The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ไพลิน ทันโหศักดิ์_วิจัยในชั้นเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 105 ไพลิน ทันโหศักดิ์, 2024-01-29 21:42:05

วิจัยในชั้นเรียน

ไพลิน ทันโหศักดิ์_วิจัยในชั้นเรียน

การใช้นิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค(MIA) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตุ Using English Stories to Develop English Reading Comprehension Skills through Murdoch Integrated Approach (MIA) for Grade 3 Students ไพลิน ทันโหศักดิ์ วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


การใช้นิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค(MIA) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตุ Using English Stories to Develop English Reading Comprehension Skills through Murdoch Integrated Approach (MIA) for Grade 3 Students ไพลิน ทันโหศักดิ์ วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน การใช้นิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค(MIA) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตุ ผู้วิจัย นางสาวไพลิน ทันโหศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์กรรณิการ์ บุญขาว ครูพี่เลี้ยง นางสุภาวดี ปิ่นวนิชย์กุล อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานีอนุมัติให้นับวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิชาภาษาอังกฤษ .................................................................. หัวหน้าสาขาวิชา (อาจารย์บุรัชต์ ภูดอกไม้) วันที่.......…เดือน…….…………พ.ศ…………… คณะกรรมการผู้ประเมินรายงานวิจัยในชั้นเรียน .................................................................................. อาจารย์ที่ปรึกษา (อาจารย์กรรณิการ์ บุญขาว) .................................................................................. ครูพี่เลี้ยง (นางสุภาวดี ปิ่นวนิชย์กุล) .................................................................................. หัวหน้าฝ่ายวิชาการ (นางอิศราวรรณ ปราบพาล)


บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การใช้นิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค(MIA) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตุ ผู้วิจัย นางสาวไพลิน ทันโหศักดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์กรรณิการ์ บุญขาว ปีการศึกษา 2566 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อนิทานภาษาอังกฤษที่ ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตุ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการ จัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผนรวม 10 คาบ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( x̅) และการทดสอบค่าที (ttest) แบบ Dependent Sample Test ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้นิทาน ภาษาอังกฤษ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 52.083. และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้นิทาน ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.55, S.D. = 0.063) คำสำคัญ : วิธีการสอนของเมอร์ด็อค, หนังสือนิทานภาษาอังกฤษ, ความสามารถด้านการอ่านภาษอังกฤษ


Abstract Title Using English Stories to Develop English Reading Comprehension Skills through Murdoch Integrated Approach (MIA) for Grade 3 Students Author Pailin Tanhosak Advisor Kannikar Boonkhaos Academic Year 2023 The purposes of this research were 1) to compare before and after learning results. 2) to study the satisfaction of Grade 3 students with English stories created by teachers for teaching. The sample of this research derived from purposive sampling, consisted of 24 Grade 3, studying in the second semester of the academic year 2022 of Ban Nongtu School. The instruments used in this research were 1) the lesson plans 2) the achievement test for before and after results 30 items. The data was statistically analyzed by mean, standard deviation and dependent sample t-test. Research finding showed that student learning achievement after learning was 49.02 percent higher than before learning using storybooks. Satisfaction is at the highest level (= 4.55, S.D. = 0.063) Keyword: Murdoch Integrated Approach, Storybook, English Reading Ability


กิตติกรรมประกาศ การดำเนินการจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจาก อาจารย์ทีปรึกษาวิทยานิพนธ์คืออาจารย์กรรณิการ์ บุญขาว ให้การดูแลและคำแนะนำอย่างดียิ่ง ตลอดจนการ ตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่อง ต่าง ๆ จนกระทั่งการจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ผู้วิจัยขอกราบ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบคุณอาจารย์ผู้สอนในชั้นเรียนที่ให้คำชี้แนะ ให้ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะความรู้แบบ บูรณาการสามารถนำมาใช้ได้จริงในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดียิ่ง รวมถึงประธานสาขา สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ อาจารย์บุรัชต์ ภูดอกไม้ ทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสอันดีในครั้งนี้และขอบคุณเพื่อนร่วมชั้นเรียน อีกทั้ง ความช่วยเหลือด้วยมิตรภาพ ด้วยความจริงใจเป็นอย่างดีผู้วิจัยจึงขอขอบพระคุณผู้มีอุปการคุณดังกล่าวไว้ ณ โอกาสนี้เป็นอย่างยิ่ง ผู้วิจัยจึงขอขอบพระคุณผู้มีอุปการคุณดังกล่าวไว้ณ โอกาสนี้เป็นอย่างยิ่ง ไพลิน ทันโหศักดิ์


สารบัญ บทที่ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ........................................................................................................ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ...................................................................................................... กิตติกรรมประกาศ ......................................................................................................... สารบัญ ..................................................................................................................... ...... บทที่ 1 บทนำ ..................................................................................................................... . ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ........................................................... วัตถุประสงค์ของการวิจัย ................................................................................. สมมติฐานของการวิจัย ..................................................................................... ขอบเขตของการวิจัย ......................................................................................... นิยามศัพท์เฉพาะ .............................................................................................. ประโยชน์ที่จะได้รับ ......................................................................................... .. 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ............................................................................... หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551................................ เอกสารเกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ.................................. วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค ........................................................... เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิทาน .............................................................................. ความพึงพอใจ .................................................................................................. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .......................................................................................... 3 วิธีดำเนินการวิจัย .................................................................................................... กลุ่มเป้าหมาย ................................................................................................... รูปแบบในการทดลอง ....................................................................................... เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ................................................................................... การเก็บรวบรวมข้อมูล ...................................................................................... การวิเคราะห์ข้อมูล ........................................................................................... ก ข ค ง 1 1 3 3 3 5 6 7 7 8 17 22 31 33 37 37 37 38 40 40


สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................................. 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ......................................................................... สรุปผลการวิจัย ................................................................................................ อภิปรายผล ....................................................................................................... ข้อเสนอแนะ ..................................................................................................... เอกสารอ้างอิง .............................................................................................................. ... ภาคผนวก ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ............................................... ภาคผนวก ข เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ..................................................................... ภาคผนวก ค ประเมินเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.......................................................... ภาคผนวก ง ผลการประเมินเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................ ภาคผนวก จ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ......................................................................... ประวัติย่อของผู้วิจัย .............................................................................................................. 41 47 47 48 50 51 54 55 57 74 77 82 84


สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 1 การจัดการเรียนรู้โดยการใช้นิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ................................................................................................................... ตารางที่ 2 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจ โดยการใช้นิทานภาษาอังกฤษตามกระบวนการของเมอร์ด็อค(MIA) สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ................................................................................................................... ตารางที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านการ อ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการใช้นิทานภาษาอังกฤษ ตามกระบวนการของเมอร์ ด็อค(MIA) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3................................................................................. 42 44 45


1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทั่วโลกนั้นได้ใช้ภาษาอังกฤษในการเป็นสื่อกลางสำคัญที่สามารถใช้สื่อสาร ได้ทั่วโลก เป็นภาษาสำคัญที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ได้ กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไว้ว่า การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เป็นเครื่องมือสำคัญในการ ติดต่อแลกเปล่ียนข้อมูล สร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมโลก สามารถช่วยให้ นักเรียนพัฒนาตนเอง รวมถึงสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการ ดำรงชีวิต กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรภาษาต่างประเทศหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้อง กับ (เอกอนงค์ ปวง, 2550) ได้กล่าวไว้ว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ภาษาหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญที่ใช้สื่อความหมายได้ เกือบทั่วโลก เป็นภาษาท่ีใช้เป็นเครื่องมือในการรับและส่ง ข้อมูลด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ และการดำเนินชีวิต ประเทศไทยกำลังพัฒนาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยี และการใช้ความรู้เป็นฐานพัฒนา บุคคลในสังคมต้องติดต่อพบปะเพื่อดำเนินกิจกรรมทางสังคมและธุรกิจ ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน และกันทั้งใน ด้านการศึกษาหาข้อมูลความรู้ ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้กันมากภาษาหนึ่ง ประเทศไทยจึงมองเห็นอนาคตของคนไทย กับการใช้ภาษอังกฤษในยุคปัจจุบันสําคัญมากที่สุด และเกี่ยวข้องกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงาน เจ้าหน้าที่ และคนทํางานทุกสาขา และทุกอาชีพ ที่ปัจจุบันคนไทยจําเป็นต้องมีความรู้และมีความเข้าใจทักษะ ด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน เพราะทักษะภาษาอังกฤษช่วยพัฒนานักเรียน นิสิต นักศึกษา พนักงาน คนงาน และทุกอาชีพเพื่อโอกาส ที่ มีผลตามมาสําหรับผู้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษดีมาก (เจนจิรา ชัยปาน ทรายขวัญ พรมแก้ว และ สิทธิศรี นาญ. 2556) พระราชบัญญัติการปฎิรูปการศึกษาฉบับ 2551 มุ่งหวังจะพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการใช้ ภาษาอังกฤษในระดับที่ติดต่อสื่อสาร ทั้งแบบรับสารและส่งสาร อีกทั้งยังต้องให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบ สารสนเทศได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นก็ยังเน้นความรู้ความสามารถด้านวัฒนธรรมและทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน (Department of Academic Affairs, 2008, pp.1-2) ตาม ระบบการศึกษาของไทย ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึง ระดับอุดมศึกษา รวมแล้วคนที่เรียนจบปริญญาตรีในประเทศไทย จะใช้เวลาในการเรียนภาษาอังกฤษอย่าง น้อย 14 ปี แต่ก็ใช่ว่าเด็กไทยทุกคนจะรู้สึกสนุกสนานในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือรู้สึกว่าการเรียน ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่าย


2 การอ่านเป็นทักษะการสื่อสารความหมายระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านและในระหว่างที่อ่านจะมี ปฏิสัมพันธ์สำคัญบางอย่างระหว่างภาษากับความคิดเกิดขึ้นเรียกว่าเป็นกระบวนการทางสติปัญญา เมื่อผู้อ่าน พบสัญลักษณ์ที่เป็นภาษาเขียนก็ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะจดจำกลุ่มคำและรู้ความหมายของคำหรือกลุ่มคำนั้น ๆ โดยอาศัยกระบวนการต่างๆ เช่น การสรุปความหรือตีความ จนกระทั่งได้ความหมายจากสิ่งที่อ่านตามความ ต้องการของผู้เขียน (ภูมินทร์ เหลาอำนาจ, 2555, น.39) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นสาเหตุที่ทำให้ นักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบได้ เนื่องจากมีปัญหาในการอ่าน จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้าน อ่านภาษาอังกฤษที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบร่วมมือกับวิธีสอนแบบบูรณาการของ เมอร์ด็อค ถือเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน ภาษาอังกฤษซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนมีเป้าหมายเดียวกัน ให้ความสนใจในการทำงาน มีการฝึกปฏิบัติและทดสอบ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสอนที่จะมาแก้ไขปัญหาการอ่าน จึงพบว่า การอ่านโดยใช้หลักของเมอร์ด็อค (Murdoch Integrated Approach) หรือ MIA วิธีสอนของ เมอร์ ด็อคเป็นวิธีการสอนที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้พัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน และเป็นวิธีการสอนอ่านที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และ แก้ปัญหาเป็น ทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน และเห็นคุณค่า ของการอ่านนำไปสู่การเกิดนิสัย รักการอ่าน เกิดเจตคติที่ดีต่อการอ่าน ในการจัดกิจกรรมผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความ สะดวกและให้ความช่วยเหลือผู้เรียน ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือประสบปัญหาการอ่าน ผู้เรียนจะมีการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นเพื่อแสดงความสามารถในการสื่อความหมาย นอกจากนี้การพัฒนาความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษยังสามารถใช้นิทานเข้ามาช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ (วินัยนา สารสิทธิยศ, 2558, น.45) ที่ศึกษา เรื่องการ พัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทาน และวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของ เมอร์ด็อค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.02 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ใน ระดับมากที่สุด และจากการศึกษาเทคนิคการสอน ต่างๆ เทคนิคการสอนที่น่าสนใจและเหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ คือ การใช้นิทาน ในการแสวงหาข้อมูล หรือแปลความหมายของข้อมูล เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอยากรู้อยาก เห็นและช่วยให้เกิดความคิด (Cunningham, 1971, p.81) และนิทานยังทำให้ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมาย กันได้ดีขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของ ผู้เรียน (สุวิทย์ มูลคำและ อรทัย มูลคำ, 2545, น.86) เมื่อนำนิทานมาใช้ร่วมกับวิธีการสอนแบบบูรณาการของ เมอร์ด็อค จะช่วยกระตุ้นการคิด การใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์มากขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความ คิดเห็น ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน สนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น ตลอดจน ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัย (คะนึง นิจ รุ่งโรจน์, 2556, น.52) ที่ศึกษาเรื่องการพัฒนาการอ่านโดยใช้นิทาน


3 จากความเป็นมาดังกล่าวข้างต้นจึงได้เห็นความสำคัญและต้องการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยวิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคร่วมกับการใช้นิทานสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนบ้านหนองตุ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น มีเจตคติที่ดี ต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และได้จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ให้สูงขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของ เมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อนิทานภาษาอังกฤษที่ผู้สอนจัดทำ ขึ้นเพื่อประกอบการสอน สมมติฐานของการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ของความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ โดยการใช้นิทานภาษาอังกฤษ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรพถมศึกษา อุดรธานี เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 24 คน


4 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น คือ หนังสือนิทานภาษาอังกฤษ 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.2.1: ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2.2.2: ความพึงพอใจต่อนิทานภาษาอังกฤษที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการสอน 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย การใช้หนังสือนิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการของ เมอร์ด็อค (MIA) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหานิทานเพื่อใช้ใน การจัดการเรียนการสอน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 แผน แผนละ 5 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง หนังสือนิทานพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการสอนอ่าน ของเมอร์ด็อค (MIA) ชุดที่ 1 เรื่อง “Yummy food” 5 ชั่วโมง หนังสือนิทานพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่าน ของเมอร์ด็อค (MIA) ชุดที่ 3 เรื่อง “Playtime” 5 ชั่วโมง มีดังนี้ 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ใช้เวลาในการทดลอง ระหว่างวันที่ 12 ธันวาคม 2566 – 26 ธันวาคม 2566 จำนวน 2 หน่วยการเรียนรู้รวม 10 ชั่วโมง โดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน


5 นิยามศัพท์เฉพาะ กระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) หมายถึง กระบวนการขั้นตอนเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การถามนำก่อนการอ่าน 2) การทำความเข้าใจคำศัพท์3) การอ่านเนื้อเรื่อง 4) ทำความเข้าใจเรื่อง 5) การถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น 6) การทำแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยคและเรียง โครงสร้างอนุเฉท 7) การประเมินผลและการแก้ไข ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีการสอดแทรกและบูรณาการการ ใช้คำถาม ทั้งคำถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด ใช้คำถามกระตุ้นความคิด ทั้งในคำถามระดับสูง และคำถามระดับต่ำ เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นในทุกขั้นตอน นำมาบูรณาการกระบวนการเรียน การสอนเข้าด้วยกัน เกิดเป็นการจัดการเรียนรู้ใหม่ นิทาน หมายถึง ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554(2546: 588) อธิบายความหมาย ไว้ว่า “นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น” นอกจากนี้ยังมีท่านผู้รู้อธิบาย ความหมายไว้คล้าย ๆ กัน เช่นศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส (2518: 99 - 100) กล่าวถึง “นิทาน” ไว้ในหนังสือคติชาวบ้าน ว่า นิทานเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อความสนุกสนานเบิกบานใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อเสริมศรัทธาในศาสนา เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ เนื้อเรื่องของนิทาน เป็นเรื่องนานาชนิด อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัย ความรัก ความโกรธ เกลียด ริษยา อาฆาต ตลกขบขัน หรือเรื่องแปลกประหลาดผิดปกติธรรมดา ตัวละครในเรื่องก็มีลักษณะต่างๆกัน อาจเป็นคน สัตว์ เจ้าหญิง เจ้าชาย อมนุษย์ แม่มด นางฟ้า แต่ให้มีความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมต่าง ๆ เหมือนคนทั่วไปหรืออาจจะเหมือนที่ เราอยากจะเป็น เมื่อนิทานตกไปอยู่ในท้องถิ่นใดก็มักมีการปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของถิ่นนั้น นิทานในแต่ละท้องถิ่นจึงมีเนื้อเรื่องส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน คือ สภาพความเป็นมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึกรัก เกลียด ความโง่ ฉลาด ขบขัน อาฆาตแค้น หรือทุกข์ สุข ส่วนรายละเอียดจะแตกต่าง ไปบ้างตามสภาพแวดล้อม และอิทธิพลของวัฒนธรรมความเชื่อของ แต่ละท้องถิ่น สรุปได้ว่า นิทาน คือ เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา โดยมี จุดมุ่งหมายที่ความสนุกเพลิดเพลินเพื่อให้เด็กเกิดจินตนาการจากเรื่องที่อ่าน อาจเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่สมมุติ ขึ้น แต่ในนิทานจะสอดแทรกคุณธรรม คติสอนใจ แง่คิด และวัฒนธรรมประเพณีเพื่อให้เด็กนำไปเป็น แบบอย่างหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ หมายถึง ค่าที่บอกถึงความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนเก็บข้อมูลชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีการวัดผลมาจากการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ หมายถึง คะแนนการใช้กระบวนการทางด้าน การอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วัดผลก่อนเรียนจำนวน 30 คะแนน และวัดผล หลังเรียนจำนวน 30 คะแนน


6 ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบ ความถูกใจ หรือความประทับใจต่อการจัดกิจกรรม พัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยกระบวนจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบบูรณาการ ของเมอร์ด็อค โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วัดได้จากการตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค โดยการสร้างนิทาน ภาษาอังกฤษ สามารถพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น 2. ความพึงพอใจต่อนิทานภาษาอังกฤษที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการสอน


7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการใช้นิทานภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารตำรา งานวิจัย และทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. เอกสารเกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3. วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค 4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิทาน 5. ความพึงพอใจ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็น ทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับ ดังนี้ NIVER จุดมุ่งหมาย หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพใน การศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึด มั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐาน ความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อจุดมุ่งหมายที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพจึงกำหนดเป็นจุดหมาย เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ การมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มี วินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับบถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง การมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย การมี ความรักชาติ และมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำ ประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามในสังคมและสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 5)


8 2. เอกสารเกี่ยวข้องกับการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2.1 ความหมายของการอ่านเพื่อความเข้าใจ ความเข้าใจในการอ่านเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการอ่านทุกประเภท เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ผู้อ่าน เข้าใจในสิ่งที่อ่าน แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเชาว์ปัญญามาช่วยในการทำความเข้าใจของผู้อ่านว่า มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เดิมมากน้อยเพียงใด ดังที่นักการศึกษาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความ ของความเข้าใจในการอ่าน ดังนี้ Grellet (1983) กล่าวว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจ คือ การจับใจความสำคัญจากเนื้อเรื่องให้ ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ในการอ่านแต่ละครั้งนั้นย่อมมีจุดมุ่งหมายที่ควรพิจารณาในเบื้องต้น คือ สิ่งที่อ่าน จุดมุ่งหมายในการอ่าน และกลวิธีการอ่าน Nuttall (1996) กล่าวว่า ความเข้าใจในการอ่าน คือ การอ่านเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการจาก งานเขียน เป็นการอ่านเพื่อให้ได้สารซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนานได้แนวคิด หรือเกิด ความรู้สึกอื่นร่วม ณฐมน วงศ์ทาทอง (2560) กล่าวว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจ หมายถึง กระบวนการทางความคิด ที่ใช้ความรู้ ประสบการณ์เดิมของผู้อ่านมาสร้างความหมายให้เข้าใจเรื่องที่อ่าน ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของ ผู้เขียน โดยผู้อ่านจะต้องสามารถตีความ และสรุปความในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้ อลงกรณ์ สิมลา (2561) กล่าวว่า การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีทักษะ ในการเข้าใจความหมายในบทอ่าน หรือการจดจำคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยเพื่อหาความหมาย รวมถึงการเข้าใจ หน้าที่ของภาษากับบริบทที่ใช้ทำให้ผู้อ่านเข้าใจรายละเอียดในบทอ่านและสามารถเชื่อมโยงความหมายของ บทอ่านได้สามารถจับใจความสำคัญของเรื่อง รวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์และตีความเรื่องที่อ่าน ศักรินทร์ ศิรินัย (2563) กล่าวว่า การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เป็นการเข้าใจความหมาย ในเรื่องที่อ่าน หมายความของผู้เขียนต้องการจะสื่อ รวมไปถึงการนำสิ่งที่ได้จากการอ่านนำไปเชื่อมโยงกับ ความรู้เดิม ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมตามไปด้วยหรือสร้างความรู้สึกใหม่ที่หลากหลาย จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจ หมายถึง กระบวนการทาง ความคิดที่ใช้ความรู้ ประสบการณ์เดิมของผู้อ่านมาสร้างความหมายให้เข้าใจเรื่องที่อ่าน โดยผู้อ่านจะต้อง สามารถตีความ และสรุปความในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน 2.2 หลักการแนวคิดและทฤษฎีการอ่าน นักการศึกษาหลายท่านได้เสนอหลักการและขั้นตอนในการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจไว้ ดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2546) ได้กำหนดการสอนอ่านไว้หลักสูตรภาษาอังกฤษ และเสนอลำดับขั้นตอน การสอนอ่านไว้ 3 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1: กิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre-Reading Activities) ผู้สอนสามารถทำกิจกรรมที่จะกระตุ้น ผู้เรียนให้เกิดการอยากรู้ และสนใจในสิ่งที่กำลังอ่าน และสร้างแนวทางในการคิดหาความรู้ใหม่ โดยใช้สื่อการ เรียนการสอนต่าง ๆ เช่น เกม เพลง การสาธิต การแสดงใบ้ เป็นต้น


9 ขั้นที่ 2: กิจกรรมขณะอ่าน (While-Reading Activities) เป็นการนำเสนอเรื่องที่จะอ่านเป็นครั้ง แรก ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้งแบบออกเสียง และอ่านในใจ ขั้นตอนนี้มีจุดใหญ่ตรงสร้างกระบวนการคิดด้วยวิธีการ ต่าง ๆ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน คำถามนั้นจะต้องใช้เวลาเพียงพอ ในการคิดหาคำตอบได้ด้วยตนเอง และการถามจะต้องใช้รูปแบบการถามถึงข้อมูลย้อนกลับ และความรู้เพิ่มขึ้น ทีละนิด ใช้คำย้ำเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเป็นระยะ ๆ ขั้นที่ 3: กิจกรรมหลังอ่าน (Post-Reading Activities) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสอนอ่าน มี จุดประสงค์เพื่อย้ำความเข้าใจของเรื่องที่อ่านให้มากขึ้น และสร้างความประทับใจในสิ่งที่เรียน อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด (2544) การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำ ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่าน สายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถ เพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่าน ให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่านมีลักษณะ เช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่ การอ่าน (PreReading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลัง การอ่าน (PostReading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้ 1. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน (Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูล บางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ 1.1 ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียน กับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน 1.2 Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพแผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่าน คำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียม ตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้น ๆ หรือ ทบทวน คำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัด เติมคำ ฯลฯ 2. กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการฝึกทักษะการอ่านเพื่อ ความเข้าใจ กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่น ๆ


10 เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อยเนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้ 2.1 Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับ ภาพ แผนภูมิ 2.2 Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือเรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง 2.3 Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน 2.4 Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้ อ่าน 2.5 Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice) หรือ เลือกประโยค ถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้น ๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion) 2.6 Supplying/Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง (Topic Sentence) หรือสรุปใจความสำคัญ (Conclusion) หรือจับใจความสำคัญ (Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง (Specific Information) 3. กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึก ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟัง การพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้ พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น Williams (1986: 85) เสนอลำดับขั้นการสอนอ่านไว้ 3 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอน มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1. ขั้นก่อนการอ่าน (Pre-Reading) มีจุดประสงค์เพื่อ - แนะนำและกระตุ้นความสนใจในหัวเรื่อง - ชักจูงให้ผู้เรียนสนใจอยากเรียนด้วยการให้เหตุผลสำหรับการอ่าน - เตรียมตัวในด้านภาษาให้แก่ผู้เรียนก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง 2. ขั้นการอ่าน (While-Reading) ขั้นตอนนี้เน้นที่เนื้อเรื่องที่จะอ่านโดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้ - เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจจุดประสงค์ของการเรียน - เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างของงานเขียนหรือเนื้อความที่จะอ่าน - เพื่อช่วยขยายความเนื้อเรื่องของเนื้อเรื่องให้ชัดเจน


11 3. ขั้นหลังการอ่าน (Post-Reading) มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความสามารถ ดังนี้ - สามารถถ่ายโอนความรู้ ความคิดในเรื่องที่อ่านไปแล้วได้ - สามารถเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับความรู้ ความสนใจ หรือความคิดเห็นผู้เรียนได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นกล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักการสอนอ่านสามารถแบ่งได้ 3 ขั้นตอน คือ 1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน (Pre-Reading) 2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือขณะที่สอนอ่าน (WhileReading) 3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) ซึ่งแต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิคเป็นแนวทางในการ วางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีเป้าหมาย มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอนและกระบวนการ โดยผู้สอนสามารถควบคุมและประเมินการอ่านของนักเรียนได้ตามขั้นตอนการ สอนอ่านที่ผู้สอนกำหนดไว้ ทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการอ่านได้อย่างอย่างมีประสิทธิผลชัดเจน แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ มีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงทฤษฎีใน การอ่านเพื่อความเข้าใจ ซึ่งได้แก่ทฤษฎีการจัดลำดับสำคัญของข้อความและการวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อความ อันเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ Bartlett (1932) การศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน เพื่อความเข้าใจนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ภูมิหลังและสิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คือ 1.ทฤษฎีโครงสร้างความรู้เดิม (Schema Theory) ซึ่งกล่าวว่า ความรู้เดิมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นที่สุดในการจัดการเรียนการสอน เพราะพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียนที่มีอยู่แล้วบวกกับความรู้ใหม่ ที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้จนสามารถเป็นแนวทางในการเรียนรู้ของตัวผู้เรียนได้เป็นอย่างดี Anderson and Pearson (1984) กล่าวว่า ทฤษฎีโครงสร้างความรู้เดิม เป็นการสอดคล้อง กันระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้กับสิ่งที่ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว เช่นเดียวกันเมื่อเชื่อมโยงกับการ เรียนรู้เรื่องการอ่าน ผู้อ่านจะต้องรู้ว่าจะอ่านอะไรและผู้อ่านจะเกิดความเข้าใจในการอ่านได้จะต้องใช้ความรู้ เดิมหรือประสบการณ์เดาช่วยทำความเข้าใจในการอ่าน ความรู้ทั้งหลายนั้นจะถูกเก็บเป็นหน่วยความรู้และ เชื่อมโยงเป็นเรื่องช่วยให้การอ่านเกิดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง Carrell & Eisterhold (1983: 560) ได้แบ่งโครงสร้างความรู้เดิมออกเป็น 2 ชนิด คือ 1) โครงสร้างความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ (Formal Schema) หมายถึง การที่ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการ เขียนในลักษณะต่าง ๆ เช่น นิทาน นิยาย วิทยาศาสตร์ หนังสือพิมพ์ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะเข้าใจใน เรื่องที่อ่านและจำเนื้อเรื่องได้ดี2) โครงสร้างความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา (Content Schema) หมายถึง การที่ผู้อ่าน มีความรู้เดิมเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งมาก่อน จะทำให้เกิดความเข้าใจดีขึ้น ผู้อ่านที่มีโครงสร้าง ความคิดในเรื่องที่อ่าน จะรับรู้เรื่องที่อ่านได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ความรู้ทางเนื้อหาในด้านนั้นมา ก่อน 2. ทฤษฎีการจัดลำดับความสำคัญของข้อความและการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อความเป็น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ Lapp and Flood กล่าวไว้ว่า 1)ทฤษฎีเน้นการจัดลำดับใจความ สำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นการอ่านเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกลับหลักจิตวิทยา 2 ประการ คือ การรับรู้ข่าวสาร และ เมื่อรับข่าวสารแล้วนำไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิม แล้วเกิดเป็นความรู้ใหม่ โดยผู้รับข่าวสารแล้ว นำไปเปรียบเทียบกับความรู้เดิม ของจริง หรือรูปภาพ ถ้าไม่ตรงกับข้อมูลดังกล่าวก็อ่านข้อความซ้ำ ถ้าข่าวสาร


12 ที่อ่านให้ความรูสึกในทางลบ จะต้องใช้เวลาในการรับรู้นานกว่าข่าวสารที่ให้ความรู้สึกในทางบวก จากนั้นสมอง จะบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่างของคำและความหมายของประโยคไว้2) ทฤษฎีวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อความ ทฤษฎีนี้เน้นผู้อ่านที่จะดึงข้อความที่มีความหมายคล้ายคลึงกับการเชื่อมโยงกัน หรือขจัดข้อความที่ไม่ต้องการ ออก ข้อความที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วต้องมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกนอกจากนนี้การอ่านเพื่อความเข้าใจ ในการเชื่อมโยงประโยคต้องอาศัยหลักการอ่านตามทฤษฎีการอ่านเชิงจิตวิทยาของ Goodman & Coady ดังนี้ Coady (1979: 56 -58) ได้ปรับทฤษฎีของ Goodman ที่ใช้กับภาษาที่ 1 มาเป็นแบบจำลอง ที่ใช้กับภาษาที่ 2 โดยอธิบายว่า การอ่านในเชิงจิตวิทยาเกิดขึ้นได้ด้วยปฏิสัมพันธ์ของปัจจัย 3 ประการ 1) ความสามารถเชิงความคิด (Conceptual abilities) เป็นความสามารถทางสติปัญญาเป็นปัจจัยหนึ่งในการ เรียนการอ่านภาษาอังกฤษ 2) ความรู้เดิม (Background knowledge) สิ่งที่ผู้อ่านมีความรู้อยู่บ้างแล้วก่อน การอ่านเนื้อเรื่องนั้น ๆ เช่น ผู้ที่เคยมีพื้นความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม เรื่องราวของประเทศนั้นมาก่อนก็จะเข้าใจ หรือเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มาก่อน ความรู้เดิมจะเสริมความเข้าใจเนื้อเรื่อง ถึงแม้จะขาดความรู้เรื่องไวยากรณ์ 3) กลวิธี/กระบวนการ (Process strategies) องค์ประกอบของ ความสามารถในการอ่าน เช่น ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยคำและหน่วยเสียง ความรู้เรื่อง พยางค์ หน่วยคำ ความรู้ทางไวยากรณ์ ตลอดจนความหมายของคำ และบริบทกลวิธีกระบวนการเป็น องค์ประกอบย่อยของความสามารถในการอ่าน กล่าวคือ ผู้อ่านเลือกใช้องค์ประกอบเหล่านี้ตามจุดมุ่งหมายที่ แตกต่างกัน เช่น เลือกใช้ความรู้เกี่ยวกับระบบเสียงในภาษา เพื่อฝึกทักษะการฟังหรือเลือกใช้ความรู้เกี่ยวกับ ความสอดคล้องระหว่างหน่วยเสียงกับตัวอักษรในการฝึกทักษะการอ่าน Goodman (1972) กล่าวว่า เป็นกระบวนการทางภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้อ่านสร้าง ความหมายที่ดีที่สุดจากสิ่งที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงไว้ในบทอ่าน Goodman เห็นว่าขั้นตอนการสร้างความหมาย เกิดขึ้น โดยพฤติกรรมต่อไปนี้1) การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) คือ การที่ผู้อ่านเลือกใช้สิ่งชี้นำจากข้อความที่ เขาอ่าน และเลือกใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์ของตน เพื่อหาความหมายจากข้อความที่อ่าน 2) การคาดคะเน (Prediction) คือ การที่ผู้อ่านใช้ความรู้ทางด้านโครงสร้างทางภาษาศาสตร์ เพื่อการคาดคะเนชนิดของคำที่จะ พบต่อไปในข้อความนั้น ๆ 3) การทดสอบ (Testing) คือ เมื่อผู้อ่านได้สุ่มตัวอย่างและคาดคะเนแล้ว เขาจะ ทดสอบว่าสิ่งที่เขาคาดคะเนนั้นถูกต้องหรือไม่ โดยการทดสอบความหมายที่ได้จากสิ่งที่เขาอ่านกับ ความหมายของข้อความรอบข้างที่ปรากฏอยู่ในข้อความนั้น 4) การย้ำเพื่อความมั่นใจ (Confirming) คือ ขั้นนี้ ผู้อ่านจะย้ำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่เขาคาดคะเนนั้นให้ความหมายถูกต้อง 5) การแก้ไขเมื่อจำเป็น (Correcting when necessary) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้อ่านทดสอบหรือย้ำเพื่อความเข้าใจ แล้วพบว่าสิ่งที่ตน คาดคะเนนั้นให้ความหมายไม่ถูกต้องก็จะย้อนกลับไปเลือกสิ่งชี้นำใหม่


