รายงานวิจยั
เรอ่ื ง
การศกึ ษาประสทิ ธภิ าพการผลิตนำ้ ผึง้ โพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทบั สะแก
(ส่ิงบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : GI) กลมุ่ แปลงใหญม่ ะพร้าว จังหวดั ประจวบครี ีขนั ธ์
The Efficiency of Honey Production of Eastern Honey Bee (Apis cerana)
from Thap Sakae Coconut (Thai Geographical Indication)
in Coconut Mega Farms Project in Prachuap Khiri Khan Province, Thailand
โดย
นายสันติ แก่อนิ ทร์ นกั วิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบตั กิ าร
นายกรี ติ อุสาหวงษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏบิ ตั ิการ
นางสาวสุนนั ทา กำเหนดิ โทน นกั วชิ าการสง่ เสรมิ การเกษตรปฏิบัตกิ าร
นางสาวชนัญพร หิรญั เรอื ง นกั วิชาการสง่ เสรมิ การเกษตรชำนาญการ
ศนู ย์สง่ เสริมเทคโนโลยีการเกษตรดา้ นแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชมุ พร
สำนกั งานสง่ เสริมและพฒั นาการเกษตรท่ี 5 จังหวัดสงขลา
กรมสง่ เสริมการเกษตร
พ.ศ. 2564
ทะเบยี นวิจัยเลขที่.6..3..-..0..0..5..0..1.6-01-0012
รายงานวจิ ยั
เร่ือง
การศกึ ษาประสิทธิภาพการผลิตนำ้ ผึง้ โพรงไทย (Apis cerana) ในมะพรา้ วทับสะแก
(สิง่ บง่ ช้ีทางภูมิศาสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญม่ ะพรา้ ว จังหวดั ประจวบคีรขี ันธ์
The Efficiency of Honey Production of Eastern Honey Bee (Apis cerana)
from Thap Sakae Coconut (Thai Geographical Indication)
in Coconut Mega Farms Project in Prachuap Khiri Khan Province, Thailand
โดย
นายสันติ แก่อนิ ทร์ นกั วิชาการส่งเสรมิ การเกษตรปฏบิ ตั กิ าร
นายกรี ติ อุสาหวงษ์ นกั วิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบตั กิ าร
นางสาวสุนนั ทา กำเหนิดโทน นกั วชิ าการสง่ เสรมิ การเกษตรปฏิบัติการ
นางสาวชนญั พร หิรัญเรอื ง นกั วชิ าการส่งเสรมิ การเกษตรชำนาญการ
ศูนยส์ ่งเสรมิ เทคโนโลยีการเกษตรดา้ นแมลงเศรษฐกจิ จงั หวัดชมุ พร
สำนักงานสง่ เสริมและพฒั นาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา
กรมสง่ เสริมการเกษตร
พ.ศ. 2564
บทคดั ย่อ
กกกกกกกกกกกกการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทับสะแก
(สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ปริมาณผลผลิตและคุณลักษณะของน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จังหวัด
ประจวบครี ีขนั ธ์ โดยศึกษาปริมาณผลผลิตนำ้ ผึ้งโพรงไทย จากการนำรงั เล้ยี งผ้ึงโพรงไทยที่ผ่านการบังคับ
ผึง้ เขา้ คอนไปตั้งเล้ียงในพ้นื ทแ่ี ปลงปลูกมะพรา้ ว กลุม่ แปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน
จงั หวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่ีมสี ภาพพ้ืนท่ตี ัง้ รงั ผงึ้ แตกต่างกนั อำเภอละ 2 แปลง รวมจำนวนทง้ั สิ้น 4 แปลง
เป็นระยะเวลา 30 วัน จงึ เกบ็ ผลผลิตและบันทึกผลน้ำหนกั ของรังผึ้งทงั้ หมด น้ำหนักหวั น้ำหวานของรวงผง้ึ
และปริมาณน้ำผึ้งบริสุทธ์ิ จากนั้นสุ่มคัดเลือกตัวอย่างน้ำผึ้งบริสุทธ์ิที่ผลิตได้จากทั้ง 4 แปลง แปลงละ
3 ตัวอย่าง รวมจำนวนท้ังส้นิ 12 ตัวอย่าง และศกึ ษาคุณลักษณะของน้ำผ้ึงโพรงไทย จากความเป็นกรดด่าง
ความหวาน ความชื้น ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ปริมาณน้ำตาลกลูโคส ปริมาณน้ำตาลฟรักโทส ปริมาณ
น้ำตาลแล็กโทส ปริมาณน้ำตาลมอลโทส และปริมาณน้ำตาลซูโครส สารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรอล
ปรมิ าณเชอ้ื Staphylococcus aureus และเชอื้ Salmonella spp.
กกกกกกกกกกกกผลการศึกษาพบว่าปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งโพรงไทยทั้งหมดที่ประกอบด้วย น้ำหนักของ
รังผึง้ ท้งั หมด นำ้ หนกั หวั นำ้ หวานของรวงผ้ึง และปริมาณนำ้ ผง้ึ บริสุทธ์ิ แตกตา่ งอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 โดยปริมาณน้ำผึ้งบริสุทธิ์ที่ผลิตได้ในพื้นที่ตั้งรังผึ้งแปลงที่ 4 อำเภอบางสะพาน จังหวัด
ประจวบคีรีขนั ธ์ มคี ่าเฉล่ียสูงสดุ เท่ากับ 580.20 ± 23.370 กรมั ตอ่ รงั และคุณลกั ษณะของน้ำผ้ึงโพรงไทย
ทกุ ตัวอยา่ งผา่ นตามเกณฑม์ าตรฐานสนิ คา้ เกษตร น้ำผ้ึง พ.ศ. 2556 ในด้านคณุ ภาพและสขุ ลักษณะ อกี ทัง้
เปน็ ไปตามลกั ษณะพน้ื ฐานของน้ำผ้ึง ยกเว้นปรมิ าณความชนื้ เฉล่ียที่สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน และความหวานเฉลี่ย
แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย
(Apis cerana) ในพื้นที่ปลูกมะพร้าวทับสะแก ในด้านปริมาณผลผลิตควรพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม
ในการเลี้ยงผึง้ ใหม้ พี ื้นท่ีร่มร่นื ไม่โลง่ แจง้ และต้นมะพรา้ วไมค่ วรสงู เกนิ ไป มีแหลง่ อาหารหลักและเสริมแก่ผ้ึง
อยู่ในปริมาณท่เี พียงพอ เช่น การปลูกมะพร้าวเสรมิ ในพ้ืนที่ เพือ่ ใหม้ ะพร้าวเกิดช่อดอกหรือจ่ันหมุนเวียน
อยเู่ สมอ การปลกู พชื เสรมิ ให้เปน็ แหล่งอาหารของผึง้ และควรมีแหล่งน้ำใกล้เคียงในพนื้ ท่ี รวมถึงการเล้ียงผ้ึง
ในช่วงฤดกู าลทเี่ หมาะสม และการปรบั ปรงุ ในดา้ นคุณลักษณะของน้ำผ้ึงโพรงไทย ท่มี ีปรมิ าณความช้ืนสูง
เกนิ เกณฑม์ าตรฐานสามารถปฏิบตั ไิ ด้ โดยการคัดเลือกเฉพาะรวงผ้ึงที่ปิดฝาหลอดรวงสนิททัง้ หมดสำหรับ
การผลติ นำ้ ผง้ึ บริสุทธ์ิ และการบ่มไลค่ วามช้ืน เพ่ือใหไ้ ดน้ ำ้ ผึง้ มะพรา้ วท่มี คี ณุ ภาพและตรงตามมาตรฐาน
คำนำ
กกกกกกกกกกกกศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร เล็งเห็นถึง
ความสำคญั ถงึ บทบาท ภารกิจของศูนย์ปฏิบตั ิการในการสนับสนุนขอ้ มูลทางวิชาการและนวัตกรรมใหม่ๆ
ถ่ายทอดใหเ้ จ้าหนา้ ทจี่ งั หวัดและอำเภอ เกษตรกรแกนนำและเครือข่าย เพ่อื นำไปถ่ายทอดต่อแกเ่ กษตรกร
ให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่รับผิดชอบ และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร สามารถ
ยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น นำไปพัฒนาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมสร้าง
รายไดใ้ หแ้ ก่ตนเองและครอบครัวอยา่ งย่ังยืนต่อไปได้ ซง่ึ ในปีงบประมาณ 2563 ศูนยจ์ ดั ทำโครงการศึกษา
ทดสอบเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทับสะแก
(สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญม่ ะพรา้ ว จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์” ดำเนินการศึกษา ทดสอบ
และใช้จ่ายงบประมาณจากงบดำเนินงานแผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ผลผลติ เกษตรกรไดร้ บั การส่งเสรมิ และพัฒนาศกั ยภาพ กจิ กรรมการพฒั นาเกษตรกร ถ่ายทอดความรู้และ
เทคโนโลยีทางการเกษตร โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางการเกษตร การศึกษาทดสอบด้าน
การเกษตรเพื่อตอบสนองความต้องการในพื้นที่ เพื่อทราบถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ ในการผลิต
น้ำผึ้งโพรงไทยในสวนมะพร้าว และคุณลักษณะของน้ำผึ้งโพรงไทยที่ผลิตได้ อีกทั้งเป็นการสร้างสินค้า
ชนิดใหม่ จากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากเดมิ ประกอบกับการเห็น
คณุ คา่ ของผึ้งและแมลงทเ่ี ปน็ ประโยชนใ์ นทอ้ งถน่ิ ให้คงอยคู่ กู่ ับสวนมะพร้าว จังหวัดประจวบครี ีขนั ธ์
กกกกกกกกกกกกศนู ย์สง่ เสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกจิ จงั หวัดชมุ พร หวังเป็นอยา่ งยิ่งว่า
การศึกษาวิจัยในปีงบประมาณ 2563 นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้สนใจ ให้ทราบถึงข้อมูล
แท้จริงจากการผลิตน้ำผงึ้ มะพรา้ วทับสะแก รวมถงึ เปน็ ประโยชนใ์ นการพฒั นาตอ่ ยอดนำ้ ผึ้งให้ได้คุณภาพ
ตามมาตรฐานต่อไป
คณะผดู้ ำเนินการวจิ ัยฯ
ศนู ย์ส่งเสรมิ เทคโนโลยกี ารเกษตรด้านแมลงเศรษฐกจิ จงั หวัดชมุ พร
มถิ นุ ายน 2564
กติ ตกิ รรมประกาศ
กกกกกกกกกกกกการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทับสะแก
(สิ่งบ่งชี้ทางภูมศิ าสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จังหวัดประจวบครี ขี ันธ์ ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงด้วยการ
สนับสนุนจาก นายสุวิทย์ ดำแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ
จังหวดั ชมุ พร ที่ปรกึ ษาโครงการฯ ท่ีให้คำปรกึ ษาในทกุ ขั้นตอนจนโครงการนีส้ ำเรจ็ สมบรู ณ์
กกกกกกกกกกกกขอขอบคุณ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่สนับสนุน
งบประมาณในการดำเนินงานวิจัยประจำปี 2563 กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร และ
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ที่ให้คำแนะนำและชี้แนะจนงานวิจัยประสบ
ความสำเร็จ
กกกกกกกกกกกกขอขอบคุณ สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก สำนักงานเกษตรอำเภอบางสะพาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการประสานงานและอำนวยความสะดวกในการศึกษาวิจัย รวมถึงเอื้อเฟื้อ
สถานท่ี ในการดำเนินการศึกษาวจิ ยั
กกกกกกกกกกกกขอขอบคณุ นางสาวนิสานาถ มศี กั ดิ์ นายศกั ดา มศี ักด์ิ นายสวาท หิรัญวงศ์ นายยงยุทธ
สุขธนะ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน ที่เข้าร่วม
กระบวนการวจิ ยั จนประสบความสำเร็จ
กกกกกกกกกกกกขอขอบคุณ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริม
เทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ในการช่วยเหลือ
และส่งมอบกำลงั ใจใหก้ ารดำเนินการวจิ ัยเกิดผลสำเร็จลุลว่ งไปด้วยดี
กกกกกกกกกกกกสุดท้ายนี้คณะผู้ดำเนินการวิจัยฯ ขอมอบคุณค่าและประโยชน์ของงานวิจัยฉบับน้ี
เพ่อื เป็นประโยชนต์ ่อสาธารณชนตอ่ ไป
คณะผดู้ ำเนนิ การวิจยั ฯ
ศนู ย์สง่ เสริมเทคโนโลยกี ารเกษตรดา้ นแมลงเศรษฐกิจ จังหวดั ชมุ พร
มิถุนายน 2564
สารบัญ หน้า
(1)
บทคดั ยอ่ (2)
คำนำ (3)
กติ ตกิ รรมประกาศ (2)
สารบญั ตาราง (3)
สารบญั ภาพ
1
บทที่ 1 บทนำ 2
ความสำคญั และท่ีมาของปัญหา 3
วัตถุประสงคข์ องการวิจยั 3
ประโยชน์ทค่ี าดว่าจะไดร้ บั 4
ขอบเขตของการวิจยั
นิยามศพั ท์ 5
51
บทที่ 2 การตรวจเอกสารและผลงานวิจัยทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
การตรวจเอกสาร 55
ผลงานวิจยั ท่เี กี่ยวข้อง 55
57
บทที่ 3 วิธีการวิจยั 57
อุปกรณ์ 57
วิธีการ 60
การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล 65
การวเิ คราะห์ขอ้ มูล 75
ระยะเวลาการวิจัย 80
90
บทที่ 4 ผลการวจิ ัย
บทท่ี 5 สรุปและอภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
ประวัตผิ ูเ้ ขยี น
(2)
สารบัญตาราง
ตารางที่ หนา้
กก2.1 สว่ นประกอบมาตรฐานในนำ้ ผึง้
กก2.2 สารประกอบในไขผึ้ง 7
กก2.3 องค์ประกอบในเกสรผงึ้ 8
กก2.4 สารประกอบในพิษผง้ึ 9
กd2.5 วงจรชีวติ ของผ้งึ 10
กd2.6 วรรณะของผง้ึ 15
กd2.7 วัสดแุ ละอุปกรณ์ในการเล้ียงผ้งึ โพรง 17
กd2.8 พชื อาหารของผึ้ง 26
กd2.9 ต้นทนุ การเล้ยี งผ้ึงโพรง 32
กd2.10 ขอ้ มลู เกษตรกรผ้เู ล้ียงแมลงเศรษฐกิจรายจงั หวัด ปี 2562 ผง้ึ โพรงไทย (ตลุ าคม 2562) 35
กd2.11 องคป์ ระกอบและคณุ สมบัติต้านอนมุ ูลอิสระของน้ำหวานจากมะพรา้ ว 36
กd2.12 ขอ้ มลู ทวั่ ไปของพ้ืนท่ีต้งั รังผึ้งในแปลงมะพร้าวทบั สะแกทใี่ ช้ในการศึกษา 43
กd4.1 ผลการศึกษาปรมิ าณผลผลิตน้ำผ้งึ โพรงไทย 49
กd4.2 ผลการศกึ ษาคณุ ลกั ษณะของน้ำผึง้ โพรงไทย (สารไฮดรอกซเี มทิลเฟอรฟ์ ูรอลเฉล่ีย 60
ความชืน้ เฉลีย่ ความเปน็ กรดดา่ งเฉลย่ี และความหวานเฉลย่ี ) 61
กd4.3 ผลการศึกษาคณุ ลักษณะของน้ำผงึ้ โพรงไทย (ปรมิ าณน้ำตาลทั้งหมดเฉลย่ี
63
น้ำตาลฟรกั โทสเฉลี่ย นำ้ ตาลกลูโคสเฉลยี่ นำ้ ตาลซโู ครสเฉลยี่
น้ำตาลมอลโทสเฉล่ยี และนำ้ ตาลแลก็ โทสเฉลี่ย) 64
กd4.4 ผลการศึกษาคุณลักษณะของนำ้ ผึ้งโพรงไทย
(เชือ้ Salmonella spp. และเชอื้ Staphylococcus aureus)
สารบัญภาพ (3)
ภาพที่ หนา้
ก2.1 การเลีย้ งผงึ้ โพรงไทยในภาคใต้
ก2.2 น้ำผง้ึ หลายชนิด 6
ก2.3 ไขผงึ้ บริสุทธิ์ 6
ก2.4 เกสรผงึ้ 7
ก2.5 พิษเหล็กในผ้งึ 8
ก2.6 ตวั อ่อนผง้ึ 10
ก2.7 ประโยชน์ด้านผ่อนคลายทางอารมณ์ 11
ก2.8 ลักษณะภายนอกของผึ้งงาน 12
ก2.9 การส่อื ภาษาของผึง้ 13
ก2.10 การเตน้ บอกทศิ ทางแหล่งอาหารทีไ่ ด้สำรวจพบของผ้งึ งาน 22
ก2.11 การเลยี้ งผง้ึ โพรงแบบสมัยเกา่ 22
ก2.12 การเลย้ี งผ้ึงโพรงแบบสมยั ใหม่ 23
ก2.13 การเลอื กพน้ื ที่วางรงั ผ้งึ ทเี่ หมาะสม 24
ก2.14 การจัดหาพนั ธุผ์ ึ้งโพรงโดยการบังคบั หรือการจบั ผึ้งธรรมชาติ 25
ก2.15 การจดั การรงั ผ้ึง 29
ก2.16 ตวั อย่างพชื อาหารของผงึ้ 31
ก2.17 ตวั อยา่ งการทำลายโดยหนอนผีเส้อื กินไขผึ้ง 33
ก2.18 แปลงปลกู มะพรา้ วในพ้ืนท่จี ังหวดั ประจวบคีรีขันธ์ 35
ก2.19 มะพรา้ วพันธุต์ น้ สูง 40
ก2.20 มะพร้าวพันธุ์ต้นเต้ยี 41
ก2.21 น้ำหวานจากมะพรา้ ว 42
ก2.22 การข้ึนทะเบียนส่งิ บ่งช้ีทางภมู ศิ าสตรไ์ ทย 45
ก2.23 แผนท่แี สดงแหล่งภูมศิ าสตรม์ ะพรา้ วทับสะแก 46
ก2.24 สรุปแปลงใหญ่จังหวดั ประจวบคีรขี นั ธ์ 48
ก3.1 ขนั้ ตอนการศึกษาปริมาณผลผลิตน้ำผึง้ โพรงไทย 51
ก3.2 ขน้ั ตอนการศกึ ษาคณุ ลกั ษณะของน้ำผ้งึ โพรงไทย 58
59
สารบัญภาพ (ตอ่ ) (4)
ภาพผนวกท่ี หนา้
1 การลงพน้ื ที่สำรวจ/ ตดิ ต่อ และประสานงานโครงการฯ อำเภอทับสะแก
2 การลงพื้นทส่ี ำรวจ/ ติดตอ่ และประสานงานโครงการฯ อำเภอบางสะพาน 81
3 การลงพน้ื ทต่ี ิดต้งั รงั ผงึ้ ในแปลงมะพร้าวเกษตรกร อำเภอทบั สะแก 82
4 การลงพื้นทต่ี ดิ ตงั้ รงั ผ้งึ ในแปลงมะพร้าวเกษตรกร อำเภอบางสะพาน 83
5 การลงพน้ื ท่ตี ดิ ตามรงั เล้ยี งผงึ้ อำเภอทับสะแก 84
6 การลงพ้นื ทต่ี ดิ ตามรังเลย้ี งผ้งึ อำเภอบางสะพาน 85
7 การเกบ็ ผลผลิตจากผึง้ โพรง อำเภอทับสะแก 86
8 การเกบ็ ผลผลิตจากผง้ึ โพรง อำเภอบางสะพาน 87
9 น้ำผงึ้ โพรงไทยทไ่ี ด้จากการศึกษา 88
10 ไขผง้ึ โพรงไทยท่ีผลิตได้ จำนวน 142.74 กรัม 89
89
1
บทที่ 1
บทนำ
ความสำคัญและทมี่ าของปญั หา
กกกกกกกกกกกกศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร (ศทม.ชพ.)
