The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Forestry Research Center, 2022-09-01 21:44:40

คู่มือฝึกอบรม

คู่มือฝึกอบรม

คมู่ อื

การปลกู สรา้ งไมม้ คี า่ ในระบบสวนสมรมบนพนื้ ฐานเสรมิ สรา้ งนเิ วศ
ความหลากหลายชวี ภาพและเศรษฐกจิ ชมุ ชน

คณะผจู้ ดั ทำ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
นายวสนั ต์ จันทร์แดง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.ดร.ธารรัตน์ แกว้ กระจา่ ง คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์
นายเดชา ดวงนามล คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร. เจษฎา วงค์พรหม
นางสาวละอองดาว เถาว์พมิ าย

สนบั สนนุ ทนุ วจิ ยั จากสำนกั งานคณะกรรมการวจิ ยั แหง่ ชาติ (วช.)
ประจำปงี บประมาณ 2565

คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์
สงิ หาคม 2565



คำนำ

ปัจจบุ ันสวนยางในประเทศสว่ นใหญเ่ ป็นสวนยางเชิงเด่ียว แม้ว่าต้งั แตป่ ี พ.ศ. 2535
รฐั บาลจะอนุญาตใหเ้ กษตรกรท่ีขอรบั การสงเคราะหจ์ ากสำนกั งานกองทุนสงเคราะห์การ
ทำสวนยาง (สกย.) สามารถปลูกพืชร่วมยางได้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการตลาดจากการ
ปลูกยางเชิงเดี่ยว แต่ดูเหมือนว่าการทำสวนยางเชิงเดี่ยวควบคู่กับการใช้สารเคมีทาง
การเกษตรยังคงเป็นที่นิยมของชาวสวนส่วนใหญ่โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางสูงอย่าง
ต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเปน็
พน้ื ท่กี ารเกษตร การเสอื่ มลงของคณุ ภาพดิน การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ
ซ่ึงการปลูกพชื ในสวนยาง ไมว่ ่าจะเป็นการปลกู พืชในสวนยางแบบวนเกษตร หรือแม้กระ
ทั้งรูปแบบที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรียกว่า “สวนสมรม” ทั้งหมดล้วนเป็นระบบ
เกษตรกรรมยงั่ ยืนทไี่ ดร้ บั การยืนยันวา่ สามารถสร้างรายได้จากการมผี ลผลติ ทห่ี ลากหลาย
ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ไม้ใช้สอย และเกิดประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
ความหลากหลายทางชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ การปกป้องลุ่มน้ำและ
อนรุ กั ษ์ดิน

การปลูกสร้างไม้มีค่าในระบบสวนสมรมบนพื้นฐานเสริมสร้างนิเวศ ความหลากหลาย
ชวี ภาพและเศรษฐกิจชุมชน ได้จดั ทำข้นึ เพอ่ื ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูกสร้างสวนไม้มี
ค่าตั้งแต่การผลิตเมล็ดคุณภาพดี การเพาะเมล็ดไม้ รูปแบบการปลูก และการนำไม้มีค่า
มาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงที่ยางพาราหรือ
ผลิตผลทางการเกษตรราคาตกตำ่

คณะผู้จดั ทำ
สงิ หาคม 2565

สารบัญ หนา้
1
บทนำ 7
ไมม้ ีคา่ ทางเศรษฐกจิ 9
การคัดเลอื กแม่ไม้ 23
การเกบ็ และจัดการเมลด็ ไม้ 34
การเพาะเมลด็ ไมป้ ่า 36
การปกั ชำกลา้ ไมโ้ ตเร็ว 43
เหด็ เอคโตไมคอรไ์ รซาและการปลูกเชื้อให้แกก่ ลา้ ไม้ 50
รูปแบบการปลูกไมม้ คี า่ 59
จากแนวทางเกษตรกรรมยั่งยนื สู่แปลงปลูกพชื รว่ มยาง 62
แปลงปลกู ไม้มีค่า 65
การประเมินมลู ค่าต้นไม้ 79
เอกสารอา้ งองิ

บทนำ

แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีพื้นที่ปลูกยางพารามากถึง 14,256,630.62 ไร่และมี
ปริมาณการส่งออกยางพารามากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่จากสถานการณก์ ารผลิตยางพารา
ของโลก พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก
77.98 ล้านไร่ ในปี 2557 เป็น 89 ล้านไร่ ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ในขณะท่ี
ผลผลติ ยางพาราของโลก เพ่ิมข้ึนจาก 12.14 ลา้ นตันในปี 2557 เปน็ 14.59 ล้านตัน ในปี 2561
เนื่องจาก ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกบั พืชเศรษฐกิจอื่น จึงจูงใจ
ให้มีการขยายเนื้อทีป่ ลกู เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 6-7 ปีที่ผา่ นมา แต่ในขณะเดยี วกันกลับพบวา่
ราคายางในตลาดโลกปรบั ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้รบั ผลกระทบจากวิกฤติ
เศรษฐกจิ ของสหภาพยโุ รป สหรัฐอเมรกิ า และลุกลามไปทว่ั โลก รวมทั้งจนี ซึง่ เป็นผู้ใช้ยางพารา
รายใหญ่ของโลกทำให้การรับซื้อและการลงทุนชะลอตัวและลดลงต่อเนื่องมาจนถึงปลายปี
2561 ซึ่ง The Economist Intelligence Unit คาดการณว์ ่าการผลิตยางธรรมชาติของโลกจะ
เตบิ โตในอัตราชะลอตวั ที่ 1 เปอรเ์ ซน็ ต์ในปี 2562-2563 (เขตต์โสภณ , 2562)

ยางพารา เป็นพืชอุตสาหกรรมที่ไม่เพียงแต่จะมีสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศ ซี่งประเทศไทยเปน็ ประเทศผู้ผลิตยางพาราทีส่ ำคัญของโลก มีพื้นที่ปลูกยางพาราเปน็
อันดับสองรองจากประเทศอินโดนีเซีย คือ ประมาณ 22.47 ล้านไร่ มีปริมาณการส่งออก
ยางพาราธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 4,419,00 ล้านตัน ส่วนใหญ่มีการส่งออก
ร้อยละ 82 และส่วนที่เหลือเป็นการจำหน่ายในประเทศ โดยส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ จีน
มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่จะส่งออกในรูปของยางแปรรูปขั้นต้น
ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ น้ำยางข้น และผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วยยาง
ยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอด ท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง เป็นต้น
(สถาบนั วจิ ยั ยาง, 2561)

ส่วนพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วโลก ในปี 2560 มีประมาณ 80.90 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปี
2559 ร้อยละ 2.72 เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่เปิดกรีดในปี 2559 มีประมาณ 70.67 ล้านไร่ ส่วน
ใหญป่ ระมาณร้อยละ 77.78 เปน็ พืน้ ที่ปลกู ในประเทศกลมุ่ อาเซยี น โดยอินโดนีเซียเปน็ ประเทศ
ที่มีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุด คือ 22.74 ล้านไร่ รองลงมาคือประเทศไทย 18.46 ล้านไร่ และ
มาเลเซีย 6.70 ล้านไร่ ตามลำดับ โดยประเทศผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก 3 ประเทศ
ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2561 มีเนื้อที่ปลูกยางพารารวม 49.87 ล้านไร่ คิด
เป็นร้อยละ 56.03 ของเนื้อทปี่ ลกู ยางพาราของโลกและมีผลผลิตรวม 8.94 ล้านตัน คดิ เปน็ ร้อย
ละ 61.27 ของผลผลิตโลก โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศทีม่ ีเนื้อที่ปลูกยางพารามากที่สุดในโลก

1

มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 0.55 ต่อปี จาก 22.45 ล้านไร่ในปี 2557
เปน็ 22.99 ล้านไรใ่ นปี 2561 แต่มผี ลผลิตมากเปน็ อันดับ 2 ของโลกรองจากไทย โดยผลผลิตมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นรอ้ ยละ 3.85 ต่อปีจาก 3.15 ล้านตันในปี 2557 เป็น 3.61 ล้านตันในปี 2561
สำหรบั มาเลเซยี มีเนื้อทปี่ ลกู เป็นอนั ดับ 4 ของโลก รองจากอินโดนเี ซยี ไทย และเวียดนาม โดย
มีเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 ต่อปี จาก 6.54 ล้านไร่ ในปี 2557 เป็น 6.77 ล้านไร่ในปี
2561 ในขณะที่ผลผลติ ลดลงร้อยละ 3.26 ต่อปี จาก 0.67 ลา้ นตนั ในปี 2557 เหลอื 0.56 ล้าน
ตนั ในปี 2561

