The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by boypongphun, 2022-09-12 10:30:29

คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

คู่มอื การดำาเนนิ งานขับเคล่อื น

ส่คู วามสำาเร็จในการพฒั นาคุณภาพ
การเรยี นการสอนภาษาไทย
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

สถาบนั ภาษาไทย
สาำ นักวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา
สำานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน

คู่มือการด�ำเนินงานขบั เคลือ่ น

สคู่ วามสำ� เรจ็ ในการพฒั นาคุณภาพ
การเรียนการสอนภาษาไทย
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

สถาบันภาษาไทย
สำ�นักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา
สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน



หนังสือคมู่ อื การดำ� เนินงานขับเคลือ่ นสู่ความสำ� เร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

จัดท�ำโดย สถาบันภาษาไทย สำ� นักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ถนนราชดำ� เนินนอก
เขตดสุ ติ กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ต�ำรวจ สำ� นกั งานต�ำรวจแห่งชาติ
ถนนเศรษฐศิริ เขตดสุ ิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศพั ท์ ๐ ๒๖๖๘ ๒๘๑๑-๑๓ โทรสาร ๐ ๒๒๔๑ ๔๖๕๘

ลิขสิทธิ์ของส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน
กระทรวงศกึ ษาธิการ ถนนราชด�ำเนินนอก เขตดสุ ติ กรงุ เทพมหานคร ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๘ ๕๗๔๗ โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๓๔๓

ค�ำน�ำ

สำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน เป็นหน่วยงานหลกั ในการจัดการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน
ซ่ึงได้ก�ำหนดนโยบายส�ำคัญให้นักเรียนทุกระดับช้ันอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้
เพือ่ เปน็ การวางรากฐานในการเรยี นรู้ โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ได้ดำ� เนินงาน “ขับเคล่อื นสูค่ วามสำ� เร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕” โดยก�ำหนดนโยบาย
“เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” และเพื่อให้การด�ำเนินงานจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติท่ีเป็น
รูปธรรมชัดเจน ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและสถานศึกษา สามารถด�ำเนินงาน
ได้เป็นแนวทางเดียวกัน ทั้งน้ี โดยค�ำนึงถึงความสอดคล้องตามสภาพบริบทของพ้ืนท่ี ส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน จึงได้จัดท�ำหนังสือ “คู่มือการด�ำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความส�ำเร็จในการพัฒนา
คุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
การด�ำเนินงานอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงภารกิจของหน่วยงาน ต้ังแต่ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา รวมทั้งการน�ำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับการจัด
การเรียนการสอนภาษาไทย เพือ่ ประโยชนส์ ำ� หรบั ครูผสู้ อนภาษาไทยและผู้ที่เก่ยี วข้อง

ในโอกาสน้ี ขอขอบคุณบุคลากรของส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
และครูทุกคน ซ่ึงเป็นหัวใจส�ำคัญในการขับเคลื่อนให้นโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม จึงขอเป็น
กำ� ลังใจใหก้ บั ทกุ ทา่ น ในการดำ� เนินงานพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทยใหป้ ระสบผลสำ� เร็จตอ่ ไป

(นายอมั พร พนิ ะสา)
เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน

สารบัญ

หนา้

คำ�นำ� ๑
บทนำ� ๒
การดำ�เนินงานพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ๘
คำ�ถามนา่ รกู้ ับหลักการใชภ้ าษาไทย ๑๙
เขียนอย่างไร ใช้ใหถ้ ูก ๒๓
หนอ่ เนอื้ เชอ้ื ไข ในวรรณคดีไทย ๓๖
เทคนคิ บนั ได ๖ ขั้นสคู่ วามสำ�เรจ็ ในการอ่านจับใจความสำ�คัญ ๕๖
คณะผู้จัดทำ�

บทนำ�

การศึกษาเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความคิดให้กับเยาวชนของประเทศ
โดยเฉพาะในโลกของศตวรรษท่ี ๒๑ ท่ีมกี ารเปลี่ยนแปลงอยา่ งรวดเรว็ ทง้ั ดา้ นเทคโนโลยกี ารสอื่ สาร และการคดิ คน้
พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ท้ังน้ี ในการเรียนรู้ภาษาไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
โดยสถาบนั ภาษาไทย ส�ำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา ไดใ้ หค้ วามส�ำคญั กบั การพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอน
ภาษาไทยมาโดยตลอด เนื่องจากภาษาไทยเป็นเคร่ืองมือส�ำคัญในการแสวงหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร
เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกัน อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ การประกอบกิจธุระ การงาน
และการด�ำรงชีวิตร่วมกันต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงมีการก�ำหนดนโยบายให้หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องให้ความส�ำคัญ
กับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นพ้ืนฐาน เพ่ือให้ผู้เรียนน�ำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
และการด�ำรงชีวิต ทัง้ นี้ การด�ำเนินการพฒั นาดังกล่าว ม่งุ เนน้ ให้ทุกภาคสว่ นมสี ่วนรว่ มในการขับเคล่ือนไปสู่เปา้ หมาย
การพัฒนาขดี ความสามารถของผู้เรยี นเพ่ือน�ำไปสกู่ ารมีคุณภาพชวี ิตทีด่ ี และมคี วามสขุ ในสังคม
ส�ำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ น้ี สถาบันภาษาไทย ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ได้ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย เพ่ือน�ำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้
ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม ส�ำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตโดยการใช้ภาษา
เป็นเคร่ืองมือในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยความเข้าใจ เคารพในความคิดเห็น และความแตกต่าง
หลากหลาย รวมทง้ั สามารถเลอื กและสรา้ งส่อื เพื่อใชส้ อ่ื สารได้อย่างถกู ต้อง เหมาะสม สรา้ งสรรค์ มสี นุ ทรียภาพ
และมีความรบั ผดิ ชอบตอ่ สงั คม ทงั้ น้ี เพอ่ื การด�ำรงอยูร่ ว่ มกนั ในสงั คมอยา่ งมีความสขุ ตอ่ ไป

เปา้ หมายของการพัฒนาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย

๑. เพ่ือพัฒนานักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
ไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ
๒. เพ่ือพัฒนาเทคนิควิธีสอนของศึกษานิเทศก์ท่ีรับผิดชอบงานภาษาไทยและครูผู้สอนภาษาไทย
ใหส้ ามารถจดั การเรียนการสอนไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ

วัตถปุ ระสงคก์ ารดำ� เนินงาน

๑. เพ่ือให้ผู้บริหารทุกระดับ ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา ให้ความส�ำคัญ มีความตระหนัก
และร่วมมอื รับผิดชอบในการเร่งรัดพัฒนาเพ่ือยกระดับคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย
๒. เพื่อให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเช่ือมโยงการจัดการเรียนรู้
เพ่ือยกระดบั คุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย
๓. เพ่อื ให้ผู้เกย่ี วข้องทกุ ระดบั และทุกภาคส่วนมสี ว่ นรว่ มใหค้ วามส�ำคัญ มีความตระหนกั และรว่ มมอื
รบั ผดิ ชอบในการเรง่ รดั พัฒนาเพือ่ ยกระดบั คณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย
๔. เพอื่ ให้นกั เรยี นมคี วามรู้ความสามารถในกลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทยตามท่ีก�ำหนดไวใ้ นหลกั สูตร

คมู่ อื การด�ำ เนินงานขับเคลือ่ นสู่ความส�ำ เรจ็ 1
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

การด�ำเนนิ งานพปัฒีงบนปารคะุณมภาณาพพกา.ศร.เร๒ยี ๕น๖ก๕ารสอนภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธกิ าร
การจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาผู้เรยี นให้เปน็ คนดี คนเกง่ มคี ุณภาพ

และมคี วามพรอ้ มรว่ มขบั เคลือ่ นการพัฒนาประเทศ

๑. ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน

๕. เครือขา่ ย เดก็ ไทยวิถีใหม่ ๒. โรงเรียน
อ่านออกเขยี นไดท้ กุ คน

๔. นกั เรยี น ๓. ครู

2 คมู่ ือการดำ�เนินงานขบั เคลอื่ นสู่ความสำ�เร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

บทบาทของหน่วยงานทีเ่ กยี่ วข้อง

ส�ำนักงาน
คณะกรรมการ

การศึกษา
ขัน้ พ้นื ฐาน

ส�ำนกั งาน โรงเรยี น
เขตพน้ื ท่ี
การศกึ ษา

เครือข่ายวชิ าการ/ ครผู สู้ อนภาษาไทย
มหาวิทยาลัย

กลุ่มโรงเรยี น/ ครูผสู้ อนทุกกลมุ่ สาระ
เครือขา่ ยวิชาการ การเรียนรู้

สมาคม/ เครือข่ายผ้ปู กครอง
ชมรมทเี่ กยี่ วขอ้ ง ชมุ ชน ทอ้ งถ่นิ
กับการพฒั นา

ภาษาไทย

คู่มือการด�ำ เนนิ งานขบั เคล่อื นสู่ความสำ�เรจ็ 3
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

การพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย

กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ประกาศนโยบาย

สำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน

๑. ใหค้ วามส�ำคญั สร้างความตระหนัก และร่วมรับผิดชอบของผู้บริหารทกุ ระดบั
โดยประกาศเปน็ นโยบายให้ส�ำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษา
ด�ำเนนิ การเร่งรดั พฒั นาเพอื่ ยกระดับคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย

๒. สง่ เสรมิ สนับสนนุ และให้ความช่วยเหลือ ทงั้ ในด้านปจั จยั วิธกี าร
และสือ่ /นวัตกรรมใหแ้ กส่ �ำนกั งานเขตพ้นื ทีก่ ารศกึ ษา
เพ่ือเปน็ เครือ่ งมอื ในการด�ำเนินงานใหเ้ กิดผลส�ำเรจ็
โดยค�ำนึงถงึ ความสอดคลอ้ งกบั บรบิ ทของแตล่ ะพื้นที่เป็นส�ำคัญ

๓. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมนิ ผล
การด�ำเนนิ งานของส�ำนกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษา
และมธั ยมศึกษา

๔. วเิ คราะห์ขอ้ มลู สรปุ
และรายงานผลการด�ำเนินงานตอ่ ผู้บรหิ ารทุกระดับ

4 คู่มอื การด�ำ เนินงานขับเคล่อื นสู่ความสำ�เร็จ
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

สำ� นักงานเขตพ้นื ที่การศกึ ษา

๑. ใหค้ วามสำ� คญั สร้างความตระหนัก และรว่ มรับผิดชอบของผบู้ ริหารโรงเรยี น
และครูทุกคนในโรงเรยี น โดยประกาศเป็นนโยบายตามนโยบาย
ของกระทรวงศึกษาธกิ ารและส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน

๒. จัดท�ำแผนงานหรอื โครงการตามบริบทของส�ำนกั งานเขตพื้นทก่ี ารศึกษา
เพอื่ ส่งเสริม สนบั สนนุ และใหค้ วามชว่ ยเหลอื
ทัง้ ในด้านปจั จยั วิธกี าร และส่อื /นวัตกรรมใหแ้ ก่โรงเรยี น
เพอ่ื เป็นเครอื่ งมือในการด�ำเนินงานใหเ้ กิดผลสำ� เร็จ

๓. คัดกรองและวเิ คราะห์ผลการคดั กรองการอ่านและการเขียน
และจัดทำ� ขอ้ มลู ของนกั เรยี นเปน็ รายบคุ คล
เพอ่ื น�ำไปใชใ้ นการพัฒนาและส่งเสรมิ ใหเ้ หมาะสมกบั นักเรียน

๔. นิเทศ ก�ำกับ ติดตาม
และใหค้ วามชว่ ยเหลือโรงเรียนอยา่ งใกล้ชิด

๕. สรุปและรายงานผลการดำ� เนนิ งาน
ต่อส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน

คู่มือการด�ำ เนินงานขบั เคล่ือนสู่ความสำ�เรจ็ 5
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ผู้ปกครอง ชุมชน และทอ้ งถ่ิน โรงเรียน

๑. ๑. ใหค้ วามส�ำคญั สรา้ งความตระหนกั
และร่วมรบั ผิดชอบของครูทกุ คนในโรงเรยี น
เอาใจใสด่ ูแลบตุ รหลาน - ผ- ้ปู กครอง ชุมชน และท้องถ่นิ โดยประกาศ
อย่างใกล้ชิด เป็นนโยบายตามนโยบายของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร
และส�ำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน
๒. --

ให้ความรว่ มมอื สนับสนนุ ๒. จัดท�ำแผนงานหรือโครงการตามบรบิ ท
และช่วยเหลอื โรงเรียน และสภาพปัญหาของนักเรยี น เพ่ือส่งเสริม
สนบั สนุน และใหค้ วามช่วยเหลอื ทั้งในดา้ นปจั จยั
๓. - - วิธีการ และสื่อ/นวัตกรรมใหแ้ กค่ รูผู้สอน
เพอ่ื เป็นเคร่ืองมอื ในการจดั การเรยี นการสอน
ตดิ ตามความก้าวหน้าการพัฒนา - แล--ะการซอ่ มเสริมใหน้ ักเรยี นอ่านเขยี นภาษาไทย
คุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย -

อย่างใกลช้ ิด ไดต้ ามมาตรฐานของหลักสูตร

-

๓. คัดกรองและวิเคราะหผ์ ลการคัดกรอง
- การอ่านและการเขยี น และจัดท�ำข้อมูล
- ของนักเรียนเปน็ รายบคุ คล เพื่อน�ำไปใช้
ในการพัฒนาและส่งเสรมิ ใหเ้ หมาะสมกับนักเรยี น
-

๔. นเิ ทศ ก�ำกับ ติดตาม
-
และใหค้ วามช่วยเหลอื ครูผู้สอนอย่างใกล้ชดิ

--
-

๕.- สรปุ และรายงานผลการด�ำเนนิ งานตอ่ ส�ำนกั งาน
- เขตพื้นทกี่ ารศกึ ษาและผ้ทู ีม่ สี ่วนเกยี่ วขอ้ ง

6 คู่มอื การด�ำ เนนิ งานขับเคลื่อนสคู่ วามสำ�เร็จ
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

การดำ�เนนิ งานพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย

คมู่ อื การดำ�เนินงานขบั เคลื่อนสู่ความส�ำ เรจ็ บทบาทของหนว่ ยงาน นโยบาย แนวทางการพัฒนาคณุ ภาพ
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ทเ่ี กี่ยวขอ้ ง “เดก็ ไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทกุ คน” การเรยี นการสอนภาษาไทย

สำ�นักงานคณะกรรมการ ๑. เครือข่ายวชิ าการ/ ๒. กลุ่มโรงเรยี น/ ๓. สมาคม/ชมรมท่ีเก่ยี วข้อง กระทรวงศึกษาธิการ
การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน มหาวิทยาลยั เครอื ข่ายโรงเรียน กบั การพัฒนาภาษาไทย ประกาศนโยบาย
สำ�นักงานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษา
สำ�นกั งานคณะกรรมการ
โรงเรยี น ๑. ให้ความสำ�คญั สร้างความตระหนกั ๒. จดั ทำ�แผนงานหรือโครงการ การศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน
และร่วมรบั ผิดชอบของบคุ ลากร เพ่ือสง่ เสริมสนบั สนุน และใหค้ วามช่วยเหลือ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๑. ครูผูส้ อนภาษาไทย ทุกระดบั ในการพฒั นาคุณภาพ ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย
การเรยี นการสอนภาษาไทย โรงเรียน
ตามบริบทและสภาพปญั หาของนกั เรียน ผู้ปกครอง ชมุ ชน และทอ้ งถิ่น

๒. ครูทุกกลมุ่ สาระการเรียนรู้ ๓. คดั กรองและวิเคราะหผ์ ลการคดั กรองการอา่ นและการเขยี นของนกั เรยี น
เพอื่ นำ�ไปใชใ้ นการพัฒนาและส่งเสริมใหเ้ หมาะสมกบั นกั เรยี นเป็นรายบคุ คล

๓. เครือขา่ ยผ้ปู กครอง ๔. นิเทศ กำ�กับ ติดตาม ๕. สรปุ และรายงานผล
ชุมชน ท้องถน่ิ และให้ความช่วยเหลอื อยา่ งใกล้ชิด การด�ำ เนนิ งาน

7

คำ� ถามนา่ รกู้ บั หลกั การใชภ้ าษาไทย

สถาบันภาษาไทย
ส�ำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา
ตัวชีว้ ดั และสาระการเรียนร้แู กนกลาง กลุม่ สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษา
ขัน้ พนื้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้ก�ำหนดสาระการเรยี นรู้เก่ยี วกบั หลักการใชภ้ าษาไทย เพ่ือใหผ้ ู้เรียนได้มีความรู้
ความเขา้ ใจเกย่ี วกบั ธรรมชาตขิ องภาษาและหลกั ภาษาไทย การเปลยี่ นแปลงของภาษา พลงั ของภาษา ภูมิปัญญา
ของภาษา และการรักษาภาษาไทยไวเ้ ปน็ สมบตั ิของชาติ
ในท่ีน้ี จึงขอยกตัวอย่างค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับหลักการใช้ภาษาไทย ท่ีอาจเป็นข้อสงสัยของครูผู้สอน
ภาษาไทย นักเรยี น หรือผู้ที่สนใจภาษาไทย เพือ่ น�ำไปสคู่ วามเขา้ ใจในการจดั เรยี นการสอนต่อไป
คำ� ถามท่ี ๑
ภาษาท่แี ทจ้ ริงของมนุษย์ คอื ภาษาพูด ซึ่งประกอบด้วยหนว่ ยภาษาจ�ำนวนมากทเี่ รียงล�ำดบั กนั มา
ตามลักษณะของภาษาแต่ละภาษา หนว่ ยภาษาประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบค�ำถามท่ี ๑
หน่วยภาษาประกอบด้วย เสยี งพดู กบั ความหมาย ถา้ มีแตเ่ สยี งพดู ไม่มีความหมายหรือส่ือความหมาย
ไม่ได้ เสียงพูดน้ันก็ยังไม่เป็นภาษา ถ้ามีแต่ความหมายไม่มีเสียงพูดก็เป็นเพียงความคิด ยังไม่เป็นภาษา
หรอื เปน็ ภาษาท่ีไมส่ มบรู ณ์ ต้องมที ั้งเสียงพูดและความหมายจงึ จะเรยี กวา่ เปน็ ภาษา

ค�ำถามที่ ๒
ส่วนประกอบทเี่ ลก็ ทส่ี ุดของภาษาเรียกวา่ อะไร

ตอบคำ� ถามที่ ๒
ส่วนประกอบทเ่ี ลก็ ทส่ี ุดของภาษา คอื หน่วยเสียง ซ่งึ เปน็ เสียงที่เจ้าของภาษาจะเรยี นรู้ทัง้ ลักษณะ
หนา้ ที่ และต�ำแหน่ง ที่หน่วยเสยี งหนง่ึ ๆ ปรากฏ และเรยี นรหู้ นว่ ยเสียงอ่นื ทีป่ รากฏดว้ ยกนั ด้วย

8 คูม่ อื การด�ำ เนนิ งานขบั เคลือ่ นสู่ความสำ�เร็จ
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

