The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle)

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน (ว30141) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่วัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 9.77 และมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 90.23 หลังกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 80.90 และมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 19.09 เมื่อเปรียบเทียบระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) พบว่า หลังได้รับการจัดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 71.13 ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนลดลงเฉลี่ยร้อยละ 71.14 สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐานได้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanongying1994, 2023-03-26 14:52:56

การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle)

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle)

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน (ว30141) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่วัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 9.77 และมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 90.23 หลังกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 80.90 และมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 19.09 เมื่อเปรียบเทียบระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) พบว่า หลังได้รับการจัดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 71.13 ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนลดลงเฉลี่ยร้อยละ 71.14 สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐานได้

Keywords: วิจัย,วิจัยในชั้นเรียน,มโนมติทางวิทยาศาสตร์,สืบเสาะหาความรู้,5E,Inquiry cycle

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) โดย นางสาวจิรนันท์ ทนงยิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


2 บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ผู้วิจัย นางสาวจิรนันท์ ทนงยิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2565 ****************************************************************************************************** การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ 5Es (Inquiry cycle) รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน (ว30141) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง เรียนที่วัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทาง วิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 9.77 และมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 90.23 หลังกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 80.90 และมีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 19.09 เมื่อเปรียบเทียบ ระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) พบว่า หลังได้รับการจัดการเรียนรู้กลุ่ม ตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 71.13 ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนลดลง เฉลี่ยร้อยละ 71.14 สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) สามารถ พัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ใน รายวิชาชีววิทยาพื้นฐานได้


3 1. ที่มาและความสำคัญของการวิจัย ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยาพื้นฐานมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เนื่องจากวิชาชีววิทยาเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องด้วยธรรมชาติของวิชามีเนื้อหาสาระมากและ ซับซ้อน ขณะที่รูปแบบการเรียนการสอนยังเป็นแบบบรรยาย เน้นการท่องจำเนื้อหา ซึ่งขัดกับแนวทางการจัดการ เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จึงทำให้นักเรียนเกิดความ เบื่อหน่าย ไม่สนุก ไม่มีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ และจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนยังไม่ สามารถวิเคราะห์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ขาดการเชื่อมโยงความรู้ ทำให้นักเรียนไม่สามารถมองภาพรวม ไม่ สามารถเข้าใจ และไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และชีววิทยาได้ดีเท่าที่ควร ขาดความเข้าใจใน รายวิชาชีววิทยาอย่างแท้จริง อาศัยการท่องจำในการทำข้อสอบ เมื่อนักเรียนเจอกับข้อสอบที่มีการคิดวิเคราะห์ ทำให้นักเรียนไม่สามารถทำได้และเมื่อเจอกับข้อสอบที่มีโจทย์ยาว นักเรียนมักข้ามในข้อนั้นไป เนื่องจากนักเรียน ขาดความกระตือรือร้นที่จะทำ ซึ่งอาจส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหาที่กล่าวมา ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วิชา วิทยาศาสตร์และชีววิทยา รวมทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยจึงพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ในการพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และเพื่อให้นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์- บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกาย มนุษย์ 3. สมมติฐานการวิจัย 3.1 นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดจากกลุ่มตัวอย่าง มีการเปลี่ยนแปลงความ เข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ เป็นความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ 4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4.1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 375 คน 4.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง


4 5. นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย 5.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) หมายถึง การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ให้นักเรียนค้นหาองค์วามรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดที่ประกอบด้วยขั้นตอนในการเรียน การสอน 5 ขั้นตอน คือ 5.1.1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 5.1.2 ขั้นสำรวจและค้นคว้า (Exploration) 5.1.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 5.1.4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 5.1.5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 5.2 มโนมติทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใด เรื่องหนึ่ง อันเกิดจากข้อเท็จจริงหลักการและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของ ร่างกายมนุษย์แล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันเป็นข้อสรุปและสามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผลทาง วิทยาศาสตร์ได้ 5.3 ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ อยู่ในระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ และความเข้าใจที่ ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ 5.4 ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน หมายถึง ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ อยู่ในระดับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางส่วน ความ เข้าใจที่คลาดเคลื่อน และไม่เข้าใจ 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ 6.2 นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ 6.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ สูงกว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 7. กรอบแนวคิดการวิจัย การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) พัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์


