The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2566 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร Annual Report 2023 Mukdahan Community College

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ptheera, 2024-03-15 10:02:25

รายงานประจำปี 2566 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

รายงานประจำปี 2566 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร Annual Report 2023 Mukdahan Community College

MUKDAHAN COMMUNITY COLLEGE ๒๕๖๖ 2023 รายงานประจำ ปี ANNUAL REPORT ส ถ า บั น วิ ท ย า ลั ย ชุ ม ช น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร


“ข้าราชการที่มีหน้าที่สำ คัญส่วนหนึ่ง ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลทั้งปวงด้วยความสุจริต จริงใจ วางตัวให้พอเหมาะพอสมกับฐานะตำ แหน่ง พร้อมกับรักษาความสุภาพอ่อนโยนไว้ให้เหนียว แน่นสม่ำ เสมอ. นอกจากนั้น ยังจะต้องมีความเสียสละ อดทน รู้จักเกรงใจ ให้อภัย ทั้งโอนอ่อนผ่อน ตามกันและกันด้วยเหตุผล. และสำ คัญที่สุด จะต้องหัดทำ ใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความ คิดความเห็นแม้กระทั่งคำ วิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลายหลาก มาอำ นวยประโยชน์ในการปฏิบัติ บริหารงานให้ประสบความสำ เร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง.” พระบรมราโชวาทเนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ภูพิงคราชนิเวศน์ วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 1


“งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนทุกคน ดังนั้น ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จึงต้องทำ ความเข้าใจถึงความ สำ คัญในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้ แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำ ด้วยความอุตสาหะ เสียสละ และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่ งานของแผ่นดิน ทุกส่วน จักได้ดำ เนินก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสำ เร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือ ยังความเจริญมั่นคง ให้เกิดแก่ประเทศชาติและประชาชนได้แท้จริงและยั่งยืนตลอดไป” พระบรมราโชวาทเนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 2


ขอเรียนแจ้งให้ทราบว่าปี 2566 ที่ผ่านมา ทางวิทยาลัยของเราได้ดำ เนินการ ประเมินผลการดำ เนินงานของปี 2566 ตามที่กำ หนดไว้ในแผนงานประจำ ปี ณ วาระนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการทำ ให้วิทยาลัยของเราเติบโต และ พัฒนาขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ขอเสนอรายงานผลการดำ เนินงานประจำ ปี 2566 ดังนี้ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลากร ได้จัดโครงการอบรมและพัฒนาทักษะ ของบุคลากรทุกประเภทเพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญและมี ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนโครงสร้าง บุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสถาบัน 1. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน มีการนำ เทคโนโลยีการศึกษามา ใช้ในการสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน ได้จัดกิจกรรมการศึกษา และนำ สื่อการเรียนรู้มาใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของ นักเรียน 2. การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและศิลปวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรมทาง วัฒนธรรมและศิลปวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ มี การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมภายในและภายนอก วิทยาลัย 3. การพัฒนาสถานที่เรียนและสภาพแวดล้อม ได้ทำ การปรับปรุงสภาพ แวดล้อมการเรียนรู้และสร้างสถานที่เรียนที่สะดวกสบาย มีการดำ เนิน งานรักษาความปลอดภัยและสภาพอาคารในระหว่างปีที่ผ่านมา 4. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ได้มีกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือกับ ชุมชนและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีโครงการสร้างความเข้าใจและ สร้างสัมพันธ์ทางธุรกิจกับสถานประกอบการในพื้นที่ 5. ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ทำ สำ เร็จทุก ๆ ด้าน และขอให้ทุกท่านในสภา วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ยังร่วมมือกันสร้างสรรค์ และพัฒนาประสิทธิภาพของ สถาบันอย่างยั่งยืน (นายสมศักดิ์ สีบุญเรือง) ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สารจากประธานสภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 3


วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารเป็นสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญารูปแบบวิทยาลัยชุมชนจัดการศึกษา หลักสูตรสัมฤทธิบัตรประกาศนียบัตรฝึกอบรมและบริการวิชาการ วิจัย และ ทำ นุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อรับใช้พี่น้องประชาชนในจังหวัดมุกดาหารและ พื้นที่ใกล้เคียง รายงานประจำ ปี พ.ศ. 2566 ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารฉบับนี้ ได้จัดทำ ขึ้นเพื่อรวบรวม และรายงานผลการปฏิบัติราชการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใน การพัฒนางานในปีต่อๆไป ไม่ว่าจะเป็นผลงานด้านการจัดการศึกษาในหลักสูตร ต่างๆ การฝึกอบรมและบริการวิชาการ การวิจัย และทำ นุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งงานอื่น ๆ ที่ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดมุกดาหาร นอกจากงบประมาณปกติที่ได้รับจัดสรรจากสถาบันวิทยาลัยชุมชน (ระดับ กรม) วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารยังไดัรับแต่งตั้งให้เป็นหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุน การพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว.ส่วนหน้า) เพื่อดำ เนินการ ประสานการนำ งานด้านอุดมศึกษา และขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการด้านการ อุดมศึกษา เป็นต้น รวมทั้งได้รับจัดสรรงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการ ทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อดำ เนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ในนามของผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ขอขอบคุณบุคลากรทุกคน ที่ ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เป็นกำ ลังหลักที่สำ คัญตลอดทั้งปีทำ ให้การทำ งานบรรลุ ผลสำ เร็จอย่างเป็นรูปธรรมและขอให้ทุกท่านให้ความร่วมมือสร้างสรรค์ผลงานที่ ดีสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารของเราแบบนี้ตลอดไป (นายศศิพงษา จันทรสาขา) ผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สารจากผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 4


สารบัญ ส่วนที่ 3 ผลการดำ เนินงานโครงการฯ ส่วนที่ 4 ผลการประเมินความสำ เร็จ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ความเป็นมาของ วชช.มุกดาหาร ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ค่านิยมองค์กร คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ โครงสร้างองค์กร ข้อมูลบุคลากร 7 9 9 9 9 9 9 10 10 10 11 15 ส่วนที่ 2 ผลการดำ เนินงานตามพันธกิจ พันธกิจด้านการจัดการศึกษา หลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตร หลักสูตรสัมฤทธิบัตร โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตาม นโยบายประเทศไทย 4.0 การวิจัยและพัฒนา 26 27 28 29 34 โครงการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา การทะนุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรม โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ สังคมสูงวัย แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ แผนงานยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนค่านิยมและ วัฒนธรรม แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่ อัจฉริยะ 45 46 47 51 52 53 54 55 ผลการดำ เนินงานเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 57 ส่วนที่ 5 ความภาคภูมิใจและผลงานด่น 58 รายชื่อคณะทำ งาน 63 5 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) 62


ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ความเป็นมาของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร แผนพัฒนาความเป็นเลิศสถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) โครงสร้างองค์กร ผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ข้อมูลบุคลากร


ความเป็นมาของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เป็น 1 ใน 10 จังหวัดนำ ร่องที่จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในการก ระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่นพร้อมกับอีก 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก พิจิตร อุทัยธานี สระแก้ว หนองบัวลำ ภู ระนอง บุรีรัมย์ และนราธิวาส พ.ศ. 2545 จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2545 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารเป็นประธานกรรมการจัดตั้ง ในระยะแรกใช้ สถานที่ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหารเป็นสถานที่ตั้งสำ นักงานวิทยาลัยชุมชนแม่ข่าย และมี ผู้อำ นวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร นางอุไรวรรณ อินทยารัตน์ ทำ หน้าที่รักษาราชการ แทนผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนอีกตำ แหน่งหนึ่ง พ.ศ. 2547 ได้ย้ายสำ นักงานวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหารมาอยู่ ที่อาคารที่ว่าการอำ เภอเมืองหลังเดิม ถนนพิทักษ์พนมเขต อำ เภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยมี ผศ.นิพนธ์ อิน สิน อาจารย์จากสถาบันราชภัฏสกลนคร ทำ หน้าที่รักษาราชการแทนผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารจน หมดวาระ 6 เดือน พ.ศ. 2548 แต่งตั้งนายวิรัตน์ พรหมดี รักษาราชการแทนผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เป็นการ ชั่วคราว จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 นางอัญญา ทวีโคตร ข้าราชการได้รับการโอนมาดำ รงตำ แหน่งครู วิทยฐานะครูชำ นาญการพิเศษ ได้ทำ หน้าที่รักษาราชการแทนผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จนถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2553 - 2554 นายพลเดช ศรีบุญเรือง ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โดยเป็นข้าราชการที่ได้รับการโอนมาดำ รงตำ แหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และทำ หน้าที่ผู้อำ นวยการ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร อีกตำ แหน่งหนึ่ง พ.ศ. 2554 - 2559 นางอัญญา ทวีโคตร ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้อำ นวยการวิทยาลัย และมีนายไชยยง อาจ วิชัย เป็นประธานสภาวิทยาลัยชุมชน ได้ก่อสร้างสถานที่ตั้งวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารแห่งใหม่โดยได้รับความ เห็นชอบจากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการอนุญาตให้วิทยาลัยชุมชน มุกดาหาร สำ นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใช้ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 34 ไร่ 86 ตาราวา ณ บ้านบุ่งอุทัย ตำ บลนาสีนวน อำ เภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้าง อาคารศูนย์วิทยบริการ ในวงเงิน 18,000,000 บาท พ.ศ. 2557 ได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร (ที่อยู่ปัจจุบัน) เลขที่ 199 หมู่ 10 บ้านบุ่งอุทัย ตำ บลนาสีนวน อำ เภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2559 ดร.ทิวากร เหล่าลือชา ครู คศ.3 วิทยฐานะ ครูชำ นาญการพิเศษ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาราชการ ผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร และมีนายไชยยง อาจวิชัย เป็นประธานกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน นายศศิพงษา จันทรสาขา ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร และมีนายสมศักดิ์ สีบุญเรือง เป็นประธานกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 7


