The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงร่างงานวิจัย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sitthikorn5773, 2022-12-12 03:04:38

โครงร่างงานวิจัย

โครงร่างงานวิจัย

Keywords: โครงร่างงานวิจัย

โครงการเสนอบัณทิตนิพนธ์

หวั ขอ้ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
(Role Playing)
The Development of Mathayomsuksa 2 Students’ Learning
Achievement in the History Course by Using a Role-Playing.

อาจารยน์ ิเทศ ผศ.ดร.เพยี รพิทย์ โรจนปณุ ยา
อาจารย์ท่ปี รึกษา รศ.ดร.วทิ ยา วิสูตรเรอื งเดช

เสนอโดย นายสิทธิกร บุญรอด
รหัสประจำตวั 6321126043
หลักสตู ร ครศุ าสตรบณั ทติ
สาขาวิชา สังคมศกึ ษา
ปกี ารศกึ ษา 2565

โครงการเสนอบัณทิตนิพนธ์

หวั ขอ้ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
(Role Playing)
The Development of Mathayomsuksa 2 Students’ Learning
Achievement in the History Course by Using a Role-Playing.

อาจารยน์ ิเทศ ผศ.ดร.เพยี รพิทย์ โรจนปณุ ยา
อาจารย์ท่ปี รึกษา รศ.ดร.วทิ ยา วิสูตรเรอื งเดช

เสนอโดย นายสิทธิกร บุญรอด
รหัสประจำตวั 6321126043
หลักสตู ร ครศุ าสตรบณั ทติ
สาขาวิชา สังคมศกึ ษา
ปกี ารศกึ ษา 2565



สารบัญ

สารบัญ ……………………………………………………………………………………………………………………… หน้า
สารบัญภาพ ………………………………………………………………………………………………………………. ก
สารบญั ตาราง …………………………………………………………………………………………………………….. ค
บทที่ ง

1 บทนำ ......................................................................................................................... 1
ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา ............................................................. 1
วัตถปุ ระสงค์ของการวจิ ยั …………………………………………………………………………. 3
สมมติฐานของการวจิ ัย ........................................................................................ 3
ขอบเขตของการวจิ ยั ........................................................................................... 4
ประโยชนท์ ี่จะได้รบั จากการวจิ ยั ......................................................................... 5
นยิ ามศพั ท์เฉพาะ ................................................................................................ 6
กรอบแนวคิดในการวิจัย ...................................................................................... 6
8
2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................. 9
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 …………………………. 9
วิสยั ทศั น์ ………………………………………………………………………………………….. 9
หลักการ …………………………………………………………………………………………... 10
จดุ หมาย ………………………………………………………………………………………….. 10
สมรรถนะสำคัญของผูเ้ รียน ………………………………………………………………… 11
คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ …………………………………………………………………. 11
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ ………………………………………………………………………….. 12
กลมุ่ สาระการเรียนรสู้ ังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ……………………….. 15
การจัดการเรยี นรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ ……………………………………………… 15
ความหมายของการจดั การเรียนรรู้ ูปแบบแสดงบทบาทสมมติ …………………. 17
องคป์ ระกอบของการจัดการเรยี นรรู้ ูปแบบแสดงบทบาทสมมติ ................... 19
ประเภทของการจัดการเรยี นรู้รปู แบบแสดงบทบาทสมมติ ………………………
ขั้นตอนและกระบวนการการจดั การเรียนรโู้ ดยใช้การจดั การเรยี นรรู้ ปู แบบ 21
แสดงบทบาทสมมติ ......................................................................................



สารบัญ (ตอ่ )

บทที่ หน้า
2 (ตอ่ )
ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น ……………………………………………………………………........ 24
ความหมายของผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี น …………………………………………….. 24
องคป์ ระกอบของผลสัมฤทธิท์ างการเรยี น ………………………………………….. 26
การสร้างแบบวัดผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น …………………………………………... 27
ความหมายและทฤษฎีทเี่ กย่ี วกับความพึงพอใจ ....…………………………………….. 31
ความหมายความพงึ พอใจ ......................................................................... 31
ทฤษฎีทเ่ี กี่ยวกบั ความพึงพอใจ …………………………………………………………. 32
การวดั ความพึงพอใจ ................................................................................. 31
งานวิจยั ทเี่ กยี่ วข้อง ……………………………………………………………………………….. 40
งานวิจยั ในประเทศ …………………………………………………………………………. 40
งานวจิ ัยต่างประเทศ ……………………………………………………………………….. 41
3 วธิ ีการดำเนินการวจิ ัย .............................................................................................. 43
ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง ....................................................................... 44
แบบแผนการวิจัย ...................................................................................... 44
เคร่อื งมือท่ีใช้ในการวจิ ยั ............................................................................ 45
การเกบ็ รวบรวมข้อมูล ............................................................................... 51
การวเิ คราะห์ขอ้ มลู .................................................................................... 53
55
บรรณานุกรม ……………………………………………………………………………………………………………



สารบัญภาพ

ภาพที่ กรอบแนวคิดในการวิจัย ............................................................................. หน้า
1.1 ข้ันตอนการดำเนินการวจิ ัย ......................................................................... 7

3.1 43



สารบญั ตาราง

ตาราง หน้า
3.1 แบบแผนของการวจิ ยั แบบ One-Group Pretest - Posttest Design ....... 44

3.2 แบบแผนของการวิจยั แบบ One-Group Pretest - Posttest Design ....... 51

1

บทท่ี 1
บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคัญของปญั หา

การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่
แกไ้ ขเพิม่ เตมิ (ฉบบั อพั เดท) พ.ศ.2565 ท่ีไดก้ ำหนดแนวทางการจัดการศึกษาไวใ้ นหมวด 4 มาตรา 22
ไวว้ ่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผเู้ รียนทกุ คนมีความสามารถเรียนรูแ้ ละพฒั นาตนเองได้ และถือ
ว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ
เต็มศักยภาพ ซึ่งความสำคัญที่คาดหวังของการจัดการศึกษาตามลักษณะดังกล่าว ในเรื่องการจัดการ
เรียนการสอนจึงเป็นบทบาทหน้าที่หลักของครู ที่มีความจำเป็นและสำคัญในการปรับเปลี่ยน
พฤตกิ รรม กระบวนการจดั กิจกรรมในการเรียนการสอน นอกจากน้ี เมอื่ พิจารณาจากพระราชบัญญัติ
การศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ.2556 และกรอบมาตรฐานตามหลกั สูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานน้ัน เมือ่ พจิ ารณา
จากตัวชี้วัด สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แกนกลาง ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ พบว่า มีความ
เกยี่ วข้องโดยตรงกับประวตั ิศาสตร์ ทก่ี ำหนดใหเ้ ป็นสาระท่ี 4 ประวตั ิศาสตร์ โดยสรปุ มุ่งหวงั ให้ผู้เรียน
ศึกษาเนื้อหาสาระ จนเกิดความรู้ ความเข้าใจเหตุการณ์ เรื่องราวประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลา
โดยเฉพาะการนำวิธีการศึกษาที่เน้นการสืบค้น ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ มาวิเคราะห์เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมี
เหตุผลตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ ตลอดจน สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างเป็น
ระบบ รายวิชาประวตั ศิ าสตร์จงึ เป็นการศกึ ษาเพ่ืออธบิ ายเหตุการณส์ ำคญั ของสังคมมนุษย์ในอดีตตาม
มิติเวลาจากร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวิธีการทางประวัติศาสตร์สืบค้นอย่างเป็นระบบ
โดยมีนัยการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ชาติต้องให้ความสำคัญกับการจัดการ
เรยี นรปู้ ระวตั ิศาสตรแ์ ละประเทศไทยนนั้ กใ็ หค้ วามสำคญั เชน่ กัน

"ครปู ระวตั ศิ าสตร์" ในกลมุ่ สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม เท่านั้นทจี่ ะสามารถฉาย
ภาพอดตี เหล่าน้ีใหเ้ ห็นได้อย่างชดั เจน แตป่ ัจจบุ ันการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ในระดบั
โรงเรยี นประสบปัญหาหลายประการ ปญั หาสำคญั ประการหนึ่ง คอื ปัญหาจากตวั ครผู ู้สอน ครผู สู้ อน
วิชาประวัติศาสตร์ จำนวนไม่น้อยขาดความเข้าใจในวิธีการทางประวัติศาสตร์และความลึกซึ้งใน
เนื้อหา ครูยังใช้วิธีการสอนด้วยการ "เล่าเรื่องอดีตเพื่อให้ท่องจำ" มากกว่า "เล่าเรื่องอดีต เพื่อตอบ
คำถามว่าเพราะเหตุใด หรือ ทำไมจึงเกิดขึ้น หรือ ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ และที่เป็น เป็นอย่างไร คนใน

2

สังคมแก้ไขอย่างไร กล่าวโดยสรุป ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องการถาม เพื่อค้นหาคำตอบจากหลักฐาน"
มิใช่การเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ จึงกลายเป็นการ
เรียนรู้แบบท่องจำขาดการคิดวิเคราะห์มากกว่าให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากการต้ัง
คำถามทางประวัติศาสตร์ ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกดิ น่าเบ่ือหนา่ ย ส่งผลใหผ้ ูเ้ รียนไม่เข้าใจและ
ไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ในที่สุด สำหรับครูสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะเป็นอีกแนวทาง
หนง่ึ ในการกระตุ้นผู้เรยี นใหส้ ามารถอยูร่ ่วมกนั อย่างสันตสิ ุข มคี วามเขา้ ใจ ความรกั และความภูมิใจใน
ชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ กัน และที่สำคัญ
ผู้เรียนประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ (เพชรรัตน์ คำสมจิตร, 2557) การ
แยกแยะข้อเท็จจริง จากข้อมูลหลักฐานให้รู้จักคิดเป็นไม่หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ โดยมิได้พิจารณา
ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง และการนำเสนออย่างมีเหตุผล อันเป็น
กระบวนการสร้างภูมปิ ญั ญาอยา่ งแทจ้ ริง

จากสภาพปญั หาการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ของนกั เรยี น โรงเรียนปัญญาวรคุณ
เท่าที่ผ่านมามีปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า คะแนนของผู้เรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์
มาตรฐานที่กำหนดไว้จากผลสัมฤทธิ์การสอบปลายภาคของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และ
วฒั นธรรม ครูผสู้ อนจงึ ควรหาวิธกี ารสอนทจ่ี ะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นมผี ลการเรยี นทดี่ ีขึ้น โดยศกึ ษาหาแนวทาง
จากงานวิจัยหรือการศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
(Role Play) แม้ไม่ใช่รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เป็นของใหม่ในยุคนี้ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่
สำคัญล้าสมัยหรือไม่เป็นที่นิยมในการนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่อย่างใด และยังเป็น
รูปแบบการสอนหนึ่งที่อาจจัดได้ว่าเป็นศาสตร์การสอนได้ศาสตร์หนึ่ง เนื่องจากมีวัตถุประสงค์
องค์ประกอบ และขั้นตอนของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นระบบชัดเจน จึงมุ่งเน้นให้
ตระหนกั ถงึ ความสำคัญของรูปแบบการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนท่ีมีอยเู่ ดมิ อย่างท่ีไมค่ วรมองข้าม
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเป็นกรณีตัวอย่าง ด้วยการสะท้อนผ่านการนำบทบาท
สมมติไปใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อกระตุ้นให้ผู้สอนได้เกิดความกระตือรือร้นความมั่นใจในวิธี
สอนแบบนี้หรือแมแ้ ต่กับวิธีสอนแบบอื่น ๆ ที่จะนำมาปรบั ใช้ เพื่อการบรรลจุ ดุ มุง่ หมายทางการเรยี น
การสอนต่อไป บทบาทสมมติจะให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล บุคคลสามารถ
เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและความรู้สึกนึกคิดค่านิยมต่าง ๆ ของบุคคลก็
เป็นผลมาจากที่บุคคลมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และได้สั่งสมไว้ภายในลึก ๆ โดยท่ี
บุคคลอาจไม่รู้ตัวเลย ช่วยให้ผู้เรียนไม่เพียงแต่เข้าใจในตนเอง และยังสามารถเข้าใจในความคิด
ค่านิยมและพฤติกรรมของผู้อื่นผ่านการสวมบทบาทของผู้อื่น เป็นกระบวนการที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับ
ความเป็นจริง และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดงท้ัง

3

ด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่สังเกตพบนำมาเป็นข้อมูลในการอธิบาย เพื่อให้
ผ้เู รยี นเกิดการเรยี นรู้ตามวัตถปุ ระสงค์ (ทศิ นา แขมมณี, 2557)

การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์จะมีประสิทธภิ าพ หากมีการพัฒนาหรือการเพิ่มการจัด
กิจกรรมรูปแบบการสอนแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะการจดั การเรียนรูร้ ูปแบบแสดงบทบาทสมมติ เพื่อให้
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการคิด การตั้งคำถาม การได้มาของเนื้อหาข้อมูลทาง
ประวัติศาสตร์ และมีกระบวนการสืบค้น เพื่อเสริมสร้างและอธิบายถึงกระบวนการทีม่ าของการสร้าง
เนื้อหาเรื่องราวประวัติศาสตร์ด้วยตนเอง และการที่ครูมีความรู้ในเนื้อหาทางประวัติศาสตร์และ
นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติในการตั้งข้อสงสัยทางประวัติศาสตร์ แล้วยัง
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองตามศาสตร์ของสาขาวิชา และความคาดหวังในการจัด
การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ผวู้ ิจัยจงึ สนใจนำวธิ ีการน้ีมาทดลองสอนนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนปัญญาวรคุณ เพื่อศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
ประวัติศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาท
สมมติ และเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการเรยี นรวู้ ชิ าประวัตศิ าสตร์ใหม้ ปี ระสิทธิภาพต่อไป

วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั

1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักร
อยุธยา ของนกั เรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปีที่ 2

2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง
พัฒนาการของอาณาจักรอยธุ ยา โดยใช้การจดั การเรียนรูร้ ปู แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ของนักเรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 2

สมมติฐานของการวิจัย

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของ
อาณาจักรอยุธยา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลงั เรยี นสูงกวา่ กอ่ นเรยี น

2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง
พฒั นาการของอาณาจักรอยธุ ยา โดยใชก้ ารจดั การเรยี นรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
อย่ใู นระดับมาก

4

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนปัญญาวรคุณ จำนวน 9 ห้อง รวมทงั้ สน้ิ 270 คน
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2566 โรงเรียนปญั ญาวรคุณ หอ้ ง ม.2/1 จำนวน 35 คน โดยใชว้ ธิ ีการส่มุ ตัวอย่างแบบกลมุ่ (Cluster
Sampling)
ตวั แปรที่ศกึ ษา
ตวั แปรอิสระ ไดแ้ ก่ การจดั การเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
ตวั แปรตาม ไดแ้ ก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น
เนื้อหา
ณฐมน จนั ทรเ์ พ็งเพ็ญ (2560 หน้า 18) ไดใ้ หค้ วามหมายของการสอนโดยใช้การจดั การเรียนรู้
รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) ไว้ว่า หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์ และ
บทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้น ๆ ตาม
วัตถุประสงค์ท่ผี ูส้ อนไดก้ ำหนดไว้
บัวลักษณ์ เพชรงาม (2562 หน้า 35-36) ได้กล่าวเกี่ยวกับขั้นตอนของการจัดกิจกรรม
บทบาทสมมติจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด
ความสนใจตอ่ กจิ กรรม การใหข้ ้อมูลเน้อื หาทางดา้ นภาษาทจี่ ำเป็น ไดแ้ ก่ คำศพั ท์ โครงสรา้ งไวยากรณ์
สำนวนภาษา การจัดกลุ่มผู้เรียน การฝึกซ้อม และการแสดงบทบาทสมมติของผู้เรียน และหลังจาก
เสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการแสดง ผู้เรียนและครูผู้สอนต้องร่วมกันอภิปรายผลการแสดง และเขียน
รายงานสรุปผลของการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไข เพื่อการพัฒนา
ของผเู้ รียน
Richards (2008). กลา่ วถึง ขนั้ ตอนของการสอนโดยใชก้ ิจกรรมบทบาทสมมติไว้ ดงั น้ี
1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นทบทวนคำศัพท์ให้ผู้เรียน เพื่อนำความรู้ไปเช่ือมโยงกับเน้ือหาความรูใ้ น
โลกแห่งความจริง และบริบทของบทบาทสมมติระบุ ตีความปัญหา หรือแนะนำปัญหาใหช้ ัดเจน เปิด
ประเด็น อธบิ ายบทบาท ผ้สู อนและผเู้ รยี นนำเสนอสถานการณบ์ ทบาทสมมติ
2. ขั้นคัดเลือกตัวแสดง ผู้สอนและผู้เรียนอธิบายลักษณะของตัวละครวิเคราะห์บทผู้เรียน
กำหนดฉาก เลือกผูแ้ สดงบทบาท แต่ยงั ไมต่ ้องสรา้ งบทสนทนา
3. ขั้นสาธติ และดึงความรู้ เปน็ ขน้ั แบบอย่างท่ีมสี ่วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เป็นการแนะนำ และดึงความรู้แต่ละขั้นออกมา และเป็นการสอนหน้าที่ของภาษาที่จำเป็นสำหรับแต่
ละข้นั ตอน

5

4. ขั้นฝึกและทบทวน เป็นการช่วยเหลือและฝึกผู้เรียน โดยใช้บัตรสนทนาที่เตรียมไว้บอก
บทบาท หรอื จดั เตรยี มภาษา เพอ่ื การการฝึกรวมถึงการช่วยเหลอื อนื่ ๆ ตามความเหมะสม