5 8. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกาย มนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 8.1 การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) 8.1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ การเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่ง เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบและค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียน เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า 8.1.2 ระดับของการสืบเสาะหาความรู้แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ 8.1.2.1 การสืบเสาะหาความรู้แบบยืนยัน เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ ตรวจสอบความรู้หรือแนวคิด เพื่อยืนขันความรู้หรือแนวคิดที่ถูกต้นพบมาแล้ว โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหาและ คำตอบ หรือองค์ความรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนค้นพบ และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่กำหนดในหนังสือหรือใบงานหรือ ตามที่ครูบรรยายบอกกล่าว 8.1.2.2 การสืบเสาะหาความรู้แบบนำทาง เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหา และสาธิตหรืออธิบายการสำรวจตรวจสอบแล้วให้ผู้เรียน ปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนด 8.1.2.3 การสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียน ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหา และครูเป็นผู้ขี้แนะแนวทางการสำรวจตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือแนะนำให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบ 8.1.2.4 การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิด เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมีอิสระ ในการคิด เป็นผู้กำหนดปัญหา ออกแบบ และปฏิบัติการสำรวจ ตรวจสอบด้วยตนเอง 8.1.3 กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry process) มาจัดกระบวนการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาโดยใช้วัฏจักรการสืบ เสาะหาความรู้ (inquiry cycle) หรือ 5E ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีขอบข่ายรายละเอียดดังนี้ 8.1.3.1 ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นเริ่มต้นของการนำเข้าสู่ บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการ อภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อม โยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจจะจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัยใคร่รู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควร บังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต


6 ทดลองนำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ 8.1.3.2 ขั้นสำรวจเละค้นคว้า (exploration) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้นักเรียนมี ประสบการณ์ร่วมกันในการสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ โดยการให้เวลา และโอกาส แก่นักเรียนในการทำกิจกรรม โดยนักเรียนจะดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผน กำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ ที่นักเรียนต้องการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นนักเรียนแต่ละคน หลังจากนั้น นักเรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะในระหว่าง ที่นักเรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหาเป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ตรวจสอบ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ความคิดรวบยอดของนักเรียนที่ยังไม่ถูกต้องและยังไม่สมบูรณ์ โดยการให้นักเรียนอธิบาย และยกตัวอย่างเกี่ยวกับ ความคิดเห็นของนักเรียน ครูควรระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับความสามารถของนักเรียนตามประเด็นปัญหา ผลจากการ ที่นักเรียนมีใจจดจ่อในการทำกิจกรรม นักเรียนควรจะสามารถเชื่อมโยงการสังเกต การจำแนกตัวแปร และคำถาม เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้ 8.1.3.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักเรียนนำ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบ ต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้เหตุผล สมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน เป็นการพัฒนาความสามารถใน การอธิบายความคิดรวบยอคที่ได้จากการสำรวจและค้นหาของนักเรียน ครูควรให้โอกาสแก่นักเรียนได้อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน การอธิบายนั้นต้องการให้นักเรียนได้ใช้ข้อสรุปร่วมกันในการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามครูควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคงเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางคือนักเรียนได้พัฒนา ความสามารถในการอธิบายด้วยตัวนักเรียนเอง บทบาทของครูเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนมี โอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้ชัดเจน ในที่สุดนักเรียนควรจะสามารถ อธิบายความคิดรวบยอดได้อย่างเข้าใจ โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้เคิมและสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน 8.1.3.4 ขั้นขยายความรู้ (elaboration) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนได้ยืนยันและ ขยายหรือเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้นและยังเปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ฝึกทักษะและปฏิบัติตามที่นักเรียนต้องการ ในกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่หรืออาจจะเข้าใจเฉพาะ ข้อสรุปที่ได้จากการปฏิบัติการสำรวจและค้นหาเท่านั้น ควรให้ประสบการณ์ใหม่นักเรียนจะได้พัฒนาความรู้ความ เข้าใจในความคิครวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สำคัญของขั้นนี้ คือ ครูควรชี้แนะให้นักเรียนได้ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะเพิ่มขึ้นโดยครู อาจจะจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือ เชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียนชี้แจง หรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้ หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม


7 8.1.3.5 ขั้นประเมินผล (evaluation) ขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ การอธิบายความรู้ความเข้าใจของตนเอง นักเรียนได้ตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ระหว่างการเรียนการ สอนในขั้นนี้ของรูปแบบการสอน ครูต้องกระตุ้นหรือส่งเสริมให้นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้าน กระบวนการและผลผลิต ทำให้นักเรียนได้ประเมินความรู้ความเข้าใจและความสามารถของตนเอง และยังทำให้ นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลองของตนเอง และยังเปิดโอกาสให้ครูได้ประเมินความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของนักเรียนด้วย 8.2 มโนมติทางวิทยาศาสตร์ 8.2.1 ความหมายมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ความหมายมโนมติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันเกิดจากข้อเท็จจริงหลักการและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง การรักษา ดุลยภาพของร่างกายมนุษย์แล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันเป็นข้อสรุปและสามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ทางวิทยาศาสตร์ได้ 8.2.2 เกณฑ์การให้คะแนนมโนมติทางวิทยาศาสตร์มี 5 ระดับ (Westbrook and Marek (1991 and 1992 อ้างถึงใน Mungsing, 1993) ดังนี้ 8.2.2.1 ความเข้าใจที่สมบูรณ์ (Complete understanding: CU) หมายถึง คำตอบของ นักเรียนถูกและให้เหตุผลถูกต้องสมบูรณ์ครบองค์ประกอบที่สำคัญของแต่ละแนวคิด = 3 คะแนน 8.2.2.2 ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (Partial understanding: PU) หมายถึง คำตอบ ของนักเรียนถูกต้องและให้เหตุผลถูก แต่ขาดองค์ประกอบที่สำคัญบางส่วน = 2 คะแนน 8.2.2.3 ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (Partial understanding with specific alternative conception: PS) หมายถึง นักเรียนเลือกคำตอบถูกแต่ให้เหตุผลไม่ถูกหรือไม่ให้เหตุผล หรือเลือก คำตอบไม่ถูกแต่ให้เหตุผลถูกต้องบางส่วน = 1 คะแนน 8.2.2.4 ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (Alternative conception: AC) หมายถึง คำตอบของ นักเรียนแสดงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทั้งหมด = 0 คะแนน 8.2.2.5 ไม่เข้าใจ (No understanding: NU) หมายถึง คำตอบของนักเรียนไม่ตรงกับคำถาม หรือนักเรียนไม่ตอบคำถาม = 0 คะแนน 8.2.3 ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ อยู่ในระดับความเข้าใจที่สมบูรณ์ และ ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ 8.2.4 ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน หมายถึง ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ อยู่ในระดับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน บางส่วน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และไม่เข้าใจ 9. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ตัวแปรตาม คือ ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์


8 10. การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย ผู้ทำวิจัยสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพของเครื่องมือ ดังนี้ 10.1 แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน (ว30141) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ มี ขั้นตอนการสร้าง ดังนี้ 10.1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยคลอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียนและท้องถิ่น 10.1.2 ศึกษาเนื้อหาสาระหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ จากหนังสือ เรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจัดทำ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ 10.1.3 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน (ว30141) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) 10.1.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน 10.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว มาแก้ไขพิจารณาปรับปรุง 10.1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่แก้ไขพิจารณาปรับปรุงแล้ว ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย 10.2 แบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ 10.2.1 ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์จาก เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือและวารสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ 10.2.2 สร้างแบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ 4 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของ ร่างกายมนุษย์ 10.2.3 นำแบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ ผู้เชี่ยวชาญประเมิน 10.2.4 นำแบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว มา แก้ไขพิจารณาปรับปรุง 10.22.5 นำแบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ที่แก้ไขพิจารณาปรับปรุงแล้ว ไปใช้ กับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย


9 11. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังนี้ 11.1 เลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 11.2 ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การ รักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์แล้วนำผลการทดสอบมาตรวจให้คะแนน และนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์โดย วิธีการทางสถิติ 11.3 ชี้แจงกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) เพื่อที่นักเรียนสามารถ เข้าใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเข้าใจและบรรลุตามจุดประสงค์ 11.4 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน (ว30141) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ 11.5 เมื่อสิ้นสุดการการจัดการเรียนรู้ตามกำหนดแล้วจึงทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) โดยใช้ แบบทดสอบหลังเรียนวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์แล้วนำ ผลการทดสอบมาตรวจให้คะแนน และนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ 12. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 12.1 ค่าร้อยละ (percentage) โดยคำนวณจากสูตรดังนี้ P = f N × 100 เมื่อ P แทน ร้อยละ f แทน ความถี่หรือจำนวนที่ต้องการหาร้อยละ N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด 12.2 ค่าเฉลี่ย (mean) โดยคำนวณจากสูตรดังนี้ x̅ = ∑ x N เมื่อ x̅แทน ค่าเฉลี่ย ∑ x แทน ผลรวมคะแนนในกลุ่ม N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด


10 13. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ตารางที่ 1 ระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เกณฑ์การประเมิน 1. ความเข้าใจที่สมบูรณ์ (Complete understanding: CU) คำตอบของนักเรียนถูกและให้เหตุผลถูกต้องสมบูรณ์ ครบองค์ประกอบที่สำคัญของแต่ละแนวคิด 2. ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (Partial understanding: PU) คำตอบของนักเรียนถูกต้องและให้เหตุผลถูก แต่ขาด องค์ประกอบที่สำคัญบางส่วน 3. ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (Partial understanding with specific alternative conception: PS) นักเรียนเลือกคำตอบถูกแต่ให้เหตุผลไม่ถูกหรือไม่ให้ เหตุผล หรือเลือกคำตอบไม่ถูกแต่ให้เหตุผลถูกต้อง บางส่วน 4. ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (Alternative conception: AC) คำตอบของนักเรียนแสดงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทั้งหมด 5. ไม่เข้าใจ (No understanding: NU) คำตอบของนักเรียนไม่ตรงกับคำถาม หรือนักเรียนไม่ ตอบคำถาม ตารางที่ 2 ร้อยละของระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ข้อที่ จำนวน นักเรียน (N=44) ระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ CU PU PS AC NU ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ 1 44 0 0 2 4.55 18 40.91 16 36.36 8 18.18 2 44 0 0 4 9.09 16 36.36 12 27.27 12 27.27 3 44 0 0 3 6.82 11 25.00 14 31.82 16 36.36 4 44 0 0 6 13.64 10 22.73 14 31.82 14 31.82 5 44 0 0 1 2.27 8 18.18 20 45.45 15 34.09 6 44 0 0 1 2.27 12 27.27 18 40.91 13 29.55 7 44 0 0 5 11.36 22 50.00 13 29.55 4 9.09 8 44 0 0 6 13.64 18 40.91 13 29.55 7 15.91 9 44 0 0 10 22.73 16 36.36 16 36.36 2 4.55 10 44 0 0 5 11.36 16 36.36 15 34.09 8 18.18 เฉลี่ย 0 0 4.30 9.77 14.70 33.41 15.10 34.32 9.90 22.50


11 ตารางที่ 3 ร้อยละของระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ข้อที่ จำนวน นักเรียน (N=44) ระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ CU PU PS AC NU ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ ความถี่ ร้อยละ 1 44 24 54.55 11 25.00 3 9.09 3 6.82 2 4.55 2 44 20 45.45 10 22.73 4 13.64 4 9.09 4 9.09 3 44 20 45.45 10 22.73 6 11.36 6 13.64 3 6.82 4 44 24 54.55 13 29.55 2 9.09 2 4.55 1 2.27 5 44 26 59.09 12 27.27 3 4.55 3 6.82 1 2.27 6 44 21 47.73 16 36.36 2 11.36 2 4.55 0 0.00 7 44 23 52.27 15 34.09 2 6.82 2 4.55 1 2.27 8 44 19 43.18 20 45.45 2 4.55 2 4.55 1 2.27 9 44 23 52.27 13 29.55 3 11.36 3 6.82 0 0.00 10 44 22 50.00 14 31.82 2 6.82 2 4.55 3 6.82 เฉลี่ย 22.20 50.45 13.40 30.45 2.90 8.86 2.90 6.59 1.60 3.64 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบร้อยละของระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการ เรียนรู้เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ข้อที่ จำนวน นักเรียน (N=44) ร้อยละของระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ CU PU PS AC NU ก่อน หลัง ก่อน หลัง ก่อน หลัง ก่อน หลัง ก่อน หลัง 1 44 0 54.55 4.55 25.00 40.91 9.09 36.36 6.82 18.18 4.55 2 44 0 45.45 9.09 22.73 36.36 13.64 27.27 9.09 27.27 9.09 3 44 0 45.45 6.82 22.73 25.00 11.36 31.82 13.64 36.36 6.82 4 44 0 54.55 13.64 29.55 22.73 9.09 31.82 4.55 31.82 2.27 5 44 0 59.09 2.27 27.27 18.18 4.55 45.45 6.82 34.09 2.27 6 44 0 47.73 2.27 36.36 27.27 11.36 40.91 4.55 29.55 0.00 7 44 0 52.27 11.36 34.09 50.00 6.82 29.55 4.55 9.09 2.27 8 44 0 43.18 13.64 45.45 40.91 4.55 29.55 4.55 15.91 2.27 9 44 0 52.27 22.73 29.55 36.36 11.36 36.36 6.82 4.55 0.00 10 44 0 50.00 11.36 31.82 36.36 6.82 34.09 4.55 18.18 6.82 เฉลี่ย 0 50.45 9.77 30.45 33.41 8.86 34.32 6.59 22.50 3.64


