The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ธวัชชัย กันตังกุล, 2022-12-08 12:58:46

โนราบทปฐม

โนราบทปฐม

นวตั กรรมทางการศกึ ษา
เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลปพ์ ื้นบ้าน

รำโนราบทปฐม
สำหรับนักเรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีที่ 2

นายธวชั ชยั กันตงั กลุ
รหัสนักศกึ ษา 641120014

สาขาวชิ านาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภฏั นครศรีธรรมราช
2565



คำนำ

เอกสารประกอบการเรียนรำโนราบทปฐม ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่ือการ
เรียนการสอนการแสดงพ้ืนบ้านโนรา ของนักเรียน ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตลอดท้ังผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ที่
ตอ้ งการพฒั นาทกั ษะการแสดงโนรา

สาระสำคัญของเอกสารประกอบดว้ ย ประวัติหรือตำนานโนราองค์ประกอบของโนรา เครือ่ งแตง่
กาย เครอื่ งดนตรี บทรอ้ ง ผแู้ สดงและทา่ รำ

ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ช่างสาน อาจารย์ประจำวิชาการแสดงโนรา ท่ีช้ีแนะ
การพัฒนาเอกสารจนสมบูรณ์เป็นส่ือท่ีดีมปี ระโยชน์ ขอบคุณศิลปินโนรากลอยใจดาวร่งุ ท่ีเสยี สละเวลามา
เป็นวิทยากรแนะนำการแสดงโนราท่ีถกู ต้องตามแบบฉบับ ขอบคุณเพื่อน ๆ น้อง ๆ สาขาวิชานาฏศิลป์ทุก
คนท่เี ปน็ กำลังใจในการพัฒนาสรา้ งผลสมั ฤทธทิ์ ่ีดีของงานเอกสารคร้ังน้ี จงึ ขอขอบคณุ มา ณ โอกาสน้ี

นายธวชั ชยั กันตังกลุ
12 / ธนั วาคม / 2565



สารบัญ

เรอ่ื ง หน้า
คำนำ.............................................................................................................................................. ก
สารบัญ........................................................................................................................................... ข
สารบัญภาพ................................................................................................................................... ค
คำชแ้ี จงการใช้เอกสาร................................................................................................................... จ
กระดาษคำตอบ............................................................................................................................. 3
สาระการเรยี นรู้.............................................................................................................................. 1
จดุ ประสงค์การเรียนรู้..................................................................................................................... 1
วธิ ีสอนและกิจกรรมการเรยี นการสอน............................................................................................ 1
ส่ือการเรียนการสอน...................................................................................................................... 1
การวดั ผลประเมนิ ผล..................................................................................................................... 2
แบบทดสอบกอ่ นเรียน................................................................................................................... 4
โนราบทปฐม................................................................................................................................. 7

ประวัตโิ นรา............................................................................................................................. 8
องคป์ ระกอบชุดการแสดง....................................................................................................... 8
ผแู้ สดง..................................................................................................................................... 8
เพลงประกอบการแสดง........................................................................................................... 9
เครือ่ งแต่งกาย.......................................................................................................................... 11
เครอ่ื งดนตร.ี ............................................................................................................................. 19
ทา่ รำโนราบทปฐม.................................................................................................................... 22
สรุป............................................................................................................................................... 54
คำถามทบทวน.............................................................................................................................. 55
แบบฝึกหัดท่ี 1 เรือ่ งโนราบทปฐม............................................................................................ 55
แบบฝกึ หดั ที่ 2 เรอ่ื งเพลงประกอบการแสดง........................................................................... 56
แบบฝกึ หัดที่ 3 เรอ่ื งองคป์ ระกอบของการแสดง...................................................................... 57
แบบฝกึ หัดท่ี 4 เรื่องทา่ รำ........................................................................................................ 58
แบบทดสอบหลงั เรียน.............................................................................................................. 59
บรรณานุกรม................................................................................................................................. 61
ภาคผนวกภาคผนวก...................................................................................................................... 65



สารบัญภาพ

ภาพท่ี หนา้
ภาพท่ี 1 ผแู้ สดงบทปฐม................................................................................................................... 8
ภาพท่ี 2 เทริด.................................................................................................................................. 11
ภาพท่ี 3 ชดุ ลูกปดั มโนราห์............................................................................................................... 12
ภาพท่ี 4 บ่า...................................................................................................................................... 12
ภาพที่ 5 ป้ิงคอ................................................................................................................................. 13
ภาพท่ี 6 รอบอก............................................................................................................................... 13
ภาพท่ี 7 ปกี นกแอน......................................................................................................................... 14
ภาพที่ 8 ทบั ทรวง............................................................................................................................ 14
ภาพท่ี 9 ปีกหรอื หางหงส์................................................................................................................. 15
ภาพท่ี 10 ผา้ นงุ่ ............................................................................................................................... 15
ภาพที่ 11 สนบั เพลา........................................................................................................................ 16
ภาพที่ 12 ผา้ หอ้ ย............................................................................................................................ 16
ภาพที่ 13 หน้าผ้า............................................................................................................................ 17
ภาพที่ 14 กำไลตน้ แขน................................................................................................................... 17
ภาพที่ 15 กำไล................................................................................................................................ 18
ภาพที่ 16 เล็บ.................................................................................................................................. 18
ภาพท่ี 17-23 เครื่องดนตรีโนรา...................................................................................................... 19-20
ภาพท่ี 24 – 55 ทา่ รำบทปฐม........................................................................................................ 22-53



คำชี้แจงการใชเ้ อกสารประกอบการเรยี น
เรื่อง โนราบทปฐม สำหรับนักเรยี นชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 2

1. นักเรียนตอ้ งมคี วามซ่อื สัตย์ต่อตนเอง โดยต้องปฏบิ ัตติ ามคำส่ังของครอู ย่างเครง่ ครดั
2. เอกสารเรื่องโนราทบปฐม เป็นเอกสารท่ีมีความสมบรู ณ์ในเล่ม นักเรียนต้องทำความเข้าใจกับ
คำช้ีแจง ตรวจสอบวัตถุประสงค์ ตรวจสอบสาระสำคัญ ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน แล้วจึงศกึ ษาสาระในเล่ม
ท้ังหมด อ่านสรุป และทำคำถามทบทวนที่มีในเล่มทุกคร้ัง ทำแบบทดสอบหลังเรียนอย่างมีสมาธิและ
เข้าใจ
3. นักเรยี นต้องอ่านหนงั สอื ทกุ หน้าเพื่อทำความเข้าใจ หากมีข้อสงสัยให้ถามครู
4. นักเรียนปฏิบัติตามกิจกรรมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างย่ิงแบบทดสอบก่อนเรียน/หลัง
เรียน นกั เรยี นจะตอ้ งมีความซ่ือสัตยโ์ ดยจะตอ้ งทำดว้ ยตนเองอยา่ งเครง่ ครัด
5. เม่ือนักเรียนเรียนและทำกิจกรรมในเล่มเสร็จ จะต้องเก็บเอกสารประกอบการเรียนส่งครูเพ่ือ
จะได้บันทกึ คะแนน
6. หากนักเรียนอ่านคำถามในกิจกรรมไม่เข้าใจจะต้องตรวจสอบกับคุณครูเท่าน้ัน โดยไม่ถาม
เพื่อน

1

สาระการเรียนรู้

สาระสำคญั ของเอกสารประกอบการเรียน เรอื่ ง โนรา มดี งั น้ี
1.ความหมาย
2.ประวตั ิหรอื ตำนานโนรา
3.องค์ประกอบของโนรา
3.1. เครื่องแตง่ กาย
3.2. ดนตรี
3.3. บทรอ้ งและเพลง
3.4. ผูแ้ สดง
3.5. สถานที่แสดง
3.6. ท่ารำ
4.ความเช่อื และพธิ กี รรม
5.โอกาสทใ่ี ชใ้ นการแสดง

จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้

1. นกั เรยี นสามารถอธบิ ายความหมาย ประวตั ขิ องการแสดงโนราได้ถูกตอ้ ง
2. นักเรยี นเขา้ ใจองค์ประกอบของการแสดงโนราไดถ้ ูกต้อง
3. นักเรียนมีทักษะการร้องกลอนประกอบการรำโนราบทปฐม ได้ถูกต้องตามทำนองและจงั หวะ
4. นกั เรียนมีทกั ษะการปฏบิ ตั ิทา่ รำบทปฐมถกู ต้องสวยงาม

วิธสี อนและกิจกรรมการเรียนการสอน

1. วธิ ีสอน
วธิ ีสอนมีการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใชว้ ิธีการสอนท่ีหลากหลายมีการจัดการเรียน

การสอนแบบอธิบาย อภิปรายและการฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม ทำแบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน
และการทำแบบฝกึ หดั ทา้ ยบท

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประจำบทนี้ผู้สอนต้องใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ท่ี

1-2 จากคู่มือการใชน้ วัตกรรมเอกสารประกอบการเรียนรำโนราบทครูสอน

ส่อื การเรียนการสอน

1. คูม่ ือการใชเ้ อกสารประกอบการ
2. เอกสารประกอบการเรยี น

2

การวัดผลและประเมนิ ผล

กระบวนการวดั ผลประเมนิ ผล
1. วธิ กี าร

1.1 สงั เกตพฤตกิ รรมรายบคุ คล
1.2 สงั เกตพฤติกรรมรายกลุม่
1.3 ตรวจแบบฝกึ หดั
1.4 ทดสอบก่อนเรยี น / หลงั เรยี น
2. เครอื่ งมอื
2.1 แบบประเมนิ พฤติกรรมรายบคุ คล
2.2 แบบประเมินพฤตกิ รรมรายกลุ่ม
2.3 แบบเฉลยแบบฝึกหัดทา้ ยบทที่ 1
2.4 แบบทดสอบก่อนเรียน / หลงั เรยี น
2.5 แบบเฉลยแบบทดสอบก่อนเรยี น / หลงั เรยี น
3. เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
3.1 ทำแบบทดสอบผา่ นเกณฑร์ ้อยละ 80
3.2 ทำแบบฝึกหัดผ่านเกณฑร์ ้อยละ 80

3

กระดาษคำตอบ

โรงเรียน......................................................................ปกี ารศกึ ษา...........................
ชอื่ ..........................................................................ชัน้ ...................เลขที่................
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้.....................วนั ท่ี..............เดือน...................พ.ศ..................

ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง
16
27
38
49
5 10

ประเมินผล
เตม็

ได้

4

แบบทดสอบกอ่ นเรียน

กล่มุ สาระการเรียนรศู้ ิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ ....

เร่ือง ......... รหสั วชิ า ............ เวลา ....... นาที คะแนน ......... คะแนน

**********************************************************************************

คำชีแ้ จง : ใหน้ กั เรยี นเลือกคำตอบทีถ่ ูกที่สดุ แลว้ ทำเครอ่ื งหมาย (×) ลงในกระดาษคำตอบ

1. การแสดงโนราเป็นศิลปะการละเล่นของคนในแถบภาคใด

ก. ภาคเหนอื

ข. ภาคกลาง

ค. ภาคอสี าน

ง. ภาคใต้

จ.ภาคตะวนั ตก

2. ตามตำนานเชอ่ื ว่าโนราเกิดขึน้ ท่ีจังหวัดใด

ก. สงขลา

ข. นครศรีธรรมราช

ค. ตรงั

ง. พทั ลงุ

จ.กระบี

3. ตัวเลอื กใดอธิบาย “เทรดิ ” ได้ถูกต้องที่สุด

ก. ผ้านุ่งสำหรบั โนรา

ข. ลูกปดั คลุมไหล่

ค. เคร่อื งสวมศรี ษะ

ง. เครอื่ งสวมเล็ก

จ.เครอ่ื งทัดหู

4. “เคร่อื งเบญจ” ใช้เรียกอะไรของการแสดงโนรา

ก. ท่ารำ

ข. เครอ่ื งดนตรี

ค. บทร้อง

ง. เสอ่ื ปูแสดง

จ.เครอื่ งแต่งกาย

5

5. จากภาพเป็นทา่ รำในตวั เลอื กใด
ก.แก้วข้าเหอบนิ เขา้ รงั
ข.รำท่ากระต่ายชมจนั ทร์
ค. ค่อยมาหันให้เปน็ มอญ
ง.รำทา่ จันทรท์ รงกรด
จ.ทำเวโหนโยนชา

6. จากภาพเปน็ ท่ารำในตวั เลือกใด
ก.แกว้ ขา้ เหอบนิ เขา้ รงั
ข.รำทา่ กระต่ายชมจันทร์
ค. คอ่ ยมาหนั ให้เป็นมอญ
ง.รำทา่ จันทร์ทรงกรด
จ.ทำเวโหนโยนชา

7. จากภาพเปน็ ทา่ รำในตัวเลอื กใด
ก.แกว้ ข้าเหอบินเข้ารงั
ข.รำทา่ กระต่ายชมจนั ทร์
ค. ค่อยมาหนั ให้เปน็ มอญ
ง.รำทา่ จนั ทร์ทรงกรด
จ.ทำเวโหนโยนชา

6

8. รักข้าเอยจะกล่าวอ้าง ท่อนถดั ไปมคี ำร้องตามขอ้ ใด.
ก. กลา่ วถงึ นางท่ีอัปสร
ข. กล่าวถงึ นางคนั ธมารี
ค. กล่าวถึงนางเทพมาลี
ง. กล่าวถึงนางเทพกนิ รี
จ. กลา่ วถงึ นางโสภีนี

9. รำท่าพระจนั ทรท์ รงกลด ท่อนถดั ไปมคี ำรอ้ งตรงตามข้อใด
ก. เมขลาลอ่ แกว้ กลางอำพร
ข. รำทา่ พระรสโยนสาร
ค. มารำท่ากวางเดนิ ดง
ง. รำทา่ กระต่ายชมจันทร์
จ. ดำทา่ นกแขกเตา้

10. ข้อใดไมใ่ ชค่ ำรอ้ งบทปฐม
ก. รำท่าพระจันทร์เต็มดวง
ข. รำท่ากวางโยนตัว รำยั่วชกั แปง้ ตดั หนา้
ค. ทำทา่ พระสุริวงศ์ ผู้ส่งศกั ดิ์
ง. ทำท่ากระบสี่ ีทา่
จ. รำท่าชะนรี า่ ยไม้

7

รำโนราบทปฐม

โนราบทประถมมีการประสมท่า ซ่ึงมีค่าและบทร้องที่ใกล้เคียงกับการรำแม่บทใหญ่ของทางภาค
กลาง ที่ใช้ฝึกหัดนาฏศิลป์ โนราบทปฐมนั้นเปน็ บทรำและบทร้อง เพ่ือบูชาครู ในพิธโี นราโรงครู ท่ารตา่ งๆ
เป็นท่าท่ีเลียนแบบ ธรรมชาติ รูปแบบชีวิต สัตว์ และ ลักษณะสังคม ฯลฯ ซึ่งเป็นท่าที่แตกตออกมาจาก
ท่ารำต้นฉบบั 12 ทา่ ครูของโนรา

ประวตั ิโนรา

ประวตั ิโนรามีการเล่าขานเปน็ ตำนาน ด้วยศิลปะการแสดงชนิดน้ีเป็นมหรสพพ้ืนบ้าน จึงมีประวัติ
เล่าขานเปน็ มุขปาฐะ หลายเรื่องราว อยา่ งไรก็ตามกระแสความตา่ ง ๆ มีความสอดประสานกันในบางเร่ือง
เช่น ช่ือตัวละคร ชือ่ สถานท่ี จากท่ีxekkalakpaktai. (2562).อ้างว่ามี หลายตำนาน แต่ด้วยการแสดงชนิด
น้ีเชื่อว่าเป็นของดั้งเดิมในภาคใต้จึงอ้างเฉพาะตำนานท่ี เล่าโดยขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) อำเภอ
ควนขนนุ จงั หวดั พัทลงุ ความวา่

พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองๆ หน่ึง มีชายาช่ือนางศรีมาลา มีธิดาชื่อนางนวลทอง
สำลี วันหนึ่งนางนวลทองสำลีสุบนิ ว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู ท่ารำมี 12 ท่า มีดนตรีประโคม ไดแ้ ก่ กลอง
ทบั โหมง่ ฉิง่ ป่ี และแตระ นางให้ทำเคร่อื งดนตรีและหัดรำตามทสี่ ุบินเปน็ ทคี่ รึกครน้ื ในปราสาท

อยู่มาวันหน่ึง นางอยากเสวยเกสรบัวในสระหน้าวัง คร้ันนางกำนัลเก็บถวายให้เสวย นางก็ทรง
ครรภ์ แต่ยังคงเล่นรำอยู่ตามปกติ วันหนึ่งพระยาสายฟ้าฟาดเสด็จมาทอดพระเนตรการรำของธิดา เห็น
นางทรงครรภ์ทรงตรัสถามเอาความจริง ได้ความเหตุเพราะเสวยเกสรดอกบัว พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรง
เช่ือ และทรงเห็นว่านางทรงทำให้อัปยศ จึงรับสั่งให้ลอยแพ พระธิดาพร้อมด้วยสนมกำนัล 30 คน แพไป
ติดเกาะกะชงั นางจึงเอาเกาะนนั้ เปน็ ที่อาศัย

ครรภ์ครบทศมาสจึงประสูติเป็นโอรสตั้งช่ือเด็กชายน้อย ทรงสอนให้รำโนราได้อย่างชำนาญ แล้ว
เล่าเร่ืองแต่หนหลังให้ทราบ ต่อมากุมารน้อย ได้โดยสารเรือพ่อค้าไปเท่ียวรำโนราไปยังเมืองพระอัยกา
เรื่องเล่าลือไปถึงพระยาสายฟา้ ฟาด ๆ ทรงปลอมพระองค์ไปดูโนรา เห็นกุมารน้อยมีหน้าตาคล้ายพระธดิ า
จึงทรงสอบถามจนไดค้ วามจริงว่าเปน็ พระราชนัดดา จึงรบั สงั่ ให้เขา้ วัง

มีพระราชดำรัสให้อำมาตย์ไปรับนางนวลทองสำลีจากเกาะกะชัง กลับวังแตน่ างไม่ยอมกลับ พระ
ยาสายฟ้าฟาดจึงกำชับให้จับมัดข้ึนเรือพามา ครั้นเรือมาถึงปากน้ำ จะเข้าเมืองก็มีจระเข้ลอยขวางทางไว้
ลูกเรือจงึ ต้องปราบจระเข้

ครัง้ นางเข้าเมืองแล้ว พระยาสายฟ้าฟาดไดท้ รงจดั พธิ รี ับขวัญขนึ้ และให้มีการรำโนราในงานน้ีโดย
ประทานเครื่องต้น อันมีเทริด กำไลแขน ปน้ั เหน่ง สังวาลพาดเฉียง 2 ข้าง ปกี นกแอน่ หางหงส์ สนับเพลา
ฯลฯ ซ่ึงเป็นเครื่องทรงของกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่กุมารน้อย
ราชนัดดาเป็นขุนศรศี รทั ธา

8

ประวตั ิชุดการแสดง

รำโนราบทปฐม บทปฐม หมายถึง บทการรำเร่ิมต้นของการรำผสมท่าของโนรา ใช้สำหรับฝึก
ผ้เู รียนใหม่ มลี กั ษณะคลา้ ยกับการรำแม่บทใหญ่ของการรำไทย อยา่ งไรกต็ ามท่ารำบทปฐมของโนรามี 31
คำกลอน 15 บท การฝกึ รำบทปฐมในเอกสารฉบบั นเ้ี ป็นท่ารำปฐมแบบตัด มี 9 คำกลอน

