รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 82
ที่สำคัญหรือไม่ เช่น ผู้ต้องหาถูกจับที่จังหวัดขอนแก่น แต่ให้ข้อมูลที่จังหวัดกาฬสินธุ์หรือที่จังหวัด
หนองคาย จะมองว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่สำคัญ แต่ไม่ได้เป็นการให้การต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจ ผู้จบั กุม หรือพนกั งานสอบสวนในคดที ่ผี ูก้ ระทำความผิดถกู ดำเนินคดี จะได้รบั ประโยชนต์ าม
มาตรา 100/2 หรือไม่ ก็ให้เป็นข้อสังเกตสำหรับท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเวลาผู้พิพากษานำสำนวน
มาปรึกษาท่านกอ่ นส่งสำนวนมาตรวจ
พระราชบัญญัตมิ าตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผดิ เก่ียวกับยาเสพตดิ มาตรา 8 วรรค
สอง ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดเทา่ กับความผิดสำเร็จ และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา 66
วรรคสาม มีอัตราโทษเท่ากันโดยเปน็ กรรมเดียว แต่ร่างคำพพิ ากษาทสี่ ่งมาให้ตรวจ ระบวุ ่าให้ลงบทหนัก
ถา้ อตั ราโทษเทา่ กันจะลงบทหนักไมไ่ ด้ ต้องเลอื กฐานใดฐานหนึง่
มีข้อสังเกตให้การตรวจร่างคำพิพากษา 2 เรื่องได้แก่ สังเกตเห็นหมายในเอกสารเป็นอักษร ศ
เป็นหมายของศาลเอง จึงตั้งคำถามว่าศาลเป็นคู่ความฝ่ายใด ซึ่งมีผู้ร้อง โจทก์ จำเลย ผู้ค้าน จึงฝากให้
ท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแนะนำท่านผู้พิพากษา ถ้าเป็นที่พิพาทให้คู่ความรับและเป็นหมายร่วม ใช้
อักษร รก หรืออักษรอื่น ซึ่งไม่ใช่อักษร ศ เพราะศาลไม่ใช่คู่ความในคดี และข้อสังเกตการตรวจร่างคำ
พิพากษาอีกหนึ่งเรื่องคือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง จึงขอให้ศาลสั่งด้วย
เมื่อศาลสั่งค่าทนายแล้ว ถ้าศาลไม่สั่งให้จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอีก ขอให้ศาลสั่งเป็นพับตาม
กฎหมาย คดที ี่ศาลฎีกากม็ ีเรือ่ งแบบนี้ เพราะสังเกตเห็นหลายคดศี าลไม่ได้ส่ังค่าใช้จ่ายในการดำเนนิ คดี
2. การไกลเกลี่ยกอนฟองคดีตามพระราชบัญญัตแิ กไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพง (ฉบบั ที่ 32) พ.ศ. 2563
เนอ่ื งจากปัจจบุ ันได้มพี ระราชบัญญตั ิแก้ไขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความแพ่ง (ฉบับ
ที่ 32) พ.ศ. 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยบัญญัติเพิ่มเติมใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี เป็นเรื่องการไกล่เกลี่ยกอ่ นฟ้องเพ่ือเปน็ ทางเลอื ก
ให้แก่ผู้ที่มีกรณีพิพาทเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น มีข้อสังเกตเกี่ยวกันการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าไม่จำกัดลักษณะคดี ไม่จำกัดจำนวนทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล ซ่ึง
แตกต่างจากพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยการไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ถูกจำกัดสิทธิในไกล่เกลี่ยใน
เรื่องสิทธิของสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถที่จะกระทำได้
แต่สามารถกระทำได้ในทางแพ่งในกรณีที่เกี่ยวกับที่ดินแต่มิใช่พิพาทเกี่ยวกับเรื่องกรรม สิทธิ์ ข้อพิพาท
ระหว่างทายาทเกี่ยวกับมรดก และข้อพิพาทอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ส่วนข้อพิพาทอนื่
นอกจาก (1) (2) และ (3) ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000,000 บาท หรือไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชกฤษฎีกา นั่นเป็นข้อแตกต่างกันระหว่างการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง กับการไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 สำหรับการไกล่เกลี่ย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพจิ ารณาความแพ่ง น้ัน มหี ลกั เกณฑ์วา่ การไกล่เกล่ียดังกล่าวตอ้ งดำเนินการก่อน
ยื่นฟอ้ ง จึงมีขอ้ สงั เกตว่าตอ้ งต้ังสารบบความขึ้นมากอ่ นยืน่ ฟ้องควรมีอักษรย่อ ซงึ่ การกำหนดอักษรย่อ ได้
มีประกาศของสำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2561 แต่ประกาศดังกล่าวไม่มีการกำหนดอักษรย่อการไกล่
เกลี่ยก่อนยื่นฟ้อง ซึ่งอาจจะใช้อักษรย่อ กฟ เมื่อกล่าวถึงเรื่องอักษรย่อของการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องแล้ว มี
ขอ้ สงั เกตจากการตรวจร่างคำพพิ ากษาความผิดเกย่ี วกับชีวิตว่าคดีท่ีพนักงานอัยการฟ้องความผิดเกี่ยวกับ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 83
ชีวิตและมีความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน) เมื่อศาลชั้นต้น
รับสำนวนลักษณะดังกล่าวจะใช้อักษรย่อว่า “ย” หมายถึง ยาเสพติด แต่ในความเห็นของผมเห็นว่าควร
ใช้อักษรย่อว่า “อ” หมายถึงคดีอาญาทั่วไป แต่เป็นเพียงความเห็นของผม ดังนั้นในเรื่องนี้จึงฝากท่าน
ผู้อำนวยการทุกศาลช่วยกันวิเคราะห์ว่าหากกรณีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิตซึ่งมีอัตราโทษหนัก และ
ความผิดเกี่ยวกับเสพเมทแอมเฟตามีน จะใช้อักษรย่อ “อ” หรือ “ย” มาต่อเรื่องการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
ก่อนยื่นฟ้องบุคคลที่เป็นคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำ
การไกล่เกลี่ย กฎหมายบัญญัติว่าบุคคลที่เป็นคู่ความ ดังนั้นในกรณีกลับกันในความเห็นของผมเห็นว่า
หากผู้ทเ่ี ป็นลูกหน้ีก็สามารถยื่นคำรอ้ งขอไกล่เกลี่ยได้ ถา้ ลูกหนี้ผ่อนหนี้มาเป็นจำนวนมากแลว้ หรือผ่อนไม่
ไหวอยากต่อรองกับเจ้าหนี้ ในมุมมองของผมลูกหนี้ก็สามารถมายื่นคำร้องตามมาตรานี้ได้ เพื่อให้ศาล
แต่งตั้งผู้ประนีประนอมเพื่อทำการไกล่เกลี่ย ส่วนการยื่นคำร้องในเขตอำนาจศาลให้เป็นไปตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งลักษณะ 2 หมวด 1 เรื่อง เขตอำนาจศาล โดยในคำร้องให้ระบุชื่อ
ภูมิลำเนาของคู่กรณี รวมทั้งรายละเอียดของข้อพิพาท เมื่อศาลได้รับคำร้องดังกล่าวแล้ว ศาลต้องเห็น
สมควร ซึ่งเป็นดุลพนิ จิ ของศาล ศาลอาจจะไม่เห็นสมควรก็ได้ ในกรณีศาลเห็นสมควรให้ศาลรับคำร้องน้ัน
ไว้ดำเนินการ และสอบถามไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ทำการไกล่เกลี่ย หากคู่ความอีกฝ่ายหน่ึง
ยินยอม จึงให้มีการนัดไกล่เกลี่ยกัน ดังนั้นเมื่อศาลรับคำร้องแล้วให้มีหนังสือเชิญไกล่เกลี่ย ค่านำส่งหมาย
หรือหนังสือเชิญไกล่เกลี่ยให้ผู้ร้องเป็นผู้ชำระ เมื่อส่งหมายให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อสอบถามว่ายินยอม
จะไกล่เกลี่ยหรือไม่ เพราะหลักของการไกล่เกลี่ยคือความยินยอม หากคู่ความอีกฝ่ายไม่ยินยอมการไกล่
เกลี่ยจะไม่เกิดขึ้น หากถึงวันนัดไกล่เกลี่ยคู่ความอีกฝ่ายไม่มาโดย ไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลจึงต้องจำหน่าย
คดีออกไป ถ้าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมาตามหมายนัดจะมาด้วยตนเองหรือมีทนายความมาด้วยก็ได้ กฎหมาย
บัญญัติว่าให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ย ดังนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563 เพิ่มบทบาทให้ผู้ประนีประนอมเป็นผู้ไกล่เกลี่ย และการไกล่เกลี่ยใน
ลักษณะนี้ ผู้ประนีประนอมสามารถนำความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ทวิ
มาใช้คือสามารถไกล่เกลี่ยลับได้กับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายก็ได้ จะให้มี
ทนายความหรือไม่มีก็ได้ โดยนำบทบัญญัติในมาตรา 20 ทวิ มาบังคับใช้โดยอนุโลม จะเห็นได้ว่าได้เพ่ิม
บทบาทของผปู้ ระนีประนอมมากขึ้น ดังน้ันผ้ปู ระนีประนอม ต้องมขี ดี ความสามารถมากข้ึน โดยการอบรม
ความรู้แก่ผู้ประนีประนอมเพิ่มขึ้น ในกรณีที่คู่ความสามารถตกลงกันได้ ก็ให้ผู้ประนีประนอมทำสัญญา
ประนีประนอมยอมความเสนอต่อศาล เมื่อศาลเห็นว่าข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
เป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี ผู้พิพากษาต้องอธิบายอย่าเพิ่งด่วนสรุป ต้องตรวจสอบว่าคู่ความเข้าใจ
หรือไม่ และสัญญาจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริตด้วย ซึ่งคือหลักสำคัญคือความสุจริตตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 สุจริต เป็นธรรม ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำว่า “สุจริต” มีคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 8402/2560 วนิ ิจฉยั วา่ โจทกม์ ีส่วนเกี่ยวขอ้ งหรือมีส่วนรู้เหน็ กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ ๕ ผู้รับซ้ือ
ที่ดินผืนใหญ่ สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ที่ดินทำการทุจริตออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงพิพาท
เมือ่ โจทก์มีสว่ นก่อให้เกิดการออกหนังสือรบั รองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) โดยมชิ อบ โจทก์ไม่อาจอ้าง
สิทธิใด ๆ ตามกฎหมายได้ ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตามมาตรา ๕ โจทก์
จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หลัก “ความสุจริต”นี้ สามารถนำไปใช้กับคดีไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้ ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563 บัญญัติว่าในวันที่ทำข้อตกลงหรือสัญญา
ประนีประนอมยอมความ คู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมทั้งแสดงเหตุจำเป็นเพื่อให้ศาลทำคำ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 84
พิพากษาตามยอม ถ้าหากศาลเห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มีเหตุจำเป็น มีความสุจริต เป็น
ธรรม ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้พิพากษาได้ ดังนั้นก่อนพิพากษาตามยอมต้องดูว่าคู่ความใช้สิทธิโดยสุจริต
หรือไม่ หากศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วมีการผิดนัด คู่สามารถบังคับคดีได้ ซึ่ง
เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ กล่าวคือ ถ้ามีการไกล่เกล่ีย
ข้อพิพาทแล้วตกลงที่หน่วยงานราชการได้ ภายหลังมีการผิดนัดไม่ปฏิบัติตาม คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งต้องย่ืน
คำร้องต่อศาลภายใน 3 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้าไม่ร้องขอ
ภายใน 3 ปี มูลหนี้ข้อพิพาทนั้นเป็นอันระงับไป ซึ่งจะแตกต่างจากศาลซึ่งกำหนดไว้ 10 ปี อีกประการ
หนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องของหน่วยงานของรัฐ ถ้ามายื่นต่อศาลเพื่อบังคับคดี คู่กรณีต้องเสียค่าขึ้นศาลตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อัตราเดียวกันกับการยื่นคำร้องของให้บังคับตามคำชี้ขาด
อนุญาโตตุลาการ สำหรับการยื่นคำร้องตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32)
พ.ศ. 2563 ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล สำหรับคำสั่งใด ๆ ที่ศาลออกในมาตรานี้ เช่น จะรับพิจารณาหรือไม่
เมื่อศาลสั่งแล้วให้เป็นที่สุด ถ้าจะอุทธรณ์ให้เป็นไปตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 138 ซงึ่ นำมาบังคบั ใช้ โดยอนุโลม ในกรณที ่ีศาลแตง่ ตั้งผู้ประนีประนอมแล้ว แต่การไกล่เกลี่ยนั้น