เปน็ หน่วยงานภายใต้กำกับของสำนักงานสง่ เสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จงั หวดั สงขลา กรมสง่ เสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีพื้นท่ีความรบั ผิดชอบครอบคลุมสำนักงานส่งเสรมิ และพฒั นาการเกษตรท่ี 2
จังหวัดราชบุรี จำนวน 8 จังหวัด ที่ประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี
สมุทรสงคราม สมทุ รสาคร เพชรบุรี และจงั หวดั ประจวบครี ขี ันธ์ และสำนกั งานสง่ เสริมและพฒั นาการเกษตรท่ี 5
จังหวัดสงขลา จำนวน 14 จังหวัด ที่ประกอบด้วย จังหวัดระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 22 จังหวัด
และมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการศึกษา วิจัยและพัฒนา ส่งเสริม การถ่ายทอดเทคโนโลยี
เป็นศูนย์กลางการผลิต ขยาย กระจายพันธุ์ ด้านแมลงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ การส่งเสริมการเล้ยี ง
ผงึ้ โพรงไทย (Apis cerana) เพราะเปน็ ผงึ้ พื้นเมืองในสภาพอากาศเขตร้อนของไทย และมตี น้ ทุนการผลิตต่ำ
(ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร, ม.ป.ป.) อีกทั้งมีความเหมาะสม
ในการเล้ียง เพ่อื เป็นอาชีพเสริมสร้างรายไดใ้ ห้แก่ครวั เรอื น โดยสามารถเลย้ี งในสภาพธรรมชาติ สวนไม้ผล
และพืชเศรษฐกจิ เช่น มะพรา้ ว กาแฟ และส้มโอ เป็นต้น (วิรตั น,์ 2556) จากผลการสำรวจขอ้ มลู การเล้ียง
แมลงเศรษฐกิจ ในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปี 2561 พบว่าน้ำผ้ึงโพรงไทย ขนาด
บรรจุปริมาตร 750 มิลลิลิตร มีราคาจำหน่ายเฉลีย่ ต่อขวด 444 บาท (ศูนย์ส่งเสรมิ เทคโนโลยีการเกษตร
ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร, 2562) จึงอาจถือได้ว่าราคาจำหน่ายน้ำผึ้งโพรงไทยเป็นรายได้ที่ดี
อีกทางหนึ่ง สำหรับผู้เลี้ยงผึ้งทั้งเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์ทั้งทางตรง
และทางออ้ มทด่ี จี ากการเลย้ี งผง้ึ
กกกกกกกกกกกกมะพร้าว (Cocos nucifera) จัดเป็นไม้ผลและเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยรู้จักและใช้
ประโยชนม์ าอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยในทุกส่วนของมะพร้าวสามารถนำมาใชป้ ระโยชน์ไดห้ ลากหลาย เช่น
ผลมะพร้าว สามารถนำไปรบั ประทานผลสด กะทิ และนำ้ มันมะพร้าว เปน็ ตน้ (วลั ลี, จุลพนั ธุ์ และคะนอง, 2532)
จากข้อมูลสถิติ ปี 2561 ประเทศไทยมีผลผลิตมะพร้าว จำนวน 860,160 ตัน ซึ่งเพิ่มปริมาณขึ้นร้อยละ
2.44 จากปี 2560 ทีผ่ า่ นมา โดยจงั หวัดประจวบคีรีขันธม์ ีพ้นื ท่ีปลูกมากท่ีสุดในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้ปลูกมะพร้าวและการส่งออกคงประสบกับปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการลักลอบ
นำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ จึงส่งผลให้มะพร้าวได้รับผลกระทบมาอย่างยาวนาน (สำนักวิจัย-
เศรษฐกิจการเกษตร, 2561) จากผลกระทบสืบเนื่องดังกล่าวภาครัฐจึงได้กำหนดนโยบายหรือแผนการ
ปฏิบัติในการช่วยเหลือเกษตรกร อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขัน
2
ยกระดับศักยภาพในหลายมิติ ในด้านการเกษตรสร้างมูลค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเกษตรอัตลักษณ์
พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีมูลค่า (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ-
และสังคมแห่งชาติ, ม.ป.ป.) อีกทั้งสอดคล้องกับการผลิตมะพร้าวพื้นถิ่นของจังหวดั ประจวบคีรีขันธ์ คือ
มะพร้าวทับสะแก ที่ได้รับการประกาศจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้
ทางภูมิศาสตร์ (Thai Geographical Indication : GI) (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2563) นอกจากนี้
กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดแผนยทุ ธศาสตร์กรมสง่ เสริมการเกษตร พ.ศ. 2560 – 2564 ในการรับมอื
กับสถานการณท์ ีส่ ่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการเกษตร ด้านสินค้าเกษตรของไทยเป็นท่ีรูจ้ ักและยอมรับ
ในตลาดโลก ทำใหป้ ระเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสนิ ค้าเกษตรที่สำคัญ แตป่ ระสบปัญหาดา้ นคุณภาพของสินค้า
ท่ียงั ไมไ่ ดม้ าตรฐาน และการใช้แปลงใหญเ่ ปน็ เคร่อื งมอื ในการสง่ เสริมการผลิตและการจัดการสินคา้ เกษตร
(กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) จึงส่งผลให้ในปี 2560 เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ เกิดการรวมกลุ่มขึ้นเป็นกลุม่ แปลงใหญ่มะพร้าว จำนวน 2 แปลง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ในจังหวัดประจวบคีรขี ันธ์ มีกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวรวมจำนวนทั้งสิ้น 19 แปลง มีจำนวนสมาชิก 1,122
ราย และมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว 13,174.55 ไร่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2562) ซึ่งจำหน่ายผลผลิต
ในรูปมะพร้าวผลแก่ และมะพร้าวผลสดเป็นหลกั รวมถงึ ผลติ ภัณฑแ์ ปรรูปอืน่ ๆ ท่ีมีมลู ค่าไมส่ ูงมากนัก
กกกกกกกกกกกกด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้ศึกษา จึงมีความสนใจในการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้ง
โพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทับสะแก (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในด้านปริมาณผลผลิตและคุณลักษณะของน้ำผึ้งโพรงไทยที่ได้ เพื่อทราบถึง
แนวโน้มและความเป็นไปได้ ในการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทยในสวนมะพร้าวทับสะแก และคุณลักษณะของ
น้ำผง้ึ โพรงไทยท่ีผลิตได้ อีกท้ังเป็นการสร้างสินคา้ ชนิดใหม่ จากส่ิงบ่งช้ีทางภูมิศาสตร์ (GI) ให้เกษตรกรมี
รายได้ท่ีเพ่ิมมากขนึ้ จากเดมิ ประกอบกบั การเหน็ คุณค่าของผ้ึงและแมลงที่เปน็ ประโยชน์ในท้องถ่นิ ให้คงอยู่
คกู่ บั สวนมะพร้าว จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์
วตั ถุประสงคข์ องการวิจัย
กกกกกกกกกกกก1. เพอื่ ศกึ ษาปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในกลมุ่ แปลงใหญ่มะพร้าว
จังหวดั ประจวบครี ขี นั ธ์
กกกกกกกกกกกก2. เพ่ือศึกษาคุณลักษณะของน้ำผงึ้ โพรงไทย (Apis cerana) ในกล่มุ แปลงใหญ่มะพร้าว
จงั หวดั ประจวบครี ีขันธ์
3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะไดร้ บั
กกกกกกกกกกกก1. ทราบแนวโนม้ และความเปน็ ไปไดใ้ นการผลิตนำ้ ผงึ้ โพรงไทย (Apis cerana) ในกลุ่ม
แปลงใหญม่ ะพร้าว จังหวดั ประจวบครี ขี ันธ์
กกกกกกกกกกกก2. ทราบถึงคุณลกั ษณะของนำ้ ผง้ึ โพรงไทยที่สามารถผลิตได้ ในกลมุ่ แปลงใหญ่มะพร้าว
จังหวัดประจวบคีรีขนั ธ์
กกกกกกกกกกก3. สร้างสินค้าชนิดใหม่จากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และเสริมสร้างรายได้ให้แก่
เกษตรกรผปู้ ลกู มะพรา้ ว
กกกกกกกกกกกก4. เกษตรกรผู้ปลกู มะพร้าว เกิดการเห็นถึงคณุ คา่ ความสำคัญ และคุณประโยชนข์ องผ้ึง
และแมลงในท้องถิ่นที่เกื้อกูลต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ อีกทั้งการเกิดความตระหนัก หวงแหนและ
อนุรักษพ์ ันธุกรรมผ้งึ และแมลงในทอ้ งถิน่ ใหอ้ ยู่คูก่ ับสวนมะพร้าว จงั หวัดประจวบครี ขี นั ธ์
ขอบเขตของการวจิ ยั
กกกกกกกกกกกกการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าว
ทับสะแก (สิ่งบ่งชีท้ างภูมิศาสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จงั หวัดประจวบคีรีขันธ์น้ี เป็นการศึกษา
ถึงประสิทธิภาพการผลติ นำ้ ผ้งึ โพรงไทย จากมะพรา้ วทบั สะแก ในด้านปรมิ าณผลผลติ และคุณลกั ษณะของ
นำ้ ผง้ึ โพรงไทย ที่เลีย้ งผึง้ โพรงไทยในแปลงปลกู มะพร้าวทบั สะแก กลุ่มแปลงใหญม่ ะพร้าวอำเภอทับสะแก
และอำเภอบางสะพาน จังหวดั ประจวบครี ีขันธ์ จำนวนท้ังส้นิ 4 แปลง โดยมลี กั ษณะพน้ื ทแ่ี ละบริเวณรอบ
ข้างแปลงปลูกมะพร้าวแตกต่างกัน ประกอบไปด้วย กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวอำเภอทับสะแก จำนวน
2 แปลง และกลุ่มแปลงใหญม่ ะพรา้ วอำเภอบางสะพาน จำนวน 2 แปลง ซ่ึงนำรังผ้ึงโพรงไทยไปตงั้ เลย้ี งใน
แปลงมะพร้าวทั้ง 4 แปลง แปลงละ 5 รัง รวมทั้งสิ้น 20 รัง เป็นระยะเวลานาน 30 วัน จึงทำการเก็บ
ผลผลิตน้ำผึ้งโพรงไทยทั้งหมด และศึกษาปริมาณผลผลิตที่ประกอบด้วย น้ำหนักเฉลี่ยของรังผึ้งทั้งหมด
น้ำหนักเฉลี่ยหัวน้ำหวานของรวงผึ้ง และปริมาณน้ำผึ้งบริสุทธิ์เฉลี่ย จากนั้นคัดเลือกตัวอย่าง
น้ำผ้ึงโพรงไทย จากทง้ั หมด 4 แปลง แปลงละ 3 ตัวอย่าง รวมท้ังส้ิน 12 ตัวอย่าง นำไปศกึ ษาคุณลักษณะ
ของนำ้ ผ้งึ โพรงไทย ท่ปี ระกอบดว้ ย ความเปน็ กรดด่าง (pH) ความหวาน ความชืน้ ปรมิ าณน้ำตาลท้ังหมด
ปริมาณน้ำตาลกลูโคส ปริมาณน้ำตาลฟรักโทส ปริมาณน้ำตาลแล็กโทส ปริมาณน้ำตาลมอลโทส และ
ปริมาณน้ำตาลซูโครส สาร Hydroxymethyfurfural (HMF) ตรวจปริมาณเชื้อ Staphylococcus aureus
และเชอื้ Salmonella spp. โดยศกึ ษาทดสอบ ณ ห้องปฏิบตั กิ ารวทิ ยาศาสตร์ บริษัทหอ้ งปฏิบัตกิ ารกลาง
(ประเทศไทย) จำกัด กรุงเทพมหานคร สำหรับตลอดการศกึ ษาน้ีใชเ้ วลาการศึกษาจำนวนทั้งสิน้ 4 เดือน
(เดอื นมถิ นุ ายนถงึ กนั ยายน 2563)
4
นยิ ามศัพท์
กกกกกกกกกกกกการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทับสะแก
(สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีคำนิยามศัพท์ที่ใช้
ในการศึกษาดังน้ี
กกกกกกกกกกกก1. ประสิทธิภาพในการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย หมายถึง ปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งที่ได้ ในการ
เลย้ี งผงึ้ โพรงไทยในสวนมะพร้าวทบั สะแก อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบครี ขี ันธ์
ซึ่งบันทึกผลจากน้ำหนักเฉลี่ยของรังผึ้งทั้งหมด น้ำหนักเฉลี่ยเฉพาะหัวน้ำหวานของรวงผึ้ง และปริมาณ
น้ำผึ้งบริสุทธ์ิเฉลี่ย และการศึกษาคุณลักษณะของน้ำผึ้งโพรงไทย ที่ประกอบด้วยการศึกษาความเป็น
กรดด่าง (pH) ความหวาน ความชื้น ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ปริมาณน้ำตาลกลูโคส ปริมาณน้ำตาลฟรักโทส
ปรมิ าณนำ้ ตาลแล็กโทส ปริมาณน้ำตาลมอลโทส และปริมาณนำ้ ตาลซโู ครส สาร Hydroxymethyfurfural
(HMF) ตรวจปริมาณเชอื้ Staphylococcus aureus และเชื้อ Salmonella spp.