ปีที่ดำ รงตำ แหน่ง รายนาม พ.ศ. 2545 – 2546 นายเฉิดศักดิ์ แสนวิเศษ พ.ศ. 2546 – 2546 นายสนอง แสนเสร็จ พ.ศ. 2546 - 2547 นายมนูญ วงศ์นารี พ.ศ. 2547 – 2552 นายวิรุฬห์ ศุภกุล พ.ศ. 2552 – 2554 นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์ พ.ศ. 2554 – 2559 นายไชยยง อาจวิชัย พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน นายสมศักดิ์ สีบุญเรือง ปีที่ดำ รงตำ แหน่ง รายนาม พ.ศ. 2545 - 2546 นางอุไรวรรณ อินทยารัตน์ พ.ศ. 2546 - 2547 นางสาวนพกนก บุรุษนันทน์ พ.ศ. 2547 - 2547 ผศ.นิพนธ์ อินสิน พ.ศ. 2547 - 2548 นายพงษ์ ลิ้มวงษ์สกุล พ.ศ. 2548 - 2548 นายวิรัตน์ พรหมดี (รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2548 - 2553 นางอัญญา ทวีโคตร (รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2553 - 2554 นายพลเดช ศรีบุญเรือง พ.ศ. 2554 - 2559 นางอัญญา ทวีโคตร พ.ศ. 2559 - 2559 ดร. ทิวากร เหล่าลือชา (รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน นายศศิพงษา จันทรสาขา รายนามประธานกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร รายนามผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 8


แผนพัฒนาความเป็นเลิศสถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) 1. ปรัชญา “เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มคุณค่าชีวิตและศักยภาพของบุคคลและชุมชน” 2. วิสัยทัศน์ (Vision) “เป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักของชุมชน ดำ เนินการจัดการศึกษาที่เป็นเลิศ เพื่อคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็ง ของชุมชน” 3. พันธกิจ (Mission) 1.จัดการศึกษาระดับอนุปริญญาที่มีคุณภาพและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ฝึกอบรม บริการวิชาการโดยจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและให้ชุมชนเกิดความเข้ม แข็งอย่างยั่งยืน 2. 3.พัฒนางานวิจัย งานสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 4.อนุรักษ์ สืบสาน ศิลปะวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.ดำ เนินการจัดการศึกษาตามแนวการจัดการศึกษาที่เป็นเลิศ (EdPEx) 6.ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. อัตลักษณ์ : “ยึดมั่นวินัย ใจรักสามัคคี มีความเสียสละ จิตสาธารณะเพื่อชุมชน” 5. เอกลักษณ์ : แหล่งวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและชุมชน 6. ค่านิยมองค์กร : M (Management by Fact) ใช้กระบวนการบริหารจัดการข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง U (Unity) มีความเป็นหนึ่งเดียว K (Knowledge Management) มีการจัดการความรู้ C (Community Service) การให้บริการแก่ชุมชน สังคม C (Creative for Community) สร้างสรรค์งานเพื่อชุมชน และสังคม M U K DAHAN C O M M U NI T Y C O L L E G E 9


7. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีความรู้ ทักษะวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะเพื่อชุมชน 8. ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) 1.การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาที่มีคุณภาพ สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน การฝึกอบรม บริการวิชาการโดยจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของ ชุมชน 2. 3.การส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์กับการเรียนการสอนและชุมชน 4.การทะนุบำ รุงศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางการจัดการศึกษาที่เป็นเลิศ (EdPEx) 6.การพัฒนาบุคลากร ภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา 9. เป้าประสงค์ (Objectives) เป้าประสงค์ที่ 1: ผู้สำ เร็จการศึกษาสามารถสร้างอาชีพและพัฒนาตนเอง และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนได้ เป้าประสงค์ที่ 2 : ชุมชนได้รับการพัฒนาเกิดความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ เป้าประสงค์ที่ 3 : งานวิจัย นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ที่นำ ไปใช้ประโยชน์กับการเรียนการสอนและชุมชน เป้าประสงค์ที่ 4 : มีการอนุรักษ์ สืบสานต่อยอด ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 5 : จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาที่เป็นเลิศ (EdPEx) เป้าประสงค์ที่ 6 : บุคลากร ภาคีเครือข่ายได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ที่ 7 : มีการจัดการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ แผนพัฒนาความเป็นเลิศสถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) 10


ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร มีโครงสร้างการบริหารงานภายในเพื่อประโยชน์ในการ จัดการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา ให้สถาบันเป็นสถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาโดยวิทยาลัยชุมชน มีวัตถุประสงคืเพื่อ ให้การศึกษา วิจัย บริการวิชาการ ทะนุบำ รุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความเข้ฒ แข็งของท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพบุคคล ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการ โดยโครงสร้างของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารออกเป็น 3 สำ นัก ประกอบด้วย สำ นักอำ นวยการ สำ นักวิชาการ และ ศูนย์วิจัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้ โครงสร้างองค์กร (Organizational Structure) วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ผู้อำ นวยการ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สำ นักอำ นวยการ กรรมการสภาวิทยาลัยฯ กรรมการส่งเสริมกิจการวิทยาลัยฯ อนุกรรมการวิชาการวิทยาลัยฯ สำ นักวิชาการ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัยและนวัตกรรม งานธุรการ งานเลขานุการสภาวิทยาลัย งานแผนงานและงบประมาณ งานการเงิน งานบัญชี งานพัสดุ งานบุคลากร งานอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ งานรักษาความปลอดภัย งานระบบสารสนเทศ งานคำ รับรองปฏิบัติราชการ งานควบคุมภายในและความเสี่ยง งานประชาสัมพันธ์ งานจัดการเรียนการสอน/งานพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตร หลักสูตรฝึกอบรม/บริการวิชาการ งานหน่วยจัดการศึกษา/งานกิจการนักศึกษา งานปรับฐานความรู้ งานนิเทศ/ติดตามและประเมินผล งานพัฒนาครู/อาจารย์พิเศษ งานทะเบียน/วัดผล งานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) งานประกันคุณภาพการศึกษา งานวิจัยการเรียนการสอน งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร งานอาชีพและพัฒนาองค์กร งานสนับสนุนความร่วมมือกับองค์กร ภายนอก งานศูนย์วิทยบริการ งานศูนย์บริการนักศึกษา งานทำ นุบำ รุงศาสนา และศิลป วัฒนธรรม งานพัฒนาและนำ เสนอผลงานทาง วิชาการ 11 อ.เมืองมุกดาหาร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร อ.ดงหลวง อาคารสำ นักงานการประถม ศึกษาอำ เภอดงหลวง (เดิม) อ.ดอนตาล สำ นักเนกขัมนารี อ.คำ ชะอี วัดพุทธนคราภิบาล โครงการส่งเสริมศิลปาชีพสานแว้-นาโคกกุง โครงการส่งเสริมศิลปาชีพสานแว้-นาโคกกุง อ.หนองสูง สวนมาศเกษตรเชิงท่องเที่ยว อ.หว้านใหญ่ โรงเรียนหว้านใหญ่วิทยา ห้องเรียนพิเศษ เรือนจำ จังหวัดมุกดาหาร อ.นิคมคำ สร้อย โรงเรียนคำ สร้อยพิทยาสรรค์ หน่วยจัดการศึกษา วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร


1. นายสมศักดิ์ สีบุญเรือง ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 2. นายบูรณ์ อินธิรัตน์ รองประธานสภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 3. นายบุญเพ็ง ยืนยง กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน 4. นายไตรรงค์ ถวิลไพร กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. นายบรรจง ไชยเพชร กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชเวง สารคล่อง กรรมการผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา 7. นายวีระศักดิ์ สุดโต กรรมการผู้แทนศิษย์เก่า 8. นายทองเสริฐ ใจตรง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9. นายนพวรรธน์ สกุลชัยเมธีดิลก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10. นายมาโนช โพธิ์เมือง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 11. นายสัจจา วงศ์กิตติธร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12. นางอัญญา ทวีโคตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 13. นายศศิพงษา จันทรสาขา ผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สภาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร อำ นาจหน้าที่ของสภาวิทยาลัยชุมชน กำ หนดนโยบายและแนวทางการดำ เนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิทยาลัยและสอดคล้องกับนโยบายที่ สภาสถาบันกำ หนด 1. ให้ความเห็นชอบแผนจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการของวิทยาลัย รวมทั้งแผนการพัฒนาชุมชน เพื่อสนอง ต่อความต้องการและเสริมสร้างองค์ความรู้ของชุมชนให้เข้มแข็ง 2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยกับชุมชนส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น สถาบันศาสนา องค์กรที่ดำ เนินงานวัฒนธรรม หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทั้งใน ประเทศ และต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาวิทยาลัย 3. 4.ระดมทุนและทรัพยากร เพื่อส่งเสริมการศึกษาของชุมชนในท้องถิ่น 5.ออกระเบียบและข้อบังคับของวิทยาลัยตามที่สภาสถาบันมอบหมาย อนุมัติหลักสูตรและการเปิดสอนหลักสูตรฝึกอบรมด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพตามความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และกลุ่มอาชีพ 6. 7.อนุมัติการให้ประกาศนียบัตร 8.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำ นวยการวิทยาลัยและการดำ เนินงานของวิทยาลัย เพื่อเสนอต่อสภาสถาบัน 9. แต่งตั้งคณะทำ งานหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือมอบ หมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอำ นาจหน้าที่ของสภาวิทยาลัย 10. 11.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภาสถาบันมอบหมาย 12


1. นายเอกอมร ศรีลาศักดิ์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 2. ดร.อิดิธ นามประกาย กรรมการ 3. นายสุวัฒน์ ผานิตกุลวัฒน์ กรรมการ 4. นายพรรณนา ราชิวงศ์ กรรมการ 5. นายเพียร แสวงบุญ กรรมการ 6. นายตะวัน โชคกาญจนกุล กรรมการ 7. นายปรีชา สังคเสลิต กรรมการ 8. นายสมยศ กันแตง กรรมการ 9. นายภคฤกษ์ ปริปุญโญ กรรมการ 10. นายศศิพงษา จันทรสาขา เลขานุการ 11. นายสนอง แสนเสร็จ ผู้ช่วยเลขานุการ 12. นางสาวสุนันทา พิลาวุธ ผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร อำ นาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 1.ให้คำ แนะนำ ให้คำ ปรึกษา และสนับสนุนการดำ เนินกิจการของวิทยาลัย 2.จัดหาทุน ระดมทุนเพื่อเป็นเงินรายได้ของวิทยาลัย 3.สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนหรือองค์กร รวมทั้งกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ 13


1. นายศศิพงษา จันทรสาขา ประธานอนุกรรมการ 2. นางมัลลิกา โภคสวัสดิ์ รองประธานอนุกรรมการ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชยุทธ จันทะรี อนุกรรมการ 4. นางปรียาภรณ์ กิตติพร อนุกรรมการ 5. นายวินิจ คงทอง อนุกรรมการ 6. นายจรูญ วงศ์นารี อนุกรรมการ 7. นายก่อศักดิ์ ดีวงศ์ อนุกรรมการ 8. นายพรวุฒิ คำ แก้ว อนุกรรมการ 9. นายสุริยะ พิศิษฐอรรถการ อนุกรรมการ 10. นางศิริพร พันนุมา ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการ อนุกรรมการวิชาการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร อำ นาจหน้าที่ของอนุกรรมการวิชาการ ให้คำ ปรึกษา เสนอแนะ เกี่ยวกับการจัดการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา การ วิจัย การให้บริการทางวิชาการ การทะนุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม การดำ เนินงานหน่วยจัดการศึกษา การพัฒนา ทางวิชาการของวิทยาลัยชุมชน 1. พิจารณากลั่นกรองหลักสูตรประกาศนียบัตรวิทยาลัยชุมชน และหลักสูตรสัมฤทธิบัตรของวิทยาลัยชุมชน เสนอต่อสภาวิทยาลัยชุมชนอนุมัติ 2. พิจารณากลั่นกรองหลักสูตรประกาศนียบัตรสถาบัน และหลักสูตรอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนเสนอต่อสภา วิทยาลัย และเสนอต่อสภาสถาบันให้ความเห็นชอบ 3. 4.พิจารณากลั่นกรองผู้สำ เร็จการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน เพื่อเสนอต่อผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชน แต่งตั้งคณะทำ งานหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือมอบ หมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด อันอยู่ในอำ นาจหน้าที่ของอนุกรรมการวิชาการวิทยาลัยชุมชน 5. 14


ตามกรอบอัตรากำ ลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากสถาบันวิทยาลัยชุมชน โดยกระบวนการ วางแผนทรัพยากรมนุษย์และการกำ หนดตำ แหน่งจากการวิเคราะห์งาน ประเมินค่างานตามประกาศสถาบันวิทยาลัย ชุมชน เรื่อง ภาระงานของผู้สอนประจำ ในสถาบัน พ.ศ. 2562 จัดทำ แผนอัตรากำ ลังโดย การพยากรณ์กำ ลังแรงงาน การสรรหา การคัดเลือกและการบรรจุ ตามความเหมาะสมในส่วนงานซึ่งจะช่วยให้การทำ งานเหมาะสมกับงานที่ ปฏิบัติและเป็นไปตามแผนที่กำ หนด ข้าราชการครู และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีจำ นวน 14 คน คำ นวณกรอบอัตรากำ ลังของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสถาบันวิทยาลัยชุมชน โดยกระบวนการวางแผนทรัพยากร มนุษย์และการกำ หนดตำ แหน่งจากการวิเคราะห์งานตามประกาศสถาบันวิทยาลัยชุมชน เรื่อง ภาระงานของผู้ สอนประจำ ในสถาบัน พ.ศ. 2562 รวมถึงการพิจารณาภาระงานของข้าราชการครูต่อภาระงานสอน งาน ปฏิบัติงานการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ภาระงานศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อชุมชน ภาระงาน บริการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน ภาระงานทะนุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม อัตราส่วนของข้าราชการครูต่อรายวิชาที่ เปิดสอนในปัจจุบันไม่ครอบคลุมทุกรายวิชาที่เปิดสอนในวิทยาลัย แต่ทางวิทยาลัยมีการใช้อัตราทดแทน ข้าราชการครู โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาเป็นอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้ภาระกิจการจัดการ เรียนการสอนครอบคลุมภาระงาน/พันธกิจของวิทยาลัย ในส่วนของอาจารย์พิเศษ เป็นบุคคลภายนอกที่อยู่ใน สายงานการสอน โดยได้รับเงินหมวดค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานสอน ชั่วโมงละ 270 บาท ตามชั่วโมงการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยก่อนที่จะเป็นอาจารย์ผู้สอนได้นั้น บุคลากรประเภทนี้จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะ สมจากกระบวนการวางแผน การวิเคราะห์งาน การรับสมัคร การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนา และการ แต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นอาจารย์ผู้สอนในวิทยาลัยตามขั้นตอนที่ทางวิทยาลัยกำ หนด และมีการประเมินโดยการ นิเทศการจัดการเรียนการสอนจากคณะกรรมการหลักสูตรที่สอน และหากกระบวนการจัดการทรัพยากร มนุษย์ไม่สามารถหาบุคคลที่เหมาะสมได้ ก็ให้ใช้วิธีการทาบทามอาจารย์พิเศษแทนได้ตามข้อบังคับสถาบัน วิทยาลัยชุมชน ว่าด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้สอนพิเศษ พ.ศ. 2558 ข้อมูลบุคลากร ประเภท จำ นวน คุณวุฒิ ตำ แหน่งวิชาการ ป.โทป.เอก ครู คศ.1 ครู ชำ นาญการ คศ.2 ครู ชำ นาญการพิเศษ คศ.3 ครู เชี่ยวชาญ คศ.4 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 12 10 2 3 7 1 1 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 2 2 - 2 - - - รวม 14 12 2 5 7 1 1 15


พนักงานราชการ ที่เข้าสู่กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์เช่นเดียวกับบุคลากรภาครัฐประเภทอื่น ๆ นั้น คือ การวางแผน การวิเคราะห์งาน การรับสมัคร การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนา การบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล และการประเมินผลการปฏิบัติงานและการบริหารผลงานโดยการปฏิบัติงาน เป็นไปตามสัญญาจ้างพนักงานราชการทั่วไป โดยสัญญามีการกำ หนด 4 ปี/ครั้ง และการต่อสัญญาจ้างจะมี การประเมินหากผ่านการประเมินก็จะมีการต่อสัญญาไปเรื่อย ๆ แต่หากประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้ง ติดต่อกันต่ำ กว่าระดับดี ให้พิจารณาเลิกจ้างได้ ซึ่งการบริหารงานพนักงานราชการจะเป็นไปตามระเบียบ สำ นักงานนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 จ้างเหมาบริการ ที่เข้าสู่กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การวางแผน การวิเคราะห์งาน การรับ สมัคร การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนา การบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลและการ บริหารผลงาน โดยการปฏิบัติงานเป็นไปตามข้อตกลงจ้าง โดยสัญญามีกำ หนด 1 ปี/ครั้ง กำ หนดขีดความ สามารถของบุคลากร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กำ หนดเงื่อนไขการสอบบรรจุเข้ารับราชการตามคุณวุฒิที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามประกาศ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สายงานการสอนให้เป็นคุณวุฒิปริญญาโท ที่มีผลงานและคุณวุฒิตรงตามความต้องการ ในการจัดการเรียนการสอนและภาระงานที่ต้องปฏิบัติงาน และบุคลากรอีกประเภท คือ อาจารย์พิเศษ ซึ่ง ปฏิบัติหน้าที่สายงานการสอนโดยผ่านกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์จนได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษ ในส่วนของพนักงานราชการ จ้างเหมาบริการ ได้กำ หนดภาระงานและกรอบอัตรากำ ลังให้เหมาะสมกับงานที่ ปฏิบัติ โดยกำ หนดเงื่อนไขการจ้างตามข้อตกลงจ้าง ทั้งนี้ทีมบริหารได้ดำ เนินการจัดทำ คำ สั่งแต่งตั้งคณะ กรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และจ้าง เหมาบริการ โดยผู้รับการประเมินจัดทำ แบบสรุปผลการประเมินการปฏิบัติงานพร้อมหลักฐาน รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน แล้วส่งให้คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานประเมิน เมื่อประเมินเสร็จแล้วส่งให้เจ้า หน้าที่ เพื่อเสนอผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ผ่านการปฏิบัติงาน และจ้างเหมาบริการตามข้อตกลง จ้าง แต่จะมีการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีตามระยะเวลางบประมาณซึ่งได้จัดสรรงบประมาณเป็นรายปี และ ปฏิบัติงานตามข้อตกลงจ้าง ซึ่งได้ระบุรายละเอียดการปฏิบัติงานหรือขอบเขตการจ้างงานแนบท้ายข้อตกลง จ้าง ***ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2566 ประเภทของบุคลากร จำ นวนที่มี จำ นวนที่พึงมี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 12 14 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 2 2 พนักงานราชการ 13 14 จ้างเหมาบริการ 11 15 รวม 38 45 16


วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารมีการจัดสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศการทํางาน เพื่อให้บุคลากรมีความ ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีในการปฏิบัติงาน มีความสุขในการทํางาน ทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ ความสะอาด ความ ปลอดภัย เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน มุ่งเน้นการทำ งานที่คล่องตัว รวมทั้งการจัดห้องทํางานเป็น สัดส่วนตามกลุ่มงาน มีการประชุมบุคลากรทุกเดือน เพื่อรายงานผลการดำ เนินงานและปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค์ในการทำ งาน ลดขั้นตอนการทำ งานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีการสำ รวจความต้องการด้านสภาวะ แวดล้อมของการทำ งาน เพื่อจัดทำ แผนงบลงทุน เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากสถาบันวิทยาลัยชุมชน ดำ เนินการ ปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารและโครงสร้างอื่น ๆ และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำ ให้ เกิดปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน จึงได้ดำ เนินการปรับปรุงการเรียนการสอนเป็นรูปแบบ ออนไลน์ และได้ดำ เนินการปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนแบบ Smart Classroom สามารถจัดการเรียนการ สอนได้ทั้งแบบ Online และ On-site ไปพร้อมกันได้ มีจัดฝึกอบรมให้กับอาจารย์ผู้สอนได้มีความรู้และเทคนิคใน การสอน Online เรื่อง การใช้งาน Google for Education และการสร้างวิดีโอประกอบการสอนด้วย CapCut, KineMaster, Thinking และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบออนไลน์โครงการสัมมนา “ก้าวใหม่สถาบันวิทยาลัยชุมชน ในยุค New Normal” มีระบบช่วยในการปฏิบัติงานบุคลากร ได้แก่ ระบบงานทะเบียนวัดผล ระบบบริหารโครงการตามพันธกิจ ระบบ จัดการหลักสูตรฯ TQF ระบบบริหารงบประมาณ ระบบคลังข้อมูลด้านการบริหารงานบุคคล ระบบบริหารงบ ประมาณประจำ ปี ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรที่ผ่านการรับทราบจาก สป.อว. ระบบ CHE-QA ระบบบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในทุกอาคาร เพื่อความปลอดภัยในการ รักษาทรัพย์สินของทางราชการ ทรัพย์สินของบุคลากร นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ โดยงานบุคลากร ได้มีการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร พบว่า มีความพึง พอใจในองค์กรในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย = 4.27 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จำ นวน 5 ด้าน พบว่า ด้าน ที่บุคลากรมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร มากที่สุด คือ 1) ด้านลักษณะของงานที่ ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.34 2) ด้านความสำ เร็จของงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.30 3) ด้านสถานที่ทำ งานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.28 4) ด้านการนำ องค์กรอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.24 และ 5) ด้านการยอมรับนับถืออยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.16 17


ความผูกพันต่อองค์กร งานบุคลากร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากร ในการ ประเมินบุคลากรทุกระดับ ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ และจ้างเหมา บริการ โดยทำ การประเมิน ในปีงบประมาณ 2566 ปีการศึกษา 2/2565 ในช่วงเดือน มีนาคม 2566 โดยใช้วิธีการ ตอบแบบสอบถามออนไลน์ผ่านการ Scan QR Code มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำ นวน 33 คน จากบุคลากรทั้งหมด 38 คน ผลการประเมินในปีงบประมาณ 2566 สรุปได้ดังนี้ บุคลากรมีความผูกพันต่อวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.35 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน จำ นวน 3 ด้าน พบว่า ด้านที่บุคลากรมีความผูกพันมากที่สุด คือ 1.ด้านความภาคภูมิใจต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.42 2.ด้านความพยายามทุ่มเทปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ค่าเฉลี่ย = 4.36 3.ด้านการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.27 บุคลากรมีความพึงพอใจในองค์กร ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.27 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จำ นวน 5 ด้าน พบว่า ด้านที่บุคลากรมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารมากที่สุด คือ 1.ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.34 2.ด้านความสำ เร็จของงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.30 3.ด้านสถานที่ทำ งานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.28 4.ด้านการนำ องค์กรอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.24 5.ด้านการยอมรับนับถืออยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.16 18


นายศศิพงษา จันทรสาขา ผู้อำ นวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ผู้บริหาร และบุคลากร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร นายสนอง แสนเสร็จ รองผู้อำ นวยการฯ รับผิดชอบสำ นักงานผู้อำ นวยการ ดร.ทิวากร เหล่าลือชา รองผู้อำ นวยการฯ รับผิดชอบศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัยและนวัตกรรม ดร.พรวุฒิ คำ แก้ว รองผู้อำ นวยการฯ รับผิดชอบสำ นักวิชาการ นางสาวกิตติกา เที่ยงธรรม ผู้อำ นวยการสำ นักอำ นวยการ นางมยุรา คำ ปาน ผู้อำ นวยการศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัยและนวัตกรรม นางศิริพร พันนุมา ผู้อำ นวยการสำ นักวิชาการ 19


นางศิริพร พันนุมา ครูชำ นาญการ ผู้อำ นวยการสำ นักวิชาการ สำ นักวิชาการ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร นางสาวเยาวตรี ศรีหาวงศ์ ครู หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา นายธีระ พร้อมเพรียง ครู หัวหน้างานหลักสูตร นางกัญญาภัค สิงห์คำ เจ้าหน้าที่งานทะเบียน หัวหน้างานทะเบียนนักศึกษา นางปิยะนุช ทวีสุข นักวิชาการวัดและประเมินผล หัวหน้างานวัดและประเมินผล นางณัฐริกา ป้อมหิน นักวิชาการวัดและประเมินผล หัวหน้างาน กยศ. นางสาวเบญจมาภรณ์ กลางประพันธ์ นักวิชาการศึกษา หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม นายอำ พล ประจวบสุข นักจัดการงานทั่วไป งานกิจการนักศึกษา งานประชาสัมพันธ์ 20


นางสาวกิตติกา เที่ยงธรรม ครูชำ นาญการ ผู้อำ นวยการสำ นักอำ นวยการ นางสาวพิมพ์ประภา คำ จันทร์ ครูชำ นาญการ หัวหน้างานแผนและงบประมาณ นายรัฐธรรมนูญ อาจหาญ ครูชำ นาญการ หัวหน้างานบุคลากร นายจักรกฤษณ์ ภูมิพรม ครู นายสุรัตน์ สิงห์ทอง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หัวหน้างานระบบสารสนเทศ นางสาววนิดา สังคะลุน เจ้าพนักงานธุรการ นางสุพรรณี ทองน้อย นักวิชาการเงินและบัญชี นางสาวสุนันทา พิลาวุธ เจ้าพนักงานธุรการ นางประกายดาว สุริยวรรณ์ นักวิชาการศึกษา งานแผนและงบประมาณ นางสาวธิดารัตน์ สุขวิพัฒน์ นักวิชาการพัสดุ หัวหน้างานพัสดุ สำ นักอำ นวยการ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 21


นายสุพล ทองสวัสดิ์ พนักงานทำ สวน นายดาว ราชิวงศ์ พนักงานทำ ความสะอาด นายสาโรช ถิ่นระหา เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นางสาวนันทกา สกุลไทย งานบุคลากร นายมาโนด วิเศษสุทธิ์ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นายเรืองเดช คำ นนท์ พนักงานขับรถยนต์ นายวิศรุต ศรแม้น นักการภารโรง นางสาววิลัยรัตน์ สุกใส พนักงานทำ ความสะอาด นางสาวเนตรนรินทร์ มรรควิจิตร นักวิชาการเงินและบัญชี หัวหน้างานบัญชี นายนิรันดร์ นามเจริญ นักวิชาการพัสดุ หัวหน้างานอาคารสถานที่ นางเชษฐ์ธิดา ศรีโยหะ บรรณารักษ์ สำ นักอำ นวยการ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 22


นางมยุรา คำ ปาน ครูชำ นาญการพิเศษ ผู้อำ นวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัย และนวัตกรรม นางสาวดารินี บุตดีวงศ์ ครูชำ นาญการ หัวหน้างานทะนุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม นางสาวพิริยาพร สุวรรณไตรย์ ครูชำ นาญการ หัวหน้าโครงการประสานความร่วมมือ ระหว่างวิทยาลัยชุมชน นายจักรกฤษณ์ ภูมิพรม ครู งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ นางสาววัชราภรณ์ ชนะเคน ครูชำ นาญการ หัวหน้างานส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต นายธีระวัฒน์ สุวรรณพันธ์ ครู งานทะนุบำ รุงศิลปวัฒนธรรม ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัย และนวัตกรรม วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 23


ส่วนที่ 2 ผลการดำ เนินงานตามพันธกิจ พันธกิจด้านการจัดการศึกษา หลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตร หลักสูตรสัมฤทธิบัตร โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 การวิจัยและพัฒนา


พันธกิจ ด้านการจัดการศึกษา พันธกิจด้านการจัดการศึกษา “จัดการศึกษาระดับอนุปริญญาที่มีคุณภาพและสามารถสร้างคุณภาพที่ดีอยู่ใน สังคมอย่างมีความสุข” วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารมุ่งจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นกำ ลังคนที่มีความรู้ความ สามารถ มีสมรรถนะการเรียนรู้พร้อมปรับตัวเข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมีความสามารถ สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่จะร่วมกับผู้อื่นอย่างมีคุณค่าสร้างสัมมาชีพและมีส่วน ร่วมสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงชุมชนให้พัฒนาอย่างยั่งยืน และเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หลักสูตรระดับอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตร และหลักสูต รสัมฤทธิบัตร การจัดหลักสูตรอนุปริญญา 7 สาขาวิชา ได้แก่สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขา วิชาการบัญชี สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คือ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 25 หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร และสัมฤทธิบัตร เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่มุ่งตอบสนอง ความต้องการแรงงาน ทักษะการประกอบอาชีพอิสระ ทั้งระดับชุมชน จังหวัด ภูมิภาค และประเทศ โดยยึด โยงกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และบริการ อาชีพ OCCUPATION หลักสูตรระดับอนุปริญญา It serves a variety of purposes, making presentations powerful tools for convincing and teaching. เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นตอบสนองความต้องการ ศึกษาต่อระดับปริญญาของคนในชุมชน อนุปริญญา ASSOCIATE DEGREE