5. ขั้นแสดง ผู้แสดงแสดงตามบทบาทที่ไดร้ ับ และสงั เกตพฤติกรรมทแ่ี สดงออก และ
6. ขั้นอภิปรายและประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ ความรู้
ความคิด ความรู้สึก ตลอดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดงสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ อาจรวมถึง
ความถูกต้องในด้านการใช้ภาษาประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อความ
เข้าใจที่ชัดเจน ตลอดถงึ ปรับปรงุ การแสดงครง้ั ตอ่ ไปของผู้เรียนในด้านภาษาอีกด้วย
เนื้อหาที่ใช้เป็นเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 4 : ประวัติศาสตร์ จากหลักสูตรโรงเรียนปัญญาวรคุณ พ.ศ.
2562-2566 ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ. 2551 โดยมีหวั ขอ้ ย่อย ดงั นี้
เรือ่ งที่ 1 พฒั นาการของไทยสมยั อยธุ ยา
เรอ่ื งที่ 2 พฒั นาการทางด้านเศรษฐกจิ ของอาณาจักรอยธุ ยา
เรื่องท่ี 3 การสรา้ งสรรค์ภูมปิ ญั ญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
เรอ่ื งที่ 4 วรี ชนและบคุ คลสำคัญสมัยอยธุ ยา
เร่อื งที่ 5 การสถาปนาอาณาจกั รอยธุ ยา
เรอ่ื งที่ 6 การเสื่อมอำนาจของอาณาจกั รอยธุ ยา
ระยะเวลาในการวจิ ยั
ระยะเวลาในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง
วันที่ 30 กนั ยายน 2566 ใชเ้ วลาในการวจิ ัยจำนวน 12 คาบ คาบละ 50 นาที

ประโยชน์ท่ไี ดร้ บั จากการวจิ ยั

1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา
ประวัติศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาประวตั ศิ าสตรส์ ูงข้นึ

2. ครผู ู้สอนรายวชิ าประวัติศาสตร์ สามารถนำผลการวจิ ัยคร้ังน้ี ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
สามารถทำให้ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นของนกั เรยี นสงู ขึน้ ได้

3. ผู้บริหารสถานศกึ ษา สามารถนำแนวทางในการพฒั นาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ ที่ได้จากงานวิจัยน้ีไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา เพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนของนักเรยี น ในรายวชิ าต่าง ๆ ภายในสถานศกึ ษาได้

6

นยิ ามศัพท์เฉพาะ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดง
บทบาทสมมติ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียน โดยวัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ
(P) และด้านคุณลกั ษณะ (A) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนท่ีผูว้ จิ ยั สรา้ งขน้ึ

วิธีการสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ หมายถึง กิจกรรม การพูดที่ครูเป็นผู้กำหนดให้
นักเรียนแสดงตามสถานการณ์ และบทบาทซึ่งใกล้เคียงกับความจริง โดยนักเรียนแสดงบทบาท
ความรู้สึก เจตคติที่มีต่อบทบาทนั้น เป็นการนำประสบการณ์การเรียนรู้มา ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้อง
ใช้กระบวนการคิด การปฏบิ ัตกิ ารเผชญิ สถานการณซ์ ่งึ เป็นการประยุกตค์ วามรขู้ องนักเรยี น

การประเมินสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของ
นักเรียนชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 2/1 ที่ผู้วจิ ัยสรา้ งข้นึ

นักเรียน หมายถึง นักเรียนท่ีกำลังศกึ ษาอยูใ่ นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนปญั ญาวร
คุณ ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา 2566

ความพึงพอใจ หมายถงึ ความรูส้ ึกชอบหรอื ความรูส้ ึกในทางบวกที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้
รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มี 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยายกาศการเรียนการสอน ด้านการ
ใช้สื่อการเรียนการสอน ด้านการวดั ผลประเมินผล

กรอบแนวคิดในการวจิ ัย

การพฒั นาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาประวตั ิศาสตร์ เรอ่ื ง พฒั นาการของอาณาจักร
อยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งน้ีมีนักเรียน จำนวน 35 คน โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดง
บทบาทสมมติ โดยใช้ทฤษฎีของ (Bonwell & Eison, 1991, p.47). แบบฝึกการแสดงบทบาทสมมติ
เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสวมบทบาทเป็นบุคคล หรือได้แสดงสถานการณ์ตามที่กำหนด
บทบาทเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ได้ทั้งที่เป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นรายบุคคล เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม
ซึ่งสามารถเจาะจงแสดงสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น การแสดงบทบาทสมมติสามารถดึงดูดผู้เข้ารับ
การฝึกอบรมในสถานการณ์ กำหนดในชีวิตจริง หรือสถานการณ์ที่อาจ “เครียด ไม่คุ้นเคย ซับซ้อน
หรือขดั แย้ง” ซง่ึ ตอ้ งการให้พวกเขาตรวจสอบความรู้สกึ สว่ นตัวต่อผู้อ่นื และสถานการณ์เฉพาะตัวของ
พวกเขาวดั ผลได้จากผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี น นงลักษณ์ เขยี วมณี (2562, หนา้ 96) กลา่ ววา่ ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียน คือ ความสำเร็จ ความสามารถของบุคคลในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านความรู้ ทักษะ
กระบวนการ ตลอดจนค่านิยม ความเห็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจาก ผ่านกระบวนการเรียนการสอน

7

การฝึกฝนอบรมมาแล้วและระดับความพึงพอใจของนักเรียน ผู้วิจัยจึงได้นำมากำหนดเป็นกรอบ
แนวคดิ ในการวิจยั ได้ ดงั แผนภาพ 1.1 (บทท่ี 1 ภาพท่ี 1)

ตัวแปรอสิ ระ ตวั แปรตาม

การจดั การเรยี นรู้แบบแสดงบทบาท ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
สมมติ (Role Playing : Bonwell & พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา
ของนักเรยี นชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 2
Eison (1991)) ประกอบด้วย 3 ดา้ น

ขนั้ ตอนสำคัญของการสอน 1) ดา้ นความรู้ (K)
1. ผู้สอน / ผู้เรียน นำเสนอ 2) ดา้ นทักษะ/กระบวนการ (P)
3) ดา้ นคุณลกั ษณะ (A)
สถานการณส์ มมติและบทบาทสมมติ
2. ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้

แสดงบทบาท
3. ผสู้ อนเตรยี มผู้สังเกตการณ์
4. ผู้เรียนแสดงบทบาท และ

สังเกตพฤติกรรมทีแ่ สดงออก
5. ผู้สอนและผู้เรยี น อภปิ ราย

เกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก
และพฤตกิ รรมท่ีแสดงออกของผแู้ สดง

6. ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการ
เรยี นรู้ทไี่ ด้รบั

7. ผู้สอนประเมินผลการ
เรยี นรูข้ องผู้เรยี น

ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

8

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing : Bonwell & Eison,1991)
ผู้วจิ ัยไดศ้ กึ ษาเอกสารและวิจัยทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง และได้นำเสนอตามหวั ขอ้ ดังต่อไปน้ี

1. หลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551
1.1 วสิ ัยทัศน์
1.2 หลกั การ
1.3 จดุ หมาย
1.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรยี น
1.5 คณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์
1.6 กลุ่มสาระการเรยี นรู้
1.7 กล่มุ สาระการเรยี นรสู้ งั คมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม

2. การจัดการเรียนร้รู ูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
2.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
2.2 องคป์ ระกอบของการจดั การเรียนร้รู ูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
2.3 ประเภทของการจัดการเรียนร้รู ูปแบบแสดงบทบาทสมมติ
2.4 ขั้นตอนและกระบวนการการจดั การเรียนรูโ้ ดยใช้การจัดการเรียนรรู้ ปู แบบแสดง

บทบาทสมมติ
3. ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน
3.1 ความหมายของผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน
3.2 องคป์ ระกอบของผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียน
3.3 การสรา้ งแบบวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น
4. ความหมายและทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องกับความพงึ พอใจ
4.1 ความหมายความพึงพอใจ
4.2 ทฤษฎีทีเ่ กยี่ วข้องกับความพงึ พอใจ
4.3 การวัดความพึงพอใจ

9

5. งานวิจยั ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
5.1 งานวจิ ยั ในประเทศ
5.2 งานวิจยั ต่างประเทศ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551

การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ทุก
ฝา่ ยท่เี กีย่ วขอ้ งท้ัง ระดบั ชาติ ชุมชน ครอบครัว และบคุ คลตอ้ งร่วมรบั ผิดชอบ โดยร่วมกนั ทำงานอย่าง
เป็นระบบ และต่อเนื่องในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุง
แกไ้ ข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คณุ ภาพตามมาตรฐานการเรยี นรูท้ ี่กำหนดไว้

วิสยั ทศั น์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น
มนุษยท์ ม่ี ีความสมดุล ท้ังด้านรา่ งกาย ความรู้ คุณธรรม มีจติ สำนึกในความเปน็ พลเมืองไทย และเป็น
พลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มี
ความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษา
ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนา
ตนเองได้เต็มตามศกั ยภาพ
หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน มีหลกั การสำคญั ดังน้ี
1. เปน็ หลักสตู รการศึกษา เพอ่ื ความเปน็ เอกภาพของชาตมิ จี ุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของ
ความเป็นไทยควบคกู่ บั ความเปน็ สากล
2. เป็นหลักสูตรการศึกษา เพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอ
ภาค และมคี ณุ ภาพ
3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ให้สอดคล้องกบั สภาพ และความต้องการของท้องถน่ิ
4. เปน็ หลกั สตู รการศึกษาที่มีโครงสรา้ งยดื หยุ่นท้ังด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และการจัดการ
เรียน
5. เปน็ หลกั สตู รการศกึ ษาท่ีเนน้ ผเู้ รยี นเป็นสำคัญ
6. เปน็ หลกั สูตรการศกึ ษาสำหรับการศกึ ษาในระบบ นอกระบบ และตามอธั ยาศัย ครอบคลุม
ทุกกลุ่มเปา้ หมาย สามารถเทยี บโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

10

จดุ หมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มี
ศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบ
การศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน ดงั นี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติ
ตนตามหลกั ธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาท่ตี นนับถือ ยึดหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มคี วามรู้ ความสามารถในการสอื่ สาร การคดิ การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทกั ษะ
ชีวิต
3. มสี ุขภาพและสุขภาพจิตท่ีดี มสี ขุ นิสยั และรกั การออกกำลงั กาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการ
ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมุข
5. มจี ติ สำนึกในการอนุรกั ษ์วัฒนธรรม และภูมปิ ญั ญาไทย การอนรุ ักษแ์ ละพฒั นาสง่ิ แวดล้อม
มีจิตสาธารณะท่ีมุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิง่ ทด่ี งี ามในสังคม และอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถะสำคญั ของผเู้ รียนและคุณลกั ษณะอันพึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มี
คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ ดังนี้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน มุง่ ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดงั นี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้
ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้ง การเจรจา
ต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับ หรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลัก
เหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการส่ือสารท่ีมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบ
ทม่ี ีตอ่ ตนเองและสงั คม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้
หรอื สารสนเทศ เพอื่ การตัดสินใจเก่ยี วกับตนเอง และสังคมไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ท่ี
เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ
ความสัมพนั ธ์ และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสงั คม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้ใช้

11

ในการป้องกัน และแก้ปัญหา และมีการตัดสินใจท่ีมปี ระสิทธภิ าพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกดิ ข้ึนตอ่
ตนเอง สงั คม และสงิ่ แวดล้อม

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชวี ติ เปน็ ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่
ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหา และความ
ขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสภาพแวดล้อม
และการรู้จกั หลกี เล่ียงพฤตกิ รรมไม่พงึ ประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง และผูอ้ ืน่

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การ
สอ่ื สาร การทำงานการแกป้ ัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ ถกู ต้องเหมาะสม และมคี ุณธรรม

คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทย และพลเมืองโลก
ดงั นี้
1) รักชาติ ศาสน์ กษตั ริย์
2) ซ่อื สัตย์สจุ ริต
3) มีวินัย
4) ใฝเ่ รยี นรู้
5) อยอู่ ยา่ งพอเพยี ง
6) มุ่งม่ันในการทำงาน
7) รกั ความเปน็ ไทย
8) มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตาม
บริบท และจุดเนน้ ของตนเอง
มาตรฐานการเรยี นรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมอง และพหุปัญญา
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐานจงึ กำหนดใหผ้ ้เู รยี นเรียนรู้ 8 กลุม่ สาระการเรยี นรู้ ดงั น้ี
1) ภาษาไทย
2) คณิตศาสตร์
3) วิทยาศาสตร์
4) สังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม

12

5) สุขศกึ ษาและพลศกึ ษา
6) ศลิ ปะ
7) การงานอาชพี และเทคโนโลยี
8) ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการ
พัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และ
คา่ นิยมที่พึงประสงค์ เมอื่ จบการศึกษาขัน้ พื้นฐาน นอกจากน้ันมาตรฐานการเรียนรูย้ ังเปน็ กลไกสำคญั
สาระการเรยี นรกู้ ลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มี
ความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับ
บริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่
เหมาะสม โดยไดก้ ำหนดสาระต่าง ๆ ไว้ ดงั นี้
1. ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
หลักธรรมของพระพทุ ธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนา
ตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
รวมท้ังบำเพ็ญประโยชนต์ ่อสังคมและส่วนรวม
2. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ระบบการเมืองการปกครองใน
สังคมปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะ และ
ความสำคัญ การเปน็ พลเมอื งดี ความแตกต่าง และความหลากหลายทางวฒั นธรรม ค่านิยม ความเช่ือ
ปลูกฝังคำนิยมค้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการ
ดำเนินชีวติ อย่างสนั ตสิ ขุ ในสงั คมไทย และสงั คมโลก
3. เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจา่ ย และการบรโิ ภคสนิ ค้าและบรกิ าร การบรหิ ารจดั การ
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำหลัก
เศรษฐกจิ พอเพยี งไปใชใ้ นชีวิตประจำวนั
4. ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์พัฒนาการ
ของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ และเปลี่ยนแปลงของเหตกุ ารณ์ต่าง ๆ ผลกระทบท่ี
เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอดีต ความ
เป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมท่ีสำคัญของโลก
5. ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และ
ภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่าง ๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทาง

13

ธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการ
พฒั นาทยี่ ่ังยืน

สาระ และมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 ศาสนา ศลี ธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของ
พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม
หลกั ธรรม เพ่ืออยรู่ ่วมกนั อยา่ งสันตสิ ุข

มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนัก และปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษา
พระพทุ ธศาสนาหรือศาสนาท่ีตนนับถอื

สาระท่ี 2 หน้าที่พลเมือง วฒั นธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจ และปฏิบัตติ นตามหนา้ ท่ขี องการเป็นพลเมืองดี มีค่านยิ มท่ีดี

งาม และธำรงรกั ษาประเพณี และวัฒนธรรมไทยดำรงชีวติ อยูร่ ว่ มกนั ในสังคมไทย และสงั คมโลกอย่าง
สนั ติสุข

มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา
และธำรงรักษาไวซ้ ่งึ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมุข

สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจ และสามารถบริหาร จัดการทรัพยากรในการผลิต และการ

บริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของ
เศรษฐกจิ พอเพยี ง เพอ่ื การดำรงชีวติ อยา่ งมีดุลยภาพ

มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทาง
เศรษฐกิจ และความจำเปน็ ของการรว่ มมอื กันทางเศรษฐกจิ ในสังคมโลก

สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทาง

ประวัติศาสตร์ สามารถใชว้ ธิ กี ารทางประวตั ิศาสตรม์ าวิเคราะห์เหตุการณต์ า่ ง ๆ อยา่ งเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจบถึงปัจจุบัน ในด้าน

ความสมั พันธ์ และการเปลยี่ นแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเน่ือง ตระหนกั ถงึ ความสำคญั และสามารถ
วิเคราะห์ผลกระทบทีเ่ กิดขน้ึ

มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความ
รัก ความภูมิใจ และธำรงความเปน็ ไทย

14

สาระที่ 5 ภมู ศิ าสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลกั ษณะของโลกทางกายภาพ และความสมั พันธข์ องสรรพส่ิง
ซึ่งมีผลต่อกัน และกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนท่ี และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา
วเิ คราะห์ สรุป และใชข้ ้อมูลภูมสิ ารสนเทศอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่
ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร และ
สิ่งแวดล้อม เพอ่ื การพัฒนาทยี่ ่งั ยืน
สาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ เรือ่ ง พฒั นาการของอาณาจักรอยธุ ยา
สาระการเรยี นรู้ และมาตรฐานการเรยี นรู้
สาระท่ี 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเปน็ มาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความ
รกั ความภูมใิ จ และธำรงความเป็นไทย
ตวั ช้ีวดั

ม.2/1 วิเคราะห์พฒั นาการของอาณาจักรอยุธยาและธนบรุ ใี นด้านต่าง ๆ
ม.2/2 วิเคราะห์ปจั จยั ทส่ี ่งผลตอ่ ความม่ันคงและความเจริญรุง่ เรอื งของ
อาณาจักรอยธุ ยา
ม.2/3 ระบภุ มู ปิ ญั ญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยธุ ยาและธนบรุ ี และอิทธิพล
ของภูมปิ ญั ญาดงั กล่าวต่อการพัฒนาชาตไิ ทยในยคุ ต่อมา
สาระการเรยี นรูแ้ กนกลาง
1) การสถาปนาอาณาจักรอยธุ ยา
2) ปัจจยั ทส่ี ง่ ผลตอ่ ความเจรญิ ร่งุ เรอื งของอาณาจกั รอยุธยา
3) พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาในด้านการเมืองการปกครอง สังคม
เศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหวา่ งประเทศ
4) การเสยี กรงุ ศรอี ยุธยาคร้ังท่ี 1 และการกเู้ อกราช
5) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา เช่น การควบคุมกำลังคน และ
ศิลปวัฒนธรรม
6) การเสียกรงุ ศรีอยุธยาครง้ั ท่ี 2 การกูเ้ อกราช

15

การจดั การเรยี นรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ

ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติของ (Bonwell & Eison, 1991, p.47).
แบบฝึกการแสดงบทบาทสมมติเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสวมบทบาทเป็นบุคคล หรือได้
แสดงสถานการณ์ตามที่กำหนด บทบาทเหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้ทั้งที่เป็นผูเ้ ข้ารับการฝกึ อบรมเป็น
รายบุคคล เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ซึ่งสามารถเจาะจงแสดงสถานการณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น การแสดง
บทบาทสมมตสิ ามารถดึงดูดผเู้ ขา้ รับการฝึกอบรมในสถานการณ์กำหนด ในชวี ิตจริงหรือสถานการณ์ท่ี
อาจ “เครียด ไม่คุ้นเคย ซับซ้อน หรือขัดแย้ง” ซึ่งต้องการให้พวกเขาตรวจสอบความรู้สึกส่วนตัวต่อ
ผอู้ ืน่ และสถานการณเ์ ฉพาะตวั ของพวกเขา