กกกกกกกกกกกก2. มะพรา้ ว หมายถงึ มะพร้าวทบั สะแก (มะพร้าวพันธไ์ุ ทยตน้ สูง คือ พันธ์สุ วีลกู ผสม 1
หรือพันธล์ุ ูกผสมชุมพร และเปน็ มะพรา้ วแก่ มีอายุ 5 ปี ขนึ้ ไป)
กกกกกกกกกกกก3. กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หมายถึง กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว
จำนวน 4 แปลง ประกอบด้วย แปลงท่ี 1 นางสาวนิสานาถ มศี ักดิ์ อำเภอทบั สะแก แปลงท่ี 2 นายศักดา
มีศักด์ิ อำเภอทับสำแก แปลงที่ 3 นายสวาท หิรัญวงศ์ อำเภอบางสะพาน และแปลงที่ 4 นายยงยุทธ สุขธนะ
อำเภอบางสะพาน
5
บทท่ี 2
การตรวจเอกสารและผลงานวิจัยท่เี กี่ยวขอ้ ง
กกกกกกกกกกกกการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำผึ้งโพรงไทย (Apis cerana) ในมะพร้าวทับสะแก
(สิ่งบ่งชี้ทางภูมศิ าสตร์ : GI) กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นี้ เป็นการค้นคว้า รวบรวม
และทำความเข้าใจแนวทฤษฎี จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีประโยชน์ ซึ่งมีประเด็นการตรวจ
เอกสาร คอื
กกกกกกกกกกกก1. ข้อมลู ทว่ั ไปเก่ยี วกับผง้ึ โพรงไทยและมาตรฐานนำ้ ผงึ้
กกกกกกกกกกกก2. ข้อมลู ทัว่ ไปเก่ยี วกบั มะพรา้ วและมะพร้าวทบั สะแกสงิ่ บง่ ชท้ี างภมู ิศาสตร์ (GI)
กกกกกกกกกกกก3. โครงการระบบส่งเสรมิ การเกษตรแบบแปลงใหญ่
กกกกกกกกกกกกโดยในแต่ละประเด็นของการตรวจสอบเอกสาร มีรายละเอียดที่สำคัญต่อการศึกษา
ดังต่อไปนี้
การตรวจเอกสาร
กกกกกกกกกกกก1. ขอ้ มูลทัว่ ไปเกี่ยวกับผง้ึ โพรงไทยและมาตรฐานน้ำผึ้ง
ผึง้ โพรง (Apis cerana) จัดเปน็ ผึ้งพืน้ เมืองชนิดหนึง่ ทมี่ ีอยู่ในท่ัวทุกภาคของประเทศไทย
โดยในแต่ละภูมิภาค จะถูกเรียกแตกต่างกันตามภาษาท้องถิ่นดังนี้ ภาคใต้ เรียกว่า “ผึ้งรวง มิ้มโต และ
พรวด” ภาคเหนือ เรียกว่า “ผึ้งโก๋น” และภาคตะวันออกเฉียงเหนอื เรียกว่า “ผึ้งโกน” สำหรับลักษณะ
ทางชวี วิทยาของผงึ้ โพรงน้นั ลำตวั มคี วามยาว 12 มิลลิเมตร ส่วนอกกวา้ ง 3.3 มิลลิเมตร ความยาวของลิ้น
4.80 - 5.60 มิลลิเมตร มีขนาดตัวเล็กกว่าผึ้งพันธุ์ และใหญ่กว่าผึง้ มิ้ม อีกทั้งมีววิ ัฒนาการที่สูงกว่าผ้งึ มิม้
และผึ้งหลวง สามารถสร้างรังอยู่ในที่มืดได้ มีจำนวนรวงหลายรวง ตั้งแต่ 5 - 15 รวง และมีประชากร
ภายในรังประมาณ 5,000 - 30,000 ตวั ผ้งึ โพรงในธรรมชาติจะทำรังดว้ ยการสร้างรวงซ้อนเรียงกัน อยู่ใน
โพรงหินหรือโพรงไม้ต่างๆ โดยมีปากทางเข้าออกค่อนข้างเล็ก เพื่อป้องกันศัตรูจากภายนอกรบกวน
นอกจากน้ี ผึ้งโพรงยังเป็นผึ้งท่ีมีอัตราการแยกรงั ค่อนข้างสูง และจะทิ้งรังเดิมไปหาที่อยู่ใหม่ เมื่อสภาวะ
แวดล้อมท่ีไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต (ภาณุวรรณ, สิริวัฒน์ และณพศิษฎ์, 2561) ดังนั้นเกษตรกร
ผเู้ ลย้ี งผึ้งโพรง จงึ ต้องทำกล่องไม้หรือรังไมส้ ำหรับการเลีย้ งผึ้ง เพ่อื ใหผ้ ้ึงอาศยั และสะดวกตอ่ การเก็บน้ำผึ้ง
สำหรับการผลติ นำ้ ผ้ึงในผงึ้ โพรงนัน้ จะให้ปรมิ าณผลผลิตนำ้ ผึ้งประมาณ 3 - 15 กโิ ลกรมั ตอ่ รงั ตอ่ ปี ซงึ่ โดย
เฉลยี่ ประมาณ 7 กโิ ลกรัมต่อรังต่อปี นอกจากน้ีการเล้ียงผึ้งยงั ไดผ้ ลผลติ อนื่ ๆ อาทิ เกสรผึง้ (Bee pollen)
รอยัลเยลลี่หรือนมผึ้ง (Royal jelly/ Bee milk) ไขผึ้ง (Bees wax) พรอพอลิสหรือชันผึ้ง (Propolis)
พษิ ผึ้ง (Bee venom) และตวั ออ่ นและดักแด้ของผ้ึง (Larva and pupa) อีกทงั้ ยังเปน็ ประโยชน์ทางอ้อม
6
เช่น เปน็ แมลงชว่ ยผสมเกสรเพม่ิ ผลผลิตพืช เปน็ ตัวชว้ี ัดส่งิ แวดลอ้ มในการปราศจากสารเคมี และการช่วย
ผ่อนคลายอารมณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุน้ี จึงสามารถนับได้ว่าการเลี้ยงผึง้ โพรงน้ันมีประโยชน์ทั้งทางตรงและ
ทางออ้ มในทกุ ดา้ น (สวุ ทิ ย,์ ปัญญา และสาวิตรี, 2561)
ภาพท่ีก2.1กการเล้ยี งผง้ึ โพรงไทยในภาคใต้
1.1 ประโยชน์การเล้ียงผึง้ โพรง (กลุม่ ส่งเสริมการเลี้ยงผงึ้ และแมลงเศรษฐกิจฯ, 2546)
มนษุ ยร์ ้จู กั และใชป้ ระโยชนจ์ ากผ้ึงมาตง้ั แตอ่ ดีต โดยผ้งึ น้ันจัดเป็นแมลงท่ีมีคุณค่า
ตอ่ มนุษย์และสรา้ งความสมดลุ ของสภาพแวดล้อมในทางธรรมชาติ ทงั้ ทางตรงและทางออ้ ม อาทิ สามารถ
นำน้ำผึ้งมาเป็นแหล่งให้ความหวานในอาหาร และใช้ไขผึ้งมาทำเป็นเทียนไขเพือ่ ให้แสงสว่าง นอกจากน้ี
ผ้งึ ยังมปี ระโยชนใ์ นด้านอ่ืนๆ ดงั ต่อไปน้ี
1.1.1 ประโยชน์ด้านการเกษตร เช่น ช่วยผสมเกสรพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
และช่วยให้มีการใชส้ ารเคมกี ำจัดศัตรพู ชื ด้วยความระมดั ระวัง หรือ ลด ละ เลกิ การใชส้ ารเคมี ตามลำดับ
1.1.2 ประโยชน์ดา้ นโภชนาการ
1) น้ำผ้งึ (Honey) คอื นำ้ หวานท่ไี ดจ้ ากธรรมชาติ เป็นสารอาหารประเภท
คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับผู้บริโภคในทุกเพศและทุกวัย เพราะเนื่องจากน้ำผึ้ง
ประกอบดว้ ยน้ำตาลยอ่ ยง่ายอยปู่ ระมาณร้อยละ 80 โดยในนำ้ ผ้งึ มสี ่วนประกอบมาตรฐาน ดังตารางท่ี 2.1
ภาพท่ีก2.2กนำ้ ผ้ึงหลายชนดิ
ท่มี าก:กBogdanov (2015)
7
ตารางท่ีก2.1กกสว่ นประกอบมาตรฐานในน้ำผึ้ง
ลำดบั สว่ นประกอบ ปรมิ าณ (ร้อยละ)
1 ความช้นื 17.20
2 น้ำตาลฟรักโทส 38.19
3 น้ำตาลกลูโคส 31.28
4 นำ้ ตาลซูโครส หรือ นำ้ ตาลธรรมดา 1.31
5 น้ำตาลมอลโทส 7.31
6 น้ำตาลชนิดอนื่ 1.50
7 กรด 0.57
8 โปรตนี 0.26
9 แรธ่ าตุ 0.17
10 ส่วนประกอบอ่นื ๆ 2.21
รวมท้ังส้นิ 100
ทม่ี าก:กกลุม่ สง่ เสริมการเลยี้ งผงึ้ และแมลงเศรษฐกิจฯ (2546)
2) ไขผึ้ง (Bee wax) คือ ไขบริสุทธิ์ที่ผลิตโดยต่อมไขผึ้ง 4 คู่ ซึ่งอยู่ที่ส่วน
ทอ้ งของลำตัวของผึง้ งานทม่ี ีอายุ 2 สัปดาห์ โดยผึ้งจะทำการสังเคราะหน์ ้ำตาลท่ีมโี มเลกุลเชิงเด่ียวภายใน
ระบบย่อยอาหาร โดยในสภาพปกติไขผึ้งจะมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่หากหลอมไขผึ้งทีไ่ ด้จากรวงรังผึ้ง อาจมีสี
น้ำผ้งึ และเกสรผึง้ ปะปนอย่ใู นไขผึง้ ส่งผลทำใหไ้ ขผึง้ บรสิ ุทธิ์เกิดการเปลย่ี นสีไปตามสภาพท่ีมีส่งิ เจือปนอยู่
ซ่งึ ไขผงึ้ สว่ นใหญจ่ ะถกู นำมาใชใ้ นอตุ สาหกรรมต่างๆ เชน่ การผลติ แผน่ รังเทียม อตุ สาหกรรมเคร่ืองสำอาง
และอุตสาหกรรมเทียนไข เป็นต้น สำหรบั ในไขผึง้ นนั้ มีสารประกอบ ดงั ตารางที่ 2.2
ภาพท่ีก2.3กไขผ้งึ บรสิ ุทธิ์
ท่มี าก:กBogdanov (2015)
8
ตารางที่ก2.2กกสารประกอบในไขผึ้ง
ลำดับ สารประกอบ ปริมาณ (ร้อยละ)
1 โมโนเอสเตอร์ 35
2 ไดเอสเตอร์ 14
3 ไตรเอสเตอร์ 3
4 ไฮดรอกซีโมโนเอสเตอร์ 4
5 ไฮดรอกซโี พลีเอสเตอร์ 8
6 แอซิตเอสเตอร์ 1
7 แอซิตโพลเี อสเตอร์ 2
8 ไฮโดรคาร์บอน 14
9 ฟรีแอซิต 12
10 แอลกอฮอล์ 1
11 อืน่ ๆ 6
ทม่ี าก:กBogdanov (2015)
3) เกสรผึ้ง (Pollen) คือ เกสรดอกไมเ้ พศผู้ โดยมอี งค์ประกอบของโปรตีน
เป็นส่วนใหญ่ และประกอบด้วย วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน เอนไซม์ และธาตุประกอบอาหารอื่นๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทานโรค และรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใน
เกสรผ้ึงจะประกอบไปด้วยองคป์ ระกอบที่สำคญั ดังตารางที่ 2.3
ภาพท่ีก2.4กเกสรผึง้
ทม่ี า :กBogdanov (2016)
ตารางท่ีก2.3กกองค์ประกอบในเกสรผง้ึ 9
ลำดับ องคป์ ระกอบ ปรมิ าณ (กรมั / 100 กรมั ของนำ้ หนักแหง้ )
1 โปรตนี 10 - 40
2 ไขมนั 1 - 13
3 คารโ์ บไฮเดรต 13 - 15
4 เสน้ ใยอาหาร และเพคตนิ 0, 3 - 20
5 เถ้า 2-6
6 ส่วนอน่ื ๆ 2-5
7 แรธ่ าตุ
7.1 โพแทสเซียม มลิ ลิกรมั / กิโลกรัม
7.2 แมกนีเซียม 4,000 – 20,000
7.3 แคลเซยี ม 200 – 3,000
7.4 ฟอสฟอรัส 200 – 3,000
7.5 เหลก็ 800 – 6,000
7.6 สังกะสี
7.7 คอปเปอร์ 11 - 170
7.8 แมกนีเซียม 30 -250
8 วิตามิน 2 - 16
8.1 เบตา้ แคโรทีน 20 - 110
8.2 ไทอะมีน (B1) มลิ ลิกรมั / กโิ ลกรัม
8.3 ไรโบฟาวิน (B2) 10 – 200
8.4 ไนอะซนี (B3) 6 - 13
8.5 กรดแพนโตเทอนกิ (B5) 6 - 20
8.6 ไพรดิ อกซิน (B6) 40 – 110
8.7 กรดแอดคอบกิ (C) 5 – 20
8.8 ไบโอติน 2-7
8.9 กรดโฟลคิ 70 – 560
8.10 โตโคฟรี อล (E) 0.5 – 0.7
3 - 10
ทม่ี าก:กBogdanov (2016) 40 - 320
10
4) พิษผึ้ง (Bee Venom) คือ สารประกอบประเภทโปรตีนที่ผึ้งปล่อย
ออกมาจากต่อมสร้างพิษผ่านออกทางเหล็กในของผึ้งงาน พบในผึ้งเมื่อมีอายุในช่วง 10 - 14 วัน
โดยปรมิ าณพิษผงึ้ จะเพิ่มข้นึ อยา่ งรวดเรว็ และทำหน้าท่ีในการปอ้ งกันรงั เม่ือมีศัตรูมารบกวน ภายในพิษผึ้ง
มีคุณประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ฮีสตามิน (Histamine) เชอโรโตนิน (Serotonin) และโดพามิน
(Dopamine) ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโน และเอ็นไซม์ ที่เป็นองค์ประกอบในพิษผึ้ง รวมถึง
องค์ประกอบอ่ืนๆ ทีส่ ำคัญดังตารางท่ี 2.4
ภาพท่ีก2.5กพิษเหล็กในผ้ึง ปริมาณ
ทมี่ าก:กBellik (2015) (รอ้ ยละของน้ำหนกั แหง้ )
ตารางท่ีก2.4กกสารประกอบในพษิ ผึ้ง 40 – 50
2–3
ลำดบั สารประกอบ 2-3
1 เปปไทด์ 1
1.1 Melittin น้อยกวา่ 0.8
1.2 Apamin
1.3 MCD Peptide 2-3
1.4 Adolapin 1.4
1.5 Protease inhibitor 0.5
1.6 Minimine 0.1
1.7 Procamine A, B 0.01
1.8 Secarpin น้อยกวา่ 0.7
1.9 Tetiapin
1.10 Melittin F
1.11 Cardiopep
ทีม่ าก:กBellik (2015)
11
ตารางท่ีก2.4กก(ตอ่ )
ลำดบั สารประกอบ ปริมาณ
(ร้อยละของน้ำหนกั แห้ง)
2 เอนไซม์
2.1 Phospholipase A 10 - 12
2.2 Phospholipase B 1
2.3 Hyaluronidase
2.4 Glucosidase 1.5 - 2
2.5 Acid phosphomonoesterase 0.6
1
3 เอมีน
3.1 Histamine 1.5
3.2 Dopamine 0.13 - 1
3.3 Noradrenaline 0.1 – 0.7
4-8
4 สารอื่นๆ 2-4
5 คาร์โบไฮเดรต (Glucose, Fructose)
6 กรดอะมิโน 1
3-4
(alpha-Aminobutyric acid, B-Aminoisobutyric acid)
7 แรธ่ าตุ (P, Ca และ Mg)
ท่ีมาก:กBellik (2015)
5) ตวั หนอนและดักแดผ้ ึ้ง (Lava and Pupa) เปน็ สารอาหารประเภทโปรตีน
มกั ถกู นำมาบรโิ ภคและมีสรรพคุณทางยา โดยในประเทศไทยถกู นำมาผลิตเปน็ แคปซูลและรบั ประทานสด
เพือ่ บำรงุ กำลงั และรา่ งกาย
ภาพที่ก2.6กตัวออ่ นผึ้ง
ท่ีมาก:กสำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การสร้างเสริมสขุ ภาพ (2556)
12
1.1.3 ประโยชนด์ ้านอุตสาหกรรม ช่วยใหเ้ กิดอาชีพทหี่ ลากหลายจากกิจกรรมการ
เลี้ยงผึ้ง อาทิ การผลิตน้ำผึ้ง และการผลิตอุปกรณ์ใช้ในการเล้ียงผ้ึง ฯลฯ โดยข้อมูลสถิติในปี พ.ศ. 2563
ชว่ งเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยมีมูลค่าการสง่ ออกน้ำผง้ึ จำนวน 5,314,446 กิโลกรัม
คิดเปน็ มลู ค่า จำนวน 387,235,057 บาท (กรมศลุ กากร, 2563)
1.1.4 ประโยชน์ด้านผ่อนคลายทางอารมณ์ การเลี้ยงผึ้งโพรงนอกจากจะได้
ผลิตภัณฑ์จากผึ้งและเป็นกิจกรรมที่ให้ความสุขผ่อนคลายอารมณ์ ที่สามารถยึดเป็นอาชีพเสริมได้
โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การเลย้ี งในพ้นื ทภ่ี าคใต้ ในสวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนพืชเศรษฐกิจอ่ืนๆ เป็นต้น
ภาพท่ีก2.7กประโยชน์ด้านผ่อนคลายทางอารมณ์
1.2 ชวี วิทยาของผ้ึงโพรง
ผง้ึ โพรง (Apis cerana) เปน็ ผงึ้ ท่มี ขี นาดกลาง ตัวเล็กกว่าผ้ึงพันธ์ุแต่ใหญ่กว่าผ้ึง
มิ้ม เป็นผึ้งที่มีวิวัฒนาการที่สูงกว่าผึ้งมิ้มและผึ้งหลวง สร้างรังอยู่ในที่มืด และมีหลายรวง ตั้งแต่ 5 - 15
รวง โดยในธรรมชาติผึ้งโพรงที่พบในเมืองไทย จะสร้างรังในโพรงหิน/ โพรงไม้ต่างๆ ซึ่งต่อมาเกษตรกร
ผู้เลี้ยงผึ้ง จึงได้ประยุกต์นำกล่องไม้มาสร้างเป็นรังให้ผึ้งอาศัย เพื่อสะดวกต่อการจัดการและเก็บผลผลิต
สำหรบั การเลีย้ งผ้งึ โพรงนัน้ จะได้ผลผลิตนำ้ ผง้ึ ประมาณ 3 - 15 กโิ ลกรมั ตอ่ รังต่อปี และมคี ่าเฉล่ียประมาณ
13
7 กิโลกรัมต่อรังต่อปี (กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจฯ, 2546) โดยผึ้งโพรงนั้น มีเขต
แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในเกือบทุกประเทศในทวีปเอเชีย ดังนั้นอาจมีชื่อเรียกสามัญว่า “ผึ้งพันธุ์อาเซียน
(Asian honey bee)” ที่จัดเป็นผึ้งอุตสาหกรรมที่สำคัญในทวีปเอเชีย ในปัจจุบันมีจำนวน 3 สายพันธุ์
ทสี่ ำคญั คือ ผ้งึ โพรงจีน มเี ขตแพร่กระจายในประเทศจีนถงึ ตอนเหนือทวีปเอเชีย มีขนาดใหญ่ทีส่ ุด ลำตัวมี
