The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Forestry Research Center, 2022-09-01 21:44:40

คู่มือฝึกอบรม

คู่มือฝึกอบรม

ภาพที่ 40 เห็ดเอค็ โตไมคอร์ไรซาบางชนิด
3 เอกเทนโดไมคอร์ไรวา่ (Ectendomycorrhiza)
รากลุ่มนี้มีลักษณะของราเอกโตไมคอร์ไรซ่าและเอนโดไมคอร์ไรซ่าอยู่ร่วมกัน พบ

น้อยมากกับรากพืช
ประโยชนข์ องเหด็ ราไมคอร์ไรซา่

1 ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวและปริมาณรากพืชของต้นไม้ ทำให้เพิ่มความสามารถในการดูดซับ
นำ้ และแร่ธาตุอาหารใหก้ ับต้นไม้ เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โปแตสเซยี ม แคลเซยี ม และธาตุอ่ืนๆ ซ่ึง
ธาตุเหล่านี้เชื้อราจะดูดซับไว้และสะสมในรากพืชแล้วถูกดูดซึมไปตามส่วนต่างๆ ของต้นไม้ซึ่งช่วยใน
การสังเคราะห์แสงของพืช

2 ช่วยย่อยสลายและดูดซับธาตุอาหารจากหินแร่ในดินที่สลายตัวยาก รวมทั้งอินทรีย์
สารต่างๆ ท่ยี ังสลายตัวไม่หมด ให้พืชนำเอาไปใชป้ ระโยชน์ได้ชย่ ใหต้ ้นไมแ้ ข็งแรงทนทานต่อสภาพพื้นท่ี
ทีแ่ หง้ แลว้ ทนทานต่อความเป็นพิษและความเป็นกรด-ดา่ ง ของดนิ ช่วยปรับความเปน็ กรด-ด่างของดิน
ใหเ้ หมาะตอ่ การเจริญของต้นไม้

3 ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้กับระบบรากพืช ช่วยเพ่ิมอายุให้แก่ระบบ
รากของพืชและชว่ ยป้องกันโรคทีเ่ กิดกบั ระบบรากของพชื

4 ช่วยใหม้ กี ารย่อยสลายของซากพืชและแรธ่ าตุที่ไม่เปน็ ประโยชน์ให้กลับกลายเป็นธาตุ
อาหารทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ตน้ ไม้ สง่ ผลให้ระบบนเิ วศนป์ ่าไม้มคี วามอดุ มสมบูรณม์ ากข้ึน

5 ดอกเห็ดไมคอร์ไรซ่าบางชนิดใช้เป็นอาหาร บางชนิดใช้เป็นเห็ดสมุนไพร และสร้าง
รายได้ให้กับชมุ ชน

การขยายพนั ธ์เุ หด็ ไมคอรไ์ รซ่า

45

เห็ดไมคอร์ไรซ่าบางชนดิ เป็นเห็ดที่มรี สชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นที่ต้องการของ
ตลาด และยังไม่สามารถหาวิธีการนำมาเพาะเลี้ยงให้เกิดดอกได้ และปริมาณดอกเห็ดที่เกิดขึ้นเ องใน
ธรรมชาติมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค ทำให้เห็ดหลายชนิดมีราคาแพง ปัจจุบัน
การขยายพันธุ์หรือเพิ่มจำนวนเห็ดเหล่านี้มักจะอาศัยวิธีทางธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งมี
หลายวธิ ีการดงั นี้ (อนิวรรต, 2543)

1 วธิ ธี รรมชาติ
1.1 เกิดจากสปอรข์ องเห็ดที่บานแล้วถูกฝนชะล้างไปในบริเวณทีอ่ ยู่ใกล้เคียง ที่มี

รากพืชอาศยั อยู่ใกล้ๆกัน
1.2 เสน้ ใยเหด็ แตกแขนงลงไปในดนิ วิธีน้ตี อ้ งมีพืชอาศัยชนิดเดยี วกบั เกิดอยู่ใกล้ๆ

กนั วธิ กี ารนีแ้ พรก่ ระจายค่อนขา้ งช้าแตม่ โี อกาสแนน่ อนกวา่
2 วิธเี ลยี นแบบธรรมชาติ
2.1 การใชด้ นิ เช้อื
วิธีการนี้จัดเป็นวิธีการเพิ่มปรมิ าณแบบดั่งเดิมของมนุษย์ซึ่งยงั คงนิยมปฏิบัติ

อยูใ่ นปัจจบุ ัน โดยขุดดินทีม่ เี ช้อื ไมคอร์ไรซาลกึ ประมาณ 10 ถงึ 20 เซนตเิ มตร โดยใหม้ ีรากฝอยของพืช
ติดมาด้วย นำไปคลุกผสมกับดินที่ใช้เพาะกล้าไม้หรือเมล็ดในอัตรา 1:6 ถึง 1:10 ส่วน แล้วใช้เพาะ
เมล็ดและตน้ กล้า