13 2.3 ระดับความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจนั้น ผู้อ่านแต่ละคนจะมีระดับความเข้าใจสิ่งที่อ่านแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญา ความรู้ด้านภาษา และประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้อ่านมี พัฒนาการอ่านอยู่ในระดับใด ต้องแก้ไขปรับปรุง พัฒนาและส่งเสริมอย่างไร นักการศึกษาหลายท่านได้แบ่ง ระดับความเข้าใจในการอ่านดังนี้ เยาวรีย์ ประเสริฐศักดิ์ (2547: 1-6) ได้แบ่งระดับความเข้าใจในการอ่านเป็น 3 ระดับดังนี้ คือ 1. ความเข้าใจในระดับข้อเท็จจริงหรือความเข้าใจในระดับตัวอักษร (Factual level) หมายถึง ความเข้าใจที่เกิดขึ้นกับผู้อ่านตามตัวอักษรที่ปรากฏในเนื้อความนั้น ๆ เป็นความเข้าใจเนื้อหา ที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ 2. ความเข้าใจในระดับตีความ (Interpretative level หรือ Reading between thelines) หมายถึง ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้อ่านที่สามารถตีความ และสรุปสิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้องตามที่ผู้เขียน ต้องการสื่อให้รู้ทั้งที่ผู้เขียนมิได้ระบุไว้โดยตรงในเนื้อความ ความเข้าใจในระดับนี้ซับซ้อนกว่าระดับแรกที่ได้ กล่าวเอาไว้ 3. ความเข้าใจในระดับประเมินค่า (Evaluation level หรือ Reading beyond thelines) หมายถึง ความเข้าใจที่เกิดจากความสามารถในการประเมินผลว่าข้อมูลหรือเนื้อหาสาระนั้น ๆ มี ความถูกต้องหรือไม่ อย่างไร หลังจากที่ได้อ่านเรื่องราวทั้งหมด ทั้งนี้ผู้อ่านต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่ ได้สะสมมาช่วยในการวิเคราะห์วิจารณ์ และตัดสินสิ่งที่ได้อ่าน ชวาล แพรัตกุล (2552: 154) ได้จัดระดับความเข้าใจในการอ่านไว้ 3 ระดับ ดังนี้ 1. การแปลความ (Translation) คือ ความสามารถในการแปลความหมายจาก ระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง แปลสัญลักษณ์จากเครื่องหมายย่อไปสู่อีกแบบหนึ่ง แปลและถอดความจากภาษา หนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง 2. การตีความ (Interpretation) คือความสามารถในการแปลและย่นย่อเรื่องราว ต่าง ๆ ตามที่ปรากฏให้ยุติลงเป็นข้อสรุปได้ 3. การขยายความ (Extrapolation) คือความสามารถในการแปลและย่นย่อเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่ ปรากฏให้ยุติลงเป็นข้อสรุปได้ Fink (2003: 167) กล่าวถึง ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ว่า เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ที่แท้จริงในบทเรียน ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมว่าผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียน โดยกำหนดพฤติกรรม ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจไว้ 4 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 ระดับตามตัวอักษร (Literal Comprehension) หมายถึง ความสามารถ ในการจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่าน จากข้อความที่ระบุชัดเจนอยู่ในบทอ่าน ระดับที่ 2 ระดับตีความ (Interpretative Comprehension) หมายถึง ความสามารถในการแปลความ พิจารณาสาเหตุและผล สรุป ลงความเห็นจากสิ่งที่ไม่ได้ระบุไว้ในเรื่องที่อ่าน ระดับที่ 3 ระดับประยุกต์ (Applied Comprehension) หมายถึง ความสามารถใน


14 การนำความรู้ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมของตน หรือสัมพันธ์กับความรู้จากวิชาต่าง ๆ และนำไปใช้ใน สถานการณ์ใหม่ได้ ระดับที่ 4 ระดับประเมินค่า (Evaluation Comprehension) หมายถึงความสามารถในการ ตัดสินใจ ประเมินผลสิ่งที่อ่าน โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ของผู้อ่าน Smith (1985: 262) ได้แบ่งระดับความเข้าใจออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับความเข้าใจความหมายตามตัวอักษร (Literal Comprehension) หมายถึง การที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมาย และจับใจความสำคัญจากสิ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้ตามตัวอักษร ที่ปรากฏการอ่านระดับนี้เป็นความเข้าใจขั้นพื้นฐาน แต่เป็นส่วนสำคัญของการอ่านในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านป้าย ต่าง ๆ ป้ายโฆษณา การอ่านโฆษณา เป็นต้น 2. ระดับความเข้าใจขั้นตีความ (Interpretation) หมายถึง การที่ผู้อ่าน สามารถเข้าใจความหมายของข้อความได้อย่างลึกซึ้งกว่าในระดับแรก เป็นการตีความสิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวไว้ โดยตรงในการทำความเข้าใจต้องอาศัยความเข้าใจในระดับแรกเป็นพื้นฐาน ผนวกกับกระบวนการคิดในการ ตีความ เช่น การสรุปความ การคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า เป็นต้น 3. ระดับความเข้าใจขั้นวิจารณ์ (Critical Reading) หมายถึง การที่ผู้อ่าน สามารถแสดงความคิดเห็นของตนในการวิเคราะห์ วิจารณ์ ตัดสิน และประเมินในสิ่งที่อ่านได้จึงจะ สามารถเข้าใจบทอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทักษะความเข้าใจ 2 ระดับแรกเป็นพื้นฐาน เพราะความเข้าใจในระดับนี้ผู้อ่านต้องพิจารณาว่าเรื่องที่อ่านมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด หรือ เห็นด้วยกับแนวคิดของผู้เขียนหรือไม่ สอดคล้องกับ Ruddell (1997: 68 - 69) ได้แบ่งระดับความเข้าใจใน การอ่านไว้ดังนี้1) ระดับความเข้าใจตามตัวอักษร (Literal statements) เป็นระดับที่ผู้อ่านมีความ เข้าใจตามตัวอักษรที่ปรากฏในข้อความ 2) ระดับความเข้าใจขั้นตีความ (Interpretive statements) เป็น ระดับที่ผู้อ่านต้อง ตีความหมายแฝงที่ผู้เขียนไม่ได้เขียนไว้โดยตรงในข้อความ 3) ระดับความเข้าใจขั้น ประยุกต์ใช้ (Applied statements) เป็นระดับที่ผู้อ่านนำเอาความคิดที่ได้จากบทอ่านไปประยุกต์ใช้โดย เชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมผนวกเข้ากับความรู้ที่ได้จากบทอ่าน และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ จากที่กล่าวมาข้างต้นกล่าวโดยสรุปได้ว่า การแบ่งระดับความเข้าใจในการอ่านมีลักษณะที่ เหมือนกันคือมีการแบ่งลำดับขั้นจากง่ายไปสู่ยาก เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ในการอ่านเพื่อความเข้าใจใน ทุก ๆ กิจกรรมการอ่าน ดังนี้ 1) ระดับความเข้าใจตามตัวอักษร (Literal statements) เป็นระดับที่ผู้อ่าน เข้าใจตามตัวอักษร เข้าใจความหมาย และจับใจความสำคัญจากสิ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้ตามตัวอักษรที่ปรากฏ 2) ระดับตีความ (Interpretative Comprehension) เป็นระดับที่ผู้อ่านมีความสามารถในการ แปลความ พิจารณาสาเหตุและผล สรุป ลงความเห็นจากสิ่งที่ไม่ได้ระบุไว้ในเรื่องที่อ่าน 3) ระดับประยุกต์ (Applied Comprehension) เป็นระดับที่ผู้อ่านความสามารถในการนำความรู้ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมของตน หรือ สัมพันธ์กับความรู้จากวิชาต่าง ๆ และนำไปใช้ใสถานการณ์ใหม่ได้


15 2.4 กลวิธีในการพัฒนาทักษะการอ่าน กลวิธีการอ่านเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้อ่านได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในการอ่านมีกลวิธีที่ ควรพิจารณา ดังนี้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2551) ได้ให้คำอธิบายว่า 1. การมองภาพรวม (Previewing) คือ การทบทวนชื่อเรื่อง หัวข้อหลัก และข้อความใต้ภาพ เพื่อที่จะสรุปโครงสร้างและเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน 2. การคาดการณ์ (Predicting) คือ การใช้ความรู้ในเนื้อหาวิชา เพื่อที่จะคาดการณ์เกี่ยวกับ เนื้อหาและคำศัพท์และตรวจสอบความเข้าใจ การใช้ความรู้ของรูปแบบของสารและจุดประสงค์เพื่อที่จะ คาดการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างปริเฉท การใช้ความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน เพื่อที่จะคาดการณ์ลีลาการเขียน คำศัพท์ และเนื้อหา 3. การอ่านคร่าว ๆ (Skimming) และการอ่านเร็ว (Scanning) คือ การสำรวจ เนื้อหาเพื่อที่จะหาใจความสำคัญ ระบุโครงสร้างของเรื่อง การคาดการณ์ยืนยันและการคาดการณ์คำถาม 4. การเดาจากบริบท (Guessing from Context) คือ การใช้ความรู้เดิมในเรื่องของ เนื้อหาวิชาและความคิดในเรื่องที่อ่านเป็นตัวชี้แนะต่อความหมายของคำที่ไม่คุ้นเคย แทนที่จะหาความหมาย ของคำจากพจนานุกรม 5. การถอดความ (Paraphrasing) คือ การทบทวนและตรวจสอบความเข้าใจใน เรื่องที่อ่านเมื่อถึงตอนสุดท้ายของแต่ละตอน โดยการเรียบเรียงข้อความใหม่ Anderson (1985: 82 - 83) ได้จำแนกกลวิธีที่ใช้ในการอ่านเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลวิธีการอ่านด้วยความรู้ความคิด (Cognitive Reading Strategies)ประกอบด้วยกลวิธี ดังต่อไปนี้ 1.1 การทำนายเนื้อหาต่อไปของบทอ่าน 1.2 การใช้พื้นความรู้เดิมช่วยเดาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก 2. กลวิธีการอ่านด้านอภิปัญญา (Metacognitive Reading Strategies) ด้วยกลวิธี 2.1 การตั้งเป้าหมายเพื่อช่วยกำหนดขอบเขตสิ่งที่สำคัญในการอ่าน 2.2 การประเมินสิ่งที่เรียนรู้และความเข้าใจในการอ่าน 3. กลวิธีการอ่านแบบทดแทน (Compensating Reading Strategies) ประกอบด้วยกลวิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 การจดข้อความเพื่อช่วยระลึกรายละเอียดที่สำคัญของบทอ่าน 3.2 การใช้การเคลื่อนไหวร่างกายให้จำข้อมูลที่อ่านได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่า กลวิธีในการพัฒนาทักษะการอ่าน เป็นสิ่งสำคัญที่ ช่วยให้อ่านได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีการการฝึกฝน และปฏิบัติ ในกระบวนการอ่าน เพื่อให้การอ่านประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


16 2.5 การวัดและประเมินผลการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การรวัดและประเมินผลการอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตรวจสอบ การเรียนรู้ด้านการอ่านเทียบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการประเมินความเข้าใจของนักเรียน ว่านักเรียนมี ความเข้าใจต่อทักษะการอ่านมากน้อยเพียงใด ผลจากการประเมินสามารถใช้พัฒนา การจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล ได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่าง หลากหลาย ดังนี้ มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์ (2548: 221 - 227) กล่าวว่า เพื่อให้การเรียนการสอนอ่านเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย ครูควรประเมินความสามารถในการอ่านของนักเรียนด้านสำคัญด้านต่าง ๆ ทั้งก่อนอ่าน ระหว่างอ่าน และหลังอ่าน ซึ่งจะทำให้ครูทราบแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหา ทางการอ่านที่กว้างขึ้น วิธีการดำเนินการของครูในการประเมินความสามารถของนักเรียนที่สำคัญมีดังนี้ คือ 1. การประเมินโดยใช้แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง (Informal Reading Inventory: IRI) 2. การประเมินการใช้ความรู้และความรู้เดิม (ก่อนอ่านและระหว่างอ่าน) 3. การประเมินเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (หลังอ่าน) Finocchiaro and Sako (1983) กล่าวว่า แบบทดสอบที่ใช้ในการประเมินผลความเข้าใจใน การอ่านภาษาอังกฤษที่นิยมใช้มี 2 แบบ ได้แก่ 1. แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test) ได้แก่ แบบทดสอบความเรียงที่ให้ผู้เรียนตอบคําถาม จากเรื่องที่อ่านโดยเขียนคําตอบเป็นประโยคหรือข้อความยาว ๆ 2. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ แบบถูกผิดแบบจับคู่ และแบบเติมคํา ซึ่งแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) จะได้รับความิยมในการนํามาใช้ เพราะ การตรวจให้คะแนนจะสะดวกรวดเร็ว มีความเที่ยงตรงต่อการคิดคะแนนและสามารถถามได้คลอบคลุม เนื้อหาหลาย ๆ ด้าน นอกจากนี้ยังสามารถนําไปใช้วัดผู้สอบได้ทุกระดับ Alderson (2000: 202-233) ได้เสนอแบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษไว้ ดังนี้ 1. แบบทดสอบแบบเติมคําในช่องว่างและแบบ Cloze (Gap-filling and clozetest) 2. แบบทดสอบหลายตัวเลือก (Multiple-choice) 3. แบบทดสอบแบบเลือกตอบ (Alternative objective) 3.1 การจับคู่ (Matching) 3.2 การเรียงลําดับ (Ordering) 3.3 คําถามแบบ 2 ตัวเลือก (Dichotomous items) 4. แบบทดสอบแบบแก้ไข (Editing test) 5. แบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Short-answer test) สําหรับการวัดและการประเมินการอ่านแบ่งตาม Aebersold และ Field (1997) สามารถ แบ่งวิธีการวัดและการประเมินได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้ คือ 1. วิธีวัดและประเมินการอ่านแบบดั้งเดิม (Traditional Method of Testing Reading) ซึ่งได้แก่ข้อคําถามแบบตัวเลือก (Multiple-choice Questions) น่าเชื่อถือ


