The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phachuenchuen, 2022-04-22 00:39:20

Frida

Frida

COMPILER BY PHACHUEN



“I paint myself because I am so
often alone and because I am

the subject I know best.”

- Frida Kahlo -

PERFACE

จิตรกรหญิงชาวเม็กซิกันที่มีเอกลักษณ์ทั้งใบหน้าและผลงาน เธอมีชื่อว่า
‘Frida Kahlo’ ศิลปินหญิงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในผลงานของเธอคือ
ภาพแบบ self portrait ในผลงานของเธอส่วนมากเป็นภาพวาดที่เกี่ยวกับ
เหตุการณ์ในเรื่องราวของเธอที่สะท้อนถึงความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและ
จิตใจที่ได้พบเจอมาตั้งแต่ยังวัยเยาว์ ซึ่งเหตุการณ์ในชีวิตของเธอมีอุบัติเหตุ
ถึงสองครั้ง

โดยหนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงประวัติและเรื่อง
ราวความเจ็บปวดของฟรีดา คาห์โล และให้เห็นถึงผลงานที่มีความเป็น
เอกลักษณ์ของเธอ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็น
ประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากมีข้อบกพร่องประการใด
ผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้

COMPILER BY
PHACHUEN

F
R
I
D
A
K
A
H
L
O

CON
TENT

BIOLOGY 9
วัยเยาว์ที่แสนเจ็บปวด 12
19
อุบัติเหตุที่ทำให้เจ็บปางตาย 24
ความรักที่เจ็บปวดยิ่งกว่า 31
โดนรถชน 35
ความคิดทางการเมือง 41
ของฟรีดา
การจากลาของฟรีดา
ผลงานของฟรีดา

Frida Kahlo

Age 2, 1909
By her father

01

BIOLOGY

Biology
ประวัติของฟรีดา
และครอบครัว

ฟรีดา คาห์โล Frida Kahlo หรือ มักดาเลนา คาร์เมน
ฟรีดา คาห์โล อีคาลเดรอน (Magdalena Carmen
Frieda Kahlo y Calderón) ที่เป็นชื่อเต็มของเขา
เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ.1907 ที่เมืองโคโยอาคัน
(Coyoacán) ทางตอนใต้ของเม็กซิโกซิตี้

โดยพ่อของเธอ ชื่อ คาร์ล วิลเฮล์ม (Carl Wilhelm)
แต่ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กุยแญร์โม คาห์โล (Guillermo
Kahlo) เป็นช่างภาพเยอรมัน ที่อพยพมาอยู่ที่เม็กซิโก

และแต่งงงานกับบุตรสาวของช่างภาพ
คนหนึ่งในปี 1898

Portrait of
My Father,
-19Fr5i1da Kahl -

9

Portrait of Frida’s Family, 1950

-Frida Kahlo-

ภาพวาดนี้เป็นงานที่ยังไม่เสร็จของฟรีดา เธอเริ่มวาดภาพนี้ในปีค.ศ. 1940 และวาดต่อไปจน
กระทั่งเธอเสียชีวิตในปีค.ศ. 1954 ภาพนี้เธอวาดอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่เธออยู่ในโรงพยาบาล
ในปีค.ศ. 1950 หลังจากที่พี่สาวของเธอ Matilde เสียชีวิตในปีค.ศ. 1951 เธอก็หยุดวาดภาพนี้และ
เริ่มวาดภาพอีกภาพหนึ่งชื่อว่า Portrait of My Father

ภาพวาดนี้เป็นภาพที่แทนต้นไม้ครอบครัวของฟรีดา ด้านบนคือปู่ย่าตายายของเธอ และตรง
กลางคือพ่อแม่ของเธอ ที่ด้านล่างสุด ฟรีดายืนอยู่ตรงกลาง ส่วนพี่สาวสองคนของเธอคือมาทิลเด
และเอเดรียนายืนอยู่ข้างเธอ ทางด้านซ้ายของเธอคือคริสตินาน้องสาวของเธอ ยังคงเป็นปริศนาที่
ร่างทั้งสามที่ยังไม่เสร็จคือใคร บางคนบอกว่าพวกเขาสองคนเป็นลูกของคริสตินา คือ อิโซลดาและ
อันโตนิโอ แต่คนอื่น ๆ ระบุว่าพวกเขาเป็นพี่น้องต่างมารดาสองคนของฟรีดา คือ มาเรีย ลุยซาและ
มาร์การิตา จากการแต่งงานครั้งก่อนของพ่อเธอ ส่วนร่างเล็กอีกคนไม่สามารถระบุตัวตนได้ แต่อาจ
เป็นพี่ชายของฟรีดาที่รอดชีวิตมาได้เพียงไม่กี่วันหลังจากที่เขาเกิด หรืออาจจะเป็นลูกของฟรีดากับดิ
เอโกที่เธอเสียไปเนื่องจากการแท้งบุตร

