The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอน PSY3203

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nursery-babyboy, 2021-11-09 03:26:15

เอกสารประกอบการสอน PSY3203

เอกสารประกอบการสอน PSY3203

1

เอกสารประกอบคาสอน
กระบวน วิชา PSY3203
เทคนิคการวางแผนอาชีพและการบรกิ ารสนเทศ
Techniques in Career Planning and Information Service

ดร.พีสสลัลฌ์ ธารงศ์วรกุล
ภาควชิ าจิตวทิ ยา คณะศกึ ษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคาแหง

สารบัญ 2

สงั เขปรายวิชา หนา้
1. ประวตั ิความเปน็ มาเกย่ี วกบั การแนะแนวอาชพี และการจดั หางาน 1
2. การบริการสนเทศ 2
3. ทฤษฎีทางอาชีพ 9
4. อาชีพศึกษากับคุณค่าของชีวติ 14
5. แหลง่ ขา่ วสารและศนู ย์ขอ้ มูลอาชีพ 20
6. การจาแนกข้อมลู อาชพี 24
7. การใช้แบบทดสอบในการแนะแนวอาชีพ 31
8. การวางแผนอาชีพและการสมัครงาน 38
9. การปรกึ ษาทางอาชพี 44
10. การบริการแบบกลุ่ม 49
55

1

สงั เขปรายวิชา

ชอื่ วิชา PSY3203 เทคนคิ การวางแผนอาชพี และการบริการสนเทศ
จานวนหนว่ ยกติ 3(3-0-6)
คาอธิบายกระบวนวิชา การศึกษาทฤษฎีทางอาชีพ การจัดการวางแผน และการใช้บรกิ ารสนเทศในการ
เลือกอาชพี
จดุ มุ่งหมายกระบวนวชิ า เพ่ือใหผ้ ู้เรยี นมคี วามเข้าใจถึงบริการสนเทศ ทฤษฎที างอาชีพ อาชีพตา่ ง ๆ
ขอ้ สนเทศทางอาชพี ในการเลือกอาชีพ การวางแผนและการเตรียมตัวเข้าสูอ่ าชีพ ทจ่ี ะสามารถนาความรู้ไป
ประยกุ ต์ใชใ้ นการหางานทาของตนเองได้
สงั เขปหัวข้อ

1. ประวตั คิ วามเปน็ มาเกยี่ วกับการแนะแนวอาชีพ และการจัดหางาน
2. การบริการสนเทศ
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ
4. อาชีพศึกษากบั คณุ ค่าของชวี ติ
5. แหลง่ ข่าวสารและศนู ย์ข้อมลู อาชพี
6. การจาแนกข้อมูลอาชีพ
7. การใช้แบบทดสอบในการแนะแนวอาชพี
8. การวางแผนอาชีพและการสมัครงาน
9. การปรกึ ษาทางอาชพี
10. การบริการแบบกลุม่

2

ประวตั คิ วามเป็นมาเก่ยี วกับการแนะแนวอาชพี

การแนะแนวมกี ารจัดการขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศสหรฐั อเมรกิ า ไดม้ กี ารเผยแพร่วารสาร
ทางการศึกษา และผลิตผลงานวจิ ยั ต่าง ๆ เกี่ยวกบั การแนะแนว โดยรฐั บาลไดใ้ ห้ความสนใจมกี ารเพิม่
งบประมาณในการผลติ นักแนะแนวในมหาวทิ ยาลยั เปน็ จานวนมาก และยงั ไดม้ ีการจดั ตัง้ กฎหมายทเ่ี กย่ี วข้อง
กบั การส่งเสริมการทางานของนกั แนะแนวมชี ่ือวา่ NDEA หรือ The National Defense Education Act
เพ่อื ส่งเสริมใหม้ กี ารจดั การแนะแนวทีจ่ ะช่วยเหลือนักเรยี นให้มีการดารงชวี ติ ท่ีดีมากยิ่งขึ้น

แฟรงค์ พาร์สัน (Frank Parson) เป็นผทู้ ี่ถูกยกยอ่ งว่าเป็นบดิ าแห่งการแนะแนวอาชพี ไดก้ อ่ ตั้ง
สถาบันบริการจิตวิทยาการปรึกษาเก่ียวกบั การตัดสนิ ใจเลือกงานให้แกว่ ัยร่นุ ในรปู แบบ “สานักงานอาชีพ”
รวมถงึ ได้แต่งตาราที่มีชือ่ วา่ “การเลอื กอาชีพ” ทไ่ี ด้รบั การตพี ิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง โดยได้กล่าวถึง
หลักการแนะแนวอาชีพไว้ 3 ขน้ั คือ

1. ขั้นการวิเคราะห์บุคคล ถงึ คณุ สมบัติ ความสามารถ ความถนัด อุปนิสยั และความสนใจในอาชีพ
เป็นตน้

2. ขั้นการวเิ คราะห์อาชพี พจิ ารณาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอาชีพท้ังความกา้ วหน้า ความต้องการของ
ตลาดแรงงาน และคุณสมบัติต่าง ๆ

3. ข้ันการนาข้อมูลจากการวิเคราะห์บุคคลและข้อมูลจากการวิเคราะห์อาชพี มาจบั คู่กัน เพอ่ื พจิ ารณา
ตัดสนิ ใจเลือกอาชพี ทเี่ หมาะสมกับบุคคล

ปัจจุบนั สมาคมแนะแนวที่ใหญท่ ่สี ุดในสหรัฐอเมริกาคือ APGA หรือ The American Personnel
and Guidance

ประวตั กิ ารแนะแนวในประเทศไทย มีการประชมุ ผ้บู ริหารการศกึ ษาจากโรงเรียนต่าง ๆ ท่ีกระทรวง
ธรรมการ ในวันที่ 13 กนั ยายน 2455 โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสเุ รนทราธบิ ดีเปน็ ประธาน โดยมีมติสนับสนนุ
ใหน้ กั เรยี นเลอื กอาชีพตามความสามารถและความถนัดของแต่ละบคุ คล

ต่อมาปี 2492 ได้มกี ารจดั พิมพ์ “คู่มือแนะแนวการศกึ ษา” และ ปี 2496-2499 บริการแนะแนวได้
จัดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. การทาแบบทดสอบปรนยั
2. การเริ่มจัดบริการแนะแนวแบบงา่ ย ๆ
3. การจดั สหกรณ์ข้ึนในโรงเรยี น มกี ารสารวจนกั เรยี นดว้ ยแบบสอบถามของฝา่ ยแนะแนว และนาผล
กาไรท่ีไดม้ าช่วยในดา้ นอาหารกลางวนั แก่เด็กทขี่ าดแคลน

3

4. เร่ิมจัดสภานักเรียนแบบงา่ ย ๆ
ในระยะนี้ กรมประชาสงเคราะห์เรม่ิ มีการเคลื่อนไหวในเร่ืองการแนะแนวอาชีพ มกี ารทดสอบความ
ถนดั และบริการจดั หางานให้นกั เรียนทาเวลาว่าง โดยกองแรงงาน (กระทรวงแรงงานในปจั จุบนั ) ไดแ้ บง่ สว่ น
ราชการตา่ ง ๆ ดังนี้
1. บรกิ ารจัดหางานใหน้ กั เรยี น
2. บริการแนะแนวอาชพี
3. บรกิ ารศูนยฝ์ กึ อาชพี ทดี่ ินแดง
4. บรกิ ารสงเคราะห์อาชพี แก่คนไทย
5. บรกิ ารให้ขา่ วสารเกี่ยวกับแรงงาน
โดยการบริการท้งั 5 ด้าน จะให้การปรึกษาแกป่ ระชาชน มีเจา้ หน้าที่แนะแนวดา้ นอาชีพ และมีการ
เผยแพรเ่ อกสารอาชีพ เป็นต้น

ปรัชญาการแนะแนว
การบรกิ ารจติ วทิ ยาการปรกึ ษามคี วามเชือ่ เก่ียวกบั การแนะแนวว่า ควรตอ้ งมีการบูรณาการองค์

ความรู้จากสหวิชาการ เชน่ เศรษฐศาสตร์ จติ วทิ ยา กฎหมาย และสังคมวิทยา เพ่ือประยุกต์ใช้ในการ
ปฏิบตั ิงานอย่างมีประสิทธภิ าพ ดงั น้ี

1. บคุ คลมคี วามแตกตา่ งกนั
2. บุคคลมกี ารเปลย่ี นแปลงตลอดเวลา
3. พฤติกรรมทกุ อยา่ งของบุคคลย่อมมสี าเหตุ
4. บุคคลเป็นสิง่ มีค่าและมีศกั ยภาพประจาตวั
5. บุคคลย่อมมีปญั หา
6. บคุ คลเป็นทรัพยากรท่ีมีคุณคา่ สงู

หลกั การแนะแนว
ผบู้ รกิ ารปรึกษาจะปฏิบัตติ ามแนวคิด วตั ถปุ ระสงค์ และหลักการ โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. การแนะแนวจดั ขึ้นเพ่ือพฒั นาบุคคลแตล่ ะคนอยา่ งมีระบบ
2. การแนะแนวเนน้ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. การแนะแนวจะบรรลุผลตามจุดมงุ่ หมายท่วี างไว้ได้ ถ้าได้รับความรว่ มมือจากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย

ด้วยความเต็มใจ

4

4. การแนะแนวเป็นการบวนการทีต่ ่อเนอ่ื ง
5. มนษุ ย์มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง
6. การแนะแนวมจี ุดมุง่ หมายท้งั ด้านการป้องกันปญั หา การแกไ้ ขปัญหา และการสง่ เสริมพฒั นาการ
ของผูร้ บั บริการ
7. ผู้บริการจติ วทิ ยาการปรึกษาจะต้องเปน็ ผทู้ ี่ไดร้ บั การฝกึ อบรมมาโดยเฉพาะ
8. การแนะแนวยดึ ถอื หลักสาคญั ให้ผรู้ บั บริการนาตนเอง เขา้ ใจ
ปรับปรุง รับผดิ ชอบ และควบคุมตนเองได้
9. การแนะแนวต้งั อย่บู นหลกั การปรับตัวและพัฒนาของบุคคลท่ีจะสง่ ผลตอ่ ความเจรญิ ก้าวหนา้ ของ
สงั คม

บรกิ ารแนะแนวอาชพี
การแนะแนวอาชีพเปน็ การชว่ ยเหลือให้บคุ คลมคี วามรู้ความเขา้ ใจเกยี่ วกับอาชีพ สามารถอธิบายได้

ดังนี้
1. รจู้ ักโลกของงานอาชพี (สถานที่ โอกาส ความกา้ วหน้า คุณสมบตั ทิ ีจ่ าเป็นในการประกอบอาชีพ)
2. รู้จกั เลือกอาชีพที่เหมาะสมกบั ความสมารถของตน
3. รจู้ กั เลือกอาชีพอย่างชาญฉลาด
4. รู้จกั เตรยี มตัวเพ่ือประกอบอาชีพ
5. รู้จักปรับตวั และแสวงหาความเจริญกา้ วหน้า
6. มีความสามารถในการแก้ไขปญั หา

รูปแบบการแนะแนว
1. บริการสารวจเป็นรายบุคคล
1.1 เทคนคิ ที่ไม่ใช่แบบทดสอบ
1) การสงั เกต
2) ระเบียนสะสม
3) การสมั ภาษณ์
4) อตั ชวี ประวัติ
ฯลฯ

5

1.2 เทคนคิ ใชแ้ บบทดสอบ
1) แบบทดสอบความถนัดทางการเรยี น
2) แบบสารวจความสนใจในอาชพี
3) แบบทดสอบสตปิ ญั ญา

2. บรกิ ารสนเทศทางอาชีพ
2.1 ขอ้ สนเทศทางการศึกษา
2.2 ข้อสนเทศทางอาชีพ
2.3 ข้อสนเทศสว่ นตัวและสังคม

3. บรกิ ารปรึกษาเกย่ี วกบั อาชีพ
3.1 การปรกึ ษารายบุคคล
3.2 การปรกึ ษาแบบกลุ่ม

4. บรกิ ารจัดวางตวั บุคคล
4.1 บริการจัดวางตวั ภายในสถานศึกษา
4.2 บริการจดั วางตัวภายนอกสถานศึกษา

5. บรกิ ารตดิ ตามผล
5.1 การสมั ภาษณ์นักเรียน นายจ้าง หรือผปู้ กครอง
5.2 การสังเกต
5.3 การประชุมศิษยเ์ ก่า
5.4 การใช้แบบสอบถาม
5.5 ตดิ ต่อทางโทรศัพท์

6

การบริการจดั หางาน

บริการจดั วางตัวบุคคลทางดานการจัดหางาน
การบรกิ ารจดั วางตัวบุคคลทางด้านการจัดหางานเป็นบริการหนงึ่ ของงานแนะแนว ทีจ่ ะช่วยให้

นกั เรยี นมีงานพเิ ศษทาในระหว่างที่เรียนหนงั สือ โดยการช่วยหาแหล่งฝึกทดลองงานในชว่ งทย่ี งั เรยี นอยหู่ รือ
เม่อื เรยี นจบไปแล้ว หรอื ช่วยสอนวิธีเตรยี มตัวเพ่อื ให้มีทักษะในการออกไปสมัครงาน ทีจ่ ะเป็นประโยชนใ์ หก้ บั
นกั เรียนในช่วงทีเ่ ศรษฐกจิ ตกตา่ และมีคนว่างงานสงู ท้งั นี้ การบรกิ ารจดั หางานที่จัดต้งั ขน้ึ เพอื่ เชื่อมชอ่ งว่าง
ระหว่างโรงเรียนและระบบการทางานของบุคคล ทีค่ รแู นะแนวจะชว่ ยเพ่มิ พนู ทักษะในการสมัครงานใหแ้ ก่
นักเรยี น

ประเภทการจัดวางตัวบคุ คล
การจดั วางตัวบุคคลแบ่งเปน็ 2 ประเภท คือ
1. บริการจัดวางตัวบคุ คลทางด้านการศึกษา (Educational Placement) ที่ช่วยให้นกั เรยี นสามารถ

เลือกเรยี นวิชาท่เี หมาะสม และตัดสินใจเลอื กแผนการเรยี นท่ีตรงกับความสามารถและความต้องการของ
ตนเอง รวมถึงสามารถคัดเลอื กเด็กนักเรยี นเพื่อเข้ากลมุ่ ท่ีเหมาะสม เชน่ การคัดเลือกนกั เรียนเข้าอบรมพฒั นา
ทกั ษะด้านการกีฬา หรอื การคิดคานวณ เป็นต้น การจัดวางตวั นกั เรียนจะกาหนดขึ้นตามวัตถปุ ระสงค์
คอื การแบ่งช้ันเรยี น การจดั หลกั สตู รการศึกษาที่เหมาะกับนักเรยี นแต่ละคน หรอื การศึกษาต่อใน
ระดับอุดมศึกษาหรืออาชีวะศึกษา

2. บรกิ ารจดั วางตัวบคุ คลด้านการจัดหางาน (Job Placement) เปน็ การให้บริการเด็กนักเรียนท่ี
ตอ้ งการหางานทา ทงั้ ในเวลาว่างหรอื นอกเวลาเรยี น ท้ังนักเรียนทีย่ งั เรียนอยู่หรือว่าจบการศึกษาไปแลว้
รวมถงึ ให้บรกิ ารกลุม่ นายจ้าง โดยครแู นะแนวแนะนาเด็กนักเรยี นทกี่ าลังศึกษาอยู่และนักเรยี นท่ศี ึกษาจบไป
แล้ว นอกจากน้ียังให้บริการตามวตั ถปุ ระสงค์ของบุคคลเป็นเร่ือง ๆ ไป เชน่ การจัดหางานพเิ ศษหรอื งาน
ชั่วคราวให้ผู้ทส่ี นใจ กระต้นุ ใหบ้ ุคคลเกิดการสารวจขอ้ มูลทางอาชีพหรอื รเิ รม่ิ ใหม้ กี ารทดลองฝึกปฏิบัตงิ าน ที่
จะทาให้บุคคลได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานวา่ เหมาะสมกบั ตนเองหรือไม่ และเสริมสรา้ งทักษะทจ่ี าเปน็ ในการ
ปฏบิ ัตงิ าน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจดหมายสมคั รงาน การเขียนประวตั ยิ ่อ หรอื การฝึกสัมภาษณ์ เปน็ ต้น

7

วัตถปุ ระสงคข์ องบรกิ ารจดั หางาน
1. เป็นตัวเชอื่ มระหวา่ งโรงเรียนและโลกการทางานของบุคคลดว้ ยบรกิ ารต่าง ๆ ท่จี ะทาใหน้ กั เรยี น

ได้รับประสบการณ์เกย่ี วกบั อาชพี
2. นกั เรยี นมงี านทา ท้ังนักเรียนทย่ี ังเรยี นอย่แู ละนกั เรยี นท่ีออจากโรงเรยี นไปแลว้
3. ให้ความเข้าใจเกย่ี วกับข้อมูลท่ีถกู ต้อง ทัง้ ในเร่ืองของหน้าที่ ความรบั ผดิ ชอบต่องานในตาแหน่งต่าง

ๆ ที่จะสง่ ผลใหน้ ักเรียนสามารถเลอื กอาชพี ตามความเหมาะสมกบั ตนเอง ทั้งคุณสมบัติและความสนใจในงาน
ประเภทตา่ ง ๆ

ความสาคัญของครูแนะแนวต่อการใหบ้ รกิ ารจดั หางาน
1. ครูแนะแนวรู้จกั เด็กนักเรยี นเปน็ อยา่ งดี
2. ครแู นะแนวมีข้อมูลจากระเบยี นสะสมเกี่ยวกับเดก็ นักเรยี นมากกว่าผู้อ่ืน
3. ครแู นะแนวผ่านการฝึกฝนเกี่ยวกับทกั ษะและองค์ความรู้ในการใชแ้ บบทดสอบทางอาชพี ที่จะทา

ใหท้ ราบถงึ ความเหมาะสมของเด็กแต่ละคนต่ออาชพี แต่ละประเภท
4. ครูแนะแนวเปน็ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการสมั ภาษณ์ ตลอดจนมีเทคนิคและวิธกี ารทีจ่ ะเข้าใจผู้อ่ืน

ทีจ่ ะสอนทักษะท่ีจาเปน็ ในการหางานให้แกเ่ ด็กนกั เรียน

หนา้ ทีห่ ลกั ของบริการจดั หางานระดับ มัธยมศกึ ษา
1. ประชาสมั พนั ธ์เกยี่ วกบั แหล่งงานให้นักเรียนได้ทราบ
2. สารวจความสนใจจากการกรอกใบสมัครงานของเด็กนกั เรียน เพอื่ เปรยี บเทยี บตาแหนง่ งานท่ี

เปดิ รับสมคั ร
3. วางแผนใหน้ กั เรยี นเตรยี มตัวสาหรับการไปสมัครงาน และอบรมเกี่ยวกบั หลักการทางานที่ดี
4. คอยชว่ ยเหลือนักเรยี นทปี่ ระสบกับปัญหาในการทางานบางประการ
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพอื่ ให้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร เชน่ ผปู้ ระกอบการ