17 การทดสอบคําศัพท์ (Vocabulary tests) คําถามประเภทโคลซ (Cloze) คําถามที่ตอบสั้นและคําถาม ปลายเปิด (Short answer and open-ended Questions) และการเติมประโยคให้สมบูรณ์ (Completion tasks) 2. วิธีการวัดและประเมินการอ่านในรูปแบบอื่น ๆ (Alternative methods of assessing reading) ซึ่ง ได้แก่ การเขียนบันทึก (Journal) แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ก าร บ้ า น ก าร สั งเก ต ข อ งค รู ผู้ ส อ น (Teacher assessment through observation) การประเมินตนเอง (Self - assessment) และการประเมิน จากเพื่อนผู้เรียน (Peer assessment) จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า การวัดและประเมินผล เป็นตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจของนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนสามารถนําหลักการวัดและประเมินไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ครูผู้สอนควรรู้จักใช้รูปแบบการวัดและประเมิน สิ่งสำคัญที่ครูควร คำนึงถึงในการสร้างแบบทดสอบ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของแบบทดสอบ ความเหมาะสมของ เนื้อหา และระดับของนักเรียน เพื่อนําไปสู่การวัดและการประเมินที่เที่ยงตรง น่าเชื่อถือและสามารถนําผลที่ได้ ไปปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในความสามารถใน การอ่านของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค 3.1 ความเป็นมาของวิธีสอนแบบเมอร์ด็อค จอร์จ เอส เมอร์ด็อค (George S. Murdoch) เป็นอาจารย์สอนภาษาที่มหาวิทยาลัยคูเวด (Kuwait University) ได้ประสบกับปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ เนื่องจากการสอนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งมีสาเหตุมาจากโอกาสที่นักเรียนจะใช้ภาษาอังกฤษใช้ ชีวิตประจำวันมีน้อยมากจึงได้คิดหาวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษแนวใหม่ขึ้น โดยยึดหลักจิตภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) ซึ่งเป็นจิตวิทยาในการคิดและการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading” ซึ่งยึดการฝึกหรือการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนโดยใช้ทักษะต่าง ๆ คือ ฟัง พูด อ่านและเขียน ควบคู่กันไปตลอดเวลา เพราะมีความเห็นว่าการ สอนของครูเท่าที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะแยกทักษะแต่ละทักษะออกจากกันโดยเด็ดขาด เช่น ทักษะการอ่าน มักจะ ถูกจัดแยกออกจากทักษะอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง เมื่อใดที่ครูผู้สอนต้องการสอนการอ่านให้กับนักเรียนก็จะไม่ให้ ความสนใจทักษะอื่น ๆ จะมุ่งให้นักเรียนฝึกอ่านเท่านั้น ซึ่งเมอร์ด็อค (Murdoch) คิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่ ถูกต้องเพราะการสอนอ่านแต่ละครั้งควรมีทักษะทั้ง 4 ทักษะ ประกอบกันไป แต่จะเน้นทักษะใดทักษะหนึ่ง เป็นพิเศษ ส่วนทักษะอื่น ๆ ที่ไม่ได้เน้นก็ได้รับการพัฒนาไปพร้อมกัน นอกจากนั้น เมอร์ด็อค (Murdoah) ยัง เห็นว่าการสอนอ่านแล้วให้นักเรียน ทำแบบฝึกหัดแบบเลือกตอบหรือแบบถูก-ผิด นั้นไม่ใช่เป็นการฝึกอ่านที่ดี นักเรียนจะไม่ได้พัฒนาทักษะอื่นเลยและบางครั้งอาจจะทำให้นักเรียนเกิดการสับสนมากขึ้น แบบฝึกหัดที่ดี ที่สุดควรจะเป็นแบบฝึกหัดที่ต้องคิดและเขียนออกมาเป็นคำพูดของตน เป็นการฝึกหัดทั้งกระบวนการคิดและ ฝึกทักษะการเขียนไปในตัว การใช้แบบฝึกหัดแบบนี้ถือว่าเป็นการสอนเพื่อการสื่อสารที่ดีมากอีกอย่างหนึ่งและ เป็นที่มาของวิธีการสอนอ่านโดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค


18 การสอนอ่านโดยหลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค ตามแนวคิดของ จอร์จ เอส เมอร์ด็อค เป็นการ เรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดทุกขั้นตอน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดเป็น โดยเฉพาะกระบวนการคิด เกี่ยวกับการแก้ปัญหา กิจกรรมการเรียนการสอนจะเริ่มด้วยการตั้งคำถามประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนตอบ แล้วให้ร่วมกันอภิปราย โดยการนำประสบการณ์เดิมของตนมาผสมผสานกับประสบการณ์ใหม่ ที่ได้รับ แก้ปัญหาที่กำลังประสบอยู่ซึ่งเป็นการกระตุ้นนักเรียนให้คิดแก้ปัญหานั้นเอง นอกจากนี้กิจกรรมการ สอนอ่านโดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อคยังท าให้นักเรียนพัฒนาความสามารถด้านการคิด โดยมี ขั้นตอนหนึ่งที่กำหนดให้นักเรียนทำความเข้าใจคำศัพท์(Understanding Vocabulary) นักเรียนจะต้องใช้ ความคิดในด้านความรู้ความจำ(Knowledge) คือ ความสามารถในการระลึกถึงรายละเอียดเรื่องราว ประสบการณ์ทั้งมวล ตลอดจนสามารถจำความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ด้านความหมาย ความหมายแฝงของคำศัพท์ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น คำยาก ศัพท์เทคนิค เป็นต้น (Murdoch, 1986, pp.9–15) ซึ่งสอดคล้องกับคำ กล่าวของแฮร์ อัลเบิร์ด และเอดวาด ซิเพย์ (Harris & Sipay, 1988, pp.274-275) ที่ว่าคำศัพท์มีผลต่อการ อ่านเพื่อความเข้าใจ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาความคิดของผู้อ่านส่วนกิจกรรมการอ่านเนื้อเรื่อง (Reading the Text) โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อคนั้น สอดคล้องกับความคิดด้านการวิเคราะห์ คือ ความสามารถ ในการแยกแยะข้อมูลหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งระหว่างคำนามกับคำสรรพนามในเนื้อ เรื่องการถ่ายโอนข้อมูล การประเมินผลและการแก้ไขจะเป็นกิจกรรมที่เน้นความคิดด้านความเข้าใจซึ่งหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงปรับปรุง หรือเสริมแต่งความรู้เดิมให้มีลักษณะใหม่ เป็นการขยายความรู้ไปสู่ สถานการณ์ใหม่ตามกระบวนการของความเข้าใจ ดังต่อไปนี การแปลความ (Translation) เป็นความสามารถในการอธิบายความหมายจากข้อความ ที่ยากให้ง่ายขึ้นหรือชี้แจง เปรียบเทียบ ยกตัวอย่างหรือใช้ค าพูดของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรม การท าความเข้าใจกับเรื่อง (Understanding the Text) ตามหลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค ซึ่งให้นักเรียน ทำแบบฝึกหัดเติมข้อความจากประโยคปลายเปิด โดยใช้คำพูดของตนเอง การตีความ (Interpretation) คือ ความสามารถในการสรุปผลของการแปลความหมายหลาย ๆ อย่าง ให้สัมพันธ์กันเพื่อให้ได้ความหมายใหม่ที่เกิดจากผลของการแปลแต่ละส่วนย่อย ๆ นั้น เป็นการรวมความหมาย ที่แปลเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นการตีความจากภาพข้อความสัญลักษณ์จากเนื้อเรื่องที่กำหนดให้เป็นภาพหรือ แผนผังได้ ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ (Information Transfer) ตามหลัก การบูรณาการของเมอร์ด็อค โดยการให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการอ่านมานำเสนอข้อมูลนั้นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น ตาราง แผนภูมิ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมซึ่งเป็น การทำแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนของประโยคและเรียงโครงสร้าง อนุเฉท (Jigsaw Exercise and Paragraph Structure) ตามหลักการบูรณาการของเมอร์ด็อคนั้น ผู้เรียนจะ สรุปผลจากเรื่องที่อ่านแล้วนำมาเรียงลำดับขั้นตอนในรูปของอนุเฉทสั้น ๆ ได้ สรุปได้ว่า การสอนอ่านโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค จะทำให้ผู้เรียนสามารถคิด แก้ปัญหา และสามารถให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นการจัดการเรียนการ สอนที่พัฒนาทักษะทางด้านการคิดได้เป็นอย่างดี


19 3.2 ความสำคัญของวิธีการสอนการอ่านของเมอร์ด็อค การจัดการเรียนรู้การอ่านโดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อคตามแนวคิดของเมอร์ด็อคทำให้ นักเรียนพัฒนาความสามารถด้านการคิด โดยมีขั้นตอนที่กำหนดให้นักเรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ (Understanding Vocabulary) นักเรียนจะต้องใช้ความคิดในด้านความรู้ความจำ (Knowledge) คือ ความสามารถในการระลึกถึงรายละเอียดเรื่องราวประสบการณ์ทั้งมวลตลอดจนสามารถจำความรู้เกี่ยวกับค ศัพท์ด้านความหมายตรง ความหมายแฝงของคำศัพท์และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น คำยาก ศัพท์เทคนิค เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ แฮร์ริส และซิเพย์ (Harris & Sipay, 1988, pp.274-275) ที่ว่า คำศัพท์มีผลต่อ การอ่านเพื่อความเข้าใจซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาความคิดของผู้อ่านส่วนกิจกรรมการอ่านเนื้อเรื่อง (Reading the Text) โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อคนั้น สอดคล้องความคิดด้านการวิเคราะห์ คือ ความสามารถใน การแยกแยะข้อมูลหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ ของเรื่องราวที่กำหนดไว้ เช่น การวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำสรรพนามในเนื้อเรื่อง การ ถ่ายโอนข้อมูลการประเมินผลและการแก้ไข จะเป็นกิจกรรมที่เน้นความคิดด้านความเข้าใจ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลง ปรับปรุง หรือเสริมแต่งความรู้เดิมให้มีลักษณะใหม่ เป็นการขยายความรู้ไปสู่ สถานการณ์ใหม่ตามกระบวนการของความเข้าใจ (สมบัติ จันทครุฑ, 2548, น.27-29) สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการวิธีการสอนของเมอร์ด็อค ทำให้ผู้เรียน ได้พัฒนาทักษะทางด้านการคิดในการหาคำตอบและแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน สามารถคิดแยกแยะ ข้อมูล เรื่องราวต่าง ๆ เชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจได้ รวมทั้งเป็นการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ทักษะ ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อม ๆ กัน 3.3 ขั้นตอนการสอนการอ่านของเมอร์ด็อค การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค เป็นวิธีการสอนของ Murdoch (1986, pp.9–15) ได้แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 3.3.1 การถามนำก่อนการอ่าน (Priming Questions) คือ ขั้นตอนที่ครูผู้สอนจะต้อง ตั้งคำถามหรือข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายร่วมกัน ระหว่าง ครูผู้สอนกับนักเรียนก่อนที่จะอ่านเรื่องนั้น ๆ เป็นการโน้มน้าวให้นักเรียนสนใจเรื่องที่จะอ่านต่อไปนี้การ อภิปรายร่วมกันเป็นกระบวนการคาดคะเนล่วงหน้าว่าเรื่องที่พวกตนจะอ่านกันนั้นเป็น เรื่องที่เกี่ยวกับอะไร เมื่อถึงเวลาอ่านจริง ๆ นักเรียนทุกคนจะพยายามค้นหาคำตอบว่าคำตอบที่ คิดไว้ล่วงหน้านั้นตรงกับเรื่องที่อ่าน หรือไม่ การอ่านจึงเป็นการกระตุ้นเร้าให้นักเรียนให้หาคำตอบ ซึ่งตรงกับความคิดของกู๊ดแมน (Goodman & Niles ., 1973, p.13) ที่กล่าวว่า “การอ่านเป็นเกมการเดาชนิดหนึ่งโดยให้ผู้อ่านคาดเดาว่าสิ่งที่อ่านตรงกับ ความคิดที่ตนคาดหวังไว้หรือไม่” นอกจากนี้การถามนำก่อนการอ่านจะช่วยให้นักเรียนเกิดแรงขับ (Drive) อัน จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีของนักเรียนนั่น คือ การกระตุ้นนักเรียนด้วยปัญหาที่ค้างไว้หลังการอภิปรายร่วมกัน ว่าสิ่งที่พวกตนเดากันไว้นั้นเป็นการเดาที่ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ชอบการ


20 ท้าทาย เอาชนะ เมื่อทำหรือคิดอะไรไปแล้วก็อยากจะทราบผลของการกระทำนั้น จึงเป็นเรื่องที่ดีที่จะกระตุ้น ให้นักเรียนเกิดแรงขับอยากอ่านเพื่อหาคำตอบให้ตนเอง 3.3.2 การทำความเข้าใจคำศัพท์ (Understanding Vocabulary) ขั้นตอนนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความมั่นใจว่า คำศัพท์บางคำที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมาย (Key Words) นั้นผู้อ่าน มีความเข้าใจถูกต้องแล้ว โดยครูจะเป็นคนเลือกคำศัพท์เหล่านั้นขึ้นมาเอง คำบางคำนักเรียนอาจจะรู้ ความหมายแล้ว หรือถ้าคำบางคำมีความหมายหลายอย่างครูผู้สอนอาจจะเขียนความหมายของ คำศัพท์คำนั้น ในสถานการณ์ที่จะพบในสิ่งที่อ่าน หลักการดังกล่าวตรงกับความคิดเห็นของแฮริสและ ซิเพย์ (Harris & Sipay, 1988, pp.294-295) ที่กล่าวว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจนั้นต้องอาศัยความสามารถหลายๆอย่างรวมกันไม่ เฉพาะแต่รู้ความหมายของคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่คำศัพท์มีส่วนอย่างมากต่อความเข้าใจในการอ่าน ใน การทดสอบจะพบว่าหากคะแนนความเข้าใจของนักเรียน สูง คะแนนความสามารถการใช้คำศัพท์ก็จะสูงตาม ด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำความเข้าใจคำศัพท์จะช่วยปูพื้นฐานในการอ่านให้นักเรียนได้อย่างมากอีก ขั้นตอนหนึ่งจะส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่าน ในโอกาสต่อไป ซึ่งตรงกับความคิดของวิดโดสัน (Widdowson, 1987, pp.82-86) ที่ว่าการอ่าน เพื่อความเข้าใจนั้นเราต้องพยายามขจัดปัญหาและอุปสรรคที่สกัดกั้นไม่ให้ ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ เช่น คำหรือวลี ที่ยาก ๆ วิธีการอ่านอย่างหนึ่งที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็คือ ให้ผู้อ่านเรียน รู่สิ่งเหล่านี้ก่อนการอ่านทำให้ปัญหาเรื่องคำศัพท์หมดไปเมื่อถึงเวลาอ่าน 3.3.3 การอ่านเนื้อเรื่อง (Reading the Text) หลังจากทราบความหมายของคำพท์ แล้วขั้นต่อไป คือครูผู้สอนจะแจกเนื้อเรื่อง (The Text) ให้นักเรียนอ่านตามเวลาที่กำหนดให้ในเนื้อหานั้น แต่ เรื่องที่ให้จะแตกต่างกับเนื้อเรื่องปกติคือ จะมีคำถามย่อยแทรกอยู่ในเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างคำนามกับคำสรรพนามในเนื้อเรื่อง อันจะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านให้ดียิ่งขึ้น การวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้นอกจากจะทำให้นักเรียนสามารถอ่านเรื่องอย่างมีสติสัมปชัญญะ เพราะต้องคิดอยู่ ตลอดเวลาและต้องพยายามทำความเข้าใจเรื่องโดยตลอดด้วย นอกจากประโยชน์ดังกล่าวยังพบว่า การกระตุ้น นักเรียนด้วยวิธีนี้ทำให้นักเรียนมีแรงขับ (Drive) ในการเรียนรู้มากขึ้น กล่าวคือ เนื้อเรื่องและคำถามในเรื่องจะ เป็นสิ่งเร้า (Stimulus) การที่นักเรียน เขียนคำตอบ คือ การตอบสนอง (Response) ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับ บทเรียนโปรแกรม และเป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ที่ดีตามทฤษฎีของดอลลาสและมิลเลอร์ (Dollard and Miller, 1982, pp.15-16) ที่กล่าวว่า การเรียนรู้ที่ดีต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 3.3.4 ทำความเข้าใจเรื่อง (Understanding the Text) คือ การตรวจสอบความ เข้าใจของนักเรียน โดยการให้นักเรียนเติมข้อความในประโยคปลายเปิดที่กำหนดให้ประโยคปลายเปิดที่เติม แล้ว จะเป็นข้อความที่สมบูรณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่านในการสร้างแบบฝึกหัด เติมข้อความ ครูผู้สอนต้อง พิจารณา อย่างรอบคอบว่า นักเรียนจะไม่สามารถลอกประโยคจากเนื้อเรื่องมาตอบได้แต่ถ้าครูผู้สอน คิดว่า ความสามารถของนักเรียน ยังไม่ถึงขั้นที่จะใช้ภาษาและสำนวนของตนเองได้ อาจจะปรับเปลี่ยน วิธีการโดยหา แรงขับ สิ่งเร้า การตอบสนอง การเสริมแรง


