รายงานผลโครงงาน เรื่อง ผงโรยข้าวอกไก่แซบ Chicken Breast Rice Powder Spicy Flavor จัดทำโดย นางสาวสีออน มูลเทียน นางสาวปิยะฉัตร โอนอ่อน ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 30404-8501 โครงงาน (Project) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานผลโครงงาน เรื่อง ผงโรยข้าวอกไก่แซบ Chicken Breast Rice Powder Spicy Flavor จัดทำโดย 64304040172 นางสาวสีออน มูลเทียน 64304040164 นางสาวปิยะฉัตร โอนอ่อน ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 30404-8501 โครงงาน (Project) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ก กิตติกรรมประกาศ รายงานผลโครงงานเรื่อง ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ฉบับนี้ ผู้จัดทำได้รับความอนุเคราะห์จาก นางภาชณุมาศ ทองคำ ครูที่ปรึกษาผลงานให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุ วัตถุประงสงค์ และการเขียนรายงานมีความสมบูรณ์ การจัดทำโครงงานครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความร่วมมือของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา ระดับชั้น (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ ผู้จัดทำขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ ผู้จัดทำ นางสาวสีออน มูลเทียน นางสาวปิยะฉัตร โอนอ่อน
ข ชื่อโครงงาน ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ประเภทโครงงาน โครงงานสิ่งประดิษฐ์ ผู้จัดทำ นางสาวสีออน มูลเทียน 64304040172ระดับชั้น ปวส.2สาขาอาหารและโภชนาการ นางสาวปิยะฉัตร โอนอ่อน 64304040164ระดับชั้น ปวส.2สาขาอาหารและโภชนาการ ครูที่ปรึกษาผลงาน นางภาชณุมาศ ทองคำ ปีการศึกษา 2565 บทคัดย่อ การจัดทำโครงงาน เรื่อง ผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรมาตรฐาน วิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว อกไก่แซบ โดยดำเนินงาน ศึกษาหาสูตรมาตรฐานเหมาะสมจำนวน 3 สูตร เพื่อให้ได้สูตรมาตรฐานและนำมา ประเมินจากกลุ่มผู้บริโภคเพื่อยอมรับ ผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ผลของการศึกษาและการจัดทำ โครงงานพบว่า ผลการศึกษาสูตรมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 3 สูตร โดยใช้รสชาติที่ แตกต่างกัน สูตรที่ 1 เป็นรสชาติต้มยำ สูตรที่ 2 เป็นรสชาติ ต้มยำน้ำข้น เพิ่มผงกะทิ 10 กรัมแตกต่างจาก สูตร 1 และสูตร ที่ 3 เป็นรสชาติหมาล่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าว อกไก่แซบจำนวน 3 สูตร ด้วยการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส (9 Point Hedonic Scale Test) ทางด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และความกรอบ โดยใช้ผู้ทดสอบ จำนวน 100 คน พบว่าผู้บริโภค ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ สูตรที่ 2 เป็นรสชาติ ต้มยำน้ำข้น เพิ่มผงกะทิ 10 กรัม ผล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ โดยสอบถามการบริโภคผงโรยข้าวในชีวิตประจำวันของ ผู้บริโภค 100 คน พบว่าผู้บริโภคชื่นชอบรับประทานอาหารที่มีรสชาติเข้มข้นร้อยละ 47 และยอมรับ ผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบร้อยละ 99
ค Project name Chicken Breast Rice Powder Spicy Flavor Project type Invention project Developers Miss Srion Mooltain 64304040172 Dip.2 Food and Nutrition Miss Piyachat Aonon 64304040164 Dip.2 Food and Nutrition Project mentor teacher Mrs. Pachanumas Tongkam Academic year 2022 Abstract Preparation of a project on the product of Chicken Breast Rice Powder Spicy Flavor The purpose of this study was to study the standard formulation and product production method of Spicy Chicken Breast Rice Sprinkle Powder. To study the consumer's satisfaction on the Spicy Chicken Breast Rice Sprinkle Powder product. and by operating Study and find 3 suitable standard formulas to get a standard formula and be evaluated by the consumer group for acceptance. Chicken Breast Rice Powder Spicy Flavor products The results of the study and project preparation found that Results of the study of 3 formulas of standard formulas of spicy chicken breast sprinkled rice powder products using different flavors, Formula 1 is Tom Yum flavor. Formula 2 is Tom Yum Creamy flavor, adding 10 grams of coconut milk powder, different from Formula 1 and Formula 3 is Mala flavor. The result of consumer satisfaction evaluation of 3 formulas of spicy chicken breast sprinkled with rice powder by a sensory acceptance test (9 Point Hedonic Scale Test) in terms of appearance, color, odor, taste and crispiness by using 100 testers. It was found that consumers accepted the product of Spicy Chicken Breast Rice Powder, the second formula was Tom Yum condensed flavor, adding 10 grams of coconut milk powder. By asking about the daily consumption of rice sprinkle powder of 100 consumers, it was found that 47 percent of consumers liked food with strong taste and 99 percent accepted the product of spicy chicken breast sprinkle powder.
ง สารบัญ เรื่อง หน้า กิตติกรรมประกาศ ก บทคัดย่อ ข บทที่ 1 บทนำ -ที่มาและความสำคัญ 1 -วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2 -ขอบเขตการดำเนินการ 2 -เป้าหมายการดำเนินงาน 2 -การบูรณาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -ความรู้เกี่ยวกับผงโรยข้าว 4 -ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเครื่องต้มยำ 4 -บรรจุภัณฑ์ 8 -งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 9 -หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 13 บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน -ระยะเวลาดำเนินงาน 14 -สถานที่ดำเนินงาน 14 -งบประมาณ 14 -ขั้นตอนการดำเนินงาน 14 -การประเมินผลการดำเนินการ 15 -การวิเคราะห์ผลการประเมินผลการดำเนินการ 16 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน/ผลการศึกษา 30 -ผลการศึกษาสูตรมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 30 -ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 30 - ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 32
จ สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า บทที่ 5สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินงาน -สรุปผลการดำเนินงาน 38 -ประโยชน์ที่ได้รับ 38 -ปัญหาและอุปสรรค 38 -ข้อเสนอแนะ 38 บรรณาณุกรม ภาคผนวก
ฉ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 3.1 แสดงขั้นตอนการดำเนินงาน 14 ตารางที่ 3.2 แสดงปริมาณส่วนผสมของผงโรยข้าวอกไก่แซบทั้ง 3 สูตร 16 ตารางที่ 3.3 ศึกษาสูตรมาตราฐานของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 18 ตารางที่ 3.4 แสดงแบบสำรวจเพศ 19 ตารางที่ 3.5 แสดงแบบสำรวจอายุ 20 ตารางที่ 3.6 แสดงการเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผงโรยข้าวอกไก่ของผู้บริโภค 20 ตารางที่ 3.7 แสดงการมีอาการแพ้(MSG)หรือสารในผงชูรสของผู้บริโภค 21 ตารางที่ 3.8 แสดงการมีอาการแพ้โปรตีนในเนื้อสัตว์(อกไก่)ของผู้บริโภค 21 ตารางที่ 3.9 แสดงการเร่งรีบในการรับประทานอาหารในช่วงเวลาใดบ้างของผู้บริโภค 22 ตารางที่ 3.10 แสดงการพบเห็นผงโรยข้าวจัดจำหน่ายในสถานที่ใดบ้างของผู้บริโภค 22 ตารางที่ 3.11 แสดงการรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ชนิดใดบ้างของผู้บริโภค 23 ตารางที่ 3.12 แสดงการประทานอาหารกี่มื้อต่อวันของผู้บริโภค 23 ตารางที่ 3.13 แสดงการประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ของผู้บริโภค 24 ตารางที่ 3.14 แสดงการเลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบใดของผู้บริโภค 24 ตารางที่ 3.15 แสดงการเลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณเท่าใดของผู้บริโภค 25 ตารางที่ 3.16 แสดงการเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวใดที่รสชาติแตกต่างจากผง โรยข้าวญี่ปุ่น 25 ตารางที่ 3.17 แสดงผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับวัย 26 ตารางที่ 3.18 แสดงประโยชน์ของผงโรยข้าว 26 ตารางที่ 3.19 แสดงนิยมรับประทานผงโรยข้าวอกไก่กับข้าวชนิดใดบ้างของผู้บริโภค 27 ตารางที่ 3.20 แสดงปริมาณของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวต่อ 1 บรรจุภัณฑ์ 27 ตารางที่ 3.21 แสดงความคิดเห็นของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ 28 ตารางที่ 3.22 แสดงการยอมรับของผลิตภัณฑ์หากวางขายในราคา 9 บาท 28 ตารางที่ 3.23 แสดงความสนใจในการซื้อผลิตภัณฑ์วางขาย 29 ตารางที่ 4.1 แสดงปริมาณของความพึงพอใจของผู้บริโภค 100 คนของผงโรยข้าวอกไก่แซบ ทั้ง 3 สูตร 31 ตารางที่ 4.2 แสดงจำนวนและร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม 32
