ธุรกิจส่งออกมะพร้าวน้ำหอม
สำหรับผู้ประกอบการสมัยใหม่
Electronic Book on Coconut Export Business
for Modern Entrepreneur.
ผู้ ช่ ว ย ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ก น ก พั ช ร ก อ ป ร ะ เ ส ริ ฐ
น า ง ส า ว จิ ด า ภ า ร จ น า ส ม
สารบัญ
เรื่อง หน้า
Chapter 1 ทำความรู้จักเกี่ยวกับมะพร้าวน้ำหอม 1
Chapter 2 ทำความรู้จักเกี่ยวกับผู้ประกอบการสมัยใหม่ 13
(Modern Entrepreneur)
Chapter 3 สถานการณ์การส่งออกมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทย 15
19
Chapter 4 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร 25
Chapter 5 การจัดเตรียมสินค้าและการจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้ใน
การส่งออกระหว่างประเทศ
Chapter 1 ทำความรู้จักเกี่ยวกับมะพร้าวน้ำหอม
มะพร้าวน้ำหอม [Sweet Young Coconut]
มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมในการบริโภคสดและส่งออก
ไปยังตลาดต่างประเทศ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ทำให้มีความต้องการมะพร้าวน้ำหอมในปริมาณสูงขึ้น พื้นที่ที่เหมาะในการปลูก
คือ ภาคกลางโดยเฉพาะแถบอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมทั้ง
จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม
สภาพแวดล้อมมีส่วนทำให้คุณภาพน้ำหอมคงความหอมอยู่
1
ใบ ผล
ดอก
ลำต้น
ราก
2
ลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับมะพร้าวน้ำหอม
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก โคนก้าน ดอก : มีดอกเป็นช่อ ซึ่งออกตามซอกใบ
ใบใหญ่ แผ่กาบหุ้มลำต้นไว้ ใบเรียงเวียน มีทั้งสองเพศ ช่วงโคนช่อดอกเป็นเพศเมีย
มีลักษณะคล้ายพัดจีบ โคนใบและปลายใบ และช่วงปลายช่อดอกเป็นเพศผู้ มีลักษณะ
เรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบมัน ทรงกลมเล็ก ๆ และมีสีเหลืองนวล จะมีน้ำ
มีสีเขียวแก่ หวานอยู่มาก
ผล : มีลักษณะทรงกลมหรือทรงรี มีผิวที่ ลำต้น : เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะตั้งตรง
มันเรียบ ผลอ่อนเปลือกจะมีสีเขียว ลำต้นจะมีลักษณะกลม ๆ เปลือกแข็งแรง
เหนียว มีปุ่มนูนขรุขระ
ราก : มีระบบรากแก้ว แทรกลึกลงในดิน
มีลักษณะกลม ๆ จะมีรากแขนง รากฝอย
เล็ก ๆ ออกรอบ ๆ ต้นมีสีน้ำตาล
3
ประโยชน์และสรรพคุณมะพร้าวน้ำหอม
1. ช่วยชะลอการเกิดอัลไซเมอร์
2. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
3. ช่วยขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย
4. ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น
5. ช่วยให้ผิวกระชับและยืดหยุ่นได้ดี ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย
4
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกมะพร้าวน้ำหอม
การเตรียมหลุมปลูก
5 สามารถคลิกที่วีดีโอเพื่อรับฟังข้อมูลได้นะครับ
ระยะปลูก
การดูแลรักษาสวนมะพร้าวน้ำหอม แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน
หากอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง สามารถคลิกได้ที่
วีดีโอเพื่อรับชมไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ
6
การควบคุมและป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว
1. หนอนหัวดำมะพร้าว
เข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยตัวหนอนจะแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้น
จะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณ
ใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำชอบทำลายใบแก่
2. แมลงดำหนาม
ลักษณะการทำลาย ทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะกัดกินยอดอ่อนที่สุดของใบมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ ทำให้ยอดอ่อน
ของมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต
3. ด้วงแรด
ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยจะเจาะใบ
มะพร้าวที่บริเวณ โคนทางใบที่ 2 หรือที่ 3 ทะลุเข้าไปถึงยอดอ่อน
ตรงกลางหรือทำลายบริเวณยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทำให้ใบมะพร้าวที่คลี่แตกใบใหม่ขาดแหว่ง มีลักษณะ
เป็นสามเหลี่ยมคล้ายถูกกรรไกรตัด
สามารถคลิกที่วีดีโอเพื่อรับฟังข้อมูลได้นะครับ
สาระน่ารู้
เพิ่มเติม
7
ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวมะพร้าวน้ำหอม
"การเก็บเกี่ยวมะพร้าวน้ำหอม"
ให้สังเกตโดยดูที่สีของผล รอบกลีบเลี้ยงมีวงสีขาวล้อมรอบ
เพียงเล็กน้อย หรือดูทะลายอ่อนที่อยู่เหนือเยื้องกับทะลาย
ที่จะตัดมีขนาดที่ใหญ่กว่ากำปั้ นเล็กน้อย หรือจะนับวันหลัง
จากการตัดทะลายแรกผ่านไปประมาณ 20 วัน
จึงจะเริ่มตัดทะลายถัดไปได้ นอกจากนี้สามารถ
สังเกตจากหางหนู หรือดีดผลก็ได้เช่นกัน
"หางหนู"
คือ ส่วนของระแง้ เป็นส่วนย่อยที่แยกจากทะลาย โดยพัฒนามาจากช่อดอก มีหน้าที่ยึดขั้วผลให้ติด
กับทะลาย หางหนูจะมีสีเขียวในระยะที่ยังอ่อน เมื่อผลแก่ จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ และมีความเหนียว
ถ้ามีสีดำครึ่งหนึ่งของหางหนู เนื้อของมะพร้าวน้ำหอมจะอยู่ในระยะที่พอดี อ่อนนุ่ม มีน้ำหวานหอม
8
ช่วงสาระน่ารู้เกี่ยวกับมะพร้าวน้ำหอม
มีอะไร ในน้ำมะพร้าว 1 ลูก
พลังงาน 47 kcal โพแทสเซียม 624 mg
ให้พลังงานต่ำมาก โพแทสเซียมสูงมาก
เมื่อเทียบกับผลไม้อื่น เมื่อเทียบกับผลไม้อื่น
คาร์โบไฮเดต 9.3 g
ฟรักโตสให้ความหวาน แมกนีเซียม 62 mg
ตามธรรมชาติ
น้ำตาลน้อย ช่วยระบบเผาผลาญ
ระบบประสาท
และระบบกล้ามเนื้อ
*คำนวณจากปริมาณ 1 แก้ว : 250 กรัม
ประโยชน์ที่ได้เกิดขึ้นเมื่อดื่มน้ำมะพร้าว
ตะคริว
เพื่อความสดชื่น ลดอาการบวมน้ำ ช่วยป้องกันการเกิดตะคริวได้
ชดเชยเหงื่อที่เสียไป จากการกินอาหาร รสจัด รสเค็ม
9
ประโยชน์ดีๆ จาก
"มะพร้าวน้ำหอม"
ที่หนุ่มๆ สาวๆ ควรรู้!