เป็นท่ารำโนราแบบประสมท่า เทียบเคียงได้กับการรำแม่บทใหญ่ของทางภาคกลาง การร้อง
ทำนองบทปฐมนีจ้ ะรอ้ งบทบทเพลงทับเพลงโทนของโนรา มีตน้ เสียงร้องเป็นหลัก และมีการร้องรับของลูก
คปู่ ระสานเสียงอย่างลงตัว ท่ารำใหร้ ายละเอยี ดของของท่าปฐม ท่าสอดสร้อย ทา่ เวโหยนโยนช้า ท่าน้อง
นอน รำเป็นท่าให้ต่างกัน ท่าหันให้เป็นมอน ท่านกแขกเต้า และท่าอื่น ๆ อีกมากมาย การรำจะพลิก
แพลงไปตามบบทปฐม

องคป์ ระกอบชดุ การแสดง

องคป์ ระกอบ หมายถงึ สิ่งตา่ ง ๆ ทใ่ี ชป้ ระกอบเปน็ สิ่งใหญ่ หรอื ส่วนของส่ิงตา่ ง ๆ
ทีเ่ ปน็ เคร่อื งประกอบทาใหเ้ กดิ เปน็ รูปขึน้ ใหมโ่ ดยเฉพาะ (ราชบัณฑิตยสภา, 2554).
การแสดงโนรามีสง่ิ ตา่ ง ๆ ทเ่ี ข้ามาประกอบใน การแสดงอยา่ งวิจิตรสวยงาม คือ ผู้แสดง
เครอื่ งแต่งกาย ดนตรีและเพลง ท่ารา และสถานทแี่ สดง ดงั นี้

ภาพที่ 1 ผแู้ สดงบทระวระเวก
ทม่ี า : ตรีชฎา ทองประพนั ธ์ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12
ผู้แสดง
ผู้แสดง หมายถึง คนที่รับผิดชอบในการแสดงโนราทั้งการร้อง การรำการแสดงเป็นเรื่องราวบน
เวทใี นแตล่ ะคร้ัง ประกอบดว้ ย ตัวนายโรง ตวั นางรำ และตวั ตลก ดงั น้ี
1. ตัวนายโรง หมายถึง ตัวพระเอก เจ้าของคณะ หัวหน้าคณะ ผู้แสดงที่เป็นผู้นำของคณะโนรา
ในอดีตใช้ผู้ชายแสดงล้วน จึงต้องมีรูปร่างท่ี เป็นผู้นำมีความรอบรู้จัดเจนในกระบวนการแสดงโนราอย่าง
ชัดเจน
2. ตัวนางรำ หมายถงึ ตัวนางโนราที่เปน็ ตวั ประกอบในการรำ โนราแต่ละคร้งั ในอดีตตัวนางรำมัก
เปน็ ตวั หัวจุกโนรา คือเด็กฝึกหดั รำโนรา ท่ีมคี วามสนใจ มีความสามารถในการรำมักเป็นตัวประกอบในการ

9

รำหมู่ ของการรำบทครูสอน บทสอนรำ บทปฐม และอ่ืนระยะต่อมาหัวจุกโนรา เร่ิมหมดไปจากสังคม

ปจั จุบันเริม่ มีโนราหญงิ เกดิ ขน้ึ

3. ตัวตลก หมายถึง ผู้แสดงที่ทำให้ผู้ชมขบขัน, โดยปริยาย หมายถึงผู้ท่ีคนอื่นหัวเราะเยาะการ

แสดงโนราจะมตี ัวตลกท่ใี ช้แสดงหลักคู่ กบั การแสดงโนราคือ ตวั พรานเป็นตวั แสดงทีส่ ำคัญมีหลายบทบาท

ทั้งเป็น ตวั ตลกของคณะโนราและเป็นตวั บอกเร่ืองสำหรับทำการแสดงในแต่ละครั้งอย่างไรก็ตามตัวตลกใน

บทบาทการแสดงของโนรามีตวั พราน 2 ลักษณะ คือ พรานผู้ชายสวมหนา้ กากสีแดง และพรานผู้หญิงหรือ

พรานเมยี สวม หนา้ กากสีขาวหรอื สีเนอ้ื

เพลงประกอบการแสดง

ตง้ั ต้นเปน็ ประถม ถดั มาพระพรหมส่หี นา้

สอดสรอ้ ยหอ้ ยเปน็ พวงมาลา เวโหนโยนช้า

ให้น้องนอน พิสมยั ร่วมเรียง

เคียงหมอน ทา่ ตา่ งกนั

หนั เป็นมอน มรคาแขกเต้าบินเข้ารงั

กระต่ายชมจนั ทร์ จันทร์ทรงกลด

พระรถโยนสาสน์ มารกลับหลงั

ชูชายนาดกรายเข้าวัง กนิ นรรอ่ นรำ

เข้ามาเปรียบท่า พระรามาน้าวศลิ ป์

มจั ฉาล่องวารนิ หลงใหลไปสนิ้ งามโสภา

โตเล่นหาง กวางโยนตัว

รำยั่วเอแปง้ ผัดหนา้ หงสท์ องลอยล่อง

เหราเล่นน้ำ กวางเดินดง

สรุ วิ งศ์ทรงศักด์ิ ช้างสารหว้านหญ้า

ดูสานา่ รกั พระลักษณ์แผลงศรจรลี

ขี้หนอนฟอ้ นฝูง ยูงฟ้อนหาง

ขัดจางหยางนางรำท้งั สองศรี นั่งลงให้ได้ท่ี

ชักสซี อสามสายย้ายเพลงรำ กระบ่ีตีทา่

จีนสาวไส้ ชะนรี า่ ยไม้

เมขลาลอ่ แก้ว ชกั ลำนำ

เพลงรำแตก่ อ่ นครสู อนมา

10

วธิ ีการร้อง
วิธีการร้องในบทรำบทปฐมนี้ ต้องใช้ผู้ร้อง 2 ฝ่าย คือ ต้นเสียง หมายถึง ผู้ร้องนำขึ้นเสียงร้อง
ตามบทที่กำหนด และลูกคู่ หมายถงึ ผรู้ ้องรบั ภายหลงั จากที่ผ้รู ้องนำรอ้ งจบ ตามทำทองทีก่ ำหนด ดงั น้ี
ตน้ เสยี ง ตงั้ ต้นให้เป็นประปฐม
ลูกคู่ ตง้ั ตน้ ใหเ้ ป็นประปฐม
ตน้ เสียง ถดั มาขวญั เหอพระพรหม, ถดั มาพระพรหมทงั้ ส่ีหนา้
ลกู คู่ ว่าถดั มาพระพรหม พระพรหมส่ีหนา้ ว่าถดั มานอ้ งเหอ

พระพรหม ถดั มาพระพรหมพรหมสห่ี น้า พระพรหม
ส่ีหนา้
ต้นเสียง ออรำเปน็ ทา่ สอดสร้อย รำไปหลา่ วสาวเหอ…...ออนี่
รำท่าว่าสอดสร้อย
ลกู คู่ ออนร่ี ำท่าสอดสร้อย
ตน้ เสียง มารอ้ ยเปน็ พวงนม้ี าลา
ลูกคู่ มาร้อยเปน็ พวงนี้มาลา
ตน้ เสียง ทำ เวอโี่ หนโยนชา เอโหนโยนชา ออแก้วขา้ เหอใหน้ ้องนอน
ลูกคู่ เวโหนโยนชาโยนชา ให้นองนอน เวโหนนอ้ งเหอโยนชา
แก้วข้าเหอให้นอ้ งนอน โยนชาให้น้องนอน
ตน้ เสียง ออรำเปน็ ทา่ ผาลา
ลกู คู่ รำน้ีเป็นทา่ ผาลา
ตน้ เสียง ปลดปลงลงมาให้เพียงไหล่ ออนล่ี งมาใหเ้ พยี งไหล่ ทำพสิ มยั รว่ มเรียง พสิ มัยร่วมเรยี ง ออ
แกว้ ขา้ เอยมาเคียงหมอน
ลกู คู่ พิสมยั รว่ มเรียงมารว่ มเรยี งเคียงหมอน ว่าพสิ มัยรว่ มเรยี ง ออแก้วข้าเอยมาเคียงหมอน
ร่วมเรยี งเคยี งหมอน
ตน้ เสยี ง ออรำเปน็ ท่าใหต้ ่างกนั
ลกู คู่ รำทา่ ให้ต่างกัน
ต้นเสียง ทนี ี้มาหันใหเ้ ปน็ มอญ ทำสกณุ าแขกเต้า
ออบินไปหล่าวสาวเหอ ….ออสกุณาแขกเต้า ออแกว้ ข้าเหอบินเข้ารัง
ลูกคู่ สกณุ าแขกเตา้ แขกเต้าเข้ารงั วา่ ทำสกณุ าแขกเตา้
แกว้ ข้าเอยบินเขา้ รงั ออแก้วข้าเหอบนิ เข้ารัง แขกเตา้ เขา้ รัง
ตน้ เสียง รำท่ากระต่ายชมจันทร์ ออชมไปหล่าวสาวเหอ……นี้ท่ากระต่ายชมจันทร์

11

ลูกคู่ ทา่ กระต่ายชมจันทร์
ต้นเสียง รำท่าพระจันทรท์ รงกลด ออชมไปหล่าวสาวเหอ........น่ที ่าพระจันทร์ทรงกลด
ลูกคู่ ท่าพระจันทรท์ รงกลด
ตน้ เสยี ง รำท่าพระรถโยนสาร ออแก้วข้าเอยมารกลับหลงั
ลูกคู่ ทา่ พระรถโยนสาร โยนสารมารกลับหลัง ว่ารำท่าพระรถโยนสาร ออแก้วข้าเอยมารกลับหลัง โยน
สารมารกลับหลัง
เครอ่ื งแต่งกาย