คำ� ถามท่ี ๓
ภาษาไทยเปน็ ภาษาค�ำโดด หมายความว่าอยา่ งไร

ตอบคำ� ถามท่ี ๓
ภาษาไทยเป็นภาษาค�ำโดด หมายความว่า ในการพูดการใช้ภาษาไทยจะมี ค�ำ เป็นหน่วยภาษา
ท่ีแทนความหมาย เมื่อต้องการจะสื่อความหมายใดก็น�ำค�ำท่ีมีความหมายน้ันมาเรียงต่อกันเพ่ือแทนความคิด
หรือเร่ืองราวที่ต้องการสื่อออกไป โดยค�ำน้ัน ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปหรือผันแปร เพื่อให้สอดคล้อง
กับค�ำอืน่ ในลกั ษณะของความสัมพนั ธท์ างไวยากรณ์

คำ� ถามที่ ๔
ค�ำวา่ ไท กับ ไต ในตระกูลของภาษาไทยมคี วามหมายเดียวกนั หรอื ไม่

ตอบคำ� ถามที่ ๔
ไท กับ ไต มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท ในอดีต
เคยเรียกตนเองว่า ได (dai) แต่เน่ืองมาจากการเปล่ียนแปลงของเสียงในภาษาอย่างมีระบบและแบบแผน
บางกลุ่มจึงเรียกตนเองว่า ไท เช่น ไทยพวน ผไู้ ท (เรณนู คร มกุ ดาหาร) ฯลฯ และบางกล่มุ เรยี กตวั เองว่า ไต
เชน่ ไตด�ำ ไตแดง ไตขาว ไตยวน ฯลฯ

คำ� ถามที่ ๕
ตระกูลภาษาในเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ เม่อื แบง่ ตามความสัมพนั ธท์ างเชือ้ สาย จะแบง่ ได้อยา่ งไร

ตอบคำ� ถามที่ ๕
แบง่ ออกไดเ้ ปน็ ๕ ตระกลู ภาษา ดงั น้ี
๑. ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ประกอบด้วยตระกูลย่อย คือ จีน (Sinitic)
ทเิ บต-พมา่ (Tibeto-Burman) และกะเหรี่ยง (Karenic)
๒. ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียตกิ (Austroasiatic) ประกอบด้วยตระกูลย่อย คือ มนุ ดา (Munda)
และมอญ-เขมร (Mon-Khmer)
๓. ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai) ประกอบดว้ ยตระกลู ยอ่ ย คือ ไทและกะได
๔. ตระกูลภาษาแม้ว-เย้า (Miao-Yao) หรือม้ง-เม่ียน (Hmong-Mien) ประกอบด้วยตระกูลย่อย
คอื แมว้ และเยา้
๕. ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน (Austronesian) ประกอบด้วยตระกูลย่อย คือ อินโดนีเชียน
(Indonesian) หรือออสโตรนีเชียนตะวันตก และตระกูลย่อยโอเชียนิก (Oceanic) หรือออสโตรนีเชียน
ตะวันออก

คมู่ ือการด�ำ เนนิ งานขบั เคล่ือนสู่ความส�ำ เรจ็ 9
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ค�ำถามที่ ๖
เครื่องหมายท่ีใช้ประกอบการเขียนภาษาไทยมี ๔ รูป คือ  ์ ๆ ฯ ฯลฯ อยากทราบว่า
แตล่ ะเคร่อื งหมายใชอ้ ยา่ งไร

ตอบค�ำถามที่ ๖
๑. เคร่ืองหมายทัณฑฆาต ( ์ ) เขียนบนตัวอักษรพยัญชนะหรือบนตัวสระ เพื่อแสดงว่า
ตัวพยัญชนะ สระ หรือตัวพยัญชนะกับสระนั้นไม่ออกเสียง เช่น ศิลป์ ปาล์ม พันธุ์ สิทธิ์ ตัวพยัญชนะ
ที่ไมอ่ อกเสยี งอาจมหี ลายตวั เชน่ ศาสตร์ กาญจน์ สิญจน์
๒. เคร่ืองหมายไม้ยมก (ๆ) เขียนข้างหลังตัวพยัญชนะและอยู่ในระดับเดียวกับตัวพยัญชนะ
ใชแ้ ทนค�ำท่กี ลา่ วซำ้� เช่น ทุก ๆ วนั ท�ำดี ๆ ทีละน้อย ๆ
๓. เคร่ืองหมายไปยาลน้อย (ฯ) เขียนข้างหลังพยัญชนะและอยู่ในระดับเดียวกับตัวพยัญชนะ
ใช้แทนค�ำทยี่ ่อใหส้ ัน้ ลง เชน่ กรุงเทพฯ โปรดเกลา้ ฯ
๔. เคร่ืองหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) เขียนในระดับเดียวกับตัวพยัญชนะ ใช้ละค�ำหรือข้อความ
ทไ่ี ม่ต้องการกลา่ วถึง เช่น เรามีอาหารสดทุกชนดิ ทั้งหมู เนือ้ ปลา กุง้ ฯลฯ

คำ� ถามที่ ๗
อวัยวะท่ใี ช้ในการออกเสียงพดู มีส่วนใดบา้ ง

ตอบคำ� ถามท่ี ๗

ช่องจมูก เพดานแข็ง
เพดานออ่ น
ปุ่มเหงือก
ริมฝีปาก ลนิ้ ไก่

ฟัน ลนิ้
แผ่นเนือ้ ปากหลอดลม
เส้นเสยี ง โพรงคอ

รปู แสดงอวยั วะทีใ่ ช้ในการออกเสียงพดู

10 คู่มือการดำ�เนินงานขับเคลอื่ นสู่ความส�ำ เร็จ
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

คำ� ถามที่ ๘
ค�ำเป็น ค�ำตาย คืออะไร

ตอบคำ� ถามท่ี ๘
ค�ำเปน็ หมายถึง พยางคท์ ่ีมีลักษณะอย่างใดอยา่ งหนง่ึ ดังตอ่ ไปนี้
๑) พยางค์ทีป่ ระสมกับสระเสียงยาว ไม่มีตัวสะกด เช่น ปู่ ขา มี หมู ห้า ตัว
๒) พยางค์ท่ีมีพยัญชนะสะกดอยู่ในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น ดวง เพลิน ชม พลอย กาว
รวมทั้งพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อ�ำ ใอ ไอ เอา ซึ่งมีเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงเดียวกับเสียงตัวสะกด
ในแม่ กม เกย และเกอว เช่น คำ่� ใด ไว ข้าว
ค�ำตาย หมายถงึ พยางค์ทมี่ ลี กั ษณะอยา่ งใดอย่างหนงึ่ ดังตอ่ ไปน้ี
๑) พยางคท์ ี่ประสมกบั สระเสียงสั้น ไม่มีพยัญชนะสะกด เชน่ ติ ผุ ลุ ปะ พระ
๒) พยางค์ท่มี พี ยญั ชนะตวั สะกดในแม่ กก กด กบ เชน่ ลกุ ลกู คดิ ดดี จบั จาบ

ค�ำถามที่ ๙
อักษรสงู มกี ารผันอยา่ งไร

ตอบคำ� ถามท่ี ๙
อักษรสูงค�ำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก
ใส่รปู วรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เชน่ ขา ขา่ ข้า ขาง ข่าง ข้าง
อักษรสูงค�ำตาย พ้ืนเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๒ เสียง ใส่รูปวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท
เช่น ผัด ผด้ั ขาด ขา้ ด

ค�ำถามท่ี ๑๐
การอ่านค�ำที่มีตัว ฤ สามารถอ่านออกเสียงได้ ๓ แบบ คือ ริ รึ เรอ ในการออกเสียงแต่ละครั้ง
เราจะสามารถสงั เกตไดอ้ ย่างไร

ตอบค�ำถามที่ ๑๐
การอา่ นค�ำท่ีมีตัว ฤ มหี ลกั สังเกต ดังนี้
๑. อา่ นออกเสยี ง เรอ มีใช้ค�ำเดียว คือ ฤกษ์
๒. อา่ นออกเสยี ง ริ

คูม่ ือการดำ�เนินงานขบั เคล่ือนสูค่ วามสำ�เร็จ 11
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๑) เมอื่ ฤ เป็นพยัญชนะตน้ ของค�ำและมตี ัวสะกดเปน็ ท ณ เช่น
ฤทธ์ิ อ่านว่า ริด
ฤณ อ่านว่า รนิ
๒) เม่ือมตี ัว ก ต ท ป เปน็ พยญั ชนะต้นและ ฤ ควบกบั พยญั ชนะตน้ น้นั เชน่
กฤช อ่านว่า กรฺ ิด
ตฤณ อ่านวา่ ตฺริน
ทฤษฎ ี อ่านวา่ ทรฺ ิด-สะ-ดี
ปฤจฉา อ่านว่า ปรฺ ดิ -ฉา
๓) เม่อื ฤ ตาม ศ ส ออกเสียงแบบอกั ษรน�ำ เชน่
ศฤงคาร อา่ นว่า สะ-หฺรงิ -คาน
สฤษฎ์ อ่านว่า สะ-หฺรดิ
๓. อ่านออกเสียง รึ
๑) เมอ่ื ฤ เปน็ พยางค์หนา้ เชน่
ฤชา อ่านว่า ร-ึ ชา
ฤทยั อา่ นว่า รึ-ทัย
๒) เมื่อ ฤ เปน็ พยัญชนะตน้ ของคำ� และมตี ัวสะกดเปน็ ก ค ต เชน่
ฤกษณะ อา่ นว่า รึก-สะ-นะ
ฤคเวท อ่านว่า รกึ -คะ-เวด
ฤต อา่ นว่า รดึ
๓) เม่ือ ฤ ตามตวั ค ด น ม ห ทอี่ อกเสียงแบบเรยี งพยางค์ เช่น
คฤหบด ี อา่ นวา่ คะ-ร-ึ หะ-บอ-ดี
ดฤถ ี อ่านว่า ดะ-รึ-ถี
นฤคหติ อ่านวา่ นะ-รึ-คะ-หดิ
มฤตยู อา่ นวา่ มะ-รดึ -ตะ-ยู
หฤทัย อา่ นวา่ หะ-ร-ึ ทัย
๔) ฤ ตามตวั พ ออกเสยี งเป็นเสยี งควบกล�ำ้ เชน่
พฤกษา อา่ นว่า พรฺ กึ -สา
พฤติกรรม อา่ นว่า พรฺ ึด-ติ-กำ�
๕) ฤ ตาม ค ออกเสยี งควบกล�ำ้ กบั ตวั ค เชน่
คฤนท ์ อ่านวา่ ครึน
๖) ฤ ออกเสยี งไดท้ ั้ง ริ หรือ รึ ในบางคำ� เชน่
อมฤต อา่ นวา่ อัม-มะ-ริด / อัม-มะ-รดึ

12 ค่มู อื การดำ�เนินงานขับเคลอื่ นสคู่ วามส�ำ เร็จ
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ค�ำถามท่ี ๑๑
ค�ำพ้องรูป คืออะไร

ตอบค�ำถามท่ี ๑๑

ค�ำพอ้ งรปู คอื ค�ำทีเ่ ขียนเหมือนกัน แตอ่ อกเสียงตา่ งกนั และมีความหมายตา่ งกนั ในการอ่านจึงต้อง
ระมดั ระวงั การอา่ นค�ำพอ้ งรปู ใหถ้ ูกต้องและสื่อความหมายได้ตรงตามเจตนาของสารตอ้ งอาศัยบริบท เช่น
กรี อา่ นว่า กฺรี แปลวา่ อวยั วะส่วนหวั ของกุ้ง
กะ-ร ี แปลว่า ช้าง

คำ� ถามที่ ๑๒
เคร่อื งหมาย (ๆ) หรือไมย้ มก มหี ลกั การอา่ นอย่างไร

ตอบคำ� ถามที่ ๑๒

เคร่ืองหมาย (ๆ) หรือไม้ยมก ใช้วางหลังค�ำหรือข้อความท่ีต้องการให้อ่านซ้�ำ ซ่ึงอาจซ�้ำค�ำเดียว
หรือมากกว่าหนงึ่ ค�ำกไ็ ด้ แลว้ แต่ความหมาย การอา่ นไมย้ มก มหี ลักการ ดงั นี้
๑. อ่านซ้ำ� ค�ำ เช่น
ของดี ๆ อ่านว่า ของ-ด-ี ดี
มาเรว็ ๆ อ่านวา่ มา-เร็ว-เรว็
ขยนั ๆ หนอ่ ย อา่ นว่า ขะ-หฺยัน-ขะ-หฺยัน-หฺนอ่ ย
๒. อ่านซำ้� กลมุ่ ค�ำ เช่น
วันละคน ๆ อ่านวา่ วัน-ละ-คน-วัน-ละ-คน
ทีละน้อย ๆ อ่านว่า ที-ละ-น้อย-ท-ี ละ-น้อย
๓. อ่านซ�ำ้ ประโยค เช่น
ไฟไหม้ ๆ อา่ นวา่ ไฟ-ไหมฺ ้ ไฟ-ไหมฺ ้
ช่วยดว้ ย ๆ อ่านวา่ ชว่ ย-ดว้ ย ชว่ ย-ด้วย

คู่มอื การด�ำ เนินงานขับเคล่อื นสู่ความสำ�เร็จ 13
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ค�ำถามท่ี ๑๓
การประวสิ รรชนยี ์และไมป่ ระวสิ รรชนีย์ แตกต่างกนั อยา่ งไร

ตอบค�ำถามท่ี ๑๓
คำ� ที่ออกเสียง อะ ในภาษาไทยมที ้งั ท่ปี รากฏรปู สระ เรียกวา่ ประวิสรรชนีย์ และไมป่ รากฏรูปสระ
ทเ่ี รยี กว่า ไม่ประวิสรรชนีย์
ค�ำทีป่ ระวสิ รรชนีย์ ได้แก่
๑) คำ� พยางค์เดยี วทอี่ อกเสียงสระ อะ ใหป้ ระวสิ รรชนีย์ เช่น จะ นะ กะ คะ
๒) พยางค์ทา้ ยของคำ� เม่ือออกเสยี งสระ อะ ใหป้ ระวสิ รรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธรุ ะ โลหะ
๓) คำ� เดมิ เปน็ สองพยางค์ ตอ่ มาเสยี งหนา้ กรอ่ นเปน็ เสียง อะ ให้ประวสิ รรชนีย์ เช่น
หมากพรา้ ว - มะพรา้ ว ตาวนั - ตะวัน ฉนั นนั้ - ฉะน้ัน
๔) ค�ำอัพภาสที่กร่อนมาจากค�ำซ้�ำและมักใช้ในค�ำประพันธ์ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
ริกริก - ระรกิ คร้ืนครื้น - คะครื้น แย้มแย้ม - ยะแยม้
๕) คำ� ทพ่ี ยางคห์ น้าออกเสยี ง กระ ประ ใหป้ ระวิสรรชนีย์ เช่น กระษัย ประกาศ ประจกั ษ์
๖) ค�ำท่ีพยางค์หน้าออกเสียง ระ ที่มาจากภาษาเขมร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ระบ�ำ ระเบียบ
ระลอก
๗) ค�ำที่มาจากภาษาจีน ญ่ีปุ่น ชวา และอ่ืน ๆ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น บะหมี่ ประไหมสุหรี
ตะหลวิ
ค�ำที่ไมป่ ระวิสรรชนยี ์ ไดแ้ ก่
๑) ค�ำทเี่ ป็นพยญั ชนะโดด ๆ ออกเสียงพยญั ชนะนั้นประสมกบั สระ -ะ เช่น
ณ ทม่ี คี วามหมายว่า ใน ทอี่ อกเสยี งวา่ นะ เช่น ณ กาลคร้ังหน่งึ
ธ ท่มี ีความหมายว่า ทา่ น เธอ ออกเสยี ง ทะ เช่น ธ ประสงคใ์ ด
ฯพณฯ ทเ่ี ป็นคำ� น�ำหนา้ ชื่อหรือต�ำแหนง่ ขา้ ราชการชั้นผ้ใู หญ่ ออกเสยี ง พะ-นะ-ทา่ น
เชน่ ฯพณฯ นายกรฐั มนตรี
๒) ค�ำสองพยางค์ที่พยางค์หน้ากร่อนเสียงเหลือเพียงพยัญชนะต้นประสมกับสระ -ะ บางค�ำ
เชน่ อันหนึ่ง - อนึ่ง ผญู้ าณ - พยาน ทา่ นนาย - ทนาย
๓) ค�ำทม่ี าจากภาษาเขมร เชน่ ขจี ฉบบั ถนน ผกา
๔) ค�ำท่ีแผลงมาจากค�ำพยางค์เดียว มีพยางค์หน้าออกเสียงพยัญชนะต้นประสมกับสระ -ะ
เช่น เดมิ แผลงเปน็ เผดมิ บวช แผลงเป็น ผนวช เกย แผลงเป็น เขนย
๕) ค�ำภาษาบาลสี นั สกฤตทอ่ี อกเสยี งพยญั ชนะต้นประสมกับสระ -ะ เชน่ กนก นภา อวตาร
๖) ค�ำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งเป็นค�ำสมาสพยางค์ที่ออกเสียงสระ -ะ เช่ือมระหว่างค�ำ
เช่น คณิตศาสตร์ รัตนตรยั อิสรภาพ
๗) ค�ำท่มี าจากภาษาอนื่ พยางค์ท่ีออกเสียง อะ ระหวา่ งค�ำ เชน่ ชวา พลาสติก มลายู

14 ค่มู ือการดำ�เนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำ�เร็จ
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

คำ� ถามที่ ๑๔
การใช้ ซ -ทร มีขอ้ สังเกตอยา่ งไรบ้าง

ตอบค�ำถามที่ ๑๔
หลกั การใช้ ซ -ทร มขี ้อสงั เกต ดังนี้

๑) ค�ำไทยแท้ท่อี อกเสยี ง /s/ ใชต้ วั ซ เช่น ซน ซอง ซบั ซีด
๒) ค�ำที่มาจากภาษาต่างประเทศใช้ ซ เช่น เซร่มุ เซลล์ ไซโคลน เซยี มซี
๓) ค�ำทีม่ าจากภาษาเขมรใช้ ทร เช่น ทราย ทราบ ทรวง ทรุดโทรม
๔) ที่มาจากภาษาสนั สกฤต เช่น มทั รี ทรัพย์ อินทรยี ์

ค�ำถามที่ ๑๕
การแบ่งประเภทของค�ำ กรณแี บง่ ตามศักด์ิของค�ำ หากอาศยั การใชภ้ าษาเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้
เปน็ กป่ี ระเภท อะไรบา้ ง

