร จึงศึกษาปัจจัยท่ีมีผลต่อการผลิตของเกษตรกรและการหาแนวทางเพ่ือให้
มีอาหารเพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค โดยงานวิจัยของ Sutherland และคณะ (1999) ศึกษาเรื่อง
ความม่ันคงทางอาหารในช่วงภัยแล้งในประเทศเคนยา เพื่อต้องการท่ีจะบรรเทาปัญหาของกลุ่มผู้ด้วยโอกาส
ทางอาหาร เนื่องจากในช่วงภัยแล้งลักษณะพ้ืนที่มีสภาพแห้งแล้งไม่เหมาะสมแก่การปลูกพืชเชิงพาณิชย์ เช่น
ข้าวโพด มันสาปะหลัง ถ่ัว เป็นต้น ที่ได้มีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศเคนยา ทาให้ในช่วงภัยแล้งท่ีได้มี
ปริมาณน้อยและมีราคาถูก งานวิจัยนี้จึงเข้ามาหาแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกร
ในช่วงภัยแล้ง โดยให้เกษตรกรหันมาทาเกษตรกรรมแบบยังชีพ ปลูกพืชผักตามความต้องการในการบริโภค
ภายในครัวเรือนมากกวา่ การทาการเกษตรเชิงพาณิชย์ในช่วงฤดูแลง้ ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหาภยั แลง้ ใหแ้ ก่
เกษตรกร และทาให้เกษตรกรมีอาหารที่ผลิตเองไว้บริโภคภายในครัวเรือนอีกด้วย และงานวิจั ยของ
Babatunde และ Qaim (2010) ศึกษาเร่ืองความมั่นคงทางอาหารในประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นการสารวจกลุ่ม
ครัวเรือนเฉพาะในรัฐท่ียากจนและชาวบ้านส่วนใหญ่ทาการเกษตร ลักษณะดินในพื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์
ทาให้ผลผลิตท่ีได้มีปริมาณน้อย จากการสุ่มตัวอย่างประชากร โดยใช้การสัมภาษณ์รายคนและรายกลุ่มจะ
สอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริโภคของเกษตรกร และรายได้เสริมนอกจากทาการเกษตร ซึ่งจะสอบถาม
ย้อนหลังในระยะเวลา 12 เดือน เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ของแต่ละฤดูกาลของผลผลิตที่ได้และข้อมูลการ

60

บริโภค พบว่า ส่วนใหญ่ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค จาเป็นต้องซ้ือหาจากตลาด
เพ่ิมเติมในส่วนท่ีไม่สามารถผลติ เองได้ อาหารตามฤดูกาลยังมีผลผลติ น้อยไม่เพียนงพอต่อความตอ้ งการ จึงทา
ใหเ้ กดิ ภาวะขาดสารอาหาร งานวิจัยทกี่ ลา่ วมามีวัตถุประสงคเ์ พื่อต้องการจะแก้ปัญหาความไม่มน่ั คงทางอาหาร
ทเี่ กดิ ข้ึนกับวิถีชีวติ คนในชนบทท่ีมกี ารทาเกษตรและศึกษาการบริโภคอาหาร เน้นใหเ้ กษตรกรมรี ายได้เสริม ลด
ความยากจน และมีภาวะโภชนาการทีด่ ี

ในประเดน็ ภาวะโภชนาการท่เี กย่ี วข้องกับความม่ันคงทางอาหาร พบว่า งานวจิ ยั ตา่ งประเทศส่วนใหญ่
จะมีประเด็นการศึกษาด้านนี้เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งานท่ีกล่าวมาข้างต้น และงานอ่ืน ๆ ได้แก่ งานวิจัยของ Garret
และ Ruel (1999) ศึกษาปัจจัยในการกาหนดความม่ันคงด้านอาหารของชนบทและในเมืองและคุณค่าทาง
โภชนาการในประเทศโมซัมบิก พบว่า ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นคือปัญหาความยากจน อาหารและโภชนาการ ซ่ึง
เป็นความไมม่ ั่นคงทางอาหาร เน่อื งจากนโยบายประเทศไดเ้ นน้ แก้ไขปญั หาของเศรษฐกิจเป็นหลกั ถึงแม้จะรู้ว่า
ประชากรในชนบทส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นคงทางอาหารและเป็นโรคขาดสารอาหาร แต่ประเทศก็ยังละเลย
ปัญหาดังกล่าว งานวิจัยน้ีจึงเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหวา่ งชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท ว่าปัญหา
ของชุมชนเมืองคือโรคอ้วนที่เพ่ิมข้ึน และชุมชนชนบทไม่มีอาหารให้เลือกซ้ือหลากหลายเหมือนคนชุมชนเมือง
อีกท้ังในชนบทยังมีการศึกษาน้อยเม่ือเปรียบเทียบกับชุมชนเมือง ซึ่งการเปรียบเทียบดังกล่าวก็ทาให้เห้นถึง
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนชนบท งานวิจัยนี้จงึ เป็นเพียงฐานข้อมูลเพ่ือให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องหันมาแก้ไขปญั หา
ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดข้ึนกับชุมชนชนบทของประเทศโมซัมบิก ส่วนงานวิจัยของ Oldewage และ
คณะ (2006) ศกึ ษาความยากจนที่ส่งผลต่อความม่ันคงทางอาหารในครวั เรือนและโภชนาการในแอฟริกาใต้ ได้
ดาเนินการตรวจสอบครัวเรือนที่มีความเส่ียงในการเกิดความไม่ม่ันคงทางอาหาร รวมถึงข้อมูลเก่ียวกับคุณค่า
ทางโภชนาการ เพ่ือต้องการทราบเด็กท่ีมีภาวะขาดสารอาหาร และพบว่าภาวะโภชนาการของเด็กขาด
สารอาหารในประเทศกาลังพัฒนา ซึ่งในแอฟริกาใต้ก็ยังมีความกังวลสาหรับเด็กและครัวเรือน เนื่องจาก
ครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่ได้มีท่ีอาศัยอยู่อย่างถาวร และงานวิจัยของ Lia และ Yub (2010) ศึกษาความปลอดภัย
ของอาหารในประเทศจีนระดับครัวเรือน โดยสารวจปัจจัยของดินที่มีอิทธิพลต่อการทาการเกษตรในครัวเรือน
ของชุมชนชนบท เพ่ือต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยการพัฒนาในระดับท้องถ่ินของชนบท
เพื่อลดความยากจนและเพ่ิมความม่นั คงทางอาหารใหแ้ ก่คนในชมุ ชนชนบท ซงึ่ ในแตล่ ะชุมชนมคี วามมนั่ คงทาง
อาหารที่แตกต่างกันอย่างมาก จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง 31 จังหวัด พบว่า มี 9 จังหวัด ยังไม่มีความ
ปลอดภัยของอาหารและเปน็ จังหวดั ท่ยี ากจนมอี าหารไมเ่ พียงพอ

บทท่ี 3
ระเบยี บวธิ วี จิ ยั

การวิจัยคร้ังน้ีคณะวิจัยได้กาหนดรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ด้วยวิธีวิจัยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพ่ือให้สอดคล้องกับ
วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย คณะวิจัยไดแ้ บง่ วธิ ีดาเนนิ การวจิ ัยออกเปน็ 3 ระยะ ดังนี้

ระยะท่ี 1 ศึกษาศักยภาพและกระบวนการสร้างความม่ันคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรม-
ธรรมชาติมาตรฐานอินทรยี ์วถิ ีไทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรธี าตุ จังหวัดอุดรธานี

1. ขั้นตอนการวิจัย ใชว้ ิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสารวจขอ้ มลู
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรท่ีผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงจากศูนย์ฝึกอบรมคริสตจักรนาเรียงและเป็นสมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐาน
อินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จานวน 380 คน (ไชยยา โนนอาสา, 2564)
และกลุ่มตัวอย่าง ได้กาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสาเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie &
Morgan, 1970 อ้างถึงใน ธีรวุฒิ เอกะกูล, 2543) โดยใช้ค่าความคลาดเคล่ือนที่ระดับ 0.05 จากประชากร
จานวน 380 คน ได้กลมุ่ ตวั อย่างจานวน 191 คน โดยวธิ สี ่มุ ตวั อยา่ งแบบง่าย (Simple random sampling)
3. เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการวจิ ัย คณะวิจยั ใชแ้ บบสอบถามกึ่งมีโครงสร้าง เพื่อสอบถามข้อมูล ท่ีสอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์และเน้ือหาการวิจัย ลักษณะแบบสอบถามคาถามปลายปิด (Close-ended Question)
ประกอบด้วยข้อความหรือคาถามและกลุ่มของคาตอบให้เลือกตอบ โดยจัดเรียงลาดับคาถาม ซ่ึงแบ่ง
แบบสอบถามออกเป็น 3 ตอน คือ

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบ

ตรวจสอบรายการ (Cheek List) ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ตาแหน่งทางสังคม ระยะเวลา

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อระดับของศักยภาพและกระบวนการสร้างความ

มั่นคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง

ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามข้อคิดเห็นเพ่ิมเติมจากผู้ตอบแบบสอบถาม

4. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม โดยคณะวิจัยศึกษาเนื้อหา เอกสาร แนวคิด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นร่างแบบสอบถามมีองค์ประกอบของเน้ือหาที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การทาวิจัย
คาชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม เนื้อหาที่ต้องการถามการดาเนิน ลักษณะเคร่ืองมือในการวิจัยในคร้ังน้ีเป็น
แบบสอบถามแบบมาตราส่วน มีลักษณะมาตราส่วน 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนท่ี 1 ข้อมูลทั่วไปของ
ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความคดิ เหน็ ตอ่ ระดบั ศักยภาพและกระบวนการสร้างความม่ันคงทางอาหารของ

62

ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง และตอนท่ี 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจาก
ผูต้ อบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราสว่ นประมาณค่า (Rating Scale) คณะวิจยั สร้างแบบสอบถามตามแบบ
Likert Scale โดยกาหนดให้มีน้าหนักเปรียบการแบ่งมาตรส่วนประมาณค่าของการตีความหมายออกเป็น
5 ระดบั ดังนี้

5 หมายถงึ มีระดับศกั ยภาพและกระบวนการมากทสี่ ดุ
4 หมายถงึ มีระดับศักยภาพและกระบวนการมาก
3 หมายถึง มรี ะดบั ศักยภาพและกระบวนการปานกลาง
2 หมายถงึ มรี ะดบั ศักยภาพและกระบวนการนอ้ ย
1 หมายถงึ มรี ะดับศกั ยภาพและกระบวนการน้อยทีส่ ุด
5. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ เพ่ือให้แบบสอบถามมีคุณภาพ คณะวิจัยได้ทาการตรวจสอบ
คุณภาพของแบบสอบถาม ได้แก่หาความเที่ยงตรงของเนื้อหาดาเนินการ ด้วยการหาค่าความเท่ียงตรงของ
เนอื้ หาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผมู้ ีประสบการณ์ตรวจสอบเน้ือหา โครงสร้างแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบค่าความ
เที่ยงตรงของเน้ือหา มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ในเน้ือหา ครอบคลุมข้อคาถาม โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
ตามโครงสร้างของข้อมูล การครอบคลุมของข้อคาถามท่ีถาม การตรวจสอบความเท่ียงตรงของเนื้อหา
ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยการหาค่าความสอดคล้อง (IOC) พิจารณาเชิงเน้ือหาแบบวัดความสอดคล้องระหว่าง
ข้อคาถามแต่ละข้อและความเท่ียงตรงของเน้ือหา ซ่ึงเกษม สาหร่ายทิพย์ (2543, น. 194) ได้อธิบายค่าความ
เทย่ี งตรงดา้ นเน้ือหาหรือค่าดัชนคี วามสอดคลอ้ ง IOC ไว้ดงั นี้

IOC =  R
N

เมอื่ IOC แทน ดชั นคี วามสอดคลอ้ งระหวา่ งขอ้ คาถามกับวตั ถุประสงค์

R แทน ผลรวมของคะแนนความคดิ เห็นของผเู้ ชีย่ วชาญ

N แทน จานวนผู้เชี่ยวชาญ

โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังน้ี
คะแนน +1 คือ ความแน่ใจแบบสอบถามมีความเท่ียงตรงสอดคลอ้ งกับเนื้อหา
คะแนน 0 คือ ความไมแ่ น่ใจแบบสอบถามมคี วามเท่ียงตรงสอดคลอ้ งกับเน้ือหา
คะแนน -1 คอื แบบสอบถามไม่มีความเทีย่ งตรงสอดคล้องกบั เนื้อหา

จากนั้นคณะวิจัยนาแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่ประชากรในการศึกษา

คือ กลุ่มเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติลุ่มน้าโขง จังหวัดอุดรธานี จานวน 30 ชุด และนาไปทดสอบค่าความ

เช่ือม่ันของแบบสอบถามทั้งชุด ใช้วิธีคานวณสัมประสิทธิ์แอลฟ่าตามวิธีของครอนบาค ซง่ึ มนสิช สิทธิสมบูรณ์

(2550, น. 121) ได้อธบิ ายสูตรสมั ประสิทธแ์ิ อลฟาของครอนบาค ไว้ดงั นี้

SS n 1  2 
  i 

n 1 2 
t

63

เมอ่ื  แทน คา่ ความเชือ่ ม่ันของแบบสอบถาม

n แทน จานวนข้อของแบบทดสอบ

S2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ
i

S2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนทัง้ ฉบบั
i

นาผลพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ว่าค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามในแต่ละข้อ มีความ

เที่ยงตรงตามเชิงเนื้อหาในเรื่องศักยภาพและกระบวนการสร้างความม่ันคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง มีค่าความสอดคล้อง

ระหว่าง 0.67-1.00 ทุกข้อ การแปลผลค่าความสอดคล้องสามารถนาแบบสอบถามไปใช้ได้ ทาการตรวจสอบ

และปรบั ปรุงแก้ไขเปน็ แบบสอบถามฉบับสมบรู ณ์

6. การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะวิจัยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการทาหนังสือเพ่ือขอ

ความอนุเคราะหเ์ ก็บรวบรวมข้อมูล จากน้นั ดาเนนิ การนาแบบสอบถามไปทาการสารวจข้อมูลกับประชากรและ

กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี โดยทาการนาแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ พร้อมทา

การตรวจสอบให้คะแนนและลงรหัสแบบสอบถาม จากนั้นนาไปประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป เพ่ือหา

คา่ ทางสถิติในการวเิ คราะหข์ ้อมูล

7. การวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบแบบสอบถาม โดยการตรวจความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของ

ข้อมลู ใชก้ ารประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมลู โดยใชโ้ ปรแกรมคอมพวิ เตอร์สาเรจ็ รปู คณะวจิ ัยได้แปลผลค่าเฉล่ีย

การวิเคราะหข์ ้อมูลแบบสอบถามตอนที่ 2 โดยแบง่ เกณฑอ์ อกเป็น 5 ระดบั (สาเรงิ จนั ทรสวุ รรณ, 2547, น. 1)

ดงั นี้

ตอนท่ี 1 วเิ คราะหแ์ บบสอบถามข้อมูลทว่ั ไป วิเคราะห์ดว้ ยสถิตเิ ชิงบรรยาย ได้แก่ คา่ ความถ่ี

คา่ รอ้ ยละ

ตอนท่ี 2 วิเคราะห์ความคิดเห็นต่อระดับศักยภาพและกระบวนการสร้างความม่ันคงทาง

อาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไท ยคริสตจักร

นาเรียง ดาเนินการโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน และกาหนดเกณฑ์การแปลผลการวเิ คราะห์ (บุญชม ศรสี ะอาด, 2543) ดังน้ี

แปลผล ค่าเฉลีย่

4.51 - 5.00 หมายถงึ ระดับศกั ยภาพและกระบวนการมากท่ีสดุ

3.51 - 4.50 หมายถึง ระดบั ศักยภาพและกระบวนการมาก

2.51 – 3.50 หมายถงึ ระดับศกั ยภาพและกระบวนการปานกลาง

1.51 – 2.50 หมายถงึ ระดับศักยภาพและกระบวนการนอ้ ย

1.00 – 1.50 หมายถึง ระดับศกั ยภาพและกระบวนการนอ้ ยท่ีสดุ

ตอนท่ี 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ตอบแบบสอบถาม สาหรับการวิเคราะห์แบบสอบถาม

ตอนที่ 3 แบบปลายเปิด เป็นการวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชากรตามความถี่จากมากไปหาน้อย และนา

ข้อมูลทีไ่ ด้จากการวเิ คราะห์ไปสรุปเปน็ ข้อมลู เพิ่มเติม ใชป้ ระกอบกับข้อมูลของศักยภาพและกระบวนการสร้าง

