The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

06แห่ปราสาทผึ้ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Aom Nuttawadee, 2022-09-26 03:41:22

06แห่ปราสาทผึ้ง

06แห่ปราสาทผึ้ง

พลวัต:

ปราสาทผึง้ บา นทา กกแก

ตำบลตาลเดีย่ ว อำเภอหลม สกั จงั หวดั เพชรบูรณ

มหสาำวนิทักยศาลิ ลปัยะรแาลชะภวัฏัฒเพนธชรรรบมูรณ

คำนำ

พลวัต : แห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเอกสาร
องค์ความรู้ ภายใต้โครงการจัดเก็บข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นข้อมูลที่ทีมงาน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้จัดทำขึ้นจากการลงพื้นที่ภาคสนาม เพื่อเก็บ
รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนรุ่น
หลังได้เรยี นรู้วัฒนธรรมพ้นื บ้านทเ่ี กดิ ขนึ้ ในอดีตและปัจจบุ นั

ทั้งนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
เอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจทั้งหลาย นำองค์ความรู้นี้ไปเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ
เลง็ เหน็ ถึงคุณค่าของร่องรอยทางวฒั นธรรมที่คนในอดีตไดส้ รา้ งไวต้ ่อไป

สำนักศิลปะและวฒั นธรรม
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเพชรบรู ณ์

สารบัญ หนา้

เรื่อง ๑
องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ๑
เรอ่ื ง พลวตั : แหป่ ราสาทผ้ึงบ้านท่ากกแก ๑

วตั ถุประสงค์ ๑
ขอบเขต ๒
เป้าหมาย ๓
ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รบั ๑๔
พลวตั : แหป่ ราสาทผงึ้ บ้านทา่ กกแก ตำบลตาลเดย่ี ว อำเภอหล่มสกั จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๐
ประเพณแี ห่ปราสาทผึ้งในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๕๐ ๖๐
ประเพณีแหป่ ราสาทผง้ึ ในช่วงแหง่ การฟน้ื ฟู (พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๖) ๖๑
แนวทางการนำไปปฏิบัติใช้ ๖๒
ขอ้ เสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก รายละเอยี ดรายวิชา (มคอ. ๓) ท่ใี ช้บูรณาการ

องคค์ วามรู้ทางวัฒนธรรม
เร่อื ง พลวตั : แหป่ ราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก
ตำบลตาลเดีย่ ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบรู ณ์

วัตถปุ ระสงค์
๑. เพือ่ เปน็ การเสาะหา รวบรวม จดั เก็บขอ้ มูลท่ีมีอยู่ในตัวบุคคลท่ีมีประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญ

ด้านประเพณีพนื้ บ้าน การแห่ปราสาทผงึ้ บ้านทา่ กกแก ตำบลตาลเดยี่ ว อำเภอหล่มสกั จงั หวดั เพชรบรู ณ์
๒. เพอื่ จัดทำเป็นเลม่ องค์ความรสู้ ำหรบั เผยแพรใ่ ห้แก่เยาวชนและผทู้ ใ่ี หค้ วามสนใจศกึ ษาเรียนรู้

ขอบเขต
ศึกษาประวัติความเป็นมาในแต่ละยุคสมัยของประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง ของชุมชนบ้านท่ากกแก

ตำบลตาลเดยี่ ว อำเภอหล่มสกั จังหวดั เพชรบรู ณ์

เปา้ หมาย
จัดเก็บข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม เรื่อง พลวัต: แห่ปราสาทผึ้ง บ้านท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอ

หลม่ สัก จงั หวดั เพชรบูรณ์

ประโยชนท์ ค่ี าดว่าจะได้รับ
๑. ได้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม เรื่อง พลวัต: แห่ปราสาทผึ้ง บ้านท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอ

หล่มสัก จงั หวัดเพชรบูรณ์
๒. ได้สืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านจังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่อง พลวัต: แห่

ปราสาทผึ้ง บ้านท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์นำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่สู่
ชุมชน

๓. ได้องค์ความรสู้ ำหรบั นำไปบูรณาการกับการเรียนการสอน



พลวตั : แหป่ ราสาทผึง้ บา้ นทา่ กกแก
ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จงั หวัดเพชรบูรณ์

งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแกเป็นประเพณีเก่าแก่ท่ีสืบทอดกันมาตั้งแต่ สมัยโบราณ
ตามแบบประเพณีของชาวลาว มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา ถือครองกันตามหลัก ฮีต ๑๒ มาตั้งแต่
โบราณ จึงปฏเิ สธไมไ่ ด้ว่าพระพทุ ธศาสนามีส่วนสำคัญที่ทำใหเ้ กิดความเจริญรุ่งเรืองแก่บ้านเมืองน้ี ความเจริญ
นั้นนำมาซึ่งวัฒนธรรมทางด้านภาษา วรรณกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์
เฉพาะถิ่น

แต่เมื่อเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี
และวัฒนธรรม นอกจากนี้ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างครบครันของบ้านท่ากกแก ไม่ว่าจะเป็นการ
คมนาคม การจราจร ระบบโทรคมนาคม การสื่อสารและการประปา ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มุ่งเนน้ ไปในเร่ืองของ
การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อที่จะได้มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของตนเองและ
ครอบครัวดีขึน้ ดว้ ย

เดิมงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของบ้านท่ากกแก เป็นงานประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
และจัดขึ้นในวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี (นายบุญโฮม มาสี, ๒๕๖๒ :
สัมภาษณ์) จากผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้งานประเพณีของท้องถิ่น คือ งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ถูก
ลดความสำคัญลงจนกระทั่งมีการรวมกลุ่มโดยการนำของพระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมุนี ได้ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์
ศิลปวฒั นธรรมไทหล่ม กลุ่มมลู มังบา้ นท่ากกแก เพื่อฟ้ืนฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของชมุ ชนบ้านทา่ กกแกข้ึนมา
อีกครั้ง จนทำให้กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านเริ่มเห็นความสำคัญของงานประเพณี
แหป่ ราสาทผ้งึ

ซงึ่ จะสงั เกตได้ว่า งานประเพณีของชุมชนบ้านทา่ กกแกในรอบปีมีอยู่หลากหลาย แตผ่ ู้วิจยั ได้เลือกที่
จะศึกษางานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เนื่องจากเดิมการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก เป็นงาน
ประเพณีที่เกิดจากความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระพุทธศาสนา และความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ทำให้งานประเพณีแห่ปราสาท
ผ้งึ ของบ้านท่ากกแกถกู ลดความสำคัญลง เปน็ เพียงการจัดงานให้มตี ามประเพณีดั้งเดิม

ต่อมาเมื่อมีการฟืน้ ฟงู านประเพณแี หป่ ราสาทผึ้ง จากคนในชุมชนจนกลายเป็นประเพณีที่เรม่ิ เป็น
ที่รู้จักของหมู่บ้านใกล้เคียง ทำให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนเก่ียวข้องในการจัดงานประเพณี ผู้วิจยั จึงต้องการ
ศึกษาว่า กระบวนการฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแกมีขั้นตอนอย่างไร และกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามามี
สว่ นขับเคลือ่ นงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก ประกอบด้วยใครบ้าง

การเก็บข้อมลู ได้ทำการลงพื้นท่ีสำรวจบริบทชุมชนบ้านทา่ กกแก โดยเข้ารว่ มในกิจกรรมของงาน
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ทุกขั้นตอน ในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เช่น การจัดเตรียมวัสดุ
อุปกรณ์ในการจัดงาน จัดทำปราสาทผึ้ง และสิ่งของที่ใช้ในงาน การเข้าร่วมขบวนแห่ปราสาทผึ้ง และการ



ทอดกฐิน อีกทั้งยังได้ร่วมงานประเพณีอื่นๆ ในชุมชนบ้านท่ากกแก เช่น งานประเพณีบุญซำฮะ งานบุญ
พระเวสเทศน์มหาชาติ และประเพณีไหลเรือไฟ ทั้งนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับกลุ่มผู้นำชุมชน เจ้าอาวาส
ชาวบ้านและเยาวชนที่เขา้ ร่วมงานประเพณแี ห่ปราสาทผ้งึ

จากการพูดคุยและสัมภาษณ์ทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ชมุ ชน หลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศลิ ปกรรมท่ตี ง้ั อยใู่ นชมุ ชนรวมถงึ องค์ประกอบทางด้านประเพณี
วัฒนธรรมและพิธีกรรมในรอบปีของชุมชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลการลงพื้นที่ภาคสนามแบบมี
ส่วนร่วม ผู้วิจัยได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนทั้งจากเอกสารหลักฐานชั้นต้น ประกอบกับการ
สมั ภาษณบ์ ริบทชุมชน วิถกี ารดำเนนิ ชวี ติ ประเพณี และวัฒนธรรม นำมาสังเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปพลวัต
ของงานประเพณแี ห่ปราสาทผง้ึ โดยไดส้ รุปเปน็ ประเด็นไว้ดงั น้ี

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในช่วงกอ่ น พ.ศ. ๒๕๕๐
ในอดตี ชุมชนบ้านท่ากกแก มวี ิถกี ารดำเนินชีวิตและการอยู่รว่ มกับแบบเครอื ญาติ มกี ารช่วยเหลือ

พึ่งพาซึ่งกันและกัน วิถีการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่จะทำนาปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินภายในครัวเรือน และเลี้ยง
สัตว์เปน็ อาหาร หากินตามฤดูกาล อาชีพของชาวบ้านท่ากกแกจึงเปน็ การเกษตรแบบพึ่งพิงธรรมชาตเิ ป็นหลกั
ชุมชนให้ความสำคัญกับสถานภาพและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและที่ดิน เนื่องจากชุมชนยังคงพึ่งพิง
ทรัพยากรธรรมชาติในการใช้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ชาวบ้านให้ความสำคัญกับงานประเพณีของ
ท้องถิ่น เป็นประเพณีเก่าแก่ตามแบบประเพณีของชาวลาว คือ ฮีต ๑๒ (ประเพณี ๑๒ เดือน) ที่ชาวบ้านยึดถือ
ปฏิบัติ รวมถึงพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่จะถูกจัดขึ้นทุกเดือนเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านนิยมหยุดงาน
ในช่วงงานบุญ เพ่ือทจ่ี ะเข้าร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น

งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ว่าการทำบุญด้วยการ
ถวายปราสาทผ้ึง (ต้นผึ้ง) เป็นบุญกุศลสูงส่ง ดังนั้น ในการถวายทานให้แก่ผู้ตายในงานแจกข้าว (งานทำบุญให้
ผตู้ าย) เมือ่ ถวายภตั ตาหารแดพ่ ระสงฆแ์ ล้ว ก็ถวายปราสาทผ้งึ เพือ่ อทุ ศิ สว่ นกุศลแก่ผวู้ ายชนม์ (พระสมุไพศาล ภทฺร
มณุ ี, ๒๕๖๒ : สมั ภาษณ์) นอกจากน้ี ยังมีเหตกุ ารณส์ ำคัญ เม่ือคร้งั ทพ่ี ระพุทธเจ้าเสดจ็ ไปจำพรรษาบนสวรรค์ช้ัน
ดาวดึงส์ เพื่อแสดงอภิธรรมปฏิกรณ์แก่พุทธมารดาจนกระทั่งบรรลุโสดาบัน เมื่อถึงกำหนดเสด็จกลับสู่เมืองมนุษย์
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวัน “มหาปวารณาออกพรรษา” พระอินทร์จึงเนรมิตบันไดขึ้น ๓ ชนิด คือ
บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้วมณี ก่อนเสดจ็ ลงพระพทุ ธเจา้ ประทับยืนบนยอดเขาสิเนรรุ าช เพ่อื ทรงทำ
“โลกนิวรณ์ปาฏิหาริย์” โดยทรงแลดูเบื้องบนปรากฏมีเนินเป็นอันเดียวกันถึงพรหมโลกทรงแลดูข้างล่างก็
ปรากฏมีเนินเป็นอันเดียวกันถึงอเวจีนคร ทรงแลดูรอบทิศจักรวาลหลายแสนโกฏิก็ปรากฏเป็นเนินเดียวกัน
(หมายถึงสวรรค์มนุษย์และนรกต่างมองเห็นซึง่ กันและกัน) จึงเรยี กวนั น้วี ่า “วนั พระเจ้าเปดิ โลก”

ครั้นพระพทุ ธองค์เสด็จถึงประตูเมืองสังกัสสนคร นาค มนษุ ยแ์ ละเปรตนรกตา่ งก็ช่ืนชมปลื้มปีติใน
พระพทุ ธบารมี เกดิ ความเล่ือมใสในบุญกุศลจนเกิดจินตนาการเห็นปราสาทสวยงามใคร่จะไปอยู่ จงึ รชู้ ัดว่าการท่ีจะ
ได้ไปในอยู่ปราสาทอันสวยงามนั้นต้องสร้างบุญกุศล ประพฤติปฏิบัติในศีลธรรมอันดี ทำบุญตักบาตร



สร้างปราสาทกองบุญนั้นในเมืองมนุษย์เสียก่อน (สิริวิมล คำคลี่, ๒๕๕๕) โดยรูปแบบและขั้นตอนการจัดงาน
ประเพณีแห่ปราสาทผง้ึ ในอดีต ผวู้ ิจยั ไดจ้ ัดเก็บขอ้ มลู และสรปุ เปน็ ประเด็นสำคัญดงั นี้

งานประเพณแี ห่ปราสาทผ้งึ ในช่วงน้เี ป็นการจัดงานแบบดัง้ เดมิ ตามความเชือ่ ท่ีสืบทอดกันมาจาก
บรรพบุรุษชาวลาว โดยผู้มีจิตศรัทธาจะรับเป็นเจ้าภาพ (ผู้ที่รับเป็นเจ้าของงานในพิธี) ในการจัดงาน
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง แล้วจะทำการบอกบุญให้แก่เพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกัน ให้มาช่วยกันทำต้น
ปราสาทผึ้งที่บ้านเจ้าภาพ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะชว่ ยกันนำข้าวของเครื่องใช้ในพิธี ตลอดจนพืชผักต่างๆ นำมา
ชว่ ยงาน การจดั งานเปน็ การจัดทำ ตกแต่งต้นปราสาทผึ้ง และนำไปถวายที่วัดให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว การ
แห่ปราสาทผ้ึงนิยมแห่ทางเรือ เน่ืองจากเส้นทางการคมนาคมเป็นทางลอ้ เกวียน ฤดฝู นจะมโี คลนตมมาก พอ
ถึงฤดแู ล้งก็จะมีฝุน่ มากเชน่ กัน

๑. กำหนดจดั งาน
กำหนดจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง นิยมจัดขึ้นช่วงวันออกพรรษา หรือวันมหา

ปวารณา รูปแบบของปราสาททรงโบราณเป็นทรงพระธาตุเหลี่ยม โดยมีความเชื่อกันว่า การทำต้นผึ้ง หรือ
ปราสาทผง้ึ ทำเพ่ือเป็นพุทธบูชา และให้กุศลแกผ่ ู้ลว่ งลับไปแล้ว ชาวบ้านทีม่ ีความปรารถนาทจี่ ะเป็นเจ้าภาพ ใน
งานประเพณีแห่ปราสาทผง้ึ แจง้ ความจำนงกับพระภกิ ษุสงฆ์ และปรึกษาหารอื ร่วมกนั ระหวา่ งชาวบ้านกับผู้นำ
ชุมชนถึงกำหนดการในการแห่ต้นผึ้งไปถวายที่วัด จากนั้นก็จะบอกบุญและนัดแนะช่วยกันตกแต่งต้นปราสาท
ผงึ้ ที่บา้ นของเจา้ ภาพ

๒. การจดั เตรยี มสถานท่ี ตกแต่งตน้ ปราสาทผึง้ และอปุ กรณท์ ่ใี ชใ้ นงาน
๒.๑ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดงาน ชาวบ้านท่ีอยู่ในละแวกเดียวกันกับเจ้าภาพ

ได้บอกบุญให้มาช่วยกันจัดทำต้นปราสาทผึ้ง หลังจากไปร่วมทำบุญที่วัดแล้ว จะมารวมตัวกันที่บ้านของเจ้าภาพ
การจัดหาอุปกรณ์ในการทำต้นปราสาทผึ้ง เจ้าภาพและเพื่อนบ้านจะช่วยกันจัดเตรียมไว้ก่อนวันงาน ซึ่ง
ประกอบไปดว้ ย ไมไ้ ผ่ จำนวน ๕ ลำ ได้จากปา่ ในหมู่บ้าน ซงึ่ ฝ่ายชายจะไปช่วยกันตัดมาเตรียมไว้ รังผึ้งท่ีทิ้งรัง
ไปแล้ว ต้นกล้วย จำนวน ๒ ต้น ตัดจากข้างบ้าน เนื่องจากในอดีตชาวบ้านนิยมปลูกพืชผักไว้ข้างบ้าน สำหรับ
รับประทานในครัวเรือน ส่วนข้าวตอกดอกไม้ จัดเตรียมไว้สำหรับตกแต่งต้นผึ้ง ไจไหม เครื่องไทยธรรมและ
เครอื่ งผา้ ป่าเจา้ ภาพจะเปน็ ผ้จู ัดเตรียม

