The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติการปีการศึกษา-66-รวมเล่ม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thanita View, 2023-06-12 04:23:58

แผนปฏิบัติการปีการศึกษา2566

แผนปฏิบัติการปีการศึกษา-66-รวมเล่ม

แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 1 1


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 1 บันทึกการให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ด้วยโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ได้จัดทําแผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 โดยกําหนดให้มีโครงการและกิจกรรม ครอบคลุมโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน เพื่อสนองต่อนโยบายของสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง แผนปฏิบัติการดังกล่าวได้มีการเสนอต่อที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาผ่านความเห็นชอบ ให้นํา แผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป ลงชื่อ............................................... (นางสุรีย์พร ศรีวัฒนะ) ผู้อํานวยการโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ผู้เสนอขอความเห็นชอบ ลงชื่อ............................................... (นายคุณเศก ดวงเพชร) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ผู้ให้ความเห็นชอบ ก


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 2 คํานํา แผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอนจัดทําขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการบริหาร จัดการศึกษา และเป็นแนวทางในการดําเนินงานด้านการจัดการศึกษา ให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าประสงค์กลยุทธ์และแนวทางในการดําเนินงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยทบทวนกิจกรรม/ โครงการ และผลการดําเนินงาน ความสําเร็จ จุดอ่อน จุดแข็ง นอกจากนั้นยังคํานึงถึงความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาล ด้านการศึกษา ยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นยังคํานึงถึงภารกิจหลักที่จะต้องเร่งดําเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่2 พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นสาระสําคัญของคุณภาพและความเสมอภาค ทางการศึกษา เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของชาติเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพคนไทยและสังคมไทยอย่างยั่งยืน แผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 ฉบับนี้เกิดจากการระดมความคิด การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร สถานศึกษา บุคลากรครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน จึงหวังว่าแผนปฏิบัติการฉบับนี้จะนําไปสู่การพัฒนาการศึกษา ของโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น งานนโยบายและแผนงาน โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ข


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 3 สารบัญ หน้า บันทึกการให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 ก คํานํา ข สารบัญ ค ผินแจ่มโมเดล จ นิยามศัพท์เฉพาะ ซ ส่วนที่1 บทนํา ข้อมูลทั่วไป 2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ปี2565 – 2569 3 ข้อมูลบุคลากรและนักเรียน 4 ประวัติโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์/สมรรถนะของผู้เรียน 8 มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ผลการประเมินภายนอกรอบ 4 โดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 10 (สมศ.) ส่วนที่2 ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 15 ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. 2561 – 2580 16 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 (พ.ศ.2566-2570) 18 แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 26 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 26 นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ 31 พ.ศ. 2565 - 2566 แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชลบุรี 32 ทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี(พ.ศ. 2564-2566) สพม. ชลบุรี– ระยอง 34 ทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี(พ.ศ. 2565 - 2567) 35 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ค


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 4 สารบัญ (ต่อ) หน้า ส่วนที่3 แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี 42 รายละเอียดโครงการและงบประมาณกลุ่มบริหารงานวิชาการ 43 โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานวิชาการ 44 โครงการส่งเสริมพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้8 กลุ่มสาระ 53 โครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 63 รายละเอียดโครงการและงบประมาณกลุ่มบริหารบุคคล การเงิน และสินทรัพย์ 69 โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานงบประมาณ 70 โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล 76 โครงการจัดจ้างบุคลากรสนับสนุนการจัดการศึกษาโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 82 รายละเอียดโครงการและงบประมาณกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน 87 โครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 88 โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา 95 โครงการส่งเสริมสถานศึกษาสีขาว 102 โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 109 รายละเอียดโครงการและงบประมาณกลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัดการศึกษา 114 โครงการพัฒนาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่115 โครงการส่งเสริมพัฒนาระบบโสตทัศนศึกษาและการประชาสัมพันธ์ 122 โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยโรงเรียน 128 ภาคผนวก คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทําแผนปฏิบัติการ ประจําปีการศึกษา 2566 133 ง


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 5 รูปแบบบริหารสถานศึกษาโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน PHINCHAM Model จ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 6 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน PHINCHAM Model ฉ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 7 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน PHINCHAM Model ช


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 1 นิยามศัพท์เฉพาะ PHINCHAM Model P : Participation (การมีส่วนร่วม) หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาดําเนินการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งบุคลากรภายในโรงเรียน (School) คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (Stakeholder) H : Harmony (ความสามัคคี) หมายถึง การปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน(Unity) มีความสัมพันธ์(relationship) ที่ดีต่อกัน ร่วมพัฒนาสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียน รวมถึงการพัฒนาตนเองของบุคลากรครู I : Interaction (การปฏิสัมพันธ์) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(Person) บุคคลกับสิ่งแวดล้อม(Environment) เพื่อการดําเนินงานทุกภาค ส่วนให้ประสบความสําเร็จ โดยประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลและงานประสบความสําเร็จ N : Network (เครือข่าย) หมายถึง การเชื่อมโยงกลุ่มของบุคคลและหน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทํากิจกรรมร่วมกัน ด้วยเทคโนโลยี (Technology) อันทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์พร้อมด้วยการพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ทั้งด้านการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการสถานศึกษาควบคู่กัน C : Coordination (การประสานงาน) หมายถึง การประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือตําแหน่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรด้วย ข้อมูลข่าวสาร (Information) และการประชาสัมพันธ์(Public relation) ที่ดีเพื่อให้การดําเนินงานขององค์กรหรือ หน่วยงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร H : Happiness (การมีความสุข) หมายถึง การเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงานด้วยสภาพแวดล้อม ความสะอาด ความสะดวก ความปลอดภัยต่อสุขภาพทางกาย (Physical Happiness) สุขภาพทางจิตใจ (Comfortableness) ของผู้ร่วมงาน ให้มีความสุขถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมรวมทั้งร่วมแสดงความยินดีกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่ประสบความสําเร็จ A : Aassessment (การประเมิน) หมายถึง กระบวนการรวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการศึกษา ด้านการบริหารวิชาการ บริหารบุคคล บริหาร งบประมาณ การเงินและสินทรัพย์บริหารทั่วไป เพื่อนําข้อมูลมาประเมินความเสี่ยง (Risk assessment) และประเมินผล รวม (Evaluation) เพื่อตัดสินคุณค่าของการดําเนินงานบรรลุสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อ การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 1 M : Management (การบริหารจัดการ) หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการเป็นระบบ มีขั้นตอนการดําเนินงาน และเป้าหมายชัดเจน โดยมปีัจจัย ในการบริหารจดัการ ประกอบด้วย ทรัพยากรบุคคล (Man) วสัดุอุปกรณ์(Material)และเงินงบประมาณ (Money) ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความประหยัด คุ้มค่า ประโยชน์สูงสุด และบรรลุเป้าหมาย การบริหารงานตามรูปแบบ PHINCHAM MODEL มกีารตรวจสอบคณุภาพด้วยวงจรเดรมมิ่ง (PDCA) ประกอบด้วย 1) การวางแผน (P) ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ 2) การปฏิบัติตามแผน (D) ร่วมทําและนําไปใช้3) การตรวจสอบ (C) ร่วมประเมินการดําเนินการ และ 4) การปรับปรุงแก้ไข (A) ร่วมชื่นชมและร่วมปรับปรุง ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมทั้งการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good governance) และโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School based management) ฌ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 1 ส ่ วนท ี ่ 1 สภาพท ั ่ วไปของโรงเร ี ยน


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 2 ส่วนที่1 บทนํา ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน ชื่อโรงเรียน โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน สถานที่ตั้ง 323 หมู่ 10 ตําบล ห้วยใหญ่อําเภอ บางละมุง จังหวัด ชลบุรี20150 โทรศัพท์/โทรสาร 038-239239 สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พื้นที่40 ไร่- งาน 2.6 ตารางวา วันก่อตั้งโรงเรียน วันที่10 สิงหาคม พ.ศ. 2521 สัญลักษณ์ของโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน มีสัญลักษณ์ดังนี้“ผ.จ. ในเสมาธรรมจักร”คติพจน์ของโรงเรียน “นตฺถิปญฺญา สมา อาภา” แปลว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีสีประจําโรงเรียน สีม่วง – เหลือง สีม่วง (ดอกอินทนิล) หมายถึง ความหนักแน่น สุขุม สีเหลือง (ดอกราชพฤกษ์) หมายถึง ความสว่างไสวของปัญญา วิสัยทัศน์มีคุณธรรม นําความรู้เสริมสร้างทักษะชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เอกลักษณ์จิตอาสา สง่างาม “To be public - minded and glorious.”อัตลักษณ์ทักษะอาชีพสร้างสรรค์“To exceed in creativity and professional skills.”


