ผลงาน
¹áÅǵÑÐÊ¡ÒøÃÒÁ÷³Òʧ¡Ø¢ÒÃá¾·Â
Êӹѡ͹ÒÁÂÑ »‚ 2565
คำนำ
การรวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ภายใต้โครงการนวัตกรรมทาง
การแพทย์และสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 ที่จัดทำขึ้นนี้ นับเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในความรู้ท่ีมีของ
แต่ละบคุ คลในสายวชิ าชีพต่างๆ เป็นความต้ังใจและพยายามของผูพ้ ัฒนาผลงานทค่ี ิดและพฒั นาผลงานจากงาน
ประจำ ซึ่งสามารถนำผลงานนั้นไปตอบสนองปัญหาของประชาชนและพัฒนาการให้บริการทางสุขภาพแก่
ประชาชน สำนกั งานพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยกลมุ่ วิจัยและพัฒนาทางสาธารณสขุ หวงั เป็นอย่างยิ่งว่าสาระ
ความรู้ที่นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้จะจุดประกายให้กับผู้สนใจได้นำไปต่อยอด หรือพัฒนาเป็นแนวทางในการ
ปฏบิ ัตงิ าน ตลอดจนจุดประกายการพัฒนานวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขใหด้ ยี งิ่ ๆ ข้ึนไป
กลุม่ วิจัยและพัฒนาทางสาธารณสขุ
สำนกั งานพฒั นาระบบสาธารณสขุ
สารบัญ หน้า
คำนำ 1
สารบญั 2
8
ผลงานนวตั กรรม ประเภทกระบวนการ 12
1. การพฒั นาศนู ยร์ วมวัสดแุ ละอปุ กรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข 17
2. ส่อื สารไรส้ าย รับผลฉบั ไว
3. ตน้ แบบโรงเรยี นผ้สู งู อายุกับการพัฒนาท่ยี ง่ั ยืน 23
4. โปรแกรมเพ่ือนช่วยเตอื น (Material Control For Health Center) โปรแกรมทพ่ี ฒั นา 29
โดยศูนยบ์ ริการสาธารณสขุ เพอ่ื ศนู ยบ์ ริการสาธารณสขุ
5. รวมผลงานนวัตกรรม ชุดการดูแลเทา้ เบาหวาน 35
6. การประยกุ ต์ใชห้ ลกั การของ LEAN เพอ่ื พฒั นากระบวนการให้บริการศูนย์สุขภาพชมุ ชน 36
41
ผลงานนวัตกรรม ประเภทสิ่งประดิษฐ์ 45
7. การประยกุ ต์สร้างเครื่องบรรจุยาแชมพู 48
8. แผน่ ปิดวดั สายตา disposible 50
9. โปรแกรมลงทะเบยี นและตรวจสอบสทิ ธผ์ิ มู้ ารบั บริการด้วยบัตรประชาชน 54
10. กญุ แจลอ็ กตเู้ ยน็ วคั ซนี แนบสนิท ศบส. 34 โพธ์ศิ รี
11. สบายกาย สไตลก์ ายภาพ 59
12. Kidney Pharma Care : Application “แนวทางการปรับขนาดยาในผูป้ ว่ ยโรค 63
ไมต่ ิดต่อเรือ้ รัง (NCD)” 67
13. ปศี าจแสนกล เปลยี่ นคน เปลย่ี นใจ 73
14. ขอ้ (เท้า) ติดจ๋าลากอ่ น 77
15. ภูเขาวัดใจ สูภ้ ัยบุหรี่ 80
16. ขนาดน้นั สำคัญไฉน
17. ขวดปรบั ยาในผปู้ ว่ ยไต
18. สปาย (Spine) สบาย
ผลงานนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565
ประเภทกระบวนการ
(Process)
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 1
ช่ือนวัตกรรม การพฒั นาศูนย์รวมวสั ดแุ ละอปุ กรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสขุ
นวัตกรรมดา้ น กระบวนการ (Process)
ผู้พฒั นานวตั กรรม
1. นางสาวศุภรตั น์ บรู ณสมภพ
2. นายรงุ่ โรจน์ โพธ์ิคำ
3. นางสาวชนกานต์ ฉ่ำพงษ์
สว่ นราชการ สำนกั งานพัฒนาระบบสาธารณสุข
โทรศพั ท์/โทรสาร 0 2203 2847 E-mail [email protected]
ทมี่ าและแรงบันดาลใจในการจดั ทำผลงาน
สำนักอนามัย มีภารกิจในการดูแลสุขภาพองค์รวมแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
มีศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งเป็นหน่วยให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขตของ
กรุงเทพมหานคร จากสภาพปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนผ่านการให้บริการของ
ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนที่ประสบปัญหาสุขภาพ มีความจำเป็นและต้องการใช้
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือการใช้ชีวิตที่บ้าน เช่น เตียง ที่นอนลม
เครื่องผลิตออกซิเจน ถังออกซิเจน หรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้นแล ะดำรงชีวิต
นอกบา้ นได้อย่างเป็นปกติ เช่น เกา้ อร้ี ถเข็น ไมเ้ ทา้ ชนิดตา่ งๆ
จากการให้บริการ พบว่า ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพดังกล่าว ยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ
รายได้ไม่เพียงพอ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากร และไม่สามารถจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
ในการดูแลช่วยเหลือตนเองได้ จึงเป็นภารกิจของงานสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข ในการจัดหา
อปุ กรณ์ทจี่ ำเป็นเพ่ือบรรเทาความเดือดร้อนและชว่ ยเหลือผู้ใชบ้ รกิ ารตามความต้องการ โดยการบริหารจัดการ
ของศูนย์บริการสาธารณสุขเอง รวมถึงการประสานงานระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุข และระหว่าง
องค์กรเครือข่ายต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา ศูนย์บริการสาธารณสุข ไม่สามารถจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นเร่งด่วน และ
ขาดการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขในสำนักอนามัย จึงไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการและจำเป็นของผู้ใชบ้ รกิ ารในพ้นื ท่ีได้
กลุ่มสงเคราะห์ทางสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนา
ระบบงานสังคมสงเคราะห์ของสำนักอนามัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าควรมี
การพัฒนาระบบบริหารจัดการวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขในภาพรวมของสำนักอนามัย
ประกอบกับเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารที่ให้มีการจัดการในลักษณะ
“ธนาคารอปุ กรณ์” โดยรว่ มกบั เครือขา่ ยที่เกี่ยวข้อง เช่น มลู นิธสิ ่งเสริมและสนับสนุนกจิ การของสำนักอนามัย
ซง่ึ ประเด็นดงั กล่าว นับว่าเปน็ โอกาสในการพัฒนาระบบงานใหส้ ามารถแก้ไขปัญหาทเ่ี กิดข้ึนได้
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565 2
ทม่ี าและแรงบันดาลใจในการจดั ทำผลงาน (ต่อ)
จากการทำงานร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสำนักอนามัย จึงได้มีการพัฒนา
ระบบการจัดการ ทำหน้าที่เป็นศนู ย์กลางในการจัดหา รวบรวม และบริหารจัดการวัสดอุ ุปกรณ์ทางการแพทย์
และสาธารณสุข โดยสร้างโปรแกรมการใช้งาน “ศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข”
ผ่านเว็บไซต์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และเป็นช่องทางสำหรับประชาชน
ในการขอรับบริการ รวมถึงบุคคล องค์กรทั่วไป ที่ประสงค์บริจาควัสดุอุปกรณ์ให้กับมูลนิธิส่งเสริมและ
สนับสนุนกิจการของสำนักอนามัย เพื่อสนับสนุนการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขมีความสะดวก
รวดเรว็ ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพนื้ ท่ีต่อไป
แนวคิดการพฒั นา (องคค์ วามรู้ /หลักการ/ ทฤษฎีที่ใช้ประกอบการพัฒนาผลงาน)
1. การพัฒนาศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นเครื่องมือในการ
บริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของสำนักอนามัยในครั้งนี้ เป็นการทำงานภายใต้
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ โดยใช้วงจร PDSA ของ Edward Deming ในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
(Continue Quality Improvement : CQI) มีแนวคิดโดยสรุป ดังนี้ (Ronald D. Moen and Clifford L.
Norman, 2010)
Plan สำรวจสภาพปจั จุบันเพ่ือวางแผน ต้ังเปา้ หมาย และกำหนดแนวทางแกไ้ ข
Do ดำเนินการปฏิบตั ติ ามแผน
Study ตดิ ตาม ศึกษา ทบทวน เรียนรู้ สังเกตการเปลีย่ นแปลง
Act ปรบั ปรุงและตอ่ ยอดการพัฒนา
2. การดำเนินงานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบงานสังคมสงเคราะห์ของ
สำนักอนามัย ที่ต้องคำนึงถึงการปฏิบตั ติ ามแนวคิดและกระบวนการสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ การหาข้อเท็จจรงิ
การประเมนิ และวนิ จิ ฉยั การวางแผน การให้ความชว่ ยเหลือ และการตดิ ตามผล ซงึ่ ในการให้บริการผู้ทปี่ ระสบปัญหา
นักสังคมสงเคราะห์ต้องมีการประเมินทรัพยากรของผู้ใช้บริการ ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ และทรัพยากรที่จำเป็น
รวมถึงการหาแหล่งทรัพยากรและนำทรัพยากรมาใช้ เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ตามความเหมาะสม
ดังนั้นการพัฒนาศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงเป็นระบบการบรหิ ารจัดการทรัพยากร
ของสำนักอนามัย ที่สามารถสนับสนุนให้บริการสังคมสงเคราะห์ของศูนย์บริการสาธารณสุข มีความคล่องตัว
และเพ่มิ โอกาสการเข้าถงึ ทรัพยากรของประชาชนในพน้ื ท่ีทั้งทางตรงและผา่ นบริการของศูนย์บรกิ ารสาธารณสุข
3. ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการพัฒนาศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์
ทางการแพทย์และสาธารณสุข จำเป็นต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในเบื้องต้น ทั้งประเภท
รปู แบบ ลักษณะ ขอ้ จำกัด และเงือ่ นไขการใช้งาน เพ่อื กำหนดความต้องการให้เหมาะสมสำหรบั กลุ่มเป้าหมาย
และผู้ใช้งาน ตามวตั ถปุ ระสงค์
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565 3
ตวั ช้ีวัด/กลุ่มเปา้ หมาย/วตั ถปุ ระสงค์
ตวั ชี้วัด
1) มีเว็บไซต์ “ศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ของสำนักอนามัย”
จำนวน 1 เว็บไซต์
2) หนว่ ยงานที่มีส่วนร่วมในการดำเนนิ งาน จำนวน 70 แหง่
กลุ่มเปา้ หมาย
1) ศูนยบ์ ริการสาธารณสุข 69 แห่ง ทำหน้าท่ีคลงั อปุ กรณ์ในพื้นที่ และให้บริการตามท่ีประชาชน
ขอความช่วยเหลือ
2) เครือข่ายองค์กรและประชาชนทั่วไป ที่ประสงค์ขอรับวัสดุอุปกรณ์ หรือบริจาควัสดุอุปกรณ์
ให้กบั มูลนิธิฯ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาช่องทางในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสังคมสงเคราะห์ทางสาธารณสุขสำหรับผู้
ให้บรกิ าร ผู้ใชบ้ ริการ และเครอื ข่ายท่เี กีย่ วข้อง
2) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการดำรงชีวิตและ
บรรเทาความเดือดร้อนตามความต้องการจำเป็นแก่ประชาชนในพน้ื ที่กรุงเทพมหานคร ผา่ นการให้บริการของ
ศนู ยบ์ รกิ ารสาธารณสุข
วิธีดำเนินการ/ขน้ั ตอนการพัฒนา
การพัฒนาศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข มีการใช้วงจร PDSA เป็น
กรอบในการดำเนินการ ดังนี้
Plan ศึกษาสภาพปญั หาและวางแผน
1) รวบรวมข้อมูลและศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรของศูนย์บริการ
สาธารณสุขที่ดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์จะจัดทำแนวทางการบริหารจัดการของสำนักอนามัย จากการศึกษา
สภาพการปฏิบัติงาน พบว่า ศูนย์บริการสาธารณสุขบางแห่งได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากเครือข่าย
ภาคเอกชนในพน้ื ที่ และการหมุนเวียนใช้อปุ กรณ์ระหว่างประชาชนในพน้ื ท่ีเอง ซงึ่ ยงั มีศูนย์บริการสาธารณสุข
อีกหลายแห่งท่ีมีผู้ประสบปญั หาตอ้ งการความชว่ ยเหลอื แต่ไมส่ ามารถจดั หาทรพั ยากรให้ตามความต้องการ
2) กำหนดความต้องการพัฒนา โดยสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขทำหน้าที่บริหารจัดการ
ช่องทางการเข้าถึงทรัพยากรสำหรับศูนย์บริการสาธารณสุข ประชาชน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผ่านเว็บไซต์
“ศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ของสำนักอนามัย” พร้อมออกแบบแนวทางการ
ทำงาน และความต้องการใช้งานเว็บไซต์
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 4
3) ประสานการทำงานร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสำนักอนามัย โดยมูลนิธฯิ
สนับสนนุ ในสว่ นของการพัฒนา ดูแลเว็บไซต์ ใหเ้ ป็นไปตามความต้องการท่ีกำหนด และทำหน้าท่ีคลังออนไลน์
ซง่ึ เวบ็ ไซต์ “ศูนยร์ วมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ของสำนักอนามยั ” มีองค์ประกอบ ดงั น้ี
3.1 ผ้ใู ชง้ านเว็บไซต์ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1) มูลนธิ ฯิ ทำหน้าท่ดี แู ลเวบ็ ไซต์
2) ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ทำหน้าที่คลังอุปกรณ์ในพื้นที่ และให้บริการตามที่
ประชาชนขอความช่วยเหลอื
3) สำนกั งานพัฒนาระบบสาธารณสุข ทำหน้าทีค่ ลงั อุปกรณ์กลาง ตรวจสอบความเคล่ือนไหว
ของคลังอปุ กรณ์ในระบบ และประสานงานระหวา่ งศนู ย์บรกิ ารสาธารณสุข เครือขา่ ย และประชาชน รวมถึงให้
คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาท่ีเกย่ี วข้อง
4) เครือข่ายองค์กรและประชาชนทั่วไป สามารถแจ้งบริจาควัสดุอุปกรณ์ หรือขอรับวัสดุ
อุปกรณ์ตามความตอ้ งการ
3.2 ระบบการใชง้ านในเว็บไซต์ มี 3 ระบบ ประกอบด้วย
1) การบริจาค
2) การขอรบั วัสดุ
3) การขอยมื อปุ กรณ์
Do ดำเนินการ
1) การทดลองใช้งานระบบ โดยประสานศูนย์บริการสาธารณสุข 6 แห่ง จาก 6 กลุม่ เขต ทดลอง
เข้าใช้งานเว็บไซต์ พร้อมให้ความเห็นเพื่อให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ดำเนินการปรับปรุงระบบให้สอดคล้องกับความ
ต้องการใช้งาน
2) จัดทำคู่มือการใช้งานเว็บไซต์ “ศูนย์รวมวสั ดุและอุปกรณท์ างการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ ของ
สำนักอนามัย”
3) ประชุมชี้แจงนักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง เพื่อรับทราบและเริ่ม
ดำเนินการใช้งานระบบ พร้อมจัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์ไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งเพื่อส่งคู่มือ
การใชง้ านเวบ็ ไซตใ์ ห้ทราบ
Study การติดตามและเรยี นรู้
จัดทำแบบสำรวจเพื่อติดตามผลการใช้งานเว็บไซต์ “ศูนย์รวมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์
และสาธารณสุข ของสำนักอนามัย” เพื่อสำรวจความคิดเห็นจากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ผ่าน
Google Form เพ่ือประมวลผล วิเคราะหข์ อ้ มลู และหาแนวทางการปรับปรงุ พัฒนาตอ่ ไป
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 5
Act ปรับปรงุ และพัฒนา
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบ พบว่า มีประเด็นการพัฒนา 2 ส่วน ท่ี
ควรดำเนินการ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงบริการผ่านการใช้งานโปรแกรมให้มากข้ึน
และการปรบั ปรุงโปรแกรม (Interface) ให้มคี วามนา่ สนใจและสะดวกตอ่ การใชง้ าน
การมสี ว่ นร่วม/บทบาทของทมี
มผี ู้ร่วมดำเนินการ 3 คน มีการบรหิ ารจัดการตามหน้าท่ีความรับผดิ ชอบ ดงั นี้
1. นางสาวศุภรัตน์ บูรณสมภพ ทำหน้าที่วางแผน กำกับ ติดตาม และดำเนินการในภาพรวม
ของการพฒั นา
2. นายร่งุ โรจน์ โพธิ์คำ ทำหนา้ ท่ปี ระสานงานกับศูนย์บริการสาธารณสุขและติดตามการใช้งาน
โปรแกรมผ่านเวบ็ ไซต์
3. นางสาวชนกานต์ ฉำ่ พงษ์ ทำหนา้ ที่ทางวิชาการ ประสานข้อมูล และสรุปประเดน็ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง
งบประมาณ/แหลง่ งบประมาณดำเนนิ การ
ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสำนักอนามัย ในการออกแบบ
โปรแกรมและคา่ ใช้จ่ายในการเชา่ พน้ื ทเ่ี ว็บไซต์
ระยะเวลาดำเนินงาน
Plan ศึกษาสภาพปัญหาและวางแผน (มกราคม - ธันวาคม 2563)
Do ดำเนินการ (มกราคม - ตุลาคม 2564)
Study การติดตามและเรียนรู้ (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564)
Act ปรับปรุงและพัฒนา (มกราคม - พฤษภาคม 2565)
ผลท่เี กิดข้ึน / ท่ีปรากฏจากการนำผลงานไปใช้
จากการเปิดใช้งานโปรแกรมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 มีการใช้งานทั้ง 3 ระบบงาน ทั้งจาก
บุคคลทวั่ ไป และศนู ย์บริการสาธารณสุข มีความเคลื่อนไหวของการให้บริการอุปกรณ์ต่างๆ ผา่ นเวบ็ ไซต์ ดังน้ี
1) ประชาชนบริจาคอปุ กรณใ์ ห้กบั มูลนิธฯิ จำนวน 150 รายการ
2) ศนู ย์บรกิ ารสาธารณสขุ ให้วัสดเุ พ่อื ชว่ ยเหลือผู้ประสบปัญหา จำนวน 74 รายการ
3) ศูนย์บริการสาธารณสุขให้ยืมอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา จำนวน 13 รายการ
จากการดำเนินงานได้เรียนรู้ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน ได้แก่ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือระหว่างบุคคล องค์กรต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นประชาชนและเครือข่ายองค์กรที่ให้การสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักสังคมสงเคราะห์
ศนู ย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ทร่ี ่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ รว่ มสะท้อนและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
รวมถงึ ข้อเสนอแนะ เพอ่ื นำไปปรับปรุงและพัฒนาตอ่ ไป
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565 6
ประโยชน์ / คุณค่าของนวตั กรรม ท้งั ระดบั บคุ คล หนว่ ยงาน/ชุมชน และประชาชน
1. สำนักอนามัยมีเครื่องมือและช่องทางในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางการแพทย์และ
สาธารณสขุ สำหรับประชาชน ผใู้ ช้บริการ ผปู้ ฏบิ ตั งิ าน และเครือขา่ ยท่ีเก่ียวข้อง
2. สำนักอนามัยมีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการ
ให้บรกิ ารประชาชนในพ้นื ที่
3. ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง มีแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการให้บริการที่หลากหลาย
สามารถใหบ้ ริการได้ทันเวลา และตอบสนองความต้องการและปัญหาของกลุ่มเปา้ หมายได้มากขน้ึ
4. ประชาชนในพื้นท่ีกรุงเทพมหานคร มีโอกาสเข้าถึงแหลง่ ทรพั ยากร และได้รับความช่วยเหลือ
วัสดุหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต สอดคล้องกับ
สภาพปญั หาและความตอ้ งการ เพอ่ื สุขภาพทด่ี ี
5. กรุงเทพมหานคร มีบริการสุขภาพและสังคมที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นไปตาม
แผนพฒั นากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556 – 2580)
ข้อเสนอในการพฒั นาต่อยอด
1. ควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงองค์กรเครือข่ายต่างๆ เข้าถึงช่องทาง
บริการผา่ นเวบ็ ไซต์ให้มากขนึ้
2. ควรมีการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจ ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้ใชง้ าน อยู่เสมอ
3. ควรมีการประสานงานกบั เครอื ข่ายตา่ งๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงค้นหาแหล่งทรพั ยากรทีส่ ามารถ
สนับสนนุ วัสดุและอปุ กรณ์ทีต่ อบสนองปัญหาของประชาชนได้
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 7
ชื่อนวัตกรรม สือ่ สารไร้สาย รบั ผลฉบั ไว
นวตั กรรมดา้ น กระบวนการ (Process)
ผู้พฒั นานวตั กรรม
นางสาวธิดา มงคลแสงจนั ทร์
ส่วนราชการ กลุ่มจุลชีววิทยา สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02-2942907 ต่อ 18 โทรสาร 02-2942907 ตอ่ 18 E-mail: [email protected]
ทมี่ าและแรงบันดาลใจในการจัดทำผลงาน
ในปัจจุบันสำนักงานชันสูตรสาธารณสุขส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์บางรายการ
ให้หน่วยงานภายนอกสำนักอนามัย (ซึ่งในที่นี้หมายถึง โรงพยาบาลในสำนักการแพทย์) โดยอาศัยช่องทาง
การส่งแฟกซ์ มักจะพบปัญหาขัดข้องของการส่งแฟกซ์ ได้แก่ เครื่องแฟกซ์เสีย, สัญญาณแฟกซ์ไม่เชื่อมต่อ,
ได้รับข้อมูลจากการส่งแฟกซ์ไม่ครบถ้วน เป็นต้น ซึ่งทำให้หน่วยงานภายนอกสำนกั อนามัยต้องติดต่อขอให้สง่
รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5 ต่อการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ต่อปี และ
จากปัญหาดังกล่าวทำให้การส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ภายในระยะเวลาท่ีกำหนด คือสง่ รายงานผลหลัง
การตรวจวเิ คราะหเ์ สร็จสนิ้ แลว้ ภายใน 24 ช่วั โมง คิดเป็นร้อยละ 78 ต่อการส่งรายงานผลการตรวจวเิ คราะห์ต่อปี
สำนักงานชันสูตรสาธารณสุขจึงได้คิดแนวทางการพัฒนางานในด้านการบริการ เพื่อให้เกิดความ
สะดวกต่อการรบั รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ของหนว่ ยงานภายนอกสำนักอนามยั โดยมแี นวคิดที่จะเพ่ิมช่อง
ทางการส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ โดยการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผ่าน Google Drive
โดยอนญุ าตใหเ้ ฉพาะเจา้ หนา้ ท่ีที่เกีย่ วขอ้ งเทา่ น้นั ท่ีสามารถเขา้ ดรู ายงานผลการตรวจวเิ คราะห์ได้
แนวคดิ การพฒั นา (องคค์ วามรู้ /หลกั การ/ ทฤษฎีทีใ่ ช้ประกอบการพฒั นาผลงาน)
การนำเทคโนโลยีไร้สาย และสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอยู่ในยุคปัจจุบันมาใช้ในการติดต่อสื่อสารกับ
หน่วยงานภายนอกสำนักอนามัย เพ่ือใหเ้ กดิ ความสะดวกในการรับสง่ รายงานผลการตรวจวเิ คราะห์
ตวั ชว้ี ัดโครงการ
1. อัตราการร้องขอให้ส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ซ้ำของหน่วยงานภายนอกสำนักอนามัย
นอ้ ยกวา่ หรือเท่ากบั รอ้ ยละ 1
2. อตั ราการส่งรายงานผลการตรวจวเิ คราะห์ในระยะเวลาท่ีกำหนด มากกวา่ หรอื เท่ากบั ร้อยละ 90
กลมุ่ เป้าหมาย
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการส่งตรวจคุณภาพอาหาร (อาหาร, น้ำ, น้ำแข็ง, นม, เครื่องดื่ม และ
ตัวอย่างสมุ่ เช็ด (swab) ภาชนะ) ทางจลุ ชวี วทิ ยา ของโรงพยาบาลในสำนกั การแพทย์
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามยั ปี 2565 8
วัตถปุ ระสงค์ตัวช้ีวดั โครงการ
1. เพ่ือลดการรอ้ งขอให้ส่งรายงานผลการตรวจวเิ คราะห์ซ้ำของหน่วยงานภายนอกสำนักอนามยั
2. เพื่อลดระยะเวลาในการสง่ รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หนว่ ยงานภายนอกสำนกั อนามยั
วิธดี ำเนินการ/ขน้ั ตอนการพฒั นา
1. ดาวน์โหลดและตดิ ต้งั Google Drive
2. ตั้งกลุ่มไลน์เพื่อใช้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของหน่วยงานภายนอกสำนักอนามัยที่มาส่ง
ตัวอย่างตรวจวิเคราะห์แต่ละหน่วยงาน เพื่อขอ E-mail ที่ใช้ในการรับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์และแจ้งการอัพ
โหลดรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ของหน่วยงานนนั้ ๆ
3. สง่ รายงานผลการตรวจวเิ คราะหผ์ ่าน Google Drive
4. ติดตามและประเมนิ ผลโครงการ
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 9
การมีส่วนรว่ ม / บทบาทของทีม
เจ้าหนา้ ทีท่ ี่ไดร้ ับมอบหมายในกลุ่มจลุ ชวี วิทยา ประชาสัมพันธใ์ หเ้ จ้าหนา้ ที่ท่ีรับผิดชอบในการส่ง
ตรวจคุณภาพอาหาร (อาหาร, น้ำ, น้ำแข็ง, นม, เครื่องดื่ม และตัวอย่างสุ่มเช็ด (swab) ภาชนะ) ทางจุล
ชีววิทยา ของโรงพยาบาลในสำนักการแพทย์เข้าร่วมกลุ่มไลน์ OpenChat “งานตรวจคุณภาพอาหารทางจุล
ชวี วิทยา (รพ.สำนักการแพทย์)” เพื่อใช้ในการตดิ ตอ่ ประสานงานและแจ้งการส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์
ทาง Google Drive
งบประมาณ/แหล่งงบประมาณดำเนินการ
ไมใ่ ชง้ บประมาณ เนือ่ งจากใช้โปรแกรมและทรัพยากรท่มี ีอยู่แล้วในหนว่ ยงาน
ระยะเวลาดำเนนิ งาน
ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่เดอื นธันวาคม 2563 – เดือนกมุ ภาพนั ธ์ 2564
การดำเนินงาน ธ.ค. 2563 ม.ค. 2564 ก.พ. 2564
1. ประชาสมั พันธ์การเขา้ ร่วมกล่มุ ไลน์ xx x
2. ติดต่อประสานงาน แจ้งการ Upload รายงานผลการ xx x
ตรวจวิเคราะหผ์ า่ น Google Drive
3. ตดิ ตามการร้องขอให้ส่งรายงานผลการตรวจวเิ คราะหซ์ ำ้ xx x
4. ติดตามการสง่ รายงานผลการตรวจวเิ คราะหผ์ า่ น xx x
Google Drive ภายในเวลาทีก่ ำหนด
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2565 10
ผลที่เกิดขึน้ /ที่ปรากฏจากการนำผลงานไปใช้
1. อัตราการร้องขอให้ส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ซ้ำของหน่วยงานภายนอกสำนักอนามัย
เท่ากบั ร้อยละ 0
2. อัตราการส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ในระยะเวลาทีก่ ำหนด (ภายใน 24 ชั่วโมง) เท่ากับ
ร้อยละ 93.5
ประโยชน์/คณุ คา่ ของนวัตกรรม ทง้ั ระดบั บุคคล หน่วยงาน/ชมุ ชน และประชาชน
1. สามารถลดการร้องขอใหส้ ่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ซ้ำของหน่วยงานภายนอก
สำนกั อนามัย
2. หน่วยงานภายนอกสำนกั อนามยั สามารถรบั รายงานผลการตรวจวเิ คราะห์ได้สะดวกและ
รวดเร็วขน้ึ
ข้อเสนอในการพฒั นาตอ่ ยอด
นำแนวทางการพัฒนานี้ ไปใช้ในการส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้กับหน่วยงานอื่นๆ
นอกจากโรงพยาบาลในสำนักการแพทย์ที่มีการส่งตรวจคุณภาพอาหารทางจุลชีวิทยากับกลุ่มจุลชีววิทยา
สำนักงานชนั สูตรสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานเขต และกองสุขาภิบาลอาหาร เป็นต้น
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 11
ชือ่ นวตั กรรม ตน้ แบบโรงเรียนผสู้ งู อายุกบั การพฒั นาท่ียง่ั ยืน