64

ความมั่นคงทางอาหาร ซ่ึงการศึกษาครั้งนี้จะจัดเรียงลาดับศักยภาพและกระบวนการสร้างความมั่นคงทาง
อาหาร ที่มีค่าเฉลี่ยจากน้อยไปหามาก โดยประเด็นท่ีมีค่าเฉลี่ยน้อยท่ีสุด แสดงว่าเป็นปัญหาท่ีจะต้องได้รับการ
พัฒนา เพ่ือนาไปสู่การพัฒนาศักยภาพ กระบวนการ และกาหนดเป็นกลยุทธ์ในระยะท่ี 3 ต่อไป แต่หากแต่ละ
ประเดน็ มีค่าเฉลี่ยท่ใี กลเ้ คยี งกนั จะใช้เป็นขอ้ มูลในการกาหนดกลยุทธ์ทง้ั หมด

8. สถิติทใ่ี ชใ้ นการวิเคราะห์ขอ้ มลู ได้แก่ ความถ่ี ค่าร้อยละ คา่ เฉล่ีย และสว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน

ระยะท่ี 2 ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรม-
ธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรียว์ ิถไี ทยครสิ ตจกั รนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จงั หวัดอดุ รธานี

1. ขน้ั ตอนการวิจัย ใชว้ ธิ วี จิ ัยเชิงคณุ ภาพ โดยการสนทนากล่มุ
2. กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant)
จานวน 15 คน ได้แก่ สมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จานวน
10 คน และผ้นู าชุมชนในเขตพื้นท่ีอาเภอศรีธาตุ จงั หวดั อุดรธานี จานวน 5 คน
3. เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย คณะวิจัยกาหนดให้มีลักษณะของแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง โดยกาหนดเป็น
ประเด็นคาถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เพื่อใช้ในการศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพียงตามกรอบแนวคิดในการวจิ ัย
4. การสร้างเคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัย เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่มที่คณะวิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษา
จากเอกสาร ผลงานการวิจยั ทเี่ กย่ี วข้อง พร้อมทงั้ นาข้อมลู ในระยะที่ 1 มาประกอบมีขนั้ ตอนดาเนนิ การ ดังน้ี

4.1 กาหนดประเด็นตามเร่ืองที่ศึกษา ดาเนินการสร้างแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ส่งให้
อาจารยท์ ่ีปรึกษาไดต้ รวจสอบความถูกตอ้ งและสอดคล้องกับวัตถุประสงคข์ องการวิจัย

4.2 ดาเนินการปรบั ปรงุ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มให้ถกู ต้องตามคาแนะนาอาจารยท์ ่ปี รกึ ษา
4.3 นาแบบบันทึกการสนทนากลุ่มให้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่าน ตรวจสอบข้อมูลแบบ
สามเส้า ดา้ นขอ้ มูล โดยพจิ ารณาแหล่งเวลา แหลง่ สถานทแ่ี ละแหลง่ บคุ คลท่แี ตกตา่ งกัน และปรบั แก้ไขประเด็น
การสัมภาษณ์ตามท่ผี เู้ ช่ยี วชาญแนะนา
4.4 จัดทาแบบบันทึกการสนทนากลุ่มฉบับสมบูรณ์ เพอ่ื นาไปใชใ้ นการเก็บรวบรวมขอ้ มลู
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนาข้อมูลในระยะที่ 1 ที่ได้จากผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลจากการสารวจข้อมูล มาเป็นข้อมูลพื้นฐานออกแบบประเด็นคาถามที่ใช้ในการจัดเวทีสนทนากลุ่ม
เพ่ือหาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทาการขอความอนุเคราะห์สานักงานพัฒนา
ชมุ ชนอาเภอศรธี าตุ ประสานพนื้ ทแี่ ละกล่มุ เปา้ หมาย นัดหมายวันเวลาและสถานทีจ่ ัดเวทีการสนทนากลุ่ม
6. การวเิ คราะหข์ ้อมลู คณะวิจัยนาผลสรุปการประยกุ ต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ตามประเด็น
ข้อมลู ทไ่ี ดจ้ ากการสนทนากล่มุ มาทาการวิเคราะห์และสงั เคราะหเ์ น้ือหา (Content Analysis) เพอ่ื กาหนดเป็น
แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใช้ในระยะที่ 3 ท่ีจะทาการกาหนดร่างกลยุทธ์การ
สร้างความมนั่ คงทางอาหารตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

65

ระยะท่ี 3 กาหนดกลยุทธ์การสร้างความมัน่ คงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ
จังหวดั อดุ รธานี

1. ข้นั ตอนการวจิ ัย ใช้วิธีวิจัยเชงิ คณุ ภาพ โดยการประชมุ เชงิ ปฏิบัติการ
2. กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องกับเร่ืองท่ีศึกษา ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant)
จานวน 20 คน แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย
คริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จานวน 10 คน และผู้นาชุมชนในเขตพื้นที่อาเภอศรีธาตุ
จังหวัดอดุ รธานี ผ้ทู รงคุณวุฒิ จานวน 10 คน
3. เคร่อื งมอื ที่ใช้ในการวิจยั คณะวจิ ัยกาหนดใหม้ ลี ักษณะของกลยทุ ธ์การสรา้ งความมนั่ คงทางอาหาร
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วถิ ีไทยคริสตจักรนาเรียง
ประกอบดว้ ย (1) แนวคิด หลักการและเหตุผล (2) เป้าหมาย (3) เนื้อหาสาระ ประกอบดว้ ย การกาหนดทิศทาง
การประเมินสภาพแวดล้อม การกาหนดกลยุทธ์ และการนากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (4) กระบวนการและวิธีการ
(5) การติดตามประเมินผล โดยได้นาผลการวิเคราะห์ข้อมูลในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มาเป็นแนวทางในการ
จัดทาแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และประเด็นการประชุม เพื่อใช้ในการกาหนดกลยุทธ์การสร้าง
ความม่นั คงทางอาหารตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรีย์วิถี
ไทยคริสตจักรนาเรียง และแบบบันทึกสรุปผลการรับรองกลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งเพื่อนาไปใชง้ านจรงิ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะวิจัยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จากการจัดเวทีประชุม
เชงิ ปฏิบัตกิ าร ตามขนั้ ตอนดงั นี้

4.1 คณะวจิ ัยพิจารณารายช่อื กลมุ่ เปา้ หมายที่จะเข้าร่วมประชมุ
4.2 คณะวิจัยทาหนงั สอื เชิญประชุมและนาสง่ ผ้เู ข้าร่วมประชุม
4.3 ประสานผเู้ ข้ารว่ มประชุมพร้อมนัดหมายและแจ้งกาหนดการวนั เวลาการจดั ประชมุ
4.4 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและดาเนินการบันทึกการประชุม โดยคณะวิจัยนาเสนอผลการวิจัย
ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เมื่อจบการนาเสนอคณะวิจัย ได้ต้ังคาถาม ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับผลการวิจัยนาเสนอ
ผลการวจิ ัยในระยะท่ี 1 และระยะท่ี 2 จากนัน้ ดาเนินการประชมุ ตามวาระการประชุม
4.5 ดาเนินการบันทึกผลการประชุม และจัดทาร่างกลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตาม
หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น
4.6 คณะวิจัยสรุปข้อมูลท่ีได้จากการประชุมทั้งหมด ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในเวทีประชุมได้
ตรวจสอบความถูกต้องครบถว้ นในเนื้อหา และเพมิ่ เติมส่วนท่ีตกหล่น และปิดประชุม
4.7 คณะวิจัยได้นาแบบบันทึกมาทาการเรียบเรียง และตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของ
ข้อมลู จากนน้ั สรุปภาพรวมร่างกลยุทธ์การสร้างความม่ันคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ
ชมุ ชนกสกิ รรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรียว์ ิถีไทยคริสตจกั รนาเรยี ง

66

4.8 คณะวิจัยขอความเห็นในการรับร่างกลยุทธ์ เพื่อลงมติในท่ีประชุมยืนยันการใช้กลยุทธ์การ
สร้างความม่ันคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์
วถิ ไี ทยคริสตจกั รนาเรียง

5. การวิเคราะหข์ ้อมลู คณะวจิ ัยนาผลสรปุ จากแบบบนั ทึกการประชุม และขอ้ มลู ท่ีไดจ้ ากการนาเสนอ
รา่ งกลยทุ ธ์การสรา้ งความม่ันคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งของชมุ ชนกสิกรรมธรรมชาติ
มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง ตามประเด็นข้อมูลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ มาทาการ
วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อกาหนดเป็นกลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาตมิ าตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง
อาเภอศรีธาตุ จงั หวัดอุดรธานี ต่อไป

ดงั นน้ั คณะวจิ ยั สามารถสรปุ กระบวนการวจิ ยั แบ่งออกเปน็ 3 ระยะ ตามแผนผงั ขั้นตอนการวจิ ยั ดังน้ี

ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะท่ี 3
ศกึ ษาศักยภาพและกระบวนการ ศกึ ษาแนวทางการประยุกตใ์ ช้ กาหนดกลยุทธก์ ารสรา้ งความ
สรา้ งความม่ันคงทางอาหาร ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง มน่ั คงทางอาหารตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพยี ง

1. ใช้วธิ ีวจิ ยั เชิงปรมิ าณ โดยการ 1. ใช้วิธวี จิ ัยเชงิ คณุ ภาพ โดยการ 1. ใช้วิธีวจิ ัยเชิงคณุ ภาพ โดยการ
สารวจขอ้ มูล สนทนากลมุ่ ประชุมเชงิ ปฏิบตั กิ าร
2. ประชากร คอื สมาชิกทีผ่ า่ น 2. กลมุ่ เป้าหมาย เลือกเฉพาะผทู้ ใี่ ห้ 2. กลุม่ เป้าหมาย แบง่ ออกเป็น
การฝกึ อบรมและกลุม่ กสกิ รรม ข้อมลู สาคญั จานวน 15 คน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย สมาชกิ กลมุ่
ธรรมชาติ จานวน 380 คน และ แบ่งเป็น สมาชิกกลุม่ กสิกรรม กสกิ รรมธรรมชาติ 10 คน และ
ได้กลุ่มตวั อยา่ ง จานวน 191 คน ธรรมชาติ 10 คน ผนู้ าชมุ ชน 5 คน ผนู้ าชมุ ชน 10 คน
3. เครอื่ งมือการวิจัย คอื 3. เครอ่ื งมอื การวจิ ัย คือ 3. เครือ่ งมอื การวจิ ัย คือ นาขอ้ มูล
แบบสอบถามก่ึงมีโครงสรา้ ง แบบบันทกึ การสนทนากลมุ่ ใช้ จากระยะท่ี 1 และ 2 มาสรา้ งแบบ
4. สรา้ งเครือ่ งมือการวิจัย ข้อมลู ในระยะท่ี 1 เปน็ พ้นื ฐานใน บันทึกการประชุมเชิงปฏบิ ัติการ
5. ตรวจสอบคณุ ภาพเคร่ืองมือ การออกแบบบนั ทกึ การสนทนากลุ่ม และรา่ งกลยุทธ์การสรา้ งความ
โดยการหาค่าความสอดคลอ้ ง IOC 4. สรา้ งเครอ่ื งมอื การวิจัย และ ม่ันคงทางอาหาร
6. เก็บรวบรวมขอ้ มูล โดยการ ตรวจสอบขอ้ มลู แบบสามเสา้ จาก 4. เก็บรวบรวมขอ้ มูล โดยการจัด
แจกแบบสอบถามด้วยตนเอง ผู้เชย่ี วชาญ 3 คน จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ
7. วเิ คราะหข์ ้อมูล ใชก้ ารแปลผล 5. เก็บรวบรวมขอ้ มูล โดยการจดั 5. วเิ คราะห์ข้อมูล ใชก้ ารวิเคราะห์
การวเิ คราะหด์ ว้ ยโปรแกรม เวทสี นทนากล่มุ และสังเคราะหเ์ น้อื หา เพอ่ื ใหไ้ ด้
สาเรจ็ รูป 6. วเิ คราะหข์ ้อมูล ใชก้ ารวิเคราะห์ ข้อมลู ระยะท่ี 3 และจากนั้นนา
8. สถติ ิทีใ่ ช้ คอื ความถี่ ค่าร้อยละ และสังเคราะหเ์ นอ้ื หา เพอื่ ใหไ้ ด้ ข้อมลู ทง้ั 3 ระยะ มาสรปุ ผลการ
ค่าเฉล่ีย และสว่ นเบยี่ งเบน ข้อมลู ระยะที่ 2 วิเคราะห์และสังเคราะห์เพือ่
มาตรฐาน กาหนดเปน็ กลยุทธ์

แผนภาพที่ 2 แผนผงั ขนั้ ตอนการวิจัย

บทที่ 4
ผลการวิเคราะหข์ อ้ มูล

การวิจัยครัง้ น้ีเพื่อศึกษากลยทุ ธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
ของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรยี ์วิถีไทยคริสตจักรนาเรยี ง อาเภอศรีธาตุ จงั หวัดอดุ รธานี เป็นการ
วิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยวิธีวิจัยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method
Research) โดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative
Research) เพื่อให้สอดคลอ้ งกับวตั ถุประสงคข์ องการวิจัย ได้แบง่ การวิจัยเป็น 3 ระยะ ดงั นี้

ระยะที่ 1 ศึกษาศักยภาพและกระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติ
มาตรฐานอนิ ทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรธี าตุ จังหวัดอดุ รธานี โดยเกบ็ ขอ้ มูลดว้ ยแบบสอบถามก่ึงมี
โครงสรา้ ง เพือ่ สอบถามความคดิ เห็นท่มี ีต่อระดบั ของศักยภาพและกระบวนการสร้างความมนั่ คงทางอาหาร

ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติ
มาตรฐานอนิ ทรียว์ ิถีไทยครสิ ตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี โดยการสนทนากลมุ่ กาหนดประเด็น
คาถามและใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เป็นเคร่ืองมือในการวิจัย เพ่ือใช้ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปน็ ขอ้ มลู สาหรบั ใชใ้ นการรา่ งกลยุทธก์ ารสร้างความมัน่ คงทางอาหาร

ระยะท่ี 3 กาหนดกลยุทธ์การสร้างความม่ันคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ
ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี โดยการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการ กาหนดประเด็นตามแนวคิดการกาหนดยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย (1) แนวคิด หลักการ
และเหตุผล (2) เป้าหมาย (3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย การกาหนดทิศทาง การประเมินสภาพแวดล้อม
การกาหนดกลยุทธ์ และการนากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (4) กระบวนการและวิธีการ (5) การติดตามประเมินผล
โดยใช้แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และประเด็นการประชุม เป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้แบบ
บันทึกสรุปผลการรับรองกลยุทธ์ เพ่ือนาไปใช้เป็นกลยุทธ์การสร้างความม่ันคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี ง ต่อไป

วเิ คราะหข์ อ้ มลู โดยประมวลผลข้อมลู ใช้ค่าสถติ ิ ไดแ้ ก่ ค่าร้อยละ คา่ เฉล่ีย และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน
และนาประเด็นข้อมูลท่ีได้จากการสนทนากลุ่มและประชุมเชิงปฏิบัติการ มาทาการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อกาหนดเป็นกลยุทธ์การสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ
จังหวัดอดุ รธานี จากการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฎผลดงั นี้

68

1. ศกึ ษาศักยภาพและกระบวนการสร้างความมนั่ คงทางอาหารของชมุ ชนกสกิ รรมธรรมชาติ
มาตรฐานอินทรียว์ ถิ ไี ทยครสิ ตจกั รนาเรยี ง อาเภอศรธี าตุ จังหวดั อุดรธานี

1.1 ขอ้ มูลทั่วไปของตัวแทนชมุ ชนกสกิ รรมธรรมชาตคิ ริสตจกั รนาเรียง
จากการใช้แบบสอบถามสารวจข้อมูลศักยภาพและกระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหารของ
กลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงจากศูนย์ฝึกอบรม
คริสตจักรนาเรียงและเป็นสมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง
อาเภอศรธี าตุ จังหวัดอุดรธานี พบวา่ มีกล่มุ ตัวอย่างทัง้ สิน้ จานวน 191 คน มขี อ้ มลู ทว่ั ไปตามรายละเอยี ดดงั น้ี

ตารางท่ี 1 ข้อมลู ทั่วไปของตวั แทนชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจกั รนาเรียง

