มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทำนาเสร็จสิ้น ชาวนาได้
ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์ สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ มี
เรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า และพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน
เพราะอาหารที่นางถวายไม่น่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึง
รับสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท์ เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนาง
ได้ฟังพระธรรมเทศนาท่ีพระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผลด้วยอานิงสงฆ์ท่ีถวายขนมแป้งจ่ี จึง
เกิดความเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา (อ้างอิง
ข้อมูลจาก (พระปลัดศรีพล จนฺทธมฺโม, ม.ป.ป.)
ภาพ นำขา้ วจ่ีไปไหวบ้ รรพบุรุษที่ล่วงลบั ไปแล้ว วดี ิทัศน์ ประเพณบี ุญขา้ วจี่
ที่มา: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม ท่มี า: (สำนกั ศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์, ๒๕๖๕)
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์, ๒๕๖๕)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรักษ์ส่งิ แวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมทอ้ งถ่นิ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๓๓
ภาพ ประเพณีบญุ ผะเหวด
ที่มา: (สำนักศิลปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ,์ ๒๕๖๐)
เดือนสี่ บุญผะเหวด
บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ
นิยมจัดข้ึนในเดือนส่ี (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา
(บทกลอน) เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนสี่ไว้ว่า “เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้น
ข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี” แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้าน
ทำบุญข้าวจี่ และเมื่อถึงเดือนส่ี (ช่วงเดือนมีนาคม) สามเณรเทศน์กัณฑ์มัทรีในงานบุญมหาชาติ
บุญผะเหวด ถอื เป็นงานบญุ สำคญั ชาวบ้านจะจัดใหม้ พี ธิ อี ย่างใหญ่โต งานบุญต่อเน่ืองกัน ๒ - ๓ วัน
มูลเหตุท่ีมีการทำบุญมีคติความเช่ือมาจากเรื่อง พระมาลัยสูตรว่า
“พระมาลัยได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พบพระศรีอริยเมตไตรย
องค์พระศรีอริยเมตไตรยได้ดำรัสสั่งกับพระมาลัยว่า ถ้ามนุษย์อยากพบพระองค์ จงอย่าได้ทำบาปหนัก
ได้แก่ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้พระสงฆ์แตกกัน อนึ่งให้ฟังเทศน์
เรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกให้จบในวันเดียวกัน ฟังแล้วให้นำไปประพฤติปฏิบัติจะได้รับอานิสงส์มาก
และจะได้พบพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อพระมาลัยกลับมาถึงโลกมนุษย์ จึงได้บอกเรื่องราว
ให้มนุษย์ทราบ ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานผู้ปรารถนาจะพบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย จึงพากันทำบุญพระ
เวสสันดรสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน”
เมื่อถึงเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) ชาวบ้านจะประชุมกันเพื่อกำหนดวันทำบุญว่าจัดวันไหน
และจะนิมนต์พระภิกษุสามเณรที่มาเทศน์จากวัดไหนบ้าง ครั้นตกลงกันแล้วก็นำหนังสือใบลาน
เร่ืองพระเวสสันดรชาดก ซึ่งมีจำนวน ๑๓ ผูก ออกมาแบ่งให้ครบเท่าจำนวนพระภิกษุสามเณรที่จะนิมนต์
มาเทศน์ จากวัดของหมู่บ้านใกล้เคียง รวมท้ังพระท่ีอยู่วัดของหมู่บ้านตัวเองด้วย
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนุรกั ษส์ ิ่งแวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถิน่ จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๓๔
หนังสือใบลานที่แบ่งออกเรียกว่า “กัณฑ์” ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะจับฉลากแบ่งกันเป็นเจ้าภาพ
กัณฑต์ า่ ง ๆ เท่ากับจำนวนหนังสือใบลานที่แบ่งและจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มา ในอดีตครัวเรือน
ที่เป็นเจ้าภาพจะเรียกว่า “ค้ำบุญ” ทำหน้าท่ีต้อนรับพระภิกษุสามเณรและโยมผู้ติดตาม มีการตั้งผามบุญ
(ปะรำ) เรียงรายตามกำแพงรอบวัด ตั้งโอ่งน้ำด่ืม เตรียมหมากพลูบุหรี่และจตุปัจจัยไทยทาน เพื่อสำหรับ
ถวายพระภิกษุสามเณรในวันงานอีกด้วย แต่ปัจจุบันการตั้งผามบุญ เพ่ือสำหรับต้อนรับพระภิกษุสามเณร
ได้หายไปตามยุคสมัยเหลือเฉพาะการเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์อย่างเดียว
ครั้นจับสลากแบ่งกัณฑ์เทศน์เสร็จแล้ว ก็มีการออกใบฎีกานิมนต์ เรียกว่า การใส่หนังสือนิมน ต์
พระภิกษุสามเณรจากอารามต่าง ๆ มาเทศน์ พร้อมใส่หนังสือใบลานที่แบ่งเป็นกัณฑ์ไปด้วย พระภิกษุ
สามเณรที่ได้รับใบฎีกานิมนต์พร้อมหนังสือใบลานกัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะฝึกเทศน์ให้ชำนาญก่อนถึงวันบุญที่จะ
มาเทศน์ฉลองศรัทธาแก่ชาวบ้าน
ก่อนวันงานชาวบ้านจะออกไปรวมตัวกันที่วัด เพื่อจัดตกแต่งประดับศาลาโรงธรรมประกอบด้วย
ต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกไม้ตามฤดูกาลข โดยนำมาร้อยให้สวยงาม เช่น ดอกทองกาว ดอกสะแบง
ดอกพระยอม ดอกปีป ฯลฯ ส่วนผู้สูงอายุจะเตรียมทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ ธูปเทียน และข้าวตอก
ดอกไม้เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องบูชาคาถา รอบศาลาโรงธรรมจะมีธงผะเหวดปักไว้ ๘ ทิศ ตามต้นเสา
มีขันกะย่อง ที่สานด้วยไม้ไผ่ผูกติดไว้เพื่อใช้ใส่ข้าวพันก้อน และตั้งหอพระอุปคุตที่ด้านทิศตะวันออกของ
ศาลา ป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายท้ังปวง
ข้างธรรมมาสน์ที่ใช้แสดงธรรมจะมีดาบ ปืนติดไว้ และอ่างน้ำ ๔ ใบ ที่จำลองขึ้นเป็นสระน้ำ
มีจอก แหน (สาหร่าย) ต้นบัว ดอกบัว ผักตบอยู่ในอ่างด้วย หน้าธรรมมาสน์จะต้ังหม้อน้ำมนต์ และเครื่อง
บูชาต่าง ๆ ไว้สำหรับเจ้าภาพมาจุดธูปเทียนบูชาตามกัณฑ์เทศน์ของตนเอง การจัดตกแต่งศาลาโรงธรรม
ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงวันงาน
งานบุญผะเหวดจะจัดอยู่ ๒ วัน
๑. มื้อโฮม (วันรวม) โดยในตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร
ช่วงบ่ายมีการอัญเชิญพระอุปคุตจากสระหรือหนองน้ำใกล้หมู่บ้านมาประดิษฐาน ณ หอที่ตั้งไว้ มีขบวน
แห่อัญเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรี พร้อมด้วยกัญหาและชาลีเข้าเมือง บางท้องที่จัดใหญ่โตมีช้าง
ประกอบขบวนแห่อย่างเอิกเกริก ส่วนชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ตามป่าโคกเพื่อมาบูชาพระ เข้าร่วมขบวนแห่
มีดนตรีกลองยาวเล่นอย่างสนุกสนาน
๒. มื้องัน (วันเทศน์) ตอนเช้าตรู่เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. มีการแห่ข้าวพันก้อนที่ชาวบ้านทำจาก
ข้าวเหนียวปั้นให้เป็นลูกกลมขนาดเท่าหัวแม่มือจำนวน ๑,๐๐๐ ก้อน (เป็นคติการบูชาคาถา ๑,๐๐๐
พนั คาถาในเรื่องพระเวสสันดรชาดก) นำมาแห่รอบศาลาโรงธรรม ๓ รอบ แตล่ ะรอบก็นำข้าวพนั ก้อนวางไว้
ตามขันกะยอ่ งทผ่ี ูกไวต้ น้ เสาธงผะเหวดให้ครบท้ัง ๘ ทศิ จากนั้นพระภิกษุสามเณรก็จะเร่ิมเทศน์ต้ังแต่กัณฑ์
สังกาส คือ การบอกศักราชกล่าวถึงอายุกาลของพระพุทธศาสนาที่ล่วงมาตามลำดับ ต่อมาเป็นการเทศน์
วัฒนธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ กั ษ์ส่งิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมท้องถิ่น จังหวดั เพชรบูรณ์ ๓๕
พระเวสสันดรชาดก เริ่มกัณฑ์แรก คือ กัณฑ์ทศพร เรียงตามลำดับกัณฑ์ไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวันจนถึงนคร
กัณฑ์เป็นกัณฑ์สุดท้าย
การเทศน์ของพระภิกษุสามเณรมี ๒ ลักษณะ
๑. เทศน์แบบอ่านหนังสือหรือเทศน์ธรรมดาเป็นทำนองคล้ายกับการสูตรขวัญของอีสาน มีหลาย
ทำนองตามความถนัดของพระผู้เทศน์ เช่น ทำนองกาเต้นก้อน ทำนองช้างเทียมแม่
๒. เทศน์เล่นเสียงยาว ๆ หรือเรียกว่าเทศน์แหล่ พระผู้เทศน์มีการเล่นลูกคอและทำเสียงสูงต่ำ
เพ่ือให้เกิดความไพเราะ ส่วนญาติโยมท่ีนั่งฟังเทศน์ เม่ือพระภิกษุสามเณรท่ีตนรับเป็นเจ้าภาพรับกัณฑ์ขึ้น
เทศน์ เจ้าภาพก็จุดเทียนบูชาคาถา หว่านข้าวตอกข้าวสาร ในช่วงเวลาที่พระภิกษุสามเณรกำลังเทศน์อยู่
น้ัน ถ้าพระผู้เทศน์เสียงดี ญาติโยมชาวบ้านก็จะถวายปัจจัยพิเศษเพ่ิมเติมเรียกว่า “แถมสมภาร” และช่วง
เย็นมีการแห่กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน
กัณฑ์จอบ คือต้นดอกไม้เงินกัณฑ์พิเศษที่เจ้าของกัณฑ์เจาะจงจะนำไปถวายพระผู้เทศน์รูปใดรูป
หน่ึงโดยเฉพาะ จึงเรียกว่ากัณฑ์จอบ (จอบ หมายถึง แอบดู) เม่ือเวลาที่จะนำไปถวายเจ้าภาพต้องไปแอบ
ดูให้รู้แน่เสียก่อนว่า พระที่กำลังเทศน์อยู่น้ันคือพระที่เจ้าภาพศรัทธาหรือไม่ ถ้าใช่จึงแห่ต้นกัณฑ์จอบเข้า
ไปยังอาราม เมื่อเทศน์เสร็จก็นิมนต์ลงมารับถวาย
กัณฑ์หลอน คือต้นดอกไม้เงินที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกันทำขึ้นด้วยศรัทธา จากคุ้มต่าง ๆ ภายใน
หมู่บ้านไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าจะถวายแด่พระภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง ทั้งต้นกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน
มีการแห่ด้วยวงกลองยาวพิณแคน ผู้ร่วมขบวนฟ้อนรำอย่างสนุกสนาน เมื่อนำไปถึงอารามพระหรือ
สามเณรรูปใดกำลังเทศน์อยู่ เมื่อท่านเทศน์จบก็นิมนต์มารับกัณฑ์หลอนต้นนั้น พระเณรรูปใดหากถูก
กัณฑ์หลอนถือว่าโชคดี เพราะกัณฑ์หลอนมีปัจจัยมาก ดังผญาอีสานว่า “ถูกกัณฑ์หลอน มันซิรวยข้าวต้ม”
แปลว่า ถ้าได้รับถวายกัณฑ์หลอนจะรวยข้าวต้มที่มาพร้อมกับต้นกัณฑ์หลอน ในปัจจุบันประเพณี
บุญผะเหวดนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านและเป็นการค้ำจุน
พระพุทธศาสนาไปอีกทางหนึง่ ดว้ ย (จักรมนตรี ชนะพันธ์, ๒๕๖๕)
วดี ิทัศน์ บุญเดอื นสี่ บญุ ผะเหวด
ทีม่ า: (ศูนยศ์ ิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๕๙)
วฒั นธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนุรักษส์ งิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถน่ิ จงั หวดั เพชรบูรณ์ ๓๖
ภาพ สรงนำ้ เจ้าพอ่ เจ้าแม่ในงานบญุ สงกรานต์
ท่ีมา: (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘)
เดือนห้า บุญสงกรานต์
บุญสงกรานต์ หมายถึง ประเพณีไทยเดิม ที่ถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ธรรมเนียมไทย มักจะมี
การละเล่น รื่นเริง มีกิจกรรมการรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ญาติพี่น้องที่เคารพนับถือ และทางศาสนาก็จัด
ให้มีการบายศรีพระสงฆ์สมภารเจ้าวัด สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เท่าที่มีตามวัดต่าง ๆ ในชนบทหลาย
แห่งจะมีการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ จะเริ่มจากวันที่ ๑๓ เมษายน และมีการเล่นสนุกสนานไปราว ๆ
๑ สัปดาห์
กิจกรรมวันสงกรานต์
- การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และอุทิศส่วนกุศลน้ันแก่ผู้ล่วงลบั
ไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเปน็
ทรี่ วมสำหรบั ทำบุญในวนั นห้ี ลังจากท่ไี ด้ทำบญุ เสร็จแล้ว กจ็ ะมกี ารกอ่ พระทรายอนั เป็นประเพณีดว้ ย
- การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำท่ีรดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
- การสรงน้ำพระ จะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและท่ีวัด และบางที่จัดสรงน้ำพระสงฆ์ด้วย
- การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะน่ังลง
แล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไป
ถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
- การดำหัว คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรด
น้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือการขอพรปีใหม่จาก
ผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ ักษส์ ิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๓๗
- การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความ
เจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด (https://citly.me/oxzbD, ๒๕๖๕)
วดี ิทัศน์ บญุ เดอื นหา้ : บุญฮดสรง
ท่ีมา: (ศูนย์ศิลปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, ๒๕๕๙)
วัฒนธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถ่นิ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๓๘
ภาพ เจา้ พ่อเจ้าแมแ่ ห่บ้งั ไฟ
ทม่ี า: (สำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘)
เดือนหก บุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจาก
นิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้
กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร
ซึ่งชาวบ้านมีความเช่ือว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟ
เป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่ทำการจัดงานบุญบั้งไฟบชู า ฝนก็จะไมต่ กถูกตอ้ งตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิด
ภยั พิบตั กิ บั หมบู่ ้านได้ ชว่ งเวลาของประเพณบี ุญบง้ั ไฟ คือ เดือนหก หรือพฤษภาคมของทุกปี
ความเช่ือของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพล
ของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือ
เทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า
ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมี
ความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่
แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวบ้าน
จำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมี
นิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่ วีดิทศั น์ บญุ เดอื นหก : บุญบ้งั ไฟ
แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ ท่มี า: (ศนู ย์ศิลปวฒั นธรรม
เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจน
ชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, ๒๕๕๙)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนรุ ักษ์สงิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถน่ิ จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๓๙
ภาพ ประเพณบี ญุ ซำฮะ
ท่ีมา: (สำนกั ศลิ ปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ์, ๒๕๕๘)
เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
“ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย ตลอดไปฮอด
อ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า นิมนต์สังฆเจ้าขำระแท้สวด
มนต์ ใหฝ้ งู คนเมืองนน้ั ทำกันอย่าได้หา่ ง สตู รชำระเมอื งอย่าค้างสเิ สีย เศร้าต่ำศนู ย์ ทุกข์สิแลน่ วุ่น ๆ มาโฮมใส่
เต็มเมือง มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า ให้เจ้าทำตามนี้ แนวเฮาสิกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน
ทกุ ขห์ มน่ื ฮ้อยซน้ั บ่มีวา่ พาน ปานกบั เมืองสวรรค์ สขุ เก่งิ กันเทียมได้”
ประเพณีบุญเดือนเจ็ด หรือ บุญซำฮะ เป็นงานบุญประเพณีที่จัดข้ึนมีจุดประสงค์เพื่อ ปัดรังควาน
และขับไล่เสนียดจัญไร ตลอดถึงเหล่าภูติผีปีศาจหรือส่ิงชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน คำว่า “ซำฮะ” ก็คือ
“ชำระ” ท่ีหมายถึง การล้างให้สะอาด บุญซำฮะ อาจจะเรียกว่าเป็น บุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้าน ซ่ึงในงาน