ภาพท่ี 41 การขยายพันธุ์เห็ดไมคอรไ์ รซา่ โดยการใช้ดินท่ีท่ีมีเชื้อไมคอร์ไรซามาเพาะกลา้ ไม้
2.2 การใช้แมไ่ มเ้ ชื้อ
วิธกี ารน้ีเป็นการนำกล้าไมม้ าปลูกหรือวางในพ้นื ทที่ ่ีมแี ม่ไม้วงศ์ยางท่มี เี ชื้อเห็ด

อยู่แลว้ เชน่ การนำกลา้ ไม้ยางนามาวางอนุบาลใต้ต้นตะเคยี นทองท่เี คยมเี ห็ดเผาะข้ึน ซ่ึงพื้นที่ดังกล่าว
จะมีเชือ้ เห็ดไมคอร์ไรซ่าที่มอี ยูแ่ ล้วตามธรรมชาติ เมอ่ื รากกล้าไม้ท่ีเราไปอนุบาลได้สัมผัสดินหรือระบบ
รากไดแ้ ผก่ ระจายในพ้ืนที่จะทำให้ไมคอร์ไรซ่าทีม่ ีอยู่สามารถมาอยูร่ ่วมกับกล้าไม้ยางนาที่เรานำมาปลูก
หรืออนบุ าลในพน้ื ท่ี

46

2.3 การใช้ดอกเหด็
บดหรือปั่นดอกเห็ดหรือชิ้นส่วนของดอกเห็ดให้มีขนาดเล็ก นำไปผสมกับน้ำ

สะอาดอัตรา 1:1000 ฉดี พน่ บนเมล็ดพันธ์ุหรือต้นกล้าในแปลงเพาะ เปน็ วธิ ีการท่ีใช้ได้ผลดี ทราบชนิด
เหด็ แต่ข้อเสยี คือ เก็บดอกเห็ดต้องรอในช่วงฤดูฝนจึงจะได้ดอกในปริมาณทีม่ ากพอและระวังไม่ให้ดอก
เน่าก่อนนำมาใช้ (ภาพที่ 38)

ภาพที่ 42 การขยายพนั ธ์เุ ห็ดไมคอร์ไรซ่าโดยใช้ดอกเห็ด
2.4 การใชเ้ ส้นใยเหด็
วิธีการนีน้ ิยมทำกนั มากในปจั จบุ นั เพราะสามารถคดั เลือกสายพันธ์ุเห็ดได้โดย

นำเชอื้ เห็ดราไปเลยี้ งบนอาหารวุ้นหรอื อาหารเหลว ใหไ้ ด้ปรมิ าณเส้นใยที่มากพอ นำไปปั่นกับน้ำให้เส้น
ใยขาดเปน็ ท่อนเล็กๆ แลว้ นำไปรดหรือคลกุ ดินเพ่ือเพาะกล้าไมข้ องเหด็ แต่ละชนิดเพ่อื ปลูกทดแทนการ
ตัดไมท้ ำลายปา่ เชน่ การปลกู สน ยูคาลิปตัส (ภาพที่ 43)

47

ภาพที่ 43 การขยายพันธุเ์ หด็ ไมคอรไ์ รซา่ โดยใชเ้ ส้นใยบริสุทธ์ิ
จากวิธีการขยายพันธุ์ไมคอร์ไรซ่าในวิธีตา่ งๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น มีขั้นตอนท่ี

ยากง่ายแตกต่างซ่ึงสามารถสรุปขอ้ ดี-ขอ้ เสยี ของแต่ละวิธกี ารได้ ดังตารางที่ 5

48

ตารางท่ี 5 ขอ้ ด-ี ข้อเสยี ของการขยายพนั ธ์ุไมคอร์ไรซา่ ในวิธีต่างๆ

วธิ กี าร ขอ้ ดี ข้อเสยี

1) ดินเช้ือ o ง่าย ประหยัด ➢ เลอื กชนิดราไม่ได้

➢ อาจมโี รคและแมลงตดิ มา
➢ เลือกชนดิ ราไม่ได้
2) แม่ไม้เช้อื o งา่ ย ประหยัด

➢ อาจมโี รคและแมลงติดมา

3) ดอกเหด็ หรอื o ง่าย ➢ ยงุ่ ยาก

สปอร์ o เลือกชนิดราท่ีตอ้ งการได้ ➢ ทำได้บางฤดูกาล

o ไมม่ โี รคและแมลงติดมา ➢ คอ่ นข้างแพง

49

รปู แบบการปลูกไมม้ คี ่า

1. รปู แบบการปลกู และการจดั การไม้ปา่ ในสวนสมรม
สวนสมรมคือการปลกู พืชแบบผสมผสาน ซง่ึ พชื ทีป่ ลกู จะมีความเกื้อกูลกัน หรอื ปลูกร่วมกันแล้ว