รายการ ความถี่ ร้อยละ หมายเหตุ

1. เพศ

- ชาย 111 58.1

- หญิง 80 41.9

รวม 191 100

2. อายุ

- ตา่ กวา่ 30 ปี 23 12

- 30 – 39 ปี 29 15.2

- 40 – 49 ปี 66 34.6

- 50 – 59 ปี 52 27.2

- 60 ปขี น้ึ ไป 21 11

รวม 191 100

3. การศกึ ษา

- ประถมศึกษา 108 56.5

- มัธยมศึกษา 58 30.4

- ปวช./ปวส./อนุปริญญา 9 4.7

- ปรญิ ญาตรี 15 7.9

- ปริญญาโท 1 .5

- ปริญญาเอก 00

- อ่นื ๆ ระบุ 00

รวม 191 100

รายการ ความถี่ รอ้ ยละ 69
4. อาชพี หมายเหตุ

- เกษตรกร 150 78.5
- ขา้ ราชการ 6 3.1
- พนักงานรัฐวสิ าหกจิ 5 2.6
- พนกั งานบริษทั เอกชน 2 1.0
- รับจ้างทว่ั ไป 26 13.6
- นักเรยี น/นักศึกษา 2 1.0
- อาสาสมัคร/จติ อาสา 00
- ว่างงาน 00
- อ่ืน ๆ ระบุ 00
191 100
รวม
5. ตาแหนง่ ทางสังคม 41 21.5
18 9.4
- ผูน้ าท้องที่ 13 6.8
- ผู้นาท้องถนิ่ 57 29.8
- ปราชญช์ มุ ชน 62 32.5
- กรรมการหม่บู ้าน
- อ่ืน ๆ ระบุ ลกู บา้ น ประชาชน 191 100
เกษตรกร ฯ
19 9.9
รวม 65 34
6. ระยะเวลาการเขา้ ร่วมเป็นสมาชิก 16 8.4
กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ 4 2.1
87 45.5
- น้อยกว่า 1 ปี 191 100
- 1 – 2 ปี
- 3 – 5 ปี
- มากกว่า 5 ปี
- ไมไ่ ดเ้ ปน็ สมาชิก

รวม

70

จากตารางที่ 1 พบว่า ตัวแทนชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง จานวน 191 คน
ส่วนมาก เป็นเพศชาย จานวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 58.1 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี จานวน 66 คน คิดเป็น
ร้อยละ 34.6 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จานวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 56.5 มีอาชีพเป็นเกษตรกร
จานวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 78.5 ไม่มีตาแหน่งทางสังคม โดยเป็นประชาชนภายในชุมชน จานวน 62 คน
คดิ เปน็ รอ้ ยละ 32.5 และไมไ่ ด้เข้ารว่ มเป็นสมาชิกกลมุ่ กสิกรรมธรรมชาติ จานวน 87 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 45.5

1.2 ศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย
คริสตจักรนาเรยี ง

จากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารแผนพัฒนาอาเภอศรีธาตุ แผนพัฒนาตาบลตาดทอง และใช้
แบบสอบถามสารวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างท้ังสิ้น จานวน 191 คน ผลการวิเคราะห์สภาพบริบทชุมชน และ
ศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง
อาเภอศรธี าตุ จงั หวัดอุดรธานี อธบิ ายดังนี้

1.2.1 บรบิ ทชมุ ชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรยี ว์ ิถไี ทยคริสตจกั รนาเรยี ง
ในปัจจุบันชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง มีจานวนท้ังส้ิน
1,506 ครัวเรือน อยู่ในเขตท้องท่ีของตาบลตาดทอง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จานวน 11 หมู่บ้าน โดย
ส่วนใหญ่อยู่ในพ้ืนที่ของหมู่ที่ 5 บ้านนาเรียง และหมู่ท่ี 11 บ้านนางาม รวมท้ังยังมีสมาชิกเครือข่ายของกลุ่ม
กสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียงอยู่ในพ้ืนที่ตาบลหัวนาคา ตาบลจาปี ตาบลศรีธาตุ ของอาเภอศรีธาตุ และ
อย่ใู นพื้นทอี่ าเภอกุมภวาปี จังหวัดอดุ รธานี โดยมศี นู ยก์ สกิ รรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง เปน็ จดุ ศนู ย์กลางใน
การขับเคล่ือนงานสืบสานศาสตร์พระราชา แนวพระราชดาริ ทฤษฎีใหม่ ของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ภายใต้
การเป็นแหล่งเรียนรู้พื้นท่ีต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล และเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่
ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีผู้ผ่านการฝึกอบรม จานวน 4 รุ่น รวม 380 คน ทาให้เกิดเครือข่ายขนาดใหญ่ของ
เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติครสิ ตจักรนาเรียง โดยข้อมูลการประกอบอาชีพ สมาชิกเครือข่ายของกลุ่มกสกิ รรม
ธรรมชาติ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การปลูกพืช เช่น ทานา ทาไร่อ้อย ทาไร่มันสาปะหลัง อาชีพ
เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ปลา โคนม กระบือ และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือน หัตถกรรม เช่น ทอผ้าไหม เย็บผ้า
มัดหม่ี ทาขนม เป็นอาชีพเสริมรายได้ ซ่ึงทางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง จะมีครัวเรือนต้นแบบ
ท่ีไดน้ อ้ มนาแนวพระราชดาริ เกษตรทฤษฎีใหม่ประยกุ ต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จานวน 30 ครัวเรอื น
จากข้อมูลแผนพัฒนาอาเภอศรีธาตุ ปี พ.ศ. 2561-2565 พบว่า ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติ
คริสตจักรนาเรียง มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นท่ีราบลุ่ม บางส่วนเป็นพ้ืนที่ลูกคลื่นลอนเตี้ย สลับพื้นท่ีนา
มีท่ีราบลุ่มอยู่บริเวณริมลาน้าปาว ลักษณะทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่จะเป็นหินกรวด หินทราย สภาพดินส่วน
ใหญ่เป็นดินร่วมปนทราย สภาพพ้ืนที่ ร้อยละ 90 เป็นพ้ืนท่ีทากิน ที่ไร่ และที่นา ซ่ึงได้ผลผลิตประมาณร้อยละ
70 ของพนื้ ทที่ ากิน มีพืน้ ท่ีป่าไม้ประมาณ 20 % ของพื้นท่ีทัง้ หมด สภาพปา่ โดยทวั่ ไปเปน็ ลักษณะของปา่ เต็งรัง
ป่าโปรง่ มตี น้ ไมข้ ึน้ อยู่ประปรายไมห่ นาแน่น ประกอบไปด้วยไม้เน้ือแข็ง ได้แก่ ไม้มะค่าโมง ตะเคียนทอง ประดู่
เตง็ รงั แดง และตะแบกมพี นื้ ทอี่ ยใู่ นเขตปา่ สงวนแหง่ ชาติที่จัดอยู่ในประเภทปา่ เสื่อมโทรม และมเี ขตท่ดี นิ สปก.
ปจั จบุ ันป่าชมุ ชนลดเหลือน้อยลง เนอื่ งจากการบุกรุกเพ่อื ทาสัมปทานป่าไม้ และพัฒนาพนื้ ทที่ างดา้ นการเกษตร

71
ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง ตาบลตาดทอง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี
ต้ังอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 61 กิโลเมตร และอยู่ห่างจาก
ตัวอาเภอศรีธาตุไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร โดยมีถนนสายศรีธาตุ – กุมภวาปี ผ่าน (ทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข 2023) มอี าณาเขตติดต่อดงั น้ี
ทศิ เหนือ ตดิ ต่อกับ ตาบลเวยี งคา อาเภอกุมภวาปี
ทศิ ใต้ ตดิ ตอ่ กบั ตาบลบา้ นโปร่ง อาเภอศรีธาตุ
ทิศตะวันออก ติดตอ่ กบั ตาบลจาปี อาเภอศรีธาตุ ตาบลบ้านจีต อาเภอก่แู กว้
ทศิ ตะวันตก ติดต่อกบั ตาบลสีออ ตาบลหนองหว้า อาเภอกมุ ภวาปี

ชมุ ชนคริสตจกั รนาเรียง

ภาพท่ี 5 แผนทีแ่ สดงขอบเขตตาบลตาดทอง อาเภอศรธี าตุ จังหวัดอดุ รธานี
จากการศึกษาข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ พบว่า การกระจายตัวของครัวเรือนในชุมชน
กสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรยี ง มีการตง้ั ถน่ิ ฐานของชมุ ชนอยู่ในพ้ืนทใ่ี กล้แหลง่ น้า และตามแนวลาน้าสาขา
ทอ่ี ยู่ในพนื้ ที่ลุ่มน้าปาว จงึ ถอื วา่ อยู่ในเขตลุ่มน้าปาว มีลานา้ ปาวไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกของอาเภอศรีธาตุ
ดังนั้นทาให้สมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง สามารถจัดอยู่ในกลุ่มของเครือข่ายลุ่มน้าปาว
ได้เช่นกัน เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นท่ีต้นน้าปาวที่มีตน้ นา้ อยู่บริเวณหนองหาน อาเภอกุมภวาปี ผ่านอาเภอศรธี าตุ
อาเภอวังสามหมอ ก่อนจะไหลเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธ์ุต่อไป โดยในอดีตชุมชนมีวิถีชีวิตเป็นแบบดั้งเดิมท่ีพ่ึงพา
แหล่งน้าตามธรรมชาติ หาอยู่หากินจากทรัพยากรอาหารท่ีได้จากหนองน้า พืชริมน้า และป่าชุมชน แต่ปัจจุบัน
ชุมชนได้รับอิทธิพลจากความเจริญของกระแสทุนนิยม เงินเข้ามาเป็นปัจจัยสาคัญของการดารงชีวิต จึงได้มี

72

การบุกรุกทาลายทรัพยากรป่าไม้ เพื่อเปล่ียนเป็นพ้ืนท่ีปลูกพืชเชิงเดี่ยวและพืชเศรษฐกิจมากขึ้น นาไปสู่ปัญหา
การขาดแคลนแหล่งน้าท่ีใช้อุปโภค บริโภค และใช้ในการเกษตร ปริมาณทรัพยากรอาหารตามธรรมชาติลดลง
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดารงชีวิตจากพ่ึงพาระบบนิเวศ พ่ึงพาธรรมชาติ ไปสู่ระบบพึ่งพาตลาด แต่ละ
ครัวเรือนจาเป็นต้องซ้ือสินค้า ซ้ืออาหารจากภายนอก ทาให้การดารงชีวิตโดยการพ่ึงตนเองทางด้านทรพั ยากร
อาหารลดลง และเกดิ การเปลยี่ นแปลงส่งผลกระทบต่อสภาพความมนั่ คงทางอาหารของชมุ ชน

พน้ื ท่ี โคก หนอง นา

พืน้ ท่ี โคก หนอง นา

ลานา้ ปาว ศูนยก์ สกิ รรมฯนาเรยี ง
ชมุ ชนคริสตจักรนาเรยี ง
พ้นื ที่ โคก หนอง นา

พน้ื ท่ี โคก หนอง นา

หนองนา้ ธรรมชาติ

ภาพที่ 6 แผนท่ีแสดงแหลง่ อาหารชุมชนกสิกรรมธรรมชาตคิ รสิ ตจกั รนาเรยี ง

จากภาพแผนท่ีแหล่งอาหารชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจกั รนาเรยี ง แสดงใหเ้ ห็นว่ามีพนื้ ที่
สาหรบั เปน็ แหล่งอาหารของชุมชนกระจายอยทู่ ่ัวบรเิ วณของพื้นท่ีชมุ ชน ทง้ั นีจ้ ะมีลาน้าปาวไหลผา่ นบริเวณฝัง่
ทศิ ตะวันตกของชมุ ชน ซงึ่ ถือวา่ เปน็ แหลง่ นา้ สายสาคัญทหี่ ลอ่ เลยี้ งคนในชุมชน ใช้ประโยชนใ์ นการเกษตรและ
อปุ โภคบริโภค รวมท้งั ยงั เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติทสี่ ามารถหาอยหู่ ากินได้

จากการศกึ ษาบริบทชุมชนเพ่ือค้นหาความหลากหลายในทรัพยากรธรรมชาติที่เปน็ พ้นื ฐานของ
ความมั่นคงทางอาหาร พบว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน ประกอบด้วย น้า ป่าไม้ และดิน ได้ช่วยทา
ประโยชน์แก่คนในชุมชนท้ังทางตรงและทางอ้อม เพ่ือสร้างและเป็นพื้นฐานท่ีก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร
ให้แก่ครอบครัวและชมุ ชน ไดแ้ ก่

1) ทรัพยากรแหล่งนา้ ถอื ว่าเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ดว้ ยทีต่ ้ังทางภมู ิศาสตร์อยู่ติดกับ
ลาน้าปาวที่ไหลผ่านให้เกษตรกรได้ใช้หล่อเล้ียงทั้งชีวิตและเพาะปลูก นอกจากน้ันในอดีตยังเป็นแหล่งท่ี

73

ชาวบ้านใช้หาปลาเพื่อนามาเป็นอาหาร ลักษณะที่สาคัญของลาน้าปาวมีความอุดมสมบูรณ์มากในด้าน
ทรัพยากรอาหารที่หล่อเลี้ยงผู้คนมายาวนาน เป็นทางน้าไหลไปลงยังเข่ือนลาปาว ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ โดย
ยังคงรักษาความชุ่มชื้นอยู่ จึงเป็นที่อาศัยของกบ เขียด หอย ปู ปลา ชาวบ้านจะลงไปหาสัตว์น้าต่าง ๆ เพ่ือ
นามาปรุงเป็นอาหารได้ท้ังกลางวันและกลางคืน ตามริมน้าสามารถเข้าไปปลูกพืชผักได้รวมท้ังพืชผักตาม
ธรรมชาติข้ึนมามากมายหลังจากที่น้าลด ถือได้ว่าลาน้าปาวมีส่วนสาคัญต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยเฉพาะ
ชาวบ้านท่ีใช้ประโยชน์ในการจับปลาเล้ียงชีพ และเป็นอาชีพท่ีสาคัญในระดับต้นๆ ของครอบครัว ซึ่งสามารถ
หาปลามาประกอบอาหาร เอาไปขายเพ่ือมาซ้ือเครื่องอุปโภคบริโภคอ่ืน ๆ แต่ในปัจจุบันลาน้าปาวได้รับ
ผลกระทบจากโรงงานน้าตาลในเขตอาเภอกุมภวาปี จังหวัดอดุ รธานี และได้รบั ผลกระทบจากการใชส้ ารเคมีใน
ภาคการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกอ้อย ทาให้มสี ารปนเปื้อนในลาน้าเพิ่มมากข้ึน ส่งผลใหพ้ ืชท่เี ป็นอาหารตาม
ธรรมชาตเิ รม่ิ หาได้ยากมากขึน้ สัตวน์ า้ ทอี่ ยู่ในลาน้าปาวมีจานวนชนิดทห่ี ลากหลายนอ้ ยลง

2) ทรัพยากรป่าไม้ ถือว่าเปน็ แหล่งอาหารท่สี มบูรณ์ให้กับคนในชุมชน แตใ่ นปัจจุบันมี
พื้นท่ีป่าไม้เหลือประมาณ 20 % ของพ้ืนท่ีท้ังหมด สภาพป่าโดยท่ัวไปเป็นลักษณะของป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง มี
ต้นไม้ข้ึนอยู่ประปรายไม่หนาแน่น ประกอบไปด้วยไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้มะค่าโมง ตะเคียนทอง ประดู่ เต็งรัง
แดง และตะแบก มีพื้นท่ีอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่จัดอยู่ในประเภทป่าเสื่อมโทรม และมีเขตท่ีดิน สปก.
ปจั จบุ นั ป่าชุมชนลดเหลือน้อยลง เนอ่ื งจากการบุกรกุ เพื่อทาสมั ปทานปา่ ไม้ และพฒั นาพ้นื ที่ทางด้านการเกษตร

3) ทรัพยากรดิน ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง มีท่ีดินเพื่อผลิตอาหาร
และ ผลติ สินคา้ สรา้ งความมั่นคงทางอาหาร ให้แกต่ นอยา่ งพอเพยี ง โดยมีท่นี าสาหรับปลูกข้าวสลับท่ีไร่ท่ีใช้ทา
ไร่อ้อย ซ่ึงต้องใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงเป็นจานวนมากในการทาการเกษตรแต่ละคร้ัง ส่งผลกระทบให้ดินเสื่อม
คุณภาพ ปลูกพืชได้ผลผลิตน้อยลง และพืชผักพื้นบ้าน และพืชที่ใช้เป็นอาหารตามธรรมชาติถูกทาลายและ
สูญพันธ์ุไปเป็นจานวนมาก แต่ในปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรท่ีได้รวมตัวกันทาตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ
โดยมีการปรับปรุงบารุงดิน ฟื้นฟูดินด้วยศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
หลักการห่มดิน ที่เรยี กว่า “แห้งชามน้าชาม” ทาใหส้ ภาพดินเรม่ิ กลบั มามีคณุ ภาพดขี ึ้น สามารถปลูกพชื ไดด้ ขี ้นึ