บุญนี้นอกจากจะทำพิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายแล้ว ยังต้องมีการทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เพื่อให้เกิด
ความเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้านและประชาชน
ด้วยความเชื่อตามตำนานจึงได้จัดให้มีประเพณีบุญซำฮะขึ้นในเดือนเจ็ดเป็นประจำทุกปี
ในการจัดงานบุญซำฮะหรือบุญเบิกบ้าน ชาวบ้านจะตกแต่งบริเวณพิธีด้วยการนำต้นกล้วยมาสี่ต้นทำเป็น
เสา ผูกยึดด้วยสายสิญจน์ และจะมีการโยงสายสิญจน์ไปยังบ้านทุกหลังในหมู่บ้าน แล้วนิมนต์พระมาเจริญ
พระพุทธมนต์ นอกจากนี้จะมีการนำหินเข้าพิธี เมื่อปลุกเสกเสร็จพระหรือพราหมณ์ก็จะนำหินที่ปลุกเสก
ไปหว่านทั่วหมู่บ้าน เพื่อปัดรังควานในปัจจุบันบางหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ชาวบ้านจะนำหินใส่ถุงเขียนชื่อ
ตนเอง เมื่อเสร็จพิธีก็จะมารับกลับไปหว่านท่ีบ้านของตนเอง บ้างก็นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านของตนไปเข้าพิธี
เพื่อปลุกเสก โดยมีพระสงฆ์ร่วมด้วย
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ กั ษ์ส่ิงแวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมท้องถน่ิ จงั หวัดเพชรบูรณ์ ๔๐
เรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญซำฮะ
กาลคร้ังหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองไพสาลี เป็นยุคเข็ญเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฟ้าฝนไม่
ตกต้องตามฤดูกาล สรรพสิ่งต่างก็พากันเจ็บป่วยล้มตายด้วยโรคห่า หรืออหิวาตกโรค ชาวบ้านที่ยังมีชีวิต
อยู่จึงไปนิมนต์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมาปัดเป่าทุกข์ภัย พระพุทธองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับ
พระสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป กว่าพระองค์จะเดินทางมาถึงเมืองไพสาลีก็ใช้เวลานานถึง ๗ วัน เมื่อพระองค์
เสด็จมาถึงพร้อมคณะสงฆ์ก็เกิดฝนห่าแก้วตกลงมาอย่างหนัก จนน้ำท่วมเมืองไพสาลีสูงถึงหัวเข่า แล้วน้ำก็
ไหลพัดพาเอาซากศพต่าง ๆ ลงสู่แม่น้ำจนหมดสิ้น พระองค์จึงทำน้ำพระพุทธมนต์ให้พระอานนท์ไป
ประพรมทั่วเมือง นับตั้งแต่บัดนั้นโรคร้ายก็สูญหายไปจากบ้านเมือง
บุญซำฮะ นิยมทำกันในเดือน ๗ จัดทำได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม การชำฮะ (ชำระ) สะสางสิ่ง
สกปรกโสโครกให้สะอาด ปราศจากมลทิลโทษ หรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะสิ่งที่ต้องการทำให้
สะอาดนั้นมี ๒ อย่าง คือ
๑. ความสกปรกภายนอก ได้แก่ ร่างกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย
๒. ความสกปรกภายใน ได้แก่ จิตใจเกิดความโลภมาก โกรธ หลง เป็นต้น
แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือ บุญชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดข้าศึกมาราวี
ทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้น เกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตาย ถือกันว่า
บ้านเมืองเดือดร้อน ชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีล
ให้ทานเป็นต้น
การทำบุญซำฮะนี้มักทำกัน ๓ คืน โดยมีการฟังพระสวด
มนต์เย็น และถวายอาหารบิณฑบาตทุกเช้าวันรุ่งขึ้น และในวัน
สุดท้ายของบุญซำฮะ นอกจากมีถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว
ชาวบ้านจะนำสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอย กระติบข้าว
ตะกร้า หวด ฯลฯ ที่ชำรุดแล้ว กระบอกปลาร้าที่ไม่ได้ใช้ เศษหม้อ
เศษถ้วยชามที่แตก เป็นต้น ขนไปทิ้งนอกหมู่บ้านอีกด้วย หรือทำ
การเผา หรือฝัง เพื่อทำให้บริเวณบ้านสะอาดเรียบร้อย ถือว่าเป็น
การนำสิ่งอัปมงคลออกจากบ้าน จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจาก วีดิทัศน์ รอ้ ยเร่ืองเมืองไทย
สิ่งเสนียดจัญไรและโรคภัยไข้เจ็บท้ังปวง บุญซำฮะปกติทำปีละครั้ง ตอน บญุ ซำฮะ
แต่บางปีชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขอาจเว้นไม่ทำบ้างก็ได้ (ประตูอีสาน
, ๒๕๖๓) ทีม่ า: (krajokhokdan, ๒๕๕๖)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนุรกั ษส์ ิง่ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมทอ้ งถิ่น จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๔๑
ภาพ ตกแตง่ เทียนเขา้ พรรษา
ทมี่ า: (สำนักงานวฒั นธรรมจงั หวัดมหาสารคาม, ๒๕๖๒)
เดอื นแปด บญุ เขา้ พรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันข้ึน
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ถือว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธที่สำคัญวันหนึ่งของประเทศไทย โดยมีกำหนด
ระยะเวลา ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน ซึ่งวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจาก
วันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘) พุทธศาสนิกชนชาวไทย รวมถึงพระมหากษัตริย์และบุคคลทั่วไป
ไดส้ ืบทอดประเพณีการปฏบิ ัตแิ ละการทำบุญในวันเขา้ พรรษามาชา้ นานตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตให้จำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอดระยะเวลา ๓
เดือนแก่พระสงฆ์นั้น ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักจากการจาริกเผยแผ่ศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ที่จะเป็นไป
ด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจำพรรษตลอด ๓ เดือนนั้น เป็นช่วงเวลา
และโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาส หรือสถานที่ใดสถานที่หน่ึง
เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความ
สามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วยเอง อีกทั้งในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอด ๓ เดือนน้ัน
พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือว่าเป็นโอกาสอนั ดที ี่จะได้บำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรม
เทศนา และนับเป็นโอกาสพิเศษที่มากกว่าวันสำคัญอื่นๆ โดยในวันเริ่มต้นพรรษานี้จะมีการถวายหลอดไฟ
หรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ เพื่อไว้สำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้ตลอด
การอยจู่ ำพรรษา
วฒั นธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถ่นิ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๔๒
กจิ กรรมวนั เข้าพรรษา
- รว่ มกิจกรรมทำเทยี นจำนำพรรษาและถวายเทียนพรรษา
- รว่ มกิจกรรมถวายผ้าอาบนำ้ ฝน และจตปุ ัจจัยแก่ภกิ ษสุ ามเณร
- ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟงั ธรรมเทศนา รกั ษาอุโบสถศีล
- อธิษฐาน งดเวน้ อบายมุขตา่ งๆ
วีดิทศั น์ บุญเดอื นแปด บุญเขา้ พรรษา
ทม่ี า: (ศนู ยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๕๙)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนรุ กั ษ์สง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถ่นิ จังหวดั เพชรบรู ณ์ ๔๓
ภาพ ประเพณีบญุ ห่อข้าวประดบั ดิน
ทีม่ า: (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ์, ๒๕๕๙)
เดือนเก้า บุญห่อข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน คือ บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า (ประมาณเดือนสิงหาคม) เป็นการนำ
ข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็น
ห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่
ชาวบ้านจัดข้ึนเพ่ืออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ความเป็นมา
มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์เมื่อตายแล้วไปเกิดในนรก
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมา
แสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธ
องค์ทูลเหตุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีกแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วน
กุศลการทำบุญข้าวประดับดิน ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณี ที่ต้องทำเป็น
ประจำทุกปี ที่มาของงาน เนื่องจากคนลาวและ
ไทยอีสาน มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณ
กาลแล้วว่า กลางคืนของเดือนเก้าดับ (วันแรม
๑๔ ค่ำ เดือน ๙) เป็นวันที่ประตูนรกเปิด
ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติใน
โลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี
ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ ภาพ งานประเพณบี ญุ ห่อข้าวประดับดิน
ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ทมี่ า: (https://citly.me/m9CB1, ๒๕๕๖)
ให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
วฒั นธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนรุ กั ษส์ ่งิ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมทอ้ งถ่นิ จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๔๔
พิธีกรรม
ในตอนเย็นของวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ญาติโยมเตรียมจัดอาหารคาวหวาน และหมากพลู บุหรี่
ไว้กะให้ได้ ๔ ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่ สามอุทิศให้
ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อ
คือ ใช้ใบตองห่อ ขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง อาหารคาวหวาน ที่ใส่ห่อนั้น
จะจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ
- ข้าวเหนียวท่ีน่ึงสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน
- เน้ือปลา เน้ือไก่ หมู แกะใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
- กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอ่ืน ๆ ลงไป
- หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เม่ียงหนึ่งคำ
หลังจากนั้นนำใบตองมาห่อเข้ากันแล้วใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อย
ที่มีลักษณะยาว ๆ หมาก พลู หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ สีเสียด แก่นคูน นำมาห่อใบตอง
เข้าด้วยกันแล้วไม้กลัดหัวท้าย ก็จะได้ห่อหมาก พลู หลังจากนั้นนำทั้ง ๒ ห่อมาผูกกันเป็นคู่ แล้วนำไปมัด
รวมเป็นพวง ๑ พวง จะใส่ห่อหมากและห่อพลูจำนวน ๙ ห่อ ต่อ ๑ พวง
การวางห่อข้าวน้อย
การวางห่อข้าวน้อย หมายถึง การนำห่อข้าวน้อยไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ พอถึงเวลา
ประมาณ ๐๓.๐๐ - ๐๔.๐๐ น. ของวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าว
น้อยท่ีจัดเตรียมได้แล้วไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด วางไว้ตามดินริมกำแพงวัด วางไว้ริมโบสถ์ ริมเจดีย์ใน
วัด การนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามที่ต่าง ๆ ในวัดเรียกว่า การยายห่อข้าวน้อย (วางเป็นระยะ ๆ)
ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้องตีกลองแต่อย่างใด
หลังจากการยาย (วาง) ห่อขา้ วนอ้ ยเสรจ็ ชาวบ้านจะกลับบ้าน
เพื่อเตรียมอาหารใส่บาตรในตอนเช้าของวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙
หลังจากนี้น พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอานิสงฆ์
ของบุญข้าวประดับดินให้ฟัง ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทาน
ถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะ
กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน
( https://citly.me/m9CB1, ๒๕๕๖)
วีดิทัศน์ บุญเดือนเกา้ : บญุ ข้าว
ประดบั ดนิ
ทม่ี า: (ศนู ยศ์ ิลปวฒั นธรรม
มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, ๒๕๕๙)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ ักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๔๕
ภาพ ประเพณบี ญุ ข้าวสาก
ท่มี า: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ,์ ๒๕๕๙)
เดือนสิบ บุญข้าวสาก หรือสลาก
ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นการทำบุญเพ่ืออุทิศส่วนกุศลให้แก่
ผู้ตายหรือเปรตผู้เป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท)
ไปถวายพระภิกษุสามเณร
พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่
ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่ง
ก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร
โดยการถวายจะใชว้ ิธีจับสลาก นอกจากนีช้ าวบ้านยงั นำเอาห่อหรอื ชะลอมหรือข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณ
วัด พรอ้ มจดุ เทยี นและบอกกล่าวให้ญาติมติ รผู้ลว่ งลับไปแลว้ มารับเอาอาหารและผลบุญท่ีอุทิศให้ มีการฟัง
เทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตา
แฮก ณ ท่ีนาของตนด้วย เป็นเสร็จพธิ ีทำบญุ ขา้ วสาก (สำนักงานวฒั นธรรม จังหวัดรอ้ ยเอด็ , ๒๕๖๑)
วีดิทศั น์ บุญเดอื นสิบ บญุ ข้าวสาก
ที่มา: (ศูนย์ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๙)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนุรกั ษ์สิ่งแวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมทอ้ งถ่ิน จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๔๖
ภาพ ประเพณบี ญุ ออกพรรษา
ทีม่ า: (สำนักงานวฒั นธรรมจงั หวดั เพชรบูรณ,์ ๒๕๖๔)
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
ประเพณีบุญออกวัสสา หรือ บุญออกพรรษา เม่ือถึงวันข้ึน ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระสงฆ์ทำพิธีออก
พรรษาตามหลักธรรมวินัย คือ ปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ญาติโยมทำบุญถวายทาน รักษาศีล เจริญ
ภาวนา บางแห่งนิยมทำการไต้น้ำมัน หรือไต้ประทีป และพาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ไปถวายพระสงฆ์
พิธีทำบุญออกพรรษา ตอนเช้ามีการตักบาตร หรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหาร มีการไต้น้ำมัน
ล้างหางประทีป มีการถวายผ้าห่มหนาวพระภิกษุสามเณร บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรั บศีล
ฟังเทศน์ ตอนค่ำจะมีจุดประทีป นอกจากนี้บางท้องถิ่นจะมีการถวายต้นพาสาดเผิ่ง หรือปราสาทผึ้ง
ล่องเรือไฟ เพื่อเป็นการบูชาและคารวะพระแม่คงคา (อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัด
ร้อยเอ็ด)
วีดทิ ัศน์ บุญเดือนสิบเอด็ บญุ ออกพรรษา
ทม่ี า: (ศูนย์ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ , ๒๕๕๙)
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนุรกั ษ์ส่งิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถน่ิ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๔๗
ภาพ ประเพณบี ญุ กฐนิ
ที่มา: (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ,์ ๒๕๕๙)
เดือนสบิ สอง บญุ กฐิน
จัดข้ึนในช่วงวันแรม ๑ คำ่ เดอื น ๑๑ – วันเพ็ญเดอื น ๑๒ เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆท์ ี่จำพรรษา
ตลอดชว่ งเขา้ พรรษา นับเปน็ งานบุญทีก่ ระทำมาแต่โบราณ
มูลเหตุการทำบุญกฐินมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ที่พระเชตุวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออก
พรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน
ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของ
พระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด
ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน ๓ ประเภท
๑. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ ๒๔ ชั่วโมง
๒. มหากฐิน
๓. กฐนิ ตกคา้ ง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซงึ่ พระสงฆจ์ ำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐนิ
พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร
พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็
เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระ
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรักษ์สิง่ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถนิ่ จังหวดั เพชรบูรณ์ ๔๘
อุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวาย
พระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและ
บริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธี
คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คอง แปลว่า
แนวทาง หรือครรลอง หมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง
และสิบส่ี หมายถึง ข้อวัตร หรือแนวทางปฏิบัติสิบส่ีข้อ ดังนั้นคองสิบ
สี่ จึงหมายถึง ข้อวัตร หรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับนับตั้งแต่
พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคน วีดทิ ัศน์ บญุ เดือนสบิ สอง บุญกฐิน
ธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังน้ี ท่มี า: (ศูนย์ศลิ ปวฒั นธรรม
๑. เป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจน มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๕๙)
ผู้ปกครองบ้านเมือง
๒. เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชน
ต่อพระมหากษัตริย์
๓. เป็นหลักปฏิบัติท่ีพระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนใน
ครอบครัวท่ีปฏิบัติต่อกัน
๔. เปน็ หลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขตามจารีตประเพณี
นอกจากฮีตสิบสอง ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ในบางชุมชนจะมีชื่อประเพณีที่เรียกเฉพาะถิ่น
และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่ว เมื่อถึงเวลาที่ชุมชนนั้น ๆ จัดประเพณีก็จะมีผู้คนจากทั่วสารทิศมาเที่ยวชมงาน
ในท่ีน้ี จะขอยกตัวอย่าง เช่น สรงน้ำพระธาตุวัดวังเวิน ประเพณีแข่งเรือหล่มเก่า ประเพณีแห่กัณฑ์หลอน
เป็นต้น
****************************************
วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรกั ษ์สิง่ แวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมทอ้ งถิน่ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๔๙
หน่วยการเรียนรู้ท่ี ๔
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ ๔ ชื่อหนว่ ย พธิ กี รรมและความเชื่อของชาวตำบลหล่มเกา่ เวลาเรียน ๓ ชวั่ โมง
หลักสูตรท้องถิ่น เรอ่ื ง วัฒนธรรมศกึ ษา ชุมชนหล่มเกา่ สำหรับนกั เรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ ๕
โรงเรียน....................................................................
*************************************************************************************************************
สาระสำคญั
พิธีกรรมและความเชื่อดั้งเดิมที่สำคัญของชาวหล่มเก่า คือการนับถือผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือ
ธรรมชาติ ดังนั้น คนไทหล่มจึงมีวิธีการปฏิบัติต่อผีที่ตนนับถือผ่านพิธีกรรมที่สำคัญของชาวหล่มเก่า ได้แก่
๑. พิธีกรรมปัว ๒. พธิ ีกรรมกนิ ดองเจา้ ๓. พธิ ีกรรมเล้ยี งปเี จ้าพอ่
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. เพ่อื ใหผ้ เู้ รียนสามารถอธบิ ายความเป็นมาความเชื่อและพิธกี รรมท่สี ำคัญของชมุ ชนหลม่ เกา่ ได้ (K)
๒. เพอ่ื ให้ผ้เู รยี นสามารถเปรยี บเทยี บความแตกต่างของพธิ ีกรรมแต่ละพิธีกรรมของชมุ ชนหล่มเกา่ ได้ (P)
๓. เพ่อื ใหผ้ ู้เรยี นมจี ิตสำนกึ และเป็นพลเมืองทด่ี ีตามวิถชี มุ ชนหลม่ เก่า (A)
วฒั นธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนรุ กั ษ์ส่ิงแวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถนิ่ จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๕๐
กระบวนการจัดการเรยี นรู้
กระบวนการจดั การเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ดงั น้ี
ข้นั การต้ังคำถาม
นักเรยี นตัง้ คำถามจากภาพที่เห็นใหไ้ ด้มากที่สุด เวลา ๑๐ นาทผี ่านระบบ Padlet
ภาพ วถิ ชี ีวติ ของชาวบา้ น ชุมชนหลม่ เกา่
ที่มา: (สำนักงาน อ.ส.ท. การทอ่ งเท่ยี วแห่งประเทศไทย, ๒๕๖๓)
ขน้ั การรวบรวมข้อมูล
นักเรียนแบ่งกลุ่มคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อน ศึกษาใบความรู้ พิธีกรรมและความเชื่อ
ของชาวตำบลหลม่ เก่า
ข้นั การจดั การขอ้ มูล
๑. นักเรียน เปรียบเทียบความแตกตา่ งของพิธีกรรมแต่ละพิธีกรรมของชุมชนหล่มเก่าเป็นแผนภาพ
อินโฟกราฟกิ
๒. นกั เรยี นจำลองการประกอบพธิ ีกรรมสำคัญของชาวหล่มเก่า อยา่ งน้อยกลุ่มละ ๑ พธิ ีกรรม
ขั้นการนำเสนอ
นกั เรยี นแตล่ ะกลมุ่ นำเสนอผลงานตนเอง ครูใหข้ ้อเสนอแนะเติมเต็มผลงานนกั เรยี น
ขนั้ สะท้อนบทเรียน (AAR)
นักเรียนแต่ละคนสะท้อนผลการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้พิธีกรรมสำคญั ของชาวหล่มเก่า ครูให้
ข้อเสนอแนะเตมิ เต็มผลการสะทอ้ นของนักเรยี นผา่ นระบบ Padlet
วฒั นธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนรุ กั ษส์ ่งิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมท้องถนิ่ จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๕๑
ใบความร้ทู ี่ ๔
พธิ ีกรรมและความเชอ่ื ของชาวตำบลหลม่ เกา่
พิธีกรรมและความเชื่อดั้งเดิมที่สำคัญของชาวหล่มเก่า
คือ การนับถือผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ถึงแม้ใน
ปัจจุบันนี้พระพุทธศาสนาจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาว
หล่มเก่าแล้ว แต่ยังคงมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่ง ซึ่งยังคงเชื่อถอื
กันมายาวนาน ได้แก่ การนับถือผีแถนและผีบรรพชน คนไท
หล่มและคนลาวทั่วไปมีความเชื่อว่า นอกจากมนุษย์แล้ว ยังมี
สิ่งที่เรามองไม่เห็นเรียกว่า “ผี” ซึ่งก็แบ่งออกเป็นสองจำพวก ภาพ ขบวนแห่พิธีเล้ียงปี
คือ ผที ี่ใหโ้ ทษ และผีทใี่ หค้ ณุ ผที ใ่ี หโ้ ทษตามความเชอื่ ของคนไท ที่มา: (สำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม
หลม่ ไดแ้ ก่ ผปี อบ ผเี ป้า ผีโพง ผพี ราย ผีตายโหง ซงึ่ เป็นผีไม่ดี มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ,์ ๒๕๕๖)
และมักให้โทษแก่มนุษย์ และผีฝ่ายดี ได้แก่ ผีฟ้า ผีแถน
(เทวดา) ผีบรรพชน หรือผีบรรพบุรุษ ผีเจ้านาย ผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ผีตาแฮก ผีบ้าน และผีเรือน เป็นต้น
ดังนั้น คนไทหล่มจึงมีวธิ กี ารปฏบิ ตั ิต่อผีทีต่ นนับถือผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ โดยมีผู้สือ่ สารทีเ่ รียกวา่ “เจ้าพ่อ”
“พ่อกวน” “เฒ่าจ้ำ” และ “นางเทียม” เป็นผู้ติดต่อระหว่างวิญญาณและมนุษย์ มีข้อสังเกตว่า คำว่าผู้
ส่ือสารในทีน่ อี้ าจจะไม่ใช่ร่างทรงเสมอไป อาจเปน็ เพยี งผนู้ ำในการประกอบพธิ เี ท่าน้นั แล้วแต่ว่าชุมชนน้ัน ๆ
จะนับถือผีของตนอย่างไร วิธีปฏบิ ตั ิตนตอ่ ส่ิงศักด์ิสิทธิ์เหล่านั้นเรียกว่า การเข้าของรักษา คือในตระกูลของ
เรานับถือผีเจ้านายตนใดก็สืบทอดต่อ ๆ กัน เรียกว่า “เป็นลูกผึ้งลูกเทียน” ซึ่งก็จะต้องให้ความเคารพยำ
เกรงและปฏิบัติตามคำสั่งของผีเจ้านาย และจะต้องทำพิธีบอกกล่าวก่อนที่จะลงมือทำการงานอะไร เช่น
การทำนา ทำไร่ กต็ อ้ งบอกกล่าวแกผ่ ที ีต่ นนับถือเสียก่อน เปน็ ตน้
พิธกี รรมทีส่ ำคัญของชาวหลม่ เก่า
๑. พิธีปัว
ความเช่ือกับพิธีปัวเป็นความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไข้โดยการเชิญผีฟ้า หรือแถนมาช่วยรักษา
อุดม เชยกีวงศ์ (๒๕๔๕: ๒๑๙ - ๒๒๖) กล่าวว่า ผีฟ้าหรือผีแถนมีลักษณะเป็นเทพมากกว่าผี กล่าวคือ
ผีฟ้าจะคอยช่วยเหลือมนุษย์เม่ือยามประสบภัยพิบัติ ผีฟ้าเป็นผีที่มีอำนาจสูงสุด และเป็นผู้ที่อยู่ในระดับที่
สูงกว่าผีชนิดอื่นมิได้อยู่ตามต้นไม้ ภูเขาหรือพื้นดิน ชาวอีสานทุกท้องถิ่นนับถือผีฟ้ากันอย่างเคร่งครัด
เมื่อถึงวันพิธีก็ต้องประกอบพิธีลงข่วงผีฟ้าเป็นการสำนึกและตอบแทนบุญคุณแถน เป็นคำเรียกใน
ความหมายรวมถึงเทวดาซึ่งมีอยู่หลายระดับและแถนที่เป็นใหญ่ หรือแถนหลวงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระ
อินทร์ ชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้า ผีแถนหรือพญาแถนเป็นเจ้าแห่งผีเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา
วัฒนธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนรุ ักษส์ ่ิงแวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมท้องถ่นิ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๕๒
ผีฟ้าสามารถทำให้ดีหรือให้ร้ายแก่มนุษย์ สามารถดับทุกข์เข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ ตลอดจน
คอยช่วยเหลือมนุษย์เมื่อยามเจ็บป่วยไข้ชาวบ้านจะประกอบพิธีรำผีฟ้ารักษาโดยอัญเชิญขอร้องอ้อนวอน
ให้ผีฟ้าลงมาช่วยขจัดโรคภัยซึ่งในการรักษาผู้ป่วย โดยการรำผีฟ้านั้นต้องอัญเชิญให้ผีฟ้าลงมาช่วย
สอดส่องหาสาเหตุของการป่วยและช่วยปกป้องคุ้มครองผู้ป่วยที่รักษาน้ันให้หายปลอดภัย ถือเป็นผีบรรพ
ชนของตนจึงต้องศรัทธาเคารพยำเกรงและทำพิธีกรรมบวงสรวงอยู่เสมอ ชาวอีสานต้องอ้อนวอนและ
อัญเชิญผีฟ้าให้มาช่วยรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยเชื่อว่าการเจ็บป่วยของมนุษย์ การรำผีฟ้าเป็นพิธีกรรมรักษา
ผู้ป่วยโดยการเชิญผีฟ้าให้ลงมาสิงสถิตอยู่ในร่างของคนทรงหรือนางเทียมเพื่อที่จะทำนายลักษณะอาการ
ของผู้ป่วย ประกอบพิธีรักษาและยังเป็นสื่อกลางระหว่างผีที่มากระทำให้ร้ายกับผู้ป่วยให้มีความเข้าใจต่อ
กัน พิธีกรรมการรำผีฟ้ามีปรากฏทั่วไปในภูมิภาคอีสานโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ ๔ ส่วน คือ หมอลำผี
ฟ้า หมอแคน ผู้ป่วย และเครื่องคาย ซ่ึงมีรายละเอียดดังนี้
หมอลำผีฟ้าที่เข้าพิธีรักษาผู้ป่วยน้ันมักมีผู้ร่วมพิธี ๔ - ๕ ราย ทุกคนจะนุ่งผ้าซ่ินไหมมีเชิง สวม
เสื้อแขนยาวสีขาวและมีผ้าสไบพาดบ่า บางท้องถ่ินหัวหน้าหมอลำผีฟ้าจะนุ่งผ้าพ้ืนม่วงเสื้อแขนสั้นสีขาว มี
ผ้าไหมคาดเอว เป็นต้น หมอลำผีฟ้า โดยปกติมักเป็นผู้หญิงบางท้องถิ่นกำหนดให้เป็นผู้หญิงสวยเฉพาะ
อย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดเลย ผู้เป็นหมอลำผีฟ้าจะต้องสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มหมอลำผีฟ้าเท่านั้น ผีฟ้า
สามารถเข้าสิงร่างได้ท้ังชาย หญิง และเด็ก
หมอแคน หรือหมอม้าที่เข้ามาร่วมในพิธีกรรมจะต้องมีประสบการณ์เป่าแคนมาเป็นอย่างดี
เนื่องจากการประกอบพิธีกรรมรำผีฟ้าจะใช้ระยะเวลานานจะต้องเป่าแคนอยู่อย่างต่อเนื่อง ลายแคนที่
นิยมเป่าเป็นลายใหญ่หรือลายโป้ซ้าย
ผู้ป่วยจะต้องแต่งกายตามข้อกำหนดของพิธีกรรม มีผ้าไหมหรือผ้าขาวม้าพาดบ่า มีดอก
มะละกอซึ่งจัดร้อยเป็นพวงทัดหู ผู้ป่วยอาจฟ้อนรำกับหมอลำผีฟ้าด้วยก็ได้
เครื่องคาย เป็นปัจจัยสำคัญเป็นสิ่งประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาผีฟ้า ตลอดจนครูอาจารย์ผู้
ล่วงลับและเป็นการอัญเชิญให้มาช่วยรักษาผู้ป่วย เครื่องคายดังกล่าวจะต้องวางไว้ในถาดเครื่องเซ่น เมื่อ
ประกอบพิธีเสร็จจะยกเครื่องคายท้ังหมดขึ้นต้ังไว้บนหิ้งเป็นเวลา ๑ คืน จึงยกลงมาได้
รูปแบบหรือลักษณะการรำผีฟ้าอาจมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถ่ินหรือมีบางอย่าง
ท่ีคล้ายกัน เช่น หมอแคนจะเริ่มเป่าแคน ผู้ป่วยท่ีมีอาการไม่หนักถ้าลุกได้จะลุกมาร่วมฟ้อนรำด้วย แต่ถ้า
ไม่สามารถลุกขึ้นได้จะเป็นฝ่ายนอนดูการฟ้อนรำไม่มีกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับผู้ป่วย คณะผู้ฟ้อนรำจะทำ
หน้าที่ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าผู้ป่วยต้องการให้เลิกจะต้องเลิก ก่อนเลิกพิธีจะไปกราบท่ีเครื่องคาย ๓ ครั้ง ถือว่า
เป็นอันเสร็จพิธีจากนั้นก็จะนำเครื่องคายขึ้นไปเก็บไว้บนห้ิง
วัฒนธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนุรกั ษ์สิง่ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถน่ิ จังหวดั เพชรบรู ณ์ ๕๓
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นลักษณะของการรำผีฟ้าของชาวอีสานซึ่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกั บ
พิธีปัวที่มีการอัญเชิญแถนหรือเทพมาช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากผู้ป่วยของชาวบ้านวังบาล และชาวบ้าน
นาทราย อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวัฒนธรรมความเชื่อกับการรักษาโรคด้วยวิธีการปัวของ
ชาวหล่มเก่าหรือชาวไทหล่มเกิดจากแรงศรัทธาและเชื่อว่าจะสามารถรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายเป็น ปกติ
ได้ จากรูปแบบพิธีกรรมการรำผีฟ้าของชาวอีสานมีองค์ประกอบคล้ายกับพิธีปัวคือเป็นการรักษาโรคทาง
ใจโดยมีเจ้าพ่อเจ้าแม่ มีหมอแคนทำการเป่าแคนเพื่อประกอบพิธีกรรมมีเครื่องคายต่าง ๆ ที่ใช้บูชาแถน
เพ่ือที่จะรักษาผู้ป่วยตามความเชื่อในวิถีของชาวไทหล่มท่ีได้รับการสืบทอดความเช่ือจากบรรพบุรุษที่มีเชื้อ
สายชาวลาวน้ันเอง
ความเป็นมาของพธิ ีปัว
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม (มปป.) กล่าวว่า การปัว เป็นความเชื่อที่เปรียบเหมือนการรักษา
โดยพิธปี ัว เกดิ ขึ้นเน่ืองจากในหมู่บา้ นมีคนเจบ็ ป่วยและรักษาไม่หายจนต้องมีพิธีปวั เพ่ือให้ทราบสาเหตุของ
การป่วย
จันทร์พิมพ์ มีเปี่ยม (๒๕๖๐: ๑๘๘) กล่าวว่า กมล บุญเขต กล่าวถึงการปัวเป็นความเชือ่ ของ
ชาวบ้านซง่ึ มีลักษณะความเชื่อคล้ายกับการรำผีฟ้าเพ่ือรักษาโรคบ้างก็เรียก รำผีแถน เปน็ การรักษาโรคทาง
ใจแบบหนึ่งของชาวลาวชาวอีสาน โดยมีความเชื่อว่าเป็นโรคที่เกิดจากการกระทำของสิ่งที่มองไม่เห็นอาจ
เป็นภูตผี ญาติพี่น้องจะหาหมอมาทำพิธีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ (เครื่องบูชา) และมีหมอแคนมาเป่า เจ้าพิธีจะรำ
แบบหมอรำเร่ืองบอกเนื้อความในทำนองขับไลผ่ ี และเชิญพญาแถนมาช่วยปกป้องคุ้มครองแก่คนไข้ เจ้าพิธี
จะอยูใ่ นลกั ษณะภวังค์เหมือนคนทรงจะถามไถ่อาการคนไขห้ รือสาเหตุการเจบ็ ปว่ ย
มานะ บญุ เกดิ (๒๕๕๗, ตุลาคม ๑๐) กล่าววา่ การปัวเปน็ การรักษาโรคภยั ไขเ้ จบ็ โดยผ้ทู ่รี กั ษา
ไม่ได้เป็นหมอและไม่ได้ใช้ยาในการรกั ษา แต่ในความเช่ือกลบั พบว่าผู้ที่รักษาได้ตั้งตนเป็นผูท้ ีต่ ิดต่อกับเทพ
เจ้าพ่อภูตผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อืน่ ๆ ตามความเชือ่ ซึง่ คนป่วยจะมีลักษณะซมึ เศร้าหรือคลุม้ คล่ัง เม่ือรักษาได้
แล้วสิ่งตอบแทนที่ผู้ทำพิธีปัวจะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับญาติของผู้ป่วยว่าจะให้สิ่งใด อาจเป็นเงินหรือเป็น
สิ่งของตา่ ง ๆ ก็ได้ เจา้ พ่อเจ้าแมจ่ ะไม่เรียกรอ้ งส่ิงตอบแทนใด ๆ ในการรกั ษาตามศรัทธา
มลู เหตขุ องการเจ็บป่วยตามแนวคดิ ของพธิ ีปัว
จนั ทรพ์ มิ พ์ มีเป่ียม (๒๕๕๗, สิงหาคม ๙) กลา่ ววา่ กมล บุญเขต ไดพ้ ูดถึงเหตุของกาเจ็บป่วย
เกิดจาก ๒ สาเหตุ ดงั นี้
๑. ความเช่ือท่เี กิดจากการป่วยด้วยการกระทำของผีปา่ โดยเหตุของการเจ็บปว่ ยลักษณะเช่นนี้
จะส่งหรือแลกเปลี่ยนด้วยกระทงสี่เหลี่ยม กระทงหน้าวัว หรือกระทงสามเหลี่ยม และกระทงตัด โดยนำ
กระทงมาเรียงกันโดยเริ่มจากกระทงสี่เหลี่ยมวางไว้ก่อนแล้วตามด้วยกระทงหน้าวัวและกระทงตัด
ตามลำดับ และวางไว้ในตำแหน่งปลายเท้าของผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยหันหน้าออกทาง ประตูบ้าน เวลาทำพิธี
วฒั นธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนุรกั ษส์ ิ่งแวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมท้องถิน่ จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๕๔