สามารถให้ประโยชน์แก่พืชที่ปลูกร่วม การแก่งแย่งปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น แสง น้ำ และสารอาหาร
ในดิน ระหว่างกันน้อย การปลูกไม้มีค่าในสวนสมรม นิยมปลูกไม้ที่มีความหลากชนิดในพื้นที่ เช่น
ตะเคียนทอง ยางนา พะยอม จำปาป่า กันเกรา มะฮอกกานี และ สะเดาเทียม เป็นต้น การปลูกไม้ปา่
ร่วมกับพชื อน่ื ๆ นอกจากจะได้ผลผลิตจากเนื้อไม้และพืชทป่ี ลูกร่วม (ยางพารา, มะพรา้ ว, ปาล์มน้ำมัน,
ไมผ้ ล และพืชเกษตรอนื่ ๆ) แล้ว การปลกู แบบผสมผสานยงั เปน็ การช่วยฟ้ืนฟูระบบนิเวศ การหมนุ เวียน
สารอาหาร และลดความเส่ยี งการเกิดโรคการระบาดของโรคพืชและศัตรูพืช นอกจากน้ยี ังเป็นการเพ่ิม
ผลผลิตต่อพื้นที่ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีรูปแบบการปลูกท่ี
หลากหลาย ดงั น้ี

1.1 การปลกู ไม้ป่าร่วมกับยางพารา
ยางพาราเป็นไม้โตเร็วและมีเรือนยอดกว้าง นิยมปลูกในระยะ 3x7 เมตร จะมีจำนวน

76 ต้นต่อไร่ การปลูกสามารถปลูกแทรกระหว่างแถวในรูปแบบแถวเดี่ยวหรือแถวคู่ ชนิดไม้ป่าที่ร่วม
ได้แก่ ตะเคียนทอง ยางนา พะยอม จำปาป่า สะเดาเทียม มะฮอกกานี เป็นต้น การปลูกไม้ป่าโตช้า
ควรปลูกระยะห่าง 8 เมตร จะมีต้นไม้ จำนวน 25 ต้นต่อไร่ แต่ถ้าปลูกต้นไม้ ในระยะที่ห่างขึ้น เช่น
ระยะหา่ ง 9 เมตร จะทำใหต้ ้นไมไ้ ดร้ ับรบั แสงเพมิ่ มากข้ึน ซง่ึ จะเปน็ การลดผลกระทบตอ่ การเติบโตของ
ไมย้ างพารา และลดปัญหาการแกง่ แย่ง น้ำและสารอาหารในดิน แต่จำนวนตน้ ไม้จะลดลงเหลอื 20 ต้น
ต่อไร่

การปลกู ยางพารารว่ มกับไม้โตเร็ว เช่น กระถนิ เทพา กระถนิ ลกู ผสม สามารถปลกู แทรก
ในรูปแบบแถวเดี่ยวหรือแถวคู่ การปลูกแทรกระหว่างแถวยางพาราแบบแถวเดี่ยว ควรปลูกระยะห่าง
ระหว่างต้น 3 เมตร จะมีไม้โตเรว็ 65 ต้นต่อไร่ หากปลูกแบบแถวคู่ ควรปลูกไม้โตเรว็ ระยะ 2x3 เมตร
จะมีต้นไมจ้ ำนวน 130 ต้นต่อไร่ การปลูกไมโ้ ตเร็วร่วมกับยางพาราควรตัดไม้โตเร็วออก เมื่อต้นไมอ้ ายุ
ไม่เกนิ 5 ปี

การปลูกไม้โตเร็วและไม้ป่าโตช้าร่วมกับยางพารา โดยจะปลูกไม้ป่าโตช้าและไม้โตเร็ว
แทรกระหว่างแถวยางพารา แบบแถวเดี่ยว ระยะห่างไม้ป่าโตช้าจะปลูกระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร
และระหว่างแถวไม้ป่าโตช้าจะปลูกไม้โตเร็วแทรก ระยะห่างระหว่างต้นของไม้โตเร็วจะปลูกระยะ 8
เมตร อยา่ งไรกต็ ามไมโ้ ตเรว็ ควรมีการตัดออกเมอ่ื ต้นไม้อายุไม่เกิน 5 ปี ในรูปแบบนจี้ ะมไี ม้โตช้าจำนวน
25 ต้นตอ่ ไร่ และ ไมโ้ ตเรว็ จำนวน 20 ตน้ ต่อไร่ (ดังภาพที่ 44-47)