1.2.2 สภาพทรัพยากรอาหารของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย
ครสิ ตจกั รนาเรยี ง

ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง ในปัจจุบันสภาพทรัพยากรอาหารของชุมชน ได้มี
การพง่ึ พาแหลง่ อาหารจากภายนอก และแหลง่ อาหารตามธรรมชาติ สามารถแบ่งตามมิติสาคญั ของความมั่นคง
ทางอาหาร 4 ประเดน็ ตามรายละเอียดดังนี้

1.2.2.1 การเขา้ ถงึ อาหารที่ปลอดภยั สรปุ ไดด้ ังนี้
1) อาหารท่ีบริโภคในครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นอาหารท่ีสามารถผลิตได้เองใน

ครัวเรือน แบ่งเป็น สัตว์ท่ีใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ปลา ไก่ เป็ด ส่วนพืชที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า
ข้าวเหนยี วดา และพชื ผักสวนครัวท่ัวไป

2) วัตถุดิบประเภทผักที่ใช้ประกอบอาหาร ได้แก่ บวบหอม ถ่ัวพู พริก ขิง
กะเพรา ข่า ตะไคร้ ผักคันจอง ผกั หนาม ผักกระเฉด ผกั บุง้ ผกั พาย ผักกะแยง

74

3) วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์หรือโปรตีน ที่ใช้ประกอบอาหาร ได้แก่ ไข่ไก่ ไข่
เป็ด เนื้อหมู เนอื้ ววั เน้ือปลา เนอ้ื ไก่

4) แหล่งอาหารตามธรรมชาติที่สามารถหาอยู่หากินได้ ได้แก่ ผักหวานป่า
และเหด็ ปา่ เชน่ เห็ดไค เห็ดปลวก

1.2.2.2 การมีอาหารทีเ่ พยี งพอและมีคณุ ภาพ สรปุ ไดด้ ังน้ี
1) อาหารที่ชุมชนสามารถผลิตเองได้และเพียงพอตลอดทั้งปี ได้แก่ ปลา ไก่

ข้าวเหนียว ข้าวเจา้ พชื ผกั สวนครวั ผลไมต้ ามฤดกู าล เช่น ขนนุ มะม่วง มะพร้าว แตงโม ลาไย มะปราง
2) พืชผักสวนครัวที่สามารถผลิตเองได้ในชุมชน และจาหน่ายเป็นรายได้ให้

ครัวเรอื น ไดแ้ ก่ ผักสวนครวั มะละกอ กล้วย หน่อไม้
3) อาหารหลักที่สมาชิกในชุมชนนิยมรับประทานมากที่สุด แบ่งเป็น ม้ือเช้า

เปน็ เมนูปลา ปน่ ปลา นง่ึ ปลา ลวกผัก ข้าวเหนียว สว่ นมอ้ื เทย่ี ง เปน็ เมนู ข้าวเหนียวส้มตาลาบก้อย และมือ้ เย็น
เป็นเมนูปลา ป้ิงปลา ตม้ ปลา หมกปลา แจ่วบอง นา้ พรกิ และผกั ลวก

4) เครื่องปรุงท่ีใช้ในการประกอบอาหาร แบ่งเป็น เคร่ืองปรุงท่ีทาได้เอง เช่น
ปลาร้า พรกิ แหง้ พรกิ ปน่ และเคร่อื งปรงุ ท่ีตอ้ งซือ้ เช่น ผงชรู ส นา้ ปลา เกลือ ผงปรงุ รส ซอส

5) เคร่ืองเทศทใ่ี ช้ในการประกอบอาหาร ได้แก่ ผักสวนครวั ประเภทเคร่ืองเทศ
เชน่ ขมนิ้ กระชาย กระเทียม หอม ขงิ ข่า ตะไคร้

6) การแปรรูปและถนอมอาหาร แบ่งเป็น การแปรรูปอาหาร เช่น การทา
นา้ เชือ่ มไซรัป การทานา้ ออ้ ย การทากลว้ ยตาก กล้วยอบแหง้ กล้วยอบน้าผงึ้ และการถนอมอาหาร เช่น การทา
ปลาร้า การทาปลาแดดเดียว การดองมะมว่ ง ดองมะกอก การทาสม้ ผกั การทาสม้ หมู สม้ เนือ้ หนอ่ ไม้ดอง

1.2.2.3 การใชป้ ระโยชนจ์ ากอาหาร สรปุ ได้ดงั นี้
1) พื้นที่สาหรับการปลูกพืชผัก และเล้ียงสัตว์สาหรับเป็นอาหารของชุมชน

ไดแ้ ก่ พน้ื ทสี่ าหรบั การเพาะปลูก สว่ นใหญจ่ ะเปน็ บรเิ วณบ้านและไร่นา และพืน้ ทีส่ าหรบั การเลีย้ งสัตว์สว่ นใหญ่
จะเป็นบรเิ วณบา้ น ไรน่ า และบริเวณบ่อปลา

2) แหล่งน้าสาหรับใช้ในการปลูกพืชผัก เล้ียงสัตว์ และทาการเกษตรของ
ชมุ ชน สว่ นใหญ่จะเป็นแหลง่ นา้ ทางธรรมชาติ เชน่ สระนา้ บ่อน้า บ่อบาดาล คลอง

3) การจดั การพน้ื ทีส่ าหรับการสร้างแหลง่ อาหารของชุมชน แบง่ เปน็ ลักษณะ
ของการจัดการพ้ืนที่ที่ทาข้ึนเอง เช่น การขุดโคกหนองนา การทาสวนแบบเกษตรผสมผสาน และมีการจัดการ
พ้ืนที่ท่ีเกิดข้ึนเองตามธรรมชาติ เช่น จัดพื้นท่ีและกาหนดแนวป่าชุมชน ไว้สาหรับเก็บเห็ด ห้ามมีการบุกรุก
ทาลายป่า หรอื เผาปา่

1.2.2.4 ความมเี สถยี รภาพด้านอาหาร สรุปได้ดังนี้
1) การรวมกลุ่มของชุมชนในการจัดการทรัพยากรอาหาร แบ่งเป็น กลุ่มปลูก

พืชผัก กลุ่มเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มแปรรูปอาหาร การรวมกลุ่มของคนในชุมชน มีกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงสัตว์ และ
กลมุ่ แปรรูปอาหาร เช่น กลมุ่ แปรรูปกลว้ ย กลุ่มน้าตาลอ้อย กลุ่มเกษตรอินทรยี ์

75

2) การมีธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชของชุมชน ชุมชนยังไม่มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ แต่
มกี ารเกบ็ เมล็ดพนั ธุ์ในครวั เรือนของตนเอง

3) การเตรียมความพร้อมด้านการขยายพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ท่ีใช้เป็นอาหาร
ของชุมชน มีการเตรียมความพร้อมด้านการขยายพันธ์ุพืช เช่น การอนุรักษ์สายพันธ์ุ การปลูกผักคันจอง การ
ปลูกผักพาย การเล้ียงไก่พันธุ์หายาก เช่น ไก่กระดูกดา การเล้ียงกบนา และมีการขยายพันธ์ุโดยธรรมชาติ เช่น
สายลมจะพัดดอกและผลของต้นจกิ ตน้ รงั ไปตกในบรเิ วณพน้ื ที่อน่ื ๆ เป็นการปลกู พืชโดยธรรมชาติไปด้วย

1.2.3 ศักยภาพการสร้างความม่ันคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐาน
อินทรียว์ ิถไี ทยครสิ ตจกั รนาเรยี ง

ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง มีการก่อต้ังศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาข้ึนเป็น
เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมเอาม้ือสามัคคี
พัฒนาพ้ืนที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ ปรับเปลี่ยนจากการทาเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรเชิงเด่ียวแบบผสมผสาน
และพัฒนาสู่การทาเกษตรอินทรีย์ตามหลกั กสิกรรมธรรมชาติ ซ่ึงก่อให้เกิดพลังอันย่ิงใหญ่ในการขับเคล่อื นการ
จัดการพื้นที่เกษตรตามหลักทฤษฎีใหม่ของลุ่มน้าปาวตอนบน สามารถแบ่งตามมิติสาคัญของความมั่นคงทาง
อาหาร 4 ประเดน็ ตามรายละเอียดดงั นี้

1.2.3.1 การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย อาหารท่ีบริโภคในครัวเรือนส่วนใหญ่ วัตถุดิบ
ประเภทผักท่ีใช้ประกอบอาหาร วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์หรือโปรตีน ที่ใช้ประกอบอาหาร แหล่งอาหารตาม
ธรรมชาติที่สามารถหาอยู่หากินได้ ดังนั้นสรุปได้ว่า อาหารท่ีบริโภคในครัวเรือนส่วนใหญ่ผลิตมาจากการ
ปรุงอาหารเพ่ือบริโภคเอง และส่วนน้อยจะมาจากการซ้ือวัตถุดิบจากแม่ค้าในตลาด หรือจากรถขายอาหาร
โดยสามารถหาอาหารได้จากแหล่งอาหารในธรรมชาติ เช่น ป่าชุมชน ลาน้าปาว หนองน้า และแหล่งอาหารที่
สามารถผลิตเองได้ เช่น ข้าวท่ีปลูกในนา ผักที่ปลูกข้างบ้าน ไก่ที่เลี้ยงไว้หลังบ้าน ซึ่งมีเกษตรกรหลายคนที่ได้
ปรับวถิ ชี วี ิตด้านการเกษตรมาทาในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล เป็นเกษตรแบบผสมผสาน โดยครวั เรอื นของ
เกษตรกรกลมุ่ นี้จะมคี วามมั่นคงทางอาหารมาก และสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภยั ได้

1.2.3.2 การมีอาหารท่ีเพียงพอและมีคุณภาพ อาหารที่ชุมชนสามารถผลิตเองได้และ
เพียงพอตลอดท้ังปี พืชผักสวนครัวที่สามารถผลิตเองได้ในชุมชน และจาหน่ายเป็นรายได้ให้ครัวเรือน อาหาร
หลักท่ีสมาชิกในชุมชนนิยมรับประทานมากที่สุด แบ่งเป็น อาหารเช้า อารหารกลางวัน และอาหารเย็น
เคร่ืองปรุงท่ีใช้ในการประกอบอาหาร เคร่ืองเทศที่ใช้ในการประกอบอาหาร การแปรรูปและถนอมอาหาร
ดังนั้นสรุปได้วา่ อาหารท่ีบริโภคในครัวเรอื นเพียงพอต่อความต้องการของสมาชกิ บางครัวเรือนมีเหลอื พอท่ีจะ
จาหน่ายเป็นรายได้ให้กับครัวเรือนตนเอง หรือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพ่ือนบ้านของตนเองได้ อาหารที่ชุมชน
สามารถผลิตเองได้และเพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนตลอดปี ประกอบด้วย สัตว์น้า เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา
พืชผักสวนครัว ข้าว เคร่ืองเทศ เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด แมงรัก หอม กระเทียม สัตว์บก เช่น ไก่
เป็ด หมู ววั และการถนอมอาหาร เชน่ ผักดอง หนอ่ ไม้ดอง ปลารา้ ปลาแหง้

1.2.3.3 การใชป้ ระโยชน์จากอาหาร พน้ื ทส่ี าหรับการปลกู พชื ผกั และเลี้ยงสัตว์สาหรับ
เป็นอาหารของชุมชน แหล่งน้าสาหรับใชใ้ นการปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ และทาการเกษตรของชุมชน การจัดการ

76
พ้นื ท่ีสาหรบั การสร้างแหล่งอาหารของชมุ ชน ทีใ่ ช้การบริหารจดั การพนื้ ทด่ี ้วย โคก หนอง นา โมเดล และมีการ
ใชป้ ระโยชนจ์ ากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ เชน่ ปา่ ชมุ ชน ลาน้าปาว หนองน้าในชมุ ชน ดงั นั้นสรุปไดว้ ่า

1) การใช้ที่ดินเพื่อผลิตอาหาร สมาชิกในชุมชนมีที่ดินเพียงพอในการปลูกพืช
และเลย้ี งสตั ว์ มกี ารจดั สรรพน้ื ที่ตามหลกั เกษตรทฤษฎใี หม่ 30: 30: 30: 10

2) การใช้แหล่งน้าผลิตอาหาร สมาชิกในชุมชนมีแหล่งน้าท่ีใช้ในการปลูกพืช
และเลีย้ งสตั ว์ไวเ้ ปน็ อาหารของครัวเรือนไดม้ าจากบอ่ น้า หนองน้า สระน้า และลาน้าตามธรรมชาติ

3) การใช้ป่าเป็นแหล่งอาหาร สมาชิกในชุมชนมีการเก็บผลผลิตจากแหล่ง
อาหารตามธรรมชาติ โดยมกี ารเกบ็ มาใชป้ ระโยชน์ เชน่ เห็ด ผักป่า และบางสว่ นยังคงไว้เพ่ือขยายพนั ธุ์ รวมทั้ง
มกี ารรวมกลมุ่ ในชมุ ชนต้งั ผูด้ แู ลปา่ และช่วยกนั ฟ้นื ฟูสภาพป่าใหม้ คี วามสมบรุ ณ์มากขนึ้

4) วิธีการจับสัตว์แบบอนุรักษ์เพ่ือเป็นอาหาร สมาชิกในชุมชนจับสัตว์ท่ีเป็น
อาหารจากแหล่งอาหารโดยไม่จับสัตวใ์ นฤดกู าลวางไข่ และจบั เพือ่ เพียงพอตอ่ การบรโิ ภคเท่านน้ั สาหรับการจับ
สตั ว์น้าเพ่ือการจาหนา่ ย จะทาในลกั ษณะของการเล้ียงในกระชงั หรอื เลย้ี งในบ่อของแตล่ ะครวั เรือนเอง

1.2.3.4 ความมีเสถียรภาพด้านอาหาร ปัจจุบันได้มีการฟ้ืนฟูสภาพพ้ืนที่ด้วยการ
บริหารจัดการน้าตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล โดยมีจุดเรียนรู้แปลงตัวอย่าง อยู่ท่ี
ศูนย์เรียนรู้พื้นท่ีต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ รูปแบบประยุกต์ โคก หนอง นา โมเดล
ของนายแสวง ศรีธรรมบุตร บ้านนางาม ตาบลตาดทอง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี นอกจากน้ียังมีการ
รวมกลุ่มของชุมชนในการจัดการทรัพยากรอาหาร แบ่งเป็น กลุ่มปลูกพืชผัก กลุ่มเล้ียงสัตว์ และกลุ่มแปรรูป
อาหาร การมีธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชของชุมชนการเตรียมความพร้อมด้านการขยายพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ใช้
เปน็ อาหารของชมุ ชน กลา่ วโดยสรปุ คือ ชมุ ชนมีการใช้หลักทฤษฎีใหม่ และหลกั กสิกรรมธรรมชาติ

ภาพท่ี 7 แสดงแหลง่ อาหารชุมชนกสิกรรมธรรมชาตคิ รสิ ตจกั รนาเรยี ง
ตามหลกั ทฤษฎใี หม่ ประยกุ ต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล

77

1.3 กระบวนการสรา้ งความม่นั คงทางอาหารของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรีย์วิถีไทย

ครสิ ตจกั รนาเรยี ง

จากการใช้แบบสอบถามสารวจข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จานวน 191 คน ผลการวิเคราะห์

กระบวนการสร้างความมนั่ คงทางอาหารของชมุ ชนกสกิ รรมธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรีย์วถิ ีไทยคริสตจักรนาเรียง

อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี แบ่งตามมิติสาคัญของความม่ันคงทางอาหาร 4 มิติ ได้แก่ การเข้าถึงอาหารท่ี

ปลอดภัย การมีอาหารท่ีเพียงพอและมีคุณภาพ การใช้ประโยชน์จากอาหาร ความมีเสถียรภาพด้านอาหาร

อธบิ ายดงั นี้

1.3.1 กระบวนการสรา้ งความม่ันคงทางอาหารของครวั เรอื น

ตารางท่ี 2 กระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย

ครสิ ตจกั รนาเรยี ง

ประเดน็ ระดับความคดิ เหน็ S.D. ระดบั
ศักยภาพ
มาก มาก ปาน นอ้ ย น้อย x̅
ทีส่ ุด กลาง ทส่ี ุด

