The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการประชุมแถลงผลงาน ปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sathaporn chotechung, 2025-03-13 21:45:34

เอกสารประกอบการประชุมแถลงผลงาน ปี 2565

เอกสารประกอบการประชุมแถลงผลงาน ปี 2565

ก สารบัญ ชื่อการทดลอง หน้า สถานการณ์อ้อยและน้ำตาล ปีการผลิต 2565/2566 1 การศึกษาปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยระบบเกษตรอินทรีย์ 6 การศึกษาวิธีกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยในระบบเกษตรอินทรีย์ 10 การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2556 เขตน้ำฝน 14 การผสมพันธุ์อ้อยชุดปี 2564-2566 18 การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2559 สำหรับสภาพชลประทานและน้ำเสริม 22 การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรโคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทานและน้ำเสริม 26 การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของอ้อยโคลนดีเด่นชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทาน และน้ำเสริม 30 ศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคแส้ดำของโคลนอ้อยดีเด่นโคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพ ชลประทานและน้ำเสริม 36 ผลของการจัดการเศษซากอ้อยต่อการย่อยสลายและการให้ผลผลิตอ้อย 38 ผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโตและการสูญเสียผลผลิตของอ้อย 40 การผสมพันธุ์อ้อยคั้นน้ำในเขตชลประทาน 42 การรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ข้าวฟ่าง 43 การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรพันธุ์ข้าวฟ่างหวานเพื่อผลผลิตและคุณภาพสูง 46 การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร พันธุ์ข้าวโพดหวาน 48 การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว 52 ศึกษาการจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคเหี่ยวเน่าแดง: ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาวิธีการเก็บรักษา เชื้อรา Colletotrichum falcatum และ Fusarium moniliforme สาเหตุของ โรคเหี่ยวเน่าแดงในอ้อย 55 การศึกษาอายุเก็บเกี่ยวมี่เหมาะสมต่อการใช้เครื่องเกี่ยวแบบวางรายที่มีผลต่อผลผลิตและ คุณภาพเมล็ดพันธุ์งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 58 ศึกษาอัตราการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง Steinernema carpocapsae สูตรผงละลายน้ำ ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย (Phyllotreta sinuata Stephans) ในพืชตระกูล กะหล่ำ 64


ข กำหนดการ ประชุมแถลงผลงานวิจัยอ้อยและพืชอื่นๆ ประจำปี 2565 : 2022 วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ณ อาคารฝึกอบรม ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และระบบ Zoom Cloud Meeting (ID: 997 2866 0488 Passcode: 123456) ............................................ ❖ ภาคเช้า 08-00 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.30 น. พิธีเปิด ประธานในพิธีเปิดการประชุม โดย นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กล่าวรายงาน โดย นายอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 09.30 – 09.45 น. สถานการณ์อ้อย โดย นายสถาพร โชติช่วง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ • ประธาน : นางสาวระพีพันธุ์ ชั่งใจ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ • เลขานุการ : นางสาวกนกวรรณ สุขกรม นักวิชาการเกษตร โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่ระบบอินทรีย์ โครงการย่อยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอินทรีย์ กิจกรรม 1. การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตอ้อยในระบบเกษตรอินทรีย์ 09.45 – 10.00 น. การศึกษาปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสม ในการผลิตอ้อยระบบเกษตรอินทรีย์ โดย นางสาวช่ออ้อย กาฬภักดี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ 10.00 – 10.15 น. การศึกษาวิธีกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยระบบเกษตรอินทรีย์ โดย นางสาวช่ออ้อย กาฬภักดีนักวิชาการเกษตรชำนาญการ 10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมชีวภาพ โครงการย่อยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่อเพิ่มสมรรถนะการให้ผลผลิตในเขตดินร่วน ร่วนเหนียว และ ดินเหนียวด้วยเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์สมัยใหม่ กิจกรรม 1. การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อเพิ่มสมรรถนะการให้ผลผลิตที่เหมาะสมกับดินร่วน ร่วนเหนียว และ ดินเหนียว


ค 10.30 – 10.45 น. การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2556 ที่เหมาะสมกับเขตดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว โดย นางสาวปิยธิดา อินทร์สุข นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โครงการย่อยการปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานด้วยนวัตกรรมเพื่อการผลิตในเขตชลประทานและน้ำเสริม กิจกรรม 1. การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานภายใต้สภาพชลประทานและน้ำเสริม 10.45 – 11.00 น. การผสมพันธุ์อ้อยชุดปี 2564-2566 สำหรับสภาพชลประทานและน้ำเสริม โดย นายอุดมศักดิ์ ดวนมีสุข ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี 11.10 – 11.15 น. การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2559 สำหรับสภาพชลประทานและ น้ำเสริม โดย นางสาวอัจฉราภรณ์ วงศ์สุขศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ 11.15 – 11.30 น. การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรโคลนอ้อย ชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทานและ น้ำเสริม โดย นายสุวัฒน์ พูลพาน นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กิจกรรม 2. การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโคลนดีเด่นที่เหมาะสมกับเขต ชลประทานและน้ำเสริม 11.30 – 11.45 น. การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของอ้อยโคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพ ชลประทานและน้ำเสริม โดย นางวาสนา วันดี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ 11.45 – 12.00 น. ศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคแส้ดำของโคลนอ้อยดีเด่น โคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพ ชลประทานและน้ำเสริม โดย นางสาวอุไรวรรณ พงษ์พยัคเลิศ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ❖ ภาคบ่าย • ประธาน : นางนงลักษ์ ปั้นลาย นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ • เลขานุการ : นางสาวเมสินี เกษสกุล นักวิชาการเกษตร โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะ โครงการย่อยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะ กิจกรรม 1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย 13.00 – 13.15 น. ผลของการจัดการเศษซากอ้อยต่อการย่อยสลายและการให้ผลผลิตอ้อย โดย นางสาวสุมาลี โพธิ์ทอง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ


ง 13.15 – 13.30 น. ผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโตและการสูญเสียผลผลิตของอ้อย โดย นางสาวสุมาลี โพธิ์ทอง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชไร่อื่นเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่า โครงการย่อยวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยคั้นน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ กิจกรรม 2. การพัฒนาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยคั้นน้ำในเขตชลประทาน 13.30 – 13.45 น. การผสมพันธุ์อ้อยคั้นน้ำในเขตชลประทาน โดย นางสาวปิยธิดา อินทร์สุข นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โครงการย่อยวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชไร่เฉพาะกลุ่ม (อ้อย อาหารสัตว์ ข้าวฟ่าง) เพื่อผลผลิตและคุณค่า ทางโภชนาการ กิจกรรม 1. วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวฟ่างเพื่อผลผลิตและคุณภาพ 13.45 – 14.00 น. การรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ข้าวฟ่าง โดย นายสมบูรณ์ วันดี นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ 14.00 – 14.15 น. การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรพันธุ์ข้าวฟ่างหวานเพื่อผลผลิตและคุณภาพสูง โดย นายสุวัฒน์ พูลพาน นักวิชาการเกษตรชำนาญการ 14.15 – 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดฝักสดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป อาหารและบริโภคฝักสด โครงการย่อยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตคุณภาพบริโภคและทนทานต่อโรค ใบไหม้แผลใหญ่ กิจกรรม 1. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน 14.30 – 14.45 น. การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรข้าวโพดหวาน โดย นายสมบูรณ์ วันดี นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ โครงการย่อยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและ คุณภาพบริโภค กิจกรรม 1. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว 14.45 – 15.00 น. การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรข้าวโพดข้าวเหนียว โดย นายสมบูรณ์ วันดี นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน โครงการย่อยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูอ้อย กิจกรรม 2. การป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวเน่าแดงในอ้อย


จ 15.00 – 15.15 น. ศึกษาการจำแนกเชื้อราสาเหตุเหี่ยวเน่าแดง ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาวิธีการเก็บรักษา เชื้อรา C. falcatum และ F. moniliforme สาเหตุของโรคเหี่ยวเน่าแดงในอ้อย โดย นางสาวอุไรวรรณ พงษ์พยัคเลิศ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โครงการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โครงการย่อยการเกษตรผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่โดยการประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลการเกษตร กิจกรรม 1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์งาด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร 15.15 – 15.30 น. ศึกษาอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมต่อการใช้เครื่องเกี่ยวแบบวางรายที่มีผลต่อคุณภาพ เมล็ดพันธุ์งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี โดย นางสาวระพีพันธุ์ ชั่งใจ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ โครงการวิจัยนวัตกรรมการผลิตและเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืช เพื่อการอารักขาพืช อย่างยั่งยืน โครงการย่อยวิจัยและพัฒนาการผลิตและการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช กิจกรรม 2. เทคโนโลยีการใช้เชื้อราสาเหตุโรคแมลงและไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ในการควบคุม แมลงศัตรูผัก 15.30 – 15.45 น. ศึกษาอัตราการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง Steinernerma carpocapsae สูตรผง ละลายน้ำในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย (Phyllotreta sinuate stephens) ในพืชตระกูลกะหล่ำ โดย นางสาวช่ออ้อย กาฬภักดี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ 15.45 – 16.00 น. สรุปผล และแนวทางการวิจัยในอนาคต โดย นางวาสนา วันดี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 16.00 – 16.30 น. พิธีปิดการประชุม โดย นายอนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี


1 สถานการณ์อ้อยและน้ำตาล ปีการผลิต 2565/2566 สถานการณ์ของโลก ▪ ด้านการผลิต ในปีการผลิต 2564/65 ทั่วโลกมีผลผลิตอ้อย 1,859 ล้านตัน (Knoema, 2023) ปี 2565/66 ผลิต น้ำตาลได้ 183.15 ล้านตัน โดย 10 ประเทศที่มีการผลิตน้ำตาลสูงสุด คือ บราซิล อินเดีย สหภาพยุโรป ไทย จีน อเมริกา ปากีสถาน รัสเซีย เม็กซิโก และออสเตรเลีย ในขณะที่การบริโภคน้ำตาลของโลกปี 2565/66 อยู่ที่ 176.37 ล้านตัน มีการขยายตัวร้อยละ 2.27 จากปี 2564/65 ในปี 2565/66 มีน้ำตาลสมดุลอยู่ที่ 6.78 ล้านตัน แต่ในปี 2564/65 มีน้ำตาลขาดดุลอยู่ที่ 0.53 ล้านตัน (United States Department of AgricultureSugar, 2023) ดังนั้น เมื่อรวมกับสมดุลน้ำตาลของทั้งสองปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า น้ำตาลในตลาดโลก สมดุลอยู่ประมาณ 6.25 ล้านตัน (ตารางที่ 1) การผลิตน้ำตาลทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการผลิตที่สูงขึ้นในประเทศบราซิลและจีน ทำให้มีแนวโน้ม ว่าการบริโภคน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์จากการเติบโตของตลาดในประเทศจีน อินโดนีเซีย และรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้น แม้การส่งออกจากประเทศอินเดียจะลดลงแต่ถูกชดเชยด้วย การส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากประเทศบราซิลและประเทศไทย คาดการณ์ว่าประเทศจีนจะนำเข้าน้ำตาลลดลง เพื่อลดสต็อกไว้สำหรับการบริโภคในประเทศ การส่งออกของประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น (United States Department of AgricultureSugar, 2023) ตารางที่ 1 ผลผลิต การบริโภค การส่งออก และการนำเข้าน้ำตาลของโลกปีการผลิต 2558/59 - 2565/66 หน่วย : ล้านตัน ปีการผลิต ผลผลิต บริโภค ส่งออก นำเข้า สมดุล 2558/59 164.74 169.25 53.87 54.64 -4.51 2559/60 174.05 170.59 59.01 54.41 3.46 2560/61 194.26 173.27 64.33 54.14 20.99 2561/62 179.66 172.62 56.01 51.53 7.04 2562/63 166.18 171.58 54.12 50.71 -5.40 2563/64 169.03 171.33 62.75 62.79 -2.30 2564/65 171.91 172.44 58.26 58.05 -0.53 2565/66 183.15 176.37 69.25 57.39 6.78 ที่มา : United States Department of AgricultureSugar (2023)