สำหรับการปลูกสร้างสวนยางพารา พบว่า พื้นที่ปลูกยางมากที่สดุ ของประเทศไทยเป็น
พื้นที่ทางภาคใต้และพื้นที่บางส่วนของภาคตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกเดิม มีสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมในการปลกู ยางมาก นอกจากน้นั ยังได้มกี ารขยายพ้ืนท่ปี ลูกยางมายงั เขตพื้นท่ีปลูกยาง
ใหม่ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ส่วนใหญ่ยังเป็นการทำ
เกษตรกรรมแบบปลูกพืชเชิงเด่ียว เกษตรกรจึงมรี ายไดห้ ลักจากสวนยาง แตม่ เี กษตรกรบางราย
ที่มีการเสริมรายได้ในสวนยางโดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริมรายได้ในสวนยาง และมีการ
ปลูกไม้ผลหรือไม้ป่ายืนต้นสำหรับใช้สอย ผลิตภัณฑ์น้ำมันทำความสะอาด เครื่องสำอางจาก
น้ำมนั เมลด็ ยางพารา เป็นต้น ท้ังนีน้ โยบายการพัฒนายางพาราของประเทศไทยจากปัญหาทาง
เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน กล่าวคือราคายางไม่มีเสถียรภาพและ
ราคาตกตำ่ รัฐบาลจึงได้มีนโยบายส่งเสริมและสนบั สนุนเกษตรกรใหป้ ลกู ยาง ควบคูก่ ับการปลกู
พืชแซมยางและพืชร่วมยาง เพื่อเป็นรายได้ระหว่างรอผลผลิต และเป็นรายได้หมุนเวียนให้
เกษตรกรนอกเหนือจากยางพารา นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบ
ผสมผสาน ซึ่งชาวสวนยางที่ต้องการโค่นยางเพื่อปลูกแทนหันมาเลือกปลูกยางแบบผสมผสาน
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยลดจำนวนต้นยางต่อพื้นที่ลงจากเดิมที่ปลูกลักษณะพืชเชิงเดี่ยว
ต้องมีต้นยาง 60-70 ต้น/ไร่ ปรับเหลือไม่น้อยกว่า 40 ต้น/ไร่ เพิ่มระยะห่างระหว่างแถว
ประมาณ 10 เมตร เพื่อให้เกษตรกรมีพื้นที่ว่างระหว่างต้นยางไว้สำหรับปลูกพืช หรือทำ
กิจกรรมทางการเกษตรอ่ืนไม่ว่าจะเป็นประมงหรือปศุสัตว์ นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การจัดการสวนยางของเกษตรกรแล้ว รัฐบาลได้ย้ำให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้ยาง
ภายในประเทศให้มากขึ้น และลดการส่งออกให้น้อยลงเพื่อลดการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศให้
น้อยลง ซงึ่ มีความผนั ผวนตามสถานการณร์ าคานำ้ มันและเศรษฐกจิ โลก อันจะสง่ ผลใหร้ าคายาง
ในประเทศมีเสถียรภาพมากข้นึ

ดงั นั้น จึงกล่าวไดว้ ่าการปลกู ไม้ยางพาราเปน็ พืชเชิงเดยี่ วในพืน้ ท่ีน้ันเกษตรกรต้องเผชิญ
กับภาวะเสี่ยงต่อความผันผวนของราคายางในตลาดโลก และภาวะความไม่มั่นคงในการดำเนิน
ชีวิตและไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

2

ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการสำคัญใน
การพัฒนาประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประเดน็ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความเขม้ แข็งภาคการเกษตร
ใหเ้ ตบิ โตอยา่ งเตม็ ศักยภาพของห่วงโซค่ ุณคา่ เพ่ือสร้างรายไดใ้ ห้กับพืน้ ที่อยา่ งตอ่ เนื่องและย่ังยืน
ประเทศไทยจึงมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และ
สิง่ แวดลอ้ มอยูจ่ ำนวนมาก โดยรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการขบั เคลือ่ นยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่
การปฏิบัติของพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยตามแนวทางการพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
ทางด้านการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับไม้มีคา่
ทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูกหรือขึ้นเองตามธรรมชาติและอยู่
นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ และ/หรือ ผลิตผลอื่นที่ไม่ใช่เนื้อไม้เพื่อการค้า
ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เป็นไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปร
รูปเป็นผลิตภณั ฑอ์ ่ืนๆ รวมทั้งให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแกผ่ ู้ปลูก กรมป่าไม้ (2562)
โดยรัฐบาลได้กำหนดให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสามารถใช้เป็นทรัพย์สินเพื่อเป็น
หลักประกนั ทางธุรกจิ ได้ โดยสามารถนำมาค้ำประกนั การกู้ยืมเงินหรอื ขอสนิ เชื่อได้ โดยปัจจุบัน
อยู่ในระหว่างการศกึ ษาเพ่ือพัฒนาเกณฑ์การประเมินมลู ค่าต้นไม้ที่เปน็ มาตรฐานและไดร้ ับการ
ยอมรับ นอกจากนี้สามารถสรุปนโยบายและประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับไม้เศรษฐกิจ
(ศนู ยว์ จิ ยั ปา่ ไม้ คณะวนศาสตร์, 2562) ดงั นี้

1) ยทุ ธศาสตร์ชาตริ ะยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579) เปน็ กรอบแผนงานในการพัฒนา
ประเทศ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
ดว้ ยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ประกอบด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ และมี
2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การ
สร้างความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ี
เป็นมติ รกบั สงิ่ แวดลอ้ ม

2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยึด
หลักการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่ม
ผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรมตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมี
ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่
เปน็ มิตรกบั ส่งิ แวดล้อม มีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ โดยเพิม่ พื้นท่ีป่าไม้ให้ได้ร้อย
ละ 40 ของพ้นื ที่ประเทศเพ่ือรกั ษาความสมดลุ ของระบบนิเวศ

3) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558–2564 มีวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
คอื “เพื่อใหก้ ารจดั การฐานทรพั ยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร มีความมั่นคง

3

ความยัง่ ยืน และมีความสมดลุ กบั การขยายตวั ของการพัฒนาประเทศ รวมถึงลดความเส่ียงจาก
ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์” บรรจอุ ยูใ่ นนโยบายความมัน่ คงแหง่ ชาติท่ัวไปข้อที่ 11 เพื่อ
รักษาความม่นั คงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม

4) แผนยทุ ธศาสตร์กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม ระยะ 20 ปี (พ.ศ.
2560-2579) ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งมี
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู ส่งเสริม และพัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยัง่ ยืน โดยมีเป้าหมายการเพิม่ พ้นื ท่ี
ป่าไม้จากพนื้ ที่เสอื่ มโทรม และสร้างป่าเศรษฐกจิ และสอดคล้องกับยุทธศาสตรท์ ่ี 5 การลดก๊าซ
เรือนกระจกและลดผลกระทบจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศและภยั พิบัติทางธรรมชาติ
โดยการเพิ่มพ้นื ทปี่ ่าไม้

5) ยุทธศาสตร์กรมป่าไม้ระยะ 20ปี (พ.ศ. 2560-2579) มีการกำหนดประเด็น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาทัง้ หมด 7 ยุทธศาสตร์ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “บริหารจดั การทรัพยากร
ป่าไม้ให้มั่นคงและยั่งยืน” และสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนยุทธศาสตรก์ ระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม ระยะ 20 ปี ทั้งนี้การเพ่ิมพ้ืนทีป่ า่ ทั้งในและนอกเขตป่าถอื
เปน็ พันธกจิ สำคัญ

6) แผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พ.ศ. 2557 ซึ่งคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) มอบให้ กอ.รมน. กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวาง
ยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์เพอ่ื ให้บรรลเุ ป้าหมาย คือ การพิทกั ษ์รกั ษาพนื้ ทีป่ า่ ไมใ้ ห้มีสภาพ
ป่าท่สี มบรู ณใ์ ห้ไดพ้ ้ืนทีป่ า่ ไม้อยา่ งนอ้ ยรอ้ ยละ 40 ของพืน้ ที่ประเทศภายใน 10 ปี

7) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)
มุ่งในการแก้ไขจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งให้เอื้อต่อการพัฒนาภาคการเกษตรในระยะยาว เพื่อ
บรรลุวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” และให้
ความสำคญั กับการผลิตภาคเกษตรที่จำเปน็ ตอ้ งพ่งึ ทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม โดยเน้น
การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตที่เป็นมิตรกับ
สิง่ แวดล้อม

8) ยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร (พ.ศ. 2560-
2579) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ไม้เศรษฐกิจนำประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน บน
ฐานการเตบิ โตทีเ่ ปน็ มติ รกบั สิ่งแวดลอ้ ม” รวมถงึ ได้กำหนดนยิ าม ไมเ้ ศรษฐกจิ หมายถงึ “ไม้ยืน
ต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ ที่ปลูกหรือขึ้นเองตามธรรมชาติ และอยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้
ประโยชน์เนือ้ ไม้ และ/หรือ ผลิตผลอ่นื ทไ่ี ม่ใชเ่ นือ้ ไมเ้ พือ่ การค้า” มีการกำหนดเป้าประสงค์และ
ตัวชี้วัดเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานที่บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ 3 ด้าน

4

ประกอบด้วย 1) พื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 26 ล้านไร่ 2) รายได้เฉลี่ยของ
เกษตรกรผู้ปลูกไม้เศรษฐกิจไม่นอ้ ยกว่า 420,000 บาทต่อคนต่อปี และ 3) ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภาคปา่ ไม้ของประเทศไม่นอ้ ยกว่า 2 ล้านลา้ นบาท ซง่ึ ประกอบด้วย 7 ยทุ ธศาสตร์ ดังน้ี

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อเพ่ิม
ประสทิ ธิภาพการส่งเสรมิ ไม้เศรษฐกจิ แบบครบวงจร

ยุทธศาสตร์ท่ี 2 การจัดเตรยี มพน้ื ทรี่ องรับการส่งเสรมิ ไม้เศรษฐกจิ แบบครบวงจร
ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนามาตรการทางการคลงั การเงนิ และระบบตลาดเพ่อื สรา้ ง
แรงจงู ใจปลกู ไมเ้ ศรษฐกจิ แบบครบวงจร
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 4 การพฒั นาศักยภาพเกษตรกรและผปู้ ระกอบการไม้เศรษฐกจิ แบบครบวงจร
ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 5 การวจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยแี ละนวัตกรรมไมเ้ ศรษฐกจิ แบบครบวงจร
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 6 การเพมิ่ ประสทิ ธิภาพระบบการบริหารงานเพอ่ื ส่งเสริมไมเ้ ศรษฐกิจ
แบบครบวงจร
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาระบบรับรองป่าไม้ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ 7 อยู่ระหว่างการ
ขับเคลื่อนภายใต้การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ สถาบันการศึกษา
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถาบันเกษตรกรด้านไม้เศรษฐกิจ หน่วยงานของกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ หน่วยงานของกระทรวงพาณชิ ย์ หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงาน
ของกระทรวงการคลัง และภาคเอกชน เป็นต้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงตามยุทธศาสตร์ในหลาย
ประเด็น เช่น การแก้ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เกี่ยวกบั ไมห้ วงห้าม การแก้ไขกฎกระทรวงของ
กระทรวงพาณิชย์ให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อ
ปลูกป่าของธนาคารของรฐั บางแหง่ โครงการชุมชนไม้มคี า่ ของรัฐ เปน็ ต้น
9) นโยบายรัฐบาล คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไทย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่งในกรอบ
นโยบายด้านการพัฒนาการเกษตร ได้ระบุการส่งเสริมปลูกไม้มีค่าทางศรษฐกิจ คือ “ส่งเสริม
การปลกู ไม้มีค่าเปน็ พชื เศรษฐกจิ โดยการสนบั สนุนพันธก์ุ ล้าไม้ และให้ความสำคัญในการบริหาร
จัดการเชิงพาณิชยอ์ ย่างเหมาะสม ทัง้ ในดา้ นการปลูก การบำรงุ รกั ษา ดแู ล และการแปรรูปเพ่ือ
สร้างมูลคา่ เพิม่ ซ่งึ จะชว่ ยเพิ่มรายไดใ้ หแ้ กเ่ กษตรกรอีกทางหนึ่ง”
10) นโยบายการใช้ไม้มีค่าที่ใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ เทคโนโลยีการเกษตร (2562) ได้
กล่าวสรุปความเป็นมาถึงไม้มีค่าที่ใช้ประกันเงินกู้ได้ว่า “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน
สังคม” เป็นผู้จุดประกายความคิดให้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ออก
กฎกระทรวงเพื่อเพ่มิ ทรพั ย์สนิ อนื่ มาเป็นหลักประกัน กรมพัฒนาธุรกิจการคา้ จึงเปิดเวทีประชา

5

พจิ ารณ์ รับฟังความคดิ เห็นจากผู้ทเี่ ก่ยี วข้อง ไดแ้ ก่ สำนักงานเศรษฐกจิ การคลัง คณะกรรมการ
ปฏิรูปประเทศด้านสังคม สหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
สมาคมธนาคารไทยและธนาคารรัฐ เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน SME Bank ปรากฏว่าทุก
หน่วยงานต่างสนับสนุนแนวคิดเรื่องการใช้ไม้มีค่าเป็นสินทรัพย์หลักประกันทางธุรกิจ เพราะ
นโยบายนี้สร้างผลดีต่อประเทศชาติ รวมทั้งภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมากรมพัฒนาธุรกิจ
การคา้ จึงได้นำไมย้ ืนต้นท่มี ีมลู ค่าสูงมาเป็นหลกั ประกนั ทางธรุ กจิ โดยการออกเป็นกฎกระทรวง
ตามมาตรา 8 (6) แหง่ พระราชบัญญตั ิหลกั ประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพือ่ เปดิ ทางใหใ้ ชไ้ ม้ยืน
ต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่าสามารถนำมาเป็น
หลักประกันทางธุรกิจได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs)
ได้รับความสะดวกและมโี อกาสเข้าถึงแหล่งทนุ ในการประกอบธุรกจิ มากย่งิ ขน้ึ แล้ว

นโยบายดงั กล่าว สรา้ งแรงจูงใจใหค้ นไทยหนั มาปลกู ไมย้ ืนตน้ ในที่ดนิ กรรมสิทธ์ิเพื่อการ
ออม ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกจิ แล้วยงั ส่งผลดีทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวเพ่ิมมากขึ้นใน
ระยะยาว ประชาชนยังสามารถใช้ประโยชน์จากต้นไมร้ ะหว่างการปลูก โดยใช้เป็นหลักประกนั
ทางธุรกิจเพื่อกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินได้อีกด้วย ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมก่อสร้างและ
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จะมีไม้จากป่าปลูกจำนวนมากใช้เป็นวัตถุดิบแปรรูปในอนาคต ซึ่ง
ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกัน พ.ศ.
2561 โดยกำหนดให้ “ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้” เปิดทางให้ประชาชน
สามารถนำไม้ยนื ต้น เชน่ ไผ่ มะมว่ ง ทเุ รียน มะขาม ไมย้ าง มะขามป้อม ไมส้ กั ไมพ้ ะยงู ฯลฯ ที่
ข้ึนทะเบยี นปลกู กบั หน่วยงานภาครัฐ นำมาใช้คำ้ ประกนั ธรุ กจิ ไดใ้ นอนาคต

นอกจากนี้ หลังจากรัฐบาลเห็นชอบให้การใช้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกจิ ได้
โดยกระทรวงพาณิชยเ์ สนอให้เพ่มิ ไม้ยนื ต้นท่ีมีคา่ ทางเศรษฐกิจ และมกี ารแก้ไขกฎหมายกรมป่า
ไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ให้สามารถตัดต้นไม้ได้ทุกชนิดที่ขึ้นหรือปลูกในที่ที่มีกรรมสิทธิ์ ส่วน
การสร้างผู้ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ ธ.ก.ส.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ และ
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการอบรมให้ความรู้กับคณะกรรมการและ
สมาชิกโครงการธนาคารตน้ ไม้ 400 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน รวม 800 คน เพอื่ ทำหน้าทป่ี ระเมิน
มูลค่าต้นไม้ และ ธ.ก.ส. มีเป้าหมาย ยกระดับโครงการธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไม้มีค่า เพื่อเพ่ิม
พื้นที่ป่าให้ได้ 300,000 ไร่ คาดว่าภายใน 10 ปี จะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าในประเทศไม่ต่ำกว่า
137 ลา้ นตน้ จากปจั จบุ ันท่มี ีประมาณ 12 ล้านต้น ซงึ่ จะช่วยสนับสนุนการกกั เก็บคาร์บอน ลด
การปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจก และแปลงรายไดส้ ู่ชมุ ชนตอ่ ไป

6

ไม้มคี าทางเศรษฐกิจ

ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูกหรือขึ้นเองตาม
ธรรมชาติและอยนู่ อกเขตปา่ อนุรักษ์ทม่ี กี ารใชป้ ระโยชนเ์ นอ้ื ไม้ และ/หรอื ผลติ ผลอนื่ ทไี่ มใ่ ช่เน้ือ
ไม้เพื่อการค้า (คณะวนศาสตร์, 2560) กรมป่าไม้ (2536) แบ่งไม้มีค่าทางเศรษฐกิจตามการ
เติบโตออกเป็น 3 กลุ่ม ดังน้ี

