The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือการพัฒนาความคิดการสอดแทรกการคิดในการสอน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หนังสือการพัฒนาความคิดการสอดแทรกการคิดในการสอน reduce

หนังสือการพัฒนาความคิดการสอดแทรกการคิดในการสอน

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การพัฒนาการคิดการสอดแทรกการคิดในการสอน, 2551

80 หน้า

1. การพัฒนาความคิด 2. การสังเกตชั้นเรียน 3. การออกแบบการเรียนรู้

ISBN 978-611-15-0002-8


พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2551

จำนวน 4,000 เล่ม

จัดพิมพ์โดย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

แบบปก

1. นายทน เขตกัน

2. นายดสุ ิต ศิริจันทร์

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชมุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

79 ถนนงามวงวาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

กรงุ เทพ 10900 โทรศัพท์ 0-2561-4567




การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

คำนำ




เอกสารแนวทางการพัฒนาการคิดฉบับนี้จัดทำขึ้นตามแนวทางการพัฒนา
การคิดของศาสตราจารย์ แคโรล แมคกินเนส แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์ วิทยาเขต
เบลฟาสต์ พร้อมด้วยทีมงานซึ่งพัฒนาการนำการคิดสู่ห้องเรียน ประกอบด้วย โนเอล
ชีฮี แคโรล เคอร์รี่ แองเจลา เอคิน ได้นำไปใช้โดยอาจารย์ประจำชั้นเรียน
ในไอร์แลนด์เหนือ โครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการวิจัยการเรียนรู้
และ การสอนอีเอสอาร์ซี ภาควิชาการศึกษาสำหรับไอร์แลนด์เหนือ สภาหลักสูตร
คณะกรรมการการศึกษาและการประเมิน (ซีซีอีเอ) และคณะกรรมการ การศึกษา
และห้องสมุดแห่งไอร์แลนด์เหนือ 5 แห่ง ซึ่งมีจุดเด่นในการพัฒนาการคิด
แบบสอดแทรกไปในการเรียนการสอนปกติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการ
ศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมมือกับ บริติช เคานซิล
ประเทศไทย นำแนวทางการพัฒนาการสอนเพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียนนำร่องใช้ใน
ประเทศไทย ในโรงเรียนต่างๆ จำนวน 6 โรงเเรียน ได้แก่ โรงเรียนสายปัญญารังสิต
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โรงเรียนอนุบาล
พิบูลเวศม์ โรงเรียนพังตรุราษฎร์รังสรรค์ และโรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง และพบว่า
เป็นวิธีที่ง่ายต่อการนำไปใช้เพิ่มพูนทักษะการคิดของนักเรียนให้เป็นรูปธรรม เอกสาร
ฉบับนี้ส่วนใหญ่นำมาจากเอกสาร “การกระตุ้นทักษะการคิดของเด็ก” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์
ของศาสตราจารย์แคโรล แมคกินเนส และ คณะกรรมการการศึกษาและการประเมิน
(ซีซีอีเอ) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาในโครงการขับเคลื่อนการคิด
สู่ห้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง ณ ที่นี


สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

สารบัญ





คำนำ 3


ตอนท่ี 1 หลักการเกยี่ วกบั การพฒั นาความคิด


ความคิดเห็นของครเู กี่ยวกับการพัฒนาความคิด 6


ประเด็นสำคัญในการกระตุ้นความคิด 8


การกระตุ้นทักษะการคิดของเด็ก 10


บทเรียนสำหรับชั้นเรียนแห่งความคิด 13


พัฒนานิสัยในการคิด 29


คำถามกระตุ้นการคิด 34


ตอนท่ี 2 แผนการจดั การเรียนร
ู้

การออกแบบการสอบแบบสอดแทรกทักษะการคิด 40


แผนการสอนของคร ู 42


ตอนที่ 3 การพัฒนาครเู พอ่ื พฒั นาทักษะการคิดของนักเรียน


การสังเกตการสอน 68


ประเด็นการสังเกตการสอนคิดตามกระบวนการกระตุ้นการคิด 70

ของนักเรียน


สื่อกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาความคิด 74


การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

ตอนที่ 1

หลกั การเกยี่ วกับการพฒั นาความคิด


การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับ

ผลดี


ของการพัฒนาการสอนเพื่อพัฒนาการคิด


“ … มีเหตุผลและไตร่ตรองมากขึ้น”

“ ... ทำให้การคิดของนักเรียนชัดเจนมากขึ้น นักเรียนคิดเป็นระบบมากขึ้น”

“ ...นักเรียนเริ่มคิดไตร่ตรองก่อนพูด”

“ ... กระตุ้นให้เด็ก ๆ เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาครตู ลอดเวลา”

“ ... นักเรียนชอบความท้าทายในการหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง”

“ ... แผนภาพการคิดเป็นแนวทางการคิดให้นักเรียน”

“ ... นักเรียนเรียนอย่างมีความสขุ สนุกในชั่วโมงเรียนและรักที่จะทำงานให้ดีขึ้น”

“ ... คุณภาพของชิ้นงานเป็นผลจากความรู้ของนักเรียนไม่ใช่ลอกมาจากหนงั สือ”

“ ... นักเรียนคิดได้หลายแง่มมุ แสดงออกอย่างเป็นเหตเุ ป็นผล”

“ ... นักเรียนกล้าแสดงความคิดและฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ”

“ ... นักเรียนกระตือรือร้นเมื่อมีโอกาสได้คิด”

“ ... นักเรียนเข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้นจำได้นานขึ้นเพราะได้คิดด้วย ไม่ใช่เพียงแค่จำสิ่งที่ครสู อน”






การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

ความคิดเห็นของครูต่อผลกระทบ


“ ... ทำให้มั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับการสอนคิด”

“ ... เปลี่ยนแปลงวิธีสอนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดมากขึ้น”

“ ... ใช้วิธีสอนที่ชัดเจน มีสื่อการสอนคิดและนักเรียนสามารถนำไปใช้ไดจ้ ริง”

“ ... ใช้เวลามาก ”

“ ... ทอดเวลาให้นักเรียนคิดมากขึ้น เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนมากขึ้น”

“ ... วางแผนการสอนตั้งคำถามให้นักเรียนคิดได้หลายๆแบบ และให้แสดงออกมา”

“ ... ใช้วิธีการตั้งคำถามแบบปลายเปิดมากขึ้น”

“ ... คอยติดตาม ตรวจสอบผลการสอนที่พัฒนาทักษะการคิด ความสำเร็จ รวมทั้งปัญหาในการสอนแต่ละเรื่อง”

“ ... ครภู มู ิใจที่นักเรียนคิดได้ ครูก็คิดได้ด้วย และคิดเป็นมากขึ้น”

“ ... ได้ลองฝึกคิดด้วยตัวเองเกี่ยวกับทักษะที่จะสอน ทบทวนวิธีคิดของตนแล้วจึงวางแผนการสอนให้นักเรียนฝึกคิด”

“ ... มีอะไรใหม่ๆที่ท้าทายให้คิดเสมอ คิดรอบคอบมากขึ้น คำนึงถึงผลกระทบท่ีจะเกิดจากการสอนมากขึ้น”




การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

ประเดน็ สำคญั ในการกระต้นุ ความคิด
ชัดเจน

กระตอื รอื ร้น



• ถ้าเราต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย คิดได้อย่างยืดหยุ่นและตัดสิน ท้าทาย


ใจได้อย่างมีเหตุผล เราต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างว่า การคิดแบบนั้นๆหมายถึง อภิปัญญา

อะไร แล้วกำหนดในแผนการสอนอย่างชัดเจน



• ในปัจจุบัน การวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการคิดและการนำสู่การปฏิบัติใช้ทฤษฎีด้าน
ปัญญาที่เชื่อว่าผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ มีความละเอียดอ่อนในการตีความสิ่งที่
เรียน การเรียนรู้เป็นการค้นหาความหมาย และพัฒนาโครงสร้างการคิด นอกเหนือ
ข้อมูลที่ได้รับ มีการวิจารณ์เกี่ยวกับข้อมูล มีการโต้แย้งและยังต้องมีการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ



• การพัฒนาทักษะการคิด เป็นจุดเน้นที่สำคัญของ การพัฒนาด้านปัญญา โดยเฉพาะ
อยา่ งยง่ิ ประเภทของการคดิ ทม่ี ลี กั ษณะเฉพาะ เชน่ มคี วามซบั ซอ้ น นำไปสวู่ ธิ แี กป้ ญั หา
ได้หลายทางเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและตีความ การให้ความหมายและค้นหา
โครงสร้างต้องใช้ความพยายามและวินัยในตัวเอง (เรสนิค, 1984) การคิดเหล่านี้
จำเป็นในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆและในทุกช่วงอายุ เช่น การทำความเข้าใจ
สิ่งที่อ่าน การสื่อความคิดในงานเขียน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดเชิง
วิทยาศาสตร์ การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การโต้แย้งข้อวิจารณ์ และ
การชื่นชมความงาม



• การพัฒนาทักษะการคิด ต้องให้นักเรียนมีเวลาและโอกาสที่จะพูดเกี่ยวกับ
กระบวนการคิด เพื่อทำให้การคิดนั้นชัดเจนขึ้น และทำให้นักเรียนเข้าใจและ
ไตร่ตรองวิธีการของตนเอง อีกทั้งช่วยให้ควบคุมตัวเองได้มากขึ้น สิ่งสำคัญในการ
พัฒนาหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิด คือ การพัฒนาให้เป็นนักคิดที่ไตร่ตรอง และ
การพัฒนาให้ได้กระบวนการอภิปัญญา




การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

• การพัฒนาทักษะการคิดตระหนักว่า นักเรียนมีความเข้าใจหรือมีความเข้าใจผิดมา
ก่อนที่จะเรียน การสร้างความรู้ใหม่หรือกลยุทธ์ทางเลือกสำหรับการคิดเกิดมิได้

การสนทนา


จากการสอนของครูเท่านั้น แต่ยังต้องผ่านกระบวนการทางสังคมในชั้นเรียน
เช่น การทำกิจกรรม การเสวนา และการอภิปรายกับเพื่อนและผู้รู้ ครูต้องออกแบบ
การเรียนรู้อย่างรอบคอบโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของเด็ก วิธีสอน
และสาระของหลักสตู ร



• การพฒั นาทกั ษะการคดิ ตอ้ งสรา้ งนสิ ยั ทจ่ี ะเปน็ นกั คดิ ทด่ี ี เพอ่ื พฒั นาทกั ษะและกลยทุ ธ์
นิสยั


เฉพาะ ดังนั้นบรรยากาศในชั้นเรียนควร ให้ความสำคัญต่อการพดู คุยเกี่ยวกับการคิด
เช่น การถาม การคาดคะเนล่วงหน้า การโต้แย้ง การสงสัยฯลฯ



• การพัฒนา การคิด ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทั้งของนักเรียนและของคร

เกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้และการคิด เพื่อให้เห็นว่าการเรียนรู้ที่จะคิดนั้น


ความเชอ่ื
พัฒนาได้และวิธีการสอนให้คิดเป็นการชี้แนะทางปัญญามากกว่าการสอนโดยตรง








การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

การกระตนุ้ ทักษะการคิดของเด็ก

(Activate Children’s Thinking Skills - ACTS)




ในการพัฒนาการคิดของโครงการต่างๆ อาจมีการกำหนดกรอบประเภทของการคิดแตกต่างกัน แต่มักมี
รายละเอยี ดทส่ี อดคลอ้ งกนั โครงการ “การกระตนุ้ ทกั ษะการคดิ ของเดก็ (Activate Children’s Thinking Skills- ACTS) ”
นั้น ใช้ขอบข่ายทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการคิดหลายทฤษฎี รวมทั้งได้จากการวิเคราะห์แนวคิดหลักๆของกระบวนการคิดและ
กลยุทธ์ที่มักปรากฏในทฤษฎีต่างๆ เพื่อให้เห็นช่องทางในการพัฒนาการคิดในการสอนและพัฒนาการคิดตลอดหลักสตู รใน
ไอร์แลนด์เหนือ