ผลการดำ เนินงานตามเป้าหมาย หลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรอนุปริญญาหรือเทียบเท่า เป้าหมาย ผลลัพธ์ ผู้สำ เร็จการศึกษา 80 113 นักศึกษาคงอยู่ 467 652 นักศึกษาเข้าใหม่ 275 309 สาขาวิชา นักศึกษาทั้งหมด นักศึกษา ห้องเรียน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารเทศ 85 4 สาขาการศึกษาปฐมวัย 150 11 สาขาการปกครองท้องถิ่น 164 10 สาขาการจัดการ 14 1 สาขาการจัดการโลจิสติกส์ 172 8 สาขาเทคโนโลยีการเกษตร 17 2 สาขาการบัญชี 50 3 รวม 652 39 ผลการดำ เนินงานตามเป้าหมายตัวชี้วัดระดับผลผลิต/โครงการประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผรับบริการการศึกษา หลักสูตรอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละของผู้สำ เร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/เทียบเท่าจากวิทยาลัยชุมชนสามารถศึกษาต่อใน ระดับที่สูงขึ้นหรือประกอบอาชีพหรือพัฒนางานที่ทำ อยู่ ร้อยละ 84.25 จำ นวนนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา 26


ผลการดำ เนินงานตามเป้าหมาย หลักสูตรประกาศนียบัตร หลักสูตร จำ นวนนักศึกษา จำ นวนผู้สำ เร็จ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิทยาลัยชุมชน สาขาการดูแลสุขภาพวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 30 25 หลักสูตร เป้าหมาย/ผลการดำ เนินงาน หน่วยนับ ผล ร้อยละ ร้อยละความพึงพอใจการจัดการศึกษา หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิทยาลัยชุมชน อย่างน้อยร้อยละ 80 ร้อยละ 92.80 92.80 จำ นวนผู้สำ เร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตร วิทยาลัยชุมชน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของนักศึกษา ทั้งหมด คน 25 83.33 จำ นวนนักศึกษาผู้สำ เร็จการศึกษา ที่มีงานทำ 25 คน สามารถนำ ความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ อย่างน้อยร้อยละ 70 คน 25 100 จำ นวนผู้สำ เร็จการศึกษาที่นำ ความรู้ไปใช้พัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 80 คน 25 100 หลักสูตรประกาศนียบัตร จำ นวนนักศึกษา/ผู้สำ เร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 27


ผลการดำ เนินงานตามเป้าหมาย และหลักสูตรสัมฤทธิบัตร หลักสูตร จำ นวนนักศึกษา จำ นวนผู้สำ เร็จ หลักสูตรการภาษีอากร 20 20 หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน 20 20 หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 20 20 หลักสูตร เป้าหมาย/ผลการดำ เนินงาน หน่วยนับ ผล ร้อยละ หลักสูตรสัมฤทธิบัตรสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) หลักสูตรการภาษีอากร การเป็นผู้ประกอบ การธุรกิจชุมชน และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 จำ นวนหลักสูตรที่พัฒนา/ปรับปรุงตาม แผนปฏิบัติราชการ - - - จำ นวนผู้สำ เร็จการศึกษาหลักสูตรสัมฤทธิ บัตร อย่างน้อยร้อยละ 80 คน 60 75 ร้อยละความพึงพอใจการจัดการศึกษาหลัก สูตรสัมฤทธิบัตร อย่างน้อยร้อยละ 80 ร้อยละ 93.60 93.60 ร้อยละของผู้สำ เร็จการศึกษา สามารถนำ ความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ และมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 7 คน 60 100 หลักสูตรสัมฤทธิบัตร จำ นวนนักศึกษา/ผู้สำ เร็จหลักสูตรสัมฤทธิบัตรปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 28


โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การดำ เนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพ/ มาตรฐานการจัดการศึกษาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โครงการกิจการนักศึกษามีกิจกรรม/โครงการและผลการดำ เนิน งานสำ คัญ ดังนี้ 1. การประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้รับการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถาบันวิทยาลัยชุมชน ระดับหลักสูตร ทั้งหมด 7 หลักสูตร ในระหว่างวันที่ 24 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยมีคณะกรรมการประเมิน ประกอบด้วย ผศ.น.สพ.ดร.เชวง สารคล่อง ประธานกรรมการ ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ กรรมการ นางสาวจารุภา แซ่ฮ่อ กรรมการ ผลการประเมินภาพรวมทั้ง 7 หลักสูตร ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.17 อยู่ในระดับ ดี ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพ การศึกษาเพื่อการดำ เนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ในระหว่างวันที่ 6 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 คณะ กรรมการประเมิน ได้แก่ รศ.พญ.สุพินดา คูณมี ประธานกรรมการ ผศ.ดร.ตะวันฉาย โพธิ์หอม กรรมการ ผศ.ดร.จารุวรรณ ธนวิรุฬห์ กรรมการ 29


โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. กิจกรรมพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษา การดำ เนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพ/ มาตรฐานการจัดการศึกษาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โครงการกิจการนักศึกษามีกิจกรรม/โครงการและผลการดำ เนิน งานสำ คัญ ดังนี้ โครงการพัฒนาคุณภาพ/มาตรฐานการจัดการศึกษาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารได้มีการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตาม นโยบายประเทศไทย 4.0 โดยมีการ บูรณาการกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการให้กับ บุคลากรซึ่งประกอบด้วยการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการพัฒนา นวัตกรรม สื่อการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรทำ งานวิจัยเพื่อพัฒนาทางด้านวิชาการให้ตรงตามพันธกิจ ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร นอกจากนี้มีการประชุมเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ประกอบด้วยหน่วยจัดการศึกษา 7 แห่ง ได้แก่หน่วยจัดการ ศึกษาอำ เภอเมือง หน่วยจัดการศึกษาอำ เภอดอนตาล หน่วยจัดการศึกษาอำ เภอคำ ชะอี หน่วยจัดการศึกษาอำ เภอ ดงหลวง และหน่วยจัดการศึกษาศูนย์ศิลปาชีพสานแว้-นาโคกกุง หน่วยจัดการศึกษาอำ เภอหว้านใหญ่ และหน่วย จัดการศึกษาอำ เภอหนองสูง โดยมีการจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อวางแผน พัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาร่วม กันระหว่างแม่ข่ายและหน่วยจัดการศึกษารวมทั้งการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และแนวทางแก้ไขของแต่ละ หน่วยจัดการศึกษาด้วย 3. โครงการพัฒนากิจการนักศึกษา วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ตรงตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัต ลักษณ์ ภายใต้โครงการพัฒนากิจการนักศึกษา ดังนี้ พัฒนาคุณลักษณะทึ่พึงประสงค์ของนักศึกษาตามคุณธรรม อัตลักษณ์ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารได้แก่ โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา 1. 2.กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพโครงการกีฬาสีภายในวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กิจกรรมบำ เพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อมเช่น การรักษาสิ่งแวดล้อมรอบๆบริเวณวิทยาลัยชุมชน มุกดาหาร การพัฒนาจิตเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำ หรับนักศึกษา และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน 3. 4.กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น โครงการไหว้ครูและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565 กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเช่น โครงการไหว้ครูโครงการทำ นุบำ รุงศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 5. 6.กิจกรรมป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เช่น โครงการค่ายกิจกรรมการเรียนรู้สู้ชุมชนเข้มแข็งต้านภัยยาเสพติด 30


โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 4. โครงการพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงแผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อ รองรับการประเมินในรูปแบบ EdPex และจัดทำ แผนปฏิบัติราชการประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในระหว่างวัน ที่ 4 - 7 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมเซนโทรเปรส จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร มีแผน กลยุทธ์ ที่มีกรอบ ทิศทาง ที่ชัดเจน ตรงกับตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ EdPEx ซึ่งย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ “เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำ เนินการที่เป็นเลิศ” จึงจัดทำ โครงการ เพื่อปรับปรุงแผนกลยุทธ์วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) และจัดทำ แผนปฏิบัติราชการ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ จึงได้กำ หนดจัดประชุมเชิง ปฏิบัติการขึ้น 5. โครงการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนสำ หรับครูผู้สอนหลักสูตรอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ดำ เนินโครงการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนสำ หรับครูผู้สอนหลักสูตร อนุปริญญา โดยมีการจัดกิจกรรมการอบรมครูผู้สอนให้มีทักษะในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมภูผาเทิบ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร 6. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ สำ หรับนักศึกษาใหม่ ประจำ ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ สำ หรับนักศึกษาใหม่ ประจำ ปีการศึกษา 2566 เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมช้างน้าว วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ รู้จักวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ในเรื่อง หลักปรัชญา พันธกิจ วิสัยทัศน์และนโยบายของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร รวม ทั้งเพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงกฎระเบียบ ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่จำ เป็นต้องปฏิบัติในระหว่างที่ยังศึกษาอยู่เพื่อ จะได้ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีความรัก ความสามัคคี เป็นพลเมืองที่ดี เทิดทูนชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน 31


โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำ ปีการศึกษา 2565 (24 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566) 32 องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ การจัดการ โลจิสติกส์ การจัดการการบัญชี ปกครอง ท้องถิ่น การศึกษา ปฐมวัย เทคโนโลยี การเกษตร เทคโนโลยี สารสนเทศ 1. การกำ กับมาตรฐาน 1.1 ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน 2. ผู้สำ เร็จการศึกษา 2.1 3.75 4 3.88 4.06 4.47 - - 2.2 4.88 4.74 4.76 4.72 4.62 - - 3. นักศึกษา 3.1 4 3 3 3 3 3 2 3.2 3 2 3 3 3 2 2 4. อาจารย์ 4.1 3 3 3 3 2 2 2 5. หลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน 5.1 3 2 2 3 3 2 2 5.2 4 3 3 3 2 2 2 5.3 5 5 5 5 5 3.88 4.38 6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 6.1 4 3 2 3 3 2 3 คะแนนเฉลี่ย เฉลี่ย 3.85 3.30 3.29 3.53 3.34 2.41 2.48 3.17 ดี ดี ดี ดี ดี ปานกลาง ปานกลาง


โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เกณฑ์การประเมิน ค่าน้ำ หนัก Overall score (%) หมวดที่ 1 การนำ องค์กร 120 1.1 การนำ องค์กรโดยผู้นำ ระดับสูง 70 10 1.2 การกำ กับดูแลองค์กรและการสร้างประโยชน์ให้สังคม 50 10 หมวดที่ 2 กลยุทธ์ 85 2.1 การจัดทำ กลยุทธ์ 45 20 2.2 การนำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติ 40 10 หมวดที่ 3 ลูกค้า 85 3.1 ความคาดหวังของลูกค้า 40 15 3.2 ความผูกพันของลูกค้า 45 15 หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 90 4.1 การวัด วิเคราะห์และปรับปรุงผลการดำ เนินการของสถาบัน 45 10 4.2 การจัดการสารสนเทศ และการจัดการความรู้ 45 15 หมวดที่ 5 บุคลากร 85 5.1 สภาวะแวดล้อมด้านบุคลากร 40 15 5.2 ความผูกพันของบุคลากร 45 15 หมวดที่ 6 การปฏิบัติการ 85 6.1 กระบวนการทำ งาน 45 10 6.2 ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ 40 10 หมวดที่ 7 ผลลัพธ์ 450 7.1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และบริการที่ตอบสนองต่อลูกค้ากลุ่มอื่น และด้านกระบวนการ 120 15 7.2 ผลลัพธ์ด้านลูกค้า 80 15 7.3 ผลลัพธ์ด้านบุคลากร 80 10 7.4 ผลลัพธ์ด้านการนำ องค์กรและการกำ กับดูแลองค์กร 80 10 7.5 ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน ตลาด และกลยุทธ์ 90 5 คะแนนรวม 1,000 121 ผลการประเมิน ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำ เนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) 33


การวิจัยและพัฒนา ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ชื่องานวิจัย งบประมาณ นักวิจัย หน่วยงาน โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมือง ชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคีเพื่อขจัดความยากจนและ สร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 (The Development of the Border Strategic Research Area with A Model of Collaborative Governance for Poverty Alleviation and Social Mobility: The Case of Mukdahan Province Phase 1) 9,652,200 ดร.ทิวากร เหล่าลือชา ครูเชี่ยวชาญ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร งานวิจัยและพัฒนานี้ได้รับทุน วิจัยโดย กองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วยบริหารและจัดการ ทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โครงการการศึกษาลายอัตลักษณ์ เพื่ออนุรักษ์ และ พัฒนา ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอก บ้านเหล่านางาม ตำ บลนาอุดม อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร 266,800 พิมพ์ประภา คำ จันทร์ และ ธีระ พร้อมเพรียง งบประมาณดาน ววน. ประเภท Fundamental Fund ประจําปงบประมาณ 2566 (ผานหนวยงาน) ปงบ ประมาณ 2566 สํานักงาน คณะกรรมการสงเสริมวิทยา ศาสตร วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารมุงมั่นพัฒนากระบวนการทางด้านการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนการแก้ปัญหาในชั้นเรียน รวมทั้งเพื่อพัฒนาชุมชน นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพ ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และสามารถนำ เอาผลการศึกษาวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ตลอดจนการพัฒนา คุณภาพ ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สังคม ชุมชน และประเทศชาติ โดยสอดคล้องกับปรัชญาและเจตนารมณ์ของ การจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนของตน วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารได้รับงบประมาณด้านการวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกโดยได้รับจัดสรรเงินงบ ประมาณทั้งสิ้น 9,919,000 บาท (เก้าล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ดังนี้ 34


โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคี เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคี เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 The Development of the Border Strategic Research Area with A Model of Collaborative Governance for Poverty Alleviation and Social Mobility: The Case of Mukdahan Province Phase 1) โดย ดร.ทิวากร เหล่าลือชา หัวหน้าโครงการวิจัยหลัก ครูเชี่ยวชาญ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (Provincial Poverty Alleviation Operating System: PPAOS) และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อเพิ่มโอกาสของการ เข้าถึงพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความ เหลื่อมล้ำ ได้อย่างตรงจุดและเหมาะสมกับบริบทในชุมชนบทบทและชุมชนเมืองของจังหวัดมุกดาหาร ด้วย แนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” 1. เพื่อพัฒนาและยกระดับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ (Area Based University) และสร้างนัก บริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Manager) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความ ยากจนในชุมชนบทบทและชุมชนเมืองของจังหวัดมุกดาหาร ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” 2. เพื่อสร้างแพลตฟอร์มกลไกการบูรณาการความร่วมมือแบบพหุภาคีเพื่อขจัดความยากจนระดับจังหวัด สำ หรับ แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ประกอบด้วย ระบบค้นหาสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจน ระบบส่งต่อช่วยเหลือ และระบบติดตามประเมินผล ในชุมชนบท บทและชุมชนเมืองของจังหวัดมุกดาหาร ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” 3. 35


โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคี เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 รายละเอียดผลผลิตและผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นกับชุมชน ผลผลิต รูปแบบองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เพิ่มสมรรถนะการขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ อย่างเหมาะสมกับคนจนเป้าหมายและมีประสิทธิภาพในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดน 1. ระบบกลไกความร่วมมือ กระบวนการ วิธีการที่เหมาะสมกับศักยภาพและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่วิจัยเชิง ยุทธศาสตร์เมืองชายแดน 2. แพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ PPAOS และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (DSS) ในชุมชนชนบท และชุมชนเมืองของจังหวัดมุกดาหาร 3. ยกระดับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ (Area Based University) ผ่านนักบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Manager) ในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองของจังหวัดมุกดาหาร 4. แพลตฟอร์มกลไกการบูรณาการความร่วมมือแบบพหุภาคี ประกอบด้วย ระบบค้นหาสอบทานข้อมูลครัวเรือน ยากจน ระบบส่งต่อช่วยเหลือ และระบบติดตามประเมินผล ในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองของจังหวัด มุกดาหาร 5. ผลลัพธ์ การยกระดับระบบฐานข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ด้วยการค้นหาและสอบทานครัวเรือน ยากจนจำ นวน 2,285 ครัวเรือน จำ นวนผู้ที่เข้าร่วมในโมเดลแก้จนทั้งสิ้นจำ นวน 870 ครัวเรือน 3,622 คน ด้วยจำ นวนองค์ความรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรม จำ นวน 56 ชิ้น สามารถยกระดับอาชีพผ่านนวัตกรรมพร้อมใช้ จำ นวน 4,534 คน เกิดผู้ประกอบการจำ นวน 12 คน ในการขับเคลื่อนธุรกิจท้องถิ่น (Local Business) และ ได้มีการพัฒนา Area research manager จำ นวน 30 คน และ Area development manager จำ นวน 89 คน เกิดการช่วยเหลือส่งต่อและติดตาม Feedback Loop 100 % 1. การทำ งานแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยอำ เภอนิคมคำ สร้อยแซนด์บ็อกซ์ที่มีการขับเคลื่อนโมเดลแก้ไขปัญหา ความยากจน การยกระดับและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ควบคู่การจับคู่ร่วมกับภาคธุรกิจคือบริษัทจุลไหมไทย จำ กัด ที่มีแนวคิดการทำ งานร่วมกับชุมชนแบบมีธรรมาภิบาลบนฐานคิดสร้างโอกาสให้กับชุมชนและคนในท้อง ถิ่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำ คัญในการขับเคลื่อน Pro-poor value chain และสร้างมูลค่าเพิ่มห่วงโซ่การผลิตของ หม่อนไหม บริษัทมีการรับซื้อแบบประกันราคาในกับกลุ่มเกษตรกรและมีการส่งออกต่างประเทศ ด้วยแนวคิด 2. 36


โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคี เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 การยกระดับแบบทวีคูณมูลค่าทางเศรษฐกิจบนฐานเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.57 – 15 เท่าของ มูลค่าเดิม ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมของ มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนครและสถาบันวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งระบบการผลิตและเพิ่มผลิตภาพกระบวนการแปรรูปสร้าง มูลค่าของผลิตภัณฑ์จากส่วนต่าง ๆ ของหม่อน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต จำ นวน 802 ครัวเรือน กลไกการบูรณาการความร่วมมือแบบพหุภาคีเพื่อขจัดความยากจนระดับจังหวัดสำ หรับแก้ไขปัญหาความ ยากจนด้วยเครื่องมือ Poverty Forum มีการจัดกระบวนการสู่การสร้างความร่วมมือทั้งในกระบวนการค้นหา และสอบทานครัวเรือนเป้าหมายและโมเดลแก้จนสร้างความเป็นเจ้าของร่วมในข้อมูลและงานปฏิบัติการและ กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากผู้ปฏิบัติงานหลักสู่โค้ชใน กระบวนการค้นหาและสอบทานครัวเรือนยากจน ด้วยกระบวนการยกระดับการทำ งานเพื่อการเตรียมความ พร้อมในกลยุทธ์ Exit Strategy 1. มุกดาหารเมืองแห่งการเรียนรู้ด้วยกลไกสภาคนเมืองสามธรรม ผ่านกระบวนการทำ งานรูปแบบ Collaborative Governance มีความสำ คัญในการพัฒนาและเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างนโยบายที่ เหมาะสมต่อสังคมบนฐานมุกดาหารเมืองแห่งชายแดน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) เมืองสามธรรม (ธรรมะ ธรรมชาติ วัฒนธรรม) โดยกลไกการทำ งานในระดับพื้นที่ทั้ง Area Manager, Area Research Manager และ Area Development Manager เครื่องมือที่ใช้ในการดำ เนินงาน ประกอบไปด้วย 1) การจัดเวทีพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ เช่น สภาเมืองมุก เป็นต้น และ 2) การจัดเวทีการ พูดคุยอย่างเป็นทางการ เช่น เวทีเสวนาพัฒนาเมืองมุกดาหาร เป็นต้น เพื่อการสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนา จังหวัดมุกดาหารร่วมกันในระยะ 10 ปีข้างหน้า 2. นิคมคำ สร้อยแซนด์บ็อกซ์ มีกระบวนการดำ เนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิจัย 2) การพัฒนา และ 3) การขับ เคลื่อนทางสังคม โดยมีรายละเอียดในแต่ละกระบวนการดังนี้ 1) การวิจัย (Research) กระบวนการพัฒนา ระบบฐานข้อมูล PPAOS ที่ถูกต้อง แม่นยำ ยอมรับร่วมแบบพหุภาคีที่สร้างความเป็นเจ้าของร่วมของข้อมูล และพัฒนา Area Research Manager และ Area Development Manager ผ่านกลไกระบบนิเวศน์ของ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ 2) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนาศักยภาพและทักษะ การส่งต่อ ความช่วยเหลือครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายบนฐานทุนการดำ รงชีพ ศักยภาพ บริบท และความพร้อมของครัวเรือน 3. 37


โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคี เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 เป้าหมายด้วยกระบวนการ Empowerment เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของ Pro-poor value chain และโครงข่ายความมั่นคงทางสังคม ร่วมกับการพัฒนาโครงการหนึ่งตำ บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (U2T) ภารกิจร่วม ของกระทรวง อว. ส่วนหน้า และ 3) การขับเคลื่อนทางสังคม (Social Movement) การขับเคลื่อนทางสังคม ครั้งนี้มีการดำ เนินงานผ่าน One data one plan ของยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมุกดาหารด้วยกลไกและ กระบวนการทำ งานแบบพหุภาคีด้วยพลังการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ด้วยการ สร้างการรับรู้และการยอมรับร่วมกันในระดับพื้นที่ ตำ บล อำ เภอ และ จังหวัด ด้วยกระบวนการทำ งานใน 3 ส่วนหลักนี้จะถูกถอดบทเรียนสู่การขยายผลการดำ เนินงานในอำ เภออื่น ๆ ต่อไป การใช้ที่ดินแปลงรวมในเขตนิคมสร้างตนเองมีการจัดการแปลงรวมหรือการใช้ที่ดินขนาดใหญ่และเป็นที่ดิน ของรัฐ โดยสำ นักงานนิคมสร้างตนเองคำ สร้อยให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมายได้เข้าไปปลูกหม่อนในพื้นที่ของ นิคมสร้างตนเองคำ สร้อยจัดสรรที่ดินให้จำ นวน 83 ไร่ เกิดผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จำ นวน 617 ครัวเรือน มีราย ได้เพิ่มขึ้น 3,000 – 4,000 บาท/เดือน/ครัวเรือน และยกระดับรายได้คนจน 40% ล่าง ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อย ละ 10 1. การเสริมพลังการทำ งานในระดับพื้นที่แบบบูรณาการทำ งานเชิงประเด็นแผนที่ยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด มุกดาหารสามารถเพิ่มแรงยกระดับด้านรายได้ในเป้าหมาย 5 เท่าได้ 2. การยกระดับกระบวนการค้นหาและสอบทานในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมุกดาหารสามารถยกระดับการทำ งาน ผ่านกระบวนการ Focus group มุ่งเป้ากลุ่มบนฐานอาชีพสำ คัญของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเมืองซึ่งช่วยลด ระยะเวลาในการทำ งานและค้นหากลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดสามารถพัฒนาอาชีพและรายได้ สามารถข้ามข้อ จำ กัดของพื้นที่เมืองที่ส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝงต่างถิ่นที่ไม่มีชื่อในระบบทะเบียนบ้าน สร้างโอกาสในการเข้า ถึงเส้นทางอาชีพใหม่ ๆ ได้ 3. การสร้างการยอมรับของข้อมูลระหว่างหน่วยงานฟังชั่นต้องมีการออกแบบบนฐานคิดและตัวชี้วัดร่วม ซึ่งการ ทำ งานในระยะถัดไปจะมีการออกแบบการเก็บข้อมูลในรายละเอียดประเด็นรายได้ให้สามารถเชื่อมโยงกับ สำ นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ เพื่อตอบโจทย์การเชื่อมโยงแบบ micro-macro linkage approach ในระดับฐานข้อมูลต่อไปได้ 4. 38


โครงการวิจัยหลักการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เมืองชายแดนแบบบูรณาการพหุภาคี เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร (SRA) ด้วยแนวคิด “คุยกันทั้งจังหวัด” ระยะที่ 1 เป้าหมายด้วยกระบวนการ Empowerment เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของ Pro-poor value chain และโครงข่ายความมั่นคงทางสังคม ร่วมกับการพัฒนาโครงการหนึ่งตำ บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (U2T) ภารกิจร่วม ของกระทรวง อว. ส่วนหน้า และ 3) การขับเคลื่อนทางสังคม (Social Movement) การขับเคลื่อนทางสังคม ครั้งนี้มีการดำ เนินงานผ่าน One data one plan ของยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมุกดาหารด้วยกลไกและ กระบวนการทำ งานแบบพหุภาคีด้วยพลังการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ด้วยการ สร้างการรับรู้และการยอมรับร่วมกันในระดับพื้นที่ ตำ บล อำ เภอ และ จังหวัด ด้วยกระบวนการทำ งานใน 3 ส่วนหลักนี้จะถูกถอดบทเรียนสู่การขยายผลการดำ เนินงานในอำ เภออื่น ๆ ต่อไป การใช้ที่ดินแปลงรวมในเขตนิคมสร้างตนเองมีการจัดการแปลงรวมหรือการใช้ที่ดินขนาดใหญ่และเป็นที่ดิน ของรัฐ โดยสำ นักงานนิคมสร้างตนเองคำ สร้อยให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมายได้เข้าไปปลูกหม่อนในพื้นที่ของ นิคมสร้างตนเองคำ สร้อยจัดสรรที่ดินให้จำ นวน 83 ไร่ เกิดผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จำ นวน 617 ครัวเรือน มีราย ได้เพิ่มขึ้น 3,000 – 4,000 บาท/เดือน/ครัวเรือน และยกระดับรายได้คนจน 40% ล่าง ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อย ละ 10 1. การเสริมพลังการทำ งานในระดับพื้นที่แบบบูรณาการทำ งานเชิงประเด็นแผนที่ยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด มุกดาหารสามารถเพิ่มแรงยกระดับด้านรายได้ในเป้าหมาย 5 เท่าได้ 2. การยกระดับกระบวนการค้นหาและสอบทานในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมุกดาหารสามารถยกระดับการทำ งาน ผ่านกระบวนการ Focus group มุ่งเป้ากลุ่มบนฐานอาชีพสำ คัญของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเมืองซึ่งช่วยลด ระยะเวลาในการทำ งานและค้นหากลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดสามารถพัฒนาอาชีพและรายได้ สามารถข้ามข้อ จำ กัดของพื้นที่เมืองที่ส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝงต่างถิ่นที่ไม่มีชื่อในระบบทะเบียนบ้าน สร้างโอกาสในการเข้า ถึงเส้นทางอาชีพใหม่ ๆ ได้ 3. การสร้างการยอมรับของข้อมูลระหว่างหน่วยงานฟังชั่นต้องมีการออกแบบบนฐานคิดและตัวชี้วัดร่วม ซึ่งการ ทำ งานในระยะถัดไปจะมีการออกแบบการเก็บข้อมูลในรายละเอียดประเด็นรายได้ให้สามารถเชื่อมโยงกับ สำ นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ เพื่อตอบโจทย์การเชื่อมโยงแบบ micro-macro linkage approach ในระดับฐานข้อมูลต่อไปได้ 4. 39


โครงการการศึกษาลายอัตลักษณ์ เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอก บ้านเหล่านางาม ตำ บลนาอุดม อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร A study of identity patterns for conservation and processing of products from reed mats. Baan Lao Na Ngam, Na Udom Subdistrict, Nikhom Kham Soi District Mukdahan โดย นางสาวพิมพ์ประภา คำ จันทร์ นายธีระ พร้อมเพรียง วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาลายอัตลักษณเสื่อกกยกดอก 2. เพื่ออนุรักษลายอัตลักษณเสื่อกกยกดอกใหสืบทอดตอไป 3. เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑจากเสื่อกกยกดอก ใหเปนผลิตภัณฑในรูปแบบตาง ๆ 4. เพื่อสรางชองทางการจําหนายใหกับผลิตภัณฑจากเสื่อกกยกดอกในรูปแบบออนไลน์ รายละเอียดผลผลิตและผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นกับชุมชน ผลลัพธ์ ลายอัตลักษณ์เสื่อกกยกดอกของบ้านเหล่านางาม ตำ บลนาอุดม อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร นั้นมีไม่ ต่ำ กว่า 20 ลาย ซึ่งอาจจะมีลายใหม่ ๆ มาอีกตามการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยและธรรมชาติโดยรอบ ทั้งนี้กลุ่ม ประชากรตัวอย่างซึ่งก็คือกลุ่มแม่บ้านที่เข้ามาร่วมงานวิจัยนั้นพบว่ามีอายุค่อนข้างมาก จึงเป็นไปได้ยากที่จะสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นนี้ให้คงอยู่ต่อไป ทางคณะผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะ อนุรักษ์วิธีการ ลวดลายอัตลักษณ์ ดังกล่างให้คงอยู่โดยมีกรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรม (Creative Economy based on Cultural Capital) เพื่อตอบโจทย์และให้ทันต่อยุคสมัย โครงการการศึกษาลายอัตลักษณ์ เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอก บ้านเหล่านางาม ตำ บลนาอุดม อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร 40