ความหมายของการจดั การเรียนรู้รปู แบบแสดงบทบาทสมมติ
การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) คือ การสอนโดยใช้บทบาทที่
สมมติขึ้น จากสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้
ผู้เรียนใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารตามบทบาทที่ตนได้รับ ซึ่งการให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมตนิ ้ันผูเ้ รยี น
อาจได้รบั บท สนทนาและบทบาทของแตล่ ะคนท่ีกำหนดให้ โดยกำหนดว่าผู้เรียนจะแสดงเปน็ ใครและ
จะพูดอย่างไรบ้าง พูดเกี่ยวกับอะไรแต่ส่ิงทีจ่ ะพูดผู้เรียนเป็นผู้คิดเองหรอื ผู้สอนเป็นผู้คิดให้ ขึ้นอยู่กับ
การปรับใช้ให้ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ได้มีนักวิชาการหลายท่านใหค้ วามหมายของบทบาทสมมติ
ไว้ ดงั นี้
บัวลักษณ์ เพชรงาม (2562 หน้า 30) ได้ให้ความหมายของบทบาทสมมติไว้ว่า เป็นกิจกรรม
การเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่มุ่งเม้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็น
จริง เป็นกิจกรรมการสอนที่ครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดสถานการณ์ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกภาษาและ
ทา่ ทางตามลักษณะนิสัยของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณส์ มมตินน้ั นอกจากกิจกรรมบทบาทสมมติจะเอ้ือ
ประโยชนใ์ หผ้ ้เู รียนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการพูดแลว้ ยงั เป็นเทคนิคการสอนวิธีหนึ่งท่ีช่วย
ให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นไปด้วยดี ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการ
เรยี นอกี ดว้ ย
ณฐมน จันทร์เพ็งเพ็ญ (2560 หน้า 18) ได้ให้ความหมายของการสอนโดยใช้วิธีการแสดง
บทบาทสมมติ (Role Play) ไว้ว่า หมายถงึ การสอนทผี่ สู้ อนสรา้ งสถานการณแ์ ละบทบาทสมมติขึ้นมา
ทใ่ี กลเ้ คียงกบั ความเป็นจรงิ โดยให้ผู้เรยี นเปน็ ผูแ้ สดงบทบาทสมมตนิ น้ั ๆ ตามวตั ถปุ ระสงค์ท่ีผู้สอนได้
กำหนดไว้
มสั ทนา ตมุ่ อ่อน (2557) กล่าวว่า วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนท่ี
ผู้สอนสรา้ งสถานการณ์ และบทบาทสมมติข้ึนมาทใ่ี กลเ้ คียงกับความเป็นจริง โดยใหผ้ ูเ้ รียนเป็นผู้แสดง
บทบาทสมมตินั้น ๆ ตามวัตถุประสงค์ท่ีผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรยี นได้แสดงออกทางค้านความรู้
ความคดิ ที่คิดว่าตนควรจะแสดงออก ซงึ่ การสอนโดยใชก้ ารแสคงบทบาทสมมติ มจี ุดม่งุ หมายที่สำคัญ

16

คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิด
ความเข้าใจในเนื้อมากย่งิ ขึ้น ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนท่ีใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
มากทสี่ ดุ

สุภาพรรณ ศรีสุข (2561) กล่าวว่า การเล่นบทบาทสมมติของลูกจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงวัย
เตาะแตะ (ตั้งแต่ 15-16 เดือน) และจะเริ่มซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการการเรยี นรู้และช่วงวัย เช่น เริ่ม
นำตุ๊กตามาเล่นเป็นน้อง หรือเล่นเลียนแบบการทำกับข้าวของคุณแม่ ซึ่งการเล่นบทบาทสมมติใน
ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยบ่งชี้ให้คุณพ่อคุณแม่ทราบได้ด้วยว่า ถูกมีพัฒนาการการเรียนรู้ หรือ
ปฏิสัมพันธ์ต่อเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวเป็นปกติหรือไม่ และประโยชน์ของการเล่นบทบาทสมมติยัง
สามารถช่วยส่งเสรมิ พัฒนาการท้ัง 4 ดา้ นของลกู ได้ ดงั ตอ่ ไปนี้

1. พฒั นาการดา้ นร่างกาย
2. พฒั นาการดา้ นอารมณ์
3. พฒั นาการด้านสงั คม
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
Tayler และ Welford (1996 หน้า 19) ได้ให้ความหมายของบทบาทสมมติไว้ว่า เป็นการ
แสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้แสดงได้สวมบทบาทในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อฝึกและตัดสินใจว่าตนควรมี
พฤตกิ รรมแบบใดจึงจะแก้ปัญหาได้ดีทีส่ ดุ ผู้แสดงต้องตระหนักในบทบาทของตนเองเพ่ือใหเ้ ขา้ ใจและมี
อารมณใ์ นการแสดง
Ladousse (1988) ให้เหตุผลในการนำกิจกรรมบทบาทสมมติมาใช้ในการจัดการเรียนการ
สอนว่า ผู้เรียนจะได้รับกิจกรรมที่หลากหลายจากกิจกรรมการเรียน เช่น ได้เรียนรู้หน้าที่และ
โครงสร้างทางภาษา ผู้เรียนมีโอกาสฝึกพูด ฝึกการใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้
การทำงานกลมุ่ ชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นไดฝ้ ึกใช้ภาษาในสถานการณ์ทปี่ ลอดภัย และเรยี นรกู้ ารมีปฏิสัมพันธ์กับ
ผู้คนในสถานการณ์ต่าง ๆ และยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนได้กล้าพูด กล้าแสดงออกซึ่ง
กอ่ ให้เกิดความสนกุ สนานในการเรียนอีกดว้ ย กจิ กรรมบทบาทสมมติ เปน็ เทคนิคการสื่อสารท่ีสามารถ
พัฒนาความคล่องแคล่วในการใชภ้ าษาเพื่อการสื่อสารของผู้เรยี น และยังเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการ
เรียน ครูผู้สอนและผู้เรียนต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการ ในการนำกิจกรรมบทบาทสมมติมาใช้
ครูผู้สอนสามารถยืดหยุ่นสถานการณ์ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมการสอนที่มี
ประสทิ ธภิ าพ
Nunan (2003) กล่าวว่า เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงบทบาทตามบริบททางสังคมท่ี
หลากหลายที่ผู้เรียนพบเจอในชีวิตประจำวัน โดยที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลในการแสดงแก่ผู้เรียนตาม
บทบาททไ่ี ดร้ บั

17

Harmer J. (1984) กล่าวว่า เป็นการแสดงออกของแต่ละบุคคลที่มีต่อผู้อื่นที่เป็นไปอย่าง
ธรรมชาติในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น เป็นกิจกรรมที่ผู้แสดงหรือผู้มีส่วนร่วมรู้เนื้อหาหรือหัวข้อที่จะ
แสดงว่าเกี่ยวข้องกับอะไร เพื่อแสดงออกมาในรูปแบบของการฝึกที่เน้นไปในการใช้ภาษาในการ
สือ่ สาร

Revell (1979) กล่าวถึงบทบาทสมมติว่า ผู้เรียนถูกกำหนดบทบาทให้แสดงเป็นบคุ คลอื่นใน
สถานการณ์ที่ต่างกันเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการพูดโดยผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงออกทาง
ความคิด หรือความรสู้ ึกอ่นื ๆ โดยการใช้เสยี งพดู เพ่ือสื่อความหมาย

จากความหมายของบทบาทสมมติที่กล่าวมา สรุปได้ว่า กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นกิจกรรม
การพูดที่ครูเป็นผู้กำหนดให้นกั เรียนแสดงตามสถานการณ์ และบทบาทซึ่งใกล้เคียงกับความจริง โดย
นักเรียนแสดงบทบาท ความรู้สึก เจตคติที่มีต่อบทบาทน้ัน เป็นการนำประสบการณ์การเรียนรู้มา ใช้
ในการฝึกทักษะซง่ึ ต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติการเผชญิ สถานการณ์ซึ่งเปน็ การประยุกต์ความรู้
ของนกั เรียน

องค์ประกอบของการจดั การเรยี นรู้รปู แบบแสดงบทบาทสมมติ
องค์ประกอบที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ มีนักวิชาการหลาย
ทา่ นไดก้ ล่าวไว้ ดงั นี้
บัวลักษณ์ เพชรงาม (2562 หน้า 31) กล่าวถึง องค์ประกอบของกิจกรรมบทบาทสมมตินั้น
เริ่มต้นจากการสรา้ งสถานการณ์ การเลือกตัวละครที่เหมาะสม การเตรียมชุดภาษาหรือสำนวนภาษา
ท่จี ะนำมาให้ผู้เรียนไดฝ้ ึกพดู ซ่ึงตอ้ งเหมาะสมกบั ตัวผู้เรียน ตลอดจนความรพู้ ื้นฐานทผี่ ู้เรียนควรจะรับรู้
เกี่ยวกับสถานการณน์ ั้นๆ เพื่อให้ชัดเจนเพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำกิจกรรม และประการสำคัญคอื
ในการทำกิจกรรมครูผู้สอนควรให้ความช่วยเหลือผู้เรียนทุกเมื่อ เมื่อผู้เรียนรู้สึกคับข้องใจ หรือ
ตอ้ งการความชว่ ยเหลอื
ณัฐสุดา สุภารัตน์ (2562 หน้า 39) กล่าวถึง องค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
การแสดงบทบาทสมมติประกอบด้วย สถานการณ์ บทบาท สำนวนประโยคหรือบทสนทนา ความรู้
พ้ืนฐานในเน้ือหาของสถานการณ์ และการเตรียมการที่ดีไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มผู้เรียน การให้สิทธิ์
ผู้เรยี นไดเ้ ลอื กบทบาทและทีมดว้ ยตัวเอง รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศตาม สถานการณ์น้ัน ๆ
ณฐมน จันทร์เพ็งเพ็ญ (2560 หน้า 19) กล่าวถึง องค์ประกอบของกิจกรรมบทบาทสมมติท่ี
สำคัญ ไว้ว่า จะต้องมีสถานการณ์สมมติตัวละคร และบทสนทนา จึงจะทำให้การแสดงบทบาทสมมติ
นน้ั สมบูรณ์
Littlewood (1981) ; Ments (1989) กล่าวถึง ลักษณะสำคัญของบทบาทสมมติไว้ว่า
บทบาทสมมตเิ ป็นกจิ กรรมท่ีมลี ักษณะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกดิ ความคดิ เชิงบวก และรู้สึกปลอดภัยในการ
แสดงทัศนคติ และความรู้สึก เหตกุ ารณ์ เชือ่ มโยงใกลเ้ คยี งกบั โลกภายนอกห้องเรยี นของผู้เรียน ส่งผล

18

ให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในระดับสูงต่อการทำกิจกรรม โดยผู้เรียนสมมติตัวเองในสถานการณ์ใกล้เคียง
ความจริงที่อาจจะเกดิ ขึน้ นอกห้องเรยี นหรอื อาจจะเปน็ สถานการณ์ทั่ว ๆ ไปทพ่ี บเจอในชวี ติ ประจำวัน
ซึ่งผู้เรียนปรบั ตวั เองให้เขา้ กับสถานการณ์นั้น ๆ บางทีอาจจะต้องสมมติตนเองเป็นผู้อ่ืน ผู้เรียนแสดง
บทบาทเสมือนสถานการณ์นั้นเกิดข้ึนจริง โดยจะเน้นการสื่อความหมายทางภาษามากกว่าการฝึก
รปู แบบของภาษา

Paulston and Bruder (1975) กล่าวถงึ องคป์ ระกอบของบทบาทสมมติไว้ 4 ประการ ดังน้ี
1. สถานการณ์ (Situation) เป็นการกำหนดสถานที่ ฉาก หรือ เค้า 40 โครงเรื่องรวมถึง
สถานการณ์อื่นที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนแสดงหรือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จซึ่งภาระงาน หรืองาน
จะมีความยากง่ายตามระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติรับโทรศัพท์ หรือการเจรจาที่
ซบั ซอ้ นทางธรุ กจิ ครูผ้สู อนควรจะมีการสอนสอดแทรกขอ้ มลู เก่ียวกับวัฒนธรรมหรอื ธรรมเนยี มปฏิบัติ
เพิ่มเติมในสว่ นนไี้ ด้
2. บทบาท (Role) เปน็ ส่วนหนึง่ ท่ีกำหนดผู้แสดง ลักษณะของตวั ละคร บทบาทท่กี ำหนดควร
แต่งชื่อขึ้นมา รวมถึงข้อมูลส่วนตัว ประสบการณ์ สถานภาพ และปัญหาส่วนตัว ความชอบ อาจจะ
เป็นบทบาทง่าย ๆ ทพี่ บเจอในชวี ิตประจำวนั โดยผ้เู รียนจะตอ้ งมีความเข้าใจในบทบาทนนั้
3. สำนวนที่ใช้ในการแสดงบทบาทสมมติ (Useful expressions) ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูล
ทางวัจนภาษา และอวัจนภาษา อาทิ เช่น วลีและศัพท์เฉพาะรวมถึงหลักโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่
ต้องนำมาใชแ้ สดงบทบาทสมมติ
4. พื้นฐานความรู้เดิม (Background knowledge) ในบางกรณีที่ผู้เรียนต้องแสดงบทบาท
สมมติในสิ่งที่ผู้เรียนยังมีความรู้ไม่เพียงพอกับบทบาท หรือสถานการณ์ที่ได้รับ ผู้สอนจำเป็นต้องให้
ความรเู้ ก่ยี วกับสถานการณใ์ นการแสดงแก่ผเู้ รยี นก่อน ควรเริ่มจากเน้อื หาที่ไม่ซับซอ้ นมากนกั
Woodward (1991) ให้ความสําคัญของกิจกรรมบทบาทสมมติที่ต่างออกไป โดยกล่าวว่า
องคป์ ระกอบของกจิ กรรมบทบาทสมมติมี 3 สว่ น ดังนี้
1. วิธีสร้างสถานการณ์ ภาษา บรรยากาศ และตัวละครในกิจกรรมบทบาทสมมติ ได้แก่ การ
เลือกลักษณะ ตัวละคร ชุดภาษาที่ต้องนํามาฝึก สถานที่ในการแสดงกิจกรรม รายละเอียดของการ
แสดง ระยะเวลา บทสนทนาที่เหมาะสมกับเวลา และสถานทดี่ นตรีประกอบเพื่อสรา้ งบรรยากาศ
2. วิธีการที่แตกต่างกันในการให้บทแก่ผู้แสดง คือ การให้โอกาสแก่ผู้เรียนในการเลือกบทท่ี
อยากจะแสดง โดยครผู ้สู อนจะใหค้ วามช่วยเหลือในการใหข้ ้อมูลและการตกแต่งบทสนทนา 3.
การจัดกลุ่มของผู้เรียนก่อนและระหว่างกิจกรรมบทบาทสมมติ ครูผู้สอนเป็นผู้เตรียมเนื้อหาในการ
สอน และกําหนดบทบาทในการแสดงโดยใช้บัตรบทบาท ทั้งนี้ในการฝึกหัดครูผู้สอนต้องให้ผู้เรียนมี
โอกาสแลกเปลี่ยนบทบาทในการแสดงซงึ่ กันและกัน ในระหว่างฝึกหดั ครูผู้สอนต้องสังเกต และบันทึก
ผลของกิจกรรมเพื่อปรับปรงุ แกไ้ ข ใหด้ ียิ่งข้ึนตอ่ ไป

19

สรปุ ได้วา่ องคป์ ระกอบสำคญั ของวธิ สี อนแบบแสดงบทบาทสมมติ ไดแ้ ก่
1. มีผู้สอนและผู้เรียน
2. มสี ถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
3. มีการแสดงบทบาทสมมติ
4. มีการอภิปรายเก่ียวกับความรู้ความคิดความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
และสรุปการเรียนรู้ท่ไี ด้รบั
5. มีผลการเรยี นรูปของผู้เรียน
ประเภทของการจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ
ชญาภา ลือวรรณ (2560 หน้า 41) ได้แบ่งประเภทของการสอนไว้แตกตา่ งกัน ซ่ึงพอจะสรุป
ไดเ้ ป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ผู้แสดงเป็นจะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดไว้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความรู้
ความรูส้ กึ สว่ นตัว
2. ผแู้ สดงจะต้องแสดบทบาทตามแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง
3. การแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะต้องเตรยี มตัวกอ่ นการแสดงละคร
4. การแสดงบทบาททผ่ี ู้แสดงต้องแสดงบทบาทโดยทนัทไี มม่ กี ารเตรียมตัวลว่ งหน้า
ณฐั ชญา บุปผาชาติ (2561 หน้า 39) กลา่ วถึง ประเภทของบทบาทสมมติ เปน็ บทบาทสมมติ
ที่มีบท และเป็นแบบเติมข้อมูลบางส่วนในเวลาทดสอบ เพื่อความเหมาะสมในการสอน และประเมิน
ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนวัยเยาว์ เปิดโอกาสในการฝึกปฏิบตั ิเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และ
ความชำนาญในการใช้ภาษาก่อนภาษาไปใช้สถานการณจ์ ริง
ณฐมน จันทร์เพ็งเพ็ญ (2560 หน้า 19) กล่าวถึง ประเภทของการแสดงบทบาทสมมติ ไว้ว่า
แบง่ ออกเป็น 3 ประเภท ไดแ้ ก่
1. บทบาทสมมตแิ บบมบี ทเตรยี มไว้
2. บทบาทสมมตแิ บบไมม่ บี ทเตรยี มไว้
3. บทบาทสมมติโดยกำหนดสถานการณ์ให้ ซึ่งสามารถเลือกนำแต่ละประเภทไปใช้ โดย
จะตอ้ งคำนึงถึง ความเหมาะสมตามสถานการณ์
Littlewood (1981) แบ่งประเภทของบทบาทสมมตอิ อกเป็น 4 ประเภท คือ
1. บทบาทสมมตทิ ่ีควบคุมผ่านบทสนทนา
2. บทบาทสมมตทิ ่ีควบคุมผ่านบทสนทนา และให้ขอ้ มลู บางสว่ น
3. บทบาทสมมตทิ ี่ควบคุมผ่านสถานการณแ์ ละเปา้ หมายที่กำหนด และ