1. ไม้โตเร็ว คือต้นไม้ที่มีเติบโตของเส้นผา่ นศูนย์กลางเพียงอก มากกวา 1.5 เซนติเมตร/
ปี และมีอายุสำหรับตดั ฟันไมป้ ระมาณ 5-15 ปี

กระถนิ เทพา ยคู าลิปตัส ไผ่ สะเดาเทยี ม สนทะเล

2. ไม้โตปานกลาง คือต้นไม้ที่มีเติบโตของเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.8-1.5
เซนตเิ มตร/ปี อายุสำหบั ตัดฟันไม้ประมาณ 15-20 ปี

สกั ยางนา แดง สนสองใบ ประดู่

7

3. ไมโ้ ตชา้ มอี ัตราการเตบิ โตของเส้นผ่านศูนย์กลาง นอยกวา 0.8 เซนตเิ มตร/ปี รอบ
ตัดฟนั ประมาณ 20-30 ปี

ตะเคยี นทอง มะคา่ โมง กนั เกรา เตง็ จนั ทน์หอม

8

การคดั เลือกแม่ไม้ (Plus Tree Selection)
การคัดเลือกแม่ไม้ เปน็ ขบวนการแรกของงานการปรับปรุงพันธ์ุไม้ปา่ และความสามารถ
ของแม่ไม้ที่จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีไปสู่ลูกหลานได้จะเป็นผลทำให้งานการ
ปรับปรงุ พันธป์ุ ระสบความสำเรจ็ ดว้ ยเหตุน้ีนักปรบั ปรุงพันธไุ์ มป้ ่าจึงกำหนดลกั ษณะตา่ งๆ และ
นำมาพจิ ารณาในการคดั เลือกแมไ่ ม้ ไดแ้ ก่

1) มกี ารเตบิ โตดี ทงั้ ด้านความโตและความสงู
2) ลำตน้ กลม เปลา ตรง ความเรียวของลำต้น

ภาพท่ี 1 ลักษณะความเปลาตรงของลำตน้

ภาพท่ี 2 ลักษณะความเรียวของลำต้น

9

3) การลิดกิ่งตามธรรมชาตดิ ี กง่ิ มขี นาดปานกลางถึงเล็กเมอ่ื เทียบกบั ลำตน้
ภาพท่ี 3 ขนาดของกง่ิ เปรยี บเทียบกบั ลำต้นทมี่ ีผลต่อการลิดก่ิงตามธรรมชาติ

ภาพที่ 4 ลกั ษณะการทำมมุ ของกิ่งกบั ลำต้นทม่ี ีผลตอ่ การลิดกงิ่ ตามธรรมชาติ

10

4) เรอื นยอดเล็ก ไดส้ ดั ส่วน และรปู ทรงดี

ภาพท่ี 5 ลักษณะทรงพมุ่ เรือนยอดของตน้ ไม้
5) ต้านทานต่อโรคและแมลง

ภาพที่ 6 ต้นไม้ทีม่ ีความสมบรู ณ์ไม่มโี รคและแมลง

11

6) มีพพู อนที่โคนต้นน้อย
ภาพที่ 7 ลกั ษณะของต้นไม้ที่มพี ูพอน

โดยในการคัดเลือกแมไ่ มจ้ ะมแี บบฟอร์มสำหรบั บันทกึ ขอ้ มูลแมไ่ มด้ ังภาพท่ี 8

12

13

ภาพท่ี 8 แบบฟอรม์ การบนั ทึกแมไ่ ม้

ภาพท่ี 9 แผนทแี่ มไ่ มส้ ำหรับการผลิตเมล็ดไม้คุณภาพดี

14

ภาพท่ี 10 แผนท่ีแมไ่ มส้ ำหรับการผลติ เมล็ดไม้คณุ ภาพดจี ังหวดั ประจวบคีรขี นั ธ์

15

ภาพท่ี 11 แผนท่แี มไ่ ม้สำหรับการผลิตเมล็ดไม้คณุ ภาพดจี งั หวดั ชมุ พร

16

ภาพท่ี 12 แผนท่แี มไ่ ม้สำหรับการผลิตเมล็ดไม้คณุ ภาพดจี งั หวดั ระนอง

17

ภาพท่ี 13 แผนท่ีแมไ่ มส้ ำหรับการผลติ เมล็ดไม้คณุ ภาพดีจงั หวัดสรุ าษฎร์ธานี

18

ภาพท่ี 14 แผนท่แี มไ่ ม้สำหรับการผลิตเมล็ดไม้คณุ ภาพดจี งั หวดั พงั งา

19

ภาพท่ี 15 แผนท่แี มไ่ ม้สำหรับการผลติ เมล็ดไม้คณุ ภาพดจี งั หวดั กระบ่ี

20

ภาพท่ี 16 ตัวอยา่ งแมไ่ ม้บางชนิดท่ีสำรวจพบ

21

ภาพท่ี 17 ตัวอยา่ งแมไ่ ม้บางชนิดท่ีสำรวจพบ

22

การเก็บและจดั การเมลด็ ไม้
(Seed collection and management)
การปลูกป่าโดยทั่วไปต้องการทั้งคุณภาพและความหลากหลายทางสายพันธุ์ซึ่ง
ต้องใช้เวลายาวนานจึงจะเห็นผลชัดเจน ดงั นั้นจึงตอ้ งมีการเลือกใชเ้ มล็ดพันธุ์ท่ีมี
คณุ ภาพดใี นการผลติ กล้าไมส้ ำหรบั ปลกู ปา่ ซงึ่ แหล่งเมล็ดไมเ้ ปน็ ปัจจยั เบอื้ งต้นในการจัดหาเมล็ดพันธ์ุที่
มคี ณุ ภาพทางพันธุกรรม
1. แหลง่ เมลด็ ไมค้ ุณภาพ
การเก็บเมล็ดไม่ว่าจะเป็นไม้ชนิดใดก็ตามควรเก็บเมล็ดจาก แหล่งที่มีไม้ลักษณะดี หรือหาจาก
แหล่งที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้ว การสร้างแหล่งเมล็ดเพื่อเพิ่มคุณภาพทางพันธุ์ของเมล็ดสามารถ
แบง่ เปน็ ช้นั ๆ ได้ 7 ช้ันดงั ภาพท่ี 18

ภาพท่ี 18 การจำแนกช้นั คุณภาพทางพันธกุ รรมของแหล่งเมล็ด
ที่มา: สำนักวิจยั และพฒั นาการป่าไม้ กรมปา่ ไม้ พ.ศ. 2556

ในขณะที่สวนผลิตเมล็ดพันธุ์สร้างได้ 2 วิธี คือ การสร้างจากสายต้น (clone) เรียกว่า Clonal
seed orchard (ภาพที่ 19) และการสร้างจากสายพันธุ์ (family) โดยใช้เมล็ดจากแม่ไม้แต่ละต้น
เรียกวา่ Seedling seed orchard (ภาพท่ี 20)

23

ภาพที่ 19 สวนผลติ เมล็ดพันธุท์ ก่ี ่อตัง้ จากสายต้น (Clonal seed orchard)
ท่ีมา: สำนกั วจิ ยั และพฒั นาการป่าไม้ กรมปา่ ไม้ พ.ศ. 2556

24

ภาพท่ี 20 สวนผลิตเมล็ดพันธ์ุที่กอ่ ตง้ั จากเมล็ด (Seedling seed orchard)
ทม่ี า: สำนักวจิ ัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมปา่ ไม้ พ.ศ. 2556

25

2. วธิ ีการเก็บเมล็ดไม้
2.1 เวลาการเกบ็ เมล็ด
ระยะเวลาในการเก็บเมล็ดดีที่สุดคือ ช่วงเวลาที่เมล็ดส่วนใหญ่สุกแก่ ข้อมูลระยะเวลา

การออกดอกและเวลาการเก็บเมล็ดไมช้ นิดต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 2 นอกจากนี้แล้วผู้เก็บยังต้องใช้
การสังเกตความสุกแกจ่ ากการทผี่ ลเร่ิมร่วงหรอื เมล็ดเริ่มกระจายประปราย มีการเปล่ยี นแปลงลักษณะ
ทางกายภาพ เช่น สี ขนาด น้ำหนัก ความชื้นภายในเมล็ด และลักษณะโครงสร้างของเมล็ด เช่น สีผล
เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล ดำ หรือแดง สีปีกเปลี่ยนจากเขียวเป็นน้ำตาล เปลือกแข็ง เนื้อผลน่ิม
หรือเละ ผลแตกหรอื ร่วงหล่น ขัว้ ผลหักหลุดง่าย ดังภาพที่ 19 เปน็ ต้น

ตารางที่ 2 ระยะเวลาการออกดอก และช่วงเวลาทเ่ี หมาะสมตอ่ การเก็บเมล็ดไมช้ นดิ ต่างๆ

ช่ือพันธ์ุไม้ ระยะเวลาออกดอก ระยะเวลาเก็บเมล็ด

1. กระถนิ ณรงค์ ก.ค.-ส.ค. พ.ย.- มี.ค.