ราชบัณฑิตยสภา, (2545) “เคร่ือง” คือ ส่ิงสำหรับประกอบกันหรือ เป็นพวกเดียวกัน“แต่ง” คือ
จัดให้งาม “กาย”คือตัว ดังนั้น “เครื่องแต่งกาย” จึงหมายถึงสิ่งสำหรับประกันจัดให้งามที่เก่ียวกับตัวของ
นักแสดง โนรา เชื่อกันว่าเครื่องแต่งกายโนราเป็นสิ่งของที่ขุนศรีศรัทธาได้รับพระราชทาน เป็นเคร่ืองต้น
อันมีเทริด กำไลแขน ป้ันเหน่งสังวาลพาดเฉียง 2 ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ สนับเพลา ธีรวัฒน์ ช่างสาน.
(2560). สรุปเครื่องแต่งกายโนราตั้งแตส่ มัย รัชกาลท่ี 5 ถึงปัจจุบนั มี 3 แบบ คือ แบบเครื่องต้น แบบทรง
บวั และแบบเคร่อื งลูกปดั 5 ช้ินหรอื เครื่องเต็ม

1. เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนาย โรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง(โบราณไม่นิยม
ในางรำใช้)ทำเปน็ รปู มงกฎุ อยา่ งเตยี้ มกี รอบหนา้ มี ดา้ ยมงคลประกอบ

ภาพท่ี 2 เทริด
ท่มี า : ธวชั ชัย กนั ตังกุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

12

2. เครอ่ื งลูกปดั หมายถึง ชุดเสอ้ื ผา้ เครอ่ื งแต่งกายของตัวโนราโดยการนำเมด็ ลกู ปดั กระดกู ตา่ ง ๆ
ในยคุ ก่อนนิยมใช้สีเมด็ ลกู ปัดอยา่ งน้อย 5 สี ที่ตดั กันมาร้อยกับเชอื กตามลักษณะของภมู ิปญั ญาของคน
ภาคใต้ ให้เกิดเป็นลวดลายตา่ ง ๆ ทั้งลายฟันปลาลายขา้ วหลามตดั ลายพมิ พพ์ อง อยา่ งวิจิตรสวยงาม
นำมาห่อหุ้มรา่ งกายนกั แสดงโนราแทนเสื้อประกอบ ด้วยชิ้นสว่ นสำคัญ 5 ช้ินคอื

ภาพที่ 3 ชดุ ลูกปดั มโนราห์
ที่มา : ธวัชชัย กันตังกุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12
2.1 บ่า สำหรบั สวมทบั บนบ่าซา้ ย และขวา รวม 2 ช้นิ

ภาพที่ 4 บ่า
ทมี่ า : ธวชั ชยั กันตงั กลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

13

2.2 ปง้ิ คอ สำหรบั สวมหอ้ ยคอดา้ นหนา้ และดา้ นหลังคลา้ ยกรองละครไทยรวม 2 ชิ้น

ภาพที่ 5 ปง้ิ คอ
ทม่ี า : ธวัชชยั กันตงั กุล 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12
2.3 พานอกหรอื รอบอก เปน็ เทคนคิ การร้อยลูกปดั เปน็ รปู สี่เหลย่ี มผืนผา้ ใชพ้ ันรอบตวั นกั แสดง
เพอื่ ปกปิดหนา้ อก เคร่อื งแตง่ กายชิ้นนบ้ี างถ่นิ เรียกว่า พานโคร บางถนิ่ เรียกว่ารอบอก

ภาพท่ี 6 พานอกหรือรอบอก
ทม่ี า : ธวชั ชัย กันตังกลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจกิ ายน : 12

14

3. ปีกนกแอน่ หรือปีกเหนง่ หมายถึง เครือ่ งประดับทำดว้ ยแผ่นเงนิ เปน็ รปู คลา้ ยนกนางแอน่ กำลัง
กางปกี ใชส้ ำหรับโนราใหญห่ รอื ตวั ยืนเครื่อง สวมตดิ กบั สังวาลอยู่ทรี่ ะดับเหนือสะเอว ด้านซ้ายและขวา
คลา้ ยตาบทศิ ของละคร

ภาพท่ี 7 ปีกนกแอน่ หรอื ปีกเหนง่
ทมี่ า : ธวชั ชัย กันตังกุล 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12
4. ซบั ทรวงหรอื ทับทรวงหรอื ตาบ หมายถงึ สร้อยคอสำหรบั สวมห้อยไว้ตรงทรวงอกส่วนที่เป็น
สร้อยคอจะร้อยดว้ ยเม็ดลูกปดั เปน็ เสน้ ลงมาผูกติดไวก้ ับแผ่นเงนิ เปน็ รปู คลา้ ยขนมเปียกปนู ดุนลาย และอาจ
ฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรอื อาจ รอ้ ยด้วยลูกปัด นยิ มใชเ้ ฉพาะตวั โนราใหญห่ รือตัวยนื เครอื่ ง ปจั จบุ ันตวั
นางรำกใ็ สไ่ ดแ้ ละบางครัง้ อาจร้อยเป็นเม็ดลูกปัดอยา่ งเดียวไมม่ แี ผ่นเงินกไ็ ด้

ภาพที่ 8 ซับทรวงหรือทับทรวงหรือตาบ
ท่มี า : ธวัชชัย กันตังกุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

15

5. ปีกหรือหางหงส์ หมายถึง เคร่ืองแต่งร่างกายส่วนหลังระดับสะเอวของนักแสดงนิยมทำด้วยเขา
ควายหรือโลหะ ปัจจุบนั สามารถทำด้วยแผ่นพีวซี ีกม็ ี นำมาเกลาให้เปน็ รูปคล้ายปกี นก 2 ชิ้น นำมาประกบกนั
ผูกปลายใหแ้ นน่ ส่วน โคนจะแยกออกจากกนั ดึงไว้ดว้ ยผ้าทเ่ี ยบ็ เปน็ เสน้ ปล่อยชายท้ัง 2 ขา้ งใหย้ าวไวส้ ำหรบั
ผกู มัดกบั สะเอว ปลายปกี เชิดงอนขึน้ และผูกรวมกนั ไวท้ ำพจู่ ากไหมพรมติดไวเ้ หนือปลายปกี ใชล้ กู ปดั รอ้ ย
ห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทัง้ ขา้ งซ้าย และขวาใหด้ ูคล้ายขนของนก ใชส้ ำหรบั สวมคาดทบั ผา้ น่งุ ตรงระดบั
สะเอว ปลอ่ ยปลายปีกยนื่ ไป ดา้ นหลังคลา้ ยหางกินรี

ภาพที่ 9 ปีกหรอื หางหงส์
ท่มี า : ธวชั ชัย กันตงั กุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12
6. ผ้านุ่ง หมายถึง ผ้ายาวส่ีเหลี่ยมผืนผ้าอาจเป็นผ้าลายไทยหรือผ้าพื้นก็ได้นำมานุ่งทับสนับเพลาให้
ชาย รงั้ ไปเหน็บไว้ข้างหลงั ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดยี วกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่พับแลว้ ห้อย
ลงน้ีว่า “หางหงส์” การนุ่งผ้ายาวเป็นหางหงส์ของโนราน้ีถือเป็นภูมิปัญญาตามอัตลักษณ์ของทางภาคใต้
เท่าน้ันมีข้ันตอนการนุ่งที่แยบยล ไม่ง่ายสำหรับผู้ท่ีไม่มีประสบการณ์อย่างไรก็ตามปัจจุบันผ้ายาวท่ีใช้นุ่งนี้
นำมาเยบ็ เปน็ ผ้าสำเรจ็ รูปใหง้ ่ายต่อการแต่งกาย

ภาพที่ 10 ผ้านงุ่
ทม่ี า : ธวัชชยั กันตังกุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

16

7. หนา้ เพลา หรือเหนบ็ เพลา หนือหนับเพลา หมายถงึ กางเกงยาวครง่ึ นอ่ งสำหรบั สวมใสข่ อง
นกั แสดงโนราท้ังตวั พระและตวั นางรำนยิ มทำจากผ้ายดื เพอ่ื ความยดื หยนุ่ ของการเคลอ่ื นไหวรา่ งกายสว่ นขา
ของนกั แสดงปลายขาจะตกแตง่ ดว้ ยผา้ ลาย เป็นแถบสเี พ่ือความสวยงาม สนับในอดีตสามารถทำได้ 2 แบบคอื
แบบทีน่ ุ่งสวมเปน็ กางเกง และแบบท่ที ำเฉพาะขาทั้งสองข้าง โคนขาผกู เชอื กใหแ้ นน่ แต่ปจั จุบันนคี้ งเหลือแบบ
เดยี วคอื ที่นงุ่ เปน็ กางเกง

ภาพที่ 11 หน้าเพลา
ทีม่ า : ธวัชชยั กันตังกลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12
8. ผา้ หอ้ ย หมายถงึ ผ้าสตี า่ งๆทคี่ าดให้ชายผา้ หอ้ ยลงมาด้านลา่ งความยาพอคลุมเข่านกั แสดง โดย
ปกตจิ ะใชผ้ า้ สแี ผน่ บาง ๆอาจเป็นผา้ ชฟี อง หรือผา้ โทนสีตา่ งๆ อดั จบี หรือพลีส หรอื จะเปน็ ผ้าโปรง่ ผา้ บางสี
สดก็ไดห้ ้อยเคยี งไวร้ ะหวา่ งหนา้ ผา้ ทงั้ ดา้ นซา้ ยและดา้ นขวา

ภาพที่ 12 ผ้าหอ้ ย
ท่ีมา : ธวชั ชัย กนั ตังกลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจกิ ายน : 12

17

9. หน้าผา้ หมายถึง ผ้าเนื้อหนาปกลวดลายด้วยเลอ่ื มและลูกปัดตามท่ีนยิ มจะเป็นผา้ สีผนักเชน่ สีดำ
สีนำ้ เงิน หน้าผา้ มี 3 ชน้ิ หอ้ ยไวค้ รงกลางลำตวั 1 ชิน้ และข้างขาดา้ นซ้ายและขวาอีกขา้ งละชน้ิ