แนวคิดของการพัฒนาในโครงการฯของประเทศสหราชอาณาจักรนี้สอดคล้องกับการพัฒนาในสหรัฐอเมริกาซึ่ง
ดำเนินการโดย โรเบิร์ต สวอร์ตซ์ เดวิด เพอร์กินส์ และซานดร้า พาร์ค รวมทั้งงานของ สวอรตซ์และพาร์ค ในปี ค.ศ.
1994 นอกจากนี้ ยังมีงานของ ทิสช์แมน เพอร์กินส์และเจย์ ในปี ค.ศ.1995 ซึ่งช่วยให้สามารถอธิบายเกี่ยวกับทักษะ
การคิดและกลยุทธ์ในการคิดที่เหมาะกับการนำไปสอนในชั้นเรียน ช่วยให้ครูเข้าใจและสามารถนำมาใช้ให้สอดคล้องกับ
การสอน การพัฒนาการคิดทำได้ในทุกวิชา การพัฒนาการคิดจะประสบผลสำเร็จต้องมีการกระตุ้นให้คิดหลากหลาย
ประเภทและสอดคล้องกับสิ่งที่เรียน ในโครงการ “การกระตุ้นทักษะการคิดของเด็ก” มีการจำแนกรูปแบบหลักๆของ
การคิดออกเป็น 6 แบบ รายละเอียด ดังนี้


1. การสร้างความหมายและความเข้าใจ


เป็นการค้นพบแบบรูปที่อยู่ในข้อมูล การกำหนดโครงสร้าง การวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่สิ่งของ และทำความ
คิดนั้น ให้กระจ่าง ตัวอย่างของการคิดลักษณะนี้คือ

• การเรียงลำดับ การจัดลำดับ การจัดตำแหน่ง

• การจัดประเภท การจัดกลุ่ม การแยกประเภท

• การวิเคราะห์และระบุส่วนย่อยและส่วนรวม

• การหาแบบแผนและความสัมพันธ์

• การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง


2. การคิดอย่างมวี ิจารณญาณ


หมายถึง การพินิจพิเคราะห์และพิจารณาความคิดของตนเอง เข้าใจว่าความกำกวมเป็นช่องทางให้เรียนรู้
นักเรียนต้องตรวจสอบความนา่ เชอ่ื ถอื ของแหลง่ ขอ้ มลู ประเมนิ ความเปน็ เหตเุ ปน็ ผลของแนวคดิ และพจิ ารณาสาเหตแุ ละผล
กระทบ เชน่

• คาดคะเนล่วงหน้าและสร้างสมมติฐาน

• ให้เหตุผลในการลงสรุป ไม่ด่วนสรปุ แบบไร้เหตุผล

• แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น

• พิจารณาถึงอคติและความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

• ตระหนักถึงความถูกต้องและการตรวจสอบ

• เชื่อมโยงเหตุและผล วางแผนการทดสอบที่ยตุ ิธรรมซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรปุ

10 การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

3. การคดิ สรา้ งสรรค

เป็นการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ และทำให้เกิดสิ่งที่เป็นไปได้ ต้องใช้ความสามารถจะสร้างแนวคิด หาทางเลือก และสามารถ
มองได้หลายแง่มมุ และการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการริเริ่ม เช่น


• สร้างแนวคิดและความเป็นไปได้


• สร้าง รวบรวม และแจกแจงแนวคิด

• กำหนดความเห็นของตัวเอง

• มองจากแง่มมุ หลาย ๆ ด้าน

• ค้นหาความคิดเห็นอื่น ๆ อย่างรอบคอบ

• เล่นกับแนวคิดและพร้อมที่จะรับความเสี่ยง


4. การแก้ปัญหา


5. การตัดสนิ ใจ


การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เป็นการคิดที่มีความสัมพันธ์กันจึงนำมารวมกันไว้ด้วยกันเพราะมีความซับซ้อน
มากกว่า เกิดขึ้นต่อยอดจากการคิดแบบอื่นที่กล่าวมาแล้ว (เช่น การสร้างความเป็นไปได้ การแยกประเภทข้อมูล การเชื่อม
โยงเหตผุ ลและการลงสรปุ ) การคิดประเภทนี้มีอยู่ในขั้นตอนต่างๆของการคิดและการปฏิบัติที่มีหลายขั้นตอน นอกจากนี้ยัง
ต้องมีจิตใจอดทน “คิดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้”

ระบแุ ละทำความกระจ่างปัญหานั้นเพื่อให้สถานการณ์ของปัญหาชัดเจน เช่น

• สร้างทางเลือกสำหรับปัญหา

• เลือกและใช้กลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหา

• ประเมินและตรวจสอบว่าวิธีนั้นแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ดีเพียงใด

ตัวอย่าง การตัดสินใจ เช่น

• ระบุว่าทำไมการตัดสินใจถึงเป็นสิ่งจำเป็น

• สร้างทางเลือก

• คาดคะเนผลที่ตามมาของทางเลือกนั้น

• กำหนดน้ำหนักของความสำคัญของผลต่อเนื่องที่เกิดจากทางเลือก

• ตัดสินใจกระทำ

• ทบทวนผลต่อเนื่องจากการกระทำ




6. อภิปัญญา


เป็นการคิดที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย แต่เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมทักษะการคิด การคิดประเภทนี้เป็น
ความสามารถ “คิดเกี่ยวกับการคิด” เพื่อไตร่ตรองและประเมินการคิดแบบอื่นๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการคิดแบบนี้
นักเรียนจะไตร่ตรองและประเมินผลการคิดของตน ครูก็ประเมินการคิดของตนที่ส่งผลต่อการสอน การคิดแบบ
“อภิปัญญา” นี้กระตุ้นโดยใช้ประเด็นในการพูดคุย การเสวนาในชั้นเรียน การตอบคำถาม เช่น


การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

11

• ช่วยนักเรียนให้รู้จักประเภทของการคิดที่ตนใช้ในการเรียนเรื่องนั้นๆ โดยการพัฒนาคำศัพท์ให้เข้าใจตรงกันสำหรับ
พูดคุยเกี่ยวกับการคิด

• ขอให้นักเรียนอธิบายแผนการหรือวิธีการของตนก่อนที่จะเริ่มงานและทบทวนเมื่องานเสร็จสมบรู ณ์

• เปรียบเทียบวิธีการที่แตกต่างกันในการทำงานอย่างเดียวกัน

• ขอให้นักเรียนประเมินแผนการและทักษะการคิดของตนแล้วเสนอแนะการปรับปรงุ

ขั้นตอนสำหรับการกระตุ้นอภิปัญญาทำได้โดยให้นักเรียนคิดอย่างคร่าว ๆ เมื่อวางแผนทำกิจกรรม ติดตามและ
เปลี่ยนแหล่งข้อมลู และการปฏิบัติ รวมทั้งทบทวนและประเมินงานระหว่างปฏิบัติ ตัวอย่างคำถามกระตุ้นให้นักเรียน
พัฒนาการคิด “อภิปัญญา”

เมื่อนักเรียนกำลังวางแผนงาน อาจให้นักเรียนใช้คำถาม เช่น

• ฉันจะเริ่มงานชิ้นนี้ได้อย่างไร

• มันคล้ายกับสิ่งที่ฉันเคยทำมาแล้วหรือไม่

• ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคืออะไร

• สิ่งที่จะทำนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานอื่นๆหรือไม่

ขณะนักเรียนทำงานหรือกิจกรรมใด ๆได้ระยะหนึ่ง ครสู ามารถช่วยให้นักเรียนประเมินความก้าวหน้าของการคิด
ของตนเองโดยการใช้คำถาม

• ฉันเข้าใจได้ดีขนาดไหน

• ฉันจำเป็นต้องมีคำถามอะไรหรือไม่

• ฉันมาถูกทางหรือไม่ ฉันทำถกู แล้วใช่ไหม

• ฉันต้องลองวิธีอื่นหรือไม่

เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมอย่างหนึ่งเสร็จ ครขู อให้อธิบาย ทบทวนและประเมินงานของพวกเขา

• ฉันทำได้อย่างไร ฉันใช้วิธีการหรือขั้นตอนอะไร

• ฉันวางแผนงานได้ดีขนาดไหน ฉันต้องเปลี่ยนแล้วหาวิธีอื่นหรือไม่

• ฉันเรียนรู้อะไรจากความผิดพลาด

• ฉันเสนอแนะข้อปรับปรงุ อะไรสำหรับการทำงานครั้งต่อไป

12 การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

บทเรียนสำหรับชน้ั เรยี นแห่งความคดิ





การสอดแทรก.... “คือการผสานส่ิงหนึ่งกับอกี สิ่งหนงึ่ ซ่งึ จะทำให้
เกดิ ความพเิ ศษ ความกระตือรือรน้ และเกิดสง่ิ ใหมๆ่ ที่มีนยั สำคัญ”




(จากพจนานกุ รมเวบส์เตอร์)


การพัฒนาทักษะการคิดในชั้นเรียนอาจทำได้หลายวิธี วิธีการหนึ่งคือ การสอนแยกเป็นวิชาเฉพาะ จัดโครงสร้าง
รายวชิ าและออกแบบสอ่ื การสอน รวมทง้ั จดั เวลาใหเ้ ฉพาะสำหรบั การพฒั นาทกั ษะการคดิ โปรแกรมเฉพาะซง่ึ เปน็ ทร่ี จู้ กั กนั ดี
คือ Feuerstein’s Instrumental Enrichment Programme ส่วน Blagg’s Somerset Thinking Skills, de Bono’s
CORT และ Lake & Needham’s Top Ten Thinking Tactics ล้วนใช้วิธีการที่คล้ายกัน

การพัฒนาการคิดโดยจัดการเรียนการสอนแยกเป็นวิชาหรือโปรแกรมการเรียนเฉพาะ มีข้อดีที่ว่า มีการระบุ
ทักษะการคิดสำคัญที่เป็นเป้าหมายและจัดกิจกรรมพัฒนาการคิดนั้นๆเกิดขึ้นได้ชัดเจน แต่ข้อด้อยคือ นักเรียนมีแนวโน้ม
ที่จะไม่ถ่ายโอนทักษะการคิดที่ได้เรียนรู้ในวิชาหรือโปรแกรมการเรียนเฉพาะน้ี ไปใช้ในการเรียนรู้วิชาอื่น

อีกวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดประเภทการคิดที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรและ มุ่ง
พัฒนาการคิดประเภทนั้นๆไปพร้อมกับสาระที่เรียน ตัวอย่างที่ดี เช่น การเร่งพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียนประถมศึกษา
ตอนปลายถึงมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวของ Shayer และ Adey ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Shayer and
Adey’s Cognitive Acceleration through Science Education -CASE) ผลการพัฒนาแสดงให้เห็นว่า การที่
นักเรียน จะประสบความสำเร็จในการถ่ายโอนทักษะการคิดไปสู่วิชาอื่นในหลักสูตรได้นั้น ก็ต่อเมื่อมีการใช้วิธีเฉพาะส่ง
เสริมให้นักเรียนถ่ายโอนการคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน


การสอดแทรก


การสอดแทรกวิธีการที่โครงการ ACTS ในสหราชอาณาจักรและสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาใช้นี้
เรียกว่าวิธีการ “สอดแทรก” ซึ่งโรเบิร์ต สวอร์ตซ์ และเดวิด เพอร์กินส์ เป็นผู้เริ่มนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะการคิด โดย
การสอนตามเนื้อหาหลักสตู รพร้อมกับสอดแทรกการพัฒนาทักษะการคิดอย่างชัดเจน



“บทเรียนที่สอดแทรกมีการปรับแต่งโดยเน้นเรื่องพัฒนาทักษะการคิดในการสอนเนื้อหาอย่างชัดเจน เพื่อให้
นักเรียนปรับปรุงวิธีการคิด เวลาในห้องเรียนจะใช้เพื่อฝึกทักษะหรือกระบวนการการคิดไปพร้อมๆกับเรียนสาระที่เรียน”
(Swartz & Parks, 1994)



ประโยชน์ของวิธีการสอดแทรกที่เด่นกว่าวิธีอื่นคือ

• พัฒนาทักษะการคิดพร้อมๆกับสาระที่เรียนในหลักสตู ร


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

13

• การใช้เวลาในห้องเรียนเหมาะสม

• สอนเนื้อหาได้น่าสนใจขึ้นเนื่องจากช่วยให้นักเรียนเข้าใจลึกซึ้งขึ้น

• การสอนให้คิดทำได้ตลอดทั้งหลักสตู ร

• การถ่ายโอนการเรียนรู้ของนักเรียนสามารถเชื่อมโยงสู่วิชาอื่น ๆ ในหลกั สตู รได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ได้ในภายหลัง

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการสอดแทรกการคิดแบบอื่นๆที่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สอนให้เหมาะกับธรรมชาติวิชา เช่น
การพัฒนาการคิดในสาระภมู ิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (Thinking through Geography) โดย ลีต (Lead.1998) และ
Thinking through History (2002).


