The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

06แห่ปราสาทผึ้ง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Aom Nuttawadee, 2022-09-26 03:41:22

06แห่ปราสาทผึ้ง

06แห่ปราสาทผึ้ง

๔๘

ภาพท่ี ๔๐ วงดนตรพี น้ื บ้านนำขบวนแห่ปราสาทผ้ึงบ้านท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมอ่ื ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)
เมือ่ หัวขบวนแห่ปราสาทผึง้ เรม่ิ เขา้ ถงึ เขตวดั ทา่ กกแก จะมพี ธิ กี รกลา่ วต้อนรบั รวมถึงชาวบา้ น

ที่มาร่วมงานแต่ไม่ได้ไปร่วมขบวนแห่ ทางวัดก็ได้จัดสถานที่ไว้ให้นั่งรออยู่ภายในบริเวณวัด จากนั้น ขบวนแห่
ปราสาทผึ้งจะแห่วนรอบพระอุโบสถและสิมเก่า จำนวน ๓ รอบ เมื่อครบแล้วจะนำปราสาทผึ้งไปวางเรียงกันท่ี
ดา้ นหน้าพระอุโบสถ ส่วนไตส้ ังคทปี ท่ีชาวบ้านถือมาน้ัน ก็จะถกู นำไปวางที่ฮ้านประทปี รองๆ พระอุโบสถ แล้ว
แยกย้ายกันไปน่งั ในบริเวณทไ่ี ดจ้ ัดสถานทไี่ ว้ให้

๓.๕ พิธีเปิดงานและกิจกรรมภายในงาน เมื่อทุกอย่างพร้อมเพียงกันแล้ว ก็จะนิมนต์
พระภิกษสุ งฆเ์ ทศนาอานิสงส์ของการถวายตน้ ผึ้ง หลังจากเทศนาเรียบรอ้ ยแลว้ ตอ่ ไปก็จะเปน็ ขนั้ ตอนท่เี รยี กว่า
“สัมโมทนียกถาแห่งการถวายต้นผึ้ง” คือ การที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และ
อานิสงส์ของความดีหรือบุญกุศลที่ทายกทายิกาได้ทำการถวายตน้ ผึ้ง หรือปราสาทผึ้ง สัมโมทนียกถาเป็นเหตุ
ให้ผู้ทำบุญนั้นเกิดความแช่มชื่นเบิกบาน เกิดความอิ่มใจในผลบุญที่ตนทำและปรารถนาจะทำบุญเพิ่มพูนขึ้น
ไปอีก การกล่าวสมั โมทนียกถาเป็นธรรมเนียมของพระสงฆม์ าแตโ่ บราณ โดยกล่าวเป็นภาษาไทย ใช้เวลามาก
น้อยแล้วแต่ผู้กล่าว และปกติจะกล่าวก่อนที่จะอนุโมทนาเป็นภาษาบาลี (พระธรรมกติ ตวิ งษ์, ๒๕๔๘)

หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์สัมโมทนียกถาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มัคนายกก็นำกล่าวคำถวาย
ปราสาทผึ้ง ซงึ่ ถอื วา่ เป็นการบูชาและเปน็ การขอขมาพระรัตนตรัยเพื่อให้เกิดสิรมิ งคลแกต่ นเองและหมู่คณะ ดงั นี้

๔๙

คำถวายปราสาทผ้งึ
“อมิ านิ มะยัง ภัณเต มธปุ ุพพะปาสาทะ อภิปูชยามะ”
ข้าพเจ้าขอถวายบูชายังต้นดอกผึ้งแก่พระพุทธเจ้า พระสถูป รูปพระเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์และ
เทพยดาอันรักษาวัดวาอารามแห่งวัดท่ากกแกนี้ขอความสุขความเจริญจงบังเกิดมีแก่ฝูงข้าพระพุทธเจ้า
ท้งั หลายด้วยเทอญ (พระสมไุ พศาล ภทรฺ มณุ ี, ๒๕๕๘)
คติความเชอื่ ท่ีมีต่อประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง ท่ียงั คงความเชื่อทีส่ ืบทอดจากบรรพบุรุษมา
หลายชั่วอายุคน ซง่ึ ในงานประเพณีน้ันมีการแฝงนยั สำคัญทางดา้ นความเชื่อในเร่ืองต่างๆ ดงั นี้
ความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของกลุ่มชน ในการร่วมมือร่วมแรง ทำงาน
รว่ มกัน ด้วยใจรักในการสืบสานงานประเพณีวัฒนธรรมท้องถ่ินของชุมชนบ้านท่ากกแก และความเชื่อท่ีเก่ียวข้อง
กับหลักของพระพุทธศาสนา ที่นิยมนำเทียนไขมาร่วมทำบุญเพื่อแสงสว่างจากเทียนที่หล่อหลอมร่วมกันได้
เปรยี บเสมือนธรรมะทีจ่ ะนำทางชีวติ ของพุทธศาสนกิ ชนตอ่ ไป
หลังจากที่กล่าวคำถวายต้นผึ้งเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเป็นการเปิดงาน โดย
ประธานสภาวัฒนธรรม จงั หวดั เพชรบรู ณ์ เป็นผู้กลา่ วเปดิ งาน พรอ้ มท้ังแขกผู้มีเกยี รติมารว่ มงานกันจากหลาย
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งท่านประธานสภาวัฒนธรรมจังหวดั เพชรบูรณ์ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญใน
การฟื้นฟูประเพณีแห่ปราสาทผึ้งของบ้านท่ากกแก โดยร่วมเสนอแนวคิดในการจัดงานร่วมกับเจ้าอาวาส และ
ผู้นำชุมชน อีกทั้งยังให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์งาน รวมถึงเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนที่ท่ านได้
เข้ามาสนับสนุนการจัดงานประเพณีแหป่ ราสาทผึ้งของชุมชนบ้านทา่ กกแก หลังจากพิธีเปิดงานแล้ว ชุมชนยงั
ไดจ้ ดั ใหม้ ีกจิ กรรมต่างๆ อกี มากมาย ดังน้ี
กิจกรรมการแสดงฟ้อนกลองโบราณ การฟ้อนรำของชุมชนบ้านท่ากกแกมีมานาน ตั้งแต่สมัย
โบราณ ซึ่งจะจัดให้การฟ้อนรำเนื่องในโอกาสพิธีการงานบุญสำคัญ เพื่อเป็นการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
การฟอ้ นจะตั้งขบวนเป็นแถวและฟ้อนรำตามเสียงจังหวะกลองปั้ง พร้อมกับเครื่องดนตรีท่ีร่วมบรรเลง กลอง
หาง ฉาบ ฉงิ่ แคน และพณิ แตเ่ ดมิ นน้ั การฟ้อนไมม่ ีแบบแผนอะไรมากมาย โดยการนำลกู หลานทั้งชายและหญิง
มาแต่งกายแบบพื้นบ้าน ไทหล่มผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นมีหัวมีตีนแบบโบราณ ผู้ชายนุ่งกางเกงบ้าง นุ่งโสร่งบ้าง
ผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ ต่อมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้มีผู้ที่ชำนาญในการฟ้อนรำชาวผู้ไท
จากจังหวัดกาฬสินธุ์มาช่วยฝึกสอนให้ลูกหลานบ้านท่ากกแก จึงสามารถฟ้อนรำจังหวะแบบภูไทตั้งแต่บัดนั้น
เป็นต้นมา เรียกได้ว่าหนุ่มสาวบ้านท่ากกแกเมื่อสมัยยี่สิบกว่าปีก่อนนั้น มีความสามารถในการฟ้อนรำ เกือบทั้ง
หมู่บ้านทีเดียว ซึ่งปัจจุบันน้ีทางวัดพยายามรกั ษาประเพณกี ารฟ้อนรำเพ่ือตอ้ นรับคณะกฐินผ้าป่า เมื่อมีบุคคล
สำคัญมาเยี่ยมเยือน จึงมีการฟ้อนรำต้อนรับคณะศรัทธาเป็นประจำ การแสดงฟ้อนกลองโบราณได้มีการ
รวมกล่มุ การฝกึ ซ้อมดนตรีและการฟ้อนรำเป็นประจำ ใชร้ ะยะเวลาในการฝึกประมาณ ๑ เดือน กล่มุ นกั ดนตรี และ
กลุ่มฟ้อนรำมีทั้งเยาวชนและกลุ่มหนุ่มสาว ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดงชุดนี้ ส่วนใหญ่เกิดจาก
ความชอบในการเล่นดนตรีและการฟ้อนรำ นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มที่เพื่อนถูกชักชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมเช่นกัน
โดยจะมกี ารรวมตัวฝึกซอ้ มกันที่วดั ในช่วงเย็นทุกวนั จนถงึ วันงาน

๕๐

ภาพที่ ๔๑ การแสดงฟอ้ นกลองโบราณของชมุ ชนบา้ นท่ากกแก
(ถ่ายภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

กิจกรรมการเดินแฟชัน่ โชว์ เป็นการเดินโชว์เคร่ืองแต่งกายของวัฒนธรรมไทหล่มแต่ละยุคสมัย
ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งในงานมีการเดินโชว์เครื่องแต่งกายทั้งชาย
และหญิง รวมถึงการแต่งกายในโอกาสต่างๆ ซงึ่ มกี ารอธบิ ายเคร่อื งแตง่ กายทั้งชายและหญงิ ดังนี้

การแต่งกายของสตรีไทหล่มแต่เดิมน้ันนิยมนุ่งผ้าซ่ิน ที่ทำด้วยไหมหรือฝ้าย ถ้าเป็นสตรีสูงศักดิ์ก็
มกี ารเพิม่ ความสวยงามมากข้ึน เชน่ ผา้ ซ่นิ ไหมตีนเงิน ผ้าซ่นิ ไหมตีนคำ และอาจจะมผี ้าซิ่นที่รบั มาจากถิ่นอื่น เช่น
ผ้าซิ่นยวน (ภาคเหนือ) ผ้าแพรจีน ผ้ายกดอกของภาคกลาง บางครั้งหญิงสูงศักดิ์หรือภริยาคหบดีบางท่านก็นิยม
นงุ่ โจงกระเบนแบบสตรีภาคกลาง การแต่งกายโบราณแท้ไม่มีการนุ่งเส้ือ เพยี งแต่มผี า้ ห่ออกและสไบพาดเฉวียงบ่า
เท่านนั้ ต่อมาจงึ มีการตัดเส้ือแขนกระบอกผ่าอก เสอ้ื แขนส้ันทที่ ำจากฝ้ายหรือไหม และเสื้อคอกระเช้า ไทหล่ม
เรียกว่า “เส้ือหมากกะแหล่ง” เย็บตะเข็บดว้ ยดา้ ยสแี ดง หรือเยบ็ ห้าตะเข็บก็มีแลว้ แต่ความนิยม ส่วนมากเป็น
เสอ้ื สขี าวฝา้ ยด้ายดบิ หรอื ยอ้ มสดี ้วยมะเกลือ คราม ติดกระดุมเงนิ เม็ดถีๆ่