สีท่ีไม่เข้มเหมือนผึ้งโพรงไทย ผึ้งโพรงญี่ปุ่น มีเขตแพร่กระจายอยู่ตามเกาะญี่ปุ่น และทะเลขึ้นเหนือ
มีขนาดกลาง เล็กกว่าผึ้งจีนเล็กน้อย ลำตัวมีสีเข้มกว่า และผึ้งโพรงไทยหรือผึ้งโพรงอินเดีย มีเขต
แพร่กระจายทั่วไปในอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน ไทย และอินโดนีเซีย มีขนาดเล็กที่สุด ลำตัวมีสีเข้ม
(สริ วิ ฒั น์ และเพ็ญศร,ี 2529)
1.2.1 ลกั ษณะทัว่ ไปของผึ้ง (กลมุ่ ส่งเสริมการเล้ียงผง้ึ และแมลงเศรษฐกจิ ฯ, 2546)
ภาพท่ีก2.8กลกั ษณะภายนอกของผง้ึ งาน
ทมี่ าก:กกลมุ่ ส่งเสรมิ การเลย้ี งผ้งึ และแมลงเศรษฐกจิ ฯ (2546)
1) ลกั ษณะทั่วไปภายนอกของผึง้ แบ่งออกไดเ้ ปน็ 3 ส่วน ดงั น้ี
(1) ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรบั ความรู้สกึ ที่สำคัญคือ ตารวมมีอยู่
2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็กๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผ้ึง
สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้รอบทิศ ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็กๆ
3 จุด อยู่ห่างกนั เป็นรูปสามเหล่ียม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รบั รู้ในเรือ่ งของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้ง
สามารถแยกสีต่างๆ ของสิ่งของที่เห็น และหนวดประกอบด้วยข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่าๆ กัน
จำนวน 10 ปลอ้ ง ประกอบเป็นเสน้ หนวด ซึ่งจะทำหนา้ ทีร่ ับความรู้สึก
(2) สว่ นอก จะประกอบด้วยปลอ้ ง 4 ปลอ้ ง สว่ นด้านล่างของอกปลอ้ ง
แรกมีขาคู่หน้า อกปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่าง
14
อกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึง่ ขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตะกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมปี ีก
ค่หู ลังอยู่หน่งึ คู่ทเ่ี ล็กกวา่ ปกี หนา้
(3) ส่วนท้อง สว่ นท้องของผ้งึ งานและผงึ้ นางพญาเราจะเห็นภายนอก
เพียง 6 ปลอ้ ง ส่วนปลอ้ งท่ี 8 - 10 จะหบุ เข้าไปแทรกตวั รวมกันอยู่ในปลอ้ งที่ 7 ส่วนผ้งึ ตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง
2) อวัยวะภายในของผึ้ง จะมีระบบต่างๆ เช่น ระบบย่อยอาหาร ซึ่งมี
กระเพาะพักยอ่ ยน้ำหวานให้เป็นน้ำผงึ้ ระบบหมุนเวยี นโลหิต ระบบหายใจเปน็ ลักษณะแบบรูหายใจมีอยู่
10 คู่ ระบบประสาทและรับความรู้สึกต่างๆ ระบบสืบพันธุ์ ซึ่งในผึ้งงานจะไม่เจริญสมบูรณ์ แต่จะเจริญ
สมบรู ณ์ ในผ้งึ นางพญา สว่ นผ้งึ ตวั ผจู้ ะมอี วัยวะสืบพันธุเ์ พศผทู้ ่สี มบูรณ์
1.2.2 วงจรชีวิตของผงึ้
กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจฯ (2546) อธิบายเกี่ยวกับ
วงจรชีวิตของผึ้งไว้ว่า ผึ้งจะมีวงจรชีวิตแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ที่ประกอบด้วย ระยะไข่ ระยะหนอน
ระยะดกั แด้ และระยะโตเตม็ วยั ซง่ึ แต่ละระยะมลี ักษณะท่ีแตกต่างกนั ดงั นี้
1) ระยะไข่ (Egg stage) ผึ้งนางพญามีหน้าที่วางไข่ภายในรัง โดยรังไข่
ของผ้งึ นางพญาจะมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยทอ่ รังไข่หลายอัน ที่ส่วนปลายของท่อรงั ไขแ่ ตล่ ะอนั จะเปน็ ที่
ผลิตเซลล์สืบพนั ธ์เุ พศเมีย เซลลส์ ืบพนั ธุ์เพศเมียนี้คือ ไข่ (Egg) เมอื่ ไข่โตเตม็ ที่ กจ็ ะถูกปล่อยออกจากท่อ
นำไข่ (Oviduct) ไปยังช่องคลอด (Vagina) ซึ่งจะมีท่อเล็กๆ เชื่อมต่ออยู่กับถุงเก็บน้ำเชื้อของผึ้งตัวผู้
(Spermatheca) ภายในถุงนี้จะมีน้ำเชื้อของผึ้งตัวผู้บรรจุอยู่ ซึ่งผึ้งนางพญาได้รับมาเก็บไว้จากการ
ผสมพันธ์ุท่ีปลายท่อของถุงเก็บน้ำเชื้อ เชื่อมติดต่อกับชอ่ งคลอด จะมีลิ้นปดิ เปิดอยู่เพื่อใช้ในการบังคับให้
น้ำเชื้อของผ้ึงตวั ผู้ออกมาผสมกับไข่ ในกรณีที่ผึ้งนางพญาต้องการวางไข่เพศเมยี ลิ้นจะเปิด และลิ้นจะปิด
ไม่ให้น้ำเชื้อของผึ้งตัวผู้ออกมาผสมกับไข่ในกรณีที่ต้องการวางไข่ตัวผู้ ซึ่งลักษณะของไข่จะยาวประมาณ
0.5 เซนติเมตร หัวท้ายมนโค้งงอเล็กน้อย มีสีขาว ไข่จะถูกวางเอาส่วนท้ายติดกับก้นของหลอดรวงตัง้ ขึ้น
เมอ่ื ไขใ่ กลจ้ ะฟกั จึงจะลม้ ลงนอนอยู่ทีก่ ้นหลอดรวง
2) ระยะตัวหนอน (Larva stage) เมื่อไข่มีอายุได้ประมาณ 3 วัน จะฟัก
ออกมาเป็นตัวหนอนขนาดเล็กๆ สีขาว นอนลอยอยู่บนอาหารที่ก้นหลอดรวง ตัวหนอนนี้ก็จะค่อยๆ
เจริญเตบิ โต มกี ารลอกคราบท้ังหมด 5 คร้ัง ตวั หนอนของผ้งึ จะไมม่ ีขา ส่วนลำตวั สขี าวจะมขี นาดใหญ่กว่า
ส่วนหัวมาก ผนังลำตัวจะเปราะและบอบบาง ส่วนหัวจะมีสีขาวเหมือนกบั ลำตวั แต่สังเกตเห็นไดค้ ่อนข้าง
ยาก เพราะส่วนหัวมักหดจมลงในส่วนของลำตัว ตัวหนอนของผึ้งจะกินอาหารที่ผึ้งงานป้อนให้เท่าน้ัน
กระเพาะอาหารของตัวหนอนจะมขี นาดใหญม่ าก คือ ขนาดเกือบเท่าสว่ นของลำตวั ในระยะทตี่ ัวหนอนยัง
มอี ายนุ ้อย ระบบขบั ถา่ ยยังเจรญิ เติบโตไมเ่ ตม็ ที่ ดงั นน้ั ตัวหนอนในระยะแรกๆ จึงยงั ไม่มกี ารขับถ่ายจนตัว
หนอนโตเต็มที่ ก่อนที่จะปิดฝาหลอดรวงจะมีการขับถ่ายของเสียออกมาจนหมด แล้วจึงถักใยเปน็ รังไหม
ห่อหุ้มตวั หนอนภายในกจ็ ะลอกคราบเป็นครง้ั สดุ ทา้ ยกลายเป็นดกั แด้
15
3) ระยะดักแด้ (Pupa stage) ในระยะดักแด้ ตัวหนอนจะเปล่ียนรูปร่าง
เห็นอวัยวะต่างๆ ชัดเจน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนอก (Thorax) และส่วนท้อง
(Abdomen) นอกจากนั้นหนวด (Antennae) ขา (Legs) และปีก (Wings) ดักแด้ในวันแรกๆ จะมีสีขาว
เหมือนตัวหนอน เมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน และเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ
ผนังลำตัวจะแข็งขึ้น เมื่อดักแด้โตเต็มที่จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย แต่จะมีสีอ่อนกว่าและมีขนปกคลุม
มากกวา่ อวัยวะภายในบางอยา่ งยังเจริญไมเ่ ต็มท่ี
4) ระยะตัวเต็มวัย (Adult stage) เมื่อดักแด้โตเต็มที่แล้วจะลอกคราบ
เป็นตัวเต็มวัย โดยจะใช้กรามกัดไขผึ้งที่ปิดฝาหลอดรวงออกมา และมีอวัยวะครบทุกส่วน ซึ่งในระยะ
โตเต็มวัยผึ้งในแต่ละวรรณะจะมีอายุที่แตกต่างกัน คือ ผึ้งนางพญามีระยะเวลาตัวเต็มวัยประมาณ 2 ปี
ผงึ้ ตัวผู้มรี ะยะเวลาตัวเต็มวยั ประมาณ 2 เดอื น และผงึ้ งานมีระยะเวลาตวั เตม็ วัยประมาณ 3 เดือน
ตารางท่ีก2.5กกวงจรชวี ติ ของผ้ึง
ลำดับ ระยะวงจรชีวิต ลกั ษณะการเปลย่ี นแปลง ภาพวงจรชีวิต
ลักษณะของไขจ่ ะยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
1 ระยะไข่ หวั มนทา้ ยมน โคง้ งอเล็กน้อย มสี ขี าว ไขจ่ ะถูกวาง
เอาสว่ นทา้ ยติดกบั กน้ ของหลอดรวงรังตัง้ ข้นึ มา
เม่ือไขใ่ กล้จะฟกั ก็จะล้มลงนอนอย่ทู กี่ น้ หลอดรวงรงั
เมื่อไขไ่ ด้ 3 วัน จะฟกั ออกมาเป็นตัวหนอน
2 ระยะหนอน ขนาดเลก็ สขี าว นอนลอยอยูบ่ นอาหารที่กน้ หลอด
รวงรงั มกี ารลอกคราบทั้งหมด 5 คร้ัง
ตัวหนอนจะเปลีย่ นรปู ร่างเปน็ อวยั วะตา่ งๆ ชดั เจน
3 ระยะดักแด้ ดักแด้ในวันแรกๆ จะมีสีขาว เมอื่ มีอายมุ ากขนึ้ จะ
เปลยี่ นเป็นสนี ้ำตาล
4 ระยะตวั เต็มวัย ดกั แด้โตเต็มทีจ่ ะใช้กรามกัดไขผง้ึ ทีป่ ิดฝาหลอดรวง
ออกมาเปน็ ตัวเตม็ วยั
ทม่ี าก:กกรมส่งเสริมการเกษตร (2556)
16
1.2.3 วรรณะของผ้งึ
กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจฯ (2546) อธิบายเกี่ยวกับ
วรรณะของผงึ้ ไวว้ ่า ผ้ึงจะมกี ารแบง่ วรรณะออกเป็น 3 วรรณะ คอื ผึง้ นางพญา (Queen) ผง้ึ ตัวผู้ (Drone)
และผึ้งงาน (Worker) โดยผ้งึ ในแตล่ ะวรรณะมลี ักษณะทสี่ ำคัญดงั น้ี
1) ผึ้งนางพญา (Queen) เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้และ
ไดร้ บั อาหารพเิ ศษซง่ึ เรียกว่า “นมผ้ึง” ในระยะพฒั นาตวั อ่อน ผ้ึงนางพญามขี นาดใหญ่ เคลอ่ื นไหวชา้ และ
มลี ำตวั ยาวกว่าผงึ้ ตัวผู้และผง้ึ งาน มีปกี ขนาดสั้น เม่ือเทยี บกับความยาวของลำตวั เนื่องจากส่วนท้องของ
ผ้ึงนางพญาจะค่อนข้างเรียวยาว ผึ้งนางพญาจะมีเหล็กในไว้สำหรับต่อสูก้ ับนางพญาตัวอ่ืนเท่าน้ัน ซ่ึงต่าง
จากผง้ึ งานท่ีใช้เหลก็ ในไว้ทำร้ายศัตรู ในรงั ผง้ึ นางพญาที่ไดร้ ับผสมพนั ธุ์แลว้ มักจะพบอยู่บริเวณรวงผ้ึงที่มี
ตัวอ่อนอย่ภู ายในหลอดรวง และถกู ห้อมล้อมด้วยผงึ้ งาน โดยผ้ึงงานจะใช้หนวดแตะหรือใช้ล้ินเลียตามตัว
ผึ้งนางพญา ผึ้งงานเหล่านี้ทำหน้าที่คอยให้อาหาร ทำความสะอาดและนำของเสียที่ผึ้งนางพญาขับถ่าย
ออกไปท้ิง นอกจากนั้น ผึ้งงานยังรับสารฟีโรโมนที่ผึ้งนางพญาผลิตออกมา แล้วส่งต่อให้ผึ้งงานตัวอื่นๆ
หรือใช้ปีกกระพือให้กลิ่นแพร่กระจายไปทั่วรังผึ้ง รังผึ้งในสภาพปกติจะมีผึ้งนางพญาอยู่เพียงตัวเดียว
เทา่ นั้น โดยผ้ึงนางพญาจะมหี นา้ ทสี่ ำคญั คือ ผสมพันธ์ุ วางไข่ และควบคุมสังคมของผง้ึ ใหอ้ ยู่ในสภาพปกติ
ผึ้งนางพญาจะไม่มีการออกหาอาหาร ไม่มีตะกร้อเก็บเกสร (Pollen basket) และไม่มีต่อมผลิตไขผึ้ง
(Wax gland)
2) ผึ้งตัวผู้ (Drone) มีขนาดใหญ่และตัวอ้วนกว่าผึ้งนางพญาและผึ้งงาน
แต่จะมีความยาวน้อยกว่าผึ้งนางพญา ไม่มีเหล็กใน ลิ้นจะสั้นมาก มีไว้สำหรับคอยรับอาหารจากผึ้งงาน
หรือดดู กนิ น้ำหวานจากที่เก็บไว้ในรวงเท่านน้ั ไม่ออกไปหาอาหารกินเองภายนอกรงั และไม่มีตะกร้อเก็บ
เกสร โดยผ้ึงตวั ผ้มู ีหนา้ ทอี่ ย่างเดียว คือ ผสมพนั ธ์ุ สำหรับปริมาณของผ้งึ ตวั ผูภ้ ายในรงั ไมแ่ นน่ อน อาจมีได้
ตั้งแต่ศูนย์ถึงหลายพันตัวขึ้นกับฤดูกาล ผึ้งตัวผู้จะเจริญมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม (Unfertilized egg)
เมื่อตัวอ่อนโตเต็มที่ ผึ้งงานก็จะมาปิดฝาหลอดรวงด้วยไขผึ้ง ผึ้งตัวผู้ก็จะเข้าดักแด้อยู่ภายใน เมื่อครบ
กำหนดกจ็ ะกดั ไขผ้ึงทีป่ ดิ ฝาออกมาเปน็ ตัวเตม็ วัย อายปุ ระมาณ 16 วัน พร้อมทจ่ี ะผสมพนั ธุ์
3) ผึ้งงาน (Worker) เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็กที่สุดภายในรังผึ้ง แต่มีปริมาณ
มากที่สุด เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้ (Fertilized egg) ผึ้งงานเป็นเพศเมีย เช่นเดียวกับ
ผึ้งนางพญา แต่เป็นเพศเมียที่ไม่สมบูรณ์ คือส่วนของรังไข่จะมขี นาดเล็กไม่สามารถสร้างไข่ได้ ยกเว้นใน
กรณที ่รี งั ผ้ึงเกิดขาดนางพญา อาจมผี ึง้ งานบางตวั สามารถวางไข่ได้ (Laying worker) แต่ไข่ทีว่ างจะเป็นไข่
ผึ้งตัวผู้ โดยผึ้งงานจะมีอวัยวะพิเศษหลายอย่าง เพื่อที่จะปฏิบัติงานสำคัญๆ ภายในรัง เช่น มีต่อมไขผึ้ง
ตะกร้อเก็บเกสร และต่อมกลิ่น เป็นต้น โดยปัจจัยที่ควบคุมการทำงานของผึ้งงานนั้นแบ่งออกเป็น
2 ประการ คือ ความพร้อมทางด้านการพัฒนาการของระบบต่างๆ ผึ้งจะปฏิบัติงานได้จึงขึ้นกับช่วงอายุ
17
ของผึง้ งาน และความต้องการใชง้ านของสงั คมผง้ึ ในขณะน้ัน สำหรบั ผงึ้ งานแต่ละชว่ งอายุมีหน้าที่ ในช่วง
อายุ แบ่งออกเป็น 5 ช่วงอายุ ประกอบด้วย ช่วงอายุ 1-3 วัน มีหน้าที่ทำความสะอาดรัง ช่วงอายุ 4-11
วัน มีหน้าที่ให้อาหารตัวอ่อน ช่วงอายุ 12-17 วัน มีหน้าที่สร้างและซ่อมแซมรวงช่วงอายุ 18-21 วัน
มีหน้าทป่ี ้องกนั รงั และช่วงอายุ 22 วัน มีหน้าท่ีหาอาหาร ยางไม้ และนำ้ จนกระทั่งถงึ ตาย
ตารางท่ีก2.6กกวรรณะของผ้ึง
วรรณะ ระยะตัวอ่อน (วนั )
ของผงึ้
หนา้ ท่สี ำคญั ระยะ ระยะ ระยะ รวม ระยะเต็มวยั ภาพวรรณะของผ้งึ
ไข่ ตวั ดักแด้ (วนั ) (ประมาณ)
หนอน
1. ผึ้ง 1.1 วางไข่ 3 5 15 2 ปี
นางพญา 1.2ควบคมุ สังคมของผ้งึ 7-8 ถงึ
16
2. ผ้ึงตวั ผู้ ผสมพันธุ์ 5 13 21 2 เดือน
3 ถึง ถงึ ถงึ
7 14 24
3.1ทำความสะอาดรัง
3.2ใหอ้ าหารตัวอ่อน 4 11 18
3. ผงึ้ งาน 3.3สร้างและซ่อมแซมรวง 3 ถงึ ถงึ ถงึ 3 เดือน
3.4ป้องกันรงั 6 12 21
3.5หาอาหารและน้ำ
ท่ีมาก:กกรมส่งเสริมการเกษตร (2556)
18
1.2.4 พฤตกิ รรมของผึง้ โพรง (กล่มุ สง่ เสรมิ การเล้ียงผง้ึ และแมลงเศรษฐกจิ ฯ, 2546)
1) การสร้างรวง (Comb Building)
ผึ้งงานมีหน้าท่ใี นการสรา้ งรวงรัง โดยใช้ไขผง้ึ ซ่งึ ไขผึ้งถกู ผลติ ขึน้ มาจาก
ต่อมผลิตไขผึ้ง อยู่ที่ด้านล่างของปล้องท้องปล้องที่ 3 - 6 ของผึ้งงานปล้องละ 1 คู่ โดยจะมีทั้งหมด 4 คู่
ผึ้งงานที่ผลิตไขผึ้งได้โดยทั่วไป จะมีอายุอยู่ระหว่าง 12 - 17 วัน ไขผึ้งที่ผลิตออกมาจะเป็นเกล็ดบางๆ