นั้นจะกระทำในบ้านในช่วงเวลาหัวค่ำประมาณ ๑ ทุ่ม โดยจะใช้เทียนและธูปจุดใส่ในกระทงทั้ง ๓ ชนิด
ครัน้ เสรจ็ พธิ แี ลว้ ให้นำกระทงทง้ั สามไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งและจะทำพิธีติดต่อกนั สามวัน
๒. ความเชื่อจากการป่วยท่ีถูกกระทำของผบี ้าน เหตุการณ์เจ็บป่วยในลักษณะเชน่ น้ีผูป้ ระกอบ
พิธีจะใช้สีผึ้งหรือขี้ผึ้งหุ้มฝ้ายฟั่นความยาวเท่ากับรอบหัวผู้ป่วย เพื่อใช้เป็นเทียนน้ำมนต์สำหรับการขอ
แลกเปลี่ยนระหว่างหยดเทียนลงขันน้ำมนต์ ในการทำขันน้ำมนต์ของชาวบ้านนัน้ ชาวบ้านจะมีคำกล่าวโดย
ใหร้ ะลึกถงึ แต่องคเ์ จา้ พอ่ อู่คำ โดยระลกึ วา่
“...ให้เขาหาย ให้ลกู ให้หลาน คนปว่ ยน้ี ให้ซว่ ง ใหเ้ ซา ใหฟ้ น้ื ใหถ้ อน ใหอ้ อกเจบ็ นอกให้ถอน
เสีย ให้หายวันหายคนื ให้ระงับดบั หาย ให้ปลอดภัย จากโรคภยั นีเ้ ถดิ ...” (มานะ บญุ เกิด, ๒๕๕๐)
ขอ้ หา้ มของผู้ประกอบพิธีปัว
๑. หา้ มรับประทานอาหารของบา้ นผ้ปู ว่ ย
๒. ห้ามรบั ประทานอาหารของงานศพ
๓. ห้ามนำอาหารทผี่ า่ นงานศพมารับประทาน
๔. อาหารทถ่ี วายพระแล้วห้ามรบั ประทาน
๕. ห้ามรับประทานของเหลือจากคนอ่ืน
๖. วันที่ไม่นยิ มทำพิธีปัว คือ วนั พระ วนั พธุ ช่วงเขา้ พรรษา หากจำเป็นสามารถทำได้
ตัวอยา่ งชื่อเจา้ พอ่ บา้ นนาทราย และบ้านวังบาล
๑. เจา้ พ่ออู่คำ - อู่แกว้ ๒. เจ้าพอ่ ตอมาด ๓. เจา้ พ่อขุนไทร
๖. เจา้ พ่อเหล็กซี
๔. เจ้าพ่อขุนไกร ๕. เจา้ พอ่ ขุนจบ ๙. เจ้าพ่อขนุ หลวง
๗. เจา้ พอ่ ขุนเดช ๘. เจ้าพ่อขุนรัก
ข้ันตอนการประกอบพธิ ปี ัว
๑. ขนั้ เตรียมการ
ก่อนที่จะทำพิธีปัว ผู้ป่วยหรือเจ้าบ้านจะต้องเข้ามาหาเจ้าพ่อที่ศาลเจ้าพ่อขุนไทร เพื่อมาดู
ว่าตัวเองนั้นเป็นอะไร สิ่งที่จะต้องนำมาด้วยนั้นคือ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ห่อนิมนต์ เพื่อที่จะให้ท่านช่วยดูว่ามัน
เกิดอะไรขึ้นกับตัวผู้ป่วย ในการรักษาผู้ป่วยจะใช้เครื่องบัตรพลีหรือเครื่องคาย โดยต้ังเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘
เงนิ ๒๔ บาท ๕๐ สตางค์ พร้อมของคาวหวานและอื่น ๆ ใส่กระทงหน้าววั ในการต้งั เคร่ืองบัดพลีจะมีการ
พยากรณต์ ามวันเดอื นปีเกิดของผ้ปู ว่ ย และมีการจัดเตรียมเครื่องต่าง ๆ ดังน้ี
๑.๑ หอปราสาท คอื เครื่องบวงสรวงท่ีใช้ประกอบพิธีการปัวจะมีการจำลองช้ันปราสาทของ
เหลา่ เทพด้วยการทำหอปราสาท ๑๒ ชนั้ ทำดว้ ยกาบกล้วยตดั ให้เปน็ รูปส่ีเหลี่ยมไลจ่ ากใหญ่ไปหาเล็ก แล้ว
นำไม้ไผ่เหลาเปน็ ชิ้นเลก็ ๆ มาเสยี บตรงกาบของกระทงสเ่ี หลย่ี ม ใหเ้ รยี งกันจนเตม็ แล้วปดู ว้ ยกาบกล้วยอีกที
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนุรกั ษส์ ่ิงแวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมท้องถนิ่ จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๕๕
ทำแบบนท้ี ัง้ หมด ๑๒ กระทง หลังจากนั้นกน็ ำกา้ นกล้วยเขา้ มาทำเป็นขาทั้ง ๔ ดา้ น และนำก้านมะพร้าวมา
มัดตดิ กบั กา้ นกล้วยโดยใชต้ อกมดั ช้นั ละ ๕ ท่ี ขาท้งั ๔ ด้าน ด้านบนของหอปราสาทจะมดั ด้วยตอก
เครอ่ื งใชท้ ใี่ สใ่ นหอปราสาท ประกอบดว้ ย
๑) จอก ออ้ ย กล้วย ขา้ วต้มห่อดว้ ยใบตอง เน้ือหมปู ิ้ง
๒) เมย่ี ง ประกอบดว้ ย ตำตะไครใ้ ส่เกลือห่อดว้ ยใบมนั สำปะหลัง
๓) จบี หมาก ประกอบด้วยเปลือกไม้ฝอยและยาสูบหอดว้ ยใบพลู
๔) ข้าวดำ คือ ข้าวเจ้าสุกผสมจากเขม่าไฟที่ติดก้นหม้อก้นกระทะหยิบเต็ม ๑ ฝ่ามือ
ขา้ วหวานทผ่ี สมดว้ ยนำ้ ตาล ขา้ วเหลอื งทีผ่ สมดว้ ยไข่แดงใส่หอปราสาท ๑๒ ชัน้
๕) ปลา เป็นปลาทงั้ ตัวเสยี บใส่ไม้
๖) แกงส้ม และแกงหวาน
๗) พริก และเกลอื ก้อน
๘) ธงชยั ๔๘ อัน นำมาเสยี บทขี่ าปราสาท ๔ ขา ขาละ ๑๒ อนั
๙) ถุงขา้ วสาร และถุงขา้ วเปลอื ก อยา่ งละ ๑๒ ถุง
๑๐) รูปป้ันเทวดา ๑ องค์
๑๑) บายศรี ประกอบด้วย ดอกไมข้ าว ธปู ๓ ดอก แล้วนำวางไว้บนยอดของหอปราสาท
๑๒) ทอง ทำด้วยขมิ้นที่หั่นเป็นแว่นร้อยด้วยก้านมะพร้าวเป็นพวง แล้วนำมาปักรอบ
ปราสาท ๑๐ พวง
๑๓) รูปป้นั สัตว์ ๑๑ ชนิด และปัน้ คนรวมเป็น ๑๒ ชนดิ
๑๔) สร้อยทอง ๔ เสน้ นำไปไวบ้ นยอดปราสาท
๑๕) เทยี น ปกั ด้านข้างของกระทงดา้ นละ ๑๒ เลม่
๑๖) ถงุ เงนิ ๔ ถงุ ประกอบด้วยเงนิ เหรียญบาท ๒ ถงุ เหรียญสตางค์ ๒ ถงุ ซง่ึ แต่ละถุง
จะมีเงิน ๓๐ บาท
๑๗) สร้อยสังวาลย์ทำจากขมิ้นร้อยแล้วมัดรอบห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว ซึ่งเส้นรอบวง
ของสร้อยสังวาลย์มขี นาดประมาณ ๒ ฟุตคร่งึ แลว้ นำมาหอ้ ยตามเสา ๔ เสา
๑๘) ด้ายสายสิญจน์ จะเวียนด้ายสายสิญจน์ทางขวาให้รอบทีละชั้นตามชั้นของหอ
ปราสาทเร่ิมจากล่างข้ึนบนของหอปราสาท ด้ายสายสิญจนท์ ี่เวยี นรอบหอปราสาทใช้ด้ายสายสิญจน์รวมกัน
ทั้งหมด ๑๒ เส้นมดั รวมกัน
จากเครื่องใช้และสิ่งที่ต้องใส่ในหอปราสาท ๑๒ ชั้น ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นในการ
จัดเตรียมสิ่งของในข้อที่ ๑, ๒, ๓ และ ๑๓ จะต้องจัดเตรียมจำนวน ๑๔๔ ชิ้น โดยวิธีการจัดวางสิ่งของท่ี
เตรียมไว้จะนำมาใสใ่ นหอปราสาทแต่ละช้นั
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนรุ ักษส์ ง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถ่นิ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๕๖
ภาพ ตัวอย่างรปู ป้ันสัตวต์ า่ ง ๆ
ที่มา: (มานะ บญุ เกิด และวิลยั ชนิ โพธิ์, ๒๕๕๐)
จากภาพพบว่า ชาวไทหล่มมีความเชื่อและศรัทธาต่อพิธีปัวที่รักษาผู้ป่วย โดยจาก
ความเชื่อที่ว่าเปน็ การขับไล่ผี หรือสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไป ดังนั้นการปั้นรูปคนและรูปสัตว์ต่าง ๆ ด้วยดินน้ำมัน
แล้วนำมาใสใ่ นหอปราสาททกุ ช้ันเพื่อใช้ทำพิธีในการไปส่งแถนหรอื เทวดาตามความเชอ่ื ของชาวไทหล่ม
ภาพ จำลองหอปราสาททำด้วยกาบกล้วย ๑๒ ชน้ั
ท่มี า: (มานะ บญุ เกดิ และวิลัย ชินโพธิ์, ๒๕๕๐)
ชาวบ้านได้จำลองหอปราสาทที่ทำด้วยกาบกล้วย ๑๒ ชั้น และนำสิ่งของต่าง ๆ
ที่กล่าวมาในข้อที่ ๑.๑ ใส่ในหอปราสาทเพื่อใช้ในการประกอบพิธีปวั ซึง่ ถือได้ว่าเป็นรูปแบบและเอกลักษณ์
ของท้องถนิ่ ไทหล่ม
วฒั นธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนุรักษส์ งิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถ่นิ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๕๗
๑.๒ เครอื่ งบัดพลี ซึ่งมลี ักษณะดังน้ี
๑) กระทง ๓ เหลีย่ ม ในกระทงนป้ี ระกอบดว้ ย ปลาแหง้ ปลาร้า เกลอื พริก ข้าวดำ
ขา้ วแดง เทียน ไขด่ บิ นำ้ เหลา้
ภาพ กระทงสามเหล่ยี ม
ท่ีมา: (มานะ บุญเกดิ และวลิ ัย ชนิ โพธ์ิ, ๒๕๕๐)
กระทงสามเหลี่ยมเป็นกระทงที่ชาวไทหล่มนำสิ่งของในข้อที่ ๑.๒ และข้อ ๑)
ทีก่ ล่าวมาขา้ งตน้ นำมาใสใ่ นกระทงเพือ่ เปน็ การสะเดาะเคราะห์ และนำไปไวบ้ รเิ วณถนน หรือทางสามแพร่ง
ซึง่ เปน็ สว่ นหนึ่งของพิธีปัว
๒) กระทง ๔ เหลย่ี ม ในกระทงน้ีประกอบดว้ ย
๒.๑) ข้าวหวาน
๒.๒) เหลา้
๒.๓) น้ำ ๑ จอก (จอกคือใบฝรั่งนำมาม้วนเข้าด้วยกันโดยให้ด้านบน บานออก
และดา้ นลา่ งชิดติดกนั เพื่อไม่ใหข้ องเหลวทใ่ี สร่ ัว่ )
๒.๔) ดอกไมข้ าวและเทียน ๑ เล่ม (การวางเทียนใหน้ ำมาวางไวข้ ้างกระทง)
๓) คายคุ้ม (คายใหญ่) ประกอบดว้ ย
๓.๑) บุหรี่ ๑ ซอง
๓.๒) เทียนขาวตง้ั ตรงกลางถาดใหญ่ ๑ เลม่
๓.๓) มดี ดาบวางไว้ตรงกลางถาด
๓.๔) กรวยดอกไม้ขาว ๑ คู่
๓.๕) เทียนเหลอื ง ๑ คู่
๓.๖) เทียนขาว ๕ เลม่
๓.๗) กรวยดอกไม้ ๒๖ กรวย
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนุรักษส์ ง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถ่ิน จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๕๘
๓.๘) หอ่ นิมนต์ ๔ ห่อ โดยวางคายคมุ้ สลบั บนขอบถาดกับขนั ธ์ ๕ ขันธ์ ๘
๓.๙) เงินค่าคาย ๒๔ บาท ๕๐ สตางค์
๔) หอนมิ นต์ ประกอบไปดว้ ยกรวยทำจากใบตองมีดอกไมส้ ีขาว ๑ คู่ และเทยี นอันเล็ก
๑ คู่ จะใสไ่ วใ้ นหอปราสาทชนั้ ละ ๑ หอ่ รวม ๑๒ ชัน้
๕) ขันธ์ ๕ ประกอบไปดว้ ย
๕.๑) เหล้าขวดเล็ก ๑ ขวด
๕.๒) กระทิงแดง ๑ ขวด
๕.๓) ไขด่ ิบ ๑ ฟอง
๕.๔) เงนิ ๖ บาท ๒๕ สตางค์ หอ่ ดว้ ยกระดาษขาว
๕.๕) ฝ้าย ๑ ไจ
๕.๖) กรวยใบตอง ๕ กรวย โดยใส่ดอกไม้ขาว ๑ คู่ และเทียนเล่มเล็ก ๑ คู่
๖) ขันธ์ ๘ ประกอบด้วย
๖.๑) กรวยใบตอง ๘ กรวย ในกรวยใสด่ อกไม้ขาว ๑ คู่ และเทยี นเล่มเล็ก ๑ คู่
๖.๒) ห่อนมิ นต์ ๑ ห่อ
๖.๓) เงนิ ๑๒ บาท ๕๐ สตางค์
๗) ขันน้ำมนต์ ประกอบด้วย
๗.๑) ใบเงิน
๗.๒) ใบคำ
๗.๓) ใบวา่ นสน (กาบพลับพลึง)
๗.๔) มะกรดู ฝาน ๗ ชิ้น
๗.๕) ขม้นิ ฝาน ๗ ช้ิน
๗.๖) วา่ นฝาน ๗ ชน้ิ
๗.๗) สม้ ป่อยเผาไฟใหม้ นั แดงแลว้ ฝานลงขันน้ำมนต์ ๑ ช้นิ
วฒั นธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนรุ กั ษส์ ่งิ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถนิ่ จงั หวัดเพชรบูรณ์ ๕๙
ภาพ ขนั นำ้ มนต์
ทมี่ า: (มานะ บุญเกดิ และวลิ ัย ชินโพธ์ิ, ๒๕๕๐)
จากภาพพบว่า คนไทยยังมีความเชื่อเรื่องน้ำมนต์เป็นน้ำที่เสกเพื่ออาบกินหรือประพรมถือกันว่า
เป็นมงคล ดังนั้นการทำขันน้ำมนต์กับความเชื่อในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บมีมานานคู่กับสังคมไทย จากที่
กล่าวมาขา้ งตน้ เป็นขนั้ ตอนการเตรยี มการและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใชป้ ระกอบพธิ ีปัว และหลังจากน้ันจะเป็น
ขัน้ ตอนในการประกอบพิธปี ัว
ขั้นตอนประกอบพิธปี ัว
มานะ บุญเกิด (๒๕๕๐, ตุลาคม ๑๐) กล่าววา่ ขั้นตอนการบวงสรวงและการประกอบพิธีปัว
เมือ่ เตรยี มเครือ่ งบัตรพลบี วงสรวงเสรจ็ ผปู้ ระกอบพิธจี ำนวน ๖ คน ไดจ้ ัดวางเครือ่ งบัตรพลีและเสอื้ ผา้ โดย
เส้ือผ้าจะเป็นสเี ขยี ว สีแดง ตามลกั ษณะของแถน พิธจี ะเริ่มโดยเสยี งแคนเพลงสุดสะแนนซึง่ ถือเปน็ เพลง
ปฐมสำหรบั ไหว้ครู เทวดา หวั หนา้ ผู้ประกอบพธิ ีไดต้ ัง้ นะโมสามจบแลว้ อญั เชิญเทวดา สงิ่ ศักดสิ์ ิทธ์ิ ในทุกชั้น
ภพเจา้ พ่อตอมาดให้มารับรู้การกระทำพธิ ีขอไถ่ชวี ติ ของคนป่วยจากเทวดาหรือสิง่ ชัว่ ร้ายต่าง ๆ ทจี่ ะมาเอา
ชีวติ ของคนปว่ ยไป และรบั แลกกบั สิง่ พลบี ูชา เครอื่ งบวงสรวงทต่ี ระเตรยี มใหผ้ ปู้ ่วยมีชวี ิตทีเ่ ป็นปกติสขุ ผู้
ประกอบพธิ จี ะพูดบอกผีพาย ผเี ปรต ทีม่ าทำอันตรายให้กับคนไข้ให้ออกไปจากคนไข้ ซงึ่ เปน็ คำพูดของ
คนปัว ค่าคายสมยั กอ่ นมีไก่ต้มหน่ึงตวั โบราณเรียกว่า ไก่กุลาเหล้าหน่ึงไห
ตวั อย่างคำกลา่ วของผู้ประกอบพิธี
“...ให้สูออกไปเน้อให้ออกไปนอก ไปรับบรรณาการของฝากมากหลาย คนคนนี้เป็น
ข้าพระพุทธเจ้า เป็นบา่ วพระมหากษัตริย์ ตัวนหี้ นกั เกิง่ ฟ้า หนาเกงิ่ ดิน ถ้ากบู อกให้สูหนี สูฟ้าวหนี สูหนีไป
โลด หนีไปทางผีตะบิดตะปอย ให้สูหนีไปทางลูกทางท่า สูอย่ามาขี้คนต่างช้างต่างม้า ให้สูหนีไปทางพ่อค้า
ทิศเหนือ ให้สูหนีไปทางผีตายเหลืองควรไข้ แม้สูหนีบ่ได้ให้ฮ่องไฮ้หนีเสือ กูสะสำริดตน อนุภาพ ครูบา
อาจารย์ ประสิทธิ์ให้แก่กู ลันเคเตโร เวลาสันตุอมเซ็น ๆ พุทธเซ็น ๆ ชัวหายะ ทั่วธน บัดนี้ให้สูไปอยู่เดิน
วัฒนธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนุรักษส์ งิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถนิ่ จงั หวดั เพชรบูรณ์ ๖๐
คอง ถ้าใหส้ ไู ปอย่หู น้าคองเอาถึงยามเองจะเอาให้มนั ประหัดกู จะให้มึงโลด สูอย่ามาทำคน ๆ นี้อีกต่อไปถ้า
มงึ บ่ไปกอ่ นเทา้ เหลก็ กู ทวี พี นั สอง กอ่ นเท้าทองกู ทีวพี ันส่ี ถา้ สหู นีไม่ทัน พระยาเวทสุวรรณ์ ให้กฆู ่าสู กูก็จะ
ฆ่าบอกให้ กูตสี ูกกู ็จะตี อยา่ มาข่ีคน ต่างช้างต่างม้าให้สไู ปเสียเลย...” (มานะ บุญเกิด, ๒๕๕๐.)
จากคำบอกกล่าวของผู้ประกอบพิธี พบว่า ผู้ประกอบพิธีเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อตอมาดซึ่ง
ชาวบ้านเชื่อว่าท่านเป็นผู้ที่มาคอยปกปักรักษาและอาสาเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์โลกกับ
เทวดาภูตผีปีศาจไม่ให้ใครมาทำร้ายซึ่งกันและกัน เพราะในบางครั้งมนุษย์อาจกระทำความผิดต่อผีสาง
เทวดา ทำให้ผีสางเทวดาไม่พอใจ ความเชื่อนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่ามนษุ ย์ไม่สามารถติดต่อกับผู้ที่อยู่ในภพ
อื่น ๆ ได้ และผู้ใดก็ตามที่มาทำอันตรายให้กับคนป่วยให้มารับเอาเครื่องบัตรพลีสักการะแล้วรีบหนีไป
โดยเรว็ พลันไม่ทางใดกท็ างหนึ่ง อาจเปน็ แมน่ ำ้ ลำคลองหรือหนีไปทางทุ่งนากว้าง แตห่ ากผู้น้ันไม่รีบหนีไปผู้
ประกอบพธิ ซี ง่ึ ไดร้ ับอนุญาตจากส่งิ ศักดส์ิ ทิ ธทิ์ ้ังปวงจะดำเนนิ การจัดการต่อผู้นั้นหรอื ฆา่ เสียให้ตาย
ภาพ รา่ งทรงเจา้ พ่อตอมาด หัวหนา้ ผู้ประกอบพธิ ี
ทม่ี า: (จันทรพ์ มิ พ์ มีเปี่ยม, ๒๕๕๐)
จากภาพพบว่า ชาวไทหล่มมีความเชื่อและศรัทธาในเจ้าพ่อ โดยเฉพาะการรักษาอาการป่วย
ด้วยการปัวเชื่อว่าเจ้าพ่อตอมาดคือประธานผู้ประกอบพิธีปัว ท่านจะเป็นคนบอกกล่าวและเป็นสื่อกลาง
ติดตอ่ ระหวา่ งมนุษยโ์ ลกกับเทวดาภตู ผีปศี าจไม่ใหใ้ ครมาทำรา้ ยซึ่งกันและกนั
การสื่อสารเพื่อประกอบการปัว เมื่อผู้ประกอบพิธีทราบสาเหตุของการเจ็บป่วยจึงได้ให้เหล่า
บรรดาเจา้ พ่อตา่ ง ๆ เป็นผเู้ จรจาหรือตดิ ต่อโดยหัวหน้าผ้ปู ระกอบพิธเี ป็นผเู้ จรจาแลกเปลยี่ นสลบั กับหมอลำ
ร้องบทวงิ วอนเหลา่ เทพและแถนให้ปลดปล่อยผปู้ ว่ ยใหห้ ายจากอาการซึมเศร้า ไม่มีสติขณะที่บรรดาตัวแทน
เจ้าพอ่ ร่ายรำไปตามบทและเสยี งแคนลายสุดสะแนน ดงั นี้
“...จงหายเชิญเจ้าพ่อตอมาด เสื้อเมืองทรงเมือง เจ้าพ่อนาย ขุนจบ ขุนศรี ขุนไกร ขุนไทร ขุน
เดช พร้อมเพรยี บท้งั หมู่ขุนเสนาอมาตย์ข้อยข้ามาใช้ มาแตง่ พอยอให้เจา้ มิ่ง เจา้ แนน เจา้ เฒ่า เจ้าแถน พระ
อินทร์ พระพรหม พระยมมิบาน (ยมบาล) โลกจกั รวาลท้งั ๔ ตลอดทศิ นี้...”
วฒั นธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ กั ษ์ส่งิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถิ่น จงั หวัดเพชรบูรณ์ ๖๑
“...สาธุ สาธุ สาธุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพรหมสถานแห่งนี้ในโลกนี้ ให้มีศักดิ์สิทธิ์ในเนื้อ ในกาย คนที่
เจ็บไข้ได้ป่วย ข้าพเจ้าท้าวเป็นขุน อยู่ในบริเวณตอมาด (ตะเคียน) ข้าว่ามาปราบเภทภัยเภทพ่ายแพ้ศัตรู
กะดี มาบนเล่าเกา้ สิบขอให้สิงสถติ อยู่ ๑๖ ชน้ั ฟ้า ๑๕ ชั้นดนิ ก็ด.ี ..” (มานะ บญุ เกิด, ๒๕๕๐.)
จากข้อความข้างต้น พบว่า ตัวแทนเจ้าพ่อตอมาดและเหล่าเสื้อเมือง เจ้าพ่อทั้งหลายได้พากัน
มาอ้อนวอนให้เหล่าเทพเทวาที่สิงสถิตวิมานชั้นฟ้า มารับเอาเครื่องบัตรพลีบูชาเพื่อแลกเปลี่ยนกับชีวิตท่ี
ผาสุกของคนป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยยังจะมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองสืบไปภายหน้า และเพื่อเขาจะได้เป็นที่พึ่งของ
บุพการเี ปน็ ผอู้ ปุ ถมั ภ์พทุ ธศาสนาในฐานพทุ ธศาสนิกชนทด่ี ีต่อไป
ตัวอยา่ งบทเจรจา เจ้าพอ่ ตอมาด
“...สาธุ สาธุ นะโม ตะ สะ ภะ คะ วะ โต อะ ละ หะ โต สัมพทุ ธสั สะ
สาธุ สาธุ นะโม ตะ สะ ภะ คะ วะ โต อะ ละ หะ โต สัมพุทธัสสะ
สาธุ สาธุ นะโม ตะ สะ ภะ คะ วะ โต อะ ละ หะ โต สัมพทุ ธสั สะ
พทุ ธัง ชีวิตตงั สาระนงั คะ ฉามิ ธมั มัง ชวี ิตตงั จะชามิ สงั คงั ชีวิตตัง สาระนงั
คะชามิ...”
(จันทร์พมิ พ์ มีเปี่ยม, ๒๕๖๐)
“...ข้าพเจ้าเป็นท้าว เป็นขุน ผู้ข้าขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสากลโลกนี้ ข้าพเจ้าขอเจ้าข้าว เจ้าเณรขอ
ท้ายขอมวล ข้าพเจ้าข้นึ ไปขอ ไปมิง่ ไปแนน ขอไถ่บ่าวขน้ึ …”
“...สาธุ สาธุ ขอใหข้ า้ พเจ้าเหลา่ เทพา จงให้ส่ิงศักดสิ์ ทิ ธ์คิ นนีบ้ ัดนีม้ าแตช่ ัยมา แต่หนิ ทา่ มาแต่
น้ำเต้า คอยสอนผู้มาซ่วยร้วย (ดีตลอด) เมื่อกูใจฮ้ายให้มึงหนี เมื่อกูสีหน้าบ่ดี ให้มึงลงท่า ให้มึงหนีลูกข้า
โอม สัก เค สกั คาย นาราย นาซว่ งดวงมลู ไม่เร่อื งมีฤๅษีแทงเตาตาสถาต...”
“...สาธุ สาธุ ลูกพระอินทร์ พระพรหม พระยมภิบาล (ยมบาล) โลกจักรวาล ทั้งสี่จงมาให้ส่ิง
ศกั ดิ์สทิ ธ์ิ แกแ่ มน่ างน้อยคนน้ี...”