21 ประโยคที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง (Main Idea) มาเป็นประโยคให้นักเรียน เติมใจความให้สมบูรณ์ (Sentence – Completion Exercise) แทนก็ได้จากการทำกิจกรรม ในขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอน (การถามนก ก่อนการอ่าน-การทำความเข้าใจคำศัพท์-การอ่านเนื้อเรื่อง) ที่ผ่านมาแล้วจะเป็นพื้นฐานอย่างเพียงพอที่จะทำ ให้นักเรียนเข้าใจเนื้อเรื่องได้การช่วยให้นักเรียน เข้าใจเรื่องโดยวิธีนี้สอดคล้องกับความคิดของวิดโดสัน (Widdowson, 1979, pp.119-122) ที่กล่าวว่าแบบฝึกหัดเพื่อความเข้าใจนั้นจะต้องมีการเตรียมอย่างดี หมายความว่า จะต้องเสริมให้นักเรียนพยายามใช้คำพูดหรือเขียนออกมาเป็นภาษาของตน ซึ่งจะทำให้นักเรียน ได้เข้าไปร่วมแก้ปัญหาอย่างแท้จริง แบบฝึกหัดเพื่อความเข้าใจเรื่องเหล่านั้นได้แก่การเติมค าให้สมบูรณ์ (Completion) และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน รูปแบบอื่น (Transfermation) 3.3.5 การถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น (Transferring Information) คือ กิจกรรมที่ให้ นักเรียนนำความรู้หรือข้อมูลที่ได้รับจากการอ่านมาเสนอใหม่ในรูปแบบอื่น เช่น อาจจะให้นำคำหรือ ข้อมูลที่ ได้จากการอ่านมาเสนอในรูปตาราง แผนภูมิกราฟ หรือแผนที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความเหมาะสมของข้อมูล หากนักเรียนทำได้ก็ย่อมแสดงว่านักเรียนสามารถจบประเด็นสำคัญได้ Murdoch กล่าวว่า กิจกรรมเช่นนี้เป็น กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้อ่านหาทางแก้ไขปัญหา ไม่ใช่แบบฝึกหัดทั่ว ๆ ไปซึ่ง สอดคล้องกับความคิดของวินโดสัน (Widdowson, 1979, pp.141-142) กล่าวว่า กิจกรรมเชื่อมโยง ข้อมูล (Information Transfer) นี่เป็น กิจกรรมที่ดีเป็นการสอนภาษา เพื่อการสื่อสารด้วยการเขียนแทนคำพูด เป็นการแปลงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่ง ให้เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นหากครูคิดว่านักเรียนเข้าใจและมีความรู้ในสิ่งที่อ่านแล้วอาจให้นักเรียนแสดง ความสามารถในการอ่าน คือ ให้นักเรียนเขียนแทนคำพูด ซึ่งอาจจะให้เขียนในรูปของแผนผัง เป็นต้น และยัง กล่าวอีกว่ากิจกรรมแบบนี้จะช่วยส่งผลต่อนักเรียนถึง 2 ทางคือ พัฒนาความสามารถในการอ่านซึ่งเป็นการ สื่อสารจากคำพูดของผู้เขียนไปสู่ตัวหนังสือให้ผู้อ่านได้อ่านและอีกด้านหนึ่งคือ ช่วยพัฒนา ความสามารถด้าน การเขียนด้วย คือ แปลงข้อมูลที่ไม่ใช่คำพูด (Non - Verbal) ไปสู่คำพูด (Verbal) แล้วเขียนสรุปข้อความนั้น ออกมาโดยใช้ภาษาของตนเอง 3.3.6 การทำแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยคและเรียงโครงสร้างอนุเฉท (Jigsaw Exercise and Paragraph Structure) คือ กิจกรรมที่ครูแจกชิ้นส่วนประโยคที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรื่องที่อ่าน จำนวน หนึ่งให้แก่นักเรียนแต่ละกลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันต่อชิ้นส่วนประโยคเหล่านั้น ให้อยู่ในรูปของอนุ เฉท (Paragraph) ที่ถูกต้องและให้ได้ใจความสมบูรณ์ต่อเนื่องกันตาม ความคิดของเมอร์ด็อคแบบฝึกหัดเรียง โครงสร้างอนุเฉทมีประโยชน์มาก เพราะเป็นการฝึกพูดและคิดนักเรียน ต้องใช้สมาธิอย่างมากในการทำ กิจกรรมต่อชิ้นส่วนประโยค (Jigsaw) นี้อาจจะให้นักเรียนทำแบบกลุ่ม หรือรายบุคคลก็ได้ประโยคที่ให้ต้องเป็น เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น การทำกิจกรรมก็เพื่อต่อประโยคให้ถูกต้องอันจะ นำไปสู่การแก้ปัญหาหรือทราบเรื่องที่เกิดขึ้น การนำข้อมูลของแต่ละคนมาต่อกันนั้นนักเรียนในกลุ่มต้องพูด และถาม แล้วพิจารณาเลือกข้อมูลมาต่อกันให้เป็นเรื่องราวที่ถูกต้องและตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรม จะ พบว่านักเรียนให้ความสนใจและเกิด แรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างมาก


22 3.3.7 การประเมินผลและการแก้ไข (Evaluation and Correction) คือ การประเมินผล การเรียนนั้นมีอยู่ในเกือบทุกขั้นตอนแล้ว แต่ในขั้นตอนนี้ เป็นการประเมินผลงานส่วนรวมอีกครั้งหนึ่ง และการ แก้ไขด้านภาษาของนักเรียนที่พบในแบบฝึกหัดประกอบการอ่านเพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาให้ถูกต้อง 4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิทาน 4.1 ความหมายของนิทาน “นิทาน” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔(๒๕๔๖: ๕๘๘) อธิบาย ความหมาย ไว้ว่า “นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น” นอกจากนี้ยังมีท่านผู้รู้อธิบาย ความหมายไว้คล้าย ๆ กัน เช่น ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส (๒๕๑๘: ๙๙ - ๑๐๐) กล่าวถึง “นิทาน” ไว้ใน หนังสือ คติชาวบ้าน ว่า นิทานเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อ กันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อความสนุกสนาน เบิกบานใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อเสริมศรัทธาในศาสนา เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นคติเตือนใจ ช่วย อบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติเนื้อเรื่องของนิทานเป็นเรื่องนานาชนิด อาจเป็นเรื่อง เกี่ยวกับการผจญภัย ความรัก ความโกรธ เกลียด ริษยา อาฆาต ตลกขบขัน หรือเรื่องแปลก ประหลาด ผิดปกติธรรมดา ตัวละครในเรื่องก็มีลักษณะต่างๆกัน อาจเป็นคน สัตว์ เจ้าหญิง เจ้าชาย อมนุษย์ แม่มด นางฟ้า แต่ให้มีความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมต่าง ๆ เหมือนคนทั่วไปหรืออาจจะเหมือนที่เรา อยากจะเป็น เมื่อนิทานตกไปอยู่ในท้องถิ่นใดก็มักมีการปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของถิ่นนั้น นิทานในแต่ละท้องถิ่น จึงมีเนื้อเรื่องส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน คือ สภาพความเป็นมนุษย์ อารมณ์ความรู้สึกรัก เกลียด ความโง่ ฉลาด ขบขัน อาฆาตแค้น หรือทุกข์ สุข ส่วนรายละเอียดจะแตกต่าง ไปบ้างตามสภาพแวดล้อมและอิทธิพลของ วัฒนธรรมความเชื่อของ แต่ละท้องถิ่น วลัย วลิตธำรง (๒๕๒๕: ๒๒-๒๖) ได้ให้ความหมายของนิทานว่า หมายถึง เรื่องราวที่เล่า สืบต่อ กันมาเป็นทอด ๆ จนถึงปัจจุบัน นิทานอาจเป็นเรื่องที่อิงความจริงหรือมีการเล่าเสริมต่อให้สนุกสนาน ตื่นเต้น ลึกลับ หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาจากจินตนาการของผู้เล่าเองก็ได้ อาจสอดแทรกคติเตือนใจ หรือแนวทาง ปฏิบัติที่ถูกที่ควรในการดำรงชีวิตด้วย ทรงธรรม สุทธิธรรม (๒๕๓๔: ๕๖) ได้ให้ความหมายนิทานว่า เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา หรือ แต่งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่ความสนุกสนานหรือสอดแทรกแนวคิดคุณธรรม ลักษณะที่พึงประสงค์ แก่เด็ก เพื่อให้ สามารถปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสมในการดำรงชีวิตในสังคม เกริก ยุ้นพันธ์ (๒๕๓๙ อ้างถึงใน น้ำฝน ปิยะ, ๒๕๔๓: ๙) ให้ความหมายของนิทานว่า นิทาน คือ เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการผูกเรื่องขึ้น ให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน แฝงคำสอนจรรยา ในการใช้ชีวิต เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องของผู้เล่าให้คนรุ่นใหม่ฟัง ประคอง นิมมานเหมินท์ (๒๕๓๗: ๕๙) ให้ความหมายของคำว่า “นิทาน” ที่ใช้ในวิชาคติชนวิทยา หมายถึง เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง นิทานเหล่านี้บางทีเรียกว่า นิทาน พื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง นิทานชาวบ้าน


23 สุมามาลย์ พงษ์ไพบูลย์ (๒๕๔๒: ๗) กล่าวว่า นิทานเป็นคำศัพท์ภาษาบาลี หมายถึง คำเล่าเรื่อง ไม่ว่าเป็นเรื่องประเภทใด แต่อยู่ที่ลักษณะการเล่าที่เป็นกันเอง แม้จะเป็นข้อเขียนก็มีลักษณะคล้ายกับการเล่าที่ เป็นวาจา โดยใช้ภาษาพูดหรือภาษาปากในการเล่า จากความหมายดังที่กล่าวพอสรุปได้ว่า นิทาน คือ เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา โดยมีจุดมุ่งหมายที่ ความสนุกเพลิดเพลินเพื่อให้เด็กเกิดจินตนาการจากเรื่องที่อ่าน อาจเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่สมมุติขึ้น แต่ใน นิทานจะสอดแทรกคุณธรรม คติสอนใจ แง่คิด และวัฒนธรรมประเพณีเพื่อให้เด็กนำไปเป็นแบบอย่างหรือ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.2 ลักษณะของนิทาน การแบ่งนิทานตามแบบของนิทาน (Form) การแบ่งนิทานอย่างกว้างๆ อีกวิธีหนึ่ง คือ การแบ่ง ตามแบบ (Form) ของนิทาน แบ่งได้ดังนี้ 1. นิทานปรัมปรา (Fairy tale) นิทานปรัมปรานี้มาจากคำ Fairy tale ของภาษาอังกฤษว่าเทพ นิยาย ทำให้เกิดความสับสนปนกับนิทานอีกแบบหนึ่งคือ Myth เป็นนิทานที่ตัวบุคคลในเรื่องเป็นเทพหรือกึ่ง เทพโดยตรง ส่วนนิทานปรัมปรานี้ บางทีไม่มีเทพหรือนางฟ้ามาเกี่ยวข้อง นิทานปรัมปรานี้มีลักษณะที่เห็นได้ ชัด คือ 1. เป็นเรื่องค่อนข้างยาว มีสารัตถะ (Motif) หลายสารัตถะประกอบอยู่ในนิทานนั้น 2. เป็นเรื่องที่สมมติว่าเกิดขึ้นในที่ใดที่หนึ่ง แต่สถานที่ไม่บ่งชัด เช่น ขึ้นต้นว่า “ในกาลครั้งหนึ่ง…” เมื่อใดไม่ชัด มีพระราชาองค์หนึ่งครอบครองเมืองแห่งหนึ่ง แต่เมืองอะไรไม่ระบุ 3. ตัวบุคคลในนิทาน ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาที่มีความจริงตามสภาพปกติของมนุษย์ 4. เนื้อเรื่องจะประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ อำนาจอันพ้นมนุษย์วิสัยต่างๆ 5. ตัวเอกของเรื่อง มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น เป็นผู้มีอำนาจ มีบุญ มีความสามารถ มีฤทธิเดช ทำให้ ศัตรูพ่ายแพ้ไปถ้าเป็นชายมักจะได้แต่งงานกับหญิงสูงศักดิ์ แล้วครอบครองบ้านเมืองอยู่เป็นสุขไปเกือบชั่วกาล นาน ถ้าเป็นหญิงมักจะมีนัยคล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะมีกำเนิดต่ำต้อยหรือตกทุกข์ได้ยากในตอนต้น แต่ในที่สุดจะ ได้แต่งงานดีมีความสุขยั่งยืน สิ้นศัตรูและอุปสรรคในบั้นปลาย นิทานแบบนี้มีอยู่ทั่วไปในโลกทั้งทางตะวันตก และทางตะวันออก เช่น เรื่องนางสิบสอง สังข์ทอง ปลาบู่ทอง สโนไวท์ ซินเดอเรลลาและเจ้าหญิงนิทรา 2. นิทานท้องถิ่น (Legend) นิทานประเภทนี้ มีขนาดสั้นกว่านิทานปรัมปรา มัก เป็นเรื่องเหตุการณ์เดียวและเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี โชคลาง หรือคตินิยมอย่างใดอย่าง หนึ่ง ของคนแต่ละท้องถิ่น แม้ว่าจะเป็นเรื่องแปลกพิสดาร พ้นวิสัยความจริงไปบ้างก็ยังเชื่อว่า เรื่องเหล่านี้เกิด จริงเป็นจริง มีบุคคลจริง มีสถานที่จริงที่กำหนดแน่นอนกว่านิทานปรัมปรานิทานท้องถิ่นอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวิตของวีรบุรุษประจำชาติ หรือประจำเมือง เช่น ท้าวแสนปม พระร่วง พระยากง พระยาพาน หรือเป็นเรื่อง นางไม้นางนาก นางเงือก ที่ปรากฏกายมีเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ตามเรื่องในนิทาน นิทานท้องถิ่นจำแนกออกเป็น 6 ประเภทดังนี้1) นิทานประเภทอธิบาย (Explanatory Tale) เช่น อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ เช่น เหตุใดกาจึงมีขนดำ ทำไมพระราหูกับพระจันทร์จึงเป็นอริต่อกัน อธิบายสาเหตุความเชื่อบางประการ เช่น