50

ภาพท่ี 44 การปลูกไม้ป่าโตช้าร่วมกับยางพาราแบบแถวเด่ียว

ภาพที่ 45 การปลกู ไมโ้ ตเรว็ รว่ มกับยางพาราแบบแถวเด่ยี ว

51

ภาพที่ 46 การปลกู ไมโ้ ตเรว็ ร่วมกับยางพาราแบบแถวคู่

ภาพที่ 47 การปลูกไม้โตเร็วและไม้ป่าโตชา้ ร่วมกบั ยางพาราแบบแถวเดี่ยว
1.2 การปลูกไมป้ ่าร่วมกับมะพรา้ ว
มะพร้าวเป็นไม้ที่โตช้า มีเรือนยอดโปร่ง มะพร้าวนิยมปลูกในระยะ 9x9 เมตร การปลูกไม้ป่า

สามารถปลกู แทรกระหว่างแถวท้ังในรูปแบบแถวเดย่ี วและคู่ การปลูกแบบแถวเด่ียวควรปลูกระยะห่าง

52

ระหว่างต้น 9 เมตร ชนิดไม้ที่ปลูก ได้แก่ ตะเคียนทอง พะยอม ยางนา จำปาป่า มะฮอกกานี สะเดา
เทียม เป็นต้น จะมีต้นไม้ จำนวน 20 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ตาม มะพร้าวเป็นไม้ที่มีระบบรากหนาแน่น
ดังนั้นก่อนปลูกอาจจะต้องมีการไถพรวนหรือเตรียมหลุมดินให้ดี เพื่อทำลายระบบรากในแปลงปลูก
และลดการแก่งแยง่ สารอาหารระหวา่ งกลา้ ไมแ้ ละมะพร้าว

การปลูกร่วมกับไม้โตเรว็ สามารถปลูกระหวา่ งแถวมะพร้าวแบบแถวคู่หรือเปน็ แถบ จำนวน 3
แถว ชนดิ ไมท้ ี่ปลูก ได้แก่ กระถนิ เทพา กระถนิ ลูกผสม ระยะปลกู ในสวนมะพร้าว สามารถปลกู ในระยะ
3x3 เมตร ซึ่งจะมีต้นไมใ้ นพื้นที่ ระหว่าง 104-156 ต้นต่อไร่ หรือ ระยะ 2x4 เมตร จะมีต้นไม้ในพื้นที่
ระหวา่ ง 80-120 ตน้ ต่อไร่

การปลูกไม้โตเร็วและไม้โตช้าร่วมกับมะพร้าว โดยจะปลูกไม้ทั้งสองชนิด แทรกระหว่างแถว
ยางพารา แบบแถวเดยี่ ว ระยะห่างไม้ปา่ โตช้าจะปลูกทร่ี ะยะหา่ งระหว่างต้น 9 เมตร และระหว่างแถว
ไมโ้ ตชา้ จะปลูกไม้โตเร็วแทรก ระยะหา่ งระหวา่ งต้นของไม้โตเรว็ จะเป็นระยะ 9 เมตร อย่างไรก็ตามไม้
โตเรว็ ควรมกี ารตดั ออก ตน้ ไมอ้ ายไุ มเ่ กนิ 5 ปี ในรปู แบบนีจ้ ะมจี ำนวนไม้โตช้าและไมโ้ ตเรว็ ชนดิ ละ 20
ตน้ ตอ่ ไร่

การปลูกไม้ป่าแทรกในสวนมะพร้าวที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่งมะพร้าวจะมีความสูงมากกว่า
10 เมตร สามารถปลูกร่วมกันได้ทั้งไม้โตช้าและไม้โตเร็ว เนื่องจากมะพร้าวเป็นไม้ที่มีเรือนยอดโปร่ง
แสงสามารถส่องผ่านมายังไม้ชั้นล่างได้ การปลูกสามารถปลูกได้ทั้งแบบแถวเดี่ยวสำหรับไม้โตช้าและ
แถวคู่ของไม้โตเร็ว (ดงั ภาพที่ 48-50)

ภาพท่ี 48 การปลูกไม้โตเร็วร่วมกับมะพรา้ ว แบบเป็นแถบ

53

ภาพท่ี 49 การปลกู ไมโ้ ตช้ารว่ มกบั มะพร้าว แบบแถวเดี่ยว

ภาพที่ 50 การปลูกไมโ้ ตช้าและไมโ้ ตเร็วร่วมกับมะพรา้ ว แบบแถวเดย่ี ว
1.3 การปลูกไมป้ า่ ร่วมกบั ปาลม์ นำ้ มนั
ปาลม์ น้ำมันเป็นพืชท่ีมเี รอื นยอดกว้าง นยิ มปลูกด้วยระยะ 9x9x9 เมตร ท่ีจะมีลักษณะ

เป็นสามเหล่ียมด้านเท่า ซง่ึ จะทำใหป้ าลม์ นำ้ มนั ไดร้ บั แสงเตม็ ท่ี การปลกู ไม้ปา่ ร่วมกับปาล์มนำ้ มัน ควร
ปลูกแทรกระหว่างแถวปาล์ม ระยะห่างระหว่างต้น 9 เมตร ซึ่งตำแหน่งจะอยู่ตรงกลางแถวของปาลม์