ตอบค�ำถามที่ ๑๕

แบง่ ไดเ้ ปน็ ๗ ประเภท ดังน้ี
๑. คำ� ราชาศัพท์ คอื ค�ำที่ใชเ้ ฉพาะกบั พระเจ้าแผน่ ดนิ พระบรมวงศานวุ งศ์ และพระสงฆ์
เช่น พระบรมราชโองการ, ประทบั , รบั ส่งั , อาพาธ
๒. คำ� ทางการ คอื คำ� แบบแผนและใช้ในการตดิ ต่อทางราชการ เชน่ บิดามารดา,
ถงึ แกก่ รรม, หนังสือราชการ
๓. ค�ำสุภาพ คือ ค�ำที่สภุ าพชนใช้กบั บคุ คลทว่ั ไป โดยเฉพาะอย่างยง่ิ ใชก้ บั ผทู้ ม่ี อี าวโุ ส กว่า
เชน่ รบั ประทาน, เสมหะ, ศีรษะ
๔. ค�ำท่วั ไป คือ ค�ำที่ใชไ้ ดก้ ับภาษาทกุ ระดบั เช่น เด็ก, กระดาษ, โรงเรียน
๕. คำ� ลำ� ลอง คอื คำ� ทใ่ี ช้ในสถานการณ์ทไี่ ม่เป็นทางการ เช่น ไปทชี่ อบ ๆ “ไปสู่สคุ ติ”,
แฟน “คนรกั , ภรรยาหรือสาม”ี , สนามบิน “ท่าอากาศยาน”
๖. ค�ำสแลง คอื คำ� ที่ไม่เปน็ ทางการท่ีใชเ้ ฉพาะกล่มุ เพื่อแสดงความรู้สกึ เปน็ พวกเดยี วกนั
เชน่ แหว้ “พลาด, อด”, ตงิ ตอ๊ ง “สติไมส่ มประกอบ”
๗. ค�ำหยาบ คือ ค�ำท่ไี มส่ ุภาพ เชน่ ตนี , ข,ี้ ตด รวมทัง้ ค�ำดา่ และคำ� ทสี่ ือ่ ความหมาย
เกยี่ วกบั เร่อื งเพศ และอวัยวะในการขบั ถ่าย

คู่มือการด�ำ เนนิ งานขบั เคลื่อนสู่ความส�ำ เร็จ 15
ในการพฒั นาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ค�ำถามท่ี ๑๖
ค�ำซอ้ นและค�ำซ�ำ้ คอื อะไร

ตอบค�ำถามท่ี ๑๖
ค�ำซ้อน หมายถึง ค�ำที่เกิดจากการน�ำค�ำตั้งแต่ ๒ ค�ำขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยแต่ละค�ำนั้น
มีความสมั พันธ์กนั ในดา้ นความหมาย อาจเปน็ ความหมายเหมือนกนั เช่น เร็วไว ใหญโ่ ต ดูแล สูญหาย เปน็ ตน้
ความหมายคล้ายกนั หรอื ท�ำนองเดียวกัน เช่น ออ่ นนมุ่ เลก็ น้อย ไรน่ า ใจคอ และความหมายตรงกนั ขา้ ม
เช่น ใกลไ้ กล เหตผุ ล สงู ต�่ำ ด�ำขาว ทหี นา้ ทหี ลัง เปน็ ตน้
ค�ำซ้�ำ หมายถึง ค�ำท่ีประกอบด้วยหน่วยค�ำ ๒ หน่วย ซ่ึงเหมือนกันทุกประการ หรืออีกนัยหน่ึง
การพดู หรือเขียนค�ำใดค�ำหนง่ึ อีกคร้ังท�ำให้เกิดค�ำซำ้� เช่น เด็ก ๆ, สาว ๆ, หนมุ่ ๆ, หลาน ๆ, ด�ำ ๆ, แดง ๆ,
สวย ๆ, ดี ๆ ในการเขียนค�ำซ้�ำจะใช้เคร่ืองหมายไม้ยมกแทนค�ำที่ซ�้ำ ในภาษาไทยค�ำทุกชนิดซ้�ำได้ แต่ไม่ใช่ว่า
ค�ำทุกค�ำในแต่ละชนิดจะซ�ำ้ ได้ ท้งั นี้ ข้ึนอยูก่ บั ความหมายของค�ำและปริบท

ค�ำถามที่ ๑๗
การยืมภาษา (linguistic borrowing) คอื อะไร

ตอบค�ำถามที่ ๑๗
การยืมภาษา (linguistic borrowing) คือ ปรากฏการณ์ทภ่ี าษาหนงึ่ ยืมตวั อกั ษร เสยี ง ความหมาย
หน่วยค�ำ ค�ำ ส�ำนวน กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ โครงสร้างประโยค วัจนลีลา ฯลฯ จากภาษาอื่นมาใช้
แมว้ ่าการยมื ภาษาจะไมจ่ �ำกัดอย่เู พียงการยืมค�ำ แต่โดยทว่ั ไปเมื่อกลา่ วถึงการยมื ภาษา มักมุง่ ประเด็นไปท่ี
การยืมค�ำเป็นส�ำคัญ เพราะค�ำเป็นส่ิงท่ีภาษาหน่ึงรับจากอีกภาษาหน่ึงใช้ได้ง่ายที่สุดและเกิดการยืมมากที่สุด
ค�ำท่ีรับมาจากภาษาอ่นื หรอื ภาษายอ่ ย (dialect) อนื่ เรียกวา่ ค�ำยืม ภาษาท่ีให้ยมื ซงึ่ อาจเปน็ ภาษาตา่ งประเทศ
ภาษาถิ่น หรือภาษาโบราณ เรยี กว่า ภาษาผใู้ ห้ (donor language) สว่ นภาษาทเี่ ป็นผ้ยู มื เรยี กวา่ ภาษาผู้รบั
(recipient language)

16 คูม่ ือการด�ำ เนินงานขับเคล่อื นสู่ความส�ำ เรจ็
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ค�ำถามที่ ๑๘
ภาษาบาลแี ละสันสกฤต แตกตา่ งกบั ภาษาไทยอย่างไรบ้าง

ตอบคำ� ถามที่ ๑๘

ภาษาบาลแี ละสนั สกฤตกบั ภาษาไทยมีความแตกตา่ งกันหลายประการ ดงั นี้

ภาษาบาลแี ละสันสกฤต ภาษาไทย
เปน็ ภาษาไทยตระกลู อนิ โด-อารยัน ซ่งึ เปน็ สาขา เปน็ ภาษาในตระกูลไท ซึง่ เป็นสาขาของภาษาตระกูล
ของภาษาตระกลู อินโด-ยโู รเปียน ไท-กะได
เป็นภาษามีวิภัตติปจั จัย มหี น่วยผันคำ� บอกหนา้ ท่ี เป็นภาษาคำ� โดด ไมม่ หี น่วยผนั ค�ำ
และความหมายทางไวยากรณ์ของค�ำ
ล�ำดบั คำ� ที่เปล่ียนไปไม่มผี ลใหค้ วามหมาย แสดงความสัมพนั ธท์ างไวยากรณ์และความหมาย
ของประโยคเปลย่ี นแปลง ดว้ ยต�ำแหน่งและการเรยี งคำ� ในประโยค
มโี ครงสร้างประโยคแบบ มีโครงสร้างประโยคแบบ
ประธาน-กรรม-กรยิ า (SOV) ประธาน-กรยิ า-กรรม (SVO)
วางหน่วยขยายไวห้ น้าหน่วยหลกั วางหนว่ ยหลกั ไว้หน้าหนว่ ยขยาย
มหี นว่ ยคำ� ไมอ่ ิสระจำ� นวนมาก หน่วยคำ� สว่ นใหญ่เปน็ หน่วยค�ำอสิ ระ
ค�ำสว่ นใหญม่ ีหลายพยางค์ คำ� ส่วนใหญ่มี ๑-๓ พยางค์
ไมม่ ีหนว่ ยเสียงวรรณยุกต์ มีหนว่ ยเสยี งวรรณยกุ ต์
เม่อื หน่วยเสียง ๒ หนว่ ยมาอยปู่ ระชิดกัน จะสนธิกนั ไมม่ ีกฎการสนธิตายตัวในลักษณะท่ีจะทำ� นาย
การเกดิ สนธลิ ่วงหนา้ ได้

ค�ำถามที่ ๑๙
ประโยค คืออะไร

ตอบคำ� ถามท่ี ๑๙
ประโยค คือ หน่วยทางภาษาท่ีประกอบด้วยค�ำหรือค�ำหลายค�ำเรียงต่อกัน กรณีที่เป็นค�ำหลายค�ำ
เรียงกัน ค�ำเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กันอย่างใดอย่างหน่ึง ประโยคเป็นหน่วยทางภาษา
ที่สามารถส่ือความได้ว่าเกิดอะไรข้ึน หรืออะไรมีสภาพเป็นอย่างไร โดยท่ัวไป ประโยคประกอบด้วย
ส่วนส�ำคญั ๒ สว่ น คือ นามวลี กบั กรยิ าวลี ประโยคอาจมีเพยี งกรยิ าวลีก็ได้ แตจ่ ะมเี พียงนามวลไี มไ่ ด้

ค่มู อื การด�ำ เนนิ งานขับเคลอ่ื นสูค่ วามสำ�เร็จ 17
ในการพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

คำ� ถามที่ ๒๐
นามวลี คืออะไร

ตอบค�ำถามที่ ๒๐

นามวลี คอื วลที ี่มีนามหรอื กลุม่ นามเป็นสว่ นหลัก นามวลที �ำหน้าทีเ่ หมอื นค�ำนาม คอื เป็นประธาน กรรม
หน่วยเติมเต็ม หน่วยเสริมความหรือขยายค�ำนามอ่ืน นามวลีมีส่วนประกอบ ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนหลัก
กับ ส่วนขยาย ส่วนหลักของนามวลีเป็นส่วนประกอบที่ต้องปรากฏเสมอ ส่วนขยายน้ัน อาจปรากฏ
หรอื ไมป่ รากฏกไ็ ด้ โครงสรา้ งของนามวลีมีลกั ษณะดังแผนภูมิต่อไปน้ี

นามวลี

สว่ นหลัก (ส่วนขยาย)

นาม ค�ำ
กล่มุ นาม กลมุ่ ค�ำ
วลี
อนุประโยค

รายการอา้ งองิ
กาญจนา นาคสกลุ และคณะ. (๒๕๕๔). บรรทดั ฐานภาษาไทย เลม่ ๑ ระบบเสยี ง อักษรไทย การอ่านคำ�

และการเขยี นสะกดค�ำ. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์ สกสค. ลาดพร้าว.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (๒๕๕๕). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๒ ค�ำ การสร้างค�ำ และการยืมค�ำ.

กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์ สกสค. ลาดพร้าว.
วจิ ินตน์ ภาณพุ งศ์ และคณะ. (๒๕๕๒). บรรทดั ฐานภาษาไทย เล่ม ๓ ชนิดของค�ำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพรา้ ว.

18 ค่มู อื การดำ�เนนิ งานขับเคล่อื นส่คู วามส�ำ เร็จ
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

เขยี นอยา่ งไร ใช้ให้ถกู

สถาบนั ภาษาไทย
ส�ำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารส�ำหรับการเรียนรู้
การด�ำเนินชีวิตของคนไทย นอกจากน้ียังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ด้วยเหตุนี้ คนไทยทุกคน
จึงควรเรียนรู้การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องในฐานะท่ีเป็นเจ้าของภาษา เพื่อให้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง
และเป็นการสบื สานภาษาไทยให้คงอยู่ต่อไป
ระบบการเขียนภาษาไทย เป็นระบบที่ใชต้ ัวอกั ษรแทนเสยี ง คอื เสียงพยญั ชนะ สระ และวรรณยุกต์
มาประกอบกันเป็นพยางค์และค�ำเพ่ือส่ือความหมาย การใช้ภาษาไทยการเขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
จึงมีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเพ่ือสื่อความหมายให้ถูกต้องและเข้าใจตรงกันแล้ว ยังเป็น
การแสดงถึงการตระหนักและรักษาสืบสานภาษาไทยอีกประการหน่ึงด้วย ในท่ีน้ี จึงขอยกตัวอย่างค�ำในภาษาไทย
ท่ีใช้ในการเรียนการสอนหรือในชีวิตประจ�ำวัน ท่ีมักเขียนไม่ถูกต้องหรือใช้ผิดความหมายไปจากท่ีต้องการเขียน
โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ส�ำหรับครูผู้สอนในการน�ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย
หรือการใชภ้ าษาไทยของผู้เรยี นให้ถกู ต้องทงั้ การสะกดคำ� และการสอ่ื ความหมาย

เขียนอย่างไร ใชใ้ หถ้ ูก

ลำ� ดบั คำ� ทเ่ี ขยี นถกู ค�ำท่เี ขยี นผดิ
๑. กฎหมาย
กฏหมาย
๒. กระทะ กะทะ
๓. กวยจ๊บั ก๋วยจบ๊ั
๔. กอ๊ บป้ี (copy) กอ๊ ปปี้
๕. กะทนั หนั กระทันหนั
๖. กะเทย กระเทย
๗. กะพรบิ กระพรบิ
๘. กะเพรา กะเพา, กระเพา, กระเพรา
๙. กังวาน กังวาล
๑๐. เกม (game) เกมส์
๑๑. แกง๊ แก๊งค,์ แก๊งก์
๑๒. ขะมกั เขมน้ ขมกั เขมน้
๑๓. ไขม่ กุ ไข่มุข

คู่มอื การดำ�เนินงานขับเคล่อื นสู่ความสำ�เรจ็ 19
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ลำ� ดบั คำ� ทเี่ ขยี นถกู คำ� ท่เี ขียนผิด
๑๔. คทา คฑา
๑๕. คลิก (click) คลก๊ิ
๑๖. คลนิ ิก
๑๗. ค�ำนวณ คลนี กิ , คลนี ิค, คลนิ ิค
๑๘. คุกกี้ คำ� นวน
๑๙. เคก้ คุ๊กกี้
๒๐. โควตา เคก๊
๒๑. จลาจล โควต้า
๒๒. จกั สาน จราจล
๒๓. ชอ็ กโกแลต จักรสาน
๒๔. แชต (chat)
๒๕. ซีฟู้ด (seafood) ชอ็ กโกแลต็ , ช็อคโกแลต
๒๖. ซรี สี ์ (series) แช็ต, แชท
๒๗. เซ็นชอื่ ซีฟดู๊
๒๘. เซนตเิ มตร ซีรยี ์
๒๙. แซ่บ เซ็นตช์ ื่อ
๓๐. ไซซ์ (size) เซน็ ตเิ มตร
๓๑. ฌาน แซบ
๓๒. ดบั เบลิ (double) ไซส์
๓๓. ดจิ ิทัล (digital) ฌาณ
๓๔. เตน็ ท์ ดบั เบิล้
๓๕. ไตฝ้ ุ่น ดิจิตอล
๓๖. ไตรยางศ์ เตน๊ ท์
๓๗. ทะนถุ นอม ใตฝ้ ุ่น
๓๘. ทะเลสาบ ไตรยางค์
๓๙. ทฆี ายโุ ก ทนุถนอม
๔๐. เท่ ทะเลสาป
๔๑. แทก็ ซ่ี ฑฆี ายุโก
๔๒. นอต เท่ห์
๔๓. นะคะ แทก๊ ซี่
๔๔. โนต้ บกุ๊ (notebook) น็อต, นอ๊ ต
๔๕. บลอ็ ก นะคะ่ , นะค๊ะ
โน๊ตบคุ๊
บล็อค, บลอ๊ ก

20 ค่มู อื การด�ำ เนินงานขบั เคลือ่ นสคู่ วามสำ�เร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ลำ� ดบั คำ� ทีเ่ ขยี นถูก ค�ำทีเ่ ขียนผิด
๔๖. บิณฑบาต บิณฑบาตร
๔๗. บคุ ลากร บุคคลากร
๔๘. เบรก
๔๙. ประณตี เบรค
๕๐. ปรากฏ ปราณีต
๕๑. ปิกนิก ปรากฎ
๕๒. เปอรเ์ ซน็ ต์ ปคิ นคิ
๕๓. เปาะเปีย๊ ะ เปอรเ์ ซนต์
๕๔. ผลัดเปล่ียน ปอเปี๊ยะ
๕๕. ผลดั เวร ผัดเปลี่ยน
๕๖. ผัดไทย ผดั เวร
๕๗. ผดั วนั ประกนั พรงุ่ ผัดไท
๕๘. ผาสกุ ผลัดวันประกันพรุ่ง
๕๙. แพ็กเกจ (package) ผาสขุ
๖๐. โพสต์ (post) แพ็กเกต, แพ็คเกจ
๖๑. เฟซบ๊กุ (facebook) โพส
๖๒. แฟช่นั เฟสบุ๊ก
๖๓. ภตู ผี แฟชนั
๖๔. มกุ ตลก ภตู ิผี
๖๕. เมาส์ (mouse) มุขตลก
๖๖. ยอ่ มเยา เมา้ ส์
๖๗. เยาวว์ ัย ยอ่ มเยาว์
๖๘. ล็อก เยาวยั
๖๙. ละเอียดลออ ล็อค
๗๐. ลายเซน็ ละเอียดละออ, ลเอยี ดลออ
๗๑. ลำ� ไย ลายเซน็ ต์
๗๒. ลิงก์ (link) ลำ� ใย
๗๓. ลิฟต์ (lift) ลิงค์
๗๔. ไลก์ (like) ลฟิ ท์
๗๕. ว่งิ เปี้ยว ไลค์
๗๖. วีดิทัศน์ วงิ่ เปร้ียว
๗๗. เวทมนตร์ วิดที ัศน,์ วดี ีทัศน์
เวทมนต์, เวทยม์ นตร์

ค่มู อื การด�ำ เนินงานขับเคลอื่ นสู่ความส�ำ เรจ็ 21
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ลำ� ดับ คำ� ทเ่ี ขียนถกู คำ� ทเี่ ขยี นผิด
๗๘. ศีรษะ ศรษี ะ
๗๙. สตรอว์เบอรร์ ี (strawberry)
๘๐. สงั เกต สตรอเบอร่ี
๘๑. สงั เขป สงั เกตุ
๘๒. สงั สรรค์ สงั เขบ
๘๓. สบั ปะรด สงั สรร
๘๔. สัมมนา สปั ปะรด
๘๕. สาบสูญ สมั นา
๘๖. สาปแชง่ สาปสูญ
๘๗. สคุ ติ สาบแช่ง
๘๘. เส้ือเชิ้ต สขุ คติ
๘๙. หมหู ยอ็ ง เสื้อเชิ๊ต
๙๐. หลงใหล หมูหยอง
๙๑. เหมน็ สาบ หลงไหล
๙๒. อนญุ าต เหม็นสาป
๙๓. อนสุ าวรีย์ อนุญาติ
๙๔. อะไหล่
๙๕. อัปเดต (update) อนเุ สาวรยี ์
๙๖. อัปโหลด (upload) อะหลัย่
๙๗. อนิ เทอร์เน็ต (internet) อัพเดท, อพั เดต
๙๘. อเี มล (email) อัพโหลด
๙๙. แอปเปลิ (apple) อนิ เตอร์เนต็
๑๐๐. ไอศกรมี อเี มล์
แอป๊ เปิล้
ไอศครีม

รายการอา้ งอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๔). อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร. (พิมพ์คร้ังท่ี ๒๑). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

. (๒๕๕๖). ไขปัญหาภาษาไทย ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน. พมิ พค์ ร้งั ท่ี ๔. กรงุ เทพฯ : อรุณการพมิ พ.์

22 คู่มือการด�ำ เนินงานขบั เคลอื่ นส่คู วามสำ�เรจ็
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