12 จากตารางที่ 2 ตารางที่ 3 และตารางที่ 4 พบว่า ก่อนกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษา ดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างมี ระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ระดับ CU ความเข้าใจที่สมบูรณ์ เฉลี่ยร้อยละ 0 ระดับ PU ความเข้าใจที่ ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์เฉลี่ยร้อยละ 9.77 กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 9.77 และมีระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ระดับ PS ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางส่วน เฉลี่ยร้อยละ 33.41 ระดับ AC ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เฉลี่ยร้อยละ 34.32 ระดับ NU ไม่เข้าใจ เฉลี่ยร้อยละ 22.50 กล่าวคือ ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 90.23 หลังกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ระดับ CU ความเข้าใจที่สมบูรณ์ เฉลี่ยร้อยละ 50.45 ระดับ PU ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์เฉลี่ยร้อยละ 30.45 กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์(CU+PU) เฉลี่ยร้อยละ 80.90 และมีระดับความ เข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ระดับ PS ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางส่วน เฉลี่ยร้อยละ 8.86 ระดับ AC ความ เข้าใจที่คลาดเคลื่อน เฉลี่ยร้อยละ 6.59 ระดับ NU ไม่เข้าใจ เฉลี่ยร้อยละ 3.64 กล่าวคือ ความเข้าใจมโนมติที่ คลาดเคลื่อน (PS+AC+NU) เฉลี่ยร้อยละ 19.09 เมื่อเปรียบเทียบระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษา ดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) พบว่า หลังได้รับ การจัดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 71.13 ความเข้าใจมโนมติ ที่คลาดเคลื่อนลดลงเฉลี่ยร้อยละ 71.14 14. สรุปผลการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) เรื่อง การ รักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ศึกษาในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน จำนวน 44 คน วิเคราะห์ข้อมูล คือ การเปรียบเทียบร้อยละของระดับความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ทำให้สรุปผลการวิจัยได้ว่า นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดจาก กลุ่มตัวอย่าง มีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์ เป็น ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ สามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) สามารถพัฒนาความ เข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ในรายวิชาชีววิทยา พื้นฐานได้


13 15. อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) สามารถ อภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยได้ดังนี้ “การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) เรื่อง การรักษาดุลยภาพของร่างกาย มนุษย์สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลี ราษฎร์บำรุง ในรายวิชาชีววิทยาพื้นฐานได้ซึ่งสอดคล้องกับวิทยานิพนธ์ของ บุษยา แสงทอง (2561) เรื่อง การ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องสมบัติของสารพันธุกรรม ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ที่พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติ วิทยาศาสตร์หลังเรียนในระดับที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและมีความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ในระดับที่คลาดเคลื่อน ลดลง และนักเรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.22±0.49)” 16. ข้อเสนอแนะในการวิจัย จากการวิจัยเรื่อง การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ผู้วิจัยมี ข้อเสนอแนะ ดังนี้ต่อไปนี้ 6.1 ควรมีการนำการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es (Inquiry cycle) ไปใช้ในการพัฒนาด้าน อื่นๆ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เป็นต้น 6.2 ควรมีการพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น เช่น การใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นฐาน การใช้แบบจำลองเป็นฐาน เทคนิคสถานการณ์จำลอง การจัดการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) เป็นต้น 17. บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กอบแก้ว สิงหเนตรวัฒน์. (2555). การศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และความสัมพันธ์ ระหว่างความเชื่อในแรงจูงใจกับการเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ฉันทนา เชาว์ปรีชา. (2532). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ชาตรี เกิดธรรม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.


14 17. บรรณานุกรม (ต่อ) ณัฐริกา ฉายสถิตย์. (2555). การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อเกี่ยวกับแรงจูงใจ เรื่อง การแบ่งเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เมื่อใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อ เปลี่ยนแปลงมโนมติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พนิตานันท์ วิเศษแก้ว และน้อยทิพย์ ลิ้มยิ่งเจริญ. (2553). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง และความดัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบ PREDICT-OBSERVEEXPLAIN (POE). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3), 61-67. ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และอนิต้า หล้าจิ. (2563). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีผ่าน ไอแพด ในเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนผิวโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ ปริทัศน์, 35(3), 57-71. เสาวนีย์ สังฆะขี. (2555). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายหลังการใช้ยุทธศาสตร์การสอนของ Hewson and Hewson (2003). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.


Click to View FlipBook Version