1. อาหารท่บี รโิ ภคในครัวเรอื นเพียงพอ 65 73 48 4 1 4.02 0.90 มาก

ตอ่ ความต้องการของสมาชกิ (34.0) (38.2) (25.1) (2.1) (.5)

2. ครัวเรอื นไดป้ ลกู พืชผกั สวนครวั 45 92 44 9 1 3.88 0.89 มาก

สาหรับทาอาหารในชวี ิตประจาวนั (23.6) (48.2) (23.0) (4.7) (.5)

3. ครัวเรอื นได้เลี้ยงสตั ว์ไว้สาหรบั เปน็ 50 89 39 10 3 3.89 0.96 มาก

อาหารของสมาชกิ ในครวั เรือน (26.2) (46.6) (20.4) (5.2) (1.6)

4. ครวั เรือนแปรรปู อาหาร ถนอม 38 89 42 15 7 3.68 1.10 มาก

อาหาร เชน่ การตากแห้ง การหมัก (19.9) (46.6) (22.0) (7.9) (3.7)

การดอง เพื่อเก็บไว้ใช้เปน็ อาหาร

สาหรับสมาชกิ

5. การปลกู ผักสวนครวั เลยี้ งสตั ว์ 77 70 32 9 3 4.07 1.04 มาก

และแปรรูปอาหารจะชว่ ยประหยัด (40.3) (36.6) (16.8) (4.7) (1.6)

คา่ ใชจ้ า่ ยในเร่ืองของอาหาร

6. ครัวเรือนมพี ้ืนทส่ี าหรับการทา 48 90 45 4 4 3.89 0.95 มาก

เกษตรกรรมอย่างเพียงพอต่อการเลีย้ ง (25.1) (47.1) (23.6) (2.1) (2.1)

ดูครัวเรอื นของตนเอง

7. ครวั เรอื นใชห้ ลกั กสกิ รรมธรรมชาติ 41 84 55 6 5 3.76 1.00 มาก
ในการดาเนนิ กิจกรรมภาคการเกษตร (21.5) (44.0) (28.8) (3.1) (2.6)

78

ประเด็น มาก ระดับความคดิ เหน็ นอ้ ย x̅ S.D. ระดบั
ท่สี ดุ มาก ปาน นอ้ ย ท่สี ุด 3.56 ศักยภาพ
8. ครวั เรอื นมีการจัดการพื้นที่ตาม 38 10
รปู แบบ โคก หนอง นา โมเดล ในพื้นที่ (19.9) กลาง (5.2) 3.44 1.15 มาก
แปลงของตนเอง 75 49 19 3.71
9. ครวั เรือนไมม่ ีปัญหาขาดแคลนน้า 30 (39.3) (25.7) (9.9)
และไมม่ ปี ัญหาโรคระบาดในพืชในสัตว์ (15.7) 3.80
10. อาหารทีบ่ รโิ ภคเป็นหลกั ของ 44 64 69 20 8 1.08 ปาน
สมาชกิ ในชมุ ชนมาจากผลผลิตทาง (23.0) (33.5) (36.1) (10.5) (4.2) 3.67 กลาง
การเกษตรท่ีไดจ้ ากชุมชนเอง 64 72 7 4
11. ครวั เรอื นซือ้ วัตถุดิบ เครื่องปรุง 44 (33.5) (37.7) (3.7) (2.1) 0.95 มาก
สาหรบั ประกอบอาหาร เชน่ น้าปลา (23.0)
เกลือ น้าตาล ผงชูรส จากภายนอก 84 52 8 3 0.99 มาก
12. ครวั เรือนสามารถใชป้ ระโยชน์จาก 50 (44.0) (27.2) (4.2) (1.6)
แหล่งอาหารตามธรรมชาติได้ เชน่ (26.2)
ปลาจากลาห้วย ผักตามรมิ หนอง 79 33 11 18 1.25 มาก
(41.4) (17.3) (5.8) (9.4)

13. ครวั เรือนซือ้ สนิ คา้ จากรถพมุ่ พวงท่ี 38 101 38 12 2 2.83 2.73 ปาน
เขา้ มาขายของภายในชุมชน หรือร้าน (19.9) (52.9) (19.9) (6.3) (1.0) กลาง
ขายพืชผัก รา้ นอาหารอยู่ในชมุ ชน
1.26 ปาน
14. สมาชกิ ในชุมชนรู้จักมาตรฐาน 29 82 60 16 4 3.50 กลาง
อนิ ทรยี ว์ ถิ ีไทย (Earth Safe) และร่วม (15.2) (42.9) (31.4) (8.4) (2.1)
กจิ กรรมของกลมุ่ เกษตรอินทรีย์ 2.74 ปาน
กลาง
15. ครวั เรือนมีความเชื่อมนั่ ว่าหากเกิด 44 96 41 8 2 2.89

วิกฤต เชน่ ภยั ธรรมชาติ โรคระบาด (23.0) (50.3) (21.5) (4.2) (1.0)

รนุ แรง สงครามกลางเมือง จะสามารถ

ปิดหมู่บ้าน โดยไม่ต้องพ่งึ โลกภายนอก

และจะอย่รู อดไดด้ ว้ ยการมอี าหารที่

เพยี งพอต่อการบริโภคของคนในชมุ ชน

รวมระดับความคิดเหน็ ศักยภาพ 3.64 1.27 มาก

79

จากตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพด้านความม่ันคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรม

ธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง พบว่า โดยรวม ศักยภาพด้านความมั่นคงทางอาหาร

อยู่ในระดับมาก คา่ เฉลย่ี เท่ากบั 3.64 ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.27 เมอ่ื พจิ ารณาแต่ละประเด็น สามารถ

เรียงลาดับจากค่าเฉล่ียมากไปหาน้อย พบว่า ข้อที่มากที่สุด คือ การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ และแปรรูป

อาหาร ชว่ ยประหยัดค่าใชจ้ ่ายในเรื่องของอาหาร อยูใ่ นระดับมาก ค่าเฉลยี่ เทา่ กับ 4.07 ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน

เท่ากับ 1.04 รองลงมา คือ อาหารท่ีบริโภคในครัวเรอื นเพียงพอต่อความต้องการของสมาชิก อยู่ในระดับมาก

ค่าเฉล่ียเท่ากับ 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.90 ครัวเรือนได้เล้ียงสัตว์ไว้สาหรับเป็นอาหารของ

สมาชิกในครัวเรอื น อยู่ในระดับมาก ค่าเฉล่ียเท่ากับ 3.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 และครัวเรือน

มีพ้ืนที่สาหรับการทาเกษตรกรรมอย่างเพียงพอต่อการเล้ียงดูครัวเรือนของตนเอง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย

เท่ากับ 3.89 ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.95 ส่วนข้อที่น้อยที่สุด คือ ชุมชนมีรถพุ่มพวงเข้ามาขายของ

ภายในชุมชน หรือร้านขายพืชผัก ร้านอาหารอยู่ในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉล่ียเท่ากับ 2.83 ส่วน

เบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.73 รองลงมา คือ ครัวเรือนมีความเชื่อมั่นว่าหากเกิดวิกฤต เช่น ภัย

ธรรมชาติ โรคระบาดรุนแรง สงครามกลางเมือง จะสามารถปิดหมู่บ้าน โดยไม่ต้องพ่ึ งโลกภายนอก

และจะอยู่รอดได้ด้วยการมีอาหารท่ีเพียงพอต่อการบริโภคของคนในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย

เทา่ กับ 2.89 สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐานเทา่ กบั 2.74 ตามลาดบั

1.3.2 กระบวนการสรา้ งความม่นั คงทางอาหารของชุมชน

ตารางท่ี 3 กระบวนการสร้างความมน่ั คงทางอาหารของชุมชนกสกิ รรมธรรมชาติมาตรฐานอนิ ทรยี ว์ ถิ ีไทย

คริสตจักรนาเรยี ง

ระดบั ความคิดเหน็ ระดบั

ประเดน็ มาก มาก ปาน น้อย นอ้ ย x̅ S.D. กระบวน

ทสี่ ดุ กลาง ท่ีสุด การ

16. ชมุ ชนสามารถผลิตอาหารประเภท 41 102 40 7 1 3.90 0.85 มาก

พืชผัก สตั ว์ และแปรรปู ทม่ี ีความ (21.5) (53.4) (20.9) (3.7) (.5)

หลากหลายไดเ้ อง

17. ชมุ ชนได้มกี ารรวมตวั ของกลุ่ม 39 87 49 11 5 3.74 0.98 มาก
เกษตรกร เพื่อปลกู พืชผักสวนครัว (20.4) (45.5) (25.7) (5.8) (2.6)
เลี้ยงสัตว์ และแปรรูปอาหาร

18. ชมุ ชนมีแหลง่ อาหารท่หี ลากหลาย 42 85 53 8 3 3.79 0.96 มาก
และเพียงพอตามความต้องการของคน (22.0) (44.5) (27.7) (4.2) (1.6)
ในชุมชน

80

ระดบั ความคิดเห็น ระดบั
S.D. กระบวน
ประเดน็ มาก มาก ปาน นอ้ ย น้อย x̅
ทสี่ ุด กลาง ทสี่ ดุ การ
0.91 มาก
19. คนในชมุ ชนสว่ นใหญป่ ลูกพืชแบบ 41 84 55 10 1 3.79
มาก
ผสมผสาน มพี ชื ผัก สมนุ ไพร (21.5) (44.0) (28.8) (5.2) (.5) 0.93

เครอื่ งเทศ และเล้ียงสัตว์ 1.00 มาก

20. ชุมชนมีป่าชมุ ชน มแี หลง่ น้าตาม 39 85 54 11 2 3.76 0.99 มาก
ธรรมชาติ ที่สามารถเปน็ แหล่งอาหาร (20.4) (44.5) (28.3) (5.8) (1.0)
ตามธรรมชาตไิ ด้
21. ชมุ ชนได้มีการผลติ สนิ คา้ ทางการ 41 83 50 15 2 3.74
เกษตร อาหารปลอดภยั เพื่อจาหนา่ ย (21.5) (43.5) (26.2) (7.9) (1.0)
ใหป้ ระชาชนทั่วไป

22. สมาชิกชมุ ชนมีการเก้ือกูล แบง่ ปนั 49 70 58 12 2 3.78
อาหาร และแลกเปล่ียนอาหารกนั (25.7) (36.6) (30.4) (6.3) (1.0)

23. เกษตรกรส่วนใหญ่ในชุมชนมีการ 33 82 55 19 2 3.63 1.00 มาก
1.16 มาก
ทาเกษตรอินทรยี ์ (17.3) (42.9) (28.8) (9.9) (1.0) 1.08 มาก
1.07 มาก
24. ชุมชนมธี นาคารเกบ็ เมล็ดพันธุ์ 38 81 40 23 9 3.58
ขยายพนั ธ์ุ และอนุรักษพ์ ันธ์ุพืชทีม่ ี (19.9) (42.4) (20.9) (12.0) (4.7) 1.39 มาก
ความหลากหลายทางชวี ภาพ

25. ชุมชนมกี ารรวมกลุม่ ของเกษตรกร 36 90 39 18 8 3.65
จัดต้งั เปน็ กลมุ่ อาชพี หรอื ชมรม หรอื (18.8) (47.1) (20.4) (9.4) (4.2)
วิสาหกจิ ชมุ ชน

26. มีการเข้ามาช่วยสง่ เสริม ให้ความรู้ 33 91 47 15 2 3.65
ในการผลติ อาหารปลอดภัย และการ (17.3) (47.6) (24.6) (7.9) (2.6)
แปรรูปอาหาร เพ่ือสรา้ งมลู ค่าให้
ผลผลติ ทางการเกษตรของชุมชน

27. ชมุ ชนไดม้ กี ารใชห้ ลักการทางาน 56 81 37 8 9 3.76
ร่วมกนั ของ ภาคศาสนา ภาคราชการ (29.3) (42.4) (19.4) (4.2) (4.7)
และภาคประชาชน ในกจิ กรรมสร้าง
ความมัน่ คงทางอาหาร

81

ระดบั ความคิดเห็น ระดบั

ประเดน็ มาก มาก ปาน นอ้ ย น้อย x̅ S.D. กระบวน
ท่ีสดุ กลาง ทส่ี ดุ การ

28. มีชอ่ งทางในการจาหนา่ ยและ 39 76 51 20 5 3.63 1.06 มาก

กระจายสินคา้ ทางการเกษตร (20.4) (39.8) (26.7) (10.5) (2.6)

ผลติ ภัณฑแ์ ปรรปู

29. มีพ่อค้าเข้ามารบั ซ้ือผลผลติ 28 51 73 31 8 3.29 1.11 ปาน

ทางการเกษตร และผลิตภัณฑแ์ ปรรูป (14.7) (26.7) (38.2) (16.2) (4.2) กลาง

ในชุมชนอยา่ งต่อเนอื่ ง

30. ชมุ ชนเห็นความสาคญั ของการมี 64 73 35 11 8 3.88 1.16 มาก

แหลง่ อาหารปลอดภัยท่ีทาให้สมาชกิ (33.5) (38.2) (18.3) (5.8) (4.2)

ในชุมชนสามารถเข้าถึงได้อย่างยั่งยืน

รวมระดับความคิดเห็นดา้ นกระบวนการ 3.71 1.04 มาก

จากตารางท่ี 2 ผลการวิเคราะห์กระบวนการสร้างความม่ันคงทางอาหารของชุมชนกสิกรรม
ธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง พบว่า โดยรวม กระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
อยูใ่ นระดบั มาก ค่าเฉล่ียเทา่ กับ 3.71 สว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.04 เมอื่ พจิ ารณาแต่ละประเดน็ สามารถ
เรียงลาดบั จากค่าเฉลย่ี มากไปหาน้อย พบว่า ข้อท่มี ากทสี่ ุด คอื ชมุ ชนสามารถผลิตอาหารประเภท พชื ผกั สัตว์
และแปรรูปที่มีความหลากหลายได้เอง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉล่ียเท่ากับ 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.85 รองลงมา คือ ชุมชนเห็นความสาคัญของการมีแหล่งอาหารปลอดภัยที่ทาให้สมาชิกในชุมชนสามารถ
เขา้ ถึงไดอ้ ย่างย่ังยนื อยู่ในระดับมาก คา่ เฉลย่ี เท่ากับ 3.88 สว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐานเทา่ กับ 1.16 ชุมชนมีแหล่ง
อาหารทีห่ ลากหลายและเพยี งพอตามความต้องการของคนในชุมชน อยู่ในระดับมาก คา่ เฉล่ียเทา่ กบั 3.79 ส่วน
เบ่ยี งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 และคนในชุมชนสว่ นใหญ่ปลูกพชื แบบผสมผสาน มีพชื ผัก สมนุ ไพร เครื่องเทศ
และเล้ียงสัตว์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉล่ียเท่ากับ 3.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.91 ส่วนข้อที่น้อยท่ีสุด
คือ มีพ่อค้าเข้ามารับซ้ือผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชุมชนอย่างต่อเน่ือง อยู่ในระดับปาน
กลาง ค่าเฉล่ียเท่ากับ 2.29 ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.73 รองลงมา คือ ชุมชนมีธนาคารเก็บเมล็ดพนั ธ์ุ
ขยายพันธ์ุ และอนุรักษ์พันธุ์พืชที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉล่ียเท่ากับ 3.58 ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากบั 1.16 ตามลาดับ

1.4 ขอ้ คิดเห็นเพ่มิ เตมิ ของตวั แทนชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง
1.4.1 ชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารท่ีปลอดภัย ผลการวิเคราะห์ พบว่า ทุกคนสามารถเข้าถึง

อาหารปลอดภัยได้โดยเท่าเทียมกัน ทุกคนต้องอิ่มท้อง มีอาหารสด อาหารแห้ง อาหารแปรรูปรับประทาน
ตลอดทั้งปี ท้ังเกิดเองตามธรรมชาติ และปลูกเอง มีอาหารแลกเปลี่ยนผลผลิตกัน มีอาหารได้กินตลอดโดยไม่
ตอ้ งซื้อ และเม่ือมีเพยี งพอสามารถนาไปขายเพื่อสรา้ งรายได้ใหก้ ับครอบครัว หรือชุมชนได้

82

1.4.2 ชุมชนมีปริมาณอาหารท่ีเพียงพอและอาหารมีความปลอดภัย ผลการวิเคราะห์ พบว่า
การมีอาหารทีเ่ พยี งพอจะเกดิ ขึ้นในกลุ่มท่รี วมตัวกัน เชน่ กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ กลมุ่ วิสาหกิจชมุ ชนท่ีจัดตั้งข้ึน
และมีหน่วยงานสนับสนนุ ท่เี ป็นระบบ แตใ่ นภาพใหญ่ของชุมชนยังมีการหาซ้ืออาหารอยู่ แต่การไดม้ าซึ่งอาหาร
ทป่ี ลอดภยั ต้องเป็นแหลง่ ผลิตทีค่ นในชุมชนผลิตเอง