หนอ่ เนื้อเช้ือไข ในวรรณคดไี ทย

ละเอียด สดคมขำ�
ขา้ ราชการบำ� นาญ ครรู ะดับเช่ยี วชาญ

โรงเรียนสพุ รรณภมู ิ
ส�ำนกั งานเขตพน้ื ทีก่ ารศกึ ษาประถมศึกษาสุพรรณบรุ ี เขต ๑
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)
สำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐานตระหนกั ถึงความปลอดภยั ในชีวิตของนักเรียน นกั ศึกษา และบุคลากร
ในสังกัด ที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว อีกท้ัง เพื่อลดปัจจัยเส่ียงและลดโอกาสการแพร่ระบาดใหม่
จึงได้ก�ำหนดนโยบายป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(COVID-19) โดยให้สถานศึกษาในพ้ืนที่ควบคุมสูงสุด ตามท่ีศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.)
ก�ำหนดปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ทั้งน้ี ในระหว่างที่สถานศึกษาต้องปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษดังกล่าว ให้มีการ
ก�ำหนดแนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการก�ำหนดไว้ เช่น การส่ือสารแบบทางไกล
หรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
สถานศึกษาอาจจัดการเรียนการสอนโดยใบสั่งงาน หรือมอบงานตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน
จากแนวทางจัดการเรยี นการสอนดังกลา่ ว นบั วา่ เปน็ รูปแบบการใชช้ วี ิตแบบ “ความปรกติใหม่ (New normal)”
ซึ่งอาจไม่ใช่วิสัยปกติของคนวัยเรียนและวัยท�ำงานนัก ซ่ึงสิ่งหนึ่งที่จะท�ำให้การอยู่บ้านเกิดความเพลิดเพลิน
สุขกาย สบายใจ จิตสงบน่งิ ได้ทางหนง่ึ คอื การมหี นงั สือดี ๆ ท่นี า่ สนใจอ่านสกั เล่มหนง่ึ อยา่ งเช่น “หนงั สอื หนอ่ เน้ือเชอ้ื ไข
ในวรรณคดไี ทย” ที่จัดพมิ พโ์ ดยสถาบันภาษาไทย ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
หนังสือหน่อเนื้อเช้ือไข ในวรรณคดีไทยน้ี มีท่ีมาจาก
การที่ผู้เรียบเรียงซึ่งเป็นครูสอนภาษาไทยมา ๔๒ ปี มีทั้งลูกศิษย์
หลานศิษย์ และเม่ือได้พูดคุยกันจึงพบว่า ลูกศิษย์ หลานศิษย์
มีความรู้ตัวละครที่เป็น “หน่อเน้ือเช้ือไข ในวรรณคดีไทย”
ในหนังสือเรียนวรรณคดีเท่านั้น “หยุด สะดุด ความรู้ตัวละคร”
ไว้แค่ในหนังสือเรียนเพียงเท่าน้ัน ผู้เรียบเรียงจึงเกิดความเสียดายว่า
เพราะเหตุใดวรรณคดีไทยจึงหยุดความรู้อยู่เพียงเท่าน้ัน
ซง่ึ น่าจะเปิดเผย เผยแพร่ ขยายเรือ่ งราวไปมากกว่าน้ัน ประกอบกบั
เม่ือส�ำรวจไปรอบ ๆ ตัว ตามร้านหนังสือก็ไม่ปรากฏหนังสือ
ที่เป็นเร่ืองราวของวรรณคดีไทย จึงเป็นสาเหตุให้จุดประกายความคิด
ที่จะเปิดเผย เผยแพร่ ขยายเร่ืองราวของวรรณคดีไทย
ให้กว้างขวางขึ้น โดยน�ำตัวละครท่ีเป็นหน่อเนื้อเช้ือไข
มาเป็น “ผู้น�ำพา” การเขา้ ถงึ วรรณคดีไทยต่าง ๆ ใหล้ ึกซึ้งยิง่ ข้ึน

คู่มือการด�ำ เนินงานขับเคลอ่ื นสูค่ วามส�ำ เรจ็ 23
ในการพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

“หนอ่ เน้อื เช้ือไข ในวรรณคดไี ทย” ทเ่ี ป็น “ผนู้ �ำพา” มีใครบา้ ง

หนอ่ เนื้อเชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทยทเี่ ป็นผนู้ ำ� พาเรือ่ งราว ประกอบด้วย
๑. กุมารทอง เป็นบุตรขุนแผนกับนางบัวคลี่ ผู้มีชีวิตเป็นอมตะนิรันดร์กาล จากวรรณคดีไทย
เรือ่ ง ขุนช้างขุนแผน
๒. พลายงาม เป็นบุตรขุนแผนกับนางวันทอง นายทัพหนุ่มผู้เป็นก�ำลังส�ำคัญของกรุงศรีอยุธยา
จากวรรณคดีไทยเร่ือง ขนุ ชา้ งขุนแผน
๓. พลายชุมพล เป็นบุตรขุนแผนกับนางแก้วกิริยา ผู้ใฝ่เรียนรู้ต�ำราจากหลายส�ำนักจนเก่งกล้า
อาจหาญ สามารถสยบจระเขเ้ ถรขวาดให้สิ้นช่อื จากวรรณคดีไทยเรอ่ื ง ขนุ ช้างขนุ แผน
๔. คนัง เป็นเด็กชายก�ำพร้าเช้ือสายเงาะป่าซาไกท่ีมีวาสนา โชคชะตาพลิกผันเข้าสู่ราชส�ำนักวังหลวง
และไดฝ้ ากอัตลกั ษณแ์ หง่ ชาติภมู ิ ไว้ในวรรณคดีไทยเรือ่ ง เงาะป่า
๕. พระนารายณ์ธิเบศร์ พระกมุ ารน้อยผู้ไดร้ ับผลกระทบจากปญั หาครอบครัว และสามารถคล่ีคลายปัญหา
ได้ดว้ ยปัญญา จากวรรณคดีไทยเรือ่ ง ไชยเชษฐ์
๖. สินสมุทร เจ้าชายน้อยผู้เจริญวัยเป็นเจ้าชายผู้มากด้วยพลัง อ�ำนาจ ความแกร่งกล้า สามารถ
แต่อ่อนด้อยในเชิงเอาชนะใจราชธิดาอรุณรัศมีแห่งกรุงรมจักร อันเป็นที่หมายปองจนพระมารดานางสุวรรณมาลี
ต้องมาสอนเชิงชายพชิ ติ ใจสาวให้ จากวรรณคดไี ทยเรอ่ื ง พระอภัยมณี
๗. สุดสาคร เจ้าชายน้อยผู้คุ้นเคยกับผืนน�้ำมหาศาล เติบโตเป็นเจ้าชายหนุ่มผู้คลี่คลายสงคราม
เมืองผลึก สุดท้ายติดกับหลงเสน่ห์นางสุลาลีวันจนราชนารีเสาวคนธ์ผู้เป็นจอมยุทธ์แห่งเมืองการะเวก
เกิดความหมางเมินและหนกี ารอภเิ ษกสมรส จนต้องออกติดตามดว้ ยความยากลำ� บากเพอื่ ไปงอนงอ้ ขอคืนดีกบั นาง
จากวรรณคดไี ทยเร่ือง พระอภยั มณี
๘. พระมงกุฎ โอรสแหง่ องค์พระรามและนางสดี า ผู้สืบเชอื้ สายมาจากวงศ์พระนารายณ์ สามารถพชิ ิต
จับตัวหนุมานทหารเอกของพระรามผู้ไม่เคยพลาดพล้ังแก่ผู้ใด จับมัดด้วยเถาวัลย์เส้นเล็ก ๆ หนุมาน
กส็ ้ินฤทธิ์ จากวรรณคดไี ทยเร่อื ง รามเกียรต์ิ
๙. มัจฉานุ กระบ่ีรุ่นหนุ่มบุตรหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา ผู้เป็นหลานตาของพระพาย (เทวดา)
เป็นหลานปู่ของทศกัณฐ์ (ยักษ์) หลานย่าของนางปลา (มัจฉา) มีความเก่งกล้า อาจหาญ รับผิดชอบ
รกั ษาดา่ นชนั้ ในของกรงุ บาดาล จากวรรณคดไี ทยเรื่อง รามเกียรต์ิ
๑๐. พระสังข์ ราชกุมารผู้ไม่ชอบเปิดเผยตัว แรกประสูติก็ก�ำบังตัวอยู่ในหอยสังข์ ต่อมาก็ก�ำบังตัว
อยู่ในรูปเงาะ มีเฉพาะนางรจนาสามารถมองทะลุเจาะเกราะเงาะเห็นรูปทองอยู่ช้ันใน มีมนตราเรียกมัจฉา
และมฤคาให้มาหาได้ มีความสามารถเหาะเหินเดินอากาศ จนสามารถตีคลีป้องกันเมืองได้ จากวรรณคดีไทย
เรอ่ื ง สงั ขท์ อง

“หนอ่ เนื้อเชอื้ ไข ในวรรณคดีไทย” เป็น “ผูน้ ำ� พา” ให้รูเ้ รอ่ื งราวอะไรบา้ ง

เร่อื งราวหนอ่ เนื้อเชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย ประกอบด้วย
๑. ประวัติวรรณคดีไทย ๖ เร่ือง ขุนช้างขุนแผน เงาะป่า ไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี รามเกียรติ์
และสังขท์ อง เป็นประวัตอิ ยา่ งยอ่ ๆ แต่เรม่ิ เร่อื งจนมาจบลงตรงตัวละครหนอ่ เนื้อเช้ือไข ในวรรณคดที ี่กลา่ วถงึ

24 ค่มู อื การด�ำ เนินงานขบั เคลือ่ นสคู่ วามสำ�เรจ็
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๒. ประวัติวรรณคดีไทย ได้จัดท�ำเป็นล�ำดับวงศ์ ตามวรรณคดีไทยของแต่ละเรื่องเอาไว้
อย่างชัดเจน เป็นสาแหรกแตต่ ้นวงศ์ตระกูลและลำ� ดับต่อมาจนสุดทา้ ยของวรรณคดไี ทยเรอื่ งนน้ั ๆ ตัวอย่างเชน่

ลำ� ดบั วงศ์ขนุ แผน (พระสุรนิ ทชยั มไหสรู ยภ์ ักดี)
ขุนไกร นางทองประศรี

ขุนแผน
(พลายแกว้ )

นางพิมพลิ าไลย นางสายทอง นางลาวทอง นางบวั คล่ี นางแก้วกริ ิยา
(วนั ทอง)

นางศรมี าลา พลายงาม สรอ้ ยฟ้า
(จมน่ื ไวยวรนาถ)

พลายณรงค์ กมุ ารทอง พลายขนุ พล
(หลวงต่างใจ) (หลวงนายฤทธ)์ิ

พลายเพชร พลายบัว พลายยง

ล�ำดับวงศ์ขุนแผนจนถึงกุมารทอง

ขนุ ไกร นางทองประศรี หมืน่ หาญ นางสีจนั ทร์

(พลายแก้ว) ขุนแผน นางบัวคลี่

กมุ ารทอง

คู่มอื การดำ�เนินงานขบั เคล่อื นส่คู วามส�ำ เรจ็ 25
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ล�ำดับวงศข์ ุนแผนจนถึงพลายงาม (จม่นื ไวยวรนาถ/จมนื่ ไวย)

ขุนไกร นางทองประศรี พนั ศรโยธา นางศรปี ระจัน

(พลายแกว้ ) ขุนแผน นางพมิ พิลาไลย (วนั ทอง)

พระพจิ ิตร นางบุษบา เจา้ เชยี งอินทร์ นางอปั สรสุมาลี

ศรีมาลา พลายงาม สร้อยฟ้า
(จม่ืนไวยวรนาถ)

พลายเพชร พลายบัว พลายยง

๓. ความเดิมหรือท่ีมาของหน่อเนื้อเชื้อไข เป็นเร่ืองราวท่ีมาก่อนเป็นภูมิหลังของหน่อเน้ือเช้ือไข
เร่ืองราวการบรรยายจะด�ำเนินด้วยบทร้อยกรอง บทกลอน และบทบรรยายเป็นร้อยแก้วที่บ่งบอกเอกลักษณ์
และอตั ลักษณ์เฉพาะตัวของหน่อเน้อื เช้ือไข ตัวอย่างเชน่ กมุ ารทอง

เมื่อขุนแผนถูกขุนช้างใส่ความว่า หนีเวรไปหานางลาวทองท่ีเมืองกาญจนบุรี สมเด็จพระพันวษา
ทรงกร้ิว ส่งั ห้ามขนุ แผนเขา้ เฝา้ ฯ ใหน้ �ำตวั นางลาวทองมาไว้ในวังหลวง และให้ขุนแผนออกตระเวนด่าน
ขุนแผนแค้นเคืองขุนช้าง คิดจะไปลักตัวนางวันทองคืน จึงต้องการหาสิ่งที่ช่วยป้องกันตัว
ทเ่ี ปน็ ของวเิ ศษ ๓ สิง่ คือ ดาบฟา้ ฟนื้ มา้ สหี มอก และกุมารทอง
เม่ือออกตระเวนด่าน ขุนแผนได้พบกับนางบัวคล่ีลูกสาวหม่ืนหาญ ซึ่งลักษณะของนางน่าจะมีลูกคนแรก
เป็นผู้ชาย (ตอนนั้นขุนแผนยังไม่มีบุตรเลยสักคน) จึงเข้าไปสนิทสนมกับหม่ืนหาญ โดยบอกว่าตนชื่อ
“แก้ว” เป็นคนไมม่ หี ลกั แหล่ง
หมื่นหาญประกอบอาชพี ทจุ ริต ประพฤตผิ ิดกฎหมาย ปลน้ ฆา่ ชงิ ทรัพย์ เรียกค่าไถ่ซ่องโจร ลกั ช้าง
มา้ ววั ควาย
วนั หน่ึงหมืน่ หาญออกลา่ วัวกระทิงป่า แตย่ งิ พลาด วัวกระทงิ จงึ เข้าขวดิ สวนทนั ควนั จนหมื่นหาญลม้ ลง
แก้ว (ขุนแผน) ได้เข้าช่วยสกัดวัวกระทิงและช่วยหม่ืนหาญพ้นจากอันตราย หมื่นหาญเห็นความเก่งกล้า
ของแก้ว และส�ำนึกในบุญคุณของแก้วที่ช่วยชีวิตไว้ จึงยกบุตรสาวมีช่ือว่านางบัวคล่ีให้เป็นภรรยาและอยู่กินกัน
จนนางต้งั ครรภ์ไดห้ ลายเดือน
ตอ่ มาหมน่ื หาญไดเ้ รียกแก้วใหไ้ ปปล้นชิงเงินตรา ขโมยขา้ วของทผี่ ิดกฎหมายตา่ ง ๆ แลว้ ใหเ้ จา้ ของ
มาไถ่คืน

26 คมู่ อื การดำ�เนินงานขบั เคลื่อนสู่ความส�ำ เรจ็
ในการพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

“ตัวเจา้ มาอยูบ่ ้านกน็ านช้า เงินสักเฟ้ืองหนง่ึ ก็หามาไมไ่ ด้
ไม่อับอายขายหนา้ กับข้าไท แกล้งดูใจเจา้ มาเป็นช้านาน”
แก้วบอกว่าท�ำอย่างนั้นไม่ได้ (ด้วยแก้วถือว่าตัวเป็นข้าราชบริพารในสมเด็จพระพันวษา)
แตถ่ ้ามีเหตุเภทพาลใดใด กจ็ ะออกรับแทนโดยไมใ่ หห้ มื่นหาญต้องเดือดรอ้ น หม่นื หาญก็โกรธดถู ูกว่าแกว้ ดีแต่พดู
แก้วจึงทา้ ใหห้ มืน่ หาญเอาคนมายงิ ตนรอบกาย ซงึ่ ปรากฏวา่ ลกู ปืนไม่สามารถท�ำอันตรายแก้วได้
เม่ือหม่ืนหาญรวู้ ่าแก้วมีวชิ าดี จงึ คดิ ขยาดในใจว่า
“ดงั พญาสหี ราชอนั กราดเกร้ยี ว อยู่ถ�ำ้ เดียวสองตวั เห็นไม่ได้
ยง่ิ คิดยง่ิ แคน้ แนน่ ใจ เดนิ ข้ึนบนั ไดไปเรือนพลนั ”
“มนั เป็นช้างงาอนั กล้าหาญ เราเปน็ คชสารอันสูงใหญ่
จะอยูป่ า่ เดียวกนั นั้นฉนั ใด นานไปก็จะยับอัประมาณ”
หม่ืนหาญจึงคิดจะฆ่าแก้ว โดยอาศัยลูกสาวคือนางบัวคล่ีเป็นผู้ลงมือ ด้วยอกุศลดลจิตนางบัวคลี่
จะถึงที่ตาย จึงเห็นดีเห็นงามไปกับพ่อหมื่นหาญ น�ำผงยาพิษผสมในส�ำรับอาหารของแก้ว แต่โหงพราย
ได้มากระซบิ บอกแกว้ วา่
“ขา้ วแกงที่แตง่ ใสใ่ นส�ำรบั มนั ประกบั โรยมาดว้ ยยาผง
ล้วนยาพิษทัง้ นน้ั เป็นมน่ั คง พอ่ จงระวงั ระไวอย่าได้กิน”
แกว้ ยงั ไมเ่ ชอ่ื ค�ำโหงพราย เพราะวา่ “แต่อยู่กนั มาไมร่ าคิน” จงึ ได้น�ำอาหารป้นั เป็นก้อน แล้วโยนขน้ึ
หลังคาบ้าน ครู่เดียวนกกาท่ีกินอาหารเข้าไปก็หล่นลงมาด้ินตายจึงประจักษ์ถึงความอ�ำมหิตของนางบัวคลี่
และกล่าวว่า
“จ�ำจะล้างชีวาฆ่ามนั เสยี จะเล้ยี งมันเปน็ เมยี ทไ่ี หนได้”

เม่อื เหตกุ ารณเ์ ป็นเช่นน้ี จงึ สามารถวเิ คราะหส์ ถานการณข์ องแกว้ ได้วา่
๑. จะอาศยั บ้านน้อี ยูต่ ่อไปไมไ่ ด้
๒. ตัวคนเดยี ว ไม่หาญจะส้รู บกบั คนทัง้ ซ่องโจรและทหารของหมื่นหาญได้
๓. ลูกซึ่งเปน็ เชอื้ สายของตนในทอ้ งนางบวั คลี่ หากเปน็ ชายเตบิ โตไปไม่พ้นเปน็ ขนุ โจร หากเป็นหญิง
ไมพ่ น้ เป็นนางโจร จึงจะทงิ้ ลูกไว้ไมไ่ ด้
๔. ลูกท่ีมีแม่ใจทมิฬ ฆ่าผัวฆ่าพ่อของลูกได้ท้ังท่ีไม่ได้ท�ำอะไรผิด ลูกจะได้รับความสุขจากใคร
จะได้รบั การสั่งสอนเล้ยี งดูอย่างไร
๕. ลกู ทอ่ี ยใู่ นครรภน์ น้ั ถอื เปน็ สทิ ธิ์ของแม่
แก้วจึงเฝ้าพูดขอลูกจากนางบัวคล่ี จนนางบัวคลี่กล่าวประชดประชันว่า “อยากได้ก็แหวะเอา
จากทอ้ งไป” แก้วถอื ว่าเปน็ สิทธทิ์ น่ี างบัวคล่ียกลกู ให้ตน เพราะแมย่ กให้แลว้ จะท�ำอะไรกไ็ ดต้ ามท่ีตอ้ งการ
แก้วได้ผ่าท้องนางบัวคลี่ และพบว่าลูกเป็นกุมารหรือเด็กผู้ชาย จึงอุ้มลูกออกจากบ้านเดินตัดป่า
ไปถึงวดั ใต้ และเขา้ ไปในวหิ ารปดิ ประตแู น่นหนา แล้วท�ำพธิ ปี ลกุ เสกกุมารทองตามต�ำราจนถงึ รงุ่ เช้า
กุมารทองได้พาพ่อแก้วฝ่าออกจากวงล้อมของพวกหมื่นหาญ โดยให้พ่อแก้วขี่คอลอดออก
ทางรูกลอนประตู แล้วหายตวั วบั ไปทันใด กุมารทองจึงนบั ว่าเปน็ ส่ิงวิเศษและเป็นอมตะมาจนถงึ ทุกวันนี้