2. กระถินเทพา ต.ค. - ธ.ค. มี.ค. - เม.ย.

3. มะคา่ โมง ก.พ. – มี.ค. ต.ค. – มี.ค.

4. สะเดาเทยี ม ก.พ. – ม.ี ค. พ.ค. – มิ.ย.

5. สนทะเล ม.ค. – มี.ค. พ.ย. - เม.ย.

6. พะยงู พ.ย. - ก.ค. ต.ค. - ก.พ.

7. ฉนวน มี.ค. - พ.ค. ม.ค. – มี.ค.

8. ชิงชนั มี.ค. - พ.ค. พ.ย. - พ.ค.

9. ยางนา มี.ค. - พ.ค. ก.พ. - พ.ค.

10. มะเกลือ ม.ค. - ก.ย. ม.ค. – มี.ค.

11. ยางแดง - ม.ี ค. - พ.ค.

12. ยูคาลปิ ตัส คามาลดูเลนซีส - พ.ย. - ก.ค.

13. ยูคาลปิ ตสั ซิตรโิ อโดรา - ธ.ค. – มี.ค.

14. ยคู าลิปตัส โคลอเี ซยี นา - ส.ค. - ธ.ค.

15. ยคู าลปิ ตัส ดกี รุ๊ปตา - พ.ค. - ต.ค.

16. ยคู าลิปตัส แกรนดสิ - ม.ค. - ก.ค.

17. ยูคาลิปตัส เทรติ ิคอร์นิส - เม.ย. - พ.ค. - ต.ค.

18. กนั เกรา , ตาเสา เม.ย. – มิ.ย. ก.ย. - พ.ย.

19. ตะเคยี นทอง ม.ค. – มี.ค. ก.พ. - เม.ย.

20. หลมุ พอ มี.ค. ก.พ. - ม.ค.

21. เสลา มี.ค. - เม.ย. พ.ย. – มี.ค.

22. เลย่ี น ก.พ. - มีค. พ.ย. - ก.พ.

26

ตารางท่ี 2 (ตอ่ ) ระยะเวลาออกดอก ระยะเวลาเกบ็ เมล็ด
ช่ือพันธุ์ไม้ - ก.พ

23. บุญนาค ม.ี ค. - พ.ค. ก.พ. - เม.ย.
24. สาธร, กระเจ๊าะ - เม.ย - พ.ค
25. ยางบง - ม.ิ ย - ส.ค
26. สนคารเิ บยี - มี.ค - มิ.ย
27. สนสองใบ พ.ย. - ก.พ.
28. สนสามใบ พ.ย - เม.ย. ต.ค - ธ.ค
29. ประดูป่ า่ ม.ี ค.-เม.ย. ต.ค. - ธ.ค.
30. ประดบู่ า้ น ม.ี ค.-เม.ย.
31. โกงกางใบเล็ก ม.ี ค.
32. โกงกางใบใหญ่ - ม.ี ค.
33. มะค่าแต้ - ต.ค. - ม.ค.
34. มะฮอกกานี ( ใบเล็ก ) มี.ค. - พ.ค. ธ.ค. - ม.ค.
35. มะฮอกกานี (ใบใหญ่ ) - ธ.ค. - ม.ค.
36. สัก - ม.ค. - เม.ย.
37. สมอไทย ม.ิ ย. - ต.ค. ต.ค. - ธ.ค
38. สมอภเิ ภก เม.ย. - ม.ิ ย ธ.ค. - ก.พ.
39. สมพง ม.ี ค. - พ.ค. ก.พ - เม.ย.
40. ไผ่รวก - ก.พ – มี.ค.
41. แดง - ก.พ. - พ.ค.
ท่ีมา: จำนรรจ์ เพยี รอนรุ กั ษ์ (2016) ก.พ. – มี.ค.

27

ยางขน พะยอม จันทน์หอม

ตะเคยี นทอง หลมุ พอ เหยี ง

ยางนา พนอง ยางกล่อง
ภาพที่ 21 ลกั ษณะของเมล็ดไมท้ ีแ่ ก่เตม็ ทเ่ี หมาะแกก่ ารเกบ็ มาเพาะ

28

2.2 วธิ ีการเกบ็ ผลหรอื ฝัก
2.2.1 การเกบ็ ผลทีร่ ว่ งหลน่ ตามธรรมชาติ
พืชบางชนิดฝักจะร่วงสู่พื้นดินเมื่อเมล็ดแก่จัดโดยเมล็ดที่อยู่ภายในยังไม่

เสียหาย เช่น จามจุรี บางชนิดลำต้นสูงใหญ่แผ่กิง่ ก้านกว้าง การปีนเก็บทำได้ยาก จำเป็นต้องรอให้ผล
รว่ งหลน่ เช่น กระบก ซอ้ เลี่ยน ฯลฯ แตค่ วรเก็บขณะผลยงั สดไมเ่ น่าเสยี เครอ่ื งมือที่ใช้สำหรับเก็บผล
ที่ร่วงหล่นตามพนื้ ไดแ้ ก่ คราด ตะแกรงสำหรับร่อน ภาชนะใสผ่ ล เชน่ ถงั ตะกรา้ ผ้าใบหรือผา้ พลาสติก
ขนาดใหญ่ (ภาพที่ 22)

ภาพที่ 22 การเก็บผลทรี่ ่วงหล่นตามธรรมชาติ
2.2.2 การเขยา่ ต้นไม้
ตน้ ไม้ทีม่ ขี นาดเล็ก และขั้วผลเปราะ และแหง้ จัดสามารถใชว้ ธิ เี ขยา่
2.2.3 การลดิ กิง่ ท่ีมีผล
เมื่อผลอยูส่ งู มอื เออ้ื มไม่ถึง อาจใช้อุปกรณท์ ่ีมดี า้ มยาวชว่ ยในการลดิ กิ่งแล้วทำ

การเกบ็ เมล็ดทต่ี ิดอย่กู ับกิง่
2.2.4 การเหวย่ี งเชอื กท่มี ีนำ้ หนกั ถว่ งปลาย เพ่ือทำใหก้ ง่ิ ทีม่ เี มลด็ หักลง
การเหวี่ยงเชือกทีม่ นี ้ำหนกั ถว่ งปลาย เพื่อทำให้กิง่ ทม่ี ีเมลด็ หกั ลง
2.2.5 การปีนตน้ ไมเ้ พื่อเก็บเมลด็
ต้นไมท้ ี่มขี นาดใหญ่ มีความสงู มาก และข้วั ผลเหนยี วการจะเก็บผลจำเปน็ ต้อง

ปีนต้น ซึ่งมีความเสี่ยงและอันตรายสูง การปีนโดยใช้เครื่องมือปีนต้นไม้ที่มีอุปกรณ์ช่วยปีนและเชือก
คุณภาพพิเศษ ชว่ ยใหเ้ กิดความปลอดภยั ในการปีนเปน็ เร่ืองทตี่ ้องปฏิบัตอิ ยา่ งเคร่งครัด ไม่ควรปีนด้วย
มือ-เท้าเปล่า (ภาพที่ 23)

29

ภาพท่ี 23 การปีนต้นไมข้ นาดใหญ่เพอื่ เก็บเมลด็ (ก-ค) การปีนตน้ ไมข้ นาดเล็ก (ง) เพ่ือเกบ็ เมล็ดไม้บน
ตน้ (จ) และเมล็ดไม้ทเ่ี กบ็ (ฉ) (สว่ นเพาะชำกล้าไม,้ กรมปา่ ไม)้

2.2.6 การเก็บเมล็ดจากตน้ ไมท้ ีต่ ดั โค่นลง
ถ้าต้นไม้จะต้องถูกตัดโค่นลง พยายามรอจนกว่าเมล็ดไม้นั้นแก่ดีก่อนการตัด

โค่นและจำไว้เสมอว่า อย่าตัดต้นไม้เพียงเพื่อเก็บเมล็ด ชนิดไม้ที่ใช้วิธีนี้ได้คือชนิดที่ออกผลแล้วตาย
เชน่ ไม้ไผ่
3. การเก็บรกั ษาเมลด็