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 3 1.. นายนิยม เหมทานนท์ ประธานกรรมการที่ปรึกษา 2. นายชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน กรรมการที่ปรึกษา 3. นายอนิรุจ สันติโชตินันท์กรรมการที่ปรึกษา 4. นายประสาน เอี่ยมพ่วง กรรมการที่ปรึกษา 5. นายวิชัย วุฒิประยางกูร กรรมการที่ปรึกษา 6. นายสมคิด เดือนวันเพ็ญสว่าง กรรมการที่ปรึกษา 7. นายรัฐพล ถมยางกูร กรรมการที่ปรึกษา 8. นายปรีชา อัครภิญโญกุล กรรมการที่ปรึกษา 9. นายภคิณ ธนกิตติธรรม กรรมการที่ปรึกษา 10. นายอนุสรณ์สายนภา กรรมการที่ปรึกษา 11. นายสมยศ นานาประเสริฐ กรรมการที่ปรึกษา 1. นายคุณเศก ดวงเพชร ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ 2. นายวันชัย ขจิตพัชรนาถ ผู้แทนผู้ปกครอง กรรมการ 3. นายจักกฤษ อุทัยกลม ผู้แทนครูกรรมการ 4. นายสมหวัง สวัสดีมงคล ผู้แทนองค์กรชุมชน กรรมการ 5. นายธณกร มาลีวงษ์ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 6. นายอิทธิพัทธ์ห้วยใหญ่ผู้แทนศิษย์เก่า กรรมการ 7. พระครูวินัยธร ชัยวัตร อาภาธโร ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์กรรมการ 8. นายจรูญ นุชดีผู้แทนองค์กรศาสนา กรรมการ 9. นายพยงค์อินทรสิงห์ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการ 10. นายอเนก มีสุข ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการ 11. นายบุญรอด เปี้ยมเบี้ย ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการ 12. นายวิรัช หลักทอง ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการ 13. นายสนอง เต็งสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการ 14. นายกฤตพล ตรงกมล ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการ 15. นางสุรีย์พร ศรีวัฒนะ ผู้อํานวยการโรงเรียน กรรมการและเลขานุการ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 4 1. ที่ตั้ง โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน ตั้งอยู่เลขที่323 หมู่ที่10 ตําบลห้วยใหญ่อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีรหัสไปรษณีย์20150 หมายเลขโทรศัพท์/ หมายเลขโทรสาร 038-239239 เขตบริการของโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ตําบลห้วยใหญ่อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี2. จํานวนบุคลากรและจํานวนนักเรียน จํานวนบุคลากรปีการศึกษา 2565 (ข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2565) จํานวนผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียนทั้งสิ้น รวมจํานวน 32 คน แยกเป็น ผู้อํานวยการ 1 คน รองผู้อํานวยการ 1 คน จํานวนครู(ไม่รวมครูอัตราจ้าง) 25 คน จํานวนอัตราจ้าง 5 คน จํานวนนักเรียน 484 คน จํานวนนักเรียน (ข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2565) ระดับการศึกษา จํานวนห้องเรียน จํานวนนักเรียน รวม (คน) ชาย หญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 3 49 42 91 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 3 53 41 94 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 3 55 37 92 รวมมัธยมศึกษาตอนต้น 9 157 120 277 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 3 50 45 95 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 2 31 33 64 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 2 18 30 48 รวมมัธยมศึกษาตอนปลาย 6 99 108 207 รวมทั้งหมด 15 256 228 484


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 5 ในปีพ.ศ. 2521 ประชาชนในตําบลห้วยใหญ่ขอให้ทางราชการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจําตําบลขึ้น แต่ไม่มีที่ดินในเขตสุขาภิบาลได้ตามเกณฑ์ที่กรมสามัญศึกษากําหนด ชาวบ้านตลาดชากแง้ว จึงได้จัดตั้งตัวแทนไปติดต่อ กับพันเอก(พิเศษ)กาจ และนางกฐิน กุยยกานนท์เจ้าของโรงงานวิเศษนิยม กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีที่ดินในเขตสุขาภิบาล ห้วยใหญ่และได้เห็นความสําคัญของการศึกษาความเจริญของท้องถิ่นจึงได้บริจาคที่ดินให้ทําการก่อสร้างโรงเรียน 2 แปลง จํานวน 40 ไร่- งาน 2.6 ตารางวา ราคาประเมินขณะนั้น 1,420,000 บาท พร้อมก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 216 ให้ครึ่งหลัง ส้วมนักเรียน 1 หลัง ถังเก็บน้ําฝนคอนกรีต 1 ถัง ให้เป็นสมบัติของโรงเรียน คิดเป็นค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง รวมเป็นเงิน 1,024,875 บาท (หนึ่งล้านสองหมื่นสี่พันแปดร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน) ทางราชการได้ตั้ง ชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า “ห้วยใหญ่กฐินนุสรณ์”กรมสามัญศึกษาได้ส่งนายสุนทร ธาราดล ผู้ช่วยผู้อํานวยการโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร มารักษาการ ในตําแหน่งครูใหญ่และเปิดทําการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่22 พฤษภาคม 2521 ซึ่งมีนักเรียน ชั้น ม.1 และ ม.ศ.1 รวม 74 คน ครู6 คน และนักการภารโรง 1 คน ระหว่างที่โรงเรียนยังสร้างไม่เสร็จได้อาศัยที่โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านหนองชากแง้ว และศาลาการเปรียญวัดตะเคียนทอง ต่อมาได้ย้ายมาเรียนที่สถานที่ปัจจุบัน เมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2521 วันที่21 สิงหาคม 2522 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนผินแจ่มวิชา สอน เพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแก่บิดา มารดาของผู้บริจาค คือ หลวงแจ่ม วิชาสอน และนางผิน นิยมเหตุในระยะแรก โรงเรียนได้ประสบปัญหา เรื่องงบประมาณมาก แต่ได้อาศัยความร่วมมือจากชุมชน จัดหา ครุภัณฑ์และปรับปรุงบริเวณพื้นที่จนทําให้โรงเรียนมีความพร้อมในระยะแรกโรงเรียนจึงพัฒนาจนได้รับเกียรติประวัติดีเด่น ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการพัฒนานักเรียนอย่างมีคุณภาพมาโดยตลอด


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 6 อาคารเรียนอาคารประกอบ ประเภทอาคาร หลัง ห้อง ประโยชน์ใช้สอย 1. อาคารเรียนถาวร - อาคาร 1 อาคารวิเศษนิยม 1 - อาคาร 2 อาคารวิเศษนิยม 2 1 1 10 8 ใช้เป็นห้องประกอบการเรียนการสอน 3. อาคารโรงอาหาร 1 - ใช้เป็นที่รับประทานอาหารนักเรียน 4. อาคารหอประชุม 1 จัดประชุม จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมอื่นๆ 5. ห้องประชาสัมพันธ์- 1 จัดเป็นห้องงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนและงานกิจการ นักเรียน 6. ห้องเรียนปฏิบัติการคอมพิวเตอร์- 3 จัดสําหรับการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์7. ห้องเรียนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์- 2 จัดสําหรับการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์8. ห้องพยาบาล - 1 สําหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 9. ห้องสมุด - 1 รวบรวมหนังสือสําหรับนักเรียนและครูศึกษาค้นคว้า 11.ห้องสํานักงาน (อาคารวิเศษนิยม 2) - ห้องผู้อํานวยการ - ห้องธุรการ - ห้องประชุม - กลุ่มบริหารงานวิชาการ - กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงิน และสินทรัพย์- ห้องกลุ่มบริหารงานส่งเสริม การจัดการศึกษา - 6 ห้องสํานักงานต่างๆ 12. ห้องสุขา - ห้องสุขานักเรียนชาย - ห้องสุขานักเรียนหญิง - ห้องสุขาครู1 1 1 8 8 2 สําหรับนักเรียนและครู13. อาคารโดม 1 - สําหรับจัดกิจกรรม


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 7


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 8 คุณลักษณะอันพึงประสงค์/สมรรถนะของผู้เรียนของโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน คุณลักษณะอันพึงประสงค์1. ผู้เรียนมีความรักชาติศาสน์พระมหากษัตริย์2. ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์เสียสละ อดทน 3. ผู้เรียนมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์4. ผู้เรียนใฝ่หาความรู้หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 5. ผู้เรียนรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 6. ผู้เรียนมีศีลธรรม รักษาความสัตย์7. ผู้เรียนเข้าใจการเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย 8. ผู้เรียนมีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่9. ผู้เรียนมีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทํา 10. ผู้เรียนรู้จักดํารงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 11. ผู้เรียนมีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจไม่ยอมแพ้ต่ออํานาจฝ่ายต่ํา 12. ผู้เรียนคํานึงถึงประโยชนส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง สมรรถนะของผู้เรียน 1. ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร 2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด 3. ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 9 มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่6 สิงหาคม พ.ศ. 2561 มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 มีจํานวน 3 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1) มคีวามสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร และการคิดคํานวณ 2) มคีวามสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา 3) มคีวามสามารถในการสร้างนวัตกรรม 4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5) มผีลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 6) มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากําหนด 2) ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย 3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สถานศึกษากําหนดชัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดําเนินงานพัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนําผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 10 ผลการประเมินภายนอกรอบ 4 โดยสํานกังานรบัรองมาตรฐานและประเมนิคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน จุดเน้น ผู้เรียนมีความรู้ด้านงานอาชีพอย่างหลากหลาย ผลการพิจารณา ตัวชี้วัด สรุปผลประเมิน 1. มีการระบุเป้าหมายคุณภาพของผู้เรียน ปรับปรุง (0-3 ข้อ) พอใช้(4 ข้อ) ดี(5 ข้อ) 2. มีการระบุวิธีพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ตามเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน 3. มีผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน 4. มีการนําผลประเมินคุณภาพของผู้เรียนมาพัฒนาผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น 5. มีการนําเสนอผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนต่อ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะในการเขียน SAR ให้ได้ผลประเมินระดับสูงขึ้น สถานศึกษาควรเพิ่มข้อมูลในรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เพื่อให้รายงานการประเมินตนเองของ สถานศึกษามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยระบุเป้าหมายคุณภาพของผู้เรียนให้ตรงกันในแต่ละส่วนของรายงาน การประเมิน ตนเอง ควรนําเสนอเป้าหมาย และผลการดําเนินการให้อยู่ในตารางเดียวกันเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบผล ควรนําเสนอผลการประเมินผู้เรียนมีความรู้ทักษะ พื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ย้อนหลัง 3 ปีเพื่อสะท้อน พัฒนาการที่ชัดเจน เพิ่มข้อมูลโครงการ/กิจกรรมพอสังเขปหรือจัดทําลิงก์/คิวอาร์โค้ดที่สามารถเชื่อมโยงเข้าไปศึกษา ข้อมูลเพื่อให้ทราบรายละเอียดวิธีดําเนินการ วิธีการกํากับติดตาม การประเมินผล รายงานผล การดําเนินงานสภาพ ความสําเร็จ ระบุข้อมูลแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมผู้เรียนตามจุดเน้นเพื่อให้ผลในการพัฒนา มีคุณภาพที่สูงขึ้น เช่น นําผู้เรียนไปเรียนรู้ฝึกปฏิบัติพัฒนาทักษะเพิ่มเติมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือทําข้อตกลง ในการฝึกอาชีพร่วมกับ สถาบันการศึกษาอื่นที่มีสายวิชาชีพ ควรทบทวนการนําเสนอจุดเด่นในรายงานการประเมิน ตนเองให้สอดคล้องกันทุกจุด และควรนําเสนอเฉพาะประเด็นของผู้เรียน ควรนําเสนอข้อมูลการเผยแพร่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ การดําเนินการที่สามารถ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสาธารณชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสถานศึกษาอื่น มาดูงาน รวมทั้งควรเพิ่มเติมช่องทาง การนําเสนอผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนโดยเฉพาะผลการพัฒนาตาม จุดเน้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทางช่องทางอื่น ๆ เช่น การนําผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนไปจําหน่ายในศูนย์จําหน่ายสินค้า ของชุมชน เผยแพร่ในเอกสารแผ่นพับหรือ เว็บไซต์ของสถานศึกษา เป็นต้น