นวัตกรรมด้าน กระบวนการ (Process)
ผู้พฒั นานวตั กรรม
นางพมิ ลนรี สูตรสุวรรณ ศนู ยบ์ ริการสาธารณสุข 4 ดนิ แดง สำนักอนามยั
ท่มี าและแรงบันดาลใจในการจัดทำผลงาน
โรงเรยี นผู้สงู อายุชมุ ชนเขตดินแดง กรุงเทพฯ เป็นโรงเรยี นผู้สงู อายแุ ห่งแรกของกรงุ เทพมหานคร
ไดร้ ับการสนบั สนุนงบประมาณจากศนู ยบ์ รกิ ารสาธารณสขุ 4 ดนิ แดง ภายใตโ้ ครงการสรา้ งหลักประกันสขุ ภาพ
ถ้วนหน้า ในปีงบประมาณ 2559 - 2560 ต่อมาปีงบประมาณ 2561-ปัจจุบัน ไม่ได้รับการสนับสนุน
งบประมาณดังกล่าวซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการ จึงเกิดแนวคิดในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง และการทำประโยชน์ให้กับผู้อน่ื ไดเ้ ห็นเปน็ แบบอย่างผ่านพระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจของ
ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในการดำเนินงานโรงเรยี นผู้สูงอายุให้เกดิ ความพอเพยี ง โดยยึดแนวพระราชดำริ
ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ด้านความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการ
ใชช้ ีวิต ทำให้เกิดพลังแห่งความสำเรจ็ นำมาซง่ึ การประสานความรว่ มมือจากทุกภาคสว่ นและภาคเี ครือข่ายท่ีมี
จิตสาธารณะ รว่ มกันเปน็ เจา้ ของโรงเรยี นผสู้ ูงอายุ และรับผดิ ชอบการบรหิ ารจดั การร่วมกนั จึงเปน็ แรงบันดาล
ใจและจุดเริ่มต้นทีก่ ่อให้เกิดการพฒั นาทีย่ ัง่ ยนื และเป็นตน้ แบบโรงเรยี นผูส้ ูงอายุทม่ี ผี ู้คนสนใจมาศึกษาดูงานท้ัง
ในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น
แนวคิดการพฒั นา
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9
มาปรับใช้ในการดำเนินงาน “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทาน
มานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานของ
ทางสายกลาง และความไมป่ ระมาท โดยคำนึงถงึ ความพอประมาณ ความมเี หตุผล การสร้างภมู คิ ุม้ กนั ในตวั เอง
ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญต้องมีสติ ปัญญา และความเพียร
ซึง่ นำไปสคู่ วามสุขในการดำเนนิ ชีวติ อย่างจริงจัง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน
ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงภาครัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นท่ีจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการ
กระทบใดๆ อันเกดิ จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก นอกจากนจี้ ะตอ้ งอาศยั ความรอบรู้ ความรอบคอบ
และความระมดั ระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนนิ การ ทุกขัน้ ตอน และ
ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 12
และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต
ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
เปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้
เปน็ อยา่ งดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคณุ สมบัติ ดงั นี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อ่นื เชน่ การผลิตและการบรโิ ภคท่อี ยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเก่ียวกับระดับความพอเพียงน้ัน จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตปุ ัจจยั ท่ีเกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนงึ ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดข้ึนจากการกระทำนั้นๆ อยา่ งรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปล่ียนแปลงดา้ นต่างๆ ที่จะ
เกิดขน้ึ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ทคี่ าดว่าจะเกิดขน้ึ ในอนาคต โดยมี เงือ่ นไข ของการ
ตดั สินใจและดำเนินกิจกรรมตา่ งๆ ใหอ้ ยูใ่ นระดบั พอเพียง 2 ประการ ดงั น้ี
1) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้านความ
รอบคอบท่ีจะนำความรเู้ หลา่ น้ันมาพิจารณาใหเ้ ชือ่ มโยงกัน เพ่อื ประกอบการวางแผนและความระมัดระวงั ในการปฏิบัติ
2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความ
ซ่ือสตั ย์สจุ ริตและมคี วามอดทน มีความเพยี ร ใช้สตปิ ัญญาในการดำเนินชวี ิต
แนวคิดการมสี ว่ นร่วม
ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมมาปรับใช้ในการทำนวัตกรรม Cohen and Uphoff (1981
อา้ งถึงใน จรัญญา บรรเทิง, 2548) ดังน้ี
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Participation in Decision-making) คือ การตัดสินใจเป็น
ศนู ยก์ ลางของการเกิดความคิดท่ีหลากหลาย มกี ารกำหนดและประเมินทางเลือกตัดสินใจเพ่ือนำทางเลือกมาสู่
การปฏิบัติ เช่น การทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนที่นำไปสู่การ
พัฒนาเปน็ ต้นแบบโรงเรยี นผูส้ งู อายุ
2. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (Participation in Implementation) คือ การมีส่วนร่วมในการ
เสียสละทรัพยากร ได้แก่ แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ ข้อมูลข่าวสาร เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ที่มีอยู่ในชุมชน
แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนของการมีส่วนร่วม รวมทั้งจิตอาสา และภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัตงิ าน
3. การมีส่วนร่วมในการบริหารและการประสานงาน (Participation in Benefits) คือ ทีมงาน
สังคมสงเคราะห์ ผู้สูงอายุจิตอาสา และภาคีเครือข่าย มีความคิดที่สอดคล้องกัน มีส่วนร่วมในการบริหารและ
ประสานงานในกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลภายในและได้รับการสนับสนุนให้เกิดการรวมพลัง
การกำหนดทิศทางท่ีชัดเจน เพอ่ื นำไปส่คู วามสำเร็จ
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามยั ปี 2565 13
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( Participation in Evaluation) โดยการสังเกต
การสัมภาษณ์ การใช้แบบประเมินความพึงพอใจ และการนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนา
อย่างตอ่ เนอ่ื ง
ตวั ช้ีวดั
ร้อยละ 100 ของนกั เรียนโรงเรียนผสู้ งู อายมุ คี วามพึงพอใจในทุกกิจกรรมการเรียนการสอน
กลมุ่ เป้าหมาย
ผู้สงู อายใุ นเขตพ้ืนที่ดนิ แดง
วตั ถุประสงค์
1. เพื่อแกไ้ ขปัญหาดา้ นงบประมาณในการบริหารจัดการโรงเรียนผูส้ งู อายุให้อยู่คชู่ ุมชนต่อไป
2. เพ่อื ส่งเสริมการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตและการเรียนรูต้ ลอดชวี ิตของผู้สงู อายุ
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และเป็นต้นแบบผู้สูงอายุ
คุณภาพ
4. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และ
จิตวิญญาณ
วิธกี ารดำเนนิ งาน/ข้นั ตอนการพฒั นา
เปน็ นวัตกรรมด้านกระบวนการ (ความคดิ สร้างสรรค์ ระดับ 1 เป็นผลงาน วิธกี าร หรอื กระบวน
ที่มอี ยู่แลว้ แต่นำมาปรบั ปรุง หรอื พัฒนาบางสว่ นและได้ผลด)ี
เนื่องจากโรงเรยี นผู้สงู อายไุ ม่มงี บประมาณสนับสนุน จึงต้องมีการบรหิ ารจดั การในรปู แบบการมี
สว่ นรว่ ม โดยทุกภาคส่วนร่วมกนั คิด รว่ มกนั ทำ รว่ มกนั สรา้ ง รว่ มกันดำเนินงาน ในการจัดการเรยี นรใู้ ห้
ผู้สูงอายมุ คี วามสุข เกดิ ทักษะในการดูแลตนเองลดระยะเวลาในการพึ่งพิง และมีคณุ ภาพชวี ิตท่ีดี
วิธีการดำเนนิ งาน
๑) ประชุมทีมงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน และการแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณ
คา่ ใช้จา่ ยต่างๆ ของโรงเรยี นผสู้ ูงอายุ พรอ้ มปรบั ปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้อง
กับความตอ้ งการของผ้สู ูงอายุ
๒) ติดต่อประสานงานกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกเพื่อหาแนวร่วมในการพัฒนา
โรงเรียนผู้สูงอายุให้ก้าวกระโดดผ่านวิกฤติเรื่องงบประมาณและการสรรหาวิทยากรจิตอาสา
มาใหค้ วามรู้รว่ มสรา้ งสรรค์สวัสดกิ ารทางสงั คมและประสบการณ์ใหมๆ่ ร่วมสมัย
๓) ประชาสมั พันธ์และจัดทอดผ้าปา่ สามัคคเี พื่อการศกึ ษา โดยนำปัจจัยมาเปน็ ค่าใช้จ่ายเก่ียวกับ
อุปกรณ์การเรียน ค่าเดินทางสำหรับวิทยากร อาหารว่าง/เครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน
สำหรบั นกั เรียนโรงเรยี นผสู้ ูงอายุ
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามยั ปี 2565 14
๔) ประกาศรับสมัครนักเรียนผู้สูงอายุทั้งชาย และหญิง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขต
พืน้ ทด่ี นิ แดง
๕) ขับเคล่ือนโรงเรียนผสู้ งู อายุให้เปน็ โรงเรียนต้นแบบควบคูก่ บั การพัฒนาทยี่ ่ังยืน
๖) ตดิ ตามและประเมนิ ผล โดยการสงั เกต การสมั ภาษณ์ และการใชแ้ บบประเมนิ ความพึงพอใจ
การมสี ่วนรว่ ม/บทบาทของทมี
โดยนักสังคมสงเคราะห์ประจำศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง เป็นผู้ประสานงาน และมี
คณะทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่ายและจิตอาสา ถือเป็นตัวแทนที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการช่วยกัน
ขับเคลือ่ นการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เปน็ การสรา้ งกระบวนการมีสว่ นร่วมให้การบรหิ ารจัดการโรงเรียน
ผู้สูงอายุให้มีประสทิ ธิภาพ โดยมีกติกา หรือข้อตกลงร่วมกัน เหมือนเป็นสัญญาใจท่ีมตี ่อกันว่าจะร่วมกนั ยึดถือ
และปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน
แม้วา่ จะเปล่ยี นแปลงคณะกรรมการชุดใหม่จะยังคงมแี นวทางการทำงานเดิมใหเ้ ห็นและพัฒนาต่อยอดได้ต่อไป
งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาในการดำเนนิ งาน
ระยะเวลา5 เดือน (เมษายน - สิงหาคม)
ผลทเี่ กดิ ขนึ้ จากการนำผลงานไปใช้
1. มีรายไดจ้ ากการทอดผา้ ปา่ สามัคคเี พอื่ การศึกษาฯ
2. การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรบั ใชส้ ามารถชว่ ยลดคา่ ใชจ้ า่ ย และสร้างเครือข่ายในการ
พฒั นาตอ่ ยอดเพ่อื นำไปส่กู ารพัฒนาทย่ี ่ังยืน
3. ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยและลดระยะเวลาใน
การพงึ่ พาผอู้ ่ืน
4. ช่วยให้ผู้สูงอายุคลายเหงา สดชื่น กระชุ่มกระชวย และมีความภาคภูมิใจในความสามารถของ
ตนเอง
5. เรียนรู้ทักษะด้านอาชีพ ให้สามารถไปถ่ายทอดให้ลูกหลานและคนในชุมชน นำไปประกอบ
อาชพี สร้างงาน สร้างรายได้ ชว่ ยเหลือตนเองและครอบครวั ตอ่ ไป
ประโยชน์และคุณค่านวตั กรรม
1. เปน็ ต้นแบบโรงเรียนผู้สงู อายเุ ป็นแหล่งเรยี นรู้ ถา่ ยทอดประสบการณ์ ภมู ปิ ัญญา และ
วฒั นธรรม เป็นท่ศี ึกษาดูงานของนสิ ิต นักศกึ ษา และผทู้ ีส่ นใจทง้ั ในประเทศ และตา่ งประเทศ
2. ต้นแบบโรงเรียนผู้สูงอายุเปน็ สถานทท่ี ี่เปิดโอกาสให้ผู้สงู อายุ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ท่สี ร้างสรรค์
คุณประโยชน์ตอ่ ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 15
ข้อเสนอแนะและพัฒนาต่อยอด
1. ปรบั ปรุงรปู แบบการเรียนการสอนใหส้ อดคลอ้ งกับสถานการณป์ ัจจบุ ัน เช่น รปู แบบการเรยี น
การสอนออนไลน์
2. ให้การสนบั สนุนการจดั เวทีแลกเปลย่ี นเรยี นร้แู ละนำเสนอข้อมูลข่าวสารท่สี ำคัญเพื่อใหร้ ู้เท่า
ทันตอ่ สภาวะการเปล่ยี นแปลงดา้ นเศรษฐกิจ สงั คมปจั จบุ นั ซึง่ จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยง่ั ยืนตอ่ ไป
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนักอนามยั ปี 2565 16
ชอื่ นวตั กรรม โปรแกรมเพอื่ นช่วยเตือน (Material Control For Health Center)
นวตั กรรมด้าน กระบวนการ (Process)
ผ้พู ฒั นานวตั กรรม
นางสาวขวญั ตา เอื้ออุฬาร, นางกฤตติกา วิรชา, นางจำรัส ตั้งอดุลยร์ ัตน์,
นางสาวนริ ดา กติ ิยา และนายอนพุ งศ์ ปยิ ะประชากร
ศูนยบ์ รกิ ารสาธารณสขุ 11 ประดิพัทธ์ โทรศัพท์ 0 2271 1122 โทรสาร 0 2271 1122 ต่อ 26
E-mail: [email protected]
ทีม่ าและแรงบนั ดาลใจในการจดั ทำผลงาน
ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) อย่างองค์รวม (Holistic Care)
โดยครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสภาพ พยาบาล
อนามัยชุมชน มีบทบาทสำคัญ ในการดูแล ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยโรคซ้ำซ้อน
และผู้ป่วยที่มีกายอุปกรณ์ติดตัว เช่น การใส่สายให้อาหารทางจมูก (NG Tube) การใส่สายสวนปัสสาวะ