20

4. บทบาทสมมติในรปู แบบของการโตว้ าที และการอภิปราย โดยมีรายละเอียด ดงั นี้
4.1 บทบาทสมมติท่ีควบคุมผ่านบทสนทนา (RolePlay controlled through

cued dialogues) เป็นบทบาทสมมติที่ผู้สอนเป็นผู้กำหนดรายละเอียด และจัดเตรียมรูปแบบหน้าท่ี
ของภาษาไว้ทั้งหมดผู้เรียนมีหน้าท่ีเพยี งเรียนรู้ และฝึกภาษาเป้าหมายตามรูปแบบทีค่ รูผู้สอนกำหนด
ไว้โดยผู้เรียนจะได้รับบัตรบทบาทพร้อมบทสนทนาฝึกปฏิบัติ จนเกิดความชำนาญก่อนนำภาษาไปใช้
แสดงตามบทบาทท่ไี ดร้ บั

4.2 บทบาทสมมติที่ควบคุมผ่านบทสนทนาและให้ข้อมูล (Role play controlled
through cues and information) เป็นบทบาทสมมติที่ผู้สอนกำหนดบทบาทให้บางส่วน เพื่อให้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการหาข้อมูลในส่วนที่หายไปเป็นลักษณะที่นักเรียนต้องสนทนาถามตอบ เพื่อหา
ข้อมูลคนละส่วน โดยบัตรบทสนทนานักเรียนคนที่หนึ่งอาจมีข้อมูลคำถาม และบัตรสนทนาของ
นักเรียนคนที่สอง มีข้อมูลคำตอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดการสนทนา
ปฏิสมั พันธ์

4.3 บทบาทสมมติที่ควบคุมผ่านสถานการณ์และเป้าหมายที่กำหนด (Role play
controlled through situation and goal) มีลักษณะกิจกรรมที่ครูกำหนดสถานการณ์และ
เป้าหมายไว้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ภาษาในการสนทนาขึ้นเอง โดยมีแนวทางจาก
สถานการณ์และจดุ มุ่งหมายทางภาษาเป็นแนวทางในการแสดงบทบาทสมมติ และ

4.4 บทบาทสมมติในรูปแบบของโต้วาทีและอภิปราย (Role Play in the form of
debate or discussion) มีการกำหนดสถานการณท์ ม่ี ีเน้ือหาบนพน้ื ฐานของความจริง เปน็ ลกั ษณะใน
การอภิปราย และเปิดโอกาสใหผ้ เู้ รยี นได้แสดงความคดิ เหน็

Harper-Whalen and Morris (2005) กล่าววา่ บทบาทสมมติมี 3 ประเภท ดังน้ี
1. บทบาทสมมติที่มีบทบรรยาย (Fully scripted role play) คือ บทบาทสมมติที่มีบท
บรรยายที่ผู้สอนจัดเตรียมตัวแบบไว้อย่างสมบูรณ์ ผู้เรียนมีหน้าที่เพียงอ่านและท่องจำ ซึ่งบทสนทนา
อาจได้มาจากหนังสือเรียน ซึ่งภายหลังจากการสนทนาแล้วหน้าที่ของภาษาจะถูกเรียนรู้ในรูปแบบ
ของการท่องจำบทบาทสมมติประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่อยู่ในระดับผู้เรียนภาษาที่มีพื้นฐาน
ความสามารถทางภาษาค่อนขา้ งนอ้ ย
2. บทบาทสมมติกึ่งบรรยาย (Semi–scripted role play) คือ บทบาทสมมติที่ประกอบไป
ด้วยบทบรรยาย และการเติมข้อมูลในส่วนที่หายไปในบทสนทนา โดยผู้เรียนจะต้องเติมข้อมูลให้
เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ อีกด้วย นอกจากนี้หากผู้เรียนมีความรู้ทางภาษาเพียงพอสามารถ
ปรับเปลี่ยนบทสนทนาต้นแบบหรือสร้างบทสนทนาขึ้นเองตามความเหมาะสมได้ (Livingstone,
1983) บทบาทสมมติประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาในระดับที่สูงกว่าระดับ
ต้นถงึ ระดับกลาง และ

21

3. บทบาทสมมติที่ไม่มีบทบรรยายหรือบทสนทนา (Nonscripted role play) หมายถึง
บทบาทสมมติที่แนะบทสนทนา (cued dialogues) แนะข้อมูล (Littlewood, 1981) หรือแนะ
สถานการณ์ และจุดมุ่งหมายโดยผู้สอนมีบทบาทในการกำหนดโครงสร้างทางภาษากิจกรรมน้อยลง
ซึง่ ผู้เรียนกำหนดบทสนทนาตามสถานการณ์ทผี่ สู้ อนแนะไว้เบื้องต้น บทบาทสมมตปิ ระเภทน้ผี ู้เรียนได้
แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกออกมา บทบาทสมมติประเภทนี้เหมาะส ำหรับผู้เรียนที่มี
ความสามารถทางภาษาทีค่ ่อนขา้ งสงู

สรุปได้ว่า จากประเภทของการสอนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมตินั้น จะเห็นได้ว่า การสอน
โดยใช้บทบาทสมมติ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใชภ้ าษาในการสื่อสาร อีกทั้งเป็น กิจกรรมที่เน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิบัติจริง และใช้สถานการณ์ ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวัน
โดยผู้แสดงอาจต้องแสดงตามบทบาทที่ถูกกำหนดไว้ ตามแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง ทั้งนี้ อาจ
ต้องเตรียมตัวกอ่ นหรือไมม่ ีการเตรยี มตัวลว่ งหน้ากไ็ ด้

ขั้นตอนกระบวนการการจดั การเรียนรูโ้ ดยใช้การจดั การเรยี นรู้รปู แบบแสดงบทบาทสมมติ
บวั ลักษณ์ เพชรงาม (2562 หน้า 35-36) กล่าวถงึ ขนั้ ตอนของการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติ
จะเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจต่อ
กจิ กรรม การให้ข้อมลู เนอ้ื หาทางด้านภาษาท่จี ำเป็น ได้แก่ คำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์ สำนวนภาษา
การจัดกลุ่มผู้เรียน การฝึกซ้อม และการแสดงบทบาทสมมติของผู้เรียน และหลังจากเสร็จสิ้นการจัด
กิจกรรมการแสดง ผู้เรียนและครูผู้สอนต้องร่วมกันอภิปรายผลการแสดง และเขียนรายงานสรุปผล
ของการดำเนนิ กิจกรรม เพอื่ ให้ทราบถึงปญั หา และแนวทางการแกไ้ ข เพ่อื การพฒั นาของผเู้ รียน
ณัฐชญา บุปผาชาติ (2561 หน้า 41) กล่าวถึง ขั้นตอนในการสอนโดยใช้กิจกรรมบทบาท
สมมตินั้น สามารถเริม่ จากขัน้ เตรียมความพรอ้ มของผู้เรยี นในด้านคำศัพท์และพืน้ ฐานความรู้เดิม ขั้น
คัดเลือกนักแสดง ขั้นสอนหน้าที่ของภาษา และการสาธิตเป็นแบบอย่าง ขั้นการฝึกทบทวน ตลอดถึง
ขั้นการแสดง และขั้นอภิปรายประเมินผล เพื่อสรุปและข้อเสนอแนะแก้ไขในการแสดง และมากไป
กวา่ นัน้ เพ่ือประเมนิ ผลการเรียนรู้
กาญจนา คุณารักษ์ (2558) กล่าวถึง ขั้นตอนของการสอนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติไว้
ดงั นี้
1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นทบทวนคำศพั ท์ใหผ้ ู้เรยี น เพื่อนำความรูไ้ ปเช่ือมโยงกบั เนื้อหาความรู้ใน
โลกแห่งความจริงและบรบิ ทของบทบาทสมมติ ระบุ ตีความ ปัญหาหรือแนะนาปัญหาใหช้ ัดเจน เปิด
ประเด็น อธบิ ายบทบาทผู้สอน และ ผู้เรยี นนำเสนอสถานการณแ์ ละบทบาทสมมติ
2. ขั้นคัดเลือกตัวแสดง ผู้สอนและผู้เรียนอธิบายลักษณะของตัวละคร วิเคราะห์บทผู้เรียน
กำหนดฉาก เลือกผแู้ สดงบทบาท แต่ยังไม่ตอ้ งสรา้ งบทสนทนา

22

3. ข้ันสาธติ และดึง ความร้เู ป็นขั้นแบบอยา่ ง ทีม่ ีส่วนเกีย่ วข้องกบั ความสมั พนั ธร์ ะหว่างบุคคล
เป็นการแนะนำและดึงความรู้แต่ละขั้นออกมา และเป็นการสอนหน้าที่ของภาษาที่จำเป็นสาหรับแต่
ละข้นั ตอน

4. ขั้นฝึกและทบทวน เป็นการช่วยเหลือและฝึกผู้เรียนโดยใช้บัตรสนทนาที่เตรียมไว้บอก
บทบาท หรือจดั เตรยี มภาษา เพื่อการการฝกึ รวมถึงการช่วยเหลอื อนื่ ๆ ตามความเหมะสม

5. ขั้นแสดง ผู้แสดง แสดงตาม บทบาททไ่ี ด้รับและสังเกตพฤตกิ รรมที่แสดงออกและ
6. ขั้นอภิปรายและประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญ ความรู้
ความคิด ความรู้สึก ตลอดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับอาจรวมถึง
ความถูกต้องในด้านการใช้ภาษาประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อความ
เข้าใจท่ชี ัดเจนตลอดถึงปรบั ปรงุ การแสดงครง้ั ต่อไป
Richards (2008). กล่าวถึง ข้ันตอนของการสอนโดยใชก้ ิจกรรมบทบาทสมมติไว้ ดังนี้
1. ข้นั เตรยี ม เปน็ ขัน้ ทบทวนคำศัพท์ให้ผู้เรียน เพอ่ื นำความรู้ไปเช่ือมโยงกับเน้ือหาความรู้ใน
โลกแห่งความจริงและบริบทของบทบาทสมมติระบุ ตีความปัญหา หรือแนะนำปัญหาให้ชัดเจน เปิด
ประเด็น อธบิ ายบทบาท ผู้สอน และ ผู้เรยี นนำเสนอสถานการณ์และบทบาทสมมติ
2. ขั้นคัดเลือกตัวแสดง ผู้สอนและผู้เรียนอธิบายลักษณะของตัวละครวิเคราะห์บทผู้เรียน
กำหนดฉาก เลอื กผูแ้ สดงบทบาท แต่ยงั ไมต่ ้องสร้างบทสนทนา
3. ขนั้ สาธิต และดงึ ความรู้เป็นขน้ั แบบอย่างท่ีมีส่วนเก่ียวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เป็นการแนะนำ และดึงความรู้แต่ละขั้นออกมา และเป็นการสอนหน้าที่ของภาษาที่จำเป็นสำหรับแต่
ละข้นั ตอน
4. ขั้นฝึกและทบทวน เป็นการช่วยเหลือและฝึกผู้เรียน โดยใช้บัตรสนทนาที่เตรียมไว้บอก
บทบาท หรือจดั เตรียมภาษา เพอื่ การการฝึกรวมถงึ การช่วยเหลอื อน่ื ๆ ตามความเหมะสม
5. ขนั้ แสดง ผ้แู สดง แสดงตามบทบาททไ่ี ด้รับ และสงั เกตพฤติกรรมที่แสดงออกและ
6. ขั้นอภิปรายและประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ ความรู้
ความคิด ความรู้สึก ตลอดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดงสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ อาจรวมถึง
ความถูกต้องในด้านการใช้ภาษาประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อความ
เขา้ ใจทชี่ ัดเจน ตลอดถงึ ปรับปรงุ การแสดงคร้ังต่อไปของผู้เรยี นในด้านภาษาอีกดว้ ย
Livingstone (1985: 12-17) แบ่งขัน้ ตอนกิจกรรมบทบาทสมมตไิ ว้ 5 ข้ันตอน ดังน้ี
1. ขั้นเตรียมการของครูผู้สอน ในขั้นตอนนี้ครูผู้สอนจะคัดเลือกเนื้อหาการสอนที่สอดคล้อง
กับวัตุประสงค์ของการเรียน และเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน นอกจากนี้ยังต้อง
จดั เตรยี มอุปกรณ์และสือ่ การสอนใหพ้ ร้อมด้วย

23

2. ข้ันเตรยี มความพร้อมในห้องเรยี น ครูผูส้ อนจดั เตรยี มความพร้อมแก่ผู้เรียนในด้านคำศัพท์
โครงสรา้ ง ไวยากรณ์ เพอื่ ให้ผเู้ รียนไดเ้ ขา้ ใจหน้าทีท่ างภาษาและสถานการณ์การแสดง

3. ขั้นแสดงกิจกรรมบทบาทสมมติ ผู้เรียนออกมาแสดงตามบทบาทที่ได้เตรียมไว้อย่างเป็น
ธรรมชาติ และจะตอ้ งเตรียมอปุ กรณแ์ ละจดั ฉากการแสดงให้พรอ้ ม

4. ขั้นติดตามผล ในขั้นนี้ครูผู้สอนจะแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการแสดง ไม่ว่าจะเป็น
ด้านการใช้คำศพั ท์ โครงสรา้ งไวยากรณ์ หรือการแสดงออกของผู้เรยี นก็ตาม

5. ขั้นขยายผล หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาและแสดงกิจกรรมบทบาทสมมติไปแล้ว
ครูผู้สอนสามารถขยายผลของกิจกรรมการเรยี นออกไปได้อีก เช่น ให้แบบฝกึ เพม่ิ เติม สอนเน้ือหาหาร
เรียนท่ีเกย่ี วข้อง หรือใหผ้ ้เู รียนศึกษาตัวอยา่ งสถานการณท์ ี่ตอ่ เน่อื ง เป็นตน้

Ments (1983: 16) ไดเ้ สนอแนะข้ันตอนการนําบทบาทสมมตไิ ปใชไ้ ว้ 7 ขั้น ดงั ต่อไปนี้
1. ต้งั จุดประสงค์และพิจารณาวธิ กี ารใช้กิจกรรมในการสอน การต้งั จุดประสงค์ สามารถเขียน
เปน็ ขอ้ ความ เพอื่ บอกประโยชน์ หรือขอ้ ความทเี่ ปน็ ปัญหาทนี่ าํ มาส่กู ารพจิ ารณาวางแผน
2. พิจารณาข้อจํากัดภายนอก การพิจารณาถึงปัจจัยที่ยับยั้งการดําเนินกิจกรรมบทบาท
สมมติเบ้ืองต้นเป็น สิ่งทีเ่ ปน็ ประโยชน์ ขอ้ ควรพจิ ารณาในเบ้ืองต้นคือ หอ้ งทีม่ ที ่วี ่างในการทํากิจกรรม
ทเ่ี หมาะสม และควรเปน็ ห้องเก็บ เสียง มีโตะ๊ เก้าอี้ ในห้องหลายแบบ และสามารถเลื่อนได้ เวลาควร
มีเวลาเพียงพอในการนําเข้าสู่กิจกรรม การให้ข้อมูลที่จําเป็นแก่ผู้เรียน การดําเนินการแสดง การ
อภิปราย หลังจากพิจารณาข้อจาํ กดั แลว้ กลบั ไปทบทวนวัตถุประสงค์ท่ตี ัง้ ไว้ และสิ่งที่สามารถทาํ ได้
3. รวบรวมปจั จยั สาํ คัญแห่งปัญญา การที่จะทําให้ปัญหาหรือสถานการณ์ชัดเจน จะต้องมอง
ไปที่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ จากนั้นร่างรายการของบทบาทที่เป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็น
ขอบเขตทงั้ หมดของกจิ กรรม และบทบาททีเ่ ลือกไว้
4. เลือกแบบ หรือเขยี นบทบาทโดยสรปุ ในทางปฏิบัติกจิ กรรมบทบาทสมมตหิ น่งึ ๆ จะเขียน
ขึ้นเพื่อ จุดประสงค์เฉพาะอย่าง ซึ่งการเขียนกิจกรรมบทบาทสมมติไม่ใช่เร่ืองยาก อย่างไรก็ตาม การ
ปรับจากบทบาททีม่ ีผู้เขียนไว้ หรือเขียนขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง จะดีกว่าการตดั สินใจเลอื กจากบทบาท
ที่มีผเู้ ขียนไว้
5. ดําเนินกิจกรรม หลังจากสิ่งต่าง ๆ ได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว จึงปฏิบัติตามลําดับขั้นตอน
ของกิจกรรมบทบาทสมมติ
6. อภิปราย การอภิปรายมีประโยชน์ต่อครูผู้สอน เพื่อตรวจสอบว่าผูเ้ รียนได้เรยี นบทเรียนท่ี
ถูกต้องแล้ว และผู้เรียนได้ป้อนข้อมูลนัน้ กลบั มาสู่ครูผู้สอน การอภิปรายควรเป็นการสะท้อนความคดิ
ของรายบุคคลมากกว่ากลุ่ม ข้อผิดพลาดหรือความเข้าใจผิดต่าง ๆ สามารถนํามาอภิปรายได้ สิ่งที่
สาํ คัญท่ีสุดในการอภิปราย คือ การนาํ อภปิ รายทีด่ ี

24

7. ติดตามผล การแสดงบทบาทสมมติซ้ำ ๆ จนกระทั่งบรรลุระดับความสามารถ นับว่าเป็น
เหตุผลที่ดี ถ้ากิจกรรมบทบาทสมมตินั้นใช้เพื่อสอน หรือซักซ้อมสถานการณ์ใหม่ แต่ถ้าเป็นการยก
ประเด็นปัญหามาให้แสดงกิจกรรมบทบาทสมมติ ควรมีกิจกรรมติดตามผล หากใช้กิจกรรมบทบาท
สมมติ เพื่อกระตุ้นความตระหนักของปัญหา ควรมีการอภิปรายกลุ่ม ไม่ว่ากิจกรรมบทบาทสมมตินั้น
จะขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ใด สิ่งที่ควรพิจารณาคือ การโยงสู่กิจกรรมต่อไป เช่น การเขียนเรียงความ
การอา่ น การแสดงบทบาทสมมติ หรอื สถานการณจ์ ําลองต่อไป หรอื แม้กระทงั้ การฝึกฝนสิ่งท่ีเรียนไป
แล้ว