สทกชรทำ้ขาาะัำใชรบงล่หใเว้คขอหกผยิ้ิกอดอหวสางลยรนิมื้รเ้วดลสาาเรีาหกในยอิสเดยยหแุจ่ขนึอแผนร้ัืนลอหลแก่ไสงผใลรซิวหาวัะ้ะยรเพหชอมพัไิบิารลดอษ้ยรารด์เณเอีสตรอ็่ตวเงิกปโตนจดึลง่ายงกปชไ่รม่ลวั่า่ยทงงิ้ชกงะรา่ลอยองรอย
ประโยชน์ไม่ธรรมดา
"มะพร้าวน้ำหอม" ยังสามารถช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ได้เช่น....
ป้องกันโรคหัวใจ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ซ่อมแซมร่างกาย ช่วยให้ขณะตั้งครรภ์
หลังรับบาดเจ็บ ผิวชุ่มชื่น
ทำให้กระเพาะปัสสาวะ ดับกระหาย คลายร้อน 10
ทำงานดีขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรง
2 ลักษณะมะพร้าวน้ำหอม
ที่ประเทศไทยส่งออก
มะพร้าวกลึง (เจียน)
หมายถึง : มะพร้าวที่นำมาปอกเปลือกสีเขียว (Exsocarp) ออกทั้งหมดหรือบางส่วน
ตกแต่งให้มีรูปทรงกระสอบ ด้านบนเป็นรูปฝาชีหรือตกแต่งเฉพาะด้านบนให้เป็นรูปฝาชี
มะพร้าวเจีย (กลึง)
หมายถึง : มะพร้าวที่นำมาปอกเปลือกสีเขียว (Mesocarp) ออกทั้งหมดหรือเหลือบางส่วนไว้เป็นฐาน
แล้วเจียและแต่งผิวกะลาให้เรียบเนียน
11
การคัดเลือกมะพร้าวน้ำหอมที่เหมาะสำหรับการส่งออก
สามารถคลิกที่วีดีโอเพื่อรับฟังข้อมูลได้นะครับ
ประเด็นที่น่าสนใจ
มะพร้าวเนื้อชั้นเดียว
มะพร้าวที่เริ่มสร้างเนื้อภายในกะลา เนื้อมีลักษณะเป็นวุ้นบางๆ มะพร้าวเนื้อชั้นครึ่ง
ประมาณครึ่งผล จะมีอายุ ๑๗๐ วัน (๕ เดือน ๒ สัปดาห์)
น้ำยังไม่หวาน จึงไม่เหมาะนำไปบริโภค
มะพร้าวเนื้อสองชั้น มะพร้าวที่เริ่มสร้างเนื้อมากขึ้นจนเกิดเต็มกะลา แต่บริเวณ
ส่วนขั้วผล ยังมีลักษณะเป็นวุ้นอยู่บ้าง จะมีอายุหลังจั่นบาน
๑๘๐-๑๘๕ วัน (๖ เดือน) น้ำเริ่มหวานมากขึ้น
มะพร้าวที่สร้างเนื้อเต็มกะลา เนื้อหนาอ่อนนุ่มพอดี 12
สามารถนำไปบริโภคได้ทั้งผล น้ำหวานหอม จะมีอายุ
หลังจั่นบาน ๒๐๐-๒๑๐ วัน (๖ เดือน ๒ สัปดาห์)
ชาวสวนจะเก็บเกี่ยวมะพร้าวในระยะนี้
Chapter 2
ทำความรู้จักเกี่ยวกับผู้ประกอบการสมัยใหม่ (Modern Entrepreneur)
"ผู้ประกอบการสมัยใหม่" (Modern Entrepreneur)
หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการค้นหาโอกาสและใช้โอกาส
นั้นคิดริเริ่มดำเนินธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผน
การดำเนินงานและดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยยอมรับ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดขึ้น
จากการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง
13
ลักษณะผู้ประกอบสมัยใหม่
11 ที่ประสบความสำเร็จ!!!
1. กล้าเสี่ยง 2. มีความคิดสร้างสรรค์ 3. ใช้ประสบการณ์
จากอดีตมาเป็นบทเรียน
4. มีความสามารถ 5. มีความเชื่อมั่น 6. มีความรับผิดชอบ
ในการบริหารงาน ในตนเอง
และมีความเป็นผู้นำ
7. มีความกระตือรือร้น 8. ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม 9. รู้จักประมาณตน
และไม่หยุดนิ่ง
10. เงินทุน 11. การสนับสนุน 14
จากคนรอบข้าง
Chapter 3
สถานการณ์การส่งออกมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทย
ผลผลิตมะพร้าวแยกตามจังหวัดประจำปี 2561
**กรณีศึกษาครั้งนี้จะเลือกยกตัวอย่างเพียง 3 จังหวัด
ผลผลิตแยกตามจังหวัดประจำปี 2561
จังหวัด ผลผลิต สัดส่วน เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว
(ตัน) (ไร่) (กก.)
ประจวบคีรีขันธ์ 255,926,245 40.13% 296,013 864,577.72
1.21% 9,741 795,000.00
ราชบุรี 7,744,095 0.15% 1,664 578,000.00
นครปฐม 961,792
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (เรื่องผลผลิตมะพร้าวแยกตามจังหวัด ประจำปี 2561)
ผลผลิตมะพร้าวแยกตามจังหวัดประจำปี 2562
**กรณีศึกษาครั้งนี้จะเลือกยกตัวอย่างเพียง 3 จังหวัด
ผลผลิตแยกตามจังหวัดประจำปี 2562
จังหวัด ผลผลิต สัดส่วน เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว
(ตัน) (ไร่) (กก.)
ประจวบคีรีขันธ์ 261,985,096 42.33% 313,081 836,796.54
1.23% 9,850 772,482.64
ราชบุรี 7,608,954 0.10% 1,056 562,378.79
นครปฐม 593,872
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (เรื่องผลผลิตมะพร้าวแยกตามจังหวัด ประจำปี 2562)
15
ผลผลิตมะพร้าวแยกตามจังหวัดประจำปี 2563
**กรณีศึกษาครั้งนี้จะเลือกยกตัวอย่างเพียง 3 จังหวัด
ผลผลิตแยกตามจังหวัดประจำปี 2563
จังหวัด ผลผลิต สัดส่วน เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว
(ตัน) (ไร่) (กก.)