การแต่งกายของผู้ชายไทหล่ม ผชู้ ายไทหล่มไม่วา่ จะฐานะอะไรแต่เดิมน้นั เม่ืออยู่กับบ้านก็นุ่ง
ผ้าขาวม้าธรรมดา นุ่งโสร่ง หรือนุ่งกางเกงขาก๊วย สีขาว สีเทา และสีดำ ไทหล่มเรียกว่า “ส้งหัวโหล่ง” แบบ
สบายๆ เมื่อมีกิจธุระจึงนุ่งเสอื้ ที่ทำดว้ ยผ้าฝ้ายแขนยาวหรือสัน้ ผา่ อก กระดมุ เงิน หรอื ใช้ผ้าตัดเป็นเส้นสำหรับ
ผกู ติดกนั เสื้อยอ้ มเปน็ สีดำมะเกลอื สคี ราม

ชายไทหล่ม ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวลาว นิยมสักลายขา มีอยู่ด้วยกัน ๒ แบบ คือ
แบบที่เรยี กว่า ลาวพุงขาว และลาวพุงดำ ส่วนใหญช่ ายไทหล่มนิยมสักแคส่ ว่ นขาท่อนบน หรอื ที่เรียกว่าลาวพุง
ขาว การสักนอกจากจะใช้เป็นเครื่องรางของคลังแล้ว ค่านิยมการสักก็เพื่อแสดงถึงความเป็นชายชาตรี ความ
อดทนแข็งแรง และความกล้าหาญ และเพื่อโอ้อวดผู้สาว ซึ่งเป็นค่านิยมของผู้ชายชาวลุ่มน้ำโขงไทลาว
โดยทั่วไป ในสมัยนั้น สมกับคำผญาโบราณว่า “ขาขาวมานั่งใกล้เหม็นคาวฮากสิออก ขาลายมาย่างผ้ายเหลียว
แล้ว กะเหล่าเหลยี ว” (พระสมุไพศาล ภทรฺ มุณี, ๒๕๖๒: สมั ภาษณ)์

๕๑

ภาพท่ี ๔๒ การแสดงแฟชนั่ โชว์ชุดไทหลม่
(ถา่ ยภาพโดย นิภา พลิ าเกดิ เม่ือ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)
กิจกรรมจำลองวิถีชีวิตของไทหล่ม ผู้สาวเข็นฝ้าย ผู้บ่าวเป่าแคน เนื่องจากวิถีการดำเนนิ

ชีวิตของผู้หญิงไทหลม่ หลังจากว่างเว้นการทำงานในไร่ในสวน นิยมทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิต ประจำวัน การทอผ้าของ
สตรีไทหล่มได้มีการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้าส่วนใหญ่จะผลิตจากไหม ฝ้าย และไหม
แกมฝ้าย ชาวบ้านจะนิยมปลูกฝ้ายในที่ดินบริเวณใกล้บ้าน หรือบริเวณที่เป็นเนินสูง ดังนั้น ก่อนการทอผ้า
จะต้องเข็นฝ้ายเพื่อนำเส้นดา้ ยไปเป็นวตั ถุดิบในการทอผ้า หรือที่เรียกว่า ตำหูก โดยมีความเชื่อว่าหากลูกสาว
บ้านไหนทอผ้าไม่เป็นก็จะไม่ได้ออกเรือน และการทอผ้าสมัยก่อน นิยมทอกันใต้ถุนบ้าน ผู้บ่าวสมัยก่อน
ต้องการจะจีบลูกสาวบ้านไหนก็นิยมที่จะเป่าแคนไป เพื่อเป็นการบอกให้ผู้ใหญ่รับทราบว่าจะมาจีบลูกสาวท่ี
บ้าน

๕๒

ภาพท่ี ๔๓ กิจกรรมการสาธติ วถิ ชี วี ติ ไทยหล่ม “ผู้สาวเขน็ ฝ้าย ผู้บา่ วเปา่ แคน”
(ถ่ายภาพโดย นภิ า พลิ าเกิด เม่ือ ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)
กิจกรรมการแสดงเส็งกลองหาง จากลูกหลานพ่อไสว บ้านขวัญโยน เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ไท

หล่มในเทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง การเส็งกลองหางเกิดขึ้นเมื่อใดไม่มีใครทราบ เพราะ
แต่เดมิ แท้กลองเส็งโบราณจะตีกลองคู่หรือกลองก่ิงเป็นกลองสองหนา้ สำหรับกลองหางนั้น แต่เดิมมีไว้สำหรับ
แห่กองบุญกองทานต่างๆ ในอดีตการละเล่นเส็งกลอง เป็นการละเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
และความสามคั คีกลมเกลียวกันในหมู่คณะ เสียงของกลองที่ตีออกมาก่อให้เกิดความเรา้ ใจ อีกทั้งยังบง่ บอกถึง
ความสามารถ และภูมิปัญญาในการทำกลอง ดังนั้น ยามว่างเจ้าของกลองคงคิดอยากประลองเสียงกัน จึงตี
กลองเพื่อประชันขันแข่งกันข้ึน ลักษณะการตีจะตีเป็นยกๆ สลบั กนั ไปมา กรรมการก็จะตัดสินจากเสียงกลองว่า
ลูกไหนดังดแี ละไพเราะกว่าก็เป็นผชู้ นะ

๕๓

ภาพท่ี ๔๔ การประชันเส็งกลองหาง
(ถา่ ยภาพโดย นภิ า พิลาเกิด เม่ือ ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒)

ตลาดพื้นบ้านไทหล่ม วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร วัฒนธรรมการกินแบบไทหล่มนั้น
นิยมรับประทานข้าวเหนียวมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ต่อมาจึงรับประทานข้าวเจ้าบ้าง การรับประทานนั้น นิยม
นำใส่ภาชนะทเี่ รยี กว่า “พาข้าวหยอ่ ง” มลี กั ษณะคล้ายขนั โตกแตท่ ำด้วยหวาย การรับประทาน คือ การน่ังล้อมวง
ลงกบั พน้ื และนยิ มให้บุรุษทานก่อนและสมัยโบราณจะต้องไดย้ ินเสยี งพระตีกลองหรือรอเวลาให้พระฉันจังหันหรือ
เพลแล้ว ชาวบ้านจึงจะรับประทานอาหาร เป็นธรรมเนียมเมื่อเก่าก่อน ปัจจุบันค่านิยมเหล่านี้ได้เลิกไปแล้ว
สำหรับพาข้าวหย่องนั้นในปัจจุบันนิยมใช้เป็นภาชนะอาหารถวายแก่พระสงฆ์ชาวบ้านทั่วไปจึงไม่นิยมใช้พาข้าว
หย่องในการรบั ประทานอาหารในชีวิตประจำวนั ทเี่ ปลีย่ นแปลงไป

ภายในงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมีการออกร้านอาหารพื้นบ้านไทหล่มที่มีความ หลากหลาย
ถือเป็นเอกลักษณ์ของไทหล่มที่บรรพบุรุษได้ส่งต่อสืบทอดกันมาแต่โบราณให้ท่านทั้งหลายได้ลิ้มลองกันภายใน
งาน ยกตวั อยา่ งเช่น

ขี้ปู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ขี้ปูมีลักษณะคล้าย “น้ำปู๋” ของภาคเหนือ บางครั้งก็
เรียกกันว่า กะปิปู เพราะมีลักษณะคล้ายกะปิ ขี้ปูไทหล่มน้ันทำมาจากการนำเอาตัวปูทั้งตัวปริมาณมาก
พอสมควรนำมาตำให้ละเอียด กรองเอาเฉพาะน้ำที่ได้จากการตำนั้น ตำกระเทียมผสมลงไป แล้วนำมาเคี่ยว
จนกว่าน้ำนั้นงวดเต็มที่จึงนำมารับประทานและเก็บไว้ได้นานหลายเดือน และนิยมนำมาประกอบอาหารได้
หลายอย่าง เช่น ใส่ส้มตำ (ตำส้มขี้ปู) ใส่น้ำพริก (แจ่วขี้ปู) จิ้มกินกับหน่อไม้ จิ้มกินกับมะขามอ่อน หรือผลไม้
อนื่ ๆ

๕๔

หน่อไม้ ด้วยภูมิประเทศของเมืองหล่มนั้นมีภูเขาอยู่รอบ หน่อไม้จึงเป็นอาหาร อีกประเภท
หนึ่งที่ไทหล่มชื่นชอบและขาดไม่ได้ในเมนูอาหาร หน่อไม้นำมาทำเป็นอาหารได้หลายประเภท เช่น หน่อไม้ท่ีไท
หล่มเรียกว่า “ไม้ซาง” นำมาต้มกินกับน้ำพริก แกงใส่ใบย่านาง หน่อไม้ประเภทหนอ่ ไม้รวก นิยมนำมาทำเปน็
หนอ่ ไมด้ อง ไทหล่มเรยี กวา่ หนอ่ ไม้ส้ม เมนูประเภทหน่อไม้นน้ั ได้แก่ ซุปหน่อไม้ ลาบหนอ่ ไม้ หมกหน่อไม้ ค่ัว
หนอ่ ไม้ แกงหนอ่ ไม้ อดู ลูดหนอ่ ไม้ ฯลฯ