การออกแบบบทเรียนสอดแทรกการคดิ


การเริ่มต้นที่จะใช้วิธีสอดแทรกการคิด ผู้สอนต้องวิเคราะห์หลักสูตรและแผนการสอนเพื่อที่จะช่วยให้เห็นการ
สอดแทรกการคิดหลากหลายประเภท ตัวอย่างการสอดแทรกที่ใช้ในหลักสูตรของไอร์แลนด์เหนือมีการวิเคราะห์สาระที่จะ
สอนไปพร้อมๆ กับทักษะการคิดที่ต้องการพัฒนา ในขั้นตอนการสอนก็มีกระบวนการเป็นขั้นตอน จัดเวลาให้นักเรียนคิด
แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มย่อยและกับทั้งชั้นเรียน

การเลือกหัวข้อที่เหมาะกับการสอนและการพัฒนาทักษะคิดต้องเป็นหัวข้อที่ “คุ้มค่ากับการคิด” ยกตัวอย่าง เช่น
ปัญหาที่มีทางแก้ได้หลายทาง ตัวละครในนิยายหรือในประวัติศาสตร์ที่กำลังเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤต หรือสถานการณ์ที่
สามารถพิจารณาได้จากหลายมุมมอง เมื่อผู้สอนเลือกหัวข้อและเลือกการคิดที่เป็นเป้าหมายในการสอนครั้งนั้นๆ แล้ว
จะดำเนินการออกแบบการสอดแทรกการคิด 4 ขั้นตอนที่นำไปสู่บทเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ขั้นตอนทั้ง 4 ได้แก่





การออกแบบบทเรยี นแบบสอดแทรก



การนำเข้าสู่บทเรียน


จดุ ประสงค์ในการเรียนรู้

เนื้อหา/ความคิดรวบยอด
ทักษะการคิด



การคิดอย่างกระตือรือร้น


แง
าผนนทภี่ทา้าพทกาายร
คิด
สงานนทเดนี่ยาแวล/งะาตนั้งกคลำุ่มถ
าม


การคิดเกี่ยวกับการคิด

อภิปัญญา/ไตร่ตรอง
การอภิปราย/การประเมิน


การประยุกต์ใช้การคิด


รท
ะักบษเุ ระื่อกงารอคื่นิดๆนที้
ี่ใช้
ระบวุ ิชาอื่นที่ใช้ทักษะนี้

14 การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

1 การนำเขา้ สบู่ ทเรยี น



ในขั้นนี้รวมถึง

• ทำให้จดุ ประสงค์ของบทเรียนชัดเจน และทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของเรื่องที่เรียนและความสำคัญของทักษะ
การคิด (ถ้าครใู ช้วิธีการประเมินระหว่างสอน ครคู วรให้นักเรียนทราบเกณฑ์การประเมินในขั้นนี้)

• แนะนำทั้งหัวข้อเนื้อหาและทักษะการคิดที่ต้องการพัฒนา

• กระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียนในหัวข้อนั้น

• ให้นักเรียนยกตัวอย่างประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะการคิด

• ยกตัวอย่างบทเรียนอื่นที่ใช้การคิดประเภทเดียวกับในบทเรียนนี้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทักษะการคิดที่ต้องการพัฒนาคือการตัดสินใจ ครูควรให้นักเรียนระบุเหตุการณ์ในชีวิต
ประจำวันที่ตนต้องตัดสินใจและอธิบายวิธีการที่ตนใช้ในการตัดสินใจ


2 การคิดอย่างกระตอื รอื รน้


ครแู นะนักเรียนให้คิดโดยใช้กิจกรรมการคิดในบริบทของเรื่องที่เรียนตามหลักสตู ร เช่น การเปรียบเทียบความ
เหมือนและความแตกต่างของวัตถุหรือเหตุการณ์ การคาดคะเนเกี่ยวกับผลที่จะได้จากการสืบเสาะ การตรวจสอบการ
กระทำที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ของตัวละครในวรรณกรรม ขั้นตอนนี้ของบทเรียนจะประสบความสำเร็จจะต้อง

• มีงานหรือกิจกรรมที่มีความท้าทายเพียงพอที่จะทำให้นักเรียนคิด

• การจัดห้องเรียนที่สะดวกในการพดู คยุ ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และครูกับนักเรียน

• เทคนิคการตั้งคำถาม ประเด็นที่กระตุ้นและการค่อย ๆนำทีละขั้น

• ใช้แผนภาพการคิดเพื่อช่วยใช้การคิดชัดเจนยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการสอดแทรกที่ได้รับการพัฒนาโดย Swartz คือ การใช้แผนภาพเพื่อช่วยให้
กระบวนการคิดชัดเจนขึ้น


3 การคดิ เกี่ยวกบั การคิด


ในบทเรียนส่วนนี้ ครคู วรจะ

• ให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ไตร่ตรองถึงการคิดของพวกเขา

• เชญิ ชวนใหน้ กั เรยี นแสดงความคดิ เหน็ วา่ กจิ กรรมการคดิ แบบนย้ี ากมากนอ้ ยแคไ่ หนและประเมนิ วา่ ตนทำไดด้ แี คไ่ หน

• เชิญชวนให้มีการเสนอแนะวิธีที่จะปรับปรงุ ให้ดีขึ้น

• ตรวจสอบความแตกต่างระหว่างนักเรียนแต่ละคนและนักเรียนเป็นกลุ่มเพื่อใช้วิธีการที่ต่างออกไป

จุดประสงค์หลักของขั้นตอนนี้คือ การปรับปรุงอภิปัญญาและการไตร่ตรอง รวมถึงให้เวลาและโอกาสกับ
นักเรียนเพื่อปรับปรงุ และใช้คำศัพท์ของพวกเขาเพื่อพดู คุยเกี่ยวกับกระบวนการคิดและการเรียนรู้


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

15

4 การประยกุ ต์ใช้การคิด


เป็นขั้นตอนสุดท้ายของบทเรียนที่ครจู ะช่วยให้นักเรียนประยุกตค์ วามคิดไปใช้ในวิชาอื่น ๆ และในชีวิตประจำวัน
เพื่อส่งเสริมให้มีการถ่ายโอนความคิด ครูควรเข้าใจถึง ความแตกต่างระหว่างการถ่ายโอนแบบ “ใกล้” ซึ่งหมายถึงการถ่าย
โอนทักษะการคิดที่คล้ายกับสิ่งที่เรียนในบทเรียน และการถ่ายโอนแบบ “ไกล” ซึ่งหมายถึงการถ่ายโอนทักษะการคิดไปสู่
หัวข้ออื่น ๆ วิชาอื่น ๆ ในหลักสตู รและประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ครจู ะช่วยให้นักเรียนมีการถ่ายโอนทักษะการคิดโดย

• ให้ค้นหาและระบเุ นื้อหาใหม่ที่สามารถประยุกต์ทักษะการคิดเหล่านี้

• แสดงให้เห็นว่าวิธีคิดที่ใช้ในวิชาหนึ่งสามารถนำไปใช้ในวิชาอื่นได้


อนึ่ง การเรียนรู้แบบโครงงาน การมอบหมายภาระงาน จะช่วยให้นักเรียนประยุกต์การคิดข้ามสาระการเรียนรู้ได้
ต่อเนื่องตลอดหลักสตู ร




แผนภาพการคดิ


การคิดเป็นกิจกรรมทางสมองที่มองไม่เห็น และเราต้องพัฒนาวิธีการเพื่อทำให้เห็นการคิดได้ชัดเจนขึ้น วิธีการ
หลายอย่าง (รวมถึงวิธีของสวอร์ตซ์และพาร์คส์, 1994) มีการเพิ่มเติมการใช้แผนภาพการคิดออกไปโดยทำให้เป็น
แผนภาพที่ช่วยร่างลำดับหรือรูปแบบขั้นตอนของกิจกรรมการคิดแบบหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ


ตวั อย่างของแผนภาพการคิด


รูปภาพที่ 1 แสดงให้เห็นแผนภาพการคิดที่ใช้ในการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง จะสังเกตเห็นว่าแผนภาพช่วย
นักเรียนดังนี้

• ช่วยให้นักเรียนวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของคล้ายคลึงและความต่างไม่เพียงแค่ระบุรายการความเหมือนความต่าง

• ช่วยให้สรุปความคิดที่ลึกซึ้งกว่าการเปรียบเทียบโดยภาพรวมทั่วๆไป































1
6 การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

17

รูปภาพที่ 2 แสดงให้แผนภาพการคิดแบบง่ายๆ สำหรับการตัดสินใจ ซึ่งทำให้นักเรียน

• ระบุรายการทางเลือกหรือการกระทำแบบอื่นๆ

• จากนั้นลองเลือกทางเลือกแต่ละทาง

• เขียนข้อดีและข้อเสียของทางเลือก

• ให้น้ำหนักกับผลที่ตามมาจากทางเลือก

• การพิจารณาว่าทางเลือกนั้นเป็นทางเลือกที่ดีพอจะเลือกหรือไม่

สิ่งสำคัญของแผนภาพคือ ทำให้นักเรียนสร้างทางเลือกได้หลากหลาย คิดอย่างเป็นระบบผ่านลำดับเหตุการณ์ที่
เป็นไปได้ก่อนตัดสินใจ


18 การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

รูปภาพที่ 3 แสดงให้เห็นว่าแผนภาพการคิดช่วยนักเรียนให้ประเมินข้อโต้แย้งและหลักฐานโดยการให้ระบอุ ย่างชัดเจนว่า
ข้อสรปุ เป็นอย่างไร แล้วเขียนรายการเหตผุ ล ซึ่งสนับสนนุ ข้อสรปุ นั้น




แผนภาพนี้ช่วยให้นักเรียน

• ให้เหตุผล โดยตรวจสอบคำที่เป็นนัย เช่น “ดังนั้น” “เพราะว่า”

• มองหาทั้งเหตผุ ลเพื่อสนับสนุนและโต้แย้งข้อสรุป


การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

19

รูปภาพที่ 4 แสดงแผนภาพที่ทำให้นักเรียน สร้างแนวคิด หรือ ความเป็นไปได้ รูปแบบของขั้นตอนเป็นดังนี้

การระดมความคิดหาแนวทางที่เป็นไปได้

จุดหมาย

แนวทางที่เป็นไปได้


จัดหมวดประเภทของแนวทางที่เป็นไปได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น


แนวทางที่เป็นไปได้และแปลกใหม่


แผนภาพนี้ มีข้อดีคือ

• นักเรียนไม่เพียงแค่ระบรุ ายการของสิ่งที่คิดได้

• ทำให้นักเรียนจัดกลุ่มสิ่งที่คิดเข้าด้วยกัน และพบว่าสามารถสร้างแนวคดิ ขึ้นใหม่จากการจัดกลุ่มใหม่

• แสดงให้เห็นว่าความคิดแปลกใหม่และความเป็นไปได้จากแนวคิดเดิมสามารถระบใุ ห้เห็นชัดเจนได้



20 การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

ขอ้ ดขี องแผนภาพการคดิ

ถ้าพิจารณาอย่างผิวเผิน แผนภาพการคิดนั้นอาจดเู หมือนเป็นแค่วิธีในการสอน แต่แผนภาพการคิดก็มีข้อดีกล่าว คือ

• มีขั้นตอนการคิดที่ชัดขึ้น


• ทำให้กระบวนการคิดช้าลง ช่วยให้นักเรียนมีเวลาทำความเข้าใจถึงสิ่งท่ีเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ


• สามารถเก็บร่องรอยของขั้นตอนต่างๆในกระบวนการคิด ช่วยให้นักเรียนและครูสามารถมองย้อนกลับได้ง่ายและ
ไตร่ตรองถึงขั้นตอนและกระบวนการทั้งหมดที่นักเรียนคิด

• สามารถนำไปใช้ได้สำหรับคิดคนเดียว คิดเป็นกลุ่ม หรือการสอนคิดทั้งห้องเรียน

• จะสร้าง/ปรับให้ง่ายหรือซับซ้อนมากขึ้นได้ ตามความเหมาะสมกับ กิจกรรมการคิด อายุและระดับชั้นของนักเรียน

• สร้างสรรค์ใช้เป็นโปสเตอร์ในห้องเรียนเพื่อแสดง“แม่แบบของการคิด”

• ใช้เป็นเครื่องกระตุ้นความคิดในขั้นตอนย่อยๆของกระบวนการเขียนก่อนลงมือเขียน และยังใช้แผนภาพการคิดเหล่านี้
เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งสำหรับการประเมินงานเขียน


สอดแทรกการคิดตลอดหลกั สตู ร


การสอดแทรกการคิดในหลักสูตรสถานศึกษามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อครูเป็นเป้าหมายช่วยให้ครูสามารถ
ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ และทักษะการคิดที่ต้องการพัฒนาตลอดทั้งหลักสูตรการเรียนรู้
เพื่อให้ครมู ีแนวทางเลือกใช้เทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพสงู สุดต่อการเรียนรู้

ครูบางคนเชื่อว่ามีเพียงบางวิชาในหลักสูตรที่เหมาะกับการพัฒนาการคิดบางประเภทเท่านั้น เช่น การแก้ปัญหา
เป็นเรื่องของวิชาคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ หรือการคิดแบบสร้างสรรค์จะใช้ได้ดี
ในวิชาศิลปะและการออกแบบหรือในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แต่แท้ที่จริงแล้ววิชาส่วนใหญ่ในหลักสูตรเหมาะกับการ
พัฒนาการคิดหลากหลายประเภท

รปู ที่ 5 เป็นตารางแสดงความเป็นไปได้ของการสอดแทรกการคิดหลากหลายประเภทในสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในหลักสตู ร

• ตารางนี้ใช้ตรวจสอบว่ามีการพัฒนาการคิดใดบ้างที่ทำควบคู่กับการสอนสาระตา่ งๆ

• จะเพิ่มพนู ทักษะการคิดใดให้มากขึ้นในหน่วยการเรียนรู้ใด

• เชื่อมโยงการพัฒนาการคิดตลอดทั้งหลักสูตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถา่ ยโอนทักษะการคิด และการนำทักษะการคิด
ไปใช้ในชีวิตประจำวัน




การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

21

ตาราง ตรวจสอบทักษะการคิดที่สอดแทรกในวิชา ..................................ชั้น..........ปีการศึกษา...............


ประเภทการคิด
หน่วยที่1
หน่วยที่ 2
หน่วยที่ 3
หน่วยที่ 4

เรื่อง...........
เรื่อง .......
เรื่อง .......
เรื่อง..........

การเปรียบเทียบความเหมือน




และความต่าง

การแยกประเภท






ส่วนรวมและส่วนย่อย






การเรียงลำดับ






เหตุผลและข้อสรุป






การคาดคะเน






การทดสอบสมมติฐาน






การให้เหตุและผล






หลักฐานที่เชื่อถือได้






ทำให้เป็นภาพรวมโดยทั่ว ๆ ไป






สร้างความเป็นไปได้






สร้าง รวมแนวคิด






มุมมองหลากหลาย






การเปรียบเทียบ






การแก้ปัญหา






การตัดสินใจ








ครูผู้สอนสามารถเพิ่มการคิดแบบต่างๆในคอลัมภ์ทางซ้ายมือได้ตามความต้องการ สำหรับการตรวจสอบ
การสอดแทรกการคิดตลอดหลักสตู รในระดับชั้นปี สามารถทำได้โดยปรับตารางนี้ให้แนวตั้งเป็นวิชาที่สอน


22 การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

รปู ท่ี 5 : ทกั ษะการคิดท่ีสอดแทรกตลอดหลักสูตร



ตาราง วิเคราะห์ทักษะการคิดที่สอดแทรกตลอดหลักสูตร ชั้น ............................ปีการศึกษา.....................



ทักษะการคิด
ภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์


การเปรียบเทียบความเหมือน




และความต่าง




การแยกประเภท



ส่วนรวมและส่วนย่อย






การเรียงลำดับ






เหตุผลและข้อสรุป






การคาดคะเน






การทดสอบสมมติฐาน






การให้เหตุและผล






หลักฐานที่เชื่อถือได้






ทำให้เป็นภาพรวมโดยทั่ว ๆ ไป






สร้างความเป็นไปได้






สร้าง รวมแนวคิด






มุมมองหลากหลาย






การใช้คำเปรียบเทียบ






การแก้ปัญหา






การตัดสินใจ








ตารางนี้สามารถปรับเป็นแนวนอนให้ครอบคลุมรายวิชาต่างๆ และยังนำไปใช้ตรวจสอบการพัฒนาการคิดในภาพ
รวมของโรงเรียนได้โดยสังเคราะห์ผลจากรายวิชา รายชั้น




การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

23

หลกั การสอนในช้นั เรียนแหง่ ความคดิ


โครงการกระตุ้นทักษะการคิดของนักเรียนเล่มนี้ได้กล่าวถึงวิธีการสอนที่ประสบความสำเร็จที่สุด จากจำนวนวิธี
การสอนใหค้ ดิ ทม่ี มี ากมาย ขอ้ มลู เหลา่ นจ้ี งึ ดำเนนิ การและสรปุ ดงั รปู ท่ี 6 - วธิ สี รา้ งชน้ั เรยี นแหง่ การคดิ ซง่ึ ขยายความไดด้ งั น
้ี







ทำให้การคิดชัดเจนขึ้น
สอดแทรกตลอดหลักสูตร
พัฒนาคำศัพท์การคิด

ใช้แผนภาพการคิด
ออกแบบบทเรียนการคิด


เวลาที่คิด
การสนทนาต่อเนื่อง
การกระตุ้นของคร

การตั้งคำถาม
นิสัยการคิดความเชื่อ โครงสร้าง

การคิดดังๆ
เกกาี่รยควิดก
ับการเรียนรู้และ สร้างความสัมพันธ์

การไตร่ตรอง

การประเมินผล

รูปที่ 6 วิธีสร้างชั้นเรียนแห่งการคิด


24 การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

การใหค้ วามสำคญั กับความคิดในชัน้ เรยี น



ในขั้นแรกของการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดระบบการคิดได้ประสบความสำเร็จคือ ต้องกำหนดเป้าหมายการสอน
ให้มีทั้งการคิดและการส่งเสริมการคิดที่ดี



ดังนั้นเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายนี้ ครตู ้อง

• วเิ คราะหภ์ าพรวมของการคดิ และประเภทของการคดิ ทต่ี อ้ งการกระตนุ้ ในวชิ าตา่ งๆวา่ มกี ารคดิ แบบใดบา้ งทจ่ี ะเกดิ
ขน้ึ ได

• พัฒนาภาษาสำหรับสื่อสารเกี่ยวกับความคิด รวมทั้งคำศัพท์สำหรับใช้นิยามการคิดที่แตกต่างกัน หรือใช้ใน
การอภิปรายกระบวนการคิดกับนักเรียน หรือเพื่อกระตุ้น ตั้งคำถาม เช่น การเรียงลำดับ การจัดลำดับการจัดตำแหน่ง
การจัดประเภทการจัดกลุ่ม การแยกประเภท การวิเคราะห์ การระบุส่วนย่อยและส่วนรวม การเปรียบเทียบความ
เหมือนและความแตกต่าง การหารูปแบบและความสัมพันธ์ การทำนาย การสรุป ฯลฯ

ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนทุกคนรู้เข้าใจความหมายร่วมกัน และมุ่งสู่การคิดประเภทนั้นๆได้รวดเร็ว ช่วยให้ครูลดเวลา
อธิบายความหมายของคำศัพท์เกี่ยวกับการคิดเหล่านั้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นต้น ครูอาจซักซ้อมความเข้าใจ
กับนักเรียนก่อนลงมือทำงานเช่น คุณครูที่สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องการให้นักเรียนจัดลำดับการเจริญเติบโตของ
สิ่งมีชีวิต คุณครูตรวจสอบความเข้าใจโดยถามว่านักเรียนต้องทำอย่างไร นักเรียนบางคนตอบว่า ต้องจัดว่าอะไรมา
ก่อน-หลัง นักเรียนบางคนอาจตอบว่าเรียงว่ารูปใดเป็นสัตว์เกิดใหม่ๆ และรูปใดเป็นรปู สัตว์ที่แก่ๆ เป็นต้น


การจำแนก
คำศัพท์เกย่ี วกบั การคิด
เดา


ข้อดี-ข้อเสีย
การตัดสนิ ใจ

อภปิ ราย

เรยี งลำดับ
แกป้ ัญหา
ขอ้ สรปุ

ประมาณ
ความเหมอื น-ความต่าง


ทำนาย
จำ

วางแผน


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

25

ประเภทของการคิด


แผนภาพต่อไปนี้แสดงการคิดประเภทต่างๆที่ใช้ในโครงการกระตุ้นทักษะการคิดของเด็ก (ACTS)

สู่ห้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


การคิดมีประเภทไหนบ้าง
การคิดเชิงวิจารณ์

การค้นหาความหมาย

(อภิปัญญา)
สร้างการคาดคะเนและตั้งสมมติฐาน

การเรียงลำดับ การจัดลำดับ การจัดอันดับ
การวางแผน
สรุปผลให้เหตผุ ล แยกแยะความจริงออก
การจัดประเภท การจัดกลุ่ม การแยกประเภท
การติดตาม
จากข้อคิดเห็น พิจารณาอติ ความน่าเชื่อถือ
การวิเคราะห์ การระบุชิ้นส่วนและทั้งหมด
การปรับทิศทาง
ของหลกั ฐาน เอาใจใสค่ วามถกู ตอ้ ง เชอ่ื มโยง
การสังเกตความเหมือนและแตกต่าง การค้นหา
การประเมิน
สาเหตแุ ละผลกระทบ ออกแบบการทดสอบ
รปู แบบและความสัมพันธ์ การเปรียบเทียบ
ที่ยุติธรรม

ความเหมือนและความต่าง




การคิดเชิงสร
้างสรรค์
การแก้ปัญหา

การตัดสินใจ

สร้างแนวคิดและความเป็นไปได้ สร้างรวบรวม

และแจกแจงแนวคิด สร้างความเห็นของตัวเอง
การระบุว่าทำไมการตัดสินใจจึงจำเป็น
มองจากแง่มุมหลายๆด้านและเข้าใจมุมมอง
สร้างทางเลือก คาดคะเนผลที่ตามมา
ของคนอื่น เล่นกับแนวคิด และยอมเสี่ยง
ชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสีย ตัดสินให้เกิด
กับแนวคิด
การกระทำ ทบทวนผลลัพท์


ระบุและทำให้สถานการณ์ชัดเจน หาวิธีแก้
ปัญหาที่เป็นทางเลือก เลือกและลงมือทำ
ตามกลยุทธ์การแก้ปัญหา ประเมินและ
ตรวจสอบว่าวิธีนั้นแก้ปัญหาได้ดีแค่ไหน


รูปที่ 1 การแสดงการคิดประเภทต่างๆ






ภายในแต่ละประเภทของการคิดจะมีคำศัพท์สำคัญเกี่ยวกับการคิดที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารได้ตรงกันว่า การคิดที่
ครูกำหนดเป็นเป้าหมายคืออะไร เช่น การหาแนวคิดใหม่ๆที่เป็นไปได้ การคาดเดาผลกระทบ การมองจากหลายๆด้าน
เป็นต้น


26 การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

การทำให้การคิดชดั เจนขึ้น

การคิดเป็นกิจกรรมทางจิตที่ซ่อนอยู่ ผู้สอนจึงต้องทำให้การคิดนั้นเห็นได้ชัดเจน โดยการหาร่องรอยการคิดที่อยู่
ในการพูด การเขียน การปฏิบัติ ในการพัฒนาการคิดให้ประสบความสำเร็จ คุณครูจะต้องพัฒนารูปแบบวิธีการคิดของ