ช สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ หน้า ตารางที่ 4.3 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม 33 ตารางที่ 4.4 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) 34 ตารางที่ 4.5 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) 35 ตารางที่ 4.6 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) 36 ตารางที่ 4.7 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) 37
ซ สารบัญภาพ รูปภาพที่ หน้า รูปภาพที่2.1 อกไก่ 5 รูปภาพที่2.2 พริกป่น 5 รูปภาพที่2.3 ผงกะทิ 6 รูปภาพที่2.4 ผงมะนาว 6 รูปภาพที่2.5 น้ำตาลหญ้าหวาน 6 รูปภาพที่2.6 ตะไคร้ 7 รูปภาพที่2.7 ใบมะกรูด 7 รูปภาพที่3.1 ภาพกระบวนการผลิตผงโรยข้าว 16
บทที่ 1 บทนำ 1.1ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ในปัจจุบันสังคมไทยนิยมรับประทานอาหารที่มีความสะดวกสบายเนื่องจากในช่วงเช้าหรือ ช่วงบ่าย เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนทำงานจึงทำให้มีความรีบร้อนและต้องรวดเร็วในการรับประทานอาหาร ในการจัดทำ โครงการนี้ผู้จัดจึงแลเห็นถึงความรวดเร็วในการรับประทานอาหาร ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ง่าย รวดเร็วและสะดวกซื้อ ของในยุคนี้คือร้านสะดวกซื้อผู้จัดทำมีแนวคิดที่จะจัดทำผงโรยข้าว ซึ่งผงโรย ข้าวในร้ายสะดวกซื้อทั่วไปเป็นผง โรยข้าวปลา ซึ่งผงโรยข้าวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศ “ญี่ปุ่น” ตั้งแต่ยุคสมัยไทโช ซึ่งวัตถุดิบหลักคือกระดูก ปลาป่น และนำปคลุกับงาและผงสาหร่าย มีรสชาติที่ เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น แต่คนไทยนำไป รับประทานอาจจะไม่ถูกปากมากนัก เพราะรสชาติ ของประเทศไทยคือ เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน ดังนั้นผู้จึงได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่รสต้มยำน้ำ ข้น ที่มีทั้งความคลีนไม่มีผงชูรสเป็นส่วนผสม และมีอกไก่ที่ให้โปรตีนและรสต้มยำน้ำข้นที่มีความกลม กล่อมรับประทานพร้อมข้าวสวยเป็น 1 มื้อที่อร่อยและง่ายแค่ฉีกเทแล้ว รับประทานได้ทุกที่ทุกเวลาได้ อย่างง่ายดาย พระราชบัญญัติอาหารของประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความหมายของฟูริคาเกะว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ต่างๆในรูปเดิมหรือผสม กับ ส่วนผสมอื่นๆ แล้วนำมาปรุงรส แล้วผ่านกระบวนการเช่นการตัดแต่ง การบด หรือการทำให้เป็นเม็ด เป็น ต้น เวลารับประทานจะนำมาโรยข้าว หรืออาหารเส้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผสมกับน้ำร้อนหรือน้ำ ชาเพื่อรับประทานเป็นอาหารที่เรียกว่า chazuke สมาคมฟูริคาเกะแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ ความหมายฟูริคาเกะว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาปรุงรสและทำแห้ง หรือนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มา ผสมสาหร่าย งา เครื่องปรุงรส หรือส่วนผสมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะนำมาโรยบนอาหารหลัก นอกจากสาหร่ายสีเขียวที่ใช้โรยโอโคโนมิยากิ หรือ ทาโคยากิ นั้นก็นับเป็นฟูริคาเกะเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ ฟูริคาเกะได้มีการนำมารับประทานกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มี ผลิตภัณฑ์ที่มีผลิตภัณฑ์ของปลาโบนิโตะขูดฝอย งา และสาหร่าย ออกวางจำหน่ายในท้องตลาด ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า “Ze ha umai ” และต่อมาในปีค.ศ. 1960 ได้มีผลิตภัณฑ์ฟูริคาเกะภายใต้ ชื่อทางการค้าว่า “noritama ”ซึ่งประกอบด้วยไข่ สาหร่าย และเครื่องปรุงรส ซึ่งได้รับความนิยมเป็น อย่างมาก และปัจจุบันได้มีการผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปทำให้รับประทานกับข้าวได้ง่ายขึ้นจึงได้รับ ความนิยมได้อย่างกว้างขวางทั้งในเด็กและผู้สูงอายุผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่าผงโรยข้าวสามารถพัฒนาต่อ ยอดไปได้อีก จึงริเริ่มจัดทำโครงงาน ผงโรยข้าวอกไก่แซบขึ้นมา ที่มา [1]
2 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.2.1 เพื่อศึกษาสูตรมาตรฐานของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 1.2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 1.2.3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 1.3 ขอบเขตการดำเนินการ 1.3.1 เริ่มโครงงานวันที่ 17ตุลาคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุดวันที่ 14กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 1.3.2 สินค้านี้สามารถรับประทานได้ทุกเพศ ทุกวัย 1.3.3 การใช้กลุ่มเป้าหมายในการทดสอบชิมนักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 1.4 เป้าหมายการดำเนินงาน 1.4.1 ด้านปริมาณ 1.4.4.1 ทำผลิตภัณฑ์ออกมาให้ได้ 3สูตรเพื่อเปรียบเทียบรสชาติ 1.4.1.2 ผู้ทดสอบชิมผงโรยข้าวอกไก่แซบ 100คน 1.4.2 ด้านคุณภาพ 1.4.2.1 ทำให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับผงโรยข้าวในท้องตลาด 1.4.2.2 ทำให้คุณภาพผงโรยข้าวคงที่ทุกซอง 1.5การบูรณาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะ การพัฒนาเศรษฐกิจ และยังนำมาปรับใช้ในโครงงานได้อีกด้วย โดยการใช้ 3 ห่วง2 เงื่อนไข ดังนี้ 1.5.1 หลักการใช้ 3 ห่วงเพื่อบูรณาการกับโครงงานอาชีพ 1.5.1.1 ความพอประมาณ การใช้อุปกรณ์ที่มีต้นทุนอยู่แล้วและเหมาะสมกับฐานะตนเอง ไม่เบียดเบียนตนเองโดยใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่เหมาะสมหรือฟุ่มเฟือย และวัตถุดิบที่ใช้ต้นทุนน้อยแต่สามารถ พัฒนาต่อยอดไปได้อีกไกลเช่น อกไก่ ที่สามารถหาได้ง่ายและมีต้นทุนที่ถูกเพื่อนำไปต่อยอดให้ได้ในราคาสูงขึ้น 1.5.1.2 ความมีเหตุผล ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ และคำนึงถึง ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรอบคอบ เช่น มีเหตุผลในการซื้อวัตถุดิบ เปรียบเทียบราคาให้ รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ 1.5.1.3 ภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์และการเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่าง ๆที่จะเกิดขึ้น และพร้อมรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงนั้นเพื่อรับมือได้ทันท่วงทีโดยไม่ประมาท เช่น สถานการณ์โควิดที่กำลังระบาดในปัจจุบัน ต้องรับมือในการปรับเปลี่ยนการซื้อขายเป็นการขายออนไลน์
3 1.5.2 หลักการใช้ 2 เงื่อนไข เพื่อบูรณาการกับโครงงานอาชีพ 1.5.2.1 เงื่อนไขความรู้ ต้องมีความรู้รอบคอบเพื่อนำความรู้มาพัฒนาในตัว ผลิตภัณฑ์ และนำความรู้เหล่านั้นมาปรับใช้ในผลิตภัณฑ์ต่อไป เช่น นำความรู้จากการเล่าเรียนมา ปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 1.5.2.2 เงื่อนไขคุณธรรม การซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค โดยไม่บิดเบือนความจริงมีเจตคติ ที่ดีต่ออาชีพ และสามัคคีกับผู้ร่วมจัดทำโครงงานอาชีพ ที่มา [2]