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 11 มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ จุดเน้น บริหารแบบมีส่วนร่วมสนับสนนให้ครจัดการเรียนรู้เน้นด้านงานอาชีพเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ผลการพิจารณา ตัวชี้วัด สรุปผลประเมิน 1. มีการวางแผนการดําเนินการในแต่ละปีการศึกษา ปรับปรุง (0-3 ข้อ) พอใช้(4 ข้อ) ดี(5 ข้อ) 2. มีการนําแผนการดําเนินการไปใช้ดําเนินการ 3. มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินการตามแผน 4. มีการนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขใน ปีการศึกษาต่อไป 5. มีการนําเสนอผลการบริหารจัดการของสถานศึกษาให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ ข้อเสนอแนะในการเขียน SAR ให้ได้ผลประเมินระดับสูงขึ้น สถานศึกษาควรนําเสนอในรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เพิ่มเติม เกี่ยวกับการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมเชิงระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม การวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้เพื่อ ส่งเสริมผู้เรียนด้านงานอาชีพเชื่อมโยงกับชีวิตจริง โดยมีโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เพื่อแสดงให้เห็นจุดเน้นของสถานศึกษา สถานศึกษามีการวางแผนให้สอดคล้องกับจุดเน้นอย่างไร เช่น โครงการและ กิจกรรมที่ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม ช่วงการจัดกิจกรรมลดเวลา เรียนเพิ่มเวลารู้และกิจกรรมชุมนุมต่าง ๆ เช่น รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์วิชางานปูน งานไม้งานเกษตร งานอาหารและคหกรรม งานเขียนโปรแกรมและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กิจกรรมชุมนุมช่างไม้เครื่องเรือน สวนยางพารา ดอกไม้ประดิษฐ์งานฝีมือการกัดลายกระจก และกีฬา เป็นต้น ควรนําเสนอว่ากิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มีความหลากหลายและมีคุณค่า เพียงไร เพียงพอที่จะส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เน้นด้านงานอาชีพเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้มากน้อยเพียงใด ตลอดจน กระบวนการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลโครงการโดยใช้เครื่องมือ มีวิธีการประเมินที่หลากหลาย มีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้และมีกระบวนการรายงานผลอย่างเป็นระบบ การนําเสนอ เปรียบเทียบให้เห็นระหว่างเป้าหมายที่กําหนดกับ ผลการประเมิน ควรระบุผลการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ การเผยแพร่ผลการดําเนินงาน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ ในระยะเวลาและวิธีการช่องทางใดบ้าง


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 12 มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จุดเน้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อนําไปสู่การประกอบอาชีพ ในอนาคต ผลการพิจารณา ตัวชี้วัด สรุปผลประเมิน 1. ครูมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกรายวิชา ทุกชั้นปี ปรับปรุง (0-3 ข้อ) พอใช้(4 ข้อ) ดี(5 ข้อ) 2. ครูทุกคนมีการนําแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัด การ เรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3. มีการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน อย่างเป็นระบบ 4. มีการนําผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ของครูอย่างเป็นระบบ 5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะในการเขียน SAR ให้ได้ผลประเมินระดับสูงขึ้น สถานศึกษาควรเพิ่มข้อมูลในรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เพื่อให้รายงานการประเมินตนเองของ สถานศึกษามีความสมบูรณ์และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการระบุรายละเอียดของข้อมูลที่สามารถสะท้อน คุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และ ทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อนําไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต รวมถึงควรระบุโครงการและกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และจุดเน้นดังกล่าว ซึ่งส่งผลต่อการประเมินตนเองให้ครอบคลุมทุกประเด็น ตลอดจนควร ระบุกระบวนการ/วิธีการในการดําเนินงานในทุกงานที่สถานศึกษากําหนดให้ครอบคลุมวงจรคุณภาพ PDCA ได้แก่การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพแผน การนําแผนไปใช้ในชั้นเรียน การนําข้อมูลจากการบันทึกหลังสอนไปสู่การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนของครูรวมถึงการใช้เป็นข้อมูลในการจัดทํางานวิจัยแก้ปัญหาในชั้นเรียน การจัดทําแผนการนิเทศการสอน รูปแบบการนิเทศ การสรุปผลการนิเทศ และวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับสู่ครูผู้รับการนิเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สู่การจัดการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ซึ่งอาจใช้วิธีการบูรณาการระหว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เป็นต้น นอกจากนี้สถานศึกษาควรระบุขั้นตอนในการขับเคลื่อน กระบวนการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างไร เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการ ขับเคลื่อนPLC การกําหนดแผนงานในการดําเนินงาน การขับเคลื่อนกระบวนการสู่การปฏิบัติและการบันทึกลงในคู่มือ บันทึกประวัติการปฏิบัติงาน (Logbook) การกํากับติดตามและประเมินผล พร้อมสรุปรายงาน ผลการดําเนินงานใน รูปแบบของการจัดการความรู้(KM) ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบและเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนหรือในกลุ่ม สถานศึกษาในสังกัดโดยใช้ช่องทางต่าง ๆ ในการประชาสัมพันธ์เช่น ทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือเอกสาร แผ่นพับ เป็นต้น


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 13 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สถานศึกษาควรนําเสนอข้อมูลที่เป็นประเด็นสําคัญไว้ในรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษา เพื่อให้รายงานการประเมินตนเองสามารถสะท้อนภาพความสําเร็จของการจัดการศึกษาได้ครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะ การจัดทําบทสรุปผู้บริหาร ที่ได้ข้อมูลจากการสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองในแต่ละมาตรฐานให้ได้ใจความสําคัญ กระชับและชัดเจน ภายใต้หัวข้อดังต่อไปนี้1.ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาพอสังเขป 2.ผลการประเมินตนเองตามระดับ คุณภาพที่ได้3.แผนการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิม 4.นวัตกรรม (Innovation)/แบบอย่างที่ดี (Best Practice) และ 5.ความโดดเด่นของสถานศึกษา ทั้งนี้ควรนําเสนอไว้ในส่วนหน้าของเล่มรายงาน นอกจากนี้สถานศึกษาควรนําเสนอแผนภูมิโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษา โครงสร้างหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา จํานวนครูในแต่ละระดับชั้น จํานวนห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องประกอบการที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน อัตราส่วนครูต่อจํานวนผู้เรียน อัตราส่วนห้องเรียนต่อผู้เรียนในแต่ละ ระดับ ร้อยละผู้เรียนที่สําเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 รวมถึง จํานวนวันที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนจริงในปีการศึกษานั้น และควรเขียนข้อเสนอแนะ/แนวทางการพัฒนาที่นํามาจาก จุดควรพัฒนาที่ค้นพบ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป รวมถึงการนําเสนอวิสัยทัศน์และพันธกิจของ สถานศึกษาด้วยเช่นกัน สถานศึกษาควรระบุจุดเน้นที่ต้องการพัฒนาเป็นพิเศษให้ครบทุกมาตรฐานพร้อมกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน และสรุปรายงานผลการประเมินจุดเน้นดังกล่าว พร้อมทั้งเพิ่มเอกสารบันทึก ความเห็นชอบรายงานการประเมินตนเองของคณะกรรมการสถานศึกษาไว้ในภาคผนวก รวมถึงภาพถ่าย ผลงาน รางวัล เกียรติบัตรที่ผู้บริหารครูและผู้เรียนได้รับจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้สถานศึกษาควรระบุรูปแบบ ของการนําเสนอรายงานการประเมินตนเองให้มีวิธีการที่หลากหลาย และทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์เช่น การจัดทําลิงก์ไลน์(Link Line) การทําคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของ สถานศึกษาในรายงานการประเมินตนเองให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านศึกษาข้อมูลได้สะดวก และรวดเร็วสถานศึกษาควรเพิ่มข้อมูลรายละเอียดที่บ่งชี้ถึงกรอบความคิด กระบวนการในการดําเนินงานหรือขั้นตอน ของการจัดทํานวัตกรรมตามที่สถานศึกษาได้กล่าวถึงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนโดยระบุความเป็นมาหรือความ ต้องการในการจัดทํา การกําหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายความสําเร็จ วิธีการขับเคลื่อน และปัจจัยความสําเร็จ รวมถึง ผลลัพธ์ที่ได้เพื่อนําไปสู่การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 14 ส ่ วนท ี ่ 2 ท ิ ศทางการพ ั ฒนาค ุ ณภาพการศ ึ กษา


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 15 ส่วนที่2 ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1. ยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580) วิสัยทัศน์ประเทศไทย "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง" หรือเป็นคติพจน์ประจําชาติว่า "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติอันได้แก่การมี เอกราช อธิปไตย การดํารงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและปราศจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปีกแผ่นมีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคม และการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ความเจริญเติบโตของชาติความเป็นธรรม และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกัน ด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัย และการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศใน ทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นําไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่อง และ โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและสามัคคีสามารถผนึกกําลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความ เข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดํารงชีวิต มีการ ออมสําหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ํา มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินความมั่ง คั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืนจนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความ เหลื่อมล้ําของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุข ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติไม่มีประชาชนที่อยู่ใน ภาวะความยากจน เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแช่งขันกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต เพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาท ที่สําคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสําคัญ ของการเชื่อมโยงภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุนและการทําธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการ พัฒนา นอกจากนี้ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ได้แก่ทุนมนุษย์ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้การรักษาและการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดีไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับ และ เยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 16 ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้อ อาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่าง สมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์"ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจําเป็นต้องกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวที่จะทําให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้าง มูลค่าเพิ่มและพัฒนากลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้าง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวม และการกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดีเก่ง มีวินัย คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์สามารถ "รู้รับ ปรับใช้" เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติจะมุ่งเน้นการ สร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ "ประชารัฐ" โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ได้แก่ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ยุทธศาสตร์ชาติด้าน การสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยแต่ละยุทธศาสตร์มี เป้าหมายและประเด็นการพัฒนา ดังนี้1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข เน้น การบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัยเอกราชอธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับชาติสังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคนเครื่องมือ เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความ พร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม และภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ทั้งกับส่วนราชการภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และมิตรประเทศทั่วโลกบน พื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการดําเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถ ขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กําหนด