54

น้ำมัน ชนิดไม้ที่ปลูกร่วม ได้แก่ ตะเคียนทอง ยางนา พะยอม จำปาป่า มะฮอกกานี สะเดาเทียม
กระถินเทพา กระถินลูกผสม เป็นต้น จะมีจำนวนตน้ ไม้ 20 ต้น ต่อไร่ (ดงั ภาพที่ 51)

การปลูกร่วมกับไม้โตเร็ว เช่น กระถินเทพา กระถินลูกผสม ควรมีการลิดกิ่งอย่าง
ตอ่ เนอ่ื งและตัดไมอ้ อกมาใช้ประโยชน์ อายุไมเ่ กิน 5 ปี

ภาพที่ 51 การปลูกไมป้ ่าร่วมกบั ปาลม์ นำ้ มนั แบบแถวเดี่ยว

55

1.4 การปลกู ไมป้ า่ ร่วมกบั ไมผ้ ล

ไม้ผลเป็นไม้ที่มีเรือนยอดกว้าง นิยมปลูกที่ระยะ 8x8 เมตร หรือ 9x9 เมตร การปลูก
ควรปลกู แบบแถวเดีย่ ว แทรกระหวา่ งแถวไม้ผล การปลกู ควรปลกู ไมป้ า่ ระยะห่างระหวา่ งต้น 8
เมตร จะมจี ำนวนตน้ ไม้ 20 ต้นตอ่ ไร่ อยา่ งไรก็ตาม ไมป้ า่ ควรมกี ารลิดกง่ิ ออกเหลือกิง่ 2/3 ของ
ลำต้น เพอื่ ให้แสงสามารถส่องผา่ นมาถงึ ไม้พน้ื ลา่ งได้

การปลูกไมเ้ พื่อการใช้ประโยชน์แบบเอนกประสงค์ร่วมกบั ไม้ผล เป็นการปลูกต้นไม้ท่มี ี
การใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย เช่น ไม้โตเร็ว ที่ใช้ประโยชน์เป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้นำมาใช้
ประโยชน์อายุ ไม่เกิน 5 ปี เช่น กระถินเทพา กระถินลูกผสม โดยการปลูกเป็นไม้แนวเขต
ระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร จะมีต้นไม้จำนวน 56 ต้นต่อไร่ ไม้โตช้าปลูกระหว่างแถวไม้ผล
ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร มีจำนวนต้นไม้ 25 ต้นต่อไร่ และปลูกไม้พุ่มหรือไม้ชั้นรอง เช่น
กาแฟ ผกั เหลยี ง ในแถวเดยี วกนั กับไมโ้ ตชา้ (ดงั ภาพที่ 52-53) ระยะห่างระหวา่ งต้น 8 เมตร มี
จำนวนต้นไม้ 25 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ไม้โตเร็วควรมกี ารลิดกิ่งใหเ้ หลือ 2/3 ของลำตน้ อย่าง
ตอ่ เนอื่ ง เพ่อื ใหแ้ สงสามารถสอ่ งผ่านมาถึงไม้ชน้ั ล่างได้

ภาพที่ 52 การปลูกไม้ปา่ ร่วมกับปาล์มน้ำมัน แบบแถวเด่ยี ว

56

ภาพที่ 53 การปลกู ไมป้ ่าร่วมกบั ปาล์มน้ำมนั แบบแถวเดี่ยว
1.5 การปลกู ไม้ปา่ โตเร็วร่วมกบั พืชเกษตร
การปลกู ไมโ้ ตเรว็ ร่วมกับพืชเกษตร สามารถปลูกไมโ้ ตเร็วแทรกแบบแถวคู่ ระยะ 3x3 เมตร ซ่ึง

จะมตี น้ ไมใ้ นพื้นท่ี 104-156 ต้นตอ่ ไร่ หรอื ระยะ 2x4 เมตร (ดังภาพที่ 54-55) จะมตี ้นไมใ้ นพ้ืนที่ 80-
120 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ควรมีการลิดกิ่งไม้โตเร็วออกให้เหลือ 2/3 เมตร ของลำต้น เพื่อลดการ
แก่งแย่งปัจจัยแสงในพน้ื ที่

การปลูกไม้โตเร็วและไมโ้ ตช้าร่วมกับพืชเกษตร สามารถปลูกไม้โตเร็วแทรกแบบแถวเดี่ยว โดย
ปลูกไม้โตเร็วแทรกระหว่างพืชเกษตร ระยะห่างระหว่างตน้ 8 เมตร และปลูกไมโ้ ตช้าแทรกระหว่างไม้
โตเร็วในแถวเดียวกนั จะมจี ำนวนไม้โตเร็วและไม้โตชา้ ชนิดละประมาณ 25 ต้นตอ่ ไร่