๒.๒ การทำต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้ง การแบ่งหน้าที่ในการทำต้นปราสาทผึ้งนั้น จากการ
สัมภาษณ์กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ จำนวน ๑๐ คน สามารถสรุปได้ว่า มีการแบ่งหน้าที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนท่ี
รับผิดชอบในการทำต้นปราสาทผึ้ง ฝ่ายชายจะรับผิดชอบ เนื่องจากฝ่ายชายจะมีทักษะในด้านของการขึ้นโครง
ปราสาท และจำเป็นต้องใช้แรงในการมัดโครงให้มั่นคงแข็งแรง การทำโครงปราสาทผึ้งจะนำไม้ไผ่มาขึ้นโครง และ
ใช้ไมไ้ ผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเส้ียวเล็กๆ ขนาดประมาณ ๑ นิ้ว นำแตล่ ะชนิ้ ทผ่ี ่าไว้ ลอกใช้แตส่ ่วนเปลือก โดย
ใชม้ ีดคมๆ เหลาหรอื ขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบางๆ และเหนียว มาสานเป็นโครงปราสาท จากนั้น
นำกาบกล้วยที่มีการแทงหยวกเป็นลวดลายสวยงาม กาบกล้วยที่ใช้ในงานแทงหยวกจะใช้ต้นกล้วยที่ยังสาวไม่มี
ลูก จะทำให้กาบกล้วยมีความเหนียว ไม่หักง่าย เม่ือได้ต้นกล้วยมาแล้ว จะนำมาตัดเป็นท่อนให้มีขนาดความยาว



ตามที่ต้องการ จากนั้น ก็จะลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบๆ เวลาลอกต้องลอกด้วยความประณีต เพื่อไม่ให้กาบ
กล้วยช้ำหรือแตก กาบกล้วยที่ลอกออกมาแล้วจะถูกนำมาคัดเลือกขนาดความกว้างของกาบที่เท่ากัน สีที่
ใกล้เคียงกัน เพื่อนำไปแทงลายอย่างเดียวกันให้มีลวดลายสวยงาม แล้วนำมาโอบกับโครงไม้แล้วมัดด้วยเส้น
ตอก เส้นตอกจะได้จากการเอาไม้ไผ่มาผ่าออกเป็นชิน้ ๆ แล้วใช้มดี จกั ไม้ไผ่ออกเป็นเส้นเล็กๆ แลว้ เหลาให้เรียบ
เราจะเรียกวิธีการนี้ว่า “จักตอก” ซึ่งรูปแบบของปราสาทผึ้งของผู้ที่รับเป็นเจ้าภาพแต่ละคนนั้น ไม่ว่าจะเป็น
รูปแบบ และขนาดกจ็ ะแตกตา่ งกันออกไป

ส่วนที่ ๒ คือ สว่ นทีร่ บั ผิดชอบในการจดั ทำดอกผง้ึ และตกแต่งตน้ ปราสาทผ้ึง ฝ่ายหญิงจะเป็น
ผู้รับผิดชอบ โดยการนำขี้ผ้ึง ท่ีได้จากการเอารังผ้ึงที่ผ้ึงทิ้งรังไปหมดแล้วมาใส่ลงไปในหม้อต้มน้ำท่ีเดือนจัด ไข
ในรังผง้ึ จะละลายออกมาเป็นรังผ้ึงและจึงช้อนเอารังออก จากนน้ั ปลอ่ ยทง้ิ ไว้ให้เย็น ขี้ผึ้งจะจับตัวลอยอยู่บนน้ำ
ซึ่งสามารถจับยกออกมาได้เลย แต่ขี้ผึ้งที่ได้ยังไม่สะอาดเพราะมีสิ่งเจือปนอยู่ ต้องนำไปต้มอีกครั้ง เมื่อ
ละลายเป็นของเหลวก็กรองเอาสิ่งสกปรกออก ก็จะได้ขี้ผึ้งที่สะอาดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น (นางหนูทอง แสงด้วง,
๒๕๖๒: สมั ภาษณ)์

จากนั้น ฝ่ายหญิงจะแบ่งกลุ่มในการตกแต่งปราสาทผึ้ง คือ กลุ่มที่เตรียมพิมพ์สำหรับทำดอก
ผง้ึ คณุ ยายสงั เวียน สนุ ลี (๒๕๖๒: สัมภาษณ์) กลา่ ววา่ ในการทำพมิ พ์สำหรับทำดอกผ้ึงนิยมใช้ผลมะละกอดิบมา
แกะสลักเป็นรปู ดอกไม้ สาเหตุที่เลอื กใช้มะละกอดิบ เนื่องจากเนื้อมะละกอจะแข็ง และมีผิวที่เรียบ สามารถที่
จะแกะสลักลายและทำใหด้ อกผง้ึ หลุดออกจากพิมพ์ได้ง่าย แลว้ ใชไ้ มเ้ สยี บท่ีพมิ พ์มะละกอเพ่ือสะดวกในการจับ
เมื่อทำพิมพ์สำหรับทำดอกผึ้งเสร็จ กลุ่มนี้ก็จะทำเกสรดอกผึ้งต่อ โดยใช้ขมิ้น (ขมิ้นเป็นพืชสมุนไพรที่มี
คุณสมบัติให้ความเย็น เพราะจะทำให้ดอกผึ้งชุ่มชื่นตลอดเวลา และสีสันของขมิ้นนั้นมีความสดใสสวยงาม)
ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นส่ีเหลีย่ มเลก็ ๆ ขนาดครึ่งเซนติเมตรใช้ไม้กลัดเป็นตัวยึดติดกับดอกผึ้ง และดอก
บานไม่รู้โรย ชาวบ้านท่ากกแกให้สมญานามวา่ ดอกสามปบี ่เหยี่ ว เนื่องจากเปน็ ดอกไมท้ ่ีกลีบดอกไม่หลุดร่วง
ง่ายๆ แม้ว่าดอกจะแก่หรือแห้งแล้วก็ตาม อีกทั้งยังมีสีสันที่งดงาม นำมาเด็ดก้านออกแล้วนำไปติดกับดอกผ้ึง
โดยใช้ไม้กลดั เปน็ ตวั ยึดเชน่ เดยี วกัน

กลุ่มที่รับผิดชอบทำดอกผึ้ง จะนำขี้ผึ้งใส่กระทะตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อขี้ผึ้งละลายแล้วจะนำ
แม่พิมพ์จากมะละกอที่ได้จัดเตรียมไว้ไปจุ่มลงในขี้ผึ้ง และจุ่มลงในน้ำเย็นแกะวางเบาๆ ดอกผึ้งก็จะหลุด
ล่อนออกมา แล้วนำไปผึ่งไว้ในกระด้ง หรือกระจาด เมื่อได้ดอกผึ้งครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จะนำเกสรดอก
ผง้ึ ทไี่ ด้เตรียมไวต้ ามตดิ กบั ดอกผงึ้ แล้วนำไปตกแต่งตน้ ปราสาทผ้ึง แลว้ ตกแต่งด้วยขา้ วตอก ดอกไม้และยอดของ
ดอกผึ้งจะนำหมากเบ็งไปประดับไว้ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าในวันออกพรรษา และเป็นการบูชา
ดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ความวิจิตรของต้นผึ้งนั้น จะงามมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฝีมือของคนใน
ท้องถิ่น เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเครื่องไทยธรรม และเครื่องผ้าป่า ประกอบไปด้วย สมุด ดินสอ ผ้า
สบงจีวร เครอ่ื งใช้อน่ื ๆ และปัจจยั ประดับตน้ ปราสาทผึ้งอกี ที



ภาพท่ี ๑ ตัวอยา่ งตน้ ผ้ึงในสมัยอดีตของบา้ นท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พิลาเกิด เม่อื ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

จากภาพ เป็นต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้งขนาดจำลอง หมายถึง มีขนาดเล็กแต่มีครบ ทุก
องค์ประกอบโดยเฉพาะมีไม้คานหาม ซึ่งปกติต้นผึ้งน้อยมีน้ำหนักไม่มากจึงไม่จำเป็นต้องแบกหาม แต่การ
ประกอบต้นผึ้งน้อยก็นิยมทำให้เหมือนต้นผึ้งใหญ่ แต่มีขนาดย่อส่วน การทำต้นผึ้งน้อยหรือต้นผึ้งจำลองนี้
โดยสว่ นมากจะนยิ มทำขนึ้ เพ่อื ถวายบูชาในการแกบ้ นประจำปีแกส่ ง่ิ ศกั ดิส์ ิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถอื แต่จะไม่มี
พธิ ีใหญโ่ ตอะไรเพยี งแคไ่ ด้รกั ษาประเพณตี ามฮีตฮอยเอาไวเ้ ทา่ นัน้

๒.๓ ไต้สังคทีป เพ้ียนมาจากคำว่า ไต้ผางประทีป ใช้ทำเป็นเครื่องสักการบูชาใน
พระพุทธศาสนา คำว่า ผาง คือ ภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็กๆ ใช้เป็นถ้วยสำหรับใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน ไส้ของ
ประทีปทำมาจากเส้นฝ้าย ที่ฝั้นเป็นรูปตีนกา จุดบูชาในวันออกพรรษา ตามตำนานในสมัยพุทธกาล เม่ือ
พระพทุ ธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชนั้ ดาวดึงส์โปรดพุทธมารดาเป็นการตอบแทนพระคุณจนกระทั่งบรรลุ
โสดาบนั เม่อื ถงึ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดอื น ๑๑ ซึง่ เปน็ วนั “มหาปวารณาออกพรรษา” ชาวหลม่ ไทยหลม่ ต่างพร้อมใจ
กนั จุดไต้สังคทปี ทห่ี น้าบ้านตนเองเป็นเวลา ๓ และบรเิ วณลานวัด หรอื ด้านหนา้ สมิ หรืออโุ บสถ ซ่ึงถือเป็นธรรม
เนยี มปฏบิ ตั ิมาตงั้ แต่สมัยโบราณ เพ่อื ถวายเปน็ พุทธบชู าและระลกึ ถงึ เหตุการณท์ ่ีพระพุทธจา้ ได้เสด็จลงมาจาก
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์



ภาพท่ี ๒ ไต้สงั คทีปของชุมชนบ้านท่ากกแก
(ถา่ ยภาพโดย นภิ า พิลาเกดิ เมอ่ื ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)
นอกจากนี้ ยังเป็นการจุดบูชาแม่กาเผือกตามตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่

พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร
พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือก และวันหนึ่งขณะที่แม่กาออกไปหาอาหารได้ เกิด
พายุทำให้ไข่ทัง้ ห้าฟองของแม่กาเผือกถูกพัดตกจากรังไหลไปตามแม่น้ำ มีแมไ่ ก่ แมน่ าค แม่เต่า แม่โค และแม่
ราชสหี ์เก็บไปเลี้ยง



ภาพที่ ๓ แสดงใหเ้ ห็นถงึ การเก็บไข่ของแม่กาเผือกทงั้ ๕ ไปเลย้ี ง
ทีม่ า : วดั ป่าทุ่งกุลาเฉลิมราช, พระพุทธเจา้ ๕ พระองค์กับโพธิญาณแห่งการต่นื รู้ (ร้อยเอ็ด: เค กราฟิก, ๒๕๕๘)

ไข่ทง้ั ห้าฟองฟกั ออกมาเป็นมนุษย์เปน็ เพศชาย และไดบ้ วชเปน็ ฤๅษที ง้ั หา้ องค์ เมื่อฤๅษีท้ัง
ห้าได้พบกัน จึงไต่ถามถึงมารดาของแต่ละองค์ แต่ละองค์ก็ตอบว่า แม่ไก่เก็บมาเลี้ยง แม่นาคเก็บมาเลี้ยง แม่เต่า
เกบ็ มาเลย้ี ง แมโ่ คเก็บมาเล้ยี ง และแมร่ าชสหี ์เกบ็ มาเล้ยี ง ฤๅษที งั้ ห้าองค์จึงสงสัยวา่ แม่ที่แท้จรงิ ของตนเป็นใคร
จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ ด้วยคำอธิษฐาน จึงทำให้ท้าวฆฏิกามหาพรหม ซึ่งเป็นแม่กาเผือกที่ตายไปและ
ได้มาเกดิ เป็นพรหม ทราบเหตกุ ารณ์ทั้งหมด จึงจำแลงเพศเป็นแม่กาเผือก บินลงมาเล่าเร่ืองในอดีตให้ฤๅษีท้ัง
ห้าฟัง และได้บอกว่าหากคิดถึงแม่ ให้นำด้ายดิบมาฟั่นเป็นตีนกาจุดเป็นประทปี บูชาในวัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ดว้ ยอานสิ งสแ์ ห่งการถวายประทปี ตีนกา จงึ ทำให้ได้ตรัสรูเ้ ป็นพระพุทธเจา้ ท้งั หา้ พระองค์ (กระทรวงวัฒนธรรม
, ๒๕๕๓)



ภาพที่ ๔ ท้าวฆฏิกามหาพรหมจำแลงเพศเป็นแมก่ าเผือกมาพบพระเจา้ หา้ พระองค์
ที่มา : วัดป่าทงุ่ กุลาเฉลมิ ราช, พระพุทธเจา้ ๕ พระองคก์ ับโพธิญาณแหง่ การตน่ื รู้ (ร้อยเอ็ด: เค กราฟกิ , ๒๕๕๘)

การทำใต้สงั คทปี ในปัจจบุ ันของบา้ นท่ากกแก คุณยายสีดา ทา้ วเงิน (๒๕๕๘ : สมั ภาษณ)์
กล่าวว่า ชุมชนบ้านท่ากกแกนิยมใช้กะลามะพร้าวนำมาขัดจนเงา เป็นภาชนะแทนผาง (ภาชนะดินเผาคล้าย
ถ้วยเล็กๆ) เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อผางประทีป อีกทั้ง กะลามะพร้าวสามารถหาได้ง่าย
จากภายในหมู่บ้าน จากนั้นนำฝ้ายมาฟ่นั เปน็ รปู ตนี กาใช้ทำเปน็ ไส้ การนำฝา้ ยมาฟน่ั เปน็ รปู ตนี กาเพื่อใชจ้ ดุ บูชา
นั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงแม่กาเผือก ตามตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ จากนั้น เคี่ยวเทียนให้ละลายแล้ว
เทใส่กะลามะพร้าวประมาณ ๑ ใน ๓ ของขนาดกะลา จากนั้นทำฐานรอง โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ ๗ – ๑๐ เซนตเิ มตร ตดั เปน็ ท่อน ความยาวท่อนละ ๑๐ เซนติเมตร

๑๐

ภาพท่ี ๕ ไต้สงั คทีปของชมุ ชนบ้านท่ากกแก
(ถา่ ยภาพโดย นิภา พลิ าเกิด เมอ่ื ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๒.๔ หมากเบ็ง เป็นเครื่องเซ่น ที่ใช้ในพิธียกครู หรือไหว้ครู บูชาเทพเจ้าที่สูงสุด ประกอบไป
ด้วยดอกไม้ หมากพลู เป็นต้น แต่เดิมประเพณีนี้เป็นของพราหมณ์อินเดีย เมื่อไทยเรารับเอาวัฒนธรรมต่างๆ ท่ี
ปนมากับพระพุทธศาสนา ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ ราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ถวาย
หมากเบ็งบูชา และได้กราบทูลถามถึงอานิสงส์ของการถวายหมากเบง็ บูชาว่าเปน็ ประการใด พระพุทธเจ้าทรง
ตรัสว่า มีอานิสงส์เปน็ ลำดับชั้นตามข้ันหมากเบ็ง คือ เมื่อสิ้นชีวิตแลว้ จะไปอุบัติในสวรรค์ช้ันจาตุมหาราช เมื่อ
เคลื่อนจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ไปอุบัติขึ้นในชั้นดุสิต เมื่อเคลื่อนจากชั้นดุสิตแล้วจะไปอุบัติชั้นยามา
เมื่อเคลื่อนจากชั้นยามาแล้วจะไปอุบตั ิชั้นนิมมานรดี เมื่อเคลื่อนจากชัน้ นิมมานรดีแล้วจะไปอุบัติขึ้นในชั้น ปร
นิมมิตวสวัตดี จนถึงชั้นกามาวจรภพเป็นที่สุด เสวยทิพยสมบัติอยู่ในเทวโลก นาน ๙ ล้านปี มีนางเทพธิดา
แวดลอ้ มเปน็ บริวารมวี ิมานอันงามวิจติ ร และเม่ือมาเกิดในแดนมนุษย์ จะมีรูปร่างสิรโิ ฉมงดงามย่งิ นกั