24 ห้ามนำน้ำส้มสายชูเข้าไปในเมืองลพบุรี และอธิบายชื่อสถานที่ต่างๆ ว่า เหตุใดจึงมีชื่อเช่นนั้น เช่น ภูเขา เกาะ ถ้ำ เมือง ตำบลและโบราณสถานสำคัญๆ ล้วนมีประวัติความเป็นมาทำนองนิทานอธิบายว่าเหตุใดจึงมีชื่อเรียก เช่นนั้น เช่น เขาอกทะลุในจังหวัดพัทลุง เกาะหนู เกาะแมวในจังหวัดสงขลา ประวัติชื่อตำบล “สามเสน” ใน กรุงเทพฯ 2) นิทานที่เกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ เช่น โชคลาง เรื่องผีชนิดต่างๆ เปรต เงือก นางไม้ เรื่องเกี่ยวกับ ไสยศาสตร์ การใช้คาถาอาคมและเวทมนต์ ความเชื่อเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในสมัยดึกดำบรรพ์ก่อนโลก จะเจริญ 3) นิทานเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้ มีลายแทงแนะให้หาสมบัตินั้นๆ เช่น เรื่องปู่โสมเฝ้าทรัพย์4) นิทาน วีรบุรุษ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงคุณธรรม ความฉลาดความสามารถและความองอาจกล้าหาญของบุคคล ส่วนมาก จะเป็นวีรบุรุษของชาติบ้านเมือง คล้ายคลึงกับนิทานปรัมปรา มักมีตัวเอกเป็นวีรบุรุษเหมือนกัน นิทานท้องถิ่น ประเภทวีรบุรุษนี้ มักมีกำหนดสถานภาพที่มีกำหนดเวลาแน่ชัดขึ้น แม้ว่าจะมีเรื่องพ้นอำนาจวิสัยมนุษย์ ธรรมดาประกอบอยู่บ้างแต่พอที่จะทำให้ผู้ฟังเชื่อว่าอาจเป็นความจริงมากกว่านิทานแบบปรัมปรา เช่น เรื่อง ท้าวแสนปม พระร่วงวาจาสิทธิ์ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ไกรทอง เป็นต้น 5) นิทานคติสอนใจ เป็นเรื่องสั้นๆ ไม่ สมจริง เจตนาจะสอนความประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เรื่องหนูกัดเหล็ก ชาดกต่างๆ ที่พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นคนและสัตว์6) นิทานที่เกี่ยวกับนักบวชต่างๆ เป็นนิทานเกี่ยวกับอภินิหารของนักบวชที่เจริญ ภาวนาจนมีญาณแก่กล้า มีอิทธิฤทธิ์พิเศษ เช่น เรื่องหลวงพ่อโคะ (หลวงพ่อทวด) 3. เทพนิยาย (Myth) เทพนิยาย (Myth) นี้จะหมายถึงนิทานที่เทวดา นางฟ้า เป็นตัวบุคคลใน นิทานนั้น เรื่องพระอินทร์หรือเป็นแต่เพียงกึ่งเทวดาอย่างเช่น เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เจ้าแม่ต่างๆ เทพนิยาย เหล่านี้มักมีส่วนสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ปฏิบัติในทางศาสนา ตัวบุคคลใน เรื่อง อาจมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวเอกในนิทานท้องถิ่น ประเภทวีรบุรุษ แต่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องทาง ศาสนาปนอยู่ อาจเนื่องมาจากความนิยมในวีรบุรุษแห่งท้องถิ่นมาก่อน ต่อมาจึงได้ยกย่องขึ้นเป็นเทวดา หรือ เนื่องมาจากความเลื่อมใสลัทธิศาสนาทำให้คิดแต่งตั้งเทวดาขึ้นก็ได้นิทานประเภทนี้ ได้แก่เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ พระอินทร์ท้าวมหาสงกรานต์เมขลา – รามสูร นารายณ์สิบปาง เป็นต้น 4. นิทานเรื่องสัตว์ (Animal Tale) นิทานประเภทนี้มีตัวสัตว์เป็นตัวเอก แต่สมมติว่ามีความคิด และการกระทำต่างๆ ตลอดจนพูดจาอย่างมนุษย์ธรรมดา บางเรื่องแสดงความเฉลียวฉลาดหรือความโง่เขลา ของสัตว์จุดเด่นที่น่าสนใจของเรื่องอยู่ที่ ข้อขบขัน การตบตาหลอกลวงกันหรือเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้และที่เป็น ชนิดมีคติสอนใจสอนความประพฤติก็มีเป็นอันมากนิทานเรื่องสัตว์นี้ เป็นเรื่องสัตว์ป่า สัตว์บ้าน บางเรื่องก็เป็น เรื่องที่มีคนมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย แต่ทั้งคนทั้งสัตว์นั้นจะพูดโต้ตอบกัน และปฏิบัติกันเหมือนหนึ่งว่าเป็นมนุษย์ เหมือนกัน นิทานชนิดที่สอนศีลธรรมต่างๆ นั้นเป็นที่นิยมกว้างขวางทั่วโลก เรื่องชาดกบางเรื่องมีมาก่อน ศาสนาสำคัญๆ เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ เสียอีก นิทานเรื่องสัตว์ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) นิทานประเภทสอนคติธรรม (Fable) นิทานประเภทนี้ตัวเอกจะต้องเป็นสัตว์ เช่น เรื่องราชสีห์กับหนูชาดก ต่างๆ ที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสัตว์หลายชนิด นิทานสุภาษิตบางเรื่อง 2) นิทานประเภทเล่าซ้ำหรือเล่า ไม่รู้จบ (Cumulative Tale) เช่น เรื่องยายกะตา ปลูกถั่วให้หลานเฝ้า หลานไม่เฝ้า กามากินถั่วกินงา ฯลฯ นิทานชนิดนี้มีเนื้อเรื่องและวิธีเล่าเป็นแบบจำเพาะ บางที่เรียกว่า Formular Tale ตัวอย่างเรื่องประเภทนี้ ได้แก่ Gingerbread Boy, The House that Jack Built, The Old Woman and Her Pig (กล่อมจิตต์ พลาย


25 เวช. 2526: 105.) 5. นิทานตลกขบขัน (Jest) นิทานพื้นบ้านลักษณะนี้ มักเป็นเรื่องสั้นๆ จุดสำคัญของเรื่อง ตลกขบขันนี้ อยู่ที่มีเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ต่างๆ เกี่ยวกับความโง่และกลโกง การแก้เผ็ดแก้ลำ การแสดงปฏิภาณ ไหวพริบ การพนันขันต่อ การเดินทางและการผจญภัยที่ก่อเรื่องผิดปกติในแง่ขบขันต่างๆตัวเอกของเรื่องตลก บางทีไม่ใช่คนฉลาดสามารถ แต่เป็นคนโง่เง่าอย่างที่สุด มักจะทำเรื่องผิดปกติวิสัยที่มนุษย์มีสติปัญญาตาม ธรรมดาเขาทำกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องตลกขำขันที่ตัวเอกเป็นคนมีสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ เช่น เรื่องศรี ธนญชัย เป็นต้น (กล่อมจิตต์ พลายเวช. 2526: 105.) 4.3 ประเภทของนิทาน นิทานแบ่งออกได้หลายประเภท ตามแต่จะใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น แบ่งตามรูปแบบ ทฤษฎีวิวัฒนาการของนิทาน แบ่งตามยุคสมัย แบ่งตามเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หรือแบ่งตามรูปแบบของนิทาน เป็นต้น ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ และ วรรณี ศิริสุนทร (2542) ได้แบ่งรูปแบบของนิทานได้คล้ายกัน ดังต่อไปนี้ 1. นิทานพื้นบ้าน (Folk tales) เป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมาช้านาน ภายหลังมีการเขียนขึ้นตาม เค้าเดิมบ้าง จดจำเรื่องราวมาเขียนบ้าง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 2. นิทานปรัมปราหรือเทพนิยาย (Fairy tales หรือ Tales of magic) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวดา นางฟ้า เวทย์มนต์ เป็นเรื่องที่สมมติว่าเกิดขึ้นที่โน่นที่นั่น แต่ไม่กำหนดได้แน่นอน 3. นิทานเทพปกรณัม หรือ เทพปกรนัม (Myth) เป็นนิทานเกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา ความ เชื่อ เกี่ยวกับเทพเจ้า 4. นิทานพื้นเมืองนานาชาติ (Folk tales from other countries) เช่น อาระดินกับตะเกียงวิเศษ 5. นิทานชวนขัน (Jest หรือ Humorous tales) เป็นนิทานตลกขบขัน เช่น หัวล้านนอกครู 6. นิทานเกี่ยวกับสัตว์ (Animal tales) เช่น สัตว์พูดได้ 7. นิทานไม่รู้จบ (Commulative tales) เช่น ยายกะตา เรื่อง One Fine Day 8. นิทานเรื่องผี อาจแต่งขึ้นใหม่ หรือเอามาจากเค้าโครงเรื่องจริง เช่น นางนาคพระโขนง 9. มหากาพย์และวีรบุรุษ (Epic and hero taes) เป็นนิทานเกี่ยวกับมนุษย์ที่เป็นผู้กล้าหาญ เป็น วีรบุรุษ นิทานพงศวดาร นิทานที่มีชื่อบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ในอดีต เช่น เรื่องพระร่วง เรื่องขอม ด่าคน 10. นิทานสมัยใหม่ๆทั่วๆไป เป็นนิทานที่แต่งขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเพื่อสอนให้เป็นเด็กดี เช่น เป็นคนซื่อสัตย์ เป็นคนกล้าหาญ ตรงต่อเวลา เป็นต้น 11. นิทานคติธรรมหรือนิทานชาดก (Jatakas) เป็นเรื่องของพุทธศาสนาก่อนสมัยพุทธกาล เกี่ยวกับชาติปางก่อนๆของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่เป็นสัตว์จนกระทั่งตรัสรู้ 12. นิทานชวนเพ้อฝัน (Fantasia story) มีเรื่องราวความสวยงาม สนุกสนานตื่นเต้น เจ้าหญิง เจ้าชาย หรือกระทั่งคนธรรมดา


26 จากการแบ่งประเภทของนิทานที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่า นิทานแบ่งได้หลายประเภท ตามแต่จะใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งลักษณะของนิทาน โดยทั่วไป เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ มี โครงเรื่องที่ไม่ซับซ้อน และมีเนื้อหาที่สอดแทรกแนวทางในการดำเนินชีวิต และคติสอนใจ 4.4 จุดประสงค์ของนิทาน สมศักดิ์ ปริปุรณะ (2542, หน้า 7-11 ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมาเคาะนิพานไว้ดังนี้ 1. ใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม 1.1 เพื่อลดความตึงเครียดของครอบครัว 1.2 เพื่อลดความกดดันจากกฎเกณฑ์ และระเบียบทางสังคม 1.3 เพื่อสอบระเบียบของสังคม 1.4 เพื่อถ่ายทอดความเชื่อและพิธีกรรม 1.5 เพื่อสร้างเอกลักษณ์ และประวัติของท้องถิ่นในแต่ละท้องถิ่น 1.5.1 อธิบายประวัติของสถานที่ 1.5.2 บันทึกประวัติผู้นำท้องถิ่น 1.5.3 บันทึกประวัติศาสตร์ของกลุ่มชน 2. ใช้เป็นเครื่องมือและสื่อในการเรียนการสอนจุดมุ่งหมายของนิทานที่ใช้เป็นเครื่องมือ และ สื่อในการ เรียนการสอนมีดังต่อไปนี้ 2.1 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับเนื้อหาที่สอน 2.2 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับตัวผู้เรียน 2.3 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับสื่อและเทคนิคการสอน 2.4 จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับวิธีสอน จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่าจุดมุ่งหมายของการเล่านิทาน คือ เพื่อความบันเทิงและ เหตุผลในด้านที่ต้องการอบรมกล่อมเกลาจิตใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังนิทานได้รับข้อคิดดีๆ สร้างความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งนิทานยังเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในการสร้าง บรรยากาศที่ดี รวมทั้งช่วยฝึกทักษะ ทางภาษา ทักษะทางการคิด และนิทานยังก่อให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย 4.5 หลักในการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก อรอนงค์ โชคสกุลและศรีอัมพร ประทุมนันท์ (2544, หน้า10-12) ได้กล่าวถึงลักษณะของหนังสือ สำหรับเด็ก ดังนี้ 1. เนื้อหาของหนังสือต้องมีความเหมาะสมกับวัย ระดับชั้นและความสนใจของเด็ก เนื้อหาจะต้อง มีความสนุกสนาน มีการดำเนินเรื่องน่าสนใจ ไม่ใช้การบรรยายมากเกินไป ไม่ทำให้น่าเบื่อ เด็กเล็ก ๆ ควรมี เนื้อหาเพียงเล็กน้อยใน 1 หน้า ถ้าเป็นเด็กที่โตขึ้น เนื้อหาจะเพิ่มขึ้นตามวัยของเด็กได้แต่ต้องดูความเหมาะสม เป็นเกณฑ์ในการจัดทำเนื้อหา


27 2. เนื้อหาต้องมีแก่นของเรื่องหรือวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน เนื้อหาของหนังสือระดับเด็กเล็กควรมี ความคิดรวบยอดเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายไม่สับสน ส่วนเนื้อหาของเด็ก ที่กำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น จะมี ความคิดรอบยอดมากกว่าหนึ่งก็ได้ แต่ต้องสอดคล้องกันอย่างมีระบบและมีความเหมาะสมกลมกลืนได้เป็น อย่างดีอีกด้วย 3. เนื้อหาจะต้องมีรูปแบบที่ชัดเจน เช่น จะเขียนเนื้อหาเป็นบทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรอง ก็ควร จะกำหนดให้แน่นอนก่อนจะลงมือเขียน นอกจากจะกำหนดการเขียนเป็นบทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองแล้ว ยัง จะต้องกำหนดให้ชัดเจนอีกว่าจะเขียนเนื้อหาในรูปแบบใด เช่น นิทาน นิทานพื้นบ้าน เรื่องสั้น บทละคร บันทึก เรื่อง สารคดี เป็นต้น 4. สำนวนภาษา ลักษณะการเขียนประโยคในหนังสือเด็ก สำนวนภาษาและประโยคที่จะนำมา เขียนในหนังสือเด็กจะต้องเป็นภาษาง่าย ๆ อ่านแล้วสามารถเข้าใจความหมายได้โดย ไม่ต้องนำมาแปลอีกครั้ง และการเขียนทุกคำจะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา เด็ก ๆ จะได้นำไปใช้อย่างถูกต้องทั้งในด้า นการ เขียนและการนำไปใช้ต่อไป 5. ภาพประกอบที่ใช้ในหนังสือสำหรับเด็ก การใช้ภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กมีหลายวิธี เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพตัดแปะ เป็นต้น ในการนำภาพมาประกอบหนังสือสำหรับเด็ก เป็นเรื่องสำคัญ อย่างยิ่งที่ผู้จัดทำจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เพื่อจะทำภาพได้อย่าง เหมาะสมตามความสนใจและพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เช่น เด็กก่อนวัยเรียน (อายุ2 -6 ขวบ) ควรเป็น หนังสือที่มีภาพมาก ๆ มีตัวหนังสือประกอบได้เล็กน้อย แต่สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น (อายุ 12-14 ขวบ) ไม่ จำเป็นต้องมีภาพประกอบทุกหน้า 6. ขนาดตัวอักษรและขนาดของรูปเล่ม ในการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก ขนาดตัวอักษรที่ใช้ในเนื้อ เรื่อง ควรจะให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก เช่น เด็กวัยก่อนเรียน ใช้ตัวอักษรโต ขนาดประมาณ 20-30 พอยท์ (ประมาณ 1/2 ช.ม.) และตัวอักษรที่ใช้ไม่ควรเป็นตัวอักษรลวดลาย ควรเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบที่ชัดเจน อ่าน ง่าย การเขียนอักษรแต่ละตัวถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา เด็กวัยที่สูงขึ้น ตัวอักษรจะมีขนาดลดลงได้ตาม ความเหมาะสม สำหรับขนาดของรูปเล่ม หนังสือสำหรับเด็กควรมีขนาดไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จำนวนหน้าก็ เช่นเดียวกัน ต้องมีจำนวนเหมาะสมกับวัยของเด็ก จำนวนหน้าของหนังสือสำหรับเด็กที่นิยมจัดทำกัน มีดังนี้ 1. จำนวน 8-16 หน้า สำหรับเด็กวัย 2-5 ขวบ 2. จำนวน 16 -32 หน้า สำหรับเด็กวัย 6-11 ขวบ ขนาดรูปเล่มของหนังสือสำหรับเด็ก 1. ขนาด 8 หน้ายก (18.5 × 26 ซ.ม.) 2. ขนาด 16 หน้ายกเล็ก (13 × 18.5 ซ.ม.) 3. ขนาด 16 หน้ายกใหญ่ (14.8 × 21 ซ.ม.) การจัดทำขนาดรูปเล่มจะเป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ ในการจัดทำรูปเล่ม การเข้าเล่มก็เป็นส่วน สำคัญเพราะถ้าเราทำรูปเล่มไม่แข็งแรง จะทำให้หนังสือขาดได้ง่าย ไม่สะดวกในการนำไปอ่านของเด็กๆ