1.4.3 ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารท่ีผลิตเอง ผลการวิเคราะห์ พบว่า ชุมชน
สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารผลดิ เอง และแหล่งอาหารตามธรรมชาติได้ เพราะทุกครัวเรือน หรือกลุ่ม
ที่จัดตั้งข้ึน มีอาณาบริเวณที่เป็นกรรมสิทธ์ิในการจัดการพื้นที่เป็นของตนเอง คนในชุมชนจึงสามารถใช้
ประโยชน์กบั ทดี่ ินทากนิ ได้อย่างท่วั ถงึ

1.4.4 ชุมชนจะสามารถอยรู่ อดได้ และมอี าหารที่เพียงพอและพร้อมรองรับต่อวิกฤตการณ์ต่าง
ๆ ผลการวิเคราะห์ ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารผลิดเองได้และทุกครัวเรือน แต่เราต้องเพิ่ม
ปริมาณการปลูกให้มากข้ึน และรณรงค์ให้คนในหมู่บ้าน แต่ละครัวเรือนปลูกไว้สาหรับตนเอง เพราะเท่าท่ีมีใน
ปัจจุบันสามารถอยู่รอดได้ในระยะหนึ่งปี และการเพ่ิมผลผลิตทางอาหารก็ย่อมมาจากแหล่งผลิตเดิม คือ
การปลกู พชื ผกั จะใชเ้ มลด็ พันธ์ุเดิมท่ีปลูกไวแ้ ลว้ การเลี้ยงสตั ว์ก็ใชพ้ อ่ พนั ธแ์ุ ม่พนั ธุ์ทมี่ อี ยู่แล้ว

1.4.5 ขอ้ เสนอแนะเพิม่ เติมเกีย่ วกับศักยภาพและกระบวนการสรา้ งความมนั่ คงทางอาหารของ
ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง ผลการวิเคราะห์ พบว่า คนในชุมชน
ต้องการให้มีการทาเกษตรอินทรียใ์ นทุกครัวเรือน ลดการใชส้ ารเคมใี นภาคการเกษตร มีการทาป๋ยุ ชีวภาพใช้เอง
ซึ่งเป็นการน้อมนาแนวพระราชดาริ เกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในการดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง และทาให้ทุกครัวเรือนในชุมชนเป็นแหลง่ ผลิตอาหารเองได้ จะทาให้ไม่มีการเพ่ิมรายจ่ายในครัวเรือน
ตลอดจนการเพม่ิ องคว์ ามรู้การทาเกษตรปลอดภยั ให้กับสมาชิกของชุมชน

2. ศกึ ษาแนวทางการประยกุ ต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งของชมุ ชนกสกิ รรมธรรมชาติ
มาตรฐานอนิ ทรยี ์วิถไี ทยคริสตจักรนาเรียง อาเภอศรีธาตุ จงั หวดั อุดรธานี

2.1 การประยุกต์ใชป้ รชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
จากการศึกษาแบบบันทึกการสนทนากลุ่มของกลุ่มเป้าหมายท่ีเป็นสมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ
คริสตจักรนาเรียง และผู้นาชุมชน อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จานวน 15 คน การประยุกต์ใช้ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถแบ่งออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และด้านสังคม และดาเนินชีวิตตามหลักทฤษฎีบันได 9 ข้ันสู่ความพอเพียง ผลการวิเคราะห์แนว
ทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย
ครสิ ตจักรนาเรียง อธิบายดังนี้

2.1.1 การประยกุ ตใ์ ช้ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
ส่ิงท่ีจะทาให้สามารถปฏิบัติตนได้ตามแก่นแท้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น คือ
สิ่งแรกท่ีคนในชุมชนสามารถเข้าใจปรัชญาของพระองค์ท่านให้ชัดแจ้งก่อน หลักสาคัญของความพอเพียง
หากตีความแบบไม่ยึดติดตารา คือ คาว่าพอเพียงไม่ได้หมายความว่ามีพอสาหรับใช้กับตัวเอง พอเพียงมี

83

ความหมายว่า พอมี พอกิน แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง ให้ย้อนกลับไปในอดีตท่ีบรรพบุรุษของเราอยู่
ตามวิถีของการมีอยู่มีกิน อาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่ฟุ่มเฟือย ดังน้ันหากเราสร้างแหล่งอาหารให้มีเพียงพอ
ดารงชวี ิตอยไู่ ดต้ ามกาลังและฐานะของเราเอง ไมม่ กี ารลงทุนหลายอย่าง ไม่ตอ้ งไปก้หู น้ียืมสนิ คนอ่ืน หรือภาษา
ชาวบา้ นเรยี กว่า “ให้เราสามารถยืนบนขาตนเองให้ได้” หมายความวา่ ให้สองขาของเรายืนอยู่ได้ ไม่หกลม้ แต่
คาว่า พอเพียง มีความหมายลึกซ้ึงกว่านั้นอีก คือ คนเราถ้าพอในความต้องการแล้ว มีความพอประมาณ ไม่
สดุ โต่ง ไม่โลภมาก มีความโลภนอ้ ย เม่อื มคี วามโลภนอ้ ย กจ็ ะเบียดเบยี นคนอน่ื น้อยลง สังคมไทยก็จะอยู่รว่ มกัน
อยา่ งสงบสุขรม่ เยน็ ได้

ส่วนส่ิงท่ีสองคนในชุมชนสามารถเข้าถึงงานของพระองค์ท่านได้ทรงทาไว้ นั่นก็คือ โครงการ
พระราชดารทิ ่ีมีมากกว่า 4,000 โครงการ ทเี่ กิดขนึ้ จากการเกบ็ รวบรวมข้อมูลในพนื้ ที่มาตลอดระยะเวลา 70 ปี
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ท่าน จนสรา้ งขึน้ เปน็ ทฤษฎีใหม่มากกว่า 40 ทฤษฎี และลว้ นเกยี่ วขอ้ งกบั เกษตรกรท่ี
ถือว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางท่ีช่วยให้เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพ
ชวี ิตของตนเองให้มั่งคงได้ โดยลดการพง่ึ พาจากภายนอก ให้เร่ิมจากส่ิงท่เี รามีอยู่รอบตัวของเราเอง ซงึ่ ในส่วนนี้
มีความหมายว่า มีไม่พอต้องทาให้พอ มีเกินพอให้รู้จักพอ และส่ิงที่สามเราจะต้องทาการพัฒนาตามแบบท่ี
พระองค์ท่านทรงเร่ิมต้นทาเป็นตัวอย่างไว้ น่ันก็คือ การจะลงมือปฏิบัติงานใดนั้น ต้องทาอย่างเป็นข้ันเป็นตอน
ให้เหมาะสมกับฐานะและกาลังของเรา ไม่ลงมือทาที่เดียวหลายอย่างพร้อมกัน และให้ยึดตามแบบอย่างของ
แก่นแท้ของความพอเพียงท่ีว่า “แค่คาว่าพอก็พอแล้ว” หรือเข้าใจ เข้าถึง ปรัชญาของความพอเพียง ตาม
แบบอย่างทพ่ี ระองค์ได้ทรงตรสั ไว้ “Our Loss is Our Gain” แปลวา่ ขาดทุนของเรา คอื กาไรของเรา ยิ่งให้ไป
ย่ิงได้มา ดังน้ันสิ่งท่ีเราทาอยู่ ไม่ควรมุ่งไปท่ีขายเพื่อให้ได้เงินและกาไรสูงสุด แต่ทาเพ่ือสร้างให้เรามีอยู่มีกิน
สามารถเล้ียงคนในครอบครัว เหลือก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน ช่วยเหลือดูแลกัน สังคมจึงจะมีความสุข รวมท้ังการ
ที่จะลงมอื ทาอะไรนนั้ เราตอ้ งคอ่ ย ๆ ทา เหมือนท่ีบรรพบุรษุ เราเคยพดู ว่า

“เดินทีละก้าว กินขา้ วทีละคา ทาทีละอย่าง”
ชุมชนมีการพึ่งตนเอง ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท่ีมีอยู่ในชุมชน เป็นหลักการทาอะไรอย่าง
เปน็ ขัน้ เปน็ ตอน รอบคอบ ระมดั ระวัง มีการพจิ ารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และ
การพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ มีการสร้างสามัคคีให้เกิดข้ึน บนพ้ืนฐานของความสมดุลในแต่ละ
สัดส่วน แต่ละระดับ ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมถงึ จิตใจ และวัฒนธรรม สามารถสรุปได้ 4 มิติ ดังนี้

1) ด้านเศรษฐกิจ คนในชุมชนมีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ
พอเพยี ง คดิ และวางแผนอยา่ งรอบคอบ มภี ูมิคุม้ กันไมเ่ สีย่ งเกินไป การเผ่อื ทางเลือกสารอง

2) ด้านจิตใจ คนในชุมชนมีจิตใจเข้มแข็ง พ่ึงตนเองได้ มีจิตสานึกที่ดี เอื้ออาทร
ประนีประนอม นกึ ถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลกั

3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม คนในชุมชนรู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาด
และรอบคอบ เลือกใช้ทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ฟ้ืนฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความ
ยงั่ ยืนสงู สุด

84

4) ด้านสังคม คนในชุมชนช่วยเหลือเก้ือกูลกัน รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้
ครอบครัวและชุมชน รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม และมีการ
พัฒนาภมู ิปญั ญาชาวบา้ นสู่การต่อยอดผลิตภณั ฑ์ใหม่ เช่น นา้ ตาลอ้อย กลว้ ยตากพลงั งานแสงอาทิตย์

2.2.2 ทฤษฎบี ันได 9 ขัน้ สู่ความพอเพยี ง
ชุมชนมีการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพ้ืนฐาน คือ ได้สร้างเสาหลกั 4 เสา ได้แก่ พอกิน พอใช้
พออยู่ พอร่มเย็น ให้มั่นคงเพ่ือนาไปสู่ความพอเพียง พอกิน เกษตรกรต้องเริ่มจากการอยู่ได้ มีอาหารเพียงพอ
ปลูกพืชผักผลไม้ ปลูกข้าว สาหรับใช้ในครอบครัวให้ได้ตลอดท้ังปี ไม่จาเป็นต้องออกไปซ้ือข้างนอกบ้านก็
สามารถอย่รู อดได้ พอใช้ พออยู่ พอรม่ เย็น ท้งั 3 สิ่งนี้จะเกดิ ข้ึนพรอ้ มกันได้ ดว้ ยการปลกู ปา่ 3 อย่าง ประโยชน์
4 อย่าง คือ ปลูกไม้ให้พอใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือสมุนไพรรักษาโรค ปลูกไม้สาหรับทาบ้านพักที่อยู่
อาศัย และสร้างเป็นพ้ืนที่ป่า ซ่ึงจะทาให้เกิดความร่มเย็นสาหรับบ้านของเรา การท่ีชุมชนยึดเสา 4 หลักเป็น
พน้ื ฐาน จะชว่ ยใหม้ ีชีวิตที่มัน่ คงอย่างยัง่ ยืนได้ในอนาคต เพราะหากชมุ ชนมงุ่ ไปท่ีการทาเพ่อื ขาย เอาเงนิ เป็นตัว
ตั้ง มนั จะทาใหเ้ ราลม้ เหลวในชวี ิต ตรงกับหลกั คาสอนของศาสดา ทสี่ อนชมุ ชนคริสตจักรนาเรยี งวา่

“ให้ทาเพอ่ื แจกจา่ ยเพ่อื นมนุษย์ ทาให้เขามอี าหารเพื่อให้มีชวี ิตรอด
ทัง้ หมดนเ้ี ปน็ สรา้ งใหเ้ กิดการแบ่งปนั รูจ้ ักชว่ ยเหลือ พงึ่ พาอาศัยกัน จะนามาส่สู ังคมที่มีความสขุ ”

ดังนั้นหลักทฤษฎีบันได 9 ข้ันสู่ความพอเพียง ท่ีคนในชุมชนได้นามาปรับใช้ในการดารงชีวิต
การเรม่ิ ตน้ ใช้ชวี ิตในวถิ กสิกรรมธรรมชาติพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกจิ พอเพียง จะเรม่ิ จากการทาความเขา้ ใจในหลัก
กสิกรรมธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นเทคนิคในการเร่ิมต้นสู่เส้นทางพอเพียง โดยจะต้องเร่ิมจากการทาให้เกิดความ
พอเพียงขั้นพ้ืนฐานทั้ง 4 ด้าน คือ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น จากป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างแล้ว จึง
พัฒนา่สขู่ นั้ ก้าวหน้า คือ การทาบุญ ทาทาน เก็บรกั ษา การขายและสรา้ งเครอื ขา่ ยต่อไป สามารถอธิบายได้ดงั นี้

ขั้นท่ี 1 พอกิน เป็นข้ันพ้ืนฐานที่สุดของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในปัจจัย 4
ในการดารงชีพ และประการสาคัญที่สุดของปัจจัย 4 คือ อาหาร ดังนั้นขั้นท่ี 1 ของแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
คือ ตอบคาถามตัวเองให้ได้ว่า “ทาอย่างไรจึงจะพอกิน” โดยให้ความสาคัญกับ ข้าวปลาอาหาร มากกว่า
ความสาคญั ของมูลคา่ ตวั เงิน ซึ่งเป็นเพียงแค่ “ตวั กลาง” ในการแลกเปล่ยี นตามมาตรฐานสากลเท่านัน้ ตามคา
ท่ีว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิของจริง” การเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้โดยไม่ใช้เงิน มีอาหารพอมี พอกิน
ด้วยการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ให้พอมีพอกินโดยไม่ขัดสน เหลือจึงนาไปขายสร้างกาไรให้แก่ตนเอง นอกจากน้ี
หวั ใจสาคัญของ “พอกนิ ” ยังมีความหมายรวมไปถึงความปลอดภัยในอาหารการกนิ ว่ากินอยา่ งไรให้มสี ุขภาพดี
ไม่สะสมเอาความเจ็บไข้ได้ป่วยไว้ในร่างกาย ทั้งหมดนี้คือความหมายของบันไดข้ันท่ี 1 ที่ทุกคนในสังคม ไม่ใช่
เพียงแต่เกษตรกรควรคิดคานึง และตอ้ งกา้ วขา้ มไปให้ได้

ข้ันที่ 2-4 พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ซ่ึงสามารถเกิดข้ึนได้พร้อมกัน ด้วยคาตอบเดียวที่ว่า
“ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ซึ่งป่าทั้ง 3 อย่างจะให้ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพรสาหรับรักษาโรค
และทรัพยากรธรรมชาติสาหรับทาบ้านพักท่ีอยู่อาศัย รวมถึงให้ความร่มเย็นแก่บ้าน ชุมชน และโลกใบน้ี หรือ
แมแ้ ตก่ ารประยุกตใ์ ช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกดิ คุณประโยชนส์ ูงสดุ เชน่ ใชจ้ ุลินทรียผ์ สมน้าถูพนื้ บา้ นทใี่ ห้ความ
สะอาดกวา่ ใช้น้ายาเคมี มหิ นาซ้ายังช่วยลดรายจ่าย สรา้ งสขุ ภาพจะดีขึ้น ซง่ึ เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความ

85

ยากจนให้แก่คนในสังคมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับเกษตรกรไทย จากการได้ลองใช้หลักการเหล่าน้ีใน
ชีวิตประจาวันก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าแก้ปัญหาได้จริง และยังสามารถย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาหน้ีสินซ่ึงสะสม
พอกพูนจากการทาเกษตรเชิงเด่ียว ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ปัญหาความขาดแคลนน้า ภัยแล้ง
ทั้งหมดล้วนแกไ้ ขไดจ้ ากแนวคิดป่า 3 อยา่ งประโยชน์ 4 อยา่ ง

ขั้นที่ 5 บุญ ความเจรญิ กา้ วหนา้ ที่ไม่ได้วัดทเ่ี ปน็ ตวั เงนิ แต่เป็นการสร้าง บุญ ท่ีพึงปฏิบัติ
ต่อผู้มพี ระคุณ เชน่ พ่อแม่ ครบู าอาจารย์ พระสงฆ์ รวมถึงพระเจา้ แผ่นดิน บรรพบรุ ษุ ทกุ ผู้ทกุ นามทีไ่ ดร้ ว่ มสร้าง
แผ่นดนิ เกดิ นม้ี า