นักเรียน “จากสิ่งที่มองไม่เห็น ให้เป็นร่องรอยที่มองเห็น” เพื่อที่นักเรียนจะตรวจสอบและทบทวนไตร่ตรองได้


สำหรับวิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้การคิดชัดเจนขึ้น ได้แก่

• คิดและพูดออกมาด้วย

• การแบ่งปันการคิดด้วยการคิดเป็นคู่

• การเรียนรู้ร่วมกัน

• การแบ่งปันคำอธิบาย และ

• อภิปรายเป็นกลุ่มในเรื่องที่เกี่ยวกับการคิด


ในตอนก่อนหน้านี้ ครูเห็นวิธีการใช้แผนภาพการคิดเพื่อสร้างขั้นตอนในการคิดให้ชัดเจนขึ้น และเก็บข้อมูลไว้ว่า
นกั เรยี นของเรากำลงั คดิ ในขน้ั ตอนใด นกั เรยี นพรอ้ มทจ่ี ะคดิ ขน้ั ตอ่ ไปหรอื ไม่ ซง่ึ ชว่ ยใหค้ รสู ามารถดำเนนิ กระบวนการพฒั นาทกั ษะ
การคดิ ได ้


แมแ่ บบการคดิ


ครูต้องสาธิตและเป็นแม่แบบของขั้นตอนในกระบวนการคิด ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนฝึกตามขั้นตอนการคิดและ
นักเรียนรู้ว่าตนกำลังคิดอย่างไร การให้นักเรียนอธิบายการคิดของตนด้วยการพูดออกมาจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจว่าตนคิดได้
อย่างไร ดังนี้

การเป็นแม่แบบดังกล่าวยังรวมถึง

• สาธิตการคิดในประเภทที่ต้องการ

• เตือนนักเรียนเกี่ยวกับขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง

• กระตุ้นให้คิดและพูดออกมาด้วย

• ตั้งคำถามตัวเอง

• ตรวจสอบตัวเอง

• คาดคะเน

• ค้นหาทางเลือกอื่น ๆ


การให้ขอ้ มูลป้อนกลบั และการเตือนผเู้ รยี น


นักเรียนต้องการข้อมูลป้อนกลับและการกระตุ้นเตือนเกี่ยวกับวิธีการคิดของตนในขั้นตอนต้น ๆ หลังจากนั้น
นักเรียนจะค่อย ๆพัฒนาขึ้นไปสู่การควบคมุ ตัวเอง และคิดได้ด้วยตัวเอง


การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

27

ชว่ ยนักเรยี นใหก้ ลายเปน็ นกั คดิ แบบอภปิ ัญญา “การคิดเกี่ยวกบั ความคดิ ”


จดุ ประสงคห์ ลกั ประการหนง่ึ ในการพฒั นาการคดิ คอื เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นมเี วลาและโอกาสทำความเขา้ ใจสง่ิ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั
การคดิ นักเรียนต้องการ

• เวลาที่จะคิดและหาวิธีแสดงความคิด

• เวลาที่จะวางแผนและอภิปรายวิธีการในการทำงาน

• โอกาสที่จะอธิบายการคิดของพวกเขา

• โอกาสที่จะเข้าใจและไตร่ตรองวิธีการของตน

• เวลาที่จะเปรียบเทียบวิธีคิดของตนกับนักเรียนคนอื่น

• โอกาสที่จะประเมินความพยายามของตน


ประยกุ ต์การคดิ เขา้ กับเน้ือหาอนื่ ๆ


องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการสอนการคิดให้สำเร็จ คือการทำให้นักเรียนเกิดการถ่ายโอนทักษะกระบวนการคิดไป
สู่สถานการณ์อื่นๆที่มีบริบทต่างจากสิ่งที่เรียน นักเรียนควรจะ

• สำรวจและระบสุ ถานการณ์อื่นๆที่สามารถประยกุ ต์ทักษะการคิดที่เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้

• กำหนดตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่า วิธีการที่ใช้ในวิชาหนึ่งสามารถถ่ายโอนไปยังวิชาอื่นได้

• มีการเชื่อมโยงระหว่างการคิดประเภทต่าง ๆ ที่เรียนในวิชานั้นๆ และกับวิชาอื่นๆ

ดังนั้นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สดุ ของการสอนการคิดให้สำเร็จคือ ทำให้เกิดการถ่ายโอนให้มากที่สดุ






28 การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

พฒั นานิสัยในการคดิ





การคิดที่ดีนั้นนอกจากสร้างทักษะการคิด ฝึกใช้เครื่องมือสำหรับการคิด แล้วต้องมีความพยายามอีกด้วย เดวิด

เพอร์กินส์ อธิบายถึงนิสัยการคิดว่า เป็นความโน้มเอียงและความเคยชินของจิตใจที่เอื้อต่อการคิดที่ดี ในหนังสือชื่อ The
Thinking Classrom ซึ่งเขียนโดย Tishman, Perkins, and Jay (1995 ) อธิบายนิสัยแห่งการคิด 5 ประการที่สามารถ
สอนได้และทำให้นักเรียนเกิดความคิดที่ดี



• นิสัยที่อยากรู้อยากเห็นและตั้งคำถาม - สงสัย ถามปัญหา และมองไปไกลกว่าสิ่งที่มีอยู่

• นิสัยที่คิดแบบกว้าง ๆ และแหวกแนว - สำรวจมุมมองต่าง ๆ ยืดหยุ่นได้ ลองแนวคิดใหม่ ๆ เล่นกับแนวคิด

• นิสัยที่ให้เหตุผลอย่างชัดเจนและรอบคอบ – ค้นหาความจริง อย่างละเอียด และเตือนตัวเองไม่ให้ทำผิด

• นิสัยที่จัดระบบการคิด – เพื่อให้เป็นลำดับและเป็นเหตุเป็นผล เพื่อวางแผนและคิดล่วงหน้า

• นิสัยที่ ให้เวลากับการคิด - รู้ว่าการคิดต้องใช้เวลาและความพยายาม

ในการพัฒนาการคิดตามโครงการ ACTS ได้เพิ่มอีกหนึ่งข้อคือ

• นิสัยที่พูดคุยเกี่ยวกับการคิด เพื่อให้คณุ ค่ากับแนวคิดและพิจารณาว่าการคิดและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะพูดถึง








ฝีมือชาวเอธิโอเปีย
ฝีมือนักเรียนอนบุ าล 1

โรงเรียนอนบุ าลกุ๊กไก่


ที่มาของรูป พบกันทกุ วันอังคารกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณุ หญิง กษมา วรวรรณ ณ อยธุ ยา
http://www.obec.go.th


การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

29

ในการพัฒนานิสัยแห่งการคิดนี้ครูสร้างวัฒนธรรมในห้องเรียนให้เอื้อต่อบรรยากาศการคิดของนักเรียน เช่น

• สร้างความเข้าใจร่วมกัน

ในการเริ่มสร้างความเข้าใจร่วมกันให้นักเรียนประเมินตนเองว่าเป็นนักคิดที่ดีหรือไม่พร้อมทั้งประเมินจุดเด่น
จดุ ด้อยในการคิดของตน

ให้นักเรียนเห็นคณุ ค่าของการคิดด้วยการชวนนักเรียนให้ประเมินข้อดีของการเรียบเรียงความคิด

ให้นักเรียนทุกคนเห็นว่าครูคาดหวังให้นักเรียนฝึกทักษะการคิด เช่น “ครูจะสังเกตตลอดภาคเรียนนี้ว่าใครฝึก
ทักษะการคิดบ้าง พร้อมทั้งให้ทกุ คนช่วยกันสังเกตการคิดของเพื่อนๆ”




กำหนดให้นักเรียนประเมินการคิดของตน






อภิปรายข้อดีข้อด้อยของนิสัยการคิด หรือทักษะการคิด




สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับคุณค่าของนิสัยแห่งการคิด







ตั้งความคาดหวังให้ชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะคิด







• ค่านิยมในการคิดมีสิ่งของ/วัตถ/ุ ภาพ ที่แสดงให้เห็นค่านิยมในการคิด

สร้างสิ่งกระตุ้นเตือนใจให้นักเรียนเห็นและตระหนักว่าครูเน้นการคิด เช่น โปสเตอร์ต่างๆ เกี่ยวกับการคิด
ทักษะการฟัง คำศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับการคิดแบบต่างๆ ฯลฯ



นักคิดที่ดี

ใฝ่รู้และตั้งคำถาม

คิดให้กว้าง

กล้าเสี่ยงที่จะคิด

คิดให้กระจ่าง

รอบคอบ

จัดระบบความคิด


ประเมินการคิดของตนเอง


30 การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

การสร้างวัฒนธรรมการคิดต้องทำจริงจังให้สอดคล้องกับความคาดหวังท่ีกำหนดไว้ ฝึกนักเรียนให้ตรวจสอบความคิด







การสร้างวัฒนธรรมความคิด

ฝึกนักเรียนประเมินการคิดของตน

มีประเด็นการประเมินการคิดเป็น

แนวทางในช่วงแรกๆ

ฝึกนักเรียนประเมินการคิดของเพื่อนอย่างสร้างสรรค์

ฝึกสานต่อความคิดของผู้อื่น

กำหนดแบบแผนการเรียนรู้ร่วมกัน


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

31

เทคนิคในการพัฒนานิสัยแหง่ การคิด


แนวทางวิธีการเทคนิคต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนานิสัยแห่งการคิด ซึ่ง David Perkins ได้เสนอแนะไว้ เช่น

• คิด – ปริศนา – การค้นพบ

วิธีคิดแบบนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถโยงความคิดนี้ไปกับความรู้ที่มีอยู่แล้ว อาจช่วยกระตุ้นให้เกิดความสงสัย และ
เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

1. ท่านคิดว่าท่านรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้

2. อะไรทำให้ท่านมีข้อสงสัย

3. อะไรทำให้ท่านอยากจะค้นหาคำตอบ

• การเชื่อมโยง – ขยาย – การท้าทาย

วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมความเหมือนและต่างระหว่างความรู้ใหม่และความรู้ที่มีอยู่แล้ว สิ่งนี้จะกระตุ้น
ให้นักเรียนถามคำตอบอย่างต่อเนื่อง มีข้อสงสัยและความยากในขณะที่นักเรียนสะท้อนว่าพวกเขากำลังเรียนรู้อะไรอยู่

1. ท่านเห็นว่ามีอะไรบ้างที่ท่านสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมของท่าน กบั สิ่งที่ท่านเรียนรู้มาใหม่

2. ท่านมีความคิดอะไรใหม่เกิดขึ้นบ้าง

3. อะไรที่ยังเป็นข้อท้าทายหรือข้อสงสัย

• เห็นรับรู้ – คิด – สงสัย

วิธีคิดแบบนี้ช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการสังเกตการณ์อย่างรอบคอบและคิดตีความหมาย สิ่งนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดความ
สงสัยและเตรียมเพื่อค้นหาคำตอบ

1. ท่านเห็นอะไรบ้าง

2. ท่านมีข้อคิดเห็นอะไร

3. อะไรทำให้ท่านสงสัย

• มองดู – ลองมองอีกครั้ง

วิธีคิดแบบนี้ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดในมุมมองใหม่ที่แตกต่างออกไป หรือมุมมองใหม่ๆ นักเรียนจะดึง
ข้อคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ เพื่อเขาจะสามารถนำไปหาความกระจ่างเพื่อเปรียบเทียบและจัดลำดับความสำคัญอย่างนี้
เป็นต้น

1. มองพิจารณารูปภาพอย่างน้อย 30 นาที ปล่อยให้ดวงตาของท่านมองหา

2. เขียนคำ 10 คำ หรือ 10 ข้อความในแง่หรือด้านใดก็ได้

3. ลองมองอีกครั้งแล้วหาอีก 10 รายการ

• หัวข้อข่าว / เรื่อง

การใช้หัวข้อ ภาพ เรื่องราวกระตุ้นการสรปุ วิธีนี้ช่วยให้นักเรียนรู้ถึงใจความสำคัญของเรื่องที่กำลังศึกษาหรือข้อความที่
อภิปรายอยู่ ครูอาจใช้คำถามเช่น

1. สมมตุ วิ า่ นกั เรยี นจะตอ้ งเขยี นหวั ขอ้ ขา่ ว / เรอ่ื ง เพอ่ื สอ่ื แงม่ มุ ทส่ี ำคญั ทส่ี ดุ ของภาพนน้ั ๆ นกั เรยี นจะเขยี นหวั ขอ้ ขา่ วอะไร

• อะไรทำให้ท่านพูดแบบนั้น ?

วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้นักเรียนอธิบายว่าเขาเห็นหรือรู้อะไรบ้างเพื่อสร้างคำอธิบาย ถ้าหากเราสนับสนุนให้ใช้การหาเหตุผล
อย่างมีหลักฐาน เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนคำอธิบายซึ่งกันและกัน ช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงทางเลือกและมมุ
มองที่หลากหลาย

32 การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

1. เกิดอะไรขึ้นบ้าง

2. เห็นอะไรจึงทำให้แสดงความคิดอย่างนั้น

• คำกล่าวอ้าง – สนับสนุน – คำถาม


วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้นักเรียนพัฒนาตีความอย่างลึกซึ้ง โดยกระตุ้นใหร้ ะบุกล่าวอ้างสิ่งที่เป็นจริงและค้นหาวิธีเพื่อพิสจู น์


1. กล่าวข้อความ / คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับภาพนั้น

2. ระบเุ หตุผลสนับสนนุ คำกล่าวอ้างของท่าน

3. ตั้งคำถามกับคำกล่าวอ้างของท่าน

• วงกลมแห่งมุมมอง

วิธีคิดแบบนี้ช่วยให้นักเรียนพิจารณาถึงความแตกต่างและความหลากหลายของมุมมองเกี่ยวกับหัวข้อนั้น เข้าใจว่าคน
เราอาจมคี วามคดิ เหน็ ทต่ี า่ งกนั หรอื มคี วามรสู้ กึ ตา่ งกนั ตอ่ เรอ่ื งเดยี วกนั เปน็ หวั ใจสำคญั ของการมที ศั นคตเิ ปดิ ใจรบั ความคดิ เหน็




























การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

33

คำถามกระตนุ้ การคิด




คำถามเป็นเครื่องมือกระตุ้นการคิดที่ไม่ต้องลงทุนมากมาย แต่ให้ผลคุ้มค่า ครูลงทุนเตรียมคำถามที่เหมาะกับ
ระดับการคิดที่ต้องการกระตุ้นและลงทุนเวลาให้นักเรียนคิด การเลือกระดับคำถามที่จะนำมาใช้ในการสอนนั้นหลายๆท่าน
จะคุ้นชินกับโครงสร้างระดับของวัตถปุ ระสงค์การศึกษา (Taxonomy of Educational Objectives ) ของ Bloom (1959)
และ ที่ปรับปรุงของ Anderson และ Krathwohl (2001) คำถามต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคำถามที่กระตุ้นการคิดที่ปรับ
บางส่วนจากเอกสารของ Swartz, R.J. & Parks, S. จากเอกสาร Infusing the Teaching of Critical and Creative
Thinking into Content Instruction (1994) ซึ่งครูอาจนำไปปรับใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดแบบต่างๆ



• พัฒนาทักษะการตัดสินใจด้วยคำถาม

- การตัดสินใจมีความจำเป็นอย่างไร

- ฉันมีทางเลือกอะไรบ้าง

- ฉันสามารถทำนายถึงผลที่จะเกิดขึ้น ของแต่ละทางเลือกได้หรือไม่

- ผลที่จะเกิดขึ้นมีความสำคัญแค่ไหน

- ผลที่เกิดขึ้นจะส่งผลในด้านดีหรือด้านเสียอย่างไร

- เมื่อคำนึงถึงผลที่จะเกิดตามมาแล้ว ทางเลือกไหนดีที่สุด

• เพิ่มทักษะการแก้ปัญหาด้วยคำถาม

- ทำไมถึงเกิดปัญหา (สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ทำไมถึงต้องมีการพัฒนา)

- ปัญหาคืออะไร

- ผลที่จะเกิดตามมาของแต่ละวิธีแก้ปัญหาคืออะไร

- จากข้อมูลที่มีอยู่ วิธีแก้ปัญหาวิธีใดดีที่สดุ

• เพิ่มทักษะการเปรียบเทียบด้วยคำถาม

- สิ่งเหล่านี้เหมือนกันอย่างไร

- สิ่งเหล่านี้มีความต่างอย่างไร

- ความเหมือนและความต่างด้านใดที่มีความสำคัญ

- ความเหมือนและความต่างที่สำคัญนั้นๆ มีรูปแบบอย่างไร

- มีข้อสรปุ อะไรบ้าง จากการเปรียบเทียบความเหมือนความต่างนั้นๆ

• เพิ่มทักษะการวิเคราะห์ส่วนย่อยและส่วนรวมด้วยคำถาม

- ในสิ่ง / เรื่องนั้นมีส่วนประกอบย่อยอะไรบ้าง

- หน้าที่ของส่วนประกอบย่อยแต่ละส่วนคืออะไร

- จะเกิดอะไรขึ้นต่อส่วนรวมถ้าส่วนประกอบย่อยแต่ละส่วนหายไป

• เพิ่มทักษะการลำดับด้วยคำถาม

- จะลำดับหรือจัดลำดับเพื่ออะไร

- การลำดับชนิดไหนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นที่สุด

- เราจะใช้เกณฑ์อะไรเพื่อจัดลำดับสิ่งต่างๆ

34 การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

- เมื่อใช้เกณฑ์เหล่านี้พิจารณา สิ่งเหล่านั้นเข้าอยู่ในลำดับได้เพราะเหตุใด

• เพิ่มทักษะการจัดเข้าพวกด้วยคำถาม

- จะกำหนดหมวดหมู่อะไรบ้าง


- วิธีที่ดีที่สดุ ที่จะจัดสิ่งเหล่านั้นเป็นหมวดหมู่คืออะไร


- ต้องรู้คณุ สมบัติ (รปู ร่าง สี ลักษณะ ความรู้สึก ฯลฯ) อะไรเกี่ยวกบั สิ่งนั้นเพื่อจะจัดเข้าหมวดหมู่ได้เหมาะสมที่สดุ

- สิ่งนั้นๆ เหมาะกับหมวดหมู่ไหน เพราะเหตใุ ด

• เพิ่มทักษะการหาความเป็นไปได้ของทางเลือกด้วยคำถาม

- เราจะหาทางเลือกเพื่อสนองภาระงานหรือวัตถุประสงค์ใด

- มีความเป็นไปได้หรือมีทางเลือกอะไรบ้าง

- จะจัดประเภทของความเป็นไปได้ / ทางเลือก เป็นหมวดหมู่อย่างไร

- จากการจัดกลุ่มทางเลือกที่มีอยู่แล้ว ได้ทำให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ ใดบ้าง

- ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจว่าทางเลือกใดดีที่สดุ สำหรับภาระงานหรือวัตถุประสงค์นั้น

• เพิ่มทักษะการหาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลด้วยคำถาม

- ข้อมูลที่กำลังพิจารณามาจากแหล่งไหน

- ปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของข้อมูล

- จะจัดปัจจัยเหล่านั้นเป็นกลุ่มได้อย่างไร

- ให้น้ำหนักปัจจัยและตัดสินใจเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ

- ข้อมลู เป็นปฐมภูมิหรือทุติยภมู ิ

- วัตถปุ ระสงค์แฝงคืออะไร

- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมลู ได้มาอย่างไร หลากหลายแหล่ง / วิธีการหรือไม่

- ข้อมูลต่างแหล่งต่างวิธีการ ยืนยันกันหรือไม่

• เพิ่มทักษะการอ้างอิงข้อสรุป / ข้อค้นพบ

- มีข้อสรปุ / ข้อค้นพบอะไรที่จะนำไปใช้อธิบายประชากร / กลุ่ม

- ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างแบบใดในการศึกษา จึงสนับสนุนข้อสรปุ / ขอ้ ค้นพบ

- จำนวนกลุ่มตัวอย่างควรมีเท่าไร

- กลุ่มตัวอย่างมีมากพอหรือไม่

- กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากรที่จะอ้างอิงไปถึงหรือไม่

- กลุ่มตัวอย่างที่เลือกจะสนับสนนุ ข้อสรปุ / ข้อค้นพบได้ดีเพียงไร ถ้ายังไม่ดี ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกจึงจะมีข้อมลู
สนับสนนุ ข้อสรุป / ข้อค้นพบ














การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

35

สอดแทรกการคิดเพื่อใหเ้ ข้าใจสาระสำคญั

ผู้สอนสามารถสอดแทรกการคิดแบบต่างๆในสาระการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดและเข้าใจความคิด
รวบยอด หรือหลักการของสิ่งที่เรียน เช่น การคิดแบบจำแนก (Classification) การคิดแบบ ส่วนย่อยและส่วนรวม
(Parts and Whole) การคิดแบบเปรียบเทียบความเหมือน/ความต่าง (Compare and Contrast) การแก้ปัญหาเป็นต้น


• การคิดแบบจำแนก

หัวเรื่อง
สิ่งที่เกี่ยวกับการคิด

ความสัมพันธ์ระหว่าง จำแนกว่าตัวอย่างของความสัมพันธ์เป็นแบบ ปรสิต พึ่งพา เช่น หมัดสนุ ัข แบคทีเรีย ปลา
อวัยวะต่างๆ
และดอกไม้ทะเล นกกับดอกไม้

ระบบอย่างง่าย
จำแนกวัตถุต่างๆ ที่ถกู กระทำโดยแรง ในกลไกของเครื่องจักรกลต่างๆ

ระบบนิเวศ
จำแนกสัตว์ตามแหล่งที่อยู่ และวิเคราะห์ ปัจจัยที่ต้องมีเพื่อมีชีวิตรอด

สารอาหารในอาหาร
จำแนกอาหารที่กินตามหมวดหมู่ของสารอาหาร

พืชที่เป็นอาหาร
จำแนกพืชอาหารที่ตนกินตามหลักการกินเพื่อวัตถปุ ระสงค์ต่างๆเช่นการกินเพื่อป้องกัน
มะเร็ง

ไฟฟ้า
จำแนกวัตถุตามสมบัติการนำไฟฟ้า หรือเป็นฉนวนไฟฟ้า

การเคลื่อนที่ของพลังงาน
ระบวุ ่าวิธีการที่ความร้อนผ่านตัวนำต่างๆ เช่น ทราย เหล็ก อากาศ และวิเคราะห์ว่าส่งผ่าน
ความร้อน พร้อมทั้งเพิ่มเติมตัวอย่าง

การจำแนกสัตว์โดยหลัก อธิบาย กลุ่มย่อยสำหรับการจำแนกสัตว์ที่คิดโดย Linnaean และอธิบายว่า มีประโยชน์มาก
การจำแนกของ กว่าการจำแนกของนักวิทยาศาสตร์ที่จำแนกประเภทของอากาศ พืชน้ำ อย่างไร

Linnaean

ผลไม้
วิเคราะห์ว่าการจำแนกกลุ่มที่มีอยู่แล้วเหมาะสมหรือไม่ ทำไม และเพิ่มเติมผลไม้ชนิดอื่นๆ
ในกลุ่ม

การจำแนกพืช
จำแนกพืชตามการจัดเรียงของใบ ใบเดี่ยว ใบประกอบ แล้วเพิ่มเติมชนิดของพืชในตาราง
จำแนก

หลักการถ่ายทอดพันธ-ุ วิเคราะห์ว่า ยีนส์ ของเซลล์สืบพันธุ์ F1 เป็นผลจาการผสมข้ามพันธุ์ของพันธ์ุแท้ ถั่วเมล็ด
กรรมของเมนเดล
เรียบสีเหลือง (RY) และ ถั่วเมล็ดย่นสีเขียว(RY)

ตะไคร่น้ำ
สาหร่ายสีน้ำเงิน-เขียวสร้างเซลล์เกาะเกี่ยวกันเป็นโซ่ เพื่อสังเคราะห์แสง แต่คลอโรฟิลล์ไม่มี
ในเซลล์ที่สังเคราะห์แสง สาหร่ายสีน้ำเงิน-เขียวนี้อยู่ในอาณาจักรใด อธิบายความแตกต่างนี้