ภาพที่ 13 หนา้ ผา้
ท่ีมา : ธวชั ชยั กันตงั กลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12
10. กำไลตน้ แขน หมายถงึ กำไลทใ่ี ช้หนีบไวท้ ี่ตน้ แขนของผู้แสดงท้ัง 2 ขา้ งเพื่อขบรดั กล้ามเนื้อให้
ดู ทะมดั ทะแมงและเพิ่มความสงา่ งาม ของกลา้ มเน้อื แขนขณะทีร่ า่ ยรำมากขนึ้ อย่างไรกต็ ามเขา้ ใจวา่ ตน้
แขนนา่ จะเปรียบไดก้ บั พาหรุ ัดของเครื่องแตง่ กายละครไทยนนั่ เอง

ภาพที่ 14 กำไลตน้ แขน
ท่ีมา : ธวัชชัย กันตังกลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

18

11. กำไล หรือไหมล หมายถงึ กำไลของโนรามกั ทำด้วยทองเหลอื ง ทำเปน็ วงแหวนใชส้ วมมอื ทง้ั 2
ข้าง ๆ ละหลายๆ วง เชน่ แขนแตล่ ะ ข้างอาจสวม 5-10 วงซอ้ นกนั เพอื่ เวลาปรับเปลยี่ นท่าจะไดม้ ีเสียงดัง
เปน็ จังหวะเรา้ ใจยิ่งข้ึน

ภาพท่ี 15 กำไล
ท่ีมา : ธวัชชัย กันตงั กุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12
12. เล็บ หมายถงึ เครอื่ งสวมนว้ิ มือใหโ้ ค้งงามคลา้ ย เลบ็ กินนรหรอื กนิ รี ทำดว้ ยทองเหลืองหรอื เงนิ
อาจต่อปลายดว้ ยหวายทีม่ ี ลกู ปดั รอ้ ยสอดสไี วพ้ องาม นยิ มสวม มือละ 4 นว้ิ (ยกเวน้ หัวแม่มอื )

ภาพท่ี 16 เลบ็
ท่มี า : ธวัชชยั กันตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

19

เคร่ืองดนตรี
เคร่ืองดนตรีโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้จังหวะเทียบได้กับเครื่องเบญจดุริยางค์ มี 6 อย่าง

(tungsong. 2562). มดี งั น้ี

ภาพที่ 17 เครอ่ื งดนตรีโนรา
ทม่ี า : ธวชั ชยั กันตังกลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12
1. ทบั (โทน) หมายถึง เปน็ เครื่องตีที่สำคัญทสี่ ุด เพราะทำหน้าที่คมุ จังหวะและเปน็ ตัวนำในการเปล่ียน
จงั หวะทำนอง ทับโนรา เปน็ ทับคู่เสยี งตา่ งกันเล็กนอ้ ยนยิ มใช้ดนตรเี พียงคนเดยี ว
2. กลอง หมายถึง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) 1 ใบ ทำหน้าที่เสริม
เนน้ จงั หวะและลอ้ เลยี นเสียงทับ
3. ป่ี หมายถึง เป็นเครื่องเป่าเพียงช้ินเดียวของวง นิยมใช้ปี่ในหรือบางคณะอาจใช้ป่ีนอกใช้เพียง 1
เลา
4. โหมง่ หมายถึง ฆอ้ งคู่ เสยี งตา่ งกนั ท่ีเสยี งแหลมเรยี กวา่ เสียงโหมง้ ที่เสียงทุ้มเรยี กวา่ เสยี งหมุ่ง
5. ฉ่ิง หมายถึง เปน็ เครื่องตเี สริมแต่งและเนน้ จงั หวะ
6. แตระ หรอื แกระ หมายถึง กรบั มที ง้ั กรบั อนั เดียวที่ใช้ตกี ระทบกบั รางโมงหรอื กรบั คแู่ ละมที ่ีร้อยเปน็
พวงอย่างกรับพวงหรือใชไ้ ม้เรียวไมห้ รอื ลวดเหล็กหลายๆอนั มดั เขา้ ดว้ ยกนั ตใี ห้ปลายกระทบกันก็
เรยี กวา่ แตระ มลี ีลาการขบั รอ้ งและรับบทกลอนอยา่ งหนงึ่ เรยี กว่า เพลงหน้าแตระ (ใช้แตเ่ ฉพาะ
แตระไม่ใชด้ นตรีชิ้นอ่นื ประกอบ)

20

ภาพท่ี 18 ทบั ภาพท่ี 19 กลอง

ทม่ี า : ธวชั ชัย กันตังกลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

ภาพท่ี 21 โหม่ง ภาพที่ 20 ปี่

ทม่ี า : ธวัชชัย กันตังกลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

ภาพที่ 22 ฉิ่ง ภาพที่ 23 แตระ

ทม่ี า : ธวัชชัย กันตงั กุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

21

โอกาสท่ีใช้แสดง
โอกาสที่ใช้แสดงโนรา ใช้แสดง 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบพิธีกรรม (โนราโรงครู)และโนรา

เพื่อความบนั เทงิ ซึง่ มี ความแตกตา่ งกนั (UNESCO, 2552 ) ดังนี้
1. โนราประกอบพิธีกรรม หรือ โนราโรงครูโนราโรงครูเป็นการแสดงโนราประกอบพิธีกรรมท่ี

ปรากฏอยู่ในวิถีของคนภาคใต้มาต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบนั มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการแสดง ๓ ประการ คือ
เพ่ือเป็นการเคารพบูชาและแสดงความกตญั ญูต่อวญิ ญาณบรรพบรุ ษุ เพอ่ื แก้บนหรือแก้เหมฺรยและเพ่ือทำ
พิธคี รอบครโู นราและรักษาโรคตา่ ง ๆ การแสดงโนราโรงครจู ะมี 2 ประเภท คือ

1.1 การแสดงโนราโรงครูใหญ่ เปน็ การแสดงโนราโรงครสู มบรู ณ์แบบถูกต้องครบถ้วน
ตามประเพณแี ละนิยมแสดงโดยท่ัวไปใชเ้ วลา 3 วัน 2 คนื

1.2 การแสดงโนราโรงครูเล็กหรือโรงค้ำครู เป็นการแสดงเพ่ือยืนยันว่าจะมีการจัดโรง
ครูใหญ่อย่างแน่นอน ใช้เวลาแสดง 1 วัน 1 คืนการแสดงโนราโรงครูซึ่งจัดโดยทั่วไปจะเร่ิมใน
เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายนเร่ิมพิธีในวันพุธถึงวันศุกร์การแสดงโนราโรงครูจะมีองค์ประกอบ
และรูปแบบการแสดงโนราสมบูรณ์ครบถ้วนทุกข้ันตอนตั้งแต่การรำ การร้อง การแสดงเป็นเร่ือง
และการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมที่ทำให้เกิดศิลปะการแสดงโนราสืบทอดตอ่ มาอย่างยั่งยืน
เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ร่วมประกอบพิธีกรรมโดยเรียบง่าย
ไม่ซบั ซอ้ นและเข้าถงึ พธิ กี รรมได้อยา่ งลึกซงึ้

22

ทา่ รำ
ทา่ รำโนราบทประถม

1. เน้ือรอ้ ง รกั ขา้ เอยจะกลา่ วงามกล่าวถงึ นางเทพมาลรี าศใี ส
อธิบายทา่ รำ
“รักข้าเอยจะกลา่ วงาม” ถอนเท้าซ้ายวางหลัง มอื ซา้ ยตงั้ วงหน้า มือขวาแบมอื แตะหน้าอก เอยี งขวา
“กลา่ วถงึ นางเทพมาล”ี ยกขา้ งเท้าขวา มอื ขวาแบลาดระดบั สะเอว มือซ้ายต้ังวงหน้า เอยี งขวา (รอ้ งซำ้
ปฏิบตั ติ รงขา้ ม)
“ราศใี ส” เทา้ ซ้ายวางหลัง มือท้งั สองจีบคว่ำแลว้ ม้วนมอื ออก แบมอื ลาดระดับสะเอว หน้าตรง

รกั ขา้ เอยจะกลา่ วงาม กล่าวถึงนางเทพมาลี

ราศใี ส

ภาพที่ 24 รกั ข้าเอยจะกล่าวงามกล่าวถึงนางเทพมาลีราศใี ส
ทม่ี า : ธวัชชัย กนั ตังกลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

23

2. เนือ้ รอ้ ง จับระบำรำบวนมนั เยา้ ยวนใจ มาทำว่ายม้ิ แย้มละไมอยไู่ ปมา
อธบิ ายท่ารำ
“จับระบำรำบวนเยา้ ยวนใจ” ถอนเท้าขวา มือทัง้ สองขอ้ นมอื ประสานหน้าอก เอียงซา้ ย
“มาทำวา่ ยิ้มแยม้ ละไม” เทา้ ลกั ษณะเดิม มือขวาม้วนมอื ชี้น้ิวระดับอก มือซา้ ยมือรับจบี หน้าตรง
“อยไู่ ปมา” เท้าลักษณะเดมิ มอื ซ้ายม้วนออกเป็นต้ังวงบน มือซ้ายจบี หงายชายพก เอียงซา้ ย (รอ้ งรบั
ปฏบิ ัตมิ อื สลบั ไปมา)

จับระบำรำบวนเยา้ ยวนใจ มาทำว่ายม้ิ แย้มละไม

อยไู่ ปมา

ภาพที่ 25 จับระบำรำบวนมันเย้ายวนใจ มาทำวา่ ยิม้ แย้มละไมอย่ไู ปมา
ที่มา : ธวชั ชยั กนั ตังกุล 2565 : ภาพถ่าย พฤษจกิ ายน : 12