10

AFgreid2a, 1K90a9hlo

By her father

02

วัยเยาว์ที่แสนเจ็บปวด

วัยเยาว์ที่

13

แสนเจ็บปวด

My Nurse and I, 1937 -Frida Kahlo-

ภาพวาดนี้แสดงถึงเหตุการณ์ในวัยเด็กของฟรีดา เธอและน้องสาวคนสุดท้ายของบ้านที่มีชื่อว่า
Cristina เกิดมาในช่วงเวลาที่ห่างกันแค่ 11 เดือน แม่ของเขาจึงต้องเลือกให้นมระหว่างเธอกับน้อง
สุดท้ายแม่ของฟรีดาเลือกที่จะให้นมน้องสาว และจ้างพี่เลี้ยงเพื่อมาให้นมฟรีดา ความสัมพันธ์
ระหว่างฟรีดากับพี่เลี้ยงดูเย็นชา ห่างไกล และไม่มีการโอบกอดหรือได้ความรักจากพี่เลี้ยง ในรูป
พี่เลี้ยงที่กำลังให้กับฟรีดาสวมหน้ากากสีดำ เหตุผลอาจเป็นเพราะฟรีดาจำไม่ได้ว่าหน้าตาของพี่เลี้ยง
คนนั้นเป็นอย่างไร และภาพวาดนี้จึงมีความหมายสำหรับการสูญเสียและพลัดพรากจากแม่ของเธอ
เธอไม่เคยรู้สึกผูกพันกับแม่ของเธอเลย

14

เมื่อครั้งที่เธออายุเพียงแค่ 6 ปี
เธอก็พบว่าเธอป่วยเป็นโรค
โปลิโอ ส่งผลให้ขาข้างขวาของ
เธอสั้นกว่าปกติ และเวลาเดิน
จะมีอาการกะเผลกเล็กน้อย แต่
เธอก็ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา
เธอพยายามฟื้นฟูร่างกายด้วย
การเล่นกีฬาหลาย ๆ อย่างโดย
เธอได้รับการส่งเสริมและความ
ช่วยเหลือจากพ่อของเธอ

ต่อมาในปีค.ศ.1922 ฟรีดาหลุดพ้นจากการที่โดนเพื่อนล้อว่าเป็นเด็กพิการจากอาการป่วยเป็นโปลิโอ
ของเธอ และกลายเป็นเด็กผู้หญิงที่สามารถเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของเมืองเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งเธอเป็น
เพียงแค่ไม่กี่คนที่มีโอกาสได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนนั้น นั่นจึงทำให้อนาคตของเธอกลับมาสดใสได้อีก
ครั้ง จากการที่พ่อของเธอเป็นช่างภาพ เธอจึงได้ใช้ชีวิตอยู่ในสตูดิโอภาพของพ่อ และเพื่อนของพ่อคน
หนึ่งที่เป็นช่างภาพพิมพ์ก็ช่วยสอนพื้นฐานการเขียนภาพให้กับเธอ จึงทำให้เธอมีพื้นฐานด้านศิลปะ ซึ่ง
ช่างภาพพิมพ์คนนั้นคิดว่าเธอเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในด้านการเขียนภาพ แต่ความคิดของ
ฟรีดาในช่วงเวลานั้น เธอไม่เคยคิดจะเป็นศิลปิน เพราะเธอชอบวิชาวิทยาศาสตร์และอยากเรียนต่อเป็น
แพทย์ แต่แล้วความฝันของเธอต้องสูญสลายไป เมื่อเจอกับเหตุการณ์นี้

15

FridAageK6,a1h9l1o3

By her father



03

อุบัติเหตุที่ทำให้
เจ็บปางตาย

อุบัติเหตุที่ทำให้เจ็บปางตาย

ชีวิตของฟรีดาไม่ได้มีความโชคร้ายแค่เรื่องโปลิโอ เพราะในวันที่
17 กันยายน ค.ศ.1925 ฟรีดาในวัย 18 ปีนั่งรถบัสไปกับแฟนหนุ่มของเธอ
ที่ชื่อว่า Alejandro Gomez Arias ทั้งคู่ประสบอุบัติเหตุบนรถบัส ซึ่ง
สาเหตุมาจากรถบัสชนกับรถราง ในอุบัติเหตุนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
แต่ฟรีดาและแฟนหนุ่มของเธอก็ยังรอดมาจากเหตุการณ์นี้ แต่ในความโชค
ดีก็ยังมีความโชคร้าย เธอโดนแท่งเหล็กแท่งหนึ่งของรถรางแทงทะลุผ่าน
กระดูกเชิงกรานของเธอ ทำให้หลังจากเกิดอุบัติเหตุนี้ ชีวิตของเธอต้องหมด
ไปกับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในระยะหนึ่ง และออกมาพักฟื้นต่อที่บ้าน
เธอต้องใส่เฝือกทั้งตัวและนอนอยู่บนเตียงอีกหลายเดือน จากความฝันใน
การเป็นแพทย์สาวจนต้องกลายมาเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง เธอจะต้องทนอยู่
กับความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องที่กระดูกสันหลังและจิตใจ แต่เคราะห์ร้าย
ครั้งนี้ไม่ได้ทำให้เธอยอมแพ้ เธอบอกกับแม่ของเธอว่า “ฉันยังไม่ตาย ฉัน
ยังมีอะไรที่คุ้มค่าต่อการมีชีวิตอยู่” เพื่อไม่ให้ฟรีดาเศร้าซึมอยู่กับการนอน
บนเตียงเฉย ๆ พ่อของเธอจึงนำกระดาษาและพู่กันให้เธอ และนั่นก็เป็นจุด
เริ่มต้นที่ทำให้ฟรีดาเริ่มวาดภาพอย่างจริงจัง