คำว่า เบ็ง เป็นคำที่เลือนเสียงไปจากคำบาลีว่า เบญ หรือ เบญจ แปลว่า ห้า รวมความจึง
หมายถึง ขันธ์ห้า นั่นเอง การใช้หมากเบ็ง มีปรากฏในแถบลุ่มน้ำโขง ชี มูล รวมถึงลุ่มน้ำ ปิง วัง ยม และน่าน
ซ่ึงเปน็ วฒั นธรรมในแถบสงั คมลาว

หมากเบ็งในงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งนั้น นอกจากจะทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่
พระพุทธเจ้าแล้ว ยังเป็นการบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท่ีสืบทอด
มาตั้งแต่บรรพบุรุษของชาวไทหล่มมาจนถึงปจั จุบนั (นางหนพู ิน ล้วนทอง, ๒๕๖๒ : สมั ภาษณ์)

หมากเบ็ง คือ กรวย หรอื ซวย ใบตองทป่ี ระกอบข้ึนเปน็ สีเ่ หล่ียมสัณฐานกลมและประดับด้วย
ดอกไม้ดอกไม้ใช้มักจะเป็นดอกไม้ขาว เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก แต่ห้ามใช้ดอกสีขาวอย่างดอกจำปา และท่ี

๑๑

สำคัญไม่ควรใช้ดอกไม้แดง เพราะถ้าหากใช้ดอกไม้แดงจะเป็นเครื่องบูชาผีไท ขันหมากเบ็งที่นิยมทำและใช้ใน
การประกอบพิธกี รรมท้งั ทางพิธีพุทธและพธิ ีพราหมณ์

การทำหมากเบ็ง คือการพับใบตองให้เป็นกรวยซ้อนกันขึ้นไป ๕ ชั้น หมายถึงขันธ์ทั้ง ๕ หรือ
ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป คือ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด อันได้แก่ร่างกายและ
พฤติกรรม สสารและพลังงานด้านวัตถุ เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และ
ใจ สัญญา คือ ความกำหนดได้ หมายรู้ อันเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ สังขาร คือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต
วญิ ญาณ คอื การรบั รู้ได้เหน็ ได้ยนิ ได้ฟัง ไดส้ มั ผัส ไดก้ ลน่ิ ไดร้ บั รส ซ่ึงทั้งหมดก็เป็นการรวบรวมขันธ์ท้ัง ๕ และ
สำรวมเพื่อน้อมบูชาพระรัตนตรัย แลว้ ประดับดอกไมใ้ หส้ วยงาม

๒.๕ อาหารสำหรับผู้เตรียมงาน เจ้าภาพจะจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ที่มาช่วยทำต้น
ปราสาทผึ้ง นอกจากนี้ กลุ่มผู้หญิงที่มีความถนัดในเรื่องการทำอาหาร จะช่วยกันจัดเตรียมอาหาร โดยจะไป
รวมตวั กันท่ีบรเิ วณห้องครวั แบง่ งานกันทำ เชน่ การน่งึ ขา้ วเหนียว ห่นั ผัก ห่นั หมู ไก่ และผูท้ ี่ทำหนา้ ทปี่ รุงอาหาร
สำหรับรับประทานในตอนเที่ยง วัตถุดิบในการปรุงอาหาร ผู้ที่มาร่วมงานจะนำวัตถุดิบในการปรุงอาหาร มา
ชว่ ยถือเปน็ การทำบุญอีกแบบหนึ่ง วตั ถดุ ิบท่ีนำมาส่วนใหญ่จะเป็น ขา้ ว หอม กระเทยี ม พรกิ ผักต่างๆ ที่ปลูก
ไวร้ ับประทานในครัวเรอื น

๓. ลำดับพิธีในวันงาน การจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของชุมชนบ้านท่ากกแกในอดีต แสดงให้
เห็นถึงความร่วมมือ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีความเชื่อในหลักศาสนาและ
นำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต รวมถึงยังยึดมั่นในขนมธรรมเนียมประเพณีของชุมชนอย่างเคร่งครัด
การจัดงานมีลำดบั ขน้ั ตอนดังนี้

๓.๑ ชว่ งเชา้ ของวันงาน ชาวบา้ นในละแวกบ้านเดยี วกนั กบั เจ้าภาพ จะมารวมตัวกันเพื่อช่วยกัน
เตรยี มทำปราสาทผึง้ ประดับและตกแต่งใหเ้ สร็จภายในเวลา ๑๖.๐๐ น. เพอื่ เตรียมนำต้นผึ้งไปรว่ มขบวนแห่ทาง
ทิศใต้ของแม่น้ำปา่ สกั ท่าน้ำทา้ ยหมูบ่ ้าน ในเวลา ๑๗.๐๐ น.

๓.๒ การแต่งกายเข้าร่วมงานประเพณี จะเป็นชุดพื้นบ้านไทหล่ม ผู้หญิงจะใส่เสื้อหมากกะ
แหลง่ (เสอ้ื คอกระเชา้ ) หรือเสื้อผา้ ฝา้ ยแขนสนั้ สไบพาดเฉวียงบา่ นงุ่ ซิ่นที่เป็นเอกลกั ษณ์ของชาวไทหล่ม คือซ่ิน
หัวแดงตนี กา่ น ผชู้ ายใส่เส้ือผา้ ฝา่ ยย้อมสีดำมะเกลือ หรือสีครามจะนุ่งส่งหัวโหลง่ (โสร่ง) คาดผา้ ขาวม้า โดยเสอื้ ผา้
ที่สวมใส่กันในอดีต จะเป็นผ้าที่ทอขึ้นมาเองหลังจากว่างเว้นจากการทำไร่ทำสวน วัสดุที่ใช้ในการทอผ้าส่วน
ใหญ่จะเป็นฝ้าย ไหม หรือไหมแกมฝ้าย ขึ้นอยู่กับความถนัดของการทอผ้าแต่ละบุคคล เสื้อผ้าที่สวมใส่มา
รว่ มงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นเส้ือผ้าท่ีใช้สวมใส่ในชวี ิต ประจำวันอยู่แล้ว ท่ีเพมิ่ มาก็คือ สไบพาดเฉวียงบ่า
ของผหู้ ญิง เมอื่ มีงานบุญ หรอื พธิ ีกรรมทางศาสนาจะนยิ มนำมาพาดกัน

๑๒

ภาพที่ ๖ ภาพถ่ายผู้สาวไทหล่ม ถา่ ยเม่ือปี พ.ศ.๒๔๘๔
(ถา่ ยโดย ปัน่ มารอด เมอ่ื ๒๔๘๔)
๓.๓ ขบวนแห่ปราสาทผึ้ง เริ่มขบวนแห่จากทางใต้ของสายแม่นำ้ ป่าสัก ในเวลา ๑๗.๐๐ น.

เรือที่ใช้ในการแห่ปราสาทผึ้งก็เป็นเรือแจวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในขบวนจะมีการตีกลอง เป่าแคนแห่แหนกัน
ไปอย่างสนุกสนานตามลำน้ำป่าสัก เมื่อตั้งขบวนเรียบร้อยแล้วก็จะพากันพายเรือทวนน้ำไปทอดปราสาทผึ้งท่ี
วัดท่ากกแก แต่ถ้าปีไหนมีปราสาทผึ้งจำนวนมาก ก็จะนำไปทอดยังวัดอื่นๆ ที่อยู่ทางเหนือวัดท่ากกแกขึ้นไป ใน
บางปีกวา่ จะทอดปราสาทผง้ึ ครบตามจำนวนท่ีได้ทำไว้ เวลากล็ ว่ งเลยไปจนถึงเช้าก็มี

เมื่อขบวนแห่มาถึงวัด จะนำปราสาทผึ้งแห่วนรอบสิม จำนวน ๓ รอบ ระหว่างเดินรอบสิม ผู้
ที่มาร่วมงานจะจุดไต้สังคทีป เพื่อบูชาแม่กาเผือก สืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ เมื่อแห่
ปราสาทผึ้งครบ ๓ รอบแล้ว จะนำนำไต้สังคทีปไปวางไว้รอบสิม จากนั้นนำปราสาทผึ้งไปยังสถานที่ที่ได้
จดั เตรยี มไว้ ส่วนใหญจ่ ะเปน็ ศาลาวัด หรอื ภายในสิม

๓.๔ การทอดปราสาทผึ้ง มัคนายกจะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์เทศนาอานิสงส์ของการถวายต้น
ผึ้ง หลังจากเทศนาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนที่เรียกว่า “สัมโมทนียกถาแห่งการถวายต้นผึ้ง”คือ
การที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดีหรือบุญ กุศลที่ทายกทายิ
กา ได้ทำการถวายต้นผึง้ หรือปราสาทผึ้ง สัมโมทนียกถาเปน็ เหตใุ ห้ผู้ทำบุญนัน้ เกิดความแช่มชื่นเบิกบาน เกิด

๑๓

ความอิ่มใจในผลบุญที่ตนทำและปรารถนาจะทำบุญเพิ่มพูนขึ้นไปอีก การกล่าวสัมโมทนียกถาเป็นธรรมเนียม
ของพระสงฆ์มาแต่โบราณ โดยกลา่ วเป็นภาษาไทย ใช้เวลามากน้อยแล้วแต่ผู้กล่าว และปกติจะกล่าวก่อนที่จะ
อนุโมทนาเป็นภาษาบาลี (พระธรรมกติ ติวงษ์, ๒๕๔๘)

หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์สัมโมทนียกถาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มัคนายกก็นำกล่าวคำ
ถวายปราสาทผึ้ง ซึ่งถือว่าเป็นการบูชาและเป็นการขอขมาพระรัตนตรัยเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองและหมู่
คณะ ดังนี้

คำถวายปราสาทผ้ึง
“อิมานิ มะยัง ภัณเต มธปุ พุ พะปาสาทะ อภปิ ูชยามะ”
ข้าพเจ้าขอถวายบูชายังต้นดอกผึ้งแก่พระพุทธเจ้า พระสถูป รูปพระเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์
และเทพยดาอันรักษาวัดวาอารามแห่งวัดท่ากกแกนี้ขอความสุขความเจริญจงบังเกิดมีแก่ฝูง
ข้าพระพุทธเจา้ ท้งั หลายดว้ ยเทอญ (พระสมไุ พศาล ภทฺรมุณ,ี ๒๕๖๒)
เมื่อกล่าวคำถวายปราสาทผึ้งเรียบร้อยแล้ว มัคนายกจะนำ กราบบูชาพระรัตนตรัยอีกครั้ง
กรวดน้ำอุทิศสว่ นบุญกุศล ตั้งนโม ๓ จบ กราบลาพระสงฆ์ เป็นอันเสร็จพธิ ี จากนั้นก็เดินทางไปถวายปราสาท
ผงึ้ ยังวัดถัดไปจนครบตามจำนวนทีไ่ ด้กำหนดไว้
๔. จดุ เปล่ยี นของงานประเพณีแห่ปราสาทผงึ้
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนบ้านท่ากกแก เมื่อระบบ
เศรษฐกิจภายนอกเข้ามามีบทบาทในชุมชน จากการผลิตเพื่อการบริโภคเฉพาะครัวเรือนและใน หมู่บ้าน
กลายเป็นชุมชนที่เศรษฐกิจภายนอกเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยชาวบ้านนิยมซื้อข้าวของสิ่งอำนวยความ
สะดวกและเคร่ืองใช้ท่ีทนั สมัย ทำใหว้ ถิ ีการดำเนินชีวติ ของชาวบ้านเปล่ยี นไปจากเดมิ ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือ
เป็นแรงผลักดันให้ชุมชนเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิตข้าว และพืชพรรณทางการเกษตร เพื่อให้ผลผลิตมี
สว่ นเกนิ เหลอื จากการบริโภคเพ่ิมข้ึน และนำสว่ นทเ่ี หลือไปขายเป็นเงิน ระบบเงนิ ตราจึงเร่มิ เขา้ มามีบทบาทสำคัญ
กบั ชุมชนมากขึน้
ประกอบกับนโยบายของรัฐบาล ท่ีเข้ามาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างครบครันไม่ว่า
จะเป็นการคมนาคม การจราจร ระบบโทรคมนาคม การสื่อสารและการประปา เพื่อใช้ในการขนส่งและการ
ตดิ ตอ่ สือ่ สารระหวา่ งชุมชนสะดวกยงิ่ ข้นึ ส่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงทางประเพณีและวฒั นธรรมของท้องถน่ิ อัน
เนอื่ งมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร ท่มี คี วามเจริญกา้ วหน้ามากยิ่งข้นึ ผลพวง
ของความเจริญดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างมากมาย แล้วยังแผ่ขยาย
เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน ไฟฟ้า สัญญา
โทรทัศน์และระบบอินเตอร์เน็ต (นิคม ชมพูหลง, ๒๕๕๖) ทำให้ชุมชนเรียนรูแ้ ละรับวัฒนธรรมต่างถิน่ เข้ามาใน
ชุมชน ผ่านสื่อต่างๆ ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม และอินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิด
พฤติกรรมการเรยี นแบบ ไมว่ า่ จะเปน็ ในด้านวิถีการดำเนินชีวิต การแต่งกาย และอาหารการกิน ส่งผลให้งาน
ทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมของทอ้ งถิน่ ถกู ละเลยความสำคัญลงไปเรอ่ื ยๆ

๑๔

จากการสัมภาษณ์ เมื่อปรากฏการทางด้านเศรษฐกิจภายนอกเข้ามามบี ทบาทต่อคนในชุมชน
ทำให้งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก เริ่มซบเซาลง เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นการจัดงานขึ้น
เพื่อให้ครบตามประเพณีของท้องถิ่น โดยกลมุ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนเทา่ นน้ั ส่วนกลุ่มคนทอ่ี ยูใ่ นวัยทำงานจะมีส่วน
ในการร่วมทำบุญ และบรจิ าคส่งิ ของทีใ่ ชใ้ นงานเท่าน้นั

ประเพณีแห่ปราสาทผง้ึ ในชว่ งแหง่ การฟน้ื ฟู (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๖)
จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เข้ามามีผลกระทบต่อชุมชนบ้านท่ากกแก ท้ัง

ทางด้านวิถีการดำเนินชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม ทำให้พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมุนี เจ้าคณะตำบลปากช่อง
เขต ๒ เจ้าอาวาสวัดท่ากกแก ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะตำบลปากช่อง ซึ่งเป็นลูกหลาน
ของชาวบ้านท่ากกแก และกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต และการ
เปลี่ยนแปลงของงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ที่ถูกลดความสำคัญลง เยาวชนไม่เห็นถึงความสำคัญของงาน
ประเพณีของท้องถิ่น และไม่รู้ประวัติความเป็นมาของชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ จึงมีแนวคิดริเริ่มฟื้นฟูประเพณีแห่
ปราสาทผึ้ง ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นประเพณีที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา และการทำบุญ
ด้วยการถวายต้นผึ้ง เป็นบุญกุศลสูงส่ง ดังนั้น หากมีผู้เสียชีวิตในบ้าน จึงนิยมถวายทานให้แก่ผู้ตายในงานแจก
ข้าว (งานทำบุญให้ผู้ตาย) เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้วก็ถวายต้นผึ้ง เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ โดย
ไดร้ ับความร่วมมือจากผสู้ ูงอายใุ นหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยงั ได้ชกั ชวนกลุ่มผ้นู ำชุมชน และเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
การฟืน้ ฟปู ระเพณีแหป่ ราสาทผึ้ง

การดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าว เรม่ิ เกิดผลสมั ฤทธิ์ขึน้ มาเรื่อยๆ จากการที่ผู้เฒ่าผู้แก่เร่ิมดึงบุตร
หลานเข้ามาเรียนรูถ้ ึงกระบวนการในการทำปราสาทผ้ึง และจากนโยบายของรัฐบาลได้มีการกระจายอำนาจลงสู่
ท้องถิ่น ส่งผลให้มีการจัดตั้งคุ้มบ้าน เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงานในชุมชน พระสมุหไ์ พศาล จงึ ได้
ชักชวนผู้นำชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จากนั้น ก็ชักชวนชาวบ้านในคุ้มของ
ตนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน จากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้ชุมชนมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งข้ึน
จึงได้มีแนวคิดจัดต้งั ชมรมอนรุ กั ษศ์ ลิ ปวัฒนธรรมไทหล่ม กลุ่มมูลมงั วัดท่ากกแก ข้นึ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕

การดำเนินงานด้านการฟื้นฟูประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของบ้านท่ากกแกในช่วงนี้ นิยมจัดขึ้นช่วงหลัง
ออกพรรษา โดยจดั พร้อมกับการทอดกฐินในชว่ งตั้งแต่เดือน ๑๑ จนถงึ เดือน ๑๒ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้
จัดให้มีขบวนแห่ทางบกขึ้นมาเป็นปีแรก เพ่ือเป็นการประชาสัมพันธ์งานประเพณีแห่ปราสาทผ้ึงของชุมชน
บา้ นท่ากกแก และเพ่อื เชญิ ชวนให้ชาวบ้านเขา้ มามีสว่ นรว่ มในงานประเพณีเพ่มิ ข้นึ จากการที่วดั ท่ากกแก กลุ่มผู้
เฒ่าผู้แก่ และผู้นำชุมชนได้ดำเนินการฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖
ชาวบ้านท่ากกแก เริ่มเห็นความสำคัญของงานประเพณีแห่ปราสาทผ้ึง ซึ่งเป็นงานประจำปีของท้องถิ่นตาม
แบบประเพณีของชาวลาว ได้ทำปราสาทผึ้งเข้าร่วมในงานประเพณีถึง ๔ ต้น นอกจากน้ี ยังได้จัดขบวนแห่อย่าง
ยิ่งใหญ่ โดยจัดให้มีวงดนตรีพื้นบา้ นนำขบวน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีใช้กลองปั้ง กลองหาง ฉาบ ฉิ่ง แคน และ
พิณ ร่วมบรรเลงแห่ไปในขบวน อีกทั้งยังได้มีการรณรงค์ให้แต่งกายชุดพื้นเมืองเข้าร่วมงานประเพณีแห่ปราสาทผ้ึง

๑๕

เพอ่ื เปน็ การสร้างอัตลกั ษณ์ทางชาติพันธุ์ทส่ี ืบทอดมาจากชาวลาว การนำเสนอข้อมลู ในชว่ งนี้ ผวู้ ิจยั จะนำเสนอ
ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นปีที่ชุมชนเกิดการตื่นตัวในการฟื้นฟูประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง โดยรูปแบบ
และขั้นตอนการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในช่วงแห่งการฟื้นฟูนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน และ
ชาวบ้านผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาช่วยงาน อีกทั้งยังได้มีการชักชวนเยาวชนในหมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมใน
การจัดงาน ในชว่ งแรกไมไ่ ด้รับความสนใจเท่าท่ีควร แต่ด้วยการชักชวนของผูป้ กครอง ทำให้เยาวชนบางคนได้เข้า
มามีส่วนร่วมในงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ซ่ึงผู้วิจัยได้จัดเก็บข้อมูลและสรุปเป็นประเด็นสำคญั ดังน้ี

๑. กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในช่วงน้ี จะจัดในช่วงหลังเทศกาลออกพรรษา โดยจัด

ขึ้นพร้อมกับการทอดกฐินในช่วงเดือน ๑๑ จนถึงเดือน ๑๒ โดยพระสมุห์ไพศาล ภทรมุนี ได้เชิญผู้ใหญ่บ้าน
หวั หน้าคมุ้ บ้าน สมาชกิ ชมรมมาร่วมประชุมปรกึ ษาหารือถงึ แนวทางในการจัดงาน เพ่ือทำความเข้าใจและแบ่ง
หน้าที่รับผิดชอบในการจัดงาน ในส่วนของสถานที่ใช้วัดท่ากกแกเป็นสถานที่ ในการจัดทำต้นปราสาทผ้ึง
รวมถึงการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในงาน นอกจากนี้ หัวหน้าคุ้มบ้าน จะไปทำการบอกบุญลูกบ้านใน
คุ้มของตนเอง เพื่อที่จะได้เรี่ยไรข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนปัจจัยที่จะนำมาใช้ในการจัดงานประเพณีแห่
ปราสาทผง้ึ

๒. การจดั เตรยี มสถานท่ี จัดทำปราสาทผ้งึ และอปุ กรณ์ทใ่ี ชใ้ นงาน
๒.๑ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดงาน ประกอบไปด้วย ไม้ไผ่ ใช้ประมาณ ๕๐ ลำ

นำมาใช้ในการทำโครงต้นปราสาทผึ้ง ทำฮ้าน (ร้าน) ประทีป ทำโครงโคมแขวน และเสาธงประดับบริเวณงาน
และต้นกล้วย ใช้ประมาณ ๑๐ ต้น กาบกล้วยใช้โอบโครงปราสาทผึ้ง ใบตองใช้สำหรับทำหมากเบ็ง ชาวบ้านจะ
รวมตัวกันไปช่วยกันตัดท่ีบ้านของนางธญั ญา คำมี แล้วนำมารวมไว้ที่วัด เทียนพรรษาที่ใช้แล้ว นำมาทำดอก
ผึ้ง หรือดอกเผิ้ง และใช้ทำประทีปโดยเทใส่ในกะลามะพร้าวและใส่ไส้ของประทีป กะลามะพร้าว จำนวน
๑๐๐ ใบ ใช้สำหรบั ทำ ไต้สังคทีปสำหรับถือนำทางในขบวนแหป่ ระสาทผง้ึ สว่ นใหญเ่ มือ่ ใกล้ถงึ งานประเพณีแห่
ปราสาทผึ้ง ชาวบ้านจะช่วยกันเก็บกะลามะพร้าวที่ใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน แล้วนำมารวบรวมไว้ที่วัด
ผา้ และดา้ ยไหมพรม ใชส้ ำหรับทำทุงหรือตุง ภายในงานจะทำธงประมาณ ๑๐ ทุง ธงประจำวัดและธงชาติ
อย่างละ ๑๐๐ ผืน ได้จากการส่ังซ้ือในอำเภอ

๒.๒ การทำตน้ ปราสาทผึ้ง การทำตน้ ปราสาทผ้งึ ไดแ้ บ่งงานออกเป็น ๒ สว่ น คอื การทำโครง
เป็นหนา้ ทีข่ องฝ่ายชาย และการประดบั ตกแต่ง เป็นหนา้ ท่ขี องฝา่ ยหญงิ การทำโครงปราสาทผ้งึ การแบ่งหน้าท่ี
ปรับผิดชอบในแต่ละงานน้นั จะเป็นการแบง่ ตามความถนัดของแตล่ ะบุคคล

การทำโครงปราสาทผ้ึงในปนี ี้ได้เลือกใช้ทรงพระธาตุ ลักษณะโดยรวมคลายกับพระสถูปเจดีย์
หรือพระธาตุที่ปรากฏในบริเวณภาคอีสาน และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เป็นเจดีย์ทรง
สี่เหลี่ยม หรือบางทีเรียกวา่ เจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม หรือบางทีเรียกวา่ เจดีย์ทรงดอกบัวเหล่ียม เหมือนกันหมด

๑๖
ทั้ง ๔ ต้น โดยคุณตายอด สายแสงจันทร์ (๒๕๖๒ : สัมภาษณ์) ได้เล่าว่า การทำโครงปราสาทผึ้งเป็นหน้าทีข่ อง
ฝ่ายชาย ในอดีตการทำต้นปราสาทผึ้ง เป็นองค์ความรู้ที่ได้มีการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นความรู้ที่ได้
จากการฝึกปฏิบัติและทำเป็นกันทุกครัวเรือน ปัจจุบันผู้ที่ทำโครงปราสาทผึ้งได้ส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่และ
ผูส้ ูงอายุ และจะมารวมตวั กันทห่ี ลัง พระอุโบสถและสิม โดยจะตง้ั เต็นท์เพ่ือให้เป็นร่มเงา จากน้ัน จะนำไมไ้ ผ่มาตัด
ให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วขึ้นโครงปราสาท นำกาบกล้วยมาผ่าซีก ขนาดประมาณ ๒ นิ้ว มาสานเป็นโครง
ปราสาท ซึ่งจะต่างจากในอดีตที่จะใช้ไม้ไผ่มาสาน การใช้กาบกล้วยง่ายและสะดวกกว่าการใช้ไม้ไผ่ เนื่องจาก
กาบกล้วยนำมาตัดเป็นซีกแล้วสามารถนำมาสานโอบโครงปราสาทผึ้งได้เลย แต่ไม้ไผ่ต้องผ่าซีกแล้วลอกใช้แต่ส่วน
เปลือก อีกท้ังยังต้องเหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกให้เหลือแตส่ ่วนเปลอื กบางๆ แลว้ จึงนำมาสานโอบโครงปราสาทอีก
ที ในช่วงน้ียงั ไมม่ กี ารแทงหยวกตกแต่งตน้ ปราสาทผงึ้ เนอื่ งจากการเปล่ยี นแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคม
ทำใหก้ ารแทงหยวกจงึ ถูกลดความนยิ มลงไปด้วย ช่างแทงหยวกต่างก็พากันไปประกอบอาชีพอนื่ เพือ่ หารายได้
มาจนุ เจือครอบครวั

ภาพท่ี ๗ การข้ึนโครงปราสาทผ้งึ ในยคุ แหง่ การฟ้ืนฟปู ระเพณี
(ถา่ ยภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทรฺ มนุ ี เม่อื ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

๑๗

การทำดอกผึ้งและประดับตกแต่งปราสาทผึ้ง ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้รับผิดชอบงานในส่วนนี้ โดย
จะรวมตัวกนั ทีบ่ รเิ วณดา้ นขา้ งของโรงครวั ภายในวัด นางธันยา คำมี (๒๕๕๘ : สัมภาษณ์) ไดเ้ ล่าว่า การทำดอก
ผึ้งในยุคนี้จะมีแม่พิมพ์อยู่ ๒ ชนิด คือ แม่พิมพ์จากมะละกอ โดยการนำผลมะละกอดิบมาแกะสลักเป็นรูป
ดอกไม้ และแม่พิมพ์จากผลลูกโพธิ์ศรี โดยการนำผลลูกโพธ์ิศรีท่ีแห้งแล้วมาแกะเปลือกออก นำไม้เสยี บเพอ่ื ให้
งา่ ยตอ่ การจบั

ระหว่างนี้ ก็จะมีอีกกลุ่มที่จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำดอกผึ้ง โดยการก่อไฟ ตั้งกระทะใส่
เทียนลงไปให้ละลาย เทียนที่นำมาใช้ในงานได้จากเทียนที่เหลือกจากช่วงเข้าพรรษา โดยการเก็บรวบรวมไว้
ของพระภิกษุสงฆ์ จากนนั้ นำแมพ่ ิมพ์จากมะละกอ และลูกโพธิ์ศรีทไ่ี ดจ้ ดั เตรียมไว้ไปจมุ่ ลงในขผี้ ึ้ง และจ่มุ ลงใน
น้ำเย็นแกะวางเบาๆ ดอกผ้งึ กจ็ ะหลุดล่อนออกมา แล้วนำไปผึง่ ไว้ในกระด้ง กระจาด หรือภาชนะทไี่ ด้จัดเตรียม
ไว้ ในช่วงนี้จะมีเยาวชนบางกลุ่มที่ติดตามผู้ปกครองมาช่วยงาน ทางกลุ่มก็จะให้เด็กลองฝึกทำดอกผึ้ง เมื่อ
เริ่มทำได้ เด็กๆ ก็จะสนุกกับการได้ทำดอกผึ้ง อีกอย่างยังเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กสามารถทำงานที่ได้รับ
มอบหมายไดส้ ำเร็จ เม่ือได้ดอกผ้ึงครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จะนำเกสรดอกผึ้งท่ีได้เตรียมไว้ตามติดกับ
ดอกผึ้งแล้วนำไปตกแต่งต้นปราสาทผ้ึง แล้วตกแต่งดว้ ยข้าวตอก ดอกไม้และยอดของดอกผึ้งจะนำหมากเบ็งไป
ประดับไว้ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าในวันออกพรรษา และเป็นการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษท่ี
ล่วงลับไปแล้ว ความวิจิตรของต้นผึ้งนั้น จะงามมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฝีมือของคนในท้องถิ่น เมื่อตกแต่งเสร็จ
เรยี บร้อยแล้ว ก็จะนำเคร่ืองไทยธรรม และเคร่อื งผา้ ปา่ ประกอบไปดว้ ย สมดุ ดนิ สอ ผ้าสบงจวี ร เครื่องใช้อ่ืนๆ
และปจั จัย ประดับต้นปราสาทผงึ้ อกี ที

๑๘

ภาพท่ี ๘ เยาวชนในหมบู่ า้ นมาชว่ ยกนั ทำดอกผึง้
(ถ่ายภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทรฺ มนุ ี เมอ่ื ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

ภาพที่ ๙ การตกแต่งตน้ ปราสาทผ้ึงในยุคแห่งการฟน้ื ฟู
(ถ่ายภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทรฺ มนุ ี เมอื่ ๑๕ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๖)

๑๙
๒.๓ ไต้สังคทีป การทำไต้สังคทีปในช่วงนี้ ชาวบ้าน จะมารวมกลุ่มกันบริเวณหน้าศาลาการ
เปรียญของวัด เพื่อนำกะลามะพร้าวที่ได้จากในหมู่บ้าน นำมาขัดให้เงางาม เพื่อใช้สำหรับใส่ขี้ผึ้ง โดยจะ
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาทำให้แล้วเสร็จก่อนถึงกำหนดวันงาน จากนั้นก็จะนำฝ้ายมาฟั่นเป็น รูปตีนกา
เพื่อนำไปทำเป็นไส้ประทีป และใช้เทียนที่ละลายแล้วเทใส่ในกะลามะพร้าว เตรียมไว้สำหรับถือในขบวนแห่
ปราสาทผงึ้ อีกท้ังเป็นการจุดบชู าในวันออกพรรษา และนำไปจุดไว้รอบพระอโุ บสถ หรอื สมิ ในวันแห่ปราสาท
ผึง้

ภาพท่ี ๑๐ ภาพการจดั ทำไต้สังคทีปของบา้ นท่ากกแก
(ถา่ ยภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทฺรมุนี เม่อื ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

๒.๔ ฮ้าน (ร้าน) ประทีป หรือฮ้านสังคทีป ของชาวไทหล่มบ้านท่ากกแก เป็นฮ้านประทีป
แบบยาว จะทำไว้ด้านขวา ด้านซ้าย และด้านหลังพระอุโบสถ เป็นร้านไม้ไผ่ความสูงประมาณ ๑ เมตร ความ
ยาวตามขนาดของพระอุโบสถแต่ละด้าน พื้นฮ้านปูด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานประเพณีแห่
ปราสาทผึ้งนำประทีปของตนมาวางรอบพระอโุ บสถ

๒.๕ หมากเบ็ง การทำหมากเบ็ง จะนิยมทำในช่วงเช้าของวันแห่ปราสาทผึ้ง ชาวบ้านจะ
รวมตัวกันที่ด้านหน้าอาคารชมรมฯ เพื่อช่วยกันทำหมากเบ็งเข้าร่วมในงาน การทำหมากเบ็งนิยมใช้ในการ
ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งทางพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ นอกจากจะทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามความเช่ือ
ของชาวพุทธแลว้ ยังเป็นการทำเพื่อบูชาผีบรรพบุรุษทล่ี ่วงลับไปแล้วตามความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ ท่ีชาวบ้าน
ไทหล่มได้ยึดถอื ปฏบิ ตั ิสบื ต่อกนั มาชา้ นาน

๒.๖ วัสดุและของตกแต่งภายในงาน การประดับตกแต่งวัดในช่วงนี้ยังไม่มีอะไร จะมี
เพียง ทุงหรอื ธง ธงตราประจำวัดและธงชาติ และฉัตร ๕ ช้นั โดยมีขั้นตอนดงั นี้