(Foley Catheter) ซึ่งมีระยะเวลาการเปล่ียนอปุ กรณ์ ทุก 1 เดือน หรือกรณีทีอ่ ุปกรณ์ เกิดชำรุด รั่ว ซึม แตก
มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนทันที อีกทั้งจำนวนผู้ป่วยที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ดังกล่าว มีจำนวนไม่คงที่ การจัดทำ
ทะเบียนระบบเบิกจ่ายวัสดุ แบบเดิม (Manual)ทำให้เสียเวลา ยุ่งยาก ในการตรวจสอบ เกิดข้อผิดพลาด
ความคลาดเคลื่อน ของจำนวนวัสดุอุปกรณ์ ที่เหลือ หรือวันหมดอายุ ทำให้สูญเสียงบประมาณในการจัดซื้อ
ทดแทนแตล่ ะคร้ัง
แนวคดิ การพฒั นางาน
ศูนย์บริการสาธารณสุข 11 ประดิพัทธ์ จึงได้มีแนวคิดพัฒนาระบบการช่วยเตือน (Material
Control For Health Center) เพื่อให้งานบริการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับ
ผู้ใช้บริการ และเพื่อให้ทราบจำนวนอุปกรณ์ที่เหลือ จำนวนวันที่หมดอายุ โดยการนำเทคโนโลยีทางด้าน
คอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ควบคุมจำนวนวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือ เพิ่มระบบการแจ้งเตือน ประกอบ
กับให้ผู้ปฏิบัติได้รับความสะดวกสามารถจัดสรรของที่มีให้ผู้ป่วย ได้อย่างมีคุณภาพ ลดความสูญเสีย เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด โดยสร้างระบบตรวจสอบ จำนวนวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือ วันหมดอายุ ที่มีประสิทธิภาพ
สะดวกต่อการใช้งานของเจ้าหน้าที่ เพื่อลดมูลค่าการสูญเสียวัสดุสิ้นเปลืองของหน่วยงาน และเชื่อมโยงระบบ
กับการเบกิ จ่ายวสั ดุ การสรปุ ยอดคงเหลือ สรุปค่าใช้จา่ ย ของงานพสั ดุของศนู ย์บริการสาธารณสุข รวมท้ังต้อง
เป็นระบบทีถ่ ูกต้องตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การบริหารวัสดุของกรงุ เทพมหานคร เป็นไปด้วย
ความเรียบรอ้ ยมีประสทิ ธภิ าพและเปน็ ประโยชน์ตอ่ กรงุ เทพมหานคร
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2565 17
วิธกี ารดำเนินการ/ข้นั ตอนการพัฒนางาน
1. ขน้ั ตอนการวางแผน และเตรียมการ (1 ตลุ าคม – 10 ตลุ าคม 2563)
1.1 ศึกษาขั้นตอนการเบิกจ่ายวัสดุ จากระบบคลังวัสดุ (MIS2) ค้นหาจุดอ่อนจุดแข็งของระบบ
เพอื่ หาวิธีการแก้ไข
จดุ แขง็ - มรี ะบบเป็นรปู ธรรม ข้ันตอนการดำเนนิ การชัดเจน สามารถตรวจสอบได้
- ไมส่ ามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้
จดุ ออ่ น - ไม่มรี ะบบแจง้ เตือนวสั ดใุ กลห้ มดอายุ
- ไมส่ ามารถเพมิ่ รหสั วสั ดไุ ด้
- ไมส่ ามารถบันทกึ รับวัสดุท่จี ัดซอื้ โดยเงนิ นอกงบประมาณได้
- ระบบสรา้ งมาเพื่อรองรบั วัสดุท่ีจดั ซอื้ จากเงนิ งบประมาณเท่านั้น
- รหสั วสั ดุมหี ลากหลาย บางรหสั มชี ือ่ ท่คี ล้ายกัน ทำใหเ้ กดิ ความสบั สนไดง้ ่าย
- ในรายงานวสั ดุคงคลงั ไมส่ ามารถแยกราคาวัสดุตอ่ หน่วยทต่ี ่างกันในช่ือวสั ดุเดยี วกันได้
- ไมส่ ามารถใชง้ านได้หากไมไ่ ด้เช่ือมตอ่ Internet
1.2 ศึกษาปญั หาจากระบบ บนั ทึกข้อมลู แบบ manual ดว้ ยโปรแกรม Microsoft excel
จดุ แขง็ - ง่ายต่อการออกแบบ และกำหนดสตู รเพ่อื ใหแ้ สดงผลตามที่ตอ้ งการ
จดุ อ่อน - เข้าถึงฐานข้อมลู ได้ง่าย การแก้ไขข้อมลู ก็ง่ายเช่นกัน
- ปัญหาข้อมูลผิดพลาด เกิดจาก Human error เกดิ ขึ้นบ่อยครั้ง
เม่ือวิเคราะห์จุดอ่อนจดุ แขง็ ในแต่ละรูปแบบไดแ้ ลว้ จงึ นำมาหาวธิ กี ารแก้ไขจุดอ่อน ซงึ่ สามารถสรปุ ได้ดังนี้
จุดอ่อน การแกไ้ ข
1. ไม่สามารถบันทึกรับวัสดุที่จัดซื้อจากนอก 1. พฒั นาระบบให้สามารถกำหนดประเภทเงินท่ีใชจ้ ัดซอ้ื วัสดุ
งบประมาณ
2. รหัสวัสดุมีหลายหลาย บางรหัสมีชื่อท่ี 2. พัฒนาระบบให้สามารถเพิ่มรายละเอียดของตัววัสดุเช่น ยี่ห้อ รุ่น
คล้ายกัน ทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย และพฒั นาระบบให้รองรับการเพม่ิ รปู วสั ดุ
3. ในรายงานวัสดุคงคลัง ไม่สามารถแยกราคา 3. พัฒนาระบบรายงานให้สามารถแยกข้อมูลทุกชนิดออกจากกัน
วสั ดุต่อหน่วยที่ต่างกนั ในชื่อวสั ดเุ ดยี วกัน เช่น ยห่ี อ้ รุ่น รายละเอียดยอ่ ย หน่วยนับ รวมถึงราคาวัสดตุ อ่ หนว่ ย
4. ไม่สามารถใช้งานได้หากไม่ได้เชื่อมต่อ 4. พัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ทุกรูปแบบ เช่น การใช้งานด้วย
Internet เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว หรือใช้งานผ่านระบบ Extranet ที่มี
ผู้ใช้งานมากกว่า 1 เครื่อง หรือใช้งานผ่าน Internet ในระบบ
Cloud
5. เข้าถงึ ฐานขอ้ มลู ได้ง่าย 5. พฒั นาระบบป้องกนั การเข้าถึงฐานข้อมูล
6. ปัญหาข้อมูลผิดพลาด เกิดจาก Human 6. จัดอบรมผู้ใช้งานโปรแกรมให้ทราบถึงวธิ กี ารใช้งาน กระบวนการ
error เกิดขน้ึ บอ่ ยครงั้ ทำงานของโปรแกรม และขอ้ จำกดั โปรแกรม
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามยั ปี 2565 18
1.3 กำหนดภาษาทใี่ ช้เขยี น โปรแกรมทีใ่ ช้พฒั นา ขดี จำกดั ของโปรแกรมท่ีใช้พัฒนา แนวทางการ
ใช้งาน และกำหนดผู้ใชง้ านในข้ันตอนต่างๆ โดยมีตวั เลอื ก ดงั น้ี
1) โปรแกรมท่ใี ช้งานผา่ น Web Browser โดยใช้ SQL Server เปน็ ตวั เกบ็ ฐานขอ้ มูล
ขอ้ ดี - ทันสมัย มกี ารจัดเก็บขอ้ มลู แยกออกจากตัวโปรแกรม
- สามารถเขยี น BAD ไฟล์ เพ่ือให้ระบบสำรองข้อมูลอัตโนมตั ิได้
ข้อเสีย - ตอ้ งมเี คร่ืองคอมพิวเตอร์ server และมี OS เปน็ windows nt server ซงึ่ มีราคาแพง และ
ตอ้ งมีการบำรงุ รกั ษาอยา่ งต่อเนอ่ื ง
- ต้องมผี ู้บรกิ ารคอยแก้ปญั หาที่เกดิ ข้ึน
2) Applications ทที่ ำงานบน OS Windows
ขอ้ ดี - สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เกบ็ ขอ้ มูลแยก หรอื เก็บข้อมูลรวมไวใ้ นตัวโปรแกรม
ขอ้ เสยี - ตอ้ งมผี ู้พัฒนาโปรแกรมสม่ำเสมอ ในกรณี OS มกี ารอัพเดท
- การใช้งานโปรแกรม จำเปน็ ต้องติดตง้ั โปรแกรมอน่ื ๆ เพ่ิมเตมิ เพื่อให้ระบบสามารถ
ทำงานไดเ้ ต็มประสทิ ธภิ าพ
3) Mobile Applications ทท่ี ำงานบน OS IOS หรอื Android
ขอ้ ดี - ทนั สมัย ใชง้ านสะดวก
ข้อเสีย - Applications บน OS IOS ตอ้ งชำระคา่ ธรรมเนียมการลงทะเบยี นเป็นผู้พัฒนาของ Apple
ปีละ 99 ดอลลาร์
4) Visual Basic for Applications (VBA) โดยใชง้ านผ่าน โปรแกรม Microsoft Office 365
ขอ้ ดี - โปรแกรมทีใ่ ช้พัฒนา มลี ิขสทิ ธ์ถิ ูกตอ้ ง โดยล็อคอนิ ผา่ น Username :
[email protected] ซ ึ ่ ง เ ป ็ น Username ที่
กรุงเทพมหานคร
จดั สรรใหศ้ ูนยบ์ รกิ ารสาธารณสขุ 11 ประดิพัทธ์
- เครื่องคอมพวิ เตอรท์ ใี่ ช้ OS ตั้งแต่ windows 7 ขนึ้ ไปสามารถใช้งานได้
- เครอ่ื งคอมพิวเตอรท์ ี่มี Microsoft Office ทุกเวอรช์ นั่ สามารถใช้งานได้
- ไมจ่ ำเป็นตอ้ งพัฒนาโปรแกรม ในกรณี OS มีการอัพเดท
ข้อเสยี - ตัวโปรแกรมและฐานขอ้ มูลจะรวมกนั อย่เู ป็นไฟลเ์ ดียว ถา้ ข้อมูลมปี รมิ าณมากจะทำใหก้ าร
ประมวลผลช้า
- สามารถติดไวรัสคอมพิวเตอรไ์ ด้ เชน่ เดยี วกับไฟลง์ านทั่วไป
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 19
1.4 สรุปผลจากการวิเคราะห์
จากข้อดีข้อเสียต่างๆ ในข้อ 1.3 สรุปว่า หากต้องการใช้งานโปรแกรมระยะยาว รวมถึง
ไม่จำเป็นต้องมีทีมพัฒนาคอยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนาการด้าน IT ดังนั้น โปรแกรม Visual
Basic for Applications (VBA) โดยใช้งานผ่าน โปรแกรม Microsoft Excel จึงเปน็ โปรแกรมทีเ่ หมาะสมท่ีสุด
อีกทั้งผู้พัฒนายังกำหนดให้โปรแกรมเป็น Open Source หากมีผู้ที่สามารถเขียนโปรแกรมในภาษา VBA
ได้ก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้ง่าย เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับระเบียบข้ อกำหนดต่างๆ ของ
กรุงเทพมหานครทอ่ี าจมกี ารเปล่ยี นแปลงไดใ้ นอนาคต
2.ขัน้ ตอนการดำเนินการพฒั นาและปรับปรงุ การผลงาน (11 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2563)
2.1 กำหนด Flowchart ของโปรแกรม
2.2 เขียนโปรแกรม Visual Basic For Applications (VBA) บน Microsoft Excel
2.3 ทดลองระบบ ค้นหา error ของโปรแกรม และทำการแกไ้ ข เพื่อเปน็ การป้องกันการเข้าถึง
ฐานข้อมูล
2.4 ทดสอบการใชง้ าน ภายในศนู ยบ์ ริการสาธารณสุข 11 ประดิพทั ธ์
2.5 ขยายขอบเขตการทดสอบการใชง้ านโปรแกรม ไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข ภายในกลุ่มกรงุ เทพ
กลาง โดยมีศนู ยบ์ รกิ ารสาธารณสุข ทีเ่ ข้าร่วมทดสอบการใช้งานโปรแกรม จำนวน 11 ศนู ย์
(เดอื นธนั วาคม 2563 - มกราคม 2564)
2.6 ประชาสมั พนั ธ์ผลงานสู่หน่วยงานอื่นๆ ทัง้ ภายใน และภายนอก สำนกั อนามยั (มีนาคม 2564)
ข้ันตอนการประเมนิ ความพึงพอใจ (มีนาคม 2564)
ผลการประเมินความพึงพอใจภายในหนว่ ยงาน
ดา้ นกระบวนการ ชัน้ ตอนการใชง้ านระบบ (มากท่สี ุด = 63.35%, มาก = 33.35%, ปานกลาง = 3.3%)
ดา้ นประสทิ ธภิ าพของระบบ (มากที่สดุ = 71.67%, มาก = 28.33%)
ดา้ นความสะดวก สวยงาม (มากทสี่ ุด = 76.65%, มาก = 23.35%)
ดา้ นคณุ ภาพของระบบ (มากที่สุด = 76.65%, มาก = 23.35%)
ผลการประเมินความพึงพอใจภายนอกหน่วยงาน
ด้านกระบวนการ ช้นั ตอนการใชง้ านระบบ ( มากทส่ี ดุ = 50%, มาก = 29%, ปานกลาง = 21% )
ดา้ นประสิทธภิ าพของระบบ ( มากทสี่ ุด = 52%, มาก = 37.5%, ปานกลาง = 10.5% )
ด้านความสะดวก สวยงาม ( มากทส่ี ุด = 50%, มาก = 41.7%, ปานกลาง = 8.3% )
ดา้ นคณุ ภาพของระบบ ( มากที่สุด = 54.2%, มาก = 37.5%, ปานกลาง = 8.3% )
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 20
กลุ่มเป้าหมาย
แพทย์, เภสัช, พยาบาล และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย
กรุงเทพมหานคร
การมสี ่วนรว่ ม/บทบาทของทีม นายแพทยช์ ำนาญการพิเศษ
กระบวนการ พยาบาลวชิ าชีพชำนาญการพิเศษ
- นางสาวขวัญตา เออื้ อฬุ าร
- นางกฤติกา วริ ชา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
รูปแบบโปรแกรม
- นางจำรัส ตงั้ อดลุ ยร์ ตั น์ พยาบาลวชิ าชพี ชำนาญการ
ระเบยี บที่เก่ียวข้อง
- นางสาวนิรดา กิติยา เจา้ พนักงานธรุ การชำนาญงาน
ออกแบบระบบ/เขียนโปรแกรม
- นายอนุพงศ์ ปยิ ะประชากร
งบประมาณ
ไมไ่ ดใ้ ชง้ บประมาณ
ระยะเวลาดำเนินการ
6 เดอื น (ระหวา่ งเดือนตุลาคม 2563 – เดือนมีนาคม 2564)
ผลที่เกดิ จากการนำผลงานไปใช้
1. แก้ปัญหาวสั ดหุ มดอายุก่อนการใช้งาน 100%
2. การควบคมุ วัสดมุ ีความสะดวก รวดเรว็ ถกู ตอ้ ง สามารถตรวจสอบไดท้ กุ ขั้นตอน
3. ลดภาระงานของเจา้ หนา้ ท่ี
4. โปรแกรมมีการป้องกันการเข้าถึงฐานข้อมูล สร้างความมั่นใจให้ผู้ตรวจสอบ เหมาะสำหรับ
รองรับการตรวจสอบทัง้ จากหนว่ ยงานภายใน หรือหนว่ ยงานภายนอก
ประโยชนข์ องนวตั กรรม ทงั้ ระดับบุคคลและหน่วยงาน
การบริหารวัสดุของกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและเป็น
ประโยชนต์ ่อกรุงเทพมหานคร
ขอ้ เสนอในการการพัฒนาตอ่ ยอด
พัฒนาต่อยอด ช่วยเตือนทุกอย่างที่จำเป็น ทั้งวัสดุสำนักงาน วัสดุงานบ้าน ที่มี ที่ขาด และที่จะ
หมดอายุ
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565 21
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2565 22
ชือ่ นวัตกรรม รวมผลงานนวัตกรรม ชดุ การดูแลเทา้ เบาหวาน
นวตั กรรมด้าน กระบวนการ (Process)
ผพู้ ัฒนานวัตกรรม
นางฐติ พิ ร เดชศิริ ศนู ย์บรกิ ารสาธารณสุข 38 จ๊ีด – ทองคำ บำเพ็ญ
โทรศพั ท์ 02-2418378 โทรสาร 02-2418378 E-mail: [email protected]
ที่มาและแรงบนั ดาลใจในการจดั ทำผลงาน
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมน
อินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอหรืออินซูลินมีฤทธิ์น้อยกว่าที่ควร ส่งผลทำให้
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง สถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเน่ือง ในปี 2558 ผู้ป่วยเบาหวาน
ทว่ั โลกมีจำนวน 415 ล้านคนและจะเพม่ิ ข้นึ เปน็ 642 ลา้ นคนในปี 2583 (วรรณี นธิ ยิ านนั ท์, 2559) การศึกษา
ของสุมาลี เชื้อพันธ์ (2559) ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเท้าลดลง มีความเสื่อม
ของระบบประสาทส่วนปลายเท้าและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เป็นปจั จัยทีท่ ำให้เกดิ ความเสี่ยงสูงต่อการเกิด
แผลที่เท้า และเป็นสาเหตุของการเกิดแผลท่ีเท้าไดร้ อ้ ยละ 19-25 และเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในผู้สูงอายุ สำหรับ