4 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทำโครงงานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ผู้จัดทำได้ค้นคว้ารวบรวมแนวคิดทฤษฎี หลักการต่างๆ จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2.1 ความรู้เกี่ยวกับผงโรยข้าว 2.2 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเครื่องต้มยำ 2.3 บรรจุภัณฑ์ 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.5 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 ความรู้เกี่ยวกับผงโรยข้าว ผงโรยข้าว หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า ฟูริกาเกะ (Furikake) นั้น เป็นอาหารที่ ชาวญี่ปุ่นนิยม รับประทานด้วยวิธีง่ายๆ เพียงนำมาโรยบนข้าวสวยร้อนๆ ก็ช่วย เพื่อเพิ่มสีสัน และรสชาติให้กับมื้อ อาหาร ส่วนผสมมีหลากหลายชนิด แต่หลักๆ คือ งา และสาหร่าย นอกจากนั้นจะเป็นเครื่องปรุงรส ปลาแห้งขูด ฯลฯ โปรตีนเกษตรปรุงรสโรยข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณค่า โปรตีนสูง จากถั่วเหลือง มีส่วนประกอบหลักของโปรตีนเกษตรชิ้นเล็กๆ ที่นำมา ทำให้กรอบ ผสมผสานกับผัก สมุนไพรอบแห้งชนิดต่างๆ เช่น ต้นหอม ฟักทอง แครอท และสาหร่าย เพิ่มความหอมอร่อยด้วยงา ขาว และงาดำคั่ว ปรุงรสชาติให้ เข้ากัน มี 2 รสชาติให้เลือกลิ้มลอง คือ รสหมูหยอง และรสกุ้ง ขอ แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ โปรตีนเกษตรปรุงรสโรยข้าว สูตรเจ ที่ผสมผสานผัก สมุนไพร ควบคู่ไปกับ รสชาติของเห็ดหอม ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ที่มา [3] 2.2 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเครื่องต้มยำ เครื่องต้มยำ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรที่ใช้สำหรับทำต้มยำ เช่น ข่า ตะไคร้ใบมะกรูด พริก มาล้างให้สะอาด อาจหั่นเป็นชิ้นใหญ่แล้วนำไปทำให้แห้งหรือบดเป็นผง แล้ว ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรส เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือมะนาว นำไปทำให้แห้ง ที่มา [4] 2.2.1 สมุนไพรในเครื่องต้มยำ ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก ในวงศ์หญ้าความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม เป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถ นำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย ใบมะกรูด เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาว แล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย สามารถดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้
5 2.2.1 ประโยชน์ทางยา ตะไคร้ -ช่วยให้เจริญอาหาร -แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใบมะกรูด -ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี -แก้ไอละลายเสมหะ -แก้ช้ำใน ที่มา [5] 2.2.1 ส่วนผสมของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 2.3.1 อกไก่ รูปภาพที่ 2.3.1 ที่มา [6] อกไก่ คือ เนื้อไก่ส่วนหน้าอก สีขาว ชิ้นใหญ่ ไม่มีกระดูก มีเนื้อสัมผัสที่ค่อนข้างแห้ง เป็นส่วน ของไก่ที่ให้โปรตีนสูง มีไขมันน้อย มีประโยชน์ต่อการสร้างกล้ามเนื้อ 2.3.2 พริกป่น รูปภาพที่ 2.3.2 ที่มา [7] พริกป่น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำผลพริกที่สุกหรือแก่จัด อาจมีก้านผลติดอยู่ นำไป ผึ่งแดดหรืออบให้แห้ง อาจนำไปคั่ว แล้วนำไปบด
6 2.3.3 ผงกะทิ รูปภาพที่ 2.3.3 ที่มา [8] กะทิผง เป็นน้ำกะทิที่นำมาทำให้แห้งเป็นผงละเอียด โดยใช้เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย น้ำกะทิโดย ธรรมชาติมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบอยู่สูง เข้าห้องอบที่มีอุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำระเหย 2.3.4 ผงมะนาว รูปภาพที่ 2.3.4 ที่มา [9] มะนาวผง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำมะนาวสดไปให้ความร้อนจนเข้มข้น ทิ้งให้เย็น ผสมน้ำตาลไอซ์ซิ่งที่ร่อนแล้วตามอัตราส่วนที่เหมาะสม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นเกล็ดเล็ก ๆ แล้ว นำไปอบให้แห้ง 2.3.5 น้ำตาลหญ้าหวาน รูปภาพที่ 2.3.5 ที่มา [10] หญ้าหวาน หมายถึง เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยใช้การแปรรูป น้อยที่สุด แทนการใช้น้ำตาลทรายขาว หญ้าหวานเป็นตัวแทนน้ำตาลที่เหมาะสำหรับผู้ที่พยายามที่จะ ลดบริโภคน้ำตาลแปรรูป อย่างเช่นผู้ที่ทานอาหารคลีนหรือคีโตเป็นต้น
7 2.3.7 ตะไคร้ รูปภาพที่ 2.3.6 ที่มา [11] ตะไคร้ เป็นพืชล้มลุก ในวงศ์หญ้าความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม เป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถ นำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย 2.3.8 ใบมะกรูด รูปภาพที่ 2.3.7 ที่มา [12] ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศ ไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 2.3 บรรจุภัณฑ์ ซองบรรจุภัณฑ์ คืออะไร ซองบรรจุภัณฑ์ หรือ ถุงบรรจุภัณฑ์ คือ การบรรจุผลิตภัณฑ์สินค้า โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อปกป้อง ระหว่างจัดส่งสินค้า ไม่เกิดการเสียหาย ปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ปประเภทต่างๆ ได้มีบทบาทมากมาย ทั้งโรงงานอุสาหกรรมต่างๆ และได้รับความนิยมใน ท้องตลาดอย่างกว้างขวาง โดยผ่านกระบวนการบรรจุภัณฑ์ และมีการออกแบบทำตามความ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ทั้งนี้ซองบรรจุภัณฑ์ ยังสามารถใช้ได้กับสินค้าหลายๆ ประเภท ไม่ว่าจะ เป็น อาหารสด อาหารแห้ง ของเหลว เม็ดยา เมล็ดต่างๆ ครีม สารเคมีฯลฯในการ 2.3.1 กระดาษ เป็นซองที่นิยมใช้กันมาก เพราะออกแบบได้ง่าย และสะดวกต่อการขนส่ง และเก็บรักษา ยังสามารถนำมารีไซเคิลใช้ใส่สิ่งของอื่นได้ หากออกแบบมาให้ทนทานแข็งแรง แต่ถุง กระดาษไม่เหมาะสำหรับการบรรจุของเหลว
8 2.3.2 ฟอยล์เป็นถุงหรือซองทึบเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความทนทาน ทั้งยังเหมาะสำหรับสินค้าที่ ต้องเก็บให้พ้นแสงได้ดี เคลื่อนย้ายสะดวก คงรูป เหมาะสำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูป หรือสินค้าที่ไม่ ต้องการให้โดนแสง และกันความชื้นได้ 2.3.3พลาสติก เป็นถุงหรือซอง ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้น และทนต่อสภาพอากาศ ได้หลากหลาย ทำให้ถุงพลาสติกนั้นเหมาะกับผลิตภัณฑ์แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นขนม นม เนย เสื้อผ้า อาหาร ทั้งนี้ถุงพลาสติกก็มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบใส แบบขุ่น และแบบสีถุงพลาสติก แบ่งตามชนิดพลาติกที่ใช้ทำเป็น 2 ชนิด แต่ละชนิดใช้ตัวย่อ ดังนี้ 2.3.3.1 พอลิเอทิลีน (polyethylene) ตัวย่อเป็น PE 2.3.3.2 พอลิพรอพิลีน (polypropulene) ตัวย่อเป็น PP ที่มา [13],[14] 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รจนา นุชนุ่ม. (2551: บทคัดย่อ) จากการศึกษาสูตรของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวที่เหมาะสม พบว่า เมื่อพิจารณาคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส สีกลิ่น รสชาติลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบ รวม พบว่า คะแนน ความชอบทางด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวสูตร 1 ด้าน กลิ่น รสชาติลักษณะเนื้อสัมผัสและความชอบรวม มีคะแนนสูงกว่าสูตร 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) ดังนั้นสูตรผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวต้นแบบที่เหมาะสม คือ สูตร 1 ประกอบ เนื้อปลาอบแห้งร้อย ละ 28 ผักอบแห้งร้อยละ 7 งาขาวร้อยละ 13 งาดำร้อยละ 13 ซอสปรุงรสร้อยละ 7 น้ำตาลทรายร้อย ละ 3 เกลือร้อยละ 2 สาหร่ายแผ่นปรุงรส อบแห้งร้อยละ 6 น้ำร้อยละ 15 และผงปรุงรส (ผงปรุงรสที่ ไม่ ใส่ผงชูรส) ร้อยละ 6 (น้ำหนัก/น้ำหนัก) การที่ผงโรยข้าวสูตรที่ 1 ได้รับการยอมรับในหลาย คุณลักษณะทางประสาทสัมผัสมากกว่า สูตร 2 และ 3 นั้น อาจเนื่องจากประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) ปริมาณ ของเนื้อปลา 2) ปริมาณผักอบแห้ง และ 3) ผงปรุงรส ประเด็นแรกปริมาณของเนื้อปลา ซึ่งสูตรที่ 3 มี ปริมาณ ปลาที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้ทดสอบชิมที่ไม่ชอบกลิ่นปลายอมรับ สูตรนี้น้อยกว่าสูตรอื่น สอดคล้องกับการศึกษาของรจนา (2551) ซึ่งศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) จาก ปลาสลิดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ผง โรยข้าวจากปลาสลิดให้ ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นที่ยอมรับของ ผู้บริโภค โดยผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับสูตรที่มีเนื้อปลาที่ ร้อยละ 58.35 จากสูตรเบื้องต้นที่มีเนื้อปลาร้อยละ 60 นั้นคือยอมรับเนื้อ ปลาน้อยกว่าสูตรเบื้องต้น โดยสูตรที่ยอมรับประกอบด้วยเนื้อปลา สลิดแห้งร้อยละ 58.35 งาขาวร้อยละ 9.73 งาดำร้อยละ 9.73 ซีอิ๊วขาวร้อยละ 7.78 น้ำตาลทรายร้อยละ 3.77 เกลือร้อยละ 1.89 สาหร่ายทะเลร้อยละ 0.97 และเติมผงปรุงรสร้อยละ 3-5 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์สุดท้าย ที่มา [15]