สีขาวใสและมีขนาดเล็ก โดยผึ้งงานจะต้องกินน้ำหวานเป็นปริมาณมากมีผู้คำนวณว่าโดยเฉลี่ย ผึ้งจะใช้
น้ำหวานประมาณ 8.4 กโิ ลกรมั ในการผลติ ไขผึง้ 1 กิโลกรมั ผึ้งก็จะเร่มิ สร้างรวง โดยจะใช้ขาคู่หลังเกี่ยว
เกลด็ ไขผงึ้ ใตท้ ้องมาใส่ปากเค้ียว โดยใช้ขาค่หู น้าชว่ ย ไขผงึ้ ทถ่ี ูกผึ้งเคย้ี วใหม่จะมลี กั ษณะคลา้ ยฟองนำ้ ผึ้งก็
จะนำไปตดิ กับส่วนรวงทีต่ ้องการสร้างแล้วทำการป้นั ตามรูปรา่ งทีต่ อ้ งการ
2) การเลี้ยงดูตัวออ่ น (Nursing)
ผึ้งงานมีหน้าที่เป็นผึ้งพยาบาล หรือเลี้ยงดูตัวอ่อน ก็เมื่อมีอายุได้
ประมาณ 3 วัน หลงั จากฟักออกมาเปน็ ตัวเต็มวัย จนมีอายปุ ระมาณ 11 วัน ตอ่ มพ่เี ลยี้ งที่อยู่โคนกรามทั้ง
2 ขา้ ง จะฝอ่ ผ้งึ จะเปลี่ยนหน้าที่ โดยผ้งึ พยาบาลจะเขา้ ไปเย่ยี มดแู ลไขท่ ันทที ่ีผ้งึ นางพญาวางไข่ หรือไขก่ จ็ ะ
ถูกตรวจเยี่ยมโดยผึ้งพยาบาลบ่อยครั้ง ในระยะไข่จนถึงระยะตัวหนอน ในช่วงอายุตัวหนอน 2 วันแรก
หลังจากฟักออกจากไข่ ผึ้งพยาบาลจะให้อาหารแก่ตัวหนอนมากจนเกินพอเราจึงเห็นคล้ายกับตัวหนอน
ลอยอยู่ในอาหารที่คล้ายน้ำนมสีขาว พอตัวหนอนอายุได้ 3 วัน อาหารที่มีอยู่ก็ถูกใช้ไป จนถึงวันที่ 4
อาหารทตี่ ัวหนอนลอยอยนู่ ้ัน กจ็ ะถกู กินหมด ตัวหนอนก็ต้องคอยใหผ้ ้ึงพยาบาลมาป้อนอาหาร
3) การปอ้ นนำ้ หวาน (Food Sharing)
ผึง้ สามารถจะกนิ น้ำหวานท่อี ยู่ในหลอดรวงได้ด้วยตัวเอง แต่บ่อยคร้ังที่
ผึ้งจะป้อนน้ำหวานซึ่งกันและกัน ผึ้งนางพญาและผึ้งตัวผู้แทบจะไม่พบว่าสามารถกินอาหารด้วยตัวเอง
โดยต้องอาศัยผึ้งงานมาป้อนให้เสมอ ซึ่งการป้อนนำ้ หวานมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการสื่อสารกันอย่างหนึง่
เพราะในนำ้ หวานท่ีผึ้งป้อนซง่ึ กนั และกนั จะมีสารเคมีท่ีมาจากผ้งึ นางพญาหรือจากผ้งึ งานตัวอ่ืนๆ ปนอยู่
สารนี้สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วรังผึ้งในเวลาอันรวดเร็ว การป้อนอาหารนี้เกิดขึ้นเฉพาะการป้อน
น้ำหวานเท่าน้ัน สว่ นละอองเกสรจะไมม่ ีการปอ้ นกนั หากผ้ึงต้องการทจ่ี ะกนิ เกสรกจ็ ะไปกินจากหลอดรวง
ท่เี ก็บละอองเกสร
4) การป้องกนั รัง (Guard Duty)
ผึ้งที่มีหนา้ ที่ในการป้องกันรัง มักพบอยู่บริเวณปากทางเขา้ รังผ้ึง แต่ใน
ฤดดู อกไมบ้ าน (Honey flow) จะมีผึง้ ทหารอยู่ทปี่ ากทางเข้ารงั นอ้ ย ดงั นัน้ ผ้ึงจากรังอื่นทช่ี ิมน้ำหวานหรือ
เกสรมาด้วย เมือ่ เข้าผิดรังกอ็ าจไม่ได้รับอันตราย แต่ถา้ เป็นฤดูท่ีน้ำหวานนอ้ ยจะพบผึ้งทหารอยู่ท่ีทางเข้า
มาก เพอื่ คอยไมใ่ หผ้ ้งึ จากรังอน่ื หรือศตั รูผ้ึงอ่นื เขา้ มาขโมยนำ้ หวานในรงั ผ้งึ ในฤดูน้จี ึงค่อนข้าง ดุ ผึ้งทหาร
ที่เฝ้าอยู่หน้ารัง จะยืนในลักษณะที่ยืนบนขาคู่หลัง 2 คู่ ส่วนขาหน้ายกขึ้นจากพื้น หนวดชี้ไปข้างหน้า
19
กรามท้ัง 2 ขา้ ง จะหุบเข้าหากัน แต่ถ้าผ้งึ เกดิ ตกใจจะกางกรามออก ปกี คลี่ เพ่อื เตรยี มพรอ้ มสำหรับโจมตี
ศัตรู ผงึ้ ทหารจะใช้เวลาตรวจสอบผ้งึ ที่เขา้ มาในรงั ประมาณ 1 - 3 วินาที โดยจะใช้หนวดแตะตามลำตัว
5) การขโมยน้ำหวาน (Robbing)
การขโมยน้ำหวานในผึ้ง มักพบได้เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรังผึ้งที่มี
ความอ่อนแอ หรืออาจเป็นโรค แต่ผึ้งทหารก็สามารถรับรู้ได้โดยกลิ่นของผึ้งขโมยจะผิดแผกไป และ
ลกั ษณะการบินจะบินวนเวียนอยู่หนา้ รงั เม่ือผงึ้ ทหารจบั ผึง้ ขโมยไดก้ ็จะเข้าทำการต่อสูก้ นั โดยใช้ทั้งกราม
และเหลก็ ในเป็นอาวธุ สว่ นมากผลของการต่อส้มู กั จะตายทงั้ สองฝ่าย
6) การปรับอณุ หภมู ิในรงั (Fanning)
ผึ้งงานสามารถปรับอุณหภูมิภายในรังให้สม่ำเสมอได้ โดยการกระพอื ปกี
อยู่ที่ทางเข้าของรังผึ้ง จะทำให้อากาศภายในรังหมุนเวียนถ่ายเทตลอดเวลา ลักษณะของการกระพอื ปกี
ผึ้งงานจะอยู่ในลักษณะเกาะ ส่วนท้องจะโค้งแล้วกระพอื ปกี อย่างรวดเรว็ แล้วทำให้น้ำหวานที่เก็บสะสม
อยู่ภายในหลอดรวงกลายเป็นน้ำผง้ึ คือ ความชื้นหรือนำ้ ที่ปนอย่จู ะระเหยออกมาทำใหน้ ำ้ ผึ้งนั้น เปน็ น้ำผ้ึง
ที่มคี วามชนื้ น้อยท่ีสุด ถา้ ในกรณที อี่ ณุ หภูมิสงู มาก จนผึ้งไม่สามารถจะปรับอุณหภูมิได้ ผึ้งจะออกมาเกาะ
กันเป็นก้อนอยู่หน้ารัง เพื่อหนีอากาศร้อนภายในรัง การกระพือปีกอีกแบบ คือ ส่วนท้องของผึ้งงานจะ
ช้ีข้นึ แต่ปล้องทอ้ งปล้องสุดท้ายจะโค้งลงทำให้ตอ่ มกลนิ่ เปิดออก ผ้ึงงานจะกระพอื ปกี อยา่ งรวดเร็ว ทำให้
กล่ินแพรก่ ระจายออกไป การกระพอื ปีกแบบน้ีเปน็ การแพรก่ ระจายกล่ิน (Orientation fanning) เพ่ือส่ง
ข่าวสารบางอยา่ ง
7) การทำงานของผึง้ สนาม (Working Habit of Field Bees)
ผ้ึงงานจะออกทำหนา้ ท่เี ป็นผง้ึ สนามก็เมือ่ อายุประมาณ 3 อาทติ ย์ ส่ิงที่
ผึ้งสนามจะขนเข้ามาในรังก็คือน้ำหวาน (Nectar) เกสร (Pollen) น้ำ (Water) และยางไม้ (Propolis)
สำหรับการเกบ็ เกสรผง้ึ จะใช้เป็นแหลง่ ของโปรตนี ไขมัน เกลือแร่ และวติ ามินต่างๆ เพอ่ื ใชใ้ นการผลิตเป็น
อาหารสำหรับตัวอ่อนของผึง้ และผึ้งทีเ่ ปน็ ตัวเต็มวัยใหม่ๆ ผึ้งเก็บเกสรดอกไมด้ ้วยการลงไปคลุกเคล้ากับ
เกสรดอกไม้ เกสรกจ็ ะตดิ ที่ขนตามตัวผ้ึง ผงึ้ ก็จะใช้หวีที่อยู่ท่ีขา มีลักษณะเปน็ ขนแขง็ เรียงเป็นแถว ผ้ึงจะ
ใช้หวีคราดไปตามลำตวั เอาเกสรไปอัดรวมเก็บไว้ท่ตี ะกร้อเก็บเกสรที่ขาหลงั ทั้ง 2 ขา้ ง ผงึ้ งานจะเก็บเกสร
ในเวลาเช้า ทั้งนี้เพราะต้องมีความชื้นพอที่จะปั้นเกสรเป็นก้อนได้ ถ้าอากาศแห้งผ้ึงก็ไม่สามารถเก็บเกสร
เมื่อผึ้งงานเก็บเกสรได้จนเต็มก็จะรีบบินกลับรัง และหาหลอดที่ต้องการแล้วก็จะหย่อนขาคู่หลังลงไปใน
หลอดรวง แลว้ ใช้ขาคู่กลางคอ่ ยๆ เขีย่ ก้อนเกสรให้หลุดออก ก้อนเกสรก็ตกลงไปท่ีก้นหลอดรวง แลว้ ก็เป็น
หน้าที่ของผึง้ งานที่ดแู ลรัง จะมาอัดเกสรให้ตดิ แน่นอยูท่ ีก่ น้ หลอดรวงรังอีกท่ีหนึ่ง โดยผึ้งจะผสมน้ำหวาน
และน้ำลายลงไปในเกสร ทำให้เกสรไม่บูดหรือเสียสามารถเก็บได้เป็นเวลานาน แต่สีของเกสรจะเข้มขน้ึ
การเก็บน้ำหวาน น้ำหวานเป็นอาหารสำคัญอีกชนิดหนึ่งของผึ้งเพื่อใช้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและ
น้ำตาล น้ำหวาน (Nectar) เป็นของเหลวที่มีรสหวานที่ผึ้งเก็บจากต่อมน้ำหวานที่อยูใ่ นดอกไม้ เพื่อที่จะ
20
เป็นรางวัลแก่ผึ้งหรือแมลงชนิดอืน่ ๆ ที่ช่วยผสมเกสรให้เกสรแก่ตน้ พืชนั้น ผึ้งเก็บน้ำหวานโดยใช้ปากที่มี
ลักษณะเป็นท่อนยาว ดูดเอาน้ำหวานจากดอกไม้ น้ำหวานจะถูกเก็บไว้ในกระเพาะสำหรับเก็บน้ำหวาน
โดยเฉพาะผึ้งจะบินไปดูดน้ำหวานจากดอกไม้หลายๆ ดอก หรือหลายชนิดก็ได้ เมื่อเก็บน้ำหวานได้เต็ม
กระเพาะแลว้ บนิ กลับรัง ผ้ึงก็จะทำการเต้นรำเพ่อื บอกแหล่งอาหารแกผ่ งึ้ ตัวอ่นื ถ้าแหล่งของน้ำหวานมีไม่
มากกจ็ ะไมม่ กี ารเตน้ รำ ผงึ้ ก็จะเดนิ ไปบนรวงจนเจอกับผ้ึงแม่บ้าน กจ็ ะคายน้ำหวานออกให้เพื่อนำไปเก็บ
ในหลอดรวง หรือนำไปเลย้ี งตวั อ่อนเลยกไ็ ด้ จะคายนำ้ หวานทห่ี ามาได้ให้แก่ผงึ้ แม่บ้านตัวเดียวทั้งหมดก็ได้
แต่ส่วนมากมกั จะพบวา่ ผง้ึ จะคายน้ำหวานใหผ้ งึ้ แมบ่ า้ น 3 ตัวขึน้ ไป น้ำหวานที่ถกู เก็บ ไวใ้ นหลอดรวงก็จะ
ถูกทำให้เข้มข้นขึ้นโดยการระเหยเอาน้ำออก องค์ประกอบของน้ำหวานจะเปลี่ยนแปลงไป จนในที่สุด
กลายเปน็ นำ้ ผึ้งมีความเข้มข้นคอ่ นข้างสูง โดยทั่วไปนำ้ ผึ้งที่บ่มสุกไดท้ ี่แลว้ ไมค่ วรมคี วามชื้นหรือน้ำผสมอยู่
เกินร้อยละ 21 สำหรับการเก็บน้ำนั้น โดยผึ้งใชน้ ้ำทำประโยชน์หลายอยา่ งภายในรงั ผึ้งพยาบาลต้องการ
น้ำ เพื่อใช้ผสมกับน้ำผึ้งให้เจือจางลง ใช้ในการทำอาหารสำหรับตัวอ่อน และน้ำก็จำเป็นสำหรับการ
เจรญิ เตบิ โตของผ้ึงตัวเตม็ วยั เชน่ เดียวกัน ทำการชว่ ยลดอณุ หภมู ภิ ายในรัง โดยผง้ึ จะคายนำ้ ไว้ตามรวงแล้ว
ทำการกระพอื ปีกให้นำ้ ระเหยออกมาทำใหร้ งั ผงึ้ นน้ั เย็นลง และการเก็บพรอพอลสิ (Propolis) เปน็ วัสดุที่มี
ความเหนียวที่ผึ้งขนเข้าไปใช้ในรังเก็บเพื่อใช้เคลือบผนังรังใช้ยึดคอนผึ้งให้แน่น ใช้อุดรูรอยแตกต่างๆ
สำหรบั ปดิ ปากทางเขา้ รังใหเ้ ลก็ ลง หรอื ใชห้ ุ้มสตั ว์ตวั ใหญท่ ี่เกดิ ตายอย่ใู นรงั ทผี่ งึ้ ไมส่ ามารถขนออกไปทงิ้
8) การทิ้งรงั (Absconding)
การทิ้งรงั หมายถึง การที่ผึ้งทิ้งรังเดมิ พากันอพยพไปหาที่อยู่ใหม่ การทิ้งรังน้ี
ไมม่ กี ารสรา้ งนางพญาตัวใหม่ขึ้นมา แตน่ างพญาพร้อมท้ังผง้ึ ทง้ั หมดที่มอี ยู่ในรังจะพากันอพยพจากรังเดิม
จนหมด สาเหตอุ าจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมเดมิ ไม่เหมาะสม เชน่ ขาดแคลนอาหารหรอื นำ้ มศี ัตรูรบกวน
หรือประสบภยั ธรรมชาติ โดยจะสามารถพบการทิง้ รังในผึ้งพันธุ์ต่างประเทศค่อนขา้ งน้อย และผึ้งจะไมม่ ี
การท้งิ รัง ถ้าผ้ึงนางพญาไม่ตดิ ตามไปด้วย หรือยังมีตัวอ่อนหลงเหลืออยู่ในรงั
9) การแยกรงั ของผง้ึ (Swarming)
การแยกรัง (Swarming) จัดเป็นกระบวนการขยายพันธุ์ที่แท้จริงของผ้ึง
เพราะจำนวนหน่วยของสังคม (Colony) ได้เพิ่มขึ้น เราไม่ถือว่าการที่นางพญาวางไข่ ภายในรังเป็นการ
ขยายพันธุ์ เพราะถ้าเกิดผึ้งนางพญาตายไปไม่มีตัวใหม่มาทดแทน ผึ้งรังนั้นก็จะสลายไปในท่ีสุด โดยการ
แยกรังของผง้ึ จะเกิดขน้ึ กต็ ่อเม่อื รังผงึ้ รังน้ันมจี ำนวนประชากรของผ้งึ หนาแนน่ มาก และภายในรังไม่มีพ้ืนที่
สำหรับสร้างรวงใหม่เพิ่มขึ้น ผึ้งภายในรังจะอยู่กันอย่างแออัด ฟีโรโมนของผึ้งนางพญากระจายไม่ทั่วถงึ
ทำให้ผึ้งงานรู้สึกวา่ ขาดผึง้ นางพญาจึงสร้างหลอดรวงทีม่ ีลักษณะคล้ายถว้ ยคว่ำ ส่วนมากจะสร้างติดอยูท่ ่ี
ขอบรวงดา้ นล่าง จำนวนหลอดรวงไมแ่ นน่ อน ส่วนใหญ่อยูใ่ นชว่ ง 4 - 20 หลอด ผ้งึ งานก็จะต่อหลอดรวง
ถ้วยคว่ำให้มีขนาดยาวออกเรือ่ ยๆ และปิดหลอดรวงในที่สดุ หลอดรวงที่ปดิ จะมีลักษณะคล้ายฝักถั่วลสิ ง
นอกจากนี้หากผึ้งเกิดการเกาะกลุ่มกัน ณ ที่พักชั่วคราว พบว่าผึ้งจะเกาะกันในลักษณะคล้ายม่าน
21
สว่ นเปลอื กนอกผ้งึ จะเกาะกันอยา่ งหนาแนน่ ซ้อนกันอยู่ 3 ช้ัน มชี อ่ งทางสำหรับเข้าไปภายใน ซ่ึงจะมีผ้ึง
เกาะกันอย่างหลวมๆ ผึ้งขณะแยกรังนีจ้ ะมีการแบ่งหนา้ ที่กัน คือ ผึ้งที่มีอายุไม่เกิน 18 วัน จะเกาะตัวกัน
อยภู่ ายในและคอยดูแลผง้ึ นางพญา ส่วนผ้งึ ทเี่ กาะกนั เป็นเปลือก 3 ชน้ั นน้ั จะมอี ายปุ ระมาณ 18 - 20 วัน
สว่ นผ้งึ ท่มี อี ายุ 21 วันข้ึนไป จะมีหน้าท่เี ปน็ ผึ้งสำรวจ (Scout bees) คือ ทำหน้าที่ออกแสวงหาที่อยู่แห่ง
ใหมใ่ หก้ ับพรรคพวกของตน
10) การแสวงหาแหลง่ ทอี่ ยใู่ หม่ โดยผึ้งงานทท่ี ำหนา้ ท่เี ป็นผง้ึ สำรวจ (Scout bees)
ทม่ี จี ำนวนหลายร้อยตัว จะบนิ ออกจากสถานท่ีพกั ชว่ั คราวออกไปในทิศทางต่างๆ กนั เพ่ือแสวงหาแหล่งท่ี
อยใู่ หม่ เมอื่ พบโพรงไม้หรอื โพรงหิน ทีพ่ อจะอยู่อาศยั ไดก้ ็จะเข้าไปสำรวจภายในว่าน่าอยหู่ รอื ไม่ แล้วก็จะ
กลับมาเต้นรำบอกข่าวแก่กลุ่มผึ้ง การเต้นรำผึ้งก็จะเต้นรำแบบเดียวกับการเต้นรำบอกแหล่งอาหาร
โดยเต้นรำอยบู่ นผิวนอกทีเ่ ป็นตัวผ้งึ น้นั ผ้ึงสำรวจแตล่ ะตัวก็จะกลบั มาสง่ ขา่ วสารแตกต่างกัน ผง้ึ สำรวจตัว
ไหนพบทอี่ ยู่ใหมท่ ่นี ่าอยู่จะเต้นรำอย่างตน่ื เตน้ และกระฉับกระเฉงจนผึง้ สำรวจตัวอนื่ ๆ ให้ความสนใจและ
พากันออกไปสำรวจ ถ้าผึ้งสำรวจส่วนมากจะยอมรับสถานที่อยู่ใหม่ ผึ้งกลุ่มที่ที่พักชั่วคราวจะพากันบิน
เขา้ ไปอยใู่ นสถานทใี่ หม่
11) สารฟีโรโมนของผึ้ง เป็นสารที่ขับจากภายใน ทำหน้าที่เป็นสื่อแมลง
สามารถติดต่อกันได้ ปกติเป็นสารที่ขับจากภายในเพื่อให้เกิดผลภายในกลุ่มแมลงนั้น ฟีโรโมนส่วนใหญ่
สัมผัสได้โดยหน่วยของแมลง ในสังคมของแมลงฟีโรโมนมีหน้าที่หลายอย่างในการรวมสมาชิกภายในรัง
ของผึ้ง เช่น การถ่ายทอดข่าวสารภายในรัง การสัมผัสกันโดยแบ่งปันอาหารก็เป็นวิธีการส่งข่าวสารที่มี
ประสิทธิภาพ สารฟีโรโมนของผึ้งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ฟีโรโมนของผึ้งงาน (Worker pheromones)
ฟโี รโมนของนางพญา (Queen pheromones) และฟโี รโมนของผง้ึ ตัวผู้ (Male pheromones)
12) การส่ือภาษาของผงึ้ (Language of the Bees) แบ่งออกเปน็ 2 แบบ คือ
การเต้นรำแบบวงกลม (Round dance) โดยผึ้งจะเดินเป็นวงกลมเล็กๆ บนรวง เปลี่ยนทิศทางอยู่บ่อยๆ
ผึ้งจะเดินวนขวาเป็นวงกลมแล้วกลับวนซ้ายเป็นวงกลมอีกรอบหนึ่ง ผึ้งจะเต้นรำแบบนี้หลายวินาที หรือ
บางครัง้ ใชร้ ะยะเวลานานเปน็ นาทีแล้วกห็ ยดุ แลว้ ย้ายไปเต้นท่อี ่นื บนรวง ขณะที่ผึง้ ทำการเตน้ รำผงึ้ ตวั อน่ื ๆ