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 17 2. ยทุธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) "ต่อยอดอดีต" โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิต และจุดเด่นทาง ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประทศ ในด้านอื่น ๆ นํามาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) "ปรับปัจจุบัน" เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และ บริการอนาคต และ(3) "สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต" ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่รวมถึง ปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคตบนพื้นฐานของ การต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดีรวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ําของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดีเก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทย มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อ สังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์อดออมโอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติมีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และ การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกร ยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง 4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมายการพัฒนาที่ให้ความสําคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มาร่วมชับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทําเพื่อส่วนรวม การกระจาย อํานาจ และความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนใน การจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้ เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเอง และทําประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการ และสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญเพื่อนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกําหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเป็นการดําเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตโดยให้ความสําคัญกับการสร้างสมดุล ทั้ง 3 ด้าน อันจะนําไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 18 6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก "ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน และ ประโยชน์ส่วนรวม" โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทําหน้าที่ใน การกํากับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีสมรรถนะสูงยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการ ทํางานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลเข้า มาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกัน และเปิด โอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความชื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์และสร้างจิตสํานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นกฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จําเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ํา และเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรม มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและการอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม 2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 (พ.ศ. 2566 – 2570) หลักการพัฒนาประเทศที่สําคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่13 ยึดหลัก “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจ พอเพียง”วัตถุประสงค์การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่13 เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ซึ่งหมายถึง การสร้างการ เปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และกลไก เพื่อมุ่งเสริมสร้างสังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก และ เกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมกับการยกระดับกิจกรรมการผลิต และ การให้บริการให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่13 1. การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการ แข่งขันของภาคการผลิต และบริการสําคัญ ผ่านการผลักดันส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและ ความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์พัฒนาการของสังคมยุคใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับการ เชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อยกับห่วงโซ่มูลค่าของภาคการผลิต และบริการเป้าหมาย รวมถึง พัฒนาระบบนิเวศที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนและนวัตกรรม 2. การพัฒนาคนสําหรับโลกยุคใหม่มุ่งพัฒนาให้คนไทยมีทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ทั้งทักษะในด้านความรู้ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม และเร่งรัดการเตรียมพร้อม กําลังคนให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ภาคการ ผลิต และบริการเป้าหมายที่มีศักยภาพ และผลิตภาพสูงขึ้น รวมทั้งให้ความสําคัญกับการสร้างหลักประกัน และความ คุ้มครองทางสังคมที่สามารถส่งเสริมความมั่นคงในชีวิต 3. การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม มุ่งลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ และสังคมทั้งในเชิงรายได้พื้นที่ความมั่งคั่ง และการแข่งขันของภาคธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และผู้ด้อยโอกาสให้มีโอกาส


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 19 ในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม กระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและจัดให้มีบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียมในทุกพื้นที่พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของภาคธุรกิจให้เปิดกว้าง และเป็นธรรม 4. การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน มุ่งลดการก่อมลพิษ ควบคู่ไปกับการผลักดันให้เกิดการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ ตลอดจน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2608 5. การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลก ใหม่มุ่งสร้างความพร้อมในการรับมือ และแสวงหาโอกาสจากการเป็นสังคมสูงวัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยโรคระบาด และภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกทางสถาบันที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้าง และระบบการบริหารงานของภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ บริบททางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้อย่างทันเวลามีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล หมุดหมายการพัฒนา 1. หมุดหมายที่12 ไทยมีกําลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต (หลัก) เป้าหมายการพัฒนา เป้าหมายที่1 คนไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย มีสมรรถนะที่จําเป็นสําหรับโลกยุคใหม่มีคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม ฉับพลันของโลก สามารถดํารงชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตัวชี้วัดที่1.1 ดัชนีพัฒนาการเด็กสมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88 เมื่อสิ้นสุดแผน ตัวชี้วัดที่1.2 นักเรียนที่มีสมรรถนะจากการประเมินโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลไม่ถึง ระดับพื้นฐานของทั้ง 3 วิชาในแต่ละกลุ่มโรงเรียนลดลงร้อยละ 8 เมื่อสิ้นสุดแผน ตัวชี้วัดที่1.3 ทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อสิ้นสุดแผน กลยุทธ์การพัฒนา กลยุทธ์ที่1 คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติกลยุทธ์ย่อยที่1.1 พัฒนาเด็กช่วงตั้งครรภ์ถึงปฐมวัยให้มีพัฒนาการรอบด้านมีอุปนิสัยที่ดีโดย 1) การเตรียมความพร้อมพ่อแม่ผู้ปกครอง และสร้างกลไกประสานความร่วมมือเพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับ บริการที่มีคุณภาพ และดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์– 6 ปี2) การพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้มีความรู้และทักษะการดูแลที่เพียงพอมีจิตวิทยาการพัฒนาการของเด็ก ปฐมวัย สามารถทํางานร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ สมวัยตามหลักการพัฒนาสมอง และกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก ควบคู่กับการพัฒนาการด้านร่างกาย สาธารณสุข และ โภชนาการเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้านก่อนเข้าสู่วัยเรียน 3) การยกระดับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้มาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอสําหรับการดําเนินงาน เพื่อให้เป็นกลไกการพัฒนาเด็กปฐมวัยรายพื้นที่ที่มีคุณภาพ 4) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้องเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน สติปัญญาสมวัย โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและภาคเอกชน รวมถึงพัฒนาระบบสารสนเทศเด็กรายบุคคลเพื่อการส่งต่อไปยังสถานศึกษาและการพัฒนาที่ต่อเนื่อง


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 20 กลยุทธ์ย่อยที่1.2 พัฒนาผู้อยู่ในช่วงวัยการศึกษาระดับพื้นฐานให้มีความตระหนักรู้ในตนเองมีทักษะดิจิทัล และมีสมรรรถนะที่จําเป็นต่อการเรียนรู้การดํารงชีวิตและการทํางาน โดย 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แนวใหม่และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจัดการตนเอง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถรวมพลังทํางานเป็นทีม มีการคิดขั้นสูงด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติโดยนําร่องกับสถานศึกษาที่มีความพร้อม และมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่สนับสนุนความรู้และความเชี่ยวชาญ ในด้านต่าง ๆ 2) การยกระดับการอาชีวศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอาชีพผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาสายปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดงานมีงานทํา และมีรายได้ตามสมรรถนะ และเป็นผู้ประกอบการใหม่ได้3) การยกระดับการผลิตและพัฒนาครูทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวางแผนจํานวนความต้องการครูในแต่ละ สาขา พัฒนาหลักสูตรการผลิตครูที่มีการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและด้านทักษะการจัดการเรียนรู้การใช้ เทคโนโลยีนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ พัฒนาระบบการคัดกรองที่สะท้อนสมรรถนะวิชาชีพครูปรับบทบาทของครูจาก “ผู้สอน” เป็น “โค้ช” ที่อํานวยการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งสู่การยกระดับครูสู่วิชาชีพชั้นสูง 4) การปรับปรุงระบบวัดและประเมินผู้เรียนให้มีความหลากหลายตามสภาพจริง ตลอดจนมีการประเมินการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ที่เชื่อมโยงสู่การทํางานในอนาคต 5) การพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ (1) การแก้ไขภาวะการถดถอยของความรู้ในวัยเรียนโดยสถานศึกษาพัฒนาแนวปฏิบัติและระบบสนับสนุน ที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และการเรียนรู้ที่บ้านในสถานการณ์ฉุกเฉิน (2) การพัฒนาระบบแนะแนวให้มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาครูและผู้ประกอบอาชีพแนะแนวให้สามารถร่วม วางแผนเส้นทางการเรียนรู้การประกอบอาชีพ และการดําเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจ ความถนัด (3) พัฒนาสถานศึกษาและสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยทั้งในสังคมจริง และสังคมเสมือน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ถึงแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข บนหลักของการเคารพความหลากหลายทั้งทางความคิด มุมมองของคนระหว่างรุ่น และอัตลักษณ์ส่วนบุคคล เพื่อการวางอนาคตในการพัฒนาประเทศร่วมกัน การส่งเสริมการ เรียนรู้วิชาชีวิตในโรงเรียน ให้หลีกเลี่ยงยาเสพติดการพนัน และมีแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะจากการถูกกระทําโดยวิธีรุนแรงทั้งทางกาย ทางวาจา และการกลั่นแกล้งในรูปแบบต่าง ๆ (4) การปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนเป็นสําคัญ และอยู่บนหลักความเสมอภาคและเป็นธรรม รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและ ดิจิทัลให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่(5) การกระจายอํานาจ ไปสู่สถานศึกษา และเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการ สนับสนุนการจัดการศึกษา โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ที่เอื้อให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหาร ด้านการ จัดการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร รวมทั้งขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาตาม บริบทของโรงเรียนและพื้นที่ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ในการจัดการเรียนรู้และการร่วมลงทุนเพื่อการศึกษา