9 สุรีวรรณ ราชสม ณัฐวิภา สีลำ และ สุทธิดา ทากอนแก้ว (2563: บทคัดย่อ)งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมักพื้นบ้านของ ภาคเหนือ(ถั่วเน่า) และประเมินคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ โดยนําผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองหมักมาทําการอบแห้งจากนั้นนํามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผงปรุงรส และผง โรยข้าวรสงา-สาหร่ายและรสหอมกระเทียม โดยศึกษาสูตรต่างๆ 3 สูตรทดลอง ผลการทดลองพบว่า ถั่วเหลืองหมักพื้นบ้านมีศักยภาพในการนํามาพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ผงปรุงรส และผงโรยข้าว โดยสูตร ที่ดีที่สุดของผงโรยข้าวรสงา-สาหร่ายและรสหอม-กระเทียมคือสูตรที่มีอัตราส่วนของผงถั่วเหลืองหมัก พื้นบ้านหรือถั่วเน่าร้อยละ 35 ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในระดับดีค่าคะแนนการ ยอมรับ 7.85±0.36 7.46±0.67 และ 7.44±1.01 สําหรับผลิตภัณฑ์ผงปรุงรส ผงโรยข้าวรสงา-สาหร่ายและผง โรยข้าว รสหอม-กระเทียม ตามลําดับ จากนั้นนําผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการทาง อาหาร ได้แก่ ปริมาณโปรตีน ไขมัน และวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าผงปรุงรส มีปริมาณ โปรตีน ไขมัน และประสิทธิภาพการต้านอนุมูล อิสระสูงสุด คือ ร้อยละ 43.80, 19.24 และ 3.72 μmol TE/g ตามลําดับ และผงโรยข้าวรสงา-สาหร่ายและผงโรยข้าว รสหอม-กระเทียม มีปริมาณ ร้อยละโปรตีน ไขมัน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 29.90, 9.72 และ 1.79 μmol TE/g และ 31.70, 20.51 และ 1.96 μmol TE/g ตามลําดับ ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้สามารถนําไปต่อยอดผลิตในเชิง การค้าของ ชุมชนเพื่อจําหน่ายต่อไปเนื่องจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักพบว่ามีคุณค่าทาง โภชนาการสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณโปรตีนที่สูงขึ้น ที่มา [16]
10 อทิตา (2554: บทคัดย่อ) ได้พัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผงโรยข้าวรสบูดูข้าวยำจาก ปลานิลจิตรลดารมควันร้อนให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค รวมถึงศึกษาการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพด้านต่างๆ ระหว่างเก็บรักษา จากการวิเคราะห์ปริมาณความชื้น ค่าawและค่าสี (L * , a* , b* ) พบว่าการรมควันร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ตามด้วยอบแห้งที่ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง เป็นภาวะที่ให้ลักษณะของปลานิลรมควันตามต้องการ จากนั้นนำปลานิลจิตรลดารมควันร้อนที่ได้มาบดและอบแห้งเนื้อปลาป่นต่อพบว่าการอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุดขั้นตอนที่สองคัดเลือกสูตรผงโรยข้าว รสบูดูข้าวยำจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อนโดยใช้สูตรต้นแบบ 2 สูตร นำไปทดสอบการยอมรับทาง ประสาทสัมผัส โดยใช้ผู้ทดสอบ 60 คน พบว่าสูตรผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ สูตรที่ใช้ กะปิเป็นส่วนผสม ขั้นตอนที่สามศึกษาภาวะการอบแห้งน้ำบูดูข้าวยำโดยใช้ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ (55 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง 45 นาที) กับตู้อบลมร้อน (90 องศาเซลเซียส 4 ชั่วโมง) พบว่าเมื่อ อบแห้งผงบูดูข้าวยำให้มีความชื้นร้อยละ 1–2 (w.b) ผงบูดูข้าวยำที่ผ่านการอบแห้งโดยใช้ตู้อบแห้ง แบบสุญญากาศมีค่าความสว่าง (L*) และค่าสีแดง (a*) มากกว่าผงบูดูข้าวยำที่ผ่านการอบแห้งโดยใช้ ตู้อบลมร้อน และไม่พบความแตกต่างกันของค่า aw ค่าสีเหลือง (b*) ค่าความหืน และองค์ประกอบ ทางเคมีของผลิตภัณฑ์ผงบูดูข้าวยำทั้งสองวิธีการอบแห้ง แต่วิธีการใช้ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศใช้ พลังงานน้อยกว่าการอบแห้งแบบตู้อบลมร้อน ขั้นตอนที่สี่ทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของ ผงโรยข้าวซึ่งมีการแปรสัดส่วนระหว่างปริมาณผงบูดูข้าวยำและปลานิลจิตรลดารมควันร้อนป่นเป็น 3 ระดับ คือ 1:1 2:1 และ 3:1 โดยใช้ผู้ทดสอบ 60 คน พบว่าสัดส่วนของผงบูดูข้าวยำและปลานิล จิตรลดารมควันร้อนป่นเท่ากับ 3:1 เป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบมากที่สุด ที่มา [17]
11 เปล่งสุรีย์ (2546: บทคัดย่อ) ได้พัฒนาผงปรุงรสสำเร็จรูปจากปลาโอลาย โดยศึกษาการ เตรียมปลาอบแห้งสัดส่วนของปลา เกลือ และส่วนผสมอื่นที่เหมาะสมและอายุการเก็บรักษาของผง ปรุงรสสำเร็จรูปในสภาวะบรรยากาศต่างๆในการผลิตปลาอบแห้งนำปลาผสมกับแป้งและน้ำก่อน นำไปอบแห้ง การใส่แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวโพดที่ร้อยละ 3 และ 5 ไม่มีผลต่อ คะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสของปลาอบแห้ง (p>0.05) ขณะที่แป้งร้อยละ 3 ให้ค่า a * และ b * ของปลาอบแห้งสูงกว่าการใช้แป้งร้อยละ 5 ปลาอบแห้งจึงมีสีค่อนข้างแดงออกเหลือง การใส่แป้งมัน สำปะหลังให้ค่า a * ไม่แตกต่างจากแป้งข้าวเจ้า และสูงกว่าแป้งข้าวโพด ดังนั้นจึงเลือกใช้แป้งมัน สำปะหลังร้อยละ 3 ในการศึกษาต่อไปเนื่องจากมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าแป้งข้าวเจ้า การใช้น้ำขิงใน ส่วนผสมข้นเหลวให้ค่า a * b * และคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสด้านกลิ่นและความรู้สึก ภายหลังการกลืนสูงกว่าการใช้น้ำธรรมดาเป็นส่วนผสม (p≤ 0.05) จึงเลือกใช้น้ำขิงในการเตรียม ส่วนผสมข้นเหลว อุณหภูมิและเวลาในการอบแห้งที่ 60 องศาเซลเซียส เวลา 2 และ 3 ชั่วโมง a * และ b * ของปลาอบแห้งสูงกว่าที่ 70 องศาเซลเซียส เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง เมื่ออบ 60 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง คะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสด้านกลิ่นสูงกว่า และมีค่าความชื้นและ aw ต่ำกว่า ที่ 60 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง (p≤ 0.05) จึงเลือกใช้อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง ในการอบแห้งปลา การศึกษาปริมาณ เกลือ และส่วนผสมรวมที่เหมาะสมด้วยวิธีมิกช์เจอร์ดีไซน์ (mixture design) และเรโชว์โพร์ไฟล์ (ratio profile) พบว่าผงปรุงรสที่เหมาะสมประกอบด้วยปลา อบแห้ง แครอท อบแห้ง ฟักทองอบแห้ง บวบอบแห้ง งาขาว งาดำ เกลือและสาหร่ายปรุงรสผสมพริก น้ำในปริมาณร้อยละ 50.84 8.79 8.79 8.79 6.01 6.01 5.69 และ5.08 ตามลำดับโดยปริมาณ ความชื้น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เถ้า มีค่าร้อยละ 6.97 0.12 47.62 0.61 1.92 0.11 28.75 0.62 14.74 1.05 ตามลำดับ ค่า TBA เริ่มต้นมีค่า 14.23 0.12 มิลลิกรัมมาโลนัลดีไฮด์ต่อกิโลกรัม และค่า awมีค่า 0.40 เมื่อเก็บรักษาผงปรุงรสสำเร็จรูปในถุง OPP/LDPE/AI/LDPE/LLDPE ในสภาวะ บรรยากาศปกติสุญญากาศและปรับบรรยากาศ (100 N2 ) ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และ 55 องศาเซลเซียส พบว่าทุกสภาวะการบรรจุไม่มีผลต่อคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัส (p >0.05) ขณะที่ปริมาณความชื้นและค่า TBA มีค่าเพิ่มขึ้นในสภาวะบรรยากาศปกติมากกว่าสภาวะการบรรจุ อื่นๆ เมื่อเก็บรักษานานขึ้นตลอดอายุการเก็บรักษาจุลินทรีย์ทั้งหมดและยีสต์และรามีปริมาณน้อยกว่า 10 CFU/กรัม Escherichia coli น้อยกว่า 3 MPN/กรัม และไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรค ผงปรุงสำเร็จรูปมี อายุการเก็บที่อุณหภูมิ 30 และ 55 องศาเซลเซียส นานไม่น้อยกว่า 3 เดือน 6 วัน ตามลำดับ ที่มา [18]