มรดก ทางวัฒนธรรม พื้นถิ่น สร้างรายได้ ให้กับชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์ชุมชน บทคัดย่อ ด้วยประชาชนบ้านเหล่านางาม ต.นาอุดม อ.นิคมคำ สร้อย จ.มุกดาหาร มีอาชีพหลักคือทำ การเกษตร ส่วนใหญ่ ทำ นาข้าว และช่วงว่างเว้นจากการทำ นา ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นสตรี ได้รวมกลุ่มเพื่อหาอาชีพเสริม ซึ่งหนึ่งใน อาชีพเสริมนั้นคือ การทอเสื่อกกยกดอกเป็นลายต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมาแต่ยาวนาน โดยทางผู้วิจัยเรียกว่าลายอัต ลักษณ์ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่ามีลายอัตลักษณ์เป็นจำ นวนมากซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่ควรค่าแก่การ อนุรักษ์สืบทอดต่อไป โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลายอัตลักษณ์เสื่อกกยกดอก 2) เพื่ออนุรักษ์ลายอัตลักษณ์เสื่อกกยก ดอกให้สืบทอดต่อไป 3) เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ 4) เพื่อสร้างช่อง ทางการจำ หน่ายให้กับผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอกในรูปแบบออนไลน์ โดยเป็นการวิจัยประยุกต์ทางสังคมศาสตร์ (Applied-Social Science Research) มีวิธีการดำ เนินการวิจัยโดยศึกษากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำ เสื่อกกยกดอก แปรรูปผลิตภัณฑ์ และสร้างช่องทางการจำ หน่ายให้กับผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอกในรูปแบบต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่าลายอัตลักษณ์เสื่อกกยกดอกของบ้านเหล่านางาม ต.นาอุดม อ.นิคมคำ สร้อย จ.มุกดาหาร นั้นมีไม่ ต่ำ กว่า 20 ลาย ซึ่งอาจจะมีลายใหม่ ๆ มาอีกตามการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยและธรรมชาติโดยรอบ ทั้งนี้กลุ่ม ประชากรตัวอย่างซึ่งก็คือกลุ่มแม่บ้านที่เข้ามาร่วมงานวิจัยนั้นพบว่ามีอายุค่อนข้างมาก จึงเป็นไปได้ยากที่จะสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นนี้ให้คงอยู่ต่อไป ทางคณะผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะ อนุรักษ์วิธีการ ลวดลายอัตลักษณ์ ดังกล่างให้คงอยู่โดยมีกรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรม (Creative Economy based on Cultural Capital) เพื่อตอบโจทย์และให้ทันต่อยุคสมัย กรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรม (Creative Economy based on Cultural Capital) โครงการการศึกษาลายอัตลักษณ์ เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอก บ้านเหล่านางาม ตำ บลนาอุดม อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมช่องทางการตลาด 41


การศึกษาลายเสื่อกก เป็นการวิจัยทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ลายเสื่อกกที่ ถูกสร้างขึ้นจากการทำ เสื่อกกจากวัสดุพื้นบ้านที่ใช้ในการทำ เสื่อกกในวัฒนธรรมต่าง ๆ ขั้นตอนแรกของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับลายเสื่อกก เริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การสำ รวจสถานที่ที่มีการใช้งานลายเสื่อกกนั้น ๆ การสัมภาษณ์ชาวบ้านหรือช่างที่ทำ เสื่อกก หรือการศึกษาเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการทำ เสื่อกกในท้องถิ่นนั้น ๆ หลังจากนั้น การวิจัยจะทำ การสำ รวจและศึกษาวัสดุที่ใช้ในการทำ เสื่อกก เช่น การวิเคราะห์ว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการทำ เสื่อกก เมื่อมีข้อมูลพื้นฐานเพียงพอแล้ว การวิจัยลายเสื่อกก จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาลักษณะของลายเสื่อกกเอง โดย การวิเคราะห์ลายเสื่อกกที่ได้มา รวมถึงการศึกษาความหมายและบทบาททางวัฒนธรรมของลายเสื่อกกนั้น ๆ และ การเปรียบเทียบกับลายเสื่อกกจากท้องถิ่นอื่น ๆ ในการศึกษาลายเสื่อกก การใช้เครื่องมือในการทดลองเพื่อศึกษา กระบวนการทำ ลายเสื่อกกหรือกระบวนการสร้างลายเสื่อกกในลักษณะต่าง ๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยแบบนี้อาจช่วยในการเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับลายเสื่อกก ที่มีความหมายทางวัฒนธรรมและ ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น และอาจสามารถนำ ไปใช้ในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของการทำ เสื่อกกในท้อง ถิ่นนั้น ๆ อีกด้วย การศึกษาลายเสื่อกก เป็นตัวแทนของการศึกษาวัฒนธรรมที่สำ คัญและมีความหลากหลายในท้อง ถิ่นต่าง ๆ ทั่วโลกและมีความสำ คัญในการรักษาวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอันน่าประทับใจด้วยการวิจัยและการศึกษาที่ ลึกซึ้งและเป็นรายละเอียด โครงการการศึกษาลายอัตลักษณ์ เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกยกดอก บ้านเหล่านางาม ตำ บลนาอุดม อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร 42


การบริการวิชาการและฝึกอบรม ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หลักสูตร ผู้รับบริการ จำ นวน ผู้สำ เร็จการศึกษา ร้อยละ ผู้สำ เร็จการศึกษา ต่อผู้รับบริการ การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมุนไพรเพื่อการบริโภค 29 29 100 การตลาดออนไลน์ 24 24 100 การถนอมอาหาร 47 47 100 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากใบตองและผ้า 27 27 100 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ 52 52 100 การออกแบบเสื้อ กระโปรง กางเกงจากผ้า หมักโคลนและฝ้ายตะหลุง 51 51 100 ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว 25 25 100 อาหารสำ หรับวัยรุ่น 25 25 100 รวมทั้งสิ้น 280 280 100 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารจัดหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการแลบริบทของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัด มุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงโดยมีหลักสูตรที่หลากหลายที่สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในการดำ เนินชีวิตและสามารถ สร้างรายได้ให้กับชุมชนในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีจำ นวนประชาชนที่สนใจและรับบริการหลักสูตรฝึกอบรมด้าน วิชาการและด้านอาชีพ จำ นวน 275 คน และมีผู้รับบริการทีสำ เร็จการศึกษา จำ นวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 100 หลักสูตรฝึกอบรม 43


ส่วนที่ 3 ผลการดำ เนินงานโครงการฯ


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้บูรณาการนวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารได้ดำ เนินงานภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อพัฒนา ทางการศึกษาของประชาชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาให้ได้รับความเท่าเทียมกันรวมทั้งเป็นการปูนพื้นฐานทางด้าน การศึกษาให้กับชุมชนที่ห่างไกลสถาบันทางการศึกษาได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกับชุมชนเมือง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารได้รับการจัดสรรงบประมาณ1โครงการได้แก่ โครงการ การส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้บูรณาการนวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนา ทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้บูรณาการนวัตกรรม การศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย และประเมินผลการนำ หลักสูตรด้านการจัดการเรียนรู้บูรณาการ นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย ชั้นปีที่ 1-3 จำ นวน 80 คน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำ นวน 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขามป้อม และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรม จำ นวน 40 คน 45


การทะนุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรม การดำ เนินงานตามพันธกิจด้านการทำ นุบำ รุงศิลปวัฒนธรรมของวิยาลัยชุมชนมุกดาหารปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ภายใต้ผลผลิตผลงานทำ นุบำ รุงศิลปะวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อทำ นุบำ รุงศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชนท้องถิ่นส่งเสริมวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารในการศึกษารวบรวมและจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสืบสาน ถ่ายทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ของชุมชนท้องถิ่นและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพื่อจากศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชนชนท้องถิ่นที่มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ มีผลการดำ เนินงานระดับผลผลิต 46


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. โครงการจัดการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อยกระดับสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วิทยาลัยชุมชนมุกดาาหาร ดำ เนินโครงการจัดการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อยกระดับสู่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ แผนด้านการทะนุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสร้างมูลค่าเพิ่มจาก ทุนวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ขับเคลื่อนการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองมุกดาหารและ การจัดเก็บข้อมูลช่างศิลป์ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้ทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดมุกดาหารเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับนักศึกษา ตั้งเป็นชมรมศิลปะวัฒนธรรมวิทยาลัยชุมชน มุกดาหาร และเพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านการยกระดับทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน จังหวัดมุกดาหาร ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่สินค้าหรือบริการ เป็นของฝากของที่ระลึกจากภูมิปัญญาเมือง มุกดาหาร พื้นที่เป้าหมาย 1 พื้นที่ได้แก่ ชุมชนศรีบุญเรือง ตำ บลศรีบุญเรือง อำ เภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยมี จำ นวนคลังข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและทำ เนียบช่างศิลป์ 3 เรื่อง 47


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร (ชุมชนท่อง เที่ยว CMLT for BCG) วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ดำ เนินโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวใน จังหวัดมุกดาหาร (ชุมชนท่องเที่ยว CMLT for BCG) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหารูปแบบการจัดการ เรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยว ในจังหวัดมุกดาหาร (ชุมชนท่องเที่ยว CMLT for BCG) เพื่อออกแบบรูป แบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยว ในจังหวัดมุกดาหาร (ชุมชนท่องเที่ยว for BCG) เพื่อดำ เนิน ฝึกอบรมหลักสูตรรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยว ในจังหวัดมุกดาหาร (ชุมชนท่องเที่ยว for BCG) และเพื่อประเมินผลการพัฒนา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยว ในจังหวัด มุกดาหาร (ชุมชนท่องเที่ยว for BCG) กลุ่มเป้าหมาย จำ นวน 105 คน ได้แก่ 1.ตำ บลกกแดง ตำ บลนิคมคำ สร้อย อำ เภอนิคมคำ สร้อย จังหวัดมุกดาหาร 2.บ้านบุ่ง ตำ บลภูวง อำ เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 3.บ้านผึ่งแดด ตำ บลผึ่งแดด อำ เภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 48


โครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3. โครงการการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถีตำ บลดงหมู (ท่องเที่ยวชุมชนเชิงศิลปวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น) ตำ บลดง หมู อำ เภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ดำ เนินโครงการการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถีตำ บลดงหมู (ท่องเที่ยวชุมชนเชิงศิลป วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น) ตำ บลดงหมู อำ เภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้มีความ พร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างกลไกการท่องเที่ยวให้กับชุมชน และเพื่อออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนยลวิถี กลุ่มเป้าหมายจำ นวน 50 คน ผลที่เกิดกับผู้รับบริการหรือชุมชน (ผลผลิต/ผลลัพธ์) คือชุมชนรัก หวงแหน ศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน รวมทั้งชุมชนเกิดแนวคิดด้านการจัดการตนเอง และเกิดความ สามัคคี อันจะนำ ไปสู่ความยั่งยืน 49


Click to View FlipBook Version