คมู่ ือการด�ำ เนนิ งานขับเคลือ่ นสคู่ วามส�ำ เร็จ 27
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๔. บทร้อยแก้ว บทร้อยกรองที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของหน่อเนื้อเชื้อไข สามารถเป็นกิจกรรม
อ่านบรรยาย อ่านเป็นท�ำนอง เป็นท�ำนองเสนาะ เป็นท�ำนองขับเสภา ให้ผู้ฟังได้ฟังอย่างเพลิดเพลินได้
ตวั อย่างเช่น

ชวนอ่านเป็นทำ� นอง
กมุ ารทองป้องปัดสกัดดาบ ประนมกราบขอโทษยิง่ โกรธส่ง
ถีบตอ่ ยเตะตกจากเตยี งลง กุมารตรงยดึ ขวางไมว่ างมอื
..................................................... .....................................................
กมุ ารทองห้ามวา่ อย่าใหต้ าย เอาแตพ่ อเจบ็ อายเลอื ดตาไหล
ฟนั ฆ่าเทวดามกั ดลใจ จบั ไดเ้ น้ือความลามกระจายฯ
(ตอน ขุนแผนข้นึ เรอื นขุนช้าง)
ขุนแผนไมส่ ะทกสะท้านอ่านมนตรป์ ลกุ ผีลูกผุดลกุ ขน้ึ พดู จอ้
ขุนแผนเตน้ เผ่นโผนโจนขค่ี อ กมุ ารทองช่วยพอ่ ใหพ้ ้นภยั
กุมารทองโลดปึงทะลงึ่ ปร๋อ พาพอ่ ออกตามรดู าลได้
พวกหม่ืนหาญไมเ่ หน็ ตวั ข้ามหวั ไป ดว้ ยฤทธิไกรไสยเวทวชิ าการ
(ตอน ก�ำเนดิ กมุ ารทองบตุ รนางบวั คล)่ี

๕. ประวัติของหน่อเนื้อเชื้อไข และพฤติกรรมที่ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม
ตัวอยา่ งเชน่ ประวตั ขิ องกุมารทอง

กุมารทองเปน็ หนงึ่ ในของวเิ ศษ ๓ สงิ่ ของขุนแผน คือ ดาบฟา้ ฟ้นื ม้าสหี มอก และกมุ ารทอง
กุมารทองเปน็ ลกู คนแรกของพอ่ แก้ว ที่เกิดจากครรภ์ของนางบัวคลี่
กุมารทองเป็นซากทารกท่ีไม่ทันได้เกิดเป็นมนุษย์ แก้วน�ำมาท�ำพิธีปลุกเสกด้วยการบูชาไฟ
โอมอ่านเวทมนตรค์ าถาอาคมตามต�ำรา จนเป็นของวเิ ศษทเ่ี ปน็ อมตะ
กุมารทองสามารถแสดงตนให้คนเห็นหรือไม่ให้ใครเห็นก็ได้ จะให้เห็นเป็นรูปอะไรก็ได้ทั้งส่ิงดี
สวยงาม หรอื สิ่งไมด่ ี ดรุ ้าย นา่ กลวั สามารถล่องหนได้ไวดังใจนกึ เข้าใจภาษาสอ่ื สารได้ รบั ค�ำสั่งและท�ำตาม
ค�ำสง่ั ได้
โลกของกุมารทองอย่ใู นอกี มติ หิ นง่ึ เป็นโลกทม่ี นุษย์มองไมเ่ ห็นในมิติน้ัน กุมารทองสามารถสัมผัส
และคุ้นเคยกับพวกภูต โหงพราย ผีพราย พรายไม้ พรายน้�ำ ผีเปรต ในยามค�่ำคืนพวกนี้จะมีพลังมาก
จึงออกมาท่องเท่ียว มาชุมนุม มาเล่นแข่งขันกัน อย่างพรายน้�ำที่เล่นเก็บกระเช้านางสีดา บ้างก็ส่งเสียง
ร้องรำ� ทำ� เพลง ซึ่งมนุษยไ์ ดย้ นิ เสียงแลว้ กจ็ ะกลัวจนขนหัวลกุ
กุมารทองตา่ งจากวญิ ญาณภูตผีตา่ ง ๆ ตรงทก่ี ุมารทองยึดมน่ั ในความดี ไมแ่ กล้งใคร ไมห่ ลอกใคร
ไมท่ ำ� ร้ายหรอื รังแกใคร กมุ ารทองมคี วามรักพ่อ รกั นอ้ ง และเชื่อฟงั พอ่ ขุนแผนไปไหนไปดว้ ย คอยชว่ ยเหลอื
ตามที่พ่อต้องการ

28 คมู่ ือการดำ�เนินงานขบั เคลอ่ื นสู่ความส�ำ เร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

กุมารทอง ท�ำหน้าที่คุ้มครองป้องกันอันตรายให้แก่คนในวงศ์ตระกูล คอยตักเตือนแนะน�ำ
และใชพ้ ลังวิเศษของตนคอยช่วยเหลอื ให้พน้ ภยั เชน่ ครง้ั หนงึ่ กมุ ารทองพาแก้วแหวกวงล้อมของหมื่นหาญ
พ่อของนางบัวคล่ี และเป็นตาของกุมารทองหนีออกไปได้ อีกครั้งหนึ่งกุมารทองได้ห้ามและเตือนสติขุนแผน
ตอนข้ึนเรือนขุนช้าง พบขุนช้างนอนหลับอยู่กับนางวันทองก็โกรธ และชักดาบจะฆ่าเสีย และอีกคร้ังหนึ่ง
กุมารทองได้เดินทางไปเป็นเพื่อนคอยป้องกันอันตรายให้พลายชุมพล (ซ่ึงเป็นน้องและเป็นลูกพ่อแก้วด้วยกัน)
เพ่ือหนีออกจากบ้านจม่ืนไวยวรนาถ (พระไวย) ที่เมืองอยุธยา กลับไปเมืองกาญจนบุรีด้วยความปลอดภัย
จนพบพ่อขุนแผนและไดค้ มุ้ ครองพลายชมุ พลเดนิ ทางไปหาท่านตา (เจา้ เมืองสุโขทยั ) ไดโ้ ดยปลอดภยั

๖. บทชวนรู้เรื่อง เป็นบทอ่านท่ีเป็นเร่ืองราวเกี่ยวกับรอบ ๆ ตัวหน่อเน้ือเชื้อไข เป็นบริบทเสริม
ใหเ้ หน็ ภาพพจนข์ องหน่อเนอ้ื เช้อื ไขชดั เจนย่งิ ขึน้ เช่น หนอ่ เนอ้ื เชอื้ ไขกุมารทอง บทชวนรูเ้ รือ่ ง จะเปน็ เรื่องเกีย่ วกบั ผี
ตัวอยา่ งเชน่

ชวนร้เู รอ่ื งผี
คำ� วา่ “ผี” เปน็ สิ่งที่มนุษย์เช่อื วา่ มีสภาพลึกลบั มองไม่เหน็ ตัว แต่อาจจะปรากฏตวั ในสภาพใดก็ได้
ต่าง ๆ กันไปตามแต่ต้องการ ผีอยู่ได้ในทุกที่แม้แต่สิงสู่ในตัวคน โดยเฉพาะคนที่มีความโลภ ความโกรธ
ความหลง ทคี่ วบคุมไมไ่ ด้ยอ่ มไม่ต่างจากคนถูกผีเขา้
ผมี ีทง้ั ผีดี ผีรา้ ย และผที ี่ไมใ่ ชผ่ ี ดงั เช่น
๑. ผีดี ได้แก่ ผีฟ้า เป็นเทวดาพวกหนึ่งที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ รักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นผีใจบุญ
ให้คณุ แก่มนุษย์
๒. ผีดีกไ็ ด้ ผรี า้ ยกไ็ ด้ ให้คุณก็ได้ ใหโ้ ทษก็ได้ ขนึ้ อยู่กับการกระท�ำของมนษุ ย์ท่ีท�ำใหแ้ ก่ผี หากเกดิ
ความพอใจหรือไม่พอใจ เชน่ ผบี า้ นผีเรอื น ผีป่า ผหี ่า ผีตาโขน ผีภูต ผีพราย ผีตายโหง หรอื แมแ้ ตก่ ุมารทอง
เปน็ ต้น
๓. ผที ีไ่ มใ่ ช่ผี มีหลายจ�ำพวกแตกต่างกนั เช่น
- ผีพุ่งไต้ ไม่ใช่ผี แต่มักเห็นในยามค่�ำคืน เป็นวัตถุแข็งจากอวกาศนอกโลก เคลื่อนท่ี
ผา่ นช้นั บรรยากาศลงมาสู่โลกจะลกุ ไหม้ให้แสงสวา่ งจา้ เกดิ จากการเสยี ดสีกบั บรรยากาศของโลก ถ้าเป็นวัตถุ
ขนาดเล็กก็จะเผาไหม้หมดก่อนตกลงถึงพื้นโลก หากมีขนาดใหญ่เผาไหม้ไม่หมด เมื่อตกลงถึงพ้ืนโลก
เรียกวา่ อุกกาบาต หรอื ดาวตก
- ผเี ส้อื น้�ำ เป็นยักษพ์ วกหนึ่ง สงิ อยใู่ นนำ�้
- ผีเส้ือ เป็นแมลงท่ีมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีหลากหลายสีสัน
และตา่ งลวดลาย มีท้งั ผเี สอื้ กลางวัน ผีเส้อื กลางคนื ผีเส้อื ยังเป็นชอื่ ปลาทะเลทีเ่ รียกวา่ ปลาผีเสือ้
- ผีตองเหลือง เป็นกลุ่มชนเผ่าหน่ึง อาศัยอยู่ตามป่าเขา นิยมใช้ใบตอง ใบไม้ท�ำที่อยู่อาศัย
เมอ่ื ใบตองออกสเี หลืองน้ำ� ตาลก็จะย้ายทอี่ ยูใ่ หม่ไปเรอื่ ย ๆ

คู่มอื การด�ำ เนนิ งานขับเคล่อื นสคู่ วามสำ�เรจ็ 29
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

มีผีชนิดหนึ่งในประเทศไทยที่กล้าเปิดเผยตัว และไม่มีสภาพลึกลับอีกต่อไป คือ ผีตาโขน
ซึ่งสืบทอดกันเป็นประเพณีแห่ผีตาโขนท่ีอ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในงานบุญผะเหวด (พระเวสสันดร)
หรือเทศน์มหาชาติ ประจำ� ปีของจงั หวัด มเี ร่ืองราวเลา่ ขานต่อกนั มาว่า สมยั ก่อนพทุ ธกาล พระโพธสิ ัตวจ์ ตุ ิ
ลงมาเกิดเป็นพระเวสสันดร เพื่อบ�ำเพ็ญบารมียิ่งใหญ่ในป่าเขาวงกตเป็นเวลา ๑ ปี ๔ เดือน
และเม่ือเดินทางออกจากป่าเขาวงกตได้มีผีป่าเขาทั้งหลาย ทั้งสิงสาราสัตว์ได้แฝงตัวเร้นกายตามมารอส่ง
พระเวสสันดรกลับเข้าเมืองสีพี (นครกัณฑ์) ซึ่งผีป่าพวกนี้เป็น “ผีตามคน” และต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็น
“ผตี าโขน”
ผตี ามคน (พระเวสสนั ดร) เพราะอะไร
๑. พระเวสสนั ดร ชอบใหท้ าน (บริจาค) การให้ทาน ท�ำใหเ้ กดิ เปน็ บุญกศุ ล เม่อื อุทิศบุญกุศลใหผ้ ี
ผีกช็ อบ ผมี ีความสุข พน้ ทกุ ข์
๒. พระเวสสันดร รักษาศีล ศีลทำ� ใหก้ าย วาจา ใจ บริสทุ ธไ์ิ ม่มวั หมอง ความบริสทุ ธท์ิ างกาย วาจา
ใจน้ี จะไม่คดิ รา้ ยต่อใคร เกิดเป็นบุญกุศล เมอื่ อทุ ิศสว่ นกศุ ลใหผ้ ี ผกี ช็ อบมคี วามสุข พน้ ทกุ ข์
๓. พระเวสสันดร ท�ำสมาธิภาวนา ท�ำให้จิตใจผ่องใสดุจดวงแก้วส่องสว่าง เกิดปัญญารู้แจ้ง
ความทุกข์ ความสขุ ของเทวดา มนุษย์ และผี ทำ� ให้สามารถช่วยเหลือให้คลายความทุกข์ หรอื พบแตค่ วามสขุ
ผีก็ชอบ เทวดาก็ชอบ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายก็ชอบ ทุกคนหากชอบให้ทาน ชอบรักษาศีล ท�ำสมาธิ
ภาวนา และอุทิศสว่ นบญุ กศุ ลใหผ้ ี ผกี จ็ ะชอบ และจะคอยดแู ลปกป้องอันตราย ดงั่ ค�ำที่ว่า “คนดีผคี ้มุ ”

30 คมู่ ือการดำ�เนินงานขบั เคลอ่ื นสู่ความส�ำ เรจ็
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๗. บทชวนกันเล่น ชวนกันร้องเล่น ซ่ึงยังเป็นบริบทเสริมเอกลักษณ์ของหน่อเน้ือเชื้อไขท่ียังมี
ความเยาว์วัย มีความเป็นเด็กท่ีร่าเริง แจ่มใส ชอบเล่น ชอบร้องเพลง ซึ่งการเล่นนั้น ก็ยังคงเกี่ยวกับ
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของหน่อเน้ือเชื้อไข ดังเช่น กุมารทองเป็นผีน้อย การละเล่นก็ยังคงเอกลักษณ์เป็นผีน้อย
ตัวอยา่ งเชน่

ชวนกันเล่น ซ้ือขายดอกไม้ (ตะล็อกตอ๊ กแต๊ก) ชวนร้องเล่น ซ้ือขายดอกไม้

จ�ำนวนผู้เลน่ ไมจ่ ำ� กดั จ�ำนวน คนซอื้ : ตะลอ็ กต๊อกแต๊ก
อุปกรณก์ ารเลน่ กระจาดวางดอกไม้ต่าง ๆ คนขาย : เอะ๊ ... ใครมา
สถานที่ ที่โลง่ กวา้ ง สำ� หรบั การว่ิง เชน่ สนาม คนซื้อ : นางฟ้า (นางไม้ นางงาม นางเอก
วิธกี ารเล่น นางแบบ ......)
๑. เป่ายิงฉุบ เพื่อแบ่งกลุ่มคนเป็นสองฝ่าย คนขาย : มาท�ำไม
ส่วนคนทเี่ หลือใหเ้ ลือกอย่ฝู ่ายใดก็ได้ คนซ้ือ : มาซ้อื ดอกไม้
๒. ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซื้อดอกไม้ อีกฝ่ายหน่ึงเป็นผู้ขาย คนขาย : ดอกอะไร
ดอกไม้ คนซอ้ื : ดอกจำ� ปี
๓. ผู้ซื้อดอกไม้เข้าแถวต่อกัน ฝ่ายผู้ขายดอกไม้ คนขาย : ยังไมม่ ี
ก็เขา้ แถวต่อกนั คนซื้อ : ดอกจำ� ปา
๔. เร่ิมเล่น ผู้ขายดอกไม้คนแรกมานั่งหน้ากระจาด คนขาย : ยังไมม่ า
ดอกไม้ ผ้ซู ื้อคนแรกเดินไปหาคนขาย คนซ้ือ : ดอกบานช่ืน (บานเช้า บานเยน็ บานบรุ ี ......)
๕. ผซู้ อ้ื คนแรกร้องวา่ “ตะลอ็ กตอ๊ กแตก๊ ” แถวผซู้ ือ้ คนขาย : บานแล้ว
ร้องรับว่า “ตะล็อกต๊อกแต๊ก” พร้อมให้ผู้ซื้อ คนซื้อ : ท�ำไมเล็บยาว
ออกแบบท่าทางระหว่างเดินไปหาผูข้ าย คนขาย : เพราะฉันไวเ้ ลบ็
๖. ถาม - ตอบ ระหว่างผู้ขาย - ผู้ซ้ือ โดยมีแถว คนซอื้ : ทำ� ไมผมยาว
ผู้ขาย - ผูซ้ ้อื ร้องรับตลอดเวลา คนขาย : เพราะฉันไว้ผม
๗. สุดท้ายเม่ือสิ้นเสียงผู้ขายบอกว่า “เพราะฉัน คนซอ้ื : ท�ำไมตาโบ๋
เป็นผี” ผู้ขายรีบลุกข้ึนว่ิงไล่จับผู้ซ้ือทันที คนขาย : เพราะฉันเปน็ ผี
ผู้ซือ้ ต้องรีบหนีโดยไว
๘. ผู้ซื้อที่ถูกจับตัวถือว่าตายจะต้องไปต่อแถวผู้ขาย
ส่วนผู้ขายถือวา่ ไดเ้ กิดใหมใ่ หไ้ ปต่อแถวผซู้ ื้อ
๙. หากผู้ขายจับตัวผู้ซื้อไม่ได้ ให้กลับไปต่อแถว
ผู้ขาย (ผี) ต่อไป
๑๐. เปลี่ยนผูซ้ ื้อ - ผูข้ ายคู่ต่อไป

คู่มือการด�ำ เนนิ งานขบั เคล่อื นสู่ความสำ�เร็จ 31
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๘. บทชวนเขียนประวัติ เม่ืออ่านเรื่องราวแต่ละหน่อเนื้อเชื้อไขแล้ว ผู้อ่านและผู้ฟังสามารถ
สรุปความ เขียนประวัติของแต่ละหน่อเน้ือเชื้อไขได้ เมื่อเขียนประวัติได้ก็แสดงว่าผู้อ่าน ผู้ฟัง เข้าใจเร่ืองราว
จบั ใจความได้ วเิ คราะหเ์ รอ่ื งได้ และเขยี นสรุปความได้ การเขียนประวัติ จะเขียนกรอกข้อความลงในแบบฟอร์ม
ตัวอย่างเชน่


32 คู่มอื การดำ�เนินงานขับเคลอื่ นสู่ความส�ำ เร็จ
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๙. บทชวนประดษิ ฐ์ การประดิษฐย์ ังคงไว้ซ่งึ เอกลักษณ์เฉพาะตัวทเ่ี กี่ยวข้องกบั หนอ่ เนื้อเชอ้ื ไข เช่น
กุมารทองเป็นผีน้อย จึงชวนประดิษฐ์หน้ากากผีตามจินตนาการของผู้อ่านและผู้ฟัง จะรังสรรค์รูปแบบต่าง ๆ
ตามความชอบใจ ซ่ึงหน้ากากผีนี้ ไปพ้องตรงกับหน้ากากผีวันฮาโลวีน จะท�ำให้เด็ก ๆ เกิดความสนุกสนาน
ตวั อยา่ งเชน่
ชวนประดษิ ฐ์หน้ากากผี
นกั เรยี นออกแบบ “หน้ากากผี” ตามความสนใจคนละ ๑ หน้ากาก
อุปกรณ์ ๑. กระดาษ/ วัสดุเหลอื ใช้/ เศษวัสดุ ฯลฯ
๒. สี พู่กนั กาว เทปใส
๓. กรรไกร มีด
การประดษิ ฐ์
๑. ค้นควา้ หาความรู้เกย่ี วกับหนา้ กาก จากเอกสาร หรอื อนิ เทอรเ์ นต็
๒. ออกแบบรูปแบบหนา้ กากผี ในรปู แบบของตน ๑ แบบ จะเป็นหนา้ กากแบบใดกไ็ ด้
๓. ลงมอื ปฏิบตั ิตามท่ีออกแบบ
๔. แลกเปลย่ี นเรยี นร้แู นวคดิ ในการทำ� หนา้ กาก
๕. นำ� เสนอหน้ากาก พรอ้ มกับตง้ั ช่อื เรยี กหนา้ กากด้วย
๖. คดิ การแสดงเปน็ กลุ่มทีใ่ ช้หน้ากากประกอบการแสดง
๗. ช่วยกันประเมนิ หน้ากาก และการแสดงทใ่ี ชห้ นา้ กากประกอบการแสดง