ตารางธาต
ุ อธิบายหลักการว่าธาตุต่างๆถกู จัดในตารางธาตอุ ย่างไร ทำไมการจัดตามหลกั การนี้สามารถ
ให้ข้อมลู เกี่ยวกับธาตตุ ่างๆได้มากกว่าการจัดแบบอื่นๆ

พันธะเคมี
ใช้ตารางแสดงความต่างประจไุ ฟฟ้าในการจำแนกอะตอมคู่ต่างๆ โดยพิจารณาจากชนิดของ
พนั ธะเคมที อ่ี ะตอมเหลา่ นน้ั จะสรา้ งขน้ึ เชน่ H และ O, Ca และ O, Al และ CI Nh, F F, O
O

รูปเรขาคณิตสองมิติและ วิเคราะห์ส่วนประกอบของรปู เรขาคณิตสามมิติเพื่อให้เห็นลักษณะสำคัญที่จำแนก

รปู เรขาคณิตสามมิติ


36 การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

• การคิดแบบ ส่วนย่อยและส่วนรวม (Parts and Whole)


หัวเรื่อง

สิ่งที่เกี่ยวกับการคิด


แม่น้ำ
อธิบายระบบของแม่น้ำในท้องถิ่น วิเคราะห์ว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำที่มีความ
สัมพันธ์กับกระแสน้ำ และความเป็นอยู่ของชาวเมืองและสิ่งต่างๆโดยรอบ

การทำงานของตา
อธิบายว่าส่วนประกอบของตาแต่ละส่วนสัมพันธ์กับการทำงานทั้งระบบของตา

ชายฝั่ง
วิเคราะห์ส่วนประกอบของชายฝั่ง แต่ละองค์ประกอบมีผลต่อชายฝั่งและความต้องการของ
คนและสิ่งแวดล้อม

แผนที่อากาศ
วิเคราะห์แผนที่อากาศในเขตพื้นที่และส่วนของแผนที่ส่วนใดที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้เกี่ยวกับ
สภาพอากาศ

โครงสร้างเซลล์พืชและ อธิบายส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์ช่วยให้ระบบในเซลล์ทำงาน

เซลล์สัตว์

การผสมละอองเกสร
วิเคราะห์ว่าส่วนของดอกไม้ทำหน้าที่อย่างไรในการสืบพันธุ์

การย่อยอาหาร
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ว่าส่วนของระบบย่อยอาหารสัมพันธ์กับกระบวนการที่ร่างกายใช้สาร
อาหารอย่างไร

โมเลกุลของสารอินทรีย์/ วิเคราะห์ว่าแต่ละส่วนของกรดอะมิโนมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของกรด nucleic

กรด nucleic

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
วิเคราะห์ว่าเซลล์ชนิดต่างๆในอวัยวะของสัตว์ทำหน้าที่อย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เปรียบ
เทียบหน้าที่ของเซลล์ในอวัยวะของสัตว์กับของพืช

สมอง
วิเคราะห์โครงสร้าง ส่วนของสมอง และการทำงานร่วมกันในระบบประสาท คาดเดา/
พยากรณ์ผลที่จะเกิดจากความบกพร่องของส่วนของสมอง

หัวใจ
วิเคราะห์โครงสร้างและระบบของหัวใจ และการทำงานร่วมกันในระบบประสาท คาดเดา/
พยากรณ์ผลที่จะเกิดจากความบกพร่องของส่วนของหัวใจที่ทำหน้าที่ผิดปกติ

องค์ประกอบของเลือด
วิเคราะห์องค์ประกอบของเลือด และผลต่อระบบไหลเวียนของเลือด และการทำงานกับ
ระบบอื่นๆ ของร่างกาย

สตู รเคมี
วิเคราะห์สตู รเคมี และอธิบายปฏิกิริยา

ตารางธาตุ/กลุ่มของธาต
ุ วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของธาตุ/กลุ่มธาตุในตารางธาตุ ความสัมพันธ์กับ
กลุ่มธาตุต่างๆในตารางธาตุ และพยากรณ์ว่าการใช้ประโยชน์จากตารางธาตุจะต่างออกไป
อย่างไรถ้ามีการจัดเรียงต่างออกไป

กระแสไฟฟ้า
วิเคราะห์ว่าส่วนของมิเตอร์สัมพันธ์กับการทำงานของทั้งระบบอย่างไร เปรียบเทียบกับเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้า ส่วนประกอบใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า

เครื่องกล
เลือกเครื่องจักรกลมา 1 อย่าง วิเคราะห์ส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วนที่สัมพันธ์กับ
ส่วน การส่งผลต่อเครื่องจักรกลนั้น

อะตอม
วิเคราะห์ว่าส่วนประกอบของอะตอมมีอะไรบ้าง หน้าที่ของส่วนประกอบและความสัมพันธ์
กับการทำงานของอะตอมของ การเกิดปฏิกิริยาและความเสถียร

บทรอ้ ยกรอง
ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งเสยี งของพยางค/์ คำ กบั สมั ผสั และทว่ งทำนองในการอา่ นบทรอ้ ยกรอง


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

37

หัวเรื่อง
สิ่งที่เกี่ยวกับการคิด

กลไกราคาในระบบเศรษฐกจิ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความต้องการบริโภคสินค้าและบริการในครัวเรือนที่ส่งผลถึง
อุปสงค์และอปุ ทานกับกลไกราคาสินค้าและบริการ

เจตคติเรื่องเพศ
ผลของปัจจัยทางครอบครัว สื่อ เพื่อน ที่ส่งผลต่อเจตคติทางเพศของบคุ คล

องค์ประกอบคนตรีใน ความสัมพันธ์ระหว่างจังหวะ ทำนอง ในองค์ประกอบดนตรีในการสื่ออารมณ์

เพลง




• การคิดแบบเปรียบเทียบความเหมือน/ความต่าง (Compare and Contrast)

หัวเรื่อง
สิ่งที่เกี่ยวกับการคิด

ระบบการสบื พนั ธข์ุ องมนษุ ย
์ เปรียบเทียบระบบสืบพันธ์ุของเพศ ชาย-หญิง ในการสืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์
เปรียบเทียบระบบการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ในด้านลักษณะของอวัยวะ
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ระบบสุริยะ
เปรียบเทียบระบบสุริยะตามแนวทางของ Copernican Ptolemaic เพื่ออธิบายวิวัฒนา
การของการศึกษาเกี่ยวกับระบบสุริยะ



วงโคจร
เปรียบเทียบวงโคจรของดวงดาวต่างๆและความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ระหว่างโลก ดวง
จันทร์ และดาวต่างๆ



หลักการถ่ายทอดพันธุ- เปรียบเทียบความเหมือน-ความต่างของลักษณะเด่น-ด้อยในรุ่นลกู รุ่นหลาน

กรรม

ภาษาพูดและภาษาเขียน
วิเคราะห์ความเหมือนความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน

ระดับภาษา
วิเคราะห์ภาษาที่ใช้กับบคุ คลที่มีสถานภาพต่างๆ และคำราชาศัพท์

องค์ประกอบดนตรีที่มา วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆเพื่ออธิบายความเหมือนความต่าง

จากวัฒนธรรมต่างๆ

ระบบเศรษฐกิจ
เปรียบเทียบระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ เพื่ออธิบายถึงแนวคิดและผลที่เกิดต่อประชาชน

ภาษาพดู และภาษาเขียน
วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียนในแง่ของจุดหมายในการสื่อสาร ผู้ดู
ผู้ฟัง และลีลาภาษา











38 การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

ตอนท่ี 2

แผนการจดั การเรยี นรู


การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

39

40 การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคิดในการสอน

การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

41

โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตสัมพันธ์ (การถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลูก) เวลา 2 ชั่วโมง



......................................................................................................................................................................................



1. ความคิดรวบยอด

สิ่งมีชีวิตทกุ ชนิดเกิดจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ลกู จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับพ่อแม่ ลักษณะเหล่านี้จะถ่ายทอดจาก
พ่อแม่สู่ลกู

2. สาระการเรียนรู้

การเปรียบเทียบรปู ร่างลักษณะของลูกกับพ่อแม่ทั้งของมนุษย์และสตั ว์

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/ตัวชี้วัด

-สำรวจ สังเกต และอธิบายลักษณะต่างๆของลกู ที่เหมือนพ่อแม่

-สำรวจ อภิปรายและอธิบายได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลกู หลาน

4. กิจกรรมการเรียนรู้

ครตู ั้งคำถามกระตุ้นการคิด”ลกู จะมีลักษณะไม่เหมือนพ่อแม่ที่ให้กำเนิดได้หรือไม่ ?”

1. ครูฝึกทักษะการสังเกตโดยให้นักเรียนเล่นเกมจับคู่ภาพของสัตว์ที่เหมือนกันแล้วร่วมกันอภิปรายว่าภาพที่จับคู่
นั้นมีส่วนใดที่เหมือนกันโดยครูใช้คำถามเช่นสัตว์ที่นักเรียนจับคู่มีสิ่งใดที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

2. ครนู ำภาพพ่อแม่สัตว์และลูกสัตว์ต่างๆ เช่น สนุ ัข แมว นก มาให้นักเรียนดแู ล้วจับคู่ช่วยกันเขียนลงในกระดาษ
ว่าภาพที่ครนู ำมาให้ดูมีสิ่งใดที่สัตว์แต่ละชนิดมีเหมือนกันและแตกต่างกันบ้าง อย่างไร

ครเู ขียนประเด็นสำคัญที่นักเรียนใช้เปรียบเทียบบนกระดาน

3. นักเรียนแต่ละคู่ออกมานำเสนอผลการคิดของตนเองแล้วครูให้นักเรียนช่วยกั้นสังเกตรปู ร่างลักษณะของลกู สัตว์
ที่นักเรียนเลี้ยงหรือเคยเห็นในที่ต่างๆ เปรียบเทียบกับพ่อแม่ของสัตว์นั้น ตามใบกิจกรรมที่ 1

4. ครแู ละนักเรียนร่วมกันอภิปรายว่านักเรียนเกิดขึ้นมาจากไหน และนักเรียนมีส่วนใดที่คล้ายกับพ่อแม่โดยครถู าม
นักเรียนว่ามีรปู ร่างหน้าตาคล้ายใคร ยกตัวอย่างส่วนที่คล้ายซิ เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น

5. นักเรียนติดภาพพ่อแม่และตนเองลงในใบกิจกรรมที่ 2 จากนั้นให้แต่ละคู่ช่วยกันสังเกตเปรียบเทียบลักษณะของ
ตนเองว่ามีส่วนใดที่เหมือนพ่อแม่แล้วเขียนลงในแผ่นภาพการคิด แล้วสังเกตลักษณะ ที่แตกต่างครูสุ่มนักเรียนตัวอย่างออก
มารายงานหน้าชั้น

6. นักเรียนช่วยกันรวมรวบลักษณะที่คล้ายและไม่คล้ายกับพ่อแม่ที่นักเรียนสังเกตได้เขียนลงบนกระดานแล้วครู
ถามนักเรียนว่า

-เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีส่วนที่คล้ายพ่อแม่

-พ่อของนักเรียนมีส่วนที่คล้ายปู่กับย่าบ้างไหม

-แม่ของนักเรียนมีส่วนที่คล้ายตากับยายบ้างไหม

-ถ้านักเรียนตอบว่าคล้ายหรือไม่คล้ายครถู ามต่อว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

42 การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

7. ครกู ระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายถึงสาเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่คล้ายพ่อกับแม่ให้นักเรียนแล้วให้นักเรียนค้นคว้า
เพิ่มเติมจากหนังสือสารานกุ รม เพื่อสรุปความคิดสำคัญเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะ




5. สื่อการเรียนรู้


- เกมจับคู่

- ภาพสัตว์ต่างๆ

- ภาพ พ่อ แม่ ลกู

- แผนภาพการคิดเปรียบเทียบ

- หนังสือสารานุกรม



6. การประเมินผล

- การสังเกต

- การเปรียบความเหมือนความต่าง

7. บันทึกหลังการสอน

1. ผลการเรียนรู้

.....................................................................................................................................................................................