2 ▪ ด้านการตลาด สถานการณ์ตลาดน้ำตาลทรายดิบนิวยอร์คประจำสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2566 (วันที่ 1-5 พฤษภาคม 2566) ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 18 ของ ปี 2566 โดยราคาน้ำตาลทรายดิบในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวผันผวน และปิดตลาดครั้งสุดท้ายด้วยราคาที่ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วงต้นสัปดาห์ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาด นิวยอร์คปรับลดลงมากตามน้ำตาลที่ส่งมอบต่อตลาดจำนวนมาก เมื่อสัญญาเดือนพฤษภาคม 2566 สิ้นสุด ระยะเวลาในการซื้อขายลงเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการขายน้ำตาลจริงอย่างหนักหน่วง ประกอบกับการเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ของบราซิลในปีนี้ดีกว่าปีก่อน ต่อมาราคาน้ำตาลได้รับแรงกดดันจาก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงกว่า 5% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ จากนั้นในช่วงท้ายสัปดาห์ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นพอประมาณตามค่าเงินเรียลบราซิลที่แข็งสุดในรอบ 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ โดยค่าเงินที่แข็งขึ้นทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลในบราซิลไม่อยากขายน้ำตาล เนื่องจากได้รับรายได้จากการ ส่งออกที่เป็นเงินเรียลบราซิลลดลง รวมถึงตลาดได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น กว่า 4% ราคาน้ำตาลตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเดือนกรกฎาคม 2566 เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 24.88 – 26.50 เซนต์ต่อปอนด์และปิดตลาดครั้งสุดท้ายที่ 26.32 เซนต์ต่อปอนด์ลดลงจากสัปดาห์ก่อน -0.03 เซนต์ต่อปอนด์ หรือ -0.11% และราคาน้ำตาลตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเดือน ตุลาคม 2566 เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 24.57 – 26.17 เซนต์ต่อปอนด์และปิดตลาดครั้งสุดท้ายที่ 25.97 เซนต์ต่อปอนด์ลดลงจากสัปดาห์ก่อน -0.04 เซนต์ต่อ ปอนด์ หรือ -0.15% (บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด, 2566) สถานการณ์ในประเทศ ▪ ด้านการผลิต ปีการผลิต 2564/65 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อย 11.02 ล้านไร่ โดยมีการคาดการณ์ว่าในปีการผลิต 2565/2566 จะมีพื้นที่ปลูกอ้อย 10.10 ล้านไร่ ซึ่งลดลงอันเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ราคาต้นทุนการผลิตที่เพิ่ม สูงขึ้น และเกษตรกรชาวไร่อ้อยหันไปปลูกมันสำปะหลังที่มีราคาดีแทน โดยคาดการณ์พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.66 ล้านไร่ รองลงมา คือ ภาคกลาง 2.48 ล้านไร่ ภาคเหนือและภาค ตะวันออก 2.4 และ 0.55 ล้านไร่ ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากสุด 10 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุดรธานีนครราชสีมา กาญจนบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิลพบุรีสุพรรณบุรีและเพชรบูรณ์ (สำนักงาน อ้อยและน้ำตาลทราย, 2565) ปีการผลิต 2565/2566 มีโรงงานน้ำตาลเปิดหีบอ้อยทั้งสิ้น 57 โรงงาน มีปริมาณอ้อยเข้าโรงงาน 93.07 ล้านตัน แยกเป็นอ้อยสด จำนวน 63.10 ล้านตัน และอ้อยไฟไหม้จำนวน 30.78 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 1.81 ล้านตัน คิดเป็น 1.97% (ไทยรัฐ, 2566) มีค่าความหวาน เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 13.32 ซีซีเอส โดยปีการผลิต 2564/2565 มีค่าความหวานเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 12.71 ซีซีเอส (โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย, 2566) มีประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยอยู่ที่ 117.41 กิโลกรัมต่อตันอ้อย เมื่อเทียบกับปีการผลิต 2564/2565 พบว่า เพิ่มขึ้น 7.34 กิโลกรัมต่อตันอ้อย คิดเป็นร้อยละ 6.66 ในปี 2565/66 ผลิตน้ำตาลทรายได้ทั้งสิ้น 11.02 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 10.13 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมาหรือ คิดเป็นร้อยละ 8.78 (ตารางที่ 2)


3 ▪ การบริโภคและการส่งออก ความต้องการบริโภคน้ำตาลในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 39% ของปริมาณจำหน่ายน้ำตาลไทย โดยแบ่งเป็นความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง 57.7% และที่เหลืออีก 42.3% เป็นความต้องการใช้ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ (ทางอ้อม) เช่น เครื่องดื่มคิดเป็นสัดส่วน 41.5% ของปริมาณการใช้ น้ำตาลทรายทางอ้อมทั้งหมด) รองลงมาเป็นอาหาร 28.1% ผลิตภัณฑ์นม 18.8% และอื่นๆ 11.6% การส่งออกของไทยมีสัดส่วนคิดเป็น 61% ของปริมาณจำหน่ายน้ำตาลทั้งหมดของไทย โดยตลาด ส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วน 18.9% ของปริมาณส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำตาลทั้งหมด กัมพูชา 9.0% เวียดนาม 6.2% เกาหลีใต้ 5.0% และไต้หวัน 4.3% หากพิจารณาแยกรายผลิตภัณฑ์ในปี 2564 สรุปได้ดังนี้ น้ำตาลทรายดิบ ปริมาณส่งออก 1.8 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 46.6% ของปริมาณส่งออกผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทั้งหมด โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย สัดส่วน 59.1% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายดิบ ทั้งหมด เกาหลีใต้ 11.5% เวียดนาม 9.4% ญี่ปุ่น 7.3% และไต้หวัน 7.0% น้ำตาลทรายขาว ปริมาณส่งออก 1.9 ล้านตัน สัดส่วน 49.8% ตลาดหลัก ได้แก่ กัมพูชา 27.9% ของปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายขาวทั้งหมด เวียดนาม 10.6% และฟิลิปปินส์ 8.1% และกากน้ำตาล ปริมาณส่งออก 0.1 ล้านตัน สัดส่วน 3.6% ตลาด ส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น 78.8% ของปริมาณส่งออกโมลาสทั้งหมด เกาหลีใต้ 8.8% และฟิลิปปินส์ 8.8% (ธนาคารกรุงศรี, 2566) ตารางที่ 2 การผลิตอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทย ปีการผลิต2555/56-2564/65 ปีการผลิต พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ปริมาณอ้อย (ล้านตัน) ผลผลิตน้ำตาล (กก./ตันอ้อย) ปริมาณน้ำตาล (ตัน/ไร่) 2555/56 9.49 100.00 100.24 10.02 2556/57 10.08 103.66 109.32 11.33 2557/58 10.53 105.96 106.66 11.34 2558/59 11.01 94.05 104.05 9.78 2559/60 10.99 92.95 107.81 10.02 2560/61 11.54 134.93 109.03 14.71 2561/62 12.24 130.97 111.33 14.58 2562/63 11.96 74.89 110.75 8.29 2563/64 10.86 66.66 113.81 7.58 2564/65 11.02 92.07 110.07 10.13 2565/66 10.10 93.88 117.41 11.20 ที่มา : สำนักงานอ้อยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, (2565) สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย, (2566) โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย, (2566) ผู้จัดการออนไลน์, (2566)


4 ▪ แนวโน้มการผลิตในอนาคต คาดการณ์แนวโน้มฤดูการผลิตปี 2566/67 จะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 100 ล้านตัน (ไทยรัฐ, 2566) โดยการผลิตปี 2566/67 มีแนวโน้มว่าผลผลิตจะได้รับผลกระทบจากภาวะแล้งที่ยาวนาน ส่งผลต่อ การแตกกอของอ้อยซึ่งจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง ประกอบกับคาดว่าเกษตรกรบางส่วนจะหันไปปลูก มันสำปะหลังแทนการปลูกอ้อยใหม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐไม่มีความชัดเจนถึงการสนับสนุนการตัด อ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงการสนับสนุนด้านรถตัดอ้อยสด ภาครัฐจำเป็นจะต้องชัดเจนกับมาตรการ ดังกล่าวล่วงหน้าก่อนฤดูกาลเพาะปลูกใหม่เพื่อให้เกษตรกรได้เชื่อมั่น (ผู้จัดการออนไลน์, 2566) ในด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยปี 2566-2568 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทาง เศรษฐกิจทั้งของไทยและประเทศคู่ค้า รวมทั้งภาวะการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เอื้อต่อการขยายตัวของ ความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้การผลิตน้ำตาลยังมีทิศทาง ขยายตัวตามผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยและการขยายพื้นที่การปลูกอ้อยจาก แรงจูงใจด้านราคาประกันรายได้จากโรงงานน้ำตาล อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมน้ำตาลยังเผชิญความท้าทาย จากสต็อกน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นจากการกลับมาผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นของบราซิล ซึ่งอาจมีผล กดดันราคาน้ำตาล การปรับขึ้นภาษีความหวานของไทยและประเทศคู่ค้าหลายประเทศ กระแสรักษ์สุขภาพ ทั่วโลกที่จะลดการบริโภคน้ำตาล และความไม่แน่นอนของกฎระเบียบภาครัฐ โดยเฉพาะการปรับแก้ พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายที่อาจกระทบต่อผลกำไรของอุตสาหกรรม (ธนาคารกรุงศรี, 2566)


5 เอกสารอ้างอิง ไทยรัฐ. 2566. สอน. เผยผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 65/66. เผยแพร่เมื่อวันที่ 18เมษายน 2566. https://www.thairath.co.th/news/local/2685201. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566. ธนาคารกรุงศรี. 2566. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2566-2568: อุตสาหกรรมน้ำตาล. เผยแพร่เมื่อวันที่ 18เมษายน 2566. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industryoutlook/agriculture/sugar/io/sugar-2023-2025. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566. บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด. 2566. สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำตาลโลกประจำสัปดาห์ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 5 พฤษภาคม 2566. https://old.ocsb.go.th/upload/international/ fileupload/14610-2175.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566. ผู้จัดการออนไลน์. 2566. ผลผลิตอ้อย! ปี '65/66 ได้ 93.88 ล้านตัน จับตาภัยแล้ง-ชาวไร่หันปลูกมันฯ จ่อถล่ม ซ้ำฤดูใหม่. เผยแพร่เมื่อวันที่ 7เมษายน 2566. https://mgronline.com/ business/ detail/9660000032353. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566. โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย. 2566. ข่าวประชาสัมพันธ์ของโรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย. เผยแพร่ เมื่อวันที่ 23เมษายน 2566. https://web.facebook.com/Biorefinery4.0E. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2565. รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อย ปีการผลิต 2564/65. 78 หน้า. บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด. 2566. สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำตาลโลกประจำ สัปดาห์ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 5 พฤษภาคม 2566. https://old.ocsb.go.th/upload/international/fileupload/14610-2175.pdf. สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2566. สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย. 2566. รายงานผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและ น้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ. http://www.sugarzone.in.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566. Knoema. 2023. World - Sugar cane production quantity. https://knoema.com/atlas/World/topics/Agriculture/Crops-Production-Quantitytonnes/Sugar-cane-production. Accessed May. 19, 2023. United States Department of AgricultureSugar. 2023. Sugar: World Markets and Trade. https://apps.fas.usda.gov/psdonline/app/index.html#/app/downloads. Accessed May. 19, 2023.