“...สาธุ สาธุ เทพเจา้ เหล่าเทพาอนิ ทราเทวราช เทพดา เจ้าทัง้ หลาย ดลู า เทพดา เจ้าทั้งหลาย
จงเสด็จลงมาในสถานที่นี้ เจ้ากูจงมารับเอาเครื่องบูชาอันนี้ มีข้าวต้มใส่น้ำตาล มีของหวานใส่น้ำอ้อย ของ
แซบชอ้ ยมีกินทกุ อยา่ ง มีกล้วย มีออ้ ย มีขา้ ว มซี ิ้นจี่ (เนอื้ )...” (มานะ บุญเกดิ และวลิ ัย ชินโพธิ์, ๒๕๕๐: ๗๑)
จากนั้นก็จะนำสายสิญจน์มาคล้องคอให้กับผู้ป่วย และให้ทุกคนที่อยู่ร่วมงานเอาเงินบี้คนละ
หนง่ึ บีเ้ ตรียมไว้สำหรับซ้ือผู้ปว่ ยคนื ในระหวา่ งพธิ ีการเจรจาตัวแทนเจา้ พ่อตอมาดและคณะให้นำผู้ป่วยมาท่ี
หอปราสาทท่เี ตรียมไว้ โดยใช้ดา้ ยสายสญิ จน์ผูกโยงผปู้ ว่ ยกับหอปราสาทและผูป้ ่วยน่ังพับเพยี บพนมมือและ
ต่อด้วยรอ้ งหมอลำเชญิ เจ้านำเจา้ แถน (เทวดา) แล้วก็กล่าวว่า
วัฒนธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรักษส์ ่งิ แวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมท้องถน่ิ จังหวดั เพชรบรู ณ์ ๖๒
“...สาธุเด้อ เทพบุตรผู้เทิงอยู่ชั้นฟ้า เทวดาผู้อยู่ชั้น ๔ สาเอาเด้อ ธรณี หนักน้ำ ให้มาพร้อม ให้
สำกันเม่อื นนี้ น้ั นางสไี ด๋ขอยังเจ้า พระบิดาผูเ้ ปน็ พ่อขอให้พระพ่อเจ้า จงฟังข้าผแู้ อ่ววอน.แนเ่ ดอ้ …”
“...สาธุเดอ้ ขอให้บดิ าตาเจ้า เหนือหัว แม่เก้าเกต พอ่ เอ้ย นางสิยก กย็ อไหว้ ให้พ่อ พระนางพ่อ
เอ้ย ขอให้บดิ าตาเจ้า บดิ าตาเจ้า ใหเ้ หลยี วล้ำลงมา นางขอวันทา พอ่ นาง ผวู้ อนเอย้ ...”
“...สาธเุ ดอ้ สาธเุ ด้อ ขอให้บิดาตาเจ้าด่วนมาเด้อ มาสรงน้ำ ออ่ นอ้อน กะคืน ใหแ้ กน่ าง แน่เด้อ
นางกระขอยอมเจ้า สาระวิ่งสาระเนนนำ พ่อพญาแถน ผ้เู พ่ินอย่บู นเบ้อื งฟ้าให้กะเลยลงมาพี้ เลี้ยงดเู รียบลำ
แน่เด้อ ขอพีน่ างแต่ง ไว้กระยอใหแ้ ก่พระองค…์ ” (มานะ บุญเกดิ และวลิ ยั ชนิ โพธ์ิ, ๒๕๕๐: ๗๑)
จากนั้นเป็นการอ้อนวอนตอ่ แถนของเจ้าพ่อตอมาด (ร้องไห้) ซึ่งจะขอให้พระอินทร์ พระพรหม
ฟ้าเทวดาช่วยลงมาดูตลอดถึงพระพุทธเจ้า บิดา มารดา พ่อ แม่ ขอให้มาเยือนขอให้เจริญ ทุกข์ยากขอให้
หายขาด ขอใหค้ ุณบดิ ามารดา พอ่ แมส่ งสารข้า เวลาทกุ ขย์ ากลำบากจรงิ ผ้ปู ว่ ยเปน็ มากยากใหห้ าย
จากนั้นหมอแคนได้เป่าเพลงล่องใหญ่เพื่อประกอบพิธีกรรมฟ้อนปัว แล้วผู้ประกอบพิธีกรรมที่
เปน็ หมอลำกร็ อ้ งเจรจาการแลกเปลยี่ นจากสงิ่ ท่ีเปน็ เหตุของการเจบ็ ปว่ ย หลังจากนั้นกก็ ล่าว
“...สาธุเดอ้ นางขอวอนเจ้าหลายทกี ะหลายเหล่าเจ้าพ่อเอย... จั่งบ่วางปลอ่ ยให้กะมาแท้แก่พระ
นาง บ่หากมีคนจา้ งมาทุกส่ิงน้อแนวดาพ่อเอย… ครั้นสิมายอยก กะใสเ่ สือ้ กะแหล่งเจ้าหรือว่าบิดาตาเจ้า บ่
พอใจหยงั จกั อยา่ ง พอ่ เอย้ …” (มานะ บญุ เกิด และวลิ ัย ชนิ โพธิ์, ๒๕๕๐: ๗๒)
ภาพ การรา่ ยรำและการเจรจาขอไถช่ ีวติ ให้ผู้ป่วย
ทมี่ า: (จันทรพ์ มิ พ์ มเี ปีย่ ม, ๒๕๕๐)
การเจรจาของเจ้าพอ่ เพ่อื ขอไถช่ วี ติ ใหผ้ ปู้ ่วยน้ัน การเจรจามีลกั ษณะเปน็ บทเจรจา บทกลา่ วเป็น
ภาษาสำเนียงไทหลม่ และในขณะเดยี วกนั เจา้ พ่อองค์อื่นก็จะรา่ ยรำประกอบเสียงแคน
วฒั นธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนุรกั ษส์ งิ่ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถนิ่ จังหวดั เพชรบรู ณ์ ๖๓
ภาพ การปัวรกั ษาผู้ปว่ ย
ทม่ี า: (มานะ บุญเกิด และวิลัย ชินโพธ์ิ, ๒๕๕๐)
การปัวรกั ษาผปู้ ่วย พบวา่ ในขณะทที่ ำพิธนี ั้นท้งั ผู้ทำพิธแี ละผูป้ ว่ ยจะต้องมีการเชื่อมโยงสื่อสาร
กันโดยมีส่อื กลาง คือ ด้ายสายสิญจน์ท่เี ช่ือมโยงจากหอปราสาทมาผปู้ ่วยและผทู้ ำพิธตี อ่ มาตวั แทนเจ้าพ่อตอ
มาด เชญิ ชวนให้ผู้เป็นญาติของผปู้ ว่ ยใชเ้ งินบีว้ างไวท้ ี่ยอดปราสาทเพื่อเป็นการซ้ือชวี ติ ของคนป่วย บางขณะ
พบว่าไม่สามารถขอชีวิตจากเหล่าเทพได้ คณะของเจ้าพ่อตอมาดต่างได้อ้อนวอนต่อไปด้วยวิธีต่าง ๆ จน
เหลา่ เทพยอมปลดปลอ่ ยผูป้ ว่ ยให้เป็นปกติ
ตวั อย่าง บทกล่าวนำผ้ปู ่วย
(เป็นคำกลา่ วของผู้ป่วยทีเ่ ปน็ เดก็ หญงิ )
“นะโม ตะ สะ ณะ คะ วะ โต อะ ละ หัต โต สัมมาสังคุธทะสะ (๓ จบ) สาธุข้าพเจ้า
เป็นลูกพระพุทธเจ้า เหล่าเทพา ผู้ข้าขออินทรีย์ชีวิตสืบสร้างเมืองมนุษย์ เมื่อได๋หนูบ่สิ้นกรรม หนูบ่สิ้นเวร
หนูจะบ่ไปตามพ่อเก่าและแม่เดิม อยู่กับพ่อใหม่แม่ใหม่ อยู่เมืองมนุษย์ ขอเล่าเรียนสืบพระศาสนา สาธุ
พทุ ธบูชา สาธุ ธรรมบชู า สาธุ สังฆบชู า...” (มานะ บุญเกดิ และวิลยั ชนิ โพธ์ิ, ๒๕๕๐: ๗๙)
ภาพ การนำเครอ่ื งบัดพลีส่งแถน (เทวดา)
ทมี่ า: (มานะ บุญเกดิ และวลิ ัย ชินโพธิ์, ๒๕๕๐)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนรุ กั ษส์ ่ิงแวดล้อมธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมท้องถ่ิน จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๔
ตัวแทนเจ้าพ่อตอมาดและคณะจะต้องออกมานำเครื่องบัตรพลีส่งแถนหรือเทวดาซึ่งในขณะที่
ทำพธิ อี ยนู่ ัน้ มีการเปา่ แคนและเจ้าพอ่ ก็จะฟอ้ นรำประกอบการทำพิธี
หลังจากพิธีแลกเปลี่ยนและขอชีวิตของผู้ป่วยเสร็จลง ตัวแทนเจ้าพ่อตอมาดและคณะกลับมา
บริเวณพิธีกรรมเดิมทีม่ ีผู้ป่วยอยู่ ซ่ึงกลับมามีสติดังเดิมหายจากอาการซึมเศร้าแล้ว ตัวแทนเจ้าพ่อได้อบรม
สั่งสอนให้ผู้ป่วยปฏิบัตติ นให้เปน็ คนดี ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและประเพณอี ันดีงาม จากนั้นไดผ้ กู ข้อตอ่
แขนรบั ขวญั ผปู้ ว่ ย และทำการส่งเจ้าพ่อองค์ตา่ ง ๆ กลับเหลา่ ร่างทรงเก็บขา้ วของเป็นอันเสรจ็ พิธี
ภาพ ตัวแทนเจา้ พอ่ ตอมาดผกู สายสญิ จน์รบั ขวัญผปู้ ว่ ย
ที่มา: (มานะ บุญเกดิ และวิลยั ชินโพธ์ิ, ๒๕๕๐)
หลังจากพิธีกรรมในการแลกเปลี่ยนและขอชีวิตของผู้ป่วยเสร็จเจ้าพ่อตอมาดจะผูกสายสิญจน์
รับขวัญผ้ปู ่วยเพื่อให้อยู่เยน็ เปน็ สุขถือว่าเปน็ พิธีสดุ ท้ายในการประกอบพธิ ปี วั ของชาวหลม่ เก่า
วฒั นธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนรุ ักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถ่ิน จงั หวดั เพชรบูรณ์ ๖๕
๒. พิธีกนิ ดองเจา้ บ้านวัดทุ่งธงไชย
พิธีกินดองเจ้า บ้านวัดทุ่งธงไชยเป็นพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษเกิดจากความเช่ือ
ความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อ “เจ้าพ่อเจ้าแม”่ สิ่งศักดิ์สทิ ธิป์ ระจำหมู่บ้าน และเจ้าองค์ใหญ่ที่สดุ ของบ้านวัด
ทุ่งธงไชย คือ เจ้าปู่พระยาระพานทอง ซึ่งชาวบ้านวัดทุ่งธงไชยได้สร้างศาลไว้สำหรับเป็นที่สถิตของเจ้าพ่อ
เจ้าแม่ของหมู่บ้าน และใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ รวมถึงพิธีกินดองเจ้า ชื่อว่า “ศาลเจ้าพ่อหนองขาม”
ตงั้ อย่บู ริเวณ หม่ทู ่ี ๑๑ บา้ นวดั ท่งุ ธงไชย บนพื้นทส่ี าธารณะประโยชนข์ องหม่บู า้ น ภายในอาณาเขตบรเิ วณ
ของศาลจะมีสง่ิ ปลูกสรา้ ง ๔ หลัง คอื
ภาพ หอไหว้ ๑. หอไหว้ สร้างขึ้นในลักษณะคล้ายศาลา ๖
ท่ีมา: (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เหลี่ยม ภายในมีแท่นตั้งเครื่องบูชา กระถาง
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘) ธูป แจกันดอกไม้ ด้านหน้ามีป้ายเขียนติดไว้
ว่า “เจ้าปู่พระยาระพานทอง เจ้าย่าประทุม
ภาพ หอเลย้ี ง มา” ชาวบ้านเล่าว่า ป้ายชือ่ ดังกล่าว เป็นช่อื
ท่มี า: (สำนกั ศิลปะและวัฒนธรรม พ่อและแม่ของเจ้าพ่อพระยาระกองคำ กับ
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘) เจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำ และยังมีคำบอกเล่า
สืบต่อกันมาว่า บริเวณหอนี้เป็นที่ฝังสมบัติ
และกระดูกของเจา้ ปเู่ จา้ ยา่ อกี ด้วย
๒. หอเลี้ยง มีลักษณะเป็นศาลาเปิดโล่ง มีฝา
ผนังด้านที่ติดกับหอไหว้ เมื่อมองไปภายใน
หอเลี้ยง จะพบแท่นบูชาของเจ้าพ่อเหล็กซี
(เสนาฝ่ายขวาของเจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำ)
ตั้งอยู่บริเวณมุมซ้าย ส่วนแท่นทางด้าน
ขวามือเป็นแท่นบูชาของเจ้าพ่ออู่คำ ซึ่งหอ
เลี้ยงจะใช้เป็นสถานที่สำหรับเชิญเจ้าพ่อเจ้า
แม่มารับเครื่องเซ่นไหว้ และเชิญเข้าประทับ
ร่างทรง ด้านนอกของหอเลี้ยงมีการทำแท่น
ติดกับฝาผนังสูงระดับเอวไว้สำหรับเทอาหาร
หวานคาวและเหล้าให้เหล่าเสนากิน หลังจาก
ท่ไี ด้ถวายเจ้าพ่อเจา้ แมเ่ รยี บร้อยแลว้
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนรุ ักษส์ งิ่ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมท้องถน่ิ จังหวดั เพชรบูรณ์ ๖๖
๓. หอครองใหญ่ มีลักษณะเป็นอาคารที่มี
การทำผนังและประตูปิดรอบทั้ง ๔ ทิศ
ภายในมีแท่นบูชาขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีการ
วางเครื่องบูชาที่ชาวบ้านนำมาถวาย เช่น ฉัตร
เงิน ฉัตรทอง ๙ ชั้น บายศรีต้น ๙ ชั้น แจกัน
ดอกไม้ ช้างม้าแกะสลัก กระถางธูป เชิง
เทียน พานใส่ขันดอกไม้ พวงมาลยั ท่ชี าวบา้ น
ภาพ หอครองใหญ่ มาถวาย ถัดจากแท่นบูชามีเบาะรองนั่งแบบ
ที่มา: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม ยาวพร้อมหมอนอิง ชั้นไม้ไผ่สำหรับวางร่มท่ี
มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘) ใช้กางให้เจ้าพ่อเจ้าแม่เวลามีงานพิธีต่าง ๆ
ที่วางดาบและไม้หวายหางปลากระเบน
ช้นั วางเครือ่ งเซน่ ไหว้ในวนั เตรียมงานพิธแี ละตูส้ ำหรบั เก็บเครื่องแตง่ กายและข้าวของเครื่องใช้ของรา่ งทรงเจ้า
พอ่ เจา้ แม่นอกจากนยี้ ังมีเคร่ืองเสยี ง และเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบพิธี ซึ่งหอครองใหญ่ใช้เป็นท่ีสำหรับ
ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ไมว่ ่าจะเปน็ พิธกี นิ ดอง พิธปี วั พิธเี ล้ยี งปี หรอื แม้กระทง่ั การบนบานศาลกลา่ ว
๔. โรงครัว เป็นที่สำหรับประกอบอาหาร
หวานคาว และเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ที่จะใช้
ในงานพิธี
ภาพ โรงครัว
ทม่ี า: (สำนักศิลปะและวฒั นธรรม
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ,์ ๒๕๕๘)
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถนิ่ จงั หวดั เพชรบูรณ์ ๖๗
๕. ห้องน้ำและห้องอาบน้ำ อยู่ด้านหลังโรง
ครัวไว้รับรองร่างทรงและชาวบ้านที่มาร่วม
พิธีรวมถึงไว้สำหรับร่างทรงคนใหม่ที่เข้าพิธี
กินดอง และต้องนอนค้างที่ศาลเจ้าพ่อหนอง
ขามด้วย
ภาพ ห้องน้ำและห้องอาบนำ้
ทมี่ า: (สำนักศลิ ปะและวัฒนธรรม
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์, ๒๕๕๘)
วนั เตรียมงาน
เช้าของวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะมารวมตวั กันท่ีศาลเจ้าพ่อหนองขาม และจะแยกย้ายกนั เตรยี ม
งานตามความถนัดของแต่ละคน ผชู้ ายจะพากนั ทำความสะอาดบริเวณสถานท่ีจัดงานพิธี ส่วนคนทีถ่ นัดงาน
ฝีมือ งานใบตองก็จะมาทำบายศรี จีบหมาก จีบพลู และทำห่อนิมนต์ เมื่อทำห่อนิมนต์เสร็จแล้วก็จะนำไป
แจกให้กับบรรดาร่างทรงของหมู่บ้านเพื่อเชิญมารว่ มงาน ส่วนบรรดาแม่บ้านก็จะเข้าโรงครัวตั้งแต่เช้า เพ่ือ
จัดเตรียมเครอื่ งเซ่นไหวแ้ ละอาหารหวานคาว สงิ่ ของทีต่ ้องเตรียมมีดงั ต่อไปน้ี
๑. เครือ่ งเซ่นไหว้
ในพิธีกินดองแต่ละครั้งเจ้าที่จะมารับร่างทรงใหม่จะเป็นผู้กำหนดเครื่องเซ่นไหว้เอง ว่าจะเป็น หมู
(ตวั ต้น) เปด็ (ตวั กลาง) หรือไก่ (ตัวปลาย) หากเปน็ พิธีกนิ ดองของเจา้ องค์ใหญจ่ ะเลือกหมูเป็นเครือ่ งเซ่นไหว้
แต่ถ้าเป็นเจ้าองค์เล็กหรือเจ้าที่เป็นเด็กจะเลือกเป็ดหรือไก่ หมูที่นำมาใช้ในการประกอบพิธีจะต้องมี
ลักษณะผิวพรรณสะอาดเกลี้ยงเกลา หู หาง ต้องครบไม่มีตำหนิสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ทุกประการ และ
เปน็ หมูเพศผเู้ ทา่ น้ัน
๒. อาหารหวานคาว
อาหารที่ใช้ถวายในวันรุ่งขึ้นจะมีด้วยกัน ๘ สำรับ แบ่งเป็น หวาน ๔ สำรับ คาว ๔ สำรับ โดย
สำรับหวานจะประกอบด้วยขนม ๓ อย่าง คือ ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวแดง และข้าวปาด (ลักษณะจะ
เหมือนกับขนมเปียกปูนแต่ต่างจากขนมเปียกปูนตรงที่เป็นสีเขียวที่ทำจากใบเตย) ส่วนสำรับคาวจะ
ประกอบด้วยอาหาร ๓ อย่าง คือ ลาบ คั่ว และต้ม นอกจากนี้จะต้องนึ่งข้าวเหนียวไว้ด้วย ในระหว่างที่
ทำอาหารสำหรบั ถวายเจา้ พ่อเจ้าแม่นนั้ หา้ มชิมและดมอาหารเดด็ ขาด หลงั จากทำอาหารเสรจ็ เรยี บร้อยแล้ว
จะนำห่อนิมนต์มาวางที่หม้ออาหารเพื่อเป็นการบ่งบอกว่าเป็นอาหารสำหรับถวายเจ้าพ่อเจ้าแม่ ห้ามใคร