2. ปัญหาและอปุ สรรค

.....................................................................................................................................................................................

3. ข้อเสนอแนะ

.....................................................................................................................................................................................



8. บันทึกความคิดเห็นของผู้ตรวจแผนการสอน

.....................................................................................................................................................................................






ลงชื่อ..................................................................

ผู้สอน





ลงชื่อ..................................................................

ผู้ตรวจ






การพฒั นาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

43

โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550




กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลูก

ชื่อ-นามสกุล...............................................................................ชั้น.....................................เลขที่..................................

.....................................................................................................................................................................................

คำชี้แจง สำรวจ สังเกต เปรียบเทียบลักษณะของสัตว์รอบตัวระหว่างพ่อแม่และลูก

ชื่อชนิดสัตว์ที่สำรวจ.......................................................................................................................................................




ลักษณะ
พ่อ
แม่
ลูก






ลักษณะขน






ลักษณะใบห






ลักษณะหาง






ลักษณะประกอบอื่นๆ
















4
4 การพัฒนาการคิด : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550




กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลูก


ชื่อ-นามสกุล......... ......................................................................ชั้น.....................................เลขที่................................


.....................................................................................................................................................................................

คำชี้แจง นักเรียนติดภาพพ่อแม่และตนเอง แล้วสังเกตรปู ร่างลักษณะพร้อมบันทึกลักษณะของตนเองที่เหมือนและ
คล้ายคลึงกับพ่อแม่ โดยนักเรียนสามารถเพิ่มเติมลักษณะอื่นได้ตามความเหมาะสม


พ่อ แม่


ลักษณะของลูก



สีผิว

ลกู

เส้นผม


ตา

พ่อ
แม่

จมูก



ปาก



ใบห



ส่วนประกอบอื่น











การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

45

โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

เรื่อง แบบประเมินการอภิปรายเรื่องการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลกู

.....................................................................................................................................................................................

คำชี้แจง เกณฑ์การประเมินการให้คะแนนการอภิปรายเรื่องการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่สู่ลูก




มิติคณุ ภาพ :


คะแนน
เริ่มพัฒนา (1)
กำลังพัฒนา (2)
พัฒนาแล้ว (3)
เป็นตัวอย่างได้ (4)

การวิเคราะห์ความ อธิบายความเหมือน อธิบายความเหมือน อธิบายความเหมือน อธิบายความเหมือน
เหมือนความแตกต่าง
ของสิ่งมีชีวิตที่เห็นได้ และความแตกต่าง ความแตกต่างของสิ่ง ความแตกต่างของสิ่ง
แต่ไม่มีเหตุผล ของสิ่งมีชีวิตที่เห็นได้ มีชีวิตพร้อมให้เหตุผล มีชีวิตพร้อมให้เหตุผล
สนับสนุน
มีเหตผุ ลสนับสนนุ ในประเด็นสำคัญ
ในประเด็นสำคัญมี
ประเด็นต่างๆ
รายละเอียดสนับสนุน
ทำให้จำแนกได้ชัดเจน
และเชื่อมโยงไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้

การสังเกต
สังเกตได้ การ สังเกตสิ่งของ/รูป/ สังเกตสิ่งของ/รปู / สังเกตสิ่งของ/รูป/
ถ่ายทอดจากพ่อ แม่ ลักษณะได้หลายด้าน ลักษณะ/ได้หลายด้าน ลักษณะของตนได้
ลกู
มีรายละเอียดบ้าง
แต่ขาดรายละเอียดใน หลายด้านและมีราย
ด้านที่สำคัญ
ละเอียดเกี่ยวกับ
ลักษณะกายภาพ
ทำให้เห็นได้ชัดเจน






46 การพัฒนาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

แผนกการจัดการเรียนรู้ที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาการภาษาไทย รหัสวิชา ท 30201 ร รายวิชา การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น

ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


หน่วยที่ 2 สู่โลกกว้าง เรื่อง โลกกว้างทางปัญญา เวลา 4 ชั่วโมง


1. สาระสำคัญ

ในสังคมแห่งปัญญา การอ่าน การเรียนรู้ และการเข้าถึงสื่อการอ่าน มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะสื่อการอ่าน การเรียนรู้
มีหลายประเภท ล้วนเป็นประโยชน์ และเสริมสร้างปัญญาแก่ผู้แสวงหาความรู้ ผู้อ่านมาก เรียนรู้มากย่อมเกิดปัญญา สื่อ
การอ่านมีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดี ซีดีรอม และอินเตอร์เน็ต สื่อต่างๆ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีความ
สำคัญ มีคุณลักษณะเฉพาะตัว หากรู้วิธีใช้ และเข้าถึงคุณสมบัติที่ดีของสื่อแต่ละประเภทจะสามารถใช้ประโยชน์ เพื่อการ
เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/ตัวชี้วัด

รู้จักและใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมดุ และแหล่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



3. จุดประสงค์การเรียนรู้

3.1 ด้านความรู้

3.1.1 วิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์ได้

3.1.2 เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ของหนังสือและวารสารได้

3.1.3 เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ของหนังสือและอินเทอร์เน็ตได้

3.3.4 วิเคราะห์จุดเด่น จดุ ด้อย ของสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนกิ ส์ได้

3.3.5 จำแนกประเภทของสื่อการอ่านได้ถูกต้อง

3.3.6 สามารถสรุปและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสื่อการอ่านได้

3.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ

3.2.1 ทักษะการทำงานกลุ่ม

3.2.2 กระบวนการคิดวิเคราะห์

3.3 ด้านคุณลักษณะ

3.3..1 กระตือรือร้น ใฝ่เรียนรู้

4. สาระการเรียนรู้

4.1 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์

4.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม อินเทอร์เน็ต

5. กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1

1. นักเรียนแบ่งกลุ่มละ 4 คน เลือกหนังสือพิมพ์ มากลุ่มละ 1 ชื่อเรื่อง คนละ 1 ฉบับ

2. ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดของหนังสือพิมพ์ว่ามีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับอะไรบ้าง ลงในแบบ
วิเคราะห์ ส่วนย่อย (part) ส่วนร่วม (whole)

3. สุ่มนักเรียนนำเสนอผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

47

4. นักเรียนสรปุ ผลการวิเคราะห์ลงสมุดบันทึก

ชั่วโมงที่ 2

1. ครแู จกหนังสือและวารสาร อย่างละ 1 เล่ม ให้นักเรียนกลุ่มเดิม

2. นักเรียนช่วยกันพิจารณาลักษณะของหนังสือและวารสารแล้วพิจารณาว่ามีความเหมือน ความต่าง (compare &
contrast) กันอย่างไรบ้าง โดยเขียนข้อมลู ลงในผังเปรียบเทียบ

3. ครูสุ่มนักเรียนนำเสนอผลการเปรียบเทียบความเหมือน ความต่างของหนังสือและวารสาร

4. นักเรียนสรปุ ผลการเปรียบเทียบลงสมดุ บันทึก

ชั่วโมงที่ 3

1. ครสู นทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่นักเรียนรู้จัก และเคยใช้ เช่น ซีดีรอม อินเทอร์เน็ต ตลอดจน
สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ในด้านการใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้

2. นักเรียนจับคู่กัน วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนงั สือ กับ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต
ว่ามีความเหมือน ความต่างกันอย่างไร โดยเขียนลงในผังที่กำหนดให้

3. นักเรียนและครชู ่วยกันสรปุ ความเหมือนความต่าง และนักเรียนบันทึกผลลงสมดุ บันทึกของตน

ชั่วโมงที่ 4

1. นักเรียนวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อด้อย ของสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์และช่วยกันสรุปผลว่า
นักเรียนสามารถนำสื่อการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

2. สุ่มนักเรียนนำเสนอผลการเปรียบเทียบ และการนำไปใช้ประโยชน์

3. นักเรียนบันทึกผลการเรียนรู้ลงในสมดุ บันทึกของตน

6. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

6.1 หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับโลกกว้างทางปัญญา

6.2 สื่อซีดี ซีดีรอม การใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมดุ และแหล่งเรียนรู้

6.3 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

6.4 ห้องสมดุ

6.5 ใบความรู้เรื่องโลกกว้างทางปัญญา

6.6 ใบกิจกรรม เรื่อง การใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมดุ และแหล่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การวัดและประเมินผล

7.1 วิธีวัดและประเมินผล

1) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความเหมือน-ความต่าง

2) ประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่ม

3) การทดสอบ

7.2 เครื่องมือวัดและประเมินผล

1) แบบประเมินการคิด

2) แบบประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่ม

3) แบบทดสอบ

7.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล

48 การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคิดในการสอน

1) เกณฑ์การประเมินกิจกรรม และประพฤติกรรมกลุ่ม

ร้อยละ 80 ขึ้นไป ระดับ 4 หมายถึง ดีมาก

ร้อยละ 60 - 79 ระดับ 3 หมายถึง ดี


ร้อยละ 50 - 59 ระดับ 2 หมายถึง พอใช้


ต่ำกว่าร้อยละ 50 ระดับ 1 หมายถึง ปรับปรงุ

2) เกณฑ์การประเมินผลการทดสอบ

ร้อยละ 50 ขึ้นไป ผ่าน

ตำกว่าร้อยละ 50 ควรปรับปรงุ






บนั ทึกหลังการสอน


....... ...... ......ก..า..ร.ท...ำ.ก...ิจ..ก..ร..ร..ม..ก...ล..ุ่ม..ซ..้ำ..ๆ..ก...ัน...เ..ด..็ก..เ.ร..ิ่ม...ข..า.ด...ค..ว..า..ม..ต...ื่น..เ.ต...้น..ต..้อ...ง.ป...ร..ับ..ก..ิจ...ก..ร..ร..ม..เ.ป..น็...ก..ิจ..ก...ร.ร..ม...ค..ู่บ...้า.ง...เ.พ...ื่อ..ล...ด..จ..ำ..น..ว..น...........

.......ส..ม...า.ช..ิก...ก..ล..ุ่ม...แ..ล..ะ..บ..า..ง.ก...ิจ..ก..ร..ร..ม..ห...ร.ือ...ก..ิจ..ก..ร..ร..ม..ส...ดุ ..ท...้า.ย..เ.ป...็น..ก...ิจ..ก..ร..ร..ม..เ.ด...ี่ย..ว..เ.พ...ื่อ..ใ.ห...้น..ัก..เ..ร.ีย...น..ต...ั้ง.ใ..จ..ท..ำ..ง.า..น..ก...ล..ุ่ม..ใ..น..ช..่ว..ง..แ..ร..ก..ม...า.ก........

.......ข..ึ้น....เ.พ...ร.า..ะ..ม..ีผ...ล..ส..ืบ...เ.น..ื่อ...ง.ห...า.ก...ไ.ม..่ร..่ว..ม...ม..ือ..ก...ับ..เ.พ...ื่อ..น....เ.ม..ื่อ...ถ..ึง..ก..ิจ..ก..ร..ร..ม...ส..ดุ ..ท...้า.ย...ต..้อ..ง..ท..ำ..ง..า.น...ค..น..เ..ด..ีย..ว..จ..ะ..ท...ำ.ไ..ม..่ไ..ด..้.ซ...ึ่ง.ไ..ด..้ผ...ล..ด...ีข..ึ้น.......

..............น
....ัก......เ..ร....ีย....น....ส......่ว....น....ใ....ห....ญ......่ส......า..ม......า..ร....ถ....เ..ป......ร....ีย....บ....เ..ท......ีย....บ......ว....ิเ..ค....ร....า....ะ..ห......์ค....ณุ........ล....ัก....ษ......ณ......ะ....ข....อ....ง....ส....ื่อ....ก....า....ร....อ....่า....น....ป......ร..ะ....เ..ภ......ท....ต......่า..ง....ๆ....ใ....น....ล....ะ....ป......ร....ะ..เ....ด....็น....ไ....ด....้ด......ีพ......อ....ค....ว....ร....
............


.....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................................................






ลงชื่อ...............................................................

(นางสาววิไล ประกิจ)


ตำแหน่ง ครู โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรงุ


การพฒั นาการคดิ : การสอดแทรกการคดิ ในการสอน

49


Click to View FlipBook Version