6 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่ในระบบอินทรีย์ 2. ชื่อโครงการวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอินทรีย์ 3. ชื่อกิจกรรม การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตอ้อยในระบบเกษตรอินทรีย์ 4. ชื่อการทดลอง การศึกษาปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยระบบ เกษตรอินทรีย์ 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า ช่ออ้อย กาฬภักดี ผู้ร่วมงาน สมบูรณ์ วันดี กาญจนา หนูแก้ว อุไรวรรณ พงษ์พยัคเลิศ ระพีพร ต้องใจ 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า การศึกษาปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยระบบเกษตรอินทรีย์ ดำเนินการ ทดลองในแปลงภายในศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีวางแผนการทดลองแบบ RCB มี3 ซ้ำ จำนวน 7 กรรมวิธี คือ 1. ไม่ใช้ปุ๋ยหมัก (กรรมวิธีควบคุม) 2. ใส่ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศอัตราตามค่า วิเคราะห์ดิน (828 กิโลกรัมต่อไร่) 3. ใส่ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศอัตรา 1.5 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (1,242 กิโลกรัมต่อไร่) 4. ใส่ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศอัตรา 2 เท่าของค่าวิเคราะห์ดิน (1,656 กิโลกรัมต่อไร่) 5. ใส่ปุ๋ยหมัก แบบเติมอากาศอัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน + ปุ๋ยชีวภาพ PGPR-III (ปุ๋ยหมัก 828 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยชีวภาพ PGPR-III) 6. ใส่ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศอัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (ปุ๋ยหมัก 828 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ) 7. ปุ๋ยชีวภาพ PGPR-III + ปลูกถั่วเขียวแซม (Intercropping) เก็บเกี่ยวอ้อยปลูกที่อายุ 10 เดือน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 องค์ประกอบผลผลผลิตอ้อยปลูก คือ จำนวนปล้องต่อลำ ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ น้ำหนักลำ จำนวนลำต่อไร่ ผลผลิต ค่า CCS และผลผลิตน้ำตาล ไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติระหว่างกรรมวิธีใส่ปุ๋ย ด้านน้ำหนักลำมีความแตกต่างทางสถิติมีนัยสำคัญระหว่างกรรมวิธีใส่ปุ๋ย โดยการใส่ปุ๋ยชีวภาพ PGPR-III + ปลูกถั่วเขียวแซม (Intercropping) และการไม่ใส่ปุ๋ย ให้น้ำหนักลำสูงสุด เท่ากับ 1.73 ไม่แตกต่างกับการไม่ใส่ปุ๋ยหมักที่ให้น้ำหนักลำ 1.63 กิโลกรัมต่อลำ สำหรับกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยอื่นๆ ให้น้ำหนักลำน้อยกว่า 2 กรรมวิธีข้างต้น (Table 1) ต้นทุนการผลิต พบว่า กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (กรรมวิธีควบคุม) มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด 13,372 บาท ต่อไร่ ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตอื่นๆ ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยอื่นๆ ส่งผลให้มีผลตอบแทน รายได้สุทธิ และค่า BCR สูงที่สุด เท่ากับ 18,576 5,204 บาทต่อไร่ และ 1.39 ตามลำดับ (Table 2)


7 8. คำหลัก : อ้อยอินทรีย์, ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 102,149 บาท


Table 1 Yield and yield components of different bio-fertilizers organic sSuphan Buri province, 2022 Treatment Internode number (node/stalk) Height (cm) Stalk diameter (cm) 1 No fertilizer 25.5 308 2.62 2 Apply aerated compost 828 kg per rai 26.2 303 2.78 3 Apply aerated compost 1,242 kg per rai 26.3 290 2.76 4 Apply aerated compost 1,656 kg per rai 27.0 298 2.70 5 Apply aerated compost 828 kg per rai and Bio Fertilizer PGPR-III 25.8 306 2.72 6 Apply aerated compost 828 kg per rai + liquid organic fertilizer 26.8 313 2.72 7 Apply Bio Fertilizer PGPR-III and inter cropping by green beans 25.6 288 2.83 Average 26.2 301 2.73 F-test ns ns ns CV (%) 3.72 4.59 3.16 ns = non significant * = significant at P  0.05 Means followed by the same letter in the same column are not significantly differe


8 sugarcane production at Suphan Buri Field Crops Research Center, Weight of stalk (kg) Stalk number (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) 1.63 ab 10,563 17.20 14.4 2.48 1.45 bc 9,917 14.39 14.0 2.02 1.51 bc 10,208 15.36 14.3 2.20 1.44 bc 11,563 16.62 12.9 2.12 1.42 c 12,000 17.01 13.6 2.31 1.45 bc 12,208 17.67 14.1 2.46 1.73 a 9,688 16.59 14.5 2.41 1.52 10,878 16.41 14.0 2.29 * ns ns ns ns 6.91 11.68 11.63 4.97 9.76 ent at the 5% level by DMRT. 8


9 Table 2 Costs (baht/rai), income (baht/rai), return profit (baht/rai) benefit cost ratio (BCR) of different bio-fertilizers organic sugarcane production at Suphan Buri Field Crops Research Center, Suphan Buri province, 2022 Treatment costs income return profit BCR 1 No fertilizer 13,327 18,576 5,204 1.39 2 Apply aerated compost 828 kgs per rai 14,685 12,236 -2,449 0.83 3 Apply aerated compost 1,242 kgs per rai 14,841 11,621 -3,2120 0.78 4 Apply aerated compost 1,656 kgs per rai 15,566 13,306 -2,260 0.85 5 Apply aerated compost 828 kgs per rai and Bio Fertilizer PGPR-III 15,799 13,306 -2,494 0.84 6 Apply aerated compost 828 kg per rai + liquid organic fertilizer 15,911 13,306 -2,605 0.84 7 Apply Bio Fertilizer PGPR-III and inter cropping by green beans 14,562 13,306 -1,257 0.91 Average 14,962 13,665 -1,297 0.92 S.D. 889 2,267.68 -2,925.68 0.21


10 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่ในระบบอินทรีย์ 2. ชื่อโครงการวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอินทรีย์ 3. ชื่อกิจกรรม การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตอ้อยในระบบเกษตร อินทรีย์ 4. ชื่อการทดลอง การศึกษาวิธีกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยในระบบเกษตรอินทรีย์ 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า ช่ออ้อย กาฬภักดี ผู้ร่วมงาน สมบูรณ์ วันดี กาญจนา หนูแก้ว ระพีพร ต้องใจ 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า การศึกษาวิธีกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมในการผลิตอ้อยในระบบเกษตรอินทรีย์ ดำเนินการทดลองใน แปลงภายในศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีวางแผนการทดลองแบบ RCB มี5 ซ้ำ กรรมวิธีประกอบด้วยการกำจัดวัชพืช 4 กรรมวิธี คือ 1. ไม่มีการกำจัดวัชพืช 2. ใช้เครื่องจักรกลการเกษตร 3. ใช้เครื่องจักรกลการเกษตร+ปลูกถั่วเขียวแซม 4. ใช้แรงงานคน เก็บเกี่ยวอ้อยปลูกที่อายุ 10 เดือน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 พบว่า องค์ประกอบผลผลผลิตอ้อยปลูก คือ จำนวนลำต่อไร่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่าง มีนัยสำคัญยิ่งระหว่างกรรมวิธีกำจัดวัชพืช โดยวิธีใช้แรงงานคน และใช้เครื่องจักรกลการเกษตร+ปลูกถั่วเขียวแซม มีจำนวนลำต่อไร่เท่ากับ 11,488 และ 8,725 ลำต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีไม่มีการกำจัดวัชพืช ซึ่งมี จำนวนลำต่อไร่น้อยที่สุดเท่ากับ 6,225 ลำต่อไร่ (Table 1) น้ำหนักลำมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี นัยสำคัญระหว่างกรรมวิธีกำจัดวัชพืช โดยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร + ปลูกถั่วเขียวแซม ใช้เครื่องจักรกล การเกษตร และใช้แรงงานคน อ้อยมีน้ำหนักลำเท่ากับ 1.23 1.14 และ 1.13 กิโลกรัมต่อลำ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าวิธีไม่มีการกำจัดวัชพืช ซึ่งมีน้ำหนักลำเท่ากับ 0.77 กิโลกรัมต่อลำ ด้านผลผลิตมีความแตกต่างกัน ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งระหว่างกรรมวิธีกำจัดวัชพืช โดยวิธีใช้แรงงานคน วิธีใช้เครื่องจักรกลการเกษตร + ปลูกถั่วเขียวแซม และวิธีใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ให้ผลผลิตอ้อยเท่ากับ 13.12 10.75 และ 8.83 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าวิธีไม่มีการกำจัดวัชพืชที่ให้ผลผลิตอ้อยเท่ากับ 4.73 ตันต่อไร่ ผลผลิตน้ำตาลมีความ แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งระหว่างกรรมวิธีกำจัดวัชพืช โดยวิธีใช้แรงงานคน วิธีใช้เครื่องจักรกล การเกษตร + ปลูกถั่วเขียวแซม ให้ผลผลิตน้ำตาลเท่ากับ 2.35 และ 1.92ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า กรรมวิธีไม่มีการกำจัดวัชพืชที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเท่ากับ 0.84ตันซีซีเอสต่อไร่ (Table 1) สำหรับจำนวนปล้อง เส้นผ่าศูนย์ลางลำ และค่า CCS ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกรรมวิธีกำจัดวัชพืช การสุ่มตัวอย่าง


11 วัชพืชก่อนกำจัด พบว่า พบทั้งชนิดวัชพืชใบกว้าง เช่น ผักปลาบ กะเม็ง ผักเบี้ย วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าดอกขาว พบการเข้าทำลายของโรคแส้ดำบ้างเล็กน้อย 2-3 กอ ใช้วิธีขุดทิ้ง พบหนอนกออ้อยแต่สามารถควบคุมได้โดยการปล่อยแมลงหางหนีบขาวงแหวนในเวลาหลัง 16.00 น. อัตรา ปล่อย 500 ตัวต่อไร่โดยประมาณ ต้นทุนการผลิต พบว่า กรรมวิธีใช้เครื่องจักรกลการเกษตร มีรายได้สุทธิสูงที่สุด 6,767 บาทต่อไร่ และ ค่า BCR สูงที่สุด เท่ากับ 1.06 (Table 2) 8. คำหลัก : อ้อยอินทรีย์, กำจัดวัชพืช 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 95,213 บาท


Table 1 Yield and yield components of different weed control treatmenResearch Center, Suphan Buri province, 2022 Treatment Internode number Height (cm) Stalk diameter (node/stalk) (cm) 1. Weedy check 21.2 176 b 2.93 2. Agricultural machinery 22.5 212 a 2.80 3. Agricultural machinery and planting green beans 22.7 221 a 2.86 4. Hand weeding 22.1 231 a 2.79 Average 22.1 210 2.84 F-test ns ** ns CV (%) 4.81 9.24 5.79 *, ** = significant at P  0.05 and 0.01. Means followed by the same letter in the same column are not significantly different