บางแหง่ ต้องการเด็กทางานพเิ ศษหลงั เลิกเรียน เป็นต้น

8

หนา้ ทหี่ ลกั ของบริการจดั หางานระดับ อดุ มศึกษา
1. ตดิ ตอ่ แหลง่ งานภายนอกให้บัณฑติ
2. ใหข้ ้อมูลความเคล่อื นไหวของตลาดแรงงาน
3. สอนทกั ษะท่จี าเป็นในการสมัครงาน
4. จดั หางานพเิ ศษให้บัณฑติ และนักศึกษาระหว่างการศึกษา
5. ใหบ้ ริการศษิ ย์เกา่ ที่มปี ัญหาในด้านการหางานหรือการเปล่ยี นอาชีพ

การดาเนนิ งานบริการจดั หางานระดับอดุ มศึกษา
1. สร้างความสัมพันธ์ท่ีดีกับหน่วยงานตา่ ง ๆ
2. ประชาสมั พันธใ์ ห้นายจา้ งทราบถึงแหล่งและคุณสมบตั ิของบัณฑิตทีส่ นใจร่วมสมัครงาน
3. สะทอ้ นความต้องการของนายจ้างกลับมาส่สู ถาบนั การศึกษาเพ่ือเตรยี ม

ความพรอ้ มในคุณสมบตั ขิ องบัณฑิต ทั้งองค์ความรู้ บคุ ลกิ ภาพ และอนื่ ๆ ที่จาเป็นต่อการทางาน
4. ใหบ้ ริการช่วยเหลือนักศึกษาและบัณฑติ เก่ยี วกับความรู้และข้อมลู สาคญั ของอาชีพ ท้ังการวา่ จา้ ง

ลกั ษณะงาน หรอื ทางเลือกในอาชีพอน่ื ๆ
5. ฝึกอบรมบณั ฑติ และศิษย์เกา่ ในการเพ่ิมพนู ทักษะในการหางาน
6. ดแู ลระบบขา่ วสารเก่ยี วกับงานและอาชีพให้ทนั สมัย
7. ปรับการดาเนนิ งานเกี่ยวกับการส่งเสรมิ ด้านอาชีพให้ไปในทิศทางเดียวกนั กับนโยบายของ

สถาบนั การศึกษา
8. หางานให้นักศึกษาในช่วงปิดภาคเรียนหรือนอกเวลาเรียน เพื่อเพิ่มพนู ประสบการณ์ก่อนเข้าทางาน

จรงิ และเปน็ การสนับสนุนช่วยเหลือทางดา้ นเศรษฐกิจของนักศึกษา

9

การบรกิ ารสนเทศ

ความหมายของบริการสนเทศ
การบรกิ ารสนเทศ เป็นการบริการจดั หาและรวบรวมเรื่องราวข่าวสาร ขอ้ มูล และรายละเอยี ดต่าง ๆ

ทงั้ ในดา้ นการศกึ ษา อาชพี สงั คม หรือการปรบั ตวั โดยนาเสนอในรูปแบบของขอ้ มูล องค์ความรู้ และขา่ วสาร
เพอื่ ใหบ้ คุ คลได้รับรู้ เรียนรู้ สามารถนาข้อมูลที่ได้มาประกอบการตัดสนิ ใจและวางแผนในการเลือกอาชีพหรือ
การศึกษาต่อ รวมถงึ การพฒั นาบคุ ลิกภาพใหด้ ขี ึ้น

หลักการสาคัญของการจดั บรกิ ารนิเทศ
1. ใหข้ ้อมลู เพื่อช่วยในการตดั สินใจเกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพ
2. ใหข้ อ้ มูลเพ่ือเกิดการเรียนรแู้ ละปรบั ตวั เกี่ยวกบั ตวั เอง สงั คม และสิ่งแวดล้อม
3. ใหข้ ้อมูลเพอ่ื ช่วยเพ่ิมพูนโอกาสในการวางแผนจัดการกบั อนาคต

จดุ เน้นของบริการสนเทศ มีดังต่อไปน้ี
1. กระตุ้นใหน้ กั เรียนเรยี นรเู้ กี่ยวกบั ตนเองให้ไดม้ ากที่สุด
2. ตรวจสอบบุคลกิ ภาพและความต้องการของนักเรียน
3. ให้ข้อมูลทางการศึกษา อาชีพ สงั คม และส่งิ แวดลอ้ ม
4. ชว่ ยใหน้ กั เรียนร้จู กั และเข้าใจถงึ ความสามารถ ความถนัด และคุณสมบัตดิ ้านต่าง ๆ ของตนเอง
5. ชว่ ยให้นักเรยี นสามารถวางแผนการศึกษาและอาชีพจากการเรียนร้ถู ึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม
การเสนอข้อมูลเป็นรายบุคคลและเป็นกลุม่ จะช่วยใหน้ กั เรียนสามารถตีความหมายและใชข้ อ้ มลู ท่ี

ไดร้ บั อยา่ งถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมทง้ั ชว่ ยกระตุน้ ให้นกั เรียนสามารถวิเคราะห์และวินจิ ฉยั ตนอง ทีจ่ ะ
ส่งผลต่อการเกิดความสามารถในการสร้างความสัมพันธร์ ะหว่างตนเองกบั ส่ิงแวดลอ้ ม

การบริการสนเทศเปน็ การให้ข้อมลู ต่าง ๆ แลว้ ยงั ตอ้ งเฝา้ ตดิ ตามและศึกษาเจตคติและปฏกิ ริ ยิ าทาง
อารมณ์ของนกั เรียนที่มตี ่อข้อมลู ต่าง ๆ อกี ด้วย ท้งั น้ี การบรกิ ารสนเทศจะประสบความสาเร็จมากน้อยเพยี งใด
กข็ นึ้ อยู่กบั คุณสมบัติของบุคลากรที่สะทอ้ นให้เหน็ ถึงรูปแบบการทางานบริการสนเทศ

นอกจากนี้ การบริการสนเทศตอ้ งมีการประเมนิ ผลอยา่ งตอ่ เนอื่ ง มกี ารตรวจสอบปฏิกิรยิ าของ
นักเรยี น คณะครู รวมถงึ ผู้ท่ีเกีย่ วข้องทม่ี ีต่อบรกิ าร เพือ่ นามาปรบั ปรงุ การทางานใหบ้ รรลตุ ามเปา้ หมายของ
การบริการสนเทศ

10

วัตถปุ ระสงคข์ องการจัดบริการสนเทศ
1. ใหเ้ ขา้ ใจขอบเขตของการศึกษา งานอาชีพ และกิจกรรมทางสังคม
2. สามารถนาข้อมลู ตา่ ง ๆ มาใชใ้ นการเลอื กและตัดสินใจในการวางแผนดาเนนิ ชีวติ ในด้านต่าง ๆ ได้
3. มีเจตคติทีด่ ตี ่ออาชีพ มีลกั ษณะนิสยั ที่ดตี อ่ การดาเนินชีวิต ตลอดจนรู้จกั วธิ กี ารทางานร่วมกบั ผู้อนื่
4. มีความเข้าใจในตนเอง สามารถแสวงหาความรู้และสรา้ งโอกาสในการศกึ ษาและอาชีพได้เหมาะสม
5. สามารถหาแหลง่ เรยี นรูแ้ ละบรกิ ารอื่น ๆ รวมถึงสามารถรวบรวมขอ้ มูล องค์ความรู้ เอกสาร

ข้อเทจ็ จริงต่าง ๆ ที่ทนั สมยั

ประเภทของข้อสนเทศ
1. ข้อสนเทศทางการศึกษา เป็นการใหข้ ้อมูลเกย่ี วกบั เวลาเรียน ระเบียบกฎเกณฑต์ ่าง ๆ ของโรงเรียน

หลักสูตร โปรแกรมการเรียน การวัดผล กิจกรรมเสรมิ หลักสูตร และคุณสมบัติของผเู้ ข้าร่วมกิจกรรม รวมถงึ
บริการต่าง ๆ ท่ีโรงเรียนจัดข้ึน แนวทางในการศกึ ษาต่อ คุณสมบตั ิ การเตรียมตัว และการศึกษาตอ่
ทนุ การศึกษา วธิ ีการศึกษาเล่าเรยี นอย่างมปี ระสิทธภิ าพ แหลง่ ค้นหาความรู้ และการแบ่งเวลาเพอื่ ศกึ ษา
คน้ คว้า เปน็ ตน้

2. ขอ้ สนเทศทางอาชีพ เป็นการให้ข้อมลู เก่ียวกับหนา้ ท่ีและลกั ษณะงานอาชพี ต่าง ๆ ความตอ้ งการ
ของตลาดแรงงานในแต่ละอาชพี แหลง่ ข้อมูลสาหรบั การศึกษาอาชีพ การเตรยี มตวั เพ่ือประกอบอาชีพต่าง ๆ
การสมคั รงาน การสอบคัดเลือก การฝึกอบรม ความก้าวหนา้ ในงานอาชีพตา่ ง ๆ การวางแผนในการประกอบ
อาชีพ การทางานอยา่ งมีประสิทธิภาพ การเรียนรเู้ กี่ยวกับบุคลกิ ภาพที่ดตี ่อการทางานในอาชพี ต่าง ๆ เป็นต้น

3. ขอ้ สนเทศส่วนตวั และสังคม เป็นการให้ข้อมูลเก่ียวกับการเข้าใจเกยี่ วกบั คณุ ลักษณะและพฤตกิ รรม
ของตนเอง การสรา้ งความสัมพันธ์ทด่ี ีในสังคมกล่มุ ตา่ ง ๆ การเขา้ ใจพฤตกิ รรมและความตอ้ งการของผู้อ่นื การ
เขา้ ใจบทบาทของเพศชายและเพศหญงิ วธิ ีการปรบั ปรงุ บุคลกิ ภาพทีส่ มบูรณ์ การปรบั ตวั การยอมรับ และการ
เขา้ ใจสภาวะ ในครอบครัว ความร้เู กย่ี วกับข้อมูลทางเพศและการวางแผนสร้างครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับ
ศลี ธรรม วฒั นธรรม และประเพณี ทักษะทางสังคม การวางแผนทางการเงนิ และการใชเ้ วลาให้เกิดประโยชน์
เป็นตน้

11

วิธกี ารจดั รวบรวมข้อสนเทศ
1. การจัดหาและเก็บรวบรวมขอ้ มูล เร่ืองราว ขา่ วสาร รวมถงึ รายละเอยี ดต่าง ๆ ของสนเทศ

การศกึ ษา อาชีพ ส่วนตวั และสังคม
2. การใหค้ วามรเู้ กีย่ วกบั ข้อสนเทศตา่ ง ๆ ทจี่ ดั หาหรอื รวบรวมใหแ้ กน่ ักเรียนและผ้ทู ี่เกี่ยวข้องกับ

นักเรียน ใหไ้ ดร้ บั ประโยชน์มากท่สี ดุ
การจัดรวบรวมขอ้ สนเทศตา่ ง ๆ ประกอบดว้ ย
1. ขา่ วสารและความรู้
- ความรู้ดา้ นการศึกษา
- ความรู้ด้านอาชพี
- ความรู้ด้านปัญหาสว่ นตัว และสังคม
2. ปัญหาในการจดั บรกิ ารสนเทศ
- การรวบรวมและตระเตรียมสง่ิ ที่เป็นความรู้
- ปัญหาการจดั เก็บสิ่งท่ีเป็นความรู้
- ปัญหาเก่ยี วกับวิธีการทีจ่ ะนาสิ่งทเี่ ก็บรวบรวมไว้มาใช้ในงานแนะแนวเพอ่ื ใหเ้ กดิ ประโยชน์

แก่นักเรียนและผู้ท่ีเกย่ี วข้องมากทส่ี ดุ

การให้ความร้เู กยี่ วกบั ข้อสนเทศ
ข้อสนเทศทคี่ วรจดั ให้กบั นักเรียน ประกอบดว้ ย
1. ขอ้ สนเทศภายในโรงเรยี น ข้อมลู หลักสูตร การวางแผนการเรียน กฎระเบียบสถานศึกษา วิธกี าร

เรียนทีถ่ ูกต้อง
2. ขอ้ สนเทศภายนอกโรงเรยี น ขอ้ มูลสถานศึกษาต่าง ๆ องคก์ ารที่เกี่ยวข้องกับการทางาน สถานทใี่ ช้

บริการดาเนินชีวติ

การเตรยี มการและวางแผนในการให้ข้อสนเทศกับนักเรยี น มดี งั น้ี
1. พิจารณาข้อสนเทศต่าง ๆ ท้งั ทเ่ี ปน็ ข้อมูลภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรยี นท่ีไดจ้ ัดรวบรวมไว้
โดยคัดเลือกเอาเฉพาะส่วนท่ีมีประโยชน์ตอ่ นกั เรยี นในชว่ งเวลาทเี่ หมาะสมและความต้องการของนกั เรยี น ท้ัง
ดา้ นการศึกษา อาชีพ และการดาเนินชวี ิตในสงั คม

12

2. จัดข้อสนเทศทจ่ี ะให้กับนักเรยี นอย่างเปน็ ระบบระเบียบ
วิธกี ารใหข้ อ้ สนเทศกับนักเรยี น มดี ังนี้

1) ใหข้ ้อสนเทศรายบุคคล เป็นการใหค้ วามรู้หรือให้ความกระจ่างแก่เดก็ นักเรียนในดา้ นต่าง
ๆ เป็นรายบคุ คล ได้แก่ การให้การปรึกษา การสัมภาษณ์

2) การให้ขอ้ สนเทศกลุ่ม เปน็ การแนะแนวให้ความรแู้ ก่เดก็ นกั เรียนหลายคนพร้อม ๆ กัน ที่
สามารถแบง่ ออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

(1) จดั ใหค้ วามรู้ข้อสนเทศประจาภาคเรยี น
(2) จดั ให้ความรขู้ อ้ สนเทศในช่ัวโมงแนะแนว
(3) จดั ใหค้ วามรู้ขอ้ สนเทศเฉพาะกจิ หรอื การนัดหมายพเิ ศษ
การใหข้ ้อสนเทศเปน็ กลุ่มในรูปแบบของกจิ กรรม จะใชส้ ื่อในการนาเสนอเพ่อื ใหน้ กั เรียนได้
ทราบข้อสนเทศอยา่ งท่ัวถึง ไดแ้ ก่
1) การใชว้ ิทยุกระจายเสยี ง
2) แจกหนังสือพิมพห์ รือวารสารของโรงเรยี น
3) จัดทาเปน็ เอกสารคู่มอื นักเรียน
4) ทาปา้ ยนิเทศ
5) จัดนทิ รรศการ
6) บรรยาย อภิปราย โต้วาที
7) จดั กจิ กรรมปฐมนเิ ทศหรือปัจฉมิ นเิ ทศ
8) ฉายภาพยนตร์หรือจัดกิจกรรมพเิ ศษในวนั สาคญั ต่าง ๆ

สือ่ การแนะแนว
1. ส่ือกจิ กรรม เป็นสอ่ื ประเภททม่ี ีระบบและวิธีการ เด็กนักเรยี นจะได้รบั การฝึกทักษะ เรียนรใู้ นการ

ใช้กระบวนการคดิ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรยี น เช่น สถานการณ์จาลอง, บทบาทสมมตุ ,ิ การสาธิต,
เกม หรอื การจดั นทิ รรศการ เป็นต้น ในการจัดกิจกรรมแนะแนว สามารถดาเนนิ การจัดกิจกรรมโดยมี
กระบวนการการ ดงั นี้

1) สารวจปัญหา ความต้องการ ความสนใจผู้เรยี น
2) กาหนดสัดสว่ นสาระของกิจกรรมให้ครอบคลมุ การเรียนรแู้ ละฝกึ ทักษะด้านพัฒนาอาชพี
3) กาหนดแผนการและช่วงเวลาท่จี ะจดั กจิ กรรม (ภาค/ปีการศึกษา)

13

4) จัดทารายละเอียดของกิจกรรมแตล่ ะประเดน็ ประกอบด้วย ชือ่ , วัตถุประสงค์, เน้ือหา/
สาระ, เวลา, วสั ดุอปุ กรณ์, วิธีดาเนินกิจกรรม, การประเมินผล, ภาคผนวกท่ีจะเปน็ ค่มู ือและเอกสารประกอบ

5) ปฏบิ ตั ติ ามแผน วัดประเมินผล สรปุ รายงาน
2. สื่อบคุ คล เปน็ ส่อื ให้ความรู้และข้อมูลโดยเปน็ บุคคลทีม่ ปี ระสบการณ์ มีความสามารถ
มคี วามเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือมีความรูค้ วามสามารถในทอ้ งถน่ิ ตลอดจนเปน็ ผู้ทปี่ ระสบความสาเรจ็ ใน
อาชีพ เชน่ ครู อาจารย์ ตารวจ หรอื หมอ
3. สือ่ สิ่งพมิ พ์ เป็นสอื่ ท่นี าเสนอข้อมูลในรูปแบบของตัวหนงั สอื ผา่ นการพิมพ์เนอ้ื หาลงบนกระดาษ
หรอื วสั ดอุ ื่นๆ ทงั้ ท่ีอย่ใู นลักษณะของหนังสือ แบบเรยี น คู่มือครู หนังสอื ประกอบการสอน
หนังสืออ้างอิง หนังสืออา่ นเพิ่มเตมิ ใบงาน แบบฝกึ หัดกิจกรรม หรอื หนังสอื พมิ พ์ วารสาร แผ่นพบั โปสเตอร์
เปน็ ต้น
4. สือ่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์และโทรคมนาคม เปน็ ส่อื เทคโนโลยีสมยั ใหม่ มีความนา่ สนใจ และใหข้ อ้ มูลกบั
เด็กนักเรียนจานวนมาก เช่น โทรทศั น์ วิทยุ วีดที ศั น์ ภาพยนตร์ VCD/DVD แถบบันทึกเสียง หรอื
สือ่ คอมพวิ เตอรช์ ่วยสอน เป็นต้น

14

ทฤษฏีทางอาชพี

ความสาคัญของทฤษฎี
การเขา้ ใจพื้นฐานสาคัญของทฤษฎีเกย่ี วกับส่งิ ทก่ี าลงั ศกึ ษาหรือสิ่งทีด่ าเนินการอยู่จะทาใหส้ ามารถ

พฒั นาทกั ษะใหม้ ีความชานาญมากยิง่ ข้นึ

การเป็นผูแ้ นะแนวหรอื ใหก้ ารปรกึ ษาเกี่ยวกับอาชีพ มีความจาเป็นที่ต้องศกึ ษาเกยี่ วกบั ทฤษฎี ว่า
ทาไมบุคคลต้องการหรอื ต้องทาสิง่ ตา่ ง ๆ ซง่ึ โดยปกตทิ ัว่ ไป มนุษยจ์ ะมีความเช่ือและแนวคดิ ทยี่ ดึ ถือเปน็ ของ
ตนเอง ดงั นน้ั การแนะแนวและการให้การปรึกษาจงึ ต้องอาศัยทฤษฎีเพื่อเปน็ แนวทางการช่วยเหลอื บคุ คล

หน้าที่ของทฤษฎี
ทฤษฎเี ปน็ สิง่ ที่จาเป็นท่จี ะใชอ้ า้ งอิงเพ่ือยืนยันถึงความน่าเช่อื ถอื ของหลักการที่ผ่านการพสิ จู นแ์ ละได้