สม้ ตำ ภาษาไทหลม่ เรยี กว่า “ตำสม้ ” เปน็ อาหารยอดนิยมของไทหล่ม เพราะเปน็ อาหารที่กิน
มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตำส้มที่นิยมมากที่สุดคือ ตำบักหุ่ง หรือมะละกอ ความจริงแล้ว คำว่า “มะละกอ” มา
จากคำว่า “เกาะมะละกา” แสดงว่าเราพึ่งรับเอาเข้ามาเมื่อประมาณสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง แสดงให้
เห็นว่าแต่เดิม ตำส้มนั้น มิใช่ตำมะละกออย่างที่เรารู้จักกันในปจั จุบัน แต่เดิมนั้นตำส้มเป็นการตำผลไม้อย่าง
อื่น เช่น ตำมะยม ตำขนุน ตำลูกยอ ตำมะม่วง ตำกล้วยฯลฯ ซ่ึงไทหล่มก็ยังนิยมกินกันเป็นอาหารหลักและ
เป็นอาหารว่างกันมานาน ทีสำคัญตำส้มฉบับไทหล่มต้องใสป่ ลาร้า จงึ จะเป็นตำสม้ แบบไทหล่มแทๆ้

ขนมจีน เรียกตามภาษาไทหล่มว่า “เข้าหนมเส้น” เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหาร
มอญโบราณ คนมอญเรียกอาหารชนิดนว้ี ่า “ขะนอมจิน้ ” คนไทยและคนลาวก็รับวัฒนธรรมการกินขนมจีน สืบ
ต่อมาดัดแปลงตามรสนิยมของตนเอง ขนมเส้นไทหล่มนั้นมีลักษณะพิเศษ คือ เส้นเล็ก และมีความเหนียวนุ่มกว่า
ขนมจนี ทวั่ ๆ ไป เป็นท่เี ร่ืองช่อื ลือชา คอื ขนมเส้นหลม่ เกา่ โบราณนยิ มทานขนมเส้นในงานมงคล เช่น งานบวช
การแตง่ งาน งานขึน้ บา้ นใหม่ เพราะถอื วา่ เสน้ ขนมจีนนัน้ หมายถงึ ความมอี ายยุ ืนนนั่ เอง

ลาบ อาหารประเภทลาบนั้น ก็เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่นิยมรับประทานกันอยู่หลาย
ภูมิภาค แต่ลาบไทหล่มนั้นมีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ เหมือนลาบเมืองเหนือกรายๆ ไม่ค่อยเหมือน ลาบ
อีสานสักเท่าไหร่ เพราะนิยมใส่เครื่องปรุงมากเป็นพิเศษเรียกว่าแทบจะใส่ทุกอย่างเลยทีเดียว ไม่ว่าตะไคร้ ใบ
มะกรูด ข่า หมากแค่น ใส่มากจนกลิ่นแทบฉุนสำหรับคนไม่เคยทาน แต่เดิมนั้นลาบไทหล่มนิยมกินลาบดิบล้วนๆ
ใส่เลือดด้วยก็มีไม่ว่าจะเป็นลาบวัว ลาบควาย ลาบหมู ลาบไก่ ปัจจุบันนิยมลาบสุกกัน เนื่องจากมีการเตือน
จากสาธารณสขุ หรือเหน็ ตามข่าวอยู่บ่อยคร้งั วา่ การกินลาบดิบอาจทำให้เป็นโรคได้หลายอย่าง แต่ก็ยังมีบาง
คนที่ยังนิยมกินลาบดิบอยู่ คำว่าลาบนั้น ไม่ใช่จะลาบได้เฉพาะเนื้อสัตว์เท่านั้น ไทหล่มยังนิยม ลาบพืชผัก
อาทิเช่น ลาบหน่อไม้ ลาบหมากเขือ ลาบเทา (ตะไคร่น้ำ) ฯลฯ คำว่าลาบยังพ้องกับคำว่า “โชคลาภ” จึงทำให้
อาหารชนดิ น้ีนยิ มรับประทานในงานมงคลตา่ งๆ อกี ด้วย

ซปุ คำว่า ซปุ ในทีน่ ี้เปน็ อาหารพ้ืนบ้านไทหล่มอยา่ งหน่งึ มีลักษณะคล้ายลาบ โดยการนำผกั ที่
เราชอบ พืชผักที่นิยมนำมาซุปนั้น ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ ใบมะม่วง หมากแปบ หัวทูน ขนุน เหล่านี้นำมาน่ึง
กอ่ น และนำมาผสมดว้ ยเครอ่ื งปรงุ มีนำ้ ปลาร้า งา ข้าวคว่ั พริกป่น มะพรา้ วฝอย ไข่ไก่ หอยขม คลกุ เคล้าใหเ้ ข้า
กนั ดแี ล้วนำมารับประทาน เปน็ อาหารสมนุ ไพรชัน้ เลิศ

แกง เป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของไทหล่ม อาหารประเภทแกงของไทหล่มดั้งเดิมนั้นไม่นิยม
ใส่กะทิ ดังน้ัน จงึ เปน็ แกงชนิดท่ีเรยี กว่าแกงป่าเสียเปน็ สว่ นใหญ่ เม่อื พูดถงึ แกงปา่ ต้องหนีไม่พ้นเคร่ืองแกงที่เผ็ด
ร้อน รสชาติเข้มข้น ยิ่งใส่เนื้อสัตว์ลงไปให้เข้ากับน้ำแกง ยิ่งจะทำให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น นิยมปรุงรสด้วย

๕๕

น้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำจากใบย่านาง ข้ีปู หรือน้ำผักกะทอน เช่น แกงผักหวานใส่ไข่มดแดงซ่ึงไทหล่มเรียกว่า
ไขม่ ดส้ม แกงออ่ มเนอ้ื ววั เน้ือไก่ เนื้อหมู เนอื้ ปลา หรือแม้กระทง่ั กบและเขียด

ไส้กรอกไทหล่ม เป็นอาหารชนิดปิ้งยา่ งทีเ่ ป็นเอกลกั ษณ์อย่างหนึ่งของไทหล่มทำจากเนื้อหมู
และไส้หมู มีความคล้ายคลึงกับ ไส้อั่วของภาคเหนือ แตกต่างที่ไส้กรอกของไทหล่ม ไม่นิยมใส่ขมิ้น มี
เครือ่ งปรงุ ดงั น้ี เนื้อหมูสับละเอยี ด กระเทียม พริกสด ตะไคร้ ขมน้ิ เกลอื และพรกิ แกง

ถั่วแต้หรือถั่วเน่า ทำมาจากถั่วเหลืองโดยผ่านการต้มจนสุกแล้วนำมาหมักด้วยจุลินทรีย์ใน
ธรรมชาติจนมีกลิ่น สี รส และลักษณะเฉพาะตัว กรรมวิธีการหมักถั่วเน่านั้น เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการ
ถา่ ยทอดมาจากบรรพบุรุษจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง อาจมกี ารปรับเปลย่ี นทั้งรสชาติและกรรมวธิ ใี ห้เหมาะสมกับ
ยุคสมัย การทำถั่วเน่าของแต่ละท้องถิ่นจะมีกรรมวิธีการทำถั่วเน่าแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยทั่วไปชาวบ้านจะ
นยิ มทำถว่ั เน่าอยู่ ๒ ชนดิ ได้แก่ ถ่ัวเนา่ แบบเปยี กและถวั่ เนา่ แบบแห้ง

วิธีการทำถั่วเน่า เริ่มแรกเลือกซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่มีคุณภาพ นำมาคัดแยกเมล็ดที่เสียออก
แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้ ๑ คนื เพอื่ ให้ถ่ัวน่ิม จากน้ัน นำถ่วั เหลืองมาซาวน้ำท้ิงไว้ให้พอหมาดๆ
ต้มในน้ำเดือดนาน ๔ - ๖ ชว่ั โมง หรือ ๑ วัน จนกวา่ ถ่วั จะเปื่อย นำไปใสใ่ นกระบุง ตะกร้า หรือเข่ง ท่ีรองและ
ปิดทบั ด้วยใบตองตงึ หาฝาหมอ้ หรือไมท้ ห่ี นกั ๆ มาทับอกี ช้ัน หมกั ใหถ้ ่วั อบและร้อนโดยท้ิงไว้ ๒ คืน หรืออาจ
นำไปตาก ส่วนใหญ่นิยมหมักถั่วเน่า ประมาณ ๒-๓ วัน จะได้ถั่วที่เริ่มเปื่อยยุ่ยและส่งกลิ่นเล็กน้อย ไทหล่ม
นยิ มนำถว่ั เน่ามาหมกแอบ เพอื่ รับประทานเป็นอาหาร ไมน่ ยิ มนำมาใสแ่ กงเหมอื นทางภาคเหนือ

น้ำผักกะทอน เป็นน้ำที่ได้จากการต้มใบหรือเปลือกของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ผักกะทอน”
นำใบหรือเปลือกมาต้มจนได้น้ำทเ่ี ข้มข้น สำหรบั เกบ็ ไวร้ บั ประกอบอาหาร เช่น ทำน้ำแจว่ ผกั กะทอน ใส่ส้มตำ ทำ
เปน็ น้ำจมิ้ ทานกบั มะมว่ งดิบ

เม่อื มหรสพรื่นเริงต่างๆ ภายในงานได้เสร็จส้นิ ลง ชาวบา้ นกจ็ ะทยอยกันกลับบา้ น เพ่อื เตรียมตัว
ร่วมพธิ ีทอดกฐนิ ของวดั ในวนั รุ่งขน้ึ

๓.๖ วันทอดกฐินและปราสาทผึ้ง รุ่งเช้าวันถัดมาชาวบ้านท่ากกแกจัดให้มีพิธีทอดกฐินและ
ปราสาทผึ้งพร้อมกัน การทอดกฐิน ตามความหมายของพระไตรปิฎก ได้อธิบายความหมายของคำว่ากฐิน โดย
สรุปไว้ ๔ ประการ คือ ข้อแรกเป็นช่ือของกรอบไม้อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ข้อสอง เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่
พระภิกษุสงฆ์ เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น ข้อสาม เป็นชื่อของบุญกิริยาในการถวายผ้ากฐินเพื่อให้
พระสงฆ์ทำจีวร หรือ ข้อสี่ เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความ
เห็นชอบจากท่ปี ระชุมสงฆใ์ นการมอบผ้ากฐนิ ให้แก่ภกิ ษรุ ปู ใดรูปหนงึ่