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 21 (6) การส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษโดยพัฒนาระบบเสาะหา และกลไกการบริหารจัดการและส่งเสริม ผู้มีความสามารถพิเศษตามแนวคิดพหุปัญญาอย่างเป็นระบบ อาทิการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อ ฝึกประสบการณ์ทํางานวิจัยในองค์กรชั้นนํา ตลอดจนส่งเสริมการทํางานที่ใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ (7) ผู้มีความต้องการพิเศษได้รับโอกาส และเข้าถึงการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยสถานศึกษา จัดการศึกษาที่หลากหลาย และเหมาะสมเฉพาะกลุ่มให้เป็นทางเลือกแก่ผู้เรียนเพื่อยุติการออกกลางคัน และพัฒนากลไก สนับสนุนรวมถึงการปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การที่ไม่แสวงหากําไรในการดูแล กลุ่มผู้มีความต้องการพิเศษ อาทิการวางแนวทางให้เอกชนสามารถจัดตั้งสถานฝึกอบรมหรือมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนาผู้ต้องคําพิพากษา 6) การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง รวมถึงการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ค่านิยมไทยให้สอดคล้อง เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยและเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศไทย และนําเสนอความเป็นไทยสู่สากล กลยุทธ์ย่อยที่1.3 พัฒนาผู้เรียนช่วงวัยการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีสมรรถนะที่จําเป็น และเชื่อมโยงกับโลกของ การทํางานในอนาคต และการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดย 1) ปฏิรูประบบอุดมศึกษาและการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปตามอุปสงค์โดยการจัดสรรงบประมาณตรงสู่ผู้เรียน มีการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษา มาตรฐานการอุดมศึกษาและระบบประกันคุณภาพการศึกษา และ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบและระดมทรัพยากรจากภาคเอกชนในการจัดการศึกษา 2) ส่งเสริมบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการแก้ปัญหาภาวการณ์ถดถอยของการเรียนรู้จากการแพร่ระบาด ของโควิด-19 เชื่อมโยงโลกของการเรียน และการทํางานตลอดชีวิตด้วยการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคล สร้าง และขยายความร่วมมือในการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐและเอกชนให้เข้มแข็ง และส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกลไกนวัตกรรมการศึกษาขั้นสูง เพื่อผลิตกําลังคนตามความต้องการของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาใน พื้นที่พัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาบุคลากรรองรับการพัฒนาที่เข้าใจบริบทสังคม และชุมชนในท้องถิ่น 3) การเชื่อมโยงระบบ และกลไกการทํางานวิจัยของเครือข่ายวิจัยกับศูนย์ความเป็นเลิศทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อรวมนักวิจัยและนักเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าในระดับโลกทํางานพัฒนา และต่อยอดงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทํางานร่วมกับนักวิจัย และผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อการพัฒนา ธุรกิจฐานนวัตกรรม รวมถึงผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาทํางานวิจัยร่วมกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในภาคการ ผลิตและบริการให้สามารถปรับสู่เศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ และเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนเพื่อการเตรียมพร้อมสําหรับโลกอนาคต กลยุทธ์ย่อยที่1.4 พัฒนาวัยแรงงานให้มีสมรรถนะที่จําเป็นเพื่อการประกอบอาชีพ และเชื่อมโยงกับโลกของการ ทํางานในอนาคต โดย 1) ส่งเสริมและกระจายโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะให้กับแรงงานทุกกลุ่ม ทั้งการเพิ่มพูน และพัฒนาทักษะ ความรู้ใหม่เพื่อให้มีทักษะตรงกับงานและอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไป และการพัฒนาทักษะเดิมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การทํางาน โดยให้สถาบันการศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงาน พัฒนาของรัฐ วางแผนสํารวจข้อมูล และจัดทําหลักสูตรระยะสั้น เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานและทักษะที่จําเป็นในการ ทํางานและการใช้ชีวิต โดยมีการปรับกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนการดําเนินการในรูปแบบที่หลากหลายได้


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 22 โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและรูปแบบการทํางานในอนาคตและประชาชนควรได้รับเครติตในทักษะอนาคต เพื่อใช้พัฒนาทักษะในหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง และสนับสนุนจากภาครัฐ 2) การพัฒนาแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงการเรียนรู้การพัฒนาทักษะ และการเข้าสู่เส้นทางอาชีพเข้าด้วยกันอย่าง เบ็ดเสร็จ และมีหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะสามารถต่อยอดสู่การ ทํางาน และเชื่อมโยงการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีการรับรองมาตรฐาน รวมถึงการเสริมสร้างผู้ประกอบการที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิต และบริการในพื้นที่3) ปรับรูปแบบการทํางาน ในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความคล่องตัวในการทํางานได้ทุกที่และ สร้างวัฒนธรรมการทํางานในทุกองค์กรที่ส่งเสริมให้คนเก่งได้แสดงความสามารถ และแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อขจัด ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรรวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิด้านแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีความมั่นคงและปลอดภัย กลยุทธ์ย่อยที่1.5 พัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นพลเมืองมีคุณค่าของสังคม โดย 1) พัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นพลังของสังคม ให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาตลอด ช่วงชีวิตสู่คนรุ่นหลัง เพื่อให้เกิดการสืบสานและต่อยอดการพัฒนาสังคม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคนต่างวัย และ ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทํางานตามศักยภาพ รวมทั้งพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย และหลักสูตรระยะสั้น เพื่อพัฒนาความรู้สมรรถนะทางดิจิทัล ทักษะทางธุรกิจ และการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม 2) พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุแก่คนวัยอื่น ๆ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมรองรับการดําเนิน ชีวิตของผู้สูงอายุกลยุทธ์ที่3 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลยุทธ์ย่อยที่3.1 พัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย 1) ส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ สร้างและพัฒนาเมืองเรียนรู้แหล่งเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์ที่หลากหลาย ทั้งพื้นที่กายภาพ และพื้นที่เสมือนจริง โดยกําหนดมาตรการจูงใจที่เหมาะสม เพื่อให้สถาบันการศึกษาหน่วยงานราชการส่วน ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพสร้างพัฒนาแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ มีสาระที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่ม ครอบคลุมทุกพื้นที่เข้าถึงได้ง่ายทั้งพื้นที่กายภาพ และพื้นที่เสมือนจริง เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการพัฒนา และแสดง ศักยภาพอย่างสร้างสรรค์อันเป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างค่านิยม และพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) สร้างสื่อการเรียนรู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยการสร้างสื่อที่ใช้ภาษาถิ่นเพื่อให้ประชาชนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาหลักเข้าถึงได้สื่อทางเลือกสําหรับผู้พิการทางสายตา และผู้พิการทางการได้ยิน รวมถึงสนับสนุนกลุ่มประชากร ที่มีข้อจํากัดทางเศรษฐกิจให้เข้าถึงสื่อในราคาที่เข้าถึงได้3) การพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ใน ทุกระดับ และประเภททั้งในระบบสายสามัญ สายอาชีพ การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยตั้งแต่มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และนอกระบบ เพื่อสร้างความคล่องตัว และเปิดทางเลือกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทุกระดับ 4) กําหนดมาตรการจูงใจ ให้ประชาชนพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยจัดให้มีแหล่ง เงินทุนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิการพัฒนาเครดิตการฝึกอบรมสําหรับคนทุกกลุ่มการจัดสรรสิทธิพิเศษในการเข้ารับ บริการฝึกอบรม การเข้าชมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ส่งเสริมให้เอกชนที่ผลิตนวัตกรรมทางการศึกษา จัดทํากิจกรรม


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 23 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร โดยกําหนดเงื่อนไขการให้ใช้ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย กลยุทธ์ย่อยที่3.2 พัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้สําหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนในระบบการศึกษาปกติโดย จัดทําข้อมูล และส่งเสริมการจัดทําแผนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น และหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลหรือ รายกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางเส้นทางการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายในอนาคตของตนเอง และสามารถเทียบ โอนประสบการณ์ได้ทั้งนี้ให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกระดับให้มีความเข้าใจ และมีสมรรถนะในการพัฒนา ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษที่มีความต้องการที่ซับซ้อน 2. หมุดหมายที่9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม เป้าหมายการพัฒนา เป้าหมายที่1 ครัวเรือนที่มีแนวโน้มกลายเป็นครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น มีโอกาสในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคม จนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน ตัวชี้วัดที่1.1 อัตราการเข้าเรียนสุทธิแบบปรับของเด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ต่ํา กว่าร้อยละ 100 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 70 ตัวชี้วัดที่1.2 สัดส่วนของเด็กปฐมวัยในครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น มีปัญหาพัฒนาการ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ลดลง ร้อยละ 20 กลยุทธ์การพัฒนา กลยุทธ์ที่2 การสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น กลยุทธ์ย่อยที่2.2 ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีคุณภาพ จัดสรรเงินอุดหนุน และทรัพยากรที่จําเป็นแก่เด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในโรงเรียน และการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ทั้งแหล่งเรียนรู้บนพื้นที่กายภาพและพื้นที่เสมือนจริงหรือออนไลน์พร้อมทั้งพัฒนา ระบบการเฝ้าระวังและติดตามช่วยเหลือเด็กยากจนให้กลับเข้าสู่ระบบ การศึกษาหรือการพัฒนาทักษะอาชีพตาม ความเหมาะสม 3. หมุดหมายที่13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน เป้าหมายการพัฒนา เป้าหมายที่1 การบริการภาครัฐ มีคุณภาพ เข้าถึงได้ตัวชี้วัดที่1.1 ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เป้าหมายที่2 ภาครัฐที่มีขีดสมรรถนะสูง คล่องตัว ตัวชี้วัดที่2.1 ผลการสํารวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในองค์ประกอบ ดัชนีรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ดัชนีการมีส่วนร่วม ทางอิเล็กทรอนิกส์ดัชนีทุนมนุษย์และดัชนีการให้บริการภาครัฐออนไลน์ไม่เกินอันดับที่40 ของโลก และมีคะแนนไม่ต่ํา กว่า 0.82 กลยุทธ์การพัฒนา กลยุทธ์ที่1 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการภาครัฐที่ตอบโจทย์สะดวก และ ประหยัด กลยุทธ์ย่อยที่1.1 ยกเลิกภารกิจการให้บริการที่สามารถเปิดให้ภาคส่วนอื่นให้บริการแทน โดยยกเลิกภารกิจการ ให้บริการของภาครัฐที่มีต้นทุนสูง เมื่อเทียบกับเอกชน หรือไม่มีความจําเป็นที่ภาครัฐต้องดําเนินการ โดยพัฒนากลไกและ สร้างแรงจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์การนอกภาครัฐ และภาคีการพัฒนา อื่น ๆ เข้ามาดําเนินการหรือร่วมดําเนินการในลักษณะนวัตกรรมการให้บริการในการตอบสนองความต้องการของ ประชาชน และการพัฒนาประเทศที่มีการ ร่วมรับผลประโยชน์และความเสี่ยงในการดําเนินการ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 24 กลยุทธ์ย่อยที่1.2 ทบทวนกระบวนการทํางานของภาครัฐควบคู่กับพัฒนาการ บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลแบบ เบ็ดเสร็จ โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางานของภาครัฐจากการควบคุมมา เป็นการกํากับดูแลหรือเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว โดยเฉพาะขั้นตอนการอนุมัติอนุญาตต่าง ๆ พร้อมทั้งปรับกระบวนการทํางานภาครัฐโดยลดขั้นตอนที่ไม่จําเป็น และให้มีการเชื่อมโยงการให้บริการระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการทํางานแบบบูรณาการ โดยกําหนดเป้าหมายการบริการ ภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จในทุกบริการที่ภาครัฐยังต้องดําเนินการให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ระดับนโยบาย แผนงบประมาณ กําลังคน และการติดตามประเมินผล ให้เป็นเอกภาพและมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน กลยุทธ์ที่2 การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและโครงสร้างของภาครัฐให้ยืดหยุ่น เชื่อมโยง เปิดกว้างและมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่2.1 เร่งทบทวนบทบาทภาครัฐ และกระจายอํานาจการบริหารจัดการ ภาครัฐโดยปรับบทบาท และ ภารกิจใหม่ให้รองรับแนวทางการพัฒนาประเทศ และสถานการณ์ในอนาคต ส่งเสริมการกระจายอํานาจการบริหาร จัดการภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างภาครัฐ อัตรากําลัง งบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดความยืดหยุ่น คล่องตัว มีประสิทธิภาพในการบริหารของส่วนราชการและจังหวัด และแก้ไขปรับปรุง พัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการ กระจายอํานาจของส่วนราชการ และการบูรณาการการทํางานร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพ พร้อมรับภารกิจจากส่วนกลางไปดําเนินการได้ทั้งนี้ควรมีการกําหนดกลไกที่สามารถให้หน่วยงานของรัฐ สามารถปรับเปลี่ยนการทํางานหรือสร้างนวัตกรรมโดยไม่ติดอยู่ภายใต้กรอบเงื่อนไขของกฎระเบียบเดิม โดยเร็ว เป็นอันดับแรก กลยุทธ์ย่อยที่2.2 สร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลภาครัฐ โดยเปิดเผยข้อมูล ผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ประชาชน องค์กร เครือข่าย และภาคีการพัฒนาต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูล และมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และตรวจสอบการดําเนินงานของหน่วยงานรัฐ ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่หลากหลาย มีการบูรณาการการบริหารจัดการ และนําไปประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานของรัฐในการแก้ปัญหาและการพัฒนา ร่วมกัน เพื่อลดการทุจริตคอร์รัปชัน กลยุทธ์ที่3 การปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่3.1 ปรับเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐทั้งหมดให้เป็นดิจิทัล โดยจัดทําข้อมูล สําหรับการบริหารจัดการ ทรัพยากรของประเทศทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และข้อมูลอื่นของ หน่วยงานของรัฐทั้งหมดอย่างบูรณา การให้เป็นดิจิทัลที่มีมาตรฐาน ถูกต้อง ปลอดภัย พร้อมใช้งาน มีการจัดเก็บที่ไม่ซ้ําซ้อน ไม่เป็นภาระกับผู้ให้ข้อมูล มีการ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจเชิงนโยบาย และการบริการภาครัฐ ให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาได้อย่างเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูล ที่จําเป็นต่อสาธารณะในการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เร่งพัฒนาระบบที่บูรณาการข้อมูลสําหรับการ บริหารจัดการทรัพยากรภาครัฐในภาพรวมที่สําคัญต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบายให้แล้วเสร็จเป็นลําดับแรก กลยุทธ์ย่อยที่3.2 ปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางานภาครัฐเป็นดิจิทัล โดยออกแบบกระบวนการทํางานใหม่ยกเลิก การใช้เอกสาร และขั้นตอนการทํางานที่หมดความจําเป็นหรือมีความจําเป็นน้อย นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ตลอด กระบวนการทํางาน ตั้งแต่การวางแผนการปฏิบัติงาน และการติดตาม ประเมินผล โดยเฉพาะการให้บริการประชาชน และผู้ประกอบการให้มีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว มีช่องทาง และรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายที่สอดคล้องกับ การทํางานแบบดิจิทัล