ขั้นที่ 6 ทาน การมคี วามเออื้ เฟ้ือเผ่ือแผ่ต่อคนเจ็บไข้ได้ปว่ ย คนพิการ เด็ก หรอื บุคคลที่มี
สถานภาพท่ีลาบากต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงธรรมชาติและสภาพแวดล้อม บุคคล และสังคมท่ีก้าวมาถึง
ระดับขั้นที่ 5 – 6 นี้ จะเป็นสังคมบุญ สังคมทาน คือ ไม่เน้นสร้างผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งเป็นหนึ่งของการฝึก
จิตใจใหล้ ะซ่ึงความโลภและกิเลสในการอยากได้ ใครม่ ี ลดปญั หาช่องว่างระหว่างชนช้นั ตามความหมายของคา
ว่า “Our Loss is Our Gain” หรือ “ย่ิงทายิ่งได้ ยิ่งให้ย่ิงมี” การให้ไปคือได้มา และเชื่อมั่นในฤทธ์ิของทาน ว่า
ทานมีฤทธิ์จริง จะส่งผลกลับมาเป็นเพื่อน เป็นกัลยาณมิตร เป็นเครือข่ายท่ีช่วยเหลือกันในทุกสถานการณ์ แม้
ในวันท่ีโลกน้ีประสบกับวิกฤตการณ์

ขั้นที่ 7 เก็บรักษา เป็นข้ันต่อไปหลังจากท่ีสามารถพึ่งตนเองได้ พอมี พอกิน พอเหลือ
ทาบุญ ทาทาน โดยเป็นการต้ังอยู่ในความไม่ประมาท ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานของการเอาตัวรอดในยามที่เกดิ
วิกฤตการณ์ตามวิถีชีวิตชาวนาในสมัยก่อนท่ีจะเลือกเก็บรักษาข้าวไว้ในยุ้งฉางเพ่ือให้พอมีพอกินตลอดท้ังปี มี
เมล็ดข้าวพันธ์ุไว้สาหรับเป็นพันธุ์ข้าวในปีต่อ ๆ ไป การรู้จักวิธีการถนอมอาหาร การสะสมอาหารไว้กินในยาม
หน้าแลง้ ด้วยการแปรรูปอาหารหลากชนดิ เพื่อเก็บไว้กินในอนาคต ตา่ งจากวิถชี าวนาในปจั จุบันที่ใช้วิธีการขาย
ข้าวเพ่ือแลกเงินทั้งหมด แล้วนาเงินไปซื้อพันธุ์ข้าวเพ่ือปลูกใหม่ในปีต่อไป หรือไปซ้ือผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ
เพื่อมาทากิน โดยการกระทาเช่นน้ีจะส่งผลให้ขาดความม่ันคงและเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตอย่างประมาท
เพราะหากช่วงวิกฤตการณ์ อาทิ ภัยแล้ง น้าท่วม ผลผลิตไม่ได้ตามที่ต้ังใจไว้ ย่อมหมายถึงปัญหาหนี้สินที่จะ
ตามมา และการขาดแคลนพนั ธุ์ข้าวสาหรบั ปลูกในปตี ่อไป

ข้ันท่ี 8 ขาย สามารถทาได้ภายใต้การรู้จักตนเอง รู้จักพอประมาณ และทาไปตามลาดับ
ขั้นท้ัง 7 ข้ันแล้ว โดยของที่จะเลือกไปทาการค้าน้ันก็คือของท่ีมีการจัดสรรแบ่งส่วนจนแน่ชัดแล้วว่า มีพอกิน
พอใช้ พอทาบุญ แจกจ่ายเป็นทาน และมีเก็บสะสมไว้ใช้เม่ือยามจาเป็น เช่น การทานาอินทรีย์ ปลูกข้าว
ปลอดสารเคมี ไมท่ าลายธรรมชาติ ได้ผลผลิตเก็บไว้พอกิน เก็บไวท้ าพนั ธุ์ ทาบุญ ทาทาน แล้วจงึ นามาขายด้วย
ความรสู้ ึกของการแบง่ ปนั อยากท่จี ะให้ส่ิงดี ๆ ทีป่ ลูกเองเผอ่ื แผไ่ ปถึงคนอืน่

ข้ันท่ี 9 กองกาลังเกษตรโยธิน หรือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งประเทศ เพื่อผลักดัน
ให้เกิดการเอาเป็นแบบอย่าง ซึ่งจะช่วยขยายผลความสาเร็จตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิวัติแนวคดิ
และวิถีการดาเนินชีวิตของคนในสังคม ชุมชน เพ่ือการแก้ปัญหาวิกฤต 4 ประการ อันได้แก่ วิกฤตการณ์
ส่งิ แวดล้อมภยั ธรรมชาติ วกิ ฤตการณ์โรคระบาด วิกฤตเศรษฐกิจตกตา่ วิกฤตความขัดแย้งทางสงั คมการเมือง

86

สรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เราที่การปรับตัวเองก่อน โดย
มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างฐานการพ่ึงตนเองตามหลัก 4 พอ หรือเปรียบเสมือนบ้านที่ต้องมีเสาอย่างน้อย 4 เสา
เพ่อื เปน็ รากฐานของชีวิตให้ม่นั คง ซึ่งรากฐานของมนุษย์ไม่ตอ้ งการอะไรมาก นัน่ กค็ อื

หนึง่ “พอกนิ ” ตอ้ งการของกิน มขี ้าวปลาอาหารเพียงพอ หมู เหด็ เป็ด ไก่ ในชมุ ชนมี
ความอุดมสมบูรณ์ บรรพบุรุษเราเพาะปลูกมาตั้งแต่อดีต มีหน้าท่ีทาการกสิกรรม เพราะต้องสร้างอาหารให้กับ
มนุษย์ทัง้ โลก ดังน้ันเสาหลักแรกคือการทาเพือ่ ใหเ้ ราอยรู่ อด

สอง “พอใช้” ต้องมีการอุปโภค มีของใช้ท่ีจาเป็น เป็นปัจจัยเสริมสาหรับมนุษย์ เช่น
สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม น้ายาล้านจาน แต่ถ้ามองในบริบทของเกษตรกร ก็คือ ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ฮอร์โมน
สารสกัดจากสมนุ ไพร

สาม “พออยู่” ต้องมีที่อยู่อาศัย มีผืนแผ่นดินเพ่ือใช้ทามาหากิน มีท่ีดิน เป็นของ
ตนเอง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ปลูกพืชก็เจริญงอกงาม กินผลไม้แล้วหว่านเมล็ดลงไปในดิน แล้วมันสามารถ
งอกขึ้นเป็นต้นกลา้ และเติบโตเปน็ ตน้ ไมใ้ หญ่ที่ใหผ้ ลผลติ ได้

สี่ “พอร่มเยน็ " ต้องมสี ภาพแวดลอ้ มทดี่ ี มีอากาศทีบ่ รสิ ุทธ์ิ มตี ้นไม้ใหญ่ ให้รม่ เงาและ
พักผอ่ นอย่างมีความสุข

เม่ือสร้างรากฐานท่ีมั่นคงแลว้ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถก้าวหน้าได้ แต่ไม่ใช่การก้าวหน้าตาม
ทุนนิยมของชาติตะวันตก แต่การท่ีจะก้าวหน้าได้ สิ่งแรก คือ ด้านจิตวิญญาณ ทาให้เราต้องเน้นไปที่บันไดขั้น
ต่อไป นัน่ ก็คือ

ห้า “บุญ” ต้องมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ต้องกลับมาเลี้ยงดูท่านยามแก่เฒ่า และต้อง
ตอบแทนคณุ แผน่ ดิน โดยการฟ้ืนฟแู ผ่นดินให้กลับมามีความอุดมสมบรู ณ์อกี ครงั้

หก “ทาน” ต้องรู้จักการให้ รู้จักการแบ่งปันชว่ ยเหลือผู้อื่น มีผลผลิตท่ีไดจ้ ากในแปลง
ของตนเอง อันดับแรกต้องแบ่งปันให้เพ่ือนบ้านและสมาชิกก่อนท่ีจะขาย ใช้วิธีคิดที่เรียกว่า “ยิ่งทายิ่งได้ ย่ิงให้
ยิง่ มี ยิง่ ใหไ้ ปย่งิ ไดม้ า” เป็นหวั ใจสาคญั ของปรชั ญาความพอเพยี ง

เจ็ด “เก็บรักษา” หลังจากทาบุญทาทานแล้ว ต้องรู้จักเก็บไว้ใช้ภายในครอบครัว
ตนเองด้วย รู้จักการพ่ึงพาตนเองให้ได้มากท่ีสุด ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ใช้ชีวิต ที่ไม่ประมาท ในข้ันน้ี
คือ การคัดเลือกเก็บเมลด็ พันธุ์ การเก็บผลผลิตไว้ในยุ้งฉาง การแปรรูปเพื่อถนอมอาหาร เพ่ือไว้ใช้ในยามวิกฤต
หรอื ภยั พบิ ตั ิ เชน่ ขา้ วกลอ้ ง ปลาร้า ปลาแหง้ พรกิ แห้ง นา้ ปลา

แปด “ขาย” หรือท่ีเรียกว่าการสร้างธุรกิจยั่งยืน ทาภายใต้การรู้จักตนเอง ไม่ลงทุน
มากหลายอย่างพร้อมกนั รจู้ ักพอประมาณและทาไปตามลาดบั ขน้ั ตอนทีว่ างแผนไว้ ทาธรุ กิจท่ไี ม่มุ่งหวังไปที่ตัว
เงินเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งไปที่การเก้ือกูลกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้และแบ่งปันกัน ตามแก่นของความพอเพียงที่
เรยี กวา่ “ขาดทุนของเรา คือกาไรของเรา”

เก้า “เครือข่าย” สร้างให้เกิดการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายให้กว้างขึ้น ซึ่งการท่ีได้เข้า
ฝึกอบรมจากศูนย์ฝึกกสิกรรมธรรมชาติ ทาให้มีเพ่ือนเพ่ิมมากข้ึน สามารถขยายความร่วมมือ ความช่วยเหลือ

87

และการแบ่งปันกัน จากหลายกลุ่มหลายฝ่ายท่ีทางาน เพ่ือสร้างให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันและเก้ือกูลกันที่
ย่งั ยืน ปจั จุบนั มกี ารรวมกลมุ่ สมาชิกท่ีทางานกนั

2.2 การขับเคลื่อนกิจกรรมเอาม้ือสามัคคี
จากการศึกษาแบบบันทึกการสนทนากลุ่มของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติ
คริสตจักรนาเรียง และผู้นาชุมชน อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จานวน 15 คน โดยกิจกรรรมของชุมชนที่
เรียกว่า เอามื้อสามัคคี เกิดขึ้นจากการที่มีกลุ่มคนรุ่นแรกของชุมชนที่เข้าไปฝึกอบรมในหลักสูตรการพัฒนา
กสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ หลังจากกลับจากการฝึกอบรมได้มีบุคคล
ต้นแบบ นั่นก็คือ นายแสวง ศรีธรรมบุตร ปราชญ์ชุมชน ได้ลงมือปฏิบัติในพื้นที่แปลงของตนเอง และสร้าง
ตวั อยา่ งในการน้อมนาแนวพระราชดาริ หลกั ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จนทาใหม้ ีการพัฒนา
และบริหารจัดการพ้ืนท่ีของชุมชนคริสตจักรนาเรียง ให้มีความมั่นคงทางอาหารได้ ซึ่งคณะวิจัยแบ่งการอธบิ าย
การขบั เคลือ่ นงานของชมุ ชน ดงั นี้

2.2.1 จดุ กาเนดิ ของการพฒั นาพืน้ ที่
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง มีแนวคิดจากความต้องการ
ใช้หลักการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคศาสนา และภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงาน
ศาสตร์พระราชา ผ่านการจัดกระบวนการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
โดยใช้ทฤษฎีใหม่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคาสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9
ผนวกเข้ากับหลักคาสอนของพระศาสดา ซึ่งมีความสอดคล้องตรงกันทุกศาสนา ในศาสนาคริสต์มีความเช่ือว่า
พระเจ้าสร้างสวนเอเดนขึ้นมา ให้มีอาหารการกิน มีของใช้มากมาย มีทุกอย่าง แต่ว่ามนุษย์มีสิทธ์ิกินผลไม้ทุก
อยา่ ง ยกเวน้ ส่ิงที่ควรสานึกรูผ้ ิดชอบช่ัวดี กนิ แล้วจะตาย มนษุ ย์มีหน้าทร่ี ักษาสวนเอเดนของพระเจ้า ฟนื้ ฟูสวน
เอเดนที่พระเจ้าทรงสร้างไว้ให้ เมื่อฟื้นฟูสวนเอเดนข้ึนมา ทุกคนก็จะมีอาหารการกิน มีชีวิตที่สุขสงบน่ันเอง
ดังน้ันพ่ีน้องชาวคริสตจักรจึงยึดถือคาสอนของพระศาสดา นาหลักปฏิบัติของชาวคริสตจักรมาเชื่อมโยงสู่
การปฏิบตั ิตนตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง จึงทาใหเ้ รามีชวี ติ ทีส่ งบสุขได้
ชุมชนคริสตจักรนาเรียง สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในเขตพ้ืนที่บ้านนางาม ตาบลตาดทอง
อาเภอศรธี าตุ จงั หวัดอุดรธานี ส่วนใหญป่ ระกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพพ้ืนท่ีเปน็ ดนิ หินลูกรัง หรอื ทเ่ี รียกว่า
โคกหนิ แห่ ยังคงมีป่าไม้ของชุมชนหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ชว่ งฤดูแล้งไม่มีนา้ เพียงพอต่อการทาการเกษตร ดนิ ขาด
ความชุ่มช้ืน เกษตรกรส่วนใหญ่ทาไร่มันสาปะหลัง ไร่อ้อย ปลูกข้าว และมีสวนยางพารา ถือว่าเป็นพื้นท่ีที่ทา
เกษตรเชิงเด่ียว จึงทาให้รายได้ของเกษตรกรต้องขึ้นอยู่กับการกาหนดราคาของผลผลิตทางการเกษตร และมี
โรงงานแป้งมันสาปะหลังเขา้ มาก่อตั้งอยู่ใกล้กับชุมชน ทาใหเ้ ขา้ มาส่งเสริมให้ประชาชนหันมาทาไร่มันสาปะหลัง
มากขึ้น ทาให้ชุมชนเร่ิมสูญเสียแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ไปมาก ในอดีตบ้านนางามเคยได้รับรางวัลหมู่บ้าน
เศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด จัดอยู่ในหมู่บ้านระดับมั่งมีศรีสุข เนื่องจากผู้นาชุมชนมีความเข้มแข็ง พัฒนา
หมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนสามารถประกอบอาชีพ มีงานมีรายได้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาในการพัฒนา
ชมุ ชน รวมทั้งครสิ ตจกั รนาเรียง ตัง้ อย่ใู นเขตพืน้ ท่ขี องบ้านนางาม ทาให้เปน็ ศนู ยร์ วมทางจติ ใจของประชาชนใน
ชุมชนและพื้นท่ีใกล้เคียง และในปี พ.ศ. 2558 สภาคริสตจักรได้คัดเลือกสมาชิกชุมชนเข้าไปฝึกอบรมท่ีศูนย์

88
กสิกรรมธรรมชาติมาบเอ้ือง จากการอบรมในครั้งนั้น ทาให้สมาชิกได้รับความรู้การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบ
เศรษฐกิจพอเพียง หลังจากการฝึกอบรมได้รับการติดตามและสนับสนุนจากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และมี
สมาชิกเข้าร่วมโครงการประมาณ 60 ครอบครัว ซ่ึงหนึ่งในน้ัน คือ นายแสวง ศรีธรรมบุตร ที่ปัจจุบันทาหน้าที่
เปน็ ปราชญป์ ระจาศูนย์เรยี นรู้

ภาพที่ 8 แสดงถึงพธิ เี ปิดศนู ย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรยี ์วิถไี ทยครสิ ตจักรนาเรียง
จนกระท่ังในปี พ.ศ. 2561 ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ มีการขับเคลื่อนงานในรูปแบบของ