24

3. เนื้อร้อง ต้งั ตน้ ใหเ้ ปน็ ประถม ถดั มาพระพรหมส่ีหน้า
อธิบายท่ารำ
“ตัง้ ตน้ ให้เป็นประถม” ยนื ชดิ เทา้ มอื ท้ังสองพนมมือระดับสะเอว หนา้ ตรง
“ถดั มาพระพรหม” หมุนตวั ทางขวา หันหน้าเขา้ วงลงเหลย่ี ม มอื ท้ังสองยังพนมระดบั สะเอว หนา้ ตรง
“สห่ี นา้ ” กลบั ตวั ทางขวา ลงเหลยี่ ม มอื ท้ังสองข้ึนทา่ พรหมสห่ี นา้ หน้าตรง จากนนั้ สลบั ทา่ พระพรหม
และท่าสหี่ น้า จนหมดท่ารบั

ต้ังต้นใหเ้ ปน็ ประถม ถัดมาพระพรหม

สี่หนา้
ภาพที่ 26 ตง้ั ต้นให้เปน็ ประถม ถดั มาพระพรหมสหี่ น้า
ที่มา : ธวัชชัย กนั ตังกุล 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

25

4. เนื้อร้อง รำเปน็ ทา่ สอดสรอ้ ย
อธิบายท่ารำ
“รำเปน็ ท่าสอดสร้อย” ถอนเทา้ ขวา มอื ซา้ ยจบี หงายระดับสะเอว มือขวาจบี หงายชายพก หนา้ ตรง
“เลยบทดนตรรี ับ” มว้ นมอื ขวาขนึ้ ต้ังวงบน มอื ซ้ายจบี หงายแขนงอระดับสะเอว เคาะเท้าเคาะเท้าขวา
นบั 1 จากนนั้ เปลยี่ นเป็นมว้ นมอื ซ้ายปล่อยเป็นวงบน มอื ขวาจบี หงายแขนงอระดับสะเอว เคาะเทา้ ซ้าย
นบั 2 แล้วเปล่ียนเปน็ ม้วนมอื ขวาต้ังวงบน มือซ้ายจบี หงายแขนงอระดับสะเอว เคาะเท้าขวา นบั 3 จากนน้ั
หมุนตวั ทางมือต้ังวง 1 รอบ และปฏิบัติสลบั ทา่ รำลักษณะเดมิ อกี 2 ชดุ
“รำเปน็ ท่าสอดรอ้ ย” เท้าขวาวางหลัง มือซา้ ยจีบปรกหนา้ มอื ขวาตง้ั วงบน เอียงขวา

รำเปน็ ท่าสอดสร้อย เลยบทดนตรีรับ

รำเปน็ ทา่ สอดสร้อย
ภาพท่ี 27 รำเป็นท่าสอดสรอ้ ย
ทมี่ า : ธวชั ชยั กันตังกุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

26

5. เนอื้ ร้อง รอ้ ยให้เปน็ พวงมาลา เวโหยนโยนช้าให้น้องนอน
อธิบายทา่ รำ
“ร้อยใหเ้ ปน็ พวงมาลา” เทา้ ขวาวางหลัง มือขวาจีบควำ่ ระดบั ใบหน้า มือซ้ายชอ้ นมอื มาจบี คว่ำซอ้ นบน
มอื ขวา จากนน้ั ร้องซ้ำ กลับมือจีบอีกคร้งั
“เวโหยนโยนชา้ ” กา้ วข้างเทา้ ขวา มือซ้ายแทงมอื เปน็ วงบน มอื ขวาจบี หงายชายพก (รอ้ งซำ้ กลับมอื
ลกั ษณะเดมิ แตต่ รงข้าม
“ใหน้ ้องนอน”
นกั แสดงทางขวา น่ังคุกเข่าซายต้ังเข่าขวา มือขวาต้ังวงบน มือซ้ายจบี ไล่มือไปตามลำตัวนกั แสดงทางซา้ ย
นกั แสดงทางซ้าย น่ังพับเพียบทางขวา มือขวาแตะแกม้ มอื ซา้ ยจบี ขา้ งลำตัว เอยี งขวา

รอ้ ยให้เปน็ พวงมาลา เวโหยนโยนชา้

ใหน้ ้องนอน
ภาพท่ี 28 ร้อยให้เปน็ พวงมาลา เวโหยนโยนชา้ ใหน้ ้องนอน
ท่มี า : ธวชั ชัย กันตงั กุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

27

6. เน้ือรอ้ ง รำเปน็ ท่าผาลาซดั ลงมาเพยี งไหล่ รำพิสมยั รว่ มเรียงเข้าเคียงหมอน
อธิบายท่ารำ
“รำเปน็ ท่าผาลา” ยกขา้ งเทา้ ขวา มอื ทั้งสองจบั จบี ระดับสะเอว จากนั้นข้ึนทา่ พรหมสห่ี นา้ หนา้ ตรง
“ปลดปลงลงมาใหเ้ พยี งไหล่” เทา้ ขวาวางหลงั มอื ทง้ั สองจบี จีบคว่ำระดบั ไหล่ แล้ววาดมาปลอ่ ยเปน็
วงกลาง หน้าตรง
“ทำพิสมัยรว่ มเรียง” เทา้ ขวาวางหลงั “พสิ มยั ” มอื ซ้ายตัง้ มือลักษณะวงหนา้ มอื ขวาแทงมอื แบลาด
“รว่ ม” ดงึ มือขวามาซ้อนกับมือซ้าย “เรยี ง” มอื ทัง้ สองประกบกนั หน้าตรง (ร้องรบั ปฏิบัติทา่ ตรงข้ามกนั )

“เข้าเคียงหมอน” ลงนัง่ พบั เพยี งทางซ้าย มือขวาวางขอ้ ศอกกับพ้ืนมือแบรับใบหนา้ มือซา้ ยวางราบกบั ลำตวั เอยี ง
ขวา

รำเป็นทา่ ผาลา ปลดปลงลงมาเพยี งไหล่

รำพิสมยั ร่วมเรียง เข้าเคียงหมอน

ภาพท่ี 29 รำเปน็ ทา่ ผาลาซัดลงมาเพยี งไหล่ รำพสิ มยั รว่ มเรยี งเข้าเคยี งหมอน
ท่มี า : ธวัชชัย กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

28

7. เน้อื รอ้ ง รำเป็นท่านีต่ ่างกัน แลว้ คอ่ ยมาหนั มร
อธิบายทา่ รำ
“รำเปน็ ทา่ ใหต้ า่ งกัน” ยนื พนมมอื หน้าตรง
“ร้องเลยบทดนตรีรับ” นักแสดงทางขวาหน้าตรง นกั แสดงทางซา้ ยกลบั หลังหนั จากน้นั ก้าวเทา้ ลงเหลี่ยม
มอื ขวาตั้งวงบน มอื ซ้ายจีบหงายแขนตงึ นับ1 จากนน้ั ตา่ งคนกลับหนา้ มือซ้ายต้ังวงบน มือขวาจบี หงาย
แขนตงึ นบั 2 แล้วกลบั หนา้ ลงเหล่ียม มอื ขวาตัง้ วงบน มือซ้ายจีบหงายแขนตึง นับ3 ปฏิบัตสิ ลบั ที่ แลว้
ปฏบิ ัตทิ ่าจังหวะท1ี่ -3 อกี 2 ชุด
“แลว้ คอ่ ยมาหนั ให้เปน็ มร” กระทบื เทา้ ขวา มอื ท้งั สองต้งั วงกลาง ปลายนิ้วแทงเขา้ หากัน หมุนรอบตวั เอง
3 รอบ แลว้ จึงหมนุ ตัวเปน็ วงโดยปฏบิ ตั ิมอื ลักษณะเดมิ

รำเปน็ ท่าใหต้ ่างกนั

แลว้ คอ่ ยมาหันให้เป็นมอน
ภาพท่ี 30 รำเป็นท่านต่ี ่างกนั แลว้ คอ่ ยมาหันมร
ทมี่ า : ธวัชชัย กันตงั กุล 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

29

8. เนอื้ ร้อง ทำมรคาแขกเตา้ บินเข้ารงั
อธิบายทา่ รำ
“รำมาคานกแขกเต้า” นกั แสดง 1 คน ออกมาเป็นนกแขกเตา้ โดยการยนื ชิดเท้ายอ่ เขา่ มือท้ังสองรวมกัน
ระดับอก โดยการกำมอื หลอม ๆ ยกนิ้วชี้ขึน้ หน้าตรง นักแสดงท่ีเหลือน่งั คกุ เข่าเป็นวงกลม มือทั้งสอง
ประสานกนั
“ร้องเลยบทบินไปล่าว” นกั แสดงคนท่ีเปน็ นก ก้าวหนา้ เทา้ ขวา มือทั้งสองจับผ้าห้อยข้าง จากนน้ั วิง่ ซอย
เทา้ ไปรอบวง 1 รอบ
“ดนตรีรับ” นกั แสดงที่เป็นนก นง่ั คุกเขา่ มอื ซ้ายตง้ั วงบน มือขวาสง่ จีบหลงั ไซร้ตวั ตามจงั หวะเพลง
จากน้ันกลบั มาปฏบิ ัตทิ างขวา ปฏบิ ตั เิ ช่นเดยี วกันอีกชุด แล้วค่อยสลดั ขา สลัดแขน จนหมดจงั หวะ แลว้
ค่อยลุกขน้ึ วง่ิ วนรอบวง สุดจงั หวะ วิง่ เข้าในวงแลว้ นั่ง ลอยเขา่ มอื ซา้ ยจีบสง่ ปลายน้ิวไปด้านหน้า มอื ขวา
วางหนา้ ขา

รำมรคานกแขกเต้า รอ้ งเลยบท

ดนตรีรับ
ภาพที่ 31 ทำมรคาแขกเตา้ บนิ เข้ารงั
ทม่ี า : ธวชั ชยั กนั ตังกลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