12 2.5 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 2.5.1 หลักการใช้ 3 ห่วง เพื่อบูรณาการกับโครงงานอาชีพ 1.5.1.1 ความพอประมาณ การใช้อุปกรณ์ที่มีต้นทุนอยู่แล้ว ไม่เบียดเบียนตนเอง โดยใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่เหมาะสมหรือฟุ่มเฟือย และวัตถุดิบที่ใช้ต้นทุนน้อยแต่สามารถพัฒนา ต่อยอดไปได้อีกไกล ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 1.5.1.2 ความมีเหตุผล ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ และคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรอบคอบ 1.5.1.3 ภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์และการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆที่จะเกิดขึ้น และพร้อมรับมือกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงนั้นเพื่อ รับมือได้ทันท่วงทีโดยไม่ประมาท 2.5.2 หลักการใช้ 2 เงื่อนไข เพื่อบูรณาการกับโครงงานอาชีพ 1.5.2.1 เงื่อนไขความรู้ ต้องมีความรู้รอบคอบเพื่อนำความรู้มาพัฒนาในตัว ผลิตภัณฑ์ และนำความรู้เหล่านั้นมาปรับใช้ในผลิตภัณฑ์ต่อไป ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 1.5.2.2 เงื่อนไขคุณธรรม การซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค โดยไม่บิดเบือนความจริงมีเจตคติ ที่ดีต่ออาชีพ และสามัคคีกับผู้ร่วมจัดทำโครงงานอาชีพ และจะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้ สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ที่มา [19]
13 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ในการศึกษาโครงงานเรื่อง ผงโรยข้าวอกไก่แซบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสูตรมาตรฐานของ ผงโรยข้าวอกไก่แซบ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ โดยผู้ทำโครงงานมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 3.1 ระยะเวลาดำเนินงาน วันที่ 17 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 3.2 สถานที่ดำเนินงาน ณ ห้อง K.3/1 แผนกอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 3.3 งบประมาณ เป็นเงิน 800 บาท วัสดุ อุปกรณ์ 1) ค่าใช้จ่ายในการทำผลิตภัณฑ์ 600 บาท 2) ค่าใช้จ่ายในการจัดทำรายงาน 200 บาท 3.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน ตารางที่ 3.1 ตารางแสดงขั้นตอนการดำเนินงาน ครั้งที่ วัน เดือน ปี กิจกรรม/รายการปฏิบัติงาน หมายเหตุ 1 18 ตุลาคม 2565 เสนอหัวข้อโครงงาน 2 25 ตุลาคม 2565 ทำโครงร่างโครงงาน 3 1 พฤศจิกายน 2565 ทำโครงร่างโครงงาน 4 8 พฤศจิกายน 2565 ส่งโครงร่างโครงงาน 5 15 พฤศจิกายน 2565 แก้ไขโครงร่างโครงงาน 6 22 พฤศจิกายน 2565 ตรวจความเรียบร้อยโครงร่าง 7 29 พฤศจิกายน 2565 ส่งโครงร่างโครงงาน 8 13 ธันวาคม 2565 ออกแบบโลโก้ และฉลากสินค้า 9 20 ธันวาคม 2565 เริ่มทำรูปเล่มรายงาน 10 27 ธันวาคม 2565 ทำรูปเล่มรายงาน 11 3 มกราคม 2566 ทำรูปเล่มรายงาน
14 ครั้งที่ วัน เดือน ปี กิจกรรม/รายการปฏิบัติงาน หมายเหตุ 12 10 มกราคม 2566 ทำรูปเล่มรายงาน 13 17 มกราคม 2566 ทำรูปเล่มรายงาน 14 15 16 24 มกราคม 2566 31 มกราคม 2566 14 กุมภาพันธ์2566 ตรวจความถูกต้องของรายงาน ทำผลิตภัณฑ์ และเตรียมบรรจุภัณฑ์ นำเสนอโครงงาน 3.5 การประเมินผลการดำเนินการ 3.5.1 วัตถุดิบ 3.5.1.1 อกไก่ 3.5.1.2 ผงกะทิ 3.5.1.3 ผงมะนาว 3.5.1.4 พริกป่น 3.5.1.5 ตะไคร้ 3.5.1.6 ใบมะกรูด 3.5.1.7 น้ำตาลหญ้าหวาน 3.5.2 อุปกรณ์ 3.5.2.1 กระทะ 3.5.2.2 ตะหลิว 3.5.2.3 กระชอน 3.5.2.4 กระปุกเขย่า 3.5.2.5 ช้อนตวง
15 3.5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินการ 3.5.3.1 แบบทดสอบการให้คะแนนทางประสาทสัมผัส 3.5.3.2 เครื่องมือสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ google from 3.5.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการดำเนินการ 3.5.4.1 สร้างสูตรที่เหมาะสมในการทำผงโรยข้าวอกไก่แซบ ตารางที่ 3.2 ตารางแสดงปริมาณส่วนผสมของผงโรยข้าวอกไก่แซบทั้ง 3 สูตร วัตถุดิบ สูตรที่ 1 (ร้อยละ) สูตรที่ 2 (ร้อยละ) สูตรที่ 3 (ร้อยละ) อกไก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกป่น ผงกะทิ ผงมะนาว น้ำตาลหญ้าหวาน 48.8 57 58.8 12.2 8.5 5.9 12.2 8.5 5.9 9.8 5.8 3 4.9 8.6 8.8 4.9 5.8 8.8 7.2 5.8 8.8 ดังตารางที่ 2 จะได้ผงโรยข้าว 3 สูตรเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบความชอบของผู้บริโภค และ วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ สี กลิ่น รสและเนื้อสัมผัสของผงโรยข้าว
16 วิธีทำ ภาพที่ 3.1 ภาพกระบวนการผลิตผงโรยข้าว เตรียมส่วนผสมตามสูตร มาตราฐาน น าอกไก่มาต้มและมารวน น าอกไก่รวนและพักทิ้งไว้ให้ เย็น น าอกไก่และส่วนผสม น ้าตาลหญ้า หวาน พริกป่ น ผงมะนาว ใบมะกรูด ซอย ตะไคร้ซอยลงในกล่องผสม ปิดกล่องแล้วน าส่วนผสม ทั้งหมดเขย่าให้ทั้งหมดเขากันดี น าผงโรยข้าวบรรจุลงบรรจุภัณฑ์
17 3.5.4.2 นำแบบปะเมินผลที่ให้ครูปรึกษาโครงงานตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินผล จากผลการทดลองผงโรยข้าวอกไก่แซบ โดยการทดลองชิมและจัดเก็บโดยไม่มีต้นทุนนการ จัดเก็บผลิตภัณฑ์สูตรที่ทดลองแล้วได้รับการตอบรับดีที่สุดคือ สูตรที่ 2 ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ที่มี รสชาติกลมกล่อม อร่อย และลงตัวที่สุด ทำให้เป็นสูตรที่ดีที่สุดในการพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เนื่องจากได้รับความพึงพอใจมากที่สุด จากกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และบุคคลากรแผนกวิชาอาหาร และโภชนาการ ในการประเมินคุณภาพและรสชาติ จำนวน 100 คน 3.5.4.3 เก็บรวบรวมแบบประเมินผลมาวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมินผล โดย การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ ตารางที่ 3.3 ศึกษาสูตรมาตราฐานของผงโรยข้าวอกไก่แซบ สูตรมาตรฐานการทดสอบชิมจากผู้บริโภค 100 คน ปรากฏว่าสูตรที่ 2 ได้รับความนิยมสูงสุด ในทุกด้านลักษณะปรากฏสีอกไก่เข้ม สีอกไก่อ่อน กลิ่นเนื้ออกไก่แข็ง เนื้ออกไก่กรอบ รสชาติเค็มของ ผงโรยข้าว รสชาติเผ็ดของผงโรยข้าว รสชาติเปรี้ยวของผงโรยข้าว รสชาติรวม ความชอบรวมตรงตาม คุณสมบัติของผงโรยข้าวที่ดีทุกด้าน 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สูตรที่ 3
18 3.6 การวิเคราะห์ผลการประเมินผลการดำเนินการ 3.6.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ และความถูกต้องของแบบประเมินผล จากการสอบถามผู้บริโภค 100 คน โดยใช้การสอบถามผ่าน google from ตาม QR cord ข้างต้น สรุปผลได้ดังนี้ 3.6.2 วิเคราะห์การประเมินโดยใช้วิธีการร้อยละ และนำเสนอเป็นแบบตารางประกอบ ความเรียง ส่วนที่ 1 แบบสำรวจเพศและอายุ ตารางที่ 3.4 ตารางแสดงแบบสำรวจเพศ 0 10 20 30 40 50 60 เพศ ชาย หญิง
19 ตารางที่ 3.5 ตารางแสดงแบบสำรวจอายุ ส่วนที่ 1 การสำรวจเพศและอายุของผู้บริโภค พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 56 คน เป็น เพศชาย และผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 44 คน เป็นเพศหญิง ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 56 คน มีอายุ 19-22 ปี ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 26 คน มีอายุ 16-18 ปี ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 12 คน มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 6 คน มีอายุ 23-25 ปี 0 10 20 30 40 50 60 16-18 ปี 19-22 ปี 23-25 ปี 25 ปีขึ้นไป อายุ
20 ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค ตารางที่ 3.6 ตารางแสดงการเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผงโรยข้าวอกไก่ของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 81 คน เคย รับประทานผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผงโรยข้าว ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 19คน ไม่เคยรับประทานผลิตภัณฑ์ ใกล้เคียงผงโรยข้าว ตารางที่ 3.7 ตารางแสดงการมีอาการแพ้(MSG)หรือสารในผงชูรสของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 98 คน ไม่มีอาการแพ้(MSG)หรือสารในผงชูรส ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 2 คน มีอาการแพ้(MSG)หรือสาร ในผงชูรส 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 มีอาการ ไม่มีอาการ ท่านมีอาการแพ้(MSG)หรือสารในผงชูรสหรือไม่ 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 เคย ไม่เคย ท่านเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผงโรยข้าวอกไก่แซบหรือไม่