28 ปกของหนังสือจึงควรใช้กระดาษหนาทำปกแข็งเพื่อ ความแข็งแรงและคงทน นอกจากลักษณะหนังสือสำหรับ เด็กที่กล่าวมาแล้ว ในตอนท้ายสุด ของหนังสือสำหรับเด็ก อาจจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและมี ความสัมพันธ์กับหนังสือให้เด็ก ๆได้ทำกิจกรรมนั้น ๆ หลังจากอ่านหนังสือสำหรับเด็กจบแล้ว เช่น คำอธิบาย ศัพท์ คำถาม แบบฝึกหัด เกม หนังสืออ้างอิง เป็นต้น ถวัลย์ มาศจรัส (2538, หน้า 28) กล่าวถึงข้อสรุปเรื่องที่เด็กสนใจ จากการประชุมปฏิบัติการ เขียนหนังสือสำหรับเด็กที่มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ (ประสานมิตร) ร่วมกับ UNESCO ระหว่างวันที่ 18-28 พฤษภาคม 2533 นั้นได้สรุปเรื่องที่เด็กสนใจดังนี้ 1. อายุ 1-3 ปี จะชอบเรื่องสั้น ๆ มีตัวละคร 2-3 ตัว โครงเรื่องไม่ซับซ้อนและ จบเรื่องด้วยความ สมหวัง 2. อายุ 4-5 ปี จะชอบเทพนิยาย นิยายเกี่ยวกับสัตว์ ชอบฟังเพลงเห่กล่อม 3. อายุ 5-8 ปี สนใจภาพ ชอบเรื่องง่าย ๆ ที่อ่านเข้าใจด้วยตัวเอง ประเภท เทพนิยาย นิยาย พื้นบ้าน ถ้าโครงเรื่องซับซ้อนไม่มากนักเด็กจะเข้าใจได้ 4. อายุ 8-10 ปี ชอบนวนิยาย สารคดี ชอบอ่านหนังสือด้วยตนเอง ชอบอ่านหนังสือที่มีเนื้อหา สาระ เรื่องวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ เครื่องยนต์กลไก ชีวประวัติของบุคคลสำคัญเด็กผู้หญิงสนใจโคลง กลอน ส่วนเด็กผู้ชายไม่ค่อยชอบ ภาษาที่ใช้เขียน เรื่องให้เด็กวัยนี้อ่านควรใช้ภาษาพูด เด็กจะให้ความสนใจติดตาม อ่าน 5. อายุ 11-16ปี การเขียนเรื่องให้เด็กวัยนี้อ่าน จะต้องใช้เทคนิคและกรรมวิธี เช่นเดียวกับการ เขียนเรื่องสำหรับผู้ใหญ่ เด็กวัยนี้ขอบอ่านเรื่องยาว เรื่องที่มีเนื้อหาสาระ เรื่องสมจริง” เกริก ยุ้นพันธ์ (2539, หน้า 68) กล่าวถึงหลักในการเลือกเรื่องนิทานสำหรับเด็กไว้ดังนี้ “เรื่องที่เล่า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับวัยต่าง ๆ ของเด็ก 1. จะต้องพิจารณาเรื่องเวลาให้เหมาะสมกับการเล่านิทาน สำหรับเด็กวัยต่าง ๆ ซึ่งมีช่วง ระยะเวลาความสนใจและสมาธิการฟังแตกต่างกัน 2. จะต้องเป็นเรื่องสำหรับเด็กที่ผู้เล่าสนใจและชื่นชอบ 3. ผู้เล่าจะต้องเลือกเรื่องที่จะใช้เล่า ให้เหมาะสมกับวิธีและกระบวนการเล่าแบบต่างๆ 4. เรื่องที่เลือกมาเล่า จะต้องมีเนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม และมีความยาวของเรื่องพอเหมาะ พอดี 5. เนื้อหาของเรื่องจะต้องมีสาระ ค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเหมะ สมกับการปลูกฝังความดีและความงาม” หนังสือนิทานสำหรับเด็ก เป็นสื่อสำคัญอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถทำ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ ซึมซับอย่างไม่รู้ตัว การเขียนหนังสือนิทานสำหรับเด็กต้องมีลักษณะการเขียนที่ ดีเพื่อให้ผู้เรียนสนใจและอยากอ่าน เนื้อหาต้องมีสาระ ขนาดตัวอักษร สำนวนภาษาเข้าใจง่ายเหมาะสมกับวัย รูปภาพมีสีสันน่าสนใจและอยากอ่าน


29 จากหลักการจัดทำหนังสือนิทานข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่า การจัดทำหนังสือนิทานสำหรับเด็กจะ เน้นไปที่เนื้อหาที่เหมาะสมกับช่วงวัย เนื้อหาหรือแก่นสาระจะต้องชัดเจน มีการวาดรูปแบบของนิทานที่ชัดเจน รวมไปถึงการใช้สำนวนภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับช่วงวัย การเขียนประโยคไม่ซับซ้อน สามารถอ่านแล้ว เข้าใจความหมายได้เลย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งอีกหนึ่งประการคือ ภาพประกอบเพราะจะช่วยให้ผู้อ่านเกิด จินตนาการและสามารถเข้าใจเรื่องราวได้อย่างถูกต้องชัดเจน 4.6 ขั้นตอนการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (2527, หน้า 12-21) ได้เสนอขั้นตอนการทำหนังสือสำหรับเด็ก ดังนี้ ขั้น 1 ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสือเด็ก โดยศึกษาจากตำรา เอกสารต่าง ๆ การอบรม สัมมนา ศึกษาจากหนังสือสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลจากการประกวด เป็นต้น ขั้น 2 เขียนโครงเรื่อง (Plot) จะทำให้ทราบว่าเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร พร้อมกับบอกแกนของ เรื่อง เพื่อจะได้ทราบว่าหนังสือเด็กเรื่องนั้นมีแกนของเรื่องอย่างไร แล้วจึงคิดผูกเป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ขั้น 3 เนื้อเรื่องย่อ คือ การเขียนเนื้อเรื่องย่อ ๆ ของเรื่องที่จะแต่งขึ้นมา ทำให้ผู้อ่านทราบได้ว่า เนื้อเรื่องนี้ มีเนื้อเรื่องย่อเกี่ยวกับอะไร ซึ่งจะละเอียดกว่าโครงเรื่อง ขั้น 4 เขียนบทสคริปต์ (Script) คือ การนำเรื่องราวที่ได้จากโครงเรื่องมาเขียนบอก ขั้นตอนของ เนื้อเรื่องและรูปภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดวางภาพและรูปเล่ม ของหนังสือตั้งแต่หน้าปกจนถึงหน้า สุดท้าย ขั้น 5 การทำดัมมี่ (Dummy) คือ การทำหนังสือจำลองของหนังสือที่จะทำขึ้นมา โดยทำ รายละเอียดจากบทสคริปต์มาเขียนและวาดรูปหรือทำสัญลักษณ์แทนรูป เป็นการทดลองก่อนที่จะพิมพ์เป็น เล่ม เพื่อดูความเหมาะสม ขั้น 6 การทำรูปเล่ม (Format) คือ การทำหนังสือจริง ๆ ได้แก่ การวาดภาพ คำบรรยายรวมทั้ง การวางหน้า การจัดภาพ (layout) ของหนังสือให้เหมาะสมโดยดูจากดัมมี่ สำหรับขนาดของรูปเล่มมีหลาย ขนาดที่นิยมคือ ขนาดเล็ก13 ซม.×18.5 ซม. หรือ 16 หน้ายก ขาดกว้าง 14.6 ซม.× 21ซม. หรือ 16 หน้ายก ใหญ่ ลักษณะของรูปเล่มมี 2 ลักษณะ คือ แบบแนวตั้งและแบบแนวนอน ขั้น 7 การตั้งชื่อเรื่อง ต้องน่าสนใจ น่าติดตามอ่าน โดยอาศัยการพิจารณาจาก เนื้อเรื่อง ในการ สร้างหนังสือที่ดีสำหรับเด็ก ผู้สร้างต้องการวางแผนที่ดีเพราะจะช่วยให้หนังสือ ที่จัดทำขึ้นมีคุณค่า น่าอ่านชวน ติดตาม ตลอดจนจูงใจให้เด็กรักการอ่านยิ่งขึ้น ถวัลย์ มาศจรัส (2539, หน้า41-47) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเขียนหนังสือ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ปัจจุบันสอนกลุ่มประสบการณ์อะไร ขั้นที่ 2 จะเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่เท่าไร ขั้นที่ 3 เขียนเรื่องอะไร (แล้วตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้) 1) เขียนทำไม เพื่ออะไร 2) เนื้อหาเป็นอย่างไร


30 3) สาระที่ได้คืออะไร 4) รูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร (ร้อยแก้วหรือร้อยกรอง) ขั้นที่ 4 หาข้อมูลจากที่ไหน ขั้นที่ 5 วางแผนการเขียนไว้อย่างไร ขั้นที่ 6 จะลงมือเขียนเมื่อไร และกำหนดจะให้แล้วเสร็จเมื่อได ขั้นที่ 7 ลงมือเขียน จากที่กล่าวมาข้างตน ผู้วิจัยสรุปได้ว่า การสร้างหนังสือสำหรับเด็กต้องสร้างเป็นลำดับ ขั้นตอน เป็นการปฏิบัติที่มีแบบแผน ทั้งยังเป็นการสร้างวินัยให้กับตนเองอีกด้วย และต้องศึกษาข้อมูลจากงาน เอกสารและแหล่งต่าง ๆหลาย ๆ แหล่ง เพื่อจะได้นำความรู้และประสบการณ์ มาเป็นแนวทางสำหรับพัฒนา หนังสือให้ได้หนังสือที่มีคุณภาพและน่าสนใจ 4.7 ประโยชน์ของนิทานที่มีต่อการเรียนการสอน นิทานเป็นเรื่องราวที่ช่วยเด็ก ให้เกิดความเข้าใจในเชิงรูปธรรมเพราะมีตัวละคร พฤติกรรมและ ปัญหาของตัวละครซึ่งเป็นเด็กวัยเดียวกันย่อมโน้มน้าวให้อยากประพฤติกรรมเลียนแบบ หรือ เอาอย่างได้ ม.ส. จ้อย นันทิวัชรินทร์ (2526, หน้า 44-46) กล่าวถึงคุณค่าของนิทานว่า การเล่านิทานเป็นการ เรียนรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ วิธีหนึ่งที่ไม่มีแบบแผนเป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลเร็วมากกว่าการเรียนรู้อย่างมีระบบ แบบแผน เด็กจะพอใจที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากนิทานตั้งแต่เมื่ออ่านหนังสือเองได้ จึงแสวงหาประสบการณ์ จากการ อ่าน และได้เลือกสิ่งที่ต้องการอ่านด้วยตนเอง จะช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ล้วน เลิศอาวาส (2542 หน้า 6) กล่าวถึงประโยชน์ของนิทาน สรุปได้ว่านิทานเป็นเรื่องที่เด็กชอบ ฟังนิทานมีทั้งอารมณ์ขบขัน ตื่นเต้น รัก โกรธ หลง เศร้าโศกของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์ พืช เทวดา ภูติ ปีศาจ นิทานยังช่วยส่งเสริมทักษะการอ่าน พูด ฟัง และเขียน เป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ครู ศิษย์ และ สังคม ให้มีความสนิทสนมใกล้ชิดกัน จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่า นิทานเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน และ เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอ่าน เพราะนิทานเป็นสิ่งที่เด็กระยะเริ่มฝึกอ่าน สนใจการใช้นิทานเป็นสื่อในการ พัฒนาทักษะการอ่าน จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถจำคำ อ่านคำและนำไปใช้ได้อย่าง เหมาะสม นอกจากนี้ นิทานยังสามารถปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีแก่ผู้อ่าน รวมทั้งให้ความรู้สึก สนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย การจัดทำนิทานเพื่อให้เป็นสื่อในการพัฒนาทักษะการอ่านสำหรับเด็กประถม ควรมีตัวละครเป็นสัตว์หรือคนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเด็ก เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน มีตัวละครไม่มากนัก ไม่เป็นเรื่องที่น่ากลัว โหดร้าย ครูต้องใช้ภาษาง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก ใช้ท่าทางน้ำเสียง รูปภาพ ประกอบการเล่นิทานจึงจะน่าสนใจ


31 5. ความพึงพอใจ 5.1 ความหมายของความพึงพอใจ ความพึงพอใจความหมายที่หลากหลายซึ่งได้จากแนวคิดแต่ละทัศนะตามกรอบความคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคลยึดถือ มีรายละเอียด ดังนี้ ความหมายของความพึงพอใจ นักวิชาการได้ ให้ความหมายไว้แตกต่างกัน ดังนี้ ไชยยัณห์ ชาญปรีชารัตน์ (2543 : 52) ได้สรุปความพึงพอใจไว้ว่า หมายถึง ความรู้สึกของ บุคคล ที่มีต่องานที่ปฏิบัติในทางบอก คือ รู้สึกชอบ รัก พอใจหรือเจตคติที่ดีต่องาน ซึ่งเกิดจากได้รับการตอบสนอง ความต้องการทั้งด้านวัตถุ และด้านจิตใจเป็นความรู้สึกที่มีความสุข เมื่อได้รับความสําเร็จตามความต้องการ หรือแรงจูงใจ อานนท์ กระบอกโท (2543 : 33) ได้สรุปความหมายไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึก หรือ เจตคติที่ดีต่อการทำงานนั้น เช่น ความรู้สึกชอบ ภูมิใจ สุขใจเต็มใจและยินดีจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจในการ ทำงาน มีการเสียสละอุทิศแรงกาย แรงใจและสติปัญญาให้แก่งานอย่างแท้จริง ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2544 : 9) ได้กล่าวถึงความหมายไว้ว่า หมายถึง ความรู้สึกของ บุคคล ที่มีต่อการทำงานในทางบวกเป็นความสุขของบุคคลที่เกิดจากการปฏิบัติงานและได้ผลตอบแทน คือ ผลที่เป็น ความพึงพอใจที่ทำให้เกิดความกระตือรือร้นมีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน มีขวัญและกำลังใจ สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รวมทั้งการส่งผลต่อความสําเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายของ องค์กร มูส (Morse อ้างถึงใน ศุภสิริ โสมาเกตุ, 2544 : 48) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถถอดความเครียดของผู้ที่ทำงานให้ลดน้อยลง ถ้าเกิดความเครียดมากจะทำให้ เกิดความไม่พอใจในการทำงานและความเครียดนี้มีผลมาจากความต้องการของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มีความ ต้องการมากจะเกิดปฏิกิริยาเรียกร้องหาวิธีตอบสนอง ความเครียดก็จะน้อยลงหรือหมดไป ความพึงพอใจก็จะ มากขึ้น นึกคิด ความเชื่อ การแสดงความรู้สึกความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแสดงพฤติกรรมออกมา 2 ลักษณะ คือ ทางบวกซึ่งแสดงในลักษณะความชอบ ความพึงพอใจ ความสนใจ เห็นด้วย ทำให้อยากทำงาน หรือปฏิบัติกิจกรรม อีกลักษณะหนึ่งคือ ทางลบ ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะของความเครียด ไม่พึงประสงค์ ไม่ พอใจ ไม่สนใจ ไม่เห็นด้วย อาจทำให้บุคคลเกิดความเบื่อหน่ายหรือต้องการหนีห่างจากสิ่งนั้น นอกจากนี้ความ พึงพอใจอาจจะแสดงออกในลักษณะความเป็นกลางก็ได้ เช่น รู้สึก เฉยๆ ไม่รักไม่ชอบ ไม่น่าสนใจในสิ่งนั้นๆ ใหม่ จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยสรุปได้ว่า ความพึงพอใจหมายถึง การที่บุคคลมีความรู้สึก ความคิดเห็น ชอบ ภูมิใจ สุขใจ เต็มใจและยินดีต่องานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ 2 ลักษณะ คือทางบวกความชอบ ความพึงพอใจ ความสนใจ เห็นด้วย ทางลบ คือ ความเครียด ไม่พึงประสงค์ ไม่พอใจ ไม่ สนใจ ไม่เห็นด้วย