30

9. เนอ้ื รอ้ ง รำทา่ กระตา่ ยชมจนั ทร์
อธิบายทา่ รำ
“รำทา่ กระตา่ ยชมจันทร์” นกั แสดงทกุ คน ปฏิบตั ิเหมอื นกนั โดยการยืนชิดเทา้ ยอ่ เขา่ มอื ท้ังสองวาดขน้ึ
ระดับไหล่ จากนน้ั จับผ้าหอ้ ยขา้ งทง้ั สองมอื หน้าตรง
“รอ้ งเลยบทชมไปลา่ ว” นกั แสดงทกุ คนวิง่ ซอยเท้าไปรอบวง แล้วใหค้ นกลางยนื ดว้ ยขาขวา ขาซ้ายพาด
บนขาขวา มือทัง้ สองขัดจางนาง หนา้ ตรง นักแสดงคนอนื่ น่ังคกุ เข่าลอ้ มวง อยดู่ ้านหน้าสมมติเปน็ กระตา่ ง
กำลงั ชมจันทร์
“ดนตรรี ับ” จงั หวะท่ี1 นั่งตบมอื ตามจังหวะเพลง โดยการวนซ้ายไปขวา หมดจงั หวะก้มกราบ

จังหวะท่2ี นักแสดงเป็นพระจันทร์ ลงฉากใหญ่ มอื ทง้ั สองข้ึนพรหมส่หี น้า นักแสดงที่เปน็
กระตา่ ย น่ังคกุ เข่าตบมือตามจังหวะเพลง สลับไปมา

รำทา่ กระจ่ายชมจันทร์ รอ้ งเลยบท

ดนตรรี ับ
ภาพที่ 32 รำท่ากระจา่ ยขมจันทร์
ทีม่ า : ธวชั ชยั กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

31

10. เนอ้ื ร้อง รำท่าพระจันทร์ทรงกลด
อธิบายทา่ รำ
“รำทา่ พระจันทร์ทรงกลด” นกั แสดงทกุ คน ปฏิบตั ิเหมอื นกัน โดยการยืนชดิ เท้าย่อเข่า มอื ทง้ั สองวาดข้นึ
ระดับไหล่ จากนนั้ จับผ้าห้อยขา้ งท้งั สองมอื หนา้ ตรง
“รอ้ งเลยบทรำไปลา่ ว” นักแสดงทุกคนว่งิ ซอยเทา้ ไปรอบวง แล้วจุดกงึ่ กลางตอ่ ตวั โดยมีฐานยนื ลงฉาก
ใหญ่ 2 คน คนตรงกลางขึ้นเหยยี บ คนอน่ื ๆ จัดซมุ้ นง่ั เก่ยี วขี้หนอน
“ดนตรรี บั ” จากนน้ั ทกุ คนยกมือขนึ้ ต้ังวงบน สลับมอื ตามจังหวะเพลง จีบเป็นวง วงเปน็ จบี จนหมด
จงั หวะ

รำทา่ พระจนั ทร์ทรงกลด ร้องเลยบท

ดนตรรี ับ
ภาพที่ 33 รำท่าพระจนั ทร์ทรงกลด
ท่มี า : ธวชั ชัย กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

32

11. เน้ือรอ้ ง รำทา่ พระรถโยนสารมารกลบั หลัง
อธิบายท่ารำ
“รำทา่ พระรถโยนสาร” ยกขา้ งเท้าขวา มือขวาแบลาดระดบั สะเอว มือซ้ายตงั้ วงหนา้ เอียงชวา
“รอ้ งซำ้ พระรถโยนสาร” ยกข้างเท้าซา้ ย มือซา้ ยแบลาดระดบั สะเอว มือขวาตง้ั วงหน้า เอยี งซา้ ย
“แก้วขา้ เอยมารกลับหลัง” ยนื รวมเทา้ มอื ขวาลักษณะบวั ชฝู ักแตก่ ำมอื มอื ซา้ ยลักษณะวงหนา้ แตก่ ำมอื
ว่งิ ซอยเท้าทางซา้ ย 1 รอบ

รำทา่ พระรถโยนสาร ร้องซำ้ พระรถโยนสาร

แกว้ ข้าเอยมารกลบั หลงั
ภาพที่ 34 รำทา่ พระรถโยนสารมารกลบั หลงั
ที่มา : ธวัชชยั กันตงั กลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

33

12. เนื้อร้อง รำทา่ ชูชายนาดกรายเขา้ วงั
อธบิ ายท่ารำ
“รำท่าชูชายนาดกราย” ยกหน้าขาซ้าย มอื ขวาจีบควำ่ ระดบั อก มอื ซา้ ยส่งจีบหลงั เอยี งซา้ ย
“ดนตรบี รรเลง” เปล่ียนเปน็ ยกหนา้ เทา้ ขวา มือขวาปลอ่ ยมือแบหงายฝา่ มอื ระดับอก มือซ้ายต้ังวงหนา้
เอียงขวา ปฏบิ ัติสลับไปมาช้า 4 จังหวะ แลว้ คอ่ ยยำ่ เท้าเร็วตามจงั หวะเพลง
“จะเข้าวงั ” ปฏิบตั ทิ า่ เดมิ แต่หมุนตัวทางซา้ ยเข้าวง

รำท่าชูชายนาดกราย

รำท่าชชู ายนาดกราย จะเข้าวัง

ภาพที่ 35 รำท่าชูชายนาดกรายเขา้ วงั

ท่ีมา : ธวชั ชัย กนั ตงั กุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

34

13. เนอื้ รอ้ ง แลว้ มาน่งั หมอบเฝา้ เจา้ นครินทร์
อธบิ ายทา่ รำ
“แล้วมานง่ั หมอบเฝ้า” นักแสดงดา้ นหนา้ น่ังพับเพียบ ทางซ้าย มือพนมมอื แล้วลงกราบ นกั แสดง
ด้านหลงั ตรงกลาง ยืนดว้ ยขาซ้าย ขาขวาพาดบนเขา่ ซ้าย มอื ซา้ ยบวั ชูฝัก มือขวาตง้ั วงล่าง หนา้ ตรง “เจา้
นครนิ ทร์” นกั แสดงคนกลางปฏบิ ัตทิ ่าเดมิ แตค่ นนงั่ ปฏบิ ตั ิท่าน่ังพับเพียงถวายบังคม

แลว้ มานั่งหมอบเฝ้า

เจ้านครนิ ทร์
ภาพที่ 36 แล้วมาน่งั หมอบเฝ้าเจา้ นครินทร์
ทม่ี า : ธวัชชัย กันตงั กลุ 2565 : ภาพถ่าย พฤษจิกายน : 12

35

14. เน้ือร้อง รำทา่ ขห้ี นอนรอ่ นรำ รำแล้วเข้ามาเปรยี บท่า
อธิบายท่ารำ
“รำทา่ ขห้ี นอนร่อนรำ” ยืนดว้ ยขาซา้ ย มือซ้ายตั้งวงบน (เขาควาย) มือซา้ ยจีบปรกข้างโดยเกย่ี วขาขวา
ขน้ึ มาด้วย หนา้ ตรง
“รำแลว้ เขา้ มาเปรียบทา่ ” ปล่อยขาขวา ลงมาเป็นกระดกไขวเ้ ท้า มอื ซ้ายจีบหงาย ใกล้เท้าซา้ ย มอื ขวา
ต้งั วงบน เอียงซ้าย

รำท่าข้ีหนอนร่อนรำ

รำแล้วเข้ามาเปรยี บท่า
ภาพที่ 37 รำทา่ ข้ีหนอนร่อนรำ รำแล้วเขา้ มาเปรียบท่า
ที่มา : ธวัชชัย กันตงั กุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

36

15. เนอ้ื รอ้ ง รำทา่ พระรามรามา แกว้ ขา้ เอ่ยท้าวน้าวศลิ ป์
อธบิ ายทา่ รำ
“รำท่าพระรามรามา” ยืนตรง พนมมือไหวร้ ะดบั อก หนา้ ตรง
“แกว้ ข้าเอ่ยทา้ วนา้ วศลิ ป”์ ยกขา้ งเท้าขวา มอื ซ้ายจบี ควำ่ ระดับอก มอื ขวา จบี ควำ่ เหยยี ดแขนตึงระดบั
ไหล่ เอียงขวา

รำทา่ พระรามรามา

แกว้ ขา้ เอ่ยทา้ วนา้ วศลิ ป์ เปรยี บท่า
ภาพท่ี 38 รำทา่ พระรามรามา แกว้ ข้าเอย่ ทา้ วน้าวศิลป์
ท่ีมา : ธวัชชยั กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

37

16. เน้ือรอ้ ง ฝงู มจั ฉาลอ่ งมาในวารนิ
อธบิ ายท่ารำ
“ฝงู มจั ฉาลอ่ งมาในวาริน” ยืนตรง พนมมือไหวร้ ะดับอก หน้าตรง
“ล่องไปล่าว เลยบท” ซอยเทา้ ไปตามวง มือทง้ั สองวางซอ้ นกนั (ลักษณะบทบาทสมมตเิ ปน็ ตวั ปลา) หมนุ
ไปตามวง โดยยดื ตวั ขึน้ แล้วกม้ ตวั ลง ไปตามวง

ฝูงมจั ฉาล่องมาในวารนิ

ล่องไปลา่ ว เลยบท
ภาพท่ี 39 ฝงู มัจฉาลอ่ งมาในวารนิ
ท่มี า : ธวชั ชยั กนั ตังกุล 2565 : ภาพถ่าย พฤษจกิ ายน : 12

38

17. เนอื้ รอ้ ง ฉนั หลงใหลไปสน้ิ แก้วข้าเอย่ งามโสภา
อธบิ ายทา่ รำ
“ฉนั หลงใหลไปสน้ิ ” เท้าขวาวางหลัง มอื ซา้ ยตัง้ วงบน (เขาควาย) มือขวาปอ้ งหนา้ เอยี งซา้ ย
“แกว้ ขา้ เอย่ งามโสภา” ถอนเทา้ ขวา มอื ทงั้ สองจีบระดับสะเอว แล้วปลอ่ ยแบหงายฝา่ มือ เอยี งซา้ ย หมนุ
ตวั ทางขวา 1 รอบ