ประจวบคีรีขันธ์ 248,815,598 42.10% 315,508 788,618.98
1.22% 9,713 743,899.21
ราชบุรี 7,225,493 0.09% 1,051 511,372.03
นครปฐม 537,452
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (เรื่องผลผลิตมะพร้าวแยกตามจังหวัด ประจำปี 2563)
ข้อมูลผลผลิตมะพร้าวรายจังหวัด ย้อนหลัง 5 ปีล่าสุด
**กรณีศึกษาครั้งนี้จะเลือกยกตัวอย่างเพียง 3 จังหวัด
หน่วย : (ตัน)
จังหวัด ข้อมูลผลผลิตมะพร้าวรายจังหวัด ย้อนหลัง 5 ปีล่าสุด
ประจวบคีรีขันธ์ 2560 2561 2562 2563 2564
ราชบุรี
- 255,926,245 261,985,096 248,815,598 -
- 7,744,095 7,608,954 7,225,493 -
นครปฐม - 961,792 593,872 537,452 -
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (เรื่องข้อมูลผลผลิตมะพร้าวรายจังหวัด ย้อนหลัง 5 ปีล่าสุด)
16
สถานการณ์การผลิต
การผลิตมะพร้าวย้อนหลัง 5 ปีล่าสุด
2560 2561 2562 2563 2564
ผลผลิต - 637,694,396 618,868,739 591,017,088 -
(ตัน)
- 853,152 857,343 859,439 -
เนื้อที่เพาะปลูก
(ไร่) - 766,156 774,014 778,266 -
เนื้อที่เก็บเกี่ยว
(ไร่)
17
TOP 5 ตลาดส่งออก
มะพร้าวน้ำหอมไทย
ลำดับ ก.ย. 2562 ม.ค.-ก.ย. 2562
ประเทศ
ปริมาณ มูลค่า สัดส่วน ปริมาณ มูลค่า สัดส่วน
โลก 12,058,222 264,351,150 100:00 108,333,128 2,387,891,665 100.00
9,236,477 183,172,375 69.29 81,857,035 1,612,031,619 67.51
1. จีน
2. สหรัฐฯ 1,307,913 38,414,200 14.53 11,253,101 361,088,305 15.12
226,835 7,756,348 02.93 2,988,760 98,188,835 04.11
3. เนเธอร์แลนด์
4. ฮ่องกง 549,997 11,280,310 04.27 5,052,237 96,668,727 04.05
5. ออสเตรเลีย 124,398 4,431,920 01.68 1,390,388 45,106,379 01.89
ที่มา : กรมศุลกากร
18
Chapter 4
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร
การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร หมายถึง การนำผลิตผลทางการเกษตรมาแปรสภาพจาก
ลักษณะเดิมไปเป็นกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากการแปรสภาพตามธรรมชาติ
ให้ต่างไปจากเดิมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีทั้งสินค้าเกษตรด้านที่ไม่ใช่
อาหารและด้านอาหาร
ทราบกันไหมครับว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรไปสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร
ชนิดใหม่ได้โดย 8 วิธี ดังนี้
1. การอบ หรือ ตากแห้ง เป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้สามารถเก็บ
อาหารไว้ได้นานขึ้น เช่น กุ้งแห้ง ลำไยอบแห้ง
2. การเผา คั่ว หรือทอด ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริก
3. การแช่แข็ง เช่น ข้าวแกงทอดกึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารในลักษณะแช่แข็ง เกิดขึ้นมา
แนวคิดในการพัฒนาข้าวราดแกง ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีส่วนผสม
ของสมุนไพรและเครื่องเทศหลายชนิดให้อยู่
4. การทำเค็ม โดยหมักเกลือ อาจนำไปผึ่งแดดหรือไม่ก็ได้ เช่น หัวไชโป๊ว ปลาเค็ม
5. การหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา เต้าเจี้ยว
6. การดอง เช่น ขิงดอง มะม่วงดอง
7. การทำให้แห้งโดยอาศัยธรรมชาติ อาศัยการผึ่งลม เช่น ปลา เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช
ผลไม้ เช่น องุ่น กล้วย ผัก เป็นวิธีการต้องอาศัยแสงแดดเพียงพอ ต้นทุนต่ำแต่อาจ
ทำให้อาหารแห้งไม่ต่อเนื่องเป็นผลท าให้อาหารเน่าเสียระหว่างการรอตากแดดครั้ง
ต่อไป
8. การฉายรังสีอาหาร เป็นการนำอาหารไปรับรังสีจากต้นกำเนิดรังสี ในปริมาณที่เหมาะสม
รังสีที่ใช้ฉาย อาหารได้แก่ รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และรังสีอิเล็กตรอน รังสีดังกล่าวเป็น
พลังงานชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นสั้น มีอำนาจทะลุ
ทะลวงผ่านวัตถุได้สูง สามารถใช้ทำลายจุลินทรีย์ พยาธิและแมลง ที่ปนเปื้ อนมาใน
อาหารได้ โดยอุณหภูมิของอาหารไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อรังสีผ่านไปในวัตถุใด จะไม่ทำ
ให้วัตถุนั้นเกิด เป็นสารรังสีขึ้น ดังนั้น อาหารที่ผ่านการฉายรังสี จึงไม่มีรังสีตกค้าง
และไม่มีการสะสมของรังสีเกิดขึ้น การถนอม อาหารโดยใช้รังสี เช่น ผลิตภัณฑ์
แหนมที่ฉายรังสี
19
วิธีการเพิ่มมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร
วิธีการเพิ่มมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่
1. การสร้างแบรนด์คือ มีตราสินค้าหรือเครื่องหมายของสินค้า ทำให้เรามีความ
ภาคภูมิใจในสินค้าและเกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้า ทำให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์