หน่อเนื้อเชื้อไขในวรรณคดีไทยอ่ืน ๆ ก็จะมีลีลาการด�ำเนินเรื่องตามหัวเรื่องเดียวกับกุมารทอง
ทว่าจะแตกต่างกันตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ บริบทที่เกี่ยวข้องก็จะปรับเปล่ียนไปตามแต่ละหน่อเน้ือเชื้อไข
ท่เี ป็น “ผูน้ ำ� พา” นัน้ ๆ

ค่มู ือการดำ�เนนิ งานขับเคล่อื นสคู่ วามส�ำ เร็จ 33
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

“หน่อเนือ้ เชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย” กบั คุณคา่ ทีม่ ากกวา่

๑. ประโยชน์ในการน�ำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซ่ึงจัดเป็น
คมู่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย ไดม้ แี นวทางการจดั กิจกรรมการเรียนรู้เป็น ๒ ด้าน
ด้านท่ี ๑ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ซึ่งหมายความว่า สอนการอา่ น การเขยี น การฟัง การดู การพูด และหลกั การใช้ภาษาไปในแตล่ ะครั้งละคราว
ให้ได้มากท่ีสุด เพราะเปน็ การวางความรพู้ น้ื ฐานใหถ้ ูกต้อง แมน่ ย�ำ เกิดทักษะทางภาษาไทย และเพม่ิ พูนทักษะ
ใหย้ ่ิง ๆ ขนึ้ ตามตัวชวี้ ดั ตามวตั ถุประสงค์ ตามสมรรถนะทตี่ อ้ งการ และสามารถประเมินดา้ นคุณธรรมได้อีกด้วย
ด้านท่ี ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า
สาระเนื้อหาท่ีหน่อเนื้อเช้ือไข ในวรรณคดีไทยเป็น “ผู้น�ำพา” ไปสู่การเรียนรู้สาระอื่น ๆ นอกเหนือจาก
วรรณคดีไทย สาระท่เี พม่ิ ความรู้รอบตัวใหผ้ เู้ รยี นรอบรู้ ก่อเกดิ ทักษะชวี ติ สร้างประสบการณ์ สามารถนำ� ไปใช้
ในชีวิตประจำ� วัน

วิเคราะห์สาระการเรยี นรใู้ นกลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

วเิ คราะห์อยา่ งมีเหตผุ ล บทร้อยแกว้ ประวัตติ วั ละคร การอ่านบทร้อยกรอง
มารยาทในการเขยี น บทรอ้ ยกรอง การอา่ นเรือ่ งย่อ
จากจนิ ตนาการ กลอนเสภาเรื่องขุนชา้ งขนุ แผน มารยาทในการฟงั
เชงิ สร้างสรรค์ ตอนก�ำเนิดกุมารทอง การอา่ นค�ำ
เล่าเรอื่ ง มารยาทในการอ่าน การเลา่ เรอ่ื งผี
คัดลายมอื
เรียงความ การอ่าน การฟงั
บรรยายภาพ

การเขียน

กุมารทอง

คณุ ธรรม หลกั การใช้ภาษา การพูด

ความกตัญญกู ตเวที ส�ำนวนภาษาท่เี ก่ยี วข้อง มารยาทในการพดู
การเชือ่ ฟัง แตง่ ประโยค วิเคราะห์กุมารทอง
ความรัก แสดงความคดิ เหน็
ความมีสติ ค�ำ วลี ประโยค ถาม - ตอบค�ำถาม
ฉันทลกั ษณ์กลอนเสภา
เล่าเรอ่ื งผีอ่ืน ๆ

34 ค่มู อื การดำ�เนินงานขบั เคล่ือนสู่ความส�ำ เรจ็
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

วิเคราะห์การบูรณาการการสอนตา่ งกลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ ศิลปศึกษา/ดนตรี
- ค�ำนวณคา่ ใช้จ่ายการจดั ดอกไม้ การประดิษฐห์ นา้ กาก - วาดภาพระบายสี
- การแสดงระบ�ำผี (ฟา้ )
สังคมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม กมุ ารทอง - การเต้นผีตาโขน
- การท�ำบญุ อุทศิ สว่ นกศุ ลให้กมุ ารทอง การงานอาชพี และเทคโนโลยี
- การปฏบิ ตั ิตอ่ พระสงฆ์ - ประดษิ ฐ์หนา้ กากผี (ฟา้ ) - มคั นายก
- ประเพณีผีตาโขน - การจัดดอกไม ้ - พธี ีกร
- คุณธรรมของกมุ ารทอง

๒. ประโยชนใ์ นการเป็นหนังสือสำ� หรับการอา่ นท่ีเพลดิ เพลนิ เจริญใจ
- สาระเนอื้ หาชวนอ่านชวนตดิ ตามแตต่ น้ จนจบ
- นำ� สาระเนอ้ื หาไปอ่านไปเล่าให้แก่ผู้ฟงั ท่หี ลากหลายในหลายโอกาส เชน่ อา่ นและเลา่ แก่เด็กเลก็
แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ป่วยติดเตียง โดยการอ่านหรือการเล่าเป็นการอ่านตัวต่อตัว ตัวต่อกลุ่ม หรือการเล่า
ออกอากาศ ซึ่งทกุ การกระท�ำจะท�ำให้เกดิ ความอยากฟงั และตดิ ตามการฟังอย่างใจจดใจจ่อ
๓. ประโยชน์ในการทำ� กิจกรรม “ชวน” ตา่ ง ๆ
- ชวนท�ำกิจกรรมสร้างสรรค์ สามารถน�ำมาแข่งขันกันได้ การคิดค�ำใหม่ การคิดแปลกใหม่
ที่ชวนท�ำกิจกรรมยิง่ นัก
- ชวนรอ้ งเลน่ เพลงสนั้ ๆ
- ชวนเล่นการละเล่นต่าง ๆ ตามตัวละคร

หน่อเนื้อเช้ือไข ในวรรณคดีไทย เป็นหนังสือที่หาอ่านได้ยาก เพราะการด�ำเนินเร่ืองราวต่อเน่ือง
แต่ต้นจนจบเรื่องของแต่ละวรรณคดีไทย ย่ิงอ่านย่ิงสนุก ย่ิงลึกซ้ึง ย่ิงรู้จักแง่มุมต่าง ๆ ท่ีซ่อนความน่ารัก
ของหน่อเนื้อเชือ้ ไขเอาไว้
ยงิ่ พิเคราะหร์ ายละเอยี ดของหนอ่ เน้ือเช้ือไข ในวรรณคดไี ทย โดยเฉพาะวรรณคดไี ทยเรื่อง พระอภยั มณี
ก็ยง่ิ จะเข้าใจชั้นเชิงกวีของบรมครสู นุ ทรภู่ (พระสนุ ทรโวหาร) ยง่ิ นัก กย็ งิ่ จะขอเทดิ บชู าไวต้ ลอดกาล
หนอ่ เนอื้ เชือ้ ไข ในวรรณคดีไทย เป็นหนงั สอื อเนกประสงค์ เป็นคมู่ ือการเรียนการสอนภาษาไทยกไ็ ด้
เป็นหนังสือวรรณคดีไทยก็ได้ เป็นหนังสือส�ำหรับอ่านก็ได้ และเป็นหนังสือท่ีมีกิจกรรมท่ีเหมาะสมส�ำหรับ
ทุกผู้ทกุ วยั ทกุ สถานที่ และทุกโอกาส

เอกสารอ้างอิง
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ส�ำนัก. (๒๕๖๓). คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนื้อเชื้อไข

ในวรรณคดไี ทย. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พช์ มุ นุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.

คู่มอื การดำ�เนินงานขบั เคล่อื นสคู่ วามส�ำ เรจ็ 35
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

เทคนิคบันได ๖ ขนั้ สู่ความส�ำเรจ็ ในการอ่านจบั ใจความส�ำคญั

เสกสนั ต์ ผลวัฒนะ
สาขาวชิ าภาษาไทย คณะศลิ ปศาสตร์

มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์

การจับใจความส�ำคัญเป็นทักษะพื้นฐานท่ีผู้เรียนจ�ำเป็นต้องมี เพ่ือที่จะสามารถรับสารผ่านการอ่าน
หรือการฟังได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตรงประเด็น นอกจากน้ีการจับใจความส�ำคัญได้อย่างแม่นย�ำยังช่วยให้
ผู้รับสารสามารถใช้ทักษะทางภาษาขั้นสูงย่ิงขึ้น กล่าวคือ สามารถน�ำใจความส�ำคัญจากสิ่งที่ได้อ่านหรือส่ิงท่ีได้ฟัง
มาวิเคราะห์ ตคี วาม ประเมินคา่ และนำ� ไปใช้ในชีวิตประจำ� วนั ได้ การจบั ใจความสำ� คัญจึงเป็นสง่ิ สำ� คญั ทผ่ี ูเ้ รยี น
ควรศึกษาและหมนั่ ฝกึ ฝนให้เกดิ ความชำ� นาญเพ่ือประโยชน์ในการศึกษาและการท�ำงานอ่ืน ๆ ต่อไป

๑. ลกั ษณะของขอ้ ความในแต่ละยอ่ หนา้

ธรรมชาติของการเขียนนั้น การน�ำเสนอความคิดหรือความรู้ในงานเขียนมักปรากฏในรูปแบบ
ย่อหน้า หลายย่อหน้าที่มีเน้ือความต่อเน่ืองกัน ผู้เรียนจึงควรทราบก่อนว่า ในหนึ่งย่อหน้าน้ันมีองค์ประกอบ
ลกั ษณะใดบ้าง เพ่อื จะช่วยใหค้ น้ หาใจความสำ� คญั ของแต่ละย่อหนา้ ไดง้ ่ายขึน้
ในย่อหน้าหนึ่งนั้นจะมีลักษณะข้อความท่ีแตกต่างกัน อาจแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ
คอื ใจความสำ� คัญและสว่ นขยายใจความส�ำคญั
๑.๑ ใจความสำ� คญั หรอื ความคดิ หลัก (main idea) คือ ขอ้ ความที่เปน็ แกน่ ของเน้อื หาทีม่ ีสาระ
ครอบคลุมเนื้อความอ่ืน ๆ ในย่อหน้าหรือในเรื่องน้ัน ๆ ใจความส�ำคัญน้ีอาจปรากฏเป็นประโยค เรียกว่า
ประโยคใจความส�ำคัญ สามารถเห็นได้ชัดเจนที่ต้นย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า หรือกลางย่อหน้า หรือปรากฏ
ทตี่ น้ และทา้ ยยอ่ หน้า หรืออาจไม่ปรากฏประโยคใจความสำ� คัญให้เห็นชัดเจนแต่แฝงอยู่ในเนอื้ ความ
๑.๒ สว่ นขยายใจความส�ำคญั หรอื พลความ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑.๒.๑ ใจความรองหรือความคิดรอง (major supporting details) คือ ข้อความ
ท่เี ป็นสว่ นขยายหรือสนับสนนุ ใจความส�ำคญั เพอ่ื ให้เกิดความกระจ่าง ทำ� ให้เกดิ ความสมเหตสุ มผล ทำ� ใหใ้ จความสำ� คญั
ชัดเจนข้นึ
๑.๒.๒ รายละเอียด (minor supporting details) คือ ข้อความท่ีเป็นสว่ นขยายใจความรอง
หรือใจความส�ำคัญให้ชัดเจนย่ิงข้ึน รายละเอียดนั้นอาจเป็นการยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ สถิติตัวเลข
การอ้างองิ ค�ำกล่าวของบุคคล และรายละเอยี ดอ่ืน ๆ ท่ีเสรมิ ความเข้ามา
ตัวอย่าง
(๑) คนไทยมีความเช่ือว่าคนเราจะฝันได้ด้วยสาเหตุใหญ่ ๔ ประการ (๒) สาเหตุฝันประการแรก
คือ บุพนิมิต (๓) หมายถึง ฝันท่ีเชื่อกันว่าเป็นลางบอกเหตุท่ีจะเกิดต่อไปข้างหน้าแก่ตัวผู้ฝันเองหรือคนใกล้ชิด
ทั้งเหตุดีและเหตุร้าย (๔) สาเหตุฝันประการท่ีสองเรียกว่า จิตนิวรณ์ (๕) หมายถึง การเกิดฝันด้วยใจมีกังวล
เป็นห่วงผูกพันกับบุคคลหรือกับส่ิงใดส่ิงหนึ่ง (๖) เช่น นักเรียนกังวลเกี่ยวกับการสอบ ก็อาจฝันว่าสอบตก
หรอื ไปสอบไม่ทนั หากกังวลเกยี่ วกบั การเดินทางก็อาจฝนั วา่ ตกรถ (๗) สาเหตฝุ นั ประการตอ่ มา คือ เทพสงั หรณ์

36 คูม่ อื การด�ำ เนนิ งานขบั เคล่อื นส่คู วามสำ�เร็จ
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

(๘) ซึง่ อาจเป็นเทวดาบอกเหตุหรือเทวดามาดลใจให้ฝนั มที งั้ ทเี่ ทวดามาเข้าฝันบอกกันตรง ๆ และบอกเปน็ นยั ๆ
ให้คดิ วา่ ควรหรอื ไมค่ วรทำ� อะไร (๙) สาเหตุฝันประการสดุ ทา้ ย คือ ธาตโุ ขภ (๑๐) เปน็ การเกดิ ฝันข้ึน ดว้ ยความผิดปรกติ
ของธาตทุ ง้ั สใี่ นรา่ งกาย ไม่อย่ใู นสภาวะสมดุลหรือเกิดอาการเจบ็ ปว่ ยขึ้น
จากตัวอย่างขา้ งต้น ใจความสำ� คัญของยอ่ หน้าน้ี คอื ประโยคหมายเลข (๑) “คนไทยมีความเชอ่ื ว่า
คนเราจะฝนั ไดด้ ้วยสาเหตุใหญ่ ๔ ประการ” เนอื่ งจากครอบคลมุ สาระท้งั หมดของยอ่ หนา้ จึงเปน็ แก่นของเรื่อง
ประโยคหมายเลข (๒) (๔) (๗) และ (๙) คือ ใจความรอง ซงึ่ เป็นขอ้ ความทขี่ ยายแสดงรายละเอียด
ของสาเหตุท่ีท�ำให้เกิดความฝันตามความเชื่อแบบไทย สังเกตจากการใช้ค�ำว่า “สาเหตุฝันประการแรก”
“สาเหตฝุ ันประการที่สอง” “สาเหตฝุ นั ประการต่อมา” และ “สาเหตุฝันประการสุดทา้ ย” เสรมิ ความให้ประโยค
หมายเลข (๑) ชัดเจนและสมบรู ณข์ น้ึ
สว่ นประโยคหมายเลข (๓) คอื รายละเอียดทขี่ ยายใจความรองประโยคหมายเลข (๒) สงั เกตจากการใช้
ค�ำว่า “หมายถึง” ประโยคหมายเลข (๕) และ (๖) คือ รายละเอียดและตัวอย่างที่ขยายใจความรองประโยค
หมายเลข (๔) สังเกตจากการใช้ค�ำว่า “หมายถึง” และ “เช่น” ประโยคหมายเลข (๘) คือ รายละเอียด
ที่ขยายใจความรองประโยคหมายเลข (๗) สังเกตจากการใช้ค�ำว่า “ซ่ึง” และประโยคหมายเลข (๑๐)
คอื รายละเอียดท่ีขยายใจความรองประโยคหมายเลข (๙)

แบบฝึกหัด

(๑) มีเหตุผลหลายประการท่ีท�ำให้ฉันชอบล่างูหางกระดิ่ง (๒) ประการแรกคือเป็นส่ิงที่ท้าทาย
นา่ ตืน่ เต้น และมีความเส่ียงสูง (๓) ประการท่สี องเป็นการลา่ สัตว์ท่ีไม่มีฤดกู าล (๔) เราสามารถลา่ งชู นิดนี้
ได้ต้ังแตฤ่ ดูใบไมผ้ ลจิ นฤดูใบไมร้ ว่ ง (๕) นอกจากน้ันยงั เป็นส่ิงทา้ ทายใหเ้ ราไดเ้ รยี นรู้ลกั ษณะนิสัยของมนั
และรู้วิธีท่ีจะเอาชนะมัน (๖) มันจะซ่อนตัวลึกลับมีความระมัดระวังและเล่ห์กลมากจนท�ำให้จับมันได้ยาก
ซึ่งเป็นส่ิงท่ีเราต้องเรียนรู้ว่าท�ำอย่างไร เราจึงจะจับมันได้ (๗) เหตุผลประการสุดท้ายเราสามารถท่ีจะ
ชว่ ยลดจำ� นวนงูซ่งึ เป็นสัตวท์ อ่ี นั ตรายลงไปได้

(ฐิติรตั น์ ลดาวัลย์, ๒๕๕๖, น.๔๘)
ใจความส�ำคญั คือ ประโยคหมายเลข_________________________________
ใจความรอง คอื ประโยคหมายเลข_________________________________
รายละเอยี ด คอื ประโยคหมายเลข_________________________________

๒. วธิ กี ารอ่านจับใจความส�ำคัญ

การอ่านจับใจความส�ำคัญเป็นทักษะเบ้ืองต้นของการอ่านหนังสือและเป็นหัวใจของการอ่าน
(ถนอมวงศ์ ล้�ำยอดมรรคผล, ๒๕๖๑, น.๗๖) เพราะถ้าจับใจความส�ำคัญไม่ได้ก็ย่อมไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน
หากต้องใช้ประโยชน์จากการอ่านนั้นก็ต้องกลับมาอ่านกันใหม่ ท�ำให้เสียเวลา การอ่านจับใจความส�ำคัญ
มแี นวทางปฏิบตั ิ ดงั นี้