ไม่เป็นผลหรือไม่เป็นผลสำเร็จ หากปรากฏว่าในระหว่างที่การยื่นนั้นจะครบอายุความให้ขยายอายุความ
ออกไปอีก 60 วนั นบั แตว่ ันไกล่เกลี่ย
๓. การยกระดับการใชม้ าตรการทำงานบรกิ ารสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนคา่ ปรบั
สืบเนื่องจากท่านประธานศาลฎีกาได้วางนโยบายการบริหาร ราชการศาลยุติธรรมประจำปี
2562 – 2563 มุ่งเน้นให้ความสำคัญการคุ้มครองสทิ ธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ต้องหา
และจำเลย และมีดำริให้นำมาตรการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ตาม
ประมวลกฎหมายอาญามาใช้ให้มากขึ้น ภายใต้โครงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและลดการคุมขังที่ไม่
จำเป็น โดยมอบหมายให้คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ
ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้มาตรการทำงานบริการสังคมหรือ
สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น ซึ่งคณะทำงานได้กำหนดให้มีศาลนำร่องใน
กรงุ เทพมหานคร 1 ศาล และศาลในสงั กดั สำนักงานอธิบดผี ูพ้ พิ ากษาภาค 1 - 9 จำนวนภาคละ 1 ศาล
รวมเป็น 10 ศาล สำหรับศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค 4 ได้แก่ศาลจังหวัดอดุ รธานี โดย
มวี ตั ถปุ ระสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนใหม้ ีการนำมาตรการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์
แทนค่าปรับ มาใช้แก่ผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ เพื่อให้การบังคับโทษบรรลุวัตถุประสงค์ของ
กฎหมายและลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนผู้ต้องหาหรือจำเลย
เก่ียวกบั มาตรการทำงานบริการสงั คมหรือสาธารณประโยชนแ์ ทนค่าปรบั ซึ่งมเี ป้าหมายดงั น้ี
1. ลดการกกั ขังแทนค่าปรบั
2. ผู้ต้องโทษปรับทราบสิทธิ์ในการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทน
คา่ ปรับตามกฎหมาย
3.ผู้ต้องโทษปรับซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่อาจขอทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์
แทนค่าปรับ มีโอกาสเต็มที่ในการทำงานแทนค่าปรับ การกักขังแทนค่าปรับ ควรเป็นกรณีที่ผู้ต้องโทษ
ปรบั ไมไ่ ด้รบั อนญุ าตใหท้ ำงานแทนคา่ ปรบั
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 85
4. ให้นำคำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขยายโอกาสในการเข้าถึงสิทธิ์ที่จะ
ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พ.ศ. 2562 มาเป็นแนวทางในการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการสอบสวน
หรือพจิ ารณาคดเี พอื่ หลกี เลี่ยงกรณีที่ผู้ตอ้ งโทษปรับถูกกกั ขังเกนิ ค่าปรบั
ศาลจังหวัดอุดรธานีได้ประสานงานแนวทางการทำงานกับคณะทำงานส่วนกลาง ซึ่งมี
ท่านเผ่าพันธุ์ ชอบน้ำตาล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกาเป็นผู้ประสานและ
ติดตามการทำงานของศาลนำร่อง โครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึงวันนี้จะครบ 1 เดือน
แล้ว การทำงานของศาลนำร่องคือการหาแนวทางการทำงานเพื่อจะมีมาตรการทำงานบริการสังคมหรือ
สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ เมื่อได้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ส่วนกลางจะได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
เพื่อทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ได้เป็นแนวทางเดียวกันทุกศาลทั่วประเทศ
เป้าหมายของคณะทำงานในข้อที่ 4 ให้นำคำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขยายโอกาสในการ
เข้าถึงสิทธิ์ที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พ.ศ. 2562 มาเป็นแนวทางในการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่าง
การสอบสวนหรอื พิจารณาคดีเพ่ือหลีกเลีย่ งกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังเกินค่าปรับ ตามเป้าหมายข้อนี้
อยากจะให้คดีทีม่ ีอัตราโทษท่ีอยูใ่ นเกณฑ์ท่ีรอการลงโทษอยูแ่ ล้ว มีโอกาสได้รับการปล่อยตัวชัว่ คราวโดย
อาจจะใช้มาตรการการควบคุมกำกับ ตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนี
การปล่อยชั่วคราวโดยศาล เช่น ความผิดเกี่ยวกับมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง ถ้าในเกณฑ์ตามบัญชีอัตรา
โทษ จะใหโ้ อกาสแก่จำเลย ในกรณีฝากขังศาลจะใชว้ ิธีการปล่อยตัวชัว่ คราวไปก่อน โดยไม่มีหลักประกัน
เพราะถ้าให้มีการกักขังไว้ก่อน พอศาลพิพากษาจำเลยจะไม่มีโอกาสที่จะไปทำงานบริการสังคมหรือ
สาธารณประโยชนแ์ ทนค่าปรับ เนื่องจากถกู ขังระหว่างพิจารณาพอแก่ค่าปรบั แล้ว เพราะฉะน้ันความผิด
เล็กน้อยตามเป้าหมายข้อนี้ ไม่อยากให้มีการควบคุมเกินค่าปรับ กรณีที่การทำงานบริการสังคมหรือ
สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ คณะทำงานได้มีการประสานกับสำนักงานคุมประพฤติ เนื่องจาก
สำนักงานศาลยุติธรรมได้ทำข้อตกลงกับกรมคุมประพฤติเรียบร้อยแล้ว สำหรับศาลนำร่องได้มีการ
ประสานกบั สำนักงานคุมประพฤติประจำจงั หวัดของศาลนำร่อง ว่าถ้าหากมกี ารทำงานบรกิ ารสังคมหรือ
สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับจะต้องมีหน่วยงานใดเป็นภาคีรองรับ และมีวิธีการทำอย่างไร การทำงาน
บริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับมีตามกฎหมายมานานแล้ว แต่เนื่องจากการบังคับใช้
กฎหมาย ยังไม่มีรูปแบบเป็นทางการ และท่านผู้พิพากษาบางท่านอาจไม่อยากจะใช้กฎหมายดังกล่าว
ท่านประธานศาลฎีกาจึงให้นโยบายให้มีการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
มากขึน้ ซึง่ ในส่วนของการกำหนดจำนวนชว่ั โมง มหี ลกั เกณฑ์โดยแบ่งประเภทงานเปน็ 3 ประเภท ดงั นี้
1. การทำงานช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวกหรือให้ความบันเทิงแก่ คนพิการ
คนชรา เด็กกำพร้าหรือผู้ป่วยในสถานสงเคราะห์หรือสถานพยาบาล งานวิชาการหรืองานบริการด้าน
การศึกษา เช่น การสอนหนังสือ การค้นคว้าวิจัย หรือการแปลเอกสาร กำหนดระยะเวลาการทำงาน
2 ช่ัวโมง เปน็ การทำงานหนงึ่ วัน
2. การทำงานวิชาชีพ งานช่างฝีมือหรืองานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญ เช่น งาน
ช่างฝีมือเครื่องยนต์ ก่อสร้าง คอมพิวเตอร์หรือวิชาชีพอย่างอื่น เป็นต้น กำหนดระยะเวลาการทำงาน
3 ชั่วโมง เป็นการทำงานหนึง่ วัน
3.การทำงานบริการสังคมหรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อื่นที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความ
เชี่ยวชาญหรืองานอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 เช่น งานทำความสะอาดหรือพัฒนา
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 86
สถานที่สาธารณะ งานปลูกป่า หรือดูแลสวนป่าหรือสวนสาธารณะ งานจราจร เป็นต้น กำหนดระยะ
เวลาการทำงาน 4 ช่วั โมง เปน็ การทำงานหนงึ่ วนั
คณะทำงานได้ตั้งข้อสังเกตว่าจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการทำงานบริการสังคมจริงหรือไม่ ในทาง
ปฏิบัติคณะทำงานกำลังหาวิธีว่าจะสามารถควบคุมการทำงานบริการสังคมว่าสามารถทำได้ตรงตามท่ี
ศาลสงั่ ไดอ้ ย่างไร โดยสำนักงานคมุ ประพฤติไดม้ ีการประสานภาคีต่าง ๆ ซึ่งจะเปน็ ผ้ดู ูแลผู้ที่ถูกศาลสั่งให้
ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ให้ทำงานอยู่ในเกณฑ์ หากทำงานไม่ได้ตาม
เกณฑ์ หรือไม่ไปทำงาน จะถือวา่ ผดิ เง่ือนไข พนักงานคมุ ประพฤติจะรายงานศาล ศาลอาจจะตอ้ งเปลี่ยน
วิธีการหรือเปล่ียนเงื่อนไขใหม่ หรือตอ้ งบังคับโทษปรับ ซึ่งแนวทางการทำงานของศาลนำร่องขณะน้ไี มม่ ี
ความชัดเจน สำหรับศาลจังหวัดอุดรธานีมีการกำหนดแนวทางในการทำงานไว้ในเบื้องต้น เพราะต้องมี
การทำความเข้าใจกับผู้พิพากษาและเจ้าหน้าทีเ่ พื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน แนวทางในการทำงานของ
ศาลจังหวัดอุดรธานีมีดังนี้ กรณีท่ีจำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ และโทษจำคุกให้รอการ
ลงโทษ สำหรับโทษปรับจะสอบถามจำเลยโดยเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ว่ามีเงินชำระค่า ปรับหรือไม่ ถ้าไม่
มีเงินชำระค่าปรับ จึงต้องถามความประสงค์จำเลยว่าจะทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทน
ค่าปรับหรือไม่ ถ้ายอมที่จะทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ เจ้าหน้าที่หน้า
บัลลงั กจ์ ะส่งเรอ่ื งให้สว่ นบริการประชาชนและประชาสมั พันธ์ดำเนินการตอ่ เพอื่ ให้จำเลยได้กรอกคำร้อง
และประวัตขิ องจำเลย เพ่ือเสนอทา่ นผูพ้ ิพากษาพิจารณาส่งั เมื่อผพู้ พิ ากษาพิจารณาส่ังแล้วเจ้าหน้าท่ีจะ
อ่านคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องขอทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับฟังว่าศาลมีคำสั่ง
อย่างไร การที่ศาลจะสั่งว่าให้ทำงานประเภทใด จะมีหลักเกณฑ์และประเภทงานต่าง ๆ ให้ท่าน
ผู้พิพากษาใช้ประกอบการสั่ง โดยพิจารณาจากประวัติของจำเลย ว่ามีความรู้ความ สามารถอย่างไร
เสร็จแล้วจะมีหนังสือนำส่งเพื่อให้จำเลยไปพบพนักงานคุมประพฤติเพื่อ ทำข้อตกลงเรื่องสถานที่ทำงาน
ซึ่งศาลจังหวัดอุดรธานีมีการตั้งคณะทำงานในการควบคุม ติดตาม การทำงานบริการสังคมหรือ
สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับของจำเลย ซึ่งในวันนี้ท่านผู้พิพากษาศาลจังหวั ดอุดรธานี ที่เป็น
คณะทำงานไดไ้ ปที่บ้านพกั คนชราเพื่อไปดวู า่ มกี ารทำงานอย่างไร เพ่อื รายงานต่อคณะทำงานสว่ นกลาง
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 87
ครง้ั ท่ี 6/๒๕63
วนั ศกุ รท์ ่ี 27 พฤศจกิ ายน ๒๕63
ณ ห้องประชุม ชนั้ 1 ศาลเยาวชนและครอบครวั จังหวดั ขอนแกน่
อำเภอเมอื งขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ระเบียบวาระท่ี 3 เรอ่ื งเพ่ือพิจารณา
1. การเตรยี มความพร้อมของศาลยตุ ิธรรมในการเลอื กตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรอื ผ้บู ริหาร
ท้องถ่นิ
สำหรับในวันนี้ได้มาติดตามผลการประสานในครั้งที่แล้ว ว่าศาลใดมีปัญหาหรือข้อขัดข้อง
เกี่ยวกับคดีเลือกตั้งฯ หรือต้องการเสนอแนะเพิ่มเติม จากครั้งที่แล้วได้มีการเสนอให้เพิ่มเติมโทรศัพท์
หมายเลขกลาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้ประสานงานในวันทำการและวันหยุดราชการ โดยได้ยืมโทรศัพท์
จากสำนักงานศาลยุติธรรมที่ใช้ในงานด้านอื่นอยู่แล้วเพื่อมาใช้งานด้านนี้โดยเฉพาะ แก้ไขปัญหาร่วมกัน
และหาแนวทางแก้ไขปญั หาในลำดบั ตอ่ ไป
มติที่ประชุม ให้จัดตั้ง Application Line (แบบกลุ่ม) เพื่อประสานงานและเตรียมความพร้อม
ในคดเี ลอื กต้ังสมาชกิ สภาท้องถ่นิ หรอื ผ้บู ริหารทอ้ งถน่ิ ในพืน้ ท่ีภาค 4
การจัดทำคู่มือฯ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค 4 และศาลจังหวัด เนื่องจากสำนักงานศาลยุติธรรม
ไดม้ ีหนงั สอื แจ้งวา่ ทางคณะกรรมการการเลอื กต้งั (กกต.) ได้แจ้งให้สำนกั งานศาลยตุ ิธรรมทราบว่ามีการ
ส่งคำคคู่ วามใหก้ บั ทาง กกต. ผา่ นระบบจดหมายอเิ ล็กทรอนิกส์ (E-Mail) หรือระบบโทรสาร (Fax)
จึงได้จัดทำกระบวนการพิจารณาขึ้นมาให้เป็นปัจจุบันตรงกับหนังสือของสำนัก งาน
ศาลยุติธรรม และเลขานุการแผนกคดีเลือกตั้งจะดำเนินการจัดส่งเข้าไปในไลน์กลุ่มของศาลจังหวัด