สรปุ ไดว้ า่ การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมตมิ ีจุดมุ่งหมายท่สี ำคญั คือ มุ่งฝึกการทำงาน
ร่วมกัน กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา
มากยิ่งขึ้น ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากทีส่ ุดสามารถ
สรุปข้นั ตอนได้ ดงั น้ี

1. ขั้นเตรียมการผู้สอน เป็นผู้กำหนดสถานการณ์ หรือช่วยกันวิเคราะห์เหตุการณ์ หรือ
ประเดน็ ตา่ ง ๆ ร่วมกับผู้เรยี น แลว้ กำหนดผแู้ สดงบทบาทหรือประเด็นต่าง ๆ ร่วมกบั ผู้เรียน ทั้งนี้ส่วน
ใหญ่การแสดงบทบาทสมมติจะแสดงทนั ทีทนั ใด โดยไมต่ อ้ งมีการฝกึ ซ้อมมาก่อน โดยผสู้ อนเพยี งเป็นผู้
อธิบายหรือซักซ้อมคร่าว ๆ เท่านั้น บางครั้งการแสดงบทบาทสมมติ อาจจะใช้วิธีการทันทีทันใดแต่
กำหนด หรือเลือกให้แสดงทันทีทันใด ผู้สอนต้องกำหนดผู้สังเกตการณ์ และมอบหมายประเด็นที่จะ
สังเกตการณใ์ หช้ ดั เจน

2. ขัน้ ดำเนินการ (แสดงขัน้ ดำเนนิ การแสดง) ให้ผเู้ รยี นไดแ้ สดงบทบาทตามที่ได้รบั มอบหมาย
หรือเตรียมมาซงึ่ บางคร้ังกแ็ สดงทันทีทนั ใด

3. ขั้นสรปุ เมอื่ การแสดงจบลงผู้เรยี นควรจะวิเคราะห์อภิปราย และสรุป ดว้ ยตัวนักเรียนเอง
ทั้งน้ี อาจจะมีรูปแบบการอภิปรายตามความเหมาะสม บางครั้งการแสดงบทบาทสมมติอาจจะต้อง
แสดงซ้ำ เพราะวา่ การแสดงในคร้งั แรกเรว็ เกินไปหรือไม่ชัดเจน

ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น

ความหมายของผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียน
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น (Leaning Achievement) เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยตา่ ง ๆ ในการจัด
การศึกษา นักการศึกษาหลาย ๆ ท่าน จึงได้ให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เนื่องจาก
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นดัชนีประการหนึ่งที่สามารถบอกถึงคุณภาพการศึกษา ซึ่งนักการศึกษา
หลายท่าน ได้ให้ความหมายของผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นไว้ ดังนี้
ไพโรจน์ คะเชนทร์ (2556) ให้คำจำกัดความ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า คือ คุณลักษณะ
รวมถงึ ความรู้ ความสามารถของบุคคลอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน หรอื มวลประสบการณ์ท้ัง

25

ปวงทบี่ คุ คลไดร้ ับจากการเรียนการสอน ทำให้บคุ คลเกดิ การเปล่ยี นแปลงพฤติกรรมในด้านตา่ ง ๆ ของ
สมรรถภาพทางสมอง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถสมองของบุคคลว่า
เรียนแล้วรู้อะไรบ้าง และมีความสามารถด้านใดมากน้อยเท่าไร ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากการเรียน
การฝึกฝน หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งความรู้สึก
คา่ นยิ ม จริยธรรมต่าง ๆ กเ็ ปน็ ผลมาจากการฝกึ ฝนด้วย

จิดาภา ภุมรินทร์ (2559 หน้า 5) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไว้ว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะ และความสามารถของบุคคล ในด้านความรู้ ความจำ
ความเข้าใจการคิดวิเคราะห์ และการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางการเรียน ซึ่งเป็นคุณลักษณะหรือ
ความสามารถอันเกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยการทดสอบวัด
ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น

กันต์กนิษฐ์ พลพิพัฒน์ (2560 หน้า 45) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความสำเร็จ สมรรถภาพด้านต่าง ๆ ของ
ผเู้ รียน ซึง่ เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จนผ้เู รยี นเกิดความเปลย่ี นแปลงพฤตกิ รรม

นงลักษณ์ เขียวมณี (2562, หน้า 96) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ความสำเร็จ
ความสามารถของบุคคลในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ ตลอดจนค่านิยม ความเห็น
ตา่ ง ๆ ท่เี กิดขึน้ หลังจาก ผ่านกระบวนการเรยี นการสอน การฝึกฝนอบรมมาแล้ว

กดู (Good, 1993, p. 7 อา้ งถึงใน รสริน พันธุ, 2550, หนา้ 42) กล่าวว่า ผลสัมฤทธ์ิ คือ การ
ทำให้สำเร็จ (accomplishment) หรือประสิทธิภาพทางด้านการกระทำที่กำหนดให้ หรือในด้าน
ความรู้ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การซึ้งความรู้ (knowledge attained) การพัฒนา
ทกั ษะในการเรียน ซงึ่ อาจจะพจิ ารณาจากคะแนนสอบที่กำหนดให้คะแนนที่ไดจ้ ากงานที่ครูมอบหมาย
ให้ หรือท้งั สองอย่าง

Eysenck, Arnold and Meili (1972) ไดใ้ หค้ วามหมายคำว่า ผลสมั ฤทธ์ิ หมายถงึ ขนาดของ
ความสำเรจ็ ท่ไี ดจ้ ากการทำงานทีต่ ้องอาศัยความพยายามอย่างมาก ซึ่งเปน็ ผลมาจากการกระทำท่ีต้อง
อาศยั ความสามารถท้ังทางรายกายและทางสติปญั ญา

จากแนวคิดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผู้วิจัยสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ
ความรู้ หรือทักษะที่ต้องใช้สติปัญญา และสมรรถภาพทางสมองที่ได้รับมาจากการสั่งสอน แสดง
ออกมาในรูปความสำเร็จสามารถวัดได้ โดยตามจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (K)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) และด้านคุณลักษณะ (A) และใช้แบบทดสอบความสามารถในการ
เรียนร้เู กีย่ วกบั เนอ้ื หาวชิ าที่เรยี น

26

องคป์ ระกอบของผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี น
จันทิมา เมยประโคน (2555 หน้า 28 ) กล่าวว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน แบ่งออกเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ ด้านตัวนักเรียน ด้านตัวครู และสังคม ปัจจัยอีก
ประการที่จะส่งผลโดยตรงตอ่ ผลสมั ฤทธิท์ างการเรียน คอื คุณลักษณะของผูส้ อน วธิ ีการสอน และการ
จดั กิจกรรมการเรียนการสอนใหน้ า่ สนใจของตัวผู้สอนนนั่ เอง
แววดาว บุญตา (2558 หน้า 37) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น
จะขน้ึ อยูก่ บั องค์ประกอบ ด้านตัวนักเรียน ดา้ นตัวครู ด้านสงั คม และปัจจยั ที่สง่ ผลโดยตรงที่สำคัญอีก
ประการ คอื วิธกี ารสอนของครู
Jean Piaget (พรรณี ชูทัย เจนจิต. 2550 : 64 - 67) นักจิตวิทยาชาวสวิส เป็นผู้ที่สนใจ
ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเด็กและมีความเห็นเก่ียวกับเด็กว่า คือ ผู้ที่พยายามศึกษาสํารวจโลกของตนเอง
ทั้งที่เป็นวัตถุสิ่งของและบุคคล จากการที่เด็กได้มีโอกาสปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ทำให้
เดก็ เกิดความคิดเก่ียวกับส่งิ ต่าง ๆ ทีเ่ ปน็ รปู ธรรมและมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ จนในทส่ี ุดสามารถคิด
ในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจ มีความเชื่อว่าเป้าหมายของ
พัฒนาการ นั้นคือ ความสามารถที่จะคิดอยางมีเหตุผลกับสิ่งที่เป็นนามธรรม ความสามารถที่จะคิด
ตง้ั สมมตฐิ านอยางสมเหตสุ มผล และความสามารถทจี่ ะตัง้ กฎเกณฑ์และการแก้ปญั หา
John B. Watson (พรรณี ช. เจนจิต. 2550 หน้า 64 - 67) เป็นผู้ที่ทำให้เกิดทฤษฎีการ
เรียนรู้ของ Pavlov เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางมาก Watson เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเปน็ ผู้
ต้ังศัพท์ “Behaviorism” เพราะเหน็ ว่าจิตวิทยา ซ่งึ จะถอื ว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้น จะต้อง
ศึกษาพฤติกรรมเฉพาะในสิ่งที่สังเกตได้อย่างเด่นชัด มีความเห็นว่าการศึกษาทางจิตวิทยาควรเป็น
การศกึ ษาส่ิงท่ีเป็นปรนัย มใิ ช่ เปน็ อัตนยั ซ่ึงเก่ียวกบั ความรสู้ กึ นึกคิดของคน
บลูม (Bloom. 1976: 139) กล่าวถึง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่ามีอยู่ 3 ตัว
แปร คือ
1. พฤติกรรมด้านสติปัญญา เป็นพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด ความเข้าใจ หมายถึง การ
เรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนเรื่องนั้น ๆ และมีมาก่อนเรียน ได้แก่ ความถนัด และพื้นฐานความรู้เดิม
ของผู้เรยี น
2. ลักษณะทางอารมณ์ เป็นตัวกำหนดด้านอารมณ์ หมายถึง แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ ความ
กระตือรือร้นที่มีต่อเนื้อหาการเรียน รวมถึง ทัศนคติของนักเรียนทีม่ ีต่อเนื้อหาวชิ าต่อโรงเรยี น ระบบ
การเรียน และมโนภาพเก่ียวกับตนเอง
3. คุณภาพของการสอน เปน็ ตัวกำหนดประสทิ ธิภาพในการเรียนของผเู้ รียน ซงึ่ ประกอบด้วย
การชี้แนะ หมายถึง การบอกจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน และงานที่จะต้องทำให้นักเรียนทราบ

27

อย่างชัดเจน การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การให้การเสริมแรงของครู การใช้ข้อมูล
ยอ้ นกลับ หรอื การให้ผเู้ รียนรู้ผลวา่ ตนเองกระทำได้ถกู ตอ้ งหรือไม่ และการแก้ไขขอ้ บกพร่อง

เพรสคอร์ท (Presscott. 1961: 14-44) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จน้ัน
ต้องมีการกำหนดจดุ มงุ่ หมายเชิงพฤติกรรมของผู้เรียนให้ชัดเจน การกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
ของผู้เรียนให้ชดั เจนนี้ จะช่วยให้การจดั การเรียนการสอน และการวัดผลประเมนิ ผลทางการเรียนของ
ผู้เรียนถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยสรุปองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นกั เรยี นไว้ 6 ด้าน ดงั น้ี

1. องค์ประกอบทางด้านร่างกาย ได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพ
ขอ้ บกพรอ่ ง และลักษณะท่าทางของร่างกาย

2. องค์ประกอบทางด้านความรัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ของบิดามารดา และความสัมพันธ์
ระหวา่ งสมาชิกในครอบครวั

3. องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว
การอบมและฐานะทางบ้าน

4. องค์ประกอบในดา้ นความสัมพนั ธ์ในกล่มุ เพอ่ื น ได้แก่ ความสัมพนั ธ์กบั เพ่ือนวยั เดยี วกนั
5. องค์ประกอบทางการพฒั นาแหง่ ตน ได้แก่ สตปิ ัญญา และความสนใจในสิ่งตา่ ง ๆ
6. องค์ประกอบการปรับตัว ได้แก่ ปัญหาการปรับตัว การแสดงอารมณ์ โดยที่เพรสคอร์ทมี
ความเหน็ ว่า ทกุ ๆ องคป์ ระกอบมคี วามสำคญั เท่ากัน
สรุปได้ว่า องค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง การจัดการเรียนการสอนตาม
ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นครบ ทั้ง 3
ด้าน คอื ดา้ นพุทธิพิสัย ทักษะพิสยั และจิตพิสยั
การสรา้ งแบบวดั ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน
ศิริชัย กาญจนวาสี (2556, หน้า 173-190) กล่าวถึง ขั้นตอนของการสร้างและพัฒนา
แบบทดสอบผลสมั ฤทธิ์ ดงั นี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอบโดยต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ และ
จุดมงุ่ หมายของหลักสูตร
2. ออกแบบการสร้างแบบทดสอบ เป็นการกำหนดรูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการสร้าง
เพือ่ ให้ไดม้ าซึ่งข้อสอบทีม่ ีคุณภาพ ประกอบด้วย

2.1 การวางแผนการทดสอบ ควรมีการทดสอบอย่างน้อย ภาคเรยี นละ 2 ครง้ั
2.2 การกำหนดรูปแบบของแบบทดสอบ ได้แก่ แบบสอบองิ กลุ่ม แบบสอบข้อเขียน
แบบสอบเสนอคำตอบ แบบสอบความเรว็ และแบบสอบเป็นกลุ่ม

28

2.3 การสร้างแผนผังการทดสอบ เพื่อให้จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียน
การสอนและการสรา้ งแบบทดสอบมีความสมั พันธก์ ัน

2.4 การสร้างผังข้อสอบ เพื่อเสนอรายละเอียดของการทดสอบแต่ละครั้งว่าจะวัด
เนื้อหาอะไร และจะวัดจุดมุ่งหมายของการเรยี นรู้อะไร ขอบเขตของเนื้อหาวชิ า ตลอดจนการกำหนด
น้ำหนักความสำคญั หรือสัดส่วนขอ้ สอบสาหรบั วัดพฤตกิ รรมทต่ี ้องการทดสอบแตล่ ะครง้ั

3. เขียนข้อสอบ โดยผเู้ ขยี นจำเป็นต้องมีความรู้ในเน้ือหาวชิ าเป็นอยา่ งดี และต้องมีความรู้ใน
เทคนคิ การเขยี น โดยมลี ำดับข้ันตอนการเขียน ดงั นี้

3.1 กำหนดแบบแผนข้อสอบ
3.2 ร่างขอ้ สอบ
3.3 ทบทวนร่างข้อสอบโดยผู้เขียนข้อสอบและโดยผู้อื่น เช่น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
เปน็ ตน้
3.4 บรรณาธกิ ารข้อสอบ โดยการปรบั ปรุงข้อบกพรอ่ ง รวมทัง้ ขัดเกลาข้อความ และ
ภาษาใหเ้ หมาะสมกับผู้เรยี น
4. ทดลองใช้ข้อสอบและวิเคราะห์ข้อสอบ ควรระมัดระวังในการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การทดสอบข้อสอบ ไม่ควรใชก้ ลุ่มตัวอย่างท่ีแตกต่างจากกลุ่มเป้าหมายอย่างสุดขวั้ เมอ่ื ทดลองใช้แล้ว
นำมาวิเคราะห์ และคัดเลือกข้อสอบ โดยการหาความยากง่ายและอำนาจจำแนกที่เหมาะสมข้อสอบ
มานำรวมกนั เป็นแบบทดสอบ และทำการวิเคราะห์แบบทดสอบโดยการหาความเที่ยงและความตรง
5. นำแบบทดสอบไปใช้
6. วเิ คราะหค์ ุณภาพของแบบทดสอบดา้ นความเท่ียงตรง
7. ปรบั ปรุงแบบทดสอบ
กันต์กนิษฐ์ พลพิพัฒน์ (2560 หน้า 50) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบสอบ
วดั ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนไวว้ ่า การสร้างแบบทดสอบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนท่ีดี ควรเริ่มต้น
ดว้ ยการวเิ คราะหห์ ลักสูตรกำหนดประสงค์การเรยี นรู้ เนือ้ หาวิชากำหนด ชนิดของข้อสอบ และศึกษา
วิธีการสร้าง ต้องวัดผลได้ถูกต้องตรงกับจุดมุ่งหมาย มีความคงที่ในการวัดและใช้คำถามที่ชัดเจน
ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้สามารถแยกความสามารถของนักเรียนได้และมีความยากง่าย
พอเหมาะ เขียนขอ้ สอบตรวจทานและทดลองใชแ้ ลว้ จงึ นำไปใช้
ธนพร พีขุนทด (2562 หน้า 30) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนนั้นไว้ว่า ควรจะสร้างตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากการวิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา
ชนิดของขอ้ สอบ และทำตารางวเิ คราะห์ ขอ้ สอบท่กี ำหนด ศกึ ษาวิธีการสร้าง ตอ้ งวดั ผลไดถ้ ูกต้องตรง
กบั จุดมุ่งหมาย ใช้คำถามท่ชี ดั เจน ครอบคลุมพฤตกิ รรมทั้ง 6 ด้านได้แก่ ดา้ นความรู้ ด้านความเข้าใจ

29

ด้านการนำไปใช้ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการสังเคราะห์ และด้านการประเมินค่า รวมถึงสามารถแยก
ความสามารถของนกั เรียนได้

สุวรรณโณ ยอดเทพ (2562 หน้า 46) กล่าวว่า การสร้างแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี
หลกั การสำคัญ คือ ต้องสรา้ งใหส้ อดคล้องกบั จุดมุ่งหมายของการเรยี นรู้ และจดุ มุ่งหมายของหลักสูตร
เพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และดำเนินการตามขั้นตอนการสร้างข้อสอบ จนได้ข้อสอบมีความ
เหมาะสมต่อการนำไปใช้ ซึ่งในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการวัดความสำเร็จ ความรู้
ความจำทางการเรียน หรือวัดประสบการณ์ทางการเรียนที่ผู้เรียนได้รับจากการสอน โดยวัดตาม
จดุ ม่งุ หมายของการสอนซึง่ การวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถวัดได้ 2 แบบ ตามจดุ มงุ่ หมาย และ
ลักษณะวิชาที่สอน คือ การวัดด้านปฏิบัติตรวจสอบระดับความสามารถของผู้เรียน และการวัดด้าน
เนอื้ หาโดยใช้ขอ้ สอบวัดผลสัมฤทธิ์

Hopkins and Antes, (1990 : 153 - 155) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรยี นใหค้ รอบคลมุ และถกู ตอ้ งตามหลักวิชานน้ั มีหลกั การสร้างแบบทดสอบ ดงั นี้