การยอมรับ Zhertzer and Stone ได้กล่าวถงึ หนา้ ที่ของทฤษฎีไว้ 4 ประการ คือ
1) สรปุ หนา้ ทแี่ ละขยายขอบเขตของข้อมลู
2) อธิบายส่งิ ซับซ้อนใหง้ ่ายต่อการเขา้ ใจ
3) ทานายและการคาดเดาปรากฏการณ์
4) กระตุ้นให้เกดิ การศึกษาและทาการวจิ ัย

15

กลุ่มทฤษฎีทางอาชพี
การกาเนดิ ทฤษฎีนน้ั มีทีม่ าหลายประเภท บางทฤษฎีเกิดขึ้นจากการวจิ ัย บางทฤษฎีเกดิ จากการ

สังเกตและการศึกษาของนกั วิชาการหรือผู้เช่ยี วชาญในแตล่ ะด้าน สาหรับทฤษฎีทางอาชพี ในท่ีนจ้ี ะแบง่
ออกเปน็ 2 ประเภท คือ

1. ทฤษฎีความต้องการของ ฮอพพอค (Hoppock’s Composite Theory) พดู ถงึ อาชพี ดังนี้
1) เลือกอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการ
2) บุคคลมักประกอบอาชีพที่ตอบสนองความต้องการสงู สุด
3) ความต้องการของบุคคลมีความแตกตา่ งกัน (ชัดเจนและไม่ชดั เจน)
4) พัฒนาการทางอาชพี เริ่มจากการตอบสนองความพงึ พอใจของตนเอง
5) ความเข้าใจในอาชพี ที่ตอบสนองความต้องการส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพ
6) การเข้าใจตนเอง จะทาให้ทราบถึงส่งิ ท่ีตอ้ งการและวิธีการตอบสนองตนเอง
7) ความรเู้ ก่ยี วกับอาชีพสง่ ผลตอ่ การเลือกอาชีพ
8) ความพึงพอใจอาชีพเกิดจากการประกอบอาชีพตรงกบั ความตอ้ งการ
9) ความพึงพอใจการทางานสัมพันธ์กับความคาดหวังในอนาคต
10) บุคคลเปลี่ยนแปลงอาชีพได้เสมอ

2. ทฤษฎกี ารเลือกอาชพี ของ ฮอแลนด์ (Holland’s Theory of Vocational Choice) ทจ่ี ะเน้นการ
วเิ คราะหบ์ คุ ลกิ ภาพต่อการเลือกอาชีพของบุคคล ดังนี้

1) อาชพี เปน็ เคร่ืองแสดงออกถึงบคุ ลกิ ภาพ
2) ทุกคนมีแนวคดิ เกีย่ วกบั อาชีพทีต่ นเองเลอื ก
3) บคุ คลที่มบี ุคลิกภาพใกลเ้ คียงกนั มกั จะเลอื กอาชพี คล้ายกัน
4) บุคคลที่พึงพอใจกบั อาชีพ มกั จะเลือกอาชีพตรงกับบุคลิกภาพ
ฮอแลนด์ไดแ้ บ่งบคุ ลิกภาพออกเป็น 6 ประเภท ดงั นี้
1) บคุ ลิกประเภท Realistic เป็นงานกลางแจง้ เช่น วศิ วกร, งานชา่ งกล, งานเกษตร, ประมง
หรอื งานป่าไม้ เปน็ ตน้
2) บุคลิกประเภท Investigative เปน็ งานทใ่ี ช้การวิเคราะห์ เช่น แพทย,์ นักวทิ ยาศาสตร์
หรืองานวิชาการทุกแขนง
3) บคุ ลกิ ประเภท Artistic เปน็ งานศิลปะ ใช้ความคดิ สรา้ งสรรค์ เชน่ นักแสดง, นักแต่งเพลง
หรืองานศิลปะทุกแขนง

16

4) บุคลกิ ภาพประเภท Social เปน็ งานทต่ี ้องติดตอ่ ผคู้ น การบรกิ ารศกึ ษา เชน่ ครู, นกั สงั คม
สงเคราะห์ หรอื วทิ ยากร

5) บคุ ลิกภาพประเภท Enterprising เปน็ งานวางแผน เศรษฐกจิ เช่น นกั ธุรกิจ, งานธนาคาร
หรืองานเกยี่ วกับหุน้

6) บุคลิกภาพประเภท Conventional เปน็ งานทเี่ กีย่ วข้องกับการบนั ทึกข้อมลู การรับคาส่งั
เชน่ เลขานุการ, เจา้ หนา้ ทธี่ ุรการ หรือเจา้ หนา้ ท่บี รรณารักษ์

3. ทฤษฎีการเลือกอาชีพของโรว์ (Roe’s Theory) โรว์มีความสนใจศกึ ษาเกย่ี วกับบุคลกิ ภาพมี
ความสัมพนั ธ์กับการเลือกอาชพี ของบุคคล ดงั นี้

1) ภูมหิ ลัง
2) ความถนดั
3) ความฉลาด
จากการศึกษาของโรว์ พบวา่ ความแตกตา่ งของบุคคลในการเลือกอาชีพมสี าเหตเุ น่ืองจาก
ประสบการณ์ในวยั เด็ก โดยเฉพาะอทิ ธิพลจากการเลยี้ งดขู องครอบครัว ดงั นนั้ โรว์จึงให้ความสาคัญในเรื่อง
ของพันธุกรรม ส่งิ แวดล้อม และความต้องการท่ีมผี ลตอ่ การเลือกทิศทางในอาชีพของบคุ คล
หลักสาคญั ในทฤษฎกี ารเลือกอาชพี ของโรว์ มดี งั นี้
1) พนั ธกุ รรม
2) วัฒนธรรม และสังคม
3) ประสบการณ์ความพงึ พอใจ
4) แบบแผนความสนใจ
5) แรงจงู ใจสู่ความสาเรจ็
โรว์ให้ความสนใจและความสาคัญของความต้องการ การตอบสนอง และประสบการณ์ในวัยเดก็ ทจี่ ะ
ส่งผลตอ่ การบรรลเุ ปา้ หมายทางอาชพี นอกจากนี้ โรว์ยังเช่ือว่า การเลยี้ งดเู ด็กจะมีผลตอ่ บคุ ลิกภาพท่ีปจั จยั
สาคัญในการเลือกอาชพี

4. ทฤษฏเี ลอื กอาชพี ของ กนิ สเบอรก์ (Ginzberg’s Theory)
กินสเบอรก์ เป็นผูน้ ากลมุ่ ในการบุกเบกิ ทฤษฎที างอาชีพ ท่ีประกอบดว้ ยนักเศรษฐศาสตร์ จติ แพทย์ นกั สงั คม
วิทยา และนักจิตวิทยา เพ่ือค้นควา้ เก่ียวกบั การประกอบอาชีพของบคุ คล ซึง่ มอี ิทธพิ ลต่อการศึกษาในด้าน
จิตวิทยาการประกอบอาชีพในเวลาตอ่ มา

17

จากการศึกษาได้สรุปเกี่ยวกับปจั จยั ทสี่ ่งผลต่อการเลือกอาชีพของบคุ คล ดังนี้
1) กระบวนการทางการศึกษา
2) บคุ ลกิ ภาพและสญั ชาตญาณ
3) คา่ นิยมของแต่ละบุคคล

กินสเบอรก์ ได้แบ่งชว่ งอายุของบคุ คลต่อการเลือกอาชีพออกเปน็ 3 ชว่ ง ดงั น้ี
1) ระยะเพ้อฝัน (Fantasy Period) อยูใ่ นชว่ งอายุ 0-11 ปี ซ่งึ ระยะนเี้ ดก็ จะคดิ ฝันเอาเองวา่

โตขึ้นอยากจะประกอบอาชีพอะไร โดยความคดิ นี้อาจจะได้รบั อิทธพิ ลมาจากส่ิงแวดล้อม ได้แก่ ผู้ปกครอง ครู
ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรอื ส่งิ ท่ีพบเหน็ แลว้ กอ่ ให้เกิดจินตนาการเชน่ เด็กฝันอยากเป็นตารวจ อยากเปน็ ครู
อยากเปน็ นักแสดง เป็นต้น การเพอ้ ฝันของเด็กจะเกิดขนึ้ โดยปราศจากการรบั รถู้ งึ ความสามารถหรือศักยภาพ
ของตนเอง

2) ระยะเปลีย่ นแปลง (Tentative Period) อยใู่ นช่วงอายุ 11-15 ปี เป็นระยะที่เด็กยงั ไมต่ ก
ลงใจแน่นอนในการเลอื กอาชพี โดยเรม่ิ จากการสงั เกตกิจกรรมท่ีเขาสนใจ และอาจจะเปลย่ี นความคดิ เมื่อ
พบว่ามกี ิจกรรมอ่ืนทีเ่ ขาสามารถทาได้ดีกวา่ ตอ่ มาประสบการณ์จะทาให้เกดิ การผสมผสานระหวา่ งความสนใจ
ความถนดั และคุณค่าของกจิ กรรม กลายเปน็ ทางเลอื กแบบคร่าว ๆ ในอาชีพทต่ี นเองต้องการ 6 ปี นอกจากน้ี
กินสเบอร์กไดแ้ บ่งย่อยระยะการเปลีย่ นแปลงออกเปน็ 4 ข้ัน ดงั น้ี

(1) ขั้นให้ความสนใจ อยรู่ ะหวา่ งอายุ 11-12 ปี
(2) ข้ันคานงึ ถงึ ความสามารถ อยูร่ ะหว่างช่วงอายุ 12-14 ปี
(3) ขั้นคานึงถึงค่านยิ ม อย่รู ะหวา่ งช่วงอายุ 14-16 ปี
(4) ข้นั หวั เลีย้ วหวั ต่อ อยรู่ ะหวา่ งชว่ งอายุ 16-18 ปี
3) ระยะพิจารณาตามสภาพความเปน็ จริง (Realistic Period) อยูใ่ นช่วงอายุ 18-21 ปี เปน็
ระยะที่เด็กจะพจิ ารณาถึงความสามารถของตนเองและอาชีพประกอบกนั เพ่ือใชใ้ นการตัดสินใจเลือกอาชีพ ซง่ึ
เปน็ ขนั้ ทีพ่ ิจารณาตามสภาพความเปน็ จริง โดยสามารถแบง่ ออกเป็นขั้นย่อยได้ 3 ขัน้ ดงั นี้
(1) ขั้นสารวจอาชีพ
(2) ขน้ั รวมตวั ของความคดิ ทจ่ี ะเลอื กอาชีพ
(3) ข้นั เลือกอาชพี ท่ีเฉพาะเจาะจง
5. ทฤษฎพี ัฒนาการทางอาชีพของ ซูเปอร์ (Super’s Theory of Vocational Development) ซง่ึ
เป็นผ้ทู ี่ศึกษาและเขียนรวบรวมเนอ้ื หาที่ได้จากการค้นคว้าเกย่ี วกับอาชีพไว้มากมาย โดยซูเปอร์ได้นาความรู้
ทางดา้ นจติ วิทยาพฒั นาการและทฤษฎีความคิดรวบยอดเก่ียวกับตนเองมาบรู ณาการเขา้ ดว้ ยกนั ซูเปอร์ได้
เสนอพืน้ ฐานทางทฤษฎีไว้ 10 ข้อ ดังนี้

18

1) มนษุ ย์มีความแตกตา่ งกันในด้านความสามารถ ความสนใจ และบุคลกิ ภาพ
2) ความแตกต่างของบคุ คลส่งผลให้มีความเหมาะสมในแต่ละอาชพี ตา่ งกันออกไป
3) แตล่ ะอาชพี ต้องการคุณลกั ษณะของบุคคลแตกตา่ งกันออกไป แตบ่ ุคคลมีบุคลิกภาพ
ใกลเ้ คียงกบั ความต้องการก็มีคณุ สมบตั ทิ จ่ี ะประกอบอาชพี นัน้ ได้
4) ความพงึ พอใจของบุคคล ความสามารถ สถานการณท์ เี่ ขาดารงชีวิตอยู่ ตลอดจนความคิด
รวบยอดของตนเอง จะมีการเปลีย่ นแปลงไปตามเวลาและประสบการณ์ ทาใหก้ ารตดั สินใจเลอื กอาชพี ของ
บคุ คลมีการปรับเปลย่ี นได้เสมอ
5) กระบวนการชวี ิตมีการเปล่ียนแปลงไม่หยดุ น่ิง แบ่งเปน็ ระยะตา่ ง ๆ ไดด้ ังนี้

(1) ระยะการเจริญเตบิ โต (Growth Stage)
มอี ายุไมเ่ กิน 15 ปี

(2) ระยะการสารวจ (Exploratory Stage)
มชี ่วงอายรุ ะหว่าง15-24 ปี

(3) ระยะการวางรากฐาน (Establishment Stage) มีชว่ งอายรุ ะหว่าง 25-44 ปี
(4) ระยะการสร้างความมน่ั คง (Maintenance Stage) มีชว่ งอายรุ ะหวา่ ง 45-60 ปี
(5) ระยะเส่ือมถอย (Decline Stage) มีอายตุ ้ังแต่ 60 ปขี นึ้ ไป
6) องค์ประกอบที่มีอทิ ธิพลต่อแบบแผนทางอาชีพของบุคคล คือ
(1) ระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบดิ ามารดา
(2) ความสามารถทางสตปิ ัญญา
(3) ลักษณะของบคุ ลกิ ภาพ
(4) โอกาสของการมีประสบการณใ์ นอาชีพ
7) ครแู นะแนวมีอิทธิพลอยา่ งมากในกระบวนการช่วยใหเ้ ดก็ ก้าวผ่านข้ันตา่ ง ๆ ของ
พัฒนาการดา้ นอาชีพ
8) พฒั นาการทางอาชีพเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างพฒั นาการทางจติ ใจกบั รา่ งกาย นาไปสู่
กระบวนการแสดงออกของความคดิ รวบยอดของบุคคล (self concept)
9) การเข้าส่อู าชพี ของบุคคลมักจะถูกกาหนดโดยกระบวนการประนปี ระนอมระหวา่ งตวั
บคุ คลกบั ตวั แปรทางสงั คม เชน่ ภาพพจนข์ องตนเองกับสภาพความเป็นจริง
10) ความพงึ พอใจในการทางานของบุคคลขึน้ อยู่กับ
(1) ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกภาพ และค่านยิ ม ท่จี ะมโี อกาสแสดงออกมาใน
การทางาน

19

(2) งานท่ีทาตรงกับความมงุ่ หมายเดมิ หรอื ไม่
6. ทฤษฎขี องไทด์แมนและโอฮารา (Tiedman and Ohara’s Theory of Career Development)
ทั้งน้ี ทฤษฎีของไทด์แมนและโอฮารา ไดร้ บั อทิ ธิพลโดยตรงมาจากทฤษฎขี องซเู ปอร์และกนิ สเบอร์ก โดยไทด์
แมนเน้นเรอ่ื งของการตัดสนิ ใจวา่ เปน็ สิง่ สาคัญต่อการพัฒนาการดา้ นอาชีพ
ไทด์แมนและโอฮารามองพัฒนาการทางอาชพี เปน็ กระบวนการที่บคุ คลใช้ในการแสดงออกถงึ
บคุ ลิกภาพและการปรบั ตัวทางสงั คม ท่บี ุคคลแตล่ ะคนจะแสดงออกซึ่งความเป็นเอกลกั ษณข์ องแตนเอง รวมถึง
การพยายามปรับตัวเข้ากบั ผู้อ่ืนเพ่อื ทจี่ ะเปน็ ท่ยี อมรบั ในสงั คม
นอกจากนี้ ไทด์แมน ยงั ยา้ ถงึ การตัดสินใจของบุคคลที่เป็นหัวใจของการพัฒนาอาชีพ ซึ่งการตัดสินใจ
ไมว่ ่าจะเปน็ ด้านการเรียน การทางาน หรอื การทากจิ กรรมประจาวนั ลว้ นมีสว่ นเกีย่ วข้องกับการพฒั นาอาชีพ
ของบุคคลน้ัน ๆ
ไทดแ์ มน ได้แบ่งขัน้ ตอนการตัดสินใจออกเป็น 2 ระยะ คือ

1) ระยะคาดการณล์ ว่ งหนา้
(1) ขัน้ สารวจ (พิจารณาทางเลอื ก)
(2) ขนั้ เหน็ รปู แบบทางเลือกท่ีเดน่ ชัดขึน้ (มองเหน็ สิ่งทีต่ ้องการเลือก)
(3) ข้ันเลือก (จัดอันดบั เพอื่ เลือก)
(4) ข้นั เจาะจงตัวเลือก (หาข้อมลู เกยี่ วกับสง่ิ ทเ่ี ลือกให้ขดั เจนมากขน้ึ )

2) ระยะดาเนินการตามแผนและปรับตวั
(1) ขั้นอุปมาน (เปรยี บเทยี บ)
(2) ข้นั หวั เล้ยี วหวั ตอ่ (ปรบั ตวั )
(3) ขน้ั อนุรกั ษ์ (รักษาความม่ันคง)

20

อาชีพศึกษากับคณุ ค่าของชวี ิต

การศึกษาเรื่องอาชีพมีความสาคญั ต่อวิถชี วี ติ ของบุคคลอยา่ งยงิ่ โดยเฉพาะ “เยาวชนของชาตทิ ี่จะต้อง
เลอื กทางเดนิ ของชวี ติ ” ... “ในขณะที่ประสบการณ์ยังน้อยท้ังด้านชีวติ และการทางาน” ปัจจบุ ันดว้ ยสภาวะ
ทางสังคมและเศรษฐกจิ ทาให้การแข่งขันในตลาดแรงงานมีความรุนแรงมากขน้ึ บุคคลท่ีสามารถเลือกอาชีพได้
เหมาะสมกบั ความสามารถของตนเองและสภาพการณส์ งั คมเศรษฐกิจย่อมมีโอกาสประสบความสาเรจ็ ใน
หนา้ ท่กี ารงาน

ความหมายของอาชพี ศกึ ษา
อาชพี ศึกษา เป็นการให้ความรคู้ วามเข้าใจแก่บุคคล เพื่อให้เกดิ ความกระจ่างแจง้ ในเสน้ ทางอาชีพ

พร้อมทง้ั ชี้ให้เหน็ ถึงหลักการพิจารณาและการตัดสินใจในการเลอื กศึกษาต่อหรือฝึกอบรม เพือ่ เตรียมพร้อม
ก่อนทีจ่ ะเข้าสู่เสน้ ทางอาชพี

การจดั อาชพี ศกึ ษา
1. ผู้ที่สนใจจะต้องมีความ “เข้าใจ” พืน้ ฐานเก่ยี วกบั แนวคิดของอาชพี ศกึ ษา
2. มกี าร “เชอื่ ม” กจิ กรรมที่มีอยเู่ ข้ากับแนวคิดทางด้านอาชีพ
3. มเี ปา้ หมายเพ่ือ “เพิม่ พูนประสทิ ธิภาพของการศกึ ษา”

การส่งเสริมใหน้ ักเรียนได้เรียนรูเ้ ก่ียวกับอาชีพศึกษา
1. ตอ้ งจดั ทาเปน็ กระบวนการอยา่ ง “ตอ่ เนอื่ งในทุกระดับชน้ั ”
2. จะครอบคลมุ ประสบการณ์ของบุคคลตั้งแต่ “วัยเดก็ ไปจนถงึ วยั ผใู้ หญ่”
3. การแนะแนวและการศึกษาอาชีพจาเปน็ ต้อง “ดาเนินการควบคู่ไปกบั การพฒั นาบคุ คลในด้านต่าง