ในสังกัดภาค 4 และอกี ประเด็นท่ีจะขอความร่วมมือกบั ผู้พพิ ากษาหัวหน้าศาล กรณีดงั นี้
- กรณีที่ กกต. ประจำจังหวัด หรือหากพื้นที่ใดที่มีการแจ้งถอนบัญชีรายชื่อผู้สมัครฯ อยากขอ
ความร่วมมือให้แต่ละศาล ช่วยประสานงานกับ กกต. เพื่อให้เขาได้แจ้งรายชื่อ ให้ทราบล่วงหน้า และให้
ทางศาลนั้นแจ้งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ทราบก่อนล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมถึงด้านการจัด
องค์คณะผูพ้ พิ ากษาหรือเจา้ หน้าทผ่ี ู้ปฏบิ ตั งิ าน
- กรณีที่ กกต. ผู้คัดค้าน มีการยื่นคำคัดค้านเข้ามาก่อนวันนัดพร้อม อยากขอความร่วมมือ
ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้จัดส่งคำคัดค้านและคำวินิจฉัยไปยัง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบคำร้อง คำคู่ความ ให้ทันกำห นดและให้ศาลจังหวัด
ได้สอบข้อเท็จจริง การกำหนดประเดน็ ว่าจะต้องไตส่ วนหรือสอบข้อเท็จจรงิ พยานล่วงหน้าเรอื่ งใดบ้าง
ในเรื่องของรายงานกระบวนการพิจารณาถือว่าเป็นคู่มือของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ร่วมกับ
ศาลจังหวัด และอยากให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้เข้ามาศึกษาในเรื่องดังกล่าวนี้ ว่ามีประเด็น
ข้อสงสัยใดทีต่ ้องการตดิ ต่อประสานงานกบั ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตอ่ ไป
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 88
อย่างไรกต็ ามสำหรับคดีที่มีการพิจารณาในศาลอทุ ธรณ์ภาค 4 ทจ่ี ะต้องประสานงานและปฏิบัติ
ตามนโยบายประธานศาลฎกี า 5 ดา้ น และไดน้ ำนโยบายด้านท่ี 4 มาใช้ ดังนี้
- ด้านที่ 4 ส่งเสริม นอกจากการส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรแล้ว ท่านยังส่งเสริม
ให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินกระบวนการพจิ ารณาของศาลด้วย ซึง่ ในส่วนนไ้ี ดท้ ราบว่าศาลฎีกาได้
นำรอ่ งปฏบิ ัตไิ ปหลายประการแลว้ รวมถงึ ศาลอทุ ธรณ์คดชี ำนญั พเิ ศษ
ฉะนั้น ทิศทางการดำเนินงานของศาลหรือรายงานกระบวนการพิจารณาทุกท่านคงทราบดีว่า
สำนักงานศาลยุติธรรมได้มีระบบยื่นฟ้อง (e-Filing) ซึ่งคดีที่มีการพิจารณาพิพากษาเหล่านั้น จะมีคดี
ส่วนหนึ่งที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 และต้องมีการประสานงานด้านข้อมูล เพราะในศาลช้ั นต้น
มีการใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการพิจารณาคดี เมื่อมีการอุทธรณ์เกิดขึ้นก็ต้องมีการประสานงาน
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ส่งมายังศาลอุทธรณ์ภาค 4 แม้ในเรื่องนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับศาลเยาวชนฯ ศาล
แรงงานหรือศาลอาญาคดีทุจริตฯ แต่เนื่องจากศาลจังหวัดและศาลแขวงมีคดีเหล่านี้จำนวนมาก เพ่ือ
ความสะดวกในการประสานงาน และทราบว่าท่านอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ได้ขับเคลื่อนนโยบายข้อมูล
ทางด้านอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ไว้หลายสว่ นแล้ว จงึ ขอแจง้ ไปยงั ศาลช้ันต้นว่า กรณที ีม่ ีการยื่นอุทธรณ์จึงอยากให้
เป็นความสำคัญลำดับต้น ๆ และขอความกรุณาให้จัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มายังศาลอุทธรณ์ภาค 4
โดยเร็ว. เพราะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้เตรียมการระบบการจัดเก็บข้อมูลไว้
เรยี บรอ้ ยแลว้ ซงึ่ มกี ารตรวจสอบเป็นระยะก็พบว่าส่วนใหญศ่ าลต่าง ๆ ได้จัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของ
คดีที่มีการอุทธรณ์มายังระบบที่เราได้จัดเตรียมไว้แล้ว เพียงแต่อาจยังไม่สมบูรณ์ อาทิ เช่น บางศาล
จดั ส่งมาเพยี งประเภท Microsoft Word และไมไ่ ดจ้ ัดส่งไฟล์ PDF มาดว้ ย
สำหรับคดีเร่งพิเศษ, คดีขอลดโทษ หรืออุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ หากศาลอุทธรณ์ภาค 4
ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่เนิ่น ๆ ย่อมส่งให้ผู้พิพากษา และองค์คณะตรวจสอบข้อมูลได้ เมื่อทราบ
ข้อมูลล่วงหน้าก็สามารถนำไปปรึกษาคดีเพื่อจัดทำคำพิพากษาว่าจะลดหรือรอการลงโทษหรือไม่
เป็นนโยบายที่ประธานศาลฎีกาได้เน้นย้ำอยู่เสมอว่า ในศาลสูงจะต้องมีการปรึกษาคดีกันอย่างจริงจัง
เพราะท่านได้เลง็ เห็นว่าการนัง่ พิจารณาคดีของศาลชนั้ ตน้ คดคี รบองค์คณะอยแู่ ลว้
สำหรับในประเด็นเหล่านี้ผู้บริหารศาลยุติธรรมของเรา ก็มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าอาจจะเป็น
การปรึกษาคดีที่ไม่จริงจัง เนื่องจากผลคดีหลายคดีสะท้อนว่ายังไม่รอบคอบ แม้จะมีการตรวจสอบโดย
กองผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ ประธานศาลฎีกาท่านจึงได้เนน้ ยำ้ เป็นนโยบายที่จะตอ้ ง
นำไปปฏิบัติในศาลสูง ผมจึงอยากนำข้อมูลและข้อเท็จจริงที่สำคัญเน้นย้ำไปยังศาลชั้นต้นว่า ในเมื่อศาล
ชั้นต้นมีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วหากศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญจากศาล
ชั้นต้น เราคงจะสามารถดำเนินงานไปได้โดยง่าย เพราะหากศาลชั้นต้นส่งข้อมูลมาเป็นสำนวนแบบเดิม
เจา้ หน้าทผ่ี ปู้ ฏบิ ตั งิ านในศาลอทุ ธรณ์ภาค 4 ก็ตอ้ งสแกนเอกสารสำนวนเข้าสู่ระบบอเิ ลก็ ทรอนิกส์อีกครั้ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงได้เล็งเห็นว่านโยบายประธานศาลฎีกาว่า ได้เน้นย้ำให้ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใน
เบื้องตน้ แลว้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงอยากให้ศาลชนั้ ต้นส่งผ่านข้อมลู อิเล็กทรอนิกสด์ ังกล่าวนั้น ข้ึนมายัง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำคำพิพากษา
ตลอดจนต่อยอดในภายภาคหน้า และศาลอุทธรณ์จะได้ดำเนินการจัดส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ให้กับศาลฎีกา
ได้ต่อไป
และในอนาคตศาลอุทธรณ์ภาค 4 คาดว่าจะนำระบบดังกล่าวนี้ มาใช้ในคดีแพ่งบางประเภท
ก่อน ซึ่งคดีที่คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ก่อนคดีประเภทอื่น คือ คดีผู้บริโภค ซึ่งมักจะมีรูปแบบท่ี
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 89
ค่อนข้างเฉพาะตัวและเป็นคดีท่ีมีปัญหาท่ีตอ้ งวินิจฉัยเปน็ อย่างเดียวกัน ดงั นน้ั สำหรับคดีผู้บริโภคท่ีมีการ
อุทธรณ์ขอให้รีบดำเนินการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มายังระบบฯ รับส่งข้อมูลที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้
จัดเตรยี มไวแ้ ลว้
สืบเนื่องจากการพัฒนาระบบโปรแกรมรับส่งไฟล์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และได้มีการประสาน
งานกับเจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้สามารถออกแบบระบบให้ใช้งานง่าย ตามที่สำนักงานศาล
ยุติธรรมออกแบบมาตามรูปแบบของโปรแกรม Scan Master และมีเจ้าหน้าที่รับฟ้องตรวจสอบข้อมูล
หากไม่ครบถ้วนจะแจ้งให้ศาลขอเพิ่มเติม สำหรับโปรแกรมที่เกี่ยวกับคดีเลือกตั้ง ได้ดำเนินการพัฒนา
ระบบกล่องรบั - ส่ง เพือ่ ตรวจสอบความถกู ต้องในการนำส่งขอ้ มลู มีกล่องแยกประเภทข้อมลู
เพื่อให้ผู้พิพากษาเข้าใจประเภทของข้อมูลเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน จึงนำเรียนให้ท่านได้
ตรวจสอบกับเจา้ หน้าท่ีผู้เกย่ี วขอ้ งในแตล่ ะศาล
รูปแบบการนำส่งไฟล์คำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณีเป็นคำพิพากษาเดิม แต่มีการอุทธรณ์
ในประเด็นอื่นโปรแกรมสามารถให้ยื่นอุทธรณ์ได้มากกว่า 1 ครั้ง และหากเป็นหมายเลขคดีเดียวกัน
ก็สามารถแนบไฟล์ (Attach File) เพิ่มเติมได้ไม่ต้องผ่านระบบงานรับฟ้องอีก ซึ่งผู้พิพากษาสามารถนำ
ขอ้ มูลไปใชง้ านได้ทนั ที อีกทง้ั ยงั มีการประสานงานเพ่อื ใหน้ ักวชิ าการคอมพิวเตอร์เขา้ ร่วมกลุ่มไลน์
จากการที่จะมีการตรวจราชการตามลำดับต่อไป ในส่วนของศาลชั้นต้นมีการดำเนินการจัดส่ง
ร่างคำพิพากษาเป็นไฟล์ PDF ขณะนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงให้จัดส่งร่างคำพิพากษาเป็นประเภทไฟล์
Microsoft Word
ดังนั้น จึงขอให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์ของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ประสานงานกับนักวิชาการ
คอมพิวเตอร์ของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เพราะในขณะนี้ได้มีการพัฒนาระบบการตรวจร่าง
อิเล็กทรอนิกส์ (ECRM) ซึ่งเป็นการตรวจร่างคำพิพากษาอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีรองอธิบดีผู้พิพากษา
และผพู้ พิ ากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานอธบิ ดีผ้พู พิ ากษาภาค 4 เปน็ ผู้ดำเนินการในระบบดังกล่าวนี้
และให้จัดส่งไฟล์คำพิพากษาเป็นประเภทไฟล์ Microsoft Word และหากมีจัดส่งไฟล์ รูปแบบนี้แล้วก็
น่าจะเป็นประโยชนเ์ พอ่ื ให้ผูพ้ พิ ากษาสามารถปฏบิ ัตงิ านตอ่ เนอื่ งได้
สำหรับประเด็นการปฏิบัติงานด้านคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้ดำเนิน
งานอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว อย่างไรก็ดีผมได้เน้นย้ำและกำชับไปยังผูพ้ ิพากษาในศาลอุทธรณ์ภาค 4
แล้วว่าพยายามอย่าเรียกเอกสารเกินความจำเป็นหรือเรียกหลักประกันสูงเกินไป เพราะนโยบาย
ประธานศาลฎีกาต้องการความรวดเร็ว และเราสามารถสั่งปล่อยชั่วคราวไปก่อนได้ ไม่ต้องพิจารณา
หลักทรัพย์ให้ยุ่งยาก หรือหากหลักทรัพย์ไม่พอก็สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ซึ่งผู้พิพากษาใน
ศาลชั้นต้นท่านสามารถใช้ดุลพินิจในการเรียกหลักประกัน ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะพบปัญหาใดในเรื่อง
ดังกล่าวนี้อีกต่อไป รวมถึงการอนุโลมให้ใช้ คำร้องใบเดียว ในการขอปล่อยชั่วคราว ซึ่งหลายศาลได้นำ
รอ่ งไปดำเนินการ และประธานศาลฎีกาท่านไดส้ นับสนุนว่าสามารถย่ืนคำรอ้ งขอปล่อยช่วั คราวได้โดยคำ
รอ้ งใบเดียว โดยยงั ไม่ตอ้ งเสนอหลักประกนั มาก็ได้
สำหรบั ปญั หาข้อขดั ขอ้ งเก่ียวกบั การติดตอ่ ผ่านระบบอิเลก็ ทรอนิกส์นั้น บางครั้งก็อาจพบปัญหา
หรือขัดข้องทางระบบฯ และศาลชั้นต้นเองก็มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจาก
ได้รับเงินค่าตอบแทน จึงขอฝากเน้นย้ำว่าเจ้าหน้าที่ฯ สำหรับการเปิด-ปิดระบบฯ หรือการเชื่อมต่อ
สัญญาณเพื่อไม่ให้ระบบเกิดขัดข้อง และทางศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็พยายามอำนวยความสะดวกใน
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 90
ทุกด้าน และทราบว่าเรามีระบบสำรองในกรณีสัญญาณอินเทอร์เน็ตขัดข้อง ก็สามารถใช้งานอินเทอร์
เน็ตผ่านข้อมูล Wi-Fi ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
จึงถือวา่ ไม่เปน็ การละเลยและเตรียมความพร้อม
จากระบบด้านเทคโนโลยีที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ที่เราจะนำมาใช้ในคดีผู้บริโภคจึงขอ เน้นย้ำ
ไปยังศาลชั้นต้นทุกศาลว่าคดีผู้บริโภคที่มีการอุทธรณ์ ขอให้แต่ละศาลนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เข้า
สู่ระบบด้วย เพื่อศาลอทุ ธรณ์ภาค 4 จะได้นำข้อมลู เปน็ แนวทางในการจา่ ยสำนวนใหแ้ กผ่ ู้พพิ ากษาแต่ละ
องค์คณะสามารถทราบได้ทันที อีกทั้งยังสามารถเปิดข้อมูลในระบบที่แต่ละท่านต้องรับผิดชอบว่ามี
เนื้อหาเป็นเช่นใด เพื่อง่ายต่อการเตรียมข้อมูลสำหรับการปรึกษาคดี จึงอยากให้เลขานุการฯ แผนกคดี