ตอนเธอนอนอยู่ที่โรงพยาบาลแม่ของเธอได้นำกระจก 19
มาวางเพื่อให้เธอสามารถมองเห็นตัวเอง

Self-Portrait in Velvet Dress, 1926
-Frida Kahlo-

ภาพวาดตนเองแรกของฟรีดา

เธอใช้เวลาวาดกว่า 1 ปีบนเตียงด้วยการวาดภาพ
ตนเอง (Self-Portrait) จากการนำกระจกมาตั้งเพื่อ
ให้สะท้อนตัวเธอออกมา เธออยู่ในชุดกำมะหยี่สี
แดง และภาพนี้แสดงถึงความตึงเครียด และเธอใช้
ภาพนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ที่ตั้งใจจะวาดให้
กับอเลฮานโดร แฟนหนุ่มของเธอ แต่หลังจากเกิด
อุบัติเหตุครอบครัวของอเลฮานโดรกีดกันความ
สัมพันธ์ของทั้งคู่ จึงส่งลูกชายไปอยู่ที่อื่น และ
ฟรีดาก็ไม่ได้พบเขาอีกเลยตลอดชีวิต

20

Diego Rivera
Frida Kahlo

04

ความรักที่เจ็บปวด
ยิ่งกว่าโดนรถชน

ความรักที่เจ็บปวด
ยิ่งกว่าโดนรถชน

Frida Kahlo
and Diego Rivera

ในปีค.ศ. 1928 ฟรีดาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เธอสนใจปัญหาผู้หญิงใน
สังคมเม็กซิโก และแล้วเธอได้พบกับดิเอโก ริเบรา (Diego Rivera) ซึ่งเป็นจิตรกร
เขียนภาพฝาผนังชื่อดังของเม็กซิโก และมีผลงานโดดเด่นเรื่องการเสียดสีการเมือง
ชนชั้นแรงงาน และช่องว่างทางสังคม ดิเอโกชื่นชอบผลงานฉูดฉาดขอเธอ ทั้งสองคน

ได้สานต่อความสัมพันธ์กัน จนกระทั่งในปีต่อมา ค.ศ.1929 ดิเอโกและ
ฟรีดาได้แต่งงานกัน โดยที่ทั้งสองอายุห่างกัน 21 ปี

24

หลังจากนั้นในปีค.ศ.1930 ทั้งคู่ก็ได้เดินทางไปที่ซานฟรานซิสโก เพราะดิเอโกรับงานเขียนฝาผนังที่
นั่น ในระหว่างนั้นฟรีดาก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา แต่ผลจากอุบัติเหตุรถชนครั้งนั้น ทำให้ฟรีดาแท้ง และ

เป็นอย่างนั้นหลายครั้ง

Frida and the Cesarean, 1931
-Frida Kahlo-

ภาพนี้เป็นภาพที่เกี่ยวกับการแท้งของฟรีดา เธอไม่สามารถทนวาดภาพนี้ให้เสร็จได้ เนื่องจาก
ความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจจากการแท้งบุตร ภาพวาดนี้บรรยายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหาก
ลูกของเธอถูกคลอดโดยการผ่าตัด เธอจะคลอดลูกและวางไว้ข้าง ๆ เธอ และแสดงถึงความ
หวัง ความกลัว และความน่าเสียดายที่ความหวังพังทลายเรื่องลูก และในภาพวาดอีกภาพหนึ่ง

ที่ชื่อว่า Henry Ford Hospital ของเธอ เธอเริ่มในอีกห้าวันต่อมา

25

Henry Ford Hospital, 1932
-Frida Kahlo-

ภาพนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่เกี่ยวกับการแท้งลูกของฟรีดา ชื่อภาพนี้มาจากชื่อโรงพยาบาลที่พัก
รักษาตัวจากการแท้งลูกครั้งที่ 2 ของเธอ สื่อถึงความเศร้าโศกเพราะไม่สามารถมีลูกได้ ภาพ

ร่างเปลือยเปล่าของตัวเองบนเตียงที่เขลอะไปด้วยเลือด สายสะดือระโยงระยางจากท้อง
แตกฉานซ่านเซ็นไปทั่วภาพ แสดงถึงความเจ็บปวดแสนสาหัส