การเก็บรักษาเมล็ดที่ดี คือการใช้ภาชนะที่ปิดได้สนิทที่สุดเพื่อควบคุมความชื้นของเมล็ด ไม้และ
อณุ หภมู ขิ องห้องทเี่ ก็บใหอ้ ยูใ่ นระดบั ตำ่ (ภาพท่ี 24)

ภาพที่ 24 การเกบ็ รักษาเมลด็ ไม้ในรปู แบบตา่ งๆ

30

4. การปฏิบัตติ อ่ เมลด็
เมล็ดแต่ละชนิดมีเปลอื กท่ีมคี วามแข็งแตกตา่ งกนั การเร่งการงอกก็ตอ้ งปฏบิ ัตแิ ตกต่างกัน ซ่งึ

แบง่ ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังน้ี
4.1 ชนิดที่มีเปลือกเมล็ดแข็งหนา: ทำให้เปลือกเมล็ดเสียหายโดยการถูกระดาษทราย ขลิบ

ตัดเมล็ดด้านที่อยู่ตรงข้ามกับต้นอ่อนด้วยกรรไกร (ภาพที่ 25) มีดหรือแช่ในกรดเข้มข้น เช่น กรด
กำมะถัน (คณู มะค่าโมง หลมุ พอ)

ภาพที่ 25 การตัดเมลด็ หลุมพอเพื่อเร่งอตั ราการงอก
4.2 ชนิดที่มีเปลือกเมล็ดแข็ง: แช่เมล็ดด้วยน้ำร้อน (กระถินเทพา กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน)

(ภาพท่ี 26)

ภาพที่ 26 การแช่เมล็ดกระถนิ ในนำ้ ร้อนเพอื่ เร่งอตั ราการงอก

31

6.3 ชนิดที่มีสิ่งห่อหุม้ เมล็ดแข็งหนา: ใช้มีดตัด ผ่าให้แตกโดยเป็นอนั ตรายต่อเมล็ดนอ้ ยท่สี ุด
(ภาพที่ 27)

ภาพท่ี 27 การปฏิบตั กิ ับเมล็ดกลุม่ ทมี่ มี ีสง่ิ ห่อหมุ้ เมลด็ แข็งหนา
6.4 ชนดิ ทม่ี เี ปลอื กบางหรอื นม่ิ น้ำซึมผ่านเข้าไปได้งา่ ย: ลงแปลงเพาะไดเ้ ลย (สะเดา มะขามเทศ)
6.5 ชนิดที่มปี ีก: นำเมลด็ แกเดด็ ปีกถึงโคนแลว้ นำลงเพาะได้เลย (ยางนา ตะเคยี นทอง) (ภาพท่ี 28)

32

ภาพท่ี 28 การปฏบิ ัตกิ บั เมลด็ กลุ่มทม่ี ีปีก

33

การเพาะเมล็ดไมป้ ่า

การเพาะเมลด็ ไม้ ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ
1 การนำเมล็ดลงถงุ โดยตรง
o ใช้กับเมล็ดขนาดใหญ่ เช่น มะค่าโมง มะค่าแต้ เป็นต้น หรือ เมล็ดที่มีเปอร์เซ็นต์

การงอกดี 90 % ขนึ้ ไป โดยการรดน้ำใหช้ ุ่ม แลว้ วางเมลด็ นอนแนวราบ กดใหจ้ มตำ่ กว่าผวิ ดนิ ประมาณ
3-5 มลิ ลเิ มตร ดังภาพท่ี 29

ภาพที่ 29 การเพาะเมล็ดไม้ปา่ ลงถุงหรอื วัสดุเพาะชำโดยตรง

34

2 เพาะในกระบะเพาะกอ่ นย้ายชำ
o หว่านให้กระจายทั้งกระบะเพาะแล้วโรยดินกลบให้สม่ำเสมอหนาประมาณ 3-5

มิลลิเมตร หรือว่านเป็นแนวโดยเซาะร่องก่อนแล้วโรยลงร่องแล้วกลบ รดน้ำให้ชุ่ม คลุมกระบะด้วย
พลาสติกเพือ่ รกั ษาความช้นื ในดิน แล้วทำการย้ายลงถุงปักชำ ดังภาพท่ี 30

ภาพที่ 30 การเพาะเมล็ดไม้ป่าในกระบะเพาะกอ่ นย้ายชำ

35

การปกั ชำกลา้ ไมโ้ ตเรว็

การปักชำ (cutting) เป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เนื่องจากการขยายพันธุ์ด้วย

เมล็ดมคี วามแปรผนั สงู และทำให้ผลผลิตไม่ค่อยแน่นอนทางพันธกุ รรม ทำใหไ้ ม่สามรถถา่ ยทอดลักษณะ

ทางพันธุกรรมที่ดไี ปยังรุ่นหลานได้ จึงได้มีการศึกษาการวิจัยขึน้ มาเพื่อจะได้ลักษณะแมไ่ ม้ที่ดีตกถึงรนุ่

ลกู และเป็นการลดความเสยี่ งต่อการปลูกสวนปา่ โดยใช้เมล็ด ซึ่งอาจมลี กั ษณะดอ้ ยแฝงอยู่และเป็นการ

แกป้ ัญหาเมลด็ ไม่เพียงพอ ออกไม่สมำ่ เสมอทกุ ปี และยงั ช่วยให้สามารถผลิตกล้าไม้ได้จำนวนมากๆ ใน

ระยะเวลาอนั สน้ั ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จา่ ย สำหรบั วิธกี ารขยายพันธ์ุทีน่ ยิ มกค็ ือ การปักชำ

วัสดอุ ุปกรณ์สำหรบั การปกั ชำ

1. กงิ่ พนั ธก์ุ ระถินเทพา 2. กรรไกรตดั กิ่ง

3. วัสดุปลกู (ทรายและขุยมะพรา้ ว) 4. ถงุ ดำขนาด 2*6 นว้ิ

5. กะละมัง 6. บัวรดน้ำ

7. น้ำยาเรง่ ราก 8. กระโจมแบบงา่ ยจากท่อ pvc

9. พลาสติกใสคลุมกระโจม 10. ปยุ๋ เคมสี ูตร 15-15-15

11. สปรงิ เกอร์

การปกั ชำเป็นวิธีการหน่ึงท่ีสามารถผลิตกล้าไม้ได้เป็นจำนวนมาก โดยการคัดเลือกแม่ไม้ที่มี

ลักษณะดีเพื่อนำไปจัดสร้างสวนกิ่งพันธ์ุ (scion orchard) ดังนั้นถ้าเราต้องการขยายพันธุ์ไม้กระถิน

เทพาโดยวธิ ีการปกั ชำเราต้องจัดสร้างสวนกง่ิ พนั ธ์ุเสยี ก่อน โดยมขี ้นั ตอนดังตอ่ ไปน้ี

1 การคัดเลือกแม่ไม้ที่มีการเติบโตที่ดี มีความเปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อยและกิ่งทำมุม

กว้างกับลำต้นหรือใกล้เคียงหรือมากกว่า 90 องศา ทนทานต่อโรคแมลง มีรูปทรงเรือนยอดที่สมดุล

(ภาพที่ 31) ทำการตอนกิ่งพันธุ์ดีเพื่อนำมาปลูกสร้างเป็นกลุ่มเป็นแถวเพื่อสร้างแปลงขยายกิ่งพันธุ์

สำหรับการปักชำ โดยทำการปลูกที่ระยะ 0.5x0.5 เมตร หรือ 1x1 เมตร บนพื้นที่ราบ ดินร่วน ลึก

ระบายน้ำได้ดี ทำการดูแลรักษาโดยรดน้ำใส่ปุ๋ย เมื่อสูงประมาณ 1.5 เมตร ทำการตัดแต่งกิ่งก้านและ

ก่งิ ข้างออก ใหเ้ ปน็ พ่มุ สงู จากพื้นดินประมาณ 1.0 เมตร ซึง่ เป็นการทำให้แม่ไม้อายนุ ้อยลงและส่งเสริม

ให้การตัดกิ่งชำแต่ละครั้งมีการแตกรากที่ดี เพราะยิ่งแม่ไม้อายุน้อยการแตกรากก็จะยิ่งดี แต่ถ้าแม่ไม้

อายุมากกงิ่ ท่ีเรานำมาชำก็จะไมค่ ่อยออกราก

ภาพที่ 31 ลกั ษณะแม่ไม้และการสรา้ งสวนผลติ กง่ิ พันธุ์

36

2 การเตรียมวัสดุปลูก นำทรายมาร่อนแยกเอาก้อนกรวดออกไป แล้วนำทรายมาผสม
กับขุยมะพร้าวอัตราส่วน 1:2 หรือใช้แกลบดำเป็นวัสดุปลูกเพียงอย่างเดียวก็สามารถให้ผลผลิตที่ดี
เชน่ กนั (ภาพที่ 32)