ผู้บรโิ ภคไดช้ ีแ้ จงรายละเอียดต่อท่ปี ระชมุ ต่อไป
ขอนำเสนอข้อมลู ตอ่ ท่ีประชุม ใน 2 สว่ น ดังน้ี
1. การพัฒนาระบบงานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ดำเนินการพัฒนา
ระบบโดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้การพิจารณาพิพากษาคดีมาเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งสอดคล้อง
กับนโยบายของประธานศาลฎีกาหลายท่าน ที่ต้องการให้มีการประชุมคดีในศาลสูงให้มีความเข้มข้น การ
ใชเ้ ทคโนโลยีทท่ี ันสมัย มาประกอบ ซึง่ ประธานศาลอทุ ธรณ์ภาค 4 มีดำรพิ ฒั นาระบบขยายขอบเขตไปถึง
คดีผู้บริโภคด้วย ส่วนนี้มีการประสานความร่วมมือโดยจัดตัง้ ไลน์กลุ่มระหว่างนักวิชาการคอมพิวเตอรข์ อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กับนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในแต่ละศาล ซึ่งเนื้อหาของเอกสารจะเป็นไปในลักษณะ
เดียวกันกับที่ขอความร่วมมือส่งเอกสารในคดีทั่วไปที่เคยประสานความร่วมมือก่อนแล้ว เนื้อหาหลัก
ประกอบด้วย คำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษา ในส่วนของคำพิพากษาที่อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 ได้กล่าว
ในเบื้องต้นแล้วว่ามีความประสงค์ให้จัดส่งเป็นประเภทไฟล์ Microsoft Word เพราะสามารถนำมา
ปฏิบัติงานเพื่อต่อยอดในการพัฒนาระบบงาน และหากเกิดข้อขัดข้องอย่างไรสามารถติดต่อประสานงาน
ไปยงั นกั วชิ าการคอมพิวเตอรข์ องศาลอุทธรณ์ภาค 4
2. จะขออนุญาตเสนอข้อมูลหรือขัดขัดข้องตามที่ประธานแผนกคดีผู้บริโภคฯ ได้มอบหมายว่า
จากการตรวจร่างคำพิพากษาพบว่ามีปัญหาข้อขัดข้องบางประการแต่ก็พบข้อผิดพลาดน้อยมาก และ
บางส่วนอยากขอความอนุเคราะหแ์ ละรว่ มมอื ให้ช่วยตรวจสอบอีกครงั้ ท้งั นเี้ พอ่ื ดำเนินการตามเปา้ หมาย
ให้คำพิพากษาความสมบูรณ์ครบถว้ น ยกตวั อยา่ งที่ตรวจพบ อาทิเช่น
- คดีเชา่ ซ้อื โดยหลกั ทโ่ี จทก์หรือผใู้ ห้เช่าซอ้ื ขอค่าเสียหาย คือ กรณีทีข่ ายรถไดห้ รือยังติดตามรถ
คืนไมไ่ ด้ หรอื แม้กระทงั่ ตดิ ตามเอารถคืนได้ก็จะมกี ารขอค่าขาดประโยชน์ ฯลฯ
แต่บางครั้งที่ตรวจพบ มีบางท่านเขียนคำพิพากษา ไม่แยกค่าเสียหายให้ชัดเจน เช่น ไม่ได้แยก
ว่าเป็นค่าขาดประโยชน์เป็นจำนวนเท่าใด เป็นค่าขาดราคาเท่าใด ซึ่งทำให้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ไม่สามารถ
อุทธรณไ์ ดช้ ดั เจนว่า ที่ศาลช้ันต้นทา่ นให้มีค่าเสียหายอะไรบา้ ง และบางกรณจี ะมีผลเก่ยี วกับผู้ค้ำประกัน
ดว้ ย
ในปัจจุบันหากเจ้าหนี้บอกกล่าวผู้ค้ำประกันเกิน 60 วัน นับแต่ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดความรับผิด
ในส่วนผู้ค้ำประกันก็จะต้องรับผิดน้อยลงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งหากคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ระบุ
ค่าเสียหายในส่วนค่าขาดประโยชน์ว่าให้จำนวนเท่าใด บางครั้งอาจจะมีการย้อนสำนวนทำให้เกิดความ
ลา่ ช้า
- การลงชื่อครบองค์คณะ เกี่ยวกับอำนาจการพจิ ารณาคดี ซึ่งบางสำนวนต้องมกี ารลงลายมือชือ่
เพื่อจ่ายสำนวนให้แก่ผู้พิพากษา 2 ท่าน แต่หากจ่ายสำนวนเพียง 1 ท่าน อาจจะเกิดปัญหาในเรื่อง
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 91
อำนาจการพิจารณาพิพากษาคดี ซงึ่ รวมไปถึงคดีสาขาดว้ ย และหากดำเนินการไปถึงชนั้ ยดึ ทรัพย์หรือช้ัน
เพิกถอนการบังคบั คดี หากมกี ารอุทธรณ์ขึ้นมาและตรวจพบอาจจะมีการเพกิ ถอนทง้ั หมด
- เกี่ยวกับการแจ้งวันนัดในคดีผู้บริโภค จะพบปัญหากรณีมาตรา 28 ตาม พรบ.วิธีพิจารณาคดี
ผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 24 และเพื่อป้องกันปัญหาส่วนนี้ผมมีความเห็นว่า หากส่งหมายเรียกฯ
นัดแรกถูกต้องแล้ว นัดต่อไปหากมีการเลื่อนคดี เราสามารถประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลได้ แต่มี
ข้อสังเกตว่า เมื่อสั่งประกาศหน้าศาลแล้ว ในสำนวนจะต้องมีปรากฎด้วย เพราะในบางครั้งตรวจแล้วไม่
พบประกาศหน้าศาลในสำนวน ซง่ึ อาจทำใหค้ ดีมปี ญั หาล่าช้าได้
- สำหรับเรื่องสำเนาอุทธรณ์ในบางครั้งอาจจะมีการแจ้งไม่ครบหรือที่อยู่ไม่ตรงกับคำสั่ง อาจจะ
ต้องมกี ารจดรายงานฯ และสง่ั ให้ส่งใหมจ่ ะทำให้เกิดความล่าชา้ ได้
- ขอความกรุณาใหต้ รวจสอบคา่ ฤชาธรรมเนยี ม ถา้ หากศาลช้ันตน้ ได้ตรวจสอบมาอยา่ งครบถ้วน
ก็จะไมเ่ กิดปัญหาตามมาในศาลสงู ครบั
- ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี แนวสั่งออกของแผนกคดีผู้บริโภคได้ยึดแนวคำพิพากษา
ศาลฎีกาปัจจบุ ัน เชน่ ฎกี าท่ี 2997/2562 วา่ จะตอ้ งส่ังค่าใชจ้ า่ ยในการดำเนนิ คดีใหช้ ัดแจ้ง
2. ปัญหาข้อขัดขอ้ งในการปฏิบัตงิ านร่วมกับศาลในเขตอำนาจอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค 4
ขอ้ ขดั ข้องทข่ี อฝากไปยงั ผพู้ ิพากษาหวั หนา้ ศาลและผ้อู ำนวยการในแต่ละศาล มีอยู่ 2 สว่ น ดงั น้ี
1. คำคู่ความ เนื่องจากศาลแรงงานภาค 4 มีเขตอำนาจในภาค 4 จำนวน 12 จังหวัด และ
กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าให้คู่ความสามารถยื่นคำฟ้องได้ที่ศาลแรงงานภาค ๔ ซึ่งอาคารที่ทำการตั้งอยู่
จังหวัดอดุ รธานี ศาลจงั หวัดท่ีมลู คดีเกิด หรือตามภมู ลิ ำเนาของคูค่ วาม
ฉะนั้น จึงพบปัญหา เช่น ยื่นคำคู่ความที่ศาลจังหวัดและมีบางศาลสั่งรับฟ้องทันที ทั้งที่ตาม
กฎหมายไม่มอี ำนาจสัง่ รับฟอ้ ง แตศ่ าลนั้นมหี น้าทส่ี ่งเรือ่ งมายังศาลแรงงานภาค 4 เพื่อให้มคี ำสั่งรับฟ้อง
ต่อไป จากที่มีการแจ้งไปยังงานรับฟ้องของแต่ละศาลว่า สำหรับคำคู่ความต่าง ๆ นั้น ให้ถ่ายภาพและ
จัดส่งไฟล์ดังกล่าวผา่ นทางระบบ Application Line ของศาลแรงงานภาค 4 เพื่อให้ศาลแรงงานภาค 4
ตรวจสอบกอ่ น
หลงั จากครบถว้ นหรอื เสร็จแล้วจะมกี ารแจ้งกลับไปยังศาลน้ัน โดยผู้พพิ ากษาศาลนั้นจะสามารถ
สัง่ ได้เพียงวา่ “ส่งให้ศาลแรงงานภาค 4 พจิ ารณาสง่ั ”
ซึ่งศาลแรงงานภาค 4 ได้จัดทำตรายางข้อความเพื่อแจกจ่ายไปแต่ละศาลแล้ว โดยให้แจ้งกับ
ผู้เกี่ยวข้องว่า ให้ดำเนินการประทับตรายางและลงลายมือชื่อเพื่อส่งให้ศาลแรงงานภาค 4 พิจารณาส่ัง
ในวันนั้นทันที ด้วยเหตุผลที่ว่าหากแต่ละศาลจัดส่งในวันรุ่งขึ้นแล้วศาลแรงงานภาค ๔ สั่ง ซึ่งต้องมีการ
แจ้งคำส่ังอกี จะส่งผลให้ทา่ นได้รบั ภาระงานเพ่ิมข้นึ อกี
และเรื่องเอกสารที่เป็นต้นฉบับไม่ว่าจะเป็นคำคู่ความหรือการไกล่เกลี่ยฯ ถ้าหากสำเร็จแล้ว ขอ
ความกรุณาจัดส่งเอกสารทางระบบไปรษณีย์แบบด่วน (EMS) เพอ่ื ใหไ้ ด้รับเอกสารภายใน 3 วัน และกม็ ี
เพยี งบางศาลเท่าน้ันท่ใี ช้ระยะเวลาการส่งนานเป็นเดอื น จึงตอ้ งมีการทวงถาม
2. สำหรับการพิจารณาพพิ ากษาคดนี ้นั ทางเราพยายามหลีกเล่ียงทจ่ี ะไม่นัดพิจารณาคดีในวันท่ี
แต่ละศาลมีคดีจัดการพิเศษ จึงอยากขอความร่วมมือให้มีการจัดเตรียมห้องสำหรับการพิจารณาคดีให้
กับศาลแรงงานภาค 4 แต่หากไม่สามารถจัดเตรียมห้องฯ ไว้ได้ ขอให้รีบดำเนินการแจ้งมาศาลแรงงาน
ภาค 4
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 92
โดยทางเราอาจดำเนินการประสานงานกับศาลแขวงหรือศาลเยาวชนฯ เพื่อพิจารณาคดีซึ่งตาม
ข้อกำหนดศาลแรงงาน ข้อ ๒๗ วางหลักให้ “ศาลแรงงานจะต้องออกไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดก่อน”
หรือ “ถ้าเห็นสมควรแล้วศาลแรงงานก็สามารถนำคดีไปพิจารณายังศาลอื่นได้” จึงขอความร่วมมือกับ
ศาลเยาวชนฯ ว่า “ให้จัดห้องพจิ ารณาคดที ่ีเป็นประเภทคดแี พ่ง” เคยมีการจัดห้องพจิ ารณาคดีท่ีเป็นคดี
ประเภทคดีอาญาสำหรับเยาวชนไวซ้ ่ึงหอ้ งดังกล่าวมลี กั ษณะไม่เปน็ บัลลังก์การพจิ ารณาคดีแรงงานทำให้
ไม่สามารถพจิ ารณาคดีได้ หากมีการเลื่อนการพิจารณาคดีแล้วนั้นจะเกิดความเสียหายแก่คู่ความ เพราะ
ในการพิจารณาคดีจะมีทั้งผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเดินทางไป
จากศาลแรงงานภาค ๔ และสำหรับการพิจารณาไกลเ่ กล่ียข้อพิพาทขอให้มเี จ้าหน้าที่ของศาลนั้นประจำ
อยดู่ ้วยเพ่อื เปน็ สักขีพยาน
3. การพัฒนาและต่อยอดการส่งตรวจและแก้ไขร่างคำพิพากษาของศาลในเขตอำนาจ
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 จากเดิมส่งทางไปรษณีย์และไฟล์ PDF เป็นไฟล์ Word โดยผ่าน
ระบบอิเลก็ ทรอนิกส์ ของสำนกั งานอธิบดีผพู้ ิพากษาภาค 4 (ECRM)
สำหรับโครงการพัฒนาและต่อยอดการส่งสำนวนและร่างคำพิพากษา (ECRM) เป็นนโยบายที่
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 มีดำริให้มีการพัฒนาและต่อยอดจากที่ดำเนินการอยู่แล้ว โดยมีการแต่งต้ัง
คณะทำงานแทนจากคณะเดิม และได้มีการประชุมในเบื้องต้นแล้วนำเสนออธิบดีผู้พิพากษาภาค 4
จนกระท่งั นำไปสู่การศึกษาดูงานท่ศี าลอุทธรณภ์ าค 4
หลังจากศึกษาดูงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการประชุมคณะทำงานอีกครั้งและได้เริ่มทดลองส่ง
คำพิพากษาดว้ ยไฟล์ Word
หลกั การในการทำงานที่ ไดช้ ่วยกันระดมความคิดขนึ้ มาประกอบ 4 หลกั การ ดงั นี้
1. คงหลกั การเดมิ แตป่ รับเพ่ิมกรรมวธิ ี
2. มีการประสานงาน
3. งานต้องมีความเช่อื ถือได้และมีความปลอดภัย
4. ลดภาระขัน้ ตอนและคา่ ใช้จา่ ย
รูปแบบเดิมจะยังคงอยู่ทั้งหมด และลำดับต่อมาเป็นการประสานงานทุกภาคส่วนภายในองค์กร
ของศาลในสงั กดั ภาค 4 ตอ้ งทำงานรว่ มกนั โดยไมถ่ อื วา่ ศาลใดศาลหนง่ึ เปน็ ผู้รบั ผิดชอบ
ในสัปดาห์ท่ีผ่านมาอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค 4 ได้เรียนเชิญอธิบดีอัยการภาค 4 และคณะมาเข้าร่วม
ประชุมที่สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการบริหารงานคดี ปรากฏ
ว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะกล่าวนำเรียนในลำดับต่อไปเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของอธิบดีผู้พิพากษา
ภาค 4 ทีเ่ ก่ียวกบั การพฒั นาตอ่ ยอดระบบ ECRM
สำหรับงานเชื่อถือได้เป็นการออกแบบว่าจะทำอย่างไรให้คำพิพากษา, คำเบิกความหรือถ้อยคำ
ต่าง ๆ ทถ่ี กู ส่งมาเปน็ ประเภทไฟล์ Word ไมต่ อ้ งกังวลหรือตดิ ขดั เรื่องลายมอื ชือ่ เพ่อื ใหเ้ กิดความเช่ือถือ
วา่ เป็นคำพิพากษาและสำนวนคดขี องจริงทถ่ี กู ส่งมายังภาค 4
ส่วนเรื่องความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบด้านเทคนิคของส่วนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้กำหนดชื่อและสิทธิผู้ใช้งาน (Authentication) ส่วนการลดภาระค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการ
ทำงานเปน็ เรอื่ งของประโยชน์ที่ไดร้ บั จากการพฒั นาระบบน้ี
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 93
กล่าวโดยสรุป การคงหลักการเดิมแต่ปรับเพิ่มกรรมวิธี เช่น ปัจจุบันสำนวนเป็นแบบกระดาษ
ซึ่งนโยบายของสำนักงานศาลยุติธรรมทำเป็นสำนวนอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ระบบ
e-Filing Version 3 มกี ารสแกนเอกสารเพอื่ เก็บเขา้ สู่เครอ่ื งคอมพวิ เตอรแ์ ม่ข่าย (Server)
นั่นคือ สำนวนระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ PDF แต่หลักการใหม่จะเพิ่มเป็นไฟล์ Word เข้ามา
สำหรบั ชอ่ งทางการส่งยังคงใช้วธิ กี ารเดิมในการส่งคำพพิ ากษาหรอื สำนวน
วิธีการส่งสำนวนและคำพิพากษา หากสำนวนมีเอกสารจำนวนมากให้ส่งทางไปรษณีย์ แต่
คำพิพากษาทุกประเภทจัดสง่ เปน็ ไฟล์ Word