26

Frida and Diego Rivera, 1931 หลังจากที่เธอได้ไปใช้อยู่ซานฟรานซิสโกได้
-Frida Kahlo- หนึ่งปี ก็ได้มีจัดการแสดงภาพของเธอครั้งแรก
แต่ไม่ใช้ภาพพอร์ตเทรตที่มีชื่อเสียงของเธอ
แต่กลับกลายเป็นภาพวาดที่เป็นเธออยู่เคียง
ข้างกับดิเอโกสามีของเธอ

ทั้งสองเดินทางกลับมาเม็กซิโกในปีค.ศ.1933
ที่เมืองซาน อันเกล (San Angel) แต่แล้วฟรี
ดาก็ต้องเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง ในนระหว่าง
นั้นความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่ได้ดีมากหนัก
เพราะดิเอโกได้นอกจากใจฟรีดาหลายหน
จนกระทั่งฤดูร้อนปีค.ศ.1934 เธอรู้ว่าสามีของ
เธอแอบมีความสัมพันธ์กับคริสตินา (Cristina)
น้องสาวของเธอ ฟรีดาจึงขอแยกทางกับดิเอโก

ฟรีดาเคยกล่าวไว้ว่า “ฉันต้องทุกข์ทนกับอุบัติเหตุ
ร้ายแรงถึงสองครั้ง ครั้งหนึ่งคือตอนที่รถลางแล่น

ทับฉัน ส่วนอีกครั้งคือตอนที่พบดิเอโก”

แต่ในปีค.ศ.1935 ดิเอโกได้มาง้อขอคืนดีกับฟรีดา
แต่ความรักในครั้งนี้ฟรีดาขอเป็นคนกำหนดความ
สัมพันธ์ด้วยตนเอง และในปีค.ศ.1940 ทั้งคู่ก็กลับมา
แต่งงานกันอีกครั้ง แต่ในช่วงเวลาระหว่างนั้น ฟรีดาก็มี
ความรักและความสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น ช่างภาพนิก
โคลัส มูเรย์ (Nickolas Muray), นักร้องสาวจาก
คอสตาริกา-ชาเบลา บาร์กาส (Chavela Vargas) และ
หนุ่มเยอรมัน ไฮน์ช แบร์กกรืน (Heinz Berggruen) ซึ่ง
ต่อมาเธอได้กลายเป็นนักสะสมงานศิลปะคนสำคัญ

27

Memory The Heart, 1937

-Frida Kahlo-

ภาพวาดที่แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดและ
ทุกข์ทรมานของฟรีดา ในตอนที่ดิเอโกสามี
ของเธอนอกใจไปมีความสัมพันธ์กับน้องสาว
ของเธอ ภาพนี้ถูกวาดขึ้นมา โดยในรูปจะ
เห็นว่าน้ำตาไหลอาบหน้าของหญิงสาว ส่วน
เลือดของเธอก็กำลังไหลจากหัวใจที่อยู่แทบ
เท้า ภาพนี้จึงบอกเล่าความปวดร้าวในใจของ

เธอได้โดยไม่ต้องใช้คำบรรยายอื่นใดเลย

The Two Fridas, 1939 -Frida Kahlo- ภาพนี้ฟรีดาวาดหลังจากหย่ากับดิเอโกและกลับ
ไปอยู่ที่เม็กซิโกแล้ว โดยภาพนี้สื่อให้เห็นตัวตนที่
ขัดแย้งของเธอ ฟรีดาคนหนึ่งสวมเสื้อผ้าแบบ
สากล ส่วนอีกคนสวมเสื้อผ้าพื้นเมืองแบบที่
ดิเอโกชอบ โดยเราสามารถเห็นหัวใจของฟรีดา
ทั้งสองได้อย่างชัดเจน

The Two Fridas เป็นหนึ่งในผลงานที่
โด่งดังที่สุดของเธอ ภาพที่ทำให้เธอเป็นที่
รู้จักทั้งในระดับประเทศและระดับ
นานาชาติ และสามารถหาเงินเลี้ยงดูตัวเอง
ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาดิเอโก ทำให้ฟรีดาไม่ใช่
เพียง ‘ภรรยาของศิลปิน’ อีกต่อไป แต่เธอ
เองก็เป็น ‘ศิลปิน’ อย่างเต็มภาคภูมิ

28



05

ฟรีดาและการเมือง

ฟรีดาและการเมือง

ฟรีดาได้เปลี่ยนปีเกิดของตัวเองจากปีค.ศ.1907 เป็นปีค.ศ.1910 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มต้น
เดียวกันกับเหตุการณ์ ‘การปฏิวัติเม็กซิโก’ ที่สะท้อนถึงจุดเปลี่ยนทางสังคม และ
การเมืองของประเทศเม็กซิโกอย่างชัดเจน ซึ่งนั่นทำให้กลายเป็นสาเหตุที่สำคัญ ที่
ทำให้ฟรีดาผู้ซึ่งฝักใฝ่ด้านการเมือง มีความหวังที่ต้องการจะเริ่มต้นชีวิตไปพร้อมกับ