เรื่องการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานของศูนย์บริการสาธารณสุข 38 จี๊ด ทองคำ บำเพ็ญในปี 2560
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าระดับปานกลางขึ้นไปถึงระดับสูงมีจำนวน 86 คน คิดเป็น
รอ้ ยละ 30.71 ในปี 2561 ผปู้ ว่ ยเบาหวานทม่ี ีความเส่ียงต่อการเกิดแผลท่ีเท้าระดับปานกลางข้ึนไปถึงระดับสูง
มีจำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 27.60 ในปี 2562 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าระดับ
ปานกลางขึ้นไปถึงระดับสูง มีจำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 20.57 ซึ่งเป็นสถิติที่ยังสูงอยู่ ภาวะแทรกซ้อน
ที่เท้า สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถดูแลเท้าตนเองได้อย่างถูกต้อง
โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าก็จะเพิ่มมากขึ้น แผลอาจเกิดการลุกลาม ส่งผลต่อการถูกตัดเท้าหรือขาได้
บคุ คลสำคญั ที่จะช่วยในการควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ดีนั้นกค็ ือตวั ผู้ป่วยเอง (นฤมล เหง้าคำ และ
พรรณพิไล ไพรแดน, 2559)
แนวคดิ การพัฒนา
โอเร็ม (Orem, 2001) นักทฤษฎีทางการพยาบาล กล่าวว่าการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย
เป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มกระทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตสุขภาพและ
สวสั ดภิ าพของตนเอง
เพนเดอร์ (Pender et al, 2006) กล่าวว่าพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วยกิจกรรม
ต่างๆ ที่บุคคลกระทำโดยมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี และการบรรลุเป้าหมายในการมี
สขุ ภาพ ท่ดี ี เม่อื นำมาใชใ้ นการพฒั นาความสามารถและสง่ เสรมิ พฤตกิ รรมการดูแลตนเองของผ้ปู ว่ ยโรคเรื้อรัง
ต่างๆ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วย มีการเรียนรู้ ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ผ่านระยะพัฒนาการของตนเองอย่างมี
ศักยภาพ โดยมีพยาบาลเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมการดูแล
ตนเองดีขึน้ และมสี ขุ ภาพดี
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 23
เบนจามิน บลูม และคณะ 2559 กล่าวว่า พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤตกิ รรมเก่ียวกับสติปัญญา
ความรู้ ความคิด โดยความรู้หรือการที่ได้รับรู้ จะก่อให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น หากผู้รับบริการได้รับฟัง
ความรู้ คำแนะนำจากพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เป็นประจำ ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวาน,
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นและการดูแลเท้าอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดการจดจำ ทำความเข้าใจ
การประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้น แนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (The Deming Institute, 2559)
การพฒั นาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง หมายถงึ การหาโอกาสพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเน่ืองมี
องค์ประกอบทสี่ ำคญั คอื
1. ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ การตอบสนองต่อความต้องการ และการรับฟังเสียง
สะท้อนต่อผลงาน
2. การปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เน้นการออกแบบระบบ เพื่อเป็นการป้องกัน
ปัญหาและขจัดความซ้ำซ้อนในแต่ละขน้ั ตอน
3. ทกุ คนในองคก์ รมสี ว่ นรว่ มในการดำเนินการ
4. การบริหารจัดการที่ดี ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ทุกคนในองค์กรเข้าใจตรงกัน การ
พัฒนาคณุ ภาพใชก้ ระบวนการวงจรเดมมิง่ มี 4 ขนั้ ตอน (The Deming Institute, 2559) ไดแ้ ก่
4.1 ขั้นตอนการวางแผน (Plan) เป็นขั้นตอนที่ต้องกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุง
เปล่ยี นแปลงซ่งึ รวมถึงการพฒั นาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาท่เี กิดข้ึนจากการปฏบิ ัติงาน
4.2 ขั้นตอนการปฏิบัติ (Do) เป็นการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไวใ้ น
ขัน้ ตอนการวางแผน
4.3 ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
การตรวจสอบทำให้เราทราบว่าการปฏิบัติในขั้นตอนที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้
กำหนดไว้หรือไม่
4.4 ขน้ั ตอนการดำเนินงานใหเ้ หมาะสม (Act) เปน็ การพิจารณาผลที่ไดจ้ ากการตรวจสอบ มี 2
กรณี คือผลที่เกิดข้ึนเปน็ ไปตามแผนท่ีวางไว้ หรือไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ หากเป็นกรณีแรกก็ให้นำแนวทาง
หรือกระบวนการปฏบิ ตั ินนั้ มาจดั ทำใหเ้ ปน็ มาตรฐาน พร้อมทงั้ หาวิธกี ารท่ีจะปรบั ปรงุ ให้ดียง่ิ ข้ึน
ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 จี๊ด ทองคำ บำเพ็ญ โดยผู้เสนอผลงานได้ตระหนักถึงความสำคัญใน
เรื่องนี้ จึงมคี วามสนใจทจี่ ะจดั ทำนวตั กรรม ชดุ การดแู ลเท้าเบาหวานข้ึนตงั้ แต่ปี 2560 เปน็ ตน้ มาจนถงึ ปัจจุบัน
ซึ่งมที ง้ั หมด 4 เรื่องดังนี้
ปี 2560 นวัตกรรมด้านกระบวนการเร่ืองการให้ความรู้ดูแลเทา้ ผ่านจอคอมพวิ เตอร์
ปี 2561 นวตั กรรมสิ่งประดษิ ฐ์เรือ่ งกระจกส่องเท้าไม้เซลฟี่
ปี 2562 นวัตกรรมสงิ่ ประดษิ ฐ์อุปกรณ์นวดเท้าด้วยไม้
ปี 2563 นวตั กรรมสิ่งประดษิ ฐร์ องเท้านวดเท้า
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนักอนามยั ปี 2565 24
ปี2560 ปี 2561
ปี 2562 ปี 2563
วัตถปุ ระสงค์
1. เพื่อลดภาวะเสย่ี งตอ่ การเกิดแผลทีเ่ ท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
2. เพอ่ื ใหผ้ ู้ปว่ ยเบาหวานสามารถนำความรไู้ ปใชป้ ระโยชน์ในการดแู ลเท้าตนเองไดจ้ ริง
3. เพ่อื ให้ผปู้ ่วยเบาหวานเกิดความพงึ พอใจตอ่ นวัตกรรมและบริการทไ่ี ดร้ บั
4. เพ่ือสนับสนนุ การปฏิบัตงิ านของเจา้ หนา้ ท่ใี หส้ ามารถเลือกใชน้ วตั กรรมท่เี หมาะสมกบั ผู้ป่วยได้
เป้าหมาย
ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจเท้าในคลินิกเบาหวาน ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 จี๊ด ทองคำ
บำเพญ็ ในแต่ละปี
ตัวช้วี ัด
เชิงปรมิ าณ ร้อยละ 80 ของผปู้ ่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจเท้าในคลินิก ได้รับคำแนะนำการใช้
งานนวัตกรรม ชุดการดแู ลเท้าเบาหวานจากเจา้ หนา้ ทต่ี รวจเท้า
เชงิ ผลลัพธ์
- ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าระดับปานกลางขึ้นไปถึง
ระดบั สงู มจี ำนวนลดลงหรอื เท่าเดิม
- รอ้ ยละ 80 ของผูป้ ่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ไปใชป้ ระโยชนใ์ นการดูแลเท้าตนเองได้จริง
- ร้อยละ 80 ของผ้ปู ่วยเบาหวานมคี วามพึงพอใจตอ่ นวตั กรรมและบริการที่ไดร้ ับ
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 25
วธิ ีดำเนนิ การ/ข้นั ตอนการพัฒนา
ขน้ั เตรียมการ
1. ศึกษาข้อมลู ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวขอ้ ง
2. จดั ตงั้ คณะทำงาน ประชมุ คณะทำงานและผ้เู กีย่ วขอ้ ง
3. เตรียมอุปกรณ์ของช้นิ งานนวตั กรรมแต่ละประเภท
ขนั้ ดำเนินงาน ดำเนินการตามแนวทางทีก่ ำหนด
1. พยาบาล เป็นผู้สอน/ให้คำแนะนำการใช้งานนวัตกรรมในการดูแลเท้าเป็นกลุ่มใหญ่แก่ผู้ป่วย
เบาหวานที่มารับบรกิ ารในคลนิ ิกเบาหวาน
2. พยาบาลหรือนักกายภาพ ทำการตรวจเท้าผู้ป่วยตามแผนการให้บริการ ฝึกทักษะการใช้งาน
นวัตกรรมเพ่อื ให้ผู้ปว่ ยนำไปใช้ในการดูแลเทา้ ตนเองทีบ่ า้ นได้
3. ใหผ้ ูป้ ว่ ยทำแบบสอบถามความพงึ พอใจตอ่ นวตั กรรม
ขนั้ ประเมินผล
1. ประเมินผลการดำเนนิ งานโดยการสัมภาษณ์
2. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ ตลอดการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อ
นำมาวเิ คราะห์ สรปุ ผลการดำเนนิ งานและรายงาน
3. จากแบบสอบถามความพงึ พอใจต่อนวตั กรรม
การมีสว่ นร่วม/บทบาทของทมี
1. พยาบาลทมี OPD สามารถปฏิบัตหิ นา้ ท่ีทดแทนเร่อื งการตรวจเท้าและใหค้ ำแนะนำแก่ผูป้ ว่ ยได้
2. นักกายภาพและพยาบาล มีสว่ นรว่ มในการตรวจประเมนิ เท้า ฝึกทักษะการใช้นวตั กรรมแต่ละ
ประเภทแกผ่ ้ปู ่วย เพื่อให้ผู้ปว่ ยนำไปใช้ประโยชนส์ ำหรับตนเองทบ่ี ้าน
งบประมาณ/แหลง่ งบประมาณดำเนนิ การ
งบประมาณจากผู้จดั ทำนวัตกรรมเปน็ ผู้ดำเนินการ ได้แก่
ปี 2560 นวัตกรรมเรื่องการใหค้ วามร้ดู ูแลเทา้ ผ่านจอคอมพวิ เตอร์ ไมไ่ ด้ใช้งบประมาณ
ปี 2561 นวัตกรรมเรื่องกระจกสอ่ งเท้าไม้เซลฟ่ี ไมไ่ ดใ้ ชง้ บประมาณ อปุ กรณท์ ใ่ี ช้มาจากเศษวสั ดุ
ท่เี หลือใช้ เช่น ไมเ้ ซลฟเ่ี ก่า กระจกจากตลับแปง้ เก่า
ปี 2562 นวตั กรรมอุปกรณ์นวดเท้าด้วยไม้ ใชง้ บประมาณเป็นค่าวัสดุ อุปกรณท์ ท่ี ำจำนวน 850 บาท
ปี 2563 นวัตกรรมรองเท้านวดเทา้ ใชง้ บประมาณเป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ท่ที ำจำนวน 380 บาท
ใชส้ ถานที่ วสั ดุ อุปกรณแ์ ละบคุ ลากรของศนู ย์บริการสาธารณสขุ 38 จีด๊ ทองคำ บำเพ็ญ
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 26
ระยะเวลาดำเนนิ งาน
นวัตกรรมเร่อื งการให้ความร้ดู ูแลเท้าผ่านจอคอมพวิ เตอร์ ใช้เวลาตง้ั แต่ 1 ต.ค. 2559 – 28 ก.พ.
2560 รวมระยะเวลา 5 เดอื น
นวัตกรรมเรื่องกระจกส่องเท้าไม้เซลฟ่ี ใช้เวลาตั้งแต่ 1 ต.ค. 2560 – 31 มี.ค. 2561 รวม
ระยะเวลา 6 เดอื น
นวัตกรรมอุปกรณ์นวดเท้าด้วยไม้ ใช้เวลาตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 – 31 มี.ค. 2562 รวมระยะเวลา
6 เดอื น
นวัตกรรมรองเทา้ นวดเท้า ใช้เวลาตงั้ แต่ 1 ต.ค. 2562 – 29 ก.พ. 2563 รวมระยะเวลา 5 เดอื น
ผลท่เี กดิ ข้นึ / ท่ปี รากฏจากการนำผลงานไปใช้
นวัตกรรมเร่ืองการให้ความรดู้ แู ลเทา้ ผ่านจอคอมพิวเตอร์
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเท้ามีจำนวน 118 ราย พบว่า เมื่อสัมภาษณ์ผู้ป่วย
ด้วยคำถาม วิธีการสอนแบบให้ความรู้ดูแลเท้าผ่านจอคอมพิวเตอร์นี้ ทำให้ท่านเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ
และสามารถนำไปใชด้ ูแลเท้าของตนไดจ้ ริง ใชห่ รือไม่ ทต่ี อบคำถามว่าใช่ มีจำนวน 103 ราย คิดเปน็ รอ้ ยละ 95.37
ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ พบว่าผู้ป่วยจำนวน 107 ราย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภาวะเสี่ยงเพิ่มขึ้น คิด
เป็นร้อยละ 90.67 สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงพบมีจำนวน 11 ราย แบ่งเป็นผู้ที่มีภาวะเสี่ยงปานกลาง
รว่ มกบั เทา้ ผิดรปู จำนวน 9 รายและเคยตัดน้วิ เท้า/หรือมปี ระวตั ิเปน็ แผลทีเ่ ท้าจำนวน 2 ราย ในจำนวนน้ไี ดร้ ับ
การส่งต่อจำนวน 10 ราย คดิ เป็นร้อยละ 90.90
นวัตกรรมเรือ่ งกระจกส่องเทา้ ไม้เซลฟี่
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเท้ามีจำนวน 179 คน ได้รับคำแนะนำการใช้กระจก
สอ่ งเท้าไมเ้ ซลฟี่ คดิ เป็น ร้อยละ 100
ตัวชี้วัดเชงิ ผลลพั ธ์
- ผ้ปู ว่ ยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลเทา้ ตนเองไดจ้ รงิ มีจำนวน 149 คน คิดเปน็ ร้อยละ 83.24
- ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าระดับปานกลางขึ้นไปถึงระดับสูง มีจำนวนลดลง
มีจำนวน 90 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 27.60
- ผ้ปู ว่ ยมคี วามพงึ พอใจต่อนวตั กรรมกระจกส่องเท้าไม้เซลฟ่ี มจี ำนวน 162 คน คดิ เป็นร้อยละ 90.50
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนักอนามยั ปี 2565 27
นวัตกรรมอุปกรณ์นวดเทา้ ดว้ ยไม้
ตัวชว้ี ดั เชงิ ปรมิ าณ
- ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเท้าในคลินิก มีจำนวน 255 คน ได้รับคำแนะนำการใช้อุปกรณ์นวดเท้า
ด้วยไม้ คดิ เป็นรอ้ ยละ 100
ตวั ชว้ี ดั เชงิ ผลลพั ธ์
- ผูป้ ่วยสามารถนำไปใช้ประโยชนใ์ นการดูแลเท้าตนเองไดจ้ ริง จำนวน 216 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 84.70
- ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าระดับปานกลางขึ้นไปถึงระดับสูง มีจำนวนลดลง เป็น
62 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 24.31
นวัตกรรมรองเท้านวดเทา้
ตัวชว้ี ัดเชงิ ปริมาณ
- ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเท้าในคลินิก มีจำนวน 216 คน ได้รับคำแนะนำการใช้รองเทา้ นวดเทา้
จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 92.59
ตวั ชี้วัดเชงิ ผลลัพธ์
- ผ้ปู ว่ ยสามารถนำไปใชป้ ระโยชน์ในการบรหิ ารเท้าตนเองไดจ้ ริง จำนวน 188 คน คดิ เป็น ร้อยละ 87.03
- ผู้ป่วยเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าระดับปานกลางขึ้นไปถึงระดับสูงลดลงหรือ
เท่าเดมิ มีจำนวน 31 คน คดิ เป็นร้อยละ 14.35
- ผู้ป่วยเบาหวานมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมและบริการที่ได้รับในระดับมาก จำนวน 199 คน
คิดเปน็ ร้อยละ 92.12
ประโยชน/์ คุณคา่ ของนวัตกรรม ท้ังระดบั บคุ คล หนว่ ยงาน/ชุมชน และประชาชน
ระดับบุคคล บุคลากรมีความรู้ มีทักษะมีความมั่นใจในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเรื่องการดูเท้า
เบาหวานได้
ระดับหน่วยงาน หนว่ ยงานมีการจัดบริการที่ดี สรา้ งความประทบั ใจและพึงพอใจแกผ่ มู้ าใชบ้ ริการ
ระดับประชาชน ผู้ป่วยเบาหวานมีความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น สามารถนำ
นวตั กรรมไปใชป้ ระโยชน์ในการดูแลเทา้ ตนเองได้จริง และถ่ายทอดความรเู้ ร่อื งการดูแลเทา้ ให้กบั บุคคลอ่นื ได้
ระดบั ชมุ ขน ผู้ปว่ ยในชุมชนมคี วามตระหนกั ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น สรา้ งแกนนำเครือข่ายเฝ้า
ระวงั ภาวะแทรกซอ้ นเร่ืองเทา้ เบาหวานได้เพม่ิ ข้นึ
ข้อเสนอในการพัฒนาตอ่ ยอด
1. นำนวัตกรรมเรื่องต่าง ๆ ไปเผยแพร่ใช้กบั กลุ่มผปู้ ว่ ยโรคเบาหวานของหนว่ ยงานอ่ืน
2. หน่วยงานควรมีการจัดส่งบุคลากรไปศึกษา อบรมเรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานอย่าง
ต่อเนอ่ื ง
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 28
ชื่อนวตั กรรม การประยุกต์ใชห้ ลักการของ LEAN เพ่ือพัฒนากระบวนการใหบ้ ริการศูนย์สขุ ภาพชุมชน
นวัตกรรมด้าน กระบวนการ (Process)
ผ้พู ฒั นานวตั กรรม
นางศริ พิ ร งามขำ กลุม่ งานการพยาบาลและการบรหิ ารงานทวั่ ไป ศูนย์บรกิ ารสาธารณสุข 67
ที่มาและแรงบันดาลใจในการจัดทำผลงาน
ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นรูปแบบการจัดการบริการด้านสาธารณสุขมูลฐานของชุมชน โดยชุมชน
เพื่อชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ได้มีสถานที่ที่ทำการของอาสาสมัคร
สาธารณสุข เป็นศูนย์รวมในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้และและ
ข้อมูลข่าวสารของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการด้านสุขภาพ อนามัย
การปฐมพยาบาลเบื้องตน้ แก้ไขปัญหาสาธารณสุข เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชุมชนกับระบบบริการสาธารณสุข
ของรัฐ โดยทำหน้าทีใ่ ห้บริการในระดับต้น และส่งต่อให้สถานบริการของรัฐ และเพื่อเพิ่มความรู้และศักยภาพ
ให้กับอาสาสมัครที่ปฏิบัติการในศูนย์สุขภาพชุมชน ให้เกิดความมั่นใจและมีประสบการณ์ สามารถปฏิบัติงาน
ได้อย่างผสมผสาน ครอบคลุม ครบถ้วนและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของแต่ละชุมชน
และมีประสิทธิภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐคอยให้การสนับสนุน ติดตามและเป็นที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังมี
มาตรฐานในการทำงานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขทป่ี ฏิบัตหิ น้าที่ในศูนยส์ ุขภาพชมุ ชน เชน่ กำหนดเวลาใน
การทำงาน การทำทะเบียนวัสดุ-ครุภัณฑ์ การทำทะเบียนผู้มารับบริการ ทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง การส่งต่อ ติดตามผลการรักษาผู้ป่วย การเบิก-จ่ายยา รวมถึงการรายงานผลการ
ปฏิบัติงานประจำเดือน ส่งผลให้บทบาทหน้าทีข่ องอาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าทีใ่ นศูนย์สขุ ภาพชุมชน
มากขนึ้ กวา่ อาสาสมัครสาธารณสุขทวั่ ไป
การพัฒนางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแต่ลดกระบวนการจึงเป็นสิ่งทีค่ วรพัฒนาในยุค 4.0 การทำ
รายงานประจำวันด้วยการใชแ้ บบฟอร์ม google form จะช่วยเพิ่มคุณค่าในตวั อาสาสมัครสาธารณสุข เพราะ
สามารถตอบคำถามประชาชนที่มารับบริการได้อย่างทันท่วงที และสามารถทำได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และ
รายเดอื น หากมขี อ้ มลู ที่จำเปน็ ต้องส่งต่อก็สามารถส่งข้อมลู ปรกึ ษาเจ้าหนา้ ที่สาธารณสขุ ไดต้ ลอดเวลา ลดเวลา
และความซ้ำซ้อนในการเขียนเอกสารในการส่งต่อผู้รับบริการ ลดกระดาษ ลดค่าใช้จา่ ยในการเดินทาง ไม่ต้อง
เก็บงานไว้ให้เพื่อนที่ต้องอยู่เวรคนสุดท้ายที่จะต้องเป็นผู้ทำรายงาน ลดข้อผิดพลาดในการรวบรวมรายงาน
นอกจากนี้ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้วิถีการทำงานแบบเดิมๆหายไป เนื่องจากต้อง
รบั ผิดชอบต่อสงั คมและปฏิบตั ติ ามกฎของสว่ นรวมแต่ ทัง้ นป้ี ระสทิ ธภิ าพของงานตอ้ งเทา่ เดิมและปรับให้ทันต่อ
สถานการณ์การระบาดของโรค ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา จึงให้อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติ
หน้าที่ในศูนย์สุขภาพชุมชนรายงานผู้ที่มีอาการทางระบบหายใจทาง application line ทุกวัน เพื่อเฝ้าระวัง
ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เมื่อมีการพัฒนาระบบ google form เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นพ่ี
เลี้ยงศูนย์สขุ ภาพชุมชน สามารถเข้าไปดูรายงานได้ทุกวัน มีความสะดวกมากขึ้นในการรับทราบและวิเคราะห์
ขอ้ มลู เชิงระบาดวทิ ยา
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนักอนามยั ปี 2565 29
แนวคิดการพัฒนา (องคค์ วามรู้ /หลักการ/ ทฤษฎที ใี่ ช้ประกอบการพัฒนาผลงาน)
นอกจากคุณภาพบริการตามความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการแล้ว การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำงานในปจั จบุ ันเป็นสิ่งท่ีองค์กรทางด้านบริการสขุ ภาพตอ้ งให้ความสำคัญ เพ่ือที่จะสามารถ
ดำเนินงานให้บรรลเุ ป้าหมายขององค์กรโดยใช้ทรพั ยากรในกระบวนการใหบ้ รกิ ารอย่าง ประหยัด คุ้มค่า และ
เกดิ ประโยชน์สงู สุด โดยการมองภาพรวมและปรับปรงุ ทง้ั กระบวนการใหบ้ รกิ ารใหม้ ปี ระสิทธิภาพ
Womack & Jones อธิบายแนวคิดของลีน (LEAN) ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการ
กระบวนการทำงานเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในทุกกระบวนการ มีหลักการสำคัญ 5 ประการคือ 1) การ
ระบุส่วนที่มีคุณค่าของกระบวนการ (Value) 2) การกำหนดสายธารแหง่ คุณคา่ ทกุ ขน้ั ตอน (Value stream) 3)
การสรา้ ง ทศิ ทางใหก้ ิจกรรมดำเนนิ ไปอยา่ งต่อเน่ือง (Flow) 4) การใชร้ ะบบการดึงคณุ คา่ (Pull system) และ
5) การสร้างความสมบูรณ์แบบ (Pursue perfection) ซึ่งการนำกระบวนการของลีนมาใช้ในการปรับระบบ
บรกิ ารสาธารณสขุ กอ่ ใหเ้ กิดประโยชน์ทงั้ ในการลดภาระการทำงานของเจา้ หน้าท่ี ลดระยะเวลาการรอคอย ลด
ค่าใชจ้ า่ ย เพิม่ ความพงึ พอใจของผู้ใช้บริการรวมท้งั ผู้ให้บริการ ไม่เกดิ ความเครยี ดในการทำงานเนื่องจากการมี
ส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงระบบบริการ โดยประยุกต์การวิเคราะห์ทั้งในส่วนที่เป็นคุณค่าและในความสูญ
เปล่า 7 ประการ คือ จากการรอคอย การเคล่ือนยา้ ยงานที่ไม่จำเปน็ การทำงานซ้ำซ้อน การแกไ้ ขข้อผิดพลาด
การเก็บงานไวท้ ำ การเคลอ่ื นไหวท่ีไม่จำเปน็ และการทำงานทมี่ ากเกินไป เพื่อนำไปสู่การจัดการความสูญเปล่า
ใหม้ ีประสทิ ธิภาพ
ตวั ชวี้ ดั /กล่มุ เป้าหมาย/วัตถุประสงค์
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าท่ีในศูนย์สุขภาพชุมชน
วิธีดำเนนิ การ/ข้นั ตอนการพฒั นา
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนกั อนามัย ปี 2565 30
ชว่ งการแพรร่ ะบาดโรคโควิด-19 ผลการรายงาน
การมสี ว่ นร่วม/บทบาทของทีม
เจา้ หนา้ ทส่ี าธารณสุขที่เป็นพเี่ ลย้ี งและอาสาสมคั รสาธารณสขุ ทปี่ ฏิบตั หิ นา้ ทใ่ี นศูนยส์ ุขภาพชุมชน
งบประมาณ/แหล่งงบประมาณดาเนินการ
ไม่ใช้
ระยะเวลาดำเนนิ งาน
1.คดิ และจัดทำ google form ตามข้อคำถามของมาตรฐานกองสรา้ งเสริมสุขภาพ สำนักอนามยั
กรงุ เทพมหานคร ระยะเวลา 1 วัน
2. ประชุมเจา้ หน้าท่สี าธารณสขุ ท่เี ป็นพเ่ี ลี้ยงศูนยส์ ขุ ภาพชุมชน เพอ่ื ชีแ้ จง้ และแนะนำข้นั ตอน
วธิ ีการใช้ ระยะเวลา 1 วัน
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 31
ระยะเวลาดำเนนิ งาน (ตอ่ )
3. ประชมุ อาสาสมัครสาธารณสขุ ทป่ี ฏิบตั ิหนา้ ท่ีในศนู ยส์ ขุ ภาพชมุ ชน เพื่อชแ้ี จ้งและแนะนำ
ขั้นตอนวิธีการใช้ ระยะเวลา 1 วนั
4. เจ้าหน้าท่สี าธารณสขุ ทเี่ ปน็ พี่เลี้ยงศูนยส์ ขุ ภาพชมุ ชนให้คำปรกึ ษาแนะนำในการใชง้ าน 1 เดอื น
ผลท่ีเกิดขนึ้ / ท่ีปรากฏจากการนำผลงานไปใช้
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 32
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2565 33
ประโยชน์ / คุณค่าของนวตั กรรม ทง้ั ระดบั บุคคล หน่วยงาน/ชุมชน และประชาชน
ระดับบุคคล
- ลดภาระงาน ลดกระดาษ ลดเวลา ของอาสาสมัครสาธารณสุขท่ีปฏบิ ตั ิหน้าท่ีในศนู ยส์ ขุ ภาพชุมชน
- อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์สุขภาพชุมชนแจ้งผลสุขภาพของผู้มารับบริการ
ได้ทันที ทำให้ประชาชนเกิดความม่ันใจและศรัทธา และขอคำปรึกษาพ่ีเลี้ยงได้ทันเวลา
ระดบั หน่วยงาน
- ลดการใช้กระดาษของสำนกั อนามยั
- เจา้ หน้าท่ีสาธารณสุขท่ีเปน็ พี่เลี้ยงศูนยส์ ขุ ภาพชมุ ชนทราบยอดผู้ปว่ ยท่ีมารับบริการเป็นรายวันได้
- เจา้ หนา้ ทส่ี าธารณสขุ ท่ีเปน็ พเ่ี ล้ยี งศูนยส์ ขุ ภาพชมุ ชนใหค้ ำปรึกษาไดท้ นั ที
- เจ้าหน้าที่สาธารณสขุ ที่เป็นพี่เลยี้ งศูนย์สขุ ภาพชุมชนรวบรวมรายงานได้อย่างถูกต้อง
ระดับประชาชน
- ประชาชนผู้มารับบรกิ ารทราบผลสขุ ภาพในทันที และได้รับการสง่ ต่อไดท้ นั เวลา
- ลดเวลารอคอยของผมู้ ารับบริการ มคี วามพงึ พอใจในการใหบ้ ริการของ อสส
ขอ้ เสนอในการพัฒนาต่อยอด
การคำนวณ BMI ไดใ้ นโปรแกรม และระบบ ALARM BP
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 34
ผลงานนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565
ประเภทส่ิงประดษิ ฐ์
(Product)
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 35
ช่อื นวตั กรรม การประยกุ ตส์ ร้างเครอ่ื งบรรจยุ าแชมพู
นวตั กรรมดา้ น ส่งิ ประดษิ ฐ์ (Product)
ผู้พัฒนานวตั กรรม
1. นางสาวปฐมา ดอนจันทร์ทอง
2. นายสชุ าครีย์ สุขสวาสด์ิ
3. นายปทาน สมคั รกสจิ
กองเภสชั กรรม โทรศัพท์ 02-5808782 ตอ่ 252, 244 โทรสาร 02-5806842
E-mail [email protected] .
ที่มาและแรงบันดาลใจในการจัดทำผลงาน
กองเภสัชกรรม โดยกลุ่มงานผลิตยา มีหน้าที่ผลิตยาน้ำรับประทาน ยาน้ำใช้ภายนอก ยาแชมพู
ยาครีมและยาขี้ผึ้ง โดยส่วนใหญ่เป็นยาที่ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแต่ผู้ป่วยที่มารับบริการในศูนย์บริการ
สาธารณสุขมีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาโรค ในกระบวนการผลิตยาทุกขั้นตอน
มีความสำคัญเพื่อให้ได้ยาที่มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานตามเภสัชตำรับ หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญ คือ
การบรรจุยา
ในอดีตยาน้ำใช้ภายนอกและยาแชมพูบางรายการ กลุ่มงานผลิตยา จะผลิตในปริมาณ 30,000-
60,000 มิลลิลิตร (มล.)/ครั้ง และจะบรรจุยาลงในขวดแก้วสีชาขนาด 450 มล. โดยเภสัชกรในศูนย์บริการ
สาธารณสุขจะทำการแบ่งบรรจุยาลงในขวดพลาสติกขนาด 50 มล. หรือ 60 มล. เพื่อจ่ายให้แก่ผู้ป่วย
แตใ่ นปจั จบุ นั เพือ่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลติ ยาทด่ี ี (GMP) กลุ่มงานผลิตยา จะบรรจยุ าลงในขวดพลาสติก
ขนาด 60 มล. เพ่อื ใหศ้ นู ย์บริการสาธารณสุข สามารถนำไปจา่ ยแก่ผปู้ ว่ ยไดท้ นั ที
การบรรจยุ า สามารถดำเนินการได้ 2 วธิ ี คอื วธิ ีทใี่ ช้เครือ่ งจักรและวธิ ที ี่ใช้เจ้าหน้าท่ีบรรจุยาด้วย
มือ สำหรับเครื่องจักรบรรจุยาที่กลุ่มงานผลิตยามี จะสามารถบรรจุยาได้ในปริมาณการบรรจุขั้นต่ำ 100,000
มล.ข้นี ไป ดงั นั้นในกรณีการบรรจยุ าแชมพู จึงเลือกใช้วิธบี รรจยุ าด้วยมือ อย่างไรกต็ าม เนอ่ื งจากยาแชมพูน้ันมี
ลักษณะเป็นของเหลว มีความหนืดและมีกลิ่นเฉพาะตัว อีกทั้งการบรรจุยาลงขวดพลาสติกขนาด 60 มล.