ก็จะเอาหนวดมาแตะตามลำตัวของผ้ึงท่ีกำลงั เต้นอยู่น้ัน และการเต้นรำแบบส่ายท้อง (Wag tail dance)
ผ้ึงจะเดนิ เป็นรปู คร่งึ วงกลมทางซา้ ยแล้วเดนิ เปน็ เส้นตรง พอถงึ จดุ เริม่ ก็จะเล้ยี วขวา เดนิ เป็นรปู คร่งึ วงกลม
และเดินเป็นเสน้ ตรงทบั กับการเดินครั้งแรก จนถึงจุดเริ่มตน้ เรียกว่าเดินครบหนึ่งรอบ ช่วงขณะที่ผึ้งเดนิ
เป็นเส้นตรงผง้ึ จะส่ายสว่ นท้องไปมา ขณะท่เี ตน้ รำผ้งึ ตวั อนื่ ๆ ก็จะให้ความสนใจล้อมรอบและใชห้ นวดแตะ
22
ภาพท่ีก2.9กการส่อื ภาษาของผ้งึ
ทีม่ าก:กกลุ่มส่งเสริมการเลย้ี งผ้ึงและแมลงเศรษฐกจิ ฯ (2546)
เม่อื ผ้งึ กลบั จากแหล่งอาหารที่อยู่ในรัศมีไม่เกนิ 100 เมตร ผงึ้ จะเต้นแบบ
วงกลม หากแหล่งอาหารอยู่ไกลกว่า 100 เมตรขึ้นไป การเต้นรำของผ้ึงจะเปลี่ยนไปเต้นรำแบบส่ายท้อง
ซึ่งการเต้นรำแบบส่ายท้องจะบอกทั้งระยะทางและทิศทางของแหล่งอาหาร ส่วนระยะทางของแหล่ง
อาหารจะบอกด้วยความเร็ว หรือช้าในการเต้นรำครบ 1 รอบ เช่น ถ้าแหล่งอาหารอยู่ห่างจากรัง 100
เมตร ผึ้งจะเต้นรำแบบส่ายท้อง 9 - 10 รอบใน 15 วินาที ถ้าอยู่ห่าง 600 เมตร จะเต้น 7 รอบ ใน 15
วินาที ถ้าอยู่ห่าง 1 กิโลเมตร จะเต้น 4 รอบใน 15 วินาที ถ้าอยู่ห่าง 6 กิโลเมตร จะเต้น 2 รอบใน 15
วินาที แสดงว่าถา้ แหล่งอาหารอยู่ไกลออกไป ผึง้ จะเต้นรำชา้ การเต้นรำของผง้ึ ในแต่ละสายพันธจุ์ ะมีความ
ใกล้เคียงกันเปน็ สว่ นมาก แตก่ ็มีขอ้ แตกตา่ งกนั บ้างเลก็ น้อย
ภาพท่ีก2.10กการเตน้ บอกทิศทางแหลง่ อาหารทไี่ ดส้ ำรวจพบของผึง้ งาน
ที่มาก:กกลมุ่ ส่งเสรมิ การเลีย้ งผงึ้ และแมลงเศรษฐกจิ ฯ (2546)
23
13) การเลี้ยงและการจดั การผงึ้ โพรง
(1) ลักษณะการเลี้ยงผึ้งโพรง โดยกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจฯ
(2546) อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเลี้ยงผึ้งโพรง ใน 2 รูปแบบ คือ การเลี้ยงผึ้งโพรงแบบสมัยเก่า และ
การเลย้ี งผ้งึ โพรงแบบสมยั ใหม่ โดยการเลยี้ งท้ังสองแบบมลี ักษณะเฉพาะดงั น้ี
(1.1) การเล้ียงผึ้งโพรงแบบสมัยเก่า
ภาพท่ีก2.11กการเลยี้ งผง้ึ โพรงแบบสมยั เก่า
การเลี้ยงผึ้งโพรงแบบเก่านี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรงส่วนใหญ่จะ
เล้ยี งผึง้ เป็นอาชีพเสริม จงึ ไม่ค่อยมีเวลาใหก้ ับผึ้งมากนัก ถงึ เวลาก็มาเก็บเก่ียวผลประโยชน์จากผึ้ง วัสดุที่
ใช้ก็เป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ซึ่งมีลักษณะที่เป็นโพรงให้ผึ้งเข้าไปอยู่อาศัยได้ เช่น โพรงไม้ โอ่ง ไห
กระบุง และทอ่ ซเี มนต์ เป็นตน้ และต่อมาวัสดุเหลา่ น้ีหายากหรือมรี าคาสงู ขนึ้ จงึ ใช้กลอ่ งไม้หรือรังไม้แทน
ซึ่งสะดวกต่อการตัดน้ำผึ้ง การเลี้ยงผึ้งแบบนี้ลงทุนน้อย แต่ผลผลิตที่ได้ก็น้อยด้วย และไม่สามารถจะ
จัดการรังผึ้งในเรื่องต่างๆ เช่น การตรวจภายในรัง การป้องกันกำจัดศัตรูผึ้ง การเสริมรังผึ้งให้แข็งแรง
การแยกรังผึ้ง เป็นต้น ตลอดจนการขนย้ายรังผึ้งแบบนี้ทำได้ไม่สะดวกเพราะถ้ากระทบกระเทือนมาก
รวงผึ้งจะขาดลง ดงั น้นั การเล้ยี งผง้ึ แบบน้ีควรพฒั นาไปเป็นรังผง้ึ แบบสมัยใหม่ จะทำใหก้ ารเลย้ี งผึ้งประสบ
ความสำเรจ็ ย่งิ ขนึ้
24
(1.2) การเลย้ี งผ้ึงโพรงแบบสมัยใหม่
การเลี้ยงผึ้งโพรงแบบสมัยใหม่ สืบเนื่องจากการเลี้ยงผึ้งพันธ์ุ
ในประเทศไทย จึงมีผู้คิดค้นรังผึ้งและคอนที่ใช้กับผึ้งโพรงขึ้นหลายแบบ โดยในแต่ละแบบจะคำนึงถึง
ช่องว่างระหว่างรวงผึ้งเป็นสำคัญ เพราะผึ้งแต่ละชนิดมีระยะห่างต่างกัน ผึ้งโพรงไทยอยู่ระหว่าง 6 - 8
มลิ ลิเมตร รงั เลยี้ งผ้ึงสามารถบรรจคุ อน 8 - 10 คอน ลกั ษณะการทำรังผึ้งโพรงแบบสมยั ใหม่ จึงตอ้ งจัดทำ
เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งสามารถใช้แทนกนั ไดท้ ุกรัง และการเลี้ยงผึ้งที่มีรังและคอนมาตรฐานน้ี
ส่งผลทำให้ผู้เลี้ยงผง้ึ สามารถจดั การรงั ผึ้งและตรวจรวงผงึ้ ได้อย่างสะดวก แยกรงั หรือขยายรงั และขนย้าย
ไปในแหล่งอาหารไดอ้ ยา่ งสะดวก ตลอดจนจะไดผ้ ลผลิตน้ำผ้ึงมากขึ้น
ภาพท่ีก2.12กการเล้ยี งผึง้ โพรงแบบสมยั ใหม่
(2) การเลอื กพ้ืนท่ีวางรงั ผง้ึ ท่เี หมาะสม กลมุ่ ส่งเสรมิ การเล้ียงผ้งึ และแมลงเศรษฐกิจฯ
(2546) กลา่ วว่า ควรใหอ้ ยูใ่ กล้กบั แหล่งพชื ที่เปน็ อาหารของผงึ้ และมีดอกไม้บานตลอดปี อยู่ในสถานที่มี
ความร่มรื่น แสงสว่างสาดส่องรำไร อาจเป็นใต้ต้นไม้ก็ได้ ลมพัดไม่แรง ควรจะเป็นลานโล่งมีแหล่งน้ำ
สะอาดอยู่ใกล้ๆ แต่น้ำไม่ท่วม มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ พื้นที่เลี้ยงผึ้งนี้นิยมเรียกกันว่า "ลานเลี้ยงผึ้ง"
25
การเลือกลานเล้ียงผึ้งนบั ว่าเป็นบนั ไดขัน้ แรกท่ีจะนำไปสู่ความสำเร็จ ถ้าเลือกลานเลี้ยงผ้ึงไม่ดี จะนำไปสู่
ความเสียหายได้ทันที โดยลานเลี้ยงผึ้งควรอยู่ในสวนผลไม้ หรือที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นฉากกำบังลมและแดด
เพราะถ้าลมแรงมากไป จะปะทะการบินของผึ้งในการบินออกหาอาหาร ถ้าร้อนมากไป ผึ้งจะต้องเสีย
พลังงานเป็นจำนวนมากเพ่ือลดความร้อนในรงั ลานผึ้งไม่ควรอยูใ่ นแหลง่ ชุมชน เนื่องจากผึ้งอาจจะบินไป
ชนและต่อยคนที่เดินผ่าน และไม่ควรอยู่ในบริเวณที่เปิดไฟตลอดทั้งคืน เพราะผึ้งโพรงจะออกมาเล่นไฟ
กลับรงั ไมถ่ กู และตายในทสี่ ดุ การเลย้ี งผึง้ ใหไ้ ด้ผลผลิตจากผ้งึ นั้น ผเู้ ล้ียงจำเป็นตอ้ งเลือกหาพื้นท่ี ตลอดจน
สภาพบริเวณทต่ี ้ังรงั ผึง้ ให้เหมาะสม เพอ่ื ที่จะได้ผลผลติ จากผึ้งมากท่สี ดุ
ภาพท่ีก2.13กการเลอื กพ้ืนที่วางรังผง้ึ ทเ่ี หมาะสม
(3) วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรง (กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและ-
แมลงเศรษฐกิจฯ, 2546) โดยผู้เลี้ยงผึ้งโพรงที่ดีจะต้องพถิ ีพิถันเลือกใช้อุปกรณ์เป็นอย่างมาก อุปกรณ์ที่
จำเป็นต้องใช้นั้นควรมีคุณภาพและได้มาตรฐาน ซึ่งจะมีผลถึงความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อีกทั้งยัง
สะดวกในการประกอบชิ้นส่วนแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และง่ายต่อการดูแลรักษา อุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี
อาจสง่ ผลให้เราตอ้ งลงทนุ สูงขึ้นเลก็ น้อยในระยะแรกๆ แต่ก็ใหผ้ ลคมุ้ ค่าในระยะยาว ซ่งึ เกษตรกรผู้เลี้ยงผ้ึง
สามารถจัดทำขึ้นได้ตามความเหมาะสมในพื้นท่ี และการประยกุ ต์ใช้อุปกรณ์ที่สำคัญในการเลี้ยงผึ้งโพรง
ดังตารางที่ 2.7
26
ตารางที่ก2.7กกวัสดแุ ละอปุ กรณใ์ นการเลี้ยงผงึ้ โพรง
ลำดับ วัสดุและอุปกรณ์ ภาพวสั ดแุ ละอุปกรณใ์ นการเลี้ยงผ้งึ โพรง
1 รงั ท่ีใช้ในการเล้ียงผ้งึ โพรง
2 เสาหลกั วางรงั ผงึ้ หรือขาตงั้ รงั ผึ้งโพรง
3 หลงั คารังผ้งึ
4 ไขผง้ึ โพรง
5 คอนผึ้ง
ทีม่ าก:กชนญั พร และคณะ (2562)
ตารางที่ก2.7กก(ต่อ) 27
ลำดบั วสั ดแุ ละอปุ กรณ์ ภาพวสั ดแุ ละอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรง
6 ลวดสแตนเลส
7 หมวกตาขา่ ยกันผ้ึงต่อย
8 แปรงปัดตวั ผง้ึ
9 เคร่อื งพน่ ควัน
10 กลักขังนางพญาผึ้ง
11 มีด
อุปกรณ์อื่นๆ เหล็กงัดรังผึ้ง ค้อน ตะปู
เลื่อย ถาดสำหรับใส่รวงผึ้ง เชือกฟาง
12 หรือหนังยางใช้สำหรบั ในการมัดรวงผึ้ง
ถังพักน้ำผึ้ง ชุดป้องกันผึ้งต่อย และ
ขวดสะอาดบรรจุน้ำผ้ึง เปน็ ตน้
ท่มี าก:กชนัญพร และคณะ (2562)
28
(4) การจัดหาพันธุผ์ งึ้ โพรง (กลุ่มสง่ เสรมิ การเล้ียงผง้ึ และแมลงเศรษฐกิจฯ, 2546)
ผึ้งโพรงโดยปกติ จัดเป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย โดยสถานที่ใดมี
แหล่งอาหารของผึ้งที่มีความอดุ มสมบูรณ์จะมีผึ้งอาศัยอยู่ สำหรับการเริ่มต้นนำผึ้งโพรงมาเลี้ยงสามารถ
ดำเนนิ การได้ 3 วิธี คือ การซอ้ื ผ้ึงมาเล้ยี ง การลอ่ ผ้งึ และการบงั คับหรือการจับผงึ้ ธรรมชาติ โดยแต่ละวธิ ีมี
ความแตกตา่ งกันดงั นี้
(4.1) การซอ้ื ผ้ึงมาเล้ียง เปน็ วิธีการทีส่ ะดวก รวดเร็ว แตล่ งทุนสงู และผึ้ง
มีโอกาสทิ้งรังสูงหากซื้อไปเลี้ยงในพื้นที่หา่ งจากแหล่งเลี้ยงเดิมมากเกินไป เนื่องจากสภาพแวดล้อม หรือ
แหล่งอาหาร ปริมาณอาหารของผึ้ง รวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ แตกต่างจากจุดที่เลีย้ งอยู่เดมิ อาจทำให้
เปน็ การลงทนุ สงู โดยเปล่าประโยชน์
(4.2) การล่อผึ้ง เป็นวิธีการนำกล่องหรอื รังผึ้งไปวางล่อผึง้ ตามธรรมชาติ
ในสถานทีร่ ่มร่นื มีแหล่งน้ำและอาหารท่สี มบูรณ์ เพอ่ื ลอ่ ผึ้งทีอ่ พยพหนรี งั แยกรงั หรอื ผ้ึงแสวงหาท่ีอยู่ใหม่
ใหเ้ ข้ามาอาศัยในรงั ลอ่ ผงึ้ ท่ีตัง้ ไว้ ก่อนท่จี ะทำการเคลือ่ นย้ายรังผ้ึงโพรงนไี้ ปยังพนื้ ที่ ทต่ี ้องการเลย้ี งหรือตัด
รวงผึ้งเข้าคอนตอ่ ไป การล่อผึ้ง ควรพิจารณาถึง รังที่ใช้ในการล่อผึง้ ทีเ่ หมาะสมควรทำจากวัสดุธรรมชาติ
เช่น ไม้เก่า ใบมะพร้าว ทางมะพร้าว ใบจาก หรือวัสดุตา่ งๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น ปราศจากกลิ่นยางไมแ้ ละ
สารเคมตี ่างๆ ท้ังน้ี เป็นการใชว้ ัสดเุ หลือใช้ให้เกดิ ประโยชน์และประหยัดต้นทนุ และก่อนท่ีจะนำรังล่อผ้ึง
โพรงไปวางในพ้ืนทที่ เี่ ตรยี มไว้ ให้นำไขผึง้ โพรงบรสิ ุทธ์มิ าหลอมละลาย ทาด้านในของฝารังล่อผ้ึง เพ่ือเป็น
การดบั กลิน่ ยางไม้และเปน็ การกระตุ้นให้ผึง้ เขา้ รงั ลอ่ อีกทง้ั พื้นทีต่ ัง้ รงั ล่อผึ้ง ต้องมแี หล่งอาหารสำหรับผึ้ง
และมีผึ้งอาศยั อยู่ เช่น ในสวนมะพร้าว เงาะ ทุเรียน กาแฟ และชมพู่ เปน็ ตน้ และต้องเปน็ พ้ืนท่ีร่มรื่นใกล้
แหล่งนำ้ การคมนาคมสะดวก รวมถึงควรตรวจดูรังลอ่ ผ้งึ อยา่ งสม่ำเสมอ เนื่องจากเมอื่ นำรังลอ่ ผง้ึ ไปวางทงิ้
ไว้นาน แตผ่ ึง้ ยังไมม่ าอยมู่ กั จะมีมด ปลวก และศัตรูอื่นๆ เขา้ ไปในรงั ลอ่ ผึ้ง จึงต้องกำจัดออกจากรังล่อผึ้ง
ให้หมด และย้ายจุดวางรังลอ่ ไปจดุ อืน่ ที่เหมาะสมกวา่ สำหรับความสูงของเสารังล่อผ้ึงควรสูงประมาณ 1
เมตร โดยปกั เสาหลักและวางรังลอ่ ให้แขง็ แรง พรอ้ มมหี ลงั คากันแดดและฝน เพอื่ ยืดอายใุ นการใช้งานของ
รังผ้งึ
(4.3) การบังคับหรือการจับผึ้งธรรมชาติ คือการนำผึ้งที่อาศัยอยู่ตาม
ธรรมชาติ เชน่ โพรงไม้ ซอกหิน และชายคาบ้าน เป็นตน้ หรือผง้ึ ทไ่ี ดจ้ ากรงั ล่อผึง้ นำมาตัดรวงบังคับเข้า
คอนและนำไปวางเลี้ยงในกล่องเลยี้ งผ้ึงท่ีเตรยี มไว้ สำหรับการบังคบั ผ้งึ เข้าคอนมวี ธิ ีการดงั น้ี
(4.3.1) เตรยี มเครือ่ งมอื และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้พรอ้ ม โดย
ผ้ปู ฏบิ ตั ิงานจะตอ้ งแต่งกายดว้ ยชุดจบั ผ้ึงให้รัดกุม
(4.3.2) ลกั ษณะของรังผึง้ ทเ่ี ขา้ คอนได้ รังจะตอ้ งสมบรู ณ์ คือมีน้ำผึ้ง
เกสร ไข่ หนอน ดักแด้ และมีประชากรผึง้ หนาแน่น อีกทง้ั ลกั ษณะรวงรังตอ้ งมีอายไุ มต่ ำ่ กว่า 25 วนั และมี
รวงผงึ้ ประมาณ 5 - 8 รวง
29
(4.3.3) การใช้เครื่องพ่นควันพ่นใส่รังผึ้งเบาๆ โดยผู้ปฏิบัติงานควร
ยนื ด้านข้างรัง ไมย่ นื หน้ารงั แลว้ ทำการเปิดฝารังผึ้งออก
(4.3.4) ทำการตดั รวงผึ้งทลี ะรวง จากช้ันนอกออกก่อนด้วยมีด หรือ
มดี คตั เตอร์
(4.3.5) นำรวงผงึ้ ท่ีตดั มาเข้าคอน โดยการวางทาบรวงผึง้ เข้ากบั คอน
ที่ขงึ ลวดแล้ว ในจำนวน 1 รวงต่อ 1 คอน แลว้ ใชม้ ีดกรดี ทรี่ วงผงึ้ ลกึ ประมาณคร่ึงหนึ่งของความหนาของ
รวงผง้ึ ไปยังแนวเสน้ ลวด และกดเส้นลวดลงเขา้ ไปตรงกึ่งกลางของรวงผึ้งทก่ี รีดร่องไว้
(4.3.6) นำรวงผึ้งที่เข้าคอนเรียบร้อยแล้ว ไปวางในรังเลี้ยงผึ้งที่
เตรียมไว้ เรียงลำดบั ของรวงผง้ึ ให้เหมือนเดมิ ตามธรรมชาติ
(4.3.7) ใช้กลักขังครอบนางพญาผึ้ง และนำไปแขวนในรังเลี้ยงผ้ึง
ตรงกลางระหว่างคอน
(4.3.8) นำรงั เลีย้ งผึง้ ใหม่ทไี่ ด้ ไปวางไว้บรเิ วณที่เดิมก่อน 1 – 3 วัน
แล้วจงึ ค่อยปล่อยนางพญาผึง้ กอ่ นทีจ่ ะเคลอ่ื นยา้ ยกลอ่ งเลี้ยงผง้ึ ไปไว้ในทต่ี ้องการเลยี้ งต่อไป
ภาพที่ก2.14กการจดั หาพนั ธุผ์ ้ึงโพรงโดยการบังคับหรอื การจบั ผึ้งธรรมชาติ
(5) การจัดการรังผึ้ง โดยกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจฯ
(2546) กล่างถึงการจัดการสภาพภายในรังผึ้งให้เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นเรื่องที่สำคัญต่อการเลี้ยงผ้ึง