๒๐
ทุง หรือตุง คือ ผืนผ้าประดับด้วยกระดาษอังกฤษฉลุเป็นลวดลาย มีความกว้าง ประมาณ ๒
คืบ ยาว ๒ เมตร เป็นฝีมือของชาวบ้านในท้องถิ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองฟ้าและ
เมอื งคน เป็นสถานท่ีท่ผี ู้คนให้ความยำเกรง จึงได้ทำพธิ ีบูชาเพื่อสื่อสารกับส่ิงศักด์ิสิทธิ์เชอ่ื มโยงความเช่ือเรื่องผีด้ำ
หรือผีผู้เป็นใหญ่ ผีฟ้า แถน ทุงยังเป็นสญั ลักษณ์บอกเขตใหผ้ ู้คนรบั รู้ว่าบรเิ วณทีป่ กั ทุงน้ัน เปน็ สถานท่ีศักดิ์สิทธิ์
เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และบ่งบอกว่าพิธีกรรมนั้นๆ ได้เริ่มขึ้นและจบสิ้นลงแล้ว ถือเป็นความเช่ือ
ดั้งเดิมที่ได้ สืบทอดส่งต่อสัญลักษณ์สิ่งนี้เพื่อให้ความเคารพบูชาและการแสดงออกซึ่งความศรัทธาในทาง
พระพุทธศาสนา เม่อื ได้ทุงท้ังแบบถัก และแบบผืนผ้า ก็จะนำไปมันไว้ท่ีปลายของเสาไม้ไผ่ จากนัน้ นำเสาไม้ไผ่ไป
ติดตงั้ ตามจุดท่ีได้กำหนดไว้ โดยการมัดตดิ กับหลกั ไมใ้ ห้แขง็ แรง
ธงตราประจำวัดและธงชาติ นำมาติดกับเชือกไนล่อนเส้นเล็ก การติดจะติดสลับกันระหว่าง
ธงตราประจำวัด และธงชาติ โดยขนาดของธงทั้งสองชนิด จะมีความกว้างประมาณ ๑๐ นิ้ว โดยเว้นระยะห่าง
ประมาณ ๒๐ น้ิว เม่ือติดเสร็จเรยี บรอ้ ยกน็ ำไปโยงรอบวัด หรือสถานทีท่ ไ่ี ดจ้ ัดเตรียมไว้
ฉัตร ๕ ชั้น เป็นเครื่องไทยทานต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สูงตามต้องการ นำไม้ไผ่เหลา
และทำเป็นวงกลมทำเป็นชั้น จำนวน ๕ ชั้น มีรูปทรงคล้ายเจดีย์สูง และนำกระดาษว่าวที่ฉลุลายมาติดที่
ขอบวงกลมในแต่ละชัน้ สลับสีให้สวยงาม จากนั้นนำเสาไมไ้ ผ่ไปติดตั้งตามจุดที่ไดก้ ำหนดไว้ โดยการมัดติดกับ
หลกั ไม้ให้แข็งแรง

ภาพท่ี ๑๑ การจัดเตรยี มสถานท่งี านประเพณีแหป่ ราสาทผึ้ง
(ถ่ายภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทฺรมนุ ี เมอื่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

๒๑
๒.๗ อาหารสำหรับผู้เตรียมงาน ทุกวันตั้งแต่เริ่มมีการเตรียมงาน จะมีกลุ่มแม่ครัวที่
รบั ผดิ ชอบหนา้ ท่ีในการทำอาหารกลางวันสำหรับผู้ท่ีมาช่วยงาน จะสลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวัน ส่วนใหญ่
ผู้ที่มาช่วยงานก็จะเป็นคนที่ว่างเว้นจากการทำไร่ ทำสวน อาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพื้นบ้าน และกับข้าว
จากวัดที่ได้จากการบิณฑบาต ชาวบ้านจะเตรียมอาหารให้แล้วเสร็จก่อนเวลาฉัน ภัตตาหารเพลของพระสงฆ์
เมือ่ ไดย้ นิ เสยี งกลองเพลง สมาชกิ ในกล่มุ จะนำอาหารท่ีได้เตรียมไว้ไปถวายพระสงฆ์ ที่ศาลาการเปรียญของวัด
เม่ือพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้ว ก็จะทำภัตตาหารท่ีเหลือจากที่นำไปถวายและทเี่ หลือจากการบิณฑบาต
มาร่วมรับประทานกนั ต่อท่ีบริเวณด้านข้างโรงครวั ของวดั เมนูหลักที่ขาดไม่ได้เลยก็จะเป็นข้าวเหนียว สม้ ตำ และ
น้ำพริก วัตถุดิบในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ได้มาจากชาวบ้านช่วยกันบริจาคสิ่งของ เช่น ข้าวสาร มะละกอ
พรกิ หอม กระเทียม ผกั ต่างๆ และมะพร้าว และวัตถุดิบบางอย่างท่ีจำเปน็ จะต้องซื้อ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน น้ำปลา
ปลาร้า น้ำด่ืมและอื่นๆ ได้งบประมาณจากชาวบา้ นท่ีชว่ ยกนั บรจิ าค

ภาพที่ ๑๒ การเตรยี มอาหารสำหรับผมู้ าเตรยี มงาน
(ถ่ายภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทรฺ มุนี เมอื่ ๑๐ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๖)

๒๒

ภาพที่ ๑๓ การลอ้ มวงรบั ประทานอาหารระหวา่ งเตรยี มงาน
(ถา่ ยภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทรฺ มุนี เม่อื ๑๐ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๖)
๓. ลำดบั พธิ กี ารในวนั งาน
การจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งช่วงนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้นำชุมชน และ

ประชาชนในท้องถนิ่ ทเี่ ข้ามามีส่วนรว่ มในการฟนื้ ฟูการงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของชุมชนบ้านท่ากกแก ไม่
ว่าเป็นในเรื่องของการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงาน การบริจาคทั้งในรูปแบบสิ่งของและปัจจัย โดยมีลำดับ
ขน้ั ตอนการดำเนินงาน ดงั น้ี

๓.๑ ช่วงเช้าของวันงาน ชาวบ้านจะมาช่วยกันดูแลความเรียบร้อยในงานประเพณีแห่
ปราสาทผึ้ง เช่น จัดเก้าอี้สำหรับแขกที่มาร่วมงาน และจัดเตรียมน้ำดื่มสำหรับผู้มาร่วมงาน เวลา ๑๑.๐๐ น.
ยังได้มีการตั้งโรงทานของชาวบ้านท่ากกแก อาทิ ผัดหมี่แดง ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ ข้าวราดแกง ไอติม และน้ำดื่ม
ไว้สำหรับชาวบ้านท่ีมาช่วยงานและดูแลความเรียบร้อยของบริเวณงาน ในวันน้ีแต่ละคุ้มบ้านจะทยอยกันมา
รับตน้ ผงึ้ ทว่ี ดั เพอื่ นำไปเตรยี มความพร้อมในการเดินขบวนแห่ปราสาทผ้ึงในเวลา ๑๙.๐๐ น.

๓.๒ การแตง่ กายเขา้ ร่วมงานประเพณี ทางชมรมอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรมไทหลม่ กลุ่มมูลมัง
บ้านท่ากกแก ได้มีรณรงค์ให้ชาวบ้านร่วมกันใส่ชุดพื้นบ้านในการเข้าร่วมกิจกรรมและงานประเพณีของ
ชุมชน โดยผู้หญิงจะนงุ่ ซน่ิ หวั แดงตีนก่าน สว่ นผูช้ ายน่งุ โสรง่ คาดผา้ ขาวม้า ในช่วงนช้ี าวบ้านยังไม่ค่อยให้ความ
ร่วมมือในการแต่งกายในชุดพื้นบ้าน ยังคงแต่งกายตามสมัยนิยมในการเข้าร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น ผู้ท่ี
แตง่ กายเข้าร่วมงานจะเป็นกลมุ่ ผู้สงู อายุ และผูท้ เ่ี ข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัดเป็นประจำ

๒๓

ภาพท่ี ๑๔ การแต่งกายเขา้ ร่วมงานระเพณีแหป่ ราสาทผง้ึ ในชว่ งการฟนื้ ฟปู ระเพณี
(ถ่ายภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมนุ ี เมอ่ื ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)
๓.๓ พิธีเจริญพระพุทธมนต์เย็น ก่อนถึงกำหนดการเดินขบวนแห่ปราสาทผึ้ง จะมีการเจริญ

พระพุทธมนต์เย็น เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์ปฏิบัติที่ปฏิบัติกันในงานมงคลต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ ผู้
ที่มาร่วมงานในเวลา ๑๘.๐๐ น. โดยมีเจ้าอาวาสวัดท่ากกแก พระลูกวัด ผู้ทำหน้าที่ด้าน ศาสนพิธี หรือมัค
ทายก และชาวบ้านท่ากกแกบางส่วนที่เข้าร่วมพธิ ี เนอ่ื งจากผู้นำชมุ ชนและชาวบ้านส่วนใหญ่ จะไปต้งั ขบวนรอ
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินขบวนแห่ เมื่อเจริญพระพุทธมนเย็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสมุห์ไพรศาล
ภทฺรมุนี พระลูกวัด และผู้เฒ่าผูแ้ ก่ที่ร่วมพิธีเจรญิ พระพุทธมนต์เย็น จะลงมาจุดใต้สังคทีปที่บริเวณฮ้านประทีป
ด้านขา้ งฝง่ั ซ้ายของพระอโุ บสถ ทรงส่เี หลี่ยมจตั รุ สั และบูชาหมากเบ็งก่อนเดนิ ทางไปรว่ มขบวนแหป่ ราสาทผ้งึ

๓.๔ ขบวนแห่ปราสาทผ้ึง ชาวบา้ นจะรวมตัวกนั ท่ีหนา้ บา้ น นายสุนทร ท้าวเงิน ผูใ้ หญ่หมู่ ๘
เพอ่ื ตง้ั ขบวนรอจนถงึ กำหนดการแห่ปราสาทผ้ึงในเวลา ๑๙.๐๐ น. ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ มีตน้ ปราสาทผึง้ ในขบวน
ถึง ๔ ต้น ในขบวนแห่นั้น จะมีวงดนตรีพื้นบ้านนำขบวน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีใช้กลองปั้ง กลองหาง ฉาบ
ฉิ่ง แคน และพิณ ร่วมดว้ ยบรรเลงแหไ่ ปในขบวน มีผ้เู ฒ่าผูแ้ ก่ หนุม่ สาวและเดก็ ๆ รว่ มฟ้อนรำในขบวนกันอย่าง
สนกุ สนาน ในขบวนแหช่ าวบ้านจะถือประทีปเพื่อเป็นพทุ ธบชู าแม่กาเผือก ตามตำนานพระเจ้า ๕ พระองค์

๒๔

ภาพที่ ๑๕ ขบวนแหป่ ราสาทผึ้งในช่วงแห่งการฟน้ื ฟู พ.ศ. ๒๕๕๖
(ถ่ายภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทฺรมุนี เมอ่ื ๑๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๖)

ภาพที่ ๑๖ วงดนตรีนำขบวนแห่ปราสาทผงึ้ บา้ นท่ากกแกในปี พ.ศ. ๒๕๕๖
(ถา่ ยภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทฺรมนุ ี เม่อื ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

๒๕

ภาพท่ี ๑๗ กลมุ่ รำฟ้อนนำขบวนแหป่ ราสาทผงึ้ บ้านท่ากกแกในปี พ.ศ. ๒๕๕๖
(ถ่ายภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทฺรมุนี เมอื่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)
เม่ือหวั ขบวนแห่ปราสาทผ้ึงเร่ิมเข้าถึงเขตวัดท่ากกแก จะมีพธิ กี รกล่าวต้อนรับ ทางวัดได้

จัดสถานที่ไว้ให้นั่งรออยู่ภายในบริเวณวัด จากนั้น ขบวนแห่ปราสาทผึ้งจะแห่วนรอบพระอุโบสถและสิมเก่า
จำนวน ๓ รอบ เมื่อครบแล้วจะนำปราสาทผ้ึงไปวางเรียงกันที่ด้านหน้าพระอุโบสถ ส่วนไตส้ งั คทีปทีช่ าวบ้าน
ถือมานัน้ กจ็ ะถูกนำไปวางที่ฮ้านประทปี รอบๆ พระอโุ บสถ แลว้ แยกย้ายกนั ไปนงั่ ในบริเวณทไี่ ด้จดั สถานท่ีไว้ให้

ภาพท่ี ๑๘ ไต้สังคทีปและฮา้ นประทปี ทจ่ี ัดเตรยี มไว้รอบพระอโุ บสถ
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมอื่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

๒๖

๓.๕ พิธีเปิดงานและกิจกรรมภายในงาน เมื่อทุกอย่างพร้อมเพียงกันแล้ว ก็จะนิมนต์
พระภิกษุสงฆ์เทศนาอานิสงส์ของการถวายต้นผึ้ง หลังจากเทศนาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนที่
เรียกว่า “สัมโมทนียกถาแห่งการถวายต้นผึ้ง” หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์สัมโมทนียกถาเสร็จเป็นที่
เรียบร้อยแล้ว มัคนายกก็นำกล่าวคำถวายปราสาทผึ้ง ซึ่งถือว่าเป็นการบูชาและเป็นการขอขมาพระรัตนตรัย
เพอ่ื ใหเ้ กิดสริ มิ งคลแกต่ นเองและหมู่คณะ ดังนี้

คำถวายปราสาทผึ้ง
“อิมานิ มะยัง ภัณเต มธปุ ุพพะปาสาทะ อภปิ ชู ยามะ”
ข้าพเจ้าขอถวายบูชายังต้นดอกผึ้งแก่พระพุทธเจ้า พระสถูป รูปพระเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์และ
เทพยดาอันรักษาวัดวาอารามแห่งวัดท่ากกแกนี้ขอความสุขความเจริญจงบังเกิดมีแก่ฝูงข้า พระพุทธเจ้า
ทง้ั หลายด้วยเทอญ (พระสมุไพศาล ภทฺรมุณี, ๒๕๖๒)
หลังจากที่กล่าวคำถวายต้นผึ้งเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเป็นการเปิดงานโดย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอหล่มสัก เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ผู้มีเกียรติที่มาร่วมในงานเป็นแขกผู้มีเกียรติ
เช่น ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมทั้งแขกผู้มีเกียรติ จากนั้นตัวแทนของชมรมอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมไทหล่ม กลุ่มมูลมังบ้านท่ากกแก ได้มอบของที่ระลึกแก่ท่านประธานในพิธี หลังจากนั้นก็เป็น
กิจกรรมรน่ื เรงิ ภายในหมูบ่ ้าน โดยจัดให้มกี ารละเลน่ ฟอ้ นรำ โดยวงดนตรพี ื้นบา้ นของไทหลม่
๓.๖ วันทอดกฐินและปราสาทผึ้ง รุ่งเช้าวันถัดมาชาวบ้านท่ากกแกจัดให้มีพิธีทอดกฐินและ
ปราสาทผึ้งพร้อมกนั การทอดกฐิน ตามความหมายของพระไตรปฎิ ก ได้อธิบายความหมายของคำว่ากฐิน โดย
สรปุ ไว้ ๔ ประการ คอื ข้อแรกเปน็ ชื่อของกรอบไม้อนั เป็นแมแ่ บบสำหรับทำจวี ร ขอ้ สอง เปน็ ชอื่ ของผา้ ท่ีถวายแก่
พระภิกษุสงฆ์ เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น ข้อสาม เป็นชื่อของบุญกิริยาในการถวายผ้ากฐิน เพื่อให้
พระสงฆ์ทำจีวร หรือ ข้อสี่ เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความ
เห็นชอบจากทีป่ ระชมุ สงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรปู หนงึ่ (กรมศาสนา, ๒๕๕๑)
นอกจากนี้ คำว่ากฐนิ ในอีกความหมายหน่ึง แปลว่า สุก หมายความวา่ ผู้ท่ีจะรบั กฐนิ ได้ต้องบ่มตัว
ให้สุขเสียก่อน คือการที่พระสงฆ์จะต้องไม่หนีไปค้างคืนวัดอื่นเลยตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เว้นแต่มีกิจจำเป็น
ตามพระวนิ ยั ที่พระพุทธเจา้ อนญุ าตไว้ เพราะฉะนั้น คำว่า กฐนิ จงึ ได้แปลวา่ สุข เพราะผู้ท่ีเข้าจำพรรษาตลอด
ไตรมาสเท่านั้นที่จะรับกฐินได้ โดยมีความเชื่อว่าพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบด้วยปริยวัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตาม
สมควรแกส่ ติปญั ญาและวาสนาบารมีของตน จงึ สมควรรับกฐินได้ (สมทรง ปุญญฤทธ์ิ, ๒๕๒๕)
การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว
ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้
เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนัน้ และ มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวาร
เครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบดว่ น เพื่อจะได้มีส่วนหนึง่ เป็นทนุ บำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณะของ
เก่าบา้ ง ปจั จบุ ันนยิ มเรยี กกนั วา่ กฐนิ สามคั คี