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนรุ กั ษส์ ่ิงแวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถ่ิน จงั หวัดเพชรบูรณ์ ๖๘
นำไปรับประทานก่อนถวายเด็ดขาด ส่วนเรื่องคา่ ใช้จ่ายในงานเจ้าภาพ (คนที่มารับเป็นรา่ งทรงคนใหม่) จะ
เปน็ ผูอ้ อกค่าใชจ้ ่ายทั้งหมดแต่ชาวบ้านคนอื่น ๆ กจ็ ะนำขา้ วของมาช่วยในงาน เช่น พรกิ เกลือ มะเขอื ปลา
ร้า ฯลฯ บางคนก็ชว่ ยออกเงนิ ตามกำลังศรทั ธา
๓. ผลไมแ้ ละเครอ่ื งดม่ื ที่ใช้ถวาย
จะต้องเตรียมผลไม้ไม่น้อยกว่า ๙ ชนิดแต่จะต้องให้เป็นจำนวนคี่ ที่สำคัญต้องเป็นผลไม้ที่มีชื่อ
เป็นมงคลเช่น กล้วย สับปะรด ชมพู่ แก้วมังกร องุ่น แอปเปิ้ล ส้มโอ ฝรั่ง สาลี่ ผลไม้ที่ห้ามคือ ละมุด และ
มังคุดส่วนของเครื่องดื่ม ได้แก่น้ำเปล่า เหล้า น้ำอัดลม (เหล้าในภาษาเรียกของเจ้าพ่อเจา้ แม่ทีห่ อหนองขาม
จะเรียกว่า ม้า) อาจจดั ให้มเี บยี ร์เพิ่มเข้ามาเพ่ือให้เข้ากับยุคสมยั ใหม่นอกจากนยี้ ังต้องเตรยี มน้ำมะพร้าวอ่อน
ไวใ้ ห้เจ้าพอ่ เจา้ แม่ดื่ม เรียกวา่ นำ้ ตน้ และสำหรบั เจา้ ท่เี ปน็ เดก็ จะเรยี กว่า น้ำนม
๔. ขนั หมาก หมายถงึ กระทงใบตองทม่ี ีการกัด (เย็บ) เป็น ๔ มุม ภายในก็จะประกอบไปดว้ ย
- จีบพลู คือ ใบพลูทน่ี ำปนู แดงทาที่ใบพลแู ล้วจงึ มวนใหเ้ ป็นหลอด
- หมากแหง้ คอื หมากทีผ่ า่ นการตากแดดจนแห้งจะมลี ักษณะเป็นแผน่ วงกลมขนาดเหรียญสิบ
สอี อกน้ำตาลดำ
- หมากสด คือ หมากสดนำมาผ่าเปน็ ซีก ๆ
- ยาเส้น คอื ยาสบู ท่นี ำมาซอยเปน็ เส้นแล้วตากแดดจนแห้ง
- สเี สียด คือ เปลอื กไม้สเี สียดทใ่ี ช้กนิ หมาก
- ยามวน คือ ยาเส้นที่ผ่านการตากแดดจนแห้งแล้วนำมามวนกับใบตองแห้ง (ยามวนในภาษา
ของเจ้าพอ่ เจา้ แม่ทห่ี อหนองขามจะเรียกวา่ ข้าวหลาม)
๕. ห่อนมิ นต์ มีลกั ษณะเปน็ กรวยใบตอง ภายในมี ดอกไม้ ธปู เทียน ซงึ่ เจ้าภาพจะนำไปแจกให้ร่าง
ทรงในหม่บู า้ น เพอื่ ให้ร่างทรงแต่ละคนนำห่อนมิ นต์น้ีไปเชิญเจ้าท่ีประทบั ร่างของตนมารว่ มงานกนิ ดอง
๖. ขันนิมนต์ (ขันเชิญ) เป็นจานใส่กรวยใบตอง ภายในมีดอกไม้ ธูป เทียน สำหรับให้ร่างทรงยก
อญั เชญิ เจ้าพอ่ เจา้ แม่ลงประทบั ร่าง
๗. จานคารวะ เป็นจานใส่กรวยดอกไม้สำหรับให้ร่างทรงคนใหม่ยกคารวะขอขมาเจ้าองค์ใหญ่
จานคารวะจะต้องเตรียมไว้ท้ังหมด ๔ จาน แต่ละจานจะใส่ของ ๘ อย่าง ได้แก่ กรวยดอกไม้ (ใบตองทำเป็น
กรวยตัดทรี่ ิมปากของกรวยเท่ากัน) ธปู ๑ คู่ ดอกไม้ ๑ คู่ ยามวน ๑ คู่ จีบพลู ๑ คู่ ยาเสน้ ๒ คำ สีเสียด ๒ คำ
ผา้ พับ ๑ ผนื
๘. พาขวัญ คือ สิ่งที่ใช้ในการประกอบพิธใี นการสู่ขวญั ได้แก่ ขันสู่ขวัญ ไก่ต้ม ๑ ตัว เหล้าขาว ๑
ขวด ข้าวเหนียว ๑ กระติบ น้ำเปล่า ๑ ขวด ผ้าขาวปูรองพื้น ๑ ผืน และพานบายศรีสู่ขวัญ ๑ พาน ที่ทำ
จากใบตองและนำมาประดิษฐ์ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยดอกไม้หลากหลายสี ซึ่งในบายศรีจะประกอบด้วย
เทียน ธูป ๙ ดอก ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง ข้าวต้มมัด ขนมปัง ใบคูน ใบเก้าค้ำ ใบเงิน ใบทอง ฝ้ายผูกแขน ห่อนิมนต์
๑ หอ่ เงิน กลว้ ยน้ำว้าสกุ และเคร่อื งจีบหมาก จบี พลู
วฒั นธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนุรักษส์ ง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถ่นิ จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๖๙
๙. เทียนเงิน เทียนทอง ใช้ในพิธีคารวะ ซึ่งจะวางอยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ เทียนเงิน คือ เทียนที่ห่อหุ้ม
ดว้ ยกระดาษเงนิ และเทียนทอง จะหอ่ หมุ้ ดว้ ยกระดาษทอง
๑๐. เคร่ืองดนตรีท่ใี ช้ในการประกอบพิธีกรรม ประกอบด้วย แคน กลอง ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก ฆ้อง
เลก็ และฆอ้ งใหญ่
๑๑. น้ำมันจนั ทนแ์ ละน้ำอบ นำ้ หอม นำ้ ปรงุ สำหรับใชป้ ระพรมร่างกายของร่างทรงขณะอันเชิญ
เจ้าเข้าประทับร่างเปน็ ความเชือ่ สืบทอดกันมาวา่ เจ้าชอบผทู้ ี่มกี ลน่ิ กายหอม
๑๒. เครื่องแต่งกายของร่างทรงใหม่ จะต้องเตรียมเครื่องแต่งกายของร่างทรงใหม่ ทั้งผ้านุ่ง เสื้อ
ผ้ามดั เอว ผ้าโพกศรี ษะ โดยเจา้ รา่ งทรงใหมจ่ ะเปน็ ผู้เลือกสีและลวดลาย
บรรยากาศของวนั เตรียมงานบรรดาชาวบ้านและร่างทรงท่มี าช่วยกนั เตรียมงานน้ัน กจ็ ะทำงานไป
ด้วย และพูดคุยสนทนากนั เหมอื นเป็นการได้พบปะเครือญาติ ครอบครัว เพื่อนฝงู และนั่งลอ้ มวงกินข้าว
ร่วมกันดแู ลว้ มีความอบอุ่นเป็นกันเอง เมื่อเตรียมข้าวของเครือ่ งใช้เรยี บรอ้ ยแล้ว ขั้นตอนต่อไปในเย็นวันน้ี
จะมีการเชิญเจ้าที่จะมาเอาร่างใหม่มาตรวจดูข้าวของเครื่องเซ่นไหว้ที่ได้จัดเตรียมเอาไว้ว่าเป็นที่พอใจ
หรือไม่ หากขาดเหลอื ตอ้ งการส่ิงใดเพมิ่ ก็จะไดจ้ ดั เตรยี มได้ทนั
พธิ ีเจ้าลงตรวจดขู องเซ่นไหว้ (ช่วงเยน็ )
เมอ่ื เสร็จจากการเตรียมข้าวของเคร่ืองใชใ้ นช่วงเชา้ เป็นท่ีเรียบร้อยแลว้ ช่วงเยน็ บรรดาร่างทรงก็จะ
มารวมตวั กันบริเวณศาลเจา้ พ่อหนองขามอีกครั้ง เพ่อื ทำพิธอี ญั เชญิ เจ้าลงมาประทับร่างทรงเพื่อตรวจดูของ
เครื่องเซ่นไหว้ว่าของที่เตรียมไว้เป็นที่พอใจหรือไม่โดยพิธีจะเริ่มขึ้นเวลาประมาณ ๒ ทุ่ ม เพื่อที่จะได้รอ
ชาวบ้านท่กี ลบั มาจากการไปทำไรไ่ ถนาได้มารว่ มในพธิ ดี ้วย โดยมลี ำดบั ขัน้ ตอนดังนี้
๑. เชิญเจา้ เขา้ ประทับรา่ ง
เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วบรรดาร่างทรงก็เริ่มพิธี ด้วยการเอาน้ำแป้งและน้ำมันจันทร์ประพรมไป
ตามร่างกายของตน แลว้ จงึ ยกขันเชิญเจ้าเขา้ ประทับร่าง ช่วงนี้หมอแคนกจ็ ะเปา่ แคนไปเร่ือย ๆ และเจ้าองค์
ใหม่ก็จะเข้าประทับร่างด้วย ขณะเจ้าประทับร่างจะมีอาการสั่น อ้วก บางองค์ก็ร้องไห้ หลังจากที่เจ้าเข้า
ประทับร่างทรงแล้ว กจ็ ะลุกขึ้นแตง่ องค์ทรงเครื่อง เมอื่ แตง่ ตัวเสรจ็ ก็จะคลานเข้าไปกราบไหว้เจ้าองค์ใหญ่
๒. รำเทยี นส่องดขู อง
เม่ือเจา้ ประทับร่างทรงจนครบทุกองค์แล้ว กจ็ ะเริ่มพธิ ีการฟ้อนรำส่องดูของเซ่นไหว้ตา่ ง ๆ โดย
เจ้าแต่ละองค์จะใชน้ ิ้วมือระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบเทยี นขา้ งละ ๑ เล่ม แล้วก็จะรำพรอ้ มใช้เทียนที่จุดอยู่
ในมือเดินส่องดูไปยงั สิง่ ของท่ีไดจ้ ดั เตรียมเอาไว้ เชน่ รำส่องดอู าหารหวานที่ได้ทำเอาไว้ สอ่ งดหู มทู ีไ่ ดเ้ ตรียม
ไว้ในกรง หากเจ้าองค์ใหม่ไม่พอใจส่ิงของท่ีได้เตรียมไวน้ ั้น ก็จะต้องจัดเตรยี มกันใหม่ทำจนกว่าเจา้ องค์ใหม่
จะพอใจ เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว จึงจะร่วมกันรำฉลองในระหว่างนี้หมอแคนและเครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็จะ
บรรเลงไปเร่ือย ๆ จนจบพิธี ส่วนหมูที่นำมาเปน็ เครื่องเซ่นไหว้หลังจากผา่ นพิธีตรวจแล้วชว่ งเวลาประมาณ
วฒั นธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถิ่น จังหวดั เพชรบรู ณ์ ๗๐
ตี ๒ - ๓ จะต้องฆ่าหมูด้วยวิธีการทุบให้หมูตาย จะไม่ฆ่าด้วยการแทงคอหมูเพราะจะต้องไม่มีเลือดออก
เด็ดขาดกรณีเปน็ ไกห่ รือเป็ดก็จะใช้วิธที บุ เชน่ กนั
วนั งานพธิ กี ินดองและลำดับข้ันตอนในการประกอบพธิ กี รรม
๑. การบอกกลา่ วสิง่ ศักด์สิ ทิ ธิ์
เมื่อได้เวลาเริ่มพิธีกินดองแล้วบรรดา
ร่างทรงจะจุดธูป ๙ ดอก พร้อมพนมมือขึ้นบอก
กล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้รับรู้ว่าวันนี้จะมีการจัดงาน
กนิ ดองเกิดข้ึน เพราะชาวบา้ นมีความเชื่อว่าก่อน
จะทำการสิ่งใด หรือจะจัดงานอะไรก็ตามจะต้อง
บอกกลา่ วส่ิงศักดสิ์ ิทธท์ิ ่ีนบั ถอื กนั มาต้งั แต่ปู่ย่าตา
ยายทุกครั้งเพื่อให้การจัดงานราบรื่นไปได้ด้วยดี
โดยการบอกกล่าวนั้นจะจุดธูปไหว้ที่หอไหว้ก่อน
ตามด้วยหอครองใหญ่ หอเลี้ยง นอกจากนี้ยังจุด ภาพ การบอกกล่าวสงิ่ ศกั ดิส์ ทิ ธิ์
ธูปไหว้บริเวณหน้าต้นลีลาวดีที่อยู่ระหว่างหอ ท่มี า: (สำนกั ศลิ ปะและวฒั นธรรม
ครองใหญ่กับหอเลี้ยง เสมือนเป็นการบอกกล่าว มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์, ๒๕๕๘)
เจ้าทเ่ี จา้ ทางดว้ ย
๒. พธิ คี ารวะเจา้ พอ่ เจ้าแม่
หลังจากที่ได้ทำการบอกกล่าวเป็นท่ี
เรยี บรอ้ ยแล้ว บรรดารา่ งทรงกจ็ ะมารวมกันท่ีหอ
เลี้ยง ร่างทรงเจ้าปู่ก็จะเป็นผู้นำในการทำพิธี
โดยเริ่มจากการจุดเทียน ธูป ที่แท่นบูชาเจ้าพ่อ
เจ้าพระยาอู่คำ และร่างทรงเจ้าพ่อเหล็กชี จะ
เป็นคนจุดเทียน ธูป ที่แท่นบูชาเจ้าพ่อเหล็กชี
หลังจากนั้นร่างทรงเจ้าปู่ก็จุดเทียนตั้งที่ขันเชิญ
แล้วยกขึ้นกล่าวเชิญเจ้าทั้งหมดมารับการ
คารวะจากร่างทรงใหม่ ซึ่งร่างทรงใหม่จะใช้มือ
แตะที่จานคารวะทั้ง ๔ จานแล้วรา่ งทรงเจา้ องค์ ภาพ พิธีการคารวะเจา้ พอ่ เจ้าแม่
อนื่ ๆ ก็จะเอามือมาแตะรา่ งทรงใหม่ต่อ ๆ กนั ไป ทม่ี า: (สำนักศิลปะและวฒั นธรรม
ขณะที่ทำพิธีคารวะ เสนาจะตีฆ้องเป็นระยะ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘)
ตลอดการทำพธิ พี ร้อมกับเสยี งแคนควบคู่ไปดว้ ย
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนรุ ักษ์ส่ิงแวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมท้องถน่ิ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๗๑
๓. พิธถี วายอาหารหวานคาว
ระหว่างทที่ ำพิธคี ารวะอยนู่ ั้น ชาวบ้านจะจัดเตรยี มอาหารหวานใส่ถาดท้งั หมด ๔ ถาด ในแต่ละ
ถาดจะมีขนมทั้งหมด ๔ ถ้วย ถว้ ยที่ ๑ ใส่ขา้ วเหนยี วแดง ถว้ ยที่ ๒ ใสข่ า้ วตม้ มัด ถว้ ยที่ ๓ ใสข่ า้ วปาด ถ้วยท่ี
๔ จะใส่ทั้ง ๓ อย่าง และมีกรวยดอกไม้ ๑ กรวย กระทงขันหมาก น้ำเปล่า ๑ แก้ว เทียนขาว ๑ เล่ม
นอกจากถาดอาหารหวานแล้วก็ยังมีถาดผลไมอ้ ีก ๑ ถาด ทีป่ ระกอบดว้ ยผลไม้ ๙ อย่าง
ภาพ พิธีถวายอาหารหวานคาว
ทมี่ า: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ,์ ๒๕๕๘)
เมื่อจัดของถวายเรียบร้อยแล้ว ร่างทรงใหม่จะจัดเรียงถาดอาหารหวาน ๔ ถาด และถาดผลไม้
๑ ถาด พร้อมกับจุดเทียนตั้งในแต่ละถาด จากนั้นร่างทรงทั้งหมดก็จะพนมมือกล่าวเชิญเจ้ามารับเครื่อง
ถวาย ระหว่างนั้นหมอแคนก็จะเป่าแคนกับลั่นฆ้องคู่กันไป เมื่อกล่าวเชิญจบร่างทรงใหม่จะประเคนของ
ถวายโดยยนื่ มือไปแตะทีถ่ าดท้ังหมด และกราบลง ๓ ครง้ั จากนัน้ กน็ ง่ั รอจนกว่าเทียนจะดับ จึงทำการถอน
อาหารหวานออกและนำไปเทที่แท่นเสนาเพื่อให้บรรดาเหล่าเสนาเลี้ยงช้างเลี้ยงม้าได้กิน แล้วทำการถวาย
อาหารคาวเป็นลำดับต่อไปซึ่งจะจัดเตรียมอาหารคาวไว้ทัง้ หมด ๔ ชุด แต่ละชุดจะประกอบไปด้วย คั่วเป็ด
คั่วไก่ ข้าวเหนียวนึ่งใส่กระติบ กระทงขันหมาก กรวยดอกไม้ แก้วเปล่า ๒ ใบ น้ำเปล่า ๑ แก้ว น้ำอัดลม
เหล้า เบียร์ และเทียน จากนั้นร่างทรงใหม่จะจุดเทียนตั้งที่ถาดอาหารคาวทั้ง ๔ ถาด และทำพิธีถวาย
เช่นเดียวกับอาหารหวานทุกขัน้ ตอน เมื่อเทียนดับแล้วรา่ งทรงใหม่ก็ยกถาดอาหารคาวส่งให้คนอืน่ เอาไปเท
ไวท้ แ่ี ทน่ เสนาเชน่ เดียวกับอาหารหวาน หลังจากถวายอาหารหวาน - คาว เสร็จเปน็ ที่เรยี บรอ้ ยแล้ว ก็จะนำ
อาหารมาเลยี้ งร่างทรงและแขกที่มาร่วมงาน
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนรุ กั ษ์ส่งิ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ๗๒
๔. เชญิ เจา้ ประทบั ร่างทรง
หลงั จากรับประทานอาหารเรียบร้อยแลว้ บรรดารา่ งทรงจะทำพิธีเชญิ เจา้ ประทับรา่ งในระหว่าง
พิธีห้ามบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ร่างทรงเข้าไปในหอเลี้ยงโดยเด็ดขาดร่างทรงเจ้าปู่จะจุดเทียน จุดธูป ๙ ดอก ปัก
กระถางธูปที่แท่นบชู าเจ้าพ่อเจ้าพระยาอคู่ ำ และรา่ งทรงเจา้ พ่อเหล็กชจี ุดเทียนธูป ๙ ดอก ปักกระถางธูปท่ี
แท่นบูชาเจ้าพ่อเหล็กชี หลังจากนั้นร่างทรงเจ้าปู่และร่างทรงเจ้าองค์อื่น ๆ ก็จะประพรมน้ำแป้ง น้ำหอม
และยกขนั กล่าวเชญิ เจ้าลงมาประทับรา่ ง เมอื่ เจา้ ประทบั ร่างแลว้ กจ็ ะแต่งองคท์ รงเครื่อง แตจ่ ะมเี จ้าเพยี ง ๓
องค์เท่านั้นที่จะมีคนคอยมาแต่งตัวให้ คือ เจ้าปู่พระยาระพานทอง เจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำ และเจ้าพ่อพระ
ยาละกองคำ เมื่อเจ้าพ่อเจ้าแม่แต่ละองค์แต่งตัวเสร็จแล้วก็จะคลานเข้าไปกราบไหว้เจ้าตามลำดับชั้นของ
เจ้าหลังจากนั้นบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่ก็จะนำเจ้าองค์ใหม่ไปกราบที่หอไหว้ และพาไปยังครองใหญ่เพื่อจะทำ
พธิ ีสูข่ วญั