นอกจาน้ี คำว่ากฐนิ ในอีกความหมายหนงึ่ แปลว่า สุก หมายความวา่ ผ้ทู จ่ี ะรับกฐนิ ได้ต้องบ่ม
ตัวให้สุขเสียก่อน คือการที่พระสงฆ์จะต้องไม่หนีไปค้างคืนวันอื่นเลยตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เว้นแต่มีกิจจำเป็น
ตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าอนุญาติไว้ เพราะฉะนั้น คำว่า กฐิน จึงได้แปลว่า สุข เพราะผู้ที่เข้าจำพรรษา
ตลอดไตรมาสเท่านั้นที่จะรับกฐินได้ โดยมีความเชื่อว่าพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบด้วยปริยวัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ตามสมควรแก่สติปัญญาและวาสนาบารมีของตน จึงสมควรรับกฐินได้ (สมทรง ปญุ ญฤทธ์,ิ ๒๕๒๕)

๕๖

การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว
ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้
เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินยั แล้วทอดถวายให้เสร็จในวนั นัน้ และ มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวาร
เครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณะของ
เก่าบ้าง ปัจจุบันนยิ มเรยี กกนั วา่ กฐนิ สามัคคี

การทอดกฐินของบ้านท่ากกแก เป็นแบบกฐินสามัคคี โดยมีการนำผ้ากฐินทานกับเครื่อง
บริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดพร้อมกับปราสาทผ้ึง พอถึงวนั กำหนดเจา้ ภาพผู้เป็นเจา้ ของกฐนิ จึงพากันไปยังวัด
เพื่อทำพิธีถวาย การถวายกฐินนิยมถวายในโบสถ์ กอ่ นจะถงึ กำหนดเวลาจะเอาเคร่ืองบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ใน
โบสถ์ก่อน พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนะที่จัดไว้ เจ้าภาพกฐิน
พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน
ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมอื ถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐนิ ไปวางบนพานท่จี ัดไว้
หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะทต่ี ามมาเข้านั่งท่ี ประธานจุดธูปเทียนบชู าพระรตั นตรัย แลว้
กราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามคร้ัง แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้ว
พระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกราน
กฐนิ ของพระสงฆ์

คำกล่าวถวายกฐิน
อมิ ัง ภนั เต, สะปะริวารงั , กะฐนิ ะจวี ะระทุสสงั , สังฆสั สะ,

โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภณั เต, สังโฆ, อิมงั สะปะรวิ ารงั ,
กะฐนิ ะจีวะระทุสสัง, ปะฏคิ คัณหาตุ, ปะฏคิ คะเหตวา จะ,
อิมินา, ทุสเสนะ, กะฐนิ งั , อตั ถะระต,ุ อมั หากัง,
ทีฆะรตั ตงั , หิตายะ, สขุ ายะ,
นพิ พานะ ปัจจะโย โหตุ
ขา้ แต่พระสงฆผ์ ู้เจริญ ข้าพเจ้าทงั้ หลาย ขอน้อมถวายผ้าจวี รกฐิน กบั ของบรวิ ารนี้แก่พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพ่ือ
ประโยชน์ และความสุขแกข่ า้ พเจ้าท้ังหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ
เจา้ ภาพกฐินถวาย “ผ้ากฐนิ ” แก่พระภกิ ษุ โดยนำถวายตง้ั ไว้พระภิกษุสงฆ์จะนำไปกระทำพิธี
“อุปโลกน์กฐินและกรานกฐิน” อันเป็น “สังฆกรรม” ถูกตอ้ งตามพระธรรมวินยั ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เม่ือพระภกิ ษุสงฆเ์ สร็จพธิ ใี นการกรานกฐนิ เรยี บรอ้ ยแลว้ คณะจึงถวายผา้ จำนำพรรษา และ
พระภิกษุสงฆ์จะถอนจวี รเกา่ และพนิ ทุอธษิ ฐานผา้ พร้อมกนั พร้อมทั้งนมิ นต์พระภิกษุสงฆ์ครองผา้ จีวรใหม่ทนั ที
เพอ่ื เจ้าภาพจะได้อานสิ งสใ์ นทนั ที

๕๗

จากนั้น พระภิกษุสงฆ์ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถ พร้อมมาลาพุทธบูชา เมื่อพระภิกษุสงฆ์
ครองผ้าจีวรเรียบร้อยแล้ว ได้ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถพร้อมมาลาพุทธบูชา ๓ รอบ แล้วนำมาลา
สักการบูชาคุณพระรัตนตรัย ภายในพระอุโบสถ จากนั้นก็ถวายเครื่องบริวารกฐินทั้งหมดแด่พระภกิ ษุสงฆ์ ต่อ
ด้วยการแสดงธรรมของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อจบการแสดงธรรมเทศนาแล้ว คณะเจ้าภาพกฐิน รับด้วย สาธุ สาธุ
สาธุ อนุโมทามิ พร้อมกราบสักการะพระภกิ ษุสงฆ์พร้อมกัน

จากนั้นกราบบูชาพระรัตนตรัยอีกครั้ง แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล ตั้งนโม ๓ จบ กราบลา
พระสงฆ์ เป็นอนั เสร็จพธิ ี

นอกจากนี้ ชาวบ้านท่ากกแกยังได้มีการประชาสัมพันธ์งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง โดยการนำ
วิธีการประดบั ตกแต่งตน้ ผึ้ง การจัดขบวนแห่ต้นผง้ึ การแทงหยวกของชมุ ชนบ้านท่ากกแก และการแต่งกายของ
ไทหลม่ ซ่ึงกล่าวไดว้ า่ เป็นเอกลักษณ์ทสี่ ามารถบ่งบอกถึงความเป็นกลมุ่ ชาติพันธุ์ลาว เข้าร่วมในงานประเพณีต่างๆ
ภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ และนำผ้าทอพื้นบ้านของชุมชนบ้านท่ากกแกออกจัดแสดงรวมถึงจัดจำหนา่ ยในงาน
ประจำอำเภอ และประจำจังหวัด เช่น งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ งานวัฒนธรรม ไทหล่ม ขนมเส้นหล่มเก่า
งานเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง งานกาชาดมะขามหวาน นครบาลเพชรบูรณ์ งานสภากาแฟ ณ
หอวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์ และงานเฉลิมพระเกียรติ ๕ ธันวามหาราช ใต้ร่มพระบารมี ๖๓๔ ปีเมืองเพ
ชบุระ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้งานประเพณีแห่ปราสาทผ้งึ ของบ้านกกแก เปน็ ท่รี ูจ้ กั ของคนในจงั หวดั เพชรบรู ณ์

กระบวนการฟื้นฟู “แห่ปราสาทผึ้ง” บ้านท่ากกแก ในแต่ละยุคมีรูปแบบและขั้นตอนในการ
ดำเนินงานที่แตกต่างกัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและสร้างความเข้าใจได้อย่างชัดเจน ผู้วิจัยจึงสรุปขั้นตอน
การดำเนนิ งานในรูปแบบตาราง เพ่อื เปรียบเทยี บการดำเนนิ งานในแตล่ ะยุค ดังนี้

ตารางที่ ๑ การเปรียบเทยี บงานประเพณแี หป่ ราสาทผง้ึ ในแตล่ ะชว่ ง

ข้นั ตอน ชว่ งกอ่ นปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ชว่ งแหง่ การฟน้ื ฟู การเข้ามามีส่วนรว่ ม
กำหนดจัดงาน (พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๖) ของหนว่ ยงานภาครัฐ
(พ.ศ. ๒๕๕๗ – ปัจจุบัน)
สถานท่ีจัดทำ วนั ออกพรรษา ข้ึน ๑๕ ค่ำเดอื น จดั พรอ้ มงานทอดกฐนิ ระหวา่ ง จดั พรอ้ มงานทอดกฐิน ระหว่าง
ปราสาทผ้ึง เดอื น ๑๑ จนถงึ เดือน ๑๒
วัสดอุ ปุ กรณ์ ๑๑ เดอื น ๑๑ จนถึง เดอื น ๑๒ ของทกุ ปี
วัดทา่ กกแก
งบประมาณใน ของทุกปี
การจัดงาน
บา้ นเจ้าภาพ วดั ท่ากกแก

ได้จากการจัดหาจากป่าใน ไดจ้ ากการจัดหาจากป่าใน ได้จากการจัดหาจากป่าใน
หมู่บา้ น และชาวบ้านชว่ ยกนั
บริจาค หมู่บ้าน เพือ่ นชาวบา้ นกนั หมู่บ้าน เพอ่ื นชาวบา้ นกนั

เจา้ ภาพและเงนิ ทำบญุ จาก บริจาค และจดั ซอ้ื จากร้านคา้ ใน บรจิ าค และจัดซอ้ื จากรา้ นคา้ ใน
เพอื่ นบา้ น
ตลาด ตลาด

เงินเรี่ยไรจากชาวบา้ น เงนิ เร่ยี ไรจากชาวบ้าน และ

งบประมาณสนับสนนุ จาก

เทศบาลตำบลตาลเด่ียว

๕๐,๐๐๐ บาท

๕๘

ขน้ั ตอน ชว่ งก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ช่วงแหง่ การฟ้นื ฟู การเขา้ มามสี ว่ นร่วม
(พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๖) ของหนว่ ยงานภาครฐั
(พ.ศ. ๒๕๕๗ – ปัจจบุ ัน)

การจัดทำต้นผึ้ง เจ้าภาพและเพ่อื นบ้านใน เรม่ิ แรกมเี พยี งกลมุ่ ผเู้ ฒา่ ผแู้ ก่ กล่มุ ผเู้ ฒา่ ผู้แก่ ผู้นำชมุ ชน

และสงิ่ ของทใ่ี ช้ ละแวกเดยี วกนั ระยะหลงั ได้รับความร่วมมอื ชาวบา้ น และเยาวชน

ในงาน จากผนู้ ำชมุ ชน ชาวบา้ นและ ผลัดเปลย่ี นกันมาช่วยงาน และ

เยาวชน บางกลุ่มผลดั เปล่ียนกนั ไดร้ บั ความร่วมมอื จากเทศบาล

มาช่วยงาน ตำบลตาลเดยี่ วจดั สถานทใ่ี นวัน

งาน

รปู แบบงาน ทำปราสาทผ้งึ และทอดใหแ้ ลว้ งานแบง่ ออกเป็น ๓ สว่ น ดงั น้ี งานแบง่ ออกเป็น ๓ สว่ น ดงั น้ี