1. ควรเขียนแบบทดสอบในระหวา่ ง หรือเพิ่งเสร็จการเรียนการสอนในเร่ืองนัน้ ๆ เพราะจะ
ทำใหผ้ เู้ ขียนแบบทดสอบยงั จำ และเข้าใจเน้ือหาน้นั ดอี ยู่

2. แบบทดสอบนนั้ ตอ้ งสอดคลอ้ งกบั วตั ถุประสงค์การศกึ ษา และตารางวเิ คราะหห์ ลักสตู ร
3. แบบทดสอบต้องถามในเรื่องที่มีความสำคัญ ไม่ถามในรายละเอียดปลีกย่อย หรือเรื่องที่
ไม่ใช่แก่นสาระเนือ้ หา
4. แบบทดสอบตอ้ งถามให้ผสู้ อบตอบ โดยสะท้อนถึงความรู้ที่ได้ศกึ ษา
5. การเลือกของประเภทแบบทดสอบต้องคำนึงว่า แบบทดสอบจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลท่ี
ตอ้ งการแบบทดสอบทน่ี ำมาสอบตอ้ งตรงกบั สง่ิ ที่จะวัดให้มากทีส่ ุด
6. ควรมกี ารศกึ ษาวธิ ีการสรา้ งแบบทดสอบจากแหลง่ ตา่ ง ๆ เช่น จากแบบทดสอบมาตรฐาน
คำสั่งต้องกะทัดรัด ชัดเจน ว่าจะให้ผู้สอบทำอะไร ตอบอย่างไร ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และถูกต้อง ไม่
ควรลอกขอ้ ความโดยตรงจากหนงั สอื มาสรา้ งเปน็ แบบทดสอบ เพราะจะทำให้ผู้สอบตอบง่าย
7. หลีกเส่ียงข้อคำถามขอ้ ใดขอ้ หนึ่งไปแนะคำตอบอกี ข้อหนึ่ง
8. ควรมีการตรวจสอบและวิจารณ์ข้อสอบ โดยผู้สอนในรายวิชานั้น เพื่อปรับปรุง
แบบทดสอบใหด้ ีขึน้
นอกจากนี้ Hopkins and Antes (1990: 153) ได้เสนอประกอบอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาก่อน
การสร้างแบบทคสอบ ได้แก่ ความถี่ของการสอบ เชน่ รายภาค รายเดอื น หรือรายสัปดาห์ระยะเวลา
ที่ใช้สอบ การกำหนควันสอบ การให้คะแนน การแปลผลคะแนน การรวบรวมแบบทดสอบ
กระบวนการสอบ เปน็ ต้น

30

Rose. (1954: 103) ได้กล่าวถึง ขนั้ ตอนในการสร้างข้อสอบ 4 ข้นั คือ
1. ข้ันวางแผน สง่ิ ทค่ี วรปฏิบตั ิในการวางแผนสร้างขอ้ สอบ

1.1 กำหนดจุดมุ่งหมาย ในการสรา้ งข้อสอบทุกครง้ั ต้องกำหนดจุดม่งุ หมายให้ชัดเจน
และแนน่ อนวา่ เพือ่ วตั ถุประสงคใ์ ด

1.2 กำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด ในชั้นนี้หากกำหนดขอบข่ายของ
เนอื้ หา และพฤตกิ รรมท่ีจะออกข้อสอบไดเ้ หมาะสม ก็จะช่วยให้ข้อสอบมีความเทย่ี งตรง

1.3 กำหนดชนิดและรูปแบบของข้อสอบ ในการสอบวัดต้องเลือกใช้ชนิด และ
รปู แบบของข้อสอบให้เหมาะสม

1.4 กำหนดส่วนประกอบอนื่ ๆ ที่จำเปน็ ในการออกข้อสอบ และในการเลือกข้อสอบ
คือ การกำหนดเวลาในการสรา้ งข้อสอบ บุคลากรในการสร้างข้อสอบ จำนวนข้อของข้อสอบ เวลาใน
การทดสอบ วธิ ีการตรวจ และให้คะแนน เป็นต้น

2. ชั้นเตรียมงาน เป็นการเตรียมสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการ์สร้างข้อสอบ ได้แก่ หลักสูตรหนังสอื
แบบเรยี น ทำการวิเคราะหห์ ลกั สูตร อปุ กรณ์ในการพิมพ์ การอัดสำเนา ฯลฯ

3. ขั้นลงมือปฏิบัติ เป็นขั้นลงมือเขียนข้อสอบ ในกรณีการสร้างข้อสอบนั้นทำในรูป
คณะกรรมการ คณะกรรมการแบ่งงานกันเขียนข้อสอบ แลว้ นัดหมายหรือมาประชุมวิเคราะห์ข้อสอบ
ที่สร้างขึ้น 4 ขั้นประเมินหรือตรวจสอบคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลไปปรับปรุงข้อสอบ มี
ขัน้ ตอน ดงั น้ี

4.1 ขนั้ ประเมินเบอ้ื งต้น คือการวจิ ารณ์ขอ้ สอบ โดยพิจารณาในประเดน็ ต่อไปน้ี คือ
4.1.1 ขอ้ คำถามวัด วัดในสิ่งทต่ี อ้ งการวัดหรือไม่
4.1.2 ข้อคำถามชดั เจนเขา้ ใจตรงกนั หรอื ไม่
4.1.3 ขอ้ คำถามมีคำตอบทแี่ น่นอนเพียงคำตอบเดยี วหรือไม่
4.1.4 ขอ้ คำถามในภาษารดั กมุ เหมาะสมกบั ระดบั ชน้ั ของนักเรยี นหรือไม่
4.1.5 ในกณีเปน็ ขอ้ สอบเลอื กตอบ พจิ ารณาวาตวั ลวงเหมาะสมหรอื ไม่ เช่น

เรียงลำดับเนื้อหา เรียงจากง่ายไปหายาก และการเรียงตัวเลือกในแต่ละข้อเหมาะสมสวยงามหรือไม่
เป็นต้น

4.2 ข้ันตรวจสอบคณุ ภาพหลังการทดสอบ ข้อสอบที่ผ่านการวิเคราะหแ์ ละปรบั ปรุง
แก้ไขแล้วนำไปพิมพ์ เพื่อนำไปทดลอง (Try Out) เมื่อนำไปทดลองแล้วนำมาตรวจให้คะแนนและ
ตรวจสอบคุณภาพ โดยพิจารณาในเร่ืองต่อไปน้ี

4.2.1 ความยากง่ายของข้อสอบ
4.2.2 อำนาจจำแนกของขอ้ สอบ
4.2.3 คา่ ความเทยี่ ง

31

4.2.4 หาคา่ สถิติพน้ื ฐานของข้อสอบ ได้แก่ ค่าเฉล่ยี
สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นพฤติกรรม หรือความสามารถของบุคคล ที่เกิดจาก
การเรียนการสอน เป็นพฤติกรรมที่พัฒนามาจากการฝึกอบรมสั่งสอนโดยตรง อันประกอบด้วย
พฤติกรรม 6 ประการ คือ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
และการประเมินคำ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรให้
ครอบคลุมพฤตกิ รรมทง้ั 6 ดา้ น

ความหมายและทฤษฎเี กย่ี วกบั ความพงึ พอใจ

ความหมายของความพงึ พอใจ
ความพึงพอใจ เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ท่ีมีผลต่อความสำเร็จของงานที่บรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นผลจากการได้รับการตอบสนองต่อแรงจูงใจหรือความ
ต้องการของแต่ละบุคคลในแนวทางที่เขาประสงค์ ความพึงพอใจ โดยทั่วไปตรงกับคำในภาษาอังกฤษ
วา่ Satisfaction และยงั มผี ้ใู หค้ วามหมายคำวา่ "ความพึงพอใจ" พอสรปุ ได้ ดังนี้
ผสุ ดี แสงหลอ่ (2555, หนา้ 14) ไดก้ ล่าวว่า ความพงึ พอใจ หมายถงึ ความร้สู กึ รวมของบุคคล
ที่มีต่อการทำงานในทางบวก เป็นความสุขของบุคคลทีเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น มีความมุ่งมันที่จะ
ทำงาน มีขวัญกำลังใจ ส่ิงเหล่านี่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รวมทั้งการ
สง่ ผลต่อความสำเร็จ และเป็นไปตามเป้าหมายขององคก์ ร
ศิริพรรณ ประจงกิจ (2555, หน้า 47) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีของ
บุคคลทีมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเน่ืองมาจากสิ่งเร้าและแรงจูงใจ ซึ่งปรากฎออกมาทางพฤติกรรมและเปน็
องคป์ ระกอบที่สำคัญในการทำกจิ กรรมตา่ ง ๆ ของบคุ คล
ศุภกร แก้วละเอียด (2558) ได้ให้ความหมายความพึงพอใจไว้ว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
อารมณ์ ความรู้สกึ และทศั นคติของบุคคลท่ีไดร้ ับการตอบสนองตรงความต้องการของตนเอง จงึ ทำให้
เกิดความรู้สึกที่ดี แสดงออกมาทางพฤติกรรมที่ทำให้ปฏิบัติงานหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ประสบ
ความสำเร็จ
ชาบฟิน (Chaphin, 1994. p. 256) กล่าวว่า ความพึงพอใจ ตามคำจำกัดความทางด้าน
จติ วิทยา หมายถงึ ความรสู้ กึ ในขนั้ แรกท่แี รงกระตนุ้ บรรลถุ ึงจุดมงุ่ หมาย
สเดียรส์ (Steers, 1991, p. 256) ได้ให้ความหมาย ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกรวม
ของบุคคลทีม่ ีต่อการทำงานในทางบวกทบ่ี ุคคลให้คุณคา่ กับสวัสดิการท่ีไดร้ ับ ความพึงพอใจเป็นผลมา
จากการรับรู้ที่บุคคลน้ันประมาณการให้คุณค่ากับสวัสดิการที่ได้รับความพึงพอใจมีความหมายใน
แนวทางแรก คือ ความพึงพอใจในสวัสดิการ เป็นความรู้สึกสนองตอบต่อด้านต่าง ๆ ซ่ึงสามารถคาด
เดาได้จากการแสดงออกและพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร ในแนวทางที่สอง ความพึงพอใจเป็นผล

32

ของความต้องการ หรือคาดหวังของบุคคลที่เกิดการเปรียบเทียบกับการกระทำบุคคลได้รับความ
คาดหวังในสวสั ดกิ าร

มอร์ส (Mors, 1953. pp. 357 - 359) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจในงาน หมายถึง ทุกสิ่งทุก
อย่างที่ลดความตึงเครียดของผู้ทำงานให้น้อยลง ถ้ามีความดึงเครียดมากก็จะเกิดความไม่พึงพอใจใน
การทำงาน ความตึงเครียดเป็นผลรวมจากความต้องการของมนุษย์ เมื่อคราวใดความต้องการได้รับ
การตอบสนองกจ็ ะทำใหค้ วามเครยี ดน้อยลง ซ่ึงเป็นผลทำให้เกิดความพึงพอใจ

วอลแมน (Wolman. 1973: 384 ) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความร้สู กึ (Feeling)
มคี วามสขุ เม่อื คนเราไดร้ บั ผลสำเรจ็ ตามความมุ่งหมาย (Goals) ความต้องการ (Wants) หรือแรงจงู ใจ
(Motivation)

วอลเลอร์สเตน (Wallerstein. 1971: 256) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่
เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย และอธิบายว่า ความพึงพอใจเป็นกระบวนการทาง
จิตวิทยาไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่สามารถคาดคะเนได้ว่ามีหรือไม่มีจากการสังเกตพฤติกรรม
ของคนเท่านั้น การทีจ่ ะทำให้คนเกิดความพงึ พอใจจะต้องศึกษาปัจจัย และองคป์ ระกอบท่ีเป็นสาเหตุ
ของความพงึ พอใจนน้ั

สรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก หรือทัศนคติของบุคคลที่มีผลต่อสิ่งใดสิ่งหน่ึง
ความพึงพอใจ จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนอง หรือบรรลุจุดมุ่งหมายใน
ระดบั หนึ่ง

ทฤษฎีท่ีเกย่ี วขอ้ งกับความพึงพอใจ
สมุทร ชานาญ (2556, หน้า 268-294) กล่าวถึง กลุ่มทฤษฎีที่เน้นการศึกษาเนื้อหา
(Contents theories) เป็นกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ จึงมีการเรียกชื่อหนึ่งว่า
ทฤษฎีที่เน้นความต้องการ (Need theories of work motivation) เป็นทฤษฎีที่มุง่ ศึกษาเพื่อหา คา
ตอบของมนุษย์แต่ละคนมีความต้องการอะไร ตลอดจนมีความต้องการอยู่ในระดับใด ทฤษฎีที่เน้น
การตอบสนองความต้องการของมนุษย์มีการนาเสนอไว้หลากหลาย ส่วนทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ ใน
ปัจจุบนั มีดังนี้
1. ทฤษฎีความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of need) มาสโลว์ มีหลักท่ี
สำคญั เกีย่ วกับแรงจงู ใจ โดยเนน้ ในเรอ่ื งลำดับขน้ั ความต้องการ เขามีความเชื่อวา่ มนษุ ย์มีแนวโน้มที่จะ
มีความต้องการอันใหม่ที่สูงข้ึน แรงจูงใจของคนเรามาจากความ ต้องการพฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่
การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ (Maslow) แบ่งความตอ้ งการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ
ด้วยกัน ได้แก่

1.1 ความตอ้ งการดา้ นรา่ งกาย (Physiological needs) เปน็ ความตอ้ งการ ปัจจัย 4
เช่น ต้องการอาหารให้อิ่มท้อง เคร่ืองนงุ่ ห่มเพอ่ื ปอ้ งกันความรอ้ น หนาวและอุจาดตา ยา รกั ษาโรคภัย

33

ไข้เจ็บ รวมทั้งที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันแดด ฝน ลม อากาศหนาวและสัตว์ร้าย ความต้องการเหล่านี้มี
ความจำเปน็ ต่อการดำรงชวี ิตของมนษุ ยท์ กุ คน ตอ้ งบรรลุให้ไดก้ ่อน

1.2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) หลังจากที่มนุษย์บรรลุความ
ต้องการด้านรา่ งกาย ทำใหช้ ีวิตสามารถดำรงอยู่ในข้ันแรกแล้ว จะมคี วามต้องการดา้ นความ ปลอดภัย
ของชวี ติ และทรัพยส์ ินของตนเองเพิ่มขนึ้ ต่อไป เช่น หลังมนุษย์มีอาหารรับประทานจนอิม่ ท้อง แล้วได้
เริ่มหันมาคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารหรือสุขภาพ โดยหันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง สารพิษท่ี
ติดมากับอาหาร ซ่งึ สารพษิ เหล่าน้ีอาจสรา้ งความไม่ปลอดภยั ใหก้ ับชวี ิตของเขา เปน็ ต้น

1.3 ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs)
เปน็ ความต้องการท่ีเกิดขึ้นหลังจากการที่มชี วี ิตอยู่รอดแลว้ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว
มนุษย์จะเริ่มมองหาความรักจากผู้อื่น ต้องการที่จะเป็นเจ้าของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่
ตลอดไป เช่น ต้องการให้พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก รักเราและต้องการให้เขาเหล่านั้นรักเราคนเดียว ไม่
ต้องการให้เขาเหล่านั้นไปรักคนอน่ื โดยการแสดงความเปน็ เจา้ ของ เป็นตน้

1.4 ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (Esteem needs) เป็นความต้องการ
อีกขั้นหนึ่งหลังจากได้รับความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรัก และเป็นเจ้าของแล้ว
จะต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ต้องการได้รับเกียรติจากผู้อื่น เช่น ต้องการการเรียกขาน จาก
บุคคลทั่วไปอย่างสุภาพให้ความเคารพนับถือตามควรไม่ต้องการการกดขี่ข่มเหงจากผู้อื่น เนื่องจาก
ทกุ คนมีเกียรติและศักด์ศิ รีของความเปน็ มนุษย์เทา่ เทียมกัน

1.5 ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง (Self - actualization
needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ผ่านความต้องการความเป็นส่วนตัว เป็นความ
ต้องการที่แท้จริงของตนเอง ลดความต้องการภายนอกลง หันมาต้องการสิ่งที่ตนเองมีและเป็นอยู่ ซึ่ง
เป็นความต้องการข้นั สูงสุดของมนุษย์ แตค่ วามต้องการในข้ันนี้มักเกิดขึน้ ได้ยาก เพราะต้องผ่านความ
ตอ้ งการในขนั้ อื่น ๆ มากอ่ นและจะต้องมีความเข้าใจในชีวิตเป็นอยา่ งย่งิ

พัทธนันท์ อึ้งรัก (2556, หน้า 14) กล่าวไว้ว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานหรือความพึง
พอใจ ในการทางานเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์โดยตรงซึ่งมีความ
เกี่ยวข้องกับ ขวัญ ทัศนคติ การจูงใจในการปฏิบัติงานในองค์การความพึงพอใจในการทำงานของ
บุคคล จะมีผลเป็นอย่างมากต่อการปฏิบัติงาน คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจในการทางานสูง
ยอ่ มปฏิบัตงิ านได้ สำเร็จและมีประสทิ ธภิ าพมากกวา่ ผูท้ ปี่ ฏิบัตงิ านทมี่ ีความพงึ พอใจ ในการปฏบิ ัตงิ าน
ตา่ ง ๆ

ฤทธิชัย แสนกลาง (2561 หน้า 10) กล่าวไว้ว่า ความต้องการทั้ง 5 ขั้นของ มนุษย์มี
ความสำคัญไม่เท่ากันการจูงใจตามทฤษฎีนี้จะต้องพยายามตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซ่ึงมี

34

ความต้องการที่แตกต่างกันไป และความต้องการในแต่ละขั้นจะมีความสำคัญแก่บุคคลมากน้อย
เพียงใด ย่อมข้ึนอย่กู ับความพงึ พอใจท่ีไดร้ บั จากการตอบสนองความต้องการในลำดับขนั้ นั้น ๆ

Maslow. (1970 : 69-80) กล่าวไว้ว่า ทฤษฏีลำดับข้ันของความต้องการ Maslow (Needs-
Herarchy Theory) เป็นทฤษฏีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยตั้งอยู่บนสมมติฐา น
เกีย่ วกับพฤติกรรมของมนษุ ย์ ดงั น้ี