๒๗

การทอดกฐินของบ้านท่ากกแก เป็นแบบกฐินสามัคคี โดยมีการนำผ้ากฐินทานกับเครื่อง
บรวิ ารท่จี ะถวายไปต้ังไว้ ณ วัดพรอ้ มกบั ปราสาทผ้ึง พอถงึ วนั กำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจา้ ของกฐนิ จึงพากันไปยังวัด
เพื่อทำพิธีถวาย การถวายกฐินนิยมถวายในโบสถ์ ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ใน
โบสถ์ก่อน พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน น่ังบนอาสนะที่จัดไว้ เจ้าภาพกฐิน
พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าท่ีจะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน
ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หนา้
พระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งท่ี ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วกราบ
พระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐส์ ามคร้ัง แลว้ กล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ
สาธกุ าร ประธานวางผ้าพระกฐนิ ลงบนพานเช่นเดิม แลว้ กลบั เข้าน่งั ท่ี ตอ่ จากนไ้ี ปเป็นพธิ กี รานกฐินของพระสงฆ์

คำกล่าวถวายกฐิน
อิมงั ภันเต, สะปะรวิ ารัง, กะฐนิ ะจีวะระทสุ สงั , สงั ฆัสสะ,

โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภัณเต, สงั โฆ, อมิ ัง สะปะริวารงั ,
กะฐินะจวี ะระทสุ สงั , ปะฏคิ คณั หาตุ, ปะฏิคคะเหตวา จะ,
อมิ นิ า, ทุสเสนะ, กะฐินัง, อัตถะระต,ุ อมั หากัง,
ทีฆะรัตตงั , หติ ายะ, สุขายะ,
นพิ พานะ ปัจจะโย โหตุ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพ่ือ
ประโยชน์ และความสุขแก่ขา้ พเจ้าท้ังหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ
เจ้าภาพกฐินถวาย “ผ้ากฐิน” แก่พระภิกษุ โดยนำถวายตั้งไว้พระภิกษุสงฆ์จะนำไปกระทำพิธี
“อปุ โลกน์กฐินและกรานกฐิน” อันเป็น “สังฆกรรม” ถูกต้องตามพระธรรมวนิ ยั ของพระผมู้ ีพระภาคเจ้า
เมื่อพระภิกษุสงฆ์เสร็จพิธีในการกรานกฐิน เรียบร้อยแล้ว คณะจึงถวายผ้าจำนำพรรษา และ
พระภิกษุสงฆ์จะถอนจีวรเก่าและพินทุอธิษฐานผ้าพร้อมกัน พร้อมทัง้ นิมนตพ์ ระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรใหม่ทันที
เพือ่ เจา้ ภาพจะได้อานิสงส์ในทนั ที
จากนั้น พระภิกษุสงฆ์ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถ พร้อมมาลาพุทธบูชา เมื่อพระภิกษุสงฆ์
ครองผ้าจีวรเรียบร้อยแล้ว ได้ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถพร้อมมาลาพุทธบูชา ๓ รอบ แล้วนำมาลาสักการะ
บชู าคณุ พระรตั นตรัย ภายในพระอโุ บสถ จากน้นั กถ็ วายเครื่องบริวารกฐินท้ังหมดแด่พระภิกษสุ งฆ์ ต่อด้วยการ
แสดงธรรมของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อจบการแสดงธรรมเทศนาแล้ว คณะเจ้าภาพกฐิน รับด้วย สาธุ สาธุ สาธุ อนุ
โมทามิ พร้อมกราบสักการะพระภิกษสุ งฆ์พร้อมกนั จากน้นั กราบบูชาพระรัตนตรยั อีกครัง้ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วน
บญุ กศุ ล ต้งั นโม ๓ จบ กราบลาพระสงฆ์ เป็นอันเสร็จพธิ ี

๒๘

ประเพณแี ห่ปราสาทผึ้งกับการเข้ามามีส่วนรว่ มของหน่วยงานภาครฐั (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ปจั จุบัน)
จากการที่ชาวบ้านได้รวมกลุ่มคนในหมู่บ้านจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก จน

ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักของหมู่บ้านใกล้เคียง จึงทำให้เทศบาลตำบลตาลเดี่ยวเกิดความสนใจในงานประเพณี
ดังกล่าว และสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้บรรจุเป็นแผนการ
ดำเนินงานประจำปีของเทศบาลตาลเดี่ยว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนแนวทางการ
พัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ ทางการพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรมการ
ท่องเที่ยว และในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้นมา
หน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ จึงนำต้นทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เพ่ือ
เป็นจุดขายให้นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี และสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนในรูปแบบของการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๒) ผนวกกับชุมชนบ้านท่ากกแก มีความโดดเด่นใน
เรื่องของงานประเพณีและวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ อีกทั้งยังได้มีการรวมกลุ่มการฟื้นฟู
งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จึงได้รับความสนใจจากเทศบาลตำบลตาลเดี่ยว เข้ามาให้การสนับสนุนการจัดงาน
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ตามแผนพัฒนาข้อที่ ๗ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้รับการ
สนับสนุนจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่คอยสนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ และการสืบค้น
ประวัติความเป็นมาของชุมชน และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟู
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งทำให้ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจทีห่ นว่ ยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดแู ลโดยตรง และ
ให้ความสำคัญกบั งานประเพณขี องท้องถน่ิ

โดยรูปแบบและขั้นตอนการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในช่วงการมีส่วนร่วมของ
หน่วยงานภาครัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงาน อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้นำชุมชน
ชาวบ้าน และเยาวชน โดยเยาวชนที่เข้ามาร่วมงาน จะเป็นกลุ่มที่ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดงาน
ต่างๆ ของวัดอยู่เป็นประจำ โดยบทบาทของเยาวชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในช่วงนี้จะเข้ามามีส่วนช่วยในการ
จัดทำอุปกรณ์ในการตกแต่งในงาน ทำดอกผึ้ง และเข้าร่วมในกิจกรรมอื่นๆ ของทางวัด นอกจากนี้ ยังมี
กระบวนการสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมของแห่ปราสาทผึ้ง โดยการส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วน
ร่วมในการออกความคิดเห็นในกจิ กรรมทร่ี ับผิดชอบ เชน่ กจิ กรรมการแสดง การจัดตั้งวงดนตรพี น้ื บา้ น เมื่อได้เปิด
โอกาสให้เยาวชนได้เสนอแนะในสิ่งที่ต้องการจะนำเสนอในงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งแล้ว ก็ส่งเสริมให้
เยาวชนได้ดำเนินการโดยมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ นอกจากนี้ เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของท้องถิ่น และมี
สว่ นร่วมในการจดั งานประเพณีแห่ปราสาทผ้ึง นอกจากน้ียังได้มีการประชาสัมพันธง์ านประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ทั้งในรูปแบบป้ายไวนิล และประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook ของชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทหล่ม กลุ่ม
มูลมังบ้านท่ากกแก ชาวบ้านท่ากกแก และที่สำคัญที่สุดคือ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็น
กระบอกเสยี งสำคัญ เพ่ือเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจเขา้ ร่วมงานประเพณแี หป่ ราสาทผง้ึ ของชมุ ชน อีก
ทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากหนว่ ยงานภาครัฐให้เข้าร่วมงานประจำอำเภอ และประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้วิจยั
ไดจ้ ัดเก็บขอ้ มลู และสรปุ เป็นประเดน็ สำคญั ดังน้ี

๒๙
๑. กำหนดจดั งาน

กำหนดจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก เจ้าอาวาสวัดท่ากกแก พร้อมด้วย
หน่วยงานภาครัฐ และผู้นำชุมชน ประกอบไปด้วย นายกเทศมนตรีตำบลตาลเดี่ยว ผู้ใหญ่บ้านและหัวหน้าคุ้ม
บ้าน มาประชุมเพื่อปรึกษาหารือเรื่อง กำหนดวันจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และการกำหนดหน้าที่ความ
รับผิดชอบในการจัดงาน ซ่งึ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ (ปที ่ลี งพ้ืนท่ีเก็บข้อมลู ) การประชุมเตรยี มงานต้องจัดล่วงหน้าอย่าง
น้อย ๑ เดือน เพื่อทำความเข้าใจและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการจัดงาน รวมถึงการจัดเตรียมสถานที่ และการ
เตรยี มวสั ดอุ ปุ กรณ์ตา่ งๆ ทใี่ ช้ในงาน

จากมติทปี่ ระชุมได้ข้อสรุปว่า กำหนดจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งข้ึน ระหวา่ งวันที่ ๙ - ๑๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๒ โดย เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว สนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท และ
ให้การสนับสนุนในเรื่องของการจัดสถานที่ เช่น กางเต็นท์ จัดโต๊ะ เก้าอี้ และการดูแลทำความสะอาดรอบๆ
บรเิ วณงาน การจัดทำปราสาทผ้งึ ใหแ้ ตล่ ะคุ้มบ้านรวมตัวกนั ทำทวี่ ดั รวมถึงการตกแต่ง สถานที่ต่างๆ ในวัด ให้
ชาวบ้านช่วยกัน ส่วนการเรี่ยไรเงินทำบุญ และข้าวสารอาหารแห้งที่จะนำมาใช้ในการจัดงาน มอบหมายให้
หัวหนา้ ค้มุ บา้ นดำเนนิ การ

ภาพท่ี ๑๙ ประชมุ เตรยี มความพร้อมในการดำเนินงานประเพณีแหป่ ราสาทผ้ึง
(ถ่ายภาพโดย พระสมหุ ์ไพรศาล ภทฺรมุนี เม่ือ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๒)

๓๐
๒. การจัดเตรียมสถานที่ จดั ทำปราสาทผ้งึ และอปุ กรณ์ทีใ่ ชใ้ นงาน

๒.๑ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดงาน ประกอบไปด้วย ไม้ไผ่ ใช้ประมาณ ๓๐๐ ลำ
นำมาใช้ในการทำโครงต้นปราสาทผึ้ง ทำฮ้าน (ร้าน) ประทีป ฐานรองประทีป ซุ้มอาหาร ทำโครงโคมแขวน
และเสาธงประดับบริเวณงาน ต้นกล้วย ใช้ประมาณ ๓๐ ต้น กาบกล้วยใช้โอบโครงปราสาทผึ้ง ใบตองใช้
สำหรับทำหมากเบ็ง ทั้งไม้ไผ่และต้นกล้วย ชาวบ้านจะไปรวมตัวตัดกันที่บ้านของนางธัญญา คำมี แล้วนำมา
รวมไว้ทว่ี ดั ไม้จอ๊ ยท์ ใชส้ ำหรับการทำโครงตน้ ปราสาทผ้ึง ซ้ือจากร้านขายไมใ้ นอำเภอหล่มสัก เทียนพรรษาที่
ใช้แล้ว นำมาทำดอกผึ้ง หรือดอกเผิ้ง และใช้ทำประทีปโดยเทใส่ในกะลามะพร้าวและใส่ไส้ของประทีป
กะลามะพรา้ ว จำนวน ๗๐๐ กะลา ใช้สำหรับทำไตส้ ังคทีปถือนำทางในขบวนแห่ประสาทผง้ึ สว่ นใหญ่เม่ือใกล้ถึง
งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ชาวบ้านจะช่วยกนั เก็บกะลามะพร้าวที่ใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน แล้วนำมา
รวบรวมไว้ท่ีวัด ผ้าและด้ายไหมพรม ใช้สำหรับทำทงุ รือตงุ ภายในงานจะทำธงประมาณ ๒๐ ทงุ ขวดกระทิง
แดง จำนวน ๒๐๐ ขวด ใช้ทำตะเกยี งส่องสวา่ งตามเสน้ ทางขบวนแห่ ได้จากร้านขายของชำในหมู่บ้าน

ภาพที่ ๒๐ ไมไ้ ผ่ท่นี ำมาใชใ้ นงานประเพณแี หป่ ราสาทผ้ึง
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

๓๑

๒.๒ การทำต้นปราสาทผง้ึ การทำตน้ ปราสาทผงึ้ ไดแ้ บ่งงานออกเปน็ ๒ สว่ น คอื การทำโครง
เป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย และการประดับตกแต่ง เป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง การทำโครงการปราสาทผึ้ง การแบ่ง
หนา้ ท่ีปรบั ผิดชอบในแตล่ ะงานน้นั จะเป็นการแบ่งตามความถนดั ของแต่ละบุคคล

การทำโครงการเริ่มจากการเลือกรูปแบบ และออกแบบโครงไม้ให้มีสัดส่วนสวยงาม
โครงปราสาทผึ้งมีด้วยกัน ๔ แบบ คือ ปราสาทผึ้งทรงพระธาตุ ลักษณะโดยรวมคลายกับพระสถูปเจดีย์
หรือพระธาตุท่ีปรากฏในบริเวณภาคอีสาน และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คอื เป็นเจดีย์
ทรงสี่เหลี่ยม หรือบางทีเรียกวา่ เจดีย์ทรงดอกบวั เหลีย่ ม ทรงหอผี เป็นปราสาทผึ้งที่สร้างขึ้นเลียนแบบอาคาร
เรอื นที่อยู่อาศัยแบบพ้ืนเมืองของชาวอีสาน แตส่ ร้างให้มีขนาดเล็กเป็นลักษณะของเรือนจำลอง ปราสาทผึ้งแบบ
ทรงหอผีมีลักษณะเช่นเดียวกับศาลพระภูมิ ศาลมเหศักด์ิ หรือศาลปู่ตา ตามหมู่บ้านต่างๆ ในชนบท ซึ่งศาลต่างๆ
เหล่านั้นมีลักษณะโดยรวมจำลองรูปแบบมาจากอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทรงบุษบก เป็นปราสาทที่สร้างข้ึน
จำลองจากบษุ บก บุษบกเป็นเรอื นเคร่ืองยอดขนาดเล็ก หลงั คาทรงมณฑป ตัวเรือนโปรง่ มีฐานทบึ และเปน็ รูป
สี่เหล่ยี มจตั ุรัส ลกั ษณะคล้ายกับบุษบกธรรมาสน์ ชาวอีสานเรียกว่า หอธรรมาสน์ หรือ ธรรมาสน์เทศน์ และ
ทรงจตุรมุข เป็นปราสาทผึ้งที่จำลองแบบมาจากปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง เป็นอาคารจำลอง
ขนาดเล็กทรงจตุรมุข มีแผนผงั เป็นรูปกากบาท มสี นั หลังคาจัว่ ช้นั บนอยู่ในระดับเดียวกัน และออกมุขเสมอกันท้ัง
ส่ีดา้ น ที่หลังคามจี วั่ หรอื หนา้ บันประจำมขุ ดา้ นละจ่วั หรือด้านละหน่ึงหน้าบัน ด้วยเหตุทม่ี กี ารออกมุขทั้งสี่ด้าน
และประกอบด้วยหน้าบันสี่ด้าน จึงเรียกว่าทรงจตุรมุข ซึ่งเป็นอาคารที่มีเรือนยอดเป็นชั้นสูง ปราสาทผึ้งของ
บ้านทา่ กกแกท่ีนิยมทำกันกค็ ือ ทรงพระธาตุ และทรงจตุรมุข การข้ึนโครงในช่วงนี้ทำโดยการใช้ไม้ไผ่และไม้จ๊อยท์
ผสมกนั โดยจะใช้ไม้ไผ่เปน็ เสากลาง และใช้ไม้จ๊อยท์ตีเป็นโครง แล้วขนาบด้วยไม้ไผ่ผา่ ซีก

๓๒

ภาพท่ี ๒๑ การเตรยี มโครงต้นผ้ึงหรือปราสาทผงึ้ ทรงจตรุ มุข
(ถ่ายภาพโดย นิภา พิลาเกิด เมื่อ ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๓๓

ภาพท่ี ๒๒ การเตรียมโครงต้นผ้ึงหรือปราสาทผึง้ ทรงพระธาตุ
(ถา่ ยภาพโดย นภิ า พลิ าเกิด เมือ่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)
การทำดอกผึ้งและประดับตกแต่งปราสาทผึ้ง ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้รับผิดชอบงานในส่วนนี้ โดย

จะรวมตัวกันท่ีบริเวณดา้ นข้างของโรงครัวภายในวัด การทำดอกผึ้งในยุคนี้จะมีแมพ่ ิมพ์อยู่ ๒ ชนิด คือ แม่พิมพ์
จากมะละกอ โดยการนำผลมะละกอดิบมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ และแม่พิมพ์จากผลลูกโพธ์ิศรี โดยการนำผล
ลูกโพธ์ิศรีที่แห้งแล้วมาแกะเปลอื กออก นำไม้เสยี บเพ่อื ให้งา่ ยต่อการจับ