21 ตารางที่ 3.8 ตารางแสดงการมีอาการแพ้โปรตีนในเนื้อสัตว์(อกไก่)ของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 98 คน ไม่มีอาการแพ้โปรตีนในเนื้อสัตว์(อกไก่) ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 2 คน มีอาการแพ้โปรตีนใน เนื้อสัตว์(อกไก่) 0 2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 มีอาการ ไม่มีอาการ ท่านมีอาการแพ้โปรตีนในเนื้อสัตว์(อกไก่)หรือไม่
22 ตารางที่ 3.9 ตารางแสดงการเร่งรีบในการรับประทานอาหารในช่วงเวลาใดบ้างของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 61 คน เร่งรีบในการรับประทานอาหารในช่วงเวลาเช้า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 23 คน ไม่เร่งรีบใน การรับประทานอาหาร ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 12 คน เร่งรีบในการรับประทานอาหารใน ช่วงเวลากลางวัน ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 4 คน เร่งรีบในการรับประทานอาหารในช่วงเวลาเย็น ตารางที่ 3.10 ตารางแสดงการพบเห็นผงโรยข้าวจัดจำหน่ายในสถานที่ใดบ้างของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 60 คน เคยพบเห็นผงโรยข้าวจัดจำหน่ายที่ร้านสะดวกซื้อ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 36 คน เคยพบเห็นผง โรยข้าวจัดจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 4 คน เคยพบเห็นผงโรยข้าวจัด จำหน่ายที่ตลาด 0 10 20 30 40 50 60 70 ท่านเร่งรีบในการรับประทานอาหารในช่วงเวลาใดบ้าง 0 5 10 15 20 25 30 35 40 ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านสะดวกซื้อ ท่านเคยพบเห็นผงโรยข้าวจัดจ าหน่ายในสถานที่ใดบ้าง
23 ตารางที่ 3.11 ตารางแสดงการรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ชนิดใดบ้างของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 57 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อไก่ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 23 คน เคยรับประทานผง โรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อหมู ผู้ตอบแบบสำรวจ 13 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อกุ้ง ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 6 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อจระเข้ และผู้ตอบแบบ สำรวจจำนวน 1 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อวัว ตารางที่ 3.12 ตารางแสดงการประทานอาหารกี่มื้อต่อวันของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 64 คน รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 22 คน รับประทานอาหาร 2 มื้อต่อวัน ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 11 คน รับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อต่อวัน ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 3 คน รับประทานอาหาร 1 มื้อต่อวัน 0 10 20 30 40 50 60 ไก่ หมู วัว เนื้อจระเข้ กุ้ง ท่านเคยรับประทานผงโรยข้าวที่ท ามาจากเนื้อสัตว์ชนิดใดบ้าง 0 10 20 30 40 50 60 70 1 มื้อ 2 มื้อ 3 มื้อ มากกว่า 3 มื้อ ท่านรับประทานอาหารกี่มื้อต่อวัน
24 ตารางที่ 3.13 ตารางแสดงการประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 84 คน ไม่ได้รับประทานอาหารมังสวิรัติ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 16 คน รับประทานอาหารมังสวิรัติ ตารางที่ 3.14 ตารางแสดงการเลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบใดของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 58 คน เลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบซองพลาสติก ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 21 คน เลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์ แบบกระปุกพลาสติก และผู้ตอบแบบสำรวจ 21 เลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบซองกระดาษเท่ากับ บรรจุภัณฑ์แบบกระปุกพลาสติก 0 20 40 60 80 100 120 ใช่ ไม่ใช่ ท่านรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ 0 10 20 30 40 50 60 70 กระปุกพลาสติก ซองกระดาษ ซองพลาสติก ผลิตภัณฑ์ผงโรยที่ท่านเลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบใด
25 ตารางที่ 3.15 ตารางแสดงการเลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณเท่าใดของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 53 คน เลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณ 15 บาท ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 21 คน คน เลือกซื้ออยู่ในราคา ประมาณ 20 บาทขึ้นไป ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 15 คน เลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณ 10 บาท ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 9 คน เลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณ 20 บาท ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 2 คน เลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณ 5 บาท ตารางที่ 3.16 ตารางแสดงการเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวใดที่รสชาติแตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 47 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวสไตล์ไทยอีสานแตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 27 คน คน ไม่เคยรับประทานผงโรยข้าวใดที่รสชาติแตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 11 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวสไตล์ภาคเหนือแตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบ สำรวจจำนวน 11 คน คน เคยรับประทานผงโรยข้าวสไตล์ไทยซีฟู้ดแตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น เท่ากับผงโรยข้าวสไตล์ภาคเหนือ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 4 คน เคยรับประทานผงโรยข้าวสไตล์ปัก ใต้แตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น 0 20 40 60 ท่ายเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวใดที่รสชาติแตกต่างจากผงโรย ข้าวญี่ปุ่ น 0 10 20 30 40 50 60 5 บาท 10 บาท 15 บาท 20 บาท 20 บาทขึ้นไป ผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวที่ท่านเลือกซื้ออยู่ในราคาประมาณเท่าใด
26 ตารางที่ 3.17 ตารางแสดงผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับวัย จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 77 คน คิดว่าผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวเหมาะกับทุกเพศทุกวัย ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 12 คน คิดว่า ผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวเหมาะกับวัยผู้ใหญ่ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 10 คน คิดว่าผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว เหมาะกับวัยรุ่น ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 1 คน คิดว่าผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวเหมาะกับวัยผู้สูงอายุ ตารางที่ 3.18 ตารางแสดงประโยชน์ของผงโรยข้าว จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 78 คน ทราบประโยชน์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบว่าเพิ่มโปรตีนให้ร่างกาย และสะดวกสบายในการ รับประทานอาหารในช่วงเร่งรีบผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 15 คน ทราบประโยชน์ของผงโรยข้าว อกไก่แซบว่ามีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่ดีต่อร่างกายเเละลดระดับคอเลสเตอรอล ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 คน ทราบประโยชน์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบว่าอร่อย สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค 0 20 40 60 80 100 ท่านคิดว่าผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวเหมาะกับวัยใดบ้าง 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 ท่านทราบประโยชน์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบหรือไม่