๕. พธิ สี ูข่ วัญเจา้ องค์ใหม่
ภาพ พธิ ีสขู่ วัญเจา้ องคใ์ หม่
ทม่ี า: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ์, ๒๕๕๘)
เจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำจะเป็นผู้ทำพิธีให้แก่เจ้าองค์ใหม่ โดยหยิบขันสู่ขวัญหันหน้าไปทางแท่น
บชู าพรอ้ มกับจดุ เทยี นตง้ั ทีข่ นั แล้วกล่าวบทสู่ขวัญเม่ือกล่าวจบกห็ นั กลบั มายงั หนา้ พานบายศรี วางขนั ส่ขู วัญ
ลง แล้วจึงจุดเทียนทยี่ อดบายศรี และส่งดอกไม้ให้เจา้ องค์ใหม่พนมมือไว้ พรอ้ มบอกใหเ้ จ้าพ่อเจา้ แม่องค์อ่ืน
ๆ พนมมือและหลับตาในช่วงที่ทำพิธีสู่ขวัญ ระหว่างนั้นหมอแคนก็จะเป่าแคนไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเจ้าพ่อ
หวายสามโค้งก็จะลั่นฆ้องควบคู่กันไปเมื่อเสร็จพิธีสู่ขวัญเจา้ พ่อหวายสามโค้งก็จะลั่นฆ้อง ๙ ครั้ง พร้อมกับ
เจ้าองค์หนึ่งโห่เอาฤกษ์เอาชัย หลังจากเสร็จพิธีสู่ขวัญแล้ว เจ้าพ่อเจ้าแม่ที่นั่งข้างพานบายศรีก็จะหยิบข้าว
เหนียวในกระติบ ไข่ต้มในบายศรีวางบนมือของเจ้าองค์ใหม่ และให้เจ้าองค์ใหม่คลานเข้าไปหาเจ้าพ่อ
เจา้ พระยาอู่คำเพ่ือใหผ้ กู ขอ้ มอื รับขวัญเป็นองค์แรกตามดว้ ยเจ้าองค์อน่ื ๆ ตามลำดับช้ัน
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนรุ ักษส์ ิง่ แวดลอ้ มธรรมชาติและศลิ ปกรรมท้องถิ่น จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๗๓
ภาพ การปอ้ นขา้ วเหนียวไข่ต้มรา่ งทรงองค์ใหม่ ภาพ การผกู ขอ้ มือเจ้าองคใ์ หม่
ทีม่ า: (สำนกั ศลิ ปะและวฒั นธรรม ที่มา: (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์, ๒๕๕๘)
มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ์, ๒๕๕๘)
เมื่อผูกข้อมือจนครบหมดแล้วเจ้าที่นั่งข้างพานบายศรีก็จะเอาข้าวเหนียวกับไข่ต้มที่อยู่ในมือ
ป้อนให้กับเจ้าองค์ใหม่กิน หลังจากนั้นเจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำจะสนทนากับเจ้าองค์ใหม่ถามสารทุกข์สุขดิบ
แล้วจึงพากันร่ายรำฉลองในงานพิธีกินดองจนเป็นที่พอใจ จากนั้นเจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำและเจ้าพ่อเจ้าแม่
ทุกองคก์ ็หันหนา้ ไปทางแทน่ บูชาของหอครองใหญ่ยกมือพนม โดยจะมเี จ้าพ่อเหลก็ ชีจดุ ธูป ๙ ดอกส่งให้เจ้า
พ่อเจา้ พระยาอู่คำกล่าวและปกั ยังกระถางธปู และกก็ ราบลงสามครงั้ เพ่อื เชิญเจ้าพอ่ เจา้ แม่ออกจากร่างทรง
ในระหว่างนี้จะลั่นฆ้องและเป่าแคนควบคู่กันไป เมื่อเจ้าออกจากร่างทรงแล้วก็จะถอดเครื่องแต่งกาย แล้ว
พับเกบ็ ให้เรียบร้อย เปน็ อันเสร็จพิธีกนิ ดองเจ้า แต่เจ้าองคใ์ หม่จะต้องนอนคา้ งคนื ท่ีศาลหนองขามเป็นเวลา
๓ คืน จงึ จะเป็นร่างทรงทีส่ มบูรณ์
ภาพ การร่ายรำของเจา้ พอ่ เจ้าแม่
ท่มี า: (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ,์ ๒๕๕๘)
วฒั นธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนรุ ักษส์ ่ิงแวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ๗๔
๓. พธิ เี ลีย้ งปเี จ้าพอ่
พิธีเลี้ยงปีเจ้าพ่อ เป็นพิธีที่สำคัญและใหญ่ที่สุด กำหนดจัดกันในเดือนหกของทุกปี โดยชาวไท
หล่มมีความเชื่อและถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน โดยพิธีกรรมนี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญาที่บรรพ บุรุษได้
สอดแทรกใส่ไว้ในพิธีกรรมดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความสามัคคี กตัญญูต่อบรรพบุรุษแล้ว
ยังสอนใหผ้ ้คู นและลูกหลาน รวมทง้ั เหล่าลกู ศษิ ย์บริวาร สร้างแต่กรรมดีและให้ละอายต่อการทำบาป
พิธีกรรมดังกล่าว พบว่าร่างทรงและผู้ที่นับถือเจ้าพ่อจะไปอยู่ที่ใดต้องกลับมาร่วมพิธีนี้ทุกคร้ัง
ถ้ามาไม่ได้ต้องให้คนในครอบครัวเสียไก่ เสียเหล้า เพื่อเป็นสิ่งแทนตัวบุคคลมาร่วมงาน ผู้ที่มาบนบานศาล
กล่าวไว้จะกลับมาแก้บนในวันนั้นด้วย อาหารคาวที่ใช้เซ่นไหว้ด้วย หมู ไก่ เป็ด จะหมุนเวียนทุกปี ร่างทรง
และลกู ผึ้งลกู เทียนจะร่วมรบั ประทานอาหารหลังจากเล้ยี งเจ้าพ่อแล้ว จากน้นั จึงทำพธิ ีสขู่ วัญ มีหมอแคนทำ
พธิ สี ขู่ วญั เจา้ พอ่ องค์ใหญ่ เจ้าพ่อองคร์ อง และเจา้ พ่อองคเ์ ล็ก จะผลัดกนั ผกู ขอ้ มอื ลำดับสดุ ทา้ ยเจ้าพ่อองค์
ใหญ่ผูกข้อมือให้ลูกผึ้งลูกเทียนจนเป็นที่พอใจ และสุดท้าย เข้าสู่พิธีไล่ผีหลวง เป็นพิธีปัดเป่าและส่งบรรดา
พวกผีปศี าจ ส่งิ ชั่วรา้ ยออกจากหมบู่ ้านนัน่ เอง
สงิ่ ของทีใ่ ช้ในพธิ ี
๑. อาหารหวาน ประกอบด้วย ข้าวปาด
ข้าวเหนยี วแดง ข้าวตม้ มดั
๒. อาหารคาว ประกอบด้วย คั่วไก่ ค่ัว
เป็ด
๓. ผลไม้ ประกอบด้วย กล้วย มะม่วง
แอปเปล้ิ ลองกอง เงาะ แตงโม สับปะรด มะพรา้ ว ภาพ การเตรยี มอาหารคาวหวาน
๔. พาแถน (พาของพญาแถน) ท่ีมา: (สำนกั ศลิ ปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ,์ ๒๕๕๘)
ประกอบด้วย บายศรีปากชาม ๑ คู่ จีบหมากจีบพลู
๑ กระทง ข้าวเหนียว ๑ ถ้วย ปลาปิ้ง ไก่ย่าง ๑ ตัว
มะพร้าวอ่อน ๑ ลูก เหล้า ๔๐ ๑ ขวด แก้ว ชุดขาว ๑ ชุด กระจก หวี แป้ง น้ำอบ น้ำปรุง กล้วย ๑ หวี
แกว้ แหวน เงนิ ทอง (ทำจากแป้งขา้ วเหนียวปนั้ ชุบแป้งทอด) ๔ กระทง กรวยดอกไม้ ธปู ๒ ดอก เทยี นขาว
๒ เล่ม
๕. บายศรเี งินทอง ๔ คู่
๖. เทยี นกงิ่ เทียนงา่ ๔ ชดุ
๗. เครอ่ื งดื่ม ประกอบด้วย เหลา้ เบียร์ นำ้ เปล่า และน้ำอดั ลม
วัฒนธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนุรักษส์ ง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมทอ้ งถิน่ จงั หวัดเพชรบูรณ์ ๗๕
ภาพ พานบายศรี ภาพ เทยี นกง่ิ เทยี นงา่ ภาพ เหล้า
ทม่ี า: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ์, ๒๕๕๘)
๘. ขันเชิญเจ้าพ่อ ประกอบด้วย ขันธ์ ๕ (กรวยดอกไม้ธูป ๕ กรวย ห่อนิมนต์กรวยแหลม ๑
กรวย เทยี นไขสขี าว ๒ เลม่ เทียนไขสเี หลืองเล็ก ๒ เลม่ ) ขนั ธ์ ๘ (กรวยดอกไม้ธปู ๘ กรวย หอ่ นิมนตก์ รวย
พบั เป็นรูปสีเ่ หลี่ยม ๑ กรวย เทียนไขสีขาว ๒ เล่ม เทียนไขสเี หลืองเล็ก ๒ เล่ม)
๙. ขันทำน้ำมนต์ ประกอบด้วยกรวย
ดอกไม้ธูป เทียน เทียนน้ำมนต์ เครื่องน้ำมนต์ (ใบเงิน
ใบทอง ใบหมากผู้ ใบพลบั พลงึ (ว่านโซน) สม้ ป่อย)
๑๐. ม้าก้านกล้วย มีถังน้ำ และหญ้าวาง
อยขู่ ้าง ๆ มา้ ก้านกล้วย
๑๑. ขันหมาก ประกอบด้วย จานใส่จีบ
หมากจบี พลู ภาพ มา้ กา้ นกล้วย
ทม่ี า: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม
มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ์, ๒๕๕๘)
เคร่ืองดนตรที ี่ใช้ในพิธี ภาพ กลองป้ัง
๑. แคน ที่มา: (สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม
๒. ฆ้อง มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ,์ ๒๕๕๘)
๓. ฉาบ
๔. กลองปัง้
วฒั นธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนรุ กั ษส์ ง่ิ แวดลอ้ มธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมทอ้ งถิ่น จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ๗๖
วนั เตรียมงาน
ช่วงเช้าของวันเตรียมงานบรรดากวนจ้ำ แม่แต่ง ร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่ และชาวบ้านมา
รวมตัวกันที่ศาลเจ้าพ่อหนองขาม กวนจ้ำจะนำขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ บอกกล่าวเจ้าพ่อเจ้าแม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ฮีบ
ใหญ่ มีการจัดสถานที่ช่วยกันทำความสะอาดที่หอครองใหญ่ หอเลี้ยงและที่ลานหนา้ หอเลี้ยงจะมีร่มกางอยู่
๒ คัน ๒ จุด สีเงินอยู่ทางขวามือ สีส้มทองอยู่ทางซ้ายมือ ที่ร่มจะมีห่อนิมนต์มัดไว้ที่ด้ามร่ม พร้อมทั้งมีเก้าอ้ี
วางอยใู่ นรม่ คันละตัว
ในระหว่างนี้ก็จะมีกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ช่วยกันทำขนมข้าวต้มที่จะต้องใช้ในพิธีของวันงานเลี้ยงปี
และยงั มกี ารทำหอ่ นิมนต์ให้กบั กวนจำ้ นำไปเชญิ เจ้าพ่อเจ้าแมท่ ้ังในหมบู่ า้ นและต่างหมู่บา้ นมาร่วมงานเลยี้ งปี
แม่แต่งจะจัดทำ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ (ที่มีดอกไม้และธูป) ไว้จำนวน ๓ ชุด สำหรับที่จะใชใ้ นพิธีโดย
แบ่งดังนี้ ๑) ใช้ตอนเจ้าพ่อเจ้าแม่ประชุมตรวจดูของไหว้ที่จะใช้ในงานเลี้ยงปี ซึ่งในช่วงเย็นของวันเตรียม
งาน ๒) ใช้ตอนถวายอาหารหวานคาว ๓) ใช้ตอนถวายสิง่ ของให้พญาแถนเพือ่ ขอฝน สิ่งของที่เตรียมเอาไว้
สำหรบั ใชใ้ นงานเลยี้ งปจี ะถกู เก็บไวท้ ี่หอครองใหญซ่ ่งึ เปน็ ศาลาข้าง ๆ ศาลาเลีย้ ง
เมื่อจัดเตรียมข้าวของที่จะใช้ในงานเลี้ยงปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ช่วงเย็นของวันเตรียมงานเวลา
ประมาณ ๑ ทมุ่ บรรดาเจา้ พ่อเจ้าแม่จะเข้าทรงประชุมกนั ท่ีหอครองใหญ่ของเจา้ พ่อเพื่อทำการตรวจดูข้าว
ของท่ีจะใชใ้ นงานเลีย้ งปี เชน่ อาหารหวาน อาหารคาว ว่าครบบรบิ ูรณ์หรือมีข้อบกพรอ่ งอย่างไรหรอื เปลา่
วนั งานเลี้ยงปีไลผ่ หี ลวง
บรรดาร่างทรงร่างเจ้าพ่อเจ้าแม่ และชาวบ้านเริ่มเดินทางมารวมตัวกันที่ศาลเจ้าพ่อหนองขาม
ซ่งึ เปน็ สถานที่จดั งานเลีย้ งปขี องบ้านวัดทุ่งธงไชย ถ้าเป็นกลุ่มของร่างทรงเจ้าก็จะเขา้ ไปนั่งรวมตัวกันภายใน
หอเลีย้ ง แต่ถา้ เปน็ กล่มุ ชาวบา้ นท่มี ารว่ มงานนนั้ จะนัง่ อยู่รอบบรเิ วณงาน ภายในงานยังมีการตั้งกองผ้าป่าไว้
สำหรับใหช้ าวบา้ นทมี่ าร่วมงานไดท้ ำบุญร่วมกนั อีกด้วย
งานเลี้ยงปจี ะมพี ิธยี ่อย ๙ พิธี คอื ๑. พธิ บี อกกลา่ วส่งิ ศกั ด์ิสิทธ์ิ ๒. พธิ ีถวายพาแถน ๓. พธิ ถี วาย
อาหารหวาน - คาว ๔. พิธีเชิญเจ้าลงมาประทับร่าง ๕. ถวายพานบายศรี ๖. ทำความเคารพหอไหว้
๗. ทำนำ้ มนต์ ๘. พิธสี ง่ เจา้ สง่ นาย ๙. ชาวบา้ นรับน้ำมนต์
ภายในหอก็จะมีการจัดสถานที่ดังนี้ ตรงกลางของหอระยะห่างระหว่างแท่นบูชาของเจ้าพ่อ
เจ้าพระยาอู่คำกับเจ้าพ่อเหล็กชี (เสนาฝ่ายขวา) นั้นจะมีส่วนที่หน้าแท่นเจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำ จะมีเครื่อง
แต่งกายของเจ้าปู่เจ้าย่าเจ้าพ่อเจ้าแม่ และก็เครื่องแต่งกายของร่างทรงคนใหม่ (บนเครื่องแต่งกายของร่าง
ทรงคนใหมจ่ ะมกี รวยดอกไม้ ๑ อัน ชาวบา้ นเรยี กกนั วา่ ห่อนิมนต)์
นอกจากนี้ยงั มีขนั เชิญ (ขนั เชญิ ของหมู่บ้านน้ีจะมีกรวยดอกไม้ ๖ กรวย วางอยใู่ นขันเชิญ) และ
มีเบาะรองนงั่ ไวส้ ำหรับให้เจา้ ปู่เจา้ ย่า เจา้ พ่อเจ้าแม่ไดน้ ่ังบนเบาะ มอี ยู่ ๖ ทเ่ี ท่าน้นั ได้สอบถามชาวบ้านดูว่า
ทำไมต้องมีเบาะรองนัง่ ดว้ ย ชาวบ้านบอกวา่ เจ้าปู่เจ้าย่าเจา้ พ่อเจา้ แม่ทีไ่ ด้นัง่ บนเบาะเพราะว่าทา่ นมียศสงู
วัฒนธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรกั ษส์ ิ่งแวดล้อมธรรมชาตแิ ละศลิ ปกรรมท้องถิ่น จงั หวดั เพชรบูรณ์ ๗๗
กว่าบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์อื่น ๆ ส่วนทางด้านหน้าแท่นบูชาของเจ้าพ่อเหลก็ ชี ก็จะมีเครื่องแต่งกายของ
เจ้าพ่อเจ้าแม่ที่มาร่วมงานพิธีกนิ ดองวางอยู่เหมือนกันโดยการวางเครื่องแตง่ กายของเจ้าปู่เจ้าย่าเจ้าพ่อเจา้
แม่จะไม่วางอยใู่ กลก้ ันท้งั หมด โดยจะแยกกนั วาง ดังน้ี
๑. ที่หน้าแท่นบูชาเจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำจะวางเครื่องแต่งกายของเจ้าปู่เจ้าย่าเจ้าพ่อเจ้า
แม่จะมวี างอยู่แค่ ๗ องค์ คือ
๑.๑ เจา้ ยา่ ปทุมมา
๑.๒ เจ้าปู่พระยาระพานทอง
๑.๓. เจา้ พอ่ เจ้าพระยาอูค่ ำ
๑.๔. เจา้ พ่อพระยาละกองคำ
๑.๕. เจา้ แม่คำหมดุ
๑.๖. เจ้าแม่อแู่ ก้ว
๑.๗. เจ้าแมค่ ำหอม
๒. ถัดออกมาก็จะเป็นที่วางของเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่เป็นลูกหลานเจ้าปู่เจ้าย่าเจ้าพ่อเจ้าแม่
และชดุ ของเจ้าพ่อเจา้ แม่องค์ใหม่ (กองนี้จะพิเศษตรงที่ดา้ นบนจะมีกรวยดอกไม้ (ชาวบ้านเรียกว่า หอ่ นมิ นต)์
๓. ส่วนชุดของเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์อื่น ๆ ที่มาร่วมงานก็จะวางเรียงกันที่หน้าแท่นบูชาของ
เจา้ พอ่ เหลก็ ชี
บอกกล่าวสิ่งศกั ดิส์ ทิ ธ์ิ
เมื่อถึงเวลาร่างทรงของเจ้าปู่พระยาระพานทองกับร่างทรงเจ้าบางส่วนจุดธูป ๙ ดอก พนมมือ
ขึ้นบอกกล่าวเจ้าปู่เจ้าย่าเจ้าพ่อเจ้าแม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตาคนเราไม่สามารถมองเห็นได้ เพื่อบอกให้รับร้วู า่
วันนี้จะมีการจัดงานเลี้ยงปีกันเกิดขึ้น เพราะชาวบ้านเชื่อกันว่าเวลาจะทำอะไรจะมีงานอะไรก็ต้องบอก