และลดการเลียนแบบสินค้า ทำให้ผู้ซื้อจดจำสินค้าของเราได้ทำให้เกิดความเป็น
เอกลักษณ์ และลดการเลียนแบบสินค้า
2. หาทางเลือกใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น การลดภาวะโลกร้อน เป็นกระบวน
การผลิตที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกหรือมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำรวมถึง
เป็นแนวทางในการเลือกซื้อสินค้าที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังเป็นการเตรียม
ความพร้อมและตั้งรับให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในการส่งออกสินค้าไปยังตลาด
ต่างประเทศที่มีมาตรการการกีดกันทางการค้า และมีแนวโน้มว่าเราอาจถูกกำหนด
จากประเทศคู่ค้าให้แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออก
ไปจำหน่ายมากขึ้น การใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต วัตถุดิบบางประเภทสามารถ
ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเผาปูนขาวในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์
ชนิดบรรจุขวดและชนิดถุงเติม ตราหยก เป็นต้น
3. บรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์คือ บรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบโดยอาศัยเทคโนโลยี
และแนวคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ส่วนประโยชน์ต่อการใช้งาน
ส่วนให้ความรู้สึกถึงอารมณ์ผู้บริโภค เช่นบรรจุภัณฑ์ ชานอ้อยเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยนำ
กากชานอ้อยที่เหลือใช้ในโรงงานผลิตน้ำตาลมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร
เพื่อทดแทนบรรจุภัณฑ์แบบเดิมที่ใช้โฟม
20
นอกจากนี้ การเพิ่ มมูลค่าเพิ่ มให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ยังสามารถทำได้
อีกหลากหลายวิธี และวิธีที่หลายคนมักมองข้ามคือ วิธีเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วยเรื่องเล่า
เล่าถึงที่มาที่ไปของสินค้าชิ้นนั้น เล่าให้เห็นว่าสินค้าชิ้นนั้น “ไม่ธรรมดา” ประมาณว่า
สิ่งที่ตาเห็น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง เพราะมีสิ่งเลอค่าแอบซ่อนอยู่
แล้วอะไรควรนำมาเป็นเรื่องเล่า เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้บ้าง ไม่มีสูตรที่
ตายตัวครับ แล้วแต่ว่าสินค้านั้นไปเกี่ยวข้องกับอะไรที่น่าสนใจ และน่าสนใจมากพอ
ที่จะก่อให้เกิดเป็นเรื่องเล่าประจำสินค้านั้นได้ และเพื่อกระตุ้นต่อมให้ลูกค้าอยากซื้อ
เพิ่มมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างบางส่วนของเรื่องเล่ามากระตุ้นต่อมลูกค้าได้ ดังนี้
5 วิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยเรื่องเล่า
1. แหล่งวัตถุดิบ – เรื่องเล่าแนวนี้ จะให้ความสำคัญกับที่มาของวัตถุดิบ
ที่นำมาทำเป็นสินค้านั้น ว่าเป็นวัตถุดิบชั้นดี หรือวัตถุดิบหายาก หรือวัตถุดิบจากแหล่ง
ที่มีชื่อเสียง
2. กระบวนการผลิต – เรื่องเล่าแนวนี้ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า สิ่งที่กำลังสัมผัส
อยู่นั้นกว่าจะได้มาไม่หมู ต้องผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านขั้นตอนมาแบบสาหัสสากรรจ์
3. ผู้ผลิต หรือผู้ออกแบบ – เรื่องเล่าแนวนี้ ให้ความสำคัญกับคนทำ แต่ต้อง
เป็นคนทำที่มีชื่อเสียง จะได้ผลดีมาก เพราะถ้าคนทำยังโนเนม พูดไป ต้องมาอธิบายว่า
คือใครอีก เสียเวลาเปล่า
4. ความเชื่อ – เรื่องเล่าแนวนี้ นำเอาศรัทธาและความเชื่อมาเป็นจุดขาย
เติมอภินิหาร หรือส่อแววอันน่าเชื่อว่าจะมีอภินิหารก็ได้
5. อิงประวัติศาสตร์ – เรื่องเล่าแนวนี้ นำเอาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาอิง
ทำให้สินค้าดูมีมูลค่าในสายตาคนที่ชอบประวัติศาสตร์
ซึ่งบางทีเรื่องเล่าก็อาจมาในลักษณะ “ผสมผสาน” คือ อิงจากหลายอย่าง
มีทั้งแหล่งผลิต มีทั้งคนทำ มีทั้งกระบวนการ แต่ไม่ว่าอย่างไร เป้าหมายของเรื่องเล่า
เหล่านี้ ต้องการ “เพิ่มมูลค่า” ให้สินค้าและบริการ แต่อย่าลืมเด็ดขาดว่า เรื่องเล่า
ต้องไม่ใช่เรื่องแต่ง ที่โกหกทั้งเรื่อง แต่โม้ๆ แทรกบ้าง ลูกค้าพออภัยให้ได้ครับ…
21
ช่วงสาระน่ารู้เพิ่มเติม
ทราบกันไหมครับว่าการทำแบรนด์นั้นมีความสำคัญกับผู้ประกอบธุรกิจมือใหม่
อย่างไรบ้าง “อยากเติบโตอย่างมั่นคง ต้องลงทุนในแบรนด์” ซึ่งต้องบอกก่อนเพื่อให้
เข้าใจตรงกันว่าการเริ่มปั้ นแบรนด์ที่ไม่ได้มีแค่การสร้างโลโก้และสโลแกนบนแพ็กเกจ
สินค้าเท่านั้น แต่มีที่มาที่ไปอยู่ถึง 5 ขั้นตอนพื้นฐาน ที่จะทำให้แบรนด์ของเรามีความ
น่าสนใจและดึงดูดใจให้กับผู้คนได้