12 nts organic sugarcane production at Suphan Buri Field Crops Weight of stalk Stalk number Yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) (stalk/rai) 0.77 b 6,225 b 4.734 c 17.66 0.84 c 1.14 a 7,675 ab 8.83 b 17.67 1.58 b 1.23 a 8,725 a 10.75 ab 17.82 1.92 ab 1.13 a 11,488 a 13.12 a 17.93 2.35 a 1.07 8,528 9.36 17.77 1.67 * ** ** ns ** 21.24 15.84 28.79 2.20 29.67 at the 5% and 1% level by DMRT. 12


13 Table 2 Cost (baht/rai), income (baht/rai), return profit (baht/rai) benefit cost ratio (BCR) of different weed control treatments organic sugarcane production at Suphan Buri Field Crops Research Center, Suphan Buri province, 2022 Treatment costs income return profit BCR 1 Weedy check 10,784 5,573 -5,211 0.52 2 Agricultural machinery 11,559 12,236 6,767 1.06 3 Agricultural machinery and planting green beans 12,121 11,621 -500 0.96 4 Hand weeding 25,155 13,306 -11,850 0.53 Average 14,904.97 10,683.90 -4,221.07 0.77 S.D. 6,856 3,478 -5,687 0.28


14 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาล 2. ชื่อโครงการวิจัย วิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อยสำหรับเขตดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว สภาพน้ำฝน 3. ชื่อกิจกรรม การปรับปรุงพันธุ์อ้อยในดินร่วน ร่วนเหนียวและดินเหนียวสภาพน้ำฝน 4. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2556 เขตน้ำฝน 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า ปิยธิดา อินทร์สุข ผู้ร่วมงาน นัฐภัทร์ คำหล้า กาญจนา หนูแก้ว ศรัณย์รัตน์ สุวรรณพงษ์ 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2562 สิ้นสุด กันยายน 2565 7. บทคัดย่อ การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2556 เขตน้ำฝน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิต น้ำตาลสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 หรือ LK92-11 ร้อยละ 5 ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีในสภาพ การปลูกแบบอาศัยน้ำฝน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ จำนวน 10 กรรมวิธีมีอ้อยโคลนดีเด่นชุดปี 2556 เขตน้ำฝน จำนวน 8 โคลน และพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ได้แก่ ขอนแก่น 3 และ LK92-11 ปลูกอ้อยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 และเก็บเกี่ยวอ้อยปลูกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 จากการประเมินมาตรฐานพันธุ์อ้อยทั้ง 10 โคลน พบว่า มีความแตกต่างทางสถิติในด้าน ผลผลิต ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล โดยโคลน NSUT13-313 ให้ผลผลิตสูงสุด 22 ตันต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่าง จากโคลน NSUT13-289 NSUT13-154 และขอนแก่น 3 ที่ให้ผลผลิต เท่ากับ 19.5 18.5 และ 16.2 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนค่าซีซีเอส พบว่า โคลน NSUT13-313 ให้ค่าซีซีเอสสูงสุด 14.1 ซึ่งไม่แตกต่างจากโคลน NSUT13-179 NSUT13-154 พันธุ์ขอนแก่น 3 NSUT13-289 และพันธุ์ LK92-11 ที่ให้ค่าซีซีเอส เท่ากับ 13.6 13.3 12.9 12.3 และ 12.2 ตามลำดับ ด้านผลผลิตน้ำตาล พบว่า โคลน NSUT13-313 ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุด 3.11 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างจากโคลน NSUT13-154 NSUT13-289 และพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ให้ผลผลิต น้ำตาลเท่ากับ 2.49 2.45 และ 2.10 ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ เก็บเกี่ยวอ้อยตอ 1 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 พบว่า ทุกลักษณะไม่มีความแตกต่างทางสถิติและ เก็บเกี่ยวอ้อยตอ 2 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 พบว่า มีความแตกต่างทางสถิติในค่าผลผลิต ค่าซีซีเอส และ ผลผลิตน้ำตาล โดยทุกโคลนให้ผลผลิตสูงอยู่ระหว่าง 15.76 – 23.44 ตันต่อไร่ ยกเว้นพันธุ์ LK92-11 ให้ ผลผลิตต่ำสุด (14.58 ตันต่อไร่) ส่วนค่าซีซีเอส พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 และโคลน NSUT13-179 ให้ค่าซีซีเอส


15 สูงสุด 14.81 และ 14.73 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างจากพันธุ์ LK92-11 โคลน NSUT13-153 NSUT13-106 NSUT13-289 และ NSUT13-313 ซึ่งมีค่าซีซีเอส เท่ากับ 13.28 13.39 13.66 13.94 และ14.13 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตน้ำตาล พบว่า โคลน NSUT13-313 และพันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุด เท่ากับ 3.30 และ 2.74 ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ ไม่แตกต่างจากโคลนNSUT13-106 NSUT13-014 NSUT13-154 NSUT13-179 NSUT13-289 สำหรับพันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิตน้ำตาลต่ำสุด (1.94 ตันซีซีเอสต่อไร่) ส่วน ค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ปี พบว่า โคลน NSUT13-313 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 19.84 ตันต่อไร่ ค่าซีซีเอสเฉลี่ย 14.15 และ ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.80 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งมากกว่าโคลนอื่นๆ และพันธุ์เปรียบเทียบทั้ง 2 พันธุ์ 8. คำหลัก : อ้อย เปรียบเทียบมาตรฐาน ผลผลิต 9. ประเภทผลวิจัย : สิ้นสุด 10. คำแนะนำผลวิจัย : ถ่ายทอดได้ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 99,999 บาท


16 Table 1 Yield components yield CCS and sugar yield of standard trial sugarcane clones series 2013 (Rainfed area) : plant cane at Suphan Buri Field Crops Research Center No. Clones/ Varieties Height (cm) Diameter (cm) No. of internode (node/stalk) No. of stalk (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) 1 NSUT13-014 259 ab 2.80 bc 26.3 b 11,983 bc 15.0 bcd 10.2 cd 1.57 bc 2 NSUT13-106 271 ab 3.14 a 25.8 b 9,733 c 14.2 bcd 11.7 bcd 1.66 bc 3 NSUT13-153 235 b 3.05 ab 31.9 a 12,417 ab 14.5 bcd 11.6 bcd 1.74 bc 4 NSUT13-154 251 ab 2.78 cd 29.6 ab 16,700 a 18.5 abc 13.3 ab 2.49 ab 5 NSUT13-179 227 bc 3.06 ab 29.6 ab 11,017 bc 12.9 cd 13.6 ab 1.74 bc 6 NSUT13-187 190 c 3.11 a 28.8 ab 10,067 c 11.4 d 9.9 d 1.18 c 7 NSUT13-289 293 a 2.60 d 29.1 ab 14,533 a 19.5 ab 12.3 abc 2.45 ab 8 NSUT13-313 293 a 3.15 a 31.6 a 12,783 ab 22.0 a 14.1 a 3.11 a 9 KK3 289 a 3.08 a 31.2 a 9,850 c 16.2 a-d 12.9 ab 2.10 abc 10 LK92-11 226 bc 3.01 abc 28.3 ab 9,833 c 11.6 d 12.2 abc 1.43 bc F-test ** ** * ** * ** * CV (%) 10.97 4.85 9.01 11.73 25.32 11.16 34.03 *, ** = significant at P ≤ 0.05 and 0.01, respectively Means in the same column followed by the same letters are not significantly different at P = 0.05 and 0.01 by DMRT Table 2 Yield components Yield CCS and Sugar yield of standard trial sugarcane clones series 2013 (Rainfed Area) : 1st ratoon cane at Suphan Buri Field Crops Research Center No. Clones/ Varieties Height (cm) Diameter (cm) No. of internode (node/stalk) No. of stalk (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) 1 NSUT13-014 257 2.78 30.5 14,517 16.0 14.0 2.22 2 NSUT13-106 265 2.68 30.3 12,400 14.2 13.5 1.92 3 NSUT13-153 249 2.78 31.0 12,533 14.1 13.5 1.89 4 NSUT13-154 259 2.75 30.0 12,400 15.3 13.4 2.06 5 NSUT13-179 290 2.75 29.5 11,650 15.7 13.4 2.08 6 NSUT13-187 258 2.70 30.5 11,800 15.7 12.0 1.89 7 NSUT13-289 242 2.80 28.8 11,267 13.6 13.4 1.80 8 NSUT13-313 246 2.48 30.3 15,017 14.1 14.2 1.99 9 KK3 260 2.68 29.8 14,800 16.4 14.6 2.39 10 LK92-11 286 2.65 29.0 12,633 15.9 14.1 2.25 F-test ns ns ns ns ns ns ns CV (%) 17.08 8.57 8.42 19.65 20.56 7.44 22.54 ns = non significant


17 Table 3 Yield components Yield CCS and Sugar yield of standard trial sugarcane clones series 2013 (Rainfed Area) : 2nd ratoon cane at Suphan Buri Field Crops Research Center No. Clones/ Varieties Height (cm) Diameter (cm) No. of internode (node/stalk) No. of stalk (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) 1 NSUT13-014 273 bc 2.74 ab 24.5 c 14,367 ab 18.39 a 12.84 b 2.35 abc 2 NSUT13-106 290 a 2.78 ab 26.5 abc 10,833 d 18.29 a 13.66 ab 2.51 ab 3 NSUT13-153 244 cde 2.93 a 27.3 ab 13,717 abc 16.73 ab 13.39 ab 2.24 bc 4 NSUT13-154 243 cde 2.62 b 24.9 c 19,233 a 18.58 a 12.93 b 2.39 abc 5 NSUT13-179 233 de 2.90 a 28.5 a 11,700 cd 15.76 ab 14.73 a 2.32 abc 6 NSUT13-187 214 e 2.87 a 28.4 a 14,950 ab 17.38 ab 12.65 b 2.21 bc 7 NSUT13-289 270 bc 2.44 c 25.8 bc 16,150 a 16.66 ab 13.94 ab 2.32 abc 8 NSUT13-313 287 ab 2.87 a 25.6 bc 15,700 ab 23.44 a 14.13 ab 3.30 a 9 KK3 261 bcd 2.85 a 25.1 bc 11,750 cd 18.51 a 14.81 a 2.74 a 10 LK92-11 243 cde 2.64 b 26.2 bc 13,550 bc 14.58 b 13.28 ab 1.94 c F-test ** ** ** ** ** * ** CV (%) 8.62 4.47 5.18 11.20 10.45 6.87 12.36 *, ** = significant at P ≤ 0.05 and 0.01, respectively Means in the same column followed by the same letters are not significantly different at P = 0.05 and 0.01 by DMRT Table 4 Means of plant cane, 1st ratoon cane and 2nd ratoon cane of standard trial sugarcane clones series 2013 (Rainfed Area) No. Clones/ Varieties Height (cm) Diameter (cm) No. of internode (node/stalk) No. of stalk (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) 1 NSUT13-014 263 2.77 27.1 13,622 16.46 12.34 2.04 2 NSUT13-106 275 2.87 27.5 10,989 15.54 12.96 2.03 3 NSUT13-153 243 2.92 30.1 12,889 15.11 12.84 1.96 4 NSUT13-154 251 2.72 28.1 16,111 17.45 13.22 2.31 5 NSUT13-179 250 2.90 29.2 11,456 14.77 13.90 2.05 6 NSUT13-187 221 2.89 29.2 12,272 14.83 11.53 1.76 7 NSUT13-289 268 2.62 27.9 13,983 16.58 13.19 2.19 8 NSUT13-313 275 2.83 29.1 14,500 19.84 14.15 2.80 9 KK3 270 2.87 28.7 12,133 17.01 14.11 2.41 10 LK92-11 252 2.77 27.8 12,006 14.01 13.18 1.87 Mean 257 2.81 28.5 12,996 16.16 13.14 2.14