ๆ ตามชว่ งวัย”

เป้าหมายของอาชพี ศึกษา
1. เพือ่ เพม่ิ พนู ความรูค้ วามเข้าใจใหบ้ ุคคลมีความสามารถที่จะตัดสนิ ใจอย่างมีประสิทธภิ าพในการ

เลอื กอาชีพ หรือเปล่ียนทิศทางในการเลือกอาชีพ

21

2. ช่วยให้บคุ คลเข้าใจในอาชีพและมีพฒั นาการทางอาชีพท่เี หมาะสม สามารถสร้างทกั ษะที่จาเป็นใน
การเขา้ สู่เส้นทางอาชีพ รวมท้ังสามารถประสบความเสร็จในอาชพี

3. เพื่อเสริมสรา้ งเจตคตทิ ่ีดตี ่อบุคคลและสิ่งแวดลอ้ มของงานและอาชพี ทุกชนดิ
4. ชว่ ยใหบ้ คุ คลสามารถวางแผนอาชพี ได้อย่างสอดคล้องกับความสามารถ ความต้องการ และโอกาส
ทางอาชีพ
5. ช่วยใหบ้ คุ คลมที างเลือกในอาชพี โดยคานงึ ถึงพฒั นาการ สว่ นบคุ คลท่สี มั พันธก์ ับทางเลือกใน
อาชีพน้นั ๆ
อาชีพศึกษาเปน็ ส่วนหน่งึ ของงานแนะแนว มีขอบขา่ ยกวา้ งขวางและครอบคลุมไปถงึ ชวี ติ ส่วนตัวของ
บคุ คล การเลือกอาชีพและการเขา้ ส่เู ส้นทางอาชีพ โดยบคุ คลตอ้ งมคี วามร้คู วามเขา้ ใจเกีย่ วกับความสามารถ
ทักษะ ความสนใจ และค่านยิ มของตนเอง ที่จะสามารถเลอื กอาชพี ได้เหมาะสมและตรงกับความต้องการ

หลกั การจัดโปรแกรมอาชีพศึกษา
การจดั โปรแกรมอาชีพศึกษา โรงเรยี นสามารถจัดได้หลากหลายรปู แบบ ทั้งการสอนในชว่ั โมงแนะแนว

การสอนสอดแทรกในรายวิชาอ่นื ๆ ท้ังนี้ ผู้บริหาร คณะครู และผู้เกีย่ วข้องจะมีการประชุมปรกึ ษาหารือ
พรอ้ มทงั้ ศึกษาถึงแนวคิด หลกั ปรชั ญา และความรเู้ กีย่ วกับอาชีพศึกษาเพื่อรว่ มมือในการดาเนินการ ซึง่
ครผู สู้ อนแต่ละรายวิชาจะได้นาองค์ความรูก้ ารแนะแนว ไปประยกุ ตส์ อดแทรกในเน้ือหาวชิ าทตี่ นเอง
รบั ผิดชอบอยู่ เนอ่ื งจากทุกศาสตร์ด้านการเรียนจะต้องต่อยอดไปสู่อาชพี ต่าง ๆ ทเ่ี กยี่ วข้อง จะทาให้นกั เรยี นได้
เข้าใจถึงเสน้ ทางอาชพี ได้อย่างชดั เจนมากย่งิ ข้นึ

ครูแนะแนวยงั สามารถบูรณาการองคค์ วามร้รู วมกับครูในรายวชิ าอื่น ๆ เชน่ ครูแนะแนวสอนทกั ษะ
การตัดสนิ ใจทเ่ี ปน็ สว่ นหน่งึ ของกิจกรรมแนะแนวอาชีพให้แก่ครูวชิ าสังคมศกึ ษา จากนน้ั ครูสงั คมก็จะนาเอา
องค์ความรู้ดังกล่าวไปสอนนักเรียนและส่งั งานโดยใชท้ ักษะการตดั สินใจ ตัง้ แต่การหัดเร่ิมวางโครงงาน ต้งั
วตั ถปุ ระสงค์ การหาทางเลือก และทาตามทางเลือกที่ไดต้ ดั สินใจไปแลว้

ข้ันตอนการจัดอาชพี ศึกษา
ในการวางหลกั สูตรอาชีพศึกษาจะตอ้ งทาตาม “ข้ันตอนการเรยี นรู้ของบุคคล” โดยคานงึ ถึง

“ความสามารถท่จี ะรับรแู้ ละวุฒิภาวะของบุคคลเปน็ สาคัญ” โดยอาชีพศกึ ษาสามารถแบง่ พัฒนาการออกเป็น
5 ข้นั ดงั น้ี

ข้ันที่ 1 สานึกรู้เก่ียวกบั อาชีพ เริ่มข้นึ ต้งั แต่เด็กเข้าโรงเรียนและอยู่ในชว่ งช้นั ประถมศกึ ษา หลักสตู รจะ
ม่งุ เนน้ ให้เดก็ รจู้ ักตนเอง มคี วามรสู้ ึกดีต่อตนเอง เดก็ ต้องการจะเรียนรู้โลกภายนอก อยากรูอ้ ยากเหน็ อยาก

22

ทดลอง เดก็ จะจดจาความรูส้ ึกท่ีว่า “ฉันทาได้” หรอื “ฉนั ไมส่ ามารถทาได้” ผปู้ กครองและครูตอ้ งให้กาลังใจ
พรอ้ มทัง้ สนับสนุนให้เด็กลองทากจิ กรรมใหม่ ๆ เด็กจะหล่อหลอมเกดิ การรบั รู้เกี่ยวกับมโนภาพแห่งตน (Self
concept) เดก็ จะเรยี นรูว้ ่าในโลกนม้ี ีอาชีพต่าง ๆ มากมาย เด็กจะพฒั นาการเรียนรู้ในรายละเอยี ดเก่ียวกบั
อาชพี ต่อไป ในอนาคต

วัตถปุ ระสงคใ์ นอาชีพขนั้ ทหี่ นึ่ง ตอ้ งการเพียงใหเ้ ด็ก ๆ มีความร้เู บอื้ งตน้ เกีย่ วกับอาชพี ได้อย่างถูกต้อง
เดก็ ๆ สามารถสารวจตนเองในแต่ละดา้ นวา่ มีความสอดคล้องกบั อาชีพไหนบ้าง เด็ก ๆ จะเลือกอาชีพในฝนั
โดยมโี มเดลหรือรูปแบบจากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดามารดาหรอื ผ้ปู กครอง ครู บุคคลใกล้ชดิ คนอื่น ๆ ทเี่ ด็กช่ืน
ชอบ

ขั้นท่ี 2 สารวจอาชีพ เปน็ ช่วงวยั ทีค่ าบเกี่ยวระหว่างเด็กท่ีศึกษาอย่ใู นระดบั ชัน้ ประถมตอนปลายถึง
มธั ยมตอนต้น เดก็ จะมีความรู้ความเขา้ ใจเกย่ี วกับโลกและอาชีพทช่ี ัดเจนมากขึน้ การเลือกอาชพี ก็ยังเลือนราง
และมีความเพ้อฝันในรูปแบบของเด็กที่ไม่มีความแน่นอน ครูแนะแนวต้องช่วยใหเ้ ด็กเข้าใจถึงความสามารถ
หรือจุดเด่นของตนเองที่จะเชื่อมโยงไปยังอาชีพท่เี ด็กให้ความสนใจ

ขั้นท่ี 3 การตดั สนิ ใจ เปน็ ช่วงท่คี าบเกย่ี วระหว่างระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และตอนปลาย เดก็ จะมี
ความต้องการเรียนรู้เก่ียวกับข้อมูลทางอาชพี มากขน้ึ ตามลาดับ จะเปรียบเทยี บการรับรูเ้ ก่ียวกบั อาชีพกบั การ
รูจ้ กั และเข้าใจตนเอง ครูแนะแนว ครปู ระจาชัน้ บดิ ามารดา และผทู้ เ่ี ก่ียวข้องจะต้องช่วยให้นกั เรียนรเู้ กีย่ วกบั
ทกั ษะการตัดสนิ ใจเลอื กอาชีพทเ่ี หมาะสมกับตนเอง

ขัน้ ที่ 4 การเตรียมตัวเพื่องานและอาชีพ อยู่ในชว่ งของเด็กทีศ่ กึ ษาอยู่ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาตอนปลาย
เด็กจะต้องตดั สนิ ใจเลือกเสน้ ทางการศึกษาและอาชพี ต้องพฒั นาทักษะ ความร้คู วามสามารถ และฝึกฝนใหม้ ี
ความชานาญในสาขาวิชาท่ีเลือก ครูแนะแนวและผทู้ ่เี ก่ยี วข้องต้องใหข้ ้อมูลเก่ยี วกับอาชพี เพ่ือใหเ้ ด็กไดเ้ ขา้ ใจ
อยา่ งลึกซึ้งเกี่ยวกับจริยธรรมหรือข้อมูลเศรษฐกจิ เปน็ ตน้

ขน้ั ท่ี 5 การเพ่ิมพูนทักษะเพ่ือการหางาน อยู่ในระดบั ชั้นมัธยมปลายไปจนถึงระดบั อุดมศึกษามุ่งความ
สนใจไปยังการฝึกทกั ษะทจ่ี าเปน็ ต่อการสมัครงาน เชน่ เทคนคิ การเขียนจดหมายสมัครงาน การกรอกเอกสาร
สมคั รงาน หรอื การสมั ภาษณ์งาน เป็นตน้

อาชีพศึกษากับสังคมไทย
ความสาเรจ็ ดา้ นอาชีพศึกษาขึ้นอย่กู บั ความร่วมมือและการให้ความสาคญั จากหลาย ๆ ฝ่าย ทงั้

ผบู้ ริหารโรงเรยี น ครแู นะแนว ครูสายวิชาการ และผปู้ กครองของนักเรียน หากผทู้ มี่ ีส่วนเกยี่ วข้องให้การ
สนับสนนุ ส่งเสริมงานดา้ นอาชีพศกึ ษากจ็ ะพัฒนาและสามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียนในประเด็น
ต่าง ๆ ทจ่ี าเปน็ ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

23

การจัดตั้งหอ้ งสมดุ อาชพี เป็นสิง่ สาคญั ส่ิงหนึ่งของงานอาชีพศึกษา ท่จี ะเปน็ แหล่งรวบรวมขอ้ มลู สาร
ทนเทศทางอาชพี ทุกชนิด นอกจากนี้ ควรมีการจัดสมั มนาครแู บบกง่ึ ปฏบิ ตั ิการ เพ่ือให้คณะครสู ามารถ
สอดแทรก องคค์ วามรู้ ความคิด วิธีการ และเทคนิคทางอาชพี เข้าไปในหน่วยการสอนได้อยา่ งเหมาะสม

ตวั อย่างรายละเอยี ดในการจัดอาชีพศกึ ษาลาดบั ขน้ั ชนั้ เรยี นลกั ษณะรายละเอยี ด

ลาดบั ขัน้ ชน้ั เรยี น ลักษณะรายละเอียด
สานกึ รเู้ รือ่ งอาชพี ป.1 ถึง ป.6 รจู้ ักตนเอง, โลกของงานและอาชพี อย่างกว้าง ๆ, ความสาคัญ
ของอาชีพต่อสังคม, ความรบั ผดิ ชอบในหนา้ ทข่ี องตนเอง
สารวจอาชีพ ป. 6 ถึง ม.3 พัฒนาความเขา้ ใจเก่ียวกับตนเอง ค่านิยม ความสนใจ ร้ถู ึง
ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งความต้องการของตนเองและอาชีพ มี
ความเขา้ ใจรายละเอยี ดของงานมากขึน้

การตัดสินใจ ม.1 ถึง ม.3 เพ่ิมเติมความร้คู วามเขา้ ใจเก่ียวกบั อาชีพและความตอ้ งการของ
ตนเอง , รู้รายละเอียดในข้อมูลของอาชพี ตา่ ง ๆ, สามารถ
การเตรยี มตัวเพื่องาน ม.4 ถงึ ม.6 พจิ ารณาตดั สินใจวางแผนการเลอื กอาชีพในอนาคตได้
และอาชีพ เข้าใจข้อมูลทางอาชีพอย่างลึกซ้ึง ท้ังจริยธรรมในการประกอบ
อาชีพ ข้อมลู ทางด้านสงั คมวิทยา และจติ วิทยาเกี่ยวกบั งาน ทา
การสารวจความสามารถและความพงึ พอใจในการเลือกอาชีพ

เพม่ิ พูนทักษะ ม.6 และ เรยี นรู้ทกั ษะของการหางาน ทงั้ การเขยี นใบสมคั รงาน การ
เพ่ือการหางาน
ระดบั อุดมศึกษา สัมภาษณ์ สามารถวเิ คราะหเ์ ป้าหมายทางอาชีพ โดยคานึงถงึ

ความสามารถ ความถนัด พร้อมท้ังเสรมิ สรา้ งทักษะในการเข้าสู่

งานทว่ี างเป้าหมายเอาไว้

24

แหลง่ ข่าวสารและศนู ยข์ ้อมลู อาชพี

ศนู ยข์ ้อมูลอาชีพ
แหล่งข่าวสารหรอื สถานทีจ่ ัดเกบ็ ข้อมูลทางอาชพี ในโรงเรยี นทงั้ อดตี และปัจจุบนั มีไม่มากนกั ความ

เจรญิ กา้ วหน้าทางเทคโนโลยกี ารสอ่ื สารทาใหส้ ามารถค้นคว้าข้อมูลสาคัญเกี่ยวอาชีพผา่ นสอื่ ตา่ ง ๆ ทง้ั หนังสือ
ข่าวสาร หรือสบื ค้นทางเวบ็ ไซต์

การจดั ศูนย์ข้อมลู อาชพี จะก่อใหเ้ กิดประโยชน์ได้อยา่ งเต็มประสิทธภิ าพ บคุ ลากรทเี่ ก่ียวข้องจะต้องให้
ขอ้ มลู เชงิ ลกึ มรี ายละเอียดที่ง่ายตอ่ การเขา้ ใจ และข้อมลู ท่ใี ห้ต้องมีความถูกตอ้ งน่าเชื่อถือ นอกจากน้ี การให้
การปรกึ ษาเกี่ยวกบั ขอ้ สงสัยต่าง ๆ ของศูนย์ให้ข้อมูลก็เปน็ อกี หนึง่ ภารกิจที่สาคัญ จะทาใหผ้ ู้รับบริการสามารถ
นาข้อมูลหรือองคค์ วามรู้ทไี่ ดร้ ับไปประยุกตใ์ ช้อย่างถูกตอ้ งและเหมาะสม

ความสาคัญของการจัดศูนย์ข้อมูลอาชีพ
1. เป็นการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ทางอาชีพ ท่ีคานึงถงึ ความสะดวกในการคน้ หา และสามารถตรวจสอบ

ความทนั สมยั ของขอ้ มูล
2. การจดั เกบ็ หรอื มอี ปุ กรณ์เพ่อื สบื ค้นข้อมูลทางอาชีพจะดึงดูด ทผ่ี ู้สนใจเข้ามาศึกษาข้อมลู ท้งั

นักเรยี น คณะครู หรอื ผูท้ สี่ นใจในการศึกษาคน้ มลู อาชีพ
3. ศนู ย์ขอ้ มูลอาชพี จะเป็นผปู้ ระสานหน่วยงานท่ีมโี ครงการฝึกงาน ทัง้ ภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้าง

โอกาสให้เด็กนักเรยี นสามารถฝึกทักษะท่ีสาคัญเกยี่ วกบั อาชีพ
4. ศนู ยข์ ้อมลู จะนาเสนอโครงการหรือกจิ กรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับอาชีพให้กบั เด็กนกั เรยี นที่จะมี

ประโยชน์ต่อการเรยี นรใู้ นการวางแผนการศึกษาและอาชีพในอนาคต

การจัดตั้งศนู ย์ข้อมูลอาชีพ
การจัดการแหล่งขอ้ มูลทางอาชีพ จะเร่มิ จากการต้งั คณะกรรมการเพื่อให้คาแนะนา

(Advisory Committee) ท่ปี ระกอบดว้ ยบุคลากรจากฝา่ ยต่าง ๆ ทงั้ ผ้บู รกิ ารสถานศกึ ษา ครู เจ้าหนา้ ที่ จะ
ชว่ ยสนับสนนุ และเปน็ กาลงั สาคญั ในการผลักดันให้การจัดศนู ย์ข้อมูลดาเนินการไปไดอ้ ย่างราบร่ืน นอกจากนี้
ยงั มตี วั แทนนกั เรียนทจี่ ะชว่ ยใหข้ ้อเสนอแนะถึงความต้องการท่แี ท้จริงของผูร้ ับบริการ ในการจดั ตง้ั ศนู ย์ขอ้ มลู
คณะกรรมการจะมีหนา้ ที่ดงั น้ี

25

1. จดั ตง้ั จุดมุ่งหมายศูนย์ข้อมูลอาชพี ระยะสัน้ และระยะยาว เชน่ การเผยแพรข่ ้อมลู ข่าวสารอาชีพ
ใหแ้ กน่ ักเรยี น

2. ติดต่อองคก์ ารของรัฐและของเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลขา่ วสารทางอาชพี
3. จดั หางบประมาณเพื่อใชใ้ นการดาเนนิ งานของศนู ยข์ ้อมลู อาชีพ
4. สนบั สนนุ ใหม้ กี ารติดตามผลการศึกษาตอ่ และการประกอบอาชีพของศิษยเ์ ก่า
5. รเิ ร่ิมนาเสนอโครงการใหก้ ารปรึกษาทางอาชีพแกน่ ักเรียนและผทู้ ่ีสนใจในชุมชน
6. สนบั สนุนใหโ้ รงเรียนและชุมชนมคี วามสัมพนั ธท์ ด่ี ี

สถานทต่ี ้ังของศนู ย์ข้อมูลอาชีพ
การพิจารณาสถานที่ตง้ั ศนู ย์ข้อมลู อาชีพ สามารถดัดแปลงตกแตง่ สถานท่ีต่าง ๆ ไมว่ ่าจะเปน็ พ้ืนทีว่ า่ ง

หอ้ งเรยี น หรือห้องอน่ื ๆ มาใชป้ ระโยชน์เป็นศูนย์ข้อมูลอาชพี นอกจากน้ี ยังสามารถใชศ้ นู ยข์ ้อมลู อาชีพเป็น
หอ้ งเอนกประสงคใ์ นการจัดโครงการต่าง ๆ ของการเผยแพร่ความรทู้ างอาชีพ เชน่ อาจจดั พน้ื ท่ใี ห้เปน็ มมุ
บรกิ ารปรกึ ษาทางอาชีพ หรือครแู นะแนวอาจนัดเด็กนักเรยี นมาให้การศกึ ษาทางอาชีพเป็นกล่มุ ๆ

ทั้งนี้ ทีต่ งั้ ของศูนยข์ ้อมลู อาชพี ควรเปน็ หอ้ งหรือสถานทที่ ี่สามารถหาได้โดยงา่ ย โดยมกั จะจัดตัง้ ศนู ย์
ข้อมูลอาชพี ไว้ในพืน้ บริเวณใกลศ้ ูนย์บรกิ ารปรกึ ษา (Counseling Center)