คู่มือการดำ�เนนิ งานขบั เคล่อื นสคู่ วามส�ำ เร็จ 37
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๒.๑ อ่านเรื่องเพอ่ื ทำ� ความเข้าใจภาพรวมของเนือ้ หาทงั้ หมด
ผู้อ่านต้องอ่านเร่ืองท่ีจะจับใจความส�ำคัญตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อท�ำความเข้าใจและได้ภาพรวม
ของเน้ือหาของเร่ืองท่ีอ่านอย่างคร่าว ๆ โดยในขณะที่อ่านควรต้ังค�ำถามและพิจารณาว่า ผู้เขียนก�ำลังสื่อเรื่องอะไร
ใคร ท�ำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ด้วยเหตุผลใด และอย่างไร หากเรื่องนั้นมีชื่อเร่ืองก็ให้พิจารณาต้ังแต่ชื่อเร่ือง
เพราะโดยทวั่ ไปชอื่ เรอื่ งมกั จะสอดคล้องกบั ใจความส�ำคัญหรอื ความคิดหลัก หรือชว่ ยแสดงใหเ้ หน็ ถึงจดุ สนใจของเรื่อง
๒.๒ พจิ ารณาหาคำ� สำ� คญั ๑ (key words) ของเน้อื หาในแต่ละยอ่ หนา้
ค�ำส�ำคัญ (key words) เปน็ ค�ำท่กี ำ� หนดเป้าหมายเพ่อื น�ำไปสู่ใจความสำ� คัญหรือความคดิ หลัก
ของเรื่องทีอ่ ่าน ในแตล่ ะยอ่ หน้าน้นั อาจมคี ำ� สำ� คญั มากกวา่ หนงึ่ ค�ำ แตเ่ มื่อน�ำค�ำเหลา่ นนั้ มาเชอื่ มโยงสรา้ งความสมั พนั ธ์
ให้เกิดขึน้ กส็ ามารถทราบถงึ ใจความส�ำคญั หรอื ความคิดหลกั ของเร่ืองทีอ่ า่ นได้
ลกั ษณะของคำ� ส�ำคัญ
ธรรมชาติของการเขยี นนัน้ ผเู้ ขยี นมไิ ด้มีการกำ� หนดตำ� แหนง่ ทีต่ ้ังของคำ� สำ� คัญ ผอู้ า่ นสามารถ
จะสงั เกตค�ำสำ� คญั ได้โดยอาศยั หลัก ดงั นี้
(๑) เป็นค�ำ กลุ่มค�ำ หรือประโยคที่เขียนเหมือนกัน ส่ือความหมายเหมือนกัน ปรากฏซ้�ำ ๆ
ตง้ั แต่ตน้ จนจบ
(๒) เป็นค�ำ กลุ่มค�ำ หรือประโยคที่เขียนต่างกัน แต่ส่ือความหมายเหมือนกัน ปรากฏซ้�ำ ๆ
ตั้งแตต่ น้ จนจบ
ตัวอยา่ ง
สิ่งที่ชาวเรือถือกันมากก็คือ “หัวเรือ” นับถือกันว่าเป็นท่ีแม่ย่านางอยู่ พวกแม่ค้าที่ใช้เรือ
เป็นพาหนะบรรทุกของและอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นเรือเล็กหรือใหญ่ มักไม่ยอมให้ใครเหยียบหัวเรือ แม้จะข้าม
ก็ยังไม่ยอมให้ข้าม เจ้าของเรือบางคนเคร่งมากจะจุดธูปบูชาท้ังเช้าและเย็น ที่หัวเรือบางล�ำมีแผ่นทองเหลือง
หมุ้ อย่างสวยงาม และมซี องทองเหลอื งเลก็ ๆ ติดไวท้ ท่ี วนหัวเรอื ส�ำหรับปักธปู บางทีกม็ ีพวงมาลัยคลอ้ งหวั เรอื
ท่เี ครง่ มาก ๆ ถึงกับจัดอาหารเซ่นทกุ เชา้ กม็ ี

(ส.พลายนอ้ ย, ๒๕๖๐, น.๗๘)
จากย่อหน้าข้างต้น ค�ำส�ำคัญลักษณะที่ ๑ ที่เขียนเหมือนกัน สื่อความหมายเหมือนกัน
ปรากฏซ้ำ� ๆ ตั้งแต่ตน้ จนจบในยอ่ หนา้ คือ ค�ำวา่ “หวั เรือ”
ส่วนค�ำสำ� คญั ลกั ษณะท่ี ๒ ท่ีเขยี นต่างกนั แตส่ อ่ื ความหมายเหมือนกัน ปรากฏซ�ำ้ ๆ ต้งั แตต่ น้
จนจบในย่อหน้าน้ัน อาจพิจารณาร่วมกับการอา่ นแลว้ ตงั้ คำ� ถามวา่ ผู้เขียนกำ� ลังสอื่ เรอ่ื งอะไร ใคร ท�ำอะไร เมอื่ ไร
ทีไ่ หน ด้วยเหตุผลใด และอย่างไร ดงั น้ี
ย่อหน้านี้ส่ือเร่ืองของใคร จะพบค�ำที่เขียนต่างกันที่เก่ียวข้องกับบุคคล ๓ ค�ำ คือ ค�ำว่า
“ชาวเรอื ” “พวกแม่คา้ ท่ีใชเ้ รือ” และ “เจา้ ของเรือ” แม้คำ� ทง้ั ๓ คำ� จะเขยี นตา่ งกัน แต่ส่ือความหมายเหมอื นกนั
ถึงบุคคลทีเ่ กย่ี วขอ้ งกับเรือ เม่อื พจิ ารณาแล้ว ค�ำท่สี อ่ื ความหมายครอบคลุมย่อหนา้ นก้ี ็คอื ค�ำวา่ “ชาวเรอื ”

๑ ตำ�ราบางเลม่ ใช้วา่ “คำ�กุญแจ” “คำ�หลกั ” หรอื “คำ�ไข”

38 คมู่ อื การด�ำ เนนิ งานขับเคลือ่ นสคู่ วามสำ�เรจ็
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ย่อหน้าน้ีส่ือเรื่องของ “ชาวเรือ” ท�ำอะไร จะพบข้อความท่ีแสดงถึงการกระท�ำของชาวเรือ
ท่ีแตกต่างกัน เช่น “มักไม่ยอมให้ใครเหยียบหัวเรือ แม้จะข้ามก็ยังไม่ยอมให้ข้าม” “เคร่งมากจะจุดธูปบูชา
ทัง้ เช้าและเยน็ ” “ที่เคร่งมาก ๆ ถงึ กับจัดอาหารเซ่นทกุ เช้า” แต่การกระทำ� ดังกล่าวนต้ี า่ งส่อื ความหมายรว่ มกนั
แสดงให้เห็นวา่ ชาวเรือ “นบั ถอื ” หรอื “ถอื ” หวั เรือ นอกจากน้ี จากการกระท�ำหลาย ๆ อย่างดังกลา่ วยงั แสดง
ให้เห็นถึงการนบั ถือหวั เรอื ของชาวเรือท่มี มี ากด้วย
จากค�ำส�ำคัญที่ได้ สามารถสรุปใจความส�ำคัญของย่อหน้านี้ได้ว่า “ชาวเรือนับถือหัวเรือมาก”
ซงึ่ สื่อความหมายเหมอื นกับประโยคแรกของย่อหน้านที้ ี่วา่ “ส่งิ ที่ชาวเรือถือกันมากกค็ ือ ‘หัวเรอื ’”

แบบฝกึ หดั
๑. ข้อใดเปน็ ประเด็นสำ� คญั ของขอ้ ความตอ่ ไปนี้ (O-NET ม.๖)
ค�ำพูดของพ่อแม่อาจท�ำให้ลูกเกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน และท�ำให้เกิดปัญหาตามมาได้
เช่น พ่อแม่รักและเป็นห่วงลูกเร่ืองการท�ำการบ้าน หรือการอ่านหนังสือเพ่ือเตรียมตัวสอบ แต่ถ้าค�ำพูดของพ่อแม่
เป็นไปในลักษณะพร�่ำบ่น ลูกอาจเข้าใจผิดคิดว่าพ่อแม่เคี่ยวเข็ญและก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวมากเกินไป จึงต้องมี
การอธิบายเพือ่ ใหเ้ กิดความเข้าใจซงึ่ กันและกนั ลกู จะได้เขา้ ใจว่าพอ่ แมห่ วังดตี อ่ ตน
๑) หนา้ ทข่ี องลกู ที่ด ี ๒) การอบรมสงั่ สอนลูก ๓) โลกส่วนตัวของเดก็
๔) ความหวังดขี องพ่อแม ่ ๕) การสอื่ สารในครอบครัว
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ย่อหน้าน้ีมีค�ำส�ำคัญ ๔ ค�ำ คือ “ค�ำพูด” “พ่อแม่” “ลูก”
และ “ความเข้าใจ”
ค�ำส�ำคัญค�ำท่ี ๑ “ค�ำพูด” ปรากฏซ้�ำ ๆ ต้ังแต่ต้นจนจบในย่อหน้าทั้งลักษณะที่ ๑ คือ “ค�ำพูด”
๒ ครั้ง และลักษณะที่ ๒ คือ “พรำ�่ บ่น” และ “การอธิบาย” ท่ีสอื่ ความหมายถงึ “คำ� พดู ”
สว่ นคำ� ส�ำคญั คำ� ท่ี ๒ “พอ่ แม่” คำ� ที่ ๓ “ลูก” และค�ำที่ ๔ “ความเขา้ ใจ” ปรากฏซ้�ำ ๆ ตั้งแตต่ น้ จนจบ
ในย่อหน้าเฉพาะลักษณะท่ี ๑ คือ “พ่อแม่” ๕ คร้ัง “ลกู ” ๔ ครงั้ และ “ความเข้าใจ” (หรอื “เขา้ ใจ”) ๔ ครง้ั
คำ� พดู ของพอ่ แม่อาจทำ� ใหล้ ูกเกิดความเข้าใจไมต่ รงกนั และท�ำให้เกดิ ปญั หาตามมาได้ เชน่ พอ่ แม่
รักและเป็นห่วงลูกเร่ืองการท�ำการบ้าน หรือการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ แต่ถ้าค�ำพูดของพ่อแม่
เป็นไปในลักษณะพร่�ำบ่น ลูกอาจเข้าใจผิดคิดว่าพ่อแม่เค่ียวเข็ญและก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวมากเกินไป
จึงต้องมี การอธิบายเพ่อื ให้เกดิ ความเขา้ ใจซ่ึงกนั และกัน ลกู จะไดเ้ ขา้ ใจวา่ พ่อแม่หวังดตี อ่ ตน
จากค�ำส�ำคัญที่ได้ ประเด็นส�ำคัญของย่อหน้าน้ีจึงตรงกับตัวเลือกที่ ๕) การสื่อสารในครอบครัว
เพราะค�ำว่า “การสื่อสาร” สื่อความหมายครอบคลุมค�ำส�ำคัญ “ค�ำพูด” “พร�่ำบ่น” และ “การอธิบาย”
ที่เก่ียวข้องกับค�ำส�ำคัญ “ความเข้าใจ” เพราะในกระบวนการสื่อสารจะท�ำให้เกิดผลหรือปฏิกิริยาตอบสนอง
ซง่ึ หมายถงึ ปฏิกิริยาของผ้รู บั สารอันเปน็ ผลทีเ่ กดิ ข้นึ ตอ่ เนื่องจากการรับร้คู วามหมายของสารทสี่ ง่ มาให้ ตรงกับค�ำว่า
“ความเข้าใจ” หรือ “เข้าใจ” สว่ นค�ำวา่ “ครอบครวั ” สื่อความหมายครอบคลมุ คำ� สำ� คญั “พอ่ แม่” และ “ลกู ”
สว่ นตัวเลอื ก ๑), ๒), และ ๔) จะมีคำ� ส�ำคญั ไมค่ รบ และตวั เลอื ก ๓) ค�ำทีใ่ ช้ไมป่ รากฏในย่อหน้าจงึ ไมถ่ กู ต้อง

คู่มอื การดำ�เนนิ งานขบั เคลื่อนสคู่ วามส�ำ เรจ็ 39
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๒. ขอ้ ใดเปน็ จดุ เด่นของผลฟักข้าวในขอ้ ความต่อไปน้ี (O-NET ม.๖)
หากน�ำผลสุกของฟักข้าวมาผ่า จะพบไส้ในซ่ึงเป็นเยื่อหุ้มเมล็ดเหมือนวุ้นสีแดงสด จากการศึกษา
พบว่า เย่ือหุ้มเมล็ดนี้มีสารตา้ นอนมุ ลู อสิ ระในปริมาณที่สงู มาก กลา่ วคอื มไี ลโคปนี สูงกวา่ มะเขอื เทศ ๑๒ เท่า
และมีเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง ๑๐ เท่า ด้วยปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในเย่ือหุ้มเมล็ด จึงมีการน�ำ
ผลฟักข้าวมาใช้ประโยชน์โดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณโดดเด่น มีผู้ต้ังสมญานามผักพ้ืนบ้านชนิดน้ีว่า
“ผลไมจ้ ากสวรรค”์
๑) ชื่อ ๒) สีสดใส ๓) ชนิดของพืช
๔) สารภายในผล ๕) ผลิตภัณฑแ์ ปรรูป
๓. ข้อใดเป็นประเดน็ ส�ำคญั เกย่ี วกับเคร่ืองซักผา้ ในขอ้ ความต่อไปนี้ (O-NET ม.๖)
เครื่องซักผ้ามีทั้งชนิดฝาด้านบนและฝาด้านหน้า เม่ือใช้เคร่ืองซักผ้าแล้วจะมีความเปียกช้ืนภายในเคร่ือง
การปิดฝาไว้จึงไม่เป็นผลดีต่อการระบายความชื้นที่หลงเหลืออยู่ และมีโอกาสเกิดเช้ือราท่ีเป็นอันตราย
ต่อสขุ ภาพ นอกจากน้ถี ังซักผา้ ทใ่ี ช้ไปนาน ๆ จะมคี ราบตะกรนั เกาะตดิ อยู่ ในคราบตะกรันนเ้ี ป็นแหล่งที่เชือ้ รา
ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเรว็ เมอ่ื เปน็ เช่นน้จี ึงควรเปิดฝาเครือ่ งซักผา้ ไว้หลังใชง้ าน
๑) วธิ ใี ช้ ๒) จดุ อ่อน ๓) ประเภท
๔) วธิ ยี ืดอายกุ ารใชง้ าน ๕) การดแู ลรกั ษาไมใ่ ห้เกิดเช้อื รา
๔. อา่ นข้อความตอ่ ไปนีแ้ ลว้ ตอบคำ� ถาม (O-NET ม.๓)
คลองแสนแสบเป็นคลองขุดใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๓
ใช้เวลาในการขุด ๓ ปี คือ ระหว่าง พ.ศ.๒๓๘๐ - ๒๓๘๓ คลองแสนแสบเร่ิมขุดต้ังแต่บริเวณคลองบางล�ำพู
กับคลองโอ่งอ่างบรรจบกันมาถึงวังสระปทุม ผ่านเขตหนองจอก ถึงต�ำบลบางน้�ำเปร้ียว จังหวัดฉะเชิงเทรา
แล้วเชือ่ มตอ่ กับคลองบางขนากเพ่อื ออกสู่แมน่ ้�ำบางปะกง
การขุดคลองแสนแสบมคี ณุ คา่ ด้านใดอยา่ งชดั เจนตามขอ้ ความข้างตน้
๑) การอนรุ ักษ์ ๒) การเลยี้ งชีพ
๓) การคมนาคม ๔) การทอ่ งเทย่ี ว

๒.๓ ตดั ส่วนขยายใจความสำ� คัญทิ้ง
ธรรมชาติของการเขียนน้ัน การน�ำเสนอความคิดหรือความรู้ในงานเขียน ผู้เขียนไม่ได้เสนอ
แต่ใจความส�ำคัญออกมาอย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ ผู้เขียนไม่ได้กล่าวตรง ๆ ว่า เร่ืองที่เขียนน้ัน
มีใจความส�ำคัญอย่างไร แต่จะถูกห้อมล้อมด้วยบริบท๒ ซ่ึงในโครงสร้างของการเขียนก็คือ การขยายความ
อาจแสดงอยู่ในลักษณะการให้ค�ำจ�ำกัดความ การอธิบายให้รายละเอียด การให้เหตุผล การยกตัวอย่าง
หรือการเปรียบเทียบก็ได้ ดังน้ันหน้าที่ของผู้อ่านก็คือ ต้องแยกใจความส�ำคัญออกจากข้อความ
ทเ่ี ปน็ สว่ นขยายใจความส�ำคัญออกมาใหไ้ ด้

๒ บริบท คือ คำ� ขอ้ ความ หรอื สถานการณแ์ วดลอ้ มเพือ่ ชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจความหมายของภาษาหรอื ของถ้อยคำ�

40 ค่มู ือการดำ�เนินงานขับเคลอื่ นสูค่ วามส�ำ เรจ็
ในการพัฒนาคณุ ภาพการเรยี นการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

ลักษณะการขยายความ
๒.๓.๑ การให้ค�ำจ�ำกัดความ การขยายความลักษณะน้ีเป็นการอธิบายความหมายของค�ำ
หรือสิ่งใดส่ิงหน่ึงในเน้ือเร่ืองเพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงการอธิบายขอบเขตของความหมาย
ของเรื่องดว้ ย การขยายความลกั ษณะนี้อาจจะมกี ารยกตวั อยา่ งประกอบดว้ ย
๒.๓.๒ การอธิบายให้รายละเอียด การขยายความลักษณะน้ีจะใช้เม่ือต้องการแจกแจง
ส่ิงใดส่ิงหน่ึง อธิบายลักษณะหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือแสดงข้ันตอน กระบวนการ
บรรยายเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะขยายโดยอธิบายให้รายละเอียด หรืออธิบายให้รายละเอียด
พร้อมยกตัวอยา่ งก็ได้
การอธบิ ายให้รายละเอยี ดนีน้ ิยมใช้คำ� เช่อื ม “คอื ” “กลา่ วคอื ” เพ่อื แสดงให้ทราบวา่ ขอ้ ความ
ท่ีอยู่หลงั ค�ำเชอ่ื มดงั กล่าวเปน็ การอธิบายให้รายละเอียด
๒.๓.๓ การให้เหตุผล การขยายความลักษณะน้ีใช้เขียนให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม การขยายความ
ดว้ ยวธิ ีน้ที ำ� ไดห้ ลายวธิ ี อาจเสนอความคิดทีเ่ ปน็ ข้อสรปุ และตามด้วยข้อสนบั สนนุ ตา่ ง ๆ ซงึ่ เปน็ เหตผุ ล หรอื หลกั ฐาน
โดยการยกตวั อยา่ ง หรือเสนอผลลพั ธ์เพือ่ ใหผ้ ู้อ่านตระหนกั แลว้ ตามด้วยสาเหตตุ ่าง ๆ ท่ที �ำใหเ้ กดิ ผลนนั้
การขยายความด้วยการให้เหตุผลน้ีมักจะปรากฏการใช้ค�ำเช่ือมแสดงเหตุผล “จึง”
และ “เพราะ” ซึ่งมลี ักษณะโครงสร้างคอื เหตุ + “จงึ ” + ผล และ ผล + “เพราะ” + เหตุ สว่ นที่เปน็ ใจความสำ� คญั
คือ ส่วนที่แสดงผล
๒.๓.๔ การยกตวั อย่าง การขยายความลักษณะนี้มกั จะใชร้ ่วมกบั วธิ อี น่ื เชน่ การใหค้ �ำจำ� กดั ความ
การอธิบายให้รายละเอียด หรอื จะใชว้ ิธกี ารยกตวั อยา่ งแตเ่ พยี งอยา่ งเดียวโดยการยกตวั อยา่ งหลาย ๆ ตวั อย่าง
แล้วจงึ สรปุ ทา้ ยย่อหนา้ ดว้ ยประโยคใจความส�ำคญั
การยกตัวอย่างนี้นิยมใช้ค�ำเชื่อม “เช่น” “ได้แก่” เพื่อแสดงให้ทราบว่า ข้อความ
ทอ่ี ยูห่ ลังคำ� เชอ่ื มดังกล่าวเปน็ การยกตวั อย่าง
๒.๓.๕ การเปรียบเทียบ การขยายความลักษณะนี้จะใช้เขียนเพื่อเปรียบเทียบในลักษณะ
ข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ โดยอาจมีจุดมุ่งหมายเปรียบเทียบความเหมือนกันหรือความแตกต่างกัน
โดยก�ำหนดประเด็นที่เหมอื นกนั หรอื แตกต่างกันวา่ มอี ะไรบา้ ง แลว้ จงึ เปรยี บเทยี บไปทลี ะประเดน็ เพ่อื ใหผ้ ู้อ่าน
เข้าใจเรื่องที่ยกมาเปรียบเทียบได้ชัดเจนในด้านความเหมือนกันหรือความแตกต่างกัน หรืออาจใช้การยกเร่ืองราว
เป็นอุทาหรณ์ข้ึนมาก่อนแล้วจึงสรุปประเด็นความคิดส�ำคัญที่จะเสนอ หรือการเขียนอุปมาเปรียบเทียบสิ่งท่ีมี
คุณสมบตั อิ ยา่ งเดียวกนั เพ่อื ใหค้ วามคิดส�ำคญั ชดั เจนข้ึน
การขยายความด้วยการเปรียบเทียบนี้จะมีลักษณะโครงสร้างคือ ตัวตั้ง + ค�ำเชื่อม
แสดงการเปรียบเทียบ + ตวั เปรยี บ ส่วนท่ีเป็นใจความสำ� คัญ คือ สว่ นที่แสดงตัวตัง้
ตวั อย่าง
พระราชวงั หมายถึง วงั ของพระมหากษตั ริย์ มีระดบั ความสำ� คญั รองจากพระบรมมหาราชวงั
เป็นท่ีประทับของพระมหากษัตริย์ตามขัตติยราชประเพณีมาแต่โบราณ การเรียกวังว่าพระราชวังได้น้ัน
พระมหากษัตริย์จะทรงประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาวังขึ้นเป็นพระราชวัง จึงจะจัดเป็นที่ประทับ
ของพระมหากษัตริย์ได้ เช่น พระราชวังดุสิต เมื่อแรกสร้างพระราชทานชื่อว่า สวนดุสิต ต่อมาจึงประกาศ
ยกข้ึนเป็นพระราชวังดุสิต ส่วนพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานซ่ึงเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิตเรียกว่า พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน
สวนจติ รลดา พระราชวงั ดสุ ติ ไมเ่ รยี กวา่ พระราชวังจติ รลดา ราษฎรทัว่ ไปเรยี กอยา่ งไม่เปน็ ทางการวา่ สวนจติ รลดา