‘เม็กซิโกใหม่’ จนทำให้ยอมลงปีเกิดใหม่ของตัวเองช้าไป 3 ปี

ในยุค 30 ในการประท้วงของ ลัทธิฟาสซิสต์
เธอได้เปลี่ยนการสะกดชื่อแรกของเธอจาก
Frieda การสะกดคำเยอรมันไปเป็น Frida

การสะกดคำแบบเม็กซิกัน

31

Self-portrait on the Borderline between Mexico and the
United States, 1932 -Frida Kahlo-

ภาพวาดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ทำให้เราเห็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงของ

ภาพรวมทั้งสองประเทศที่ฟรีดานำเสนอออกมา ตัวแทนฝั่งของเม็กซิโก เธอเลือกที่จะใช้ ซากอารยธรรม

โบราณ รูปปั้นดินเผา และ ดอกไม้พื้นเมือง ส่วนตัวแทนฝั่งอเมริกาเธอเลือกใช้แค่โรงงานอุตสาหกรรม แต่สิ่ง

ที่เราสะดุดตามากเป็นพิเศษ คือ มือซ้ายของฟรีด้าถือธงเม็กซิโก

ซึ่งบอกเราว่าความจงรักภักดีของเธออยู่ที่ใด 32



06

การจากลาของฟรีดา

การจากลาของฟรีดา

ช่วงปลายของชีวิติ ฟรีดาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนรถเข็นและเตียงนอน ร่างกายของเธอย่ำแย่ลง
ทุกวันจากการเจ็บป่วยสะสมเรื่องกระดูกสันหลังที่เธอถูกรถชนเมื่อนานมาแล้ว จนต้องเข้ารับการ
ผ่าตัดหลายครั้ง ควบคู่กับร่างกายที่อ่อนแอลงจากการใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และอาการ

ซึมเศร้า แม้เธอจะต้องนั่งรถเข็นตั้งแต่ปีค.ศ.1951 เธอก็ยังคงวาดภาพทุกครั้งที่สามารถทำได้

แต่นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1952 เป็นต้นมา ฟรีดาวาดภาพเพียงแค่แนว Still Life เช่น ภาพสิ่งของ
ภาชนะ หรือผลไม้ที่ดูไร้ชีวิตชีวา

35

The Broken Column, 1944

-Frida Kahlo-

ภาพนี้สื่อถึงตอนที่ฟรีดาได้รับการผ่าตัดกระดูกสัน
หลังของเธอในช่วงปลายชีวิต การผ่าตัดทำให้เธอ
ต้องล้มป่วยลงนอนและ "ถูกห่อหุ้ม" ไว้ในชุดรัดตัว
โลหะ ซึ่งช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่รุนแรงและต่อ
เนื่องของเธอได้ ในภาพวาด เธอยืนอยู่ท่ามกลาง
พื้นที่แห้งแล้งและแตกระแหง ลำตัวของเธอรัดด้วย
เข็มขัดโลหะที่บุด้วยผ้า ซึ่งทำให้แรงกดและรองรับ
แผ่นหลังของเธอ ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายของเธอ
ทรุดตัวลง ซึ่งเป็นไปได้ที่ภาพที่ฉายลงมาตรงกลาง
ลำตัวของเธอจะประกาศออกมา มีเสาอิที่แตกหัก
อย่างสมบูรณ์ตรงจุดที่ยุบตัวได้เข้ามาแทนที่กระดูก
สันหลังของเธอ ศีรษะของฟรีดาอยู่บนเมืองหลวง
แม้ว่าใบหน้าของเธอจะอาบด้วยน้ำตา แต่ก็ไม่ได้
สะท้อนถึงความเจ็บปวด

ปีค.ศ. 1953 หนึ่งปีก่อนเสียชีวิต ผลงานภาพ
ของฟรีดาถูกจัดแสดงเดี่ยวเป็นครั้งแรกใน
เม็กซิโก หลังจากที่เธอรอคอยมานาน ถึง
แม้ว่าจะฟรีดาจะป่วยหนัก แต่เธอก็ตัดสินใจ
เดินทางไปที่งานนิทรรศการด้วยรถพยาบาล
และเข้าร่วมพิธีเปิดทั้ง ๆ ที่นอนอยู่บนเตียง
ฟรีดาเสียชีวิตที่บ้านสีฟ้า บ้านที่สร้างด้วยพ่อ
ของเธอ ด้วยอายุเพียง 47 ปี

36

Viva La Vida, 1954
-Frida Kahlo-

37

เป็นภาพวาดสุดท้ายที่เธอได้
วาดก่อนจะจากไป

ภาพวาดแตงโมนี้มีความ
หมายถึง Day of the
Dead ตามวัฒนธรรมเม็กซิ
กัน ระหว่างที่วาดภาพนี้ ฟรี
ดาสูญเสียขาข้างขวาจาก
อาการเนื้อตายเน่า
(Gangrene) และกำลัง
ทรมานจากโรคปอดบวม
เธอเขียนในไดอารี่ไว้ว่า “ฉัน
รอการจากไปอย่างเปี่ยมสุข
และหวังว่าจะไม่กลับมาอีก”