ส่ิงที่ต้องจัดหาไวใ้ นศูนย์ข้อมูลอาชีพ
1. ข้อมลู เก่ียวกับอาชีพทกุ อาชพี
2. แนวโนม้ ในการประกอบอาชพี
3. สถานท่ฝี ึกฝนเพื่อประกอบอาชีพ
4. ขอ้ มลู เกีย่ วกับการสารวจตนเองของเด็กนักเรยี น
5. ข้อมลู เก่ียวกับหลักสตู รของมหาวิทยาลัยตา่ ง ๆ
6. ขอ้ มลู เกยี่ วกับการรบั ราชการในสายงานตา่ ง ๆ
7. แหลง่ และบคุ คลทใี่ หข้ ้อมูลทางอาชีพเพ่ิมเตมิ
8. ข้อมลู ในการขอและรับทุน

26

ขอ้ มูลกบั อาชพี
เนอ่ื งจากความแตกต่างของบุคคลทมี่ ีมากมายหลายรูปแบบ ทง้ั ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ

และบุคลิกภาพ ศูนย์ข้อมูลอาชีพจึงตอ้ งจัดหารายละเอยี ดเกี่ยวกบั อาชีพต่าง ๆ มารวบรวมไว้ใหไ้ ด้มากที่สดุ
ทั้งท่ีได้จากสื่อสง่ิ พิมพ์ไดแ้ ก่ หนังสือ นิตยสาร หรือข้อมลู จากช่องทางการส่ือสารอนื่ ๆ เช่น เวบ็ ไซต์ นอกจากนี้
ยังสามารถเก็บรวบรวมขอ้ มลู จากการสัมภาษณ์ผปู้ ระกอบอาชพี หรอื เก็บรวบรวมข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่อ
อเิ ล็กทรอนคิ ส์ เปน็ ต้น

ขอ้ มูลทางอาชพี ท่ีมีความหลากหลายจะทาใหเ้ ปน็ ทน่ี ่าสนใจในการเข้ามาศึกษา เด็กนกั เรียนจะ
สามารถนาองค์ความรู้ที่ไดร้ ับไปจัดการวางแผนการศึกษา และพฒั นาศักยภาพให้เหมาะสมกับอาชีพ เช่น
นักเรยี นที่อยากเปน็ ผนู้ าเทย่ี ว กต็ อ้ งฝกึ ทักษะทางด้านภาษาต่าง ๆ ทีต่ นเองถนัดหรือชื่นชอบใหม้ ากข้นึ

การจัดเกบ็ ขอ้ มูลก็เป็นสิง่ สาคัญท่ผี ้ดู าเนินการควรคานงึ ถึง ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมยั สามารถใช้
คอมพิวเตอร์คน้ หาข้อมูลเกีย่ วกบั อาชีพได้ทางเวบ็ ไซต์ แตก่ ็ควรมีการหาข้อมูลเพอื่ จัดเก็บอยา่ งเปน็ ระเบยี บ ที่
จะง่ายต่อการค้นหาและนามาใชเ้ มือ่ ต้องการ เช่น การจัดเก็บเปน็ แผน่ ซีดี การจัดเก็บใส่แฟ้มเอกสาร เปน็ ตน้
ตวั อย่างรายละเอียดของข้อมูลทีไ่ ด้จากการสัมภาษณผ์ ปู้ ระกอบอาชพี ไดแ้ ก่ ความตอ้ งการอาชพี ใน
ตลาดแรงงาน ความก้าวหนา้ และความมัน่ คงในอาชีพ ความพึงพอใจต่ออาชพี ลักษณะของรายได้ สภาพการ
ทางาน ลกั ษณะของอาชีพ แรงจงู ใจในการเข้าสูอ่ าชีพ หรอื บุคลิกภาพทีจ่ าเป็นในการประกอบอาชีพ ทั้งน้ี
ขอ้ มลู ที่ได้จากการสัมภาษณส์ ามารถเก็บรวบรวมเปน็ เอกสารความรู้ จดั เก็บไวใ้ นซีดี หรือเก็บรวบรวมทั้งสอง
รูปแบบกแ็ ล้วแต่การใช้ประโยชน์

การจัดเก็บขอ้ มลู ในรูปแบบของแฟ้มเอกสารข้อมลู อาชีพ สามารถทาได้ดังนี้
1. แยกแฟ้มเอกสารแตล่ ะอาชีพ
2. แตล่ ะแฟ้มควรมรี ายละเอยี ดเก่ยี วกับ ลกั ษณะท่ัวไปของงาน สภาพการทางาน ความก้าวหนา้

ความมนั่ คง รายได้ คุณสมบัติของผ้สู มัครงาน และรายละเอียดสาคัญอื่น ๆ
3. จัดเรยี งแฟม้ ขอ้ มูลอาชพี ตามตวั อักษร ก-ฮ, A-Z หรือจดั แฟม้ ตามกลุ่มอาชีพ เปน็ ต้น
4. เลอื กใชแ้ ฟ้มทีแ่ ขง็ แรงทนทาน
5. มีตสู้ าหรบั ใส่แฟ้มข้อมลู อาชีพอยา่ งเปน็ สัดส่วนและเหมาะสม

27

แนวโนม้ ในการประกอบอาชีพ
แนวโนม้ ของตลาดแรงงานในอนาคตของอาชีพหนึ่ง ๆ จะมีการเปล่ยี นแปลงอยู่ตลอดเวลาตามภาวะ

เศรษฐกจิ และสงั คมภายในประเทศ ในอดีตท่ีผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คา่ นยิ มของสังคมทีม่ ักต้องการให้บุตร
ประกอบอาชีพรับราชการกย็ ังคงมีอยู่ แตด่ ว้ ยความเจรญิ ก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยีทาใหเ้ กิดอาชีพใหม่ ๆ และมี
ความหลากหลายมากยงิ่ ขน้ึ ทิศทางและมมุ มองเกีย่ วกบั อาชีพของบคุ คลกแ็ ตกต่างออกไปจากเดมิ ท้ังน้ี ไมว่ ่า
การเลอื กอาชีพจะประกอบดว้ ยเหตผุ ลใดก็ตาม ปัจจัยทส่ี าคัญประการแรกก็คือการทางานเพื่อหาเล้ียงชีพ
ดังน้ัน

อาชีพทผี่ ู้คนสว่ นใหญส่ นใจ มักจะมลี ักษณะดังนี้
1. เปน็ อาชพี ที่สร้างรายไดส้ ูง
2. เป็นอาชีพท่สี ร้างช่ือเสียง
3. เป็นอาชีพท่ีไม่ต้องใชแ้ รงงานหนัก
4. เปน็ อาชีพทมี่ ีเกียรติน่าภาคภูมิใจ
5. เป็นอาชีพท่ีท้าทายความสามารถ
6. เปน็ อาชีพที่มีความมนั่ คง
7. เป็นอาชีพท่ีมีความเจริญก้าวหนา้ สูง
8. เปน็ อาชีพทใี่ ห้ความสุขทางด้านจติ ใจ
ฯลฯ
ลกั ษณะอาชีพที่ได้รับความนิยมมกั จะไมม่ ีกฎเกณฑ์ตายตวั สามารถเปล่ียนแปลงไปตามค่านิยมและ

องค์ประกอบอ่ืน ๆ ท่ีผคู้ นสร้างข้นึ ความนยิ มของสาขาวชิ าต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษาแต่ละปจี ะมีจานวน
นกั เรียนสมคั รแตกต่างกัน ซ่งึ ล้วนมคี วามสัมพนั ธก์ บั กระแสอาชพี ทางสังคมและการนาเสนอของสื่อตา่ ง ๆ

สถานที่ฝกึ ฝนเพื่อประกอบอาชีพ
ศูนย์ขอ้ มูลอาชีพจะต้องมีขอ้ มูลเกี่ยวกับแหล่งฝกึ อาชพี ทีน่ ักเรยี นสนใจ ท้งั ท่ีเป็นองค์การของเอกชน

หรือศูนยฝ์ กึ อาชีพของภาครฐั ทั้งในด้านพาณชิ ยการ ศลิ ปหตั ถกรรม ชา่ งอตุ สาหกรรม หรือเกษตรกรรม เป็น
ตน้ ดงั น้ัน ครูแนะแนวจงึ ตอ้ งมีความเขา้ ใจถึงความต้องการในการวางแผนการศึกษาและอาชีพของเด็ก
นักเรยี นทีม่ ีความหลากหลาย เนือ่ งจากเด็กนกั เรียนบางกลุ่มที่ตอ้ งการเรยี นต่อในสายอาชพี หรอื ตอ้ งการเข้า
รบั การฝึกอาชพี ทมี่ ีวัตถุประสงค์เพ่ือนาความรู้ไปประกอบอาชีพไดเ้ ลยทนั ที เชน่ การเรียนซ่อมคอมพวิ เตอร์
เรียนซ่อมมือถือ เรยี นตดั แต่งทรงผม เรียนเยบ็ ผ้า หรือเรียนทาอาหาร เป็นต้น

28

ขอ้ มูลเก่ียวกบั การสารวจตนเองของเดก็ นกั เรียน
การเรยี นรู้เกยี่ วกับตนเองของเดก็ นกั เรียน ถือเปน็ หัวใจสาคัญของการแนะแนว ทจ่ี ะทาให้เดก็ สามารถ

เขา้ ใจถงึ ความสามารถ ความถนดั ความสนใจ และทกั ษะพื้นฐานท่ีตนเองมีอยู่
ซึง่ ข้อมูลเหล่านจ้ี ะใช้ในการประกอบการตดั สนิ ใจในการวางแผนการศึกษาและเตรียมตัวเข้าสอู่ าชีพที่เหมาะสม
กบั ตนเอง ทจี่ ะสร้างความพึงพอใจและใชช้ ีวติ ได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพมากทส่ี ดุ

การร้จู กั ตนเองมีหลายวิธี ในส่วนของการตรวจสอบตนเองในศูนย์ขอ้ มูลอาชีพมักจะใช้แบบทดสอบ
ชนดิ ตา่ ง ๆ เชน่ แบบทดสอบบคุ ลิกภาพ แบบทดสอบทศั นคติ เปน็ ต้น โดยแบบทดสอบสามารถแยกออกเป็น
ประเภท 2 ประเภท คือ

1. แบบทดสอบที่ครูหรอื อาจารยจ์ ดั ทาข้นึ เอง
2. แบบทดสอบมาตรฐาน เชน่ แบบทดสอบ SDS (Self Directed Search) เป็นตน้

ข้อมูลเกี่ยวกบั หลักสตู รในมหาวทิ ยาลัยต่าง ๆ
นอกจากการเกบ็ รวบรวมข้อมูลเก่ียวกับอาชีพแลว้ ยังมีข้อมูลดา้ นการศกึ ษาทเี่ ปน็ สง่ิ สาคัญในการเก็บ

รวบรวมเพือ่ ใหน้ ักเรยี นได้พจิ ารณาเพ่ือตัดสนิ ใจในการวางแผนด้านการศึกษาในระดับท่ีสงู ขึ้น ดังมีรายละเอยี ด
ดงั นี้

1. มหาวิทยาลัยตา่ ง ๆ
2. คณะและสาขาวิชาทีเ่ ปดิ สอน
3. คุณสมบัตขิ องผเู้ รียนท่ีเหมาะสม
4. รายได้และความเจรญิ กา้ วหนา้ ทางสายอาชีพ
5. โอกาสในการประกอบอาชีพและความหลากหลายของสายงาน
ศูนยข์ ้อมูลอาชีพตอ้ งมีข้อมูลเกี่ยวกับหลกั สูตรของมหาวทิ ยาลยั ตา่ ง ๆ เพื่อใหน้ กั เรียนไดเ้ ปรยี บเทยี บ
ลักษณะและระบบการเรียนการสอนวา่ มคี วามแตกตา่ งกันอย่างไร เพื่อพจิ ารณาสถาบนั การศกึ ษาที่เหมาะสม
กับความต้องการศกึ ษาต่อของตนเอง

29

ปัจจบุ ัน มหาวิทยาลยั สามารถแบง่ ออกเปน็ 3 ประเภท คอื
1. มหาวทิ ยาลยั ปิด ได้แก่ มหาวิทยาลัยของรฐั และของเอกชนทว่ั ไป ท่ีกาหนดใหน้ ักศึกษาต้องเข้า
เรยี นในเวลาทร่ี ะบุไวใ้ นหลักสูตร
2. มหาวทิ ยาลัยเปดิ ได้แก่ มหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช ทีน่ กั ศกึ ษาไม่ต้องเข้าเรียนแต่มีการจดั
สอบตามระบบทีม่ หาวิทยาลยั กาหนด นักศึกษาจึงสามารถทางานและเรียนไปด้วยพรอ้ ม ๆ กัน
3. มหาวิทยาลัยแบบตลาดวชิ า ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคาแหง ทีจ่ ดั การเรยี นการสอนในรูปแบบท่ี
หลากหลายตามความสะดวกของนักศึกษา ทั้งการจัดสถานที่เรยี นสาหรับนกั ศึกษาที่ต้องการเขา้ เรยี นกับ
อาจารยป์ ระจาวชิ า และการศึกษาผา่ นส่อื ทมี่ หาวิทยาลยั ให้บรกิ าร นอกจากนีม้ หาวิทยาลัยยงั อนุญาตให้
นักศึกษาศึกษาค้นควา้ เลา่ เรียนด้วยตนเอง โดยในหลกั สูตรไมก่ าหนดเวลาทตี่ ้องเข้าเรียน เปน็ ตน้ ซ่งึ ก็เป็นอีก
หนึง่ สถาบันการศกึ ษาทผ่ี ้เู รียนสามารถทางานและเรยี นไปดว้ ยพรอ้ ม ๆ กนั
นอกจากหลักสตู รการศกึ ษาของมหาวิทยาลัยในประเทศแล้ว ศนู ยข์ ้อมูลอาชีพควรต้องมีหลกั สตู ร
การศกึ ษาของมหาวทิ ยาลยั ในตา่ งประเทศด้วยเชน่ กัน สาหรับนักเรียนทสี่ นใจอยากจะไปศกึ ษาตอ่ ยงั สถาบนั ใน
ประเทศตา่ ง ๆ

ข้อมูลเกยี่ วกบั การรับราชการในงานต่าง ๆ
การสอบบรรจเุ พอ่ื เข้ารบั ราชการในสายงานตา่ ง ๆ ยงั เป็นอาชีพที่สงั คมให้ความสนใจ ที่จะเห็นได้จาก

จานวนผสู้ มคั รสอบบรรจุเขา้ รับราชยงั มีจานวนมาก ดงั นน้ั ศูนย์ข้อมลู อาชีพควรมรี ายละเอยี ดข้อมูลเกีย่ วกับ
ลกั ษณะงานรับราชการ และการสอบเขา้ รับราชการในสายงานต่าง ๆ เชน่ ครู ตารวจ ปลัดอาเภอ เจ้าหน้าที่
บัญชีในหน่วยงานภาครัฐ เปน็ ตน้ โดยนักเรียนต้องทราบถงึ คุณสมบัติของผสู้ มัคร ทง้ั บุคลิกภาพ ทศิ ทาง
การศึกษา ทักษะพเิ ศษที่ควรจะมี ลกั ษณะการสอบแขง่ ขัน เป็นต้น

นอกจากข้อมลู เก่ยี วกับงานรับราชการแล้ว ศูนยข์ อ้ มลู อาชีพควรมีข้อมูลเก่ียวกับงานรัฐวิสาหกิจให้
เดก็ นกั เรียนไดศ้ ึกษาและเรยี นรลู้ กั ษณะและรปู แบบการทางาน เพื่อการเตรียมตวั ในการวางแผนการศึกษา
และเพ่ิมเติมคณุ สมบัติทเ่ี หมาะสมให้แกต่ นเองด้วยเช่นกนั

แหลง่ และบคุ คลท่ีใหข้ ้อมูลทางอาชีพเพ่ิมเตมิ
เพอ่ื ให้ศูนยข์ ้อมลู อาชพี เป็นแหลง่ ขอ้ มูลท่ีสมบรู ณต์ ่อการใหก้ ารบริการนักเรียนท่ีสนใจศึกษาเก่ียวกบ

อาชีพ ทางศูนยข์ ้อมลู อาจมีบริการจดั หารายช่ือบคุ คลท่ปี ระกอบอาชีพต่าง ๆ เพอ่ื ใหน้ ักเรียนสามารถพูดคุย
หรือสมั ภาษณ์บุคคลในสายอาชพี นน้ั ๆ โดยตรง ทั้งน้ี ส่วนใหญ่ผู้ที่ยินดพี ดู คยุ และให้ข้อมูลตา่ ง ๆ แก่นกั เรยี นก็
มักจะเปน็ ศษิ ย์เก่าของโรงเรียนหรือสถาบนั การศกึ ษาน้ัน ๆ ทย่ี นิ ดใี ห้ขอ้ มูลอนั เป็นประโยชนแ์ กร่ นุ่ น้อง

30

การสร้างฐานขอ้ มลู อาชีพจากบุคคล สามารถต่อยอดจากงานแนะแนวในส่วนของการติดตามผลศษิ ย์
เก่าท่จี บออกไปแล้ว โดยขอความรว่ มมือในกรณที ีจ่ ะมรี ่นุ น้องไปสัมภาษณ์ ทจ่ี ะช่วยให้นักเรียนมคี วามรู้ความ
เข้าใจในอาชีพที่ตนเองสนใจอยา่ งถกู ต้องและสามารวางแผนการศึกษารวมถึงการฝกึ ทักษะตา่ ง ๆ เพื่อเปน็ การ
เตรยี มความพรอ้ มเข้าสู่อาชพี

ขอ้ มูลในการขอรบั ทนุ การศกึ ษา
มีนกั เรียนนักศึกษาจานวนไม่นอ้ ยทีม่ ีฐานะทางเศรษฐกจิ ยากจน แต่เดก็ บางคนมผี ลการเรยี นท่ดี ที ่ที า

ให้เขามสี ิทธิในการขอรบั ทุนการศึกษาจากสถาบนั ทเี่ ขาศึกษาอยู่ ท้งั น้ี เด็กนกั เรียนบางคนอาจไมท่ ราบและไม่
เขา้ ใจถงึ ลักษณะทุนว่ามกี ป่ี ระเภททเ่ี ขามสี ทิ ธิ์ขอได้ มีเง่ือนไขอะไรบ้างในการขอรบั ทนุ การไดร้ ับข้อมลู
เกี่ยวกับทุนเหลา่ นีจ้ ะทาเกดิ กาลังใจและมโี อกาสทดี่ ีในการศึกษา

ในหลายสถาบนั ครจู ะต้องสัมภาษณ์เด็กนักเรยี นเพื่อพิจารณาให้ทนุ การศกึ ษา ดังน้ัน การใหข้ อ้ มลู
เรื่องทุนการศึกษา รวมถงึ ระเบียบและวิธีการขอทนุ จงึ ทาไดไ้ มย่ าก และจัดเปน็ ขอ้ มูลสาคญั ที่ศูนย์ขอ้ มลู ทาง
อาชพี ต้องมีให้บรกิ ารแตน่ ักเรียนนกั ศึกษาทีส่ นใจ

31

การจาแนกข้อมลู อาชีพ

ปัจจัยสาเหตทุ ต่ี ้องจาแนกข้อมลู อาชพี
อาชพี มีการเปลยี่ นแปลงตามกระแสของสงั คมและเศรษฐกิจ ไม่ตา่ งกบั เสน้ ทางการดาเนินชวี ิตของ