ระหว่างนี้ ก็จะมีอีกกลุ่มที่จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำดอกผึ้ง โดยการก่อไฟ ตั้งกระทะใส่
เทยี นลงไปให้ละลาย เทยี นท่ีนำมาใช้ในงานไดจ้ ากการเก็บรวบรวมไว้จากปีท่ีผ่านมา และเทียนท่ีเหลือจากช่วง
เข้าพรรษา โดยการเก็บรวบรวมของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อนำมาทำเป็นดอกผึ้งสำหรับตกแต่งต้นปราสาทผึ้ง

๓๔
ในช่วงนี้จะมีเยาวชนที่เคยติดตามผู้ปกครองมาช่วยงาน ก็จะมาร่วมทำดอกผึ้งตามคำชักชวนของผู้ปกครอง
เมื่อได้ดอกผึ้งครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จะนำเกสรดอกผึ้งที่ได้เตรียมไว้ตามติดกับดอกผึ้งแล้วนำไป
ตกแต่งต้นปราสาทผึ้ง แล้วตกแต่งด้วยข้าวตอก ดอกไม้และยอดของดอกผึ้งจะนำหมากเบ็งไปประดับไว้ เพ่ือ
ถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าในวันออกพรรษา และเป็นการบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ความวิจติ รของตน้ ผ้งึ น้ัน จะงามมากหรือน้อยข้นึ อยู่กบั ฝีมือของคนในท้องถ่ิน เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็
จะนำเครื่องไทยธรรม และเครื่องผ้าป่า ประกอบไปด้วย สมุด ดินสอ ผ้าสบงจีวร เครื่องใช้อื่นๆ และปัจจัย
ประดบั ตน้ ปราสาทผึ้งอีกที

ภาพที่ ๒๓ ดอกผงึ้ พรอ้ มเกสรท่ใี ช้ในการตกแต่งต้นปราสาทผ้ึง
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พลิ าเกดิ เมื่อ ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๓๕

ภาพท่ี ๒๔ การตกแตง่ ตน้ ปราสาทผึง้
(ถ่ายภาพโดย นิภา พิลาเกิด เมื่อ ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)
การแทงหยวก เป็นวิชาความรูท้ ี่ถ่ายทอดกันมาต้ังแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หางา่ ย คือ ต้นกล้วย

มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแตง่ ประดับประดา เมรเุ ผาศพ งานบวช งานกฐนิ และงานตกแต่งอื่นๆ สืบ
ทอดกันมา อุปกรณ์ที่ใช้ในการแทงหยวก ประกอบไปด้วย ๑. ต้นกล้วย ๒. มีด ๓. มีดสองคม ๔. หินลับมีด ๕.
เส้นตอก ในอดีตนิยมใช้กล้วยตานี เพราะไม่แตกง่าย ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายาก และมีขนาดไม่เหมาะสม
สำหรบั ใช้งาน จงึ นิยมใชต้ น้ กลว้ ยน้ำวา้ แทน โดยตอ้ งเปน็ ต้นกล้วยนำ้ วา้ สาว คอื ตน้ กล้วยท่ยี งั ไมม่ เี ครอื หรอื ยัง
ไมอ่ อกหวกี ลว้ ย ตน้ กลว้ ยจะอ่อนแทงลวดลายไดง้ ่าย

ปัจจุบันช่างแทงหยวกฝีมือดีของบ้านท่ากกแกเหลืออยู่เพียงคนเดียวของบ้านท่ากกแก คือ
นายเกง่ คชสาร หรอื ช่างเกง่ ทยี่ ังคงสบื ทอดศิลปะการแทงหยวกไว้ ก่อนเร่มิ การแทงหยวก จะตอ้ งนำต้นกล้วยมา
ตัดเป็นท่อนให้มีขนาดความยาวตามที่ต้องการ จากนั้น ก็จะลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบๆ เวลาลอกต้องลอก

๓๖

ด้วยความประณตี เพื่อไมใ่ หก้ าบกลว้ ยชำ้ หรือแตก กาบกล้วยทีล่ อกออกมาแลว้ จะถูกนำมาคัดเลือกขนาดความ
กว้างของกาบที่เท่ากัน สีที่ใกล้เคียงกัน เพื่อนำไปแทงลายอย่างเดียวกัน นับว่าเป็นขั้นตอนที่พิถีพิถันอย่างย่ิง
แล้วนำกาบกล้วยออกมาวางแยกไว้เปน็ พวกๆ เพ่อื จะไดห้ ยบิ ไปใชไ้ ด้สะดวก

ลายแทงหยวก นิยมใช้ลายไทยโบราณเป็นลายมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันก็ยังลายไทยแบบดั้งเดมิ อยู่
อาจจะมกี ารประยุกต์ลายขน้ึ ใหมบ่ ้าง แต่ก็ยังใชล้ ายไทยเปน็ พืน้ ฐาน หรือเปน็ หลกั ในการแทงหยวกเสมอ ดงั น้ี

ลายฟันหนึ่ง หมายถึง ลายที่มีหนึ่งยอดเป็นลวดลายเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัด แทงหยวก
จะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญ ขนาดของฟันจะต้องเท่ากันทุกซี่ แทงเป็นเส้นตรงไม่คดโค้ง และต้อง
ฉลุให้เท่ากันทั้งสองด้าน ลายฟันหนึ่งเป็นลวดลายที่ช่างแทงหยวกใช้กันทุกท้องถิ่นมีทั้งฟันขนาดเล็ก และฟัน
ขนาดใหญ่ ลายฟันหนึ่งขนาดเล็กเรียกว่า ลายฟันปลา ลายฟันหนึ่ง เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้ว
สามารถนำไปใช้ได้ทัง้ สองข้าง

ลายฟันสาม หมายถึง ลายที่มีสามยอดเป็นลวดลายอีกแบบหนึ่งที่ช่างแทงหยวกนิยมใช้กันทุก
ท้องถิ่น ขนาดของลายฟันสามโดยทั่วไป มีขนาดความกว้างประมาณ ๘ เซนติเมตร สงู ประมาณ ๗ เซนตเิ มตร
ลายฟันสาม เม่ือแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ไดท้ ้ังสองข้างเชน่ เดยี วกับลายฟันหนง่ึ

ลายฟันห้า หมายถึง ลายที่มีห้ายอด มีขนาดใหญ่กว่าฟันสามเล็กน้อย มีขนาดความกว้าง
ประมาณ ๙ เซนติเมตร สูงประมาณ ๘ เซนติเมตร การแทงลายฟนั ห้ายากกวา่ ลายฟนั สาม เน่อื งจากตอ้ งแทงถึง
ห้าหยักหรือห้ายอด หากไม่มีความชำนาญด้านซ้ายและด้านขวาจะมีขนาดไม่เท่ากัน และโดยเหตุที่ขนาดฟันห้า
เป็นลายขนาดใหญ่ การแทงลายจึงต้องสอดไส้เพื่อให้ได้ลวดลายทีส่ วยงามเด่นชัดยิ่งขึ้น ลายฟันห้าเมื่อแทงและ
แยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ไดท้ ้ังสองข้างเชน่ เดยี วกับลายฟันหน่ึงและลายฟันสาม

ลายน่องสิงห์หรือแข็งสิงห์ เป็นลายที่ประกอบส่วนที่เป็นเสาและนิยมใช้กันในทุกท้องถิ่น
ไม่แตกต่างกันลายน่องสิงห์เป็นลายที่แทงยาก กล่าว คือในการฉลุลายน่องสิงห์เป็นการฉลุเพียงครั้งเดียวแต่
เมื่อแยกออกจากกันจะได้ลายท้ังสองด้านและท้ังสองดา้ นจะต้องเทา่ กันเช่นเดยี วกับลายฟันหนึ่ง ฟันสาม และ
ฟนั ห้า แตล่ ายนอ่ งสิงห์ เป็นลายต้ังประกอบเสาดา้ นซา้ ยและดา้ นขวา

ลายหน้ากระดาน ใชเ้ ป็นส่วนประกอบของแผงสว่ นบน สว่ นกลางและสว่ นฐาน ชื่อของลายหน้า
กระดานท่ใี ช้กนั อยู่ทว่ั ไป ได้แก่ ลายรักรอ้ ย ลายกา้ มปู ลายเครอื เถา ลายดอก เป็นต้น

ลายเสา เป็นลายที่มีความสำคัญเนื่องจากการแทงกระทำได้ยาก เช่นเดียวกับลายหน้า
กระดานส่วนฐาน ออกแบบลวดลายแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ช่างแทงหยวกมักจะออกแบบลวดลายมีความ
วิจิตรพิสดาร เพราะลายเสา เป็นลายที่จะแสดงฝีมือของช่างแต่ละคนเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกวด
ประชันฝีมือกันอีกนัยหนึ่ง ลายที่มักใช้ในการแทงลายเสา ได้แก่ ลายเครือเถา เช่น มะลิเลื้อย ลายกนก ลายรูป
สตั ว์ตา่ ง ๆ เช่นปลา นก ผเี สือ้ มังกร สัตว์หมิ พานต์ ลายดอกไม้ ลายตลก ลายอกั ษร ลายสัตว์ ๑๒ ราศี

ลายกระจังหรือลายบัวคว่ำ เป็นลายที่ใช้ประกอบกับลายฟันสาม และลายฟันหนึ่ง นิยมใช้เป็น
สว่ นยอดและส่วนกลางเท่านนั้ ไม่นิยมใช้เป็นส่วนฐาน มีหลายแบบ ได้แก่ กระจงั รวน

๓๗
ในงานประเพณแี ห่ปราสาทผง้ึ บา้ นท่ากกแก นยิ มใช้ลายฟนั หน่ึง และลายฟนั สาม ซึ่งเป็นลาย ท่ี
ง่าย และเมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้าง จากนั้นก็นำไปโอบโครง
ปราสาทผงึ้ โดยใช้เสน้ ตอกในมันมดั ยึดใหต้ ิดกบั โครง
ศิลปะการแทงหยวก มีคุณค่าสูงด้านศิลปะ จิตใจ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของ
ท้องถิ่น การแทงหยวก เป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย จึงควรได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน
เผยแพร่ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมุนี จึงได้ปรึกษากับคุณลุงเก่ง คชสาร เปิดสอน
ศิลปะการแทงหยวกขึ้น ณ วัดท่ากกแก และได้รับความสนใจจากเยาวชนและคนในหมู่บ้านเข้ามาเรียนรู้วิธีการ
แทงหยวก โดยเยาวชนที่เข้ามาเรียนรู้วิธีการแทงหยวกนั้น เป็นกลุ่มที่เข้ามาร่วมกิจกรรมของทางวัดอยู่เป็น
ประจำ จากการชักชวนของผปู้ กครอง จนไดเ้ รียนรู้และซึมซบั ศลิ ปวัฒนธรรมพ้นื บ้านจนเกิดความสนใจท่ีจะเข้า
ร่วมกิจกรรมของท้องถิ่น รวมถึงเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อที่จะได้ร่วมสืบทอดต่อไป ในการเรียนรู้วิธีการแทง
หยวกของชุมชนบ้านท่ากกแก คุณลุงเก่งบอกว่า จะมาสอนจนกว่าผู้เรียนจะชำนาญ แต่ในช่วงนี้ยังอยู่ในระยะ
เริ่มแรกของการฝึก จงึ ยังทำได้เพียงลายเบ้ืองต้นเท่านั้น นอกจากนี้ หนว่ ยงานภาครฐั ก็ได้มีการส่งเสริมให้งานแทง
หยวกของบ้านท่ากกแก ได้เผยแพร่ในงานประเพณีต่างๆ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ถึง
แนวทางในการอนุรักษ์และฟืน้ ฟศู ิลปะการแทงหยวกของบา้ นท่ากกแกให้เปน็ ที่รจู้ ักแก่ชาวจงั หวัดเพชรบรู ณ์

ภาพที่ ๒๕ การฝกึ สอนศิลปะการแทงหยวกของบ้านท่ากกแก
(ถา่ ยภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทรฺ มนุ ี เมื่อ ๑๒ มถิ นุ ายน ๒๕๖๒)

๓๘

ภาพท่ี ๒๖ ผลงานการแทงหยวกเยาวชนและชาวบา้ นของบ้านท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทรฺ มนุ ี เมื่อ ๑๒ มถิ ุนายน ๒๕๖๒)
๒.๓ ไต้สังคทีป การทำไต้สังคทีปในช่วงนี้ ชาวบ้านจะมารวมกลุ่มกันบริเวณหน้าศาลาการ

เปรียญของวัด เพื่อนำกะลามะพร้าวที่ได้จากในหมู่บ้าน นำมาขัดให้เงางาม เพื่อใช้สำหรับใส่ขี้ผึ้ง โดยจะ
ผลดั เปล่ยี นหมุนเวยี นกนั มาทำให้แล้วเสร็จกอ่ นถงึ กำหนดวนั งาน ไตส้ งั คทปี ท่ีไดจ้ ะนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เข้ามา
ร่วมงานขบวนแห่ปราสาทผ้ึง ในราคาอันละ ๑๐ บาท เพื่อเป็นการหารายได้เข้าวดั อีกทางหน่ึง

ภาพที่ ๒๗ ใต้สงั คทปี ของชมุ ชนบ้านท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พลิ าเกิด เมอ่ื ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๓๙
๒.๔ ฮ้าน (ร้าน) ประทีป หรือฮ้านสังคทีป ฝ่ายชายจะรวมกลุ่มกันด้านข้างของพระอุโบสถ
เพ่ือจัดทำฮ้านสังคทีป สำหรบั วางไต้สังคทีปของผู้ท่ีมารว่ มงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของชุมชนบ้านท่ากกแก
โดยฮ้านประทีปของชาวไทหล่มบ้านท่ากกแกมี ๒ แบบ คือ ฮ้านประทีป ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นร้านไม้ไผ่
ความสูงประมาณเมตรห้าสิบเซน พื้นฮ้านปูด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ (สานขัดแตะ คือ การเอาไม้ไผ่มาตัดเป็น
ท่อนๆ แล้วนำมาผา่ เปน็ ซี่ขนาด ๒ เซนตเิ มตร แลว้ นำมดี มาเหลาข้อไม้ไผ่ออก แล้วนำมาสานสลบั กัน) ตกแต่งร้าน
ด้วยทางมะพร้าวและกาบกลว้ ยที่ได้จากการแทงหยวกและปุกระดาษสวยงาม ต้งั ไว้บริเวณด้านซ้ายของพระอุโบสถ
เพ่อื ใชส้ ำหรบั วางประทปี และขันหมากเบ็งก่อนการไปเดินขบวนแหป่ ราสาทผงึ้ แบบทสี่ อง คอื ฮ้านประทปี แบบ
ยาว จะทำไว้ด้านขวา ด้านซา้ ย และด้านหลังพระอุโบสถ เป็นร้านไม้ไผ่ความสูงประมาณ ๑ เมตร ความยาว
ตามขนาดของพระอุโบสถแต่ละด้าน พื้นฮ้านปูด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
นำประทีปของตนมาวางรอบพระอโุ บสถ

ภาพที่ ๒๘ ฮ้านสังคทีปของชุมชนบา้ นทา่ กกแก
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกิด เมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

๒.๕ หมากเบ็ง การทำหมากเบ็ง จะนิยมทำในช่วงเช้าของวันแห่ปราสาทผึ้ง ชาวบ้านจะ
รวมตัวกันที่ด้านหน้าอาคารชมรมฯ เพื่อช่วยกันทำหมากเบ็งเข้าร่วมในงาน โดยการพับใบตองให้เป็นกรวย
ซอ้ นทับกันขึ้นไป ๕ ช้ัน อนั มีความหมายถึงขันธท์ ้ัง ๕ หรือ ทท่ี างพระพุทธศาสนาเรียกวา่ เบญจขนั ธ์ การทำหมาก
เบ็งนิยมใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งทางพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ นอกจากจะทำเพื่อถวายเป็น
พุทธบูชาตามความเชื่อของชาวพุทธแล้ว ยังเป็นการทำเพื่อบูชาดวงวิญญาณของผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ตามความเชื่อในเรือ่ งผีบรรพบรุ ษุ ท่ีชาวบ้านไทหล่มไดย้ ึดถือปฏิบัติสืบตอ่ กนั มาช้านาน

๔๐

ภาพที่ ๒๙ หมากเบง็ ของชุมชนบ้านท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมือ่ ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)
๒.๖ วัสดุและของตกแต่งภายในงาน ประกอบไปด้วย ทุงหรือธง โคมแขวน หรือโคมหมาก