แต่ถึงอย่างนั้น การเสียชีวิตของเธอก็ยังคงเป็นปริศนา บางคนก็บอกว่าเธอสิ้นลมเพราะโรคลิ่ม
เลือดอุดกั้นในปอด ส่วนบางคนก็บอกว่าเธอจงใจฆ่าตัวตายโดยการกินยาเกินขนาด
ศพของเธอไม่เคยได้มีการชันสูตรศพเกิดขึ้น

ฟรีดาได้เขียนข้อความว่า ‘Viva La Vida’ หรือ ‘ชีวิตจงเจริญ’ ลงไปบนภาพวาด
แตงโมสีแดงสดซึ่งเป็นผลไม้ของคนตาย

38



07

ผลงานของฟรีดา

ผลงานของฟรีดา

ฟรีดาได้เริ่มต้นงานแรกของเธอจากการที่เธอโดนรถชน ถึงนั่นจะเป็นการประสบอุบัติเหตุที่เลวร้ายของ
เธอ แต่นั่นก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอได้กลายเป็นจิตรกรหญิงชื่อดัง หลายคนจำกัดความจิตรกรหญิง
ในตำนานคนนี้ว่า เป็นจิตรกรในกลุ่ม Surrealist (เหนือจริง) แต่เธอก็ไม่เคยนิยามตัวเองว่าเป็นเช่นนั้น

กระทั่งที่เธอยังเคยพูดเอาไว้ว่า “They thaught I was a surrealist, but I wasn’t.
I never painted dreams or nightmare, I painted my own reality.” ในยุคหลังมานี้จึงมีการ

จำกัดคำว่า Megical Realism (สัจนิยมมหัศจรรย์) ขึ้นมาเพื่อจำกัดความงานของฟรีดาแทน
โดยภาพวาดที่เห็นชัดมากที่สุดก็คือ

Moses, 1945
-Frida Kahlo-

ซึ่งผู้คนส่วนมากรู้จัก
กันในชื่อผลงาน
Nucleus of
Creation

ภาพนี้สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในงานนิทรรศการศิลปะประจำปีของ Palacio de
Bellas Artes ไปได้สำเร็จ โดยฟรีดาเลือกจะสร้างสรรค์มันในรูปแบบภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาด
เล็ก ที่แม้ว่าจะออกมาดูเหนือจริง แต่องค์ประกอบในภาพกลับสื่อถึงเรื่องราวความจริงแท้ของชีวิต
มนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า “วัฏจักรของชีวิต” ซึ่งประกอบด้วยทารก, ตาที่สามอยู่บนหน้า

ผาก, การถือกำเนิดของดวงอาทิตย์, เทพเจ้า, วีรบุรุษผู้เป็นมนุษย์, และมือแห่งความตาย

41

แต่ส่วนผสมอันสำคัญในผลงานศิลปะของเธอก็คือ “ความเจ็บปวด” จากชีวิตของเธอเอง ที่ได้กลาย
เป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ฟรีดาได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นมาสเตอร์พีซประดับวงการศิลปะระดับ
โลกในหลาย ๆ ครั้ง ผลงานส่วนใหญ่ของเธอซึ่งเป็นภาพราวกับภาพที่อยู่ในความฝัน นอกจากนั้น
บุคคลที่เธอพบเจอและเพื่อนฝูงต่างเป็นศิลปิน Surrealist ที่มีชื่อเสียง เช่น อังเดร เบรอตง (Andre
Breton) และในปี ค.ศ. 1938 ฟรีดาได้มีโอกาสจัดแสดงผลงานศิลปะของเธอที่ New York City
gallery และได้ขายผลงานกว่า 25 ชิ้น ไม่นานนัก เธอได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการนิตยสารชื่อดัง
นาม แคลร์ บู๊ท ลูซ (Clare Boothe Luce) เมื่อเธอเริ่มสร้างชื่อเสียงจากผลงานของเธอ เธอจึงได้ย้าย
ไปอยู่ที่กรุงปารีส ที่นี่เธอได้จัดแสดงผลงานและได้พบกับศิลปินอย่าง มาร์แซล ดูฌอมป์ (Marcel
Duchamp) และ ปาโบล ปิกัสโซ่ (Pablo Picasso) ฟรีดาได้รับมอบหมายให้สร้างผลงานภาพวาด
สตรีคนสำคัญ 5 คนแห่งเม็กซิโก แต่เธอไม่สามารถทำได้สำเร็จเนื่องจากพ่อของเธอได้เสียชีวิต

แต่นิทรรศการครั้งแรกในกรุงปารีสของ
เธอก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จากนัก
สะสมงานศิลปะ แต่สุดท้ายแล้วพิพิธ
ภัณฑ์ลูฟว์ก็ได้เลือกภาพนี้ไปแสดง ภาพนี้
จึงนับเป็นผลงานชิ้นแรกของจิตรกรชาว
เม็กซิกันที่ได้รับเลือก