มนุษยท์ ี่มีการเปล่ยี นแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทงั้ ความกา้ วหนา้ ทางเทคโนโลยที าให้อาชพี มีความหลากหลาย ทา
ให้มรี ายละเอียดทจ่ี ะต้องพจิ ารณามากข้นึ ตามไปด้วย ในการรวบรวมและจดั เก็บข้อมูลทางอาชีพทถ่ี กู ต้องและ
เหมาะสม จะทาให้นักเรยี นสามารถทาความเข้าใจและวางแผนเกี่ยวกับเสน้ ทางการศึกษาและอาชีพของตนเอง
ได้อยา่ งถกู ต้อง นอกจากน้ี ครูแนะแนวจะต้องจดั หาและเก็บรวบรวมขอ้ มูลทางอาชีพ เพื่อใหก้ ารแนะนาหรือ
ให้การปรกึ ษาแก่เดก็ นักเรยี น ท่จี ะสามารถตัดสินใจเลอื กเส้นทางอาชีพที่สอดคลอ้ งกบั คุณสมบตั แิ ละความ
สนใจของตนเอง

การจดั แบง่ ระบบข้อมลู ในต่างประเทศ
1. Dictionary of Occupational Titles หรือ DOT เป็นหนงั สอื ทอี่ ธิบายเกยี่ วกับลกั ษณะของแต่ละ

อาชพี ทจ่ี ัดทาข้ึนโดยกรมแรงงานประเทศสหรฐั อเมรกิ า โดย DOT จดั แบ่งอาชีพออกเปน็ หมวดหมอู่ ย่างมี
ระบบ ทาใหส้ ะดวกในการแสวงหาขอ้ มลู ทางอาชีพแกน่ ักเรียน ซงึ่ เดิมที DOT นาเสนออาชพี เรยี งตามลาดับ
อกั ษร ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ตัวเลข 9 หน่วยเปน็ รหัส โดยอธิบายไดด้ งั นี้

ตวั เลขแตล่ ะตวั จะเปน็ ตวั แทนของสญั ลักษณต์ ่าง ๆ คือ
เลข 1 อาชีพระดับสงู / นักเทคนคิ / นักบริหาร
2 อาชพี ประเภทเสมียน หรือตัวแทนขายของ
3 อาชพี ประเภทบรกิ าร
4 อาชพี เกษตรกรรม ประมง ป่าไม้ อนื่ ๆ
5 อาชพี เกยี่ วกับกระบวนการผลิต
6 การคา้ หรอื การแลกเปล่ยี นทางเคร่ืองจักรกล
7 อาชีพทางทอสาน เครอ่ื งหนังอ่ืน ๆ
8 อาชพี ที่มีโครงสร้างเด่นชดั
9 อาชพี จปิ าถะอน่ื ๆ

32

ตัวอย่างเชน่ รหสั 780.381-010 โดยตวั เลข 3 ตัวแรก (780) แทนประเภทอาชพี
7 แทนหมวดอาชพี คือ ทาเครื่องหนัง
78 แทนหมู่อาชีพมีหมด 97 หมู่ ในทีน่ ีห้ มายถึง เป็นงานแก้ไขหรอื ตกแต่งดว้ ยเครื่องหนัง

780 แทนหน่วยอาชีพทีส่ งั กัดอย่ใู น 97 หมู่ หมายถึงการทาเบาะ ที่นอน ดว้ ยเคร่อื งหนัง
ตัวอยา่ งเชน่ รหัส 780.381-010 โดยตัวเลข 3 ตัวแรก (780) แทนประเภทอาชพี

ตวั เลข 3 ตวั กลาง (381) จะใช้แทนลกั ษณะการทางานท่เี ป็นตัว บคุ คล และสิ่งของ
3 เปน็ การทางานแบบจัดเขา้ เปน็ ระบบ
8 เปน็ การทางานตามคาส่ัง
1 เปน็ การทางานท่ใี ช้ความละเอียดประณีต

ตวั เลข 3 ตัวสดุ ทา้ ย (010) แทนอาชีพท่ีอยู่ในกลมุ่ ใกลเ้ คียงกัน
780.381-010 อาชีพช่างทาเบาะรถยนต์
780.381-018 อาชพี ชา่ งทาเบาะเก้าอี้

จะสังเกตว่า ตัวเลข 6 ตวั จะเหมือนกนั ถ้าเป็นอาชพี ที่ใกล้เคยี งกนั จะแตกต่างกันเฉพาะสาม
ตัวสดุ ทา้ ย

2. Occupational Outlook Handbook หรอื OOH เปน็ หนงั สอื เก่ียวกบั แนวโนม้ ของอาชพี
จดั พมิ พ์โดยกรมแรงงานของสหรฐั อเมรกิ า โดยจะมีการปรับปรุงทุก ๆ 2 ปี ทแี่ สดงแนวโน้มของงานอาชีพใน
อนาคต ถึงความต้องการประกอบอาชพี ตา่ ง ๆ มากน้อยเพียงใด จากคาดการณเ์ จรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจและ
สงั คมของประเทศมาเป็นฐานในการพิจารณาว่าอาชพี ตา่ ง ๆ วา่ มกี ารขยายตัวในอัตราสงู หรือตา่

หนังสือ OOH จะบอกถึงอาชีพสาคญั ๆ ท่ีมแี นวโนม้ ความต้องการจากตลาดแรงงาน ซ่ึงข้อมูลจาก
OOH เป็นประโยชน์อยา่ งยง่ิ สาหรบั ครูแนะแนวการศึกษาและอาชีพ ท่ใี ช้ในการช่วยให้นักเรยี นสามารถ
ตัดสนิ ใจเรยี นและเข้าส่อู าชีพตามความต้องการของตลาดแรงงาน

โดยแบง่ ไดด้ งั น้ี
1) กลุ่มอาชีพที่มผี ลผลติ ทางอุตสาหกรรม
2) กลุม่ อาชีพในสานักงาน
3) กล่มุ อาชีพการใหบ้ ริการ
4) กลุ่มอาชพี เก่ยี วกับการศึกษา
5) กลมุ่ อาชีพเกยี่ วกบั การขาย
6) กลมุ่ อาชพี ก่อสร้าง
7. กลุ่มอาชพี กิจกรรมทางคมนาคม

33

8) กลุม่ อาชีพช่าง ซ่อม แกไ้ ข
9. กล่มุ อาชพี สาธารณสุข
10) กลมุ่ อาชีพสังคมศาสตร์
11) กลุ่มอาชีพรบั ราชการ
12) กล่มุ อาชพี ศิลปะทุกแขนง
อาชพี ในหมวดต่าง ๆ ของ OOH จะมีขอ้ มลู เกีย่ วกับ
1) ธรรมชาตขิ องงาน
2) แหลง่ ทจ่ี ะหางาน
3) สถานทฝ่ี ึกอบรม คุณสมบัตติ ่าง ๆ และความก้าวหน้า
4) ความต้องการของอาชีพนใ้ี นอนาคต
5) รายไดแ้ ละส่งิ แวดล้อมในการทางาน
6) แหลง่ ข้อมลู เพิ่มเตมิ

การจาแนกขอ้ มูลเก่ยี วกบั อาชีพในประเทศไทย
การจัดระบบข้อมูลเก่ียวกบั อาชีพในประเทศไทยมีหนว่ ยงานทใ่ี หข้ ้อมูลเก่ยี วกบั อาชพี ต่าง ๆ เชน่ กรม

วชิ าการ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมแรงงาน ท้ังน้ี กระทรวงมหาดไทย กรมวชิ าการ ได้แบง่ อาชีพออกเป็น
10 ประเภท ดังนี้

1. อาชพี ทเี่ กี่ยวขอ้ งกับการเกษตร เช่น ประมง ปา่ ไม้ ทาไร่
2. อาชพี ท่ีเก่ียวกบั เคร่ืองจักรและอปุ กรณ์การช่าง เชน่ คุมเครื่องจักรกล
3. อาชีพที่เกย่ี วข้องกบั การคิดคานวณตัวเลข เช่น บัญชี สถติ ิ
4. อาชพี ทางวชิ าการและวิทยาศาสตร์ เช่น นกั วิทยาศาสตร์ แพทย์
5. อาชีพทีต่ ้องพบปะสงั สรรค์กบั ผูค้ น การโฆษณา และ การจูงใจ เช่น นักการเมือง
6. อาชพี ท่ีเก่ียวขอ้ งกับงานทางศิลปะทุกแขนง เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม
7. อาชีพเกย่ี วกบั การอ่าน การเขียน การสอน เช่น ครู นักหนงั สือพมิ พ์
8. อาชพี เกย่ี วกบั ดนตรี เชน่ นกั รอ้ ง นกั แตง่ เพลง
9. อาชีพทร่ี บั ใช้สังคม เช่น พยาบาล นกั สงั คมสงเคราะห์
10. อาชีพในสานักงาน เชน่ เสมียน

34

กลุ่มอาชีพของประเทศไทยก็คล้ายคลงึ กับอาชพี ที่แบง่ กนั ในตา่ งประเทศ โดยความแตกต่างจะอยทู่ ี่
แนวคดิ และวฒั นธรรมปลกี ย่อย ทีแ่ ต่ละประเทศจะให้ความสาคญั ในรายละเอยี ดแตกตา่ งกัน ปัญหาแรกคือ
ความทนั สมัยของข้อมูล เนอื่ งจากอาชีพต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยคุ สมยั ดังน้ัน การจดั เก็บข้อมูลก็
ตอ้ งมีการปรบั ปรงุ ให้ทนั กับกระแสเศรษฐกจิ และสงั คมอยู่เสมอ

ข้อมลู เกยี่ วกับอาชีพส่วนใหญ่จะบอกถงึ รายละเอียดในทางบวก ในความเป็นจรงิ นั้น ยงั มีข้อมูล
เก่ยี วกบั อาชีพในทิศทางทตี่ ้องระมัดระวัง ทง้ั เกยี่ วกับความปลอดภัยหรือความเส่ียงในด้านต่าง ๆ เพ่ือใหผ้ ู้ท่ี
สนใจได้พิจารณาและประเมินความตอ้ งการท่ีแท้จรงิ ในการประกอบอาชีพน้ัน ๆ เปน็ ต้น

ปญั หาเกย่ี วกบั การใชข้ ้อมลู ที่สาคญั อีกประการก็คอื นักเรียนไม่ได้รับการแนะนาหรือใหร้ ายละเอียดที่
เหมาะสมเพอ่ื ตัดสินใจในการวางแผนอาชีพ ดังนั้น ครูแนะแนวจงึ ต้องให้คาแนะนาและใหก้ ารปรกึ ษาถึงอาชีพ
ที่เหมาะสมกับตัวเด็ก

กระบวนการจดั ระบบข้อมูลทางอาชพี สามารถแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ข้นั สารวจ (Exploration Stage) บุคคลเริ่มสารวจและเรียนรเู้ ก่ียวกับอาชีพตงั้ แต่เด็กวัย
ประถมศึกษา ซึ่งความคิดความเข้าใจเกี่ยวกบั อาชีพกย็ ังแคบ ตอ่ มาเมื่อเด็กเร่มิ โตและได้มโี อกาสสมั ผสั กบั
สภาพแวดล้อม บคุ คล รวมถงึ สื่อตา่ ง ๆ ทาใหเ้ กิดความเข้าใจในโลกของการทางานมากยิง่ ขนึ้ โดยพฒั นาการ
ทางความเขา้ ใจในอาชีพก็จะเพมิ่ ขึ้นเร่ือย ๆ ในการชว่ ยเหลือจากครแู นะแนวสามารถทาได้ ดังน้ี

1) ใหข้ ้อมูลเกีย่ วกับบทบาทของงานและอาชีพในชีวิตและสังคมปจั จบุ นั
2) ใหค้ วามรเู้ กย่ี วกับธรรมชาติของการทางานและโลกของอาชพี
3) พัฒนาค่านิยมในการทางาน
4) ใหค้ วามรูค้ วามเข้าใจเกยี่ วกับทิศทางในการศึกษาและโลกของงาน
5) ใหเ้ ด็กมคี วามเขา้ ใจเกี่ยวกับพฒั นาการทางอาชีพและการตดั สินใจเลอื กอาชพี ที่ถกู ต้อง
และเหมาะสม
6) ให้เด็กมคี วามเขา้ ใจในเรื่องอปุ นิสัยในการงาน
2. ข้นั ความเข้าใจ (Understanding Stage) เปน็ ระยะมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ เด็กจะแสดงออกถึงพลงั
บางคร้งั อาจแผงความกา้ วรา้ ว เพื่อให้เห็นถึงทักษะหรือจุดเด่นของตวั เอง ในช่วงนีเ้ ดก็ จะมีความตระหนกั ใน
ความสาคัญของการเลอื กเส้นทางการศึกษาใหม้ ีความสอดคล้องกับอาชีพท่ีเหมาะสมกบั ตนเองในอนาคต
มยี ุทธวิธีในการเลอื กอาชีพโดยการคิดไตรต่ รองและทาความเข้าใจถึงความเป็นไปไดใ้ นตัวเลือกทางอาชพี
มากกว่าระยะแรก ในการช่วยเหลือของครูแนะแนวสามารถทาได้ ดงั นี้
1) ช่วยใหน้ กั เรยี นตระหนักถงึ ความสาคัญในการเลือกเส้นทางการศึกษาที่จะสง่ ผลถึงโอกาส
ทางอาชีพ

35

2) ชว่ ยใหเ้ ดก็ พิจารณาถงึ การเลอื กอาชพี ทีจ่ ะสง่ ผลถงึ เสน้ ทางชีวติ ในระยะยาว
3) ช่วยให้เดก็ นักเรยี นตัดสนิ ใจในการเลอื กเสน้ ทางอาชีพที่เหมาะสมกับความถนดั
ความสามารถ และความสนใจท่ีแทจ้ ริงของตนเอง
4) กระตุ้นให้เด็กมสี ่วนรว่ มในการสืบค้นและรวบรวมขอ้ มลู เก่ยี วกับอาชีพทตี่ นเองสนใจด้วย
ตนเอง เช่น การเยย่ี มชมกิจการ การพดู คุยกบั ผูป้ ระกอบอาชีพ เพ่อื ใหเ้ ด็กไดเ้ ห็นคุณค่าของการวางแผน
เกีย่ วกบั อาชีพ
5) ใหผ้ ้ปู กครองไดม้ ีส่วนรว่ มในการศึกษาเกยี่ วการวางแผนอาชีพของเด็ก ทง้ั การใหข้ ้อมูล
สาคญั เพ่ิมเตมิ เก่ียวกบั อาชีพ หรือการให้คาแนะนาทิศทางการเลือกอาชีพทเ่ี หมาะสมกบั คุณสมบัติของเด็ก
นักเรยี น
3. ขนั้ ปฏบิ ตั กิ าร (Action Stage) เปน็ ขน้ั สุดทา้ ยของระบบข้อมูลทางอาชพี หลังจากที่บคุ คลผา่ นการ
ประเมนิ ตนเอง ประเมนิ อาชพี และตดั สนิ ใจเขา้ สเู่ ส้นทางอาชีพแลว้ ทงั้ นี้ ระยะเวลาของการแสวงหางานของ
แตล่ ะบุคคลยอ่ มแตกต่างกนั ออกไป ตามเง่ือนไขของอาชีพนั้น ๆ โดยสามารถอธบิ ายรายละเอียดเก่ียวกับ
เงอื่ นไขในการประกอบอาชีพ ได้ดงั น้ี
1) เงอ่ื นไขของปัจจัยส่วนบุคคล ท้ังทีเ่ ป็นคุณสมบตั ิต่าง ๆ ของบคุ คล ท้ังระดับการศกึ ษา
บุคลกิ ภาพโดยรวม เป็นตน้
2) เงือ่ นไขทางดา้ นสง่ิ แวดล้อม ไดแ้ ก่ ระบบเศรษฐกิจ กฎเกณฑ์ทางสงั คม ค่านิยมเกย่ี วกับ
อาชพี เป็นต้น
นอกจากนี้ การปฏบิ ตั ิการในการเลือกอาชพี ของบุคคลจะประสบความสาเร็จหรอื ไม่ ยังมี
ความสัมพนั ธ์กับระบบทางสังคมในดา้ นต่าง ๆ อาทิเชน่ (1) สถาบนั การศึกษาสนับสนนุ การผลิตบุคลากรทาง
อาชพี ไม่ตรงกับเป้าหมายของตลาดแรงงาน กล่าวคือ มกี ารผลติ บัณฑิตเข้าสู่อาชพี ในสาขาท่ีตลาดอิ่มตวั แลว้
จึงทาให้บัณฑิตเหลา่ นนั้ ประสบความยากลาบากในการหางานทา ซง่ึ สาเหตแุ ห่งปัญหาก็เกดิ จากการทบ่ี คุ คลไม่
ทราบขอ้ มลู ทางอาชพี หรือไม่สามารถคาดการณ์ตลาดแรงงานในอนาคตได้อย่างถกู ต้อง (2) บัณฑิตส่วนใหญ่ที่
หางานไม่ได้เนื่องจากไม่รู้แหล่งงาน ไม่รู้วธิ กี ารเข้าสูอ่ าชีพ ทั้งการเขยี นจดหมายสมคั รงานการสมั ภาษณ์ หรือ
การปฏิบัติตนในชว่ งทดลองงาน เป็นตน้ โดยปัญหาเหลา่ นส้ี ามารถคลี่คลายได้ดว้ ยการชว่ ยเหลือของครแู นะ
แนว

36

การสร้างทศั นคติในการทางาน
บุคคลจะประความสาเรจ็ ในการทางานนั้น จะต้องมองตนเองและบทบาทในการทางานที่ถกู ต้อง

เหมาะสม ดังนี้
1. คดิ วา่ งานเปน็ สิง่ ทม่ี ีคณุ ค่าตอ่ ชวี ิต
2. รับร้ตู ัวเองในฐานะของผูท้ างาน
3. รับรู้การคาดหมายของงานวา่ เป็นส่วนหนงึ่ ของชวี ติ ทางสังคม
4. มองงานวา่ เป็นส่ิงท่ีดีงามหรอื เป็นรางวัลสาหรับตนเอง
บคุ คลส่วนใหญ่มักจะวางแผนการเลอื กอาชีพตามความถนดั ความสนใจ ความสามารถของตนเองทีม่ ี

อยู่ โดยทิศทางและโอกาสในการประกอบอาชพี ของบุคคลสามารถเปลีย่ นแปลงได้ดว้ ยปัจจยั ตา่ ง ๆ ซ่ึงบคุ คล
บางกล่มุ ต้องประกอบอาชีพที่อยูน่ อกเหนือจากแผนหรือความต้งั ใจของตนเอง ดังนน้ั การทางานใหม้ ีความสขุ
จึงต้องสร้างทัศนคติที่ดตี ่องานที่ทา เช่น งานสรา้ งรายได้ งานสรา้ งการเรยี นรู้ เป็นตน้

การสรา้ งความเจรญิ กา้ วหนา้ ในการทางาน
การมีพฤติกรรมท่ถี ูกต้องและเหมาะสมในการทางาน เปน็ ส่ิงสาคัญ ทีจ่ ะสรา้ งโอกาสในการ