ท่ีปากขวดพลาสตกิ แคบน้นั จะบรรจุไดย้ ากกวา่ การบรรจลุ งขวดแก้วสีชาปริมาณ 450 มล.จงึ ทำให้ยาแชมพหู ก
ในระหว่างการบรรจุ มียาแชมพูติดค้างในกระบอกตวง ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการบรรจุในระหว่างการตวง
เพื่อให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ นอกจากนี้การบรรจุยาด้วยเจ้าหน้าที่บรรจุมือ จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการบรรจุ
ประมาณ 3.5 ชั่วโมง (ชม.)/การผลิต 1 ครั้ง จากปัญหาที่กล่าวข้างต้น การบรรจุยาด้วยวิธีการใช้เครื่องจักร
จึงเป็นวิธีที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตามการจัดซื้อเครื่องจักรสำหรับบรรจุยาในปริมาณการบรรจุที่น้อยกว่า
100,000 มล. ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) อาจต้องใช้
งบประมาณหลายหมน่ื ถึงแสนบาท ซึง่ ต้องพิจารณาความเหมาะสมและความคุ้มคา่ ของการจัดซ้ือ
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนักอนามยั ปี 2565 36
ด้วยเหตุนี้การประยุกต์สร้างเครื่องบรรจุแชมพู จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ทีมผู้พัฒนามี
แนวคิดที่จะทำให้การบรรจุยาแชมพูนี้ สามารถบรรจุยาแชมพูได้ในปริมาณการบรรจุที่ต้องการและลดการ
สญู เสยี ยาในระหว่างการบรรจุ นอกจากนจ้ี ะต้องลดระยะเวลาในการบรรจไุ ด้
แนวคิดการพัฒนา
โดยท่วั ไปเครอ่ื งบรรจยุ าแชมพูหรือเครือ่ งบรรจขุ องเหลวนัน้ มีหลกั การคอื
1. ใชร้ ะบบความดันสมดุล (balance-pressure filler) ซ่ึงแบง่ ไดเ้ ปน็
1.1 gravity filler เป็นระบบที่อาศยั แรงโนม้ ถ่วงในการขบั เคลอื่ นให้ของเหลวไหลจากถังเก็บลงสู่
ภาชนะบรรจหุ รือบรรจภุ ัณฑ์
1.2 gravity-vacuum filler เป็นระบบที่ใช้สุญญากาศต่ำที่อยู่ในถังเก็บของเหลวซึ่งปิดสนิทเมื่อ
ภาชนะบรรจุสมั ผัสกับหัวจา่ ย วาลว์ จะเปิดออกและความดันในภาชนะบรรจุจะชว่ ยผลกั ของเหลวสบู่ รรจุภัณฑ์
2. ใช้ระบบความดันไมส่ มดุล (unbalance-pressure filler) เปน็ ระบบทคี่ วามดันเหนือของเหลว
ที่จะบรรจุและความดันในท่อระบายอากาศจากภาชนะบรรจุมีความแตกต่างกัน จึงทำให้สามารถบรรจุ
ของเหลวลงภาชนะบรรจหุ รอื บรรจภุ ัณฑไ์ ด้
ด้วยหลักการข้างต้นที่กล่าวมานั้น คณะทีมผู้พัฒนานวัตกรรม จึงใช้หลักการของ gravity filler
ในการประยุกต์สรา้ งเคร่ืองบรรจุยาแชมพู เนื่องจากเป็นระบบทีง่ ่าย ไม่ต้องใช้เครือ่ งมือหรอื อุปกรณ์ทีซ่ ับซ้อน
อาศัยใช้แรงโน้มถว่ งในการขับเคลื่อนให้ของเหลวไหลจากถงั เก็บสู่ภาชนะบรรจุหรอื บรรจุภัณฑ์ ความแตกต่าง
ของความดันจะเกิดจากระดับของถังเกบ็ และภาชนะบรรจุ ตำแหน่งการวางถังเก็บยาแชมพูจะอยู่ในตำแหน่งที่
สูงกวา่ ภาชนะบรรจหุ รือบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้การสร้างเคร่ืองบรรจยุ าแชมพู จะสรา้ งจากวสั ดุที่เข้ากันได้และ
ไมท่ ำปฏกิ ิริยากับยาแชมพู หรือจะสร้างจากอปุ กรณท์ ีม่ อี ยู่ เพ่อื ให้เกดิ การใชป้ ระโยชน์ท่ีค้มุ คา่ ท่สี ุด
วธิ ีดำเนินการ/ขนั้ ตอนการพัฒนา
1. ศกึ ษาลกั ษณะเครื่องจักรบรรจทุ ม่ี ีอยู่ และทดลองออกแบบเคร่ืองบรรจุดว้ ยการใช้แกลลอนน้ำดื่ม
2. ทดลองใชแ้ กลลอนน้ำดื่มในการเปน็ เคร่ืองบรรจยุ าแชมพู
2.1 นำแกลลอนนำ้ ด่ืมขนาด 5 ลติ ร มาตัดบรเิ วณก้นแกลลอน เพือ่ ใช้เป็นถังเก็บยาแชมพู ใน
ขณะเดยี วกนั กจ็ ะสามารถเติมแชมพยู าเพิ่มเติมได้ กรณที ี่ต้องการบรรจุเพิ่ม
2.2 บริเวณฝาเปิดแกลลอนน้ำดื่ม จะถูกต่อด้วยพลาสติก PVC ขอ้ งอ และถูกต่อด้วยก๊อกน้ำ
แบบคนั โยก
3. ทดลองนำเครื่องบรรจุยาแชมพูที่สร้างจากแกลลอนน้ำดื่ม มาลองบรรจุยาแชมพู พร้อมจับ
เวลา
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 37
4. ประดิษฐ์เครื่องบรรจุยาแชมพู ด้วยการเปลี่ยนจากแกลลอนน้ำดื่มขนาด 5 ลิตร เป็นถังแส
ตนเลส ขนาด 50 ลติ ร เพ่ือให้เพยี งพอตอ่ การผลติ ยาแชมพใู น 1 ครัง้ การผลติ
4.1 ตรวจสอบถังสแตนเลสที่ไม่ไดใ้ ชง้ าน ชำรุด และเปน็ ครุภณั ฑท์ ห่ี มดสภาพ
4.2 นำถงั สแตนเลสทีไ่ มไ่ ด้ใช้งานนั้น มาซ่อมรอยร่ัว โดยการเชือ่ มบรเิ วณที่ร่ัว
4.3 เปลยี่ นขอ้ งอให้เป็นขอ้ เกลียวและเป็นวัสดุทท่ี ำจากสแตนเลส 316L ซึ่งเป็นสแตนเลสท่ี
สามารถใชก้ ับยาได้ และทนการกัดกรอ่ นไดด้ ี
4.4 เปลี่ยนกอ๊ กนำ้ แบบคันโยกใหเ้ ปน็ วัสดุทีท่ ำจากสแตนเลส 316L
5. ทดลองบรรจุยาแชมพดู ้วยถงั สแตนเลส ขนาด 50 ลิตร โดยบรรจยุ าแชมพปู ริมาณ 40 ลิตร
6. จับเวลาการบรรจแุ ละคำนวณร้อยละการสูญเสยี ระหวา่ งบรรจุ
7. สรปุ ผลการดำเนินการ
รูปประดษิ ฐ์แกลลอนน้ำดมื่ ให้เปน็ เคร่ืองบรรจยุ าแชมพู
สำรวจถังสแตนเลสท่ชี ำรุด ครภุ ัณฑ์เสือ่ มสภาพ
เชอ่ื มรอยรัว่ บรเิ วณข้อตอ่ ถงั และเช่ือมท่อเกลียวเพ่ือเป็นตวั สวมก๊อกสแตนเลส
เครอ่ื งบรรจยุ าแชมพทู ี่ทำจากถังสแตนเลส วัสดุ 316 L
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 38
การมสี ว่ นรว่ ม/บทบาทของทมี
- นางสาวปฐมา ดอนจนั ทรท์ อง
ทำหน้าที่จัดหาถังสแตนเลส ข้อเกลียวสแตนเลส และก๊อกสแตนเลส โดยใช้วัสดุสแตนเลสชนิด
316L วางแผนและออกแบบการทดลอง ตลอดจนการนำเสนอเครอื่ งบรรจุยาแชมพู
- นายสชุ าครีย์ สขุ สวาสดิ์ และ นายปทาน สมคั รกสิกิจ
ทำหน้าที่ในการประดิษฐ์สร้างเครื่องบรรจุยาแชมพู ตั้งแต่ประดิษฐ์จากถังนำดื่มตลอดจนการ
เชอื่ มถังสแตนเลสให้กลับมาใช้ไดอ้ ีกครั้ง และเชือ่ มดว้ ยข้อเกลียว ก๊อกสแตนเลส เพือ่ ให้สามารถใช้งานบรรจุได้จริง
งบประมาณ/แหลง่ งบประมาณดำเนินการ
-
ระยะเวลาดำเนินการ
ดำเนินการต้ังแต่กมุ ภาพันธ์ 2564- ปัจจุบัน
ผลทีเ่ กิดขนึ้ /ทป่ี รากฏจากการนำผลงานไปใช้
1. เครอื่ งบรรจยุ าแชมพูท่ีถูกประดิษฐ์จากถังสแตนเลสน้ี สามารถลดการสูญเสีย (เฉล่ีย) ระหว่าง
การบรรจุไดร้ อ้ ยละ 60.00 (รายละเอยี ดดังตารางที่ 1)
2. เครื่องบรรจุยาแชมพูที่ถูกประดิษฐ์จากถังสแตนเลสนี้ สามารถลดระยะเวลาการบรรจุได้ร้อย
ละ 35.70 (รายละเอยี ดดังตารางท่ี 1)
ตารางท่ี 1 เปรียบเทยี บรายการทดลองต่างๆระหว่างวิธกี ารบรรจดุ ้วยมอื และดว้ ยเคร่อื งบรรจทุ ี่ประดิษฐ์
รายการทดลอง วิธีการบรรจุ ร้อยละทีล่ ดลง
การสูญเสีย(เฉล่ยี )ระหว่างการบรรจุ (ร้อยละ) ดว้ ยมือ ดว้ ยเคร่ืองบรรจทุ ่ีประดษิ ฐ์
ระยะเวลาเฉลย่ี ในการบรรจุ(ชม.)
5.50 2.20 60.00
3.50 2.25 35.70
ประโยชน์/คุณค่าของนวตั กรรม ทัง้ ระดับบคุ คล หน่วยงาน/ชมุ ชน และประชาชน
ระดบั หนว่ ยงาน
การสรา้ งประยกุ ต์เครื่องบรรจยุ าแชมพู ทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
- เป็นการใช้ทรัพย์สินของราชการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพให้
กลบั มาใชใ้ หม่ได้อีกครง้ั
- ลดการสูญเสียยาแชมพูในระหวา่ งการบรรจุ ทำใหไ้ ด้ปริมาณการบรรจุใกล้เคยี งตามทฤษฎีมากทส่ี ดุ
- ลดการใช้เจ้าหน้าทใ่ี นข้นั ตอนการบรรจุ ทำให้มีเจ้าหน้าท่สี ามารถไปทำงานในขน้ั ตอนอ่ืนได้
- มีระยะเวลามากข้นึ ท่ีจะเตรยี มงานสำหรบั ผลติ ยารายการอ่ืนได้
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2565 39
ระดับหนว่ ยงาน (ตอ่ )
- การไหลของงานในขั้นตอนการบรรจุ เช่น การปิดฝาขวด การสวมพลาสติก seal ฝาขวด การ
เปา่ ลมร้อนบรเิ วณฝาขวด seal ตลอดจนการตดิ ฉลากบรรจุ เปน็ ไปอยา่ งราบรืน่ และรวดเรว็
- งานเภสัชกรรมในศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด 69 แห่ง มีความสะดวกในการเบิกจ่ายยา
แชมพู ตลอดจนไมต่ อ้ งแบง่ บรรจุยาในศูนย์บรกิ ารสาธารณสุขต่อไป
- เจ้าหน้าที่มีความภูมิใจในการสร้างสิ่งประดิษฐ์สำหรับเครื่องบรรจุยาแชมพูและมีความสะดวก
ในการทำงาน
ระดบั ประชาชน
ประชาชนหรือผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย จะได้รับยาที่มี
ประสิทธิภาพตามมาตรฐานเภสัชตำรับ และมีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือในการรักษาสูงขึ้น เนื่องจาก
ภาพลกั ษณ์และความเป็นเอกลกั ษณข์ องยาจะมีความนา่ ใช้ ดูสวยงาม
ขอ้ เสนอในการพฒั นาต่อยอด
ในอนาคต จะทดลองนำเครื่องปั๊มมาช่วยควบคุมการบรรจุให้สามารถกำหนดอัตราเร็วได้
แต่อย่างไรกต็ ามอย่ใู นระหวา่ งการศึกษา หาข้อมลู การทำงานของเครือ่ งจกั รบรรจตุ ่อไป
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 40
ช่อื นวตั กรรม แผ่นปิดวดั สายตา Disposible
นวัตกรรมด้าน สิ่งประดษิ ฐ์ (Product)
ผพู้ ัฒนานวัตกรรม
1. นางสาวเรวดี เยาวะ พยาบาลวิชาชพี ปฏบิ ัติการ
2. นางอรวรรณ ลขิ ติ พรสวรรค์ พยาบาลวชิ าชีพชำนาญการพิเศษ
3. นางสาวสุวนันท์ แก้วศรบี ุตร พนกั งานชว่ ยงานด้านสาธารณสุข
ศูนย์บรกิ ารสาธารณสขุ 16 ลุมพินี โทรศัพท์ 02 2527776 ต่อ 205 โทรสาร 022520775
E-mail: [email protected]
ท่มี า และแรงบันดาลใจในการจดั ทำผลงาน
งานอนามัยโรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี มีหน้าท่ีรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพ
อนามัยของนักเรยี นในโรงเรยี นท่ีอยู่ในพ้นื ที่รบั ผิดชอบ มกี ารใหบ้ รกิ ารเชงิ รุกโดยการตรวจวัดสายตาเพื่อค้นหา
ความผิดปกติทางสายตา แต่จากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID19 การใช้ไม้ปิดวัดสายตา
ร่วมกันถือเป็นจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากเป็นจุดสัมผัสร่วม จำเป็นต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์
ทกุ ครง้ั หลงั การใชง้ าน และตอ้ งใช้ระยะเวลาในการรอให้แอลกอฮอลร์ ะเหยใหห้ มดเพ่ือประสิทธภิ าพท่ีดีต่อการ
ทำลายเชอื้ โรค ทำให้เกดิ ความล่าชา้ ในการตรวจ และไอระเหยของแอลกอฮอล์อาจก่อใหเ้ กดิ ความระคายเคือง
ต่อดวงตาไดห้ ากนำไปใช้ในขณะทีแ่ อลกอฮอลย์ ังระเหยไม่หมด
จากปัญหาดังกล่าว งานอนามัยโรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี จึงพัฒนานวัตกรรม
“แผ่นปิดวัดสายตา disposable” โดยนำมาใช้ในการตรวจวัดสายตาแทนไม้ปิดวัดสายตาแบบเดิม
เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยการลดจุดสัมผัสร่วมกัน เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการตรวจ และ
ป้องกันอาการระคายเคอื งจากแอลกอฮอล์ระเหยเขา้ ตา
แนวคดิ การพัฒนา
1. ทฤษฎที ี่ใช้ประกอบการพฒั นาผลงาน
1.1 หลักการปอ้ งกนั การแพรก่ ระจายเชือ้ ตามแนวทางขององค์การอนามยั โลก ในกรณีโรคติด
เชื้อไวรัส COVID 19 สามารถติดต่อได้โดยการการหายใจรับเอาฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากการไอ
หรือจาม การสัมผัสสารคัดหลั่งดังกล่าวเข้าทางเยื่อบุตา จมูก และปาก ดังนั้น การป้องกันการสัมผัสและฝอย
ละอองขนาดใหญ่ (contact and droplet precaution) จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการให้บริการวัดสายตาแก่เด็ก
นกั เรียนทุกคน ไดแ้ ก่ การล้างทำความสะอาดมอื การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพอ่ื ป้องกนั การเว้น
ระยะห่างของผู้รับบริการต่อคนอย่างน้อย 1 เมตร การทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์อย่างปลอดเชื้อ และ
การพิจารณาใช้วัสดอุ ุปกรณแ์ บบใช้ครัง้ เดยี วแล้วท้งิ เพ่อื ลดจดุ ท่ตี อ้ งสัมผสั อปุ กรณร์ ่วมกนั