57

ภาพท่ี 54 การปลกู ไมโ้ ตเรว็ ร่วมกบั พืชเกษตร แบบแถวเดยี่ ว

ภาพที่ 55 การปลูกไม้โตเร็วร่วมกับพชื เกษตร แบบแถวเด่ียว

58

จากแนวทางเกษตรกรรมย่งั ยืนสแู่ ปลงปลูกพชื รว่ มยาง

การกลา่ วถึงเกษตรกรรมย่งั ยืนอย่างจรงิ จังมีมาประมาณกว่า 2 ทศวรรษ โดย Dore (1997)
กล่าวถึงปฐมบทของเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ว่า แนวคิดเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนเกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว
ตั้งแต่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรก็พยายามค้นหาหนทางเพื่อให้มั่นใจได้ว่า
พื้นดินทต่ี นทำเกษตรนั้นจะใหผ้ ลผลิตเหมือนเดิมหรือเพิ่มย่งิ ขนึ้ ในปีต่อ ๆ ไป

จากนิยามต่างๆ ของเกษตรกรรมยัง่ ยนื ยืน สามารถสรุปองคป์ ระกอบหลกั 4 ประการดังน้ี
1. แนวทางเศรษฐกิจการเกษตรทยี่ งั่ ยนื ขึ้นอย่กู ับแนวคิดของระบบการทำฟารม์ และการปฏิบัติ
ทบี่ ำรุงรักษาการผลิตทางการเกษตรเพอื่ ตอบสนองความจำเป็นของมนษุ ย์ท้งั ในรุ่นปัจจุบันและอนาคต
รวมทั้งระบบการทาฟาร์มมีความยืดหยุ่นอย่างเพียงพอต่อการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่
แนน่ อนของสภาพภูมอิ ากาศและตลาด
2. มุมมองด้านสิ่งแวดลอ้ มของเกษตรกรรมย่ังยืนมุ่งทีก่ ารเพิ่มพนู คุณภาพสิ่งแวดล้อมและการ
อนุรักษ์ดิน น้ำ ทรัพยากรทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ และระบบนิเวศอื่นๆที่ได้รับอิทธิพลจาก
กิจกรรมทางการเกษตร
3. แนวคิดด้านสังคมเพื่อความยั่งยืนคือ ให้ความสำคัญกับประชาชนและสัมพันธ์กับการ
ส่งเสริมความเป็นธรรมทางสงั คม คณุ ภาพชีวติ รวมท้ังการพัฒนาองคก์ รชุมชนและกระบวนการเรียนรู้
ของชมุ ชน
4. แนวทางเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสม
โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อบำรุงรักษาการผลิต
ทรพั ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอ้ ม
องค์ประกอบหลัก 4 ประการ ของเกษตรกรรมยั่งยืนดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกันดังแสดงใน
ภาพที่ 56

59

ภาพที่ 56 องคป์ ระกอบหลักของเกษตรกรรมยั่งยนื
โดยแปลงพืชร่วมยางที่ทำควบคู่กับการลดละการใช้สารเคมีการเกษตร มีคุณค่าและ

ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม และสังคม (ภาพที่ 57) ดังนี้ (1) ช่วยทำให้แปลงมีพืช
คลุมดินเพิ่มจึงช่วยเพิ่มความชื้นในดินและอากาศ ส่งผลดีต่อปริมาณและความเข้มข้นของน้ำ
ยาง ยางผลัดใบช้า นำ้ ยางออกชว่ งยางผลัดใบ กรีดยางชว่ งเชา้ ได้ กลางคนื ไดพ้ ักผอ่ นเต็มทสี่ ง่ ผล
ดีตอ่ สขุ ภาพและลดความเสี่ยงจากการกรดี ยางกลางคืน ลดแรงกระแทกจากเมด็ ฝน พชื ที่ขึ้นอยู่
หนาแนน่ จะมรี ากสานกนั ชว่ ยลดการกัดเซาะหนา้ ดนิ และผลกระทบจากลมพายุ วัชพชื ลดลงจึง
ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช เพิ่มการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จึงช่วยลด
ภาวะโลกร้อน มีการทับถมของใบไม้เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุตามธรรมชาติ (2) ไส้เดือนใน
ดินเพิ่ม ช่วยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ทำให้พืชเติบโตดีขึ้น มีการทับถมของใบไม้มากขึ้นเกิดการ
หมนุ เวยี นของธาตอุ าหาร ดนิ ที่โปร่งยังดูดซบั น้ำฝนไดด้ ีข้ึน จึงช่วยลดปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดิน
ลดการกัดเซาะหน้าดินและความต้ืนเขินของแหล่งน้ำ (3) มีผลผลิตที่หลากหลาย ทั้งเพื่อขายมี
รายได้สมำ่ เสมอ เพอ่ื บริโภคใชส้ อย เพอื่ แลกเปล่ียนแบง่ ปันจึงช่วยสร้างปฏิสมั พนั ธท์ ด่ี ีของคนใน
ชุมชน (4) มีสัตว์และพืชหลากหลายชนดิ ข้ึน ช่วยควบคุมศัตรูพชื ตามธรรมชาติส่งผลให้ลดการ
ใช้สารเคมีการเกษตร ลดรายจ่ายปัจจัยการผลิตและสุขภาพเกษตรกรดีขึ้น และ (5) เกิดการ
รวมกลุ่มผู้ปลูกพืชร่วมยาง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรักสามัคคีของคนในชุมชน
และเครือขา่ ย