นัด ฉัตร ๕ ชั้น และตะเกียงน้ำมันจากขวดกระทิงแดง เป็นอีกกิจกรรมหน่ึงท่ีชุมชนให้ความสนใจเข้ารว่ ม โดย
จะมารวมตัวกนั ทีด่ ้านหนา้ ชมรมฯ เพอ่ื ชว่ ยกันจดั ทำอปุ กรณ์ตกแต่งภายในวันงาน โดยมขี นั้ ตอนดงั นี้

ทุง หรอื ตงุ คอื ผนื ผา้ ท่ีถักทอด้วยด้ายหลากสี หรือท่เี รยี กว่าทุงใยแมงมุม และทุงที่เป็นผืน
ผ้าประดับด้วยกระดาษอังกฤษฉลุเป็นลวดลาย มีความกว้าง ประมาณ ๒ คืบ ยาว ๒ เมตร เป็นฝีมือของ
ชาวบ้านในท้องถิ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองฟ้าและเมืองคน เป็นสถานท่ีที่
ผู้คนให้ความยำเกรง จึงได้ทำพิธีบูชาเพื่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เชื่อมโย งความเชื่อเรื่องผีด้ำหรือผีผู้เป็น
ใหญ่ ผีฟ้า แถน ทงุ ยงั เปน็ สัญลกั ษณบ์ อกเขตใหผ้ ู้คนรับรวู้ ่าบริเวณที่ปักทุงนั้น เปน็ สถานที่ศักด์ิสิทธ์ิเป็นสถานที่
ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ถือเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่ได้ สืบทอดส่งต่อสัญลักษณ์สิ่งนี้เพื่อให้ความเคารพบูชาและ
การแสดงออกซึ่งความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา เมื่อได้ทุงทั้งแบบถัก และแบบผืนผ้า ก็จะนำไปมันไว้ที่
ปลายของเสาไมไ้ ผ่ จากนั้นนำเสาไมไ้ ผ่ไปติดตัง้ ตามจุดท่ไี ด้กำหนดไว้ โดยการมัดติดกบั หลักไมใ้ หแ้ ข็งแรง

๔๑

ภาพที่ ๓๐ การทำทุงใยแมงมุมของชาวบา้ นและเยาวชนบา้ นท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พิลาเกดิ เมือ่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)
โคมแขวน หรือโคมหมากนัด ใช้เป็นเครื่องสักการะและใช้ส่องแสงสว่าง เป็นงาน

หัตถกรรมพ้ืนเมอื งจากภูมิปญั ญาของบรรพบรุ ษุ ที่สืบทอดตอ่ กันมาและไดถ้ ่ายทอดจากรุน่ สู่รุ่น เพือ่ ให้คงอยู่สืบ
ต่อกันมาจนถึงปัจจบุ ัน ด้วยเหตุที่การดำรงชีวิตผูกพนั กับศาสนา การสร้างผลงานทางศิลปะจึงมีแรงบันดาลใจ
จากความศรทั ธา จึงนิยมนำมาใชใ้ นงานพธิ ีกรรมตา่ งๆ ทำดว้ ยไม้ไผ่และกระดาษ สร้างเปน็ โคมทรงแปดเหล่ียม
ใชป้ ระดบั ตกแตง่ มเี ทียนและประทีปเพื่อเปน็ การสกั การบูชาพระพุทธเจา้ และเชอ่ื ว่าเป็นการบวงสรวงพระเกษ
แก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ซึ่งถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว แสงประทีปจากโคมจะช่วงส่งประกายให้การ
ดำเนนิ ชวี ติ เจริญรงุ่ เรอื งอย่เู ย็นเปน็ สขุ

๔๒

ภาพท่ี ๓๑ การทำโคมแขวนของเยาวชนบา้ นทา่ กกแก
(ถา่ ยภาพโดย นภิ า พิลาเกิด เม่ือ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)
ฉัตร ๕ ชั้น เป็นเครื่องไทยทานต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่สูงตามต้องการ นำไม้ไผ่

เหลาและทำเป็นวงกลมทำเป็นชั้น จำนวน ๕ ช้ัน มีรูปทรงคล้ายเจดีย์สูง และนำกระดาษว่าวที่ฉลลุ ายมาติด
ทขี่ อบวงกลมในแต่ละชัน้ สลบั สใี ห้สวยงาม จากนน้ั นำเสาไม้ไผ่ไปติดตัง้ ตามจุดทไ่ี ดก้ ำหนดไว้ โดยการมดั ตดิ กับ
หลกั ไม้ใหแ้ ข็งแรง

ภาพท่ี ๓๒ การทำฉัตร ๕ ชั้นของชมุ ชนบา้ นท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมื่อ ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๔๓

ตะเกียงน้ำมันจากขวดกระทิงแดง ใช้ประดับตามถนนที่เป็นเส้นทางในการแห่
ปราสาทผึง้ เพ่อื ใหแ้ สงสว่าง และใช้จดุ ประทีปในขบวน วิธีการทำ คอื นำฝากระทิงแดงมาเจาะรู แล้วใช้ได้ฟ่ัน
เป็นไสต้ ะเกยี ง น้ำมันตะเกียงใช้นำ้ มนั เบนซิน ๒ สว่ น และน้ำมนั โซล่า ๑ ส่วนผสมกนั การตดิ ต้ังจะใช้เสาไม้ไผ่
ตอกเป็นหลัก ใช้ยางในของรถมอเตอร์ไซต์ ตดั เป็นช้ินให้มลี ักษณะเป็นวงกลม แล้วนำขวดนำ้ มันไปติดตั้งที่หลัก
ไม้ไผ่

นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งในส่วนอื่นๆ อีก เช่น การติดธงวัดและธงชาติเป็นทิว
บรเิ วณงาน การตดิ กระดาษฉลลุ ายตกแต่งตามศาลา และกฏุ ิวดั เปน็ ต้น

๒.๗ ซุ้มอาหาร เป็นซุ้มที่ใช้ในสำหรับการจัดกิจกรรมตลาดพื้นบ้านไทหล่ม เป็นซุ้มขนาด
๑.๕ เมตร สูง ๖๐ เซนติเมตร วัสดุทำจากไม้ไผ่ ทำลักษณะคล้ายแคร่ ยกพื้นปูด้วยระแนงไม้ไผ่สำหรับวาง
อาหารท่จี ะนำมาขาย ในงานประเพณแี หป่ ราสาทผึง้ หลงั คามุงจาก

๒.๘ อาหารสำหรับผู้เตรียมงาน ทุกวันตั้งแต่เริ่มมีการเตรียมงาน จะมีกลุ่มแม่ครัวที่
รับผิดชอบหน้าที่ในการทำอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่มาช่วยงาน จะสลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวันอาหาร
ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพื้นบ้าน และกับข้าวจากวัดที่ได้จากการบิณฑบาต ชาวบ้านจะเตรียมอาหารให้แล้ว
เสรจ็ ก่อนเวลาฉันภตั ตาหารเพลของพระสงฆ์ เม่อื ไดย้ ินเสียงกลองเพลง สมาชิกในกลมุ่ จะนำอาหารท่ีได้เตรียม
ไว้ไปถวายพระสงฆ์ ที่ศาลาการเปรียญของวัด เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้ว ก็จะนำภัตตาหารที่
เหลือจากทนี่ ำไปถวายและที่เหลือจากการบิณฑบาต มารว่ มรับประทานกนั ต่อท่ีบริเวณด้านขา้ งโรงครัวของวัด
เมนูหลักที่ขาดไม่ได้เลยก็จะเป็นข้าวเหนียว ส้มตำ และน้ำพริก วัตถุดิบในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ได้มาจาก
ชาวบ้านช่วยกนั บริจาคสิ่งของ เชน่ ขา้ วสาร มะละกอ พรกิ หอม กระเทยี ม ผักตา่ งๆ และมะพร้าว และวตั ถดุ บิ
บางอย่างท่ีจำเป็นจะต้องซื้อ ไมว่ ่าจะเป็น นำ้ มัน นำ้ ปลา ปลารา้ นำ้ ด่ืมและอื่นๆ ไดง้ บประมาณจากชาวบ้านท่ี
ช่วยกนั บรจิ าค

ภาพที่ ๓๓ การเตรียมอาหารสำหรับผู้มาช่วยงาน
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พิลาเกดิ เมือ่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

๔๔

ภาพที่ ๓๔ การล้อมวงรบั ประทานอาหาร
(ถา่ ยภาพโดย นิภา พิลาเกดิ เมอ่ื ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๓. ลำดับพิธีการในวันงาน
การจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของบ้านท่ากกแก ไดร้ บั ความร่วมมือจากหนว่ ยงานภาครัฐ

ผนู้ ำชมุ ชน และประชาชน เข้ามามสี ่วนร่วมในการจัดงาน ดังน้ี
๓.๑ ช่วงเช้าของวันงาน ชาวบ้านจะมาช่วยกันดูแลความเรียบร้อยในงานประเพณีแห่

ปราสาทผง้ึ เชน่ จดั เก้าอส้ี ำหรบั แขกทีม่ าร่วมงาน และจัดเตรียมน้ำดื่มสำหรับผู้มาร่วมงาน เวลา ๑๑.๐๐ น. ยัง
ได้มีการต้ังโรงทานของชาวบ้านท่ากกแก อาทิ ผัดหมแี่ ดง ก๋วยเต๋ียว ส้มตำ ข้าวราดแกง ไอติม และนำ้ ดม่ื ไวส้ ำหรับ
ชาวบ้านที่มาช่วยงานและดูแลความเรียบร้อยของบริเวณงาน ในวันนี้แต่ละคุ้มบ้านจะทยอยกันมารับต้นผึ้งที่วัด
เพ่อื นำไปเตรียมความพร้อมในการเดินขบวนแห่ปราสาทผง้ึ ในเวลา ๑๘.๓๐ น.

๓.๒ การแตง่ กายเข้าร่วมงานประเพณี ทางชมรมอนรุ ักษ์ศลิ ปวัฒนธรรมไทหล่ม กลุ่มมูลมัง
บ้านท่ากกแก ได้มีรณรงค์ให้ชาวบ้านร่วมกันใส่ชุดพื้นบ้านในการเข้าร่วมกิจกรรมและงาน ประเพณีของ
ชุมชน โดยผู้หญิงจะนุ่งซิ่นหัวแดงตีนก่าน ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ผู้ชายจะนุ่ง
โสร่งคาดผา้ ขาวม้า อกี ทงั้ ยงั ถือเป็นการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผ่านการสรา้ งสรรค์ผลงานในรูปแบบของ
การทอผ้าที่แฝงไปด้วยภูมิปัญญา เทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายที่สื่อถึงความเป็นอยู่ ความเช่ือ
ขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังได้มีการถ่ายทอดอัตลักษณ์ที่สำคัญของท้องถิ่น คือ
งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ซ่งึ ถือเปน็ งานบุญอุทิศส่วนกุศลใหแ้ ก่ผู้ที่ลว่ งลับไปแล้ว และเปน็ ประเพณีท่ีชาวบ้านใน
ท้องถิ่นปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยการทอให้เกิดเป็นลวดลายปราสาทผึ้งลงบนผืนผ้าซิ่น ซึ่งถือเป็น
วฒั นธรรมทีโ่ ดดเด่นและถือเปน็ มรดกตกทอดมาส่อู นชุ นรนุ่ หลังได้สืบทอดกนั ต่อไป

๔๕

ภาพท่ี ๓๕ การแต่งกายเขา้ รว่ มงานประเพณีแห่ปราสาทผงึ้ ของกลุ่มสตรไี ทหลม่
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พิลาเกิด เมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

ภาพที่ ๓๖ การแตง่ กายเขา้ รว่ มงานประเพณีแหป่ ราสาทผง้ึ ของกลุม่ ผู้ชายไทหลม่
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พิลาเกดิ เมือ่ ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

๔๖
ปัจจุบัน ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทหล่ม กลุ่มมูลมังบ้านท่ากกแก ได้จัดให้มีการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทอผ้าให้แก่เยาวชนบ้านท่ากกแก ในเรื่องของการทอหัวซิ่น โดยได้รับความ
อนุเคราะห์จากคุณยายหนูพิน ล้วนทอง เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทหล่มให้แก่เยาวชนและผู้ที่
สนใจของบ้านท่ากกแก เพื่อต้องการที่จะให้การทอผ้าพื้นเมืองของท้องถิ่นได้มีการสืบทอดต่อไป

ภาพที่ ๓๗ การฝึกทอหวั ซน่ิ ของชุมชนบา้ นทา่ กกแก
(ถ่ายภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมนุ ี เมอื่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒)

ภาพที่ ๓๘ กลมุ่ เยาวชนและชาวบ้านทา่ กกแกทเ่ี ขา้ รว่ มการฝึกทอหวั ซ่ิน
(ถา่ ยภาพโดย พระสมุห์ไพรศาล ภทฺรมนุ ี เม่ือ ๑๔ ตลุ าคม ๒๕๖๒)

๔๗
๓.๓ พิธีเจริญพระพุทธมนต์เย็น ก่อนถึงกำหนดการเดินขบวนแห่ปราสาทผึง้ จะมีการเจริญ
พระพุทธมนต์เย็น เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์ปฏิบัติที่ปฏิบัติกันในงานมงคลต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มา
ร่วมงาน ปกติการเจริญพระพุทธมนต์เย็นจะเริ่มปฏิบัติในเวลา ๑๘.๐๐ น. แต่เพื่อ ให้การดำเนินงานเป็นไป
ตามกำหนดเวลา จงึ ไดเ้ ล่ือนเวลามาเป็น ๑๗.๓๐ น. โดยมเี จ้าอาวาสวดั ทา่ กกแก พระลกู วดั ผูท้ ำหนา้ ทด่ี า้ นศาสน
พิธี หรือมัคทายก และชาวบ้านท่ากกแกบางส่วนท่ีเขา้ ร่วมพิธี เนื่องจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านส่วนใหญ่ จะไป
ตง้ั ขบวนรอเพื่อเตรยี มความพร้อมในการเดินขบวนแห่ เม่ือเจริญพระพุทธมนเสรจ็ เรียบร้อยแลว้ เจ้าอาวาส และ
ผูเ้ ฒา่ ผู้แกท่ ่รี ว่ มพิธีเจรญิ พระพุทธมนต์เย็น จะลงมาจดุ ใตส้ ังคทีปทบ่ี ริเวณฮ้านประทีปด้านข้างฝั่งซ้ายของพระ
อุโบสถ ทรงส่เี หลยี่ มจตั ุรสั และบชู าหมากเบง็ กอ่ นเดินทางไปรว่ มขบวนแหป่ ระเพณีแห่ปราสาทผึง้
๓.๔ ขบวนแหป่ ราสาทผง้ึ ชาวบ้านจะรวมตัวกันทหี่ นา้ บา้ น นายสุนทร ท้าวเงิน ผู้ใหญ่หมู่ ๘
เพื่อตั้งขบวนรอจนถึงกำหนดการแห่ปราสาทผึ้งในเวลา ๑๘.๓๐ น. แต่ก็จะมีบางคุ้มบ้านที่จะตั้งขบวนรอ
ด้านหน้าคุ้มบ้านของตนเองเพื่อที่จะเข้าร่วมขบวนแห่ปราสาทผึ้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีต้นปราสาทผึ้งใน
ขบวนถึง ๑๗ ต้น เป็นปราสาทผึ้งของชุมชน ๙ ต้น เทศบาลตำบลตาลเด่ียว ร้านโนนทองค้าไม้ กลุ่มเจ้าพ่อ
เจ้าแม่บ้านนาซ่าว ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า กลุ่มวัดทุ่งธงไชย กลุ่มวัดโนนสว่างทางหลวง กลุ่มวัดจอมมณี
กลุ่มวัดหินโง้น และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (จังหวัดพิษณุโลก) ในขบวนแห่นั้น จะมีวงดนตรีพื้นบ้านนำ
ขบวน ประกอบด้วย เครื่องดนตรีใช้กลองปั้ง กลองหาง ฉาบ ฉิ่ง แคน และพิณ ร่วมด้วยบรรเลงแห่ไปในขบวน
โดยมีแขกผู้เกียรติ หน่วยงานราชการ พ่อค้าประชาชน ผู้เฒ่าผู้แก่ หนุ่มสาวและเด็กๆ ร่วมฟ้อนรำในขบวนกัน
อย่างสนุกสนาน ในขบวนแห่ชาวบ้านจะถือประทีปเพอื่ เป็นการส่องให้เกิดแสงสว่างในระหว่างการเดินทาง และ
เพื่อเปน็ องคป์ ระกอบท่สี วยงามในขบวนแห่

ภาพที่ ๓๙ ขบวนแห่ปราสาทผึ้งของชุมชนบ้านท่ากกแก
(ถา่ ยภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมื่อ ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)


Click to View FlipBook Version