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 25 กลยุทธ์ที่4 การสร้างระบบบริหารภาครัฐที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยน และพัฒนาบุคลากร ให้มีทักษะที่จําเป็นใน การให้บริการภาครัฐดิจิทัล และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ ภาครัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่4.1 ปรับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐเพื่อดึงดูด และรักษาผู้มีศักยภาพมาขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศ โดยให้ความสําคัญกับการเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์องค์กร และกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถดําเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยจะต้องทบทวนแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจ เพื่อให้ภาครัฐมีขนาดและต้นทุนที่เหมาะสมตลอดจนปรับเปลี่ยน ตําแหน่งงานที่สามารถถ่ายโอนภารกิจมาเป็นตําแหน่ง งานหลักที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อีกทั้ง ปรับปรุงรูปแบบการจ้างงานภาครัฐให้หลากหลาย ยืดหยุ่น ครอบคลุมการจ้างงานในรูปแบบสัญญา หรือ รูปแบบการทํางานไม่ตลอดชีพมากขึ้น และลดการจ้างงานแบบตลอดชีพ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อบริบท และเงื่อนไขการจ้างงานในปัจจุบัน และดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามา ปฏิบัติงานในภาครัฐเพื่อผลักดันภารกิจได้อย่างทันการณ์และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับการสร้างพื้นที่นวัตกรรม รูปแบบการจ้างงานเพื่อให้การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นรูปธรรม และเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัลแบบองค์รวมตลอดจนพัฒนาทัศนคติจริยธรรม องค์ความรู้และทักษะ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการประเมินผลบุคลากรภาครัฐที่สามารถส่งเสริม และสะท้อนศักยภาพ ในการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศอย่างเป็นระบบทั้งในระดับองค์กร ระดับทีม และระดับบุคคล ตลอดจน ระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่สามารถยกระดับการใช้ทรัพยากรบุคคลทุกคนให้เกิดความคุ้มค่า และประโยชน์ต่อ การพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ย่อยที่4.2 ยกเลิกกฎหมายที่หมดความจําเป็น และพัฒนากฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจน ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยภาครัฐต้องให้ความสําคัญกับการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง การปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อํานวยความสะดวกแก่ภาคเอกชนและประชาชนในการพัฒนา และปฏิรูปกฎหมายให้มี เป้าหมายที่วัดได้ในการสร้างความอยู่ดีมีสุขของคนไทย และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีการทํางานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดกระบวนการทํางานที่รวดเร็ว เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่าง ทั่วถึง รวมทั้งกําหนดให้มีหน่วยงานกลางดําเนินการเร่งรัดการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัย ยกเลิกกฎหมายที่หมด ความจําเป็น ซ้ําซ้อน หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงาน และการปรับตัวให้ทันการณ์ของภาครัฐ โดยเฉพาะกฎหมายที่ขัดกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในทุกระดับ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการดําเนินการของภาครัฐที่ต้องมุ่งเป้า ร่วมกันในการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งจัดให้มีการพัฒนาและบูรณาการฐานข้อมูลกลางด้านกฎหมายของประเทศที่มีความปลอดภัยสูง สะดวก เข้าถึงได้ง่าย จําแนกประเภทตามการใช้งานของผู้ใช้บริการ 3. แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579 แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 เป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาระยะยาว โดยจุดมุ่งหมายที่สําคัญ ของแผน คือ การมุ่งเน้นการประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา และการศึกษาเพื่อการมีงานทําและสร้าง งานได้ภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งความเป็นพลวัตร เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศ ที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งภายใต้กรอบแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579 ได้กําหนดสาระสําคัญสําหรับบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา การศึกษาใน 5 ประการ ได้แก่การเข้าถึงโอกาส ทางการศึกษา (Access) ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity)


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 26 คุณภาพการศึกษา (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และตอบโจทย์บริบทเปลี่ยนแปลง (Relevancy) ในระยะ 15 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ2) การผลิตและพัฒนากําลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้4) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา 4. นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดําเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี(พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้และแผนย่อยที่3 ใน ประเด็น 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) และ นโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่อง การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่างแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเฉพาะหมุดหมายที่12 ไทยมีกําลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคตแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 รวมทั้งนโยบายและ แผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความปลอดภัย และมีสมรรถนะที่สําคัญจําเป็นในศตวรรษที่21 และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการ พัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ดังนั้น ในการเร่งรัดการทํางานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับสังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กําหนดหลักการสําคัญใน การประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้ดังนี้1. สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนและประชาชน โดยให้ทุกหน่วยงานนํา รูปแบบการทํางานโดยบูรณาการการทํางานร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน 2. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดําเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบ ต่อตนเอง องค์กร ประชาชน และ ประเทศชาติโดยให้ความสําคัญกับการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านกลไกการรับฟังความคิดเห็นมา ประกอบการดําเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3. ดําเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ประกาศ และแถลงนโยบายไว้แล้ว เมื่อวันที่25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เพื่อมุ่งเน้นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และ ประชาชนอย่างมีนัยสําคัญ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 27 นโยบายและจุดเน้นประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นโยบายที่1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 เร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิต รูปแบบใหม่และภัยอื่น ๆ โดยมีการดําเนินการตามแผนและมาตรการด้านความปลอดภัย ให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากร ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเข้มข้น รวมทั้งดําเนินการศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตาม ประเมินผลการดําเนินการ และแสวงหา สถานศึกษาที่ดําเนินการได้ดีเยี่ยม (Best Practice) เพื่อปรับปรุง พัฒนา และขยายผลต่อไป 1.2 เร่งปลูกฝังทัศนคติพฤติกรรม และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยบูรณาการอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันควบคู่กับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเชิงบวกและสร้างสรรค์พร้อมทั้งหา แนวทางวิธีการปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 1.3 เสริมสร้างการรับรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 1.4 เร่งพัฒนาบทบาท และภารกิจของหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในทุกหน่วยงาน ในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการให้ดําเนินการอย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ นโยบายที่2 การยกระดับคุณภาพการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานําหลักสูตรฐานสมรรถนะไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็ม รูปแบบเพื่อสร้าง สมรรถนะที่สําคัญจําเป็นสําหรับศตวรรษที่21 ให้กับผู้เรียน 2.2 จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบพรสวรรค์ความสนใจ ความถนัดในอาชีพของตนเอง ด้วยการเรียนรู้จากการ ลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในห้องเรียน สถานประกอบการ รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม และห้องดิจิทัลให้คําปรึกษาแนะนํา 2.3 พัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลฐานสมรรถนะ สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เพื่อสร้างความฉลาดรู้ด้านการอ่านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างตรรกะความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลให้นักเรียนไทย สามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ2.4 พัฒนาทักษะดิจิทัล และภาษาคอมพิวเตอร์(Coding) สําหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่2.5 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็น พลเมืองที่เข้มแข็ง 2.6 จัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย และแพลตฟอร์มการ เรียนรู้อัจฉริยะที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้สื่อการสอน คุณภาพสูงรวมทั้งมีการประเมิน และ พัฒนาผู้เรียน 2.7 ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดยบูรณาการ การทํางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน สหกรณ์ฯลฯ ผ่านกระบวนการเรียนรู้โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ และการเผยแพร่สื่อแอนิเมชันรอบรู้ เรื่องเงิน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่สูงขึ้น