สำหรับหลักการใหม่ที่เพิ่มขึ้น เช่น คำฟ้อง คำร้องขอ คำให้การ จากที่ได้มีการประสานงานกับ
อธิบดีอัยการภาค 4 ในภายหน้าพนักงานอัยการจะดำเนินการส่งคำฟ้องคดีอาญาในรูปแบบไฟล์ Word
รวมถึงคดีแพ่งและคดีจัดการมรดกที่พนักงานอัยการเป็นทนายแก้ต่าง นอกจากนี้จะต้องมีระบบแม่ข่าย
เก็บไฟล์ Word เพ่ือประโยชน์ในการส่งไปยังศาลสูง
หรือเพื่อการประสานความร่วมมือกับสำนักงานอัยการภาค 4 ในการจัดส่งไฟล์ Word เพื่อ
บูรณาการข้อมูลร่วมกัน อันเป็นการร่วมมือกับองค์กรภายนอกในรูปแบบใหม่ของระบบสำนวน
อิเล็กทรอนิกส์ในภาค 4 และส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดเตรียมระบบแม่ข่ายเพื่อจัดเก็บไฟล์
ประเภท Word ไวเ้ รียบร้อยแล้ว โดยจะมีการรบั สง่ หรอื ติดต่อประสานงานผา่ นช่องทางดังกล่าวน้ี
สำหรับประโยชน์ในอนาคตในกรณีคำฟ้องคดีอาญาจำนวนมากหรือคดีขึ้นสู่ศาลในช่วงเทศกาล
จะมีการส่งคำฟ้องเข้ามาในระบบก่อน ทำให้สามารถเปิดไฟล์เหล่านี้และเขียนคำพิพากษาได้รวดเร็ว
ยง่ิ ขน้ึ ในความรว่ มมอื เหลา่ น้ี
นอกจากจะเกิดขึ้นระหว่างสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และสำนักงานอัยการภาค 4 แล้ว
คาดว่าศาลชนั้ ตน้ ในแตล่ ะจงั หวัดก็ตอ้ งมีความรว่ มมอื กับศาลสงู ซึง่ เป็นประโยชนใ์ นหลายด้าน
ภายในองค์กรต้องมีการร่วมมือกันโดยไม่ถือว่า ส่วนงานใดส่วนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียว
เพราะถอื วา่ เป็นการขบั เคลอ่ื นการทำงานในสำนักงานอธิบดผี ้พู พิ ากษาภาค 4
สำหรับงานต้องเชื่อถือได้หรือมีความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบงานใหม่นี้ เป็นสิ่งที่ต้องสร้างความ
เชื่อถือ โดยคงหลักเดิมคือ สำนวนกระดาษ, ไฟล์ PDF ยังคงอยู่ แต่ประเภทไฟล์ Word ต้องมีการสร้าง
ระบบให้ความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้จะไม่ปล่อยให้มีการจัดส่งไฟล์คำพิพากษามาโดยไม่มีกา ลงลายมือชื่อใน
กระดาษ ซง่ึ ผู้พพิ ากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะตอ้ งลงลายมอื ชอ่ื ให้ครบถ้วนเสยี กอ่ น
ในด้านระบบความปลอดภัยจะมีการกำหนดชื่อผู้ใช้งานและสิทธิ (Authentication) การเข้าถึง
ข้อมูลอย่างเต็มรูปแบบ เพือ่ เป็นการยืนยันความปลอดภยั ของระบบฯ เทา่ ทใี่ ช้งานอยู่ ก็ถือว่ามีสิทธิภาพ
มาก โดยกำหนดให้ผู้ใช้งาน (User) แต่ละระดับอย่างชัดเจนและน่าเชื่อถือ อีกทั้งรวมถึงการลงลายมือ
ชื่อที่มีการปรับแก้คำพิพากษา สำหรับคำพิพากษาที่ภาคฯ ปรับแก้ไขแล้วจะไม่ปรากฏที่ศาลอุทธรณ์
กล่าวคือ องค์กรภายนอก เช่น สำนักงานอัยการภาค 4 ไม่สามารถเข้าถึงปรับแก้ไขข้อมูลได้ แต่
ผู้พพิ ากษาเจ้าของสำนวนทราบได้วา่ มกี ารแก้ไขอะไรบ้าง
ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ ECRM ในการสำนวนฯ มายังสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4
เพื่อให้ตรวจร่างคำพิพากษาฯ ผู้พิพากษาแต่ละท่านจะต้องสรุปความเห็น แต่ในบางสำนวนก็มีสรุป
ข้อความมากเกินไป ขอให้สรุปให้ข้อความกระชับ ดังนั้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก็สามารถที่สรุปให้
ขอ้ ความแบบย่อได้ และในทกุ สำนวนคดีผ้พู พิ ากษาหวั หน้าศาลจะต้องมคี วามเห็นเพ่ิมเติม
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 94
สำหรับร่างคำพพิ ากษาทม่ี รี ่องรอยการตรวจแก้ไข จะถูกจดั เก็บไวท้ ่ภี าค 4 ซึง่ คือแนวทางปฏิบัติ
ในปัจจุบัน แต่สำหรับระบบใหม่ (File Word) เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจำทำร่างคำพิพากษาเสร็จ
แล้ว ให้สั่งพิมพ์ออกมาเพื่อลงลายมือชื่อให้ครบองค์คณะแล้ว คำพิพากษาประเภทไฟล์ Word จะถูกส่ง
มายังภาค 4 ทันที โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการลงลายมือชื่อว่าจะมีหรือไม่ เมื่อทางภาค 4 ได้ตรวจร่าง
คำพพิ ากษาเสรจ็ แล้ว จะดำเนินการจดั สง่ กลบั ไปยงั ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน
สำหรับการลดภาระขั้นตอน ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการคดีโดยระบบไฟล์ Word
มีการส่งคำฟ้อง คำให้การหรือคำเบิกความเข้าในระบบ ECRM ไม่ควรนำไฟล์เหล่านี้ออกมาจากระบบ
เชน่ ไฟล์คำฟ้องทจี่ ดั สง่ จากศาลชั้นตน้ มายงั ภาค 4 และมกี ารส่งกลบั ไปยังศาลหรือสง่ ตอ่ ไปยงั ศาลสูง
ในขณะเดียวกันสำนวนที่เป็นกระดาษหรือสำนวนที่ถูกสแกนเป็นไฟล์ PDF ยังคงอยู่โดยไม่มี
ผลกระทบต่อระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานศาลยุติธรรม เช่น ระบบ e-Filing, ระบบ CIOS
ฯลฯ ก่อให้เกิดประโยชน,์ ไม่ยุง่ ยากและลดภาระงานใหเ้ จ้าหน้าทผี่ เู้ ก่ียวข้อง
ประโยชนท์ ี่ไดร้ ับเกี่ยวกบั ศาลชัน้ ต้นและบุคคลภายนอก อาทิเชน่
- ลดภาระขั้นตอนในการทำงานของผู้พิพากษา เช่น คำฟ้องในคดีอาญา คดีแพ่ง ของพนักงาน
อัยการเป็นเจ้าของเรื่อง หรือคำให้การที่พนักงานอัยการเป็นผู้แก้ต่าง เราจะได้ไฟล์ Word เหล่าน้ี
มาเพื่อให้ผู้พิพากษาเรียงคำพิพากษาได้ง่ายและลดขั้นตอนการพิมพ์คำพพิ ากษา รวมถึงคดีจัดการมรดก
ทีส่ ำนักงานอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค 4 ได้มกี ารประสานงานไว้แลว้ กบั สำนักงานอยั การภาค 4
สำหรับคดที ตี่ ้องส่งสำนวนมายังภาค 4 ผู้พพิ ากษาเจ้าของสำนวนสามารถสง่ ไฟล์ Word เพื่อมา
ตรวจร่างคำพิพากษาทางระบบฯ ไดโ้ ดยไม่ต้องสแกนคำพิพากษาแตอ่ ยา่ งใด
- ลดการพ่ึงพาระหว่างผู้พิพากษาและเจ้าหน้าทีด่ ้วยกันเอง เช่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสามารถ
บันทึกความเห็นเข้าไปในระบบฯ ได้โดยไม่ต้องยุ่งยากในการเขียนด้วยลายมือ และผู้ที่มีหน้าที่ตรวจร่าง
คำพพิ ากษา ไมต่ อ้ งสง่ั พิมพ์คำพิพากษาเพ่ือมาแกไ้ ข
- สำหรับคดีเวรชี้ (คดีอาญา) ผู้พิพากษาสามารถเข้าสู่ระบบฯ และนำไฟล์เหล่านี้มาเขียน
คำพิพากษาไดก้ อ่ นท่ีสำนวนรับฟ้อง (กระดาษ) จะมาถึง และประชาชนจะได้รับประโยชนค์ ือ เปน็ การลด
ขนั้ ตอน ลดระยะเวลาไม่ตอ้ งรอนาน นอกจากนที้ ำใหส้ ามารถสั่งปลอ่ ยชัว่ คราวได้รวดเรว็ ขึ้น
- พนกั งานอยั การสามารถนำไฟล์ Word ไปพฒั นาต่อยอดได้รวดเรว็ ขนึ้
- ลดภาระค่าใชจ้ ่ายในการคดั ถ่ายสำเนาคำพพิ ากษาของสำนักงานอยั การฯ
สำหรับในส่วนนไี้ ดน้ ำเรียนไปยงั ท่านประธานศาลฎีกาวา่ มศี าลนำร่องในจงั หวดั ขอนแก่นและใน
สังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 จะเริ่มดำเนินการ และท่านประธานศาลฎีกาก็ยินดี โดยท่านได้
แจ้งวา่ หากมีขอ้ ขดั ข้องหรือติดปญั หาด้านใดก็ให้แจ้งให้ทราบ ซงึ่ ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานเป็น
ระยะ
สำหรับการปฏิบัติงานนั้นมีระบบขั้นตอนการทำงานเป็นลำดับชั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ไม่สามารถเข้าถึงระบบคำพิพากษาได้ และท่านประธานศาลฎีกาได้ให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน
โดยอยากให้เป็นรูปธรรม หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 และศาลชั้นต้นในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา
ภาค 4 รว่ มมอื กนั อยา่ งจริงจงั จะเปน็ ส่งิ ที่ทำให้ระบบงานเหล่านตี้ ่อยอดพัฒนาข้ึนไปอกี
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 95
ขอบรรยายขัน้ ตอนการตรวจรา่ งคำพพิ ากษาดว้ ยไฟล์ Word แบบสรปุ ดงั น้ี
ขัน้ ตอนท่ี 1
1.1 ผู้พพิ ากษาเจา้ ของสำนวนพิมพร์ า่ งคำพิพากษา
1.2 ปรึกษาผพู้ ิพากษาหวั หน้าศาล
1.3 ผูพ้ พิ ากษาเจา้ ของสำนวนจดั ทำรา่ งคำพพิ ากษาดว้ ยไฟล์ Word และนำไฟลเ์ ข้าสูร่ ะบบ
1.4 ผู้พิพากษาหัวหนา้ ศาลทำความเหน็ ในระบบ
1.5 เจ้าหนา้ ทีศ่ าลตรวจสอบและกดป่มุ ยนื ยันการสง่ สำนวนและรา่ งคำพพิ ากษาไปยังภาคฯ
และสำหรับในส่วนการทำความเห็นของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ได้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
จำนวน 3 ศาลในจงั หวัดขอนแกน่ ได้เคยทำความเหน็ ในระบบแลว้
การทำความเหน็ ของผพู้ พิ ากษาหัวหนา้ ศาล
เมื่อปรากฏปุ่ม (Icon) สีแดง หมายเลข 2 “รายงานคดีส่งร่างคำพิพากษาแล้วรอทำความเห็น”
ให้คลิกเข้าไปเพื่อบันทึกข้อมูลในปุ่มความเห็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล โดยจะมีคดีค้างที่รอให้ดำเนินการ
โดยจะแสดงรายชื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่กำลังใช้งานในขณะนั้น ซึ่งจะมีหน้าต่างรายการให้เลือก
(Check Box) ดังน้ี
เหน็ ด้วยกับร่างคำพิพากษาหรอื คำสั่ง ใน ข้อเทจ็ จริง กฎหมาย
เหน็ ดว้ ยกบั รา่ งคำพพิ ากษาหรือคำส่งั บางประเด็น
ไมเ่ หน็ ด้วยกบั ร่างคำพิพากษาหรือคำสง่ั โดยมี
โดยมี ความเห็นแย้ง ความเห็นเพิม่ เตมิ ดงั น้ี
และในส่วนท้ายจะปรากฏกล่องข้อความ (Text Box) สำหรับพิมพ์ความเห็นเพิ่มเติม โดยท่าน
สามารถพิมพ์ข้อความแบบสรุปได้ (สามารถเพิ่มความเห็นได้ไม่เกิน 4,000 คำ) หรือหากมากกว่านั้น
หรือมีเอกสารประกอบความเห็นให้แนบไฟล์ (PDF) หลังจากนั้นคลิกปุ่มบันทึกข้อมูลจะถูกส่งไปยัง
เจา้ หนา้ ทศ่ี าลฯ ซึ่งเป็นเสร็จขนั้ ตอนของผ้พู ิพากษาหัวหน้าศาล
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 96
และจะมีการพัฒนาระบบเพิ่มเติมโดยส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา
ภาค 4 โดยให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นผูต้ รวจสอบลงลายมือชื่อในรา่ งคำพิพากษาเพื่อเป็นการรับรอง
ว่า “เจ้าของสำนวนและองค์คณะได้ลงลายมือชอ่ื ในร่างคำพิพากษาแลว้ ”
ข้ันตอนท่ี 2
2.1 เจา้ หน้าทภ่ี าคฯ ตรวจสอบสำนวนคดแี ละร่างฯ ท่ีศาลสง่ มาพร้อมจัดทำปลิว
2.2 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 Download ไฟล์ร่าง
คำพพิ ากษาเพื่อมาทำการตรวจ แก้ไข (นำร่างคำพพิ ากษาท่ีแกไ้ ขเข้าสรู่ ะบบ)
2.3 รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 Download ไฟล์ร่างคำพิพากษาเพื่อมาทำการตรวจ แก้ไข
(นำรา่ งคำพพิ ากษาท่แี กไ้ ขเข้าสรู่ ะบบ)
2.4 เจา้ หน้าทีภ่ าคฯ ตรวจสอบข้อมูล
2.5 สง่ กลับไปยงั ผ้พู ิพากษาเจ้าของสำนวน เพอ่ื ตรวจสอบร่างฯ ที่ได้รับคืน
การตรวจสอบรา่ งคำพิพากษาทไี่ ดร้ บั คืนมา
1. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน Download ไฟล์ร่างคำพิพากษาหรือคำสั่ง (หลังจากภาคตรวจ
เสร็จ)
2. เปิดไฟล์ร่างคำพิพากษาหรือคำสั่ง (หลังจากภาคตรวจเสร็จ) โดยคลิกปุ่ม “เปิดใช้งานการ
แก้ไข”
3. คลกิ ปมุ่ รีวิว และ คลิกปมุ่ ตดิ ตามการเปล่ยี นแปลง
4. ตรวจสอบร่างคำพิพากษาหรือคำสั่ง (หลังจากภาคตรวจเสร็จ) หากเห็นชอบตามที่ภาคฯ
ปรบั แก้ไข ให้คลกิ ทีป่ ุม่ ยอมรบั ยอมรับการเปลยี่ นแปลงท้ังหมด
5. เมื่อยอมรับการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงแล้ว และไม่ต้องการจะให้ไฟล์แสดงกล่องความเห็น ให้
คลกิ ป่มุ เลือก ไม่มีมาร์กอปั ก็จะได้ไฟลร์ ่างคำพิพากษาฉบบั ท่แี ก้ไขเรยี บรอ้ ยแลว้
ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การตรวจร่างคำพิพากษาด้วยไฟล์ Word นั้น หากตรวจโดยใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) ซึ่งมีหน้าจอขนาดเล็กด้วยวิธีการแบ่งหน้าจอซ้ายและขวา
ซึ่งก็คือส่วนของร่างคำพิพากษาที่จะปรับแก้กับส่วนที่เป็นข้อมูลในสำนวน ตัวอักษรในร่างคำพิพากษา
และข้อมูลในสำนวนจะมีขนาดเล็กเกินไปซึ่งอาจเสียหายแก่สายตา แต่หากใช้วิธีสลับหน้าต่างไปมา