18 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. ชื่อโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานด้วยนวัตกรรมเพื่อการผลิตในเขต ชลประทานและน้ำเสริม 3. ชื่อกิจกรรม การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานภายใต้สภาพชลประทานและน้ำเสริม 4. ชื่อการทดลอง การผสมพันธุ์อ้อยชุดปี2564-2566 5. คณะผู้ดำเนินงาน หัวหน้า อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข ผู้ร่วมงาน มานิตย์ สุขนิมิตร ณรงค์ชัย มินศิริ วริศรา บุราคร ชลธิชา แก้วเรือง 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2565 7. บทคัดย่อ การผสมพันธุ์อ้อยชุดปี 2565 ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี วิธีการผสมแบบ Selfing Open cross Bi-parental cross และ Polycross โดยตัดต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีดอกบานประมาณ ร้อยละ 50 มาเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงต้นอ้อย (Hawaiian Solution) การผสมพันธุ์อ้อยชุดปี 2565 เริ่มผสม พันธุ์อ้อยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 สามารถทำการผสมพันธุ์อ้อยได้ช่อผสมทั้งหมดจำนวน 161 ช่อ จาก จำนวน 136 คู่ผสม ใช้พันธุ์แม่จำนวน 60 พันธุ์ และพันธุ์พ่อจำนวน 58 พันธุ์ สามารถเพาะต้นกล้าอ้อยได้ ทั้งหมดจำนวน 5,830 ต้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างดูแลรักษาต้นกล้าอ้อยและนำไปปลูกคัดเลือกขั้นที่ 1 ต่อไป 8. คำหลัก : ผสมพันธุ์ 9. ประเภทผลวิจัย : สิ้นสุด 10. คำแนะนำผลวิจัย : ถ่ายทอดได้ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 129,492 บาท


19 Table 1 Parent cross and seedling in series 2022. No. Female x Male Seedling 1 UT11-341 x Suphanburi 50 21 2 UT11-341 x CP36-105 18 3 UT11-341 x CP77-414 17 4 UT11-341 x UT63-348 30 5 UT5 x 12-3 30 6 12-3 x CP29-291 56 7 12-3 x UT5 40 8 UT5 x UT11-341 2 9 12-3 x KK08-189 221 10 12-3 x UT5 60 11 UT5 x 12-3 27 12 CP77-48 x TBY30-0650 8 13 Q86 x UT13-369 128 14 Q86 x TPJ04-768 11 15 CP36-110 x 647-8 7 16 CP77-13 x UT11-341 49 17 CP77-418 x Thongphum 3 10 18 85-2-352 x UT3 1 19 UT5 x UT13-369 15 20 TPJ04-768 x 85-2-352 20 21 UT13-369 x 85-2-352 7 22 UT3 x UT13-369 1 23 TPJ04-768 x TBY30-0666 26 24 CP77-418 x TPJ04-768 149 25 CP36-13 x TPJ04-768 14 26 CP77-418 x TPJ04-768 4 27 85-2-352 x 04-2-1428 2 28 85-2-352 x TPJ04-768 6 29 UT13-369 x 85-2-352 48 30 UT13-369 x TPJ04-768 214 31 85-2-352 x Suphanburi 50 128 32 CP110 x TPJ04-768 210 33 CP73-1547 x UT13-369 35


20 No. Female x Male Seedling 34 CP36-31 x TPJ04-768 33 35 85-2-352 x UT1 20 36 UT13-369 x CP75-308 49 37 Q86 x UT13-369 18 38 TPJ04-768 x 85-2-352 2 39 Q70 x UT10-586 40 40 UT2 x UT4 3 41 Q86 x TPJ04-768 298 42 UT3 x UT10-3 2 43 UT13-369 x CP73-1547 13 44 Q47 x 920 142 45 Q47 x 85-2-352 357 46 UT10-044 x K88-92 4 47 K90-54 x K88-92 54 48 K88-92 x 482A057 16 49 UT2 x 482A057 4 50 RT2007-091 x UT8 12 51 Q47 x F03-362 (F1) 29 52 85-2-352 x UT4 6 53 UT2 x TBY30-0666 19 54 85-2-352 x UT4 20 55 Q70 x UT10-586 3 56 CP63-306 x 85-2-207 28 57 LH82-153 x 85-2-352 2 58 CP66-376 x TBY30-058 x K90-54 2 59 85-2-352 x K84-200 62 60 K88-92 x UT5 161 61 UT10-044 x K88-92 76 62 UT10-586 x UT1 7 63 UT10-044 x KK08-091 210 64 K88-92 x UT10-3 x UT10-586 7 65 KK08-091 x 85-2-352 6 66 UT6 x K88-92 42 67 Co285 x 482A057 3


21 No. Female x Male Seedling 68 CP85-1382 x UT8 x UT10-623 x UT10-3 3 69 UT6 x K90-77 354 70 Q85 x UT12-237 9 71 KK08-091 x 85-2-352 37 72 NCO 382 x 85-2-352 18 73 N52-219 x L52-2 7 74 UT12-237 x 85-2-352 28 75 UT13 x K90-77 142 76 UT12-237 x UT1 31 77 CP73-1547 x UT10-3 105 78 UT12-237 x CSB12-23 123 79 UT12-237 x UT16 175 80 UT12-237 x 85-2-352 14 81 K88-92 x 85-2-352 4 82 UT10-175 x K88-92 292 83 K90-54 x K90-77 x UT1 185 84 CP43-49 x UT8 2 85 K90-51 x UT12-237 7 86 CP85-1432 x KK08-091 82 87 UT9 x K88-92 28 88 UT13 x 85-2-352 12 89 UT10-615 x UT8 x UT16 238 90 UT1 Open 23 91 UT1 Open 11 92 85-2-352 Open 1 93 Merrichard Open 2 94 Merrichard Open 1 95 Merrichard Open 3 96 Merrichard Open 4 97 UT10-044 Self 35 98 K84-200 Self 39 Total 5,380


22 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. ชื่อโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานด้วยนวัตกรรมเพื่อการผลิตในเขตชลประทาน และน้ำเสริม 3. ชื่อกิจกรรม การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานภายใต้สภาพชลประทานและน้ำเสริม 4. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อยชุดปี 2559 สำหรับสภาพชลประทาน และน้ำเสริม 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า อัจฉราภรณ์ วงศ์สุขศรี ผู้ร่วมงาน อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข วัลลีย์ อมรพล ชูชาติ บุญศักดิ์ เสมอนาถ บัวแจ่ม มานิตย์ สุขนิมิตร ชลธิชา แก้วเรือง 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์อ้อยชุดปี 2559 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่ ระยอง และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2567 โดยคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ได้ จาก แปลงเปรียบเทียบเบื้องต้น จำนวน 10 โคลน ปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์เปรียบเทียบ LK92-11 และ ขอนแก่น 3 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ผลการทดลองจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมจาก 3 สถานที่การทดลอง ในอ้อยปลูก พบว่า ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ยของอ้อยโคลน UT16-143 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด 15.6 ตันต่อไร่ รองลงมา คือ UT10-044 และ UT16-063 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.3 และ 14.9 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 โคลนอยู่ในระดับเดียวกันกับพันธุ์เปรียบเทียบขอนแก่น 3 ที่ให้ผลผลิต 14.8 ตันต่อไร่ ส่วนค่าซีซีเอส พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 14.4 และอ้อยโคลน UT16-185 ให้ค่าซีซีเอสเฉลี่ยที่ 13.2 ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ LK92-11 ที่ให้ค่าเฉลี่ยซีซีเอส 10.5 สำหรับผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย พบว่า พันธุ์ ขอนแก่น 3 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด 2.18 ตันซีซีเอสต่อไร่ สำหรับอ้อยโคลน UT16-185 และ UT16-063 มีค่า ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.04 และ 1.95 ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ LK92-11 ที่ให้ ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.47 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 พบว่า ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ยของอ้อยโคลน UT10-044 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 11.3 ตันต่อไร่ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์เปรียบเทียบขอนแก่น 3 ที่ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 10.7 ตันต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนค่าซีซีเอส พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 15.3 ส่วนอ้อยโคลน UT16-143 UT16-002 และ


23 UT16-185 ให้ค่าซีซีเอสเฉลี่ยที่ 13.8 13.4 และ 13.4 ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ LK92-11 ที่ให้ค่าซีซีเอส 12.1 สำหรับผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด 1.67 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่ง UT10-044 มีค่าผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.56 ตันซีซีเอสต่อไร่ และอยู่ในระดับเดียวกันกับพันธุ์เปรียบเทียบขอนแก่น 3 สำหรับอ้อยโคลน UT16-185 และ UT16-233 มีค่าผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.31 และ 1.29 ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ LK92-11 ที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 0.94 ตันซีซีเอสต่อไร่ (Table 1) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และแปลงทดลองทั้ง 3 สถานที่ พบว่า อ้อย โคลน UT16-063 มีผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด 13.1 ตันต่อไร่ รองลงมา คือ UT10-044 มีผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.9 ตันต่อไร่ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์เปรียบเทียบขอนแก่น 3 ที่มีผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.8 ตันต่อไร่ ส่วนค่าซีซีเอส พบว่า พันธุ์เปรียบเทียบขอนแก่น 3 มีค่าซีซีเอสเฉลี่ยสูงสุด คือ 14.8 สำหรับอ้อยโคลน UT16-145 และ UT16-185 มีค่าซีซีเอสเฉลี่ย 13.4 และ 13.2 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ LK92-11 ที่ให้ค่า ซีซีเอสเฉลี่ย 11.3 สำหรับผลผลิตน้ำตาล พบว่า พันธุ์เปรียบเทียบขอนแก่น 3 มีผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยสูงสุด คือ 1.92 ตันซีซีเอสต่อไร่ ส่วนอ้อยโคลน UT16-063 มีผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.71 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ เปรียบเทียบ LK92-11 ที่ให้ผลผลิตน้ำตาล 1.16 ตันซีซีเอสต่อไร่ (Table 2) 8. คำหลัก : อ้อย พันธุ์อ้อย การเปรียบเทียบมาตรฐาน 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 119,940 บาท


24 Table 1 Combine Average of Cane Yields, CCS and Sugar yield from Sugarcane Standard Trial series 2016 at Suphan Buri Field Crops Research Center, Rayong Field Crops Research Center and Chainat Field Crops Research Center: plant cane and 1 st ratoon. Means in the same column followed by the same letter are not significantly different at the 1 and 5 % probability by DMRT. No. Clones/ Varieties Cane yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) Plant cane 1 st ratoon Plant cane 1 st ratoon Plant cane 1 st ratoon 1 UT16-002 14.0 ab 8.15 bcd 12.3 bcd 13.4 bc 1.78 bc 1.11 bc 2 UT16-063 14.9 a 8.48 bcd 12.5 cd 12.9 b-e 1.95 ab 1.11 bc 3 UT16-083 13.3 ab 8.69 bcd 12.7 bc 13.4 bc 1.73 bc 1.17 bc 4 UT16-138 14.2 ab 7.46 d 11.9 cd 12.9 b-e 1.73 bc 1.00 c 5 UT16-143 15.6 a 8.04 cd 11.4 de 13.8 b 1.81 ab 1.11 bc 6 UT16-145 13.9 ab 7.64 d 12.5 bc 12.0 e 1.80 bc 0.95 c 7 UT16-149 12.4 b 8.23 bcd 11.9 cd 13.0 b-e 1.67 bc 1.09 bc 8 UT16-185 15.0 a 10.0 ab 13.2 b 13.4 bc 2.04 ab 1.31 b 9 UT16-233 15.1 a 9.92 abc 12.1 cd 12.3 cde 1.88 ab 1.29 b 10 UT10-044 15.3 a 11.3 a 11.4 de 13.2 bcd 1.84 abc 1.56 a 11 LK92-11 12.4 b 7.63 d 10.5 e 12.1 de 1.47 c 0.94 c 12 KK3 14.8 a 10.7 a 14.4 a 15.3 a 2.18 a 1.67 a F-test ** ** * ** ** ** CV. (%) 12.71 23.23 17.01 9.23 8.67 25.49