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง มีการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนา
กสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนท่ีสนใจ เกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี จานวน 4 รุ่น มีผู้ผ่าน
การฝึกอบรมท้ังส้ิน 380 คน ทาให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนาองค์ความรู้ตามแนวพระราชดาริทฤษฎีใหม่ไป
ปรับใช้ในการพัฒนาพ้ืนท่ีตนเองได้ ถือได้ว่าเป็นการสร้างเครือข่ายท่ีกว้างขวางข้ึน ทาให้ในเวลาต่อมาได้มีการ
ดาเนนิ กิจกรรมของคริสตจกั รรว่ มกบั สมาชกิ เครอื ขา่ ยกสกิ รรมธรรมชาติมาอย่างต่อเน่ือง รวมท้งั ชุมชนและส่วน
ราชการก็ได้เข้ามามีส่วนรว่ มสาคัญใน การพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดาริ โคก หนอง นา โมเดล ยกตัวอย่าง
เม่ือปี พ.ศ. 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กาหนดจัดงานวันดินโลกขึ้นที่คริสตจักรนาเรียง และในปี
พ.ศ. 2563 มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้มาจัดงานวันดินโลกของสมาชิกเครือข่ายกสกิ รรมธรรมชาติทั่วประเทศ
ขนึ้ ท่ีคริสตจกั รนาเรยี งดว้ ยเช่นกัน ทงั้ หมดน้ีเป็นภาพทสี่ ะท้อนให้เหน็ ถึงพลงั ของ “ค ร บ” นัน่ เอง

ภาพที่ 9 แสดงถึงกิจกรรมวนั ดนิ โลกของชุมชนกสิกรรมธรรมชาตคิ ริสตจักรนาเรียง

89

2.2.2 หลักการบรหิ ารจดั การพื้นท่ี โคก หนอง นา โมเดล
หลักการสาคัญของการออกแบบพื้นที่ตามภูมิสังคม คือ สมาชิกกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติจะต้อง
กลับไปบริหารจัดการพ้ืนท่ีของตนเองเสียก่อน ดูความลาดเอียง ความลาดชันของพื้นที่ ทิศทางดิน น้า ลม ไฟ
ตามแนวพระราชดาริทฤษฎีใหม่ ท่ีอาจารย์ยักษ์ได้ถ่ายทอดมาน้ัน คือ เราจะทาอย่างไรให้น้าไหลออกจากพ้ืนที่
เราให้ช้าท่ีสุด และน้าจะไม่ท่วมในพ้ืนที่เราด้วย” วิธีการก็คือ เราต้องขุดคลองให้มีความขดเคี้ยว มีคลองไส้ไก่
หลุมขนมครก และมีสันแข็งหรือฝายชะลอน้าตลอดแนวคลองไส้ไก่ รวมท้ังต้องมีหนองเพ่ือกักเก็บน้าในพื้นที่
แปลงของเราด้วย แต่การที่จะออกแบบได้น้ัน เราจะต้องดูความเหมาะสมของสภาพพ้ืนที่และภูมิสังคม ต้อง
คานึงถึงประโยชนส์ ูงสดุ และเมือ่ ทาแล้วจะต้องไม่สร้างผลกระทบต่อพืน้ ทแ่ี ปลงของเพื่อนบา้ นดว้ ย
จุดเริม่ ตน้ กอ่ นทีจ่ ะมาเปน็ พน้ื ที่ โคก หนอง นา โมเดล ของนายแสวง ศรีธรรมบตุ ร คือ บังเอิญ
ได้รู้จักผู้รับเหมาท่ีมีรถขุดและกาลังหาที่ดิน เพื่อจะเอาดินไปทาการถมที่ จึงขอให้เขามาทาการขุดดินไป แต่มี
ข้อแลกเปลี่ยน คือ ต้องขุดเอาดินออกแล้วทาให้ได้เป็นรูปสระ รูปหนองน้า สามารถกักเก็บน้าได้ หลังจากเวลา
ผ่านไปไม่นาน พื้นที่เริ่มมีแหล่งกักเก็บน้า สามารถปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ผล กล้วย มะละกอ เริ่มออก
ผลผลิต เป็นแหล่งอาหารให้กับครอบครัวของได้ จนเพ่ือนบ้านท่ีเคยดูถูกว่าทาไม่ได้ผลจริง เร่ิมเช่ือและเข้ามา
เรียนรู้ และก็ได้แบ่งปันผลผลิตให้เพ่ือนบ้านอีกด้วย จนกระทั่งทางอาจารย์ยักษ์ อาจารย์โก้ และทีมงาน
เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ได้เข้ามาเยี่ยมผู้ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอ้ือง ที่กลุ่ม
ครสิ ตจกั รนาเรยี ง อาเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี และไดม้ าเยี่ยมที่ไร่ พรอ้ มทงั้ ใหค้ าแนะนาและมีความประสงค์
ที่จะช่วยกันพัฒนาพ้ืนท่ีของให้เป็นจุดตัวอย่างของภาคอีสาน เพราะว่าถ้าเราพัฒนาพื้นที่ของไร่ให้ประสบ
ความสาเร็จได้ แปลงอื่นในภาคอีสานก็จะทาได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ของเป็นพื้นท่ีดินเส่ือมคุณภาพ หน้า
ดินถูกขุดออกไปหมดแล้ว และดินเป็นหินลูกรัง ปลูกพืชให้เจริญเติบโตได้ยากพอสมควร และที่สาคัญอาจารย์
ยักษ์มองเห็นความพยายามของท่ีได้ลงมือทาดว้ ยตนเองอย่างจริงจัง จนสามารถยกระดับให้พ้ืนที่ของตนเองเริ่ม
ปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ จึงมีแนวความคิดที่จะใช้พ้ืนที่ของ และคริสตจักรนาเรียง เข้าร่วมโครงการ “พลังคน
สรา้ งสรรคโ์ ลก รวมพลังตามรอยพอ่ ของแผน่ ดิน” ด้วยความรว่ มมือจากบรษิ ทั เชฟรอนประเทศไทยสารวจและ
ผลิต จากัด สถาบนั เศรษฐกิจพอเพียง และมูลนธิ กิ สกิ รรมธรรมชาติ
พน้ื ท่ขี องนายแสวง ศรีธรรมบุตร จงึ เรม่ิ ถกู ออกแบบด้วยแนวคิด โคก หนอง นา โมเดล ขนึ้ ซึง่
หากจะเปรยี บเทียบกับแนวพระราชดาริทฤษฎีใหม่นั้น จะเป็นไปตามหลักการทวี่ า่

“จากนภา ผ่านภผู า สู่มหานท”ี
เน่ืองจากสภาพพ้ืนท่ีมีความลาดเอียงตามภูมิประเทศ และที่เกิดจากการขุดเอาหนา้ ดินออกไป
สภาพดินบางแห่งมีกองดินเหมือนภูเขาขนาดใหญ่ การออกแบบพื้นที่แปลงของ จึงได้นาเอาศาสตร์พระราชา
ทฤษฎีใหม่ท่ีมีกว่า 40 ทฤษฎีมาปรับใช้ และวางรูปแบบพ้ืนท่ีให้เหมาะสมกับภูมิสังคม เริ่มจากพ้ืนท่ีด้านบนให้
เป็นป่าไม้สร้างความชุมชื้นและดูดซับน้าลงใต้ดิน มีการสร้างฝายชะลอน้าตามแนวคลองไส้ไก่ การขุดหลุม
ขนมครกเพื่อดักตะกอนน้า ปลูกแฝกป้องการพังทลายของหน้าดิน และทฤษฎกี ารแกลง้ ดนิ การห่มดิน บารงุ ดิน
เพื่อให้ดินมคี ุณภาพและปลกู พชื ผกั ได้

90

เมอื่ มตี ัวอยา่ งความสาเรจ็ ท่ีเกดิ ข้ึนในชมุ ชนแล้ว จากน้ันสมาชกิ ในชมุ ชนบางครัวเรือนเริ่มมีการ
ปรับเปล่ียนพื้นท่ีตนเอง โดยใช้การบริหารจัดการน้าตามแนวพระราชดาริทฤษฎีใหม่ เกิดจากการพัฒนาพ้ืนท่ี
ชลประทานในลุ่มแมน่ ้าป่าสัก เปน็ ทฤษฎีใหมท่ ่ีสมบรู ณ์ ที่เรียกว่า อ่างใหญห่ รอื เขื่อนป่าสกั เตมิ อา่ งเลก็ หรืออ่าง
เก็บน้าหว้ ยหนิ ขาว อา่ งเล็กแต่สระน้าหรอื หนองนา้ ที่อยใู่ นพื้นที่ของเกษตรกร มีแนวคิดในการกักเกบ็ นา้ ให้ได้ทั้ง
3 ระดับ ซึ่งจะสามารถเก็บกักน้าได้มากกว่าเดิมถึง 5 เท่า แต่เกษตรกรจะต้องยอมลดท่ีนาของตนเองลงไป
ประมาณ 30% ก็จะมีแหล่งน้าไว้ใช้ประจาพ้ืนท่ีของตนเอง จึงถือว่าเป็นต้นกาเนิดของโมเดลท่ีเรียกว่า โคก
หนอง นา ที่ต้องการใช้ภาษาให้ชาวบ้านเข้าใจมากที่สุด โดยมีหลักการท่ีว่า การสร้างหลุมขนมครก เมื่อ
เกษตรกรได้สร้างให้เกิดหลุมขนมครกในพื้นที่ของตนเอง เม่ือนาไปรวมในภาพท่ีใหญ่ขึ้นในระดับชุมชน ตาบล
อาเภอ และจังหวัด ก็จะเป็นถาดขนมครกขนาดใหญ่ ท่ีสามารถบริหารจัดการน้าได้ โดยในอนาคตเราไม่
จาเป็นต้องสรา้ งเขื่อนขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณลงทุนจานวนมหาศาล แต่สามารถให้ประชาชนชว่ ยกันบรหิ าร
จดั การน้าในพื้นทข่ี องตนเองได้ ดงั นัน้ โคก หนอง นา โมเดล ก็มีที่มาจากบรรพบุรุษของเราในอดีตไดท้ ามาแล้ว
คือ มีคลองไส้ไก่ เพอื่ กระจายน้าและเลี้ยงปลา มีหวั คนั นาที่กว้าง เพราะจะไดป้ ลูกพริก มะเขอื กลว้ ย บนคนั นา
สูงและใหญ่ พอน้าหลากมามันก็ไม่ท่วม ไม่เสียหาย ต้นไม้ปลูกบนคันนาก็ไม่ตาย เราจึงเรียกว่า คันนาทองคา
เพราะมันมีผลผลิตม่ังคั่งย่ิงกว่าทองคา ทาให้ในนาข้าวเราก็จะมีปลาด้วย เพราะคันนาใหญ่จะเก็บน้าได้เยอะ
น้าสูงลึก ปลาก็จะมาอาศัยอยู่และวางไข่ได้ คนโบราณเราจึงไม่ต้องเล้ียงปลา เพราะปลามันจะเข้ามาอาศัยอยู่
ไดเ้ อง ส่งผลให้ขา้ วได้ผลผลิตดี เมลด็ ใหญ่ เพราะได้ปยุ๋ ธรรมชาตจิ ากข้ปี ลา มกี ุ้ง หอย ปู มีน้าขงั หญ้ากไ็ มข่ ึ้นใน
นาข้าว ก็จะช่วยให้ประหยัดไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยก็ไม่ต้องใส่ มันก็เป็นธรรมชาติ บรรพบุรุษของ
เราก็อยมู่ าแบบน้นี บั พันปี

การประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่ โคก หนอง นา โมเดล แบบชาวบ้าน วิธีท่ีต้องทาคร้ังแรก คือ ต้อง
สารวจพ้ืนท่ี ที่ดิน สภาพดินอยู่ในลักษณะท่ีตื้น ลึก ขนาดไหน ปริมาณน้าฝนที่ตกแต่ละปีเท่าไร รอบข้างแปลง
ของเรามีทรัพยากรอะไรบ้าง ทิศทางลมและแสงแดดมาจากฝั่งไหน ศึกษาภูมิสังคม ดิน น้า ลม ไฟ เราต้อง
เข้าใจสังคมของเจ้าของแปลงหรือตัวเองก่อน เมื่อได้ข้อมูลที่อย่างแล้วให้นามาคานวนภายใต้เงื่อนไขของ
ปริมาณน้าท่ีจะได้ในพ้ืนที่แปลงของเราเสียก่อน จะกักเก็บน้าด้วยวิธีไหนบ้าง เช่น ขุดหนอง หนองจะต้องลึก
กี่เมตร ต้องใช้พื้นที่เท่าไร และขุดคลองยาวเท่าไร หรือใช้ระบบดึงน้าเก็บใต้ดิน ด้วยระบบรากของต้นไม้ใหญ่
ที่ปลูกไว้บนโคกหรือในป่า และเก็บน้าผ่านระบบรากของแฝก จากนั้นก็ออกแบบพ้ืนที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และ
ยุ้งข้าวที่เก็บเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ สิ่งเหล่าน้ีเราต้องออกแบบให้ดี จากน้ันค่อยลงมือทา ตามสิ่งท่ีเราออกแบบไว้
ลว่ งหนา้ แล้ว

โคก หนอง นา โมเดล เปน็ ศูนย์รวมของการประยุกตใ์ ช้หลักทฤษฎใี หม่ทีม่ กี ว่า 40 ทฤษฎี หนงึ่
ในน้ัน คือ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง หรอื การปลกู ปา่ 5 ระดบั ทอ่ี ย่บู นพน้ื ทีโ่ คกหรือปา่ ซง่ึ มีความสาคัญ
ในการเก็บกกั น้า มีระบบรากอย่างน้อย 5 ระดบั คือ

- ไมช้ ัน้ สงู เชน่ ตะเคยี น ยางนา มรี ะบบรากลึกลงไปประมาณ 30-40 เมตร
- ไม้ชั้นกลาง เชน่ มะมว่ ง น้อยหน่า ขนุน มรี ะบบรากลงไป 20-30 เมตร
- ไมช้ ้ันเตีย้ เช่น พริก กะเพรา โหระพา มีระบบรากลึงลงไป 10-20 เมตร

91
- ไม้เรย่ี ดนิ เช่น แตงโม ฟกั ทอง แตงไทย มีระบบรากลึกลงไป 2-10 เมตร
- ไม้ใตด้ นิ เช่น เผือก มนั กลอย มรี ะบบรากลึกลงไป 1-2 เมตร
ถ้ามรี ะบบรากครบท้งั 5 ชดุ นี้ เราจะมฟี องน้าท่ีเก็บน้าตงั้ แตผ่ วิ ดินลงลกึ ไปในดินได้ถึงเกือบ 40
เมตร ดังน้ันการสรา้ ง โคก คือ เราต้องการให้เกิดเปน็ ปา่ ที่จะทาใหเ้ ราเก็บน้าไว้ใตด้ ินด้วย และจะช่วยสร้างเป็น
แหล่งอาหารได้อีกด้วย เราจึงเน้นท่ีจะทาการฟื้นป่าให้ได้ก่อน แต่ก็ต้องใช้เวลาด้วย เมื่อเราฟ้ืนป่าได้แล้ว
เปรียบเสมือนเรามีป่าต้นน้า จากนั้นการขุดคลองไส้ไก่ ขุดหนองจึงเกิดขึ้น และน้าที่เก็บไว้บนโคก มันจะดึงน้า
มาใช้ในชว่ งฤดแู ล้งไดเ้ อง โดยไมต่ ้องใชร้ ะบบสูบน้าใตด้ ินก็ได้ สว่ นหนองหรือแหลง่ นา้ เราขดุ เพ่อื ไวใ้ ช้ในฤดูแล้ง
มีคลองไส้ไก่ที่ช่วยกระจายความชุ่มชื้นลงสู่ดินและคดเค้ียวรอบพื้นท่ีแปลงอย่างทั่วถึงกัน ขนาดความลึกขึ้นอยู่
ตามความเหมาะสมของพ้ืนท่ี และส่วนสุดท้ายคือนาข้าว ในท่ีนี้หมายความถึงการทาแปลงผักสวนครัว และมี
คลองไสไ้ ก่เลก็ ๆ กระจายให้รอบแปลงและรอบนาขา้ ว เพอื่ ทาให้มคี วามช่มุ ช้นื ตลอดทัง้ ปี
ดังน้ันจะเห็นได้ว่า ในพื้นที่แปลง โคก หนอง นา ของชุมชนกสิกรรมธรรมชาติคริสตจักรนาเรียง ได้ถูก
ออกแบบมาเป็นอย่างดี ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งการเข้ามาสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสนับสนุนงบประมาณในการขุดคลองประชารัฐ ส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้ามาขุดหนอง และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เปล่ียนจากพ้ืนท่ีท่ีเคยแห้งแล้ง
ดนิ ไมม่ ีความอดุ มสมบรู ณ์ กลับฟนื้ กลายเปน็ แหล่งอาหารที่สาคญั

ภาพที่ 10 แสดงถึงการออกแบบพนื้ ที่แปลงของนายแสวง ศรธี รรมบุตร ตามหลักภูมสิ งั คม


Click to View FlipBook Version