ระหว่างคำพิพากษากับข้อมูลในสำนวน ก็จะไม่สะดวกแก่การปฏิบัติงานเท่าที่ควรซึ่งจากการที่เคยไป
ช่วยราชการทีศ่ าลอทุ ธรณภ์ าค 4 ได้เห็นการทำงานของทา่ นผชู้ ่วยผพู้ ิพากษาฯ หลายท่านที่ได้ใช้หน้าจอ
(Monitor) ขนาด 32 นิ้ว มาช่วยในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกต่อการตรวจร่างฯ จึงเห็นว่ามี
การตรวจร่างคำพิพากษาโดยไฟล์ Word ที่สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ได้พัฒนาขึ้นนี้ หากได้รับ
การจัดสรรจากทางราชการให้ได้รับหน้าจอ (Monitor) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ
พกพา (Notebook) มาใช้ กจ็ ะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่การตรวจรา่ งฯ เปน็ อยา่ งดยี ่งิ
สำหรับระบบ ECRM ในระยะแรกท่ีพบปัญหาคือตอ้ งมกี ารตรวจสอบอยตู่ ลอดเวลาโดยการเปิด
หน้าจอคอมพิวเตอร์ว่าอยู่ในขั้นตอนใด เช่น ไฟล์มีการส่งกลับหรือไม่ ผมจึงได้สอบถามแล้วว่ามี
Application Line Notify เพื่อคอยแจ้งเตือนว่าขั้นตอนการทำงานดำเนินไปเช่นใด อาทิเช่น เม่ือ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 97
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทำความเห็นแล้ว ปลายทางได้รับไฟล์หรือไม่ กระทั่งตรวจสอบการส่งไฟล์กลับ
จึงถอื ว่าระบบนี้ช่วยพฒั นาให้การทำงานดขี ้นึ
ตามท่ีศาลเยาวชนฯ ขอนแกน่ ไดก้ ล่าวถงึ Application Line Notify เพ่ือแจ้งเตือนในระบบนั้น
จากการที่ได้ตรวจราชการศาลฯ และมีข้อซักถามจากผู้พิพากษาว่า ไม่ทราบว่ามีการส่งสำนวนกลับ
มาแล้ว จึงได้แจ้งว่ามีระบบไลน์กลุ่มแจ้งเตือน แต่หากศาลใดยังไม่ดำเนินการทำระบบฯ นี้ ขอให้แจ้งกับ
ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศของศาลนั้น ๆ จัดทำระบบแจ้งเตือนเพื่อผูกกับหมายเลขคดีของผู้พิพากษา
เจ้าของสำนวนให้เรียบร้อย
และยังมีอีกช่องทางเพื่อตรวจสอบว่ามีการส่งสำนวนคดีกลับไปแล้ว คือ ปฏิทินตารางวันนัดฟัง
คำพิพากษาศาลในสังกัดภาค 4 ซึ่งผู้พิพากษาก็สามารถคลิกเข้าไปเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีโดยจะมี
ปุ่มเมนหู ลากสี ดงั น้ี
1. สีฟา้ ภาคสง่ รา่ งฯ (หลงั ตรวจ) คืนศาลแล้ว
2. สีเขียว ศาลส่งร่างคำพิพากษามาและสำนวนแล้ว
3. สมี ว่ ง ผ้พู ิพากษาเจา้ ของสำนวนแนบรา่ งคำพพิ ากษาแลว้ รอยนื ยนั การส่งสำนวน
จึงขอฝากไปยงั ผพู้ พิ ากษาตรวจสอบด้วยว่า “หากปมุ่ ดังกลา่ วยังปรากฏสีม่วง แสดงว่าเจ้าหน้าท่ี
ยงั ไมไ่ ดค้ ลกิ ปมุ่ เพอ่ื สง่ มายงั ภาคฯ” ซง่ึ จะทำใหเ้ กดิ ปญั หาคอื ภาคฯ ตรวจรา่ งคำพิพากษาไมท่ ันกำหนด
4. ขอ้ สงั เกตในการใช้ระบบ e-Filing Version 3
สำหรับข้อสังเกตในระบบ e-Filing โดยประเด็นปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับระบบฯ จากผู้พิพากษา
ในศาลแขวงอุดรธานี มีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงข้อขัดข้องในการทำงาน ซึ่งในส่วนของข้อขัดข้องต่าง ๆ
นั้น จะขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอุดรธานีได้ชี้แจงประเด็นปัญหาข้อขัดข้อง หรือข้อสังเกตในบาง
เรื่อง อาทิเช่น ระบบ e-Filing ตามความเข้าใจส่วนตัวของผมคือ ทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของสำนวน
อเิ ลก็ ทรอนิกส์ท้ังหมด แตพ่ อไดเ้ ข้ารว่ มประชุมกับคณะทำงานของระบบ e-Filing จากสำนักประธานศาล
ฎีกาและเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงไทยฯ ที่ได้มาให้ความรู้กับผู้พิพากษา ซึ่งผมเองได้มีโอกาสได้เข้าร่วม
สัมมนาด้วย ปรากฏว่า ระบบ e-Filing ก็คือการรับฟ้องผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว
และจะไม่มีการพัฒนาต่อยอดในเรื่องการส่งคำคู่ความ คำพิพากษา คำบังคับ หรือเรื่องบัญชีค่าฤชาธรรม
เนยี ม ฯลฯ
ซึ่งในความเห็นผมคาดว่าผู้ที่ทำการพัฒนาระบบ e-Filing น่าจะยังไม่มีความเข้าใจระบบทาง
เดินของสำนวนคดี จึงทำให้ระบบสามารถทำงานได้ไมเ่ ต็มประสิทธิภาพ ฉะนั้น ในความหมายของสำนัก
ประธานศาลฎีกาจึงเห็นว่าระบบ e-Filing คือ ระบบคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ หรือจะมองแบบง่าย คือเป็น
การอำนวยความสะดวกให้เพียงแค่ทนายความเท่านัน้ เอง ซึง่ ทนายความสามารถท่จี ะดำเนินยื่นฟ้องช่วง
วัน เวลา ใด ก็ได้ตลอดเวลา (24 ชั่วโมง) แต่ผู้พิพากษานั้นต้องมาทำหน้าที่รับฟ้องที่ศาล หรือกระทั่ง
ตอ้ งเขียนคำพิพากษาที่ศาล ในบางครงั้ จะพบปญั หาที่เกิดขึ้น ดงั นี้
1. ระบบเกิดความขัดข้องหรือระบบได้รับความเสียหาย (System Crash) ประมาณ 3 วัน จึง
ทำใหผ้ พู้ ิพากษาไมส่ ามารถรบั ฟอ้ งหรือเขยี นคำพพิ ากษาได้
2. ในส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผู้พิพากษาก็ไม่สะดวกที่จะนำคอมพิวเตอร์แบบพกพา
(Notebook) เข้าไปในห้องพิจารณาคดีเพื่อตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ จึงอยากขอเสนอ
ใหม้ กี ารจัดสรรเครื่องคอมพวิ เตอรแ์ บบตง้ั โตะ๊ ประจำบนบัลลังก์ประจำแตล่ ะหอ้ งพจิ ารณาคดี เพือ่ ใหเ้ กดิ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 98
ความสะดวกต่อการตรวจสำนวนคำพิพากษา ตัวอย่างเช่น ควรจะมีหน้าจอ (Monitor) ที่มีขนาดใหญ่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านสุขภาพสายตาสำหรับผู้พิพากษาเริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว โดยจะขอเสนอ
ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์เข้าประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากมติที่ประชุมของศาลแขวงอุดรธานี ได้
เสนอแผนครุภัณฑ์ด้านคอมพิวเตอร์ ให้มีการจัดสรรครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ( Personal
Computer) ประจำบลั ลังกแ์ ตล่ ะหอ้ งพจิ ารณาคดี เพือ่ รองรับระบบ e-Filing และให้ผู้พพิ ากษาได้ตรวจ
หรืออย่างน้อยเพื่อเป็นเครื่องสำรองในกรณีที่คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) เกิดความเสียหาย
จึงขอนำเรียนไปยังอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ช่วยกรุณาสนับสนุนงบประมาณด้านครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
(จอภาพ)
3. การรับผิดชอบภาระงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยเมื่อมีการมอบหมายงานแล้ว แต่
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานยังไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อมีการส่งมอบระบบ
มาก็ควรจะมีผู้ดูแลระบบ (Admin) เป็นผู้รับผิดชอบและจัดการในด้านนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
คำฟ้อง คำร้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับระบบงาน ศาลแขวงขอนแก่นได้พบปัญหาลักษณะแบบนี้
เป็นต้นว่า ไม่มีผู้รับคำร้อง เมื่อรับคำร้องแล้วไม่มีการตามงานที่ผู้พิพากษาสั่งไปแล้วจึงไม่สามารถส่งต่อ
ไปยังผู้พิพากษาได้ ก็ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ โดยได้
นำเสนอเข้าแผนฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อจัดให้มีผู้ดูแลระบบ จำนวน ๑ อัตรา ให้มีหน้าที่ดูแล
จัดการในด้านนี้โดยตรงเพื่อเข้าระบบและดำเนินการส่งงานต่อให้แก่ผู้พิพากษาและติดตามงานที่
ผู้พพิ ากษาสั่งแล้วในศาล
4. เรื่องการส่งคำคู่ความ ไม่ได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน เป็นต้นว่า การนำระบบสแกน
บาร์โค้ดเพื่อติดตามการส่งคำคู่ความมาใช้ให้สามารถส่งผลการส่งหมายเข้าสำนวนในคดีนั้นได้ทันที โดย
ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ต้องทำการสแกนเอกสารและ Upload เข้าไปในระบบฯ ซึ่งขณะน้ีมีปัญหาในเรื่อง
ของการ Upload เอกสาร เพราะเมื่อมีการตัดสินคดีเสร็จและมีการส่งคำบังคับ เจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำการ
Upload คำบังคับ ทำให้ผู้พิพากษาไม่พบไฟล์ในระบบฯ ทำให้มีการยกคำร้องขอหมายตั้งเจ้าพนักงาน
บงั คบั คดี ต้องการใหส้ ำนกั งานศาลยตุ ิธรรมไดพ้ ฒั นาตอ่ ยอดในเร่อื งดงั กล่าวนี้ดว้ ยว่าจะทำเช่นไร เพ่ือให้
การสง่ คคู่ วามสามารถรายงานผลเข้าสำนวนได้ทันที
5. ปัญหาที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ บัญชีค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งการทำงานแบบเดิมคือจะต้อง
เขียนด้วยลายมือในหน้าปก ตอนนี้ศาลแขวงขอนแก่นได้มอบหมายให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์พัฒนา
ระบบต่อยอดในเรื่องบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าจะเป็นค่าขึ้นศาล ค่าส่งคำคู่ความ เพื่อให้เชื่อม กับ
ฐานขอ้ มลู ให้เปน็ ในสว่ นของคา่ ฤชาธรรมเนียม เพอื่ ตรวจสอบว่ามคี า่ ใช้จ่ายประเภทใดบ้างในกรณีที่จำเลย
ต้องรับผิดชอบหลังจากมีคำพิพากษาเมื่อแพ้คดี ยกตัวอย่าง ระบบ e-Filing จะมีในส่วนของค่าขึ้นศาล
คา่ ส่งคำคู่ความและคา่ เอกสาร เม่อื เจ้าหน้าท่ีได้บนั ทึกข้อมูลลงระบบ จงึ ต้องการให้มีการเช่ือมฐานข้อมูล
เป็นบัญชีค่าฤชาธรรมเนียม หากมีคู่ความหรือทนายความต้องการเอกสารเหล่านี้ ก็สามารถพิมพ์ออกได้
ทันที เพ่อื เป็นการลดภาระงานและจำนวนคดีในศาลแขวงก็มีปริมาณมาก และจะขอให้ผพู้ ิพากษาหัวหน้า
ศาลแขวงอุดรธานไี ดน้ ำเสนอปัญหาขอ้ ขดั ข้องเก่ียวกบั ระบบดังกล่าว เพอ่ื ใหท้ ่ีประชุมไดร้ บั ฟงั
สำหรับศาลแขวงอุดรธานีก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับศาลแขวงทุกศาล ซึ่งผมก็คาดว่าปัญหา
ของระบบ e-Filing นี้ คงจะเกิดขึ้นกับศาลแขวงอื่น ๆ เนื่องจากทนายโจทก์นิยมฟ้องคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่
มากและปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลแขวงมีปริมาณค่อนข้างจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคดีผู้บริโภค
อาทิเช่น ก่อนที่จะมาดำรงตำแหนง่ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอุดรธานี ร้อย 80 สถิติคดขี องศาลแขวง
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 99
ทั้งหมดจะเป็นคดีผู้บริโภค สำหรับปีที่แล้วมีคดีประมาณ 19,000 คดี เกือบถึง 20,000 คดี ซึ่งข้อมลู
ณ ปัจจุบัน ปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลแขวงอุดรธานี ประมาณ 17,000 คดี เหลืออีกประมาณ 2,000 คดี
เป็นข้อมูลที่ค่อนข้างตรงกับที่ได้วางเป้าหมายไว้ ถึงอย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับระบบ e-Filing นี้ เม่ือ
เราที่ทำงานด้านบริหารและไม่ได้สัมผัสโดยตรงจึงไม่ทราบปัญหาและจะสามารถทราบได้ก็เนื่องจาก
ได้รับฟังจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนรับฟ้องส่งคำคู่ความ หรือปัญหาต่าง ๆ กระท่ัง
กระบวนการหลังจากพิจารณาคดีเสร็จแล้ว หรือชั้นบังคับคดี ก็จะมีการขอหมายตั้ง เป็นต้น ก่อให้เกิด
ปัญหาอย่างยิ่ง เพราะได้รับฟังข้อเสนอปัญหาจากผู้พิพากษาที่ปฏิบัติงานในศาลแขวงเกี่ยวกับปัญหา
ขอ้ ขัดขอ้ งในระบบ e-Filing
ถือว่ามิใช่เป็นปัญหาเล็กน้อยสำหรับผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของ
ระบบ e-Filing และศาลแขวงอุดรธานีได้มีการจัดประชุมเกี่ยวกับปัญหาข้อขัดข้องของระบบดังกล่าวน้ี
โดยเฉพาะ จึงเกิดความเห็นอย่างหลากหลาย หากมีประเด็นปัญหาใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่เราจะได้ดำเนินการแก้ไขได้ให้ทันที แต่หากเป็นเรื่องของตัวระบบหรือโปรแกรมแล้วน้ัน