25 Table 2 Combine Average of Cane Yields, CCS and Sugar yield from Sugarcane Standard Trial series 2016: plant cane and 1st ratoon, at Suphan buri Field Crops Research Center, Rayong Field Crops Research Center and Chainat Field Crops Research Center. Means in the same column followed by the same letter are not significantly different at the 1 and 5 % probability by DMRT. Clones/ Varieties Height (cm) Stalk diameter (cm) Stalk no. (stalk/rai) Cane yield (ton/rai) CCS Sugar yield (tonCCS/rai) 1 UT16-002 275 def 2.45 g 9,944 b 11.1 cde 12.8 bc 1.46 cd 2 UT16-063 288 bcd 2.89 a 8,922 b-e 13.1 a 12.7 c 1.71 b 3 UT16-083 302 ab 2.63 de 8,341 de 10.9 c-f 12.8 bc 1.43 cde 4 UT16-138 308 a 2.85 ab 7,906 e 12.0 a-d 12.6 c 1.52 bcd 5 UT16-143 276 def 2.70 cd 8,722 cde 11.5 bcd 11.9 d 1.36 de 6 UT16-145 257 g 2.35 h 11,921 a 10.7 def 13.4 b 1.40 cde 7 UT16-149 277 de 2.50 fg 9,559 bc 9.54 f 11.7 d 1.22 ef 8 UT16-185 285 cd 2.41 gh 11,121 a 11.7 a-d 13.2 bc 1.59 bc 9 UT16-233 294 abc 2.77 bc 8,241 e 12.3 abc 13.0 bc 1.60 bc 10 UT10-044 282 cd 2.64 de 9,948 b 12.9 ab 11.6 d 1.58 bcd 10 LK92-11 262 fg 2.58 ef 8,309 de 10.0 ef 11.3 d 1.16 f 11 KK3 266 efg 2.74 c 9,359 bcd 12.8 ab 14.8 a 1.92 a F-test ** ** ** ** ** ** CV.(%) 8.81 6.42 18.37 19.61 8.98 22.53


26 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. ชื่อโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานด้วยนวัตกรรมเพื่อการผลิตอ้อยเขตชลประทาน และน้ำเสริม 3. ชื่อกิจกรรม การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานภายใต้สภาพชลประทานและน้ำเสริม 4. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรโคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทาน และน้ำเสริม 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า สุวัฒน์ พูลพาน ผู้ร่วมงาน อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข เสมอนาถ บัวแจ่ม อาภาพร หนูแดง กนกวรรณ สุขกรม 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร โคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทานและน้ำเสริม วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับเขตชลประทานและน้ำเสริม มีผลผลิตสูงกว่าหรือเทียบเท่า พันธุ์ขอนแก่น 3 หรือพันธุ์ LK92-11 ดำเนินการทดลอง ณ แปลงทดลองไร่เกษตรกร อ.จอมบึง จ.ราชบุรี จำนวน 1 แปลง อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี จำนวน 1 แปลง อ.ดอนเจดีย์และ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี จำนวน 2 แปลง รวมทั้งสิ้น จำนวน 4 แปลง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี4 ซ้ำ จำนวน 8 กรรมวิธี คือ อ้อยโคลน ดีเด่น จำนวน 6 โคลน และอ้อยพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ จากการการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมในอ้อยปลูก พบว่า ผลลิตอ้อย ค่าซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาล มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านผลผลิตอ้อย โคลนอ้อย UT10-023 มีผลผลิตมากที่สุด 17.83 ตันต่อไร่ ซึ่งมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้ง 2 พันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านค่าซีซีเอส พบว่า พันธุ์ขอนแก่น 3 มีค่าซีซีเอสสูงสุด 13.7 ไม่แตกต่างกับโคลนอ้อย UT14-025 และพันธุ์ LK92-11 ที่มีค่าซีซีเอส 13.6 และด้าน ผลผลิตน้ำตาล พบว่า โคลนอ้อย UT10-023 มีผลผลิตน้ำตาลสูงสุด คือ 2.23 ตันซีซีเอสต่อไร่ รองลงมา คือ UT14-025 มีผลผลิตน้ำตาล 2.04 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ ขณะนี้อยู่ ระหว่างดูแลรักษาอ้อยตอ 1 (Table 1) 8. คำหลัก : อ้อย การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 400,675 บาท


27 Table 1 Combining Analysis of Varience Average Cane Yield, CCS and Sugar yield from Farmer Yield Trial. Series 2015 : plant cane at Suphan Buri, Kanchanaburi and Ratchaburi, planted in February 2022. Clones/ varieties Cane Yield (ton/rai) CCS Sugar Yield (ton CCS/rai) UT10-023 17.83 a 12.6 cd 2.23 a UT10-044 15.74 b 9.6 e 1.48 d UT14-025 13.67 c 13.6 ab 2.04 ab UT15-060 15.27 bc 12.1 d 1.76 c UT15-094 14.24 bc 12.5 cd 1.74 c UT-15-337 14.12 bc 13.0 bc 1.81 bc KK3 14.65 bc 13.7 a 1.98 abc LK92-11 13.28 c 13.6 ab 1.79 bc F-test ** ** ** cv (%) 17.01 6.42 19.42 Means in the same column followed by the same letter are not significantly different at the 1 and 5 % probability by DMRT. Table 2 Stem length, stalk diameter, internode number, yield, CCS and sugar yield from Farmer Yield Trial. Series 2015 : plant cane at Don Chedi District, Suphan Buri Province , planted in February 2022. Clones/ varieties Stem length (cm) Stalk diameter (cm) No. of Internode (node/stalk) Stalk number (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar Yield (ton CCS/rai) UT10-023 236 a 2.80 ab 22.5 b 8,416 b 11.1 ab 14.5 ab 1.62 ab UT10-044 235 a 2.76 b 27.5 a 8,203 b 10.1 ab 12.6 c 1.26 ab UT14-025 205 ab 2.18 d 18.3 c 4,014 c 4.5 c 14.5 ab 1.50 ab UT15-060 210 ab 2.40 c 26.3 ab 11,293 a 10.2 ab 14.8 ab 1.38 ab UT15-094 240 a 2.73 b 27.3 a 7,483 b 9.3 ab 14.1 b 1.31 ab UT-15-337 229 a 2.68 b 25.3 ab 8,681 b 9.6 ab 15.0 ab 1.44 ab KK3 203 ab 2.98 a 27.8 a 7,973 b 11.6 a 15.4 a 1.80 a LK92-11 180 b 2.60 b 24.8 ab 7,677 b 6.6 bc 14.6 ab 0.97 b F-test * ** ** ** * ** * cv (%) 11.51 4.81 11.06 19.76 30.41 4.54 31.8


28 Table 3 Stem length, stalk diameter, internode number, yield, CCS and sugar yield from Farmer Yield Trial. Series 2015 : plant cane at Dan Chang District Suphan Buri Province, planted in February 2022. Clones/ varieties Stem length (cm) Stalk diameter (cm) No. of Internode (node/stalk) Stalk number (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar Yield (ton CCS/rai) UT10-023 344 b 2.45 bc 28.0 b 15,400 b 21.2 a 12.5 bc 2.66 a UT10-044 340 bc 2.58 abc 29.0 ab 12,389 cd 18.2 ab 9.5 d 1.74 c UT14-025 399 a 2.25 d 28.8 ab 16,222 ab 17.8 ab 13.3 ab 2.38 ab UT15-060 319 cd 2.43 cd 28.0 b 18,091 a 17.9 ab 11.8 c 1.81 c UT15-094 346 b 2.65 ab 29.5 ab 11,871 cd 15.4 bc 11.6 c 1.80 c UT-15-337 299 de 2.50 abc 28.0 b 12,245 cd 12.9 c 14.3 a 1.83 c KK3 310 d 2.68 a 30.5 a 10,165 d 13.3 c 13.8 a 1.83 c LK92-11 283 e 2.63 abc 27.8 b 13,000 c 14.4 bc 14.0 a 2.01 bc F-test ** ** * ** ** ** ** cv (%) 4.94 4.95 4.19 10.34 14.42 5.4 15.75 Table 4 Stem length, stalk diameter, internode number, yield, CCS and sugar yield from Farmer Yield Trial. Series 2015 : plant cane at Tha Maka District, Kanchanaburi Province, planted in February 2022. Clones/ varieties Stem length (cm) Stalk diameter (cm) No. of Internode (node/stalk) Stalk number (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar Yield (ton CCS/rai) UT10-023 308 a 2.68 cd 25.5 b 18,022 a 23.9 12.5 c 2.99 a UT10-044 305 a 2.83 bc 27.8 ab 15,125 ab 22.8 8.6 d 1.97 b UT14-025 313 a 2.48 d 22.3 c 18,616 a 20.4 13.8 ab 2.60 a UT15-060 306 a 2.63 de 28.0 ab 16,430 ab 19.0 12.9 bc 2.50 ab UT15-094 319 a 2.93 ab 29.3 a 13,209 bc 19.3 12.7 c 2.44 ab UT-15-337 305 a 2.78 bcd 26.0 b 15,952 ab 20.6 12.4 c 2.56 ab KK3 297 a 3.08 a 28.3 ab 11,489 c 19.7 13.9 a 2.72 a LK92-11 248 b 2.90 ab 27.3 ab 15,673 ab 19.6 14.0 a 2.72 a F-test ** ** ** ** ns ns * cv (%) 5.66 4.29 6.48 15.02 15.14 5.21 14.34


29 Table 5 Stem length, stalk diameter, internode number, yield, CCS and sugar yield from Farmer Yield Trial. Series 2015 : plant cane at Chom Bueng District, Ratchaburi Province, planted in February 2022. Clones/ varieties Stem length (cm) Stalk diameter (cm) No. of Internode (node/stalk) Stalk number (stalk/rai) Yield (ton/rai) CCS Sugar Yield (ton CCS/rai) UT10-023 312 a 2.55 c 24.0 ab 12,657 b 15.0 a 10.9 b 1.64 a UT10-044 278 bc 2.58 bc 25.3 a 10,005 cd 11.9 b 7.7 d 0.94 b UT14-025 308 a 2.55 c 22.0 c 9,420 d 12.0 b 12.8 a 1.69 a UT15-060 294 ab 2.33 d 24.0 ab 14,946 a 14.0 ab 9.1 cd 1.35 ab UT15-094 275 bc 2.68 abc 23.8 ab 10,709 bcd 13.0 ab 11.5 ab 1.40 a UT-15-337 275 bc 2.78 a 23.5 bc 11,867 bc 13.4 ab 10.5 bc 1.42 a KK3 275 bc 2.70 a 24.3 ab 10,857 bcd 14.0 ab 11.9 ab 1.58 a LK92-11 254 c 2.60 bc 22.8 bc 11,481 bc 12.6 ab 11.7 ab 1.45 a F-test ** ** * ** ns ** * cv (%) 5.69 3.46 4.36 10.50 11.86 10.56 20.01