60

ภาพท่ี 57 คณุ ค่าและประโยชนข์ องแปลงพชื ร่วมยาง

61

แปลงปลูกไมม้ คี า่
ซึ่งในหัวข้อทีมวิจัยจะนำรูปภาพการปลูกไม้มีค่าในพื้นที่เกษตรกรรมมานำเสนอเพื่อ
เป็นตวั อยา่ งให้ผทู้ ่สี นใจ ดงั ภาพที่ 58-61

ภาพท่ี 58 แปลงยางพาราปลกู รว่ มกับมะพรา้ ว และมตี ้นตะเคยี นทองเป็นแนวขอบแปลง

ภาพท่ี 59 แปลงยางพาราปลกู รว่ มกับเหรยี ง และไมโ้ ตช้า

62

ภาพที่ 60 แปลงยางพาราปลกู รว่ มกับไม้พะยอม ไมไ้ ขเ่ ขียวและไมย้ างนา

63

ภาพที่ 61 แปลงปลกู ปาลม์ นำ้ มนั ร่วมกบั ไมต้ ะเคยี นทองและไมป้ ่าอ่นื ๆ

64

การประเมินมลู ค่าต้นไม้
การประเมินมูลค่าต้นไม้ขณะที่ต้นไม้ยังยืนต้นอยู่จะแตกต่างไปตาม 1) ชนิดของ
ต้นไม้ ซึ่งจะมีมูลค่าแตกต่างกนั ขึ้นอยู่กบั อัตราการเติบโต สมบัติของเน้ือไม้ และรอบตัดฟันใน
การนำไปใช้ประโยชน์ 2) ขนาดของต้นไม้หากเป็นชนิดเดียวกันราคาจะแตกต่างกันไปตาม
ขนาด และ 3) คณุ ภาพของเนอื้ ไม้ ในการจำแนกเกรดของเนือ้ ไมโ้ ดยเฉพาะอยา่ งยิง่ การซือ้ ขาย
ไม้ซงุ หรือไมท้ อ่ น พจิ ารณาจากสมบตั ิเนอื้ ไมห้ ลาย ๆ ลกั ษณะ
ในปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมตรวจสอบความเหมาะสมของพื้นที่ในการปลูก
ไม้มีคา่ รวมไปถงึ การพฒั นาแอปพลิเคชันประเมนิ มลู ค่าตน้ ไม้ผา่ น Smart Phone เพ่ือประกอบ
การตัดสินใจในการซื้อขายไม้มีค่า โดยในที่นี้จะกล่าวถึงเว็บไซต์ท่ีช่วยในการตรวจสอบความ
เหมาะสมของพื้นที่ในการปลูกไม้มีค่าและแอปพลิเคชันประเมินมูลค่าไม้ยางพาราและ
แอปพลิเคชันสำหรบั ประเมนิ มลู ค่าตน้ ไม้ ไดแ้ ก่
1. เว็บไซต์ “พ้นื ท่ีปลูกไมม้ ีค่า”
เวบ็ ไซต์ “พืน้ ท่ปี ลูกไมม้ คี า่ ” เปน็ โปรแกรมสำหรับตรวจสอบความเหมาะสมของพน้ื ที่
ในการปลูกไมม้ คี ่า สามารถเขา้ ใช้งานได้ที่ https://site-matching.forest.go.th/ โดยมี
วิธีการใช้งานดงั น้ี

65

66

67

68

69

2. แอปพลเิ คชัน “ไมม้ คี ่า”
ไม้มีค่า 3 ชนิด ได้แก่ สัก ยูคาลิปตัส และยางพารา ในประเทศไทยเปน็ ทีน่ ิยมในการ
ปลกู เป็นสวนปา่ ซึ่งแอพพลเิ คชนั่ นจ้ี ะเป็นเครอ่ื งมอื ที่ชว่ ยในการประเมนิ ผลผลิตของสวนป่าราย
แปลง โดยจะได้ข้อมูลผลลัพธ์เป็นทั้ง ผลรวมผลผลิตของไม้ว่ามีทั้งหมดกี่ตัน กี่ลูกบาศก์เมตร
และคำนวณมูลค่ารวมจากราคาต่อตันหรือต่อไร่ที่กำหนด นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกข้อมูล