5 ขั้นตอนพื้นฐาน ปั้ นแบรนด์สำหรับเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่
1. กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์ให้ชัดเจน
ต้องมองเห็นลูกค้าอย่างชัดเจนว่าเค้าเป็นใคร อายุเท่าไหร่
ทำงาน หรือเรียนอะไร ชอบอะไร ใช้ชีวิตอย่างไร อาจจะต้อง
รู้จักไปยังครอบครัว หรือรายได้อีกด้วย ยิ่งรู้เยอะก็ยิ่งดี
เพราะจะทำให้เราเลือกสร้างแบรนด์สินค้าได้เหมาะสม
และสื่อสารออกไปได้อย่างตรงใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
2. กำหนดคุณค่าของแบรนด์ ที่ธุรกิจของคุณจะสร้างให้กับลูกค้าเป้าหมาย
เป็นการสรุปพันธกิจของแบรนด์ออกมาเป็นข้อความสั้นๆ เพื่อย้ำเตือน
ตัวเราเอง หุ้นส่วน พนักงาน และลูกค้าของเราให้เข้าใจถึงตัวแบรนด์
อย่างชัดเจน โดยหลายๆครั้งแบรนด์ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างแข็งแรงและ
ด้วยความตั้งใจ คุณค่าของแบรนด์จะถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบ
สโลแกน, รูปแบบคำพูดที่สื่อสาร , ภาพ, โฆษณา, วัฒนธรรมองค์กร,
รูปแบบสินค้า และอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน ที่จะทำให้ลูกค้าและ
ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง รับรู้ถึงความตั้งใจนี้
22
3. ศึกษาแบรนด์อื่น ๆ ในตลาด
นอกจากจะมุ่งมั่นเข้าใจลูกค้าแล้ว ก็ลองดูด้วยว่าแบรนด์อื่นๆ
ที่ขายสินค้าประเภทคล้ายๆเรา เค้าวางแบรนด์เค้าไว้ว่าอย่างไรบ้าง
โดยเฉพาะแบรนด์เจ้าใหญ่ๆ เช่นเรื่อง สินค้าที่ขายดี เสียงตอบรับ
จากลูกค้า แนวทางการสื่อสารกับผู้คน ฯลฯ เพื่อเป็นแนวทางให้เรา
เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจประเภทนนี้มากขึ้น ช่วยให้เราสร้าง
แบรนด์ที่มีจุดยืนที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นจุดขาย
เฉพาะตัวของแบรนด์เราค่ะ
4. สร้างโลโก้และสโลแกน
เ ป็ น ส่ ว น สำ คั ญ ม า ก ๆ ส่ ว น นึ ง ข อ ง ก า ร ทำ แ บ ร น ด์ เ ล ย ก็ ไ ด้
นั่นคือภาพโลโก้ที่จะติดไปในทุกๆที่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
ทั้งบนตัวสินค้า แพ็กเกจ นามบัตร ภาพโฆษณาทางสื่อทุกรูปแบบ
ซึ่งในตอนแรก เราอาจจะรู้สึกว่าต้องลงทุนทั้งเงินและเวลาไปกับ
สิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าคุณทำสำเร็จ ภาพโลโก้ของคุณจะเป็นสิ่งที่คนจดจำได้
อย่างชัดเจนไปอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้นโลโก้ที่ดีก็ควรจะโดดเด่น
แตกต่าง เป็นที่จดจำได้ง่าย และไม่ดูล้าสมัยเร็วนะคะ เพราะเราตั้งใจ
จะใช้มันเป็นที่จดจำไปนานๆนั่นเองค่ะ
5. กำหนดวิธีการสื่อสารของแบรนด์
ใ ห้ ล อ ง นึ ก ถึ ง ว่ า แ บ ร น ด์ ข อ ง เ ร า จ ะ มี บุ ค ลิ ก ที่ แ ส ด ง อ อ ก ไ ป
ต่อลูกค้าอย่างไร เช่น เป็นแบรนด์ที่ดูมืออาชีพ หรือจะดูเป็นมิตร
เน้นบริการเป็นเลิศ เป็นต้น ซึ่งมันก็คืออยู่กลุ่มลูกค้าที่เราสนใจ
คุณค่าที่เราตั้งใจจะให้กับแบรนด์ และลักษณะของธุรกิจด้วย
23
ตัวอย่างแบรนด์สินค้าที่ประสบความสำเร็จ
ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
1. น้ำมะพร้าวน้ำหอม แบรนด์coco max 2. น้ำมะพร้าวน้ำหอม แบรนด์ Malee Coco 24
3. น้ำมะพร้าวน้ำหอม แบรนด์ if coco 4. น้ำมะพร้าวน้ำหอม แบรนด์ Aromatic Farm
5. น้ำมะพร้าวน้ำหอม แบรนด์ Coco Me 6. น้ำมะพร้าวน้ำหอมจุกคอร์ก แบรนด์ Coco Crack
7. พุดดิ้งมะพร้าวน้ำหอม แบรนด์ HOMMDEE 8. ไอศกรีมมะพร้าวน้ำหอมน้ำตาลสด แบรนด์ Baby Chick by Lookkai Khaoyai
Chapter 5
การจัดเตรียมสินค้าและการจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการส่งออกระหว่างประเทศ
เมื่อเราได้รับคำสั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราต้องทำต่อไป คือ
ขั้นตอนการจัดเตรียมสินค้า
ขั้นตอนการจัดทำสัญญาซื้อขาย
ขั้นตอนการชำระเงิน
ขั้นตอนการศึกษาวิธีการส่งมอบสินค้า
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
25
5.1 ขั้นตอนการจัดเตรียมสินค้า
เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อแล้วในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้าเอง ทางผู้ส่งออก
จะต้องเตรียมผลิตสินค้าให้พร้อมและเสร็จสิ้นก่อนกำหนดส่งสินค้าและในกรณี
ที่ผู้ส่งออกไม่ได้ผลิตสินค้าเองก็จะต้องทำสัญญากับผู้ผลิตให้กำหนดส่งมอบสินค้า
ตามเวลาที่กำหนด และทำการทดสอบคุณภาพของสินค้าให้เป็นไปตามข้อตกลง
ที่ได้ให้ไว้กับผู้ซื้อด้วยครับ
ตัวอย่าง มะพร้าวน้ำหอมของไทยที่ใช้ในการส่งออกจะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1.มะพร้าวเจียน คือ มะพร้าวที่นำมาปลอกเปลือกขาว
(Exsocarp) ออกทั้งหมดหรือบางส่วนตกแต่ง