เพราะการเลีย้ งผึ้งจะประสบผลสำเรจ็ ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคของการจัดการภายในรังผ้ึง โดยผึ้งแต่ละรงั จะต้อง
มีความแข็งแรง มีประชากรหนาแน่น มีคอนที่มีไข่ ตัวหนอน ดักแด้ ผึ้งอนุบาล ผึ้งสนาม ในปริมาณที่
เหมาะสมการดแู ลและจดั การภายในรงั ผึ้ง ควรปฏบิ ัติดังนี้
30
(5.1) เวลาในการตรวจดรู งั ควรเป็นชว่ งเชา้ หรอื ชว่ งเย็นที่มีอากาศแจ่มใส
ท้องฟ้าปลอดโปร่งไม่ร้อนอบอ้าวหรือร้อนเกินไป เพราะถ้าร้อนเกินไปผึ้งจะดุร้าย และถ้าผึ้งขาดอาหาร
และถกู รบกวน ผึง้ รงั นน้ั ก็จะดุร้ายเชน่ กนั
(5.2) ระยะเวลาในการตรวจรังผ้ึง ผ้เู ลีย้ งผึง้ ควรตรวจรังผึง้ ทุก 7 - 10 วัน
ตอ่ ครง้ั
(5.3) การตรวจดูรังผึ้ง ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องตรวจดูรังผ้ึงเพือ่ ตรวจสอบสภาพ
ของผึ้งทเ่ี ลย้ี ง
(5.4) การตรวจดูอาหารผึ้ง ธรรมชาตผิ ึ้งจะเก็บนำ้ ผึ้งไวท้ ี่ส่วนบนของรวง
ถดั ลงมาเป็นส่วนท่ีใช้เก็บเกสร หนอน ไข่ และดักแด้ ตามลำดบั นอกจากการเก็บน้ำผ้งึ และเกสรจะอยู่ใน
สภาพดังกล่าว คอนทีอ่ ยู่ชิดริมนอกสดุ มักจะเป็นคอนนำ้ ผ้งึ ถัดเข้ามาจะเป็นคอนเกบ็ เกสร แลว้ ถึงเปน็ คอน
ทมี่ ีตวั หนอน มไี ข่และดกั แด้ทป่ี ดิ ฝาแลว้ อยู่ตรงกลางคอน โดยคอนทีม่ ไี ข่และตวั หนอนนน้ั ตรงหัวคอนก็จะ
มีน้ำผึ้งเก็บอยู่บ้างเหมือนกัน ให้ตรวจดูว่ามีน้ำผ้ึงหรอื เกสรเก็บอยูม่ ากพอหรือไม่ ถ้าพบวา่ ในคอนมีน้ำผึ้ง
เตม็ อยู่ 1 คอน หรอื ดา้ นหวั ของคอนอนื่ ๆ มีน้ำผึ้งอยู่แล้ว แสดงวา่ น้ำผ้งึ ท่ีเก็บมาเพยี งพอเลยี้ งรังในช่วงน้ัน
สว่ นเกสรอยู่ในหลอดรังมปี ระมาณ 1 คอน จึงเพียงพอ
(5.5) การตรวจดไู ข่ ภายในรังผ้งึ ทีต่ รวจสอบนนั้ บางคร้งั จะไม่สามารถหา
นางพญาพบไดซ้ ึง่ มวี ธิ ีการทจ่ี ะดวู ่าภายในหลอดรวงผ้งึ มไี ขอ่ ยหู่ รอื ไม่ ถา้ พบว่ามีไขอ่ ย่ภู ายในหลอด หลอด
ละหน่ึงใบอยอู่ ย่างสมำ่ เสมอภายในรวงก็แสดงว่าผ้ึงโพรงนั้นมีนางพญาอยู่ (เพราะไขจ่ ะมีอายุไม่เกนิ 3 วัน)
และนางพญาตัวนน้ั เปน็ นางพญาทดี่ ี แต่ถ้าไขอ่ ย่ใู นหลอดไม่สมำ่ เสมอทว่ั รวง แสดงว่านางพญาตัวนั้นไม่ดี
ควรจะเปลย่ี นใหม่ หรือในกรณีทพ่ี บว่าไขว่ างไมเ่ ปน็ ระเบียบมีหลายฟองในหลอดเดียวกันก็แสดงว่ารังนั้น
อาจจะขาดนางพญา หรือนางพญาไข่ไม่ดกี ็ได้ ให้ทำการตรวจเช็คให้ละเอียดอีกคร้ัง และพิจารณาว่าควร
จะเปลย่ี นนางพญา หรอื ยบุ รงั ไปรวมกับรงั อน่ื ตอ่ ไป
(5.6) การตรวจดูตัวอ่อน ภายในรังผึ้งจะพบผึ้งในระยะต่างๆ ทุกระยะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผึ้งตัวอ่อนมีความสำคัญมากที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ที่แข็งแรงพร้อมที่จะเป็น
ประชากรผึ้งต่อไป ดังนั้นผึง้ ตัวอ่อนจะต้องสมบรู ณ์ ไม่เป็นโรค มีการเจริญเตบิ โตที่ปกติ หากผิดปกติกใ็ ห้
ดำเนินการแกไ้ ข
(5.7) การตรวจรวงผึ้ง ถ้าผู้เลี้ยงผึ้งโพรงเลี้ยงผึ้งไประยะหนึง่ เมื่อทำการ
ตรวจรวงผึ้ง จะพบว่ารวงผึ้งทีผ่ ึ้งสร้างรวงนัน้ มีสีเข้มขึ้นจนถึงสีดำ แสดงว่ารวงผึ้งนั้นเก่าไม่เหมาะที่จะใช้
เล้ยี งผึง้ เพราะขนาดของหลอดรวงจะเลก็ ลงผ้งึ ที่เกดิ ใหม่จะตวั เลก็ ลงดว้ ย ดังน้นั จึงควรยกคอนผึ้งนั้นไปไว้
ด้านขา้ งรอใหผ้ ึ้งออกจากหลอดรวงหมด แลว้ จึงนำคอนน้นั ไปหลอมละลายเปน็ ไขผึง้ ต่อไป
31
ภาพที่ก2.15กการจดั การรังผ้งึ
(6) พืชอาหาร
พืชอาหารของผึ้ง โดยผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องทราบถึงแหล่งอาหารของผึ้งท่ี
สำคัญในการดำรงชีวิตของผึ้ง ได้แก่ เกสรดอกไม้ โดยผึ้งจะไปเก็บเกสรจากดอกไม้ต่างๆ เช่น มะพร้าว
ลำไย พชื ตระกูลปาล์ม นุ่น เงาะ และข้าวโพด เป็นต้น เพ่อื ใชเ้ ป็นอาหารโปรตีน แรธ่ าตุ วติ ามิน และผง้ึ จะ
เก็บน้ำหวานจากตอ่ มน้ำหวานของพืชชนิดตา่ งๆ เชน่ ดอกเสมด็ มะพร้าว กาแฟ ลำไย และทเุ รียน เปน็ ต้น
โดยผง้ึ จะนำมาบม่ เป็นนำ้ ผง้ึ ซึง่ จะเป็นสารคาร์โบไฮเดรตที่ใหพ้ ลังงานแก่ผ้ึง พชื อาหารทีส่ ำคญั ของผึ้งโพรง
รวมถึงควรจัดน้ำสะอาดให้ผึ้งไว้บริโภค ถ้าในบริเวณใกล้เคียงไม่มีแหล่งน้ำในธรรมชาติ การจัดหาน้ำ
สะอาดให้ผึ้งมีนำ้ บรโิ ภคอยู่ตลอดเวลา เปน็ เร่ืองท่ีจำเปน็ เพราะผงึ้ จะนำนำ้ ไปเจอื จางน้ำผึ้งสำหรับไปเลี้ยง
ตัวออ่ น และช่วยในการระบายความร้อนภายในรังผ้ึง รวมทั้งรักษาความสมดลุ และความชน้ื ภายในรวงรัง
ในการช่วยให้ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน ผึ้งจะชอบน้ำอุ่นเล็กน้อย การจัดน้ำสะอาดๆ ให้ผึ้งโดยการใส่น้ำ
สะอาดลงไปในภาชนะ แลว้ ใส่กอ้ นหนิ หรือกิง่ ไม้ ลงไปตามความเหมาะสมเพือ่ ใชเ้ ป็นที่เกาะของผึ้งขณะมา
กินน้ำ แต่ต้องคอยเติมน้ำอย่างสม่ำเสมอและอย่าปล่อยให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งสามารถ
ศึกษาชนิดของพืชอาหารผง้ึ ได้ ดังตารางท่ี 2.8 และภาพที่ 2.16
32
ตารางท่ีก2.8กกพืชอาหารของผงึ้ คณุ ประโยชนต์ ่อผ้ึง
ระยะเวลาดอกไม้บาน ลักษณะชนดิ ไม้
ชอื่ พชื
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
น้ำหวาน
เกสร
1. มะพรา้ ว ++ + ไม้ยนื ตน้
2. เงาะ ++ + ไมย้ นื ตน้
3. ทเุ รยี น ++ + ไม้ล้มลุก
4. ยางพารา ++ + ไมย้ นื ตน้
5. มะมว่ งหิมพานต์ +- ไม้ยืนตน้
6. กาแฟ +- ไมย้ ืนตน้
7. สาบเสือ ++ + ไม้ล้มลุก
8. ยคู าลปิ ตสั ++ + ไม้ยืนตน้
9. ไม้ป่าชายเลน ++ + ไมย้ นื ตน้
10. ข้าว ++ + ไม้ล้มลุก
11. ดอกเสมด็ ++ + ไม้ยนื ต้น
12. ปาล์มน้ำมนั -+ ไม้ยืนต้น
13. พืชตระกลู สม้ ++ + ไมย้ ืนต้น
14. ต้นตำเสา - ++ ไม้ยืนต้น
15. กลว้ ย -+ ไมล้ ้มลกุ
16. ขา้ วโพด - ++ ไม้ล้มลุก
17. บวั ++ ไมล้ ้มลุก
ที่มาก:กกรมส่งเสริมการเกษตร (2556)
หมายเหตุก:ก1. (++) คอื ให้หรอื มีนำ้ หวานหรือเกสรมาก, (+) คือ ใหห้ รือมีน้ำหวานหรือเกสร
และ (–) คอื ไมใ่ ห้หรอื ไมม่ นี ้ำหวานหรอื เกสร
2. ( ) คือ ช่วงเดอื นท่เี หมาะสม
3. การบานของดอกไมใ้ นแตล่ ะพน้ื ที่ และในแตล่ ะปีอาจมกี ารบานในชว่ งท่ีแตกต่างกนั
ในแตล่ ะจงั หวัดตามภูมิประเทศและภูมิอากาศ
33
ภาพที่ก2.16กตวั อยา่ งพืชอาหารของผงึ้
ท่ีมาก:กสมั ฤทธิ์ (2559)
34
(7) โรคและศตั รขู องผง้ึ โพรง (กลุม่ ส่งเสรมิ การเลย้ี งผึ้งและแมลงเศรษฐกิจฯ, 2546)
การเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นนอกจากผู้เลี้ยงจะประสบปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการ
จัดการผึ้งแล้ว ปัญหาสำคัญอกี ประการหนึ่งที่ทำความเสียหายให้กับผึ้งท่ีเลี้ยงคือ ปัญหาเรื่องโรคและ
แมลงทีเ่ ปน็ ศัตรูของผึง้ ซงึ่ แบ่งออกเปน็
(7.1) สัตว์ท่ีกนิ ผึง้ เป็นอาหาร ไดแ้ ก่ แมงมมุ จ้ิงจก ตกุ๊ แก คางคก อึ่งอ่าง
กบ นก จง้ิ โกรง่ กงิ้ กา่ และจ้ิงเหลน เป็นตน้ สตั ว์เหลา่ นจี้ ะจับผ้ึงกินเปน็ อาหาร เมื่อพบในแหล่งเลี้ยงผ้ึงให้
กำจัดทิ้ง หรือไล่ออกไป และทำความสะอาดรงั อยูเ่ สมอ
(7.2) แมลง
(7.2.1) หนอนผีเสื้อกินไขผึ้ง (Wax moth) เป็นศัตรูที่สำคัญของ
ผึ้งโพรงและพบในรังผึง้ ที่อ่อนแอมีประชากรน้อย ตัวแก่เป็นผเี สื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง มาวางไข่ในรงั ผ้งึ ท่ีมี
ความออ่ นแอ มีประชากรน้อย และมีตัวอ่อนซง่ึ เป็นตวั หนอนจะไปกัดกินรวงผ้ึงให้เสยี หาย ป้องกันโดยทำ
ใหป้ ระชากรผง้ึ ที่แขง็ แรง
(7.2.2) มด จะเข้าไปกัดกินตัวอ่อน ตัวแก่ของผึ้งและจะขโมย
น้ำผึ้งในรัง ปอ้ งกันโดยการใชเ้ ศษผ้าชบุ นำ้ มันเครือ่ งเก่าพนั รอบเสาหรือขาต้ังรังผงึ้
(7.3) ปลวก จะกัดกินรังผึ้งทำให้รังเลี้ยงผึ้งผุกร่อนพังไปไม่สามารถใช้
เลี้ยงผึ้งได้ โดยให้หม่ันดแู ล ตรวจทำความสะอาดรังผึ้งอย่างสมำ่ เสมอ
(7.4) ไร ซึ่งดำรงชีวิตแบบตัวเบียนจะดูดกินของเหลวภายในตัวผึ้งหรือ
เลือดผึ้ง ไรที่เป็นศัตรูของผึ้งโพรง คือ ไรวาร์รัว ผึ้งทีถ่ ูกไรเบียนถ้ารอดชีวิตอยูไ่ ด้จะพิการ รูปร่างผิดปกติ
ปีกไม่แผ่ออกในสภาพปกติตามธรรมชาติ ผึ้งโพรงจะมีความต้านทานต่อการระบาดของไรศัตรูผึ้ง โดยจะ
พบเห็นไรถูกผึ้งงานกัดทำลาย และถ้าในรังผึ้งโพรงมีไรระบาดมาก ผึ้งโพรงจะย้ายทิ้งรัง การใช้สารเคมี
ปอ้ งกันและกำจดั ไร จึงไม่มคี วามจำเป็นสำหรบั การเลยี้ งผงึ้ โพรง
(7.5) โรคผึ้ง ที่พบมากที่สุด คือ โรคแซกบรูด (Sacbrood) เกิดจาก
เชื้อไวรสั ลักษณะของโรค คอื ตัวอ่อนจะตายก่อนปิดฝา และระยะปดิ ฝาตัวออ่ นมีสีขาวขุ่นถึงเหลืองหรือ
น้ำตาลเข้ม ต่อมาจึงค่อยๆ แห้ง โดยส่วนหัวจะหด ส่วนท้ายจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำ การป้องกนั
และกำจัดโดยวิธีทำให้รังผึ้งแข็งแรงต้านทานโรค เปลี่ยนรวงตัวอ่อนที่เป็นโรคทิ้ง นำไปเผาทำลายและ
เปลย่ี นนางพญาผ้ึง
35
ภาพที่ก2.17กตัวอย่างการทำลายโดยหนอนผีเส้อื กนิ ไขผ้ึง
(8) ตน้ ทุนการเลีย้ งผงึ้ โพรง
ต้นทุนการเลี้ยงผึ้งโพรง สำหรับการเริ่มต้นเล้ียงผึ้งโพรง เกษตรกรแต่ละ
รายมีวิธีการหาพันธุ์ผึ้งมาเลี้ยงแตกต่างกัน ดังนั้นต้นทุนจึงแตกต่างกันด้วย ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์บางอย่าง
เกษตรกรสามารถทำเองจากวัสดทุ ี่มีในท้องถน่ิ จะสามารถลดต้นทนุ ได้อกี ทางหนึ่ง ซ่ึงแตล่ ะวิธีการเล้ียงจะ
มตี ้นทุนการผลติ ดังตารางที่ 2.9
ตารางที่ก2.9กกต้นทุนการเลย้ี งผึ้งโพรง
ลำดับ วิธกี ารจัดหาพันธุผ์ ง้ึ โพรง ราคารวมประมาณ (บาทตอ่ ชดุ ) หมายเหตุ
1 การซื้อพนั ธุผ์ ึ้งโพรงมาเลี้ยง 1,500 – 2,000 ราคาจะแตกตา่ งกัน
2 การลอ่ ผึ้งโพรง 1,030 – 1,080 ในแตล่ ะพนื้ ที่ มักจะซ้อื
3 การบังคบั หรอื การจับผ้ึงธรรมชาติ พนั ธุผ์ ึ้งมาพร้อมกับรังผ้ึง
1,830 ต้นทนุ จากการซื้อวัสดุ
และอปุ กรณ์
ทีม่ าก:กกลุ่มสง่ เสริมการเล้ยี งผึง้ และแมลงเศรษฐกิจฯ (2546)
1.3 ปริมาณผลผลติ ของผึง้ โพรงในภาคใต้
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร (2562)
ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ในพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันตก ประจำปี 2562
โดยผลการสำรวจข้อมูลเฉพาะผึ้งโพรงไทย ณ เดือนตุลาคม 2562 มีผลการสำรวจคือ มีเกษตรกรผู้เลี้ยง
ท้งั หมด 508 กลมุ่ และ 20,072 ราย มีจำนวนรงั เลี้ยงทงั้ หมด 114,974 รงั (เฉล่ยี 6 รังตอ่ ราย) มีจำนวน
36
รงั ทมี่ ีผึ้งอยทู่ งั้ หมด 54,074 รงั หรอื คิดเปน็ รอ้ ยละ 47.03 ของจำนวนรังเล้ยี งท้งั หมด และมีราคาจำหน่าย
นำ้ ผึ้งโพรงเฉล่ีย 444 บาท (750 มลิ ลลิ ิตร) ดงั ตารางที่ 2.10
ตารางที่ก2.10กกข้อมลู เกษตรกรผ้เู ลี้ยงแมลงเศรษฐกจิ รายจังหวดั ปี 2562 ผึ้งโพรงไทย (ตุลาคม 2562)
จังหวดั จำนวนเกษตรกรทเ่ี ลยี้ ง ผึง้ โพรงไทย ราคาจำหนา่ ย
(บาทต่อ 750
1. ชมุ พร กลุ่ม จำนวนรังเลีย้ งทัง้ หมด จำนวนรังเล้ยี งท่ีมีผึ้ง มิลลิลิตร)
2. ระนอง (รงั ) (รงั )
3. สรุ าษฎรธ์ านี จำนวน จำนวน รายย่อย 350
4. นครศรธี รรมราช กลมุ่ สมาชกิ 19,796 9,606 400
5. กระบ่ี 5,830 3,272 413
6. พทั ลงุ 81 3,588 267 10,565 4,560 477
7. ตรัง 16,282 6,210 429
8. ภเู ก็ต 12 554 600 4,921 2,448 461
9. สตูล 15,837 8,091 447
10. พงั งา 48 - 258 15,387 7,284 650
11. สงขลา 290 21 -
12. นราธิวาส 81 286 617 4,582 1,914 500
13. ปัตตานี 9,388 4,005 485
14. ยะลา 30 772 308 8,231 4,435 433
15. กาญจนบุรี 41 40 625
16. สุพรรณบรุ ี 40 1,654 1,114 179 94 -
17. นครปฐม 30 10 -
18. ราชบรุ ี 63 2,723 396 150 118 -
19. สมทุ รสาคร -
20. สมทุ รสงคราม 2 62 22 - - 400
21. เพชรบรุ ี - - -
22. ประจวบคีรขี นั ธ์ 34 1,345 79 72 72 -
- - -
รวม 74 2,059 229 - - 310
169 169 444 (เฉล่ีย)
17 486 1,090 3,224 1,725
114,974 54,074
1 10 3 100 47.03
3 25 15
- -2
2 30 1
- --
- --
1 10 2
- --
- --
2 62 -
17 1,393 10
508 15,059 5,013
ร้อยละ
ท่มี าก:กศูนย์สง่ เสริมเทคโนโลยกี ารเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จงั หวัดชมุ พร (2562)
37
1.4 มาตรฐานนำ้ ผ้ึง
มาตรฐานน้ำผึ้ง โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดมาตรฐานสนิ ค้าเกษตร น้ำผึ้ง (Honey) ปี 2556 ดังนี้
1.4.1 ขอบข่าย มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ กำหนดคุณภาพของน้ำผึ้ง ที่ได้จาก
ผึ้งพันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Apis mellifera เพื่อนำมาเป็นอาหารโดยตรงและ/
