alisa.h Download PDF
  • 14
  • 0
รายงานวิจัยเรื่อง การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติ จังหวัดสงขลา ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของแรงงานกัมพูชา
และแรงงานเมียนมาร์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดสงขลา จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นแรงงานกัมพูชา 10 คน และแรงงานเมียนมาร์ 10 คน ในประเด็นผลกระทบต่าง ๆ โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและได้ถูกมาวิเคราะห์โดยวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แรงงานข้ามชาติมีอายุตั้งแต่ 25-48 ปี ศาสนาอิสลาม 5 คน ศาสนาพุทธ 15 คน อาชีพต่อเนื่องประมง 10 คน อาชีพพนักงานโรงงาน 8 คน และอาชีพลูกเรือประมง 2 คน สถานภาพแต่งงาน 18 คน โสด 2 คน และอายุการทำงานมีตั้งแต่
1-11 ปี โดยการปรับตัวในช่วงสถานการณ์โควิด-19 พบว่ามี 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การปรับตัวทางด้านกฎหมาย พบว่า มีการให้แรงงานทำเอกสารการอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติบางจำพวกอยู่ใน ราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 และห้ามเดินทางออกนอกประเทศไทยเนื่องจากมีการปิดด่าน
2) การปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจพบว่า แรงงานข้ามชาติจะต้องเป็นหนี้นายจ้างเพื่อทำเอกสารการอนุญาตในการอยู่ต่อประเทศไทย เช่น วีซ่า พาสปอร์ต ซึ่งงานที่ได้น้อยลงทำให้ส่งเงินให้ที่บ้านได้น้อยลงด้วย รายได้สำหรับแรงงานที่รับเหมาเป็นกิโลน้อยลง OT น้อยลงแต่ภาระมีเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องดูแลทั้งตัวเองและครอบครัวในช่วงสถานการณ์โควิด-19
3) การปรับตัวทางด้านสังคม พบว่า วิถีปฏิบัติแบบนิวนอมอล เช่น การบังคับใช้หน้ากาก และเจลล้างมือ กลายเป็นภาระทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าการระบาดในรอบแรกจะได้รับความช่วยเหลือจากนายจ้าง แต่การระบาดระลอกใหม่ยังไม่มีการช่วยเหลือ สำหรับประเด็น 4) การปรับตัวทางด้านสาธารณสุข พบว่า แรงงานส่วนใหญ่รับข่าวสารจากโทรศัพท์ผ่าน Facebook และดูแลตัวเองตามมาตรการต่าง ๆ แรงงานที่เข้าไปรักษาหรือว่าไปตรวจในช่วงที่โควิด-19 ส่วนใหญ่จะใช้บัตรประกันสังคมในการรักษาพยาบาล แต่ถ้าหากซื้อยาที่ร้านยาจะต้องใช้เงินตัวเองในการซื้อยา
View Text Version Category : 22
  • Follow
  • 0
  • Embed
  • Share
  • Upload
Related publications