ให้มีรูปทรงกระสอบ ด้านบนเป็ นรูปฝาชีหรือ
ตกแต่งเฉพาะด้านบนให้เป็นรูปฝาชี
2. มะพร้าวกลึง คือ มะพร้าวที่นำมาปลอกเปลือกขาว
(Mesocarp) ออกทั้งหมดหรือเหลือบางส่วนไว้เป็นฐาน
แล้วเจียและแต่งผิวกะลาให้เรียบเนียน
ซึ่งมะพร้าวน้ำหอมที่ส่งออกจะเป็น "มะพร้าวเนื้อสองชั้น"
สามารถนำไปบริโภคได้ทั้งผล น้ำหวานหอม จะมีอายุ
หลังจั่นบาน ๒๐๐-๒๑๐ วัน (๖ เดือน ๒ สัปดาห์)
ชาวสวนจะเก็บเกี่ยวมะพร้าวในระยะนี้
สิ่งสำคัญ คือ ต้องเตรียมสินค้าให้ทันตามกำหนด และตรวจเช็คจำนวนสินค้ารวมถึงคุณภาพ
ของสินค้าให้ตรงตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้
26
5.2 ขั้นตอนการตกลงซื้อขายและการจัดทำสัญญาซื้อขาย
ขั้นตอนการตกลงซื้อขายระหว่างประเทศ รวยด้วยธุรกิจส่งออกสินค้า รวยด้วยธุรกิจ
นำเข้าเพื่อส่งออกสินค้า การที่คุณจะส่งออกสินค้าได้นั้น ต้องเกิดจาการตกลงซื้อขายกัน
ระหว่างประเทศ โดยผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าและผู้ขายหรือผู้ส่งออก ซึ่งอยู่กันคนละประเทศ
ตกลงซื้อขายตามคำสั่งซื้อและผู้ขายหรือผู้ส่งออกได้รับชำระเงินค่าสินค้าแล้ว สิ่งที่ผู้ส่งออก
ต้องระมัดระวังก็คือเรื่องนี้ครับ การทำสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อ ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐาน
ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อป้องกันการบิดพลิ้ว หรือเพื่อใช้ในการฟ้องร้อง
หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อเพื่อ
การส่งออกอีกด้วย
การทำสัญญาซื้อขาย (Sale Contract)
เมื่อมีการเสนอราคาและตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการนำสัญญาซื้อขาย
โดยผู้ซื้อและ ผู้ขาย หรือโดยตัวแทนของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งโดยปกติจะมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. Proforma Invoice
2. Purchase Order
3.Sale Confirmation
27
Proforma Invoice เป็นเอกสารที่ผู้ขายส่งให้ผู้ซื้อเพื่อเป็นการเสนอ หรือยืนยัน
การเสนอราคาและเงื่อนไขต่างๆ ในการขา
ยสินค้านั้นๆ
ตัวอย่างเอกสาร : Proforma Invoice
28
Purchase Order เมื่อผู้ซื้อตกลงตามราคา และเงื่อนไขใน Proforma Invoice
แล้วจะส่งหนังสือการสั่งซื้อ (Purchase Order) มาให้ผู้ขายเพื่อเป็นการตอบรับ
และสั่งซื้อสินค้าตามราคา และเงื่อนไขดังกล่าว
ตัวอย่างเอกสาร : Purchase Order
29
Sale Confirmationเป็นสัญญาการซื้อขาย ซึ่งผู้ขายส่งให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นการยืนยัน
หรือตอบรับการสั่งซื้อนั้นอีก (ซึ่งในทางปฏิบัติบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นก็ได้)
ตัวอย่างเอกสาร : Sales Confirmation
30
5.3 ขั้นตอนการชำระเงิน
การชำระเงินมีความสำคัญมากในการส่งออก เนื่องจากไม่ใช่เป็นการขาย
ภายในประเทศ ที่ลูกค้าจะสามารถเลือกดูสินค้า และส่งสินค้าได้ทันที ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
อยู่ห่างไกลกันมาก หากเกิดปัญหาสินค้าไม่ตรงตามคุณภาพที่ต้องการ หรือมีปัญหา
เรื่องการชำระเงินแล้ว จะมีความยุ่งยากมากในการติดตาม สำหรับการชำระเงินที่ปฏิบัติ
กันในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การจ่ายเงินล่วงหน้า (Cash or Advance Payment)
วิธีนี้ผู้ซื้อจะส่งเงิน (Bank Draft หรือการโอนเข้าบัญชีผู้ขาย) ให้แก่ผู้ขายไปก่อน
เมื่อผู้ขายได้รับเงินแล้วจึงจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อวิธีนี้ ผู้ซื้อค่อนข้างจะเสียเปรียบมาก
หากไม่คุ้นเคยหรือรู้จักผู้ขายเป็นอย่างดี
CYCLE CASH OR ADVANCE PAYMENT
ผู้ขาย ผู้ซื้อ
6. รับสินค้า
1. สัญญาซื้อขาย
5. จัดส่งสินค้า
ท่าเรือ
4. แจ้งผู้ขายมีเงินโอนเข้าเพื่อชำสินค้า 2. ชำระเงินค้าสินค้า (โอนเงิน)
3.2 แจ้งการชำระเงิน
ธนาคาร ข. (ผู้รับเงิน) ธนาคาร ก. (ผู้โอนเงิน)
31 3.1 โอนเงินโดยสั่งนักบัญชีธนาคาร ก.
ให้เข้าบัญชีธนาคาร ข. (บัญชีผู้ส่งออก)
2. การจ่ายเงินเชื่อ (Open Account)
วิธีนี้ จะตรงกันข้ามกับวิธีแรก คือ ผู้ขายจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อก่อนและได้รับ
จากผู้ซื้อภายหลัง ซึ่งอาจจะมีการตกลงกันว่าภายในกี่วัน เช่น 30 หรือ 60 วัน ซึ่งผู้ขาย
จะเป็นผู้เสียเปรียบ
CYCLE OPEN ACCOUNT
ผู้ขาย ผู้ซื้อ
รับสินค้า
1. สัญญาซื้อขาย
2. จัดส่งสินค้า + เอกสาร 3. ชำระเงินค้าสินค้า (โอนเงิน)
ท่าเรือ
5. แจ้งผู้ขายมีเงินโอนเข้าเพื่อชำสินค้า
4.2 แจ้งการชำระเงิน
ธนาคาร ข. (ผู้รับเงิน) ธนาคาร ก. (ผู้โอนเงิน)
4.1 โอนเงินโดยสั่งนักบัญชีธนาคาร ก.