เสร็จภายในวนั เดยี ว 1. จัดทำต้นปราสาทผึ้งไว้ ต้อง 1. จัดทำต้นปราสาทผ้ึงไว้ ตอ้ ง

ทำใหเ้ สรจ็ กอ่ นถงึ วันงาน ทำใหเ้ สรจ็ ก่อนถงึ วันงาน

2. วนั แหต่ ้นปราสาทผง้ึ ไปถวาย 2. วนั แห่ตน้ ปราสาทผึง้ ไปถวาย

ทวี่ ัด ท่ีวัด

3. ช่วงเชา้ ของวดั ถัดมานำตน้ 3. ช่วงเช้าของวดั ถดั มานำต้น

ปราสาทผึ้งมาทอดพรอ้ มกนั กับ ปราสาทผึ้งมาทอดพร้อมกนั กับ

งานทอดกฐนิ งานทอดกฐนิ

ตารางท่ี ๑ การเปรียบเทยี บงานประเพณแี หป่ ราสาทผ้งึ ในแตล่ ะชว่ ง (ตอ่ )

ขั้นตอน ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ช่วงแหง่ การฟืน้ ฟู การเขา้ มามีส่วนร่วม
(พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๖) ของหน่วยงานภาครฐั
(พ.ศ. ๒๕๕๗ – ปจั จบุ ัน)

กจิ กรรมวนั งาน - ขบวนแหป่ ราสาทผง้ึ ทางเรือ -ขบวนแหท่ างบกพรอ้ มดนตรี -ขบวนแหท่ างบกพร้อมดนตรี

ดนตรีพืน้ บ้าน พน้ื บา้ นนำขบวน พ้นื บา้ นนำขบวน

-พิธีเปดิ งาน -พิธีเปดิ งาน

-กิจกรรมร่ืนเรงิ การฟ้อนรำ โดย -กจิ กรรมการแสดงฟ้อนกลอง

วงวงดนตรีพืน้ บา้ น โบราณ

-กจิ กรรมการเดนิ แฟชน่ั โชว์

เครอ่ื งแตง่ กายของวัฒนธรรม

ไทหล่ม

-กจิ กรรมจำลองวิถีชวี ติ ของไท

หล่ม ผูบ้ า่ วเปา่ แคน ผู้สาวเขน็

ฝา้ ย

-กจิ กรรมการแสดงเสง็ กลองหาง

-ตลาดพนื้ บ้านไทหลม่

วตั ถปุ ระสงค์ ใน เพอ่ื สบื ทอดงานประเพณขี อง -เพ่อื ฟ้นื ฟูงานประเพณขี อง -เพือ่ ฟืน้ ฟูงานประเพณีของ

การจัดงาน ท้องถิน่ ตามความเช่ือทาง ทอ้ งถิน่ ท้องถน่ิ

พระพุทธศาสนา และความเช่อื -เพ่อื สบื ทอดงานประเพณีของ -เพอื่ สืบทอดงานประเพณขี อง

ในสง่ิ เหนอื ธรรมชาติ ท้องถิ่น ตามความเช่อื ทาง ทอ้ งถ่ิน ตามความเชอื่ ทาง

๕๙

พระพุทธศาสนา และความเชอ่ื พระพทุ ธศาสนา และความเช่ือ

ในสง่ิ เหนือธรรมชาติ ในสง่ิ เหนอื ธรรมชาติ

-เพื่อประสานความรว่ มมือกับ

หนว่ ยงานภาครัฐในการจัดงาน

ประเพณีแห่ปราสาทผ้ึง

-เพื่อสง่ เสริมการทอ่ งเที่ยวและ

เศรษฐกิจชุมชน

จงึ เห็นไดว้ ่า พลวัตของงานประเพณีแห่ปราสาทผ้ึงบ้านท่ากกแก ตำบลตาลเดย่ี ว อำเภอหล่ม
สกั มรี ูปแบบการดำเนินงานทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปตามยคุ สมัย ดงั นี้

การจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นการจัดงานตามความเชื่อทาง
พระพทุ ธศาสนา และส่ิงเหนือธรรมชาติ ซง่ึ จะจัดตรงกบั วันออกพรรษา คอื วันขึน้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นยิ มจดั งานให้
แล้วเสร็จภายในวันเดียว โดยช่วงเชา้ หลงั จากกลับจากทำบญุ ทว่ี ัดกจ็ ะมารวมตวั กันท่ีบา้ นเจ้าภาพ เพื่อช่วยกัน
จัดทำตน้ ปราสาทผึ้ง และนำไปทอดทว่ี ัดโดยใช้ขบวนแหท่ างเรอื

การจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๖ เมื่อเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษาและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ชุมชนจึงมีแนวคิด ที่จะ
ฟน้ื ฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึง้ ข้ึนมาในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้มีการปรับเปลยี่ นรปู แบบการดำเนินงาน รวมถึง
เปลี่ยนมาจัดพร้อมงานทอดกฐิน ระหว่างเดือน ๑๑ จนถึง เดือน ๑๒ ของทุกปี โดยสถานที่ในการจัดทำต้น
ปราสาทผ้งึ ในชว่ งทีม่ ีการฟื้นฟูงานประเพณีนี้ กลุ่มผูเ้ ฒ่าผแู้ ก่และชาวบา้ นจะมารวมตวั กันทำต้นปราสาทผึ้งกัน
ที่วัดท่ากกแก วัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำต้นปราสาทผ้ึงหาไดจ้ ากในหมู่บ้าน และชาวบ้านนำมาบริจาค มีเพียง
ส่วนน้อยที่หาซื้อจากร้านค้าในตลาด งบประมาณที่ใช้ในการจัดงานได้จากจากการเรี่ยไรเงินทำบุญของ
ชาวบา้ น ครวั เรือนละ ๑๐๐ บาท

การจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๗ – ปัจจุบัน ชุมชนบ้านท่ากกแก ได้รับ
ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาให้การสนับสนุนการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ดังนี้ เทศบาล
ตำบลตาลเดี่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน
๕๐,๐๐๐ บาท และสนับสนุนเรื่อยมาจนถึงปัจจบุ ัน ไดร้ ับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ใน
ด้านองค์ความรู้ต่างๆ และจากประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์งาน
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และแนวคิดในการจัดงาน ข้าวของเครื่องใช้ในงานได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน
กลุ่มผู้เฒา่ ผแู้ ก่ และเยาวชนผลัดเปลยี่ นกันมาช่วยงานท่วี ดั ทา่ กกแก โดยมีระยะเวลาในการเตรยี มงานประมาณ
๑ เดือน นอกจากนี้วันงานยังได้มีการเพิ่มเติมกิจกรรมอีกมากมาย เช่น กิจกรรมการแสดงฟ้อนกลองโบราณ
แฟชั่นโชว์เครื่องแต่งกายของวัฒนธรรมไทหล่ม การจำลองวิถีชีวิตของไทหล่ม ผู้บ่าวเป่าแคน ผู้สาวเข็นฝ้าย
กิจกรรมการแสดงเส็งกลองหาง และตลาดพื้นบ้านไทหล่ม เพื่อเป็นการดึงดูดชาวบ้านและนักท่องเที่ยวให้เข้า
มาร่วมงานประเพณแี หป่ ราสาทผ้งึ

๖๐

การฟื้นฟูงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่ากกแก เป็นการดำเนินการเพือ่ ที่จะอนรุ ักษ์ความ
ด้งั เดมิ ของท้องถน่ิ แต่เมอ่ื เร่ิมกระบวนการฟน้ื ฟูไปไดร้ ะยะหน่ึง ทำใหช้ ุมชนเรม่ิ มกี ารปรับตัวท่ีจะเรียนรู้ท่ีจะใช้
กระบวนการฟื้นฟงู านประเพณแี ห่ปราสาทผึ้งให้สามารถกลืนไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ และใช้ดงึ ดดู ความสนใจ
ของชาวบ้าน และเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในงานประเพณี เช่น การเพิ่มเติมกิจกรรมภายในงานให้มีความ
น่าสนใจ เยาวชนท่ีเข้ามาร่วมงานเกดิ ความสนกุ สนานและอยากมาร่วมกิจกรรมในงานประเพณีแห่ปราสาทผึง้

แนวทางการนำไปปฏิบตั ใิ ช้
๑. เผยแพรใ่ หก้ บั ผู้ที่สนใจ นักศกึ ษา และประชาชนท่วั ไป
๓. บรู ณาการกับการเรยี นการสอน รายวชิ า HSPA๔๐๖ จริยธรรมสำหรบั นักบริหาร

ขอ้ เสนอแนะ
ควรมีการลงพ้ืนที่ ทบทวน ข้อมูลให้ครบถว้ นทกุ อำเภอในจงั หวดั เพชรบรู ณ์ เพื่อใหเ้ ยาวชนรุ่นหลังได้

ใชศ้ ึกษาหาความรู้ สง่ ตอ่ จากรุ่นส่รู ุน่ ต่อไป

๖๑

บรรณานกุ รม
เอกสารอ้างองิ
การทอ่ งเทีย่ วแหง่ ประเทศไทย. (๒๕๕๒). โครงการ “เที่ยวไทยครกึ คร้ืน เศรษฐกิจไทยคกึ คัก.”กรงุ เทพฯ:

การท่องเทยี่ วแหง่ ประเทศไทย.
พระธรรมกิตตวิ งศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙, ราชบัณฑิต). (๒๕๔๘). พจนานุกรมเพื่อการศกึ ษาพุทธศาสน์

ชุด คำวดั . กรงุ เทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
สมทรง ปญุ ญฤทธ.ิ์ (๒๕๒๕). เรอ่ื งน่ารเู้ กี่ยวกบั การปฏบิ ัติพธิ กี รรมทางศาสนาและวัฒนธรรมไทย.