ฉนั หลงใหลไปสิ้น

แก้วข้าเอ่ยงามโสภา
ภาพท่ี 40 ฉันหลงใหลไปสิ้น แกว้ ขา้ เอย่ งามโสภา
ท่ีมา : ธวัชชยั กันตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

39

18. เนอ้ื รอ้ ง รำทา่ โตเล่นหาง ถดั มาท่ากวางโยนตัว
อธบิ ายทา่ รำ
“รำท่าโตเล่นหาง” เท้าซา้ ยวางหลัง มือซ้ายสง่ ไปด้านหนา้ ควำ่ ฝา่ มือกดนว้ิ กลางและนิ้วช้ลี ง มอื ขวาส่ง
หลงั แบมือตะแคง หน้าตรง (รอ้ งซำ้ ท่าปฏบิ ัตเิ หมือนเดมิ แตต่ รงข้ามกัน)
“ถดั มาทา่ กวางโยนตวั ” ยกหน้าเท้าซา้ ย มอื ขวาวางซอ้ นมือซ้ายระดบั อก (ดนตรีรับ ปฏบิ ตั กิ ารกระโดด
ตามจงั หวะเพลง โดยการกระโดดไปดา้ นหนา้ กระดกขวา นับ1 แล้วเหยยี บเท้าขวา ยกหนา้ ซ้าย นับ2
ปฏิบตั สิ ลับไปมาจงั หวะชา้ 4 และต่อด้วยจงั หวะเร็ว

รำท่าโตเล่นหาง

ถัดมาทา่ กวางโยนตัว
ภาพท่ี 41 รำท่าโตเลน่ หาง ถดั มาทา่ กวางโยนตัว
ท่มี า : ธวัชชยั กันตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

40

19. เนือ้ รอ้ ง แลว้ รำยัว่ เอาแป้ง แก้วขา้ เหอมาผัดหนา้
อธบิ ายท่ารำ
“แลว้ รำยวั่ เอาแปง้ ” เท้าขวาวางหลัง มอื ขวาแทงมอื ตั้งวงบน(เขาควาย) มือซ้ายแบลาดแขนงอระดบั
สะเอว เอยี งซา้ ย
“แก้วขา้ เหอมาผัดหน้า” ปฏิบัติเทา้ ลักษณะเดมิ มอื ทง้ั สองปฏิบัติทา่ ลักษณะลบู ใบหน้า แลว้ หมนุ ตวั
ทางขวา 1 รอบ

แล้วรำย่ัวเอาแป้ง

แกว้ ขา้ เหอมาผดั หนา้
ภาพท่ี 42 แลว้ รำยว่ั เอาแปง้ แกว้ ขา้ เหอมาผัดหนา้
ท่ีมา : ธวัชชยั กนั ตังกุล 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

41

20. เนอื้ ร้อง หงส์ทองลอยลอ่ งมนั ว่ายน้ำมา รำท่าเหราเล่นน้ำแก้วขอ้ เหอสำราญนกั
อธิบายท่ารำ
“หงสท์ องลอยล่องมนั ว่ายนำ้ มา” เท้าซา้ ยวางหลัง มือซ้ายสง่ จบี คว่ำระดบั วงบน มอื ซา้ ยสง่ จีบหลงั หนา้
ตรง
“รำทา่ เหราเลน่ นำ้ ” ลดตวั ลงนั่งลักษณะพบั เพียบทางซ้าย แต่เหยยี ดเท้าขวาไปดา้ นหลังใหม้ าก มอื ทั้ง
สองวางกับพ้นื ดา้ นหนา้ หนา้ ตรง (ดนตรรี บั ) โยกหมุนตวั ไปตามจงั หวะเพลง เมอ่ื ดนตรีเปลยี่ นจงั หวะ
ปฏบิ ตั ิการกลับตวั นง่ั ตามจงั หวะเพลง โดยใช้มอื ยันพน้ื ลกั ษณะเดิม)
“แก้วข้อเหอสำราญนกั ” นงั่ พับเพียบพับขาไปทางขวา โยกหมุนตัวไปตามจังหวะเพลง จากนน้ั กลบั การ

นัง่ พับเพยี บไปทางซา้ ย แล้วโยกหมุนตวั ตามจังหวะเพลงจนหมดจงั หวะ

หงสท์ องลอยลอ่ งมนั ว่ายนำ้ มา

รำท่าเหราเลน่ นำ้ แกว้ ขอ้ เหอสำราญนกั
ภาพท่ี 43 หงสท์ องลอยลอ่ งมนั ว่ายน้ำมา รำท่าเหราเลน่ น้ำแก้วขอ้ เหอสำราญนัก

ทมี่ า : ธวชั ชยั กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12

42

21. เนอ้ื ร้อง รำท่าโตเลน่ หาง ถัดมาทา่ กวางเดินดง
อธบิ ายท่ารำ
“รำท่าโตเล่นหาง” เทา้ ซา้ ยวางหลัง มือซา้ ยสง่ ไปดา้ นหน้าคว่ำฝ่ามอื กดนิ้วกลางและนว้ิ ชี้ลง มอื ขวาสง่
หลังแบมอื ตะแคง หนา้ ตรง (รอ้ งซำ้ ท่าปฏิบตั เิ หมือนเดมิ แต่ตรงข้ามกัน)

“ถดั มาท่ากวางเดินดง” เท้าขวาวางหลงั (เคาะเท้า) มอื ซ้ายมาทาบมอื ขวา ระดับกลางลำตวั
(ดนตรรี บั เดินกา้ วหน้าเทา้ ขวา เคาะเทา้ ซ้าย แล้วเปลีย่ นเปน็ ก้าวหน้าเท้าซ้ายเคาะเท้าขวา ไปตามวงจาก
ซ้ายไปขวา

รำทา่ โตเล่นหาง

ถดั มาทา่ กวางเดินดง
ภาพที่ 44 รำทา่ โตเลน่ หาง ถัดมาท่ากวางเดนิ ดง

ท่ีมา : ธวัชชยั กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

43

22. เนอื้ ร้อง รำเป็นทา่ พระสรุ ิวงศ์ แก้วขอ้ เอ่ยผูท้ รงศกั ดิ์
อธบิ ายทา่ รำ
“รำเปน็ ท่าพระสุริวงศ”์ ยนื ตรงเทา้ ชิด มือท้งั สองพนมมือระดบั อก หน้าตรง
“แก้วข้อเอย่ ผทู้ รงศักด”ิ์ ยนื ดว้ ยเทา้ ซา้ ย เท้าขวางอเขา่ พาดบนเข่าซา้ ย มือซา้ ยสง่ ลกั ษณะบวั ชฝู กั มือ
ขวาตัง้ วงล่าง หนา้ ตรง

รำเป็นทา่ พระสุริวงศ์

แกว้ ข้อเอ่ยผ้ทู รงศักดิ์
ภาพท่ี 45 รำเปน็ ท่าพระสุรวิ งศ์ แกว้ ข้อเอย่ ผู้ทรงศกั ดิ์
ทม่ี า : ธวชั ชัย กนั ตงั กลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

44

23. เนือ้ รอ้ ง รำทา่ ชา้ งสารหวา่ นหญ้า พี่พศิ ดวู า่ นา่ รกั
อธบิ ายทา่ รำ
“รำทา่ ชา้ งสารหวา่ นหญ้า” ยำ่ เทา้ ถอยหลัง มือขวาวางระดับใต้คาง มือซ้าย หงายแบมอื แล้วหมนุ เปน็ วง
ระดับสะเอว หน้าตรง (ร้องรบั ปฏบิ ตั ทิ ่าเดิมแตย่ ่ำเทา้ ไปด้านหน้า
“พ่พี ิศดวู ่านา่ รกั ” เท้าขวาวางหลงั มอื ขวาปอ้ งหน้า มือซ้ายตั้งวงบน เอยี งซ้าย

รำทา่ ช้างสารหวา่ นหญา้

พี่พศิ ดวู ่าน่ารัก
ภาพท่ี 46 รำท่าชา้ งสารหวา่ นหญา้ พ่พี ศิ ดวู ่านา่ รกั
ทม่ี า : ธวชั ชยั กันตังกลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจิกายน : 12

45

24. เนอ้ื รอ้ ง รำท่าพระลักษณ์แผลงศร แกว้ ข้อเอย่ จรลี
อธิบายท่ารำ
“รำทา่ พระลักษณ”์ ยนื รวมเท้า มอื ทง้ั สองพนมมอื ระดับอก หน้าตรง
“แผลงศร” เหวย่ี งเท้าขวาไปหลัง แลว้ คอ่ ยวางส้นเทา้ ด้านหน้า มอื ทั้งสองรวมกันระดบั สะเอวซา้ ย
จากนนั้ ดึงมอื ขวาจีบมอื ซา้ ยลกั ษณะตง้ั วง เอียงขวา (ร้องซำ้ แผลงศร” ปฏิบตั ลิ ักษณะเดมิ แต่ตรงขา้ มกัน
“แก้วขอ้ เอย่ จรลี” ชดิ เทา้ เบ่ยี งตัวทางซ้าย มอื ซา้ ยม้วนจบี แลว้ ปล่อยเปน็ วงหนา้ มอื ขวาสง่ จบี หลัง หนา
ตรง (รอ้ งรับวงิ่ ซอยเทา้ ตามกันเป็นวงหมุนตัวทางซา้ ย)

รำท่าพระลกั ษณ์

แผลงศร

แกว้ ข้อเอย่ จรลี
ภาพที่ 47 รำท่าพระลักษณ์แผลงศร แกว้ ขอ้ เอ่ยจรลี
ทม่ี า : ธวชั ชยั กันตังกลุ 2565 : ภาพถา่ ย พฤษจกิ ายน : 12


Click to View FlipBook Version