ภาพที่ 32 การเตรียมวัสดปุ ลูกไมก้ ระถนิ เทพา
3 การเกบ็ ก่ิงพนั ธุ์ เลือกตัดกง่ิ ออ่ นของยอดกระถินเทพา จากแปลงผลิตก่ิงพันธ์ุ ที่มีอายุ

30-45 วันโดยกง่ิ พนั ธุ์จะมีความยาว 10-20 เซนตเิ มตร ซึ่งเปน็ ระยะท่ีเหมาะแก่การปักชำ (ภาพที่ 33)
โดยก่งิ พนั ธ์ุจะต้องมีลกั ษณะเป็นยอดทีแ่ ตกข้นึ มาใหม่ มีลักษณะเป็นเหล่ียม

ภาพที่ 33 การเกบ็ กง่ิ พันธไ์ุ ม้กระถินเทพา
4 นำก่ิงพนั ธท์ุ ีไ่ ดจ้ ากสวนการผลิตกิง่ พันธุ์ ตดั ใหส้ งู จากโคนหน่อขน้ึ ไปประมาณ 2-5 ซม.

แล้วใส่ลงในภาชนะที่บรรจุน้ำ ให้ท่อนโคนจุ่มน้ำ และเก็บไว้ในที่ร่ม (ภาพที่ 34) นำมาตัดแต่งด้วยมีด
หรือกรรไกรที่มีคมมาก ให้สูงจากโคนหน่อประมาณ 7-10 เซนติเมตร หรือมีอย่างน้อย 2 ตา เพื่อให้
แตกหน่อรุน่ ต่อไป

37

ภาพที่ 34 การตัดแต่งไม้กระถนิ เทพา

5 การเตรียมน้ำยาเร่งราก นำนำ้ ยาเร่งรากที่หาซื้อได้ตามตลาดท่ัวไป เช่น รทู โกร (root
gro) เซราดิกซ์ (seradix) และบีวัน (b1) เป็นต้น นำสารเร่งรากมาผสมกับน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 5 แล้ว
แชก่ ิง่ พนั ธ์ลุ งไปเปน็ เวลา 10-15 นาที

6 นำกิ่งพันธุ์ทีแ่ ช่น้ำยาเร่งรากแล้วมาปักชำในวัสดุปลกู ท่ีเตรียมไว้โดยก่อนการปักชำให้
ใช้ไม้เจาะวัสดุปลูกให้เป็นหลุมลึก 3-4 เซนติเมตร แล้วค่อยปักกิ่งพันธุ์ลงไป เพื่อป้องกันการ
กระทบกระเทือนของกิ่งพันธุ์ กดวัสดุปลูกให้ดินแน่นพอประมาณแล้วรดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไปไว้ใน
ก ร ะ โ จ ม ป ิ ด ค ล ุ ม ด ้ ว ย พ ล า ส ต ิ ก เ พ ื ่ อ ร ั ก ษ า อ ุ ณ ห ภ ู ม ิ แ ล ะ ค ว า ม ชื้ น
(ภาพท่ี 35)

ภาพที่ 35 การปักชำกล้าไม้กระถนิ เทพาลงในวสั ดปุ ลูก
7 การควบคุมสภาพแวดลอ้ มในการปกั ชำ สภาพแวดลอ้ มท่ีมผี ลตอ่ การปักชำ
7.1 อุณหภูมิ อุณหภูมิของอากาศมีผลต่อการเกิดรากของท่อนพันธุ์อย่างย่ิง

โดยทั่วไปอุณหภูมิในตอนกลางวันระหว่าง 21-27 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิในตอนกลางคืน
ประมาณ 15 องศาเซลเซียส เป็นช่วงอุณหภมู ิที่เหมาะสมในการปักชำ อุณหภูมิของอากาศทีส่ ูงเกินไป
จะเหมาะต่อการแตกยอดมากกว่าราก และนอกจากนั้นยังทำให้การคายน้ำเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้
ทอ่ นพันธแ์ุ ห้งได้ นอกจากนอ้ี ณุ หภมู ิของวัสดุชำก็มีผลตอ่ การเกิดรากเช่นกัน

7.2 แสง เป็นปจั จยั ที่ผลต่อความสมบูรณ์ของต้นตอและตอ่ เนื่องไปจนถึงการเกิด
รากของกิ่งชำ แสงมีผลต่อการเติบโตของพืชด้วยกัน 3 รูปแบบคือ ความเข้มแสง (Light Intensity)

38

ความยาวนานของแสง (Day length หรือ Photoperiod) และ คณุ ภาพแสง (Light quality) โดยแสง
จะเป็นปัจจยั สำคญั ในขบวนการสงั เคราะห์แสง และการสงั เคราะหส์ ารควบคมุ การเติบโตของราก

7.3 ความชื้นสัมพัทธ์ ในขณะที่ทำการปักชำความชื้นนับว่าเป็นหัวใจสำคัญต่อ
การอยู่รอดและการเจริญและพัฒนาของท่อนพันธุ์หลังจากเกิดรากแล้ว ปริมาณความชื้นมี
ความสัมพันธ์กับขบวนการคายน้ำและขบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ท่อนพันธุ์จะสูญเสียน้ำ
เนื่องจากการคายน้ำ ซึ่งเมื่อความสมดุลในการดูดนำ้ และการคายน้ำของท่อนพันธุเ์ สยี ไปจะทำให้ท่อน
พนั ธ์ุแห้งและตายไปกอ่ นการเกิดราก

7.4 วัสดุที่ใช้ในการปักชำ (Rooting Medium) วัสดุที่ใช้ในการปักชำเป็นอีก
ปจั จัยหนง่ึ ท่มี ผี ลตอ่ การปักชำ หนา้ ทหี่ ลกั ของวัสดทุ ีใชใ้ นการปักชำ คือ

1) ทำหน้าทย่ี ึดท่อนพันธ์ใุ นระหว่างการปกั ชำ
2) เป็นแหลง่ ทใี่ หค้ วามชุ่มชื้นแกท่ ่อนพนั ธุ์
3) เป็นแหล่งสำหรับแลกเปลี่ยนอากาศที่โคนของท่อนพันธุ์ และปรับ
สภาพของแสงให้มดื หรือพอเหมาะตอ่ ท่อนพนั ธุ์
วัสดุที่ใช้ในการปักชำควรมีคุณสมบัติที่ดีสำหรับทำหน้าที่เหล่านี้ คือ ควรมี
ความพรุนพอเหมาะต่อการระบายอากาศ สามารถอุ้มน้ำและระบายนำ้ ได้ดี นอกจากน้ยี งั ตอ้ งปราศจาก
เชอ้ื โรค
8 การดูแลหลังการปักชำ
ช่วงเวลาที่สำคัญทีส่ ดุ ในการดแู ลก่ิงปักชำ คือในระยะสัปดาห์แรกๆของการปักชำ ซ่ึง
กิ่งปกั ชำยงั ไม่มกี ารแตกราก จะเกดิ อาการผิดปกติได้งา่ ยดงั นั้นจงึ ต้องมีการดแู ลอย่างใกล้ชิด
8.1 เมื่อถุงปักชำอยู่ภายในกระโจม (ภาพที่ 36) ควรมีการควบคุมอุณหภูมิและ
ความชื้นภายในกระโจมประมาณ 70-90% และอณุ หภมู ิไม่เกิน 32 องศาเซลเซยี ส ถ้าเกนิ ให้เปิดผ้าใบ
พลาสติกออกบางส่วนเพื่อระบายความร้อน และพ่นไอน้ำด้วยถังสเปรย์พ่นหมอกภายในกระโจม เพื่อ
เพิ่มความชน้ื

39

ภาพท่ี 36 รูปแบบของโดมสำหรับการปกั ชำไมก้ ระถินเทพา
8.2 หลังการปักชำ 2 สัปดาห์ รากของยอดปักชำจะแตกออกมายาว 1 -2

เซนติเมตร หลังจากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์รากของกระถินเทพาจะออกมายาวและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
และถ้ากิ่งปักชำยังมีสีเขียวสดและตาข้างแตกออกมาใหม่แสดงว่า กิ่งปักชำนั้นมีรากออกมาเรียบร้อย
แล้ว

8.3 เมื่อกิ่งปักชำอายุ 45 วัน ทำการเปิดกระโจมออกเล็กน้อยเพื่อลดความชื้น
ภายในกระโจมและให้กล้าไม้ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมข้างนอก โดยทำการเปิดในในช่วงเย็นซึ่งจะมี
อณุ หภูมติ ำ่ และความช้ืนสูง ต้นไมจ้ ะสามารถปรบั ตวั ได้ดแี ละมีอัตราการรอดตายสูง