จะต้องให้ผเู้ ช่ยี วชาญจากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานศาลยุตธิ รรม เปน็ ผู้ดำเนนิ การแก้ไข และ
ส่วนกลางเองก็ไม่สามารถทราบวา่ แทจ้ ริงแล้วโปรแกรมมีความบกพร่องในด้านใดบ้าง
หลังจากที่ได้จัดประชุมเรื่องดังกล่าวนี้ พบว่ามีปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับระบบ e-Filing
ค่อนข้างมาก จึงขอสรุปโดยย่อได้ดงั นี้
1. การยื่นฟ้อง ส่งเอกสารท้ายฟ้องมาให้ไม่ครบ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องมีการขอส่งเพิ่มเติม
ในนัดวันพิจารณาครั้งแรก หากจำเลยขาดนัดก็ไม่สามารถรับทราบได้จึงไม่มีทางต่อสู้ในประเด็น
ที่มกี ารสง่ เพิม่ เตมิ
2. ไม่สามารถจัดส่งไฟล์ได้ เนื่องจากมีข้อกำหนดว่า ไม่สามารถแนบไฟล์ ขนาด 30 Mb. ได้ซ่ึง
ในบางครั้งเอกสารท้ายคำฟ้องมีปริมาณหลายหน้าที่เราจะต้องสั่งพิมพ์ (Print) เพื่อจัดส่งให้กับจำเลย
ทำใหส้ ิ้นเปลอื งกระดาษและเวลากบั การท่ีเจา้ หนา้ ท่ีฯ จะตอ้ งทำให้
สำหรับวิธีการแก้ปัญหาว่าจะทำเช่นไรให้เกิดความรวดเร็ว เพื่อที่จะส่งเอกสารคำฟ้องและ
เอกสารท้ายคำฟ้องจำนวนมากพร้อมกับหมายเรียกให้จำเลยได้แก้ต่างเพื่อยื่นคำร้องเข้ามา ซึ่งข้อสำคัญ
เอกสารจะต้องครบถ้วน หากไม่ครบถ้วนแล้วจำเลยก็ไม่สามารถต่อสู่คดีได้ครบประเด็น ก่อให้เกิดความ
ไม่เป็นธรรม
และยังเคยได้รบั ฟังการสะทอ้ นปัญหาข้อขดั ข้องระบบ e-Filing จากทนายความว่าเป็นเพียงการ
ช่วยเหลือโจทก์เพียงฝ่ายเดียว หรือมีคำครหากระทั่งว่า ศาลและโจทก์นั้นร่วมกลั่นแกล้งจำเลย เป็นต้น
ฉะนน้ั จะตอ้ งดำเนนิ การหาทางแก้ไขอยา่ งเรง่ ด่วน
3. ระบบมีการบล็อกคำสั่ง อาทิเช่น บางคดีมีลักษณะให้อนุญาต ทราบ รวม ในชั้นตรวจ
คำร้อง แต่หากผู้พิพากษาต้องการสั่งให้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้เพิ่มเติมหรือจัดทำใหม่ จึงไม่
สามารถดำเนินการในส่วนนี้ได้ จำต้องทำรายงานกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ หรือจะพิมพ์ขึ้นใหม่จะทำให้
เสียเวลาคอ่ นขา้ งมาก
4. ความยุ่งยากในการที่จะกลับเข้าไปตรวจสอบคำฟ้องแรก อาทิเช่น มีการขอแก้ไขคำฟ้องใน
ภายหลังหรือมีการยื่นคำร้องต่าง ๆ ซึ่งจะมีการสั่งคำร้องต่อเนื่องจากครั้งก่อนหน้า จึงไม่มีทำให้เกิด
ความลา่ ชา้ อย่างมาก
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 100
ปัญหาเหล่านี้จะเกิดกับผู้พิพากษาเวรชี้ ทำให้เสียเวลาและล่าช้าในการเข้าสู่ระบบ เพื่อ
ปฏิบตั งิ าน
5. มีความยุ่งยากในการตรวจสำนวนฯ ต่อเนื่อง จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการสั่งคดี
ไปแลว้ วา่ อย่างไร หรือหากมีการยืน่ คำร้องใหม่น้ันผูพ้ ิพากษาพจิ ารณาสัง่ อนญุ าต
6. การออกแบบหน้าจอสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งโปรแกรมไม่ได้ออกแบบให้ทราบว่ามีการสั่งงาน
เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ไว้เช่นไร เช่น หากออกแบบให้เห็นว่ามีการพิจารณาสั่งไปแล้ว ผู้พิพากษาเอง ก็จะ
สามารถทราบได้ทันที ซึ่งต้องเปิดดูทุกหน้าของโปรแกรม ควรจะมีการออกแบบให้มีการแจ้งเตือนไว้ที่
หน้าจอระบบฯ
หลังจากมีการประชุมฯ พบว่ามีข้อสังเกต ประเด็นปัญหาข้อขัดข้องและรายละเอียดจำนวนมาก
โดยได้ปรึกษากับผู้พิพากษาท่านหนึ่งในศาลแขวงอุดรธานีที่ท่านกำลังศึกษาระดับปริญญาโท และได้จัด
ทำโครงงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาของระบบ e-Filing คาดว่าจะได้ทราบรายละเอียดในเชิงลึกในงาน วิจัย
ของท่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบดังกล่าวในไม่ช้านี้ ตามที่มีการกล่าวถึงว่ามีการยกเลิกระบบ e-Filing
ในประเทศเยอรมนีเป็นเร่อื งจริงหรอื ไม่ กจ็ ะปรากฏในเอกสารงานวิจัย
ปญั หาขอ้ ขดั ข้องของระบบ e-Filing ทไ่ี ด้พบเจอในศาลจังหวดั กาฬสนิ ธุ์ ดังน้ี
- ปัญหาในเรื่องท้ายฟ้องที่เจ้าหน้าที่จะต้องสั่งพิมพ์เพื่อจัดส่งให้กับจำเลย ยกตัวอย่าง มีคดีท่ี
จะต้องสั่งพิมพ์ประมาณ 800 หน้า ซึ่งทำให้เครื่องพิมพ์เกิดความเสียหาย มีค่าถ่ายเอกสารหน้าละ
3 บาท และเข้าใจว่าค่าหมึกพิมพ์มีราคาสูงกว่านั้น จึงได้แจ้งให้ทางโจทก์จัดทำสำเนาเอกสารเข้ามาและ
ไดค้ ืนเงนิ ทีโ่ จทกไ์ ดโ้ อนมาจะเปน็ การดกี ว่าหรอื ไม่ ในทางปฏบิ ตั ไิ ด้สอบถามว่าสามารถทำได้ ซง่ึ มเี อกสาร
จำนวนมาก เพราะจะทำศาลขาดประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังขาดบุคลากรที่จะ
ทำงานด้านนี้ด้วย
ศาลจังหวัดขอนแก่นบริหารจัดการค่าจัดทำเอกสารระบบ e-Filing ตามแนวปฏิบัติของ
สำนักงานศาลยุตธิ รรม ทั้ง 2 กรณี
1) เมอ่ื ค่คู วามโอนเงินมายงั ศาลฯ เพอื่ เป็นคา่ จัดทำเอกสาร หากเจ้าหน้าท่รี บั ฟอ้ งเหน็ วา่ ปริมาณ
เอกสารหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องมีน้อย สามารถจัดพิมพ์เองได้โดยสะดวกและรวดเร็วกว่าก็จะใช้
กรณีสั่งพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องถ่ายเอกสารทางราชการ ศาลจังหวัดขอนแก่นจะ
ดำเนินการจดั ส่งรายได้ค่าจัดทำเอกสารทั้งหมดสง่ รายไดแ้ ผ่นดนิ ท้ังจำนวน โดยไม่ไดห้ ักเงินไวแ้ ตอ่ ยา่ งใด
2) เมื่อคคู่ วามโอนเงนิ มายงั ศาลฯ เพื่อเป็นคา่ จัดทำเอกสาร หากเจา้ หนา้ ท่ีรับฟ้องเหน็ ว่าปริมาณ
เอกสารหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องมีมาก การจัดพิมพ์เองต้องใช้เวลาและเป็นภาระในการจัดทำ
เอกสารก็จะใช้กรณีสั่งพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องถ่ายเอกสารของเอกชนที่ติดต้ัง
เครื่องถ่ายในพื้นที่ราชพัสดุ ศาลจังหวัดขอนแก่นจะดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามใบส่งงานให้แก่เอกชนผู้
ติดตั้งเครื่องถ่ายฯ ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินที่คู่ความโอนมายังศาลฯ หากมียอดเงินเหลือจ่ายจะนำส่ง
รายไดแ้ ผน่ ดิน
จากการที่ได้มีการประสานไปยังผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมงานตุลาการแล้วนั้น ได้รับแจ้งว่า
สามารถดำเนินการได้เพียงแต่จะไม่เหมือนกับระบบการถ่ายเอกสารในกรณีที่เก็บค่าเช่าให้กับสำนักงาน
ธนารักษ์พื้นที่ หรือส่งรายได้เครื่องละ 1,000 บาท แต่ในกรณีดังกล่าวนี้จะเป็นเรื่องของเครื่องพิมพ์
(Printer) จึงไดม้ ีการกำหนดอตั ราค่าถ่ายเอกสารเป็นหน้าละ 1 บาท ซ่งึ มหี ลายศาลไดด้ ำเนินการแลว้
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 101
โครงการและกิจกรรมท่ดี ำเนนิ การในปี พ.ศ. 2563
อธิบดีผ้พู ิพากษาภาค 4
ตรวจเยย่ี มศาลจงั หวดั กาฬสนิ ธุ์
วันที่ 7 มกราคม ๒๕63 นายสันทัด สุจริต อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พร้อมคณะทำงานเข้า
ตรวจเยี่ยม และปรึกษาหารือข้อราชการเกี่ยวกับการบริหารงาน รวมถึงรับทราบปัญหาข้อขัดข้อง
ในการปฏิบัตงิ าน พรอ้ มทงั้ ใหค้ ำแนะนำในการดำเนนิ งานตามนโยบายเพอ่ื ใหก้ ารปฏิบตั ิงานเป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน ณ ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนางอารีย์ โรจน์วัฒนบูลย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
จังหวดั กาฬสนิ ธแ์ุ ละคณะให้การตอ้ นรับ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 102
ประธานศาลฎีกา
ตรวจราชการศาลยุติธรรมในภาค 4
วันท่ี 20 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30 น. นายสันทัด สุจริต อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4
ได้ให้การต้อนรับ นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา และคณะที่เดินทางมาตรวจราชการ
และรับฟังผลการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของศาลยุติธรรมใน
จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ศาลอาญา
คดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 ศาลจังหวัดขอนแก่น ศาลจังหวัดชุมแพ ศาลจังหวัดพล
ศาลแขวงขอนแก่น และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น รวม 8 หน่วยงาน ณ
หอ้ งประชุมศาลเยาวชนและครอบครวั จังหวัดขอนแกน่
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 103
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 104
สำนกั งานอธบิ ดีผูพ้ ิพากษาภาค 4
รว่ มพิธีมอบปฏิทนิ หลวงพทุ ธศกั ราช 2563
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ๒๕63 เวลา 09.00 นาฬิกา นายสันทัด สุจริต อธิบดีผู้พิพากษา
ภาค 4 มอบหมายให้ นายวิโรจน์ ตั้งสุภากิจ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ร่วมพิธีมอบปฏิทินหลวง
พุทธศักราช 2563 พระราชทานสำหรับความสุขปีใหม่ ณ บริเวณห้องโถงชั้น 1 ศาลากลาง
จงั หวัดขอนแก่น (หลงั ใหม่) อำเภอเมอื งขอนแกน่ จงั หวดั ขอนแก่น
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 105
สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ จัดประชุม
คณะผบู้ รหิ ารศาลยตุ ิธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดผี ู้พิพากษาภาค 4
ผ่านระบบสื่อสารทางไกลผา่ นจอภาพ แบบ Video Conference
วันที่ 16 เมษายน 2563 นายสันทัด สุจริต อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เป็นประธานการ
ประชุมคณะผู้บริหารศาลยุติธรรมในเขตอำนาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ผ่านระบบสื่อสารทางไกล
ผ่านจอภาพ แบบ Video Conference ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ชั้น 3
อำเภอเมอื ง จังหวัดขอนแกน่
ทั้งน้ี อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่มา
ดำรงตำแหน่งใหม่ พร้อมทั้งได้แจ้งบัญชีมาตรฐานการลงโทษ กรณีฝ่าฝืนพระราชกำหนดการ
บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 การปรึกษาคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลกับ
ผู้พิพากษาเจ้าของร่าง และการตรวจความพร้อมในการใช้งานระบบการรายงานคดีและตรวจ
สำนวนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงให้ คำปรึกษาแนะนำข้อราชการอื่น ๆ และสอบถามถึง
ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปโดย
รวดเร็วและเป็นธรรม
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 106
สำนกั งานอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค ๔ จัดโครงการ “สำนกั งานอธบิ ดผี ้พู ิพากษาภาค
4๔ เปน็ มิตรกบั สิง่ แวดล้อม” เน่อื งในวนั สถาปนาศาลยตุ ธิ รรม
21 เมษายน 2563 ครอบรอบ 138 ปี
เมื่อวนั ที่ 21 เมษายน ๒๕61 เวลา 14.00 นาฬกิ า นายสนั ทัด สุจรติ อธิบดผี ูพ้ พิ ากษาภาค 4
คณะผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม ร่วมกันปลูกต้นไม้เนื่องในวันสถาปนาศาลยุติธรรม 21
เมษายน 2563 ครบรอบ 138 ปี
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 107
สำนักงานอธิบดีผพู้ ิพากษาภาค 4 เข้าร่วมบนั ทกึ เทปโทรทัศน์ถวายพระพร
เนื่องในโอกาสวันเฉลมิ พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธบิ ดี
ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจา้ อยหู่ วั
เม่อื วนั ท่ี 3 กรกฎาคม 2563 นายสันทดั สจุ รติ อธบิ ดผี ูพ้ ิพากษาภาค 4 พร้อมด้วยรองอธบิ ดี
ผ้พู ิพากษาภาค 4 ผู้พิพากษาหวั หน้าศาลประจำสำนกั งานอธบิ ดีผพู้ พิ ากษาภาค 4 คณะผูพ้ พิ ากษา