70

เป็นรายงาน เก็บไว้ใช้ในการเปิดดูในภายหลังได้สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบแอนดรอยด์
(Android) และ ไอโอเอส (iOS) โดยมวี ิธกี ารใชง้ านดังน้ี

การดาวนโ์ หลดและการตดิ ตั้งแอปพลเิ คชนั

71

หน้าแรก และการเรมิ่ ตน้ การกรอกขอ้ มลู

72

การกรอกข้อมลู ตน้ ไม้ตวั อยา่ ง

73

ขอ้ มูลตน้ ไมแ้ ละขอ้ มลู ผลผลติ

74

การกรอกขอ้ มลู รายไดผ้ ลผลิตและรายไดผ้ ลผลติ

75

3. โปรแกรมประเมนิ น้ำหนักและมูลค่าไมย้ างพารา
สามารถใช้งานผ่านเวบ็ ได้ที่ https://eng.forest.ku.ac.th/project/rubber/ หรอื
ดาวน์โหลดแอปพลเิ คชนั “ประเมนิ มลู ค่าไม้ยางพารา” ผ่านระบบแอนดรอยด์โดยมีข้นั ตอนใน
การดาวน์โหลด การติดตั้งแอปพลเิ คชัน และการใช้งาน รายละเอียดดังน้ี

ตดิ ตง้ั แอปพลิเคชนั
หน้าแรกแอปพลเิ คชัน

76

การกรอกข้อมลู ตน้ ไม้และแปลง

77

ผลการประเมนิ

78

เอกสารอา้ งองิ

กรมป่าไม.้ 2556. รปู แบบการปลกู ไม้ปา่ โดยระบบวนเกษตร. งานวจิ ยั การปลูกสรา้ งสวนป่า กล่มุ งาน
วนวัฒนวิจยั สำนักวจิ ยั และพัฒนาการปา่ ไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.

กรมปา่ ไม้. 2562. ไมม้ ีคา่ ทางเศรษฐกจิ “องค์ความรใู้ นการส่งเสรมิ การปลูกไมม้ ีค่าทางเศรษฐกิจ”.
สำนกั ส่งเสรมิ การปลูกป่า กรมป่าไม้, กรงุ เทพฯ.

การยางแหง่ ประเทศไทย. 2561. ข้อมลู วิชาการยางพารา ปี 2561. สถาบันวจิ ยั ยาง การยางแหง่
ประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรงุ เทพฯ.

การยางแหง่ ประเทศไทย. 2561. ราคาเฉล่ยี ยางชนดิ ต่างๆ ปี พ.ศ. 2561. สถาบันวจิ ยั ยาง การยาง
แห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรงุ เทพฯ.

คณะวนศาสตร์. 2560. ยุทธศาสตร์และแผนงานการสง่ เสริมไมเ้ ศรษฐกิจแบบครบวงจร (พ.ศ. 2561 -
2579). รายงานฉบับสมบรู ณ์. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์.

จุฬารตั น์ นิรตั ิศยกุล. 2562. การขบั เคลอ่ื นชมุ ชนไมม้ คี า่ . สำนกั งานพฒั นาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม, กรุงเทพฯ.

บณั ฑติ โพธิ์น้อย และณัฏฐากร เสมสันทัด. 2556. การผลิตเมลด็ ไม้คุณภาพดี. สำนักวิจยั และ
พฒั นาการปา่ ไม้ กรมป่าไม้, กรงุ เทพฯ

วโิ ชติ จงรุง่ โรจน์. 2557. ประสทิ ธิภาพทางเศรษฐกิจและความม่ันคงทางสังคมของระบบการทำ
ฟาร์มทีม่ ีการปลกู พชื ในสวนยางของเกษตรกรรายยอ่ ยภาคใต้. วิทยานิพนธ์ระดับปรัชญา
ดษุ ฎบี ณั ฑติ . มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์.

สำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สงั คมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564), สำนักนายกรฐั มนตรี กรุงเทพฯ.

สำนักวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสง่ิ แวดล้อม. 2554. การจ่ายค่าตอบแทนการ
ให้บรกิ ารของระบบนเิ วศ. ใน รายงานสรปุ การประชุม The 3rd South-East Asia
Workshop on Payment for Ecosystem Service (PES) - Investment in
Natural Capital for Green Growth: วันที่ 12-15 มิถนุ ายน 2554 ณ เมอื งบันดา อา
เจะห์ ประเทศอินโดนีเซยี .

สรุ วิ รรณ มูลจันทร์ นิสา เหลก็ สูงเนิน สวุ ิมล อุทัยรศั มี และ บุญธดิ า ม่วงศรเี มืองด.ี 2560. ผลของ
ความเข้มแสงตอ่ การเติบโตและตวั แปรท่เี ก่ยี วขอ้ งกับการสงั เคราะห์ด้วยแสงของกล้าไมป้ ่า
ยืนตน้ . วารสารวนศาสตร์ 36 (2): 12-23.

79


Click to View FlipBook Version