หรอื นำไปผา่ นกระบวนการแปรรูปต่อไป
1.4.2 นิยาม น้ำผึ้ง (Honey) หมายถึง ของเหลวรสหวานซึ่งผึ้งผลิตขึ้นจาก
น้ำหวานของดอกไม้หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ในรวงผึ้ง ผ่านขั้นตอนทาง
ธรรมชาตขิ องผงึ้ จนได้เปน็ น้ำหวานท่มี ีความหอมหวาน ลกั ษณะเหนยี วหนืด ขน้ มสี เี หลอื งอ่อนถงึ นำ้ ตาลเข้ม
1.4.3 คณุ ภาพ
1) เป็นของเหลวข้นเป็นเนื้อเดียวกัน ลักษณะใสขุ่นไม่ทึบ ปราศจากสิ่ง
แปลกปลอม มีสตี ามธรรมชาติต้ังแตส่ เี หลืองอ่อน ถึงสนี ้ำตาลเขม้
2) กลิ่น รส เฉพาะตัวตามธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นผิดปกติ เช่น กลิ่นหมักหรือ
กล่นิ บดู
3) ความชื้นไม่เกนิ รอ้ ยละ 21 ของน้ำหนัก
4) นำ้ ตาลกลูโคสรวมกับน้ำตาลฟรักโทสไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 60 ของนำ้ หนกั
หรือมีน้ำตาลรดี วิ ซงิ คิดเปน็ นำ้ ตาลอนิ เวริ ต์ ไม่นอ้ ยกวา่ ร้อยละ 65 ของน้ำหนกั
5) น้ำตาลซูโครสไมเ่ กินรอ้ ยละ 5 ของนำ้ หนกั
6) สารทไี่ มล่ ะลายน้ำไมเ่ กนิ ร้อยละ 0.1 ของน้ำหนกั
7) เถ้าไมเ่ กินรอ้ ยละ 0.6 ของน้ำหนัก
8) ปรมิ าณกรดทัง้ หมดไม่เกิน 50 มิลลอิ คิ ววิ าเลนต์ของกรดต่อ 1 กโิ ลกรมั
9) ค่าไดแอสเทอร์ (Diastase number) ไมน่ ้อยกวา่ 3
10) สารไฮดรอกซีเมททิลเฟอร์ฟิวรัล (Hydroxymethylfurfural : HMF)
ไมเ่ กนิ 80 มิลลกิ รัมต่อกิโลกรัม
11) คา่ นำไฟฟา้ ไมเ่ กนิ 0.8 มลิ ลิซีเมนซต์ อ่ เซนติเมตร
1.4.4 วตั ถุเจอื อาหาร ห้ามใช้วัตถเุ จือปนอาหารทกุ ชนดิ ในน้ำผึง้ โดยเฉพาะสารที่
ใชป้ รุงแตง่ สี กลิน่ และรส
1.4.5 สารพิษตกค้าง ชนิด และปริมาณสารพิษตกค้างในน้ำผึ้ง ให้เป็นไปตาม
ขอ้ กำหนดของกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง และ มกษ. 9002 มาตรฐานสินค้าเกษตร เร่อื งสารพษิ ตกค้าง ปริมาณ
สารพิษตกคา้ งสงู สุด และ มกษ. 9003 มาตรฐานสนิ ค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกคา้ ง: ปรมิ าณสารพษิ ตกค้าง
สูงสุด ท่ปี นเปอื้ นจากสาเหตทุ ีไ่ มอ่ าจหลีกเลี่ยงได้
38
1.4.6 สารปนเปื้อน ชนิดและปริมาณสารปนเปื้อนในน้ำผึ้ง ให้เป็นไปตาม
ขอ้ กำหนดของกฎหมายที่เก่ยี วข้อง
1.4.7 ยาสตั ว์ตกคา้ ง ตอ้ งตรวจไม่พบสารตกคา้ งจากยาสัตว์
1.4.8 สขุ ลักษณะ
1) การผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา ต้องปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อ
ป้องกันการปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและ
ขอ้ กำหนดของมาตรฐานสนิ คา้ เกษตรทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
2) ข้อกำหนดด้านจุลินทรีย์ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด คือ ไม่พบเช้ือ
Sallmonella spp. ในน้ำผึ้ง 25 กรัมหรือมิลลิตร ไม่พบเชื้อ Staphylococcus aureus ในน้ำผึ้ง 0.1
กรัมหรอื มลิ ลลิ ติ ร และจำนวนยสี ตแ์ ละราไม่เกนิ 10 โคโลนีตอ่ น้ำผึ้ง 1 กรัมหรือมลิ ลิลิตร
1.4.9 การบรรจุ
1) ภาชนะบรรจุ ทำจากวสั ดทุ ่ีอนุญาตใหใ้ ชส้ ำหรบั เปน็ ภาชนะบรรจุอาหาร
ปราศจากการปนเปื้อนของวัตถุมีพิษหรือสิ่งแปลกปลอมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง
ภาชนะ และไม่มีกลิน่ ผดิ ปกติทจ่ี ะมผี ลตอ่ คุณภาพของนำ้ ผ้ึง มีคณุ สมบัติทนทานต่อการขนสง่
2) การบรรจุน้ำผึ้งภาชนะที่บรรจุต้องสะอาด แห้ง และปิดสนิท ป้องกัน
การปนเปื้อนที่จะก่อใหเ้ กดิ อนั ตรายต่อผ้บู ริโภค
1.4.10 ฉลากและเคร่ืองหมาย
1.4.11 วธิ ีวิเคราะห์และวิธชี ักตัวอย่าง
กกกกกกกกกกกกดังน้ันการเล้ียงผ้ึงโพรง ให้ประสบความสำเร็จโดยประกอบเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้
อาจต้องพิจารณาในหลายๆ ด้านประกอบกัน คือ ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผึ้งโพรง ด้านชีววิทยาของ
ผึ้งโพรง ด้านการเลี้ยงและการจัดการผึ้งโพรง และด้านการตลาด เป็นต้น ที่จะส่งผลให้ได้ผลผลิตอย่าง
สม่ำเสมอและมีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งโพรงได้ดี สิ่งที่ต้องคำนึงต่อมา คือ
การปฏิบัตทิ างการเกษตรทดี่ สี ำหรบั ฟารม์ ผง้ึ ในการเลี้ยงผง้ึ โพรงให้ถูกตอ้ งตามหลกั วิชาการตอ่ ไป
39
กกกกกกกกกกกก2. ขอ้ มูลทว่ั ไปเกี่ยวกบั มะพรา้ ว และมะพรา้ วทบั สะแกสิง่ บ่งชี้ทางภมู ิศาสตร์ (GI)
2.1 ขอ้ มลู ทว่ั ไปเก่ียวกับมะพร้าว (Narayana, 1937)
มะพร้าว (Cocos nucifera) เป็นพืชเศรษฐกิจทีส่ ำคัญ และเกี่ยวข้องกบั วิถีชีวติ
ความเปน็ อยู่ของคนไทยมาเปน็ เวลาชา้ นาน จงึ มคี วามผกู พันอยู่กบั วฒั นธรรมของคนไทย โดยมะพร้าวนั้น
สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ไดห้ ลากหลาย นับตั้งแต่ส่วนรากจนกระทั่งถึงลำต้น ส่วนใบ และส่วน
ยอดไดแ้ ทบท้งั ส้นิ ในปัจจบุ ันน้นั จงึ อาจเหน็ มะพร้าวอย่ใู นรปู ผลิตภณั ฑอ์ าหาร เวชภณั ฑ์ และเคร่ืองสำอาง
เป็นต้น ที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยเป็นอย่างมาก สำหรับถิ่นกำเนิดของมะพร้าวนั้น มีผู้เสนอ
ทฤษฎแี ละหลกั ฐาน พบว่ามะพรา้ วมถี น่ิ กำเนิดในทวีปอเมริกา หมเู่ กาะมหาสมทุ รแปซิฟกิ และทวีปเอเชีย
จงึ มกี ารแพร่กระจายทว่ั ไปในพืน้ ที่เขตร้อนของโลก
2.1.1 ลกั ษณะทางพฤกษศาสตรข์ องมะพรา้ ว
มะพร้าวเป็นพืชที่มีทรงต้นสูงชะลูด ไม่แตกกิ่งก้านหรือตาข้าง โดยพันธุ์ต้นสูง
จะมีสูงประมาณ 15 - 20 เมตร และพันธุ์ต้นเตี้ย จะมีความสูงประมาณ 8 - 10 เมตร ภายในลำต้นมี
ตายอดเพียงหนึ่งตา ใบของมะพร้าวเป็นใบรวมแบบขนนก (Feather leaf) ที่ประกอบด้วย ก้านใบ
(Rachis) และใบยอ่ ย (Leaflet) ซึง่ แยกออกเป็นคู่ ประมาณ 200 - 250 ใบย่อยตอ่ ใบรวม ระบบรากของ
มะพร้าวเปน็ แบบ Adventitious root โดยการเจริญของรากจะแผ่ขยายไปตามแนวราบในระดับลึก 50 -
90 เซนติเมตร รากสามารถแผข่ ยายออกไปรอบตน้ ในรัศมีประมาณ 6 เมตร ไมม่ รี ากขนออ่ น (Root hair)
แต่มีรากอากาศ จำนวนมากแตกแขนงออกช่วยในการดูดน้ำและอาหาร ช่อดอกของมะพร้าวจะเกิด
ชอ่ ดอกโดยแทงออกมาจากมุมใบ และดอกตวั ผู้และดอกตัวเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก แต่เกิดอยู่บนต้น
เดียวกนั ซงึ่ มีกาบ (จ่ัน) โค้งหุม้ อยู่ขณะยงั ออ่ นจนกระทั่งขยายขนาดและบานแตกพรอ้ มดอกตอ่ ไป สำหรับ
ดอกตัวเมียนั้นจะมีตำแหน่งอยู่บริเวณโคนของระแง้ มีลักษณะกลมและมีขนาดใหญ่ประม าณ 1.3
เซนติเมตร มีสีขาว มีสัน 3 สัน ปลายเป็นร่อง เมื่อดอกบานปลายจะแตกเป็น 3 แฉก เป็นทางให้ละออง
เกสรงอกทอ่ เขา้ ผสม เม่ือการผสมสน้ิ สุด Stigma จะเปล่ยี นเปน็ สนี ำ้ ตาล กลบี ดอกจะขยายใหญแ่ ละติดอยู่
ที่ฐานของผล และส่วนผลของมะพร้าวประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้น Exocarp เป็นชั้นส่วนเปลือก
นอกสุดของผล โดยสีของเปลอื กจะมตี ั้งแต่สีเขียว เหลือง ส้ม น้ำตาล น้ำตาลแดง เป็นต้นชั้น Mesocarp
เปน็ สว่ นเน้อื เยอ่ื ถดั จากเปลอื กชัน้ นอก มลี ักษณะเป็นเส้นใยและยืดหยนุ่ หนาประมาณ 2 - 15 เซนตเิ มตร
และชั้น Endocarp เป็นชั้นส่วนของกะลา มีความแข็งที่สุด รูปร่างกลม มีขั้ว 3 ตา ภายในประกอบด้วย
Seed coat เป็นแผ่นเนื้อเยือ่ บางๆ สีน้ำตาล ถัดมาจะเปน็ เนื้อมะพร้าว และน้ำมะพร้าวตามลำดับ
ซงึ่ เนอ้ื มะพรา้ วอ่อนจะบางและอ่อนนุ่ม ผลแก่เน้อื จะแขง็ มคี วามหนาประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร
40
ภาพท่ีก2.18กแปลงปลูกมะพร้าวในพน้ื ท่จี งั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ์
2.1.2 พันธม์ุ ะพร้าว
มะพรา้ วเปน็ พืชผสมข้ามพนั ธุ์ จงึ มีผลใหม้ ะพร้าวแต่ละตน้ ไม่เป็นพันธ์ุแท้
โดยศวิ เรศ และคณะ (2562) กล่าววา่ มะพร้าวแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท ดังนี้
1) มะพร้าวพันธุ์ต้นสูง ได้แก่ มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวกลาง ปากจก
กะโหลก ทะลายร้อย เปลือกหวาน และมะแพรว้ เป็นต้น โดยปกติมะพร้าวตน้ สงู จะผสมขา้ มตน้ คือ ในแต่
ละช่อดอก (จั่น) หนึ่งๆ ดอกตัวผู้จะค่อยๆ ทยอยบาน และร่วงหลน่ ไปหมดก่อนทีด่ อกตัวเมียในจ่นั นัน้ จะ
เริ่มบาน จึงไม่มโี อกาสผสมตัวเอง มะพร้าวประเภทนี้เปน็ มะพร้าวเศรษฐกจิ ส่วนใหญ่ปลูกเป็นสวนอาชีพ
เพื่อใช้เนื้อจากผลแก่ไปประกอบอาหาร หรือเพ่ือทำมะพร้าวแหง้ ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช ซึ่งมะพรา้ ว
พันธุ์ต้นสูงน้ี มลี ำตน้ ใหญ่ โคนตน้ มีสะโพกใหญ่ ต้นสงู โตเต็มที่สงู ประมาณ 18 เมตร ทางใบใหญ่และยาว
หากมีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 5 - 6 ปี อายุยืนให้ผลผลิตนานประมาณ 80 ปี มีผลโต
เนื้อหนาปริมาณเนื้อมาก มีลักษณะภายนอกหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ผลขนาดกลาง ขนาดใหญ่
รปู ผลกลม ผลรี บางพนั ธุเ์ ปลอื กมลี กั ษณะพิเศษ คือ ในขณะทีผ่ ลยงั ไมแ่ ก่ เปลือกตอนสว่ นหัวจะมีรสหวาน
ใช้รบั ประทาน มะพรา้ วพันธ์ุลกู ผสมแม้วา่ มะพร้าวพน้ื เมืองที่เกษตรกรปลูกกนั มาแต่ดง้ั เดิม จะมีลักษณะดี
หลายอย่าง อาทิ มีขนาดผลค่อนข้างโต และทนทานต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี แต่ในวงการอุตสาหกรรม
มะพร้าวในปัจจุบันได้พัฒนาทางด้านคุณภาพมะพร้าวมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเปอร์เซ็นต์
นำ้ มนั ศนู ย์วจิ ัยพชื สวนชุมพร กรมวชิ าการเกษตร มหี น้าที่รบั ผดิ ชอบด้านวิจัยและพฒั นามะพร้าวได้ผลิต
มะพร้าวพันธุ์ลูกผสม ซึ่งได้ผ่านการรับรองพันธุ์ออกมาแล้ว 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สวีลูกผสม 1 (Sawi Hybrid No.1)
เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ยกับเวสท์อัฟริกันต้นสูง
41
(MYD x WAT) ลักษณะเด่นของมะพร้าวพันธุ์นี้คือมีอายุการตกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5
ผลผลิตเฉลี่ย 2,781 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักแห้ง 566 กิโลกรัมต่อไร่ จากจำนวนมะพร้าว 22 ต้นต่อไร่
เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นมะพร้าวที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม
น้ำมันมะพร้าวมาก และพันธุ์ชุมพรลูกผสม 60 - 1 (Chumphon Hybrid 60-1) เป็นมะพร้าวลูกผสมท่ี
เกดิ จากการผสมระหว่างพันธุ์เวสทอ์ ัฟริกันต้นสงู กับไทยต้นสูง สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีท่ี 5 หลังจากปลูก
ขนาดผลมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,257 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักมะพร้าวแห้งสูงถงึ
628 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ เนื้อมะพรา้ วแหง้ มีเปอรเ์ ซ็นต์น้ำมันสูง 63 เปอรเ์ ซน็ ต์ เนื่องจากขนาดผลของมะพร้าว
พันธุ์นี้ค่อนข้างเจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสดและในรูปมะพร้าว
แหง้ มะพรา้ วลกู ผสมท้ัง 2 พันธ์ุ ใหผ้ ลผลติ สงู กว่าพันธุ์พืน้ เมืองเกือบ 2 เทา่ กลา่ วคือ พันธุ์ไทยให้ผลผลิต
1,084 ผลต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 374 กิโลกรัมต่อไร่ และมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน
ประมาณ ร้อยละ 59 - 60
ภาพท่ีก2.19กมะพร้าวพนั ธุต์ ้นสูง
2) มะพร้าวพนั ธุต์ ้นเตย้ี เปน็ มะพรา้ วท่ีมีการผสมตัวเองคอ่ นข้างสงู จึงมัก
ให้ผลดกและมกั จะไม่กลายพนั ธ์ุ ส่วนใหญ่นยิ มปลูกไวเ้ พอื่ รบั ประทานผลอ่อน เพราะในขณะที่ผลยังไม่แก่
อายปุ ระมาณ 4 เดือน เนอื้ มลี ักษณะออ่ นนุม่ และนำ้ มรี สหวาน บางพนั ธน์ุ ้ำมคี ุณสมบัติพิเศษ คอื มีกลิ่นหอม และ
มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นเล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ต้นเตี้ย โตเต็มที่สูงประมาณ 12 เมตร ทางใบสั้น ถ้ามี
การดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 3 - 4 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 35 - 40 ปี โดยมะพร้าวประเภทต้นเต้ีย
มีหลายพันธุ์ ซึง่ แต่ละพนั ธุม์ ีลักษณะทแี่ ตกต่างกันออกไป เช่น เปลือกสเี ขียวเหลอื ง นวล (สีงาช้าง) น้ำตาลแดง