กล่าวส่ิงศักดิ์สิทธทิ์ ่ีตนเองนับถือทุกครงั้ เพื่อใหช้ ว่ ยดแู ลการจดั งานใหร้ าบร่ืนไปได้ดว้ ยดี โดยการบอกกล่าว
นั้นก็จะจุดธปู ไหว้บอกที่หอไหว้กอ่ น และตามมาด้วยหอครองใหญ่ และตามมาด้วยหอเลี้ยง และก็ยังมีรา่ ง
ทรงคนหน่ึงจุดธปู ไหว้ท่ตี ้นลีลาวดีที่อยู่ระหวา่ งหอครองใหญ่กบั หอเลีย้ ง จากการที่ได้สอบถามชาวบ้านบอก
ว่า เป็นการบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองและชาวบ้านนับถือกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายว่าถ้าจะมีงานอะไรก็
ตามก่อนทำพิธีในวันงานดังเช่นวันนี้จะมีการจัดพิธีกินดองกันเกิดขึ้นก็จะต้องบอกกล่าวดังท่ี เคยทำกันมา
หลังจากที่ได้บอกกล่าวตามจุดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บรรดาร่างทรงเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่มาร่วมงานก็จะ
มาร่วมตัวกันอยทู่ หี่ อเลยี้ ง
วัฒนธรรมศึกษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ ักษ์สง่ิ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมทอ้ งถิ่น จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๗๘
ถวายพาแถน
ในการถวายพาแถนนั้นทางร่างทรงได้จัดวางพาแถนไว้ที่
ด้านหลังของหอเลี้ยงแล้วยังมีการจัดพาอาหารหวานอีก ๔ ชุด
อาหารคาวอีก ๔ ชุด นำไปถวายแถนตามมุมทั้ง ๔ ของบริเวณศาล
เจ้าพ่อหนองขามตรงกับบรเิ วณเดียวกันที่ปักทุงน่ันเอง ในระหว่างที่
ถวายพาแถนนนั้ จะมกี ารจดุ เทยี นก่ิง เทยี นง่าท่ีปกั ไวท้ ั้ง ๔ จุด
ภาพ ถวายอาหารหวาน - คาว
ทมี่ า: (สำนกั ศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ,์ ๒๕๕๘)
จัดเตรียมอาหารหวาน ช่วงที่มีการคารวะอยู่นั้นก็จะมีชาวบ้านบางส่วนหันไปจัดเตรียม
อาหารหวานใส่ถว้ ยจดั เปน็ ถาด ๔ ถาดภายในถาดกจ็ ะมขี องดังตอ่ ไปนี้
๑. ถว้ ยขนม ๔ ถว้ ย โดยถ้วยที่ ๑ จะใสข่ า้ วเหนยี วแดง ถว้ ยที่ ๒ จะใสข่ ้าวต้ม (ขา้ วต้มมัด)
ถ้วยท่ี ๓ จะใสข่ นมข้าวปาด ถ้วยท่ี ๔ จะใส่ทัง้ ๓ อย่างดว้ ยกนั (ขา้ วตม้ ขา้ วเหนียวแดง ขา้ วปาด)
๒. กรวยดอกไม้ ๑ กรวย จะมกี รวยท่ที ำจากใบตองสดทำเป็นกรวย ในกรวยก็จะมีดอกไม้
ธปู อกี ๒ ดอก
๓. กระทงขนั หมาก ประกอบดว้ ย
๓.๑ จบี พลู จะนำใบพลสู ด ๆ มาทาด้วยปนู แดงและก็มวนมดั ดว้ ยฝา้ ย
๓.๒ หมากสด จะเอาลูกหมากสด ๆ มาหนั เปน็ ชนิ้
๓.๓ หมากแหง้ จะเป็นช้ินหมากแห้งท่ีชาวบา้ นหน่ั เป็นชน้ิ ๆ ตากแดดเกบ็ เอาไว้
๓.๔ ยาเสน้ จะเป็นยาสูบท่ชี าวบ้านนำมาหนั ฝอยแลว้ เอาไปตากแดดจนแห้งเก็บเอาไว้
๓.๕ สเี สียด เป็นเปลอื กของต้นไม้ท่ชี ่อื วา่ ตน้ สีเสียด ชาวบา้ นนำเอามาทบุ จนเป็นฝอย
๓.๖ ยามวน จะเปน็ การนำเอาใบตองแห้งมามวนกบั ยาเสน้ ท่ชี าวบา้ นทำเก็บเอาไว้
๔. แกว้ น้ำเปล่า ๑ แกว้
๕. แตล่ ะถาดก็จะมีเทยี น ๑ เลม่ นอกจากถาดอาหารหวานแลว้ ก็ยังมีถาดผลไม้อีก ๑ ถาด
จะมีผลไม้ ๙ อย่าง ถ้าจะมากกว่า ๙ อย่างก็ได้แต่ต้องลงเลขคี่เท่านั้น ที่ถาดผลไม้ก็จะมีกรวยดอกไม้ ๑
กรวย เทยี น ๑ เลม่
วัฒนธรรมศึกษา ชุมชนหลม่ เก่า โดย หน่วยอนุรักษ์สงิ่ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมทอ้ งถนิ่ จงั หวดั เพชรบูรณ์ ๗๙
ถวายอาหารหวาน
เมื่อจัดของถวายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ร่างทรงคนอื่นก็จะส่งถาดอาหารหวานให้กับร่างทรงใหม่
จัดเรียง ๔ ชุด และก็ถาดผลไม้อีก ๑ ชุด เมื่อจัดวางสำรับอาหารหวานเรียบร้อยแล้ว ร่างทรงใหม่ก็จะจุด
เทียน ๑ เล่ม ตั้งที่ถาดอาหารหวาน ๔ ถาด ที่ถาดผลไม้ ๑ ถาด หลังจากนั้นร่างทรงทั้งหมดก็พนมมือขึ้น
พอเร่ิมกลา่ วเชญิ หมอแคนก็จะเปา่ แคนกับลนั่ ฆ้องคู่กนั ไป โดยชาวบา้ นบอกว่าเปน็ การเชญิ เจ้าพอ่ เจ้าแม่แต่
ละองค์ โดยคนที่เป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่จะเป็นผู้กล่าวเชิญมารับของที่ถวายและประเคน เมื่อกล่าว
เชญิ จบกจ็ ะประเคนโดยเอามือขวายน่ื ไปแตะท่ีถาดอาหารหวานให้ครบทง้ั ๔ ถาด และถาดผลไมอ้ กี ๑ ถาด
แลว้ ทุกคนก็กราบลง ๓ ครงั้ แลว้ ก็นัง่ รอจนกวา่ เทยี นทถี่ าดอาหารหวานจะดับลง
จัดเตรยี มอาหารคาว
ช่วงที่นั่งรอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่กินเครื่องเซ่นอยู่นั้น จะมีชาวบ้านที่นั่งอยู่ตรงหม้ออาหารหวาน
อาหารคาวกจ็ ะตักอาหารคาวใส่ถ้วยและจัดใส่ถาด ๔ ถาด เตรียมไว้ โดยจะมีการจัดเป็น ๔ ชดุ แตล่ ะชุดจะ
มีของดังนี้ ๑. คั่วเป็ด ๒. คั่วไก่ ๓. ข้าวเหนียวนึ่งใส่กระติบ ๔. กระทงขันหมาก ๕. กรวยดอกไม้ ๖. แก้ว
๗. นำ้ เปลา่ ๘. เหล้า - เบียร์ ๙. เทยี น ๑๐. นำ้ อดั ลม
อาหารที่นำมาเซ่นไหว้ถึงแม้จะไม่ได้จัดใส่ถาดแต่อยู่ในหม้อหรืออะไรก็จะมีกรวยดอกไม้ ๑
กรวย ใส่ไว้ในหม้อหรือในภาชนะที่ใส่อาหาร ได้สอบถามชาวบ้านดูบอกว่าของที่มีกรวยดอกไม้วางไว้ ๑
กรวย ไม่ว่าจะเป็นอะไรแสดงว่าเป็นของเจ้าพ่อเจ้าแม่ทัง้ หมดแสดงว่าห้ามชิมหา้ มกนิ จนกว่าจะเลี้ยงเจ้าพ่อ
เจ้าแมเ่ สร็จส้นิ พิธกี รรม
ถวายอาหารคาว
หลังจากที่เจ้าแม่คำมดุ ลงมาประทับร่างทรงเพื่อตรวจดูของเซ่นไหวท้ ี่ได้จัดเป็นที่เรียบร้อยแลว้
ทางร่างทรงใหม่ก็จะเริ่มจุดเทียนตั้งที่ถาดอาหารคาวทั้ง ๔ ถาด หลังจากนั้นร่างทรงทั้งหมดก็พนมมือขึ้น
เริ่มกล่าวเชญิ หมอแคนกจ็ ะเป่าแคนกับลัน่ ฆ้องคู่กันไป โดยชาวบ้านบอกว่าเปน็ การเชญิ เจา้ พ่อเจ้าแม่แต่ละองค์
โดยคนที่เป็นร่างทรงของเจ้าพ่อเจ้าแม่จะเปน็ ผู้กลา่ วเชญิ มารับของที่ถวายและประเคน เมื่อกล่าวเชิญจบก็
จะประเคนโดยเอามือขวายื่นไปแตะที่ถาดอาหารคาวให้ครบทั้ง ๔ ถาด แล้วทุกคนก็กราบลง ๓ ครั้ง แล้วก็
นั่งรอจนกว่าเทยี นที่ถาดอาหารคาวจะดับลง นั่นหมายถึงบรรดาเจ้าปูเ่ จ้าย่าเจ้าพ่อเจา้ แม่รับของถวายเสร็จ
จนอิ่มกนั แล้ว เมือ่ เทยี นดบั แลว้ ร่างทรงใหมก่ ็ยกถาดอาหารคาวสง่ ให้คนอืน่ เอาไปเทไว้ที่เดยี วกับที่เทอาหาร
หวาน เพื่อให้บรรดาเหล่าเสนาเลี้ยงช้างเลี้ยงม้าได้กินกัน หลังจากถวายอาหารหวาน - คาว เสร็จเป็นที่
เรียบร้อยแล้ว จะนำอาหารที่เสร็จจากพิธีที่ไม่ได้จัดใส่ถาด หรือส่วนที่อยู่ในหม้อ นั้นมาเลี้ยงดูร่างทรงและ
แขกที่มาร่วมงานกินดองกันในวันนี้ โดยอาหารที่นำมาเลี้ยงดูร่างทรงและแขกที่มาร่วมงาน ก็จะมี คั่วเป็ด
คั่วไก่ ต้มกระดูกหมูใส่ผักกาดดอง แล้วก็จะมีขนม ข้าวต้ม ขนมปาด ข้าวเหนียวแดง หลังจากที่กินข้าวปลา
อาหารกันแล้วก็จะมกี ารพดู คุยกนั สักพักเพ่ือให้อาหารท่ีกินเข้าไปนัน้ ย่อย
วฒั นธรรมศกึ ษา ชุมชนหลม่ เกา่ โดย หน่วยอนรุ ักษ์สิง่ แวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมทอ้ งถิ่น จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๘๐
เชิญเจา้ ปู่เจา้ ยา่ เจ้าพ่อเจ้าแม่ลงประทับรา่ งทรง
หลังจากกินขา้ วกินปลากันจนอ่ิมและนั่งพักพูดคุยกนั พอสมควร กไ็ ด้เวลาที่จะทำพิธีต่อ บรรดา
รา่ งทรงกเ็ ร่มิ ทจ่ี ะกลบั เข้าไปน่ังยังที่ของตนเอง ช่วงทจี่ ะทำพธิ ีเชญิ เจ้าป่เู จ้ายา่ เจ้าพ่อเจ้าแม่ลงมาประทับร่าง
ทรงนน้ั จะไมใ่ ห้คนทไ่ี ม่ใช่ร่างทรงเข้าไปภายในหอเลี้ยงเป็นอันขาด เพราะชาวบ้านบอกวา่ เปน็ เร่อื งของเจ้า
ปเู่ จา้ ยา่ เจา้ พ่อเจา้ แม่ คนธรรมดาจะไม่มีสิทธ์ิเข้าไปขอ้ งเก่ียวเด็ดขาด เมือ่ ร่างทรงของเจา้ พ่อเจา้ แม่มาพร้อม
กันหมดแล้ว ร่างทรงเจ้าปู่จะจุดเทียน จุดธูป ๙ ดอก ปักที่กระถางธูปบนแท่นของเจ้าพ่อเจ้าพระยาอู่คำ
แล้วจะมีร่างทรงอีกคนจุดเทียนธูป ๙ ดอก ปักที่กระถางธูปบนแท่นของเจ้าพ่อเหล็กชี หลังจากนั้นร่างทรง
เจา้ ปกู่ ็จุดเทียนตั้งท่ีขนั เชิญ (ในขันจะมีกรวยดอกไม้ ๖ กรวย) และยกข้ึนกลา่ วเชิญเจา้ ท่ีตนเองเป็นร่างทรง
ลงมาประทับร่าง ส่วนร่างทรงของเจ้าพ่อเหลก็ ชีก็จุดเทียนตั้งทีข่ ันเชิญ (ขันเชิญนี้ในขนั จะมีกรวยดอกไม้ ๓
กรวย) ท่วี างอยหู่ นา้ แท่นเจา้ พ่อเหล็กชี และยกขึ้นกลา่ วเชิญเจา้ ทตี่ นเองเป็นรา่ งทรงลงมาประทับรา่ ง
ขันเชิญทจ่ี ะยกเชญิ เจา้ ลงประทับรา่ งทรงท่ีหนองขาม จะมดี ว้ ยกัน ๒ อยา่ ง
๑. ขนั เชิญเจา้ ท่ีมตี ำแหน่งใหญข่ ันเชญิ จะมี กรวยดอกไม้ ๖ กรวย
๒. ขันเชิญเจ้าทมี่ ีตำแหน่งน้อยขนั เชิญจะมี กรวยดอกไม้ ๓ กรวย และรา่ งทรงคนไหนท่ีเป็นร่าง
ทรงของเจ้าพ่อองค์ใดท่ีมาร่วมงานก็จะรับขันเชิญอันที่เจ้าของตนเองมีตำแหน่งขนาดนั้นยกขันเชิญ แล้วกล่าว
เชิญเจ้าองค์นั้นที่ตนเองเป็นร่างทรงให้มาประทับเมื่อร่างทรงที่มาร่วมงานทั้งหมดได้ยกขันเชิญกันหมดทุกคน
แล้ว
เจ้าองคท์ ี่สำคัญ ๒. เจ้าปู่พระยาระพานทอง
๑. เจ้าย่าปทุมมา ๔. เจา้ พ่อพระยาละกองคำ
๓. เจ้าพอ่ เจ้าพระยาอู่คำ ๖. เจ้าแม่อ่แู ก้ว
๕. เจา้ แมค่ ำหมดุ ๘. เจ้าพอ่ เหลก็ ชี (ดา้ ม)
๗. เจา้ แมค่ ำหอม ๑๐. เจ้าพ่อขนุ ไกร
๙. เจา้ ตาเหล็กชี (ดวง) ๑๒. เจ้าพ่อขุนไกร (องคร์ กั ษา)
๑๑. เจา้ พ่อขนุ ซว่ ง
เจ้าทีม่ าร่วมงาน
๑. เจา้ พอ่ มาลยั ทอง ๒. เจา้ แม่เถยี งคำ
รา่ งทรงเจา้ ยา่ ปทุมมาก็หยิบน้ำแป้ง นำ้ หอม ทวี่ างไว้หนา้ แท่นบูชาท้ังสองแท่น นำเอาน้ำแป้งกับ
น้ำหอมประพรมที่หน้าและตัวของตนเอง แล้วส่งไปให้กบั ร่างทรงคนอื่นได้ประพรมด้วย ส่วนร่างทรงคนไหน
ประพรมน้ำแป้งน้ำหอมที่ร่างกายแล้ว เจ้าที่ลงมาประทับร่างก่อน จะเป็นเจ้าที่มีตำแหน่งใหญ่ที่สุดลงมา
ประทบั
วัฒนธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เกา่ โดย หนว่ ยอนุรกั ษส์ ง่ิ แวดล้อมธรรมชาตแิ ละศิลปกรรมท้องถิน่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๘๑
เมื่อเจ้าประทับแล้วก็จะลุกขึ้นยืนให้ร่างทรงของเจ้าที่มีตำแหน่งน้อยกว่า แต่งเครื่องแต่งตัวให้
โดยจะแต่งให้เฉพาะเจ้า ๓ องคเ์ ทา่ นัน้ คือ ๑. เจา้ ปู่พระยาระพานทอง ๒. เจา้ พ่อเจา้ พระยาอูค่ ำ ๓. เจ้าพอ่ พระยา
ระกองคำ หลังจากนั้นร่างทรงของเจ้าพ่อตำแหน่งถัดมาก็เริ่มลงมาประทับร่างแล้วก็จะหยิบเครื่องแต่งตัว
ของตนเองจัดการแต่งตัว ถ้าเจ้าองค์ไหนแต่งตัวลำบากก็จะมีร่างทรงเจ้าพ่อหวายสามโค้ง (เสนา) เป็นผู้
แตง่ ตวั ให้
ส่วนร่างทรงคนใหม่เจ้าก็จะลงประทับตอนที่เจ้าที่มาร่วมงานลงประทับกันเกือบหมดแล้ว
อาการเมื่อตอนที่เจ้าของตนเองลงประทับร่างแล้วจะมีอาการของเจ้าแต่ละองค์ ซึ่งบางคนก็มีอาการ
เหมือนกัน บางองค์ก็ไม่เหมือนกัน แต่ที่ส่วนใหญ่ดูแล้วจะมีอาการที่เหมือนกันมากก็คือ เวลาที่เจ้าลง
ประทับจะมีอาการอ้วกได้สอบถามชาวบ้านดูว่าเจ้าที่ลงประทับแล้วมีอาการอ้วกนั้นเป็ นเพราะอะไร
ชาวบ้านบอกว่าเป็นเพราะก่อนที่เจ้าทั้งหลายจะตายกันนั้นได้กินแกงผักหวานที่ปู่ไปเก็บมาแกงให้กิน แล้ว
เมาแกงผักหวานกันจนอ้วกออกมาและก็ตายกันในที่สุด เมื่อได้เวลาที่ลงมาประทับร่างทรงก็จะมีอาการ
กอ่ นท่ีจะตายกันเกิดข้นึ ให้เห็นเมือ่ เจ้าลงประทบั ร่างทรงจนครบทุกองค์ทมี่ ารว่ มงาน เจา้ ท่ีตำแหน่งน้อยกว่า
เจ้าปู่เจ้าย่าถัดลงมาก็จะคลานเข้าไปกราบเจ้าปู่เจ้าย่า โดยการคลานเข้าไปกราบนั้นก็จะเรียงลำดับตาม
ตำแหน่งจากตำแหน่งท่ีสูงลงไปหาตำแหน่งท่ีน้อยสดุ แล้วจะคลานเข้าไปกราบเจ้าปู่เจ้าย่าและกราบเจ้าพ่อ
เจ้าแมท่ ี่มีตำแหน่งสูงกว่ากนั จนครบหมดทุกองค์ท่มี าร่วมงานในวนั น้ี
ถวายพานบายศรี
เจ้าพ่อพระยาระพานทอง (เจ้าองค์ใหญ่ที่สุด) จุดเทียนที่ยอดบายศรีซึ่งจะมีด้วยกัน ๒ พาน
แล้วยกพานนั้นขึ้นถวายก่อน แล้วก็จะส่งพานบายศรีนั้นให้กับเจ้าองค์อื่นตามลำดับอาวุโส แต่จะมีเจ้าอยู่
องค์หนึ่งยกพานบายศรีขึ้นแล้วสั่นพร้อมกับโห่ ๓ รอบ เมื่อเจ้าทั้งหมดยกพานบายศรีเสร็จเป็นที่เรียบร้อย
แล้วกก็ ราบลง ๓ ครัง้ แล้วก็พากนั ลุกข้ึน ออกจากหอเล้ียงนำโดยเจ้าปู่เจ้ายา่ พร้อมกับเจ้าองค์อื่นเดินไปยืน
ทห่ี น้าหอไหว้ซง่ึ อยูท่ ่จี อมปลวกด้านหลังศาลาหอเล้ยี ง
ทำความเคารพหอไหว้
เมื่อเจ้าทุกองค์เดินไปพร้อมกันที่หน้าหอไหว้ เจ้าองค์ใหญ่ก็จะเข้าไปทำความเคารพที่หอไหว้
ตามลำดับอาวุโส หลังจากที่ทำความเคารพที่หอไหว้เสร็จแล้ว ก็จะพากันเดินเข้าไปนั่งประจำที่ในหอครอง
ใหญ่ (ศาลาที่อยขู่ า้ ง ๆ หอเลยี้ งน่นั เอง) โดยน่งั ประจำจุดที่ไดจ้ ัดเตรยี มวางเอาไว้ตามลำดับความอาวุโส
เมื่อเจ้าท้ังหมดเข้าไปนั่งภายในหอครองใหญจ่ นครบหมดแล้ว ก็จะมีเจ้าบางองค์กินนำ้ มะพร้าว
(ชาวบ้านบอกว่าเจา้ เรียกน้ำมะพร้าววา่ นม)
วฒั นธรรมศกึ ษา ชมุ ชนหลม่ เก่า โดย หนว่ ยอนรุ ักษส์ ่งิ แวดล้อมธรรมชาติและศลิ ปกรรมทอ้ งถน่ิ จังหวัดเพชรบรู ณ์ ๘๒