โครงการนวตั กรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565 41
1.2 หลักการวงจร PDCA หรอื วงจรของเดมม่ิง (Deming Cycle)
โดยการวางแผนงาน (P: PLAN) ปฏิบัติงานตามแผน (D: DO) ตรวจสอบการ
ทำงานทปี่ ฏบิ ัติ (C: CHECK) แก้ไขข้อบกพร่อง พัฒนางานใหด้ ขี ้ึน (A: ACTION)
แล้วนำมาวางแผนใหม่ ปฏิบัติ ตรวจสอบ และแก้ไขพัฒนาต่อ เป็นอย่างนี้
ตอ่ เนอ่ื งกันไป เพ่อื ใหง้ านน้นั ดขี น้ึ บรรลุตามเป้าหมายทไี่ ดว้ างไว้
ตัวช้วี ัด
1. รอ้ ยละ 90 ของนกั เรียนไดร้ ับการตรวจวัดสายตาครบถว้ นตามเวลาท่ีกำหนด
2. ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับการตรวจวัดสายตาตามมาตรฐานป้องกันการแพร่กระจายเช้ือ
COVID 19
3. รอ้ ยละ 90 ของนกั เรียนท่ไี ด้รับการตรวจวดั สายตาไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ
4. ร้อยละ 80 ของนกั เรยี นพงึ พอใจต่อนวัตกรรมอยู่ในระดบั มาก - มากท่ีสุด
กลุ่มเปา้ หมาย
นักเรียนที่เข้ารับบริการตรวจวัดสายตาที่อยู่ในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการ
สาธารณสขุ 16 ลมุ พินี จำนวน 1,500 คน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจวัดสายตาอย่างปลอดภัยจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส
COVID 19
2. เพื่อให้การตรวจวัดสายตาในโรงเรียนมีความสะดวก รวดเรว็ มากขน้ึ และลดภาวะแทรกซ้อน
ในการตรวจ
วิธีการดำเนนิ งาน/ขนั้ ตอนการพัฒนา
1. ข้ันวางแผนงาน/เตรยี มการ
1.1 ประชุมวางแผนคิดค้นนวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนการให้บริการตรวจวัดสายตา ตาม
แนวทางปอ้ งกันการแพร่กระจายเชอ้ื ของไวรัส COVID 19
1.2 ออกแบบนวัตกรรม และจดั เตรียมอุปกรณท์ ใี่ ช้ในการประดษิ ฐ์
1.3 จดั ทำนวัตกรรม “แผน่ ปิดวดั สายตา disposable”
1.4 นำนวัตกรรมไปทดลองใช้ แก้ไขปรับเปลย่ี นขนาดใหเ้ หมาะกบั การใชง้ านจริง
2. ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน
2.1 ประสานงานกบั โรงเรียนเพ่อื นัดหมายวันท่ใี หบ้ รกิ ารตรวจวดั สายตา
2.2 นำนวัตกรรมทป่ี รับพรอ้ มใช้งานมาใชใ้ นการตรวจวดั สายตากบั กลุ่มเปา้ หมายจริง
2.3 ประเมินความพึงพอใจของผู้รบั บริการในการใชน้ วตั กรรม
2.4 สรปุ ผลการดำเนนิ งาน
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 42
วัสดแุ ละอปุ กรณใ์ นการประดษิ ฐ์นวัตกรรม
1. กระดาษขาวA4
2. กรรไกร
3. ซองสำหรับใสข่ องนึ่งฆา่ เชอ้ื
4. ทรานสปอร์/ไมโครปอร์
วิธที ำ/ ขั้นตอนการทำนวัตกรรม
ออกแบบนวัตกรรม ตัดกระดาษตามแบบ ตดิ เทป นำไปทดลองใช้
แกไ้ ขปรบั ปรุงขนาดให้เหมาะสม นง่ึ ฆ่าเช้ือ เตรยี มอปุ กรณ์ตรวจ
นำนวัตกรรมไปใชง้ านจริง
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 43
การมีสว่ นรว่ มของทีมงาน/บทบาทของทีม
1. มีการประชุมทีม เพื่อคิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์นำมาใช้ โดยยึดหลักการป้องกันการ
แพร่กระจายเช้อื และปลอดเชื้อตามแนวทางขององค์การอนามยั โลก
2. สร้างนวัตกรรมจากวัสดทุ ีห่ าได้ง่าย มคี วามเหมาะสมตอ่ การใชง้ าน และราคาตน้ ทุนไม่แพง
3. นำนวัตกรรมมาทดลองใช้ รว่ มกนั แก้ไขปรับปรุงผลงานให้เหมาะสมกับการใช้งานตามหลัก PDCA
4. ร่วมกนั สรปุ ผลความพงึ พอใจของผ้รู บั บริการ เพ่อื นำมาพฒั นาต่อยอดนวัตกรรม
งบประมาณ/แหล่งงบประมาณดำเนินการ
ขอรับการสนับสนุนจากศนู ยบ์ ริการสาธารณสขุ 16 ลมุ พินี เป็นกระดาษ A4 จำนวน 150 แผ่น
ระยะเวลาดำเนนิ การ
1 มิถนุ ายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
ผลท่เี กดิ จากการนำผลงานไปใช้
1. นักเรยี นได้รับการตรวจวัดสายตาอยา่ งปลอดภยั ต่อการตดิ เชื้อไวรสั COVID 19 จากการลดจุด
สมั ผัสรว่ มกนั ของอปุ กรณ์ทีใ่ ช้วดั สายตา
2. การตรวจวัดสายตาในโรงเรียนมีความสะดวก รวดเร็ว มากขึ้น ลดระยะเวลาในการทำความ
สะอาดแผน่ ปดิ ตา และรอแอลกอฮอล์ระเหยในแตล่ ะครัง้ ก่อนนำไปใช้
3. ลดภาวะแทรกซอ้ นจากแอลกอฮอล์ระเหยเข้าตา
4. นักเรียนมีความพึงพอใจในการให้บริการตรวจวัดสายตาเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องความรู้สึก
ปลอดภัย ความสะดวก รวดเรว็ ในการตรวจ
5. ทมี ผพู้ ฒั นานวัตกรรมได้เรียนร้ทู กั ษะกระบวนการคิดและทำงานเป็นทีมอย่างเปน็ ระบบ
6. ประหยัดงบประมาณ สร้างนวัตกรรรมจากวัสดุที่หาได้ง่าย ต้นทุนไม่แพง และสามารถนำ
นวตั กรรมไปพฒั นาตอ่ ยอดได้
ประโยชน์ของนวตั กรรม ท้งั ระดบั บคุ คล หน่วยงาน และประชาชน
1. นกั เรียนได้รับการตรวจวดั สายตาอย่างปลอดภยั จากความเสย่ี งต่อการติดเชอ้ื ไวรัส COVID 19
2. การตรวจวดั สายตาในโรงเรียนมคี วามสะดวก รวดเรว็ มากขึ้น ไม่เกดิ ภาวะแทรกซ้อนจาการตรวจ
3. ลดตน้ ทนุ ในการใช้สำลีและแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดแผน่ ไม้ปิดวัดสายตา
4. ลดต้นทนุ ในการทำลายขยะติดเชือ้ เนื่องจากแผน่ กระดาษทำลายง่ายกว่ากอ้ นสำลี
ขอ้ เสนอในการพฒั นาต่อยอด
1. เพ่ิมความหนาและแขง็ แรงของกระดาษที่นำมาใช้ทำแผ่นปดิ วดั สายตา
2. พัฒนารปู แบบนวตั กรรมให้สามารถใช้งานไดม้ ากข้นึ เช่น ใชแ้ ผ่นกระดาษเจาะรูให้มีขนาดเท่า
แผน่ pin hole เพื่อใช้เปน็ pin hole disposable ในกรณที ีน่ ักเรยี นมปี ัญหาเร่ืองการมองเหน็ และต้องการวัด
สายตาโดยการมองผา่ น pin hole
โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสขุ สำนกั อนามยั ปี 2565 44
ชื่อนวัตกรรม โปรแกรมลงทะเบยี นและตรวจสอบสทิ ธิผ์ ้มู ารบั บริการด้วยบัตรประชาชน
นวัตกรรมดา้ น สง่ิ ประดิษฐ์ (Product)
ผพู้ ัฒนานวัตกรรม
ศนู ยบ์ รกิ ารสาธารณสขุ 29 ชว่ ง นุชเนตร โทรศพั ท์ 02-4766493 โทรสาร 02-4766628
E-mail: [email protected]
ท่มี าและแรงบนั ดาลใจในการจัดทำผลงาน
ปลายปีงบประมาณ 2562 พนักงานวางแผนครอบครัวเกษียณอายุราชการและไม่ได้รับการคืน
ตำแหน่ง ทำให้บุคลากรที่ช่วยปฏิบัติงานห้องเวชระเบียนมีจำนวนลดลง ประกอบกับในห้องเวชระเบียนพบ
ปัญหาการใหบ้ ริการหลายดา้ น ไดแ้ ก่
1. ผู้รับบรกิ ารไม่นำบตั รประชาชนมาทำใหไ้ ม่สามารถตรวจสอบยีนยนั บุคคลจากรปู ถ่ายได้
2. ผู้รับบริการไม่นำบัตรประจำตัวผู้ป่วยมา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องคีย์เลขบัตรประชาชนในระบบ
เพื่อหาเลขท่เี วชระเบยี น สำหรับการค้นหาเวชระเบียนจากตู้ ทำให้เพิ่มขัน้ ตอนและเวลาในการค้นหาบัตร และ
หากเจา้ หน้าทค่ี ยี เ์ ลขบตั รประชาชนผิด อาจทำใหค้ น้ เวชระเบยี นผดิ คนได้
3. เจา้ หนา้ ทีค่ น้ เวชระเบียนไม่พบเนอ่ื งจากไมท่ ราบวันเวลาครัง้ สุดท้ายที่ผปู้ ว่ ยมารบั บรกิ าร
4. เจา้ หนา้ ท่ีไม่ไดต้ รวจสอบสิทธิ์ใหมท่ กุ ครง้ั ทำใหส้ ิทธขิ์ องผู้ปว่ ยผิดพลาด โดยเฉพาะกรณีสิทธ์ิเบิกจ่ายตรง
แนวคดิ การพฒั นา
เนื่องจากข้อจำกัดด้านอัตรากำลังและงบประมาณในการจัดจ้างบุคคลภายนอก ประกอบกับ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร มีผู้มารับบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการให้บริการ
ล่าช้าและเกิดข้อผิดพลาดในการให้บริการ จึงมีแนวคิดในการนำโปรแกรมเข้ามาช่วยในการให้บริการ เพื่อลด
ระยะเวลาการรอคอยและข้อผดิ พลาด
วัตถปุ ระสงค/์ เปา้ หมาย
ลดขัน้ ตอน ลดระยะเวลา ลดข้อผิดพลาดในการให้บรกิ าร ดว้ ยจำนวนบคุ ลากรท่ีลดลง
วิธีดำเนินการ/ขัน้ ตอนการพฒั นา
1. ศึกษารวบรวมกระบวนการและข้นั ตอนการให้บริการห้องเวชระเบยี น รวมถึงปัญหาในจุดอื่นๆ
ท่เี กี่ยวข้องกบั ระบบเวชระเบียน
2. จดั เกบ็ ข้อมลู พื้นฐานเพือ่ ใชเ้ ปรยี บเทยี บก่อน-หลัง ดำเนินการ
3. จดั ทำโปรแกรม
4. ทดสอบระบบการใช้งานของโปรแกรม
5. สอบถามปัญหาการใช้งานจากเจ้าหนา้ ท่ีและปรับแกใ้ หเ้ หมาะสมกับหนา้ งาน
6. ใชง้ านจริงเต็มรปู แบบ
7. ตดิ ตามและประเมินผลการใช้งาน
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามยั ปี 2565 45
การมสี ่วนรว่ ม/บทบาทของทมี
1. เจา้ หนา้ ทท่ี กุ ฝ่ายรวบรวมขั้นตอนและปัญหาของระบบห้องเวชระเบียนทีผ่านมา รวมถึง
ปัญหาท่เี กดิ ข้นึ ในจุดอืน่ ๆทเ่ี ก่ียวเนอ่ื งกับระบบเวชระเบยี น เชน่ งานชันสตู ร งานการเงนิ
2. เจา้ หนา้ ท่ีท่มี ีความสามารถดา้ นระบบสารสนเทศและพนักงานชว่ ยงานด้านสารสนเทศ เปน็ ผู้มี
บทบาทสำคญั ในการสรา้ งและพัฒนาโปรแกรม ติดตามแก้ไชปญั หาทเี่ กดิ ขึน้ จากการปรบั ปรุงระบบ
งบประมาณ/แหล่งงบประมาณดำเนินการ
1. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร ในการ
จดั ซ้ืออปุ กรณท์ ีเ่ กยี่ วข้อง ไดแ้ ก่ คอมพวิ เตอร์ เคร่ืองอา่ นบตั รประชาชน เคร่ืองพมิ พค์ วามร้อน
2. โปรแกรมได้รับการพัฒนาโดยบุคลากรของศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร (ไม่มี
ค่าใชจ้ า่ ย)
ระยะเวลาดำเนนิ งาน
ลำดบั ข้นั ตอน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1 ศึกษารวบรวม
กระบวนการและขั้นตอน
การให้บริการห้องเวช
ระเบียน รวมถงึ ปัญหาใน
จุดอื่นๆท่เี ก่ียวข้องกับ
ระบบเวชระเบยี น
2 จัดเก็บขอ้ มลู พื้นฐานเพ่อื
ใชเ้ ปรียบเทยี บก่อน-หลงั
ดำเนนิ การ
3 จดั ทำโปรแกรม
4 ทดสอบระบบการใช้งาน
ของโปรแกรม
5 ใชง้ านจริงเต็มรปู แบบ
ตดิ ตามและประเมินผล
การใชง้ าน
6 สอบถามปญั หาการใช้
งานจากเจ้าหนา้ ทแ่ี ละ
ปรบั แก้ใหเ้ หมาะสมกับ
หน้างาน
โครงการนวตั กรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสุข สำนกั อนามัย ปี 2565 46
ผลท่เี กดิ ข้นึ / ท่ีปรากฏจากการนำผลงานไปใช้
1. ลดอบุ ัติการณผ์ รู้ ับบริการไมน่ ำบัตรประชาชนมายน่ื
2. ลดขนั้ ตอนในการให้บริการของห้องเวชระเบียน
3. ลดระยะเวลาในการเร่ิมงานของจดุ ใหบ้ รกิ ารต่างๆ ท้ังจุดเตรียมตรวจ หอ้ งตรวจ ห้องจ่ายยา
4. ลดอบุ ัติการณผ์ ู้ปว่ ยค้างชำระเงนิ คา่ ตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว
5. ลดโอกาสท่ีบัตรประชาชนผู้รับบริการสญู หาย
6. ผู้ปว่ ยมีบตั รควิ ถอื และทราบสทิ ธิ์ของตนเอง
ประโยชน์/คณุ คา่ ของนวตั กรรมทัง้ ระดับบคุ คลหน่วยงาน/ชุมชนและประชาชน
โปรแกรมลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์ เป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลด
ระยะเวลาในการให้บริการ ลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (human error) ลดจำนวนบุคลากรและ
งบประมาณที่ตอ้ งใชใ้ นการดำเนนิ การ
ขอ้ เสนอในการพัฒนาตอ่ ยอด
โปรแกรมสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเลข 13 หลักจากบัตรประชาชนไปยังฐานข้อมูลอื่นๆ ในระบบ
HCIS ได้ หากพัฒนาโปรแกรมไปยังข้อมูลส่วนอื่นๆ เช่น ประวัติการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกครั้งสุดท้ายใน
สตรี ประวัตกิ ารรับวคั ซนี ในเด็ก เมอื ผ้ปู ว่ ยมารบั บริการ โปรแกรมสามารถแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่
สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้มารับบริการ เพื่อรับการตรวจภายในหรือรับวัคซีนที่เลยกำหนดนัดได้ โดยไม่ต้อง
สบื คน้ ข้อมลู ในระบบ
โครงการนวัตกรรมทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ สำนักอนามัย ปี 2565 47