30 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. ชื่อโครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานด้วยนวัตกรรมเพื่อการผลิตอ้อยเขตชลประทาน และน้ำเสริม 3. ชื่อกิจกรรม การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโคลนดีเด่นที่เหมาะสม กับเขตชลประทานและน้ำเสริม 4. ชื่อการทดลอง การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของอ้อยโคลนดีเด่นชุดปี 2558 สำหรับสภาพ ชลประทานและน้ำเสริม 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า วาสนา วันดี ผู้ร่วมงาน ปิยธิดา อินทร์สุข สมบูรณ์ วันดี สุจิตรา พิกุลทอง กนกวรรณ ฟักอ่อน อภิชิต วงษ์สุรินทร์ 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของอ้อยโคลนดีเด่นชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทานและน้ำเสริม มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการจัดการปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับใช้เป็นคำแนะนำการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในการปลูก อ้อยพันธุ์ใหม่ให้กับเกษตรกร ดำเนินการทดลอง ในปี 2565-2567 ณ แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยหลัก (Main plot) คือ โคลนอ้อยดีเด่นชุดปี 2558 จำนวน 2 โคลน ได้แก่ UT15-060 UT15-094 และโคลนอ้อยดีเด่นชุดปี 2553 จำนวน 1 โคลน ได้แก่ UT10-044 และพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-11 ปัจจัยรอง (Sub plot) คือ ปุ๋ยไนโตรเจน 5 อัตรา ร่วมกับปุ๋ย P และ K อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน (0-3-6 7.5-3-6 15-3-6 22.5-3-6 และ 30-3-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ สำหรับอ้อยปลูก) ผลการทดลองในอ้อยปลูก พบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักและ ปัจจัยรองในด้านผลผลิต ค่าซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาล จำนวนลำเก็บเกี่ยว ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และจำนวนปล้อง ด้านผลผลิต การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างๆ มีผลทำให้ผลผลิตมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทุกอัตราให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 20.95-22.52 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่า การไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้ผลผลิต 19.56 ตันต่อไร่ แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 22.5 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ให้ผลผลิตไม่แตกต่างทางสถิติกับการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับด้านพันธุ์ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่าง โคลนดีเด่นและพันธุ์เปรียบเทียบ โดยให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 20.39-21.77 ตันต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-11 ให้ผลผลิต 23.76 และ 20.19 ตันต่อไร่ (Table 1) ผลผลิตน้ำตาลให้ผลสอดคล้องกับผลผลิต


31 โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างๆ มีผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทุกอัตราให้ผลผลิตน้ำตาลอยู่ระหว่าง 2.79-3.05 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนที่ให้ผลผลิตน้ำตาล 2.66 ตันซีซีเอสต่อไร่ แต่การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 22.5 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ให้ผลผลิตน้ำตาลไม่แตกต่างทางสถิติกับการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับด้านพันธุ์ มีความแตกต่างทางสถิติ ระหว่างโคลนดีเด่นและพันธุ์เปรียบเทียบ โดยโคลนดีเด่นทุกโคลนให้ผลผลิตน้ำตาล 2.40-2.87 ตันซีซีเอส ต่อไร่ ซึ่งต่ำกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 (3.53 ตันซีซีเอสต่อไร่) แต่โคลน UT15-094 และ UT15-060 ให้ผลผลิตน้ำตาล 2.87 และ 2.79 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ LK92-11 ที่ให้ผลผลิตน้ำตาล 2.89 ตันซีซีเอส ต่อไร่ (Table 3) จำนวนลำเก็บเกี่ยว ด้านพันธุ์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยโคลน UT15-060 มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวสูงสุด 13,422 ลำต่อไร่ ซึ่งมากกว่าพันธุ์ LK92-11 ที่มีจำนวนลำเก็บเกี่ยว 11,346 ลำต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างจากพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่มีจำนวนลำเก็บเกี่ยว 12,648 ลำต่อไร่ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราต่างๆ มีจำนวนลำเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 11,689-12,171 ลำต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกับการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ที่มีจำนวนลำ เก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 11,029 ลำต่อไร่ (Table 4) เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ด้านพันธุ์มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติโดยโคลน UT15-094 และ UT10-044 มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2.72 และ 2.63 เซนติเมตร ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-11 ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2.69 และ 2.74 เซนติเมตร การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตราต่างๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำอยู่ระหว่าง 2.62-2.68 เซนติเมตร ซึ่งไม่แตกต่าง กับการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำเท่ากับ 2.63 เซนติเมตร (Table 6) สำหรับค่าซีซีเอส (Table 2) ความยาวลำ (Table 5) และจำนวนปล้อง (Table 7) ทั้งด้านพันธุ์และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา ต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 8. คำหลัก : ปุ๋ยไนโตรเจน อ้อยโคลนดีเด่น ชุดปี 2558 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 96,280 บาท


32 Table 1 Yield of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Unit: ton/rai Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 18.72 19.58 20.66 20.59 18.27 19.56 b 7.5-3-6 20.29 22.22 20.20 24.75 22.00 21.89 a 15-3-6 21.84 23.09 22.30 24.53 20.84 22.52 a 22.5-3-6 20.50 21.27 19.53 24.54 18.90 20.95 ab 30-3-6 20.59 22.67 23.07 24.39 20.94 22.33 a Mean (A) 20.39 21.77 21.15 23.76 20.19 CV (A) % 10.34 CV (B) % 10.58 Means followed by the same letter within a column is not significantly different at 5% level of probability using Duncan Multiple Range Test (DMRT) Table 2 CCS of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 14.26 12.61 12.28 14.62 14.49 13.65 7.5-3-6 12.62 13.60 11.47 14.43 15.20 13.46 15-3-6 14.07 13.03 10.65 15.14 14.01 13.38 22.5-3-6 13.44 13.00 11.42 14.55 14.17 13.32 30-3-6 14.04 13.65 11.20 15.38 13.93 13.64 Mean (A) 13.69 13.18 11.40 14.82 14.36 CV (A) % 6.58 CV (B) % 5.49


33 Table 3 Sugar Yield of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Unit: tonCCS/rai Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 2.67 2.47 2.53 3.02 2.63 2.66 b 7.5-3-6 2.57 3.02 2.31 3.57 3.29 2.95 a 15-3-6 3.06 2.99 2.35 3.72 2.92 3.01 a 22.5-3-6 2.72 2.77 2.23 3.58 2.67 2.79 ab 30-3-6 2.91 3.09 2.58 3.75 2.92 3.05 a Mean (A) 2.79 bc 2.87 b 2.40 c 3.53 a 2.89 b CV (A) % 13.18 CV (B) % 11.96 Means followed by the same letter within a row and column is not significantly different at 5% level of probability using Duncan Multiple Range Test (DMRT) Table 4 Stalk number of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Unit: stalk/rai Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 12,444 9,937 11,016 11,524 10,222 11,029 7.5-3-6 12,825 11,238 10,381 13,492 12,921 12,171 15-3-6 13,460 10,444 12,000 12,603 12,032 12,108 22.5-3-6 14,254 10,952 9,587 12,730 10,921 11,689 30-3-6 14,127 10,825 10,794 12,889 10,635 11,854 Mean (A) 13,422 a 10,679 b 10,756 b 12,648 a 11,346 b CV (A) % 9.35 CV (B) % 11.75 Means followed by the same letter within a row is not significantly different at 5% level of probability using Duncan Multiple Range Test (DMRT)


34 Table 5 Height of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Unit: centimeter Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 362 384 376 354 335 362 7.5-3-6 350 361 352 358 328 350 15-3-6 362 374 385 357 334 362 22.5-3-6 349 366 369 368 337 358 30-3-6 357 372 377 366 337 362 Mean (A) 356 371 372 361 334 CV (A) % 5.95 CV (B) % 6.18 Table 6 Diameter of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Unit: centimeter Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 2.45 2.73 2.59 2.60 2.77 2.63 7.5-3-6 2.46 2.73 2.65 2.69 2.70 2.65 15-3-6 2.43 2.66 2.67 2.71 2.61 2.62 22.5-3-6 2.42 2.67 2.55 2.71 2.84 2.64 30-3-6 2.38 2.81 2.68 2.76 2.76 2.68 Mean (A) 2.43 b 2.72 a 2.63 a 2.69 a 2.74 a CV (A) % 4.39 CV (B) % 4.07 Means followed by the same letter within a row is not significantly different at 5% level of probability using Duncan Multiple Range Test (DMRT)


35 Table 7 Internode number of sugarcane clones at different nitrogen fertilizer rates planted in Suphan Buri Field Crops research center: plant cane in 2022/23 Unit: node/rai Clones/Varieties (A) UT15-060 UT15-094 UT10-044 KK3 LK92-11 Mean (B) N-P2O5-K2O kg/rai (B) 0-3-6 32.0 30.5 31.4 30.9 30.8 31.1 7.5-3-6 30.6 32.1 29.6 31.6 31.3 31.0 15-3-6 31.6 31.7 30.7 33.1 29.4 31.3 22.5-3-6 30.9 30.2 30.2 32.8 31.4 31.1 30-3-6 30.5 32.1 30.1 32.4 31.0 31.2 Mean (A) 31.1 31.3 30.4 32.2 30.8 CV (A) % 5.18 CV (B) % 4.89


36 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อแผนงานวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. ชื่อโครงการวิจัย วิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อยโรงงานด้วยนวัตกรรมเพื่อการผลิตในเขต ชลประทานและน้ำเสริม 3. ชื่อกิจกรรม การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโคลนดีเด่นที่ เหมาะสมกับเขตชลประทานและน้ำเสริม 4. ชื่อการทดลอง ศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคแส้ดำของโคลนอ้อยดีเด่นโคลนอ้อยชุดปี 2558 สำหรับสภาพชลประทานและน้ำเสริม 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า อุไรวรรณ พงษ์พยัคเลิศ ผู้ร่วมงาน ปิยธิดา อินทร์สุข สุวัฒน์ พูลพาน กาญจนา หนูแก้ว อาภาพร หนูแดง ศรัณย์รัตน์ สุวรรณพงษ์ นพิษฐา กลัดเงิน 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2564 สิ้นสุด กันยายน 2566 7. รายงานความก้าวหน้า การศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคแส้ดำของโคลนอ้อยดีเด่นชุดปี 2558 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ ทำการทดสอบกับอ้อยจำนวน 12 โคลน/พันธุ์ โดยมีพันธ์LK92-11 (Resistant check) และ Marcos (Susceptible check) และ KK3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี โดยวิธีการ แช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารแขวนลอยสปอร์ (Spore suspension) Sporisorium scitamineum (Syd.) สาเหตุ ของโรคแส้ดำอ้อย บ่มไว้ 1 คืน และปลูกทดสอบ ประเมินการเกิดโรคทุกๆ 1 เดือน และเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 12 เดือน และไว้ตอ 1 ปีผลการทดลอง พบว่า ในอ้อยปลูก โคลน/พันธ์ ทั้งหมดที่ทำการทดสอบ มีปฏิกิริยาต่อ โรคแส้ดำอ่อนแอปานกลาง (Moderate Susceptible: MS) ถึงอ่อนแอ (Susceptible: S) โดยที่พันธ์LK92-11 โคลน UT15-060 และ UT15-094 มีปฏิกิริยา MS ขณะที่โคลน/พันธุ์อื่นๆ มีปฏิกิริยา S ส่วนด้านผลผลิต พบว่า UT14-023 ให้ผลผลิตมากที่สุด 28.2 ตันต่อไร่ (Table 1) ขณะนี้อยู่ระหว่างการดูแลรักษาและเก็บข้อมูล การเกิดโรคในอ้อยตอ 1 8. คำหลัก : แส้ดำ, โรคอ้อย, smut, Sporisorium scitamineum, Ustilago scitaminea 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ ตชว.) : 102,300 บาท