1. ลักษณะความต้องการของมนุษย์ไดแ้ ก่
1.1 ความต้องการของมนุษย์เป็นไปตามลำดับข้ันความสำคัญ โดยเริ่มระดับความ

ตอ้ งการขน้ั สงู สดุ
1.2 มนุษย์มีความตอ้ งการอยู่เสมอ เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนอง

แล้วกม็ คี วามต้องการส่ิงใหม่เข้ามาแทนที่
1.3 เมอ่ื ความต้องการในระดับหน่ึงได้รบั การตอบสนองแลว้ จะไมจ่ งู ให้เกิดพฤติกรรม

ตอ่ สิง่ นัน้ แตจ่ ะมีความต้องการในระดบั สูงเข้ามาแทน และเป็นแรงจูงใจให้เกดิ พฤตกิ รรมนนั้
1.4 ความต้องการที่เกิดขึ้นอาศัยซึ่งกันและกันมีลักษณะควบคู่ คือ เมื่อความ

ต้องการอย่างหน่ึงยงั ไมห่ มดสิ้นไปก็จะมคี วามต้องการอีกอยา่ งหนึง่ เกดิ ข้นึ มา
2. ลำดับขนั้ ความต้องการของมนษุ ย์มี 5 ระดับ ไดแ้ ก่
2.1 ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความ

ต้องการเบื้องต้น เพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เครื่องนุ่งห่ม ยา
รักษา โรค ที่อยู่อาศัย และความต้องการทางเพศ ความต้องการทางด้านร่างกายจะมีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมของคนก็ตอ่ เมื่อความต้องการท้งั หมดของคนยงั ไม่ไดร้ ับการตอบสนอง

2.2 ความตอ้ งการความม่ันคงปลอดภัย (Security Needs) เปน็ ความรู้สึกที่ต้องการ
ความมัน่ คงปลอดภยั ในปจั จุบัน และอนาคตซง่ึ รวมถงึ ความก้าวหน้า และความอบอุ่นใจ

2.3 ความตอ้ งการทางสังคม (Social or Belonging Needs) ได้แก่ ความต้องการที่
จะเข้าร่วม และได้รับการยอมรบั ในสังคมความเปน็ มิตร และความรักจากเพือ่ น

2.4 ความต้องการที่จะไดร้ ับการยกยอ่ งหรือมีช่ือเสียง (Esteem Needs) เป็นความ
ต้องการระดับสูง ได้แก่ ความต้องการอยากเด่นในสังคม รวมถึงความสำเร็จ ความรู้ ความสามารถ
ความเป็นอสิ รภาพ และเสรีและการเป็นที่ยอมรับนับถอื ของคนทัง้ หลาย

2.5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต (Self Actualization Needs) เป็น
ความต้องการระดับสูงของมนุษย์ส่วนมากจะเป็นการนึกอยากจะเป็นอยากจะได้ตามความคิดเห็น
ของตัวเอง แต่ไม่สามารถแสวงหาได้

35

ทฤษฎีแรงจูงใจด้านความสำเร็จของแมคคลีแลนด์ (McClelland's achievement
motivation theory)

แมคคลีแลนด์ (McClelland, 1975, pp. 43-168) เปน็ ผู้สร้างทฤษฎีการจงู ใจในความสำเร็จ
หรือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยศึกษาระดับความต้องการในความสำเร็จของมนุษย์ ซึ่งมาจากความ
ตอ้ งการสำคัญ 3 ประการ คือ

1. ความต้องการความสมั พนั ธ์หรือแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์
2. ความตอ้ งการมอี ำนาจหรอื แรงจูงใจใฝอ่ ำนาจ
3. ความต้องการความสำเรจ็ หรือแรงจงู ใจใฝ่สัมฤทธ์ิ
แมคคลีแลนด์ เน้นสาระสำคัญด้านแรงจูงใจว่า ผู้ที่จะทำงานได้ประสบความสำเร็จต้องมี
แรงจูงใจด้านความต้องการสัมฤทธิ์ผลอยู่ในระดับสูงจะเห็นได้ว่า ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมก
คลีแลนด์ สามารถนำไปใช้กระตุ้นหรือเพิ่มแรงผลักดัน เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ ทำได้โดยสรุป
ได้ ดงั นี้
1. เขียนเปา้ หมายในการทำงานของตนเองให้ชัดเจน
2. วางเป้าหมายท่ีท้าทายความสำเรจ็
3. มเี ปา้ หมายที่เฉพาะเจาะจง
4. กำหนดเปา้ หมายลงตาราง โดยมรี ะยะเวลาที่แนน่ อนว่างานจะประสบผลสำเรจ็ เม่ือใด
5. จัดลำดบั เป้าหมาย ต้องจัดลำดับความสำคญั ของเปา้ หมายในการทำงานวา่ อะไร
6. ทบทวนและปรบั ปรุงเปา้ หมาย มีการทบทวนเป้าหมายเป็นระยะ ๆ
7. ใหร้ างวลั ตนเอง ถา้ ทำงานประสบความสำเรจ็ สำคญั กว่ากนั
ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอรซ์ เบอร์ก
เฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg, 1959, p. 186 อ้างถึงใน พัทธนันท์ อึ่งรัก, 2556. หน้า 15) ได้
ศึกษาทคลองเกี่ยวกับการจูงใจในการทำงาน โดยการสัมภาษณ์วิศวกรในเมืองพิทส์เบอร์ก ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาทดลอง สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้วิศวกรและนักบัญชีเกิด ความพึงพอใจ
และไม่พึงพอใจในการทำงานนนั่ มี 2 องค์ประกอบ คือ
1. องค์ประกอบกระตุ้น (Motivation factors) หรือปัจจัยจูงใจ มีลักษณะสัมพันธ์กับเร่ือง
ของงานโดยตรง เป็นสิ่งทีจูงใจบุคคลให้มีความดั่งใจในการทำงานและเกิดความพอใจในการทำงาน
ปัจจัยนี้ ไดแ้ ก่

1.1 ความสำเร็จของงาน หมายถึง การที่บุคคลสามารถทำงานได้เสร็จสิ้นและ
ประสบผลสำเรจ็

1.2 การไดก้ ารยอมรับนบั ถือ หมายถึง การที่บุคคลได้รบั การยอมรบั นับถือไม่ว่าจาก
กลมุ่ เพ่อื น ผ้บู งั คับบญั ชา หรือจากกล่มุ บุคคลอ่ืน

36

1.3 ลักษณะของงาน หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีของบุคคลทีมีต่อลักษณะของ
งาน

1.4 ความรับผดิ ชอบ หมายถงึ ความพงึ พอใจที่เกิดขน้ึ จากการท่ไี ดร้ ับการมอบหมาย
ใหร้ ับผดิ ชอบงานใหม่ ๆ และมีอำนาจรับผดิ ชอบอยา่ งเตม็ ท่ี

1.5 ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในสถานะ
หรือตำแหน่งของบคุ ลากรในองคก์ ร

2. องค์ประกอบค้ำจุน (Hyeine factors) หรือปัจจัยค้ำจุน เป็นปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับ
สิ่งแวดล้อมในการทำงานหรือส่วนประกอบของงาน ทำหน้าที่ป้องกันไมใ่ ห้คนเกดิ ความไม่พึงพอใจใน
การทำงาน กล่าวคือ หากขาดปัจจัยเหล่าน้ี จะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน แต่แม้ว่าจะมี
ปัจจัยเหล่านี้อยกู่ ไ็ ม่อาจยืนยันได้ว่าเปน็ ส่ิงจงู ใจของผูป้ ฏิบัติงาน ปจั จัยน้ี ไดแ้ ก่

2.1 เงนิ เดือน หมายถึง ความพงึ พอใจและไม่พึงพอใจในเงนิ เดือนหรืออัตราการเพิ่ม
เงนิ เดอื น

2.2 โอกาสท่ีจะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต นอกจากจะ หมายถึง การที่บุคคล
ได้รับการแต่งต้ังโยกย้ายตำแหน่งภายในองค์กรแล้วยัง หมายถึง สถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับ
ความก้าวหน้าในทักษะหรือวิชาชีพของเขา ดังนั้น จึงหมายถึงการที่บุคคลได้รับสิงใหม่ ๆ ในการ
เพม่ิ พนู ทกั ษะทีจ่ ะชว่ ยเอื้อต่อวชิ าชพี ของเขา

2.3 ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง การติดต่อไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือ
วาจาท่ีแสดงถงึ ความสมั พนั ธ์อนั ดตี ่อกัน

2.4 สถานะของอาชีพ หมายถึง ลักษณะของงาน หรือสถานะที่เป็นองค์ประกอบทำ
ให้บุคคลเกดิ ความรสู้ ึกต่องาน เช่น การมรี ถประจำตำแหน่ง เป็นตน้

2.5 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา หมายถึง การติดต่อพบปะกัน โดยกิริยาหรือ
วาจาแต่มิไดร้ วมถงึ การยอมรับนบั ถือ

2.6 นโยบายและการบริหารงานขององค์กร หมายถงึ การจดั การและการบรหิ ารงาน
ขององค์กร

2.7 ความสัมพนั ธก์ ับเพื่อนรว่ มงาน
2.8 สถานภาพการทำงาน ได้แก่ สถานภาพทางกายภาพที่เอ้ือต่อความเป็นสุขใน
การทำงาน
2.9 ความเปน็ ส่วนตวั หมายถึง สถานการณซ์ ึ่งลักษณะบางประการของงานส่งผลต่อ
ชีวิตส่วนตัวในลักษณะของผลงานนั้น เป็นองค์ประกอบหน่ึงที่ทำให้บุคคลมีความรู้สึกอย่างใดอย่าง
หน่ึงตอ่ งานของเขา

37

2.10 ความมนั่ คงในงาน หมายถงึ ความรสู้ ึกของบุคคลทมี่ ีความม่ันคงของงานความ
มน่ั คงในองค์กร

2.11 วิธีการปกครองบงั คับบัญชา หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้บงั คับบัญชา
ในการดำเนนิ งานหรือความยุติธรรมในการบรหิ ารงาน

สรุปได้ว่า ทฤษฎีลำดับความต้องการของมนุษย์ เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงความต้องการของ
มนุษย์ที่เริ่มจากระดับต่าง ๆ หากได้รับการตอบสนองในระดับที่พึงพอใจแล้วก็จะเป็นไปหาความ
ต้องการในขั้นที่สูงขึ้นไป ซึ่งสามารถนามาประยุกต์ใช้กับการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองได้
และหากโรงเรียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการ หรือความคาดหวังขั้นพื้นฐานของผู้ปกครอง
นักเรียนได้เป็นที่พึงพอใจแล้วก็ย่อมเป็นแนวทางสร้างความสัมพันธ์ที่ดีย่ิง เพื่อจะสามารถสร้างความ
พึงพอใจในระดับสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญ ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของโรงเรียน
เพอ่ื พัฒนาคุณภาพการจดั การศึกษา ทัง้ ต่อตวั นกั เรียนและการให้บริการของโรงเรียน

การวัดความพงึ พอใจ
การวัดความพึงพอใจจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการให้ความสนใจของผู้วิจัยประกอบกับ
ระดับความรู้สกึ ของผู้เรยี นในมติ ติ า่ ง ๆ ของแต่ละบุคคล ดังนั้น การวดั ระดบั ความพงึ พอใจสามารถทำ
ได้หลายวธิ ี ดังนี้
อจั ฉรา บุญชมุ (2559 หน้า 10) กลา่ วไวว้ ่า ความพึงพอใจผูร้ ับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมายถึง ความรู้สึกของผู้รับบรกิ าร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจหรือไม่ประทับใจ
ภายหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการโดยเปรียบเทียบกับความคาดหวังที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือ
บรกิ าร ดังความสัมพนั ธ์ ความพึงพอใจลกู ค้า = ความคาดหวงั = บรกิ ารทไ่ี ดร้ บั
พัชริยา แก่นสา (2555, หน้า 46-48) กล่าวถึง การวัดความพึงพอใจไว้ สรุปได้ว่า ในการวัด
ความรู้สึกในทางที่ดี ไม่ดีหรือไม่พอใจ ซึ่งวิธีการวัดนั้นมีอยู่หลายวิธี เช่น วิธีการสังเกต วิธีการ
สมั ภาษณ์ วธิ กี ารใชแ้ บบสอบถาม เปน็ ต้น ซงึ่ มีรายละเอยี ด ดงั นี้
1. วิธีการสงั เกตุ เปน็ วธิ กี ารใช้ตรวจสอบบคุ คลอ่ืน โดยการเฝา้ มองและจดบันทึกอย่างมีแบบ
แผน วิธีเป็นวิธีการศกึ ษาท่ีเก่าแก่และยังเปน็ ที่นิยมใช้อย่างแพรห่ ลายจนถึงปจั จุบัน แต่ก็เหมาะสมกับ
การศึกษากบั ขอ้ มลู จานวนน้อยเท่านนั้
2. วธิ ีการสัมภาษณ์ เปน็ วธิ ีการท่ีผู้วิจัยจะตอ้ งออกไปสอบถามโดยการพูดกับบุคคลน้นั ๆ โดย
มกี ารเตรยี มแผนงานล่วงหนา้
3. วิธีการใชแ้ บบสอบถาม วธิ กี ารนจ้ี ะเปน็ การใชแ้ บบสอบถามทมี่ ขี ้อคาอธบิ ายไว้อยา่ งชัดเจน
เพื่อให้ผู้ตอบทุกคนมีความเขา้ ใจตรงกัน มักใช้ในกรณที ี่ต้องการข้อมลู จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก ๆ
วิธีนี้นับเป็นวิธีนิยมใช้ในปัจจุบันวิธีหนึ่ง คือ มาตราส่วนประมาณค่าแบบลิเคิร์ท (Likert scales)

38

ประกอบด้วย ข้อความที่แสดงถึงทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วมีค ำตอบท่ี
แสดงถึงระดับความร้สู กึ 5 คำตอบ ได้แก่ มากทีส่ ุด มาก ปานกลาง น้อย และนอ้ ยท่สี ดุ

สุชาดา เนตรฉัยยา (2555, หน้า 49) กล่าวไว้ว่า การวัดความพึงพอใจต่อการให้บริการ
สาธารณะ (Public service satisfaction) จะเป็นการประเมินค่าโดยลูกค้าหรือผู้รับบริการ ต่อ
กิจกรรมสาธารณะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือชุดของการให้บริการสาธารณะใด ๆ ก็ตาม ตัวชี้วัดความ
พึงพอใจส่วนใหญ่จะวัดที่พฤติกรรมของผู้ให้บริการ กระบวนการให้บริการหรือผลผลติ ที่ได้รับ ดังน้ัน
การวัดระดับความพึงพอใจจึงน่าจะหมายถึงปฏิกิริยาด้านความรู้สึกของประชาชน ในฐานะ
ผู้รับบริการว่ามีความรู้สึกเช่นไรต่องานหรือตอ่ บริการน้ัน ๆ ซึ่งอาจจะประเมินว่า ชอบมาก ชอบน้อย
พอใจหรือไม่พอใจเช่นไร โดยที่ความรู้สึกน้ีน่าจะเป็นความรู้สึกสุดท้าย ภายหลังจากที่ประชาชน
เหลา่ นน้ั ไดต้ ัดสนิ ใจประเมนิ ออกมาแล้ว ขณะท่ีพฤตกิ รรมของผู้ให้บริการ กระบวนการบริหาร ผลผลติ
ทีไ่ ด้รับจะเปน็ สาเหตขุ องการทำให้เกดิ ความรสู้ กึ พึงพอใจ หรือไม่พงึ พอใจออกมา

มิลเลต (Millet, 1954, p. 357) กล่าวไว้ว่า ซึ่งศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการ
ให้บริการหรือความสามารถในการที่จะพิจารณาว่าการบริการที่ให้น้ันเป็นเพียงความพึงพอใจหรือไม่
พจิ ารณาไดจ้ ากสิง่ ต่าง ๆ ดังตอ่ ไปนี้

1. การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable service) หมายความว่า ความยุติธรรม ใน
การบริหารงานภาครัฐ ท่ีมฐี านคติว่าคนทกุ คนเทา่ เทยี มกัน ดงั นน้ั ประชาชนทกุ คนจะไดร้ ับการปฏิบัติ
อย่างเท่าเทียมกันในแง่ของกฎหมาย ไม่มีการแบ่งแยกกีดกันในการให้บริการประชาชนจะ ได้รับการ
ปฏบิ ัตใิ นฐานะทเี่ ปน็ ปจั เจกบคุ คลทีใ่ ช้มาตรฐานการให้บรกิ ารเดียวกัน

2. การให้บริการอย่างรวดเร็ว (Timely service) หมายความว่า การให้บริการตาม ลักษณะ
ความจำเป็นเรง่ ดว่ น และความต้องการของประชาชนผ้ใู ชบ้ ริการ

3. การใหบ้ รกิ ารอยา่ งเพียงพอ (Ample service) หมายความวา่ การใช้บรกิ ารสาธารณะต้อง
มลี กั ษณะ มจี ำนวน มีการใหบ้ รกิ ารและสถานที่ใหบ้ ริการอย่างเหมาะสม สร้างความยุตธิ รรมใหเ้ กิดขึ้น
แกผ่ ู้รับบรกิ าร ความเพียงพอในสถานที่ บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ ท่ีใช้ในการปฏิบตั ิหน้าที่ ตลอดจนการ
พัฒนาระบบบริการของราชการให้มีคุณภาพเพียงพอตามความจำเป็น และความต้องการของ
ประชาชน

4. การให้บริการอย่างต่อเนื่อง (Continuous service) หมายความว่า การให้บริการ ตั้งแต่
เรม่ิ ตน้ และต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยยดึ ประโยชนส์ าธารณะเป็นหลักไมใ่ ช่ยึดความพอใจของหน่วยงานท่ี
ใหบ้ รกิ ารว่าจะให้ หรือหยุดบรกิ ารเมอ่ื ใดก็ได้

5. การให้บริการอย่างก้าวหน้า (Progressive service) หมายความวา่ การพัฒนาการบริการ
ดา้ นปรมิ าณและคุณภาพให้มคี วามเจริญกา้ วหนา้ ไปเรื่อย ๆ โดยใชท้ รัพยากรเทา่ เดิม