The Frame, 1939
-Frida Kahlo-

42

Fulang-Chang and I,
1937 -Frida Kahlo-

ภาพนี้ฟรีดาวาดรูปตัวเอง
กับ Fulang-Chang ลิงที่
เธอได้รับจากดิเอโก หลาย
คนเชื่อว่าลิงเป็นตัวแทน
ของลูกที่เธอและสามีไม่
สามารถมีได้ แต่จะมีความ
หมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
คงมีแต่เขาและเธอเท่านั้น
ที่จะยืนยัน

ภาพนี้ถูกจัดแสดงครั้งแรกที่ Julien Levy Galley ที่นิวยอร์กในปี 1938 โดยผู้นำกลุ่มเซอร์
เรียลลิสม์ Andre Bretom ได้มาเยี่ยมชมและเขียนความเรียงยกย่องให้ฟรีดาเป็นหนึ่งในศิลปิน

เซอร์เรียลลิสม์ ซึ่งเธอขอบคุณที่เขาชื่นชม แต่ปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่ศิลปินเซอร์เรียลลิสม์

“ฉันไม่เคยวาดภาพความฝัน” ฟรีดาเอ่ยถึงแนวคิดการสร้างสรรค์งานของกลุ่ม
เซอร์เรียลลิสม์ ที่อ้างอิงจากความฝันและจิตใต้สำนึก
“ฉันวาดภาพความเป็นจริงของตัวเอง” เธอกล่าว

43

ภาพวาดนี้ถูกวาดขึ้น
จากเหตุการณ์ของ
โดโรธี เฮล
(Dorothy Hale)
นักแสดงสาวนัก
สังคมสงเคราะห์ชาว
อเมริกันที่เคยมีชื่อ

เสียงในนครนิวยอร์ก
ในช่วงปีค.ศ.1920-

1930

The Suicide of Dorothy Hale, 1938 -Frida Kahlo-

เฮลได้ฆ่าตัวตายในปีค.ศ.1938 โดยกระโดดลงจากหน้าต่างด้านบนอพาร์ตเมนต์ในนครนิวยอร์ก
โดย Clare Booth Luce เพื่อนสนิทของเฮล ได้มอบหมายให้ฟรีดาวาดภาพเหมือนในความทรง
จำของเฮล เพราะตั้งใจจะมอบของขวัญให้กับของเฮล แต่เมื่อฟรีดาได้วาดภาพนี้และให้ลูซได้ดู

ลูซเลือกที่จะไม่มอบภาพนี้ให้แม่ของเฮล และให้เพื่อนของเธอเก็บไว้แทน

ในขณะที่ภาพวาดนี้ ฟรีดากำลังจะหย่ากับดิเอโก และอยู่ในภาวะซึมเศร้า เธอมีความคิดที่จะฆ่า
ตัวตายในใจ ภาพวาดนี้อาจเป็นภาพสะท้อนความเห็นอกเห็นใจของเธอต่อผู้หญิงที่
ท้อแท้และสิ้นหวังจากการถูกทอดทิ้งจากผู้ชาย

44

Self-Portrait with Cropped Hair, 1940
-Frida Kahlo-

ภาพนี้ฟรีดาเป็นภาพที่เธอวาดขึ้นหลังจากหย่ากับดิเอโก สามีของเธอ เป็นภาพที่เธอนั่งบนเก้าอี้
สวมชุดสูทสีดำขนาดใหญ่ ซึ่งดูเหมือนชุดหนึ่งของดิเอโก และเธอก็ตัดผมของตัวเองที่ดิเอโกชอบ
และดึงดูดใจของเขา เธอถือกรรไกรด้วยมือขวา ซึ่งหมายความว่าเธอตัดผมด้วยตนเองทั้งหมด ใน

มือซ้ายของเธอ เธอถือผมที่ขาดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเสียสละของเธอ

โดยข้อความด้านบนของภาพนี้ที่คล้ายเนื้อร้อง ซึ่งแปลว่า
“ดูสิ ถ้าฉันรักคุณ ก็เพราะผมของคุณ ตอนนี้คุณหัวล้าน ฉันไม่รักคุณแล้ว”

45

Self-Portrait as a Tehuana, 1943
-Frida Kahlo-

ภาพนี้เป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า Diego On My Mind เพราะฟรีดาวาดรูปหน้าคนรักของเธอไว้บนหน้า
ผาก เปรียบดังความคิดคำนึงของเธอที่มีดิเอโกอยู่ในนั้นตลอด ในรูปเธอกำลังสวมตีฮัวนา
(Tehuana) ชุดพื้นเมืองแบบที่เขาชอบนักหนา

แม้จะคิดถึงดิเอโก แต่ฟรีดาเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าเธอไม่อาจเป็นเจ้าของเขาได้เด็ดขาด โดยเธอเอง
เคยเขียนข้อความเอาไว้ว่า “ดิเอโกไม่เคยและจะไม่มีวันเป็นสามีของใคร”