เจริญกา้ วหน้าบนเส้นทางชีวิตการทางานของบคุ คล โดยมีรายละเอยี ด ดังนี้
1. มวี ินยั ในตนเอง เข้า-ออกงานตรงเวลา แตง่ กายถกู ต้องตามความเหมาะสมของงาน
2. มกี ารสอื่ สารท่ีเหมาะสม ท้ังการใชภ้ าษา การวางตวั และการแสดงท่าทีในสงั คมการทางาน
3. ทางานให้มคี ุณภาพตามมาตรฐานทอ่ี งค์การกาหนด
4. พฒั นาคณุ ภาพงานและศกั ยภาพของตนเองอยูเ่ สมอ
5. มมี นุษย์สัมพันธท์ ่ีดกี บั เพื่อนรว่ มงานในทุกระดบั
6. แสดงความสามารถหรือจดุ เด่นสว่ นบคุ คล เช่น ความคดิ สรา้ งสรรค์
แนวคดิ ของการจดั ตั้งสถาบนั คุณวฒุ ิวชิ าชีพ (องคก์ ารมหาชน)ไดถ้ ูกพจิ ารณาข้นึ เปน็ ครั้งแรกเมื่อ

ปี พ.ศ. 2547 ภายใตก้ ารนาเสนอของสานักงานคณะกรรมการอาชวี ศึกษา (สอศ.) และคณะกรรมการ
พฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ (สศช.) หรือทรี่ ูจ้ ักในนาม “สภาพัฒน์” เพื่อทีจ่ ะกาหนดคณุ วฒุ วิ ิชาชพี
ระดบั ต่าง ๆ ใหเ้ ปน็ มาตรฐาน ในการบง่ ชีส้ มรรถนะของกาลังคนของไทย ตลอดจนสง่ เสรมิ กลุ่มอาชีพให้มี
ความเข้มแขง็ สามารถสร้างมาตรฐานอาชพี ขึ้นไดเ้ อง เพ่ือใช้เป็นฐานในการพัฒนากาลงั คนระดับตา่ ง ๆ ให้
สามารถตอบสนองไดต้ รงตามความต้องการของผู้ประกอบการ

ในการพฒั นาคนสู่สังคมแห่งการเรยี นรู้ตลอดชวี ติ อยา่ งย่งั ยืนนั้น สถาบันคณุ วฒุ วิ ชิ าชีพ (องค์การ
มหาชน) ไดด้ าเนนิ การพัฒนาระบบคุณวุฒิวชิ าชีพและจดั ทามาตรฐานอาชีพดว้ ยการสร้างความรว่ มมือกับ

37

หน่วยงานทุกภาคสว่ น ทัง้ ภาครฐั และเอกชนในระดบั ชาติ และระดบั นานาชาติ ที่ให้การสนับสนุนกลุม่
ผปู้ ระกอบการในสาขาวิชาชีพตา่ ง ๆ และผู้มีส่วนเกย่ี วข้องเพือ่ การมีส่วนรว่ มในการจัดทามาตรฐานอาชพี และ
แนวทางการประเมนิ สมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อนามาใชใ้ นการประเมินสมรรถนะของบุคคลตาม
มาตรฐานอาชีพ มกี ารมอบประกาศนียบัตรคุณวฒุ ิวชิ าชพี และหนังสือรับรองมาตรฐานอาชพี ทงั้ ผู้ท่มี คี ุณวฒุ ิ
การศกึ ษาและไม่มคี ุณวฒุ กิ ารศึกษา แต่มีประสบการณ์การทางานและความชานาญในวชิ าชีพน้นั ๆ เพือ่ ให้มี
ความพร้อมต่อการเคลือ่ นย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี นต่อไป

38

การใชแ้ บบทดสอบในการแนะแนวอาชีพ

แบบทดสอบทางจิตวทิ ยา
แบบทดสอบมกั จะถูกใชโ้ ดยนกั จติ วทิ ยาคลินิก จติ แพทย์ นักจิตวิทยาการปรึกษา หรือแม้แต่ครแู นะ

แนว ในการใชแ้ บบทดสอบของบุคลากรงานแนะแนวจะให้ความสาคัญกบั วตั ถุประสงค์และความเขา้ ใจ
เก่ยี วกับการใช้แบบทดสอบเพ่ือที่จะนามาใชใ้ นการวดั หรือประเมนิ คุณลักษณะของนกั เรยี นได้อยา่ งเหมาะสม
และอย่างถกู ตอ้ ง

ประโยชนข์ องแบบทดสอบ
1. ใช้เปน็ แนวทางพยากรณ์ความพงึ พอใจในอาชีพ
2. ใช้รว่ มกบั การสนิ ใจทางด้านอาชพี
3. ชว่ ยกระตนุ้ ให้เกิดพฤติกรรมการคน้ หาขอ้ มูลทางชพี
4. ช่วยใหร้ ูว้ ่าเดก็ คนไหนท่ตี ้องได้รบั การชว่ ยเหลอื เป็นพเิ ศษ
5. ใชใ้ นการประเมินผลโครงการ
6. กระตุน้ ใหเ้ กดิ การค้นหาความสามารถและความสนใจของตนเอง
7. ชว่ ยเสรมิ สรา้ งภาพพจน์ท่ีดขี องตน
8. กระตุ้นใหเ้ ด็กเกดิ ความสนใจ และเข้าร่วมโครงการทางอาชพี
9. ช่วยโน้มน้าวใหผ้ ู้ปกครองยอมรับในความสามารถและความสนใจท่ีแทจ้ ริงของเด็ก
10. ชว่ ยให้เดก็ เข้าใจในตนเองถงึ สาเหตุที่รสู้ กึ ไม่พึงพอใจในการเรยี นบางวิชาหรอื กิจกรรมทางอาชพี

บางชนิด

สิ่งทตี่ ้องคานงึ ในนาแบบทดสอบมาใช้
1. งบประมาณ
1) ถา่ ยเอกสาร
2) สมุดคาถาม-สมุดคาตอบ
2. เวลาท่ีใช้ในการทดสอบ
1) การทดสอบรายบุคคล
2) การทดสอบเปน็ กลมุ่

39

3. เวลาทใ่ี ชใ้ นการแปลผล
1) ทาควบคู่ไปกับการปรึกษา
2) เวลาทใ่ี ชใ้ นการแปรผล

4. จานวนคร้ังในการทดสอบ
1) การเปล่ยี นแปลงของวฒุ ภิ าวะ
2) ทาการทดสอบซ้า

ขอ้ ควรระวงั ในการใชแ้ บบทดสอบ
1. ต้องเลอื กแบบทดสอบใหเ้ หมาะสมกบั วัตถปุ ระสงค์ทต่ี ้องการใช้
2. ต้องคานึงถงึ วฒุ ิภาวะทางอาชีพของผทู้ าแบบทดสอบ
3. ตอ้ งตระหนักถึงพัฒนาการของแต่บคุ คลทีม่ ักต้องการวดั ในประเด็นที่แตกต่างกันออกไป
ในการใชแ้ บบทดสอบควรระวงั การอธบิ ายผลการวิเคราะห์ เน่ืองจากคะแนนท่ีไดจ้ ากการทดสอบไม่ได้

การันตีถึงความสาเร็จของอาชพี ในอนาคต เพราะความสาเรจ็ ทางอาชีพมีความสัมพันธ์กับปัจจยั ที่เกีย่ วข้อง
หลายประการ ซ่งึ ผใู้ ชแ้ บบทดสอบต้องเขา้ ใจถงึ หลักความเปน็ จรงิ ของมนุษยแ์ ละสงั คม

การเลอื กใช้แบบทดสอบ
แบบทดสอบมีอยู่ 2 ประเภท คือ คือ
1. แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Tests) จะมคี วามเชอื่ ม่นั (Reliability) ไมว่ า่ จะวดั กค่ี รัง้ ก็

ไดผ้ ลทไ่ี ม่เปล่ียนไปจากเดมิ มีความเทีย่ งตรง (Validity) ตามเนอื้ หาและโครงสรา้ ง ในการสรา้ งแบบทดสอบ
มาตรฐานจะมีการคน้ ควา้ และวจิ ัยทใ่ี ช้กล่มุ ตัวอยา่ งขนาดใหญ่

2. แบบทดสอบท่ีครสู รา้ งขึ้นเอง (Teacher-made Tests) จะมีความเชื่อมน่ั (Reliability) และมี
ความเท่ียงตรง (Validity) เหมอื นกนั แบบทดสอบมาตรฐานแต่แตกต่างกนั ตรงที่การคน้ ควา้ วิจัยจะใช้กลุ่ม
ตวั อยา่ งท่ีมีจานวนน้อยกวา่

ทง้ั น้ี แบบทดสอบมาตรฐานมีค่าใช้จ่ายสงู เม่ือนามาใช้กับนักเรยี นที่มแี บบแผนการเลือกอาชพี ยังไม่
แน่นอนอาจไม่คมุ้ คา่ ตอ่ การนามาใช้ ดังนั้น ครูจึงมักสรา้ งวัดความสนใจข้ึนมาเอง

40

ชนิดของแบบทดสอบทใ่ี ช้ในการแนะแนว
แบบทดสอบทางจิตวทิ ยาทใี่ ช้ในงานแนะแนว
1) แบบทดสอบบคุ ลิกภาพ
2) แบบทดสอบเชาว์ปัญญา (IQ)
3) แบบทดสอบความถนัด
4) แบบทดสอบความสนใจและพฒั นาทางอาชีพ
แบบทดสอบความสนใจและพัฒนาการทางอาชีพ
1) แบบทดสอบ SCII (Strong Campbell Interest Inventory) ของสตรองค์ (Strong) มี

ทงั้ หมด 7 ส่วน จานวนคาถามท้งั หมด 325 ข้อ มรี ายละเอียดดังนี้
(1) ส่วนท่ี 1-5 เป็นขอ้ คาถามเกีย่ วกบั อาชีพและกจิ กรรมในอาชีพนัน้ ๆ รวมถึง

ประเภทของบคุ คลท่เี กีย่ วขอ้ ง เช่น ผูส้ ูงอายุ, ผูเ้ ครง่ ศาสนา เแลว้ ให้เลอื กตอบตามความรู้สึก คือ “ชอบ-เฉย ๆ-
ไม่ชอบ”

(2) ส่วนท่ี 6 ให้บอกถึงความพึงพอใจในกจิ กรรมตา่ ง ๆ
(3) ส่วนท่ี 7 ให้เลอื กประโยคที่ตรงกบั สง่ิ ท่ีตนเองเปน็ มากที่สดุ โดยใหต้ อบวา่
ใช่-ไมใ่ ช-่ ไมแ่ น่ใจ
(4) การใชแ้ บบทดสอบ SCII จะใช้เวลา 1 ชั่วโมง สามารถใช้ได้กบั นกั เรยี นระดับชัน้
มัธยมต้นเป็นตน้ ไป โดยจัดวา่ เป็นแบบทดสอบท่ีมีความเทยี่ งตรงและนา่ เช่ือถือ
(5) ในการแปลผล คะแนนทไ่ี ดจ้ ะบอกถงึ แบบแผนความสนใจของบุคคลแบบครา่ ว
ๆ จากนัน้ จะวเิ คราะห์ผลถึงลักษณะอาชีพทต่ี รงกบั ความสนใจของบุคคล
(6) ขอ้ ควรระวัง การทาแบบทดสอบเป็นเพียงการอธบิ ายถึงความสนใจของเด็กว่ามี
ความใกลเ้ คียงกับผูท้ ่ีประกอบอาชพี เหล่าน้นั บคุ คลที่ได้คะแนนสูงไม่ได้เปน็ เคร่ืองบ่งช้ีถงึ ความสาเรจ็ ในอาชีพ
แต่เปน็ เพยี งการอธิบายถงึ ความสนใจของเดก็ วา่ มคี วามใกล้เคียงกับผู้ทป่ี ระกอบอาชีพเหล่านน้ั
2) แบบทดสอบ SDS (Self Directed Search) สร้างขึน้ โดย ฮอแลนด์ (Holland) จาก
ทฤษฎกี ารเลือกอาชีพ โดยมีความคิดพน้ื ฐาน 4 ประการ ดังนี้
(1) บคุ ลกิ ภาพของบุคคลทวั่ ไปแบ่งได้เปน็ 6 ลักษณะตามความสนใจอาชพี ประเภท
ตา่ ง ๆ คอื งานช่างฝีมือและกลางแจ้ง งานศลิ ปะดนตรี งานวทิ ยาศาสตร์และเทคนิค งานบริการการศึกษาและ
สังคม งานสานักงานและเสมียน งานจดั การและค้าขาย และวรรณกรรม

41

(2) สง่ิ แวดล้อมของบุคคลกแ็ บ่งไดเ้ ปน็ 6 อย่างตามความสนใจอาชีพประเภทตา่ ง ๆ
โดยส่งิ แวดลอ้ มแต่ละอย่างน้ีถูกครอบงาจากบุคลิกภาพ และเป็นสิ่งทแี่ สดงให้เห็นถึงปัญหาและความกดดนั บาง
ประการ

(3) บคุ คลจะคน้ หาส่ิงแวดล้อมทีเ่ อ้ืออานวยให้เขาได้ฝึกทักษะและใช้ความสามารถ
ของเขาทั้งยังเปดิ โอกาสใหเ้ ขาได้แสดงทัศนคติ คา่ นิยม และบทบาทของเขา

(4) พฤติกรรมของบคุ คลถูกกาหนดโดยบคุ ลกิ ภาพและส่ิงแวดลอ้ ม เมอื่ เราทราบ
บุคลกิ ภาพและส่งิ แวดล้อมของบคุ คลกจ็ ะทาให้เราทราบถงึ ผลท่จี ะตดิ ตามมาดว้ ย ซึง่ ได้แกก่ ารเลือกอาชีพ การ
เปล่ียนงาน ความสาเร็จในอาชีพ ความสามารถเฉพาะ พฤตกิ รรมทางการศึกษาและสงั คม

(5) ฮอลแลนดแ์ บ่งลักษณะบุคลิกภาพตามความสนใจอาชีพต่าง ๆ 6 ประเภท ดังน้ี
R ประเภทงานช่างฝีมอื และงานกลางแจง้ (Realistic)
I ประเภทงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคนิค (Investigative)
A ประเภทงานศลิ ปะ ดนตรี และวรรณกรรม (Artistic)
S ประเภทงานบรกิ ารการศึกษาและสังคม (Social)
E ประเภทงานคา้ ขายและการจดั การ (Enterprising)
C ประเภทงานสานกั งานและเสมียน (Conventional)

(6) ในการทาแบบทดสอบจะแบ่งออกเปน็ 5 หมวด ดงั นี้
หมวดที่ 1 หมวดกจิ กรรม ใหบ้ ุคคลเลอื กตอบระหวา่ ง “ชอบ” หรือ “ไม่

ชอบ” ในกิจกรรมตา่ ง ๆ เชน่ แกเ้ คร่ืองยนต์
หมวดที่ 2 หมวดความสามารถ ใหบ้ ุคคลเลือกตอบระหว่าง “ใช่” หรือ

“ไมใ่ ช่” หลงั จากสารวจสามารถของตนเองในการทากจิ กรรมต่าง ๆ เชน่ ฉนั ซ่อมทีวเี ลก็ ๆ นอ้ ย ๆ ได้
หมวดท่ี 3 หมวดอาชีพ ใหบ้ ุคคลเลือกตอบระหวา่ ง “สนใจ” หรือ “ไม่

สนใจ” ในอาชีพตา่ งๆ เชน่ อาชพี นกั ข่าว
ในหมวดท่ี 4 การประเมนิ ความสามารถ และหมวดที่ 5 การประเมินทักษะ

ให้บคุ คลประเมินความสามารถของตนเองในด้านต่าง ๆ ว่ามคี วามสามารถอย่รู ะดบั ใด โดยเลือกตอบ สงู -
กลาง-ต่า เชน่ การสอน, การขาย เปน็ ต้น

(7) การแปลผล การแปลผลจะรวมคะแนนจาก 5 หมวดออกมาเป็นโคด้ หรือรหัส
อาชีพ ทจ่ี ะทาให้ทราบวา่ ระดับคะแนนสูงสุดอยู่ในกลุ่มอาชีพใดใน 6 กลมุ่ จากน้ันก็ตรวจดูรหสั อาชีพท่ีไดน้ น้ั
ตรงกบั อาชีพใดบา้ งในเอกสารแปลรหสั ของฮอแลนด์

42

(8) ตวั อยา่ ง เม่ือรวมคะแนนจากการทาแบบทดสอบ ได้ดังน้ี

8 10 26 20 17 7

R IA S EC

รหสั อาชีพท่ีได้ คือ ASE อธิบายลักษณะบคุ ลิกภาพได้ ดังนี้

A ประเภทงานศลิ ปะ ดนตรีและวรรณกรรม (Artistic)

S ประเภทงานบรกิ ารการศึกษาและสังคม (Social)

E ประเภทงานจัดการและคา้ ขาย (Enterprising)

เมือ่ แปลรหัสอาชีพแล้วจะได้ 1) นักปรัชญา 2) นักเขยี น 4) ครสู อนดนตรี 5) ครู

สอนวรรณคดี เป็นตน้

3) แบบทดสอบ KOIS (Kuder Occupational Interest Survey) สรา้ งขึน้ โดย คูเดอร์

(Kuder) เปน็ แบบทดสอบความสนใจโดยใชค้ าถามเก่ยี วกับกจิ กรรมท่บี ุคคลจาเป็นต้องใช้ในการทางานอาชีพ

ตา่ ง ๆ กิจกรรมท่ีมีความคล้ายคลึงกนั จะถูกจัดเขา้ ไว้ในกลุ่มเดยี วกัน กิจกรรมท่ีมีความต่างกนั จะอยคู่ นละกลมุ่

โดยคเู ดอร์แบ่งกิจกรรมทั้งหมดออกเปน็ 9 กลมุ่ กวา้ ง ๆ เพื่อใหเ้ ห็นถึงความสนใจทีต่ ่างกัน 9 หมวด อธบิ ายได้

ดังนี้

(1) ลกั ษณะข้อคาถาม เปน็ การถามเก่ียวกับกิจกรรมต่าง ๆ

- กิจกรรมกลางแจ้ง

- ชา่ งยนต์ - คานวณ

- วิทยาศาสตร์

- ชักจูงโนม้ นา้ ว

- ศิลปะ

- อกั ษรศาสตร์

- ดนตรี

- บริการสังคม

- เสมียน - ธรุ การ

(2) ใหบ้ ุคคลเลือกตอบ “มากที่สุด” หรือ “ปานกลาง” หรือ “นอ้ ยที่สดุ ”

(3) การแปลผล แบบทดสอบจะแบง่ การแปลผลออกเปน็ 4 คอลัมน์

คอลมั นท์ ี่ 1 และ 2 จะให้ชือ่ อาชีพ

คอลมั น์ท่ี 3 จะบอกถึงสาขาวิชาทคี่ วรเรียนในมหาวิทยาลัย

(เพ่ือไปประกอบอาชีพท่ีตนเองสนใจ)

43

คอลัมนท์ ่ี 4 ผลคะแนนจะบอกถึงความตั้งใจของผู้ทาถ้าคะแนนตา่ วา่ 44
คะแนน แสดงว่าบุคคลไมใ่ สท่ าแบบทดสอบ