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 28 2.8 ปรับโฉมศูนย์วิทยาศาสตร์และศูนย์การเรียนรู้ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สวยงาม ร่มรื่น จูงใจ ให้เข้าไปใช้บริการ โดยมีมุมค้นหาความรู้ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มุมจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์คิด วิเคราะห์ของผู้เรียน หรือกลุ่ม ผู้เรียน และการร่วมกิจกรรมกับครอบครัว หรือจัดเป็นฐานการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่ผู้เรียน และประชาชนสามารถมา ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และได้รับเอกสารรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือ สะสมหน่วยการเรียนรู้(Credit Bank) ได้รวมทั้งมีบริเวณพักผ่อนที่มีบริการลักษณะบ้านสวนกาแฟเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น 2.9 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนําผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติไปใช้ในการวางแผนการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน 2.10 พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะ และผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน นโยบายที่3 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 3.1 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการส่งต่อไปยังสถานศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับการศึกษาภาคบังคับ เพื่อป้องกันเด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน 3.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อรับการพัฒนาอย่าง รอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยบูรณาการร่วมงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 พัฒนาข้อมูล และทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งกลุ่ม NEETs ในการเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้และการฝึกอาชีพ อย่างเท่าเทียม 3.4 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) และการเรียนรู้ที่บ้าน เป็นหลัก (Home–based Learning) นโยบายที่4 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4.1 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) มีการบูรณาการ วิชาสามัญ และวิชาชีพในชุดวิชาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษา ทั้งในระบบนอกระบบ และระบบทวิภาคีรวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้(Credit Bank) ร่วมมือกับ สถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นเพื่อการมีงานทํา 4.2 ขับเคลื่อนการผลิต และพัฒนากําลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและยกระดับสมรรถนะกําลังคนตามกรอบ คุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และมาตรฐานสากล รวมทั้งขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน และสถานประกอบการในการผลิตกําลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 4.3 พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Upskill และ New skill เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบหลากหลายให้ครอบคลุม ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุโดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.4 ส่งเสริมการพัฒนาแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตามสมรรถนะที่จําเป็นใน การเข้าสู่อาชีพ และการนําผลการทดสอบไปใช้คัดเลือกเข้าทํางาน ศึกษาต่อ ขอรับประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะ การใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) การขอรับวุฒิบัตรสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) 4.5 จัดตั้งศูนย์ให้คําปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์Startup) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพ และการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียน อาชีวศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 29 การประกอบอาชีพในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่4.6 เพิ่มบทบาทการอาชีวศึกษาในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและกําลังแรงงานในภาคเกษตร โดยเฉพาะ กลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) และกลุ่มยุวเกษตรกรอัจฉริยะ (Young Smart Farmer) ที่สามารถรองรับการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้4.7 ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต และพัฒนากําลังคนทุกช่วงวัยเพื่อการมีงานทํา โดยบูรณาการความร่วมมือใน การจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และสถาบันสังคมอื่น 4.8 พัฒนาหลักสูตรอาชีพสําหรับกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่นอกระบบโรงเรียน และประชาชนที่สอดคล้องมาตรฐาน อาชีพ เพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะ และได้รับคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติรวมทั้งสามารถนําผลการ เรียนรู้และมวลประสบการณ์เทียบโอนเข้าสู่การสะสมหน่วยการเรียนรู้(Credit Bank) ได้นโยบายที่5 การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครูบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 5.1 ส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดยใช้ระบบการประเมินตําแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระบบ Digital Performance Appraisal (DPA) 5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ตามกรอบระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency) สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา 5.3 พัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้การประกอบอาชีพ และการดําเนินชีวิตของ ผู้เรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล 5.4 พัฒนาขีดความสามารถของข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีสมรรถนะที่สอดคล้อง และ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต 5.5 เร่งรัดการดําเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับการให้ความรู้ด้าน การวางแผน และการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม นโยบายที่6 การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 6.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ 4.0 ด้วยนวัตกรรม และการนําเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นกลไกหลักในการ ดําเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) การส่งเสริมความร่วมมือ บูรณาการ กับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 6.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานเครือข่าย สื่อสารข้อมูลเชื่อมโยง หน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ในทุกเวลา ทุกสถานที่ทุกอุปกรณ์และทุกช่องทาง 6.3 ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลักความจําเป็น และใช้พื้นที่เป็นฐานที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสําคัญ 6.4 นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในตําแหน่ง และ สายงานต่าง ๆ 6.5 ส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามกลไกการประเมิน คุณธรรม และความโปร่งใส ในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 30 นโยบายที่7 การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติเร่งรัดการดําเนินการจัดทํากฎหมายลําดับรอง และ แผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อรองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นํานโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้างต้น เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษา โดยดําเนินการจัดทําแผน และ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สํานักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง 2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษา ของ กระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ทําหน้าที่ตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทํา รายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการ ศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลําดับ 3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และดําเนินการแก้ไขปัญหา ในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ตามข้อ 2 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามลําดับ 4. สําหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่(Function) งานในเชิง ยุทธศาสตร์(Agenda) และงานในเชิงพื้นที่(Area) ซึ่งได้ดําเนินการอยู่ก่อนแล้ว หากมีความสอดคล้องกับหลักการ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการ หลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กํากับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดําเนินการเกิดผลสําเร็จ และมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นรูปธรรม วิสัยทัศน์สร้างคุณภาพผู้เรียน สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน พันธกิจ 1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์2. พัฒนาสถานศึกษาให้มีควงามปลอดภัยแก่ผู้เรียน 3. ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้การแข่งขัน 4. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่21 5. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ํา ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม 6. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองทิศทาง การพัฒนาประเทศ 7. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 8. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) 5. นโยบายของสํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 31 1. ด้านความปลอดภัย 1.1 พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยของผู้เรียนทุกคน พร้อมเสริมสร้างระบบ และกลไกในการดูแล ความปลอดภัยอย่างเข้มข้นให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จากโรคภัยต่าง ๆ ภัยพิบัติและภัยคุกคามทุก รูปแบบ 1.2 ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.3 สร้างภูมิคุ้มกัน การรู้เท่าทันสื่อ และเทคโนโลยีในการดําเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และชีวิตวิถีปกติต่อไป (Next Normal) 2. ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา 2.1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ3 – 6 ปีทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษาสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้าถึงโอกาส ความเสมอภาค และได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสําหรับการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน และ การพัฒนาประเทศ 2.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 2.4 ส่งเสริมเด็กพิการและผู้ด้วยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และจัดหาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีทักษะในการดําเนินชีวิตสามารถพึ่งตนเองได้2.5 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลใน การบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันไม่ให้นักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา และช่วยเหลือเด็ก ตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบ 3. ด้านคุณภาพ 3.1 ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาที่มีความพร้อม ให้นําหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นสมรรถนะ ไปใช้ตามศักยภาพของสถานศึกษา ให้สามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบท 3.2 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามช่วงวัย สามารถจัดการตนเอง มีการคิดขั้นสูง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถจัดระบบและกระบวนการทํางานของตนเองและร่วมกับผู้อื่นได้โดยใช้การรวมพลังการทํางานเป็นทีม เป็น พลเมืองที่ดีมีศีลธรรม และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนรวมทั้งมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติยึดมั่นการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3.3 จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษาจําเป็นในศตวรรษที่21 นําไปสู่การมีอาชีพ มีงานทํา และส่งเสริมความเป็นเลิศ ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.4 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียนให้ควบคู่การเรียนรู้นําไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการนําระบบธนาคารหน่วยกิตมาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆของผู้เรียนในสถานศึกษา 3.5 พัฒนา ส่งเสริม ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคคลากรทางการศึกษารวมทั้งบุคลากร สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตําแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพ 4. ด้านประสิทธิภาพ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 32 4.1 เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การกระจายอํานาจและใช้พื้นที่เป็นฐานที่มุ่งเน้นการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามหลักธรรมาภิบาล 4.2 นําเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการฐานข้อมูล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขั้นพื้นฐาน และการ เรียนรู้ของผู้เรียน 4.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพใช้พื้นที่เป็นฐานใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน บริหารจัดการ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแสวงหารการมีส่วนร่วมของหน่อยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเพื่อให้ประสบผลสําเร็จเป็น รูปธรรม 4.4 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะโรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4.5 เพิ่มประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และปรับกระบวนการนิเทศ ติดตาม และ ประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดรับกับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และวิถีชีวิตปกติต่อไป (Next Normal) 6. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชลบุรี(พ.ศ. 2566 – 2570) วิสัยทัศน์เป็นองค์กรชั้นนําด้านการศึกษาในศตวรรษที่21 มุ่งสู่การศึกษาเพื่อการมีงานทําด้วยวิถีพอเพียง อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พันธกิจ 1. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาทุกช่วงวัยในศตวรรษที่21 อย่างมีคุณภาพ 2. การจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ทุกช่วงวัย 3. สร้างโอกาสและความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อการมีงานทําทุกช่วงวัยอย่างทั่วถึงเท่าเทียมต่อเนื่อง ตลอดชีวิต 4. ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม สํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5. ประสานความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ-เอกชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป้าประสงค์1. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 สอดคล้องกับการเสริมสร้างความมั่นคงในแต่ละบริบท 2. ผู้เรียนมีสมรรถนะที่ตอบสนองตามความต้องการของตลาดแรงงานและการแข่งขันของพื้นที่3. บุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 4. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเสมอภาคด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 5. ผู้เรียนมีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม 6. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 33 ประเด็นยุทธศาสตร์ในการดําเนินงาน 6 ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ที่1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาการดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่3. คนทุกช่วงวัยมีจิตสํานึกการเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติมีจิตอาสา การอยู่ร่วมกัน และยอมรับความ แตกต่างในสังคมไทยบนหลักการประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่2 การผลิตและพัฒนากําลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดสร้างความสามารถใน การศึกษาเพื่อการมีงานทํา 1. ประชากรวัยเรียนและวัยแรงงานมีทักษะอาชีพ ภาษา และนวัตกรรมที่จําเป็นต่อการประกอบอาชีพ 2. เด็กและเยาวชนเป็นนวัตกรขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีวัฒนธรรม และภูมิปัญญา 3. กําลังคนมีทักษะที่สําคัญจําเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ 4. ผู้เรียนและผู้สําเร็จการศึกษา มีทักษะอนาคต ยุทธศาสตร์ที่3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 1. ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยและคุณลักษณะที่จําเป็นในศตวรรษที่21 2. ระบบการศึกษาทุกระดับมีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถในศตวรรษที่21 ยุทธศาสตร์ที่4 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างความเท่าเทียมทางการเรียนรู้1. ประชากรทุกช่วงวัยเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่วถึง เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้สามารถ พัฒนาศักยภาพและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 2. สถานศึกษาทุกระดับสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 3. สถานศึกษาสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมศักยภาพตามพหุปัญญา 4. แหล่งเรียนรู้สื่อนวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จํากัด เวลาและสถานที่5. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสําหรับประชากรทุกช่วงวัย 6. ได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ยุทธศาสตร์ที่5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1. คนทุกช่วงวัยมีจิตสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา 1. หน่วยงานทางการศึกษามีกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน 2. หน่วยงานทางการศึกษามีการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาอย่างเป็นระบบ 3. ระบบการบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลต่อคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาตามประเด็นแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ4. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการจัดการศึกษากฎหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องทุก