ให้เข้าบัญชีธนาคาร ข. (บัญชีผู้ส่งออก)
32
3. การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill of Collection)
คือ การเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร ซึ่งธนาคารผู้เรียกเก็บจะปฏิบัติตามคำสั่ง
ของลูกค้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
- Documents Against Payment (D/P) เป็นการจ่ายเงินก่อนนำเอกสารไปออกสินค้า
วิธีนี้ ผู้ขายจะส่งเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้าไปให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ
เมื่อผู้ซื้อมาจ่ายเงินค่าสินค้าที่ธนาคารแล้ว จึงสามารถเอาเอกสารนั้นไปออกสินค้าได้
ซึ่งมีทั้งการจ่ายเงินทันที (At Sight) หรือจ่ายภายหลัง(Term 30, 60 หรือ 90 วัน)
- Documents Against Acceptance (D/A) เป็นการจ่ายเงินโดยผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงิน
แล้วนำเอกสารไปออกสินค้า วิธีนี้คล้ายกับวิธี D/P คือเอกสารทั้งหมดจะส่งให้แก่
ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อรับรองตั๋วแกเงินแล้วนำเอกสารไปออกสินค้า
ได้เลย โดยยังไม่ต้องจ่ายเงินและก็อาจจะสามารถไม่จ่ายเงิน ภายหลังก็ได้
CYCLE BILLS FOR COLLECTION
ผู้ขาย ผู้ซื้อ
(Principle) (Drawee)
ผู้ฝากเรียกเก็บ ผู้จ่ายเงินตามตั๋ว
1. สัญญาซื้อขาย
2. จัดส่งสินค้า 7. รับสินค้า
ท่าเรือ 5. ชำระเงิน (D/P)
หรือทำ T/R หรือ
8. ชำระค้า 3. มอบตั๋วเงิน 6. ให้เอกสาร Accept ตั๋ว (D/A)
สินค้า และเอกสาร เพื่อรับสินค้า
ทางการค้า
7. โอนเงินให้ (Remitt Bank) โดยสั่งให้หักบัญชี
ของ Collection Bang
ธนาคาร ข. (ผู้รับเงิน) 4. ตั๋วเงินและเอกสารทางการค้า ธนาคารผู้เรียกเก็บเงิน
Collecting Bank
33
4. เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)
L/C คือตราสารที่ธนาคารออกให้กับผู้ขาย โดยการร้องขอหรือตามคำสั่งของผู้ซื้อ
ว่าถ้าผู้ขายยื่นเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามที่ L/C ระบุแล้ว ธนาคารก็จะจ่ายเงินให้ทันที
หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนว่า ผู้ซื้อจะไปขอให้ธนาคาร เปิด L/C
ไปยังผู้ขาย จากนั้นผู้ขายก็จะจัดส่งเอกสารเพื่อใช้ในการออกสินค้าให้ครบถ้วนตามที่
ระบุไว้ใน L/C แล้วส่งมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อขอให้จ่ายเงิน
ซึ่งวิธีการนี้ผู้ขายจะมั่นใจได้ว่า ถ้าจัดส่งเอกสารเพื่อใช้ในการออกสินค้าให้ครบถ้วน
ตามเงื่อนไขที่ระบุใน L/C ทุกประการ ผู้ขายจะได้รับเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C
ผ่านธนาคารในประเทศของตน ส่วนผู้ซื้อเองก็มั่นใจว่าจะได้รับเอกสารที่ครบถ้วน
ถูกต้องถึงจะจ่ายเงินออกไป
LETTER OF CREDIT หรือ การเปิด L/C
BENEFICIARY APPLICANT
ผู้ขาย ผู้ซื้อ
1. สัญญาซื้อขาย
5. จัดส่งสินค้าแล้ว 10. รับสินค้า
4. ADVISE 13. ชำระเงิน ท่าเรือ 8. ชำระเงินหรือ
L/C 3. เปิด L/C ขอสินเชื่อ
9. รับ B/L หรือ T/R
6. ยื่นเอกสาร เพื่อรับสินค้าจากท่าเรือ 2. ขอเปิด L/C
7. ยื่นตั๋วพร้อมกับเอกสาร
ADVISING BANK ISSUING BANK
ธนาคารผู้แจ้ง L/C ธนาคารผู้เปิดบัญชี
12. ชำระเงิน REIMBURSING BANK 11. คำสั่งให้จ่ายเงิน
ธนาคารผู้รับมอบให้ชำระเงิน
34
5.4 ศึกษาเงื่อนไขวิธีการส่งมอบสินค้า
INCOTERMS 2020 (International Commercial Terms of 2020)
คือ ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศปี 2020 ซึ่งถือเป็นข้อตกลง
มาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงสำหรับ
การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งจากผู้นำเข้าและผู้ส่งออกทั่วโลก
โดยปกติ Incoterms จะมีวาระในการทบทวนเพื่อแก้ไขและปรับปรุงเนื้อหา
ทุก ๆ 10 ปี โดยทาง (International Chamber of Commerce – ICC) เช่น
INCOTERMS 2000, INCOTERMS 2010 และ INCOTERMS 2020
ในปัจจุบันใช้ INCOTERMS 2020 ประกอบด้วย 11 Terms ได้แก่
EXW FCA CFR DAP
FAS CIF DDP
FOB CPT DPU
CIP
- INCOTERMS 2020 -
35
EXW : Ex Works คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ สถานที่ที่ระบุไว้ โดยไม่ต้องขนสินค้า
ขึ้นบนพาหนะที่มารับ
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า
Delivery Cost : ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่ได้
รับมอบสินค้า
Customs Clearance : ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า
(ผู้ขายเพียงให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลและเอกสารเพื่อการส่งออก)
INCOTERMS 2020 EXW
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
Ex Works ! AGREED PLACE BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
SELLER'S OBLIGATION
FCA : Free Carriage คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าถึงบนพาหนะของผู้รับขนส่งที่ทางผู้ซื้อ จัดให้มารับสินค้า
ณ สถานที่ที่ระบุไว้
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ได้รับมอบ
สินค้า
Delivery Cost : ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่
ได้รับมอบสินค้า
Customs Clearance : ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า
(ผู้ขายเพียงให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลและเอกสารเพื่อการส่งออก)
INCOTERMS 2020 FCA
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
FREE CARRIER ! AGREED PLACE !
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
36
FAS : Free Alongside Ship คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้ที่ข้างเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ได้รับมอบ
สินค้า
Delivery Cost : ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่
ได้รับมอบสินค้า
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่ต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่าน
พิธีการผ่านแดน/ขาเข้า
INCOTERMS 2020 FAS
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
FREE ALONGSIDE SHIP ! PORT OF LOADING
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
FOB : Free on Board คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าถึงบนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ได้รับมอบ
สินค้า
Delivery Cost : ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่
ได้รับมอบสินค้า
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่ต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่าน
พิธีการผ่านแดน/ขาเข้า
INCOTERMS 2020 FOB
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
FREE ON BOARD ! PORT OF LOADING
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
37
CFR : Cost and Freight คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าไว้บนเรือ ณ ท่าเรืออส่งออกที่ระบุ
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า
Delivery Cost : ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด เริ่มตั้งแต่
ค่ายกสินค้าออกจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการ
ผ่านแดน/ขาเข้า
INCOTERMS 2020 CRF
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
COST AND FREIGHT ! PORT OF DESTINATION
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
CIF : Cost Insurance and Freight คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าไว้บนเรือ ณ ท่าเรือส่งออกที่ระบุ และต้องทำสัญญาประกันภัย
และชำระค่าประกันภัยจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทางใน Clauses (C) ของ
Institute Cargo Clauses
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า
Delivery Cost : ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด เริ่มตั้งแต่
ค่ายกสินค้าออกจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการ
ผ่านแดน/ขาเข้า
INCOTERMS 2020 CIF
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
COST, INSURANCE AND FREIGHT ! PORT OF LOADING
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