39

สกนิ เนอร์ (ภพ เลาหไพบลู ย.์ 2540 : 193; อา้ งองิ มาจาก Skinner. n.d.) ได้กล่าวถงึ วิธีการ
สร้างความพึงพอใจไว้ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เป็นการให้สิ่งเร้า เพื่อให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมใด
พฤติกรรมหนึ่งต่อไป ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระว่างสิ่งเร้ากับพฤติกรมที่เกิดขึ้น สิ่งเร้าเป็นสัญญาณให้
นักเรียนรู้ว่าควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรบ้าง โดยการแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระประสบการณ์ ความ
คิดเห็น ความรู้สึก อารมณ์ ความสนใจ ความพึงพอใจ เจตคติ ค่านิยม ตลอดจนทักษะ และความ
ชำนาญระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยมีสถานการณ์หรือสัญลักษณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังน้ัน
กระบวนการเรียนรู้จะต้องมีสื่อที่ดี ถ้าเลือกการใช้สื่อการเรียนรู้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมแล้ว
ความรู้ความเข้าใจการแสวงหาความรู้และความพึงพอใจจะสะสมเป็นระบบแล้ว ผลของการของ
ผู้เรียนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการเรียนรู้ก็จะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความ
พงึ พอใจ

ไวทเ์ ฮด (Whitehead. 1967 : 1) ได้กล่าวถงึ จังหวะของการศึกษามี 3 ข้ันตอน ดังน้ี
1. การสร้างความพึงพอใจ โดยให้นักเรียนได้รับสิ่งใหม่ ๆ มีความตื่นเต้น พอใจใน

การไดพ้ บและเกดิ สิ่งใหม่ ๆ
2. การทำความกระจ่าง โดยมีการจัดระบบระเบียบ ให้คำจำกัดความ มีการกำหนด

ขอบเขตที่ชัดเจน
3. การนำไปใช้โดยนำสิ่งใหม่ที่ได้มาไปจัดสิ่งใหม่ ๆ ที่จะได้พบต่อไป เกิดความ

ตนื่ เต้นทีจ่ ะเอาไปจดั ส่งิ ใหม่ ๆ เข้ามา
Parasuraman, Zeithaml & Berry, 1988 ( อ้างถึงใน ปราณี เอี่ยมลออภักดี, 2550) ได้

กล่าวถึง การวัดคุณภาพบริการ (SERVQUAL) ในกระบวนการของการให้บริการสิ่งที่ธุรกิจคาดหวัง
คอื ความพึงพอใจของลูกค้าที่มตี ่อการบริการที่ไดร้ ับ ดงั น้นั เพอื่ ใหผ้ ใู้ ช้บรกิ ารรับรู้ถึงคุณภาพของการ
บรกิ าร ธรุ กจิ สามารถพิจารณาตัวชี้วัดคณุ ภาพของบริการ ซึง่ สรปุ ได้ ดังน้ี

1. ความสามารถ (Competence) หมายถึง ความสามารถ ทักษะ และความรู้ ของผู้
ใหบ้ รกิ าร และสามารถใช้สิ่งเหลา่ นั้น ในการดำเนินการดา้ นบริการ

2. ความน่าเช่อื ถือ (Reliability) หมายถงึ ความสม่ำเสมอในการบริการได้อยา่ งถูกต้องเป็นท่ี
น่าเชอ่ื ถือ หรอื เป็นทไ่ี วว้ างใจของผู้รบั บรกิ าร

3. การตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ความพร้อมที่จะให้บริการ เพื่อเป็นการ
ตอบสนองลูกคา้ ได้ตรงเวลา หรือภายในเวลาทีล่ ูกคา้ ตอ้ งการ

4. ความเข้าถึงได้ (Accessibility) หมายถึง ผู้รับบริการสามารถที่จะติดต่อกับผู้ให้บริการได้
สะดวก

5. ความเข้าใจผู้รับบริการ (Understanding) หมายถึง ผู้ให้บริการจะต้องมีความเข้าใจ
ความต้องการของผู้รับบรกิ าร และพร้อมท่ีจะเสนอตอบความต้องการดังกล่าว

40

6. การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง ผู้รับบรกิ ารจะต้องเป็นผู้ฟังถึงปัญหาของ
ผู้รับบริการ และมีความสามารถที่จะแจ้งให้เกิดความเข้าใจได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ผู้ให้บริการต้อง
เข้าใจภาษาของผู้รับบริการ เพื่อจะได้สื่อสารระหว่างกันได้เข้าใจ และเกิดความพึงพอใจที่จะรับ
บริการต่อไป

7. ความไว้วางใจ (Creditability) หมายถึง ผู้ให้บริการควรให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ ไม่
ปิดบัง แต่ต้องโปรง่ ใสตรวจสอบได้

8. ความปลอดภัย (Security) หมายถึง การให้บริการด้วยความปลอดภัยต่อผู้รับบริการ ท้ัง
ทางด้านกายภาพและการเงนิ

9. ความสุภาพออ่ นโยน (Courtesy) หมายความรวมถงึ มารยาทท่ีดงี าม ความอ่อนนอ้ ม การ
พดู จาทไ่ี พเราะ ความเปน็ มติ ร และความเอาใจใสด่ ูแลเปน็ อย่างดี ในขณะท่ใี หบ้ รกิ ารผูร้ ับ

10. การจับต้องได้ (Tangibility) หมายความรวมถึง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้บริการ
บุคลิกภาพและการแสดงออกของผู้ให้บรกิ าร สิง่ อาํ นวยความสะดวกตา่ ง ๆ เปน็ ต้น

สรุปได้ว่า การวัดความพึงพอใจ เป็นการตรวจสอบทัศนคติของบุคคลที่มีตอ่ สิ่งหนึ่งส่ิงใด ซ่ึง
สามารถใชเ้ ครอื่ งมอื วัดไดห้ ลายแบบ เช่น การสงั เกตการสมั ภาษณ์ และการใชแ้ บบสอบถาม เป็นต้น

งานวิจยั ทเี่ กีย่ วขอ้ ง

งานวจิ ยั ในประเทศ
ยุทธพล เติมสมเกตุ (2555) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การแก้ไขพฤติกรรมไม่ตั้งใจเรียนในวิชา
ป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรม ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรสารวัตร รุ่นที่ 121 ในกลุ่ม
สายงานอำนวยการด้วยวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติผลการวิจัย พบว่าการเรียนการสอนโดยใช้
บทบาทสมมติสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ และตั้งใจเรียนมากขึ้น หากเนื้อหาวิชาที่เรียนมี
ความนา่ เบอ่ื และแยกตอ่ การมองเหน็ สภาพปัญหา สาเหตุ และสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทีอ่ าจเกดิ ขึน้ จริงได้
ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นเหมาะแก่การฝึกทักษะการคิด และการตัดสินใจแก้ไขปัญหาตาม
สถานการณ์ไดเ้ ปน็ อย่างดี การสอนโดยใช้บทบาทสมมติจึงเป็นเครื่องมือท่ีสามารถนำไปปรับใช้ในการ
เรียนการสอนวิชาอ่ืน ๆ ได้ดี
อรพิน แก่นบุดดี (2556) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง ผลการใช้วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ เรื่อง หลัก
ประชาธปิ ไตย กลมุ่ สาระการเรยี นรู้สังคมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่มีตอ่ ความสามารถในการคิด
แก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบ
บทบาทสมมติ มคี วามสามารถในการคิดแก้ปัญหามีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสงู กว่าก่อนเรียน
และมคี วามคงทนในการเรยี น

41

อดิศักดิ์ หวังจิตต์ (2556) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
ประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 ที่สอนด้วยวิธีการบรรยาย และ
วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเมื่อเรียนด้วยวิธีการใช้
บทบาทสมมติ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการ
บรรยาย อยา่ งมนี ยั สำคญั ทางสถติ ิที่ระดบั .05 ซ่งึ เป็นไปตามสมมตฐิ านทกี่ ำหนดไว้

กรรณิการ์ ถรี าวฒุ ิ (2560) ไดศ้ ึกษาวิจยั เร่อื ง การศกึ ษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึง
พอใจในการจดั การเรยี นการสอน รายวิชา 0109431 นทิ านสภุ าษิตจนี โดยใช้บทบาทสมมติ ของนิสิต
หลักสตู รวิชาภาษาจีน ช้นั ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยทักษิณ ผลการวจิ ัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง
เรียนโดย ใช้การเรียนการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ ในรายวิชา 0109431 นิทานสุภาษิตจีน สูง
กว่ากอ่ นเรียนอย่างมีนยั สำคัญทางสถติ ิท่รี ะดับ .05

งานวจิ ัยต่างประเทศ
เซียว เฮาจัง (Xiao Haozhang, 1997,p. 76) ไดศ้ กึ ษาการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติและการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลช่วยในการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกทักษะการฟัง พูดของผู้เรียน ผลการศึกษา
พบว่า ผู้เรียนพูดภาษาอังกฤษเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยการสอนภาษาอังกฤษที่ใช้เทคนิคกิจกรรม
บทบาทสมมติที่นนั ความถูกต้อง ความคล่องแคล่ว และการปฏิสัมพันธ์ที่มคี วามหมายผู้เรียนมีโอกาส
ริเริ่มการสื่อสารด้วยความคิดของตนเอง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ภาษาอย่างแท้จริง
ขณะเดียวกันครูก็ได้รับข้อมูลย้อนกลับ และสามารถแก้ไข ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ทันที สรุปได้ว่า
กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นเทคนิคที่สามารถพัฒนาทักษะฟัง พูดภาษาอังกฤษ และกระตุ้นให้ผู้เรียน
เกดิ แรงจูงใจในการเรียน
ซิกเลอร์และออดเคย์ (Siglier & Ockey, 1998, p. 68) ได้ศึกษาการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลางและการสอนที่เห็นความสำคัญของการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ผลจาก
การศึกษา พบว่า การเรียนโดยใชเ้ ทคนิคกิจกรรมบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่มคี วามยืดหยุ่น ผู้เรียน
สามารถคิดแนวทางในการสื่อสารที่เหมาะกับความสนใจของคน และช่วยครูในการควบคุมและ
กำหนดทศิ ทางการเรียนได้ นอกจากนี้ ครูยงั สามารถตรวจสอบพฒั นาการของผู้เรยี น และได้รับข้อมูล
ย้อนกลับด้วย และในกิจกรรมการเรียนนั้นผู้เรียนได้สร้างสรรค์สถานการณ์สื่อสารที่มีความหมาย มี
โอกาสใช้ความรู้ความสามารถในสถานการณ์เเทจ้ รงิ สามารถสรา้ งองค์ความรู้ คำศัพท์ ไดเ้ รียนรู้ และ
ยังสามารถเอาชนะอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้ภาษา และตอบสนองความต้องการที่แท้จริง ดังนั้น
ผู้เรียนส่วนใหญ่ จึงมีความกระตือรือร้นในการเรียนสนใจการเรียนภาษาอังกฤษในบริบทที่พวกเขามี
ประสบการณ์เปลี่ยนมุมมองแนวคิดจากประสบการณ์ที่เรียน และประสบความสำเร็จในการพัฒนา
ความสามารถในการสื่อสาร

42

รชิ าร์ดและรอดเจอร์ส (Richards and Rodgers, 2000. p. 68) ไดใ้ ช้กิจกรรมบทบาทสมมติ
เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรยี นวชิ าท่องเที่ยวของนักศกึ ษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัย James
Cook ประเทศออสเตรเลีย และ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการคิดริเริ่มในด้านการเขียน การสื่อสาร
และการแสดงความคิดอย่างเป็นเหตุและผล การคิดวิเคราะห์การทำงานวิจัย และการทำงานกลุ่ม
กจิ กรรมบทบาทสมมตเิ อื้อประโยชนใ์ นด้านการเรียน การฝึกทักษะ และยงั ส่งผลตอ่ การเรียน คือ ช่วย
ใหน้ ักศึกษาได้เข้าใจในกระบวนการเรียน มที ศั นคติตอ่ การเรียน รจู้ กั แก้ไขปญั หา และก่อให้เกิดความ
ร่วมมือในด้านการเรียนจากแบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเรียน และทัศนดติของ
นักศึกษาต่อกิจกรมผลปรากฏว่า นักศึกษาคิดว่าตนเองมีพัฒนาการด้านการเรียน มีทัศนคติ และ
แรงจูงใจในการเรียนในภาพรวมในระดับพอใจ ผู้วิจัยสรุปว่า การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ทำให้
นักศึกษามีพัฒนาการในทักษะกระบวนการเรียน นักศึกษามีผลการเรียนที่ดีในวิชาและมีความพึง
พอใจในระดับสูงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งน้ี ผู้วิจัยได้แนะนำให้ใช้กิจกรรมบทบาทสมมดิใน
หลกั สตู รวิชาท่องเทีย่ ว ซึ่งจะทำใหก้ ระบวนการเรยี น และการวัดประเมนิ ผลมปี ระสิทธิภาพ

โรบินสัน (Robinson. 2000) ทำวิจัยเรื่อง "การหาประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมที่ใช้
บทบาทสมมติในการเตรียมกิจกรรมสำหรับการเขียนเนือ้ เรือ่ ง" โรบินสันใช้บทบาทสมมตใิ นห้องเรยี น
เพอ่ื เตรียมความพร้อมในการเขยี นเน้ือเรื่อง โดยใหน้ ักเรยี น 2 คนแสดงบทบาทสมมติผา่ นการเล่นเกม
ทางคอมพิวเตอร์ นอกจากนักเรียนจะได้รับความสนุกสนานแล้ว นักเรียนยังเข้าถึงอารมณ์และ
ความรู้สึกของตวั ละครทางคอมพิวเตอร์ดว้ ย เสมอื นตัวเองเป็นตัวละครน้นั จริง ๆ เป็นการเตรียมความ
พร้อมก่อนจะเขียนเนื้อเรื่อง เพราะนักเรียนจะมีจินตนาการในการเขียนอย่างมีความสุข มีความคิด
สรา้ งสรรค์ มอี ิสระในการเขียนอย่างต่อเนื่อง

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติมา
ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า นักเรียนที่ได้รับ
การสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ มีพัฒนาด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์
พัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้สูงขึ้น และจัดการ
เรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติยังมีส่วนช่วยให้นักเรียนเรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนและใน
สถานการณจ์ ริง และสามารถพัฒนาการเรียนรู้ไดด้ ีข้ึน อันจะส่งผลให้นักเรียนสามารถพัฒนาด้านการ
เรียน และสามารถใช้เทคนิคในการสื่อสารกับบุคคลอื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้สามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตลอดจน มีเจคติที่ดีตอ่ การเรียนการสอนต่อไป ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำ
การจัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติมาประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกับ
นกั เรยี นชัน้ มยั ธมศึกษาปที ี่ 2 เพอื่ พัฒนาผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนในรายวิชาประวตั ศิ าสตร์

43

บทท่ี 3
วธิ ีการดำเนินการวจิ ยั

การวิจัยน้ี เป็นวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถปุ ระสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิท์ างการเรยี น
รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีผลต่อการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้รูปแบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมี
ขั้นตอนการดำเนนิ การวจิ ัย ดังภาพที่ 3.1

ขนั้ ศกึ ษาขอ้ มลู เบือ้ งตน้ ข้ันออกแบบการทดลองและเครอ่ื งมือการวิจยั
1. ศึกษาค้นคว้าแนวคดิ 1. วเิ คราะห์เนอ้ื หา
ทฤษฎหี ลักการ 2. ออกแบบเคร่อื งมือทีใ่ ช้ในการวจิ ยั
2. วเิ คราะห/์ สงั เคราะห์ 3. กําหนดเกณฑ์การแปลผล

สรุปผลการวจิ ยั ขนั้ การตรวจสอบคุณภาพเครือ่ งมอื
1. วเิ คราะหข์ อ้ มูล/แปลผลการวจิ ัย 1. เครอื่ งมือที่ใช้ในการวจิ ยั
2. สรปุ ผลการวิจยั
3. ขอ้ เสนอแนะการวิจยั 1.1 แผนการจดั การเรยี นรู้
4. นำเสนอผลการวจิ ัย 1.2 แบบทดสอบ
1.3 แบบประเมินผลงาน/ชน้ิ งานเชงิ
ข้นั ดําเนินการทดลอง ประจักษ์
1. นําเครื่องมือวจิ ยั ไปทดลองใช้ 1.4 แบบสงั เกตพฤติกรรม
2. เก็บรวบรวมขอ้ มลู 1.5 แบบประเมินความพงึ พอใจ
3. ตรวจสอบความสมบรู ณ์ 2. ตรวจสอบความตรงเชิงเนอ้ื หา
3. หาคา่ ความเช่อื ม่ัน

ภาพท่ี 3.1 ขนั้ ตอนการดำเนินการวิจัย

44

การวจิ ัยนี้ เป็นวจิ ัยประเภทเชิงทดลอง ดำเนินการวจิ ัย ดังน้ี
1. ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจยั
3. แบบแผนการวจิ ยั
4. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมลู

ประชากรและกลุม่ ตัวอยา่ ง

ประชากร คือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2566 โรงเรยี นปัญญาวรคุณ จำนวน 9 หอ้ ง รวมท้งั ส้ิน 270 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ เปน็ นักเรียนช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 2 กำลังศึกษาในภาคเรยี นที่ 1 ปีการศึกษา
2566 โรงเรียนปญั ญาวรคุณ ห้อง ม.2/1 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการสมุ่ ตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster
Sampling)

แบบแผนการวจิ ัย

การวิจัยนี้ เป็นการวจิ ัยเชงิ ทดลอง แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้รปู แบบแสดง
บทบาทสมมติ (Role Playing ) โดยใช้แบบแผนของการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest
Design (Fitz-Gibbon,1987 : 113) ดังตารางที่ 3.1

ตารางท่ี 3.1 แบบแผนของการวิจัยแบบ One-Group Pretest - Posttest Design
ทดสอบก่อนเรยี น การจดั การเรียนรแู้ บบแสดง ทดสอบหลังเรียน
บทบาทสมมติ
T1 X T2

สญั ลกั ษณท์ ใี่ ช้ในแบบแผนการวจิ ยั
T1 คอื การทดสอบกอ่ นการจัดการเรยี นรู้
X คือ การจดั การเรียนรแู้ บบแสดงบทบาทสมมติ
T2 คือ การทดสอบหลงั การจัดการเรียนรู้


Click to View FlipBook Version