8.4 เมื่อเปิดกระโจมแล้วกล้าไม้กระถินเทพาไม่มีอาการเหี่ยว ก็สามารถเปิด
กระโจมให้กวา้ งมากข้ึน แต่ถา้ กระถนิ เทพามีอาการเหี่ยวให้ปดิ กระโจมอีกคร้ังและพ่นไอน้ำให้ความช้ืน
อีกคร้งั แลว้ เปิดกระโจมเล็กน้อย

8.5 เมื่อกล้าไม้ปรบั ตัวไดแ้ ล้วทำการเปิดกระโจมออกทัง้ หมดเพอ่ื ใหก้ ล้าไม้ปรับตัว
กบั สภาพแวดล้อมภายนอก

8.6 เมอ่ื กล้าไม้แข็งแรง ควรยา้ ยกลา้ ไม้ให้ได้รบั แสงแดดเต็มท่ีเพราะจะทำให้กล้า
ไมแ้ กรง่ หลังจากน้ัน 1 สปั ดาห์ให้รดน้ำปุย๋ N-P-K สูตร 15-15-15 อตั ราสว่ น 125 กรัมตอ่ นำ้ 40 ลิตร
ทุกๆสปั ดาห์เมื่อกล้ามีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ก็สามารถนำไปปลูกในสวนป่าหรือจำหน่ายได้
(ภาพท่ี 37)

40

ภาพท่ี 37 กลา้ ไม้กระถินเทพาภายในโดมหลงั จากการปกั ชำ 45 วนั

41

ภาพที่ 38 การปรบั ปรงุ พันธ์ุและการขยายพันธ์ไุ ม้กระถนิ เทพาโดยการปกั ชำ

42

เหด็ เอคโตไมคอรไ์ รซาและการปลกู เช้ือใหแ้ ก่กลา้ ไม้

เห็ดไมคอรไ์ รซ่า (Micorrhiza Mushroom)
Mycorrhiza หมายถึงความสัมพันธร์ ะหว่างเชอ้ื รา (Fungi) กบั ระบบรากหาอาหาร (Feeder

roots) ของช้นั สงู ในลักษณะพึ่งพาอาศยั ซึง่ กันและกัน (symbiotic relationships) โดยพืชไดร้ บั น้ำ แร่
ธาตุอาหารที่จำเป็นตอ่ การดำรงชวี ิต เช่นไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุอาหารอื่นๆ ส่วนเชื้อราได้รบั
สารอาหารทตี่ น้ ไม้ขับออกมาทางระบบราก เชน่ น้ำตาล แป้ง โปรตีน และวิตามินต่างๆ ซึ่งเปน็ ของเสีย
ท่ีถูกขบั ออกมาทางระบบรากของพืช
ประเภทของไมคอร์ไรซา่

Mark and Kozlowski (1973) ได้จดั จำแนกไมคอร์ไรซา่ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1 เอนโดไมคอรไ์ รซา่ (Endomycorrhiza)
2 เอคโตไมคอร์ไรซ่า (Ectomycorrhiza)

คือกลุ่มเชื้อราที่อาศัยบริเวณเซลล์ผิวภายนอกของรากพืช โดยเส้นใยเชื้อราจะ
ประสานจับตัวกันแน่นเป็นแผ่นภายนอกผิวรากพืชคล้ายรากฝอยเจริญห่อหุ้มรอบนอกของรากพืชไว้
เหมือนนวมหรือปลอกหุ้มราก มีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีทอง สีเหลือง สีน้ำตาล สีแดง สีดำ รากพืชที่มีรา
ไมคอร์ไรซ่าเกาะอยู่จะมีลักษณะแตกเป็นง่าม (dichotomously) รูปร่างเป็นกระจุก บวมโต ซึ่ง
แตกต่างจากรากปกติที่ไม่มีไมคอร์ไรซ่าที่มีลักษณะผอมยาว แตกสาขามากมายเป็นเส้นสาย (ภาพที่
37) และเม่ือนำมาสอ่ งดูภายใต้กล้องจลุ ทรรศน์ จะพบวา่ รากทีม่ ีราไมคอร์ไรซ่าจะถกู หุม้ ด้วยเส้นใยของ
เห็ดรา รากไม่ได้สัมผัสกับผิวโดยตรง บางส่วนของเส้นใยจะแทรกลงไประหว่างเซลล์ของรากแล้วแตก
สาขา เรียกว่า"ตาข่ายฮาร์ทิก" ( Hartig net) ดังนั้นรากที่มีราไมคอร์ไรซ่า จึงมีส่วนประกอบหลัก 2
สว่ น ได้แก่ ส่วนที่เป็นเซลล็ของต้นไม้ และส่วนท่เี ป็นเสน้ ใยของเห็ดรา และเรยี กรากท่ีมีเส้นใยห่อหุ้มนี้
ว่า " sheathing mycorrhiza" หรือ "ectomycorrhiza " ราไมคอร์ไรซ่าจะทำหน้าที่ช่วยหาน้ำและ
ธาตุอาหารเช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุอาหารอื่นๆให้กับรากพืชบริเวณผิวรากและรอบๆราก
พืชในระดับความลึกจากผวิ ดิน 10-20 ซม. สีของรากจะเปลี่ยนเป็นสีเขม้ ข้ึนตามอายุและชนิดของเช้ือ
รา ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าส่วนใหญ่เป็นราชั้นสูงที่อยู่ใน Subdivision Basidiomycotina และ
Ascomycotina ซึ่งส่วนใหญ่เป็นราที่สร้างดอกเห็ดขนาดใหญ่( Fruiting body) เหนือผิวดินใต้ร่มไมท้ ่ี
มันอาศัยอยู่ อาจมีรูปร่างคล้ายร่ม คล้ายพัด หรือรูปร่างกลม ซึ่งมีทั้งชนิดที่รับประทานได้ ( Edible
mushroom) ชนดิ ที่รบั ประทานไม่ได้ (Poisonous mushroom)

43

ภาพที่ 39 เปรียบเทยี บรากพชื ท่มี ีไมคอร์ไรซ่ากบั รากท่ีไม่มไี มคอรไ์ รซา่
ทีม่ า : อรุ าภรณ์ (2541)

เห็ดราเอ็คโตไมคอร์ไรซ่า มีมากกว่า 5,000 ชนิด ต้นพชื ทีม่ คี วามสัมพันธ์กับราในกลุ่ม
นี้มีประมาณร้อยละ 10-20 ของพืชชั้นสูง เช่น ไม้ในวงศ์สนเขา ( Pinaceae) วงศ์ไม้ยาง
(Dipterocarpaceae) วงศ์ไมย้ ูคาลิปตัส (Myrtaceae) วงศไ์ ม้มะค่าโมง (Caesalpinaceae) วงศ์ไม้ก่อ
(Fagaceae) วงศ์ไม้กำลังเสือโคร่ง (Betulaceae) วงศ์ไม้สนทะเล (Casuarianceae) และวงศ์ไม้ถ่ัว
(Leguminosae) เป็นต้น แหล่งกำเนิดของเห็ดประเภทนี้มีอยู่ทั่วไปที่มีไม้ยืนต้น เช่น ในป่า
สวนสาธารณะ สวนผลไม้ สวนป่าที่ปลูกไม้โตเร็ว ฯลฯ ความหลากหลายของเห็ดขึ้นอยู่กับสภาพภูมิ
ประเทศ และชนิดของต้นไม้ที่เป็นพืชอาศัย เห็ดราเอ็คโตไมคอร์ไรซ่ามพี ืชอาศัยหลากหลายชนดิ บาง
ชนิดเฉพาะเจาะจงอยู่กับไม้ยืนต้นตระกูลเดยี วเท่านั้น บางชนิดอาศัยอยูก่ บั ต้นไม้ได้หลายตระกูล เช้ือ
ราไมคอร์ไรซ่ามีประโยชน์สำคญั อย่างยงิ่ ต่อการพัฒนาการเพิ่มผลผลติ ทางด้านการเกษตรและการปลูก
สร้างสวนป่าในพื้นท่ีแหล่งเสื่อมโทรม ซึ่งมนุษย์ได้ทำลายระบบนิเวศน์ป่าไม้ลงเป็นอันมากขณะนี้ ใน
ประเทศไทยมเี ห็ดเอ็กโตไมคอร์ไรซ่ามากมายซงึ่ ไม่สามารถนำมากล่าวถึงไดห้ มด ดังภาพท่ี 40

44


Click to View FlipBook Version