46

Without Hope, 1945
-Frida Kahlo-

ภาพวาดนี้ถูกวาดเมื่อฟรีดาถูกบังคับให้รับประทานอาหารตามใบสั่งแพทย์ของเธอ เน่ื่องจากเธอมีอาการ
เบื่ออาหา เพราะต้องผ่าตัดและเจ็บป่วย เธอผอมมากเกินไปและขาดสารอาหาร แพทย์ของเธอจึงสั่งให้

เธอนอนพักผ่อนให้เพียงพอและบังคับให้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพทุก ๆ สองชั่วโมง

ในภาพนี้เธอพรรณนาถึงสิ่งที่เธอต้องเผชิญด้วยอาหารแบบังคับ อาหารที่น่ารังเกียจของสัตว์และ
กระโหลกศีรษะถือโดยโครงสร้างไม้ซึ่งเคยยึดผืนผ้าใบของเธอไว้สำหรับวาดภาพ แขนของเธอ
เหมือนถูกตรึงไว้ด้านล่างและไม่สามารถทำอะไรได้ ฉากหลังเป็นภูมิประเทศแบบเม็กซิกันที่

รกร้างซึ่งแสดงให้เห็นทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เหมือนสถานการณ์ที่ดูไร้ความหวัง

ที่ด้านหลังของภาพวาดนี้ เธอได้เขียนคำอธิบายว่า
“ฉันยังมีความหวังอยู่ไม่น้อยทุกอย่างเคลื่อนไหวตามเวลาที่มี”

47

The Wounded Deer, 1946 -Frida Kahlo-

หลังจากที่ฟรีดาได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เธอหวังว่าการผ่าตัดครั้งนี้จะช่วยให้เธอหาย
จากอาการปวดหลังอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่สำเร็จ ภาพวาดนี้จึงแสดงความผิดหวังต่อการผ่าตัด
เธอต้องทนทุกข์ทั้งความเจ็บปวดทางร่างกายและภาวะซึมเศร้าทางอารมณ์ ในภาพวาดนี้ เธอ
พรรณนาตัวเองว่าเป็นกวางที่มีหัวเป็นกวาง กวางตัวนี้ถูกลูกศรแทงและมีเลือดออก ที่มุมล่างซ้าย
ศิลปินเขียนคำว่า "คาร์มา" ซึ่งแปลว่า "พรหมลิขิต" หรือ "โชคชะตา" เช่นเดียวกับภาพเหมือนตนเอง
อื่น ๆ ของเธอ และเธอแสดงถึงความเศร้าที่เธอไม่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของเธอเองได้

ภาพวาดนี้มีการตีความที่หลากหลายจากผู้คนที่แตกต่างกัน บางคนบอกว่ามันแสดงความไม่
พอใจกับการผ่าตัดที่ไม่เรียบร้อย คนอื่นบอกว่ามันแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุม
ชะตากรรมของเธอเองไม่ได้ และบางคนบอกว่ามันมีความหมายทางเพศและแสดงการต่อสู้ดิ้นรน

ของเธอในความสัมพันธ์ที่ต่างกัน

48

Tree of Hope,
Remain Strong,
1946 -Frida
Kahlo-

ฟรีดาได้วาดภาพนี้ให้
Eduardo Morillo Safa
ผู้อุปถัมภ์ของเธอ พร้อมกับ
ภาพวาดคือจดหมายที่เธอ
เขียนถึงผู้มีพระคุณโดยบอก
เขาเกี่ยวกับองค์ประกอบ
และรอยแผลเป็นที่เธอได้รับ
จากการผ่าตัด

พื้นหลังของภาพวาดประกอบด้วยภาพของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทั้งสองส่วนถูกแบ่ง
เท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วนกินพื้นหลังด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของภาพวาดเป็นภาพวาดของ

ฟรีดานั่งบนเก้าอี้ไม้และร้องไห้ ในภาพนี้ เธอสวมชุดสีแดงของ Tehuana แม้ว่าเธอจะมี
อาการเศร้า แต่เธอก็แข็งแกร่งและมั่นใจ ส่วนข้างหลังเธอบนรถเข็นของโรงพยาบาล มีฟรีดา

อีกคนนอนอยู่ ซึ่งได้รับยาสลบและแผลผ่าตัดของเธอยังคงเปิดออกและมีเลือดหยด

ภาพวาดยังแสดงให้เห็นว่าเธอถือเครื่องรัดตัวออร์โธพีดิกส์สีชมพูในมือข้างหนึ่งขณะที่เธอนั่ง
ในทางกลับกัน เธอถือธงที่มีคำว่า Tree of Hope, Remain Firm คำเหล่านี้เป็นเนื้อเพลงจาก
เพลงภาษาสเปนยอดนิยมชื่อว่า Cielito Lindo ธงมีลักษณะเป็นเสาสีเหลืองบางและมีปลายสี

แดง ปลายแหลมดูเหมือนอุปกรณ์ผ่าตัดที่เปื้อนเลือด

49


Click to View FlipBook Version