27 ตารางที่ 3.19 ตารางแสดงนิยมรับประทานผงโรยข้าวอกไก่กับข้าวชนิดใดบ้างของผู้บริโภค จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 60 คน รับประทานผงโรยข้าวกับข้าวหอมมะลิ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 16 คน รับประทานผงโรยข้าว กับข้าวเหนียวผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 10 คน รับประทานผงโรยข้าวกับข้าวญี่ปุ่น ผู้ตอบ แบบสอบถามจำนวน 8 คน รับประทานผงโรยข้าวกับข้าวกล้อง ผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 3.20 ตารางแสดงปริมาณของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวต่อ 1 บรรจุภัณฑ์ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 71 คน คิดว่าขนาดของผลิตภัณฑ์ 1 บรรจุภัณฑ์ควรมี 15 กรัม ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 17 คน คิดว่าขนาด ของผลิตภัณฑ์ 1 บรรจุภัณฑ์ควรมี 20 กรัม ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 12 คน คิดว่าขนาดของ ผลิตภัณฑ์ 1 บรรจุภัณฑ์ควรมี 10 กรัม 0 10 20 30 40 50 60 70 ท่านนิยมรับประทานผงโรยข้าวอกไก่กับข้าวชนิดใดบ้าง 0 20 40 60 80 10 กรัม 15 กรัม 20 กรัม ท่านคิดว่าขนาดรับประทานของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบควรมี ปริมาณต่อ1บรรจุภัณฑ์เท่าใด
28 ตารางที่ 3.21 ตารางแสดงความคิดเห็นของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 59 คน มีความคิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์สะดวกสบายในการรับประทานอาหารได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวน 20 คน มีความคิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์ใหม่น่าทดลอง ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 13 คน มีความ คิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์เพิ่มโปรตีนให้กับร่างกายและดีต่อสุขภาพ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 8 คน มีความ คิดเห็นว่าควรเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก ตารางที่ 3.22 ตารางแสดงการยอมรับของผลิตภัณฑ์หากวางขายในราคา 9 บาท จากการการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 99 คน ยอมรับหากผลิตภัณฑ์วางขายในราคา 9 บาท ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 1 คน ไ ม ่ ย อ ม รั บ หากผลิตภัณฑ์วางขายในราคา 9 บาท 0 10 20 30 40 50 60 70 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 0 20 40 60 80 100 120 ยอมรับ ไม่ยอมรับ หากมีผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบบรรจุพร้อมรับประทาน ในราคา 9 บาท ท่านยอมรับหรือไม่
29 ตารางที่ 3.23 ตารางแสดงความสนใจในการซื้อผลิตภัณฑ์วางขาย จากการการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 93 คน สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 6 คน พิจารณาในการซื้อ ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 1 คน ไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ 3.6.3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการประเมินผลการดำเนินการ 3.6.3.1 ค่าร้อยละ สูตรการหาค่าร้อยละ X 100 × จำนวนเต็ม 3.6.3.2 สูตรการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย = ข้อมูลทั้งหมด จำนวนของข้อมูล 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ซื้อ ไม่ซื้อ พิจารณา หากมีผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบวางขาย ท่านสนใจซื้อหรือไม่
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน/ผลการศึกษา จากการจัดทำโครงการ ผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตร มาตรฐานของผงโรยข้าวอกไก่แซบ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าว อกไก่แซบ จนถึงเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ 4.1 ผลการศึกษาสูตรมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ผลการศึกษาสูตรมาตรฐานปรากฏว่าสูตรที่ 2 ซึ่งมีส่วนผสมต่างๆ ดังนี้ ใบมะกรูด 15กรัม ตะไคร้ 15 กรัม อกไก่ 100 กรัม เกลือ 5 กรัม น้ำตาลหญ้าหวาน 10 กรัม พริกป่น 10 กรัมและ ผง กะทิ 10 กรัม คือสูตรมาตรฐานที่ 2 ที่ได้รับสูตรที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ คัดเลือกสูตรมาตรฐานและวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ ผลการคัดเลือก สูตรมาตรฐานของกระบวนการผลิตเหมาะสมจำนวน 3 สูตร โดยใช้รสชาติที่แตกต่างกัน สูตรที่ 1 เป็น รสชาติ ต้มยำ สูตรที่ 2 เป็นรสชาติ ต้มยำน้ำข้น เพิ่มผงกะทิ 10 กรัมแตกต่างจากสูตร 1 และสูตร ที่ 3 เป็นรสชาติ หมาล่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ จำนวน 3 สูตร ด้วยการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส (9 Point Hedonic Scale Test) ทางด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และความกรอบ โดยใช้ผู้ทดสอบ จำนวน 100 คน พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ สูตรที่ 2 เป็นรสชาติ ต้มยำน้ำข้น เพิ่มผง กะทิ 10 กรัม รายงานดังผลตารางที่ 4.1
31 ตารางที่ 4.1 แสดงปริมาณของความพึงพอใจของผู้บริโภค 100 คนของผงโรยข้าวอกไก่แซบทั้ง 3 สูตร สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สูตรที่ 3 ลักษณะปรากฎ สีอกไก่เข้ม สีอกไก่อ่อน กลิ่น เนื้ออกไก่แข็ง เนื้ออกไก่กรอบ รสชาติเค็มของ รสชาติเผ็ด รสชาติเปรี้ยวของ รสชาติรวม ความชอบรวม 5.58 7.91 5.49 5.64 6.89 5.45 5.76 6.81 5.61 5.92 8.35 5.92 6.42 7.78 6.42 6.26 8.94 6.26 3.86 7.05 3.73 4.79 8.96 4.25 3.88 8.87 4.66 2.9 8.67 3.03 2.63 8.64 3.18 จากตารางที่ 4.1 พบว่าทั้ง 3 สูตรมีความชอบแตกต่างกันในบางรายการ ปรากฏว่าสูตรที่ 2 ได้รับความนิยมสูงสุดในผู้บริโภค ทุกด้านลักษณะปรากฏสีอกไก่เข้ม สีอกไก่อ่อน กลิ่น เนื้ออกไก่แข็ง เนื้ออกไก่กรอบรสชาติเค็มของผงโรยข้าว รสชาติเผ็ดของผงโรยข้าว รสชาติเปรี้ยวของผงโรยข้าว รสชาติรวม ความชอบรวม ตรงตามคุณสมบัติของผงโรยข้าวที่ดีทุกด้าน
32 4.3 ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบจากผู้บริโภค 100 คน ส่วนที่ 1 แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จำนวน 100 คน เป็นแบบสอบถามประเภทเลือกตอบ โดยการหาค่าร้อยละ และนำเสนอในรูปแบบ ตารางประกอบความเรียง ได้แก่ เพศ และอายุ รายงานผลดังแสดงในตารางที่4.2 ตารางที่ 4.2 แสดงจำนวนและร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม รายการ จำนวน (คน) ร้อยละ 1.เพศ ชาย 44 44.00 หญิง 56 56.00 รวม 100 100.00 2.อายุ 16-18 ปี 26 26.00 19-22 ปี 56 56.00 23-25 ปี 6 6.00 25 ปีขึ้นไป 12 12.00 รวม 100 100.00 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม เป็นข้อมูลที่ดำเนินการสำรวจเพื่อ นำไปใช้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ รายงานสำรวจได้ดังแสดงตารางที่ 4.3
33 ตารางที่ 4.3 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถาม ความถี่ ร้อยละ 3. ท่านเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผงโรยข้าวอกไก่แซบ หรือไม่ เคย 81 81.00 ไม่เคย 19 19.00 รวม 100 100.00 4.ท่านมีอาการแพ้(MSG)หรือสารในผงชูรสหรือไม่ มีอาการ 2 2.00 ไม่มีอาการ 98 98.00 รวม 100 100.00 5.ท่านมีอาการแพ้โปรตีนในเนื้อสัตว์(อกไก่)หรือไม่ มีอาการ 2 2.00 ไม่มีอาการ 98 98.00 รวม 100 100.00 6.ท่านเร่งรีบในการรับประทานอาหารในช่วงเวลาใดบ้าง ช่วงเช้า 61 61.00 ช่วงกลางวัน 12 12.00 ช่วงเย็น 4 4.00 ไม่เร่งรีบในการรับประทานอาหาร 23 23.00 รวม 100 100.00 7.ท่านเคยพบเห็นผงโรยข้าวจัดจำหน่ายในสถานที่ใดบ้าง ห้างสรรพสินค้า 36 36.00 ตลาด 4 4.00 ร้านสะดวกซื้อ 60 60.00 รวม 100 100.00
34 ตารางที่ 4.4 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถาม ความถี่ ร้อยละ 8.ท่านเคยรับประทานผงโรยข้าวที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ชนิด ใดบ้าง ไก่ 57 57.00 หมู 23 23.00 วัว 1 1.00 เนื้อจระเข้ 6 6.00 กุ้ง 13 13.00 รวม 100 100.00 9.ท่านรับประทานอาหารกี่มื้อต่อวัน 1 มื้อ 3 3.00 2 มื้อ 22 22.00 3 มื้อ 64 64.00 มากกว่า 3 มื้อ 3 3.00 รวม 100 100.00 10.ท่านรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ ใช่ 16 16.00 ไม่ใช่ 84 84.00 รวม 100 100.00 11.ผลิตภัณฑ์ผงโรยที่ท่านเลือกซื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบใด กระปุกพลาสติก 21 21.00 ซองกระดาษ 21 21.00 ซองพลาสติก 58 58.00 รวม 100 100.00