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 34 6. ทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี(พ.ศ. 2564-2566) สพม. ชลบุรี– ระยอง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง ได้นํายุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา นโยบายของรัฐบาลนโยบาย และจุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนโยบายของหน่วยงานอื่นๆ และระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ความเชื่อมโยง เพื่อกําหนดทิศทางในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 -2566) วิสัยทัศน์มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ให้ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพระดับสากลบน พื้นฐานของความเป็นไทย ค่านิยมองค์กร“ซื่อสัตย์พร้อมบริการ สุภาพ มีคุณธรรม” ตัวย่อ “ISPM” (Integrity Service mind Polite Morality) พันธกิจ 1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลความปลอดภัยจากภัยพิบัติภัยคุกคามทุกรูปแบบให้กับผู้เรียน ครูบุคลากรทาง การศึกษาและสถานศึกษา จดัสภาพแวดลอ้มที่เออื้ต่อการมีสุขภาวะที่ดีสามารถปรบัตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ํา 3. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐาน ในระดับชาติและระดับสากล 4. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสอดคล้องกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) 5. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และมีสมรรถนะตรงตามสายงาน 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 7. พัฒนาระบบบริหารจัดการของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง เน้นการมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาของทุกภาคส่วน เป้าประสงค์1. ผู้เรียนยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข 2. ผู้เรียน ครูบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา มีความปลอดภัยจากภัยพิบัติภัยคุกคามทุกรูปแบบ และมีสุขภาวะที่ดีสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ํา 3. ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่ม ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาคและมีคุณภาพตามมาตรฐาน ในระดับชาติและระดับสากล มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ 4. ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและมีความรู้ด้านอุตสาหกรรมใหม่สามารถสร้างนวัตกรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี5. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร มีสมรรถนะและทักษะตรงตามสายงาน รวมถึงมีวัฒนธรรมการทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 35 6. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 7. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยองและสถานศึกษาในสังกัด มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานอื่น นโยบาย นโยบายข้อที่1 ด้านความปลอดภัย นโยบายข้อที่2 ด้านโอกาส นโยบายข้อที่3 ด้านคุณภาพ นโยบายข้อที่4 ด้านประสิทธิภาพ กลยุทธ์กลยุทธ์ที่1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง กลยุทธ์ที่2 การส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะทางการศึกษาของผู้เรียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ระดับนานาชาติและเทียบเคียงสู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ที่3 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ กลยุทธ์ที่5 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ที่6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 7. ทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี(พ.ศ. 2565 - 2567) โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน วิสัยทัศน์(Vision) มีคุณธรรม นําความรู้เสริมสร้างทักษะชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“To encourage good morals, cultivate knowledge and develop life skills based on the Philosophy of Sufficiency Economy.”พันธกิจ 1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและเทียบเคียงมาตรฐานสากล 2. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ 4. พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 5. ส่งเสริมพัฒนาสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้และบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เป้าประสงค์ของโรงเรียน 1. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีศักยภาพเป็นพลเมืองและพลโลกที่ดี2. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ เทียบเคียงมาตรฐานสากล 3. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและศักยภาพในระดับสากล 4. ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 5. ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 36 เอกลักษณ์(Uniqueness) จิตอาสา สง่างาม “To be public - minded and glorious.”อัตลักษณ์(Indentity) ทักษะอาชีพสร้างสรรค์“To exceed in creativity and professional skills.”กลยุทธ์ตัวชี้วัดความสําเร็จ ค่าเป้าหมาย และกิจกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567 กลยุทธ์ที่1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนสู่พื้นฐาน ความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แนวคิดหลักสูตร แบบอิงมาตรฐาน/อิงสมรรถนะ และสภาวะแวดล้อมโลก กลยุทธ์ที่2 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะวิชาชีพที่เอื้อ ต่อการประกอบอาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่21 กลยุทธ์ที่3 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะตรงตามสายงาน กลยุทธ์ที่4 การพัฒนาระบบการบริหารให้ทันสมัย โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทํางาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ใช้ทรัพยากร พัฒนาอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและแหล่ง เรียนรู้ที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้กลยุทธ์ที่5 การสร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ สนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาภายใต้ความรับผิดชอบ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่กฎหมายเอื้ออํานวย มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน กลยุทธ์ที่1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน สู่พื้นฐานความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แนวคิด หลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน/อิงสมรรถนะ และสภาวะแวดล้อมโลก กลยุทธ์ที่2 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะ วิชาชีพที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่21 ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ร้อยละ) 2565 2566 2567 1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการ คิดคํานวณ 80 85 90 2) ความสามารถในการวิคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 80 85 90 3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 80 85 90 4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการ สื่อสาร 80 85 90 5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 80 85 90 6) มีความรู้ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 80 85 90


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 37 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน กลยุทธ์ที่1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนสู่พื้นฐานความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แนวคิด หลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน/อิงสมรรถนะ และสภาวะแวดล้อมโลก กลยุทธ์ที่2 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะ วิชาชีพที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่21 ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ระดับคุณภาพ) 2565 2566 2567 1) มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากําหนด ระดับดีเลิศ 80 85 90 2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 80 85 90 3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 80 85 90 4) สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม 80 85 90 มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ กลยุทธ์ที่3 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะตรงตามสายงาน กลยุทธ์ที่4 การพัฒนาระบบการบริหารให้ทันสมัย โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทํางาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ใช้ทรัพยากร พัฒนาอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อม และ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้กลยุทธ์ที่5 การสร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ สนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาภายใต้ความรับผิดชอบ ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่กฎหมายเอื้ออํานวย ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ระดับคุณภาพ) 2565 2566 2567 1) มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากําหนดชัดเจน 80 85 90 2) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 80 85 90 3) ดําเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร สถนศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 80 85 90 4) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 80 85 90 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 80 85 90 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และจัดการ เรียนรู้80 85 90


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 38 มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ กลยุทธ์ที่1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการบริหารหลักสูตร และการเรียนการสอนสู่พื้นฐาน ความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แนวคิดหลักสูตร แบบอิงมาตรฐาน/อิงสมรรถนะ และสภาวะแวดล้อมโลก กลยุทธ์ที่2 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะวิชาชีพที่เอื้อต่อ การประกอบอาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่21 ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ระดับ คุณภาพ) 2565 2566 2567 1) จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริงและสามารถนําไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตได้80 85 90 2) ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 80 85 90 3) มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 80 85 90 4) ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนําผลมาพัฒนาผู้เรียน 80 85 90 5) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนา และปรับปรุงการ จัดการเรียนรู้80 85 90 โครงการ/กิจกรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567 โครงการ ค่าเป้าหมาย (ร้อยละ) ปีการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการ 2565 ปีการศึกษา 2566 ปีการศึกษา 2567 กลยุทธ์ที่1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนสู่พื้นฐานความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้แนวคิดหลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน/อิง สมรรถนะ และสภาวะแวดล้อมโลก ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานวิชาการ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้8 กลุ่มสาระ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลยุทธ์ที่2 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ทักษะชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะวิชาชีพที่เอื้อต่อการประกอบ อาชีพ และคุณลักษณะในศตวรรษที่21 ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานวิชาการ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้8 กลุ่มสาระ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 39 กลยุทธ์ที่3 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะตรงตามสายงาน ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล 80 85 90 กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงินและ สินทรัพย์จัดจ้างบุคลากรสนับสนุนการจัดการศึกษาโรงเรียน ผินแจ่มวิชาสอน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงินและ สินทรัพย์กลยุทธ์ที่4 การพัฒนาระบบการบริหารให้ทันสมัย โดยนํา เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทํางาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ใช้ทรัพยากร พัฒนาอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการ มีสุขภาวะที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานงบประมาณ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงินและ สินทรัพย์พัฒนาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 80 85 90 กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัด การศึกษา ส่งเสริมพัฒนาระบบโสตทัศนศึกษาและการ ประชาสัมพันธ์80 85 90 กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัด การศึกษา ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยโรงเรียน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัด การศึกษา กลยุทธ์ที่5 การสร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ สนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาภายใต้ความรับผิดชอบทางสังคม และ สิ่งแวดล้อม ที่กฎหมายเอื้ออํานวย ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารงานวิชาการ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานวิชาการ อบรมคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ส่งเสริมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา 80 85 90 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ส่งเสริมสถานศึกษาสีขาว 80 85 90 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน พัฒนาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 80 85 90 กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัด การศึกษา ส่งเสริมพัฒนาระบบโสตทัศนศึกษาและการ ประชาสัมพันธ์80 85 90 ส่งเสริมการจัดการศึกษา ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยโรงเรียน 80 85 90 กลุ่มบริหารงานส่งเสริมการจัด การศึกษา กลยุทธ์ที่6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารจัดการ 80 85 90 กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงินและ สินทรัพย์


แผนปฏิบัติการประจําปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผินแจ่มวิชาสอน 40 ส ่ วนท ี ่ 3 แผนการใช ้ จ ่ ายงบประมาณประจ ํ าปี


Click to View FlipBook Version