4) แบบทดสอบ VIESA (Vocational Interest, Experience and Skill Assessment) ใช้
สาหรบั ทดสอบเด็กนกั เรียนมัธยมต้นและมธั ยมปลายใหร้ ู้จักความต้องการของตนเอง เพื่อกระต้นุ ให้เกิดการ
ตระหนึกถึงความสาคัญเกยี่ วกับอาชีพและการเลอื กอาชีพทเ่ี หมาะสมกับตนเอง แบบทดสอบจะแบ่งออกเปน็
3-7 กลมุ่ รวมทง้ั หมด 25 อาชพี ท่ที าใหใ้ ห้เด็กสามารถเลอื กอาชพี ทต่ี นเองต้องการตามสภาพความเป็นจรงิ
หลังจากทาแบบทดสอบแล้ว เด็กนกั เรียนจะรวู้ า่ ความสนใจและทักษะของเขาเหมาะกบั อาชพี ใด แบบทดสอบ
จะใชเ้ วลาทาประมาณ 45 นาที ถงึ 1 ช่ัวโมง

การแปลผลแบบทดสอบ
ประสิทธิภาพของการใช้แบบทดสอบขน้ึ อยู่กับสัมพันธภาพระหว่างผทู้ าการทดสอบกบั ผู้รบั การ

ทดสอบ โดยมขี อ้ ควรระวงั ในการแปลผลการทดสอบ ดงั น้ี
1. เตรียมอปุ กรณ์เครื่องมือ ข้อมลู ต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนท่ีจะแปลผลแบบทดสอบ
2. บอกถงึ วัตถุประสงค์การใช้แบบทดสอบและผลที่ไดห้ ลงั จากทาแบบทดสอบ
3. ใช้ภาษาทง่ี ่ายตอ่ ความเข้าใจในการแปลผลการทดสอบ
4. ในการแปลผล ควรมุ่งไปท่ีจุดสงู สุดและต่าสดุ มากกวา่ การพดู ถงึ คะแนนเฉลี่ย
5. หากเวลาในการทาแบบทดสอบหมดลง ควรนัดเพือ่ ให้ขอ้ มูลในการทาแบบทดสอบต่อในโอกาส

ต่อไป
6. เม่อื การแปลผลจบสนิ้ ลง ควรลองใหผ้ ้รู ับการทดสอบสรุปผลดว้ ยตนเอง เพ่ือทาความเขา้ ใจใน

ตนเอง
7. ควรจบการแปลผลด้วยการวางแผนทีจ่ ะดาเนินการไปตามเปา้ หมายทางอาชพี ที่วางไว้
8. ควรมกี ารตดิ ตามผล เพราะความสนใจของบุคคลย่อมมีการเปล่ียนแปลงตามปัจจัยตา่ ง ๆ
9. ศกึ ษาผลแบบทดสอบกอ่ นท่จี ะแปลแบบทดสอบให้นกั เรียนได้รู้ หากผลการทาแบบทดสอบมคี วาม

ขัดแย้งกับข้อมลู อ่นื ๆ พยายามดงึ จดุ ทน่ี ่าสนใจออกมาซักถาม เพ่ือให้เกดิ ความกระจา่ งเกย่ี วกับเส้นทางอาชีพ
มากข้ึน

10. เมื่อผลการแปลผลไม่ตรงกบั ความคาหวังของผูร้ ับการทดสอบ ต้องใหค้ วามกระจ่างด้วยการค้นหา
สาเหตแุ ละแสวงหาทางเลอื กอาชพี ทต่ี รงกับความเป็นจรงิ และใหผ้ ู้รับการทดสอบไดเ้ ขา้ ใจตัวเองมากข้ึน

44

การวางแผนอาชีพและการสมัครงาน

ความสาคญั ของการวางแผนอาชีพและการสมคั รงาน
“การวางแผน” มพี ้ืนฐานความเช่ืออยู่ว่า บ่อยคร้ังท่ีบุคคลไมแ่ น่ใจในเสน้ ทางชวี ิต และบางครงั้

เป้าหมายไม่ชัดเจน ในการกาหนดทิศทางท่จี ะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพหรอื เสน้ ทางท่ีจะดาเนินสิ่งตา่ ง ๆ
อยา่ งครา่ ว ๆ และการวางแผนอาชพี จะชว่ ยปอ้ งกันความผิดพลาดอันเกดิ จากการเลือกเสน้ ทางอาชีพทไ่ี ม่
ถูกต้อง ท้ังนี้ การวางแผนอาชีพ จาเป็นตอ้ งเขา้ ใจเกีย่ วกบั ความต้องการ ทักษะ ความสามารถ แรงจงู ใจของ
ตนเอง เพื่อที่จะสามารถสรา้ งเป้าหมายใหก้ ับชีวิตได้อยา่ งถูกตอ้ งตามความเปน็ จรงิ

การวางแผนด้านตา่ ง ๆ ของเด็กยุคปัจจุบนั ทัง้ ด้านการศกึ ษาและอาชพี ยงั ขาดการวางแผนท่ถี ูกต้อง
และไมม่ คี วามชดั เจน ซ่ึงการทาสิง่ ตา่ ง ๆ โดยไม่มีแบบแผนนี้ จะส่งผลตอ่ โอกาสที่จะเกิดความผดิ พลาดในการ
ตดั สินใจ หรือตอ้ งเปลี่ยนเสน้ ทางในการดาเนินชีวติ ด้านตา่ ง ๆ ทาใหเ้ สยี เวลาและเสียโอกาสมากกวา่ คนที่มกี าร
วางแผนและกาหนดสิง่ ทีจ่ ะทาอย่างเปน็ ระบบระเบยี บ

ขน้ั ตอนการวางแผนอาชพี
1. วเิ คราะหต์ นเอง รู้ถึงทักษะ ความสนใจ และค่านยิ ม
2. สารวจการศกึ ษาและประสบการณ์ในอดีต สารวจความสามารถจากประวตั ิการศึกษา และการ

ทางาน
3. สารวจแหลง่ งาน เพ่อื ใหร้ ถู้ ึงแหลง่ ทจ่ี ะติดต่อสมัครงาน และสามารถวิเคราะหข์ ้อมลู เบ้ืองตน้ ของ

หนว่ ยงานหรือองคก์ ารท่ตี ้องการสมัครงานไดถ้ ูกต้อง
4. กระบวนการสมัครงาน จะทาใหร้ ู้วิธีเขียนจดหมายสมัครงาน ประวัติยอ่ วธิ ีการกรอกใบสมัครงาน

รวมถงึ การสัมภาษณแ์ ละการเตรียมตัวเพื่อรบั การสมั ภาษณ์

การวเิ คราะห์ตนเอง
1. การสารวจทักษะ
1) ทกั ษะเกี่ยวกับการทางาน (Functional Skills)
2) ทกั ษะในการปรบั ตัว (Adaptive Skills)
3) ทกั ษะดา้ นเนือ้ หาวชิ า (Work Content Skills)

45

การช่วยเหลอื วางแผนอาชพี ให้กบั บุคคล ครูแนะแนวต้องช่วยค้นหาความสามารถทางด้านทกั ษะ
ทน่ี ักเรียนมีอยู่ เม่ือพบวา่ ทักษะใดทขี่ าดหรือไม่สมบรู ณ์ต้องดาเนนิ การให้ความร้แู ละฝึกทักษะดงั กลา่ วเพม่ิ เติม

2. สารวจความสนใจ สามารถวเิ คราะหด์ ว้ ยการทาแบบทดสอบความสนใจทางอาชีพ
3. สารวจค่านิยม เป็นสงิ่ ทีจ่ ะทาใหบ้ คุ คลเกิดความสขุ และความภาคภูมใิ จในอาชีพของตนเอง อาทิ
เชน่ บุคคลท่ีมีคา่ นยิ มรกั อสิ ระ จะหลีกเหลีย่ งการประกอบอาชพี ที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด หรอื งานท่มี ี
โครงสรา้ งไม่ยดื หยนุ่ ทงั้ นี้ การคน้ หาค่านยิ มของบคุ คลสามารถทาไดห้ ลายรูปแบบ เชน่ จากแบบทดสอบ

การสารวจการศึกษาและประสบการณใ์ นอดีต
เมอื่ บคุ คลได้วิเคราะหห์ รือสารวจเกย่ี วกับตนเองการวางแผนอาชีพในขัน้ ต่อไปก็คือ การสารวจ

การศกึ ษาและประสบการณ์ในอดตี จะทาให้รู้ถึงความรูค้ วามสามารถของบคุ คลเกย่ี วกบั จุดเดน่ ทส่ี ่งผลตอ่ การ
ทางาน ได้แก่

1. ความสาเรจ็ ตอ่ ผลผลติ ในการทางาน
2. การได้รบั การยกย่องชมเชยในผลงาน
3. ความรวดเร็วและประสิทธิภาพ
4. ความว่องไวในการเรียนรู้

การสารวจแหลง่ งาน
1. รูแ้ หลง่ งาน ไดแ้ ก่
1) จากเว็บไซต์
2) จากหนงั สอื พิมพ์
3) จากงานแนะแนวหรือหนว่ ยจดั หางานของสถานศึกษา
4) จากสานักงานจัดหางาน
5) จากการแนะนาของบุคคลที่รู้จกั
2. วเิ คราะห์สถานประกอบการ ได้แก่
1) ความมั่นคงของสถานประกอบการ
2) สวสั ดกิ ารและรายได้
3) ส่ิงแวดลอ้ มในการทางาน
4) บรรยากาศของการทางาน
5) ค่านยิ มและเปา้ หมายในการทางานของสถานประกอบการ

46

6) ความก้าวหน้า
7) ปญั หาของหน่วยงาน

การเตรียมตวั ก่อนสมัครงาน
1) วิเคราะห์ตนเอง
2) การวิเคราะหส์ ถานประกอบการ
3) เตรยี มตัวสมคั รงาน

กระบวนการสมัครงาน
1. การเขยี นจดหมายสมัครงาน
1) หัวจดหมาย ประกอบดว้ ย ที่อยู่ เบอร์โทรศพั ท์ เรือ่ ง เรียน สง่ิ ทอ่ี า้ งถึง สงิ่ ที่ส่งมาด้วย รปู

ถา่ ย
2) ขน้ั กระตุน้ ความสนใจ ย่อหน้าแรกของจดหมาย ควรอา้ งองิ ถึงแหล่งที่มาของขา่ วสาร มี

การระบุตาแหน่งท่ีต้องการสมัคร หรือจดุ มงุ่ หมายของอาชพี บอกถึงความสามารถของตนเองทีต่ รงกบั ความ
ตอ้ งการของสถานประกอบการเปิดรับสมัคร ทัง้ ท่เี ป็นประสบการณท์ างการศึกษาและอาชพี รายละเอียด
เกยี่ วกบั การศึกษาและประสบการณ์ในการทางานที่ผา่ นมา ข้อมลู ส่วนบคุ คล เปน็ ขอ้ มูลเกีย่ วกบั คุณสมบตั ิอ่นื
ๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ตอ่ การพจิ ารณาของผู้รับสมคั ร รวมถึงขอเข้าพบเพือ่ รบั การสัมภาษณ์ เป็นข้อความ
ในย่อหน้าสุดทา้ ยทเ่ี ขียนแสดงความจานงเพือ่ ขอเขา้ พบผูร้ ับสมัครเพ่ือเพ่ิมเตมิ รายละเอียดอ่นื ๆ

ควรจบการเขียนจดหมายสมัครงานดว้ ยการขอบคุณ ท้ังนี้ การเขียนจดหมายสมัครงานไมค่ วรยาวเกนิ
2 หน้ากระดาษ มกี ารใช้ภาษาทีร่ ัดกมุ ส่ือความหมายตรงประเดน็ และควรรกั ษาความสะอาดของกระดาษ มี
การพิมพ์อยา่ งเรยี บร้อยโดยใช้กระดาษมาตรฐาน ไม่ควรคัดลอกบทความหรือลอกเลยี นเน้อื หาจากแบบฟอร์ม
การสมัครงานทีเ่ ห็นตามเว็บไซต์

2. วธิ กี ารเขยี นประวัติยอ่
การเขยี นประวัติยอ่ หรือ เรซเู ม่ (Resume) เป็นขน้ั ตอนในการจัดเตรยี มเอกสารท่สี าคัญต่อการ
ประสบความสาเรจ็ ในการสมัครงาน เม่ือสถานประกอบการณห์ รือหน่วยงานท่ีรับสมัครพิจารณาแลว้ รูส้ ึก
ประทับใจ ก็อาจจะคดั เลือกใหบ้ ุคคลเขา้ รบั การสัมภาษณ์ ในการเขยี นประวตั ิย่อมีรายละเอียด ต่อไปนี้

1) ระบชุ ื่อ ที่อยู่ และเบอรโ์ ทรศพั ท์ของผสู้ มัครใหช้ ดั เจน
2) ข้อมูลสว่ นตวั เชน่ อายุ เพศ สขุ ภาพ
3) เขยี นจดุ มงุ่ หมายในงานหรืออาชีพ รวมถึงเปา้ หมายของการทางานในระยะยาว

47

4) เขียนประสบการณ์ทส่ี รุปถึงความสามารถของผ้สู มัคร
5) ประวัติการศกึ ษาและการฝึกอบรม
6) ประวตั ิการทางาน
7) ผู้รับรอง
3. การกรอกเอกสารสมคั รงาน มีวธิ กี าร ดังนี้
1) อา่ นรายละเอยี ดของเนือ้ หาให้เขา้ ใจอย่างชัดเจนก่อนเขียนขอ้ ความ
2) เขยี นดว้ ยตวั บรรจง ถ้าเปน็ ภาษาองั กฤษควรเขยี นด้วยตัวพมิ พ์
3) จดรายละเอียดทจ่ี าเป็นลงกระดาษ เพื่อกนั ความผิดพลาด
4) ร้คู วามหมายของศัพท์ภาษาองั กฤษ
5) ควรกรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง พยายามอย่าทง้ิ ชอ่ งวา่ งไว้
6) ระบุตาแหนง่ ทต่ี ้องการสมัครลงไป
7) ระบุเงินเดือนตามวฒุ ิการศึกษาหรือประสบการณ์ หรอื อาจระบุเป็นช่วงตวั เลขแทนการ
บอกจานวนทตี่ ายตวั
8) ควรเขียนสาเหตกุ ารออกจากงานที่เดิมดว้ ยข้อความด้านบวก ไม่ควรเขยี นความคิดเหน็ ท่มี ี
ตอ่ นายจ้างเดิมดว้ ยความร้สู ึกด้านลบ
9) บคุ คลที่ใช้อ้างอิงควรเปน็ บคุ คลทีผ่ สู้ มัครรู้จัก หรือผทู้ เ่ี คยเหน็ การทางานของผสู้ มคั รมา
บา้ ง และควรจะขออนญุ าตจากบุคคลผนู้ น้ั เสยี ก่อน
10) ควรนาเอกสารที่จาเปน็ ต่อการสมัครติดตัวไปด้วยให้ครบ เพื่อไมใ่ ห้เสียเวลา และเป็นการ
บ่งบอกถงึ การเตรยี มพรอ้ มของผูส้ มัคร
4. การสมั ภาษณ์
มีวัตถปุ ระสงคเ์ พ่ือหาข้อเท็จจริงนอกเหนือที่ระบุในเอกสาร ทง้ั บุคลกิ ภาพ นสิ ัยใจคือ เปน็ ต้น การ
สมั ภาษณ์จะจัดขน้ึ เพ่ือเพือ่ ใช้เปน็ แนวทางในการพจิ ารณารับเขา้ ทางานในตาแหน่งทต่ี ้องการ ดงั นั้น ผู้สมคั ร
จะต้องเตรยี มตวั เพ่ือสรา้ งความรสู้ ึกประทับใจแกผ่ สู้ มั ภาษณ์ให้มากที่สุด โดยสิง่ สาคัญทสี่ ่งผลตอ่ การประสบ
ความสาเรจ็ ในการสัมภาษณม์ ี ดังนี้
1) การเตรยี มตวั ก่อนการสมั ภาษณ์

(2) ศกึ ษาข้อมลู เก่ยี วกบั สถานประกอบการ เพือ่ ใชใ้ นการตอบข้อซักถามในการ
สมั ภาษณ์

(3) สารวจตนเองในดา้ นความสามารถ จุดเด่น ความสนใจ ทจี่ ะสามารถตอบไดถ้ ึง
คุณลกั ษณะของตนเองตอ่ ตาแหน่งงานท่สี มัครอย่างไร

48

(4) ฝกึ การสอื่ สารท่มี ีประสิทธิภาพ เช่น พดู ชดั เจนไมต่ ิดขัด
(5) ฝึกการแสดงออก กล้าทจ่ี ะแสดงความคิดเหน็
2) การเตรยี มตัวในวนั สมั ภาษณ์
(1) แต่งกายสภุ าพเรยี บร้อย สะอาด
(2) นาเอกสารทจี่ าเป็นต่อการสมัครงานไปใหค้ รบ
(3) ตรงต่อเวลา
(4) มีบคุ ลิกภาพทสี่ ุขมุ ดูน่าเชื่อถือขณะรอสัมภาษณ์
3) พฤติกรรมขณะทีท่ าการสัมภาษณ์
(1) ใชก้ ารสอื่ สารทม่ี ปี ระสิทธิภาพ ทั้งการพูด และท่าทาง
(2) ตอบคาถามอยา่ งเสยี งดังฟงั ชดั ที่แสดงออกถึงบคุ คลที่มคี วามม่นั ใจ และมีความ
เช่อื ม่นั ในตนเอง
(3) ไมโ่ ต้เถยี งหากผู้สัมภาษณ์แสดงความคดิ เหน็ บางประเด็นท่ีไม่ตรงกบั ความคิด
หรือเจตคติของตนเอง
(4) บอกถึงความต้งั ใจจรงิ ท่ีจะพัฒนาองค์การใหเ้ จรญิ กา้ วหน้า พร้อมแสดงความ
ตงั้ ใจทีจ่ ะพัฒนาตนเองในการทางานอยเู่ สมอ
4) พฤติกรรมท่ไี ม่ควรทาในการสมั ภาษณ์
(1) แสดงท่าทีขาดความม่นั ใจในตนเอง เช่น หลบสายตา แสดงความต่นื เต้น
หวาดกลวั มากจนเกนิ ไป
(2) แสดงนิสยั ทน่ี า่ รังเกียจตา่ ง ๆ เชน่ ล้วงแคะแกะเกาอวัยวะสว่ นตา่ ง ๆ
(3) พดู ถึงสรรพคณุ ของตนเองมากเกนิ ไป
(4) ตอบคาถามวกวนไปมา รวมถึงพูด เพ้อเจอ พดู มาก หรือถามคาตอบคา
รวมถึงแสดงความก้าวรา้ วในคาพดู เปน็ ตน้
5) คาถามท่ผี สู้ ัมภาษณ์มักถามอยู่บ่อยครัง้
(1) ทาไมคุณถึงสนใจมาสมัครงานทน่ี ่ี
(2) คุณคิดวา่ ตนเองเหมาะสมกับตาแหนง่ ที่สมคั รมากแคไ่ หน
(3) ลองเล่าประสบการณ์ในการทางานของคุณให้ฟังหนอ่ ยซิ
(4) อยากให้คณุ บอกข้อดีและข้อเสยี ของคุณวา่ มีอะไรบา้ ง
(5) คุณคิดวา่ จะทางานกับเรานานแคไ่ หน
(6) คุณตอ้ งการงานเดือนเทา่ ไหร่


Click to View FlipBook Version