Table 1 Reaction of smut disease in sugarcane series 2015: plant cane No. Clones/Varieties Germination (%) No. of Stalk (Stalk/rai) 1 UT10-175 99.1 7,633 e 2 UT14-023 98.1 14,502 ab 3 UT15-034 100.0 12,622 a-d 4 UT15-060 100.0 15,012 a 5 UT15-094 98.1 9,369 de 6 UT15-147 100.0 12,648 a-d 7 UT15-267 100.0 13,215 abc 8 UT15-299 100.0 12,510 a-d 9 UT15-337 97.2 9,731 cde 10 Marcos (S check) 100.0 11,712 a-d 11 LK92-11 (R check) 100.0 13,128 abc 12 KK3 99.1 11,226 bcd F-test - ** CV (%) - 15.97 ** = significant at P≤ 0.01 respectively. Means in the same column followed by the same letters are not significantly different at P ≤ 0.05 byRemark: R = Resistant MR = Moderately Resistant MS = Moderately Susceptible S = Susceptible


37 Yield (ton/rai) % disease stool Grad Reaction severity score 14.2 de 74.6 a-d 8 S 4 28.2 a 63.2 b-e 8 S 4 21.6 bcd 71.3 bcd 8 S 4 19.8 b-e 46.3 e 7 MS 3 21.7 bc 50.0 e 7 MS 3 19.2 b-e 82.4 ab 9 S 4 20.1 b-e 92.6 a 9 S 4 22.5 ab 78.7 a 9 S 4 13.6 e 94.3 a 9 S 4 14.8 cde 61.1 cde 8 S 4 19.1 b-e 45.4 e 7 MS 3 19.1 b-e 55.1 de 8 S 4 ** ** - - - 19.58 15.96 - - - y DMRT. 37


38 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อโครงการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะ 2. ชื่อโครงการย่อย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม กับพื้นที่เฉพาะ 3. ชื่อกิจกรรม วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย 4. ชื่อการทดลอง ผลของการจัดการเศษซากอ้อยต่อการย่อยสลายและการให้ผลผลิตอ้อย 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า สุมาลี โพธิ์ทอง ผู้ร่วมงาน วันทนา เลิศศิริวรกุล สุปรานี มั่นหมาย นันทวัน มีศรี ณิชนันท์ พิเชียรสดใส เมสินี เกษสกุล กาญจนา หนูแก้ว 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2565 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า ศึกษาวิธีการจัดการเศษซากอ้อยและผลกระทบต่อการย่อยสลายและการให้ผลผลิตอ้อย ณ แปลงทดลอง รางโพธิ์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 3 ซ้ำ Main Plot คือ วิธีการ ให้น้ำ 2 กรรมวิธีได้แก่ ไม่ให้น้ำ และให้น้ำแบบหยด Sub Plot คือ กรรมวิธีการจัดการเศษซากอ้อย มี 7 กรรมวิธี ได้แก่1) พ่นสารละลายปุ๋ยยูเรียอัตรา 20กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร (หลังเก็บเกี่ยวอ้อยปลูกไม่เกิน 2 สัปดาห์ ฉีดพ่น จำนวน 3 ครั้ง) 2) ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 4 % ของน้ำหนักแห้งรวมของเศษซากอ้อย 3) สารเร่ง พด.1 4) จุลินทรีย์ ช่วยย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ไถกลบเศษซากอ้อยด้วยเครื่องสับใบระหว่างแถวอ้อยตอ 6) ไถกลบเศษซากอ้อยด้วยเครื่องสับใบระหว่างแถวอ้อยตอร่วมกับการพ่นสารละลายปุ๋ยยูเรียอัตรา 20 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร และ 7) ไม่มีการจัดการเศษซากอ้อย : ปล่อยตามธรรมชาติ (control) ทำการ ปลูกอ้อยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในอ้อยปลูกได้ปฏิบัติและดูแลรักษาอ้อยเหมือนกันในทุกกรรมวิธี เพื่อให้ อ้อยปลูกมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และมีbiomass ที่ใกล้เคียงกันสำหรับศึกษาอัตราการย่อยสลายเศษ ซากอ้อยในอ้อยตอ เมื่ออ้อยปลูกอายุ 3 6 9 และ 12 เดือน ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ การแตกกอ ความสูง และจำนวนใบ พบว่า อ้อยปลูกมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันในทุกกรรมวิธี โดยมีความสูง การแตกกอ จำนวนลำต่อไร่ใกล้เคียงกัน อ้อยปลูกที่อายุ 3 6 9 และ 12 เดือน มีความสูงเฉลี่ย 40 191 283 และ 327 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่ออ้อยปลูกอายุ 6 9 และ 12 เดือน มีการแตกกอเฉลี่ย 5-6 ลำต่อกอ เมื่ออ้อยอายุ 12 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยว พบว่า อ้อยมีจำนวนใบสดและใบแห้งเฉลี่ยใกล้เคียงกันในทุกกรรมวิธี โดยมีใบสดเฉลี่ย


39 8 ใบต่อต้น มีใบแห้งเฉลี่ย 30 ใบต่อต้น ในทุกกรรมวิธีให้ผลผลิตเฉลี่ยใกล้เคียงกันที่ 20.2-21.6 ตันต่อไร่ มีน้ำหนักใบสด ใบแห้ง และยอดรวมกัน (น้ำหนักใบและเศษซากอ้อยที่เหลือในแปลงหลังเก็บเกี่ยวอ้อยสด) ในแต่ละกรรมวิธี 3.21-3.56 ตันต่อไร่ หรือเฉลี่ยทุกกรรมวิธีที่ 3.35 ตันต่อไร่ ขณะนี้อ้อยตออายุ 3 เดือน อยู่ระหว่างการดูแลรักษา และศึกษาอัตราการย่อยสลายใบและเศษซากอ้อยในแต่ละกรรมวิธี 8. คำหลัก : อ้อย การจัดการ เศษซากอ้อย การย่อยสลาย 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ สกสว.) : 172,501 บาท


40 รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 65/สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน/ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 1. ชื่อโครงการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและ เหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะ 2. ชื่อโครงการย่อย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ เฉพาะ 3. ชื่อกิจกรรม วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย 4. ชื่อการทดลอง ผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโตและการสูญเสียผลผลิตของอ้อย 5. ผู้ดำเนินงาน หัวหน้า สุมาลี โพธิ์ทอง ผู้ร่วมงาน วันทนา เลิศศิริวรกุล นันทวัน มีศรี ณิชนันท์ พิเชียรสดใส เมสินีเกษสกุล ณรงค์ ย้อนใจทัน 6. ระยะเวลา เริ่มต้น ตุลาคม 2565 สิ้นสุด กันยายน 2567 7. รายงานความก้าวหน้า ศึกษาผลกระทบจากการขาดน้ำของอ้อยในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต 4 ระยะ ได้แก่ ระยะงอก (อายุ 0-30 วัน) ระยะแตกกอ (อายุ 31-170 วัน) ระยะย่างปล้อง (อายุ 171-295 วัน) และระยะสุกแก่ (อายุ 296-330 วัน) เพื่อประเมินผลกระทบจากการขาดน้ำของอ้อยในระยะต่างๆ วางแผนการทดลองแบบ 4 x 4 + 1 Factorial in RCB จำนวน 3ซ้ำ เปรียบเทียบกับอ้อยที่ไม่ขาดน้ำ ปัจจัย A คือ ระยะเวลาในการขาดน้ำ 4 ระยะ ได้แก่ 1) ขาดน้ำตลอดระยะการเจริญเติบโต 2) ขาดน้ำครึ่งแรกของระยะการเจริญเติบโต 3) ขาดน้ำ ช่วงกลางของระยะการเจริญเติบโต และ 4) ขาดน้ำครึ่งหลังของระยะการเจริญเติบโต ปัจจัย B คือ ระยะการ เจริญเติบโตที่มีการขาดน้ำ 4 ระยะ คือ ระยะงอก (Germination phase) ระยะแตกกอ (Tillering phase) ระยะย่างปล้อง (Elongation phase) และระยะสุกแก่ (Maturity and ripening phase) เปรียบเทียบ กับอ้อยที่ไม่ขาดน้ำ โดยหลังจากสิ้นสุดการขาดน้ำในแต่ละระยะการเจริญเติบโตมีการให้น้ำกลับคืน (re-water) และให้น้ำตามความต้องการของอ้อย จนสิ้นสุดการทดลอง ทำการปลูกอ้อยในรองบ่อ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรือนปลูกพืชชั่วคราว ของศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ขณะนี้อ้อยอายุ 11 เดือน อยู่ในช่วงระยะสุกแก่ จากการทดลองผลกระทบจากการขาดน้ำในระยะงอก พบว่า การขาดน้ำในทุกช่วงของ ระยะงอกให้ความสูงไม่แตกต่างกัน เนื่องจากก่อนปลูกมีการให้น้ำจนดินอิ่มตัวไปด้วยน้ำ ทำให้ดินมีความชื้น เพียงพอสำหรับการงอกและการเจริญเติบโตในช่วง 30 วัน และปลูกในโรงเรือนในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นฤดูฝน ทำให้อากาศมีความชื้นสูง และดินมีการสูญเสียความชื้นได้น้อย การขาดน้ำในระยะงอกจึงไม่ทำให้อ้อยมีความสูง


41 แตกต่างกัน เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน มีความสูงเฉลี่ยที่ 37-40 เซนติเมตร ในขณะที่อ้อยที่มีการให้น้ำตามปริมาณ ความต้องการน้ำของอ้อยมีความสูงเฉลี่ย 42 เซนติเมตร แต่การขาดน้ำในช่วงแรกและการขาดน้ำตลอดระยะ การเจริญเติบโตในระยะแตกกอจะส่งผลให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต มีความสูงเมื่ออ้อยอายุ3 เดือน เฉลี่ย 25 เซนติเมตร ในขณะที่การขาดน้ำในช่วงกลางและช่วงท้ายของระยะแตกกอ ให้ความสูงเฉลี่ย 46 และ 40 เซนติเมตร เมื่ออ้อยอายุ 6 เดือน (อยู่ในระยะแตกกอ) พบว่า การขาดน้ำตลอดระยะการเจริญเติบโตหรือขาดน้ำ เป็นเวลา 140 วัน หลังระยะงอก จะทำให้อ้อยตาย 100 % การขาดน้ำในช่วงครึ่งแรกและช่วงครึ่งหลังของ ระยะแตกกอจะทำให้อ้อยตาย 33 % ส่วนการขาดน้ำในช่วงกลางของระยะแตกกอทำให้อ้อยชะงักการ เจริญเติบโตเล็กน้อย โดยมีความสูงเฉลี่ย 84 เซนติเมตร ในขณะที่อ้อยที่ไม่มีการขาดน้ำมีความสูงเฉลี่ย 115 เซนติเมตร 8. คำหลัก : อ้อย การจัดการ เศษซากอ้อย การย่อยสลาย 9. ประเภทผลวิจัย : ก้าวหน้า 10. คำแนะนำผลวิจัย : พัฒนาต่อ 11. งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด (งบ สกสว.) : 184,001 บาท


Click to View FlipBook Version