38
CPT : Carriage Paid To คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้รับจัดการขนส่งที่ตนเป็นผู้ว่าจ้าง ให้ส่งสินค้าไปยัง
สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า
เมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนที่ผู้ขายว่าจ้าง ณ จุดที่กำหนด
Delivery Cost : ผู้ขายเป็นผู้รับภาระชำระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมดจนถึง
สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการ
ผ่านแดน/ขาเข้า
INCOTERMS 2020 CPT
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
! COST PAID TO PLACE OF DESTINATION
! TRANSFER OF RISK
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION
CIP : Carriage and Insurance Paid To คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้รับจัดการขนส่งที่ตนเป็นผู้ว่าจ้าง ให้ส่งสินค้าไปยัง
สถานที่ปลายทางที่ระบุ และต้องทำสัญญาประกันภัยต่อความเสี่ยงและชำระค่าประกัน
ให้ผู้ซื้อจากจุดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งที่ผู้ขายว่าจ้าง ไปยังสถานที่
ปลายทางที่ระบุ
Buyer : เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้าเมื่อ
ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนที่ผู้ขายว่าจ้าง ณ จุดที่กำหนด
Delivery Cost : ผู้ขายเป็นผู้รับภาระชำระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมดจนถึง
สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการ
ผ่านแดน/ขาเข้า
INCOTERMS 2020 CIP
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
! CARRIER & INSURANCE PAID TO PLACE OF DESTINATION
! TRANSFER OF RISK
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION
39
DPU : Delivered at Place Unloaded คือ
Seller : ทำการส่งมอบสินค้า โดยรับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงทั้งหมด
ไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะไปยังอาคารขนถ่ายสินค้าปลายทางที่ระบุ
ในสัญญารับขนส่ง
Buyer : รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Delivery Cost : ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่
ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขนส่ง
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อ
เป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า
Remarks : *ก่อน INOCOTERMS 2020 DPU ถูกเรียกว่า DAT(Delivery at Terminal)
INCOTERMS 2020 *DPU
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
DELIVERED AT PLACE UNLOADED ! PLACE OF DESTINATION
! TRANSFER OF RISK
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION
DAP: Delivered at Place คือ
Seller : ส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่พร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่
ปลายทางระบุ (ไม่ต้องขนสินค้าลง)
Buyer : รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Delivery Cost : ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่
ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขนส่ง
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อ
เป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า
Remarks : **ก่อน INOCOTERMS 2020 DAP ถูกเรียกว่า DDU (Delivered Duty Unpaid)
INCOTERMS 2020 DAP
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Alongside Loading Destination The Buyer
Ship Port Port
Alongside
First Carrier Ship
DELIVERED AT PLACE ! DESTINATION
! TRANSFER OF RISK
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION
40
DDP : Delivered Duty Paid คือ
Seller : ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่มาถึงพร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ
จุดที่ตกลงกันที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ (ไม่ต้องขนสินค้าลง)
Buyer : รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Delivery Cost : ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าและการขนส่ง
จนกว่าสินค้าจะถูกส่งถึงสถานที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุไว้ ภายใต้สัญญารับขน
Customs Clearance : ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า
ทั้งหมด
INCOTERMS 2020 DDP
Point of Delivery and Transfer of Risk
The Seller Loading Destination The Buyer
Port Port
Alongside
Alongside Ship
First Carrier Ship
DELIVERED DUTY PAID ! DESTINATION
SELLER'S OBLIGATION BUYER'S OBLIGATION ! TRANSFER OF RISK
" ข้อควรรู้ "
ในการทำธุรกิจจริง ความเหมาะสมในการเลือกเงื่อนไข Incoterms
ในการซื้อขาย คือให้พิจารณาจากความสามารถในด้านการจัดการชิ้ปปิ้ ง
ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท A มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นประจำ
ทุกอาทิตย์อยู่แล้ว และยัได้ค่า Freight จากชิปปิ้ งในราคาถูกอีก
ซึ่งแบบนี้เราควรเลือกเงื่อนไข Ex Work คือ ให้ชิปปิ้ งไปรับสินค้า
ที่โรงงานให้ หรือเลือกเงื่อนไข FOB คือ ให้ผู้ขายส่งสินค้าถึงบนเรือ
หรือเลือกเงื่อนไข FCA ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงคาร์โก้ของผู้รับขนสินค้า
แบบนี้เป็นต้น
41
5.5 พิธีการส่งออก
พิธีการส่งออกเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการส่งออกสินค้า แต่ก็เป็นขั้นตอน
ที่มีความซับซ้อนมากขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งหากได้มีการศึกษาและเตรียมพร้อมล่วงหน้า
แล้วก็จะไม่มีความยุ่งยาก เนื่องจากรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้าไปยัง
ต่างประเทศอยู่แล้วจึงได้พยายามลดขั้นตอนหรืออุปสรรคต่างๆ ลงเพื่อช่วยให้ผู้ส่งออก
เกิดความสะดวกรวดเร็วในการจะส่งออกสินค้า โดยปกติแล้วการส่งออกสินค้าแต่ละชนิด
โดยเฉพาะสินค้าที่มีการควบคุม ก็จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสินค้า
นั้นโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานเดียวหรือหลายหน่วยงานก็ได้
เอกสารที่ใช้ในการส่งออกโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. ใบขนสินค้าขาออก
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
3. ใบอนุญาต หรือหนังสือรับรอง
4. ใบแนบใบขนสินค้าขาออก (กรณีเป็นสินค้าที่จะขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ)
42
1. ใบขนสินค้าขาออก
43
44
45
46
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่งสินค้าจัดทำขึ้น
เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น รายการจำนวนสินค้า น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย
ราคารวมเครื่องหมายหีบห่อ ชื่อผู้ซื้อ เป็นต้น บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า (Invoice)
นี้มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Official Invoice
2. Commercial Invoice
1. Official invoice ประกอบด้วย
ใบกำกับสินค้าของศุลกากร (Custom Invoice) ทำขึ้นเพื่อมอบให้ด่านศุลกากร
ปลายทางใช้ตรวจสินค้า การที่ศุลกากรต้องการใบกำกับราคาสินค้าชนิดนี้ก็เพื่อ
ป้องกันการตัดราคาในบางประเทศ
47
ใบกำกับสินค้าของกงสุล (Consular Invoice) เป็นใบกำกับราคาสินค้าที่ต้อง
ให้กงสุลของประเทศผู้ซื้อที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยตรวจตราก่อนการขนส่ง
ตามระเบียบศุลกากรของประเทศผู้ซื้อบางประเทศ เว้นแต่ L/C จะขออนุญาต
ใ ห้ ใ บ กำ กั บ สิ น ค้ า นั้ น อ อ ก ไ ด้ โ ด ย ส ถ า น ก ง สุ ล ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ พั น ธ มิ ต ร อื่ น
ดังนั้น ใบกำกับสินค้าชนิดนี้จะต้องได้รับการประทับตราทางราชการและลงนาม
โดยถูกต้อง ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมให้สถานกงสุลตามระเบียบของสถาน
กงสุลนั้นๆ
2. Commercial Invoice ประกอบด้วย
Consignment Invoice ใช้ในการสั่งสินค้าเพื่อไปฝากขาย ราคาที่แจ้งเป็น C.I.F
48