กรุงเทพฯ: ธรรมบูชา.
สมทรง ปญุ ญฤทธ์ิ. (๒๕๒๕). เร่อื งนา่ รู้เกยี่ วกบั การปฏบิ ตั ิพธิ ีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมไทย.

กรุงเทพฯ: ธรรมบูชา.
สิริวิมล คำคลี่. (๒๕๕๕). “ววิ ัฒนาการของประเพณีแห่ปราสาทผึง้ จังหวดั สกลนคร.” รายงานการค้นควา้

อิสระปรญิ ญามหาบณั ฑติ สาขาวชิ าสหวิทยาการเพ่ือการพัฒนาท้องถิน่ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏพระ
นคร.

บุคคลอา้ งอิง
ธันยา คำม.ี (๒๕๕๘). ราษฎรชุมชนบ้านท่ากกแก. สัมภาษณ,์ ๑ พฤศจิกายน.
บญุ โฮม มาส.ี (๒๕๖๒). หัวหนา้ ค้มุ บ้าน. สัมภาษณ,์ ๑ พฤศจิกายน.
พระสมุหไ์ พรศาล ภทฺรมุนี. (๒๕๖๒). เจ้าอาวาสวัดทา่ กกแก. สัมภาษณ,์ ๑ พฤศจกิ ายน.
ยอด สายแสงจนั ทร.์ (๒๕๕๘). ราษฎรชมุ ชนบ้านทา่ กกแก. สมั ภาษณ,์ ๑ พฤศจิกายน.
สงั เวียน สนุ ลี. (๒๕๕๘). ราษฎรชมุ ชนบ้านท่ากกแก. สมั ภาษณ,์ ๑ พฤศจิกายน.
หนูทอง แสงดว้ ง. (๒๕๕๘). ราษฎรชมุ ชนบ้านทา่ กกแก. สัมภาษณ์, ๑ พฤศจิกายน.
หนูพนิ ลว้ นทอง. (๒๕๕๘). ราษฎรชมุ ชนบ้านทา่ กกแก. สัมภาษณ,์ ๑ พฤศจิกายน.

๖๒

ภาคผนวก
รายละเอยี ดรายวชิ า (มคอ. ๓) ท่ีใช้บูรณาการ

มคอ. 3

รายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ.3)

คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ์
หลกั สูตรรฐั ประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวชิ ารัฐประศาสนศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยท่วั ไป

1. รหัสและช่ือรายวิชา

HSPA406 จริยธรรมสำหรับนกั บริหำร (Ethics for Administration)

2. จานวนหน่วยกติ

3 (3-0-6)

3. หลกั สูตรและประเภทของรายวิชา

หลกั สูตรรัฐประศำสนศำสตรบณั ฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

4. อาจารย์ผู้รับผดิ ชอบรายวิชาและอาจารย์ผ้สู อน

อำจำรย์ ดร. สดุดี คำมี อำจำรยผ์ รู้ ับผิดชอบรำยวิชำและอำจำรยผ์ สู้ อน

ผศ.ดร. สุวฒั น์ อินทรประไพ อำจำรยผ์ สู้ อน

ผศ.จ.ส.อ. ดร. จุฬำ เจริญวงค์ อำจำรยผ์ สู้ อน

ผศ.ดร.สุภชยั ตรีทศ อำจำรยผ์ สู้ อน

5. ภาคการศึกษา/ช้ันปี ท่เี รียน

ภำคกำรศึกษำที่ 1/2564

6. รายวชิ าท่ีต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)

ไม่มี

7. รายวิชาท่ตี ้องเรียนพร้อมกนั (Co-requisites)

ไม่มี

8. สถานท่เี รียน

อำคำร 3 คณะมนุษยศำสตร์และสังคมศำสตร์ มหำวทิ ยำลยั รำชภฏั เพชรบูรณ์

9. วันท่ีจดั ทาหรือปรับปรุงรายละเอยี ดของรายวชิ าคร้ังล่าสุด

1 พฤษภำคม 2564

กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอยี ดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ์ Page 1

หมวดท่ี 2 จดุ ม่งุ หมายและวตั ถุประสงค์

1. จดุ มุ่งหมายของรายวิชา

2. วตั ถุประสงค์ในการพฒั นา/ปรับปรุงรายวชิ า

หมวดท่ี 3 ลกั ษณะและการดาเนนิ การ

1. คาอธิบายของรายวิชา

หมวดวิชำเฉพำะ วชิ ำแกน

HSPA406 จริยธรรมสำหรับนักบริหาร 3(3-0-6)

Ethics for Administrator

ศกึ ษาแนวคิด ท่ีมา ความหมายของจริยธรรม หลกั การ อดุ มการณ์ และเหตุผลที่ต้องมี

จรยิ ธรรม หลักจริยธรรม จรยิ ศาสตร์ เกยี่ วกับการบรหิ าร คน เงนิ วัสดุอกุ รณ์ สำหรบั นักบริหาร ทัง้ ใน

ภาครัฐและเอกชน วิธกี ารสร้างจรยิ ธรรมในองค์การ เน้นจริยธรรมของผู้บรหิ าร และจรยิ ธรรมของ

พนักงานรวมทัง้ ศึกษาถึงวธิ ีสรา้ งขวญั และกำลงั ใจ และการลงโทษท่ีเหมาะสมแกผ้ ูใ้ ตบ้ งั คับบญั ชา และ

การใช้ชวี ติ อยา่ งพอเพยี ง เพ่ือพฒั นาองค์กร

Study principle, ideology and moral for administrators both in public and

private sectors including the study of the morale and motivation oriented promotion

approach, and appropriate punishment for subordinates.

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ริ ะดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 2

2. จานวนช่ัวโมงทีใ่ ช้ต่อภาคการศึกษา

จานวนชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

หน่วยกติ บรรยาย การฝึ กปฏบิ ัติ/การฝึ กงาน การศึกษาด้วยตนเอง สอนเสริม
45 ชว่ั โมง ตำมควำม
3(3-0-6) ต่อภำค ไม่มีกำรฝึกปฎิบตั ิ 3-5 ชว่ั โมงตอ่ ตอ้ งกำรของ
กำรศึกษำ นกั ศึกษำ
สปั ดำห์

3. จานวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ท่ีอาจารย์ให้คาปรึกษาและแนะนาทางวิชาการแก่นกั ศึกษาเป็ นรายบุคคล

ตารางการให้คาปรึกษาและแนะนาทางวชิ าการแก่นักศึกษาเป็ นรายบุคคล

รายวชิ า อาจารย์ วนั -เวลา สถานที่ หมายเลข ทอ่ี ยู่ของ รวมจานวน
ผู้สอน ให้ หรือ โทรศัพท์ E-mail ผ้สู อน ชั่วโมงต่อ
จริยธรรม หมายเลข ผ้สู อน สัปดาห์
สำหรับนกั อ.ดร.สดุดี คาปรึกษา ห้อง [email protected]
คำมี ผ้สู อน 064- ท่ใี ห้
วนั พุธ 0326543 คาปรึกษา
13.00- หอ้ ง
8/1408 3 ชว่ั โมง
ตอ่ สปั ดำห์

บริหำร อ.จสอ.ดร. 16.00 น.

จุฬำ เจริญ

วงค์

อ.ดร.

สุวฒั น์

อินทร

กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิระดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ Page 3

ประไพ

หมวดท่ี 4 การพฒั นาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1.1 ผลการเรียนรู้ 1.2 กลยุทธ์/วธิ กี ารสอน 1.3 กลยุทธ์/วิธกี ารประเมินผล

1 มีควำมเสียสละ มีคณุ ธรรม 1 กำรสอนเนน้ ผเู้ รียนเป็น 1 ใชแ้ บบสอบถำมมำตรฐำนที่วดั
จริยธรรม ซ่ือสัตยส์ ุจริต สำคญั คุณธรรม จริยธรรม ใหน้ กั ศึกษำ
2 มีควำมรับผดิ ชอบ มีวนิ ยั ตรงตอ่ 2 สอน คุณธรรม จริยธรรม ประเมินกำรเรียนรู้ดว้ ยตนเอง
เวลำ แทรกในเน้ือหำ 2 สมั ภำษณ์เพือ่ นและผทู้ ่เี กี่ยวขอ้ งกบั
3 มีภำวะผนู้ ำและเป็นผตู้ ำมที่ดี รู้จกั 3 มีกิจกรรมส่งเสริมดำ้ น นกั ศึกษำ ในเร่ืองควำมซ่ือสัตยแ์ ละควำม
กำรทำงำนเป็ นทีม คุณธรรม จริยธรรม รับผดิ ชอบ
4 เคำรพสิทธิและรบั ฟังควำมคดิ เห็น 4 นำเหตกุ ำรณ์ทีผ่ เู้ รียนสนใจ 3 ประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมและกำร
ของบคุ คลอน่ื ขยนั หมนั่ เพียร อดทน มำใหผ้ เู้ รียนฝึกฝนกำรคิด แสดงออก โดยมีกำรบนั ทึกคะแนน
เอ้ือเฟ้ื อเผอื่ แผ่ วิเครำะหแ์ ละหำทำงแกไ้ ข ระหว่ำงกำรเรียนกำรสอน
5 เคำรพกฎระเบียบและขอ้ บงั คบั ต่ำง ปัญหำดว้ ยตนเอง 4 ประเมินโดยสงั เกตพฤติกรรมและกำร
ๆ ขององคก์ รและสังคม มี 5 ใหผ้ เู้ รียนฝึกฝนกำรทำงำน แสดงออก โดยมีกำรบนั ทึกคะแนน
จรรยำบรรณทำงวิชำกำรและวิชำชีพ เป็ นทีมและแลกเปลี่ยนเรี ยนรู้ ระหวำ่ งกำรเรียนกำรสอน
รักษำควำมลบั ขององคก์ ร ซ่ึงกนั และกนั 5 ประเมนิ โดยสังเกตพฤติกรรมและกำร
แสดงออก โดยมีกำรบนั ทึกคะแนน
ระหวำ่ งกำรเรียนกำรสอน