(รัตนา ฦๅชาฤทธ์,ิ ๒๕๔๖, น.๑๗๒)

คมู่ อื การดำ�เนินงานขับเคล่อื นสู่ความส�ำ เร็จ 41
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อพิจารณาค�ำส�ำคัญจะพบว่า มี ๑ ค�ำ คือ ค�ำว่า “พระราชวัง”
จากน้ัน จงึ พิจารณาตัดสว่ นขยายใจความส�ำคัญทีป่ รากฏ ดังน้ี
(๑) “พระราชวงั หมายถงึ วังของพระมหากษัตริย์” เพราะเป็นการใหค้ ำ� จำ� กดั ความของคำ� วา่
“พระราชวัง” ซ่งึ เป็นค�ำสำ� คญั ของยอ่ หนา้ นี้
(๒) “มีระดับความส�ำคัญรองจากพระบรมมหาราชวัง เป็นท่ีประทับของพระมหากษัตริย์
ตามขัตติยราชประเพณีมาแต่โบราณ” เพราะเป็นการอธิบายให้รายละเอียดของค�ำว่า “พระราชวัง”
ซง่ึ เปน็ ค�ำส�ำคัญของย่อหนา้ นี้
(๓) “เช่น พระราชวังดุสิต เม่ือแรกสร้างพระราชทานช่ือว่า สวนดุสิต ต่อมาจึงประกาศ
ยกข้ึนเป็นพระราชวังดุสิต ส่วนพระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลปัจจุบันสร้างข้ึนในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นส่วนหน่ึงของพระราชวังดุสิตเรียกว่า พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน
สวนจติ รลดา พระราชวงั ดสุ ิตไม่เรยี กวา่ พระราชวังจติ รลดา ราษฎรท่ัวไปเรียกอยา่ งไม่เปน็ ทางการว่า สวนจิตรลดา”
เพราะเป็นการยกตัวอย่างเพ่ือช่วยให้ค�ำวา่ “พระราชวัง” ซงึ่ เป็นค�ำส�ำคญั ของยอ่ หนา้ นช้ี ดั เจนมากย่ิงขึน้
เม่ือตัดส่วนขยายใจความส�ำคัญข้างต้นแล้ว จะพบว่าย่อหน้าน้ีมีใจความส�ำคัญเกี่ยวกับเร่ือง
“ข้อก�ำหนดการเป็นพระราชวัง” โดยปรากฏเป็นประโยคใจความส�ำคัญชัดเจนท่ีกลางย่อหน้าว่า
“การเรียกวังว่าพระราชวังได้นั้น พระมหากษัตริย์จะทรงประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาวังขึ้นเป็นพระราชวงั
จึงจะจัดเปน็ ท่ปี ระทบั ของพระมหากษัตริย์ได้”

แบบฝึกหดั
๕. ข้อความต่อไปน้กี ล่าวถงึ เร่อื งใดเปน็ ส�ำคญั (O-NET ม.๖)
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ท่ีเหมาะกับคนที่ต้องการลดน้�ำหนักหรือลดความอ้วน การกินแอปเปิ้ลควรกิน
ทั้งเปลอื ก เพราะสารส�ำคญั คือ “โพลีฟีนอล” มกั จะอยู่ตามเปลือกหรือเนื้อทต่ี ดิ อย่กู ับเปลือก หากกนิ แต่เปลือก
จะไม่ได้สารส�ำคัญ คือ “เพคติน” ท่ีอยู่ในเนื้อแอปเปิ้ล ซึ่งเป็นใยอาหารเปรียบเสมือนฟองน้�ำที่ช่วยซับไขมัน
และน้�ำตาล ดังนัน้ ควรกินทงั้ เปลือกและเน้อื
๑) สารในเน้ือแอปเป้ลิ ๒) วธิ ีการกินแอปเป้ิล ๓) คณุ คา่ ของแอปเปลิ้
๔) การลดน้ำ� หนักดว้ ยแอปเปลิ้ ๕) สรรพคณุ ทางยาของแอปเปล้ิ
จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อพิจารณาค�ำส�ำคัญจะพบว่า มี ๑ ค�ำ คือ ค�ำว่า “แอปเปิ้ล”
จากนนั้ จงึ พิจารณาตัดสว่ นขยายใจความสำ� คญั ท่ปี รากฏ ดงั น้ี
(๑) “แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะกับคนที่ต้องการลดน�้ำหนักหรือลดความอ้วน”
เพราะเป็นการอธบิ าย ใหร้ ายละเอยี ดของคำ� ว่า “แอปเปิล้ ” ซ่งึ เป็นค�ำสำ� คัญของยอ่ หน้านี้
(๒) “เพราะสารส�ำคัญคือ ‘โพลีฟีนอล’ มักจะอยู่ตามเปลือกหรือเน้ือที่ติดอยู่กับเปลือก”
เพราะเปน็ การให้เหตผุ ลทส่ี นบั สนนุ ใจความส�ำคัญ “การกนิ แอปเปล้ิ ควรกินท้งั เปลอื ก”
(๓) “คือ ‘เพคติน’ ที่อยู่ในเนื้อแอปเปิ้ล” เพราะเป็นการอธิบายให้รายละเอียดของสาระส�ำคัญ
ท่ีกลา่ วถงึ ในประโยค “หากกนิ แต่เปลอื กจะไม่ไดส้ ารสำ� คญั ”
(๔) “ซึ่งเปน็ ใยอาหารเปรียบเสมอื นฟองน�ำ้ ทีช่ ่วยซับไขมนั และนำ�้ ตาล” เพราะเป็นการเปรียบเทยี บ
ขยายความประโยค “คอื ‘เพคติน’ ทอ่ี ยู่ในเนือ้ แอปเปลิ้ ” ซงึ่ เปน็ ส่วนขยายทีต่ ดั ไปแล้ว

42 คู่มือการด�ำ เนนิ งานขบั เคลอ่ื นสคู่ วามส�ำ เร็จ
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้�ำหนักหรือลดความอ้วน การกินแอปเปิ้ลควรกิน
ท้ังเปลอื ก เพราะสารส�ำคญั คือ “โพลฟี นี อล” มกั จะอยู่ตามเปลอื กหรือเนอื้ ทีต่ ดิ อยูก่ ับเปลือก หากกนิ แตเ่ ปลือก
จะไม่ได้สารส�ำคัญ คือ “เพคติน” ท่ีอยู่ในเนื้อแอปเปิ้ล ซ่ึงเป็นใยอาหารเปรียบเสมือนฟองน้�ำที่ช่วยซับไขมัน
และน้ำ� ตาล ดงั นั้นควรกินทั้งเปลือกและเนือ้
เมื่อตัดส่วนขยายใจความส�ำคัญข้างต้นแล้ว จะเหลือประโยคท่ีต้องสนใจเป็นพิเศษ ๓ ประโยค
คอื “การกินแอปเปลิ้ ควรกนิ ทงั้ เปลือก” “หากกินแตเ่ ปลอื กจะไม่ได้สารสำ� คญั ” และ “ดงั น้ันควรกนิ ท้งั เปลอื ก
และเนอื้ ” ซ่งึ สมั พนั ธ์กับตวั เลือกขอ้ ๒) วิธีการกินแอปเปลิ้

๖. รฐั บาลเวียดนามได้ประกาศระงับโครงการสรา้ งเขอ่ื นผลิตไฟฟ้า ๑๒ แหง่ หลังจากเขื่อนลาเกรล ๒ พังทลายลง
เน่ืองจากกักเก็บน้�ำฝนท่ีตกลงมาอย่างหนักหลายวันติดต่อกัน โดยให้เหตุผลการยกเลิก
คือ ความไม่คุม้ ค่าทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงดา้ นสงั คมและสิ่งแวดลอ้ ม รวมทงั้ เปน็ ตัวการทำ� ลายปา่ ไม้ ปัจจบุ นั น้ี
แม้เวียดนามมีเข่อื นผลติ ไฟฟา้ ประมาณ ๒๘๘ แห่ง และมโี ครงการจะสร้างเขอื่ นขนาดเล็กเพื่อผลิตไฟฟ้าอกี มาก
แต่โครงการสร้างเขื่อน ๔๑๕ แห่งก็ได้ถูกระงับไป เพราะไม่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานที่รัฐบาลก�ำหนด
คือ ม่ันคงปลอดภัย มีผลกระทบน้อยต่อป่าไม้ ประชากร และสภาพแวดล้อมโลก ยิ่งเม่ือเวียดนามประสบภัย
จากแผน่ ดินไหว แผ่นดินเลอ่ื น ผ้เู ช่ยี วชาญเวียดนามกลมุ่ หน่งึ ไดส้ รปุ วา่ การสรา้ งเข่ือนเกบ็ นำ�้ ท่เี พม่ิ ข้นึ มากมาย
ท�ำใหแ้ ผน่ ดินต้องรับน�ำ้ หนกั มากจึงเป็นเหตขุ องการเกดิ แผ่นดินไหว แผน่ ดินเล่อื น
สาระส�ำคญั ของขอ้ ความข้างตน้ กลา่ วถงึ เรอื่ งใด (O-NET ม.๓)
๑) การระงบั โครงการสรา้ งเข่ือน ๒) การผลติ ไฟฟา้ พลังนำ้�
๓) การสร้างเขอ่ื นในประเทศเวียดนาม ๔) การเกิดแผน่ ดนิ ไหว แผ่นดนิ เลอื่ น

๗. ข้อใดเป็นประเดน็ ส�ำคญั ของขอ้ ความต่อไปนี้ (O-NET ม.๖)
อาหารไทยมักตั้งให้ร่วมวงกันกิน ทุกคนตักกับข้าวตรงกลาง บางคนไม่ตักลงไปตรง ๆ
เชน่ ตักแกง เขีย่ สว่ นที่ไมช่ อบกนิ ออก ควานหาแต่ส่งิ ทช่ี อบ ท�ำใหผ้ ู้ร่วมวงรสู้ กึ ว่ากำ� ลงั ท้ิงของเหลือเลอื กไว้ให้ผ้อู ื่น
เป็นการกินไม่สวย และไม่สวยอยา่ งยิ่ง ถ้าไมใ่ ช้ช้อนกลาง ใครปว่ ยเปน็ อะไรก็จะตดิ กนั หมด
๑) การรับประทานอาหารให้ดดู ี ๒) วิธีการรับประทานอาหารท่ีถูกตอ้ ง
๓) การรับประทานใหถ้ ูกสขุ ลักษณะ ๔) ลักษณะการรับประทานอาหารของคนไทย
๕) ความไร้มารยาทในการรับประทานอาหารแบบไทย ๆ

๘. ข้อความต่อไปน้ีผเู้ ขียนต้องการเนน้ สาระเรอ่ื งใดเปน็ ส�ำคัญ (O-NET ม.๖)
เมื่อไฟเร่ิมไหม้บ้านเรือน คนแรก ๆ ท่ีเห็นรีบกดสัญญาณแจ้งเตือน เม่ือได้ยินสัญญาณ
พนกั งานดบั เพลงิ รบี รุดไปยงั ทีเ่ กดิ เหตพุ ร้อมรถน้�ำ อปุ กรณ์และน้ำ� ยาเคมี แล้วเริ่มปฏบิ ตั ิการดบั ไฟอยา่ งรวดเรว็
แต่โทสะไม่สามารถใช้สิ่งใด ๆ ดับได้เหมือนไฟ นอกจากเจ้าของโทสะนั้นจะมีขันติ ความอดทนอดกล้ัน
และการรู้อภยั ตอ่ ผู้อน่ื
๑) เหตุการณข์ ณะเกิดไฟไหม้ ๒) ระบบที่ใช้เมอื่ เกิดไฟไหม้ ๓) ข้นั ตอนการดบั เพลิง
๔) วิธีระงับความโกรธ ๕) คณุ ธรรมท่ที กุ คนควรมี

ค่มู ือการดำ�เนินงานขบั เคลอื่ นส่คู วามส�ำ เรจ็ 43
ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

๙. ข้อใดเปน็ สาระส�ำคญั ของขอ้ ความต่อไปน้ี (O–NET ม.๖)
หนังตะลุงประกอบด้วยตัวละครหลายตัวเพื่อแสดงบทบาทตามเน้ือเรื่อง ตัวตลกเป็นตัวละคร
ทขี่ าดไมไ่ ด้สำ� หรับการแสดงหนงั ตะลงุ เพราะเป็นตัวละครท่ีมีชวี ิตชวี า มีเสน่ห์และสสี ัน นายหนงั (ผเู้ ชดิ และพากย)์
จะสร้างความประทับใจแก่คนดูด้วยตัวตลกนี้ โดยมักหยิบยกเรื่องราวในชีวิตจริงปัจจุบันมาล้อเลียน
อย่างคมคาย คนดมู กั จดจำ� และน�ำบทบาทตลกไปเล่าขานต่อไปอกี นาน
๑) นายหนงั จะต้องท�ำใหต้ วั ตลกมชี วี ติ ชีวาน่าประทบั ใจ
๒) ตวั ตลกเปน็ ตวั ละครสำ� คญั มากในการแสดงหนงั ตะลงุ
๓) คนดมู ักจะประทบั ใจตวั ตลกและจำ� ได้มากกวา่ ตัวละครอ่ืน ๆ
๔) หนังตะลงุ ต้องใช้ตัวหนังหลายตัวเพ่อื แสดงบทบาทตามเนื้อเรอื่ ง
๕) นายหนังมักนำ� เรอื่ งราวในชีวิตจริงมาล้อเลยี นอยา่ งสนกุ สนานผา่ นตวั ตลก
๑๐. ขอ้ ใดเปน็ เจตนาของผูเ้ ขียนขอ้ ความต่อไปน้ี (O-NET ม.๖)
การบริโภคบุฟเฟ่ต์ม้ือดึกเป็นวิธีการอันแยบยลที่จะเร่งให้อ้วนได้ง่ายขึ้นเสียสุขภาพได้เร็วข้ึน
เพราะอุดมการณ์ในการกนิ บุฟเฟ่ตค์ อื บรรจอุ าหารเข้าไปให้มากท่สี ดุ จะไดค้ มุ้ ค่ากับราคาทจ่ี า่ ยไป ยิง่ ถา้ อิม่ แลว้
เข้านอนทันที นอกจากจะได้สะใจกับความรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด เส่ียงต่อการเป็นกรดไหลย้อนแล้ว
ไขมันอันมหาศาลจะไปสะสมในอวยั วะตา่ ง ๆ ซึง่ หมายถึงโรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคเบาหวานท่ีจะตามมา
๑) เตือนใหร้ ะวงั อนั ตรายจากการรับประทานอาหารปรมิ าณมากกอ่ นนอน
๒) อธิบายสาเหตุท่ีทำ� ใหเ้ ปน็ โรคอ้วนและโรคอันตรายอื่น ๆ
๓) ชแี้ จงอันตรายจากการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์
๔) แนะน�ำการรบั ประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ทถี่ ูกวิธี
๕) ให้คนตระหนกั ถงึ การดูแลรกั ษาสุขภาพ
๑๑. ขอ้ ใดเป็นจุดประสงค์ของผเู้ ขียนข้อความนี้ (O-NET ม.๖)
ธูปท�ำจากขี้เลื่อย กาว เรซิน น�้ำมันหอมที่สกัดจากพืช และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้�ำมันหอม
พอกอยู่บนก้านไม้ ธูปมหี ลายขนาด ใชเ้ วลาเผาไหม้หมดใน ๒๐ นาที ถึง ๓ วัน ๓ คนื คาดว่าในแต่ละปีมีคนจุดธปู
ทั่วโลกถึงประมาณแสนตัน ผลการวิจัยช้ีว่าควันธูปเป็นอันตรายอย่างย่ิงต่อสุขภาพ จึงควรหลีกเลี่ยงการจุดธูป
เพราะการสูดดมควันธูปเป็นเวลานานเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็ง นั่นคือ ท�ำให้เกิดความผิดปกติ
ของสารพันธุกรรมและลดศักยภาพในการซอ่ มแซมความผิดปกติของ DNA
๑) ให้ข้อมลู เก่ียวกบั ธปู และอันตรายตอ่ สุขภาพ
๒) อธิบายว่าการจุดธูปเปน็ ผลเสียตอ่ สิ่งแวดลอ้ มในโลก
๓) แนะให้เลือกขนาดของธูปให้เหมาะกบั ชีวิตประจำ� วนั
๔) เตอื นใหเ้ ลิกจดุ ธูปเพราะมโี อกาสท่รี า่ งกายจะไดร้ บั สารก่อมะเร็ง
๕) ชีแ้ จงลักษณะความผิดปกติของสารพนั ธุกรรมในรา่ งกายมนษุ ย์

44 ค่มู ือการด�ำ เนนิ งานขับเคลอื่ นสคู่ วามส�ำ เรจ็
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕


Click to View FlipBook Version