ในจังหวัดขอนแก่น และผู้อำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ได้เดินทางไปเข้าร่วมบันทกึ
เทปโทรทัศน์ถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร
รามาธบิ ดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกลา้ เจ้าอยู่หัว ณ ห้องแสดงสถานวี ิทยุโทรทัศนแ์ หง่
ประเทศไทยขอนแกน่ อำเภอเมอื งขอนแกน่ จังหวดั ขอนแก่น
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 108
อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๔ ใหเ้ กียรติเป็นประธานในพธิ ีเปดิ
โครงการสง่ เสริมการประสานความรว่ มมอื ด้านการยุติธรรมของหน่วยงาน
ในกระบวนการยตุ ธิ รรม ประจำปี พ.ศ. 2563
วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 นาฬิกา นายสันทัด สุจริต อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4
ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมของ
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้หน่วยงานในกระบวนการ
ยุติธรรมในจังหวัดขอนแก่น มีความเข้าใจถึงปัญหาในการปฏิบัติการดำเนินงานระหว่างกัน ให้
ความรว่ มมือในการแก้ไขปญั หาข้อขัดข้องทเ่ี กิดขน้ึ เพ่ือพัฒนาเครอื ข่ายระบบกระบวนการยตุ ิธรรม
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงานระหว่างหน่วยงาน
ผ่านระบบการทำงาน โดยใช้นวตั กรรมทดแทนระบบเดมิ พร้อมเข้าสู่ Digital Court
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 109
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เข้ารว่ มพธิ ีถวายสตั ย์ปฏิญาณเปน็ ข้าราชการท่ีดี
และพลงั ของแผน่ ดนิ และ พิธลี งนามถวายพระพรชัยมงคล
วนั ท่ี 28 กรกฎาคม 2563 นายสนั ทดั สจุ รติ อธิบดผี ้พู พิ ากษาภาค 4 พร้อมดว้ ยขา้ ราชการ
สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของ
แผ่นดิน และพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ
พระวชิรเกลา้ เจ้าอยู่หัว
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 110
สำนักงานอธบิ ดีผ้พู ิพากษาภาค 4 ต้อนรับอธบิ ดผี ู้พิพากษาภาค 4
และ รองอธบิ ดผี ู้พิพากษาภาค 4 ในโอกาสเข้ารับตำแหนง่ ใหม่
วันที่ 1 ตุลาคม 2563 สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ให้การต้องรับนายวิเชียร แสงเจริญถาวร
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 และ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมี
นางสิริลักษณ์ เสียงไพรพันธ์ เผือกผ่อง รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เป็นผู้กล่าวต้อนรับพร้อมคณะ
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานฯ และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในจังหวัด
ขอนแก่นรว่ มใหก้ ารตอ้ นรับในคร้ังน้ี
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 111
อธบิ ดผี ้พู พิ ากษาภาค 4 ประชมุ มอบนโยบายการบรหิ าร
ราชการของศาลในเขตอำนาจอธิบดผี ้พู พิ ากษาภาค 4
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 นาฬิกา นายวิเชียร แสงเจริญถาวร
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ประชุมมอบนโยบายการบริหารราชการให้แก่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลใน
เขตอำนาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 โดยได้มอบนโยบายให้แก่หัวหน้าศาลให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม
นโยบายประธานศาลฎีกา และสำนักงานศาลยุติธรรม ในเรื่องของการนั่งพิจารณาคดีให้ครบองค์
คณะ และต่อเนื่อง การพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา การส่งเสริมการ
ระงับข้อพิพาททางเลือกในคดีอาญา และคดีแพ่ง การจัดทำคำพิพากษาให้มีมาตรฐานและเป็นไป
ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด การวางตนของผู้พิพากษา รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมา
สนับสนุนการพจิ ารณาพิพากษาคดใี ห้รวดเรว็ เป็นธรรม และลดการใช้กระดาษ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 112
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 113
อธบิ ดีผู้พพิ ากษาภาค 4 ศกึ ษาดงู านระบบการตรวจร่าง
คำพพิ ากษาผา่ นระบบส่อื อิเล็กทรอนิกสข์ องศาลอทุ ธรณ์ภาค 4
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 เวลา 14.00 นาฬิกา นายวิเชียร แสงเจริญถาวร
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พร้อมคณะข้าราชการตุลาการและข้าราชการศาลยุติธรรม ศึกษาดูงาน
ระบบการตรวจร่างคำพิพากษาผา่ นระบบสอ่ื อิเล็กทรอนิกสข์ องศาลอทุ ธรณ์ภาค 4 เพ่อื นำความรู้
ที่ได้มาพัฒนาและต่อยอดระบบรายงานคดีและการส่งสำนวนคดีและร่างคำพิพากษาเพื่อตรวจ
ด้วยระบบอเิ ล็กทรอนิกส์ของสำนกั งานอธิบดผี ู้พิพากษาภาค 4 ให้มปี ระสิทธภิ าพมายงิ่ ขน้ึ
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 114
อธบิ ดผี ้พู พิ ากษาภาค 4 เฝา้ รบั เสดจ็ ฯ พระบาทสมเด็จ
พระเจา้ อยหู่ วั และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 นายวิเชียร แสงเจริญถาวร อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 เฝ้ารับ
เสดจ็ ฯ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัว และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ี เน่อื งในโอกาสเสด็จ
พระราชดำเนินไปในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเขต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2559 – 2560 ระหว่างวันที่ 15 – 20 ตุลาคม
2563 ณ สนามบินกองทพั บก คา่ ยกฤษณ์สวี ะรา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 115
อธบิ ดีผู้พพิ ากษาภาค 4 เฝ้ารบั เสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว
และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบ
พิธวี างศิลาฤกษ์ และเปิดทที่ ำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวดั อดุ รธานี
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.21 น. นายวิเชียร แสงเจริญถาวร
อธิบดผี ู้พพิ ากษาภาค 4 พรอ้ มด้วยรองอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค 4 เฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระ
ปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า
สุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพธิ ีวางศิลาฤกษ์ และ
เปิดอาคารที่ทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง
จ.อดุ รธานี
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 116
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 117
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ตรวจราชการ
ศาลในจังหวัดขอนแก่น
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.30 นาฬิกา นายวิเชียร แสงเจริญถาวร
อธิบดผี ู้พิพากษาภาค 4 พร้อมคณะฯ เดินทางไปตรวจราชการศาลจังหวดั ขอนแกน่ โดยมี นายสุจนิ ต์
หลีสกุล ผพู้ พิ ากษาหัวหนา้ ศาลจงั หวัดขอนแกน่ และคณะฯ ใหก้ ารต้อนรับ
ต่อมาเวลา 13.00 นาฬิกา เดินทางไปตรวจราชการศาลแขวงขอนแก่น และศาลเยาวชน
และครอบครัวจังหวัดขอนแก่นโดยมีนายรพีพงศ์ ช่วยประทิว ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงขอนแก่น
นายพิพัฒน์ นรัจฉริยางกูร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นและคณะฯ
ใหก้ ารตอ้ นรบั ตามลำดับ ทั้งน้ี อธบิ ดีผพู้ พิ ากษาภาค 4 ได้เนน้ ยำ้ การปฏิบตั งิ านตามนโยบายประธาน
ศาลฎีกาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมถึงปรึกษาข้อราชการเกี่ยวกับการบริหารงาน รับฟังปัญหา
ข้อขัดข้องและแนวทางแก้ไขระบบการรายงานและบริหารสำนวนคดีด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ
สอบถามถึงข้อขัดข้องต่าง ๆ ในการปฏบิ ัตงิ าน
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 118
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 119
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 120
อธิบดผี ูพ้ ิพากษาภาค 4 ร่วมพิธี เนื่องในวนั คล้ายวันพระบรม
ราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ล
อดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวนั พ่อแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2563 สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ร่วมพิธี “ เนื่องในวันคล้าย
วันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรม
นาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2563 ” เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความ
จงรกั ภักดีและนอ้ มรำลึกในพระมหากรุณาธคิ ุณฯ
เวลา 06.30 น. นายวิเชียร แสงเจริญถาวร อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พร้อมคณะฯ ร่วมพิธี
ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ ศาลหลักเมืองขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
ต่อมาเวลา 08.15 น. อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พร้อมคณะฯ ร่วมพิธีวางพานพุ่มและพิธีถวาย
บงั คม ณ หอ้ งประชมุ แก่นเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแกน่ (หลงั ใหม)่ ช้ัน 1
และเวลา 18.00 น. นายณัฐภกฤษ เผือกผ่อง รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พร้อมคณะฯ ร่วม
พิธีจุดเทียนเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ ณ ห้องประชุมแก่นเมือง
ศาลากลางจังหวัดขอนแกน่ (หลังใหม่) ชน้ั 1
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 121
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 122
อธิบดผี ู้พพิ ากษาภาค 4 เฝ้าฯ รบั เสด็จสมเดจ็ พระกนิษฐาธิราช
เจา้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี
เมื่อวันท่ี 13 ธนั วาคม 2563 เวลา 08.50 น. นายวิเชยี ร แสงเจริญถาวร อธิบดีผพู้ ิพากษาภาค 4
เฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ
พระราชดำเนินแทนพระองค์ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และมหาวิทยาลยั มหาสารคาม ระหวา่ งวันที่ 13-15 ธันวาคม 2563
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 123
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 124
คณะผจู้ ดั ทำ
หนงั สือรายงานประจำปี พ.ศ. 2563 สำนักงานอธิบดผี ู้พิพากษาภาค 4
ท่ีปรกึ ษา
นายวิเชยี ร แสงเจรญิ ถาวร อธบิ ดีผูพ้ ิพากษาภาค 4
นายธนิต บญุ อนันต์ เลขานกุ ารศาลยตุ ธิ รรมประจำภาค 4
นางวรศิ รา หวังกลุม่ กลาง ผ้อู ำนวยการสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4
ผจู้ ดั ทำ
สำนกั ศาลยุตธิ รรมประจำภาค 4
ขอขอบคณุ ขอ้ มลู สนบั สนุนการจดั ทำรายงาน
ศาลในเขตอำนาจอธบิ ดผี ู้พพิ ากษาภาค 4
ส่วนชว่ ยอำนวยการ สำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4
ส่วนวิชาการและงานคดี สำนกั ศาลยุติธรรมประจำภาค 4
สว่ นแผนงานและงบประมาณ สำนกั ศาลยุตธิ รรมประจำภาค 4
ส่วนบรหิ ารทรัพยากรบคุ คล สำนกั ศาลยุติธรรมประจำภาค 4
สว่ นคลงั และอาคารสถานที่ สำนกั ศาลยุตธิ รรมประจำภาค 4
ส่วนเทคโนโลยสี ารสนเทศ สำนักศาลยุตธิ รรมประจำภาค 4
สว่ นเจา้ พนักงานตำรวจศาล สำนักศาลยุตธิ รรมประจำภาค 4
รายงานประจำปี พ.ศ. 2563 | 125