2. ด้านความรู้

2.1 ผลการเรียนรู้ 2.2 กลยุทธ์/วิธีการสอน 2.3 กลยทุ ธ์/วธิ กี ารประเมินผล

1 นกั ศึกษำมีควำมรู้ควำมเขำ้ ใจเก่ียวกบั 1 บรรยำย อภิปรำย กำร 1 ประเมินจำกทดสอบยอ่ ย สอบ
หลกั กำรและทฤษฎที ีท่ีสำคญั ทำงำนกลุม่ กำรนำเสนอ กลำงภำค สอบปลำยภำค ดว้ ย
2 นกั ศึกษำมีทกั ษะทำงปัญญำ นำควำมรู้ รำยงำน กำรวเิ ครำะห์ ขอ้ สอบท่ีเนน้ กำรวดั หลกั กำรและ
มำใชใ้ นสังคมในประเดน็ ที่เหมำะสม กรณีศึกษำ และมอบหมำยงำน ทฤษฎี
3 นกั ศึกษำมีทกั ษะในกำรวเิ ครำะห์ กำร ใหค้ น้ ควำ้ 2 ประเมนิ ผลจำกผลงำนที่ไดร้ บั
สื่อสำร รวมท้งั กำรประยกุ ตใ์ ชค้ วำมรู้ใน 2 บอกถึงแหลง่ ขอ้ มลู เพื่อให้ มอบหมำย ตำมหวั ขอ้ ที่กำหนด
กำรแกไ้ ขปัญหำไดอ้ ยำ่ งเหมำะสม นกั ศึกษำไดค้ น้ ควำ้ ขอ้ มลู โดยอำ้ งอิงทฤษฎีในวิชำที่เกี่ยวขอ้ ง
4 นกั ศึกษำสำมำรถบรู ณำกำรควำมรู้ท่ีได้ สำหรับกำรเรียนรู้ดว้ ยตนเอง 3 ประเมินจำกกำรมีส่วนร่วมใน
ศึกษำกบั ควำมรู้ในศำสตร์อนื่ ๆ ที่ 3 จดั ประชุมแบง่ งำน ติดตำม กำรแสดงควำมคดิ เห็น และกำร
เกี่ยวขอ้ งมำใชป้ ระโยชน์ในเชิงวิชำกำร งำน เป็นระยะเวลำที่กำหนด ไดร้ ับกำรยอมรับจำกเพอ่ื นของ

กรอบมาตรฐานคณุ วฒุ ริ ะดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอียดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 4

และปฏบิ ตั ิ หรือตำมควำมเหมำะสม นกั ศึกษำหรือผทู้ เี่ กี่ยวขอ้ ง
5 นกั ศึกษำเขำ้ ใจในบทบำทหนำ้ ที่ที่ไดร้ บั 4 จดั ทำรำยงำนผล วเิ ครำะห์
มอบหมำย และปฏิบตั ิหนำ้ ที่ไดอ้ ยำ่ ง ควำมตอ้ งกำร และนำเสนอ
ถกู ตอ้ ง 5 เนน้ ผเู้ รียนเป็นศนู ยก์ ลำงของ
กำรเรียนรู้

3. ด้านทักษะทางปัญญา

3.1 ผลการเรียนรู้ 3.2 กลยทุ ธ์/วิธกี ารสอน 3.3 กลยทุ ธ์/วิธีการประเมินผล

1 สำมำรถบรู ณำกำรควำมรู้ในศำสตร์ 1 มอบหมำยโจทกป์ ัญหำ ให้ 1 ประเมินจำกกำรสังเกตพฤติกรรม
จำกกำรสมั ภำษณ์ผรู้ ่วมงำนหรือ
ตำ่ งๆใหเ้ กิดประโยชนต์ ่อตนเองและสังคม ฝึกกำรคน้ ควำ้ หำควำมตอ้ งกำร ผเู้ กี่ยวขอ้ ง
2 ประเมนิ จำกขอ้ มลู ท่ีไดร้ ับจำกที่
ส่วนรวม และวเิ ครำะหผ์ ลควำมตอ้ งกำร นกั ศึกษำไปสมั ภำษณ์
3 ประเมินจำกกำรมีส่วนร่วมใน
2 ควำมสำมำรถกำรสืบคน้ ตีควำม และ 2 จดั ทำรำยงำนผลวิเครำะห์ กำรแสดงควำมคดิ เห็น และกำร
ไดร้ ับกำรยอมรับจำกเพอื่ นร่วมงำน
ประเมินสำรสนเทศ เพ่ือใชใ้ นกำร ควำมตอ้ งกำร และนำเสนอ หรือผเู้ ก่ียวขอ้ ง

วเิ ครำะหเ์ น้ือหำ

3 ควำมสำมำรถรวบรวม ศึกษำ วิเครำะห์ 3 ประชุมร่วมกนั ระหว่ำง

และสรุปประเดน็ ปัญหำ อำจำรยท์ ี่ปรึกษำและนกั ศึกษำ

4 ควำมสำมำรถประยกุ ตค์ วำมรู้และทกั ษะ 4 มอบหมำยโจทยป์ ัญหำ ดำ้ น

กำรวเิ ครำะห์ไดอ้ ยำ่ งเหมำะสม ทฤษฎีองคก์ ำรใหผ้ เู้ รียนไป

ศึกษำคน้ ควำ้

5 สำมำรพนำควำมรู้ไปเช่ือมโยงกบั ภูมิ 5 กำรนำเสนอดำ้ นกำรจดั ทำ
ปัญญำทอ้ งถ่ินเพ่อื ทำควำมเขำ้ ใจและ รำยงำนและกำรนำเสนอ
สร้ำงสรรคส์ งั คม ร่วมกนั

4. ด้านทักษะความสัมพนั ธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ผลการเรียนรู้ 4.2 กลยทุ ธ์/วิธีการสอน 4.3 กลยทุ ธ์/วิธกี ารประเมินผล

1 สำมำรถใหค้ วำมช่วยเหลือและอำนวย 1 สร้ำงกิจกรรมสันทนำกำร 1 ประเมินจำกกำรสงั เกตพฤติกรรม
ควำมสะดวกในกำรแกไ้ ขปัญหำ ละลำยพฤติกรรม เพอ่ื ให้เกิด จำกกำรสมั ภำษณ์ผรู้ ่วมงำนหรือ
สถำนกำรณ์ตำ่ ง ๆ ในกลมุ่ ท้งั ในบทบำท ควำมรู้รัก สำมคั คี พร้อม ผเู้ ก่ียวขอ้ ง
ของผนู้ ำหรือในบทบำทของผรู้ ่วมทีม ทำงำนเป็ นทีม 2 ประเมินจำกขอ้ มลู ที่ไดร้ ับจำกที่
ทำงำน 2 มอบหมำยงำนท่ีตอ้ งทำงำน นกั ศึกษำไปสมั ภำษณ์
2 สำมำรถใชค้ วำมรู้ในศำสตร์มำช้ีนำ ร่วมกนั เป็นทีม 3 ประเมินจำกกำรมีส่วนร่วมใน
สังคมในประเดน็ ท่ีเหมำะสม 3 มีกำรแบง่ งำนกนั อยำ่ งชดั เจน กำรแสดงควำมคิดเห็น และกำร
3 มีควำมรับผดิ ชอบในกำรกระทำของ มอบหมำยงำนที่ตอ้ งพดู คุย ไดร้ ับกำรยอมรับจำกเพ่อื นร่วมงำน
ตนเองและรับผดิ ชอบงำนในกลุ่ม ประชุมร่วมกนั เพ่ือมอบหมำย หรือผเู้ ก่ียวขอ้ ง

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ิระดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ Page 5

4 สำมำรถเป็นผรู้ ิเร่ิมแสดงประเดน็ ในกำร งำน ติดตำมงำน ประเมนิ ผล
แกไ้ ขสถำนกำรณ์ท้งั ส่วนตวั และส่วนรวม
พร้อมท้งั แสดงจดุ ยนื อยำ่ งพอเหมำะท้งั
ของตนเองและของกลุ่ม
5 มีควำมรับผดิ ชอบกำรพฒั นำกำรเรียนรู้
ท้งั ของตนเองและทำงวิชำชีพอยำ่ ง
ต่อเน่ืองเรียนรู้ภำวะทำงอำรมณ์ของตนเอง
เรียนรู้กำรทำงำนร่วมกบั ผอู้ ืน่ เรียนรู้
เทคนิคกำรขอควำมช่วยเหลือ หรือขอ
ขอ้ มูลเพอ่ื นำมำประกอบกำรทำงำน
6 สำมำรถวำงตวั ในตำแหน่งงำนท่ีไดร้ ับ
มอบหมำยไดอ้ ยำ่ งเหมำะสม
7 กลำ้ แสดงควำมคิดเห็นในขอบเขตของ
งำนและภำระหนำ้ ท่ี
8 พฒั นำตนเองจำกกำรเรียนรู้ดว้ ยตนเอง
และจำกกำรฝึกอบตม หรือกำรสอบถำม
เพอ่ื นร่วมงำน

5. ด้านทกั ษะการวิเคราะห์เชิงตวั เลข การส่ือสาร และการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศ

5.1 ผลการเรียนรู้ 5.2 กลยุทธ์/วิธีการสอน 5.3 กลยทุ ธ์/วิธีการประเมนิ ผล

1 ทกั ษะในกำรใชเ้ ครื่องมือท่จี ำเป็นท่ีมีอยู่ 1 มอบหมำยงำนผำ่ นระบบ 1 ประเมนิ จำกเอกสำร ท่ีนำเสนอ

ในปัจจบุ นั ตอ่ กำรคน้ ควำ้ และนำเสนองำน เทคโนโลยี กำรใชท้ กั ษะดำ้ น โดยใชเ้ ทคโนโลยสี ำรสนเทศเป็น

2 ทกั ษะกำรส่ือสำรอยำ่ งมีประสิทธิภำพ เทคโนโลยี ในกำรนำเสนอ ส่ือ

ท้งั ปำกเปลำ่ และกำรเขียน เลือกใช้ ขอ้ มูล 2 ประเมนิ จำกเอกสำรที่เขียน เชน่

รูปแบบของสื่อกำรนำเสนออยำ่ ง 2 มอบหมำยงำนท่ีตอ้ งมีกำร E-Mail ท่ีใชส้ ่ือสำรเพ่ือกำรทำงำน

เหมำะสม ส่ือสำรโดยใชภ้ ำษำท้งั ไทยและ 3 ประเมินจำกผลกำรแกป้ ัญหำ

3 ทกั ษะในกำรใชส้ ำรสนเทศและ ต่ำงประเทศ ท้งั กำรพดู กำร โดยเนน้ ควำมถกู ตอ้ งเหมำะสม