35 ตารางที่ 4.5 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถาม ความถี่ ร้อยละ 12. ท่านเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงผงโรยข้าวอกไก่แซบ หรือไม่ เคย 81 81.00 ไม่เคย 19 19.00 รวม 100 100.00 13.ท่ายเคยรับประทานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวใดที่รสชาติ แตกต่างจากผงโรยข้าวญี่ปุ่น ผงโรยข้าวสไตล์ไทยอีสาน 47 47.00 ผงโรยข้าวสไตล์ปักใต้ 4 4.00 ผงโรยข้าวสไตล์ไทยซีฟู้ด 11 11.00 ผงโรยข้าวสไตล์ภาคเหนือ 11 11.00 ไม่เคยเลย 27 27.00 รวม 100 100.00 14.ท่านคิดว่าผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวเหมาะกับวัยใดบ้าง วัยเด็ก 0 0.00 วัยรุ่น 10 10.00 วัยผู้ใหญ่ 12 12.00 วัยผู้สูงอายุ 1 1.00 เหมาะกับทุกเพศทุกวัย 77 77.00 รวม 100 100.00 15.ท่านทราบประโยชน์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบหรือไม่ อร่อย สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค 7 7.00 เพิ่มโปรตีนให้ร่างกาย และสะดวกสบายในการรับประทาน อาหารในช่วงเร่งรีบ 78 78.00 มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่ดีต่อร่างกายเเละลดระดับคอเลสเตอรอล 15 15.00 รวม 100 100.00
36 ตารางที่ 4.6 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถาม ความถี่ ร้อยละ 16.ท่านนิยมรับประทานผงโรยข้าวอกไก่กับข้าวชนิดใดบ้าง ข้าวญี่ปุ่น 10 10.00 ข้าวหอมมะลิ 60 60.00 ข้าวกล้อง 8 8..00 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 6 6.00 ข้าวเหนียว 16 16.00 รวม 100 100.00 17. ท่านคิดว่าขนาดรับประทานของผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่ แซบควรมีปริมาณต่อ1บรรจุภัณฑ์เท่าใด 10 กรัม 12 12.00 15 กรัม 71. 71.00 20 กรัม 17 17.00 รวม 100 100.00 18. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่ แซบ ผลิตภัณฑ์ใหม่น่าทดลอง 20 20.00 ผลิตภัณฑ์เพิ่มโปรตีนให้กับร่างกายและดีต่อสุขภาพ 13 13.00 ผลิตภัณฑ์สะดวกสบายในการรับประทานอาหารได้ทุกที่ทุกเวลา 59 59.00 ผลิตภัณฑ์ทางเลือก 8 8.00 รวม 100 100.00 19.หากมีผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบบรรจุพร้อม รับประทาน ในราคา 9 บาท ท่านยอมรับหรือไม่ ยอมรับ 99 99.00 ไม่ยอมรับ 1.00 รวม 100 100.00
37 ตารางที่ 4.7 ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ) ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถาม ความถี่ ร้อยละ หากมีผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบวางขาย ท่านสนใจซื้อ หรือไม่ ซื้อ 93 93.00 ไม่ซื้อ 1 1.00 พิจารณา 6 6.00 รวม 100 100.00
บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินงาน การศึกษาโครงงานผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรมาตรฐาน ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ จนถึงเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวอกไก่แซบ สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ 5.1 สรุปผลการดำเนินงาน ผลการศึกษาสูตรมาตรฐานและวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ ผลการ คัดเลือกสูตรมาตรฐานของกระบวนการผลิตเหมาะสมจำนวน 3 สูตร โดยใช้รสชาติที่แตกต่างกัน สูตรที่ 1 เป็นรสชาติต้มยำสูตรที่ 2 เป็นรสชาติ ต้มยำน้ำข้น เพิ่มผงกะทิ 10 กรัมแตกต่างจากสูตร 1 และสูตร ที่ 3 เป็นรสชาติหมาล่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ จำนวน 3 สูตร ด้วยการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส (9 Point Hedonic Scale Test) ทางด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และความกรอบ โดยใช้ผู้ทดสอบ จำนวน 100 คน พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ สูตรที่ 2 เป็นรสชาติ ต้มยำน้ำข้น เพิ่มผง กะทิ 10 กรัม ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ โดยสอบถามการบริโภคผงโรยข้าวใน ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค 100 คน พบว่าผู้บริโภคชื่นชอบรับประทานอาหารที่มีรสชาติเข้มข้นร้อย ละ 47 และยอมรับผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบร้อยละ 99 5.2 ประโยชน์ที่ได้รับ 5.2.1 ได้สูตรมาตราฐานผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 5.2.2 ได้ผลความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 5.2.3 ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของผงโรยข้าวอกไก่แซบ 5.3 ปัญหาและอุปสรรค ความกรอบและความแข็งของอกไก่ ในขั้นตอนการรวนทำให้บางครั้งปริมาณน้ำในอกไก่มี มากหรือมีน้อยทำให้ตัวอกไก่ที่รวนมีลักษณะที่แข็งหรือแห้งไม่มากพอทำให้ตัวอกไก่ไม่กรอบ 5.4 ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาส่วนผสมให้มากขึ้น และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมาตราฐานกว่าเดิม
บรรณานุกรม [1] “งานวิจัยเกี่ยวกับผงโรยข้าว”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://riss.rmutsv.ac.th/ (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [2] “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [3] “ผง โรย ข้าว”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://ifrpd.ku.ac.th › products › ifrpd-rurikake-rice (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [4] “เครื่องต้มยำ”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://th.wikipedia.org/wiki (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [5] “เครื่องต้มยำ สุดยอดสมุนไพรไทย”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/479044 (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [6] “ประโยชน์ดีๆจาก อกไก่ พร้อมข้อระวัง”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://www.sanook.com/health/25333 (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [7] “พริกป่น”(ออนไลน์),2547,สืบค้นจาก: https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/4098 (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [8] “รีวิวผงกะทิสำเร็จรูป ยี่ห้อไหนดีในปี2020”(ออนไลน์),2563,สืบค้นจาก: https://bestreview.asia/best-coconut-milk-powder/ (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [9] “น้ำมะนาวผง”(ออนไลน์),2547,สืบค้นจาก: https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3907 (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566)
30 บรรณานุกรม (ต่อ) [10] “หญ้าหวาน สมุนไพรทางเลือกของคนรักสุขภาพ”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://shopee.co.th › shop-best-stevia (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [11] “ตะไคร้”(ออนไลน์),2565,สืบค้นจาก: https://th.wikipedia.org/wiki (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [12] “ใบมะกรูด”(ออนไลน์),2565,สืบค้นจาก: https://th.wikipedia.org/wiki (วันที่สืบค้น: 24 มกราคม 2566) [13] “ซองบรรจุภัณฑ์ คืออะไร มีกี่ประเภท”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://plusprinting.bookplus.co.th/sachet_packging/ (วันที่สืบค้น: 30 มกราคม 2566) [14] “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://www.tisi.go.th/data/standard/pdf/a1027_2564_17052564.pdf (วันที่สืบค้น: 30 มกราคม 2566) [15] “งานวิจัยเกี่ยวกับผงโรยข้าว”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://riss.rmutsv.ac.th (วันที่สืบค้น: 6 กุมภาพันธ์ 2566) [16] “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสและผงโรยข้าวจากถั่วเหลืองหมักพื้นบ้าน”(ออนไลน์),2566, สืบค้นจาก: https://ph02.tci-thaijo.org (วันที่สืบค้น: 6 กุมภาพันธ์ 2566) [17] “การพัฒนาผงโรยข้าวรสบูดูจากปลานิลจิตรลดารมควันร้อน”(ออนไลน์),2566,สืบค้นจาก: https://www.car.chula.ac.th (วันที่สืบค้น: 6 กุมภาพันธ์ 2566)