32 5.2 เครื่องมือวัดความพึงพอใจ จากการศึกษาการวัดความพึงพอใจ จากนักการศึกษา ถนอมทรัพย์ มะลิซ้อน (2540, น.42-43) และอมรรัตน์ เชิงหอม (2545, น.37) กล่าวว่ามาตราวัด ความพึงพอใจสามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1. การใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายวิธีหนึ่ง โดยการขอร้องหรือ ขอความร่วมมือจากกลุ่มบุคคลที่ต้องการวัดแสดงความคิดเห็นลงในแบบฟอร์มที่กำหนด คำตอบ ไว้ให้เลือกตอบหรือเป็นคำตอบอิสระโดยคำถามที่ถามถึงความพอใจในด้านต่าง ๆ ของการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน 2. การสัมภาษณ์ เป็นอีกวิธีที่วัดระดับความพึงพอใจ ซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องอาศัยเทคนิคและ ความ ชำนาญพิเศษของผู้สัมภาษณ์ที่จะจูงใจให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถามให้ตรงกับข้อเท็จจริง การสัมภาษณ์เป็นการ วัดระดับความพึงพอใจโดยวิธีการที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง 3. การสังเกต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ทราบถึงระดับความพึงพอใจได้ โดยวิธีการสังเกตจาก พฤติกรรมการเรียนการสอนแล้ว เช่น การสังเกตกิริยา ท่าทาง การพูด สีหน้า การโต้ตอบ การร่วมกิจกรรม การวัดความพึงพอใจโดยวิธีนี้ผู้วัดต้องทำอย่างจริงจังและมีแบบแผนที่แน่นอน จึงจะสามารถประเมินไปถึง ความพอใจได้อย่างถูกต้อง ระพินทร์ โพธิ์ศรี(2554, น.303) ได้แปลความหมายของคะแนนระดับความพึงพอใจ ทั้ง 7 ระดับ ไว้ดังนี้ 1 – 1.50 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด 1.51–2.25 หมายถึง พึงพอใจน้อย 2.26– 2.50 หมายถึง พึงพอใจค่อนข้างน้อย 2.51–3.50 หมายถึง พึงพอใจพอสมควร ปานกลาง 3.51–3.75 หมายถึง พึงพอใจค่อนข้างมาก 3.76–4.50 หมายถึง พึงพอใจมาก 4.51–5.00 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด การประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของ ลิเคอร์ท (Likert, 1967, pp.74-75) โดยกำหนดเกณฑ์ การประเมินผล ดังนี้ 5 ความหมายคือ ความพึงพอใจมากที่สุด 4 ความหมายคือ ความพึงพอใจมาก 3 ความหมายคือ ความพึงพอใจปานกลาง 2 ความหมายคือ ความพึงพอใจน้อย 1 ความหมายคือ ความพึงพอใจน้อยที่สุด โดยกำหนดเกณฑ์การแปลค่าผลความพึงพอใจ ดังนี้ คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.51-5.00 ความหมายคือ ความพึงพอใจมากที่สุด


33 คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-4.50 ความหมายคือ ความพึงพอใจมาก คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 2.51-3.50 ความหมายคือ ความพึงพอใจปานกลาง คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 1.51-2.50 ความหมายคือ ความพึงพอใจน้อย คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 0.50-1.50 ความหมายคือ ความพึงพอใจน้อยที่สุด กล่าวโดยสรุป การใช้เครื่องมือวัดความพึงพอใจนั้นจะต้องศึกษาลักษณะของความพึงพอใจใน ด้านต่าง ๆ คือ ศึกษาทิศทางเจตคติ ศึกษาระดับของเจตคติ และศึกษาความเข้มของเจตคติ แล้วจึงเลือกเครือง มือ หรือมาตรวัความพึงพอใจตามความเหมาะสม สําหรับการวัดความพึงพอใจในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การ ประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคอร์ท งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วินัยนา สารสิทธิยศ (2558) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ นิทาน และวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 ผลการวิจัยพบว่า การสร้างแผนการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้นิทาน และ วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 มีจำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพ 83.17/77.00 สูงกว่า เกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70 นักเรียนมีคะแนน ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก นภัสนันท์ ไกรทอง (2559) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ของเมอร์ด็อค (MIA) พบว่ากระบวนการวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.44/84.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้คือ 75/75 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้การอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) มีค่าเท่ากับ 0.7747 แสดงว่านักเรียนมี ความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.43 นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอรฺด็อค (MIA) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ธีรภัทร สุวรรณพานิช (2561) ศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) พบว่าความสามารถ ด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนมีประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 83.91/85.80 สูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนด 80/80 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วย การสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) มีค่าเท่ากับ 0.7610 หรือร้อยละ 76.10 ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนด้วยกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการ ของเมอร์ด็อค (MIA)


34 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของ เมอร์ด็อค (MIA) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅= 4.43, S.D.= 0.46) คะนึงนิจ รุ่งโรจน์(2556) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค การใช้คำถาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรมฝึก ทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการใช้คำถาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.55/85.18 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วย ชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคการใช้คำถาม อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 นราธิป เอกสินธ์(2557) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ภาษาอังกฤษโดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของ เมอร์ด็อค (MIA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยสาระการ เรียนรู้ท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี ต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษโดย ใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ตามแนวการสอน อ่านของเมอร์ด็อค (MIA) โดยภาพรวมนักเรียนมีความ 35 คิดเห็นที่เห็นด้วยในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 วิจิตร เพ็งสว่าง (2557) ศึกษาเรื่องผลของวิธี พี คิว โฟร์ อาร์ เสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถามและผังกราฟิก ต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจ และความคงทนในการอ่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ากระบวนการวิจัยก่อนเรียนมี ค่าเฉลี่ย 20.00 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 32.26 คิดเป็นร้อยละ 80.65 และนักเรียนมีเจตคติต่อการสอนด้วยวิธี พี คิว โฟร์ อาร์ เสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม และผังกราฟิก อยู่ในระดับค่อนข้างดี จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสรุปได้ว่า วิธีสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MAI) สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านได้เป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันเมื่อนำการสร้าง หนังสือนิทานมาพัฒนาร่วมกันทำให้นักเรียนได้ฝึกการคิดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำวิธีการสอนของ เมอร์ด็อค (MIA) และการสร้างนิทาน มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถสรุป เรื่องราวจากการอ่านได้ดีมากยิ่งขึ้น


35 งานวิจัยต่างประเทศ งานวิจัยต่างประเทศเกี่ยวกับวิธีการสอนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่ผู้วิจัยศึกษามีดังนี้ George S. Murdoch (1986: 9 – 15) ซึ่งได้สอนนักศึกษามหาวิทยาลัยคูเวต ฝึกการอ่านโดย ใช้วิธี เอ็ม ไอ เอ (MIA) และพบว่าการกระตุ้นด้วยกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของวิธี เอ็ม ไอ เอ (MIA) ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยคูเวต มีการพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนมากขึ้น และ ได้กล่าวถึงการ จัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจว่าควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายใช้ทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนควบคู่กันไปพร้อมกับพูดถึงแบบฝึกที่ดีควรเป็นแบบฝึกที่ ต้องคิดแล้วเขียนออกมาแทนคำพูดของ ตัวผู้เรียนเองซึ่งการจัดกิจกรรมลักษณะเช่นนี้ยังถือเป็น การสอนอ่านเพื่อการสื่อสารที่ดีมากอีกวิธีหนึ่งและได้ สรุปขั้นตอนการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจไว้ 7 ขั้นตอนดังนี้ 1. การถามน้าก่อนการอ่าน 2. การทําความเข้าใจคําศัพท์ 3. การอ่านเนื้อเรื่อง 4. การทําความเข้าใจเรื่อง 5. การถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น 6. การทําแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยค 7. การประเมินผลและการแก้ไข Fraling (1981: 4377-A) ทำการวิจัยเรื่อง การเพิ่มทักษะความเข้าใจในการอ่านโดยการยึด การเรียน ที่มีการเตรียมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ The Union for Experimenting Colleges and University ในสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ยึดการเรียนโดยการเตรียมการอ่าน ประสบความสำเร็จในการเพิ่มทักษะความเข้าใจในการอ่าน โดยมีความแตกต่าง กับกลุ่มที่ไม่ได้ยึดการเรียนที่มี การเตรียมการอ่าน Delaney (1990: 111 – A) ทำการศึกษาผลของยุทธวิธีในการฝึกอ่านเพื่อความเข้าใจกับ นักเรียน ระดับ 4 และระดับ 5 โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มีนักเรียน 32 คน โดยฝึกให้ นักเรียนจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้วทำการจดบันทึกเอาไว้ กลุ่มที่ 2 มีนักเรียน 33 คน โดย ฝึกให้ นักเรียนอ่าน เนื้อเรื่องแล้วขีดเส้นใต้ประเด็นสำคัญๆ เอาไว้ แล้วทำการจดบันทึกสิ่งสำคัญ เหล่านั้นเท่าที่จะได้ และกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน โดยใช้วิธีสอนแบบปกติ ผล การทดลองพบว่า คะแนนความ เข้าใจโดยเฉลี่ยของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของ กลุ่มควบคุมอย่างเห็นได้ชัด Shany (1995: 382-395) ได้ศึกษาผลการใช้แบบฝึกการอ่านต่อนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่ำกับนักเรียนในระดับเกรด 3 เกรด 4 โดยการสังเคราะห์งานวิจัยของ Chall, Jacobs, Baldwin และ Stanovich โดยวัดพัฒนาการความสามารถทางการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้มีจำนวน 29 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม อ่านโดยได้รับ คำแนะนำที่ถูกต้องจากครูผู้สอน กลุ่ม ทดลองที่ 2 ฝึกโดยใช้เทปในการฝึกระยะเวลาที่ใช้ในการ ทดลอง 32 ชั่วโมง โดยฝึกวันละ 30 นาที รวม


36 ระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียน ในกลุ่มทดลองมีความสามารถทางการอ่านสูงขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ Levine and Reves (1994: 71 – 84) ได้ทำการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความรู้ (Schemata) 3 แบบ คือ ทักษะทางภาษา (Language Skill) ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา (Content Knowledge) และโครงสร้างสุนทรียศาสตร์ทางภาษา (Rhetorical Structure) ที่มีต่อความเข้าใจใน การอ่านโดย ทำการศึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 95 คน ผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างความรู้ทั้ง 3 แบบรวมกันส่งผลให้เกิดความเข้าใจในการอ่านในระดับ ที่ต่างกัน แต่ความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหา (Content Knowledge) เป็นตัวทำนายความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศได้ดีที่สุด Colombo (2000) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ในการเรียนการสอนตาม หลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาของรัฐ Massachusetts จากครูจํานวน 3 คน มี วัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ ต้องการตรวจสอบดูว่าครูเหล่านี้มีความเข้าใจในนโยบาย หลักสูตรการนำเรื่อง เกี่ยวกับท้องถิ่นไปใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของรัฐเพียงใด ผลการวิจัยพบว่า ทุกคนได้รับความรู้ เรื่องหลักสูตรท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องจากได้ทดลองใช้ด้วย ตนเอง นอกจากนั้นแล้วครูยังเกิดความรู้สึกว่าตนเป็น ผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะครูผู้สอนในการเป็น ผู้นำ ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ เนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติจัดการเรียนการ สอนด้วยตนเอง รวมทั้งได้เลือก เนื้อหาการสอนตามกรอบด้วยตนเอง จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการอ่าน เพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) โดยโดยการสร้างนิทานสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนา ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของ นักเรียนให้สูงขึ้น


37 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ ระหว่างก่อนเรียน และหลัง เรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อนิทานภาษาอังกฤษที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการสอน ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบบ แผนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 ได้มาการเลือก กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 24 คน รูปแบบในการทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบในการทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest – Posttest Design) โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 60) T1 X T2 T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) X แทน จัดกิจกรรมทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ T2 แทน การทดสอบหลังเรียน (Posttest)


38 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อความ เข้าใจตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ 1.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 1.3 แบบวัดความพึงพอใจต่อนิทานภาษาอังกฤษที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการสอน 2. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การอ่านเพื่อ ความเข้าใจตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 2.1.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวกับการอ่านเพื่อความเข้าใจตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ 2.1.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551หลักสูตร สถานศึกษา คู่มือครู แบบเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหานิทานเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การ อ่านเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ดังนี้ หนังสือนิทานพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการสอนอ่าน ของเมอร์ด็อค (MIA) ชุดที่ 1 เรื่อง “Yummy food” 5 ชั่วโมง หนังสือนิทานพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่าน ของเมอร์ด็อค (MIA) ชุดที่ 3 เรื่อง “Playtime” 5 ชั่วโมง มีดังนี้ ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้(รายชั่วโมง) สาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล


39 2.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นเสนอต่อหัวหน้ากลุ่มสาระ ที่ปรึกษาแล้วนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างผล การเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละ ท่านพิจารณาลงความคิดเห็นแล้วให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้อง กับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล ให้คะแนน -1 หมายถึง แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้อง กับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบ ของแผนการจัดการเรียนรู้ (Index of Item-objective Congruence : IOC) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 2.1.6 ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามข้อเสนอแนะ 2.1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การ อ่านเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ ไปใช้กับ กลุ่มเป้าหมาย 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 3 ตัวเลือก ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 2.2.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู คู่มือวัดและประเมินผลวิชาภาษอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเอกสารที่เกี่ยวข้องเทคนิคการเขียนข้อสอบ การสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 2.2.1 วิเคราะห์เนื้อหา เพื่อแบ่งเนื้อหาออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ แล้วเขียนจุดประสงค์ การเรียนรู้ 2.2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและสอดคล้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ ตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) ตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร 2.2.4 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อหัวหน้ากลุ่มสาระ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และให้ข้อเสนอแนะในด้านความเหมาะสมของเนื้อหากับจุดประสงค์การเรียนรู้แล้วนำมาปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะ


40 2.2.5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตุอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในแต่ละขั้น มีดังนี้ 1. เตรียมนักเรียนก่อนดำเนินการสอน โดยแนะนำการเรียนรู้โดยใช้การอ่านเพื่อความเข้าใจตาม กระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนมีความรู้การสร้างข้อตกลง เบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียน ขั้นตอนการเรียนและบทบาทวิธีการปฏิบัติตนในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 2. ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจใช้เวลา 1 ชั่วโมงในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 3. ดำเนินการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการของ เมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ กับนักเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 7 แผน ใช้เวลา 14 ชั่วโมง 4. ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) หลังจากการทดลองสอนสิ้นสุดลง โดยใช้แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง 5. นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการสร้างนิทานภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows) การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ในการหาค่าร้อยละของ ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับ วิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (SPSS for window) 2. การทดสอบสมมติฐาน นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน หลังจากที่ใช้การอ่านเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการของเมอร์ด็อค (MIA) โดยการสร้างนิทาน ภาษาอังกฤษ โดยใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (Dependent Sample t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (SPSS for Windows)


Click to View FlipBook Version