เทคโนโลยีสื่อสำรอยำ่ งเหมำะสม เขียน ในกำรประสำนงำน

4 ทกั ษะในกำรใชเ้ ทคโนโลยี เคร่ืองมือ 3 มอบหมำยงำนท่ีตอ้ งใช้

อุปกรณ์ ซอฟตแ์ วร์ ในกำรส่ือสำรเพื่อ เทคโนโลยีในกำรแกป้ ัญหำ

สนบั สนุนกำรทำงำน เช่น กำรโตต้ อบ หรือนำเสนองำน

แสดงควำมคดิ เห็น ประสำนกำรทำงำน

กำรรับ-ส่งงำน กำรซกั ถำมขอ้ สงสัย

5 สำมำรถใชเ้ ทคโนโลยี หรือ

กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิระดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอียดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 6

อนิ เทอร์เน็ตในกำรคน้ ควำ้ หำขอ้ มลู
ประกอบกำรทำงำน
6 สำมำรถส่ือสำรโดยใชภ้ ำษำท่ีเหมำะสม
และส่งผลใหเ้ กิดประสิทธิภำพในกำร
ทำงำน

หมวดท่ี 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดา เนอื้ หา จำนวน กจิ กรรมการเรียน การวัดผล อาจารย์ผสู้ อน
หท์ ี่ ช่ัวโมง การสอน
สดุดี คำมี
- แนะนำลกั ษณะวิชา 3
สดุดี คำมี
ขอบข่ายการเรียนรู้ - แนะนำลักษณะวิชา
แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
- สำรวจความคาดหวังของผูเ้ รยี น - แผนการสอน,กจิ กรรม- การวดั ความรู้
แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
- วางขอ้ ตกลงรายวชิ ารว่ มกนั - การสอนและการ

1 และแนะนำหนังสอื /เอกสาร ประเมินผล

อา่ นประกอบการสอน - ความคาดหวงั ของ

- กรอบแนวคิดสำหรับนกั นักศกึ ษา และข้อตกลง

บริหารและจริยธรรมสำหรบั ร่วมกัน

นักบริหาร

- ความหมายของคณุ ธรรม 3

- ความหมายของจริยธรรม - การบรรยาย การตอบ

2 - จรยิ ศาสตร์ ข้อซักถาม

- ผบู้ ริหาร - กจิ กรรมทา้ ยบท

- นกั บรหิ าร

ผ้บู รหิ ารกับการมีคณุ ธรรม 3

-พรหมวิหาร 4 - การบรรยาย การตอบ

3 -อทิ ธิบาท 4 ขอ้ ซักถาม

-ธรรมอนั ทำใหง้ าม 2 อยา่ ง - กิจกรรมทา้ ยบท

-ผ้บู รหิ ารพึงรู้ธรรมะ 2 อย่าง

4 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร 3 - การบรรยาย การตอบ

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบรู ณ์ Page 7

-บทบาทในฐานะทเี่ ป็นผนู้ ำ ขอ้ ซักถาม การวดั ความรู้
-บทบาทระหว่างผบู้ ริหารด้วยกัน - กิจกรรมท้ายบท
-บทบาทต่อผู้ใตบ้ งั คบั บัญชา

ความรับผดิ ชอบของผบุ้ รหิ าร 3

-ความรับผิดชอบตอ่ หน้าทขี่ องตนเอง - การบรรยาย การตอบ
ขอ้ ซักถาม
5 -ความรบั ผดิ ชอบต่องานที่ไดร้ ับ - กจิ กรรมทา้ ยบท แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
มอบหมาย การวัดความรู้

ตามอำนาจหนา้ ที่

-ความรับผดิ ชอบต่อผู้ใตบ้ งั คับบัญชา

จรรณยาบรรณของผู้บริหาร 3

-จรรณยาบรรณวิชาชพี - การบรรยาย การตอบ แบบทดสอบ สดุดี คำมี
6 -ความหมายของจรรณยาบรรณ ข้อซักถาม การวดั ความรู้
- กิจกรรมท้ายบท
-การประพฤติตนตามจรรณยาบรรณ

วชิ าชีพ

ทฤษฎที างการเมืองและจรยิ ธรรมใน 3 - การบรรยาย การตอบ แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
7 การบรหิ าร ข้อซักถาม การวดั ความรู้
- กิจกรรมท้ายบท

-ผู้บรหิ ารจะตอ้ งมีความเปน็ กลาง 3 - การบรรยาย การตอบ แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
8 ทางการเมือง ขอ้ ซักถาม การวดั ความรู้
- กจิ กรรมท้ายบท
-การประพฤติตนของผู้บริหาร

ปัญหาของผู้บริหารเกีย่ วกบั คุณธรรม 3

-ปญั หาเกยี่ วกับผู้บริหาร - การบรรยาย การตอบ
ขอ้ ซักถาม
9 -ปัญหาระหว่างผูบ้ รหิ ารกบั เพื่อน กจิ กรรมท้ายบท แบบทดสอบ สดุดี คำมี
ร่วมงาน การวดั ความรู้

-ปญั หาระหวา่ งผบู้ ริหารด้วยกันเอง

-ปญั หาระหวา่ งผูบ้ รหิ ารกับบุคคลทัว่ ไป

3 - การบรรยาย การตอบ แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
ข้อซักถาม การวดั ความรู้
10 การสง่ เสรมิ และการพัฒนาคุณธรรม กจิ กรรมท้ายบท

11 คา่ นยิ มในการทำงาน 3 - การบรรยาย การตอบ แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี

ข้อซักถาม การวดั ความรู้

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอียดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ Page 8

12 ผบู้ รหิ ารในอดุ มคตทิ ผ่ี ู้ใตบ้ ังคับบญั ชา กจิ กรรมท้ายบท แบบทดสอบ สดดุ ี คำมี
ชอบ 3 - การบรรยาย การตอบ การวดั ความรู้ สดดุ ี คำมี
สดุดี คำมี
13 แนวคิดเก่ียวกับการเปล่ยี นแปลง ข้อซักถาม แบบทดสอบ สดุดี คำมี
พฤติกรรม กจิ กรรมท้ายบท การวดั ความรู้
3 - การบรรยาย การตอบ
14 การประยุกต์ใช้ปรชั ญาเศรษฐกิจ ข้อซักถาม แบบทดสอบ
พอเพยี งเพ่ือพฒั นาองค์การ กิจกรรมท้ายบท การวัดความรู้
3 - การบรรยาย การตอบ
ทบทวนบทเรยี นทีเ่ รียนมาท้งั หมดและ ขอ้ ซักถาม แบบทดสอบ
15 แนะนำการอา่ นหนังสือเพื่อเตรยี มตัว กจิ กรรมท้ายบท การวัดความรู้
3 - การบรรยาย การตอบ
สอบปลายภาค ขอ้ ซักถาม
กจิ กรรมท้ายบท
16
สอบปลายภาค
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กจิ กรรม ผลการ วธิ กี ารประเมนิ สัปดาหท์ ่ี สัดส่วนของ
ท่ี เรยี นรู้* ประเมนิ การประเมนิ
1 ทดสอบยอ่ ยคร้ังที่ 1
สอบระหวำ่ งภำค 4 10%
2 ทดสอบยอ่ ยคร้ังท่ี 2 8 20%
สอบปลำยภำค 12 10%
วเิ ครำะหก์ รณีศึกษำ คน้ ควำ้ กำรนำเสนอ 16 40%

รำยงำน ตลอดภำค 20%
กำรทำงำนกลุ่มและผลงำน กำรศึกษำ

หมวดท่ี 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. ตาราและเอกสารหลกั
เอกสำรประกอบกำรสอน วิชำจริยธรรมสำหรับนกั บริหำร

2. เอกสารและข้อมูลแนะนา
-

กรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวิทยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ์ Page 9

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดาเนนิ การของรายวชิ า

1. กลยทุ ธ์การประเมินประสิทธผิ ลของรายวชิ าโดยนกั ศึกษา

- กำรสนทนำกลมุ่ ระหว่ำงผสู้ อนและผเู้ รียน
- แบบประเมินผสู้ อน และแบบประเมินรำยวิชำ

2. กลยทุ ธ์การประเมินการสอน

- กำรสังเกตกำรณ์สอนของผรู้ ่วมทีมกำรสอน
- ผลกำรเรียนของนกั ศึกษำ
- กำรทวนสอบผลประเมินกำรเรียนรู้

3. การปรับปรุงการสอน

- สัมมนำกำรจดั กำรเรียนกำรสอน
- กำรวิจยั ในและนอกช้นั เรียน

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธ์ิของนักศึกษาในรายวชิ า

- กำรทวนสอบกำรให้คะแนนจำกกำรสุ่มตรวจผลงำนของนกั ศึกษำโดยอำจำรยผ์ สู้ อน
- มีกำรต้งั คณะกรรมกำรในสำขำวชิ ำ ตรวจสอบผลกำรประเมินกำรเรียนรู้ของนกั ศึกษำ โดยตรวจสอบขอ้ สอบ

รำยงำน วธิ ีกำรใหค้ ะแนนสอบ และกำรให้คะแนนพฤติกรรม

5. การดาเนนิ การทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

- ปรับปรุงรำยวิชำทุก 3 ปี หรือตำมขอ้ เสนอแนะและผลกำรทวนสอบมำตรฐำนผลสมั ฤทธ์ิตำมขอ้ 4
- เปล่ียนหรือสลบั อำจำรยผ์ สู้ อน เพ่ือใหน้ กั ศึกษำมีมุมมองในเร่ืองกำรประยกุ ตค์ วำมรู้น้ีกบั ปัญหำท่ีมำจำก

งำนวิจยั ของอำจำรยท์ ำ่ นอนื่ ๆ

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ริ ะดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 10

พลวัต:

ปราสาทผง้ึ บานทากกแก

ตำบลตาลเดยี่ ว อำเภอหลม สกั จงั หวัดเพชรบรู ณ

มหสาำวนทิักยศาิลลปยั ะรแาลชะภวฏั ัฒเพนธชรรรบมูรณ


Click to View FlipBook Version